0 1 / 2 0 1 3
เวลาแห่งความสดใส เวลาที่ เ ราจะได้ เ ห็ น ดอกไม้งดงามที่สุด คือ ช่วงเวลาทีก่ ลีบบางงามของมันค่อยๆ แรกแย้ม จนผลิบานอย่างเต็มที่ อวดสีสันธรรมชาติและ ความสะพรั่งงามประดับโลก ยามเมื่อได้ชื่นชม ความรูส้ กึ ดีๆ ก็คอ่ ยๆ ครอบคลุมทัว่ ทัง้ จิตใจ... ดอกไม้ดอกเดียวยังสร้างความเปลีย่ นแปลงในใจได้ เช่นนี้ แล้วถ้าได้อยู่ท่ามกลางอาณาจักรมวลหมู่ ดอกไม้ที่ ‘ดาษดา’ มวลความสุขจะก้อนใหญ่ เพียงใด ...เช่นเดียวกับความสดใสของ MercedesBenz Magazine ฉบับแรกรับปี 2556 ซึง่ ถือเป็น ความตัง้ ใจของเราทีจ่ ะสร้างความเปลีย่ นแปลงเล็กๆ ให้เกิดขึน้ ทัง้ คอนเซ็ปต์และดีไซน์ภายในเล่ม หวังว่าจะท�ำให้ทุกท่านเพลิดเพลินกับช่วงเวลา แห่งการอ่านจนแทบวางนิตยสารไม่ลงเลยทีเดียว 4
040
0 1 / 2 0 1 3
020
032
046
050
01.2013 012
0 32
050
Check-in
ดาษดา อาณาจักรแห่งดอกไม้
นวัตกรรมการสร้างสรรค์เพื่อโลกอนาคต : กระโดดร่มในชุดเสื้อผ้า ติดปีก โฉมหน้าของ Ener-G-Force คอนเซ็ปต์คาร์สไตล์ออฟโรด พร้อมเปิดใจ Alex King ผู้อยู่เบื้องหลังฉากแอ๊คชั่นสุดมัน ในภาพยนตร์ Die Hard 5 ที่มี G-Class ร่วมเข้าฉาก
ดาษดาแกลเลอรี่ ดาษดารีสอร์ท...ดอกไม้เพียบ ความสุขพร้อม บบพื้นที่ 800 ไร่ เขาใหญ่ ปราจีนบุรี 038
โลกแห่งศิลปะการออกแบบ อาหารและแฟชั่น : สถาปัตยกรรมแนวดิ่ง สุดทึ่งใน Jakarta นิทรรศการของ ‘ป๊อบไอคอน’ ใน London บาร์ในบรรยากาศโบกี้รถไฟที่ Madrid และใช้ชีวิตอย่างคนเมือง ใน Amsterdam
020
การ์ตูนโดย ชัย ราชวัตร
054
ข้อควรคำ�นึงของคนมีรถ
Wild Thing The CLA เผยความงามอันสมบูรณ์แบบที่ซ่อนอยู่หลัง
Nice very nice 040
การพัฒนาหลักแอโร่ไดนามิคส์ที่ได้รับการบันทึกเป็นสถิติโลก
ภาพเหนือจริง
028
ความประทับใจของเจ้าของแกลเลอรี่ เมื่อได้ร่วมเดินทางไป Berlin กับ E 300 ซีดานใหม่ล่าสุดและฉลาดที่สุดเท่าที่เคยผลิตมา
ภารกิจใต้ทะเลลึก ปฏิบัติการด�ำดิ่งสู่ใต้ผืนท้องน�้ำเพื่อค้นหาค�ำตอบเกี่ยวกับ ความมหัศจรรย์อันล�้ำลึกของห้วงมหาสมุทร
046
คุณภาพติดดาว E-Class ได้รับการบันทึกอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์ยานยนต์โลก
ในฐานะผู้บุกเบิกนวัตกรรมใหม่ๆ เสมอ
6
Emotion
ประสบการณ์แสนโก้หรู ณ เมืองเจ้าเสน่ห์ ริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
phOTOS: Marc Trautmann; Markus Jans; Anatol Kotte; Stefan Armbruster; Tom Parker Illustration: Mario Wagner
054
058
0 1 / 2 0 1 3
060
064 074
064
01.2013 058
070
Finely honed senses
เมืองแป้ (แพร่) ประตูสู่ล้านนา
004
INTRO
ระบบการขับขี่ที่ชาญฉลาด เพิ่มความปลอดภัย ให้ทั้งผู้ขับขี่และผู้คนที่สัญจรบนท้องถนน
ท่องวิถีชีวิตและศิลปวัฒนธรรมอันบริสุทธิ์งดงาม กลิ่นอายอารยธรรมล้านนา
082
MOMENTS
060
074
ทัศนคติของ Saskia และ Bernd ที่มีต่อการทดลองขับ คลาสสิคคาร์ SL R129 ไปยังเมือง Milan อิตาลี
ขุนเขา เนินทราย ทะเลสาบ บนดินแดนที่สูงกว่าห้าพันเมตร เหนือระดับน�้ำทะเล งดงามเกินจะพรรณา
064
080
Wave with the City
SHUFFLE; Rustic yet Refined
ใจกลางเมืองหลวงก็โต้คลื่นให้สนุกได้ โดยไม่ต้องไปไกลถึงทะเล และไม่ต้องเสียเวลานั่งรอคลื่นยักษ์ถาโถม
อร่อยเบาๆ แต่ครบรสกับอาหารอเมริกันแนว Rustic Cuisine
คนละมุมมอง
ค่อนทางสู่สวรรค์
A-Class Driving Experience 2013
Princesse Grace de Monaco Collection 083
PUBLICATION DETAILS
MB Magazine
086 068
Icon
Star fruits
Attention Assist ถึงเวลาของกาแฟเอสเปรสโซ่รสเลิศ
เฟซบุ๊ค บล็อก และสารพัดช่องทางดิจิตอล ที่จะเปิดโลกแห่งข่าวสารที่ดีที่สุดของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ดาวน์โหลด Mercedes-Benz magazine ฉบับดิจิตอลทั้งเล่มได้ที่ App Store พิมพ์ค�ำว่า 8
Mercedes-Benz magazine Thailand 1/2013 หรือดาวน์โหลดได้ที่ www.mercedes-benz.co.th
phOTOS: Marc Trautmann; Markus Jans; Anatol Kotte; Stefan Armbruster; Tom Parker Illustration: Mario Wagner
080
วิ สั ย ทั ศ น์
พลัง G
ความล�้ ำ สมั ย ของไฟหน้า LED ในรูปทรง G-shaped อาจท�ำให้
สายตาของแฟนออฟโรดพันธุ์แท้ออกอาการพิศวงงงงวยและตราตรึง ลึกลงไปในความทรงจ�ำของพวกเขา หรือ Ener-G-Force จะเป็น รถยนต์ที่เป็นคอนเซ็ปต์คาร์ซึ่งสื่อสารล่วงหน้าไปถึงบางสิ่งบางอย่าง ที่จะเกิดขึ้นกับ G-Class ในอนาคต? มันอาจจะเป็นการต่อยอด ความส�ำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ให้กับสัญลักษณ์ของรถยนต์สไตล์ออฟโรด ที่เมอร์เซเดส-เบนซ์ กลั่นกรองและปรับปรุงมาอย่างดีเยี่ยมตั้งแต่ ปี ค.ศ. 1979 Gorden Wagener หัวหน้าทีมออกแบบมีความสุขกับ การให้ผคู้ นคาดเดาสิง่ ทีจ่ ะเกิดขึน้ “Ener-G-Force มีทงั้ ความทันสมัย และความเท่ในตัวเอง มันอาจเป็นเพียงแค่การป่าวประกาศถึง จุดเริ่มต้นใหม่ส�ำหรับสัญลักษณ์ดีไซน์ในแบบออฟโรดของ เมอร์เซเดส-เบนซ์” อะไรคือสิ่งที่เขากล่าวถึงจากโมเดลต้นแบบ ขนาด 1:1 นี้ บนพื้นฐานของการสร้างภาพด้วยคอมพิวเตอร์ ส�ำหรับงาน Los Angeles Design Challenge ส�ำหรับนักคิด ไร้ขีดจ�ำกัดที่ Mercedes-Benz Advanced Desing Studio ใน California
12
c h e c k - i n
ให้มันถึงขีดสุด
illustr ation: Lyndon Hayes/Dutchuncle; photos: daimler ag (4) Interview: Thilo Komma - Pöllath
Alex King เป็นผู้เชี่ยวชาญพิเศษสำ�หรับฉาก รถยนต์ชนกันอย่างวินาศสันตะโรในภาพยนตร์ เขารับผิดชอบในฉากการไล่ล่าอย่างเอาเป็น เอาตายในภาพยนตร์เรื่อง Die Hard 5 และต้องให้ ความมั่นใจอย่างถึงที่สุดว่า Bruce Willis และทีม งานสตันท์แมนจะไม่มีอันตรายใด ๆ เกิดขึ้น
Alex King มีรถยนต์สักกี่คันที่ถูกแทงบัญชี เป็นหนี้สูญระหว่างการถ่ายท�ำภาพยนตร์เรื่อง Die Hard 5? เราสร้างความเสียหายเอาไว้มากมายเหมือนกัน เราต้องถ่ายซ�้ำกันบ่อยครั้งมาก ส่วนใหญ่เป็น การถ่ายซ�้ำในส่วนของตัวแสดงแทน และเรามีการใช้ รถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ G-Class หลายคัน แต่มนั ยอดเยีย่ มมาก ผมไม่เคยคิดเลยว่าจะมีรถยนต์ ที่มีความแข็งแกร่งเมื่อมันต้องตกลงมาจากที่สูง ขนาดนั้นเหมือนกับ G-Class งานของคุณประกอบด้วยอะไรบ้าง? ผมและทีมงานอีก 20 ชีวิตรับผิดชอบในส่วนของ รถยนต์ทุกคันที่ปรากฏขึ้นในฉากภาพยนตร์ไม่ว่าจะ จอดอยู่เป็นแบ็คกราวด์หรือท�ำลายมัน เราสร้าง โครงป้องกันการพลิกคว�่ำมากกว่า 50 ชิ้น ซึ่งเหล็ก และม้วนลวดเชื่อมที่เราใช้หากน�ำมาต่อรวมกันจะ ยาวจาก London ไปถึง Edinburgh เลยทีเดียว อะไรคือสิ่งที่คุณอยากเปลี่ยนแปลงบ้าง? ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยเราใช้ถังน�้ำมัน เชื้อเพลิงส�ำหรับรถแข่งและแบตเตอรี่แบบแห้ง บางครัง้ เราต้องถอดถุงลมนิรภัยออกเพราะพวกเขา อาจเกิดอันตรายได้ระหว่างการถ่ายท�ำ งานของเรา คือท�ำอย่างไรให้มั่นใจว่าผู้ขับขี่จะไม่ได้รับอันตราย หรือบาดเจ็บใด ๆ จนกว่างานของพวกเขาจะ เสร็จสิ้นสมบูรณ์ มีข้อจ�ำกัดส�ำหรับรถยนต์ที่คุณจะเลือกใช้หรือไม่? มันเป็นเรื่องเจ็บปวดเกินไปที่จะต้องท�ำลายรถยนต์ คลาสสิค ดังนั้นผมจึงปฏิเสธที่จะท�ำมันและสร้าง แบบจ�ำลองขึ้นมาแทน
สะพาน MELKWEG ข้ามคลอง Noordhollands ใน Purmerend ประเทศฮอลแลนด์ถูกออกแบบ ในลักษณะครึ่งวงแหวนซ้อนกันสองชั้น โดยชั้นบนเป็นส่วนสำ�หรับคนเดินเท้าใช้ในการสัญจรข้ามลำ�คลองขณะที่ ชั้นล่างเป็นเนินลาดชันมีความยาว 100 เมตรสำ�หรับให้นักขี่จักรยานใช้ สะพานดังกล่าวถ่ายทอดถึงแนวคิด ทางศิลปะได้เป็นอย่างดีด้วยเงาของสะพานรูปครึ่งวงกลมที่สะท้อนบนผืนน้ำ�ก่อให้เกิดเป็นรูปวงกลมคล้ายกับ รางของรถไฟเหาะตีลังกาอย่างสวยงาม n exta rch itects . com
สะพานวงแหวน
พ จ น า นุ ก ร ม ย า น ย น ต์
คำ�นาม; คำ�ศัพท์ที่หมายถึงระบบเรียกฉุกเฉิน ที่นำ�เสนอโดยเมอร์เซเดส-เบนซ์ พร้อมระบบมัลติมีเดีย Comand Online ในกรณีที่เกิดการชนปะทะอย่างรุนแรง ระบบจะถ่ายทอดพิกัด GPS ของตัวรถไปยังศูนย์ให้บริการ ฉุกเฉินโดยอัตโนมัติ บริการนี้พร้อมให้บริการใน 19 ประเทศ ในทวีปยุโรปตั้งแต่ต้นปี 2013 นี้เป็นต้นไป e|Call,
น วั ต ก ร ร ม
การแจ้งเตือนบนท้องถนน ศิ ล ปิ น ที่ เ ชี่ ย วชาญด้ า นแสง
Daan Roosegaarde เป็นผู้รับผิดชอบ ในนวัตกรรมที่เป็นแนวคิดใหม่ชื่อ Smart Highway นวัตกรรมนี้เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ ใช้สัญญาณบนพื้นถนนโดยใช้สัญญาณไฟที่ ไวต่อแสงซึ่งแสงสว่างในเวลากลางวันจะถูกดักเก็บ ไว้และเปล่งแสงออกมาในเวลากลางคืนได้เป็นระยะ เวลายาวนานถึง 10 ชั่วโมง การใช้สีพิเศษให้ความ มั่นใจว่าสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น สัญลักษณ์เกล็ด หิมะจะถูกท�ำให้สว่างขึ้นเพื่อเตือนให้ผู้ขับขี่ทราบถึง อันตรายที่อาจเกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิลดลงใกล้ถึง จุดเยือกแข็ง studioroosegaarde . net 13
25°
6'
12''
N,
80°
26'
24''
W
florida
Key Largo
Key west
ถ้ า คุ ณ ชื่ น ชอบ กับการขับรถยนต์ไปบนถนนที่สองข้างทางอยู่คนละฝั่งมหาสมุทร
จาก Key Largo ถึ ง Key West ระยะทาง 157 กิโลเมตร ระยะเวลาการเดิ น ทาง 2 ชั่วโมง สะพานที่ ย าวที่ สุ ด Seven Mile Bridge (11 กิโลเมตร)
a p p D ate
ดาวน์โหลดเพื่อนักเดินทาง ส� ำ หรั บ โปรแกรม P R I N T S Y ช่วยให้คุณสามารถส่งภาพ โปสการ์ดจริงได้จากสมาร์ทโฟนของคุณ ด้วยวิธีการง่าย ๆ เลือกภาพที่ต้องการ เขียนข้อความและจัดส่งภาพโปสการ์ด ซึ่งจะส่งถึงจุดหมายปลายทางในเวลาสองวันถึงสองอาทิตย์ (ขึ้นอยู่กับจุดหมายปลายทาง)
ADAC
iSayHello:
แผนที่: วางแผน เส้นทางรวมถึง ข้อมูลพิเศษ ส�ำหรับผู้ขับ รถยนต์และ คนเดินทาง
พจนานุกรม 10 ภาษาพร้อม สำ�นวนการ ใช้ภาษาอย่าง ง่ายๆ สำ�หรับ นักเดินทาง
14
Merian scout now!: แนะนำ�
เคล็ดลับในการ เดินทางโดย ขึ้นอยู่กับเวลา และความสนใจ ของคุณ
ขอแนะน�ำให้คุณลองใช้เส้นทาง US Highway 1 จาก Key Largo ทางตอนใต้ของฟลอริดา ไปยัง Key West เพราะทางด้านซ้ายมือของถนนสายนี้เป็นมหาสมุทรแอตแลนติคขณะที่ ทางด้านของผู้โดยสารจะเห็นทิวทัศน์ของอ่าวเม็กซิโก เป็นเส้นทางไฮเวย์ที่พาดผ่าน Florida Keys เชื่อมโยงเกาะต่าง ๆ มากกว่า 200 แห่งด้วยสะพานที่มากถึง 42 สะพาน ซึ่งช่วงเวลาที่ดี ที่สุดส�ำหรับการขับรถบนเส้นทางดังกล่าวควรจะเป็นในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น ขณะที่ในช่วงเวลา บ่ายเป็นเวลาที่รถโรงเรียนจะจอดส่งเด็กนักเรียนที่อยู่บนเกาะต่าง ๆ กลับบ้านซึ่งอาจท�ำให้คุณ พลาดช่วงเวลาแห่งความประทับใจ fl a - k eys . com
9.8
ล้าน
หุ ่ น ยนต์ ส� ำ หรั บ ใช้ ใ นครั ว เรื อ น จะถูกน�ำออก จ�ำหน่ายในปี 2014 โดยมีหน้าที่ในการดูดฝุ่น ปัดฝุ่น และ ท�ำความสะอาดทั่วไป โดยที่หุ่นยนต์ดังกล่าวจะแตกต่างไปจาก เครื่องยนต์ชนิดอื่น ๆ ที่สามารถแสดงอารมณ์ได้สองอารมณ์ สองในสามของเจ้าของที่ซื้อจากผู้ผลิตที่ชื่อ Roomba มีการตั้งชื่อให้ผู้ช่วยประจ�ำบ้านของพวกเขาเรียบร้อยแล้ว ปัจจุบันหุ่นยนต์ที่ให้บริการทั้งหมด 40% ถูกใช้ทางการทหาร ตั้งแต่หุ่นยนต์นกขนาดเท่าฝ่ามือที่ใช้ในการตรวจการณ์ไปจน ถึงหุ่นยนต์เครื่องบินไร้คนขับ หนึ่งในหุ่นยนต์ขนาดเล็กที่สุด เป็นที่รู้จักกันในชื่อ nanobots มีขนาดเล็กเท่าเม็ดเลือดและ สารเคมีถูกออกแบบมาช่วยในการค้นหาและบ�ำบัดรักษา เซลล์มะเร็ง
c h e c k - i n
ใ น รู ป แ บ บ ข อ ง เ สี ย ง
Sutton
ในนวนิ ย ายของ J.R. MOEHRINGER
อดีตโจรปล้นธนาคาร Willie Sutton พานักข่าวสอง คนไปรอบนิวยอร์คและบอกเล่าให้พวกเขาฟังเกี่ยวกับ ประสบการณ์ในชีวิตของเขา ในช่วงเวลากว่า 40 ปี Sutton ปล้นธนาคารมาแล้วมากกว่า 100 แห่ง หลบหนีออกจากที่คุมขังที่มีระบบรักษาความปลอดภัย เข้มงวดมากที่สุดได้ถึง 3 ครั้ง ส่วนมากผู้คนทั่วไปจะ เปรียบเขาเหมือนกับโรบินฮู้ดที่ปล้นทรัพย์สินจากคนรวย มาแจกคนจน และจากการที่เขาไม่เคยใช้อาวุธทำ�ร้ายใคร นวนิยายเรื่องเยี่ยมที่เป็นที่สนใจของนักอ่านจำ�นวนมากนี้ เป็นการผสมผสานเรื่องจริงและบันเทิงคดีอย่างน่าสนใจ
photos: DDP images; Rann Chandric/eyevine; Krystle Wright/Caters News; james duncan davidson/ted
a m a zon . com
“ บ่อยครั้งที่แรงบันดาลใจ และความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมาจาก ภายนอกวิสัยทัศน์ส่วนตัวของคุณ นั่นเป็นเหตุผลว่าท�ำไมไม่ว่าจะเป็น ที่ใดที่มีความเป็นไปได้ คุณต้อง ฟังคนอื่นที่อยู่นอกเหนืออาชีพ การงานของคุณ” Chris Anderson ผู ้ ดู แ ล TED TALKS
ค รั้ ง ห นึ่ ง ใ น ชี วิ ต
1
2
3
กระโดดร่มในชุดเสื้อผ้าติดปีก
มั น ท� ำ งานอย่ า งไร? ชุดเสื้อและกางเกงที่เย็บติดกัน มีโครงสร้างที่ยึดติดระหว่างช่วงขา กับใต้แขนเพื่อช่วยในการพยุงตัวให้ ลอยในอากาศท�ำให้ผู้โดดร่ม สามารถลอยล่องไปในอากาศได้ แทนที่จะตกลงมาอย่างรวดเร็ว อะไรคื อ สิ่ ง ที่ จ� ำ เป็ น ? คุณต้องผ่านการฝึกการโดดร่ม แบบดิ่งพสุธาอย่างน้อย 150 ครั้ง ในช่วงเวลา 18 เดือนก่อนที่จะได้ รับอนุญาตให้มาสนุกกับกีฬา สุดขั้วแบบนี้ สามารถเรี ย นได้ จ ากที่ ไ หน? คุณสามารถหาครูฝึกได้ที่ phoenix-fly.com หรือ สมัครเข้าหลักสูตรมนุษย์นกที่ Freefall University Spain ที่ freefalluni.co.uk 15
ของจริงและของปลอม ยากที่ จ ะเชื่ อ ว่ า ยนตรกรรมเพือ่ การศึกษา F 400 Carving ถูกน�ำไปเปิดตัวเป็นครัง้ แรก ที่กรุงโตเกียวในปี ค.ศ. 2001 นวัตกรรมต้นแบบคันนี้มีล้อด้านนอกที่เอียงท�ำมุม 20 องศา เมื่อเข้าโค้ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มเสถียรภาพการทรงตัวและการยึดเกาะถนนโดยตรง แล้วภาพของ รถยนต์เพื่อการค้นคว้าวิจัยสองรูปนี้ รูปไหนเป็นของจริง?
กระจกมองข้าง มือจับเปิดประตูและปลายท่อไอเสีย
ภาพบนมี จุ ด แตกต่ า ง จากภาพล่างอยู่ 4 แห่ง: โรลบาร์หรือโครงนิรภัยหายไปหนึ่งจุดเช่นเดียวกับ
เซ็นเซอร์
189 3.4
UV wavelength spectrum
m
336 แรงหมุนของมอเตอร์ kw
กล้องดิจิตอลใหญ่ที่สุดในโลก ที่ จ ะตั้ ง ตระหง่ า น อยู่บนยอดของ Cerro Pachón ในประเทศชิลี คือสิ่งก่อสร้างที่จะท�ำให้สวรรค์เป็นจริง
Large Synoptic Survey Telescope (LSST) ถูกออกแบบมาเพื่อเก็บภาพท้องฟ้าในยามค�่ำคืน ล�ำพังตัวกล้อง มีขนาด 1.6 x 3 เมตร และหนัก 2,800 กิโลกรัม ขณะที่ตัวเทเลสโคปมีกระจกสามชั้นและเส้นผ่านศูนย์กลางของ ช่อง 8.4 เมตร ภารกิจของ LSST คือการท�ำแผนที่ทางช้างเผือกและวัตถุต่างๆ ในระบบสุริยจักรวาล ตรวจสอบซูเปอร์โนวาและค้นหาพลังงานมืดและสสารมืด 16
nm
ผสาน
เป็นเครื่องผสม เสียงหรือมิกซ์เซอร์ที่ไม่ จำ�เป็นต้องใช้แผ่นเสียง สิ่งที่คุณต้องทำ�คือเสียบ เข้ากับ iPad, iPod หรือ iPhone จากนั้น jog-wheel แบบไวต่อ การสัมผัสให้คุณได้มิกซ์ ลูป และสแคร็ชได้ตาม ต้องการ Spin2
photos: Bildstelle (2); daimler ag (2)
350
กระจกชั้นที่สอง
ห้ามพลาด!
360 หน้า
17 มีนาคม 2013
เปิดฤดูกาลแข่งขันปี 2013
เช่นเดียวกับการแข่งขันฤดูกาลที่แล้ว การแข่งขันรถ F1 จะเริ่มต้นสนามแรกที่ Albert Park Circuit ที่มีความยาวรอบ สนาม 5.3 กิโลเมตรใน Melbourne ประเทศออสเตรเลีย
เป็นเหมือนการร่วม เฉลิมฉลองของรถแข่งความเร็วมากกว่าการแข่งขันอย่างเอาจริงเอาจังแต่ดูเหมือน ที่บ่อยครั้งนักแข่งซึ่งนำ�รถแข่งราคาแพงของพวกเขามาวิ่งไปรอบทางวิ่งบนที่ดินจัดสรร ของ Earl of March ใน West Sussex ประเทศอังกฤษจะลืมเลือนจุดมุ่งหมายนี้ไป อัลบั้มภาพนี้ได้เก็บรวบรวมภาพที่ประทับใจจำ�นวนมากซึ่งเกิดขึ้นในช่วง 20 ปีนี้ไว้ เต็มความจุ 360 หน้า shop . goodwood . com T h e G o o d w o o d F e sti v a l o f S p e e d
10 - 14 เมษายน 2013
ความคลาสสิคที่หาชมได้ยาก
หุ ่ น กระบอกความเร็ ว สู ง
ชิ้นส่วนเกือบ 3,200 ชิ้น แขวนห้อยลงมาจากเพดาน อย่างสวยงามเป็นระเบียบ
งาน Techno Classica ใน Essen ในปีนี้เป็นการฉลองครบรอบ 25 ปี ควรค่าแก่การแวะเยี่ยมชมนิทรรศการ ทางประวัติศาสตร์ยานยนต์ครั้งส�ำคัญ
5 พฤษภาคม 2013 เริ่มการแข่งขัน DTM
ชัยชนะ 7 ครั้งในรอบ 11 ปี บันทึก ความส�ำเร็จที่ภาคภูมิใจอย่างยิ่งส�ำหรับ เมอร์เซเดส-เบนซ์ ที่ Hockenheimring ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคมการแข่งขัน ความเร็วทางเรียบรายการ DTM จะเริ่ม แข่งขันสนามแรกที่ Baden-Wurttemberg
16 - 19 พฤษภาคม 2013 การแข่งขัน Mille Miglia
เป็นเวลากว่า 50 ปีแล้วที่ Sir Stirling Moss ขับรถแข่ง SLR ไปและกลับจาก Brescia ถึง Rome ด้วยความเร็วเฉลี่ย 157.65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทั้งรถแข่งและ การแข่งขันได้กลายเป็นต�ำนานมาจนถึง ปัจจุบัน
17 - 20 พฤษภาคม 2013 24 ชั่วโมง
ยานโฮเวอร์คราฟท์ การแสดงผลงาน ของศิลปินชาวดัทช์ Paul Veroude น�ำเสนอความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้มาเยือนงานนิทรรศการ F1
ที่ Mercedes-Benz World ใน Surrey ประเทศอังกฤษ ด้วยชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฮเทคต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นรถแข่ง F1 การเดินทางขึ้นเหนือเพื่อชมการแข่งขัน F1 ที่สนามซิลเวอร์สโตนในวันที่ 30 มิถุนายน 2013 จะได้รับการเติมเต็มอรรถรสมากขึ้น หากมีโอกาสได้แวะชมที่นี่พร้อมชมรถแข่งที่ขับโดย Michael Schumacher ในปี 2010
ไม่มีการแข่งขันใดต้องใช้ความทรหด มากไปกว่าการแข่งขันมาราธอน 24 ชั่วโมง ส�ำหรับนักแข่งที่ต้องแข่งขันไปรอบๆ North Loop ของสนามแข่ง Nürburgring มันเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ ส�ำหรับ แฟนๆ มอเตอร์สปอร์ตนี่คืองานปาร์ตี้ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของปี
มนต์ดำ�
กิโลกรัมต่อ 1 แรงม้า แรงม้ารวม 631 แรงม้า หรือ 464 กิโลวัตต์ เป็นการยากที่จะหาสปอร์ต ซูเปอร์คาร์สมรรถนะสูงอื่นใด มาเทียบเท่า SLS AMG
phOTOS: Photoshot; Daimler Ag
2.45
Coupé Black Series
18
ข้อมูลเทคนิคและความสิ้นเปลืองน�้ำมันเชื้อเพลิงหน้า 74
นักแข่งรุ่นจิ๋ว หัวใจใหญ่ ‘เปาเปา’ เด็กผู้ชายตัวกลมป้อม แก้มยุ้ย ที่พอใส่ชุดแข่งรถโกคาร์ท กีฬาที่เขารักและขยันซ้อมจนได้แชมป์มาหลายสนามแล้ว ต้องบอกว่า ดูเท่ สมาร์ท สมเป็นนักแข่งรุ่นเยาว์ที่ดูน่าสนใจจับตามองมากทีเดียว
เ
48
ราได้พบเด็กชายที่หลงรักกีฬาแข่งรถโกคาร์ทเป็น ชีวิตจิตใจ ด.ช. กิตติชัย จิตบันเทิงพันธ์ หรือ น้องเปาเปา อายุ 11 ปี เรียนอยู่เกรดสี่ โรงเรียน นานาชาติแห่งหนึง่ ทีเ่ ปาเปาบอกว่า “เรียน 3 ภาษา เลยครับ ไทย จีน อังกฤษ” เปาเปาไม่ได้เป็นนักแข่งรุ่นเยาว์ที่ชนะมาแล้ว หลายสนามแข่งเท่านั้น แต่ยังมีความมุ่งมั่นและ ตั้งใจจริง ตั้งแต่หลังจากได้สัมผัสรถในครั้งแรก ก็บอกได้ว่า ชีวิตของเปาเปาก็เปลี่ยนไป... เปาเปาบอกถึงเหตุผลทีเ่ ริม่ มาขับรถโกคาร์ทว่า “ตอนเด็ ก ก็ ช อบเล่ น รถเล่ น ๆ แล้ ว พอวั น หนึ่ ง ได้ไปเห็นรถ (โกคาร์ท) จริงๆ ลองขับดูแล้วก็ชอบ และเจ้าของร้านบอกว่าถ้าชอบก็มาซ้อมขับและไป แข่ ง ได้ ก็เลยเป็น ตัว แทนประเทศไทย เริ่ม ซ้ อม แล้วไปแข่ง จนได้แชมป์มาครับ...”
รถโกคาร์ ท รุ่นเล็กส�ำหรับ เด็กนักแข่ง
เรื่ อ ง ฬี ย ากร เจตนานุ ศ าสน์ ภาพ พี ร เชษฐ์ นิ่ ว บุ ต ร
CH A R A C T E R
เ ปาเ ปาลงส นา ม ด้วยความมุ่งมั่น ทุกครั้งของการแข่งขัน
เด็กชายเล่าถึงจุดเริ่มต้นในการได้ขับโกคาร์ท ครั้งแรก ตอนอายุ 10 ขวบ จากนั้นก็ไปสนามซ้อม แทบทุกอาทิตย์ ลงแข่งมาแล้วหลายสนาม ทัง้ ของ TRUE VISION และล่าสุดได้รับการทาบทามมาอยู่ ทีม SIMON ซึ่งจัดว่าเป็นทีมดัง ที่มากด้วยนักแข่ง ฝีมือดี คุณประเสริฐ ซึง่ เป็นคุณพ่อของเปาเปา บอกว่า “เขาชอบไปซ้อมมาก ไม่เคยขาดสักอาทิตย์ เขาไม่ ชอบไปเดินห้าง หรือไปที่อื่น หลังจากได้ลงสนาม แล้วก็จะไปแต่ที่สนามซ้อมแข่งรถ ไม่ว่าสระบุรี หรือพัทยา” คุณพ่อเปาเปาบอกอีกว่า ไปซ้อมแต่ละครั้งใช้ เงิ น เป็ น หมื่ น ค่ า ชุ ด ของเปาเปา ก็ ห ลายหมื่ น ส�ำหรับหมวกกันน็อกที่ต้องแข็งแรงและปลอดภัย นั่นก็ราวหกหมื่น รวมทั้งการไปแข่งต่างประเทศ แต่ละครั้งใช้เงินเป็นหลักแสน...แต่เพื่อให้ลูกได้ท�ำ ในสิ่งที่รกั ทั้งคุณพ่อคุณแม่ก็เต็มใจสนับสนุน แต่ ไม่เคยบังคับว่าต้องไป คอยเบรกด้วยซ�้ำว่าหยุด บ้างก็ได้ เปาเปาเล่าบรรยากาศตอนซ้อมให้ฟงั ว่า “ตอน ซ้อมเหมือนมีคนมาซ้อมน้อย แต่ตอนแข่งมาเยอะ...” แม้จะเป็นนักแข่งขยันซ้อมกว่าใครก็ใช่จะไม่มี อุปสรรค แต่อปุ สรรคของเปาเปาไม่ใช่ฝมี อื แต่คอื ... “มีครัง้ หนึง่ ตอนซ้อม เรารู้สกึ เสียเปรียบเพราะ ว่าตัวหนัก (ยิ้ม) ออกสตาร์ตแล้วอยู่ที่สอง เรา ออกตัวได้ช้า คนอื่นเขาไปแล้ว ต้องพยามไล่ๆ ให้ทนั น�้ำหนักเกินอยู่แปดกิโล ตอนนีเ้ ลยอยากลด น�ำ้ หนักให้ได้ เพราะถ้าถึงรุน่ ใหญ่แล้วไม่ลดจะล�ำบาก “ขับยากที่สุดคือตอนฝนตก ตอนแรกก็กลัว แต่พอได้ซ้อมบ่อยๆ ก็ไม่กลัว เพราะถ้าถนนลืน่ มัน เลี้ยวไม่เข้า ห้ามเหยียบเบรกแรงด้วย ต้องค่อยๆ ขับช้าๆ แต่ขับช้ามากก็ไม่ได้ บางทีคันข้างหลังเข้า มาชน...” เปาเปาบอกว่าการขับรถโกคาร์ทต้องใช้แรงเยอะ แต่ก็ท�ำให้ได้ใช้สมองในการคิดและสนุกด้วย
บร ร ย ากาศ ขณะซ้อมเพื่อความพร้อมในสนามจริง
> “สนุกตรง ตอนที่เรา จะแซง เหมือนกับจะชน แต่เราทำ�ให้มันไม่ชน ถ้ารถข้างหน้าช้า แล้วเราฉีกออก แซงไปแซงมาได้โดย ไม่ชน เราแซงไป เขาแซงมา เหมือนเล่น ด้วยกัน สนุกดี”
ด.ช. กิตติชัย จิตบันเทิงพันธ์
“สนุกตรงตอนที่เราจะแซง เหมือนกับจะชน แต่เราท�ำให้มันไม่ชน ถ้ารถข้างหน้าช้า แล้วเรา ฉีกออก แซงไปแซงมาได้โดยไม่ชน เราแซงไป เขาแซงมา เหมือนเล่นด้วยกัน สนุกดี” เปาเปาเพิ่งขับโกคาร์ทมาได้ไม่นาน แต่ชนะ ได้ถ้วยรางวัลมาหลายใบ ทั้งสนามแข่งที่พัทยา และสระบุรี เจ้าตัวภูมใิ จกับรางวัลมาก โดยเฉพาะ ได้เป็นตัวแทนไปแข่งที่ประเทศมาเลเซีย “ไปแข่ง ที่มาเลเซียครั้งแรก ได้ที่ 13 จากนักแข่ง 19 คน ดีใจมากครับ ครัง้ หน้าจะพยายามให้ได้ที่ 1” เมือ่ ถามถึงความฝัน เปาเปาตอบพร้อมรอยยิ้มละไม “ผมเขียนไว้ในสมุดว่า อยากได้ท่ี 1 ของโลก” ตอนนี้เด็กชายตัวน้อยก�ำลังไล่ตามความฝัน อย่างมุ่งมั่น “ตั้งใจจะลดน�้ำหนัก ด้วยการไม่กิน ของทอด ของหวาน และน�ำ้ หวาน ออกก�ำลังกาย ด้วยการเล่นเทนนิสกับต่อยมวยบ้าง” ตอนนี้เปาเปาจัดเป็นนักแข่งรุ่นเยาว์น่าจับตา มอง ที่กำ� ลังจะก้าวข้ามจาก CADET B ไป CADET A แต่จุดหมายของนักแข่งโกคาร์ทส่วนใหญ่ที่มัก อยูท่ กี่ ารแข่งรถฟอร์มลู า่ วันนัน้ เปาเปาบอกว่า “ผม ขอแค่ฟอร์มูล่าสามก่อนครับ ฟอร์มูล่าวันอันตราย ตอนนี้ฝันสูงสุดคือได้แชมป์มาเลเซียก็พอ...” เห็นแววตามุ่งมั่นและเปี่ยมความฝันของนัก แข่งวัยเยาว์คนนีแ้ ล้ว คงต้องส่งก�ำลังใจให้เปาเปา ได้ท�ำฝันของเขาให้เป็นจริงในเร็ววัน 49
dress escada _pumps dolce&gabbana
20
อ่ อ นโยนเหมื อ นเจ้ า แมวใหญ่ เร้าใจไปกับรูปทรงเพรียวลม 4 ประตูคูเป้ใหม่จาก
เรื่ อ ง
Christof Vie weg
ภาพ A n at o l Ko t t e
d r i v e
Wild
thing
เมอร์เซเดส-เบนซ์ ที่มาพร้อมกับแนวคิดใหม่ของการออกแบบ
21
มั
นเป็นการมาพบกันที่หลีกเลี่ยงไม่ได้โดยแท้จริง ฤดูร้อนปีที่แล้ว CLA ยังคงเป็นหนึ่งในความลับ สุ ด ยอดที่ เ มอร์ เ ซเดส-เบนซ์ ภาพที่ เ กิ ด ขึ้ น ใน จินตนาการจะต้องถูกเก็บแยกไว้ตา่ งหาก ด้านหลัง ประตูที่ถูกปิดล็อคอย่างแน่นหนา แต่ในความเป็น จริงยนตรกรรมต้นแบบถูกซุกซ่อนไว้ด้านหลังของ ห้องโถงขนาดมหึมา ด้วยการช�ำเลืองมองเพียงแวบ เดียวสัมผัสได้ถึงการส่งประกายแวววาวและท่าที ที่หมอบซุ่มอยู่เหมือนกับสัตว์ล่าเนื้อก่อนที่จะจาก มาอย่างอาลัยอาวรณ์พร้อมกับความปรารถนา อย่างแรงกล้าที่จะได้พบเจอมันอีกสักครั้งกับช่วง เวลาที่มากขึ้น หลายเดือนผ่านไป ผมได้พูดคุยกับ Gorden Wagener ถึงเรือ่ งทีผ่ มพบโดยบังเอิญ เขารับฟังด้วย ความขบขันในที่สุดเขายอมรับกับผมว่า “โอเค เราก�ำลังท�ำงานของเราอยู่” หัวหน้าทีมออกแบบ ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ พูดด้วยโทนเสียงที่แสดง ถึงความพึงพอใจ “นั่นเป็นรูปแบบของดีไซน์แบบ คอมแพคท์ที่ควรจะเป็น พลังที่ท� ำให้เกิดความ หลงใหล การสร้างความฝันให้กับผู้คน การสร้าง รถยนต์ของเราให้เป็นที่ชื่นชอบ ไม่เพียงแค่การ พบกันครั้งแรกแต่จะท�ำให้เกิดความต้องการที่จะ ออกจากบ้านในทุกๆ วันด้วย” ครั้งต่อไปที่ผมได้พบกับ CLA ผมสามารถที่จะ ใช้เวลากับมันได้อย่างเต็มที่ กระจังหน้าพร้อม สัญลักษณ์ดาวสามแฉกขนาดใหญ่ที่ได้รับการ เสริมให้โดดเด่นขึน้ ด้วยกรอบโครเมียมส่งประกาย แวววาวคล้ายอัญมณีทยี่ งั ไม่ผา่ นการเจียระไนหรือ ไฟหน้า LED ที่เปล่งแสงไฟสีขาว-เหลือง เหล่านี้ เป็ น ความโดดเด่ น ที่ เ ราคุ ้ น เคยกั น บ้ า งแล้ ว ใน A-Class ใหม่
เฉพาะตัวเสริมด้วยความดึงดูดใจทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ เฉพาะของสัตว์ที่แสดงออกมา เมอร์เซเดส-เบนซ์ เผยให้เห็นทิศทางใหม่นี้ ย้อนหลังไปตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 เมื่อเปิดตัวโมเดล ใหม่ที่ผสมผสานความสวยงามในสไตล์คูเป้ด้วย ความสะดวกและประโยชน์ ใ นการใช้ ง านของ รถยนต์แบบซีดาน CLS-Class ทีเ่ ป็นต้นแบบส�ำหรับ รถยนต์คลาสใหม่ที่มาพร้อมกับความหรูหราและ ความแตกต่างเฉพาะตัว ปัจจุบนั เมอร์เซเดส-เบนซ์ ได้รงั สรรค์จติ วิญญาณ แบบเดียวกันในรถยนต์แบบคอมแพคท์ รถยนต์ แบบคูเป้ใหม่ที่แสดงออกถึงแนวคิดการออกแบบ ใหม่ลา่ สุดมากกว่าทีไ่ ด้พบเห็นมาแล้วใน CLS หรือ A-Class อย่างชัดเจน “ก่อนหน้านี้การออกแบบ รถยนต์ของเราแสดงถึงคุณลักษณะพิเศษ >
ความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของ ฝากระโปรงหน้าพร้อมโป่งนูนแบบลอนคูเ่ น้นย�ำ้ ให้ เห็นว่านีค่ อื ความแปลกใหม่เป็นบางสิง่ บางอย่างที่ พิเ ศษอย่ า งแท้ จ ริง ยนตรกรรมคัน นี้อ าจมีก าร ตกทอดดีเอ็นเอของความเป็นรถยนต์คอมแพคท์ คลาสรุ่นใหม่แต่กม็ คี วามโดดเด่นทีเ่ ป็นเอกลักษณ์ เฉพาะตัว มากมายอย่ า งไม่ ต ้ อ งสงสัย Gorden Wagener พูดถึงความงดงามและพลังในการขับ เคลือ่ น วัฒนธรรมและความก้าวหน้า อารมณ์และ การไวต่อความรู้สึก คุณลักษณะที่หลากหลาย เผชิญหน้ากับมัน อย่าเพิ่งรวมทั้งหมดเป็นหนึ่ง เดียวกัน ในรถยนต์คันนี้ทุกส่วนแสดงถึงลักษณะ
22
โดดเด่ น
ไม่ใช่ใบหน้าที่คุณจะลืมเลือนไปในฝูงชน การล้อมกรอบกระจังหน้าด้วยโครเมียม ส่องแสงแวววาวดั่งอัญมณี
DRESS WITH SILK SCARF: Escada
หยดน�้ำ-สไตล์ใหม่ในการออกแบบ
dr i v e
พลั ง
รูปทรงลิ่มที่เป็นจุดสนใจด้านหน้าหายไป ด้านหลังเป็นศูนย์รวมความสนใจใหม่
รวมเป็ น หนึ่ ง เดี ย ว
ขอบล้อที่แผ่กระจายพลังในการขับเคลื่อน พร้อมสัญลักษณ์ดาวสามแฉกที่ดุมล้อ
23
คิ้ ว เจ้ า เสน่ ห ์
ด้ ว ยรู ป ทรงลิ่ ม ที่ สื่ อ ถึ ง พลั ง ในการขั บ เคลื่ อ นไป เบือ้ งหน้า ณ เวลานีแ้ นวเส้นสายรอบตัวรถทัง้ หมด ลื่นไหลไปด้านหลังพร้อมพลังในการขับเคลื่อน” Wagener อธิบายอย่างคร่าวๆ ถึงโครงสร้างภายนอก ที่เรียกว่ารูปทรงหยดน�้ำพร้อมกับการวาดมือไป ในอากาศ คุณลักษณะที่สำ� คัญของสไตล์ใหม่คือ แนวเส้นที่ยืดขยายจากด้านหน้าไปยังประตูหลัง การท�ำมุมโค้งอย่างสวยงามไปยังล้อคูห่ ลัง คูก่ นั กับ แนวเส้นที่เรียกว่าเส้นสมดุลซึ่งก�ำหนดแบ่งส่วน ประตูตอนล่างอย่างชัดเจนซึง่ ท�ำมุมโค้งขึน้ ด้านบน อย่างนุ่มนวลจนถึงต�ำแหน่งของเพลาหลัง “ผลที่ เกิดขึน้ คือจุดรวมความสนใจของรูปทรงแบบหยดน�ำ้ ตาทัง้ คูข่ องคุณถูกดึงดูดให้เพ่งความสนใจจากด้าน หน้าของตัวรถไปยังด้านหลัง ทีซ่ งึ่ เป็นจุดรวมความ สนใจใหม่ของเรา” ความได้สดั ส่วนของตัวรถส่งให้ พลังในการขับเคลือ่ นแผ่ซา่ นออกมาให้รบั รูไ้ ด้อย่าง ชัดเจนด้วยแนวโค้งของฝากระโปรง ความยาวของ ช่วงล้อ ช่วงโอเวอร์แฮงค์ที่สั้นและห้องโดยสาร ทีเ่ ยือ้ งไปด้านหลังซึง่ ทัง้ หมดช่วยเสริมให้เกิดความ น่าสนใจของโครงร่างภายนอกแบบใหม่ จากภาพ เพอร์สเปคทีฟนี้มันเป็นเสมือนศิลปะยนตรกรรม ชิน้ เยีย่ ม การผสมผสานโครงสร้างทีม่ คี วามโค้งของ พื้ น ผิ ว กั บ ความโค้ ง อย่ า งนุ ่ ม นวลและแนวเส้ น ที่สวยงามที่น�ำมาซึ่งการแสดงออกรูปแบบใหม่ที่ เร้าอารมณ์อย่างเฉียบพลัน
แอโร่ไดนามิคส์ที่ได้รับการบันทึก เป็นสถิติโลก
หัวหน้าทีมออกแบบของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ให้ ค�ำมัน่ สัญญาว่ารถยนต์ในอนาคตจะมีความล�ำ้ สมัย อารมณ์และเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้นโดยมี
24
ท้ า ทาย
CLA ผสมผสานรูปแบบสปอร์ตของรถยนต์แบบคูเป้ ด้วยประสิทธิภาพของรถยนต์แบบซีดาน
evening dress: Rena Lange; styling lynn schmidt/schierke.com; hair and make-up alexander hofmann/artistgroupmierau.com using m.a.c; Model souhela/MD management
นั่นเพียงแค่ไฟหน้า มันส่องแสงเจิดจ้าเหมือนกับ จะท้าทายดวงตาที่วาวโรจน์ของเสือด�ำ
dr i v e
คอมแพคท์คูเป้น้เี ป็นต้นแบบ “ความมีเสน่ห์เร้าใจ ชวนสัมผัสจะรายล้อมอยู่รอบรถยนต์ทั้งหมดของ เราเช่นเดียวกับความตื่นเต้นเร้าใจโดยธรรมชาติ ที่ จ ะถู ก ยกระดั บ ให้ สู ง ขึ้ น ด้ ว ยความสวยงาม” CLA เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น รู ป ทรงหยดน�้ ำ เป็ น แนวคิ ด หลั ก เบื้ อ งหลั ง สไตล์การออกแบบใหม่ นั่นเป็นการเตรียมพร้อม ส�ำหรับ Teddy Woll ที่ดูแลในส่วนของทีมงาน พัฒนาด้านแอโร่ไดนามิค มันเป็นรูปแบบที่ยอด เยี่ยม “รูปทรงพื้นฐานของ CLA เกือบจะเป็นทรง หยดน�ำ้ ทีส่ มบูรณ์แบบ” เขาอธิบาย “ด้านหน้าของ ตัวรถมีทรงกลมเกือบสมบูรณ์แบบ กระแสลมไหล ผ่านด้านข้างและด้านใต้ตัวรถโดยปราศจากผล กระทบทีล่ อ้ แนวโค้งของหลังคาและความลาดเอียง อย่างนุ่มนวลกับด้านท้ายที่ยืดยาวขึ้นทั้งหมดช่วย ให้กระแสลมไหลผ่านด้านท้ายได้อย่างสะดวกและ มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการออกแบบที่ดีช่วยให้งาน ของเราสะดวกสมบูรณ์มากขึ้น” การท�ำงานนีเ้ ริม่ ต้นด้วยคอมพิวเตอร์เพราะว่า วิศวกรด้านแอโร่ไดนามิคส์สามารถที่จะวิเคราะห์ และปรับปรุงแต่ละรายละเอียดได้ด้วยการคลิกที่ เม้าส์จนกระทั่งได้การไหลของอากาศที่เหมาะสม ที่ สุ ด มั น เป็ น ภารกิ จ ของการเข็ น ครกขึ้ น ภู เ ขา ระหว่างขัน้ ตอนของการพัฒนา ด้านแอโร่ไดนามิคส์ ของรถยนต์โมเดลใหม่ ทีมงานจดบันทึกสถิติช่วง ระยะเวลาการด�ำเนินการมากกว่าหนึ่งใน 4 ล้าน ชัว่ โมง “การลดค่าแรงเสียดทานอากาศด้วยชิน้ ส่วน กว่าหนึ่งพันชิ้นเป็นสงครามที่แท้จริง” Teddy Woll ยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้น “นั่นเป็นเหตุผลว่าท�ำไมเราจึง จ�ำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงเป็นพิเศษ ผลของการจ�ำลองการไหลของอากาศคือ การ ทดสอบในอุโมงค์ลมที่ซึ่งเราสามารถปรับปรุงให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” รูปทรงพื้นฐานที่ใกล้เสร็จสมบูรณ์ของ CLA หมายถึงว่าผูเ้ ชีย่ วชาญด้านแอโร่ไดนามิคส์สามารถ ใส่ใจในรายละเอียดของงานชิน้ ส่วนตัวถังได้ตงั้ แต่ ขัน้ ตอนเริม่ ต้นของกระบวนการพัฒนา เห็นได้อย่าง ชัดเจนจากสปอยเลอร์ซึ่งถูกรวมเป็นชิ้นเดียวกับ ฝากระโปรงท้ายอย่างงดงาม ชายปีกหลังของชุด ไฟท้ า ยและกั น ชน การใช้ ค อมพิ ว เตอร์ จ� ำ ลอง สถานการณ์ทำ� ให้ทมี วิศวกรค้นพบวิธกี ารปรับปรุง การไหลของอากาศด้านหน้าของล้อให้เป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลของการใช้เวลาหลาย เดือนกับความใส่ใจในรายละเอียดออกมาในรูป ของสปอยเลอร์ขนาดเล็กรูปทรงคล้ายใบเลื่อย
งามจั บ ใจ
รายละเอียดการตกแต่งภายใน มีที่มาจากการออกแบบค็อกพิท ของอากาศยาน
i CLA 220 CDI
เครื่องยนต์/แรงม้า เครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ 2.2 ลิตร 125 กิโลวัตต์ที่ 3,400 - 4,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 350 นิวตันเมตรที่ 1,400 - 3,400 รอบต่อนาที
ระบบส่งก�ำลัง เกียร์อัตโนมัติคลัทช์คู่เดินหน้า 7 จังหวะ 7G-DCT
แอโร่ไดนามิคส์ รถยนต์ที่มีค่าแรงเสียดทานอากาศต�่ำที่สุด เพียง 0.22 เท่านั้น
ระบบช่วยเหลือการขับขี่ ส่วนหนึ่งของผู้ช่วยอิเล็กทรอนิกส่วนมากได้แก่ ระบบรักษาช่องทางวิ่ง - Active Lane Keeping Assist ระบบช่วยการมองเห็นในจุดอับ สายตา - Active Blind Spot Assist เช่นเดียว กับระบบป้องกันการชนล่วงหน้า - Collision Prevention Assist Plus ซึ่งจะสั่งการให้ เบรกท�ำงานโดยอัตโนมัติที่ความเร็วเกินกว่า 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงถ้าการชนปะทะเป็น สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ mercedes - benz . com
ที่ว างต�ำ แหน่ ง อยู ่ ด ้ า นหน้ า ของล้ อ คู ่ ห น้ า เป็ น ประดิษฐกรรมทีไ่ ด้รบั การจดสิทธิบตั รซึง่ ได้คำ� นวณ ถึงผลที่จะเกิดขึ้นอย่างเที่ยงตรงแม่นย�ำ รอยบาก ในรูปหน้าด้านข้างสปอยเลอร์ท�ำหน้าที่เบี่ยงเบน กระแสลมที่ไหลผ่านล้อหรือใต้ช่องเปิดของซุ้มล้อ ได้เป็นอย่างดี “การปรับปรุงอุโมงค์ลอ้ หน้าทีไ่ ม่ยงุ่ ยากซับซ้อน นี้ช่วยลดค่าแรงเสียดทานอากาศได้ถึง 11 จุด” Woll อธิบาย ในภาษาของหลักการแอโร่ไดนามิคส์ “จุ ด ” หมายถึ ง หน่ ว ยที่ มี ค ่ า ถึ ง หนึ่ ง ในพั น ส่ ว น ดังนัน้ 11 จุดจึงเทียบได้เท่ากับการลดค่าแรงเสียด ทานอากาศ 0.011 ซึ่งเป็นผลมาจากช่องเปิดเล็กๆ และสปอยเลอร์ขนาดเล็กในอุโมงค์ล้อ “ถ้าเราลดค่าแรงเสียดทานอากาศของรถยนต์ ลงได้ 50 จุด (0.05) ค่าเฉลี่ยความสิ้นเปลืองน�้ำมัน เชื้อเพลิงที่ความเร็วบนฟรีเวย์ 130 กม./ชม. จะ ลดลง 0.7 ลิตรต่อระยะทาง 100 กิโลเมตร” ในความเป็นจริง CLA ใหม่ยืนยันได้ถึงการ คาดการณ์ของทีมงานใน Sindelfingen รถยนต์ 4 ประตูคูเป้ไม่ได้ให้ความประทับใจกับภาษาการ ออกแบบใหม่เท่านั้น แต่ยังรวมถึงรูปทรงแบบ สปอร์ตตามหลักแอโร่ไดนามิคส์ที่เหนือชั้นกว่า อีกด้วย แรงต้านการไหลต�ำ่ หมายความว่ารถยนต์ คันนี้ได้ท�ำลายสถิติโลกของรถยนต์โปรดักชั่นคาร์ ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นั่นเป็นความกระตือรือร้นอย่างแท้จริง ความ < กระตือรือร้นที่มาจากความงดงาม 25
ภารกิจใต้ทะเลลึก มีการกล่าวถึง กันอย่างมากมายเกี่ยวกับพื้นที่ที่กว้างใหญ่ไพศาลจนหาขอบเขตสิ้นสุด ไม่ได้ของจักรวาล แต่มเี พียงเล็กน้อยที่ให้ความสนใจต่อความลึกล�้ำของห้วงมหาสมุทร “กว่า 95% ของความมหัศจรรย์ภายใต้ท้องมหาสมุทรยังไม่ถูกค้นพบ” Jacques Rougerie สถาปนิกชาวฝรั่งเศสผู้ซึ่งรังสรรค์ออกแบบแนวคิดของ Sea Orbiter กล่าว เรือเดินสมุทรส�ำหรับ การค้นคว้าวิจัยถูกออกแบบมาโดยใช้การไหลของกระแสน�้ำในมหาสมุทรเป็นพลังในการขับเคลื่อน ประดิษฐกรรมทีก่ ้าวล�ำ้ สมัยมีส่วนทีเ่ รียกว่าเป็นหอสังเกตการณ์นำ�้ หนัก 550 ตัน ความสูงเหนือพืน้ น�ำ้ 58 เมตร และมีส่วนที่จมอยู่ใต้น้�ำอีก 31 เมตร มีทั้งหมด 12 ระดับชั้นโดยแบ่งเป็นพื้นที่ส�ำหรับ หลากหลายห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์มัลติมีเดียส�ำหรับการส่งสัญญาณข้อมูลและภาพ พื้นที่พักอาศัยส�ำหรับทีมงานที่ประกอบด้วยทีมนักวิจัย 22 คน ซึ่งจะใช้เวลาในการส�ำรวจค้นคว้า วิจัยเป็นเวลามากกว่า 6 เดือน เพื่อที่จะรวบรวมข้อมูลที่ส�ำคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของ สภาพอากาศ แหล่งอาหารส�ำหรับมนุษยชาติและแหล่งพลังงาน โครงการนี้ได้รับการสนับสนุน จาก European Space Agency (ESA) โดยที่ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการหาเงินทุนสนับสนุน ซึ่งถ้าเป็นไปแผนงานที่วางไว้จะเริ่มต้นออกเดินทางส�ำรวจได้ในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 2014
1 หอสั ง เกตการณ์
ชั้นที่ 12 จากระดับความสูง 16.5 เมตรนักวิจัยจะมีมุมมอง ที่ดีเยี่ยมส�ำหรับการเฝ้าศึกษานก โลมา วาฬและปลาขนาดใหญ่อื่นๆ ที่ชั้นนี้จะได้รับการติดตั้งด้วย อุปกรณ์ทางด้านอุตนุ ยิ มวิทยา ที่ทันสมัยเพื่อสังเกตการณ์และ ศึกษาท้องฟ้าในยามค�่ำคืนด้วย
28
3
2 ห้ อ งปฏิ บั ติ ก าร
( wet l ab)
ชั้นที่ 9 เป็นส่วนของนักด�ำน�้ำพื้นที่นี้ เชื่อมต่อกับทางออกผ่านทางลิฟท์ โดยสาร นอกจากนี้ยังมีห้องปฏิบัติการ พร้อมตู้ปลาส�ำหรับศึกษาค้นคว้าวิจัย สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ ยังมีอัตราส่วนการศึกษาค้นคว้า ความหลากหลายสเปคตรัมของ สัตว์ทะเลขนาดเล็กจ�ำนวนน้อยมาก
ห้ อ งปฏิ บั ติ ก าร
4 ( d ry l a b )
บนชั้นที่ 7 ต่อจากห้องออกก�ำลังกาย เป็นหัวใจทางด้านวิทยาศาสตร์ของ Sea Orbiter ประกอบด้วยห้องปฏิบัติ การหลากหลายสาขาวิชาที่พรั่งพร้อม ด้วยอุปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุดเป็นที่ซึ่ง นักค้นคว้าวิจัยจากทั่วโลกสามารถ ที่จะมาใช้เพื่อให้งานด้านการศึกษา ค้นคว้าวิจัยท้องทะเลและสิ่งมีชีวิตใต้น�้ำ ของพวกเขาให้เสร็จสมบูรณ์
ห้ อ งปรั บ สภาพ แรงดั น ใต้ ผิว น�้ ำ
เช่นเดียวกับห้องพักเหนือระดับ น�้ำทะเล นักส�ำรวจใต้ทะเลจ�ำนวน 8 คนสามารถที่จะปฏิบัติงานอยู่ใน ชั้นที่ 2 นี้ ในพื้นที่ที่จมอยู่ใต้น�้ำซึ่งมี การปรับแรงดันให้เท่ากับแรงดัน ใต้น�้ำโดยที่พวกเขาสามารถออกไป ท�ำงานใต้น�้ำได้ตลอดเวลาโดย ไม่ต้องรอปรับความสมดุลของ แรงดันอากาศ
i n n o v at i o n
1
2
3
4
rendering: Jacques Rougerie
5 ที่ เ ก็ บ ยานใต้ ส มุ ท ร
จุดนี้เป็นที่อยู่ของอุปกรณ์ส�ำหรับ ส�ำรวจน�้ำลึกที่ประกอบด้วย ยานส�ำรวจใต้น�้ำสองที่นั่ง หนึ่งล�ำ และแบบควบคุมด้วย รีโมทคอนโทรลอีกหนึ่งล�ำ แบบแรกสามารถด�ำได้ถึงระดับ ความลึกที่ 1,000 เมตร ขณะที่ อีกล�ำหนึ่งสามารถด�ำได้ถึง ระดับความลึกที่ 6,000 เมตร
29
ดาษดา อาณาจักรแห่งดอกไม้ ดอกไม้เพียบความสุขพร้อม
แกลเลอรี่ดอกไม้ที่นี่คงจะเป็นแกลเลอรี่แห่งแรก
ที่แสดงศิลปะการจัดดอกไม้โดยเฉพาะ วันนี้...สำ�หรับคนที่จะไปเที่ยวเขาใหญ่โดยขึ้นทางฝั่งปราจีนบุรี ขากลับลงมาก็จะพบ ดาษดาแกลเลอรี่ ตั้งเด่นอยู่ทางซ้ายมือ เป็นจุดแวะที่ทำ�ให้ขากลับจากเที่ยวไม่น่าเบื่ออย่างที่เขาว่า “ขาไปเหมือนไก่จะบิน ขามาเหมือนห่า (น) จะกิน” อีกต่อไป
ด
อกไม้สดสีสวยหวานนานาชนิด ออกแบบจัดวาง เป็นบรรยากาศแฟนตาซีชวนฝัน เปลี่ยนเรื่องราว ไปตามกาละ เช่น เป็นเรือ่ งเกีย่ วกับทะเล เป็นปลา เป็นนางเงือก แมงกะพรุน หรือบรรยากาศเกีย่ วกับ ความรักหวานแหววชวนแต่งงาน บางครั้งก็เป็น เรื่องราวเกี่ยวกับสงกรานต์ เทพนิยาย...ชนิดที่เห็น แล้วต้องถ่ายภาพกันไม่หยุด ชืน่ ชอบกันทุกเพศวัย อาคารแกลเลอรี่คือโรงเรือนกระจกโล่ง โถง ปรับอุณหภูมแิ ละความชืน้ ให้ดอกไม้สดชืน่ ทนทาน มีอยู่ 2 แกลเลอรี่ใหญ่ โรงหนึ่งจัดดอกไม้แบบ แฟนตาซี อีกโรงหนึ่งจัดเป็นสไตล์โมเดิร์นดีไซน์ มีมุมเล่นเกมแจกรางวัล และจ�ำหน่ายไม้ประดับ ที่ปลูกบนกิ่งไม้แห้งและกระถางที่ท�ำจากกาบตาล ฝีมือคนสวนของดาษดาเอง เหนื่อยแล้วก็นั่งดื่มน�้ำชา กาแฟ น�้ำผลไม้ที่ La Lalla บรรยากาศลั้ลลาๆ สมชื่อ ไอศกรีมที่นี่ ออกแบบพิเศษโดยนักออกแบบไอศกรีมจาก Icedea ได้แรงบันดาลใจจากดอกไม้ เช่น Phalaenopsis White Choc Rasberry จากกล้วยไม้ ฟาแลนน็อปซิส พันธุ์สีขาวจุดแดง หรือ Hydrengea Mint Bluberry จากดอกไฮเดรนเยียสีฟ้าอมชมพู เป็นต้น ทั้งสวย ทั้งอร่อย
ดร. ปวเรศ บุญตานนท์
32
เรื่ อ ง ผศ. ประเทื อ ง ครองอภิ ร ดี ภาพ ธวั ช ชั ย เลิ ศ จตุ ร ภั ท ร
c h ara c t e r
33
ก้าวแรกที่มาถึงก็ต้อง > แค่ ตะลึงตะลานกับล็อบบี้
ดีไซน์สุดเปรี้ยวท่ามกลาง สวนสวยสระน�้ำ
ร้านของที่ระลึกอยู่บริเวณติดกัน ซื้อดอกไม้ หรื อ ต้ น ไม้ ก ระถางเล็ ก ๆ เช่ น ฟาแลนน็ อ ปซิ ส ดอกนางเอกของทีน่ ี่ สับปะรดสี ต้นพริกติดลูกเล็กๆ สีส้ม เหลือง แดง น่ารัก ซื้อติดมือกลับบ้านหรือ เป็นของฝากที่ถูกใจ ก่อนกลับอย่าลืมเข้าห้องน�้ำ ปวดไม่ปวดก็ควร จะเข้าไปดูให้ได้ เพราะเป็นห้องน�ำ้ สาธารณะทีส่ วย ที่สุดเท่าที่เคยเห็น คุณผู้ชายจะยืนปัสสาวะโดย หันหน้าเข้าหาสระน�้ำกลางสวน ดูโล่งแจ้งเปิดเผย แต่ไม่มีใครเห็น ต้องลองเข้าส้วมห้องหัวมุมที่มี ประตูล็อคแน่นหนา แต่ฝาด้านหนึ่งถูกรื้อออก (อันที่จริงจงใจไม่ให้มีต้ังแต่ต้น) คุณจึงนั่งส้วมอยู่ ริมสระน�้ำในสวน เป็นประสบการณ์ที่ท้าทายน่า ลองจริงๆ
ห้ อ งน�้ ำ
ที่สวยที่สุด
สวนร่ ม
หน้าทางเข้ารีสอร์ท 34
ดาษดารีสอร์ท
แกลเลอรี่ที่เล่ามาทั้งหมดนั้นเป็นเพียงส่วน เล็กๆ ส่วนหนึง่ อยูด่ า้ นหน้าของดาษดารีสอร์ท และ ฟาร์มดอกไม้ส่งออกรายใหญ่ของไทย เจ้าของ ดาษดาคือบริษทั PDP คลังน�้ำมันและผูผ้ ลิตน�ำ้ มัน หล่อลื่นจารบีที่ใหญ่ที่สุดของไทย ธุรกิจน�้ำมัน มาเกี่ยวข้องกับดอกไม้อย่างไรกัน? ดร. ปวเรศ บุญตานนท์ วิศวกรเคมี หัวเรือใหญ่ของ PSP เล่าว่า เริ่มเมื่อ 10 ปีท่แี ล้ว บริษัท PSP ท�ำโครงการปลูก ป่าทีว่ งั น�ำ้ เขียว จึงได้ซอื้ ทีด่ นิ 800 ไร่ผนื นีไ้ ว้ ต่อมา จัดท�ำเป็นศูนย์อบรมบุคลากรด้านความปลอดภัย ในโรงงานและการดับเพลิง ซึ่งเป็นเรื่องส�ำคัญ ส�ำหรับธุรกิจน�้ำมัน ต่อมาบริษัทน�้ำมันอื่นๆ และ บริษทั เพือ่ นๆ ก็มาขอใช้บริการมากขึน้ เลยคิดสร้าง เป็นรีสอร์ทพร้อมศูนย์ประชุมสัมมนาให้เป็นเรื่อง เป็นราวเมื่อ 5 ปีที่แล้วมานี้เอง เมื่อจะท�ำรีสอร์ทก็ ต้องหาจุดเด่นทีแ่ ตกต่าง ตัง้ โจทย์ไว้วา่ จะต้องเกีย่ ว กับการเกษตร ให้สมกับอยู่ปราจีนเมืองเกษตร ความที่ท�ำธุรกิจน�้ำมันต้องไปประเทศฮอลแลนด์ บ่อยๆ ก็เลยได้ความคิดว่าจะท�ำฟาร์มดอกไม้ ใช้ เวลาศึกษาด้วยตนเองอยู่ 2 ปี เริ่มต้นจากดอกไม้ ที่เลี้ยงง่าย ขายง่าย มาลงตัวที่กล้วยไม้ตระกูล
c h ara c t e r
ที่ น่ั ง แบบ Funken Seat
สุดเปรี้ยวที่ล็อบบี้
ความงดงามของ
แกลเลอรี่ดอกไม้
ฟาแลนน็อปซิส โดยน�ำพันธุจ์ ากต่างประเทศทีเ่ หมาะ กับอากาศบ้านเรา อันที่จริงฟาแลนน็อปซิสเป็น ดอกเมืองร้อนแถบบ้านเรานี่แหละ แต่ฝรั่งนักล่า อาณานิคมทัง้ หลายน�ำไปพัฒนาพันธุใ์ ห้กลีบใหญ่ และหนา และกลายเป็นไม้เมืองหนาวไป ป่าบ้าน เราก็มีหลายพันธุ์ เช่น ม้าวิ่ง ม้าบิน เขากวางอ่อน ผีเสื้อชมพู เป็นต้น ขณะนี้ทางดาษดาเริ่มพัฒนา สายพันธุ์ขึ้นเองได้ 6-7 สายพันธุ์แล้ว จะได้เลี้ยง ดูง่ายๆ ในอากาศบ้านเรา จากฟาแลนน็อปซิส ก็ขยายไปปลูกไฮเดรนเยีย เยอบีร่า เบญจมาศ หน้าวัว จากที่ขายทั้งต้น ก็ขยายสู่การตัดดอกขาย ดอกไม้เหล่านี้นอกจาก จะส่งขายเป็นธุรกิจแล้ว ยังได้น�ำมาเพิ่มสีสันให้ ดาษดารีสอร์ทมีจดุ แตกต่างเป็นรีสอร์ทแห่งดอกไม้ หรือ Flower Es’Sense resort ได้อย่างลงตัว จากเนือ้ ที่ 800 ไร่ทมี่ อี ยูแ่ บ่งออกเป็น 3 โซนคือ 200 ไร่เป็นโซนของโรงแรมรีสอร์ท ห้องประชุม สัมมนา และแกลเลอรี่ 100 ไร่เป็นโรงเรือนปลูกและ เนอร์สเซอรี่ของฟาร์มดอกไม้ ที่เหลืออีก 400-500 ไร่ยังไม่ได้พัฒนา แต่จะน�ำต้นไม้ใหญ่มีค่า
La Lalla
ส�ำหรับนั่งลั้ลลา
35
อุโมงค์ ไม้ ไผ่
ห้ อ งนอน
ตกแต่งด้วยลวดลาย ดอกไม้ที่ผนัง
i Dasada Flower Es’Senses Resort
ที่ตั้ง : 179 หมู่ 12 ต.เนินหอม อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี 25000 โทร. : 0 3723 9800
www . dasada - happiness . com
หายาก เช่น เต็ง กฤษณา และรวงผึ้ง ซึ่งก�ำลัง จะสูญพันธุ์ มาปลูกให้เป็นป่า แล้วเอาฟาแลน น็อปซิส คืนสูป่ า่ โดยไปเกาะตามต้นไม้ และได้เกิด เป็นที่เดินชมป่าอันรื่นรมย์ รีสอร์ทมีห้องพักให้เลือกถึง 5 แบบ แล้วแต่ว่า จะมาสัมมนาเป็นกลุ่มเล็กหรือใหญ่ มาพักผ่อน ส่วนตัวกับครอบครัว หรือจะมาฮันนีมูนเป็นคู่ก็ เหมาะมากเป็นพิเศษ มีวิลล่าริมสระ 3 หลัง ก�ำลัง จะมีห้องพักแบบมีสระส่วนตัวเพิ่มขึ้นอีกเร็วๆ นี้ ห้องพักทุกห้องเป็นแบบโมเดิรน์ ตกแต่งด้วยลวดลาย ที่เกี่ยวกับดอกไม้ทั้งภายใน ภายนอก พื้นทางเดิน ผนัง เพดานห้อง ด้วยวัสดุและเทคนิคต่างๆ เป็น โมเสกบ้าง เป็นลวดดัดบ้าง เป็นลายผ้าเย็บปักบ้าง สระว่ายน�้ำก็ดูเด่นด้วยลวดลายของดอกไม้ 36
To sit boom ยามค�่ำ
ศาลาชมวิ ว
บนเนินเทวดา
แค่ ก ้ า วแรกที่ ม าถึ ง ก็ ต ้ อ งตะลึ ง ตะลานกั บ ล็อบบี้ดีไซน์สุดเปรี้ยวท่ามกลางสวนสวยสระน�้ำ เฟอร์นเิ จอร์ทรงแปลกตา ภูมทิ ศั น์รม่ รืน่ ทัว่ โครงการ ออกแบบและดู แ ลโดยภู มิ ส ถาปนิ ก ฝี มื อ เยี่ ย ม ประจ�ำดาษดา คุณธนพล เจตวรัญญู หนึ่งใน ทีมงานออกแบบสวนราชพฤกษ์เชียงใหม่ อาคารประชุมสัมมนาตั้งอยู่กลางสระน�้ำ แบ่ง เป็นหลายห้อง ห้องใหญ่ผนังเป็นกระจกโดยรับวิว เต็มที่ ช่วยสลายความเคร่งเครียดในการประชุม แต่เมื่อต้องการฉายภาพก็มีม่านปรับให้มืดได้ มาพักที่น่ไี ม่ต้องออกไปไหนเลย มีร้านอาหาร ให้เลือกถึง 2 แห่งคือ Mokara เสิร์ฟอาหารเช้าและ อาหารนานาชาติ และ To sit bloom เสิร์ฟอาหาร ไทยและฟิวชั่นสบายๆ และแน่นอน...ต้องมีเมนูที่ เกีย่ วกับดอกไม้ไม่ให้หลุดคอนเซ็ปต์ เช่น ลิน้ จีส่ อด ไส้ชีสกับฟาแลนน็อปซิส เมี่ยงดอกไม้ แกงส้ม บุษบากับปลาสลิดทอด เป็นต้น อิ่มแล้วก็ไปเดินชมแกลเลอรี่ดอกไม้ ชมฟาร์ม ดอกไม้ และยังมีสวนสัตว์เล็กๆ ออกแบบทางเดิน น่ารักให้ชม หรือขึ้นไปบนเนินเทวดา มีศาลาโล่ง เพื่อชมวิวรอบๆ จากมุมสูง จากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง ใครจะเลือกเดินชมภูมิทัศน์เพลินๆ ไปพลาง ออก ก�ำลังกายไปในตัวก็ได้ หรือจะเรียกใช้บริการรถ กอล์ฟพาไปจุดต่างๆ ก็ได้ด่งั ใจ ยังไม่หยุดอยูแ่ ค่นี้ ดาษดายังคิดจะเพิม่ กิจกรรม เพื่อความหฤหรรษ์แก่ผู้มาพัก อีกไม่นานจะมีโชว์ ในสระน�้ำยามค�่ำคืน พร้อมม่านน�้ำพุ แสงสีเสียง อลังการตืน่ ตาตืน่ ใจ เหมือนยกโชว์จาก Las Vegas มาให้ดูเลยทีเดียว
c art o o n
38
ภาพเหนือจริง
ล�้ ำ สมั ย Mehdi Chouakri ค้าขายงานประติมากรรมและวัตถุร่วมสมัย เราเชื้อเชิญเจ้าของแกลเลอรี่ผู้นี้ ให้ร่วมเดินทางไปใช้เวลา 1 วันในกรุงเบอร์ลินกับรถยนต์นั่งแบบซีดานใหม่ล่าสุดจากเมอร์เซเดส-เบนซ์ ที่อาจจะเป็นรถยนต์ที่ชาญฉลาดที่สุดเท่าที่เคยมีการผลิตมา
40
เรื่ อ ง T o b i a s M o o r s t e dt ภาพ Ma r c T r au t m a n n
dr d r i v e
41
สั ม ผั ส ความสมบู ร ณ์ แ บบ
Mehdi Chouakri มีความรัก ในรูปแบบที่หลากหลาย อพาร์ทเมนต์ของเขาโดดเด่น ด้วยการวางเปรียบเทียบกัน ของเฟอร์นิเจอร์ Biedermeier กับโต๊ะของ Eames
ศึกษาเมือง
เมื่อเราเชื้อเชิญเขาให้มาใช้เวลา 1 วันกับ รถยนต์นั่งแบบซีดานใหม่ล่าสุด E 300 BlueTec ในกรุ ง Berlin เขาตอบรั บ ค� ำ เชิ ญ ของเราโดย ปราศจากความลั ง เล Chouakri ออกจาก Charlottenburg ไปยังแกลเลอรี่ของเขาใน BerlinMitte ในเวลา 9 นาฬิกา ความแออัดของถนนใน เมืองเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานประจ�ำวันยามเช้า ของเขาเช่นเดียวกับการอ่านหนังสือพิมพ์ “เมือ่ ผม ขับรถที่นี่” Chouakri อธิบาย “ผมรู้สึกถึงการอยู่ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของสังคมเมือง” เรา มุง่ หน้าไปยัง Tiergarten โดยผ่าน Schloss Bellevue เขามองเห็น Cirque du Soleil อยู่ในเมือง “เป็นวิธี ทีด่ ที สี่ ดุ ทีจ่ ะค้นความจริงว่าเกิดอะไรขึน้ ” Chouakri บอก เขาแตกต่างไปจากผู้ขับรถยนต์ส่วนใหญ่ที่ ไม่ถกู รบกวนด้วยทีต่ งั้ ของอาคารและป้ายบิลบอร์ด ขนาดใหญ่จำ� นวนมาก แต่ให้ความสนใจกับพัฒนาการล่าสุดของเมืองอย่างมาก ส�ำหรับเขาการขับรถ ผ่านตัวเมืองเป็นเหมือนกับการอ่านมันนั่นเอง
มี
42
กิเลส ความหลงใหล ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเกิดขึ้นและ เผาไหม้ ไ ปในช่ ว งเวลาที่ ย าวนานแล้ ว Mehdi Chouakri ยกตัวอย่างให้เห็น เขาจ�ำได้ว่าเมือ่ เขายัง เด็กอายุ 12 ขวบขณะอยู่ใน Algiers เขาพัฒนา ความสนใจของเขาไปในเรื่องของดีไซน์ เขานับถือ งานของ Philippe Starck และพยายามทีจ่ ะท�ำความ เข้าใจกับหลักการออกแบบยนตรกรรม “เมอร์เซ เดส SL Coupéé ยุคทศวรรษที่ 70 เป็นความฝันของ ผม” เขาบอก “ถึงแม้ทุกวันนี้ก็ยังคงให้ความรู้สกึ ถึงความเป็นราชาบนท้องถนน” ความฝันของ Chouakri คื อ ต้ อ งการที่ จ ะเรี ย นรู ้ ก ารออกแบบ รถยนต์ ต่อมาเขาได้ไปศึกษาต่อที่กรุง Paris ซึ่งที่ นัน่ เขาหมกมุน่ อยูก่ บั แนวคิดใหม่และความสวยงาม ของวัตถุ เขาไม่เคยได้เดินตามความฝันที่จะเป็น นักออกแบบยานยนต์ แต่ได้กลายเป็นเจ้าของ แกลเลอรี่ท่ีประสบความส�ำเร็จอย่างสูง อย่างไร ก็ตามเขาบอกว่าความหลงใหลในการขับรถยังคง อยู่กับเขาตลอดเวลา
ความหรูหราสะดวกสบายเคลื่อนที่
ในกรณีนี้การอ่านเมืองหมายถึงการเคลื่อนที่ ไปอย่างนุม่ นวลและสะดวกง่ายดายรอบเมืองหลวง ของประเทศเยอรมนีใน E-Class ซีดานใหม่ท่แี สน จะสะดวกสบาย E 300 BlueTec Hybrid ประสาน การท�ำงานของเครื่องยนต์ดเี ซล 4 สูบกับมอเตอร์ ไฟฟ้าอย่างกลมกลืน อัตราเร่ง 0 - 100 กิโลเมตร ต่อชั่วโมงในเวลาเกินกว่า 7 วินาทีเพียงเล็กน้อย และแน่นอนด้วยเสียงที่ไม่ก่อให้เกิดความร�ำคาญ แต่อย่างใด ที่รอบความเร็วต�่ำรถยนต์คันนี้จะใช้ พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เท่านั้น จากนั้นเมื่อ สั ญ ญาณไฟเขี ย วแสดงขึ้ น และถนนเบื้ อ งหน้ า ปราศจากสิง่ กีดขวาง เครือ่ งยนต์ดเี ซลจะเข้ามาท�ำ หน้าที่พร้อมกับแบตเตอรี่ลิเธียม-ไอออนที่ส่งมอบ พละก�ำลังเพิ่มเติมในการท�ำอัตราเร่ง และการเซ็ต ระบบที่ยอดเยี่ยมส�ำหรับการจราจรในเมืองท�ำให้ E 300 BlueTec Hybrid สิ้นเปลืองน�ำ้ มันเชื้อเพลิง มากกว่า 4 ลิตรต่อระยะทาง 100 กิโลเมตรเพียง
dr i v e
การขยายตั ว Chouakri เยี่ยมชมงานแสดง ศิลปะและวัตถุของศิลปินชื่อ Gerold Miller ที่สตูดิโอของเขา
> นุ่มนวล
จาก 0-100 กิโลเมตร ต่อชั่วโมงในเวลาเพียง 7.1 วินาที
ความรู ้ สึ ก ด้ า นดี
การขับขี่อย่างชาญฉลาด: “ผมชอบการที่รถยนต์ ท�ำบางสิ่งเพื่อผม”
เล็กน้อยเท่านั้นรวมถึงยังก่อให้เกิดไอเสียน้อยลง อีกด้วย ส�ำหรับ Chouakri เขาย้ายจาก Paris มายัง Berlin ในปี ค.ศ. 1996 และได้เปิดแกลเลอรี่ขึ้นที่นี่ มันเป็นการมาอยู่ถูกที่ถูกเวลา “Berlin เป็นเมือง สวรรค์ส�ำหรับความเป็นเขตปลอดภาษี” เขาบอก “มีกฎเกณฑ์ข้อบังคับเพียงเล็กน้อยและยังมีที่ว่าง มากกว่าเมืองอื่นๆ” ขณะที่เขาขับรถไปรอบๆ ตัว เมืองเขายังคงเห็นพืน้ ทีว่ า่ งเปล่าและอาคารทีถ่ กู ทิง้ ร้างจ�ำนวนมากซึ่งอาจเกิดการซื้อขายขึ้นในเวลา อันรวดเร็วก็เป็นได้ Chouakri อาจมีทุกสิ่งทุกอย่าง แต่อย่างไรก็ตามเขายังคงคิดถึงบ้านของเขา เขาให้ ความนับถืออย่างจริงใจส�ำหรับความเลื่อมใสใน การฟืน้ ฟูเมืองขึน้ ใหม่ “เป็นช่วงเวลาของความยาก ล�ำบากกับเงินจ�ำนวนเล็กน้อยทีจ่ ะตระเวนไปให้ทวั่ มันเป็นความมหัศจรรย์ซึ่งน�ำไปสู่โอกาสที่ดีขึ้น ของการช้อปปิง้ และการออกไปหาอาหารทานนอก บ้านในปัจจุบันนี้”
การเคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง
Choaukri ย้ายสถานที่ตั้งแกลเลอรี่ของเขาถึง 3 ครัง้ ในช่วงปีทผี่ า่ นมา เขาบอกว่าการเคลือ่ น 43
ความกลมกลื น
ความสมดุลของการออกแบบภายนอก และภายใน: เบาะหนัง Nappa (อุปกรณ์ติดตั้งพิเศษ) และลายไม้ Ash เสริมความหรูหราให้กับภาพโดยรวม
44
i E 300 BlueTec Hybrid
เครื่องยนต์/แรงม้า เครื่องยนต์ดีเซล 4 สูบ 2.2 ลิตรพร้อมระบบ ไฮบริด แรงม้าเครื่องยนต์ดีเซล 150 kW ที่ 4,200 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 500 นิวตันเมตรที่ 1,600 - 1,800 รอบต่อนาที แรงม้ามอเตอร์ไฟฟ้า 20 kW แรงบิดสูงสุด 250 นิวตันเมตร ระบบส่งก�ำลัง เกียร์อัตโนมัติเดินหน้า 7 จังหวะ 7G-TRONIC Plus มองการณ์ไกล E-Class ใหม่สามารถใช้ไฟสูงในการเดินทาง ยามกลางคืนได้โดยแสงไฟจะไม่สาดส่องไป เข้าตาผู้ใช้รถใช้ถนนอื่นๆ ระบบการท�ำงาน? เทคโนโลยีที่เป็นอุปกรณ์ติดตั้งพิเศษจะรับรู้ถึง การปรากฏตัวขึ้นของรถยนต์คันอื่นและ ปรับแสงไฟหน้าไม่ให้กระทบต่อการมองเห็น ของผู้ใช้รถใช้ถนนอื่นๆ สองรูปลักษณ์ สัญลักษณ์ดาวสามแฉกบนฝากระโปรงหรือ กึ่งกลางกระจังหน้า ทั้งสองทางเลือกเป็นไปได้ จากชุดตกแต่ง Elegance และ Avantgarde mercedes - benz . com
พลั ง และความคิ ด สร้ า งสรรค์
คนท�ำงานกลางคืน: ลิ้นสปอยเลอร์ที่ปีก ออกแบบเพื่อเสริมสมรรถนะโดยรวม
บนป้ายบิลบอร์ดหรือบนปกหน้านิตยสารชั้นน�ำ ก็เป็นได้ เมือ่ คุณต้องใช้เวลาทีม่ คี า่ อยูภ่ ายในรถ มันเป็น เรื่องส�ำคัญที่การออกแบบภายในต้องสื่อถึงความ สะดวกสบายและความใกล้ชดิ E 300 ใหม่ได้ตั้ง มาตรฐานใหม่ในเรื่องนี้เช่นกัน ชุดแผงหน้าปัดได้ รั บ การตกแต่ ง ด้ ว ยลายไม้ จ ริ ง อย่ า งสวยงาม กลมกลืน ขณะที่ความโดดเด่นยังรวมไปถึงความ พิถีพิถันและการใช้วัสดุคุณภาพสูงอีกด้วย การ บอกเวลาอยูใ่ นรูปแบบของการใช้นาฬิกาแบบอนา ล็อค เป็นความสมดุลอย่างสมบูรณ์แบบระหว่าง พืน้ ทีว่ า่ งของค็อกพิทกับรถตูอ้ าหารของขบวนรถไฟ Orient Express Mehdi Chouakri เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการ ออกแบบ แต่เขาไม่ได้เป็นแฟนของกระแสการ
Styling: Mandy Stadelmann; hair and Make-up: Amelie Goldstaub; Production Berlin: Claas Cropp
ย้ายเป็นสิง่ ทีจ่ ำ� เป็นถ้าคุณต้องหาพืน้ ทีใ่ หม่สำ� หรับ ไอเดียใหม่ๆ ปัจจุบันแกลเลอรี่ของเขาใช้พื้นที่ใน ลานของอาคารที่เป็นแบบฉบับของ Berlin-Mitte มั น เป็ น White Cube ที่ ไ ด้ สั ด ส่ ว นอย่ า งมาก สร้างสรรค์ขึ้นโดยสถาปนิกดาวรุ่ง Jurgen Mayer H ส่วนที่เป็นส�ำนักงานและพื้นที่ใช้งานถูกปกปิด อยู่ด้านหลังของก�ำแพง Choaukri ไม่เห็นด้วยกับ การใช้ชา่ งวาดภาพและการก�ำหนดพืน้ ทีส่ ำ� หรับใช้ ทางใดทางหนึง่ โดยเฉพาะ เขายังให้ความสนใจใน การทดลองและกระบวนการแบบเปิด จุดสนใจของ แกลเลอรีข่ องเขาคือวัตถุ การแสดงผลงานและงาน ประติมากรรม ไม่กเี่ ดือนมานีเ้ ขาได้จดั แสดงผลงาน นิทรรศการของ Sylvie Fleurie และ Philippe Decrauzat ซึง่ ศิลปะการใช้สขี องพวกเขาเรียกความ สนใจได้ไม่ใช่น้อย Choaukri ออกเดินทางจากแกลเลอรีข่ องเขาใน ช่วงบ่ายเพื่อไปพบเพื่อนร่วมงานและนักสะสม เยี่ยมเยียนศิลปินที่สตูดิโอของพวกเขา และชม นิทรรศการในทันทีที่เขาปิดประตูส�ำนักงานของ เขาและเปิดประตูรถ เขากลับพบว่าตัวเองเหมือน กลับมาอยูใ่ นส�ำนักงานของเขาอีกครัง้ หนึง่ ระหว่าง การเดินทางนั้นเขาใช้โทรศัพท์พูดคุยในภาษาที่ แตกต่างกันถึง 3 ภาษา เขาวางแผนการเดินทาง ทางเครื่องบินส�ำหรับอาทิตย์หน้าเช่นเดียวกับการ นัดหมายผู้คนในท้องถิ่น เขากระซิบหมายเลข โทรศัพท์เข้าไปในระบบแฮนด์ฟรี และชือ่ ของศิลปิน ซึ่งวันหนึ่งในอนาคตอาจมีช่ือหรือใบหน้าของเขา
d r i v e dr
เครื อ ข่ า ย การติดต่อไม่ได้ส�ำคัญ เพียงในโลกของศิลปะ: ด้วยเซ็นเซอร์อัลตร้าโซนิค 12 ตัว E-Class สามารถที่จะ รับฟังได้อย่างแท้จริง
เปลี่ยนแปลงเชิงเดี่ยว อพาร์ทเมนต์ของเขาได้รับ การกล่าวขานถึงในนิตยสารด้านการออกแบบชั้น น�ำถึงสองครัง้ สองครา เฟอร์นเิ จอร์ของ Biedermeier ถูกน�ำมาวางไว้ใกล้กบั โต๊ะของ Eames อย่างลงตัว การเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับ Chouakri “ผมชื่นชมความจริงที่ว่าใครบางคนจะ สังเกตเห็นเมื่อคุณคิดถึงบางสิ่งอย่างจริงจังและ พยายามที่จะท�ำมัน” เมื่อเขาพูดเกี่ยวกับเรื่องของ การออกแบบ เขาไม่ได้หมายความเพียงแค่เปลือก นอกและเส้นสายแอโร่ไดนามิคส์เท่านัน้ แต่รวมถึง ดีไซน์ของการที่ของสองสิ่งสัมผัสกันและปฏิกิริยา ของระบบ “มันจะไม่มีความยากล�ำบากในการ สั่ ง การระบบแฮนด์ ฟ รี ม ากกว่ า การคาดเข็ ม ขั ด นิรภัย” เขาบอก
E-Class เป็นหนึ่งในรถยนต์ที่ชาญฉลาดที่สุด เท่าที่เคยมีการสร้างมา ซึ่งเน้นย�ำ้ คุณสมบัตพิ ิเศษ นี้ด้วยระบบให้ความช่วยเหลือใหม่ถึง 11 ระบบ การผสมผสานความสะดวกสบายและความ ปลอดภั ย เป็ น ที่ รู ้ จั ก กั น ในชื่ อ Mercedes-Benz Intelligent Drive ที่ประกอบด้วยระบบรักษาช่อง ทางวิง่ Active Lane Keeping Assist ซึง่ ถูกออกแบบ มาเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากรถยนต์ที่วิ่ง สวนทางมา ระบบไฟสูงที่ป้องกันไม่ให้แสงแยงตา ผู้ขับขี่รถยนต์คันหน้าหรือที่วิ่งสวนทางมา และ นวั ต กรรมของระบบที่ ป ้ อ งกั น การชนปะทะกั บ รถยนต์หรือคนเดินเท้าตัดหน้าในระยะกระชั้นชิด “ผมชอบกั บ สิ่ ง ที่ ร ถยนต์ ท� ำ บางสิ่ ง ให้ กั บ ผม” < Chouakri บอก 45
บรรพบุรุษของ E-CLASS ไม่ได้เพียงแค่สร้างความพึงพอใจให้กับผู้ขับขี่นับล้านคนทั่วโลกเท่านั้น แต่ยังมีมากมายด้วยสถิติที่น่าอัศจรรย์ซึ่งถูกบันทึกไว้ ในหน้าประวัติศาสตร์ยานยนต์ ทั้งในด้านของการเป็นผู้บุกเบิกนวัตกรรมใหม่ ความมีชื่อเสียงและบทบาทที่สำ�คัญในภาพยนตร์
คุณภาพติดดาว
ฉากโรแมนติ ค
ขับรถเที่ยว: Béatrice Dalle และ Jean-Hugues Anglade ใน Betty Blue
46
W 11 0
รู้จักกันอย่างกว้างขวางในชื่อ Fintail เป็นรถยนต์คันแรกของโลก ที่มีตัวถังนิรภัย
W 11 4/11 5
Stroke-8 เป็นรถยนต์แบบโปรดักชัน่ คาร์รุ่นแรกของเมอร์เซเดส ที่ใช้เพลาหลังแบบ semi-trailing-arm
1976–1985
มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Ponton เป็นรถยนต์เมอร์เซเดส รุ่นแรกที่มี ตัวถังแบบ self-supporting
1968–1976
W 12 0/ W 121
1961–1968
1953 - 1962
A family that became legendary: W 12 3
เมื่อรถยนต์รุ่นนี้ออกจ�ำหน่ายลูกค้า ต้องใช้เวลารอคอยกว่าหนึ่งปีจึงจะได้ รับรถยนต์ของเขา
l e g e n d s
ดาวค้ า งฟ้ า :
Paul Newman และ Stroke-8
> James Bond ใน Stroke-8:
Will Smith
เมื่อรถยนต์โมเดลนี้ได้รับการปรับปรุง ครั้งใหญ่ในปี 1993 ชื่อของ E-Class ได้ถูกน�ำมาใช้เป็นครั้งแรก
W 21 0
กรอบไฟหน้าแบบดวงคู่และตัวถัง ด้านท้ายที่คล้ายกับรถยนต์แบบคูเป้ เป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นเป็นพิเศษ ของรถยนต์โมเดลนี้
2002–2009
W 12 4
1995–2003
ลูกค้า: Will Smith ใน E 500 จาก Men in Black
W 211
แต่เป็น Ponton นี่เองที่ทำ� ให้เมอร์เซเดส-เบนซ์ ฟืน้ คืนสูร่ ถยนต์นงั่ ขนาดกลางระดับหรูหราได้อย่าง เต็มภาคภูมิและวางพื้นฐานที่น�ำไปสู่ความเป็น ผลิตภัณฑ์ที่ประสบความส�ำเร็จมากที่สุดด้วยยอด จ�ำหน่ายมากกว่า 10 ล้านคันทั่วโลก การสืบทอด ความส�ำเร็จมีมาอย่างยาวนานจนได้รบั การยกย่อง ให้ เ ป็ น ต� ำ นานก่ อ นที่ จ ะมี ก ารเปลี่ ย นมาใช้ ชื่ อ E-Class อย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1993 สิ่งนี้ได้ รับการเกือ้ กูลด้วยชือ่ แห่งความทรงจ�ำซึง่ มีทมี่ าจาก รูปทรงหรือปีที่ถือก�ำเนิดเช่น Fintail หรือ Stroke-8 และชื่อแรกเป็นรถยนต์นั่งขนาดกลางจากเมอร์เซเดส-เบนซ์ ที่ได้สร้างชื่อเสียงให้เป็นที่รู้จักกันเป็น อย่างดี ตัวอย่างเช่นกว่า 20 ปีหลังจากโครงสร้าง ห้องโดยสารนิรภัยใน Fintail ถูกเปิดตัวขึ้นเป็นครั้ง แรกในโลก W124 ตอกย�ำ้ ความก้าวหน้าด้วยระบบ กันสะเทือนหลังแบบอิสระ มัลติล้งิ ค์ซึ่งยังคงมีการ < ใช้อยู่จนถึงทุกวันนี้
E-Class น�ำเสนอความหลากหลาย ของโมเดลย่อยที่มีให้เลือกมากที่สุด ในรถยนต์เซคเมนต์นี้ด้วยโมเดลย่อย มากถึง 29 โมเดล
2009–2012
ชิ้นส่วนเล็กๆ น้อยๆ ที่เป็น ตำ�นานของ Fintail และ รถยนต์ประกอบ ฉากอย่าง เป็นทางการ ใน MIB ของ
เท่ เ สี ย ไม่ มี
1985–1996
photos:Mary Evans/Interfoto; Gett y Images; Glow Images; Daimler Ag (8) words: christoph henn
“
ใครเป็นคนขับรถยนต์คันนั้นได้อย่างน่าประหลาด ใจทั้ ง ที่ ส ภาพอากาศมี ทั้ ง ลมและฝนอย่ า งนั้ น ” เป็นถ้อยค�ำบรรยายของภาพรถยนต์เมอร์เซเดส 180 ขณะก�ำลังวิ่งทดสอบในนิตยสาร Auto, Motor und Sport นิตยสารรถยนต์ชอื่ ดังทีต่ พี มิ พ์ในปี ค.ศ. 1952 ภาพดังกล่าวเป็นภาพทีถ่ กู บันทึกไว้เป็นครัง้ แรกของ รถยนต์รนุ่ นีก้ อ่ นจะเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ในความ พยายามทีจ่ ะลดความรุนแรงของอารมณ์ทอี่ าจเกิด จากการคาดคะเนถึงการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ดา้ นความ ปลอดภัย บรรณาธิการของนิตยสารดังกล่าวเลือก ใช้ความตลกขบขันทีป่ ระกอบด้วยถ้อยค�ำ 8 บรรทัด ที่มาจากบทกวี “Erlkönig” ที่มีช่อื เสียงของ Goethe มาใช้ ท�ำให้รถยนต์เมอร์เซเดส W120/121ปี 1953 เป็นรถยนต์คันแรกที่รถยนต์ต้นแบบถูกเผยแพร่ใน แบบภาพสปายช็อตหรือภาพแอบถ่ายหรือ Erlkönig ตามที่ได้กลายมาเป็นที่รู้จักกันในหมู่ชาวเยอรมัน นอกจากนี้ยังเป็นรถยนต์เมอร์เซเดส รุ่นแรกที่มา พร้อมกับตัวถังแบบ self-supporting ทีไ่ ม่จำ� เป็นต้อง ใช้เฟรมพิเศษใดๆ รองรับด้านใต้ของตัวรถ และเป็น บรรพบุรุษของ E-Class ในทุกวันนี้ ถึงแม้จะมีการ กล่าวกันว่าต�ำนานที่แท้จริงเริ่มต้นขึ้นด้วย W136 ที่ถือก�ำเนิดขึ้นในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง และมีการผลิตจนถึงปี ค.ศ. 1953 ก็ตาม
W 212
ความโป่งนูนของซุ้มล้อหลัง กระชากความทรงจ�ำของ Ponton จากอดีตในปี ค.ศ. 1953 กลับคืน สู่ยุคปัจจุบันอีกครั้งหนึ่ง
47
High
culture
เมืองหลวงของอินโดนีเซีย ราคาที่ดินก็แพงเช่นเดียวกับเมืองใหญ่ทั้งหลาย Jakarta ก�ำลังจะมีอาคารมหึมา (Mega-building) ออกแบบโดยบริษัท MVRDV ของกลุ่มสถาปนิกชาวดัทช์ ด้วยแนวคิดที่ท้าทายคือ การวางก้อนบล็อคอาคารมาต่อซ้อนๆ กันขึ้นทางสูง แทนที่จะเรียงต่อกันในทางราบ สถาปนิก Winy Maas อธิบายว่า อาคาร Peruri 88 คือ Jakarta ในแนวตั้ง เป็นรูปแบบใหม่ของชุมชนเมืองขนาดเล็ก (Mini-metropolis) ซึ่งเชื่อมโยงเป็นส่วนหนึ่งของเมือง หลังคาของแต่ละบล็อคอาคารปลูกต้นไม้ เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว อาคารสูง 400 เมตร มีเนื้อที่ใช้สอย 360,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยอพาร์ทเม้นต์ ส�ำนักงาน โรงภาพยนตร์ เวทีอัฒจรรย์กลางแจ้ง และโรงแรมระดับหรู ซึ่งอยู่บนชั้นที่ 44 ถึง 86 มีแม้กระทั่งส�ำนักทะเบียนและสุเหร่าด้วย m v r d v. n l J a k a rt a
50
E M O T ION
คอมพิวเตอร์กลางแจ้ง Carlo Ratti วิศวกรชาวอิตาเลียน ผู้ท�ำวิจัยเมืองในอนาคต มีค�ำอธิบาย ถึงปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์กับเครื่อง จับสัญญาณจะเปลี่ยนแปลงชีวิตคน ในเมือง D esig n
ซิกส์ตี้สุดสวิง
illustration: Lyndon Hayes/Dutchuncle
P a ris เก้าอี้ชุด “Elevate” ออกแบบในแนวอากาศยาน พนักพิงท�ำจากหน้าต่างเครื่องบินเก่าจริงๆ Marc Venot ออกแบบ สร้างสรรค์ให้บริษัท Flown ด้วยอารมณ์ยุค 1960s พนักโค้งกับช่องหน้าต่างให้ความรู้สึกแบบการบินย้อนยุค แต่ที่นั่งชุดนี้ นั่งสบายกว่าเก้าอี้บนเครื่องบินจริงมาก f l o w n . f r
เมื อ งอนาคต รูปลักษณ์ของเมือง อาจจะ ดูเหมือนปัจจุบัน แต่การใช้สอย ต่างๆ จะเปลี่ยนไป เราจะต้อง สนทนาโต้ตอบกับทุกสิ่งที่แวดล้อม เรา เราจะพึ่งพาเทคโนโลยีด้าน ดิจิตอลเป็นหลักในการสร้างระบบ สาธารณูปโภคอัจฉริยะ เครือข่าย โทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนและ แท็บเล็ตจะขยายเพิ่มขึ้นให้เรา เข้าถึงข้อมูลสาธารณะได้อย่าง มหาศาล จะเพิ่มการใช้เครือข่าย จับสัญญาณ (sensors) ต่างๆ ซึ่งควบคุมโดยดิจิตอลเชื่อมเข้ากับ คอมพิวเตอร์ สรุปแล้วเมืองต่างๆ จะกลายเป็นเสมือนคอมพิวเตอร์ กลางแจ้งขนาดใหญ่อย่างรวดเร็ว เราจึงสามารถจับจังหวะของเมือง และตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว ผู้ใช้รถใช้ถนนทราบข้อมูลรถติด แบบ “เรียลไทม์” ณ ขณะนั้น และหลีกเลี่ยงได้ฉับพลัน รถขนส่ง มวลชนจะรู้ว่ามีผู้โดยสารรถอยู่ ที่ไหน และกระทั่งการเปลี่ยนแปลง ของอากาศก็จะรู้เห็นได้ด้วยข้อมูล ภาพจากเน็ตเวิร์ก flickr ทุกคนจะ ใช้ประโยชน์จากสิ่งที่เมืองเตรียม ไว้เพื่อความสะดวกสบายของ มวลชน
ผู ้ ส ร้ า งสรรค์: Parolio นักออกแบบจากสเปนซึ่งผลงาน ของเขาได้รับรางวัลมากมาย
รถด่วนเที่ยงคืน บาร์ชื่อ “Passenger” ให้ความรู้สึกเหมือนเดินทางแบบหรูหรา ไปกับรถไฟคลาสสิค the Orient Express โดยไม่ต้องขยับเขยื้อนเลย Parolio น�ำทีมออกแบบเปลี่ยนเนื้อที่แคบๆ ยาวๆ ในย่านสุดเทรนดี้ Malasaña/Triball ให้เป็นโบกี้รถไฟยาว ตกแต่งด้วยเก้าอี้บุหนังนั่งสบาย ใช้ไม้สีเข้มกับอุปกรณ์ทองเหลือง แทนที่หน้าต่างรถไฟด้วยจอภาพฉาย ทิวทัศน์เหมือนมองจากหน้าต่างรถไฟผ่านประเทศต่างๆ ทั่วโลกเปลี่ยนไป เรื่อยๆ ดังนั้นทุกครั้งที่มาที่นี่ก็เหมือนได้เดินทางไปที่ใหม่ๆ เสมอ MAD R I D
facebook . com / thepassengermadrid
51
desig n
ความหรูหรา ของคนจร
a r t
ของหายาก ถ้ า เบื่ อ ที่จะเตร่ไปตามแกลเลอรี่ต่างๆ
เดี๋ยวนี้สามารถเลือกซื้อภาพออนไลน์ ได้แล้ว ทุกสองสัปดาห์ Artflash จะน�ำเสนอ ขายผลงานที่มีจ�ำกัด (limited edition) 2 ชิ้น พร้อมลายเซ็นของศิลปินชื่อดัง เช่น Jonathan Meese, Wolfgang Tillmans และ Jörg Immendorff เป็นต้น ในราคา สมเหตุสมผล โดยมากมักจะเป็นงานศิลปะ ที่คัดมาจากงานสะสมในวงการศิลปะ a rtfl ash . de
“ ในความคิดของผม รางวันอันยิ่งใหญ่และหรูหราที่สุด
จากการท่องเที่ยวคือ การได้สัมผัสสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจ�ำวัน ราวกับเป็นประสบการณ์ครั้งแรก ได้อยู่ในจุดที่แทบจะไม่มีอะไร ที่คุ้นเคยและคาดหวังได้เลย”
bill bryson
- นั ก เ ขี ย น เ รื่ อ ง เ ที่ ย ว
นั ก ออกแบบ 11 คน สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ สำ�หรับการเดินทางให้หลุยส์วิตตอง ในคอลเลคชั่นชุด “Objets Nomades” (ของใช้ของคนจร) อาทิ เก้าอี้พับได้ โคมไฟพลังแสงอาทิตย์หุ้มขอบหนัง และเปลนั่งแขวนโดยนักออกแบบชาวสเปน Patricia Urquiola lou isv u it ton . com
b owie
ดาราดัง
ลอนดอน ดนตรีเร้าใจ เครือ่ งแต่งกายเร้าตา เดวิด โบวี่ ดารานักร้อง นักแสดง ผู้สร้างหนัง จิตรกร ประติมากร และนักถ่ายภาพ เขาคือ “ป๊อปไอคอน” ของอังกฤษ ตั้งแต่ 23 มีนาคม ถึง 28 กรกฎาคม ปีนี้ พิพิธภัณฑ์ V&A จะจัดนิทรรศการผลงานต่างๆ ของเดวิด เพื่อเป็นการให้เกียรติเขา va m . ac .u k
บนยอดสูง Paris มีหอไอเฟล London มีตึก Shard Seattle มีตึก Space Needle และในปี 2014 เมือง Phoenix รัฐ Arizona จะมีตึก Pin เป็นหอชมเมืองรูปร่างคล้ายหัวสว่านเกลียวยักษ์ สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 420 เมตร มีลิฟท์แก้ว 3 ตัว ขึ้นสู่ลานกลมบนยอด แล้วเดินชมวิวเมือง Arizona ไปรอบๆ ขณะวนลงไปเรื่อยๆ ภายในอาคารมีโถงนิทรรศการ ภัตตาคาร และบาร์มากมาย big . dk P h o e ni x ,
52
E M O T ION
the Conservatorium Hotel
และแหล่งสังสรรค์ของคนท้องถิ่น
ที่พักหรูสำ�หรับแขกผู้มาเยือน
สปา และห้องพักกว้างชวน
p h OTO S: V G - Bildk u n st, Bo n n 2 013 ; F r a n k w. O cke n fels 3
ผ่อนคลาย เสน่ห์ของเมืองก็ ส่องประกายอยู่ที่โถงเอเทรี่ยม และภัตตาคาร Tunes
AM S T E R DAM ถ้าถามคนพื้นถิ่นเพื่อให้แนะน�ำสถานที่เด็ดสุดของเมือง บ่อยครั้ง คุณจะพบภัตตาคารเล็กๆ มีอาหารในเมนูเพียง 2-3 รายการ แต่อร่อยสุดๆ แต่ถ้า ถามคน Amsterdam ค�ำแนะน�ำจะต่างออกไปคือ Conservatorium โรงแรมสุดหรู ในย่านพิพิธภัณฑ์ ที่ชาว Amsterdam ทุกคนชอบมาใช้โถงเอเทรี่ยมใหญ่ที่นี่เป็น ห้องนั่งเล่น นัดเพื่อนกินข้าวเที่ยงที่ร้าน the Brasserie พ่อแม่พาลูกๆ มานั่งจิบชา ที่เล้านจ์ และแน่นอน...สาวๆ และนักธุรกิจนิยมนัดพบกันที่ล็อบบี้ สถาปนิก Piero Lissoni ได้ออกแบบส่วนต่อขยายอาคารอนุรักษ์เก่าแก่สมัยศตวรรษที่ 19 เป็นอาคารผนังกระจกใสขนาดใหญ่ เพื่อเปิดรับบรรยากาศภายนอก สปาของที่นี่มี สวนภายในที่ปลูกต้นมะเดื่อ และมะกอกสูงเท่าตึก 2 ชั้น บันไดโลหะแผ่นสีด�ำรูปทรง เหมือนงานกระดาษพับทอดขึ้นสู่โถงทางเดินโบราณ หลังคาโค้งประดับเซรามิค น�ำเข้าสู่ห้องพักซึ่งมีทั้งสิ้น 129 ห้อง กระจกและเส้นสายที่เรียบตัดกับวัสดุหนังและ พื้นไม้สีเข้ม ห้องนอนกว่าครึ่งเล่นระดับแบบชั้นครึ่ง บรรยากาศสบายๆ ให้แขกพัก อย่างสงบ หรืออยากจะออกส�ำรวจใจกลางเมืองก็อยู่ใกล้ๆ แค่ลงบันไดไป เมืองทั้งเมืองก็รออยู่ตรงนั้นแล้ว conservatoriumhotel . com 53
“Nice very nice” Nice ในจินตนาการของนักเดินทาง หล่อนคือนางแบบเปรี้ยวเฉี่ยว สูงยาวเข่าดี
และเป็นสาวที่ไม่เคยตกเทรนด์ ก็ ไม่แปลกที่ใครๆ ก็มุ่งหน้าสู่ฝรั่งเศส เพราะอยากเห็นหน้าตาของเจ้าหล่อนพอๆ กับหอไอเฟล
54
เรื่ อ ง / ภาพ กาญจนา หงษ์ ท อง
e m o t i o n
จตุ รั ส
ใจกลางเมือง ที่ประดับไว้ด้วย ลานน�้ำพุ
ใ
ครๆ ก็รู้ว่า Nice คือที่ทางของบรรดาไฮโซ เจ็ทเซ็ท เซเลบริตี้ เป็นสวรรค์ของคนดัง ดาราฮอลลีวู้ด เศรษฐีผู้มีอนั จะกิน นักเขียน นักดนตรี ศิลปิน นอกเหนือจากคาร์บอนไดออกไซด์และออกซิเจนแล้ว ท้องฟ้าเหนือชายหาดเฟรนช์ ริเวียรา ในแถบเมือง Nice คงเจือไว้ดว้ ยก๊าซแปลกๆ อีกหลาย ประเภท เช่น “โรแมนโตรเจน” “ไฮโซเจน” และ “เอ็กซ์เพนซีฟไดออกไซด์” เป็นก๊าซที่ร่างกายควร ท�ำความรู้จกั ไว้ เพื่อสร้างภูมติ ้านทานประดับโลก แห่งการเดินทาง และไม่ว่าใครจะมาจากมุมไหน เป็นไฮโซหรือโลโซก็ช่าง เราต่างถูกต้อนรับด้วย แสงแดดที่อุ่นอ่อน ท้องฟ้าสีใสไร้เมฆ ชายหาด ทีป่ ระดับประดาไว้ดว้ ยผูค้ น และความสดแจ่มของ อาคารบ้านเรือนที่ทอดตัวอยู่ริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ถ้าอยากเที่ยว Nice แบบประทับใจสุดแรงเกิด ต้องไปพักที่โรงแรมเนเกรสโก (Hotel Negresco) คฤหาสน์หรูสไตล์ฝรั่งเศสอายุจวนจะ 100 ปีที่ เหมือนเป็นอัญมณีประดับชายฝั่งเฟรนช์ ริเวียรา พวกราชวงศ์ คนชั้นสูง คหบดี คนดัง ไฮโซและ ผูร้ ากมากดีมาถึง Nice มักจะไปปักหลักกันทีน่ ี่ ด้าน ในตกแต่งและประดับประดาอย่างหรูเริ่ดอลังการ และมีภาพเขียนและผลงานศิลปะงามๆ เอาไว้ให้ แขกเหรื่อได้เชยชมไม่ต่างจากพิพิธภัณฑ์ชั้นดีใน ยุโรป มองจากระเบียงห้องสามารถบริโภคเวิ้งอ่าว ของ Nice เป็นอาหารตาอย่างเต็มอิ่ม >
S I N G LE - M I N DED Jesse Turner, 22, is เวิ้ ง อ่ า ว already a globally แห่งเฟรนช์ ริเวียร่า in-demand stuntman.
55
ผ่ า นเมื อ งเก่ า
ที่มีคาเฟ่ล้อมหน้า ล้อมหลัง
ประติ ม ากรรม
ที่อยู่ตรงลานน�้ำพุ กลางเมือง
ว่ากันว่า ในอดีตเมื่อประมาณ 230 กว่าปีก่อน เป็นแหล่งหลบหนาวของพวกผูด้ อี งั กฤษ พอพูดกัน ปากต่อปากถึงสรรพคุณของ Nice ว่าความงดงาม ของที่นี่เหมือนยาดีช่วยบ�ำบัดและเยียวยาโรคภัย ได้ บรรดาผู้มีอันจะกินของอังกฤษที่สุขภาพไม่ดี ก็พากันยกขบวนมาพักผ่อนที่ Nice ที่จริงควรใช้ ค�ำว่าแห่ จะเหมาะกว่า เพราะถึงแม้สมัยก่อนการ เดินทางจากอังกฤษมา Nice โดยเรือจะใช้เวลาเกือบ ครึ่งเดือน แต่บางปีมีครอบครัวของขุนนางและ เศรษฐี อั ง กฤษเดิ น ทางมา Nice มากกว่ า ร้ อ ย ครอบครัว ไม่ได้มาเที่ยวอย่างเดียว แต่พวกเขามา ลงหลักปักฐานสร้างเรือนพักตากอากาศเอาไว้ที่นี่ เลย จากนั้น จึงเริ่มเลื่องลือกันต่อเนื่องมาว่า Nice เป็นปลายทางการพักผ่อนของคนกระเป๋าหนัก 56
แสง สุดท้ายใน Nice
แต่ถงึ แม้คณ ุ จะพักทีไ่ หนก็ชา่ ง ขอให้พาตัวเอง ไปเดินทอดน่องบนถนนสายหลักของเมืองที่ชื่อ ฌอน เมดิซิน (Jean Medecin) ที่จะพาทุกคนพุ่งไป หาชายหาดของเมือง แต่ก่อนจะไปถึงชายหาด คุณอาจต้องรบรากับกิเลสและความอยากกันหลาย กระบวนท่า เพราะสองฟากฝั่งอุดมไปด้วยร้านรวง ที่คอยแต่จะยั่วยวนให้แวะช้อปท่าเดียว ใครที่เป็น แฟนคลับของห้างแกลเลอรี่ ลาฟาแยตต์ (Galeries Lafayette) ปราการแห่งความหรูไฮที่พรั่งพร้อมไป ด้วยแบรนด์เนมทั้งแถวหน้าแถวหลังสารพัดยี่ห้อ มาที่ Nice คุณจะได้ช้อปอย่างส�ำราญ ดูเอาเถอะ อยูห่ า่ งจากปารีสเกือบพันกิโล แต่ Nice เหมือนเงา ของ Paris มีทุกอย่างที่เมืองหลวงแห่งฝรั่งเศสมี ไม่ได้เหมือนอย่างเดียว แต่ตน้ ทุนการท�ำความรูจ้ กั กับ Nice ออกจะแพงกว่า Paris เสียด้วยซ�้ำ มีอกี มุมหนึง่ ของ Nice ทีน่ า่ ท�ำความรูจ้ กั อย่างยิง่ ที่นั่นคือจัตุรัสมาสเซนา (Place Massena) มุมที่มี ทางแยกไปทางถนนเวอร์ดนั (Avenue de Verdun) ที่เป็นดงแบรนด์เนมดักรอทุกคนอยู่ แต่ถ้าเดินไป ทางถนนเซนต์ ฟรานซิส (Rue Saint Francis de Paule) ก็จะเจอย่านเมืองเก่า ที่ทุกตรอกซอกซอย แออัดไปด้วยอาคารเก่าแก่ พูดถึงถนนใน Nice คงไม่มีถนนสายไหนน่า เดิ น เท่ า ถนนเลี ย บชายหาดที่ ชื่ อ ถนนอองเกลส์ (Promenade des Anglais) อีกแล้ว ส่วนแฟชัน่ ฤดูกาล นีอ้ ะไรฮอตหรือฮิต อะไรอินหรือเอาท์ ไปเช็คได้แถว ชายหาด สาวๆ ไฮโซแถวนี้เดิร์นและโก้ขนาดใส่ ทูพีซแล้วจะให้มาเดินเอาเท้าเปล่าแถกไปบนหาด
จั ก รยาน ริมก�ำแพงเมืองเก่า
e m o t i o n
ทรายเหมือนอยูบ่ างแสนไม่ได้ แต่ชดุ ว่ายน�ำ้ หมวก กระเป๋า แอคเซสเซอรี่ และรองเท้าส้นสูงต้องแมทช์ กัน เรียกว่า แต่งตัวเหมือนชายหาดเป็นแคทวอล์ค ยิ่งเป็นย่านถนนอองเกลส์ที่ยาวหลายกิโล จะถูก แต่ ง แต้ ม ไว้ ด ้ ว ยสาวน้ อ ยสาวใหญ่ ที่ ข นชุ ด มา ประชันกันเหมือนมีงาน Nice Fashion week ถนน อองเกลส์สายนี้พวกอังกฤษมาแผ้วถางสร้างทาง เอาไว้ ไม่ใช่เพื่อใคร แต่เพื่อพวกเขาเองเวลาไปมา หาสู่นีซจากอังกฤษก็มาขึ้นกันแถวนี้ และก็เป็น ถนนทีม่ ไี ว้ให้คนอังกฤษมาเดินทอดน่องกินลมชมวิว ละจากถนนสายนี้ หากไปเดินเล่นในย่านเมือง เก่าก็สุนทรีย์ใช่ย่อย เพราะเป็นย่านที่ยังมีอาคาร บ้านเรือนสีชมพูเข้มและสีเหลืองในแบบอดีตไว้ให้ ซึมซับ มองไปมองมาสถาปัตยกรรมแถวนี้ มีกลิ่น อายของเมื อ งมั ก กะโรนี เ กาะอยู ่ ทุ ก หั ว มุ ม ถนน สมแล้วที่ Nice เคยเป็นสมบัตขิ องอิตาลี
อาคารที่ ท� ำ การ
ของทางการ Nice ที่แสนภูมิฐาน
i จากกรุงเทพฯ ไป Nice ดิ น เนอร์ สุดอลังการ
โบสถ์ รั ส เซี ย
ที่ซุกตัวอยู่ใน Nice
สายการบินเอมิเรตส์มีเที่ยวบินไปนีซทุก วัน โดยจะต้องบินไป 6 ชัว่ โมง แวะเปลีย่ น เครื่องที่ดูไบก่อน จากดูไบบินต่อไป Nice อีก 6 ชั่วโมง คลิกไปดูรายละเอียด เที่ยวบินที่ www.emirates.com หรือ โทร 0 2664 1040-5
Nice มีที่พัก
ให้เลือกหลากหลายระดับ คลิกไป ส�ำรวจได้ที่เว็บไซต์จองที่พักอโกดา www.agoda.com หรือใครจะโหลด แอพพลิเคชัน่ อโกดาไว้บนหน้าจอไอแพด หรือสมาร์ทโฟนก็ได้ จะได้จองที่พัก สะดวกขึ้น และไม่ว่าจะจองจากที่ไหนก็ได้ ราคาถูกที่สุด
Nice เที่ยวได้ทั้งปี
แต่ฤดูร้อนเป็นช่วงที่ Nice จะแออัดไป ด้วยผู้คน ควรจองที่พักไปก่อน และเช็ค สภาพดินฟ้าอากาศก่อนเดินทางได้ที่ www.weather.com
ไปเที่ยว Nice
ท�ำวีซ่าเชงเก้นที่สถานทูตฝรั่งเศส อยู่ บนถนนสาทร เปิดท�ำการจันทร์ - ศุกร์ โทรสอบถามรายละเอียดที่ 0 2627 2150 ใช้เวลาท�ำประมาณ 5 วัน และต้อง นัดหมายการท�ำวีซ่าล่วงหน้า
เวียนกลับมาที่ถนนเซนต์ ฟรานซิส ถนนที่น่า เดินเป็นที่สุด มีร้านรวงที่มีข้าวของแฮนด์เมด และ ข้าวของที่ใช้ภูมิปัญญาชาว Nice ทั้งขนมนมเนย ตุ๊กตา ร้านช็อกโกแลต ร้านผลไม้สดและผลไม้ แช่อิ่ม ไปจนถึงร้านขายเครื่องหอม ที่น่าดูไปเสีย หมด เลยไปอีกนิดเป็นถนนซาเลยา (Cours Saleya) ทีเ่ นืองแน่นไปด้วยร้านอาหาร ร้านขายของทีร่ ะลึก และร้านดอกไม้ ความคึกคักสัมผัสได้จากย่านนี้ เป็นมุมที่นักท่องเที่ยวพากันมาดินเนอร์ มาถึงเมืองแนบทะเลอย่าง Nice ทั้งที อาหาร ทะเลจ�ำพวกกุ้งหอยปูปลาจึงน่าลิ้มลองอย่างยิ่ง ยิ่งเมนูหอยแมลงภู่อบเนยยิ่งน่าชิมใหญ่ เรียกว่า เป็นเมนูยอดฮิตทีห่ ลายคนไม่ยอมพลาด ทีจ่ ริงย่าน เมืองเก่ายังมีสิ่งปลูกสร้างหลายอย่างที่น่าดูทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นศาลาว่าการประจ�ำเมือง โอเปร่าเฮาส์ โบสถ์และวิหารน้อยใหญ่เกือบ 10 หลัง และจัตุรัส แสนสวยอีก 2 - 3 แห่งกระจายอยู่ท่วั เมืองเก่า กลิ่นหอมของทะเลและความแพง กลิ่นเก่า เคล้าใหม่ของเมือง นั่นเป็นตัวตนของ Nice เมือง เจ้าเสน่ห์ที่มีไว้ให้ผู้คนเดินทางมาจิบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ใช้ชีวิตแพงๆ แต่งตัวเริ่ดๆ เชิดๆ เดิน กรีดกรายไปบนท้องถนน คุณเองก็เป็นเจ้าของ ประสบการณ์อนั แสนโก้หรูใน Nice ได้ และถ้าได้ ท�ำความรูจ้ กั กับ Nice คุณจะรูส้ กึ ว่า Nice ช่าง Very < nice เหลือเกิน 57
1
Finely honed senses การขับขี่อย่างชาญฉลาด การใช้เครือข่ายของ
กล้องและเซ็นเซอร์เพื่อเตือนให้ตระหนักรับรู้ถึงอันตราย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่และคนเดินถนน
ย 58
นตรกรรมที่ชาญฉลาด ความคิดที่เยี่ยมยอดแต่ อะไรคือความหมายที่แท้จริง? อาจจะเป็นการ ตัดสินใจหลายอย่างเท่าทีเ่ ป็นไปได้ทอี่ ยู่นอกเหนือ การควบคุมของผูข้ บั ขีห่ รือการบังคับควบคุมโดยได้ รับการช่วยเหลือจากระบบคอมพิวเตอร์? ส�ำหรับ เมอร์เซเดส-เบนซ์ ความหมายประการหลังสัมฤทธิ์ ผลแล้ว การขับขี่อย่างชาญฉลาดหรือระบบให้ ความช่วยเหลือของเมอร์เซเดส (Mercedes assistance system) ซึง่ ไม่ได้ถกู ออกแบบมาเพือ่ แย่งการ ท�ำหน้าที่ของผู้ขับขี่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เป็ น เวลากว่ า ทศวรรษแล้ ว นั บ ตั้ง แต่ มีร ะบบให้ ความช่วยเหลือทีแ่ ท้จริงระบบแรก ระบบ Distronic
BA S P LU S และ PRE- SAFE BRAKE
ระบบซึ่งปัจจุบันสามารถ ที่จะรับรู้ ได้ถึงคนเดินเท้า ที่อยู่ด้านหน้าของตัวรถ ด้วยการประเมินข้อมูลจาก กล้องและเรดาร์ท�ำให้ผู้ขับขี่ ได้รับการเตือนถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ด้วยสัญญาณภาพและเสียง ถ้าผู้ขับขี่ไม่มีปฏิกิริยา ตอบสนอง เบรกจะท�ำงาน โดยอัตโนมัติในทันที
ที่ใช้พื้นฐานของระบบเรดาร์ส�ำหรับการควบคุม ความเร็วอัตโนมัติ ในทุกวันนี้ผู้ขับขี่ E-Class ใหม่ สามารถที่ จ ะใช้ สิ่ ง ที่ เ ป็ น เสมื อ นพลั ง จิ ต ของ เซ็นเซอร์เรดาร์ 6 ตัว เลนส์กล้องถ่ายภาพ 6 ตัว และเซ็นเซอร์อัลตราโซนิค 12 ตัวเป็นตัวอย่างได้ เป็ น อย่ า งดี โดยทั่ ว ไปแนวคิ ด นี้ เ พื่ อ เพิ่ ม ความ ปลอดภัยให้มากขึ้นนั่นเอง เทคโนโลยีที่จะช่วย ตรวจสอบสถานการณ์ที่อาจเกิดอันตรายขึ้นได้ ตัง้ แต่จดุ เริม่ ต้นและท�ำปฏิกริ ยิ าตอบสนองทีเ่ หมาะ สมถ้าสถานการณ์เริม่ อันตรายมากขึน้ สิง่ นีเ้ ป็นจุด มุ่งหมายที่แท้จริงของฟังก์ชั่นใหม่ที่รวมเข้าไว้ใน ระบบ BAS Plus Brake Assist และระบบ Pre-Safe
เรื่ อ ง M i c h a e l M o o r s t e dt, C h r i s t o p h H e n n ภาพประกอบ Ma r i o Wa g n e r
i n n o v at i o n
photo: Daimler Ag
2
Brake คุณสมบัตทิ โี่ ดดเด่นทีม่ กี ารน�ำมาใช้เป็นครัง้ แรกใน E-Class ใหม่และ S-Class รุ่นต่อไป ระบบ ใหม่นี้ยังมีความสามารถในการก�ำหนดต�ำแหน่ง ของคนเดินเท้าเช่นเดียวกับอันตรายทีก่ ำ� ลังจะเกิด ขึน้ ณ จุดตัดหรือทางแยกบนถนนเบือ้ งหน้าอีกด้วย ภารกิจประการทีส่ องคือ การเฝ้าดูแลใส่ใจด้วย ระบบ BAS Plus with Cross-Traffififific Assist ระบบ นี้จะส่งสัญญาณเตือนด้วยภาพและเสียงเมื่อมี รถยนต์คนั อืน่ เคลือ่ นทีเ่ ข้าใกล้ทางด้านข้างซึง่ บ่อย ครั้งเป็นสาเหตุให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น ด้วยวิธีการนี้ ท�ำให้การเพิกเฉยต่อสิง่ ทีก่ ำ� ลังจะเกิดขึน้ ลดน้อยลง
BA S P LU S พร้อม CROSS -TR AFFIC ASSIST
เป็นครั้งแรกที่ระบบ BAS สามารถ ช่วยหลีกเลี่ยงการชนปะทะบริเวณ ทางแยกหรือจุดตัดบนถนน เรดาร์และ กล้องสเตอริโอให้ภาพมุมกว้างของสิ่งที่ เกิดขึ้นเบื้องหน้า ถ้ามีสถานการณ์ที่อาจ เกิดอันตรายขึ้น ผู้ขับขี่จะได้รับการเตือน ในสองระบบและแรงดันเบรกจะเพิ่มขึ้น โดยอัตโนมัติ ทั้งหมดจะท�ำงานอย่าง เต็มประสิทธิภาพจนถึงระดับสูงสุดใน กรณีที่จ�ำเป็น
ระบบให้ความช่วยเหลือใหม่สามารถแก้ไขการ ตัดสินใจที่ผิดพลาดได้ด้วยเช่นจะสั่งเพิ่มก�ำลังแรง เบรกโดยอัตโนมัตถิ า้ ผูข้ บั ขีม่ ปี ฏิกริ ยิ าตอบสนองต่อ อันตรายเบื้องหน้าไม่เต็มที่โดยระบบนี้จะท�ำงาน เมือ่ ความเร็วเกินกว่า 72 กิโลเมตรต่อชัว่ โมง ความ ปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นนี้บางส่วนเป็นผลมาจากกล้อง สเตอริโอที่ถูกท�ำให้เป็นส่วนหนึ่งของกระจกบังลม ด้านหน้าซึ่งท�ำงานในลักษะเดียวกับเทคโนโลยี กล้อง 3 มิติ ให้ภาพแบบ 3 มิติของพื้นที่ด้านหน้า ตัวรถในรัศมี 50 เมตรในมุมมองแบบ 45 องศาและ สามารถขยายขอบเขตการตรวจสอบออกไปได้ สูงสุดถึง 500 เมตร > 59
คนละ มุ ม มอง
สำ � หรั บ เธอ ขนาดไม่สำ�คัญขอให้คล่องแคล่ว
ปราดเปรียว สำ�หรับเขารูปลักษณ์ภายนอกคือ ทุกสิ่งทุกอย่าง ผู้หญิงผู้ชายมีความสนใจที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะในเรื่องของรถยนต์ เราเชิญชายหญิงคู่หนึ่ง มาให้ทัศนคติของพวกเขาในประเด็นที่เกี่ยวกับ SL R129 ปี 1998
S
60
เรื่ อ ง J e n n y
Buchholz
ภาพ S t e fa n A r m b r u s t e r
askia Wunder และ Bernd Katzmarczyk พักอยู่ใน Munich เยอรมนี ฝ่ายหญิงเป็นผู้ตัดต่อและล�ำดับ ภาพยนตร์ ส่วนฝ่ายชายเป็นผู้ก�ำกับภาพยนตร์ พวกเขาอาศัยอยูใ่ จกลางเมืองและสามารถทีจ่ ะไป ไหนมาไหนด้วยวิธีการเดินเท้า อย่างไรก็ตามโดย ปกติพวกเขาจะใช้รถยนต์ในชีวิตประจ�ำวัน ไม่ว่า จะเป็นเพื่อการท�ำงานหรือบรรทุกเจ้าสุนัขพันธ์ุ Tibetan Terrier สองสามีภรรยาได้ทดลองขับ 1998 Mercedes-Benz SL R129 ไปยังเมืองมิลาน ประเทศ อิตาลีมาแล้วในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ หลังจากนัน้ ทั้งคู่ได้ให้ทัศนคติต่อสิ่งที่เกิดขึ้นกับพวกเขาขณะ อยู่ที่บ้าน Saskia มีท่าทีผ่อนคลายมากกว่า Bob ขออนุญาตเรียกอย่างคุ้นเคย “ภายในของเมอร์เซเดสคลาสสิครุน่ นีต้ กแต่งโดยหนังโทนสีออ่ นและ พรมสีครีม ไม่ใช่ในแบบของ Bob แต่ฉนั เกรงว่าการ > ตกแต่งภายในอย่างนี้จะเป็นฝ่ายพ่ายแพ้”
dr i v e
เข้ า กั น ได้ เ ป็ น อย่ า งดี
Saskia, Bernd และ SL ด้านนอก ของ Teatro degli Arcimboldi โรงภาพยนตร์และโอเปร่าเฮ้าส์ ที่มีชื่อเสียงในเมืองมิลาน
i Saskia อายุ
i 29 ปี
Bernd อายุ
38 ปี
อาชีพ ผู้ตัดต่อและล�ำดับภาพยนตร์
อาชีพ ผู้ก�ำกับภาพยนตร์
การเดินทางต่ออาทิตย์ บางครั้งมากกว่า 500 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับงาน
การเดินทางต่ออาทิตย์ น้อยที่สุด 50 แต่บ่อยครั้งที่เกินกว่า 100 กิโลเมตร (30/60)
สถานะ ไม่เคยขับรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ มาก่อน
สถานะ ไม่เคยมีประสบการณ์กับ เมอร์เซเดส มาก่อน
61
เปิ ด หลั ง คา
Saskia ชอบรถยนต์ ที่มีเหลี่ยมมุมบ้าง
ใหญ่ ยาว
และงดงาม เพียงพอที่จะ ก่อให้เกิดความ รู้สึกถึงการ หักห้ามใจมาก กว่าการโอ้อวด saskia
62
dr i v e
ในเรื่องของพละกำ�ลัง บ่อยครั้งการทำ�อัตราเร่ง
sa s k i a
ปกติ ง านของฉั น จะสั ม พั น ธ์ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ดังนั้นหากฉันพอมีเวลาว่าง จะเจียดเวลาให้กบั การค้นหาความงดงามทีเ่ กิดขึน้ จากในอดีต รูปแบบความคลาสสิคที่เพิ่งจะไม่เกิด ขึ้นไม่นานมานี้สืบทอดความเป็นแบบฉบับดั้งเดิม ให้เห็นมากกว่ารูปทรงกลม รูปทรงแบบยานอวกาศ ที่เราเห็นอยู่มากมายในทุกวันนี้ ฉันชื่นชอบ SL ตั้ ง แต่ ส ายตาของฉั น ปะทะเข้ า กั บ เส้ น มุ ม ต่ า งๆ ความใหญ่ ความยาว และความสวยงามทีเ่ พียงพอ ทีจ่ ะท�ำให้เกิดความรูส้ กึ ของการหักห้ามใจมากกว่า การโอ้อวด ภายในให้ความรู้สึกเหมือนกับหมู่เมฆ ที่แม้แต่ส่วนล่างของชุดแผงหน้าปัดก็ยังเป็นพรม เมือ่ ฉันเข้าไปนัง่ ข้างในรูส้ กึ เหมือนจมลงไป เบาะนัง่ คล้ายกับนัง่ ลงไปบนเก้าอีท้ มี่ ที วี่ างแขน พืน้ ทีว่ างขา ทัดเทียมกับบนเครื่องบินโดยสารส่วนตัว มีพื้นที่ ที่กว้างขวางเหลือเฟือจนคุณอาจจะลืมพื้นที่เก็บ สัมภาระด้านหลังไปเลย เมือ่ เราขับขีโ่ ดยเปิดหลังคา ออก ฉันรูส้ กึ เหมือนกับเป็นศูนย์กลางของความสนใจ ท�ำให้สามารถทีจ่ ะมองออกไปภายนอกเหนือกระจก หน้าที่ต�่ำแบบนี้ได้เลย โดยทั่วไปแล้วฉันไม่ชอบ อะไรที่เป็นกลไก ฉันชอบอุปกรณ์ที่เรียบง่ายและ บางทีมนั ท�ำให้ฉนั ประหลาดใจได้เหมือนกันทีค่ วาม คิดบางอย่างใช้ไม่ได้กบั รถยนต์ทั้งหมด เช่น ปุ่ม 3 ปุ่มพร้อมโปรแกรมการตัง้ ล่วงหน้าส�ำหรับต�ำแหน่ง ของเบาะที่นั่ง ซึ่งเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่ยอดเยี่ยม ส�ำหรับครอบครัวที่มีผู้ขับรถยนต์หลายคน
กิโลเมตรต่อชั่วโมงราวกับการเดินเล่น เรื่อยเปื่อยอยู่ในสวนสาธารณะ
0 - 100 bernd
be rnd i SL 500
เครื่องยนต์/แรงม้า
8 สูบ 5.0 ลิตร 225 kW ที่ 5,600 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 460 นิวตันเมตร ที่ 2,700 – 4,250 รอบต่อนาที
ระบบส่งก�ำลัง
เกียร์อัตโนมัติเดินหน้า 5 จังหวะ
ความปลอดภัย
R129 เป็นรถยนต์คันแรกที่มีโครงนิรภัย ท�ำงานโดยอัตโนมัติในเวลา 0.3 กรณีมีเหตุ ฉุกเฉิน ประดิษฐกรรมอื่นที่น�ำมาใช้เมื่อเปิดตัว ในปี 1989 หมอนรองศีรษะและเข็มขัดนิรภัย ติดตั้งเป็นชุดเดียวกับเบาะนั่ง
ความสะดวกสบาย ยกนิ้ ว ให้
Bernd ประทับใจไปกับ รัศมีวงเลี้ยวที่แคบของ SL
นอกจากแบบหลังคาอ่อนท�ำงานโดยอัตโนมัติ แล้วยังมีแบบหลังคาแข็งด้วย หลังคาแข็งแบบ มีกระจกโปร่งแสงบางส่วนเป็นอุปกรณ์ติดตั้ง พิเศษช่วยให้ผู้ขับขี่รู้สึกเหมือนขับรถยนต์แบบ หลังคาเปิดในช่วงฤดูหนาว
ด้ ว ยความสั ต ย์ ผมมีความกังวลเล็กน้อยทีด่ เู หมือน ว่ารถยนต์คนั นี้ค่อนข้างจะล้าสมัยไปแล้ว แต่ในความ เป็นจริงผมชอบมันจริงๆ SL เป็นรถยนต์ท่เี ทียบได้กบั James Bond คือทั้งเท่ มีเสน่ห์ และงดงาม แต่ในเรื่อง ของพละก�ำลัง บางครั้งมันสามารถท�ำอัตราเร่งจาก 0 - 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ในเวลาเพียง 6.5 วินาที ราวกับเดินเล่นเรื่อยเปื่อยอยู่ในสวนสาธารณะ เสียง ของเครื่องยนต์ V8 เป็นเสียงที่ยอดเยี่ยมไม่ได้แสดงถึง อ�ำนาจบาตรใหญ่ แต่สุภาพและทรงพลัง ตามความ เป็นจริงผมชอบที่จะฟังเพลงขณะขับรถ แต่ในกรณีนี้ ผมเลือกที่จะเดินทางโดยปราศจากแผ่นซีดีเพลงโปรด ของผม เพือ่ ไม่ให้มากลบเสียงทีน่ า่ พิศวงของเครือ่ งยนต์ ผมชอบเสน่ห์ของระบบอนาล็อคต่างๆ ของรถยนต์ คันนี้ ซึ่งน�ำมาสู่ความจริงที่ว่าแต่ละปุ่มสวิทช์บนชุด แผงหน้าปัดมีฟงั ก์ชนั่ การใช้งานเพียงอย่างเดียว ใบปัด น�ำ้ ฝนเล็กๆ ทีช่ ดุ ไฟหน้ายังเป็นลูกเล่นทีน่ า่ รักใช้งานได้ ดีอย่างแท้จริง นอกจากนี้ผมยังประทับใจรถยนต์คันนี้ ที่มีรัศมีวงเลี้ยวแคบเหมือนกับรถขนาดคอมแพคท์ซึ่ง แตกต่ า งตรงกั น ข้ า มกั บ ขนาดของตั ว รถโดยสิ้ น เชิ ง มันให้ความรู้สึกเหมือนกับคุณสามารถท�ำมุมเลี้ยวได้ ถึง 120 องศาอย่างสบายๆ แน่นอนรถยนต์คนั นีถ้ กู สร้าง มาเพื่อดึงดูดความสนใจโดยแท้ และสมควรได้รบั การ < เก็บดูแลรักษาไว้ในโรงรถชั้นเยี่ยม 63
Wave
with the City
ความสนุกสีคราม
คลื่ น ยิ่ ง สู ง เท่ า ไร ความท้าทายส�ำหรับนักโต้คลื่นยิ่ง
เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ส�ำหรับผู้ที่หลงใหลในกีฬาสมบุกสมบันทางน�้ำนั้น หัวใจคุณอาจสูบฉีดเต้นแรงเมื่อคลื่นยักษ์มาปะทะ เป็นที่น่าเสียดายว่า คลื่นในเมืองไทยนั้นอาจไม่สูงและมีพลังมากพอทีจ่ ะเล่นกีฬาทางน�ำ้ อย่างประเภทกระดานโต้คลื่นต่างๆ ได้อย่างสนุกและเร้าใจ
64
เรื่ อ ง / ภาพ ปณธาดา ราชกิ จ
S p o rt
ท
ว่าตอนนี้ในบ้านเราก�ำลังมีแหล่งโต้คลื่นแห่งใหม่ ที่อาจกระตุ้นให้จิตวิญญาณนักผจญคลื่นให้กลับ มามีชีวติ ชีวากันอีกครั้ง แหล่งโต้คลื่นแห่งใหม่นี้ไม่ต้องไปไกลถึงทะเล ไม่ต้องเสียเวลานั่งรอคลื่น แถมมันกลับตั้งอยู่ใน ใจกลางเมืองหลวงอีกด้วย สถานทีแ่ ห่งนีก้ ค็ อื Flow House Bangkok สวรรค์ของคนรักกีฬามันทางน�้ำ ทีเ่ พิง่ มาเปิดตัวในเมืองไทยไม่นานนีเ้ อง จะเรียกว่า เป็นการโต้คลื่นเทียมก็ไม่ผิดนัก เพราะการโต้คลื่น ทีน่ นี่ นั้ สนุกกันกลางเมืองแบบไร้ทะเล แทนทีจ่ ะเป็น คลื่นแต่นักโต้คลื่นทั้งหลายนั้นจะได้ออกก�ำลังไป กับสายน�้ำที่มีความเร็วกว่าปกติ ไหลไปในทิศทาง เฉียงขึ้นเพื่อเพิ่มความสนุกในการโต้กับสายน�้ำได้ มากขึ้นนั่นเอง ส� ำ หรั บ กี ฬ าชนิ ด ใหม่ ดั ง กล่ า วนี้ ก็ คื อ FlowBoarding หรือ Flow Rider อันเป็นกีฬาในรูปแบบ Hybrid Boardsport ผสมผสานเทคโนโลยีทันสมัย เพื่อให้เราสามารถสนุกกับกีฬาโต้คลื่นนี้ได้แบบ ไม่ จ� ำ กั ด สถานที่ แ ละเวลา ซึ่ ง เทคโนโลยี i เตรียมตัวก่อนโต้คลื่น
ลี ล าล้ อ คลื่ น เที ย ม
กลางกรุง สนุกและเท่ได้ ไม่แพ้โต้คลื่นกลางทะเล
• กีฬาชนิดนี้ไม่จ�ำกัดอายุ เด็กๆ สามารถเล่นได้ แต่ต้องมีความสูงตั้งแต่ 107 ซม. ขึ้นไป • ไม่จ�ำเป็นต้องมีทักษะใดๆ เพราะที่นี่มี เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญคอยสอนและดูแล • ไม่ต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรมาทั้งสิ้น เพราะทาง Flow House Bangkok จัดเตรียมบอร์ดส�ำหรับโต้คลื่นไว้ให้แล้ว • การแต่งกายนั้นอิสระ แต่ต้องไม่มี ส่วนผสมของโลหะซึ่งอาจท�ำให้เครื่องเล่น เสียหายได้ (พื้นเป็นผ้าใบโพลีเอสเตอร์) แต่ก็ควรเป็นชุดที่เหมาะสมกับการเล่น กีฬาทางน�้ำ • เมืองไทยนั้นแดดแรง ควรทาครีมกันแดด ก่อนเล่นกีฬากลางแจ้งนี้น่าจะดีส�ำหรับ ผิวคุณมากกว่า • ควรโทรจองคิวล่วงหน้า เพราะกีฬานี้ ก�ำลังเป็นที่นิยม • อัตราค่าบริการ : 750 บาท / ชม. • อัตราค่าบริการพิเศษ : คุณสามารถซื้อ Flow Card ตามจ�ำนวนชัว่ โมงพร้อม เลือกรับโปรโมชั่นพิเศษมี 3 แบบดังนี้ Flow Card 5 ราคา 3,750 บาท เล่นได้ 7 ชม. / Flow Card 10 ราคา 7,500 บาท เล่นได้ 15 ชม. / Flow Card 15 ราคา 11,250 บาท เล่นได้ 25 ชม. (สามารถโทรสอบถามโปรโมชั่นอื่นๆ เพิ่มเติมได้) 65
ทักษะสำ�คัญนั้นก็คือ
การทรงตัวที่จะทำ�ให้คุณได้ ออกกำ�ลังกายตั้งแต่ต้นขา ถึงหน้าท้องเลยทีเดียว”
ดังกล่าวนี้สร้างความมันผ่านเครื่อง Flow Rider ที่จะผลิตกระแสน�้ำซึ่งไหลด้วยความเร็วกว่า 20 ไมล์/ชม. (32 กม./ชม.) จากน�้ำจ�ำนวนกว่า 30,000 แกลลอน โดยน�ำ้ เหล่านี้จะถูกผลักดันให้ไหลขึ้นสู่ เนินสูงที่มีระยะเอียงราว 30 องศาช่วยให้การไถล ของบอร์ดนั้นลื่นและง่ายมากขึ้น ซึ่งจุดนี้เองที่จะ ท�ำให้เราสามารถโต้สายน�้ำได้สนุกราวกับโต้คลื่น ในทะเลเลยทีเดียว เทคโนโลยีแห่งความสนุกนีถ้ กู พัฒนาขึน้ ในแถบ แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ก่อนที่จะได้รบั ความ นิยมอย่างมากจนเผยแพร่ไปยังอังกฤษ แอฟริกาใต้ สิงคโปร์ และเพิ่งจะบุกเมืองไทยหมาดๆ แล้วก็ แน่นอนว่ากีฬาอันน่าสนุกนี้ได้รับการตอบรับจาก คนที่หลงรักกีฬาในแนวเอ็กซ์ตรีมในบ้านเราอย่าง ดีเยี่ยม แถมยังเปิดประสบการณ์สำ� หรับหลายคน ที่ไม่เคยสัมผัสกับกีฬาโต้คลื่นในลักษณะนี้ให้ได้มี โอกาสสนุกโดยไม่ต้องเดินทางไปไกล
เครื่ อ ง Flow House
ขนาดใหญ่ที่ให้บริการคลื่นพร้อมกันได้ ถึง 2 ช่อง ในเวลาเดียวกัน
ความสนุ ก
บนเกลี่ยวคลื่นที่ รายล้อมด้วยตึกระฟ้า
ทิ ศ ทางการเคลื่ อ นที่
ของกระแสน�้ำให้ความรู้สึก ราวกับโต้คลื่นในทะเล
i Flow House Bangkok
ที่ตั้ง : A - Square ซ.สุขุมวิท 26 คลองเตย กรุงเทพฯ วันเวลาให้บริการ : จันทร์ - ศุกร์ 10.00 - 24.00 น. เสาร์ - อาทิตย์ 08.00 - 24.00 น. โทร. : 0 2108 5210
www . flowhousebangkok . com
66
หลายคนนัน้ กลัวว่าความสนุกในเชิงกีฬาเอ็กซ์ตรีมนีน้ นั้ จะต้องมีร่างกายทีแ่ ข็งแกร่ง หรือมีทกั ษะ ที่สูงลิ่ว แต่สำ� หรับ Flowboarding นี้เหมาะส�ำหรับ ทุกเพศ ทุกวัย และทุกทักษะ เล่นได้ตั้งแต่คนที่ไม่ เคยมีทกั ษะในการโต้คลืน่ ใดๆ เลยไปจนถึงนักกีฬา ระดับมือโปรทีฝ่ า่ คลืน่ มาแล้วนับไม่ถว้ น โดยทักษะ ส�ำคัญนั้นก็คือการทรงตัวที่จะท�ำให้คุณได้ออก ก�ำลังกายตั้งแต่ต้นขาถึงหน้าท้องเลยทีเดียว แถม กีฬาประเภท Flowboarding นัน้ ยังมีความปลอดภัย สูง (ล้มลงบนน�้ำที่มีความอ่อนนุ่ม แถมยังไม่ใช่ น�้ำลึกที่มอี ันตราย) และที่ Flow House Bangkok นัน้ ก็จะมีเจ้าหน้าทีค่ อยสอนและดูแลคุณอยูต่ ลอด เวลาอีกด้วย ส�ำหรับที่ Flow House Bangkok นัน้ ปกติจะแบ่ง การโต้คลืน่ เป็น 2 ฝัง่ โดยแต่ละฝัง่ จะจ�ำกัดจ�ำนวน คนไว้ท่ี 10 คน/ชม. ซึ่งจะผลัดกันเล่นเฉลี่ยรอบละ 1 นาที (กรณีมีคนน้อย เวลาในการเล่นต่อคนอาจ เพิม่ ขึน้ ) แต่ถา้ ใครอยากสนุกกับการโต้คลืน่ ในพืน้ ที่ ที่กว้างขึ้นนั้นขอแนะน�ำให้ไปลองมันกันในวันพุธ เพราะในวันนีเ้ ขาจะเอารัว้ กัน้ ตรงกลางออกให้กลาย เป็นลู่โต้คลื่นใหญ่เพียงช่องเดียวที่สนุกสุดเหวี่ยง ได้มากกว่า ซึ่งลู่ใหญ่น้นั จะก�ำหนดจ�ำนวนคนไว้ท่ี 12 คน/ชม. เห็ น ที ค ราวนี้ . ..สายน�้ำ ยิ่ ง เชี่ ย วและไหลแรง เท่าไร ความท้าทายส�ำหรับนักโต้คลืน่ กลางกรุงก็คง ยิ่งเพิ่มความสนุกมากขึ้นเท่านั้น
Star fruits
เครือข่ายเมอร์เซเดส-เบนซ์: สถานีปลายทาง ดิจิตอล 6 แห่ง ใน Web jungle สำ�หรับฤดูใบไม้ผลิ
สั ง คมภาพถ่ า ย
illustration: Mathias Rekowski photos: Daimler Ag
แฟชั่นวีค ถนนในฝันและประวัติศาสตร์ มากมาย ภาพที่ประทับใจจาก ประสบการณ์ของเมอร์เซเดส รวมถึงภาพที่ดีที่สุดจากการแข่งขัน รายการ Mille Miglia กลางเดือน พฤษภาคมนี้บนระบบศูนย์รวมข่าว
บล็ อ ก บล็อกอิสระสำ�หรับผู้ที่ชื่นชอบ ในเมอร์เซเดส-เบนซ์ ข่าวสาร มากมาย พร้อมข่าวที่ส่งมาที่ “SLS speed” BLOG.
blog . mercedes - benz - passion . com
68
d i g i t a l
มอเตอร์ ส ปอร์ ต
การแข่งขัน F1 ฤดูกาลใหม่ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการรู้เกี่ยวกับ Hamilton, Rosberg และ Mercedes AMG Petronas รวมถึง ภาพของเทคโนโลยีระดับสูงอีกมากมาย mercedes -amg - f1.com
เฟ ซบุ ๊ ค ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ หน้าอย่างเป็นทางการ งรถยนต์โมเดลใหม่ พรั่งพร้อมด้วยข้อมูลขอ ับพันภาพจาก พน วิดีโอออนไลน์และรูปภา วินาที ในฤดูใบไม้ผลิ ก ทุ น ้ ึ กข มา ม ่ ิ เพ ง ่ ึ จซ นใ ผู้ส ำ�เสนอเกมการแข่งขัน มน อ ร้ พ ม่ แอพพลิเคชั่นให ความตื่นเต้นเร้าใจด้วย ความเร็วทางเรียบที่ให้ ะหึ่มล้อมรอบตัวของผู้เล่น จะกร เสียงเสมือนจริงmซึ/่งme rc ed es be nz fa ce bo ok .
co
นิ ต ยสาร
นิตยสาร mb! มีการตีพิมพ์ในแบบออนไลน์แล้ว เว็บแมกกาซีน สำ�หรับคนมีไฟพร้อมบทความที่เกี่ยวกับดีไซน์ล่าสุด การออกแบบ วัฒนธรรม เพลง และเทรนด์การท่องเที่ยว เช่น การเยี่ยมเยือน นักเล่นกระดานโต้คลื่น Ben Adams (ภาพขวามือ) บนชายหาด Byron Bay ริมฝั่งทะเลด้านตะวันออกของออสเตรเลีย mercedes - benz . com / mb
การก� ำ หนดโครงร่ า ง
ภาพที่มีความคมชัดสูง มุมมอง 360 องศา พร้อมฟังก์ชั่นการซูมภาพ สีเสมือนจริง รายละเอียดพื้นผิวรวมถึงมุมมองเวลากลางวันและกลางคืน การก�ำหนดโครงร่างตัวรถตามรสนิยมด้วยตัวคุณเองส�ำหรับรถยนต์รนุ่ ใหม่ลา่ สุด mercedes - benz . com
69
เมืองแป้ (แพร่) ประตูสู่ล้านนา วลี ที่ ว ่ า “เมื อ งแป้ แ ห่ ร ะเบิ ด ”
เป็นเหตุอันชวนให้นักท่องเที่ยวจ�ำนวน ไม่น้อยเดินทางขึ้นเหนือมายัง “แพร่” เมืองเล็กๆ อันเงียบสงบ ถูกจัดอยู่ใน กลุ่มล้านนา 8 จังหวัดของภาคเหนือ ตอนบน มีระบบสาธารณูปโภค อย่างครบครัน แพร่จึงได้ชื่อว่า “ประตูสู่ล้านนา” พระธาตุช่อแฮ
บ้ า นวงศ์ บุ รี
สร้างจากไม้สักด้วยสถาปัตยกรรม แบบขนมปังขิงของยุโรป 70
เรื่ อ ง / ภาพ บั ง อร ทองมาก
e m o t i o n
ก
วัดสระบ่อแก้ว
ารวางแผนเที่ยว หากต้องการสัมผัสแก่นแท้ของ ศิลปวัฒนธรรมผ่านวัด เวียง วัง แนะน�ำว่าให้เทีย่ ว ในตัวเมืองเสียก่อน เพราะฉะนัน้ เป้าหมายแรกของ ฉั น จึ ง ตรงดิ่ ง ไปที่ พ ระธาตุ ช ่ อ แฮ เพื่ อ นมั ส การ พระเกศาธาตุและพระบรมสารีรกิ ธาตุพระศอกซ้าย ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึง่ เป็นปูชนียสถาน อันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของแพร่ และพระธาตุ ประจ�ำปีเกิดของคนปีขาล นอกจากพระธาตุชอ่ แฮ เมืองแพร่ยงั มีวดั เก่าแก่ สวยๆ อยูห่ ลายแห่งทีแ่ ม้จะผ่านการบูรณะซ่อมแซม มาบ้าง แต่ก็ยังงดงามด้วยศิลปะล้านนาผสมไทย ใหญ่ เช่น วัดจอมสวรรค์ วัดสระบ่อแก้ว วัดทีส่ ร้าง ขึน้ โดยชาวพม่าสามตระกูลทีเ่ ข้ามาเป็นลูกจ้างท�ำไม้ ให้กับบริษัทอิสเอเซียติกส์ วัดทั้งสองแห่งโดดเด่น ทางด้านศิลปะการฉลุลวดลายลงบนไม้หรือสังกะสี เพื่อใช้ประดับตามเชิงชายศาลาการเปรียญซึ่งใช้ เป็นที่ประกอบสังฆกรรม แต่ถา้ หากต้องการชมศิลปะสมัยเชียงแสนต้อง ไปชมที่ วัดศรีชุม อายุเก่าแก่กว่าพันปี ไม่ว่า พระอุโบสถหรือพระวิหาร ซึ่งภายในประดิษฐาน พระพุทธรูปยืนปางมารวิชัย ที่สูงใหญ่ที่สุดของ เมืองแพร่ ส่วนพระเจดียท์ รงปราสาทด้านหลังสร้าง ด้วยศิลปะแบบล้านนาทุกกระเบียด สร้างขึ้นราว พุทธศตวรรษที่ 20 สมบูรณ์งดงามไร้ที่ติทีเดียว ใกล้ๆ กันยังมีวดั หัวข่วง วัดพระนอน และวัดหลวง ซึง่ เก่าแก่รนุ่ ราวคราวเดียวกัน โดยเฉพาะวัดพระหลวง ซึ่งพระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าแสนหลวง พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน หุ้มด้วย ทองค�ำทั้งองค์ พระประธานของเมืองแพร่
พระพุ ท ธไสยาสน์ วัดพระนอน
พระพุ ท ธรู ป
แกะสลักด้วยไม้ วัดสะแล่ง
เตี ย งนอน
แบบโบราณ บ้านวงศ์บุรี
เมืองแพร่มีค�ำขวัญประจ�ำจังหวัดว่า “หม้อ ห้อมไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่อง แพะเมืองผี คนแพร่น้นี �้ำใจงาม” บ้านเรือนเก่าแก่ ของเมืองนี้ เช่น บ้านวงศ์บรุ ี (บ้านสีชมพู) ของแม่ เจ้าบัวถา บ้านประทับใจ คุ้มวิชัยราชา และคุ้ม เจ้ า หลวงเมื อ งแพร่ ล้ ว นสร้ า งจากไม้ สั ก ด้ ว ย สถาปั ตยกรรมแบบขนมปั งขิงของยุโรปซึ่งเป็น ที่นิยมในสมัยรัชกาลที่ 5-6 ก่อนแยกจากกันทีร่ า้ นลาบป้ามาอาหารพืน้ เมือง แสนอร่อย คุณภัทรอนงค์ ณ เชียงใหม่ ผอ.ททท. ส�ำนักงานแพร่ เธอแนะแนะน�ำให้ไปเมืองลอง ในฤดู ท�ำนาบริเวณเป็นจุดชมวิวที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของ เมืองแพร่โดยเฉพาะตรงบริเวณแยกแม่แขม > 71
อ�ำเภอลองเป็นอ�ำเภอเล็กๆ หากถามว่าเมือง ลองมีดอี ะไร? ตอบแบบไม่ตอ้ งคิดเลยว่า เมืองลอง มีผ้าตีนจกที่งามเหนือใคร ยิ่งเป็นฝีมอื การทอของ ป้าประนอม ทาแปง ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (ประณีตศิลป์-ศิลปะการทอผ้า) ปี พ.ศ. 2553 แห่งบ้านหัวทุ่งด้วยแล้ว ฝีมอื เหนือมนุษย์ ส่วนใหญ่ผู้ใช้ผ้าทอตีนจกมักเป็นผู้มีเชื้อสาย เนื่องจากมีราคาแพง ผ้าตีนจกเมืองลองในอดีต จะมีความกว้างประมาณ 10 นิว้ โดยมีลายจกยาว ประมาณ 2 ใน 3 ของตีนซิ่น ส่วนปลายล่างสุดต่อ จากลวดลายเป็นผ้าพื้น นิยมใช้สีแดงและสีเหลือง เป็นหลัก มักใช้ลายหลักประมาณ 1 หรือ 2 ลาย เช่น ลายผักแว่น ลายขามดแดง ลายส�ำเภาลอยน�ำ้ เป็นต้น ผูใ้ ช้สว่ นใหญ่นยิ มผ้าตีนจกทีย่ งั ไม่ได้นำ� ไป ต่อกับซิ่นเพื่อน�ำไปประยุกต์ตัดเย็บกับเสื้อผ้าสมัย ใหม่
มุ ม ห้ อ งโถงด้ า นหน้ า
ผู้หญิงในภาพคือแม่เจ้าบัวถา ผู้สร้างบ้านวงศ์บุรี
พระบั ว เข็ ม
วัดสระบ่อแก้ว
ห้ อ งโถงกลาง
บ้านวงศ์บุรี
i แม่ ป ระนอม ทาแปง
ปรมาจารย์เรื่องการทอผ้าตีนจก พระธาตุช่อแฮ
traveler’s guide Best season : ช่วงปลายฝนต้นหนาว อากาศก�ำลังเย็นสบาย ท้องฟ้าโปร่ง How to go : จากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวง
หมายเลข 1 แล้วแยกเข้าทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านอ�ำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และเข้าสู่จังหวัดแพร่ทางอ�ำเภอเด่นชัย รวม ระยะทาง 551 กม.
Where to stay : แพร่เป็นเมืองเล็กๆ
แต่มีที่พักให้เลือกหลายระดับเริ่มตั้งแต่ 400 บาทขึ้นไป สามารถสอบถามได้ที่ ททท. ส�ำนักงานแพร่ โทร. 0 5452 1118, 0 5452 1127 www . tourismthailand . org / phrae www . easternlanna . org
What to eat : แพร่เป็นเมืองท่องเที่ยว
ที่ค่าครองชีพถูก เงินร้อยบาทสามารถ อิ่มท้องได้ทั้งวัน โดยเฉพาะตลาดเช้ามี ขนมเส้นร้อนๆ ถ้วยละ 10 บาท ให้ชิม แต่ถ้าอยากลองอาหารพื้นเมือง ประเภท ลาบ ลู่ อ่อม แนะน�ำร้านลาบป้ามาทางไป อ�ำเภอลอง หรือร้านไก่ยา่ งน�ำ้ ช�ำ ทีบ่ า้ นน�ำ้ ช�ำ 72
ฉันให้เวลาครึง่ เช้ากับป้าประนอม ทาแปง แห่ง บ้านหัวทุ่ง กับการชมพิพิธภัณฑ์โกมลผ้าโบราณ เหตุจ�ำเป็นที่ต้องออมเวลาไว้เพื่อแวะไปวัดสะแล่ง วั ด เล็ ก ๆ กลางทุ ่ ง แต่ เ ต็ ม ไปด้ ว ยเรื่ อ งราวและ ของล�้ำค่า ฝีมือสะสมของครูบาสมจิตเจ้าอาวาส สิง่ ส�ำคัญในเขตสังฆาวาส ได้แก่ พระธาตุชะอูบค�ำ พระอุ โ บสถหลั ง เก่ า ศิ ล ปะล้ า นนา ส่ ว นเขต พุทธาวาสใหม่มพี ระเจดียธ์ าตุ พระพุทธรูปปางมาร วิชยั ศิลปะตระกูลช่างสุโขทัย ส่วนศาลาการเปรียญ ปัจจุบันจัดตั้งเป็น “พิพิธภัณฑ์วัดสะแล่ง” แสดง วั ต ถุ โ บราณ อาทิ พระพุ ท ธรู ป ทองค�ำ โบราณ รอยพระพุทธบาทคู่ขนาดต่างๆ รอยพระพุทธบาท ผ้า พระราชยาน ๔ ล�ำคาน เป็นต้น ฉั น ปิ ด ท้ า ยการเดิ น ทางมายั ง จั ง หวั ด แพร่ ทีอ่ ำ� เภอลอง เมืองเล็กๆ อันเงียบสงบ หากแต่ยงิ่ ใหญ่ ทั้งวิถีผู้คนและศิลปวัฒนธรรมอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง คนที่นี่ก�ำลังจะบอกเราว่าการโอ้อวดหาได้เป็น คนฉลาดไม่ ชาวเมืองแพร่จึงสมัครใจและไม่โกรธ เคืองที่ถูกล้อเลียนว่า “คนเมืองแพร่ แห่ระเบิด” เพราะวลีนี้ได้ ช่ วยคัดกรองนักท่องเที่ยวเฉพาะ กลุม่ ทีส่ นใจใคร่รอู้ ย่างแท้จริง ซึง่ มักจะเลือกยืนอยู่ ข้างวิถีดั้งเดิมของคนท้องถิ่น ไม่น�ำสิ่งที่เรียกว่า ความศิวิไลซ์มาท�ำลายกลิ่นอายล้านนาของคน > เมืองแพร่
ค่อนทางสู่สวรรค์
ชวนคุ ณ ผู ้ อ ่ า น นั่งสูดออกซิเจนกระป๋อง ฟังผมเล่าเรื่องเมืองเลห์
ไป 1 ฉบับแล้ว ก็ยังแค่วนเวียนอยู่ขอบๆ เขาพระสุเมรุ ขออนุญาต อยู่ที่นี่ต่ออีกตอน เพราะส่วนที่เหลือของทริปนี้ ล้วนเป็นเรื่องสวยงาม ที่ออกแนว “ดุ” ทั้งนั้น
74
เรื่ อ ง / ภาพ นภั น ต์ เสวิ กุ ล
e m o t i o n
บนยอดคาดุ ง ลา
มีวิหารขนาดเล็ก ตั้งอยู่ ก็สู้ตะกาย ฝ่าความหนาว ขึ้นไป ด้วยความ ประทับใจว่าได้มา ยืนถ่ายรูปอยู่ตรง แผ่นดินที่สูงที่สุด ในชีวิตแล้ว
ห
Khardung La Pass ลัดเลาะเลียบขุนเขา น้อยใหญ่ ไปสู่ความสูง ถึง 5,600 เมตร หรือ 16,800 ฟุตจากระดับ น�้ำทะเล สามเท่าของ ดอยอินทนนท์
ลังจากที่ศึกษาหารายละเอียดของเส้นทางนี้มา ตั้งแต่เขายังไม่ไปเที่ยวกัน และใช้เวลานานเหลือ เกิน กว่าจะถึงวันที่ได้ไปถึงจุดหมายปลายฝันของ ตัวเอง คือการน�ำตัวมาอยูบ่ นเส้นทาง Khardung La Pass ที่น�ำผมข้ามขอบฟ้าไปสู่ นูบร้า แวลเลย์ (Nubra Valley) หมู่บ้านแสนสวยเชิงหิมพานต์ Khardung La Pass แม้จะเป็นถนนเล็กๆ แคบๆ ขับรถสวนกันแต่ละครั้งก็ยังยาก แต่เป็นเส้นทางที่ นักผจญภัยคนไหนๆ ก็อยากมาใช้เสี้ยวหนึ่งของ ชีวติ กันทีน่ ี่ เพราะเส้นทางทีเ่ ราก�ำลังแล่นไปนี้ เป็น ถนนที่สูงที่สุดในโลก คือสูงถึง 5,600 เมตรจาก ระดับน�้ำทะเล... มากกว่าครึ่งของเพดานบินเฉลี่ย ของเครื่องบินโดยสาร! รถขับเคลื่อนสี่ล้อพาเราลัดเลาะเลียบไหล่เขา ชมภูมปิ ระเทศงามแปลกตา ทีเ่ ปลีย่ นไปแทบจะทุก ครั้งที่รถผ่านโค้งหักศอก หรือบางครั้งก็ราวจะ หลุดออกไปสู่อากาศเวิ้งว้างเบื้องหน้า สูงขึ้นไป เท่าไรอากาศก็ทวีความหนาวเย็น และ...เบาบาง ลงทุกขณะ ระหว่างทางมีหิมะตกเป็นแห่งๆ แต่ แดดจัด! และนั่นคือสัญญาณอันตราย เพราะจะ ท�ำให้เกิด Black Ice หรือแผ่นน�ำ้ แข็งบางๆ แสนลืน่ เคลือบอยู่บนผิวแอสฟัลต์ และเราก็เริ่มเห็นฤทธิ์ ของสิ่งที่ว่านั้น เมื่อรถเริ่มปัดไปมาท�ำท่าจะลงเหว เสียหลายครั้ง รถออกอาการทีไรเสียงคุยและเสียง หัวเราะก็เงียบงัน หลายครั้งที่รถออกอาการยอม แพ้ตะกายต่อไปไม่ไหว ต้องถอยหลังลงมาตัง้ หลัก และขยับขึ้นไปทีละคืบ ทีละศอก กระทั่งในที่สุด โชเฟอร์ฝีมือดีก็ยกธงขาว ยอมลงมาใส่โซ่ที่สอง ล้อหลัง จากนั้นการเดินทางจึงค่อยราบรื่นหัวใจ คนนั่งขึ้นบ้าง... ผ่านไปสามชั่วโมง คณะของเราขึ้นไปถึงจุด สูงสุดของคาดุงลา จากที่นี่ เราสามารถมองเห็น เทือกเขาคาราโครัมของปากีสถานได้เลย หน่วย รักษาความปลอดภัยที่นั่น ไม่อนุญาตให้จอดอยู่ท่ี นี่นานนัก (แค่ 20 นาที) เพราะอากาศที่เบาบาง > อาจท�ำให้เราแพ้ความสูง และไม่สบายได้ 75
เส้นทางที่เรากำ�ลัง
ลามะ ทั้ ง พระและเณรน้ อ ย
แล่นไปนี้ เป็นถนนที่สูงที่สุด ในโลก คือสูงถึง 5,600 เมตร จากระดับน้ำ�ทะเล... มากกว่า ครึ่งของเพดานบินเฉลี่ย ของเครื่องบินโดยสาร!
ขมีขมันซักซ้อมการแสดง แสนจะตื่นตาตื่นใจผู้ ไปเยือน
ใจหายใจคว�ำ่ กับการนัง่ รถขึน้ เขาก็วา่ หนักแล้ว ลงเขายิ่งสาหัสกว่า เพราะต้องช่วยเขาลุ้น เหยียบ เบรก ลงมาตลอดทาง ปากบิดปากเบี้ยวปวด หน้าขาไปหมด หน�ำซ�ำ้ ระหว่างทาง ยังเห็นซากรถ ที่ร่วงลงเขา มาเป็นระยะๆ แต่ละซาก ล้วนยับเยิน หาเค้าเดิมไม่ได้ทงั้ สิน้ ลงมาได้สกั ครึง่ ทาง ตากล้อง ก็ตาโตกันทั้งคัน เพราะที่ปรากฏอยู่ตรงหน้า คือ แม่น�้ำสินธุสีฟ้าเข้ม ที่คดเคี้ยว ลัดเลาะไปมาบน หาดทรายขาวละเอียด เลยไปหน่อย ยิ่งสวยหนัก ขึ้นไปอีก เมื่อมีแม่น�้ำ Zanskar โผล่ออกมาร่วม สายน�้ำจนกว้างใหญ่ไปจรดขุนเขาที่ตั้งตระหง่าน เป็นฉากหลัง ลงมาถึงที่ราบแคบๆ ยาวเหยียดระหว่างเทือก เขาสูง เราไปแวะเที่ยวกันที่ วัดดิสกิต เป็นวัดที่อยู่ บนเขา เห็นวิวทิวทัศน์ที่งดงามเช่นกัน แถมยังได้ดู 76
ต้ น หนาว แม่ น�้ ำ สิ น ธุ ยังสวยปานจะหยด แต่ในกลางหน้าฤดูหนาว ความสวยต้องคูณเข้าไป อีกสิบเท่า เพราะน�้ำและ น�้ำตกจะแข็งตัว กลายเป็น เส้นทางท่องเที่ยว สุดหฤโหด เมื่อต้องเดินไป บนแผ่นน�้ำแข็งที่อุณหภูมิ -30 องศาเซลเซียส
e m o t i o n
ลามะซ้อมพิธกี รรมเฉลิมฉลองในงานเทศกาลทีจ่ ะ มีขึ้นในอีกสองสัปดาห์ข้างหน้า วันรุง่ ขึน้ เข้าไปเทีย่ วบนเนินทราย (Sand Dune) กว้างใหญ่ จนอาจเรียกว่าเป็นทะเลทรายน้อยๆ เชิงเทือกเขาหิมาลัย...ช่างเป็นปรากฏการณ์อัน มหั ศ จรรย์ ข องธรรมชาติ จ ริ ง ๆ หลั ง จากนั้ น ก็ ท่องเทีย่ วไปตามหมูบ่ า้ นน้อยใหญ่ใน นูบร้า แวลเลย์ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกผลไม้ของถิ่นนี้
แต่ ตลอดครึ่งบ่ าย บนเส้ นทางกลับไปเลห์ เราต้องผจญกับพายุหิมะ ที่พัดกระหน�่ ำตลอด หลายชัว่ โมง บางครัง้ รถก็ต้องจอดนิง่ ๆ เป็นชัว่ โมง สนุกก็สนุก กลัวก็กลัว ได้กลับมาได้พักหายใจ ยาวๆ ในเลห์ได้แค่คนื เดียว วันรุง่ ขึน้ ก็ออกเดินทาง ไปทะเลสาบปันกอง (Pangong Lake) ซึง่ เป็นรายการ สุดท้ายในทริปนี้ เพราะเป็นการเดินทางขึ้นไปทาง เหนื อ ไกลถึ ง พรมแดนต่ อ กั บ ประเทศจี น >
77
ภู ผ า เนิ น ทรายและสายธาร
แสนสวยของ นูบร้า แวลเลย์ งดงามเกินพรรณา
เดิ น ทางถึ ง ทะเลสาบปั น กอง ทะเลสาบน�้ำเค็มที่อยู่ในระดับ ความสูงราว 4,400 เมตร จากระดับน�้ำทะเล เป็นทะเลสาบ ที่มีความสวยงามเปลี่ยนสี ไปเรื่อยตามสภาพแสง เช่น สีฟ้าอ่อน สีฟ้าเข้ม
อากาศจึงหนาวเย็นมากมาย หิมะโปรยปรายลงมา ต้อนรับตั้งแต่เริ่มเดินทาง แต่ไม่ดุดันเหมือนเมื่อ วาน รถบนถนนก็น้อยกว่า ไม่มีคาราวานสิบล้อมี แต่รถนักท่องเที่ยวที่มุ่งหน้าสู่จุดหมายปลายทาง เดียวกัน การเดินทางส่งท้ายทริปจึงแสนจะรืน่ รมย์ วั น นี้ จุ ด ที่ สู ง สุ ด ของถนนสายนี้ ที่ เ รี ย กว่ า Chang La Pass อยู่ท่ปี ระมาณ 5,300 เมตรจาก ระดับน�ำ้ ทะเล เป็นถนนทีส่ งู เป็นอันดับสองของโลก และทีจ่ ดุ สูงสุดนี้ มีหอ้ งพักผ่อนอุน่ ๆ ให้นกั ท่องเทีย่ ว เข้ามาผิงไฟ พร้อมจิบชาร้อนหอมกรุ่น ที่มีบริการ ให้ฟรีอีกด้วย นั่งรถลงเขามาแล้วก็ใช่ว่าจะถึงเลย ยังต้องขับรถผ่านภูเขาแสนสวย ผ่านทุง่ หญ้างามๆ ข้ามล�ำธารใสๆ อีกชั่วโมงเต็มจึงได้ถึงทะเลสาบ ปันกอง ทะเลสาบน�้ำเค็มที่สูงที่สุดในโลก ตั้งอยู่ ระหว่างจีนกับอินเดีย 78
เราโชคร้ายหน่อยที่ไม่ได้เห็นผิวน�้ำสีฟ้า หรือ เขียวอ่อนเรียบเป็นกระจกอย่างทีเ่ ห็นในรูป แต่เป็น ปันกอง ทีอ่ ารมณ์ไม่คอ่ ยดี และต้อนรับเราด้วยลม หนาวเสียดกระดูก แต่นนั่ ก็เป็นโอกาสดีไปอีกอย่าง เพราะท�ำให้ช่างภาพร้อนวิชาในคณะ (รวมทั้งผม) ถือโอกาสถ่ายภาพด้วยเทคนิคทีเ่ รียกว่า Timelapse ทีใ่ ห้กล้องถ่ายรูป ถ่ายภาพเยอะ ต่อเนือ่ งกันนานๆ แล้วเอามาฉายต่อกันเป็นภาพเคลือ่ นไหว จึงชักชวน กันออกไปตั้งกล้อง แล้วก็วิ่งตัวสั่นงันงกกลับมา หลบลมอยู่ในรถ พร้อมภาวนาว่าอย่าให้ลมแรง พัดเอากล้องหน้าคว�่ำลงทะเลสาบไป มาเทีย่ วให้ครบสูตรทีป่ นั กอง ต้องนอนค้างคืน นับดาวริมทะเลสาบ แต่เพราะช่วงทีผ่ มไป เข้าหน้า หนาวแล้ว เขาจึงห้ามไม่ให้ค้างที่นั่น ต้องกลับไป พักแรมที่โรงเตี๊ยมในหมู่บ้าน ซึ่งก็ได้ประสบการณ์ ระดับห้าดาว เช่น บางห้องมีหม้อน�้ำร้อนขนาด ใหญ่ (และพบว่าไม่มนี ำ�้ ร้อนไหลสักหยด) บางห้อง มีห้องน�้ำ บางห้องไม่มี และที่ไม่มเี หมือนกันหมด ก็คือ ผ้าเช็ดตัว ...สรุปว่าคืนนั้น ถอดถุงเท้าและ สีฟันก่อนนอนก็เป็นเสร็จพิธี แต่ก่อนจะเข้านอน ตากล้องก็ชกั ชวนกันออกไปถ่ายภาพดาวทีพ่ ร่างพราว เต็มฟ้าได้มาอีกคนละจุใจ วันรุ่งขึ้น กัดฟันกันว่าจะเข้าไปล้างตา ถ่ายน�้ำ นิง่ ๆ ท่ามกลางแดดใสๆ ในทะเลสาบกันอีกสักครัง้ แต่ก็ตัดสินใจยกเลิกเพราะต้องใช้เวลาไป-กลับ อย่างน้อยก็สามชั่วโมงครึ่ง แถมวันถัดไปจะต้อง กลับบ้านกันแล้ว ถ้าหิมะตกหนัก ทางปิด แปลว่า ตกเครือ่ ง จะหนักยิง่ กว่าเดิม จึงเทีย่ วกันแบบเบาๆ แล้วกลับมาเก็บภาพสวยๆ สั่งลากันในเมืองเลห์ กันเป็นรอบสุดท้าย
<
สลัด Peach and Prosciutto
SHUFFLE
Rustic yet Refined “ผมเรียนจบมาทางด้านการถ่ายภาพและบริหาร ไม่เคยเข้าโรงเรียน สอนท�ำอาหารอย่างเป็นเรื่องเป็นราว” ค�ำตอบที่จริงใจเรียบง่าย เป็นธรรมชาติแต่แฝงเรื่องราวให้คิดต่อได้ สะท้อนถึงตัวตนของ ร้านอาหารสไตล์อเมริกันนี้อย่างชัดเจน เชฟนิ ก กฤษฎา จิ น ตกานนท์ เจ้าของร้านและเชฟใหญ่ 80
เรื่ อ ง ธั ช ชั ย นาคพั น ธุ ์ ภาพ S h u f f l e / ปณธาดา ราชกิ จ
m o t i o n e mot
ลอง Shuffle Salmon ทีไ่ ม่ธรรมดาด้วยการน�ำผักบุง้ ไทยๆ ของเรามาท�ำเป็นเส้นฝอยผัดเนยกระเทียม เสิร์ฟคู่กับเสต็กปลา เพิ่มรสสัมผัสกรุบกรอบได้ไม่ เหมือนใคร และอย่าลืมเติมเต็มมือ้ นีใ้ ห้สมบูรณ์ดว้ ย Craft Beer ที่นำ� เข้าจากโรงเบียร์ท้องถิ่นในอเมริกา ให้อารมณ์เข้ากับการตกแต่งดิบๆ แบบ Rustic Industrial Loft ของร้านได้เป็นอย่างดี ก�ำลังเพลินๆ กับอาหารอยู่ เชฟนิกก็ตอ้ งขอตัว ไปช้อปปิง้ วัตถุดบิ ส�ำหรับรอบอาหารเย็นต่อ ท�ำเอง ทุกอย่างแบบนี้ ขอเป็นก�ำลังใจให้ครับ การตกแต่ ง ร้ า นแบบ Rustic Industrial Loft
เ
ชฟนิก กฤษฎา จินตกานนท์ เจ้าของและเชฟใหญ่ ของร้าน Shuffle ตอบ เมือ่ ผมเริม่ ถามถึงทีม่ าทีไ่ ปของ ร้าน ด้วยความทีเ่ ป็นคนชอบท�ำอาหารและตระเวน ขับรถไปลิ้มลองอาหารตามที่ต่างๆ ในอเมริกา เมื่อสมัยเรียน ท�ำให้ได้ไอเดียติดตัวกลับเมืองไทย พอสมควรบวกกับการท�ำงานจริงในร้านอาหารและ โรงแรมในกรุงเทพฯ ร้าน Shuff le จึงเกิดขึ้น โดย ชื่อนี้มาจากความทรงจ�ำของอาหารตามที่ต่างๆ หลากสัญชาติหลากวัฒนธรรมในอเมริกา และ ความตั้งใจของเชฟที่จะน�ำเสนอเมนูใหม่ๆ สับ เปลี่ยนหมุนเวียนไปตามวัตถุดิบที่เหมาะสมที่สุด ในแต่ละฤดูกาล อาหารของร้านเป็นสไตล์อเมริกัน แนว Rustic Cuisine เน้นวิธีการปรุงที่เรียบง่าย ดั้งเดิม โดดเด่น ด้วยรสตามธรรมชาติของวัตถุดิบหลัก ไม่มวี ิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องมากมาย และที่โดนใจผม อย่างจังคือรสชาติของอาหารที่เบาๆ แต่ครบรส ไม่หนัก ไม่เลี่ยนเหมือนอาหารอเมริกันส่วนใหญ่ ผมติดใจกับ Rustic Quesadilla ซึ่งเป็นแผ่นแป้ง เม็กซิกันสอดไส้ Prosciutto เสิร์ฟคู่มากับ Spicy Mayo ด้วยความกรอบนอกนุ่มใน เผ็ดๆ เค็มๆ ก�ำลังดี แต่ถา้ มาแนวรักษาหุน่ ไม่เน้นแป้ง ต้องสลัด Peach and Prosciutto ทีเ่ ด่นมาด้วยความหวานตาม ธรรมชาติของลูกพีช ตัดกับความเปรีย้ วของน�ำ้ สลัด บัลซามิก และความเค็มของชีสบรีทสี่ ไลส์เป็นแผ่น วางอยู่บนผักร็อกเกตได้อย่างลงตัว ส�ำหรับอาหารจานหลักห้ามพลาด HoneySmoked Pork Chop ที่หมักข้ามคืนจนนุ่ม แล้วน�ำ ไปย่างกับน�้ำผึ้งและปาปริกาเพิ่มความหวานหอม ต้องยกนิว้ ให้กบั ความชุม่ ฉ�ำ่ ของพอร์คช็อปชิน้ หนา ที่สุกก�ำลังดี ไม่แห้งเลย หรือถ้าชอบปลา อยากให้
i
ร้ า น Shuffle Rustic Cuisine & Bar เปิดบริการทุกวัน 11.30 - 24.00 น. ชั้น 2 โครงการ Rain Hill สุขุมวิท 47 โทร. 02 261 6992
Rustic Quesadilla
แผ่นแป้งเม็กซิกันสอดไส้ Prosciutto เสิร์ฟคู่มากับ Spicy Mayo
Honey-Smoked Pork Chop
ชิ้นหนาที่หมักจนนุ่มแล้วน�ำไปย่างกับน�้ำผึ้งและปาปริกา 81
Mercedes-Benz A-Class Driving Experience 2013 ปลอดภัยทุกจังหวะการขับขี่
เมอร์ เ ซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย ตอกย�้ำความเป็นผู้น�ำด้านความปลอดภัยและนวัตกรรมยานยนต์ จัดทดสอบสมรรถนะเชิง ความปลอดภัยในงาน “Mercedes-Benz A-Class Driving Experience 2013” เปิดประสบการณ์ ใหม่เร้าใจบนสนามเซอร์กิต เป็นครั้งแรกกับเมอร์เซเดส-เบนซ์ The new A-Class ณ สนามแข่งโบนันซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล สปีดเวย์ เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
ก
82
ารทดสอบสมรรถนะเชิงความปลอดภัยถือเป็นส่วน ส�ำคัญยิง่ ในปรัชญาด้านความปลอดภัยแบบบูรณาการของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ซึ่งในปีนี้จัดขึ้นเป็น ปีที่ 10 โดยน�ำเมอร์เซเดส-เบนซ์ The new A-Class รุ่น A 250 AMG Sport และ A 180 Style มาใช้ใน การทดสอบถึง 15 คัน เพือ่ ให้ลกู ค้าและสือ่ มวลชน ได้เข้าถึงศักยภาพในสมรรถนะและประสิทธิภาพ ของเครื่องยนต์ที่สะท้อนความเป็นสปอร์ต ปราด เปรียว คล่องแคล่วของ The new A-Class กันอย่าง เต็ ม ที่ พร้ อ มเชิ ญ ที ม นั ก แข่ ง มื อ อาชี พ ที่ มี ประสบการณ์ แ ละความเชี่ ย วชาญการขั บ ขี่ บ น สนามแข่งมาแนะเทคนิคการขับขี่ รวมถึงระบบ ความปลอดภัยต่างๆ ที่ติดมากับตัวรถ ร่วมกับทีม ผู้ฝึกสอนจากเมอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย เรื่ อ ง / ภาพ เมอร์ เ ซเเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย)
m o m e n t s
p u b l i c at i o n d e ta i l s March | 2013 Thailand issue
การทดสอบใช้เวลา 1 วันเต็ม ประกอบไปด้วย แบบทดสอบลักษณะต่างๆ ได้แก่ การบังคับรถใน ทิศทางทีก่ ำ� หนด (Handling Challenge) การขับด้วย ความเร็ ว และเปลี่ ย นช่ อ งทางวิ่ ง แบบกะทั น หั น (High Speed Lane Change) เพื่อเรียนรู้อาการ ของรถและการควบคุมรถอย่างถูกวิธีเมื่อขับด้วย ความเร็วสูง และการจ�ำลองสถานการณ์เพือ่ ทดสอบ โปรแกรมควบคุมการทรงตัวอัตโนมัติ หรือ ESP® Electronic Stability Progra เมื่อต้องควบคุมรถ ในสถานการณ์คับขัน เช่น หักหลบสิ่งกีดขวาง บนถนนเปี ย กลื่ น และเปรี ย บเที ย บอาการเสี ย การทรงตัว อาการเข้าโค้งและหลุดโค้ง เป็นต้น รวมระยะเวลาการจัดทดสอบ 18 วัน (ระหว่าง วันที่ 7 - 24 กุมภาพันธ์ 2556)
ฉบับภาษาไทย 1/2013 อำ�นวยการผลิต บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำ�กัด ชั้น 19 อาคารรัจนาการ เลขที่ 183 ถนนสาทรใต้ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพฯ 10120 โทร. 0 2614 8888 ต่อ 6121 แฟกซ์ 0 2676 5685 www.mercedes-benz.co.th ที่ปรึกษา พงศ์เทพ มหาเปารยะ, ผศ. ประเทื อ ง ครองอภิ ร ดี , อาภาภรณ์ โกศลกุ ล , กาญจนา หงษ์ ท อง บรรณาธิ ก ารบริ ห าร เยาวเรศ เลิ ศ ลื อ ชาชั ย ผู้ ช่ ว ยบรรณาธิ ก ารบริ ห าร นั ต ฐา เลิ ศ จตุ ร ภั ท ร กองบรรณาธิ ก าร สุภาวดี ใหม่สุวรรณ์, ฬียากร เจตนานุศาสน์, นุดา พวงชะบา, ภิญญดา แซ่ตั้ง บรรณาธิการศิลปกรรม ธวัชชัย เลิศจตุรภัทร ศิลปกรรม นิรันดร์ ถิระสุข จัดทำ�โดย บริษัท เวอร์โก อาร์ต กิลด์ จำ�กัด ติดต่อโฆษณา พรวิภา กล้าหาญ, นิรมล สุวรรณดี โทร. 0 2196 1062-5 พิมพ์ที่ อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง
ผู้จำ�หน่ายและศูนย์บริการรถยนต์เมอร์เซเดส-เบนซ์ อย่างเป็นทางการ กรุงเทพฯ และปริมณฑล
กลุ่มทองหล่อ โทร. 0 2714 8888 เค้งหงษ์ทอง โทร. 0 2962 6300 ทีทีซี มอเตอร์ส โทร. 0 2322 8575 ธนบุรีพานิช จำ�กัด • ราชดำ�เนิน โทร. 0 2622 3000 • ลุมพินี-สาทร โทร. 0 2286 7356 • งามวงศ์วาน โทร. 0 2954 0200 เบนซ์ ตลิ่งชัน โทร. 0 2880 7180-9 เบนซ์ บีเคเค กรุ๊ป โทร. 0 2745 2222 เบนซ์ บีเคเค วิภาวดี โทร. 0 2930 1881-99 เบนซ์ พระราม 3 โทร. 0 2291 1212 เบนซ์ ราชครู โทร. 0 2617 1212 เอ็มบี รามอินทรา โทร. 0 2945 4555 สวนหลวง ออโต้เฮ้าส์ โทร. 0 2322 5999 พันทวี ออโต้ มาสเตอร์ โทร. 0 2542 1269 สตาร์ แฟลก* โทร. 0 2644 9050-9
ภาคกลาง
เบนซ์เพชรรัตน์ โทร. 0 3428 4381-4 เบนซ์เภตรา โทร. 0 2979 6889-94
ภาคตะวันตก
ที เอส ที เมอร์เซเดส-เบนซ์ โทร. 0 3234 1564-6
ภาคเหนือ
เจริญมอเตอร์เบนซ์ โทร. 0 5341 2911-2 พิษณุโลกนามทอง โทร. 0 5522 3999
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เบนซ์ วีทซี ี มอเตอร์ โทร. 0 4528 0695-6 เบนซ์ อุดรธานี โทร. 0 4224 9416-22 ออโตโพลิส โทร. 0 4334 4333 เอ็มบี โคราช ออโตเฮาส์ จำ�กัด โทร. 0 4422 2777-9
ภาคตะวันออก
จิตต์ชัยชลบุรี โทร. 0 3876 4121-4 จันทบุรี เจพี มอเตอร์ โทร. 0 3941 8888 เบนซ์ ระยอง (สาขาพัทยา) โทร. 0 3870 2590-1
ภาคใต้
เบนซ์ภูเก็ต โทร. 0 7623 9700-1 สงวนวัฒนาเอนเตอร์ไพรส์ โทร. 0 7436 5650-6
ศูนย์งานสีและตัวถัง
วิริยะคาร์บอดี้ เซอร์วิส โทร. 0 2926 8019-25 *จำ�หน่ายเฉพาะรถเพื่อการพาณิชย์
เป็นนิตยสารราย 3 เดือนทีไ่ ด้รบั การตีพมิ พ์และ เผยแพร่เป็นภาษาต่างๆ กว่า 40 ภาษาทัว่ โลก บริษทั เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จำ�กัด จัดทำ� ฉบับภาษาไทยขึ้นเป็นบริการพิเศษ เพือ่ อภินนั ทนาการแด่ลกู ค้าผูท้ รงเกียรติทว่ั ประเทศทีซ่ อ้ื รถยนต์ใหม่จากผูจ้ ำ�หน่ายรถยนต์ เมอร์เซเดส-เบนซ์ อย่างเป็นทางการ ทัง้ นี้ สิทธิใ์ นการรับ ไม่สามารถโอนให้กับท่านอื่นได้ บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงโดยมิต้อง แจ้งล่วงหน้า นิตยสารฉบับนี้ขอมีส่วนในการอนุรักษ์ส่ิงแวดล้อม ด้วยการพิมพ์โดย หมึกถัว่ เหลือง และสำ�หรับดิจติ อลแมกกาซีนฉบับเต็ม สามารถดาวน์โหลดแอพลิเคชัน่ ได้ท่ี App Store หรือ www.mercedes-benz.co.th ฉบับภาษาไทยจัดพิมพ์โดยบริษทั เวอร์โก อาร์ต กิลด์ จ�ำกัด ภายใต้ขอ้ ตกลงร่วมกับบริษทั เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด และเป็น ลิขสิทธิอ์ ย่างถูกต้องตามกฎหมายของบริษทั เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด และบริษทั เวอร์โก อาร์ต กิลด์ จ�ำกัด ขอสงวนสิทธิใ์ นการจัดพิมพ์ ท�ำซ�ำ้ อ้างอิงหรือ เผยแพร่บทความทัง้ หมดหรือเพียงบางส่วนในรูปแบบอืน่ ใด โดยปราศจากการยินยอม เป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้จัดพิมพ์ ข้อเขียน รูปภาพ และบทความทั้งหมดนี้เป็น ความคิดเห็นมุมมองของผู้เขียนโดยตรง ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด หรือผูพ้ มิ พ์แต่อย่างใด 83
ร่วมยลโฉม Montblanc Princesse Grace de Monaco
นายอั ช ฌ์ บุ ณ ยประสิ ท ธิ์ คุ ณ สโรชา ลายสุ ว รรณ
ลู ก ค้ า VIP
ผูจ้ ดั การอาวุโสฝ่ายการตลาด Executive Department บริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ Manager – Montblanc (ประเทศไทย) จ�ำกัด และ Leica
เ
มอร์เซเดส-เบนซ์ ประเทศไทย เชิญลูกค้า VIP ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ที่ถอื บัตร MercedesCard และเหล่าเซเลบริตชี้ นั้ น�ำของเมืองไทย ร่วมงาน เลี้ยงดินเนอร์สุดหรูพร้อมชื่นชมความยิ่งใหญ่ ของเครื่ อ งประดั บ เพชรคอลเลคชั่ น พิ เ ศษ “Montblanc Princesse Grace de Monaco” ครั้ง แรกในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เครื่องประดับเพชรชั้นสูงจาก Montblanc นี้ สะท้อนถึงกลิน่ อายของความเป็นหญิงสาวทีร่ า่ เริง อิสระ และสง่างามที่โดดเด่นของเจ้าหญิงเกรซ แห่งโมนาโก โดยประกอบไปด้วย 4 ชุด ได้แก่ Rose Glamour, Rose Princesse, Rose Divine และ Rose Méelodie นอกจากนี้ ลูกค้าผู้มีเกียรติ ยังร่วมชมนวัตกรรมเรือนเวลา “Montblanc Collection Villeret 1858” ณ ห้อง West Wing โรงแรมโอเรียนเต็ล เรสซิเด้นซ์
ของเมอร์เซเดส-เบนซ์ ที่ถือบัตร MercedesCard และเหล่าเซเลบริตี้ชั้นน�ำ ของเมืองไทยให้ความสนใจและให้เกียรติร่วมงานอย่างคับคั่ง
คุณดวง - วรรณพร โปษยานนท์
คุณสุพจน์ โล่ห์คุณสมบัติ
บรรยากาศ
คุณบุญชัย โชควัฒนา
คุณบุญเกียรติ โชควัฒนา
แฟชั่นโชว์สุดแสนหรูหราของการเปิดตัวคอลเลคชั่น สุดพิเศษ ‘Montblanc Princesse Grace de Monaco collection’
คุณพอล - คุณมาริษา ชิว
84
คุณกมลาโสภิษฐ์ ศรีรัตนา
คุณเศรษฐพงศ์ เผ่าวัฒนา
เรื่ อ ง / ภาพ เมอร์ เ ซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย)
m o m e n t s
รางวัลผู้จำ�หน่ายยอดเยี่ยม ด้านความพึงพอใจสูงสุด การสร้ า งความพึ ง พอใจ ให้แก่ลูกค้าถือเป็น
หัวใจส�ำคัญในการรักษาฐานลูกค้าเก่าให้อยู่กับ องค์กรนานเท่านาน ในขณะเดียวกันจะเป็นเสน่ห์ ในการดึงดูดลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ มาสู่องค์กรด้วยเช่นกัน ดร.อเล็กซานเดอร์ เพาฟเลอร์ (ที่ 2 จากขวา) ประธานบริหารบริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จ�ำกัดให้เกียรติเป็นประธานมอบรางวัลแก่ผู้จ�ำหน่ายฯ ที่ได้รับรางวัล The Marque of Distinction Award 2012 สูงสุด 3 อันดับแรกคือ คุณวิภา พงศ์ ไพโรจน์ (ที่ 1 จากขวา) รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท จิตต์ชัย ชลบุรี จ�ำกัด คุณจันทนา ลิ้มประยูรวงศ์ (ที่ 2 จากซ้าย) ผู้จัดการฝ่ายขาย ห้างหุ้นส่วน จ�ำกัด พันทวี ออโต้มาสเตอร์ และคุณกฤตรินทร์ ลิ้มราบรื่น (ที่ 1 จากซ้าย) กรรมการบริหาร บริษัท สวนหลวง ออโต้เฮ้าส์ จ�ำกัด
ห
ลั ก ส� ำ คั ญ ที่ จ ะสร้ า งความพึ ง พอใจให้ แ ก่ ลู ก ค้ า คือ การสร้างความสัมพันธ์ทดี่ กี บั ลูกค้า รับฟังความ คิดเห็นอย่างจริงใจ และน�ำมาใช้ปรับปรุงตอบสนอง ความต้องการอย่างทันท่วงที ในปีที่ผ่านมาเครือข่ายผู้จ�ำหน่ายเมอร์เซเดสเบนซ์ อย่างเป็นทางการจ�ำนวนกว่า 30 แห่ง ทัว่ ประเทศได้มกี ารพัฒนาศักยภาพในกระบวนการ ขายและการบริการหลังการขายอย่างสม�่ำเสมอ โดยได้มีการประเมินผลการด�ำเนินงานตลอดทั้งปี จึงได้จัดให้มีการวัดผลผู้จ�ำหน่ายที่ได้รับคะแนน
คุณพุทธิ ตุลยธัญ (ที่ 4 จากซ้าย) รองประธานบริหาร ฝ่ายบริการหลังการขาย บริษัท เมอร์เซเดสเบนซ์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด ให้เกียรติเป็นประธานมอบรางวัล Service Excellence Award ประจ�ำปี 2012 ให้แก่ผู้จ�ำหน่ายฯ ที่ได้รับคะแนนสูงสุดด้านความเป็นเลิศในการให้บริการหลังการขาย 3 อันดับแรกคืิอ คุณพงษ์ - คุณวิภาวรรณ พาวิทยลาภ (ที่ 2 และ 3 จากขวา) จากเบนซ์เพชรรัตน์ คุณอลงกรณ์ จิตงามสุจริต (ที่ 2 จากซ้าย) จากจันทบุรี เจพี มอเตอร์ และคุณเสกสรร ตั้งสัจจธรรม (ที่ 1 จากขวา) จากที เอส ที พร้อมด้วย มร. ไฮโค กึนเธอร์ (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการตลาด บริการหลังการขาย และคุณวัลลภ เฉลิมวงศาเวช (ที่ 1 จากซ้าย) ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายบริการกลาง จากบริษัท เมอร์เซเดส-เบนซ์ (ประเทศไทย) จ�ำกัด ร่วมแสดงความยินดี
สูงสุดด้านสร้างความพึงพอใจสูงสุดต่อประสบการณ์การซื้อและการบริการหลังการขาย โดย วัดจากดัชนีวัดความพึงพอใจของผู้บริโภคหรือ Customer Satisfaction Index (CSI) โดยผู้จำ� หน่าย เมอร์เซเดส-เบนซ์อย่างเป็นทางการที่ได้รับรางวัล สูงสุด 3 อันดับแรกในด้านการขายหรือรางวัล The Marque of Distinction Award 2012 ได้แก่ จิตต์ชยั จากจังหวัดชลบุรี พันทวี ออโต้มาสเตอร์ และสวนหลวง ออโต้เฮ้าส์ จากกรุงเทพฯ ในขณะที่ ผู้จ�ำหน่ายที่ได้รับรางวัลยอดเยี่ยมด้านความเป็น เลิศการบริการหลังการขายหรือรางวัล Service Excellence Award ประจ�ำปี 2012 ได้แก่ เบนซ์ เพชรรัต น์ จากจัง หวัด นครปฐม จัน ทบุรี เจพี มอเตอร์ จากจังหวัดจันทบุรี และ ที เอส ทีเมอร์เซเดสเบนซ์ จากจังหวัดราชบุรี 85
สัญลักษณ์ Att e nti o n Assist
ธรรมเนี ย มปฏิ บั ติ
เครื่ อ งจั ก ร
กาแฟรสชาติเยี่ยมไหลผ่าน ทางเครื่องชงกาแฟ ไม่ใช่เครื่องจ�ำหน่ายสินค้า แบบหยอดเหรียญ เครื่องชง กาแฟเอสเปรสโซ่ Faema E61 ได้รับการยกย่อง เป็นอัครศิลปินในเรื่องนี้ มันถูกน�ำออกจ�ำหน่าย ในปี ค.ศ. 1961 ซึ่งเทคโนโลยี ที่อยู่ภายในเปลือกหุ้ม โครเมียมนี้ยังคงมีการน�ำ มาใช้อย่างต่อเนื่องจนถึง ทุกวันนี้
คนที่พิถีพิถันเจ้าระเบียบ อาจจะชอบแบบไม่ใส่น�้ำตาล คนเจ้าส�ำราญส่วนใหญ่ ชอบที่จะโรยเกล็ดน�้ำตาล เล็กน้อยหรือน�้ำตาลก้อน สักก้อนหรือสองก้อน บางคนอาจชื่นชอบน�้ำตาล ทรายแดงที่มีทั้งสีอ่อนคล้าย สีคาราเมลหรือสีเข้มจัด ท�ำไมไม่ลองเปลี่ยนมาเป็น น�้ำผึ้งสักหยดสองหยด...
ครี ม
ถ้าไม่มีการแต่งหน้าด้วยครีม เมื่อใดที่คุณอยากลิ้มลอง ลืมมันเสีย! จินตนาการถึง ความสวยงามของเครื่องดื่ม สีน�้ำตาล-แดงที่เป็นการลดหลั่น ของสีสันอย่างสวยงาม อย่างไรก็ตาม บ่อยครั้งที่เอสเปรสโซ่จะมาพร้อมกับ รสชาติความขมด้วยเช่นกัน
การบด
การบดเมล็ดกาแฟของคุณไว้ ล่วงหน้าคือสิ่งต้องห้าม ลองถาม ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนี้ดูว่าท�ำไมพวกเขา จึงบดเมล็ดกาแฟของพวกเขาใน เครื่องชงกาแฟเท่าที่พวกเขาจ�ำเป็น ต้องใช้เท่านั้น เขาจะบอกคุณว่า กลิ่นหอมเฉพาะตัวของเมล็ดกาแฟ จะหายไปถึง 60% หลังบดเมล็ดกาแฟ แล้ว 15 นาที
สัญลักษณ์รูปถ้วยกาแฟ
อาราบิก้าหรือโรบัสต้า? ในอดีตเมล็ดกาแฟพันธ์ุโรบัสต้า จะมีปริมาณของสารคาเฟอีน อยู่มากกว่าเมล็ดกาแฟ พันธ์ุอาราบิก้า แต่ในปัจจุบัน มีการสกัดให้มีความ บริสุทธิ์และมีส่วนผสมที่ได้ สัดส่วนมากขึ้นท�ำให้ได้ รับความนิยมมากขึ้น
ถ้ ว ยกาแฟ สู ต ร
7-9-25-25 ไม่มีสูตรอื่น บดเมล็ดกาแฟ 7 กรัมด้วยแรงดัน 9 บาร์ในเวลา 25 วินาทีจะได้ทองค�ำด�ำปริมาณ 25 มิลลิลิตร นั่นคือกาแฟเอสเปรสโซ่ที่แท้จริง
86
ถ้วยกาแฟที่ดีต้องมี ความหนาและท�ำให้ร้อนเสีย ก่อนเพื่อป้องกันการสูญเสีย รสชาติระหว่างการปรุงรส และการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว
phOTOS: Glow Images; Fotolia Words: tobias nebl
เมล็ ด กาแฟ
บนจอดิสเพลย์ของเมอร์เซเดส คือรูปแบบการเตือน ที่แสดงถึงความเหนื่อยล้าของผู้ขับขี่ของระบบ Attention Assist ถึงเวลาต้องเติมสารคาเฟอีนบ้างแล้ว แต่อะไรคือความลับของกาแฟเอสเปรสโซ่รสเลิศ