howto ผลิตสกู๊ปข่าว

Page 1


2

- เกริ่นน�ำ ถ้าหากพูดถึงข่าวแล้ว หลายคนจะเข้าใจ ตรงกันว่า ข่าวคือ ข้อเท็จจริงที่ถูกหยิบยก ขึ้นมาบอกเล่าหรือรายงานให้คนอื่นทราบ ซึ่ง ความหมายและวิธีการสามารถหาได้ง่ายตาม สื่อออนไลน์ แต่หลายคนไม่เข้าใจว่า "สกู๊ป ข่าว" ว่าคืออะไร มีวิธีท�ำอย่างไร เนื่องจาก ไม่มีวิธีการท�ำให้ได้ศึกษา ซึ่งดิฉันเป็นคนหนึ่ง ที่ไม่เข้าใจ แต่เมื่อได้ฝึกสหกิจศึกษาจึงได้เข้าใจ วิธีการ และบอกเล่าตามความเข้าใจผ่าน GUIDEBOOK เล่มนี้ เพื่อเป็นประโยชน์ส�ำหรับ

"คนที่ไม่เข้าใจให้เข้าใจเหมือนๆกัน "

ณิชกานต์


3

- CONTENTS -

สกู๊ปข่าวคือ? 6-7 ขั้นตอนการผลิต สกู๊ปข่าว 8-28


WH I SCOOP


AT S NEWS


6


7

ข่าว (News) โดยทั่วไปแล้วคือ ข้อ เท็จจริงที่ถูกหยิบยกขึ้นมาบอกเล่าหรือ รายงานให้คนอื่นทราบ ซึ่งข่าวที่ดีต้องมี ความสด ใหม่ ทันสมัยถึงจะดึงดูดผู้รับ สารได้อย่างดี สกู๊ปข่าว (Scoop) คือ การน�ำข้อ เท็จจริง เฉพาะเรื่อง หรือเฉพาะประเด็น มารายงานเชิงเจาะลึกเพื่อให้ผู้รับสารได้ รับทราบ หรือการน�ำข่าวที่ถูกเล่าแล้ว มาแยกประเด็นย่อยที่น่าสนใจต่อยอด ท�ำเป็นสกู๊ปข่าว กล่าวคือ สกู๊ปข่าวนั้น สามารถน�ำเสนอได้ทั้งประเด็นปัจจุบัน หรืออาจะเป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึงบาง ส่วนแล้ว แล้วน�ำมาต่อยอดน�ำเสนอใน อีกแง่มุมหนึ่งก็ได้



ขั้นตอนการผลิต - สกู๊ปข่าว -


10

01

ก�ำหนดประเด็นข่าวที่สนใจ

จุดเริ่มต้นของการท�ำสกู๊ปข่าวนั่นคือ การก�ำหนดประเด็นข่าวที่ตนเองสนใจ เพราะหากเราสนใจในประเด็นที่เราเลือกจะ สามารถท�ำผลงานออกมาได้อย่างเต็มที่ แต่มีเงื่อนไขคือ ประเด็นข่าวนั้นต้องมีความน่าสนใจ ต่อผู้ชมที่มีสถานะเป็นผู้รับสาร ประเด็นข่าวมีความทันสมัย ไม่ล้าหลัง เช่น การน�ำประเด็นในช่วงเทศกาลหรือวัน ส�ำคัญต่างๆ มาท�ำสกู๊ปข่าว หรือการน�ำ ข่าวทั่วไปมาเจาะประเด็นต่อยอดสู่สกู๊ปข่าว เพื่อให้ผู้ชมได้รับข่าวสารในอีกแง่มุมหนึ่ง


11


12


13

02

วางแผนการท�ำงาน

เมื่อก�ำหนดประเด็นข่าวที่สนใจ แล้ว ต้องมีการวางแผนการท�ำงาน โดย การหาข้อข้อมูลที่จะต้องการเช่น ข้อมูล ประเด็นข่าว ข้อมูลอ้างอิง เพื่อท�ำความ เข้าใจกับประเด็น ก�ำหนดแหล่งข่าวที่จะไป ท�ำการสัมภาษณ์ วางแนวทางการเขียน บทก่อน ว่าต้องการสื่อประเด็นใดให้ผู้รับ สาร เพื่อป้องกันการลืมหรือผิดพลาด ส�ำหรับบทนั้นอาจจะไม่ต้องท�ำแบบ สมบูรณ์ เพราะข้อมูลส่วนใหญ่นั้นจะ ได้จากการลงพื้นที่ท�ำข่าว และการ สัมภาษณ์แหล่งข่าว หลังจากนั้นควรวางแผนวันลงพื้น ที่ท�ำข่าว และสัมภาษณ์แหล่งข่าวไว้ก่อน เพื่อใช้ในการประสานงานกับแหล่งข่าว


14

03

ประสานงานกับแหล่งข่าว

หลังจากที่ศึกษาหาข้อมูลที่สนใจและ วางแผนงานในเบื้องต้นแล้ว อีกขั้นตอนที่ ส�ำคัญคือ การประสานงานแหล่งข่าวที่เรา ต้องการ โดยเป็นการนัดหมายสัมภาษณ์ แหล่งข่าวเพื่อขอข้อมูลที่เราต้องการ โดย การนัดหมายนั้น สิ่งแรกคือการแนะน�ำตัว ว่ามาจากหน่วยงานหรือองค์กรใด จาก นั้นพูดกับแหล่งข่าวให้ชัดเจนว่าเราสนใจที่ จะผลิตสกู๊ปข่าวประเด็นใด ซักถามข้อมูล จากแหล่งข่าวเบื้องต้น ว่าประเด็นที่ได้ ศึกษามานั้นแหล่งข่าวสามารถให้ข้อมูล ได้หรือไม่ เมื่อแหล่งข่าวสามารถให้ข้อมูล ได้ สามารถก�ำหนดวันในการลงพื้นที่ โดย ใ้ชแผนที่วางเอาไว้ให้แหล่งข่าวพิจารณา หรือสามารถให้แหล่งข่าวก�ำหนดเองได้


15


16


17

04 02

เตรียมอุปกรณ์

เมื่อท�ำการนัดหมายแหล่งข่าวเรียบร้อย ต้องมีการเตรียมการให้พร้อมส�ำหรับการ ลงพื้นที่ นั่นคือการเตรียมตัวและอุปกรณ์ การเตรียมตัว ต้องรู้ว่าเรามีข้อมูลใน มือมีอะไรบ้าง และต้องการอะไรจากการ ลงพื้นที่ เพื่อต่อยอดสิ่งที่มีอยู่ โดยต้อง เตรียมค�ำถามให้พร้อม เพื่อป้องกันการผิด พลาดขณะลงพื้นที่ การเตรียมอุปกรณ์ อุปกรณ์ทุก อย่างควรเช็คความเรียบร้อยก่อนการ ลงพื้นที่จริง เช่น การเช็คไมโครโฟน เช็ค แบตเตอรี่กล้อง เป็นต้น


18

05

ลงพื้นที่เก็บข้อมูล+สัมภาษณ์

ขั้นตอนนี้จะเริ่มจากการเก็บข้อมูล ที่ยังขาดในพื้นที่ โดยข้อมูลนั้น จะเป็น ข้อมูลที่ส�ำคัญมาก เนื่องจากเป็นข้อมูล ที่เรามองเห็นและได้สัมผัสด้วยตนเอง จากนั้นเรียงล�ำดับข้อมูลคร่าวๆ เพื่อ ง่ายต่อการเรียบเรียงข้อมูล หลังจากได้ข้อมูลแล้ว จะสัมภาษณ์ แหล่งข่าวที่ได้นัดหมายไว้ ซึ่งเป็นผู้รู้ผู้ ที่เกี่ยวข้องในด้านต่างๆ เช่น นักวิจัย เจ้าของผลงาน บุคคลต้นเรื่อง หรือผู้ได้รับผลกระทบ เป็นต้น โดยการสัมภาษณ์นั้นต้องสัมภาษณ์ ในประเด็นที่หลากหลาย รวมทั้งความ คิดเห็นที่ทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เพื่อ ตอกย�้ำประเด็นข่าวให้มีความชัดเจนมาก ยิ่งขึ้น


19


20


21

06

การเปิด-ปิดหน้ากล้อง

ขั้นตอนนี้ เป็นการพูดเปิดและปิด หน้ากล้อง ซึ่งหมายถึงการพูดเกริ่นถึง ประเด็นข่าวที่ท�ำ และการสรุปประเด็นดัง กล่าว หรือการพูดทิ้งท้ายเพื่อกระตุ้นให้ ผู้ชมสงสัย หรือตระหนักเกี่ยวกับประเด็น นั้น ซึ่งขั้นตอนนี้จะไม่มีรูปแบบการพูดที่ ตายตัว เนื่องจากบริบทของประเด็นข่าว ต่างกัน ดังนั้นจึงต้องอาศัยทักษะการใช้ ภาษาเล็กน้อย โดยบทพูดต้องสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และการพูดเปิดและปิดหน้ากล้องน้ั้น จะใช้ เวลาประมาณ 10-20วินาที ต้องไม่ดูบท และพูดให้เป็นธรรมชาติ ทั้งนี้ การเปิดและปิดหน้ากล้องนั้นต้อง ถ่ายในสถานที่ที่เราลงพื้นที่จริง เพื่อให้ ข่าวน่าเชื่อถือ


22

07

เรียบเรียงข้อมูล

เมื่อได้ข้อมูลจากการลงพื้นที่และ สัมภาษณ์แหล่งข่าวซึ่งมีทั้งข้อมูลข้อเท็จ จริง ความคิดเห็น ความรู้สึก และข้อ อ้างอิงมาแล้ว รวบรวมข้อมูลถอดบท สัมภาษณ์ที่น่าสนใจ แล้วเริ่มเรียงเรื่อง เริ่มจากไหนก็ได้ แต่หากให้มีความน่า สนใจอาจจะเริ่มจากการพูดภาพรวม ก่อน แล้วเจาะประเด็นเข้าไป เช่น สกู๊ป ข่าวสูตรอาหารปลากินพืชที่ช่วยลด ต้นทุนเกษตรกร อาจจะพูดถึงปลา โดยภาพรวมว่ามีความส�ำคัญด้านการ ค้าขายกับเกษตรกร แล้วเจาะประเด็น คือราคาอาหารแพง ท�ำให้เกษตรกร เดือดร้อน จากนั้นก็พูดถึงประเด็นสิ่งที่ ช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกร เป็นต้น แล้ว น�ำมาเรียบเรียงเป็นบทสกู๊ปข่าว เพื่อใช้ ประกอบการตัดต่อภาพข่าว


23


24


25

08

บันทึกเสียงสกู๊ปข่าว

เมื่อท�ำบทสกู๊ปข่าวเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ต้องท�ำต่อไปคือ การบันทึกเสียงบท เพื่อใช้ในการตัดต่อสกู๊ปข่าว ขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนที่อาจจะง่าย และยากส�ำหรับบางคน เพราะการพูด นั้น จะต้องเป็นไปตามบริบทของประเด็น ข่าว เช่น ประเด็นการท่องเที่ยวตาม ฤดูกาล หรือประเด็นเบา โทนเสียงจะมี ความสดใสร่าเริงได้ แต่หากเป็นประเด็น ทางวิชาการ จะต้องใช้โทนเสียงต�่ำนิด หน่อย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับ ข่าวนั้น


26

09

ตัดต่อสกู๊ปข่าว

เมื่อบันทึกเสียงประกอบสกู๊ปข่าว เรียบร้อยแล้ว น�ำบท ภาพข่าวต่างๆ และเสียง มาตัดต่อ โดยใช้โปรแกรมตัด ต่อตามที่เราถนัด การตัดต่อนั้น ต้องใช้ความคิด สร้างสรรค์ในการเลือกภาพข่าวมา ประกอบกับเสียงที่เราบันทึก โดยหลัก การของการตัดต่อทั่วไปคือ ภาพเล่า เรื่อง หมายถึงการน�ำภาพข่าวสื่อไปยัง ผู้ชมว่าเขาจะได้รู้อะไรบ้าง แล้วเสียงจะ เป็นการบรรยายเพิ่มเติม ซึ่งภาพข่าวที่ได้ มานั้นก็ต้องเชื่อมโยงกับบทของเราด้วย เมื่อตัดต่อเรียบร้อยแล้ว น�ำไฟลนั้น เข้าสู่ระบบถังข่าว เพื่อออกอากาศได้เลย


27

08


28

10

ออกอากาศ

เมื่อเราน�ำไฟล์เข้าสู่ระบบถังข่าวแล้ว สามารถพิมพ์หัวข้อข่าว ค�ำโปรยข่าว ส�ำหรับผู้ประกาศ ซีจี สัมภาษณ์แหล่ง ข่าว ปริ้นแล้วจัดท�ำเอกสารข่าวส่งให้กับ ฝ่ายรายการข่าวเพื่อใช้ออกอากาศ เพียงแค่นี้เราก็จะได้สกู๊ปข่าวสมบูรณ์ พร้อมออกอากาศแล้ว


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.