อาจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

Page 1

ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

1


ชีวิตงามด้วยความดี

ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร ISBN : ๙๗๘-๖๑๖-๒๓๕-๐๔๔-๓

สิ่งพิมพ์ล�ำดับที ่ พิมพ์ครั้งที่ ๑ จ�ำนวนพิมพ์ ผู้จัดพิมพ์เผยแพร่

๗ / ๒๕๕๔ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ๑,๕๐๐ เล่ม ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม ส�ำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) เลขที่ ๖๙ ชั้น ๑๖-๑๗ อาคารวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU) ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ ๑๐๔๐๐ โทรศัพท์ : ๐ ๒๖๔๔ ๙๙๐๐ โทรสาร : ๐ ๒๖๔๔ ๔๙๐๑-๒ Website : www.moralcenter.or.th dl.moralcenter.or.th

จัดท�ำต้นฉบับ ออกแบบรูปเล่ม และด�ำเนินการผลิต บริษัท อินฟินิท โกลบอลเทรด จ�ำกัด ๑๔/๙๙๙ หมู่ที่ ๑๓ หมู่บ้านบัวทองธานี ถนนกาญจนาภิเษก แขวงบางบัวทอง เขตบางบัวทอง นนทบุรี ๑๑๑๑๐ โทรศัพท์ : ๐๘ ๑๓๔๘ ๔๙๑๔, ๐ ๒๙๒๕ ๙๐๕๓ โทรสาร : ๐ ๒๙๒๕ ๙๐๕๓ E-mail : pakkapongw@gmail.com

2

2 ชีวิตงามด้วยความดี


คำ�นำ�

คุณธรรมเป็นกรอบของความประพฤติทดี่ งี าม นำ�มาซึง่ ความสงบสุขของสังคม แต่การทีจ่ ะให้ประชาชนมีคณ ุ ธรรมนัน้ ยังต้องอาศัยความร่วมมือจากหลากหลายสถาบัน ทัง้ ภาครัฐ เอกชน ชุมชน ครอบครัวและสือ่ ต่างๆ โดยเฉพาะปัจจัยด้านสือ่ ทีม่ อี ทิ ธิพล ต่อการดำ�รงชีวติ ของประชาชนทัง้ ในทางตรงและทางอ้อม มีสว่ นในการสะท้อนสภาพ วิถีชีวิต การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม ทัศนคติ ค่านิยม และพฤติกรรม ศูนย์ส่งเสริม และพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม สำ�นักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) จึงมีความพยายามที่จะดำ�เนินการเกี่ยวกับการใช้สื่อในการปลูกฝัง และเผยแพร่ คุ ณ ธรรม โดยนำ�เสนอในลั ก ษณะที่ เ ป็ น รู ป ธรรม สื บ ค้ น และ ถอดบทเรียนจากบุคคลผู้เป็นแบบอย่างด้านคุณงามความดี เพื่อเป็นการเสริมสร้าง พฤติกรรมด้านคุณธรรมให้คนทุกระดับได้มีโอกาสเข้าถึง ด้วยการสื่อสารที่เหมาะสม กับแต่ละกลุ่ม ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม จึงได้ทำ�การศึกษา และถอดองค์ความรู้บุคคลสำ�คัญของประเทศไทย ผู้เป็นที่ยอมรับในสังคมว่ามี ความซื่อตรงต่อหน้าที่การงาน ทำ�งานเพื่อประเทศชาติ เพื่อสังคม จัดทำ�เป็นหนังสือ ชุ ด บุ ค คลคุ ณ ธรรม“ชี วิ ต งามด้ ว ยความดี ” ขึ้ น เพื่ อ เป็ น แรงบั น ดาลใจใน การทำ�ความดี เป็นแบบอย่างให้แก่พ่อแม่ ครู อาจารย์ นำ�ไปใช้ในการปลูกฝัง ส่งเสริมเด็กและเยาวชนให้เติบโตไปในทางที่ดี ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

3


หนังสือชุดนี้ประกอบด้วย หนังสือ ๗ เล่ม แต่ละเล่มเป็นแบบอย่าง ชีวิตงาม ด้วยความดีของแต่ละท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์ นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว, ศาสตราจารย์ระพี สาคริก, ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร, ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก, ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเวศ วะสี, ศาสตราจารย์กิตติคุณสุมน อมรวิวัฒน์ และอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ศูนย์คณ ุ ธรรม ขอกราบขอบพระคุณบุคคลคุณธรรมแต่ละท่านทีไ่ ด้รว่ มถ่ายทอด ประสบการณ์ต้นแบบอันทรงคุณค่า ตั้งแต่การปลูกฝังหล่อหลอมในวัยเยาว์ เหตุการณ์ สำ�คัญทีเ่ ป็นแรงบันดาลใจในการดำ�เนินชีวติ วิธคี ดิ วิธกี ารทำ�งานทีส่ ะท้อนถึงความซือ่ ตรง ต่อหน้าที ่ และคุณธรรมด้านอื่นๆ ผลงานแนวคิดด้านคุณธรรมความดีที่ส่งผลกระทบต่อ สังคมไทยปัจจุบนั และประเทศชาติ และสิง่ ทีไ่ ด้รบั จากการดำ�เนินชีวติ ด้วยความซือ่ ตรงและ ดำ�รงอยู่ในคุณงามความดี ศูนย์คณ ุ ธรรมหวังเป็นอย่างยิง่ ว่า แบบอย่างอันดีงามจากบุคคลคุณธรรมต้นแบบ แต่ละท่าน จะเป็นแรงบันดาลใจในการบ่มเพาะเมล็ดพันธุแ์ ห่งความดีให้งอกงามแพร่กระจาย ออกไปในเยาวชนและสังคมไทย

(นางสาวนราทิพย์ พุ่มทรัพย์) ผู้อำ�นวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม

4

ชีวิตงามด้วยความดี


สารบัญ ๐๖

ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร คุรุเมธี นายกรัฐมนตรี และองคมนตรี ผู้ซื่อสัตย์ ยุติธรรม

๐๙

“ทำ�อะไรต้องทำ�ให้ดีที่สุด”

๑๔

“กฎแห่งกรรม” หลักใหญ่ของชีวิต

๑๘

คุณค่าของวิชากฎหมาย

๒๑

“พลทหารธานินทร์” ซื่อสัตย์ อดทน อ่อนน้อมถ่อมตน

๒๖

คุณธรรม จริยธรรมของผู้พิพากษา

๓๐

หล่อเลี้ยงครอบครัว ด้วยความรักและเอาใจใส่

๓๖

คุณหญิงคาเรน “ผู้เป็นดั่งลมใต้ปีก”

๔๐

เคารพในความเชื่อที่แตกต่าง

๔๔

ยอดนักกฎหมายในดวงใจ

๔๖

นายกรัฐมนตรี ใจซื่อ มือสะอาด

๕๐

ภารกิจอันทรงเกียรติในฐานะองคมนตรี

๕๓

ต้นตำ�รับ ตำ�รากฎหมาย

๕๕

ด้วยจิตคารวะ “คุรุเมธี” ธานินทร์ กรัยวิเชียร

ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

5


66

ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร ชีวิตงามด้วยความดี


คุรุเมธี นายกรัฐมนตรี และองคมนตรี

ผู้ซื่อสัตย์ ยุติธรรม

ในห้วงระยะเวลากว่า ๖๐ ปีทผี่ า่ นมา หากจะมีนกั กฎหมายท่านใด ที่เป็นหมุดหมายของ ความซื่อสัตย์ สุจริต บริสุทธิ์ ยุตธิ รรม ยึดมัน่ ในหลักจริยธรรมและหลักวิชาชีพนักกฎหมาย อย่างสูงสุด และอุทิศตนท�ำงานเพื่อสังคมอย่างเต็มก�ำลัง แล้ว ละก็ ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร หรือทีล่ กู ศิษย์

ลูกหาเรียกขานท่านว่า “อาจารย์ธานินทร์” คือ บุคคลในล�ำดับต้นๆ ที่ผู้คนจะนึกถึง

นายกรัฐมนตรีคนที่ ๑๔ ใน

ท่านเป็นทั้งนักกฎหมาย ผู้พิพากษา และองคมนตรีผมู้ คี วามจงรักภักดีตอ่ สถาบัน ชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัติย์ไทยเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้น ท่านยังเป็นศาสตราจารย์พิเศษทางด้านกฎหมาย และเป็น นักวิชาการผูป้ ระพันธ์หนังสือต�ำรามากมาย เช่น ภาษากฎหมายไทย การตีความกฎหมาย ระบอบประชาธิปไตย ศาสนากับความมัน่ คงของชาติ ครูกบั ทางอยูร่ อดของสังคมไทย ฯลฯ จนอาจกล่าวได้วา่ ท่านเป็น บางคนมีโอกาสได้เรียนรู้วิชากฎหมายกับท่านโดยตรง บางคน มีโอกาสได้อา่ นต�ำรับต�ำราทางกฎหมายทีท่ า่ นเขียนขึน้ และบางคนก็ได้รบั แรงบันดาล ใจที่จะศึกษาวิชากฎหมายจากการฟัง การอ่านแนวคิดของท่าน

ประวัตศิ าสตร์การเมืองไทย

ทุกยุคทุกสมัย

“คุรเุ มธี” ของนักกฎหมายไทยมาแทบ

ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

7


ที่ส�ำคัญ นักกฎหมายเหล่านั้น ส่วนใหญ่เจริญเติบโตในหน้าที่การงาน และยังคงสาน ต่อปณิธานของอาจารย์ธานินทร์ในการท�ำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ใช้วิชาชีพเพื่อ สร้างคุณประโยชน์ให้กบั คนอืน่ ต่อไป จนสามารถเรียกได้วา่ ใครก็ตามทีไ่ ด้เป็นลูกศิษย์ ลูกหาของท่าน อย่างน้อยคุณสมบัตขิ อ้ หนึง่ ทีม่ ตี ดิ ตัว นอกจากความรูค้ วามสามารถทาง ด้านกฎหมายแล้ว ก็คือความซื่อสัตย์สุจริต และการประพฤติตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ในด้านชีวติ การท�ำงาน

ท่านด�ำรงต�ำแหน่งเป็นผูพ้ พิ ากษาหัวหน้าคณะ ในศาลฎีกา ตามด้วยการได้รบั พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เข้าด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้นท่านก็ด�ำรง ต�ำแหน่งองคมนตรี ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน

ท่านเป็นผู้น�ำที่มี บุคลิกภายนอกเยือกเย็น สุภาพ แต่ก็ยึดมั่นในระเบียบวินัย และกฎเกณฑ์อย่างเคร่งครัด มีความเฉียบขาด กล้าตัดสินใจ

ระหว่างที่ด�ำรงต�ำแหน่งผู้น�ำทางการเมืองนั้น

และยึดมั่นในแนวทางหรืออุดมการณ์ของตนอย่างแน่วแน่ และกระท�ำสิ่งต่างๆ โดย ยึดถือผลประโยชน์ของชาติบ้านเมืองเป็นหลักมาโดยตลอด ศาสตราจารย์ธานินทร์ ในวัยล่วงเข้าสู่รอบที่ ๗ ยังคงเป็นสุภาพบุรุษที่มีบุคลิก เปิดเผย อบอุ่น และสุภาพอ่อนโยน เป็นผู้อาวุโสที่เปี่ยมไปด้วยเมตตา เรื่องราวใน ชีวิตของท่านเต็มไปด้วยความถูกต้องดีงาม และไออุ่นแห่งความรักความผูกพันของ คนในครอบครัว จึงเป็นเรื่องน่ายินดียิ่ง ที่จะได้ถ่ายทอดเรื่องราวชีวิตการท�ำงาน การใช้ชีวิต ในด้านครอบครัว และแนวคิดของท่านสู่คนรุ่นหลังเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไป

8

ชีวิตงามด้วยความดี


“ท�ำอะไรต้องท�ำให้ดีที่สุด” ชีวติ ในวัยเด็กของอาจารย์ธานินทร์ ถือได้วา่ มีคณ ุ พ่อและคุณแม่เป็นผูส้ ร้าง ที่ยิ่งใหญ่ นอกจากให้ความรัก ความรู้ อย่างเต็มก�ำลังความสามารถแล้ว ยัง ให้แนวคิด แนวทางในการด�ำเนินชีวิต ที่ส�ำคัญ และเป็นหลักที่ท่านยึดถือมา จนถึงปัจจุบัน คือ ท�ำอะไรต้องท�ำให้ ดีที่สุด

อาจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

เกิดเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ปี ๒๔๗๐ ที่กรุงเทพฯ ท่านเป็นบุตรชายคนสุดท้อง และบุตรชายคนเดียว ในบรรดาบุตรธิดาทั้งสิ้น ๕ คน ของนายแหและ นางผอบ กรัยวิเชียร เดิมครอบครัวมีภูมิลำ� เนาอยู่ ที่จังหวัดสมุทรปราการ บิดามารดาของท่านมีเชื้อ สายไทยและจีน ด�ำเนินกิจการโรงรับจ�ำน�ำและ การค้าเพชรพลอย อันเป็นที่มาและความหมาย ของสกุล ด้วยเหตุที่บุตร ชายคนโตของครอบครัวเสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก เมื่อ อาจารย์ธานินทร์ถือก�ำเนิดขึ้นมา จึงเป็นที่รักใคร่

“กรัยวิเชียร”

ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

๒๔๗๓ ที่บ้านถนนสุรวงศ์

9


๒๔๖๖ บิดา-มารดา อาจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร (นายแห-นางผอบ กรัยวิเชียร)

ของครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งของบิดา ซึ่งปรารถนาจะได้บุตรชายไว้สืบสกุลมาเป็น เวลานาน “คุณพ่อของผมเป็นคนทีส่ ภุ าพเรียบร้อย นุ่มนวล ท�ำอะไรอยู่ในกรอบศีลธรรม ใจบุญ สุนทาน เป็นที่รักนับถือของบรรดาเพื่อนฝูง ที่เป็นคนไทยและคนจีนพ่อค้าเพชรพลอย ทัง้ หลาย ส่วนคุณแม่เป็นคนทีเ่ ข้มแข็ง ใจใหญ่ และชอบท�ำบุญท�ำทาน ช่วยเหลือคนที่ไม่ อาจช่วยเหลือตัวเองได้…ท่านเป็นคนใจ นักเลง กล้าเสี่ยงกว่าคุณพ่อ เวลาจะลงทุน อะไรสักอย่าง คุณพ่อคิดแล้วคิดอีกเพราะ เคยท�ำแล้วขาดทุน แต่คุณแม่เห็นว่าการค้า การขาย ก�ำไรกับขาดทุนเป็นของคู่กัน ถ้า ขาดทุนก็ตั้งต้นท�ำใหม่ ไม่ควรเสียดายหรือ เสียใจ ถ้าจะลงทุนอะไร คิดทางได้ทางเสีย แล้ว แม้จะเสี่ยงบ้างก็ควรท�ำ… คุณแม่ได้ให้ขอ้ เตือนผมอีกข้อหนึง่ ซึง่ เป็นหลักใจของผมตลอดมาจนถึงทุกวันนี้ คือ

ไม่วา่ จะท�ำอะไรให้ทำ� ให้ ดีทสี่ ุด ท�ำให้สุดฝีมือ ไม่วา่ งานเล็กงานใหญ่ งานง่าย งานยาก อย่าจับจด อย่าท�ำ ครึ่งๆกลางๆ ถ้าท�ำได้ไม่ดี อย่าท�ำเลยดีกว่า ขอให้เล็ง ผลเลิ ศในงานที่ท�ำเสมอ…

10

ชีวิตงามด้วยความดี


คุณพ่อ ท่านมีจดุ อ่อนอยูอ่ ย่างหนึง่ คือตลอด ชีวิตของท่านใฝ่ฝันที่จะมีลูกชายเพื่อสืบสกุลต่อไป แม้บุตรคนหัวปีจะเป็นบุตรชาย แต่กเ็ สียชีวิตตั้งแต่ อายุยงั น้อย ต่อมาก็มบี ตุ รสาวอีกสีค่ น พอผมเกิดมา เป็นบุตรคนสุดท้อง ท่านก็รักเป็นหัวแก้วหัวแหวน และตามใจ แต่กไ็ ม่มากจนเกินไป คุณแม่เข้าใจเรือ่ ง เหล่านี้ คุณแม่ก็รักผม แต่คุณแม่ให้ความรักความ เอาใจใส่กับพี่สาวอีกสี่คนอย่างเต็มที่ เพื่อรักษา ความรักความเอ็นดูและเอาใจใส่ให้ได้สัดส่วนกัน” แม้จะเป็นลูกชายคนเดียวของครอบครัวที่มี ฐานะ เป็นทีร่ กั ใคร่ และฝากความหวังของบิดามารดา อย่างเต็มเปี่ยม แต่ด้วยภาระหน้าที่การงาน ท�ำให้ บิดามารดาจ�ำต้องมอบหน้าที่การเลี้ยงดูลูกชายใน ๒๔๘๐ ด.ช.ธานินทร์กบั เจ้าแซมทีบ่ า้ น ช่วงวัยเยาว์ไว้กับพี่เลี้ยงเป็นหลัก เด็กชายธานินทร์ จึงสนิทกับพี่เลี้ยงมาก “ในฐานะทีเ่ ป็นลูกชายคนเดียว คุณพ่อเลยสร้างเรือนให้เป็นพิเศษหลังหนึง่ เป็นเรือนปัน้ หยาชัน้ เดียว ให้ผมอยูก่ บั พีเ่ ลีย้ งเพียงสองคนเท่านัน้ เพราะความรักและ ความเป็นห่วง เนือ่ งจากคุณพ่อคุณแม่ตอ้ งใช้เวลาในเรือ่ งธุรกิจการค้า ต้องเดินทาง อยู่เสมอๆ ตอนผมเด็กๆ ท่านไม่มีเวลาอบรมดูแล เพราะฉะนั้นในช่วง ๑๐ ปีแรก ของชีวิต ผมจึงใกล้ชิดกับพี่เลี้ยงมาก ผมรักพีเ่ ลีย้ งเหมือนกับแม่ และเรียกคุณแม่ผมว่า ตาม พีเ่ ลีย้ งของผม ผมถือพีเ่ ลีย้ งเป็นแม่ ส่วนคุณพ่อก็หา่ งออกไปหน่อย เพิง่ มาเริม่ ใกล้ชดิ สนิทสนมกับคุณพ่อ รูส้ กึ รักท่านมาก ก็ตอนทีพ่ เี่ ลีย้ งของผมเกิดทะเลาะกับคนใช้อนื่ ๆ และคุณแม่ผมก็ให้พี่เลี้ยงออก ตอนนั้นผมเสียใจมาก เศร้าที่สุดในชีวิต คล้ายๆ กับ เสียมารดาไป ถือเป็นวิกฤติในชีวิตก็ว่าได้”

‘นาย’

ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

11


๒๔๙๘ บ้านของครอบครัวกรัยวิเชียร ที่ถนนสุรวงศ์

นอกเหนือจากเหตุการณ์ครัง้ นัน้ แล้ว อาจารย์ธานินทร์ใช้ชวี ติ ในวัยเด็กท่ามกลาง ความเพียบพร้อม การเป็นลูกชายคนเดียวของครอบครัวไทยเชื้อสายจีน ท�ำให้บิดา มารดาคาดหวังในความส�ำเร็จของลูกชายไว้ค่อนข้างสูง ทุ่มเทเงินทอง และการ เอาใจใส่ดูแลเพื่อให้ลูกชายได้รับการศึกษาที่ดีที่สุด อาจารย์ธานินทร์ เริ่มเรียนหนังสือครั้งแรกที่โรงเรียนศรีสวัสดิ์ศึกษา ซึ่งเป็น โรงเรียนใกล้ๆ บ้าน หลังจากเรียนที่นี่ได้สามปี ก็ย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนมัธยม วัดสระเกศ ซึ่งอยู่ใกล้โรงรับจ�ำน�ำของบิดาที่สี่แยกสะพานด�ำ หลังจากนั้นอีกสอง ปี ท่านก็ย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ตามค�ำแนะน�ำของสมเด็จ พระสังฆราชวัดสระเกศ (อยู่ ญาโณทัย) “คุณพ่อคุณแม่ผมนับถือท่านมาก มีเรื่องอะไรที่ส�ำคัญก็มักจะไปปรึกษา ขอ ค�ำแนะน�ำจากท่าน ให้ท่านดูฤกษ์ดูยามให้ คุณแม่เป็นคนที่ชอบดูหมอมาก แต่

12

ชีวิตงามด้วยความดี


๒๔๘๐ ด.ช.ธานินทร์ กับพี่สาวและพี่เขยที่บางปู

คุณพ่อไม่ชอบ ท่านเชือ่ และศรัทธาอยูอ่ งค์เดียว คือสมเด็จพระสังฆราชวัดสระเกศ เท่านั้น สมัยเด็กๆ ผมขี้เกียจมาก ไม่ชอบไปเรียน ชอบแต่เล่น ท่านจะใช้ไหว้วาน อะไร ถ้าเลี่ยงได้เป็นเลี่ยง เกี่ยงได้เป็นเกี่ยง คุณแม่บ่นเสมอว่า ‘การกินการ อยู่ไม่มีใครสู้พ่อ การพายการถ่อ พ่อไม่สู้ใคร’คุณพ่อคุณแม่ บังคับเหลือเกินในเรือ่ งการเรียน ในทัศนะของท่าน ครอบครัวของเรานัน้ มีฐานะดี อยู่แล้ว สิ่งเดียวที่ท่านปรารถนาจากผมในฐานะลูกชายคนเดียว ก็คือต้องการ ให้เรียนให้ดีที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ ไม่ต้องเป็นห่วงอย่างอื่น แม้ว่าการเรียนของผม จะอยู่ในเกณฑ์ดี ท่านก็ยังรบเร้าให้ผมเรียนพิเศษต่อในตอนเย็น ทางบ้านบังคับ ผมถึงขนาดที่สอนนกขุนทองที่บ้าน สั่งผมให้ไปโรงเรียนทุกวัน มันก็พูดตั้งแต่เช้า ยันเย็น เรียกผมให้ไปโรงเรียน วันอาทิตย์มันก็พูด หยุดเทอมมันก็พูด เมื่อพูดถึงเรื่องการเรียนแล้ว ผมก็ไม่มีความกังวลใจ แต่อ่อนอยู่อย่างคือ พลศึกษา ที่อ่อนก็เพราะว่ามีอุปาทาน ไม่มั่นใจในตัวเอง แต่ตอนหลังผมได้คิด ว่า คนอื่นเขาท�ำได้เราก็ควรจะท�ำได้ ก็เลยท�ำได้เหมือนคนอื่นๆ”

ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

13


“กฎแห่งกรรม” หลักใหญ่ของชีวิต

ค�ำสอนหนึ่งของคุณพ่อคุณแม่ที่ พร�่ำสอนเด็กชายธานินทร์อยู่เสมอ และมักจะ หยิบยกตัวอย่างชีวิตของคนรอบตัวมาเล่าให้ฟัง คือ เรื่องกฎแห่งกรรม เพราะด้วยความเป็นห่วง

ลูกชายหัวแก้วหัวแหวน ทั้งสอนท่านจึงสร้างเกราะ ป้องกันให้ลูก ด้วยการชี้แนะแนวทางการด�ำเนินชีวิต ให้ประกอบแต่คุณงามความดี

“คุณพ่อท่านห่วงใยในความปลอดภัยของผมมาก ไม่ว่าจะไปไหน ขนาดจะ ไปโรงเรียนก็ตอ้ งเอารถทีบ่ ้านไปรับไปส่งทุกวัน การไปไหนมาไหนก็ตอ้ งขออนุญาต ท่านก่อน อีกข้อที่ทา่ นเป็นห่วงมากและพูดอยู่เสมอคือการคบเพื่อน ท่านว่า ท่าน เห็นมานักต่อนักแล้วที่เด็กเสียคนเพราะได้เพื่อนไม่ดีชักน�ำไปในทางที่ผิด สิ่งหนึ่งที่ทั้งคุณพ่อคุณแม่พร�่ำสอนผมอยู่เสมอ คือ ความสุจริตในการครอง ชีวิตของท่านเอง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าทั้งสองท่านมีความหยิ่งในความสุจริตของท่าน ท่านพูดเสมอว่าให้สังเกตดูจากชีวิตจริงๆ ของคนทั่วไปก็แล้วกัน

คนใดก็ตาม ถ้าไม่สุจริตแล้ว เงินทองหรือสิ่งที่ได้มาโดยความ ไม่สุจริตนั้นเป็น ‘ของร้อน’ จะเก็บไว้กับตัวได้ไม่นาน ‘ได้มาง่ายก็เสียไปง่าย’ ถ้าสุจริตแล้ว ทรัพย์สนิ เงินทองทีส่ งั่ สมไว้ ก็ใช้ได้ชั่วลูกชั่วหลาน คนเราหนีกรรมดีกรรมชั่วของตนไม่พ้น 14

ชีวิตงามด้วยความดี


๒๔๘๑ ด.ช.ธานินทร์ กรัยวิเชียร (ยืนแถวหลังคนที่ ๒ จากขวา) นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ ๓ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

ผมก็ได้เฝ้าสังเกตเรื่อยมาเกี่ยวกับเรื่องกฎแห่ง กรรมนี้ ซึ่งก็ปรากฏประจักษ์ชัดแก่สายตาของ ผมเองว่าเป็นจริงดังทีค่ ณ ุ พ่อคุณแม่พดู ผลกรรม ย่อมตามสนองไม่ช้าก็เร็วเท่านั้น เรื่องทุจริตก็เหมือนกัน ผู้ทุจริตไม่เคย ได้รบั ผลดีจากการทุจริตดังทีต่ นมุง่ หวังเลย ในท้าย ที่สุดทรัพย์สินที่โกงเขามาซึ่งเป็น ‘ของร้อน’ ก็อันตรธานไปอย่างน่ามหัศจรรย์ ถ้าผู้ทุจริต ไม่ผลาญเสียด้วยตนเอง ก็มอี าถรรพณ์ให้วบิ ตั ไิ ป ด้วยประการต่างๆ แม้จะสั่งสมไว้ให้บุตรหลาน ก็ไม่จีรังยั่งยืน ถ้าบุตรหลานไม่มีอันเป็นไป ก็มี เหตุวิบัติให้รับประโยชน์จากของร้อนนั้นไม่ได้ ดั่งปรารถนา” ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

๒๔๙๑ ภาพถ่ายกับเพื่อนๆ ใน ชุดนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยวิชา ธรรมศาสตร์และการเมือง

15


หลังจากส�ำเร็จการศึกษาชัน้ มัธยมศึกษาปีที่ ๖ จากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย อาจารย์ธานินทร์ได้เข้าศึกษาต่อทีแ่ ผนกเตรียมปริญญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และ การเมืองในรุ่นที่ ๕ และเลือกวิชากฎหมาย ตามค�ำแนะน�ำของสมเด็จพระสังฆราช วัดสระเกศ

“สมเด็จพระสังฆราชท่านประทานชื่อให้ผม และเมื่อคุณพ่อคุณแม่ ขอประทานค�ำแนะน�ำจากท่านเรือ่ งจะให้ผมเรียนอะไรดี ท่านรับสัง่ ว่าให้เรียน กฎหมาย คุณพ่อคุณแม่กไ็ ม่มคี วามเห็นเป็นอย่างอืน่ ผมก็เหมือนกัน ท่านเป็น ผู้ใหญ่ที่ครอบครัวเราเคารพนับถือ ท่านว่าอย่างไรก็ปฏิบัติอย่างนั้น เมื่อผม ย้อนกลับไปคิดแต่ละขัน้ แต่ละตอนทีท่ า่ นทรงก�ำหนดไว้ให้กเ็ ห็นว่าดีแล้ว ไม่มี ทางอืน่ ทีผ่ มจะไปแล้วถูกใจผม หรือผมจะได้ดกี ว่านี้ ผมไม่เคยเสียใจเลยแม้แต่ ขัน้ ตอนเดียวตลอดมา ตัง้ แต่เข้าเรียนทีส่ วนกุหลาบ ท่านก็เป็นคนก�ำหนด จบ แล้วไปเรียนต่อที่อังกฤษ ท่านก็เป็นคนก�ำหนดอีก เรียนมหาวิทยาลัยใดท่าน ก็เป็นคนก�ำหนดให้ทั้งสิ้น” แม้คณ ุ พ่อจะปรารถนาอยากให้อาจารย์ธานินทร์ท�ำการค้าเจริญรอยตามท่าน รับ มรดกในเรื่องธุรกิจของครอบครัว ดูแลกิจการโรงรับจ�ำน�ำต่อไป ไม่เคยคิดว่าอาจารย์ ธานินทร์จะต้องไปเรียนต่อต่างประเทศ แต่ท่านก็ไม่ขัด

๒๔๙๑ ทีด่ อนเมือง ญาติมติ รมาส่งในวันเดินทางไปเรียนต่อทีอ่ งั กฤษ

16

ชีวิตงามด้วยความดี


๒๔๙๑ ที่ Eastbourne ประเทศ อังกฤษ ๒๔๙๔ ที่อ๊อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ

“คุณพ่อเห็นว่าการศึกษาวิชากฎหมายก็คล้ายๆ กับเป็นศาสตร์ ป้องกันตัว ในยามที่จะมีวิกฤตการณ์ในทางธุรกิจ จะได้รู้ว่าควรท�ำอย่างไร คุณแม่นนั้ ตรงกันข้าม ท่านคิดว่าเรียนแค่นยี้ งั ไม่พอ ต้องไปชุบตัวทีเ่ มืองนอก แต่คุณพ่อไม่อยากให้ไป เพราะท่านห่วงใยผมมาก” แต่แล้ว เมื่ออาจารย์ธานินทร์เรียนที่ธรรมศาสตร์ได้เกือบ ๒ ปี คุณแม่ของท่าน ก็ถึงแก่กรรมอย่างกะทันหันด้วยโรคหัวใจ “พอคุณแม่เสีย แรงดลใจของครอบครัวก็หมดไป คุณพ่อท่านเปลี่ยนไป ท่าน ไม่กระตือรือร้น ท่านไม่ยินดียินร้าย ท่านคิดถึงคุณแม่ คล้ายๆ กับว่าชีวิตท่านไม่มี ความหวัง ไม่มีอะไรเหลืออยู่อีกแล้ว ท่านก็อยู่ไปวันๆหนึ่ง ตามปกติท่านก็เป็นคนที่ ไม่แข็งแรงอะไรนัก ถึงแม้จะไม่ได้เจ็บไข้เป็นประจ�ำ แต่ก็ต้องรับประทานยาอยู่เรื่อย ท่านมีโรคประจ�ำตัวคือ โรคขัดยอก โรคเหน็บชา และโรคกระเพาะอาหาร หลังจากคุณ แม่เสีย การทีจ่ ะรักษาประคบประหงมร่างกายของท่านให้ดี ท่านก็ไม่คอ่ ยได้เหลียวแล เอาใจใส่ แต่ท่านก็ยังดีกับลูกทุกคน ลูกๆก็ช่วยดูแลท่าน หลังจากที่คุณแม่เสีย คุณยายของผมยิ่งเศร้าไปกว่าคุณพ่อเสียอีก เพราะคุณแม่เป็นลูกคนเดียวของท่าน ท่านรักของท่านมาก ท่านว้าเหว่ พอคุณแม่เสียได้แปดเดือนคุณยายก็เสีย พอคุณพ่อ ท�ำศพให้คุณแม่กับคุณยายเสร็จ ปีเศษหลังจากงานศพของคุณแม่และคุณยายแล้ว คุณพ่อก็เสียด้วยโรคไต ผมก็อยู่กับพี่ๆ ต่อมา” ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

17


คุณค่าของวิชากฎหมาย อาจารย์ธานินทร์จบการศึกษา ได้รบั ปริญญา ธรรมศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ในปี ๒๔๙๑ หลังจากนัน้ ท่านก็ เดินทางไปศึกษาต่อวิชากฎหมายมหาวิทยาลัย แห่งกรุงลอนดอน ณ วิทยาลัย London School of Economics and Political Science ประเทศอังกฤษ และได้รบั ปริญญาตรี เป็นนิตศิ าสตรบัณฑิต (Bachelor of Laws) ในฐานะนักศึกษาภายใน เมือ่ ปี ๒๔๙๖ ต่อมา จึงได้ศึกษาต่อชั้นเนติบัณฑิต และส�ำเร็จการ ศึกษาเป็นเนติบัณฑิตอังกฤษ (Barrister at Law) จากส�ำนักอบรมศึกษากฎหมาย เกรย์ส อินน์ (Gray’s Inn) ในปี ๒๔๙๗ ท่านปลูกฝังจิตส�ำนึกแก่ นักศึกษากฎหมายให้ตระหนักรู้ ว่าวิชาชีพนี้ เป็นวิชาชีพที่สามารถ สร้างชีวิตให้ประสบความส�ำเร็จ และสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึน้ ในสังคมได้ ดังปรากฎในหนังสือ

“ค�ำแนะน�ำนักศึกษากฎหมาย”

ว่า “…การที่นักศึกษามีโอกาส ได้ศึกษาวิชากฎหมาย ย่อมถือได้ ว่าเป็นผู้ที่มีโอกาสอันดีในชีวิต

18

ผู้ช่วยผู้พิพากษารุ่นที่ ๑ ขณะฟังพระองค์เจ้า จุลจักรพงษ์ทรงบรรยายเรื่องวินัยนักการเมือง

ชีวิตงามด้วยความดี


วิชาชีพทางกฎหมายเป็นวิชาชีพทีม่ เี กียรติ สาม ารถ ท�ำงานได้หลายหลาก และมีโอกาสก้าวห น้าสูง นักศึกษาบางคนทีม่ ฐี านะทางบา้ นดอี ยูแ่ ล้ว ก็อาจ มองถึงการสร้างเกยี รติยศชอื่ เสียงใหแ้ ก่วงศ์ ตระกลู ส่วนนักศึกษาที่มิได้มีฐานะเช่นนั้น ก็ม ีโอกาส สร้างเนอื้ สร้างตัวจากการประกอบวิชาชีพได้ ทัง้ ใน ทางภาครัฐและในทางภาคเอกชนไดไ้ ม่ยาก ไม่วา่ จะ ประกอบอาชพี เป็นผูพ้ พิ ากษา อยั การ ทนายค วาม หรือในหน้าที่การงานอื่นๆ แต่ขอให้น ักศึกษา

เพยี รระลกึ ไวเ้ สมอวา่ การประกอบ วิชาชีพนั้น จะต้องยึดมั่นในความ ถูกต้องชอบธรรม ไมค่ ดโกง กลนั่ แกล้ง จย่าขณะเสด็จ ผู้อื่น หากท�ำเช่นนั้น สิ่งที่ได้มาทั้ง เยีรับ่ยเสด็มศาลจสมเด็ จังหวัดเชียงใหม่) เกี ย รติ ย ศ ชื่ อ เสี ย ง ทรั พ ย์ สิ น เงนิ ทอง ก็จะไม่ยงั่ ยืนเปน็ แน่ และในทสี่ ดุ ทีส่ ร้างม าจากความ ทุจริตก็จะเสื่อมไป

จะเห็นได้ว่า ผู้ใดก็ตามที่ได้มีโอกาสเป ็นนักศึกษากฎหมาย ถือเป็นผู้โชคดีชั้น หนึ่งตั้งแต่แรกแล้ว ถ้าตั้งใจขยันหมั่นศึ กษาก็มีโอกาสที่จะประสบความส�ำเร็จ ได้เป็น อย่างดี แต่อย่างไรก็ดี มีคนจ�ำนวนมาก มิได้มีโอกาสดี ดังเช่นนักศึกษาหลายคน ขาด โอกาสในการศึกษาหาความรู้ เช่น ชา วนา ชาวไร่ในชนบท พวกเขาเหล่านั้น มักถูก เอารัดเอาเปรยี บจากคนทีม่ คี วามรู้ หรอื บางคนกข็ าดโอกาสในสงั คม เช่น ผูพ้ กิ าร เป็นต้น เมือ่ นักศึกษาเป็นผูม้ โี อกาสดีเช่นนี้ นอกจ ากจะคิดเรือ่ งความเจริญก้าวหน้าส่วนต วั แลว้ นักศึกษาควรหันกลับมามองสังคมรอบต ัว โดยการช่วยเหลือผู้ที่ด้อยโอกาส ด้อ ยการ ศึกษาให้เขามีความเป็นอยู่ มีฐานะทางเ ศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น หน้าที่ของนัก ศึกษา ที่มีต่อสังคม ในที่นี้ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องของ ทรัพย์สินเงินทอง เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่อ งของ แต่ละบุคคล บางคนอาจมีก�ำลังจะเสี ยสละได้มาก ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดี แต ่หน้าที่ที่ อยากจะมุ่งถึง คือ การที่นักศึกษากฎ หมายจะสามารถใช้ความรู้ความสามาร ถของ ตนเองช่วยเหลือสังคมได้…” ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

19


อย่างไรก็ตาม ท่านได้ตั้งข้อสังเกต และเสนอ แนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาสังคมโดยใช้กฎหมายว่า “บุคคลทั่วไป ยังเข้าใจผิดคิดว่ากฎหมายเป็นยา ครอบจักรวาล สามารถจะเยียวยาความเหลวเละเฟะฟอน ในสังคมได้ทกุ สิง่ อัน ความจริงนัน้ อย่างมากทีส่ ดุ กฎหมาย ท�ำได้แต่เพียงน�ำเอาตัวผูล้ ะเมิดกฎหมายมาลงโทษเท่านัน้ แม้กระนัน้ ก็ยงั หาท�ำได้ไม่ในทุกกรณีดว้ ยซ�้ำไป โดยเฉพาะ อย่างยิ่ง ในกรณีที่ไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะน�ำ ผู้กระท�ำผิดมาลงโทษตามกระบิลเมือง กฎหมายเป็นเพียงมาตรการป้องกันและปราบปรามการการกระท�ำชัว่ ได้ในระดับ หนึ่ง ซึ่งอยู่ในวงจ�ำกัดอย่างยิ่ง แต่มาตรการทางกฎหมายก็ยังคงจ�ำเป็นต้องมีอยู่ และจัก ต้องใช้ประกอบกับมาตรการอืน่ ด้วย การป้องกัน ปราบปรามการฉ้อราษฎร์บงั หลวงและ แก้ไขปัญหาอื่นๆ จึงจะได้ผลดี เพราะอย่างไรเสีย กฎหมายอย่างเดียวเท่านั้น ก็ไม่อาจ เปลี่ยนแปลงอุปนิสัยหรือพฤติกรรมของคนได้เลย ความเหลวเละเฟะฟอนในสังคมไทยปัจจุบัน เป็นเรื่องของความเสื่อมโทรมทาง จิตใจ เราจึงควรแก้ไขในเรื่องของจิตใจ เรื่อง ในการแก้ไขเรื่องความเสื่อมโทรมทางจิตใจนี้ อาจารย์เปรียบว่าเหมือน”การร่อน ทอง” (A CLEANSING PROCESS) คือ ค่อยๆ ร่อนพฤติกรรมที่ไม่ดีให้หลุดร่วงลงไป การแก้ไขทัง้ แนวความคิดและอุปนิสยั ของบุคคลนัน้ ต้องใช้เวลาอันยาวนาน ด้วย ความตั้งใจ ความเสียสละ และความอดทน แม้จะพยายามเร่งรัดด้วยความเข้มแข็งสัก ปานใด ก็ไม่มีทางลัด ในโลกของเรานี้ไม่มีผู้ใดเกิดมาดีเต็มร้อยหรือชั่วทั้งร้อย หากแต่ละ คนก็มีดีบ้างชั่วบ้างคละกันอยู่ ดังนั้น จึงต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงตนเองให้ดีขึ้นด้วยการฝึกอบรมและสร้าง จิตส�ำนึกในเรือ่ งคุณธรรมและจริยธรรม ซึง่ การแก้ไขปรับปรุงตนเองอาจจะท�ำอย่างค่อย เป็นค่อยไป ค่อยๆ ‘ร่อน’ ความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมอันไม่พึงปรารถนาให้หลุดร่วง ลงไป และสร้างสมสิง่ ดีเป็นล�ำดับ เปรียบเสมือนกับ ทีต่ อ้ งค่อยๆ คัดกรองเอาเศษหินเศษดินออก ค่อยๆ ร่อนจนกระทั่งได้ทองที่มีความบริสุทธิ์จริงๆ”

‘กิเลส’ ของบุคคล

‘การร่อนทอง’

20

ชีวิตงามด้วยความดี


“พลทหารธานินทร์”

ซื่อสัตย์ อดทน อ่อนน้อมถ่อมตน ในชีวิตของอาจารย์ธานินทร์ มี เหตุการณ์หนึง่ ทีน่ บั ได้วา่ เป็น “ครัง้ หนึง่ ในชีวติ ” ทีน่ า่ จดจ�ำ ควรค่าแก่การบอกเล่า สู่คนรุ่นหลัง ด้วยครั้งหนึ่งท่านเคยรับ ราชการทหารที่แผนเตรียมยานเกราะ กองพลทหารม้า กองทัพบก ในครั้งนั้น นอกจากเกร็ดความรู้ต่างๆ ที่จะได้รับแล้ว วิธีการครองตน ของท่านยังน่าเป็นแบบอย่างกับคนรุน่ ใหม่อกี ด้วย ทัง้ ในเรือ่ งของความซือ่ สัตย์ สุจริต การรักษาระเบียบวินัยในการปฏิบัติหน้าที่ ความสุภาพ อ่อนน้อม ถ่อมตน การรูก้ าลควรมิควร และความอดทนอดกลัน้ ด้วยขณะนัน้ ทีท่ ่านปฏิบตั ิ หน้าที่เป็นพลทหารข้าราชการชั้นผู้น้อยโดยมิได้ถือยศศักดิ์ต�ำแหน่งความรู้ “ผมเป็นข้าราชการตุลาการในต�ำแหน่งผู้ช่วยผู้พิพากษาอยู่ได้ ๘ วัน ก็ต้องไป รับเกณฑ์ทหารที่วัดหัวล�ำโพง เมื่อแพทย์ตรวจร่างกายแล้ว ผมก็ได้รับการคัดเลือก ให้เข้ารับราชการทหาร มีนายทหารหนุ่มจากกองพลทหารม้ามารับผมไปรายงานตัว และจัดส่งไปสังกัดโรงเรียนยานเกราะ กองพลทหารม้าที่บางกระบือ ผมไม่ได้เอ่ยถึง วุฒทิ ผี่ มได้รบั จากต่างประเทศ เพราะผมไม่ประสงค์จะได้รบั สิทธิพเิ ศษอันใด นอกจาก ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

21


หนังสือ “เรือ่ งของพลทหาร ธานินทร์ฯ จัดพิมพ์โดยศาล ยุติธรรม ปี ๒๕๕๔

มารับราชการทหารโดยหน้าที่ตามกฎหมายเท่านั้น นอกจากนั้น ผมคิดว่าหากพูดมากไปอาจจะเป็นที่ เขม่นของบรรดาเพื่อนทหารเกณฑ์และบรรดาทหาร เก่าด้วยก็เป็นได้ ผมได้รบั ค�ำสัง่ ให้ไปสังกัดแผนกเตรียมการของ โรงเรียนยานเกราะ อันมีพลตรี ชายน้อย โกมารกุล ณ นคร เป็นหัวหน้าแผนก ขณะนั้นท่านมียศเป็น พันตรี ส�ำเร็จการศึกษาวิชาการทหารมาจากกองทัพ นาซี ประเทศเยอรมัน ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ท่านมีบุคลิกที่น่าประทับใจมาก ท่านเป็นคนตรง รักษา ระเบียบวินัยเคร่งครัด สิ่งสะท้อนให้เห็นระเบียบวินัยของ ทหารเยอรมันในตัวของท่านเป็นอย่างดี”

แผนกเตรียมการเป็นแผนกที่มีระเบียบวินัยเป็นเยี่ยม สะอาด เรียบร้อยทีส่ ดุ อาหารการกินสะอาดและสมบูรณ์ เพราะท่านควบคุมเอง โถส้วมของแผนกและของทุกหน่วยงานทีแ่ ผนกเตรียมการรับผิดชอบ ‘ต้องสะอาดเหมือนชามข้าว’ มิฉะนั้นท่านจะให้ผู้รับผิดชอบใช้มือล้าง และจะ

ไม่ได้กลับบ้านตอนสุดสัปดาห์ ทุกพื้นที่ในห้องท�ำงานจะไม่ให้ฝุ่นจับ ทุกสิ่งทุกอย่าง ในแผนกจัดวางอย่างเป็นระเบียบ

อย่างไรก็ตาม แม้ท่านจะไม่ได้รายงานหรือแจ้งให้ทางการทราบว่า มีวุฒิโดย ส�ำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศด้วยก็ตาม แต่อยู่มาได้สัก ๑ สัปดาห์ ก็มีเพื่อน รุ่นน้องหลายคนส�ำเร็จการศึกษาจากแซนด์เฮิสท์ (SANDHURST) ซึ่งเป็นโรงเรียน นายร้อยทหารบกของอังกฤษ (The ROYAL MILITARY ACADEMY) มารับราชการ เป็นนายทหารชัน้ สัญญาบัตรอยูท่ กี่ องพลทหารม้าเหมือนกัน เขาจ�ำท่านได้และเข้ามา ทัก ในขณะที่ท่านก�ำลังถางหญ้าร่วมกับเพื่อนทหารเกณฑ์รุ่นเดียวกัน ต่อมามีผู้ไปรายงาน ฯพณฯ พลเอก ชาติชาย ชุณหวัณ ผู้บังคับการโรงเรียน ยานเกราะ ซึ่งขณะนั้นมียศเป็นพันเอกว่า มีทหารเกณฑ์ผู้หนึ่งส�ำเร็จการศึกษามา จากต่างประเทศ ท่านก็เรียกให้อาจารย์ธานินทร์ไปพบ หลังจากซักไซ้ไล่เรียงถึง

22

ชีวิตงามด้วยความดี


ความเป็นมาแล้ว ก็สั่งให้ท่านไปช่วยท�ำหน้าที่เป็นล่ามและเป็นทหารรับใช้ของ นายทหารอเมริกนั สังกัดหน่วยจัสแม็ค (JUSMAG) ชุดทีม่ าช่วยงานทีโ่ รงเรียนยานเกราะ “ภารกิจของผมในฐานะเป็นล่ามประจ�ำตัวและทหารรับใช้นายทหารอเมริกัน คือ ติดตามเขาไปทุกสถานที่ที่เขาต้องการ และอ�ำนวยความสะดวกทุกอย่างที่จะพึง ท�ำได้ให้เจ้านายฝรั่งของผม โดยเฉพาะพันโท ไนมั่น (NEIMAN) งานชิ้นแรกเกี่ยวกับ ล่ามก็คือ เขาต้องการจะศึกษาข้อบังคับของกองทัพบกไทยอย่างละเอียด ทางฝ่าย ไทยก็ได้จัดการแปลให้เขา แต่เขาไม่เข้าใจหลายตอน พันโท ไนมั่น จึงสั่งให้ผมแปล ข้อบังคับกองทัพบกของไทยเป็นภาษาอังกฤษให้เขาทั้งฉบับ นอกจากการเป็นล่ามแล้ว เวลา ไปปฏิบตั หิ น้าทีต่ า่ งท้องที่ ผมต้องจัดซือ้ อาหารจากภัตตาคารทีด่ ที สี่ ดุ ในท้องถิน่ นั้นๆ มาให้เจ้านายอเมริกันของผมและ คณะรับประทานวันละ ๓ มื้อ พร้อม ทั้งน�ำเสื้อผ้าของเขาไปซักรีด และน�ำ กลับมาช่วยแต่งเครื่องประดับยศและ แถบให้เขาทุกวัน ส่วนผมกับพลทหาร เสมอฯ พลขับซึ่งเป็นทหารเกณฑ์ก่อนผมหนึ่งรุ่นได้รับความเอื้อเฟื้อจากพันโท ไนมั่น ให้ได้รับประทานอาหารจากภัตตาคารที่เราสั่งอาหารให้เขาด้วยวันละ ๓ มื้อ อิ่มหมี พีมนั กันทุกมือ้ เสือ้ ผ้าของเราเขาก็ออกค่าซักรีดให้เสร็จ เพราะเขารูด้ วี า่ เราทัง้ สองคน ได้เบี้ยเลี้ยงวันละ ๔ บาท นอกเหนือจากภารกิจด้านเป็นล่ามและเป็นทหารรับใช้ของนายทหารจัสแม็ค ที่ ฯพณฯ พลเอก ชาติชายฯ สั่งผมให้ปฏิบัติแล้ว ท่านยังได้มอบหมายให้ผมไปสอน วิชาภาษาอังกฤษแก่นายทหารนักเรียน และนักเรียนนายทหาร ในหลักสูตรผู้บังคับ หมวดและนักเรียนนายร้อยส�ำรองของโรงเรียนยานเกราะ ซึ่งมีผู้เข้าเรียนประมาณ ๑๐๐ กว่าคนด้วย ในบรรดาศิษย์รุ่นแรกของผมนี้ เป็นผู้ที่ส�ำเร็จหลักสูตรจากโรงเรียนนายร้อย พระจุลจอมเกล้า ๔ นาย และทีส่ �ำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ อีกหลายนาย ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

23


ทีส่ ำ� เร็จหลักสูตรนักเรียนนายร้อยส�ำรองก็ มีมาก ฯพณฯ พลเอก ชาติชายฯได้กำ� ชับ ให้เจ้าหน้าที่ผรู้ บั ผิดชอบหลักสูตรนี้ สัง่ ให้ นักเรียนทุกคนเรียกผมว่า ‘ครู’ มิใช่เรียกว่า ‘พลทหาร’ ทัง้ ให้ตดิ ป้ายหน้าแท่นบรรยาย ว่า ‘ครูธานินทร์ฯ’ ” นี่เป็นการสอนครั้งแรกในชีวิตการ เป็น ของอาจารย์ธานินทร์ ช่วงแรกของการสอน ท่านยังมีความ ประหม่าบ้างเล็กน้อย แต่หลังจากนั้นก็

“ครู”

สามารถปรับตัวได้เป็นอย่างดี “ในวันแรกของการเข้าสอนนั้น เป็นต้นเดือนมิถุนายน อากาศอบอ้าว แต่ก่อน เข้าสอนตอนบ่าย ผมกลับรู้สึกหนาว แต่ก็รับประทานอาหารกลางวันได้มากกว่าปกติ ครั้งแรกที่ผมเข้าบรรยาย ผมต้องท�ำความเคารพ และรายงานตัว กับบรรดาศิษย์รุ่น แรกของผมว่า ‘กระผม พลทหาร ธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้รับค�ำสั่งจากผู้บังคับการโรงเรียน ยานเกราะให้มาสอนวิชาภาษาอังกฤษนายทหารนักเรียน และนักเรียนนายทหารใน หลักสูตรผู้บังคับหมวด และนักเรียนนายร้อยส�ำรอง ขอรับกระผม’

ผมรู้สึกตื่นเต้นเพราะศิษย์ของ ผมหลายคนเป็นผู้อาวุโสและเป็นผูบ้ ังคับบัญชาของผมเอง

“ตอนแรกของการบรรยาย

ด้วย แต่พอสอนไปได้สกั เล็กน้อย ดูศษิ ย์ทงั้ หลายให้ความสนใจมากขึน้ เป็น

ล�ำดับ และบางคนก็ซกั ถามด้วย จึงท�ำให้คลายความตืน่ เต้นและ

มี ความเพลิดเพลินในการสอนเข้ามาแทนที่”

ในการเป็น “ครูธานินทร์” ของท่านในครั้งนี้ มีเรื่องล�ำบากใจในการปฏิบัติตัว เกีย่ วกับการทีน่ ายทหารทีเ่ ป็นนักเรียนท�ำความเคารพท่านซึง่ เป็นเพียง เพราะถือว่าท่านเป็นครู โดยนายทหารระดับสูงกลุ่มหนึ่งเห็นด้วยที่จะให้ปฏิบัติตัว

“พลทหาร”

24

ชีวิตงามด้วยความดี


แบบนี้ แต่อีกกลุ่มกลับไม่เห็นด้วย แม้จะต้องล�ำบากใจในเรื่องนี้ แต่โชคดีที่สอนอีกไม่ กี่ครั้งก็ครบก�ำหนดเวลารับราชการทหาร ท่านจึงกลับไปเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาดังเดิม จนในเวลาต่อมา อาจารย์ธานินทร์ได้มโี อกาสสอน และสนทนากับบรรดานายทหาร หลายเหล่าในวาระต่างๆ ท่านจึงเรียนถามว่า “กรณีที่พลทหารเป็นครูและนายทหาร สัญญาบัตรเป็นนักเรียนนี้ ใครจะต้องท�ำความเคารพก่อน” หลังจากสอบถาม ค�ำถามนี้มาหลายท่านแล้วก็ไม่มีผู้ใดตอบค�ำถามนี้ได้ ยกเว้น ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีและรัฐบุรุษ ซึ่งเป็นผู้บังคับกองพันทหารม้าที่ ๕ ในขณะนั้น และท่านก็รู้จักอาจารย์ธานินทร์ตอนเป็นพลทหารด้วย ซึ่งได้กรุณาตอบว่า “ทั้งศิษย์และครูควรต้องท�ำความเคารพพร้อมกัน เพราะแต่ละฝ่ายมีวุฒิที่สูง และต�่ำกว่าอีกฝ่ายหนึ่งด้วยกัน กล่าวคือ ฝ่ายหนึ่งเป็นนายทหารแต่เป็นศิษย์ อีกฝ่าย หนึ่งเป็นพลทหารแต่เป็นครู” ค�ำตอบนี้อาจารย์ธานินทร์ถือว่า ช่วย คลายความข้องใจให้ท่านได้ในที่สุด อย่างไรก็ตาม อาจารย์ธานินทร์รบั ราชการทหารอยูเ่ พียงสามเดือนก็ครบก�ำหนด ปลดจากประจ�ำการ เนือ่ งจากท่านเคยเป็นยุวชนทหารสอบไล่ได้ชนั้ นายสิบปีทสี่ อง จึง ได้รับยกเว้นไม่ต้องรับราชการทหารเป็นเวลา ๒ ปีเต็ม หากแต่ต้องรับราชการทหาร เพียงสามเดือนเท่านั้น วันสุดท้ายในการรับราชการทหาร พลทหารธานินทร์ได้ขอให้คุณสงวน สัตยะ ยุกต์ พี่สาวคนโตจัดท�ำอาหารมาเลี้ยงชาวโรงเรียนยานเกราะและเพื่อนร่วมรุ่นจาก หน่วยใกล้เคียง ด้วยปริมาณอาหารมากเป็นสองเท่าของจ�ำนวนคน แต่กระนั้นก็ยังไม่ พอ จนต้องสัง่ อาหารจากร้านใกล้เคียงมาเพิม่ อีกเกือบเท่าตัว จึงจะอิม่ หน�ำส�ำราญกัน ถ้วนหน้า จากการใช้ชีวิตเป็นพลทหารของอาจารย์ธานินทร์นี้ ท�ำให้เราเห็นถึงความ ซื่อสัตย์ อ่อนน้อมถ่อมตน ความอดทน และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ของท่านเป็น อย่างดี

“มีเหตุผลและแจ่มกระจ่าง”

ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

25


คุณธรรม จริยธรรม ของผู้พิพากษา อาจารย์ธานินทร์ เริม่ เข้ารับราชการเมือ่

ปี ๒๔๙๑ โดยเป็นข้าราชการประจ�ำแผนก บัญชี ส�ำนักงานเลขานุการกรมเกษตร กระทรวงเกษตร จากนัน้ ลาออกจากราชการ

เพื่อไปศึกษาต่อต่างประเทศ เมื่อส�ำเร็จการ ศึกษาแล้ว ท่านรับราชการในต�ำแหน่งผู้ช่วย

ผู้พิพากษาในกระทรวงยุติธรรม เมื่อวันที่ ๑ เมษายน ปี ๒๔๙๘ และเป็นผู้พิพากษา ประจ�ำกระทรวงระหว่างปี ๒๔๙๙ ถึง ๒๕๐๑

ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม ปี ๒๕๐๒ ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้ากองการคดี ส�ำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม ครั้นวันที่ ๑ มีนาคม ปี ๒๕๐๗ ท่านได้รับโปรด เกล้าฯ แต่งตัง้ ให้เป็นผูพ้ พิ ากษาหัวหน้าศาล จังหวัดเชียงใหม่ หลังจากนัน้ ได้ดำ� รง ต�ำแหน่งต่างๆของศาลยุตธิ รรมในศาลชัน้ ต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาเป็นล�ำดับ เช่น เลขานุการศาลฎีกา ผูช้ ว่ ยผูพ้ พิ ากษาศาลฎีกา ผูพ้ พิ ากษา หัวหน้าคณะในศาล อุทธรณ์ ผู้พิพากษาศาลฎีกา เมื่อวันที่ ๑๕ ตุลาคม ปี ๒๕๑๕ โดยต�ำแหน่งสุดท้าย ในราชการศาลของท่าน คือ ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา

26

ชีวิตงามด้วยความดี


๒๕๐๗ ที่สถานีรถไฟหัวล�ำโพง อาจารย์ธานินทร์กับครอบครัว เดินทางโดยรถไฟไปเป็นผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่

ขณะเป็นผู้พิพากษา ท่านได้รับการยกย่องจากบุคคลทั่วไปว่าเป็น ผูม้ คี วามรูใ้ นวิชากฎหมายอย่างลึกซึง้ นอกจากนัน้ ท่านยังได้รบั การยอมรับ จากผู้พิพากษาว่า เป็นผู้รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นมากที่สุด ยิ่งกว่านั้น ขณะเป็นผู้พิพากษาท่านมีผลงานที่โดดเด่นทางด้านจริยธรรม จนได้เป็น ประธานคณะอนุกรรมการจัดท�ำประมวลจริยธรรมข้าราชการตุลาการ เมื่อปี ๒๕๒๗ โดยใช้เวลาในการยกร่างเป็นเวลา ๑ ปี ๓ เดือน หลังจากนัน้ วันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙ นายภิญโญ ธีรนิติ ประธาน ศาลฏีกา ประธานคณะกรรมการตุลาการ ได้ประกาศใช้ประมวลจริยธรรม ข้าราชการตุลาการทีท่ า่ นเป็นประธานอนุกรรมการยกร่างนัน้ ให้เป็นระเบียบ ปฏิบัติของผู้พิพากษาตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ในค�ำน�ำ ได้กล่าวถึงผลงานในเรื่องนี้ไว้ตอนหนึ่งว่า

“การจัดพิมพ์ประมวลจริยธรรมข้าราชการ ตุลาการครั้งที่ ๑” ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

27


“ในระยะหลังนีผ้ พู้ พิ ากษาบางท่านประพฤติ ปฏิบัติตนในบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งยังเป็นที่โต้เถียง กันว่าจะเป็นการเหมาะสมหรือถูกต้องหรือไม่ เพราะยังไม่มีกฎเกณฑ์วางไว้ให้เป็นที่แน่นอน จึง น่าจะได้มีระเบียบหรือค�ำแนะน�ำ วางแนวทางให้ ผู้พิพากษาประพฤติปฏิบัติด้วยการวางไว้ให้เป็น กฎเกณฑ์แน่นอนเท่าทีจ่ ะท�ำได้ เช่น ในสหรัฐอเมริกา มี The Code of Judicial Conduct เพื่อแนะน�ำ ว่าผู้พิพากษาควรปฏิบัติหรือไม่ควรอย่างไร ส�ำหรับของเรา แม้จะมีวินัยอยู่ในกฎหมาย ๒๔๙๘ ขณะด�ำรงต�ำแหน่ง ผู้ช่วยผู้พิพากษา ว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการก็เป็นเพียง การวางหลักเกณฑ์ไว้กว้างๆ บางเรือ่ งยังคลุมไม่ถงึ บางเรื่องเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ไม่ได้เขียนไว้ ถ้าจะวางกฎเกณฑ์หรือแนวทางที่ แน่นอนไว้บ้าง ก็จะได้เป็นเครื่องเตือนใจไม่ให้ผู้พิพากษาบางท่านหลงลืม หรือ เผอเรอ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ สมัยที่นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีก็เคย มีด�ำริจะจัดท�ำขึ้น แต่ไม่ทันลงมือก็พ้นต�ำแหน่งเสียก่อน…” นอกจากนั้น อาจารย์ธานินทร์ ได้ให้ข้อคิดแก่ผู้พิพากษา ในเรื่องความ กล้าหาญ ไว้ในหนังสือ “ค�ำแนะน�ำหนังสือศึกษากฎหมาย” อย่างน่าสนใจว่า

“…ส�ำหรับนักกฎหมายฝ่ายตุลาการนั้นแม้ว่าจะมี ความเป็นอิสระแก่ใจ มีความเป็นไทแก่ตัวในการพิจารณา พิพากษาอรรถคดีทั้งปวงก็ตาม แต่ก็ต้องมีความ กล้าในสิ่งที่ควรกล้า กล่าวคือ ควรตัดสินคดีตามที่ หลักสากลว่า ต้องถือตามทีบ่ คุ คลซึง่ มีเหตุมผี ลและมีความ รับผิดชอบในสังคมเห็นว่าเป็นสิง่ ถูกต้องและชอบธรรมโดย ไม่เกรงกลัวอิทธิพลใดๆ”

28

ชีวิตงามด้วยความดี


๒๕๑๙ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร นายกรัฐมนตรี กับคณะรัฐมนตรี เข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณ เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม

อาจกล่าวได้วา่ ตลอดเวลาทีผ่ า่ นมา อาจารย์ธานินทร์ เป็นผูอ้ ทุ ศิ ตนเพือ่ พัฒนาการ ศึกษาวิชานิติศาสตร์อย่างแท้จริง เป็นผู้บรรยายวิชานิติศาสตร์ในหลายสาขา ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง และ เป็นผู้บรรยายพิเศษในอีกหลายสถาบัน เช่น ที่ส�ำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติ บัณฑิตยสภา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยศิลปากร ฯลฯ ต่อมาวันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๑๙ ท่านลาออกจากราชการขณะด�ำรงต�ำแหน่งผู้ พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา เมือ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั มีพระมหากรุณาธิคณ ุ โปรดเกล้าฯ แต่งตัง้ ให้ดำ� รงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี เมือ่ พ้นจากต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้รบั เลือกให้เป็นกรรมการตุลาการผูท้ รงคุณวุฒิ ๔ สมัย และได้รบั พระมหากรุณาธิคณ ุ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำ� รงต�ำแหน่งองคมนตรี ตั้งแต่ ปี ๒๕๒๐ จนถึงปัจจุบัน แม้จะมีงานอย่างต่อเนือ่ งมาโดยตลอด แต่อาจารย์ธานินทร์ ก็ได้เอาใจใส่ใน การดูแลสุขภาพเป็นอย่างดี ทุกวันนีท้ า่ นจะตืน่ แต่เช้ามายืดเส้นยืดสายทุกวัน ท�ำให้ แม้จะล่วงเข้าวัย ๘๔ ปีแล้วก็ตาม แต่ท่านยังคงแข็งแรง สดชื่น กระปรี้กระเปร่า ส่วนจิตใจนั้น ด้วยความที่เป็นผู้มองโลกในแง่ดี มีเมตตามาโดยตลอด ท่านจึงมีจิต ที่ผ่องใสอยู่เสมอ ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

29


หล่อเลี้ยงครอบครัว

ด้วยความรักและเอาใจใส่ อาจารย์ธานินทร์ และ คุณหญิงคาเรน (แอนเดอร์ เซน) กรัยวิเชียร มีบุตรธิดา ด้วยกัน ๕ คนคือ นางรูบีนา สุวรรณพงษ์, นายมหินทร์ กรัย วิเชียร, นายเขมทัศน์ กรัย วิเชียร,นายนิติกร กรัยวิเชียร และทันตแพทย์หญิง ดร.รีเบกก้า พิทซ์ “ในครอบครัวของเราค่อนข้างจะสนิทสนมกันมาก ที่บ้านเราพูดกันทั้งภาษา ไทยและภาษาอังกฤษ ลูกๆ ก็คิดเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และพูดทั้งไทยทั้ง อังกฤษผสมกันไป รูบีนา เคยพูดว่า ‘LOOK AT REX ,HE’S PUTTING THE ‘ค้อน’ IN TO THE ‘ตุ่ม’ (ดูเร็กซ์ซิ เอาค้อนไปใส่ตุ่ม) เขาคิดอย่างไรก็พูดออกมา อย่างนั้น นอกจากคาเรนจะสอนลูกๆ แล้ว ลูกๆ ก็สอนคาเรนด้วย แม่ลูกต่างสอนกัน วันละ ๒๔ ชั่วโมง ตอนแรกคาเรนพูดค�ำว่า ว่า รูบีนาช่วยแก้ ให้ถกู ต้อง เมือ่ ครอบครัวของเราย้ายไปเชียงใหม่ ลูกคนเล็กๆ สอนคาเรนใหม่วา่ พูดว่า ไม่ถูก ต้องพูดว่า แสดงว่ายิ่งเด็กเท่าไรก็ยิ่งเรียนภาษาได้รวดเร็ว กว่าผู้ใหญ่

‘ร้อน’ ‘หรอน’

‘ร้อน’

30

‘ฮ้อน’

ชีวิตงามด้วยความดี


๒๕๐๘ กับครอบครัว ทีบ่ า้ นพัก ผูพ้ พิ ากษาหัวหน้าศาลจังหวัด เชียงใหม่

๒๕๑๒ กับรีเบ้กก้า บุตรสาวคน สุดท้องที่บ้านซอยหม่อมแผ้ว

ในการฝึกอบรมลูกๆ นั้น ผมและภริยาใช้หลักผสมผสานระหว่างจุดดีเด่นของ ค่านิยมตะวันออกกับตะวันตก นับตั้งแต่การมีมารยาทที่ดีที่โต๊ะอาหาร การตรงต่อ เวลา การรักษาค�ำพูด การมีความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ การเคารพญาติผู้ใหญ่และ ผู้มีอาวุโส และมีความสุภาพอ่อนโยนต่อทุกคน ตลอดทั้งมีอัธยาศัยดีต่อผู้อื่นไม่ว่า จะเป็นผู้ใด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีอาวุโส โดยไม่ค�ำนึงถึงต�ำแหน่งหน้าที่การงานว่า อยู่ระดับใด เราพยายามอบรมลูกๆ ไม่ให้อิจฉาริษยากัน ไม่ให้แก่งแย่งสิทธิหรือประโยชน์ ของกันและกัน เพราะโลกเรานีม้ ที วี่ า่ งเพียงพอส�ำหรับทุกคน (THERE IS ROOM FOR EVERYBODY) เราไม่ให้ลูกคนหนึ่งคอยจับผิดลูกอีกคนหนึ่ง หรือผู้อื่น แล้วรายงานให้ ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

31


๒๕๐๕ กับร้อบบิน้ (นิตกิ ร) บุตรชายคนเล็ก และรูบีนา บุตรสาวคนโต

๒๕๐๐ อาจารย์ธานินทร์กับครอบครัว

32

พ่อแม่ทราบ ลูกๆ เป็นพี่น้องกัน ต้อง รักและเสียสละให้กันและกัน เป็นอัน หนึ่งอันเดียวกัน ยามตกทุกข์ได้ยาก ต้องปกป้องกันและพึ่งพาอาศัยกันได้ ลูกๆ ต้องรู้จักแบ่งปันช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน ยิ่งไปกว่านั้น เราไม่เคยเปรียบ เทียบความดีเด่นความเฉลียวฉลาด หรือ ความบกพร่องของลูกๆ ทัง้ ห้าคนระหว่าง กันเอง หรือกับบุคคลภายนอกเลย เราเอาใจใส่ดแู ลว่าลูกๆ แต่ละคน มีความถนัดหรือพรสวรรค์อะไร เราก็ สนับสนุนส่งเสริมเขาตามความสามารถ ที่เขามีเต็มที่ พร้อมๆ กับแก้จุดด้อย ต่างๆ ในตัวลูกๆ แต่ละคนไปด้วย เรา ยังให้อิสระเขาในการตัดสินใจเลือก สิ่งต่างๆ ที่เขาชอบหรือต้องการ ไม่ว่า จะเป็นเรือ่ งการเรียน การประกอบอาชีพ และการเลือกคู่ครองชีวิต หน้าที่ของ เรามีเพียงแต่ให้คำ� แนะน�ำข้อคิดต่างๆ เท่านัน้ เราไม่เคยยัดเยียดความคิดหรือ ความต้องการของเราลงไปในตัวเด็ก ผมและภริยาไม่อยากเห็นลูกๆ เป็นหนอนหนังสือ เอาแต่เรียนอย่าง เดียว แล้วไม่สนใจในเรื่องอืน่ ใดเลย แม้ จะเรียนได้เลอเลิศสักปานใด เราเห็นว่า สูใ้ ห้ลกู ๆ เรียนดี และในขณะเดียวกันก็ มีความรูแ้ ละพัฒนาทักษะความสามารถ รอบตัวในทางอืน่ ๆ ให้ดดี ว้ ย (A GOOD ชีวิตงามด้วยความดี


ALL-ROUNDER) เพื่อจักด�ำรงชีวิตในโลกกว้างในภายหน้าได้ดี ดังนั้น เราจึงส่งเสริม ลูกๆ ทุกคนให้มีกิจกรรมเพื่อส่วนรวมเสมอๆ เช่น กิจกรรมของค่ายอาสาพัฒนา และ ยังสนับสนุนให้ลูกๆ สนใจการกีฬาตามแต่ใจชอบและมีความถนัดด้วย ทั้งยังส่งเสริม ให้มีโอกาสท�ำสิ่งต่างๆ เช่น เย็บปักถักร้อย ท�ำอาหาร วาดภาพ ฯลฯ ตามความสนใจ ของแต่ละคน” ท่านและภรรยาพยายามปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้ลูกๆ ด้วยการเป็นแบบอย่าง ดังในเรือ่ งของการให้เกียรติ ด้วยการเคาะประตูกอ่ นเข้าห้องส่วนตัวลูกทุกครัง้ ไม่รอื้ ค้น ของส่ วนตัวของลูก ไม่อ่านจดหมายหรือบันทึกส่วนตัวของลูก เป็นต้น

“สิง่ เหล่านีจ้ ะท�ำให้ลกู ๆ รูส้ กึ ถือศักดิร์ กั เกียรติของตนเอง (SELF-ESTEEM) มากขึน้ ประพฤติตนเป็นเด็กดี ไม่ท�ำอะไรทีไ่ ม่ควร อันจะท�ำให้เป็นทีข่ นุ่ ข้องหมองใจ เพราะเกิดความเกรงใจทั้งแม่และพ่อที่ให้เกียรติและไว้วางใจพวกเขาตลอดมา”

อีกเรื่องหนึ่งคือ เมื่อผมและภริยาไปต่างจังหวัดหรือต่างประเทศ เรามักจะ ซื้อของมาฝากลูกๆ และญาติๆ ของเราเสมอ เมื่อลูกๆ ของเราโตขึ้นและมีโอกาสไป ต่างจังหวัด หรือต่างประเทศก็จะซื้อของมาฝากผม ภริยา และพี่น้องของเขาเสมอ ในลักษณะเดียวกันกับที่เราท�ำให้ลูกๆ เมื่อยังเล็กอยู่ ผมและภริยาก็ดีใจที่ได้ปลูกฝัง เรื่อง ‘การให้ส�ำคัญกว่าการรับ’ และ ‘การให้เป็นความสุขสูงสุดของผู้ให้’ แก่ลูกๆ ได้ส�ำเร็จ “ตอนนี้ลูกๆ ของผมเติบโตและเป็นคนดี สมกับที่ผมและภริยาได้ทุ่มเท ความรัก และอุทิศเวลาให้พวกเขา

การอบรมสั่งสอนบุตรนี้ต้อง อาศัยเวลา ค่อยๆ อบรมทีละเล็กทีละน้อย เพาะบ่ม

นิสัยที่ดีงามให้เขา และพึงระลึกว่านิสัยคนไม่อาจเปลี่ยนได้ วันนี้ หรือพรุง่ นี้ เราต้องใช้ความพยายาม อดทน และ

เสียสละอย่างมาก แต่เมื่อลูกของเราเติบใหญ่ และ เป็นคนดีตามที่เราตั้งใจแล้ว ผลลัพธ์ทไี่ ด้นนี้ บั ว่าคุม้ ค่ามิอาจ ประเมินได้เลยทีเดียว” ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

33


ลูกๆ ทั้ง ๕ คนของท่านต่างเลือกเรียนไม่ซำ�้ กัน คือ คนโตเป็นสถาปนิก คน รองเป็นนักกฎหมาย คนที่สามเป็นวิศวกร คนที่สี่เป็นช่างภาพ และคนสุดท้องเป็น ทันตแพทย์ นอกจากจะภูมิใจที่ลูกๆ เป็นคนดีแล้ว ลูกๆ ของท่านยังมีความรักและ สามัคคีกันเป็นอย่างดี ซึ่งน�ำความสุขใจมาให้อาจารย์ธานินทร์เป็นอย่างยิ่ง “เรื่องหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องเกินฝัน ก็คือ การที่ลูกๆ ทุกคนมาปลูกบ้านหรือมีที่ดิน ที่พร้อมจะปลูกบ้านในที่ดินผืนเดียวกันอยู่ร่วมกับคาเรนและผม เรื่องนี้เป็นความ ประสงค์ของทั้งคาเรนและผม ลูกๆ เองที่อยากจะอยู่ร่วมกัน คุณพ่อของผมเคยใฝ่ฝัน ไว้เหมือนกันว่า อยากให้ลูกๆ ทุกคนปลูกบ้านอยู่ในที่ดินแปลงใหญ่แปลงเดียวกัน แต่ท่านท�ำส�ำเร็จไปได้เพียงบางส่วนก่อนที่จะด่วนจากไป

"การให้ส�ำคัญกว่าการรับ" "การให้เป็นความสุขสูงสุดของผู้ให้"

34

ชีวิตงามด้วยความดี


มาถึงสมัยของเรา ผมเองก็อยากให้เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน แต่ก็ไม่แน่ใจว่าฝัน จะเป็นจริงได้ เพราะต่างคนก็ต่างใจและยุคสมัยก็เปลี่ยนไปแล้ว รูบีนาเป็นสถาปนิก ออกแบบบ้าน ได้วางแผนผังของการแบ่งเขตบ้านและถนน ลูกๆ คนอืน่ ๆ ช่วยกันระดม ก�ำลังความคิดทีจ่ ะให้อยูร่ ว่ มกันให้ได้ และก็อยูไ่ ด้อย่างร่มเย็นเป็นสุขมาจนบัดนีก้ ก็ ว่า ๑๐ ปีแล้ว โดยที่ต่างคนต่างมีบ้านอยู่ในสนามบริเวณเดียวกัน โดยไม่มีรั้วกั้นระหว่าง กัน เมื่อมีปัญหาอะไรก็หันหน้าเข้าหากัน ปรึกษาหารือกัน ถ้าครอบครัวใดไม่อยู่บ้าน เราก็ช่วยกันดูแลบ้านให้ เราอบอุ่นใจมากที่ช่วยเหลือกันได้ ยิ่งในยามฉุกเฉินก็ช่วย เหลือกันได้ทันท่วงที โดยเฉพาะตอนทีค่ าเรนป่วยหนัก ลูกๆ ต่างก็เวียนกันมาดูแล ทุกคนช่วยกัน รักษาพยาบาลคาเรน หลานๆ ของคาเรนซึ่งมาจากเดนมาร์ก เห็นครอบครัวของ ผมและลูกๆ สร้างบ้าน ๕ หลังอยูร่ ว่ มกันในทีด่ นิ ผืนเดียวกันยังอุทานว่า ‘ท�ำได้ยงั ไง’” ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

35


คุณหญิงคาเรน

“ผู้เป็นดั่งลมใต้ปีก” ว่ากันว่า ในความส�ำเร็จของผูช้ าย คนหนึ่ง มักมีผู้หญิงคนหนึ่งเป็นแรง ผลักดันเสมอ ส�ำหรับอาจารย์ธานินทร์ ก็เช่นเดียวกัน ท่านมีคณ ุ หญิงคาเรน

ที่เป็นทั้งภรรยา แม่ของลูก และ เพื่อนคู่คิด ผู้คอยเตือนสติท่าน ในเรื่องต่างๆ อยู่เสมอ และถ้าหาก

ขาดผูห้ ญิงทีส่ ำ� คัญยิง่ ในชีวติ คนนีแ้ ล้ว ชีวติ ครอบครัวและการงานของท่านคง ไม่ส�ำเร็จและอบอุ่นได้ถึงเพียงนี้ อาจารย์ธานินทร์ เล่าถึงคู่ชีวิตของท่านด้วยน�้ำเสียงชื่นชม และแววตา เปี่ยมสุข ว่า “เมือ่ ส�ำเร็จการศึกษาเป็นธรรมศาสตร์บณ ั ฑิตแล้ว ผมก็ไปศึกษาวิชากฎหมายที่ THE LONDON SCHOOL OF ECONOMIC แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน ที่อังกฤษนี้ เองทีผ่ มได้พบกับคาเรน คาเรนเป็นชาวเดนมาร์ก ไปร�่ำเรียนวิชาการเรือนและท�ำงาน ทีป่ ระเทศอังกฤษ เราต่างต้องอัธยาศัยซึง่ กันและกัน ทัง้ มีทศั นคติตรงกันในหลายเรือ่ ง เกิดเป็นความรักความผูกพันและกลายเป็นคู่ชีวิตกันในท้ายที่สุด คาเรนเป็นทั้งภริยา เป็นแม่ของลูก และเป็นเพื่อนคู่คิด ช่วงที่ผมเริ่มท�ำงาน ใหม่ๆ ฐานะของเราไม่สู้ดีนัก เนื่องจากสมัยก่อนเงินเดือนผู้พิพากษายังน้อยอยู่และ

36

ชีวิตงามด้วยความดี


อาจารย์ธานินทร์กับคู่ชีวิต

๒๕๒๐ กับคูช่ วี ติ ผูเ้ ป็นก�ำลังใจทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ

เศรษฐกิจในบ้านเมืองก็ฝดื เคือง คาเรนจึงช่วยหารายได้เสริมให้กบั ครอบครัวด้วยการ ท�ำขนมขายส่ง ท�ำให้ผมได้มีโอกาสท�ำงานในวิชาชีพที่รักต่อไป เมื่อผมมีปัญหาหรือ กังวลใจ คาเรนก็ให้ค�ำปรึกษาและเป็นก�ำลังใจให้ผมเสมอ โดยที่ไม่เคยก้าวล่วงเข้ามา ยุ่งเกี่ยวกับงานในหน้าที่ราชการของผมเลย แม้กระทั่งตอนที่ผมเป็นนายกรัฐมนตรี ช่วงนัน้ อันตรายมาก เป็นการต่อสูท้ างการเมืองทีค่ อ่ นข้างโดดเดีย่ ว แต่คาเรนก็สเู้ ต็มที่ ยืนหยัดอยู่เคียงข้าง และพร�่ำเตือนผมอยู่เสมอให้ท�ำหน้าที่ให้ดีที่สุด อย่าแสวงหาผล ประโยชน์อันใดเป็นส่วนตัวโดยอาศัยอ�ำนาจหน้าที่ทางการงาน ขอให้ยึดมั่นในความ ถูกต้อง ชอบธรรมเป็นอุดมการณ์สูงสุดของชีวิต” ถือได้วา่ อาจารย์ธานินทร์โชคดีทมี่ ภี รรยาอุทศิ ตนในการดูแลลูกและเรือ่ งภายใน บ้านเป็นอย่างดี ท�ำให้ท่านสามารถทุ่มเทท�ำงานได้อย่างเต็มที่ แต่ในขณะเดียวกัน ตัวท่านเองก็ไม่ลืมที่จะดูแลเอาใจใส่ลูกด้วย “ผมโชคดีที่คาเรนอุทิศตนเป็นแม่บ้านอย่างเต็มตัว ดูแลผม ลูกๆ และเรื่อง ภายในบ้านอย่างดีที่สุด และไม่ขาดตกบกพร่องเลย ผมจึงสามารถทุ่มเทท�ำงานได้ อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

37


แต่ก็มิใช่ว่า ผมจะทุ่มเทให้กับงานเพียงอย่างเดียว เพราะครอบครัวก็เป็นสิ่ง ส�ำคัญ นอกเวลางานผมจะให้เวลากับครอบครัวทั้งหมด ท�ำกิจกรรมร่วมกัน หรือพา ลูกๆ และคาเรนไปพักผ่อนตากอากาศที่ต่างจังหวัด แต่ก็มีเหมือนกันในช่วงแรกของ การท�ำงานที่ผมสนุกและรู้สึกท้าทายกับงานที่ท�ำจนแทบไม่มีเวลาว่างเลย เรือ่ งนีค้ าเรนให้ขอ้ เตือนใจผมว่า คาเรนเห็นใจและเข้าใจผมดีวา่ มีงานในวิชาชีพ ที่ต้องท�ำซึ่งใช้เวลามาก แต่คาเรนเห็นว่าผมควรอุทิศเวลาส�ำหรับลูกให้มากเท่าที่จะ มากได้ เพราะการอบรมสัง่ สอนและให้ความรักความเอาใจใส่แก่ลกู นัน้ ผูเ้ ป็นแม่ทำ� ได้ เพียงบางส่วนเท่านั้น อีกส่วนหนึ่งผู้เป็นพ่อต้องท�ำเอง ทั้งช่วงเวลาที่เราจะได้มีโอกาส คลุกคลีใกล้ชิดกับลูกๆ นั้นมีไม่นานเลย ความรักความอบอุ่นที่จะให้ลูกๆ นั้น ลูกจะ รู้สึกมีความสุขมากที่สุดก็ตอนเป็นเด็กนี่แหละ เมื่อพวกเขาเติบโตเป็นหนุ่มเป็นสาว แล้ว พวกเขาก็จะไม่ต้องการความเอาใจใส่จากพ่อแม่อย่างที่ปรารถนาเมื่อตอนเป็น เด็กเล็กอีก ดังนั้น ผมควรจัดแบ่งเวลาให้ลูกๆ ใน โอกาสทองและปีทองเหล่านีด้ ว้ ย เพราะถ้าผ่าน พ้นระยะนีแ้ ล้ว ลูกก็เหมือนลูกนกทีจ่ ากรัง หาก ความสัมพันธ์ไม่ดี ก็จะไม่กลับคืนรังอีก กูเ่ ท่าไร ก็ไม่กลับมาแล้ว ซึ่งคาเรนก็พูดถูก และผมก็ ปฏิบัติตามนั้นมาโดยตลอด” นอกจากนั้น เรื่องส�ำคัญที่คุณหญิง คาเรน เน้นเสมอมาคือ เมื่อลูกๆ โตแล้วต้อง ท�ำงานหาเลี้ยงชีพของตนเอง และจะต้องไม่ อยู่ภายใต้อ้อมอกของพ่อแม่อีกต่อไป “มีเรื่องที่คาเรนถือเป็นเรื่องส�ำคัญมาก ส�ำหรับลูกๆ คือ เมื่อลูกๆโตแล้วจักต้องเลือก อาชีพด้วยตนเอง และถ้าจะมีคู่ครองก็ต้อง ตัดสินใจเลือกคู่ครองเอง และจะต้องไม่อยู่ ขณะด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี ภายใต้อ้อมอกของพ่อแม่อีกต่อไป คาเรน ถ่ายภาพกับคุณหญิงคาเรน กรัยวิเชียร เปรียบเทียบลูกๆ กับต้นไม้ต้นเล็กๆ ถ้ายังอยู่ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๙ ใต้ต้นไม้ใหญ่ก็จะมีแต่อับเฉา ลูกๆ ต้องก้าวไป

38

ชีวิตงามด้วยความดี


สู่โลกกว้างด้วยตนเอง ลูกๆ ควร มองโลกตามทีเ่ ป็นจริงและในแง่ ที่แต่ละคนมีความหวังจะสร้าง อนาคตอันแจ่มใสได้ (AN OPTIMISTIC OUTLOOK ON LIFE ) ลูกๆ สมควรตั้งปณิธานก�ำหนด เป้ า หมายหรื อ หลั ก ชั ย แห่ ง ชีวิตไว้ให้มั่นคงและแน่นอน ว่าจะด�ำเนินชีวิตไปในทางใด พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว พระราชทาน อย่างไร และพร้อมทีจ่ ะเสีย่ งโชค เครือ่ งราชอิสริยาภรณ์ จตุตถจุลจอมเกล้า แก่คณุ หญิง เผชิญภัยด้วยตนเอง เพื่อมุ่งสู่ คาเรน กรัยวิเชียร หลักชัยแห่งชีวิตของตนที่ได้ตั้งปณิธานไว้ เพื่อการนี้ คาเรนเป็นผู้เสนอแนวความคิดให้ผมจัดสรรหลักทรัพย์ให้ลูกๆ ทุก คนอย่างเสมอภาค และให้ในโอกาสแรกที่ท�ำได้ คาเรนพูดเสมอว่า ให้เงินลูก ๑ บาท ขณะที่ลูกๆ พร้อมจะท�ำงานเลี้ยงตนเอง หรือให้ในระยะการก่อร่างสร้างตนนั้นก็ยิ่ง จะมีค่ามากกว่าให้เป็นมรดก ๑๐ บาทในภายหน้า คาเรนกับผมตระหนักดีวา่ ผูค้ นส่วนใหญ่ไม่วา่ จะในประเทศไทยหรือในประเทศ ตะวันตก ต่างก็ไม่อยากจัดสรรหลักทรัพย์ให้ลูกหลานระหว่างที่ตนยังมีชีวิตอยู่ ด้วย เกรงว่าเมือ่ จัดสรรให้ลกู หลานหมดแล้ว ในบัน้ ปลายของชีวติ ตนจะขาดทีพ่ งึ่ ลูกหลาน จะไม่เหลียวแล เพราะเขาได้ทรัพย์สนิ ไปแล้ว ไม่มอี ะไรจะผูกใจหรือล่อใจให้มาเอาอก เอาใจตนในฐานะที่เป็นบิดามารดา หรือญาติผู้ใหญ่อีก เรื่องนี้คาเรนและผมใคร่ครวญแล้วเห็นว่า เราทั้งสองไม่ประสงค์จะพึ่งพาลูกๆ เพราะเขามีครอบครัวของเขาทีจ่ ะต้องดูแลอยูแ่ ล้ว ไม่ควรทีจ่ ะเป็นภาระเพิม่ ให้แก่เขา อีก เราควรพึ่งตนเองจนวาระสุดท้ายตามประสาผัวเมีย อนึง่ ในเรือ่ งแบ่งทรัพย์สนิ และมรดกนี้ ยังมีปญ ั หาทีต่ อ้ งใคร่ครวญอีกข้อหนึง่ คือ ไม่วา่ จะเป็นบุตรชายหรือบุตรสาว แต่ละคนควรมีสทิ ธิในทรัพย์มรดกเท่าเทียม กัน และมีความส�ำนึกในหน้าที่ ที่จะต้องเชิดชูวงศ์ตระกูลด้วยกัน ยิ่งมีเหย้ามีเรือน ไปแล้วก็ควรทะนุถนอมและเชิดชูวงศ์ตระกูลทั้งของตนเองและของคู่สมรสด้วย” ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

39


เคารพในความเชื่อที่แตกต่าง “คาเรนมาจากครอบครั ว ที่ เคร่งครัดในคริสต์ศาสนา นิกาย โปรเตสแตนต์ ผมเองมาจากครอบครัว ชาวพุทธซึง่ ศรัทธาในพระพุทธศาสนา อย่างใจจริง เรื่องศาสนานี้บังเอิญ ผมมีประสบการณ์บางเรื่อง ก่อน ที่จะรู้จักกับคาเรนและสมควรน�ำมา เล่าสู่กันฟัง เพราะประสบการณ์ใน เรือ่ งของศาสนานีเ้ ป็นรากฐานส�ำคัญ ประการหนึ่งของชีวิตสมรสของเรา ก่อนที่ผมจะไปศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ ผมได้รับค�ำแนะน�ำเกี่ยวกับการ ศึกษาในต่างประเทศหลายประการจากคุณพี่บุญ อินทรัมพรรย์ พี่เขยของผม ผม เรียกว่า ‘พี่ช่วย’ มาแต่เด็ก เพราะเดิมชื่อ ‘บุญช่วย’ ท่านเป็นนักเรียนทุนของสมเด็จ พระบรมราชชนก ส�ำเร็จการศึกษาจากสหรัฐอเมริกา ได้รบั ปริญญาตรีทางวิทยาศาสตร์ สาขาประมง จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ และด�ำรงต�ำแหน่งอธิบดีกรมประมง อยูน่ านปี พี่ช่วยให้ผมละเว้นการอภิปรายโต้เถียงเรื่องศาสนาว่าศาสนาใครดีกว่ากัน เพราะ ถกเถียงอย่างไรก็ไม่มีทางจะเอาชนะกันได้ ทั้งจะไม่เกิดประโยชน์อันใดเลย กลับจะ หมางใจกันโดยใช่เหตุด้วย จะน�ำมาถกเถียงกันท�ำไม”

40

ชีวิตงามด้วยความดี


๒๕๒๐ ที่ประเทศญี่ปุ่น

กับคุณหญิงคาเรน คูช่ วี ติ ผูเ้ ป็นก�ำลังใจทีส่ ำ� คัญ

อาจารย์ธานินทร์ได้ยึดถือในค�ำแนะน�ำนี้ แต่ครั้งหนึ่งระหว่างที่เรียนอยู่ที่ THE LONDON SCHOOL OF ECONOMIC (LSE) ของมหาวิทยาลัยลอนดอน เพื่อนๆ ร่วมวิทยาลัยได้ชวนกันไปเที่ยวถิ่นชนบทแห่งหนึ่งที่อยู่ริมทะเล และน�ำหัวข้อเรื่อง ศาสนาที่แตกต่างกันมาถกเถียง ส่วนท่านเลี่ยงไม่เข้าร่วมด้วยเพราะเห็นอย่างที่พี่เขย ว่า ว่า “ไม่เกิดประโยชน์อะไร” และเหตุการณ์ในครั้งนั้นก็ท�ำให้เพื่อนมึนตึงกันจริงๆ เมื่อท่านรู้จักคุณหญิงคาเรนใหม่ๆ จึงเล่าประสบการณ์นี้ให้ฟัง “คาเรนสนใจมากทั้งค�ำเตือนของพี่ช่วย ตลอดจนข้อโต้แย้งระหว่างเพื่อนๆ กับผม คาเรนเองก็มีแนวความคิดท�ำนองเดียวกันกับผมในเรื่องนี้อยู่แล้ว คือ สมควร แสดงคารวะต่อศาสนาอื่นหรือความเชื่อถือศรัทธาของผู้อื่นซึ่งแตกต่างไปจากศาสนา หรือความเชื่อถือของตน มิบังควรที่จะกล่าววิพากษ์วิจารณ์ศาสนาของผู้อื่นด้วย ทัง้ คาเรนและผมยังเห็นต่อไปอีกชัน้ หนึง่ ว่า แม้แต่ในศาสนาเดียวกันแท้ๆ ความ เห็นของผู้นับถือก็ยังแตกต่างกัน ขนาดที่แยกเป็นนิกายใหญ่ นิกายย่อยอีกมากมาย ยิ่งกว่านั้น ในแต่ละนิกายก็ยังมีการโต้เถียงขัดแย้งกันอย่างรุนแรงอีกด้วย ยิ่งเป็นเรื่อง ต่างศาสนากันด้วยแล้ว ก็ยิ่งจะมีข้อแตกต่างและขัดแย้งกันอย่างรุนแรงเป็นทวีคูณ เรือ่ งทีส่ �ำคัญทีส่ ดุ คือ แทนทีจ่ ะเอาศาสนาต่างๆ มาเปรียบเทียบหรือวิพากษ์วจิ ารณ์กนั ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

41


เมือ่ ต่างคนต่างก็มคี วามเชือ่ และศรัทธา ในศาสนาของตนอย่างไร ก็ควรปฏิบตั ิ ตามนั้นอย่างเคร่งครัดในฐานะที่ เป็นที่พึ่งทางใจ เป็นหลักธรรม ประจ�ำใจในการครองชีวิตของ ตนดีที่สุดแล้ว ชี วิ ต แห่ ง การครองเรื อ น ของคาเรนกั บ ผมถื อ แนวนี้ มาโดยตลอด คาเรนไม่ เ คย แตะต้องหรือวิพากษ์วิจารณ์ พุทธศาสนา และผมเองก็ไม่เคยกล่าว อ้างถึงคริสต์ศาสนาในทางทีไ่ ม่ให้ความ คารวะเลย ตรงกันข้าม เรากลับสนับสนุน ซึง่ กันและกัน คาเรนแนะน�ำให้ผมศึกษาพุทธ ศาสนาให้ลึกซึ้ง บางครั้งผมก็อ่านพระคัมภีร์ของ คริสต์ศาสนาและซักถามเรือ่ งต่างๆ ในคริสต์ศาสนาจากคาเรนด้วย ในเรื่องการท�ำประโยชน์แก่ผู้อื่น ต่างก็ไม่รังเกียจเกี่ยงงอนหรือแบ่งแยกว่ามิใช่เป็น เรื่องในศาสนาของตน แต่กลับจะช่วยกันด้วยความเต็มใจ ในการสอนลูกๆ โดยอาศัยศาสนาเป็นมูลฐานนัน้ ทัง้ คาเรนและผมได้ให้ขอ้ ควร คิดในการครองชีวติ ตามหลักคริสต์ศาสนาและพุทธศาสนาทีส่ อดคล้องต้องกันในสาระ ส�ำคัญ นอกจากจะพร�่ำสอนลูกๆ ด้วยตนเองแล้ว คาเรนยังได้ฝากข้อควรคิดตามทาง คริสต์ศาสนา ให้ผมไว้เตือนใจลูกๆ ด้วย เมื่อคาเรนจากไปแล้ว โดยกล่าวไว้เป็นเวลา นานปีก่อนวาระสุดท้ายของชีวิต เช่น ‘เราควรมีเมตตาและเห็นอกเห็นใจทุกคน ไม่มีใครที่มีแต่ส่วนดี ไม่มีส่วนเสีย หรือมีแต่ส่วนเสียไม่มีส่วนดีอยู่เลย เราควรมองผู้อื่นในแง่ดี และยินดีจะให้อภัยใน ข้อบกพร่องของผู้อื่น

42

ชีวิตงามด้วยความดี


‘อย่าคิดว่าให้แล้วจะไม่มีอะไรเหลือ ไม่ว่าจะเป็นเงินทอง

ความรัก หรือความเห็นอกเห็นใจ ยิง่ ให้มากขึน้ เท่าไร ผู้ให้ก็ยิ่งจะได้รับมากขึ้นเท่านั้น’ ”

นอกจากนั้นอาจารย์ธานินทร์ ยังได้สอนเรื่องกฎแห่งกรรมเป็นข้อเตือนใจลูกๆ ไปพร้อมๆ กับข้อเตือนใจของคุณคาเรนอีกด้วยว่า “กฎแห่งกรรม ผูใ้ ดท�ำกรรมอันใดไว้ดหี รือชัว่ ย่อมจะได้รบั ผลแห่งกรรมนัน้ เสมอ ใครท�ำอะไรแก่ใคร ไม่ช้าก็เร็ว ผู้นั้นก็จะได้รับผลกรรมนั้นเองด้วย ท�ำอย่างไรก็จะได้ รับผลอย่างนัน้ ผูท้ จุ ริต ผูฉ้ อ้ ราษฎร์บงั หลวง หรือฉกฉวยทรัพย์สนิ ของผูอ้ นื่ ไป จะไม่ได้ รับผลประโยชน์จากการทุจริตของตนอย่างทีค่ าดหมายไว้ …เหตุการณ์ทงั้ หลายทีเ่ กิดขึน้ ในชีวิตของคนเรานั้นมิใช่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ หรือเป็นเรื่องของอุบัติเหตุ แต่เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นโดยมีเหตุผล มีที่มาและมีที่ไปตามกฎแห่งกรรม” แม้แต่การด�ำรงต�ำแหน่งในฐานะผูพ้ พิ ากษาของท่าน ก็มเี หตุให้เกีย่ วข้องกับเรือ่ ง กฎแห่งกรรม เนือ่ งจากเป็นต�ำแหน่งทีต่ อ้ งตัดสินชีเ้ ป็นชีต้ ายแก่บคุ คลอืน่ ครัง้ หนึง่ ท่าน เล่าว่า เพือ่ นซึง่ เป็นผูช้ ว่ ยผูพ้ พิ ากษารุน่ แรกเหมือนท่าน ได้สอบถามท่านพุทธทาสภิกขุวา่

“หากผูพ้ พิ ากษาตัดสินประหารชีวติ จ�ำเลย จะเป็นบาปหรือไม่”

ท่านตอบว่า ไม่บาป เพราะผู้พิพากษา เป็นแต่เพียงผู้ชี้กรรมเท่านั้น แต่ถ้าผู้พิพากษา ผู้นั้นชี้ผิด ชี้พลาด ชี้ขาด และชี้เกิน ก็เป็นกรรมของผู้พิพากษาผู้นั้นเอง

ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

43


ยอดนักกฎหมายในดวงใจ อาจารย์ธานินทร์ปรารภอยู่เสมอ ว่า ท่านได้กำ� ไรชีวติ จากการ

ปฏิบตั งิ านในวิชาชีพตุลาการ

เพราะมียอดนักกฎหมายสองท่าน

เป็นแบบอย่างและเป็นแรงบันดาลใจ อันสูงส่ง ซึ่งไม่อาจหาได้จากที่อื่น ใดอีกแล้ว “ท่านแรก คือ ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ ผู้เป็นทั้งอาจารย์สอนวิชา กฎหมายของผม และผูบ้ งั คับบัญชาโดยตรงของผมในเวลาต่อมาอีกหลายวาระด้วยกัน ท่านเป็นอาจารย์คนแรกและคนเดียวของผมที่ปลูกฝัง ‘ความคิดเห็นในเชิงกฎหมาย’ หรือ ‘ความมีหัวกฎหมาย’ (THE LEGAL MIND) ให้นักศึกษารุ่นผม ซึ่งถือเป็นเคล็ด ส�ำคัญในการฝึกฝนนักศึกษากฎหมายให้เป็นนักกฎหมายที่ดีต่อไปในอนาคต ท่านชี้ให้พวกเราซึ่งเป็นศิษย์เห็นทางสว่าง เห็นอนาคตอันสดใส และเต็มไป ด้วยความหวังในวิชาชีพกฎหมาย ท่านรบเร้าให้ศิษย์ทุกคนตั้งใจเรียนและด�ำรงตน อยู่ในกรอบของกฎหมายและศีลธรรม ในฐานะผู้บังคับบัญชาอาจารย์สัญญาฯ ก็เป็น เจ้านายที่มีเมตตา มีความเห็นอกเห็นใจ ให้ความเป็นกันเอง และให้เกียรติแก่ผู้อยู่

44

ชีวิตงามด้วยความดี


ใต้บงั คับบัญชาทุกคน ผูอ้ ยูใ่ ต้บงั คับบัญชา คิดเห็นอย่างไรท่านรับฟังเสมอ เปิดโอกาส ให้ช่วยคิด ช่วยแก้ปัญหา และช่วยริเริ่ม บุกเบิกงานใหม่” ส่วนอีกท่านคือ ศาสตราจารย์ พระยาอรรถการียน์ พิ นธ์ ผมท�ำงานอยูใ่ ต้ บังคับบัญชาของท่านเป็นเวลาเกือบ ๕ ปี ในระหว่างที่ท่านด�ำรงต�ำแหน่งรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงยุติธรรม ส่วนผมเป็น หัวหน้ากองการคดี ผมจึงได้มีโอกาส ๒๔๙๗ เมือ่ ส�ำเร็จการศึกษาเนติบณ ั ฑิต ศึกษาและเรียนรู้งานจากท่านเป็นอันมาก ที่ประเทศอังกฤษ ท่านเป็นผู้ที่มีแนวความคิดด้านกฎหมาย เฉียบแหลม มองปัญหากฎหมายและ ขบปัญหานั้นจากมุมที่พวกเรานักกฎหมายด้วยกันคาดไม่ถึง แต่เมื่อได้ฟังทัศนะของ ท่านแล้วก็ต้องยอมรับว่าเหตุผลของท่านมีนำ�้ หนัก แยบคาย ลึกซึ้ง สอดคล้องด้วย หลักกฎหมายและสามัญส�ำนึก ยากที่ผู้ใดจะโต้แย้งหรือท้วงติงได้ สมัยที่ท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมนั้น ท่านได้สร้างผลงานที่มี คุณค่าต่อวิชาชีพตุลาการไว้เป็นอันมาก แม้ว่าท่านจะมิใช่ตุลาการโดยวิชาชีพมาแต่ ดั้งเดิม แต่ท่านก็ตระหนักในความส�ำคัญและความต้องการอันแท้จริงของสถาบันนี้ เป็นอย่างดี ผลงานชิ้นโบแดงที่ท่านวางรากฐานไว้ คือ การให้ฝ่ายตุลาการเป็นอิสระ ปราศจากการแทรกแซงของฝ่ายบริหาร และให้กระทรวงยุติธรรมมีอ�ำนาจหน้าที่ รับผิดชอบ เฉพาะงานด้านธุรการของศาลยุติธรรมเท่านั้น ค�ำสอนของท่านที่ผมจ�ำได้ขึ้นใจจนทุกวันนี้คือ ท่านสอนผมว่า

‘การ เป็นข้าราชการจะต้องบ�ำเพ็ญตนอย่างเสือ คือ จะต้อง องอาจ ให้เป็นทีเ่ กรงขามของเพือ่ นร่วมงานและบุคคลทัว่ ไป ทั้งในด้านความซื่อตรง ความคงแก่เรียน และมีผลงานใน การปฏิบัติหน้าที่ราชการดีเด่นด้วย’ ” ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

45


นายกรัฐมนตรี

ใจซื่อ มือสะอาด อาจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

เข้ารับต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี คนที่ ๑๔ ภายหลังจากที่คณะ

ปฏิรูปการปกครองแผ่นดินโดย การน�ำของ พล.ร.อ.สงัด ชลออยู่ ร.น. ได้ทำ� การรัฐประหารรัฐบาล ของ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เมื่อ วันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ การด�ำเนินงานที่ส�ำคัญในขณะบริหารประเทศ ได้แก่ การสร้างโรงพยาบาล สมเด็จพระยุพราชในท้องถิ่นทุรกันดาร ๒๐ แห่ง เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเนื่องในวโรกาส ทีส่ มเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงอภิเษกสมรส และการจัดให้มโี ครงการอาสาพัฒนา ท้องถิ่นของตนเองในฤดูแล้ง และโครงการอาสาปลูกป่าในฤดูฝน เป็นต้น ในระยะที่บริหารประเทศอยู่นั้น ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ส�ำคัญ หลายครั้ง และต่อมาคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินซึ่งน�ำโดย พล.ร.อ. สงัด ชลออยู่ ร.น. ท�ำการรัฐประหารอีกครั้ง เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๒๐ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร จึงพ้นจากต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี ต่อมาได้มพี ระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ทา่ น ด�ำรงต�ำแหน่งองคมนตรี มาจนถึงปัจจุบัน

46

ชีวิตงามด้วยความดี


คุณสุทิน ปัทมราชวิเชียร ผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์ภาค ๔ เล่าถึง ประสบการณ์ของตนเอง ที่มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับท่านในช่วงที่ด�ำรงต�ำแหน่งนายก รัฐมนตรี ว่า “กระผมก็เป็นหนึ่งในผู้พิพากษา ๕ คน ที่ท่านขอให้ไปช่วยราชการที่ส�ำนัก นายกรัฐมนตรี แม้ท่านจะด�ำรงต�ำแหน่งทางการเมืองแล้ว แต่จิตใจของท่านยังเป็น ผู้พิพากษาเต็มตัว ท่านได้บอกกับพวกกระผมว่า ขอให้มาช่วยท�ำงานเท่านั้น จะไม่มี การปูนบ�ำเหน็จหรือขึ้นเงินเดือนให้เป็นกรณีพิเศษ เหมือนเช่นข้าราชการบางฝ่าย ที่ไปช่วยงานการเมืองแล้วมักจะได้ขึ้น ๒ ขั้นบ่อยๆ ท่านให้เหตุผลว่า ไม่ต้องการให้ พวกกระผมต้องล�ำบากใจ เมื่อกลับไปรับราชการที่หน่วยงานเดิม ซึ่งความจริงก็เป็น ดังที่ท่านพูด เพราะขนาดไม่ได้ขึ้นเงินเดือนเป็นกรณีพิเศษ ยังถูกเพื่อนบางคนที่ศาล พูดหยอกเล่น เรียกพวกกระผมว่าพวกเด็กเส้น หลังจากท่านอาจารย์พ้นจากต�ำแหน่งทางการเมืองแล้ว ท่านอาจารย์ได้ กลับมาช่วยงานตุลาการอีกครั้งหนึ่ง โดยได้รับเลือกเป็นกรรมการตุลาการฝ่าย ข้าราชการบ�ำนาญด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นหลายสมัย และท่านอาจารย์ยงั เขียนต�ำรา ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

47


48

ชีวิตงามด้วยความดี


เกี่ยวกับกฎหมาย อาทิ ค�ำอธิบายประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความแพ่ง และ การชี้สองสถาน เป็นต้น โดยยกลิขสิทธิ์ในการจัดพิมพ์ให้แก่สหกรณ์ออมทรัพย์ กระทรวงยุติธรรม จ�ำกัด แต่แทนที่ท่านจะขอแบ่งหนังสือส�ำหรับผู้แต่งไว้สัก จ�ำนวนหนึ่งจากสหกรณ์ฯ เพื่อแจกจ่ายให้แก่เพื่อนๆ และลูกศิษย์ ท่านกลับสั่งจ่าย เช็คให้แก่สหกรณ์ และมอบให้กระผมน�ำไปซื้อหนังสือจากสหกรณ์มาแจกจ่ายให้แก่ เพื่อนๆและลูกศิษย์ ซึ่งเป็นแบบอย่างของผู้ให้ที่หาได้ยาก” นอกจากนั้นในช่วงด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี ท่านมักออกตรวจราชการ ยังต่างจังหวัดอยูเ่ สมอ โดยไม่ยอ่ ท้อต่อความยากล�ำบากใดๆ เช่น การออกตรวจราชการ ชายแดนไทยโดยทางเรือในล�ำน�้ำโขง นอกจากนั้นยังมีนโยบายให้คณะรัฐมนตรีออก เยี่ยมชาวบ้านตามต่างจังหวัดอีกด้วย ถึงแม้วา่ อาจารย์ธานินทร์จะด�ำรงต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรีในช่วงระยะเวลา ทีส่ นั้ แต่กเ็ ป็นช่วงเวลาทีท่ า่ นได้ทำ� งานเพือ่ ประเทศชาติอย่างสุดก�ำลังความสามารถ ด้วยความซือ่ สัตย์ สุจริต และมีความกล้าหาญทางจริยธรรมอย่างยิง่ ยวด ยากทีจ่ ะ หาบุคคลใดเสมอเหมือน ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

49


ภารกิจอันทรงเกียรติ ในฐานะองคมนตรี หลังพ้นจากต�ำแหน่งนายก รัฐมนตรี ชีวติ ของอาจารย์

ธานินทร์กถ็ งึ คราวพลิกผัน อีกครัง้ หนึง่ และเป็นครัง้ ทีเ่ ป็น มงคลสูงสุดในชีวิตก็ว่าได้

“เมื่อผมพ้นจากต�ำแหน่งนายกรัฐมนตรี ช่วงนั้นก็ยังลังเลอยู่เหมือนกันว่าจะ ท�ำอย่างไรต่อไป คิดว่าจะตั้งส�ำนักงานทนายความ แต่แล้วก็ได้รับทราบข่าวอันเป็น มงคลสูงสุดของชีวิตผมและวงศ์ตระกูล คือ ผมได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๒๐ จนวันนี้ก็เป็นเวลาเกือบ ๓๔ ปีแล้ว ภารกิจหลักขององคมนตรี คือ ถวายความเห็นต่อพระมหากษัตริย์ในพระ ราชกรณียกิจทั้งปวงที่ทรงปรึกษาและกลั่นกรองพระราชกรณียกิจต่างๆ ในเบื้องต้น เพื่อประกอบพระบรมราชวินิจฉัย ซึ่งจะมีทั้งงานของคณะองคมนตรีทั้งคณะและ งานขององคมนตรี โดยองคมนตรีนายหนึ่งอาจได้รับพระราชกระแสรับสั่งให้ปฏิบัติ หน้าที่แทนพระองค์หรือแทนพระบรมวงศานุวงศ์ในงานต่างๆ หรือให้ดูแลโครงการ

50

ชีวิตงามด้วยความดี


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้ฉายพระบรมรูปร่วมกับ องคมนตรีในโอกาสเสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเปิดอาคารท�ำเนียบองคมนตรี เมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๔๗

คณะองคมนตรี และภริยา วันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๒

หลวงหรือโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ เป็นโครงการๆ ไป ตามแต่จะทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ เพื่อเป็นการแบ่งเบาพระราชกรณียกิจ ส�ำหรับงานในต�ำแหน่งองคมนตรีฝ่ายกฎหมายนั้น มีเรื่องส�ำคัญ ๒ เรื่อง เรื่อง แรก คือร่างกฎหมายทั้งปวงที่นายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อขอพระราชทาน ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

51


พระมหากรุณาทรงพระปรมาภิไธย คณะองคมนตรีต้องตรวจดูความถูกต้องใน ทุกด้านก่อน และอาจถวายความเห็น หรือข้อสังเกตประกอบร่างกฎหมายบางฉบับด้วย อีกเรื่องคือ การทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษของนักโทษเด็ดขาด ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมทูลเกล้าฯ ถวายความเห็นขึ้นมาตามกฎหมายว่า ควรพระราชทานอภัยโทษหรือไม่ เพียงใด องคมนตรีฝา่ ยกฎหมายจะพิจารณาส�ำนวน เพือ่ ท�ำความเห็นอีกชัน้ หนึง่ ซึง่ อาจจะเห็นพ้องด้วยหรือแตกต่างไปจากความเห็นของ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมก็เป็นได้ นอกจากงานด้านกฎหมายแล้ว ผมก็ได้รบั มอบหมายให้ดแู ลโครงการศิลปาชีพ ที่ศูนย์ศิลปาชีพ บางไทรฯ ในฐานะเป็นรองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศูนย์ ศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เป็นที่ปรึกษาพิเศษของสมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ เป็นประธานกรรมการมูลนิธโิ รงพยาบาล สมเด็จพระยุพราชในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และเป็น ประธานกรรมการมูลนิธิศูนย์พัฒนาและฝึกอบรมคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิก ใน พระอุปถัมภ์ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผมรูส้ กึ ปลืม้ ปิตทิ ไี่ ด้มโี อกาสรับใช้เบือ้ งพระยุคลบาทมาช้านาน เพราะมีโอกาส ให้ตระหนักในพระอัจฉริยภาพของพระองค์ในด้านต่างๆ ไม่วา่ จะเป็นด้านกฎหมาย การปกครอง การพัฒนา การเกษตร ศิลปวัฒนธรรม ดนตรี การกีฬา และภาษา ไทย ท�ำให้ผมได้ประสบการณ์ความรู้และแนวคิดเพิ่มเติม ทั้งยังได้ยึดถือพระองค์ เป็นแบบอย่างและเป็นแรงบันดาลใจ ในการปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ของตนเอง ให้ดียิ่งขึ้นไป โอกาสประเสริฐสุดอย่างนี้ ไม่อาจหาได้จากที่อื่นใดอีกแล้ว”

52

ชีวิตงามด้วยความดี


ต้นต�ำรับ ต�ำรากฎหมาย ในระหว่างรับราชการอยู่ที่ กระทรวงยุตธิ รรม อาจารย์ธานินทร์ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นบรรณาธิการ นิตยสารที่ได้รับความเชื่อถือด้าน วิชากฎหมายของไทย 2 ฉบับ คือ “ดุลพาห” ของกระทรวงยุตธิ รรม และ “บทบัณฑิตย์” ของเนติ บัณฑิตยสภา เนื่องด้วยอาจารย์ธานินทร์ มีความสนใจในกฎหมายหลายสาขา โดยเฉพาะ เรื่องการใช้ภาษากฎหมายไทย ท่านจึงได้ค้นคว้าเรียบเรียงหนังสือและบทความ เกี่ยวกับกฎหมาย ตีพิมพ์เผยแพร่มากมาย ที่ได้รับการยกย่องมากที่สุดได้แก่หนังสือ “ภาษากฎหมายไทย” ซึ่งได้ รับรางวัลประเภทสารคดีดีเด่น ประจ�ำ ปี ๒๕๑๑ จากองค์การสนธิสญ ั ญาป้องกัน ร่วมกันแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) ในปัจจุบันมีสถาบันที่สอนและ ฝึกอบรมวิชานิติศาสตร์เป็นจ�ำนวนมาก น�ำหนังสือเล่มนี้ไปใช้เป็นต�ำราส�ำหรับ ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

53


หลักสูตรของสถาบัน หนังสือเล่มนี้ ยังได้รับการยกย่องจากโครงการ วิจัยคัดเลือกและแนะน�ำหนังสือดี ที่คนไทยควรอ่านด้วย ต่อมาปี ๒๕๓๑ ท่านได้ รับพระราชทานรางวัลพระเกี้ยว ทองค�ำในฐานะผูส้ นับสนุนภาษาไทย ดีเด่นจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากนั้น เมื่อปี ๒๕๕๒ ท่านก็ได้ รับรางวัลนราธิปเชิดชูเกียรติในฐานะ ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวรรณกรรม จากสมาคม นักเขียนแห่งประเทศไทย ลักษณะเด่นในงานนิพนธ์ของอาจารย์ธานินทร์ ทีเ่ ห็นได้ชดั นอกจากงานเขียน ทุกชิ้นของท่านจะมีเนื้อหาลึกซึ้ง มีการใช้ส�ำนวนภาษาทางนิติศาสตร์ ภาษาไทย และ ภาษาต่างประเทศประณีต กระจ่างชัด มีการใช้เครือ่ งหมายวรรคตอนทีถ่ กู ต้องชัดเจน และวิธกี ารอธิบายทีเ่ ข้าใจง่าย และชวนอ่านแล้ว งานนิพนธ์ทกุ เรือ่ งของท่านได้ปรากฏ คุณธรรมทางวิชาการอยูใ่ นมาตรฐานสูง และควรน�ำมาเป็นแบบอย่างส�ำหรับผูร้ กั งาน นิพนธ์และบุคคลทัว่ ไป กล่าวคือ งานของท่านได้ให้เกียรติอา้ งอิงงานนิพนธ์ของบุคคล อื่น แม้ว่าบุคคลนั้นจะมีคุณวุฒิและวัยวุฒิน้อยกว่าท่านก็ตาม เหนือสิ่งอื่นใด อาจารย์ธานินทร์ นับเป็นบุคคลที่มีจิตใจสูง ในการเผยแพร่งาน นิพนธ์ ดังจะเห็นได้จากการอนุญาตให้หลายส�ำนักพิมพ์ ตีพมิ พ์งานนิพนธ์ของท่านโดย มอบลิขสิทธิ์ในงานนิพนธ์ดังกล่าวให้แก่สำ� นักพิมพ์ ผู้จัดพิมพ์โดยไม่คิดมูลค่า ด้วย เหตุผลว่า

“เพื่อให้ส�ำนักพิมพ์จัดพิมพ์หนังสือออกจ�ำหน่าย ได้ในราคาถูก ส�ำหรับนิสิตนักศึกษาและผู้สนใจโดยทั่วไป” การเป็นผู้มีจิตใจสูง มอบค่าลิขสิทธิ์เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมดังกล่าวนี้ ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่หาได้ยากยิ่งในปัจจุบัน

54

ชีวิตงามด้วยความดี


ด้วยจิตคารวะ “คุรุเมธี” ธานินทร์ กรัยวิเชียร

อาจารย์ธานินทร์ เป็นครูกฎหมายที่สอน ให้บรรดาศิษยานุศิษย์ได้รู้จักกระบวนวิธี

การคิด การเขียน

และการใช้ กฎหมายอย่างเป็นระบบ เน้นย�ำ้ ให้มั่นคง ในการถือเอาศีลธรรมและจริยธรรม เป็นรากฐานของกฎหมาย มีความ ชอบธรรมเป็นหลักตัง้ ทัง้ ในการบัญญัติ กฎหมาย การบังคับใช้กฎหมาย และการ ตีความกฎหมาย โดยมุง่ ไปทีป่ ระโยชน์ของ ประเทศชาติ และประชาชนเป็นหลัก

ลูกศิษย์ลูกหาของท่าน ได้เจริญเติบโตในหน้าที่การงานมากมาย และแต่ละ ท่านก็ได้จดจ�ำเรียนรู้แบบอย่างที่ดีงามของท่านไปประพฤติปฏิบัติ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) วิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปราม การทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวว่า “ผมเริม่ รูจ้ กั ท่าน เมือ่ ปี ๒๕๑๐ ในฐานะศิษย์กบั อาจารย์ในวิชาสัมมนากฎหมาย วิธพี จิ ารณาความแพ่ง ณ แผนกวิชานิตศิ าสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะนั้นท่านเป็นผู้พิพากษาผู้มีอนาคตไกลของศาลยุติธรรม ถึงขนาดที่มีผู้ท�ำนายว่า ในอนาคตท่านต้องได้เป็นประธานศาลฎีกาอย่างแน่นอน ปี ๒๕๑๑ หลังจากจบนิติศาสตรบัณฑิต ระหว่างเรียนเนติบัณฑิต ท่านได้ให้ คนมาเชิญไปพบเพื่อสอบถามความสมัครใจว่า ยินดีและเต็มใจไปช่วยงานท่านใน ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

55


รับพระราชทานปริญญานิตศิ าสตร์ดษุ ฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักด์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๔

ด้านการค้นคว้าทางวิชาการกฎหมายหรือไม่ ผมตอบตกลงทันทีโดยไม่ลงั เล งานทีท่ า่ น ให้ชว่ ยท�ำ คือการค้นคว้าหาข้อมูลจากต�ำราและค�ำพิพากษาศาลฎีกาประกอบการเขียน ต�ำราของท่าน เริม่ ตัง้ แต่ ‘ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาความแพ่ง’ ต่อมาก็คอื หนังสือ ‘การตีความกฎหมาย’ ซึ่งเป็นหนังสือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของผม “ตลอดชีวิตที่ผมรับราชการในฐานะตุลาการศาลยุติธรรม และต่อมาได้ ด�ำรงต�ำแหน่งส�ำคัญ คือ กรรมการตุลาการศาลยุติธรรม ครั้นเมื่อพ้นจากความเป็น ตุลาการแล้ว ผมต้องรับหน้าที่ ‘กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ผมยึดถือท่านเป็นแบบอย่างในการด�ำรงชีวิตและมั่นคงในหลักจริยธรรม (INTERGRITY) ไม่ว่าสถานการณ์จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ท่านคือครูผู้บ่มเพาะ ศิษย์ให้เติบใหญ่ในหลักวิชาความรู้ และแข็งแกร่งพอที่จะยืนหยัดต่อสู้กับ สิง่ เลวร้ายได้โดยไม่หวัน่ เกรง ท่านคือ ครูผเู้ ป็นแบบอย่าง (role model) และเป็น ครูผู้สร้าง (creator) อย่างแท้จริง”

56

ชีวิตงามด้วยความดี


ส่วนศาสตราจารย์ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ ราชบัณฑิต และเลขาธิการสถาบัน พระปกเกล้า กล่าวว่า

“ผมโชคดีที่ได้เป็นศิษย์ของศาสตราจารย์ ธานินทร์ กรัยวิเชียร นับเป็นโชค ๓ ชั้น ชั้นที่ ๑ ผมได้

ศึกษาต�ำรับต�ำราที่ท่านเขียนตั้งแต่หนังสือ ค�ำแนะน�ำนักกฎหมาย เมื่อเริ่มเข้าเรียน ที่จุฬาฯ ใหม่ๆ ในปี ๒๕๑๕ และได้อ่านหนังสือที่ท่านเขียนหลายเล่ม อาทิ ภาษา กฎหมายไทย การตีความกฎหมาย ชั้นที่ ๒ ผมได้รับความกรุณาจากท่านให้ผมไป ช่วยท่านปรับปรุงหนังสือเรือ่ งระบอบประชาธิปไตย และให้ชว่ ยค้นคว้าเรือ่ งพระมหา กษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย การท�ำงานในฐานะผู้ช่วยท่านอาจารย์ในครั้งนี้ ผมได้เรียนรู้วิธีเขียนหนังสืออย่างแท้จริง ทั้งยังได้เห็นความเป็น ‘ประชาธิปไตย’ที่ ท่านมี กล่าวคือ เปิดโอกาสให้ผมแสดงความไม่เห็นด้วยกับเรื่องบางเรื่องอย่างตรงไป ตรงมา ทั้งๆที่ท่านอาจารย์เป็นอาจารย์ผู้ใหญ่ แต่ผมยังเป็นเด็กอยู่มาก ชั้นที่ ๓ ผมได้ ศึกษาจรรยา และวัตรปฏิบตั ขิ องท่านมาโดยตลอดพบว่า ท่านเป็นผูซ้ อื่ สัตย์ สมถะและ ถ่อมตัว ควรเป็นแบบอย่างทีอ่ นุชนรุน่ หลังพึงเจริญรอยตาม ความซือ่ สัตย์ของท่านนัน้ ผมได้ประสบมาด้วยตนเองหลายครั้งหลายเรื่อง” ด้านศาสตราจารย์วิษณุ เครืองาม ลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดอีกคนของท่านเล่าว่า “ท่านอาจารย์ธานินทร์สะท้อนความเป็นครูในอุดมคติได้เป็นอย่างดี ท่านเข้า สอนตรงเวลา ยืนบรรยาย เขียนกระดาน ใช้เวลา ๕-๑๐ นาทีแรก ทบทวน ‘ความ เดิมของตอนที่ล่วงมา’ เพื่อรอคนที่เข้าห้องสาย และเติมเต็มให้นักศึกษาที่จดไม่ทัน จากคราวก่อน ที่เป็นประโยชน์นักหนาคือ คนที่นานๆ จะมาเรียนสักครั้ง พลอยต่อ ติดว่า ‘เมื่อชาติก่อนเขาเรียนกันไปถึงไหน’ ท่านอาจารย์จะบรรยายด้วยน�ำ้ เสียงกังวาน เสียงดังฟังชัด ใช้ภาษาไทยอย่าง ไพเราะสละสลวย เช่น ‘กลับกันฉันใดก็ฉนั นัน้ ’ ‘ข้อทีน่ า่ ใคร่ครวญให้หนักจึงมีวา่ …’ ‘แม้จะไม่รู้แต่ก็ควรตระหนัก’ ‘เพราะเหตุดังว่ามานี้’ ผมฟังจนชินและพลอยติดมา จนบัดนี้ ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

57


รับพระราชทานปริญญานิตศิ าสตร์ดษุ ฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรามค�ำแหง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๔

ทุกครั้งที่สอน ท่านจะเริ่มด้วยการอธิบายตัวบท แล้วตามด้วยความเห็นของ ศาลฎีกา ความเห็นของบูรพาจารย์ วิธีปฏิบัติ และความเห็นของท่านเองเสมอ ซึ่งผม ถือว่าเป็นแบบอย่างการสอนกฎหมายชัน้ ครู สิง่ ทีจ่ ะแทรกไปด้วยโดยนักศึกษาไม่รตู้ วั คือ คุณธรรม จริยธรรม และความเป็นธรรม คราวหนึ่งท่านคณบดี คืออาจารย์สัญญา ธรรมศักดิไ์ ปยืนฟังอยูข่ า้ งห้อง ท่านพึมพ�ำให้พวกเราฟังว่า ‘อาจารย์ธานินทร์เทศน์โดย ไม่ต้องยกบาลี’ งานอดิเรกที่ท่านถนัดและเป็นที่เลื่องลืออีกอย่าง คือ การเป็นโหราพยากรณ์ ผูกดวงและดูลายมือแบบสากล คุณหญิงของท่านก็เป็นโหรทีช่ �ำนาญมาก ถ้าช่วยกันดู ทัง้ คูเ่ ป็นอันว่าชัดเจนแจ่มแจ้งดังแสงตะวัน (ส�ำนวนนีท้ า่ นเคยใช้) ก่อนผมไปนอก ท่าน และคุณหญิงเคยผูกดวง ดูลายมือ และท�ำนายผมว่า ชีวติ จะต้องเป็นครู เป็นข้าราชการ แต่ต้องไปเกี่ยวข้องกับการเมือง ผมหัวเราะตอบไปว่า คงผิดแล้วล่ะครับ เพราะผม ไม่สนใจการเมืองและเห็นจะไม่เกี่ยวข้องหนองยุ่งด้วย ท่านยืนยันหนักแน่นว่า

58

ชีวิตงามด้วยความดี


มันเกยๆ กัน เหมือนทรายกับทะเล ประเดี๋ยวน�้ำขึ้น ทะเลก็ซัดหาดจนทรายหายไป ประเดี๋ยวน�้ำลง หาดก็โผล่ยาวสุดสายตา กลับกันฉันใดก็ฉันนั้น! ผมมารูส้ กึ ว่าค�ำท�ำนายนีเ้ ป็นจริง ก็เมือ่ หลังจากนัน้ ๒๐ ปี ผมได้เป็นเลขาธิการ คณะรัฐมนตรี ซึง่ เป็นต�ำแหน่งข้าราชการประจ�ำ แต่เพราะต้องท�ำงานกับนายกรัฐมนตรี ถึง ๔ คน ๕ สมัย รวม ๙ ปี จึงหลีกไม่ได้ที่จะต้องช่วยงานการเมืองตามหน้าที่บ้าง ที่นี้ละมันเกยๆ กันจริงๆ เพราะเหตุดังที่ว่ามานี้” นอกจากนี้ อาจารย์วิษณุยังเล่าว่า ในราวปี ๒๕๑๕ อาจารย์ธานินทร์ปรารถนา ว่าควรตั้งโรงพยาบาลขนาดไม่ใหญ่นักให้ทั่วประเทศ เพื่อคนชนบทจะได้มีการรักษา พยาบาลที่ทั่วถึงอีกด้วย “ความคิดนี้มาสัมฤทธิ์ผลเมื่อท่านเป็นนายกรัฐมนตรีและระดมทุนสร้าง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช น้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ส�ำเร็จหลายแห่ง” ด้วยคุณงามความดีของท่านที่กล่าวมานี้ ท�ำให้อาจารย์ธานินทร์เป็นที่รัก เคารพ และเทิดทูนของศิษย์เสมอมา และนอกจากจะถือท่านเป็นแบบอย่างแล้ว ยังได้ปฏิบัติตามค�ำสอนของท่าน เพื่อน�ำพาบ้านเมืองไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองและ สงบร่วมเย็นอีกด้วย

ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

59


ประวัติชีวิตและผลงาน

ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร ประวัติ

ศาสตราจารย์ ธานินทร์ กรัยวิเชียร เกิดที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรของ นาย แห กับนางผอบ กรัยวิเชียร สมรสกับคุณหญิงคาเรน (แอนเดอร์เซน) กรัยวิเชียร มี บุตร ๕ คนคือ นางรูบีนา สุวรรณพงษ์ นายมหินทร์ กรัยวิเชียร นายเขมทัต กรัย วิเชียร นายนิติกร กรัยวิเชียร และ ทันตแพทย์หญิง ดร.รีเบ้กก้า พิทซ์

การศึกษา

• โรงเรียนศรีสวัสดิ์ศึกษา • โรงเรียนมัธยมวัดสระเกศ • โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย • มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง • พ.ศ. ๒๔๙๒ ศึกษาวิชากฎหมายต่อที่วิทยาลัย London School of Economics and Political Science ณ มหาวิทยาลัยลอนดอน สหราช อาณาจักร และได้รบั ปริญญาตรีเป็นนิตศิ าสตร์บณ ั ฑิต ในฐานะเป็นนักศึกษา ภายใน เมื่อปี ๒๔๙๖ • พ.ศ. ๒๔๙๗ ส�ำเร็จการศึกษาเป็นเนติบณ ั ฑิตอังกฤษ จาก ส�ำนักอบรมศึกษา กฎหมาย เกรย์ส อินน์ ประเทศอังกฤษ

ประวัติการท�ำงาน

60

• ข้าราชการประจ�ำแผนกบัญชี ส�ำนักงานเลขานุการกรมเกษตร กระทรวงเกษตร ปี ๒๔๙๑ • ผู้ช่วยผู้พิพากษา ชีวิตงามด้วยความดี


• ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดเชียงใหม่ • ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา • ศาสตราจารย์สอนวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ส�ำนักอบรมศึกษากฎหมายของเนติบัณฑิตยสภา • นายกรัฐมนตรี คนที่ ๑๔ ของไทย (๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ - ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๐) • องคมนตรี (ตั้งแต่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ จนถึงปัจจุบัน) • กรรมการตุลาการ (พ.ศ. ๒๕๒๐ – ๒๕๒๘) • กรรมการร่างกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกา • ประธานกรรมการปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง • รองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ • รองประธานกรรมการมูลนิธิจุฬาภรณ์ • รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ • ประธานกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช • กรรมการบริหารมูลนิธิอานันทมหิดล • กรรมการบริหารสภากาชาดไทย • กรรมการบริหารศิริราชมูลนิธิ

ตัวอย่างผลงานนิพนธ์

• ภาษากฎหมายไทย • การตีความกฎหมาย (ร่วมกับศาสตราจารย์วิชา มหาคุณ) • ค�ำแนะน�ำนักศึกษากฎหมาย (ร่วมกับนายอภิชน จันทรเสน) • ค�ำอธิบายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง • ศาลกับพยานบุคคล

ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

61


• พระมหากษัตริย์ไทยในระบอบประชาธิปไตย • ครูกับทางอยู่รอดของสังคม • ศาสนากับความมั่นคงของชาติ • ลัทธิและวิธีการของคอมมิวนิสต์ • His Majesty King Bhumibol Adulyadej : Compassionate Monarch of Thailand • The Music of His Majesty King Bhumibol • The Good Lawyer • The Art of Law ฯลฯ

เกียรติคุณ

• ได้รบั พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตัง้ ให้เป็นศาสตราจารย์พเิ ศษ คณะ พานิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เมื่อปี ๒๕๑๕ • ได้รบั พระราชทานปริญญานิตศิ าสตร์ดษุ ฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย เมื่อปี ๒๕๒๔ • ได้รบั พระราชทานปริญญานิตศิ าสตร์ดษุ ฎีบณ ั ฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัย รามค�ำแหง เมื่อปี ๒๕๕๔ • เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ปี ๒๕๒๐ มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.) ปี ๒๕๒๑ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) ปี ๒๕๒๒ เหรียญรัตนาภรณ์ ชั้นที่ ๒ (ภ.ป.ร.) ปี ๒๕๒๓ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) ปี ๒๕๓๗ ปฐมจุลจอมเกล้า (ป.จ.)

62

ชีวิตงามด้วยความดี


โครงการจัดท�ำหนังสือองค์ความรู้ชุดบุคคลคุณธรรม ผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม

“ชีวิตงามด้วยความดี”

ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

“๘๔ ปี คุรุเมธี ธานินทร์ กรัยวิเชียร” ส�ำนักงานศาลยุติธรรม “เรื่องของพลทหารธานินทร์” ส�ำนักงานศาลยุติธรรม

นางสาวนราทิพย์ พุ่มทรัพย์ นายสมพงษ์ ฟังเจริญจิตต์ นายแก้ว วิฑูรย์เธียร

แหล่งข้อมูล ที่ปรึกษา

คณะท�ำงาน

นางวิไลวรรณ ถึกไทย นายประมวล บุญมา นายพิพัฒน์ เพชรจิโรจน์ นางสาวพัลลภา ฉัตรทอง นางสาวกิธิญา สุขประเสริฐ นางอนุสรณ์ ปัทมะสังข์

ผู้เรียบเรียง

นางสาวนันทนัตถ์ จิตต์ประภัสสร นางอารีณะ วีระวัฒน์ นางสาวเสาวลักษณ์ ศรีสุวรรณ

นางสาวอาภาพรรณ จันทนฤกษ์ นางสาววราภรณ์ หิรัญตีรพล

นายชนาธิป นันทชัยบัญชา

ผู้อำ� นวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนา พลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม

หัวหน้าฝ่ายวิจัยและจัดการความรู้ นักจัดการความรู้อาวุโส นักจัดการความรู้อาวุโส นักจัดการความรู้อาวุโส นักจัดการความรู้ เจ้าหน้าที่ฝ่ายวิจัยและจัดการความรู้

ศิลปกรรม ช่างภาพ

ศาสตราจารย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร

63


ผู้สนใจสืบค้นหนังสือชุดบุคคลคุณธรรม ติดต่อได้ที่ ศูนย์คุณธรรม หรือดาวน์โหลดได้ที่ www.moralcenter.or.th และ dl.moralcenter.or.th

64

ชีวิตงามด้วยความดี


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.