หัดเล่นอูคูเลเล่ เบื้องต้น

Page 1

Ê͹µÑé§áµ‹àÃÔèÁµŒ¹¨¹ÊÒÁÒöàÅ‹¹à»š¹à¾Å§ä´Œ àËÁÒÐÊÓËÃѺ¼ÙŒ·Õ赌ͧ¡ÒÃàÃÕ¹ÃÙŒ´ŒÇµÑÇàͧ

ËÑ´àÅ‹¹

éàº×ͧµŒ¹ ¤Íô

¡ÒÃÍÒ‹ ¹

áÅеÇÑ Í ҋ

UKULELE

§¡ÒèºÑ ¤ Íô CH ORD CH ART

Aloha!

¾ÃŒÍÁ 8 º·à¾Å§ à¾×èͽƒ¡àÅ‹¹ ¨Ò¡ àºà¡ÍÃÕèÁÔÇÊÔ¤

ÃÒ¤Ò¾àÔ ÈÉ

à¾Õ§

80.-




หัดเล่นอูคูเลเล่เบื้องต้น ISBN ราคา พิมพ์ครั้งที่ 1

978-616-527-182-0 80 บาท เมษายน 2554

สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดยสำ�นักพิมพ์เอ็มไอเอส ห้ามนำ�ส่วนหนึ่งส่วนใด ของหนังสือเล่มนีไ้ ปลอกเลียนแบบ ทำ�สำ�เนา ถ่ายเอกสาร หรือนำ�ไปเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต และเครือข่ายต่างๆ ไม่ว่าจะในรูปแบบใดๆ นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากทางสำ�นักพิมพ์เท่านั้น

ชื่อผลิตภัณฑ์และเครื่องหมายการค้าต่างๆ ที่อ้างถึงเป็นของบริษัทนั้นๆ

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ National Library of Thailand Cataloging in Publication Data หัดเล่นอูคูเลเล่เบื้องต้น.-- กรุงเทพฯ : เอ็มไอเอส, 2554. 80 หน้า. 1. อูคูเลเล่. 2. เครื่องดนตรีฮาวาย. I. ชื่อเรื่อง. 787.89 ISBN 978-616-527-182-0 คณะผู้จัดทำ� บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ ชิดพงษ์ กวีวรวุฒิ เรียบเรียงเนื้อหา กัญญาณัฐ กรีประเสริฐกุล ออกแบบรูปเล่ม ไพโรจน์ บรรจงใจรักษ์ ออกแบบปก ประชา ธนะฤกษ์ พิสูจน์อักษร ศลิษา ลือพงศ์ไพจิตร, วารีรัตน์ แตงภู่ ประสานงานฝ่ายผลิต ณัฐพงษ์ พยัคคง ประสานงานสื่อสิ่งพิมพ์ บุษกร กู้หลี ฝ่ายการตลาด ชลพิชา ครื้นจิต, มยุรี ศรีมังคละ พิมพ์ที่ บริษัท พิมพ์ดี จำ�กัด ผู้พิมพ์/ผู้โฆษณา เสริม พูนพนิช

จัดพิมพ์โดย : สำ�นักพิมพ์เอ็มไอเอส 55, 57 ซอยพระรามที่ 3 ซอย 53 ถนนพระราม 3 แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0-2294-8777 (สายอัตโนมัติ) โทรสาร 0-2294-8787 www.MISbook.com

จัดจำ�หน่ายโดย : บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) 1858/87-90 ชัน้ 19 อาคารเนชัน่ ทาวเวอร์ ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8356-9 www.se-ed.com

หากหนังสือเล่มนี้ผลิตไม่ได้มาตรฐาน อาทิ หน้ากระดาษสลับกัน หน้าซ้ำ� หน้าขาดหาย สำ�นักพิมพ์ยินดีรับผิดชอบเปลี่ยนให้ใหม่ โดยส่งมาเปลี่ยนตามที่อยู่ด้านบน หรือติดต่อสำ�นักพิมพ์เอ็มไอเอส โทรศัพท์ 0-2294-8777 (สายอัตโนมัติ)


INTRODUCTION ทุกคนคงรู้จักเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่เรียกว่า “กีต้าร์” กันเป็นอย่างดีแล้ว และหลายคนก็นิยมน�ำมาเล่นเพื่อผ่อนคลาย ความเครียด แต่เครื่องดนตรีอีกประเภทหนึ่งที่ก�ำลังเป็นที่สนใจ และมีคุณภาพเสียงดีไม่แพ้กีต้าร์เลยก็คือเครื่องดนตรีที่มีชื่อว่า “อูคูเลเล่” นั่นเอง เหตุผลที่ก�ำลังเป็นที่นิยมกันในปัจจุบันเป็น เพราะอูคูเลเล่เป็นเครื่องดนตรีขนาดเล็กที่พกพาได้สะดวก และ แม้ว่าจะมีขนาดเล็ก แต่คุณภาพของมันก็สามารถท�ำให้ผู้เล่นและ ผู้ที่ได้รับฟังเพลิดเพลินไปกับเสียงดนตรีของมันได้ เนื่องจากเสียง ทีไ่ ด้จากเครือ่ งดนตรีชนิดนีใ้ ห้ความรูส้ กึ ผ่อนคลายสบายใจ และให้ บรรยากาศประหนึ่งเหมือนอยู่ชายทะเลเลยทีเดียว ทางส�ำนักพิมพ์ฯ ได้เห็นถึงความน่าสนใจในเครื่องดนตรี ดังกล่าว จึงได้จดั ท�ำหนังสือเล่มนีข้ นึ้ เพือ่ เป็นประโยชน์สำ� หรับผูท้ ี่ สนใจและต้องการฝึกอูคูเลเล่ โดยในหนังสือเล่มนี้ได้ให้ข้อมูล เกีย่ วกับประวัตคิ วามเป็นมาของอูคเู ลเล่ ความรูใ้ นเรือ่ งส่วนประกอบ และประเภทต่างๆ ของอูคูเลเล่ วิธีการตั้งเสียง วิธีการอ่านคอร์ด และการจับคอร์ด ตารางคอร์ดอูคูเลเล่ พร้อมตัวอย่างคอร์ด 8 เพลงฮิตทีส่ ามารถน�ำมาประยุกต์ใช้เล่นกับอูคเู ลเล่ได้อย่างไพเราะ ส�ำนักพิมพ์เอ็มไอเอสหวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือเล่มนี้ จะให้ประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ และกระตุ้นให้ผู้คนหันมาเล่นดนตรี กันมากขึ้น เพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และช่วยผ่อน คลายความเครียดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจ�ำวันได้เป็นอย่างดี ส�ำนักพิมพ์เอ็มไอเอส


CONTENTS BASIC UKULELE 1 ประวัติความเป็นมาของอูคูเลเล่ 2 ความแตกต่างระหว่างกีต้าร์กับอูคูเลเล่ 3 ส่วนประกอบของอูคูเลเล่ 4 ประเภทของอูคูเลเล่แบ่งตามขนาดและระดับเสียง 6 ตัวโน้ตบนอูคูเลเล่ 7 การตั้งเสียง 8 การดูแลรักษา 9 อุปกรณ์เสริม 10 การอ่านคอร์ดและตัวอย่างการจับคอร์ด 10 ตัวอย่างการจับคอร์ด 11 คอร์ด 12 ความหมายของคอร์ด 12 รากของคอร์ด 12 การสร้างคอร์ดพื้นฐาน 12 รู้จักกับโน้ตสากล 12 เครื่องหมายแปลงเสียง 13 ตัวอย่างเครื่องหมายแปลงเสียงบนโน้ต 13 ชื่อคอร์ดและสัญลักษณ์ 14 UKULELE CHORD CHART 17 C 18 C#/Db 20 D 24 D#/Eb 26 E 30 F 33


F#/Gb G G#/Ab A A#/Bb B

บทเพลงส�ำหรับฝึกเพิ่มเติม เก็บดาว (ศิลปิน : บอย โกสิยพงษ์) Live And Learn (ศิลปิน : กมลา สุโกศล) เจ้าหญิง (ศิลปิน : ป๊อด-ธนชัย อุชชิน) หัวใจผูกกัน (ศิลปิน : บอย-อนุวัฒน์ สงวนศักดิ์ภักดี) อยากจะขอ (ศิลปิน : นภ พรช�ำนิ) ห่างไกลเหลือเกิน (ศิลปิน : ป๊อด-ธนชัย อุชชิน) ที่แห่งนี้ (ศิลปิน : P.O.P) ลมหายใจ (ศิลปิน : รัดเกล้า อามระดิษ)

35 39 41 45 47 51 54 55 58 60 62 64 66 69 72



BASIC

UKULELE


ประวัติความเป็นมาของอูคูเลเล่ อูคูเลเล่ (Ukulele) เป็นเครื่องดนตรีประเภทลิวท์ (Lute) ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประเภทดีดที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับกีต้าร์ มี ถิ่นก�ำเนิดอยู่ที่ฮาวาย อูคูเลเล่จึงเป็นค�ำที่มาจากภาษาฮาวาย ส่วน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Ukelele หรือเรียกสัน้ ๆ ว่า “อูค๊ ” (Uke) แปลว่า Jumping Flea ซึ่งในภาษาไทยหมายถึงเห็บกระโดด โดยเป็น การเปรียบเทียบท่าทางการเล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้ในขณะที่จับ คอร์ด ว่ามีลักษณะคล้ายกับเห็บก� ำลังกระโดดนั่นเอง หรืออีก ความหมายหนึ่งในภาษาฮาวายคือ “อูคู” หมายถึงของขวัญ และ “เลเล่” หมายถึงการมา อูคูเลเล่จึงหมายถึงของขวัญที่ได้มา (จาก ชาวโปรตุเกส) แม้ว่าอูคูเลเล่จะมีถิ่นก�ำเนิดอยู่ที่หมู่เกาะฮาวาย แต่แท้จริง แล้วเครื่องดนตรีชนิดนี้ได้ถูกดัดแปลงมาจากเครื่องดนตรีของชาว โปรตุเกส โดยในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาวโปรตุเกสคนหนึง่ ได้ น�ำเครือ่ งดนตรีทเี่ รียกว่า คาวากวิโย (Cavaquinho) และมาเชเต้ (Machete) ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีของชาวโปรตุเกสไปเล่นที่ หมูเ่ กาะฮาวาย ท�ำให้ชาวฮาวายเกิดความสนใจและน�ำเครือ่ ง ดนตรีทั้ง 2 ชนิดนั้นมาประยุกต์ใหม่จนกลายเป็นอูคูเลเล่ใน ปัจจุบัน

2


BASIC UKULELE

วัตถุดิบในการท�ำอูคูเลเล่ที่เป็นที่นิยมและมีคุณภาพคือ ไม้โคอา (Koa) ซึง่ เป็นไม้ทไี่ ด้จากต้นโคอาทีพ่ บในหมูเ่ กาะฮาวาย ต้นโคอาเป็นต้นไม้ทขี่ นึ้ ในบริเวณทีเ่ คยเป็นภูเขาไฟมาก่อน จึงเรียก ได้ว่าเป็นไม้หายากที่มีราคาสูง เหตุผลที่นิยมน�ำมาท�ำอูคูเลเล่ เป็ น เพราะไม้ โ คอาจะให้ เ สี ย งใสและก้ อ งกั ง วาน อี ก ทั้ ง ยั ง มี ลวดลายไม้ที่สวยงาม จึงนิยมน�ำมาประกอบเป็นเครื่องดนตรี นั่นเอง โดยกว่าที่จะน�ำมาท�ำเป็นเครื่องดนตรีได้ จะต้องเก็บไม้ ไว้ประมาณ 6-7 ปีก่อน เพื่อให้ไม้แห้งและเกิดความคงทน แล้ว จึงสามารถน�ำมาประกอบเป็นอูคูเลเล่ได้ แต่เนื่องจากปัจจุบันไม้ โคอาก�ำลังจะสูญพันธุไ์ ป จึงได้นำ� ไม้ชนิดอืน่ มาใช้ในการผลิตแทน เช่น ไม้มะม่วง ซึ่งเป็นไม้ที่พบได้ในหมู่เกาะฮาวายเช่นเดียวกัน หรืออาจเป็นไม้ประเภทเดียวกับที่น�ำมาประกอบกีต้าร์ เช่น ไม้ มะฮอกกานี เป็นต้น ซึ่งกล่าวกันว่าไม้มะม่วงเป็นไม้ที่มีเสียง คล้ายคลึงกับไม้โคอามากที่สุด

ความแตกต่างระหว่างกีต้าร์กับอูคูเลเล่ ความแตกต่างระหว่างกีต้าร์กับอูคูเลเล่ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือจ�ำนวนสาย โดยกีต้าร์จะมี สายทั้งหมด 6 สาย ส่วนอูคูเลเล่จะมี 4 สาย นิยมท�ำด้วยสายไนลอน ท�ำให้ไม่เจ็บนิ้วในขณะจับ คอร์ด การจับคอร์ดของกีตา้ ร์และอูคเู ลเล่จงึ แตกต่างกัน อีกทัง้ วิธกี ารตัง้ สายและเสียงทีด่ งั ออกมา ก็จะแตกต่างกันด้วย

3


ส่วนประกอบของอูคูเลเล่ 1. Head

2. Tuners 3. Nut

4. Neck

6. Frets

5. Fretboard 7. Position Markers

9. Sound Hole 8. Body 10. Saddle 11. Bridge

4


BASIC UKULELE

1. Head เป็นส่วนหัวของอูคูเลเล่ ซึ่งตัว Tuners จะติดอยู่ที่ส่วนนี้ 2. Tuners คือ ส่วนที่ใช้ปรับสายเพื่อตั้งเสียงให้ถูกต้อง หรือเรียกอีกอย่าง ว่าลูกบิดนั่นเอง 3. Nut เป็นส่วนที่อยู่ในช่วงรอยต่อระหว่างหัวกีต้าร์ (Head) และตัว เฟร็ตบอร์ด (Fretboard) ท�ำจากวัสดุแข็ง เช่น กระดูก มีลักษณะเป็นแท่ง ยาวและมีรอยบาก 4 ช่องที่มีขนาดพอดีกับสายแต่ละเส้น ใช้ส�ำหรับพาด สายให้ตรงตามแนวของคอและแบ่งระยะห่างระหว่างสาย 4. Neck เป็นส่วนที่ใช้ในการจับคอร์ด โดยเริ่มตั้งแต่นัทลงมาจนถึงบอดี้ แต่ยังไม่นับรวมในส่วนของบอดี้ 5. Fretboard หรือ Fingerboard คือไม้แผ่นบางๆ ที่ติดอยู่บนคออูคูเลเล่ ยาวไปถึงล�ำตัว เป็นส่วนที่ใช้ส�ำหรับกดสาย 6. Frets คือเส้นโลหะบางๆ ที่พาดตามแนวขวางบน Fretboard เมื่อ กดสายที่ต�ำแหน่งต่างๆ บน Fretboard สายจะไปพาดอยู่บนเฟร็ต ท�ำให้ ระดับเสียงเปลี่ยนไป 7. Positon Markers หรือ Dot Inlays จุดหรือสัญลักษณ์เล็กๆ ที่อยู่บน Fretboard ใช้บอกต�ำแหน่งของ Fretboard ว่าเป็นช่องที่เท่าไร 8. Body หรือล�ำตัว เป็นส่วนก�ำเนิดเสียงของอูคูเลเล่ 9. Sound Hole คือช่องเสียงหรือโพรงเสียง เป็นส่วนที่เสียงจะดังก้อง ออกมาจากในบอดี้ 10. Saddle เป็นชิ้นส่วนส�ำหรับพาดสาย ท�ำหน้าที่เหมือนนัท (Nut) โดย อยู่ที่ปลายสายที่อยู่ด้านตรงข้าม 11. Bridge คือส่วนทีใ่ ช้ยดึ Saddle กับล�ำตัวอูคเู ลเล่ มักท�ำจากไม้เนือ้ แข็ง เพื่อความทนทาน

5


ประเภทของอูคูเลเล่แบ่งตามขนาดและระดับเสียง ขนาดมาตรฐานของอูคูเลเล่มีทั้งหมด 4 ขนาดด้วยกัน ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ท�ำให้เสียงที่ได้ มีความแตกต่างกัน 1. โซปราโน (Soprano) เป็นอูคเู ลเล่ขนาดดัง้ เดิมทีม่ ขี นาดเล็กทีส่ ดุ มีความยาวประมาณ 21 นิ้ว โดยทั่วไปจะมีจ�ำนวนเฟร็ต (Fret) อยู่ที่ 12 เฟร็ตจากนัท (Nut) ถึงตัวบอดี้ (Body) บางตัวอาจมีถึง 14 เฟร็ต แต่เนื่องจากโซปราโนมีขนาดเล็ก จึงไม่นิยมให้มีเฟร็ตจ�ำนวนมาก เพราะจะท�ำให้จับคอร์ดยาก วิธีการจูนสาย (C Tuning) เป็นแบบ GCEA โดยจะไล่ตั้งแต่สายที่ 4 (สายบนสุด) ลงไปจนถึงสายที่ 1 (สายล่างสุด) 2. คอนเสิร์ต (Concert) มีขนาดใหญ่กว่าโซปราโนเล็กน้อย คือมีความยาวประมาณ 23 นิ้ว และมีจ�ำนวนเฟร็ตตั้งแต่ 14-17 เฟร็ต หรือมากกว่า โดยจ�ำนวนเฟร็ตจากนัทถึงบอดี้มี 14 เฟร็ต ที่เหลือจะอยู่ในส่วนของบอดี้ วิธีการจูนสายเป็นแบบ GCEA เช่นเดียวกัน 3. เทนเนอร์ (Tenor) มีความยาวประมาณ 26 นิ้ว และมีจ�ำนวนเฟร็ตประมาณ 17-19 เฟร็ต ซึ่งจ�ำนวนเฟร็ตจากนัทถึงบอดี้มี 14 เฟร็ต และที่เหลือก็จะอยู่ในส่วนของบอดี้เช่นเดียวกัน เทนเนอร์เป็นอูคูเลเล่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด เนื่องจากมีเสียงที่ใกล้เคียงกับกีต้าร์ แต่ก็ยังคง รักษาเอกลักษณ์ของอูคูเลเล่ไว้ โดยเทนเนอร์จะใช้วิธีการจูนสายแบบ GCEA เหมือนกับขนาด อื่นๆ แต่บางครั้งก็ใช้การจูนสายแบบ GCEA คือการให้สายที่ 4 (สายบนสุด) เป็นเสียง G ต�่ำ นั่นเอง 4. บาริโทน (Baritone) เป็นอูคเู ลเล่ทมี่ ขี นาดใหญ่ทสี่ ดุ มีความยาวประมาณ 30 นิว้ และ มีจำ� นวนเฟร็ตจากนัทถึงบอดีป้ ระมาณ 19-21 เฟร็ต บาริโทนเป็นอูคเู ลเล่ทไี่ ม่คอ่ ยได้รบั ความนิยม เท่าขนาดอื่นๆ เนื่องจากมีความแตกต่างจากอูคูเลเล่ขนาดอื่นๆ มาก โดยเฉพาะวิธีการจูนสาย เพราะบาริโทนมีการจูนสายแบบ DGBE ซึง่ เป็นลักษณะเดียวกับการจูนสายใน 4 สายล่างของกีตา้ ร์ และเพราะบาริโทนมีขนาดใหญ่ที่สุด บางคนจึงคิดว่าเป็นการเสียเอกลักษณ์ของอูคูเลเล่ที่มีขนาด เล็กและพกพาสะดวกไป ท�ำให้บาริโทนไม่เป็นที่นิยมนัก หมายเหตุ : เนื้อหาเกี่ยวกับโน้ตและคอร์ดในสื่อการสอนเล่มนี้ ใช้ส�ำหรับอูคูเลเล่แบบโซปราโน คอนเสิร์ต และเทนเนอร์ เท่านั้น เพราะเป็นที่นิยมและมีการตั้งสายแบบเดียวกัน

6


BASIC UKULELE

ตัวโน้ตบนอูคูเลเล่ ตัวโน้ตเป็นสิ่งที่ส�ำคัญส�ำหรับการเล่นเครื่องดนตรีทุกชนิด โดยพื้นฐานของดนตรีจะมี ตัวโน้ตอยูท่ งั้ หมด 12 ตัว โดยเรียกชือ่ ทางชาร์ป (#) ได้แก่ C, C#, D, D#, E, F, F#, G, G#, A, A#, ่ ทางแฟล็ต (b) ได้แก่ C, Db, D, Eb, E, F, Gb, G, Ab, A, Bb, B, C ส�ำหรับอูคเู ลเล่ B, C หรือเรียกชือ นั้นมีตัวโน้ตตามสายและเฟร็ตต่างๆ ดังนี้

GCEA

DGBE

Ab Db

F

Bb

Eb Ab

C

A

D

Gb

B

E

A

Db Gb

Bb Eb

G

C

F

Bb

D

B

E

Ab Db

Gb

B

Eb Ab

C

F

A

G

C

E

A

Db Gb Bb Eb

Ab Db

F

Bb

D

D

F

G

G

B

E

A

D

Gb

B

Eb Ab

C

F

Bb Eb

G

C

E

A

Db Gb

B

E

Ab Db

F

Bb

D

C

F

A

Gb

B

Eb Ab

Db Gb Bb Eb

G

C

E

D

G

A

โน้ตบน Fretboard ของอูคูเลเล่ แบบโซปราโน คอนเสิรต์ และเทนเนอร์

G

B

D

E

โน้ตบน Fretboard ของอูคูเลเล่ แบบบาริโทน

7


การตั้งเสียง การตั้งเสียงเป็นสิ่งที่ส�ำคัญมากส�ำหรับเครื่องดนตรีทุกประเภท เพราะหากไม่มีการตั้ง เสียงให้ถูกต้อง ก็อาจท�ำให้เสียงเพี้ยนหรือไม่ได้เสียงตามต้องการ ส�ำหรับการตั้งเสียงของอูคูเลเล่ นั้นสามารถท�ำได้หลายวิธี ดังนี้ 1. การเทียบเสียงกับเปียโนหรือคีย์บอร์ด หากใครที่มีประสบการณ์ในการเล่นเปียโนหรือ คียบ์ อร์ด หรืออาจมีความรูเ้ กีย่ วกับตัวโน้ตต่างๆ ก็สามารถเทียบเสียงอูคเู ลเล่ให้ถกู ต้องได้ โดยโน้ต ของอูคูเลเล่ไล่ตั้งแต่สาย 4 (สายบนสุด) ถึงสาย 1 (สายล่างสุด) คือเสียง G C E A ตามล�ำดับ โดยให้เทียบเสียงในต�ำแหน่งที่เป็น Middle C ของเปียโน ตัวอย่างโน้ตบนเปียโน

Octave F# G# A# Gb Ab Bb

C# D# Db Eb

Lower

C

D

Octave

E

F

G

A

C# D# Db Eb

B

C

D

F# G# A# Gb Ab Bb

E

220 Hz

F

G

A

B

Higher

440 Hz Middle C สายที่ 3 E สายที่ 2

C

สายที่ 4 A สายที่ 1

G

2. การตั้งเสียงโดยใช้เครื่องดิจิทัลจูนเนอร์ ซึ่งเป็นเครื่องที่สามารถหาซื้อได้ทั่วไปตามร้าน ขายเครื่องดนตรี โดยติดเครื่องดิจิทัลจูนเนอร์ไว้ที่ส่วนเฮดของอูคูเลเล่ วิธีการเช็กเสียงคือดูที่หน้า ปัดของเครื่องดิจิทัลจูนเนอร์ เช่น เมื่อดีดสายที่ 4 หรือสายบนสุดซึ่งมีเสียง G หากเสียงที่ออกมา ตรงและถูกต้องแล้ว หน้าปัดจะมีตัวอักษรขึ้นว่า “G”

8


BASIC UKULELE

3. หากไม่สามารถเทียบเสียงได้จากเปียโน และไม่มเี ครือ่ งดิจทิ ลั จูนเนอร์ เราก็สามารถตัง้ เสียงได้ด้วยความสามารถของเราเองโดยขั้นตอนต่อไปนี้ 3.1 ขั้นตอนแรกคือ ปรับสายที่ 1 (สายล่างสุด) ให้ตึงในระดับหนึ่ง โดยตั้งให้เป็น เสียงสูง เนื่องจากสายที่ 1 เป็นสายที่มีเสียงสูงที่สุด หรือหากสามารถฟังเสียงของตัวโน้ตได้ ให้ตั้ง สายที่ 1 เป็นเสียง A 3.2 ตั้งสายที่ 2 โดยกดที่เฟร็ต 5 ของสายที่ 2 แล้วดีดให้เสียงตรงกับสายที่ 1 ที่ เป็นสายเปิดโดยไม่ต้องกดสายที่ 1 (เสียง A) 3.3 ตั้งสายที่ 3 โดยกดที่เฟร็ต 4 ของสายที่ 3 แล้วดีดให้เสียงตรงกับสายที่ 2 ที่ เป็นสายเปิดโดยที่ไม่ต้องกดสายที่ 2 (เสียง E) 3.4 ตั้งสายที่ 4 โดยกดที่เฟร็ต 2 ของสายที่ 4 แล้วดีดให้เสียงตรงกับสายที่ 1 ที่ เป็นสายเปิดโดยที่ไม่ต้องกดสายที่ 1 (เสียง A) เมือ่ ตัง้ เสียงเรียบร้อยแล้ว ตัวโน้ตในแต่ละสายตัง้ แต่สายบนสุดถึงสายล่างสุดจึงเป็น G C E A เพียงรูต้ วั โน้ตทีถ่ กู ต้องเพียงสายเดียว ก็สามารถตัง้ สายให้ถกู ต้องได้ทกุ สายจากการเทียบเสียงด้วย วิธีข้างต้น

สายที่ 1

สายที่ 2

สายที่ 3

สายที่ 4

การดูแลรักษา เมื่อเล่นอูคูเลเล่เสร็จแล้วให้ใช้ผ้าแห้งเช็ดท�ำความสะอาด และเก็บไว้ในเคสอย่างดี ระวัง อย่าวางไว้ในบริเวณทีถ่ กู แสงแดด หรือในทีท่ มี่ อี ากาศร้อนอบอ้าวจนเกินไป และไม่ควรให้อคู เู ลเล่ โดนน�้ำ

9


อุปกรณ์เสริม 1. External Pickup เป็นเครื่องมือส�ำหรับต่อเพื่อขยายเสียง สามารถติดไว้ที่บอดี้ของ อูคูเลเล่ได้เลยโดยไม่ต้องเจาะ 2. Digital Tuner เป็นเครื่องมือส�ำหรับตั้งสายและระดับเสียงให้ถูกต้อง 3. Capo เป็นตัวหนีบทีใ่ ช้เพือ่ เปลีย่ นระดับเสียงของสายเปิดในขณะทีเ่ ปลีย่ นการจับคอร์ด 4. Strap คือ สายคล้อง ใช้ส�ำหรับผู้ที่ต้องการสะพายอูคูเลเล่

การอ่านคอร์ดและตัวอย่างการจับคอร์ด การอ่านคอร์ดของอูคเู ลเล่นนั้ มีสว่ นคล้ายกับการอ่านคอร์ดของกีตา้ ร์อยู่ บ้าง โดยสัญลักษณ์ต่างๆ ที่อยู่บริเวณโครงสร้างคอร์ดสามารถอ่านได้ดังนี้ - สัญลักษณ์วงกลม ( ) หมายถึง การดีดสายนั้นๆ โดยที่ไม่ต้องกดสาย - สัญลักษณ์กากบาท ( ) หมายถึง การไม่ต้องดีดที่สายนั้นๆ - สัญลักษณ์ 3fr, 5fr, 6fr, … หมายถึง เฟร็ตเริ่มต้นของคอร์ดนั้นๆ โดยดูจากหมายเลขเฟร็ตที่ระบุไว้ เช่น 3fr คือให้เริ่มต้นจับคอร์ดนั้นที่เฟร็ต 3 - แถบทึบสีด�ำด้านบนสุด คือสัญลักษณ์แทนนัท (Nut) หมายถึงตาราง คอร์ดนั้นเริ่มจากเฟร็ตที่ 1 - ตัวเลขทีอ่ ยู่ในวงกลม หมายถึง นิว้ ที่ใช้ในการกดสายนัน้ ๆ โดยก�ำหนด ตัวเลขแทนนิ้วมือแต่ละนิ้วดังนี้

2

3

5fr

1 3 4

1

8fr 3

1

1st finger

10

2

3

2nd finger 3rd finger

4 4th finger


BASIC UKULELE

ตัวอย่างการจับคอร์ด ตัวอย่างคอร์ด Cm สามารถจับได้ 3 แบบ ดังนี้ แบบที่ 1 1. ใช้นิ้วชี้ทาบลงไปบนสาย 3 เส้นแรก เฟร็ตที่ 3 (สายที่ 1 ถึงสายที่ 3) ส่วนสายที่ 4 นัน้ ให้ดดี เป็นสายเปิด (ไม่ตอ้ งกด) แบบที่ 2 1. ใช้นิ้วชี้ทาบลงไปบนสาย 3 เส้นแรก เฟร็ตที่ 3 (สายที่ 1 ถึงสายที่ 3) 2. ใช้นิ้วนางกดที่สายที่ 4 เฟร็ตที่ 5 แบบที่ 3 1. ใช้นิ้วชี้กดลงที่สายที่ 1 เฟร็ตที่ 6 2. ใช้นิ้วกลางกดลงที่สายที่ 3 เฟร็ตที่ 7 3. ใช้นิ้วนางกดลงที่สายที่ 4 เฟร็ตที่ 8 4. ใช้นิ้วก้อยกดลงที่สายที่ 2 เฟร็ตที่ 8 ตัวอย่างคอร์ด Gm สามารถจับได้ 3 แบบ ดังนี้ แบบที่ 1 1. ใช้นิ้วชี้กดลงที่สายที่ 1 เฟร็ตที่ 1 2. ใช้นิ้วกลางกดลงที่สายที่ 3 เฟร็ตที่ 2 3. ใช้นิ้วนางกดลงที่สายที่ 2 เฟร็ตที่ 3 แบบที่ 2 1. ใช้นิ้วชี้กดลงที่สายที่ 1 เฟร็ตที่ 5 2. ใช้นิ้วกลางกดลงที่สายที่ 2 เฟร็ตที่ 6 3. ใช้นิ้วนางกดลงที่สายที่ 4 เฟร็ตที่ 7 4. ใช้นิ้วก้อยกดลงที่สายที่ 3 เฟร็ตที่ 7 แบบที่ 3 1. ใช้นิ้วชี้ทาบลงไปบนสาย 3 เส้นแรก เฟร็ตที่ 10 (สายที่ 1 ถึงสายที่ 3) 2. ใช้นิ้วกลางกดลงที่สายที่ 4 เฟร็ตที่ 12

Cm

1

1

1 1

1

1 3fr

3

1 6fr 2 3

4

Gm 1 2 3

1 5fr 2 3

4

1

1 1 10fr

2

11


คอร์ด ความหมายของคอร์ด คอร์ด คือ กลุ่มเสียงโน้ตที่เล่นออกมาพร้อมกัน หรือกระจายเสียงต่อเนื่องกัน ส่วนใหญ่ ใช้โน้ตแบบตัวเว้นตัว (Tertian Harmony)

รากของคอร์ด

โน้ตตัวแรกของคอร์ดที่ใช้เป็นฐานในการสร้างเรียกว่า ราก (Root)

การสร้างคอร์ดพื้นฐาน

คอร์ดมาจากตัวโน้ตในบันไดเสียง โดยใช้เปรียบเทียบกับ Major Scale ได้ดังนี้

Major Chord ประกอบด้วยโน้ตตัวที่ 1, 3, 5 Minor Chord ประกอบด้วยโน้ตตัวที่ 1, b3, 5 Diminished Chord ประกอบด้วยโน้ตตัวที่ 1, b3, b5 Augmented Chord ประกอบด้วยโน้ตตัวที่ 1, 3, #5

รู้จักกับโน้ตสากล

โน้ตที่อยู่บนบรรทัดห้า 5 เส้นมีชื่อเรียกตามตำ�แหน่งที่บันทึกไว้ ดังนี้

E

F

Mi

Fa

B

C

D

E

La

Ti

Do

Re

Mi

Fa

G

A

Sol

F

หมายเหตุ : ให้ฝึกจำ�โน้ตทีละกลุ่ม โดยเฉพาะโน้ตที่อยู่ในช่องและคาบเส้น เพราะจะทำ�ให้ง่าย ต่อการจำ� โน้ตกลุ่มที่คาบเส้น ได้แก่ E, G, B, D, F ให้เราจำ�ตัวอักษรแรกแต่ละตัวในประโยคภาษา อังกฤษต่อไปนี้ Every Good Boy Does Fine ส่วนโน้ตกลุ่มที่อยู่ในช่อง ได้แก่ F, A, C, E ถ้าเรา เรียงตัวอักษรเหล่านี้ จะได้คำ�ว่า FACE ซึ่งแปลว่า “หน้า” ดังนั้นให้เราจำ�คำ�ว่า FACE

12


 



  เครื่องหมายแปลงเสียง

        

 

b

  

BASIC UKULELE

     

         (ชาร์ป) ท�ำให้เสียงสูงขึ้น ½ เสียง  Sharp      Flat (แฟล็    ต) ท�ำให้เสียงต�่ำลง ½ เสียง   Sharp (ดับเบิลชาร์ป) ท�ำให้เสียงสูงขึ้น 1 เสียง Double  Flat (ดับเบิลแฟล็ต) ท�ำให้เสียงต�่ำลง 1 เสียง Double     Natural (เนเชอรัล) ท�ำให้เสียงกลับเป็นปกติ ถ้าก�ำกับโน้ตตัวไหน  ตัวนั้นเป็นตัวปกติ  ก็กดโน้ต

b

ใช้บังคับโน้ตให้มีเสียงสูงหรือต�่ำลง ดังนี้

   

b

  

ตัวอย่างเครื่องหมายแปลงเสียงบนโน้ต      1. โน้ต A จะอยู่บนสายที่ 2 เฟร็ตที่ 5 าใส่เครื่องหมาย ะได้โน้ต A# อยู่บนสายที่ 2 เฟร็ตที่ 6 หรือก็คือเลื่อน   2. ถ้   # เป็น A# ก็จ

นิ้วเข้าหาลำ�ตัวอูคูเลเล่ 1 เฟร็ต 3. ถ้าใส่เครื่องหมาย b เป็น Ab จะได้โน้ต Ab อยู่บนสายที่ 2 เฟร็ตที่ 4 หรือก็คือเลื่อน นิ้วออกไปทางหัวอูคูเลเล่ 1 เฟร็ต 4. ในกรณีที่เราจับคอร์ดที่ต้องกดทุกสาย เช่น คอร์ด Gm ที่เฟร็ตที่ 5 แล้วเราไปเจอคอร์ด G#m ในเพลง เราก็จับคอร์ดเหมือน Gm แต่เลื่อนนิ้วทั้งหมดมาทางลำ�ตัว 1 เฟร็ต หรือก็คือเริ่ม จับคอร์ดจากเฟร็ตที่ 6 นั่นเอง

13


A

A#

Ab

Ab A A#

Gm

G#m 5fr

5fr 6fr

หมายเหตุ : การเลื่อนนิ้วให้ใช้กับ คอร์ดที่กดทุกสายเท่านั้น

ชื่อคอร์ดและสัญลักษณ์ ชือ่ คอร์ดและสัญลักษณ์ (Chord Symbol) จะประกอบด้วยอักษรตัวใหญ่และอักขระหรือ สัญลักษณ์ต่างๆ ที่นำ�มาต่อท้าย (Suffix) โดยใช้แบบย่อเพื่อให้กระชับ เช่น C ต่อท้ายด้วย “m” เป็น Cm C ต่อท้ายด้วย “+” เป็น C+

ในตารางจะมีชื่อเต็มแสดงไว้ทางคอลัมน์ขวามือ เช่น

Cm คือ C Minor C+ คือ C Augmented

สำ�หรับคอร์ด Major ไม่ต้องมีคำ�ต่อท้าย เช่น C หมายถึง C Major 14


BASIC UKULELE

ตารางต่อไปนี้เป็นตัวอย่างชื่อคอร์ดสำ�เร็จรูป ซึ่งการใช้อาจแตกต่างกันไปบ้าง ขึ้นอยู่กับ ความถนัด ความสะดวก ความเข้าใจของผู้เล่นและผู้เขียนในการสื่อสารกัน หรือตามลักษณะของ สื่อต่างๆ เช่น สิ่งพิมพ์ โปรแกรมดนตรี ฯลฯ ที่ต้องการผลลัพธ์ทางวิชาการ หรือแม้แต่ทางการค้า ในแบบที่นิยมกันมากที่สุด Suffix

Chord Type

Suffix

Chord Type

no suffix

major

m7, min7, -7

minor seventh

m, min, -

minor

m(maj7), m(+7)

minor major seventh

+, aug, (#5)

augmented

maj7(b5), maj7(-5)

major seventh flat fifth

sus4, sus

suspended fourth

m7(b5), m7(-5)

minor seventh flat fifth

(add9)

added ninth

+7, 7(#5)

augmented seventh

m(add9)

minor added ninth

7(b5), 7(-5)

seventh flat fifth

5, (no3)

fifth (a.k.a “power chord”) 7(b9), 7(-9)

seventh flat ninth

6

sixth

7(#9), 7#9

seventh sharp ninth

m6, -6

minor sixth

+7(b9)

augmented seventh flat ninth

6/9

sixth added ninth

9

ninth

m6/9

minor sixth added ninth

maj9, M9

major ninth

7, dom7

seventh

m9, min9

minor ninth

7, dim7, dim

diminished seventh

11

eleventh

7sus4, 7sus

seventh suspended fourth m11, min11

minor eleventh

maj7, M7

major seventh

13

thirteenth

, dim

diminished

15


ตารางต่อไปนีแ้ สดงโครงสร้างของคอร์ด ซึง่ เป็นสูตรสำ�เร็จรูปในคีย์ C ทำ�ให้ทราบว่าคอร์ด แต่ละคอร์ดประกอบจากโน้ตตัวทีเ่ ท่าไร และมีการเปลีย่ นแปลงหรือเลือ่ นเสียงโน้ตอย่างไรบ้าง เมือ่ เทียบกับ C Major Scale C MAJOR SCALE = C - D - E - F - G - A - B - C (1 2 3 4 5 6 7 1)

Chord Type

major minor augmented suspended fourth added ninth minor added ninth fifth sixth minor sixth sixth added ninth minor sixth added ninth seventh diminished seventh seventh suspended fourth major seventh minor seventh minor major seventh major seventh flat fifth minor seventh flat fifth augmented seventh seventh flat fifth seventh flat ninth seventh sharp ninth augmented seventh flat ninth ninth major ninth minor ninth eleventh minor eleventh thirteenth diminished

16

Formula

Note Names

1-3-5 1-b3-5 1-3-#5 1-4-5 1-3-5-9 1-b3-5-9 1-5 1-3-5-6 1-b3-5-6 1-3-5-6-9 1-b3-5-6-9 1-3-5-b7 1-b3-b5-bb7 1-4-5-b7 1-3-5-7 1-b3-5-b7 1-b3-5-7 1-3-b5-7 1-b3-b5-b7 1-3-#5-b7 1-3-b5-b7 1-3-5-b7-b9 1-3-5-b7-#9 1-3-#5-b7-b9 1-3-5-b7-9 1-3-5-7-9 1-b3-5-b7-9 1-3-5-b7-9-11 1-b3-5-b7-9-11 1-3-5-b7-9-11-13 1-b3-b5

C-E-G C-Eb-G C-E-G# C-F-G C-E-G-D C-Eb-G-D C-G C-E-G-A C-Eb-G-A C-E-G-A-D C-Eb-G-A-D C-E-G-Bb C-Eb-Gb-Bbb C-F-G-Bb C-E-G-B C-Eb-G-Bb C-Eb-G-B C-E-Gb-B C-Eb-Gb-Bb C-E-G#-Bb C-E-Gb-Bb C-E-G-Bb-Db C-E-G-Bb-D# C-E-G#-Bb-Db C-E-G-Bb-D C-E-G-B-D C-Eb-G-Bb-D C-E-G-Bb-D-F C-Eb-G-Bb-D-F C-E-G-Bb-D-F-A C-Eb-Gb

Chord Names C Cm C+ Csus4 Cadd9 Cm(add9) C5 C6 Cm6 C6/9 Cm6/9 C7 C๐7 C7sus4 Cmaj7 Cm7 Cm(maj7) Cmaj7(b5) Cm7(b5) C+7 C7(b5) C7(b9) C7(#9) C+7(b9) C9 Cmaj9 Cm9 C11 Cm11 C13 C๐


UKULELE

CHORD CHART


หัดเล่นกีต้าร์เบื้องต้น สอนตั้งแต่เริ่มต้นจนสามารถเล่นเป็นเพลงได้อย่างสนุกสนาน

ในปัจจุบันดนตรีเข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำ�วันของเรามากขึ้น ไม่ว่าจะในฐานะผู้ฟังหรือผู้เล่น เพราะ สภาพแวดล้อมทางสังคมอยู่ในภาวะตึงเครียด ทำ�ให้ผู้คนหันมาเล่นดนตรีเพื่อผ่อนคลายความตึงเครียดมากขึ้น โดยเครื่องดนตรีที่กำ�ลังเป็นที่นิยมในปัจจุบันก็คือกีต้าร์ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่มีราคาถูก หาซื้อได้ง่าย และวิธี การเล่นไม่ซับซ้อน สามารถฝึกฝนได้ด้วยตนเอง ทั้งยังนำ�ไปประกอบอาชีพได้อีกด้วย สื่อการสอนชุดนี้ได้รวบรวมเนื้อหาสาระการเล่นกีต้าร์เบื้องต้น พร้อมด้วยบทเพลงสำ�หรับฝึกฝน ควบคู่กันไป เพื่อให้ทุกท่านสามารถเรียนรู้หลักการพื้นฐาน วิธีการเล่น และการฝึกทักษะได้ด้วยตนเอง

ท า บ 0 5 1 ะ ล ด ุ ช า ค า รมเพลงสำ�หรับฝึกเล่นกว่า 100 เพลง + วิดีโอซีดี 1 แผ่น

หนังสือพร้อ



ËÑ´àÅ‹¹

àºé ×ͧµŒ¹ ทุกคนคงรูจักเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่เรียกวา “กีตาร” กันเปนอยางดีแลว และหลายคนก็นิยมนำมาเลนเพื่อผอนคลายความเครียด แตเครื่องดนตรีอีกประเภทหนึ่งที่กำลังเปนที่สนใจและมีคุณภาพเสียงดีไมแพกีตารเลย ก็คือเครื่องดนตรีที่มีชื่อวา “อูคูเลเล” นั่นเอง เหตุผลที่กำลังเปนที่นิยมกันในปจจุบัน เปนเพราะอูคูเลเลเปนเครื่องดนตรีขนาดเล็กที่พกพาไดสะดวก และแมวาจะมีขนาดเล็ก แตคุณภาพของมันก็สามารถทำใหผูเลนและผูที่ไดรับฟงเพลิดเพลินไปกับเสียงดนตรีของมันได เนื่องจากเสียงที่ไดจากเครื่องดนตรีชนิดนี้ใหความรูสึกผอนคลายสบายใจ และใหบรรยากาศประหนึ่งเหมือนอยูชายทะเลเลยทีเดียว

CONTENTs

lele.

I ‘ m Uku

ประวัติความเปนมาของอูคูเลเล ความแตกตางระหวางกีตารกับอูคูเลเล สวนประกอบของอูคูเลเล ประเภทของอูคูเลเลแบงตามขนาด และระดับเสียง ตัวโนตบนอูคูเลเล

การตั้งเสียง การดูแลรักษา อุปกรณเสริม การอานคอรดและตัวอยางการจับคอรด คอรด UKULELE CHORD CHART

º·à¾Å§ÊÓËÃѺ½ƒ¡à¾ÔèÁàµÔÁ เก็บดาว (ศิลปน : บอย โกสิยพงษ) Live And Learn (ศิลปน : กมลา สุโกศล) เจาหญิง (ศิลปน : ปอด-ธนชัย อุชชิน) หัวใจผูกกัน (ศิลปน : บอย-อนุวัฒน สงวนศักดิ์ภักดี) อยากจะขอ (ศิลปน : นภ พรชำนิ) หางไกลเหลือเกิน (ศิลปน : ปอด-ธนชัย อุชชิน) ที่แหงนี้ (ศิลปน : P.O.P) ลมหายใจ (ศิลปน : รัดเกลา อามระดิษ)

ISBN 978-616-527-182-0

หัดเลนอูคูเลเลเบื้องตน ราคา : 80 บาท 9

786165

271820

สแกน QR CODE เพ�่อดูตัวอยางหนังสือ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.