วันปฏิบัติการเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย
60 ปี แห่ง
การกดขี่ และ
คุกคามสิทธิและเสรีภาพ ใน
ประเทศไทย จัดทำโดย . . จรรยา ยิ้มประเสริฐ
สำหรับสหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน Union for People’s Democracy (UPD) 1
คำนำ ความสำเร็จในการทำรัฐประหารโค่นรัฐสภาของประชาชนเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่ตามมาด้วย การปราบปรามและสังหารประชาชนอย่างเหี้ยมโหดบนท้องถนนเมื่อเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 จะส่งผลให้เกิดการทำรัฐประหารครั้งที่ 10 พร้อมกับตัวเลขผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นได้อีกหรือไม่? รายงานฉบับนี้ ได้นำข้อมูลที่กระจัดกระจายอยู่ในที่ต่างๆ เพื่อมาเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นถึงความตึง เครียดที่น่าวิตกกังวลยิ่ง ระหว่างสองขั้วอำนาจในเมืองไทย สถาบันพระมหากษัตริย์กับสถาบันรัฐสภา ของประชาชน ความตึงเครียด ที่จำเป็นจะต้องหันมาเผชิญความจริงด้วยการใช้เหตุผลโดยปราศจาก ซึ่งอคติและความลำเพียงจากทุกฝ่าย ถ้าต้องการให้การบริหารบ้านเมืองของไทยจะพัฒนาเติบโตก้าว หน้าในนามแห่งสันติภาพและการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตรงกลางระหว่างสองขั้วอำนาจที่แข่งขันกันอยู่นี้ มันได้ถูกยึดมั่นด้วยกองทัพไทยที่ใหญ่โตเกินความจำเป็น ที่สนใจเพียงการรักษาไว้ซึ่งอำนาจของเหล่าทัพ ด้วยการเล่นเกมส์ “ปกป้องสถาบัน” จาก “นักการเมือง คอรัปชั่น” การตัดสินใจของเราในการลุกมาทำข้อมูลเหล่านี้ หลังจากเหตุการณ์เดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 เพื่อพยายามที่จะเติมเต็มช่องวางของข้อมูลสาธารณะเกี่ยวกับชีวิตวีรชนที่ร่วงหล่นจากการต่อสู้เพื่อประชา ธิปไตย ได้ค่อยๆ เป็นเครื่องตาสว่างไปในท้ายที่สุด - แม้แต่กับนักกิจกรรมเฉพาะกิจ ไม่ใช่เพราะว่าจำนวน ของชีวิตที่ถูกสังหารภายใต้การเมืองบนลงล่าง แต่เพราะว่าความรุนแรงต่อเนื่องของความโหดร้ายในการ สังหารประชาชนมาตลอด 6 ศตวรรษในเมืองไทยภายใตพระประมุของค์ปัจจุบัน ในเอกสารชุดนี้เกี่ยวกับ “ดินแดนแห่งรอยยิ้ม” เราได้นำข้อมูลนับตั้งแต่ปี 2490 ที่แสดงให้เห็นว่ามี ประชาชนร่วม 11,000 คน ที่ถูกสังหารไม่ว่าด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง เนื่องมาจากการต่อสู้เพื่อเรียกร้องการมี ส่วนร่วมตามกระบวนการประชาธิปไตย ร่วม 6 ทศวรรษ ผู้กุมอำนาจในเมืองไทยได้ทำทุกวิถีทางที่จะปก ปิดร่องรอยของการเข่นฆ่าสังหารประชาชนทางการเมืองด้วยการนิรโทษกรรม และจำเป็นจะต้องทำความ เข้าใจว่า ตัวเลข 11,000 คนนี้ อาจจะไม่ถึงครึ่งหรือเพียงหนึ่งในสามของตัวเลขที่แท้จริงของผู้ที่ได้เสียสละ เพื่อการเมืองไทย การพัฒนาอย่างยั่งยืน กับความรุนแรงจากการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐในนามเพื่อปกป้อง “ชาติ(เขตแดน) ศาสนา(พุทธ) และกษัตริย์” มันเข้ากันไม่ได้
2
ผู้ปกครองและเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูงในประเทศไทย จำเป็นจะต้องเผชิญหน้าหรือถูกทำให้ต้องเผชิญหน้า กับการเมืองระบอบศักดินาของพวกเขา และประชาคมนานาชาติ จำเป็นจะต้องเข้าใจว่า เช่นเดียวกับพม่า ถ้าพวกเขาไม่ยอมใส่ใจต่อความจริงเบื้องหลังรอยยิ้ม ความเจ็บปวดเบื้องหลังรอยยิ้มทั้งหลายจะเพิ่มขึ้น เป็นอย่างมาก หลังจาก 60 ปี ภายใต้ระบบ “ทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ที่ปิดกั้นเสรีภาพอย่างรุนแรง และทำ การล้างสมองประชาชนด้วยการอัดฉีดความคิด “คนดี” หรือ “คนไทยแท้” ประชาชนในประเทศไทยกำลัง เผชิญหน้ากับวิกฤติแห่งการจำเป็นต้องสร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง จำเป็นจะต้องท้าทายต่อวัฒนธรรมวิถี แห่งการสยบยอมต่ออำนาจ และการสูญสิ้นความสามารถที่จะพูดความจริง ตามที่คนไทยต่างพูดกันว่า “ความจริงกินไม่ได้แต่ตายได้” ข้อมูลทั้งหลายในรายงานชุดนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า สำหรับประชาชนคนธรรมดา ต่างก็หวาดกลัวต่อการ ถูกทำให้เป็นเหยื่อทางการเมืองที่นำความตายมาสู่ตัวพวกเขาได้และรวมทั้งเหตุผลว่าทำไมประชนในดิน แดน “อเมซิงไทยแลนด์” ไม่สามารถพูดความจริง และทำไมข้อมูลในรายงานชุดนี้ จึงไม่เคยถูกนำมารวม กันไว้อยู่ด้วยกันเช่นนี้มาก่อน กระนั้นก็ตาม แม้ว่าจะอยู่ภายใต้ 60 ปีแห่งการกดขี่และคุกคามเสรีภาพ การลุกขึ้นสู้ของประชาชนหลังจาก รัฐประหาร 2549 แสดงให้เห็นว่าขบวนการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยที่ได้เริ่มต้นในปี 2475 ที่ยุติระบอบการ เมืองสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ยังคงดำรงอยู่และเข้มแข็งอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน ก้าวต่อไปในขบวนการสร้าง “ประชาธิปไตยของไทย” คือการต้องยกเลิก “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชา นุภาพ” ที่ถูกใช้เป็นเครื่องมือของชนชั้นปกครองออกไปให้ได้ จรรยา ยิ้มประเสริฐ กลุ่มแอคชั่นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย (ACT4DEM) เลขาธิการ สหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน savethailand@gmail.com
3
สารบัญ หน้า คำนำ
2
ผู้เสียชีวิตจากการเมืองไทย ทั้งการฆาตกรรม และสังหารหมู่ประชาชนนับตั้งแต่ปี 2490 4 นักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
34
ภาคผนวก จดหมายจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพถึงนายกรัฐมนตรี
48
Thailand: Free Somyot Prueksakasemsuk!
50
คำประกาศสหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน
53
เบื้องหลังวิกฎตประเทศไทย
62
ข้อมูลเพิ่มเติม www.timeupthailand.net 4
ผู้เสียชีวิตจากก๊ืรนื ารเมืองไทย ทั้งการฆาตกรรม และสังหารหมู่ประชาชน นับตั้งแต่ปี 2490 Political assassinations, extra-judicial killings and murders from 1947
นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (2411 2453) ได้ขับเคลื่อนสู่การรวมศูนย์อำนาจการเมือง และการ เก็บภาษีเข้าวังหลวง ประชาชนหลายพันคนต้องสังเวย ชีวิตในการต่อสู้เพื่อระบอบประชาธิปไตย และเพื่อสิทธิการ มีตัวแทนในการบริหารบ้านเมือง
แม้แต่ทุกวันนี้ ณ ยามนี้ ในเดือนกันยายน 2554 ยังไม่มีราย งานที่แน่ชัดจากรัฐบาลเกี่ยวกับว่าเพราะเหตุใดประชาชน ร่วม 90 คน จึงถูกยิงเสียชีวิตโดยกองทหารไทยเมื่อเดือน เมษาถึงพฤษภา ปี 2553 รายงานล่าสุดของคณะกรรมการ อิสระตรวจสอบค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ก็เขียนอ้อมไปอ้อมมาไม่ยอมพูดถึงการนำตัว ผู้กระทำผิดมารับผิดชอบ
นับตั้งแต่การพยายามจะฝังกลบประชาธิปไตยในปี 2490 การบันทึกตัวเลขที่แน่ชัดเกี่ยวกับประชาชนที่ต้องสูญเสีย ชีวิตเพราะการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมีเพียงน้อยนิด ภาพ รวมตัวเลขผู้สูญเสียที่รวบรวมได้จากแหล่งต่างๆ ที่พอจะสืบ คนได้ชี้ให้เห็นว่า นับตั้งแต่ 2490 ประชาชนสองหมื่นถึง สามหมื่นคนได้ถูกฆาตกรรม สังหารโหด หรือถูกอุ้มหาย
ยังไม่มีผู้ใดรับผิดชอบต่อการยั่วยุให้ม๊อบรอยัลลิสต์บุกยึด สนามบินนานาชาติและทำเนียบรัฐบาลจนเสียหาย นปช. (คนเสื้อแดง) พยายามที่จะยื่นเรื่องฟ้องร้องอดีตนายก รัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ในการอนุญาต “เขตกระสุนจริง” ต่อศาล อาญาระหว่างประเทศ แต่ประเทศไทยยังไม่ให้สัตยาบัญ ศาล และดูเหมือนว่าจะยังคงไม่ให้ สัตยาบัญในระยะเวลา อันใกล้ เมื่อผู้นำหลายคนในเมืองไทยต่างก็มีข้อกล่าวหา เรื่องการคอรัปชั่นและการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ปรากฎการณ์ที่เด่นชัดของการเสียชีวิตจากการเมืองไทย ทั้งการฆาตกรรม และสังหารหมู่ประชาชน ที่รู้เห็นเป็นใจ จากรอยัลลิสต์ คือ มันถูกทำให้ลอยหายไปกับสายน้ำเจ้า พระยาในนามปกป้องพระมหากษัตริย์
ประชาชนในประเทศไทยมีช่องทางไม่มากนักที่จะดึงความ สนใจของประชาคมโลกมาสุ่ความจริงอันโหดร้ายที่ซ่อนอยู่ หลังฉากแห่งการแสดงอันยิ่งใหญ่อลังการของผู้มีอำนาจ ในเมืองไทย
การเสียชีวิตทางการเมืองจำนวนมากจะถูกบันทึกว่าเป็น เพราะอุบัติเหตุรถชนกัน ขัดผลประโยชน์ส่วนตัว หรือฆ่าตัว ตาย เป็นต้น จากข้อมูลที่สืบค้นได้ ภาพรวมประชาชน และ นักกิจกรรมเพื่อสังคมที่ถูกสังหารนับตั้งแต่ปี 2490 บ่งชี้ ให้เห็นว่าน่าจะมีจำนวนผู้เสียชีวิตระหว่าง 20-30,000 คน
ทำไมในประเทศที่มีกำลังตำรวจถึงสองแสนนาย และมีราย งานงบประมาณเพื่อการบริหารประเทศจำนวนมหาศาล เพียงแค่การจะทำรายงานแบบคลุมเคลืออย่างซื่อสัตย์บ้าง เกี่ยวกับการใช้อำนาจในทางที่ผิดก็เป็นเรื่องทำได้ยากเย็น?
มีผู้บริสุทธิ์จำนวนมากเท่าใด ที่ถูกเข่นฆ่าตลอดช่วงหลายปี แห่งความสับสนอลม่านแห่งยุคสงครามเย็น และผลจากการ ขับเคลื่อนการพัฒนาชนบทโดยการสนับสนุนจากเงินทุนสห รัฐอเมริกาและธนาคารโลกยามที่ ต้องเผชิญหน้ากับการต่อ ต้านจากชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ รัฐบาลทหารในช่วง ระยะเวลานี้ไม่ใส่ใจอยู่แล้วที่จะทำการบันทึกจำนวนผู้เสีย หายและเสียชีวิต และพวกผู้นำทหารเหล่านี้ต่างก็ได้รับ การนิรโทษกรรม
สิ่งที่น่าทึ่งมากเกี่ยวกับประเทศไทยคือความชำนาญการใน หมู่เจ้าหน้าที่ระดับสูงที่ใช้อำนาจเบ็ดเสร็จ ที่สามารถปกปิด พฤติกรรมการฉ้อฉลและการโกหกอย่างโจ่งแจ้ง และมีความ เก่งกาจในการซ่อนข้อเท็จจริง
5
ในความเป็นจริงการรายงานความจริงจากข้าราชการในพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่สามารถทำได้ เพราะว่ามันจะ ทำให้ราชอาณาจักรดูเป็นตัวตลก และการรายงานอย่าง ตรงไปตรงมาของกลไกรัฐฯ จะสร้างความเสื่อมเสียต่อทุก ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลกิจการพระราชสำนัก
สละของคนทำงานทั้งหลายที่สูญเสียไปในการต่อสู้เพื่อ ความเป็นธรรมและต่อต้านเผด็จการ จำเป็นจะต้องเป็นที่ รับรู้ ได้รับการยกย่องเชิดชู และการนับถือจากสังคม 1973
ประเทศไทยมีอาหารมากมายเกินพอที่จะเลี้ยงทุกคนในประ เทศ และนอกเหนือจากนั้น ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา ประเทศไทยยังได้รับเงินช่วยเหลือด้านการพัฒนาและเงินกู้ ยืมเพื่อการพัฒนาประเทศจากสถาบันการเงินระหว่างประ เทศต่างๆ และอีกมากมาย
1973
แต่เพราะเหตุใดประชาชนกว่าครึ่งหนึ่งประเทศยังคงเรียก ร้องถามหาความยุติธรรม? นี่เป็นคำถามแห่งความจงรัก ภักดีที่จำต้องถามต่อองค์เอกกษัตริย์ กระนั้นคำถามคำตอบ ที่ประชาชนได้รับอยู่บ่อยครั้งมักจะเป็นลูกปืนจากกองทัพ และตำรวจไทย - เช่นเดียวกับทีเกิดขึ้นในปี 2516, 2519, 2535, 2552 และ 2553
1976
คำถาม จึงไม่ได้อยู่ว่าเมื่อไรจึงจะมีการทำการศึกษาวิจัย อย่างแท้จริงว่าใครฆ่าประชาชน และทำไมถึงฆ่า แต่เป็น คำถามที่ว่า ทำไมการศึกษาเรื่องนี้จึงเริ่มต้นขึ้นไม่ได้? เพราะเหตุใดในประเทศที่อุดมสมบูรณ์ในทุกด้าน การลุกขึ้น เรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนจึงยังเต็มไปด้วยคราบ เลือดเช่นนี้ในทศวรรษที่ 21
1976
ข้อมูลที่รวบรวมมา ณ ที่นี่ได้บ่งชี้ให้เห็นถึงความเจ็บปวด อันมากมายที่อยู่เบื้องหน้ารอยยิ้มเยาะความเป็น “คนอื่นใน ประเทศไทย” มันเป็นความพยายามที่จะบ่งชี้ให้เห็นว่าจำ เป็นจะต้องมีการสอบสวนว่าภายใต้ฉาบผิวแห่ง “ความเป็น ไทย” ประวัติศาสตร์ไทยจำนวนมากน้อยแค่ไหนที่จำจะต้อง ถูกชำระสะสางกันขึ้นมาใหม่ บันทึกชิ้นนี้พยายามที่จะชี้ให้เห็นถึงความจริงว่า ถ้าประเทศ ไทยต้องการพัฒนาเป็นประเทศที่สันติสุข ชีวิตและการเสีย
1992
6
2491
400
เหตุการณ์ปะทะระหว่างตำรวจและชาวบ้านดุซงญอ ตำบลจะแนะ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ถูกบันทึกใน ประวัติศาสตร์ว่าเป็นเหตุการณ์ บถดุซงญอ ชาวบ้านกว่า 400 คน และตำรวจ 40 คน เสียชีวิตจากการปะทะครั้งนี้ นักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดจากความเข้าใจผิดของตำรวจที่คิดว่าการที่ชาวบ้านรวมตัวฝึกอาวุธ ป้องกันโจรที่เข้ามาปล้นเป็นการกระด้างกระเดื่องกับรัฐ และได้ใช้กำลังเข้าปราบปรามอย่างโหดร้าย 28 เมษายน 2491
2492
6
หลังจากจอมพล ป.ปราบกบถวังหลวงได้ ก็มีการส่งหน่วยล่าสัมหาร ตามสังหารแกนนำผู้มีส่วนร่วมในเหตุการณ์ ผุ้สนับสนุนปรีดีคนสำคัญ 5 คน เสียชีวิตในขณะที่ยังถูกใส่กุญแกมือ และอีกหนึ่งท่านถูกสังหารตามยคำสั่งของ พลตำรวจเองเผ่า ศรียานนท์ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์
ถูกยิง อดีต ส.ส.จังหวัดอุบลราชธานี พรรคสหชีพ และเป็นอดีตรัฐมนตรีถึง 6 สมัย,
นายถวิล อุดล
ถูกยิง อดีต ส.ส.จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นอดีตรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลนายทวี บุณยเกตุ,
นายจำลอง ดาวเรือง
ถูกยิง อดีต ส.ส.จังหวัดมหาสารคาม
ดร.ทองเปลว ชลภูมิ
ถูกยิง อดีต ส.ส.จังหวัดนครนายก และเลขาธิการพรรคแนวรัฐธรรมนูญ
พันตรีโผน อินทรทัต
ถูกตำรวจยิง รอง ผอ.โรงงานยาสูบ โฆษกคณะปฏิวัติ(กบถวังหลวง) 2492
พ.ต.อ บรรจงศักดิ์ ชีพเป็นสุข ถูกยิง ผู้บังคับการตำรวจสันติบาลที่เข้าร่วมในเหตุการณ์กบถวังหลวงปี 2492
2495
6
เตียง ศิริขันท์ รัฐมนตรีและแกนนำพรรคสหชีพ และพวกรวม 5 คน ถูกเชิญตัวไปสบสวนที่สันติบาล ก่อนที่จะถูกสังหารโหดที่บ้านเช่าพระโขนงทีละคน และนำศพไปเผาทำลายที่ตำบลแก่งเสิ้ยน อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เตียง ศิริขันท์ ถูกฆ่ารัดคอและเผาศพทิ้ง รัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคสหชีพ นายสง่า ประจักษ์วงศ์ ถูกสังหารโหด พนักงานขับรถ นายชาญ บุนนาค ถูกสังหารโหด ลูกน้องคนสนิทของนายปรีดี พนมยงค์ นายน้อย บุนนาค ถูกสังหารโหด นายผ่อง เขียววิจิตร ถูกสังหารโหด ฮัจญีสุหลง ผู้นำมุสลิมจากปัตตานี ท่ีตั้งคำถามกับนโยบาย “เชื้อชาติไทยนิยม” ของรัฐไทย เขาถูกจับกุมในปี 2491 และได้รับการปล่อยตัวในปี 2495 และถูกฆาตกรรมอย่าง ลึกลับในปีเดียวกันนั้น
2496 อารีย์ ลีวีระ
1 ถูกยิงเสียชีวิตที่เรือนพัก เขาเป็นเจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์ "สยามนิกร" และ "พิมพ์ไทย" และอดีตนายกสมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย 2 สมัย(ระหว่าง พ.ศ. 7
2491 – 2494) ถูกยิงโดยตำรวจยศสิบโท และพลตำรวจอีก 4 นาย จากกองกำกับ การจังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งอ้างคำสั่งของ พ.ต.ท. ศิริชัย กระจ่างวงศ์ ซึ่งเป็นหนึ่งในนาย ตำรวจอัศวินแหวนเพชร ลูกน้องของ พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์
2498
3
17 กุมภาพันธ์ ประหารชีวิตโดยการยิงเป้า เพื่อปิดคดีลอบปลงพระชนม์ของในหลวงอานันท์เมื่อเดือนมิถุนายน 2489 สามคนที่ถูกประหารชีวิตได้แก่ เฉลียว ประทุมรส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกคณะราษฎร เพื่อนสนิทของปรีดี ชิต สิงหเสนี มหาดเล็กห้องพระบรรทมในหลวงอานันท์ บุศย์ ปัทมศริน มหาดเล็กห้องพระบรรทมในหลวงอานันท์
2502 ปีที่จอมพลสฤษดิ์มอบอำนาจสิทธิ์ในการฆ่าให้กับตัวเอง
13
ศิลา วงศ์สิน
ถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยมาตรา 17 เขาเป็นแกนนำกบถผีบุญที่โชคชัย โคราช 20 มิถุนายน
ชาวบ้าน 11 คน
ถูกตำรวจยิงเสียเสียชีวิตเมื่อเข้าไปจับตัวศิลา และกวาดล้างหมู่บ้านในข้อหาเป็นกบถผีบุญ 20 มิถุนาย
ศุภชัย ศรีสติ
ถูกตัดสินประหารด้วยมาตรา 17 ที่ประกาศโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตน์ เขาเป็นแกนนำ กรรมกรที่กล้าท้าทายอำนาจเผด็จการสฤษดิ์อย่างกล้าหาญ 30 มิถุนายน
2504 ครอง จันดาวงศ์
2 ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า ด้วยข้อกล่าวหามีการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ ครูครอง เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากจังหวัดสกลนคร และเป็นเพื่อนสนิทของ เตียง ศิริขันธุ์ จากพรรคสหชีพ ที่ถูกสังหารโหดในปี 2495 31 พฤษภาคม
ทองพันธ์ สุทธิมาศ
ถูกยิงเป้า ทองพันธ์เป็นครูประชาบาลเพื่อร่วมอุดมการณ์กับครูครอง เขาถูกจับกุมพร้อมกับครองและชาวบ้านภูพานอีก 148 คน ในข้อหามีการกระทำอัน เป็นคอมมิวนิสต์ 31 พฤษภาคม
ครองกับทองพันธ์ถูกประหารชีวิต คนอื่นๆ ถูกตัดสินจำคุกคนละ 5 ปี ภรรยาและลูกของครองถูกจับกุมด้วยเช่นกัน ในขณะที่ลูกสองคนของเขาหลบหนีไปต่างประเทศ
2505 รวม วงพันธ์
1 ถูกยิงเป้า เขาเป็นนักจัดตั้งพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย เขาเปล่งเสียงก่อน กระสุนจะสังหารเขาว่า"จักรพรรดินิยมอเมริกาและเผด็จการสฤษดิ์ จงพินาศ !!!...ประชาชนไทย จงเจริญ จงเจริญ !!!...." 24 เมษายน
2509 จิตร ภูมิศักดิ์
1 ถูกยิงโดยตำรวจในหมู่บ้านเชิงเชาภูพาน (5 พฤษภาคม) เขาเป็นนักคิด นักเขียน นักแปล กวี ที่มีชื่อเสียง ผลงานและบทเพลงที่เขาแต่งยังเป็นงานวรรณกรรมร่วมสมัยอยู่จนถึงปัจจุบัน 8
2514 – 2416
3,000
ชาวบ้าน 3,000 กว่าคนที่จังหวัดพัทลุง ถูกสังหารอย่างเหี้ยมโหดโดยทหารไทย บางคนถูกเผาทั้งเป็น ในถังน้ำมัน หรือจับใส่ถุงผลักลงจากเฮลิคอปเตอร์ หรือผลักลงมาจากยอดเขา 2 กุมภาพันธ์ 2519 นายพินิจ จารุสมบัติ รองเลขาธิการฝ่ายการเมือง ศูนย์นิสิตฯ พร้อมด้วยผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ เดินทางไปพิสูจน์กรณีชาวบ้านหลายอำเภอในจังหวัดพัทลุง ถูก กอ.ปค. สังหารโหดกว่า 3 พันศพ เมื่อก่อนเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ชาวบ้านด่านโลดและหมู่บ้านใกล้เคียงยืนยันว่าเป็นความจริง 4 กุมภาพันธ์ 2519 พันเอกหาญ พงศ์สิฏานนท์ ผู้ช่วยฝ่ายอำนวยการ ศูนย์อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ยอมรับว่ามีการฆ่าชาวพัทลุงประมาณ 3,000 คน ในหลายอำเภอ โดยเอาน้ำมันราดจุดไฟเผา ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "ถีบลงเขาเผาลงถังแดง"
การใช้กำลังปราบปรามนักศึกษา วันที่ 14-15 ตุลาคม 2516 77 มีผู้เสียชีวิต 77 คน บาดเจ็บ 857 คน การสังหารโหดครั้งนี้แทบจะเป็นครั้งเดียวที่การจัดทำข้อมูลการเข่นฆ่าประชาชนที่ใกล้เคียงความจริงมากที่สุด สถาบัน พระมหากษัตริย์ถูกบีบให้ต้องยอมรับว่าผู้เสียชีวิตเป็นวีรชนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย และพวกเขาเป็นประชาชนกลุ่ม เดียวที่ถูกสังหารหมู่ที่ได้รับการพระราชทานเพลิงศพ ข้อมูลจากเวบไซด์ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา นางชูศรี พักตร์ผ่อง
อายุ 42 ปี พับถุงกระดาษขาย ไปตามหาบุตรที่เชิงสะพานบางลำพู ขณะที่วิ่งหลบกระสุนปืนจากเฮลิคอปเตอร์ ได้หกล้ม ละศีรษะฟาดพื้นอย่างแรง เสียชีวิตขณะถูกนำส่งโรงพยาบาล
น.ส.หนูผิน พรหมจรรย์
เสียชีวิตจากอุบัติเหตุรถชนกัน อายุ 17 ปี นักศึกษา ป.กศ. ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช นั่งรถสองแถวเล็กไปร่วมเรียกร้องรัฐธรรมนูญ รถชนกัน ถูกกระแทกที่บริเวณศีรษะส่วนหน้า เมื่อวันที่ 15 ตุลาคมที่ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
นายคธากร ชีพธำรง
ถูกตำรวจยิง อายุ 18 ปี นักเรียนปีที่ 4 พาณิชยการเซนต์จอห์น
นายคง เงียบตะคุ
ถูกกระสุนปืนเข้าบริเวณคอด้านหลัง ขณะยืนดูเหตุการณ์อยู่ที่หน้าต่างชั้นบนของร้าน อายุ 28 ปี ลูกจ้างคนงาน
นายคงไฮ้ แซ่จึง
ถูกยิงด้วย M16 ที่สะโพกด้านซ้ายทะลุหน้าท้องเสียชีวิตในวันที่ 16 ตุลาคม 2516 ลูกจ้างคนขับรถยนต์ อายุ 27 ปี
นายจีระ บุญมาก
ถูกยิงกระสุนปืนเจาะเข้าที่ขมับด้านซ้าย เขาเป็นผู้ถือธงชาติเดินเข้าไปขอร้องไม่ให้ ทหารยิงนักเรียน นักศึกษา และประชาชนบริเวณหน้ากรมประชาสัมพันธ์ เขาเป็นนักศึกษาปริญญาโทสถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ พนักงานการ ไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อายุ 29 ปี
นายจำรัส ประเสริฐฤทธิ์
ถูกยิงที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ ขณะที่กำลังไปช่วยเด็กนักเรียนที่ถือธงชาติ 9
เขาเป็นผู้ช่วยช่าง สังกัดโรงเบ็ดเตล็ด แผนกผลิตกองซ่อมรถพ่วงการรถไฟแห่ง ประเทศไทย อายุ 47 ปี นายเจี่ยเซ้ง แซ่ฉั่ว
ถูกยิงหน้ากรมประชาสัมพันธ์ ช่างซ่อมเครื่องยนต์ อายุ 17 ปี
นายจันทรครุป หงษ์ทอง
ถูกยิงทางด้านหลัง เป็นนักเรียนชั้นปีที่ 1 โรงเรียนช่างกลบางซ่อน อายุ 16 ปี
นายฉ่อง จ่ายพัฒน์
ถูกทหารยิงกระสุนเข้าเหนือคิ้วทะลุศีรษะด้านหลัง ช่างแก้เครื่องยนต์ ได้นำข้าวห่อ ไปบริจาคให้นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อายุ 50 ปี
นายชูศักดิ์ ไชยยุทะนันท์
ถูกยิงหน้าโรงเรียนเพาะช่าง นักเรียนชั้น ม. 2 โรงเรียนสิงหราชพิทยาคม อายุ 15 ปี
นายชัยศิลป์ ลาดศิลา
ถูกยิงที่หน้าอก หน้าสำนักงานกองสลาก ช่างวิทยุ และโทรคมนาคมของสถานีวิทยุ 1 ปณ. และเป็นนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง อายุ 25 ปี
นายชีวิน ชัยโตษะ
ถูกกยิงที่หน้าป้อมพระกาฬ นักเรียนชั้นปีที่๒ แผนกช่างกลโรงงาน โรงเรียนช่างกล พระนครเหนือ อายุ 18 ปี
นายไชยยศ จันทรโชติ
ถูกกระสุนปืนในขณะขับรถเมล์ขาว พุ่งเข้าชนรถถัง ช่างเชื่อมเรือ อายุ 16 ปี
นายดนัย กรณ์แก้ว
ถูกกระสุนปืนจากเฮลิคอปเตอร์ พนักงานขายไอศครีม บริษัทฟอร์โมส จำกัด ขณะวิ่งหนีไปทางบางลำพู อายุ 24 ปี
นายตือตี๋ แซ่ตั้ง
ถูกยิงใต้รักแร้ซ้าย ช่างปูพื้นปาเก้ อายุ 24 ปี
นายถนอม ปานเอี่ยม
ถูกยิง บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ กุ๊กทำอาหารประจำโรงแรม อายุ 19 ปี
นายทอง จันทราช
ถูกยิงบริเวณหน้าโรงเรียนเพาะช่างพาหุรัด ลูกจ้างขับรถยนต์ อายุ 40 ปี
นายธาดา ศิริขันธ์
ถูกยิงทะลุที่ซี่โครง เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2516 ขณะดื่มฉลองที่ประชาชนได้รับชัยชนะ ระหว่างดื่มพูดถึง 3 ทรราช ทำให้ชาย 4 คนในร้านไม่พอใจ และลุกขึ้นชักปืนยิง บริเวณถนนวิสุทธิกษัตริย์ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาช่างยนต์วิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ อายุ 22 ปี
นายนิยม อุปพันธ์
ถูกยิงกระสุนเข้ากะโหลกศีรษะข้างขวาหลังใบหู และกระสุนฝังใน --เสียชีวิตที่โรงพยาบาลศิริราช เขาเป็นนักเรียนน ม. 5 แผนกช่างไฟฟ้าโรงเรียน ช่างกลบางซ่อน เข้าร่วมในหน่วย "ฟันเฟือง" อายุ 20 ปี
นายนพ พรหมเจริญ
ถูกยิงกะโหลกศีรษะแตกหน้ากรมประชาสัมพันธ์ กรรมกรท่าเรือ อายุ 40 ปี
นายนิติกร กีรติภากร
ถูกตีและถูกแก๊สน้ำตา ที่บริเวณหน้าพระราชวังสวนจิตร หลังจากเหตุการณ์มีอาการ ประสาทหลอนและเป็นลมตลอดมา และได้ถูกล้อมอยู่ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากเหตุการณ์มีอาการประสาทหลอนและเป็นลมตลอดมา เสียชีวิตวันที่ 21 พฤศจิกายน 2516 จากอาการหัวใจวาย นักเรียนชั้นม.2 โรงเรียนอำนวยศิลป์พระนคร อายุ 16 ปี 10
นายบรรพต ฉิมวารี นายบัญทม ภู่ทอง
ไปร่วมเดินขบวน หกล้มหัวฟาดบาทวิถี แล้วมีคนล้มทับ แต่สามารถกลับถึงบ้าน และได้เสียชีวิตเนื่องจากเส้นโลหิตในสมองแตกในวันรุ่งขึ้น (15 ต.ค,) นักศึกษา ภาคค่ำชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา อายุ 25 ปี ถูกยิงบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ลูกจ้างทำงานโรงแรมอายุ 18 ปี
นายประเสริฐ วิโรจน์ธนะชัย ถูกยิงด้วย M 16 ที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศขณะไปช่วยน้องที่ถูกยิงด้วย M 16 จึงถูกยิงไปด้วย รวมทั้งนายสมควร แซ่โง้ว เพื่อนที่วิ่ง ตามมาจะเข้าช่วยก็ถูกยิงที่ท้อง และหน้าอก นักเรียนชั้นปีที่ 4โรงเรียนช่างฝีมือ ปัญจวิทยา อายุ 19 ปี นายประสาน วิโรจน์ธนะชัย ถูกยิงด้วยเอ็ม 16 ที่คอและหน้าอก นักเรียนโรงเรียนภาษาศาสตร์ อายุ 17 ปี นายประเสริฐ เดชมี
ถูกยิงเสียชีวิต กำลังจะศึกษาต่อ อายุ 19 ปี
นายประยงค์ ดวงพลอย
ถูกยิงที่สมอง เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม หน้าสถานีตำรวจสมุทรปราการ พนักงานขับรถรับจ้างสองแถว อาย ุ21 ปี
นายประณต แซ่ลิ้ม
ถูกยิง ลูกจ้างทำเป็ดย่าง ส่งตามภัตตาคาร อายุ 28 ปี
นายประยุทธ แจ่มสุนทร
ถูกยิงที่หลังขณะเอาน้ำไปให้นักศึกษาที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ นักเรียนชั้นม. 4 โรงเรียน ผดุงศิษย์พิทยา อายุ 17 ปี
นายประวัติ ภัสรากุล
ถูกยิงหน้าอกทะลุหัวใจ เสียชีวิตทันที อายุ 18 ปี ค้าขาย
นายประสพชัย สมส่วน
ถูกยิงที่หน้าท้องทะลุหลัง ขณะที่กำลังนั่งอยู่บนรถดับเพลิงที่ยึดมาได้ พร้อมกับกลุ่มนักเรียนได้ขับรถมุ่งไปทางบางเขน เพื่อไปบริจาคโลหิตที่โรงพยาบาล ภูมิพลฯ ขณะที่รถผ่านบริเวณหน้ากรมป่าไม้บางเขต นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม จังหวัดนนทบุรี อายุ 15 ปี
นายพูลสุข พงษ์งาม
ถูกยิงที่บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ กระสุนเข้าหน้าอกขวา ถูกปอดแล้วทะลุเอวซ้าย นักเรียนชั้นปีที่ 2 แผนกช่างยนต์ โรงเรียนช่างกลวิทยา อายุ 20 ปี ถูกยิงที่รักแร้ซ้ายไปทะลุซี่โครงขวา พลฯ สำรองพิเศษกำลังรอติดยศ (นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) อายุ28 ปี
นายพันธุ์สิริ เกิดสุข นายมณเฑียร ผ่องศรี
ถูกยิง บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฯ กระสุนเข้าตรงขมับทะลุท้ายทอย นักเรียนชั้นปีที่ 1 ของโรงเรียนช่างกลนนทบุรี อายุ 20 ปี
สามเณรมนตรี โล่ห์สุวรรณ
ถูกยิงศีรษะจากเฮลิคอปเตอร์ ที่บริเวณวัดบวรนิเวศ เป็นสามเณรที่กำลังศึกษาบาลี มัธยมสาธิต วัดบางแพรกเหนือ จังหวัดนนทบุรี อายุ 15 ปี
นายมงคล ปิ่นแสงจันทร์
ถูกยิงบริเวณหน้าโรงเรียนเพาะช่าง อยู่ชั้นม. 2 โรงเรียนอำนวยศิลป์ธนบุรี อายุ 15 ปี
นายรัตน์ งอนจันทึก
ถูกยิงที่ศีรษะและหน้าอก พนักงานขับรถบรรทุก 10 ล้อ อายุ 40 ปี
นายเรียม กองกันยา
ถูกยิง บริเวณใกล้หัวถนนนครสวรรค์ โดยตำรวจนครบาลนางเลิ้ง ในขณะขับรถให้ นักเรียน และบาดเจ็บสาหัส ได้คลานไปหลบกระสุนบริเวณใกล้ๆ กัน เจ้าหน้าที่ตำรวจ 11
ประกาศให้ผู้ที่ไม่ใช่พวกก่อการจลาจลออกมา นายเรียมจึงได้คลานออกมา และถูกยิง เสียชีวิตทันที เขาเป็นคนขับรถสามล้อเครื่อง อายุ27 ปี นายเลิศ คงลักษณ์
ถูกไฟคลอก เนื่องจากสำนักงานกองติดตามผลการปฏิบัติราชการ (ก.ต.ป.) ถูกประชาชนเผาเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 เขาลูกจ้างสำนักงาน ก.ต.ป. อายุ 46 ปี
นายวิจิน บุญส่งศรี
ถูกยิงสะบักขวา เป็นช่างเครื่อง อายุ 19 ปี
นายวิชัย สุภากรรม
ถูกยิงที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ คนงานโรงงานทอผ้า อายุ 18 ปี
นายวิเชียร พร้อมพาณิชย์
ผูกคอตายเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2517 เพราะสติฟั่นเฟือนหลังจากได้ไป ช่วยรักษาผู้บาดเจ็บ บริเวณกรมประชาสัมพันธ์ เขาเป็นนักศึกษาแพทย์ปีที่ 6 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 25 ปี นายศิลบุญ โรจนแสงสุวรรณ ถูกยิงที่หน้าอกขวา บนดาดฟ้าตึกของบริษัทเดินอากาศไทย พ่อค้าขายอาหารสด อายุ 18 ปี
นายสมควร แซ่โง้ว นายสมชาย เกิดมณี
ถูกยิงที่ศีรษะด้านหลัง เนื่องจากจะเข้าไปช่วย นายประเสริฐ และนายประสาน วิโรจน์ธนะชัย เขาทำงานเป็นช่างซ่อมรถยนต์ และขับรถรับจ้าง อายุ 18 ปี ถูกยิง หน้าโรงภาพยนตร์เฉลิมไทย แผนกช่างวิทยุโรงเรียนช่างกลนนทบุรี อายุ 20 ปี
นายสุรพงษ์ บุญรอดค้ำ
ถูกยิง บริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า โดนกระสุนเข้าที่หน้าอก 2 นัดศีรษะ 1 นัด พนักงานขายผ้า อายุ 16 ปี
นายสุดที ปิยะวงศ์
ถูกยิงที่ขมับ รับจ้างทำลังไม้ อายุ 26 ปี
นายสมเกียรติ เพชรเพ็ง
ถูกยิง ที่บริเวณใกล้โรงพยาบาลศิริราช เป็นลูกจ้างขายแก๊ส อายุ 19 ปี
นายสุรินทร์ ศรีวีระวานิชกุล ถูกยิงที่โคนขาขวาด้วยปืนเอ็ม 16 บริเวณบางลำพู พนักขายแก๊ส อายุ 20 ปี นายสุภาพ แซ่หว่อง
ถูกยิง หน้ากรมประชาสัมพันธ์จากเฮลิคอปเตอร์ โดยกระสุนเจาะเข้าที่ไหปลาร้า ทะลุสะโพก อายุ 16 ปี ช่างตัดเสื้อ
นายเสวี วิเศษสุวรรณ
รับประทานอาหารเป็นพิษ อาหารนี้มีผู้นำไปบริจาค บริเวณท่าช้างวังหลวง เมื่อวันที่ 13-14 ตุลาคม 2516 นักเรียนชั้นปีที่ 2 ของโรงเรียนอาชีวศิลป์ อายุ 18 ปี
นายสุกิจ ทองประสูตร
ได้ไปทำการช่วยระดมคนไปร่วมต่อสู้ทางฝั่งธนบุรี แต่ประสบอุบัติเหตุ รถที่นั่งไปชนกับสิบล้อ ถึงแก่ความตายบริเวณถนนเพชรเกษม นักเรียนชั้นม. 1 โรงเรียนเสสะเวชวิทยา อายุ 18 ปี
นายสุพจนา จิตตลดากร
ถูกกระสุนปืนจากเฮลิคอปเตอร์ ที่บริเวณมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยกระสุนถูก ที่ศีรษะ ไหปลาร้า และตามร่างกายอีกหลายแห่ง นักเรียนชั้นม. 1 โรงเรียน ดุสิตพาณิชยการ อายุ 16 ปี
12
นายสุรศักดิ์ พวงทอง
ถูกยิงที่หน้ากรมประชาสัมพันธ์ โดยกระสุนปืนกลรถถัง เจาะเข้าระหว่างเข่าซ้าย ทะลุเข่าขวา เสียชีวิตที่โรงพยาบาลกลางวันที่ 27 ตุลาคม 2516 ลูกจ้างบริษัทเอกชน อายุ 25 ปี
นายสาโรจน์ วาระเสถียร
ถูกลอบทำร้ายหลังจากกลับจากไปดูประชาชน บุกเข้าเผากองบัญชาการตำรว จนครบาลผ่านฟ้า หัวหน้าแผนกจัดส่ง องค์การเภสัชกรรม อายุ 48 ปี
นายสุพจน์ เหรียญสกุลอยู่ดี ถูกยิงกระสุนเข้าท้ายทอยทะลุเบ้าตา จนตกลงไปในคลอง บริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เนื่องจากจะเข้าไปช่วยชายข้างเคียงที่ถูกยิง ช่างทำเฟอร์นิเจอร์ อายุ 19 ปี นายสมเด็จ วิรุฬผล
ถูกยิงทางด้านหลัง ทะลุอกและขาทั้ง 2 ข้าง จากทหาร-ตำรวจในกองบัญชาการตำรวจ นครบาลผ่านฟ้า ชั้นปีที่ 1 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 18 ปี
นายสาย ฤทธิ์วานิช
ถูกกระสุนปืนเข้าทางด้านหลังทะลุหน้าท้อง ขณะที่ผ่านไปหน้ากรมประชาสัมพันธ์ เป็นช่างไม้ อายุ 44 ปี
นายแสวง พันธ์บัว
ถูกยิง ที่หน้าผาก หน้ากรมสรรพากร เพราะไปช่วยนักเรียนหญิงที่ถูกแก๊สน้ำตา อายุ รับจ้างทั่วไป 16 ปี
ด.ช. สมพงษ์ แซ่เตียว
ถูกยิง บริเวณบางลำพู ขณะไปร่วมในเหตุการณ์ เป็นนักเรียนม. 1 โรงเรียนวัด มกุฎษัตริยารามอายุ 14 ปี
นายสมพงษ์ พลอยเรืองรัศมี ถูกแทงสีข้างซ้ายเข้าทรวงอกขณะเข้าแย่งปืนจากทหาร ใกล้กองบัญชาการตำรวจ นครบาลผ่านฟ้า นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ อายุ 20 ปี นายอภิสิทธิ์ พรศิริเลิศกิจ
ถูกยิงบริเวณขมับข้างซ้าย ขณะออกไปตามหาเพื่อน ที่บริเวณใกล้สะพาน ผ่านฟ้าลีลาศ พนักงานขายอุปกรณ์วิทยุ อายุ 18 ปี
นายอรรณพ ดิษฐสุวรรณ
ถูกยิงโดยปืนกลรถถัง ที่สนามหลวง ทำงานกับหนังเร่ฉายต่างจังหวัด อายุ 17 ปี
นายเอนก ปฏิการสุนทร
ถูกยิงขณะบุกเข้ายึดกองบัญชาการนครบาลผ่านฟ้า เจ้าของร้านขายอาหาร อายุ 41 ปี
นายเอี่ยมซวง แซ่โกย
ถูกยิงเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 บริเวณหน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ และเสียชีวิตที่โรงพยาบาลศิริราช ลูกจ้าง อายุ 22 ปี
วีรชนนิรนาม
(สตรี)ถูกยิงที่อกทะลุหลัง ตกลงไปน้ำเสียชีวิตทันที ขณะไปร่วมเดินขบวนเรียกร้อง รัฐธรรมนูญ บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฯ (ศพไม่มีญาติ)
วีรชนนิรนาม
(บุรุษ) ถูกยิงที่สีข้างซ้าย บริเวณหน้ากองบัญชาการตำรวจนครบาลผ่านฟ้า
ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล 13
ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล
2517-2519 หลังจากวิกฤติน้ำมันขาดแคลนทั่วโลก ราคาน้ำมันแพงขึ้นมาก จนส่งผลกระทบต่อคนยากคนจนในประเทศไทย ในขณะ ที่ความต้องการเงินในวิถีการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจเงินตราของรัฐบาล ก็เพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมากเช่นกันหลังจากเหตุ การณ์ตุลาคม 2516 ขบวนการแรงงานเริ่มจัดตั้งอย่างเข็มแข็ง ในปี 2517 มีการสไตรค์กว่า 700 ครั้ง และพรบ. แรงงาน สัมพันธ์ได้ประกาศใช้ในปี 2518 เกษตรกรรายย่อยเองก็เริ่มรวมตัวในระดับจังหวัด และเคลื่อนขบวนเข้ามาประท้วงที่ กรุงเทพกันหลายครั้ง ทั้งเรื่องราคาข้าวตกต่ำ เรื่องปุ๋ยเรื่องยาฆ่าแมลง และเงินกู้เพื่อการเกษตร เป็นต้น ทั้งหลายทั้ง ปวงเหล่านี้เป็นสิ่งที่ทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่อาจรับได้ พวกเขาจึงจับมือกับพวกนายทุนและนายทหาร เหยียบย่ำไปบนรัฐบาลพลเรือนที่น้ำท่วมปากไปกับความกลัวลัทธิคอมมิวนิสต์ และทำการกวาดล้างผู้นำกรรมกร นัก ศึกษา และชาวนาชาวไร่ อย่างเหี้ยมโหด ด้วยเหตุผลที่ชัดเจนอยู่แล้ว การบันทึกตัวเลขของการฆาตกรรม สังหารประชา ชนในช่วงนี้กระจัดกระจาย และมีการสร้างเรืองปิดบังข้อเท็จจริง แกนนำชาวนาชาวไร่หลายสิบคนถูกสังหาร มีนักวิชา การที่พยายามรวบรวมรายชื่อแกนนำที่เสียชีวิต อยู่บ้างเช่นกัน อาทิ ดร. สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ และข้อมูลที่มีก็ไม่ครอบ คลุมความเหี้ยมโหดแห่งยุคสมัยนั้นได้
2517 ชาวบ้าน 3 คน ชวินทร์ สระคำ
4 ถูกสังหารอย่างเหี้ยมโหดที่อำเภอนาทราย จังหวัดหนองคาย บ้านเรือนชาวบ้าน 1,500 หลังคาเรือนถูกเผาวอดทั้งหมู่บ้านด้วยฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐที่อ้างว่าหมู่บ้านนี้ เป็นหมู่บ้านคอมมิวนิสต์ 13 มกราคม เสียชีวิตจากรถของเขาถูกรถบันทึกพุ่งชน อดีตสส. ร้อยเอ็ด ผู้เขียนเรื่องเปิดหน้ากาก CIA ในปี 2516 จนส่งผลสะเทือนของการลุกฮือขับไล่ฐานทัพอเมริกาออกจากไทย และการต่อต้านสงครามเวียดนาม เขาเสียชีวิตอย่างมีเงื่อนงำเมื่อ 16 มิถุนายน 2517 เมื่อรถของเขาถูกรถบรรทุกชน เขาเสียชีวิตทันทีในวัย 41 ปี -ผู้คนลงความเห็นว่า เขาถูก CIA สังหาร
2518 ชาวมุสลิม 5 คน
5 ในระหว่างเดินทางกลับบ้านที่อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส รถปิ๊กอัพของชาวมุสลิม 5 คน ผู้ใหญ่ 4 เด็ก 1 ถูกทหารเรียกให้จอดและตรวจค้นที่ระหว่างรอยต่ออำเภอ บาเจาะและอำเภอสายบุรี ไม่กี่วันต่อมา มีการพบศพผู้ใหญ่ทั้ง 5 คนลอยขึ้นมา ในแม่น้ำ 29 พฤศจิกายน 14
2519
74
สนอง บัญชา
ถูกยิงเสียชีวิต ผู้นำกรรมกรของบริษัทเหมืองแร่เทมโก้ ที่จังหวัดพังงา ถูกยิงเสียชีวิตขณะ เติมน้ำมันรถมอเตอร์ไซค์ 25 มกราคม
นายบุญมา สมประสิทธิ์
กรรมการสหพันธ์ชาวนาชาวไร่จังหวัดอ่างทอง ถูกยิงเสียชีวิต กุมภาพันธ์
ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน
เสียชีวิตด้วยกระสุนปืนของผู้ลอบสังหาร อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ เลขาธิการพรรคสังคมนิยมแห่งประเทศไทย บุญสนองเป็นทั้งนักวิชาการผู้ปราดเปรื่อง และนักต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ทางการเมืองผู้ไม่เคยย่อท้อ เขาเป็นหนึ่งในนักสังคมศาสตร์ เพียงไม่กี่คนที่มีความสามารถโดดเด่นทั้งในเชิงแนวคิดและการปฏิบัติ 28 กุมภาพันธ์
นายนิสิต จิรโสภณ
ถูกผลักตกรถไฟเสียชีวิตที่ อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ นักศึกษาจากมหาวิทยา ลัยเชียงใหม่ เดินทางไปข่าวการต่อสู้ของประชาชนที่นครศรีธรรมราช 1 เมษายน
นายเฮียง ลิ้นมาก
ถูกยิงเสียชีวิต ผู้แทนชาวนาสุรินทร์ 5 เมษายน
นายอ้าย ธงโต
ถูกลอบยิงเสียชีวิต กรรมการสหพันธ์ชาวนาชาวไร่บ้านต้นธง จังหวัดลำพูน 10 เมษายน
นายประเสริฐ โฉมอมฤต
ถูกลอบยิงเสียชีวิต ประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ บ้านฟ่อนหมู่ ต.หนองควาย --อ.หางดง จ.เชียงใหม่ 18 เมษายน
นายโง่น ลาววงศ์
ถูกลอบทำร้ายเสียชีวิต กรรมการหมู่บ้านหนองบัวบาน จังหวัดอุดรธานี 21 เมษายน
นายเจริญ ดังนอก
ถูกยิงที่ อ.ชุมพวง กรรมการชาวนาจังหวัดนครราชสีมา
นายถวิล (ไม่ทราบนามสกุล) ถูกยิงเสียชีวิต ผู้นำชาวนาจังหวัดพิจิตร นายมงคล สุขหนุน
ถูกยิงเสียชีวิต ผู้นำชาวนานครสวรรค์ 5 พฤษภาคม
นายเกลี้ยง ใหม่เอี่ยม
ถูกลอบยิง รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ อ.ห้างฉัตร 20 พฤษภาคม
นายถวิล มุ่งธัญญา
ถูกยิงเสียชีวิต ตัวแทนชาวนาจังหวัดนครราชสีมา 26 พฤษภาคม
นายพุฒ ปงลังกา
ถูกยิงเสียชีวิต ผู้นำชาวนาเชียงราย 22 มิถุนายน
นายมานะ อินทะสุริยะ
ถูกลอบยิง ขณะที่กำลังติดโปสเตอร์ชักชวนให้ประชาชน จังหวัดนครราชสีมา ร่วมใจต่อต้านฐานทัพอเมริกา เนื่องในวันชาติอเมริกา 4 กรกฎาคม นักเรียนโรงเรียน ราชสีมาวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา 1 กรกฎาคม
นายจา จักรวาล
รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่บ้านดง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 3 กรกฎาคม
นายประสาท ศิริม่วง
ถูกยิงเสียชีวิต ตัวแทนชาวนาจังหวัดสุรินทร์ 8 กรกฎาคม
นายบุญพา ปัญโญใหญ่
ถูกลอบยิงเสียชีวิตที่จังหวัดลำพูน กรรมการสหพันธ์ชาวนาชาวไร่แห่งประเทศไทย 14 กรกฎาคม
นายบุญทา โยธา
ถูกยิงเสียชีวิตที่ลำพูน 18 กรกฎาคม 15
นายเกลี้ยง ใหม่เอี่ยม
ถูกลอบยิงเสียชีวิตที่บ้านสันกำแพง ต.เมืองตาก อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ อ.ห้างฉัตร จ.ลำ-ปาง 22 กรกฎาคม
น.ส.สำราญ คำกลั่น
พนักงานโรงงานกระเบื้องยางวัฒนาวินิลไทล์ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร ถูกหัวหน้ายามโรงงานยิงเสียชีวิต เนื่องจากประท้วงโรงงานที่ปลดพนักงานอย่าง ไม่เป็นธรรม 26 กรกฎาคม
นายอินถา ศรีบุญเรือง
ถูกคนร้ายสองคนบุกยิงตายคาที่ ณ บ้านพัก รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ แห่งประเทศไทย และประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ภาคเหนือ 30 กรกฎาคม
นายสวัสดิ์ ตาถาวรรณ
ถูกลอบยิงถึงแก่ชีวิต รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ บ้านแม่ร้อยเงิน อ.ดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ 4 สิงหาคม
นายอ้าย สิทธิ
หายตัวไปพร้อมกับ
นายมี สวนพลู
หายตัวไปพร้อมกับ
นายตา สิทธิ
หายตัวไปพร้อมกับ
นายต๋า แก้วประเสริฐ
หายตัวไปพร้อมกับ
นายตา อินตะคำ
ประธานและกรรมการสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ของเขตต่าง ๆ ใน อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ ทั้ง 5 คน ได้หายจากบ้านอย่างลึกลับ ญาติสงสัยว่าถูกฆ่าตายแล้วนำศพไปซ่อน และเข้าแจ้งความกับตำรวจ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 3 เมษายน ตำรวจติดตาม หาตัวไม่พบ ทั้ง 5 คนได้ถือว่าหายสาบสูญไป 7 สิงหาคม
นายพุฒ ทรายดำ
ถูกลอบยิงแต่ไม่ตาย แต่ถูกคนร้ายตามไปยิงซ้ำ ถึงที่เตียงในโรงพยาบาล ต่อหน้าแพทย์ จนเสียชีวิต ชาวนา ต.แม่บอน อ.ฝาง 11 สิงหาคม
นายช้วน เนียมวีระ
ถูกลอบยิงเสียชีวิต กรรมการสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี 12 สิงหาคม
เสียชีวิต 15 ราย
จากเหตุการณ์ระเบิดกลางหมู่ประชาชนที่ประท้วงการย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา บาดเจ็บ 17 ราย 29 กันยายน
นายนวล กาวิโล
ถูกระเบิดเสียชีวิตขณะที่ปะทะกับฝ่ายเหมืองที่ ต.เสริใขวา อ.เสริมงาม จ.ลำปาง ผู้นำชาวนาแม่เลียง 12 ตุลาคม
ผู้เสียชีวิต 15 ราย
เสียชีวิตจากการปะทะกันระว่างชาวบ้านและชาวเหมืองที่บ้านแม่เลียง ต.เสริมขวา อ.เสริมงาม จ.ลำพูน เนื่องจากทางเหมืองปล่อยน้ำเสียจนทำการเพาะปลูกไม่ได้ 13 ตุลาคม
นายบุญรัตน์ ใจเย็น
ถูกลอบยิงเสียชีวิต รองประธานสหพันธ์ชาวนาชาวไร่บ้านหนองป่าแสะ อ.สารภี จังหวัดเชียงใหม่ 19 ตุลาคม
เสียชีวิต 12 คน
จากเหตุการณ์ระเบิดลงที่ปัตตานี 13 ธันวาคม 16
วีรชนที่เสียชีวิตจากการสังหารโหด 6 ตลาคม 2519 หลายร้อยคนได้รับบาดเจ็บ ถูกจับกุม 3,154 คน นักศึกษานับพันคนหนีเข้าป่า ผู้เสียชีวิต 42 คน ระบุได้ 31 คน ระบุไม่ได้ 10 คน หาศพไม่พบ 1 มีการมอบให้ญาติไปจัดการตามประเพณี 30 คน ชาย 26 คน หญิง 4 คน นางสาวภรณี จุลละครินทร์ ถูกกระสุนปืน นางสาววิมลวรรณ รุ่งทองใบสุรีย์ ถูกกระสุนปืน นางสาวอรุณี ขำบุญเกิด ถูกกระสุนปืน นายอับดุลรอเฮง สาตา ถูกกระสุนปืน นายมนู วิทยาภรณ์ ถูกกระสุนปืน นายสุรสิทธิ์ สุภาภา ถูกกระสุนปืน นายสัมพันธ์ เจริญสุข ถูกกระสุนปืน นายสุวิทย์ ทองประหลาด ถูกกระสุนปืน นายบุนนาค สมัครสมาน ถูกกระสุนปืน นายอภิสิทธิ์ ไทยนิยม ถูกกระสุนปืน นายวีระพล โอภาสพิไล ถูกกระสุนปืน นายสุพจน์ พันธุ์กาฬสินธุ์ ถูกกระสุนปืน นายยุทธนา บูรศิริรักษ์ ถูกกระสุนปืน นายภูมิศักดิ์ ศิระศุภฤกษ์ชัย ถูกกระสุนปืน นางสาววัชรี เพชรสุ่น ถูกกระสุนปืน นายดนัยศักดิ์ เอี่ยมคง ถูกกระสุนปืน นายไพบูลย์ เลาหจีรพันธ์ ถูกกระสุนปืน นายชัยพร อมรโรจนาวงศ์ ถูกกระสุนปืน นายอัจฉริยะ ศรีสวาท ถูกกระสุนปืน นายสมชาย ปิยะสกุลศักดิ์ ถูกกระสุนปืน นายวิสุทธิ์ พงษ์พานิช ถูกกระสุนปืน นายสุพล พาน หรือ บุญทะพาน ถูกกระสุนปืน นายศิริพงษ์ มัณตะเสถียร ถูกกระสุนปืน นายวสันต์ บุญรักษ์ ถูกกระสุนปืน นายเนาวรัตน์ ศิริรังษี ถูกกระสุนปืน นายพงษ์พันธ์ เพรามธุรส ถูกระเบิด นายอนุวัตร อ่างแก้ว ถูกระเบิด นายวิชิตชัย อมรกุล ถูกของแข็งมีคม ถูกรัดคอ นายปรีชา แซ่เซีย ถูกของแข็ง อาวุธหลายชนิด และถูกรัดคอ นายวันชาติ ศรีจันทร์สุข ผูกคอตายที่สถานีตำรวจนครบาลบางเขน นายสงวนพันธุ์ ซุ่นเซ้ง จมน้ำ 17
42
ไม่ทราบชื่อ แยกเพศไม่ได้ ไม่ทราบชื่อ แยกเพศไม่ได้ ไม่ทราบชื่อ แยกเพศไม่ได้ ไม่ทราบชื่อ แยกเพศไม่ได้ ไม่ทราบชื่อ ไม่ทราบชื่อ ไม่ทราบชื่อ ไม่ทราบชื่อ ไม่ทราบชื่อ ไม่ทราบชื่อ
ถูกเผา ถูกเผา ถูกเผา ถูกเผา
รายชื่อเหล่านี้ยังไม่นับรวมถึงผู้สูญหายอีกจำนวนมากซึ่งส่วนใหญ่ติดตาม หาศพไม่พบหรือมีการทำลายศพ โดยเฉพาะ นายจารุพงษ์ ทองสินธุ์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่โดนคนของรัฐลากคอที่สนามฟุตบอล
2519 – 2532 ไม่มีข้อมูล 2533 ธนาวุฒิ คลิ้งเชื้อ
2534 รัฐประหาร ทนง โพธิ์อ่าน
1 นักศึกษารามคำแหง ตอนนั้นอยู่ในตำแหน่งประธานชมรมนักศึกษาและเยาวชน 14 จังหวัดภาคใต้ เผาตัวตายประท้วงรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัณ เพราะเชื่อว่า รัฐบาล พล.อ.ชาติชายปกครองประเทศคล้ายเผด็จการ ปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ในระบอบประชาธิปไตย อีกกระแสว่าเพราะเขาอยู่ในอิทธิพลแนวคิดทางการเมือง ของกลุ่มประเสริฐ ทรัพย์สุนทร 14 ตุลาคม
1
หายสาปสูญ เขาเป็ฯประธานสภาแรงงาน และรองประธานภาคพื้นเอเชียแปชิฟิก ของสมาพันธ์แรงงานเสรีแรงงานระหว่างประเทศหรือ ICFTU วันที่ 14 มิถุนายน 2534 เขานำขบวนการแรงงานประท้วงการออกประกาศคณะรัฐประหาร 2534 หรือ รสช. ฉบับที่ 54 ในวัน 19 มิถนายน เขาหายตัวไปอย่างลึกลับไร้ร่องรอย ขบวนการแรงงาน ยังติดตามคดีทนง โพธิ์อ่านอยู่จนถึงบัดนี้
2535 เหตุการ์พฤษภาเลือด
44
เหตุการณ์พฤษภาเลือดระหว่างวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2535 มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 44 ราย ทั้งนี้ 38 รายจากกระสุนปืน มีผู้บาดเจ็บทั้งสิ้น 736 คน และมีการรายงานตัวเลขผู้สูญหายร่วม 70 คน 1. กฤษฎา เนียมมีศรี ถูกตีและถูกกระสุนปืน 2. กิตติกรณ์ เขียวบริบูรณ์ ถูกกระสุน 3. กิตติพงษ์ สุปงิ คลัด ถูกกระสุน 18
4. เกรียงไกร จารุสาร ถูกกระสุน 5. กอบกุล สินธุสิงห ถูกกระสุน 6. จักรพันธ์ อัมราช ถูกกระสุน 7. จักราวุธ นามตะ ถูกกระสุน 8. ชัยรัตน์ ณ นคร ถูกกระสุน 9. ซี้ฮง แซ่เตีย ถูกกระสุน 10. ณรงค์ ธงทอง ถูกกระสุน 11. ทวีศักดิ์ ปานะถึก ถูกกระสุน 12. นคร สอนปัญญา ถูกกระสุน 13. บุญมี วงษ์สิงโต ถูกกระสุน 14. บุญคง ทันนา ถูกกระสุน 15. ปรัชญา ศรีสะอาด ถูกกระสุน 16. ประสงค์ ทิพย์พิมล ถูกกระสุน 17. ปรีดา เอี่ยมสำอางค์ ถูกกระสุน 18. พิพัฒน์ สุริยากุล ถูกกระสุน 19. ภูวนาท วิศาลธรกุล ถูกกระสุน 20. ภิรมย์ รามขาว ถูกกระสุน 21. มะยูนัน ยีดัม ถูกกระสุน 22. มนัส นนทศิริ ถูกกระสุน 23. วีระ จิตติชานนท์ ถูกกระสุน 24. วงเดือน บัวจันทร์ ถูกกระสุน 25. วีรชัย อัศวพิทยานนท์ ถูกกระสุน 26. ศรากร แย้มประนิตย์ ถูกกระสุน 27. สมชาย สุธีรัตน์ ถูกกระสุน 28. สำรวม ตรีเข้ม ถูกกระสุน 29. สาโรจน์ ยามินทร์ ถูกกระสุน 30. สมเพชร เจริญเนตร ถูกกระสุน 31. สุชาต พาป้อ ถูกกระสุน 32. สมาน กลิ่นภู่ ถูกกระสุน 33. สัญญา เพ็งสา ถูกกระสุน 34. หนู แก้วภมร ถูกกระสุน 35. อภิวัฒน์ มาสขาว ถูกกระสุน 36. เอกพจน์ จารุกิจไพศาล ถูกกระสุน 37. เฉลิมพล สังข์เอม สมองบอบช้ำ 38. ทวี มวยดี ถูกตีศีรษะ 39. บุญมี แสงสุ่ม 19
40. สุรพันธ์ ชูช่วย 41. เอียน นิวมีเก้น 42. ไม่มีรายละเอียด 43. ไม่มีรายละเอียด 44. ไม่มีรายละเอียด
2536 2537
?? 1
นางสุชาดา คำฟูบุตร
ผู้คัดค้านโรงงานอุตสาหกรรม จ. ลำปาง ถูกอุ้มหายตัวไป
อ.บุญทวี อุปการะกุล
ถูกทำร้ายตกรถไฟเสียชีวิต ผู้นำการรณรงค์คัดค้านมลพิษจากนิคมอุตสาหกรรม จ. ลำพูน ถูกยิงเสียชีวิต ผู้นำการคัดค้านโรงโม่หิน จ. เลย ถูกลอบสังหารเสียชีวิต นักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติชุมชน ผู้คัดค้านนายทุนตัดไม้ ทำลายป่า บ้านน้ำหรา อ.ควนกาหลง จ.สตูล เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๓๘
2538
ครูประเวียน บุญหนัก นายวินัย จันทมโน
2539 นายทองอินทร์ แก้ววัตตา นายทุนหรือจุน บุญขุนทด
2 ถูกลอบสังหารเสียชีวิต แกนนำผู้คัดค้านการสร้างโรงงานกำจัดกากสารอุตสาหกรรม ของบริษัทบริหารและพัฒนาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (เจนโก้) จ.ระยอง 18 มกราคม ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภอ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ ใช้อาวุธปืน. 38 ยิงเสียชีวิต ผู้นำสมัชชาคนจน กรรมการบ้านห้วยทับนาย อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภุมิ แกนนำการคัดค้านการสร้างเขื่อนโป่งขุนเพชร จ.ชัยภูมิ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2539
2542 กำนันทองม้วน คำแจ่ม นายสม หอมพรหม นายอารีย์ สงเคราะห์
3 ถูกยิงเสียชีวิต ผู้นำการคัดค้านการให้สัมปทานโรงโม่หินจ.หนองบัวลำภู (พร้อมกับ นายสมฯ ) ในปีเดียวกัน ถูกยิงเสียชีวิตพร้อมกำนันทองม้วน ฯ ขณะนั่งซ้อนท้ายรถมอเตอร์ไซค์ไปกับ กำนันทองม้วน ฯ ถูกยิงเสียชีวิต ผู้นำการต่อต้านการบุรุกป่าและรณรงค์ร่วมกับชาวบ้านปกป้องผืนป่า ต้นน้ำคลองคราม จ.สุราษฎร์ธานี
2544 นายจุรินทร์ ราชพล
3
6 ถูกยิงเสียชีวิต ในวัย 50 ปี ผู้นำการรณรงค์ปกป้องป่าชายเลนชุมชนบ้านป่าคลอก ๔๐๐ ไร่ อ.ถลาง จ.ภูเก็ต มิให้ถูกนายทุนนากุ้งบุกรุก โดยกลุ่มนายทุนนากุ้งพยายาม ที่จะย้ายหมุดออกจากป่าชายเลน โดยการเป็นผู้นำตัวแทนชมรมผู้เลี้ยงกุ้งยื่นหนังสือ คัดค้านการรังวัดสอบเขต ป่าชายเลนต่อผู้ว่าราชการจังหวัด 30 มกราคม 20
นายนรินทร์ โพธิ์แดง
ถูกยิงเสียชีวิตอยู่ที่หน้าบ้านตัวเอง ผู้นำการคัดค้านการระเบิดหินเขาชะอางกลางทุ่ง กิ่ง อ.ชะเมา จ.ระยอง ได้เข้ามาช่วยเหลือกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่เขาชะอางกลางทุ่ง ท่ามกลางความขัดแย้งกับ อบต.ห้วยทับมอญ ที่ให้ความเห็นชอบในเรื่องการตั้งโรง โม่หิน ที่มีความไม่ชอบมาพากลในการ พิจารณา และการไม่รับฟังความเห็นของ ประชาชน รวมถึงผลกระทบจากโรงโม่หินซึ่งมีนักการ เมืองท้องถิ่น และนักการเมือง ระดับประเทศ 1 พฤษภาคม
นายพิทักษ์ โตนวุธ
ถูกยิงเสียชีวิตขณะขับขี่มอเตอร์ไซค์ผ่านแยกเข้าบ้านชมภูฯ ผู้นำคัดค้านโรงโม่หิน บริษัทร็อค แอนด์ สโตน โรงโม่หินบริษัทอนุมัติการศิลา และ ได้ร้องเรียนให้ตรวจสอบ ส.ค.๑ ของโรงโม่หินในภูเขาแดงรังกาย บ้านชมภู อ.เนินมะปรางจ.พิษณุโลก พื้นที่ติดต่ออุทยานแห่งชาติทุ่งแสลงหลวง หลังที่พิทักษ์ฯ กลับจากการประชุมร่วมกับ คณะตรวจสอบของทางอำเภอเพื่อรับทราบความคืบหน้าฯ ศาลชั้นต้นยกฟ้อง และกลุ่มชาวบ้านกำลังดำเนินการอุทธรณ์ 17 พฤษภาคม
นายสุวัฒน์ ปิยะสถิตย์
ถูกยิงเสียชีวิต ผู้นำการคัดค้านบ่อฝังกลบขยะราชาเทวะ อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ของ หจก.ไพโรจน์สมพงษ์พาณิชย์ เนื่องจากส่งกลิ่นเหม็นสร้างมลพิษรบกวนชุมชน ในแถบ ต.ราชาเทวะ ถูกยิงเสียชีวิตขณะนั่งร่วมปรึกษาหารือกับกลุ่ม บริเวณร้านค้า กลางชุมชน ในหมู่บ้านจามจุรี ม. 15 ต.ราชาเทวะ ศาลชั้นต้นพิพากษา ประหารชีวิต ผู้จ้างวานจำคุกตลอดชีวิตมือปืนและผู้ที่เกี่ยวข้อง 26 มิถุนายน ถูกยิงขณะนั่งเขียนรายงานข้อมูลของชุมชนอยู่ที่บ้าน แกนนำอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ คลองกระแดะ พื้นที่ป่าที่อุดมสมบูรณ์แห่งหนึ่งในภาคใต้ และสามารถรอด พ้นจากการสร้าง เขื่อนในพื้นที่ อ.กาญจนดิษฐ์ จ.สุราษฎร์ธานี ถูกยิงเสียชีวิตที่บ้านพักตัวเอง ผู้นำการต่อต้านการทุจริตในองค์การบริหารส่วน ตำบลนากลาง อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ประเด็นการต่อต้านอันเนื่องมาจาก การประมูลงานรับเหมาก่อสร้างในเขต อบต. นากลาง และ การที่ผู้ตายเป็น แกนนำขับไล่ประธาน อบต. และการทุจริตอื่นๆ 1 สิงหาคม ยังจับกุมคนร้ายไม่ได้
นายสมพร ชนะพล นางฉวีวรรณ ปึกสูงเนิน
2545
5
นายแก้ว ปินปันมา
ถูกยิงเสียชีวิต สมาชิกสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและแกนนำชาวบ้านที่เข้าไปใช้ที่ดิน ในพื้นที่ กิ่ง อ.ดอย หล่อ จ.เชียงใหม่ วันที่ 23 มิถุนายน 2545 เจ้าหน้าที่ตำรวจ จับกุมผู้ต้องหาได้ ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 8 ปี 23 มิถุนายน
นายบุญสม นิ่มน้อย
ถูกยิงเสียชีวิต ผู้นำคัดค้านโครงการก่อสร้างโรงกลั่นปิโตรเคมีขนาดใหญ่ ของ บริษัทสยามกัลฟ์ โม่หินบริษัทร็อค แอนด์ สโตน ปิโตรเคมีคอล จำกัด ผู้ต้องหามอบตัว 2 ราย แต่ศาลยกฟ้องเพราะไม่มีใครกล้าเป็นพยาน เนื่องจากการ ถูกข่มขู่และกลัวถูก สังหารโหดเช่นเดียวกับ นายบุญสม ฯ 2 กันยายน 21
นายปรีชา ทองแป้น
สารวัตรกำนันตำบลควนกรด อ.ทุ่งสง แกนนำเรียกร้องสิทธิชุมชนจากโครงการ ก่อสร้างบ่อบำบัดน้ำเสียเทศบาล ตำบลปากแพรก อำเภอทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ถูกลอบสังหารเสียชีวิต เจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมผู้ต้องหาได้ 2 ราย แต่ให้การปฏิเสธ 27 กันยายน
นายบุญฤทธิ์ ชาญณรงค์
ถูกเจ้าหน้าที่ป่าไม้ ๔ คน ร่วมกันล้อมสังหารอย่างเหี้ยมโหดที่ชายป่ ขณะกำลังถาง หญ้าบนพื้นที่ทำกินของตนเอง เขาเป็นผู้นำการตรวจสอบการทำไม้เถื่อนในพื้นที่ ป่าชนะ โดยได้รวบรวมหลักฐานการลักลอบทำไม้เถื่อนของกลุ่มนายทุนและข้าราชการ บางกลุ่มเข้าร่วมด้วยและเป็นแกนนำการเรียกร้องการแก้ไขกรณีอุทยานแห่งชาติ แก่งกรุง ประการเขตอุทยานทับที่ดินทำกินของชาวบ้านฯ ต่อมา [เจ้าหน้าที่ป่าไม้ ทั้ง 4 ตัว] อ้างว่าต้องยิงป้องกัน โดยอ้างว่า พ่อผู้เฒ่าจะเอามีดฟัน บริเวณสวนยางพารา และสวนกาแฟ ต.คลองพา อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี ขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการ พิจารณาคดีของศาล เจ้าหน้าที่ป่าไม้ของอุทยานจำนวน 4 คน และอนุมัติให้ประกันตัว ไปแล้ว 15 ธันวาคม
นาย บุญยงค์ อินตะวงศ์
ถูกยิงเสียชีวิตที่บ้าน เมื่อวันที่ เขาเป็นผู้นำคัดค้านโรงโม่หินดอยแม่ออกรู อ.เวียงชัย -จ.เชียงราย ของบริษัทเวียงชัยผางาม ก่อสร้าง จำกัด 20 ธันวาคม
2546
2,599
พ่อหลวงคำปัน สุกใส
ถูกบุกยิงเสียชีวิต ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑ ต.แม่นะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ อดีตรอง ประธานเครือข่ายป่าชุมชนลุ่มน้ำปิงตอนบน ป่าชุมชนพื้นที่อำเภอเชียงดาว จ.เชียงใหม่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตพื้นที่อนุรักษ์ มีจำนวนทั้งสิ้น 54 ป่าชุมชน รวมพื้นที่ ทั้งสิ้น 380,000 ไร ่ เป็นคนจริงจังกับการดูแลรักษาป่าชุมชน จัดทำป้ายแนวเขต พื้นที่ป่าชุมชน ตรวจลาดตระเวณ และตั้งคณะกรรมการป่าชุมชนบ้านป่าบงขึ้นมา วันที่ 19 มิถุนายน 2544 พ่อหลวงและชาวบ้านได้จับกุมนายจันทร์แก้ว จันทร์แดง เจ้าหน้าที่หน่วยพิทักษ์ป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเชียงดาวข้อหาบุกรุก ตัดไม้ ทำลายป่า นายจันทร์แก้ว ฯ ได้ยอมรับผิดและเสียค่าปรับเป็นเงิน 25,000 บาท เขาโกรธแค้นพ่อหลวงมาก จึงได้บุกยิงพ่อหลวงคำปันจนเสียชีวิต ศาลได้พิพากษา ตัดสินนายจันทร์แก้วเป็นเวลา 25 ปี 1 กุมภาพันธ์ 2546
นายชวน ชำนาญกิจ
ถูกคนร้านบุกยิงเสียชีวิตในบ้านของตนเอง ชาวบ้านผู้มีใจพิทักษ์ชุมชน เพื่อนำสันติสู่วิถีชุมชนต่อต้านการค้ายาเสพติด ร่วมกับตำรวจชุมชนสัมพันธ์ สภอ.ฉวาง จ.จ.นครศรีธรรมราช 4 กุมภาพันธ์ 2546
นายสำเนา ศรีสงคราม
ถูกสังหารอย่างโหดเหี้ยมที่เถียงนาใกล้บ้าน ประธานชมรมอนุรักษ์และฟื้นฟูลำน้ำ พอง จังหวัดขอนแก่น ที่ร่วมกันเคลื่อนไหวต่อสู้กับชาวบ้านในพื้นที่ เรื่องผลกระ ทบ จากลำน้ำพองเน่าเสียจากโรงงาน ฟีนิกซ์ พัลพ แอนด์ เปเปอร์ จำกัด โรงงานผลิต เยื่อกระดาษโครงการส่งเสริมการร่วมทุนระดับชาติโครงการแรกใน พื้นที่ภาคอีสาน 22
จากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน [ ก่อตั้งในปี 2518] โรงงานมีปัญหาเรื่องการร้อง เรียนเรื่องการปล่อยน้ำเสียลงในลำน้ำพองจนเน่ามาตั้งแต่แต่ปี 2536 จนถึงปัจจุบัน เขาถูกสังหารเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2546 และภายหลังจากนั้นไม่กี่วัน ทางเจ้าหน้า ที่ตำรวจได้จับกุม นายสมบัติ ทองสมัคร มือปืนผู้ลงมือฆ่านายสำเนา ซึ่งให้การซัด ทอดถึงนายสมพงษ์ นารี กำนันในตำบลโคกสูง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ว่าเป็นผู้จ้าง วานฆ่าศาลชั้นต้นได้พิพากษาตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิตมือปืนโหด เมื่อวันที่ 19 พ.ย. 2547 และ ศาลให้ปล่อยตัวผู้จ้างวานไปในภายหลังเนื่องจากหลักฐานไม่เพียงพอ 2 596
ข้อมูลของสำนักงานตำรวจแห่ง ชาติระบุว่า ในจำนวนผู้เสียชีวิต 2,596 คน เกี่ยว ข้องกับยาเสพติด 1,164 คน ไม่เกี่ยวข้องยาเสพติด 1,432 คน
2547 นายสมชาย นีละไพจิตร
107 คน
213 ถูกอุ้มหาย ทนายความนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน อดีตประธานชมรมนักกฎหมาย มุสลิม และนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งหายตัวไปอย่างลึกลับ เมื่อวันที่ 12 มี.ค. 2547 ในช่วงสมัยรัฐบาลทักษิณ 1 ทนายสมชายฯ ทำคดีด้านสิทธิมนุษยชน เช่น คดีที่ชาวบ้านถูกกล่าวหาละเมิดสิทธิ มนุษยชนในภาคใต้ คดีคนพม่าลี้ภัยการเมือง คดีชาวอิหร่านที่ถูกจับในข้อหาเป็นผู้วาง ระเบิดสถานทูตอิสราเอลในประเทศไทย เมษายน พ.ศ. 2547 ได้มีการจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 นาย ประกอบด้วย พ.ต.ต.เงิน ทองสุก, พ.ต.ท.สินชัย นิ่มปุญญกำพงษ์, จ.ส.ต.ชัยเวง พาด้วง, ส.ต.อ.รันดร สิทธิเขต และ พ.ต.ท.ชัดชัย เลี่ยมสงวน ตำรวจกองปราบปราม ตกเป็นจำเลยที่ 1 – 5 ฐานร่วมกันปล้นทรัพย์ และข่มขืนใจผู้อื่น โดยใช้กำลังประทุษร้ายแต่ไม่สามารถ ตั้งข้อหาฆาตกรรมหรือข้อหาอื่นที่หนัก กว่าได้เนื่องจากยังไม่พบศพหรือหลักฐาน ที่บ่งชี้ว่าทนายสมชายตายแล้ว - 12 มกราคม พ.ศ. 2549 ศาลตัดสินจำคุก พ. ต. ต. เงิน ทองสุก ในข้อหาขืนใจ ทำให้สูญเสียอิสรภาพและระบุว่าเกิดจากการกระทำ ของร่วมกันกับ บุคคล 3 -5 คน ผู้ต้องหาซึ่งเป็นตำรวจอีก 4 นาย ยกฟ้อง เนื่องจาก ไม่มีหลักฐานที่เพียงพอ (คดีของทนายสมชาย ยังเต็มไปด้วยเงื่อนงำ หลังจากการหาย สาบสูญไปของ พ.ต.ต. เงิน ทองสุก) เหตุการณ์มัสยิดกรือแซะ จังหวัดปัตตานี ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการสังหารของ เจ้าหน้าที่ทั้งตำรวจและทหาร 107 คน และเจ้าหน้าที่เสียชีวิต 5 คน 8 เมษายน 2547
19 คน
เหตุการณ์สะบ้าย้อย การสังหารหมู่ทีมฟุตบอลบ้านสุโสะ ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา 19 ศพ 28 เมษายน 2547
นายสุพล ศิริจันทร์
ถูกลอบสังหาร ผู้นำการพิทักษ์ผืนป่าและชุมชน แกนนำคัดค้านขบวนการค้าไม้เถื่อน ในลุ่มน้ำแม่มอก อ.เถิน จ.ลำปาง ต่อสู้คัดค้านกับกลุ่มผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ และระดับ ชาติ ซึ่งนำไปสู่การจับกุมในหลายครั้ง เขาถูกข่มขู่เอาชีวิตหลายครั้ง 11 สิงหาคม 2547 สุพล ถูกกลุ่มมือปืนผู้มีอิทธิพลมืดในท้องถิ่นลอบสังหาร หลังจากเหตุการณ์ 23
เจ้าหน้าที่ตำรวจและป่าไม้บุกจับขบวนการค้าไม้เถื่อนผ่านไปเพียง 15 ชั่วโมงเศษ นายเจริญ วัดอักษร
นางพักตร์วิภา เฉลิมกลิ่น
84 คน
ถูกยิงเสียชีวิต ประธานกลุ่มรักษ์ท้องถิ่นบ่อนอก จ.ประจงบคีรีขันธุ์ อายุ 36 ปี แกน นำต่อสู้คัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและเคลื่อนไหวให้มีการตรวจสอบการ ใช้พื้นที่สาธารณะของผู้มีอิทธิพลในพื้นที่ พร้อมกับได้ยื่นข้อเรียกร้องท้าทายอำนาจรัฐ 2 ข้อ คือ 1). ขอให้ยกเลิกการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในทันที 2). ถ้าไม่เข้าใจให้กลับ ไปดู ข้อ 1. เขาถูกยิงเสียชีวิตเมื่อ วันที่ 21 มิถุนายน 2547 ด้วยอาวุธปืนกว่า 10 นัด ภายหลังลงจากรถโดยสารที่เพิ่งเดินทางมาจากกรุงเทพฯ ในการมาพบคณะอนุกรรม การ ปราบปรามการทุจริต วุฒิสภา เรื่องข้อพิพาทที่ดินสาธารณะ - เจ้าหน้าที่ตำรวจ จับกุมผู้ต้องหาได้ 5 ราย แต่ไม่สามารถ ขยายผลไปสู่กลุ่มผู้จ้างวานที่ลงขันฆ่านาย เจริญฯ ระหว่างดำเนินคดี 2 มือปืนตายปริศนาในเรือนจำ และวันที่ 30 ธันวาคม 2551 ศาลอาญาพิพากษาประหารชีวิตนายธนู ยกฟ้องกำนันเจือ และนายมาโนช คดีอยู่ระหว่างการอุทรณ์ ถูกยิงเสียชีวิต แม่บ้านอนุรักษ์ปกป้องชุมชนจากท่าทราย จ.อ่างทอง ในฐานะรอง ประธานชุมชนบ้านหัวกระบือ ต.ป่าโมก อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เป็นแกนนำคัดค้านการ ก่อสร้างท่าเทียบเรือขนทรายของ นายทุนผู้ประกอบการบ่อทรายจากกรุงเทพฯ ซึ่งมีภรรยานักการเมืองดังของจังหวัด คอยหนุนหลัง 14 ตุลาคม เหตุการณ์ ตากใบ จังหวัดนราธิวาส ที่มีผู้เสียชีวิตจากการขาดอากาศหายใจใน ขณะที่ถูกลำเลียงไปโรงพักถึง 78 คน รวมกับที่ถูกยิงเสียชีวิต 6 คน เป็น 84 คนในวันเดียว 25 ตุลาคม
2548 พระ สุพจน์ สุวโจ, 39 ปี
1 ถูกสังหารด้วยของมีคมอย่างเหี้ยมโหด (อายุพรรษาการบวช 13 พรรษา) พระนักพัฒนาและอนุรักษ์ลุ่มน้ำฝาง ผู้เผยแผ่พระพุทธศาสนาและรักษาสิ่งแวดล้อม จ.เชียงใหม่ เดิมท่านสังกัดวัดชลประทานรังสฤษฏ์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี ลุ่มน้ำแม่ฝางมีสวนส้ม 200,000 ไร่ ครึ่งหนึ่งของสวนส้มเป็นพื้นที่ป่าที่ถูกบุกรุก - --ที่ผ่านมาบุคคลเหล่านี้ได้ใช้กำลังเข้าไปตัดฟันต้นไม้ แผ้วถางทำลายป่าบางส่วนในสวน เมตตาธรรม และยึดเอาไปขายให้กับคนนอกพื้นที่เพื่อปลูกสวนส้ม พระสุพจน์และกลุ่ม พุทธทาสศึกษาได้พยายามปกป้องผืน ป่าจากการถูกบุกทำลาย หลายครั้งที่พระไป แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจให้ ดำเนินคดีกับผู้บุกรุก แต่ก็ทำอะไรไม่ได้คนเหล่านี้ ไม่ได้ มีนักเลงบุกเข้ามารุมกระทืบผู้ดูแลสถานปฏิบัติธรรมจนได้รับบาดเจ็บสาหัส วันที่ 17 มิถุนายน มีพบศพพระสุพจน์ที่พงหญ้าในสวนปฏิบัติธรรม
รัฐประหาร 2549 และการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย 24
นวมทอง ไพรวัลย์
ผูกคอตายประท้วงรัฐประหาร 2549 เขาขับรถแท็กซีข่ องตัวเอง พุ่งชนรถถัง เพื่อประท้วงการปฏิวัติในวันที่ 19 กันยายน 2549 ได้รับบาดเจ็บสาหัส 31 ตุลาคม เขาผูกคอตายประท้วงที่หน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
2551 ณรงค์ศักดิ์ กรอบไทสง
ถูกกลุ่มพันธมิตรรุมตีเสียชีวิตเมื่อ 2 กันยายน 2551
2552 การประท้วงของคนเสื้อแดงปี นายนัฐพงษ์ ปองดี นายชัยพร กันทัง
โดนจับปิดปากมัดมือไพล่หลัง แล้วซ้อมจนน่วมก่อนโยนทิ้งแม่น้ำเจ้าพระยา คนงานจังหวัดอุดรธานี ที่เข้าร่วมการประท้วงคนเสื้อแดง พบศพ 16 เมษายน โดนจับปิดปากมัดมือไพล่หลัง แล้วซ้อมจนน่วมก่อนโยนทิ้งแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นคนเสื้อแดงที่ร่วมประท้วง ชาวจังหวัดแพร ่ 16 เมษายน
2553 วีรชนคนเสื้อแดงที่เสียชีวิตเพราะการให้ใบอนุญาตฆ่า โดยรัฐบาลอภิสิทธิระหว่าง 10 เม.ย.-19 พ.ค."53 ที่มา สถาบัน การแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)รายงานรายชื่อผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการ เมืองของกลุ่ม นปช.ตั้งแต่ 10 เม.ย.- 19 พ.ค.2553 รวม 89 ราย บาดเจ็บ 1,855 คน บัณฑิต และข่าวสดรายวัน 2 มิถุนายน 2554 รายชื่อผู้เสียชีวิตจากการปะทะที่สี่แยกคอกวัว ณ วันที่ 10 เมษายน 2553 พลเรือน 1. นาย สวาท วงงาม อายุ 43ปี ถูกยิงศีรษะด้านบนข้างขวาทะลุขมับซ้าย 2. นาย ธวัฒนะชัย กลัดสุข อายุ 36 ปี ถูกยิงอกซ้าย ทะลุหลัง 3. นาย ทศชัย เมฆงามฟ้า อายุ 44 ปี ถูกยิงอกซ้าย ทะลุหลัง 4. นาย จรูญ ฉายแม้น อายุ 46 ปี ถูกยิงอกขวากระสุนฝังใน 5. นาย วสันต์ ภู่ทอง อายุ 39 ปี ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า 6. นาย สยาม วัฒนนุกุล อายุ 53 ปี ถูกยิงอก ทะลุหลัง 7. นาย มนต์ชัย แซ่จอง อายุ 54 ปี ระบบหายใจล้มเหลวจากโรคถุงลมโป่งพอง เสียชีวิตที่รพ. 8. นาย อำพน ตติยรัตน์ อายุ 26 ปี ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า 9. นาย ยุทธนา ทองเจริญพูลพร อายุ 23 ปี ถูกยิงศีรษะด้านหลัง ทะลุด้านหน้า 10. นาย ไพรศล ทิพย์ลม อายุ 37 ปี ถูกยิงศีรษะด้านหน้า ทะลุท้ายทอย เสียชีวิตที่ รพ. 11. นาย เกรียงไกร ทาน้อย อายุ 24 ปี ถูกยิงสะโพก กระสุนฝังในช่องท้อง เสียชีวิตที่รพ. 12. นาย คะนึง ฉัตรเท อายุ 50 ปี ถูกยิงอกขวา กระสุนฝังใน 13. นายนภพล เผ่าพนัส อายุ 30 ปี ถูกยิงที่ท้อง เสียชีวิตที่ รพ. 25
14. นายสมิง แตงเพชร อายุ 49 ปี ถูกยิงศีรษะ เสียชีวิตที่รพ. 15. นาย สมศักดิ์ แก้วสาน อายุ 34 ปี ถูกยิงหลัง ทะลุอกซ้าย เสียชีวิตที่รพ. 16. 22 นาย บุญธรรม ทองผุย อายุ 40 ปี ถูกยิงหน้าผากซ้ายทะลุศีรษะด้านหลังส่วนบน 17. 23 นาย เทิดศักดิ์ ฟุ้งกลิ่นจันทร์ อายุ 29 ปี แผลที่หน้าอกซ้าย เสียชีวิตที่รพ. 18. ชายไม่ทราบชื่อ อายุ 40-50 บาดแผลเข้าสะโพกขวาตัดเส้นเลือดแดงใหญ่ที่ขาหนีบ เสียชีวิตที่รพ. 19. นาย มานะ อาจราญ อายุ 23 ปี ถูกยิงศีรษะ ด้านหลังทะลุหน้า 20. นายอนันต์ สิริกุลวานณิชย์ อายุ 54 ปี ถูกยิงเสียชีวิต นักข่าวต่างชาติ 21. Mr. Hiroyuki Muramoto อายุ 43 ปี ถูกยิงอกซ้าย เสียชีวิตก่อนถึง รพ. (ผู้สื่อข่าวรอยเตอร์) ทหาร 22. พ.อ. ร่มเกล้า ธุวธรรม อายุ 43 ปี ท้ายทอยขวาฉีกขาดน่อง 2ข้างฉีกขาด เสียชีวิตที่รพ. 23. พลฯ สิงหา อ่อนทรง อกซ้ายและด้านหน้าต้นขาซ้ายฉีกขาด 24. พลฯอนุพงศ์ หอมมาลี อายุ 22 ปี ถูกสะเก็ดระเบิดที่ศีรษะ เสียชีวิตที่รพ. 25. พลฯ ภูริวัฒน์ ประพันธ์ อายุ 25 ปี แผลเปิดกะโหลกท้ายทอย 26. พลฯ อนุพงษ์ เมืองร าพัน อายุ 21 ปี ทรวงอกฟกช ้า น่อง 2 ข้างฉีกขาด รายชื่อผู้เสียชีวิตที่ถนนสีลม ณ วันที่ 22 เมษายน 2553 27. นางธันยนันท์ แถบทอง อายุ 50 ปี ถูกสะเก็ดระเบิด เสียชีวิตถนนสีลม รายชื่อผู้เสียชีวิตที่แยกศาลาแดง วันที่ 13 พฤษภาคม2553 28. พล.ต.ดร.ขัตติยะ สวัสดิผล อายุ 58 ปี ถูกยิงที่บริเวณ ศีรษะ เสียชีวิตที่รพ. 29. นายชาติชาย ชาเหลา อายุ 25 ปี มีแผลเปิดบริเวณท้ายทอย เสียชีวิตที่จุดเกิดเหตุ รายชื่อผู้เสียชีวิตจากการปราบปรามตั้งแต่วันที่ 14 - 19 พฤษภาคม 2553 30. นายปิยะพงษ์ กิติวงค์, 32 31. นายประจวบ ศิลาพันธ์ 32. นายสมศักดิ์ ศิลารักษ์ 33. นายอินทร์แปลง เทศวงศ์, 32 34. นายเสน่ห์ นิลเหลือง, 48 35. นายชัยยันต์ วรรณจักร, 20 36. นายบุญทิ้ง ปานศิลา, 25 37. นายมนูญ ท่าลาด 38. นายพัน คำกลอง, 43 39. นายกิติพันธ์ ขันทอง, 26 40. นายสรไกร ศรีเมืองปุน, 34 41. นายชาญณรงค์ พลอยศรีลา, 32
ถูกยิง ถูกยิง ถูกยิง
ถูกยิงที่คอ ถูกยิงหน้าอกซ้าย แผลที่ชายโครง แผลที่ศีรษะ ถูกยิงหน้าท้องและแขน 26
เสียชีวิตที่สวนลุมพินี เสียชีวิตที่สวนลุมพินี เสียชีวิตที่ศาลาแดง เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ (อาสาสมัครวชิระฯ) เสียชีวิตที่ซอยหมอเหล็ง เสียชีวิตที่ซอยหมอเหล็ง เสียชีวิตที่รพ. เสียชีวิตก่อนถึงรพ. เสียชีวิตที่ราชปรารภ
42. นายทิพเนตร เจียมพล, 32 แผลที่ศีรษะ เสียชีวิตก่อนถึง รพ. 43. นายสุภชีพ จุลทัศน์, 36 แผลที่ศีรษะ เสียชีวิตก่อนถึง รพ. 44. นายวารินทร์ วงศ์สนิท, 28 แผลที่หน้าอกขวา เสียชีวิตก่อนถึง รพ. 45. นายมานะ แสนประเสริฐศรี, 22 แผลถูกยิงที่ศีรษะ (อาสาสมัครปอเต็กตึ๊ง) 46. นางสาวสันธนา สรรพศรี, 32 ถูกกระสุนเข้าท้องและแขน เสียชีวิตที่ซอยหมอเหล็ง 47. นายธันวา วงศ์ศิริ, 26 แผลที่ศีรษะ เสียชีวิตก่อนถึงรพ. 48. นายอำพล ชื่นสี, 25 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ 49. นายสมพันธ์ ศรีเทพ, 17 ถูกยิงที่ศีรษะ เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ 50. นายอุทัย อรอินทร์, 35 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ 51. นายพรสวรรค์ นาคะไชย, 23 ถูกยิงหลายตำาแหน่ง เสียชีวิตที่รพ. 52. นายเกรียงไกร เลื่อนไธสง, 25 ถูกยิงที่ศีรษะ เสียชีวิตที่รพ. 53. นายประจวบ ประจวบสุข, 42 เสียชีวิตที่เจริญกรุงประชารักษ์ 54. นายเกียรติคุณ ฉัตรวีระสกุล, 25 ถูกยิงที่หน้าอกซ้าย เสียชีวิตในที่เกิดเหตุ 55. นายวงศกร แปลงศรี, 40 ถูกยิงที่หน้าอก เลือดออกในช่องอก เสียชีวิตที่รพ. 56. นายสมชาย พระสุวรรณ,43 ถูกยิงที่ศีรษะ เสียชีวิตที่รพ. 57. นายสุพรรณ ทุมทอง, 49 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ 58. นายเฉลียว ดีรื่นรัมย์, 27 ถูกยิงใต้ราวนมขวา เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ 59. นายสุพจน์ ยะทิมา, 37 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ 60. นานธนากร ปิยะผลดิเรก , 50 เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ 61. นายสมพาน หลวงชม, 35 ถูกยิงที่ท้อง เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ 62. นายมูฮัมหมัด อารี(ออง ละวิน ชาวพม่า), 40 มีแผลที่หน้าอกทะลุหลัง เสียชีวิตจุดเกิดเหตุ 63. นายธนโชติ ชุ่มเย็น, 34 บาดแผลกระสุนปืนทะลุไตซ้ายและเส้นเลือดใหญ่ เสียชีวิตจุดเกิดเหตุ เสียชีวิตก่อนถึง รพ. 64. นายถวิล คำมูล ,38 มีแผลที่ศีรษะ 65. นายปรัชญา แซ่โค้ว , 21 ปี บาดแผลกระสุนปืนทำลายตับ เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ 66. นายนรินทร์ ศรีชมภู บาดแผลกระสุนปืนทำลายสมอง เสียชีวิตที่รพ. 67. น.ส.วาสินี เทพปาน เสียชีวิตก่อนถึง รพ. 68. นายเยื้อน โพธิ์ทองคำ, 60 แผลที่ก้น เสียชีวิต 21 พค.53 69. นายกิตติพงษ์ สมสุข, 20 ไฟใหม้ตึกเซ็นทรัลเวิร์ล พบศพวันที่ 21 พค.2553 70. นายสมัย ทัดแก้ว, 36 71. นายรพ สุขสถิตย์ 72. ชายไม่ทราบชื่อ โดนยิงขาหนีบ เสียชีวิตที่ราชปรารภ 73. ชายไม่ทราบชื่อ อายุ 14 ปี ถูกกระสุนเข้าท้องและแขน เสียชีวิตที่ซอยหมอเหล็ง 74. ชายไม่ทราบชื่อ อายุ 26 ปี เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ 75. หญิงไม่ทราบชื่อ ถูกยิง เสียชีวิตก่อนถึง รพ. 76. ชายไม่ทราบชื่อ มีแผลที่ศีรษะ เสียชีวิตก่อนถึง รพ. 77. ชายไม่ทราบชื่อ เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก สมองช้ำ จากการถูกระแทก เสียชีวิตก่อนถึง รพ. 27
78. นายทรงศักดิ์ ศรีหนองบัว, 33 79. นายเพลิน วงษ์มา, 40
จ. ขอนแก่น จ. อุดรธานี
แผลที่หน้าอก เสียชีวิตที่รพ.20 พค.53
นักข่าวต่างประเทศ 80. MR.Polenchi Fadio ( นักข่าวชาวอิตาลี ) อายุ 48 ปี ถูกยิงที่หน้าอก เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ ทหาร 81. พลทหารณรงค์ฤทธิ สาระ เสียชีวิต จุดเกิดเหตุ (เสียชีวิตจากการปะทะที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ วันที่ 28 เมษายน 2553) 82. สต.อ.กานต์ณุพัฒน์ เลิศจันเพ็ญ อายุ 38 ปี มีบาดแผลกระสุนปืน เสียชีวิตจุดเกิดเหตุ (คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงหน้าธนาคารกรุงไทย ถนนสีลม วันที่ 7 พฤษภาคม 2553) 83. จ.ส.ต.วิทยา พรมสารี อายุ 35 ปี ถูกสะเก็ดระเบิดบริเวณหน้าอกด้านขวา เสียชีวิตที่รพ. (จากการปะทะที่ประตู 4 สวนลุมพินี วันที่ 8 พฤษภาคม2553) 84. จ.ส.อ.พงศ์ชลิต ทิพยานนทกาญจน์ อายุ 31 ปี ถูกยิงที่ศีรษะ เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ 85. ส.อ. อนุสิทธิ์ จันทร์แสนตอ อายุ 44 ปี เสียชีวิตในที่จุดเกิดเหตุ รายชื่อผู้เสียชีวิต 6 คนที่วัดปทุม 86. นายวิชัย มั่นแพอายุ 61 ปี 87. นายอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 28 ปี 88. นายมงคล เข็มทอง อายุ 36 ปีs 89. นายสุกัน ศรีรักษา อายุ 31 ปี 90. นายอัครเดช ขันแก้ว อายุ 22 ปี 91. น.ส.กมนเกด อัคฮาด อายุ 25 ปี 92. ไม่ทราบชื่อที่จังหวัดขอนแก่น 93. ไม่ทราบชื่อที่จังหวัดอุบลราชธานี หมายเหตุ ทั้งหมดเป็นรายนามผู้เสียชีวิตจากเหตุคาวมไม่สงบ ในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ตั้งแต่วันที่12 มีนาคม 2553 ถึง วันที่ 19 พฤษภาคม 2553
19 พฤษภาคม 2553 - วัดปทุมวนาราม ที่มา ข่าวสดออนไลน์ 2 มิถุนายน 2553 ผลตรวจ 6 ศพวัดปทุมวนาราม ถูกระดมยิงด้วยกระสุนขนาด 5.56 ม.ม. ที่ใช้กับปืนเอ็ม 16 หรือทาโวร์ เผยน้องเกด (กมนเกต อักฮาด) โดนเข้าไป 10 นัด รายงานข่าวเปิดเผยว่า สถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พ.ต.อ.น.พ.พรชัย สุธีรคุณ รอง.ผบก.นต. ได้ส่งรายงานผลการชันสูตรพลิกศพของผู้เสียชีวิตภายในวัดปทุมวนาราม 28
จำนวน 6 ศพ เมื่อวันที่ 19 พ.ค. ให้พนักงานสอบสวน สน.ปทุมวัน โดย ระบุผลการชันสูตรว่า ศพที่ 1 ผู้ตายชื่อ นายวิชัย มั่นแพ อายุ 61 ปี โดยระบุผู้ตายมีบาดแผลบริเวณผิวหนัง ทะลุบริเวณต้นแขนขวาด้านนอก บาดแผลผิวหนังทะลุต้นแขนขวา และบาดแผลบริเวณทรวงอกด้านขวา สันนิษฐาน ว่ากระสุนทะลุปอดขวา กะบังลม ตับ ไตขวา ขั้วยึด ลำไส้ พบเศษทองแดง 2 ชิ้น บริเวณขั้นยึดลำไส้ ทิศทางจากขวา ไปซ้าย หน้าไปหลัง และบนลงล่าง ความเห็นเพิ่มเติม ถูกยิง 1 นัด ระยะเกินมือเอื้อม สาเหตุการตาย กระสุนทำลาย ปอดและตับ ศพที่ 2 นายอัฐชัย ชุมจันทร์ อายุ 28 ปี มีบาดแผลผิวหนังทะลุบริเวณหลังด้านซ้าย บาดแผลผิวหนังทะลุบริเวณ ทรวงอกด้านซ้ายส่วนบน กระสุนตัดกระดูกซี่โครงด้านซ้ายซี่ที่ 3 ทะลุปอดซ้าย ทิศทางจากหลังไปหน้าแนวตรง ความเห็นเพิ่มเติม ถูกยิง 1 นัด ระยะเกินมือเอื้อม สาเหตุการตาย กระสุนทำลายปอด ศพที่ 3 นายมงคล เข็มทอง อายุ 36 ปี พบบาดแผลฉีกขาดตื้นๆ รูวงกลมบริเวณต้นแขนซ้าย 2 แห่ง พบบาดแผล ผิวหนังทะลุบริเวณทรวงอกด้านซ้าย กระสุนตัดกระดูกซี่โครงด้านหน้าซี่ที่ 2-3 กระดูกกลางอก ทะลุปอดซ้าย หัว ใจ ปอดขวา กะบังลม ตับ พบเศษทองแดงในเสื้อ เศษตะกั่วเล็กๆ ในหัวใจและปอด ทิศทางจากซ้ายไปขวา หน้าไปหลัง และบนลงล่าง สาเหตุการตาย กระสุนทำลายหัวใจ ปอด ตับ - ถูกยิงที่หัว-หน้าทะลุหัวใจ ศพที่ 4 นายสุกัน ศรีรักษา อายุ 31 ปี มีบาด แผลทะลุผิวหนังถึง 9 แห่ง โดยบาดแผลที่ 1 กระสุนทะลุซี่โครงซี่ที่ 2 ด้านซ้าย ทะลุปอดซ้าย ทะลุเยื่อหุ้มหัวใจ และกล้ามเนื้อหัวใจฉีกขาด พบโลหะคล้ายหัวกระสุนปืนหุ้มทองแดง 1 ชิ้น ค้างอยู่ที่เนื้อชายโครงด้านขวา ไม่ทะลุออกทิศ ทางจากซ้ายไปขวา บนลงล่าง หลังไปหน้าเล็กน้อย สาเหตุการตาย ปอดคั่งเลือดทั่วไป กล้ามเนื้อหัวใจฉีกขาด ตับคั่งเลือด เสียโลหิตเป็นจำนวนมาก ศพที่ 5 นายอัครเดช ขันแก้ว อายุ 22 ปี ตรวจพบบาดแผลทะลุผิวหนังจำนวน 7 แห่ง พบรอยช้ำใต้หนังศีรษะ บริเวณท้ายทอยด้านซ้าย สมองพบเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก กระ สุนทะลุกระดูกกรามด้านขวาหัก กระดูก โหนกแก้มขวาแตก พบเศษตะกั่วในช่องปากและฐานกะโหลกศีรษะ และพบเศษตะกั่วบริเวณกระดูกก้นกบ สาเหตุ การตายถูกยิง 2 นัด ระยะเกินมือเอื้อม เลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองชั้นนอก เนื้อสมองช้ำ จากการถูกแรงกระแทก (กระสุนทะลุช่องปาก) ส่วนศพที่ 6 เป็นหญิงชื่อ น.ส.กมนเกด อัคฮาด อายุ 25 ปี พบว่ามีบาดแผลถูกยิงทะลุผิวหนังมากถึง 10 แห่ง โดยบาดแผลที่ 1 กระ สุนถูกเข้าที่หลังผ่านขึ้นด้านบนผ่านแนวลำคอหลังทะลุผ่านกะโหลกศีรษะซีกซ้าย ทะลุสมอง น้อยและสมองใหญ่ พบชิ้นส่วนโลหะคล้ายหัวกระสุนหุ้มทองแดง 1 ชิ้น ค้างที่กะโหลกด้านขวา ทิศทางจากล่างขึ้นบน หลังไปหน้า ขวาไปซ้ายเล็กน้อย ลักษณะหมอบลงกับพื้น หน้าหันลงพื้นดิน บาดแผลที่ 2-4 ถูกยิงเข้าบริเวณอก บาดแผลที่ 5-10 ถูกยิงบริเวณแขนและขา ลักษณะถูกระดมยิง สาเหตุการตายกระสุนทะลุหลังเข้าไปทำลายสมอง ซึ่งแพทย์ผู้ตรวจยังไม่สามารถระบุได้ว่าถูกยิงจากบนลงล่างหรือไม่ แต่จากการสันนิษฐานเชื่อว่า น.ส.กมนเกด หมอบหน้าแนบพื้น ถูกระดมยิง จากด้านหลัง ซึ่งการตรวจสอบที่แน่ชัดต้องมีพยานที่อยู่ในที่เกิดเหตุมาประกอบด้วย เพราะการจำลองใช้เลเซอร์มาวางแนววิถีกระสุนก็ทำไม่ได้ในกรณีนี้ เนื่องจากหัวกระสุนไปถูกกระดูกและกระดอนไปมา ทำให้ร่างกายเสียหายมากจนไม่ สามารถจำลองแนวการยิงได้อย่างแน่ชัด ส่วนการตรวจที่เกิดเหตุ กลุ่มงานตรวจอาวุธ และเครื่องกระสุนกองพิสูจน์หลักฐานกลาง ได้รับของกลางจากผู้เสียชีวิต ทั้ง 6 ศพ ภายในวัดปทุมวนาราม พบเศษของลูกกระสุนปืนเล็ก (ทองแดง) ขนาด 5.56 ม.ม. จำนวน 5 ชิ้น เศษรอง ลูกกระสุนปืน (ทองแดง) ไม่สามารถระบุขนาดได้จำนวน 3 ชิ้น พบเศษตะกั่วทรงกลมไม่สามารถระบุได้จำนวน 3 ชิ้น 29
ความเห็นผู้เชี่ยว ชาญ ของกลางที่พบเป็นเครื่องกระสุนปืนเล็กกล ขนาด 5.56 ม.ม.และเป็นเครื่องกระสุนแบบที่นาย ทะเบียนไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ได้และเป็นกระสุนปืนที่สามารถยิงทำอันตรายแก่ชีวิตและวัตถุได้ สำหรับผลการชันสูตรทั้ง 6 ศพที่ถูกยิงในวัดปทุมวนาราม ลงชื่อ พ.ต.อ.พิภพ ไกรวัฒนพงศ์ นักวิทยาศาสตร์ (สบ 4) กลุ่มงานผู้เชี่ยวชาญ กองพิสูจน์หลักฐานกลาง
ผู้เสียชีวิตจากการกวาดล้างหลังสลายการชุมนุม 2553
93
นอกจากผู้เสียชีวิตในช่วงการชุมนุม 91 ศพแล้ว หลังยุติการชุมนุม คนเสื้อแดงถูกสังหารเพิ่มอีก 5 ราย คือ 1. ศักรินทร์ กองแก้ว (อ้วน บัวใหญ่) เสื้อแดงโคราชที่เคยมีบทบาทไปยกป้ายประท้วงพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ 2. สวาท ดวงมณี การ์ดเสื้อแดงระยอง ถูกยิงเสียชีวิต 3. นายธนพงศ์ แป้นมี การ์ดของนาย ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ถูกรถกระบะพุ่งชนเสียชีวิต 4. กฤษดา กล้าหาญ (น้องเจมส์ การ์ด DJ อ้อ) เชียงใหม่ ถูกกระหน่ำยิงด้วยปืน M 16 5. น้อย บรรจง (แดง คชสาร) เชียงใหม่ ถูกกระหน่ำยิงด้วยอาวุธปืนร่วมร้อยนัด บางคนบอกว่ามีหลายคนที่ถูกสังหารหลังปราบปราบเสื้อแดงที่ไม่สามารถระบุได้
2554 นายโกวิทย์ เจริญนนทสิทธิ์
4 ถูกยิงเสียชีวิต นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองบางบัวทอง จ.นนทบุรี ขณะที่ลงจากรถที่หน้าบริษัท วีวิศวะอินเตอร์เนชั่นแนล ของเขา คนร้ายได้ขับรถชะลอ จากนั้นได้ใช้อาวุธปืนยิงนายโกวิทย์จนเสียชีวิต โกวิทย์เป็นคนพรรคเพื่อไทยและหัว คะแนนการเมืองให้กับพี่ชายสมาชิกพรรคไทยรักไทย 2 มีนาคม 2554
ทองนาค เสวกจินดา อายุ 47 ปี ถูกยิงเสียชีวิต ผู้ตายเป็นแกนนำต่อต้านกิจการถ่านหินในชุมชนตำบลท่าทราย จังหวัดสมุทรสาคร ที่ก่อปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ต้นปี 2551 เขาถูกขู่ทาง โทรศัพท์ก่อนเสียชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ว่า "ไปเป็นแกนนำในการประท้วงทำไม ระวังตัวไว้ให้ดี" เขาถูกยิงจนเสียชีวิต 28 กรกฎาคม นายอุดมทรัพย์ ธรรมเมือง, 56 ปี ถูกคนร้ายสี่คนรุมฆ่าปาดคอ เขาเป็นแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงของ จ.แพร่ และใช้ร้านดังกล่าวเป็นจุดประสานงานกลุ่ม นปช.แพร่ ผู้สนับสนุนน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และผู้สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อไทย หัวคะแนนนายวรวัจน์ เอื้ออภิญกุล สส. แพร่ที่ได้รับเลือกตั้งเมื่อ 3 กรกฎาคม 2554 และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการ กระทรวง ศึกษาธิการ 26 สิงหาคม นายสิงห์ทอง พุทธจันทร์, อายุ 61 ปี ถูกยิงด้วยปืนลูกซอง 6 นัดเมื่อ 8 กันยายน 2554 เขาเป็นแกนนำต่อต้านการ สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวลของเอกชนรายหนึ่ง ที่จะไปก่อตั้งพื้นที่ ต.เวียงเหนือ และต.ผางาม อ.เวียงชัย จ. เชียงราย ในวันที่ 13 กันยายน 2554 ชาวบ้าน 200 คน แห่ศพนายสิงห์ทองไปยังศาลากลาง เพื่อขอความเป็นธรรม 8 กันยายน 30
เสียชีวิตจากความรุนแรงจากการเลือกตั้ง 2554 (รวบรวมโดยประชาไท) 11 นิมิตร แก้วกำพล อายุ 36 ปี ถูกยิงด้วยปืน .38 เข้าที่สีข้าง 2 นัด จ.พิจิตร เขาเป็นนายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ไผ่ขวาง และเป็นหัวคะแนนใหญ่ของนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ แกนนำ พรรคชาติไทยพัฒนา เสียชีวิตระหว่างนำส่งโรงพยาบาลที่เชียงราย 29 พฤษภาคม มงคล วีระวัฒน์พงษ์ศธร อายุ 46 ปี ถูกยิงด้วยอาวุธปืนขนาด 9 มม. ยิงเสียชีวิตคาร้านอาหาร ผู้ใหญ่บ้านหมู่บ้าน ห้วยส้าน หมู่ 8 ต.แม่สลองใน อ.แม่ฟ้าหลวง จ. เชียงราย และเป็นหัวคะแนน พรรคเพื่อไทย 2 มิถุนายน ดาหารี การี อายุ 46 ปี
ถูกแทงเสียชีวิต หัวคะแนนของนายอดิลัน อาลีอิสเฮาะ ผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 จ.ปัตตานี พรรคเพื่อไทย หลังสนทนาเรื่องการเมืองกับชาวบ้านในพื้นที่ ทำให้คนร้าย ประมาณ 2-3 คน ที่อยู่ภายในร้านน้ำชา ซึ่งคาดว่าเป็นกลุ่มของพรรคการเมืองคู่แข่งเกิดความ ไม่พอใจจึงได้เกิดการโต้เถียงกันอย่างหนัก สุดท้ายหนึ่งในคนร้ายได้เดินกลับบ้าน พร้อมทั้งได้นำมีดปลายแหลมพกติดตัวมา ด้วย จากนั้นได้แทงใส่ร่างของนายดาหารี แล้ววิ่งหลบหนีไป 11 มิถุนายน
วุฒิชาติ กันพร้อม อายุ 53 ปี ถูกยิงเสียชีวิตด้วยปืนกลมือขนาดลูกกระสุน 11 นายก อบต.ตำหรุ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี เขาเป็นหัวคะแนนพรรคเพื่อไทย 13 มิถนุ ายน สุบรรณ จิระพันธุ์วาณิช
ถูกยิงเสียชีวิต เขาเป็ฯนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลพบุรี พี่ชาย น.ส.มัลลิกา จิระพันธุ์วาณิช ผู้สมัคร ส.ส.ลพบุรี พรรคภูมิใจไทยเสียชีวิต ในตรอกมะยม หลังที่จอดรถกองสลากกินแบ่งรัฐบาล ถนนราชดำเนิน ใกล้กับถนนข้าวสาร 16 มิถุนายน รังสรรค์ อันทสุทธิ์ อายุ 58 ปี ถูกยิงด้วยอาวุธปืนขนาด .38 สมาชิก อบต.บ้านใหม่ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เขาเป็นหัวคะแนนพรรคเพื่อไทย 18 มิถุนายน นางจงกล บุญญา ถูกจ่อยิงเสียชีวิต อดีตนายก อบต.เขาวง จ.สระบุรี โดยนางจงกล เป็นอดีต อบต.เขาวง 2 สมัย แต่สอบตกเมื่อสมัยที่ผ่านมา ซึ่งการเลือกตั้งนายก อบต.ในอีก 2 เดือนข้างหน้า เธอเป็นตัวเก็งที่จะชนะการเลือกตั้ง เธอเป็นหัวคะแนนคนสำคัญ ของผู้สมัคร ส.ส.เขต 1 พรรคเพื่อไทย 19 มิถุนายน
นายโสภณ สองแก้ว อายุ 52 ปี ถูกยิงเข้าที่ศีรษะและลำตัว กำนัน ต.ยุโป อ.เมือง จ.ยะลา ภรรยาของเขา ถูกยิงเข้าที่ลำตัว อาการสาหัส เบื้องต้นเจ้าหน้าที่คาดปมสังหารน่าจะมาจาก ความขัดแย้งทางการเมือง เนื่องจากนายโสภณ ถือว่าเป็นกำนันชื่อดัง และเป็นหัวคะแนนของพรรคประชาธิปัตย์ 20 มิถุนายน นายไสว หนูเทศ หรือกำนันเผือก อายุ 56 ปี ถูกยิงด้วยปืนเอ็ม 16 กระสุนเข้าใบหน้าและลำตัว 5 นัด อดีตกำนันตำบลโคกโคเฒ่า หัวคะแนนให้พรรคเพื่อไทย จ.สุพรรณบุรี 23 มิถุนายน วิทยา ศรีพุ่ม
ถูกจ่อยิงเสียชีวิต นายก อบต.ดอนใหญ่ อ.บางแพ จ.ราชบุรี เป็นหัวคะแนนให้กับนาย บุญดำรง ประเสิฐโสภา ผู้สมัครส.ส.พรรคภูมิใจไทย ขณะที่กำลังจะเดินทางไปทำงาน 31
ที่สำนักงาน อบต. 27 มิถุนายน นายอภิสิทธิ์ บุญสิทธิ์ อายุ 44 ปี ถูกยิงด้วยอาวุธปืนไม่ทราบขนาดเข้าที่โครงขวา 2 นัด กกหูขวา 1 นัด เสียชีวิต เขาเป็นหัวคะแนนของพรรคประชาธิปัตย์ 28 มิถุนายน
ความรุนแรงที่ภาคใต้ 2547 - ปัจจุบัน
4, 500
2 กรกฎาคม 2553 มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ออกแถลงการประณามการใช้ความรุนแรงที่ภาคใต้ ว่านับตั้งแต่ปี 2547 จนถึงปัจจุบัน จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 4,000 ราย บาดเจ็บกว่า 7,000 คน มีภรรยาม่าย 2,000 คน ต้องรับผิดชอบเด็กกว่า 5000 คน ภายในระยะเวลาเพียง 6 ปี วิถีการจัดการที่ภาคใต้ด้วยวิถีทหารและความรุนแรง ไม่ทำให้เหตุการณ์สงบ และยังสูญเปล่างบประมาณของรัฐรวมกันว่า 145,000 ล้านบาท ซึ่งถ้าใช้งบนี้ไปกับการพัฒนาภาคใต้โดยให้ชุมชน มีส่วนร่วม ก็อาจจะทำให้สถานการณ์ความรุนแรงผ่อนคลายได้กว่าการใช้งบไปกับทหารและอาวุธ
สรุปตัวเลขเหยื่อแห่งความรุนแรงทางการเมืองที่รวบรวมไว้ ณ ที่นี้
11,131 คน
References: Amsterdam &Peroff LLP, Application to investigate the situation of the Kingdom of Thailand with regard to the commission of crimes againsts humanity, The Hague, the Netherlands, 31 January, 2011 Firelamtung, Ruam Wongphan, http://www.firelamtung.com/index.php?option=com_content&view=article&id=79:-&catid=27&Itemid=19 Thak Chaloemtiarana, Thailand: The politics of despotic paternalism, The Foundation for the Promotion of Social Sciences and Humanities Textbooks project, May 2005 Sochai Phatharathananunth, Isan and the Thai State: Domination, Conflict and Resistance, Mahasarakam University. Attichai Sirithet, Thai NGOs, People’s History “Communists and Red barrels Case’, 20 September 2004 http://www.thaingo.org/story3/red_tang.htm N/a, 20 Years 6 Octboer 1976, from 14 October to 6 October, the inspiration for struggle for new society, http://www.starbacks.ca/CapitolHill/9622/tula4.htm OK Nation, figures on people died from War on Drugs Raids, 2003, http://www.oknation.net/blog/print.php?id=433502 Thairath Newspaper, Editorial, True Human Rights Defenders, 29 April 2009 th
List of 89 people died from the Military Crackdown on April – May 2010, Dailyworld Today, 6 Year, issues 274, 28 August – 3 September 2010, page 4-5 War on Drugs, Naewna Newspaper, 25 May 2009 http://www.naewna.com/news.asp?ID=162915
32
War on drugs report, http://www.kingdomplaza.com/scoop/newsforprint.php?nid=3103 Lists of people died from the crackdown on 13-15 October, 14 October 1973 Memorial, http://www.14tula.com/memorial/memorial_3.htm Information of the October 6, 1976 crackdown, www.2519.net Wikipedia/The assassinations of the four members of Parliament in 1949. Wikipedia/The May 1992 uprising and crackdown. Thai E-News, 100 Years of People’s Heroes, 5 December 2009. http://thaienews.blogspot.com/2009/12/52452-52552.html Thai E-News, story of political assassinations. 23 December 2010 23. http://thaienews.blogspot.com/2010/12/blogpost_4832.html Bangkokbiznews, Solving Southern Conflict, wasting budget of 140 billion Baht. http://www.bangkokbiznews.com/2011/01/17/news_32272972.php?news_id=32272972, 17 January 2011-03-15 Kom Chad Luek Newspaper, Krong Jandawong, a Sawang Dindan’s Hero, 30 May 2009, http://www.komchadluek.net/detail/20090530/14931 Wikipedia, The 6 October 1976 crackdown, http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0% B8%A3%E0%B8%93%E0%B9%8C_6_%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%B2 Wikipedia, The May 1992 Crackdown, http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%A9%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0% B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%AC 2519.net , Story on the 6 October 1996 crackdown, http://www.2519.net/autopage/show_page.php?t=15&s_id=1&d_id=4&page=1 OK Nation, Kor Khon Human Rights, 10 December 2007 http://www.oknation.net/blog/print.php?id=172414 Office of National Human Rights Commissioners http://www.nhrc.or.th/index.php?lang=EN Komchadluek Newspaper Online, The Devil’s Shadow ‘The Black May’, 11 April 2009 http://www.komchadluek.net/detail/20090411/9148 Wittayakorn Boonruang, Phra Supoj’s mysterious death: a Buddhist monk falls victim to capitalist greed (2), Prachatai, 3 October 2007, http://www.prachatai.com/english/node/271 Wikipedia, Jit Phumsak http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A3_%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0 %B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B9%8C Thai E-News Dr. Sanong Punyodyana, 27 February 2010. http://thaienews.blogspot.com/2010/02/blog-post_8732.html. Thanet Apornsuwan. Interpreting the Conflict in Southern Thailand. 2008 The World Today (Thai) Magazine (2010), No. 274, August 28 - September 3, p 4-5. http://www.komchadluek.net/detail/20110303/90497 http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/local/20110728/402249 Khaosod News, 14 September 2011, Year 21, issue่ 7594 Prachatai.com, 04 July 2011, http://www.prachatai3.info/journal/2011/07/35842
33
นักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
ตามที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าข้อมูลเกี่ยวกับนักโทษคดีหมิ่นฯ นั้นหาไม่ได้ง่ายนัก ทั้งจำนวนผู้คนที่อยู่ในค่ายเฝ้ามอง เรื่องคดีหมิ่นฯ มีกี่คนที่การออกหมายจับแล้วโดยแม้แต่่เจ้าตัวก็ไม่รู้ มีกี่คนที่เข้าไปนั่งจับเข่าอยู่ในห้องขังแม้ว่าคดี ยังไม่ถูกตัดสิน หรือกี่คนผู้ที่ถูกตัดสินและถูกคุมขังแล้ว ไม่มีใครทราบจำนวนที่แท้จริง ข้อมูลชุดนี้เป็นเพียงการนำเสนอสั้นๆ ของตัวอย่างคดีหมิ่นฯ เพื่อที่จะชี้ให้เห็นภาพว่าคดีหมิ่นฯ ถูกใช้เป็นเครื่องมือ ในการกดทับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและขบวนการ ประชาธิปไตยอย่างไรบ้าง ข้อมูลที่ใช้ประกอบการเขียนนี้มาจาก Political Prisoners in Thailand (PPT), LM Watch, ประชาไท ไทยอีนิวส์ และสำนักข่าวออนไลน์ต่างๆ ตัวเลขของคดีหมิ่นฯ เพิ่มสูงขึ้นอย่างน่าตระหนกนับตั้งแต่รัฐประหาร 2549 (รัฐประหารของพระราชวัง) โดยคาดการณ์ ว่าน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 500 คดี การท่วมทะลักของคดีหมิ่นฯ ในปัจจุบันดูเหมือนว่าจะมีจุดเริ่มมาจากปี 2544 เมื่อนักข่าวชาวต่างชาติสองคนจาก Far Eastern Economic Review ถูก ห้ามเข้าประเทศไทย จนกระทั่งเมื่อบรรณาธิการต้องทำหนังสือขอโทษมายัง รัฐบาลไทยในขณะนั้น (ทักษิณ) – หลังจากที่เขียนบทความวิจารณ์สถาบันกษัตริย์และรัฐบาล นับตั้งแต่กันยายน 2546 บัณฑิต อานียา นัก แปลอิสระที่เป็นที่เป็นที่รู้จักดีในการแปลหนังสือและสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับแนว คิดสังคมนิยมกว่า 50 เล่ม ต้องใช้เวลาไปไม่น้อย จนถึงปัจจุบัน ไปกับการให้ปากคำตำรวจและขึ้นศาล ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา เขาถูกฝากขังในระหว่างคดีต่อเนื่องถึง 7 ครั้ง ถูกทำร้ายร่างกายในคุก ถูกตัดสิน ถูกจองจำ และในท้ายที่สุด ด้วยวัย 71 ปี และกำลังป่วยหนัก เขาได้รับอนุญาตให้ ประกันตัวด้วยเงิน 200,000 บาท โดยนักวิชาการชาวต่างชาติ เขากล่าวว่า ไม่มีคนไทยกล้า เข้ามาทำเรื่องประกันตัวเขา 34
ในปี 2549 หนังสือที่ทำลายความเงียบงันมาอย่างยาวนาน “กษัตริย์ผู้ไม่ยิ้ม” ของ Paul Handley ได้รับการตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์แห่งมหาวิทยาลัยเยล ที่สหรัฐฯ และมันก็ถูกแบบโดยทันทีในประเทศไทย
ปกหนังสือ "กษัตริย์ผู้ไม่เคยยิ้ม"
วันที่ 5 ธันวาคม 2549 ความอดกลั้นของ Oliver Jufer ชาวสวิสวัย 57 ปี ที่พำนักในเมืองไทยกับภรรยาชาวไทย กว่าสิบปี ต่อกระแส “รักในหลวง” ก็ถึงจุดยากควบคุม เขาถูกจับกุมหลังจากพ่นสีใส่รูปโปสเตอร์ “กษัตริย์แห่งกษัตริย์” ขนาดมหึมาที่ติดอยู่เต็มทุกมุมเมือง แทบจะทุกสี่แยกไฟแดงทั่วประเทศไทย จำนวน 5 ภาพ เขาถูกตัดสินจำคุก 10 ปี คดีของเขาไม่ได้รับความสนใจจากสื่อไทย แต่ได้รับการสนใจอย่างมากจากสื่อนานาชาติ เขาถูกเนรเทศในเดือนเมษายน 2550 ธนาพล อิ๋วสกุล บรรณาธิการวารสารรายสามเดือน “ฟ้าเดียวกัน” ถูกกล่าวหาด้วยข้อหาหมิ่นฯ ในปี 2549 และก็อีกคดี หนึ่งในปี 2554 ฟ้าเดียวกันถือว่าเป็นวารสารภาษาไทยเล่มแรกๆ ที่เริ่มนำเสนอข้อเขียนร่วมสมัย และบทวิเคราะห์ เกี่ยวกับบทบาทพระมหากษัตริย์ที่มีต่อการเมืองไทย และมันได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักศึกษา และนักวิชาการรุ่นใหม่ หมายเหตุ: กรณีของธนาพล เป็นคดีที่ “ถูกดองไว้” เช่นเดียวกับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอีกหลายคดี เพราะอะไร หรือ? เพราะว่า ถ้าคดีหมิ่นฯ เข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล ด้วยข้อจำกัดทางกฎหมายของรอยัลลิสต์ทั้งหลาย – ศาลจำเป็นจะต้องตัดสินไปในทิศทางเดียวว่า “หมิ่นฯ” เพราะว่า ถ้าศาลตัดสินว่าการกระทำนั้น “ไม่หมิ่นประมาทอำนาจ แห่งองค์พระมหากษัตริย์” ตัวของผู้พิพากษาเองก็อาจจะถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระมหากษัตริย์เองก็เป็นได้ ในข้อหาว่าไม่ ปกป้องสถาบัน เป็นต้น นี่เป็นต้นเหตุของความเหม็นเน่าของระบบตุลาการในประเทศไทย เป็นต้นตอของทุกแง่มุมปัญหาของ “วิกฤติประเทศ ไทย” ประจักษ์จำนนแห่งหลักฐานมานับตั้งแต่ศาลชั้นต้นทีเดียวว่า ผลลัพธ์แห่ง “ประชาธิปไตยภายใต้พระมหากษัตริย์” มีเพียงประการเดียวคือ “การคอรัปชั่น” 2550 (2007) โชติศักด์ อ่อนสูง และเพื่อน ชุติมา เพ็ญภาค นักศึกษาและนักกิจกรรม ถูกฟ้องดำเนินคดีในวันที่ 5 เมษายน 2551 ในข้อหาไม่ยืนเคารพเพลง สรรเสริญพระบารมี ในโรงภาพยนตร์เมื่อเดือนกันยายน 2550 โชติศักดิ์ การถูกดำเนินคดีครั้งนี้เปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาอย่างสิ้นเชิง 35
เขาไม่สามารถทำงานประจำได้เพราะ ต้องเดินทางให้การกับตำรวจและอัยการอยู่บ่อย ครั้ง เขาเผชิญกับการคุกคามหลากหลายรูปแบบ แต่กระนั้น ก็ยังคงเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองและการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย อย่างต่อเนื่อง และเลี้ยงชีพด้วยการขาย หนังสือทางเลือกต่างๆ รายงานด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลสหรัฐฯ ในปี 2551 ได้กล่าวถึงคดีของพวกเขาไว้ว่า “พวกเขาได้รับการปล่อยตัว โดยไม่ต้องมีการประกันตัว คดีนี้ยังคงอยู่ในขั้นตอนการสืบคดีแม้จะเป็นช่วงสิ้นปีแล้วก็ตาม ในวันที่ 29 และ 30 เมษายน สถานีวิทยุเมโทรไลฟ์ ได้ปลุกระดมให้ผู้ฟังทำร้ายโชติศักดิ์ เมื่อเขามีกำหนดจะขึ้นพูดในเวทีเสวนาเรื่องกฎหมายหมิ่น พระบรมเดชานุภาพที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และเวบไซด์ของรายการวิทยุยังได้นำรูปและข้อมูลของเขาที่รวมทั้งที่ อยู่และ เบอร์โทรศัพท์ขึ้นประชาสัมพันธ์อีกด้วย คดีอยู่ระหว่างขั้นตอนการสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวน Jonathan Head นักข่าวBBC ที่สำนักงานกรุงเทพฯ ถูกฟ้องร้องด้วยข้อหาหมิ่นฯ ในเดือนเมษายน 2551 ในการพูด ของเขาที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (FCCT) เมื่อปี 2550 ปัจจุบันเขาไม่ได้ประจำอยู่ในสำนักงาน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คดีอยู่ระหว่างขั้นตอนการสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวน จักรภพ เพ็ญแข รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลทักษิณ และเป็นอดีต โฆษกของ นปช. จักรภพถูกกล่าวหาคดีหม่ินฯ จากการพูดของเขาที่ FCCT เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2550 เขาเดินทางออกนอกประเทศนับตั้งแต่การใช้กำลังปราบปรามคนเสื้อแดงเมื่อเดือน เมษายน 2552 เขาถูกออกหมายจับ บุญส่ง ชัยสิงห์กานนท์ อาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร ถูกอาจารย์ในคณะอักษรศาสตร์ ม. ศิลปากร แจ้งความ ในข้อหาหมิ่นฯ หลังจากที่กรณีของอาจารย์บุญส่งได้รับความสนใจอย่างมากจากสื่อและมหาชน คดีถูกถอนฟ้อง ถอนฟ้อง 2551 (2008) ในการพูดปราศรัยในเวทีสนับสนุนทักษิณ บุญยืน ประเสริฐยิ่ง อายุ 48 ปี ถูกจับกุมด้วยข้อหาหมิ่นฯ และถูกตัดสิน จำคุก 12 ปี เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2551 หลังจากที่เธอรับสารภาพ ศาลลดโทษให้กึ่งหนึ่งเหลือจำคุก 6 ปี ศาลอุธรณ์ ลดโทษเธอลงมาเหลือสองปี
36
เธอได้รับพระราชทานอภัยโทษพร้อมกับสุวิชา ท้าค้อ นักโทษคดีหม่ินฯ อีกคน และได้รับอภัยโทษหลังจากถูกขังคุก 22 เดือน (พฤศจิกายน 2551 – มิถุนายน 2553) หลังจากได้รับการปล่อยตัว บุญยืนถูกนำตัวไปถวายพระพรในหลวงที่โรงพยาบาลศิริราช ในเสื้อสีชมพูที่มีตราสัญญ ลักษณ์ของในหลวง เพื่อลงชื่อยืนยันว่าเธอรักในหลวง (“รักในหลวง” คือ สัญญลักษณ์แห่งการยอมมอบกราบอยู่ใต้ อำนาจแห่งสมบูรณาญาสิทธิราช) ได้รับพระราชทานอภัยโทษหลังจากอยู่ในคุก 22 เดือน รัชพิน ชัยเจริญ ถูกดำเนินคดีข้อหาไม่ยืนเคารพเพลงสรรเสริญพระบารมีในโรงภาพยนตร์เมื่อ 15 มิถุนายน 2551 กรณีนี้เงียบหายไปอย่างน่าสงสัย สุลักษณ์ ศิวรักษ์, 75 รอยัลลิสต์และนักวิจารณ์ที่มีชื่อเสียงในการนำเสนอให้มีการปรับปรุง สถาบันพระมหา กษัตริย์ เขาถูกจับกุม และถูกนำตัวไปยังสถานีตำรวจขอนแก่นด้วยข้อหาหมิ่นพระบรม เดชานุภาพเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2551 เขาเคยถูกข้อกล่าวหานี้ครั้งหนึ่งแล้วในช่วง ทศวรรษ 2523 เขาได้รับอนุญาตให้ประกันตัว คดีอยู่ระหว่างขั้นตอนการสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวน ชูชีพ ชีวะสุทธิ์ นักจัดรายการวิทยุชุมชนถูกหมายจับข้อหาหมิ่นฯ เมื่อเดือนสิงหาคม 2551 หลบหนีคดี 2552 (2009) Harry Nicolaides ในเดือนมกราคม 2552 เขาถูกตัดสินจำคุก 3 ปี ในข้อหาหมิ่นองค์รัชทายาทในข้อเขียนสี่บรรทัด ในนวนิยายเรื่อง Verisimilitude ของเขาที่ตีพิมพ์ในปี 2548 นิโคไลเดส ถูกตัดสินใจเดือนม กราคม 2552 ถูกจำคุก และหลังจากที่เขายืนฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ เขาถูกเนรเทศกลับไปยังประเทศออสเตรเลียในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ถูกขังคุก ได้รับพระราชอภัยโทษ ถูกเนรเทศ ใจ อึ้งภากรณ์ หลังจากถูกดำเนินคดีเนื่องจากอ้างถึงข้อเขียนของพอล แฮนเลย์(อ้างถึงแล้วข้างบน) ในหนังสือของเขา “A Coup for the Rich’ ในปี 2550 ใจ ที่ประกาศตัวเป็นมาร์กซิสต์ 37
และอาจารย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หนีประกันและเดินทางไปอังกฤษในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 พร้อมกับภรรยา หลังจากที่ถูกคุกคามอย่างหนัก เมื่อเดือนมีนาคม 2552 ตำรวจออก หมายจับ และหนังสือของเขาก็ถูกแบนในประเทศไทย แม้จะเป็นผู้ลี้ภัยการเมือง ใจและนุ่มยังคงทำงารณรงค์เพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย See: http://redthaisocialist.com/ ลี้ภัยการเมือง คณะกรรมการสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ (FCCT) ในเดือนมิถุนายน 2552 มีการแจ้งความดำเนินคดีกับคณะกรรมการ 13 ท่าน ของสมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ ในข้อหาหมิ่นฯ หลังจาก FCCT เผยแพร่ซีดีเวทีเสวนาที่ร่วมอภิปรายโดยจักรภพ เพ็ญแข (ดูข้างบน) คดีอยู่ระหว่างขั้นตอนการสอบสวนของเจ้าพนักงานสอบสวน ดารุณี ชาญเชิงศิลปกุล, 48 ปี เดือนสิงหาคม 2552 ดารุณีถูกจับกุมเนื่องจากเธอเข้าร่วมปราศรัย ต้านรัฐประหาร 2549 และพูดถึงพระมหากษัตริย์ ในระหว่างการเดินขบวน ของคนเสื้อแดงเมื่อเดือนมิถุนายน 2551 เธอถูกตัดสินจำคุก 18 ปี ด้วย ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เธอถูกเลือกปฏิบัติและกลั่นแกล้งต่างๆ นาๆ ในคุก และเผชิญกับสภาวะความเจ็บป่วยขั้นรุนแรง ที่จำเป็นจะต้อง ได้รับการดูแลจากแพทย์ ศาลตัดสินจำคุก 18 ปี กระบวนการอุธรณ์คดีของเธอก็ยังดำเนินต่อไป สุวิชา ท่าค้อ, 36 ปี ถูกจับกุมในเดือนมกราคม 2552 เขารับสารภาพและถูกตัดสินจำคุก 10 ปี ครอบครัวของเขาทำ เรื่องขอพระราชทานอภัยโทษ และได้รับการปล่อยตัวในเดือนมิถุนายน 2553 ขอพระราชทานอภัยโทษ และได้รับการปล่อยตัว สนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำ พธม. ถู กแจ้ง ความดำเนินคดีหมิ่นฯ เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2552 หลังจากนำคำพูด ของดารุณี ชาญเชิงศิลปกุล มาพูดในเวทีปราศรัยของพันธมิตร เขาได้รับอนุญาตให้ประกันตัวด้วยว งเงิน 300,000 บาท เช่นเดียวกับคดีความฟ้องร้องสนธิอีกหลายคดี มันถูกแขวนเอาไว้ วันชัย แซ่ตัน, 51 ปี สัญชาติไทย-สิงคโปร์ 4 เมษายน 2552 วันชัยถูกจับกุมเพราะแจกเอกสาร 6 แผ่นในการชุมนุมของคนเสื้อแดง และเขาถูกตัดสินจำคุก 15 ปี แต่เนื่องจากให้การมีประโยชน์ จึงได้รับการลดโทษเหลือ 10 ปี อยู่ในคุก 38
จีรนุช เปรมชัยพร สำนัก งานประชาไทถูกตำรวจบุกคนในวันที่ 6 มีนาคม 2552 นับตั้งแต่นั้นเป็นต้น มาจีรนุช ผู้จัดการเวบข่าวออนไลน์ สามารถจะสร้างขบวนการแก้ต่างการถูกยัด เยียดข้อกล่าวหาต่างๆ ตามความเห็นของจีรนุช ตำรวจใช้ข้อหาละเมิด พรบ.คอม พิวเตอร์กับเธอ เพื่อหลีกเลี่ยงความสนใจของนักข่าวต่างประเทศที่สนใจประเด็นเรื่องการใช้ กฎหมายหมิ่นฯ ในประเทศไทย ในสภาพที่มีการเซนเซอร์ตัวเองกันอย่างหนักของสื่อกระแสหลักในประเทศไทย ประชาชนชาวไทยต้องการ prachatai.com สื่อเสรีเพียงไม่กี่สื่อที่ยังคงความน่าเชื่อถือ และเป็นสื่ออิสระที่รายงานการเคลื่อนไหวของภาค ประชาสังคม เวบบอร์ดของประชาไท ได้รับความนิยมมาก และเป็นสถานที่คนเข้ามาเขียนระบายเกี่ยวกับความบ้าคลั่งทางการ เมืองในประเทศ ไทย นับตั้งแต่คดีคอรัปชั่นของทักษิณ รัฐประหาร 2549 และเหตุการณ์หลังจากนั้น กลุ่มนักรบ ไซเบอร์ที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ได้เข้ามาใช้พื้นที่ประชาไทเวบบอร์ด เป็นบ้านของพวกเขา ข้อเขียนของพวกเขา ก็เพิ่มความเผ็ดร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงบทบาทของพระมหากษัตริย์ในทางการเมืองไทย หน้าที่ของจีรนุช ที่ไม่มีทางทำได้อย่างครบถ้วน คือการพยายามติดตามทุกความเห็นในเวบบอร์ดที่มีมากมายมหาศาล ในระหว่างการเดินทางกลับจากเวทีสัมมนาเรื่องเสรีภาพอินเทอร์เนตนานาชาติ ที่ประเทศฮังการรี ในเดือนกันยายน 2553 จีรนุชถูกจับกุมตัวที่สนามบินสุวรรณภูมิ ข่าวการจับกุมตัวจีรนุชแพร่กระจ่ายอย่างรวดเร็ว นักรบไซเบอร์และองค์กรต่างๆ กระจายข่าวการจับกุมเธอ เธอได้รับ อนุญาตให้ประกันตัวด้วยวงเงิน 200,000 บาท แต่จะต้องเดินทางไปยังสถานีตำรวจขอนแก่นทุกเดือนเพื่อแสดงตัว – ซึ่งเป็นระยะทาง 400 กม. จากกรุงเทพฯ ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 องค์กรสิทธิมนุษยชนเอเซีย (AHRC) ได้เปิดรณรงค์เรื่องกรณีของจีรนุช http://www.humanrights.asia/campaigns/chiranuch-prachatai ประกันตัวและเตรียมตัวรับมือกับข้อกล่าวหา กิตติ แสนสุขโรจน์วงศ์ อายุ 39 ปี ถูกจับกุมวันที่ 4 เมษายน 2552 ที่จังหวัดขอนแก่น ในข้อหาเผยแพร่ข้อมูล ที่เข้าข่ายหมิ่นฯ คดีเงียบหาย ทศพรฤทัย ประเสริฐสูง ถูกจับกุมวันที่ 18 เมษายน 2552 ที่ร้านถ่ายเอกสารที่จังหวัดนครราชสีมาพร้อมกับใบปลิว หลายใบที่มีเนื้อหา เข้าค่ายหมิ่นพระมหากษัตริย์และองคมนตรี 39
ไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว อยู่ในคุก กอแก้ว พิกุลทอง ถูกออกหมายจับวันที่ 21 พฤษภาคม 2552 หลังจากปราศรัยที่เชียงใหม่ แต่ตำรวจมักจะไม่ บูมบามในคดีที่เป็นผู้มีชื่อเสียง กอแก้วเป็นแกนนำของ นปช. เขาเข้ามอบตัว และถูกคุมขังพร้อมกับนักโทษการเมือง 470 คน หลังการปราบปรามคนเสื้อแดงยุติลงเมื่อ 19 พฤษภาคม 2553 หลังจากอยู่ในคุกกว่า 9 เดือน ศาลอนุญาตให้มี การประกัันเขาและแกนนำ นปช. อีก 8 คน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554 คดียังอยู่ในระหว่างการสืบสวน พิษณุ พรมสรณ์ หนึ่งในแกนนำ นปช. ถูกออกหมายจับคดีหมิ่นฯ ในเดือนกรกฎาคม 2552 หลบหนีคดี ภิเษก สนิทธางกูร สถาปนิก ที่ถูกตำรวจเข้าตรวจค้น เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2552 ด้วยข้อกล่าวหาว่าเขา โพสต์ข้อความหมิ่นฯ ในเวบบอร์ด เขาปฎิเสธข้อกล่าวหา และลี้ภัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา ณัฐ สัตยาภรณ์พิสุทธิ,์ อายุ 29 ปี ถูกจับกุมในวันที่ 16 ตุลาคม 2552 ภายใต้ พรบ. คอมพิวเตอร์ ในข้อกล่าวหาว่า เผยแพร่คลิปส์ที่หมิ่นสถาบันฯ ในบล๊อก ‘StopLeseMajeste’ เขาได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน โดยไม่แน่ชัดว่าได้รับอนุญาตให้ประกันตัวหรือด้วยสาเหตุใด ไม่ชัดเจน / คดีอยู่ในระหว่างการสืบสวน ธีรนันต์ วิภูชนิน, คฑา ปาจริยพงศ์, สมเจต อิทธิวรกุล,และหมอทัศพร รัตนวงศา ถูกจับกุมระหว่างเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2552 ในข้อหาให้ข่าวสารที่เป็นเท็จเกี่ยวกับสุขภาพของในหลวง ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว เพชรวรรต วัฒนพงษ์สิริกุล แกนนำกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ที่ถูกข้อกล่าวหาหลายคดี รวมทั้งหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เขาหลบหนีไปหลังจากการสลายการชุมนุมที่ราช ประสงค์ในปี 2553 และตัดสินใจเข้ามอบตัวเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2554 และได้รับอนุญาต ให้ประกันตัวด้วยวงเงิน 100,000 บาท ได้รับอนุญาติให้ประกันตัว คดียังไม่สิ้นสุน Richard Lloyd Parry บรรณาธิการนิตยสารไทม์ประจำภาคพื้นเอเชีย(ลอนดอน) ถูกแจ้งความดำเนินคดี หมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่สถานีตำรวจดุสิตเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2552 หลังจากเผยแพร่บทสัมภาษณ์ทักษิณ ในนิตยสาร 40
ไม่มีความคืบหน้าเรื่องคดี 2553 (2010) ปรวย Salty Head ผู้กำกับภาพยนตร์โฆษณา ที่สนใจการเมืองและโพสต์ข้อคิดเห็นทางการเมืองในเวบบอร์ดประชาไท และฟ้าเดียวกัน (คนเหมือนกัน) หลังจากถูกจับกุมและสอบสวนในเดือนพฤษภาคม 2553 โดยสำนักงานสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เขาพบว่าตำรวจได้ติดตามเขามาตั้งแต่ปี 2551 ทั้งนี้ตำรวจ DSI 12 คนเข้าตรวจค้นที่บ้านพักของเขาในปลายเดือนพฤษภาคม 2553 และนำตัวเขาพร้อมเครืองคอมพิวเตอร์กระเป๋าหิ้ว 2 เครื่องไปยังสำนักงาน DSI ซึ่งเขาถูกสอบสวนหลายชั่วโมง คอมพิวเตอร์ถูกส่งคืนให้กับเขาหลังจากนั้นอีกสองสัปดาห์ เขาออกจากงาน ตัดสินใจขายรถและเดินทางออกจากประเทศไทย และกำลังจะต้องขายบ้าน ขอลี้ภัย ครอบครัวของเขาถูกติดตามเป็นระยะเพื่อขอข้อมูลว่าเขาอยู่ที่ไหน ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล, 38 ปี ผู้ออกแบบเวบไซด์คนเสื้อแดงหลายเวบ ถูกจับกุมตัวในเดือนเมษายน 2553 ถูกตัดสินจำคุก 13 ปีในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2554 อยู่ในคุก ทนายทำเรื่องอุธรณ์
สุริยัน กกเปือย อายุ 29 ปี นักซ่อมรองเท้า ถูกจับกุม ตัดสินจำคุก 6 ปี ในข้อหาหมิ่นฯ แต่หลังจากรับสารภาพได้รับลดโทษเหลือจำคุก 3 ปี อยู่ในคุก ปภัสชนัญญ์ ฉิ่งอินทร์ และพวก ถูกจับกุมตัว ในข้อหาหมิ่นฯ เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2553 และถูกตัดสินจำคุก 3 ปี ประกันตัวและสู้คดี สุชาติ นาคบางไทร (วรวุฒิ ฐานังกรณ์) อายุ 52 ปี ถูกจับกุมตัวในข้อหาหมิ่นฯ เมื่อวันที่ 2 พฤษจิกายน 2553 หลังจากหลบหนีคดีกว่าปี ถูกตัดสินจำคุก 6 ปี อยู่ในคุก 41
วิภาส รักสกุลไทย นักธุรกิจเสื้อแดงจากจังหวัดระยอง ถูกจับกุมในวันที่ 29 เมษายน 2553 ในข้อหาหมิ่นฯ เขาปฏิเสธข้อกล่าวหา ประกันตัวและอยู่ในระหว่างสู้คดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ กษิต ภิรมย์ สส. เพื่อไทยได้ฟ้องร้องรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศและผู้สนับสนุนหลัก พันธมิตร กษิต ภิรมย์ ในข้อหาหมิ่นฯ แต่ตำรวจก็ไม่ได้ดำเนินมาตรการใดๆ ในคดีนี้ กษิตเป็นรอยัลลิสต์คนสำคัญ อำพล ตั้งนพคุณ อายุ 61 ปี คนหาเช้ากินค่ำ ถูกจับเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2553 ในข้อกล่าวหา “ส่ง SMS ที่เข้าข่ายหมิ่นฯ ไปยังนายกและในหลวง” ชายสูงวัยที่ขณะนี้อยู่ในคุก ปฏิเสธข้อกล่าวหา โดยยืนยันว่า SIM การ์ดที่ตำรวจใช้สาวถึงตัวเขานั้นไม่ใช่ของตัวเอง ถูกปฏิเสธการขอประกันตัว และอยู่ในคุก ทอม ดันดี นักร้อง ถูกแจ้งความดำเนินคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพโดยเครือข่ายราษฎรอาสาป้องกัน สถาบัน หลังจากการปราศรัยของเขาที่เวทีคนเสื้อแดง เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2553 ธนพล บำรุงศรี อายุ 32 ปี ผู้ประกอบการคนเสื้อแดง ถูกจับกุมตัววันที่ 13 กันยายน 2553 จากการโพสต์ข้อความที่เข้าข่ายหมิ่นฯ ในหน้าเฟสบุ๊คของเขา ประกันตัว อยู่ในระหว่างคดี วิเศษ พิชิตลำเค็ญ ถูกจับที่สนามบินสุวรรณภูมิในเดือนกันยายน 2553 ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยตำรวจตรวจคนเข้าเมือง ในขณะที่กำลังจะเดินทางออกจากประเทศไทย ไม่มีข้อมูลเพ่ิมเติม นาวาอากาศตรี ชนินทร์ คล้ายคลึง ลูกทัพอากาศ ถูกแจ้งความดำเนินคดีหมิ่นฯ โดยทหารจากลูกทัพเรือ จากโพตส์และเขียนข้อความในหน้าเฟสบุ๊คของเขา ถูกพักงาน และคดียังอยู่ในระหว่างการสืบสวน
42
2554 (2011) ทักษิณ ชินวัตร ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 วัชระ เพชรทอง สส. พรรคประชาธิปัตย์ ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดกับทักษิณ ชินวัตร โรเบิร์ต อัมเตอร์ดัม และธนาพล อิ๋วสกุล (ในฐานะบรรณาธิการวารสารฟ้าเดียวกัน) ในการตีพิมพ์รายงานภาคภาษาไทยที่เตรียมโดยสำนักงานกฎหมายอัมเตอร์ดัม เกี่ยวกับการปราบปรามคนเสื้อแดงของทหารรอยัลลิสต์เมื่อเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2553 คดียังอยู่ในระหว่างการสืบสวน โรเบิร์ต อัมเตอร์ดัม ถูกแจ้งความดำเนินคดีพร้อมทักษิณ ชินวัตร ในเดือนกุมภาพันธ์ 2554(รายละเอียดอ้างแล้ว) สุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ (แซ่ด่าน), 68 ปี แกนนำของลุ่มแดงสยาม ถูกตำรวจบุกจับตัวในระหว่างกลับเข้าบ้านพักหลังจากจบการ ปราศรัยเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 มายัง สน.โชคชัย เขาถูกส่งเข้าเรือนจำ และไม่ได้รับอนุญาตให้ประกันตัว คดียังอยู่ในระหว่างการสืบสวน เอกชัย หงส์กังวาน อายุ 35 ปี ถูกจับกุมในเวทีชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 พร้อมด้วยซีดีจำนวน 100 แผ่น (สารคดีเกี่ยวกับนักโทษคดีหมิ่นฯ ที่ทำโดยผู้สื่อข่าวต่างชาติ) และใบถ่ายเอกสารวิกิลีกส์จำนวน 10 แผ่น ห้ามประกัน อยู่ในคุก เสถียร รัตนวงศ์ 19 มีนาคม 2554 อดีตการ์ดของ นปช. และมีอาชีพพ่อครัวโรงแรม แต่ลาออกมาร่วมชุมนุมกับคนเสื้อแดง และประกอบ อาชีพขายสินค้าเสื้อแดง เขาถูกจับกุมเนื่องจากถูกกล่าวหาว่าขายซีดีที่เนื้อหาเข้าข่ายหมิ่นฯ ซึ่งตำรวจล่อซื้อ และยึด ของกลางไปประมาณ 20 แผ่น อยู่ระหว่างสู้คดี และ ศาลนัดพร้อมวันที่ 4 ก.ค. นี้ สมยศ พฤกษาเกษมสุข บรรณาธิการ เรด พาวเวอร์ และแกนนำกลุ่ม 24 มิถุนาประชาธิปไตย ถูกจับกุมที่ด่านไทย-เขมร อรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี เมื่อวันที่ 30 43
เมษายน 2554 ในข้อหาหมิ่นฯ ตามหมายจับวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2554 เหตุผลที่แท้จริงน่าจะมาจากการที่เขาเป็นตัวตั้งตัวดีรณรงค์ล่ารายชื่อ 10,000 ชื่อเพื่อเสนอยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สมยศถูกนำตัวส่งเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ที่มีเพื่อนนักต่อสู้เพื่อ ประชาธิปไตยและถูกจับกุมก่อนหน้านี้ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สหภาพแรงงาน และองค์กรแรงานหลายองค์กรทั่วโลกส่งจดหมายประท้วงการจับกุมสมยศ มายังรัฐบาลไทย ห้ามประกัน อยู่ในคุก ดร. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล ผู้ถูกฟ้องคดีหมิ่นฯ รายล่าสุด ซึ่งจะต้องเข้ารายงานตัวที่สถานีตำรวจนางเลิ้งในวันที่ 11 พฤษภาคม 2554 คือ ดร. สมศักดิ์ นักวิชาการด้านผู้ที่นำเสนอประเด็นเรื่องสถาบัน พระมหากษัตริย์อย่างต่อ เนื่อง โดยเฉพาะหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 ความ เข้มข้นและแหลมคมของประเด็น ดร. สมศักดิ์ โดยเฉพาะข้อเสนอ 8 ข้อเพื่อปฎิรูป สถาบันกษัตริย์ นับตั้งแต่ตั้งถามสองประเด็นต่อฟ้าหญิงจุฬา ภรณ์ ต่อการให้สัมภาษณ์ของพระองค์ใน รายการ “วูดดี้เกิดมาคุย” เมื่อต้นเดือนเมษายน 2554 เป็นต้นมา ดร. สมศักดิ์ และภรรยา ถูกคุกคามอย่างหนัก จนต้องแถลงข่าวร่วมกับทีมนักวิชาการนิฎิราษฎร์เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2554 พร้อมกันนี้มีนักวิชาการหลายกลุ่มร่วมลงชื่อรวมกันกว่า 200 คน สนับสนุนจุดยืนทางวิชาการของดร. สมศักดิ์ วันที่ 11 พฤษภาคม 2554 สมศักดิ์ต้องเข้ารายงานตัวที่สถานีนางเลิ้งเพื่อรับทราบข้อกล่าวหา “หมิ่น พระบรมเดชานุภาพ” 18 แกนนำ นปช. ถูกแจ้งความในขอหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2554 เนื่องจากการอยู่ร่วมในการปราศรัย ของจตุพร พรหมพันธ์ ในงานรำลึกครบรอบปีการปราบปรามคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ณ อนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย 10 เมษายน 2554 ทั้งนี้รายชื่อทั้ง 18 คนได้แก่ นายจตุพร พรหมพันธุ์ น.พ.เหวง โตจิราการ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายก่อแก้ว พิกุลทอง นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ นายการุณ โหสกุล นายยศวริศ ชูกล่อม หรือเจ๋ง ดอกจิก นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท นายวีระ หรือวีระกานต์ มุสิกพงศ์ นายชินวัฒน์ หาบุญพาด นายวิเชียร ขาวขำ นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ หรือแรมโบ้อีสาน นายขวัญชัย สาราคำ หรือไพรพนา นายนิสิต สินธุไพร จ.ส.ต.ประสิทธิ์ ไชยศรีษะ นายวรวุฒิ วิชัยดิษฐ์ นางลัดดาวัลย์ วงศ์ศรีวงศ์ และนายสมชาย ไพบูลย์ ทุกคนได้รับอนุญาติให้ประกันตัว 44
จตุพร พรหมพันธ์, สส. พรรคเพื่อไทย นิสิต สินธุไพร, สส. พรรคเพื่อไทย ศาลถอนอนุญาตประกันตัว นายจตุพร พรหมพันธ์ และนายนิสิต สินธุไพร เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2554 กรุงเทพธุรกิจ รายงานในวันที่ 13 พฤษภาคมว่า “จากเหตุขึ้น เวทีปราศรัยหมิ่นสถาบัน เมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่ผ่านมาว่า “โดยศาลชี้พฤติการณ์ว่า การกระทำตลอดจนคำพูดของทั้งสอง มีลักษณะส่อไปในทางที่อาจจะทำให้ ประชาชนทั่วไปสับสนในข้อเท็จจริง จนถึงขั้นก่อความวุ่นวายขึ้นในบ้านเมือง นับเป็นการก่อเหตุอันตรายและเป็นภัยร้ายแรง ต่อความมั่นคงของรัฐภายใน ราชอาณาจักร จึงมีคำสั่งเพิกถอนสัญญาประกันทั้งสอง” จตุพร และนิสิต อยู่ในเรือนจำ นับตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2554 เป็นต้นมา และมีชื่ออยู่ใน สส บัญชีรายชือของพรรคเพื่อไทย 30 กรกฎาคม 2554 จตุพรได้รับการปล่อยตัวด้วยสถานภาพ สส. นิสิตยังอยู่ในคุก นายเลอพงษ์ วิไชยคำมาตย์ หรือ Joe W. Gordon อายุ 55 ปี ถูกเจ้าหน้าที่กองสอบสวนคดีพิเศษ กว่า 20 คน บุกจับที่บ้านพักที่จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2554 โดยกล่าวหาว่า เขาถููกกล่าวหาว่าเป็นเจ้าผู้แปลหนังสือ The King Never Smiles (TKNS) อยู่ในคุก นายนรเวศย์ ยศปิยะเสถียร ถูกเจ้าหน้าหน้าสน. บางเขนจับกุมวันที่ 5 สิงหาคม ตามหมายจับที่ออกเมื่อ 14 ตุลาคม 2553 ในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพและพรบ. คอมพิวเตอร์ จากการแจ้งจับของรองอธิการบดีฝ่ายกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในขณะที่เขายังเป็นนักศึกษาปี 4 ในข้อกล่าวหาว่าเขาโพสต์ข้อความไม่เหมาะสม เขาถูกพวก ”ล่าแม่มด” ประจานในต้นปี 2553 ได้รับอนุญาติให้ประกันตัวในวันที่ 8 สิงหาคม วงเงินประกันตัว 500,000บาท สุรภักดิ์ ภูไชยแสง 40 ปี ถูกเจ้าหน้าตำรวน 10 คน บุกจับที่พักที่ (ลาดพร้าว 122) ปี เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2554 โปรแกรมเมอร์อิสระ ชาวจังหวัดบึงกาฬ ถูกกล่าวหาว่าเป็นคนตั้งเพจเฟสบุ๊คที่หมิ่นสถาบันฯเขาถูกบีบให้เซ็นรับ สารภาพ อยู่ในคุก 45
กิตติชัย ชาญเชิงศิลปกุล พี่ชายดารุณี ชาญเชิงศิลปกุล ถูกจับวันที่ 29 สิงหาคม 2554 ในคดีความเก่าเมื่อ 12 ปีก่อนด้วยข้อกล่าวหากระทำความผิดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อหลายปีก่อน ตามมาตรา 147 และ 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา แม้ว่าไม่ใช่คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่คุณกิตติชัย เป็นเพียงญาติคนเดียวที่ดูแล คุณดารุณีอย่างสม่ำเสมอ และให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวต่างประเทศหลายครั้งเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของดารุณี การจับกิตติชัย ก็เท่ากับตัดเส้นทางข่าวและข้อมูลจากคุณดารุณีสู่โลกภายนอกด้วย อยู่ในคุก
จำนวนนักโทษในเรือนจำของประเทศไทย รวมทั้งนักโทษระหว่างรอการตัดสิน และนักโทษในเรือนจำพิเศษ มีทั้งสิ้น 224,292 คน มีเรือนจำ 142 แห่ง ซึ่งมีศักยภาพในการบรรจุนักโทษได้เพียง 105,748 คน จำนวนนักโทษต่อประชากร มีอัตราส่วน 328 คนต่อประชากร 100,000 คน นักโทษระหว่างรอการตัดสินและนักโทษพิเศษต่อจำนวนนักโทษทั้งหมด 26.6 % นักโทษหญิงต่อจำนวนนักโทษทั้งหมด 14.6% ถือเป็นสัดส่วนสูงที่สุดในโลกรองจากประเทศคูเวตเท่านั้น ที่มา: http://www.prisonstudies.org/info/worldbrief/wpb_country.php?country=114 -–-–-–-–ที่มา Thai Political Prisoners http://thaipoliticalprisoners.wordpress.com LM Watch http://lmwatch.blogspot.com Prachatai.com is also a source of info on well-known LM victims. http://www.prachatai.com/english/ http://thaienews.blogspot.com/ Bangkok Post etc. สำนักกฎหมายราษฎรประสงค์ http://rli.in.th/
46
ภาคผนวก
47
จดหมายจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพถึงนายกรัฐมนตรี เรือนจำพิเศษกรุงเทพ 33 ถนนงามวงศ์วาน ลาดยาว จตุจักร กรุงเทพ 10900 8 สิงหาคม 2554 เรื่อง รายชื่อผู้ต้องขังคดีเสื้อแดงที่ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ เรียน ฯพณฯ ท่าน ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร, นายกรัฐมนตรี พวกเราในนามของผู้ต้องขังที่ถูกจับกุมคุมขังในคดีเกี่ยวข้องกับการชุมนุมเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ในช่วงปี 2552 – 2553 (คนเสื้อแดง) ที่ถูกคุมขังอยู่ที่เรือนจำพิเศษ ขอแสดงความยินดีกับ ฯพณฯ ในการก้าว ขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนที่ 28 ของประเทศไทย และเป็นนายกรัฐมนตรีสุภาพสตรีคนแรกในประวัติ ศาสตร์ไทย พวกเราล้วนมีความดีใจเป็นอย่างยิ่งกับความสำเร็จของ ฯพณฯ ท่าน และพรรคเพื่อไทยในครั้งนี้ พวกเรากว่า 50 ชีวิต (ตามรายชื่อที่แนบมาพร้อมนี้) ยังคงถูกจับคุมขังอยู่ที่นี่ เราทุกคนต่างเห็นด้วยกับ แนวทางสร้างความปรองดองในกับคนในชาติของ ฯพณฯ ท่าน ไม่ว่าจะเป็นด้วยทางใดก็ตาม เรายินดีสนับสนุน เพราะเชื่ออย่างยิ่งว่า ฯพณฯ ท่าน จะเล็งเห็นและให้ความสำคัญกับพวกเราอย่างเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผู้เสีย ชีวิต 91 ศพ ผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 2,000 คน รวมถึงผู้ที่ถูกจับกุมคุมขังอยู่ อย่างพวกเราทั่วประเทศไทย พวกเรามิได้หวังอะไรไปมากกว่าการคืนความเป็นธรรมให้กับพวกเรา ด้านคดี ก็ขอให้มีการพิจารณาคดี ด้วยหลักยุติธรรม ตามกระบวนการยุติธรรมที่ปราศจากอำนาจทางการเมืองหรืออคติใดๆ เพียงเท่านี้ พวกเรา ก็พึงพอใจแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิทธิในการได้รับประกันตัว ในระหว่างการต่อสู้ทางคดี อันเป็นสิทธิโดยชอบ ธรรมตามรัฐธรรมนูญ พวกเราทุกคนขอฝากความหวังไว้กับทาง ฯพณฯ ท่น และคณะรัฐมนตรีของท่านที่จะทำให้พวกเรา พบแสงสว่าง และได้รับความยุติธรรม ความเป็นธรรม อิสระภาพในเร็ว ขอแสดงความนับถืออย่างสูง และขอเป็นกำลังใจให้ ฯพณฯ ท่านตลอดไป นายพศิน แสนจิตต์
นายอนุวัฒน์ อินทร์ละออ
นายธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล
นายจเด็ด โชคพาณิชย์ 48
นายเอก สิงขุนทด
นายธวัชชัย เอี่ยมนาค
นายสรเทียน สิงกันยา
นายชาตรี ศรีจินดา
นายสิทธิชัย เกียรติกมลชัย
นายประสงศ์ มณีอินทร์
นายธเนตร อนันตวงษ์
นายโกวิทย์ แย้มประเสริฐ
นายเอกชัย มูลเกษ
นายจักรพงษ์ เขียววิไล
นายพิทยา แน่นอุดร
นายวิจิตต์ ตรีกุล
นายคำรณ ชัยสิทธิ์
นายยุทิน สนธิมาส
นายจ๋า จักราช
นายพรชัย โลหิตดี
นายคมสัน สุดจันทร์ฮาม
นายพินิจ จันทร์ณรงค์
นายทองสุข หล่าสพ
นายยุทธชัย สีน้อย
นายวันชัย แซ่ตัน
นายโชคอำนวย สุรการ
นายณัฐ สัตยาภรณ์พิสุทธิ์
นายเลอพงศ์ วิชัยคำมาศ
นายไพรวัลย์ สุธงษา
นายเสถียร รัตนวงศ์
นายอาทิตย์ เบ้าสุวรรณ
นายคำหล้า ชมชื่น
นายเพชร แสงมณี
นายอำพล ตั้งนพกุล
นายสายชล แพรบัว
นายสุริยันต์ กกเปือย
นายสุรชัย นิลโสภา
นายกฤษณะ ขรรค์เพ็ชร
นายสมศักดิ์ วังซ้าย
นายธนพงษ์ บุตรดี
นายวัชราวุธ สุทธิพันธุ์
นายวิศิษฎ์ แกล้วกล้า
นายชาดา เปี่ยมฤทัย
นายนคร สังข์สุวรรณ
นายวีระยุทธ สุภาพ
นายสงวนศักดิ์ จวงจันทร์
49
ตัวอย่างของนักโทษดคีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ถูกตั้งข้อหาว่าเป็นคดีร้ายแรง Thailand: Free Somyot Prueksakasemsuk! http://links.org.au/node/2494
September 17, 2011 -- Australia Asia Worker Links reports that jailed trade union activist Somyot Prueksakasemsuk was denied bail on September 12. Somyot is in jail for allegedly insulting the Thai king, under the country's notorious lèse majesté law. The new Thai government, headed by Prime Minister Yingluck Shinawatra of the Pheu Thai Party, has jailed three people under lèse majesté law since coming to power two months ago. The Pheu Thai Party campaigned in the recent election campaign as the party of democracy and freedom,. The campaign to free Somyot and all other Thai political prisoners continues. The background to the case is explained by the following article, gleaned from the posts at The Librarian of Bangkok Prison. Who is Somyot Prueksakasemsuk? On September 20, 1961. Somyot Pruksakasemsuk was born into a Chinese-Thai family with altogether seven siblings. His keen interest in politics was noted when he was young. In his junior high school student shorts, he tagged along his older brother to join the demonstrations during the October 14, 1976, uprising for democracy. It planted a seed of democracy in him keeping his yearning for social justice always alight. During the October 6 uprising in 1979, three years later, still a secondary school student at Debsirin, he participated in political activities in full scale with his friends from technical colleges. After completing his education at Debsirin, he went to Ramkhamhaeng University. In 1981, he started his student activism with the Ramkhamhaeng Student Group for Labour Issue Study. An avid activist while at Ramkhamhaeng, he dedicated himself to fighting for human rights and justice. He joined the Seree Tham Group and organised
50
activities for workers in factories and grassroots communities. It was aimed at engendering awareness on civilian rights and liberties and democracy along. He was also writing prolifically then. He was one of the earlier unionists in Thailand trying to unionise workers, training them on legal knowledge, organising camp activities for the workers, organising public demonstrations to oppose dictatorial rule, etc. He was very active in Phra Pra Daeng industrial zones in Samut Prakan covering Thai Garment Labour Union, Textile Promotion Labour Union, Thai Kriang Labour Union, Pipat Labour Relations Union, Century Labour Union, Metro Labour Union, most of which were involved with textile, garment, steel and metal industries. In 1984, Somyot joined the Union for Civil Liberties (UCL) as a staff member and volunteer to promote labour rights. In the same year, UCL focused on Om Noi and Om Yai as its main project sites and embarked on organising training on labour law, setting up labour clinics, supporting association and unionisation among the workers, since workers in these areas got lower pay and lesser benefits than other workers. In 1986, he joined the Young Christian Workers (YCW) as a full-time staff member. The NGO advocated the organisation of young workers. Somyot got to learn how the workers lived their lives, and planned together with them for schemes to better their livelihood. An NGO with international networks in Asia, Europe and America, YCW had members from factories in Phra Pra Daeng and Bang Pli, Samut Prakan and Ransit, Pathumthani. As coordinator and staff member, Somyot was instrumental in the campaigns for social security law promoting the organisation and education among union members. In 1991, after the seizure of power by the National Peace Keeping Council (NPKC) from the civilian government led by Prime Minister General Chartchai Chunhawan, Somyot and his colleagues started the Project to Train Workers on Documentation and Information. With support from activist friends domestically and abroad, his project developed later into the Center for Labour Information Service and Training (CLIST), with the aims to: 1. Train and raise awareness of workers on their rights. 2. Promote the organisation of workers to increase their bargaining power and to effectively demand improvement of working condition to enhance their quality of life. 3. Advocate democratic unionisation. 4. Promote the roles and organisation of women workers and women leaderships. 5. Advocate amendments to the labour law to better protect labour rights and benefits and to help protect their rights when their rights are disrespected or violated. 6. Train and provide other educational activities to help workers be aware of their rights. 7. Promote organisation among the workers so that they can use it to increase their leverage to demand the improvement of working condition and enhance their quality of life. For more than a decade at CLIST, Somyot fought together with workers and labour movements and their many demands have been met. For example, the enactment of Social Security Act, 90 day-maternity leave, an increase of child support allowances, support and solidarity given to particular labour movements, such as the Kader workers, Thai-Belgium workers, Eden Group workers, etc., until they could get severance pay higher than the amount prescribed by law. In addition, CLIST under Somyot’s management also gave fervent support to help women workers form the Women Workers for Freedom Group, the formation of the Chemical Workers Unions Alliance (CWUA) and the Alliance of Democratic Trade Unions (ADTU). Due to budget problem, CLIST had to terminate all activities in May 2007 after 16 years (1991-2007) under the directorship of Somyot. Somyot’s published works on political and labour issues include: •
Unemployment Benefit (Social Security): The hope of employees and unemployed workers
•
The meaning and value of labour union
•
Collective Bargaining and Negotiation
51
•
An exposé of Thaksin
•
Under the evil rule
His inspiration to work on labour issue stems from his experience working in a Volvo car factory. He chose to work there for a short stint in order to learn how difficult the life of a worker was and later produced a manual on how the workers can propose their demands. His easy-to-read manual also helps the workers understand how they are put under exploitative environment and how the economic rent has been stolen from them. With the closure of CLIST, Somyot turned to journalism, which he has been keen on and became editor of Siam Parithat (Siam Review). After the coup on September 19, 2006, Somyot joined the movement to oppose the Council for Democratic Reform (CDR), the coup maker. He joined the National United Front of Democracy Against Dictatorship, which has later developed into the United Front for Democracy Against Dictatorship (UDD) and later became part of the second batch of its core members. While mobilising against the September 19 coup, Somyot formed the 24th of June for Democracy Group in early June 2007, during the commemoration of the 75th anniversary of the establishment of democracy in Thailand. The 24th of June for Democracy Group aims to (1) disseminate information and instil the spirit of democracy in general public, (2) mobilise people from all walks of life to against any form of dictatorship, (3) collaborate with civic organisations inside and outside the country to promote democratic society for justice, rights, liberties and equality in society. Although Somyot was part of the second batch of the core members of UDD, in May 2007 he quit from the role and ceased to be a UDD leader and has not been involved with any activity by UDD. On May 24, 2010, Somyot was arrested on a warrant. He was held in custody together with assistant professor Suthachai Yimprasert, from the faculty of arts at Chulalongkorn University. They were arrested as alleged offenders under Section 11(1) of the Emergency Decree on Government Administration in States of Emergency B.E. 2548 (2005), which allows the arrest and detention of "a person suspected of having a role in causing the emergency situation, or being an instigator, making the propagation, a supporter of such act or concealing relevant information relating to the act which caused the State of Emergency”. When he was arrested, he was editor of the Voice of the Downtrodden. He wanted to make the magazine a mouthpiece for the lower class, the people whose voices are not heard in society, so that they can convey their feeling and needs. His professional journalism has always been steered toward the candid portrayal political, economic and social issues. On June 12, 2010, the court dismissed the request by Center for Resolution of Emergency Situation (CRES) to extend the detention of Somyot for the third time claiming that there was no necessity to hold him in custody as the unrest has been put out and therefore he should be released. He was released after being in detention for 19 days. Somyot was charged under draconian lese majeste law after he was arrested and imprisoned without rights to bail on April 30, 2011. After being detained for 84 days, he was brought to court and charged on the August 25, 2011.
ญาติ เพื่อนและนักต่อสู้เพื่อ ประชาธิปไตย ไปเยี่ยมนักโทษการเมือง ที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร, 19 สิงหาคม 2554 52
ประเทศไทย คำประกาศคณะราษฎร 2475 ราษฎรทั้งหลาย เมื่อกษัตริย์องค์นี้ได้ครองราชย์สมบัติสืบต่อจากพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรบางคนได้หวังกันว่ากษัตริย์ องค์ใหม่นี้จะปกครองราษฎรให้ ร่มเย็น แต่การณ์ก็หาได้เป็นไปตามที่คิดหวังกันไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจ อยู่เหนือกฎหมายเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณความรู้ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรง ฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริต มีการรับสินบนในการก่อสร้างและการซื้อ ของใช้ในราชการ หากำไรในการเปลี่ยนเงิน ผลาญเงินของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่า ราษฎร กดขี่ข่มเหงราษฎรปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม ดังที่จะเห็นได้ จากความตกต่ำในทางเศรษฐกิจ และความฝืดเคืองในการทำมาหากิน ซึ่งพวกราษฎรได้รู้กันอยู่โดยทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้ ราษฎรทั้งหลายจงพร้อมใจกันช่วยคณะราษฎรให้ทำกิจอันจะคงอยู่ชั่วดินฟ้านี้ให้สำเร็จ คณะราษฎรขอให้ ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือกฎหมายพึงตั้งตนอยู่ในความสงบและตั้งหน้าทำมา หากิน อย่าทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎร การที่ราษฎรช่วยคณะราษฎรนี้ เท่ากับราษฎร ช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตร หลาน เหลน ของตนเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อม บริบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะต้องมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกันและ มีเสรีภาพพ้นจากการเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาสพวกเจ้า หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคน พึงปรารถนาคือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐซึ่งเรียกเป็นศัพท์ว่า “ศรีอาริยะ” นั้น ก็จะพึงบังเกิดขึ้น แก่ราษฎรถ้วนหน้า คณะราษฎร ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
คำประกาศก่อตั้ง
สหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน 2011
มนุษยชาติทั้งหลายต่างต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมแห่งสันติภาพและผาสุข โดยสร้างหลักประกันว่ามนุษย์ทุกคนจะสามารถเข้าถึงสวัสดิการสังคมด้านต่างๆ อย่างเท่าเทียมกัน
53
สภาวะสงครามที่ไม่เคยหยุดหย่อนในทั่วทุกมุมโลก ได้เคยและกำลังสอนบทเรียนให้กับผู้คนว่า ประชาธิปไตยคือ ระบอบการเมืองเดียวที่พวกเรารู้ว่ามีความเป็นไปได้ที่จะทำให้มนุษย์แต่ละคนและทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน และภายใต้กระบวนการยุติธรรมมาตรฐานเดียวกัน ในปี 2475 คณะราษฎรของประเทศไทยได้ประสบความสำเร็จในการยกเลิกการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และจัดตั้งสภาผู้แทนราษฎรเพื่อบริหารกิจการบ้านเมือง แต่นับตั้งแต่ต้นเลยทีเดียว สภาผู้แทนราษฎร ต้องเผชิญกับ การต่อต้านจากฝากรอยัลลิสต์อย่างต่อเนื่อง เพียง 15 ปี และการสิ้นพระชนม์อย่างมีเงื่อนงำของในหลวงอานันท์ กษัตริย์ผู้มีเหตุมีผลในปี 2489 นายทหาร ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ตัดสินใจยุติการเจรจากับคณะราษฎร การทำรัฐประหารของนายทหารในปี 2490 ได้คืนพระราชอำนาจหลายด้านให้กับพระมหากษัตริย์ รวมทั้งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์อันมั่งคั่ง คณะราษฎรโดยความร่วมมือกับนายทหารประชาธิปไตยได้พยายามต่อสู้เพื่อคืนสู่การเมืองเป็นเวลาหลายปี แต่ในยามนั้นสหรัฐอเมริกาต้องการประเทศไทยเป็นฐานทัพ และซีไอเอ ก็ได้เริ่มฝึกสอน จ้างทหารรับจ้างชาวไทย รวมทั้งให้การอุดหนุนด้านการเงิน และอาวุธยุทโธปกรณ์กับทหารและตำรวจในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนสามารถตั้งฐานทัพอากาศหลายแห่งในเมืองไทย เพื่อบินเข้าไปทิ้งระเบิด และสังหารประชากรในอินโดจีน กว่า 2 ล้านคน ผู้นำคณะราษฎรหลายคนต้องลี้ภัยไปต่างแดน และจำนวนไม่น้อยถูกสังหาร ตลอดช่วงสงคราม เย็นแกนนำนักศึกษากรรมกร ชาวนาหลายร้อยคนถูกสังหารอย่างเหี้ยมโหดไม่นับรวมชีวิตประชาชนหลายพันคน ที่ต้องตายโดยไม่ทราบตัวเลขที่แท้จริง ขบวนการประชาธิปไตยประชาชนในประเทศไทยนับตั้งแต่ปี 2490 จึงถูกปิดกั้น ขัดขวาง และบดขยี้อย่างป่าเถื่อน มาอย่างต่อเนื่อง - ตลอด 65 ปี -และอยู่ในสภาวะก้าวหน้าหนึ่งก้าวถอยหลังสองก้าวด้วยรัฐประหารที่ไม่เคยหยุดหย่อน ถึง 20 ครั้ง ทั้งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับรองรัฐประหาร 9 ครั้ง ตามธรรมเนียมปฏิบัติของบรรดาทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นับตั้งแต่ปี 2490 รัฐธรรมนูญฉบับที่ 18 ของไทยในปัจจุบันถูกร่างด้วยคณะนายทหารที่ทำการรัฐประหารปี 2549 เพื่อยกโทษให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในการกระทำ อาชญากรรมล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมา - รัฐธรรมนูญประชาชน ฉบับปี 2540 ที่ได้มาด้วยความยากเย็น นับตั้งแต่พระมหากษัตริย์ทรงรับรองรัฐประหาร 2549 และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้แสดงออกอย่างเปิดเผย ว่าสนับสนุนฝ่ายนิยมกษัตริย์(นับตั้งแต่ปี 2550) ประชาชนชาวไทยและประชาชนทั่วโลก ในที่สุด ได้เร่ิมที่จะหันมามอง บทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ต่อการรบริหารกิจการบ้านเมืองของประเทศไทยอย่างมีวิจารณาญาณ และเริ่ม วิพากษ์วิจารณ์ถึงความสำนึกรับผิดชอบและต้องตรวจสอบได้ของสำนักพระราชวังที่มีต่อประชาชน วิศวกรรมโดยอำมาตย์ที่ทรงอิทธิพล เบื้องหลังป้ายโฆษณาแห่ง “ความมั่นคงของชาติ” จึงเต็มไปด้วยความน่า สะพรึ่งกลัว ทั้งความโกลาหลพินาศ การสังหารหมู่ประชาชน และความวุ่นวายทางการเมืองไม่หยุดหย่อนตลอด ช่วงห้าหกปีที่ผ่านมา ได้ทำให้ประเด็น ต้องห้ามในสังคมถูกหยิบยกขึ้นมาพูดในหมู่สาธารณชนมากยิ่งขึ้น คนไทย จำนวนมากได้เร่ิมเข้าใจว่ากฎหมายที่ปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ปิดกั้นเสรีภาพในการชุมนุม และปิดกั้นเสรีภาพในการเจรจาต่อรองเพื่อค่าจ้างที่เป็นธรรมเป็นมาตรการทางสังคมที่ผิดพลาด และไม่มีส่วน เกี่ยวข้องแม้แต่น้อยต่อการบริหารบ้านเมืองด้วยหลักธรรมาภิบาล 54
นโยบายและการดำเนินงานต่างๆ ในปัจจุบันนี้ ไม่ว่าจะเป็นในด้านการศึกษา การเกษตร การจัดการทรัพยากร ธรรมชาติ การพัฒนาอุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัยและสวัสดิการสังคม - เป็นผลิตผลของหลายทศวรรษแห่งการคอรัปชั่น การเมืองรวมศูนย์ -จำเป็นจะต้องรื้อสร้างหรือหันกลับทิศทางกันใหม่ เพื่อสุขภาวะและความอยู่ดีมีสุขของประชาชนทุกคน พวกเราจำต้องสร้างความเข็มแข็ง และความลุ่มลึกต่อการต่อสู้ เพื่อประชาธิปไตยของพวกเรา มันเป็นเพียงวิถีเดียวที่พวก เราจะสามารถสร้างหลักประกันว่าทุกหน่วยงานสาขา ของรัฐบาลจะเริ่มมีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้โดยประชาชน ด้วยประชากร 66 ล้านคนและแรงงานต่างชาติอีก 3 ล้านคน จากประมาณ 40 ชาติพันธุ์ หลายศาสนาและความเชื่อ พวกเขาทั้งหลายจึงไม่สามารถยอมอยู่ภายใต้การปกครองโดยชนชั้นสูง และการเมืองรวมศูนย์อำนาจได้ เพื่อที่จะสามารถก้าวไปสู่โลกอนาคตได้อย่างมีศักดิ์ศรี ประชาชนชาวไทยจะต้องเกาะกุมและโอบกอดอุดมการณ์ แห่งประชาธิปไตยด้วยสองมือที่มั่นคงและด้วยหัวใจทั้งดวง เพี่อที่จะก้าวสู่โลกอนาคตได้อย่างมีศักดิ์ศรี พวกเราจำเป็นจะต้องสร้างวาระประชาชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน วาระประชาชนของพวกเรา จะเป็นที่ยอมรับก็ด้วยการเคารพในสิทธิของกันและกัน และรวมตัวกันจัดตั้งระบบ ที่จะควบคุมปัจจัยการผลิตไว้ให้อยู่ในหมู่ประชาชนให้ได้ เพื่อที่จะสามารถยืนได้อย่างสง่าผ่าเผยในเวทีระดับโลก เราจำเป็นจะต้องฟื้นฟูและเพิ่มศักยภาพในการพึ่งตัวเอง และสร้างความเข้มแข็งให้กับระเบบเศรษฐกิจภายในประเทศ
เพื่อที่จะเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ ประเทศไทย จำต้องจะต้องสร้าง วาระการเมืองเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ครอบคลุมทุกด้าน รวมทั้งในด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุม และสิทธิในการเจรจา ต่อรองร่วม - Freedom of expression, freedom of association and right to collective bargaining. ประเทศไทยจะต้องให้สัตยาบันและเคารพข้อตกลงระหว่างประเทศ กฎบัตร หรือข้อตกลงต่างๆ ที่เกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เสรีภาพในการชุมนุมและสิทธิในการเจรจาต่อรองร่วม จะต้องยกเลิกคดีหม่ินพระบรมเดชานุภาพทั้งหมด นักโทษคดีหมิ่นฯ ทุกคนจะต้องได้รับการปล่อยตัวโดยทันที และกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพจะต้องถูกยกเลิกไป
55
สิทธิเท่าเทียมทุกคน - Equal rights for all. เพื่อสอดรับกับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน มนุษย์ทุกคนในประเทศไทย ไม่ว่าจะมีความแตกต่างด้านเชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ สีผิว หรืออาชีพการงาน จะต้องได้รับการเคารพและปฏิบัติภายใต้กฎหมายอย่างเท่าเทียม
ความยุติธรรมสำหรับทุกคน - Justice for all. หลักนิติบัญญัติของไทยจะต้องปฏิบัติตามหลักการแ่หงสิทธิมนุษยชนและหลักนิติศาสตร์สากล ทั้งในตัวบทกฎหมาย และในทางปฏิบัติของกระบวนการยุติรรม จะต้องไม่มีบุคคลใดในประเทศไทยที่อยู่เหนือกฎหมาย วิถีการปฏิบัติสองมาตรฐานที่พบเห็นกันอย่างทั่วไป ในทุกหัวมุมถนน และในทุกระดับ ของกระบวนการยุติธรรมไทย จะต้องถูกถอนรากถอนโคนให้สิ้นซาก
สวัสดิการสังคมให้กับทุกคน - Social welfare for all. นับตั้งแต่เกิด ประชากรที่อยู่อาศัยในประเทศไทย ควรจะได้รับการดูแลด้านสวัสดิการ สังคมที่จำเป็น รวมทั้งการศึกษา การดูแลสุขภาพ ที่อยู่อาศัยและเงินบำนาญต่างๆ
สิทธิในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ - Sound education for all. นับตั้งแต่ระดับประถมศึกษาจนถึงการศึกษาระดับสูงสุด โครงสร้างการศึกษาของไทยที่ฉ้อฉล ครอบงำด้วยชนชั้นสูง และอยู่ภายใต้ระบบพ่อขุนจะต้องถูกวางรากฐานขึ้นมาใหม่อย่างมีคุณภาพ จะต้องมีการให้คำจำกัดความคำว่า “การศึกษา” ในประเทศไทยกันใหม่ เพื่อที่จะปลดปล่อยตัวเราจากการ ครอบงำด้วยคู่มือการศึกษาของพวกรอยัลลิสต์ที่มีวิสัยทัศน์คับแคบและลำเอียง พวกเราจำเป็นจะต้องสร้าง หลักประกันว่า ประชาชนจากทุกภาคส่วนจะมีส่วนร่วมในการกำหนดหลักวิชาต่างๆ ว่าเราจะเรียนรู้เรื่องอะไร และเรียนกันอย่างไร การศึกษาของรัฐจะต้องจัดให้ทั่วถึงต่อประชาชนทุกคนและไม่จำเป็นว่าจะต้องมีการบังคับให้ใส่เครื่องแบบนักเรียน หรือนักศึกษาใดๆ
ส่งเสริมให้ผู้หญิงมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น - Empowerment of women ประเทศที่ขายหญิงสาวเพื่อชดเชยกับการไม่มีสวัสดิการสังคมมีแต่จะล่มจม ประเทศไทยและคนไทยจะต้องเผชิญหน้า ทำความเข้าใจเสียทีว่าค่านิยมและวิถีการปฏิบัติต่างๆ ที่อนุญาตและกระตุ้นให้ผู้หญิงต้องขายร่างกายตัวเอง จะต้องถูกขจัดทิ้งไป หลายร้อยปีที่ผ่านมาคนทำงานหญิงไทยได้ทำงานที่อาจจะเท่าเทียมกับชายหรืออาจจะมากกว่าเพื่อสร้างความมั่งคั่ง ให้กับประเทศ แต่สัดส่วนตัวแทนที่เป็นผู้หญิงในรัฐสภามีเพียงแค่ 16% เท่านั้น
56
ข้อเรียกร้องเพื่อจะสร้างการเปลี่ยนแปลงได้คือต้องจัดให้มีสัดส่วนผู้หญิงเท่าเทียมกับชายในทุกระดับของการ บริหารบ้านเมือง โดยทันที
ความมั่นคงด้านอาหาร - Food security ความมั่นคงของประชาชนในประเทศไทย (และของชาติ) ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการบำรุงรักษาความรุ่งเรืองของกองทหาร ที่มากเกินจำเป็น หรือความสามารถในการผลิตชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์หรือยานยนต์ได้เท่าไร ความมั่นคงของพวกเรา เช่นเดียวกับที่มันเคยเป็น ขึ้นอยู่กับศักยภาพที่จะอยู่รอดของหมู่บ้านต่างๆ และสุขภาวะและความหลากหลายของ วิถีเกษตรกรรมของเรา ด้วยความเคารพ สนับสนุน ฟื้นฟู และปกป้ององค์ความรู้ และทักษะฝีมือของคนชนบท และบูรณาการเชื่อมโยง หลายหมื่นหมู่บ้านเข้าด้วยกัน คงไว้ซึ่งภูมิประเทศที่มีความหลากหลายทางนิเวศน์ คือเป้าหมายหลักทางการเมือง
สิทธิของระบบนิเวศน์ - Ecosystem rights ยิ่งความหลากหลายของวิถีชุมชนเราน้อยลงเท่าไร ศักยภาพของพวกเราในการต้านทานผลกระทบของสภาวะ โลกร้อนก็น้อยลง ศักยภาพในการปรับตัวของพวกเราก็ลดต่ำลงด้วยเช่นกัน ในวิถีเดียวกัน สัตว์โลกทั้งหลายทั่วพื้นพิภพต่างก็เอื้ออิงอาศัยซ่ีงกันและกันในระบบนิเวศน์ มนุษย์ก็เช่นเดียวกัน แต่ในฐานะที่เป็นผู้ทำลายระบบนิเวศน์ที่ทุกสรรพชีวิตได้อยู่อาศัยมากที่สุดในโลก เรามวลมนุษยชาติแทบจะไม่ สามารถเอ่ยได้อย่างภาคภูมิใจในวีรกรรมเหล่านี้ได้แม้แต่น้อย การคุ้มครองบูรณภาพของระบบนิเวศน์ต่อการรุกรานของความละโมภของมนุษย์ และมลพิษต่างๆ อาทิเช่นระดับของ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และ GMOs คือเป็นเป้าหมายหลักทางการเมือง
การเคารพความแตกต่างทางชาติพันธุ์และความหลากหลายทางวัฒนธรรม Respect for ethnicity and cultural diversity ความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติของเมืองไทย เป็นผลมาจากการไม่อดทนซึ่งกัน และกันระหว่างคนกลุ่มต่างๆ น้อยกว่าที่เกิดจากปัญหาจากนโยบายรัฐที่ไม่อ่อนไหวต่อสถานการณ์ รวมทั้งการใช้ ความรุนแรงเข้าจัดการความขัดแย้งที่ปะทุขึ้นจากพวกรอยัลลิสต์ คลั่งชาติ ที่นั่งอยู่ที่สำนักงานใหญ่ที่กรุงเทพ ความขัดแย้งที่ชายแดนของไทยเป็นที่รับรู้ท่ัวโลกว่าสาเหตุใหญ่เกิดจากการจุดชนวนอันเนื่องมาจากปัญหาภายใน เพื่อสร้างความชอบธรรมต่อการดำรงอยู่ของกองทหารที่ใหญ่โตเกินความจำเป็น การลดขนาดของกองกำลังทหารในสังคมไทยและการผันงบประมาณจากด้านทหารมาสู่การใช้จ่ายที่สร้างสรรค์เพื่อการ พัฒนาสังคม เป็นอีกหนึ่งเป้าหมายที่สำคัญอีกข้อหนึงเช่นกันทางการเมือง
57
การแย่งชิงที่ดินและแหล่งทรัพยากรของประชาชนอย่างไม่เป็นธรรม Expropriation of people’s land and resources. คนพื้นเมืองและคนทั่วไปที่ได้ก่อร่างสร้างชุมชนขึ้นมาจนเป็นปึกแผ่น มีสิทธิตามกฎหมายระหว่างประเทศที่จะคุ้มครอง ตัวเองต่ออำนาจของกระแสโลกาภิวัตน์ที่มายังพื้นที่ของพวกเขา และต่อต้านกระบวนการเวนคืนทรัพยากรธรรมชาติ และปัจจัยเพื่อการดำรงชีวิตของพวกเขาอย่างไม่เป็นธรรม ไม่ว่าจะมาในรูปแผนการสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ หรือบ้านจัดสรร หรือโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้า หรือขุดเจาะเหมืองแร่ หรือโครงการอนุรักษ์ต่างๆ ที่ออกแบบพร้อมประทับตราเฉลิมพระเกียรติก็ตาม สิทธิของชุมชนท้องถิ่นในการกำหนด วิถีการดำรงชีวิตของตัวเองจะต้องได้รับการเคารพ
ประชาธิปไตยประชาชนและการพัฒนายั่งยืน - People’s democracy and sustainable development. ในยุคโลกาภิวัตน์นี้ บรรษัทข้ามชาติต่างก็สะสมความมั่งคั่งจนมีมากกว่าความมั่งคั่งของประเทศยากจนทั้งหลาย ความสนใจของรัฐบาลในระดับชาติ มักจะถูกใช้ไปในการเจรจาการค้าเสรีกับนักล๊อบบี้ของบรรษัทเหล่านี้ และละเลยความจริงที่ว่าบทบาทของรัฐบาลคือการรับใช้ประชาชนไม่ใช่รับใช้บรรษัทยักษ์ใหญ่ อำนาจที่ชอบธรรมในการบริหารบ้านเมืองได้มาจากการเลือกตั้ง (ประชาชนทุกคนมีสิทธิเลือกตั้ง) แต่ประชาธิปไตย ไม่ได้เริ่มต้นและสิ้นสุดลงที่หีบบัตรเลือกตั้งเท่านั้น ขบวนการขับเคลื่อนไปสู่การนำสันติภาพและเสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศชาติได้อย่างแท้จริงนั้น จำต้องส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของประชาชน ทุกคนให้สามารถตั้งคำถามกับการบริหารบ้านเมือง ผ่านทางกระบวนการเจรจา ถกเถียง และรับฟังข้อเรียกร้อง และรักษาพื้นที่สาธารณะที่รับรองสิทธิในการชุมนุมและสิทธิในการแสดงความคิดเห็น การพัฒนายั่งยืนขึ้นอยู่กับการมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งของผู้หญิง ผู้ชาย และรวมทั้งเด็ก ต่อการพัฒนากลไกการ บริหารที่เป็นประชาธิปไตยและมีส่วนร่วม ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในทุกระดับของโครงสร้างการบริหารบ้านเมือง และใช้สิทธิของทุกคนได้อย่างเต็มที่ในการแสดงความไม่เห็นด้วยในนโยบายต่างๆ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อพัฒนาการ อย่างยั่งยืนของปัจจัยเพื่อการดำรงชีวิต
การจัดตั้ง สหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน การปราบปรามประชาชนอย่างเหี้ยมโหดของทหารเมื่อเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 เป็นเรื่องที่ช๊อคสังคมคนไทย จำนวนไม่น้อยที่อยู่อาศัยในยุโรป ได้มีการจัดทำการร่วมลงรายชื่อออนไลน์ทันทีเพื่อเรียกร้องให้ยุติการสังหารหมู่ ประชาชน ในหลายประเทศ คนไทยต่างได้พบปะ ปรึกษาหารือและจัดการศึกษาต่อเนื่อง เกี่ยวกับสาเหตุและผลกระทบ ที่เกิดขึ้นจากวิกฤติประเทศไทย มีการ 58
จัดกิจกรรมระดมทุนเพื่อส่งไปช่วยเหลือผู้เดือดร้อนจากการปราบปรามจากทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดทำ เผยแพร่ และนำส่งเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับการปราบปรามประชาชนให้กับตัวแทนสหภาพยุโรป นักการเมือง และสาธารณชนในประเทศที่พวกเราอยู่อาศัย นับตั้งแต่ปี 2549 มีนักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เพิ่มสูงขึ้นเป็นจำนวนมาก และจำนวนนักโทษคดีหมิ่นฯ ในปี 2510 เพิ่มขึ้นมาถึงร่วม 500 คดี นักโทษคดีหมิ่นฯ ทุกคนเป็นเหยื่อของความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย และมันจะต้องมีการประกาศอย่างชัดเจนว่านักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพคือนักโทษการเมือง ประชาชนคนไทยและคนต่างชาติต่างก็ตระหนักว่า การใช้กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพในปัจจุบันเพื่อปิดกั้น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่ถูกนำมาใช้เพื่อคุกคามและปิดกั้นพัฒนาการของ ประชาธิปไตยประชาชน มันจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องมีการพิจารณาถึงปัญหาและความทุกข์ทรมานต่างๆ ที่เกิดจากกฎหมายหมิ่น พระบรมเดชานุภาพ และนีเ่ ป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2554 พวกเรา 24 คน จาก 6 ประเทศในยุโรป ได้มารวมตัวกันที่กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยี่ยม เพื่อร่วมประชุมและมีมติจัดตั้งสหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน
กิจกรรมและเป้าหมายของสหภาพ 1. 2. 3. 4. 5. 6.
เพิ่อรณรงค์ให้มีการยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 112 และปลดล๊อคกฎหมายปิดกั้นเสรีภาพในการ แสดงความคิดเห็นทั้งหลาย เพื่อรณรงค์ให้มีการปล่อยตัวนักโทษคดีหมิ่นฯ และนักโทษการเมืองทุกคน เพื่อเรียกร้องให้มีการนำตัวผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปราบปรามประชาชนในปี 2553 และนำตัวฆาตกรที่สังหารผู้บริสุทธิ์ พลเรือน และผู้ประท้วงมาสู่กระบวนการยุติธรรม เพื่อรณรงค์และสร้างการตื่นรู้เกี่ยวกับสถาบันทหารและสถาบันพระมหากษัตริย์ที่แทรกแซงกระบวนการบริหารจัดการบ้าน เมือง และขบวนการภาคประชาชนเพื่อประชาธิปไตยประชาชนในประเทศไทย เพื่อสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลไทยให้ยุติระบบสองมาตรฐานที่ครอบงำกระบวนการยุติธรรม ของไทย และเพื่อรวมทั้งปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมให้สอดคล้องกับคำประกาศด้านสิทธิมนุยชนสากลและปฏิบัติตาม หลักนิติศาตร์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นแบบอย่างที่ดีของโลกทั้งหลาย เพื่อเปิดโปงปัญหาการค้าคนไทยมาทำงานทาส และในอุตสาหกรรมการค้าเพศ ที่ต่างประเทศ
ที่ประชุม ได้มีการลงมติเลือกตั้งบุคคลดังต่อไปนี้เพื่อเป็นคณะทำงาน และตัวแทนสหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน ประธาน รองประธาน
อำนวย Dockweiler วิไลลักษณ์ ศรีหราช วาสนา Fromm กรรณิการ์ K. Nielsen มะลิวัลย์ Martinsen 59
เลขาธิการ เหรัญญิก ประชาสัมพันธ์ การศึกษาและสื่อ คณะที่ปรึกษา
Toon van der Meer-Sudpian Amina Svenska Angela Speck จรรยา ยิ้มประเสริฐ สมปาน Nielsen บัวทิม Nys วิไลลักษณ์ ศรีหราช เกษร Nielsen วาสนา Fromm ชลิกา Hoover อาจารย์จรัล ดิษฐาภิชัย มนูญ มูนศักดิ์ วีณา จันทอง คำ ชอบง่าย
ผู้ประสานงานประเทศ ฝรั่งเศส เยอรมัน เดนมาร์ก นอร์เวย์ เบลเยี่ยม ฟินแลนด์ เนเธอแลนด์ สวิสเซอร์แลนด์ สวีเดน
วิไลลักษณ์ ศรีหราช bakluis6@hotmail.fr วาสนา Fromm vasana-fromm@live.de กรรณิการ์ K. Nielsen kaymuk@live.dk มลิลัย์ Martinsen maliwanorway@gmail.com ชลิกา Hoover chalika22@yahoo.com จรรยา ย้ิมประเสริฐ savethailand@gmail.com Toon van der Meer-Sudpian vjinternet2000@yahoo.com Angela Speck sweetswissoss@gmail.com Amina Svenska svenskaamina@hotmail.com
การสมัครสมาชิก MEMBERSHIP สหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน ยินดีต้อนรับองค์กรที่รักประชาธิปไตย แลคนรักประชาธิปไตยทุกท่านไม่ว่าจะมีผิวสีอะไรหรือนับถือศาสนาใด แบบฟอร์มการสมัครสมาชิกสามารถดูได้ที่ www.unionforpeoplesdemocracy.net หรือที่อีเมล: savethailand@gmail.com การประชุมใหญ่สมัยแรกของสหภาพจะจัดให้มีขึ้นภายใน 12 เดือน
60
สหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน ขอประกาศเชิญชวน
ร่วมปฏิบัติการทั่วโลก - เพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย 19 กันยายน 2554
เรียกร้องรัฐบาลไทยให้ . ..
ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ถอนคดีหม่ินพระบรมเดชานุภาพทั้งหมด ปล่อยตัวนักโทษการเมืองและนักโทษคดี หม่ินฯ ทุกคน (มากกว่า 500 คดี) ดำเนินมาตรการที่จะพิจารณายุติคดีนักโทษ การเมืองทุกคนที่ถูกขังอยู่ในคุกเมืองไทย ในขณะนี้
61