DG09-November-5

Page 1

๐๕

Rotary Youth Leadership Awards ฝึกผู้นำ� ไรล่า พาสุขสันต์


คณะอนุกรรมการจัดทำ� สารผู้ว่าการภาค ที่ปรึกษา อน.ศ.นพ.บริบูรณ์ พรพิบูรณ์ (เชียงใหม่) PP.Dr.Boriboon Phornphibul Mobile : 08-9556-4641 บรรณาธิการ

อน.วาณิช โยธาวุธ (แม่สาย)

PP. Vanit Yothavut Mobile : 08-1530-4457 E-mail : vanit@loxinfo.co.th ผู้ช่วยบรรณาธิการ อน.นฤชล อาภรณ์รัตน์ (เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม) PP.Naruchol Arpornrat Mobile: 08-1603-8865 E-mail:naruchol.arpornrat@gmail.com ผู้ช่วยบรรณาธิการ ผชภ. เอกวุฒิ กาวิละ (หางดง) AG.Ekavuth Kawila Mobile: 08-1881-3300 E-mail: ekavuth@gmail.com กองบรรณาธิการ ผวล.ชำ�นาญ จันทร์เรือง (เชียงใหม่เหนือ) DGE.Chamnan Chanruang Mobile : 08-1595-7999 E-mail : chamnanxyz@hotmail.com อน.ดร.บุษบง จำ�เริญดารารัศมี (เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม) PP.Dr.Busabong Jamroendararasame Moblie 08-1883-7144 E-mail : busabong@daraweb.net อน.จินดา จรรญาศักดิ์ (เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม) PP. Chinda Chanyasak Mobile : 08-1883-7103 E-mail : chinda@vorrawut.com อน. จันทนี เทียนวิจิตร (ล้านนาเชียงใหม่) PP. Chuntanee Tienvichit Mobile : 08-1783-9977 E-mail : chuntanee@hotmail.com อน.สุรินทร์ ชัยวีระไทย (นเรศวร) PP.Surin Chaiveerathai Mobile: 08-9858-8009 E-mail : prachamati_s@hotmail.com อน.อภิชัย คีลาวัฒน์ (แม่สาย) PP.Apichai Keelawut Mobile: 08-1681-7988 E-mail: akeelawat@yahoo.com อน.ศุภรี ฉัตรกันยารัตน์ (เชียงใหม่เหนือ) PP.Suparie Chatkunyarat Mobile: 08-1881-4828 E-mail : csuparie@yahoo.com รทร.สุนิพิฐ คงเมือง (ล้านนาเชียงใหม่) Rtn.Sunipit Kongmuang Mobile: 08-1796-8447 E-mail : sunipit@gmail.com

November 2009 The Rotary Foundation Month เดือนแห่งมูลนิธิโรตารี

Rotary Centers peace and confl

* คณะผู้นำ�ภาค 3360 ร่วมบริจาคเข้ากองทุนถาวรมูลนิธ เพื่อเป็นเกียรติแด่ อดีตประธานโรตารีสากล พิชัย รัตตก อ่านรายละเอียด บทสัมภาษณ์ ได้ที่คอลัมน์ “หนึ่งในร้อย


s for International Studies in lict resolution

ธิโรตารี “มีน้ำ�ใจให้ความรัก กองทุนสันติภาพโลก” กุล เนื่องในโอกาสที่ สโมสรโรตารีเชียงใหม่ ฉลองครบรอบ ๕๐ ปี ย” หน้าที่ 30

2 1

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


RI.President’s Letter สารประธานโรตารีสากล จอห์น เคนนี่-พย.09 The playwright George Bernard Shaw once wrote, “Imagination is the beginning of creation. You imagine what you desire; you will what you imagine; and at last you create what you will.”

a promise: to make life better for the entire world, forever, by eliminating polio. It has always been an ambitious goal, but it has always been a realistic one. And now, thanks to our Rotary Foundation, we are closer than ยอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ นักเขียนบท ever to reaching it.

ละครชื่อดัง เคยเขียนไว้ว่า “จินตนาการคือจุด เริ่มต้นการสร้างสรรค์ เมื่อคุณมีจินตนาการ อยากจะทำ�อะไร คุณจะกระทำ�ในสิ่งที่คุณคิด จินตนาการ และในที่สุด คุณก็จะสร้างสิ่งที่คุณ ปรารถนา”

เมื่อสองทศวรรษก่อน เราชาวโรแท เรียนได้สัญญากันไว้วา่ เราจะสร้างชีวิตที่ดีกว่า เพือ่ โลกของเรา โดยการกวาดล้างโปลิโอให้หมด สิ้นไปตลอดกาล ซึ่งยังคงเป็นเป้าหมายที่ยิ่ง ใหญ่และเป็นสิ่งที่ต้องเป็นจริงเสมอ ขณะนี้เรา There is no shortage in this world ใกล้ที่จะถึงเป้าหมายนี้มากที่สุด ขอขอบคุณ of people able to imagine a better future. But มูลนิธิโรตารีของเรา in Rotary, we do not just imagine that future – we will it, and we work to create it. This we do through our two great strengths: our Rotary clubs and our Rotary Foundation.

RI.President John Kenny Year 2009-10

It is my hope that with the help of the Bill & Melinda Gates Foundation and Rotary’s US$200 Million Challenge, there will soon come a time when we will be able to ในโลกนี้ ยังคงมีผูค้ นทีค่ ดิ จินตนาการ say that we have made polio a thing of the สำ�หรับอนาคตที่ดียิ่งขึ้นอยู่ไม่ขาดสาย แต่ใน past. For if we fail now, we will fail all those โรตารี เราไม่เพียงแต่จินตนาการเรื่องอนาคต who have gone before us, and every child to เพี ย งเท่ า นั้ น แต่ เ รายั ง เต็ ม ใจกระทำ � การ whom we made a promise. If we fail, we risk สร้างสรรค์ตลอดมา เราได้กระทำ�โดยใช้พลังที่ our own good name, and the good name of ยิ่งใหญ่ของเราคือพลังจากสโมสรโรตารีและ all the Rotarians who came before us.

จากมูลนิธิโรตารีของเรา

Over the years, I have been privileged to witness firsthand the fruits of the outstanding work carried out by Rotarians all over the world, supported by the programs of our Foundation. One thing that impresses me is how these programs focus not on shortterm satisfaction or reward for the giver. The best Rotary programs and projects focus on building for the future – and making lives better for generations.

ผมมี โ อกาสได้ เ ห็ น เป็ น พยานด้ ว ย ตนเองในหลายปีมานี้ ได้เห็นผลงานที่โดดเด่น จากผลงานของโรแทเรียนทั่วทั้งโลก ที่ได้รับ การสนับสนุนโดยโปรแกรมต่างๆ จากมูลนิธิ ของเรา สิ่งหนึ่งที่ผมประทับใจคือ โปรแกรม เหล่านีม้ ไิ ด้เน้นทีค่ วามพึงพอใจระยะสัน ้ ๆ หรือ มอบให้เป็นรางวัลแก่ผู้บริจาค แต่โปรแกรม ต่างๆ และโครงการที่ดีที่สุดของโรตารีนั้น มุ่ง เน้ นในการสร้ า งอนาคต-เพื่ อ ชี วิ ต ที่ ดี ยิ่ ง ขึ้ น สำ�หรับคนรุ่นต่อไป

Two decades ago, we Rotarians made

พฤศจิกายน ๒๕๕๒

ผมหวังว่า โดยความช่วยเหลือจาก มูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์และการระดมทุน 200 ล้านเหรียญสหรัฐของโรตารี ในเวลาต่อไป อีกไม่นานนี้ เราก็จะพูดได้ว่า เราได้ทำ�ให้โรค โปลิโอกลายเป็นอดีต แต่หากว่า เราล้มเหลว ในขณะนี้ เราก็จะทำ�ให้ผู้คนที่จากเราไปก่อน หน้าและเด็กๆ ทุกคนที่เราได้สัญญาไว้ได้รับ ความผิดหวัง หากว่าเราไม่ท�ำ ตามคำ�มัน ่ สัญญา ก็จะเสื่อมเสียชื่อเสียงที่ดีของเราและชื่อเสียง ของโรแทเรียนทุกคนที่เดินล่วงหน้าไปก่อนเรา

We will not fail. We can and we must succeed.

เราจะไม่ผิดหวังแน่นอน พวกเรามี ความสามารถ และพวกเราต้องทำ�ให้สำ�เร็จ

I know that each one of you recognizes that The Future of Rotary Is in Your Hands – and that the future of our Foundation is as well.

ผมแน่ใจว่า ทุกท่านคงทราบดีแล้วว่า อนาคตโรตารีอยู่ในมือของท่าน และอนาคต มูลนิธิของเราเช่นเดียวกัน/

3 2


District Governor’s Letter

มวลมิตรโรแทเรียน,โรตารีแอนน์ และท่าน สุภาพบุรุษโรตารี ที่รักทุกท่าน เดือนพฤศจิกายน เป็นเดือนแห่ง “มูลนิธิ โรตารี” The Rotary Foundation Month มูลนิธิโรตา รีสากลเป็น หน่วยงานสนับสนุนอย่างสำ�คัญของโรตารี สากลให้แก่ทุกภาค ทุกสโมสรในการทำ�โครงการบำ�เพ็ญ ประโยชน์ ตามแนวทางที่โรตารีสากลแนะนำ� หรือเพื่อ ทำ�โครงการที่เป็นประโยชน์แก่ชุมชนและผู้ด้อยโอกาส ตามที่สโมสร ในแต่ละท้องถิ่นจะพิจารณาเห็นสมควร เป็นที่น่ายินดีอย่างยิ่งว่าโครงการ “Polio Plus” ของ โรตารีสากล ซึ่งได้ ดำ�เนินการ อย่างต่อเนื่องมากว่า 15 ปี บัดนี้ทางมูลนิธิบิลและเมอลินดาเกตส์(Bill & Melinda Gates Foundation) ประกาศยินดีจะให้การ สนับสนุนแก่โครงการนี้ แบบดอลลาห์ต่อดอลลาห์ ใน จำ�นวน 250 ล้านดอลลาห์สหรัฐ เพื่อจัดการให้โลกนี้ ปลอดจากโรคโปลิโออย่างแท้จริงให้เร็วที่สุด จากการทีภ่ าคเราได้ตัง้ เป้าหมายในปีนีว้ า่ จะ มี Per Capita 50 USD นั่นคือเราจะร่วมกันบริจาคให้ ได้ 60,000 USD ต่อสมาชิกประมาณ 1,200 คนและเนื่อง ด้วยสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันมีผลต่อการรณรงค์ในการ บริจาค 1,000 USD มาก ทางภาคจึงรณรงค์โปรแกรม บริจาค EREY (Every Rotarians Every Year) เพื่อเชิญ ชวนให้สมาชิกได้บริจาคแบบต่อเนื่องทุกปี โดยสามารถ บริจาคในระดับ 100 USD ต่อปี เพื่อที่จะให้ภาคเรามี DDF มากขึ้นในอนาคตสำ�หรับการทำ�โครงการบำ�เพ็ญ ประโยชน์ในปีต่อๆไป ดิฉันขอเชิญชวนให้สมาชิกและคู่ ครองได้กรุณาให้การสนับสนุนโครงการ EREY นี้ด้วย ดิฉันได้เยี่ยมสโมสรอย่างเป็นทางการด้วย ตนเองครบ 59 สโมสรแล้ว ค้างสโมสรโรตารีลาวเวียง จันท์สปป.ลาวก่อนอื่นดิฉันต้องขอกราบขอบพระคุณ อย่างสูง ต่อท่านผู้ช่วยผู้ว่าการภาคทั้ง 20 ท่านที่ได้ให้ ความร่วมมือ ช่วยเหลือดิฉันด้านการดูแลเอาใจใส่การ ประสานงาน ติดตามด้านแผนงาน ด้านวิชาการการ ต้อนรับ การสนับสนุน ส่งเสริมเป้าหมายภาค 5 ข้อ และแนวนโยบายโรตารีสากล ก่อเกิดผลงานให้ประจักษ์ มีการพัฒนาเริ่มต้นไปในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ดิฉันมีความยินดีและมีความสุขที่ได้พบมิตรโรแทเรียน ในภาคเรา 1,200 ท่าน โรตารีแอนน์และคู่ครอง อีกราว 1,000 ท่าน รวมประมาณ 2,200 ท่าน ตลอดระยะเวลา 4 เดือนที่เดินทางเยี่ยมสโมสร ได้รับเกียรติ มีการ ต้อนรับอย่างอบอุ่นและประทับใจ ทุกท่านให้ความช่วย เหลือและสร้างสรรค์ที่ดีมากต้องกราบขอบพระคุณทุก ท่านด้วยความจริงใจ สโมสรโรตารีแพร่, สอง และเวียงโกศัย จะ ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัดประชุม “Intercity Meeting” ในวันเสาร์ที่ 19 ธค.52 ณ โรงแรมแม่ยมพาเลซ อ.เมือง จ.แพร่ ปีนี้เราจะจัดกันแค่วันเดียว แต่จะบรรจุเนื้อหา สาระการประชุมทีน ่ ่าสนใจชวนติดตาม อย่างเต็มที่ โดย เนื้อหาที่สำ�คัญ จะมาจากปัญหา และเรื่องสืบเนื่อง จาก การที่ ดิ ฉั น ได้ เ ดิ น ทางเยี่ ย มทุ ก สโมสร อย่ า งเป็ น ทางการ ในช่วง 21 กค.52 ถึง 3 พย.52 หวังเป็นอย่าง ยิ่งที่จะเห็นพวกเราชาวโรแทเรียนภาค 3360 พร้อมใจ กันมาร่วมประชุมพบปะกันอย่างเนืองแน่นเช่นทุกๆ การประชุมของภาคที่ได้จัดมาในปีนี้ค่ะ ท้ายสุดนีด้ ฉิ น ั ต้องขอแสดงความเสียใจอย่าง สุดซึง้ กับการจากไปของ รทร.สุนพ ิ ฐิ คงเมือง กรรมการ ผ่ า ยสารสนเทศภาคฯ สั ง กั ด สโมสรโรตารี ล้ า นนา เชียงใหม่เมื่อวันที่ 9 พย.52 ท่านเป็นโรแทเรียนใหม่ ไฟแรง ทีเ่ ป็นกำ�ลังสำ�คัญยิง่ ของภาค ในด้านการสือ่ สาร และประชาสัมพันธ์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็น แบบอย่างที่ดี ของโรแทเรียนที่ยึดอุดมการณ์ การ บริการเหนือตนเอง (Service Above Self) อย่างเข้ม แข็ง ขอให้วิญญาณของท่านไปสู่สุขคติ และท่านจะคง อยู่ในความทรงจำ�ของดิฉันและทุกๆท่านในภาคตลอด ไป อนาคตโรตารีอยู่ในมือท่าน

2 3

Dear Rotarians, Rotary Anns, and Gentlemen. November is the Rotary Foundation Month. Rotary International Foundation is the significant unit in support of all Rotary districts and clubs in carrying out service projects. The main purpose of the service projects is to bring wellness to an individual or community in need of life opportunity. It is grateful that the project “Polio Plus” of Rotary international which has been in operation for more than 15 years will be financially supported dollar-for-dollar in the amount of $250 million by Bill & Melinda Gates Foundation to absolutely sanitize the earth from Polio. Our district has a goal this year for “Per Capita 50 USD;” that is we will altogether raise $60,000 for 1,200 Rotarians. However, because of the bad economic expectation, our willing to achieve such goal can be undermined. Nevertheless, I ask all Rotarians to consider or continue participating in EREY (Every Rotarians Every Year), giving a donation of $100 per annum. Your contribution will help our district in gaining more DDF in the future years in creating a service project for those in needs. I’ll be very appreciate for all support from every Rotarians and their spouses. I have successfully paid an official visit to all 59 Rotary Clubs in our district, except Rotary Clubs of Vientiane, Lao People’s Democratic Republic. Thank to twenty Assistant District Governors who have supported me in coordinating projects, promoting Rotarians’ congruence to five district goals, assuring our alignment with the RI policy, attaining productive results, and meeting a sustained development. It has been a pleasure to meet with 1,200 Rotarians together with around 1,000 Anns and Gentlemen. For four months of official club visits, I sincerely thank everybody for the honor and the wholehearted welcome. The Rotary Club of Phrae, Song, and Wiangkosai will together host “Intercity Meeting” on December 19th, 2009 at Mae Yom Palace Hotel, Muang, Phrae Province. It will be one-day meeting, full with interesting topics. The heart of those topics will be derived from problems and other interesting thing in my memo from the official club visitation between July 21, 2009 to November 2, 2009. I hope that we all will be able to make it, as always. Lastly, I am sorry for the loss of Rotarian Sunipit Kongmuang, our District Information Committee, the member of the Rotary Club of Lanna on November 9th, 2009. He was a new generation of Rotarian whose contribution to our district communication as well as information system is significant, deserved to be put as a model for person whose life is identified with “Service Above Self.” We know that his spirit will ascend to heaven, and memories of his will be forever.

ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๓

( แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ) ผู้ว่าการภาค 3360 โรตารีสากล ปี 2552-2553

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


CONTENT

สารผู้ว่าการภาค ปี ๒๕๕๒-๒๕๕๓ ฉบับที่ ๕ เดือนพฤศจิก

สารบรรณ

2. สารประธานโรตารีสากล 3. สารผู้ว่าการภาคฯ 5. บอกอ บอกกล่าว 6-7 ใจถึงใจ 8 ปฎิทินภาค 9. สารเลขาฯภาค 10-11 สถิติการเข้าประชุม 12-13 DGN’s Corner 14-15 คุยกันที่ขอบเวที

พฤศจิกายน ๒๕๕๒

เยาชนไรล่า ภาค 3360 ร่วมใจกันทำ�การแปรอักษรอย่างพร้อ ผู้นำ�เยาวชนโรตารี (RYLA) ระหว่างวันที่ 20-24 ตุลาคม 25 เชียงใหม่ *อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ในคอลัมน์ “ข้างหลังภาพ” ห 16 สารสนธิ 17-19 เสียงนกเสียงกา 20-23 Behind the Scene 24-25 At a Glance 26-29 บ้านเลขที่3360R.I. 30-33 1 ใน 100 34-35 Youth Corner 36-37 เอกพาแอ่ว 38 Z00m inside 3360

5 4


Editor’s Note

กายน ๒๕๕๒

อมเพรียง ก่อนเข้ารับการอบรม 552 มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัด

หน้า 20

39 เล่าขานตำ�นาน 40-43 รวมภาพกิจกรรม 44 มุม สบาย สบาย 45 DG.Activities ปกหลัง แทนคำ�นับพัน

4 5

“อดีต สิ่งที่ผ่านพ้นไปแล้ว ปัจจุบัน สิ่งที่ต้องทำ�ให้ดีที่สุด อนาคต สิ่งที่ยังมาไม่ถึง”

จากการก่อตั้งของผู้คนเพียงสี่คน กลับกลายเป็น องค์กรที่บำ�เพ็ญประโยชน์ ที่มีเครือข่ายไปทั่วโลก พร้อม สมาชิกกว่า ล้านสองแสนคน ท่าน พอล แฮรริส หนึ่งในสี่ ผู้ก่อตั้ง คงไม่ได้คาดคิด มาก่อนว่าสิ่งที่ริเริ่ม กว่าร้อยปีที่แล้ว ขณะนี้ได้เบ่งบานไปทั่ว ทุกมุมโลก พร้อมหนึ่งในโครงการสำ�คัญ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ความอยู่รอดของมนุษยชาติ เช่น โครงการโปลิโอพลัส และในเดือนนี้ โครงการไรล่า ก็เป็นอีกหนึ่งโครงการ ทีเ่ ป็นการฝึกความเป็นผูน ้ �ำ ในทางสร้างสรรค์และอย่างสุขสันต์ โดยมีความคาดหวังว่า เยาวชนทัง้ หลายจะได้รบั ประสพการณ์ ที่ดีและจะสามารถนำ�ไปใช้ในการดำ�เนินชีวิต ในภายภาคหน้า ทั้งหลายทั้งปวงเป็นเพียงความคาดหมาย และ คาด หวัง แต่จะประสพผลสำ�เร็จเพียงใดก็เป็นเรื่องของอนาคต ว่า เยาวชนที่ผ่านการอบรมจะเป็นผู้นำ�ที่มีคุณภาพ ทั้งคุณธรรม จริยธรรม ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม โครงการ”A day in the life of Rotary” หรือ “ช่วง ชีวิตหนึ่ง” ได้แสดงถึงพลังของการบำ�เพ็ญประโยชน์ของมวล มิตรโรแทเรี่ยนทั้งหลาย ในหนึ่งวันพร้อมกันทั่วโลก คงจะได้ ติดตามภาพจากเพื่อนๆ ทั่วโลกมานำ�เสนอในลำ�ดับถัดไป และร่วมชื่นชมกับรูปภาพของกิจกรรมของภาคเรานี้ ได้จากหน้า “ใจถึงใจ” ขอตั้งข้อสังเกตุว่า สโมสรฯ ต่างๆ พยายามที่จะร่วมมือกันมากว่าหนึ่งสโมสร หรืออย่างน้อย กับ องค์กรอื่นๆ ในการทำ�กิจกรรม ซึ่งเป็นแนวโน้มของการส่ง เสริมการทำ�กิจกรรมที่ โรตารีสากลกำ�ลังสนับสนุน อดีต เป็นคอลัมนิสต์ที่อายุน้อยที่สุดของสารฯ ปัจจุบัน เป็นอดีตคอลัมนิสต์ และ โรแทเรี่ยน อนาคต ความมุ่งมั่น ความมีน้ำ�ใจ และความสามารถ จะคงอยู่ในความรำ�ลึกของกองบรรณาธิการสารฯ ตลอดไป ขอไว้อาลัยในการจากไปอย่างไม่คาดฝันของ รทร.สุนิพิฐ คงเมือง คอลัมนิสต์มุมเยาวชน “Youth Corner” มา ณ ที่นี้ด้วย บอกอ ผู้ไม่ประมาทและพยายามทำ�วันนี้ให้ดีที่สุด

อน.วาณิช โยธาวุธ สโมสรโรตารีแม่สาย

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


1

ใจถึงใจ

A day in the life o อ่านรายละเอียดได้ที่ “ปฏิทินภ

พฤศจิกายน ๒๕๕๒

6 7


10.10.09

of Rotary ภาค” หน้า 8

7 6

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


ปฏิทินภาค

ฝาย ช่วงชีวิตหนึ่ง สุดซาบซึ้ง และ 8. ผู้ว่าการภาค แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ร่วม ต้อนรับเยาวชนแลกเปลี่ยนที่คุ้มขันโตก ตรึงตรา

A day in the life of Rotary กิจกรรมวันที่ 10 ตุลาคม 2552

อน.นฤชล อาภรณ์รัตน์ สโมสรโรตารี เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม

1. สโมสรโรตารีเชียงใหม่ สโมสรโรตาแรคท์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มูลนิธิสวนดอก ได้ร่วม ทำ � กิ จ กรรมบำ � เพ็ ญ ประโยชน์ ที่ โ รงเรี ย น บ้านนากู่ อ.สะเมิง ซึง่ ได้จดั สร้างห้องสมุด ห้อง อาหารสำ�หรับเด็กนักเรียนชาวเขา พร้อมทั้ง ออกหน่วยแพทย์ และทันตกรรมเคลื่อนที่โดย ให้การรักษาแก่ชาวบ้านชุมชนบ้านนากู่ 2. อน.ทญ.เรวดี ปีตะนีละผลิน และ อน.จุไร ชำ�นาญ จากสโมสรโรตารีเชียงใหม่ถิ่นไทยงาม ร่วมกิจกรรมออกหน่วยแพทย์ และทันตกรรม เคลื่อนที่ ณ บ้านนากู่ ร่วมกับสโมสรเชียงใหม่ 3. สโมสรโรตารีแม่สายได้นำ�คณะมวลมิตรจาก โรตารี ห ลายสโมสร คื อ สร.นครเทิ ง ,สร. แม่จน ั ,สร.เชียงแสน,และเชิญท่าน อผภ.วิวฒ ั น์ และผชภ.ธานิ น ทร์ ร่ ว มเดิ น ทางเพื่ อ ทำ � โครงการระหว่างประเทศ คือ โครงการเลี้ยง อาหารกลางวันเด็กและบริจาคสิ่งของอุปโภค บริโภคให้กับคนชราและเด็กกำ�พร้าที่ประเทศ พม่า 4. สโมสรโรตารีพาน ได้ทำ�กิจกรรม “ไถ่ชีวิต โคกระบือ ครั้งที่ 2” จากโรงฆ่าสัตว์จำ�นวน 35 ตัว และลูกในท้องอีก 13 ตัว พร้อมทั้งมอบโคก ระบือให้เกษตรกร ที่มีรายได้ต่อครอบครัวต่อปี ต่ำ�กว่า 23,000 บาทจำ�นวน 15 ครอบครัว ณ สำ�นักงานเทศบาลตำ�บลเมืองพาน 5. สโมสรโรตารีแม่จัน ต้อนรับสโมสรคู่มิตร บางคอแหลม ภาค 3350 นำ � เพื่ อ นๆจาก ประเทศ สิงคโปร์ มาทอดกฐิน ที่วัดอุดมวารี อ.พาน ในเช้าวันที่ 10 เดือน 10 ปี 2009 และ ตรวจเยี่ยมโครงการน้ำ�ดื่มสะอาดที่ โรงเรียน บ้านโป่งแดง อ.พาน ตอนเย็นสังสรรค์ทาน อาหารที่ ร้านริมโขง อ.เชียงแสน และปล่อย โคม 6. สโมสรโรตารีเชียงใหม่ถิ่นไทยงาม นำ�โดย ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ และสโมสรในจังหวัด เชียงใหม่ ร่วมกิจกรรมในวันที่ 10-10-2009 โดย ไปร่วมกิจกรรมการสร้างอาคารเรียน โรงเรียน บ้านเป้าวิทยาคาร อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ซึ่ง เป็ นโครงการบำ � เพ็ ญ ประโยชน์ ข องสโมสร เชี ย งใหม่ ถิ่ นไทยงาม และร่ ว มรั บ ประทาน อาหารกลางวันที่บ้านสวน อน.สุภาพร เนตร งาม 7. สโมสรล้านนาเชียงใหม่ จัดกิจกรรมสร้าง

พฤศจิกายน ๒๕๕๒

ไรล่า..เยาวชนผู้นำ� เด็กวันนี้คือผู้ใหญ่ในวันหน้า เด็กจึงมีคุณค่ามหาศาล เด็กคือผู้สืบทอดตลอดกาล เป็นพลังทุกด้านของบ้านเมือง เด็กจึงต้องฝึกฝนเป็นคนเก่ง ต้องคร่ำ�เคร่งให้มีดีทุกเรื่อง สั่งสมให้โดดเด่นเป็นเนืองเนือง ให้ครบเครื่องเพื่อก้าวสู่ เป็นผู้นำ�เยาวชน... ต้องปลูกฝังอย่างถูกต้อง รู้จักมองการณ์ไกล ไม่ใฝ่ต่ำ� รู้จักคิด รู้จักพูด รู้จักทำ� รู้จักจำ� ชั่วดี ควรมิควร “โรตารี” เล็งเห็นเป็นเป้าหมาย แพร่ขยายสู่สากลจนทั่วถ้วน “ไรล่า” กิจกรรม นำ�กระบวน มุ่งชักชวนเยาวชนเป็นคนดี เปิดค่ายเพื่อ ฝึกอบรมบ่มนิสัย เพาะวินัย เพาะจรรยา เพาะหน้าที่ เสริมความรู้ คุณธรรม นำ�ไมตรี สร้างสำ�นึกที่พึงมี คู่ชีวา เมื่อเด็กดี เติบใหญ่ดี เป็นศรีชาติ คนเก่งดี ฉลาด ชาติปรารถนา ทุกสังคมร่มเย็น เน้นพัฒนา ทุกครอบครัว ทั่วหล้า ผาสุกเอย พลวัฒน์ วรเจริญยิ่ง

8 ก.ค.52

การประชุมระหว่างเมือง (Intercity)

วันที่ 19-20 ธันวาคม 2552 ภาค 3360 กำ�หนดให้มีการจัดการประชุมระหว่างเมืองขึ้น ณ โรงแรมแม่ยมพาเลซ อ.เมือง จ.แพร่ โดย ในปีนี้ ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ได้มอบหมาย ให้ อน.สุนทร เหมทานนท์ สโมสรโรตารีเวียง โกศัย เป็นประธานจัดการประชุม โดยมี ผชภ. บัญญัติ จันทร์ภิรมย์ (สโมสรโรตารีแพร่) เป็น ที่ปรึกษา และคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ เป็น สมาชิกของ 3 สโมสรได้แก่ สโมสรโรตารีสอง สโมสรโรตารีแพร่ และสโมสรโรตารีเวียงโกศัย จึงขอเชิญชวนผู้ช่วยผู้วา่ การภาค นายกสโมสร คณะกรรมการบริหาร และมิตรโรแทเรียน ร่วม ประชุมโดยพร้อมเพรียงกัน

9 8


District’s Secretary มิตรโรแทเรียนที่รักทุกท่าน เดือนนี้เป็นเดือนแห่มูลนิธิโรตารี มูลนิธิโรตารี คือ องค์กรที่ไม่มุ่งหวังผลกำ�ไร ได้รับการสนับสนุนจากมิตรโรแท เรียนทั่วโลกและเพื่อนๆที่ร่วมอุดมการณ์เดียวกัน ช่วยกันทำ�ให้โลกนี้สวยงามยิ่งขึ้น ด้วยการร่วมกันทำ�โครงการต่างๆเช่น โครงการ GSE, Health Hunger and Humanity ( 3 H ) Grant, Rotary Volunteers, Polio Plus, Rotary world Peace Fellows and Matching Grants มูลนิธิโรตารีได้เริ่มก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2460 โดยท่านประธาน โรตารีสากลท่านที่ หก คือ ท่าน Arch C. Klumph เพื่อเป็นกองทุนให้กับโรตารี การ ทำ�โครงการต่างๆเหล่านี้จำ�เป็นจะต้องใช้เงินเป็นจำ�นวนมากเพื่อที่จะให้ได้โครงการที่ สมบูรณ์และมีขนาดใหญ่พอที่จะให้บริการในแต่ละชุมชน มิตรโรแทเรียนจะหาเงินมาทำ�โครงการเหล่านี้ ได้ด้วยการร่วมกันบริจาคเงิน เข้ามูลนิธิโรตารี ดังเช่นทุกๆสโมสรในภาค 3360 โรตารีสากลของเราได้ร่วมกันบริจาค เมื่อท่านผู้ว่าการภาคได้เดินทางไปเยี่ยมสโมสรอย่างเป็นทางการ ไม่ว่าจะเป็นการ บริจาคเข้ากองทุน Paul Harris Fellowโดยบริจาคคนละ 1,000 เหรียญสหรัฐ หรือ กองทุน Paul Harris Society โดยบริจาคท่านละ 1,000 เหรียญสหรัฐทุกๆปีติดต่อกัน หรือ Every Rotarian Every Year ( EREY )โดยการบริจาคท่านละ 100 เหรียญสหรัฐ ทุกๆปี เงินที่ท่านบริจาคเหล่านี้ ท่านสามารถนำ�มาใช้ทำ�โครงการต่างๆเพื่อชุมชนได้ ในนามของภาค 3360 ต้องขอขอบคุณมิตรโรแทเรียนที่ได้บริจาคเงินมาแล้ว และขอ เชิญชวนมิตรโรแทเรียนในภาค 3360 โรตารีสากลร่วมกันบริจาคเงิน เพื่อเราจะได้มี เงินมาทำ�โครงการต่างๆอย่างที่เราต้องการอีกต่อไป อน.ศิริลักษณ์ ไชยวงศ์ สโมสรโรตารีช้างเผือก อน.ศิริลักษณ์ ไชยวงศ์ เลขานุการภาค 3360 โรตารีสากล ปี 2552-2553 Dearly beloved fellow Rotarians, this is the month of the Rotary Foundation. Rotary is a non-profit organization that has continually been supported by fellow Rotarians and like-minded individuals around the globe, all of whom share the hope in making this world a more pleasant place for everyone, with each goal and objective being achieved through various activities and projects, namely: GSE, the “Health, Hunger and Humanity (3 H) Grant, Rotary Volunteers, Polio Plus, and Rotary World Peace Fellows and Matching Grants. The Rotary Foundation was founded in 1917 by Arch C. Klumph, the 6th president of Rotary International, to provide funding for Rotary and the various projects and grants that continue to benefit different communities around the world. Fellow Rotarians receive funding for their projects by means of individual contributions and donations to the Rotary Foundation, in the same manner that almost every Rotary club in District 3360 has generously made their contributions upon each official visit by the District Governor, either as $1000 donations to the Paul Harris Fellow Funds, $1000 annual donations to the Paul Harris Society Funds, or $100 annual donations to the Every Rotarian Every Year (EREY) Funds; with each and every contribution made, being used to fund numerous projects for countless communities. On behalf of District 3360, we would like to thank all fellow Rotarians who have contributed to these funds, and we would like to further invite other Rotarians in District 3360 to help us in achieving our vision. PP.Siriluck Chaiyawong District Secretary 3360 Rotary International 2009-2010

8 9

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


สถิติการเข้าประชุม

เรียน ท่านายกสโมสร และท่านเลขานุการสโมสร ภาค 3360 จัดให้มีรางวัลสำ�หรับการส่งคะแนนการประชุม โดยจัดรางวัลเป็นดังนี้ 1. รางวัลสำ�หรับสโมสรที่ส่งคะแนนเร็วที่สุด 3 สโมสรแรกตลอดปี โดยนับจากไปรษณีย์บัตร ที่ส่งมาถึงฝ่ายรวบรวมคะแนน วันเวลาที่ได้รับปลายทาง 2. รางวัลสำ�หรับสโมสรที่มีคะแนนการประชุมสูงสุด 3 ลำ�ดับ โดยคิดค่าเฉลี่ยตลอดปี ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การส่งคะแนนการประชุมในเดือนต่อๆไปคงจะรวดเร็วยิ่งขึ้นนะคะ หมายเหตุ . สโมสรที่จะได้รับรางวัลนั้นจะต้องเป็นสโมสรที่จัดส่งคะแนนตามกติกาเท่านั้น คือ ส่งถึงผู้รวบรวมก่อนวันที่ 7 ของทุกเดือนและส่งทางไปรษณีย์บัตรเท่านั้น

รายงานการประชุมประจำ�สัปดาห์ คะแนนเฉลี่ย/เดือนตุลาาคม ของสโมสรโรตารีภาค 3360 Club No. Rotatry Club of ชื่อสโมสร จำ�นวน 1 16274 Kamphaengphet กำ�แพงเพชร 17 2 25135 Chomtong Chiangmai จอมทอง 12 3 23182 Chamadhevi จามะเทวี 10 4 23201 Changpuak Chiang Mai ช้างเผือก 22 5 16262 Chiang Mai เชียงใหม่ 57 6 60808 Chiangmai Doi Suthep ดอยสุเทพ 10 7 16264 Chiangmai West เชียงใหม่ตะวันตก 28 8 26048 Chiangmai East เชียงใหม่ตะวันออก 10 9 29283 Chiang Mai Thin Thai Ngam เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม 32 10 51245 Chiangmai South เชียงใหม่ใต้ 13 11 16263 Chiang Mai North เชียงใหม่เหนือ 29 12 50481 Chiangmai Phuping เชียงใหม่ภูพิงค์ 13 13 53170 Chiang-Mai Airport เชียงใหม่แอร์พอร์ต 11 14 16261 Chiangkam เชียงคำ� 22 15 16265 Chiang Rai เชียงราย 31 16 52387 Chiang Rai North เชียงรายเหนือ 21 17 28751 Chiang Saen เชียงแสน 16 18 57289 Doiprabaht ดอยพระบาท 22 19 16312 Tak ตาก 10 20 70997 Thoen Downtown เถินดาวน์ทาวน์ 16 21 50326 Thawangpha ท่าวังผา 10 22 23050 Nan น่าน 43 23 57910 Nakron Nan นครน่าน 10 24 64215 Nakorn Thoeng นครเทิง 17 25 65762 Nakron Hariphunchai นครหริภุญชัย 10 26 27553 Naresuan นเรศวร 33 27 22008 Pua ปัว 22 28 21495 Fang ฝาง 18 29 16291 Payao พะเยา 10 30 16292 Phan พาน 27

พฤศจิกายน ๒๕๕๒

โรตารีสากล ประจำ�ปี 2552-2553 % อันดับ หมายเหตุ 81.42 65 66 72.6 55 58 85 71.88 98.07 67.24 58.75 78.79 90.90 86.20 85.71 84.38 48.86 57 65

2

6 10

ส่งเร็ว 2 ส่งเร็ว 2 ส่งเร็ว 2 ส่งเร็ว 3

69.18 56 64.70 60 95.83 97.22 57.50 48

4 3

ส่งเร็ว 3 ส่งเร็ว 1

11 10


มิตรโรแทเรียนที่รักคะ จากสารผู้ว่าการภาคฉบับที่ผ่านมาทำ�ให้เดือนนี้คึกคักในการส่งคะแนนการประชุมมายัง ภาค ซึ่งจัดอันดับได้ดังนี้ ส่งเร็วเป็นอันดับที่ 1 สโมสรโรตารีพาน ได้รับวันที่ 30-10-52 ส่งเร็วเป็นอันดับที่ 2 สโมสรโรตารีเชียงคำ� สโมสรโรตารีเชียงแสน สโมสรโรตารีเชียงราย และสโมสรโรตารีเวียงสา ได้รับวันที่ 31-10-52 ส่งเร็วเป็นอันดับที่ 3 สโมสรโรตารีดอยพระบาท สโมสรโรตารีปัว สโมสรโรตารีลำ�พูน สโมสรโรตารีวังจันทน์ สโมสรโรตารีสวรรคโลก และสโมสรโรตารีอุตรดิตถ์ ได้รับวันที่ 3-11-52 หวังว่าในเดือนต่อไปคงจะคึกคักมากกว่านี้นะคะ รายงานการประชุมประจำ�สัปดาห์ คะแนนเฉลี่ย/เดือนตุลาาคม ของสโมสรโรตารี ภาค 3360 โรตารีสากล ประจำ�ปี 2552-2553 Club No. Rotatry Club of ชื่อสโมสร จำ�นวน % อันดับ หมายเหตุ 31 23541 Phrae แพร่ 23 60.87 32 24741 Phichai พิชัย 16 72 33 16297 Phisanulok พิษณุโลก 52 85.59 34 27084 Muang Chod เมืองฉอด 17 69.40 35 65185 Muang Thoen เมืองเถิน 24 76 36 16280 Maechan แม่จัน 31 52.42 37 29389 Maewang Lampang แม่วัง 23 88.70 9 38 24956 Mae Sod แม่สอด 21 76.13 39 16283 Mae Sariang แม่สะเรียง 13 71.79 40 16282 Maesai แม่สาย 27 80.73 41 16281 Mae Hongson แม่ฮ่องสอน 13 89.74 7 42 52390 Mae Fha Louang แม่ฟ้าหลวง 10 43 24886 Lab Lae ลับแล 10 44 50294 Lanna ล้านนา 25 56 45 16277 Lampang ลำ�ปาง 30 46 16278 Lampoon ลำ�พูน 10 88.88 8 ส่งเร็ว 3 47 50650 Wangchan วังจันทน์ 25 58.33 ส่งเร็ว 3 48 51392 Wiangkosai เวียงโกศัย 25 42 49 31711 Wiangsa เวียงสา 12 81.25 ส่งเร็ว 2 50 52394 Sri Song Kwai ศรีสองแคว 15 86.87 51 25165 Sila-Asana ศิลาอาสน์ 28 100 1 52 16307 Sawankaloke สวรรคโลก 26 51.92 ส่งเร็ว 3 53 25680 Sawankhalok North สวรรคโลกเหนือ 25 79 54 22010 Song สอง 11 100 1 55 27741 Sanpatong สันป่าตอง 14 78.51 56 30612 Sarapee สารภี 13 68 57 24965 Sukhothai สุโขทัย 25 73.50 58 30057 Hang Dong หางดง 13 70 59 16317 Uttaradit อุตรดิตถ์ 27 95.38 5 ส่งเร็ว 3 60 74261 Vientiane เวียงจันทน์ 10

10 11

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


DGN’s Corner

วิสัยทัศน์โรตารี (Rotary Vision)-1

ผวล.ชำ�นาญ จันทร์เรือง สโมสรโรตารี เชียงใหม่เหนือ

การที่เราจะพูดถึง Rotary Vision หรือในภาษาไทยว่าวิสัยทัศน์หรือ มโนทัศน์ เกี่ยวกับโรตารี ซึ่งหมายถึง การมองภาพ อนาคตของโรตารี แล้วมุ่งสู่จุดหมายปลาย ทางที่เราต้องการ นั้น เราจำ�เป็นที่จะต้อง รู้จักโรตารีในหลายๆมุมมอง แน่นอนว่าเรา ไม่สามารถนำ�เฉพาะมุมมองใดมุมมองหนึ่ง หรือเพียงจุดใดจุดหนึ่งมาวิเคราะห์ได้ เรา ต้องดูภาพรวมทั้งหมดแล้วนำ�มาบูรณาการ (Integrate) โดยผมจะกล่าวถึงจุดกำ�เนิดของ โรตารี การเปลี่ ย นผ่ า นจากสโมสรแห่ ง มิตรภาพสู่สโมสรแห่งการให้บริการ นิยาม หรือความหมายของโรตารี เอกลักษณ์ของ โรตารี วัฒนธรรมองค์กร แล้ววิเคราะห์ถึง จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และปัญหาอุปสรรค พร้อมกับข้อคิดเห็นโดยอาศัยแนวทางทีท่ า่ น อผภ.สวัสดิ์ ผดุงมาตรวรกุลได้เคยวิเคราะห์ ไว้นำ�มาเสนอเพื่อให้ท่านทั้งหลายพิจารณา แม้ ว่ า องค์ ค วามรู้ ใ นโรตารี จ ะเป็ น การ บูรณาการ(Integration)ของศาสตร์ต่างๆเข้า ด้วยกันก็ตาม แต่เมื่อวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง แล้ ว จะเห็ น ว่ า โรตารี เ ป็ น ศาสตร์ แ ห่ ง มิตรภาพ (Friendship) ที่มิได้แบ่งแยกหมู่ เหล่า สีผิว เป็นการสร้างมิตรภาพระหว่าง กัน ทั้งด้านอาชีพ ศาสนา ความเชื่อ วัยวุฒิ คุณวุฒิ ความรู้ความสามารถ แม้ว่าช่วง หนึ่งการเป็นสมาชิกโรตารีจะถูกแบ่งแยก ด้วยเรื่องเพศ แต่ต่อมาก็ได้ถูกแก้ไขแล้ว แม้แต่ความเชือ่ ทางการเมืองเองก็ตามทีบ่ าง ครั้ ง อาจถู ก กี ด กั น หรื อ ถู ก ห้ า มเช่ น ใน ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ แต่ ก็ พิ สู จ น์ แ ล้ ว ว่ า มิ ต รภาพจากโรตารี มี ความจริงใจ มิได้แทรกแซงต่อการบริหาร การปกครองของชาติใดๆ ปั จ จุ บั นไม่ ว่ า รัสเซีย จีน มองโกเลีย ลาว กัมพูชา ต่างก็ มี สโมสรโรตารี แ ล้ ว หรื อ แม้ แ ต่ ป ระเทศที่ นั บ ถื อ ศาสนาอิ ส ลามอย่ า งเคร่ ง ครั ด ใน ตะวันออกกลางที่แต่เดิมปฏิเสธโรตารี แต่ ในปัจจุบันนี้หลายประเทศมีสโมสรโรตารีที่ เข้มแข็ง เช่น จอร์แดน คูเวต ซาอุดอิ ารเบีย เป็นต้น

พฤศจิกายน ๒๕๕๒

จุดกำ�เนิดของโรตารี โรตารีได้กอ่ เกิดมาในโลกนี้ นับอายุ ได้ร้อยกว่าปีแล้ว โดยกำ�หนดให้วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๑๙๐๕ เป็นวันก่อตั้งสโมสรโรตา รีแห่งแรกขึ้นในโลก นั่นคือ สโมสรโรตารี ชิคาโก ประเด็ น ที่ น่ า วิ เ คราะห์ คื อ แนว ความคิดของบุคคลที่ร่วมก่อตั้ง ตลอดจน วิเคราะห์สภาพและสิ่งแวดล้อมในยุคนั้นว่า อะไรคือสิ่งบันดาลใจให้คณะบุคคลหนึ่งร่วม อุ ด มการณ์ ใ นการก่ อ ตั้ ง สโมสร อี ก ทั้ งได้ กำ�หนดเป้าหมายไว้ขนาดใดหรือไม่ มีความ ตั้ งใจว่ า จะทำ �ให้ สโมสร โรตารี ข ยายตั ว มากมายดังเช่นทุกวันนี้หรือไม่ ในเบื้ อ งต้ น นี้ เ รามาวิ เ คราะห์ ถึ ง สถานภาพและอาชีพของคณะบุคคลที่ร่วม กันก่อตั้งโรตารีครั้งแรก นั่นคือ พอล พี แฮร์ริส (Paul P. Harris) ,ซิลเวสเตอร์ ชีล,กัส โลว์และฮิแรม โชเรย์ ซึ่งบุคคลทั้งสี่ ล้วนต่างสาขาอาชีพ ซิลเวสเตอร์ ชิล เป็น พ่อค้าถ่านหิน กัส โลว์เป็นวิศวกรเหมืองแร่ ฮิแรม โชเรย์เป็นช่างตัดเสื้อบุรุษ แต่พอล แฮร์ริส เป็นนักกฎหมาย ทั้งนี้ พอล แฮร์ริส มิได้มีอาชีพเป็นเพียงนักกฎหมายเท่านั้น เขาผ่ า นประสบการณ์ ด้ า นธุ ร กิ จ ที่ ห ลาก หลาย เช่น เป็นผู้สื่อข่าว นักหนังสือพิมพ์ นักแสดง พนักงานโรงแรม พนักงานขาย สิ น ค้าและอื่ น ๆ อี ก มากมาย อี ก ทั้งได้ มี โอกาสเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆทั้งต่าง มลรัฐ และต่างประเทศ ทำ�ให้ได้เห็นและ เข้าใจต่อสภาพสังคมที่มีความแตกต่างทาง วัฒนธรรมอย่างหลากหลาย ส่วนสถานภาพหรือวิถชี วี ติ ส่วนตัว ได้สะท้อนว่า พอล แฮร์ริส นั้นเป็นบุคคลที่ ขาดความอบอุ่ นในครอบครั วโดยเฉพาะ อย่างยิ่งในวัยเด็ก กล่าวคือบิดามารดาของ ท่านทำ�ธุรกิจไม่ประสพความสำ�เร็จ มีความ เดือดร้อนทางด้านเศรษฐกิจ และ พอล แฮร์ริส เติบใหญ่โดยการเลี้ยงดูของ คุณปู่ และคุณย่า ตัวของพอล แฮร์รสิ เองก็ไม่คอ่ ย มีความสุขกับชีวิตรักหรือชีวิตครอบครัวนัก

12 13


13 12

ตอนหนุ่มๆท่านเคยผิดหวังในเรื่องของความรัก แม้ต่อ มาเมื่อเป็นโรแทเรียนแล้วจะมีคู่ครองในภายหลังก็ตาม แต่ก็ไม่ได้มีบุตรด้วยกัน ส่วนกัส โลว์ นั้นก็ครองตัวเป็น โสดจนเสียชีวิตเมื่ออายุห้าสิบสามปี อีกสองท่านนั้นไม่มี รายงานถึงชีวิตส่วนตัวหรือชีวิตครอบครัวแต่อย่างใด เพียง คาดเดาว่าในตอนเริ่มก่อตั้งโรตารีนั้นกลุ่มบุคคล ทั้งสี่ท่านมีชีวิตค่อนข้างเอกเทศและเงียบเหงา การที่พอล แฮร์ริส เป็นนักกฎหมาย และเป็น ที่ปรึกษากฎหมายให้กับเพื่อนต่างสาขาอาชีพ จึงมักจะ มีการนัดร่วมรับประทานอาหารด้วยกัน ได้มกี ารหยิบยก ถึงประสบการณ์ในการประกอบวิชาชีพและความสำ�เร็จ ในผลงานด้านอาชีพตลอดจนอุปสรรคและปัญหาทาง ด้านอาชีพอีกทั้งการเอารัดเอาเปรียบของนักธุรกิจที่ไร้ จรรยาบรรณมาพูดคุยกันในระหว่างรับประทานอาหาร ด้วยกัน จากจุดนี้ ทำ�ให้เกิดแนวคิดร่วมกันในการแลก เปลี่ ย นความคิ ด เห็ นโดยผลั ด เปลี่ ย นหมุ น เวี ย นหรื อ rotate กันเป็นเจ้าภาพจัดเลี้ยง อันเป็นที่มาของชื่อ สโมสรโรตารีโดยมี ซิลเวสเตอร์ ชีลเป็นนายกสโมสรคน แรก กล่าวได้ว่าโรตารีเกิดจากมิตรภาพของบุคคล หลากหลายอาชีพที่มุ่งส่งเสริมจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมและส่วนรวม การเปลี่ ย นผ่ า นจากสโมสรแห่ ง มิ ต รภาพสู่ สโมสรแห่งการให้บริการ จากจุดกำ�เนิดของโรตารีที่เป็นการพบปะกัน ระหว่างคนหนุ่ม ๔ คน ร่วมกันตั้งสโมสรขึ้นมา ซึ่งเป็น ลักษณะที่เน้นไปในเรื่องของมิตรภาพ (Friendship) และ แลกเปลีย่ นความคิดเห็นทางด้านวิชาชีพในระยะแรก ซึง่ เป็นการรวมตัวกันแบบหลวมๆ ยังไม่มีเป้าหมายในการ ทำ�กิจกรรมอื่นใด จนต่อมาได้มีการริเริ่มแนวความคิด ในการบำ�เพ็ญประโยชน์ร่วมกัน โดยสโมสรโรตารีชิคาโก ได้ตกลงพร้อมใจกันสร้างส้วมสาธารณะขึ้นเป็นแห่งแรก เมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา ในการร่วมกันบำ�เพ็ญประโยชน์ครั้งแรก ได้ สร้างความรูส้ กึ แปลกใหม่ขึน ้ แก่สมาชิกและผูพ ้ บเห็น คือ ความรูส้ กึ ปลาบปลืม้ ยินดี ความสุขใจทีไ่ ด้เป็นผูใ้ ห้ ความ ชื่นชมในความเสียสละและการบำ�เพ็ญประโยชน์ จึง ทำ�ให้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นของสโมสร คือมีจำ�นวน สมาชิกเพิ่มมากขึ้นและได้ผลักดันให้เกิดสโมสรใหม่ขึ้น และเมื่อมีหลายสโมสรที่มีอุดมการณ์เดียวกัน จึงรวมตัว กันเป็นสมาคมโดยมี พอล แฮร์ริสเป็นประธาน ซึ่งได้ พัฒนามาเป็นโรตารีสากลในปัจจุบัน ซึ่งแสดงให้เห็น ว่านอกเหนือจากมิตรภาพแล้ว การบำ�เพ็ญประโยชน์ เป็นปัจจัยสำ�คัญที่ทำ�ให้องค์กรโรตารีเจริญเติบโตมา จนถึงปัจจุบัน เพราะลำ�พังเพียงแต่มิตรภาพอย่างเดียว

ไม่สามารถสร้างความเจริญเติบโตได้ขนาดนี้และการ บำ�เพ็ญประโยชน์ได้ขยายตัวจนเกิดเป็นอุดมการณ์ที่ เรียกว่า Service Above Self อย่างไรก็ตามมิตรภาพก็เป็นสิ่งที่ยังคงมีความ สำ�คัญอยู่ควบคู่ไปกับการบำ�เพ็ญประโยชน์และได้มีการ พัฒนาเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดย เฮอร์เบิร์ท เจ เทเลอ ร์(Herberth J. Taylor) ได้เสนอบททดสอบสีแ่ นวทาง(Four Ways Test)อันเลื่องชื่อ แม้ว่าบททดสอบสี่แนวทางนี้จะ เกิดจากแนวความคิดทางด้านธุรกิจหรือด้านอาชีพ แต่ สามารถนำ�มาประยุกต์ใช้ในการสร้างมิตรภาพให้เติบโต และมีความยั่งยืนได้ นิยามของโรตารี “โรตารีคอื องค์กรของนักธุรกิจและวิชาชีพจาก ทั่ วโลกซึ่ ง บำ � เพ็ ญ ประโยชน์ ท างการกุ ศ ล ส่ ง เสริ ม มาตรฐานจรรยาบรรณในทุกวิชาชีพ พร้อมทั้งช่วยสร้าง ไมตรีจิตและสันติสุขในโลก”(Rotary is an organization of business and professional person unite worldwide who provide humanitarian service,encourage high ethical standards in all vocations,and help build goodwill and peace in the world) ฉะนั้น จากนิยามที่ว่าโรตารีเป็นองค์กรของนัก ธุรกิจและวิชาชีพนั้นย่อมหมายถึงว่า สมาชิกของสโมสร หรือโรแทเรียนจะต้องมีอาชีพเป็นของตนเอง หรือนัย หนึ่งต้องมีรายได้เป็นของตนเอง ทั้งนี้ เพราะโรแทเรียน ทุกคนมีภาระในการชำ�ระค่าบำ�รุงสโมสรค่าบำ�รุงภาค และค่าบำ�รุงโรตารีสากล คำ�ว่านักธุรกิจและวิชาชีพนั้นหมายความรวม ถึงพนักงานหรือข้าราชการของกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆหรือองค์กรต่างๆ ด้วย อาทิ นายธนาคาร นาย หน้า เจ้าของร้านค้าฯลฯ เพราะผู้ทำ�ธุรกิจและผู้รับ ราชการทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชนและภาครัฐ ล้วนต้องเป็นนักบริหารจัดการขององค์กรไม่ส่วนใดก็ ส่วนหนึ่งหรือเป็นเจ้าของกิจการเอง แต่ทั้งนี้ต้องเป็น กิจการที่มีผลด้านบวกต่อสังคม แต่เดิมนั้นโรตารีสากลกำ�หนดให้แต่ละสโมสร รับสมาชิกหลายๆอาชีพ โดยเน้นว่าสมาชิกแต่ละคนควร เป็นตัวแทนของแต่ละสาขาอาชีพ แต่ต่อมาก็ได้มีการ แก้ไขข้อบังคับฯหลายครั้ง อาทิ ได้อนุญาตให้บางสาขา อาชีพสามารถเป็นสมาชิกได้โดยไม่จำ�กัดจำ�นวน เช่น อาชีพนักบวช นักการศาสนา นักหนังสือพิมพ์ ผู้สื่อข่าว นักการทูต เป็นต้น และล่าสุดก็มีการแก้ไขข้อบังคับฯให้ สโมสรโรตารีหนึ่งสามารถมีประเภทอาชีพซ้ำ�ได้ถึง ๕ คน และสโมสรที่มีสมาชิกเกิน ๕๐ คน ยังเพิ่มได้อีก ๑๐ % ซึ่งหากวิเคราะห์โดยละเอียดแล้วจะเห็นว่าประเภท อาชีพมิใช่ปัญหาในการรับสมาชิกใหม่แต่อย่างใด

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


คุยกันที่ขอบเวที

อน.ศ.นพ.บริบูรณ์ พรพิบูลย์ สโมสรโรตารีเชียงใหม่

อันเป็นที่มาของโครงการกวาดล้างโปลิโอ ให้สิ้นโลก ของโรตารีสากล วันที่ผู้ว่าการภาครับเลือก โรตารี สากล 2551-2552 กำ�ลังเข้าประชุมรับการ อบรมเป็นผู้ว่าการภาคอยู่ที่เมือง ซานดิอา โก มณรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา บิลล์ เกตส์เศรษฐี คนสำ�คัญอันดับต้นๆของโลก ประธานบริษัทไมโครซอฟ ได้ปรากฏตัวที่ นั่น พร้อมกับประกาศว่าจะอุทิศเงินให้กับ โรตารี เพื่อช่วยกวาดล้างโปลิโอให้หมดไป จากโลกอีกจำ�นวนหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมกับที่เคย บริจาคไปแล้วเมื่อปี ค.ศ. 2007 จำ�นวน 100 ล้านเหรียญสหรัฐ ก็จะเป็นเงินทั้งสิ้น 225 ล้านเหรียญ พร้อมๆกันนีร้ ฐั บาลของประเทศ เยอรมนี และประเทศอังกฤษ ก็จะมอบเงิน ให้แก่โครงการนี้อีก 280 ล้านเหรียญ เพื่อ ช่ ว ยกำ � จั ดโรคโปลิ โ อ ที่ ยั ง คงเหลื อ อยู่ ใ น ประเทศอินเดีย ปากีสถาน อาฟกานิสถาน และไนจีเรีย นับแต่โรตารีได้ตกลงใจทำ�โครงการ กวาดล้างโปลิโอ ให้สิ้นไปจากโลกเพื่อเป็น ของขวัญแก่เด็กๆ มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 อัน

พฤศจิกายน ๒๕๕๒

เป็นปีที่โรตารีสากลมีอายุครบ 80 ปี และจะ เสร็จสิน ้ โครงการ พร้อมกับประกาศมอบของ ขวัญชิ้นนี้ให้กับเด็กๆทั่งโลก ในปีที่โรตารีจะ มีอายุครบ 100 ปี ในปี ค.ศ.2005 นั้น เมื่อ ถึ ง เวลาที่ ตั้ ง ไว้ โรตารี ก็ ไ ม่ ส ามารถปิ ด โครงการลงได้ เนือ่ งจากยังมีผูป้ ว่ ยโรคโปลิโอ เกิดใหม่ในประเทศที่ยากจน และ/หรือใน ประเทศที่ทุรกันดารอยู่อีกถึง 1,940 รายใน 14 ประเทศทั่วโลก ได้แก่ประเทศ อินเดีย อาฟกานิสถาน ไนจีเรีย ปากีสถาน ไนเจอร์ แองโกล่ า โซมาเลี ย ซาด อิ นโดนิ เ ซี ย เอธิโอเปีย เนปาล เยเมน เคนยา และคาเม รูน การติดตามเฝ้าระวังโรคโปลิโอ ตามหลัก วิชาการมีเรื่อยมาจนถึงปี 2007 ก็ยังปรากฏ ว่ามีผู้ป่วยโรคโปลิโอเกิดใหม่แล้วกลับมามี ขึ้นอีก 5 ประเทศได้แก่ ประเทศคองโก พม่า ซูดาน บังคลาเทศ และนามีเบีย กับอีก 6 ประเทศที่ยังระบาดอยู่ เมื่อปี 2005 คือ ประเทศ อิ น เดี ย ไนจี เ รี ย ปากี ส ถาน อาฟกานิสถาน ไนเจอร์ และซาด แสดงว่า

14 15


สถานการณ์ของโรคโปลิโอใน 19 ประเทศทั่วโลกคือ อินเดีย ไนจีเรีย ปากีสถาน อาฟกานิสถาน ไนเจอร์ คองโก พม่า แองโกล่า โซมาเลีย ซาด ซูดาน บังคลา เทศ อินโดนิเซีย นามิเบีย เอธิโอเปีย เนปาล เยเมน เคนยา และคาเมรูน ยังไม่คงตัว เหมือนประเทศอื่นๆ ที่ไม่มีผู้ป่วยโรคโปลิโอเกิดใหม่เกิดขึ้นอีก นักวิชาการ ด้านระบาดวิทยาทราบว่า ไวรัสโปลิโอเป็นไวรัสที่คงทน ต่อสภาพแวดล้อม นอกร่างกายของผู้ป่วยได้ดีมาก สามารถมีชีวิตอยู่ได้ถึง 4 เดือนหลังจากถูกขับถ่ายออก มาทางเสมหะและอุจจาระของผู้ป่วย ด้วยความที่มันหัว แข็งคงทนเช่นนี้ จึงอาจระบาดจากประเทศที่ยังมีผู้ป่วย หลงเหลือไป ยังประเทศที่ปลอดโรคแล้วได้ง่าย การ กำ � จั ดโรคโปลิ โ อของโรตารี จึ งได้ ล่ า ช้ า กว่ า วั น ที่ จ ะ ประกาศความสำ�เร็จในปี ค.ศ. 2005 มาถึง 4 ปีแล้ว (2009) อย่างไรก็ตามความล่าช้ามิดได้เป็นสิ่งสำ�คัญ เท่ากับการกวาดล้างอย่างถูกต้อง ตามหลักวิชากร โรตา รีและโรแทเรียน จะช่วยกันกวาดล้างให้หมดไปจากโลก ให้จงได้ ก่อนทีม่ น ั จะกลายเป็นโรคในประวัตศิ าสตร์ เช่น เดียวกับโรคฝีดาษที่เหลือแต่ชื่อ ก่อนที่โรคโปลิโอจะสิ้น ไป ผมใคร่ให้คนในสมัยของเราได้รู้จักกับ “โปลิโอ” อย่างกะทัดรัดตามสมควร โรคโปลิโอมัยอีไลติส ที่เรียกกันอย่างสั้นๆว่า “โรค โปลิโอ” เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสโปลิโอ 3 สายพันธุ์ คือสายพันธุ์ วัน ทู และ ทรี ติดต่อได้โดยการได้รับเชื้อ ที่ปะปนมากับเสมหะและ/ หรือ อุจจาระของผู้ป่วย ที่ ส่งไปแปดเปื้อนนม น้ำ� และ/หรือ อาหาร อีกทีหนึ่ง เป็นกันมากในฤดูที่มีอากาศอบอุ่น และมักเกิดกับเด็ก มากกว่าผู้ใหญ่ ทั้งนี้ก็เพราะผู้ใหญ่มีภูมิคุ้มกันที่ค่อยๆ เกิดมาตั้งแต่เป็นเด็กแล้ว ด้วยเหตุนี้ ผู้ได้รับเชื้อไวรัสโปลิโอถึงร้อยละ 95 จึงไม่มีอาการ ผู้ที่มีอาการในเปอร์เซ็นต์ที่เหลือ ก็มี อาการหนักเบาไม่เท่ากัน สุดแต่ภมู คิ ุม้ กันทีม่ อี ยู่ อาการ ที่แพทย์พบมีอยู่ 3 ลักษณะคือ กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่มี ไข้อ่อนๆ เจ็บคอมีเสมหะ และมีต่อมน้ำ�เหลืองบริเวณ คอ อักเสบเจ็บตึง บางคนมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และ ท้องเสียร่วมด้วย และบางคนอาจมีอาการปวดกล้ามเนือ้ กระดูกและข้อคล้ายเป็นไข้หวัด เสร็จแล้วอาการเหล่า นี้จะค่อยๆทุเลาหายไป , กลุ่ม 2 มีอาการเหมือนพวก ที่ 1 แล้วอาจจะมีอาการคอแข็ง หลังแข็งเนื่องจากเยื่อ หุม้ สมองและไขสันหลังได้รบั ความกระทบกระเทือนด้วย คนไข้มีอาการอยู่ 15-20 วัน แล้วก็ค่อยๆทุเลาหายไป ส่วนกลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มที่มีอาการรุนแรงมากที่สุด ไวรัส จะไปทำ�ลายเซลล์ของสมองและไขสันหลังบางส่วน จน

15 14

ทำ�ให้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องอ่อนเปลี้ย และเป็นอัมพาต ขึน ้ อย่างถาวร เด็กทีม่ อี าการกลุม่ หลังนีเ้ ป็นทีห่ วาดกลัว ของพ่อแม่ฝรั่งยิ่งนัก เพราะเด็กเป็นไข้อยู่ดีๆ ตื่นขึ้นมา ก็มีแขนขาอ่อนเปลี้ยเป็นอัมพาตไปเสียแล้ว เมื่อปี ค.ศ.1916 โปลิโอเกิดระบาดหนักที่กรุง นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา การระบาดครัง้ นัน ้ ทำ�ให้มผี ูป้ ว่ ย มากถึง 30,000 คนโดยประมาณ มีเด็กล้มตายโดย ประมาณ 7,000 คนและมีผู้พิการแขน ขา ลีบเป็น จำ�นวนมาก การระบาดครัง้ นัน ้ จึงทำ�ให้โรแทเรียนต้องออก ไปให้บริการช่วยเหลือเกี่ยวกับผู้ป่วยเหล่ านั้น เป็น บริการที่เกี่ยวข้องกับโปลิโอเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1932 ความช่วยเหลือ มีตั้งแต่หารถเข็นให้แก่เด็กที่พิการ หา งานให้ท�ำ ช่วยเหลือครอบครัวทีไ่ ด้รบั เคราะห์กรรม ฯลฯ รวมทั้งการจัดหา “ปอดเหล็ก” ให้แก่โรงพยาบาลเพื่อ ช่วยเหลือผู้ป่วยเด็กที่หายใจด้วยตนเองไม่ได้ เมือ่ โลกรูจ้ กั โปลิโอดีขน ึ้ และสามารถผลิตโปลิโอ วัคซีนชนิดหยอดทางปากได้สำ�เร็จเมื่อปี ค.ศ. 1954-60 มีผลทำ�ให้จำ�นวนผู้ป่วยโปลิโอที่เกิดใหม่ในประเทศด้อย พัฒนาลดลงเป็นอันมาก จากเดิมที่เคยเกิดชั่วโมงละ 30 คน และตาย 3 คน ที่เหลือส่วนหนึ่งกลายเป็นคนพิการ แขน ขา ลีบนั้น เกือบมลายหายสิ้นอย่างน่าอัศจรรย์ แต่กระนั้นก็ยังมีเด็กในประเทศด้อยพัฒนาทั่วโลกถึง 60 ล้านคน ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโปลิโอในปี ค.ศ. 1969 ซึ่งในปีนั้นมนุษย์ได้เดินทางไปเหยียบดวง จันทร์ได้แล้ว ในปี ค.ศ.3 1972 ภาค 730 โรตารีสากล มณ รัฐเพนซิลเวเนีย ได้รว่ มมือกับรัฐบาลประเทศกัวเตมาลา ทำ�โครงการฉีดโปลิโอวัคซีนให้แก่เด็กจำ�นวน 1,000,000 คน ภายในเวลา 2 เดือน ระหว่างเดือน พฤษภาคมมิถุนายน 1974 ก่อให้เกิดมีคำ�ว่า “ Polio Plus National Inmori eation Day (NID) ขึ้นในปี 1974 นั้น ในโอกาสที่โรตารีสากลมีอายุครบ 75 ปีเมื่อปี ค.ศ. 1980 นายแพทย์ อัลเบิร์ท เซบิน ผู้คิดค้นวัคซีน ป้องกันโรคโปลิโอชนิดหยอดปาก (TOPV) ได้ไปเป็นองค์ ปาฐกสำ�คัญในที่ประชุมโรตารี คอนเวนชั่น ณ.นคร ชิคาโก ปลุกเร้าให้โรตารีสากล หยอดโปลิโอวัคซีนชนิด หยอดทางปากให้แก่เด็กเกิดใหม่ไปจนถึงอายุ 5 ปี ทั่ว โลกเป็นเวลาติดต่อกัน ไปจนกระทั่งโรตารีสากลมีอายุ ครบ 100 ปีในปี ค.ศ. 2005 ทำ�ให้โรตารีต้องนำ�ไป พิจารณากันอย่างรอบคอบ และกลายเป็นที่มาของ “โครงการกวาดล้างโปลิโอให้สิ้นโลก ของโรตารีสากล” ในอันดับต่อมา

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


ศูนย์โรตารีประเทศไทย FG เดือนพฤศจิกายน 2552 ED สวัสดีครับ...เพื่อนสมาชิกที่รักทุกทาน เดือนพฤศจิกายน โรตารีสากลไดกําหนดใหเปนเดือน แห ง มู ล นิ ธิ โ รตารี เพื่ อ ให โ รแทเรี ย นและสโมสรได ต ระหนั ก ถึ ง ความสํ า คั ญ ของมู ล นิ ธิ โ รตารี ข องโรตารี ส ากล ตลอดจน โปรแกรมตางๆ ของมูลนิธิฯ เชน ทุนสนับสนุนสมทบ (Matching Grant), ทุนสนับสนุนอยางงายของภาค (District Simplified Grants) รวมถึ ง โปรแกรมทางด า นการศึ ก ษาต า งๆ เช น ทุนการศึกษาทูตสันถวไมตรี (Ambassadorial Scholarships), ทุนสันติภาพโลก (Rotary World Peace) เปนตน โปรแกรม เหลานี้สามารถดําเนินการไดก็ดวยเงินบริจาคที่สมาชิกและผูมี จิตศรัทธาบริจาคใหแกมูลนิธิโรตารี ผมขอเชิญชวนใหพวกเรา บริจาคเงินในเดือนแห งมู ลนิธิโรตารีนี้ เพื่อที่ เงินเหล านั้ นจะ กลับมาใชในการบําเพ็ญประโยชนแกชุมชนตอไป โดยเงินที่ บริจาคใหแกกองทุนโปรแกรมประจําปจะคืนมาในรูปของทุน จัดสรรของภาค (DDF) ซึ่งผูวาการภาครวมกับประธานมูลนิธิ ภาค สามารถร ว มกั น ตั ด สิ น ใจใช DDF ของภาคในโครงการ ตางๆ ที่ทางสโมสรและภาคจะดําเนินการ การขจัดโรคโปลิโอใหหมดสิ้นไปเปนโครงการที่โรตารี สากลใหความสําคัญเปนอันดับแรก ในปนี้ โรตารีในประเทศ ไทยรวมกับกระทรวงสาธารณสุขและกรุงเทพมหานคร กําหนด ใหมีการหยอดวัคซีนปองกันโรคโปลิโอแกเด็กทั่วประเทศ หรือ “วั น ให ภู มิ คุ ม กั น โรคแห ง ชาติ (Sub National Immunization Days – SNIDs)” ครั้งแรกในวันที่ 23 ธันวาคม 2552 และครั้งที่

สองในวันที่ 20 มกราคม 2553 เพื่อใหเกิดการประสานงาน และความรวมมืออันดียิ่งระหวางหนวยงานที่เกี่ยวของ จึงได จัดใหมี การสั มมนารวมเพื่อหารื อถึ งแนวทางในการณรงคใ ห วัคซีนปองกันโรคโปลิโอ และความรวมมือระหวางหนวยงาน สาธารณสุ ข และสโมสรโรตารี ทั่ ว ประเทศ ในวั น พุ ธ ที่ 18 พฤศจิกายน เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ศูนยโรตารีในประเทศ ไทย ขอเชิ ญ ชวนผู ที่ ส นใจเข า ร ว มสั ม มนาได ใ นวั น และเวลา ดังกลาวโดยไมเสียคาลงทะเบียนครับ และสําหรับการรณรงค เพื่อบริจาคเงินใหแกโครงการโปลิโอพลัสของสโมสรโรตารีใน ประเทศไทยนั้น ผูบริจาคจะไดรับเหรียญที่ระลึก 100 ปโรตารี ดวย สุดทายนี้ ผมใครขอความรวมมือไปยังสโมสรโรตารีทุก สโมสร โปรดสงหนังสือสถาปนาสโมสรของทาน หรือสงขอมูล การติ ด ตอ ที่เ ป น ปจ จุบั น ของสมาชิก ในสโมสรของทา นมายั ง ศูนยโรตารีฯ ดวย เพื่อเจาหนาที่นิตยสารโรตารีประเทศไทย จะ ได แ ก ไ ขข อ มู ล เพื่ อ จั ด ส ง นิ ต ยสารให ส มาชิ ก ได อ ย า งทั่ ว ถึ ง เพราะที่ผานมายังคงมีนิตยสารถูกสงกลับมายังศูนยฯ อยูอีก เปนจํานวนมากครับ เ ดวยไมตรีจิตแหงโรตารี อผภ.รัฐประทีป กีรติอุไร ประธานคณะกรรมการบริหารศูนยโรตารีฯ อัตราแลกเปลี่ยนโรตารีสากล เดือนพฤศจิกายน 2552

34 บาท ตอหนึ่งดอลลารสหรัฐ ตัวเลขโรตารีไทย

สมาชิกสโมสรโรตารีสุพรรณบุรีและคณะกรรมการภาค 3330 ป 2553-54 นํา โดย ผวล.นพ.พรชัย บุญแสง มาเยี่ยมชมศูนยโรตารีฯ และการปฏิบัติงานของ เจาหนาที่ศูนยฯ เมื่อวันที่ 8 ตุลาคมที่ผานมา โดยมี อผภ.กฤษณ อินเทวัฒน ผูแทนดูแลการเงินโรตารีสากลในประเทศไทย ใหการตอนรับ

ภาค โรแทเรียน สโมสร 3330 1,994 77 3340 1,289 60 3350 2,443 90 3360 1,196 60 รวม 6,922 287 ขอมูล: ผูแทนดูแลการเงินฯ (ต.ค. 52)

ศูนยโรตารีในประเทศไทย 75/82‐83 ชั้น 32 อาคารโอเชี่ยนทาวเวอร 2 ซอยวัฒนา ถนนอโศก เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทร. 0 2661 6720‐1 โทรสาร 0 2661 6719 e‐mail: rotaryth@ksc.th.com; www.rotarythailand.org พฤศจิกายน

๒๕๕๒

17 16


เสียงนก เสียงกา

“RYLA .. Rotary Youth Leadership Awards”

สวัสดีค่ะ มวลมิตรโรแทเรียนทุกท่าน ทุ ก ท่ า นคงได้ ท ราบความเคลื่ อ นไหวของ เยาวชนแลกเปลี่ยน ไปแล้วจากสารผู้ว่าการ ภาคฉบับทีผ่ า่ นมา และสืบเนือ่ งกันเดือนตุลาคม เป็นเดือนที่สโมสรโรตารีทั่วทุกมุมโลก ได้มีการ จัดอบรมผู้นำ�เยาวชนโรตารีขึ้น ภาค 3360 ของ เรา ได้จัดอบรมผู้นำ�เยาวชนโรตารี ขึ้น ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่าง วันที่ 20-24 ตุลาคม 2552 เราจึงได้สัมภาษณ์ ความรู้ สึ ก และความประทั บ ใจของคณะ กรรมการจัดงาน โรตาแรคท์ ม.แม่โจ้ ซึ่งทำ� หน้าที่เป็นพี่เลี้ยงเยาวชนและน้องๆ ผู้เข้าร่วม อบรมผู้นำ�เยาวชนบางส่วนมาให้ทุกท่าน ได้รับ ทราบ ผ่านคอลัมน์เสียงนกเสียงกา ฉบับนี้ ตาม เรามาได้เลยค่ะ

16 17

อน.ยุทธนา นฤนาทวงศ์สกุล ประธานจั ด การอบรมผู้ นำ � เยาวชนโรตารี (RYLA) ส.เชียงใหม่ใต้ อน.ยุ ท ธนากล่ า วว่ า : ขอ ขอบพระคุณ ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ที่ได้ให้โอกาสผม ทำ � งาน และได้ ต อบแทน โรตารี ตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่เป็นโรแท เรียน มารู้สึกภูมิใจที่ได้ทำ�สิ่งดีๆ ให้แก่สังคม โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวกับเยาวชน ในการ อบรมผู้นำ�เยาวชนโรตารี (RYLA) ก็เช่นกัน เรา ได้ ใ ห้ สิ่ ง ดี ๆ ที่ เ ป็ น ประโยชน์กั บ เยาวชนโดย เฉพาะ การเสริมสร้างความเป็นผูน ้ �ำ กล้าตัดสิน ใจ กล้ า แสดงความคิ ด เห็ น และกล้ า ที่ จ ะ แสดงออก ซึ่งในตัวของเยาวชนมีอยู่แล้วดึง ออกมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ตลอดระยะเวลา 4 คืน 5 วัน ที่ได้อยู่ร่วมกับเยาวชนรู้สึกได้ว่า เยาวชนของภาค 3360 ทุกคนมีความรู้ความ

สามารถในการจัดการและบริหารเวลา ทำ�งาน กันเป็นทีมได้เป็นอย่างดี จนงานต่างๆ ที่ได้รับ มอบหมาย ทำ�สำ�เร็จได้ในเวลาทีก่ �ำ หนด ให้แล้ว เสร็จตามวัตถุประสงค์ทุกประการ และที่ขาดไม่ ได้ทีมงานคณะกรรมการ RYLA ทุกคนได้ทุ่มเท ให้กับเยาวชนเป็นอย่างมากที่ทำ�ให้งานสำ�เร็จ ลุ ล่ ว งด้ ว ยดี อี ก ทั้ ง พี่ เ ลี้ ย งโรตาแรคท์ แ ห่ ง มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งก่อตั้งโดยสโมสรโรตารี ช้างเผือกเชียงใหม่ ทุกคนได้ให้ความร่วมมือใน การอบรมครั้งนี้เป็นอย่างดีเยี่ยมมากๆ และขอ ขอบพระคุณ โรแทเรียนทุกท่านที่ให้กำ�ลังใจ ให้การสนับสนุนจัดส่งเยาวชนที่น่ารักเข้าร่วม การอบรมในปีนี้

Dream Team of D.3360 R.I.

ผชภ.เอกวุ ฒิ กาวิ ล ะ ผู้ อำ � น ว ย ก า ร ค่ า ย อ บ ร ม RYLA (ส.หางดงเชียงใหม่) ผชภ.เอกวุฒิกล่าวว่า: “การ อบรมผู้ นำ � เยาวชนโรตารี 2009-10 (RYLA)” ได้ผ่านพ้น ไปด้วยความสำ�เร็จอย่างดียิ่ง ด้วยความร่วมมือของทุกท่าน ทีผ่ า่ นประสบการณ์กน ั มาจากปีกอ่ นๆ ให้เกียรติ ติดตามงานในหน้าที่ ทีม่ อบหมายตามทีไ่ ด้ตกลง ไว้ ขอบคุณมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่เอื้อเผื้อสถาน ที่จัดการอบรมครั้งนี้ และต้องความขอบคุณใน น้ำ�ใจของ ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ที่ให้ความ สุขแก่เด็กจนแก้มปริแก้มบาน ขอบคุณ อน.นฤ ชล อาภรณ์รัตน์ ที่เข็มแข็งเอาใจใส่กับงานและ การวางแผนลำ�ดับงานและติดตามงานได้อย่าง ยอดเยี่ยมไม่ว่าคนนั้นจะอยู่ที่ไหนต้องตามงาน และตามหา ไม่ว่าใครจะเจ็บไข้ได้ป่วยก็จะบุกถึง โรงพยาบาลเลย ถือเอาว่างานต้องได้ ไข้ต้องมา ทีหลัง นี่ซิยอดคน และขอชื่นชมคนดีคนเก่งที่ ทำ �ให้ ง านสำ � เร็ จ คื อ ประธาน อน.ยุ ท ธนา

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


เสียงนก เสียงกา

นฤนาทวงศ์สกุล ที่เข้มแข็งและเข้มข้นในหลัก การ และทีล่ มื ไม่ได้คอื น้�ำ ใจจากโรตาแรคท์เตอร์ ม.แม่โจ้ ,พี่ๆ Rebound อย่างน้อย 9 คน และ YE Inbound Monica Ruth Cooper .(USA) Amanda Luiza Schommer (Brazil) 2 คน ที่ ไม่ลืมหน้าที่และความหมายของการเป็นฑูตสัน ทวไมตรีที่ดีเยี่ยมของโรตารีสากล การสร้างรอย ยิ้มจากมิตรต่างแดน การทำ�กิจกรรมร่วมกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน นอนและกินในถิ่นเดียวกัน ที่ไม่จำ�เป็นต้องพูดหรือสื่อสารด้วยภาษาใดๆ ทั้งสิ้นในหมู่คณะเด็กๆ แบบนี้แหละ ที่ทำ�ให้ โรตารี ส ากลบรรลุ ถึ ง เจตนารมย์ เ ดิ ม แท้ แ ห่ ง อุดมการณ์ เพื่อลดความขัดแย้งและเสริมสร้าง สันติภาพ ที่โลกกำ�ลังขาดแคลนอยู่ในปัจจุบัน ให้น้อยลงได้ ท่านประธานโรตารีสากลคงดีใจยิง่ นัก หากว่าเราทำ�ให้ โลกใบนี้ยิ้มแย้มต่อกันได้ แม้นจะเริ่มต้นจากหนึ่งคน โดยสร้างฐานจาก รากแก้วผ่านกิจกรรมที่มีคุณค่าที่เรา ภาค 3360 ได้ทำ�แล้วใน RYLA 2009-10 อน.ประยู ร ศิ ริ น ภาพั น ธ์ กรรมการ ฝ่ายรักษาความ ป ล อ ด ภั ย แ ล ะ พ ย า บ า ล (ส.เชียงใหม่เหนือ) อน.ประยูรกล่าวว่า : การที่ ได้มสี ว่ มร่วม ในการเป็นคณะ กรรมการ รู้สึกประทับใจ ถึง แม้ จ ะเหน็ ด หนื่ อ ยเพี ย งใด เมื่อนึ่กถึงว่า การจัดการอบรมผู้นำ�เยาวชน (RYLA ) เป็นการสร้างภาวะผู้นำ�ให้แก่เยาวชน ของชาติ เพื่อให้เป็นผู้นำ�ที่มีคุณธรรมที่ดี ใน อนาคต ส่วนการนำ�เยาวชนไปช่วยกันสร้าง ความร่มรื่นและความชุ่มชื่นให้กับป่าไม้ โดย การสร้ า งฝายถวาย ในหลวงของเรานั้ น เป็นการปลูกฝังให้เยาวชนรู้รักสามัคคีสามารถ ทำ�งานรวมกันเป็นทีมได้ รูจ้ กั แก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง มีความห่วงใยกัน รู้จักช่วยเหลือ ซึ่งกันและกัน ปลูกจิตสำ�นึกให้เยาวชนรู้จักการ อนุรักษ์ต้นน้ำ�ลำ�ธาร รักษาสิ่งแวดล้อม รักษา แหล่งน้ำ� ผืนป่าและหวงแหนธรรมชาติ เมื่อ เห็นเยาวชนมีความสุขที่ได้ร่วมกิจกรรมสร้าง ฝาย ทำ�ให้หายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งทีเดียวครับ

ทั้งในส่วนของกรรมการและผู้เข้าอบรม คณะกรรมการพอใจในแนวทางที่วางไว้ มีเสียง ตอบกลับจากผู้เข้าอบรมว่าสนุกและพอใจกับ การจัดการของคณะผู้จัดการอบรม ได้ ยิ น แบบนี้ แ ล้ ว ก็ ใ ห้ รู้ สึ ก มี กำ � ลั ง ใจในการ ทำ�งาน แต่ถึงจะทำ�ได้ไม่ดีก็จะขอแก้ไขแก้ตัวไม่ ได้แล้วเพราะการจัดอบรมRYLAนี้จะหมุนเวียน ไปตามส่วนของจังหวัดต่อไปที่จะได้มีโอกาส เป็นผู้จัดอบรมน้องๆเยาวชนในปีหน้า ซึ่งหน้า จะเป็นจังหวัดอุตรดิตถ์ในปี2010นะครับ ชอบ มากครับกับการอบรมป้องกันอัคคีภยั การสร้าง ฝาย การอบรมทางเกษตรกรรม และการแสดง ของน้องๆที่เข้าอบรมทุกคน ขอให้น้องๆทุกคน ที่ได้เข้ารับการอบรม โชคดีตลอดไป นายอนุพงศ์ พลีสมุทร (น้อง ตั้ม) นายกสโมสรโรตาแรคท์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (พี่เลี้ยง เยาวชน) น้องตั้มกล่าวว่า : ผมอยาก จะบอกว่า น้องๆ ที่เข้าร่วม งาน RYLA น่ารักมาก ถึงแม้ น้องๆ ทุกคนจะมาจากต่างที่ ต่างทาง แต่เมื่อเข้ามาร่วมในงานนี้ น้องๆ ทุก คนก็เปรียบเป็นน้องคนหนึ่งของพี่ด้วย ความ สุขของน้องๆ คือความภูมิใจของพวกพี่ๆ เสียง หัวเราะและรอยยิ้ม คือ ความสุข ของพี่ๆ ทุก คน และมันเป็นเหมือนรางวัล แห่งความเหนือ่ ย ยาก ของพี่ๆ ทุกคนอีกด้วย แต่ถ้าเมื่อใด ที่ น้องๆ เหนื่อยล้า และทุกข์ใจ ตัวพี่ๆ เองก็หดหู่ และท้อแท้ไปด้วย ถึงแม้งาน RYLA จะสิ้นสุด ลงไปแล้ว แต่มอี กี สิง่ ทีม่ น ั ไม่ได้สิน ้ สุดลงไปด้วย นัน ้ ก็คอื ภาพความทรงจำ�ดีๆ และมิตรภาพของ พวกเรา สิง่ เหล่านีจ้ ะตอกย้�ำ ถึงเหตุการณ์ทีพ ่ วก เราได้ใช้ชีวิตร่วมกัน และเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับ ผู้อื่น งานในครั้งนี้อาจจะมีทั้งสนุก และน่าเบื่อ พีก่ อ็ ยากให้นอ้ งจดจำ�แต่สิง่ ทีด่ ๆี เพือ่ นำ�กลับไป ใช้ในชีวิตประจำ�วันของน้องพี่ทุกคน และขอ ขอบคุณโรตารี ที่กรุณาเลือกใช้มหาวิทยาลัยแม่ โจ้แห่งนี้ ต้อนรับน้องๆ ที่น่ารัก และสร้างสรรค์ งาน RYLA จนลุล่วงผ่านไป และขอให้น้องพี่ ทุกคนจงโชคดี และพบกับความสำ�เร็จ มีความ สุขความเจริญตลอดไป

นย.ดรัณ สิรีเลิศ กรรมการ ฝ่ายอาหาร สโมสรเชียงใหม่ น.ส.วรีรัตน์ ชื่นภักดี (น้อง ใต้ อ้ อ ม) สโมสรโรตารี แ รคท์ นย.ดรัณกล่าวว่า : ห้าวัน ม.แม่โจ้ (พี่เลี้ยงเยาวชน ) ผ่านไปไวเหมือนโกหกครับ น้องอ้อมกล่าวว่า : จากการ กั บโ ค ร ง ก า ร อ บ ร ม ผู้ นำ � ที่ได้รับหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง ใน เยาวชน หรือที่เราท่านเรียก การอบรมผู้นำ�เยาวชนโรตารี ขานกันว่าRYLA มี ค วามรู้ สึ ก ว่ า เกิ ด ความ ถ้าจะสรุปกันโดยภาพรวมแล้ว ก็ต้องบอกว่าสุด สนุกสนาน ในการทำ�กิจกรรม ยอดครับ คือประสบความสำ�เร็จเป็นที่น่าพอใจ ร่วมกับน้องๆ ถึงแม้ว่ากิจกรรมหลายๆ อย่าง

พฤศจิกายน ๒๕๕๒

18 19


จะมีความเหน็ดเหนื่อยพอสมควร แต่ความสนุกสนานที่ได้ รับ ถือว่าคุ้มค่า การทำ�หน้าที่นี้ ถือเป็นประสบการณ์ที่มีค่า อย่างยิ่ง ที่ไม่สามารถหาได้ จากตำ�ราเรียน การได้รู้จักกับ น้องๆ หลายคนที่มาจากทั่วภาคเหนือ น้องๆ ทุกคน มี ความน่ารักอยู่ในตัวเอง และมีความอดทนมาก ถึงแม้ว่า น้องๆ บางคนจะอายุยังน้อย แต่ก็พยายามทำ�กิจกรรมอย่าง เต็มที่ ทำ�ให้เกิดความประทับใจมากที่สุด ที่น้องๆ ทุกคนมี ความอดทน ทำ�กิจกรรมจนถึงวันสุดท้าย ทั้งพี่และน้อง จะ เหนื่อยมากเพียงใด แต่ความสุขความสนุกสนาน และ มิตรภาพจะจดจำ�ไว้ในใจตลอดไป นายฐปนัท เฉลิมวิสุตม์กุล (น้องบอส) Rebound จากสโมสรพิษณุโลก น้องบอสได้กล่าวว่า: สำ�หรับผมนีเ่ ป็นการ อบรมครั้งที่สอง เนื่องจากครั้งแรก อบรม ที่ จังหวัดลำ�ปาง ปี 2550 หลังจากกลับ จากการเป็น YE ก็อยากจะกลับมารับการ อบรมอี ก ครั้ งในปี นี้ เนื่ อ งจากมี ค วาม ประทับใจ เพราะนอกจากการได้รับความ รู้ เกี่ยวกับความเป็นผู้นำ� ยังได้รับมิตรภาพจากเพื่อนๆ ที่ ร่วมค่ายพักแรม ทำ�ให้รู้สึกประทับใจ และคิดว่าในโอกาสต่อ ไป ถ้ามีโอกาสจะกลับมาร่วมกิจกรรมดีๆ ที่ทาง ROTARY ได้จัดขึ้นอย่าง RYLA อีกครั้ง น.ส.จิตพิชญา วิมลไชยจิต (น้องพลอย) ตำ�แหน่ง ดาวเด่นประจำ�ค่าย RYLA (จากสโมสรหางดง ) น้ อ งพลอยกล่ า วว่ า : หนู ป ระทั บใจทุ ก อย่าง ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนๆ ที่น่ารัก Staff ที่เจ๋งสุดๆ เขาเลี้ยงขนมเยอะแยะเลย และ หนูก็ชอบการทัศนศึกษามาก ทำ�ให้เจอ เพื่อนและรู้จักคนเยอะ หนูได้รับรู้ว่า การ มา RYLA เป็นอะไรที่ WOW” สนุกอย่างน่าประหลาดใจ หนู ได้ฝึกการเป็นผู้นำ� ทำ�ให้หนูมีความกล้าแสดงออกมากขึ้น ด้วยค่ะ และที่หนูชอบอีกอย่างคือ การทำ�ฝาย มันช่วยให้ หนูได้รู้สึกว่า หนูได้ช่วยเหลือคนอื่น ได้บำ�เพ็ญประโยชน์ ต่อสังคม มันทำ�ให้หนูรู้สึกว่า “หนูเป็นคนดี” 555 ขอบคุณ ทุกคนมากค่ะ ปล.รักทุกคนค่ะ ^^ อิอิ >w<” นายณั ฎ ฐ์ ภ พ เตชะเบญจรั ต น์ (น้ อ ง พรหม) ตำ�แหน่ง เดือนเด่นประจำ�ค่าย RYLA จากสโมสรเชียงใหม่ถิ่นไทยงาม น้องพรหมได้กล่าวว่า: โดยส่วนตัวแล้ว ผมมีความประทับใจ คือ การที่ได้รู้จักกับ เพือ่ น ใหม่ๆ การทีไ่ ด้มาใช้ชวี ติ อยูร่ ว่ มกัน มา ทำ�ให้เป็นการฝึกตัวเองไปในตัว อย่าง เช่น ใครทำ�ตัวเด่น ใครทำ�ตัวดัง ก็จะทำ�ให้ ในสังคมนั้นๆ ไม่ชอบเราได้ ฉะนั้นการที่ได้มาอยู่ในค่าย มา รับฟังการอบรม ในครั้งนี้นั้น จึงมีประโยชน์ต่อผมมากที เดียว แล้วผมก็คิดว่า ทุกๆ คนที่มาในค่ายครั้งนี้ คงคิด เหมือนกับผมไม่มากก็น้อย

19 18

นายภูเบศ จิตรจริง ตำ�แหน่ง ดาวเทียม ประจำ�ค่าย RYLA และ ผู้นำ�เยาวชน โรตารีดีเด่น จากสโมสรโรตารีแพร่ คุณภูเบศได้กล่าวว่า: วันหนึ่งไม่คิดว่า เด็กจนๆ คนหนึ่งจะได้รับโอกาสไปค่าย RYLA จากการสนับสนุนของสโมสรโรตา รีแพร่ โดยที่ออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมด จึง ภูมิใจมากในโควตาของโรงเรียนพิริยาลัย จังหวัดแพร่ และสละค่ายอื่นอีก 3 ค่ายที่วันตรงกัน ก้าว แรกที่เข้ามาในค่ายนี้ ก็พบกับความยิ่งใหญ่ การต้อนรับที่ อบอุ่น ของการจัดกิจกรรม ค่ายนี้ถือเป็นค่ายแห่งความทรง จำ� ที่ทำ�ให้เรารู้จักอดทน รู้จักอยู่ร่วมกับคนหมู่มาก การ ทำ�งานเป็นทีม และสาระความรู้ ประสบการณ์ที่มากมาย จากค่ายนี้ มีวิทยากร และ STAFF ที่ประทับใจ ได้รับความ อบอุ่นจากเพื่อนๆ ร่วมค่าย ที่สำ�คัญ คือ การได้รับความ ทรงจำ�ทีจ่ ะเก็บไว้ตลอดไป ผมเองก็ตอ้ งนำ�สิง่ ทีด่ ี ได้จากค่าย นีไ้ ปปรับใช้ ให้เกิดประโยชน์สงู สุด ในชีวติ ประจำ�วัน สุดท้าย นี้ ขอขอบคุณทุกภาคส่วน ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ขอบคุณ วิทยากร STAFF และเพื่อนๆ RYLA ที่น่ารักทุกคน ที่ช่วย ให้ค่ายนี้สำ�เร็จลุล่วงไปด้วยดี และพบกันในโอกาสต่อไป มี พบย่อมมีจาก มีพรากย่อมมีเจอ… น.ส.ปานทิ พ ย์ ธิ โ นชั ย (น้ อ งปาน) ตำ�แหน่ง รองดาวเด่น RYLA จาก สโมสรเชียงคำ� น้องปานกล่าวว่า: ความประทับใจที่ดิฉัน ได้ รั บ จากการเข้ า อบรมในครั้ ง นี้ คื อ มิตรภาพ เพราะว่าเยาวชนที่เข้าร่วมการ อบรม ต่างคนก็ต่างมา ไม่เคยรู้จักกัน พอได้อยู่ด้วยกัน ทำ�กิจกรรมหลายๆ อย่างด้วยกัน ก็เกิด มิตรภาพขึ้น และได้ฝึกทักษะการเป็นผู้นำ�ที่ดี ได้รู้จุดเด่น จุ ด ด้ อ ยของตนเอง และที่ สำ � คั ญ คื อได้ ป ระสบการณ์ ที่ ดี มากมาย ดิฉันได้ประโยชน์อย่างมาก ได้ความรู้เพิ่มจากการ ฟังบรรยาย จากวิทยากรบ้าง ได้จากการศึกษาเองบ้าง และ ยังนำ�ไปใช้ในอนาคตต่อไป จากการที่เราได้กล้าแสดงออก ได้ฝึกฝนการเป็นผู้นำ� และยังใช้ในชีวิตประจำ�วันได้ด้วย นาย ภควัฒน์ สมสุด (น้องขลุย่ ) ตำ�แหน่ง รองเดือนเด่นประจำ�ค่าย RYLA จาก สโมสรโรตารีศิลาอาสน์ น้องขลุ่ยได้กล่าวว่า: ได้รับความรู้ในด้าน ต่างๆ ได้พบเพื่อนใหม่ๆ และมิตรภาพที่ ดี ขอบคุณพี่ๆ STAFF ทุกครั้งที่คอยช่วย เหลือและเทคแคร์อย่างดี ได้ทำ�ในสิ่งที่ไม่ เคยทำ�มาก่อน เช่น การสร้างฝายกั้นน้ำ� และอื่นๆ อีกมากมาย ได้เรียนรู้ถึงการใช้ชีวิตในแบบของ ผู้นำ� และวิธีการเป็นผู้นำ�ที่ดี ตลอดจนการทำ�งานเป็นทีม ทำ�ให้เราสามารถนำ�ไปปรับใช้ในชีวิต สร้างเสริมควา ม สามัคคี ในหมู่คณะ เป็นค่ายที่ดีมากๆ ครับ “ RYLA สร้าง ผู้นำ�ที่ดี RYLA สร้างความกล้าแสดงออก RYLA สร้างคนดี I LOVE RYLA “

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


Behind the scene

อน.นฤชล อาภรณ์รัตน์ สโมสรโรตารี เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม

RYLA Ro สวัสดีค่ะมวลมิตรโรแทเรียนทุกท่าน สารผู้ว่าการภาคฉบับเยาวชนแลกเปลี่ยน ทุก ท่านได้อา่ นแล้ว ยังคงมีผลตอบรับทีด่ ี จากมวล มิ ต รโรแทเรี ย น ผู้ ติ ด ตามความเคลื่ อ นไหว กิจกรรมต่างๆ ภายในภาค เวลาช่างผ่านไป อย่างรวดเร็ว ผู้ว่าการภาค แววดาว ลิ้มเล็ง เลิศ ได้เดินทางไปเยี่ยมสโมสรต่างๆ ในภาค กำ�ลังจะสิน ้ สุดภายในเดือน พฤศจิกายน นี้ และ ในเดือนธันวาคม ก็จะเป็นการประชุมระหว่าง เมือง ซึ่งจะจัดกันที่จังหวัดแพร่ แต่ก่อนที่เรา จะได้พบกัน เราขอนำ�เรื่องราว การอบรมผู้นำ� เยาวชนโรตารี (RYLA ) มาฝากทุกท่านได้ ติดตามก่อนแล้วกันนะคะ ใฝ่รู้ สู้งาน คิดเป็น เป็นคำ�ขวัญของ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็น สถานทีจ่ ดั การอบรมผูน ้ �ำ เยาวชนโรตารี (RYLA) ระหว่างวันที่ 20-24 ตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา ประธานจัดงานของเรา อน.ยุทธนา นฤนาท วงศ์สกุล สโมสรโรตารีเชียงใหม่ใต้ หลายๆ ท่าน คงจะจำ�หนุ่มหล่อรูปร่างสูงโปร่งผิวขาว ที่มัก จะไปปรากฏตัวหน้าห้องประชุมในที่ต่างๆ ที่ ภาคจัดขึ้น พร้อมเปิดบู๊ท จำ�หน่ายเสื้อสีส้ม ที่ ทุกท่านสวมใส่กันทั่วภาคนั่นแหละค่ะ ก่อนจะ จัดงานนี้เราได้ร่วมประชุมกันหลายครั้งเพื่อ

พฤศจิกายน ๒๕๕๒

เตรี ย มงาน ไม่ ว่ า จะเป็ น ร้ า นอาหาร โรง พยาบาล ห้องประชุม บจ.สหพานิชเชียงใหม่ และสุดท้ายสถานที่จัดประชุม หลายท่านคงงง ทำ�ไมไปประชุมทีโ่ รงพยาบาล เหตุดว้ ย ผอ.ค่าย ผชภ.เอกวุฒิ กาวิละ ของเราป่วย เราจึงประชุม กันที่โรงพยาบาลค่ะ ส ถ า น ที่ จั ด ง า น ตั้ ง แ ต่ ท า ง เ ข้ า มหาวิ ท ยาลั ย มี ป้ า ยผ้ า ต้ อ นรั บ ขนาดใหญ่ พร้อมธงโรตารี ประดับประดาอย่างสวยงาม นำ�ทางทุกท่านอย่างชนิดไม่มีหลง ถ้าเข้าไม่ผิด ประตูนะคะ ขอขอบคุณอธิการบดี มหาวิทยาลัย แม่โจ้ รศ.ดร.เทพ พงษ์พานิช รองคณบดี รทร. รศ.อาคม กาญจนประโชติ ได้ให้ความสะดวก ในด้ า นสถานที่ คิ ดในราคาพิ เ ศษสุ ด ๆ และ อนุเคราะห์งดค่าใช้จ่ายในการทัศนศึกษาฐาน การเรียนรู้ต่างๆ และขอขอบคุณเจ้าของป้าย ผ้าต้อนรับและธงโรตารี สโมสรโรตารีอุตรดิตถ์ ค่ะ ในตอนเช้าวันที่ 20 ตุลาคม 2552 มิตร โรแทเรียน ผู้ปกครอง และเยาวชนเริ่มทยอย เข้ามาลงทะเบียน ตั้งแต่ 10.00 น.เศษ โดยมี อน.จินดา จรรญาศักดิ์ อน.ปัทมพร ทรวงแสวง ผู้ รั บ ผิ ด ชอบการรั บ ลงทะเบี ย นดู แ ล และมี น้องๆ โรตาแรคท์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ไม่น้อย

20 21


otary Youth Leadership Awards

21 20

กว่า 30 คน เป็นกำ�ลังสำ�คัญช่วยเหลือน้องๆ เมือ่ มารายงาน ตัวโดยน้องแจ้งรายชื่อ รับป้ายชื่อ รับรหัส แยกกลุ่มสี โดย แยกเป็น 7 สี เป็นกลุ่ม A และ กลุ่ม B เยาวชนทั้งหมด ที่มาลงทะเบียนจำ�นวน 283 คน แบ่งเป็น 14 กลุ่ม หลัง จากลงทะเบียนๆ อาจารย์มานพ ฝั้นคำ�อ้าย หัวหน้าทีม สันทนาการ จากสมาคมลูกเสือจามะเทวี ได้รวมเยาวชน ไปยังหน้าอาคาร โดยแยกเป็นกลุม่ สี ซึง่ เป็นการเตรียมแปล อักษร คำ�ว่า RYLA ในเบื้องต้นโดยที่เยาวชนไม่รู้ตัว ส่วน ฝ่ายประชาสัมพันธ์ และจัดทำ�หนังสือ นย.ยศวัจน์ นิธิ ปัญญาวัฒน์ รทร.สุนิพิช คง เมือง เตรียมถ่ายภาพน้องๆ เพื่อลงหนังสือทำ�เนียบ และในวันเดียวกัน ในช่วงบ่าย15.00 น. ผวภ.แวว ดาว ลิ้มเล็งเลิศ ได้เดินทางมา ทักทายน้องๆ พร้อมรับฟัง การบรรยายพิเศษพร้อมกับน้องๆ ในหัวข้อ ผู้นำ�กับศีล ธรรมและจริยธรรม โดย ท่านมหาสง่า ธีระสังวโร เจ้าอาวาส วัดผาลาด ซึง่ เป็นพระนักเทศน์ชือ่ ดังทีอ่ ายุนอ้ ยแต่มากด้วย ภูมิปัญญา ของจังหวัดเชียงใหม่ และ อ.ประสาท สุขเกษม ท่ า นให้ ธ รรมะในเชิ ง เสวนา และเน้ น การใช้ สื่ อโฆษณา ประกอบการให้ธรรมะกับเยาวชนได้คิดตาม และไม่น่าเบื่อ ถือว่าเป็นประโยชน์แก่เยาวชนเป็นอย่างมาก พลิกล็อคเล็ก น้อย เหตุด้วย ท่าน ว.วชิรเมธี แต่เดิมรับว่าจะมาบรรยาย ธรรมให้แก่น้องๆ แต่ปรากฏว่าท่านมีปัญหาสุขภาพ เส้น เสียงอักเสบ จึงเดินทางมาไม่ได้ เราจึงนิมนต์ท่าน มหาสง่า ธีระสังวโร มาให้ธรรมะแทน ซึ่งท่านก็เมตตา มาบรรยาย

ธรรมะแก่น้องๆ และในช่วงค่ำ�ได้จัดพิธีบายศรีสู่ขวัญ ตาม ประเพณีล้านนาขึ้น เพื่อต้อนรับน้องๆ จากต่างถิ่นในเขต ภาคเหนือ โดยมีคณะกรรมการ มิตรโรแทเรียน และผู้ ปกครอง ได้รว่ มผูกข้อมือเป็นการรับขวัญเยาวชน เมือ่ เสร็จ สิ้นการรับขวัญ ประธานจัดการอบรม อน.ยุทธนา นฤนาท วงศ์สกุล กล่าวต้อนรับ และแนะนำ�คณะกรรมการทั้งหมด และ ผูอ้ �ำ นวยการค่าย ผชภ.เอกวุฒิ กาวิละ ได้แจ้งข้อเตือน ใจประจำ�ค่าย ที่น้องๆต้องปฏิบัติตามกฎกติกาของค่าย ให้ น้องๆ ทราบ และนัดหมายในวันต่อไป จากนั้นจึงส่งต่อ ให้ ฝ่ายสันทนาการ และสิน ้ สุดด้วยเพลงถวายพระพร และสวด มนต์ ก่อนนอน เป็นอันสิน ้ สุดวันแรกของการเข้าค่ายอบรม ผู้นำ�เยาวชนโรตารี พิธีเปิดอย่างเป็นทางการเริ่มขึ้น เมื่อเวลา 10.00 น.ของวันรุ่งขึ้น 21 ต.ค 52 พิธีกรดำ�เนินรายการ อน.นฤ ชล อาภรณ์รัตน์ และ รทร.สุนิพิช คงเมือง เยาวชนคนเก่ง ของเราเอง ในพิธีเปิด เรามี รทร.จีรนันท์ จันต๊ะนาเขตร์ เป็นผู้ตกแต่งจัดทำ�เวทีและควบคุมเวที เมื่อพิธีกรเริ่มกล่าว และสิ้นสุดลงด้วยการปรบมือต้อนรับเยาวชนจากผู้เข้า อบรม เสียงเพลงมาร์ชโรตารีสัมพันธ์ดังกระหึ่มขึ้น ขบวน เชิญธงชาติ ธงโรตารี แมชคอส และ ป้ายสโมสรต่างๆ ใน ภาคไม่น้อยกว่า 42 สโมสร ได้เดินขบวนเข้ามาอย่างคึกคัก มีสีสันสวยงาม โดยตัวแทนเชิญธง เป็นทีมโรตาแรคท์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และตัวแทนเยาวชนส่วนหนึ่ง เมื่อเพลง มาร์ชจบลง เราได้เชิญ รทร.รศ.อาคม กาญจนประโชติ รอง

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


ข้างหลังภาพ

คณบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวต้อนรับ และเชิญ ประธาน จัดงาน กล่าววัตถุประสงค์ โดย ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ได้กล่าวเปิดงาน และก่อนจะเปิดอย่างเป็นทางการ เราได้ เชิญ อผภ.ดร.ศุภวัตร ภูวกุล และ รทร.รศ.อาคม กาญจน ประโชติ ร่วมเปิด เสียงเพลงมหาฤกษ์ดังกระหึ่มขึ้น ทั้ง 3 ท่าน กดทัชบอล เปิดงานอย่างเป็นทางการ ในขณะเดียวกัน เสียงพุเปิดงานดังขึ้นทั้งสองฝั่งด้านล่างเวที โดยมี ผวล. นพ.วีระชัย จำ�เริญดารารัศมี ผวล.ชำ�นาญ จันทร์เรือง อน.ยุทธนา นฤนาทวงศ์สกุล ผชภ.เอกวุฒิ กาวิละ เป็นสักขี พยานบนเวที ในพิธีเปิดมีมิตรโรแทเรียน ร่วมงานหลายท่าน เท่าที่เห็นจะมี อน.ทพญ.เรวดี ปีตะนีละผลิน อน.สุภาพร เนตรงาม อน.ศิริลักษณ์ ไชยวงค์ อน.มรกต สุกโชติรัตน์ อน.วีระศักดิ์ วารีย์ และ อดีตนายกอีก 1 ท่าน จากสโมสร อุตรดิตถ์ ร่วมสังเกตการณ์ มิตรโรแทเรียนจากสโมสรเวียง โกศัย และคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ ของเรา อน.ชนะ เอก อิสรกุล นย.นิตยา ภู่ยงยุทธ อน.สุมาลี กัญจินะ อน.ประยูร ศิรินภาพันธ์ นย.ดรัณ สิรีเลิศ อน.สุวรรณี ศิรินภาพันธ์ นยล.พต.อำ�นาจ เลี่ยวปรีชา นย.ยศวัศน์ นิธิปัญญาวัฒน์ อน.อารยา วิโย อน.ปัทมพร ทรวงแสวง อน.จินดา จรรญา ศักดิ์ รทร.กวิตา ตันประเสริฐ และผู้ปกครองอีกหลายท่าน แล้ ว จึ ง ร้ อ งเพลงต้ อ นรั บ ตามระเบี ย บของเรา ได้ เ วลา วิทยากรพิเศษ ท่านแรกของเราในวันนี้ ท่านได้มาให้ความ รู้แก่น้องๆ ในเรื่อง ของโรตารีคืออะไร ทุกท่านรู้จักดี อผภ. ดร.ศุภวัตร ภูวกุล เด็กๆ ให้ความสนใจมาก ตั้งใจฟังอย่างดี เพราะทุกเรือ่ งทีท่ า่ นพูด เป็นเรือ่ งทีต่ อ้ งคอยจดจำ�ไว้ มิฉะนัน ้ เดี๋ยวจะตอบไม่ได้ เพราะ ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ได้ฝาก ไว้ก่อนแล้วว่า วันสุดท้ายจะมาถามพร้อมรางวัลพิเศษเป็น เงินสดอีก 20 รางวัล สันทนาการคั่น แล้วจึงเชิญ ผู้บรรยาย ท่านที่ 2 ในวันนี้ คุณอริย์ธัช เรืองกิตต์โชติ เป็นผู้ที่มีความ สามารถในการถ่ายทอดความรู้ในเรื่องการสร้างตนให้เป็น ผู้นำ�แก่องค์กรใหญ่ต่างๆ ระดับประเทศ โดยในวันนี้ ผชภ. เอกวุฒิ ซึ่งเป็นผู้เรียนเชิญ ได้แนะนำ� ท่านได้บรรยายใน หัวข้อ “การสร้างตนให้เป็นผู้นำ�และการพูดในที่สาธารณะ” สิ่งที่ท่านเริ่มพูดไม่ใช่เรื่องการเป็นผู้นำ� แต่ท่านได้วกไปใน เรือ่ ง การดูดวง ด้วยหมายเลข ต่างๆ เช่น เลขบัตรประชาชน เลขโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น โดยน้องๆ ให้ความสนใจอย่าง มาก จนในที่สุด ก็เข้าเรื่องของการสร้างตนให้เป็นผู้นำ�จนได้ โดยใช้ภาพเป็นสื่อ ในการบรรยาย และเน้นในเรื่องทัศนคติ วิธีคิด ในเชิงบวก และเรื่องต่างๆ มากมาย น้องๆ ได้รับ ความรู้กลับไปบ้านไม่ใช่น้อย ถือเป็นประสบการณ์ที่ดีมากๆ ในช่วงบ่ายจนถึงเย็น เป็นเรื่องการเตรียมความพร้อมในการ ป้องกันอัคคีภัย โดยมีทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ โดย วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ จากศูนย์พิงค์นคร การรับความรู้ในเชิง ทฤษฎี หลังอาหารกลางวัน เด็กๆ เริ่มง่วง ตัวชักไม่ตรงเสีย แล้ว วิทยากรจึงต้องใช้กลยุทธ์ ให้น้องๆ ฟังอย่างตั้งใจ เอ้า ยืดเส้นยืดสาย และตั้งใจฟังกันหน่อย เพราะวิทยากรตั้งใจให้ น้องๆ ได้รู้จักวิธีป้องกันตนเอง เมื่อมีภัยมาถึง จะได้สามารถ ช่วยเหลือตนเองและคนรอบข้างได้อย่างถูกวิธี ท่านวิทยากร นำ�ภาพ เหตุการณ์ไฟไหม้ แก๊สระเบิดในเหตุการณ์ครั้ง

พฤศจิกายน ๒๕๕๒

สำ�คัญๆ มาให้เด็กๆ ได้เห็นกัน และในที่สุด ทฤษฎีจบลง ตอนนี้ถึงการภาคปฏิบัติ สัมผัสของจริง วิทยากร ใช้เสียง เอฟเฟค ดังบึ้มๆๆๆๆ จนเยาวชนตาตื่น และตื่นเต้นไม่น้อย ทุกๆ คน ได้ทดสอบเล่นกับแก๊ส เล่นกับไฟ อย่างใกล้ชิด สิ่ง ที่เราคิดว่าน่ากลัวมากๆ เราก็สามารถสัมผัส กับมัน และ เรียนรู้วิธีที่จะจัดการ กับมันได้ในเบื้องต้น ถ้าเรามีสติ และ รู้วิธีที่วิทยากรได้ถ่ายทอด จนสุดท้ายมีตื่นเต้น ถึงขั้นการ ระเบิดรถยนต์ทั้งคัน ตื่นเต้นๆๆๆ มากมากค่ะ ยกนิ้วหัวแม่ โป้ง 2 นิ้วเลยค่ะผู้ชม เด็กๆ สนุกมากๆ กับกิจกรรมป้องกัน อัคคีภัย และตื่นเต้นมากๆ ไม่เชื่อถามน้องพลอย น้องเบื้อง น้องโมนิก้า ดูซิคะ ช่วงค่ำ� เป็นการแนะนำ�การสร้างฝาย โดย อน.ชนะ เอกอิสรกุล และ รทร.สุนิพิฐ คงเมือง ผู้แนะนำ�เป็นคนใน ครอบครัวเดียวกัน คุณแม่น้องไนซ์เอง นย.นิตยา ภู่ยงยุทธ ผูบ้ รรยายทัง้ สอง ไม่ได้แนะนำ�ตรงๆ ว่าวิธกี ารสร้างฝายสร้าง อย่างไร แต่ท่านให้น้องๆ จินตนาการการสร้างฝาย และ ปลูกจิตสำ�นึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม และช่วยกันสร้างโลก นีใ้ ห้นา่ อยู่ ด้วยการไม่ท�ำ ลายสิง่ แวดล้อมและช่วยกันประหยัด พลังงาน จริงๆ น้องไนซ์ได้เตรียมงานอย่างดี เพื่อให้น้องๆ ได้เห็นกิจกรรมสร้ างฝาย แต่ปรากฏว่ามีอุปสรรคจนได้ เครื่องแอลซีดี ของห้องประชุม หลอดไฟหมดอายุพอดี ฉาย ไม่ออก น้องไนซ์เลยอดโชว์ภาพกิจกรรม เลยต้องเล่นกัน สดๆ ให้น้องวาดมโนภาพแทนค่ะ จากนั้นทีมสันทนาการ ได้ จัดกิจกรรม ต้นกล้าแห่งรัก ร้อยดวงใจถวายในหลวง ให้ น้องๆ ได้เขียนถวายพระพร ลงบนกระดาษสา รูปหัวใจ ซึ่ง พี่ๆ โรตาแรคท์ ได้จัดเตรียมไว้ก่อน โดยทำ�เป็นต้นกล้า โดย ให้น้องๆ เขียนถวายพระพร นำ�ไปแขวนบนต้นกล้าแห่งรัก กลุ่มละ ต้น และมีตัวแทนกลุ่มละ 2 คนชายหญิง นำ�ต้นกล้า แห่งรัก ถวายพระองค์ต่อหน้าพระบรมฉายารักษ์ แล้วจึงให้ เตรียมแผนในการทำ�กิจกลุ่มในวันต่อไป ผอ.ค่าย นัดหมาย วันต่อไป ก่อนเข้านอน ร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี และ สวดมนต์ก่อนนอน วันที่ 22-23 ตุลาคม 2552 เป็นวันที่เยาวชนจะได้ เดินทางออกนอกสถานที่ เพือ่ ไปทำ�กิจกรรมบำ�เพ็ญประโยชน์ และการทัศนศึกษา โดยในวันที่ 22 มีรถทหารจำ�นวน 7 คัน รับและส่งเยาวชนไปยังสถานทีส่ ร้างฝาย โดยแบ่งเป็น 2 กลุม่ กลุ่มที่ 1 ไปทำ�กิจกรรมสร้างฝาย และอีกกลุ่ม ไปสวนสัตว์ เชียงใหม่ ชมหมีแพนด้า (น้องหลินปิง) และ อะควอเลี่ยม ได้รับความอนุเคราะห์รถทหารจากกองพันสัตว์ต่าง และ ทหารจำ�นวน 30 นาย คอยดูแลความปลอดภัย และช่วย สนั บ สนุ นในการสร้ า งฝาย ควบคุ ม และบั ญ ชาการ โดย นยล.พ.ต.อำ�นาจ เลี่ยวปรีชา และมี รทร.สุนิพิช คงเมือง เยาวชนคนสร้างฝายของเรา อน.ประยูร ศิรินภาพันธ์ คอย ดูแลและกำ�กับในการสร้างฝาย พี่ๆ โรตาแรคท์ดูแลเยาวชน ใกล้ชิด ส่วน อน.ยุทธนา นฤนาทวงศ์สกุล และ อน.อดิสร เสกสรรวิริยะ ได้แบ่งกันดูแลเยาวชนในการไปชมสวนสัตว์ และในตอนค่ำ� เราได้มีวิทยากรพิเศษท่านสุดท้าย ได้แก่ รศ.ดร.อานัฐ ตันโช เป็นผู้เชี่ยวชาญของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ด้านทรัพยากรดินและสิง่ แวดล้อม มีผลงานวิจยั มากมาย และ

23 22


ที่โด่งดังระดับประเทศ คือเรื่อง ไส้เดือน (ซึ่งกำ�ลังจะออก รายการทีวี กบนอกกะลา ตอนตามหาไส้เดือน) ท่านได้ บรรยายเรื่อง “ปรับแนวคิด ในยุคเศรษฐกิจพอเพียง “ ท่าน ได้ปลูกฝังแนวคิดให้น้องๆ ถึงความพอเพียง ความประหยัด ความจำ�เป็นในชีวิต ละทิ้งความฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย ตัดสิ่งไม่ จำ�เป็นในชีวิตออกไป ให้เหลือไว้เพียงสิ่งที่จำ�เป็นที่สุดในชีวิต ไม่ใช่เพราะตามเพื่อน หรือเพื่อตามกระแส การปฏิบัติตนใน วันนี้ ส่งผลถึงวันข้างหน้าอย่างแน่นอน แล้วแต่น้องๆ จะ เลือก ท่านได้ให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์แก่เยาวชนมากมาย ขอขอบคุณท่านเป็นอย่างสูงอีกครั้ง และในวันที่ 23 ตุลาคม 2552 รถพ่วงและรถหกล้อ ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ รับส่งเยาวชนเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่ง ไปทัศนศึกษา ทีฐ่ านการเรียนรูร้ ะบบนิเวศวิทยาป่าธรรมชาติ บ้านโปง เยาวชนได้เรียนรู้พันธุ์พืชนานาชนิดที่หายาก ได้ จากฐานนี้ ส่วนฐานการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัย มีให้ได้เรียน รู้อีก 5 ฐาน ได้แก่ ฐานการเรียนรู้การประมงและทรัพยากร ทางน้ำ� ฐานการเรียนรู้การผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนจากขยะ อินทรีย์ ฐานการเรียนรู้การผลิตพืชโฮโดรโพนิคส์(ไม่ใช้ดิน) ฐานการเรียนรู้การผลิตเห็ดเศรษฐกิจ ฐานการผลิตผักปลอด สารพิ ษ และในช่ ว งค่ำ � ของวั น ที่ 22-23 เป็ น กิ จ กรรม สันทนาการ และการประกวด ดาวเด่น เดือนแจ่ม และ ดาวเทียม พิธีกรภาคบันเทิงเป็น 2 หนุ่มสองมุม ผชภ.เอก วุฒิ กาวิละ และ ผชภ.บรรจบ สุนทรสวัสดิ์ เพราะทั้งคู่มีมุก แพรวพราวให้เด็กๆ ได้ขำ�ๆ กันค่ะ คืนสุดท้ายนี้เป็นรอบ ตัดสิน เราจัดอาหารพิเศษโดยจัดเป็นขันโตก การลงคะแนน ให้ดาวและเดือน เราได้ให้น้องๆ เป็นคนลงคะแนน 1 คนต่อ 1 เสียง ผลการตัดสินปรากฏว่า ดาวเด่นประจำ�ค่าย RYLA ได้แก่น้องพลอย บุตรสาวคนสวยของ พ.ต.อ.ปรีชา วิมลไชย จิต(รองผู้บังคับการ จ.ลำ�พูน) สโมสรหางดง ส่วน เดือนแจ่ม ประจำ�ค่าย RYLA ได้แก่ น้องพรหม บุตรชายของ รทร.วลัย พรรณ เตชะเบญจรัตน์ และยังมีอีก 1 รางวัล คือรางวัล ดาวเทียม ได้แก่ นายภูเบศ จิตจริง จากสโมสรแพร่ และมี การแสดงของทุกกลุ่มในค่ำ�คืนนี้สลับการคัดเลือกดาวและ เดือน โดยกลุ่มสุดท้ายของการแสดง เป็นการแสดงจากใจ จริง เป็นที่เฮฮาของ พี่ๆ โรตาแรคท์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่ง ทำ�หน้าทีเ่ ป็นพีเ่ ลีย้ งดูแลน้องๆ ตัง้ แต่วน ั แรกจนถึงวันสุดท้าย และในค่�ำ คืนแห่งความสุขนี้ เราได้อวยพรวันเกิด ให้แก่นอ้ งๆ ที่เกิดในเดือน ตุลาคม มีถึง 32 คน โดยสปอนเซอร์รายใหญ่ ได้แก่ ร้านผึ้งน้อย ขอขอบคุณ รทร.รัตนา แห่งสโมสร เชียงใหม่ เจ้าของร้านผึ้งน้อย ผู้ดำ�เนินรายการช่วงอวยพร วันเกิด เป็นของ อน.อดิสร เสกสรรวิริยะ ฝ่ายจัดสถานที่ เล่นเอาน้องๆ ตกใจเพราะโดนเรียกชื่อขึ้นมาเพื่อทำ�โทษ วิธี ทำ�โทษก็ให้ออกมาเต้นค่ะ แต่น้องๆ เต้นไม่ถูกใจกรรมการ จึงได้เรียนเชิญ ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ เต้นเป็นแม่แบบ ให้ดูก่อน ด้วยเพลงสุดฮ็อท และให้ตัดขนมเค๊กอันเบ้อเริ่ม ทานได้สำ�หรับ 300 คนเลยทีเดียว สวยงามมากๆ และ กิจกรรมสุดท้าย อธิษฐานจิต ปล่อยโคมลอย 150 ดวงใจถวาย ในหลวง เป็นอันสิ้นสุดกิจกรรมในคืนสุดท้าย จนไม่อยาก

22 23

หลับนอนกัน เล่นบูม บูม ตลอดคืน และในการอบรมครั้งนี้ มีหนุ่มสาว Rebound ไม่น้อยกว่า 9 คน ตั้งใจจะมาเป็นพี่ เลี้ยงให้แก่ เยาวชน Inbound แต่ YE inbound มีเข้าเพียง 2 คน เราจึงได้ให้เวลาน้องๆ แนะนำ�ประสบการณ์ดีๆ ให้แก่ น้องๆ ว่าที่ YE ที่กำ�ลังจะเดินทางไปเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน ด้วย ถือว่าเป็นพี่ๆ ที่น่ารักและมีน้ำ�ใจเสียสละมากๆ ขอ ยกย่อง เยี่ยมมากๆ ค่ะ ในวันรุ่งขึ้นเข้าสู่พิธีปิดอย่างเป็นทางการ 24 ต.ค 52 ก่อนมอบวุฒบิ ตั รแก่ผูเ้ ข้าอบรมซึง่ มีจ�ำ นวน 276 คน ส่วน หนึ่งกลับบ้านไปก่อน ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ได้นำ�คำ�ถาม เกี่ยวกับโรตารี 20 คำ�ถาม รางวัลละ 500 บาท และคำ�ถาม แต่ละอย่างก็ค่อนข้างตอบยากเหมือนกัน ขนาดโรแทเรียน ยังตอบไม่ถูกก็มี เรียกว่าหินเอาการเลยค่ะ ได้คุยกับท่าน บอ.กอ.วาณิช โยธาวุธ ยังได้รับโทรศัพท์ช่วงตอบคำ�ถามด้วย แหละ ขนาด บอ.กอ.เรายังตอบไม่ถูกเหมือนกัน แหมช่าง สรรหามาถามจริงๆ แต่ก็เป็นที่สนุกสนาน เพราะเด็กๆ ก็ แข่งกันตอบสุดฤทธิ์ ได้สตางค์ไปแบ่งกันซื้อขนมเป็นทิวแถว ใครไม่ได้ไม่ต้องเสียใจ อย่างน้อยก็มีของที่ระลึกเป็นเทียน หอม พร้อมวุฒิบัตร พกความรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ เพื่อน ใหม่ๆ และมิตรภาพที่ไม่สามารถซื้อได้ด้วยเงินกลับไปบ้าน อีกเพรียบ จริงไหมคะน้องๆ ชีวิตคนเราไม่ได้โรยด้วยกลีบ กุหลาบ ปัญหาอุปสรรคที่เข้ามา ในช่วงการอบรมผู้นำ� เยาวชน ถือเป็นบททดสอบความอดทน ของผูน ้ �ำ ทีต่ อ้ งเจอะ เจอเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ ปัญหามีไว้ให้แก้ ไม่ได้มีไว้ให้หนี ก็ต้อง ขอยกย่องและปรบมือให้ ประธานจัดงานของเรา อน.ยุทธนา นฤนาทวงศ์สกุล และผู้นำ�ด้านการทหาร เคียงบ่าเคียงไหล่ กั บ ประธานของเราตั้ ง แต่ เ ช้ า จนดึ ก ตลอด 5 วั น นยล.พ.ต.อำ�นาจ เลี่ยวปรีชา สโมสรโรตารีล้านนาเชียงใหม่ และคณะกรรมการทุ ก ๆ ฝ่ า ยที่ ไ ด้ ช่ ว ยเหลื อ สนั บ สนุ น โครงการจัดการอบรมผู้นำ�เยาวชนโรตารี จนสำ�เร็จลุล่วงไป ได้ด้วยดี และที่จะลืมขอบคุณและปรบมือให้ดังๆๆ ก็คือ นาย อนุพงศ์ พลีสมุทร (น้องตั้ม) นายกสโมสรโรตาแรคท์ และ สมาชิกสโมสรโรตาแรคท์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่เหนื่อยสุดๆ กับการเป็นพี่เลี้ยง และดูแลน้องๆ อย่างดีเลิศ ขอบคุณมากๆ ค่ะ… และสุดท้าย ขอขอบคุณ ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ผู้ว่าการภาคคนสวยและใจดีของเรา เป็นสปอนเซอร์ทั้งหมด ค่าเข้าชมหมีแพนด้า (น้องหลินปิง ) และอะควอเรี่ยม ตลอด จนของขวัญ ของที่ระลึก และรางวัลเป็นเงินสด 20 รางวัล ตลอดจนของขวัญพิเศษ สำ�หรับผู้นำ�เยาวชนโรตารีดีเด่น ได้แก่ นายภูเบศ จิตจริง จากสโมสรแพร่ ขอแสดงความยินดี ด้วยนะคะ และหวังว่าน้องๆ ผู้ผ่านการอบรม จะนำ�ความรู้ และประสบการณ์จากการเข้าค่ายในครั้งนี้นำ�ไปประยุกต์ใช้ ให้เกิดประโยชน์สงู สุด และเป็นผูน ้ �ำ เยาวชนคนดีของประเทศ ชาติต่อไป พบกันใหม่ในงานสัมมนา Intercity ที่จังหวัด แพร่…สวัสดีค่ะ

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


At a glance... Argentina’s first alumni association comes of age By Dan Nixon Rotary International News -- 27 October 2009

อน.ศุภรี ฉัตรกันยารัตน์ สโมสรโรตารี เชียงใหม่เหนือ

Guillermo Schaab, of the Rotary Club of Mar del Plata, Buenos Aires, Argentina; Fedra Caron; and Guillermo Salas with the symbolic check representing the District 4920 Foundation alumni association’s $1,000 contribution to Rotary’s challenge for polio eradication. Photo courtesy of Guillermo Salas

The District 4920 Rotary Foundation Alumni Association has rapidly emerged as an energetic, proactive member of the family of Rotary in Argentina. Formed in January 2008, it is the first Foundation alumni group to be established in that country. “The association is doing an outstanding service to our district,” says Past District Governor Juan Pedro Torroba, a member of the group and former Rotary Foundation alumni coordinator for the region. “We have our bulletin, ConEXiones ; raise money for polio eradication; and assist the district Foundation chair with every district and club Foundation program that requests our attention.” The 76-member group, which meets monthly online, raised US$1,000 for Rotary’s US$200 Million Challenge by selling stickers promoting the eradication of polio. It also provides support to the district’s Rotary clubs by • Helping to select and orient

พฤศจิกายน ๒๕๕๒

Argentine Group Study Exchange team members and planning activities for visiting teams from other countries • Participating in club service projects • Encouraging association members to request space in their sponsor Rotary club’s bulletin and offering to collaborate on service efforts • Maintaining a catalog of club service projects to help promote shared efforts among clubs within and outside the district • Providing district officers with a list of successful club fundraisers that can be implemented by other clubs “We aspire to be authorized spokespersons in order to enhance the public image of Rotary,” wrote Guillermo Salas, founding president of the association, in the first issue of ConEXiones . “We are aware of our capacity as global ambassadors for peace … We see the association as a vehicle of unity, reconnection, and selfless goodwill.”

24 25


สมาคมศิษย์เก่ามูลนิธิโรตารีของอาร์เจนตินา เจริญเติบโตเต็มที่แล้ว

25 24

สมาคมศิษย์เก่ามูลนิธิโรตารีของภาค 4920 ได้ เติ บ โตอย่ า งรวดเร็ ว ด้ ว ยครอบครั ว ของโรตารี ใ น อาร์เจนตินาที่เปี่ยมด้วยพลังที่ล้นเหลือ และขยันขัน แข็ง จากการเริ่มจัดตั้งในปี 2008 สมาคมแห่งนี้ได้ เป็ น สมาคมศิ ษ ย์ เ ก่ า มู ล นิ ธิ แ ห่ ง แรกที่ ถู ก ก่ อ ตั้ ง ใน ประเทศนี้ อผภ.ฮวน เปโดร ตอโรบา ซึ่งเป็นสมาชิกของ กลุ่มผู้ประสานงานเกี่ยวกับศษย์เก่ามูลนิธิในภูมิภาคนี้ กล่าวว่า “สมาคม(ศิษย์เก่ามูลนิธิโรตารีของภาค 4920) กำ�ลังทำ�กิจกรรมเกี่ยวกับการให้บริการที่โดดเด่นแก่ ภาคของเราเรามีนิตยสารของเราเองคือ คอนเอ็กซโอ เนส (ConEXiones) เรามีการระดมทุนสำ�หรับการกำ�จัด โปลิโอ และช่วยเหลือประธานกรรมการมูลนิธิของภาค ในทุกๆโครงการที่ร้องขอมายังเรา” สมาชิกทั้ง 76 คนมีการประชุมออนไลน์กัน เป็นประจำ�ทุกๆเดือน ระดมทุน 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำ�หรับโครงการรับคำ�ท้า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ (เพื่อ กำ�จัดโปลิโอกับมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์)ด้วยการ ขายสติกเกอร์รณรงค์กำ�จัดโปลิโอ นอกจากนั้นยังช่วย เหลือสโมสรสรต่างๆในภาคโดย • ช่วยในการคัดเลือกและปฐมนิเทศสมาชิกกลุม่ ศึกษาแลกเปลี่ยน(GSE) และวางแผนในการต้อนรับ กลุ่มศึกษาแลกเปลี่ยนจากต่างประเทศที่จะมาเยือน • มีส่วนร่วมในโครงการบำ�เพ็ญประโยชน์ของ สโมสร • ชักชวนให้สมาชิกของสมาคมขอพื้นที่ในสาร สโมสรและเสนอความร่วมือในการให้บริการ • คงไว้ซึง่ รายการของโครงการบำ�เพ็ญประโยชน์ ของสโมสรเพื่ อ ช่ ว ยเหลื อในการมี ส่ ว นร่ ว มระหว่ า ง สโมสรต่างๆทั้งในและนอกภาคของตนเอง • ช่วยเจ้าหน้าที่ภาค ด้วยบัญชีรายชื่อสมาชิก สโมสรที่ประสพความสำ�เร็จ ในการระดมทุนซึ่งจะ สามารถนำ�ไปปฏิบัติได้ในสโมสรอื่น กุยเลอโม ซาลาส นายกก่อตัง้ สมาคมฯได้เขียน ไว้ในนิตยสารคอนเอ็กซโอเนส (ConEXiones) ฉบับ ปฐมฤกษ์ ว่า “เรามีแรงบันดาลใจที่จะเป็นโฆษกอย่าง เป็ น ทางการ ในการสร้ า งภาพลั ก ษณ์ ข องโรตารี สู่ สาธารณะ เราให้ความสำ�คัญต่อบทบาทของเราในฐานะ ทูตสันถวไมตรีของโลกเพื่อสันติภาพ เรามองบทบาท ของสมาคมฯในฐานะ พาหนะของความเป็นเอกภาพ

การกลับมาคืนสูเ่ หย้า และความปรารถนาดีทีป่ ราศจาก ความเห็นแก่ตัว” ศิษย์เก่ามูลนิธโิ รตารี หมายถึงผูท้ ีเ่ คยได้รบั ทุน จากมูลนิธิโรตารี ซึ่งเป็นประเภทที่ต่างจากศิษย์เก่า โรตารีในโปรแกรมอื่นของโรตารีสากล ศิษย์เก่ามูลนิธิ โรตารีมาจากผู้ที่ได้รับทุนเต็ม หรือบางส่วน มีดังนี้ 1) ทุ น การศึ ก ษาฑู ต สั นุ ถ วไมตรี ( Ambassadorial Scholarships) เป็นการศึกษาด้านความแต่กต่างด้าน วัฒนธรรมเระหว่างเชื้อชาติ อันนำ�มาซึ่งความเข้าใจ พื้นฐาน และได้เอื้อถึงการทำ�งานด้านการให้ความช่วย ระหว่างมวลมนุษยชาติ 2) ทุนกลุ่มศึกษาแลกเปลี่ยน (Group Study Exchange) เพื่อเพิ่มความเข้าใจระหว่าง ประเทศ และเสริมสร้างความรู้ด้านอาชีพให้ผู้นำ�ที่ มีอายุระหว่าง 25-40 ปี ให้ตระหนักถึงการบำ�เพ็ญ ประโยชน์ผ่านงานอาชีพ และซึ่งเริ่มขึ้นในปี 3) ทุน โรตารีสนับสนุนอาจารย์มหาวิทยาลัย (Rotary Grants for University Teachers) เพื่อให้มีการพัฒนาด้านการ ศึกษาอันเป็นพื้นฐานสำ�คัญในการพัฒนาประเทศ โดย เฉพาะกลุม่ ประเทศกำ�ลังพัฒนา 4)ทุนการศึกษาในโครง การศึ ก ษสั น ติ ภ าพและความขั ด แย้ ง (Foundation’s peace and conflict studies programs) ซึ่งมีศูนย์การ ศึกษาอยู่ทั้งหมด 6 แห่งทั่วโลก ซึ่งแบ่งการศึกษาใน ระดับปริญญาโท และหลักสูตรประกาศนียบัตร สำ�หรับ สาขาวิขาชีพ ซึ่งเป็นการศึกษาความขัดแย้งที่อาจเกิด ขึน ้ ในทุกระดับในหลายด้านทีเ่ กีย่ วข้องกับความขัดแย้ง 5) อาสาสมัครโรตารี (Rotary Volunteers) เป็นผู้ที่อาสา เข้าร่วมในโครงการ 3 H – (Health, Hunger and Humanity Grants) โดยจะเห็นว่าทุกกลุ่มเน้นเรื่องการ สร้างความเข้าใจระหว่างเชื้อชาติเป็นสำ�คัญ ในประเทศไทยได้มีการริเริ่มเพื่อก่อตั้งสมาคม ศิษย์เก่ามูลนิธิโรตารีประเทศไทย โดยคาดว่าจะร่วมกัน ทั้งสี่ภาค ซึ่งได้มีการประชุมหารือกันเมื่อต้นปี 2009 ที่ ผ่านมา สำ�หรับภาค 3360 มีประธานฯ และคณะ อนุกรรมการฝ่ายมูลนิธิศิษย์เก่าโรตารี เป็นผู้ดำ�เนิน การติดตามรวบรวมศิษย์เก่า เพื่อประสานสร้างความ ร่วมมือและการทำ�งานให้มูลนิธิโรตารี ท่านสามารถหารายละเอีบดเพิม่ เติมเรือ่ งทุนและศิษย์เก่ามูลนิธฯิ ได้ที่เว็บไซต์โรตารี หัวข้อ The Rotary Foundation./

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


บ้านเลขที่ 3360 R.I.

อน.ดร.บุษบง จำ�เริญดารารัศมี สโมสรโรตารี เชียงใหม่ ถิ่นไทยงาม

พฤศจิกายน ๒๕๕๒

26 27


มูลนิธิโรตารี

ของ โรตารีสากล

คือ องค์กรไม่แสวงหากำ�ไร มีภารกิจในการ ให้โรแทเรียนมีโอกาสสร้างสันติภาพ ความปรารถนาดี และความเข้าใจดีต่อกัน ในโลก โดยการปรับปรุงเรื่องสุขภาพ สนับสนุนการศึกษา และ การบรรเทา ความยากไร้

“ประหนึ่งโลกหมุนเร็วกว่าที่เคยเป็น” เพิ่งจะส่ง ต้นฉบับได้ไม่นานก็ครบกำ�หนดส่งฉบับถัดไปอีกแล้ว เห็น ทีจะเป็นความรู้สึกโดยรวมของนักเขียนสมัครเล่นประจำ� คอลัมน์ต่างๆ ... เดื อ นพฤศจิ ก ายนเป็ น เดื อ นแห่ ง มู ล นิ ธิ โ รตารี (มูลนิธิโรตารีของโรตารีสากล คือ องค์กรไม่แสวงหากำ�ไร มีภารกิจในการให้โรแทเรียนมีโอกาสสร้างสันติภาพ ความ ปรารถนาดี และความเข้ าใจดี ต่ อ กั นในโลก โดยการ ปรับปรุงเรือ่ งสุขภาพ สนับสนุนการศึกษา และการบรรเทา ความยากไร้) พวกเราทราบกันดีว่ามูลนิธิโรตารีเป็นกระ ดูกสันหลังของโรตารีสากล เกิดหลังโรตารีสากลเล็กน้อย จะมีอายุครบ 100 ปี ในปี 2017 เงินของมูลนิธิมาจากการ บริจาคของโรแทเรียนและใช้เงินผ่านสโมสรโรตารีที่มีอยู่ ทั่วโลก

27 26

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


บ้านเลขที่ 3360 R.I.

ในปี 2553-4 เป็นต้นไปจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในเรื่องการ ขอใช้เงินจากมูลนิธิโรตารี เรียกง่ายๆว่า คนที่ไม่เคยเข้าใจเรื่องมูลนิธิโรตา รีเลย จะได้เวลายกยอดมาทำ�ความเข้าใจในรูปแบบใหม่พอดี ไม่ต้องสับสน ว่าเปลี่ยนไปอย่างไรเพราะไม่รู้ของเดิมอยู่แล้ว “ก็ดีไปอย่าง” คณะกรรมการ บริหารภาค 3360 กำ�ลังช่วยกันจัดการให้ทุกอย่างลงตัว เมื่อเรียบร้อยแล้ว อน.อนันต์ เหล่าธรรมทัศน์จะรวบรวม “คนดีศรีอยุธยา” มาศึกษา ทำ�ความ เข้าใจ และถ่ายทอดให้โรแทเรียนในภาคให้มากที่สุดเท่าที่จะทำ�ได้ ปีโรตารี 2010-11 ภาค 3360 ซึ่งเป็นภาคนำ�ร่องของ Future Vision Plan (FVP) จะได้รับมอบอำ�นาจจาก The Rotary Foundation (TRF) ให้ บริหารจัดการเรื่องราวของมูลนิธิเอง โดยที่ภาคจะต้องปรับคุณภาพของ ตนเองให้มีคุณสมบัติพื้นฐานตรงกับข้อกำ�หนดของ TRF ให้ได้เสียก่อน ซึ่ง คณะกรรมการได้เตรียมไว้พร้อมแล้ว ผวล.นพ.วีระชัย อน.สุรศักดิ์ (ประธาน มูลนิธิ และ อน.ดร.บุษบง (DGSC) ก็ซือ้ ตัว๋ พร้อมทีจ่ ะเดินทางไปรับการอบรม ที่ Sandiago แล้ว หลังจากนั้นภาค 3360 จะเซ็น MOU กับ TRF และจึงจะ เริ่มบริหารมูลนิธิในรูปแบบใหม่ สิ่งที่เปลี่ยนแปลงใหม่สำ�หรับทุกสโมสรในภาค 3360 คือ สโมสรจะมี สิทธิขอรับการสนับสนุนจากมูลนิธิต่อเมื่อ มีคุณสมบัติพื้นฐานครบถ้วนและ ต้องทำ� MOU กับภาค 3360 เสียก่อนเช่นเดียวกับที่ภาคต้องทำ� MOU กับ

พฤศจิกายน ๒๕๕๒

28 29


29 28

TRF สโมสรจะมี คุ ณ สมบั ติ พื้ น ฐานครบถ้ ว นได้ อย่างไร? เป็นเรื่องที่คณะกรรมการบริหารภาคได้ ร่างไว้แล้ว รอการพิจารณาให้รอบคอบตามระบบ The Four Way Test เมื่อพร้อมจะเริ่มทำ�ความ เข้าใจกับทุกๆสโมสร และส่งเสริมให้ทุกสโมสรปรับ ตนเองให้มีคุณสมบัติครบถ้วน ไม่น่าจะ “เหลือบ่า กว่าแรง” เพียงแต่เราต้องช่วยกันหน่อย ระยะนี้งานยุ่ง แขกมาก งานประจำ�เต็มมือ งานจรตามมาติดๆ แถมทีบ่ า้ นพูดภาษากันแปลกๆ ภาษาอังกฤษนัน ่ แหละ แต่องั กฤษแบบไทย คือ เติม เอ้อ อ้า อืม เป็นช่วงๆ ภาษาอังกฤษแบบบราซิล พูดเร็ว น้องมะลิพูดภาษาอังกฤษน่าจะได้ดีกว่าอีก หลายๆคน วั น ดี คื น ดี มี Rotary Friendship Exchange (RFE) มาจากออสเตรเลีย พูดภาษา อังกฤษแบบออสเตรเลียนขึ้นมาอีกแบบหนึ่ง ทุก คนในบ้านรวมทัง้ น้องมะลิดว้ ย ต่างขยับไม่ออก นะ จังงัง ไปพักหนึ่งจึงจะตั้งหลักได้ โชคดีนะที่เพื่อน สิงคโปร์ไม่มา หากมาเป็นต้องมีคนมา “long time no see” อีกสักกลุ่มก็คงสนุกกันใหญ่ RFE งวดนี้มี 10 ท่าน มาจาก 4 สโมสร ของภาค 9720 RFE ของภาค 3360 นั้นมีเอกลักษณ์ เฉพาะตน เราแลกกันเป็นกลุ่ม 8-12 คน ตัวเลขที่ สะดวกคือนั่งในรถตู้คันเดียว เหลือที่ให้คนของเรา นั่งสักหน่อย จะทำ�ให้ประหยัดกว่าใช้รถ 2 คัน RFE พั ฒ นาขึ้ น มาในรุ่ น ต่ อ รุ่ น แต่ เ ดิ ม มาเริ่ ม ต้ น ที่ เชียงใหม่ วนเที่ยวแล้วมาลงท้ายที่เชียงใหม่ เดี๋ยว นีจ้ ะขึน ้ ต้นลงท้ายทีไ่ หนก็ได้ พิษณุโลกจัดเป็นเมือง ที่ต้อนรับทั้ง RFE และ GSE ได้อบอุ่น สวยงาม ได้ รับคำ�ชมอยู่เสมอ รอบต่อไป ถึงคราวที่ท่านประธานอนันต์ จะรวบรวมผู้เดินทางไปตอบแทน เห็นว่าจะเดิน ทางกันเดือนเมษายน ซึง่ เป็นช่วงทีด่ ี หาทีมดีๆ คง เที่ยวสนุก จำ�นวนก็น่าจะประมาณ 10 คนเหมือน

กัน ใครที่สนใจอย่าลืม “ กริ๊งกร้าง” ถึงท่าน ประธานด้วยนะ คนทำ�งานจะได้มกี �ำ ลังใจ ประโยชน์ หลักของ RFE คือมิตรภาพ อันจะนำ�ไปสู่สิ่งอื่น งวดนี้มี RFE ที่มีประสบการณ์เรื่อง YE เพียบเลย น่าจะเป็นโอกาสของ YE เช่นเดียวกันหากพวกเรา ช่ ว ยกั น รั บ แขกแบบถึ ง ลู ก ถึ ง คน จะนำ �ไปสู่ ทั้ ง มิตรภาพและโครงการในวันข้างหน้า วันที่เขียนนี้ ไปส่ง “น้องไนซ์” ที่สันกู่ เหล็ก ได้เห็นความภาคภูมิใจที่ อน.ชนะ เอกอริยะ กุล และ รทร. นิตยา ภู่ยงยุทธ์ มีต่อลูกชายที่อบรม บ่ม เลี้ยง มาด้วยตนเอง ด้วยความมั่นใจ ยึดมั่น ในความดี ทำ�ให้เห็นตัวอย่างของการให้ความรักที่ พอดี ให้ผลผลิตเป็นคนดีแบบ “น้องไนซ์” ให้ชาว โรแทเรียนได้ภาคภูมิใจ จึงขอส่งท้ายบทความวัน นี้ ด้ ว ยการไว้ อ าลั ย แก่ รทร. สุ นิ พิ ฐ คงเมื อ ง เยาวชนคนดีของโรตารี ... ขอให้ไปดี...

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


หนึ่ง ใน ๑๐๐

อน.จันทนี เทียนวิจิตร สโมสรโรตารี ล้านนา เชียงใหม่

“ผลงานถ้าจะมีในฐานะนายกสโมสร เป็นผู้ว่าการภาค เป็นประธานโรตารีสากล หรืออะไรก็แล้วแต่ ไม่ใช่ผลงานของ ผม เป็นผลงานของสมาชิก เพราะฉะนั้นผมไม่เคยอ้างว่า เป็น ผลงานของนายพิชัย โรแทเรียนที่แท้จริง จะต้องไม่อ้างผลงานของตนเอง ผล งาน คือ สมาชิกทำ�”

บทสัมภาษณ์

พฤศจิกายน ๒๕๕๒

ฯพณฯ พิชัย รัตต 30 31


ในโอกาสที่สโมสรโรตารีเชียงใหม่ฉลองครบ รอบ 50 ปีอย่างยิ่งใหญ่ มีมิตรโรแทเรียนจากในและต่าง ประเทศมาร่วมแสดงความยินดีอย่างคับคั่ง ฯพณฯ พิชัย รัตตกุล อดีตประธานโรตารีสากลก็ไม่พลาดที่จะ มาร่ ว มแสดงความยิ น ดี กั บ สโมสรโรตารี เ ชี ย งใหม่ คอลัมน์หนึ่งในร้อยจึงไม่พลาดที่จะสัมภาษณ์ท่าน เพื่อ ถ่ายทอดสิ่งดีๆ เกี่ยวกับโรตารีมาให้มิตรโรแทเรียนได้ รับทราบเช่นกัน

เวลาที่เรานัดหมายกับท่านคือสิบเอ็ดโมง ที่ โรงแรม ดิเอ็มเพรส เราไปตั้งแต่สิบโมงครึ่งเพื่อรอท่าน ซึง่ เราก็แอบกังวลเล็กน้อย เพราะท่านเป็นถึงผูน ้ �ำ สูงสุด ของโรตารีสากลและกิติศัพท์ของท่านก็ออกจะดุ แต่เมื่อ ได้พบและสัมภาษณ์ท่าน พบว่าท่านเป็นผู้ใหญ่ใจดี มี ใบหน้าเปื้อนยิ้มตลอดเวลาขณะให้สัมภาษณ์ และท่าน ก็จะสอนทุกครัง้ เมือ่ เราพูดไม่ถกู ต้องหรือเข้าใจผิดๆ ถ้า เข้าใจไม่ถกู ก็จะคิดว่าท่านตำ�หนิ ทีจ่ ริงท่านตัง้ ใจจะสอน ทุกคนที่ท่านมีโอกาสสอน และที่ประทับใจคือท่านมา ถึงก่อนเวลาที่นัดก็คือสิบโมงครึ่งเช่นเดียวกัน เราไป พบกับท่านเลยค่ะ ๑ ในร้อย : ท่านเป็นโรแทเรียนมาตั้งแต่อายุ 31 ถึงตอน นี้นับเป็นเวลา 52 ปีแล้ว อยากทราบว่าท่านมีความประทับ ใจอะไรบ้างในโรตารี ท่านพิชัย : ผมเป็นโรแทเรียนมาตั้งแต่อายุได้ 31 ปี เมื่อ วันที่ 14 พฤษภาคม 2501 ประชุมครั้งแรกที่โรงแรม รัตนโกสินทร์ มีพระยามไหสวรรค์เป็นนายก่อตั้ง มีคุณ อรุณ แสงสว่างวัฒนะเป็นเลขานุการ ที่พูดถึงคุณอรุณ แสงสว่างวัฒนะ เพราะว่าพีช่ ายของคุณอรุณคือนาย แพทย์อารี แสงสว่างวัฒนะเป็นสมาชิกก่อตั้งของ สโมสรโรตารีเชียงใหม่ ถามผมว่า 52 ปีที่เป็น สมาชิกโรตารี มีอะไรที่ประทับใจบ้าง อยู่ใน วงการโรตารีมา 52 ปี ทำ�งานทุกหน้าที่ ผมทำ�งานตั้งแต่เป็นพิธีกรหรือเรียกว่า ปฏิคม นั่นเป็นหน้าที่แรก ผมเป็น พิธีกรอย่างเข้มงวดจริงๆ ไม่ใช่เป็น แต่ว่ามาแนะนำ�แขก ไม่ใช่อย่าง นั้น ผมเป็นปฏิคมตั้งแต่เริ่มมา ถึ ง ที่ ป ระชุ ม ก่ อ นครึ่ ง ชั่ วโมง ดู สถานที่ ว่ า พร้ อ มหรื อไม่ เช่ น จานอาหาร ช้อน ส้อมว่าพร้อม

หรือไม่ นี่เป็นหน้าที่ปฏิคม ดูไมโครโฟนใช้ได้หรือไม่ ดูว่า ใบลงทะเบียนสมาชิกมีพร้อมหรือไม่ ดูว่าเสร็จทุกอย่างแล้ว ก็คอยรับแขก นี่เป็นหน้าที่ปฏิคม แขกในที่นี้รวมถึงสมาชิก ของตัวเองต้องให้การต้อนรับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาชิก ที่มาจากต่างสโมสร จะเห็นได้ว่าเฉพาะหน้าที่ปฏิคมมีหน้า ที่มากมายเหลือเกิน ผมไม่แน่ใจว่าขณะนี้ปฏิคมต่างๆ ทำ� หน้าที่อย่างนี้ได้หรือเปล่า นี่เป็นการให้สนเทศโรตารีไปใน ตัว หลังจากนั้นเมื่อมีสมาชิกจากต่างสโมสรโดยเฉพาะจาก ต่างประเทศ หน้าทีป่ ฏิคมก็ตอ้ งพาเขาไปพบกับนายกสโมสร แล้วเวลาเริ่มประชุมแล้ว ไม่ใช่ปฏิคมเชิญนายกเปิดประชุม เป็นนายกเองเคาะฆ้องเปิดประชุมโดยไม่ตอ้ งให้มใี ครมาเชิญ ให้เปิดประชุม เมื่อถึงเวลาแนะนำ�แขกนายกก็จะเชิญปฏิคม แนะนำ� การแนะนำ�ก็ต้องมีศิลปะในการแนะนำ�ด้วย ที่ผม พูดถึงปฏิคมก็เพราะว่าปฏิคมมีความสำ�คัญทีจ่ ะทำ�ให้สโมสร โรตารีเป็นสโมสรโรตารีจริงๆ ให้มีมิตร ให้มีบรรยากาศของ ความอบอุ่น ความสนุกสนาน บรรยากาศของความเป็น กันเอง ถ้าหากการประชุมจะมีวิทยากรมาพูด ปฏิคมจะต้อง ดูว่าระหว่างที่วิทยากรพูดอยู่นั้นสมาชิกพูดคุยกันหรือเปล่า ๑ ในร้อย : หัวเราะ ท่านพิชัย : หัวเราะนี่แสดงว่าคุณเคยพบคนที่พูดคุยกัน ระหว่างวิทยากรบรรยายใช่หรือเปล่า ๑ ในร้อย : ใช่ค่ะ ท่านพิชัย : การพูดคุยระหว่างวิทยากรบรรยายเสียมารยา ทมากๆ เป็นหน้าที่ของปฏิคมจะต้องไปบอกเบาๆ ให้เขา หยุดพูด (ทำ�ท่าจุ๊ปาก) สรุปก็คือเป็นหน้าที่ของปฏิคม เพราะนายกไม่สามารถลุกไปไหนได้ เนือ่ งจากนายกต้องทำ� หน้าที่ประธานที่ประชุมอยู่ สรุปแล้วเป็นสมาชิกมา 52 ปี งานที่สนุกก็ทำ�มาทุกอย่าง ตั้งแต่เป็นสมาชิกสโมสรจน กระทั่งเป็นกรรมการสโมสร นายกสโมสร กรรมการภาค ผู้ ว่าการภาค กรรมการโรตารีสากล และประธานโรตารีสากล และเป็นประธานมูลนิธิโรตารีสากล งานเราก็ได้รับความไว้ วางใจ ผมเน้นคำ�ว่าได้รับความไว้วางใจ แต่สิ่งที่ผมสนุก ที่สุดคือตำ�แหน่งนายกสโมสรโรตารี เป็นตำ�แหน่งที่สนุก ที่สุด เหมือนอย่างที่คุณจันทนีพูดเมื่อกี้ว่าจากสโมสรที่มี สมาชิกเหลือ 5-6 คน พยายามฟื้นฟูสโมสรขึ้นมาให้เข้ม แข็ง มีสมาชิกเพิ่ม มีกิจกรรม เป็นสิ่งที่ท้าทายและคุณทำ� สำ�เร็จ ตำ�แหน่งของนายกสโมสรเป็นตำ�แหน่งที่ท้าทายที่ ทำ�ให้เราทำ�สำ�เร็จ เพราะกิจการหรือกิจกรรมของโรตารีนั้น ไม่ได้มาจากเบื้องบน ไม่ได้มาจากผู้ว่าการภาค แต่มาจาก สมาชิกในสโมสร เพราะฉะนั้นสมาชิกจึงเป็นรากหญ้าของ กิจกรรมของโรตารี ๑ ในร้อย : ได้ความรู้จากท่านเยอะเลยค่ะ เป็นสนเทศ โรตารี ไปด้วย

ตกุล ประธานโรตารีสากลปี ๒๕๔๕ - ๒๕๔๖ 31 30

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


หนึ่ง ใน ๑๐๐

ท่านพิชัย : ผมเชื่อว่าไม่มีใครมาบอกคุณอย่าง นี้ ๑ ในร้อย : ไม่มีค่ะ ท่านพิชัย : แม้กระทั่งผู้ว่าการภาคสมัยนี้ก็ไม่ ได้มาบอกคุณอย่างนี้ ๑ ในร้อย : หนูก็ไม่เคยทราบมาก่อนว่าปฏิคม มีหน้าที่มากขนาดนี้ ท่านพิชัย : เพราะหนังสือสมัยนี้ไม่ได้มีแล้ว ที่ ผมพูดนีไ้ ม่ใช่ของใหม่ เป็นของทีม่ มี าร้อยปีแล้ว ๑ ในร้อย : อยากทราบผลงานเด่นสมัยที่ท่าน เป็นประธานโรตารีสากล ผลงานที่ท่านภาค ภูมิใจ ท่ า นพิ ชั ย : ผลงานเด่ นไม่ ว่ า จะเป็ น นายก สโมสรหรือประธานโรตารีสากล ผมเองโดยส่วน ตัวไม่มีผลงานอะไร แต่ผลงานถ้าจะมีในฐานะ นายกสโมสร เป็นผู้ว่าการภาค เป็นประธาน โรตารีสากล หรืออะไรก็แล้วแต่ ไม่ใช่ผลงาน ของผมเป็นผลงานของสมาชิก เพราะฉะนั้นผม ไม่เคยอ้างว่าเป็นผลงานของนายพิชัย โรแท เรียนที่แท้จริงจะต้องไม่อ้างผลงานของตนเอง ผลงานคือสมาชิกทำ� ๑ ในร้อย : เหมือนเช่นสโมสรโรตารีล้านนาฟื้น เพราะเราได้คนช่วย เราเสริมกัน ได้คุณชนะ คุณนิตยา และสมาชิกท่านอื่นๆ มาช่วยกัน คนละไม้คนละมือ หนูไม่ได้ทำ�คนเดียว ท่านพิชัย : มันขึ้นอยู่กับสมาชิก ขึ้นอยู่กับ หัวหน้า ถ้าหัวหน้าหยิ่งยะโสจองหอง ใครจะมา ช่วยล่ะ ถ้าผลงานสโมสรยกให้สมาชิก ถ้าใน ฐานะประธานโรตารีสากลก็ยกให้สโมสร ๑ในร้อย : ผลงานที่มีในสมัยท่านล่ะคะ ไม่ใช่ ของท่านแต่เป็นของสมาชิกสมัยท่านมีอะไรบ้าง

พฤศจิกายน ๒๕๕๒

ท่านพิชัย : มีเยอะเหลือเกิน มีมากมายจนไม่รู้ จะหยิบยกอันไหนมาเป็นจุดใหญ่ เอาเป็นว่าผล งานตลอดระยะเวลา 52 ปีนี้ไม่ได้เป็นผลงาน ของผม แต่เป็นผลงานของการที่เพื่อนสมาชิก ในระดับรากหญ้า ในระดับ สโมสร ในระดับภาค ทำ�กันคนละไม้คนละมือ ๑ ในร้อย : ค่านิยม (Values) ของโรตารีคือ อะไรคะ ท่านพิชัย : โรตารีเป็นสินค้าอย่างหนึ่งมีคุณค่า หรือ Values ๑ ในร้อย : อย่างโรแทเรียนเราจะทำ�อย่างไรให้ สอดคล้องกับค่านิยมของโรตารี ท่านพิชัย : คุณค่าของโรตารีมีหลายอย่าง ไม่ เหมือนกับสมาคมหรือองค์กรอื่นๆ ที่ไม่เหมือน เพราะ หนึ่งการรับสมาชิกมา ขึ้นอยู่กับอาชีพ ผมถามคุ ณ ว่ า คุ ณ มี อ าชี พ อะไร ถ้ า หากไม่ มี อาชีพจะเข้ามาเป็นสมาชิกโรตารีไม่ได้ อันนี้ เป็น Values เป็นคุณค่าอย่างหนึ่งของโรตารี สมาชิ ก ของโรตารี ขึ้ น อยู่ กั บ บรรทั ด ฐานของ อาชีพของคนๆ นั้น คุณทำ�งานอยู่บริษัทเป๊ป ซี่-โคล่า แผนก Snack คุณเป็นผู้จัดการฝ่าย ทรัพยากรบุคคล อาชีพของคุณคืออะไร อาชีพ ที่คุณอยู่ในโรตารี Classification คืออะไร ๑ ในร้อย : อาชีพนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ท่านพิชัย : ขนาดคุณเป็นโรแทเรียนมา 5 ปี และคุณเป็นนายกสโมสรโรตารีมาแล้ว คุณยัง ไม่รู้เลย ขนาดคนที่เสนอคุณมาเป็นโรแทเรียน ยังไม่รู้ Classification คุณเลย ทีนี้คุณถามผม ว่า Values คืออะไร ผมก็เริ่มต้น ด้วยการเข้า มาเป็นสมาชิกมันไม่เหมือนสมาคมและองค์กร อื่น เพราะเหตุว่าคนที่เข้ามาได้ต้อง Represent อาชีพนั้นๆ ในชุมชนนั้นๆ ของตัวเอง ผมถาม คุณต่อไป เมื่อคุณเข้ามาในโรตารี เขาให้คุณ กรอกแบบฟอร์มเขาให้คุณใส่อาชีพอะไร เวลา นี้คุณเป็นผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล แผนก Snack อาชีพของคุณคือการผลิต Snack ไม่ใช่ ตำ�แหน่งแต่เป็นอาชีพ เมื่อวานนี้ผมพบคุณ อธิษฐาน (นย. อธิษฐาน วงศ์ใหญ่ สโมสรโรตา รีลำ�ปาง) ถ้าถามคุณอธิษฐานว่าคุณอาชีพอะไร เขาก็ตอบไม่ถูก หน้าที่งานของเขาคือเป็นรอง ผู้อำ�นวยการฝ่ายบริหารโรงพยาบาล เพราะ ฉะนั้ น Classification ของคุ ณ อธิ ฐ านคื อ Hospital Service บริการโรงพยาบาล ถ้าหาก คุณอธิษฐานเป็นหมอ Classification ของหมอ เช่น ผู้อำ�นวยการโรงพยาบาลเชียงใหม่ อาชีพ ของเขาในโรตารีไม่ใช่หมอ แต่เป็นโรงพยาบาล Hospital Service เข้าใจไหม ๑ ในร้อย : ไม่เข้าใจค่ะ

32 33


ท่ า นพิ ชั ย : ถ้ าคุ ณ เป็นหมอไปรักษาตามบ้ านเรียกว่ า Medical เวลานี้คุณต้องไปถามสโมสรคุณดู อย่างผมนี่ผม เป็ น สมาชิ ก เมื่ อ 52 ปีม าแล้ว อาชีพ ผมคือ ผู้ ผ ลิต และ จำ�หน่ายยารักษาโรค ผมเป็นผู้จัดการใหญ่ บริษัทของผม ทำ�การผลิตยารักษาโรค อาชีพของผมคือการผลิตยารักษา โรค ภาษาอังกฤษของผมคือ Pharmaceutical Manufacturing เข้าใจไหม ผมรับรองว่าไม่มีใครสอนคุณ ๑ ในร้อย : ของหนูเวลากรอกเอกสาร ประเภทกิจการก็ บอกว่าผลิตอาหาร ท่านพิชัย : นั่นก็ถูกต้อง แต่ถ้าผมถามคุณ อาชีพคุณคือ อะไรในโรตารี คือผลิตอาหาร อาหารอะไร คือสแน็ค สิ่ง เหล่านี้ไม่มีใครสอนคุณ ใน District Assembly ก็ไม่มีใคร สอนคุณ สิ่งเหล่านี้เป็น Values คำ�ตอบผมว่า Values แรก คือถ้าใครผลิตอาหารและถ้าเขาจะมาเป็นสมาชิกก็มาเป็นไม่ ได้เพราะมีคุณอยู่นี่แล้ว Values ที่ ส องก็ คื อ การที่ สโมสรนั้ น มี กิ จ กรรมบำ � เพ็ ญ ประโยชน์ควบกับการมีมิตรภาพ อันนี้สำ�คัญมาก ผมอยาก มีโอกาสคุยในที่ประชุม กว้างๆ จะได้รู้กันมากๆ ในการ ประชุม District Assembly มีความสำ�คัญมากแต่ผมรับรอง ว่าไม่มีใครสอนคุณอย่างนี้ ทุกภาค น่าเสียดาย อันนี้เป็น Values ที่สอง คือมีกิจกรรมบำ�เพ็ญประโยชน์ควบคู่กับ มิตรภาพ ถ้ามีกิจกรรมอย่างเดียวเข้าสมาคมอะไรก็ได้ คุณ ก็ทำ�ได้ แต่โรตารีมีบำ�เพ็ญประโยชน์และสร้างมิตรภาพ ๑ ในร้อย : มิตรภาพทั้งในสโมสรและต่างสโมสรทั่วภาค ท่านพิชัย : ไม่ใช่เฉพาะภาค ทั่วโลก ไม่มีองค์กรอื่นเป็น อย่างนี้ สหประชาชาติไม่เหมือนโรตารี นี่เป็น Values อย่าง หนึ่ง Values ที่สามคือโปรแกรมของโรตารี ยกตัวอย่าง โปรแกรมโปลิโอ เริ่มมาตั้งแต่ปี 1985 แม้กระทั่ง WHO องค์ ก ารอนามั ยโลก ก็ ไ ม่ ก ล้ า หยิ บ ยกเรื่ อ งนี้ ขึ้ น มาทำ � โปรแกรม Peace เคยได้ยินไหม ไม่มีใครทำ� สิ่งเหล่านี้เป็น Values เพราะฉะนั้น Values ที่เขาเริ่มมาตั้ง 105 ปีมาแล้ว ระยะหลังนี้สมาชิกลืม Values ๑ ในร้อย : ท่านอยากให้โรตารีในประเทศไทยเป็นอย่างไร บ้าง ท่านพิชัย : ผมอยากให้โรตารีในประเทศไทยและโรตารี ทั่วไปยึดมั่นในปรัชญาเดิมที่ผมพูดมาทั้งหมด ปรัชญาเดิม ในเรื่ อ งเกี่ ย วกั บ การรั บ สมาชิ ก ต้ อ งเน้ น ในเรื่ อ ง Classification ต้อ งเน้นในเรื่องกิจกรรม เน้นในเรื่อง มิตรภาพ เน้นในเรื่องการเข้าประชุม ผมอยากให้เป็นอย่าง นั้น สองผมอยากให้เพิ่มสมาชิกโดยเน้นในความถูกต้อง คือ อาชีพ เพราะฉะนันการเพิ่มสมาชิกภาพและรักษาสมาชิก ปั จ จุ บั นไว้ แต่ ใ นขณะเดี ย วต้ อ งเน้ นในเรื่ อ งกลั่ น กรอง คุณภาพ ผมยกตัวอย่างเมื่อหลายสิบปีก่อนสโมสรผมเรามี สมาชิกเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัทโตโยเมนก้าไคชา บริษัทใหญ่มาก หลังจากอยู่นี่มานานเขาก็ย้ายกลับไปอยู่ โตเกียวแต่เข้าโรตารีไม่ได้ เขาอยู่ที่นี่เป็นใหญ่แต่อยู่ที่โน่น ไม่ใช่เป็น Executive ไม่ใช่เป็นท็อป เพราะท็อปที่นั่นเขา อยู่ที่โรตารีแล้ว คนที่จะเป็นสมาชิกต้องเป็น No. 1 หรือ

33 32

No. 2 ไม่ ใ ช่ เ บอร์ ส ามเบอร์ สี่ นี่ เ ป็ น Values ของโรตารี ไม่ใช่หมายความว่าเป็นสโมสรเศรษฐี แต่การที่ต้องการเอา Top Executive เข้ามาเนื่องจากว่า Top Executive ทำ�งานต่างๆ สามารถสั่งการได้เพราะเป็น Executive ในองค์กรของตัว ตัวอย่างนี้คล้ายกับผู้จัดการ ธนาคาร สมมุ ติ ว่ า คุ ณ ชาตรี เ ป็ น สมาชิ ก สโมสรโรตารี กรุง เทพอยู่แ ล้ว หากผู้จัดการธนาคารกรุง เทพ สาขา เชียงใหม่ย้ายเข้าไปทำ�งานที่กรุงเทพ จะเข้าสโมสรโรตารี กรุงเทพไม่ได้ เพราะมีคุณชาตรีเป็นสมาชิกอยู่ก่อนแล้ว ๑ ในร้อย : ดีค่ะหนูจะได้เอาไปเผยแพร่เพราะมีคนพูดว่า เดี๋ยวนี้เรารับสมาชิกเน้นแต่ปริมาณ ท่านพิชัย : ผมอยากเพิ่มสมาชิกแต่ผมไม่ต้องการคนที่ไม่มี คุณภาพ ผมต้องการคนที่มีคุณภาพและคุณสมบัติ คุณภาพคืออะไร คุณสมบัติคืออะไร ผมบอกแล้ว ๑ ในร้อย : ภาค 3360 ท่านมองว่าภาคของเรามีศักยภาพ อย่างไรบ้าง ท่านพิชัย : ศักยภาพของการเพิ่มสมาชิกมีทุกแห่ง ส่วน การนำ�สมาชิกเข้ามาขอให้เน้นคุณสมบัติและคุณภาพให้ มาก อย่าเป็นห่วงตัวเลข ทีผ่ า่ นมาประธานโรตารีสากลชอบ ให้ตัวเลข อย่างปีที่แล้ว ดอง เคิ้น ลี ตั้งเป้าเพิ่มสมาชิก 10 % แต่ปีนี้จอห์น เคนนี่บอกว่าไม่เอา ฉันไม่ Set goal แต่ หวังว่าสิน ้ ปีเราหวังว่าสโมสรเราจะมีสมาชิกเพิม่ อย่างน้อยห นึ่งคน คุณอาจจะเพิ่มสมาชิก 100 % ก็ได้ การเอาใครมา ก็ได้ทำ�ให้เสีย Values มาแล้ว ๑ หนึ่งในร้อย : ท่านอายุ 84 ปี อยากทราบว่าท่านดูแล รักษาสุขภาพอย่างไร ท่านพิชัย : ยาของผมคือโรตารี โรตารีเป็นยาอายุวัฒนะ แต่บางครั้งบางคราวโรตารีก็ทำ�ให้ผมผิดหวัง อะไรผมไม่พูด เสียใจผิดหวัง แต่โรตารีเป็นยาอายุวัฒนะของผมจริงๆ ๑ ในร้อย : กราบขอบพระคุณท่านมากที่ให้สัมภาษณ์และ สนเทศโรตารีไปด้วย ท่านพิชัย : คุณจะเอาไปถ่ายทอดให้สมาชิกคุณอย่างไร ๑ ในร้อย : นอกเหนือจากการนำ�ลงสารผู้ว่าการภาคแล้ว ก็จะนำ�ไปสนเทศโรตารีในสโมสร และคัดลงสารสโมสรด้วย ค่ะ เมื่อการสัมภาษณ์สิ้นสุดลง ทำ�ให้เรามีความ

รู้สึกว่าการได้สนทนากับผู้ใหญ่ระดับประธานโรตารี สากลและอดีตรองนายกรัฐมนตรี ทำ�ให้ได้รับความรู้ อย่างมากมายเหลือเกิน สามารถนำ�มาถ่ายทอดให้มิตร โรแทเรียนใหม่ๆ ได้ ซึ่งในระหว่างการสนทนาก็มี นย. นิตยา ภู่ยงยุทธ มาให้กำ�ลังใจคนสัมภาษณ์แบบเกาะ ขอบเวที เราได้สนทนากับท่านจนถึงเที่ยงเศษ อผภ. ดร. ศุภวัฒน์ ภูวกุล ที่มานั่งรออยู่หว่างสัมภาษณ์ก็ได้ มารับท่านพิชัยไปรับประทานอาหารกลางวัน สำ�หรับ คอลั ม น์ ห นึ่ ง ในร้ อ ยรู้ สึ ก อิ่ ม ใจที่ ใ นที่ สุ ด ก็ ส ามารถ สัมภาษณ์ท่านพิชัยได้ตามที่ บก. วานิช มอบหมายมา.

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


Youth Corner

ประวัติ

ชื่อ นายสุนิพิฐ คงเมือง ชื่อเล่น ไนซ์ เกิด วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2529 เวลา 09.41 ปีขาล ณ โรงพยาบาลมหาราช เชียงใหม่ เสียชีวิต วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2552 เวลา 04.00 น. สิริอายุได้ 23 ปี 9 เดือน มารดาชื่อ นางนิตยา ภู่ยงยุทธ บิดาชื่อ พล.ต.ต.สนาม คงเมือง บิดาบุญธรรม ชื่อนายชนะ เอกอิสรกุล การศึกษา ชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียน ไชยโรจน์วิทยา เชียงใหม่ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนผู้ใหญ่พุทธิโสภณ เชียงใหม่ ปริ ญ ญาตรี มหาวิ ท ยาลั ย ราชภั ฏ เชี ย งใหม่ โปรแกรมออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คณะ วิทยาศาสตร์ ความภาคภูมิใจ - เป็นนักเรียนที่มีความประพฤติ เรียบร้อยดีเด่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 - เป็นนักเรียนที่ช่วยเหลือกิจกรรมดีเด่น ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1-3 - ลูกเสือจราจรปฏิบัติงานดีเด่น ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2-3 - นักเรียนจริยธรรมดีเด่น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 - อาสาสมัครบำ�เพ็ญประโยชน์ดีเด่น สโมสรโรตา รีปี 2549-2552 - ประธานเยาวชนดี เ ด่ น กิ จ กรรมบำ � เพ็ ญ ประโยชน์ในการสร้างฝายตามแนว พระราชดำ�ริ ขององค์กรภาครัฐ-ภาคเอกชน - ได้รับคัดเลือกภาพประทับใจโรตารี ลงนิตยสาร

พฤศจิกายน ๒๕๕๒

“ดิโรแทเรียน เดือน พ.ย.-ธ.ค. 52” - สมัครเป็นทหารในกองพันสัตว์ต่างเดือน พ.ย. 51 – เม.ย. 52 และได้รับพลทหารดีเด่น 2 ครั้ง ของผลัด 2/2551 - ได้เป็นผูน้ ำ�บัณฑิตทีเ่ ข้ารับพระราชทานปริญญา บั ต ร กล่ า วนำ � ถวายคำ � ปฏิ ญ าณต่ อ พระพั ก ตร์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เมื่อ 18 เม.ย. 52 - ได้รับเกียรติให้เขียนคอลัมน์ “มุมเยาวชน” (Youth Corner) ของสารผู้ว่าการภาค 3360 ปี 2552-2553 - เป็นโรแทเรียนโดยสายเลือด ตระหนักในคติพจน์ “บริการผู้อื่นเหนือตนเอง” (Service above self)

บุคคลที่เป็นแบบอย่าง

1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 2. พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) 3. บิดาบุญธรรมป๋าชนะ เอกอิสรกุล

หนังสือที่โปรดปราน

1. หนังสือที่แต่งโดย ท่านพุทธทาสภิกขุ 2. หนังสือที่แต่งโดย ว.วชิรเมธี 3. หนังสือที่แต่งโดย พอ.นเรศร์ จิตรักษ์ อยากเป็น นักพัฒนาดีเด่น เป็น โรแทเรียนที่ดีที่สุด เตือนใจตนด้วย มรณัง สติ ทำ�ดีได้ดี ทำ�ชั่วได้ชั่ว “ เกิดมาแล้ว ชาติหนึ่งต้องทดแทนคุณแผ่นดิน “ ฝากด้วยใจ จาก ไนซ์ ผลงานสุดท้ายของไนซ์ มุมเยาวชน “ ผู้นำ� Leadership “ เป็นการ อั ญ เชิ ญ พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว “คุณธรรม 4 ประการ” มาฝากให้ กับเยาวชนและผู้อ่าน

34 35


ผู้นำ� Leadership สวัสดีครับมวลมิตรโรแทเรียน และน้องๆ เยาวชนที่รักทุกคน... “ลม หนาว” ปีนี้เหมือนจะมาช้า แต่ก็มาแน่นอน ทำ�เอาหลายๆ ท่านสุขภาพไม่ปกติไปตามๆ กัน ยังไงอย่า ลืมดูแลสุขภาพตัวท่าน และคนรอบข้างให้ดีด้วยนะครับ ที่ผ่านมา สารฉบับที่ 3 เดือนกันยายน จากภาพ ดิ่งพสุธา ซึ่งเป็นที่กล่าวขาน กันตั้งแต่ในภาค 3360 ไป จนถึงระดับโรตารีสากล ที่ทีมงาน หนังสือ The Rotarian ยังต้องบอกว่า “Fantastic!” ซึง่ เป็นความน่าภาคภูมใิ จอย่าง ยิ่ง... สำ�หรับความภูมิใจของผมเองไม่เพียงเพราะได้รับ ความสนใจ จากโรตารีสากลเท่านั้น แต่สำ�คัญที่สุด นั้นก็ มาจากมวลมิตรโรแทเรียนภาคของเรานี่เอง... เวลาที่ได้พบ กับผูใ้ หญ่หลายๆ ท่าน ท่านได้ให้เกียรติเข้ามาทักทายชืน ่ ชม บทความ และจะนำ�ไปเป็นแนวทางลดช่องว่างระหว่างวัย ผู้ใหญ่ กับลูกหลาน... ซึ่งตรงกับจุดประสงค์ที่ทำ�ให้เกิด คอลัมน์ มุมเยาวชนนี้ เมื่อพูดถึง เยาวชน กับ โรแทเรียนแล้ว ฟังดูผิว เผิ น เหมื อ นจะห่ า งไกล ในความแตกต่ า งระหว่ า งวั ย แต่..”เด็กวันนี้ ก็คือ ผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า” คำ�พูดนี้เป็น สัจธรรมที่จริงแท้แน่นอน.. เด็ก และเยาวชน เมื่อโตขึ้นจะ เป็นกำ�ลังหลักสำ�คัญ ที่จะมีส่วนกำ�หนด เส้นทางอนาคต ของประเทศชาติ วันนี้ เรามอบสิ่งไหนให้กับเขาเราก็จะได้ รับสิ่งนั้นตอบแทนกลับมา... ทางโรตารีสากลจึงให้ความ สำ�คัญกับเด็กเยาวชน เป็นพิเศษ จึงได้จัดให้มีการอบรม เยาวชน พร้อมกันกว่า 170 ประเทศทั่วโลก ชื่อโครงการ “อบรมผู้นำ�เยาวชนโรตารี (Rotary Youth Leadership award RYLA)” เพื่ออบรมเยาวชนให้มีความเป็นผู้นำ�ที่ดี มี คุณ ธรรม พร้อ มที่จะพัฒนาประเทศชาติ และส่งเสริม ไมตรีจิต สันติภาพในโลก สำ�คัญที่สุด เพื่อปลูกฝังจิตสำ�นึก อุดมการณ์แห่งการบำ�เพ็ญประโยชน์ ตามคติพจน์ของโรตารี “บริการผู้อื่น เหนือตนเอง (Service above self)” และปีนี้เอง ภาค 3360 โรตารีสากล ก็ได้จัดค่าย อบรมผู้นำ�ฯ (RYLA) อีกครั้ง ระหว่างวันที่ 20-24 ตุลาคม 2552 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ในค่ายครั้งนี้ ได้มีกิจกรรมพิเศษ และสิ่งต่างๆ ที่ได้สร้าง เสริมประสบการณ์ให้กับน้องๆ เยาวชนมากมาย ในหัวข้อ “ผู้นำ� กับการพัฒนา” ได้มีการอบรมให้ความรู้ เกี่ยวกับ ผู้นำ�กับศีลธรรม จริยธรรม, องค์กรโรตารี และแนวทางการ ดำ�รงชีวิต การบำ�เพ็ญประโยชน์.... ตามแนวทางพระ ราชดำ � ริ ข องพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู่ หั ว ผู้ ท รงเป็ น “กษัตริย์นักพัฒนา” จากการอบรมกว่า 5 วันนั้น ถือว่าประสบความ สำ�เร็จไปได้ด้วยดีเกือบ 100% แล้ว อีกไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ที่

35 34

เหลือ นั่นหมายถึง น้องๆ เยาวชนที่ผ่านการอบรม จะ สามารถนำ� ความรู้และประสบการณ์ที่ได้ จากการอบรมไป ใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด... ค่ายนี้จึงจะประสบความ สำ�เร็จตามจุดประสงค์ของ RYLA ทุกประการ และในโอกาสนี้เอง เพื่อเป็นการเตือนสติ และเป็นหลักใน การดำ�เนินชีวิตของน้องๆ เยาวชนทุกคน ให้เป็นผู้นำ�ที่ดี นั่นคือ “ผู้นำ� ที่มีคุณธรรม” ผมจึงขออันเชิญพระบรม ราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “คุณธรรม 4 ประการ” ประการแรก...คือ การรักษาความสัจ ความจริงใจ ต่อ ตนเองที่จะประพฤติปฏิบัติ แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็น ธรรม ประการที่สอง...คือ การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเอง ให้ ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสัจ ความดีนั้น ประการที่สาม...คือ การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะ ไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการ ใด ประการที่สี่...คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และ รู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วน ใหญ่ของบ้านเมือง.... คุณธรรมสี่ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝัง และบำ�รุงให้เจริญงอกงามโดยทั่วกันแล้ว จะช่วยให้ประเทศ ชาติบงั เกิดความสุข ความร่มเย็น และมีโอกาสทีจ่ ะปรับปรุง พัฒนา ให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดังประสงค์.... คุณธรรม 4 ประการ ดังกล่าว ก็คือ ข้อปฏิบัติ ธรรม ของผู้ครองเรือนทั้งหลาย ที่เรียกว่า “ฆราวาสธรรม 4” นั่นเองครับ เป็นหลักธรรมคำ�สอน ของพระพุทธเจ้า ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปกครองแผ่นดินไทยด้วย ธรรมะ และแสดงพระองค์เป็นตัวอย่าง มาโดยตลอด... ดังนั้นเพื่อให้ เราเป็นพสกนิกรผู้จงรักภักดี ใน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเป็นผู้นำ�ที่ดี มีคุณธรรม จึงควรน้อมนำ�พระบรมราโชวาทนี้มาเป็นหลักปฏิบัติตนใน การดำ�เนินชีวติ ... และเผยแพร่ให้แก่ผูอ้ ืน ่ ต่อไป โดยเฉพาะ เด็ก และเยาวชน “ เมื่อเรามอบสิ่งใดให้เขาจดจำ� หรือเขาจดจำ�ในสิ่งไหน สิ่ง เหล่านั้น ก็จะส่งผลกลับมาในวันข้างหน้า”

พบกันใหม่ใน “เดือนแห่งวันพ่อ” ขอบคุณครับ

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


เอกพาแอ่ว เมืองแพร่

“หม้อฮ้อม ไม้สัก ถิ่นรักพระลอ ช่อแฮศรีเมือง ลือเลื่องแพะเมืองผี คนแพร่นี้ใจงาม”

ผชภ.เอกวุฒิ กาวิละ สโมสรโรตารีหางดง

ขอต้อนรับ ฉบับที่ 4 สารผู้ว่าการ ภาค 3360 ที่เป็น Talk of the Town ในหลาก หลายมุมมองของบุคคลทั้งในภาค ต่างภาค และต่างประเทศ ยินดีด้วยกับงานอบรมผู้นำ� เยาวชนไรล่า (RYLA) ที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ ได้จัดได้อย่างยิ่งใหญ่ตามแผนงาน และประสบความสำ�เร็จอย่างดียิ่ง ฟังจากคำ� ชื่นชมทั้งทั่วสารทิศทั้งจากในภาค 3360 และ จากตัวเยาวชนที่เข้ารับการอบรม ที่ได้รับองค์ ความรู้จากวิทยากรชั้นนำ�ทั้งจากในภาคและ จากรั้วมหาวิทยาลัย ไปพร้อมๆ กับความ สนุกสนานและสัมผัสเจ้าตัวน้อยนามเด่นดัง “น้องหลินหุ่ย” แพนด้าที่สวนสัตว์เชียงใหม่ ไรล่าเป็นการจัดการอบรมการเสริม สร้ า งเยาวชนให้ เ รี ย นรู้ ก ารเป็ น ผู้ นำ � ที่ ดี ใ น อนาคต สืบต่อจากเราๆ ท่านๆ เสริมสร้างงาน โรตารี ให้เลิศล้ำ�ทวีผ่องแผ้ว ในกาลข้างหน้า แทนคนรุ่นเก่าๆ ฉบับนี้เช่นกัน ผมนึกได้ว่าอีกไม่กี่ เพลา ที่เราชาวประชา 3360 จะได้ร่วมชุมนุม กัน ในอันที่จะแถลงไขงานความคืบหน้าของ งานในภาค 3360 “Intercity” ที่จะถือเอาเมือง แพร่ เป็นสถานที่เสริมสร้างงานประสานความ รูก้ น ั “เอกพาแอ่ว” จึงตัดสินใจนำ�เรือ่ งราวของ เมืองพล หรือ เมืองแพร่ มานำ�เสนอเพื่อพวก เราจะได้ เ ป็ น เส้ น ทางผ่ อ นคลายยามที่ ก าร ประชุมเสร็จสิ้น หรือก่อนมาเมืองแพร่นี้ก็ แวะ เยือนแหล่งท่องเที่ยว ที่น่าสนใจของเมืองแพร่ ก็จะทำ�ให้การเดินทางมีสีสันและพร้อมจะเข้า ประชุมด้วยน่าตาแช่มชื่นกลับด้วยความสุขใจ จริงไหมครับ... จังหวัดแพร่ ตั้งอยู่ในภาคเหนือ เดิม เป็นนครรัฐอิสระแพร่เริ่มเป็นเมืองมาตั้งแต่ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 หลังจากตั้งเมือง เชียงใหม่เป็นราชธานีแล้ว และเชื่อกันว่าเป็น นครแห่งวรรณกรรมอมตะลิลิตพระลอที่รู้จัก กันทัว่ ไป และได้ชือ่ ว่าเป็นประตูเมืองสูล่ า้ น นา จากหลักฐานต่าง ๆ ทำ�ให้ทราบว่าจังหวัดแพร่ นั้นมีชื่อเรียกกันหลายชื่อแล้วแต่ยุคสมัย เช่น

พฤศจิกายน ๒๕๕๒

“เมืองพล” เป็นชื่อที่เก่าแก่ดั้งเดิมที่สุด “เมือง โกศัย” เป็นชือ่ ทีป่ รากฏในพงศาวดารเชียงแสน “เมือง เพล” เป็นชื่อที่ปรากฏหลักฐานอยู่ใน ศิ ล าจารึ ก หลั ก ที่ 1 ของพ่ อ ขุ น รามคำ � แหง มหาราช และ “เมืองแพร่” เป็นชื่อที่คนไทย ในอาณาจักรสุโขทัยและอยุธยาใช้เรียกเมือง แพล แต่ได้กลายเสียง เป็นเมืองแพร่ ในสมัย ที่ขอมมีอำ�นาจในเขตลานนาไทย ระหว่าง ปี พ.ศ. 1470–1560 พระนางจามเทวีเข้าครอบ ครองในเขตลานนาไทยได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โกศั ยนคร หรือ เวียงโกศัย” ซึ่งแปลว่า “ผ้าแพร” แล้ ว มาเปลี่ ย นเป็ น เมื อ งแพร่ ใ นสมั ย ใดไม่ ปรากฏหลักฐาน มีสโมสรโรตารีในอุดมการณ์ สานฝันให้ชาวประชา 3+1 แห่ง คือ สร.แพร่ สร.เวียงโกศัย สร.สอง และ สร.เด่นชัย (ทีอ่ ยาก ให้สู้ๆ ต่อไป) ในโอกาสที่ชาวโรแทเรียนภาค 3360 จะได้มีโอกาสมาเยือนที่เมืองแพร่อีกครั้ง กับ งาน “ประชุมอินเตอร์ซีตี้” ก็ตั้งใจว่าถ้ามีเวลา น้อยๆ แบบชาวเรา ก็ขอให้ได้ไปเที่ยวในแถวๆ ในตัวเมืองแพร่ ก็ไม่เลวนะครับ เอาที่ได้เที่ยว สมใจแต่ใช้เวลาน้อย ตามหลักนักธุรกิจโรแท เรียนล่ะกัน ว่ามาเลยกับที่เที่ยวต้นๆ...ไหนๆ มาทั้งทีก็ไปเที่ยวกราบพระเอาพร ตามวัดวาที่ แน่นหนาตาในตัวเมืองแพร่ ก็จะเป็นสิริมงคล นะครับ แล้ววัดไหนดีล่ะ ก็ขอแนะนำ�เลยนะ... วัดหลวง เป็นวักแรกที่อยากแนะนำ� เป็นวัด เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดสร้างขึ้นพร้อม กับ การสร้างเมืองแพร่ วิหารหลวงพลนคร วิหารเก่าแก่สร้างพร้อมกับการสร้างเมืองแพร่ ประดิษฐานพระพุทธรูปสำ�คัญ คือ พระเจ้าแสน หลวง พระธาตุหลวงไชยช้างค้ำ� พระเจดีย์ ศิลปะเชียงแสน ประดิษฐานพระธาตุที่นำ�มา จากเมืองหงสาวดี และยังมี พิพิธภัณฑ์เมือง แพร่ เป็นสถานที่รวบรวมพระพุทธรูปเก่าแก่​่ี และโบราณวั ต ถุ ต่ า งๆ ของเมื อ งแพร่ หอ วัฒนธรรม จ.แพร่ เป็นที่เก็บรวบรวม ศิลป วัฒนธรรมพื้นบ้านมากมาย ดูๆ ไปคล้ายกับ เดินอยู่แถวๆ วัดเกตุการาม ที่ถนนเลียบริมปิง

36 37


จ.เชียงใหม่ ไม่ผิดกันมากนักเลย วัดจอมสวรรค์ ที่นี่ผมเคยมาเที่ยวชมแล้วครับยอมรับว่า ของเขาสวยงามมากๆ แม้นจะไม่กว้างขวางมากนัก รูปแบบ เป็นไปตามสถาปัตยกรรมพม่าที่มีบทบาทในเวลานั้น ตั้งอยู่ บนถนนแถวๆ บ้านนายกสโมสรโรตารีแพร่ห่างจากศาลา กลางจังหวัด 1 กม. เป็นวัดไทยใหญ่ สร้างแบบสถาปัตยกรรม พม่า หลังคาซ้อนลดหลั่นเป็นชั้นประดับประดาลวดลายฉลุ อารามเป็นไม้สัก ใแสดงให้เห็นฝีมือการตกแต่งอย่างวิจิตร บรรจง หลวงพ่อสาน เป็นพระพุทธรูปที่สร้าง โดยใช้ไม้ไผ่ สานเป็นองค์ลงรักปิดทอง พระพุทธรูปงาช้างซึ่งเป็นศิลปะ แบบพม่า คัมภีร์งาช้าง หรือคัมภีร์ปฏิโมกข์ โดยนำ�งาช้าง มาบดแล้วอัดเป็นแผ่นบางๆ เขียนลงรักแดง จารึกเป็น อักษรพม่า และยังมีบุษบกลวดลายวิจิตรงดงามประดิษฐาน พระพุทธรูปหินอ่อน ลองมาเที่ยวชมกัน ตอนเย็นๆ ก็จะมี ร้านรวงมาขาย อาหารด้านหน้า ขอแนะนำ� สะเต๊กอร่อยๆ สักจานชิ้นก็ดีนะครับ นำ�กลับไปทานที่พักได้อีกแน่ะ วัดสระบ่อแก้ว ที่นี่ก็สวยงามมากๆ แม้นว่าจะเป็นวัดไม่ กว้างเท่าใดนัก สร้างขึ้นสมัยเดียวกับวัดจอมสวรรค์ เดิม ชื่อวัดจองกลาง เป็นวัดศิลปะ แบบพม่าที่สวยงามแปลกตา ทั้งศาลาการเปรียญ โบสถ์ และเจดีย์ มีพระพุทธรูปหินอ่อน ทรงเครื่องแบบพม่า สร้างอย่างสวยงามวิจิตรพิสดารมาก วัดแห่งนีย้ งั เป็นทีจ่ �ำ พรรษาของพระสงฆ์พม่าทีเ่ ดินทาง เข้า มาศึกษาพระธรรมวินัยในประเทศไทย และใครสนใจพระ อุปคุตที่นี่ก็มีให้บูชานะครับ ผมมาบูชามาแล้วหลายองค์ได้ ทั้งกุศลและเชื่อว่าท่านจะดลบันดาลให้เงินทองไหลมาเทมา อีกด้วย วัดพระธาตุช่อแฮ วัดนี้ไปไกลหน่อยแต่ก็มีชื่อเสียงและ ศักดิ์สิทธิ์ โดยเฉพาะคนเกิด ปีขาล (เสือ) จะเป็นพระธาตุ ประจำ�ปีเกิดไม่ควรพลาดในการไปนมัสการ เป็นปูชนีย สถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ ตามตำ�นานกล่าวว่า สร้างขึ้น ในสมัยพระมหาธรรมราชาธิราช(ลิไท)โดย ขุนลัวะ อ้ายก๊อม พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ที่ประดิษฐาน พระเกศา ธาตุและพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะเชียงแสน สำ�หรับชื่อพระธาตุช่อแฮนั้น บ้างว่าได้มาจากชื่อผ้าแพรชั้น ดี ซึ่งทอจากสิบสองปันนาและชาวบ้านนำ�มาผูกบูชาพระ ธาตุ บ้างก็ว่ามาจากผ้าแพรที่ขุนลัวะอ้ายก๊อมนำ�มาถวาย ทุกปีจะมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 9 ค่ำ� - ขึ้น15 ค่ำ� เดือน 4 (ประมาณเดือนมีนาคม) ของทุกปี วนอุทยานแพะเมืองผี แพะเมืองผีอยูบ่ นเนือ้ ทีป่ ระมาณ 500 ไร่ เกิดจากสภาพภูมิประเทศซึ่งเป็นดิน และหินทรายถูก กัดเซาะตามธรรมชาติเป็นรูปร่างลักษณะต่างๆ ได้มีการ ประกาศจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2524 มี เนื้อที่ 167 ไร่ เป็นสถานที่มีความสวยงามด้าน ธรณีวิทยา หน้าผา เสาดิน และเส้นทางศึกษาธรรมชาติ...”แพะเมือง ผี “ มีตำ�นานเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ ความลี้ลับจนเป็น ความเชื่อของคนในท้องถิ่นที่บรรพบุรุษได้เล่าสืบต่อกันมา ว่า มียายชราคนหนึ่ง เข้าไปในป่าถึงสถานที่แห่งหนึ่งได้พบ หลุมเงินหลุมทองยายชราพยายามจะเอาเงิน เอาทองใส่ หาบกลับบ้าน แต่เทพยาดาอารักษ์ไม่ให้เอาไปเพียงแต่เอา อวดให้เห็นเท่านั้น พอไปตามชาวบ้านมาดู ก็พบแต่รอย เท้า หาบเงิน หาบทอง หายไป ชาวบ้านจึงเรียกสถานที่นี้

37 36

ว่า “แพะเมืองผี” และอยากแนะนำ�ลักษณะสถาปัตยกรรมรูปแบบบ้านที่เป็น เอกลักษณ์ของเมืองแพร่ ที่ทางจังหวัด อบต.อบจ.แพร่ กำ�ลังส่งเสริมให้คนไปเที่ยวชม และอนุรักษ์กันอยู่ ดีไหม ครับ หรือขับรถผ่านๆ ไปในเมืองก็จะเห็นหลายหลังพอควร เริ่มจาก บ้านประทับใจ (บ้านเสาร้อยต้น) บ้านประทับใจ เป็นบ้านส่วนบุคคล อยู่ในอำ�เภอเมือง ได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2515โดยคุณพ่อกิจจา ชัยวัณณคุปต์ เจ้าของบ้าน เป็นผูอ้ อกแบบแปลนและตกแต่งบ้านด้วยตัวท่านเอง มีการ ปลูกสร้าง และต่อเติมมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่ ปี พ.ศ.2515 โดย ใช้ไม้สักท่อน ขนาดใหญ่ ตั้งเป็นเสาบ้านจำ�นวนทั่งหมด 130 ต้น ใช้ระยะเวลาก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ เป็นบ้านพัก อาศัยได้ประมาณ 5 ปี คือ ปี พ.ศ.2519 ก็เป็นที่พำ�นักพักพิง ของพ่อ , แม่ และ ลูกหลาน เป็นบ้านส่วนบุคคลแต่ก็ได้ เปิดให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งของจังหวัดแพร่ที่มีคน ขอเข้าชมเป็นประจำ� แบบแปลนการปลูกสร้างและลักษณะ ทั่ ว ไปของบ้ า นประทั บ ใจบ้ า นสร้ า งเป็ น แบบทรงไทย ประยุกต์ หลังคาสูงติดต่อกัน 3 หลัง หลังคามีหน้าจัว่ ประดับ ด้วยกาแลซึ่งเป็นสัญลักษณ์ บ้านทรงไทย ทางภาคเหนือ บ้านวงศ์บุรี เป็นบ้านของเจ้าพรหมเจ้าสุนันตาวงศ์บุรี ผู้ สืบเชื้อสายมาจากอดีตเจ้าเมืองแพร่สร้างเมื่อปี พ.ศ.2440 โดยช่างชาวจีนจากมณฑลกวางตุ้ง เป็นบ้านแบบยุโรป ประยุกต์ หลังคาสูงทรงปั้นหยา 2 ชั้น ฐานก่ออิฐถือปูน สูง จากพื้น 1 เมตร มีลวดลายไม้แกะสลักประดับตัวบ้านทั่วไป ภายในบ้านตกแต่งด้วย เครื่องใช้เก่าแก่ของตระกูล เปิดให้ ชมทุกวัน เวลา 9.00-16.30 น. และไม่ควรพลาดกับแหล่งของฝาก ของที่ระลึก และสินค้า พื้นเมืองดีๆ ตามหมู่บ้านที่ขับรถผ่าน ที่มีชื่อเสียง อาทิเช่น หมู่บ้านโป่งศรี ตำ�บลถิ่น อำ�เภอเมือง เป็นหมู่บ้านซื้อขาย แลกเปลี่ยนวัตถุเก่าเก็บ ทั้งที่เป็นของมีค่าและเครื่องใช้ ใน ชีวิตประจำ�วันที่เป็นของเก่า รวมทั้งมีผลิตภัณฑ์เครื่องเงิน ขาย พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ห่างจากตัวเมืองไปตามถนนแพร่สูงเม่น ประมาณ 3 กม. ในบริเวณเดียวกับสวนอาหารบ้าน ฝ้าย เป็นสถานที่จำ�ลองชีวิตความเป็นอยู่ในรูปแบบอาคาร บ้านเรือนและของใช้ในครัวเรือนของชาวเมือง เมือ่ ราว 100 กว่าปีมาแล้ว หมู่บ้านทุ่งโฮ้ง อยู่ห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 กม. ตามทางหลวงหมายเลข 101 (สายแพร่-น่าน) เป็น แหล่งผลิตและจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ผ้าม่อฮ่อมดั้งเดิมของ จังหวัดแพร่ หมู่บ้านร่องฟอง เป็นหมู่บ้านผลิตเครื่องมือ เกษตรที่ทำ�จากเหล็ก เช่น จอบ เสียม มีด พร้า เคียว ชม วิธีการตีเหล็ก และการทำ�ผลิตภัณฑ์จากผ้าร่ม การเดินทาง ใช้เส้นทางหมายเลข 101 (สายแพร่-น่าน) ประมาณ 4 กม.แยกเข้าทางหลวงหมายเลข 1101 จะพบป้ายบอกทาง เข้าหมู่บ้าน แหล่งกินดื่มซื้อ แถวในเมือง ก็แนะนำ� บ้าน ฝ้าย ขนมครกแม่หล่าย บายศรีแฮนเพนต์บาติก ม่อฮ่อม เพชรา ม่อฮ่อมแม่หนู หรือจะซื้อ หมูยออร่อยก็ ร้านสุจินต์ หมูยอ เขียนมายึดยาวแล้ว คงเที่ยวไม่ทั่วหรอกนะครับ เอา แค่ไปกันได้ เพื่อผ่อนคลายก็คงจะเพียงพอแล้วละครับ จริงๆ ของดีของแพร่ยังมีอีกมาก เช่นน้ำ�พุร้อน ยังมีเลย และอุทยานแห่งชาติดีๆ สวยงามก็มากมาย อุ้ยอยากไปแอ่ง ให้หมด หรือไม่ก็เป็นเขยของเมืองแพร่ก็ไม่เลวเนอะ.. เจอะกันใหม่ครับฉบับหน้าฟ้าใหม่จ๊ะ..

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


เล่าขานตำ�นาน

“ล้านนารำ�ลึก 700 ปี ที่สูญหาย”

นรินทร์ ลิ้มเล็งเลิศ

นักศึกษาปี 4 สาขาการบัญชี และการเงิน University of Virginia, Charlottesville ,Va., USA.

ทฤษฎีว่าด้วยการอยู่รอด ของสิ่งมีชีวิตที่แข็งแกร่งที่สุดของ ชาร์ล ดาร์วิน นั้นเป็นความจริง ก่อนหน้าที่เขาจะคิดทฤษฎีนี้มาเสียอีก ในขณะที่ทางซีกโลกตะวันตก มีสงครามครูเสด ๒๐๐ ปี จากความ ขัดแย้งในคริสตศาสนา ในทวีปเอเชีย พศ. ๑๘๒๒ กุบไลข่าน ผู้นำ�ชาวมองโกล ตั้งตนเป็นจักรพรรดิ แห่ง ราชวงศ์หยวน นำ�อำ�นาจมาโดยสมบูรณ์จากราชวงศ์ซ่ง พญามังรายแห่งราชวงศ์ ลวจักรราช นิ่งนอนใจ ได้กับอำ�นาจของราชวงศ์หยวน ท่านจึงได้ย้ายเมืองจากเงินยาง ลงมาทางใต้ การจะคงอำ�นาจของพระองค์ ให้ยั่งยืน พระองค์ไม่อาจอยู่เฉย จึงคิดการตีเอาเมืองหิริภุญไชย อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่หิริภุญไชยนั้น เป็นเวียงแห่งพระพุทธศาสนา อันศักสิทธิ์เป็นที่เคารพจากหลายอาณาจักร พญามังราย ได้ทำ�สนธิสัญญา สามกษัตริย์ ระหว่างสหายกษัตริย์ของพระองค์ ได้แก่ พญางำ�เมือง แห่งพะเยา และ พ่อขุนรามคำ�แหง แห่งสุโขทัย เพื่อให้แผนการแผ่อำ�นาจของพระองค์เข้าสู่ หิริภุญไชยเป็นไปอย่างสมบูรณ์แบบ และเพื่อ สืบสานสัมพันธไมตรี พญามังรายตีเมืองหิริภุญไชยได้ใน พศ ๑๘๓๕ แน่นอนว่าที่ใดมีสงคราม ที่นั่นย่อมมีความเสีย หาย ตำ�นานจากวัดเชียงมั่น วัดเก่าแก่ที่สุดในเชียงใหม่ เล่าไว้ว่า เวียงหิริภุญไชยทั้งเวียง โดนเผาทำ�ลาย ลงยับเยิน แต่มีปาฏิหาริย์นั่นคือพระศิลา และพระแก้วขาว พระพุทธรูปประจำ�องค์พระนางจามเทวี ผู้ก่อ ตั้งหิริภุญไชยไม่ได้ รับความเสียหายแต่อย่างใด เพื่อความเป็นมงคลแห่งการขึ้นครองราชย์ ของพญามัง รายที่นครพิงค์ พระองค์ได้นำ�พระพุทธรูปทั้งสองมาไว้ในบริเวณใกล้ๆ หอคำ�ของท่าน (บริเวณวัดเชียง มั่น) ปัจจุบันทั้งพระศิลาและ พระแก้วขาว ประดิษฐานอยู่ที่วิหารแห่งวัดเชียงมั่น จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจัยอันก่อกำ�เนิดอาณาจักรล้านนาที่ยิ่งใหญ่ เกิดจากสำ�นวนที่เรียกว่า ปลาใหญ่กินปลาเล็ก เมื่อ พญายี่บา แห่งหิริภุญไชย ต้องทอดทิ้งอาณาจักรของพระองค์ไปพึ่ง พญาเบิก ราชโอรสแห่งเขลางค์ นคร อย่างไรก็ตาม พญาเบิก ถูกสำ�เร็จโทษโดยพระไชยสงคราม ผู้สืบทอดตำ�แหน่งจากพญามังราย ที่ ขุนตาล (ลำ�ปางปัจจุบัน) ส่วน พญายี่บา ได้หนีไปพึ่งเมืองสองแคว เวียงเขลางค์นคร(ลำ�ปาง) ได้ถูกผนวก เข้าสู่อาณาจักรของราชวงศ์มังราย ที่มีศูนย์กลางที่นครพิงค์เชียงใหม่แต่นั้นมา จุดจบของผู้นำ�หิริภุญไชย และ เขลางค์นคร ช่างน่าสะเทือนใจ ในราว พศ ๑๘๔๐ ด้วยอำ�นาจ และบารมีแห่งพญามังราย พญางำ�เมือง ได้ยอมให้พะเยา อยู่ใต้อาณัติแห่งนครพิงค์ ต่อมา ส่วนอาณาจักร พลรัฐ (แพร่) และ น่าน โชคดีที่มีเทือกเขาสูงชันสลับซับซ้อนกั้นอยู่ ทั้งสองอาณาจักรจึงมีราชวงศ์ และ ความเอกราชสืบต่อมา (ติดตามความรุ่งเรืองแห่งอารยธรรมล้านนา ฉบับหน้า)

“Survival of the Fittest” has always been true even before Charles Darwin theorized such idea in 1864. While, in the west in the beginning of the 1300s, 200 years Crusade war diverted the Westerner’s attention away from the land in Asia, during 1279 Ce, Kublai Khan, the Mongol leader enthroned himself as the pioneer of Yuan dynasty and threw away the previous remnants of Song. Military power of Kublai Khan was heard by Meng Rai, a leader with Lua blood, reigning in the area of today’s Chiang Rai. To remain in power amidst the emergence of Yuan dynasty, Meng Rai could not remain silent. First, he moved his capital downward to make it far from the power of Yuan dynasty. Then in order to strengthen his power, he planned to attack Hiripunjai and to annex it as a part of his kingdom. Since Hiripunjai had been respected by many nearby clans due to its ancient history and Buddhist environment, Meng Rai needed to make a promise with the two of his friends named: Kum Muang and Khun Ram Kum Hang that they would not interrupt his plan to annex Hiripunjai. Meng Rai attacked and brought Hiripunjai under his reign in 1292 Ce. War brought a lot of destruction to Hiripunjai as implied by the legend of Wat Chiang Man, the first temple of Nakornping Chiang mai. The legend said that every habitats, temples, courts, and palace in Hiripunjai are severely destroyed by a fire. However, a miracle did happen, somehow. Phra Sila and Phra Khew Khao, the Buddha’s figures, the belongings of Jama Dhevi, stayed in their perfect shape without trace of burning. To make his reign of Nakornping Chiang mai auspicious, Meng Rai invited Phra Sila and Phra Khew Khao to Nakornping and worshipped them in the area near his first palace. Meng Rai palace is said to be near the current area of Wat Chiang Man. Today, Phra Sila and Phra Khew Khao are reserved in Wat Chiang Man for any person who has a faith in. The sentence “big fish eats small fish” perfectly describes the process toward the emergence of Lanna Kingdom. Yee Bah, the previous Hiripunjai leader, fled away from Meng Rai to ask Yee Berk, his son who is the leader of Kelang Nakorn, for the help in restoring his power. Nevertheless, Yee Berk was sentenced to death in Khun Tan (today’s Laumpang), and Yee Bah escaped to be under the power of Song Kwae (today’s Pitsanulok). The ending of Hiripunjai and Kelang Nakorn leaders and their dynasty in 1297 Ce was a tragedy. However, other nearby clans and kingdom either escaped Meng Rai’s power or surrendered the power to Meng Rai to avoid violence. Kum Muang, the leader of Payao, surrendered his kingdom under Meng Rai’s Nakorn Ping; the integration process was not violent because Kum Muang and Meng Rai were friends. With their geographical and mountainous complexity, Nan and Phrae escaped the power of Meng Rai, and they both continued their own distinctive leader, dynasty, and custom. (To be continued…)

พฤศจิกายน ๒๕๕๒

39 38


Zoom Inside 3360

38 39

Zoom Inside 3360… ฉลองอย่างยิ่งใหญ่ 50 ปีสโมสรโรตารีเชียงใหม่ มิตรทั้งในและต่างประเทศร่วมฉลองคับคั่ง นย.รศ. โรม จิรานุกรม เป็นปลื้ม คำ�ชมวันนี้หล่อสุดๆ ค่ะ ...*** การแสดงเพียงชุดเดียว “หงส์เหิร” ของคลื่นลูกใหม่ แสดงได้อย่างสวยงาม นักร้องกิตติมศักดิ์ อผภ.ดร.ศุกวัตร ภูวกุล ยอดเยี่ยม ค่ะ ...*** ตกใจเห็น รทร.เมตตา นันทขว้าง ย้ายไปอยู่สโมสรเชียงใหม่ อน.วิชัย ศรีพธูราษฎร์ สโมสรแม่สาย บ่นแล้วบ่นอีก พี่ปล่อยไปได้อย่างไร ?.. ดึงแล้วดึงอีก ด้วยความเชื่อมั่นสูงและ เพื่อความสบายใจ ก็จำ�ต้องให้จากถิ่นไทยงามด้วยความเสียดาย..เสียดายค่ะ ...*** อดีตประธาน โรตารีสากล ฯลฯพิชัย รัตตกุล อผภ.ชัยสิน แอนน์ปรารมณ์ มณีนันทน์ อผภ.ไพโรจน์ เอื้อ ประเสริฐ อผภ.นพ.สุเทพ แอนน์พญ.นิภาพร นิ่มพิทักษ์พงศ์ อผภ.วิวัฒน์ แอนน์สุจินต์ ศิริจาง คพัฒนา อผภ.นพน แอนน์อัมพร อิ่นคำ� ให้เกียรติร่วมพิธี ...*** อน.มนตรี วงศ์เกษมPHF นยล.อุณา ชไนเดอร์ รับหน้าที่พิธีกรคู่ขวัญ ...*** ได้รับคำ�ชมจาก ฯพณฯพิชัย รัตตกุล ประชาสัมพันธ์ภาค อน.จันทนี เทียนวิจิตร ปลื้มค่ะ ...*** มาด้วยมาดใหม่จำ�แทบไม่ได้ อน.พิมพ์ ประไพ พรรณาภพ ทำ�เอา อผภ.ไพโรจน์ เอื้อประเสริฐ เป็นงง จะไปอย่างนี้นะหรือ? ...*** อน.จิรายุทธ หิรญ ั วัฒน์ อยูห่ ลังห้องสุดไม่ทกั ไม่ทาย ได้ขา่ วว่าป่วย อผภ.ดร.พรศักดิ์ เอือ้ ประเสริฐ ขอให้หายวันหายคืนนะคะ ...*** อาสาสมัครดีเด่นแห่งชาติ 2552 ของสภาสังคมสงเคราะห์แห่ง ประเทศไทยภาค 9 อน.จุไร ชำ�นาญ รับโล่ห์จากนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 21 ตค.52 ไม่ได้อยู่ ร่วมงาน RYLA จะไปดูว่านายกหล่อจริงหรือเปล่าค่ะ ...*** ผู้ว่านอมินี ชำ�นาญ จันทร์เรือง เตรียมความพร้อม ละเมอ...ถึงความสำ�เร็จ ปี 54-55 โน่น ..เฮ้อ..โล่งอก แล้วก็นั่งชื่นชมกับผล งานของตัวเองด้วยความภาคภูมิใจ เป็นอดีตผู้ว่าการภาค ที่ประสบความสำ�เร็จดังหวังค่ะ ...*** ค่ายเกือบป่วนในวันแรกด้วยความไม่เข้าใจ...เด็ก Rebound หลายๆ คนเข้าค่ายเพื่อจะช่วยดูแล อน.จินดา จรรญาศักดิ์ เด็ก Inbound แต่ไม่มีเด็ก Inbound ให้ดูแล ด้วยสำ�นึกที่ได้รับการอบรมมาว่าเมื่อกลับมาแล้ว สโมสรโรตารี เชียงใหม่ จะต้องสำ�นึกถึงบุญคุณของโรตารี แต่ด้วยความสามารถของประธาน อน.ยุทธนา นฤนาถวงศ์ ถิ่นไทยงาม สกุล อน.อดิศร เสกสรรวิริยะ สามารถละลายพฤติกรรมเด็กเหล่านี้ให้อยู่ร่วมในค่ายตั้งแต่ต้นจน จบด้วยความสุข ให้เกียรติ ให้การยกย่อง นี่คือบทเรียนบทหนึ่งที่ภาคจะต้องทบทวนค่ะ ...*** ทุ่มเทเต็มที่กับภารกิจที่ได้รับมอบหมาย บุคคลที่น่ายกย่อง นย.ดรัณ สิรีเลิศ อยู่ร่วมในค่ายตลอด 5 วัน ...*** ต้องหามออกจากโรงพยาบาล อน.เอกวุฒิ กาวิละ ด้วยหน้าที่ ผู้อำ�นวยการค่าย ป่วยจนหายป่วย สปิริตค่ะ ...*** พยาบาลเฝ้าค่าย ทั้งทายา แจกยา อน.สุมาลี กันจินะ ...*** สุดยอดพิธีกร อน.บรรจบ สุนทรสวัสดิ์ สร้างสีสันให้กับการประกวด ดาว-เดือน และดาวเทียม (กระเทย) ได้อย่างสนุกสนานค่ะ ...*** ด้วยวัยใส น่ารัก น้องพลอย บุตรสาว อน.พ.ต.อ.ปรีชา วิมลไชยจิต เป็น “ดาว” ของค่าย RYLA อนาคตอยากเป็นภรรยาคุณหมอ (หล่อ-รวย) จะได้ไม่ ต้องทำ�งานค่ะ ...*** น้องพรหม บุตรชาย รทร.วลัยพรรณ เตชะเบญจรัตน์ เป็น “เดือน” อนาคต อยากเป็นนายก ...*** ปิดฉากการอบรมด้วยความเรียบร้อย เป็นที่ประทับใจของเยาวชนที่ร่วม ค่าย อน.ยุทธนา นฤนาทวงศ์สกุล ขอบคุณ ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ สนับสนุนงบในการเข้า ชมหมีแพนด้า ขอบคุณคณะกรรมการทุกท่านที่ร่วมแรงร่วมใจทำ�งานกันอย่างเต็มที่ ขอบคุณ สโมสรที่ร่วมส่งเยาวชนเข้ารับการอบรมค่ะ ...*** ขอแสดงความเสียใจ อาลัย ครอบครัววิบุล สันติ พ.ต.อ.ศิริ วิบุลสันติ ได้จากไปอย่างสงบเมื่อวันเสาร์ที่ 24 ตค.52 พิธีฌาปนกิจวันอังคาร ที่ 27 ณ สุสานประตูหายยา มิตรโรแทเรียนร่วมพิธีอย่างคับคั่งค่ะ ...*** เมื่อวันที่ 31 ตค.52 อผภ.ดร.พรศักดิ์ เอื้อประเสริฐ ได้จัดให้มีพิธีรับถ้วยพระเทพฯ สโมสรถิ่นไทยงาม ถ้วยสมเด็จ พระบรมฯ สโมสรปัว และมอบใบประกาศเพื่อแสดงความขอบคุณคณะกรรมการที่ร่วมบริหาร งานในปีของท่านค่ะ ...*** สโมสรนเรศวร เพิ่มสมาชิกได้มากถึง 20 กว่าท่าน รับรางวัลค่ะ ...*** สโมสรโรตารีเวียงโกศัยร่วมกับสโมสรในจังหวัดแพร่ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างเมือง Intercity Meeting ประธาน อน.สุนทร เหมทานนท์ เชิญชวนมิตรโรแทเรียนร่วมประชุมวันที่ 19 ธันวาคม 52 ณ โรงแรมแม่ยมพาเลซ จังหวัดแพร่ ค่าลงทะเบียนท่านละ 400 บาท ...*** พบกันใหม่ฉบับหน้า.......เอื้องผึ้ง........

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


Activities

พฤศจิกายน ๒๕๕๒

40 41


41 40

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


Activities

สโมสรเชียงใหม่ จัด งานฉลองครบรอบ 50 ปี ในวัน ที่ 17-10-52 ณ โรงแรม อิมพีเรียลแม่ปิง โดยมี ฯพณฯ พิชยั รัตตกุล ให้เกียรติรว่ มงาน

สโมสรโรตารีเชียงใหม่ ถิ่นไทยงาม จัดฝึกอบรมทักษะ ชีวติ ร่วมกับสโมสรโรตารีฝาง ณ โรงเรียนรังสีวิทยา 21 ตุลาคม 2552 สโมสรโรตารี พิษณุโลก จัดการแข่งขันโบว์ลิ่งการกุศล ขึ้นใน วันที่ 3 ตุลาคม 52 โดยได้รับเกียรติจาก พลเอก ดร. ศิริ ทิวะพันธ์ อดีต แม่ทัพ กองทัพภาคที่ 3 ให้เกียรติเป็นประธาน พร้อมมอบถ้วย ให้กับผู้ ชนะเลิศในรายการต่างๆ นายกชญากานต์ พิทตระพันธ์ นายกสโมสรโรตารี พิษณุโลก พร้อมคณะ ให้เกียรติมอบมาลัยดอกไม้ ให้แก่ ด.ร. ศุภวัฒน์ ภูวกุล อดีต ผู้ว่าการภาค 3360 ในโอกาส บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “ไม้กวาดกับกับ ผู้นำ�” ณ โรงแรม ราชพฤกษ์ พิษณุโลก

สโมสรโรตารีแม่สาย และ แม่จัน ได้สถาปนา สโมสรอินเตอร์แรคท์ ๓ สโมสร ประกอบด้วย รร.แม่สาย ประสิทธิศ์ าสตร์ รร.แม่จนั วิทยาคม และ รร.ศึกษาสงเคราะห์ ที่โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ อ.แม่จัน จ.เชียงราย วันที่ 20 กันยายน 2552 นย.ทรงพล เจี ย ร พิ นิ จ นั น ท์ แ ละสมาชิ ก สโมสร โรตารีเชียงรายเหนือมอบ ดิก ชัน ่ นารีให้โรงเรียนบ้านผาเสริฐ เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2552 ผวภ.แววดาว ลิ้ ม เล็งเลิศ ร่วมเดินนำ�ขบวนแห่ กระทงใหญ่กับ สโมสรโรตารี ลำ�พูน

พฤศจิกายน ๒๕๕๒

42 43


สโมสรโรตารีนเรศวร จ.พิษณุโลก 1 ต.ค.52 สโมสรโรตารีสันป่าตอง 6 ต.ค.52

สโมสรโรตารีแม่วัง 8 ต.ค.52

สโมสรโรตารีท่าวังผา 12 ต.ค.52

สโมสรโรตารีจามะเทวี 7 ต.ค.52

สโมสรโรตารีกำ�แพงเพชร 13 ต.ค.52

สโมสรโรตารีตาก 14 ต.ค.52 สโมสรโรตารีแม่สอด เมืองฉอด 15 ต.ค.52 สโมสรโรตารีจอมทอง 19 ต.ค.52

สโมสรโรตารีเชียงใหม่ตะวันตก 20 ต.ค.52 สโมสรโรตารีฝาง 21 ต.ค.52

สโมสรโรตารีลำ�พูน 22 ต.ค.52

สโมสรโรตารีหริภุญไชย 22 ต.ค.52

สโมสรโรตารีลับแล 27 ต.ค.52

สโมสรโรตารีปัว 28 ต.ค.52

สโมสรโรตารีปัว 28 ต.ค.52

สโมสรโรตารีนครน่าน 29 ต.ค.52

สโมสรโรตารีสอง 30 ต.ค.52

43 42

พฤศจิกายน ๒๕๕๒


มุม...สบาย...สบาย

มวลมิตรโรแทเรียน โรตารีแอนน์และสุภาพบุรุษโรตารีที่เคารพ ขอบคุณในน้ำ�ใจไมตรีที่มวลมิตรโรแทเรียนและท่านผู้อ่านทุกท่านได้ร่วมตอบ คำ�ถามมา ผมอยากจะแจกของรางวัลให้กับทุกท่าน......แต่คงจะไม่ไหวน่ะครับ ใครได้ รางวัลถือว่าโชคดีไป ใครไม่ได้ก็อย่าพึ่งน้อยใจไปน่ะครับ วันพระไม่ได้มีหนเดียว ฉบับ นี้ไม่ได้ฉบับหน้าอาจจะได้ใครจะไปรู้จริงไหมครับท่านครับ ขอเฉลยฉบับที่สามก่อนครับข้อ1.ตอบมีเพียงนกแก้วคนเดียวที่ไปวัด ข้อ2. ตอบ ตัวตั้งคือ 927ลบด้วย346ได้คำ�ตอบ 581 ข้อ3.ตอบมีทุกเดือน ผู้โชคดีทั้ง สามท่านไม่ได้เขียนบอกว่าสังกัดโรตารี่ที่ไหน รู้แต่เพียงชื่อที่ อยู่ซึ่งเป็นคนเชียงรายคาดว่าน่าจะเป็นนักเรียน อย่างไรแล้วช่วยแจ้งให้ทราบด้วยจะได้รู้ ว่าสารผู้ว่าการภาคไปถึงหน่วยงานไหนบ้างขอบคุณครับ ผู้โชคดี 1.คุณวิรัช จรูญไกร อมรชัย 2. คุณเวณิกา เจียมตระกูล 3.คุณนุชนาถ โต ผมส่งของรางวัลให้เรียบร้อย แล้วน่ะครับ ฉบับนี้ของรางวัลเป็นพวงกุญแจไฟฉายทีมฟุตบอลดังจากประเทศอังกฤษ 3 รางวัลสวยมากครับรีบส่งคำ�ตอบด่วน..... akeelawat@yahoo.com หรือจดหมายมาที่ 23 ถนนพหลโยธิน อ.แม่สาย จ.เชียงราย 57130 ความคิดดี คุณนาย : พักนี้เธอทำ�จานแตกไม่รู้กี่ใบต่อ หัวหมอนี่ กี่ใบ จนเงินเดือนเธอไม่พอหักแล้วนะ เธอ ลูกชาย : 1 กับ 20 เลขไหนมีค่ามากกว่า ว่ามาซิว่าจะให้ฉันทำ�ยังไงถึงจะดีขึ้น กัน สาวใช้ : หนูก็คิดวิธีไม่ออกเหมือนกันค่ะ? พ่อ : ต้องเป็น 20 อยู่แล้ว นอกเสียจากว่าคุณนาย จะเพิ่มเงินเดือนให้ ลูกชาย : ถ้าอย่างงั้น ผมสอบได้ที่ 20 ก็ต้อง อน.อภิชัย คีลาวัฒน์ หนู ดีกว่าสอบได้ที่ 1 สิครับ สโมสรโรตารีแม่สาย ชั่วโมงคณิตศาสตร์ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง วันหนึ่ง ในชั้นเรียนวิชาคณิตศาสตร์ แม่ : งานของวันนี้ควรจะทำ�ให้เสร็จในวัน ครู : ผลคูณจะมากกว่าผลบวก นี้ ไม่ควรผัดวันประกันพรุ่ง นักเรียน : ไม่จริงครับ เพราะว่า 1 บวก 1 ลูก : ถ้าอย่างงั้น ลูกอมที่แม่ซื้อวันนี้ก็ควร เท่ากับ 2 แต่ 1 คูณ 1 เท่ากับ 1 หนึ่งน้อย รีบกินให้หมดในวันนี้เหมือนกันใช่ไหมครับ กว่าสองใช่ไหม ดังนั้นผลคูณจึงน้อยกว่าผล บวกแน่นอน

1. คำ�พูดของท่านนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ กล่าวว่าอย่างไร? 2. นิตยสารดิโรแทเรียน ฉบับแรกมีชื่อว่าอะไร? 3. MOU ย่อมาจากคำ�ว่าอะไร? 4. ในคอลัมพ์ Youth Conner ย่อนิยามผ่านภาพ ออกมาเป็น 3 คำ� สั้นๆ ว่าอย่างไร? 5. เสาอินทขิล อยู่ที่ไหน?

คำ�ถาม Puzzle พฤศจิกายน ๒๕๕๒

45 44


DG’s Activities

(บนสุด) ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ร่วมมอบกรมธรรม์ประกันรถม้าจำ�นวน 10 คันและสโมสรโรตารีดอยพระบาทมอบ 10 คัน รวม 20 คันเพื่อส่งเสริม อาชีพคนขับรถม้าในจังวัดลำ�ปาง เมือ่ วันพฤหัสที่ 8 ตุลาคม 2552 ณ โรงแรม พิณโฮเต็ล อ.เมือง จังหวัดลำ�ปาง (กลางขวา) พิธีมอบรางวัลเยาวชนผู้นำ� โรตารีดีเด่น ประจำ�ปี 2552-2553 แก่ นายภูเบศน์ จิตรจริง สนับสนุน โดย สโมสรโรตารีแพร่ (กลาง) เที่ยวชมธรรมชาติอันสวยงาม ก่อนการเยี่ยม อย่างเป็นทางการกับสโมสรโรตารีสอง เมื่อวันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม 2552 ณ

44 45

บริเวณปล่องภูเขาไฟโบราณ วนอุทยานแห่งชาติแม่ยม อ.สอง จังหวัดแพร่ (กลางซ้าย) ร่วมแสดงรำ�วง 4 ภาคกับคณะโรตารีแอนน์ของ สโมสรโรตารี ปัว ในงานสังสรรค์ที่ผู้ว่าการภาคมาเยี่ยมอย่างเป็นทางการ เมื่อวันพุธที่ 28 ตุลาคม 2552 ณโรงแรมอูปแก้วรีสอร์ท อ.ปัว จังหวัดน่าน (ล่างสุด) เป็นประธาน ในพิธีเปิดการอบรมเยาวชนผู้นำ�โรตารี3360 (RYLA 2009) วัน พุธที่ 21 ตุลาคม 2552 ณ หอประชุพฤศจิ มข้าวหอมมะลิ กายน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เชียงใหม่ ๒๕๕๒


แทนคำ�นับพัน

Ni Hao! China Zhaga Waterfall in Muni Valley น้ำ�ตกซาก้า อุทยานมุนีโก่ว มณฑลเสฉวน สาธารณรัฐประชาชนจีน

วนอุ ท ยานจิ่ ว ไจ้ โ ก่ ว ในมณฑลเสฉวน สาธารณรั ฐ ประชาชนจี น เป็ น แหล่ ง มรดกโลกทาง ธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อทั้งชาวไทยและ สำ�หรับชาวจีนเอง จนบดบังแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ใกล้ เคียง คือน้ำ�ตกซาก้า ซึ่งเป็นน้ำ�ตกหินปูนที่ใหญ่และสูง ที่สุดในจีน อยู่ในวนอุทยานมูนิโก มณฑลเสฉวน เช่น เดียวกัน

พฤศจิกายน ๒๕๕๒

ปลายฤดู ห นาว ก่ อ นเข้ า ช่ ว งฤดู ใ บไม้ ผ ลิ ปริมาณน้ำ�ตกอาจจะน้อย แต่ธรรมชาติของป่าสนใน หุบเขามุนีที่ได้สัมผัส พร้อมละอองหิมะโปรยปรายไป ทั่วขุนเขาสร้างบรรยากาศที่หนาวเย็นและแปลกตา ยิ่งมายืนอยู่เบื้องล่างของสายน้ำ�ที่ทิ้งตัวลงมา จากผาสูง เป็นความงามที่แสนประทับใจ เลยนำ�มาฝาก ให้เข้ากับ ช่วงลมหนาวที่กำ�ลังพัดผ่านบ้านเรา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.