Field work Recording

Page 1

1

Method : Ethnography, Interview, Oral History Place :โรงน้ำตาลไทยลำปาง อ.เกาะคา จ.ลำปาง Date : 25 กุมภาพันธ์ 2560 ______________________________________________________________________________________

เหตุผลและวิธีการดำเนินงาน “โรงน้ำตาลไทยลำปาง” ข้าพเจ้าไม่รู้จักชื่อโรงงานน้ำตาลนี้มาก่อน จนประทั่งได้ research เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ การค้าขายและผลิตน้ำตาลในประเทศไทย ก็ได้พบกับโรงน้ำตาลแห่งนี้ ที่น่าสนใจไปกว่านั้นคือสถานที่แห่งนี้ เป็นโรง น้ำตาลแห่งแรกของประเทศไทย สิ่งแรกที่ข้าพเจ้าจะทำความรู้จักโรงน้ำตาลนี้ได้รวดเร็วที่สุดด้วยวิธีการสืบค้นทาง อินเทอร์เน็ต ปรากฏว่าข้อมูลในส่วนของการติดต่อเพื่อขอเข้าชมสถานที่แทบไม่มี ไม่ทราบที่ตั้งที่แน่ชัด ข้าพเจ้าจึงโทรไป สอบถามสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้ข้อมูลว่าโรงน้ำตาลไทยลำปางปัจจุบันได้หยุดการผลิตไปแล้ว หลายปีแล้ว แต่นั่นก็สร้างความสงสัยให้กับข้าพเจ้าอยู่ดีว่า จะยังมีซากเครื่องจักรและโรงงานยังหลงเหลืออยู่หรือไม่ ต่อมาจึงได้สอบถามเพื่อนที่เป็นคน จ.ลำปาง เขาบอกว่ายังมีอยู่ สามารถพาไปได้ หลังจากนั้นประมาณ 3 วัน ข้าพเจ้า ตัดสินใจเดินทางไป จ.ลำปาง ทันที วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2560 ข้าพเจ้าและเพื่อนอีกหนึ่งคน ออกเดินทางจากเชียงใหม่โดยรถเมล์ เริ่มที่เวลาประมาณ 8 โมงเช้า ถึงลำปางประมาณ 10 โมง จากนั้นต่อรถสองแถวไปยัง อ.เกาะคา ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที พร้อมกับสมุด โน้ต ปากกา กล้องถ่ายภาพ และเครื่องบันทึกเสียง เมื่อถึงที่หมาย ข้าพเจ้าสังเกตป้ายหน้าโรงงานเป็นชื่อไม่ตรงกับที่ ข้าพเจ้าสืบค้นมา บังเอิญว่ามีลุงรปภ. กำลังประจำการอยู่ที่ป้อมพอดี ข้าพเจ้าจึงเข้าไปถามลุงว่า “ที่นี่ใช่โรงน้ำตาลไทยลำปางหรือเปล่าคะ ทำไมป้ายไม่ใช่ชื่อนี้” “ใช่ นี่ที่แหละ แต่ก่อนเป็นของรัฐ เดี๋ยวนี้เอกชนได้ take over ไป ไม่ได้ผลิตน้ำตาลแล้วนะ” ー เขาตอบ “อยากเข้าไปข้างในได้ไหมคะ” “เข้าไปได้ๆ ข้างในมีเจ้าหน้าที่อยู่ ลองเข้าไปถามดู” “ขอบคุณค่ะ” ข้าพเจ้าเดินเข้าไปยังอาคารไม้เก่าๆ ภายในมีเจ้าหน้าที่ประจำการอยู่ 2 คน เมื่อเขาทั้งคู่เห็นเด็กเข้ามา สีหน้าทั้งคู่ ดูงงๆ เหมือนสงสัยว่าเข้ามาทำอะไร ข้าพเจ้าและเพื่อนจึงแนะนำตัวว่าเป็นนักศึกษาจากคณะวิจิตรศิลป์ อยากเข้ามาเก็บ ข้อมูลเพื่อประกอบการทำวิจัยและการทำสื่อ บรรยากาศเริ่มแรกมีความเกร็งๆ พอสมควร อาจจะเพราะเป็นครั้งแรกที่ ข้าพเจ้าต้องลงข้อมูลด้วยตัวเองแบบเป็นจริงเป็นจัง เลยประหม่า อีกทั้งมาในพื้นที่ที่ตัวเองไม่คุ้นเคย อีกมุมหนึ่ง ข้าพเจ้า รู้สึกดีใจและอุ่นใจที่ชวนเพื่อนคนลำปางมาด้วย สังเกตได้ว่าภายในบรรยากาศที่ไม่รู้จะเริ่มอะไรก่อน-หลังดี เมื่อเพื่อนเริ่ม พูดภาษาเหนือสื่อสารกับเจ้าหน้าที่ โดยเพื่อนเริ่มสนทนาว่า ตัวเองเป็นคนอำเภออะไร / พี่เป็นคนที่ไหน บ้านก็ทำสวนเหมือนกัน แม่หนูผ่านที่นี่บ่อย ปกติแม่หนูจะมาส่ง แต่วันนี้แม่ไม่ว่าง (ชวนคุยเรื่องจิปาฐะ)


2 ข้าพเจ้ารู้สึกได้เลยว่าช่องว่างระหว่างความแปลกหน้าซึ่งกันและกัน มันลดน้อยถอยลงมากกว่าการพูดภาษากลาง อย่างเห็นได้ชัด มีการโต้ตอบที่ผ่อนคลายมากขึ้น เหมือนพอเราเล่าแล้ว เขาก็มีปฏิกิริยาที่จะเล่าบ้าง ยอมรับว่าตัวข้าพเจ้า เองไม่สามารถสื่อสารภาษาเหนือได้แต่ก็พอฟังจับความได้บ้าง พยายามสร้างความไว้ใจ ความเป็นกันเองให้ได้มากที่สุด เจ้าหน้าที่ทั้งสองคนชื่อพี่อ้อยและพี่ใหม่ ทำงานทีนี่มาหลายปีแล้ว มีพนักงานมีแค่ 2 คนเท่านั้น เพราะโรงงานได้ย้ายฐาน การผลิตไปที่ จ.กำแพงเพชร กันหมด พี่ทั้งสองบอกว่าเหมือนมีหน้าที่มาเฝ้าโรงงาน ดูแลเครื่องจักรที่ไม่ได้ใช้แล้ว ตำแหน่ง ก็ไม่ได้สูงอะไร ข้าพเจ้าได้ขอข้อมูลจากพี่ทั้งสอง พี่อ้อยขอ handy drive เพื่อ copy ข้อมูลลงให้ ข้อมูลเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้า ต้องการก็จริง แต่ก็ไม่เท่าประสบการณ์ที่เขาทั้งสองจะเล่า อยากได้ตรงนั้นมากกว่า จึงอธิบายว่าอยากได้เป็นข้อมูลด้วยวิธี การเล่าเรื่อง ดูเป็นกันเองดี เขาก็เข้าใจจุดประสงค์ที่ข้าพเจ้าขอ พี่ใหม่พาพวกเราเข้าไปสำรวจทั่วโรงงาน ระหว่างนั้นเขาก็จะเล่าวิธีการผลิตน้ำตาลแต่ละขั้นตอนไปด้วย หาก ข้าพเจ้าสงสัยหรือมีคำถาม พี่ใหม่จะยินดีตอบเสมอ หน้าที่การผลิตจะแบ่งเป็น 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่ โรงหีบและโรงต้ม ในฝั่ง โรงหีบ เริ่มที่จุดแรกในบริเวณลำเลียงอ้อย ถ้าเป็นสมัยก่อนอ้อยจะถูกขนส่งมาทางรถไฟวิ่งตามรางเข้ามาจนถึงภายในตัว โรงงาน เราจะสังเกตเห็นมีร่องรอยเหมือนรอยรถเคลื่อนเป็นเส้นยาวๆ สมัยนั้นเป็นยุคแห่งการเกิดขึ้นรถไฟหัวจักรไอน้ำใน ประเทศไทย (รัชกาลที่ 5) มีบทบาททั้งการคมนาคมและการขนส่งสินค้า แต่ยุคสมัยนี้เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ครั้นยังเปิดฐานการ ผลิตอยู่ อ้อยจะถูกบรรทุกใส่รถสิบล้อหลายคัน โดยแต่ละคันจะเข้ามาจอดอยู่บริเวณลานกว้าง และจะขนอ้อยลงมาผ่าน สายพานเพื่อเข้าสู่เครื่องตัด เครื่องตัดมีลักษณะคล้ายเตาขยะ ภายในมีใบมีดเยอะมาก ใบมีดมีความคม เมื่อเราโยนอ้อย ลงไปมันจะถูกตัดเป็นท่อนเล็กๆ ยาวประมาณ 2-3 นิ้ว อ้อยที่ถูกตัดเป็นท่อนจะถูกส่งไปที่จุดคั่นน้ำ จุดที่คั่นน้ำจะแยกน้ำออก จากกาก น้ำจะถูกส่งเข้าสู่โรงต้มส่วนกากจะถูกใช้โดยนำกลับมาเป็นเชื้อเพลิงให้หม้อต้มต่อไป ก่อนจะไปยังโรงต้ม พี่ใหม่ ให้ข้าพเจ้าเดินสำรวจบริเวณโรงหีบได้อิสระ ข้าพเจ้าเห็นความทรุดโทรมของเหล็ก ลูกสูบ เครื่องจักร รับรู้ได้เลยว่าแต่ละชิ้น ส่วนที่ไม่ได้ถูกใช้มาเป็นเวลานาน สังเกตที่ใยแมงมุมเกาะหนา มองไปทางไหนก็เจอแต่สนิม ข้าพเจ้าถ่ายภาพสลับกับการ จดบันทึก ยังดีที่เวลาจดอยู่ เพื่อนจะช่วยถ่ายรูปให้ พี่ใหม่อธิบายต่อไปอีกว่า ด้วยความที่เครื่องจักรที่อยู่ในนี้เป็น เครื่องจักรในยุคเริ่มแรก แน่นอนอยู่แล้วที่ประสิทธิภาพคงสู้เครื่องจักรรุ่นใหม่ไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น หากมีการขัดข้องเรื่อง ไฟฟ้า สายการผลิตหยุด อ้อยจะต้องถูกเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด ไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งที่คนงานรู้ดีว่าควรระวังอย่างมาก เมื่อหีบอ้อย เข้ามาแล้วห้ามหยุดกลางคัน จะต้องดำเนินการไปจนกว่าจะเสร็จรอบนั้นๆ เพราะฉะนั้น จะต้องมีคนงานค่อยหมุนเวียนผลัด เปลี่ยนเวรตลอด ข้าพเจ้ารู้สึกว่าบรรยากาศแบบนี้ เหล็กแบบนี้ เครื่องจักรแบบนี้มันคลาสสิกมากๆ สถานที่มีความสวยงาม ด้วยตัวมันเอง ถ้าได้เข้ามา perform ที่นี่ภาพที่ได้คงจะสวยมาก ข้าพเจ้าคิดว่าน้อยคนที่จะได้มีโอกาสเข้ามาสัมผัส บรรยากาศแบบนี้ บรรยากาศในยุคแรกที่ประเทศเราผลิตน้ำตาล รูปร่างหน้าตาของเครื่องที่ทำงานจนถึงหัวรถไฟเก่าๆ พี่ ใหม่อธิบายเสริมต่อไป ยังอยากเก็บซากเครื่องจักรเหล่านี้ไว้อยู่ เพราะเสียดายความสวยงามและประวัติศาสตร์ของมัน อัน ที่จริงเคยยื่นเรื่องขอทีนี้ทำเป็นพิพิธภัณฑ์ เพราะมีคนขอเข้ามาชมเยอะมากๆ ก่อนหน้านี้ก็มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ นักศึกษาคณะเกษตร เข้ามาดูงาน แต่เรื่องกลับเงียบหาย ในบริเวณโรงต้ม เรียกได้ว่าเป็นจุดไฮไลท์เลยก็ว่าได้ ข้าพเจ้าเดินเข้าไป ภาพแรกที่ข้าพเจ้านึกถึงคือโรงงานในรูป ถ่ายช่วงยุคปฎิวัติอุตสาหกรรม แทงก์หลายๆ แทงก์ขนาดใหญ่ตั้งเรียงราย มีหมายเลขกำกับ มีคันโยกสำหรับหมุนอะไรสัก อย่าง มีซากถุงมือคนงาน พื้นไม้ที่ไม่ค่อยแข็งแรง พี่ใหม่เล่าว่า เราจะต้มน้ำอ้อยบริเวณนี้ ต้มแล้วทิ้งให้ตกผลึกกลายเป็น น้ำตาล เป็นพื้นที่จะค่อนข้างร้อนเลยทีเดียว พอน้ำอ้อยที่ได้ลำเลียงมากจากโรงหีบถูกไฟต้ม จะส่งกลิ่นหอมตลบอบอวล ข้าพเจ้าถามว่ากลิ่นมันคล้ายกับอะไร พี่ใหม่ตอบว่ามันเหมือนคาราเมล ไม่มีกลิ่นเหม็นไหม้ กลิ่นหอมมาก น้ำตาลที่เราจะได้ อันดับแรกคือน้ำตาลสีแดงหรือว่าน้ำตาลดิบนั่นเอง เขาอธิบายต่อไปว่า มีบางครั้งน้ำอ้อยที่ต้มทะลักออกมาจากหม้อ เอ่อ นองเต็มพื้นที่เราเหยียบนี่แหละ ข้าพเจ้าถามต่อว่า “แต่ทำไมหนูไม่เห็นมดเลย แม้แต่ซากมดตาย หนูคิดว่าโรงน้ำตาลจะมีมดเยอะเสียอีก” “เชื่อไหมว่ามดไม่กินน้ำน้ำตาลที่หกล้นออกมา ไม่ใช่เพราะว่ามันร้อนนะ แต่มันหวานเกินไปต่างหาก” — เขาตอบ


3 สิ้นสุดกับการพาชมโรงงาน เรากลับเข้ามานั่งที่สำนักงานดังเดิม ข้าพเจ้าชวนคุยทั้งพี่ใหม่และพี่อ้อยเกี่ยวกับการ การทำงานที่นี่ เปลี่ยนไปจากแต่ก่อนมากน้อยแค่ไหน โดยทั้งคู่เริ่มสะดวกใจที่จะตอบมากขึ้นจนข้าพเจ้ารู้สึกได้ ข้าพเจ้า ก็ได้เล่าบางส่วนว่าทำไมสนใจเรื่องน้ำตาล น้ำตาลสามารถเชื่อมโยงกับศิลปะได้อย่างไรให้พวกเขาฟัง ที่สำคัญข้าพเจ้าได้ ถามความรู้สึก มุมมอง ทัศนคติของพี่ทั้งสองเกี่ยวกับ “รสหวาน”

“ถ้าในอนาคตเราไม่มีน้ำตาล ไม่มีรสหวาน มันจะมีรสชาติอื่นมาทดแทนได้ไหม, แล้วพี่มีมุมมองอย่างไรกับการติดหวานของคนเราในปัจจุบัน” “คงตอบยาก คงไม่มีรสอื่นมาทดแทนแล้วมั้ง คนสมัยนี้ติดหวานเยอะ ขนาดพี่ยังติดหวานเลย กินกาแฟก็ใส่น้ำตาลแล้ว ในอาหารก็เจอน้ำตาล” —พี่อ้อยตอบ 
 “ที่สำคัญนะความหวานมันชอบมากับเด็ก ก็ไม่รู้ว่าทำไม เด็กติดหวานง่าย 
 อาจจะเป็นเพราะว่าเรากินหวานตลอด ขนาดยายังใส่น้ำตาลเลย” — พี่ใหม่พูดเสริม

พี่อ้อยได้ให้ข้อมูลที่จำเป็น เฟสบุ๊กส่วนตัว เบอร์โทรศัพท์ติดต่อของที่นี่และโรงน้ำตาลกำแพงเพชร ซึ่งเป็นบริษัท แม่ของทีนี้ เจ้าของคือคุณเจริญ สิริวัฒนภักดี บริษัทเดียวกับไทยเบฟ กำลังเดินสายผลิตน้ำตาลอยู่ เผื่อให้เราเข้าไปดูการ ผลิตน้ำตาลจริงๆ และข้าพเจ้าได้กล่าวขอบคุณพี่ทั้งสองที่ได้ให้ข้อมูล พาเดินชมโรงงาน ท้ายสุดต้องขอโทษด้วยที่ไม่ได้ทำ หน้าสือขออนุญาตเข้ามา เพราะข้อมูลในการร่างหนังสือมีน้อยเหลือเกิน โอกาสหน้าข้าพเจ้าจะยื่นหนังสือขออนุญาตเข้ามา ให้เรียบร้อย สำหรับการลงพื้นที่ครั้งแรก ข้าพเจ้าถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ท้าทายและน่าจดจำ ได้ทดลองออกนอกสถานที่ใน แบบที่ไม่ค่อยได้วางแผนเท่าไรนัก เราวางแผนในเวลาของการเดินทาง แต่เหตุการณ์ข้างหน้าเราไม่รู้เลยว่าจะเจออะไรบ้าง ที่จริงข้าพเจ้าก็ไม่คิดว่าจะได้ข้อมูลเยอะขนาดนี้ ภาพถ่าย เสียงบันทึก ข้อมูล วีดีโอ ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าการไปครั้งนี้จะมือเปล่า กลับมาไหม หรือโรงงานอาจจะไม่มีใครอยู่เลยก็ได้ เราอาจจะไปลำปางฟรีๆ เลยก็ได้ นั่นเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าคิด ไม่ได้บั่นทอน กำลังใจตัวเอง แต่แบ่งความคาดหวังไว้อีกครึ่งหนึ่งและความผิดหวังไว้อีกครึ่งหนึ่งต่างหาก ก่อนที่จะมา รู้อยู่แล้วว่าข้อมูลที่ มีมันน้อยมากแต่ข้าพเจ้าเป็นคนใจร้อน ครั้งนี้มันอาจจะเป็นข้อดีของความใจร้อน อยากได้อะไร ต้องไปเลย ต้องทำเลย อีกหนึ่งคนที่จะไม่ขอบคุณไม่ได้เลยคือ จิตนธี สมณะ ที่เป็นเพื่อนชวนคุยภาษาเหนือ เป็นไกด์คอยนำทาง พาไปกิน ของอร่อยๆ เป็นผู้ช่วยถ่ายภาพตลอดในการลงพื้นที่นี้ การลงพื้นที่ครั้งต่อไป สิ่งที่จำเป็นและควรทำเป็นอันดับแรกคือการ สร้าง ‘rapport’ การไม่มีสิ่งนี้ก็อาจทำให้ข้าพเจ้าได้ข้อมูลแต่เป็นข้อมูลที่สามารถสืบค้นเองได้ แต่ถ้าเราก่อมันขึ้นมาได้ มัน จะเป็นประตูให้เราทำอะไรได้ง่ายขึ้น เราจะได้ข้อมูลแบบที่เราไม่คาดคิดว่าเขาจะให้ เราจะได้ความไว้ใจ เราจะได้ มนุษยสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเขาและเราต่อกันไปตลอด อันดับสองเรื่องของ ‘ภาษา’ เราสื่อสารกันด้วยภาษาไทย ฟังออก รู้เรื่อง ก็จริง แต่ถ้าเราพูดภาษาถิ่นได้บ้าง ความน่าเอ็นดูเขาที่มีต่อเราจะคูณสอง ฉะนั้นข้าพเจ้าจะพยายามฝึกฝนให้ได้บ้าง ข้าพเจ้าคิดว่าถ้าเราเข้าใจภาษาก็หมายความว่าเราเข้าใจวัฒนธรรมของเขาไปด้วย

Art Practice เนื่องจากการเข้าไปรอบที่ 2 เพื่อถ่ายทำนั้นไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บริหาร จึงใช้ภาพถ่ายที่ได้เก็บรวบรวมในวัน แรกเข้ามาประกอบในฉาก ฉายโปรเจ็คเตอร์ ในสตูดิโอเพื่อจำลองโรงงานน้ำตาล โดยเลือกภาพที่น่าสนใจ ที่จะสื่อสารว่า นี่คือโรงงานอุตสาหกรรมในยุคแรก มาประมาณ 2-3 ภาพ


4

Method : Ethnography, Interview, Oral History Place : ไร่อ้อยเกษตรสารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ Date : 25 มีนาคม 2560 — 10,20,21,25 เมษายน 2560 _____________________________________________________________ เหตุผล วิธีการดำเนินงานและ Art Practice หลังจากที่ได้ติดต่อไปยังโรงน้ำตาลไทยลำปางเพื่อเข้าถ่ายทำ Performing Art ก็ต้องเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น เนื่องด้วย ผู้บริหารไม่อนุญาตให้เข้าไปยังสถานที่ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆ ก็ตาม เราพยายามทุกวิถีทางแล้วทางนั้นก็ไม่ยินยอม ทำให้ ข้าพเจ้าต้องเปลี่ยนแผนที่วางไว้ มาทำการถ่ายทำที่ไร่อ้อยเกษตรสารภี อ.สารภี จ.เชียงใหม่ ด้วยเวลาที่กระชั้นชิดในการ หาสถานที่ ถ่ายทำ ตัดต่อ ข้าพเจ้าจึงตัดสินใจหาข้อมูลเกี่ยวกับโรงน้ำตาลในเชียงใหม่ก่อนเป็นอันดับแรก ได้พบหนึ่งแห่ง อยู่ใน อ.สันกำแพง สอบถามการขอใช้สถานที่แต่เขาปฏิเสธ ให้เหตุผลเพราะปิดตัวลงไปแล้ว เขาอธิบายต่อว่าใน เชียงใหม่ก็ไม่มีโรงงานผลิตน้ำตาลแล้วตอนนี้ ข้าพเจ้าก็เลยหาข้อมูลเกี่ยวกับไร่อ้อยทดแทนโรงงาน สำหรับการหาข้อมูล พื้นที่เพาะปลูกอ้อยก็มีน้อยมากเมื่อเทียบกับจังหวัดอื่นๆ ภายในภูมิภาคเหนือ ข้าพเจ้าก็หาข้อมูลไร่อ้อยในเชียงใหม่ต่อใน ที่สุดได้โทรไปสอบถามเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ เขาบอกว่าถ้าต้องการพื้นที่ที่ใกล้กับตัวเมืองมากที่สุด ปลูกอ้อยมากที่สุด ก็ มีแต่ที่สารภีเท่านั้น ลองไปถามเกษตรอำเภอนั้นดู ข้าพเจ้าได้คุยและติดต่อกับผู้อำนวยการ อ.สารภี ทันที และเขาตอบ ตกลงและยินดีให้เข้าไปถ่ายทำ ขอให้นัดวันเวลามาจะเข้าไปวันที่เท่าไร ทางนั้นจะมีพี่ที่ช่วยดูแลให้ ชื่อว่าพี่ล่า วันที่ 25 มีนาคม 2560 ข้าพเจ้ายังไม่ได้เข้าไปถ่ายทำ แต่เข้าไปสำรวจสถานที่ว่าอยู่ตำแหน่งบริเวณไหน เพื่อวัน อื่นเข้าจะไม่หลง ข้าพเจ้าไปถึงก็ไม่เจอใครเพราะตรงกับวันหยุดพอดี วันที่ 10 มีนาคม 2560 เวลา 10.00 น. ข้าพเจ้านัดกับพี่ล่าไว้ที่สำนักงานเกษตร อ.สารภี เพื่อเข้าไปสำรวจพื้นที่ พี่ ล่าขับรถยนต์พาไปยังไร่อ้อยลุงวัน สมสงวน พี่ล่าแนะนำให้รู้จักกับพ่อหลวงและลุงวัน สองท่านนี้จะเป็นคนที่อำนวยความ สะดวกให้แก่ข้าพเจ้าในการทำงาน เมื่อเราไปถึงที่ไร่ลุงวัน จะพบกับพืชหลักที่ลุงปลูกนั่นก็คืออ้อยกับข้าว เรามุ่งความสนใจ ไปที่อ้อยเป็นหลัก อ้อยมีสองชนิดด้วยกันคืออ้อยกินน้ำและอ้อยสำหรับช้าง อ้อยกินน้ำคืออ้อยที่เรานำมาคั่นน้ำอ้อย หรือ นำมาหั่นเป็นท่อนเล็กๆ ไว้เคี้ยวแล้วคายกากทิ้ง และอ้อยสำหรับช้างคือไว้ทำอาหารสัตว์ จะมีความแข็งเป็นพิเศษ ไร่นี้ไม่มี อ้อยสำหรับทำน้ำตาล เพราะว่าเชียงใหม่ไม่มีโรงน้ำตาลแล้ว ข้าพเจ้าเห็นลุงวันเข้าไปตัดอ้อยด้วยมีดด้ามยาว ฟันไปที่ต้น อ้อย ตัดใบ ปลอกเปลือกออก จนเหลือแกนอ้อยอ่อนๆ ที่เราเคี้ยวได้ยื่นให้ข้าพเจ้าและทุกคนที่เหลือ เป็นครั้งแรกอีกแล้วที่ ข้าพเจ้าได้เคยชิมอ้อยสดๆ จากไร่ มันเคี้ยวง่ายกว่าที่ขายตามรถผลไม้มาก รสชาติหวาน หอมกลิ่นอ้อย ระหว่างกินอ้อยฉัน ก็ได้ถามลุงวันเกี่ยวกับฤดูกาลเก็บเกี่ยวอ้อย ลุงวันเล่าว่า จ.กำแพงเพชร คือแหล่งที่ปลูกอ้อยมาก มีโรงน้ำตาลอยู่เยอะ ชาวไร่จะตัดอ้อยกันในฤดูร้อน เวลามีการซื้อขายกันจะเหมาซื้อทั้งไร่ ไร่ละ 4 หมื่นบาท จะได้อ้อยประมาณ 200 มัด อ้อยมี ระยะเวลาเติบโตของมันประมาณ 8 เดือน ศัตรูของอ้อยเรียกว่า หนอนกอ มันจะเข้ามากัดกินต้นอ้อยที่ยังไม่โตแต่เรา สามารถกันมันออกไปได้ ลุงวันพาข้าพเจ้าเดินสำรวจทั่วไร่ ลุงบอกถ่ายได้หมดเลย ไม่หวง ก่อนจะกลับข้าพเจ้าขอเบอร์ ติดต่อทั้งลุงวันและพ่อหลวงไว้เพื่อนัดวันที่เข้ามาถ่ายทำ วันที่ 20 มีนาคม 2560 เวลา 5 โมงเย็น ข้าพเจ้าและเพื่อนอีกสองคนนำอุปกรณ์ drone มาลอง block shot ก่อน วันพรุ่งนี้ที่จะเข้ามาถ่ายจริง เนื่องจากใน storybroad ข้าพเจ้าต้องการแสงธรรมชาติตอนเช้า ระหว่างพระอาทิตย์กำลังขึ้น ดังนั้นการทำงานแข่งกับเวลาสำคัญมาก เราไม่สามารถย้อนกลับมาถ่ายได้เมื่อเวลาล่วงเลยไป แสงเปลี่ยนไป วันที่ 21 มีนาคม 2560 เวลาตี 5 ข้าพเจ้าและเพื่อนออกเดินทางมาถึงที่ไร่อ้อยลุงวันเพื่อเตรียมตัวถ่ายทำ ข้าพเจ้า แต่งหน้า แต่งตัวออกมาจากหอเพื่อความรวดเร็ว มาถึงเราช่วยกันเซ็ตอุปกรณ์ แจก storybroad ให้กับเพื่อน พร้อมอธิบาย ว่าเราต้องการภาพแบบใดบ้าง อีกไม่กี่นาทีพ่อหลวงก็ตามมาอำนวยความสะดวกให้กับพวกเรา มีไม้ให้เหยียบง่ายขึ้น ไม่


5 ลื่นล้ม เมื่อเริ่มเห็นแสงเราก็เริ่มถ่ายทำ เป็นการถ่ายทำที่คนน้อยที่สุดเท่าที่เคยทำงานมา ระหว่างกำลังการถ่ายทำติด ปัญหานิดหน่อยตรงที่ทุกคนค่อนข้างอิดโรยกับงานที่ถาโถม ต้องสลับกันไปช่วยถ่าย และด้วยความที่ออกเดินทางกันแต่ เช้า ร่างกายทุกคนยังไม่ตื่นดี ในที่สุดเราก็ถ่ายกันจนเสร็จเวลาประมาณ 9 โมง footage ที่เก็บมาทั้งหมดยังไม่เป็นที่พอใจ ขาดตกบกพร่องบางฉาก ในขณะเดียวกันเวลาการตรวจงานถูกเลื่อน ออกไป ข้าพเจ้าจึงตัดสินใจใช้เวลาที่เหลือ กลับไปที่ไร่อ้อยลุงวันอีกครั้ง ในตอนเย็นของวันที่ 25 มีนาคม 2560 ยังพอมี เวลาที่จะถ่ายแก้ไขเพิ่มเติมอยู่ ครั้งนี้เราอาศัยแสงอาทิตย์ในตอนเย็น เราได้ภาพที่สวยมากไม่แพ้แสงตอนเช้าเลย ข้าพเจ้า รู้สึกว่าตัวเองไม่อิดโรยเท่าวันที่ 21 การแสดงจากตัวข้าพเจ้าเองและกล้องที่เพื่อนสาขาถ่ายภาพเข้ามาช่วยทำให้มันลงตัว กว่าเดิม มีเวลาน้อยแต่คุณภาพดี เราใช้เวลาถ่ายเสร็จจนเกือบ 2 ทุ่ม นั่นก็แปลว่าไม่มีแสงสว่างหลงเหลือแล้ว แก้ไขโดย อาศัยไฟจากโทรศัพท์มือถือช่วย อุปสรรคที่พบเจอในการถ่ายตอนเย็นคือเรื่องของยุงและแสงสว่าง เราได้แผลที่ขาหลาย จุดจากยุงและรอยบาดของต้นอ้อยเมื่อต้องถอดรองเท้าในการ perform การเข้ามาที่ไร่อ้อยเกษตรสารภีทำให้ข้าพเจ้าได้ทั้ง 2 สิ่งด้วยกัน หนึ่งสิ่งเป็นไปตามจุดประสงค์และอีกหนึ่งสิ่งได้ มาไม่ได้คาดหวัง จุดประสงค์ของการมาคือเพื่อใช้สถานที่ถ่ายทำ ทว่าเราก็ได้เหมือนลงข้อมูลไปในตัวด้วย จากการฟังลุง กับพ่อหลวงคุยกันและการสำรวจไร่อ้อยลงไปในพื้นที่หลายครั้ง ข้าพเจ้าได้บันทึกเก็บมาใส่ในเล่มวิจัยด้วย ทางอำเภอขอให้ข้าพเจ้าช่วยสอนวิธีเขียน storybroad ให้กับเจ้าหน้าที่เพื่อถ่าย VTR โปรโมทอำเภอนี้ ข้าพเจ้า ตอบตกลงและยินดีอย่างมาก

รับชมวีดีโอได้ที่ : https://youtu.be/zGmSYK0_W-4


6

Method : Focus Group Event : WORKSHOP ปรุงความรู้ให้อร่อย | OKMD KNOWLEDGE FESTIVAL 2017 Place : ศูนย์การเรียนรู้เอนกประสงค์ อุทยานการเรียนรู้ TK Park ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ Date : 13 มิถุนายน 2560 _____________________________________________________________ เหตุผล วิธีการดำเนินงานและ Art Practice เดือนมิถุนายนเป็นช่วงเวลาของการปิดเทอม ข้าพเจ้าวางแผนไว้ว่าจะหยุดทำวิจัยสักระยะหนึ่ง พักชาร์จแบตเตอรี ให้ตัวเอง แต่ได้พักเพียงไม่กี่สัปดาห์ ด้วยเหตุผลที่ข้าพเจ้ายื่นฝึกงานช่วงปิดเทอมไปในตำแหน่ง Creative ที่บริษัทแห่ง หนึ่ง ซึ่งบริษัทแห่งนี้ได้อยู่ในช่วงทำงานให้กับ OKMD พอดี จากในงานทั้งหมด หนึ่งในนั้นคือการจัด WORKSHOP ที่ชื่อ ว่า “ปรุงความรู้ให้อร่อย” เป็นส่วนหนึ่งของ OKMD KNOWLEDGE FESTIVAL 2017 ข้าพเจ้าเป็นหนึ่งในทีมของการ ทำงานนี้ด้วย อีกทั้งได้แอบยื่นใบสมัครเข้าไปและได้ถูกคัดเลือกเข้าไปร่วมทำกิจกรรม WORKSHOP ดังกล่าวมีความน่า สนใจตรงที่เป็นกิจกรรมที่จะกระตุกต่อมความรู้ ใช้แว่นขยายแต่ละศาสตร์ส่องอาหาร ทั้งวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ เศรษศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ และอีกมากมาย อาหารหนึ่งอย่างอาจมีมุมมองต่างกันไปในแบบศาสตร์นั้นๆ เป็นความบังเอิญ อีกแล้วที่ว่า “น้ำตาล” ถูกยกเข้ามาเป็นหนึ่งในตัวอย่างอาหารที่ให้คนได้หยิบแว่นของตัวเองมอง และลองยืมแว่นคนอื่นมอง มันในมุมอื่น ข้าพเจ้าได้ยกมือเสนอประเด็นเรื่อง “การขยายตัวการรับรสความหวานที่ไม่ใช่เพียงลิ้นสัมผัส” ซึ่งมีคนสนใจ ค่อยข้างมาก เราตั้งคำถามว่าความหวานมีอิทธิพลกับเรามากกว่าการกินหรือเปล่า เราเสพติดความหวานที่ไม่ใช่เพียงรส หวาน น้ำตาลอาจเป็นเชื้อเพลิงให้เรารู้จักรสหวานแต่รสหวานนำเราไปสู่สุนทรียศาสตร์ขยายเพดานขึ้นไปไม่มีที่สิ้นสุด หรือ เราไม่สามารถหาหมุดหมายหรือตำแหน่งแห่งที่ของมันเจอ ในการเสวนามีการถกเถียงประเด็นนี้ เต็มไปด้วยความ หลากหลายแง่มุม เช่น หากมองในแว่นของวิทยาศาสตร์ ความหวานมักจะมาพร้อมกับความสุขเพราะว่ารสหวานไปกระตุ้น สารเคมีในสมองทำให้มันหลั่งสารแห่งความสุขออกมา เราอยากกินมันอีก เป็นต้น

ในช่วงบ่าย เป็นการจับกลุ่มประมาณ 6 คน เพื่อหยิบประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับอาหารที่ได้เสนอไปในช่วงเช้า นำ มาทำเป็นสื่ออะไรก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น บทความ เว็บไซต์ ภาพถ่าย หรืออื่นๆ และประเด็นนี้ที่ว่าด้วยเรื่องน้ำตาลตามที่ข้าพเจ้า ได้พูดไปในช่วงเช้า ถูกโหวตให้เป็นหัวข้อหลักของกลุ่ม ทุกคนมีความสนใจตรงกัน ด้วยเหตุผลว่า ความหวานสามารถจับ กับศาสตร์อื่นได้หลากหลาย มีความซับซ้อนในแง่สังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เราเริ่มจากการให้ทุกคน brainstorm กันลงมาว่า เมื่อนึกถึงความหวาน เรานึกถึงอะไรได้บ้าง เราได้ไอเดียเยอะมากๆ ไอเดียแต่ละอันถูกเขียนลงบน post it และ แปะลงกระดาษขนาดใหญ่ จากไอเดียทั้งหมดเรานำมันมา categorize ให้ง่ายต่อการเรียงลำดับเนื้อหาลงบนบทความ

จากนั้นเรานำกระดาษไอเดียที่สมาชิกกลุ่มช่วยกันคิด นำเสนอต่อผู้ร่วมกิจกรรมกลุ่มอื่นๆ ก็ได้รับ comment กลับ มาว่า หัวข้อทั้งหมดสามารถนำไปเขียนหนังสือได้เป็นเล่ม สำหรับบทความควรหยิบมาเพียงหนึ่งประเด็นก็เขียนได้เยอะ มากแล้ว ข้าพเจ้าจดไอเดียนี้เก็บไว้ในการทำงานครั้งต่อๆ ไป


7 หลังจบงานเราได้ทั้งความรู้ใหม่ มุมมอง ประสบการณ์ ทัศนคติ ความสนใจในเรื่องน้ำตาลของคนต่างวัย ต่าง อายุ ต่างอายุ คำแนะนำจากนักเขียนชื่อดัง บรรณาธิการ คอลัมนิสต์ ที่ช่วยเกาเนื้อหาให้กระชับมากขึ้น โดยเฉพาะพี่หนุ่ม โตมร ศุขปรีชา เป็นทั้งวิทยากรและก็ boss ในบริษัท เพิ่งรู้ในระหว่างทำกิจกรรมว่าสมัยที่เขาเรียนอยู่ มช. เขาก็ทำวิจัย เรื่องน้ำตาลเหมือนกัน และความรู้จากแว่นขยายจากอาหารชนิดอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อข้าพเจ้าด้วยเช่นกัน เพียงกิจกรรม 1 วันแต่ข้าพเจ้าได้รับประโยชน์จากมันโดยไม่คาดไม่ถึงอีกแล้ว ประเด็นความหวานไม่ใช่ประเด็นที่ ถูกพูดทุกวันในจอทีวี หน้าหนังสือพิมพ์ แต่เราก็อยู่กับมันจนคุ้นเคย ไม่ทันสังเกตว่ามันกินหรือแทรกซึมในบริบทชีวิตประจำ วันเราไปเกินครึ่ง

Art Practice ที่นำมาใช้คือการหยิบข้อมูลระหว่าง brainstorm มาประกอบในงานโดยแปลงเป็นเสียง (voice over) รวมกับ Sound Design

_____________________________________________________________ Method : Texual Analysis Sugar and the Changing Taste for Sweetness in Thai Society, 1961-1996 _____________________________________________________________

เหตุผล วิธีการดำเนินงานและ Art Practice งานวิจัยของ อ.ชาติชาย มุกสง อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ เรื่อง “น้ำตาลกับวัฒนธรรมการบริโภครสหวานในสังคมไทย พ.ศ. 2504-2539” วิธีการศึกษา ประวัติศาสตร์ของวัตถุในชีวิตประจำวัน ที่ต้องอาศัยการมองการเปลี่ยนแปลงของสังคมอย่างเป็นภาพรวม และเป็นผลจาก ความเป็นพลวัตรกันของระบบความสัมพันธ์ทั้งระบบของสังคม ทั้งที่เกิดจากมนุษย์กับมนุษย์และมนุษย์กับวัตถุที่เข้ามา สัมพันธ์กับโลกประจำวันของผู้คนในช่วงเวลาต่างๆ ซึ่งชี้ในเห็นผ่านการศึกษาวัตถุในชีวิตประจำวันเช่นน้ำตาลทรายนั่นเอง

Art Practice ข้อมูลเกือบทั้งหมดถูกอ้างอิงในเล่มวิจัย แต่ที่นำมาใช้คงเป็นตัวเลขที่อาจารย์ได้รวบรวมสถิติการ บริโภคน้ำตาลของคนไทยไว้ ข้าพเจ้ากำลังทดไอเดียที่จะนำตัวเลขมา analysis กลายเป็นเสียงโดยใช้เรื่อง coding เข้ามา ช่วย อยู่ในระหว่างการศึกษาเพิ่มเติม หากทำได้คิดว่างานจะมีความสนุกขึ้นและมีมิติซับซ้อนมากกว่าเดิม


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.