เยาวชนหัวใจอินทรีย์…วิถีแห่งความอยู่รอด นานมากแล้วที่คนไทยและคนอีกหลากหลายเชื้อชาติได้อาศัยผืน แผ่นดินทองผืนนี้ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกข้าว ทําไร่ ทําสวน ปลูกผัก และเลี้ยงสัตว์ พืชพรรณหลายชนิดมีโอกาสเดินทางไกลหลาย ร้อยหลายพันกิโลเมตรเพื่อทําหน้าที่เป็นวัตถุดิบชั้นดีในการปรุงอาหาร หล่อเลี้ยงผู้คนทั้งประเทศ แต่พวกเราจะรู้หรือไม่ว่าพืชพรรณเหล่านี้ หรือที่เราเรียกว่า “สินค้าการเกษตร” เติบโตขึ้นด้วยความยากลําบาก กว่าจะผลิดอกออกผล ต้องฝ่าฟันกับฤดูกาล โรคและแมลง และจะ ยากยิ่ ง ไปกว่ า หากต้ อ งทํ า การเกษตรใน ระบบเกษตรอินทรีย์ ท่ามกลางไอร้อนระอุของดวงอาทิตย์ บรรยากาศโดยรอบแห้งแล้ง พืชพรรณต่าง ละทิ้งความเขียวสดเหลือไว้เพียงลําต้นโดด สี น้ํ า ตาล จะมี สี เ ขี ย วปะปนอยู่ บ้ า งใน บริเวณที่เป็นบ้านเรือนที่อยู่อาศัยและไกล ออกไปบริเวณป่าหัวไร่ปลายนา แต่ยังมีสิ่ง หนึ่งที่ยังคงทําหน้าที่อย่างไม่ย่อท้อ โดยยึดลําต้นของพืชไว้ เพื่อส่งต่อ ความชุ่มชื้นและสารอาหารสู่ต้นพืช นั่นก็คือ “ดิน” มีคนจํานวนไม่ น้อยที่ยังไม่เข้าใจความสําคัญของดิน ซึ่งที่มาของเรื่องราวครั้งนี้ โดยทั่วไปกิจกรรมตรวจวิเคราะห์ดิ น ต้องทําในห้องปฏิบัติการ แต่จะทําอย่างไรให้ ความรู้ดังกล่าวถ่ายทอดสู่เยาวชนผู้สัมผัสและ ใช้ ชี วิ ต อยู่ กั บ ผื น ดิ น พวกเราจึ ง จั ด กิ จ กรรม “ค่ายเยาวชนหัวใจอินทรีย์” ขึ้นที่ อ.ชุมแสง จ.สุรินทร์ โดยมี “พี่รวย” หรือคุณกัลยารัตน์ รัตนะจิตร ทีมงานฝ่ายชุมชนและผู้ด้อยโอกาส เล่าถึงที่มาและความสําคัญของการจัดกิจกรรม จากนั้น พ่อเสมือน ดา ทอง เล่าถึงการทําเกษตรในอดีตว่ามีการปรับปรุงบํารุงดินด้วยการใส่ ปุ๋ยคอก ที่เรียกว่าประเพณีเอาปุ๋ยลงนา ทําในวันแรม 3 ค่ํา เดือน 3 ของทุกปี เป็นวิถีชีวิตของชาวชุมแสงมาแต่โบราณ ปัจจุบันยังคงมี
ประเพณีนี้อยู่ แต่เริ่มลดน้อยลงไปเรื่อยๆ พ่อเสมือนฯ ให้ความรู้ เกี่ยวกับการใช้สารไล่แมลงที่ทําจากสมุนไพร อาทิ สะเดา จะแกสะ แลง (สะแกแสง) เป็ นต้ น พ่อดํา เกิ ง มุ่ง ดี วิท ยากรอีก ท่า นหนึ่ง เล่ า ประสบการณ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับการทําเกษตรอินทรีย์และชี้ให้เห็นถึง ความสําคัญของดิน น้ํา ป่าไม้ ซึ่งเป็นหัวใจของการทําเกษตรและการ ดํารงชีวิตของคนในชุมชน พวกเราได้รับเกียรติจาก อ.นพมาศ นาม แดง นักวิชาการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็ น วิ ท ยากรบรรยายในหั ว ข้ อ “หั ว ใจของการทํ า เกษตรอิ น ทรี ย์ ” พร้อมพาเยาวชนไปศึกษาระบบนิเวศในแปลงเกษตรอินทรีย์ของพ่อ ดํ า เกิ ง ฯ โดยแบ่ ง นั ก เรี ย นออกเป็ น กลุ่ ม สั ง เกต บั น ทึ ก ชนิ ด พื ช สิ่งมีชีวิตต่างๆ เช่น แมลง ไส้เดือน หนอน ปูนา และอื่นๆ รวมทั้งเก็บ ตัวอย่างดินในแปลงนาข้าว แปลงปลูกพริก และแปลงปลูกข้าวโพด-ถั่ว พร้า เพื่อใช้ในกิจกรรม “สํารวจและทดสอบความสมบูรณ์ของดิน” ทําให้เด็กๆ ได้ใกล้ชิดกับวิถีชีวิตที่เห็นพ่อและแม่ทําอยู่ทุกเป็นประจํา ทุกวัน ดร.สุ กั ญ ญา คลั ง สิ น ศิ ริ กุ ล อาจารย์ ป ระจํ า ค ณ ะ เ ก ษ ต ร ศ า ส ต ร์ มหาวิ ทยาลั ยอุ บลราชธานี เป็ น วิ ท ยากรบรรยายใน หั ว ข้ อ “รู้ จั ก แมลงและ ประโยชน์ ข องแมลงในระบบนิ เวศ” อาจารย์ เล่ า ถึ ง ความแตกต่ า ง ระหว่า งแมลงกั บแมง รวมทั้ งหน้าที่ ต่า งๆ ของแมลงในระบบนิ เวศ ได้แก่ แมลงที่ช่วยผสมเกสรดอกไม้ แมลงที่ช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืช และแมลงที่ก่อให้เกิดผลเสียด้วยการทําลายพืชเกษตร เพื่อเป็นพื้นฐาน และสร้างความเข้าใจแก่นักเรียนสําหรับใช้ในกิจกรรม “จําแนกตัวห้ํา ตัวเบียน” ซึ่งเป็นกิจกรรมต่อไป
ตั ว ห้ํ า เป็ น แมลงที่ ดํ า รงชี วิ ต โดยการกิ น แมลงศั ต รู พื ช เป็ น อาหาร มีขนาดใหญ่กัดกินเหยื่อ โดยทํา ให้เหยื่ อตายลงในทั น ที ตั ว อ ย่ า ง ข อ ง ตั ว ห้ํ า ที่ พ บ โดยทั่วไป อาทิ มดแดง ด้วงเต่า มวนเพชฌฆาต เป็นต้น ตัวเบียน เป็นแมลงที่วางไข่และเจาะดูดกินไข่ ของแมลงศัตรูพืช อาทิ แตนเบียนหนอนใยผัก แตนเบียนดักแด้ เป็น ต้น นักเรียนแต่ละกลุ่มจะ ได้รับตัวอย่างแมลงที่เป็น ตัวห้ํา คือ มวนเพชฌฆาต มวนพิ ฆ าต และเชื้ อ รา ทําลายแมลง คื อ เชื้ อรา เมธาไรเซี ย ม ลั ก ษณะ เส้ น ใยเป็ น สี ข าว และ สปอร์เป็นสีเขียว เป็นเชื้อราที่ทนสภาวะแวดล้อมได้ดี เจริญเติบโตและ แพร่พันธุ์ได้ดีแม้ในพื้นที่ที่มีอุณภูมิสูงและความชื้นต่ํา สามารถกําจัด แมลงได้เกือบทุกชนิดทั้ งหนอน-แมลงตั วใหญ่ รวมทั้ งแมลงปี กแข็ ง นั ก เรี ย นได้ สั ง เกตลั ก ษณะของทางกายภาพของมวนพิ ฆ าต มวน เพชฌฆาต และเชื้ อ ราเมธาไรเซี ย ม รวมทั้งการเข้าทําลายแมลงศัตรูพืชด้วย การเจาะดูดของตัวห้ํา รวมทั้งระยะของ การเติบโต สร้างสปอร์ ของเชื้อราไมธาไร เซียม หลังจากนั้นนักเรียนแต่ละกลุ่มมา สรุปผลและนําเสนอหน้าชั้น อ.นพมาศฯ ให้ ค วามรู้ เพิ่ ม เติ ม กั บ นักเรียนเรื่อง การบํารุงดิน สิ่งมีชีวิตในดิน รวมทั้งส่วนประกอบของดิน ซึ่งประกอบด้วย (1) อนินทรียวัตถุ ร้อยละ 45 (2) อากาศ ร้อยละ 25 (3) น้ํา ร้อยละ 25 (4) อินทรียวัตถุ ร้อยละ 5 ความรู้เรื่องต้นกําเนิด ของดิน ลักษณะทางกายภาพของดิน เช่น เนื้อดิน สีดิน ความสมบูรณ์
ของดิน ธาตุอาหารพืช น้องๆ ได้ลงมือปฏิบัติในกิจกรรม “สํารวจและ ทดสอบความสมบูรณ์ของดิน” โดยนําดินที่ได้จากแปลงตัวอย่างมา สังเกตสีดิน สิ่งเจือปน แล้วบันทึกผลสิ่งที่สังเกตพบ ทดสอบการซึมน้ํา ของดินแต่ละชนิด ทดสอบประเภทของดินด้วยการสัมผัส หากรู้สึก สากมือเมื่อสัมผัส จัดเป็นดินเนื้อหยาบ หากปั้นเป็นก้อนกลมแล้วใช้ นิ้วโป้งและนิ้วชี้บบี ถ้าแตกออกจากกันทันทีแสดงว่าเป็นดินทราย หาก บีบแล้วไม่แตกออกและสามารถคลึงเป็นเส้นตรงยาวมากกว่า 2 ซม. และมากกว่า 5 ซม. จัดให้เป็นดินเนื้อละเอียด (ดินร่วน และดินเหนียว ตามลําดับ) ตั ว อย่ า งดิ น ที่ ไ ด้ จ าก แปลงเกษตรของพ่อดํา เกิ ง พบว่าเป็นดินร่วนปนทราย กิจ กรรมการทดสอบความ สมบูรณ์ของดิน โดยทําการ วั ด ค่ า ความเป็ น กรด-ด่ า ง ของดิ น จากแปลงเกษตรและดิ น ตั ว อย่ า งในโรงเรี ย น และตรวจ วิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินได้แก่ ธาตุไนโตรเจน (N) ซึ่ง อยู่ในรูป แอมโมเนียมและไนเตรท ธาตุ ฟอสฟอรั ส (P) และธาตุ โพแทสเซียม (K) เรื่องราวและประสบการณ์ ที่เด็กๆ ได้รับในวันนี้ แม้เป็น เพี ย งเศษเสี้ ย วความรู้ ห รื อ บทเรี ย นเพี ย งหนึ่ ง บทของครู อ าจารย์ แต่ อ ย่ า ลื ม ว่ า ประสบการณ์ โดยตรงจากผู้รู้ที่ถ่ายทอดมาสู่พวกเขา ล้วนเป็นแรงกระตุ้นให้เด็กและ เยาวชนกล้ าที่จ ะเรียนรู้ ได้สั มผั สกับ วิทยาศาสตร์ม ากยิ่ งขึ้ น น้ องๆ หลายคนบอกกับพวกเราว่า กิจกรรมสนุกและเข้าใจง่าย พวกเราหวัง ว่ า สั ก วั น หนึ่ ง น้ อ งๆเหล่ า นี้ จ ะเติ บ โตขึ้ น และมี ส่ ว นผลั ก ดั น การ เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้สารเคมีและยาฆ่าแมลงในชุมชนให้ลด น้อยลงเพื่อความอยู่รอดของชุมชนและ คนในชุมชนต่อไป