เรียนรูวิธีคิดและเทคนิคการใชคอรดและสเกล เพื่องานของคนดนตรี
พรอม สอนโดย อ.แดง กีตาร
2ความยาวกว DVDs า 4 ชั่วโมง
ประสบการณทางดานดนตรีกวา 50 ป และสอนดนตรีมากวา 30 ป
เทคนิคการเขียน แตง วางทำนอง และสรางคอรดแบบมืออาชีพ สำหรับผูที่ ใฝฝนจะเปนนักกีตาร นักดนตรีมืออาชีพ นักดนตรี ในหองอัดเสียง และครูสอนดนตรี
หนังสือ+DVD
ราคาพิเศษ
240
คอร์ด สเกล
และ การใช้ เพื่อสร้างงานดนตรี
อ.แดง กีต้าร์
การใช้คอร์ดและสเกลเพื่อสร้างงานดนตรี ISBN ราคา พิมพ์ครั้งที่ 1
978-616-527-124-0 240 บาท เมษายน 2554
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยสำานักพิมพ์เอ็มไอเอส ห้ามนำาส่วนหนึ่งส่วนใด ของหนังสือเล่มนีไ้ ปลอกเลียนแบบ ทำาสำาเนา ถ่ายเอกสาร หรือนำาไปเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต และเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าจะในรูปแบบใดๆ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางสำานักพิมพ์เท่านั้น
ชื่อผลิตภัณฑ์และเครื่องหมายการค้าต่างๆ ที่อ้างถึงเป็นของบริษัทนั้นๆ
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำานักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data มนัส พันธุวงค์ราช. การใช้คอร์ดและสเกลเพื่อสร้างงานดนตรี.-- กรุงเทพฯ : เอ็มไอเอส, 2554. 104 หน้า. 1. กีต้าร์. l. ชื่อเรื่อง. 787.87 ISBN 978-616-527-124-0 คณะผู้จัดทำ� บรรณ�ธิก�รสำ�นักพิมพ์ ชิดพงษ์ กวีวรวุฒิ ผู้เขียน มนัส พันธุวงค์ราช ออกแบบรูปเล่ม ไพโรจน์ บรรจงใจรักษ์ ออกแบบปก ประชา ธนะฤกษ์ พิสูจน์อักษร วารีรัตน์ แตงภู่ ประส�นง�นฝ่�ยผลิต ณัฐพงษ์ พยัคคง ประส�นง�นสื่อสิ่งพิมพ์ บุษกร กู้หลี ฝ่�ยก�รตล�ด ชลพิชา ครื้นจิต, มยุรี ศรีมังคละ พิมพ์ที่ บริษัท เอ็ม เอ เอช พริ้นติ้ง จำากัด ผู้พิมพ์/ผู้โฆษณ� สุเมธ อัศวนิลศรี
จัดพิมพ์โดย : สำานักพิมพ์เอ็มไอเอส 55, 57 ซอยพระรามที ่ 3 ซอย 53 ถนนพระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2294-8777 (สายอัตโนมัติ) โทรสาร 0-2294-8787 www.MISbook.com
จัดจำ�หน่�ยโดย : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำากัด (มหาชน) 1858/87-90 ชัน้ 19 อาคารเนชัน่ ทาวเวอร์ ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8356-9 www.se-ed.com
หากหนังสือเล่มนี้ผลิตไม่ได้มาตรฐาน อาทิ หน้ากระดาษสลับกัน หน้าซ้ำา หน้าขาดหาย สำานักพิมพ์ยินดีรับผิดชอบเปลี่ยนให้ใหม่ โดยส่งมาเปลี่ยนตามที่อยู่ด้านบน หรือติดต่อสำานักพิมพ์เอ็มไอเอส โทรศัพท์ 0-2294-8777 (สายอัตโนมัติ)
อ.แดง กีต้าร์
คอร์ดและสเกลเพื่อสร้างงานดนตรี
การใช้
INTRODUCTION
สวัสดีผอู้ า่ นทุกท่าน สือ่ การสอนชุดนีจ้ ะ เน้นให้ค�าแนะน�าเกี่ยวกับการน�าคอร์ดและสเกล มาใช้เพื่อการเขียนเพลงและแต่งเพลงส�าหรับ นักกีต้าร์ คนไทยส่วนใหญ่สนใจในเรือ่ งโซโล่กตี า้ ร์ โดยอาจารย์จะเน้นให้เห็นว่า การเรียนดนตรีนั้น ไม่ใช่เรื่องของการเลียนแบบ แต่สาระส�าคัญ ของการเรียนดนตรีคือ การบริหารจัดการเรื่อง เสียงให้ไปในทิศทางที่เราต้องการ ส�าหรับสื่อ การสอนชุดเก่าที่อาจารย์แดงเคยจัดท�ามาแล้ว ไม่ ว ่ า จะเป็ น เรื่ อ งหั ด เล่ น กี ต ้ า ร์ โ ปร่ ง เทคนิ ค กีตา้ ร์ รวมไปถึงการแกะเพลง ฯลฯ ก็จะแตกต่าง จากสื่ อ การสอนชุ ด นี้ ที่ เ หมาะส� า หรั บ คนที่ อยากเป็นนักกีต้าร์รับจ้าง นักดนตรีมืออาชีพ ครู ส อนดนตรี หรื อ นั ก ดนตรี ใ นห้ อ งอั ด เสี ย ง ให้ มี ค วามเป็ น มื อ อาชี พ มากขึ้ น แม้ แ ต่ ค นที่ ไม่มีโอกาสเข้าไปเรียนในสถาบันก็สามารถน�า วิสัยทัศน์ที่ได้จากสื่อการสอนชุดนี้ไปประยุกต์ ในการพัฒนาตนเอง ก็จะมีประโยชน์ไม่น้อย ส�าหรับผู้ที่ซื้อสื่อการสอนชุดนี้ จะต้อง มีความรู้ในด้านการอ่านโน้ตได้พอสมควร โดย อ่านโน้ตพื้นฐานได้บ้าง เพราะจะไม่ใช่การสอน แบบ 1-100 แต่เป็น 50-100
CHORD & SCALE ปกติการเรียนแต่งเพลงเขียนเพลงต้องใช้ เวลาอย่างน้อย 1 ปีขนึ้ ไป เพือ่ เพิม่ พูนประสบการณ์ จนสามารถพัฒนาทักษะไปสูด่ นตรีในแนวทีแ่ ตกต่าง ออกไป แต่สื่อการสอนชุดนี้มีความยาว (DVD) 3-4 ชั่วโมง ซึ่งจะสอนการน�าคอร์ดและสเกลมา ใช้ในการเขียนและแต่งเพลง การเรียนรู้จะต้องมี ทฤษฎีดนตรีมาเกี่ยวข้อง การน�าคอร์ดและสเกลมา ใช้นั้นไม่ได้หมายถึงการจับคอร์ดหรือการตีคอร์ด แบบธรรมดาๆ ทั่วไป แต่ต้องจับคอร์ดแบบโมเดิร์น แบบมื อ อาชี พ นอกจากนี้ ยั ง มี ก ารสอนเทคนิ ค การแต่ ง เพลง การวางท� า นอง การสร้ า งคอร์ ด และการน�าลูกเล่นของการโซโล่กีต้าร์สอดแทรก เข้าไปอยู่ในบทเพลงต่างๆ อีกด้วย ดังนั้น สื่อการสอนชุดนี้จึงเป็นงานที่เน้น ให้แนวคิดภายในระยะเวลาจ�ากัดดังที่กล่าวไปแล้ว การเรียนกับสื่อการสอนชุดนี้่จึงเหมาะส�าหรับคนที่ มีใจรักและมีความตั้งใจจริงเท่านั้น ไม่ใช่คอยดูว่า จะมีลกู เล่นกีตา้ ร์เด็ดๆ ให้เลียนแบบอย่างเดียว คุณ จะต้องอ่านโน้ตได้พอสมควร และต้องอ่านหนังสือ ประกอบด้วย ทั้งนี้ยังเหมาะส�าหรับผู้ที่ต้องการหา ประสบการณ์แต่มีเวลาน้อย โดยจะมีภาคปฏิบัติกับ ทฤษฎี ส่วนรูปแบบการเล่นบางอย่างอาจจะมีการให้ เลียนแบบกันบ้าง เช่น ลูกเล่นกีต้าร์แนวต่างๆ คนไทยควรเปิดใจกว้างยอมรับคนที่ชื่นชม เป็นต้นแบบทางดนตรี (คนไทยนิสยั แปลก มักจะคิด ไปเองว่าใครเล่นเก่งเดีย๋ วเราก็เล่นได้) ประสบการณ์ ทางดนตรี 50 ปี และสอนดนตรีมาเกิน 30 ปี ท�าให้ ได้รู้ว่าคนไทยเก่ง จิตใจใฝ่รู้ ชอบแต่รู้ ไม่ชอบเรียน ไม่ชอบปฏิบัติ ปกติเวลาอาจารย์แดงรับผลิตงานดนตรีตอ้ ง อ่านออกว่าจะท�าเพลงอะไรให้เขา เราควรเปิดใจ ยอมรั บ ฝี มื อนั ก ดนตรีไ ทยที่ เก่ งจริ งด้ วย รวมถึ ง ศิลปินระดับโลก ท�าไมถึงเล่นอย่างนี ้ น�าคอร์ดและ 5
คอร์ดและสเกลเพื่อสร้างงานดนตรี
การใช้
สเกลมาใช้ได้อย่างไร การเล่นกีต้าร์ได้ดีไม่ใช่แค่การ ฝึกไล่สเกล ให้เปิดใจยอมรับกีต้าร์ฮีโร่ ตัวต้นแบบ จะเป็นแรงบันดาลใจส�าหรับเรา ท�าให้เราอยาก ฝึกซ้อม พัฒนาตัวเอง ถ้าอยากเป็นมือกีตา้ ร์ทดี่ ตี อ้ ง มีน�้าใจนักกีฬา และจะเกิดแรงบันดาลใจ แล้วก็จะ ท�าให้เล่นกีต้าร์ได้ดี ในอดีตเรื่องเกี่ยวกับการเล่นกีต้าร์ ใครๆ ก็อยากเป็นกีต้าร์ฮีโร่ เคยมีค�าถามว่า “อาจารย์ ครับ ถ้าเราอยากเปลี่ยนท�านองของเขาใหม่ท�าได้ อย่างไร” อาจจะโซโล่อีกแบบหนึ่งได้ ต้องมีเรื่อง ของคอร์ดมารองรับด้วย เริ่มแรกจากการแกะเพลง ให้ได้ก่อน จากนั้นหากอยากคิดงาน สร้างงานเองก็ ต้องมีประสบการณ์ด้วย ฝรั่งเล่นอย่างไรอย่าไปเล่น ให้เหมือน พอเล่นไม่เหมือนบอกเล่นไม่เก่ง สังคม บ้านเราไม่คอ่ ยถูกสอนให้มคี วามคิดสร้างสรรค์ การ เลียนแบบให้เหมือนไม่ใช่เล่นเก่ง นักกีต้าร์ส่วนใหญ่ชอบแนวร็อก แต่จริงๆ แล้วร็อกมีหลายแนว คุณต้องมีวิสัยทัศน์ ตัวอย่างเช่น Rock Riff คืออะไร ถ้าแปล เป็นไทยไม่มีค�าแปลที่เหมาะสม แต่ให้คุณคิดถึง ลูกเล่นต่างๆ ของการเล่นกีต้าร์ น่าจะเป็นแบบนั้น ดังนั้น คนที่จะน�าคอร์ดและสเกลมาใช้ต้องคิดถึง Riff ด้วย การเล่นกีตา้ ร์แนวต่างๆ ให้ได้ด ี ไม่วา่ จะเป็น แนวนี โ อคลาสสิ ก ร็ อ กแอนด์ โ รล แจ๊ ซ คั น ทรี เดดเมทัล สปีดเมทัล ฯลฯ คุณจะต้องมีความรู้ด้าน ดนตรีที่กว้างขวาง การเล่นกีต้าร์ที่ดีไม่ใช่แค่การ ฝึกไล่สเกล คุณต้องเปิดใจยอมรับกีต้าร์ฮีโร่ซึ่งผม เรียกพวกเขาว่าระดับอาจารย์ แล้วคุณจะเกิดแรง กระตุ้น ให้ค่อยๆ เรียนรู้ และแลกเปลี่ยนความรู้ กับคนอื่นด้วย
CHORD & SCALE คุณอาจจะลองศึกษาจากมือกีตา้ ร์ระดับโลก มีหลายคน ทีอ่ ยากจะแนะน�า เช่น Michael Angelo, Yngwie Malmsteen, Calos Santana, Joe strummer, Ritchie Blackmore, Eddie Van Halen, Michael Schenker, Steve Vai, Vinnie Moore, Paul Gilbert เป็นต้น เทคโนโลยีการสื่อสารที่ก้าวไกลในปัจจุบัน คุณจึง สามารถศึกษาแนวทางการเล่นกีต้าร์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต โดยเข้าไปศึกษาจากการชมคลิปวิดีโอการเล่นกีต้าร์ของศิลปิน ระดับโลกเหล่านี้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง เป็น ศิลปินต้นแบบ แต่ไม่ใช่ไปเลียนแบบการเล่นเหล่านัน้ ให้เหมือน แล้วถ้าใครเล่นไม่เหมือนและคุณคิดว่าเล่นไม่เก่งให้เลิกล้ม ความคิดเหล่านั้นเสีย ควรดูเพื่อศึกษาแล้วลองค้นหาแนวทาง ของตนเองให้ได้ หมั่นฝึกฝนและพัฒนาตนเองทั้งทางด้าน ทักษะการปฏิบัติควบคู่ไปกับทฤษฎี ให้มีความรู้ลึก รู้จริง แล้วคุณก็อาจเป็นหนึ่งในกีต้าร์ฮีโร่เหล่านั้นในอนาคต
อ.แดง กีต้าร์
7
CONTENTs ขั้นคู่ (Interval)
1
ขั้นคู่ในส่วนที่เป็นตัวเลข ชนิดของขั้นคู่ ขั้นคู่เมเจอร์และขั้นคู่เพอร์เฟกต์ การฝึกคิดขั้นคู่ด้วยการทดเสียง ขั้นคู่ไมเนอร์ ขั้นคู่ดิมินิชท์ และขั้นคู่ออกเมนเทด ขั้นคู่เอ็นฮาร์โมนิก
คอร์ด (Chord)
คอร์ดพื้นฐาน ชนิดของทรัยแอด การสร้างคอร์ดทรัยแอด 4 ชนิด การสร้างคอร์ด 4 เสียง 8 ชนิด
9
10 12 13 15
เทนชั่น (Tension)
17
การแทนต�าแหน่งของคอร์ดในบันไดเสียงด้วยเลขโรมัน
คอร์ดแทน (Substitution Chord)
การใช้คอร์ดรีเลทีฟไมเนอร์แทนคอร์ดเมเจอร์ วิธีการหาบันไดเสียงที่เป็นรีเลทีฟ ตัวอย่างทางเดินคอร์ดเพื่อเขียนเพลง
19
21
การเปลี่ยนคีย์ชั่วคราว (Modulation)
2 3 3 6 7 8
26 27
29
31
แบบฝึกหัดเพื่อฝึกนิ้ว
แบบฝึกหัดที่ 1 แบบฝึกหัดที่ 2 แบบฝึกหัดที่ 3 แบบฝึกหัดที่ 4 แบบฝึกหัดที่ 5 แบบฝึกหัดที่ 6 แบบฝึกหัดที่ 7
33
ภาคผนวก รู้จักสัญลักษณ์ดนตรีเบื้องต้น
โน้ต (Note) บรรทัด 5 เส้น (Staff) ระดับเสียง (Pitch) ค่าโน้ตและตัวหยุด (Note & Rest Value) เส้นน้อย (Leger Line) กุญแจซอล (G Clef) เครื่องหมายก�าหนดจังหวะ (Time Signature) เส้นกั้นห้อง (Bar Line) ลักษณะ ทิศทาง และการทาบหางโน้ต
การฝึกอ่านและจ�าโน้ตก่อนจับเครื่องดนตรี
34 35 36 37 38 39 40
41 42 43 43 44 45 45 46 46 47
49
จ�าโน้ตในช่องและโน้ตคาบเส้น 50 อ่านโน้ตนอกบรรทัด 5 เส้น ด้วยการไล่ชื่อเรียงกันไป 51 แบบฝึกหัดที่ 1 51 เริ่มจ�าโน้ตทีละ 2-3 ตัว โดยอ่านออกเสียงเรียกชื่อโน้ตทีละตัว 52 แบบฝึกหัดที่ 2 52
รู้จักสัญลักษณ์ดนตรีและสัดส่วนโน้ตเพิ่มเติม
ระยะห่างของระดับเสียงโน้ต เครื่องหมายแปลงเสียง (Accidentals) สรุปโน้ตที่รวมเครื่องหมายแปลงเสียง แบบฝึกหัด โน้ตประจุด (Dotted Note) สรุปค่าโน้ตพื้นฐานและสัญลักษณ์ที่ใช้ประกอบ เครื่องหมายย้อน
53
รู้จักบันไดเสียงและเครื่องหมายก�าหนดบันไดเสียง
63
บันไดเสียง (Scale) 64 เครื่องหมายก�าหนดบันไดเสียง (Key Signature) 65 ขั้นของบันไดเสียง 66 โครงสร้างบันไดเสียงเมเจอร์กับบันไดเสียงไมเนอร์โดยเปรียบเทียบ 66
รู้จักเครื่องหมายก�าหนดจังหวะเพิ่มเติม
54 55 58 59 60 61 62
69
เครื่องหมายก�าหนดจังหวะ 2/4 70 แบบฝึกหัดที่ 1 70 เครื่องหมายก�าหนดจังหวะ 3/4 71 แบบฝึกหัดที่ 2 71 เครื่องหมายก�าหนดจังหวะ 4/4 หรือ 3 72 แบบฝึกหัดที่ 3 72 เครื่องหมายก�าหนดจังหวะ 2/2 หรือ (C Cut) 73 แบบฝึกหัดที่ 4 3 73 เครื่องหมายก�าหนดจังหวะ 6/8 73 แบบฝึกหัดที่ 5 74 Pick up Note 74 แบบฝึกหัดที่ 6 74
โน้ตประดับ (Ornament)
75
การท�าให้เสียงราบรื่น 76 แบบฝึกหัดที่ 1 77 แบบฝึกหัดที่ 2 77 การรูดสาย (Slide) 78 แบบฝึกหัดที่ 3 78 การดันสาย (Bending) 79 แบบฝึกหัดที่ 4 80 การอุดสายด้วยมือขวา (Palm Mute หรือ Pick-hand Mute) 80 แบบฝึกหัดที่ 5 81 การอุดสายด้วยมือซ้าย (Fret-hand Muting หรือ Deaden String) 81 แบบฝึกหัดที่ 6 81 การท�าเสียงสั้น (Staccato) 82 แบบฝึกหัดที่ 7 82
Note & Tab Symbol
83
ล ก เ ส ะ ล แ ด ์ ร ้ อ การใชค งงานดนตรี เพื่อสร้า
ก่อนเข้าสู่บทเรียน ก่อนจะไปสู่เนื้อหาแรกเรามาท�าความเข้าใจกันก่อนว่า แต่ละส่วนของสื่อการสอน ชุดนี้มีความส�าคัญอย่างไร และน�าไปใช้อย่างไร ซึ่งแต่ละเรื่องจะเกี่ยวโยงกันจากส่วนเล็กๆ และซับซ้อนน้อย ไปสู่ส่วนที่ใหญ่ขึ้นและซับซ้อนมากขึ้น เช่น
ขัน้ คู่ (Interval): เนือ้ หาในส่วนนีจ้ ะเป็นเรือ่ งเกีย่ วกับความสัมพันธ์ของโน้ต 2 ตัว ทัง้ ในแนว
นอน (Melody) คือการเคลือ่ นทีจ่ ากโน้ตตัวหนึง่ ไปอีกตัวหนึง่ ซึง่ จะน�ามาท�าให้เป็นแนวท�านอง และเมื่อศึกษาไปถึงเรื่องบันไดเสียง หรือในแนวตั้ง (Harmony) คือการที่โน้ต 2 ตัวเกิดเสียง ขึ้นพร้อมกัน เรื่องของขั้นคู่จะพ่วงเรื่องบันไดเสียงเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะบันไดเสียงหนึ่ง จะประกอบด้วยขั้นคู่หลายชนิด จากเรื่องเหล่านี้ก็จะน�าไปสู่การสร้างคอร์ดโดยการน�าความรู้ เรื่องขั้นคู่ในบันไดเสียงมาใช้
คอร์ด (Chord): คือกลุม่ ของขัน้ คูต่ งั้ แต่ 3 ตัวขึน้ ไป และใช้ค ู่ 3 เป็นหลักในการผสมคอร์ด
(ในดนตรีร็อกอาจเรียกคู่ 5 ที่มีโน้ตเพียง 2 ตัวว่า คอร์ด) คอร์ดที่มีโน้ต 3 ตัวนั้นเรียกว่า Triad (ทรัยแอด) แปลว่า 3 และยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับคอร์ดที่มีโน้ต 4 ตัว ซึ่งมีโน้ตตัวที่ 7 เข้าไป เกี่ยวข้อง เรียกว่าคอร์ดเซเว่น ทั้งหมดนี้ก็ต้องน�าความรู้เรื่องขั้นคู่ในบันไดเสียงมาใช้ท�าให้เกิด คอร์ดไดอาโทนิกหรือก็คือคอร์ดในบันไดเสียงขึ้น
เทนชั่น (Tension): ในส่วนนี้จะเป็นเรื่องที่ซับซ้อนจากคอร์ดทรัยแอดและคอร์ดเซเว่น
ขึ้นไปอีก โดยเป็นการใช้โน้ตที่อยู่สูงกว่าคู่ 7 ขึ้นไปมาผสมคอร์ด ที่เรียกว่าเทนชั่นนั้นก็เพราะ เป็นโน้ตที่ท�าให้เกิดความรู้สึกตึงเครียด เมื่อผสมคอร์ดแล้วจะเกิดความไม่เสถียร นิยมใช้ใน ดนตรีแจ๊ซ ส�าหรับในเพลงแนวทั่วไปนั้นไม่ได้ใช้เป็นหลัก แต่สามารถใส่ให้เกิดสีสันได้ นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาอื่นๆ ที่จ�าเป็นต่อการน�าไปใช้สร้างงานดนตรี ทั้งเนื้อหาที่เป็น เรื่องพื้นฐานและเรื่องที่สูงขึ้น เมื่อท�าความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเรื่องเหล่านี้แล้ว ก็จะสามารถน�าไปคิดงานดนตรีในแบบของตัวเองได้ต่อไป
ขั้นคู่
(Interval)
คอร์ดและสเกลเพื่อสร้างงานดนตรี
การใช้
ขั้นคู่ (Interval) ขั้นคู่ หมายถึง ระยะห่างระหว่างโน้ต 2 ตัว เป็นความสัมพันธ์ระหว่างโน้ตทั้ง 2 ตัว ทีบ่ อกทัง้ ระยะและลักษณะเสียง เมือ่ เล่นโน้ตทัง้ 2 ตัวทีละตัวหรือเล่นพร้อมกัน ก็จะเกิดเป็นคูเ่ สียง ขั้นคู่เป็นส่วนประกอบส�าคัญของคอร์ดซึ่งเกี่ยวข้องกับการประสานเสียง และเป็นพื้นฐานส�าคัญ ในการศึกษาทฤษฎีดนตรีตั้งแต่ระดับต้นจนถึงระดับสูง การที่จะอธิบายว่าโน้ต 2 ตัวของขั้นคู่นั้น ห่างกันเป็นระยะเท่าใดต้องค�านึงถึง 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่เป็นตัวเลข และส่วนที่เป็นชนิดของขั้นคู่
ขั้นคู่ในส่วนที่เป็นตัวเลข ขัน้ คูใ่ นส่วนทีเ่ ป็นตัวเลขจะได้มาจากการนับระยะห่างระหว่างโน้ตทัง้ สองของขัน้ คู ่ โดยใช้ ชือ่ อักษรตัวโน้ตเป็นหลัก การนับชือ่ อักษรของตัวโน้ตให้นบั อย่างตรงไปตรงมา ไม่วา่ โน้ตตัวใดตัวหนึง่ หรือโน้ตทั้ง 2 ตัวจะมีเครื่องหมายแปลงเสียงก�ากับอยู่หรือไม่ก็ตาม ในการนับขั้นระยะขั้นคู่ให้ใช้ เฉพาะชื่ออักษรของตัวโน้ต และจะนับโน้ตทั้ง 2 ตัวรวมกันอยู่ด้วย ตัวอย่างเช่น โน้ต A กับโน้ต D ให้นับ A เป็นโน้ตตัวที่ 1 แล้วไล่ขึ้นไปตามล�าดับ จะได้ B เป็นโน้ตตัวที่ 2 และ C เป็นโน้ตตัวที่ 3 ส่วน D เป็นโน้ตตัวที่ 4 ฉะนั้นโน้ต A กับ D จึงมีความ สัมพันธ์เป็นคู่ 4 ในขณะเดียวกัน ถ้ามีเครื่องหมายแปลงเสียงที่โน้ต D หรือโน้ต A หรือทั้ง 2 ตัว ก็ยังนับว่า โน้ตทั้ง 2 ตัวดังกล่าวมีระยะห่างเป็นขั้นคู่ 4 ตัวอย่างเช่น โน้ต A กับ D# โน้ต Ab กับ D โน้ต A# กับ D# เพราะการนับขั้นคู่ในส่วนของตัวเลขจะใช้เฉพาะตัวอักษรของตัวโน้ตมาคิดเท่านั้น
2
CHORD & SCALE
ขั้นคู่ที่กว้างไม่เกินคู่ 8 เรียกว่า ขั้นคู่ธรรมดา (Simple Interval) ส่วนขั้นคู่ที่มีความกว้าง ตั้งแต่คู่ 9 ขึ้นไปเรียกว่า ขั้นคู่ผสม (Compound Interval) ซึ่งมีวิธีนับเหมือนกับขั้นคู่ธรรมดา
ชนิดของขั้นคู่ ขั้นคู่มี 5 ชนิด ได้แก่ เมเจอร์ (Major) ไมเนอร์ (Minor) เพอร์เฟกต์ (Perfect) ดิมินิชท์ (Diminished) และออกเมนเทด (Augmented) ใช้ตัวอักษรย่อ M, m, P, d, A ตามล�าดับ ใน การศึกษาขั้นคู่ให้เข้าใจนั้นจ�าเป็นต้องอิงกับบันไดเสียงเมเจอร์
ขั้นคู่เมเจอร์และขั้นคู่เพอร์เฟกต์ ในการคิดขัน้ คูน่ นั้ ให้ใช้บนั ไดเสียงเมเจอร์ในการคิดขัน้ คู ่ โดยอิงโน้ตแต่ละตัวกับโน้ตตัวแรก ของบันไดเสียง จะท�าให้ได้ขั้นคู่ประเภทเมเจอร์หรือเพอร์เฟกต์เท่านั้น ดังนี้
1 2 3 4 5 6 7
โน้ตตัวที่ 1 และโน้ตตัวที่ 2 ของบันไดเสียงเมเจอร์ห่างกันเป็นคู่ 2 เมเจอร์ โน้ตตัวที่ 1 และโน้ตตัวที่ 3 ห่างกันเป็นคู่ 3 เมเจอร์ โน้ตตัวที่ 1 และโน้ตตัวที่ 4 ห่างกันเป็นคู่ 4 เพอร์เฟกต์ โน้ตตัวที่ 1 และโน้ตตัวที่ 5 ห่างกันเป็นคู่ 5 เพอร์เฟกต์ โน้ตตัวที่ 1 และโน้ตตัวที่ 6 ห่างกันเป็นคู่ 6 เมเจอร์ โน้ตตัวที่ 1 และโน้ตตัวที่ 7 ห่างกันเป็นคู่ 7 เมเจอร์ โน้ตตัวที่ 1 และโน้ตตัวที่ 8 ห่างกันเป็นคู่ 8 เพอร์เฟกต์
3
คอร์ดและสเกลเพื่อสร้างงานดนตรี
การใช้
4
1 2 3 4 5 6 7
ในบันไดเสียง C Major ขั้นคู่ที่เกิดระหว่าง C กับ D คือ 2 เมเจอร์ ขั้นคู่ระหว่าง C กับ E คือ คู่ 3 เมเจอร์ ขั้นคู่ระหว่าง C กับ F คือ คู่ 4 เพอร์เฟกต์ ขั้นคู่ระหว่าง C กับ G คือ คู่ 5 เพอร์เฟกต์ ขั้นคู่ระหว่าง C กับ A คือ คู่ 6 เมเจอร์ ขั้นคู่ระหว่าง C กับ B คือ คู่ 7 เมเจอร์ ขั้นคู่ระหว่าง C กับ C ที่อยู่สูงขึ้นไป 1 ช่วงคู่ 8 คือ คู่ 8 เพอร์เฟกต์
P4
M2
M3
P8
P5
M6
M7
CHORD & SCALE
ด้วยหลักการเดียวกันนี้ สามารถใช้กับบันไดเสียงอื่นๆ ได้ โดยการเทียบจากบันไดเสียง C Major และอาจใช้การนับว่าขั้นคู่นั้นๆ มีระยะห่างจากโน้ตตัวแรกกี่ขั้นครึ่งเสียง (Semitone) เช่น ในบันไดเสียง A Major
1
ขั้นคู่ที่เกิดระหว่าง A กับ B เป็นคู่ 2 เมเจอร์ เพราะเป็นขั้นคู่ระหว่าง โน้ตตัวที่ 1 และโน้ตตัวที่ 2 ในบันไดเสียงเมเจอร์
2 3 4 5 6 7
ขั้นคู่ระหว่าง A กับ C# (โน้ตตัวที่ 3) คือ คู่ 3 เมเจอร์ ขั้นคู่ระหว่าง A กับ D (โน้ตตัวที่ 4) คือ คู่ 4 เพอร์เฟกต์ ขั้นคู่ระหว่าง A กับ E (โน้ตตัวที่ 5) คือ คู่ 5 เพอร์เฟกต์ ขั้นคู่ระหว่าง A กับ F# (โน้ตตัวที่ 6) คือ คู่ 6 เมเจอร์ ขั้นคู่ระหว่าง A กับ G# (โน้ตตัวที่ 7) คือ คู่ 7 เมเจอร์
ขั้นคู่ระหว่าง A กับ A (โน้ตตัวที่ 8) ที่อยู่สูงขึ้นไป 1 ช่วงคู่ 8 คือ คู่ 8 เพอร์เฟกต์
M2
M3
P4
P8
P5
M6
M7
5
คอร์ดและสเกลเพื่อสร้างงานดนตรี
การใช้
ยังมีขั้นคู่อีก 1 ชนิด เรียกว่า ขั้นคู่ 1 เพอร์เฟกต์ หรือขั้นคู่ยูนิซัน ขั้นคู่ชนิดนี้มีระยะห่าง ระหว่างโน้ตตัวนั้นๆ กับโน้ตตัวเดียวกัน หมายความว่าเป็นเสียงเดียวกันนั่นเอง จะพบได้ในเพลง ที่มีการเล่นเครื่องดนตรี 2 ชิ้นขึ้นไปแล้วเล่นโน้ตตัวเดียวกัน
การฝึกคิดขั้นคู่ด้วยการทดเสียง หลักการคิดขั้นคู่เมเจอร์และขั้นคู่เพอร์เฟกต์นั้น ในบางกรณีอาจยุ่งยากถ้าโน้ตตัวล่าง เป็นโน้ตที่มีเครื่องหมายแปลงเสียงต่างๆ เช่น #, b วิธีคิดให้ง่ายขึ้นก็คือ ให้คิดโน้ตตัวนั้นโดยที่มี เครื่องหมายแปลงเสียงติดอยู่ แล้วจึงทดเสียงภายหลัง ตัวอย่างเช่น ถ้าโจทย์ให้หาโน้ตที่อยู่สูงกว่า G# เป็นคู ่ 5 เพอร์เฟกต์ ลองใช้วธิ เี ปลีย่ นโจทย์ให้เป็น G ทีไ่ ม่มเี ครือ่ งหมายชาร์ปก่อน จะได้คา� ตอบ เป็น D เพราะ D เป็นโน้ตตัวที่ 5 ของบันไดเสียง G Major จึงเป็นคู่ 5 เพอร์เฟกต์ เมื่อได้ดังนี้ แล้วก็ทดเสียงโน้ตทั้ง 2 ตัวขึ้นไปครึ่งเสียง ชนิดของขั้นคู่ก็จะยังคงเดิม ดังนั้น D# ก็จะเป็นคู่ 5 เพอร์เฟกต์ของ G# เช่นกัน เมื่อได้หลักดังนี้ Db ก็เป็นคู่ 5 เพอร์เฟกต์ของ Gb เช่นเดียวกัน
6
CHORD & SCALE
ขั้นคู่ไมเนอร์ ขั้นคู่ดิมินิชท์ และขั้นคู่ออกเมนเทด ขั้นคู่เมเจอร์และขั้นคู่เพอร์เฟกต์ ใช้เป็นหลักในการคิดขั้นคู่อีก 3 ชนิด คือ ขั้นคู่ไมเนอร์ ขั้นคู่ดิมินิชท์ และขั้นคู่ออกเมนเทด ขั้นคู่ไมเนอร์ (m) คือขั้นคู่ที่แคบกว่าขั้นคู่เมเจอร์ครึ่งเสียง ขั้นคู่ดิมินิชท์ (d) คือขั้นคู่ที่แคบกว่าขั้นคู่ไมเนอร์หรือขั้นคู่เพอร์เฟกต์ครึ่งเสียง ขั้นคู่ออกเมนเทด (A) คือขั้นคู่ที่กว้างกว่าขั้นคู่เมเจอร์หรือขั้นคู่เพอร์เฟกต์ครึ่งเสียง ฉะนั้นขั้นคู่ประเภทเมเจอร์ (คู่ 2, 3, 6, 7) จะมีขั้นคู่ได้อีก 3 ชนิด คือ ขั้นคู่ไมเนอร์ ขั้นคู่ดิมินิชท์ และขั้นคู่ออกเมนเทด แต่ขั้นคู่ประเภทเพอร์เฟกต์ (คู่ 1, 4, 5, 8) จะมีขั้นคู่ได้อีก เพียง 2 ชนิด คือ ขั้นคู่ดิมินิชท์และขั้นคู่ออกเมนเทด ความสัมพันธ์ของขั้นคู่ต่างๆ อาจเขียนเป็นรูปเพื่อให้เข้าใจง่ายได้ดังนี้ ดิมินิชท์ (d) <------------ ไมเนอร์ (m) <---------- เมเจอร์ (M) -------> ออกเมนเทด (A) ดิมินิชท์ (d) <----------- เพอร์เฟกต์ (P) -----> ออกเมนเทด (A) (แคบลงครึ่งเสียง) <-------------------------------------------------------------------> (กว้างขึ้นครึ่งเสียง)
ตัวอย่างเช่น โน้ต C กับ G เป็นคู่ 5 เพอร์เฟกต์ ถ้าขั้นคู่นี้กว้างอีกครึ่งเสียง เช่น Cb กับ G หรือ C กับ G# ก็จะกลายเป็นคู่ 5 ออกเมนเทด แต่ถ้าขั้นคู่นี้แคบลงอีกครึ่งเสียง เช่น C# กับ G หรือ C กับ Gb ก็จะกลายเป็นคู่ 5 ดิมินิชท์ ตัวอย่างเช่น โน้ต C กับ E เป็นคู่ 3 เมเจอร์ ถ้าขั้นคู่นี้กว้างขึ้นอีกครึ่งเสียง เช่น Cb กับ E หรือ C กับ E# ก็จะกลายเป็นคู่ 2 ออกเมนเทด ถ้าขั้นคู่นี้แคบลงครึ่งเสียง เช่น C# กับ E หรือ C กับ Eb ก็จะกลายเป็นคู่ 3 ไมเนอร์ และถ้าขั้นคู่นี้แคบลงอีก เช่น Cx (C ดับเบิลชาร์ป) กับ E หรือ C กับ Ebb (E ดับเบิลแฟล็ต) ก็จะกลายเป็นคู่ 3 ดิมินิชท์
7
คอร์ดและสเกลเพื่อสร้างงานดนตรี
การใช้
ขั้นคู่เอ็นฮาร์โมนิก ขั้นคู่เอ็นฮาร์โมนิก คือขั้นคู่ที่มีระดับเสียงเดียวกัน แม้จะมีชื่อหรือการเขียนแตกต่างกัน ซึ่งเป็นขั้นคู่ที่ต่างกันตามทฤษฎี เช่น C-D# หรือ C-Eb มีระดับเสียงเหมือนกัน แต่คู่ C-D# เป็น คู่ 2 ออกเมนเทด ส่วน C-Eb นั้นเป็นคู่ 3 ไมเนอร์ ขั้นคู่เอ็นฮาร์โมนิกทั้งหมด 11 คู่ ในระยะ 1 ช่วงคู่ 8 ได้แก่
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11
8
คู่ 1 ออกเมนเทดกับคู่ 2 ไมเนอร์ ห่างกันครึ่งเสียง เช่น C-C# กับ C-Db คู่ 2 เมเจอร์กับคู่ 3 ดิมินิชท์ ห่างกัน 2 ครึ่งเสียง (1 เสียง) เช่น E-F# กับ E-Gb คู่ 2 ออกเมนเทดกับคู่ 3 ไมเนอร์ ห่างกัน 3 ครึ่งเสียง (1.5 เสียง) เช่น F-G# กับ F-Ab คู่ 3 เมเจอร์กับคู่ 4 ดิมินิชท์ ห่างกัน 4 ครึ่งเสียง (2 เสียง) เช่น A-C# กับ A-Db คู่ 3 ออกเมนเทดกับคู่ 4 เพอร์เฟกต์ ห่างกัน 5 ครึ่งเสียง (2.5 เสียง) เช่น Bb-D# กับ Bb-Eb คู่ 4 ออกเมนเทดกับคู่ 5 ดิมินิชท์ ห่างกัน 6 ครึ่งเสียง (3 เสียง) เช่น D-G# กับ D-Ab คู่ 5 เพอร์เฟกต์กับคู่ 6 ดิมินิชท์ ห่างกัน 7 ครึ่งเสียง (3.5 เสียง) เช่น D#-A# กับ D#-Bb คู่ 5 ออกเมนเทดกับคู่ 6 ไมเนอร์ ห่างกัน 8 ครึ่งเสียง (4 เสียง) เช่น Eb-B กับ D#-B คู่ 6 เมเจอร์กับคู่ 7 ดิมินิชท์ ห่างกัน 9 ครึ่งเสียง (4.5 เสียง) เช่น A-F# กับ A-Gb คู่ 6 ออกเมนเทดกับคู่ 7 ไมเนอร์ ห่างกัน 10 ครึ่งเสียง (5 เสียง) เช่น Bb-G# กับ Bb-Ab คู่ 7 เมเจอร์กับคู่ 8 ดิมินิชท์ ห่างกัน 11 ครึ่งเสียง (5.5 เสียง) เช่น E-D# กับ E-Eb
สอนโดย อ.แดง กีตาร
ประสบการณทางดานดนตรีกวา 50 ป และสอนดนตรีมากวา 30 ป
สื่อการสอนชุดนี้จะเนนใหคำแนะนำเกี่ยวกับการนำคอรดและสเกลมาใชเพื่อการเขียนเพลงและแตงเพลง สำหรับนักกีตา ร โดยอาจารยจะเนนใหเห็นวา การเรียนดนตรีนน้ั ไมใชเรือ่ งของการเลียนแบบ แตสาระสำคัญของ การเรียนดนตรีคือ การบริหารจัดการเรื่องเสียงใหไปในทิศทางที่เราตองการ สำหรับผูท ซ่ี อ้ื สือ่ การสอนชุดนีจ้ ะตองมีความรู ในดานการอานโนตไดพอสมควร การนำคอรดและสเกลมาใช นัน้ ไมไดหมายถึงการจับคอรดหรือการตีคอรดแบบธรรมดาๆ ทัว่ ไป แตตอ งจับคอรดแบบโมเดิรน แบบมืออาชีพ นอกจากนี้ยังมีการสอนเทคนิคการแตงเพลง การวางทำนอง การสรางคอรด และการนำลูกเลนของการโซโล กีตารสอดแทรกเขาไปอยู ในบทเพลงตางๆ อีกดวย สือ่ การสอนชุดนีจ้ งึ เหมาะสำหรับคนทีอ่ ยากเปนนักกีตา ร นักดนตรีมอื อาชีพ ครูสอนดนตรี หรือนักดนตรี ในหองอัดเสียงใหมคี วามเปนมืออาชีพมากยิง่ ขึน้ แมแตคนที่ไมมโี อกาสเขาไปเรียนในสถาบันก็สามารถนำวิสยั ทัศน ที่ไดจากสื่อการสอนชุดนี้ไปประยุกต ในการพัฒนาตนเอง และยังเหมาะสำหรับผูที่ตองการหาประสบการณแต มีเวลานอยอีกดวย
ตัวอยางใน DVD
ISBN 978-616-527-124-0
การใชคอรดและสเกลเพ�่อสรางงานดนตร� DVD : 2 แผน ราคา : 240 บาท
9
786165
271240