จุลสารมรสุมวรรณกรรม ลำดับที่ 2 - ความตายของนักเขียน

Page 1


จุลสารมรสุมวรรณกรรม* ลําดับที่ 2 # ความตายของนักเขียน กองบรรณาธิการ : ชัชชล อัจนากิตติ ตนัดดา โพธิพัฒน์พงศ์ ภาคิน นิมมานนรวงศ์ อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ ศิลปกรรมและรูปเล่ม : สุทธิดา มนทิรารักษ์ ภาพถ่าย : ณัฐพล สวัสดี ภาพปก : ณัฐพล สวัสดี

*มรสุมวรรณกรรม คือ คนกลุ่มเล็ก ๆ ที่โดยสารชะตากรรมของตัวละครในนิยายสักตัวที่เขา และเธอหลงใหล เทียวท่องมหาสมุทรมิคํานึงใกล้ไกล เพื่อท้ายที่สุดยืนยันแก่กันและกันว่าท้อง ทะเลมิอาจขับไสคลืน่ ลมแม้มรสุมกําลังจะมา... ร่วมพูดคุยและส่งผลงาน : morrasum_group@hotmail.com


มรสุมสือ่ สาร

แล้ ว มรสุ ม ลู ก ที่ ส องก็ บั ง เกิ ด หลั ง จากลู ก แรกได้ โ ถมเข้ า ฝั่ ง วรรณกรรม น่ า ดี ใ จ ที่การซัดเข้าฝั่งครั้งแรก ไม่ได้แผ่วหายไปทีเดียว

มีผู้คนพากันตื่นเต้นตอบรับกันอย่างคึกคัก

พอควร มรสุ ม ลูก สองมาแล้ว แม้ จัก ช้า ไปนิ ดจากกํ า หนดการซัดฝั่ ง เดิม หากทดแทนด้ว ย การอัดแน่นพลังมากขึ้น มรสุมลูกสองหอบสารที่มากขึ้น แน่นขึ้น เข้มข้นขึ้น เพื่อสื่อกับท่าน ผู้อ่านอย่างหนักหน่วงกว่าเดิม ฉะนั้น ขอท่านจงระวังมรสุมลูกนี้ให้ดีเถิด ตอกย้ํากันอีกครั้งหนึ่งว่า จุลสารมรสุม วรรณกรรม เกิดขึ้นด้วยประสงค์ให้มีสื่อทาง วรรณกรรมเกิดขึ้นบ้าง ในปัจจุบันขณะที่วรรณกรรมมีกระแสเลือนรางยิ่งนัก โดยเฉพาะในสังคม นิสิตนักศึกษา เราปรารถนาเห็นคนหันมาหลงใหลการอ่านวรรณกรรม เราเชื่อในพลานุภาพ แห่งอํานาจวรรณกรรมว่ายังคงมีบทบาทต่อทุกยุคสมั ยเสมอมา ด้วยเหตุนี้ มรสุมวรรณกรรม จึงพยายามยืนหยัดเคียงคู่ท่านผู้อ่าน ขอแค่วรรณกรรมจะมีอยู่ในลมหายใจผู้อ่านและผู้สนใจ บ้าง เพียงเท่านี้ การเกิดขึ้นของมรสุมแต่ละลูกก็คงไม่เปล่าดาย อย่าลืมเรามีนั ดกั นที่นี่ สํา หรับผู้ใคร่จะส่ ง ต้น ฉบับทุกรูปแบบมาให้ทางเราพิ จารณา จุลสารมรสุมวรรณกรรม เปิดรับงานเขียนของท่านแล้วนับแต่บัดนี้ คัดสรรเรื่องที่ท่านปรารถนา นําเสนอ แล้วส่งมายังเราได้ที่ morrasum_group@hotmail.com เรายังรอต้นฉบับของท่านทั้งหลายอยู่ด้วยมิตรภาพ....


เรือ่ งสัน้ คลาสสิค เดีย่ วนกขมิน้ (สันต์ เทวรักษ์) แม้จะเป็นในยามที่แล้งฝนเช่นนี้ ก็มวิ ายมีสายลมอ่อนๆพัดมามิหย่อนหยุด กัลปพฤกษ์ชูดอกสี ชมพูอ่อนสล้างไปทัง้ ต้น แต่คงไม่มากไปกว่าหางนกยูงต้นเล็กนัน่ ใบไม้สีมะนาวสุกร่วงหลุด ออกจากกิง่ หมุนเป็นเกลียวลอยคว้างลงสู่เบื้องต่ําเหมือนชีวิต เหมือนความรัก เหมือนทุกสิง่ ที่ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน เวลาเย็น... ตะวันจวนจะลับ เหลือแต่แสงสีชมพูแก่ฉาบอยู่กบั แผ่นฟูา นอกจากจักจั่นเรไรเริ่ม จะส่งเสียงใส นอกจากลําไผ่เสียดสีกนั วิเวกวังเวงเป็นระยะ นอกจากสายลมพัดลอดไปตามกิ่ง ไม้น้อยใหญ่ดงหวิวๆ แหบโหยครวญครางแล้ว ดูเหมือนจะไม่มีเสียงอื่นใดอีก ดูซ.ิ .. ทําไมจะไม่มี เสียงนั้นลอยร่อนมาในอากาศเคล้าด้วยกลิน่ หอมของดอกไม้ แจ่มใส เหมือนกระดิง่ เงิน เย็นยะเยือกเหมือนน้าํ ค้าง อ่อนโยนเหมือนลมในยามนี้ แน่เทียว...มันต้อง เป็นเสียงผิวปากของชาวเยิงตนใดตนหนึ่ง นั่นเป็นไร... เขาอยู่บนกิ่งกัลปพฤกษ์ หรูหราอยู่ในเครื่องแต่งกายสีเหลืองแก่ขลิบชายดําเป็น มันขลับ โยนตัวไปมาช้าๆ แล้วพองคอร้องด้วยเสียงใส เป็นทํานองโอ้โลม ชะอ้อน วิงวอน น้ําเสียงนั้นอ่อนช้อยอย่างน่าสงสาร ชวนให้คดิ ชวนให้เอ็นดูและรัก


ทันใดนั้น มีเสียงผิวปากอีกเสียงหนึ่งแว่วมาทางปุาไผ่ ใกล้เข้ามา ใกล้เข้ามาทุกขณะ ชาวเยิง อีกตนหนึ่งพริ้งอยู่ในเครื่องแต่งตัวชนิดและสีเดียวกับตนแรก ร่ําร้องมาอย่างร่าเริง เป็นเสียง แจ่ ม ใสและออดชะอ้ อ น ไม่ น้ อ ยไปกว่ า พ่ อ เพื่ อ นร่ ว มดง มั น โอดครวญเสี ย เหลื อ แล้ ว อ่อนหวานก็ปานนั้น ชาวเยิงตนแรกหยุดผิวปากชั่วขณะหนึ่ง หลิ่วตามองดูคู่แข่งขันด้วยความเอาใจใส่ แล้วก็เริ่มทํา บทเพลงต่อไป เสียงทั้งสองดังเสนาะอยู่บนกิ่งกัลปพฤกษ์ ท่ามกลางเสียงโห่แห่งสายลม และ เสียงปรบมือแห่งใบไม้ไหว จักจั่นเรไรสงบนิ่งอยู่ด้วยความพิศวงและสนใจ ไวโอลินสายเอก ก็มิอาจทําได้เสมอเหมือน ต่ างผลัดกันรุกผลัดกันรับในทํานองท้าทายอยู่ในที ระบายออกจาก หลอดคออย่างสุดจิตสุดใจ คลื่นของเสียงกระจายไปทั่วบริเวณสะท้านระรัว ... ไพเราะเหมือน ใจจะขาดไปตาม มีอยู่คราวหนึ่งที่พ่อหนุ่มตนแรกเหนื่อยอ่อน ลําคอแห้งผาก ต้องหยุดชะงักการทําบทเพลงอยู่ ชั่วขณะเพื่อพักผ่อน ความอ่อนแอครั้งนี้ครั้งเดียวเท่านั้น เป็นเหตุบั่นรอนความอุตสาหะพากเพียร ของตนเมื่อตอนต้นเสียสิ้น พ่อหนุ่มตนหลังยกเสียงขึ้นสูงแล้วค่อยผ่อนลง ผ่อนลงมาเป็นชั้นๆ กระทั่งกลืนหายเงียบไปกับเสียงใบไม้ไหว เป็นความสําเร็จอย่างมหัศจรรย์ และการแข่งขันก็ ยุติลง... ทันใด... แม่สาวน้อยชาวเยิงผิวเหลืองก็โผผินออกจากสุมทุมพุ่มไม้ใกล้ๆที่นั้น มาจับร่วมกิ่งอยู่ กับพ่อหนุ่มตนหลัง แล้วส่งเสียงร้องชมเชยและออดสําออยอย่างเอียงอาย หนุ่มผู้ชนะของเรา ร้องรับปฏิสันถารด้วยท่วงท่าร่าเริงและอาจหาญ หันไปจิกคาบหนอนไม้เล็กๆมาได้ตัวหนึ่ง ค่อยบรรจงปูอนให้แม่งามคู่ชีวิต แล้วทั้งสองก็โอ้โลมกระซิบกระซาบบอกความรักซึ่งกันและกัน ไซ้ปีกไซ้หางให้แก่กัน เคล้าเคียงเรียงข้างกันอยู่บนกิ่งกัลปพฤกษ์นั้นตามประสานก


พ่อนกขมิ้นตัวแรกเปล่งเสียงร้องอย่างฉีกหัวใจ มันหันมาดูคู่หนุ่มสาวหน่อยหนึ่ง โน้มศีรษะลง เหมือนจะคํานับลาและอวยชัยให้พร แล้วก็โผผินจากกิ่งกัลปพฤกษ์ไป มันยังร้องอยู่ตามปกติ แต่น้ํ าเสียงครั้ง หลังนี้ สะเทื้อนสะท้านหวั่ นไหว คลออยู่ในคลื่น สะอื้น แหบโหยครวญคราง คล้ายหัวใจถูกบดเหลวละเอียดเป็นภัศมธุลี มันล่าถอยอย่างลูกผู้ชาย น้ําใจนักเลง บินผ่านต้น มะม่วงหิมพานต์ ตาลเตี้ย มูลเหล็ก หางนกยูง และลับไปทางกอไผ่ลายนั่น ยังได้ยินเสียงของ มันอยู่อีกแว่วๆ ห่างออกไป ไกลออกไปทุกทีๆ... ที่สุดก็เงียบหาย นกขมิ้นเหลืองอ่อน ค่ําแล้วเจ้าจะนอนที่ไหน

เรื่องสั้น “เดีย่ วนกขมิน้ ” เป็นเรื่องสั้นเรื่องแรกของ สันต์ เทวรักษ์ นักเขียนชื่อเด่นดังในอดีต ที่นอกจากจะเขียนงานวรรณกรรมไว้มากแล้ว ยังเป็นนักแปลฝีมือฉกาจ แปลงานเขียนเกี่ยว สยามของ ลาลูแบร์ ไว้หลายเล่มทีเดียว สําหรับ “เดีย่ วนกขมิน้ ” นี้ เล่าเรื่องโรแมนติก กระซิกกระซี้ ผ่านสํานวนภาษาน่าเคลิ้ม ทัง้ มีวรรณศิลป์ชวนอ่าน นับเป็นเรื่องสั้นหนึ่งที่หา อ่านได้ยากยิง่ ในยุคสมัยปัจจุบัน มรสุมวรรณกรรมจึงสรรหามาบรรณาการท่านผู้อ่านทั้งหลาย ในครานี้ .............................................................


บทกวีมสี ไตล์ ฉันนัง่ คุยกับอสุจิ ฉันนั่งคุยกับอสุจใิ นมือ พวกมันเอาแต่เงียบ ฉันไม่รู้ว่าพวกมันทําอะไรกันอยู่ ฉันเดาว่ามันคงเอาแต่วงิ่ ไปว่ายมา ทําไมมันไม่รู้จักสงบจิตสงบใจบ้าง ภาวนาสิ อสุจิ ภาวนา พวกแกจะได้ไปนิพพานกับเขาบ้าง เอาแต่วิ่งวุ่นวายว่ายวุ่นวาย หรือพวกแกถือว่าว่ายอยู่ในก้อนเมฆ คงลอยไปถึงสวรรค์แล้วสิ แต่สวรรค์ก็ยงั ไม่ใช่นิพพานนะ นี่พวกแกเข้าใจที่ฉันพูดไหม แกเข้าใจฉันบ้างไหม โธ่ พวกแกจะทิ้งฉันไว้ที่นี่คนเดียวใช่ไหม ฉันอุตส่าห์เอาพวกแกออกมาคุยด้วยนะ ทําไมเอาแต่เงียบ ถ้าแกมีเชื้อฉันแกต้องพูดได้สิ


พูดเป็นบทกวีก็ยังได้ พูดออกมาสิ พวกแกเอาแต่กม้ หน้าก้มตาเขียนอยู่ใช่ไหม สนใจคนอืน่ บ้างสิ โธ่ อสุจิของฉัน พวกแกมันไม่เอาไหนเสียจริง แกเห็นฉันมีเวลาว่างมากใช่ไหม ถึงคอยกวนประสาทฉัน ไม่พูดไม่จา พวกแกคิดว่ายังไงเสียฉันก็ไม่มีเพื่อนคนอืน่ ให้คุยด้วยใช่ไหม แกถึงไม่จําเป็นต้องสนใจฉัน ไอ้ห่า! ฉันนึกออกแล้ว หรือพวกแกไม่มีอยู่จริง ฉันรู้จักพวกแกจากวิชาสุขศึกษา มีแต่คนบอกฉันสอนฉันว่าพวกแกรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างนัน้ อย่างนี้ ทั้งที่ฉันเองก็ไม่เคยพบหน้าพวกแกเลยสักครั้ง ฉันไม่เคยรู้จักพวกแกจริงจริง นิสัยใจคอพวกแกเป็นยังไง เหมือนฉันหรือเปล่า พวกแกเป็นเพื่อนกันทั้งหมดใช่ไหม


แล้วฉันล่ะ ให้ฉันเป็นเพื่อนกับพวกแกด้วยได้ไหม โธ่ อสุจิของฉัน ฉันชวนแกคุยกี่ครั้งกี่ครั้งแกก็ไม่เคยตอบ ทําอะไรสักอย่างเถอะ ยืนยันว่าพวกแกเป็นเพื่อนฉัน

ไอ้หนุ่มบ้าพลัง ชัชชล อัจนากิตติ คงครั่นเนื้อครั่นตัว นึกคึกขึ้นมาครามครัน เลยนั่งพูดคุยกับ อสุ จิเสี ย จนเป็น เรื่องเป็น ราว มรสุ ม วรรณกรรมหวั ง ว่ า บทกวี “ฉัน นั่ง คุ ย กับ อสุ จิ ” ชิ้น นี้ จักช่วยให้ท่านผู้อ่านสําเริงสําราญ สําเร็จความใคร่ได้บ้างกระมัง อ่านเอาใจช่วย หนุ่มชัช หน่อยเถิด อย่าปล่อยให้เขานั่งคุยกับอสุจิอยู่คนเดียว .............................................................


เรือ่ งสัน้ มรสุม ด้วยรักแห่งชาวเรือ ผีค่อยๆเก็บผ้าอ้อมที่ตากไว้ตามราวฟูา แสงสีหมากสุกเริ่มจางลงทีละน้อย ขณะม่าน รัตติกาลคลี่ตัวทีละนิดขึ้นห่มคลุม หางยาวเทียบนิ่งตรงท่าจอด ประมงหนุ่มขึ้นจากเรือ ทอดเท้า มาหยุดยืนอยู่หน้าร้านข้าวแกง ‚น้องแตงเหอ บาวเอาปลามาเผื่อ ‛

ประมงหนุ่มพูด พลางยื่นถุงใส่ปลาตัวเขื่องให้

แม่ค้าสาวค้อนขวับ ‚รับไว้เถอะน้องแตง พี่ตั้งใจเอามาเผื่อจริงๆ‛ หล่อนนิ่งอยู่สักพัก จึงยื่นมือรับไว้ ‚น้องแตงเหอ ขอข้าวขอแกงให้พี่สักถ้วย ขอน้ําเย็นๆให้พี่ได้ชื่นใจสักจอก‛ แม่ค้าสาวกวาดข้าวในหม้อใส่จนเต็มจาน ตักแกงส้มปลากะพงราดข้ าวจนโชกน้ํา แล้วยื่นส่งให้อย่างไม่ไยดีนัก ประมงหนุ่มมองหน้าเจ้าหล่อนอย่างกังขา ‚วันนี้น้องแดงไม่ยิ้มหวานเลย โกรธพี่รึ‛ ‚บาวคล้าย ที่บอกว่าจะมาขอแตงกับพ่อ ลืมแล้วรึ ‛

แม่ค้าสาวถามขึ้นด้วยเสียงขุ่น

พลันหันไปกุลีกุจอเก็บข้าวของ หยิบยื่นไปให้ปูาอ่อนผู้ช่วยซึ่งรออยู่ข้างๆร้าน ‚น้องแตงเหอ บาวไม่ลืมหรอก แตงรอพี่อีกไม่นาน ออกเรือเที่ยวนี้ บาวจะได้เบี้ยก้อน ใหญ่ แล้วเดือนหน้า บาวจะไปขอแตงกับพ่อ‛ ‚คงไม่ทันหรอก บาวคล้าย มะรืนนี้ ถ้าบาวไม่มาขอ พ่อจะยกแตงให้คุณสุวิทย์ บาว ต้องรีบมาขอก่อน‛


‚แตงเหอ บาวจะเอาเบี้ยที่ไหนไปให้กับพ่อแตง แตงก็รู้ว่าบาวเป็นคนจน เป็นชาวเรือ ออกเล จะได้เบี้ยมากสักเท่าใด ลุงแต้ว พ่อแตงก็ไม่เห็นใจ เรียกสินสอดแพงหนักหนา แตงรู้ ไว้เถอะว่า แตงมีค่าที่สุดสําหรับบาว แตงคือชีวิตทั้งสิ้นของบาว‛ หญิงสาวนิ่งเฉย ก้มหน้าก้มตาฟังคําของเจ้าหนุ่ม ‚บาวคล้าย บาวก็รู้ว่าแตงรักบาวมากเท่าใด แตงรอได้เสม แต่พ่อคงรอไม่ได้ แตงเอง ก็อยากหนีไปอยู่กับบาวเสียให้รู้แล้วรู้รอด‛ ‚อย่านะ แตง คนเขาจะว่าแตงเอาได้ บาวยอมให้น้องแตงคนสวย มัวหมองไม่ได้ หรอก‛ แม่ค้าสาวนิง่ อยู่ครู่หนึ่ง ปูาอ่อนก็สง่ สายตาเตือนให้รู้ว่าถึงเวลากลับบ้านแล้ว ‚แตงต้องหลบบ้านแล้วนะ บาว‛ ‚ให้บาวไปส่งที่บา้ น‛ ‚ไม่ต้องหรอก แตงหลบพร้อมปูาอ่อน บาวออกเลมาเหนื่อยๆ พักเอาแรงเสีย อย่าลื ม นะบาว อย่าลืมมาขอแตงกับพ่อ‛ แม่ค้าสาวทิ้งท้ายหนักแน่นแล้วเดินจากไป มืดแห่งราตรีกาลคลี่ม่านคลุมจนทั่ วฟูา ลมค่ําโชยมาหวิวหวู หอบเอากลิ่นไอทะเลคลุ้ง คาวเหงื่อประมงและน้ํามันเรือลอยมาติดจมูก คล้ายนั่ง อยู่หัวท่า ทอดตามองไปในท้องทะเล ประมงหนุ่มครุ่นคิดถึงแม่ค้าสาว ใจหวั่นเกรงว่าสาวเจ้าจะตกเป็นของชายอื่น มะรืนนี้แล้ว ที่คุณสุวิทย์ ลูกชายร้านทองในตลาดจะมาสู่ขอแตง พ่อของแม่ค้าสาวต้องยกหล่อนให้แก่คุณผู้ ร่ํารวยคนนั้นเป็นแน่แท้ ‚นั่งทําไหรอยู่ตรงนี้วะ คล้าย‛ คล้ายหันหน้าไปยังต้นเสียง พบกับชื่นกําลังเดิน เข้ามาหา


‚ไอ้ชื่น มะรืนนี้ นายสุวิทย์จะมาขอแตง‛ ‚อ้อ มึงก็เลยมานั่งทุกข์ใจอยู่ตรงนี้‛ ‚ไอ้ชื่น มึงก็รู้ว่ากูหม้ายเบี้ยไปขอแตง‛ ‚ไปกับกู ไอ้คล้าย‛ ชื่นโพล่งขึ้นมา ‚ไปไหนวะ‛ คล้ายขมวดคิ้วสงสัย ‚เรือกํานันปื้น‛ ‚มึงอย่าบอกนะ ไอ้ชื่น ว่าจะให้กูไปปล้น‛ ชื่นไม่ตอบ แต่ยิ้มให้อย่างมีเลศนัย ลมดึกพัดโชยมาอีกระลอก ทะเลเงียบงัน ชื่นนําเรือหางยาวมาเทียบ พยักเพยิดกับคนที่ นั่งหัวท่า หางยาวติดเครื่องยนต์กระหึ่มท้องน้ํา ครั้นแล้วประมงหนุ่มก็ลงเรือไปกับชื่น ท้องทะเลถูกกลืนในความมืดยามเที่ยงคืน เห็นเพียงริ้วน้ําต้องแสงอ่อนๆประกายวับอยู่ วามแวม เรือสินค้ากํา นันปื้นทอดสมอนิ่ง หางยาวดับเครื่อง ค่อยๆล่องตัวเข้าหาเรือใ หญ่ ไม่ ทัน นานนั ก เสี ย งปืน ได้เ ปรี้ยงดัง ขึ้ น นั ด หนึ่ ง ครั้ น แล้ ว อีก หลายต่ อหลายนั ดก็ ดัง เหมื อ น ประทัดแตก ลูกเรือสินค้ ายิงปูองกันเรือตนอยู่ไม่ขาดสาย ชื่นหมอบยิงในลําเรือ ขณะคล้าย ลอบขึ้นเรือกํานันปื้นได้สําเร็จ ประมงหนุ่มก้าวย่างอย่างระแวดระวัง ประทับปืนในมือมั่นคง ลั่นไกแต่นัดออกไปอย่างเฉียบขาด

การปะทะเกิดขึ้นอย่างหนักหน่วงท่ามกลางความมืด

จวบจนเมื่อฟูาเริ่มสาง ชัยชนะจึงตกเป็นของคล้ายและชื่นอย่างสมบูรณ์ อรุณรุ่งชําแรกร่างราตรี แสงสีทองเริ่มส่องสว่างฟูา คล้ายกลับมาแล้วกลับมา พร้อมกับ รอยยิ้มแห่งความภาคภูมิ ประมงหนุ่มกําลังจะไปสู่ขอแม่ค้าสาว คราวนี้กํานันปื้นเศรษฐีแห่งชาว ทะเลยินดีเป็นเถ้าแก่สู่ขอแตงให้ตอบแทนที่เจ้าหนุ่มกับชื่นยอมเสี่ยงตายช่วยลูกเรือปราบอ้ายโจร ที่บุกปล้นสินค้าเมื่อคืนนี้


เรื่องสั้นโรแมนติกโบราณหลงยุค ปั้นสํานวนหวานฉ่ําจนสาวๆยุคบีบี ชิมิ ชิมิ ต้องราก ออกมาด้วยความเลี่ยน ทว่าอ้ายหนุ่มลุ่มตาปี อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ ผู้หมกมุ่นอยู่กับเรื่อง โรแมนติก ภูมิใจเสนอ เรื่องรักของประมงหนุ่มกับแม่ค้าข้าวแกง อาศัยภาษาฉ่ําเฉอะ พากย์ เสียงด้วยสําเนียงสะต๊อ สะตอ แต่ไม่พ่วงท้ายด้วย --เบอร์รี่ สําหรับเรื่อง

‚ด้วยรักจาก

ชาวเรือ‛ นี้ อ้ายหนุ่มตาปีเก็บความจากบันทึกรักที่เคยฟังสมัยเพิ่งแตกหนุ่มมาขยายเป็นเรื่องสั้น แม้จะดูน้ําเน่า ก็พออ่านแก้ขัดได้กระมัง คุณผู้อ่านเวทนาอ้ายหนุ่มคนนี้สักหน่อยเถิด ชะรอยคง จะหนีไม่พ้น โรคโรแมนติกเสียแล้วเป็นแน่แท้ .............................................................


ความตายของนักเขียน โดย กองบรรณาธิการ ความตายเป็นเรื่องสามัญธรรมดาแห่งทุกสรรพสิ่ง สิ่งมีชีวิตทั้งหลายล้วนต้องแตกดับ แน่นอน สิ่งมีชีวิตเฉกเช่นมนุษย์ปุถุชนย่อมมีความตายเป็นปลายทางในที่สุด ไม่ว่ามนุษย์จัก ดํ า รงอยู่ ใ นบทบาทสถานภาพใดก็ ต ามที หน้ า ที่ สํ า คั ญ อย่ า งสุ ด ท้ า ยของชี วิ ต นั่ น คื อ การเผชิญหน้ากับความตาย.... นักเขียนคือมนุษย์จําพวกหนึ่งที่ ต้องพบเผชิญกับความตายเป็นแน่แท้ ทว่าเมื่อนักเขียน ตายบางสิ่ง บางอย่างกลับยังมี ความหมายให้ค้นหาอยู่ แม้ชีพจรแห่งนัก เขียนจักสิ้ นลงแล้ว หากลมหายใจยังคงรวยระรินและอวลกลิ่นอยู่ในความเป็นตัวตนและผลงานที่นักเขียนได้สร้าง ขึ้นไว้ ด้วยเหตุนี้ ความตายของนักเขียนจึงเป็นความตายที่มีชีวิตชีวา เสมือนสิ่งที่ชวนค้นคิด ตี ค วาม เพื่ อ การเข้ า ใจและตระหนั ก รู้ ว่ า ความตายของนั ก เขี ย น เป็ น ความตายที่ ต าย หรือไม่ตายกันแน่ แหละนี่ก็คือ สิ่ งที่มรสุมวรรณกรรมฉบับนี้พยายามชี้ชวนให้ท่านผู้อ่านร่วม ตีความไปด้วยกัน เราคัดสรรเรื่องความตายของนักเขียนบางคนมาแสดงไว้ในที่นี้พอสังเขป แม้จะแจกแจงถึงความตายของนักเขียนได้ไม่ครบถ้วนทั้งหมดทุกผู้ในโลก ทว่าตัวอย่างที่เรายก มาก็ ค งแสดงให้ ท่ า นผู้ อ่ า นมองเห็ น และเข้ า ใจถึ ง ความตายของนั ก เขี ย นได้ บ้ า งพอควร เอ้า จักช้าอยู่ไยเล่า เร่งมาดูความตายของนักเขียนกับเรากันเถิด


ฟรันซ์ คาฟคา: ลมหายใจของความตาย1

‚ความโดดเดี่ยวคือหนทางแห่งการรู้จักตนเอง‛2 คํากล่าวข้างต้นเป็นของนักเขียนนามอุโฆษแห่งศตวรรษที่ 20

- ฟรันซ์ คาฟคา

เขาเกิดในครอบครัวพ่อค้าชาวยิวในกรุงปราก 3 เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ค.ศ.1883 เป็นลูก ชายคนโตจากพี่น้องทั้งหมด 6 คน ของ แฮร์มันและยูลี คาฟคา ในวัยเด็กคาฟคาไม่ได้ถูก เลี้ยงดูใกล้ชิดกับพ่อและแม่มากนัก เนื่องจากพ่อของเขาตั้งหน้าตั้งตาค้าขายโดยมุ่งหวังจะเติบ ใหญ่เป็นกระฎุมพีเยอรมันในกรุงปราก ทําให้คาฟคาได้รับการเลี้ยงดูจากพี่เลี้ยงเสียส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดี เวลาที่เขาจะได้พบกับพ่อและแม่นั้นมักจะเป็นเวลารับประทานอาหาร และสิ่งที่พ่อ ของเขาพร่ําพูดอยู่เสมอในช่วงเวลานั้นก็คือระเบียบและคําสั่งข้อห้ามต่าง ๆ พ่อของเขาเข้มงวด กวดขันกับการใช้ชีวิตของคาฟคามาก บ่อยครั้งพ่อของเขาเล่าเรื่องชีวิตที่ยากแค้นในวัยเยาว์จน สร้างเนื้อสร้างตัว ขึ้นมาได้และเปรียบเทียบให้เขาฟัง อยู่เสมอว่าสิ่ งที่ทํา ให้คาฟคาสุ ขสบาย อย่างนี้ เป็นเพราะพ่อเขาต้องลําบากมาก่อน ซึ่งยิ่งทําให้คาฟคารู้สึกต่ําต้อยและรู้สึกว่าตน ไม่มีทางมีความสามารถเทียบเท่าพ่อของตนได้เลย ประกอบกับกฎระเบียบต่างๆ ที่พ่อของเขา

1

เนื้อหาส่วนใหญ่เรียบเรียงจาก ถนอมนวล โอเจริญ. ฟรันซ์ คาฟคา: ชีวิตและวรรณกรรม, น.1-96. 2 http://www.kafka-franz.com/kafka-Biography.htm 3 กรุงปรากในช่วง ค.ศ.1880-1910 นั้นเป็นเมืองหลวงของแคว้นเบอเมน ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของอาณาจักร ออสเตรีย-ฮังการี ประชากรกว่า 90% เป็นชาวเชค ส่วนจํานวนรองลงไปได้แก่ชาวเยอรมัน และชาวยิว ตามลํา ดับ แต่ชนชั้นนําในกรุงปรากขณะนั้นกลับเป็นคนกลุ่มน้อยที่พูดและใช้ภาษาเยอรมัน พวกเขาเป็นนักธุรกิจ ข้าราชการ ระดับสูง ตลอดจนอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ขณะที่ชาวเชคซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่นั้นอยู่ในชนชั้นแรงงาน นั่นส่งผล ให้ชาวเยอรมันและชาวยิว ถูกมองด้วยสายตาที่เป็นศัตรู จากชาวเชค แต่ในขณะเดียวกันชาวเยอรมันเองก็มองชาวยิว เป็นคนละพวกกับตน เนื่องจากรากทางศาสนาและเชื้อชาติ


สร้างขึ้นมาบีบบังคับ ก็ยิ่งทําให้คาฟคารู้สึกสิ้นหวัง หวาดกลัว ไม่ได้รับความรัก ต้องอยู่อย่าง โดดเดี่ยว ส่งผลให้เขาดูไม่ร่าเริงเหมือนเด็ก ๆ ทั่วไป4 การตกอยู่ใ ต้ ร่ม เงาของพ่อทํา ให้คาฟคากลายเป็น คนที่ขาดความมั่ น ใจในตั ว เอง 5 เขาไม่กล้าเปิดเผยความใฝุฝันว่าตนต้องการเป็นนักประพันธ์ให้พ่อรู้ เพราะพ่อต้องการให้ บุต รชายคนนี้ เ จริ ญ รอยตามในฐานะนั ก ธุ รกิ จ ผู้ ประสบความสํ า เร็จ นั่ น ส่ ง ผลให้ ใ นระดั บ มหาวิ ท ยาลั ย ฟรั น ซ์ คาฟคา เลื อ กที่ จ ะเข้ า ศึ ก ษาที่ ม หาวิ ท ยาลั ย แฟร์ ดิ นานท์ -คาร์ ล ในกรุงปราก เมื่อพฤศจิกายน ปี ค.ศ.1902 ในสาขาเคมี แต่เขาเรียนได้เพียงสิบสี่ วันก็ย้าย มาเรียนวิชากฎหมาย จริง ๆ แล้วคาฟคาไม่ได้ต้องการจะเรียนวิชากฎหมาย เพราะเขาสนใจ ด้านภาษา ศิลปะ และการประพันธ์มากกว่า (เขาเคยลงทะเบียนเรียนวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ ควบคู่ไปกับการเรียนกฎหมาย แต่ก็ต้องเลิกไปในที่สุด เพราะรู้สึกแปลกแยกกับอาจารย์ที่นิยม ความเป็นเยอรมันมาก) แต่เขาต้องจําใจเรียนเนื่องจากพ่อของเขาต้องการให้เขารับราชการ เหมือนเช่นชาวเยอรมันในกรุงปรากในขณะนั้น อย่างไรก็ดี ภายหลังเขาเริ่มเข้าร่วมฟังคําบรรยายเกี่ยวกับวรรณคดีและศิลปะของสมาคม นั ก ศึ ก ษาที่ ชื่ อ ว่ า ‚ห้ อ งอ่ า นและพู ด ของนั ก ศึ ก ษาเยอรมั น ในกรุ ง ปราก ‛ ซึ่ ง ส่ ง เสริ ม ความสามารถด้านวิชาการและศิลปะของนักศึกษา เขาได้เข้าเป็นหนึ่งในสมาชิกของสมาคม กระทั่งได้รับเลือกให้เป็นผู้ประมวลข่าวสารทางวรรณคดี ที่นี่ทําให้เขาได้รู้จักกับ มั กซ์ โบรท (Max

Brod) นักศึกษากฎหมายที่สนใจวรรณคดีเช่นเดียวกันจนทั้งสองได้กลายเป็น

เพื่อนสนิท และมักซ์ โบรท เป็นเพื่อนคนสําคัญที่ให้คําปรึกษาและให้การสนับสนุนคาฟคา ความสัมพันธ์ในครอบครัวและบุคลิกเช่นนี้ถูกแสดงออกให้เห็นเด่นชัดในตัวละคร เกรกอร์ ซามซา (Gregor Samsa) จากเรื่อง ‚เมตามอร์โฟซิส‛ (Die Verwandlung) 5 http://www.onopen.com/2006/02/548 4


ตลอดชีวิตการเป็นนักประพันธ์ของเขา ทั้งตอนที่คาฟคายังมีชีวิตและตอนที่เขาได้ลาจากโลกนี้ ไปแล้ว ความรักในความรู้ของคาฟคานั้นไม่ได้จํากัดตัวเฉพาะการอ่านงานวรรณคดีเท่านั้น แต่ เ ขายั ง ให้ ค วามสนใจกั บ ปรั ช ญาเป็ น อย่ า งยิ่ ง นอกจากการเข้ า ร่ ว มกิ จ กรรมสมาคม ‚ห้องอ่า นและพูดของนัก ศึ ก ษาเยอรมั น ในกรุง ปราก‛ แล้ว เขายังมี ความสั มพัน ธ์ กั บกลุ่ม นักปรัชญาผู้นิยม ฟรันซ์ เบรนทาโน (Franz Brentano) และสนใจศึกษาปรัชญาของ ซอร์เรน เคียร์เคการ์ด (Soren Aabye Kierkegaard) นักปรัชญาคนสําคัญของลัทธิ อัตถิภวนิยม (Existentialism), ฟรีดิช นิทช์เช (Friedrich Nietzsche) และ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมุนท์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud) ซึ่งเราจะพบเห็นอิทธิพลของ นักคิดเหล่านี้แฝงในงานของคาฟคาอยู่เสมอ หลังจากสําเร็จการศึกษาในปี ค.ศ.1906

คาฟคาต้องไปฝึกงานที่สํานักงานด้าน

กฎหมายที่ศ าลแพ่ง เป็น เวลาหกเดือ นและที่ศ าลอาญาอีก หกเดือน แต่ ห ลัง จากฝึ ก งานด้า น กฎหมายสําเร็จแล้ว เขากลับไม่ต้องการเข้ารับราชการหรือทํางานที่สํานักงานทนายค วาม ญาติผู้ใหญ่คนหนึ่งของเขาจึงแนะนําให้คาฟคาไปเข้าทํางานที่บริษัทประกันภัยแห่งหนึ่ง ที่นี่ เขาต้องทํางานวันละ 8 ชั่วโมง เขาไม่ชอบบรรยากาศของการทํางานเอาเสียเลยและคิดว่า มันยังเบียดบังเวลาสร้างสรรค์งานประพันธ์ของเขาด้วย 6 คาฟคาจึงตัดสินใจหาที่ทํางานใหม่ เขาได้เข้าทํางานที่ ‚สํานักงานประกันภัยอุบัติเหตุของผู้ใช้แรงงาน‛ ซึ่งพ่อของเพื่อนสนิทเป็น ผู้บริหารอยู่ คาฟคาค่อนข้างพอใจการทํางานที่นี่ เพราะเขาทํางานเพียงวันละ 6 ชั่วโมง และสามารถแบ่ ง เวลาไปสร้ า งงานประพั น ธ์ ไ ด้ ในปี ค.ศ.1913 6

มั ก ซ์ โบรท

ว่ากันว่าที่ทํางานแห่งนี้เป็นแรงบันดาลใจสําคัญให้เขาวาดภาพชีวิตเบื่อหน่ายการงานของ เกรกอร์ ซามซาร์ (Gregor Samsa) ตัวละครจากเรื่อง ‚เมตามอร์โฟซิส‛ (Die Verwandlung)


เพื่อนสนิทของเขาสนับสนุนให้คาฟคาตีพิมพ์รวมเรื่องสั้นที่ชื่อ Meditation และมันก็เป็น ผลงานเพียงไม่กี่ชิ้นที่คาฟคาได้ตีพิมพ์ในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่ เขาทํางานอยู่ที่นี่จนช่วงท้าย ๆ ของชีวิต ก่อนที่จะลาออกไปรักษาโรควัณโรคที่คุกคามเขาในช่วงปี ค.ศ.1922 หลังจากที่คาฟคาลาออกจากงาน เขาได้ไปใช้ ชีวิตอยู่ที่เบอร์ลิน เนื่องจากต้องการ รักษาสุขภาพและต้องการมีสมาธิกับการสร้างงานประพันธ์ นอกจากนี้อาจเป็นความต้องการ ลึก ๆ ที่ต้ องการจะอยู่ใ ห้ห่า งจากพ่อของเขาด้ว ย แต่ เขารัก ษาตั ว ที่เบอร์ลิน ได้ไม่ น านนัก เขาก็เสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 3

มิถุนายน ค.ศ.1924

เขาได้เขียนพินัยกรรมขอร้องให้

มักซ์ โบรท เพื่อนรักของเขา ช่วยทําลายผลงานของเขาที่ยังไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบันทึกประจําวัน จดหมาย ตลอดจนงานเขียนต่างๆ แต่สิ่งที่คาฟคาขอร้องไว้ใน พินัยกรรมนั้นเป็นปัญหาที่ยากลําบากมากในการตัดสินใจของโบรท จนในที่สุดเขาก็ตัดสินใจ นํา งานประพัน ธ์ของคาฟคาออกมาพิมพ์เผยแพร่ และนั่น นั บเป็น การตัดสิ นใจที่ทําให้โลก วรรณกรรมติดหนี้บุญคุณของ มักซ์ โบรท มาจนถึงทุกวันนี้7

7

ปัจจุบันงานประพันธ์ของฟรันซ์ คาฟคา ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยทั้งสิ้น 5 เล่มด้วยกัน ได้แก่ เมตามอร์โฟซิส

(Die Verwandlung), แดนลงทัณฑ์ (In der Strafkolonie), ปราสาท (Das Schloß) แปลโดย ถนอมนวล โอเจริญ, คดีความ (Der Prozeß) แปลโดย ดวงพร พงษ์โสภาวิจิตร และ ในความนิ่งนึก แปล โดย ดลสิทธิ์ บางคมบาง


ฉิบหาย !8 ห้วงสุดท้ายแห่งชีวติ ของชาร์ลส์ โบดแลร์ (Charles Baudelaire)

‚ตั้งแต่เด็กๆ ผมรู้สึกว่าในใจมีความรู้สกึ ขัดแย้งกันสองประการ นั่นคือชีวติ นั้นน่าพรั่น พรึงและชีวิตช่างน่าหฤหรรษ์‛ ชาร์ลส์ โบดแลร์ หากมี สัก ห้ว งเวลาในชีวิ ต อันเปราะบางที่เราอาจตระหนั ก ว่ ากํ า ลัง ผจญกั บแอกทาง ความคิด ครั้ง สํ า คั ญ ภาวะกลื น ไม่ เข้า คายไม่ อ อกระหว่ า งโลกทัศ น์ ทั้ง สองด้ า นนั้ น คือ สิ่ ง ที่ ชาร์ลส์ โบดแลร์ จําต้องเผชิญตั้งแต่วัยหนุ่ม ชัดเจนที่สุดคือท่วงท่าในบทกวีของเขามักโดดเด่น ด้ว ยความขั ด แย้ ง ภายในและการมองโลก มองชี วิ ต อย่ า งทวิ ลั ก ษณ์ หากชี วิ ต ที่ พ รั่ น พรึ ง นั่นหมายถึงยามความตายมาเยี่ยมเยือนอยู่เสมอ เขาใช้กวีนิพนธ์ต่อสู้กับมันอย่างเหว่ว้าลําพัง ท้ายที่สุดเขาชินชากับมัน และพบว่าความตายเปรียบเสมือนทางออกจากโลกอันสิ้นหวังโสมม คละคลุ้งด้วยความทุกข์ระทม เขาพยายามฆ่าตัวตายครั้งหนึ่ง หลังจากผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ ในช่วงแรกของเขาไม่ได้รับการนิยมเท่าที่ควร น่ า สั ง เกตว่ า ผลงานด้ า นงานวิ จ ารณ์ แ ละงานแปลของโบดแลร์ ได้ รั บ ความนิ ย ม เป็นอย่างดีจากหมู่นักอ่านในช่วงที่เขามีชีวิต โดยเฉพาะรวมเรื่องสั้นของเอ็ดการ์ อัลลัน โป (Edgar Allan Poe) ชื่อ ‘Histoires Extraordinaires’ ซึ่งตีพิมพ์ซ้ําถึง เจ็ดครั้ง ผิดกับงานกวีนิพนธ์ของเขาเองที่แม้จะได้รับการตีพิมพ์อยู่มาก แต่กลับถูกปฏิเสธจาก ผู้คนทั่วไป ในบทประพันธ์ใน ‘Les fleurs du mal’ กวีนิพนธ์คลาสสิกของเขา โบดแลร์ได้สะท้อนการต่อต้านการใช้ชีวิตแบบชนชั้นกลางระดับสูงที่เขาจงเกลียดจงชัง จนเป็น ที่มาของการเที่ยวเตร่เสเพล เที่ยวผู้หญิง เขามักเลือกเฉพาะโสเภณีหน้าตาไม่ดีเพื่อหลีกหนีจาก ภาพแม่ที่หลอกหลอนในใจ การวิพากษ์วิจารณ์ พระเจ้าอย่างไม่เกรงกลัวผู้ใด เป็นเหตุให้ถูก 8

มาจากคําสบถภาษาฝรั่งเศสว่า ‘Crénom!’


โจมตีจากสื่อหลายแขนง ถูก อัยการสั่งฟูองข้อหาละเมิดศีลธรรมอันดีของประชาชนและลบหลู่ ศาสนา ผลคือศาลยอมถอนฟูองข้อหาลบหลู่ศาสนา แต่พิพากษายืนกรณีละเมิดศีลธรรมอันดีฯ สั่งปรับเงิน และตัดบทกวี 6 บทออกไป คําตัดสินทําให้โบดแลร์ผิดหวังและคับแค้นใจมาก เขาพยายามทํ า งานให้ ห นั ก แต่ สุ ข ภาพที่ ท รุ ด โทรมจา กโรคภั ย นานาฉุ ด รั้ ง เขาไว้ แม้ในปี 1861 Les fleurs du mal จะตีพิมพ์เป็นครั้งที่สอง แต่ผลปรากฏว่า แทบไม่มีผู้ใดสนใจผลงานของเขาเลย ขณะเดียวกันอาการปุวยจากซิฟิลิส โรคยอดนิยมของ ชาวฝรั่งเศสยุคนั้นก็กําเริบอย่างหนัก โบดแลร์ตัดสินใจขายลิขสิทธิ์ผลงานทั้งหมดเพื่อนําเงินมา รักษาตัว จนกระทั่งปี 1866 เขามีอาการสมองอักเสบรุนแรง ร่างกายซีกขวาเป็นอัมพาต พูดไม่ได้ เพียงคําเดียวที่เขาเปล่งออกมา นั่นคือ ฉิบหาย! ช่วงชีวิตของชาร์ลส์ โบดแลร์เต็มไปด้วยสีสันอันฉูดฉาด รสชีวิตอันรุ่มรวย หากรื้น ระทม ความหาญกล้า ท้า ทายเย้ยหยันพระเจ้าอย่ างตรงไปตรงมา รวมถึ งท่าทีดูหมิ่ นผู้คน ส่วนใหญ่เป็นที่มาของสมญานาม ‚กวีผู้ถูกสาป‛ กวีอาภัพผู้ทุ่มเททุกสิ่งแก่งานประพันธ์ซึ่ง คนร่วมสมัยไม่เข้าใจและรุมกันสาปแช่ง 9 อย่างไรก็ดี หลังจากเขาเสียชีวิต คุณูปการต่องาน สร้างสรรค์ของคนรุ่นหลัง โดยเฉพาะกลุ่มสัญลักษณ์นิย ม (Symbolism) และกลุ่มเซอร์เรียล ลิสม์ (Surrealism) ส่งให้เขาเป็นผู้บุกเบิกแนวทางกวีนิพนธ์และการวิจารณ์สมัยใหม่ที่ให้ คุณค่าสูงสุดต่อจิตวิญญาณและจินตนาการ 10 กวีนิพนธ์ที่เน้นการแสดงออกทางตัวตนของกวีกับ โลกภายนอกที่พบเห็นในชีวิตประจําวัน ผลงานของเขาสร้างแรงบันดาลใจแก่นักเขียนและกวี ยิ่งใหญ่หลายต่อหลายคน อาทิ พอล แวร์เลน (Paul Verlaine) อาตูร์ แรงโบลด์ (Arthur Rimbaud) มาร์แซล พรูสต์ (Marcel Proust) ยอร์จ บาตาย (Georges Bataille) สเตฟอง มัลลาร์เม่ (Stéphane Mallarmé) ฯลฯ

ดูบทความของนพพร ประชากุล, ‚โบดแลร์ผู้ปั้นโคลนให้เป็นทอง‛ สารคดี. ปีที่9 ฉบับที่10 (กันยายน 2536), หน้า 170 10 สดชื่น ชัยประสาธน์, ชาร์ลส์ โบดแลร์ กวีและนักวิจารณ์ศลิ ปะ, หน้า 1 9


โดยเฉพาะรายหลังที่ได้ร่วมกับมิตรสหายเขียนบทกวี ยกย่องโบดแลร์ โดยพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ ‘Le Tombeau de Charles Baudelaire’ (1896) โบดแลร์ ไ ด้ รั บ ยกย่ อ งในหมู่ ก วี เ ซอร์ เ รี ย ลลิ ส ม์ ทั้ ง ในแง่ ชั้ น เชิ ง และกลวิ ธี การให้ ค วามสํ า คั ญ กั บ ตั ว ตนและจิ น ตนาการ ทั ศ นะการมองผู้ ห ญิ ง วิ ธี ย กย่ อ งโสเภณี การพรรณนาอย่า งโลดโผน แปลกใหม่ ให้ ความสํ า คั ญ กั บ สิ่ ง รอบกายในชีวิ ต ประจํา วั น การซ่อนเร้นภายในจิตวิญญาณ ตลอดจนสํานึกขบถต่อวิธีชีวิตแบบกระฎุมพี นอกจากนี้อิทธิพล ของโบดแลร์ยังส่ง ต่อไปยังนานาประเทศ เอนิด สตาร์กี (Enid Starkie) ยกย่องว่า โบดแลร์ ส ร้ า งอิ ท ธิ พ ลแก่ ออส์ ก าร์ ไวลด์ (Oscar Wilde) และ ที .เอส. อี เ ลี ย ต (T.S.Elliot)11 ขณะที่การแสดงออกต่อ ’ความทุกข์ทางอภิปรัชญาเกี่ยวกับสภาวะของมนุษย์’ ยังให้อิทธิพลต่อนักเขียนรุ่นหลังอย่างมาก นับตั้งแต่ ดอสโตเยฟสกี (Dostoyevski) ไปจนถึง ซาร์ตส์ (Sartre) และ กามูร์ (Camus) 12 กระทั่งห้าสิบปีหลังเขาเสียชีวิต (1917) นักวิชาการและสาธารณชนผู้เข้าถึงผลงาน โบดแลร์มีจํานวนมากขึ้น พวกเขาตระหนักถึงคุณค่าและอัจฉริยภาพของกวีผู้อาภัพ จนถึงขั้น เรียกร้องให้ศาลนําคดี ‘Les fleurs de mal’ มาพิจารณาใหม่ ผลปรากฏว่าศาลยกฟูอง คดีนี้ เป็นผลให้ชื่อเสียงของโบดแลร์ขจรไกล โคลงต้องห้าม ทั้ง 6 บทได้รับอนุญาตให้ตีพิมพ์ ได้อีกครั้ง นับแต่นั้น ‘ชาร์ลส์ โบดแลร์’ ก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นกวีผู้ใหญ่ที่สุดคนหนึ่งเท่าที่ โลกเคยมีมา ชาร์ลส์ ปิแอร์ โบดแลร์ (Charles Pierre Baudelaire) เผชิญหน้าชีวิต อันพรั่นพรึง (อย่างไม่ค่อยเต็มใจนัก) เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 1867 หากฝากถ้อยสําเนียง แว่วแผ่วบางอันหนักแน่น ฉิบหาย! ฉิบหาย! ฉิบหาย! ให้กึกก้องไปทั่วสากล 11

Enid Starkie, ‚Baudelaire et l’Angleterre‛ La Table Ronde. No.232, mai 1967, pp.51-70 12 สดชื่น ชัยประสาธน์, ชาร์ลส์ โบดแลร์ กวีและนักวิจารณ์ศลิ ปะ, หน้า 235


เมื่อพญาอินทรีบินหนีไปจิบไวน์ในอีกโลก....

‚หันหลังให้พรุ่งนี้ เพราะ...พรุ่งนี้ไม่มี จงดื่มแสงบุหลัน ห่มความหนาวของราตรี และอย่าร้องไห้ โกเมนบนกลีบกระบองเพชร และผืนทรายสีอาํ พัน นั้นจะเยาะหยัน ดับไฟร้อนด้วยเมรัย และเช็ดราคะบนริมฝีปากอิสตรี จะทุกข์เทวษไปไย...พรุง่ นี้ไม่ม‛ี บทรําพึงรําพันข้างต้นมีปรากฏอยู่ในหนังสือแห่งความระลึกอาลัยในงานฌาปนกิจเรือน ร่างแห่งพญาอินทรี ถ้อยความดังกล่าวเสมือนคําสั่งลาที่พญาอินทรีฝากไว้เตือนผองเพื่อน ทั้งหลายให้พึงยึดถือไว้ ถ้อยความเดียวกันนี้เคยปรากฏอยู่ในผลงาน นิราศดิบ ของพญาอินทรี ม า แ ล้ ว แ ห ล ะ ถ้ อ ย ค ว า ม นี้ คื อ สิ่ ง ห นึ่ ง ที่ ทํ า ใ ห้ เ ร า ต้ อ ง ฉุ ก คิ ด ขึ้ น ว่ า พญาอินทรีบินหนีไปแล้วจริงหรือ วันพรุ่งนี้เราจักเห็นพญาอินทรีสยายปีกอีกหรือไม่ โอ้ พญาอินทรีไปหลบซ่อนในพุ่มไม้ กิ่งก้านใดกันหนอ หรือว่ายังคงเกาะคอนอยู่บน ตัวอักษรทุกบรรทัดอย่างสําเริงสําราญ....


คราวหนึง่ เมื่อนานมาแล้วเคยมีคนถามพญาอินทรีถึงสมญานามแห่งตน วิญญาณ ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ ตอบว่า

เขาสวม

เราไม่ได้เป็นคนตั้ง ใครตั้งก็ไม่รู้.... เออ – ไอ้ขุน (ขุนทอง อสุนี ณ อยุธยา) เป็น คนตั้ง แล้วเรารู้สึกเฉยๆ ฟังแล้วเขินนะ นี่เห็นใช้กันติดปากแล้วเราก็เลยไม่แก้ แต่เราไม่ได้ คิดเป็นอย่างนั้น เราเป็นคนธรรมดา เป็นนกพิราบ เคยพูดตั้งนานเป็นสิบๆปีแล้ว ว่านักเขียน น่ะเป็นอาร์ ต เลเบอร์ เป็นคนทํา งานทางศิ ลปะ ไม่ได้ยิ่งใหญ่อะไรหรอก ไม่ ใช่ผู้ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เทวดามาเกิด เป็นคนทํางานชนิดหนึ่ง เหมือนกับคนตีเหล็ก เหมือนคนไถนา นักเขียน น่ะ ทํางานหนักแทบบ้า.... (นิตยสารไรเตอร์ ปีที่ 7 ฉบับที่ 6, มิถุนายน-กรกฎาคม 2541, หน้า 62-63) และนั่นเป็นคําตอบจากปากคําของพญาอินทรี ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ ย้อนไปเมื่อครั้งกระโน้น ที่ตําบลคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท วันนั้นตรงกับวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ.2475 ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ ได้ถือกําเนิดขึ้น เขาใช้ชีวิตวัยเด็กผ่าน การเติ บ โตในหลายจั ง หวั ด หากเขามั ก บอกกั บ ผู้ อ่ า นอยู่ เ นื อ งๆว่ า ตนมี ค วามผู ก พั น กั บ โพธาราม จังหวัดราชบุรีเป็นที่สุด เพราะที่นั่น เขาอยู่กับยาย ที่นั่นเขาได้อ่านขุนช้างขุนแผน ได้เล่นสนุกตามประสาเด็กบ้านนอก แล้วที่สุด ‘รงค์ ก็ก้าวเท้าเข้ามาสู่มหานคร เขาเรียน โรงเรียนอํานวยศิลป์ตอนมัธยมต้น ดํารงสถานภาพนักเรียนที่มีผลการเรียนดีมาตลอด ต่อมัธยม ปลายที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เขาเกือบเรียนจบ หากไม่ฝันร้ายกลางแดด มีเรื่องขี้ผงกับครู พละเสียก่อน จากนั้น ‘รงค์ ก็เลิกเรียนในโรงเรียนอีกต่อไป ออกมาใช้ชีวิตอย่างโชกโชน เป็นนายท้ายเรือโยง ไปคุมปางไม้ที่เชียงใหม่ เป็นนายแบบ ที่สุด ชีวิตจับพลัดจับผลูได้เข้า วงการนักเขียน โดยเริ่มต้นเขียนคอลัมน์ รําพึง รําพัน ที่หนังสือพิมพ์สยามรัฐ โดยใช้นาม “ลําพู” ด้วยลีลาและภาษาอันเป็นเอกลักษณ์ ความโด่งดังจึงมาเยือนเขา... ปี พ.ศ.2503


‘รงค์ อายุ ยี่ สิ บ แปด เขาได้ รั บ โอกาสให้ เ ป็ น นั ก เขี ย นอย่ า งเต็ ม ตั ว “หนาวผู้ ห ญิ ง ” หนังสือเล่มแรกในชีวิตแจ้งเกิดในบรรณพิภพ จากนั้นอีกหลายต่อหลายเล่มก็ตบเท้าเดินขบวน ออกมาจากโรงพิมพ์กันเป็นว่าเล่น ‘รงค์ กลายเป็นนักเขียนยอดนิยม โชคชะตาเล่นตลกนําพา เขาไปอยู่สหรัฐอเมริกากว่าสี่ปี บรรยากาศแซนฟรานซิสโกผสมความเหงาเปลี่ ยวคิดถึงบ้าน ทําให้งานอย่าง ใต้ถุนปุาคอนกรีท หลงกลิ่นกัญชา เสเพลบอยชาวไร่ ผู้มียี่เกในหัวใจ พากัน หลั่งไหลมายังอาณาจักรน้ําหมึกในเมืองไทย ในปี พ.ศ. 2513 ‘รงค์ กลับคืนสู่บ้านเกิด เมื อ งนอน เขากั บ เพื่ อ นหนุ่ ม หลายคน ขรรค์ ชั ย บุ น ปาน , เรื อ งชั ย ทรั พ ย์ นิ รั น ดร์ , ช่วง มูลพินิจ ร่วมกันทําหนังสือ “เฟื่องนคร” หนึ่งในตํานานความหนุ่มแห่งถนนหนังสือ นับแต่นั้น หนังสือที่ประทับชื่อ ‘รงค์ วงษ์สวรรค์ บนหน้าปกก็ทยอยออกมาทักทายนักอ่านอยู่ เนืองๆ ห้วงกาลเวลาผันผ่าน นกน้อยจากคลองมะขามเฒ่าก็ค่อยๆบินไปเกาะคอนสูงในฐานะ พญาอิน ทรีแ ห่ ง ตั ว อัก ษร ‘รงค์ กลายเป็ น นั ก เขีย นยอดนิ ย มแห่ ง ยุค สมั ย ด้ ว ยสํ า นวนภาษา การใช้ประโยค การสร้างคําและวลีที่มีเอกลักษณ์แปลกใหม่ เขาเป็นต้นแบบของนักอยากเขียน ทั้งหลาย เป็นนักเลงภาษาที่เร้าความสนใจจากนักอ่าน เป็นเอตทัคคะในเรื่อง เหล้า ไวน์ และผู้หญิง ทั้งยังเป็นนักบันทึกสังคมและยุคสมัยได้อย่างครบถ้วนเข้าถึงเลยทีเดียว แน่ น อนว่ า ชั่ ว ชี วิ ต นี้ พญาอิ น ทรี โ ยกย้ า ยรั ง นอนหลายคราครั้ ง หากครั้ ง สุ ด ท้ า ย เขาพาครอบครัวบินหนีเมืองไปยังสวนทูนอิน ดอยโปุงแยง อําเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ แหละที่นั่น ก็เป็นรังสุดท้าย ก่อนที่พญาอินทรีจะบินหนีไปจิบไวน์ในโลกอื่น... ในส่วนของงานเขียนนั้น พญาอินทรีพิถีพิถันเป็นที่สุด ต้นฉบับของเขามีความละเอียด และประณี ต เขายึดถื อคติที่ว่ า “ผมยิน ดีจะฆ่า งานบางชิ้น ก่ อนที่มั น จะฆ่า ผม” แน่น อนว่า เขาไม่ยอมให้งานชิ้นไหนฆ่าเขาได้ เขาย้ําเตือนอย่างตวาดว่า ตายแล้วค่อยมาพูดกันว่ า งานชิ้นไหนดี ชิ้นไหนเลว หรือมันเลวทั้งหมด... นั่นเสมือนคําท้าทายว่า แม้แต่ความตายของ พญาอินทรีก็มิอาจทําให้งานของเขาต้องตายลงไปด้วยได้


พลบค่ําของวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 พญาอินทรีได้บินหนีไปจากโลกอย่าง เงียบๆ ความตายได้มาเยือนและอาจชักชวนเขาไปจิบไวน์ในโลกอื่น แน่นอนว่า พญาอินทรี ไม่ ไ ด้ อ ยู่ ใ นโลกนี้ อี ก ต่ อ ไป หากลมหายใจและความมี ชี วิ ต ชี ว ายั ง คงอวลกลิ่ น หอมกรุ่ น ทุก คราครั้ง ที่หนั ง สื อของพญาอิน ทรีได้ถูก เปิดอ่า น เราจึงยัง คงเห็น พญาอิน ทรีเกาะคอนอยู่ บนตัวอักษรทุกบรรทัด คล้ายกับเขากําลังแสยะยิ้มและสบถอย่างตวาดให้ เราได้ยินเสียงอยู่ มิรู้วาย อาจจริงอย่างที่พญาอินทรีบอกว่า พรุ่งนี้ไม่มี ทว่าสิ่งที่แสดงให้เราเห็นว่ายังมีอยู่ ในวันพรุ่งนี้ นั่นคือตัวอักษรที่ยังคงมีลมหายใจในงานเขียนของพญาอินทรี ดูสิ ตัวอักษรนั้น ยังคงโลดเต้นราวกับว่าพญาอินทรีได้กระพือปีก พึ่บพั่บอยู่ในนั้น !


เมือ่ นักเขียนเผชิญหน้ากับความตาย แน่ น อนว่ า การเผชิ ญ หน้ า กั บ ความตายของนั ก เขี ย นนั้ น มี ห ลากหลายรู ป แบบ ทั้ง เกิ ดขึ้น ด้วยตัว เอง เกิ ดขึ้น โดยธรรมชาติ โรคภัยไข้เจ็บ หรืออุบัติเหตุ หากในคราวนี้ มรสุมวรรณกรรมจะกล่าวถึงการเผชิญหน้ากับความตายที่เป็ นความนิยมของนักเขียนเป็นที่สุด นั่นคือ การฆ่าตัวตาย ฆ่าตัวตาย.. นับเป็นวิธีการสําคัญที่นักเขียนมักเลือกใช้ในการเผชิญหน้ากับความตาย มรสุมวรรณกรรมจะยกตัวอย่างนักเขียนที่ใช้วิธีนี้มาพอสังเขป อนึ่ง การฆ่าตัวตายของนักเขียน มีหลายวิธี ทั้งวิธีสามัญและ พิสดงพิสดาร เราจะแจกแจงกันพอหอมปากหอมคอโดยจะคัดสรร นักเขียนกับความตายแปลกๆมาสักจํานวนหนึ่งดังนี้ เออร์เนสท์ เฮมิงเวย์ (Ernest Hemingway) นักเขียนรางวัลโนเบลเลื่องชื่อ เจ้าของ ผลงาน เฒ่าผจญทะเล (The old man and the sea) ยิงตัวตายด้วยปืนล่าสัตว์ของคน เอง ว่ากันว่าความทรงจําหนึ่งที่ฝังรากลึกในใจของเขาคือ การฆ่าตัวตายของพ่อ และเขาพูด มาตลอดว่า วันหนึ่งเขาจะทําตามพ่อเพื่อการหลุดพ้น ดาซะอิ โอสะมุ (Dazai Osamu) หรือนามจริงคือ ทสึชิมะ ซูจิ (Tsushima Sh ji) นักเขียนญี่ปุนในยุคบุกเบิกนิยายสมัยใหม่แห่งศตวรรษที่ 20 เป็นนักเขียนคนหนึ่งที่หมกมุ่นกับ การฆ่าตัวตาย และพยายามฆ่าตัวตายหลายครั้ง ในที่สุดก็ทําสําเร็จด้วยการกระโดดลงไปใน อ่างเก็บน้ําทามากาวะ


ริ ว โนซุ เ กะ อะคุ ต ะกะวะ (Ryunosuke Akutagawa) เจ้ า ของผลงานก้ อ งโลก อย่างราโชมอน ฆ่าตัวตายด้วยการกินยามากเกินขนาด ยูกิโอะ มิชิมา (Yukio Mishima) นักเขียนญี่ปุนชื่อดัง ผู้หมกมุ่นกับการฆ่าตัวตาย ในที่สุดฆ่าตัวตายสําเร็จด้วยการฮาราคีรี ยาสึนะริ คาวาบาตะ (Yasunari Kawabata) นักเขียนญี่ปุนคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล เจ้ า ของงานเลื่ อ งชื่ อ อย่ า ง เมื อ งหิ ม ะ (Snow Country) นางระบํ า แห่ ง อิ ชิ

(The Dancing girl of Izu) เพื่อนสนิทของยูกิโอะ มิชิม่า ฝันว่าถูกผีเพื่อนสนิท หลอกหลอนกว่าสองร้อยคืนติดต่อกัน ก่อนฆ่าตัวตายด้วยการรมแก๊สตัวเอง ซาเดค เฮดายัท (Sadegh Hedayat) นักเขียนอิหร่าน ผู้อึดอัดกับชีวิตตนเอง พยายาม ฆ่าตัวตายถึงสามครั้งสามครา ก่อนทําสําเร็จในครั้งสุด ท้าย ด้วยการปิด ห้องแล้วปล่อยแก๊ส รมตัวเอง เจอร์ซี่ โคซินสกี้ (Jerzy Kosinski) นักเขียนคนสําคัญของโลก เจ้าของผลงานเรื่อง ‘ที่เห็นและเป็นอยู่’ (Being There) ฆ่าตัวตายด้วยการดื่มเครื่องดื่มโคลา เอาถุงคลุมหัว แล้วลงไปนอนในอ่างน้ํา พร้อมเขียนโน้ตสั้นๆว่า “ผมแค่อยากนอนหลับนานกว่าปกติ” เวอร์จิเ นีย วูล ฟ์ (Virginia

Woolf) นั ก เขี ยนหญิ ง ชาวอัง กฤษ เจ้า ของผลงาน

คุณนายดัลโลเวย์ (Mrs.Dalloway) ฆ่าตัวตายเพราะความปวดร้าวฝังลึกในใจ


หม่อมเจ้าอากาศดําเกิง รพีพัฒน์ นักเขียนไทยเจ้าของผลงานเลื่องชื่ออย่าง ละครแห่งชีวิต เปิดแก๊สฆ่าตัวตายที่ฮ่องกง แอน เซกตัน (Ann Sexton) กวี หญิงชาวอเมริกัน ผลงานได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ ฆ่าตัวตายด้วยการสูดแก๊สคาร์บอนมอนน็อกไซด์จนหมดสติในโรงรถของเธอเอง เซอร์เก เยเซนิน (Sergei Yesenin) กวีรัสเซียคนสําคัญในศตวรรษที่ 19 ฆ่าตัวตายด้วย การแขวนคอกับท่อส่งความร้อนเหนือเพดานห้อง วิคตอเรีย เบเนดิกสัน (Victoria Benedictsson) นักเขียนชาวสวีดิช ผู้บุกเบิก วรรณกรรมแนวสัจนิยมสวีเดน (Swedish Realism) ประสบชีวิตคู่อันอึดอัด ตรึงเครียด และทุลักทุเล เธอเลือกผ่อนคลายมันทางงานเขียน สุดท้ายเลือกฆ่าตัวตายด้วยการปาดคอตัวเอง ถึงสี่แผล กามิล กัสเตโล บลังโค (Camilo Castelo Branco) นักเขียนโปรตุเกสที่ยิ่งใหญ่มาก ที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 19 บั้นปลายชีวิต เขาถูกรุมเร้าจากโรคภัยนานา เขียนหนังสือได้ น้อยลง กระทั่งตาบอดสนิทเนื่องจากโรคซิฟิลิส เขายิงตัวตายบนเก้าอี้โยกเมื่ออายุได้ 65 ปี ซาราห์ เคน (Sarah Kane) นักเขียนหญิงอเมริกัน ผูกคอตายด้วยเชือกผูกรองเท้าใน ห้องน้ําโรงพยาบาล หลังเข้ารับการรักษาจากการทานยาเกินขนาดได้เพียงสองวัน ริชาร์ด โบรทิกัน (Richard

หนึ่ง ในนั กเขียนอเมริกันยุคบีท (Beat Generation) เขาพูดถึงการฆ่าตัวตายอยู่หลายครั้ง กระทั่งถูกพบเสียชีวิตใน Brautigan)


ห้องพัก มีบาดแผลกระสุนปืน .44 บริเวณศีรษะ ศพนั่งมองออกไปนอกหน้าต่างยังมหาสมุทร แปซิฟิก ครั้งหนึ่งเขาเคยเขียนไว้ว่า 'เราทุกคนล้วนมีที่ทางในประวัติศาสตร์ สําหรับข้าพเจ้า

อยู่บนก้อนเมฆ'

อัลฟอนซินา สตอรนี่ (Alfonsina Storni) กวีสมัยใหม่คนสําคัญของละตินอเมริกา ความตายของเธอเป็นปริ ศนา บ้างอ้างว่าเธอกระโดดน้ําตาย บ้างก็ว่าเธอเดินมุ่งสู่ท้องทะเล ก่อนค่อยๆลับตาไป ฌากส์ ริโกต์ (Jacques Rigaut) นักเขียนเซอร์เรียลลิสม์ ชาวฝรั่งเศส เขา ‘ยิงตัวตาย’ ซึ่งดูเป็นการตายที่ไม่พิสดารนัก หากว่าเขาไม่เสียเวลาใช้ไม้บรรทัดวัดระยะหน้าอก เพื่อให้ มั่นใจว่ากระสุนจะเจาะทะลุหัวใจ แยน โปตอตสกี (Jan Potocki) ขุนนางนักเขียนชาวโปแลนด์ น่าจะได้การยกย่องให้ เป็นการฆ่าตัวตายที่ ‘ประดิดประดอย’ ที่สุด เขาใช้เวลาเหลากระสุนเงินทรงสตอเบอร์รี่จาก ปุ​ุมกลมๆ (knob) บนฝากระปุกน้ําตาลที่แม่เขาให้มา ก่อนบรรจุในปืนพก แล้วลั่นไก! ดรากอส โปรโตโปเปสคู (Dragoş Propotopescu) นักเขียนชาวโรมาเนีย สนับสนุน ฟาสซิสต์และต่อต้านชาวยิว เขาถูกจับกุมโดยพวกคอมมิวนิสต์ในปี 1948 และพยายาม ฆ่าตัวตายโดยการกรีดข้อมือ แต่ไม่สําเร็จ ทว่าความพยายามอยู่ที่ ไหน ความสําเร็จอยู่ที่นั่น เขาพยายามอีกครั้ง ด้วยการชะโงกศีรษะไปยังช่องลิฟต์ ก่อนถูกลิฟต์เคลื่อนลงมาตัดคอขาดวิ่น


บทสัมภาษณ์ : การมีตวั ตนอยูใ่ นโลกตัวอักษรของบรรณาธิการหญิงอย่าง ไอดา ผูไ้ ม่มี นามสกุล โดย กองบรรณาธิการ

การเกิดขึ้นของหนังสือวารสารวรรณกรรมฉบับเข้มข้นอย่าง “อ่าน” ท่ามกลางยุคสมัย ปัจจุบันนั้น นับเป็นความท้าทายยิ่งนักสําหรับผู้จัดทําวารสารเล่ม นี้ ขณะเดียวกันการปลุกให้ วารสารวรรณกรรมตื่นฟื้นคืนชีพอีกครั้งในสภาวะที่วรรณกรรมมีอากาศให้หายใจน้อยเหลือเกิน ผู้จัดทําต้องมีพลั งศรัทธาอย่างแรงกล้าทีเดียว เป็นที่รู้กันดีว่า วารสารวรรณกรรมนั้นมักจะ มีอายุสั้น ในที่สุดก็ต้องล้มหายตายจากไปเป็นจํานวนมากมายหลายเล่ม แม้จะมีการพยายาม ปลุกฟื้นคืนชีพอยู่หลายครั้ง หากท้ายสุด วารสารวรรณกรรมก็ยังขาดลมหายใจในสังคมนี้อยู่ดี ยิ่งเป็นวารสารวรรณกรรมที่มีเนื้อหาเข้มข้นและเปิ ดเป็นพื้นที่การวิจารณ์อย่างเฉียบคมอย่าง วารสาร “อ่าน” แล้ว ก็ยิ่งมีความสุ่มเสี่ยงมากนักในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ผู้จัดทําวารสาร “อ่าน” ยังคงสําแดงพลังแห่งความศรัทธาในการทําหนังสือเล่มนี้ต่อไป นั่นทําให้น่ าสนใจว่า ผู้ จั ด ทํ า มี ค วามรู้ สึ ก นึ ก คิ ด อย่ า งไรกั น เล่ า มรสุ ม วรรณกรรมมี โ อกาสอั น ดี ที่ ไ ด้ พู ด คุ ย กั บ พี่ บี ไอดา บรรณาธิ ก ารผู้ ไ ม่ มี น ามสกุ ล แห่ ง วารสาร “อ่ า น” ถึ ง เรื่ อ งราวต่ า งๆนานา แน่ น อนว่ า เราปรารถนาให้ท่ า นผู้ อ่า นได้ ร่ว มพู ด คุย กั บ เราด้ว ย เอาล่ะ เรามาพูด คุย กั บ พี่บี ไอดากันเลย พวกท่านพร้อมกันแล้วยังเล่า หากพร้อมแล้วก็เร่งไปกับเราเถิด...


กองบรรณาธิการ : คําถามแรกเลยก็คอื อยากถามพีบ่ วี า่ เริม่ สนใจเรื่องของวรรณกรรมหรือเข้า สูแ่ วดวงวรรณกรรมได้อย่างไร? ไอดา : ก็คงเหมือนน้องๆมั้ง พี่ก็อ่านหนังสือมาตั้งแต่เด็ก อ่านหนังสือเป็นหลักด้วยเพราะ ไม่ค่อยมีอะไรทํา สมัยเด็กก็อยู่บ้านอ่านหนังสื อ พ่อแม่ไม่ค่อยให้ไปไหน ไม่มีพี่น้องผู้หญิง พี่มีแต่พี่น้องผู้ชายก็เล่นอะไรกับเค้าไม่ค่อยเป็น พี่ก็เลยอ่านหนังสืออย่างเดียว แล้วก็อ่านเป็นบ้า เป็นหลังจริงๆ คืออ่านทุกอย่างในบ้าน อ่านหมดแล้วก็เอามาอ่านอีก พี่อ่านนิยายแต่ละเล่มที่มี อยู่ ใ นบ้ า นซ้ํ า ไม่ รู้ กี่ ร อบ อ่ า นในช่ ว งปิ ด เทอม หนั ง สื อ เรี ย นก็ อ่ า น หนั ง สื อ ในห้ อ งสมุ ด ที่โรงเรียนพี่ก็อ่านทุกเล่ม จนบรรณารักษ์บอกว่าสั่งมาให้ใหม่ไม่ทัน คือบ้ามาก แต่ก็อ่านแนว วรรณกรรมนะ แต่ พ อเราโตขึ้น เรื่ อ ยๆ สไตล์ ห นั ง สื อ ที่ เ ราอ่ า นมั น ก็ เ ปลี่ ยนไปเรื่ อ ยๆ คื อ พอวัยเราเปลี่ยน เราก็อ่านหนังสื อที่มันตอบโจทย์แต่ละช่วงวัยของเราที่เปลี่ยนไป สมัยเด็กๆ เราแค่อยากจะรู้จักโลก หนังสือเป็นตัวแทนของโลก เวลาเราอ่านหนังสือแปลที่พูดถึงอะไรแบบ ฝรั่งๆที่เราไม่เคยเห็น พี่ก็ได้แต่นึกจินตนาการเอาเอง เช่นว่า พออ่าน บ้านเล็กในปุาใหญ่ เขาพูดถึงกิ่งของต้นวิลโลว์ว่าเขาเอามาทําเป็นไม้กวาด พี่ก็ต้องนึกภาพตามไปในหัวเอาเอง ว่าหน้าตาของกิ่งนี้จะเป็นประมาณไหนมันถึงจะเอามากวาดพื้นได้ เราก็นึกไปเรื่อย คือมันจะ ใช้จินตนาการในความหมายที่ว่าเป็นการนึกภาพของสิ่งที่มีอยู่จริง แต่เราไม่รู้ว่าของจริงมัน เป็นอย่างไร แต่เมื่อเราโตขึ้นเรื่ อยๆ ประเด็นมันเปลี่ยนแล้ว ความรู้สึกที่ว่าอยากรู้จักโลก มันไม่ใช่แค่การรู้ว่าอะไร หน้าตาเป็นอย่างไร แต่อยากรู้จักในความหมายของการเข้าใจ อยากรู้ความหมายที่แท้จริงของโลกและชีวิตในระดับที่นามธรรมกว่านั้น

อย่างช่วงในวัย

นักศึกษานี่ก็อารมณ์ประมาณอยากเข้าใจสัจธรรมของชีวิตโน่นเลย ก็เริ่มวรรณกรรมที่หนักขึ้น แต่ ว่ า วรรณกรรมหนั ก ในยุ ค ของพี่ มั น ก็ เ ป็ น วรรณกรรมแปล ยุ ค นั้ น คนรุ่ น พี่ ก็ อ่ า นง านของ เฮอร์มาน เฮสเส, ดอฟโตเยฟสกี, ตอลสตอย, โกโกล, กามูส์ อะไรทํานองนี้น่ะค่ะ


กองบรรณาธิการ : ช่วงนัน้ ประมาณ พ.ศ. อะไร? ไอดา : พี่เข้ามหาวิทยาลัยปี 2533

ค่ะ โทนหนังสือที่อ่านช่วงมหาลัยนี่ก็จะต่างกัน

โดยสิ้ น เชิง กั บ หนั ง สื อ ที่อ่ า นมาตั้ ง แต่ เ ด็ก จนถึ ง ม.ปลาย พอเข้า มหาลั ยแล้ ว นี่ หนั ก ไปหมด ทุกเรื่องเลย สมัยนั้นเราก็ทํากิจกรรมด้วย หลายอย่างที่เอามาอ่านมันก็จะพยายามตอบโจทย์ว่า ความหมายของชีวิตคืออะไร อะไรอย่างนี้นะค่ะ แต่พอพ้นวัยนั้นมันก็เริ่มแก่ลง คําถามที่เรา หมกมุ่นมันก็เริ่มเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จากที่อยากเข้าใจความจริงบางอย่างของชีวิต ก็เริ่มมาอ่าน ประเภทที่ตั้งคําถามกับความจริงนั้น หรือประเภทที่เย้ยหยันว่าถ้าไอ้ความจริงที่ว่ามันจะมีอยู่จริง มันก็คงไม่ได้อยู่ในมือเราหรอก อะไรทํานองนี้ แต่ไม่เชิงว่าไม่เชื่ออะไรแล้วนะ แค่รู้สึกว่ามัน ต้องตรวจสอบให้มากขึ้น แต่ว่าโดยรวมพี่ก็ยังอยู่ในแนวทางวรรณกรรมเป็นหลัก จนถึงแม้ ตอนนี้จะอ่านงานวิชาการก็ยังเน้นวิชาการด้านวรรณกรรม กองบรรณาธิการ : พื้นฐานของครอบครัวพี่ไอดา พ่อกับแม่ชอบอ่ านหนังสือและส่งเสริมให้ อ่านหนังสือใช่ไหม? ไอดา : ก็ทํานองนั้น แต่มันก็เป็นไปโดยอ้อมด้วย เพราะพ่อพี่ก็ทํางานหนัก ไม่ค่อยมีเวลา อยู่บ้าน แม่ก็เป็นแม่บ้าน ก็งานหนักไปอีกแบบกับการดูแลบ้านและลูกๆ แต่พอดีว่าโดยภูมิหลัง ของครอบครัวทางแม่เป็นนักกิจกรรมทั้งรุ่น14 และ 6 ตุลา เพราะฉะนั้นมันจะมีหนั งสือ ที่ตกค้างจากครอบครัวของแม่ หนังสือที่พี่ๆ น้องๆของแม่ เคยอ่านกันหลงอยู่ในบ้านอะไร อย่างนี้ พี่เห็นหนังสือ ปีศาจ วางอยู่หลังตู้มาตั้งแต่เด็ก ตอนแรกก็นึกว่าเป็นเรื่องผี เล่นเอา ไม่กล้าอ่านอยู่หลายปี


กองบรรณาธิการ : พีไ่ อดาอยูใ่ นกรุงเทพหรือต่างจังหวัด ไอดา: อยู่กรุงเทพฯ ค่ะ เลยไม่มีอะไรอย่างอื่นเล่น (หัวเราะ) อยู่แต่ในบ้าน กองบรรณาธิการ : ตอนพี่ไอดาเรียนมหาวิทยาลัย เป็นอย่างไรบ้าง แล้วพี่เรียนทีม่ หาวิทยาลัย ไหน? ไอดา : พี่เรียนที่อักษรศาสตร์ ที่จุฬาค่ะ แต่ตอนเข้าเรียนพี่สอบเทียบไป ตอนเข้ามหาลัยก็เลย ยัง เด็ก มาก อายุยั ง ไม่ เต็ ม สิ บหกดี จะเรียกว่ า มี ปัญ หาวุ ฒิภ าวะอย่า งแรงก็ ได้ คือเข้า ไปก็ ไม่พอใจอะไรซักอย่าง ไม่ชอบครูหลายคนคน ไม่ชอบการเรียนการสอนที่นั่น รู้สึกว่าตอบ โจทย์ความต้องการของเราไม่ได้แล้ว ก็เลยไม่ยอมทน ไม่ยอนมประนีประนอมกับระบบและ วัฒนธรรมการเรียนการสอนอย่า งที่เป็น อยู่ ก็ เอาแต่ เข้า ห้องสมุ ด คือถ้ า ไม่ทํา กิ จกรรมก็ เข้าห้องสมุด มีอยู่แค่สองอย่างนี้ ก็เลยยิ่งทําให้อ่านหนังสือหนักขึ้น แล้วช่วงปีสองปีแรกคบหา กับพวกที่เรียนศิลปะ คณะศิลปกรรม พวกเขาก็จะอ่านหนังสือเยอะ อ่านงานด้านศิลปะเยอะ ก็ จ ะไปขลุ ก อยู่ กั บ เค้ า หรื อ ถ้ า ไม่ อ ย่ า งนั้ น ก็ ม าธรรมศาสตร์ เ ลย มาขลุ ก อยู่ บ นตึ ก อมธ. อะไรอย่างนี้ กองบรรณาธิการ : เป็นเพราะความชอบอ่านวรรณกรรมรึเปล่า ทีเ่ ป็นแรงผลักดันให้พเี่ ข้าเรียน อักษรศาสตร์? ไอดา : อืม ไม่ เชิง จริง ๆแล้ว ถ้ า จะพูดว่ า เพราะชอบวรรณกรรมจึง เลือกมาสายนี้ คื อ สายมนุษยศาสตร์ อักษรศาสตร์นี่ก็ใช่ แต่จริงๆพี่อยากเรียนศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ แต่ไป สอบติดที่คณะอักษรฯ พี่ก็เลยต้องไปเรียนที่นั่น กองบรรณาธิการ : พีไ่ อดาเรียนสาขาอะไร? ไอดา : เรียนเอกภาษาอังกฤษค่ะ เอกภาษาอังกฤษของที่นนั่ ก็เรียนทัง้ ภาษาและวรรณคดี อังกฤษ วรรณคดีอเมริกัน


กองบรรณาธิการ : กิจกรรมทีพ่ ไี่ อดาทําในช่วงนัน้ นี่ เป็นกิจกรรมอะไร? ไอดา : เข้าไปแรกๆเลย พี่เข้าไปชมรมวรรณศิลป์ก่อน เพราะชอบหนังสือก็เข้าวรรณศิลป์ แต่พอเข้าไปแล้วก็ มันก็ ... มู้ดมันก็ยังไงดี เออ... ถ้าในรุ่นเดียวกัน เจเนอเรชั่นเดียวกันใน ตอนนั้นเนี่ย ส่วนใหญ่ในชมรมก็จะเป็นเด็กวิศวะฯ ชมรมวรรณศิลป์กลายเป็นที่รวมของวิศวะฯ แล ะอั กษ รฯ มั น ก็ จ ะคล้ า ยๆ มา จี บ กั น ม าก กว่ า ที นี้ ต อน นั้ นพี่ ก็ ฮ าร์ ด คอ ร์ ม า ก พี่ก็มู้ดแบบเพื่อชีวิตสุดๆแหละตอนนั้น ถึงแม้ว่าตอนนั้นโดยบุคลิกพี่ก็จะเรียบร้อย ไม่ได้ดูรุนแรง แต่ ว่ า ข้า งในนี่ มั น จริง จั ง มาก เข้ ม ข้น มาก ที นี้ พอเข้า ไปชมรมเราก็ รู้สึ ก ว่ า กิ จ กรรมมั น ยั ง ค่อนข้างเบาๆ ถึงแม้ว่าพี่จะได้รับผิดชอบโครงงานของชมรมอยู่บ้าง แต่มันก็เป็นกิจกรรมแบบ “กวีอ่านลานหญ้า” อะไรอย่างนี้ ก็ทําไปได้ แต่ไม่ค่อยรู้สึกว่ามันใช่สิ่งที่เราต้องการนัก พี่ก็ เลยไม่ค่อยได้เป็นกลุ่มเป็นพวกกับคนรุ่นเดียวกันเท่า ไหร่ แต่ว่าชมรมวรรณศิลป์นี่ เขามีสิ่งที่ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นมรดกอยู่พอสมควร คือมันอยู่มานาน ก็จะมีพวกรุ่นพี่ๆตั้งแต่รุ่นยุคตุลา อย่างนี้ เราจะยังเจอเอกสารหนังสืออะไรของเค้าอยู่ในตู้เหล็กของชมรม แล้วเค้าก็ยังมาแวะ เวี ย น พี่ ก็ เ ลยเริ่ ม ได้ รู้ จั ก พวกรุ่ น พี่ ๆ เหล่ านั้ น บ้ า ง แล้ ว พอพี่ ม าเป็ น สาราณี ย ากร

จุลสารวรรณศิลป์ ก็ได้ไปขอคําแนะนําจากรุ่นพี่บางคน แล้วก็เริ่มหัดรู้จักงานพิมพ์ เพราะปีที่ พี่ ทํ า เป็ น ปี แ รกที่ เ ริ่ ม ใช้ ร ะบบการพิ ม พ์ จ ริ ง ๆ ไม่ ใ ช่ โ รเนี ย วเหมื อ นก่ อ นหน้ า นั้ น ก็ เ ริ่ ม ทํ า ความเข้าใจระบบโรงพิมพ์ อาร์ตเวิร์ก สมัยนั้นยอดพิมพ์หลายร้อยเหมือนกันนะ จําไม่ได้แล้ว 500 หรือ 800 หรืออะไรทํานองนี้ ซ่ามาก แล้วก็เหลือกองเพียบเลย (หัวเราะทั้งวง) ถึงได้ ถามน้องๆเมื่อกี้ว่าของน้องๆทําขายรึเปล่า จริงๆของพี่ตอนทําก็มันก็มีงบประมาณของมหาลัยที่ เขาให้ชมรมนะ แต่ว่าก็ด้วยความที่เราโรแมนติกกับประวัติของคนทําหนังสือยุคก่อน แล้วก็เคย อ่านเรื่องแบบยุคทําหนังสือเล่มละบาทอะไรที่คุณสุชาติทํากันนะค่ะ พี่ก็อยากทําบ้าง หนังสือ แจกฟรีแท้ๆเลยยังอุตส่าห์อยากจะขายเล่มละบาท อารมณ์แบบว่าอยากให้คนอ่านเค้าแสดง


ตัวตนนิดนึงไง ถ้าคุณอยากอ่านจริงๆ ก็ค่อยซื้อ ไม่ได้แจกทิ้งขว้ าง และถ้าคุณอยากซื้อจริงๆ ก็แค่เล่มละบาทเดียวอะไรอย่างนี้ แต่พี่ยังซ่าไปกว่านั้นอีก คือพี่เอาไปฝากร้านหนังสือด้วย แต่ ไ ม่ ไ ด้ เ ข้ า ระบบสายส่ ง นะ แต่ ต อนนั้ น มี ร้ า นหนั ง สื อ เล็ ก ๆ ชื่ อ ร้ า น “แม็ ก ซิ ม ” อยู่ตรงปากซอยบ้านช่างหล่อ เจ้าของนี่รู้สึกว่าจะเป็นนักเขียนเหมือนกัน เค้าก็ใจดี เค้าก็ให้ กําลังใจ ให้เราไปฝากขายแล้วก็ไปตั้งไว้ที่เคาน์เตอร์เลย ยังรู้สึกขอบคุณเขาจนทุกวันนี้ แต่พี่ก็ ยังไปเอาฝากที่ร้านดอกหญ้าท่าพระจันทร์ด้วย พอผ่านไปหลายเดือนเราก็ไปถาม อยากจะรู้มัน ขายได้แค่ไหน ก็ไม่เคยเห็นเค้าวางแผงนะ ช่วงแรกเห็นเค้าวางแต่ช่วงหลังก็หายไป ปรากฏว่า เค้ารื้อคืนมาให้จากใต้ชั้น เป็นปึ๊งยังไม่แกะเลย คือเค้าไม่วางเพราะว่ามันมีเรื่องส่วนแบ่งกําไร ต่อเล่มใช่มั้ย ทีนี้พื้นที่แผงเค้ามีจํากัด เค้าก็บอกพี่ตรงๆว่าถ้าเค้ามาวางเล่มละบาท เค้าได้ 25สตางค์อะไรอย่างนี้ คือเค้าไม่รู้ว่าจะวางทําไม ตอนนั้ นพี่เลยแบบตาสว่าง เลิกโรแมนติก แล้ว พี่ก็โอเค คือมันมีระบบของมัน ไม่ใช่ง่ายๆ แบบนั้น กองบรรณาธิการ : เลยมาขายเล่มละร้อยแทน (หัวเราะทัง้ วง) กองบรรณาธิการ :

อยากถามต่อว่า แรกเริ่มเลยพี่ไอดาอยากเข้ามาทําอะไรในแวดวง

วรรณกรรม เป็นนักเขียน เป็นนักวิจารณ์ หรือเป็นอย่างอื่น อะไรคือความใฝุฝันที่แบบทําให้พี่ ก้าวเข้ามาจุดนี้? ไอดา : ก็เคยอยากเป็นนักเขียน สมัยก่อนพออ่านเยอะก็อยากเขียน แต่ยุคที่ยังเรียนมหาลัยนี่ มันยังมีความเชื่อมั่นอะไรอยู่เยอะด้วยไง เคยคุยกับเพื่อนๆพวกศิลปิน พวกที่เรียนศิลปะเนี่ย พูดกั นไปถึง ขนาดจะสร้า งงานศิ ลปะเพื่อเปลี่ยนแปลงโลก เขียนหนัง สือที่เปลี่ยนแปลงโลก แต่ว่าพอนานไปมันก็เริ่มรู้ตัวว่า เออ... เราทําได้จํากัด แล้วไอ้ที่เค้าทํามาตั้งเยอะมากแล้ว เนี่ย ก็ไม่มีใครเปลี่ยนโลกได้นะ ก็ไม่ได้หมายความว่ามันไม่มีความหมายเลย แต่ว่ามันไม่ใช่ คําตอบได้ทั้งหมดขนาดนั้น แล้วสถานการณ์เป็นนักเขียน ความหมายของมันก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ


อย่างในยุคหนึ่งมันก็อาจจะมีภาพที่มันค่อนข้างดี สมมติอย่างยุคคุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็น ยุคที่ประกาศนามคณะสุ ภ าพบุ รุษ ในความหมายว่ า วิ ชาชีพ นั ก เขียนเป็น วิ ชาชีพที่มี เกี ยรติ นอกจากจะเป็นสัมมาอาชีพอย่างหนึ่งแล้ว ยังตอบสนองกับเรื่องสังคมเรื่องอะไรได้ และเป็น อิสระจากการแทรกแซงทางอํานาจ อะไรอย่างนี้ มันก็จะมีภาพแบบนั้นอยู่ แต่ว่าสถานะมันก็ เปลี่ยนไปเรื่อยนะ ตอนนี้เป็นนักเขียนก็แทบจะเป็นเซเล็บ เป็นเรื่องของเงินทองชื่อเสียง แล้วก็ นั ก เขี ย นทุ ก วั น นี้ มั น ก็ ต้ อ งอยู่ ใ นโลกของธุ ร กิ จ สิ่ ง พิ ม พ์ ตอนนี้ คุ ณ ก็ ต้ อ งส่ ง เข้ า ชิ ง รางวั ล ไม่อย่างนั้น ไม่ มีพื้นที่ มัน ก็มีเงื่อนไขที่เปลี่ยนไป ก็ คงเป็น กระแสไปทั้งโลกนะ การเป็น นักเขียนมันก็ เป็น แค่อาชีพเล็ก ๆ อันหนึ่ ง ไม่ได้มีอะไรที่ตอบสนองเราได้มากเหมื อนที่เรา คาดหวังไว้ในสมัยเราวัยรุ่นอีกแล้ว กองบรรณาธิการ : แล้วพี่เริม่ เข้ามาทํางานในวงการวรรณกรรมจริงๆได้ยงั ไง ไอดา: พี่อยู่ขอบๆ มาตลอดเลย ตอนเรียนจบก็เคยทําฟรีแลนซ์ให้กับคุณวิมล ไทรนิ่มนวล ตอนนั้นดวงกมลให้ทุนมาทําแมกกาซีนด้านวรรณกรรม แต่ก็ออกมาทดลองแค่ 6 เล่ม แล้ว เค้าก็เลิก แต่พี่ก็เป็นแบบสไตล์ผู้สื่อข่าววรรณกรรม ก็ไปสัมภาษณ์บ้าง แปลข่าววรรณกรรมลง แมกกาซีนบ้าง นอกจากนั้นก็เคยทํางานบรรณาธิการต้นฉบับแปลอะไรอย่างนี้ค่ะ ตรวจต้นฉบับ แปลอะไรพวกนี้ เป็นงานข้างหลัง อยู่แค่ขอบๆ เคยช่วยทํา ช่อการะเกด ยุคก่อนหน้านี้บ้าง ก่ อ นเค้ า จะปิ ดไป แต่ ก็ ไ ม่ ได้ เ ป็น คนเขี ยนเรื่อ งสั้ น มาลงนะ อยู่ ใ นส่ ว นที่ ช่ ว ยทํ า งานแปล เป็นกึ่งๆ กองบรรณาธิการมากกว่า ก็ทําแต่อะไรแบบนี้มาเรื่อยๆ ยุคนี้ถึงแม้จะมาทําของตัวเอง จริงๆ คือทํา “อ่าน” แต่ว่าพอเรามาอยู่ในยุคนี้ ในมู้ดนี้แล้วเนี่ย นอกจากจะไม่เขียนนิยาย หรือเรื่องสั้นเองแล้วยังกระโดดไปเรื่องงานวิจารณ์เลย ก็ยังถือว่าอยู่ขอบๆ ของคนที่จะสร้าง งานวรรณกรรมเอง พี่ก็ยังเลือกจะอยู่ขอบๆอยู่เหมือนเดิมค่ะ


กองบรรณาธิการ : วารสาร “อ่าน” เกิดขึน้ มาได้ยงั ไง? ไอดา : ธนาพล บก.ฟูาเดียวกัน เค้ารู้จักกับพี่มานานแล้ว ก็เคยชวนมาทํา “ฟูาเดียวกัน” นานแล้ว แต่ว่าช่วงที่เค้าชวนพี่ เป็นช่วงที่พี่ทํางาน NGO อยู่ประมาณ 10 ปี พี่ไม่มีเวลามา ทํางานหนังสือ พอพี่หยุดทํา NGO แล้ว ธนาพลเค้าชวนอีกว่า อยากให้มาทําส่วนที่จะเป็น คล้ า ยๆ ส่ ว นแทรกอยู่ ใ น ฟู า เดี ย วกั น คื อ เค้ า รู้ สึ ก ว่ า ฟู า เดี ย วกั น นี่ มั น มี แ ต่ เ รื่ อ งการเมื อ ง ประวัติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ อะไรพวกนี้ใช่มั้ยคะ เค้าอยากได้ในแนววัฒนธรรม วรรณกรรม แล้วก็อยากจะได้ในแนวที่มันเป็นสไตล์ Book Review อะไรอย่างนี้ค่ะ แต่ว่าก็คล้ายๆ เป็น supplement มาเป็นส่ วนเสริม พี่ก็ ตกลงไป แต่พี่ก็บอกว่าเดี๋ยวพี่จะลองทําตั วตั้ ง มาให้ดู ทีนี้พอพี่ร่างขึ้นมา มันก็เป็นเค้าโครงแบบ “อ่าน” นี่แหละค่ะ พอเอาไปให้เค้าดูจริงๆ เค้าก็บอกว่า โห! นี่มันแบบแยกเล่มไปเลยดีกว่า (หัวเราะ) พี่ก็เลยแยก และเสนอเป็นเล่ม project “อ่าน” ขึ้นมา แต่ว่าพี่ก็คงตามความต้องการเดิมของเค้าคือ Book Review ใช่มั้ย แต่ Book Review เนี่ย ตอนนั้นถ้าจะนึกถึงต้นแบบ มันจะมีแต่ของฝรั่ง ก็คือแบบ

London Review of Books, New York Review of Books ซึ่งเรียกว่า ฮาร์ดคอร์มากๆ เพราะว่าในสังคมฝรั่งเนี่ย หนังสือก็มหาศาล และในบรรดาหนั งสือมหาศาล ก็มีหนังสือคุณภาพมหาศาล มีนักเขียนคุณภาพมหาศาล และก็มีนักวิจารณ์ที่แบบเจ๋งๆเยอะ เพราะฉะนั้นเค้าออกรายอาทิตย์ก็ยังได้ และงานวิจารณ์ก็ดีๆทั้งนั้น แต่พอมาของเรานี่ เริ่มต้น พี่ก็นั่งอึ้งเลยว่าของเรามันช่างต่างกันไกล ตอนแรกพี่ก็ปรึกษาอยู่ 2 คน ก็คือ มุกหอมกับ อาจารย์ชูศักดิ์ มาลองนั่งลิสต์ดู มันแทบจะนั่งนับนิ้วเลยว่าเราจะเอาใครบ้างอะไรอย่างนี้ แล้วรายอาทิตย์นี่เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว ก็เลยบอกว่างั้นก็เอาเป็นรอบ 3 เดือน หาที่เราคิดว่า ได้คุณภาพอย่างใจจริงๆแล้วค่อยออกมาทุกๆ 3 เดือน แต่ว่าเราก็ขยับขยายว่าไม่ใช่แค่รีวิว หนังสือ แต่ให้มันขยายไปถึงวัฒนธรรมการวิจารณ์ แล้วก็พอตั้งชื่อว่า “อ่าน” ก็ตั้งใจว่าให้


มันเหมือนกับ อืม คือคําว่า “อ่าน” ในสมัยนี้มันมากกว่าอ่านหนังสือ เราก็เลยเหมือนกับว่า ให้ มั น เป็ น เหมื อ นการถอดรหั ส ปรากฏการณ์ อ ะไรต่ า งๆ เริ่ ม ต้ น โอเค เราอิ ง กั บ หนั ง สื อ ในหนังสือก็อิงกับวรรณกรรม แต่จริงๆจะพยายามขยายออกไปให้มากที่สุด กองบรรณาธิการ : เมื่อกี้พอจะเข้าใจวัตถุประสงค์ ทีนี้อยากถามถึงเปูาหมายของ “อ่าน” พี่ ไอดาคิดว่าสุดท้ายอยากให้มันนําไปสู่อะไร? ไอดา : ตอนเริ่มแรกๆ เลยพี่ก็ยังไม่แน่ใจว่าคนจะตอบรับแค่ไหน คือทุกวันนี้นี่ผิดคาดมากนะ พี่นึกว่ามันจะจืดๆ เรียบๆ คือว่าตอนแรกๆ พี่แค่คิดว่าพี่จะเอานักวิจารณ์จํานวนหนึ่งที่พี่คิดว่า สําหรับพี่แล้วพี่พอใจ ให้มาเป็นตัวหลักแล้ว ก็คือคล้ายๆกับเป็นนักเขียนประจํา เพื่อจะเซ็ต มาตรฐานให้เห็นว่าการวิจารณ์กันอย่างจริงจังในความหมายที่ต้องการคืออะไร แล้วพี่ก็หวังว่า มันจะกระตุ้นให้เกิดคนใหม่ๆ หรือคนที่เขียนอยู่แล้วก็ตามเนี่ย ให้พยายามทํางานในทํานองนี้ แล้วถ้าหากว่ามันจะประสบความสําเร็จ สําหรับพี่ก็คือหมายความว่ามันจะสามารถกระตุ้นมีการ เขียนงานแบบนี้ เยอะขึ้น กระตุ้ นให้เกิ ดวั ฒนธรรมของการวิจารณ์อย่างจริงจัง ซึ่งตั วชี้วัด อันหนึ่งก็คือ เค้าจะส่งตัวต้นฉบับมาให้เรามั้ย ส่งมาแค่ไหน แรกๆ พี่ก็กะว่าใครส่งมาสักชิ้น หนึ่งก็ดีใจมากแล้ว แต่ปรากฏว่ามันมาเยอะ ฟีตแบ็คดีมาก คนส่งมาจนต้นฉบับต้องรอคิวนาน อย่า งบางชิ้น ที่ลงในเล่ม นี้ ปีหนึ่ ง แล้ว นะกว่ าจะได้ลง มั น ดองมากเลย ส่ว นหนึ่ ง ก็ คือเรา 3 เดือนออกทีด้วย มัน ก็นานนะ ก็ถือว่านี่ก็เป็นเปูา ในระดับเล็กที่ชี้วัดง่า ยๆ ก็คือ ชี้วัดที่ ความสามารถในการกระตุ้นให้คนลุกขึ้นมาเขียน แต่ในระดับใหญ่กว่านั้นที่ดูเป็นอุดมคติกว่า นั้นเนี่ย มันไปถึงเรื่องวัฒนธรรมการวิจารณ์ในสั งคมไทย มันไม่ได้กระตุ้นแค่ให้คนเขียนบท วิจารณ์ แต่มันต้องกระตุ้นให้เกิดวิธีคิดแบบนี้ บรรยากาศแบบนี้ ซึ่งตรงนั้นเนี่ยพี่รู้สึกว่ามันได้ ในแค่แวดวงปัญญาชน แต่ว่ามันยังไม่ขยายออกไปกว้างนัก และที่สําคัญพี่ยังรู้สึกว่า มันยัง ง่อยเปลี้ยเสียขาเมื่อเทียบกับสถานการณ์จริงที่บ้านเมืองเรายังเป็นอยู่ตอนนี้เนี่ย พี่คิดว่าตรงนี้มัน


ยังไม่สามารถที่จะไปหาพื้นที่ที่แบบยังไงล่ะ ... ที่มันจะทําให้เกิดกระแสของการตั้งคําถามที่ แหลมคมกว่านี้ หรือว่ากระตุ้นให้มันเกิดการทบทวนอะไรกันได้มากกว่านี้ ตรงนี้ที่ยังไปไม่ถึง กองบรรณาธิการ : ตอนนี้ ทําเป็นสํานักพิมพ์เข้ามาด้วยใช่ไหมครับ ? ไอดา: ใช่ ทําไปแล้วก็มีปัญหาว่าทําไปแล้วจะอยู่รอดยังไง มันก็ขายได้อยู่นะคะ พี่ใช้สายส่ง เคล็ดไทย เค้าก็ บอกว่า ยอดขายไปได้ดี ก็ ไม่ ได้ตี กลับมาที่สํ านั ก พิม พ์ แต่ว่ าต้ น ทุน มัน สูง เฉพาะค่าเรื่องต่ อเล่มก็ เยอะ ค่า ผลิต ก็ เยอะ แต่ ว่ าแม้ ต้น ทุนต่ อจะเล่ม สู ง แต่พี่ไม่อยากลด มาตรฐาน และไม่อยากไปเพิ่มราคาขาย ก็เลยต้องหารายได้ทางอื่น ทางหนึ่งก็คือการออก หนังสือเล่มเพื่อให้มันมีเงินหมุนกลับเข้ามา ก็เลยออกหนังสือเล่มในหัว “สํานักพิมพ์อ่าน” ด้วย แต่ว่ามันก็ยังกระพร่องกระแพร่ง เพราะว่าตอนนี้พี่ประหยัด พี่ก็เลยใช้คนน้อย คนเท่าเดิมแต่ว่า ต้องทําทั้งเล่มทั้งวารสารก็เลยยังช้าอยู่ทั้งสองทาง (หัวเราะ) กองบรรณาธิการ : พี่ไอดาคิดว่าการเป็นบรรณาธิการควรทําอะไร อย่างไรบ้าง แล้วการเป็น บรรณาธิการมีลักษณะเฉพาะ หรือแตกต่างจากการเป็นนักเขียน กวี หรือว่าคนที่ทํางานด้าน อื่นๆในวงวรรณกรรมยังไงครับ ? ไอดา : พี่ ก็ ไ ม่ มี คํ า ตอบชั ด ๆ คื อ ตอนที่ พี่ ม าเริ่ ม ทํ า เนี่ ย พี่ ก็ เ พิ่ ง มาเป็ น บรรณาธิ ก ารใน ความหมายแบบนี้น่ะนะ คือเป็นบรรณาธิการหนังสืออย่างแมกกาซีน วารสาร พวกหนังสือที่มัน มีวาระชัดเจน ก่อนหน้านี้เป็นบก.เล่มเราก็แค่จัดการต้นฉบับแล้วก็จบไป แต่อันนี้เราต้องทํางาน กับนักเขียนจํานวนหนึ่ง และต้องคิดเรื่อง “วาระ” ของหนังสือทั้งในความหมายเชิงเวลาและ ในความหมายของ agenda

ด้วย คําถามแรกของพี่ตอนที่พี่เริ่มทําเลยก็คือ มันจะ

มี ตั ว เราอยู่ใ นหนั ง สื อได้แค่ไ หน คือบรรณาธิ ก ารเป็น อะไรในหนั ง สื อเล่ม นี้ โดยพื้น ฐาน บรรณาธิการคงเป็นเหมือนเลขานุการ ก็คือการรวบรวมใช่มั้ย แต่ว่าปัญหาคือเราจะรวมอะไร เราจะเอาอะไร ช่ ว งแรกพี่ ก็ ยั ง เบลอๆ แล้ ว ก็ ไ ม่ มั่ น ใจเท่ า ไหร่ ห รอก แต่ ว่ า พี่ ก็ ป รึ ก ษา


สองสามคน ทุกคนจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่ามันต้องมีบุคลิกของตัวบก.อยู่ในนั้น พื้นฐานคือเรา เป็นคนset ว่าเราจะเอาอะไรบ้าง ก็คือเป็นการบอกรสนิยมมาตรฐานของเราแล้ว ทีนี้แต่เรา จะทํายังไงให้มันมีคนอื่นอยู่ในนั้นด้วยแต่มีเราอยู่ด้วยก็คือว่าตัวตนเราไม่ได้ไปบังคนอื่น แต่ว่า เราก็จะต้อง set อะไรบางอย่างที่จะทําให้คนนึกออกว่าแบบนี้คือ “อ่าน” ไม่เชิงว่าแบบนี้ คือไอดานะ แต่แบบนี้คือ “อ่าน” มันก็ต้องมาจากตัวเราในฐานะคนทํา ถ้าจะมีบรรณาธิการที่ พี่รู้สึกนับถือหรือยึดถือเป็นแบบอย่างได้เนี่ย พี่จะนึกถึงคุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี หรือคุณเรืองเดช จันทรคีรี คือเรารู้ว่ามันมีตัวตนเค้าอยู่ในนั้น คืองานเขียนเป็นเรื่องคนอื่นทั้งนั้น แต่เรารู้ว่า มันสมองหรือคนที่กําหนดอยู่เบื้องหลังคือใคร พี่ก็คล้ายๆ จะเดินตามแนวนั้นมากกว่า แต่มันก็ หมายความว่าการเป็นแนวนี้มันก็จะประนีประนอมน้อยหน่อย ก็คือว่าเพราะเราเอามาตรฐาน ของเรากํากับใช่มั้ย เพราะฉะนั้นมันก็เลย... ในแง่ความอยู่รอดเนี่ยก็อาจจะเป็นปัญหาถ้าเทียบ กับนิตยสารอื่นๆที่เค้าไม่มีตัวตนของบรรณาธิการหรืออะไรชัดเจนขนาดนี้ วันก่อนพี่ได้อ่านที่ บก.สารคดี เค้าเขียนทํานองว่า ของเค้าเนี่ยเป็นปรัชญาตรงกันข้าม ก็คือถ้ามีตัวบก.อยู่ในนั้น มาก หนังสือจะไปไม่รอด แล้วสารคดีก็เป็นตัวพิสูจน์ว่า 20กว่าปีเค้าอยู่มาได้ อะไรทํานอง นั้น แต่นั่นคือคนละแนวทางกั บพี่ เป็นความตั้ งใจของพี่เลยที่เลือกจะไม่ เป็นแบบนั้น และ ไม่แคร์ด้วยว่าจะต้องอยู่นานกี่ปี แต่ก็คือหนังสือมันตอบโจทย์คนละแบบด้วยไง พี่ก็เข้าใจใน แบบเค้าว่าเค้ามุ่งสื่ อสารวงกว้าง ให้ขายได้ ทีนี้ของพี่ก็เป็นอีกแบบหนึ่ง ก็คือเรียกว่ายังเดิน ตามรอยรุ่นคุณสุชาติ ในความหมายที่ว่าเราทําหนังสือเพราะเรามีเรื่องบางอย่างที่ต้องการ สื่อสารอย่างจริงจัง และเรียกร้องความจริงจังจากผู้อ่านในระดับเดียวกัน เพราะเชื่อว่ามีคน อ่านแบบนี้อยู่ข้างนอกนั่ น ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร ก็ไม่ฝืน ไม่หลอกตัวเอง และไม่ต้องเสียเวลา ไปทําอย่างอื่นดีกว่า แต่ว่างานบรรณาธิการนี่ก็มีงานส่วนที่ต้องมาจัดการต้นฉบับด้วย จัดการ แค่ไหนก็เป็นเรื่องที่พี่ทําไปเรียนรู้ไป คืออย่างช่วงแรกเนี่ยพี่ก็จะซีเรียสไปหน่อยกับเรื่องทาง


เทคนิ ค จัดการทางภาษา ไวยากรณ์ พจนานุกรม ก็คือแบบว่าเทคนิ คมากเลย แต่ ว่าพอ ตอนหลังเนี่ยก็ขยับขึ้นมา เอาเข้าจริงก็รู้สึกว่าเรื่องพวกนั้นไม่ใช่ประเด็นเท่าไหร่สําหรับพี่นะ คือว่าบางทีเราเห็นต้นฉบับขึ้นมาชิ้นหนึ่งเนี่ย คนเขียนเป็นนักเขียนมือใหม่ แต่เรารู้สึกว่า เฮ้ย ! ไอเดียบางอย่างเค้าดี แต่ว่าในแง่สไตล์เค้าเนี่ยมันยังแบบ... ยังเขียนแล้วยังเลื้อยไปนิดนึงหรือ ว่าอะไรนิ ดนึงเนี่ย พี่ทําใจอยู่พักนึง กว่า จะกล้าจัดการของเค้าไหม แต่ว่า ก็ถามเค้า นะว่า โอเคมั้ยถ้าพี่จะลงตีพิมพ์ แต่ว่าพี่ขอจัดการ แล้วเค้าโอเค พี่ก็เริ่มรื้อหั่น รื้อๆๆๆอะไรอย่างนี้ แล้วก็ส่งไปให้เค้าดูแล้วเค้าโอเค แล้วเค้าก็รู้สึกมันก็ดีขึ้นอะไรอย่างนี้ พี่ก็เลยเริ่มมั่นใจมากขึ้น ว่าเราทําได้มากกว่านั้น คือมันเป็นเหมือนเพื่อนนักเขียน ก็คือมันช่วยกัน ทํางานก็ต้องทํางาน ร่วมกัน แต่แน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่ต้องให้บรรณาธิการทําให้ขนาดนี้ โดยเฉพาะพวกที่เป็น นักเขียนประจําของพี่ พี่จะยุ่งกับต้นฉบับเค้าน้อย หรือว่าเราจะรู้ว่าแต่ละสไตล์ต่างกัน เราก็จะ จัดการต่างกัน แต่ก็คือพยายามทําไปโดยที่ปรึกษากับเค้าไป ตอนหลังพี่ยิ่งลดงานไอ้ประเภท ตรวจคําผิดอะไรอย่างนี้ พี่สนใจน้อยลงเรื่อยๆ ให้ทีมงานเป็นคนปรู๊ฟอะไรบ้างแล้วพี่ก็ซีเรียส น้ อ ยลงเรื่ อ ยๆ จนกระทั่ ง มาถึ ง ในเล่ ม นี้ ที่ พี่ ก็ ม าแถลงเรื่ อ งไว้ เ ลย คื อ แรกๆ พี่ ยั ง หาทาง ไม่ค่อยเจอ พอมีต้นฉบับเข้ามาพี่ยังรู้สึกว่าเราต้องมีไม้บรรทัดหนึ่งอันรึเปล่า เช่นว่า ถอดชื่อ นักเขียนจากภาษาอังกฤษถ้าถอดแบบนี้ในบทความนี้แล้ว บทความอื่ นก็ต้องถอดแบบเดียวกัน ไม่ให้มันขัดแย้งกันในเล่มเดียวกันอย่างนี้ แล้วก็มานั่งหมกมุ่นกับเรื่องพวกนี้ ตอนหลังนี่เปลี่ยน ใหม่ คือพี่เริ่มเห็นว่าแต่ละคนที่เขียนมาเค้ามีสิทธิที่จะเลือกว่าเค้าจะเขียนแบบไหน ถ้าไม่ใช่ เรื่องที่เค้า เผอเรอเขียนผิ ด โอเคนั่ น ต้ องแก้ ไข แต่ ว่ า บางทีมั น ก็ มี ห ลัก การของเค้า จริง ๆ บางคนอาจจะถอดเสียงแบบใส่วรรณยุกต์ บางคนอาจจะไม่ใส่ แล้วพี่ก็เริ่มรู้สึกว่า เฮ้ย! เราจะ เป็นราชบัณฑิตหรือเราจะเป็นอะไรที่จะมาบอกว่าคําตอบที่ถูกต้องอยู่ที่ข้าพเจ้าอะไรอย่างนี้


ตราบใดที่มันยังสื่อสารกันเข้าใจ ก็น่าจะอนุโลมได้ ก็เลยหยวนมากขึ้น เพราะฉะนั้นก็เลยจะ เป็นวารสารที่เน้นที่เนื้อหาและความสมดุลของชิ้นงานมากกว่ารายละเอียดพวกนี้ กองบรรณาธิการ : ในเมืองไทย

บก.ส่วนใหญ่มกั จะเป็นบก.พิจารณาต้นฉบับวรรณกรรม

แต่พไี่ อดาเป็นคนทีพ่ ิจารณาตัวบทของการวิจารณ์

มีความแตกต่างระหว่างบก.ทีพ่ จิ ารณา

วรรณกรรม กับ บก.ทีท่ าํ งานพิจารณาการวิจารณ์อย่างไรครับ? ไอดา : ต่างกันเยอะเลยค่ะ คืออย่างในของ “อ่าน” พี่เป็นคนตัดสินใจเองหมด พี่เลือกเอง ได้ว่าจะแก้เค้ายังไง แต่ว่าเกณฑ์ของพี่ก็คือว่ามันต้องสื่อสารรู้เรื่องแล้วก็มีไอเดียที่ใหม่ชัด มีสไตล์ที่น่าสนใจบางอย่าง แต่ถ้าเป็นงานที่เรียกกันกว้างๆว่างานเขียนสร้างสรรค์ เรื่องสั้น กวี พี่จะไม่กล้าแตะ อาจจะเพราะพี่ยังมีเที่ยวบินไม่เยอะพอหรืออะไรก็ตามนะ ถึงแม้ว่าใน บทวิ จ ารณ์ ห รื อ บทความวิ ช าการพี่ จ ะอนุ โ ลมความเป็ น ตั ว ตนของนั ก เขี ย นพอสมควรเลย คือพี่จะระมัดระวังในการไปจัดการงานของเค้า แต่พี่ก็ยังต้องดูแลให้มันเป็นไปตามมาตรฐานที่ พี่ยอมรับได้ แต่ว่าถ้าพอเป็นงานอีกแบบนึง พี่รู้สึกว่านั่นยิ่งเป็นเรื่องเฉพาะตัวมากๆจนพี่ไม่กล้า บางทีเคยมีเหมือนกันที่นักเขียนส่งเรื่องสั้นมาให้อ่านแล้วอยากมาให้ช่วยคอมเม้นต์ พี่จะเกร็ง มากเลย พี่ ทํ า แบบคุ ณ สุ ช าติ ไ ม่ ไ ด้ ไม่ ไ ด้ ห มายความว่ า งานแบบนี้ ทํ า ไม่ ไ ด้ น ะ ทํ า ได้ แต่มันต้องเป็นบก.ที่แบบ “ถึง” นะ ถึงในแง่นั้น แต่ว่าพี่ยังค่อนข้างเกร็งแล้วก็เกรงใจที่จะไป แก้อะไรในลักษณะนั้น แต่ส่วนหนึ่งก็คือ “อ่าน” ก็ชัดเจนว่าเราไม่ได้ลงงานแบบนั้นอยู่แล้ว ไม่ได้ลงตีพมิ พ์งานสไตล์ประเภทนั้นอยู่แล้ว พี่ก็เลยไม่ต้องมาจัดการ ตอนที่เราออกมามันก็ยังมี

ช่อการะเกด ด้วย ช่วงแรกๆ พอมีคนส่งเรื่องสั้นมาให้พี่ก็จะบอกว่าส่งไป ช่อการะเกด เถอะ คือคุณก็จะได้บก.ที่เหมาะสมในการจัดการงานให้คุณ


กองบรรณาธิการ : วรรณกรรมทีด่ ใี นสายตาของพี่ไอดาเป็นยังไงครับ? ไอดา : อืม...โห ตอบยาก (หัวเราะ) ตอบยาก (นิ่งคิด) คือแน่ๆมันก็ต้องอ่านสนุกนะ สําหรับพี่ อ่านสนุกในความหมายว่า plot

มันอาจจะไม่มีอะไรเลยก็ได้นะแต่ค นเขียน

สามารถที่จะสื่อสารออกมาได้อย่างที่เรารู้สึกว่าเค้ามีมุมที่เรานึกไม่ถึง บางคนพี่อาจจะชอบอ่าน แค่เพราะภาษา เพราะภาษาดีและมันมีอะไรมากพอที่จะดึงเราไปได้หรือบางคนพี่ก็ชอบในแง่ ไอเดีย มันก็หลากหลายไปก็ได้ทุกแนว จะเป็นแนวอะไรก็ได้ทั้งนั้น คือในแง่สไตล์พี่ก็ สนใจ ในแง่เนื้อหาก็สนใจ แต่ว่าในช่วงหลังที่พี่มาสนใจอ่านงานเขียนของนักเขียนเก่าๆ ของไทย เป็นพิเศษ พี่รู้สึกว่าในยุคนั้นมัน ไม่รู้ทําไมเหมือนกันว่า เอ๊ะ ! เราไปโรแมนติคกับอดีตหรือ อะไร แต่พี่รู้สึกว่ามัน ... ที่แน่ๆ คือในแง่ภาษา พี่คิดว่านักเขียนรุ่นนั้นเนี่ยจั ดการกับมันได้ดี ไม่ได้ในความหมายว่าเขียนถูกไวยากรณ์หรือใช้ภาษาไทยถูกต้องนะ แต่ในความหมายที่ว่า ภาษามันมีชีวิตและมันเป็นภาษาของเค้า มันมีความเฉพาะตัวของเค้า เค้าจัดการมันได้ แค่นี้ มันก็ดึงเราได้แล้วนะไม่ว่าเค้าจะเขียนเรื่องอะไร ส่วนในอีกแง่หนึ่งก็คือ เวลาอ่านงานเค้าแล้ว เราเห็นภาพ เห็นบรรยากาศของยุคสมัย ต่อให้บางทีเค้าเขียนนิยายรักธรรมดา แต่เราเห็น บรรยากาศของยุคสมัย ก็เลยค่อนข้างสนใจมาก เพราะมันได้ทั้งในแง่การเสพในทางสุนทรียะ แล้ ว ก็ มั น ได้ ใ นแง่ ข องแบบเนื้ อ หาข้ อ มู ล บางอย่ า งที่ ทํ า ให้ เ รารู้ สึ ก ว่ า อ่ า นแล้ ว เราค่ อ ยๆ ทํา ความเข้า ใจสั ง คมไทยอะไรต่ ออะไรได้มากขึ้น แต่ พี่ก็ ไม่ ได้ถึ งกั บมี เกณฑ์ชัดเจนนะค่ะ บอกไม่ ถูกเหมือนกัน แต่ถ้ าบอกว่ าประเภทไหนที่พี่จะทนไม่ได้ก็ประเภทที่แบบดูมันแบบ ... จะใช้คําว่าดัดจริตก็แรงไป แต่ว่าที่มันดูแบบว่า... มันดูเสแสร้ง ที่มันดูว่าอยากจะได้ชื่อว่าเป็น นั ก เขี ย นแต่ ว่ า มั น ไม่ มี อ ะไรที่ เ ป็ น ของเค้ า ที่ ชั ด เจนอยู่ ใ นนั้ น นะ พี่ จ ะรู้ สึ ก ทนไม่ ค่ อ ยได้ บางทีเรื่องแบบนี้มันอธิบายยาก แต่พอเราอ่านแล้วเรารู้สึกว่ามันไม่ใช่ มันไม่ได้แล้ว พี่ก็เลิก


อ่า นไม่ ไ ด้เลย ก็ จะทนไม่ ได้ แต่ ข่า วร้า ยคือ พี่เจองานแบบนั้ น ในรุ่น ใหม่ เยอะ(หั ว เราะ) เลยไม่ค่อยได้อ่านงานร่วมสมัยมากนัก ก็มีที่ชอบบ้างบางคน แต่ก็ไม่เยอะ กองบรรณาธิการ : พี่ไอดามีนกั เขียนทีช่ นื่ ชอบเป็นพิเศษมัย้ ? ไอดา : นักเขียนเก่าๆทั้งนั้นเลย ก็หลายคน แต่พี่ก็เพิ่งเริ่มไล่อ่านนะ อ่านมาลัย ชูพินิจ อันนี้ ก็ทึ่ง ทึ่งมาก แล้วก็จะมี ร.จันทพิมพะ ที่เป็นนักเขียนผู้หญิง นี่พี่เริ่มขุดมาอ่านทั้งนั้นเลยกระทั่ง ยุคที่คนตุลาเค้าอ่านกันแต่ว่าเป็นยุคคนรุ่นก่อนหน้า กุหลาบ สายประดิษฐ์ก็ชอบ แต่อย่าง กุหลาบกับมาลัยนี่จะต่างกันนะ กุหลาบนี่ ความที่เค้าเป็นนักคิดมั้ง มันภาษาแบบนักคิดน่ะ ต่อให้เค้าเขียนนิยายโรแมนติก มันก็ยังดูเป็นนักคิดโรแมนติก แต่เราก็ทึ่งในแง่ความชัดเจน ของเค้านะ คนอะไรชัดเจน ไม่ลังเลขนาดนั้น มันก็น่าสนใจ แต่ว่าถ้ามาลัยนี่ดูเค้าจะกลม หมดนะ ดูมีลูกเล่น มีอะไรที่มากกว่านั้น แต่งานร่วมสมัยก็อ่านอยู่นะค่ะ พี่จะค่อนข้างชอบงาน ของคุณศรีดาวเรือง พี่คิดว่าเค้า... อาจจะเพราะว่าเค้าไม่ใช่ปัญญาชนในความหมายของคนที่ ผ่านการศึกษาในระบบและมีประสบการณ์กับวัฒนธรรมของคนที่รู้สึกว่าตัวเองเป็นปัญญาชน แต่เค้าพูดในเรื่องที่เราสนใจ แล้วมันดูบริสุทธิ์มากสําหรับพี่ พี่ไม่เห็นการเสแสร้งอยู่ในนั้นเลย แล้ ว งานของเขาก็ ยั ง มี อ ารมณ์ ขั น ด้ ว ย แล้ ว ก็ ไ ม่ มี น้ํ า เสี ยงสงสารตั ว เอง พี่ คิ ดว่ า นั ก เขี ย น ส่วนใหญ่ติดหล่มนี้ ที่ฝรั่งเค้าเรียก self-pity นะ ก็คือการเอาตัวเองไปเป็นศูนย์กลางแล้วก็ ฟู ม ฟายกั บ ตั ว เอง แต่ ใ นขณะที่ ศ รี ด าวเรื อ งซึ่ ง ชี วิ ต เค้ า ก็ ผ่ า นมาแบบกรรมาชี พ หรื อ ผ่ า น ความยากลําบากมากมาย แต่ในงานเขียนของเขา พี่กลับไม่รู้สึกถึงน้ําเสียงสงสารตัวเอง แต่ว่าเค้าเล่าภาพของเค้าและคนในชนชั้นที่ร่วมชะตากรรมของเค้าได้อย่างมีชีวิต แล้วบางทีก็ ยั ง คงมี ค วามขบขั น อยู่ ใ นนั้ น ไอ้ แ บบนี้ ถ้ า พี่ จ ะชอบก็ เ พราะพี่ รู้ สึ ก ว่ า เค้ า เขี ย นในสิ่ ง ที่ เ รา เขี ย นไม่ ไ ด้ พี่ ก็ ใ ช้ เ กณฑ์ ป ระมาณนั้ น แหละ เพราะถ้ า อ่ า นดู แ ล้ ว แบบประเภทแบบนี้


ฉันก็เขียนได้วะ ก็ จะไม่อยากอ่าน แต่ถ้าเจอแบบศรีดาวเรือง โห! แบบนี้เราเขียนไม่ได้ เพราะว่าเราดัดจริตเกิน เราไม่เหมือนเค้า เราทําไม่ได้อย่างเค้า กองบรรณาธิการ : พีค่ ดิ ยังไงกับวงการวรรณกรรมไทยปัจจุบนั ครับ? ไอดา : พีร่ ู้จักคนไม่ค่อยเยอะ เพราะพี่คิดว่ามัน… มันอาจจะเหมือนวงการอื่นก็ได้มั้ง พี่ว่า มันมีลักษณะอุปถัมภ์และพวกพ้องสูง เมื่อพี่วางตัวพี่ว่าจะทํางานวิจารณ์ พี่ยิ่งไม่อยากเอาตัวเอง เข้าไปอยู่ในสถานการณ์นั้น พี่เป็นคนปฏิเสธใครยากด้วยนะ ขี้เกรงใจ คือแบบเดี๋ยวเกรงใจ กันก็จะปฏิเสธลําบาก และไม่อยากอยู่ในวงจรของการเป็นหนี้บุญคุณกัน คือถ้าใคร offer พี่อย่างนึ ง พี่ต้ องใช้คืน ทัน ที ให้หายกัน ให้มั น เท่า กั น เพราะไม่อยากให้เป็น หนี้บุญ คุณ พี่ คิ ด ว่ า ในแวดวงวรรณกรรมมี ลั ก ษณะนี้ ค่ อ นข้ า งสู ง มั น ทํ า ให้ ก ารวิ จ ารณ์ เ กิ ด ขึ้ น ได้ ย าก การริเริ่มใหม่ ๆ ก็ยาก ก็คิดว่ามันอยู่ในบรรยากาศนี้เยอะ เพื่อนพ้องน้องพี่เยอะ ทั้งไม่กล้า วิ จารณ์ กั น ทั้ง อุป ถั ม ภ์ กั น เกิ น เหตุ คือ พี่ก็ ไม่ ได้ต้ องการให้ใ ครมาอุป ถั ม ภ์ เ ราเหมื อ นกั น นะ ไม่อยากเป็น “เด็กสร้าง” และไม่ชอบการ patronize กันมากๆ และพี่ก็คิดว่าเราวงการนี้ เป็นอย่างนั้น เยอะ แต่มั นคนละแบบกัน นะกั บเวลาอย่า งที่คุณ สุ ชาติทํา ช่อการะเกด นั่น มั น ตรงไปตรงมา ส่งต้นฉบับให้ผม ผมขัดเกลา คุณ “ผ่านเกิด” ที่นี่ อะไรอย่างนี้ นักเขียนเค้า อาจจะรู้สึกเป็นหนี้บุญคุณสุชาติก็ได้ แต่พี่รู้สึกว่านั่นเป็นความสัมพันธ์ที่เปิดเผยตรงไปตรงมา แต่พี่ไม่ชอบแบบที่มัน อะไรล่ะ แบบที่มันเป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพาอุ้มชู หรือกระทั่งแบบ สมาคม หรือแบบเฮ้ย! เชียร์คนนี้ เขียนถึงคนนี้บ่อยๆ เชิญไปพูดไปสัมมนาบ่อยๆ หรือมีชื่อใน คอลัมน์ซุบซิบวรรณกรรมบ่อยๆ เดี๋ยวก็คนนี้เป็นข่าว คนนั้นเป็นข่าว โห! เรื่องแบบนี้

พี่ไม่ยุ่งเลย


กองบรรณาธิการ : ดูจะเป็นเรือ่ งการเมืองเหมือนกัน ไอดา: ใช่ มันเป็นการเมืองในแง่ความสัมพันธ์ นี่พี่พูดแค่ในดีกรีนี้นะ ยังไม่ต้องพูดถึงว่าพี่ รู้สึกว่าทําไมนักเขียนไทยพูดเรื่องที่ควรจะพูดน้อยเหลือเกิน เป็นอะไรกัน โดยเฉพาะในยุคนี้นะ ถ้าคุณยังอ้างว่าคุณเชื่ออะไรประเภทว่านักเขียนคือผู้หยั่งรู้มองเห็นก่อนและเตือนภัยสังคมหรือ สะท้อนความจริงก็ได้ หรือแม้แต่ถ้าจะอ้างว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมเป็น “วัตถุดิบ” พี่ก็รู้สึกว่า ถ้างั้นนักเขียนตาบอดกันอยู่เหรอ มองไม่เห็นวัตถุดิบเหล่านี้เหรอ มันเป็นช่วงที่ยิ่งต้องทํางาน ยิ่งต้องสร้างงาน แต่ก็ไม่เห็นที่เค้าเอามารองรับกับเรื่องแบบนี้ กองบรรณาธิการ : อย่างนี้คิดว่าวรรณกรรมกับการเมือง สัมพันธ์กันอย่างไร? ไอดา : มันก็สัมพันธ์อย่างที่การเมืองสัมพันธ์กับทุกๆด้านและทุกๆวงการ เพราะว่าการเมือง มันอยู่ในชีวิตอย่างที่คนเค้าพูดใช่มั้ย แล้วยิ่งตอนนี้ก็ชัดไม่รู้จะชัดยังไงแล้ว เข้ามาจนรู้สึกว่า เราเปล่าเปลือยหมดแล้ว รู้สึกว่ามันเข้ามาได้ทุกที่เลยอะไรแบบนี้ คือพี่ก็ค่อนข้างมีประเด็นกับ เรื่องนี้ ม านานนะ ตั้ ง แต่ ส มั ยพี่เรีย นที่อัก ษรฯ พี่ เรียนวรรณคดี แล้ว ช่ว งนั้ น พี่ก็ ทํา กิ จกรรม การเมือง ทํางานกับสนนท. พี่ก็จะถูกพวกอาจารย์ว่า แล้วเวลาเค้าว่าเค้าก็จะบอกเหมือนเป็น การไล่กลายๆ ว่า ถ้าคุณสนใจเรื่องการเมืองแบบนี้คุณก็ไปเรียนรัฐศาสตร์ไม่ใช่เรียนอักษร ศาสตร์ แล้วพี่ก็จะข้องใจมาก มันแยกกันเหรอ แล้วอย่างนี้วรรณกรรมที่เขียนเรื่องการเมืองเค้า เขียนกันได้ยังไง แล้วรัฐศาสตร์ไ ม่ต้องอ่านวรรณกรรมใช่มั้ย อะไรอย่างนี้ คือพี่รู้สึกว่าทําไม มั น แยกขาด ในขณะที่ พี่รู้ สึ ก พี่ไฟท์เ รื่อ งนี้ ม าตั้ ง แต่ พี่เ รีย นนะ ที นี้ พ อมาทํา หนั ง สื อ ตอนที่ “อ่าน” ออกมาแรกๆ ก็มีคนในแวดวงของอีกค่ายหนึ่ง เค้าก็คอมเม้นต์แบบฝากผ่านมาว่า น่าเสียดาย แทนที่จะเป็นหนังสือวรรณกรรม กลายเป็นเรื่องการเมือง หรือบางคนก็บอกว่า “อ่าน” ดีหมด เสียแต่ว่า “พยายามจะเป็นซ้าย” พี่ก็รู้สึกมันติดหล่มนี้กัน ทําไมคุณต้องแยก ต้องขีดเส้น พี่ไม่ได้หมายความว่าพี่จะต้องทําหนังสือที่หายใจเข้าออกเป็นการเมือง แต่พี่ทํา


ให้การเมืองเป็นเรื่องปกติ ปกติพอที่ จะพูดถึงบ้างก็ได้ ไม่เห็นจะเสียหาย แต่พี่รู้สึกว่าทําให้ เหมือนมันเป็นเรื่องปกติ มันเป็นส่วนหนึ่ง เมื่อถึงคราวต้องพูด ก็ต้องพูด อะไรอย่างนี้ค่ะ กองบรรณาธิการ : เคยเห็นพี่ไอดาแปลงานของมาเกอริต ดูราส์

คิดว่าบทบาทนักแปล

แตกต่างยังไงกับบทบาทที่พี่เป็นอยู่ตอนนี้ ไอดา: ก็ช่วงหนึ่งพี่ก็ทํางานแปล แต่ดูราส์นั่นที่แปลเป็นส่วนหนึ่ง ยังไม่ได้แปลทั้งเล่ม แต่ว่าที่ พี่แปลเป็นเล่มก็มีบ้างแต่ก็ไม่เยอะ อาจเพราะว่าเรียนภาษามาแล้วพี่ชอบ มันเหมือนช่วงแรกๆ พอเราไม่คิดจะเป็นนักเขียนแล้ว บางทีอ่านหนังสือภาษาอังกฤษแล้วเจอหนังสือดี ๆ แล้วอยาก ให้คนไทยได้อ่าน พี่ก็เลยแปล ก็ง่ายๆแค่นั้น แล้วพี่ก็ค่อนข้างรู้สึกว่าอาชีพนักแปลมันเจียมตัวดี คือ มั น ไม่ มี อหัง การ์แบบนัก เขียน เพราะว่ า คุณ เป็น ชั้น สอง เป็น ไม้ ผลัดที่ส อง แต่ ว่ า สาร ที่ต้องการจะสื่อมันก็ออกไปเหมือนกัน แล้วมันก็ช่วยคนที่เค้าอ่านจากภาษาแรกไม่ได้ ก็เลยมี ช่วงหนึ่งที่ทําอยู่ค่ะ แต่ว่ามันก็ยาก มันยากมาก เวลาทําจริงๆ มันมีปัญหาเยอะ อะไรคือ แปลได้ อะไรคือแปลไม่ได้ ควรจะคงไว้แค่ไหน แล้วเส้นแบ่งพวกนี้มันขยับนะ คืออาจเป็น เพราะว่าเด็กๆ พี่โตมากับงานแปล หมายถึงว่าอ่านหนังสือแปลเยอะ สมมติว่าวรรณกรรมสมั ย ที่พี่อ่านตอนเด็กๆ พวกนักแปลรุ่นเก่าซึ่งแปลดีมาก เค้าจะไม่แปลโดยยึดต้นฉบับ แต่ส่วนนึงก็ คงเพราะเขาอนุมานเอาว่าคนอ่านส่วนใหญ่ก็ไม่ได้รู้ภาษาอังกฤษและยังไม่เคยชินกับโครงสร้าง ภาษาอังกฤษและวัฒนธรรมแบบตะวันตกหรือที่อื่นๆ มากนัก เพราะฉะนั้นนักแปลต้องทําให้มัน “ไทย” ที่สุด แต่ในยุคนี้มันเชื่อมกันหมดใช่มั้ย คนก็เรียกร้องความเพียว ความบริสุทธิ์ของ ต้นฉบับมากขึ้น เพราะว่าคนก็รับรู้ เราไม่ต้องขยายความมากแล้ว หรือกระทั่งว่าภาษาอังกฤษ มันก็เข้ามาในชีวิตของเรามากขึ้น เข้ามาในภาษาด้วย นักเขียนสมัยใหม่นี้พี่สังเกตว่าเค้า เขียนโดยคิดแบบไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ อาจเป็นอิทธิพลจากเค้าอ่านภาษาอังกฤษหรืออ่าน หนังสือแปลเยอะ เพราะฉะนั้นงานแปลสมัยนี้มันก็จะมีบรรทัดฐานที่ขยับ ถ้าคุณแปลแบบรุ่นเก่า


มาก คุณก็จะถูกหาว่าไม่ยึดต้นฉบับก็ได้ คือมันหาจุดที่ลงตัวยาก มันคิดหลายๆเรื่อง บางทีมัน ขึ้นอยู่กับเรื่องที่เราแปลด้วย สมมติถ้าเราแปลหนังสือที่มันมีอะไรเชื่อมโยงกับทางตะวันตกเยอะ เราก็อาจจะจําเป็นต้องคงกลิ่นนมเนยนั้นไว้ แต่ถ้ามันเป็นอีกแบบ ก็ต้องปรับมาอีกอย่างหนึ่ง อะไรอย่ า งนี้ มั น ก็ มี ร ายละเอี ย ดอะไรที่ ซั บ ซ้ อ นเยอะค่ ะ แล้ ว พี่ ก็ เ ริ่ ม เหนื่ อ ยๆ แล้ ว ไม่ค่อยได้ทําแล้ว กองบรรณาธิการ : อยากทํางานอืน่ ๆหรือมีโครงการอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้องกับวงการวรรณกรรมอีก ไหม? ไอดา : ก็ยงั มีอยู่ ถ้าของ “อ่าน” นี่ พี่ก็คงต้องทยอยพิมพ์งานวรรณกรรมบ้างแล้วค่ะ กองบรรณาธิการ : หมายถึงพิมพ์เป็นเล่มจากสํานักพิมพ์ “อ่าน” ไอดา: ค่ะ ใช่ พอดีว่ามีคนให้ ต้นฉบับมาบ้าง แรกๆพี่ก็พยายามจะไม่ยุ่งเท่าไหร่ แต่ว่า อาจจะบรรยากาศตอนนี้ด้วย เรื่องบางเรื่องน่าจะพูด แล้วถ้าเค้าไปเสนอที่อื่นก็คงไม่มีใครพิมพ์ ให้เค้าอะไรอย่างนี้ เราก็อาจจะต้องทํา อันนี้เป็นเรื่องแบบประเภท “ภารกิจ” มุกหอมก็จะแซว ว่าพี่เป็นเหมือน “ชายคา” อะไรพวกนี้ล่ะนะ หรือว่าบางทีก็เห็นใจว่าดูกระแสของวงการธุรกิจ หนังสือทุกวันนี้ก็ให้ความสําคัญกับวรรณกรรมน้อยลง ถ้าพอจะช่วยได้บ้างก็จะพยายามทําบ้าง กองบรรณาธิการ : ต้นฉบับนักเขียนไทยหรือว่าต้นฉบับหนังสือแปลครับ ไอดา: ทั้งสองแบบแหละค่ะทั้งต้นฉบับที่เป็นวรรณกรรมแปลแล้วก็ต้นฉบับที่เป็นของนักเขียนไทย ส่งให้พี่มาตรงนี้ พี่แบบ โห! จะปฏิเสธก็ใจร้ายกันเกินไปแล้ว ถ้าจะปฏิเสธบอกเราไม่ทํา วรรณกรรม แต่เค้าส่งมาขนาดนี้เราก็เลยแบบ นี่พี่ก็เลยเพิ่งจะเริ่มมาขยับทําอย่างที่น้องถามเรื่อง การเป็น บก.วรรณกรรม เพิ่งจะเริ่มขยับมาทําเองด้วยอาการเกร็งสุดขีดเลย แต่ว่าก็คิดว่าถ้าจะ พิ ม พ์ ใ ห้ เ ค้ า ก็ ข อใช้ สิ ท ธิ์ นิ ด นึ ง แต่ พี่ ก็ ค งไม่ ไ ปแตะเค้ า มาก แต่ ยั ง ไงก็ บ างอย่ า งก็ ต้ อ ง ขอคุยกันด้วย


กองบรรณาธิการ : พี่มีแผนจะแปลงานอีกหรือเขียนงานอีกมั้ยครับ ไอดา: แปลนี่ก็มีคนมาชวนให้ทํา ก็รับไปด้วยความเกรงใจเหมือนกัน บางสํา นักพิมพ์เค้า อยากให้ไปแปลให้เค้าก็รับไปชิ้นหนึ่งค่ะ แต่ยังไม่ถึงไหนเลย แต่เขียนนี่คิดอยู่ค่ะ จริงๆก็กําลัง เริ่มๆ อยู่เหมือนกั น เริ่มเขียนไว้บ้าง แต่พี่กะว่า คือพี่ไม่ได้ก ะทํา “อ่าน” นานหรอกค่ะ (หัวเราะ) กองบรรณาธิการ : หมายถึงว่าจะเปลีย่ นบก.หรือจะ… ไอดา: อืม ถ้าให้อย่างใจพี่เลยนะ นี่ถือว่าพี่บอก “มรสุมวรรณกรรม” เป็นที่แรกเลย แล้วกัน คือถ้า ให้ได้อย่างใจ ถึง จุดหนึ่ง พี่จะปิด “อ่าน” เอง คือพี่ไม่อยากให้มั นอยู่เป็นสถาบัน พี่ค่อนข้างแอนตี้เรื่องพวกนี้ คือพี่ไม่อยากให้เราอยู่ไปจนถึงจุดที่เราเสื่อม มันเสื่อมได้ด้วยตัว เราเองด้ว ยนะ เช่น ว่ า เมื่ อเราอายุ ม ากขึ้ น เรามี แนวโน้ ม ที่ แบบ... ประนี ประนอมมากขึ้ น เริ่มงี่เง่า พี่คิดว่ามันเป็นธรรมชาติมนุษย์เลย แล้วพี่คิดว่าพี่ไม่ไว้ใจตัวเอง คือมันเหมือนใน ตอนที่พี่อยู่ในวัยน้องๆ พี่นั่งดูคนรุ่นก่อนหน้าแล้วก็ไม่เข้าใจว่าทําไมพวกมันเป็นอย่ างนี้อะไร อย่างนี้นะค่ะ คือมันมาทําให้สั่นคลอนเราเหมือนกันว่า สมมติว่าถ้าวันหนึ่งเราเชื่ออะไรอยู่ แล้วเราเห็นว่ามีคนที่เค้าเคยเชื่อมาก่อนเราแล้วเขาเปลี่ยน พี่ไม่ชอบอะไรแบบนั้นมากๆ แล้วพี่ก็ ไม่แน่ใจว่าวันหนึ่งเราจะเปลี่ยนมั้ย ถ้ายิ่งเวลาผ่านไปนานมากขึ้น ถ้าเราพอเรา senior ขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเริ่มเสียงดังขึ้นเรื่อยๆ บารมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ connection เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งพี่ ถือว่าอันตราย แล้วพี่ไม่อยากอยู่ถึงจุดนั้น เพราะฉะนั้นวารสารอ่านอยู่ไปซักพักมันอาจจะ กลายเป็นสถาบัน สถาบันในความหมายของแบบ... ดูราวกับเสียงดังขึ้ นหรือว่ามีบารมีขึ้น แต่ขณะเดียวกันมันก็จะต้องแลกมาด้วยการประนีประนอมมากขึ้น มันจะขัดแย้งในตัวเองแบบนี้ ล่ะ และพี่จะไม่รอให้ถึงจุดนั้น คือคําว่าเสื่อมของพี่นี่ พี่ไม่ได้กังวลเรื่องว่าคนไม่ซื้อแล้วขายได้ น้อยลงจนเจ๊ง แต่พี่กลัวเสื่อมในแง่ของ spirit ดั้งเดิมของมัน ว่ามันจะหายไป แต่ว่า


อีกส่วนหนึ่งคือพี่เชื่อในเรื่องว่ามันมีคนรุ่นใหม่ generation ต่อไป สมมติว่าถ้าวันหนึ่งพี่ หยุดทํา “อ่าน” พี่เลิกทํา “อ่าน” แล้ว ปิดแล้ว มันก็จะมีคนทําหนังสือขึ้นมาอีก มันก็จะเป็น ยุคสมัยของเค้า เป็น “หัว” ของเค้า ไม่จําเป็นที่เค้าจะต้อ งเกิดมาแล้วมาสวมหัว “อ่าน” พี่อยากเห็น spirit แบบนั้นมากกว่า กองบรรณาธิการ : ผมเคยอ่านอยู่ครั้งหนึ่ง คุณสุชาติ สวัสดิ์ศรี เขียนชมว่าวารสารอ่านเข้มข้น กว่าโลกหนังสือ พี่คิดยังไงบ้าง ไอดา: โห! คุณสุชาติแกให้เกียรติ ให้เกียรติมากไปนิดหนึ่ง (หัวเราะ) แต่คือมันก็ต้องพูดว่า ยังไงล่ะ มัน ขึ้น อยู่กับว่า มองความหมายไหน คือถ้า บอกว่ าเข้ม ข้น ในแง่ ว่า วิจารณ์ล้วนๆ ก็ แ หม ทั้ ง เล่ ม มั น เป็ น บทวิ จ ารณ์ ทั้ ง เล่ ม ก็ ค งต้ อ งเข้ ม ข้ น ล่ ะ ในขณะที่ โลกหนั ง สื อ เค้ า มี สัมภาษณ์มีโน่น นี่ ใช่มั้ย ถ้าเทียบในแง่นั้นโอเค มันก็ต่าง แต่ว่าความเข้มข้นในแง่ว่าถ้าดู ณ ยุ ค สมั ย นั้ น พี่ ว่ า โลกหนั ง สื อ คื อ คํ า ตอบเลย มั น คื อ จุ ด เปลี่ ย นของยุ ค ประวั ติ ศ าสตร์ วรรณกรรมร่วมสมัยของไทย และเมื่อ ช่อการะเกด ปิด มันก็คือจุดเปลี่ยนอีกเหมือนนะสําหรับพี่ อาจารย์ชูศักดิ์เคยใช้คําว่ามันคือยุคเปลี่ยนผ่านของวรรณกรรม พี่ว่ามันเกิดขึ้นกับ โลกหนังสือ และจบลงกับโลกหนังสือ และอีกทีก็ช่อการะเกด คือ spirit แบบนั้นมันมีความเฉพาะตัว ของมันเองและเฉพาะตัวในทางยุคสมัยด้วย ไม่ใช่ในแง่ว่ามันเลอเลิศไปซะทั้งหมด แต่ว่ามัน ส่งอิทธิพลมาก มันเข้มข้นและมีพลังในแง่นั้น ซึ่งพี่ก็คิดว่า “อ่าน” ก็ยังไม่มีโอกาสที่จะเป็นได้ ขนาดนั้น มันยากมาก ส่ วนหนึ่ง มันเป็นเรื่องยุคสมัยด้วย ในยุคนี้ไม่มีใครต้องมารออ่าน journal รายสามเดือนเพื่อจะมารับรู้อะไรต่ออะไร โลกอินเทอร์เน็ตทําให้ทุกคนเข้าถึงได้ หมดแล้ว ในขณะที่ในยุคโลกหนังสือนั้น หนังสือมันเป็นประตู มันเป็นช่องทาง มันก็มีเงื่อนไข หลายอย่ า งในการจะบอกว่ า หนั ง สื อ เล่ ม หนึ่ ง มั น เข้ ม ข้ น หรื อ ว่ า เป็ น เล่ ม สํ า คั ญ ของยุ ค สมั ย มันมีหลายปัจจัย


กองบรรณาธิการ : ขอถามแบบขําๆครับ คือมรสุมวรรณกรรม เล่มนี้ เราทําเกีย่ วกับเรือ่ ง

นักเขียนกับความตาย ตามทัศนะของพีไ่ อดา คิดถึงนักเขียนกับความตายในแง่ไหนครับ ความ ตายของนักเขียนหรือความตายของงานเขียนของเขา? ไอดา : วันก่อนพี่เพิ่งคุยกับเพื่อนๆ เรื่องคล้ายๆทํานองนี้ ไม่รู้ว่าเข้ากันมั้ย คือ สมมติเช่นว่า ที่พี่เล่าว่าพี่ค่อนข้างชอบอ่านงานนักเขียนเก่าใช่มั้ย ยิ่งช่วงนี้พี่กลับไปขุดมาอ่านมาก คือมันก็ อาจจะเป็นอาการโหยอดีตหรืออะไรอย่างนี้ก็ได้นะ แต่เหมือนที่พี่เคยเขียนในบทบก.เล่มหนึ่งพี่ พู ด ถึ ง นายผี พู ด ถึ ง งานเขี ย นของในรุ่ น ที่ ทํ า หนั ง สื อ อั ก ษรสาส์ น หรื อ คนรุ่ น กุ ห ลาบ สายประดิษฐ์โน่นแน่ะค่ะ คือพี่เรียกมันว่าเป็น “อดีตที่ไม่ร่วมสมัย ” คือหมายความว่าจริงๆ มันควรจะร่วมนะ แต่ว่า spirit นั้นเราไม่เห็น ณ ตอนนี้ มันทําให้พี่ยิ่งกลับไปโหยหา อะไรในยุคนั้น เมื่อก่อนพี่เคยมีอาการถึงขนาดว่า สมัยพี่ทํา NGO มันจะเป็น NGO ประเภท สนับสนุนการต่อสู้ของชาวบ้านต่อโครงการของรัฐบาลของเอกชนอะไรแบบนี้ หนักไปทาง ประท้วงอะไรอย่างนี้ มันก็จะมีช่วงหนึ่งที่แบบ… มีงานล็อบบี้ มีงานอะไรบ้าง ต้องเข้าไปใกล้ ศูนย์อํานาจบ้าง พี่ก็เริ่มไม่แน่ใจ เราทําอะไรถูก เราทําอะไรผิด เราล้ําเส้นที่ควรจะทําหรือ เปล่า ขาวดําเทามันปนกัน บางทีพี่ก็จะไปที่วัดเทพศิรินทร์ เพราะว่าที่นั่นจะมีโกฏิของคุณ กุหลาบ สายประดิษฐ์อยู่ ก็ไม่มีอะไร ก็แค่ไปนั่งเงียบๆ อยู่กับแก พี่พยายามจะนึกถึงคนรุ่นที่ เค้ามีไม้บรรทัดที่ชัดเจน ที่ว่าถ้าเป็น เค้า เค้าจะบอกได้ว่าอะไรใช่ อะไรไม่ใช่ อะไรถูก อะไรผิ ด พี่ คิ ด ว่ า spirit ยุ ค นั้ น ที่ บ างที พี่ โ หยหามั น ก็ คื อ ในแง่ นั้ น โดยเฉพาะใน สถานการณ์ปัจจุบันของเรา แล้วก็จริงๆ งานเขียนในรุ่นของเค้ามัน ก็เป็นยุคที่สังคมไทยกําลัง ก้าวสู่ช่วงเปลี่ยนผ่านช่วงหนึ่งเหมือนกัน แล้วตอนนี้เราก็กําลังอยู่ในสถานการณ์คล้ายๆอย่าง นั้น บางทีการกลับไปอ่านงานของพวกเค้ามันตอบโจทย์พี่ได้มากกว่าการอ่านงานร่วมสมัยใน ปัจจุบัน แต่ที่สําคัญคือพวกเขาตายกันไปหมดแล้วไง ถ้าเค้ายังอยู่ทุกวันนี้พี่ไม่รู้เค้าจะเป็นยังไง


เค้าอาจจะเป็นหนึ่งในอีกคนที่ทําให้พี่งงว่ามึงจะเอายังไงกันแน่อะไรอย่างนี้ก็ได้ โชคดีจริงๆที่ เค้าตายไปแล้ว (หัวเราะ) กองบรรณาธิการ : โชคดีที่ตายก่อน … ไอดา: ใช่ พี่ก็มีปมกับอะไรพวกนี้เหมือนกันนะ พี่รู้สึกว่าพี่รักนักเขียนที่ตายไปแล้ว (หัวเราะ) แต่ว่าพูดแบบนี้ก็แบบว่าอาจจะดูแบบ naïve หรืออะไรมากนะ แต่ว่าบางทีเราบางจุดเราก็ ไม่ แ น่ ใ จว่ า เราจะเข้ ม แข็ ง พอที่ เ ราจะแบบว่ า ... คื อ เราก็ อ ยากหาอะไรยึ ด บ้ า งนะ เค้าตายกันหมดแล้วก็โอเค ก็นั่นแหละ มันถึงทําให้พี่รู้สึกว่าเราควรจะ “ตาย” ซะก่อนเหมือน เค้าอะไรอย่างนี้ คือตายก่อนที่เราเองก็จะเสื่อมอะไรอย่างนี้ เพราะว่าเราไว้ใจมนุษย์ไม่ได้ แล้ว ทํา ไม ความตายของนั ก เขีย น

ถึ ง สํ า คั ญ สํ า หรับ พี่ เพราะว่ า มั น เหมื อนกั บ ...

อย่างตอนเด็กๆ พี่โตมาพี่ก็จะฟังเรื่องของคนตุลาเยอะ แม่เค้าเล่าให้ฟัง เราก็รู้สึกมันยิ่งใหญ่ สวยงามมาก โตมา ม.ปลาย พี่อ่าน ใบไม้ที่หายไป พี่อ่านแล้วตัวสั่นเลยนะ แบบทําไม มันช่างสะเทือนใจ ตัวสั่นนี่คือสะเทือนใจน่ะนะ แล้วแบบว่าอะไรนะ “สตรีมีสองมือ มั่นยึดถือ ในแก่นสาร” มันคือทุกแง่มุมทั้งเรื่องอุดมคติหรือเรื่องความเป็นผู้หญิงอะไรอย่างนี้ โตขึ้นมา หน่อยเข้ามหาลัยเห็นข่าว เอ๊ะ !

คนเขียนไปเป็นกรรมการประกวดสาวแพรว พี่ก็แบบว่า

เอ๊ะ! มันยังไงกันแน่วะ หรือแบบว่าพอนานๆไปคือคนที่สร้างงานที่เราเคยอ่านและส่วนใหญ่มัน ก็เป็นงานวรรณกรรมใช่มั้ย ที่เราเคยอ่านแล้วเรารู้สึกว่ามันให้แรงบันดาลใจเรา แล้วพอเค้า ยังไม่ตาย เขาก็ไม่ค่อยเหมือนเดิมกันไง พี่คุยกันเล่นๆวันก่อนกับเพื่อนๆว่า เราควรจะทํายังไง กับพวกเค้า คือมันก็คงจะดูไร้เดียงสาถ้าเราจะบอกว่า เฮ้ย ! ทําไมคุณไม่เหมือนเดิม คือเค้า มีสิทธิจะไม่เหมือนเดิม เราเองก็ไม่เหมือนเดิม แต่พี่ขอแค่ว่า ถ้าคุณจะไม่เหมือนเดิมก็โอเค

แต่คุณต้องสละอดีตนั้นน่ะ คุณอย่ากินบุญเก่า ถ้าคุณเคยเขียนอะไรไว้แล้วคุณไม่เชื่อในสิ่งนั้นอีก แล้ว ก็กรุณาอย่าเลี้ยงชีพเลี้ยงบารมีตัวเองด้วยสิ่งนั้น อย่าถือ “ลิขสิทธิ์” อันนั้น คืออย่าให้


อดีตนั้นมันมาเป็นแค่บันไดส่งคุณให้คุณไปยืนอยู่ในอีกที่นึงในปัจจุบัน เพราะพี่รู้สึกว่ามั นทรยศ ต่อคนอ่านและคนรุ่นหลัง คือพี่รู้สึกว่าพี่โตมาในรุ่นที่รู้สึกว่าถูกหักหลัง คือเพราะว่าถ้าสมมติว่า ถ้าพี่โตมาในรุ่นที่ห่างไกลจากนั้นมากพอที่จะไม่อิน ไม่รับรู้ ไม่ได้รับเอาอุดมการณ์นั้นมาเป็น ส่วนหนึ่ง พี่จะไม่ hurt มากไง แต่พี่รู้สึกว่าพี่เคยนับถือนะแล้ว คุณกลายมาเป็นแบบนี้ คือพี่ โตมาโดยที่ จ ะได้ ฟั ง ผู้ ใ หญ่ เ ตื อ นอยู่ นั่ น แล้ ว ว่ า อย่ า ไปบ้ า อุ ด มการณ์ อ ะไรมาก อย่ า เชื่ อ อย่าทุ่มเทอะไรมาก เดี๋ยวก็เปลี่ยน ดูซิ คนโน้นก็เปลี่ยน คนนี้ก็เปลี่ยน คือโตมาแบบที่ต้องทน ฟังว่า ดูซิ เดี๋ยวเค้าก็เปลี่ยน เดี๋ยวเค้าก็เปลี่ยน เดี๋ยวเค้าก็เปลี่ยน ก็เลยทําให้ เฮ้ย ! เราไม่มี สิทธิที่จะเชื่ออะไรเลยหรือนี่ เพราะว่ามันมีหลักฐานตัวเป็นๆ ที่เดินๆกันอยู่ ที่หายใจกันอยู่ทั้ง generation ที่มันเปลี่ยน พี่รู้สึกว่านี่เป็นเรื่องที่นักเขียนหรือคนที่ทํางานเขียนต้องรับผิดชอบ กับสิ่งที่ตั วเองเขียน คือคุณไม่ เชื่อแล้วก็ไม่มี ปัญหา คุณเปลี่ยนความเชื่อใหม่ได้ไม่มีปัญหา แต่ถ้าอย่างนั้นคุณต้องตัดตัวเองจากประวัติศาสตร์นั้น แล้วอย่าอะไรล่ะ อย่าเอามันมาแค่เป็น ตัวส่งบารมีให้คุณมาอยู่ในทุกวันนี้ มันเป็นเรื่องที่ควรละอายใจมาก แล้วจะให้พี่ถือว่าอะไร ตายดี ล่ ะ คนสร้ า งงานนั้ น ตาย หรื อ ว่ า ตั ว งานนั้ น ตาย จะให้ พี่ ฆ่ า อั น ไหนเลื อ กมา คื อ

ถ้ า คุ ณ ไม่ ใ ห้ ฉั น เผาหนั ง สื อ เล่ ม นี้ ทิ้ ง ก็ ต้ อ งให้ ฉั น ฆ่ า คุ ณ เอาสั ก อย่ า งน่ ะ คํ า ว่ า “ฆ่ า ” นี่หมายถึง ว่าไม่ใช่ฆ่าเค้าจริงๆ น่ะนะ แต่ว่ าหมายถึง การปลดระวางจากสถานะที่เป็นอยู่ แล้ว “เผา” นี่ก็ไม่ใช่ว่าจะไปเผาหนังสือจริงๆ แต่หมายถึงการปลดระวางจากสิ่งที่คุณเขียนนั้น จากความเชื่อนั้นแล้ว มันไม่ใช่สมบัติ ไม่ใช่เกียรติประวัติของคุณอีกแล้ว คุณไม่มีสิทธิ์หากิน กั บ มั น อี ก แล้ ว คื อ คุ ณ เลื อ กเอาว่ า คุ ณ จะเอาอั น ไหน แต่ ถ้ า คุ ณ เล่ น จะเอาทั้ ง สองอย่ า ง แล้วปล่อยให้ทั้งสองอย่างนี้ดํารงอยู่ด้วยกันอย่างขัดแย้งกันอย่างนี้ พี่ถือว่ามันไม่แฟร์ต่อคนอ่าน ไม่แฟร์ต่อคนรุ่นหลัง.


บทกวีรบั เชิญ ใครหลายคนหายไปในวงสนทนา (มูหมั หมัดฮาริส กาเหย็ม)

โสเครตีส, โปรดอยู่เป็นสักขีพยาน ให้วันคืนย้อนถามการกําเนิดของความตายอย่างควรยั่วแย้ง และหยุดแก้วยาพิษในมือของท่านไว้ก่อน เถิด ให้เข็มนาฬิกาพิการเสียที! เผื่อขุดคุ้ยใต้ถนนระอุอารมณ์มวลชน จดลงไปด้วยสิ! อริสโตเติล ว่าปวงสัตว์มาร่วมเริงระบํารอบกองเพลิง ถอดเขี้ยวเล็บแล้วสวมหน้ากากเลือดและเนื้อ แขนและขาเคยคลานข้ามเถื่อนถ้ําบรรพกาล ชูคบไฟสุมฟืนแห่งปัญญาญาณ นั่นนั้นอาคันตุกะแห่งเรา เรา, ปวงสัตว์ปวงมนุษย์จุดประทีปเรืองรอง หรือลุกลามล้มเหลว...


โธมัส อไควเนส เอ๋ย... ผ่องแผ้วหรือบ่วงมายาการอ้าง ฉายาลักษณ์แห่งพระเจ้า จรัสรัศมี ณ เบื้องบน เหนืออาณาจักรโลกมลทิน มันคนบาปใดบังอาจสาบานด้วยนามของพระองค์ ข่มคนใต้ปกครอง โธ่ คําสัญญาของคนต่อคน! ลงจากเก้าอี้เถิด โธมัส ฮอบส์ ให้โสเครตีสได้ไถ่ถามสารทุกข์สารสุข ครั้งกระโน้นมอบหวังแด่ผอู้ ยู่เหนือหัวเราตราบชั่วนิรนั ดร์ ขอบคุณ! นิโคโล มาเคียเวลลี่ กอดคอเราดุ่มเดินสํารวจโลกมืดคนปุวยไข้ จําต้องรักษาพยาบาลกองกําลังไว้ ตราบเท่ารัฐต้องเยียวยาอาการร้อนใน ต้อน ชัง ชากส์ รุสโซ ออกมาจากฝูงแกะด้วยสิ พ้นวงล้อมกลิ่นสาบเหล่าหมาปุาหิวโหย เราจะยืนหยั่งผืนดินดั่งเดิมได้อย่างไร เรามาไกลเหลือเกิน รู้หวาดกลัวรู้เลี่ยงห่างคมเขี้ยว


ยามเช้า, ปูุสอนพ่อถลกหนังเสือจนเชี่ยว ยามค่ํา, ลูกหลานชุบตัวในอาภรณ์ ตะลอนหนทางความจริงด้วยโล่กําบังแห่งแบบแผน เกินกลับหลังปลดโซ่รัดข้อมือข้อเท้า รุ่งเช้าอีกจนรุ่ง, เราไล่ล่าเงินตรายังชีพ กระโดดลงปล่องควันโขมงโรงงานร้านเมือง งมหาเศษเสี้ยวลูกปัดร้อยประดับหัวจิตหัวใจ… ด่วนมาเกินไป คาร์ล มาร์กซ์ ท่าน เรายังเริงสําราญวิง่ ขึ้นวิ่งลงกระได หรือบางใครไม่เคยย่าํ เคยเหยียบหัวขั้นแรก เช่นอีกวันหนึง่ , ผู้มุ่งรื้อถอนเพื่อประชาชนก็เอาเยี่ยงปืน ฆ่าทุกเสียงร้อง แม้แต่เสียงตน! ว่าอย่างไรล่ะ จอห์น ล็อค มาแต่เนานานซึ่งก่อบ้านก่อเมืองเรืองรังฉากหลังฉากหน้า ระยิบระยับประดับประดาชาชิน พวกเขาไม่เคยเขียนพินัยกรรมให้เราหรอก แต่เราก็รับมรดกมาทั้งหมดนั่นแหละ มากกว่าพันธุกรรม วางยาอนาคตแดดิ้นไปก่อนหน้าบรรพบุรุษ.


มูหัมหมัดฮาริส กาเหย็ม กวีหนุ่มผู้เติบโตท่ามกลางกลิ่นอายผสมผสานวัฒนธรรมชาว พุทธและมุสลิมใน อ.สะเดา จ.สงขลามี บทกวีชิ้นนี้รวมอยู่ “ในท้องปลาวาฬ” หนังสือรวม บทกวีอย่างเป็นทางการเล่มแรกของเขา ตีพิมพ์โดยสํานักพิมพ์ไม่ประสงค์ ปลายปี พ.ศ.2552 .............................................................


บทกวีแปล เจ้าจามรีถกึ เถือ่ น-เกรกอรี่ เคอโซ (Mad Yak-Gregory Corso) ข้าเฝูามองพวกมันปัน่ ตีน้ํานมมื้อสุดท้ายที่รีดเค้นจากข้า พวกมันตั้งท่ารอให้ข้าตาย; พวกมันอยากจะเอากระดูกข้าไปทํากระดุม เหล่าพี่น้องแห่งข้าอยู่หนใด? ภิกษุชะลูดรูปหนึง่ อยู่นนั่ , แบกหามลุงข้า, เขาสวมหมวกใบใหม่ และศิษยาผู้โง่เง่าของเขานั่น-ข้าล่ะไม่เคยพบเห็นผ้าพันคอเช่นนั้นมาก่อนเลย ลุงผู้น่าสงสาร, ท่านยอมให้พวกมันหามไป ดูท่านช่างโศกสลด, เหนือ่ ยหน่ายเสียจริง ข้าล่ะแสนพิศวงถึงสิ่งที่พวกมันจะทํากับกระดูกของท่าน? และเรียวหางอันน่าพิสมัยนั้น! จะร้อยเชือกผูกรองเท้าได้สักกี่เส้นกันนะ!

ติส ต์ หนุ่มแว่นหัวฟู ฉุดกระชากจามรีถึกเถื่อน ออกมาจากต้นฉบับบทกวีของ เกรกอรี่ เคอโซ (Gregory Corso) กวีบ้าระห่ําแห่งอเมริกันชน แปลด้วยสํานวนห้าวเปูง ไม่แพ้ต้นฉบับ เล่นเอาเจ้าจามรีถึก เชื่องลงเสียด้วยสําเนียงพากย์ไทย นับว่าบทกวีนี้ชวนอ่าน เอาการ มรสุ ม วรรณกรรมนํ า มาให้ ท่ า นผู้ อ่ า นได้ เ ชยชม งานของ เคอโซ หาอ่ า น ได้ไม่ง่ายนักหรอก ฉะนั้น จงอ่านบทกวีนี้เสีย แล้วท่านจะไม่ตายเปล่าๆปรี้ๆ .............................................................


แนะนําหนังสือ โดย ภา’ ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย-ฮารูกิ มูราคามิ (Norwegian wood-Haruki Murakami)13

ฮารูกิ มูราคามิเขียนเรื่องนี้ด้วยแรงบันดาลใจจากเพลง Norwegian wood ของ The Beatles จอห์น เลนนอน แต่งเพลงนี้ด้วยภาษาและเนื้อหาทีก่ ํากวม เพื่อเหตุผลบางประการ ..

I told her I didn't and crawled off to sleep in the bath .. เรื่องราวความผูกพันอันแสนเปราะบาง บางคนว่านั่นคือความรักอันฉาบฉวย แต่เราไม่ เคยเชื่ออย่างนั้น ทางใดทางหนึง่ นั่นคือการแสดงออกอย่างงดงามทีส่ ุด ..

And when I awoke I was alone This bird has flown .. ฮารูกิ มูราคามิ, ด้วยรัก ความตาย และหัวใจสลาย. กรุงเทพฯ: กํามะหยี่, 2553.

13


การเปลือยเปล่า เปลือยตัวตนต่อบางสิ่งบางอย่าง อาจด้วยอํานาจอันโง่งมจากแววตา ผู้คนทั่วไป หรืออาจเป็นเพียงความลึกซึ้งอันยัง่ ยืนเสียเหลือเกิน ..

So I lit a fire .. เราร้อยถักกันและกันด้วยสายใยแห่งใดบ้างนะ ..

Isn't it good Norwegian wood .. บรรจงถามคําถามนัน้ ซ้ําซ้ํา ช้าช้า อย่างชัดถ้อยชัดคํา.


แนะนําหนังสือ โดย ชัชชล อัจฯ หนังสือแห่งชา: จิบรากจิตวิญญาณ14

ชา เป็นเครื่องดื่มที่อยู่คู่กับชาวตะวันออกมาช้านาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศญี่ปุน ชาวญี่ปุนถือว่าการดื่มชานั้นเป็นพิธีกรรมที่แฝงปรัชญาและวิถีแห่งจิตวิญญาณของสิ่งสามัญ ใน บทนิพนธ์เล่มนี้ของท่านอาจารย์ชา คะคุโซ โอคะคุระ ได้กล่าวอธิบายให้เราเห็นแง่มุมของ ‚สิ่งเล็กน้อยที่ยิ่งใหญ่‛ ชนิดนี้ได้อย่างงดงามด้วยภาษาที่ประณีต และเนื้อหาที่ดําเนินไปอย่าง เรียบง่ า ย ทว่ า เต็ม ไปด้ว ยเรื่องราวน่ า ประทับใจในแต่ ละบทของหนั ง สือ ซึ่ง เริ่ม ต้ น ด้วย

14

คะคุโช โอคะคุระ, หนังสือแห่งชา. กรุงเทพฯ: โอเพ่นบุ๊กส์, 2553.


‚ถ้วยแห่งมนุษยชาติ‛ ‚สกุลชา‛ ‚ลัทธิเต๋าและนิกายเซน‛ ‚ห้องชา‛ ‚การซาบซึ้งศิลปะ‛ ‚ดอกไม้‛ และจบลงด้วยบทสุดท้าย ‚อาจารย์ชา‛ ความเนิบช้าละมุนละไมที่แฝงฝังอยู่ใน เนื้อหาแต่ละบทนั้นเชื้อเชิญให้เราหวนกลับมาใคร่ครวญวิถีการดําเนินชีวิตในโลกที่เคลื่อนไปเร็ว เสียจนหลายคนหลงลืมความงามของสิ่งธรรมดารอบตัว ขอแนะนําให้หยุดพักในกระท่อมน้อยหลังนี้สักครู่ และจิบชาสักถ้วย...


แนะนําหนังสือ โดย สิตสุ แมลงวันซูดาน: อ่านความสัปดนแห่ง โรอัล ดาห์ล15

นักอ่านส่วนใหญ่มักจะรู้จัก โรอัล ดาห์ล ในฐานะคนเขียนเรื่องเด็ก หากนักอ่านที่ ทะลึ่ ง ตึ ง ตั ง เยี่ ย งสิ ตุ ส ย่ อ มหาอ่ า นงาน พิ ส ดงพิ ส ดารเสมอ “แมลงวั น ซู ด าน” หรื อ “MY Uncle Oswald” เป็นงานที่ โรอัล ดาห์ลเขียน แล้วไม่เหมาะกับเด็กอย่างที่สุด (แต่สิตุ สไม่ห้ามเด็ก อ่าน) เพราะเป็น เรื่อง สัปโดกสัปดน วี้ดวิ่ ว จนสิตุสอ่า นแล้ว อยากมี แมลงวันซูดานกะเขาบ้างเหลือเกิ น ทําไมถึงได้อยากมีแมลงวันซูดาน ลองหาคําตอบดูใน หนังสือ สิตุส ติดใจออสวอลด์ สมองใสปิ๊ง และแม่สาวสวยมหาเสน่ห์ แยสมิน ฮาวคัมลี ประหนึ่งว่า ถ้าแทรกร่างเข้าไปอยู่ในเรื่องได้ ก็คงไปร่วมขบวนการกับสองคนนี้เป็นแน่แท้ “MY Uncle Oswald” นั้น แปลไทยในหลายสํานวน หากเล่มที่นําเสนอนี้ เป็นสํานวน แปลของ สมชาย โสมชยา อ่านสนุก ลื่นไหลดีนักแล สําหรับ หนังสือนิยายเล่มนี้มีคุณค่า 15

โรอัลด์ ดาห์ล, แมลงวันซูดาน. กรุงเทพฯ, อาร์ต แอนด์ ซายน์, 2526.


ตรงที่มีการกล่าวอ้างถึงบุคคลสําคัญหลายคนที่ต้องสูญเสียบางสิ่งบางอย่างออกมาจากร่างกาย (อะไรกันหนอ ?) หากท่านทั้งหลายสนใจ ก็ไปหาอ่านเองเสีย แล้วจะรู้ว่าโรอั ล ดาห์ล เขียนเรื่องนี้ได้ไม่ธรรมดา อือหือ ไม่ธรรมดา....


สําราญชายขอบ โดย นักเล่นนกเขา ความรูเ้ รือ่ งวัวในประเทศเกาหลี ผมเป็นคนหมกมุ่นในเรื่องวัว อาจเพราะผมเห็นวัวจนชินตามาตั้งแต่เด็ก ที่จริงวัวเป็น สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่ผมค่อนข้างจะกลัว ด้วยถูกคนรุ่นโบราณขู่เอาไว้มากว่าวัวมันชอบไล่ขวิด เด็กน่ารัก (และ แอ๊บแบ๊ว) อย่างผม อีกทั้งผมยังมีความฝังใจที่พะอืดพะอมกับอุจจาระวัวมา มากโข (เอาไว้คราวหลังผมจะทยอยเล่าให้ฟัง ) อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ผมจะกลัววัวสุดหัวใจ ทว่าผมก็ยังพิสมัยในเรื่องราวของวัวเป็นยิ่งนัก เรียกได้ว่า เรื่องไหนที่เกี่ยวกับวัวแล้ว เป็นต้อง อยากรู้อยากเห็นไปเสียหมด ผมจึงพยายามที่จะศึกษาเรื่องวัวให้แตกฉานที่สุด ผิว่าอนาคตจะ มีโอกาสได้ทําเอ็นไซโคลปีเดียเรื่องวัวสักเล่ม เอาเป็นว่า ชีวิตผมกับวัวนั้นคงจะแยกออกจาก กันไม่ได้เสียแล้วกระมังในชาติ ภพนี้ เมื่อเขาให้เขียนคอลัมน์ใน ‚สําราญชายขอบ‛ ผมจึง อยากที่จะเปิดซิ งหน้ากระดาษของผมด้วยเรื่องวัว ทั้งนี้ก็เพื่ออุทิศให้แก่พลเมืองวัวทั้งหลาย ในโลก และผู้หญิงหน้าเหมือนวัวที่ผมเคยแอบปิ๊งในอดีต (๕๕๕+) หะแรกสุด ที่คิดจะเขียนเรื่องวัว ผมก็อยากจะเขียนถึงวัวในประเทศแห่งวัวคืออินเดีย ทว่าในปัจจุบันนี้ อินเดียดูจะไม่ใช่ ซาเปฺก ของวัยรุ่นไทยสักเท่าใดนัก (สังเกตจากหนัง อินเดียที่ลดลงจากสายตาผู้ชมอย่างน่าใจหาย สันนิษฐานว่าคงเป็นเหตุมาจากการเต้นอย่าง ก ร ะ เ พื่ อ ม ม า ก เ กิ น ไ ป ข อ ง ด า ร า แ ข ก ๕ ๕ ๕ + ) อี ก ทั้ ง ผ ม เ ป็ น ค น ที่ อ ย า ก

อินเทอร์เน็ดชั่นแนว จึงต้องตามกระแสให้ถึงที่สุด บังเอิญขณะที่ผมกําลังครุ่นคิดอยู่ว่าจะเล่า เรื่องพลเมืองวัวของชาติใด หูก็แว่วยินเสียงเพลงที่ไม่ค่อยคุ้นหูของแม่สาวน้อยวัยขบหัวใจ ที่กําลังเต้นเด้งดึ๋งกันในจอสี่เหลี่ยม ‚เกิร์ลเจเนเรชั่น‛ ให้ตายเถอะ ไอ้เคว็ด ! คล้ายมีบางสิ่ง


วิ่งแล่นขึ้นในขมองผมขึ้นมาทันใด ทําไมเราไม่เขียนเรื่องวัวเกาหลีล่ะ เสียงสนทนาในมโนนึก ผมก้องขึ้น ปัจจุบัน มีเรื่องเกาหลีสารพัด ดาราเกาหลี นักร้องเกาหลี ทรงผมและเสื้อผ้าสไตล์ เกาหลี และหมูย่างเกาหลี แน่นอน ผมจะต้องเขียนเรื่อง วัวเกาหลี บ้างสิ วัวเกาหลีจะมีหน้าตาที่ผิดแผกไปจากวัวรัฐอื่นๆอย่างไรนั้น ผมมิอาจบอกได้ วัวเกาหลี จะตาตี่ หรือหน้าใสกว่าวัวที่อื่นรึเปล่า อันนี้คุณต้องไปสํารวจอย่างใกล้ชิดด้วยตนเองกันอีกที (ผมสันนิษฐานว่าวัวเกาหลีน่าจะหน้าเหมือนวัวนั่น แหละ คงไม่เหมือนควายกระมัง ๕๕๕+) เอาเป็นว่าถ้าผมเลือ กเกิดได้ผมจะไม่เกิดเป็นวัวในเกาหลีเด็ดขาด เพราะชีวิตวัวๆของผม จะสั้นจุ๊ดจู๋ ด้วยเหตุที่ว่าชาวเกาหลีค่อนข้างที่จะเกาเหลากับวัวอยู่เนืองๆ (พูดง่ายๆแบบบ้านผม ก็ คื อ อยากกิ น เกาเหลาเนื้ อ วั ว อยู่ ต ลอดนั่ น แหละ) วั ว ในเกาหลี จึ ง ถู ก ฆาตกรรมอย่ า ง ไม่เป็นธรรม เนื้อของพวกมั นต้องถูกแล่ หั่น ฉีก เพื่อบวงสรวงแก่กระเพาะของมนุษย์โคเรีย เสมอๆ ผมไม่ได้ต่อต้านการรับประทานเนื้อวัวหรอกครับ เนื้อของพี่น้องวัวหลายชิ้นก็เคยเริง ระบําบนลิ้นของผมมามากโข แต่ที่เขียนมานี้ก็ต้องการที่จะบอกว่า ผมเห็นอกเห็นใจวัวใน เกาหลีที่ต้องตกเป็นเหยื่ออยู่ร่ําไปก็เท่านั้น ผมมิได้บอกให้คุณผู้อ่านเลิกกินเนื้อวัวแต่อย่างใด เอาเป็นว่า ผมทําหน้าที่รายงานถึงสภาพพี่น้องวัวในเกาหลีก็แล้วกัน นอกจากเนื้อของพี่น้องวัว ในเกาหลีจะถูกหม่ําๆกันอย่างอิ่มเอมแล้ว หนังของพี่น้องวัวยังเป็นสินค้าส่งออกที่สําคัญของ เกาหลี ด้ว ย โดยเฉพาะเกาหลีใ ต้ นั้ น ส่ ง ออกหนั ง พี่น้ อ งวั ว ไปขายยัง ประเทศญี่ ปุน เป็น หลั ก เรียกว่า ทําให้เกิดอุตสาหกรรมเลี้ยงวัวขึ้นเลยทีเดียว เพราะก่อให้เกิดรายได้เป็นกอบเป็นกําแก่ ชาวนา นั่น ดูสิครับพี่น้องวัวช่วยชาวนาขนาดไหน ช่ว ยทั้งแรงกาย แรงใจ แม้ชีพก็ยอมพลี ได้ ไม่เหมือนคนที่ร้องปาวปาวว่าจะช่วยชาวนา แล้วสุดท้ายก็ทําเป็นเฉยชาอยู่ร่ําไปหรอก


เมื่ อ พี่ น้ อ งวั ว ในเกาหลี มี คุ ณ ค่ า ทั้ ง เนื้ อ และหนั ง ก็ เ ลยถู ก ตี ร าคาด้ ว ยการซื้ อ ขาย โดยกระบวนการซื้อขายนั้นก็มีหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการที่เจ้าของวัว พามาขายกับผู้ซื้อ โดยตรง เจ้าของโรงฆ่าสัตว์เป็นผู้ซื้อด้วยตนเอง หรือมีการซื้อขายผ่านคนกลาง สําหรับตลาด ซื้อขายพี่น้องวัวที่สําคัญนั้น มีอยู่มากมายในเกาหลี แต่แหล่งใหญ่ที่สุดเห็นจะเป็น ตลาดวัว กวางซอน ที่อําเภอฮองชอง จังหวัดชุงชองใต้ ประเทศเกาหลีใต้ โดยในวันเปิดทําการปกติ ทุกๆห้าวัน จะมีการซื้อขายวัวราวๆ ๗๐๐ กว่าตัว แต่หากเป็นช่วงเทศกาลวันชูซกหรือวันไหว้ บรรพบุรุษของชาวเกาหลีแล้ว ละก็ พี่น้องวัวต้องสังเวยชีวิต ต่อมนุษย์เป็นหลายต่อหลายพัน เอาเนื้อไปย่างบาร์บีคิวที่เรียกว่า พูลโกกิ บ้าง เอาไปต้มน้ําซุปซดให้กําซาบฟันบ้าง แต่ที่ เด็ดที่สุดเห็นจะเป็นการเอาซี่โครง ของพี่น้องวัวมาทําเป็น คาลบิ ซึ่งเป็นอาหารที่มีราคาแพง ของเกาหลีเลยทีเดียว โดย คาลบิ มีอยู่สองชนิด คือ แบบที่เอาซี่โครงสดๆมาย่าง แล้วทาน กับเกลือปุน กับแบบที่นําซี่โครงไปหมักในซอสถั่วเหลือง เกลือ น้ํามันงา น้ําลูกแพร ขิง และ เครื่องปรุงอื่นๆ ก่อนจะย่างให้สุกงอมหอมกรุ่น คุณผู้อ่ านหลายท่านอาจจะกําลังน้ําลายสอ แต่ผมไม่กล้ารับประทานหรอกครับ นึกถึงแววตาพี่น้องวัวแล้วสงสารขึ้นมาจับใจ นี่แหละครับ เรื่องราวของวัวในเกาหลีอย่างคร่าวๆ เป็นทั้งอาหารสําคัญและสินค้าส่งออก ช่วยเหลือชาว เกาหลีให้ดํารงอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ แต่จะมีสักกี่คนครับ ที่มองเห็นคุณค่าความเป็นวัวอย่าง จริง จัง นั่ น เป็น สิ่ ง ที่ผมต้ องการเสนอไว้ อ้อ คุณ ผู้อ่า นอาจจะสงสั ยว่ า แล้ว ไอ้เรื่องวั ว นี่ มันชายขอบอย่างไร สําหรับผม วัวเป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ชายขอบ ถ้าไม่อยู่ในทุ่ ง ก็ถูกจูงให้เดิน อยู่ริมขอบถนน ไม่บ่อยนักหรอกครับที่เราจะเห็นวัวก้าวเดินอย่างผ่าเผยกลางถนน (เหมือนกับ ดรัมเมเยอร์ หรือท่านผู้นํา ) พับผ่าซิ! ขืนเดินบนถนนรถก็ชนเท่านั้นแหละ ไม่มีใครเขา ปิดถนนให้นี่ ดังนั้นเราจึงมักจะมองเห็นวัวจากริมขอบหน้าต่างรถอยู่เสมอๆ เห็นไหมล่ะครับว่า วัวเป็นสิ่งมีชีวิตชายขอบขนาดไหน (เหตุผล เข้าท่า ดีแฮะ) ไว้คราวหน้าถ้าผมมีเรื่องราว


เกี่ยวกับวัวอีกก็จะมาเล่าใหม่ คราวนี้ขอจําจรจากหน้ากระดาษไปเสียก่อน คุณผู้อ่านสัญญานะ ครับว่าเราจะมาพบกันที่นี่...... จนกว่าเราจะพบกันอีก (จุ๊กกรู)้

ปล. สํานวนภาษาที่ใช้เป็นสไตล์เฉพาะตัวของผู้เขียน ล้วนแต่ผิดเพี้ยนจากหลักภาษาที่ดีงาม ทั้งสิ้น

นักเล่นนกเขา ส่งต้นฉบับ “ความรู้เรื่องวัวในประเทศเกาหลี ” มาให้ทางเราพิจารณา พร้อม เขียนคําสบถด่า อาชญาสิตุส ไว้เกือบร้อยบรรทัด เขาส่งเสียงโอดครวญ บอกว่า ช่วยลง ต้นฉบับนี้ให้หน่อยเถิด เขาเขียนไว้นานนมบรมกัลป์แล้ว ทีแรกตั้งใจจะลงในหนั งสือสําราญ ชายขอบ ซึ่ ง ได้ เ ริ่ ม ปฏิ ส นธิ ก่ อ นมรสุ ม วรรณกรรมของเราเล็ ก น้ อ ย หากเกิ ด แท้ ง เสี ย ก่ อ น นั่นทําให้ต้นฉบับของเขานอนในลิ้นชักมาปีกว่า นักเล่นนกเขา ใจร้อนไปหน่อย เพราะแว่ว มาว่าอนาคตอันใกล้มากนี้ สําราญชายขอบ จะลืมตาดูโลกแล้ว... เอาเถิด ในเมื่อขอร้องมา ทางเราก็จะลงให้ แล้วไอ้ที่ขู่ว่าจะสังหารนกเขาตัวเองประชดนั้น เลิกคิดเสียเถิด สงสารนกเขา มัน ส่วนเรื่องขู่ฆ่านกเขาของ อาชญาสิตุส เรื่องนี้มรสุมวรรณกรรมไม่เกี่ยว ไปจัดการกันเอง เด้อ .............................................................


จากผูส้ นใจ เรือ่ ง :: ไอสไตน์ตวั ปลอม โดย :: อชิตะ มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับอารมณ์ขัน ของ ไอสไตน์ อยู่เรื่องหนึ่ง ที่ผมชอบมากเป็นพิเศษ ไม่รู้จริงเท็จแค่ไหน แต่ที่รู้ๆมันสร้างรอยยิม้ ได้ครับ

ไอสไตน์ เป็นคนขี้เล่น เขาชอบทําอะไรที่คนทัว่ ไปคาดไม่ถงึ เช่น เวลาไปบรรยายตามสถานทีต่ ่างๆ ไอสไตน์ มักจะปลอมตัวเป็นคนขับรถ และให้คนขับรถขึน้ บรรยายแทนเขา


เพราะคนขับรถคนนี้ทํางานกับเขามานาน จึงจดจําสิ่งที่ ไอสไตน์ บรรยายได้ทั้งหมดอย่างไม่มีผิดเพี้ยน

วันไหนนึกสนุก ไอสไตน์ ก็จะให้คนเข้ารถ ขึ้นบรรยายแทนเขา แล้วเขาก็จะนั่งฟัง แต่ถ้าเจอคนยิงคําถามยากๆ ที่คนขับรถตอบไม่ได้ ไอสไตน์ก็ได้เตี้ยมกับคนขับรถของเขาไว้แล้ว โดยให้พูดว่า "อ่อ มันง่ายมากเลยครับ แม้แต่คนขับรถของผมก็เข้าใจเรือ่ งนีด้ ี เดีย๋ วผมจะให้เขาเป็นผูอ้ ธิบายและตอบคําถามข้อนี้"

แล้ว ไอสไตน์ที่ปลอมตัวเป็นคนขับรถก็จะเป็นคนตอบคําถามเอง สร้างความประหลาดใจให้กับผู้ที่เข้าฟังบรรยายเป็นอย่างมาก ว่าคนขับรถคนนีต้ อบคําถามยากๆแบบนี้ได้อย่างไร

แต่พอมาเฉลยในตอนท้ายของการบรรยาย ว่าที่แท้คนขับรถคนนี้คือ ไอสไตน์ตัวจริง ก็สร้างเสียหัวเราะ และรอยยิ้มให้กับผูท้ ี่เข้าฟังบรรยาย ได้เป็นอย่างดี


เรื่องบางเรื่องที่ผ่านเข้ามาในชีวิต บางครั้งก็เป็นเหมือนกับโจทย์คณิตศาสตร์ยากๆนะครับ คือมันหินมากๆ คิดยังไงก็คิดไม่ตก ไม่รู้ว่ามันจะเป็นยังไงต่อไป จะออกหัวออกก้อยก็ยังไม่รู้ แต่การหาจุดสมดุลของชีวติ ให้ได้นั้นสําคัญที่สุด เราต้องรู้จักตึงบ้าง รู้จักผ่อนแรงบ้าง ให้เหมาะสม และอารมณ์ขันนี้ จะเป็นเครื่องมือหนึง่ ที่ช่วยในการผ่อนแรง ที่มันกําลังตึงจนเกินไป อารมณ์ขันจะเป็นเหมือนน้าํ ยาหล่อลื่น ช่วยลดแรงเสียดทานในชีวิต ทั้งยังเป็นสะพานทีส่ ามารถเชื่อมโยงหัวใจคนรอบข้างเอาไว้กบั หัวใจของเรา การมอบรอยยิ้ม คือการมอบความสุขทีม่ ีค่าให้กับตนเองและคนรอบข้าง


แม้ว่าปัญหามันจะหนักหนาสาหัสเพียงใดก็ตาม แต่รอยยิ้มก็ไม่ใช่อะไรที่ยากเย็นจนเกินไปนัก ยิ้มเถอะ..... อย่าเสียดายที่จะมอบรอยยิม้ ให้กบั ใคร เพราะเราจะได้รอยยิม้ ของเขาเป็นการตอบแทน

ช่างเป็นเรื่องน่าดีใจยิ่งนัก ทีม่ รสุมวรรณกรรมฉบับนี้ ได้มีโอกาสต้อนรับต้นฉบับงานเขียนจาก ผู้สนใจ อชิตะ ตั้งใจส่งข้อเขียนเรื่อง “ไอสไตน์ตวั ปลอม” มาให้ทางเราพิจารณา แน่นอน ว่า เรายินดีที่สุด ยินดีที่มรสุมวรรณกรรมของเราได้รับการตอบรับจากผู้อ่านและผู้สนใจจนส่ง งานมาร่วมสนุกในทีน่ ี้ด้วย เรายินดีลงให้ และยังรอคอยต้นฉบับจากผูส้ นใจท่านอื่นเสมอ สําหรับ อชิตะ เราจะรอให้คุณกลับมาอีกครัง้ หรืออีกหลายครั้ง เพื่อร่วมกันสังวาสในมรสุม วรรณกรรมอย่างสุขสนาน สําราญรมย์ .............................................................


เรือ่ งสัน้ ส่งท้าย เริง (ภาคิน นิมมานนรวงศ์) เริงแดดเริงผ่านบานพับเผยอยื่น เขานั่งบนโต๊ะเทาทึมมุมห้อง จรดปากกาบนเพนินกระดาษ -ลามเลียเข้ามา- ทันใดก็เหมือนว่าแดดนั้นจะตะกลามร่างเขาอยู่รอมร่อ ไล่ตั้งแต่นิ้วก้อยข้าง ขวาเหยียดตรึง จนถึงเรือนผมที่เริ่มจับกลุ่มร้องร่ําโหวกเหวกถึงไอแดด –มันปกคลุมนัยน์ตา ทั้งสองข้าง- จากนั้นห้องก็สว่างจ้า แต่ตัวเขาเองที่มืดมิด ทว่าเปลวแดดที่กําลังกลืนกินเขากลับ ชะงักงัน เขาไม่เขยื้อน ไม่ล่าถอย ไม่ลุกอย่างที่ควรลุก และเมื่อเราถามเขาว่า 'ไม่กลัวดํา?' เขาก็ตอบเพียงว่า 'เขาก็ไม่แน่ใจเหมือนกัน' ให้ตาย! มันลุกไล่เข้ามาเรื่อยๆ อย่างไรเสียเขาก็เลือกจะไม่ขยับ แล้วชายผู้พ่ายแพ้มาทั้งชีวิตก็ ตัดสินใจ ขยํากระดาษทั้งปึกราวของเหลว -หนักมือขึ้น- หักปากกาเป็นสองท่อน ขว้างทุกสิ่ง อัดผนังโครมคราม! ก่อนจะพบว่า ขณะที่นั่งอยู่อย่างนั้นจนตะวันตกดิน เป็นตัวเขาเองต่างหากที่กําลังเริง, ระบํา.


จากผูส้ นใจ เรือ่ ง :: ฉัน โดย :: รุเธียร

ฉันถ่มน้ําลายรดชีวิตของตัวเอง หยัดยืนในความว่างเปล่า สีขาวโพลนพร่างพร่าไปทั่ว หยาดฝนค่อยๆ หยดลงมา หยดลงมา ขณะที่สติหลุดลอยออกไป เหมือนร่างลอยคว้างในสุญญากาศ เหมือนโลกนีม้ ีแต่สีขาว ขณะที่สติสัมปชัญญะขาดหาย วิญญาณลอยเคว้งคว้างในคําถาม ไร้คําตอบ ไร้อนาคต ไร้อดีต ไร้การกําเนิด ไร้การหยัดอยู่


ไร้การสูญสลาย ฉันหยัดอยู่ในสีขาวโพลนของความว่างเปล่า ขณะที่ท้องฟูากําลังหยาดหยดน้ําตา คําตอบของความไร้คําถาม คําถามที่ไม่ต้องการคําตอบ วิ่งวนอยูใ่ นชีวติ ที่สับสนโง่งม กระแสเวลาหมุนไป หมุนไป ช้าๆ ช้าๆ ช้าๆ .........จนเหมือนหยุดนิง่ ฉันยืนในความว่างเปล่า และยังคงอยู่ มันคือปัจจุบัน ไร้จุดหมาย ไร้จุดเริ่มต้น ถนนที่ใช้ชื่อว่าความว่างเปล่า มีเพียงสีขาว สีขาว และสีขาว ความว่างเปล่าคือทุกสิ่ง


และทุกสิ่งคือความว่างเปล่า ฉันคือความว่างเปล่า.


ความสําเร็จของดอกส้ม

สิ่ ง ที่ จ ะเขี ย นต่ อ ไปนี้ ไม่ ใ ช่ เ รื่ อ ง เรยา และหาได้ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ดอกส้ ม สี ท อง หากเขียนถึง ดอกส้ ม ดอกหนึ่ ง ซึ่ง ปลูก ผลิบานและส่ ง กลิ่น กรุ่น หอมในสวนอัก ษรแห่ง มรสุม วรรณกรรม... พี่ส้ ม ตนั ดดา หรือ แกงส้ ม ต้ ม เช้ง ของน้ องๆน่า รัก สาวงามเพียงหนึ่ งเดี ยวใน กองบรรณาธิ ก ารมรสุ ม วรรณกรรมของเราได้ สํ า เร็ จ การศึ ก ษา ศิ ล ปศาสตร์บั ณ ฑิ ต สาขา ภาษาไทย จากมหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ แ ล้ ว สิ่ ง นี้ คื อ เรื่ อ งน่ า ยิ น ดี ยิ่ ง นั ก แน่ น อนว่ า หลั ง สํ า เร็ จ การศึ ก ษาพี่ ส้ ม อาจห่ า งหายไปจากมรสุ ม วรรณกรรมบ้ า ง ด้ ว ยภาระหน้ า ที่ การงาน หากเราเชื่อว่า ดอกส้มดอกนี้ไม่ว่าจะไปยืนต้นยังที่ใด เธอก็จะส่งกลิ่นหอมมายังสวน มรสุมวรรณกรรมเป็นแน่แท้ แล้วเราจะรอคอยการกลับมาของดอกส้มดอกนี้...


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.