จุลสารมรสุมวรรณกรรม ลำดับที่ 1 - นักเขียนหนุ่ม

Page 1


จุลสารมรสุมวรรณกรรม* ลำดับที่ 1 # นักเขียนหนุ่ม

กองบรรณาธิการ : ชัชชล อัจนากิตติ ตณัดดา โพธ์ิพัฒน์พงศ์ อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ ศิลปกรรมและรูปเล่ม : จันทร์กานต์ เบ็ญจพร ภาพถ่าย : ณัฐพล สวัสดี ภาพปก : ณัฐพล สวัสดี

*มรสุมวรรณกรรม คือ คนกลุ่มเล็ก ๆ ที่โดยสารชะตากรรมของตัวละครในนิยายสักตัวที่ เขาและเธอหลงใหล เทียวท่องมหาสมุทรมิคำนึงใกล้ไกล เพื่อท้ายที่สุดยืนยันแก่กันและกัน ว่าท้องทะเลมิอาจขับไสคลื่นลมแม้มรสุมกำลังจะมา...

ร่วมพูดคุยและส่งผลงาน : morrasum_group@hotmail.com


วรรควลีของชีวิต

หล่อนเป็นผู้หญิง พาร์ทเนอร์หรือบุตรีนักปราชญ์ หล่อนก็เป็นผู้หญิง รายละเอียดของชีวิตเท่านั้นที่อาจแตกต่างกัน แต่หล่อนก็เป็นผู้หญิง ผู้หญิงในนิวยอร์ค ผู้หญิงในยุครุ่งเรืองของพาราณสี ผู้หญิงในบิกินี่แถวริเวียร่า หรือผู้หญิงนั่งอยู่ในซ่องราคายี่สิบบาท หล่อนเป็นผู้หญิง มันเป็นความผิดหรือถ้าคุณจะรักผู้หญิงสักคน

จาก หนามดอกไม้ ของ รงค์ วงษ์สวรรค์ (หนุ่ม)

1


เรื่องสั้น

หล่อนต่ำเพราะอยากสูง

เหตุผลของหญิงสาวแต่ละคน ที่ต้องมามีอาชีพเป็นผู้หญิงหากินไม่เหมือนกัน บางคนถูกหลอกมา จนกลายเป็นทำนองว่าหล่อนชั่วเพราะชาย บางคนถูกพ่อเลี้ยง ( หรือใครก็ได้ ) ข่มขืน เสียใจจนเสียคน บางคนขาดความรู้ ไร้อาชีพจนอดและอยาก จึงจำเป็นต้องเข้าอยู่ในสภาวะจำยอม ยอมเพื่ออยู่ แต่ ขจี หญิงสาววัยจวนยี่สิบสามคนนั้น แตกต่างจากคนอื่นหมด หล่อนก้าวจาก โลกหนึ่งที่สังคมยอมรับ ไปสู่อีกโลกหนึ่งที่สังคมรังเกียจ ด้วยเหตุผลเพียงง่ายๆและตั้งใจ “จียอมขายตัวเพราะอยากมีเงินค่ะ” หล่อนบอกข้าพเจ้า “เดิมจีเป็นเสมียนได้เดือน ละห้าร้อยกว่า พอกินแต่ไม่พอค่าแต่งตัวค่ะ” “น่าจะสบายแล้วนี่ เป็นผู้หญิงพอมีกินไปวันหนึ่งๆ พยายามทำตัวให้ดี อนาคต ก็จะดีเอง ไม่น่าเดือดร้อนกับเรื่องแต่งเนื้อแต่งตัว” ข้าพเจ้าว่า “ก็จีอยากโก้นี่คะ จีอยากมีหน้ามีตาเหมือนคนอื่นๆ มีเสื้อผ้าดีๆใส่ ที่นิ้วมือมี แหวนเพชร แล้วก็มีรถขับ จีจึงจำเป็นต้องมาหาเงินแบบนี้ ตอนแรกก็หาเพียงเป็นลำไพ่ หนักเข้าค่าใช้จ่ายรัดตัว เพราะจีไปผ่อนรถเก๋งใช้ จึงต้องลาออกจากงานเสมียน ตั้งหน้า ตั้งตาหาเงินแบบนี้อย่างเดียว แต่ไงก็ตาม จีกะว่าเมื่อผ่อนรถเก๋งหมด จะเลิกอาชีพนี้เด็ดขาด แล้วจะหาผู้อุปการะสักคน เพราะใจจริง จีเกลียดอาชีพนี้อย่างที่สุด ที่ทำไปเพราะอยาก ทัดเทียมเพื่อนฝูงเท่านั้น” “ยังอีกกี่เดือนถึงจะผ่อนรถหมด” ข้าพเจ้าถามทำไมก็ไม่รู้ “สี่เดือน” หล่อนตอบ “อีกสี่เดือนนับจากวันนี้ พี่มาบ้านนี้จะไม่พบจีอีก ไม่เชื่อคอยดู” คำหลังหล่อนย้ำนักแน่น จริงอย่างที่ขจีบอก อีก ๔ เดือนต่อมา ข้าพเจ้าไปที่สำนักงาน ( ซ่อง ) นั้นอีก ไม่พบขจีแม้แต่เงา ถามได้ความว่า หล่อนลาออกไปจากบ้านนี้หลายวันแล้ว ข้าพเจ้าไม่ได้ติดใจเรื่องนี้อีกเลย ต่อเมื่อหลังจากนั้นอีกประมาณอาทิตย์ ข้าพเจ้า พบขจีอีก หล่นยังยึดอาชีพเหมือนเดิม เพียงแต่เปลี่ยนสถานที่ใหม่เท่านั้น “ไหนว่าจะเลิก ? ” ข้าพเจ้าถามสั้นๆ หล่อนทำสีหน้าวาดยาก ตอบว่า 2


“ครั้งแรกตั้งใจจะเลิกแหละค่ะ จีเพิ่งมาเปลี่ยนใจทีหลัง” “ทำไม” ข้าพเจ้าสงสัย “เพราะจำเป็นต้องผ่อนรถอีกคันให้พ่อคะ” “รถอะไรอีกล่ะ” “รถแทรกเตอร์คะ พ่อจีทำไร่อยู่ที่เมืองชล”

เรื่องสั้นเรื่องแรกของ ไมตรี ลิมปิชาติ อดีตนายกสมาคมนักเขียน และเจ้าของ ผลงานเลื่องชื่อมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ความรักของคุณฉุย ด็อกเตอร์ครก และ รวมเรื่องชุด คนอยู่วัด ผลงานเหล่านี้เคยลือลั่นในบรรณพิภพมาแล้วทั้งสิ้น ปัจจุบัน นักเขียนผู้นี้ยังคงมี ผลงานเผยแพร่ออกมาเสมอๆ สำหรับเรื่อง “หล่อนต่ำเพราะอยากสูง” นั้นเป็นเรื่องสั้นประเภท Short-short story สั้นๆ แต่ได้เนื้อหาคมคาย เรื่องสั้นเรื่องนี้ลงตีพิมพ์ครั้งแรกในคอลัมน์ เขาเริ่มต้นที่นี่ นิตยสารฟ้าเมืองไทย เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ บรรณาธิการผ่านเกิด ก็คือ อาจินต์ ปัญจพรรค์

3


บทกวี

ดวงใจใด? “ดวงใจใด? ดวงจันทร์ ดึงดันเดินทางเปลี่ยว โดยเดียว...” ข้าเฝ้าถามเดือนเสี้ยว... “ดวงใจใด?”

4

ชัชชล อัจนากิตติ


เรื่องสั้น

คอกหอย

ตาเคลือบแกมิเคยนึกฝันมาก่อนดอกว่าชีวิตแกจะต้องมาอ้างว้างกลางทะเลเช่นนี้ พ่อหมอผู้เคยเป็นที่พึ่งยามป่วยไข้ของคนทั้งหมู่บ้าน กลับต้องมานั่ง ๆ นอน ๆ เฝ้าหอย กับขนำร้างกลางทะเล แต่ก่อนวันเวลาของตาเคลือบหมดไปกับการรักษาชาวบ้าน ทุกๆ วันที่บ้านของแก จะมีคนมาอยู่ไม่ขาด คนในหมู่บ้านไม่ว่าจะบาดเจ็บป่วยไข้ ถูกปืนถูกมีดปางตาย ล้วนแต่มา หาพ่อหมอเคลือบทั้งสิ้น พ่อหมอแกก็มิเคยดูดาย เยียวยาจนหายขาดไปหลายราย ไอ้ที่ยังไม่หายดีก็พอ จะทุเลาลง เป็นการยืดเวลาก่อนที่จะถึงโรงหมอในตัวอำเภอ ตาเคลือบแกยึดการเป็นพ่อหมอประจำหมู่บ้านนี้มาช้านาน นับแต่วันที่พ่อแก ถ่ายทอดวิชาให้ แกก็ใช้วิชาหาเลี้ยงตัวมาตลอด ทว่า สิ่งที่ตาเคลือบยึดถือมานานนี้กลับต้อง มาสะดุดลงเมื่อถนนลาดยางตัดเข้ามาถึงหมู่บ้าน ชาวบ้านลือกันมานานแล้วว่าเทศบาลจะตัดถนนเข้ามาถึงหมู่บ้าน แรกๆ ตาเคลือบ ไม่ค่อยเชื่อนัก ข่าวที่ลือกันมาไม่มีทีท่าว่าจะเป็นจริงสักที ทั้งเรื่องที่เขาลือมันก็เงียบหายไป จากหมู่บ้านนานมากแล้ว นานพอที่จะหลุดออกไปจากความทรงจำของชาวบ้านทุกคน แล้ววันหนึ่งสิ่งที่ตาเคลือบไม่คาดฝันก็กลายเป็นเรื่องจริง ถนนลาดยางสายใหม่ ตัดเข้ามาถึงหมู่บ้าน ความเจริญรุกล้ำเข้ามา แบบแผนวิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวบ้านก็ค่อยๆ หายไป ตาเคลือบแกมิเคยนึกฝันมาก่อนเลยว่า ความเจริญที่เข้ามาพร้อม ๆ กับถนนสายนี้ จะทำให้แกต้องหยุดการเป็นพ่อหมอโดยไม่ทันตั้งตัว นับแต่หมู่บ้านมีถนนสายใหม่ตัดผ่าน บ้านของตาเคลือบก็ค่อย ๆ ลดความสำคัญ ต่อชาวบ้านลง ค ว า ม เ ป็ น พ่ อ ห ม อ ใ น ส า ย ต า ช า ว บ้ า น ก็ เ ป็ น เ พี ย ง ต า เ ค ลื อ บ ธ ร ร ม ด า ตาเคลือบพยายามจะยืนหยัดความเป็นพ่อหมอของแกไว้ ทว่า จะให้แกทำเช่นใดเล่า ในเมื่อ ชาวบ้านเขาเชื่อยาเชื่อหมอสมัยใหม่มากกว่าวิธีการรักษาแบบโบราณเสียแล้ว ยามเจ็บยามไข้ก็พากันไปโรงหมอในตัวเมืองกันหมด ด้วยถนนหนทางสะดวกกว่า แต่ก่อน ด้านวิธีการรักษาเล่าก็รวดเร็วทันใจ หมอทางการตรวจวินิจฉัยโรค จ่ายยาไม่กี่เม็ด 5


ฉีดยาไม่กี่เข็มก็หายขาด มิพักต้องกินยาต้มเป็นหม้อ ๆ ให้เสียเวลา ด้วยเหตุนี้เอง บ้านตาเคลือบจึงต้องปิดเงียบลง เมื่อไม่มีการรักษาชาวบ้าน การหา เลี้ยงชีพของตาเคลือบก็ฝืดเคือง นี่แหละต้นเหตุสำคัญที่ทำให้แกต้องมานอนอ้างว้างกลาง ทะเลเช่นทุกวันนี้ หลังจากที่เลิกเป็นพ่อหมอ ตาเคลือบก็ออกร่อนเร่รับจ้างทำงานสารพัดไปทั่วทั้งตัว อำเภอ ทว่า ใครเล่าจะจ้างคนสูงวัยที่ไม่มีความรู้ในการงานใดเลยนอกจากเคยเป็นพ่อหมอ มาครึ่งชีวิต ท้ายสุดตาเคลือบจึงหยุดการเร่ร่อนของตนด้วยการรับจ้างเป็นคนเฝ้าฟาร์มหอย กลางทะเลของเจ๊แดง ตาเคลือบไม่ใช่คนคุ้นเคยกับทะเล แกเกิดและใช้ชีวิตบริเวณตีนเขามาตลอด จึงมิใช่ เรื่องแปลกอะไรที่เมื่อตา เคลือบไปอยู่ฟาร์มหอยใหม่ๆ จะรู้สึกตื่นทะเลอยู่บ้าง ความรู้สึก นั้นค่อยๆ คลายลงเมื่อได้คลุกคลีอยู่กับทะเลมาเป็นเวลาสองเดือน มันนานพอที่จะทำให้อดีต พ่อหมอมีความคุ้นเคยกับทะเลเป็นอย่างดี ตาเคลือบกลายเป็นชาวทะเลไปเสียแล้ว แกเห็นภาพน้ำทะเลจนติดตา สูดดมกลิ่น ไอทะเลจนชินจมูก ค ว า ม ตื่ น ก ลั ว ท ะ เ ล ข อ ง ต า เ ค ลื อ บ สู ญ ห า ย ไ ป ห ม ด สิ้ น ทะเลกลายเป็นส่วนหนึ่งที่ผนวกเข้ากับวิถีชีวิตของแก มันเป็นเพียงสิ่งเดียวที่แกมีอยู่ในท่ามกลางความอ้างว้างเช่นนี้ แม้ ว่ า ตาเคลื อ บจะไม่ ช อบสภาพชี วิ ต ของการเป็ น คนเฝ้ า ฟาร์ ม หอยเท่ า ใด นัก แต่แกก็ยินดีที่จะโยนตัวไปตามสภาพนั้นอย่างว่าง่าย จะให้ตาเคลือบแกทำเช่นไรเล่า ในเมื่อแกตัดสินใจแล้ว แกเลือกที่จะเป็นคนเฝ้าหอยอยู่กลางทะเลเพื่อแลกกับเงินเลี้ยงชีพของครอบครัว ถึงตาเคลือบจะรู้สึกโดดเดี่ยวเช่นไร แกก็จำต้องยอมรับสภาพมัน แกต้องใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับความอ้างว้างในขนำกลางทะเลนี้ให้จงได้ ชีวิตในฟาร์มหอยเป็นชีวิตอันหดหู่อย่างยิ่งสำหรับตาเคลือบ แม้ว่าการเป็นคนเฝ้ าหอยจะสบายกว่าการเป็นพ่อหมอ ทว่า มันกลับเป็นสิ่งที่สร้างความเหนื่อยหน่ายให้แก่ตา เคลือบเป็นที่สุด เมื่อก่อนตอนที่ยังเป็นพ่อหมอนั้น ตาเคลือบได้พบปะผู้คนที่แวะเวียนมาหาอยู่เสมอ แทบไม่ขาด ทว่า การที่แกต้องมานั่ง ๆ นอน ๆ คอยเฝ้าหอยอยู่เดียวดายเช่นนี้ ทำให้ตา เคลือบรู้สึกเหมือนกับว่าตนเองถูกตัดขาดออกจากโลกภายนอกเสียแล้ว 6


ตาเคลือบแกมิเคยเรียกฟาร์มหอยของเจ๊แดงว่าฟาร์ม แกเรียกมันว่าคอก… คอกหอย ภาพขนำใต้ถุนสูงที่ปลูกเรียงรายเหนือผืนน้ำที่กว้างจนมองไม่รู้ทิศ ไม้ที่ปักหลักกั้นเป็นแนวในแผ่นน้ำ มิได้ต่างอะไรจากรั้วคอกของวัวควาย เพียงแต่คอก นี้ไม่ได้อยู่บนบก มันเป็นคอกในทะเล คอกหอยของตาเคลือบมิได้เป็นเพียงคอกที่กั้นแบ่งระหว่างฟาร์มหอยของแต่ละ เจ้าของเท่านั้น ทว่า มันเป็นคอกที่คุมขังตัวแกเอง ทั้งยังกั้นแบ่งแกออกจากโลกภายนอก ด้วย โลกในคอกหอยของตาเคลือบจึงมีเพียงกาลเวลาที่ว่างเปล่าและภาพความหลังที่ ยังฉายชัดในมโนภาพของแกเท่านั้น บางทีการหวนนึกภาพความหลังเมื่อครั้งที่ยังเป็นพ่อ หมอก็ช่วยคลายความเหงาในยามที่นั่ง ๆ นอน ๆ เฝ้าสินค้ามีราคาซึ่งเป็นของผู้อื่น ค่าจ้างน้อยนิดที่รับจากการเฝ้าหอย มันเทียบมิได้กับกำไรมหาศาลของเจ้าของ ฟาร์ม แต่ก็ช่างเถอะ ดีกว่าไม่ได้สักบาท ตาเคลือบแกมักจะคิดปลอบใจตนเช่นนี้เสมอ ๆ ความเป็นอยู่ของตาเคลือบที่คอกหอยคงเป็นปกติสุขดีอยู่หรอก หากเหตุการณ์ ซวยบัดซบนั่นมันมิได้เกิดขึ้น อันที่จริงจะไปโทษความซวยก็มิได้ ต้องโทษความบกพร่องของตาเคลือบเองจะ ถูกกว่า ไอ้เรื่องที่ว่านั้นจะเป็นเรื่องอะไรไปได้อีกเล่า ก็เรื่องลักขโมยนั่นแหละ ที่ใดมีสิ่ง มีค่า ที่นั่นย่อมมีโจรลักขโมย ในทะเลก็มิเว้น ในเมื่อหอยมันมีค่า อ้ายโจรขโมยหอยมันก็ชุก และก็เพราะอ้ายโจรนี่แหละที่ทำให้ ตาเคลือบแกอยู่อย่างกระวนกระวายมาเป็นแรมปี เมื่อปีกลายอ้ายโจรมันได้ฝากรอยประทับอันคับแค้นไว้ในหัวใจของตาเคลือบอย่าง เต็มแน่น แน่นเสียจนคับอก การลักลอบขโมยหอยในคราวนั้น ไม่เพียงแต่ทำให้แกถูกเจ๊แดง ต่อว่าและหักเงินเท่านั้น ทว่า ยังเป็นการหยามหมิ่นศักดิ์ศรีลูกผู้ชายอย่างถึงที่สุด “อ้ายโจรระยำ” ตาเคลือบมักเอ่ยขึ้นทุกครั้งที่แกนึกถึงเหตุการณ์นั้น มันเป็นความเจ็บแค้นที่ทำให้ หัวใจของผู้เคยเป็นพ่อหมอกร้าวแข็งขึ้นจนถึงขนาดคิดที่จะฆ่าอ้ายโจรให้ตายคามือ หัวใจของคนที่เคยรักษาเยียวยาผู้อื่นให้หายจากความทุกข์ย่อมต้องมีความเมตตา เป็นพื้นฐาน ทว่า บัดนี้หัวใจดวงนั้นคิดที่จะเข่นฆ่าคนให้ตายเสียแล้ว ตาเคลือบแกผูกพยาบาทอ้ายโจรขโมยหอยที่สุด ไม่เพียงแต่อ้ายโจรที่มันลอบเข้า มาขโมยหอยตอนที่แกเผลอหลับในคืนนั้นดอก อ้ายโจรทุกตัวนั่นแหละอย่าได้คิดโผล่มาให้ ตาเคลือบเห็นเด็ดขาด แกยิงไม่เลี้ยงแน่ 7


นับแต่วันที่หอยถูกขโมย ตาเคลือบมิเคยข่มตาหลับลงได้ แกนั่งเฝ้าหอยทุกคืน ลูก ซองกระบอกเขื่องวางอยู่มิห่างจากกายแก มันพร้อมที่จะระเบิดกระสุนทันทีที่ผู้เป็นเจ้าของ ลั่นไก วันเวลาผ่านไปนานนัก อ้ายโจรมันก็มิเคยโผล่มาให้แกเห็นสักครั้ง คล้ายกับมันจะ รู้ว่าพญามัจจุราชกำลังรอคอยมันอยู่ ถึงตาเคลือบจะมิได้พบเห็นแม้แต่เงาของอ้ายโจรย่าง กรายเข้ามา แกก็ไม่ประมาท ยังคงนั่งเฝ้าหอยอยู่ทุก ๆ คืน ตาเคลือบมิอาจข่มตาหลับลงได้อีกแล้ว อ้ายโจรมันได้ฝังรอยแค้นลึกถึงขั้วหัวใจ ของแกจนยากที่จะถอนขึ้นได้ สิ่งเดียวที่ตาเคลือบแกระลึกถึงอยู่ทุกเวลานั่นก็คือ การหยิบยื่นความตายให้ อ้ายโจร แกเฝ้าภาวนาให้อ้ายโจรมันลอบเข้ามา แกเชื่อว่าไม่วันใดวันหนึ่งแค้นต้องได้ชำระ เป็นแน่ เหมือนกับว่าเบื้องบนจะได้ยินคำขอของตาเคลือบ จึงได้ส่งเหยื่อตัวสำคัญมาให้ พญาเสือซึ่งรอคอยอยู่อย่างหิวกระหายเลือดในค่ำคืนที่ฝนกระหน่ำเม็ดลงอย่างไม่ลืมหูลืมตา คืนนั้น ขณะที่ตาเคลือบนั่งอยู่ที่นอกชานขนำ พลันตาทั้งสองของแกก็ไปสะดุดอยู่ กับสิ่งหนึ่ง ซึ่งกำลังเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ อยู่ที่ท่าผูกเรือ ตาเคลือบเพ่งมองไปยังสิ่งนั้นจนมั่นใจแน่ชัดว่าเหยื่อที่แกกำลังรออยู่มาถึงแล้ว แกยกลูกซองขึ้นประทับบ่าหมายยิงให้ตายภายในหนึ่งนัด ระยะเพียงเท่านี้ แกยิงไม่พลาดแน่ๆ มิทันที่ลูกซองจะระเบิดกระสุนออกไป เสียงหนึ่งก็ดังขึ้น “อย่ายิงฉันเลย ฉันขอเถอะ ฉันถูกยิงมาจากฟาร์มอื่นแล้ว” มันเป็นเสียงร้องขอชีวิต ของเหยื่อต่อพรานผู้หิวกระหายเลือดมาอย่างยาวนาน ตาเคลือบยังคงประทับลูกซองแน่น มือก็คว้าไฟฉายที่วางอยู่ข้างกาย สาดแสงไป ยังต้นเสียงนั้น ภาพที่แกเห็นอยู่เบื้องหน้าคือ เด็กหนุ่มวัยสิบเจ็ดสิบแปดครึ่งนั่งครึ่งนอนอยู่ในเรือ เลือดแดงฉานเต็มเสื้อดังห่มคลุมด้วยผ้าแดง ประกายตาของอ้ายหนุ่มนั่นส่อแวววอนขอชีวิต ตาเคลือบร้องถามไปว่า “มึงมาแต่ไหน” “มาแต่บนบก ช่วยฉันด้วย ฉันถูกยิง” เด็กหนุ่มตอบอย่างอ่อนแรง “มึงไปลักหอยเขา สมควรแล้ว เป็นกูกูก็ยิง” เสียงตอบอย่างเคืองๆ ของตาเคลือบ ทำให้เด็กหนุ่มเงียบไปครู่หนึ่ง “ช่วยฉันทีเถิด ถ้าไม่ช่วยคราวนี้ ฉันตายแน่” เด็กหนุ่มร้องขออีกครั้ง 8


ตาเคลือบนิ่งสนิท มันช่างเป็นบรรยากาศที่อึดอัดยิ่งนัก เสียงเม็ดฝนยังคงกระ หน่ำลงบนหลังคาสังกะสีอย่างไม่ขาดสาย เป็นเวลาพักใหญ่ที่ทุกสรรพสิ่งแน่นิ่งคล้ายกับว่าต้องมนต์สะกด และแล้วลูกซองก็ถูกวางลงไว้ข้างๆ กายของผู้เป็นเจ้าของ ตาเคลือบเคลื่อนตัวอีก ครั้งไปยังท่าผูกเรือด้านหน้าขนำ พลันมือที่เพิ่งจับปืนก็ยื่นลงไปให้อ้ายโจรหนุ่มนั่น เรื่องสั้นเรื่องแรกของ อาชญาสิทธิ์ ศรีสุวรรณ คนหนุ่มแห่งลุ่มตาปีที่หลงใหลใน มนต์น้ำหมึก เริ่มต้นสร้างผลงานไว้บ้างพอควร สำหรับเรื่อง “คอกหอย” นี้ ผู้เขียนเขียน ขึ้นเมื่อตอนอายุ ๑๙ ปี เก็บใส่ลิ้นชักไว้เป็นแรมปีกว่าจะส่งไปหน้านิตยสาร และก็เพิ่ง จะได้ลงตีพิมพ์ครั้งแรกใน วารสารวิทยาจารย์ ฉบับ เมษายน ๒๕๕๓ ที่ผ่านมานี่เอง คุณผู้อ่านเอาใจช่วยคนหนุ่มจากเมืองหอยกันมั่งตะเหวอ

9


บทกวี แก้ว แก้ว.. ฉันใช้มันกระดกความกำซาบของวัยหนุ่ม หฤหรรษ์ พลิ้วไหว จังหวะยก จังหวะฟาด ......แก้วแล้ว แก้วเล่า เสียงดัง ตับ ตับ ตับ.. แข็งทื่อ

10

ภาคิน นิมมานนรวงศ์


นักเขียนหนุ่ม

โดย กองบรรณาธิการ

คนหนุ่มสาวหาที่ทางของพวกเขาและสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับโลกอยู่เสมอ เนื่องเพราะวันวัยเหล่านั้นอัดแน่นความมุ่งมั่น ความกระตือรือร้น และความกระหายใคร่ เรียนรู้ชีวิตไว้เต็มเปี่ยม สำหรับแวดวงวรรณกรรมเองก็เช่นกัน ครั้งแล้วครั้งเล่าพวกเขาก้าว เข้ามาสร้างสรรค์สิ่งใหม่และบ่อยครั้งที่ผลงานเหล่านั้นกลายเป็นการก้าวข้ามครั้งสำคัญของ ยุคสมัยที่เคยตีบตันคับแคบ ดังนั้น คงจะไม่เป็นเรื่องเกินเลยไปนัก หากหลังจากอ่านเรื่องราว ของนั ก เ ขี ย น หนุ่ ม สาว จ บ ล ง แ ล้ ว มี ห นุ่ ม สาว บ างคนประกาศกร้ า วเอากั บ ตน เองว่า “คนหนุ่มสาวต้องเป็นผู้สร้างยุคสมัย!” ... • คณะสุภาพบุรุษ

( กุหลาบ สายประดิษฐ์)

ผู้ใดเกิดเป็น

สุภาพบุรุษ ผู้นั้นเกิดมาสำหรับ คนอื่น

จากความในตอนท้ายของนวนิยายเรื่อง “เล่นกับไฟ ” ของ ศรีบูรพา ทำให้ กุหลาบ สายประดิษฐ์ เกิดปณิธานอันแรงกล้าที่จะก่อตั้งคณะนักเขียนขึ้นมาเพื่อสร้าง ผลงานรับใช้ประชาชน จวบเมื่อกลาง ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ กุหลาบจึงได้ชักชวนพรรคพวก เพื่อนนักเขียนหนุ่มร่วมกันก่อตั้ง คณะนักเขียนสุภาพบุรุษ ขึ้น เพื่อออกหนังสือพิมพ์ชื่อว่า “สุภาพบุรุษ” โดยสำหรับชื่อ สุภาพบุรุษ นั้น ธนาลัย นักเขียนคนหนึ่งในกลุ่มเคย ได้กล่าวถึงอย่างทีเล่นทีจริงว่า “ เป็นคณะของ บุรุษสุภาพ ไม่ใช่กุ๊ย ” คณะนักเขียน สุ ภ าพบุ รุ ษ นี้ ถื อ ได้ ว่ า เป็ น การรวมกลุ่ ม กั น ของนั ก เขี ย นหนุ่ ม ครั้ ง แรกในเมื อ งไทย นับเป็นหมุดหมายที่ดีแห่งวงการวรรณกรรมรุ่นใหม่เลยทีเดียว แรกเริ่มเดิมทีของการก่อเกิด “คณะสุภาพบุรุษ” นั้น ฮิวเมอริสต์ หรือ ครูอบ ไชยวสุ ได้เขียนถึงว่า หลังจากที่กุหลาบ สายประดิษฐ์ ลาออกจากผู้ช่วยบรรณาธิการหนังสือ 11


พิมพ์ เสนาศึกษาและแผ่วิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นของทหารแล้ว ก็ได้ปรารภถึงเรื่องจะออก หนังสือกับครูอบ “เรื่องอยากออกหนังสือพิมพ์ของเรากันเองนี้ ผมก็คิดอยู่นานแล้ว เพราะมัว แต่ทำงานเป็นลูกจ้างของเขาอยู่ยังงี้ เมื่อไหร่จะก้าวหน้าไปในทางที่เราคิดจะไปให้ใหญ่ กว่านี้ ผมก็หาทางจะทำของเรากันเอง ให้ผลประโยชน์ตกอยู่แก่พวกเรา เราพอจะรวม กันเป็นกลุ่มก้อนได้ พอจะสามารถรับงานหนังสือพิมพ์รายอะไรได้สักฉบับหนึ่ง พอจะมีผู้ออก ทุนให้ยืมมาก่อน เพื่อเริ่มงานได้ขนาดออกรายปักษ์ ผมคิดอยู่นานแล้วว่าจะใช้คำว่า สุภาพบุรุษ เป็นชื่อหมู่คณะที่เราจะรวมกัน” (บันทึกความทรงจำของ “ฮิวเมอริสต์” ว่าด้วย สุภาพบุรุษ, ๒๕๓๑) ด้วยเหตุนี้ หนังสือพิมพ์ “สุภาพบุรุษ” รายปักษ์ จึงได้ถือกำเนิดขึ้น โดยออกฉบับปฐมฤกษ์ ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๒ จัดพิมพ์ที่โรงพิมพ์อักษรนิติ บางขุนพรหม ของนายวรกิจบรรหาร ออกจำหน่ายทุกวันที่ ๑ และ ๑๕ ของเดือน กุหลาบ สายประดิษฐ์ทำหน้าที่ เป็นบรรณาธิการและเจ้าของ สำนักงานอยู่ที่ “ห้องเกษมศรี” ถนนจักรพงษ์ เยื้องวัดชนะสงคราม ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์จาก ครูอบ ไชยวสุ หรือ ฮิวเมอริสต์ ผู้เป็นเจ้าของห้อง จัดเก็บค่าบำรุง ๑ ปี ๖ บาท ครึ่งปี ๓.๕๐ บาท (ส่งต่างประเทศเพิ่มอีก ๑ บาท) ราคาจำหน่ายขายปลีกเล่มละ ๓๐ สตางค์ เงินค่าบำรุงส่งล่วงหน้า กุหลาบ สายประดิษฐ์ ได้เขียนบทบรรณาธิการ “เชิญรู้จักกับเรา” ในเล่มปฐมฤกษ์ ซึ่งถือเป็นการ ประกาศหมุดหมายที่สำคัญไว้แก่แวดวงวรรณกรรมชั้น นั่นคือแสดงทัศนะว่า การเขียน หนังสือเป็นงานที่มีเกียรติ และสามารถเป็นอาชีพได้ ทั้งยังประกาศรับซื้อเรื่องอีกด้วย “เพื่อที่จะให้หนังสือ สุภาพบุรุษ อุ่นหนาฝาคั่งไปด้วยเรื่องอันมีค่ายอดเยี่ยม จึงขอประกาศไว้ในที่นี้ว่า เราปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะรับซื้อเรื่องจากนักประพันธ์ทั้งหลาย ทั้งที่เป็นเรื่องบันเทิงคดี และสารคดี... ทำไมเราจึงซื้อเรื่อง...สำหรับหนังสือพิมพ์ที่ออก เป็นรายปักษ์ หรือรายเดือน ดูเหมือนยังไม่เคยมีฉะบับใด ได้นำประเพณีการซื้อเรื่อง เข้ามาใช้ การซึ่งเราจะกระทำขึ้นเป็นครั้งแรกนี้ ก็เพราะเห็นว่าถึงเวลาอันสมควรที่จะ กระทำแล้ว... การประพันธ์ของชาวเราทุกวันนี้ เป็น เล่น เสียตั้ง ๙๐ เปอร์เซ็นต์ ที่จัดว่า เป็น งาน เห็นจะได้สัก ๑๐ เปอร์เซ็นต์ดอกกระมัง บัดนี้จึงควรเป็นเวลาที่เราจะช่วยกัน เปลี่ยนโฉมหน้าการประพันธ์ ให้หันจาก เล่น มาเป็น งาน...” 12

นอกจากนีย้ งั ได้เขียนถึง ความหมายของสุภาพบุรษุ ใน บทความ “พูดกันฉันท์เพือ่ น”


มีการกล่าวถึง นิยามสุภาพบุรุษต่างๆ สายประดิษฐ์ได้นิยามไว้อย่างแน่นหนัก คือ

สุภาพบุรุษอังกฤษ

แต่สิ่งสำคัญที่กุหลาบ

“ หัวใจของ ‘ความเป็นสุภาพบุรุษ ’ อยู่ที่การเสียสละ เพราะการเสียสละเป็นบ่อ เกิดของคุณความดีร้อยแปดอย่าง หากผู้ใดขาดภูมิธรรมข้อนี้ ผู้นั้นยังไม่เป็นสุภาพบุรุษโดย ครบครัน. ถ้าจะอธิบายความหมายของสุภาพบุรุษให้กระชับเข้า ก็จำต้องยืมถ้อยคำที่ว่า ‘ผู้ใดเกิดมาเป็นสุภาพบุรุษ ผู้นั้นเกิดมาสำหรับคนอื่น’ ซึ่งข้าพเจ้าได้แต่งไว้ในหนังสือเรื่อง หนึ่งมาใช้...” สำหรับคณะสุภาพบุรุษนั้นมีผู้ก่อตั้งแรกเริ่มคือ ๑. กุหลาบ สายประดิษฐ์ (“ศรีบูรพา”) ๒. อบ ไชยวสุ (“ฮิวเมอริสต์”) ๓. มาลัย ชูพินิจ (“แม่อนงค์”) ๔. ระคน เภกะนันท์ (“กู๊ดบอย”) ๕. อุเทน พูลโภคา ( “ช่อมาลี”) ๖. โชติ แพร่พันธุ์ (นามปากกา “ยาขอบ”) ๗. บุญทอง เลขะกุล (นามปากกา “วรมิตร”) ๘. สนิท เจริญรัฐ ( “ศรีสุรินทร์”) ๙. สุดใจ พฤทธิสาลิกร (“บุศราคำ”) ๑๐. จรัญ วุธาฑิตย์ (“ร. วุธาฑิตย์”) ภายหลังมีผู้เข้าร่วมอีก ๘ คน คือ ๑. ขุนจงจัดนิสัย ๒. ชิต บุรทัต (“แมวคราว”) ๓. หอม นิลรัตน์ ณ อยุธยา (“คุณฉิม”) ๔. เสนอ บุณยเกียรติ (“แสงบุหลัน”) ๕. ฉุน ประภาวิวัฒน์ ( “นวนาค”) ๖. สถิตย์ เสมานิล (“นายอยู่”) ๗. โพยม โรจนวิภาต ( “อ.ก. รุ่งแสง”) ๘. พัฒน์ เนตรรังษี ( “พ. เนตรรังษี”) นอกจากนี้ยังมีนักเขียนอื่นๆ อีกมากมายที่ส่งงานมาร่วมพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “สุภาพบุรุษ” ด้วย หนังสือพิมพ์ “สุภาพบุรุษ” รายปักษ์ออกมาได้หนึ่งปีกว่า ก็ต้องหยุดตัวลง รวมแล้ว ออกหนังสือมาได้ทั้งหมด ๓๗ เล่ม สำหรับเล่มสุดท้ายไม่ได้มีการวางจำหน่ายจ่ายแจก แต่อย่างใด หลังการสิ้นสุดของหนังสือพิมพ์ “สุภาพบุรุษ” คณะนักเขียนต่างก็แยกย้ายกันไป สร้างผลงานของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นตามหนังสืออื่นๆ หรือมีผลงานเป็นเล่มของตน หลายคน กลายเป็นนักเขียนมีชื่อลือลั่นบรรณพิภพ เป็นเพชรเม็ดงามแห่งวงการวรรณกรรมไทย เช่น กุหลาบ สายประดิษฐ์ และ มาลัย ชูพินิจ เป็นต้น บางคนเริ่มต้นที่ “สุภาพบุรุษ” แล้วก็ไปเติบโตบนเส้นทางวรรณกรรมอย่างดงาม เช่น ยาขอบ เป็นต้น นับได้ว่า คณะ สุภาพบุรุษ นับเป็นหมุดหมายสำคัญแห่งวงวรรณกรรมไทย เป็นรากฐานแห่งการรวม กลุ่มกันของนักเขียนหนุ่ม เพื่อสร้างสรรค์ผลงานรับใช้สังคมอย่างแท้จริงและยังคงอิทธิพล มาจนถึงปัจจุบัน สมดังปณิธานที่ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ได้ตั้งไว้แต่แรกว่าจะออกหนังสือ เพื่อรับใช้คนอื่น ด้วยความเป็นสุภาพบุรุษ 13


• หนุ่มสาวแสวงหา (เดือนตุลา) หลังจากยุค “คณะสุภาพบุรุษ” บรรยากาศในวงการวรรณกรรมส่วนใหญ่เป็นไป ดังที่เสถียร จันทิมาธร บรรยายไว้ว่า “เต็มไปด้วยเรื่องรักบนฟองสบู่ เรื่องผีที่ไร้สาระ เรื่อง บู๊อิงการเมืองจากนักเขียนที่ไร้รากฐานความคิดและความรู้ทางการเมือง เรื่องสัปดน และ นวนิยายโลกียวิสัย ที่ผู้เขียนพากันแข่งขันว่า ใครจะทำได้วิจิตรพิสดารกว่ากัน” แต่ด้วย ความคลี่คลายของบรรยากาศทางการเมืองจากที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจเผด็จการเบ็ดเสร็จ ของจอมพลสฤษดิ์มาเป็นเวลานานร่วม6 ปี ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2500 ซึ่งส่งผลให้นักคิดนักเขียน ไม่มีโอกาสได้ใช้วรรณกรรมเป็นสื่อแสดงความคิดเห็น กระทั่งมีการผลัดอำนาจไปสู่จอมพล ถนอม กิตติขจรทำให้นักคิดนักเขียนเริ่มมีความกล้ามากขึ้น(แม้จะเป็นรัฐบาลเผด็จการทหาร ที่สืบทอดอำนาจมาจากจอมพลสฤษดิ์โดยตรงก็ตาม) ปัจจัยเหล่านี้เมื่อประกอบกับความ เบื่อหน่ายสภาพสังคม แวดวงการศึกษาที่นิสิตนักศึกษาในสถาบันต่าง ๆ ถูกมอมเมาด้วย กิจกรรมที่เน้นแต่ความบันเทิงและฟุ้งเฟ้อ เช่น การจัดงานพบปะสังสรรค์ การจัดงานบอล และการเชียร์กีฬาที่สะท้อนถึงการหลงสถาบัน การประกวดเทพี จึงถูกมองจากฝ่ายก้าวหน้า ว่าเป็นการมอมเมาให้นักศึกษาลืมเรื่องการเมือง (โดยเฉพาะเรื่องการร่างรัฐธรรมนูญที่ รัฐบาลจอมพลสฤษดิ์และจอมพลถนอมใช้เวลาร่างนานถึง 10 ปี) นอกจากนั้น อิทธิพลของการเมืองโลกได้มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหว ของนิสิตนักศึกษารุ่นใหม่เหล่านี้ด้วย เช่น การเผยแพร่ขบวนการฮิปปี้ กระแสการคัดค้าน สงครามเวียดนามของหนุ่มสาวอเมริกัน การที่ขบวนการพิทักษ์แดง (Red Guard) ซึ่งส่วนใหญ่ เ ป็ น เ ย า ว ช น ข อ ง จี น มี บ ท บ า ท ส ำ คั ญ ต่ อ ก า ร ป ฏิ วั ติ วั ฒ น ธ ร ร ม ร ะ ห ว่ า ง ปี พ.ศ. 2509-2519 เป็นต้น สถานการณ์เหล่านี้มีส่วนผลักดันให้เกิดแนวคิดและปฏิกิริยาตอบสนองในกลุ่มคน หัวก้าวหน้าของไทยโดยเฉพาะสงครามเวียดนามซึ่งมีเรื่องราวและบทความโจมตีและคัด ค้านการทำสงครามกับเวียดนามของสหรัฐอเมริกาในหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ เหตุปัจจัยต่างๆที่ได้กล่าวข้างต้นนี้ ทำให้เกิดกลุ่มวรรณกรรมขึ้นมาหลายกลุ่มด้วย กัน เช่น 1. กลุ่มผู้จัดทำหนังสือสังคมศาสตร์ปริทัศน์ สังคมศาสตร์ปริทัศน์เป็นนิตยสารราย เดือนถือกำเนิดขึ้นเมื่อปี 2506 โดยมี ส.ศิวรักษ์ เป็นบรรณาธิการ หนังสือเล่มนี้ได้รับการ 14


ตอบรับจากนิสิตนักศึกษาเป็นอย่างดีและมีบทบาทสำคัญในการวิพากษ์วิจารณ์สังคมใน ระยะเวลาต่อมา โดยเฉพาะเมื่อ ส.ศิวรักษ์ ได้ก่อตั้งกลุ่มเสวนา เช่น ปริทัศน์เสวนา ศึกษิตเสวนา ทำให้เวทีแสดงความคิดเห็นของหนุ่มสาวหัวก้าวหน้ากว้างขึ้นและได้มีโอกาศ สร้างนักเขียนนักวิจารณ์หน้าใหม่หลายคน เช่น สุชาติ สวัสดิ์ศรี รังสรรค์ ธนะพรพันธ์ ไพฑูรย์ สินลารัตน์ พิภพ ธงไชย ธรรมเกียรติ กันอริ เทพสิริ สุขโสภา นิวัติ กองเพียร วิชัย โชควิวัฒน์ โกมล คีมทอง เป็นต้น ปี 2508 สังคมศาสตร์ปริทัศน์ก็เปลี่ยนโฉมหน้า ใหม่ เพื่อให้คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็น จึงได้มีสังคมศาสตร์ฉบับนิสิตนักศึกษา ขึ้น โดยมี สุชาติ สวัสดิ์ศรี เป็นบรรณาธิการ โดยการเริ่มวิพากษ์วิจารณ์สังคมใกล้ตัว คือ มหาวิทยาลัย ตลอดจนบทบาทและพลังนักศึกษา ต่อมา ในเดือนมิถุนายน 2521ได้มีการ เปลี่ยนระยะเวลาจำหน่ายจากราย 3 เดือน มาเป็นรายเดือนด้านเนื้อหาก็ได้เปลี่ยนจาก ลักษณะปัญญาชนอนุรักษ์นิยมใหม่มาเป็นปากเสียงของปัญญาชนหัวก้าวหน้า ทำหน้าที่ คัดค้านเผด็จการและจักรวรรดินิยมอย่างมีเหตุผลและมีหลักฐานข้อมูลในการนำเสนอ 2. กลุ่มผู้จัดทำหนังสือเจ็ดสถาบัน ปีพ.ศ. 2506 นิสิตนักศึกษาจากหลายสถาบัน ได้รวมตัวกันจัดทำหนังสือเจ็ดสถาบัน ภายในเล่มมีการวิจารณ์การบ้านการเมืองและ สอดแทรกความรู้สึกในการต่อต้านสงครามเวียดนาม แต่ออกมาได้ไม่กี่ฉบับก็ถูกบีบ ให้เลิกไป นักเขียนคนสำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร ประพันธ์ ผลเสวก ดำรง แสวงธรรม พิสิษฐ เจริญวงศ์ สำเริง คำพะอุ เป็นต้น 3. ชมรมพระจันทร์เสี้ยว เกิดขึ้นประมาณปี พ.ศ.2510 ในยุคที่ วิทยากร เชียงกูล เป็นประธานชุมนุมวรรณศิลป์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชมรมพระจันทร์เสี้ยวนี้เป็นกลุ่ม หนุ่มของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีผู้ร่วมกลุ่มที่เคยทำหนังสือมาตั้งแต่สมัย สวนกุหลาบ และเมื่อเข้ามาอยู่ในมหาวิทยาลัยแล้วก็ได้ร่วมกันจัดทำหนังสือเล่มละบาทขึ้น เช่น ธุลี ตะวัน นักคิดนักเขียนคนสำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ วิทยากร เชียงกูล สุชาติ สวัสดิ์ศรี วินัย อุกฤษณ์ นิคม รายยวา นัน บางนรา วีรประวัติ วงศ์พัวพันธุ์ มงคล วัชรางกูร และดนัย เยาหะรี เป็นต้น งานเขี ย นในกลุ่ ม นี้ ไ ด้ รั บ อิ ท ธิ พ ลจากงานเขี ย นของรงค์ วงษ์สวรรค์มาก โดยเฉพาะ วิทยากร เชียงกูล ได้ยอมรับว่าตัวเองเลียน แบบงานเขียนของรงค์ เพราะ ชอบในสำนวน ดังที่เขาได้เขียนไว้ในบท ความเรื่องวรรณกรรมช่วงก่อน ๑๔ ตุลาคม ในภาษาและหนังสือว่า งานเขียนยุคแรกๆของ รงค์ วงษ์สวรรค์ (พวกบางลำพูแสควร์, 15


สนิมสร้อย,สนิมกรุงเทพฯ) มีลักษณะสะท้อนความจริงในสังคมส่วนหนึ่งและเขาสามารถ เขียนหนังสือได้อย่างมีเสน่ห์ พวกนักอ่านหนุ่มสาวสมัยนั้นคลั่งเขามาก 4. กลุ่มหนุ่มเหน้าสาวสวย กำเนิดขึ้นในปี 2512 โดยก่อนหน้านั้นในราวปี พ.ศ.2508 สุจิตต์ วงษ์เทศ ขรรค์ชัย บุนปาน และเรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ ได้ไป ช่วย “หลวงเมือง” (สำราญ ทรัพย์นิรันดร์) ทำนิตยสาร ช่อฟ้า รายเดือน ซึ่งมี เนื้อหาที่เน้นหนักทางด้านวรรณกรรมและโบราณคดี นำไปสู่การเกิดของ กลุ่มหนุ่ม เหน้าสาวสวย จากการจัดทำหนังสือของกลุ่มนี้ได้สร้างนักเขียนและนักกลอนหลายคน เช่น สุวรรณี สุคนธา ณรงค์ จันทร์เรือง มนัส สัตยารักษ์ เรืองชัย ทรัพย์นิรันดร์ ไพบูลย์ วงศ์เทศ เนาวรัตน์ พงศ์ไพบูลย์ สุรชัย จันทิมาทร ฯลฯ 5. กลุ่มวรรณกรรมเพื่อชีวิต กลุ่มนี้เมื่อ พ.ศ.2514 อันเป็นช่วงที่ขบวนการนักศึกษา เติบโตและมีพลังมากขึ้น กลุ่มนี้ได้จัดตั้งสำนักพิมพ์หนังสือ และนับตั้งแต่นั้นมาวรรณกรรม ก้าวหน้าก็ได้รับการขนานนามใหม่ว่า “วรรณกรรมเพื่อชีวิต” ผู้ริเริ่มก่อตั้งกลุ่มนี้ประกอบด้วย ผู้นำนักศึกษาที่มีบทบาทในการเคลื่อนไหวและ ทำหนังสืออยู่ในมหาวิทยาลัย เช่น กมล กมลตระกูล และ ธัญญา ชุนชฎาธาร จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พิรุณ ฉัตรวนิชกุล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมี รพีพร นักเขียนที่เคยมีบทบาททางการเมืองเมื่อปี พ.ศ. 2495 และมีนักวิจารณ์รุ่นใหม่ เช่น นพพร สุวรรณพานิช สุชาติ สวัสดิ์ศรี ชลธิชา สัตยาวัฒนา และชัยอนันต์-ชัยสิริ สมุทวณิช เป็นต้น สำหรับการจัดทำนิตยสารที่ชื่อว่า “วรรณกรรมเพื่อชีวิต” ของกลุ่มวรรณกรรมเพื่อชีวิตนี้ ได้มีการรื้อฟื้นงานเขียนของนักเขียนที่วิพากษ์วิจารณ์สังคมรุ่ นก่อนช่วงปีพ.ศ. 2490-2500 มาตีพิมพ์ใหม่ เช่น ความรักของวัลยา, ปีศาจ ของเสนีย์ เสาวพงศ์ จนกว่าเราจะพบกันอีกและแลไปข้างหน้า ของศรีบูรพา เมืองนิมิตร ของม.ร.ว.นิมิตรมงคล นวรัตน์ ศิลปเพื่อชีวิต ศิลปเพื่อประชาชน ของจิตร ภูมิศักดิ์ ในนามปากกา ทีปกร ซึ่ งได้ รั บ การตอบรั บ อย่ า งดี จ ากนิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาและคนรุ่ น ใหม่ จ นต้ อ งตี พิ ม พ์ ห ลายครั้ ง นอกจากกลุ่มหรือชมรมต่างๆเหล่านี้แล้ว ด้มีการจัดตั้งกลุ่มทางวรรณกรรมขึ้นอีกด้วย เช่น 16

ในสถาบันการศึกษาต่างๆยังไ กลุ่มสภาหน้าโดม(ธรรมศาสตร์)


กลุ่มสภากาแฟ (เกษตรศาสตร์) กลุ่มเศรษฐธรรม(ธรรมศาสตร์) กลุ่มรัฐศึกษาและฟื้นฟู โซตัสใหม่ (จุฬาฯ) กลุ่มวลัญชทัศน์(เชียงใหม่) ชมรมคนรุ่นใหม่(รามคำแหง) และกลุ่มศิลปะ (เทคนิคโคราช) หนังสือสำคัญๆของนักศึกษากลุ่มเหล่านี้ เช่น ภัยขาว คัมภีร์ ปลด วลัญชทัศน์ กดและ มหาวิทยาลัย: ที่ยังไม่มีคำตอบ เป็นต้น จากการตื่นตัวของคนรุ่นใหม่ เพื่อผลิตผลงานทางวรรณกรรมออกสู่สาธารณะ ทำให้วรรณกรรมเกิดมีรูปแบบและวิธีการ ใหม่ๆขึ้นมา เช่น การบรรยายแบบกระแสสำนึก (Stream of Consciousness) งานเขียน กึ่งสัญลักษณ์กึ่งเหนือจริง (Semi Surrealism) และการบรรยายความรู้สึกแบบไม่จำเป็นต้อง หักมุมตามแบบของโอ เฮนรี่ หรือกี เดอ โมปัสซังซึ่งได้รับความนิยมอยู่ในช่วงนั้น ส่วน เนื้อหาก็ได้พัฒนาไปสู่การแสดงความคิดเห็นต่อสังคมรอบตัว ลักษณะเช่นนี้ปรากฏในงาน เขียนต่างๆ เช่น คนบนต้นไม้ ของนิคม รายยวา (2510) แล้งเข็ญ ของสุรชัย จันทิมาธร (2511) ถนนสายที่นำไปสู่ความตาย ของวิทยากร เชียงกูล (2512) รถไฟเด็กเล่น ของสุชาติ สวัสดิ์ศรี (2512) คนโซ ของวีระประวัติ วงศ์พัวพันธุ์(2517) ค่ำคืนอันโหดร้ายในวันว่างเปล่า ของวิสา คัญทัพ(2512) นอกจากนี้การตื่นตัวของคนรุ่นใหม่ยังทำให้วรรณกรรมการ เมื อ งในยุ ค แรกได้ รั บ การรื้ อ ฟื้ น ขึ้ น มาเพื่ อ ใช้ เ ป็ น เครื่ อ งมื อ กระตุ้ น และสร้ า งจิ ต สำนึ ก ทางการเมื อ งในการเป็ น พลั ง ต่ อ สู้ กั บ อำนาจเผด็ จ การของกลุ่ ม ผู้ ป กครองอี ก ด้ ว ย • หนุ่มสาวร่วมสมัย หลังจากวรรณกรรมเพื่อชีวิตเฟื่องฟูสุดขีดในยุค 14 ตุลา เป็นต้นมา ทำให้ ว รรณกรรมประเภทนี้ ถู ก ผลิ ต ซ้ ำ ทั้ ง ทางเนื้ อ หาและกลวิ ธี เ ป็ น จำนวนมาก จนหลายคนเริ่มค่อนแคะว่ามีลักษณะ “น้ำเน่าเพื่อชีวิต” เพราะงานวรรณกรรมยังย่ำอยู่กับที่ ในขณะที่สังคมพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง ปัญหาสังคมก็มีมิติที่สลับซับซ้อนมากขึ้น อย่างไรก็ดี นักเขียนหนุ่มสาวเริ่มตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้และพยายามสร้างงานสำหรับยุคสมัยของ พวกเขา

การเกิดขึ้นของงานเพื่อชีวิตยุคใหม่ที่มีชีวิตชีวาด้วยกลวิธีใหม่ ๆ เช่นงานของ กนกพงศ์ สงสมพันธ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องสั้นขนาดยาวที่เต็มไปด้วยภาพชีวิตชนบทและ การต่อกรกับ “การพัฒนา” รูปแบบต่าง ๆ ที่เข้ามาพร้อมกับวิถีบริโภคนิยม อีกทั้งกลวิธี 17


การเล่าเรื่องแบบต่าง ๆ ที่เขาใช้ก็ทำให้เรื่องน่าสนใจมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการใช้สัญลักษณ์ การเปลี่ยนเสียงเล่า ตลอดจนการเล่าเรื่องแบบสัจนิยมมหัศจรรย์ซึ่งได้รับอิทธิพลจากนัก เขียนในแถบละตินอเมริกา อาจกล่าวได้ว่ากนกพงศ์และเพื่อน ๆ กลุ่มนาคร อาทิ ไพฑูรย์ ธัญญา, ประมวล มณีโรจน์ ตลอดจนกลุ่มวรรณกรรมตามภูมิภาคต่าง ๆ อาทิ กลุ่มลมเหนือ กลุ่มกาแล เริ่มทำให้เกิดความคึกคักในวงวรรณกรรม และทำให้แนวโน้มของงานแบบท้อง ถิ่นนิยมเข้ามาปรากฏตัวมากขึ้น ในขณะเดียวกันการเกิดขึ้นของวินทร์ เลียววาริณ, ปราบดา หยุ่น, พิสิฐ ภูศรี, ทินกร หุตางกูร ก็ทำให้งานวรรณกรรมแนวทดลองและงานวรรณกรรม แบบหลังสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทอย่างสำคัญ เกิดการเล่าเรื่องผ่านกลวิธีแบบ ใหม่ ๆ เช่นกัน อาทิ การเปิดเผยความเป็นเรื่องแต่งของวรรณกรรม การเขียนประเภทสัมพันธบท (hypertext) ซึ่งกลวิธีเหล่านี้สอดรับกับเนื้อหาแบบใหม่ซึ่งพยายามแสดงสภาพสังคมบริโภค นิยมที่มนุษย์เริ่มถูกสั่นคลอนในระดับปัจเจก ปั จ จุ บั น การเข้ า มามี บ ทบาทของอิ น เตอร์ เ น็ ต ทำให้ ห นุ่ ม สาวที่ อ ยากจะทำงาน วรรณกรรมเข้าไปใช้พื้นที่ติดต่อสื่อสารสร้างเครือข่ายและนำเสนอผลงานบนอินเตอร์เน็ตมา กขึ้น เช่นกลุ่มไทยไรเตอร์ (www.thaiwriter.net) กลุ่ม young thai กลุ่ม thaipoetsociety (www.thaipoetsociety.com) อีกทั้งกลุ่มอื่น ๆ ที่รวมตัวกันหลวม ๆ เช่นนี้ ความ สะดวกรวดเร็วอาจทำให้นักอ่านสามารถเข้าถึงงานวรรณกรรมได้ง่ายขึ้นในปริมาณที่มาก ขึ้น แต่ในขณะเดียวกันคุณภาพของผลงานก็มีความสำคัญไม่หยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ดังนั้น นักเขียนหนุ่มสาวจำเป็นต้องพิสูจน์ตัวเองให้ได้ทั้งในทางปริมาณและคุณภาพ ส่วนพวกเรา ในฐานะนักอ่านคงต้องจับตาดูกันต่อไป

18


บทสัมภาษณ์

เดินทางไปในชีวิต และบทกวีของกวีหนุ่ม ซะการ์รียา อมตยา1 โดย กองบรรณาธิการ

ฉันกำลังเดินทางในบทกวี บทกวีกำลังเดินทางในฉัน เราต่างมุ่งหน้าสู่ปลายทางเดียวกัน

บทกวี ส ามบรรทั ด เสมื อ นคำแนะนำตั ว ข้ า งต้ น ถู ก โปรยไว้ บ นปกในของ หนังสือ “ไม่มีหญิงสาวในบทกวี” กวีนิพนธ์เล่มแรกของซะการีย์ยา อมตยา กวีหนุ่มผู้เติบ โตมากับเรื่องเล่าพื้นถิ่นและกลิ่นอายวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ริมเทือกเขาบูโด เขาเริ่ม มีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ตามหน้านิตยสารอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และด้วยใจรัก ประกอบกับความเชื่อมั่นในพลังของกวีนิพนธ์ทำให้เขาและเพื่อน ๆ กวีหนุ่มสาวรวมกลุ่ม กันจัดกิจกรรม “Live Poetry” อ่านบทกวีในที่สาธารณะ เพื่อปลดปล่อยพลังสร้างสรรค์ และสรรสร้างสุ้มเสียงแห่งยุคสมัยของเขาเอง นอกจากนี้เขายังเป็นผู้ก่อตั้งและ www.thaipoet society.com เว็บไซต์ที่เขาปรารถนาให้เป็นเสมือนสาธารณรัฐกวี เป็นพื้นที่เสรีสำหรับผู้ หลงใหลกวีนิพนธ์ได้พบปะพูดคุย ตลอดจนนำเสนอผลงานออกเผยแพร่บนอินเตอร์เน็ต นั บ ว่ า กวี ห นุ่ ม ผู้ นี้ ไ ด้ พิ สู จ น์ ใ ห้ เ ห็ น แล้ ว ว่ า เขามี ค วามมุ่ ง มั่ น ตั้ ง ใจมากเพี ย งใดในการเดิ น ทางไปในบทกวี ดังนั้นคงจะดีไม่น้อย หากวันนี้เราจะได้ร่วมเดินทางไปกับเขา... กองบรรณาธิการ : คิดว่านักเขียนหนุ่มหรือกวีหนุ่ม คืออะไร? ซะการีย์ยา : (นิ่งคิด) มันน่าจะเป็นคำปลอบใจ ให้กำลังใจมากกว่า แปลว่าเป็นนักเขียนที่เพิ่ งมีผลงานแล้วก็เพิ่งได้รับการยอมรับ อะไรประมาณนี้ แต่ว่าหนุ่มในความหมายแต่ละอาจจะ สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2553 ในฐานะ “กวีหนุ่ม” ก่อนจะได้รับรางวัล ซีไรต์ในภายหลัง 1

19


ไม่เหมือนกัน หนุ่มเพราะอายุเท่าไหร่ หรือว่าหนุ่มเพราะเพิ่งมาเขียนงาน ถ้าเป็นฝรั่งก็อีก ความหมายหนึ่ง แต่ก็ไม่ได้มีความหมายพิเศษอะไรมาก ก็อย่างที่บอกแหละ อาจจะเป็นคำ ปลอบใจหรือเป็นกำลังใจให้คนที่มาเขียนรู้สึกดีว่าเป็นนักเขียนหนุ่ม แล้วต่อไปก็แก่กันหมด กองบรรณาธิการ : แล้วคิดว่าความหนุ่มแตกต่างจากความเก่าหรือความแก่ยังไง? ซะการีย์ยา : ความหนุ่มก็คือจะมีพลังในการเขียน เพราะว่าส่วนใหญ่พวกที่มาใหม่ก็จะไฟแรง เขียนเยอะมาก เป็นจุดเริ่มต้น เป็นช่วงทดลองด้วย หมายความว่าถ้าคุณผิดพลาด อย่างน้อยก็จะได้รับการให้อภัย เพราะยังใหม่ แต่ถ้าเป็นนักเขียนเก่าแล้วผู้อ่านอาจจะไม่ให้ อภัย อันนี้ความเห็นส่วนตัวนะ กองบรรณาธิการ : แต่ว่าในความเป็นจริงคนเราก็พลาดกันได้? ซะการีย์ยา : มันก็แล้วแต่ว่าผู้อ่านจะอนุญาตหรือเปล่า แต่ถ้าเป็นนักเขียนหนุ่มอย่างน้อยมี อายุ ประสบการณ์ในการทำงานไม่มาก คือทุกคนก็อาจจะลงความเห็นว่ามันยังใหม่อยู่ กองบรรณาธิการ : กลับมาที่เอกลักษณ์ของความเป็นนักเขียนหนุ่ม คิดว่าคืออะไร ? ซะการีย์ยา : น่าจะเป็นการสำแดงในตัวงาน ความใหม่สด ไม่ซ้ำกับรุ่นพี่ เขียนอะไรที่มาใหม่ มุมมองใหม่ๆ ก็จะได้รับการชื่นชม แต่ถ้าคุณยังเขียนแบบเก่าๆ เชยๆ อยู่มันก็หนุ่มแค่อายุ กองบรรณาธิการ : อย่างนี้นับตัวเองเป็นนักเขียนหนุ่มไหมหรือรอคนอื่นมานับ? ซะการีย์ยา : ก็ไม่เคยนับ (หัวเราะ) ถ้าคนอื่นนับก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง กองบรรณาธิการ : รู้สึกเป็นเกียรติไหมเวลามีคนเรียกนักเขียนหนุ่ม? ซะการีย์ยา : ก็เฉย ๆ ไม่ได้เป็นอะไรที่พิเศษ กองบรรณาธิการ : เริ่มเขียนหนังสือตั้งแต่เมื่อไหร่? ซะการีย์ยา : ตั้งแต่เรียนอยู่ที่อินเดีย ไปเรียนอยู่อินเดีย 5-6 ปี แต่ช่วงที่อยู่อินเดียนี่เป็น ช่วงฝึกหัด ไม่ได้ส่งอะไรที่ไหน ไม่รู้เรื่องว่าต้องส่งยังไง ไม่ได้สนใจ จะเป็นการจดในสมุด เราจะเขียนของเรา คล้าย ๆ บันทึก แต่เป็นบทกวี เป็นอย่างที่เรียกกันว่ากลอนเปล่า ก็เขียนลงในสมุด ไม่ได้รวบรวมอะไรมาก เขียนไปเรื่อย ๆ อ่านไปด้วย กองบรรณาธิการ : เรียนด้านอะไรตอนอยู่อินเดีย? ซะการีย์ยา : เขาเรียกอิสลามศาสตร์ ภาษาและวรรณคดีอาหรับ เป็นการเรียนศาสนา อิสลามและภาษากับวรรณคดีอาหรับด้วย กองบรรณาธิการ : ส่งผลต่อตัวงานไหม? ซะการีย์ยา : ส่งผลนะ เพราะเราได้รับคลังความรู้อีกแบบหนึ่ง อีกวัฒนธรรมหนึ่ง แล้วก็การ ใช้ชีวิตที่โน่นก็มีส่วน กองบรรณาธิการ : มีแรงบันดาลใจอะไรถึงเขียน ตอนไปอยู่อินเดีย มีฮีโร่หรือ อะไรไหม? 20


ซะการีย์ยา : ก็ยังไม่มีหรอก แต่ว่าตอนอยู่เมืองไทยเราก็ได้อ่านบ้าง ไม่ชอบด้วยซ้ำคาลิล ยิบราน แต่ว่าพอไปอินเดียก็ได้อ่าน ยิบรานเขียนภาษาอาหรับด้วยไงก็เลยได้อ่าน เขาเขียนสองภาษา ภาษาอังกฤษกับภาษาอาหรับด้วย ครึ่งต่อครึ่ง เมืองไทยตอนนั้นมี แปลก็ไม่ได้รู้สึกว่าชอบอะไรนะ ตอนนั้นเรียนราม เรียนได้สองเทอม ก็ไปที่โน่น ก็ได้อ่าน ความคิดเขาดี เขามีความคิดทางปรัชญาสูง แต่เราก็เขียนของเรา แต่เวลาเรียนก็มีพวกวิชา วรรณคดีอาหรับร่วมสมัย ก็จะมีกวีหลาย ๆ คนในโลกอาหรับ โลกอาหรับเป็นโลกที่ใหญ่ มีหลายประเทศแต่ใช้ภาษาเดียวกันหมดเลย ทำให้ เราได้อ่านงานที่นักเขียนประเทศหนึ่งเขียน ประเทศอื่น ๆ ก็อ่านได้ ไม่ต้องแปล มันเลยมีความหลากหลายพอสมควร คาลิล ยิบรานเองก็เป็นกลุ่มแรก ๆ ที่แหกขนบ วรรณคดีอาหรับ อย่างกวีอาหรับจะมีฉันทลักษณ์เยอะมาก ทุกอย่างจะถูกเขียนเป็นกลอน ให้สัมผัส ตำราต่าง ๆ ก็ถูกทำให้เป็นกลอนเพื่อให้จำง่าย มีกลุ่มพวกนักวรรณคดีอาหรับนี่อพยพไปอยู่อเมริกา แล้วมารวมตัวกันที่อเมริกา เริ่มเขียนงานภาษาอาหรับแต่ใช้รูปแบบของตะวันตก แล้วก็เริ่มเขียนกลอนเปล่า ไม่เขียน แบบขนบ อย่างคาลิล ยิบรานมีอยู่หนี่งเล่มเท่านั้นที่เขียนเป็นฉันทลักษณ์ภาษาอาหรับ ไม่ได้แปลว่าเขียนไม่ได้ เขียนได้แต่ไม่เขียน ศัพท์ทางวรรณคดีอาหรับเรียกว่ากลุ่มวรรณ กรรมผู้อพยพ นับเป็นสกุลหนึ่งในงานวรรณกรรมอาหรับร่วมสมัย แล้วในอาหรับเองช่วง นั้นก็เริ่มเปลี่ยนแปลง เริ่มมีขบวนการสังคมนิยมเข้ามา ถนนทุกสายของปัญญาชนอาหรับ ต่างมุ่งสู่ทางนี้ แล้วก็ดูเหมือนว่าสังคมนิยมจะเป็นคำตอบสำหรับความยุติธรรม พวกนัก เขียนพวกนี้หลายคนก็ไปเรียนที่สหภาพโซเวียต ก็ได้อิทธิพลจากงานเขียนของรัสเซียด้วย มันก็หลายส่วนนะ อีกส่วนหนึ่งอย่างในอียิปต์ก็จะได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศส ไปเรียนที่ ฝรั่งเศสกลับมาก็มาเริ่มเขียน คือแต่ก่อนในประเทศอาหรับทุกอย่างจะเขียนเป็นกลอน หมดเลย เล่าเรื่องทุกอย่างด้วยกลอน แต่พอเริ่มเขียนแบบตะวันตก ก็เริ่มมีเรื่องเล่าแบบ นิยายเกิดขึ้น กลวิธีเล่าเรื่องลักษณะเช่นนี้ทั้งหมดก็ไม่ใช่เป็นของตะวันออกในการเล่าเรื่อง กองบรรณาธิการ : ของไทยก็เหมือนกัน ก็เพิ่งมี”สนุกนึก”เรื่องแรกที่เป็นเรื่องเล่า ซะการีย์ยา : อืม อีกอย่างช่วงที่อยู่อินเดียนี่จะมีการอ่านบทกวีก่อนเริ่มงานเสวนา ไม่ว่าจะ เสวนาอะไรทั้งนั้น เริ่มแรกจะมีอ่านพระคัมภีร์ก่อน แล้วจะต้องมีการอ่านบทกวีเปิดงาน นี่เป็นธรรมเนียมในมหาวิทยาลัยที่เรียน ผมก็เป็นคนหนึ่งที่จะได้อ่านบทกวีภาษาอาหรับ แต่จะอ่านด้วยทำนองนะ ไม่ได้ใช้เครื่องดนตรีอะไร แต่จะเป็นการอ่านด้วยท่วงทำนอง ที่เสนาะ 21


กองบรรณาธิการ : เขียนไปอ่านหรือว่าอ่านของคนอื่น? ซะการีย์ยา : อ่านของคนอื่น ตอนนั้นมีกวีที่เรารู้จักของอินเดียก็มีรพินทรนาถ คนหนึ่ง เป็นสายของฮินดู ส่วนของมุสลิมก็จะเป็นมูฮัมหมัด อิกบาล ร่วมสมัยกันที่อยู่ใต้อาณานิคม อังกฤษ เป็นกวีที่โด่งดังในยุคนั้น แต่ว่าตอนที่ไปนี่ไม่มีแล้ว มีแต่หนังสือ กองบรรณาธิการ : คิดว่าอิทธิพลของงานต่างประเทศที่ได้เอามาใช้ เด่น ๆ มีอะไร? ซะการีย์ยา : มันบอกเป็นคน ๆ ไม่ได้ เพราะว่าเราพยายามอ่านหลาย ๆ คน ยิ่งช่วงที่แปล ลงจุดประกายอยู่ปีกว่า ๆ ก็จะเลือกมาจากหลาย ๆ กลุ่ม เหมือนมันซึมเข้ามา อย่างเช่นเวลา เราแปลบทกวีของใครสักคนหนึ่ง การแปลมันเป็นภาษาของเรา แต่ว่าในท่วงทำนองและ ความหมายของเขา ในขณะที่เราแปลเราก็สร้างภาษาของเราด้วย แล้วก็ภาษาที่เราสร้าง ตอนแปลนี่เวลาเราเขียนมันก็จะติดมาด้วย มันบอกไม่ได้หรอกว่าได้รับอิทธิพลจากคนไหน กองบรรณาธิการ : ประทับใจบทกวีของใครเป็นพิเศษไหม เพราะได้อ่านเยอะ? ซะการีย์ยา : พูดยาก เพราะว่าเราชอบหลายคน สมมติเราบอกว่ายิบรานก็ชอบ รพินทรนาถก็ชอบ เนรูดาก็ชอบ ลอร์กา กินสเบิร์กก็ชอบ โบดแลร์ แร็งโบด์ก็โคตรชอบ คนอื่น ๆ ในละตินอเมริกาหลายคนเลยที่เราชอบ คือทุกคนจะมีความโดดเด่นหมดเลย อย่างพวกยุโรปตะวันออกก็ดี ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นคนไหน คือชอบหลายคน (หัวเราะ) หลังๆ บทกวีเชิงเทศนาเราเริ่มไม่ปลื้มแล้ว เราชอบบทกวีที่ชวนให้เราขบคิดมากกว่า กองบรรณาธิการ : เขียนอย่างอื่นที่ไม่ใช่กวีบ้างไหม? ซะการีย์ยา : เขียนเรื่องสั้นบ้างแต่ไม่นับว่าเป็นเรื่องสั้น ไม่จริงจังมาก เคยเขียน ไม่รู้สึกว่าประสบความสำเร็จ กองบรรณาธิการ : เขาว่ากันว่านักเขียนหนุ่มต้องทำงานหนัก คิดว่าตัวเองทำงาน หนักหรือเปล่า หนักแค่ไหน อย่างไร? ซะการีย์ยา : ช่วงแรกรู้สึกจะทำงานหนักมาก เขียนบทกวีเยอะมาก ช่วงที่เริ่มต้นเขียน ไม่สนใจอะไรทั้งนั้น เขียนเยอะ ดีบ้างไม่ดีบ้างก็ว่ากันไป เห็นอะไรก็จะเป็นบทกวีไปหมด ทุกอารมณ์สามารถจับได้หมด แล้วช่วงแปลงานก็ฟิตมาก แปลได้เป็นปีช่วงนั้น แต่พอหยุด ปุ๊บรู้สึกว่าจะกลับมาทำใหม่นี่ยากมาก ต้องทุ่มเท รู้สึกไม่มีพลังไง แล้วก็พอช่วงหลัง มันยิ่งยากขึ้น เพราะเรารู้สึกว่าบทกวีของเรามีมาตรฐานของเรา คือช่วงแรก ๆ ยังไม่มี มาตรฐาน พอช่วงหลังเขียนออกมายากขึ้น เรามีมาตรฐานของเรา เราจะเขียนงาน ออกมาง่าย ๆ เหมือนเดิมไม่ได้แล้ว คือจะต้องไม่ด้อยกว่างานชิ้นที่เราพอใจ ตอนนี้เลย เป็นช่วงที่รู้สึกว่าทำงานไม่หนัก กองบรรณาธิการ : เน้นคุณภาพมากกว่าปริมาณ? ซะการีย์ยา : ประมาณนั้น (หัวเราะ) 22


กองบรรณาธิการ : ส่วนใหญ่มีวิธีคิดหรือเขียนงานยังไง? ซะการีย์ยา : งานแบ่งได้ 2 อย่าง ชนิดแรกจะเป็นงานจากแรงบันดาลใจ แบบฉับพลัน รู้สึกก็จะเขียนเลย สะเทือนใจกับอะไรสักอย่าง อีกชนิดหนึ่งก็คือการสร้างแรงบันดาลใจ คือการอ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง ดูหนังแล้ว เฮ้ย อันนี้มันสามารถเป็นบทกวีนะ หรือบางชิ้น เจอประโยคหนึ่งจากหนัง เป็นบทกวีของโบดแลร์ ก็นำมาเขียนเป็นบทกวี ตอนแรกจด ไว้ในสมุด อีกปีต่อมาก็มาอ่านสิ่งที่จดค้าง ๆ ไว้ ก็ได้เขียน จดไว้ก่อน เหมือนเป็นคีย์เวิร์ด พอมีเวลา โล่ง ๆ เหมือนเราสงบแล้ว ก็เขียน ส่วนที่สร้างแรงบันดาลใจนี่เคยไปเรียนเหมือน กันนะ ที่สมาคมฝรั่งเศส เป็นเทศกาลฤดูใบไม้ผลิแห่งบทกวี เขาก็จะสอนวิธีการเขียนบทกวี หลายอย่างนะ อย่างเช่นเขาเปิดหนังสือเจ้าชายน้อยมาหน้าหนึ่ง ให้เราหาคำที่เราประทับ ใจแล้วก็ขีด ๆ ๆ เสร็จแล้วก็ให้อ่านตามลำดับลงมา อ่านแล้วกลายเป็นบทกวีเฉยเลย กองบรรณาธิการ : เคยเขียนไม่ออกไหม? ซะการีย์ยา : เคย ก็จะพักไว้ แล้วค่อยมาต่อใหม่ คือบางคนเขาจะปฏิเสธวิธีการ เขียนแบบนี้ เขาจะเขียนให้จบเลย แปลไม่ออกก็มีเหมือนกัน ถ้าเราแปลบทกวีชิ้น ไหนติดคำที่ไม่เข้าใจ พยายามแล้วก็ไม่เข้าใจอยู่ดี เราจะหยุดแปลชิ้นนั้นไปก่อน แล้วหันไป แปลชิ้นอื่น ทิ้งไว้สักพักค่อยมาพยายามชิ้นนั้นใหม่ กองบรรณาธิการ : ไม่กลัวว่าอารมณ์จะไม่ต่อเนื่อง? ซะการีย์ยา : ไม่กลัว คือบทกวีมันต้องมีความรู้ด้วย ไม่ใช่มีแต่อารมณ์หรือความอ่อนไหว อย่างเดียว ต้องมีแก่น คือถ้าอารมณ์อย่างเดียวก็จะได้บทกวีอีกประเภทหนึ่ง ตัวบทกวีมันจะ บอกเองว่าใครเขียนยังไง กองบรรณาธิการ : คิดว่าเขียนกวีเพื่ออะไร เพื่อมนุษยชาติ? ซะการีย์ยา : ยังไม่ถึงขนาดนั้น (หัวเราะ) เพราะว่าต้องเข้าหาตัวเองก่อน ความจริงเราไม่ได้ เขียนเพื่อมนุษยชาติหรอก พูดตรง ๆ ก็คือเขียนเพื่อตัวเองนั่นแหละ ส่วนเพื่อมนุษยชาติ หรือเปล่านั้นมันเป็นสำนึกที่อยู่ในความยุติธรรมของเรา กองบรรณาธิการ : เขียนเพื่อตัวเองหมายความว่าอยากเล่าอะไรก็เล่า? ซะการีย์ยา : ใช่ ก็เหมือนตอนที่เริ่มต้นเขียน อยู่ในห้องเรียน อาจารย์จะสอนเป็นภาษาอาหรับ ช่วงแรกเราก็เรียนเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง เราก็เขียนเพื่อระบายอะไรบางอย่างในตัวเรา กองบรรณาธิการ : แล้วค่อยเริ่มเขียนเพื่อคนอื่นตอนหลังหรือว่ายังไง? ซะการีย์ยา : ไม่ เราไม่ต้องเขียนเพื่อใครก่อนหลัง แต่มันจะเป็นเพื่อคนอื่นเอง เพราะมัน อยู่ในตัวเราอยู่แล้ว เราไม่ต้องตั้งใจว่าจะเขียนเพื่อคนอื่น 23


กองบรรณาธิการ : ถ้าจะพูดว่าเขียนในฐานะมนุษย์คนหนึ่งได้ไหม? ซะการีย์ยา : ได้ คือเขียนในฐานะมนุษย์คนหนึ่งที่รู้สึก จะเพื่อคนอื่นหรือเปล่าก็ดูเป็น ชิ้น ๆ ไป แต่มันจะเพื่อคนอื่นไปโดยอัตโนมัติอยู่แล้ว ถ้าเรามีบางอย่างอยู่ในตัวเรา ถ้าเรา ไม่ชอบการฆ่า มันก็จะออกมาเอง แต่ตอนเขียนเราไม่ได้คิดว่าเขียนเพื่อคนอื่น สำหรับเรานะ ตอนแรกก็ไม่ได้เขียนเพื่อคนอื่น เขียนเพื่อตัวเองนี่แหละ แต่ช่วงนั้นมันเป็นช่วงไม่ได้เผย แพร่ด้วยแหละ ช่วงหลังเริ่มเผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต แต่พอเราเผยแพร่นี่มันก็มีคนอื่นมา รับสาร เราก็เริ่มรู้สึกว่าสื่อสารกับคนอื่น มันจะมีส่วนของเขาเข้ามาแบ่ง มีความเกร็งอยู่ กองบรรณาธิการ : ใช้เวลานานไหมกว่างานจะได้ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ ซะการีย์ยา : หลายปีเหมือนกันนะ “ข้าแบมืออันเปลือยเปล่า” นี่แหละ เป็นชิ้นแรก ที่ได้ลงในเนชั่นฯ จริง ๆ เขียนนานแล้วนะชิ้นนี้ มีรุ่นพี่กวีหลายคนบอกให้ส่งงานได้แล้ว แต่เราไม่ค่อยสนใจ เขียนไปวัน ๆ ไม่ได้สนใจว่าจะได้ตีพิมพ์หรือเปล่า เริ่มส่งปี ’47 ’48 นี่แหละ กองบรรณาธิการ : เขียนกลอนเปล่ามาตลอด? ซะการีย์ยา : ใช่ กลอนเปล่ามาตลอด ไม่ได้เขียนฉันทลักษณ์เลย กองบรรณาธิการ : คิดว่ากลอนเปล่ามีสเน่ห์แตกต่างจากกลอนฉันทลักษณ์ยังไง? ซะการีย์ยา : จะเด่นเรื่องของแนวคิด แต่ไม่ได้บอกว่ากลอนฉันทลักษณ์ไม่ได้เด่นด้าน แนวคิดนะ คนที่ทำก็มีเยอะ กลอนเปล่าจะโชว์ความสวยงามด้านภาษาก็ทำได้ แต่ของ ฉันทลักษณ์จะมีจังหวะ ท่วงทำนองมากกว่า กลอนเปล่าก็จะเด่นเรื่องสัญลักษณ์ เรื่องแนวคิด ในบทกวี สามารถบรรจุเนื้อสารได้เยอะ ไม่ต้องอ้อมมาก ฉันทลักษณ์ก็ทำได้ แต่ต้องแม่น มากขึ้น คือรูปแบบมันบังคับให้หาคำมาสัมผัส บางครั้งมันไม่สามารถหาคำที่ดีที่สุด แต่กลอนเปล่าอยากบอกอะไรก็บอกได้เลย กองบรรณาธิการ : คิดว่าบทกวีที่มีพลังต้องเป็นยังไง? ซะการีย์ยา : ต้องรู้สึก ถ้าเราเขียนถึงความเกลียด คนอ่านก็ต้องรู้ว่าเรากำลังเกลียด ถ้าเศร้าคนอ่านก็ต้องรู้สึกเศร้า เอาง่าย ๆ อย่างเรื่องกระชับพื้นที่ เขียนแล้วไม่เศร้าเลย นี่แสดงว่ามันยังไม่สั่นสะเทือนพอ กองบรรณาธิการ : อย่างนี้คิดว่าบทกวีเป็นอะไรที่บริสุทธิ์หรือว่าเป็นสิ่งประกอบ สร้าง? ซะการีย์ยา : มันก็ไม่ได้บริสุทธิ์ทั้งหมดหรอก บทกวีในนิยามของเราจะใช้นิยามตามภาษา อาหรับ ตามที่เราเรียน ภาษาอาหรับคำว่าบทกวีหรือคำว่ากวีนี่เขาจะใช้คำจากรากศัพท์เดียว กันเลย แต่ว่าผันคำ ถ้าบทกวีเขาจะใช้คำว่า ‫“ رعش‬ชิอ์รุน” ถ้ากวีใช้ ‫“ رعاش‬ชาอีร์” มาจากคำกริยาคำหนึ่งคือคำว่า ‫“ رعش‬ชะอะรอ” แปลว่ารู้สึก คำว่ากวีในภาษาอาหรับ 24


จึงแปลว่าผู้มีความรู้สึกอันอ่อนไหว และตัวบทกวีก็คือสิ่งที่รู้สึกอ่อนไหว กวีต้องเป็นผู้มี ความรู้สึกที่อ่อนไหวก่อนเลยนะ ดังนั้น กวีถ้าไม่มีความรู้สึกอ่อนไหวเขาก็จะรับสารที่ กระทบแล้วเอาไปเขียนไม่ได้ ไม่ต้องเป็นเหตุการณ์หรอก แค่ถ้อยคำหนึ่งบรรทัดที่ทำให้รู้สึก ทุกคนก็เป็นกวีได้นะ แต่ว่าต้องมีคุณสมบัติตรงนี้ด้วย ชาวนาก็เป็นได้ แต่ว่าเขาต้องรู้สึกไง อาจแสดงออกมาเป็นคำพูดหรือร้องออกมา แต่ว่าอันดับแรกต้องรู้สึกก่อน อันนี้คือนิยามของ บทกวีสำหรับเรา กองบรรณาธิการ : กลับมาเรื่องวงการวรรณกรรมหรือวงการกวีนิพนธ์ของบ้านเรา บ้าง มองมันยังไง ตอนนี้เป็นยังไง และต่อไปควรจะเป็นยังไง? ซะการีย์ยา : วงการกวีนิพนธ์ก็เหมือนว่าพื้นที่มันน้อยลง แต่มันก็มีพื้นที่ใหม่เกิดขึ้น พื้น ที่ในหนังสือหรือนิตยสารอาจจะน้อย มีไม่กี่เล่ม แต่ปริมาณคนเขียนมีเยอะ อินเตอร์เน็ต ก็ช่วยส่วนหนึ่งนะ แต่มันก็มีด้านดีและไม่ดี ผลเสียของมันก็คือถ้าเรารีบโพสต์จะทำให้ งานไม่ได้รับการเกลา จริง ๆ งานเขียนบทกวีมันจะสดแค่ไหน อย่างน้อยมันต้องได้รับ การเกลาให้มันดีที่สุด แต่ด้วยความเร็วของอินเตอร์เน็ตทำให้คนเขียนอาจจะละเลยส่วนนี้ แต่ข้อดีของมันก็มีอย่างเช่นถ้างานเราดี เราก็เผยแพร่ได้ทันที อาจจะมีคนมาวิจารณ์ แต่ก็ยังยืนยันว่าก่อนที่จะโพต์ลงเผยแพร่ต้องมีการเกลาก่อน ต้องใช้สปิริตแบบยุคอนาล็อก ก่อน เขียนเสร็จต้องอยู่กับมันก่อน ทำยังไงให้มันดีกว่าเดิม ก็คิดว่ามันน่าจะออกมาเป็น งานที่ดี ถ้าทำแบบนี้ได้ก็สามารถส่งตีพิมพ์ได้เลย แต่มันก็มีคนเขียนรายวันใน อินเตอร์เน็ตซึ่งมันก็ไม่ค่อยดีเลย อีกด้านหนึ่งก็มีการประกวด ซึ่งมันก็ช่วยเหมือนกัน เริ่มมีหลายแห่ง ทำให้คนเขียนใหม่ ๆ ก็มีโอกาสตรงนี้เหมือนกัน ปกติเราจะรู้จักจากการตีพิมพ์ผ่านนิตยสาร แต่เดี๋ยวนี้มันมีพื้นที่ใหม่ เป็นการเปิดโอกาสมากขึ้น แต่พื้นที่ทางหน้านิตยสารเล่มต่างๆ ยังคงมีความสำคัญอยู่ ถ้าเกิดมันมีมากขึ้นก็จะดีเยี่ยมเลย ส่วนเรื่องการส่งเสริมกวีนิพนธ์พวกเราก็เคยทำอยู่ งานอ่านบทกวีก็ทำอยู่กันเอง มันก็ไม่ได้เพิ่มกลุ่มผู้อ่าน ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะคนอื่นไม่กล้าแสดงออก ทุกคนอาจจะ อยู่ในบ้านของตัวเอง พร้อมที่จะเขียนงานแล้วก็ส่งตีพิมพ์ต่อไป ก็คิดอยู่หลายปีแล้ว 3-4 ปีแล้ว คิดจะทำนิตยสารกวี กวีล้วน ๆ นิตยสารเรื่องสั้นก็มีแล้ว แต่ของกวี ยังไม่มี เคยมีไรเตอร์กวีนิพนธ์ทำมาสามเล่มก็จบแล้ว กองบรรณาธิการ : ถ้าเป็นไปได้จริง ๆ ก็จะดีมากเลย ซะการีย์ยา : ใช่ อาจจะเป็นรายสี่เดือนหรืออะไรก็ว่าไป รายปีก็ยังได้เลย วงการกวีใน ต่างประเทศก็ไม่ได้ดีกว่าเมืองไทย ถ้าเป็นอเมริกานี่เขามีนิตยสารกวีรายเดือนอาจ จะเป็นเพราะว่าประเทศใหญ่ หรือว่าอังกฤษก็ตามของเขาได้รับการสนับสนุนจากรัฐ 25


อย่ า งของอั ง กฤษก็ จ ะคั ด บทกวี ม าแปะในรถไฟฟ้ า ใต้ ดิ น หรื อ ตรงป้ า ยอะไรอย่ า งนี้ คนก็จะได้เห็นบทกวีโดยอัตโนมัติ เพราะเขามองเห็นความสำคัญของกวีไง กองบรรณาธิการ : คงเป็นอิทธิพลมาจากชั้นเรียนด้วย เพราะการเรียนเรื่องบทกวี ของเรามันเป็นอะไรที่ไกลตัวมาก? ซะการีย์ยา : ใช่ เพราะมันเป็นภาษาที่สูงส่ง เรารู้สึกว่ามันยาก ไกลตัว มันไม่ใช่ บทกวีร่วมสมัยไง เราถูกเทรนมาจากหลักสูตรเดียวกัน บทกวีคืออะไรที่อยู่บนหิ้ง มันไม่ได้รับ แรงบันดาลใจให้เราเขียนต่อ อย่างเราก็จบม.6 เมืองไทยนี่แหละ ผ่านหลักสูตรเหมือน กันหมด แต่เราก็ไม่ได้รู้สึกประทับใจกับบทกวีเหล่านั้น กองบรรณาธิการ : เขาว่ากันว่าคนหนุ่มต้องเฝ้ามองคนหนุ่มด้วยกัน ตอนนี้เฝ้า มองใครอยู่บ้าง หรือว่ามองแต่หญิงสาว (หัวเราะ)? ซะการีย์ยา : รุ่นเดียวกันเราก็มองโกสินทร์(โกสินทร์ ขาวงาม) ฮาริส(มูหัมหมัดฮาริส กาเหย็ม) อะไรอย่างนี้ อุเทน(อุเทน มหามิตร) เรารู้สึกว่าพวกนี้น่าจะเป็นความหวัง บาง ทีที่เรามองเพราะเราทำไม่ได้เหมือนอย่างเขา ทุกคนที่เรามองคือเขาทำแตกต่างจากเรา อย่างอุเทน รู้สึกว่าเฮ้ย อุเทนต้องเขียนต่อนะ ฮาริสก็เขียนในแบบฮาริส เขาก็ต้องทำต่อ ให้ เขาพัฒนาต่อก็หวังว่าเขาจะไปอีกไกล คนอื่น ๆ เราก็อ่านนะ และก็มองอยู่ห่างๆ กองบรรณาธิการ : กวีไทยหรือหนังสือกวียุคนี้ ชอบเล่มไหนเป็นพิเศษ? ซะการีย์ยา : (นิ่งคิด) ชอบของศิริวร “เก็บความเศร้าให้พ้นมือเด็กเด็ก” เรารู้สึก กับเล่มนี้มาก กองบรรณาธิการ : เป็นงานรวมกลอนเปล่าชิ้นเดียวของแกด้วย ก่อนหน้าเป็นงาน ฉันทลักษณ์เกือบทั้งหมด ซะการีย์ยา : ใช่ เข้ารอบซีไรต์ด้วย ส่วนของอุเทนก็ชอบ “ใกล้กาลนาน” กองบรรณาธิการ : ก้าวต่อไปคืออะไร? ซะการีย์ยา : คือการเขียนงานที่รู้สึกว่ายกระดับจากงานที่ผ่านมา กองบรรณาธิการ : จะทำงานคอนเส็ปต์ไหม? ซะการีย์ยา : คิดอยู่ เพราะที่ผ่านมาเราปล่อยให้มันกินแรงเรา เราเสียเวลาไปเยอะ โดยที่สร้างงานได้น้อย เพราะเราไม่มีคอนเส็ปต์ไง เราก็เลยเขียนอย่างที่เราชอบ แต่มันก็ เป็นคอนเส็ปต์ในตัวเหมือนกันนะ เพราะมันเป็นชีวิตเรา แต่ถ้ามีคอนเส็ปต์จะทำให้เรา กำหนดเวลาได้เร็วขึ้น นี่คือที่ตั้งใจ แต่ว่าการเขียนแบบเดิมก็จะคงไว้ ตั้งใจให้มันดีขึ้นแต่ไม่รู้ มันจะดีขึ้นอีกได้ไหม เหมือนนักมวยรักษาตำแหน่งได้แต่ไม่ไปไหน เรารู้สึกว่าอย่างน้อยต้อง ดีกว่าเดิมสักนิดหนึ่ง 26


กองบรรณาธิการ : กลัวไหม สมมติอย่างนักมวยเกิดอยากชกท่าใหม่ที่มันแหวกออก ไป แต่เกิดโดนน็อคขึ้นมา ซะการีย์ยา: ก็ไม่เป็นไร ถ้าเรามีความตั้งใจนะ ก็เห็นหลายคน พอถึงที่สุดแล้วก็หยุดอยู่กับที่ เราก็อาจจะเป็นอย่างนั้น เป็นอะไรที่น่ากลัวมาก ไม่สามารถที่จะข้ามจากตัวเองได้ กองบรรณาธิการ : เอาซีไรต์ไหม (หัวเราะทั้งวง)? ซะการีย์ยา : ถ้าให้ก็ได้ มันมีประโยชน์อยู่ ไม่ปฏิเสธรางวัลอยู่แล้ว

27


บทกวี ดอกไม้ในกาย ดอกไม้ในกายฉัน สายลมพาเมล็ดพันธุ์จากทุ่งธารสีครามของหมู่เมฆ ผ่านริ้วตะวันสีทอง สู่การโอบกอดอีกครั้งจากแสงจันทร์ในโพรงหิน ดอกไม้ในกายฉัน ป่นสลายเป็นเม็ดดินของผืนกระดาษขาว ผ่านการขุดค้นด้วยจอบเสียมแห่งความคิด ก่อนจะหลอมรวมเป็นเมล็ดพันธุ์หนึ่งเดียว ดอกไม้ในกายฉัน ค้นพบโดยสายฝน และห่าน้ำตาของความเขลา หยาดน้ำในลำธารละมุนฝันสาดกระทบ- เมล็ดพันธ์ซึ่งขดนิ่งนายรก กระทั่งเคลื่อนขยับในแอ่งความว่างเปล่า ดอกไม้ในกายฉัน เบ่งบานอยู่ในหลืบลึกของเส้นเลือด ที่กลายเป็นหินมานับพันปี.

28

อรอาย อุษาสาง


อรอาย อุษาสาง กวีหนุ่มชาวมหาสารคาม เรียนหนังสือตามระบบในสายวิทยาศาสตร์ และเข้าเรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นเวลากว่า 7 ปี ก่อนจะหันมาศึกษานอกระบบใน มหาวิทยาลัยชีวิต เคยผ่านงานมาหลายรูปแบบ นับตั้งแต่กรรมกร พนักงานบริษัท ชาวสวน และเลือกจะเป็นกวี เริ่มงานกวีนิพนธ์ตั้งแต่สมัยเรียนมหาวิทยาลัย เคยร่วมกับพวกพ้องใน มหาวิทยาลัยก่อตั้งชมรมวรรณศิลป์ เพื่อทำกิจกรรมด้านวรรณกรรม ปัจจุบันหันมาปลูกผัก นอนเล่น เขียนหนังสืออย่างจริงจังที่ภูมิลำเนา1

บทกวีและประวัติผู้เขียนจากรวมเล่มกวีนิพนธ์ไร้ฉันทลักษณ์ “บนพื้นผิวแผ่นดินที่ กำลังแตกกระจาย” หนังสือเล่มแรกของอรอาย อุษาสาง สำนักพิมพ์ตากับยายในพระจันทร์ พิมพ์ครั้งแรก กรกฎาคม 2552 – ชัชชล อัจฯ 1

29


บทกวีแปล ข้า หากโมงยามของข้าได้มาถึง ข้ามิปรารถนาให้ใครสักคนครวญร่ำไห้ ไม่ต้อง รวมทั้งเจ้าด้วย มิต้องสะอึกสะอื้นไห้ไปอย่างนั้น ข้าคือพงศ์พันธุ์แห่งเดรัจฉาน จากกลุ่มที่ถูกอัปเปหิ ปล่อยให้ฝูงห่ากระสุนทะลุผิวหนังข้า ข้าจะยังหยัดยืน ต้านทานและก้าวไปข้างหน้า บาดแผลและพิษแผ่ซ่านจะให้ข้าร่นถอยหนีล่ะรึ ร่นถอยหนี! กระทั่งทุเลาจากความเจ็บปวดรวดร้าวนั้น และข้าไม่เคยแยแสแม้แต่น้อย ข้าอยากมีชีวิตอีกสักหนึ่งพันปี

1 30

ซะการีย์ยา อมตยา แปลจาก Aku ของ Chairil Anwar

คอยริล อันวาร1์


คอยริล อันวาร์ (Chairil Anwar, 1922-1949) กวีหนุ่มชาวอินโดนีเซียผู้เปลี่ยน โฉมวงการวรรณกรรมอินโดนีเซีย ผลงานของเขาและเพื่อน ๆ ในกลุ่มวรรณศิลป์ Angkatan Empatpuluh Lima (Generation 45) ถูกให้คำจำกัดความว่า “สง่า กะทัดรัด และภาษาที่ไม่ปรุงแต่ง” เช่นเดียวกับบทกวีข้า (Aku) บทนี้ที่ทรงพลังสามารถเข้าถึงคนทั่ว ไปและถูกใช้บ่อย ๆ ในการประท้วงจน “ข้าอยากมีชีวิตอีกสักหนึ่งพันปี” กลายเป็นวรรค ทองอันลือลั่นของเขา คอยริล อันวาห์ เกิดที่เมดาน สุมาตราตะวันออก ต่อมาครอบครัวย้ายมาอยู่ที่จาการ์ตา เริ่ม เขียนงานครั้งแรกตั้งแต่ยังเป็นวัยรุ่น แต่ผลงานในช่วงนั้นเขาสารภาพว่าได้ทำลายทิ้งไป ทั้งหมด ต่อมาผลงานส่วนใหญ่ทั้งบทกวีและงานเขียนก็ถูกตีพิมพ์ในหน้านิตยสารเท่านั้น ภายหลังจึงมีการรวมเล่ม Deru tjampur Debu (เสียงก้องเคล้าฝุ่น-1949) Kerikil Tadjam และJang Terampas dan Jang Putus (กรวดคม,ที่ถูกยึดและถูกตัดขาด-1951) เขาใช้ชีวิตร่อนเร่ในจาการ์ตา คบหากับกลุ่มชนชั้นกรรมาชีพ อาศัยกินนอนตามริมถนนและ กระท่อมที่มารดาปลูกให้ เขาเสียชีวิตที่กรุงจาร์กาตา เมื่อ 28 เมษายน 1949 ขณะอายุ 27 ปี รวมบทกวีฉบับสมบูรณ์และความเรียงซึ่งแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย Burton Raffel ในชื่อ The Voice of the Night (1992) ตีพิมพ์ในโครงการ Monographs in International Studies โดยสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยโอไฮโอ1

1

เรียบเรียงจาก www.thaipoetsociety.com – ชัชชล อัจฯ

31


ศิลป์ส่องทาง

โดย ญอฎศิฬป์ ษโมสร

Two Daughters สองลูกสาวชาวอินเดีย จากเรื่องสั้นสองเรื่องของมหาครูผู้เป็นกวีโนเบลคนแรกแห่งเอเชีย จอมปราชญ์ นักประพันธ์จากดินแดนภารตะประเทศ -- รพินทรนาถ ฐากูร สู่การโลดแล่นบนจอหนังโดย ฝีมือการเล่าเรื่องของบรมครูผู้กำกับภาพยนตร์แห่งเมืองแขก -- สัตยาจิต เรย์ บัณฑิตจาก วิศวภารตีและศิษย์ก้นกุฏิแห่งมหากวีโลก Two Daughters หรือในชื่อแขกว่า Teen kanya นั้น สัตยาจิต เรย์ ฉีกเอาเรื่องสั้น 2 เรื่อง ของ รพินทรนาถ ฐากูร ออกมาจากหน้ากระดาษ นำมาเคล้าคลึงขบคิด ยำใหญ่ใส่ สารพัดศิลปะถ้วนทุกแขนงจนเกิดเป็นภาพยนตร์ขึ้นมาเรื่องหนึ่ง มันคล้ายๆกับผลงานของ อ้ายเกลอจากเมืองยุ่น ของเรย์กระนั้นแหละ จะใครกันเล่า ก็อีตาซามูไรหนามเตย -- อากิระ คุโรซาว่า ที่ยำเรื่องสั้นสองเรื่องของพ่อนักเขียนเซ็งโลก -- ริวโนะซุเกะ อะกุตะงาว่า ( ประตูผี กับ ในป่าละเมาะ ) มาเป็นแผ่นฟิล์มเรื่อง ราโชมอน ที่ชื่อดังกระฉ่อนพิภพ ภาพยนตร์โลกนั่นประไร สำหรั บ เนื้ อ เรื่ อ งของภาพยนตร์ นั้ น เห็ น ที ว่ า จั ก นำมาบอกเล่ า หาได้ ไ ม่ เพราะเดี๋ยว สัตยาจิต เรย์ แกจะโกรธเสีย เอาเป็นว่า คุณผู้อ่านไปหาชมกันเอาเองเถิด ไปลองเสาะหาตามร้านหนังคลาสสิค ( และเก่าแก่ ) แนะนำให้ไปร้านเฟม ท่าพระจันทร์ อาจได้ติดไม้ติดมือมาบ้าง อ้อ เกือบลืมไปสนิท หากปรารถนาจักอ่านเรื่องสั้นด้วยแล้ว ก็ยังพอหาอ่านได้ในไทยประเทศ เรื่องสั้นทั้งสองของมหากวีโลกนั้น คือ นายไปรษณีย์ และ บทสรุป ขอให้ไปพลิกอ่านดูได้ใน เหมือนหนึ่งนกที่จากรัง สำนวนแปลลายครามของเอต ทัคคะด้านอินเดีย – เรืองอุไรและ กรุณา กุศลาสัย ชมแล้วอ่านแล้วรู้สึกอย่างไรก็แวะเวียน มาบอกกันได้ที่ ศิลป์ส่องทาง บ้างเน้อ ว่า สองลูกสาวชาวอินเดียมันเป็นอย่างไรกันแน่ หรือหากผู้ใดปรารถนาจะถกจะเถียงกับ ศิลป์ส่องทาง ก็ยินดีต้อนรับ แต่ผมเถียงอย่างเดียวนะ ไม่ถก แต่หากคุณถกผมก็ปรารถนาจะดู พบกันเล่มหน้า ลาไปแล้ว

32


แนะนำหนังสือ โดย ตณัดดา โพธิ์พัฒน์พงศ์ มันคงไม่ตายง่ายๆหรอก

ผลงานลำดับที่ 17 ของกวีซีไรต์ผู้สัญจรรอนแรมจากลุ่มน้ำมูล รวมบทความคัดสรร “จากคอนโดมิเนียมชานกรุง” ปรุงถ้อยร้อยความเรื่องบทเพลงอันเปี่ยมไปด้วยความงาม และความหมายที่ตรึงใจกวีผู้นี้ เนื่องด้วยชีวิตก็เหมือนบทเพลงที่บรรเลงไปด้วยความเศร้า บ้าง ความสุขบ้าง คละเคล้ากับรอยยิ้มหรือรอยน้ำตาบ้าง ตามแต่ช่วงจังหวะเวลาของชีวิต และแม้ว่า “ชีวิต” จะยากลำบากสักแค่ไหน มันก็คงไม่ตายง่าย ๆ หรอก

33


แนะนำหนังสือ โดย เดื่อน หัวแดง

มนุษย์หมาป่า1: ความเป็นสัตว์แห่งมนุษย์สงคราม

เรื่องราวของแม่สาวอรชรอ้อนแอ้นเลือดอเมริกันซึ่งฝันเฟื่องอยู่ในมหานครปารีส ห้วงยามที่พวกนาซีเข้าขยี้ขย่ม คุกคาม ครอบครอง โอ้ มหานัคราปารีสอันเคยวิลิศมาหรา กลับเงียบเชียบด้วยร่องรอยแร็งแส็งแห่งเมืองร้าง มอลลี คุชแมน ปรารถนาสังคมศรี วิไลอย่างที่เจ้าหล่อนเคยคลุกเคล้าคลุกคลี ทว่า สภาพสงครามทำให้หญิงสาวในสมรภูมิ เยี่ยงหล่อนเหี่ยวแห้งหัวใจ จวบเมื่ออ้ายหนุ่มเนื้อเปลือยโผล่เข้ามาในบ้าน หล่อนจึงผุด ความหวังที่จะเป็นบรมสุขอีกครั้งครา แผกกว่าเดิมที่ว่า อ้ายหนุ่มตัวนี้หาใช่มนุษย์สามัญ ธรรมดาดอก หากแต่เป็นมนุษย์หมาป่า นี่คือเรื่องสั้นที่ดูเสมือนเรื่องผี ทว่า มันหาใช่เรื่อง ผีผีดาดๆที่กลาดเกลื่อนแผงหนังสือทั่วไป ด้วยว่าเรื่องผีนี้คลาสสิคเพราะเสียดเย้ยนาซีจน เจ็บแสบ น่าเสียดายที่คุณ เจน ไรซ์ ผู้แต่งไม่มีโอกาสได้ดังระดับโลก ช่างมันปะไร ในเมื่อ ผลงานชิ้นเยี่ยมของนักเขียนอาภัพผู้นี้อยู่ในอุ้งมือของคุณแล้ว สิ่งที่ดีที่สุดอันคุณพึงกระทำ นั่นคือ ก้มหน้าก้มตาอ่านมันซะ มีการพากย์ไทยด้วยสำนวนแปลเฉิ่ม ๆ ของลุงเฟิ้ม แห่งกระท่อมผู้ชนะ นั่นแหละ แต่จะชนะใจคนอ่านหรือเปล่า ก็หารู้ได้ไม่ เอาเป็นว่า หากคุณปรารถนาจักอ่าน ก็จงอ่านมันซะ แล้วจะรู้เองว่าทำไมจึงต้องอ่านหนังสือเล่มนี้

1 34

มนุษย์หมาป่า- เจน ไรซ์ เขียน, แดนอรัญ แสงทอง แปล สำนักพิมพ์หนึ่ง (2552)


แนะนำหนังสือ โดย ชัชชล อัจฯ

ในท้องปลาวาฬ1

หลังเสร็จสิ้นการสำรวจอาณาจักรจินตนาการแสนพิศวงซึ่งถูกพับเก็บไว้ในรวม บทกวี “ในท้องปลาวาฬ” หนังสือรวมบทกวีอย่างเป็นทางการเล่มแรกของ มูหัมหมัดฮาริส กาเหย็ม กวีหนุ่มผู้เติบโตท่ามกลางกลิ่นอายผสมผสานวัฒนธรรมชาวพุทธและมุสลิมใน อ.สะเดา จ.สงขลา พลันข้าพเจ้าพบว่าคำร่ำลือคร่ำครึ “กวีตายแล้ว!” นั้นไม่เป็นความจริง และไม่มีวันเป็นความจริง! บทกวีของมูหัมหมัดฮาริส กาเหย็ม โดดเด่นทั้งทางกลวิธีและเนื้อหา เขามักเลือก ใช้คำง่าย แต่จัดวางรูปประโยคและเว้นจังหวะจนสามารถสร้างท่วงทำนองอันเป็นลีลาเฉพาะ ตัว ทั้งยังสรรสัญลักษณ์ที่มีความแปลกใหม่ ชวนให้ตีความ เร้าจินตนาการระหว่างบรรทัด ถือเป็นการคืนอำนาจในการตีความตัวบทกลับมาสู่ผู้อ่านอีกครั้ง ส่วนเนื้อหาในบทกวีของ เขามักมีมุมมองใหม่ ๆ เสมอ แม้จะกล่าวถึงเรื่องเดียวกับกวีอีกหลาย ๆ คน เช่น เรื่องความ รุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ หรือเรื่องชะตากรรมของมนุษย์ในเมืองใหญ่ แต่เขากลับ สามารถสร้างความรับรู้ใหม่ ๆ และมุมมองที่แตกต่างแปลกตา ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งน่าจะมาจาก กลวิธีทางภาษาอันเป็นเอกลักษณ์ของเขา แน่นอน หลายคนอาจเห็นว่างานของเขาเข้าใจ ยาก แต่ข้าพเจ้าเห็นว่าเหล่านี้ล้วนเป็นความท้าทายซึ่งนักอ่านอย่างเราหาได้ไม่บ่อยนัก ท่ า มกลางภาวะตี บ ตั น ของกวี นิ พ นธ์ ร่ ว มสมั ย ซึ่ ง กำลั ง ขุ ด หลุ ม ฝั ง ศพตั ว เองด้ ว ยขนบ ฉันทลักษณ์ ท่วงทำนองจังหวะซ้ำซาก วิธีคิดและวิธีมองโลกแบบเก่า เราจะมองข้ามเขา ไปเชียวหรือ... 1

ในท้องปลาวาฬ - มูหัมหมัดฮาริส กาเหย็ม เขียน, สำนักพิมพ์ไม่ประสงค์ (2552)

35


วรรควลีของชีวิต

โลกนี้มีของเหลวที่ล้ำค่าอยู่เพียงชนิดเดียว คือสุรา นอกเสียจาก ‘ความตาย’ มีเพียงสุราเท่านั้น ที่สามารถทำให้คนลืมบางเรื่องได้

จาก เดียวดายใต้เงาจันทร์ โกวเล้งรำพัน สำนวนแปลโดย เรืองรอง รุ่งรัศมี

36


สร้างภาพ

มรสุมวรรณกรรมขอเชิญชวนเพื่อนนักอ่านทุกท่านร่วมกัน “สร้างภาพ” ด้วยการ ส่งงานเขียนที่ได้แรงบันดาลใจมาจากรูปภาพข้างต้น เราเปิดรับผลงานเขียนไม่จำกัดรูปแบบ แต่จำกัดความยาวไม่เกิน 1 หน้า กระดาษ A4 ส่งมาที่ morrasum_group@hotmail.com สำหรับงานเขียนที่ผ่านการพิจารณาจะได้รับการเผยแพร่ในพื้นที่เล็ก ๆ อันแสนอบอุ่นแห่งนี้ 37



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.