Journal Ramadhan 1437

Page 1



วารสาร รอมอฎอน

AHLAN RAMADHAN

L

L

พิสูจน์อักษร รูวัยดา/บีไซน่า รวบรวม ฟาซียะห์ รูปเล่ม/หน้าปก Anonymous_H ตรวจทาน คูซามีย์ จัดการพิมพ์ อัญชิสา


บอใบไม้ อออ่าง

^^ กอไก่ อออ่าง พบปะ

- Muslimeen -

อัสสลามูอาลัยกุมวาเราะห์มาตุลลอฮฺฮีวาบารอกาตุฮฺ มวลการสรรเสริญเป็นขอ งอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลกและผู้ทรงเมตตาเสมอ ก่อนอื่นผมต้องขอ ชูโกรต่ออัลออฮฺ (ซ.บ) ที่ทำ�ให้พวกเราทุกคนได้มีลมหายใจมาจนถึงทุกวันนี้และได้มีโอ กาสทำ�อิบาดะห์ในเดือนรอมฎอนอีกปีหนึ่ง ซึ่งเป็นเดือนที่ประเสริฐและมีแต่ความจำ�เริญ ดังฮาดิษที่ได้กล่าวเอาไว้ว่า “เดือนรอมฎอนมายังพวกท่านแล้ว เดือนรอมฏอนเป็นเดือนอันมีความจำ�เริญ ยิ่ง อัลลอฮฺทรงบัญญัติให้พวกท่านถือศีลอดในเดือนนี้ ประตูสวรรค์จะถูกเปิด และประตู นรกจะถูกปิด” (บันทึกโดยอิมามอะหมัด) “หากมนุษย์ทั้งหลายรู้ถึงความดีที่มีอยู่ในเดือนรอมฎอนแล้ว เขาก็หวังจะให้ทั้ง ปีเป็นรอมฎอน (หะดิษ) อัลฮัมดูลิลลาฮฺด้วยการช่วยเหลือจากพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ) ทำ�ให้วารสารเล่มนี้ได้ ถูกเผยแพร่ออกมาเพื่อตอบคำ�ถามให้กับทุกท่านเกี่ยวกับความประเสริฐของเดือนรอมฎอน และที่สำ�คัญที่สุดคือการถือศีลอดตามแบบฉบับของท่านนบี(ซ.ล.) ซึ่งผมเชื่อว่ายังมีอีกหลาย ท่านที่ยังสงสัยว่า “รอมฎอน” นั้นคืออะไร และมีความประเสริฐอย่างไร วารสารเล่มนี้เป็น วารสารที่ผู้เขียนทุกท่านมีความตั้งใจที่จะนำ�เสนอข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับเดือนรอมฎอนและ สอดรับกับเจตนารมณ์ที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงประสงค์ สุดท้ายนี้ขออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงตอบแทนความดีแก่ทุกท่านที่มีส่วนให้วารสารเล่ม นี้ถูกตีพิมพ์ออกมาเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่านและขอให้วารสารเล่มนี้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ผู้อ่านทุกท่าน หากผิดพลาดประการใดทางเราต้องขออภัย ณ ที่นี่ด้วย ท้ายที่สุด ขอให้วารสารเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งที่เป็นประตูแห่งความดีเพื่อนำ�ไปสู่การ

เปลี่ยนแปลงด้วยเถิด อามีน 4

AHLAN RAMADHAN


รอมฏอนคืออะไร

12 ทำ�ไมต้องถือศีลอด o

7 o

9 คุณค่าของการถือศีลอด o 4 การเตรียมตัวก่อนรอมฏอน o การละหมาดตะรอเวียะฮฺ

o

18 บทบัญญัติการถือศีลอด o

คุณสมบัติผู้ถือศีลอด

22

ทำ�ไมต้องกินซาโฮร

o 24

o 28

content

สารบัญ

o ลัยลาตุลกอดรฺ 34

ฮารีรายา

o บทลงโทษผู้ที่ละทิ้งการถือศีลอด

o 48

38

o สิ่งที่ควร-ละเว้นและอนุญาต-ของผู้ถือศีลอด 30

o ของขวัญในเดือนรอมฎอน 42

ข้อควรคิด

o 55

ดุอาอฺ

o 44

First-time

o 53


การเตรียมตัว ก่อนรอมฏอน

Befor R

“โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดนั้นได้ถูกกำ�หนดแก่พวกเจ้า แล้ว เช่นเดียวกับที่ได้ถูกกำ�หนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว เพื่อว่าพวก เจ้าจะได้ยำ�เกรง” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ: 183) ขอชูโกรต่อพระผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ที่ให้ลมหายใจแก่ฉันและพี่น้อง ร่วมสายเชือกได้อยู่ถึงวันนี้ วันที่นับต่อไปอีกไม่นานก็จะถึงเดือนแห่งการเก็บเกี่ยวผล บุญ หรือเดือนรอมฎอนนั่นเอง ซึ่งก่อนจะเข้าสู่รอมฎอนนั้นเราควรเตรียมความพร้อม ให้กับร่างกายและจิตใจของเรา เสมือนกับนักวิ่งแข่งที่ต้องวอร์มร่างกายก่อนลงแข่ง จริง เพราะฉันเชื่อว่าตัวฉันและใครอีกหลาย ๆ คนต่างก็มีข้อบกพร่องในเรื่องการทำ�อิ บาดะฮฺทั้งนั้น เราจึงควรเคาะสนิมที่เกาะหัวใจด้วยการเริ่มถือศีลอดที่ยังชดใช้ไม่หมด ของปีที่แล้ว แต่หากเราถือศีลอดชดใช้หมดแล้ว เราสามารถถือศีลอดสุนัตในเดือนชะ บานได้ ถือเป็นการสร้างความเคยชินกับการอดอาหาร เพื่อเป็นการเริ่มต้นก่อนการถือ ศีลอดฟัรฎูในเดือนรอมฎอน เพราะท่านนบี (ซ.ล.) เองก็ได้ปฏิบัติเป็นประจำ�ในเดือน ชะบานของทุก ๆ ปี โดยมีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ ร่อฎิยัลลอฮุอันฮา กล่าวไว้ว่า “ท่านนบีมักจะถือศีลอดจนกระทั่งเรานึกว่าท่านจะไม่เว้น และท่านอาจจะงด การถือศีลอดจนกระทั่งเรานึกว่าท่านจะไม่ถือศีลอด และฉันไม่เคยเห็นท่านนบี ถือศีลอดครบเดือนหนึ่งเดือนใดเว้นแต่เดือนรอมฎอน และไม่เคยเห็นท่านถือศีลอด มากมายเหมือนที่ท่านถือศีลอดในเดือนชะอฺบาน “ (บันทึกโดยบุคอรียฺและมุสลิม) 6

AHLAN RAMADHAN


RAMADHAN ซึ่งการเริ่มต้นด้วยการถือศีลอดนั้น ไม่ใช่เพียงแค่การงดอาหาร เครื่องดื่ม หรืออดทนต่อความหิว เพียงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการงดการทำ�สิ่งที่ไม่ดี อดทนต่อ นัฟซูของตัวเอง แทนที่การทำ�สิ่งที่ไร้สาระด้วยการอ่านอัลกุรอาน รำ�ลึกถึงอัลลอฮฺ ให้มากขึ้น หมั่นวิงวอนขอดุอาอฺต่อพระเจ้าให้ลิ้น สมองและหัวใจของเรานั้นยึดมั่นใน หลักการศาสนา เพราะไม่มีดุอาใดที่บ่าวนั้นตั้งใจแล้วพระเจ้าจะไม่รับเว้นแต่สิ่งนั้นไม่ เหมาะกับเรา ซึ่งตัวฉันและพี่น้องอีกหลาย ๆ คนต่างก็หวังให้เดือนรอมฎอนนี้เป็นเดือนแห่งการ เปลี่ยนแปลงตัวเราให้อยู่ในสภาพผู้ศรัทธาที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น หากเราไม่เริ่มจากสิ่งเหล่า นี้แล้ว หัวใจของเราก็จะยังมีสนิมเกาะหัวใจอยู่ เมื่อย่างเข้าสู่เดือนรอมฎอนเราอาจจะ ทำ�อิบาดะฮฺด้วยหัวใจที่ไม่บริสุทธิ์ ถ้าเป็นเช่นนี้แล้ว เราจะได้รับอะไรจากรอมฎอนกัน เล่านอกจากความหิวโหยเพียงเท่านั้น . อัลลอฮฺตรัสว่า “...แท้จริงอัลลอฮฺจะมิทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของชนกลุ่มใดจนกว่าพวกเขาจะ เปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขาเอง...” (อัรเราะอฺดุ : 11)

AHLAN RAMADHAN

7


L

WHAT RAMADHAN IS

L

รอมฏอนคืออะไร


-รอมฎอน (อาหรับ: | อังกฤษ: Ramadan) หรือสะกด รอมะฏอน หรือ เราะมะฎอน -คือเดือนที่ 9 ของปฏิทินฮิจญเราะฮฺหรือปฏิทินอิสลาม -เป็นเดือนที่มุสลิมถือศีลอดทั้งเดือน ด้วยเหตุนี้จึงเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “เดือนบวช” -ถือว่าเป็นเดือนที่สำ�คัญที่สุดเดือนหนึ่งที่มุสลิมจะต้องอดอาหาร เพื่อที่จะได้มีความ รู้สึกถึงคนที่ไม่ได้รับการดูแลจากสังคม เช่น คนยากจนเป็นต้น -เดือนนี้ยังเป็นเดือนที่อัลกรุอานได้ถูกประทานลงมาเพื่อเป็นทางนำ�ให้กับมนุษย์ มุสลิมจึงต้องอ่านอัล-กุรอาน เพื่อศึกษาถึงสิ่งที่พระเจ้าต้องการให้มนุษย์รู้ว่าการเป็น อยู่ในโลกนี้และโลกหน้าจะเป็นอย่างไร และจะต้องทำ�ตัวอย่างไรบ้าง -กิจกรรมพิเศษของมุสลิมในเดือนรอมฎอน คือ การละหมาดตะรอเวียะฮฺในยามค่ำ�คืน -เมื่อสิ้นเดือนรอมฎอนแล้ว จะมีการเฉลิมฉลองในวันที่ 1 เดือนเชาวาล เรียกว่า “อีดุลฟิฏริ” หรือ “วันอีดเล็ก” การกำ�หนดวันที่ 1 ของเดือน การเริ่มต้นวันตามศาสนาอิสลามเริ่มตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า และการกำ�หนด เดือนเป็นระบบจันทรคติ ซึ่ง 1 เดือนจะมี 29 หรือ 30 วันเท่านั้น ขึ้นอยู่กับเวลาที่ดวง จันทร์ใช้ในการหมุนรอบโลกครบ 1 รอบในเดือนนั้น ๆ ความจริงแล้วการกำ�หนดวันที่ 1 ของแต่ละเดือนนั้น ประเทศที่มีมุสลิมเป็น ส่วนใหญ่หรือประเทศมุสลิมจะมีการกำ�หนดไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากประเทศ เหล่านั้นมีนักวิชาการหลากหลายครบทุกแขนง ซึ่งแน่นอนว่ารวมทั้งด้านดาราศาสตร์ ด้วย ดังนั้นการกำ�หนดวันที่ 1 ของเดือนต่าง ๆ ทำ�ได้ด้วยการดูจันทร์เสี้ยว คือเมื่อผ่าน พ้นวันที่ 29 ของแต่ละเดือน ขณะที่ดวงอาทิตย์เริ่มลับขอบฟ้า ถ้าเห็นจันทร์เสี้ยวให้ เริ่มนับจากคืนนั้นว่าเป็นวันที่ 1 ของเดือนใหม่ แต่ถ้าไม่ปรากฏว่ามีจันทร์เสี้ยว แสดง ว่าดวงจันทร์ยังโคจรไม่ครบรอบ ให้นับเดือนนั้นว่า มี 30 วัน แล้วค่อยเริ่มนับเดือน ใหม่ในอีกวันถัดไป เหล่านี้เป็นไปตามหลักศาสนาและตรงตามสภาพความจริงบนฟ้า ตามที่อัลลอฮฺได้ทรงกำ�หนดไว้ AHLAN RAMADHAN

9


คุณค่าของการถือศีลอด


L

บัญญัติเรื่องของการถือศีลอด(อัศ-ศิยาม หรือ อัศ-เศาว์ม) มีความสัมพันธ์อย่างแนบแน่นกับ เดือนรอมฎอนเมื่อเอ่ยถึงรอมฎอนก็เหมือนกับการ กล่าวถึงสรวงสวรรค์ที่มุสลิมกำ�ลังเดินผ่าน ในขณะ ที่เขากำ�ลังเดินทางอยู่กลางทะเลทรายแห่งชีวิต ที่เต็มไปด้วยความร้อนระอุและฟิตนะฮ (สิ่งลองใจ ความชั่วและสิ่งบ่อนทำ�ลาย) ต่าง ๆ มากมาย และ หากว่ า ในภาพรวมแล้ ว การถื อ ศี ล อดเป็ น เสบี ย ง และความดี ดังนั้น การถือศีลอดในเดือนรอมฎอ นก็เป็นเสบียงและความดีที่มีคุณค่ามากมายหลาย เท่า อัลเลาะฮ์ทรงให้เดือนรอมฎอน เป็นเดือนที่ เฉพาะเจาะจงสำ�หรับความดีมากมายหากเราได้ รู้ซึ้งถึงความดี เหล่านั้น เราจะต้องมีความใฝ่ฝัน และปรารถนาที่จะให้ทุก ๆ เดือนของปีเป็นเหมือน เดือนรอมฎอนอย่างแน่นอน ที่เป็นเช่นนี้เพราะ 1.ในเดื อ นรอมฎอนอั ล กุ ร อานได้ ถู ก ประทานลงมา ดังที่อัลลอฮฺได้ตรัส ความว่า “เดือน รอมฎอนเป็ น เดื อ นที่ อั ล กุ ร อานถู ก ประทานลง มาเป็นทางนำ�สำ�หรับมนุษยชาติ และเป็นหลัก ฐานอันชัดแจ้งแห่งทางนำ� และเป็นข้อจำ�แนก ระหว่างความจริงกับความเท็จดังนั้น ผู้ใดจาก หมู่สูเจ้าเห็นเดือนนั้นก็จงถือศีลอด” (ซูเราะฮฺอัลบะกอเราะฮฺ อายะฮ์ที่ 185)

AHLAN RAMADHAN

11


2.ในเดือนนี้มีคืน“อัลก็อดรฺ”ที่อัลลอฮ์ตรัส ความว่า “แท้จริงเรา (อัลลอฮฺ) ได้ประทานอัลกุรอาน ลงมาในคืนอัลก็อดร์ และอะไรทำ�ให้เจ้ารู้ว่าคืน อัลก็อดรฺนั้นคืออะไร? คืนอัลก็อดร์นั้นดีกว่าคืนอื่นๆ พันคืน” (ซูเราะฮอัลก็อดร์ อายะฮที่ 1-3) 3. ในเดือนนี้ ประตูบานต่าง ๆ ของสวรรค์จะถูกเปิดออก ประตูต่าง ๆ ของไฟนรกจะถูกปิด และเหล่ามารร้ายจะถูกล่ามโซ่ 4. ในเดือนนี้ รางวัลตอบแทน สำ�หรับการประกอบการงานที่ดีจะเพิ่มพูน กว่าเดือนอื่น ๆ เป็นทวีคูณ

5. ในเดือนนี้มีซุนนะฮฺ เอียะอติก๊าฟ และอัลกิยาม (การละหมาดตะรอเวียะฮฺ)

เหล่านี้แหละที่มุสลิมผู้สัจจริงจะต้อนรับเดือนรอมฎอนด้วยความปิติยินดี อันเป็นความปิติยินดีของบรรดาผู้ศรัทธาที่มีต่อความโปรดปรานและความเมตตา ของอั ล ลอฮฺ ที่ ไ ด้ ท รงประทานให้ แ ก่ พ วกเขาในเดื อ นนี้ เขาจะได้ ผ่ อ นคลายความ เหน็ดเหนื่อยของชีวิต เตรียมเสบียงฟื้นความกระปรี้กระเปร่าและความกระตือรือร้น ขึ้นมาใหม่ เพื่อการเดินทางของชีวิตต่อไป แต่ไม่มีผู้ใดจะลิ้มรสของคุณค่าต่าง ๆ เหล่า นั้นได้ นอกจากผู้ที่ท่านรอซู้ล (ซ.ล.) ได้แสดงแบบอย่างและชี้นำ�ไว้เท่านั้น ในเดือน รอมฎอน เราได้หันหน้าเข้าหาอัลกุรอาน ทั้งด้วยการอ่าน การทำ�ความเข้าใจ และการ ท่องจำ�ในยามค่ำ�คืนเราได้อ่านและฟังอัลกุรอาน ในการนมาซตะรอเวียะฮฺ ได้ดูดดื่ม เอาแสงสว่างวิทยปัญญาทางนำ� ข้อเตือนสติ และยาสำ�หรับการรักษา โรคจิตใจ จา กอัลกุรอานอันเป็นเสมือนตาน้ำ�ที่ไม่เคยเหือดแห้ง ซึ่งสิ่งเหล่านั้นคือคุณค่าอันเป็น “เสบียง” อันล้ำ�ค่าที่หาที่เปรียบมิได้

12

AHLAN RAMADHAN


RAMADHAN รางวัลตอบแทน

สำ�หรับการประกอบการงานที่ดี จะเพิ่มพูนกว่าเดือนอื่น ๆ เป็นทวีคูณ


ทำ�ไมต้องถือศีลอด

L

L

Why

อัลลอฮฺได้ตรัสไว้ในสูเราะฮฺ อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 183 ว่า “โอ้ บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดได้ถูกกำ�หนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่น เดียวกับที่ได้ถูกกำ�หนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้วเพื่อว่าพวกเจ้าจะได้ ยำ�เกรง” ( 2/183 ) การถือศีลอดในเดือนรอมฎอน เป็นอิบาดะฮฺเฉพาะอย่างหนึ่ง ซึ่งได้ถูก บัญญัติลงมาใน เดือนชะอฺบานปีที่ 2 แห่งฮิจญ์เราะฮฺศักราช เป็นอิบาดะฮฺที่เน้นการ งานทางด้านจิตวิญญาณเป็นสำ�คัญ คือให้คนรู้จักความอดทน อดกลั้นหรือละเว้นจาก การกิน การดื่ม การร่วมประเวณีระหว่างสามีภรรยา รวมถึงการกระทำ�ในสิ่งที่ไร้สาระ หรือขัดต่อคุณธรรม เริ่มตั้งแต่รุ่งอรุณจนถึงตะวันลับขอบฟ้า ด้วยเจตนา(เนียต)เพื่อ พระองค์อัลลอฮฺเท่านั้น การถือศีลอด มิใช่ ความอดอยาก เพราะการถือศีลอดมีจุดม่งหมายและหลักปฏิบัติ อย่างชัดเจน มุอ์มินผู้ศรัทธาเชื่อว่าจะต้องมีหิกมะฮฺ(เคล็ดลับ)อย่างแน่นอน เช่น สำ�นักการแพทย์ธรรมชาติบำ�บัดที่เน้นการบำ�บัดรักษาโรคด้วยวิธีการอดอาหารเป็น หลัก ในโอกาสนี้จะขออธิบายถึงหลักการบางอย่างที่เกี่ยวกับการถือศีลอดว่า มีความ สอดคล้องหรือขัดต่อหลักวิชาการแพทย์อย่างไรหรือไม่ เป็นพอสังเขป ดังนี้

14

AHLAN RAMADHAN


ระยะเวลาการถือศีลอด

การถือศีลอดรอมฎอนหรือถือศีลอดสุนัตก็ดี จะใช้ระยะเวลาในการละเว้นจากสิ่งต้อง ห้ามโดยเฉลี่ยประมาณ 13 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งโดยปกติเราทุกคนมีการอดอาหารอยู่แล้ว ครั้งละ10-12 ชั่วโมง คือหลังอาหารเย็น (ค่ำ�) จนถึงการกินอาหารในวันเช้าใหม่และใน การตรวจวินิจฉัยโรคบาอย่าง เช่นการเจาะเลือดผู้ป่วยก็ต้องอดอาหารเป็นระยะเวลา 10-12 ชั่วโมง เช่นกัน ดังนั้นจะเห็นว่าระยะเวลาของการถือศีลอดไม่ขัดต่อหลักการ ตามธรรมชาติที่อัลลอฮฺกำ�หนด(สุนนะตุลลอฮฺ)หรือหลักทางการแพทย์แต่อย่างใด แต่ จะมีความแตกต่างกันอยู่ที่ช่วงเวลากลางวันหรือกลางคืน ซึ่งการถือศีลอดยึดเอาช่วง เวลากลางวันเป็นหลัก ก็เพราะมีจุดประสงค์ที่มากกว่าการอดอาหารทั่วไปนั่นเอง การเปลี่ยนแปลงในร่างกาย การถือศีลอดจะทำ�ให้ร่างกายต้องขาดพลังงานจากสารอาหารและต้องสูญเสียน้ำ�จาก การขับถ่ายออกจากร่างกาย การสูญเสียน้ำ�มากกว่า 2% ของน้ำ�หนักตัวจะทำ�ให้รู้สึก กระหายน้ำ� และเมื่อระดับในน้ำ�ตาลกลูโคสในกระแสเลือดและเซลล์ลดลงก็จะทำ�ให้ รู้สึกหิว ซึ่งจะเกิดอาการหลังจากการอดไปแล้วประมาน 6 - 12 ชั่วโมง ซึ่งเรียกนี้ว่า ระยะหิวโหย ระดับน้ำ�ตาลกลูโคสและน้ำ�ลดที่ลดลงจะกระตุ้นเซลล์ประสาท(นิวรอน)บริเวณไฮโป ทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งจะทำ�หน้าที่เป็นศูนย์ควบคุมความหิว ศูนย์อิ่มและ ศูนย์กระหายน้ำ� สำ�หรับคนที่มีร่างกายปกติมีเจตนาอย่างแน่วแน่และมีความเชื่อมั่น ต่อบทบัญญัติของอัลลอฮฺแน่นอนจะไม่ทำ�ให้เขาถึงขั้นมีอาการหน้ามืดหรือหมดสติ ไป เพราะระบบต่าง ๆ ในร่างกายจะช่วยประสานงานกันโดยอัตโนมัติเพื่อที่จะรักษา สมดุลให้เกิดขึ้นในร่างกาย ในระยะแรกร่างกายจะเริ่มมีการสลายพลังงานในรูปของไกลโคเจนที่เก็บสะสมไว้ใน ตับและกล้ามเนื้อ โดยมีฮอร์โมนกลูกากอนจากตับอ่อนมาช่วยในปฏิกิริยาเคมีนี้จะได้ น้ำ�ตาลกลูโคสเพื่อนำ�ไปใช้เป็นพลังงานต่อไป ส่วนต่อมหมวกไต(Adrenal Gland)ใน ส่วนใน(Medulla) ก็จะถูกกระตุ้นให้หลั่งเอพิเนฟริน( Epinephrine )เพิ่มมากขึ้น และ AHLAN RAMADHAN

15


มีผลทำ�ให้เซลล์อื่น ๆ ใช้พลังงานลดน้อยลงด้วย ถ้าพลังงานที่ได้รับจากการสลายไกลโคเจนไม่เพียงพอ ก็จะสลายพลังงานสำ�รองใน รูปของไขมัน ซึ่งกรดไขมันอิสระออกมาสู่กระแสเลือดและจะถูกเปลี่ยนไปเป็นกลูโคส เพื่อนำ�ไปใช้เป็นพลังงานต่อไป ส่วนการรักษาดุลน้ำ�และเกลือแร่ก็เป็นหน้าที่ของ Hypothalamus เช่นกันที่จะกระตุ้นให้ต่อมใต้สมองได้หลั่งฮอรโมน Vasopressin หรือ ADH จะมีผลทำ�ให้ไตมีการดูดซึมน้ำ�กลับมาใช้เพิ่มมากขึ้นจึงทำ�ให้ปัสสาวะน้อยลง และมีสีเข้มมากกว่า ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าอัลลอฮฺทรงรอบรู้ยิ่งเกี่ยวกับการทำ�งานของระบบ ต่าง ๆ ในร่างกายของมนุษย์และพระองค์ก็ได้กำ�ชับให้เราศึกษาเกี่ยวกับตัวของเราเอง ดังคำ�ตรัสของอัลลอฮฺ ความว่า : “และในตัวของพวกเจ้า พวกเจ้าไม่เห็นอะไรดอกหรือ? (อัซ-ซารียาต 51 : 21)

การละศีลอด ท่านนบีมุหัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้แนะนำ�วิธีการละศีลอดไว้อย่างไร? เมื่อเวลาละศีลอด อิสลามให้เรารีบละศีลอดก่อนที่จะดำ�รงการละหมาดและแนะนำ� ให้ละศีลอดด้วยลูกอินทผาลัมหรือด้วยน้ำ� มีรายงานจากท่านอะนัส บิน มาลิก เราะ ฎิยัลลอฮฺ อันฮุ กล่าวว่า ปรากฏว่าท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ละศีลอดด้วยอินทผลัมที่ สุกงอมก่อนที่จะไปละหมาด ถ้าไม่มีอินทผาลัมที่สุกงอมก็จะแก้ด้วยอินทผลัมที่แห้ง ถ้าหากไม่มีอินทผลัมที่แห้งก็จะจิบน้ำ�หลายจิบ (บันทึกโดย อะหมัด, อบู ดาวูด, อิ บนุ คุซัยมะฮฺ และอัต-ติรมิซีย์) ในลูกอินทผาลัมมีอะไรหรือ ? จากการวิจัยทางด้านโภชนาการทำ�ให้เราทราบ ว่า ในลูกอินทผาลัมที่สุกงอมนั้นประกอบด้วย น้ำ�ตาลฟรุกโตส น้ำ� วิตามิน และแร่ธาตุ 16

AHLAN RAMADHAN


โดยเฉพาะน้ำ�ตาลฟรุกโตสจัดเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่รร่างกายชนิดหนึ่ง มีการ ดูดซึมบริเวณลำ�ไส้เล็ก โดยวิธี Facilitate diffusion ซึ่งไม่ต้องใช้พลังงาน ส่วนน้ำ�ตาล กลูโคสและกาแลกโตสนั้นจะดูดซึมแบบ Secondary Active ซึ่งต้องอาศัยทั้งตัวพา และพลังงาน ดังนั้นในสภาวะที่ร่างกายกำ�ลังอ่อนเพลียจากการขาดพลังงานและน้ำ� ลูกอินทผลัมน่าจะเป็นผลไม้ที่ดีชนิดหนึ่งสำ�หรับผู้ที่ถือศีลอด ส่วนผลไม้ชนิดอื่น ๆ ที่มี รสหวานก็สามารถทานได้ (แต่ไม่ใช่ซุนนะฮฺ) ในทางตรงกันข้ามถ้าละศีลอดด้วยน้ำ�เย็นหรืออาหารหนักและอิ่มมากจนเกิน ไปก่อนจะไปละหมาดแทนที่เราจะได้พลังงานกลับคืนมาอย่างเร็ว เรากลับต้องเสีย พลังงานไปเนื่องจากเลือดจะถูกส่งไปยังกระเพาะอาหารและลำ�ไส้เพิ่มมากขึ้น ทำ�ให้ เลือดไปเลี้ยงสมองน้อยลง (สมองต้องการนำ�ตาลกลูโคสประมาณ 40 % จากทั้งหมด) จึงทำ�ให้มีอาการมึนงง เวียนศรีษะ อ่อนเพลีย แน่นหน้าอกและง่วงซึมได้ ดังนั้นใน ขณะที่แก้ศีลอดท่านนบี ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวคำ�ดุอาอ์ว่า ความว่า “ความกระหายน้ำ�ได้สูญหายแล้ว เส้นโลหิตได้ชุ่มชื่นและจะได้รับการ ตอบแทนอย่างแน่นอน อินชาอัลลอฮฺ (อบู ดาวูด, อัล-บัยฮะกีย์ และอัล-หากิม)

จุดประสงค์ของการถือศีลอด

มนุษย์อาจจะมีฐานะที่สูงส่งหรือต่ำ�ต้อยกว่าสัตว์เดรัจฉานขึ้นอยู่กับความศรัทธาและอิ บาดะฮฺของเขาต่ออัลลอฮฺประกอบกับความสามารถในการใช้สติปัญญาและจิตสำ�นึก เพื่อเอาชนะอารมณ์ใฝ่ต่ำ�หรือกิเลสได้ จะต้องผ่านการฝึกอบรมเป็นการพิเศษอย่างต่อ เนื่องกับปัจจัยที่มีความสำ�คัญสำ�หรับชีวิตโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น การถือศีลอด เราะมะฎอน ทำ�ไมเราจะต้องอดน้ำ�อดอาหารทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นสิ่งจำ�เป็นต่อการดำ�รงชีวิต โดยปกติแล้ว เป็นสิ่งที่ได้อนุมัติ(หะลาล)สำ�หรับมนุษย์ รวมถึงการหลับนอนระหว่าง สามีภรรยาในเวลากลางวันต้องกลับมาเป็นสิ่งที่ต้องห้ามในเดือนเราะมะฎอน AHLAN RAMADHAN

17


คำ�ตอบคือ เพื่อพิสูจน์ความเป็นผู้ศรัทธาที่แท้จริง เพื่อแสดงให้เห็นว่าความรู้สึก หิวโหยหรืออารมณ์ใฝ่ต่ำ�เขาสามารถควบคุมได้ ซึ่งต่างกับสัตว์ที่พร้อมจะสนองตอบ อารมณ์อยากใคร่ของมันได้ทุกเมื่อ ดังนั้นเมื่อเดือนรอมฎอนสิ้นสุดแล้วจะมีการเฉลิม ฉลองความสำ�เร็จที่เรียกว่าอีดุลฟิฏร์ คือเฉลิมฉลองการมีใจที่บริสุทธิ์ เข้มแข็ง หลุดพ้น จากการครอบงำ�ของของ อารมณ์ใฝ่ต่ำ� และ ชัยฏอน นั่นเอง ดังนั้นการดำ�รงชีวิตของมุอฺมินทุกคนหลังจากรอมฎอนแล้ว จะเปรียบเสมือนชีวิตของ คนที่ในสภาวะการถือศีลอดตลอดไป เขาจะต้องอดกลั้น ละเว้นจากการกระทำ�ในสิ่งที่ เป็นหะรอม (ทุจริตคอรัปชั่น คดโกง รับสินบน รับส่วย กินดอกเบี้ย เป็นต้น) และต้อง ห่างไกลจากการกระทำ�ซินา ได้อย่างง่ายดายด้วยความภาคภูมิใจ เพราะเขาได้บรรลุ ถึงขั้น อัล-มุตตะกีน (ผู้ยำ�เกรง ผู้สำ�รวม) นั่นเอง ซึ่งอัลลออฮฺได้ให้คำ�มั่นสัญญาว่า ความว่า แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงรับงานของผู้ตักวา(ยำ�เกรง)เท่านั้น (อัล-มาอิดะฮฺ 5 :27)

บทสรุป จากคำ�อธิบายโดยย่อ ๆ ข้างต้น พอจะสรุปได้ว่าแท้จริงการถือศีลอดนั้น ไม่ ขัดต่อหลักการแพทย์แต่อย่างใด เพราะคุณสมบัติบางประการของผู้ที่ถือศีลอดนั้น ต้องเป็น มุอฺมินที่มีสุขภาพดี และมิใช่ผู้ที่มีอุปสรรคบางอย่าง (ดูรายละเอียดในวิชาฟิก ฮฺ) ส่วนบุคคลที่มีอุปสรรคจริง ๆ จะได้รับการผ่อนผันหรือยกเว้นจากการถือศีลอดโดย บุคคลกลุ่มหนึ่งจะต้องถือศีลอดใช้และกลุ่มหนึ่งต้องจ่ายฟิตยะฮฺแทน นั่นก็เป็นเพราะ ความเมตตาและรอบรู้ของอัลลลอฮฺเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมี กลไกการทำ�งานของอวัยวะ ต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์นั้นเอง แน่นอนมิใช่ความประสงค์ของอัลลลอฮฺหากว่าอิบาดะฮฺนั้นจะนำ�ไปสู่ความ สูญเสีย (ทำ�ให้เกิดโรค) แก่บ่าวของพระองค์ มีนักวิชาการอเมริกาคนหนึ่งชื่อนาย แพทย์ Allan Cott ได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า Why Fast? (ทำ�ไมต้องถือศีลอด)

18

AHLAN RAMADHAN


ซึ่งเป็นผลจากการวิจัยของเขาจากหลาย ๆ ประเทศ เขาได้สรุปถึงเคล็ดลับของการ ถือศีลอดไว้ 10 ข้อ ดังนี้ 1. To feel better physically and mentally ทำ�ให้รู้สึกว่ามีสุขภาพและจิตใจที่ดีขึ้น 2. To look and feel younger ทำ�ให้มองเห็นและรู้สึกอ่อนเยาว์ขึ้น 3. To clean out the body ทำ�ให้ร่างกายสะอาดสะอ้าน 4. To lower blood pressure and cholesterol levels ช่วยลดความดันโลหิตสูง และระดับคอเลสเตอรอลในเลือด 5. To get more out of sex ช่วยลดความรู้สึกอารมณ์ใคร่ (เซ็กส์) 6. To let the body health itself ช่วยให้ร่างกายบำ�บัดตนเอง 7. To relieve the tension ช่วยลดความตรึงเครียด 8. To sharp the sense ช่วยให้สติปัญญาเฉียบแหลม 9. To again control of ourselves ทำ�ให้สามารถควบคุมตนเองได้ 10. To slow the aging process ช่วยชะลอความชรา ที่มา https://islamhouse.com/th/articles/53878/ รวบรวม: คนเดินทางที่ยังไม่จากไป AHLAN RAMADHAN

19


บทบัญญัติ การถือศีลอด บทบัญญัติเกี่ยวกับการถือศีลอด อาทิ การดูจันทร์เสี้ยว การตั้งเจตนา การ ถือศีลอดของคนแก่ชรา ของผู้เดินทาง ของหญิงตั้งท้องหรือให้นมบุตร สิ่งที่ทำ�ให้ การถือศีลอดเสียและไม่เสีย การจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ เป็นต้น การดูจันทร์เสี้ยวเดือนรอมฎอน การกำ�หนดวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน ทำ�ได้ด้วยการดูจันทร์เสี้ยว คือเมื่อ ผ่านพ้นวันที่ 29 ของเดือนชะอฺบาน ขณะที่ดวงอาทิตย์เริ่มลับขอบฟ้า ถ้าเห็นจันทร์ เสี้ยวให้เริ่มนับจากคืนนั้นว่าเป็นวันที่ 1 ของเดือนรอมฎอน แต่ถ้าไม่ปรากฏว่ามีจันทร์ เสี้ยว แสดงว่าดวงจันทร์ยังโคจรไม่ครบรอบ ให้นับเดือนชะอฺบานว่า มี 30 วัน แล้ว ค่อยเริ่มนับเดือนรอมฎอนในอีกวันถัดไป และในวันที่ 29 รอมฎอน ก็ทำ�แบบนี้เช่น กัน หากมีการเห็นจันทร์เสี้ยว ให้เริ่มนับจากคืนนั้นเป็นวันที่ 1 ของเดือนเชาวาล และ เช้าวันรุ่งขึ้นคือวันอีด ฟิตรี แต่ถ้าไม่เห็นจันทร์เสี้ยวในคืนนั้น ก็ให้ถือศีลอดจน 30 วัน แล้วจึงค่อยเป็นวันอีดในวันถัดไป การตั้งเจตนาเพื่อถือศีลอด วาญิบที่จะต้องตั้งเจตนาเพื่อถือศีลอดเดือนรอมฎอนในช่วงกลางคืนก่อน แสงอรุณขึ้น การถือศีลอดที่เป็นฟัรฎูด้วยการตั้งเจตนาในช่วงกลางวันจะถือว่าใช้ได้ ในกรณีที่ไม่รู้ในช่วงกลางคืนว่าการถือศีลอดนั้นเป็นวาญิบ หรือในกรณีที่เพิ่งปรากฏ หลักฐานในช่วงกลางวันถึงการเห็นจันทร์เสี้ยว (เมื่อคืนที่ผ่านมา) กรณีดังกล่าวนี้ใน เขาถือศีลอดในช่วงเวลาที่เหลืออยู่ของวันนั้น โดยไม่ต้องถือศีลอดชดใช้ ถึงแม้ว่าเขา จะรับประทานอาหารก่อนหน้านั้นแล้วก็ตาม ผู้ที่การถือศีลอดเป็นวาญิบสำ�หรับเขาในช่วงกลางวัน เช่น คนบ้าที่ฟื้นสติ เด็ก ที่บรรลุศาสนภาวะ และคนต่างศาสนิกที่เข้ารับอิสลาม (คือฟื้นขึ้นในช่วงกลางวัน หรือ 20

AHLAN RAMADHAN


บรรลุศาสนภาวะตอนกลางวัน หรือรับอิสลามในเวลากลางวันของรอมฎอน) เขาเหล่า นี้อนุญาตให้ตั้งเจตนาถือศีลอดในช่วงกลางวันตอนที่การถือศีลอดเป็นวาญิบสำ�หรับ เขา ถึงแม้ว่าหลังจากที่เขาได้กินหรือดื่ม และเขาไม่ต้องถือศีลอดชดใช้แต่ประการใด การถือศีลอดและการละหมาดของมุสลิมแต่ละคนนั้นให้ปฏิบัติตามหุก่มของสถานที่ที่ เขาพำ�นักอยู่ กล่าวคือผู้ที่ศีลอดนั้นให้เขาเริ่มถือศีลอดและละศีลอดตามสถานที่ที่เขา พำ�นักอยู่ไม่ว่าเขาจะอยู่บนพื้นดิน หรือบนเครื่องบินในชั้นบรรยากาศ หรือบนเรือใน ทะเล หมายเหตุ มีทัศนะที่ถือว่าการตั้งเจตนาในช่วงกลางวันนั้นใช้ไม่ได้ จำ�เป็นต้องตั้ง เจตนาในช่วงกลางคืน ไม่จำ�เป็นต้องถือศีลอดในวันนั้น (หากรู้ในช่วงกลางวัน) และต้องถือศีลอดชดใช้ การถือศีลอดของผู้ที่ชราภาพและผู้ที่ป่วย ใครก็ตามที่ละศีลอดเนื่องจากชราภาพและป่วยเรื้อรังที่ไม่มีทางหายขาด ไม่ ว่าเขาจะเป็นผู้ที่เดินทางหรือไม่ก็ตาม ให้เขาจ่ายอาหารแก่คนยากจนวันละหนึ่งคน แทนการถือศีลอด โดยที่เขาทำ�อาหารเท่ากับจำ�นวนวันที่เขาขาดการถือศีลอด และ เชิญชวนในคนยากจนมารับประทานอาหาร และเขามีสิทธิ์เลือกหากเขามีความ ประสงค์ก็ให้จ่ายอาหารวันต่อวัน หรือให้รวบจ่ายในวันสุดท้าย โดยจ่ายอาหารวันล่ะ ครึ่งกันตัง (สองลิตรโดยประมาณ) ให้แก่คนยากจน ผู้ที่เป็นโรคประสาทหลอนหรือความจำ�เลอะเลือนเขาไม่จำ�เป็นต้องถือศีลอด และไม่ต้องจ่ายกัฟฟาเราะฮฺ เนื่องจากการงานของเขาจะไม่ถูกบันทึก ผู้ที่มีรอบเดือนหรือมีนิฟาส (เลือดหลังคลอดบุตร) นั้นไม่อนุญาตให้ถือศีลอด กล่าวคือให้เขาละศีลอด และถือชดหลังจากนั้น และเมื่อเขาสะอาด (หมดจากรอบเดือนหรือนิฟาส)ในช่วง กลางวัน(ของรอมฎอน)

AHLAN RAMADHAN

21


การถือศีลอดของผู้เดินทาง สิ่งที่ประเสริฐที่สุดสำ�หรับผู้ที่ถือศีลอดคือให้ละศีลอดในขณะการเดินทาง และสำ�หรับผู้ที่เดินทางในช่วงเดือนรอมฎอนนั้น หากว่าการถือศีลอดและละศีลอด สำ�หรับเขานั้นเท่าเทียมกัน (ไม่สร้างความยากลำ�บากแต่ประการใด) เช่นนี้การถือศีล อดสำ�หรับเขานั้นย่อมดีกว่า และถ้าหากว่าการถือศีลอดนั้นสร้างความยากลำ�บากให้ แก่เขาแล้ว ดังนั้นการละศีลอดสำ�หรับเขานั้นย่อมดีกว่า และถ้าหากการถือศีลอดสร้าง ความยากลำ�บากอย่างหนัก (จนอาจให้เป็นอันตรายได้) กรณีนี้ก็วาญิบสำ�หรับเขาที่จะ ต้องละจากการถือศีลอดและถือชดในวันอื่นต่อไป ผู้ที่กลับจากการเดินทางในสภาพที่เขาละศีลอดอยู่ พวกเขาเหล่านี้ไม่จำ�เป็น ต้องถือศีลอด (ในเวลาที่เหลืออยู่)เพียงแต่ต้องถือชดเท่านั้น การถือศีลอดของหญิงตั้งท้องหรือให้นมบุตร ผู้หญิงที่ตั้งท้องและให้นมบุตร เมื่อนางกลัวอันตรายจะประสบแก่นาง (หาก นางถือศีลอด) หรือประสบแก่บุตรของนาง พวกนางสามารถละศีลอดได้และให้ถือชด ในวันอื่นนอกเดือนรอมฎอน สิ่งที่ทำ�ให้ศีลอดเสีย 1. การกินหรือดื่ม ในช่วงกลางวันของเดือนรอมฎอน 2. มีเพศสัมพันธ์ในช่วงกลางวันของเดือนรอมฎอน 3. น้ำ�อสุจิหลั่งออกในขณะที่ตื่นอยู่ ไม่ว่าจะด้วยการสัมผัส จูบ สำ�เร็จความ ใคร่ด้วยตนเอง เป็นต้น 4. ฉีดสารอาหารผ่านเข็มฉีดยาเข้าร่างกาย สาเหตุข้างต้นนี้ทำ�ให้การถือศีล อดเสียก็ต่อเมื่อทำ�ไปด้วยความตั้งใจ รู้เท่าถึงการณ์ และรำ�ลึกว่าตัวเองถือศีล อดอยู่ 5. มีรอบเดือนหรือเลือดหลังคลอดบุตร 6. เป็นมุรตัด (หลุดพ้นจากสภาพเป็นมุสลิม) 22

AHLAN RAMADHAN


สิ่งที่ไม่ได้ทำ�ให้ศีลอดเสีย การใช้ผงหรือดินสอที่ทำ�ให้ขอบตาดำ� การฉีดยา ยาที่ใช้หยอดในอวัยวะเพศ การเยียวยารักษาบาดแผลการใช้น้ำ�หอม น้ำ�มันทาผม ควันไม้หอม การใช้ต้นเทียน (เพื่อทาเล็บหรือเปลี่ยนสีผม) น้ำ�ยาหยอดตา หู หรือจมูก การอาเจียน เลือดกำ�เดา การตกเลือด เลือดที่ไหลออกจากบาดแผล การถอนฟัน มะซีย์(น้ำ�ที่หลั่งเนื่องจาก ความใคร่ซึ่งไม่ใช่อสุจิ) หรือวะดีย์(น้ำ�เหนียวที่หลั่งออกมาหลังการถ่ายปัสสาวะซึ่ง ไม่ใช่อสุจิ)ออก และยาแก้หอบหืด ทั้งหมดนี้ไม่ทำ�ให้เสียศีลอด การตรวจเลือด และการฉีดยา หากว่าเพื่อการรักษาไม่ใช่เพื่อฉีดสารอาหาร เข้าไปไม่ถือว่าเสียศีลอด แต่ว่าถ้าสามารถกระทำ�ในช่วงกลางคืนได้นั้นย่อมดีกว่า การล้างไต โดยการเอาเลือดออกจากร่างกาย หลังจากนั้นก็เอาเลือดที่บริสุทธิ์ พร้อมๆ กับสารบางชนิดกลับใส่เข้าไปใหม่ กรณีนี้ถือว่าทำ�ให้การถือศีลอดเสีย การกรอกเลือด การบริจาคเลือดหรือเอาเลือดออกสามารถกระทำ�ได้ แต่การนำ�เอา เลือดผู้อื่นมาเข้าสู่ร่างกาย (รับเลือด) นั้นทำ�ให้การถือศีลอดเสีย และจำ�เป็นต้องชดใช้ การถือศีลอด แม้ว่าจำ�เป็นที่จะต้องทำ�การนำ�เลือดเข้าสู่ร่างกายเพราะจำ�เป็นหรือไม่ จำ�เป็นก็ตาม กัฟฟาเราะฮฺเนื่องจากมีเพศสัมพันธ์ในช่วงกลางวันของเดือนรอมฎอน ปล่อยทาสให้เป็นอิสระหนึ่งคน หากไม่มีก็ให้ถือศีลอดชดสองเดือนติดต่อกัน และหากไม่มีความสามารถอีกก็ให้จ่ายอาหารแก่คนยากจนจำ�นวนหกสิบคน โดยให้ จ่ายอาหารทุก ๆ หนึ่งคนจำ�นวนครึ่งกันตัง (ประมาณหนึ่งกิโลกับอีกสี่ขีด) และหาก ไม่มีความสามารถอีกการจ่ายกัฟฟาเราะฮฺก็ถือว่าตกไป และกัฟฟาเราะฮฺนั้นไม่เป็นวา ญิบ นอกจากเพราะการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงกลางวันของเดือนรอมฎอนของผู้ที่ต้อง ถือศีลอดเท่านั้น ที่ทำ�ไปเพราะรู้และเจตนา ส่วนผู้ที่ทำ�ไปในขณะที่เขาถือศีลอดสุนัต การถือศีลอดเพราะบนบาน หรือถือศีลอดชด ไม่จำ�เป็นต้องออกกัฟฟาเราะฮฺแต่อย่าง ใด

AHLAN RAMADHAN

23


การละหมาดตะรอเวียะฮฺ Uhibbuka fillah

อิจญมาอฺอุลามาอฺ (มติของปวงปราชญ์) ถือว่าการละหมาด ตะรอเวียะฮฺเป็น ซุนนะฮฺ และปฏิบัติเป็นญะมาอะฮฺ (รวมกัน) ประเสริฐกว่า ดังหะดิษของท่านหญิง อาอิชะฮฺ ที่แจ้งว่า “แท้จริงท่านรอซูลุลลอฮฺ ได้ออกไปคืนหนึ่งในกลางดึกแล้วท่าน ได้ละหมาดในมัสยิด และได้มีผู้คนมาร่วมละหมาดกับท่านนบี ในวันรุ่งขึ้นผู้คนได้พูด ถึงกันและได้รวมตัวกันมากขึ้น แล้วท่านได้ละหมาด (ในคืนที่สอง) ผู้คนก็ได้มาร่วม ละหมาดกับท่าน ต่อมาในวันรุ่งขึ้นก็ได้มีการกล่าวถึงกันอีก ผู้คนได้มารวมตัวกันใน มัสยิดมากยิ่งขึ้นในคืนที่สาม ท่านรอซูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) ก็ได้ออกมาทำ�การละหมาดเช่น เคย ต่อมาในคืนที่สี่มัสยิดเนืองแน่นไปด้วยผู้คน จนกระทั่งท่านนบีได้ออกไปละหมาด ซุบฮฺ เมื่อท่านละหมาดเสร็จแล้วท่านได้หันหน้าไปยังผู้ที่มาร่วมละหมาดแล้วได้กล่าว สรรเสริญอัลลอฮฺ และกล่าวชะฮาดะฮฺ แล้วกล่าวว่า “พึงทราบเถิดสถานภาพของพวกท่านเป็นที่ประจักษ์แจ้งแก่ฉันแล้ว แต่ ฉันกลัวว่าการละหมาดนี้จะถูกบัญญัติให้เป็นฟัรฎูแก่พวกท่าน แล้วพวกท่านก็ไม่ สามารถจะกระทำ�ได้ ต่อมาท่านรอซูลุลลอฮฺได้ถึงอะญัลของอัลลอฮฺ การละหมาด ตะรอเวี๊ยะห์ก็คงสภาพอยู่เช่นนั้น” (บันทึกโดยบุคอรี และมุสลิม) 24

AHLAN RAMADHAN


L

จำ�นวนรอกาอะฮฺ บรรดาอุลามาอฺ มีความเห็นที่หลาก หลาย ดังนี้ 1. มี 8 รอกาอะฮฺ และวิตริ 3 รอกาอัต (ดูเศาะหิฮฺ บุคอรี52 / 2, เศาะหิฮฺมุสลิม เลขที่ 508 / 1532) 2. มี 20 รอกาอะฮฺ และวิตริ 3 รอกาอัต เป็นความเห็นของญุมหูรฟุกอฮาอฺ จากกลุ่มของหะนะฟิยะฮฺ ชาฟีอียะฮฺ ฮัมบะลียะฮฺ อัษเซารี และดาวูด อัซซอฮีรี 3. มี 36 รอกาอะฮฺ ไม่รวมวิติร เป็นความเห็นของอีหม่ามมาลิกและบรรดาผู้รู้ ในมัซฮับของท่าน นอกจากนี้ มี 41 รอกาอะฮฺ รวมวิติร มี 43 รอกาอะฮฺ รวมวิติร มี 47 รอกาอะฮฺ รวมวิติร มี 49 รอกาอะฮฺ รวมวิติร สรุปแล้วที่ไม่ได้เจาะจงว่า จำ�นวนรอกาอะฮฺต้อง 20 , 36 หรือ 8 รอกาอะฮฺ แต่ที่ชัดเจนตามแบบฉบับของท่านรสูล คือ 8 ร็อกอะฮฺ ส่วนที่มากกว่านั้นเป็นที่ส่ง เสริมและเปิดกว้าง จึงเป็นการเปิดกว้างในจำ�นวนร็อกอะฮฺ ซึ่งเป้าหมายอันแท้จริง ของละหมาดตะรอเวียะห์ไม่ใช่ขึ้นอยู่ที่จำ�นวนร็อกอะฮฺ แต่เป้าหมายของละหมาดตะ รอเวียะห์ก็คือ การยืนละหมาดนาน ๆ ให้อิหม่ามอ่านอัลกุรอานนาน ๆ และมะมูมก็ได้ ฟังอัลกุรอานเป็นเวลานานเช่นกัน รายงานจากท่านญาบิรฺ ร่อฎียัลลอฮุอันฮุ เล่าว่า “มีผู้ถามท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ว่าละหมาด(สุนัต) ประเภทไหน ประเสริฐที่สุด ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิวะซัลลัม ตอบว่า : คือละหมาดที่ ยืนนาน ๆ” (บันทึกโดยอิมามอัตติรมีซีย์ เลขที่ 388) “ผู้ใดที่ดำ�รง(ละหมาด)ในเดือนรอมฎอนโดยมีความศรัทธา(ต่อสัญญาขอ งอัลลอฮฺ) และมีความบริสุทธิ์ใจ (หรือแสวงหาการตอบแทนจากอัลลอฮฺ) เขาก็จะ ถูกอภัยโทษให้จากบาปที่ล่วงผ่านมาแล้ว” (บุคอรีและมุสลิม) ** ร็อกอะฮฺ หรือ ร็อกอัต หมายถึง ยืน ก้ม(รูกั๊วะ) 1 ครั้ง กราบ(สุญูด ) 2 ครั้ง เรียกว่า 1 ร็อกอะฮฺ AHLAN RAMADHAN

25


L คุณสมบัติผู้ถือศีลอด 1 เป็นมุสลิม

2 บรรลุ ศาสนภาวะ

3 มีสติ สัมปชัญญะ

4 5 มิใช่ มีความสามารถ ผู้เดินทาง

6 สตรีที่ปราศจากเลือดประจำ� เดือน หรือ นิฟาส

ผู้ได้รับการยกเว้นในการถือศีล คือ คนชรา คนป่วยเรื้อรังที่แพทย์วินิจฉัยว่า รักษาไม่หาย หญิงมีครรภ์แก่และแม่ลูกอ่อนที่ให้นมทารกเพราะหากถือศีลอดอาจเป็น อันตรายแก่ทารก บุคคลที่สุขภาพไม่สมบูรณ์ ซึ่งเมื่อเขาถือศีลอดจะเป็นภัยต่อสุขภาพ เสมอ บุคคลที่ทำ�งานหนัก เช่น ในเหมือง หรืองานอื่น ๆ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจและ ศรัทธาของเขาเองว่าจะสามารถถือได้หรือไม่ โดยไม่หลอกตัวเอง บุคคลทั้ง 5 ประเภทแม้จะได้รับการยกเว้นโดยไม่ต้องถือเลย แต่ต้องชดใช้ด้วยการ จ่ายอาหารเป็นทานแก่คนยากจน ด้วยอาหารที่มีคุณภาพตามที่ตนใช้บริโภคตลอดทั้ง เดือน หรือจะจ่ายเป็นค่าอาหารแทนวันต่อวันโดยการบริจาคทานให้ต่างบุคคลก็ได้ ขั้นตอนการถือศีลอด - ต้องตั้งเจตนา (เนียต) ในการถือศีลอดทุก ๆ คืนระหว่างดวงอาทิตย์ตกจนถึง แสงอรุณขึ้น 26

AHLAN RAMADHAN


L

- ต้องอดกลั้นต่อบรรดาการกระทำ�ต่าง ๆ ซึ่งเป็นข้อห้ามที่จะทำ�ให้เสียศีลอด

มารยาทของผู้ถือศีลอด มีซุนนะฮฺส่งเสริมให้รับประทานอาหารซาโฮร มีซุนนะฮฺให้รีบละศีลอด เมื่อเข้าเวลา ละศีลอด ด้วยอินทผาลัม หรือน้ำ� ให้ขอดุอาอฺในขณะละศีลอด และในขณะกำ�ลังถือศีลอด การมีใจกว้างขวาง และการทำ�บุญ ตลอดจนการเรียนรู้ อัลกุรอาน มีความมานะพากเพียร ในการทำ�อิบาดะฮฺ ช่วงสิบคืนสุดท้าย ของเดือนรอมฎอน การมีมารยาทที่ดี และไม่ถือโทษโกรธเคือง

AHLAN RAMADHAN

27


ทำ�ไมต้องกินซาโฮร


ทำ�ไม

ต้องกิน

L

ซาโฮร


มีรายงานจากอานัสว่าท่านศาสดา (ซ.ล) กล่าวว่า “จงรับประธานอาหารซา โฮรเถิด แท้จริงการรับประทานอาหารซาโฮรนั้นมีบารอกะฮฺ (ศิริมงคล)” (รายงาน โดย บุคอรี และมุสลิม) ท่านอิมามอันนะวาวีย์ อธิบายว่า “ในฮะดีษนี้ ส่งเสริมให้ทานซะโฮร และปวงปราชญ์ได้ลงมติว่า การทาน ซะโฮรเป็นสิ่งที่ถูกส่งเสริมให้กระทำ� โดยไม่จำ�เป็น(วาญิบ) แต่ประการใด” อันนะวาวีย์, ชัรห์ซอฮิห์มุสลิม เล่ม 4 หน้า 223

คำ�อธิบาย

คนที่จะถือศีลอดนั้น สุนัตให้รับประทานอาหารซาโฮร เพราะานศาสดา (ซ.ล) กล่าวว่า การรับประทานอาหารซาโฮรนั้น เป็นการทานอาหารที่จะนำ�มาซึ่งความดี และความประเสริฐสำ�หรับผู้ที่ถือศีลอด สำ�หรับผู้ที่รับประทานอาหารซาโฮร เขาจะ ได้รับผลกำ�ไรเป็น 2 เท่า กล่าวคืออิ่ม และได้รับบะรอกะฮฺ ที่อัลลอฮฺจะทรงประทาน ให้แก่ตัวเขาตลอดทั้งวันที่เขาถือศีลอด

เวลารับประทานอาหารซาโฮร เวลารับประทานอาหารซาโฮรที่ดีที่สุดก็คือ มีรายงานจากซัยด์ บินซาบิต ว่า “พวกเราได้รับประทานซาโฮรพร้ อมกับท่านศาสดา (ซ.ล) แล้วพวกเรา ก็ลุกขึ้นยืนทำ�ละหมาด ฉันถามขึ้นว่า ช่วงระหว่างทั้งสอง (กล่าวคือการรับ ประทานซาโฮรและละหมาด) นั้นห่าง กันนานเท่าไร? เขาตอบว่า 50 อายัต อัลกุรอ่าน” (รายงานโดยบุคอรี) 30

AHLAN RAMADHAN

ใกล้เข้าเวลาซุบฮิ ประมาณช่วงเวลาของ การอ่านอัลกุรอาน 50 โองการโดยทั่วไป แล้วการอ่านอัลกุรอ่านจำ�นวน 50 โองการ นั้น จะใช้เวลาประมาณ 10 – 15 นาที ดัง นั้ น ช่ ว งเวลาที่ ดี สำ � หรั บ การรั บ ประทาน อาหารซาโฮรก็คือช่วง 10-15 นาทีก่อนเข้า เวลาละหมาดซุบฮิ


รับประทานซาโฮรด้วยกับผลอินทผลัม มีรายงานจากอาบูฮูรัยเราะห์ว่า ท่านศาสดา(ซ.ล) กล่าวว่า “อาหารซาโฮรที่ดีที่สุดสำ�หรับคนมุอฺมินนั้นก็คือ ผลอินทผาลัม” (รายงานโดยอิบนุฮิบบานเเละบัยฮากีย์) อาหารสำ�หรับซาโฮรที่บะรอกะฮฺมากที่สุดและที่ดีที่สุดก็คือผลอินทผาลัม ผล อินทผาลัมไม่เพียงเเค่สำ�หรับละศีลอดเท่านั้นเเต่ทว่ามันยังเป็นอาหารที่ดีสำ�หรับซาโฮ รอีกด้วย นี่หมายความว่า การรับประทานซาโฮรด้วยกับอินทผาลัมนั้นคือแบบฉบับ ของท่านศาสดา (ซ.ล) ซึ่งถ้าหากว่าเราปฎิบัติตามเราก็จะได้รับผลบุญ ฉะนั้นผู้ที่รับ ประทานอาหารซาโฮรนั้นจะได้รับผลตอบเเทนเป็น สองเท่าตัว กล่าวคือผลบุญเเละ รู้สึกอิ่มท้อง

AHLAN RAMADHAN

31


สิ่งที่ควร

ละเว้นและอนุญาต

ของผู้ถือศีลอด

32

AHLAN RAMADHAN

สิ่งจำ�เป็นที่ผู้ถือศีลอดควรละเว้น ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม สนั บ สนุ น ให้ มุ ส ลิ ม ผู้ ถื อ ศี ล อดมี ม ารยาท ที่ดีงาม และความประพฤติปฏิบัติเป็นที่ ยอมรับและน่าสรรเสริญ และปลีกตัวให้ ห่างไกลจากการกระทำ�ที่น่าเกลียดน่าชัง และการพูดจาที่หยาบคายสามหาวลามก อนาจาร นี่คือ การงานที่เป็นผิด เป็นบาป ถ้าหากมุสลิ ม ถู ก ใช้ ให้ ปลี ก ตั วให้ ห่ า งไกล และละเว้นมิให้ประพฤติปฏิบัติในทุกๆ วัน แน่นอนการห้ามมิให้ปฏิบัติในระหว่างการ ถือศีลอดก็เป็นเรื่องที่ควรระมัดระวังเป็น ที่ สุ ด จำ � เป็ น แก่ มุ ส ลิ ม ผู้ ถื อ ศี ล อดจะต้ อ ง ปลีกตัวออกมาจากการกระทำ�ที่จะทำ�ให้ การถือศีลอดของเขาต้องสูญเสียไป และ เพื่อที่จะทำ�ให้การถือศีลอดของเขาบังเกิด ผลและบรรลุสู่การยำ�เกรง (ตักวา) ซึ่ง อัลลอฮฺ ได้กล่าวไว้ในเรื่องนี้ว่า ความว่า“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย !การถือศีลอดได้ถูกบัญญัติแก่พวกเจ้าดัง เช่นได้ถูกบัญญัติแก่ประชาชาติก่อนหน้า พวกเจ้ า เพื่ อ ว่ า พวกเจ้ า จะได้ ยำ � เกรง” (2/183) เพราะว่าการถือศีลอดเป็นสื่อนำ�ไปสู่การ ยำ�เกรงโดยเฉพาะอย่างยิ่งมันจะช่วยระงับ จิตใจมิให้โน้มเอียงไปสู่การไม่เชื่อฟังและ ขัดคำ�สั่ง สมจริงดังคำ�กล่าวของท่านนบี


ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ที่ว่า “การถือศีลอดเป็นเกราะคุ้มกัน” ซึ่งเราได้กล่าวไว้ ในหัวข้อเรื่อง คุณประโยชน์ของการถือศีลอดแล้ว ต่อไปนี้ขอให้เรามาทำ�ความรู้จักกับ สิ่งที่ผู้ถือศีลอดควรหลีกเลี่ยง เพื่อให้การถือศีลอดของเราสมบูรณ์ และเป็นที่รับรอง ณ ที่อัลลอฮฺ คือ

1. การกล่าวคำ�เท็จ

2.การพูดหรือการกระทำ�ที่ไร้สาระ และการพูดจาหยาบคาย

มีรายงานจากอะบีฮุรอยเราะฮฺ แจ้งว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม (ขอความสันติจงมีแด่ท่าน) กล่าวว่า ความว่า “ผู้ใดไม่ละเว้นการพูดเท็จและการกระทำ�ที่เป็นเท็จ อัลลอฮฺก็ไม่ ทรงประสงค์การอดอาหารและเครื่องดื่มของเขา” บันทึกโดย : อัลบุคอรีย์ กล่าวคือเขาจะไม่ได้รับการตอบแทนใด ๆ หรือผลบุญจากการถือศีลอดของเขา มีรายงานจากอะบีฮุรอยเราะฮฺ แจ้งว่า ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า ความว่า “การถือศีลอดมิใช่ (การละเว้น) จากการกินการดื่มเท่านั้น แต่ การถือศีลอด (จะต้องละเว้น) จากการพูดจาหรือการกระทำ�ที่ไร้สาระและการ พูดจาหยาบคายด้วย หากมีผู้ใดมาสบประมาทหรือเยาะเย้ยท่าน ก็จงกล่าวแก่เขา ว่าฉันเป็นผู้ถือศีลอด ฉันเป็นผู้ถือศีลอด” บันทึกโดย : อับนคุซัยมะฮฺ และอัลฮากิม และว่าเป็นสายสืบที่หะซัน สิ่งที่อนุญาตให้ผู้ถือศีลอดปฏิบัติได้

บ่าวที่จงรักภักดีมีความเข้าใจในกิตาบุลลอฮฺและซุนนะฮฺจะไม่สงสัยเลยว่า แท้จริงอัลลอฮฺ ทรงประสงค์ที่จะให้ปวงบ่าวของพระองค์มีความสะดวกสบาย และ ไม่ทรงประสงค์ที่จะให้พวกเขาได้รับความยากลำ�บากในการถือศีลอด พระองค์ทรง อนุญาตให้ผู้ถือศีลอดกระทำ�ได้ในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ AHLAN RAMADHAN

33


1. ผู้ถือศีลอดเมื่อเกิดมีหะดัษใหญ่ ปรากฎว่าท่านนบีเกิดมีหะดัษใหญ่กับภรรยาของท่านจนกระทั่งถึงเวลาฟัจร หลังจาก นั้นท่านได้อาบน้ำ�ญะนาบะฮฺและถือศีลอด

2. การแปรงฟันสำ�หรับผู้ถือศีลอด

3. การใช้น้ำ�กลั้วปากและสูดน้ำ�เข้าจมูก

ท่านรอซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าวว่า ความว่า “หากไม่เป็นการยากลำ�บากแก่ประชาชาติของฉันแล้ว ฉันจะใช้ให้พวก เขาแปรงฟันในเวลาอาบน้ำ�ละหมาดทุกครั้ง” (บันทึกโดย อัลบุคอรีย์และมุสลิม) เพราะท่านนบีเคยใช้น้ำ�กลั้วปากแล้วบ้วนทิ้งและสูดน้ำ�เข้าจมูกแล้วสั่งออกด้วยมือ ซ้ายในขณะที่ท่านถือศีลอด แต่ท่านห้ามมิให้ผู้ถือศีลอดกระทำ�มากเกินไป ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “…….จงสูดน้ำ�เข้าจมูกมาก เว้นแต่ท่าน จะถือศีลอด” 4. การหยอกล้อและการจูบขณะถือศีลอด มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺแจ้งว่า “ท่านรอซูลุลลอฮฺจูบขณะที่ท่านถือศีลอด และท่านหยอกล้อขณะที่ท่านถือศีลอด แต่ปรากฎว่าท่านเป็นผู้ที่ควบคุมอารมณ์ได้ดี ยิ่งกว่าพวกท่าน” การกระทำ�ดังกล่าวนี้ไม่ชอบที่จะให้สามีภรรยาที่อยู่ในวัยหนุ่มกระทำ�กัน มีรายงานจากอับดุลลอฮฺอิบนฺอมัร อิบนุลอ๊าศ แจ้งว่า พวกเรานั่งอยู่ร่วมกับท่านนบี มี ชายหนุ่มคนหนึ่งเข้ามาหาท่านนบี เขากล่าวถามขึ้นว่า โอ้ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ฉันจะจูบ ขณะถือศีลอดได้ไหม? ท่านนบีตอบว่า “ไม่ได้” ต่อมาได้มีชายแก่คนหนึ่งเข้ามาหา และกล่าวขึ้นว่า ฉันจะจูบขณะถือศีลอดได้ไหม? ท่านนบีตอบว่า “ได้” พวกเราก็มอง ตาซึ่งกันและกันในเชิงสงสัย ท่านรอซูลุลลอฮฺได้ตอบข้อสงสัยของพวกเราว่า “แท้จริงชายคนแก่นั้นสามารถควบคุมอารมณ์ของเขาได้” 5. การตรวจเลือดและฉีดยาที่มิใช่บำ�รุงกำ�ลัง การกระทำ�ดังกล่าวนี้ไม่ทำ�ให้ต้องเสียศีลอด 34

AHLAN RAMADHAN


6. การกรอกเลือด

7. ชิมอาหาร

8. ผงทาตาและยาหยอดตาและอื่น ๆ

9. รดน้ำ�เย็นบนศีรษะและการอาบน้ำ�

ปรากฏว่าการกรอกเลือดอยู่ในประเภทที่ทำ�ให้เสียศีลอด ต่อมาได้ถูกยกเลิก มีรายงาน จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ว่าท่านได้กรอกเลือดขณะถือศีลอด ทั้งนี้ ตามรายงานของอิบนฺ อับบาส แจ้งว่า “แท้จริงท่านนบีได้กรอกเลือดขณะที่ท่านถือศีล อด” (บันทึกโดย : อัลบุคอรีย์) ทั้งนี้โดยมีขอบเขตมิให้อาหารเข้าสู่ลำ�คอ โดยมีรายงานจากอิบนฺอับบาส กล่าวว่า “ไม่ เป็นความผิดหรือไม่เป็นไรที่จะชิมรสชาติของน้ำ�ส้มหรืออาหาร ตราบใดที่ไม่เข้าสู่ลำ� คอในขณะถือศีลอด” (บันทึกโดย : อิบนฺอะบีชัยยะฮฺ และอันบัยฮะกีย์) การใช้สิ่งเหล่านี้ทาและหยอดตาไม่เป็นการเสียศีลอดถึงแม้จะมีรสชาดของมันในลำ� คอหรือไม่มีก็ตาม นี่คือแนวคามคิดที่ชัยคุลอิสลามให้น้ำ�หนักมากกว่าในบทความเรื่อง “ข้อเท็จจริงของการถือศีลอด” และลูกศิษย์ของเขาคืออิบนุก็อยยิม ในหนังสือของเขา “ซาดุลมะอ๊าด” และอิหม่ามอัลบุคอรีย์ในหนังสือ “ซอเฮียะฮฺ” ของเขา ได้กล่าวว่า อะนัส อิบนมาลิก และอัลหะซัน อัลบัศรีย์ และอิบรอฮีมอันนัคอีย์ มีความเห็นว่าการ ใช้สิ่งเหล่านี้ทาและหยอดตาสำ�หรับผู้ถือศีลอดไม่เป็นไร คือไม่เป็นการเสียศีลอด อับบุคอรีย์กล่าวไว้ในหนังสือ “ซอเฮียะฮฺ” ของเขาในบทว่าด้วย “การอาบน้ำ�ของผู้ ถือศีลอด” โดยกล่าวว่าอิบนอุมัรได้นำ�เอาผ้ามาชุบน้ำ�ให้เปียกแล้วห่มตัวในขณะที่ ถือศีลอด และอัลชะอฺบีย์ได้อาบน้ำ�รดหัวเมื่อเขาถือศีลอด และอัลหะซันกล่าวว่า ไม่ เป็นการเสียศีลอดสำ�หรับผู้ที่เอาน้ำ�กลั้วปากหรือเอาน้ำ�ราดเพื่อให้เกิดความเย็น ในบันทึกของอะบูดาวู๊ดและอะหมัดระบุว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะ ซัลลัม ได้เอาน้ำ�ราดบนศีรษะของท่านขณะที่ท่านถือศีลอด เพราะความกระหายหรือ เพราะความร้อน

AHLAN RAMADHAN

35


L

ค่ำ�คืนลัยลาตุลกอดรฺ


อะไรคือลัยลาตุลกอดรฺ? ลัยลาตุลกอดรฺคือค่ำ�คืนหนึ่งที่อัลลอฮ์ ได้ เลือกให้เป็นค่ำ�คืนที่มีความประเสริฐในช่วงสิบคืน หลังของเดือนรอมาฏอนเหมือนดำ�รัสของพระองค์ ใน ซูเราะห์อัลก็อดร ความว่า 1. แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืน อัลก็อดร 2. และอะไรเล่าจะทำ�ให้เจ้ารู้ว่าคืนอัลกอดรนั้น คืออะไร 3. คืนอัลก็อดรนั้นดีกว่า 1000 เดือน 4. บรรดามะลาอิกะห์ และอัลรูฮ ( ญิบรีล ) จะ ลงมาในคืนนั้น โดยอนุมัติแห่งพระเจ้าของพวกเขา เนื่องจากในกิจการทุกสิ่ง 5. คืนนั้นมีความศานติสุขจนกระทั่งรุ่งอรุณ

L

สิ่งที่ได้รับจากซูเราะห์นี้ 1. แท้จริงอัลลอฮ์ได้ประทานอัลกุรอานในค่ำ�คืน นี้ โดยที่พระองค์ได้ตรัสไว้ว่า “ในคื น นั้ น ทุ ก ๆกิ จ ที่ สำ � คั ญ ได้ ถู ก จำ � แนกไว้ แ ล้ ว โดยทรงบัญชามาจากเรา แท้จริงเป็นผู้ที่ส่งมา” ( อัลกุรอาน ) 2. อัลลอฮ์ได้ให้ความสำ�คัญในค่ำ�คืนนี้โดยที่ พระองค์ได้กล่าวถึงค่ำ�คืนนี้ไว้ในคัมภีร์ของพระองค์ 3. แท้จริงการประกอบอิบาดะห์ที่ตรงกับคืนนี้จะ ได้รับการตอบแทนเท่ากับ หนึ่งพันเดือนของเดือน ปกติ 4. มาลาอิกะห์จะลงมาในค่ำ�คืนนี้ พร้อมกับ AHLAN RAMADHAN

37


นำ�ความศิริมงคลและความจำ�เริญความเมตตาความสุข และนำ�สิ่งที่อัลลอฮ์ จะทรง กำ�หนดให้เกิดขึ้นในปีนี้อีกด้วย 5. และการอภัยโทษจากพระองค์จะได้รับแก่ผู้ที่ศรัทธาและแสวงหาความพอ พระทัยจากพระองค์ เหมือนในหะดีษที่มีรายงานจากท่านอาบีอุรัยเราะห์จากท่านนบี โดยที่ท่านได้กล่าวว่า : “ผู้ใดที่ได้ถือศีลอดในเดือนรอมาฏอน ด้วยกับความศรัทธา และมีความ หวัง เขาได้รับการอภัยโทษจากบาปที่ผ่านมาของเขาและผู้ใดที่ได้ยืนขึ้น ( หมาย ถึงการทำ�อิบาดะห์ เช่นการละหมาด ) ในค่ำ�คืนลัยละตุล ก็อดรฺ ด้วยกับความ ศรัทธา และมีความหวังเขาจะถูกอภัยโทษจากบาปที่ผ่านมาของเขา” (บันทึกโดย บุคอรีย์ 2014 มุสลิม / 759) ค่ำ�คืนใดเป็นคืนลัยละตุลก็อดรฺ ? สำ�หรับเกี่ยวกับคืนลัยละตุลก็อดรฺท่านอิบนู หาญัรได้กล่าวไว้ บรรดานักวิชาการ มีทัศนะที่ไม่ตรงกันหลายทัศนะด้วยกัน ประมาณ 40 ทัศนะ แต่นักวิการส่วนใหญ่มี ความเห็นว่ามันอยู่ในช่วง 10 คืนสุดท้ายของเดือนรอมาฏอน หะดีษที่รายงายโดยท่าน อาบูสะอีด อัลกุดรีย์ แท้จริงท่าน เราะซูล ได้กล่าวว่า “พวกท่านจงแสวงหามัน ( หมายถึงคืนลัยละตุดก็อดรฺ ) ในช่วงสิบคืนสุดท้าย” (บันทึกโดย บุคอรีย์ 2018 มุสลิม 1167) และบรรดานักวิชาการส่วนใหญ่เห็นว่า ลัยละตุลกอดรนั้นจะเกิดในคืนคี่ ของท่านนบี ที่ว่า

ดังคำ�พูด

“ พวกท่านจงแสวงหา ลัยละตุลก็อดรฺในคืนที่คี่ ของสิบคืนสุดท้าย ” (บันทึกโดย บุคอรีย์ 2017) 38

AHLAN RAMADHAN


และนักวิการบางท่านมีความเห็นว่าลัยละตุลก็อดรฺนั้นคือค่ำ�คืนที่ 27 ซึ่งเป็น ทัศนะของบรรดา ซอฮาบะห์ กลุ่มหนึ่ง โดยที่ท่าน อุบัย บิน กะฮบฺ กล่าวว่า “มั่นใจ ว่า มันเป็นค่ำ�คืนที่ 27 โดยที่ท่านได้สาบานเพื่อยืนยันถึงความหนักแน่น” ในเรื่องนี้ เหมือนที่มีรายงานในซอเอียะ มุสลิม 762 / อัตติรมีซีย์ 3351

แปลเรียบเรียง : อิสมาอีล กอเซ็ม อ้างอิง http://www.cicot.or.th

AHLAN RAMADHAN

39


L

AMALIN-TASNIM

บทลงโทษ

ผู้ที่ละทิ้ง

การถือศีลอด

L

ในเดือนรอมฎอน

การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนนั้น ถือเป็นบทบัญญัติ 1 ใน 5 ของอิสลาม หรือที่ มุสลิมเรียกว่ารุก่นอิสลาม ซึ่งจะต้องอยู่บนพื้นฐานของ คัมภีร์อัลกุรอ่าน ซุนนะฮฺและ มติของนักอูละมะฮฺ.

ความว่า : เดือนรอมฏอนนั้น เป็นเดือนที่อัลกรุอานได้ถูกประทานลงมาใน ฐานะเป็นข้อแนะนำ�สำ�หรับมนุษย์ และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำ� นั้น และเกี่ยวกับสิ่งที่จำ�แนกระหว่างความจริงกับความเท็จ ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวก เจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น และผู้ใดป่วย หรืออยู่ในการ เดินทาง ก็จงถือใช้ในวันอื่นแทน อัลลอฮฺทรงประสงค์ให้มีความสะดวกแก่พวก เจ้า และไม่ทรงให้มีความลำ�บากแก่พวกเจ้าและเพื่อที่พวกเจ้าจะได้ให้ครบถ้วน ซึ่งจำ�นวนวัน(ของเดือนรอมฏอน) และเพื่อพวกเจ้าจะได้ให้ความเกรียงไกรแด่ อัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงแนะนำ�แก่พวกเจ้า และเพื่อพวกเจ้าจะขอบคุณ (อัลบากอเราะฮฺ อายะห์ที่ 185) Firman Allah (bermaksud); “Bulan Ramadan, bulan diturunkan al-Quran di dalamnya, menjadi petunjuk bagi manusia dan menjadi ket40

AHLAN RAMADHAN


erangan-keterangan yang menjelaskan petunjuk dan pembeza (antara hak dan batil). Maka sesiapa dari kamu yang menyaksikan anak bulan Ramadan (atau mengetahuinya), hendaklah ia berpuasa di bulan itu…” (al-Baqarah, ayat 185). สำ�หรับบุคคลที่ละทิ้งการถือศีลอดนั้นมีอยู่สองสภาพด้วยกัน คนที่ละทิ้งการ ถือศีลอดในขณะที่เขาถือศีลอด ก็คือยังไม่ถึงเวลาละศีลอด โดยที่เขาเจตนาละทิ้งโดย ไม่มีอุปสรรคใด ๆ และอีกสภาพหนึ่งก็คือไม่ถือศีลอดเลยเจตนาทิ้งโดยไม่มีอุปสรรคใด ๆ บทลงโทษของผู้ที่ไม่ถือศีลอด โลกนี้ : ไม่มีคุณค่าตามทัศนะอิสลาม การดำ�รงชีวิตจะไม่มีความบารอกะฮฺ โลกหน้า : หากปฏิเสธว่าการถือศีลอดไม่ใช่หลักการศาสนาเขาก็สิ้นสภาพการเป็น มุสลิม หากไม่ถือศีลอดเนื่องจากอีหม่านอ่อน จะถูกลงโทษสถานหนัก โดยการถูกร้อยเชือก เอ็นร้อยหวาย ข้างปากถูกแทงจนทะลุเป็นรู มีเลือดไหลรินออกมาในวันสิ้นโลก ซึ่งบทลงโทษดังกล่าวได้สอดคล้องกับฮาดิษต่อไปนี้; รายงานจากอบีอุมามะฮฺ อัลบาฮิลีย์ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอซูล (ซ.ล.)ได้กล่าวว่า

รายงานจากอบีอุมามะฮฺ อัลบาฮิลีย์ กล่าวว่า ฉันได้ยินท่านรอซู้ล (ซ.ล.) ได้กว่าว่า ในระหว่างที่ฉันนอนหลับอยู่นั้นก็มีชายสองคนมาจับแขนฉัน และพาฉัน ไปที่ภูเขาแห่งหนึ่ง เป็นทางวิบาก และทั้งสองได้พูดกับฉัน ว่าจงขึ้นไป ครั้งเมื่อฉัน ขึ้นไปถึงกลางภูเขานั้น ทันใดนั้นฉันก็ได้ยินเสียงดังมาก ฉันจึงถามว่า “เสียงเหล่า AHLAN RAMADHAN

41


นี้เป็นเสียงอะไร”? เขาตอบว่า “นี่เป็นเสียงร้องของชาวนรก...” แล้วต่อมาเขาก็ได้ พาฉันไปอีก ทันใดนั้น ฉันก็ได้เห็นคนพวกหนึ่งที่ถูกแขวนด้วยการเกี่ยวที่ข้อเท้า ของพวกเขาเอาไว้ แก้มทั้งสองข้างของพวกเขามีแผลแยกออก มีเลือดไหล ฉัน จึงถามว่า “พวกนี้เป็นใคร”? มีเสียงตอบว่า “พวกนี้เป็นพวกที่ละศีลอดก่อนถึง เวลา...” (อิบนุคุซัยมะฮฺ บอกว่าเป็นฮาดิษซอฮีฮฺ) Dari Abu Umamah al-Bahili Radhiyallahu’anhu, dia berkata : Aku mendengar Rasulullah Shallallahu’alaihi wa sallam bersabda : “Ketika aku sedang tidur, aku didatangi oleh dua orang laki – laki, lalu keduanya memegang kedua lengan ku dan membawaku kegunung yang terjal. Keduanya berkata : “Naiklah” Lalu Aku menjawab : “Sesungguhnya aku tidak sanggup melakukan nya.” Kemudian keduanya berkata : “Kami akan memudahkan untuk mu” Maka aku pun naik. Tatkala aku sedang berada di tengah – tengah gunung, aku mendengar suara yang keras sekali, maka aku bertanya : “Suara apakah itu?” Mereka menjawab : “ Itu adalah suara jerita para penghuni neraka.” Kemudian mereka membawa ku berjalan dan aku melihat orang – orang yang tergantungan pada urat besar diatas tumit mereka, mulut mereka robek dan dari robekan itu mengalir darah. Kemudian aku bertanya : “Siapa mereka itu?” Mereka menjawab : “Mereka adalah orang – orang yang berbuka sebelum tiba waktunya.” [Shahih : Diriwayatkan oleh Imam An-Nasa’ rahimahullah dalam kitab nya suanan al-Kubra, juga diriwayatkan oleh Imam Ibnu Hibban rahimahullah (no 1800, kitab Zawaaid),

42

AHLAN RAMADHAN


ข้อคิด อัลลอฮฺ (ซ.บ.) จะไม่ทรงรับการถือศีลอดชดใช้จนชั่วชีวิต ของผู้ที่ละทิ้ง การถือศีลอดโดยไม่มีเหตุอันควร ข้อคิดดังกล่าวได้สอดคล้องกับฮาดิษ ต่อไปนี้ บุคคลใดก็ตามได้ละทิ้งการถือศีลอดในเดือนรอมฏอน โดยไม่มีการเจ็บป่วย ใด ๆ เขาจะตกเป็น ผู้ฝ่าฝืน (ฟาซิก) และเป็นบาปใหญ่ และจำ�เป็นที่เขาจะต้องถือศีล อดชดเท่ากับวันที่เขาได้ละทิ้ง ท่านนบีมูฮัมมัด (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า “ บุคคลใดที่ได้ละ ศีลอดโดยตั้งใจ ในเดือนรอมฏอน โดยที่ไม่ได้เป็นที่อนุมัติจาก อัลลอฮฺ ซุบฮานะฮู วะตะอาลาและไม่ใช่เพราะการเจ็บป่วย แม้เขาจะถือศีลอดชั่วชีวิต ก็ไม่สามารถ ชดเชย ที่เขาได้ละทิ้งไปแล้วได้แม้ว่าเขาจะปฏิบัติก็ตาม” รายงานโดย อีหม่าม บุคอรี อบูดาวุด ติรมีซี จาก อบูฮูรัยเราะฮฺ (ร.อ.)

AHLAN RAMADHAN

43


ในเดือนรอมฎอน โรตีจิ้มแกง

L

L

ของขวัญ

ยินดีต้อนรับแขกผู้มีเกียรติทุกท่านที่รักยิ่ง ณ ที่พระเจ้าของเรา“อัลฮัมดุลิล ละฮฺ” กลับมาพบกับบรรยากาศที่อบอวนไปด้วยความสุขแห่ง อาม้าลอิบาดะห์ ที่เต็ม รูปแบบกันอีกครั้งในวันที่ 1-30 เดือนรอมฎอน (โดยประมาณ) ขอเชิญชวญพี่น้อง ร่วมแสดงตัวตนผู้ศรัทธาที่แท้จริง ฟรี….ตลอดงานเพียงพกความพร้อมของจิตใจเพื่อที่จะเปลี่ยนตัวเองไปสู่ความดีงาม ทั้งหลาย

ภายในงานพบกับ

> การวางหัวใจ ตั้งเจตนาที่บริสุทธิ์ > การวางแผนจัดเวลาช่วงรอมฎอน

เริ่มปฎิบัติการ > ทำ�ฟัรฎู ละหมาด ถือศีลอด > ทำ�สุนัต อ่านอัล-กุรอาน ละหมาดตะรอเวียะฮฺ กิยามุลลัยลฺ ซิกลุ้ลลอฮ์ ค่ำ�คืนแห่งลัยละตุลกอดรฺ บริจาคทาน เลี้ยงอาหารละศีลอด ฯลฯ > ทำ�ความดีทุกที่เมื่อมีโอกาส

44

AHLAN RAMADHAN


ของขวัญภายในงานที่จะได้รับ โปรโมชั่น : ยิ่งคุณสะสมแต้มทำ�กิจกรรมมาก ยิ่งมีสิทธิ์ได้รับ ของขวัญเพิ่มเป็นทวีคูณ ของขวัญด้านกายภาพ ทางการแพทย์ ค้นพบว่า การถือศีลอดช่วยให้กระเพาะอาหารและระบบย่อย

อาหารทำ�งานน้อยลง และไขมันที่เป็นอันตรายต่อร่างกายก็ลดลงอีกด้วย และทำ�ให้ ภายในร่างกายส่วนอื่น ๆ ดีขึ้นตามมา ของขวัญด้านจิตวิญญาณ เพราะหัวใจคือสิ่งสำ�คัญและนี่คือเป้าหมายหลักของรอมฎอนรอมฎอนสอน

ให้เรา….มีความอดทนยับยั้งอารมณ์ใฝ่ต่ำ�รอมฎอนสอนให้เรา….มีกำ�ลังสร้างเสริม เจตนารมณ์ที่ดีรอมฎอนสอนให้เรา….มีระเบียบวินัย เพื่อหัวใจที่ยำ�เกรงต่ออัลลอฮฺ มากขึ้น และความหอมหวานแห่งศรัทธา คือของขวัญส่วนหนึ่งที่ท่านจะได้รับจากดุน ยา ที่มีค่ายิ่งนัก ป.ล. นี่ยังไม่รวมของขวัญสมนาคุณที่พระองค์อัลลอฮ์ทรงเก็บซ่อนไว้ให้กับเราในวันโลกหน้า

[

ช่องทาง

การติดต่อ

]

สามารถติ ด ต่ อ โดยตรงกั บ พระผู้ เ ป็ น เจ้ า ผู้ทรงสูงส่งผ่านทางอิบาดะห์รูปแบบต่างๆ อย่าลืมอ่านอัล-กุรอาน แผนที่เดินทางจาก ดุนยาสู่อาคิเราะฮฺ

“แล้วใยเล่าจะปล่อยให้ของขวัญอันประเสริฐหลุดลอยไป”

AHLAN RAMADHAN

45


ดุอาอฺ

DUA

1 ดุอาอฺละศีลอด

คำ�อ่าน “ซะฮะบัซ เซาะมะอุ วับตัลละติลอุรูก วะษะบาตัลอัจญ์รุ อินชาอัลลอฮฺ” ความหมาย “ความกระหายได้หมดไปแล้ว เส้นโลหิตก็เปียกชื้น ผลบุญก็ได้ รับแล้ว ด้วยความประสงค์ของอัลลอฮฺ” 2. ดุอาอฺแก่ผู้เชิญ (ให้อาหาร) ละศีลอด

คำ�อ่าน “อัฟเฏาะเราะ อินดากุมุสศออีมูน วะอะกะละ เฏาะอามะกุมุล อับร้ร วะศ็อลลัต อะลัยกุมมุล มะลาอิกะฮฺ” ความหมาย “เหล่าผู้ถือบวชได้ละศีลอดกับท่าน เหล่าผู้ประเสริฐได้ทาน อาหารของท่าน และบรรดามลาอิกะฮฺได้ขอพรให้ท่านแล้ว” 3. ดุอาอฺคืน ลัยละตุล ก็อดรฺ

คำ�อ่าน “อัลลอฮุมมะ อินนะกะ อะฟุวฺว่น ตุฮิบบุลอัฟวะ ฟะอฺฟุอันนี” ความหมาย “โอ้ผู้อภิบาลของเรา แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้อภัยยิ่งและ พระองค์ทรงรักการให้อภัย ดังนั้นขอได้โปรดประทานอภัยแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด” 46

AHLAN RAMADHAN


4. ดุอาเมื่อมีคนมาด่าทอ

คำ�อ่าน “ อินนี ศออิมุ่น , อินนี ศออิมุ่น ” ความหมาย “แท้จริง ฉันกำ�ลังถือศีลอด, แท้จริง ฉันกำ�ลังถือศีลอด ” 5. ดุอาที่ดีที่สุด (ซัยยิดุลอิสติฆฟารฺ)

คำ�อ่าน “ อัลลอฮุม อันตะร็อบบี, ลาอิลาฮะอิลละอันตะ เคาะลักตะนี วะอะนา อับดุกะ, วะอะนาอะลาอะฮฺดิกะ วะวะอฺดิกะ มัสตะเฏาะอฺตุ อะอูซุบิกะ มินชัรริมา เศาะนะอฺตุ, อะบูอุละกะบินิอฺมะติกะอะลัยยะ วะอะบูอุ บิซัมบี ฟัฆฺฟิรฺลี ฟะอินนะฮู ลายัฆฺฟิรุซุนูบะ อิลลาอันตะ ” ความหมาย “ โอ้อัลลอฮฺ พระองค์คือพระเจ้าของข้า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่แท้ จริงนอกจากพระองค์เท่านั้น พระองค์ได้สร้างข้าขึ้นมา และข้าก็เป็นบ่าวของพระองค์ แต่เพียงผู้เดียว และข้ายอมรับกับสัญญาของพระองค์ทั้งที่ดี(สวรรค์)และที่ชั่ว(นรก) ในสิ่งที่ข้าได้พยายามแล้ว ข้าขอให้พระองค์ได้โปรดขจัดสิ่งที่ไม่ดีจากการกระทำ�ของ ข้า ข้าจะกลับไปหาพระองค์ด้วยความโปรดปรานของพระองค์ที่ได้ทรงประทานให้แก่ ข้า และด้วยบาปของข้าที่ได้ก่อมันไว้ ดังนั้นขอให้พระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่ข้าด้วย เถิด เพราะแท้ที่จริงแล้วไม่มีผู้ใดที่สามารถจะให้อภัยโทษได้ นอกจากพระองค์เท่านั้น ”

AHLAN RAMADHAN

47


6. ดุอาอฺทั่วไป

คำ�อ่าน “อัลลอฮุมมะ อินนี อัซอะลุกัลฮูดา วัตตูกอว์ วัลอะฟาฟ วัลฆินา” ความหมาย “โอ้องค์อภิบาลของเรา ข้าพระองค์ขอการชี้นำ� การยำ�เกรง ความบริสุทธิ์จากตัณหา และความรู้สึกพอเพียง”

คำ�อ่าน “อัลลอฮุมมะ มัฆฟิเราะตุกะ เอาสะอฺ มินซุนูบี วะเราะหฺมะตุกะ อัรญา อิน ดี มินอะมะลี” ความหมาย “โอ้องค์อภิบาลของเรา การอภัยของพระองค์ยิ่งใหญ่กว่าบาป ของข้าพระองค์นัก ความเมตตาของพระองค์ คือสิ่งที่ข้าพระองค์หวังมากกว่าการงาน ที่ข้าพระองค์ได้ทำ�เสียอีก”

คำ�อ่าน “อัลลอฮุมมะ อาตินัฟซี ตักวาฮา วะซักกิฮา อันตะ ค็อยรุ มัน ซัก กาฮา อันตะ วะลิยฺยุฮา วะเมาลาฮา” ความหมาย “โอ้องค์อภิบาลของเรา ได้โปรดประทานความยำ�เกรงให้แก่จิตของข้า และขอพระองค์ทรงล้างมันให้บริสุทธิ์ เพราะพระองค์คือผู้ที่ดีที่สุดที่ชะล้างมันให้ สะอาด พระองค์เป็นเจ้าและผู้อภิบาลมัน”

48

AHLAN RAMADHAN


โอ้ผู้อภิบาลของเรา

แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้อภัยยิ่ง

และพระองค์ทรงรักการให้อภัย ดังนั้นขอได้โปรดประทานอภัย

แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด

AHLAN RAMADHAN

49


SALAM H อัลลอฮุอักบัร………อัลลอฮุอักบัร……. เสียงตักบีรที่แสนไพเราะดังสนั่นดัง ออกไปหลายกิโลฯ เชิญชวนให้ผู้คนลุกขึ้นจากการหลับใหล ก๊อก ก๊อก ก๊อก เสียง เคาะประตูดังขึ้นพร้อมกับให้สลามอยู่นอกบ้านประมาณ 2-3 ครั้ง ซึ่งฉันมีอาการมึนงง เล็กน้อยเพราะเพิ่งตื่นนอน ฉันเห็นคนในบ้านต่างก็วุ่นวายกับการหาเครื่องประดับ และเสื้อผ้าอาภรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการสวมใส่ ฉันจึงเดินไปเปิดประตูพร้อมกับรับสลาม อ๋อ!!! นึกว่าใคร น้าสาวสุดที่รักของฉันนี่เอง เธอส่งคำ�อวยพรให้กับฉันพร้อมกับยื่น ถุงขนมเป็นของทำ�บุญ สายตาฉันมองออกไปนอกบ้าน พร้อมกับเดินออกไปรับแสง อาทิตย์ยามเช้าที่สดใส ตรงทางเดินเล็ก ๆ ฉันก็สังเกตเห็นกลุ่มมุสลิมประมาณ 4-5 คน กำ�ลังเดินไปมัสยิด ใช่แล้ว….วันนี้คือวันฮารีรายา วันที่มุสลิมทั่วโลกต่างรอคอย วันฮารีรายาคือวันอะไร? มีความสำ�คัญอย่างไร? เรามาดูกัน

วันฮารีรายา เรียกอีกชื่อว่า วันอีด จะมีด้วยกัน 2 วันคือ 1. “วันอีดฟิตริ” หรือ “อีดิลฟิตริ” หรือ “อีดิลฟิตรฺ” 2. “วันอีดอัฎฮา” หรือ “อิดิลอัฎฮา”

อีดิลฟิตรฺ คือ วันหลังที่ได้ปฏิบัติกิจจำ�เป็นของอิสลาม คือ การถือศีลอด ใน เดือนรอมฏอน ได้แก่ วันที่หนึ่งของเดือนเชาวาล เป็นวันแห่งความรื่นเริง วันแห่งความ สุข วันแห่งการกินการดื่ม ซึ่งวันนี้เป็น วันแห่งความดีใจ ท่านนบี กล่าวความว่า “สำ�หรับผู้ถือศีลอดนั้นมีความดีใจอยู่สองครั้งคือ หนึ่ง ดีใจเมื่อถึงวันแห่ง การละศีลอดสอง ดีใจที่ได้พบกับพระผู้อภิบาลของเขาเนื่องจากเขาได้ถือศีลอด” (บันทึกโดยบุคอรีและมุสลิม) 50

AHLAN RAMADHAN


H ARIRAYA อีดที่สอง คือ อีดิลอัฏฮา อันเป็นวันที่แล้วเสร็จจากการทำ�ฮัจญฺของผู้ทำ�ฮัจญฺ ณ นครมักกะฮฺ ได้แก่วันที่ 10 ของเดือนซุลฮิจยะฮฺ เป็นวันฉลองความสำ�เร็จในการ ทำ�ฮัจญฺและมีการนำ�เนื้อสัตว์พลีไปแจกจ่ายแก่คนยากจนซึ่งถือเป็นการเอื้อเฟื้อคนใน สังคมเดียวกัน ท่านนบี ได้บัญญัติแก่ประชาชาติของท่านให้มีวันอีดหรือวันตรุษสองวัน เมื่อ ครั้งที่ท่านได้เดินทางมายังนครมะดีนะฮฺ และชาวมะดีนะฮฺนั้นมีวันรื่นเริงอยู่สองวัน ท่านนบี ก็ได้สอบถามพวกเหล่านั้นว่า “สองวันนี้เป็นวันอะไรหรือ ?” พวกเขาตอบว่า “ในสองวันนี้พวกเราถือเป็นวันรื่นเริงมาแต่ยุค ญาฮิลียะฮฺ” ท่านนบี จึงประกาศ ณ บัดนั้นว่า “แท้จริงอัลลอฮฺได้เปลี่ยนวันทั้งสอง แก่พวกเจ้าเป็นวันที่ดีและเป็นสิริมงคลกว่าแก่พวกเจ้าแล้ว คือ วันอีดิลฟิตรฺและอี ดิลอัฎฮา” (บันทึกโดยอบูดาวูด) ในสองวันอีด คือ วันอีดิลฟิตรฺและอีดิลอัฎฮานั้น ศาสนาอนุญาตให้มีการริ่นเริง ได้ตลอดสองวัน แต่ต้องเป็นการรื่นเริงที่ไม่ทำ�ให้ลืมอัลลอฮฺ หมายถึง ต้องไม่เป็นการ รื่นเริงที่กระทำ�สิ่งที่ผิดศาสนา แต่ต้องแสดงออกในความดีใจที่อยู่ในกรอบแห่งศาสนา เท่านั้น เพราะการรื่นเริงหลังเหน็ดเหนื่อยจากการปฏิบัติศาสนกิจมานั้น ต้องไม่ทำ�สิ่ง ใดที่จะเป็นการทำ�ลายผลแห่งการทำ�ดีก่อนหน้านี้ด้วย

AHLAN RAMADHAN

51


มารยาทวันอีดิลฟิตรฺ

1. ปฏิบัติศาสนกิจต่าง ๆ นับแต่คืนวันอีด ด้วยการซิกรุลลอฮฺ ละหมาด และ อ่านอัลกุรอาน 2. อาบน้ำ� แปรงฟัน ใส่น้ำ�หอม และแต่งตัวด้วยชุดใหม่หรือที่สวยที่สุดเท่าที่มี 3. กล่าวตักบีรให้มากนับแต่คืนวันอีดจนรุ่งเช้าเข้าละหมาด 4. จัดออกซะกาตฟิตเราะฮฺแต่เช้าก่อนละหมาดอีด และอนุญาตให้ออกซะ กาตได้เมื่อเริ่มเข้ารอมฏอน 5. ทำ�กุศลทานให้มาก ด้วยการบริจาคแก่คนยากจน แม่หม้าย กำ�พร้า และผู ้ ด้อยโอกาส 6. แสดงออกถึงความดีใจและร่าเริงโดยทางใบหน้าและพฤติกรรม 7. เดินทางไปละหมาดอีดที่มัสยิดตั้งแต่เช้า และควรเดินไปทางหนึ่งและกลับ อีกทางหนึ่ง เพื่อให้บรรดามลาอิกะฮฺจะได้เป็นพยานให้ทั้งสองเส้นทาง 8. ควรรับประทานอาหารเล็กน้อย ก่อนจะไปละหมาดอีดที่มัสยิด 9. ร่วมละหมาดอีด และควรให้ล่าช้าเล็กน้อย เพื่อให้ผู้ที่ยังไม่ได้ออกซะกาต ฟิตเราะฮฺได้จัดการ ให้เรียบร้อย เมื่อละหมาดแล้วก็ควรฟังคุตบะฮฺจนแล้ว เสร็จ เพื่อได้กุศลในการฟังธรรม และได้ประโยชน์ ในการนำ�ไปปฏิบัติ 10. ให้สลามแก่ครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนสนิทมิตรสหาย เพื่อนบ้าน และ ทักทายต่อกันด้วยคำ�ว่า “ตะก๊อบบะลัลลอฮุ มินนาวะมิงกุม” 11. ออกเยี่ยมเยียนพ่อแม่ ญาติพี่น้อง ครูอาจารย์ เพื่อน ๆ 12. เพิม่ การทำ�ดีและทำ�การกุศลให้มากเป็นทวีคณ ู รวมทัง้ ละการทำ�บาปทุก รูปแบบเพราะเมื่อเป็นวันดีก็ควรทำ�ดีเป็นการให้เกียรติต่อวันสำ�คัญทาง ศาสนามารยาทวันอีดิลอัฎฮา

มารยาทที่พึงปฏิบัติในวันอีดิลอัฎฮานั้น ก็เป็นเหมือน เช่น มารยาทในวันอี ดิลฟิตรฺ เพียงมีข้อสังเกตบางอย่างเพิ่มเติม ดังนี้

1. ให้มีการตักบีรหลังละหมาดประจำ�วัน นับแต่คืนวันอีดจนกระทั่งเวลาอัศริ ของวันที่สามของวันตัซรีก คือ นับต่อจากวันอีดอีกสามวัน 52

AHLAN RAMADHAN


2. รีบทำ�การละหมาดอีดแต่เช้า เพื่อจะกลับมาเชือดกุรบาน 3. ไม่ต้องรับประทานอาหารก่อนการละหมาดอีดอัฎฮา 4. ให้เชือดสัตว์เป็นกุรบานสำ�หรับผู้มีความสามารถ 5. จัดการแบ่งสัดส่วนเนื้อกุรบานเป็นสามส่วน ดังนี้ หนึ่งส่วน ให้ตนเองและ ครอบครัว ส่วนที่สอง ให้ญาติสนิทมิตรสหาย และส่วนที่สาม ให้แก่ คนยากจนอนาถา

โอ๊!!!!!!! ฉันสายแล้ว ทุก ๆ ปีของวันฮารีรายาฉันเป็นคนสุดท้ายที่ได้อาบ น้ำ� เพราะฉันเป็นคนชอบนอนตื่นสาย แม่ตะโกนถามฉันว่า “เสร็จหรือยัง” ในทุก ๆ 10นาที ซึ่งเป็นเป็นสิ่งที่ฉันเบื่อมากที่สุด ว๊าว!!!!!! เสื้อโต๊ปของฉันมันเหมาะสมกับฉันจริง ๆ มันมีสีเหลืองอมทอง พร้อมหมวกสีขาวที่สวยงาม “เสร็จแล้วครับแม่” ฉันแต่งตัวประมาณ15นาที พร้อม กับนำ�ขนมที่แม่ฉันเตรียมไว้ไปขึ้นรถแล้วก็เดินทางไปมัสยิด ฉันไปถึงมัสยิดสายมาก ๆ เพราะตอนนั้นอีหม่ามกำ�ลังจะละหมาดร่วมกันพอดี หลังจากละหมาดเสร็จก็ฟังอี หม่ามอ่านคุตบะฮฺจนเสร็จสิ้น จากนั้นฉันก็เห็นการตั้งแถวที่ยาวมากที่สุดที่ฉันเคยเห็น พร้อมกับใบหน้าที่สดใสของเด็กที่ยืนเข้าแถวรับเงินจากผู้ใหญ่ใจดีในหมู่บ้าน และเด็ก เหล่านี้ก็จะนั่งเป็นรูปวงกลมเพื่อนับเงินกันอย่างสนุกสนาน วันสำ�คัญเช่นนี้จะมีทั้งเสียงหัวเราะและร้องให้สำ�หรับการขออภัยโทษจากผู้ท่ี เราล่วงเกินทั้งกาย วาจา และใจ ลูกขออภัยจากพ่อแม่ ภรรยาขออภัยจากสามี ซึ่งต่าง ก็มีทั้งเสียงหัวเราะและร้องให้ในวันเดียวกัน หลังจากนั้นที่บ้านของฉันก็จะมีผู้คนเข้า ออกมากมาย ทั้งญาติสนิทมิตรสหายที่อยู่ใกล้ไกล แขกผู้ใหญ่ที่มาให้คำ�อวยพร วันฮารีรายาเป็นวันที่ฉันอิ่มในทุก ๆ เวลา เพราะจะได้กินแกงบ้านบุญและ ขนมที่เพื่อนข้างบ้านทำ�บุญมาให้ ตกค่ำ�เมื่อญาติสนิทมิตรสหายและแขกผู้ใหญ่เดิน ทางกลับ ลานหน้าบ้านก็ปราศจากรถยนต์หลากสีสันก็กลับกลายมาเป็นพื้นหญ้าที่ เขียวขจีตามปกติ หลังจากนั้นก็เป็นลำ�ดับของครอบครัวที่จะได้มานั่งคุยกันอย่างเป็น ทางการ รวมเรื่อง ทุกข์ สุขต่าง ๆ มากมายที่ทุกคนเคยได้เจอก็นำ�มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งวัน AHLAN RAMADHAN

53


ฮารีรายาใช่ว่าจะถือแต่เป็นเรินเริงเท่านั้น แต่ยังเป็นวันแห่งการปรับความเข้าใจ เป็น วันของครอบครัวมุสลิม เป็นวันแห่งการให้ และอีกต่าง ๆ มากมาย ซึ่งสิ่งดี ๆ ก็เกิดใน วันสำ�คัญที่เราเรียกว่า...

ฮารีรายอ ^_^

54

AHLAN RAMADHAN


First time ..แคคตัส..

ศีลอดครั้งแรกของมุอัลลัฟ (มุสลิมใหม่)

“ ถือศีลอด / บวช / ปอซอ / ศิยาม ” หากได้ยินคำ�เหล่านี้แล้ว สิ่งที่หลาย ๆ คน คิดก็คงหนีไม่พ้นการอดข้าว อดน้ำ� อดอาหารทุกสิ่งอย่าง แต่ความจริงแล้วมันมีอะไร มากกว่าสิ่งเหล่านั้นที่คุณคิด... หากได้ลองเปิดใจ ^^ สำ�หรับมุสลิมส่วนใหญ่แล้วอาจจะเป็นสิ่งที่ง่ายในการถือศีลอด คงเป็นเพราะ ได้ฝึกฝนมาตั้งแต่เด็ก ๆ ทำ�ให้ร่างกายสามารถปรับไปเรื่อย ๆ แต่สำ�หรับคน ๆ หนึ่งที่ เป็นมุสลิมใหม่ (มุอัลลัฟ) ก็คงไม่ใช่เช่นนั้น ...นาฟิน ช้อนทอง หนึ่งในมุสลิมใหม่ ที่ได้เข้ารับอิสลามจากการเริ่มศึกษาศาสนาคริสต์ ทำ�ให้เกิดคำ�ถามมากมาย และได้ศึกษาไปเรื่อย ๆ จนสุดท้ายอิสลามได้ให้คำ�ตอบแก่ เธอ... นาฟิน เด็กหญิงคนแรกและคนเดียวที่คลุมฮิญาบในร.ร. ชื่อดังย่านกทม. เธอได้ มาพูดคุยเล่าประสบการณ์การถือศีลอดครั้งแรกในชีวิตผ่านตัวอักษร เธอเล่าว่า “ ก่อนเข้ารับอิสลามก็คิดว่ายากเหมือนกัน ไม่กินข้าวมื้อเดียวก็หิวแล้ว นี่น้ำ� สักหยดก็ห้ามแตะ คิดว่ายากแน่ๆ” และเชื่อว่าหลาย ๆ คนก็คงมีความคิดไม่ต่างจาก เธอ... แต่เธอก็ผ่านจุด ๆ นั้นมาได้ โดยที่เธอได้เล่าว่า “ การเตรียมตัวอย่างแรกคือ เรา ต้องตั้งใจ เนียต (เจตนา) ให้ดีว่าเราทำ�เพื่ออัลลอฮฺ และสิ่งที่อัลลอฮฺสั่งใช้ต้องส่งผลดี ต่อเราแน่นอน เราได้ทั้งผลบุญ ได้ทั้งจิตใจที่สะอาดและร่างกายที่แข็งแรงกลับมา เรา จึงต้องตั้งใจให้มาก ๆ สุดท้ายเราก็ผ่านไปได้จริง ๆ ตอนแรกตั้งใจไว้แน่วแน่ว่ายังไงจะ ทำ�ให้ได้ และก็ทำ�ได้จริง ๆ ” Masha Allah !! เด็กผู้หญิงคนนี้ได้ผ่านก้าวแรกใน สิ่งที่ตนและใคร ๆ ก็คิดว่ามันยาก ด้วยความช่วยเหลือจากพระผู้อภิบาลผู้ทรงเมตตา ผู้ทรงปราณี ผ่านมาได้อย่างไรนั้นหรอ??

AHLAN RAMADHAN

55


“ถือศีลอดตอนแรกก็รู้สึกอึดอัดบ้าง ต้องควบคุมตัว เองทั้งกิริยามารยาทต่าง ๆ ช่วยให้รารู้สึกถึงคนที่ไม่มีอาหารกินจริง ๆ ” รู้สึกอย่างไรเมื่อได้ถือศีลอด??

นอกจากนี้แล้วเธอยังได้บอกถึงสิ่งที่ได้รับจากการถือศีลอด “มีคนทักว่าหน้า ใสขึ้น..^^ และจากตัวเราทำ�ให้เรารู้สึกเห็นใจคนที่ไม่มีอาหารกินจริง ๆ เพราะเราได้ รับรู้ความรู้สึกของพวกเขาในตอนที่เราถือศีลอดแล้ว” Alhamdulillah… ยินดีกับน้องนาฟินด้วยนะคะ ที่ได้รับความโปรดปรานจากอัลลอฮฺ ถูกเลือกให้เป็นหนึ่งในผู้ศรัทธา ....และรอมฎอนปีนี้ก็เป็นการครบรอบ 1 ปีกับการเป็นมุสลิมของเธอ...ขอ พระองค์ทรงเพิ่มพูนความดีงามแด่เธอ..อามีน.. ญาซากิลลาฮุค็อยร็อนน้องนาฟิน.. ที่ได้ร่วมแชร์ประสบการณ์ในครั้งนี้ และ ก็ขอเป็นกำ�ลังใจแด่ผู้ที่กำ�ลังเปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่ออัลลอฮฺ... เพียงแค่คุณเปิดหัวใจ... แล้วจะพบถึงสิ่งสวยงามของอัล-อิสลาม.. และอย่าลืมเปิดโอกาสให้รอมฎอนเข้ามา เปลี่ยนแปลงชีวิตคุณ

“...แท้จริงอัลลอฮฺจะมิทรงเปลี่ยนแปลงสภาพของชนกลุ่มใด จนกว่าพวกเขาจะเปลี่ยนแปลงสภาพของพวกเขาเอง...” (อัรเราะอฺดุ : 11)

56

AHLAN RAMADHAN


L

L

ข้อควรคิด

ขอให้เห็นความสำ�คัญของอาคีเราะฮฺ มากกว่าดุนยา

ขอให้เห็นความสำ�คัญของกูโบร์ มากกว่าตึกราบ้านช่อง

ขอให้เห็นความสำ�คัญของการดูแลภายใน (จิตใจ) มากกว่าการดูแลภายนอก (ร่างกาย)

ขอให้เห็นความสำ�คัญของการตำ�หนิ ตนเองมากกว่าตำ�หนิผู้อื่น

ขอให้เห็นความสำ�คัญของการรับใช้อัลลอฮฺ (ซ.บ.) มากกว่าการรับใช้มัคลุค (สิ่งถูกสร้าง)

ขอให้สะสมเสบียงเพื่อโลกหน้า มากกว่าการสะสมเสบียงเพื่อโลกนี้

AHLAN RAMADHAN

57


AHLAN

RAMADHAN เราเฝ้ารอคอยอยู่เสมอ




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.