DG09-3-September

Page 1

๐๓


คณะอนุกรรมการจัดทำ� สารผู้ว่าการภาค ที่ปรึกษา อน.ศ.นพ.บริบูรณ์ พรพิบูรณ์ (เชียงใหม่) PP.Dr.Boriboon Phornphibul Mobile : 08-9556-4641 บรรณาธิการ

อน.วาณิช โยธาวุธ (แม่สาย)

PP. Vanit Yothavut Mobile : 08-1530-4457 E-mail : vanit@loxinfo.co.th ผู้ช่วยบรรณาธิการ อน.นฤชล อาภรณ์รัตน์ (เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม) PP.Naruchol Arpornrat Mobile: 08-1603-8865 E-mail:naruchol.arpornrat@gmail.com ผู้ช่วยบรรณาธิการ ผชภ. เอกวุฒิ กาวิละ (หางดง) AG.Ekavuth Kawila Mobile: 08-1881-3300 E-mail: ekavuth@gmail.com กองบรรณาธิการ ผวล.ชำ�นาญ จันทร์เรือง (เชียงใหม่เหนือ) DGE.Chamnan Chanruang Mobile : 08-1595-7999 E-mail : chamnanxyz@hotmail.com อน.ดร.บุษบง จำ�เริญดารารัศมี (เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม) PP.Dr.Busabong Jamroendararasame Moblie 08-1883-7144 E-mail : busabong@daraweb.net อน.จินดา จรรญาศักดิ์ (เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม) PP. Chinda Chanyasak Mobile : 08-1883-7103 E-mail : chinda@vorrawut.com อน. จันทนี เทียนวิจิตร (ล้านนาเชียงใหม่) PP. Chuntanee Tienvichit Mobile : 08-1783-9977 E-mail : chuntanee@hotmail.com อน.สุรินทร์ ชัยวีระไทย (นเรศวร) PP.Surin Chaiveerathai Mobile: 08-9858-8009 E-mail : prachamati_s@hotmail.com อน.อภิชัย คีลาวัฒน์ (แม่สาย) PP.Apichai Keelawut Mobile: 08-1681-7988 E-mail: akeelawat@yahoo.com อน.ศุภรี ฉัตรกันยารัตน์ (เชียงใหม่เหนือ) PP.Suparie Chatkunyarat Mobile: 08-1881-4828 E-mail : csuparie@yahoo.com รทร.สุนิพิฐ คงเมือง (ล้านนาเชียงใหม่) Rtn.Sunipit Kongmuang Mobile: 08-1796-8447 E-mail : sunipit@gmail.com

September 2009 New Generation Month เดือนแห่งชนรุ่นใหม่

* อ่านรายละเอียด เบื้องหลังภาพประวัติศาสตร์ของการโดร่ม ดิ่งพสุธา พร้อม ธงสัญญลักษณ์โรตารี ได้ที่ Youth Corner หน้าที่ 34


A Day in a Life of Rotary

“วันหนึ่ง ในช่วงชีวิตหนึ่ง ของเรา” บันทึกประวัติศาสตร์ ร่วมกับ โรแทเรี่ยนทั้งโลก

ในวันที่ 10 ตุลาคม 2552

บันทึกภาพ กิจกรรมในโรตารี ทุกรูปแบบ ที่สร้างสรรค์ ส่งมาที่ สารฯ นี้ หรือตรงไปยัง นิตยสาร ดิ โรแทเรียน E-mail : rotarian@rotary.org ภายในวันที่ 17 ตุลาคม 2552 เพื่อจะทำ�การคัดเลือกร่วมกับโรแทเรี่ยนทั่วโลก แต่ที่แน่ๆ สารฯ เดือนพฤศจิกายน จะอุทิศพื้นที่ตีพิมพ์ ผลงานการรวมพลัง สร้างสรรค์ในครั้งนี้ ของมวลมิตรทุกท่าน

2 1

กันยายน ๒๕๕๒


RI.President’s Letter สารประธานโรตารีสากล จอห์นเคนนี่ – กย.09 มิตรโรแทเรียนที่รัก กวีเอก ลอร์ดไบรอน เขียนไว้ว่า “ช่วงวัยเยาว์ของเรา คือช่วงเวลาแห่งความ รุ่งโรจน์ของเรา” สำ�หรับตัวผมแล้วจะนึกถึงบทกวีนี้ทุกครั้งที่มีการกล่าวถึงโปรแกรมต่างๆ ของเยาวชน สำ�หรับโรตารี เดือนกันยายน คือเดือนของคนรุ่นใหม่ เป็นช่วงเวลาที่เรา สมควรเน้นความสนใจให้แก่โปรแกรมต่างๆ สำ�หรับเยาวชนของโรตารี และบทบาทที่พวก เขากำ�ลังแสดงกันสำ�หรับเตรียมรูปแบบผู้ที่เป็นโรแทเรียนในวันข้างหน้า โปรแกรมต่างๆ สำ�หรับเยาวชนของเรา – อินเตอร์แรคท์ โรตาแรคท์ รางวัลผู้นำ� เยาวชนโรตารี (ไรล่า) และเยาวชนแลกเปลี่ยนโรตารี – โปรแกรมเหล่านี้ คือโปรแกรม ส่วนหนึ่งที่มีความสำ�คัญที่สุดในโรตารี ที่ผมกล้าพูดเช่นนี้ เพราะได้เห็นขุมพลังไร้ที่เปรียบ ของเยาวชน ในการชักนำ�ความคิดและจิตวิญญาณของพวกเขาไปในทางสันติ ด้วยไมตรีจติ มิตรภาพและการประสานใจกัน นับว่าเป็นพลังที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเยาวชน เนื่องจาก ประสบการณ์ในช่วงเยาว์วัยของเราจะคงอยู่กับเราตลอดไป และปั้นแต่งรูปแบบตัวเราให้ กลับกลายเป็นคนใหม่ในเวลาต่อมา มีคำ�พูดของท่านนักบุญฟรังซิสเซเวียร์ ที่มักถูกนำ� มากล่าวอ้างบ่อยครั้งว่า “ขอให้ข้าพเจ้าได้เลี้ยงเด็กสักคนจนถึง 7 ขวบ แล้วข้าพเจ้าจะ ทำ�ให้เขากลับเป็นผู้ใหญ่” สำ�หรับตัวผมเองนั้น อาจใช้เวลานานกว่าสักหน่อย แต่คงไม่มี ข้อสงสัยอย่างใดเลยว่า ประสบการณ์ในช่วงเยาว์วัยของเรานั้น มีพลังสร้างสรรค์ที่ยิ่งใหญ่ กว่า และเปลี่ยนแปลงรูปแบบตัวเราได้มากกว่าช่วงเวลาที่เป็นผู้ใหญ่เสียอีก เมื่อเด็กวัยรุ่นสหรัฐคนหนึ่งมีโอกาสเดินทางไปประเทศอินเดีย เพื่อไปร่วมงานวัน หยอดวัคซีนแห่งชาติ หรือนักเรียนจากบราซิลที่ไปใช้ชีวิตหนึ่งปีในญี่ปุ่น ชีวิตเขาจะ RI.President เปลี่ยนแปลงตลอดไป วัยรุ่นเหล่านี้จะสร้างเครือข่ายความรักและห่วงใยกันตลอดไป พวก John Kenny เขาจะไม่มองประเทศของเขาหรือโลกของเขาในรูปแบบเดิมอีกต่อไป มุมมองของเขาใน Year 2009-10 การจัดลำ�ดับความสำ�คัญ ตลอดจนคุณค่าของพวกเขานั้นจะเปลี่ยนแปลงตลอดไป จากรูป แบบประสบการณ์ของเยาวชนเหล่านี้ ถึงแม้ว่าภายหลังอาจมีโอกาสใหม่อีกครั้ง ก็ไม่มีพลัง เที ย บเท่ า ได้ การทำ � งานหนั ก ของพวกท่ า นทั้ ง หลาย ย่ อ มสร้ า งความมั่ นใจได้ ว่ า ประสบการณ์เหล่านี้จะยังคงเกิดขึ้นตลอดไป โปรแกรมเหล่านี้จะต้องเดินหน้าต่อไปและมี การจัดการอย่างดี เพื่อที่จะได้รับความไว้วางใจจากผู้ร่วมโครงการและครอบครัวของเขา ด้วย ความประทับใจของเยาวชนมีความเข้มข้นมั่นคงและยั่งยืนตลอดไป จะไม่ย้อน กลับมาอีกเป็นครั้งที่สอง พวกเราอาจเติบโตได้และเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีอายุเพิ่มขึ้น และ เราต้องเปลี่ยนไปจริงๆ จากประสบการณ์ทั้งหลายของเรา แต่คงจะไม่มีโอกาสได้สร้างตัว ตนของเราใหม่ได้อกี เพราะมันจะเกิดขึน ้ แต่เพียงครัง้ เดียว เฉพาะในวัยเยาว์ของเราเท่านัน ้ ช่วงวัยเยาว์ของเรา คือช่วงเวลาที่เราเจริญรุ่งเรืองอย่างแท้จริง - แต่อาศัยการ ใช้โปรแกรมเยาวชนแบบต่างๆ ของโรตารี สามารถกลับทำ�ให้ช่วงวันเวลานั้น กลายเป็น ความรุ่งโรจน์ของโรตารีได้ทั้งมวล จอห์น เคนนี่ ประธานโรตารีสากล (โดย – อน. พิเชษฐ์ รุจิรัตน์ 29 สค.09)

กันยายน ๒๕๕๒

3 2


District Governor’s Letter มวลมิตรโรแทเรียนโรตารีแอนน์ และท่านสุภาพบุรุษโรตารี ที่รักทุกท่าน ในปฏิทินโรตารี เดือนกันยายนถือเป็นเดือนของเยาวชนเดือนของคนรุ่นใหม่ ผู้นำ�ใน สโมสรทุกท่านควรตระหนักถึงเรื่องนี้เป็นพิเศษ เพราะการที่จะเตรียมเยาวชนของเราให้เป็นคน ดี มีความเสียสละ ตามอุดมการณ์ของโรแทเรียน ก็เปรียบเหมือนเราได้วางรากฐานของอนาคต ของชาติไว้อย่างเข้มแข็ง ดิฉันขอความกรุณาให้ทุกสโมสรโปรดให้ความสำ�คัญในทุกโครงการ ได้แก่ Interact, Rotaract, YE รวมทั้งการส่งเยาวชนเข้าร่วมการอบรมผู้นำ�เยาวชน ( RYLA) ที่ จะจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 20 - 24 ตุลาคม 2552 นี้ โดยมีอน. ยุทธนา นฤนาทวงศ์สกุล แห่งสโมสรโรตารีเชียงใหม่ใต้ และทุกสโมสรโรตารีในจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกันเป็นเจ้าภาพจัด องค์กรโรตารีของพวกเรามีอายุกว่า 105 ปี เต็มไปด้วยผู้นำ�ที่มีคุณภาพมากมาย ถึง เวลาแล้วที่เราจะต้องช่วยกันสรรหาสิ่งที่ดีมาให้แก่คนรุ่นใหม่ ขอฝากความหวังไว้กับทุกท่านใน องค์กรให้ช่วยกันและร่วมมือกัน ดิฉันเชื่อแน่ว่าหากเราปลุกจิตสำ�นึกที่ดีให้แก่เยาวชนของสังคม ในวันนี้ให้อยู่อย่างคนมีคุณธรรมในอนาคต ความวุ่นวายอย่างเช่นทุกวันนี้คงจะเบาบางลงหรือ หมดไป ในวันที่ 22 สิงหาคม ที่ผ่านมาภาค 3360 โรตารีสากล ได้จัดการประชุมสัมมนา การ พัฒนา สมาชิกภาพขึ้นที่ อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ� อ.เชียงแสน จ.เชียงราย โดย อน.อนันต์ เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธานจัดการอบรมสัมมนา พร้อมทั้งนายกและมวลมิตรโรแทเรียนอีก 8 สโมสรในจังหวัดเชียงราย น่าชื่นใจมากที่มีสมาชิกเข้าร่วมการสัมมนาอบรมอย่างหนาแน่น โดย ได้รับความรู้ความเข้าใจจากทีมวิทยากรรุ่นใหม่อย่างจุใจ ดิฉันขอขอบคุณเป็นอย่างสูงต่อเจ้า ภาพจัดงาน รวมทั้งวิทยากรทุกๆคนจากภาคของเราด้วย และหวังว่าสิ่งที่มวลมิตรโรแทเรียนได้ รับการถ่ายทอดมาในครั้งนี้จะมีประโยชน์กับสโมสรโรตารีฯ ภาค 3360 และองค์กรโรตารีต่อไป อย่างแน่นอน หากท่านได้นำ�ไปใช้ในการพัฒนาสโมสรของท่าน ในปีบริหาร 2552 – 2553 นี้ เราเหลือเวลาอีก 10 เดือนเท่านั้น ถ้าเราต้องการทำ� โครงการให้เห็นผลในปีบริหารนี้เราต้องเริ่มลงมือเดี๋ยวนี้ และดิฉันอยากจะขอเชิญชวนให้ทุก สโมสรได้ทำ�โครงการบำ�เพ็ญประโยชน์อย่างน้อย 1 โครงการในปีนี้ โดยอาศัยตามนโยบายที่โรตา รีสากลเน้นไว้ คือ การจัดการเรื่องของน้ำ� การเรียนรู้หนังสือ เรื่องสุขภาพและการบรรเทาการ หิวโหย เรื่องครอบครัวและเยาวชน โดยพิจารณาถึงความพร้อมของสมาชิกในสโมสรและต้อง เป็นความต้องการของชุมชนหรือท้องถิ่นอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม สโมสรอาจจะพัฒนาทำ�โครงการร่วมกับพันธมิตรหรือองค์กรอื่นๆก็ได้ เช่น โรงเรียน, โรงพยาบาลหรือองค์กรในท้องถิ่น ถ้าโครงการนั้นเป็นประโยชน์แก่ชุมชนอย่าง แท้จริงแล้ว เราสามารถทำ�งานพร้อมกันหรือแบ่งส่วนงานกันทำ�ได้ คือ สโมสรก็ได้โครงการหรือ กิจกรรมและองค์กรอื่นหรือชุมชนก็ได้ประโยชน์จากโครงการนี้เช่นกัน ด้วยไมตรีจิตแห่งโรตารี ( แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ )

2 3

ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๕๓

Dear Fellow Rotarians, In the Rotary International calendar, September is a month devoting to youths, our young generations. All club leaders should realize that, by preparing our youths to be good global citizenship following the Rotary’s ideology, we consequently bring our nation a strong future. I would ask all clubs to regard all projects involving youth development including Interact, Rotaract, YE, and RYLA with high importance. RYLA will be organized at the Maejo university in Chiang mai between October 20-24, 2009 the hosts of which will be PP. Yutthana Naruenatwongsakul from the Rotary Club of Chiang mai South and all Rotary clubs in Chiang mai. Our Rotary International has been established for more than 105 years, a century of which exists plenty of potential leadership. Now is a time we should be searching for the best thing for the bright future of our new generations. I hope that all Rotarians will collaborate to achieve what we have aimed for. By ensuring our youths living their lives best as national as well as global citizenship, the political and social disorder nowadays will probably no longer occur in the youths’ future days. On the passing August 22nd, Rotary International district 3360 organized a seminar for Membership at the Golden Triangle, Chiang Saen area, Chiang Rai, the hosts of which were PP. Anan Laothamatas from the Rotary Club of Mae Chan and eight Rotary Clubs in Chiang rai. Being very grateful that many Rotarians attended this seminar and that they were promptly educated and informed by a specialized team of young experts, I would like to thank the hosts as well as all of our RI 3360 experts. If we, Rotarians, apply the information learnt from the seminar in developing each of our clubs, we will, in turn, benefit our district 3360 as well as RI. 10 more months wait us ahead in the governing year 2009-2010. If we want to see the ultimate results of our projects, we must begin working on it now. I invite each Rotary clubs to implement at least one community service project within this governing year. A project should follow RI policy in alleviating hunger, youth, and family issues by taking into consideration: the promptness of each clubs’ members and the actual needs of the served community. However, each Rotary Clubs may well plan to cooperate with other Rotary clubs or other external organizations such as schools, hospitals, local organizations, and so on. As long as such project truly benefits the community, it does not matter whom we cooperate with; any organizations participate in the project should be applauded and recognized. Yours in Rotary, Waewdao Limlenglert

กันยายน ๒๕๕๒


CONTENT

สารผู้ว่าการภาค ปี ๒๕๕๒-๒๕๕๓ ฉบับที่ ๓ เดือนกันยา

สารบรรณ

2. สารประธานโรตารีสากล 3. สารผู้ว่าการภาคฯ 5. บอกอ บอกกล่าว 6-7 ใจถึงใจ 8 ปฎิทินภาค 9. สารเลขาฯภาค 10-11 สถิติการเข้าประชุม 12-13 DGN’s Corner

กันยายน ๒๕๕๒

(จากภาพ) บรรยากาศช่วงพักเบรก ของงานสัมมนาสมาชิกภาพ 22 สิงหาคม 2552 ณ โรงแรมเกรทเธอร์ แม่โขง ลอด์จ สามเหลี่ย ภาพ

14-15 คุยกันที่ขอบเวที 16 สารสนธิ 17-19 เสียงนกเสียงกา 20-23 Behind the Scene 24-25 At a Glance 26-29 บ้านเลขที่3360R.I. 30-33 1 ใน 100 34-35 Youth Corner

5 4


Editor’s Note “กาลเวลา กลืนกิน ทุกสรรพสิ่ง”

ายน ๒๕๕๒

“เหนื่อยนักพักกันก่อน”

พ รักษาและขยายสโมสร วันเสาร์ที่ ยมทองคำ� อ.เชียงแสน จ.เชียงราย พโดย นย.ยศวัจน์ นิธิปัญญาวัฒน์

36-37 เอกพาแอ่ว 38 Z00m inside 3360 39 เล่าขานตำ�นาน 40-43 รวมภาพกิจกรรม 44 มุม สบาย สบาย 45 DG.Activities ปกหลัง แทนคำ�นับพัน

4 5

คำ�ถามยอดฮิตสำ�หรับผู้ที่เป็น บอกอ ทั้งหลายก็คือ “อะไรที่เป็นความหนักอกหนักใจ ของการตัดสินใจ เข้ารับหน้าทีใ่ นตำ�แหน่งนี”้ คำ�ตอบคือ “เวลา” ทีเ่ ป็นข้อจำ�กัด และผูกมัดกับทุกคน ที่มาเกี่ยวข้องร่วมกันเป็นคณะทำ�งานใน กองบรรณาธิการ และ “อะไรทีเ่ ป็นสิง่ ดึงดูดใจ ให้เข้ามารับตำ�แหน่ง บอ กอ นี้” คำ�ตอบก็คือ “เวลา” อีกนั่นแหละ เวลาที่ได้ร่วมงาน กับคณะทำ�งานที่ต่างทุ่มเท อย่างกระตือรือร้น และเต็มไปด้วย ความมีชีวิตชีวา ให้กับการทำ�สารฯ ทำ�ให้ทุกช่วงเวลาที่ผ่าน ไปนั้น มีแต่ความสุขและความเพลิดเพลิน กองบรรณาธิการ เป็นหน่วยเล็กๆ ของคณะทำ�งาน หนึ่งของโรตารี ในภาค 3360 ที่จำ�ลองให้เห็นถึงความร่วมไม้ ร่วมมือของพวกเราเหล่าโรแทเรี่ยนทั้งหลาย และสะท้อนถึง ภาพรวมของโรตารีสากลของเรา การทุ่มเท เสียสละ ในการบริการผู้อื่น เป็นพลังอัน ยิ่งใหญ่ที่โรแทเรี่ยนทุกคน ได้ยึดถือและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง มาเป็นเวลากว่าหนึ่งร้อยปี เป็นโอกาสอันดี ที่พวกเราทุกคนจะได้มีส่วนร่วม แสดงถึงพลังของ “การบริการผู้อื่น เหนือตนเอง” นี้ร่วมกับ เพื่อนๆ ของเราทั่วทั้งโลกใบนี้ แล้วนำ�ประสพการณ์มาแบ่ง ปันกัน มาร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์ ด้วยการหยุดเวลา ที่ กำ�ลังกลืนกินทุกสรรพสิ่ง ให้หยุดนิ่งโดยการบันทึกไว้เป็น รูปภาพ ของช่วงชีวิตหนึ่ง ที่สุดซาบซึ้งและตรึงตรา ไว้ตราบ นานเท่านาน สารฯ นี้ได้จำ�ลองแนวคิดจาก นิตยสาร ดิโรแทเรียน ที่เชิญชวนโรแทเรี่ยนทุกท่าน ร่วมกิจกรรมในทุกประเภท ทุก รูปแบบที่บันทึกด้วยความคิดสร้างสรรค์ ในวันที่ 10 ตุลาคม นี้ พร้อมๆ กันกับเพื่อนๆของเราจากทุกมุมโลก แล้วส่งตรง ไปยังที่นิตยสารฯ ภายในวันที่ 17 ตุลาคม เท่านั้น กว่าจะฝ่าด่านเพื่อนๆ ของเราทั่วโลก อาจจะยาก ลำ�บากในการจะถูกคัดเลือก แต่สารฯ ฉบับนี้ได้เพิ่มโอกาสให้ ทุกท่านได้มีโอกาสร่วมแสดง พลังของโรแทเรี่ยนเช่นเดียวกัน กับทั้งโลก จึงขอเชิญชวนทุกท่านอีกครัง้ หนึง่ ว่า อย่าลืมกากบาท ไว้บนแผ่นปฏิทินกันลืม แล้วส่งภาพพร้อมเขียนเบื้องหน้า เบื้องหลัง มาเล่าสู่กันฟัง สวัสดีครับ

อน.วาณิช โยธาวุธ สโมสรโรตารีแม่สาย

บอกอ ผู้รอคอยการมีส่วนร่วมจากมวลมิตรฯ

กันยายน ๒๕๕๒


ใจถึงใจ

ขอชื่นชมและยกย่อง

ผมขอชื่นชมและยกย่องนับถือคณะผู้จัดทำ�สารผู้ ว่าการภาค 3360 ปีนี้เป็นพิเศษ เห็นได้ว่าทุกท่าน ได้ร่วมกันจัดทำ�และส่งผลงานออนไลน์ได้อย่างดี เลิศ ผมเคยฝันไว้ว่านิตยสารโรตารีประเทศไทยของเรา จะสามารถพิมพ์ 4 สีและส่งออนไลน์ได้แบบนี้มา หลายปีแล้ว แต่ยังไม่สามารถดำ�เนินการได้จริงๆ เมื่อได้มาเห็นสารภาค 3360 ของท่านทำ�ได้แบบนี้ แล้ว อยากให้ออนไลน์นิตยสารโรตารีประเทศไทย เพิ่มอีกฉบับหนึ่งส่งไปทั่วโลกด้วย ผมได้อ่านทุกหน้าด้วยความเพลิดเพลิน และมอง เห็นศักยภาพของคณะ บก.ที่จะมาทำ�หน้าที่ผลิต นิตยสารโรตารีประเทศไทยต่อไปในอนาคตได้แล้ว และขอบคุณท่านจันทนีอกี ครัง้ ทีก่ รุณาส่งออนไลน์ มาให้อ่านก่อน จะรออ่านฉบับเดือนต่อไป “อนาคต(นิตยสาร)โรตารี อยู่ในมือท่าน” อน.พิเชษฐ์ รุจิรัตน์ International Editor Rotary Thailand Magazine ขอขอบพระคุณ สำ�หรับสารผู้ว่าการภาคทั้งสอง ฉบับ ผมต้องยอมรับว่าคณะผู้จัดทำ�ทำ�ได้ดีมาก ทั้งสีสัน บทความ และภาพประกอบมากมาย ผม นำ�ไปเปิดอ่านในที่ประชุม คณะกรรมการภาค คณะหนึ่ ง เลยโดนแย่ งไปและไม่ ไ ด้ รั บ คื น ครั บ อย่างไรก็ตาม ขอได้โปรดส่งให้ใหม่ในโอกาสหน้า ผมเองจะแจ้งไปยังบรรณาธิการของภาค 3350 ให้ ส่งให้ท่านด้วยครับ.ด้วยความระลึกถึงเสมอ, อน. ดำ�รงพันธ์ สนิทวงศ์ฯ สวัสดีด่ะ ท่านผชภ.เอกวุฒิ กาวิละ,ประธานWCS และอีกหลายๆๆๆตำ�แหน่งในปีบริหารนี้ ขอขอบ คุณอีกครั้งสำ�หรับทำ�เนียบภาค 3360 สวยสมกับที่ ทีมงานช่วยกันหาข้อมูลเพื่อให้ หนังสือออกมาใช้ ประโยชน์ได้ดีจริงๆค่ะ ได้ทราบมาว่า สารผู้ว่าการ ภาค 3360 สวยมาก เล่มหนา ข้อมูลเยอะ พี่ยังไม่ ได้รับเลย ช่วยส่งมาให้ด้วยนะค่ะ เพราะพี่เก็บ สะสมมาหลายปีแล้ว ด้วยไมตรีจิตแห่งโรตารี อผภ.รัตน์มณี ตันยี่งยง ภาค3330

Study Exchange team or hosting a Rotary Youth Exchange student, playing golf or piloting an airplane with a Rotary Fellowship, networking at a local pub or baseball game, or attending a Rotary club meeting in a familiar place or an unusual location. The Rotarian is also interested in photos of or by Interactors, Rotaractors, alumni, and other members of the family of Rotary. Please e-mail up to three high-resolution photos to rotarian@rotary.org. All photos must be taken on 10 October and submitted by 17 October. Be sure to specify who’s in the photo, what they’re doing, where they are, what time the photo was taken, and who took it.

งานเข้าครับ

หลายท่านคงได้รบั ไปแล้ว... ลองอ่านทีแ่ ปลคร่าวๆ ดูนะครับ ถึงท่านนายกทุกท่าน “ช่วงชีวิตหนึ่ง” ครั้งแรกของโรตารีจะบังเกิดขึ้นใน วันที่ 10 ตุลาคม 2009 นี้ ในวันที่ 10 ตุลาคม 2009 พวกเราเหล่าโรแทเรียน ทัว่ โลก จะถ่ายรูปกิจกรรม ทุกประเภทที่เกิดขึ้นในวันนั้น เพื่อแสดงพลังของ พวกเรา ว่าช่วงชีวิตหนึ่ง ของวันที่ 10 ตุลาคม ได้ ทำ�อะไรกันบ้างทั่วโลก แล้วอย่าลืมส่งรูปที่บันทึก วันนั้น แล้วส่งไปที่ rotarian@rotary.org. ก่อนวัน ที่ 17 เพื่อจะทำ�การคัดเลือกแล้วนำ�ลงตีพิมพ์ อย่า ลืมคำ�อธิบายว่า ภาพของใคร ทำ�อะไร ที่ไหน เมื่อ่ ไหร่ ที่สำ�คัญ ฝีมือคนถ่ายภาพเป็นใคร สาร ผวภ. ก็จะจัดเลียนแบบว่า โรแทเรียนในภาค 3360 ของเราทำ�อะไรช่วงนั้น ในวันที่ 10 ตุลาคม เช่นกัน ดีมั้ยครับ เหล่าคอลัมน์นิสต์ทุกท่าน บอกอ วาณิช

รับทราบค่ะท่าน บอ.กอ.วาณิช ก็เห็นด้วยนะคะ และจะประชาสัมพันธ์ ต่อให้นะคะ เผื่อจะมีภาพ ประวัติศาสตร์ให้ได้เห็น กัน ถ้าจะดีเหมือนกันนะ ถ้าทุกคนพร้อมใจกันบันทึกภาพกิจกรรมในวันนัน ้ แต่สงสัยว่า วันที่ 10 ตุลาคม มันเป็นวันที่มีความ สำ�คัญอะไรเป็นพิเศษหรือเปล่าคะ ดิโรแทเรียน จึง “A Day in a Life of Rotary” กำ�หนดให้เป็นวันที่ 10 ตุลาคม อน.นฤชล อาภรณ์ To all Rotary club presidents: The first “Day in a Life” of Rotary will take รัตน์ place on 10 October 2009. Your assistance เห็นดีด้วยอย่างยิ่งค่ะท่าน บ.ก. ถ้าเราสามารถ with this effort is greatly appreciated. On 10 October 2009, Rotarians worldwide will ทำ�ได้ก็จะได้จารึกไว้ในประวัติศาสตร์ของโรตารีค่ะ take photos of club members in action. The Siriluck Chaiyawong Rotarian magazine is looking for a wide variety of photographs that showcase all aspects of ช่วงชีวิตหนึ่งในภาค 3360 RI. ไม่ทราบว่าปกสารผวภ. เล่มนี่ได้ออกแบบไว้รึยัง Rotary life. Get your club members together, and get ครับ ถ้ายังหรือออกแบบแล้ว ไนซ์มแี นวคิดดีๆ มา creative. Shoot photos of Rotarians digging ให้ท่านพิจรณา ไนซ์ มีรูปประวัติศาสตร์ ของการ wells or planting trees, raising funds to ร่วมมือ และความสัมพันธ์ทีด่ เี ยีย่ ม ระหว่างองค์กร eradicate polio or educate children, building ภาครัฐ กับโรตารี คือรูปการนำ� ธง สัญญลักษณ์ parks or painting schools, leading a Group ของโรตารี ขึ้นไปดิ่งพสุธา และชู ธงท่ามกลาง ความสูง 6000 ฟิต ภารกิจครั้งนี้มีความพิเศษ

กันยายน ๒๕๕๒

6 7


อย่างไร คร่าวๆ -เป็นการกระโดดร่มแบบ HARO คือกระโดดแบบกระตุกเอง “ดิ่ง พสุธา” (อันตรายที่สุด) -แค่คิดก็ยากแล้ว ที่เราจะได้ขึ้นไปบน ฮ. และขอให้ผู้กระโดดนำ� ธงไปดิ่งพสุธาด้วย (ถ้าไม่มีไมตรีที่ดีต่อกันจริงๆ) -ผู้กระโดดให้เกียรติ ธง ประคองธงกันลงมา 3 คน (แถมยังชูธง โดยการถือ ซึ่งยากมากและไม่เคยทำ�กันมาก่อน) -ค่าน้ำ�บินครั้ง หนึ่งไม่เบาเลย ภารกิจครั้งนี้ ได้รับการประสานงานจาก อน.ชนะ เอกอิสรกุล (สร.ล้านนา) ประธานโครงการโรตารีสร้างฝาย และธงสนับสนุน จาก อน.ยุทธนา นฤนาทวงศ์สกุล (สร.เชียงใหม่ใต้) ภาพทั้งหมด ถ่ายโดย นักกระโดดร่ม กรมรบพิเศษที่ 5 จึงเรียนมาให้ท่านบก.พิจรณาในการให้ความสำ�คัญภาพเหล่านี้ ซึ่งตามความคิดไนซ์ มันคือภาพประวัติศาสตร์ที่หลายๆ คน อยากดูมาก แต่อุ่บไว้รอการเปิดตัวแบบเป็นตำ�นานเช่นกัน ปล. คอลัมน์ YC. นี้ ไนซ์ก็จะเขียนบรรยาย เกี่ยวกับภาระกิจนี้ เช่นกันครับ ก็จะใช้ภาพนี้ไว้ภายในคอลัมน์ แต่ที่... คิดถ้ามันอยู่หน้าปก มันจะเป็นอะไรที่ น่าสนใจ และจะ ต้องมีคนพูดถึงไปตลอดกาล เพราะโอกาสที่จะได้ภาพแบบนี้จะมี อีกเมื่อใด (คุยซะเวอร์ เลย :) ) รทร.สุนิพิฐ คงเมือง

ตั้งแต่กาญ (ขออนุญาติแทนตัวเองด้วยชื่อเล่น)ได้เข้ามาเป็น สมาชิก ของสโมสรโรตารีพิษณุโลกนับเป็นเวลา 7 ปี แล้ว กาญ มีแนวคิดว่า งานอะไรก็แล้วแต่ถ้าจะทำ�จะต้องมุ่งมั่น จริงจัง และ จริงใจ ติดต่อ และติดตาม ให้ความเป็นกันเอง เอาใจเขามาใส่ใจ เรา และ บรรยากาศในสโมสรครึกครื้นแต่มีสาระ และไม่ลืมที่จะ รักษาสมาชิกภาพควบคู่ไปด้วยกัน เท่านี้เองกาญก็ได้ใจสมาชิก ในสโมสร และอีกอย่าง กาญได้ทีมทำ�งานที่ดี สมาชิกทุกท่านให้ ความร่วมมืออย่างดีเยี่ยม ก็ขอขอบพระคุณ ท่านผู้ช่วยผู้ว่าการ ภาค,ท่านอุปนายกทุกท่าน,ที่ปรึกษานายก,ประธานบริหารทั้ง 5 ฝ่าย รวมทั้งสมาชิกทุกท่าน พร้อมแอนน์และสุภาพบุรุษที่ได้ให้ ความร่วมมือด้วยดีเสมอมา กาญหวังว่าอีกไม่ช้าสโมสรโรตารี พิษณุโลกจะมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากใจนายกสโมสรโรตารี พิษณุโลก นย.ชญากานต์ พิทตระพันธ์

อนาคตโรตารี อยู่ในมือท่าน

ผมจัดส่งบทกลอน “อนาคตโรตารี อยูใ่ นมือท่าน” คติพจน์ส�ำ หรับ ปีบริหาร 2552-2553 มาให้ท่านเพื่อพิจารณานำ�เผยแผ่ใน สารผู้ ว่าการภาค 3360 เพื่อเป็นการรณรงค์ให้มวลมิตรเกิดจิตสำ�นึก เกี่ยวกับอนาคตโรตารี และโปรดช่วยส่งต่อให้กับ ท่าน ผวภ.แวว ดาว ลิ้มเล็งเลิศ เผื่อว่าท่านอาจจะใช้เป็นส่วนหนึ่งสำ�หรับการ เยี่ยมสโมสรในภาค 3360 หรือในช่องทางอื่น ๆ ที่ท่านเห็นเหมาะ เยี่ยมมากครับ น้องไนซ์ เห็นด้วย เพราะรูปชุดนี้ไม่มีรีทัช-ตัด สม ต่อ น่านำ�ลงปกฉบับหน้า แล้วโปรยข้อความที่เหมาะสมด้วยต้อง “อนาคตโรตารี อยู่ในมือท่าน” ให้ บก.เลือกและ ครอปภาพเอาเองว่ามุมไหนจะเหมาะสม อายศวัจน์ อนาคตโรตารี..อยู่ที่ไหน อยู่ที่ใคร..ที่เขา.. ที่เราหรือ อือ ภาพดูดีนะครับ แต่ลืมไปที่ว่าตัวเลขภาค 3360 RI. ไม่มีเลย โรแทเรียนทั้งผองต้องร่วมมือ ทำ�ให้ความอลังการของภาค 3360 ของเรา (แหม พลาดไปได้ เพราะท่านคือพลังทั้งสากล อย่างไร ถ้ามีน่ะจะเลี้ยงโต๊ะจีน 1 ครั้งเลยย) มันเหมือนภาพแบบ นี้ในต่างประเทศมันก็น่าจะมีคนทำ�ไปแล้วบ้างหรือไม่ ..ทำ�ให้ดู โรแทเรียนต้องตระหนักเกียรติศักดิ์ศรี เหมือนภาพมันจะขาดหายไป 65.75 เปอร์เซนต์เลยยยยย สำ�หรับ องค์กรดี..คนต้องดี..จึงมีผล ความยิ่งใหญ่เพราะเราไม่มี เส้นนำ�ทางในการเล่าเรื่องของภาพ ใช่อยากเป็น ต้องอยากทำ� ย้ำ�เตือนตน (ว่าเป็นของภาค 3360 เราทำ�) เสียดายมาก ว่าคิดได้ดีมาก แต่ เพื่อชุมชนต้องร่วมแรง ช่วยแบ่งเบา พลาดในจุดใหญ่ (เรารัก 3360 มากเกินไปหรือเปล่าเนี่ย) ไปอย่าง น่าเสียดายในวินาทีแบบนั้นหายากนะ แต่นำ�ลงสารก็เหมาะดี หา พึงปฏิบัติเชิงรุก ทุกทุกฝ่าย มุมลงด้วยนะ บอกอ.. เอกวุฒิ เพิ่มเป้าหมายเต็มที่เพื่อ ช่วยเหลือเขา ผู้ลำ�บากยากไร้ ให้บรรเทา YE inbound มาถึง D.3360 แล้ว ทุ่มเทเท่าที่พูด..พิสูจน์เป็นจริง ดิฉัน อน.ระพีร์ คำ�หมู่ ขอส่งภาพกิจกรรมคะ “นย.ทรงพล เจียรพินิจนันท์ และมวลสมาชิกสโมสรโรตารี รูปธรรม นามธรรม สำ�คัญมาก เชียงรายเหนือ ส่งวายอี นาย ศุภณัฐ คำ�หมู่ แลกเปลี่ยนไป ผลลัพธ์จากผลงาน ทุกสรรพ์สิ่ง ประเทศสหรัฐ และรับ วายอี จากประเทศเยอรมัน Mr.Corvin อุดมการณ์ต้องสร้าง ใช่อ้างอิง Simon Gutzeit มาอยู่กับครอบครัวแรกของ นายกันต์ คำ�หมู่ ณ สังคมยิ่งประจักษ์ยิ่งศรัทธา สนามบินเชียงราย วันที่ 18 สิงหาคม 2552” เมื่อเป็นมรรค เป็นผล ชนยอมรับ นย.ชญากานต์ พิทตระพันธ์ และสมาชิกสโมสรโรตารี พิษณุโลก นานวันนับคุณความดี..ทวีค่า ส่งเยาวชนแลกเปลี่ยนจำ�นวน 3 ท่านจากประเทศ บราซิล, ภาพลักษณ์ขององค์กร ขจรโลกา เม็กซิโก,ไต้หวัน เข้ารับการศึกษา ณ โรงเรียนพุทธชินราชพิทยา ประทับตราเป็นของแท้และของดี เป็นเวลา 1 ปี โดยมี ผู้อำ�นวยการ ดวงรัตน์ พูลสวัสดิ์ เป็นผู้รับ มอบ อนาคตโรตารี ยิ่งดีแน่ เมื่อมีแต่คนรู้ซึ้งถึงหน้าที่ เพิ่มสมาชิกดีเด่น มาด้วยใจ ทำ�ด้วยใจ ด้วยไมตรี นย.ชญากานต์ พิทคระพันธ์ สโมสรโรตารีพิษณุโลก รับมอบของ ทุกคนมี จิตวิญญาณ บริการเหนือตน ที่ระลึกจาก ผู้ว่าการภาค แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ในโอกาสเพิ่ม สมาชิกจำ�นวน 12 ท่าน ณ ที่ประชุมเพิ่มและรักษาสมาชิกภาพ พลวัฒน์ วรเจริญยิ่ง สโมสรโรตารีเทพารักษ์ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย มีมวลมิตรโรแทเรี่ยนหลายท่านถามว่า ทำ�ได้อย่างไร ในระยะเวลาแค่ 2 เดือน เคล็ดลับไม่มอี ะไรมากมาย

7 6

กันยายน ๒๕๕๒


ปฏิทินภาค

“A day in a life of Rotary”

อน.นฤชล อาภรณ์รัตน์ สโมสรโรตารี เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม

(ช่วงชีวติ หนึง่ ในวันหนึง่ ของ โรตารี) “ช่วงชีวิตหนึ่ง ในหนึ่งวันของโรตารี” ครั้งแรก ของโรตารี ทั่ วโลก จะบั ง เกิ ด ขึ้ นในวั น ที่ 10 ตุลาคม 2552 โดยมิตรโรแทเรียนทั่วโลก จะถ่าย ภาพกิจกรรมทุกประเภททีเ่ กิดขึน ้ ในวันนัน ้ เพือ่ แสดงพลังของชาวโรแทเรียน ว่าช่วงชีวิตหนึ่ง ของวันที่ 10 ตุลาคม 2552 ได้ทำ�อะไรกันบ้าง ทั่วโลก ขอเชิญทุกสโมสรโปรดส่งภาพที่บันทึก ในวันนั้น ส่งไปยัง E-mail:rotarian@rotary.org ก่อนวันที่ 17 ตุลาคม 2552 เพื่อจะทำ�การคัด เลือกนำ�ลงตีพิมพ์ในหนังสือ ดิโรแทเรียน (ฉบับ ภาษาอังกฤษ) และอย่าลืมอธิบายว่า ภาพของ ใคร ทำ�อะไรที่ไหน เมื่อไหร่ และที่สำ�คัญ ฝืมือ คนถ่ายภาพเป็นใคร ส่วนสารผู้ว่าการภาค 3360 ของเรา จะเลียนแบบหนังสือดิโรแทเรียน โดยขอเชิญ ชวนทุกสโมสรส่งภาพกิจกรรมต่างๆ ทีถ่ า่ ยภาพ ในวันที่ 10 ตุลาคม 2552 นำ�มาลงสารผู้ว่าการ ภาคฉบับเดือนพฤศจิกายน และขอคอลัมน์นสิ ต์ ทุกท่านกรุณาส่งรูปถ่าย ไม่ว่าท่านจะทำ�อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ขอเอี่ยวกิจกรรมโรตารีในวันที่ 10 ตุลาคม 2552 ส่งมายัง บอ.กอ. อน.วาณิช โยธาวุธ เพื่อนำ�มาลงในคอลัมน์ของแต่ละท่าน แทนภาพเดิ ม ร่ ว มกั น สร้ า งพลั ง แห่ ง ความ ประทับใจ ไว้เป็นประวัติศาสตร์ของโรตารี….

Orientation Camp for YE Inbound Students D.3360

ในวันที่ 4 กันยายน2552 โรงแรมกรีน เลค แอนด์รีสอร์ท ย่านคันคลองชลประทาน จ.เชียงใหม่ เริ่มคึกคักและมีสีสัน เมื่อบรรดา หนุม่ น้อยและสาวน้อย หน้าตาสวยหล่อ ซึง่ เป็น เยาวชนแลกเปลี่ยนจาก 9 ประเทศจำ�นวน 39 คนประกอบด้วย ประเทศสหรัฐอเมริกา แคนาดา เบลเยี่ยม รัสเซีย เยอรมันนี บราซิล เม็กซิโก โคลัมเบียและไต้หวัน เป็นชาย 17 หญิง 22 อายุ ระหว่าง 15-18 ปี เดินทางมาถึง โดยมีผูป้ กครอง ซึ่งเป็น Host Family จากภาค3360 ได้พามาส่ง ยังค่ายปฐมนิเทศ โดยมีประธานคณะกรรมการ เยาวชนแลกเปลี่ยน อน.ดร.บุญทอง ภู่เจริญ ที่ ปรึกษาเยาวชนแลกเปลี่ยน อน.ศิริรัตน์ เจริญ วงค์ หัวหน้าทีมดูแลเยาวชน อน.เยาวภา ศังขะ ศิลปิน และคณะกรรมการ ร่วมต้อนรับ เมือ่ เดิน ทางมาถึง เยาวชนแลกเปลี่ยนลงทะเบียนหน้า ห้องประชุม โดยแต่ละคนเขียนป้ายชื่อด้วยตัว

กันยายน ๒๕๕๒

เอง มีกรรมการคนสวย อน.สุมาลี กัญจินะ อน.ศุภรี ฉัตรกันยารัตน์ และ อน.สุภาพร เนตร งาม คอยให้คำ�แนะนำ� ส่วนกรรมการคนเก่ง หลายภาษา อย่างผชภ.เอกวุฒิ กาวิละ ก็ไม่ พลาดที่จะเก็บภาพ หนุ่มหล่อสาวสวย มาฝาก เรา และยังพาแขกโรแทเรียนชาวญี่ปุ่น จาก ภาค 2760 มาร่วมเก็บบรรยากาศด้วย ส่วนท่าน อน.ว่าที่ร.ต.ไกรสร พิมพ์ประสานต์ จากสโมสร วั ง จั น ทน์ ก็ เ ข้ ม แข็ ง ใช่ ย่ อ ยเดิ น ทางจาก พิษณุโลกมาร่วมทำ�หน้าทีก่ รรมการทีด่ อี ยูต่ ลอด 3 วัน ก็อดที่จะบันทึกภาพด้วยไม่ได้ ส่วน กรรมการท่านอื่น ๆ ที่มาช่วยเป็นที่ปรึกษาและ ให้คำ�แนะนำ� แก่เยาวชนแลกเปลีย่ น มีอกี หลาย ท่าน จากสโมสรเถินดาวน์ทาวน์ ป้าติ๋วคนเก่ง นยก.สุ ภ าพร เสมอเชื้ อ จากสโมสรสุ โ ขทั ย อน.วีระชัย โฆษิตานนท์ จากสโมสรเชียงราย เหนือ รทร.ภารดี พันธุ สโมสรแม่วัง อน.ชัย โรจน์ เรืองวาณิชกุล และ รทร.สุภาพร จันทร์ ศิริโยธิน จากสโมสรช้างเผือก อน.มรกต สุกโชติ รัตน์ ผวล.ชำ�นาญ จันทร์เรือง จากสโมสร เชียงใหม่เหนือ และ นย.รศ.โรม จิรานุกรม และ รทร.สุนิพิฐ คงเมือง ทำ�หน้าที่เข้มแข็งร่วมเก็บ ภาพเพื่อเตรียมลงสารผู้ว่าการภาค นอกจากนี้ ยังมีผู้ปกครองอีกหลายท่านร่วมสังเกตการณ์ ค่ายกิจกรรมปฐมนิเทศเยาวชนแลก เปลี่ยน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-6 กันยายน 2552 พิธีเปิดเริ่มขึ้นในช่วงบ่าย 4 กันยายน 2552 และ พิธีปิดในช่วงก่อนเที่ยง 6 กันยายน 2552 โดย ผวล.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ส่วนพิธีกรดำ�เนินราย การ อน.ศุภรี ฉัตรกันยารัตน์ วิทยากรให้ความ รู้เรื่องโรตารี ผวล.ชำ�นาญ จันทร์เรือง วิทยากร ประจำ�กลุ่ม YE Rebound เกือบ 20 คน มาร่วม แลกเปลีย่ นประสบการณ์แก่นอ้ ง ๆ YE Inbound และกรรมการอีกหลายท่าน ร่วมให้ความรู้ใน หัวข้อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวัฒนธรรม ไทย กฎระเบียบ การรายงาน การอยู่ร่วมกับ สังคมไทยในโรงเรียน และในครอบครัวคนไทย และเรื่องที่ควรทราบอีกมากมาย และที่พิเศษ กว่านั้น เมื่อพิธีปิดสิ้นสุดลง คณะกรรมการได้ พาน้องๆ ทัศนศึกษาสวนสัตว์เชียงใหม่ พร้อม เข้าชมหมีแพนด้า ช่วงๆ หลินฮุ่ย และน้องหลิน ปิงด้วย แต่ก่อนออกเดินทางไปสวนสัตว์ เราได้ เก็บภาพประทับใจซึ่งเป็นภาพหมู่ร่วมกัน ทุก คนมีความสุขและประทับใจในการต้อนรับ และ ดูแลอย่างดี ของคณะกรรมการและครอบครัว ไทย ที่ได้ดูแลอย่างใกล้ชิด ขอขอบคุณ ผวภ. แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ได้ร่วมเดินทางไปกับคณะ กรรมการและเยาวชนแลกเปลี่ยน เพื่อเข้าชม หมีแพนด้า และยังเป็นสปอนเซอร์ค่าใช้จ่ายใน การทัศนศึกษาสวนสัตว์เชียงใหม่ในครั้งนี้ด้วย ขอบคุณ ๆๆๆ ขอให้รวย ๆๆ และสวยไม่รู้จบ สาธุ….สวัสดีค่ะ

9 8


District’s Secretary มิตรโรแทเรียนที่รักทุกท่าน เดือนนี้เป็นเดือนแห่งกิจกรรมเยาวชน ทางภาค 3360 ได้จัดการปฐมนิเทศเยาวชนแลกเปลี่ยน ( Youth Exchange Orientation ) เมื่อ วันที่ 4-6 กันยายน 2552 ที่ โรงแรม Green Lake Resort จังหวัดเชียงใหม่ มีเยาวชน ที่รับเข้ามา ( Inbound )จำ�นวน 38 คนเข้าร่วมโครงการ และยังมีเยาวชนที่เราส่งออก ไปเมื่อปีที่ผ่านมา ( Rebound ) มาร่วมโครงการและช่วยดูแลน้องๆอีก 18 คน การ ปฐมนิเทศครัง้ นีไ้ ด้ประสบผลสำ�เร็จอย่างดียิง่ นอกจากนีท้ างภาคเราจะจัดให้มกี ารอบรม ผู้นำ�เยาวชนโรตารี ( Rotary Youth Leadership Award ) ขึ้นในวันที่ 20-24 ตุลาคม 2552 ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รับสมัครเยาวชนอายุตั้งแต่ 14-20 ปี ค่าลงทะเบียนคนละ 1,500 บาท ขอเชิญสโมสรโรตารีในภาค 3360 ได้จัดส่งเยาวชนเข้าร่วมโครงการ ราย ละเอียดต่างๆ ประธานจัดการอบรม ได้จัดส่งไปให้นายกสโมสรทุกท่านแล้ว ในขณะนี้เป็นช่วงเวลาการชำ�ระเงินค่าบำ�รุงโรตารีสากลในงวดแรกของปีบริ หาร 2552-2553 ซึ่งอยู่ในช่วง วันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 31 ธันวาคม 2552 ได้ครบ กำ�หนดการจ่ายเงินในวันที่ 1 กรกฎาคม 2552 ดิฉันต้องขอขอบคุณสโมสรที่ได้ชำ�ระ เงินแล้ว ส่วนสโมสรที่ยังไม่ได้ชำ�ระ กรุณาชำ�ระโดยเร็วที่สุด วิธีการชำ�ระเงินมีดังนี้ 1. Rotary International กำ�หนดให้ใช้อัตราแลกเปลี่ยน 1USD= 35 บาท ตั้งแต่ วันที่ 1 กรกฎาคม 2552 จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง 2. ค่าบำ�รุงโรตารีสากล (Rotary International ) คนละ 25.50 USD ( ค่าบำ�รุง คนละ 24.50 USD + เงินค่าสนับสนุนการประชุมสภานิติบัญญัติของโรตารีสากล 1 USD ) ดังนั้นค่าบำ�รุง RI ในงวดนี้คือ 25.50 USD = 25.50 x 35.00 = 892.50 บาท ( แปด อน.ศิริลักษณ์ ไชยวงศ์ ร้อยเก้าสิบสองบาทห้าสิบสตางค์ ) สโมสรโรตารีช้างเผือก Fellow Rotarians, As this month is dedicated to Youth Activities, the District of 3360 recently organized a Youth Exchange Orientation, held between the 4th to the 6th of September, at the Green Lake Resort in Chiang Mai province. This year’s Orientation was a success, receiving a total of 38 Inbound youths to partake in our program, as well as 18 Rebound youths, from our previous exchange program, who returned to help out in this year’s activities. We have also organized a Rotary Youth Leadership Award, to be held between the 20th to the 24th of October 2009 at Mae Jo University, accepting youths from 14-20 years of age. The registration fee is set at 1,500 Baht, and additional information regarding the seminar and schedules being dispatched to each Club’s President. We look forward to welcoming youths from all of District 3360. At this time, please be reminded that the first Semi Annual Report for 2009-2010 needs to be submitted within the 1st of July to 31st of December. We appreciate and would like to thank all the Clubs that have submitted their fees, and would like to remind remaining Clubs to make their payments as soon as possible. Below are the payment details: 1.The Rotary International exchange rate is currently set at 1USD=35 Baht, from the 1st of July onwards, until further notice. 2.Semi Annual Reports total 25.50 USD (24.50 USD for the SAR + 1 USD for the council on Legislation fund ), which makes a total of 25.50 USD or 892.50 Baht (eight hundred and ninety-two baht and fifty satang). 3.The subscription fee to “The Rotarian” is 12 USD for 6 issues or 420 Baht. 4.Clubs must purchase cashier’s cheques in Thai currency, made out to “Rotary International” and mail it directly, along with 2 copies of their Semi-Annual Report) to the following address:

R.I. FISCAL AGENT IN THAILAND C/O Rotary Center in Thailand, 32nd floor, Ocean Tower 2 74/82-83 Soi Wattana, Asoke, Wattana Bangkok 10110 Telephone: 02-661-6720 or 02-661-6721 Fax: 02-661-6719

5.For donations to the Rotary Foundation of Rotary International, please send your donation forms along with a Bank draft or Cashier’s Cheque, to the account named “The Rotary Foundation of Rotary International”, mailing the original to the R.I. FISCAL AGENT IN THAILAND. Ensure that a copy is also sent to District 3360, or directly to the district governor. 6.A receipt will be sent back to the individual donor or to the Club that has made their donation, once the Bank draft and appropriate documents has been received, as evidence that the funds have been received.

8 9

Clubs that have not received their Semi Annual Report or SAR from Rotary International by the 31st of July 2009, please notify the R.I. FISCAL AGENT IN THAILAND so that appropriate steps may be taken. District Dues require that clubs purchase a bank draft filled out to Mrs. Waewdao Limlenglert, and mail it directly to the district governor office at: 62 Chotana Road, Amphur Muang, Chiang Mai 50300. Telephone enquiries are welcome at 081-8845679. Yours in Rotary,

กันยายน ๒๕๕๒


สถิติการเข้าประชุม

3. ค่าบอกรับนิตยสาร The Rotarian ฉบับภาษาอังกฤษ 12 USD ต่อ 6 เดือน สำ�หรับผู้ที่บอกรับเป็นสมาชิก ( 12 x 35.00 = 420 บาท ) 4. ให้สโมสรซื้อแคชเชียร์เช็ค เป็นเงินบาท สั่งจ่ายหรือชื่อบัญชี “ Rotary International ” ส่งพร้อมแบบรายงานครึ่งปี ( Semi Annual Report ) จำ�นวน 2 ชุด ไปยังผู้ดูแลการเงินของโรตารีสากลในประเทศไทย ตามที่อยู่นี้ R.I. FISCAL AGENT IN THAILAND C/O ศูนย์โรตารีในประเทศไทย ชั้น 32 อาคารโอ เชี่ยนเทาว์เวอร์ 2 เลขที่ 74/82-83 ซอยวัฒนา ถนนอโศก เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 02-661-6720 ถึง 1 แฟกซ์ 02-661-6719 5. การบริจาคเงินให้มูลนิธิโรตารีของโรตารีสากล โปรดส่งแบบฟอร์มการบริจาค เงินพร้อมกับตั๋วแลกเงินธนาคาร หรือ แคชเชียร์เช็คหรือเช็คส่วนตัว สั่งจ่ายชื่อบัญชี “

รายงานการประชุมประจำ�สัปดาห์ คะแนนเฉลี่ย/เดือนสิงหาคม ของสโมสรโรตารีภาค 3360 Club No. Rotatry Club of ชื่อสโมสร จำ�นวน 1 16274 Kamphaengphet กำ�แพงเพชร 16 2 25135 Chomtong Chiangmai จอมทอง 13 3 23182 Chamadhevi จามะเทวี 14 4 23201 Changpuak Chiang Mai ช้างเผือก 21 5 16262 Chiang Mai เชียงใหม่ 57 6 60808 Chiangmai Doi Suthep ดอยสุเทพ 10 7 16264 Chiangmai West เชียงใหม่ตะวันตก 28 8 26048 Chiangmai East เชียงใหม่ตะวันออก 10 9 29283 Chiang Mai Thin Thai Ngam เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม 32 10 51245 Chiangmai South เชียงใหม่ใต้ 10 11 16263 Chiang Mai North เชียงใหม่เหนือ 31 12 50481 Chiangmai Phuping เชียงใหม่ภูพิงค์ 13 13 53170 Chiang-Mai Airport เชียงใหม่แอร์พอร์ต 12 14 16261 Chiangkam เชียงคำ� 22 15 16265 Chiang Rai เชียงราย 28 16 52387 Chiang Rai North เชียงรายเหนือ 21 17 28751 Chiang Saen เชียงแสน 16 18 57289 Doiprabaht ดอยพระบาท 22 19 16312 Tak ตาก 11 20 70997 Thoen Downtown เถินดาวน์ทาวน์ 17 21 50326 Thawangpha ท่าวังผา 10 22 23050 Nan น่าน 43 23 57910 Nakron Nan นครน่าน 10 24 64215 Nakorn Thoeng นครเทิง 17 25 65762 Nakron Hariphunchai นครหริภุญชัย 10 26 27553 Naresuan นเรศวร 35 27 22008 Pua ปัว 24 28 21495 Fang ฝาง 20 29 16291 Payao พะเยา 13 30 16292 Phan พาน 29

กันยายน ๒๕๕๒

โรตารีสากล ประจำ�ปี 2552-2553 % อันดับ หมายเหตุ 77.70 71.1 72.80 100 64 80 66.41 78 82.80 55.50 87.88 87.49 98.21 85.71 81.25 57.96 57.57 90 80 77.32 60 56.47 58 58.10 92.71

1

7 8 2 9

4

53.84 61.20

10 11


The Rotary Foundation of Rotary International ” โดยจัดส่งไปที่ผู้ดูแลการเงินของโรตารีสากลในประเทศไทย และส่งสำ�เนามายังภาค 3360 ด้วย หรือ ท่านสามารถส่งมายังผู้ว่าการภาค 3360 โรตารีสากล 6. เมื่อผู้ดูแลการเงินได้รับตั๋วแลกเงินพร้อมเอกสารประกอบแล้ว จะได้ทำ�การตรวจสอบความถูกต้อง และออกใบเสร็จรับเงินส่งให้สโมสรหรือผู้บริจาคเพื่อเป็นหลักฐานต่อไป สโมสรที่ยังไม่ได้รับแบบฟอร์มรายงานครึ่งปี ( Semi Annual Report- SAR ) จากโรตารีสากล ภายใน วันที่ 31 กรกฎาคม 2552 โปรดแจ้งผู้ดูแลการเงิน เพื่อขอรับสำ�เนาจากโรตารีสากลต่อไป 7. การส่งเงินค่าบำ�รุงภาค ให้ทางสโมสรฯซื้อตั๋วแลกเงิน สั่งจ่าย ชื่อ นางแววดาว ลิ้มเล็งเลิศ และส่ง มายังสำ�นักงานผู้ว่าการภาค 3360 โรตารีสากล เลขที่ 62 ถนนโชตนา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300 หากสโมสรใดมีข้อสงสัยกรุณาติดต่อที่ ดิฉันได้ที่ 081-8845679 ด้วยไมตรีจิตแห่งโรตารี รายงานการประชุมประจำ�สัปดาห์ คะแนนเฉลี่ย/เดือนสิงหาคม ของสโมสรโรตารี ภาค 3360 โรตารีสากล ประจำ�ปี 2552-2553 Club No. Rotatry Club of ชื่อสโมสร จำ�นวน % อันดับ หมายเหตุ 31 23541 Phrae แพร่ 23 95.65 3 32 24741 Phichai พิชัย 17 70 33 16297 Phisanulok พิษณุโลก 47 82.99 34 27084 Muang Chod เมืองฉอด 20 80 35 65185 Muang Thoen เมืองเถิน 23 76 36 16280 Maechan แม่จัน 31 78.10 37 29389 Maewang Lampang แม่วัง 15 68.75 38 24956 Mae Sod แม่สอด 22 80.68 39 16283 Mae Sariang แม่สะเรียง 12 83.33 40 16282 Maesai แม่สาย 27 85.18 10 41 16281 Mae Hongson แม่ฮ่องสอน 13 69.23 42 52390 Mae Fha Louang แม่ฟ้าหลวง 10 50 43 24886 Lab Lae ลับแล 10 44 50294 Lanna ล้านนา 24 62.50 45 16277 Lampang ลำ�ปาง 30 63.33 46 16278 Lampoon ลำ�พูน 12 38.88 47 50650 Wangchan วังจันทน์ 26 60 48 51392 Wiangkosai เวียงโกศัย 22 64.55 49 31711 Wiangsa เวียงสา 12 91.66 6 50 52394 Sri Song Kwai ศรีสองแคว 16 64.06 51 25165 Sila-Asana ศิลาอาสน์ 28 100 1 52 16307 Sawankaloke สวรรคโลก 25 52 53 25680 Sawankhalok North สวรรคโลกเหนือ 23 79.71 54 22010 Song สอง 11 85 55 27741 Sanpatong สันป่าตอง 16 71.87 9 56 30612 Sarapee สารภี 12 75 9 57 24965 Sukhothai สุโขทัย 23 82.50 58 30057 Hang Dong หางดง 13 59 16317 Uttaradit อุตรดิตถ์ 27 91.96 5 60 74261 Vientiane เวียงจันทน์ 10 68

11 10

กันยายน ๒๕๕๒


DGN’s Corner

“ระเบียบพิธีการของโรตารี (2)” (Rotar ในการกล่าวในที่ประชุมหรือการจัดงานต่างๆของโรตารีสากลที่มีเจ้าหน้าที่ต่างๆ ทั้งปัจจุบัน อดีต และในอนาคตของโรตารีสากลและมูลนิธิโรตารีพร้อมด้วยคู่สมรสร่วมอยู่ นั้น โรตารีสากลได้มีระเบียบ พิธีการในการกล่าวแนะนำ� การจัดลำ�ดับที่นั่ง หรือการจัด พิมพ์รายชื่อในเอกสารสิ่งพิมพ์ของโรตารีสากล ดังนี้(ที่มา-ประมวลนโยบายของโรตารี สากล-26.080.) *The following order of protocol shall be used to introduce,present,and seat all current,past,and future officers of RI and its Foundation,committee members,and their spouses at all RI meetings,function,and receiving lines and when publishing their names in RI publications: (Sources-Rotary Code of Policies,a compendium of Board policies – RCP 26.080.) President (or president’s representative) ประธานโรตารีสากล(หรือผู้แทนประธานโรตารีสากล) President-elect ประธานโรตารีสากลรับเลือก Vice president รองประธานโรตารีสากล

ผวล.ชำ�นาญ จันทร์เรือง สโมสรโรตารี เชียงใหม่เหนือ

Treasurer Other directors Past presidents(in order of seniority) Trustee chair Trustee chair-elect Trustee vice chair Other trustees RIBI president,immediate past president,vice president,and honorary treasurer General secretary President-nominee Past directors (in order of seniority) Past trustees (in order of seniority) Past general secretaries (in order of seniority) Directors-elect District governors RI and Foundation committee members ,task force members ,advisers ,representatives ,training leaders,and resource group members (including RRIMCs and RRFCs) Directors-nominee Past governors(in order of seniority) Incoming trustees Governors-elect

กันยายน ๒๕๕๒

เหรัญญิก กรรมการบริหารอื่น อดีตประธานโรตารีสากล (เรียงตามลำ�ดับอาวุโส) ประธานกรรมการมูลนิธิฯ ประธานกรรมการมูลนิธิฯ รับเลือก รองประธานกรรมการมูลนิธิฯ กรรมการมูลนิธิฯ อื่น ประธานโรตารีสากลในบริเทนใหญ่และไอร์แลนด์,อดีต ประธานฯพิ่ ง ผ่ า นพ้ น ,รองประธานฯ,และเหรั ญ ญิ ก กิตติมศักดิ์ เลขาธิการ ประธานโรตารีสากลโนมินี อดีตกรรมการบริหาร (เรียงตามลำ�ดับอาวุโส) อดีตกรรมการมูลนิธิฯ (เรียงตามลำ�ดับอาวุโส) อดีตเลขาธิการ (เรียงตามลำ�ดับอาวุโส) กรรมการบริหารโรตารีสากลรับเลือก ผู้ว่าการภาค เจ้าหน้าทีโ่ รตารีสากลและเจ้าหน้าทีม่ ลู นิธฯิ , คณะทำ�งาน, ที่ปรึกษา, วิทยากร, กลุ่มทรัพยากรบุคคลอื่นรวมถึง ผู้ ประสานงานด้านสมาชิกภาพของโรตารีสากลในระดับ ภูมิภาค ( Regional Rotary International membership coordinators) ,ผู้ประสานงานของมูลนิธิโรตารีในระดับ ภูมิภาค (Regional Rotary Foundation coordinators) กรรมการบริหารโนมินี อดีตผู้ว่าการภาค (เรียงตามลำ�ดับอาวุโส) กรรมการมูลนิธิที่กำ�ลังจะเข้าสู่ตำ�แหน่ง ผู้ว่าการภาครับเลือก

13 12


ry Protocol and Decorum) ในการจัดงานของโรตารีควรกล่าวทักทายเจ้าหน้าที่ต่างๆตามระเบียบพิธีการดัง กล่าวเพียงครั้งเดียวเท่านั้น โดยตำ�แหน่งปัจจุบันจะมาก่อนตำ�แหน่งอดีต และตำ�แหน่งใน อดีตจะนำ�หน้าตำ�แหน่งอนาคต บุคคลที่มีมากกว่า 1 ตำ�แหน่ง ให้ใช้ตำ�แหน่งที่สูงสุด คู่ สมรสที่มาด้วยให้อยู่ลำ�ดับเดียวกันกับคู่สมรสนั้น **At Rotary functions,officers should be addressed according to protocol only once. A rotarian’s current position takes precedence over past positions,and past positions take precedence over future positions;Rotarians holding more than one position are ranked by the highest office.Accommpanying spouses have the same rank. อย่างไรก็ตามหากยังมีตำ�แหน่งนอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้วเราก็สามารถจัด ลำ�ดับพิธีการได้อีก แต่ควรคำ�นึงถึงธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นและความสะดวก เช่น ***After the above required order of protocol,the following order of protocol is recommended and should be modified to fit local customs and practice: Regional and zone committee members District secretary/treasurers Club presidents Club presidents-elect Club secretaries Club treasurers Club-sergeants-at-arms Other club board members Club committee chairs Past assistant governors Rotarians Rotary Foundation alumni Rotarians’ families

กรรมการในระดับภูมิภาคหรือระดับโซน เลขานุการภาค/เหรัญญิกภาค นายกสโมสร นายกสโมสรรับเลือก เลขานุการสโมสร เหรัญญิกสโมสร ปฏิคมสโมสร กรรมการบริหารสโมสร ประธานกรรมการฝ่ายต่างๆ อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการภาค โรแทเรียน ศิษย์เก่ามูลนิธิโรตารี ครอบครัวโรตารี

ในการประชุมระดับภาค โรแทเรียนที่มาจากต่างประเทศจะอยู่ในลำ�ดับที่มาก่อน โรแทเรียนในพื้นที่ ที่อยู่ในลำ�ดับเดียวกัน และแขกของเราที่ไม่ใช่โรแทเรียนที่เป็นบุคคล สำ�คัญระดับสูง การจัดลำ�ดับ จะขึ้นอยู่กับประเพณีท้องถิ่น ซึ่งหากเรามีความจำ�เป็นที่จะ ต้องกล่าวถึงหรือจัดลำ�ดับโรแทเรียนเราก่อนบุคคลสำ�คัญในพื้นที่ที่ไม่ใช่โรแทเรียน เราควร ที่จะแจ้งให้แขกของเราทราบก่อนเสมอ ****At district meetings,Rotarians visiting from a foreign country maybe placed before local Rotarians of the same rank,as a courtesy toward guests.Highranking non-Rotarians may be given precedence in ranking according to local custom.Clubs and districts are encouraged to advise guests if protocol places Rotarians before non-Rotarians.

12 13

กันยายน ๒๕๕๒


คุยกันที่ขอบเวที

อน.ศ.นพ.บริบูรณ์ พรพิบูลย์ สโมสรโรตารีเชียงใหม่

“ช่วงเวลาที่ นักเรียนแลกเปลี่ยนมาถึง”

นับตั้งแต่ภาค 107 โรตารีสากลใน มณรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ได้ทำ� โครงการแลกเปลี่ยนเยาวชนกับภาคฯ ในประเทศลาตินอเมริกาเมื่อปี ค.ศ.1939 แล้ว โครงการฯ ก็ได้รับความสนใจจากสโมสรโรตารีและภาคโรตารีต่างๆ เป็นอันมาก ทำ�ให้ บางช่วงปีมีการแลกเปลี่ยนเยาวชนให้ไปศึกษาระดับมัธยมในต่างประเทศ ระหว่างกัน และกันถึงปีละประมาณ 6 พันคน จุดประสงค์อันสำ�คัญของโครงการฯ ก็คือ เพื่อ เพิ่มพูนความเข้าใจระหว่างประเทศให้แก่เยาวชนของประเทศต่างๆทั่วโลก ถึงจะมีการแลกเปลี่ยนเยาวชนเป็นจำ�นวนมากแล้วก็ตาม แต่โรแทเรียนโดย ทั่วไป ก็ไม่ค่อยได้ทราบความรู้สึกของเยาวชนเหล่านั้นมากนัก ยิ่งในประเทศไทยด้วย แล้ ว ภาพเกี่ ย วกั บ ความรู้ สึ ก ของนั ก เรี ย นแลกเปลี่ ย นที่ เ ดิ น ทางเข้ า มาศึ ก ษาใน ประเทศไทยเกือบมืดสนิท ไม่รู่ว่าเด็กหนุ่มสาวเหล่านั้นมีความรู้สึกต่อประเทศไทยและ วัฒนธรรมของไทยอย่างไร และเราได้เรียนรู้ถึงประเทศและวัฒนธรรมของเขาเหล่า นั้น บ้างหรือไม่ และมากน้อยเพียงใด ในลักษณะตอบแทน เริ่มตั้งแต่ครอบครับที่จะรับนักเรียนแลกเปลี่ยนจากต่างประเทศประเทศหนึ่ง เข้ามาอยู่ด้วยจะต้องรับทราบถึงวัตถุประสงค์ของโครงการฯให้ดี มีความตระหนักถึง ความด้อยต่างๆที่นักเรียนแลกเปลี่ยนจะพึงมี เช่น ภาษาที่จะใช้พูดระหว่างกันและกัน ซึ่งไม่ใช่ภาษาของเขา ความรู้สึกคิดถึงบ้านที่จากมา ความไม่คุ้นเคยกับอาหารที่ เจ้าของบ้านจัดให้ การซักเสื้อผ้าและการทำ�ความสะอาดห้องพัก การปรับตัวให้เข้ากัน การเดินทางไปโรงเรียน การต้องแต่งเครื่องแบบนักเรียนของท้องถิ่น และการหาเพื่อน ใหม่ในโรงเรียนที่เข้าไปศึกษานั้น ฯลฯ เป็นต้น การรู้จักปรับตัวให้เข้ากันของทั้งสอง ฝ่าย จึงเป็นปัจจัยสำ�คัญในความสำ�เร็จของโครงการที่เน้นในเรื่องการสร้างความเข้าใจ อันดีระหว่างกันเป็นอย่างมาก

กันยายน ๒๕๕๒

14 15


15 14

ผมอยากเล่าถึงความรู้สึกของเด็กสาววัยรุ่น จากประเทศแคนาดาคนหนึ่งที่เดินทางตามโครงการ นักเรียนแลกเปลี่ยนของโรตารี เข้ามาศึกษาชั้นมัธยมที่ ประเทศไทย โดยเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนของสโมสร โรตารีเด่นชัย จังหวัดแพร่ เขียนขึน ้ ตามความรูส้ กึ ทีเ่ ธอ ได้บันทึกไว้ในหนังสือ Touch the Dragon: A Thai Journal เธอชื่อ คาเรน คอนเนลลี คาเรนจากบ้านเกิดลงพักที่โตเกียว ประเทศ ญี่ปุ่น ตอนนั่งเครื่องบินจากโตเกียว มากรุงเทพฯ เธอ บอกว่า เธอนั่งมาอย่างฝันๆ ไม่รู้ว่าตัวเองกำ�ลังเดินทาง ไปที่ไหน จึงรู้สึกอึดอัดใจอย่างบอกไม่ถูก เมื่อเครื่องบิน พาเธอผ่านแผ่นดินที่เขียวชอุ่ม บางแห่งมีน้ำ�ขังบริเวณ กว้าง สะท้อนแสงเป็นสีมรกตจนทำ�ให้รู้สึกเคืองตาเป็น ทีอัศจรรย์ใจให้แก่เธอยิ่งนัก เธอมีความรู้สึกว่า สิ่งที่ กำ � ลั ง เห็ น อยู่ นี้ เ ป็ น ภาพที่ เ ธอไม่ เ คยเห็ นในประเทศ แคนาดา ที่สนามบินดอนเมือง คาเรนเห็นคนต่างชาติ หัวเหน่งคนหนึง่ แบกขวดน้ำ�ขนาด 3 แกลลอนผ่านด่าน ตรวจคนเข้าเมือง เขาแจ้งแก่เจ้าหน้าที่ว่าเป็นน้ำ�ที่เขา นำ�ติดตัวมาด้วย เพื่อจะได้มีน้ำ�ดื่มที่ปลอดภัย พอผ่าน ด่านตรวจคนเข้าเมืองออกไปแล้ว ตรงทางที่กำ�ลังเดิน ผ่าน มีคนช่างหัวเราะคนหนึง่ กวักมืออยูไ่ หวๆ ท่ามกลาง คนต่างชาติที่หอบข้าวของพะรุงพะรังเดินผ่านไป ปาก ของเขาก็ร้องว่า แท็กซี่ๆ คาเรนรู้สึกว่าอากาศที่นี่ ร้อน อบอ้าว ทำ�ให้เนื้อตัวเหนียวเหนอะหนะ ความร้อนแถบ ศู น ย์ สู ต รอย่ า งนี้ เ ธอไม่ เ คยสั ม ผั ส มาก่ อ นในชี วิ ต เธอ นอกจากนี้เธอยังตื่นเต้นกับคนบางคนที่ประดับฟันด้วย ทองคำ�ที่ทำ�เป็นตุ่มๆ บางคนรู้สึกร้อนต้องต้องแบะเสื้อ ทำ�ให้เห็นพุงพลุ้ย บางคนสักด้วยสีๆครามเป็นรูปต่างๆ บางกลุ่มต้อนรับแขกที่มาเยือนด้วยพวงมาลัยดอกมะลิ ที่เธอไม่เคยได้กลิ่นมาก่อนเลย ทันที่ที่หลุดออกมาเข้าชานผู้โดยสารขาเข้า คา เรน ได้เห็นแผ่นป้ายที่มีชื่อของเธอโบกไปมา ทำ�ให้หมด กังวลใจที่ฝั่งอยู่ไม่รู้ว่าตัวเองจะไปที่ไหน เธอมั่นใจว่ามี คนมารับเธอแล้ว จากดอนเมือง คาเรนรู้ว่าผู้ที่มารับเธอ กำ�ลัง จะพาเธอไปทางตอนเหนือของประเทศไทย เธอกำ�ลัง เดินทางด้วยรถยนต์ไปพร้อมกับ รทร.ประสิทธิ์ ปิยะ จินดา และ รทร. ประเสริฐ จีนานุกุลวงค์ สมาชิกของ สโมสรโรตารีเด่นชัย จังหวัดแพร่ พอหลุดจากความ จอแจของจราจรแถวดอนเมือง โรแทเรียนทั้งสองก็ แนะนำ�ให้คาเรนเรียกเขาทัง้ สองว่า “พ่อ” รทร.ประสิทธิ์ พูดภาษาอังกฤษได้ จึงพูดกับคาเรนว่า “ We will treat you like a daughter and you will treat us like ……………………….. ให้เรียกอย่างนี้ก็เพื่อความเป็นกันเอง

คาเรน รูว้ า่ ทีส่ โมสรโรตารีเด่นชัย (ในสมัยนัน ้ ) มีสมาชิก ทั้งสิ้นประมาณ 20 คน และทุกคนเธอจะต้องเรียกเขา ว่า “คุณพ่อ” ๆ ที่มาด้วยกันกล่าวกับคาเรนว่า เธอควร หัดพูดภาษาไทยให้ได้เร็วๆ และเชื่อว่าเธอคงทำ �ได้ เพราะครอบครัวทีค่ าเรนจะไปอยูด่ ว้ ยครอบครัวแรก พอ จะพูดภาษาอังกฤษได้ เสร็จแล้วเขาก็ช่วยกันเล่าถึงวิธี ไทยให้คาเรนฟัง อย่างเช่นแกงของคนไทยมีรสออกจะ เผ็ดจากพริกและเครื่องเทศ พระสงฆ์จะห่มจีวรสีเหลือง และมีความสามารถทำ�นายโชคชะตา ได้อย่างแม่นยำ� โรงเรียนทีเ่ ธอจะไปเรียนอยูห่ า่ งจากเด่นชัย ออกไปค่อน ข้างไกล และชาวบ้านที่นั่นก็กำ�ลังรอพบเธออยู่ เมื่อคา เรน ทราบว่าชาวบ้านที่เด่นชัยกำ�ลังรอพบเธอ เธอจึง ถามว่า “ทำ�ไมเขาจึงอยากพบ” คุณพ่อประสิทธิ์ หัว เราะคิ๊กขึ้นมาทันที แล้วตอบว่า “ก็คุณเป็นฝรั่งน่ะซี” คำ�ว่า “ฝรั่ง” จึงเป็นคำ�ไทยที่คาเรนยังฝังใจจดจำ� ฝรั่ง หมายถึง ชาวต่างชาติที่เป็นคนผิวขาว คาเรนฟังคุณพ่อ ประสิทธิ์คุยไม่หยุดมาตลอด ทาง สักครู่ก็มีฝนเทลงมาอย่างหนัก โรแทเรียนทั้งสอง สังเกตเห็นว่าคาเรนตกใจกลัว กับสภาพฟ้าฝนที่กำ�ลัง ตก อากัปกริยาของเธอทำ�ให้เขาทั้งสองหัวเราะที่เด็ก ฝรั่งกลัวฝนฟ้าเมืองไทย เขาหัสมาถามคาเรนว่า “หนู กลัวมากรึ” คาเรนลั่นตอบว่า “ใช่แล้ว หนูกลัวมาก” กลัวฟ้าที่กำ�ลังแลบแปรบปราบ และคำ�รามดังลั่นอยู่ นอกรถ” ดูจากในรถออกไปแล้วเหมือนสัตว์ดุๆอะไรสัก ตัวที่กำ�ลังเลื้อยอยู่ในหนองน้ำ� คุณพ่อประสิทธิ์บอกว่า มันคือพญานาค ที่ฝรั่งเรียกว่า “ดรากอน” เสร็จแล้ว เขาก็หันไปทางคุณพ่อ ประเสริฐเพื่อบอกว่าเขาพูดอะไร กับคาเรน ทั้งสองพากันหัวเราะอย่างครื้นเครงโดยที่ คา เรน ไม่เห็นว่ามันเป็นเรื่องตลก คาเรนรู้สึกเหน็ดเหนื่อยกับการเดินทาง นั่ง สัปหงกอยู่ไม่นานก็ฟุบหน้าลง กับเบาะท้ายที่นั่งอยู่คน เดียว หูยังได้ยินคุณพ่อทั้งสองคุยกันเฮฮามาตลอดทาง ตอนหนึ่งคาเรนได้ยินแว่วๆ ว่า “ชาวบ้านที่เด่นชัยเขา จะเรียนหนูว่า “ฝรั่ง” และเป็นฝรั่งคนเดียวในตลาด ที่ ผู้คนจะพากันให้ความสนใจ เมืองไทยมีผลไม้ชนิดหนึ่ง ชื่อ “ฝรั่ง” เหมือนชื่อหนู เวลาที่เขาเห็นหนูแทะฝรั่ง เขาก็ร้องบอกคนอื่นให้ดูว่า “ดูนั่นซี ฝรั่งกำ�ลังกินฝรั่ง” ตลกดี ความรู้สึกตอนต้นที่เกิดกับคาเรนไม่ใช่เรื่องที่ แปลก แต่มักจะเกิดกับเด็กต่างแดนที่จะต้องเข้ามาอยู่ ในเมืองไทยนานเป็นปี เป็นเรื่องที่ครอบครัวที่จะรับ นักเรียนแลกเปลี่ยนเข้ามาอยู่ด้วย รวมทั้งคนไทยอื่นๆ ด้วย ควรรับทราบไว้ ผมมีเนื้อที่เล่าให้ฟังเพียงแค่นี้ ถ้า ท่านอยากฟังอีกก็ขอให้บอกมาด้วย

กันยายน ๒๕๕๒


ศูนย์โรตารีประเทศไทย

กันยายน ๒๕๕๒

17 16


เสียงนก เสียงกา

สวัสดีครับมวลมิตรโรแทเรียนทุกท่าน เนือ่ งจากเดือนสิงหาคม ทีผ่ า่ นมาเป็นเดือน แห่งการเพิ่มสมาชิกและขยายสโมสร (Membership & Extension Month) สารฯ ฉบับนี้ เราจึงเน้นสัมภาษณ์สมาชิกโรตาเรียนใหม่ๆ เป็นส่วนใหญ่ มีทั้งอดีตนายกและ นายกรอบ สองบ้างผสมผสานกันไป และมิตรโรแทเรียนหลายๆ ท่านที่เข้าร่วมงานประชุมสัมมนาฯ กันที่อำ�เภอเชียงแสน ส่วนเดือนกันยายนศกนี้ เป็นเดือนของชนรุ่นใหม่ ฉบับหน้า เราจะ สัมภาษณ์กลุ่มเยาวชน คนรุ่นใหม่ รวมทั้ง YE Inbound ที่เข้ามาศึกษาในภาค 3360 กว่า 40 คน และคนรุ่นใหม่ที่กลับมาแล้วและ YE Outbound ที่กำ�ลังจะเดินทางออกไปเป็น เยาวชนแลกเปลี่ยนทั่วโลก ใครสนใจก็ส่งมาก่อนนะครับ

“เพิ่มและรักษาสมาชิก....”

อน.สุภาภรณ์ สุขจรัส สโมสร โรตารีสอง พี่เป็นนายกสโมสรสอง มา สองสมัยติดต่อกัน ปีนี้พี่รับ ตำ � แหน่ ง ผู้ ช่ ว ยเลขานุ ก าร ส โ ม ส ร เ พื่ อ จ ะ ไ ด้ ช่ ว ย สนั บ สนุ น คนใหม่ ใ ห้ เ ป็ น เลขานุการและเป็นผู้นำ�สโมสรในอนาคต และก็ เป็นกรรมการฝ่ายบำ �เพ็ญประโยชน์ ตอนนี้ กำ�ลังทำ� matching grant กับสโมสรกรีนวัลเลย์ รัฐอริสโซน่า ประเทศสหรัฐอเมริกา ในโครงการ น้ำ�ดื่มสะอาดสำ�หรับ 10 โรงเรียน มี อน.อนันต์ เหล่าธรรมทัศน์เป็นผู้ประสานงานให้ โครงการ นี้ทำ�ร่วมกับสโมสรโรตารีสวรรคโลก คาดว่าจะ ได้รับการอนุมัติเร็วๆ นี้ นอกจากนี้พี่ยังได้ช่วย สโมสรจัดทำ�โครงการค่ายภาษาอังกฤษ (day camp) ให้แก่นักเรียนประถม ซึ่งเป็นโครงการ ต่อเนื่องทุกปี ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก อบจ.แพร่ จำ�นวนหนึ่งแสนบาท พี่เกษียณอายุ ราชการก่อนกำ�หนดก็เลยมีเวลามาทำ�กิจกรรม บำ�เพ็ญประโยชน์ให้กับโรตารี และสนุกกับการ ช่วยกิจกรรมและสอนภาษาอังกฤษให้แก่เด็กๆ ค่ะ

16 17

ช่วยกันสร้างสรรค์ให้ชุมชน สังคม ก็สามารถ เข้ า มาเป็ น สมาชิ กโรตารี ไ ด้ คิ ด ว่ า ตั ว เองจะ สามารถช่วยงานสังคมผ่านองค์กรโรตารีได้ อาจ จะด้านความคิด ความรู้ การนำ�นักศึกษามา ช่วยกิจกรรม การเงินบ้าง และก็จะได้ความ สัมพันธ์ รู้จักคนทั่วโลก ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสนับสนุนซึ่งกันและกัน

รทร.ฉัตรชัย สงวน โรจน์ สโมสรโรตารี พิษณุโลก เริ่มแรกเดิมทีผมไม่ ท ร า บ ห ร อ ก ว่ า ”โรตารี ” คื อ อะไร และ ทำ�เพือ่ อะไร จน วันหนึ่งพี่กาญ หรือ นายกชญากานต์ เข้ามา ชั ก ชวนให้ เ ข้ า สั ง เกตการณ์ จึ ง ได้ ท ราบว่ า ”โรตารี” คือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือ สังคมโดยปราศจากการแสวงหาผลประโยชน์ ซึ่งเป็นที่ทำ�ให้ผมสนใจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ ”โรตารี” ภายใต้การนำ�พาของนายกชญากานต์ และเป็นสมาชิกสโมสรโรตารีพิษณุโลก ได้มี โอกาส ไปเยี่ยมชมสโมสรต่าง ๆ ทำ�ให้มองเห็น ว่า”โรตารี” เป็นองค์ที่เข้มแข็งและช่วยเหลือผู้ อาจารย์ สิรีภัทร์ ขาวมีชื่อ อื่นด้วยความจริงใจและเต็มใจเป็นอย่างยิ่ง ผม หนึ่งในสมาชิกโรตารีจะใช้ความสามารถที่มีอยู่ ม.เชียงใหม่ ว่ า ที่ ส มาชิ กใหม่ ข องสโมสร เป็นแรงสนับสนุนในการทำ�กิจกรรมเพื่อสังคม ของสโมสรต่อไปครับ. โรตารีล้านนาเชียงใหม่ ตั ด สิ นใจเข้ า มาเป็ น สมาชิ ก อน.พิมพ์ประไพ พรรณาภพ โรตารีทันทีที่ได้รับเชิญจาก สโมสรโรตารี อุตรดิตถ์ สโมสรโรตารี ล้ า นเชี ย งใหม่ กว่า 17 ปี ในวงการโรตารี เพราะเคยได้นำ�นักศึกษาของวิทยาลัยศิลปะ สือ่ หากเอ่ยชือ่ ว่า “พีใ่ หญ่” แห่ง และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วม อุตรดิตถ์ ก็คงจำ�ได้ว่าเขา โครงการโรตารีสร้างฝายถวายในหลวงมาสอง เรียกเรานี่เอง ในฐานะแม่ ครั้ง และได้เห็นภาพข่าวกิจกรรมของสโมสร พิมพ์ของชาติ เป็นผูป้ ลูกต้น โรตารีล้านนาในระยะสองปีที่ผ่านมา ทำ�ให้ได้ รับทราบว่าโรตารีมีกิจกรรมดีๆ ทำ�ประโยชน์ให้ กล้าทางการศึกษา แต่กับเรื่องโรตารีละก็พี่ให้ใจ กับคนอื่น จากเดิมเคยสงสัยว่าโรตารีคืออะไร เกิน 100 หลายครั้งที่เคยเข้าร่วมประชุมงาน เพราะเคยเห็นอาจารย์ที่รู้จักกันไปบรรยายให้ Convention ระดับโลก พี่คิดว่าปรัชญาของโรตา สโมสรโรตารี ตอนนี้รู้แล้วว่าคนที่พอจะมีพลัง รียังคงมีเสน่ห์เสมอ ให้ผู้คนทั่วโลกหลงใหลใน

อน.สุรินทร์ ชัยวีระไทย สโมสรโรตารีนเรศวร

prachamati_s@ hotmail.com surinchaive@ gmail.com

กันยายน ๒๕๕๒


เสียงนก เสียงกา

อุดมการณ์เดียวกัน ทั้งคลื่นลูกเก่า และคลื่นลูก ใหม่ ล้วนมีจิตใจบริการผู้อื่นเหนือตนเอง เล็กๆ ไม่ ใหญ่ๆทำ� พี่จึงมักถูกขอร้องให้เป็นผู้นำ� จัด งานช้างให้เสมอให้กับภาค 3360 ถึงเหนื่อยแต่ ก็ยินดีรับใช้ค่ะ อน.สุนี อุชชิน สโมสรโรตารี นเรศวร นับเป็นสัญลักษณ์ “โรตารี” ของจังหวัดพิษณุโลก ตลอด เวลา มาฟังเธอกล่าวดีกว่า ตลอดเวลากว่า 19 ปี ของการ เป็นโรแทเรียน ไม่ว่าจะเป็น งานเล็กหรืองานใหญ่ “สุนี” ยินดีรับใช้เสมอ จะ เห็ น ได้ จ ากการเป็ น ประธานจั ด District Conference ทั้งสองครั้งที่พิษณุโลก แม้นจะ เหน็ดเหนื่อย แต่ก็ทำ�ให้ได้เรียนรู้ถึงมิตรภาพ และความจริงใจได้ดมี ากๆ สำ�หรับเดือนแห่งคน รุ่นใหม่ องค์กรโรตารี ได้สร้างงาน สร้างคนให้ เป็นผู้นำ� New Generation พัฒนาศักยภาพ ความเสียสละ มีน้ำ�ใจแบ่งปันซึ่งกันและกัน ก่อ ให้ เ กิ ด มิ ต รภาพที่ ง ดงาม สร้ า งประโยชน์ ใ ห้ ชุมชนและสังคม ดิฉันประทับใจในวัฒนธรรม องค์กรนี้มาก ได้เห็นแบบอย่างที่ดี ปลูกฝังใน อุดมการณ์เพื่อมวลมนุษยชาติ “ถ้ารู้จักแล้วจะ รักโรตารี” ค่ะ นย.อธิษฐาน วงศ์ใหญ่ สโมสรโรตารีลำ�ปาง ผมเคยเป็นนายกสโมสร อิน เตอร์แรคท์มาก่อนมีสายเลือด โรตารีเข้มข้น เมื่อผมย้ายมา รับราชการที่ลำ�ปางได้จัดทุก อย่างเข้าที่เข้าทางแล้วผมก็ มาสมัครเป็นสมาชิกสโมสรโรตารีลำ�ปางทันที เมื่ อ ผมได้ เ ป็ น นายกรั บ เลื อ กผมก็ กั ง วลพอ สมควรในการที่จะรับหน้าที่นายกสโมสรโรตารี ลำ�ปาง แต่ทุกท่านในสโมสรก็ได้ให้กำ�ลังใจ จน เมื่อได้เข้าอบรม Multi PETS ได้รับแรงบันดาล ใจจากผู้ว่าการภาคแววดาว ซึ่งท่านเป็น Role Model เป็นแบบอย่างในการทำ�งานโรตารี ทำ�ให้ ผมมีความมั่นใจมากขึ้น เมื่อได้ทำ�งานร่วมกับ คุณหมอวรรณจันทร์ พิมพ์พิไลย ในโครงการ สร้างศูนย์ผ่าตัดหัวใจ ได้รับความเมตตาชี้แนะ แนวทางจากท่าน ทำ�ให้ผมรู้สึกว่าการได้เป็น โรแทเรี ย นเป็ น บุ ญ ที่ ยิ่ งใหญ่ ได้ เ ป็ น สะพาน บุญช่วยเหลือผู้อื่นในโครงการบำ�เพ็ญประโยชน์ รวมทั้งได้ศึกษางานที่เป็นระบบ แตกต่างจาก ระบบราชการ โดยเฉพาะโรตารี มี แ ผนการ สืบทอดตำ�แหน่งที่ดี มีนโยบายที่ยาวนานไม่ว่า จะเปลี่ยนผู้บริหารในแต่ละปีแต่นโยบายของ โรตารีก็ไม่เปลี่ยนแปลง

กันยายน ๒๕๕๒

รทร.สุ ภั ส สร ตั้ ง ไพบู ล ย์ สโมสรโรตารี นครเทิง การธำ� รงรั ก ษาสมาชิ ก ภาพ ของ สโมสรโรตารีนครเทิงนัน ้ สิ่งหนึ่งก็คือทุกครั้งวันที่ทาง สโมสรมีการมอบโครงการให้ กับโรงเรียน หรือชุมชนใดๆ นัน ้ เราจะเชิญหัวหน้า หน่วย งานต่างๆ ผูน ้ ำ�ชุมชนในพืน ้ ทีม่ าเป็นเกียรติและ รับรู้ว่า โรตารีได้ทำ�สิ่งดีๆมีประโยชน์อย่างไร บ้าง เพือ่ เป็นการประชาสัมพันธ์โรตารี ให้คนใน พื้นที่รับรู้และทราบ และเราก็จะถือโอกาสอันดี นี้เชิญบางท่านที่เรามุ่งหวังมาเป็นสมาชิกของ สโมสรซึ่งได้ผลมาแล้วค่ะ ถือว่าประสบความ สำ�เร็จด้านการให้กำ�ลังใจสมาชิกที่เรามุ่งหวัง ใหม่และสมาชิกที่เป็นสมาชิกสามัญของสโมสร ก็ ภ าคภู มิ ใ จว่ า เขามี ส่ ว นร่ ว มในงานบริ ก าร ชุมชนด้วย ใช่ใหมค่ะ นย.สมฤทัย สุรินทร์คำ � สโมสรโรตารีนครหริภุญชัย แรงบั น ดาลใจในการเข้ า มา เป็นโรแทเรียนได้รับจาก อน. จันทนี เทียนวิจิตร ที่เปรียบ เสมื อ นเป็ น พี่ ส าวที่ ทำ � งาน ร่วมวิชาชีพเดียวกัน โดยได้ ร่วมกิจกรรมบำ�เพ็ญประโยชน์ที่พี่มุ่ยชวนอยู่ เสมอ ทำ�ให้รูว้ า่ ใครทีพ ่ ร้อมทีจ่ ะให้กส็ ามารถเป็น โรแทเรียนได้ เดิมเคยคิดว่าสโมสรโรตารีมีแต่ เจ้าของกิจการเป็นคนรวย แต่เมือ่ มาสัมผัสแล้ว พบว่าโรตารีไม่ได้เป็นอย่างนั้น เคยประทับใจ กับคำ�พูดของ อผภ.อนุวัตร ภูวเศรษฐ์ สมัยที่ ท่านเป็นผู้ว่าการภาคและมาร่วมกิจกรรมของ สโมสรโรตารีนครหริภุญชัยในโครงการโรคเอดส์ ท่านกล่าวว่าการการทำ�ดีทำ�ได้ไม่ยาก แต่การ ช่วยเหลือบุคคลอื่นทำ�ได้ยากกว่า และเมื่อช่วย เหลือผู้อื่นแล้วจะมีความสุข ทำ�ให้จดจำ�และนำ� มาปฏิบัติ ซึ่งพบว่าเป็นจริง รทร.อัธยา เวชสถานารักษ์ สโมสรโรตารีพิษณุโลก เพราะลูกสาวได้รับโอกาสจาก สโมสรโรตารีพิษณุโลกให้เป็น เ ย า ว ช น แ ล ก เ ป ลี่ ย น ไ ป ประเทศญีป่ ุน ่ เมือ่ ปี2542 ทำ�ให้ ได้ ไ ปเป็ น แขกของสโมสร อย่างต่อเนื่องเพราะปีต่อมารับเป็นครอบครัว อุปถัมภ์ YE จากญี่ปุ่น และต่อมาในปี 2544 จึง ได้รับเชิญให้เป็นสมาชิกของโรตารี่พิษณุโลก และได้รับเลือกจากท่าน อผภ.สุเทพ นิ่มพิทักษ์ พงศ์ ประธานโครงการเยาวชนแลกเปลี่ยนให้ เป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการฯจนถึงปี 2551 จึง ขอยุติบทบาท YE Coordinator เนื่องจากภาระ

18 19


งานประจำ�ทีต่ อ้ งรับผิดชอบ 8 ปีของการเป็นโรตาเรียนทำ�ให้ เข้าใจในมิตรภาพของโรตาเรี่ยน ซึ่งมาจากหลากหลายวัย และอาชีพที่สามารถมาร่วมกันทำ�กิจกรรมเพื่อประโยชน์ให้ กับสังคมโดยไม่หวังผลตอบแทน ในเดือนแห่งการเพิ่มและ รั ก ษาสมาชิ ก ภาพก็ อ ยากให้ พ วกเราเฟ้ น หาผู้ ที่ เ ข้ าใจ วัตถุประสงค์และเจตนารมณ์ของโรตารีว่ า่ การเป็นโรตาเรียน ดีอย่างไรเพื่อจะได้ร่วมกันอย่างยั่งยืนและถาวรทำ�กิจกรรม ที่ดีๆ มีประโยชน์ให้กับผู้ด้อยโอกาสในพื้นที่ของเราต่อไป

19 18

การยอมรับไปทั่วโลก ได้มิตรภาพในการแลกเปลี่ยน ความ รู้กับสมาชิกต่างสโมสร ส่วนเทคนิคของสโมสรในการเพิ่ม และรักษาสมาชิกภาพของผมคือ พยายามให้ความรู้กับ เพื่อนสมาชิก ได้รู้ถึงความสำ�คัญในการเข้าร่วมอุดมการณ์ ของโรตารี เพื่อแนะแนวทางให้สมาชิก ได้กระจายความรู้สู่ คนที่รู้จัก เพื่อเชิญชวนให้มาเข้าร่วมประชุมกับสโมสร และ เมื่อพร้อมเมื่อไหร่ ก็เชิญเข้าร่วมเป็นสมาชิก จัดให้มีการ ประชุมวันครอบครัว เชิญชวนสมาชิกได้พาครอบครัวมา ร่วมด้วย เพื่อสร้างความสามัคคี ในแต่ละครอบครัว จัดการ อน.ปัทมพร ทรวงแสวง สโมสรโรตารี เดินทางไปสัญจรโดยเชิญครอบครัวไปด้วย จัดกิจกรรมภาย หางดงเชียงใหม่ หลังการประชุม ในด้านทีส่ มาชิกและครอบครัวเห็นชอบด้วย การเพิ่มสมาชิกภาพของโรตารี ถือเป็นสิ่ง สำ�คัญพอๆ กับการรักษาสมาชิกเก่าๆ อน.สัมฤทธิ์ พันธารัตน์ สโมสรโรตารี เช่นกัน แต่ทีส่ �ำ คัญทีส่ ดุ คือการมีผูน ้ �ำ ทีร่ กั แม่จัน และมั่นคง พร้อมทุ่มเทให้กับองค์กร ผู้ที่ ผมได้เป็นสมาชิกของสโมสรโรตาแม่จน ั มา จะร่วมมือในแนวทางที่ตนเองถนัด การ ได้ 7 ปี ในช่วงก่อนมีสมาชิก 23 คน ทำ�งานเป็นหมู่คณะ ที่เป็นอาสาสมัคร ไม่มีผลประโยชน์ ดู ปัจจุบันมีสมาชิก 32 คน ประโยชน์ที่ได้ แตกต่างจากองค์กรที่แสวงหารายได้อื่นๆ แต่ความสุขที่เกิด จากการร่วมสัมมนาการเพิ่มและรักษา จากการทำ�งานร่วมกัน โดยไม่มีผลประโยชน์ ที่หลายคนไม่ สมาขิกภาพ โดยรวมแล้ว ทุกๆ คนจะได้ เข้าใจ แสดงให้เห็นว่า แก่นแท้ของการรับหรือเพิ่มสมาชิก แนวทางการเชิญชวนสมาชิกเพิ่มอีกหลาย ๆ วิธี ซึ่งได้ ใหม่ ต้องเน้นมากๆ คือ บอกเขาไปว่า “เราคือผู้เข้ามาเป็น แนวทางของแต่ละสโมสรมาแชร์ประสบการณ์ ส่วนแนวทาง อาสาสมัครโรตารี” ผู้ก่อตั้งสโมสรหรือผู้นำ�ด้วยแล้วควร ของสโมสรแม่จัน มีวิธีของตัวเองหลายๆ วิธี เช่น มักจะ ทำ�งานหนักเป็น 2 เท่า ซึ่งเราในฐานะ สมาชิกพร้อมเดิน เชิญชวน ศิษย์เก่าโรตารีมาเป็นสมาชิก เช่น YE GSE และ ตามแนวทาง บริการชุมชนด้วยใจอยู่แล้ว หากท่านเดิน เรา เพื่ อ นๆ โดยเน้ น เชิ ญ ชวนไปร่ ว มทำ � กิ จ กรรม บำ � เพ็ ญ ก็พร้อมจะเดินไปกับท่านเสมอ หากท่านอยากหยุด กระซิบ ประโยชน์ เช่น โครงการทันตกรรม โครงการน้ำ�สะอาด บอกเราด้วย นั่นคือความปรารถนาดีที่ยิ่งใหญ่ ต่อการดำ�รง โครงการส่งเสริมอาชีพให้แก่เด็กชาวเขา ปัจจุบันมีสมาชิก สมาชิกภาพของโรตารีโดยรวม เป็นผู้อำ�นวยการโรงเรียนถึง 3 คน ตอนนี้มีแนวคิดใหม่ หากลุม่ ใหม่ซึง่ เป็นชาวต่างประเทศ เป็นชาวอเมริกา เกาหลี รทร.ภารดี พันธุ (สโมสรโรตารีเชียงราย เบลเยี่ยม และในประเทศก็จะเป็นกลุ่ม อบต. อบจ. สท. เหนือ) และแจ้งเขาว่าโรตารีไม่ยุ่งเกี่ยวการเมือง โดยสรุปสโมสร ในฐานะที่ เ ป็ นโรแทเรี ย น ในส่ ว นของ แม่จัน เน้นให้สมาขิกและบุคคลภายนอก มีส่วนร่วมในการ ข้าราชการหรือนักวิชาชีพ ต้องเข้ามาช่วย ทำ�กิจกรรมบำ�เพ็ญประโยชน์เป็นหลัก จึงเป็นที่มาของการ สโมสรในฐานะนักวิชาการ เมื่อก่อนไม่ เพิ่มและรักษาสมาชิกในปัจจุบัน กล้าหรอกที่จะมาเป็นโรแทเรียน เขามอง กันว่าเป็นกลุ่มคนที่มีฐานะดี มีสะตังค์ นย.ตระสัก ศรีธิพรรณ์ นย.สโมสรโรตารี หรือไฮโซ ทั้งที่มองเห็นว่า การรับใช้สังคมหรือชุมชนนั้น แม่สาย บางครั้งไม่จำ�เป็นต้องใช้เงินใช้ทอง แต่ทุ่มเทแรงใจ และ -คิดน้อยๆ กับนายกน้อยๆ แรงกาย การมีสมาชิกน้อยๆ ในสโมสร ถือว่าไม่ดีนัก การ การสัมมนาสมาชิกภาพ...แม้จะมีวิธีการ มีอาชีพซ้ำ�ๆ มากไปก็ไม่เหมาะสม โรตารีควรเพิ่มการ อบรมเชิงปฎิบัติการ หรือการอบรมเชิง ประชาสัมพันธ์ ให้มากกว่าเดิม หาใช่หาคนที่ใกล้ตัวซึ่งเป็น สัมมนาหรือการระดมสมอง หรือจะเลือก กลุ่มอาชีพเดียวกัน ความคิดก็ไม่หลากหลาย อยากให้หา ใช้วิธีการสื่อสารหรือวิธีปฏิบัติใดๆ ก็ตาม คนที่เรามองข้ามไป ที่พอจะช่วยสโมสรทำ�งานให้ได้ดีขึ้น เกี่ยวกับเรื่องสมาชิกภาพของโรตารี ล้วนเป็นวิธีการที่ดีทั้ง การประชุมบ่อยๆ ก็ไม่ใช่ปัญหา ถือเป็น Spirit ที่ควรทำ� นั้น แต่จะให้เห็นผลที่ชัดเจนหรือเป็นรูปธรรมได้ ต้องนำ�ไป มากกว่า ดิฉันเริ่มรักโรตารี พอ ๆ กับรักตัวเองแล้วล่ะค่ะ ปฏิบัติอย่างจริงจัง และตั้งใจจริง หลากหลายวิธีการที่มวล มิ ต รโรแทเรี่ ย นแต่ ล ะท่ า นแต่ ล ะสโมสรนำ � เสนอหรื อ เคย นย.นิรันดร์ ดุษฎีพร สโมสรโรตารีแม่ ปฎิบัติมาแล้วและประสบผลสำ�เร็จเกี่ยวกับการเพิ่ม,การ วัง รักษาสมาชิกของสโมสรนั้น(ก็ยกย่องกันไป) แต่อาจไม่ ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าสัมมนาการ ประสบผลสำ�เร็จหากสโมสรโรตารีอื่น นำ�ไปใช้ไปปฏิบัติตาม เพิ่มและรักษาสมาชิกภาพ ผมคิดว่าได้ ด้วยเพราะเหตุผลหนึ่งที่อาจไม่ได้นึกถึง คือ ความแตกต่าง ความรู้ สึ ก ที่ ดี ในการเพิ่ ม และรั ก ษา ของบริบทชุมชนนั้นๆ และวัฒธรรมการดำ �รงชีวิตที่ไม่ สมาชิกภาพ ได้วิธีการต่างๆ โดยเฉพาะ เหมือนกัน........ยืดหยุ่น, ปรับเปลี่ยน, ผสมกลมกลืน, ร่วม ความรู้สึกที่ท้าทาย ได้รับการกระตุ้นให้ เป็นส่วนหนึ่ง... ยังไม่เคยมีใครพูดถึงเลยในการสัมนาทุก รู้สึกถึงการเป็นสมาชิกสโมสรโรตารี ซึ่งเป็นสโมสรที่ได้รับ ครั้งที่ผ่านมา.

กันยายน ๒๕๕๒


Behind the scene

อน.นฤชล อาภรณ์รัตน์ สโมสรโรตารี เชียงใหม่ถิ่นไทยงาม

สวัสดีค่ะมวลมิตรโรแทเรียนทุกท่าน สารผู้ว่าการภาค ฉบับที่ 2 Long Live the Queen สีฟา้ อ่อนสดสวยมันวาว น่าจับต้อง โดดเด่นไม่แพ้ฉบับปฐมฤกษ์ เข้า concept ของเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนม์พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ส่วนสารผู้ว่าการ ภาคของเรา หลายท่านพูดเป็นสียงเดียวกันว่า สวยเด็ดขาด แม้แต่ ผวภ. แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ก็ยังเอ่ยปากชมในที่ประชุม ว่าสวยยิ่งกว่าฉบับแรกด้วยซ้ำ� ท่าน อผภ.วิวัฒน์ ศิริจางคพัฒนา ก็ได้ให้กำ�ลังใจทีม บอ.กอ ว่าทำ�งานกันได้ UPDATE มีสาระน่าติดตาม พอเราเดินผ่าน เพื่อน สมาชิกก็บอกเราว่า นีน ่ ะเราอ่านทุกหน้าเลยและบางท่านก็บอกว่า แหมเขียนได้นา่ อ่านน่าติดตาม เชียว ความโดดเด่นของสารฯภาค 3360 โด่งดังข้ามภาคไปเลย แม้กระทั่ง อผภ. รัตนมณี ตัน ยิ่งยง สโมสรโรตารีสนามจันทร์ จ.นครปฐม จากภาค 3330 ได้เมล์มาขอสารฯ ผ่านผู้ช่วย บอ.กอ. ผชภ.เอกวุฒิ กาวิละ อีกด้วย ขอขอบคุณสำ�หรับทุกกำ�ลังใจ ที่มีให้กอง บอ.กอ. สารผู้ว่าการ ภาคฉบับ “แววมหาลัย’ เอ๊ะ ใครตั้งชื่อให้นะ เราจะช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานเต็มความสามารถ งานสัมมนาสมาชิกภาพ รักษาและขยายสโมสร ได้จัดขึ้น เมื่อวันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม 2552 ณ โรงแรมเกรทเธอร์ แม่โขง ลอด์จ สามเหลี่ยมทองคำ� อ.เชียงแสน จ.เชียงราย สโมสร โรตารีแม่จันเป็นเจ้าภาพ โดย อน.อนันต์ เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธานจัดงาน การจัดสถานที่ และประดับเวที เป็นฝีมือของ อน.สมฤทธิ์ พันธารัตน์ ดูแลด้านพิธีการ โดย ผชภ.ธานินทร์ ศิริ รัตโนทัย ทำ�หน้าที่รับลงทะเบียน เป็นของสโมสรโรตารีเชียงแสน สโมสรโรตารีแม่สาย รับหน้าที่ ขับกล่อมสร้างบรรยากาศก่อนพิธีการ ทุกสโมสรในจังหวัดเชียงราย ร่วมต้อนรับมิตรโรแทเรียน ส่วนผู้ดำ�เนินรายการ เป็นพิธีกรหนุ่มสาวรุ่นใหม่ มากด้วยความสามารถ พิธีกรหนุ่มเป็นสมาชิก ใหม่ถอดด้ามของสโมสรแม่จัน ชื่อเล่นน้องสอง รทร. .อภิศักดิ์ จองพงษ์ ส่วนพิธีกรหญิง นยล. ขวัญจิต เอี่ยวตระกูล เป็น GSE เก่าของสโมสรแม่จัน ไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์ประเทศอินเดีย มีหัวหน้าทีม ผวล.ชำ�นาญ จันทร์เรือง สถานที่จัดงาน ห่างจาก อำ�เภอแม่สายไม่มากนัก ใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที ระหว่างทาง เป็นชุมชนหนาแน่นพอสมควร เส้นทางเรียบคดเคี้ยว พอประมาณ ก่อนถึง มองเห็นแม่น้ำ�โขง อยู่ไกลโพ้น มิทันได้หลงทาง พลันเห็นธงโรตารี โบกสะบัดบอกทาง ตั้งแต่ทางเข้า เราขับรถตาม ธงโรตารีมาเรื่อยๆ ผ่านหอฝิ่น อุทยานสามเหลี่ยมทองคำ� และจึงเข้าสู่ โรงแรมเกรทเธอร์ แม่ โขง ลอด์จ ซึ่งโอบล้อมด้วยขุนเขา ธรรมชาติสวยงาม ห้องประชุมอยู่ชั้นที่ 3 ส่วนอาหารจัดไว้ ชั้นล่างสุด และมีภาพขนาดใหญ่ของ ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ประดับอยู่ หน้าห้องประชุม มิตร โรเทเรียนทยอยลงทะเบียนตัง้ แต่ ก่อน 9.00 น. จนถึง 10.00 น. ผูร้ ว่ มประชุมจึงเต็มห้อง มากกว่า 160 ท่าน พิธีเปิดเริ่มขึ้น ในเวลา 9.00 น.เศษ พิธีกรเชิญ อน.อนันต์ เหล่าธรรมทัศน์ ประธาน จัดงานกล่าววัตถุประสงค์ ซึ่งท่านได้กล่าวว่า โรตารีสากลมุ่งที่จะขยายฐานจำ�นวนสมาชิกภาพ ควบคู่กับการคงไว้ซึ่งจำ�นวนสมาชิกเดิม เพื่อให้มีกำ�ลังคนเพียงพอ สำ�หรับงานบำ�เพ็ญประโยชน์ ดังนั้นการจัดสัมมนาสมาชิกภาพ จึงเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้น�ำ สโมสร เรียนรู้การเพิ่ม สมาชิก รักษา และขยายสโมสร สนับสนุนให้คงไว้ซึ่งสมาชิกเดิมและเพิ่มสมาชิกใหม่ จากนั้นจึง เรียนเชิญ ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ประกาศเป้าหมายภาคในปีนี้ ที่สำ�คัญ ได้แก่ ( 1.) ขอให้นายกสโมสร หาสมาชิกเข้ามาใหม่อย่างน้อย 1 คน (2) ขอให้สมาชิกของสโมสร ช่วยกันหาสมาชิกให้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 10% ของจำ�นวนสมาชิก (3) เพิ่มจำ�นวนสโมสรใหม่ไม่ น้อยกว่า 1 สโมสร (4) ทุกสโมสรพาสมาชิก ร่วมงานประชุมสัมมนาต่าง ๆ ของภาคอย่างน้อย 3 คน ฯลฯ และสุดท้าย เชิญชวนทุกสโมสร นำ�ส่งค่าบำ�รุงโรตารีสากล และค่าบำ�รุงภาค ให้ทัน ภายใน 30 กันยายน รับไปเลย 10% จากยอดเงินค่าบำ�รุงภาค และเชิญชวนทุกสโมสรส่งเยาวชน เข้าร่วมโครงการอบรมเยาวชนผูน ้ �ำ (RYLA) ทีเ่ ชียงใหม่ และทีพ ่ เิ ศษเยาวชนจะได้เข้าชมหมีแพนด้า ช่วง ๆ หลินฮุย่ และหลินปิง ด้วย จากนัน ้ จึงกล่าวเปิดและเคาะฆ้องเปิดประชุม อย่างเป็นทางการ ได้เวลาร้องเพลงต้อนรับ พิธีกร เชิญ อน.พญ.วรรณจันทร์ พิมพ์พิไล และ อน.นฤชล อาภรณ์ รัตน์ ร้องนำ�เพลงชาติ โรตารีสัมพันธ์ และแนะนำ�ผู้ร่วมประชุมตามลำ�ดับ ได้คิว ประธานสมาชิกภาพ อน.จุไร ชำ�นาญ ได้กล่าวถึงสถานการณ์สมาชิกภาพใน ปัจจุบัน โดยสรุปภาพรวมว่า หลายๆ สโมสรมีการเพิ่มสมาชิกมากยิ่งขึ้น รวมถึง 30 สโมสรใน 60 สโมสรของภาค 3360 มีสมาชิกที่เพิ่มขึ้น 92 คน โดยเริ่มตั้งแต่ 1 ก.ค 2552-22 ส.ค 52 สมาชิก

กันยายน ๒๕๕๒

20 21


“เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา”

21 20

ปัจจุบันยังไม่นับรวมที่เพิ่มขึ้นมี 1,136 คน สโมสรที่เพิ่ม สมาชิกได้มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ได้แก่สโมสรพิษณุโลก เพิ่ม ได้ 12 คน ลำ�ดับ 2 สโมสรเชียงใหม่ตะวันออก เพิ่มได้ 10 คน ลำ�ดับ 3 สโมสรดอยพระบาทเพิ่มได้ 8 คน ขอแสดง ความยินดีกับทุกสโมสร และขอยกย่องนายกสโมสร และ สมาชิกที่ได้บรรลุการเพิ่มสมาชิก เกินเป้าหมายไปแล้ว เมื่อ งานประชุมใหญ่ของโรตารีสากลที่ประเทศอังกฤษที่ ผ่านมา ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552 ได้รายงานสมาชิกซึ่งเป็นโรแท เรียนทั่วโลก มีจำ�นวน 1,234,527 คน มีสโมสร 33,790 สโมสร จำ�นวนสมาชิกเพิ่มขึ้น 3,044 คน และมีสโมสรใหม่เพิ่มขึ้น 520 สโมสร ภาคที่มีจำ�นวนสมาชิกเพิ่มและสามารถขยาย สโมสรใหม่ได้ ตั้งแต่ 2 สโมสรหรือมากกว่า คือประเทศ ฟิลิปปินส์ ภาค 3790, 3830 และมี 10 ภาคที่ขยายสโมสรใหม่ ได้ 2 สโมสร หรือมากกว่ามี 10 ภาค (TOP TEN) D.1290 อังกฤษ D.3100 อินเดีย D.3620 เกาหลี D.3810ฟิลิปปินส์ D.4190 เม็กซิโก D.4680 บราซิล D.5000 สหรัฐอเมริกา D.7020 ซึ่งมี BAHAMAS ISLANDS และ D.7140 ไนจีเรีย ถือเป็น

นิมิตหมายที่ดีขึ้น ทั้ง ๆ ที่เศรษฐกิจโลกขณะนี้ยังตกต่ำ� และ ภาค 3360 ก็กำ�ลังจะเพิ่มในปีนี้ซึ่งมีแนวโน้มมีความเป็นไป ได้สูง ว่าจะตั้งใหม่ และฟื้นฟูสโมสรเดิม ได้ไม่น้อยกว่า 3-6 สโมสรทีเดียว หลังจากที่ครองตำ�แหน่ง พันกว่า ๆ มา 5 ปี ติดต่อกัน และปีนี้ “The Future of Rotary Is in Your Hands” ขอทุกท่านผนึกกำ�ลังเพิ่มยอดให้ทะลุเป้าหมาย เกิน 1,300 ให้ได้ ภาพลักษณ์ของโรตารีในสายตาบุคคลภายนอก เป็น หั ว ข้ อ ที่ ไ ด้ เ ชิ ญ ประธานกิ ต ติ ม ศั ก ดิ์ ส ภาอุ ต สาหกรรม จ.เชียงราย โดย คุณส่องแสง เลาหจิระพันธุ์ ได้กล่าวว่า ท่าน รู้สึกว่า โรตารีนั้นมีศักดิ์ศรีไปทั่วโลก เป็นวีไอพี จะไปไหน ก็ตาม มักจะได้การยอมรับ และให้เกียรติ แม้กระทั่ง ตรวจ คนเข้าเมือง ในต่างประเทศ ถ้าเห็นว่าประดับเข็มโรตารี ก็ มักจะได้รับความสะดวก จนท่านคิดว่า เจ้าหน้าที่ตรวจคน เข้าเมือง สงสัยจะเป็นลูกหลานโรตารี ท่านได้รับฟังเรื่องราว ของโรตารีเกี่ยวกับกิจกรรมมาพอสมควร คำ�ว่าโรแทเรียนนี้ ขลัง ศักดิ์สิทธิ์ ไปจังหวัดไหนก็ตาม ถ้ามีปัญหาอะไร โทร

กันยายน ๒๕๕๒


ข้างหลังภาพ

ศัพท์กริ้งเดียว ก็จะมีคนมาให้ความช่วยเหลือ องค์ประกอบ ของโรตารีเป็นฮาร์ดแวร์ กิจกรรมคือโปรแกรม ผู้ที่ทำ�งาน ต่อเนือ่ ง คือสมาชิก ทีป่ ฏิบตั ภิ ารกิจด้วยความมุง่ มัน ่ เลือ่ มใส ศรัทธา และความสามัคคี การดำ�เนินการเต็มไปด้วยมิตรภาพ ผู้ที่เป็นสมาชิกจรรโลง ให้โรตารีอยู่ได้ แม้ภาวะเศรษฐกิจ เป็นข้อจำ�กัดก็ตาม ท่านได้กล่าวอีกมากมาย และลงท้ายด้วย คำ�อวยพรที่น่าฟัง ขออวยพรให้กิตติศัพท์โรตารีเลื่องลือไป ทั่วโลก ขอให้ทุกฝ่ายประสบความสุขความเจริญ มีความคิด ที่หลักแหลม เป็นที่ยกย่อง เอื้อประโยชน์ต่อสังคม ทำ�งาน ในทิศทางเดียวกัน แยกกลุ่มอภิปราย โดย แบ่งเป็น 7 กลุ่ม เริ่มกลุ่ม แรก เป็นเรื่องศิษย์เก่ามูลนิธิโรตารี ผู้ดำ�เนินการอภิปราย อน.ศุภรี ฉัตรกันยารัตน์ กลุ่มที่ 2 การให้ความรู้โรตารีอย่าง ต่อเนื่อง โดย อผภ.ชัยสิน มณีนันทน์ กลุ่มที่ 3. จุดแข็งของ ความหลากหลายของสมาชิก โดย นยก.พัฒนา สิทธิสมบัติ กลุ่มที่ 4. การปฐมนิเทศสมาชิกใหม่ โดย ผชภ.ธานินทร์ ศิริ รัตโนทัย กลุ่มที่ 5. คนรุ่นใหม่ โดย ผชภ.อนุรักษ์ นภาวรรณ กลุ่มที่ 6. โครงการบำ�เพ็ญประโยชน์เพิ่มสมาชิกได้อย่างไร โดย อน.วานิช โยธาวุธ และกลุ่มที่ 7. การอุปถัมภ์สโมสร ใหม่ โดย นยก.ชรินทร์ อรรถอรเอก หลังจากนั้น เป็นช่วงการประกาศรายชื่อผู้บริจาค ให้แก่มูลนิธิโรตารี และมอบเหรียญ สำ�หรับผู้บริจาค โดย ท่านประธานมูลนิธิโรตารีภาค 3360 อน.สุรศักดิ์ พฤกษิกา นนท์ และ ทำ�พิธีมอบเหรียญ โดย ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ มีผู้บริจาคหลายสโมสร ซึ่งเป็นนิมิตหมายทีดีมาก ๆ ได้เวลาสรุปผลการอภิปราย กลุ่มย่อย และแจ้ง ความคืบหน้าการก่อตั้งสโมสรโรตารีแห่งใหม่ อผภ.วิวัฒน์ ศิริจางคพัฒนา เป็นประประธานดำ�เนินการ พร้อมทั้งเชิญ อน.อนันต์ เหล่าธรรมทัศน์ ผชภ.ธานินทร์ ศิรริ ตั โนทัย นยก. ประพิณ กาไชย นยก.นพดล ทิพยเดช ร่วมดำ�เนินการ อภิ ป รายด้ ว ย โดยเริ่ ม จาก นยก.นพดล ทิ พ ยเดช มี

กันยายน ๒๕๕๒

ประสบการณ์ตั้งสโมสรมาแล้ว 2 สโมสร การก่อตั้งสโมสร ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินไป แต่อยู่ที่ใจ ได้สอบถาม ความเห็น และความเป็นไปได้มีสมาชิก 3-4 คนเป็นแกนนำ� และบอกว่ามีความเป็นไปได้ ที่จะก่อตั้งสโมสร ที่ อ.ไชย ปราการ และได้สรุปว่า จะพยายามก่อตั้งสโมสรไชยปราการ ให้สำ�เร็จให้ได้ ส่วน นยก.ประพิณ กาไชย มีประสบการณ์ ตั้งสโมสรใหม่ มาแล้ว 2 สโมสร ได้แก่สโมสรเชียงใหม่ภูพิงค์ และสโมสรเถินดาวทาวน์ ท่านจะรู้สึกภาคภูมิใจ ท่านบอกว่า การขยายสโมสร ไม่ใช่เพียงเพิ่มสมาชิก แต่สำ�คัญที่ได้เพิ่ม การช่วยเหลือชุมชนผู้ด้อยโอกาสได้มากขึ้น ขอให้ช่วยกันหา สโมสรคูม่ ติ รต่างประเทศทีร่ ่ำ�รวย เมืองนอกไม่ลำ�บากเหมือน เรา เท่ากับทำ�ให้ประเทศของเรา ท่านตั้งใจว่า จะตั้งสโมสร แม่โจ้ มานานแล้ว นับแต่วินาทีนี้ ฉันจะลุยแล้ว กำ�ลังสำ�คัญ คือ อน.สุภาพร เนตรงาม และสมาชิกถิ่นไทยงาม ที่จะช่วย กันทำ�ให้สำ�เร็จ และท่านยังได้ประกาศว่า สโมสรใดตั้งสโมสร ใหม่ได้สำ�เร็จ ท่านยินดีสนับสนุน 10,000 บาท เพื่อเป็น ทุนสำ�รอง และ อผภ.วิวัฒน์ ศิริจางคพัฒนา ร่วมสมทบอีก สโมสรละ 10,000 บาทเช่นกัน ผชภ.ธานินทร์ ศิริรัตโนทัย ได้แจ้งความคืบหน้าของการก่อตัง้ สโมสรเชียงของ ว่า สโมสร เชียงรายพยายามก่อตั้ง 2 ครั้งแล้วยังไม่ส�ำ เร็จ เชียงของเป็น อำ�เภอหนึง่ ของจังหวัดเชียงราย ถือเป็นเมืองท่า ไปสูจ่ น ี ตอน ใต้ มีความเจริญมาก ๆ อยู่ติดแม่น้ำ�โขง ที่ฝั่งตรงกันข้าม เป็นแขวงบ่อแก้วของ สปป.ลาว แต่สิ่งที่ขาด คือขาดผู้เสีย สละในพื้นที่เชียงของ หลาย ๆ ท่านแนะนำ�ให้ติดต่อ ผอ.ธวัช ชัย โรงเรียนเชียงของ และส่วนตัวรู้จักคุณธนิสร กระฎุมพร ประธานชมรมพ่อค้าเชียงของ สนใจและสอบถาม ถึงเรื่อง การที่จะก่อตั้งสโมสรโรตารีว่า ตั้งยากไหม และตั้งอย่างไร และยังได้แนะนำ�ให้รู้จักนายอำ�เภอเชียงของ แต่ท่านได้ย้าย ไป อ.สอง จ.แพร่ เสียก่อน จึงรอจังหวะที่จะพบ นายอำ�เภอ คนใหม่ เพื่อปรึกษา และรวบรวมแกนนำ�ในการก่อตั้งสโมสร โรตารีเชียงของ ซึ่งคิดว่ามีความเป็นไปได้สูง ที่จะสามารถ

22 23


ก่อตั้งได้สำ�เร็จ เพราะมีผู้นำ� ที่มีทั้งความตั้งใจและเป็นผู้ที่ให้ บริการแด่ชุมชนอยู่แล้วในพื้นที่ สุดท้ายท่านกล่าวว่า ก่อตั้ง ไม่ยาก แต่ตั้งแล้วทำ�ให้มั่นคงนั้นยากยิ่งกว่า และยังมีสโมสร ศรีสองแคว ที่มองเห็นโอกาส ว่าจังหวัดพิจิตรไม่มีโรตารีตั้ง อยู่ จึงคิดจะฟื้นฟูสโมสรพิจิตรขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยจะ ขอให้เพื่อนๆ ในพิจิตร รวบรวมคนในพื้นที่ และขอให้เด็ก ๆ INTERACT ช่วยอีกแรง และสโมสรศรีสองแควจะเป็น สโมสรพี่เลี้ยง และยังมีสโมสรเถินดาวทาวน์ ก็จะพยายาม ก่อตั้งสโมสรแม่พริก จ.ลำ�ปาง และสุดท้าย สโมสรสวรรคโลก เหนื อ ก็ มี ค วามพยายาม ที่ จ ะก่ อ ตั้ ง สโมสรกงไกรลาศ จ.สุโขทัยอีกด้วย ก็ขอให้ประสบความสำ�เร็จสามารถก่อตั้ง สโมสรให้สำ�เร็จทั้ง 6 สโมสร ข่าวล่ามาเร็ว ผชภ.เอกวุฒิ กา วิละ ได้รับแจ้งมาว่า อาจจะเกิด “สโมสรโรโรตารีพิจิตรชาละ วัน” คัดสรรชื่อกับนายกพิษณุโลกแล้วว่าดูทึ่งดีมีความหมาย ที่โด่งดังภายหน้า ซึ่งไม่เกี่ยวกับของเดิมนะคะ และคาดว่า จะเกิดขึน ้ เร็วๆ นี้ จากการทำ�งานทีห่ นักของ ทีมนายกสโมสร โรตารีพิษณุโลก ชญากานต์ พิทตระพันธ์ ที่สร้างจำ�นวน สมาชิกได้มากมายมาแล้ว โดยมีสมาชิกที่มีความสามารถอีก ท่าน รทร. วรรณา พัฒนาศิริ ผู้พิพากษาศาลจังหวัดพิจิตร คนเก่ง กำ�ลังรวบรวมเพื่อนๆ อยู่ ท่านเอกวุฒิ แนะนำ�ไว้ว่า เอาคนเก่งๆ และมุ่งมั่น ให้มากๆ เกิน 25 ท่านยิ่งดี ขอชื่นชม และให้กำ�ลังใจไว้ก่อนล่วงหน้าขอให้สำ�เร็จสมดังหวัง ท่าน ผวภ.แววดาว คงจะยินดียิ่งนักหากเกิดในปีนี้ สายใต้ 3360 เราสู้ๆ นะคะ และเพิ่มเติมอีกนิด ท่าน ผชภ.เอกวุฒิ และ อน.ศุภรี ฉัตรกันยารัตน์ ประธานอินตาแรคท์ภาค กำ�ลังมุ่ง มั่น สร้างสโมสรอินตาแรคท์ อีกแห่งกันอยู่ ของโรงเรียน หางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ อ.หางดง มี รทร. อ.พีระพล นร เศรษฐ์สุรภี (สร.หางดง) เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาให้การดูแล ถือเป็นการเพิ่มสมาชิกโรแทเรียนในอนาคตอันใกล้และไกล ได้ดีจริงๆ เก่งมากๆ เจ้าค่ะ สรุปภาพรวมการอภิปรายกลุม่ ย่อย อน.วานิช โยธา วุธ ได้สรุปว่าโครงการบำ�เพ็ญประโยชน์ มีส่วนเพิ่มสมาชิก ได้ ต้องมีการประชาสัมพันธ์ โดยให้ประชาสัมพันธ์ภายใน สโมสรให้สมาชิกเข้าใจถึงการทำ�โครงการ บำ�เพ็ญประโยชน์ ว่าได้ประโยชน์อย่างไรต่อชุมชน แล้วจึงประชาสัมพันธ์สู่ สาธารณะ โดยใช้วธิ ที ีเ่ รียบง่าย ให้เข้าใจง่ายๆ ชวนครอบครัว เข้าร่วมกิจกรรมด้วย ปริมาณไม่สำ�คัญเท่าคุณภาพ เมื่อได้ สมาขิกใหม่ 1 คน ก็ต้องรักษาสมาชิก 1 คนด้วย ควรมีการ ยกย่องเชิดชูเป็นพิเศษ โดยให้รางวัลในระดับภาค แก่สโมสร ที่สามารถเพิ่มสมาชิกได้ ไม่ต้องรอให้ครบ 5 บริการแล้วจึง ยกย่อง เมือ่ ได้สมาขิกใหม่ ควรมอบหมายให้มหี น้าทีใ่ นสโมสร ทันที โดยมีสมาชิกเก่าเป็นพี่เลี้ยง และมอบหมายอดีตนายก หรือโรแทเรียน เวียนกันทำ�หน้าทีใ่ ห้ความรูเ้ รือ่ งต่าง ๆ เกีย่ ว กับโรตารี (สนเทศ) ตลอดปี คนรุ่นใหม่ อนาคตของสโมสร ผชภ.อนุรักษ์ นภา วรรณ ได้สรุปว่า โรแทเรียนรุ่นใหม่ นั้นควรมีอายุระหว่าง 25-35 ปี มีความสำ�คัญสำ�หรับสโมสรในด้าน ความคิดที่ทัน สมัย ไฟแรงสร้างความตื่นตัว สามารถชักจูงคนรุ่นใหม่เข้า

23 22

มาได้อย่างต่อเนื่อง และมีเทคโนโลยีการจัดการที่ดี วิธีการที่ จะรับคนรุ่นใหม่นั้น มาจากศิษย์เก่าโรตารี ลูกหลานโรแท เรียน ประชาสัมพันธ์กิจกรรมของโรตารีในวารสารสำ�หรับ คนรุ่นใหม่ ส่วนปัญหาอุปสรรคก็พอมี ในด้านความคิดเห็น ของโรแทเรียนรุ่นเก่าและใหม่ไม่ตรงกัน ขาดกิจกรรมที่คน รุ่นใหม่สนใจ คนรุ่นใหม่เบื่อกฎระเบียบและความจำ�เจ วิธี รักษาโรแทเรียนรุน ่ ใหม่ สามารถทำ�ได้โดยให้ความเป็นกันเอง ปรับกฎระเบียบ กติกาให้มีความยืดหยุ่น พยายามให้ร่วม กิจกรรมของสโมสร และให้ความรู้ ข่าวคราวเกี่ยวกับโรตารี สม่ำ�เสมอ การปฐมนิเทศสมาชิกใหม่ โดย ผชภ.ธานินทร์ ศิริ รัตโนทัย สิ่งสำ�คัญคือการให้ความรู้เรื่องโรตารี โดยอาจจัด เป็นโต๊ะกลม ให้ความรูว้ า่ เมือ่ เป็นโรแทเรียนแล้วได้ประโยชน์ อย่างไร และเขามีหน้าที่อย่างไรเมื่อเป็นโรเทเรียน ประดับ เข็มเมื่อรับสมาชิกใหม่ จัดพี่เลี้ยงดูแลไม่ให้รู้สึกว้าเหว่ จัด กิจกรรมที่สนุกสนาน การแนะนำ�ตัวควรแนะนำ�อาชีพด้วย จะดีมาก เพราะอาจได้มีการแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือ ระหว่างสมาชิกด้วยกัน มิตรภาพไม่แบ่งฝ่าย เอาประโยชน์ ส่วนรวมเป็นทีต่ ัง้ ตามแนวทางของโรตารี มิตรภาพทีด่ ี ผูกมัด ให้มีการรักษาสมาชิกที่ดี มิตรโรแทเรียนทั่วโลก มีเกียรติ สูงสุด น่าเชื่อถือ ในระดับสากล การให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง โดย อผภ.ชัยสิน มณี นันทน์ ได้สรุปว่า เป็นการให้ข้อมูล ข่าวสาร แก่สมาชิกอย่าง ต่อเนื่องติดต่อกัน ก่อให้เกิดการท้าทาย การกระตุ้น ความ กระตือรือร้น ให้ติดตามความเคลื่อนไหวอย่างทันสมัย สิ่งที่ ท้าทาย ได้แก่การร่วมประชุมสัมมนาในระดับภาคทุกกิจกรรม สิ่งที่ควรเพิ่ม ความเคลื่อนไหวของโรตารีในระดับโซน สภา นิติบัญญัติ กิจกรรมของกลุ่มศึกษาแลกเปลี่ยน เยาวชนแลก เปลี่ยน วิธีที่ดีที่สุดในการเรียนรู้ สอนผู้อื่น ฝึกฝนด้วยการ ลงมือทำ�ด้วยตนเอง เรียนรู้จากเอกสาร เว็ปไซด์ของโรตารี ถ่ายทอดผลการประชุมในการเรียนรูอ้ ย่างต่อเนือ่ ง ให้สมาชิก ทราบ ด้วยการสนเทศโรตารี ในสารสโมสร และสุดท้าย ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ได้กล่าวปิด การสัมมนา ในเวลา 15.30 น. มิตรโรแทเรียน ต่างเดินทาง กลับภูมิลำ�เนาโดยสวัสดิภาพ หลาย ๆ ท่านมุ่งหน้าไปยัง อ.แม่สาย และ ท่าขี้เหล็ก เพื่อกระจายรายได้สู่ชุมชน ทั้งฝั่ง ไทย และฝั่งพม่า ส่วน ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ มุ่งหน้าสู่ จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อส่งบุตรชาย คุณนรินทร์ ลิ้มเล็งเลิศ กลั บ ไปศึ ก ษาต่ อ ประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า ส่ ว นคณะของ ประธานจัดสัมมนาผู้นำ�เยาวชน (RYLA) อน.ยุทธนา นฤนาท วงศ์สกุล และคณะ อน.สุภาพร เนตรงาม มุ่งหน้าสู่เส้นทาง อ.เทิง เพื่อพบท่าน ว.วชิรเมธี ตั้งใจนิมนต์ ท่านเป็นผู้ บรรยายพิเศษ ในหัวข้อผู้นำ�กับการพัฒนา ให้ธรรมะแก่ เด็ก ๆ ในการอบรมผู้นำ�เยาวชนระหว่างวันที่ 20-24 ตุลาคม 2552 ที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และเราคงจะได้ทราบว่า ท่าน ว.วชิร เมธี จะสามารถจัดสรรเวลาได้หรือไม่ แล้วจะแจ้งให้ทราบต่อ ไป ….สวัสดีค่ะ

กันยายน ๒๕๕๒


At a glance...

Rotary, Google join forces By Donna Polydoros Rotary International News -- 31 August 2009 ________________________________________

A selection of covers throughout the years. Scans of issues of The Rotarian are now available through Google Books. Rotary has teamed up with Google to make nearly 100 years of The Rotarian available free online. Full-color, searchable scans of all issues of the magazine from 1959 to 2008 are now available through Google Books, with more issues to follow. The site is accessible from The Rotarian’s page on the RI Web site. Users can select from a gallery of issues organized by decade or click “Search all issues” to search the entire catalog for a word or phrase. The collaboration is part of an initiative to make Rotary’s historical resources more accessible to Rotarians worldwide. “Google is doing all of the scanning and indexing to make the material searchable -- and at no cost to Rotary,” says Stephanie Giordano, archivist for Rotary International. More than 72,000 pages will be available once Google finishes scanning and uploading all 1,100 issues. The first issue was published in January 1911, when the magazine was called The National Rotarian. Some issues of interest include December 1979, which reported on Rotary’s first polio immunization project; the February 2005 centennial issue; and issues from the 1980s discussing the admission of women into Rotary. Try it for yourself. Browse past issues now. For a history of the magazine and a preview of early issues, check out a photo gallery of The Rotarian through time

อน.ศุภรี ฉัตรกันยารัตน์ สโมสรโรตารี เชียงใหม่เหนือ

กันยายน ๒๕๕๒

24 25


โรตารี จับมือกับ กูเกิล

เป็นที่น่ายินดีที่โรตารีเรากับกูเกิลได้จับมือกัน ด้วยการนำ�นิตยสารดิโรแทเรียน (The Rotarian) ทุก ฉบับตั้งแต่เกือบร้อยปีก่อนมาถ่ายลงใน Google Books โดยสามารถเข้าไปอ่านทางออนไลน์ได้ฟรี โดยสามารถ เข้าไปดูได้ที่ The Rotarian’s page on RI Web site http://www.rotary.org/en/MediaAndNews/ TheRotarian/Pages/ridefault.aspx ผูใ้ ช้สามารถเข้าไปเลือกทีละทศวรรษ (decade) หรือเลือก“search all issues”โดยสามารถค้นหาได้ แม้ กระทั่งแต่ละคำ�หรือแต่ละวลี (word or phrase) เลยที เดียว เนื้อหามากกว่า 72,000 หน้าใน 1,100 ฉบับ จะปรากฏในกูเกิล ตั้งแต่ฉบับแรกในปี 1911 เมื่อครั้ง ยังมีชื่อเรียกว่า The National Rotarian ในบางฉบับมีเนื้อหาน่าสนใจมาก เช่น ฉบับ ประจำ�เดือนธันวาคม ปี 1979 มีรายงานโครงการเริ่ม แรกของการกำ�จัดโปลิโอ หรือในฉบับประจำ �เดือน กุมภาพันธ์ ปี 2005 ซึ่งเป็นฉบับครบรอบศตวรรษของ โรตารี และฉบับในปี 1980 เป็นต้นมา ได้มีการถกแถลง กันในเรื่องการเข้าสู่โรตารีของสุภาพสตรี ฯลฯ ท่านสามารถทดลองการค้นหาด้วยตนเองได้ ใน Browse past issues now โดยคลิก ที่ view past issue ค่ะ

นิตยสาร The Rotarian

25 24

นิตยสารฉบับแรกที่ใช้ชื่อว่า The National Rotarian พิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนมกราคม ปี 1911 มี บทความ “Rational Rotarianism” เขียนโดย พอล แฮ ริส ผู้ก่อตั้งโรตารี เกี่ยวกับการบริจาค และในเล่มยังมี ข่าวความเคลื่อนไหวของสโมสรต่างๆ และโฆษณา พิมพ์ครั้งแรกจำ�นวน 2,000 เล่ม ที่โรงพิมพ์แฮรี่ รัก เกิลส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกก่อตั้งสโมสรโรตารีชิคาโก้ และมีการพิมพ์เพิ่มอีกถึง 2,000 เล่ม (ภาพพอล แฮริส

ที่ลงในเล่มแรก) ฉบับที่สองพิมพ์ในเดือนกรกฏาคม ปีเดียวกัน มีคอลัมน์“President’s Corner”หรือ“มุมของประธานฯ” ซึ่งมีผู้มาร่วมลงโฆษณามากถึงกว่า 20 เจ้า ทำ�ให้เกิด การเพิ่มความถี่เป็นนิตยสารรายเดือน กระทั่งครบ ลำ�ดับเล่มที่ 1,000 ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1995 มีการ เปลี่ยนชื่อเป็น The Rotarian ในปี 1912 หลังจากมี การลงมติในที่ประชุมโรตารีสากล นิตยสาร The Rotarian ฉบับที่สอง ข้อความ ส่วนหนึ่งใน “President’s Corner” พอล แฮริส กล่าว ว่า “สิ่งหนึ่งที่มีพลังอันทรงอิทธิพลในความเจริญของ โลกทุกวันนี้ ก็คือสื่อสิ่งพิมพ์ อันหมายรวมถึงนักเขียน คอลัมน์ทัง้ หลายทีไ่ ด้สร้างผลงานทีเ่ ชือ่ ถือได้อย่างไร้ขอ้ สงสัย ที่เป็นตัวพิสูจน์อิทธิพลอันทรงพลังดังกล่าว แม้ว่า พลังนี้อาจแฝงไว้ซึ่งความละเอียดอ่อนในเนื้อหา ของบทความอยู่บ้าง แต่ความหวังของ The National Rotarian ก็เพื่ออาศัยอิทธิพลอันทรงพลังที่ว่า ในการ สื่อผ่าน หลักการโรตารีไปยังมวลมิตรโรแทเรียน และ ท้ายสุดคณะทำ�งานและผู้พิมพ์เอง ก็จะไม่ผิดหวังเลย ในผลงานอันหมายถึงภาระความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ ด้วยเช่นกัน” ในนิตยสารฉบับมกราคม ปี 1912 พอล แฮ ริส ยังได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์หลักของการทำ�นิตยสาร ว่า ”นิตยสารทำ�ขึ้นเพื่อเป็นสื่อกลางให้เห็นถึง คุณค่าของการแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างมิตรโรแท เรียนทั่วโลก ไม่ใช่สื่อเพื่อให้เจ้าหน้าที่ใช้เป็นโอกาสใน การเสนอความคิดของตนเอง และบทความไม่เน้น ปริมาณเพียงเพื่อให้เต็มหน้า แต่มุ่งหวังว่าสักวันหนึ่ง แนวคิ ด หลากหลายเหล่ า นี้ จะถู ก นำ � ไปใช้ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์อย่างแพร่หลายต่อไป”

กันยายน ๒๕๕๒


บ้านเลขที่ 3360 R.I.

บันทึกแห่งความเข้าใจ (Memorandum of Underst

อน.ดร.บุษบง จำ�เริญดารารัศมี สโมสรโรตารี เชียงใหม่ ถิ่นไทยงาม

บันทึกแห่งความเข้าใจ (Memorandum of Understanding, MOU) เป็นคำ�พื้นฐานที่หน่วยงานต่อ หน่วยงานมักจะใช้เมื่อเริ่มจะทำ�งานด้วยกัน ใน มหาวิทยาลัยใช้เยอะมาก จะไปแลกเปลี่ยนอาจารย์ นักศึกษา นักวิจัยกับมหาวิทยาลัยอื่นๆ โดยเฉพาะอย่าง ยิ่งนอกประเทศต้องให้เซ็น MOU กันเสียก่อน MOU มี หลายระดับ ระดับมหาวิทยาลัย ระดับคณะ ระดับภาค วิชา ลดหลั่นกันลงมาเป็นลำ�ดับ นัยว่าทั้งสองฝ่ายจะต้อง พยายามทำ�ให้ข้อตกลงที่เขียนไว้ใน MOU บรรลุผล สำ�เร็จ

โรตารียคุ Future Vision มีการเปลีย่ นแปลงไปในทางทีด่ หี ลาย อย่าง โรแทเรียนในภาค 3360 รับทราบกันโดยถ้วนหน้าว่าภาคของ เราจะก้าวเข้าสู่การเป็นภาค “หนึ่งในร้อย” ที่ถูกคัดเลือกให้เป็นภาค นำ�ร่อง (pilot district) ในปี 2010-11 เป็นต้นไป มีกติกาแรกคือ เข้า แล้วถอยหลังไม่ได้ นั่นแปลว่าภาค 3360 จะอยู่ในโครงการนำ�ร่อง 3 ปีเต็ม ก่อนที่โรตารีสากลทั้งหมดจะใช้กติกาใหม่ร่วมกันในปี 2013 -14 (พ.ศ. 2556-2557) เป็นต้นไป

กันยายน ๒๕๕๒

26 27


tanding) หนึ่งในร้อย

27 26

กันยายน ๒๕๕๒


บ้านเลขที่ 3360 R.I. ภาค 3360 มีภาระหน้าที่อะไรบ้าง? อย่าง น้อยทีส่ ดุ เรามีภาระทีจ่ ะทดลองใช้กติกาของมูลนิธิ โรตารีที่กำ�หนดใหม่แล้วช่วยกันพิสูจน์ว่า “ดีและ เป็นธรรม” แน่นอนที่สุดว่าจะดีและเป็นธรรมได้ นั้น โรแทเรียน สโมสรโรตารี และภาค 3360 โรตา รีสากลต้องพิสูจน์ตนเองก่อนว่ามีคุณสมบัติเบื้อง ต้นตามที่มูลนิธิโรตารีได้กำ�หนดไว้ ชาวโรแทเรียนจะได้ใช้คำ�ใหม่ “MOU” กัน มากในปีต่อไป ภาคใดจะใช้เงินของมูลนิธิโรตารี สากลต้องทำ� MOU กับมูลนิธิโรตารี และสโมสร ใดจะใช้เงินของมูลนิธิก็จะต้องทำ� MOU กับภาค เช่นเดียวกัน District Board of Director หรือคณะ กรรมการบริหารภาค 3360 (เรียกย่อๆว่า กบภ. ไปก่อน) ของ ผวล. นพ.วีระชัย จำ�เริญดารารัศมี ซึ่งเป็นกรรมการที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นชุดแรก (ยังจะแต่งตั้งชุดอื่นๆอีก) ได้แต่งตั้งเรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วยกรรมการภาคในตำ�แหน่งประจำ� 5 คน คือ ผวภ. 3 ปี ได้แก่ ผวล. นพ.วีระชัย จำ�เริญ ดารารัศมี ผวล.ชำ�นาญ จันทร์เรือง กำ�ลังรอ ผวล. ท่านที่สาม อน.นฤชล อาภรณ์รัตน์ (การ เงินภาค) และ อน.วีรพงศ์ โตแสงชัย (เลขานุการ ภาค) และเรียนเชิญผูม้ ศี กั ยภาพทีจ่ ะเป็นผูน ้ �ำ ภาค มาเป็นกรรมการอีก 6 คน ประกอบด้วย อน. สุรศักดิ์ พฤกษิกานนท์ (ประธานมูลนิธิภาค, DRFC) อน.ดร.บุษบง จำ�เริญดารารัศมี (ประธาน คณะอนุ ก รรมการกองทุ น สมทบภาค DGSC) อน.อนั น ต์ เหล่ า ธรรมทั ศ น์ (ประธานคณะ กรรมการจัดอบรมมูลนิธิโรตารี Future Vision Plan ภาค) อน.อนุรักษ์ นภาวรรณ (ประธาน กรรมการจัดหาทุนภาค) อน.จินดา จรรญาศักดิ์ (ประธานจัดอบรมนายกรับเลือกภาค) อน.พัลลภ ลาศุขะ (ประธานคณะกรรมการโครงการบำ�เพ็ญ ประโยชน์ภาค) ภาค 3360 จะได้รับมอบอำ�นาจเต็มจาก มูลนิธิโรตารีตั้งแต่ปี 2010-11 เป็นต้นไป ในการ นี้เราต้องพิสูจน์ตนเองว่ามีคุณสมบัติเบื้องต้นที่

กันยายน ๒๕๕๒

28 29


บันทึกแห่งความเข้าใจ (Memorandum of Understanding) เหมาะสมและพร้อมที่จะทำ� MOU กับมูลนิธิโรตารี จากนั้นภาคจะสามารถบริหารจัดการกองทุนของ มูลนิธิเพื่อโครงการต่างๆของโรตารีได้ด้วยตนเอง ไม่ต้องรอจากสำ�นักงานใหญ่เหมือนที่ผ่านมา จะ ทำ�ให้การขอทุนง่ายขึ้น เร็วขึ้น แต่ต้องไม่ทำ�ผิดก ติกา เพราะหากทำ�ผิดจะถูกระงับหรือเพิกถอนจาก 3 สาเหตุ คือ 1. ใช้เงินสนับสนุนผิดประเภทหรือจัดการ การเงินผิดหรือไม่สามารถแก้ข้อกล่าวหาได้อย่าง เหมาะสม ไม่จำ�กัดแค่เพียงการโกง การปลอม แปลง การปลอมแปลงสมาชิกภาพ การละทิ้งโดย สิน ้ เชิง การกระทำ�ทีเ่ ป็นอันตรายต่อสุขภาพ ความ ผาสุก และความปลอดภัยของผู้รับผลประโยชน์ การบริจาคที่ไม่เหมาะสม การใช้ทุนสนับสนุนเพื่อ ผลประโยชน์ส่วนตน ความขัดแย้งในผลประโยชน์ ที่ไม่เปิดเผย การมีเอกสิทธิ์ในทุนสนับสนุนของ ปัจเจกบุคคล การรายงานเท็จ การบอกราคาเกิน จริง การยอมรับเงินจากผูร้ บั ผลประโยชน์ กิจกรรม ทีผ่ ดิ กฎหมาย การผิดประเวณี การใช้ทน ุ สนับสนุน ผิดวัตถุประสงค์ 2. การปฏิเสธสโมสรที่มีคุณสมบัติโดยไม่มี สาเหตุเพียงพอ หากสโมสรมีมาตรฐานคุณสมบัติ ขั้นต่ำ�ของมูลนิธิโรตารีตามที่กำ�หนดไว้ 3. สภาพแวดล้อมภายในภาคที่ขัดขวาง คณะอนุกรรมการทุนสนับสนุนของมูลนิธิภาคจาก การจัดกระบวนการจัดคุณสมบัติ ขณะนี้ กบภ. กำ�ลังศึกษารายละเอียดทั้ง หลายทัง้ ปวง จัดเตรียมให้ภาคมีคณ ุ สมบัตเิ บือ้ งต้น ที่เหมาะสมครบถ้วน และเตรียมที่จะทำ� MOU กับ มูลนิธิโรตารี ขณะเดียวกันก็กำ�ลังเตรียมเนื้อหาที่ จะใช้ ทำ � ความเข้ าใจกั บ ทุ ก ๆสโมสร เมื่อ พร้ อ ม อน.อนันต์ เหล่าธรรมทัศน์ จะเรียนเชิญผู้สามารถ มาร่วมทีมและทำ�การถ่ายทอดความรู้เรื่องกติกา ใหม่ต่อไป คงจะได้ D day หลังการประชุม Rotary International Assembly (IA) ในเดือนมกราคม 2553 ซึ่ง DG, DRFC, และ DGSC จะต้องไปรับ ทราบนโยบายและแนวปฏิบัติพร้อมกัน

29 28

ในช่ ว งนี้ เ ป็ น ช่ ว งที่ มู ล นิ ธิ โ รตารี ส ากล (TRF) กำ�ลังให้คำ�ตอบแก่ผู้ขอรับทุนสมทบ หรือ matching grant ผู้ขอทุนจะได้รับทราบว่ามูลนิธิ โรตารีได้ให้ทุนไปจนหมด 9.3 ล้าน U$แล้ว และ ยังหาเงินมาเติมอี 2.3 ล้าน และได้อนุมัติไปแล้ว เช่นกัน ดังนั้นจะมีคำ�ตอบต่างๆกัน ดังนี้ ใครที่ขอ ทุนและได้รับหมายเลขแล้ว จะเป็นกลุ่มที่มูลนิธิ กำ�ลังพิจารณา จะมีคำ�ตอบทั้งสองประเภท คือ ให้ ทุน และตอบว่าทุนหมดแล้ว มูลนิธิไม่สามารถ สมทบให้ แต่หากคู่มิตรทั้งสองสามารถทบทวนงบ ประมาณเสียใหม่ให้สามารถดำ�เนินการได้ โดย โครงการมีมูลค่ามากกว่า 10,000 U$ ก็สนับสนุน ให้ด�ำ เนินโครงการต่อได้เพียงแต่ไม่ได้รบั ทุนสมทบ ส่วนรายที่ยังไม่ได้รับหมายเลขก็คงจะไม่ ได้รับทุนสมทบแล้ว มูลนิธิโรตารีจะทยอยคืนแบบ คำ�ขอให้เป็นลำ�ดับ ผู้ที่ได้รับทุนจะต้องรีบทำ�งาน ให้เสร็จและปิดโครงการก่อนเดือนมิถุนายน 2553 หลังจากนั้นมูลนิธิจะเปลี่ยนกติกาใหม่ทั้งหมด ในปีหน้า 2553-54 ภาค 3360 จะเข้าสูก่ ติกา ใหม่เนื่องจากภาคของเราเป็นภาคนำ�ร่อง วิธีการ ขอทุนจะเปลี่ยนไปจากเดิม ภาค 3360 จะเร่ง พัฒนาให้มีคุณสมบัติครบถ้วนเพื่อขอทำ� MOU กับ มูลนิธิโรตารี และจะพัฒนาสโมสรให้มีคุณสมบัติ ครบถ้วนเพื่อให้สามารถทำ� MOU กับภาค จากนั้น จึงจะมีสิทธิ์ขอทุนสมทบโดยวิธีการใหม่ต่อไป ในการขอทุ น ผู้ ข อจะต้ อ งส่ งโครงการ ขอรับทุน (Proposal) เสนอให้ภาคพิจารณาก่อน ภาคจะพิจารณาให้ตรงเงื่อนไขแล้วส่งไปยังมูลนิธิ โรตารี ส ากล เมื่ อได้ รั บ คำ � ตอบแล้ ว จึ ง จะเขี ย น application form เพื่อขออนุมัติ เมื่อได้รับอนุมัติ ภาคจะดำ�เนินการในด้านการเงินต่อไป ฟังเหมือน จะง่ายแต่อาจยากในตอนแรก แต่โดยข้อเท็จจริง แล้ว หากใช้ 4 way test ทุกอย่างจะง่ายกว่าเดิม เพียงแต่ทุกสโมสรจะต้องพัฒนาตนเองให้เงื่อนไข ครบ

กันยายน ๒๕๕๒


หนึ่ง ใน ๑๐๐ ท่ามกลางความคึกคักของชาวโรแทเรียน ที่เข้าร่วมประชุม สัมมนาครั้งแรกในปีบริหารของ ผวภ. แววดาว ที่ อำ�เภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะได้พบปะพูดคุยกับผู้นำ� ของภาคที่มาร่วมงานในวันนั้นอย่างคับคั่ง เพื่อให้เข้ากับธีมเดือน แห่งชนรุ่นใหม่ คอลัมน์ ๑ ในร้อยจะพาท่านไปพบกับผู้นำ�รุ่นใหม่ ของโรตารีพร้อมกันทีเดียวถึงสองท่าน โดยมีผู้ร่วมสัมภาษณ์ถึงสี่ คน อะไรหรือทำ�ไมจึงต้องใช้ จำ�นวนมากขนาดนั้น และใคร สัมภาษณ์ใคร มีอะไรน่าสนใจบ้าง เราไปติดตามกันดีกว่านะคะ

อน.จันทนี เทียนวิจิตร สโมสรโรตารี ล้านนา เชียงใหม่

บทสัมภาษณ์ กันยายน ๒๕๕๒

อน.อนันต์ เหล่าธรรมท 30 31


ช่วงก่อนเที่ยง คณะผู้ให้สัมภาษณ์ และ ผู้ถูก สัมภาษณ์ได้ยึดเอาห้องโถงต้อนรับของโรงแรมใช้เป็น สถานที่พูดคุย โดยได้ อน.ดร. บุษบง จำ�เริญดารารัศมี มาร่วมวงสนทนาด้วย ส่วน บอกอ สารฯ อน.วาณิช โยธาวุธ ที่วันนี้พ่วงตำ�แหน่งตากล้อง เลือกมุมสำ�หรับ ภาพประกอบสารฯ อยู่รอบๆ วงสนทนา และก็มาร่วม สนทนาในตอนท้ายๆ

๑ ในร้อย : เดือนกันยายนเป็นเดือนแห่งชนรุ่นใหม่ เราเห็น ว่าทั้งสองท่านถือได้ว่าเป็นชนรุ่นใหม่ของการเป็นผู้นำ�ใน โรตารี จึงอยากทราบว่าแต่ละท่านได้เข้ามาอยู่โรตารีนาน เท่าใด อน.อนันต์ : ผมเป็นสมาชิกก่อนตั้งของสโมสรโรตารีแม่จัน ในปี 2525 เป็นนายกสโมสรเมือ่ ปี 2529 เคยเป็นผูช้ ว่ ยผูว้ า่ การ ภาค เลขานุการภาค ประธาน RFE และประธานฝ่ายต่าง ประเทศของภาค ผชภ.อนุรักษ์ : ผมยังเป็นน้องใหม่อยู่เลย ผมเป็นสมาชิกก่อ ตั้งสโมสรโรตารีดอยพระบาท เมื่อปี 2544 หลังจากปีที่ก่อตั้ง ผมก็รับหน้าที่นายกสโมสร ส่วนงานภาคไม่ค่อยได้มาช่วย เท่าไหร่ รับตำ�แหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการภาคครั้งนี้เป็นครั้งที่สอง เคยเป็นกรรมการของมูลนิธิโรตารี เป็นผู้บริจาคแบบ PHS (หนึ่งพันเหรียญต่อเนื่อง) ๑ ในร้อย : ในฐานะที่คลุกคลีกับโรตารีมานานและทำ�หลาย หน้าที่ท่านมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับคนรุ่นใหม่ที่เข้ามา ร่วมงานกับโรตารี อน.อนันต์ : เห็นด้วยที่คนรุ่นใหม่มาร่วมงานมากขึ้น ใน อดี ต เป็ น ความบกพร่ อ งของสมาชิ ก เอง ที่ ไ ม่ ข วนขวาย หาความรู้ ปล่อยให้ผู้หลักผู้ใหญ่ในสโมสรคอยบอก ปัจจุบัน สมาชิกมีการหาความรู้ต่างๆ มากขึ้น จากเดิมที่ ผู้ที่เข้ามา ในโรตารีไม่คอ่ ยขวนขวายเท่าไหร่ เวลามาสโมสร หน้าทีห่ ลัก ก็คือมาเข้าประชุมและผู้ใหญ่ป้อนให้ ปัจจุบันจะเห็นว่ามีคน อายุ 30-40 ปี มาร่วมงานโรตารีมากขึ้น เมื่อภาคเปิดโอกาส ให้คนรุน ่ ใหม่เข้ามาร่วมงาน ก็จะเป็นโอกาสทีจ่ ะได้สรรหาคน รุ่นใหม่มาช่วยกันทำ�กิจกรรม และพัฒนาสโมสร คุณจันทนี ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง ผมได้รับข่าวสารจากคุณจันทนีมาทาง อีเมล์มาตลอดเวลา เดิมไม่ได้รู้จักคุณจันทนี ก็ได้รับข่าว ประชาสัมพันธ์ และพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จนมั่นใจในผลงานว่า จะเป็นประชาสัมพันธ์ที่ดีของภาคได้ ถ้าเป็นเช่นในอดีตเรา อาจไม่ได้รับการสนับสนุน คุณจันทนีก็ไม่มีโอกาสได้แสดง ผลงานก็จะกลายเป็นเพชรในตมจนวันนี้ผมเชื่อว่าคุณจันทนี เอย ใครเอยจะช่วยกันพัฒนางานโรตารีได้ ผมไม่ใช่คนรุ่น ใหม่นะครับ คุณจันทนีต่างหากที่เป็นคนรุ่นใหม่ คุณจันทนี มาอยู่โรตารีมานานเท่าไหร่แล้วครับ ๑ ในร้อย : เข้ามาเป็นโรแทเรียนปีนี้เป็นปีที่ห้าแล้วค่ะ

อน.อนันต์ : คุณจันทนีเป็นตัวอย่างของคนรุ่นใหม่ ที่ทำ�งาน ให้ โรตารี ได้เยอะและทำ�ได้ดีเหมือนคนที่อยู่มานาน ๑ ในร้อย : มีอีกคนหนึ่งที่เป็นคนรุ่นใหม่ที่เข้มแข็งคือ อน. ศุภรี ฉัตรกันยารัตน์ อน.อนันต์ : ผมเคยสัมภาษณ์ตอน คุณ ศุภรีสมัครเป็น GSE ที่พะเยา จะเห็นได้ว่าคนรุ่นใหม่จะเป็นกำ�ลังหลักของโรตารี เช่น คุณศุภรี คุณจันทนี แม้แต่คุณวาณิชก็ถือว่าเป็นคนรุ่น ใหม่ ซึ่งทุกคนได้เสียสละมาทำ�งานตรงนี้ ผมว่ามีประโยชน์ มากเลย ที่ พู ด นี้ ไ ม่ ไ ด้ ห มายถึ ง ว่ า ผู้ อ าวุ โ สในโรตารี ไ ม่ มี ประโยชน์นะครับ ทุกท่านก็ยงั เป็นกำ�ลังหลักทีส่ �ำ คัญของโรตา รีอยู่ คนรุ่นใหม่ก็จะมารับช่วงต่อ เดิมคนรุ่นเก่ารวบรวมองค์ ความรู้แต่ตอนนี้คนรุ่นใหม่ก็ขวนขวายหาองค์ความรู้เพิ่ม มากขึ้น ผชภ.อนุรักษ์ : เดี๋ยวนี้โลกเปลี่ยนไปเร็ว เราก็ต้องการคน รุ่นใหม่ที่ค่อนข้างจะทันสมัยเข้ามาเสริมในองค์กร คนรุ่นเก่า จะมีประสบการณ์ มีบารมี แม่นยำ�ในเรื่องกฎระเบียบ ท่าน จะเป็นเสาหลักค้ำ�ไว้ ส่วนคนรุ่นใหม่ก็เข้ามาทดแทนคนรุ่น เก่า ผมเห็นว่าคนส่วนใหญ่จะมองว่า โรแทเรียนจะเป็นคนที่ มีอายุใกล้เกษียณ หรือเป็นเด็กไปเลย จะขาดช่วงคนรุ่น กลางๆ เพราะคนรุ่ น นี้ มั ว แต่ ส ร้ า งเนื้ อ สร้ า งตั ว ที นี้ เ รา ต้องการคนในช่วงนี้เข้ามาทำ�งาน เราต้องการเขามาทำ�งาน และเป็นตัวอย่างแก่คนอืน ่ ๆ ด้วย และสำ�คัญคือเป็นประโยชน์ ต่อตัวเองในเรื่อง connection และประสบการณ์จากคนอื่นๆ หมายถึงว่าทุกคนมีแง่ดี ระบบของโรตารีสามารถจะเอามา ประยุกต์ใช้ในงานของเราได้ ตอนนี้เราเป็นคนรุ่นใหม่ ถ้าเรา อยู่แต่ในธุรกิจเราอาจจะไม่ได้รู้สิ่งใหม่ๆ ในโลกนี้หรือ ใน กระบวนการบริหารจัดการของโรตารีที่เป็นสุดยอด ผมเอง เข้ามาได้เรียนรูจ้ ากผูใ้ หญ่ในด้านการบริหารจัดการเยอะ การ วางตัว การติดต่อประสานงาน ส่วนคนรุ่นใหม่ก็จะเข้ามา เสริมในเรื่องของไอที การสื่อสาร ได้ดีกว่าคนรุ่นเก่า เช่น การทำ�เว็บไซต์ ทำ�จดหมาย อย่างสารผู้ว่าการภาคก็ใหม่ๆ น่าตื่นตาตื่นใจ ไม่น่าเบื่อ โดยเฉพาะที่สโมสรผมมีคนรุ่นใหม่ ค่อนข้างเยอะ จนเวลารดน้ำ�ดำ�หัวก็จะมีปัญหาไม่มีผู้สูงอายุ มานั่งให้ดำ�หัวจะหาคนยาก (มีเสียงแซวปนหัวเราะว่าไม่มี ใครยอมเป็นผูอ้ าวุโส) ทำ�ให้คนรุน ่ ใหม่เวลาจะเข้ามาในวงการ โรตารีก็ดึงเข้ามาที่เรา เน้นให้คนรุ่นใหม่ช่วยกันทำ�งาน ปัญหาก็มี เช่น อาจจะอ่อนในเรื่องกฎระเบียบ ต้องปรับอีก เยอะ อย่างวันนี้มาสัมมนามูลนิธิโรตารีทำ�ให้เกิดความรู้สึก อยากจะบริจาค เราต้องช่วยกันรณรงค์บริจาค และเอาคน รุน ่ ใหม่มาประชุมบ่อยๆ เติมในสิง่ ทีย่ งั ขาด คนรุน ่ ใหม่ยงั น้อย อยู่อยากให้ผสมผสานกันระหว่างคนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ เสริม ซึ่งกันและกันให้เข้มแข็ง ผมเองก็จะศึกษาให้มากขึ้น อน.บุษบง : ดีใจที่ได้ยินความคิดเห็นศักยภาพ ของคนรุ่น

ทัศน์ และ ผชภ.อนุรักษ์ นภาวรรณ 31 30

กันยายน ๒๕๕๒


หนึ่ง ใน ๑๐๐

ใหม่และขณะเดียวกันเราก็มีคนรุ่นเก่าที่มา back up เป็น เสาหลัก การเข้ามาในโรตารีไม่เพียงยังประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น แต่ยังประโยชน์ที่จะพัฒนาตัวเอง อันนี้เห็นได้ชัด อน.อนันต์ : การสังเกตว่ามีคนรุ่นใหม่เข้ามามากน้อยแค่ ไหน ก็ดูรายชือ่ คณะกรรมการในภาค เดิมมีแต่ชือ่ เดิมๆ ซ้�ำ ๆ กัน เดี๋ยวนี้จะมีชื่อแปลกๆ ใหม่ๆ เข้ามาทำ�งานมากขึ้น มี การช่วยกันแนะนำ�กันเข้ามา ๑ ในร้อย : ถ้าหากเราจะมีผู้นำ�ภาคที่เป็นคนรุ่นใหม่ ทั้งสอง ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร อน.อนันต์ : ก็ไม่เสียหายถ้าเขามีคณ ุ สมบัตคิ รบถ้วน มีความ รู้ มีสปิริต ปกติคนที่อายุสามสิบกว่าก็จะไม่ค่อยมีเวลาเพราะ กำ�ลังทำ�งาน แต่ถ้าคนอายุ 40-50 ปีมาช่วยกันทำ�งานก็จะดี มาก ดูอย่างนายกรัฐมนตรีก็อายุสี่สิบกว่า คุณอนุรักษ์ก็เคย เป็นประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดลำ�ปาง ก็เข้มแข็ง ซึ่ง การทำ�งานของโรตารีเป็นเรื่องของมิตรภาพ ผชภ.อนุรักษ์ : เราต้องเอาคนรุ่นใหม่มาเป็นสมาชิกโรตารี โดยเฉพาะคนรุ่นอายุ 30 ปี อน.อนันต์ : เวลาไปเชิญคนรุน ่ ใหม่เขาก็จะกังวลว่าใน โรตารี มีแต่คนอายุมาก คนรุ่นเดียวกันกับเขาไม่มี และมีแต่ต้องให้ คนอื่น เขาอาจจะยังไม่พร้อมที่จะเป็นผู้ให้ ผชภ. อนุรักษ์ : ตอนนี้ที่สโมสรโรตารีในลำ�ปาง เริ่มกระจาย งานให้คนทีอ่ ายุรองจากอาวุโส และลดหลัน ่ กันไปเพือ่ ให้เสริม งานกัน อน.บุษบง : การที่คนรุ่นใหม่ทำ�งานในองค์กรอื่น เป็นเรื่อง ปกติ เพราะเขามีเงินเดือนรองรับ แต่การทำ�งานโรตารีไม่มี เงินเดือน หมายถึงว่าต้องมีความพร้อมในการที่จะมาทำ�งาน เป็นผู้นำ�โรตารีได้ การทำ�งานที่นี่เป็นการเสียสละ ผชภ.อนุรักษ์ : ถ้าคนรุ่นใหม่สามารถที่จะบริหารจัดการใน ด้านธุรกิจ และพร้อมทีจ่ ะเสียสละมาทำ�งานโรตารีได้ถอื ว่าสุด ยอด ก็ควรจะให้เขาได้เข้ามาบริหารงาน ซึ่งจะเป็นตัวอย่าง ของโรแทเรียนที่ดี อน.อนันต์ : คุณวาณิช ก็มีความเหมาะสมที่จะทำ�งานให้ ภาคได้ หลังจากที่ ช่างภาพวาณิช เสร็จสิ้นการบันทึกภาพ และ ถือ โอกาสเข้ามาร่วมวง เลยได้รับการต้อนรับจากวงสนทนาด้วย ประโยคข้างต้น อน.บุษบง : ใครๆ ก็มองว่าทั้งสองท่านเหมาะสมที่จะเป็น ผู้นำ�ภาค ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร อน.อนันต์ : ผมเคยพบท่านพิชัย รัตตกุล ท่านบอกว่า ครอบครัวต้องพร้อมก่อนทำ�โรตารี ถ้าครอบครัวไม่พร้อม ธุรกิจไม่พร้อม ยังไม่ควรจะทำ�โรตารี บางคนก็มีเหตุผล ส่วน ตัว ผมเองชอบทำ�บุญในแบบโรตารี พยายามกระตุน ้ ให้สโมสร มีความตื่นตัว recognize เขา ให้มีการเคลื่อนไหว ผมว่าผู้นำ� ภาคต้องพร้อมทั้งครอบครัวและธุรกิจ อน.วาณิช : แต่ภาคคงจะขาดผู้นำ�ไม่ได้ เราจะแก้ปัญหานี้ อย่างไรดี อน.อนันต์ : ภาคมีผู้นำ�อยู่แล้ว อย่าเอาเงื่อนไขมากำ�หนด เช่น ผู้ว่าการภาคไม่ควรจะมาจาก เชียงใหม่หลายสมัยติดต่อ

กันยายน ๒๕๕๒

กัน ที่จริงแล้วถ้าใครพร้อมก็ให้เขาเป็น ไม่ต้องเกี่ยงว่ามา จากจังหวัดไหน อน.บุษบง : แต่ในโรตารี เดี๋ยวนี้จะมีระบบทำ�ให้บริหาร จัดการได้สะดวกขึ้นมาก อย่างสมัยก่อนจะจัดอบรมก็จะหา คนเดิมๆ มาเป็นผู้อบรม แต่สมัยนี้จะมีระบบการอบรมจาก โรตารีสากล ทุกอย่างดำ�เนินไปตามระบบ อน.อนันต์ : สมัยก่อนเวลาอบรม วิทยากรก็จะเป็นคนเดิมๆ พวกเราไปประชุ ม ก็ ฟั ง เรื่ อ งเดิ ม ๆ เราก็ จ ะไปเฮ้ ว ๆ กั น มากกว่า แต่เดี๋ยวนี้ไปอบรมแล้วได้ประโยชน์ มีการกำ�หนด เนื้อหาสาระที่เป็นมาตรฐาน อน.บุษบง : เดี๋ยวนี้โรตารีมีทรัพยากรและกลไกที่ทำ�ให้คน ที่มาเป็นผู้ว่าการภาคทำ�งานได้สะดวกขึ้น ตอนนี้ไม่ว่าใครจะ มาเป็นผู้ว่าการภาค อาจารย์บุษบงก็จะยังทำ�งานนี้อยู่ไม่ได้ หยุดไปไหน ก็ยงั ช่วยกัน ถ้าสองท่านจะเป็นผูว้ า่ การภาคพวก เราก็จะช่วยกัน ผชภ.อนุรักษ์ : ถ้าเราจะเป็นผู้ว่าการภาคเราก็ควรจะต้อง ทำ�อะไรให้ใครมาก่อน ถ้าเรายังไม่มี connection ก็จะทำ�ให้ มีแนวร่วมน้อย ผมยังทำ�งานให้ภาคน้อยอยู่ ผมยังจะต้อง ทำ�งานด้านอื่นให้ภาคมากขึ้นเพื่อหาประสบการณ์ อน.บุษบง : โดยทั่วไป การทำ�งานของคนรุ่นใหม่ จะทำ�งาน เป็นทีม อน.อนันต์ : ต้องมีสปิริตนะ ยกตัวอย่างคุณจันทนี เพิ่งมา เป็นโรแทเรียนปี 2547 มีสปิริตในการทำ�งานโรตารีมาก ถ้า เรามีสปิริตคนรุ่นใหม่อย่างคุณจันทนี ก็จะเป็นผู้ว่าการภาค ได้ พวกเราคนรุ่นเก่าก็สามารถช่วยได้ อน.วาณิช : ที่หมายถึงท่านอนันต์เพราะท่าน อยู่มานาน หมายถึงท่านน่าจะมีความพร้อมแล้ว อน.อนันต์ : ถ้าเป็นแล้วทางครอบครัวบอกว่า งั้นก็ไปอยู่กับ โรตารีก็แล้วกันก็คงจะลำ�บาก (ยิ้ม) อน.บุษบง : เราก็ต้องไปทำ�ความเข้าใจกับครอบครัวก่อน อน.อนันต์ : ทุกวันนี้ผมยังนึกไม่ออก ว่าจะไปเยี่ยมให้ครบ ทุกสโมสรได้อย่างไร อน.บุษบง : ขณะนี้ยังไม่ทราบ แต่ในอนาคตจะมีรูปแบบที่ มีอดีตผู้ว่าการภาคมาช่วย ในการไปเยี่ยมแต่ละสโมสรก็จะมี ทีมอดีตผวภ. ที่อยู่ในโซนนั้นเข้ามาร่วมด้วย รวมถึงโรแท เรียนอาวุโสที่เราจะเชิญ ไปเยี่ยมเป็นกลุ่มไม่ต้องไปแต่ละ สโมสร จะเริ่มในปีหน้า ๑ ในร้อย : ก็จะคล้ายๆ งานสถาปนาคณะกรรมการบริหาร ที่มีการรวมกันเป็นกลุ่มจังหวัด อน.อนันต์ : แต่ โรแทเรียนบ้านเราจะชอบผูว้ า่ การภาค ชอบ Supreme Commander เวลามีกจิ กรรมก็อยากให้ผูว้ า่ การภาค มาร่วมงานทุกครั้ง อน.วาณิช : ผู้ว่าการภาคต้องเป็นคนของประชาชน (เรียก เสียงเฮ จากวงสนทนา) แต่ต่อไปผมว่าคงจะเบาลงจากที่ฟัง ดร.บุษบง เพราะทำ�งานกันเป็นทีม อน.บุษบง : คงต้องอาศัยพวกเราที่จะช่วยกัน ร่วมมือกัน ๑ ในร้อย : งานก็จะเป็นระบบมากขึ้น ผู้ที่จะมาเป็นผู้นำ� ภาคก็คงจะต้องเตรียมการอยู่เหมือนกัน ดูตัวอย่างจาก ผวล.

32 33


ชำ�นาญ ที่เดิมรับราชการและเพิ่งจะลาออกจากราชการและ มาทำ�งานที่อิสระมากขึ้น อน.บุษบง : เป็นการเตรียมการอีกด้านหนึ่งเพื่อรับงานผู้ ว่าการภาค ในส่วนของอาจารย์บุษบงในปีหน้าที่ คุณหมอ วีระชัย จะรับหน้าที่ผู้ว่าการภาค ก็จะพักงานหนึ่งปีเพื่อไป เป็นเพื่อนคุณหมอทำ�หน้าที่ เมื่อครบวาระแล้วก็จะกลับ เข้าไปทำ�งานต่อสัญญาอีกห้าปี ๑ ในร้อย : จะเห็นว่าทุกท่านมีความเสียสละที่จะทำ�งานเพื่อ โรตารีจริงๆ อน.อนันต์ : คุณชำ�นาญก็มีการเตรียมตัว อน.วาณิช : จะเห็นว่าสามปีต่อจากนี้ ผวภ.แต่ละท่านมี การเตรียมตัวกันเป็นอย่างดี แล้วต่อไปในปีที่สี่ จะเป็น อย่างไร พวกเราคงไม่อยากให้ภาคขาดช่วง ทั้งสองท่านคิด ว่าเราควรจะวางแผนให้ต่อเนื่องอย่างไรดี ผชภ.อนุรักษ์ : ผมคิดว่ายังไม่พร้อม อน.อนันต์ : ผมเกรงใจ อน.บุษบง : ถ้าท่านอนันต์เป็น อาจารย์บุษบงก็จะทำ�ให้เต็ม ที่ อน.วาณิช : ผมก็จะทำ�ให้อีกซักปี อน.อนันต์ : ผมมีเหตุผลส่วนตัวทางด้านครอบครัวที่ไม่ สามารถรับภาระได้ โรตารีผมก็รักสามารถที่จะผลักดันให้ สโมสรเข้มแข็ง สนุก รู้สึกพอใจ ไม่จำ�เป็นต้องเป็นผู้นำ�ภาค ถ้าอาจารย์บุษบง คุณวาณิช คุณจันทนี มีความพร้อมก็น่า จะสนับสนุน อน.วาณิช : ต่อจากสามปีนี้ ยังขาดผู้ที่จะมาเป็นผู้นำ�ภาค เราควรจะทำ�อย่างไรกันดี อน.อนันต์ : ถ้าอาจารย์บุษบงจะเป็นต่อก็ไม่น่าจะมีปัญหา อะไร อาจารย์มีศักยภาพมีความพร้อม ดูอย่างสโมสรโรตารี ทั่วโลกมีตั้งเยอะแยะ ประเทศไทยทำ� Matching Grant เป็น อันดับที่ 11 เป็นเพราะใคร อาจารย์บุษบงก็เป็นกำ�ลังหลัก ส่วนหนึ่ง อน.วาณิช : ความต่อเนื่อง ภาคเราคงต้องการผู้นำ�ภาครุ่น ใหม่เพื่อสานต่อ อย่างต่อเนื่อง ๑ ในร้อย : ภาค ๓๓๖๐ เรามีคนและทรัพยากรที่จะพัฒนา ภาคได้อย่างไร ผชภ.อนุรักษ์ : ตอนนี้มีคนรุ่นใหม่ๆ เข้ามาเยอะ น่าจะหา คนมาเพิ่ม เพราะปัจจุบันจะเห็นว่ามีบางคนที่เป็นกรรมการ หลายตำ�แหน่ง จะเห็นว่ายังขาดผู้นำ�หลายคน ไม่ใช่หาไม่ได้ อาจจะความสนิทสนมกัน ประธานก็จะดึงคนใกล้ตัว ถ้าเรา จะกระจายได้จะทำ�ให้คล่องตัวขึ้น อย่างผมถ้าเรียกแล้วมีโปร เจ็คให้ทำ�แม้ไม่สนิทกันผมก็ช่วย อน.อนันต์ : ผมว่าสมาชิกในภาคเรามีน้อยไปหน่อย ถ้ามี คนมาเพิ่ม ทำ�ให้เขาสนุก ทำ�ให้เขาเข้าใจวัตถุประสงค์ของ โรตารี ให้มาช่วยกัน ถึงตอนนี้ห้องประชุมสัมมนาหยุดพักทานอาหาร กลางวัน ท่าน อผภ.อนุวัตร ภูวเศรษฐ ได้เดินผ่านมาและ เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม อผภ.อนุวัตร : ผมคิดว่าพวกเราอยู่ในโรตารีมานาน ใน

33 32

ชุมชนเรามีบุคลากรที่มีความสามารถและความเหมาะสม เยอะ โรตารีเราอาจจะขาดการดึงดูดให้เขามาเป็นโรตารีกเ็ ป็น ได้ เพราะเมื่อเทียบกับยุคเมื่อยี่สิบกว่าปีที่แล้ว ตอนผมเข้า มาเป็นสมาชิกจะต้องเป็นบุคคลระดับท็อปของจังหวัด ตอน นี้ภาพมันเปลี่ยน เราต้องมามองจุดอ่อนว่าคนภายนอกมอง ว่าเราเป็นอย่างไร อาทิ หนึ่งประชุมมากไป สองเน้นเรื่อง การบริจาคมากไป สามเน้นกิจกรรมในเรื่องของโครงการที่ อยู่ไกล คนในเมืองไม่ค่อยได้รับทราบ ถ้าเราสำ�รวจตรงนี้ได้ ผมไม่แน่ใจว่าในระดับประเทศไทยมีโรแทเรียนท่านหนึ่งทำ� SWOT ไว้ ก็อาจจะ bias อยากให้ภาควิชาการทำ� เราจะได้ รู้ positioning จะได้เพิ่มจุดแข็งปิดจุดอ่อน การหาสมาชิก นั้นง่ายแต่การรักษาสมาชิกนั้นเป็นปัญหาเข้ามาแล้วออกไป อน. อนันต์ : สมาชิกไม่ได้อยู่อย่างต่อเนื่อง อผภ. อนุวัตร: คนรุ่นเก่าไม่ได้ทำ�กิจกรรมก็ห่างหายไป หลายสโมสรเคยทำ�กิจกรรมดีๆ ก็หายไป การสร้างความต่อ เนื่อง กลยุทธ์และจุดแข็งของสโมสรก็ทำ�เรื่องนั้นอย่างต่อ เนื่อง อย่างลำ�ปางถนัดเรื่องน้ำ�ก็ทำ�เรื่องน้ำ�ไป เมื่อเราทำ� กิจกรรมต่อเนื่องก็จะทำ�ให้คนรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ทำ�งานร่วม กันอย่างลงตัว ๑ ในร้อย : ขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมสนทนา ให้ความ คิดเห็นเกี่ยวกับคนรุ่นใหม่สำ�หรับวงการโรตารี โดยเฉพาะ การมองหาคนรุ่นใหม่ที่จะมาเป็นผู้นำ�ภาค 3360 เราต่อจาก อีกสองปีข้างหน้า วงสนทนาหยุดไปโดยปริยาย เนื่องจากกองทัพต้อง เดินด้วยท้อง ถึงแม้จะมีอีกหลายเรื่องราว ที่น่าสนใจที่ควร จะนำ�มาพูดคุยกัน แต่มาถึงตอนนี้ก็คงจะทราบถึงเป้าประสงค์ ที่ต้อง ใช้ ผู้ สั ม ภาษณ์ ห ลายท่ า นในครั้ ง นี้ ว่ า เรามี เ ป้ า หมายที่ แอบแฝงซ่อนเร้นอยู่ แต่กลายเป็นว่าผู้ร่วมวงสนทนา ได้ กลายเป็นเป้าเสียเอง ๑ ในร้อย (วันนี้มาเป็นทีม) ได้ทำ�การเปิด ล่อ และ สำ�แดงเป้า ให้ทุกท่านได้พิจารณาไปเรียบร้อยแล้ว ส่วน อนาคต จะเป็นเช่นไรคงขึ้นอยู่กับผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่าน แต่ สิ่งหนึ่งที่เราได้รับรู้และรับทราบ ก็คือว่า อนาคตของ โรตารี ในมือเรานั้น ยังคงสดใส และรุ่งโรจน์ สามารถสัมผัสได้จาก แนวคิด และบทสนทนาของผู้นำ�ภาครุ่นใหม่ทั้งสองท่าน สวัสดีค่ะ. * อุบัติเหตุทางด้านเทคโนโลยีเกิดขึ้นได้เสมอ และครั้งนี้ทำ�ให้ รูปภาพในไฟล์ของการสัมภาษณ์ของผู้นำ�ภาครุ่นใหม่ทั้งสองท่าน อันตรธานไปอย่างไม่มโี อกาสเก็บกูก้ ลับมาได้อกี แต่โชคดีทีเ่ นือ้ หา สาระไม่ได้หายไปไหน เพราะได้หนึ่งในร้อยรับประกันคุณภาพ เป็นผู้เก็บรักษา .....บอกอ พ่วงด้วย ช่างภาพอีกหนึ่งตำ�แหน่ง

กันยายน ๒๕๕๒


Youth Corner

ปฏิบัติการ เหนือเมฆ 6,000 ฟิต มองไกล... มองกว้าง... มองลึก...

รทร.สุนิพิฐ คงเมือง สโมสรโรตารี ล้านนา เชียงใหม่

ผ่านไปแล้ว 2 ฉบับ ต้องขอบคุณเสียงตอบรับจากหลาย ฝ่าย ทุกครั้งที่ได้มีโอกาสไปร่วมงานที่ไหน ก็ได้รับคำ�ชื่นชม และแนะนำ�ถึงคอลัมน์นี้ เป็นกำ�ลังใจที่ดีมากครับสำ�หรับโรตารี หน้าใหม่อย่างผม จึงทำ�ให้มุมเล็กๆ นี้ ดูไม่เล็กไปเลย ก่อนอื่นต้องขอบอกว่าประทับใจมากครับ ที่สารฯฉบับ ที่ 2 ประจำ�เดือนสิงหาคม ของเราได้ถวายแด่ท่าน พระมหา วุฒิชัย วชิรเมธี(ว.วชิระเมธี) ในวันเปิดตัวสารฯพอดี เพราะ สารฉบับนั้น ผมได้เขียนหลักปรัชญาของท่านไว้มาก ท่านเป็น เหมือน Idol ผมเลย เวลาเพียงแค่ ไม่นาน เดือนใหม่ก็เข้ามาถึงแล้ว เดือนนีท้ า่ นทีไ่ ด้เปิดอ่านสารฉบับนีค้ งแปลกใจว่า “เอ๊ะ! นี่มันรูปการกระโดดร่มดิ่งพสุธา นี่ แล้ว เค้าถือธงโรตารีด้วย..” ภาพนี้ผมถือว่าเป็นภาพที่ไม่ธรรมดา และไม่ใช่เกิดขึ้นได้ง่ายๆ แน่นอนครับ ท่านคงเคยได้ยินใช่มั้ยครับว่า “ภาพหนึ่งภาพแทน ถ้อยคำ�นับพัน” วันนี้ ผมก็ขอใช้ประสบการณ์ที่มีมาถ่ายทอด ความรู้สึก ถึงภาพเพียงภาพเดียวนี้... ภาพนี้ได้รับความร่วมมือและการประสานงานจาก อน.ชนะ เอกอิสรกุล สร.ล้านนาเชียงใหม่ (ประธานโครงการ โรตารีสร้างฝายฯ) และ กรมรบพิเศษที่5 ค่ายขุนเณร

กันยายน ๒๕๕๒

34 35


35 34

อย่ า งแรกเลยที่ ว่ า ไม่ ธ รรมดายั ง ไงนั้ น เพราะภารกิจครั้งนี้เป็นการกระโดดร่มแบบกระตุก เองหรือ ดิ่งพสุธา (HALO) ซึ่งเป็นการกระโดดร่มที่ มีความเสี่ยงสูง จากความสูง 6,000 ฟิต จุดเด่นก็ คือได้มีการนำ�ธงตราสัญลักษณ์ของโรตารี ขึ้นไป โบกสะบัดอยู่บนท้องฟ้า (แบบถือด้วย) ซึ่งผู้กระโดด บอก เสี่ยงมาก ต้องประครองตัวถือธงผืนนี้ และยัง มีผู้ร่วมประครองอีก รวมเป็น 3 ท่านจึงได้ภาพหา ยาก นี้มา... มาถึงจุดนี้ หลายๆ ท่านทีม่ หี วั ใจโรตารี เริม่ จะเข้าใจใน สิ่งสำ�คัญของที่ผมจะพูดถึงรึยังครับ ผมเชือ่ ว่าหลายท่านรูแ้ ละจิตนาการตามผม มาแล้ว ผมเปรี ย บภาพนี้เ ป็ น เสมื อ นการสื่ อ ถึ ง อุดมการณ์ และหลักการของโรตารี... บริการผู้อื่น เหนือตนเอง ธงเปรียบเสมือนองค์กรโรตารี และมวลมิตร โรแทเรียน ที่ผมขอย่อนิยามผ่านภาพออกมาเป็น 3 คำ�สั้นๆ “มองไกล... มองกว้าง... มองลึก...” เมื่อ เราอยู่ที่สูง เราจะเห็นอะไรได้ไกล มองทุกอย่าง กว้างรอบทิศทาง และมองลงมาได้ลึกมากยิ่งขึ้น อะไรทำ�ให้ผมกล้าพูดเรื่องเหล่านี้ และอะไร ทำ�ให้เกิดภาพนีข้ ึน ้ มาได้ ผมขอใช้ประสบการณ์ของ เด็กตัวน้อยๆที่ผมได้รับจาก โรตารี “มองไกล...” เปรียบเสมือนวิสัยทัศน์ ที่ มองการไกล การทำ�โครงการบำ�เพ็ญประโยชน์ที่ดี คือโครงการที่ทำ�แล้วสามารถต่อยอดได้... ทำ�หนึ่ง แต่ผลที่ตามมามากกว่าหนึ่ง ผมจะยึดคำ�ๆหนึ่งใน ใจทุกครั้งที่ทำ�งาน “จะบอกตัวเองว่า เราต้องทำ�สิ่ง นั้นให้ดีที่สุด ตั้งใจทำ� เพราะงานที่ออกมาจากใจนั้น สุดท้ายไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร มันมีความ คุ้มค่าในตัวของมันเองเสมอ” อย่างน้อยที่สุดคือ... ถ้าไม่เริ่ม ก็ไม่เกิด โครงการบำ�เพ็ญประโยชน์ต่างๆ โดยเฉพาะโครงการที่คิดขึ้นใหม่ งานที่ต้องได้รับ ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ประชาชน และ เยาวชน แน่นอนระยะทางนับพันกิโลเมตรของ โครงการ มันย่อมมีอุปสรรคจนอาจจะทำ�ให้ไม่เป็น ดังที่ตั้งความหวังไว้ แต่ระหว่างทางย่อมมีของแถม ที่เราประเมินค่ามิได้ตลอดทางเสมอ ฉะนั้นอย่าเอา ความวิตกกังวล มาหยุดที่จะทำ�ดี มาหยุดที่จะทำ�สิ่ง ที่เป็นประโยชน์ และอย่ากลัวระยะทางที่จะไปถึง ความสำ�เร็จ มองให้ไกล แล้วจะเห็นและได้อะไร มากกว่าจุดนี้ “มองกว้าง...” เปรียบเสมือน การเปิดใจ

มิตรภาพ ที่มากกว่าตัวเรา และองค์กร นี่แหล่ะครับ คือส่วนสำ�คัญ ที่ทำ�ให้เกิดภาพนี้ขึ้นมาได้ ทำ�ไม องค์กรต่างๆ ถึงให้การยอมรับเราด้วยใจ... ผมเชื่อ ว่าเกิดจากจุดเริม่ ต้นคือ โรตารีให้เราเปิดใจให้เกียรติ ซึง่ กันและกัน และมีอดุ มการณ์เดียวกันคือ มาสร้าง สรรค์สิ่งดีต่อสังคม แต่ด้วยลำ�พังเพียงองค์กรเรา จะทำ�การสิ่งใดอาจจะสำ�เร็จได้ยาก เราจึงต้องขอ ความอนุเคราะห์ ความร่วมมือและความช่วยเหลือ จากผูอ้ ืน ่ แล้วเหตุอน ั ใดเล่า ทีห่ น่วยงานและองค์กร อื่นจึงพร้อมรับ และยินดีให้ความช่วยเหลือเราเป็น อย่างดีนั้นก็เพราะเขารู้ว่า “เราไม่ได้ทำ�เพื่อตัวเอง แต่เราทำ�ประโยชน์เพื่อผู้อื่น” คำ�ขอเพื่อผู้อื่น ที่ ไม่ใช่คำ�ขอเพื่อตัวเรา มันมีพลังในตัวของมันเอง เสมอ จากการร่วมมือหนึ่งครั้ง แล้วพิสูจน์ใจแล้ว ว่าจริงดัง่ อุดมการณ์ จึงทำ�ให้มคี รัง้ ต่อๆ ไปจนกลาย เป็นสายสัมพันธ์ที่ดีนั่นคือ “มิตรภาพ” นี่เอง “มองลึก...” จะทำ�สิง่ ใด ให้ประสบผลสำ�เร็จ ได้ดีนั้น ต้องศึกษาให้รู้ซึ้ง ถึงสิ่งที่จะทำ�เพราะการ ทำ�งานย่อมมีอุปสรรค์ มากบ้าง น้อยบ้าง จึงต้องมี การวิเคราะห์เพื่อแก้ไข ไปในทิศทางที่ดีขึ้น ฉะนั้น จึงต้องมีการค้นคว้าศึกษา ทดลองหารายละเอียด เมื่ อนั้ นก็จะเกิดองค์ความรู้ ขึ้ นมาเพื่ อเป็น ประสบการณ์ และบทเรียนในครั้งต่อไป พอหอมปากหอมคอ นะครับนีก่ เ็ ป็นมุมมอง ของตั ว ผมเองที่ ไ ด้ รั บ มาจากการคลุ ก คลี อ ยู่ ใ น โรตารี ได้รู้ ได้เห็น ได้คิด ได้ทำ� จึงเรียบเรียงออก มา ขยายความจากภาพได้เพียงนี้ ภาพเดียวภาพนี้ เปรียบถึงหลักการของ ผู้นำ� ผู้บริหาร เพื่อเป็นสื่อกระตุ้นความคิด ให้กับ น้องๆ เยาวชน หรือผู้ที่สนใจนำ�ไปเป็นส่วนหนึ่งใน หลั ก การทำ � งานต่ า งๆ และที่ สำ � คั ญ เป็ น เสมื อ น ความภูมใิ จขององค์กรโรตารีเรา ทีไ่ ด้รบั การยอมรับ จากสังคมทั่วโลก และมีอายุยืนยาวกว่า 104 ปีแล้ว และจะเป็นอย่างนี้ต่อตลอดไป สวัสดีครับ เดือนหน้าอย่าลืม RYLA นะครับ ภาพนี้สำ�เร็จได้ด้วยความอนุเคราะห์จาก 3 ท่านจึง ขอขอบพระคุณ 1. พ.อ.อรรถพร เป้าประจักษ์ ผบ.กรมรบพิเศษที่ 5 ผู้สนับสนุนการดิ่งพสุธาภารกิจนี้ 2. อน.ชนะ เอกอิสรกุล (สร.ล้านนาเชียงใหม่) ผู้ประสานงาน 3. อน.ยุทธนา นฤนาถวงศ์สกุล (สร.เชียงใหม่ใต้) ผู้สนับสนุนธงโรตารี

กันยายน ๒๕๕๒


เอกพาแอ่ว “ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผาชาติล้วนงามตา นามล้ำ�ค่านครพิงค์”

ผชภ.เอกวุฒิ กาวิละ สโมสรโรตารีหางดง

ฉบับนี้ ก็ล่วงมาเป็นฉบับที่สาม แล้วที่ผ่านสายตาและเป็นประจักษ์ว่า เราทำ�ได้และทำ�ได้แล้ว จากเสียงจากต่างภาคที่ชื่นชมกับรูปเล่มที่ทันสมัยสีสดถูกใจ น่าจับต้อง และน่าอ่านทุกเรื่องทุกคอลัมน์ จากนักเขียนเซียนเรียกพี่ กันทุกท่าน เช่นกันกับ คอลัมน์ “เอกพาแอ่ว” ก็คงรับใช้ในเรื่องแนะนำ�สถาน ที่ท่องเที่ยว ที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการประชุมของสถานที่นั้นๆ และแน่นอนกับร้านอาหารที่น่าอร่อย ที่พอจะแนะนำ�ได้ของสถานที่นั้นๆ ฉบับนี้ภูมิใจขอแนะนำ�จังหวัดเชียงใหม่ เนื่องด้วยเป็นสถานที่เราจะ จัดการอบรม ยุวชนผู้นำ�ไรล่า (RYLA) ระหว่างวันที่ 21-24 ตุลาคม ที่จะถึงนี้ และ จะมีการจัดอบรม เยาวชนแลกเปลี่ยนจากต่างประเทศ (INBOUND YE) ระหว่างวันที่ 4-6 กันยายน 2009 ที่เชียงใหม่ เรา จึงสรุปว่า เราจะแนะนำ�เชียงใหม่ อีกทั้งเป็นจังหวัดที่ ปีนี้ผู้ว่าการภาค 3360 แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ถือ เอาเป็นกองบัญชาการบริหารภาค 3360 ด้วยเช่นกัน ติดตามมาเลยครับ เชียงใหม่ หรือ “นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่” หรือเวียงพิงค์ ที่พ่อขุนเม็งรายมหาราชได้ทรง สร้างเมืองและราชอาณาจักรจนสมบูรณ์แบบในทุกๆด้าน ปัจจุบน ั เชียงใหม่เป็นเมืองที่ รวบรวมศิลปกรรม โบราณวัตถุ ตลอดจนวัฒนธรรมดั้งเดิม ของอาณาจักรลานนาไทยเอาไว้อย่างครบสมบูรณ์ ทั้งสองฟาก ฝัง่ แม่น้ำ�ปิงหรือแม่น้�ำ แม่ระมิงค์ทีเ่ ป็นเส้นเลือดทีห่ ล่อเลีย้ งเมืองเชียงใหม่ตัง้ แต่กาลก่อน พาเทีย่ วคงย้อน ไปเรื่องประวัติศาสตร์ของเมืองเล็กน้อยเพื่อเป็นเส้นทางเรียนรู้อย่างสมบูรณ์จริงไหม เดียวเขาจะว่าเอา ว่าไปไหนช่างไม่รู้เรื่องเมืองเก่าแก่ของบ้านเขาเลย จะได้ไม่เชยเหมือนเราไปทอดน่องตามเมือง ประวัติศาสตร์ทั่วโลกทั้ง อเมริกา ยุโรป กันจริงไหมครับ ประวัติและความเป็นมา : เชียงใหม่ มีประวัติความเป็นมาอันยาวนาน เช่นตำ�นานว่าด้วยพระธาตุในล้านนา กล่าวถึง ลัวะ ซึ่งเป็นชนพื้นเมือง ตำ�นานมูลศาสนา ชินกาลมาลีปกรณ์และจามเทวีวงศ์ (เอกสารเก่าแก่ที่อ้างอิง) กล่าวเปรียบเทียบชาวลัวะ ว่าเป็นคนเกิดในรอยเท้าสัตว์ ด้วยเหตุที่ ลัวะ ถือเอารูปสัตว์เป็นสัญลักษณ์ ส่วนตำ�นานรุ่นหลังอย่างตำ�นานสุวรรณคำ�แดง หรือตำ�นานเสาอินทขิล (เสาหลักเมือง) เล่าว่า ชาวลัวะ เป็นผู้สร้างเวียงเจ็ดลิน เวียงสวนดอก และเวียงนพบุรี หรือเวียงเชียงใหม่ ชาวลัวะ จึงน่าจะเป็นชน กลุ่มแรกที่สร้างชุมชนเมืองก่อนในพื้นที่แถบนี้ ในขณะเดียวกันที่ลำ�พูนก็มีเมืองชื่อหริภุญไชย ตามตำ�นานการสร้างเมืองเล่าว่า พระนางจาม เทวีวงศ์ ธิดากษัตริย์เมืองละโว้ เสด็จขึ้นมาครองหริภุญไชย ในครั้งนั้น พระนางได้พาบริวาร ข้าราช บริพารที่เชี่ยวชาญในศิลปวิทยาการต่างๆ ขึ้นมาด้วย หริภุญไชยจึงได้รับเอาพุทธศาสนาและศิลป วัฒนธรรมละโว้ มาใช้ในการพัฒนาจนเจริญขึ้นเป็นแคว้นใหญ่ จวบจนประมาณปี พ.ศ.1839 พญามัง ราย ผู้สืบเชื้อสายมาจากปู่เจ้าลาวจก หรือ ลวจักราช เป็นกษัตริย์แห่งราชวงศ์ลาว ครองเมืองเงินยาง ซึ่งได้แผ่อำ�นาจครอบคลุมลุ่มแม่น้ำ�กก และได้สร้างเวียงเชียงราย ขึ้นเป็นกองบัญชาการ ซ่องสุมไพร่พล เพื่อยึดครองหริภุญไชย เนื่องจากหริภุญไชย เป็นเมืองศูนย์กลางความเจริญ และเป็นชุมทางการค้า พญามังรายได้เข้ายึดครองหริภุญไชย แล้วประทับอยู่เพียง 2 ปี ก็ทรงย้ายไปสร้างเวียงกุมกาม ใน พ.ศ. 1837 ก่อนจะย้ายมาสร้างเวียงเชียงใหม่ ใน พ.ศ.1839 โดยได้ร่วมกับพระสหายคือ พญางำ�เมือง และ พ่อขุนรามคำ�แหง สถาปนา“นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่”ขึ้น พญามังรายได้พัฒนาเมืองเชียงใหม่ ทั้งการก่อสร้างวัดวาอาราม มีการตรากฎหมายที่เรียกว่า “มังรายศาสตร์” รวมถึง รับเอาพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ เข้ามาเผยแผ่ในอาณาจักร สมัยพระเจ้าติ โลกราช กษัตริยอ์ งค์ที่ 9 อาณาจักรล้านนาได้มกี ารสังคายนาพระไตรปิฎก ขึน ้ เป็นครัง้ แรกในประเทศไทย ที่เราภาคภูมิใจว่าดินแดนนี้ชาวต่างชาติให้การยอมรับมาแต่อดีตกาล อาณาจักรล้านนาเริ่มเสื่อมลงไปปลายสมัยพญาเมืองแก้ว เนื่องจากทำ�สงครามกับเชียงตุง พ่ายแพ้เสียชีวิตไพร่พลเป็นอันมาก ในสมัยมหาเทวีจิรประภา กษัตริย์องค์ที่ 15 พม่าได้ยกกองทัพมาตี เชียงใหม่ เพียง 3 วันก็เสียเมือง และกลายเป็นเมืองขึ้นของพม่ายาวนานถึง 216 ปี ต่อมาในปี พ.ศ.2317 พญาจ่าบ้านและพระเจ้ากาวิละ ได้ร่วมกันต่อต้านพม่า และอัญเชิญ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ยกทัพมาขับไล่พม่าพ่ายแพ้ไป ต่อมาในสมัยสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงแต่งตั้งพระเจ้ากาวิละ ขึ้นครองเมือง ในฐานะเมืองประเทศราช พระเจ้ากาวิละ ได้ฟื้นฟูเชียงใหม่จนมีอาณาเขตกว้างขวาง การค้าขายรุ่งเรือง ล่วงมาถึงสมัยรัชกาลที่ 5 มีการปฏิรปู การปกครอง โดยผนวกดินแดนล้านนาเข้ามาเป็นมณฑล พายัพ แต่ก็ยังเป็นเมืองประเทศราชในอาณัติราชอาณาจักรสยาม ตรงกับรัชสมัยของเจ้าอินทวิชยานนท์ และรัชกาลที่ 5 ได้ทรงขอเจ้าดารารัศมี ธิดาของเจ้าอินทวิชยานนท์ไปเป็นชายา ทำ�ให้ความสัมพันธ์ ระหว่างสองอาณาจักรใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น เมื่อมีการสร้างทางรถไฟขึ้นในเวลาต่อมา ส่งผลให้เมืองเชียงใหม่ ขยายตัวยิ่งขึ้น ในปี พ.ศ.2475 เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง มณฑลเทศาภิบาลถูกยกเลิก เชียงใหม่ มีฐานะเป็นจังหวัดหนึง่ หลังจากนัน ้ เชียงใหม่พฒ ั นาขึน ้ เรือ่ ยๆ จนมีความสำ�คัญรองจากกรุงเทพฯ เท่านัน ้ เหตุที่ต้อง อ้างอิงประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ ก็ด้วยเหตุที่เชียงใหม่นั้น เป็นหัวเมืองใหญ่และเคย เป็นราชธานี ที่สำ�คัญของ ราชอาณาจักรล้านนา ที่ภาคภูมิใจของ ภาคเหนือของไทย ที่ต่างชาติให้ความ

กันยายน ๒๕๕๒

36 37


37 36

สำ�คัญมาแต่อดีตกาล และสร้างความภูมิใจแก่ยุวชนรุ่นหลัง พร้อมๆ กับสารผูว้ า่ การภาค 3360 ฉบับนี้ ทีไ่ ด้เป็นประวัตศิ าสตร์ ของสารผู้ว่าภาคของประเทศไทยที่สวยงามมีคนถามถึงเช่น เดียวกัน..ดีใจตวยเน้อพี่น้อง สถานที่ท่องเที่ยว จังหวัดเชียงใหม่ ต่อไปจะพาทุกท่านไปสัมผัสกับแหล่งทีน ่ า่ จะท่องเทีย่ ว เอาในตัวเมืองเชียงใหม่ ที่ไปไม่ยากกันก่อนนะครับ เพราะ เชียงใหม่มีแหล่งท่องเที่ยวมากจริงๆ ล้วนแล้วแต่อัธยาศัยและ ความชอบ แต่ที่ตัวเมืองเชียงใหม่และที่ไปไม่ไกลมากนักก็อยาก จะให้ทกุ ท่านได้สมั ผัสเป็นการเติมเต็มการมาประชุมและพักผ่อน ที่เชียงใหม่ วัดเจดียห์ ลวงวรวิหาร ถนนพระปกเกล้า วัดนีต้ ัง้ อยูใ่ จกลางเมือง เชียงใหม่พอดี ประดิษฐานเจดีย์ใหญ่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ สร้าง ขึ้นในรัชกาลพระเจ้าแสนเมืองมากษัตริย์องค์ที่ 7 แห่งรา ชวงศ์มังราย (พ.ศ.1913-1954) และอัญเชิญพระแก้วมรกตมา ประดิษฐานระหว่าง พ.ศ.2011-2091 นานถึง 80 ปี ต่อมาในสมัย พระนางจิระประภา ได้เกิดแผ่นดินไหวเมื่อ พ.ศ. 2088 ทำ�ให้ ยอดเจดีย์หักโค่นลง ปัจจุบันเจดีย์มีความสูงคงเหลือ 40.8 เมตร ฐานกว้างด้านละ 60 เมตร หน้าประตูทางเข้าวิหาร มีบันไดนาค เลื้อยงดงามยิ่งได้ชื่อว่าเป็นนาคที่ สวยที่สุดของภาคเหนือ และ ในวัดเจดีย์หลวงนี้ยังมี เสาอินทขิล หรือ เสาหลักเมือง สร้าง ขึ้นเมื่อครั้งพ่อขุนเม็งรายมหาราช สร้างเมืองเชียงใหม่ อีกด้วย เวียงกุมกาม เป็นเมืองโบราณทีพ ่ ญามังราย (พ่อขุนเม็งราย) ทรง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1829 มีคูเวียงอยู่ 4 ด้าน จาก การสำ�รวจพบว่ามีโบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในเวียงกุมกาม และ ใกล้เคียง 20 แห่ง ทั้งที่เป็นซากโบราณสถาน และเป็นวัดที่มี พระสงฆ์จำ�วัดอยู่ วัดสวนดอก หรือ วัดบุปผาราม ถนนสุเทพ พญากือนาทรงสร้าง ขึน ้ เมือ่ พ.ศ. 1914 (เพือ่ ให้เป็นทีจ่ �ำ พรรษาของพระมหาเถระสุมน ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ในล้านนา วัดนี้แต่ เดิมเป็นพระราชอุทยานของกษัตริย์ล้านนาไทยสมัยแรกเริ่ม มี สถาปัตยกรรมสำ�คัญคือ เจดียป์ ระธานเป็นเจดียท์ รงกลม กูบ่ รรจุ อัฐิเจ้าตระกูล ณ เชียงใหม่และวิหารโถง นอกจากนี้ยังเป็นที่ ประดิษฐานพระเจ้าเก้าตื้อ ซึ่งพญาเมืองแก้วโปรดให้หล่อขึ้น เป็นพระพุทธรูปสำ�ริดขนาดใหญ่ ศิลปะล้านนาผสมกับศิลปะ สุโขทัย สวนสัตว์เชียงใหม่ ถนนห้วยแก้ว ห่างจากตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร ใกล้กับสวนรุกขชาติ เป็นสวนสัตว์ขนาดใหญ่ มีสัตว์ มากมายหลายชนิด ทั้งที่มีอยู่ในเมืองไทยและนำ�มาจากต่าง ประเทศเป็นจำ�นวนมาก มีหมีแพนด้า ช่วงๆ หลินฮุ่ย และล่าสุด ก็ตัวน้อยหลินปิง ซึ่งถือเป็นทูตสันถวไมตรีเชื่อมความสัมพันธ์ ไทย-จีน อุทยานสัตว์น้ำ� 700 ปีศรีนครพิงค์ สวนนกเพนกวิน และสวนนกฟิ้นช์ ซึ่งเป็นนกขนาดเล็ก มีสีสันสวยงามจนได้รับ การขนานนามว่าเป็น อัญมณีบินได้ มีสวนอาหาร เต็นท์ แคม ปิ้งไว้บริการ เปิดให้เข้าชม วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร เดินทางตามถนนห้วยแก้ว ผ่านอนุสาวรีย์ครูบาศรีวิชัย ไปตามทางคดเคี้ยวขึ้นเขา ระหว่าง ทางจะมองเห็นตัวเมืองเชียงใหม่อยู่เบื้องล่าง ระยะทางจากเชิง ดอยถึงวัดประมาณ 11 กิโลเมตร ใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง วัดพระธาตุดอยสุเทพนีเ้ ป็นปูชนียสถานคูเ่ มืองเชียงใหม่ นักท่อง เที่ยวซึ่งเดินทางมาที่จังหวัดนี้จะต้องขึ้นไปนมัสการ พระบรม ธาตุ กันทุกคน “หากใครไม่ได้ขึ้นไปนมัสการแล้ว ถือเสมือนว่า ยังมาไม่ถึงเชียงใหม่” พระตำ�หนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จากวัดพระธาตุดอยสุเทพไปยัง พระตำ�หนักฯ ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร เป็นพระตำ�หนัก ประทับ แปรพระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2505 ตั้งอยู่บนดอยบวกห้า เชียงใหม่ไนท์ ซาฟารี ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพปุย ตำ�บลแม่เหียะและตำ�บลสุเทพ อำ�เภอเมืองและตำ�บลหนอง ควาย อำ�เภอหางดง เป็นสวนสัตว์กลางคืนที่มีความสมบูรณ์ พร้อม มีบริการรถรับ-ส่งเพื่อชื่นชมสัตว์ป่าในบรรยากาศต่าง ๆ พืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 เป็นสถานที่ที่ รวบรวมสุดยอดความมหัศจรรย์แห่งพรรณไม้ ในพื้นที่เขตร้อน ชืน ้ ทีใ่ หญ่ทีส่ ดุ ในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทีม่ คี วามหลาก หลายมากที่สุดของพรรณไม้ แหล่งผลิตและจำ�หน่ายงานหัตถกรรมของเมืองเชียงใหม่ ที่ อยากแนะนำ�ให้ไป หมู่บ้านทำ�เครื่องเงิน อยู่บริเวณถนนวัวลาย ต. หายยา อ. เมือง ผลิตและจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์ที่ทำ�จากเครื่องเงินลวดลายประณีต บรรจง เช่น หีบบุหรี่ ช้อนส้อม ถาดผลไม้ เชี่ยนหมาก ฯลฯ เครื่ อ งปั้ น ดิ น เผา หมู่ บ้ า นที่ ทำ � เครื่ อ งปั้ น ดิ น เผา หมู่ บ้ า น เครื่องปั้นดินเผาเหมืองกุง , หมู่บ้านกวนหารแก้ว, ,โรงงานไทย ศิลาดล ไม้แกะสลักหมู่บ้านถวาย ต. ขุนคง อ. หางดง มีโรงงานผลิตไม้ แกะสลัก ผลิตภัณฑ์เลียนแบบของเก่าเพื่อจำ�หน่ายทั้งปลีกและ ส่ง อำ�เภอหางดงจะจัดงานศิลปหัตถกรรมไม้แกะสลักบ้านถวาย เป็นประจำ�ทุกปี ซึ่งจะเริ่มเสาร์สุดท้ายของเดือนมกราคม ร่มบ่อสร้าง เป็นสินค้าพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมอย่างมากใน หมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ไนท์บาซาร์ ตั้ง อยู่สองฝั่งถนนช้างคลาน เป็นแหล่งรวมร้านค้า ที่จำ�หน่ายสินค้าหลากชนิดทั้งเครื่องเงิน เครื่องเขิน ไม้แกะสลัก ผลิตภัณฑ์กระดาษสา ผ้าไหม ผ้าฝ้าย อาหารพื้นเมือง ฯลฯ ตลาดวโรรส หรือกาดหลวง เป็นตลาดใหญ่ที่จำ�หน่ายอาหารพื้น เมืองจำ�พวกแหนม หมูยอ ไส้อั่ว น้ำ�พริกหนุ่ม ฯลฯ เปิดตั้งแต่ เช้าถึงเย็น ด้านหลังตลาดฝั่งแม่น้ำ�ปิงคือตลาดดอกไม้ยามค่ำ�คืน จะมีดอกไม้ใหม่ ๆ มาลงมากมายทั้งราคาปลีกและราคาส่ง จริ ง ๆ แล้ ว เชี ย งใหม่ ยั ง มี อ ะไรที่ น่ า เที่ ย วชมอี ก มากมายแต่พืน ้ ทีจ่ �ำ กัด จึงพาแอ่วเน้นทีใ่ นตัวเมืองเชียงใหม่ และ รอบนอกที่สำ�คัญๆ เพียงพอประมาณ ก็คงเพียงพอ หากเป็นวันเสาร์ (ถนนวัวลาย) หรือวันอาทิตย์ (ถนน ราชดำ�เนินและใกล้เคียง) ก็สามารถเดินชมซื้อสินค้าที่ ถนนคน เดินได้อีก เดินๆ ไปกระเป๋าเงินก็จะพร่องลงอย่างแน่นอน พู ด ถึ ง ร้ า นอาหารที่ แ นะนำ � ก็ อื อ มากมายจริ ง ๆ สามารถขอรายละเอียดที่หน้าเคาน์เตอร์ โรงแรม ดิ เอมเพรส และที่เอกสารแจกในงานกันอีกด้วยนะครับ แต่ที่อยากแนะนำ�ก็ คงร้านข้าวต้มอร่อยๆ เพื่อไปเที่ยวกันดึกๆ มา แหมรู้ใจกันจัง ฮิฮิ ก็ ร้าน แดง (เขาว่าแดงปากปีจอ) ก็ แถวข้างวัดแสนฝางที่ แนะนำ � ข้ า งบน ร้ า นข้ า วต้ ม ชาววั ง ถนนช้ า งคลาน หน้ า รพ.เซ็นทรัลเมมโมเรียล หรือร้านข้าวต้มสี่แยก กลางเวียงใน เมืองเก่า เลยวัดวัดเจดีย์หลวงเล็กน้อยสอบถามคนแถวนั้นได้ ท่านที่พักแถวแถวมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็ร้านข้าวต้มหน้าวัด สวนดอก กับร้านข้าวต้มหน้าสาธารณะสุขเชียงใหม่ ทั้งสองร้าน อยู่บนถนนสุเทพ อร่อยทั้งสองร้าน แถมอีกร้านเป็นร้านขาย อาหารพื้นเมือง ของทอด ไข่ต้ม ที่ขายดีมากมาก ที่นั่งไม่ค่อย พอ รอคิวซื้อ เปิดเที่ยงคืนตรง ก็ร้านดังแถวถนนกำ�แพงดิน ถิ่น คนงาม ใกล้กับโรงแรมแม่ปิง ถามคนแถวนั้นจะรู้จักกันหมด เอาแค่พอเพียงกันเท่านีก้ อ่ นละกัน เดียวบอกไปมากๆ เขาจะว่า ตาเอกเป็นนักเที่ยวกลางคืนไป ฮิฮิ และคงจะต้องแจว ไปแล้วสำ�หรับฉบับนี้ เอาไว้พบกันฉบับหน้าอย่างแน่นอน แต่ ขอ อุ๊บ!! ไว้ก่อนว่า จะพาไปแอ่วไหนดี บาย บาย ครับ ขอให้ เที่ยวเชียงใหม่ให้สนุกนะ

กันยายน ๒๕๕๒


เล่าขานตำ�นาน “ ล้านนารำ�ลึก 700 ปี ที่สูญหาย”

นรินทร์ ลิ้มเล็งเลิศ

นักศึกษาปี 4 สาขาการบัญชี และการเงิน University of Virginia, Charlottesville ,Va., USA.

นานมาแต่เดิม ก่อนที่อาณาจักรล้านนา จะถือกำ�เนิด ได้มีแคว้นใหญ่น้อย กระจัด กระจาย ทัว่ ไปในบริเวณทีเ่ ป็นภาคเหนือ ตำ�แหน่งทีต่ ัง้ ของ โรตารี ๓๓๖๐ ของเราในปัจจุบน ั รวมทั้งอาณาเขตบางส่วนของ ประเทศลาว และ พม่า แคว้นโบราณกระจัดกระจายอยู่ทั่วๆ ไปในบริเวณภูมิภาคนี้ อาทิ หิริภุญไชย,เขลางค์นคร,โยนก,พะเยา,พลรัฐ,ปัวและ น่าน โดย อาณาจักรหิริภุญไชยนั้นเป็นอาณาจักรที่เก่าแก่มากที่สุด อาณาจักรหิริภุญไชยนั้น ได้ร่วม สมัยกับอาณาจักรเขมร และวัฒนธรรมโบราณ แอ็ซแท็คและอินคา ในซีกโลกตะวันตก การ ก่อกำ�เนิดของอาณาจักรหิริภุญไชย เริ่มต้นขึ้นในราว คศ ๘๐๐ หรือราวพุทธศตวรรษ ที่ ๑๔ เมื่อพระนางเจ้าจามเทวี อัครมเหสีแห่งกษัตริย์แคว้นละโว้ทางภาคกลาง ได้ตัดสินใจ สละพระราชสวามี เพื่อพระราชกรณียกิจยิ่งใหญ่ ตามคำ�ขอของฤาษีวาสุเทพ ผู้นำ�ชาวลัวะ ที่ตีนดอยสุเทพ ระหว่างการเดินทางมาจากละโว้ ท่านได้ทรงครรภ์อ่อนๆ และให้ประสูติ พระโอรสที่ลำ�พูน และแล้วที่ลำ�พูนนี้เอง คือที่ซึ่งเป็นจุดกำ�เนิดแห่งอาณาจักรหิริภุญไชย พระนางจามเทวี มีพระโอรสสองแฝดสองพระองค์ คือ มหันตยศ และ อนันตยศ ทั้งสอง มีความสามารถทางทหารมาก พระนางจามเทวีตั้งใจที่จะมอบให้ พระโอรสทั้งสองครองราช สมบัติร่วมกันที่ หิริภุญไชย อย่างไรก็ตาม เจ้าชายอนันตยศ ไม่ยินยอมที่จะครองราชสมบัติ กับพระเชษฐา พระนางจามเทวี ตามคำ�แนะนำ�จากฤาษีสุพรหม ก็ให้เจ้าชายอนันตยศไป ตัง้ และปกครองเมือง บริเวณดอยเขลางค์ ชือ่ ว่า เขลางค์นคร ในอาณาบริเวณลำ�ปางปัจจุบน ั ต่อมาพระนางจามเทวี ก็ป่วยหนัก และถึงพิราลัยที่ลำ�พูน พระเจ้ามหันตยศ และพระเจ้า อนันตยศได้นำ� พระอัฐิพระนางจามเทวีไปบรรจุไว้ทในเจดีย์หุ้มทอง ต่อมายอดเจดีย์หักลง จึงเรียกว่า เจดีย์กู่กุด ต่อมา (ติดตามตอนต่อไป) Once upon a time before there existed a Lanna kingdom, in the area of the northern part of Thailand as well as some neighboring parts of Laos and Burma, there had been several kingdom named Hiripunjai, Kelang nakorn, Yonok, Payao, Pollarat, Pua, and Nan. Hiripunjai kingdom was the most ancient of all kingdoms in this particular area. Hiripunjai culture coexisted along the same timeline as that of Khmer in South East Asia and that of Aztec and Inca in the American continent. The origin of Hiripunjai culture could be dated back to some time in 800 C.E. or earlier when Jama Dhevi, the queen of Lahr vo kingdom (the central part of today’s Thailand) decided to leave her husband to pursue a royal duties proposed by the hermit Vasuthep to erect a kingdom and rule at the foot of Doi Suthep. On the way from Lahr vo kingdom to Doi Suthep, Jama Dhevi had been pregnant. Eventually, at the foot of Doi Suthep, Jama Dhevi gave birth to twins named Mahantayods and Anantayods. Jama Dhevi was a potential female leader who was highly recognized as the mother of Hiripunjai kingdom, the settlement of which is in today’s Lampoon province. When the twins grew up, Jama Dhevi has decided to let the twins sharing the Hiripunjai throne. However, Anantayods did not want to share a throne with his brother Mahantayods. Accordingly, with the recommendation of hermit Suphrom, Anantayods would erect his own kingdom in an area on the mount Kelang named Kelang nakorn which is in today’s Lumpang province. As time passed, Jama Dhevi became ill and passed away to heaven in Hiripunjai. Mahantayods and Anantayods together built a golden pagoda to contain Jama Dhevi’s remaining. Today, this pagoda is named “Khu kud (broken top)” as its top part fell down (to be continued).

กันยายน ๒๕๕๒

39 38


Zoom Inside 3360 หืด..หืด.. บก.วาณิช โยธาวุธ ลุ้นสารฉบับที่ 2 ให้ทันวางตลาด ในการอบรมเพิ่ม สมาชิกภาพ วันที่ 22 สค.52 ใจหายใจคว่�ำ นึกว่าต้องส่งอ๊อกซิเย่นไปช่วย สุดท้ายก็ทันเวลา...*** เสียงชมสโมสรฝาง นยก.นพดล ทิพยเดช ประธานจัดการอบรมมูลนิธิโรตารี จัดงานได้อย่าง ยอดเยี่ยมค่ะ...*** ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ตั้งเป้าหมายภาค3360 ปีนี้ 100 เหรียญ PHF เพียง แต่..มิตรโรแทเรียนบริจาคท่านละ 100 เหรียญทุกท่านทัง้ ภาค ความฝันก็จะเป็นจริง...*** สโมสร เชียงใหม่แจกกระปุกหมูตุ้ย ให้สมาชิกหยอดเงินทุกวัน สิ้นปีทุบกระปุกพร้อมกัน เพื่อบริจาคท่าน ละ 100 เหรียญ เป็นความคิดทีว่ เิ ศษ ออมวันละนิดละหน่อย เพือ่ ภาค 3360 เพือ่ มูลนิธโิ รตารี...*** ประธานสมาชิกภาพ ภาค 3360 อน.จุไร ชำ�นาญ เป็นปลื้ม มิตรโรแทเรียน สนใจเข้าร่วมอบรม เกือบ 200 ท่าน...*** 8 สโมสรในจังหวัดเชียงราย ร่วมเป็นเจ้าภาพ โดยมี อน.อนันต์ เหล่า ธรรมทัศน์ เป็นประธาน ผชภ.ธานินทร์ ศิริรัตโนทัย รองประธาน มือโปรทั้งสองท่าน จะไม่ให้ มิตรโรแทเรียนเพียบได้อย่างไรใช่ไหมคะ...*** หาทางเข้าโรงแรมไม่เจอ อผภ.ชัยสิน แอนน์ ปรารมณ์ มณีนันทน์ ทางเข้าเป็นโขดหินก้อนโต ๆ แล้วเขียน OPIUM หลาย ๆ สโมสรก็หาทาง เข้าโรงแรมไม่เจอเหมือนกันค่ะ...*** ไฟฟ้าดับค้างอยู่ในลิฟท์เพียงคนเดียว แอนน์ปรารมภ์ มณีนันทน์ ด้วยความตกใจ รองเท้าเสียไป 1 คู่ใช้ทุบประตูลิฟท์ โทรศัพท์อยู่ในกระเป๋าแท้ ๆ ด้วยความตกใจ ลืมใช้ค่ะ...*** 1กค.-สค. ภาค 3360 สามารถเพิ่มสมาชิกรวมกันได้ถึง 92 คน จาก 30 สโมสร นี่แค่ 2 เดือนนะคะ อีก 10 เดือนจะเท่าไร? ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ เป็นปลื้ม ที่ทุกสโมสรให้ความสำ�คัญในการเพิ่มสมาชิก นโยบายของโรตารีสากลค่ะ...*** นย.ชญากานต์ พิทตระพันธ์ สโมสรพิษณุโลก เพิ่ม 12 คน ทำ�งานเก่ง รับรางวัลไปเลย...*** สโมสรเชียงใหม่ ตะวันออก มีสมาชิกเพียง 4 ท่าน แม้จะมีสมาชิกน้อย แต่กิจกรรมบำ�เพ็ญประโยชน์แต่ละปี อน.จินดา จรรญาศักดิ์ สโมสรใหญ่ ๆ สู้ไม่ได้..ขอบอก...ไม่น่าเชื่อ นย.สมบูรณ์ อมรเสนารักษ์ เป็นนายกรอบสอง สโมสรโรตารี เชียงใหม่ เชี่ยวชาญสามารถ สถาปนาสมาชิกใหม่แทบทุกอาทิตย์ บัดนี้เพิ่มได้อีก 10 ท่าน ปรบมือดัง ๆ ถิ่นไทยงาม และเป็นกำ�ลังใจเพิ่มให้ได้ทุกอาทิตย์นะคะ...*** ตามด้วยสโมสรดอยพระบาท นย.เอก อิ่มเจริญ เพิ่ม 8 ท่าน ปีนี้เป็นปีของคนรุ่นใหม่..คึกคัก ๆ ผชภ.อนุรักษ์ นภาวรรณ ลุ้นเต็มที่...*** คน รุ่นเก่า แต่ก็ไม่ งึ๊ก ๆ งั๊ก ๆ นยก.ประพิณ กาไชย คึกคัก ๆ เหมือนกันจะต้องก่อตั้งสโมสรให้ ได้ โกรธหัวฟัดหัวเหวี่ยงกับการก่อตั้งสโมสรถ้าใช้เงินซื้อได้เท่าไร ก็จะซื้อ (รวยซะอย่าง..ล้อเล่น ค่ะคุณป้า) ท้อแท้จะโทรไปเรียน อผภ.วิวัฒน์ ศิริจางคพัฒนา ไม่ตั้งแล้วค่ะ...*** จู่ ๆ เรียก สมาชิกถิ่นไทยงามประชุมด่วนวันอาทิตย์ที่ 30 สค. ให้ร่วมกันก่อตั้งสโมสร ทุกคนต้องไปทำ�การ บ้านหาเพื่อน ๆ คนรู้จักช่วยกันก่อตั้งสโมสรให้ได้ ที่แน่ ๆ ห้าม นยก.ประพิณ กาไชย เดินทาง ไปต่างประเทศจนกว่าการก่อตั้งจะสำ�เร็จ (คนมีกะตังเที่ยวต่างประเทศทั้งปี)...*** แม้จะ เหน็ดเหนือ่ ยจากการเดินทางเยีย่ มสโมสรอย่างเป็นทางการ ผวภ.แววดาว ลิม้ เล็งเลิศ ร่วมประชุม สโมสรถิ่นไทยงามเกือบทุกพฤหัสบดี เซ็นสัญญาคู่มิตรใน-นอกประเทศ จะร่วมเดินทางทุกหน ทุกแห่ง สุดยอดของผู้นำ�ที่ทำ�หน้าที่ได้อย่างยอดเยี่ยมค่ะ...*** อผภ.ดร.นพดล อานนทวิลาศ ประธานจัดงาน ฉลองครบรอบ 50 ปี สโมสรโรตารีเชียงใหม่ วันเสาร์ที่ 17 ตค.52 ณ โรงแรมดิ เอ็มเพรส สมาชิกเชียงใหม่ ซุ่มเงียบเตรียมงานเต็มที่ เป็นความลับอีกต่างหาก...*** ถ้าไม่รัก ไม่ชอบ ไม่ให้ลงโฆษณาหรอกนะ เทคนิคการขอสปอนเซอร์ของ อน.พัลลภ ลาศุขะ...*** อน.ยุทธนา นฤนาทวงศ์สกุล ประธานจัดการอบรมผู้นำ�เยาวชน RYLA เชิญชวนสโมสรโรตารี ส่งเยาวชนอายุ 14-20 ปี ร่วมอบรมระหว่างวันที่ 20-24 ตค.52 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ค่าสมัคร ท่านละ 1,500 บาท ชำ�ระผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาประตูช้างเผือก นายยุทธนา นฤนาท วงศ์สกุล เลขที่บัญชี 550-229530-5 ภายในวันที่ 20 กย.52 หลังวันที่ 20 กย. ปิดบัญชีทันที ไม่ รับสมัครหน้างาน ด้วยความตั้งใจที่จะทำ�ให้ดีที่สุดเพื่อประโยชน์ของเยาวชนค่ะ...***

38 39

พบกันใหม่ฉบับหน้า.......เอือ้ งผึง้ ........

กันยายน ๒๕๕๒


Activities

(หน้าซ้ายมือ)

งานสัมมนาสมาชิกภาพ

1) สถาปนา คณะกรรมการ บริหารสโมสร โรตารีพิษณุโลก (ตกหล่น) 11 กรกฎาคม 2552 2) เยี่ยมสโมสรโรตารี แม่จัน จ.เชียงราย 3 สิงหาคม 2552 3) เยี่ยมสโมสรโรตารี พะเยา 5 สิงหาคม 2552 4) เยี่ยมสโมสรโรตารี เชียงคำ� จ.พะเยา 25 สิงหาคม 2552 5) เยีย่ มสโมสรโรตารี ศิลาอาสน์ ณ โรงแรมสีหราช จ.อุตรดิตถ์ 11 สิงหาคม 2552 6) เยี่ยมสโมสรโรตารี อุตรดิตถ์ 13 สิงหาคม 2552 7) เยี่ยมสโมสรโรตารีเวียงโกศัย จ.แพร่ 17 สิงหาคม 2552 8) เยี่ยมสโมสรโรตารี ศรีสอง แคว จ.พิษณุโลก 18 สิงหาคม 2552 9) เยี่ ย มสโมสรโรตารี แพร่ จ.แพร่ 19 สิงหาคม 2552

กันยายน ๒๕๕๒

40 41


41 40

กันยายน ๒๕๕๒


Activities 10) เยี่ยมสโมสรโรตารีเชียงราย วัน ที่ 26 สิงหาคม 2552 11) เยี่ยมสโมสรโรตารี เชียงราย เหนือ 27 สิงหาคม 2552 12) เยี่ยมสโมสรโรตารี พิษณุโลก ณ โรงแรมราชพฤกษ์ 1 กันยายน 2552 13) จั ด โครงการฝึ ก ทั ก ษะชี วิ ต เยาวชน โดยส.เชียงใหม่ถิ่นไทยงา มร่วมกัย ส.เชียงคำ� ณ โรงเรียนปิยะ มิตร พะเยา 14) โครงการเลี้ยงอาหารกลางวัน ที่ โรงเรี ย นมิ ต รภาพ ส.สวรรคโลก เหนือ 15) เปิดโครงการห้องสมุดโรงเรียน เจริญศิลป์ จ.แพร่ โดย ส.โรตารีเวียง โกศัย 16) โครงการปลูกป่าลดโลกร้อน ณ วัดพระบาทตากผ้า โดย ส.เชียงใหม่ ถิ่นไทยงาม 17) กิจกรรมทิ้งกระจาด ณ โรเจหงี่ เต๊กตึ้ง ส.เชียงใหม่ถิ่นไทยงามร่วม กับร้านวนัสนันท์ 18) สโมสรสารภีจัดประชุมสัญจร ณ บ้าน ผชภ.นัฎชนันท์ นาทิพย์ 19) ส.เชียงใหม่ตะวันตกมอบหนังสือ อ่านเสริม วีซีดีสำ�หรับเด็ก อุปกรณ์ กีฬาและชุดนักเรียน จำ�นวน 200 คน ณ โรงเรียนบ้านสินชัย อ.ไชย ปราการ จ.เชียงใหม่ 20) ส.สารภีจัดอวยพรวันเกิดแก่ผู้ อาวุโส นยก.จักรกฤษณ์ พิพิธวัฒน ผล และ รทร.วนิดา จูรัตน์ 21) ส.อุตรดิตถ์ จัดกิจกรรมปล่อย ปลามหากุศล เนื่องในวันแม่แห่ง ชาติ 22) “ภาพกิจกรรมปลูกป่าเพื่อนแม่” จัดโดยกลุ่มนายกร่วมรุ่น”ประสาน มือ” (ในจังหวัดเชียงใหม่ และลำ�พูน) 23) คื อ “โครงการปลู ก พื ชไร้ ดิ น (Hydroponics)” เพื่อส่งเสริมสุขภาพ สร้างอาชีพและรักษาสิง่ แวดล้อม จัด โดย สร.ในเชียงใหม่ และลำ�พูน 24) “โครงการโรตารีสร้างศูนย์ผ่าตัด หั ว ใจฯ” ภาพการประชุ ม ที่ โ รง พยาบาลลำ�ปาง 25) นย.ยศวั จ น์ นิ ธิ ปั ญ ญาวั ฒ น์ ส.เชียงใหม่ภูพิงค์ มอบดอกไม้ให้ กำ�ลังใจ อน.ปรีชา ขันทนันท์ แห่ง สโมสรสารภี ที่หายป่วยกลับบ้าน ตามปกติ 26) ส.เชียงรายเหนือส่ง วายอี นาย ศุภณัฐ คำ�หมู่ เดินทางไปแลกเปลีย่ น ที่สหรัฐอเมริกา 27) สโมสรพิษณุโลก ส่งเยาวชนแลก เปลี่ยน 3 คนจาก บราซิล เม็กซิโก ไต้หวัน เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียน พุทธชินราชพิทยา

กันยายน ๒๕๕๒

42 43


43 42

กันยายน ๒๕๕๒


มุม...สบาย...สบาย

อน.อภิชัย คีลาวัฒน์ สโมสรโรตารีแม่สาย

มวลมิตรโรแทเรียน โรตารีแอนน์ และสุภาพบุรุษโรตารีที่เคารพ ฉบับนี้เป็นฉบับที่ 3 ตามสัญญาว่าจะประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลและ เฉลยคำ�ตอบของฉบับที่ 1 คำ�ตอบข้อที่ 1.ตอบ 10 รูป ข้อที่ 2. ตอบ 1+ 4 เท่ากับ 5, 3 * 2 เท่ากับ 6 ข้อที่ 3.ตอบ 3 เล่ม ผมได้รับจดหมายและเมล์ รวมทั้งหมด13 ฉบับ ตอบถูกทั้งหมด10 ฉบับจึง ต้องจับหาผู้โชคดีได้มา 3 ท่านดังนี้ครับ 1. คุณณฌษมนต์ ก.เทียมแก้ว จากสโมสรโรตารีวังจันทน์ 2.คุณเบญจพร แสนธิเลิศ เป็นผู้อ่านที่โชคดีท่านไม่ได้เป็นโรแทเรียนแต่ ร่วมตอบมาครับอยู่เชียงราย 3.คุณสุภัสสร ตั้งไพบูลย์ จากสโมสรโรตารีนครเทิง คงได้รบั ของรางวัลเรียบร้อยไปแล้วน่ะครับไม่ทราบว่าจะถูกใจหรือเปล่าเป็น น้ำ�ใจจากใจจริงของผมครับ แต่ฉบับนี้รางวัลคงคาดไม่ถึงว่า .มุม.สบาย..สบาย.... แจก..รถ.... รางวัลที่ 1 รถยนต์โฟค์สวาเก็น รางวัลที่ 2 รถจักรยานยนต์ช็อบเปอร์ รางวัลที่ 3 รถจักรยานยนต์เวสป้า ได้รับการสนับสนุนจากร้าน เอ แอนด์ พี ซุปเปอร์มาร์ท ต้องขอขอบคุณ ด้วยน่ะครับ .....รีบส่งคำ�ตอบมาด่วน.........ของรางวัลทั้งหมดเป็น model น่ารัก มากใครเห็นก็อยากได้สวยจริงๆ ยังมีเครื่องบินอีกตั้ง 3 ลำ�พร้อมที่จะแจกครับ เชิญติดตามได้ในฉบับต่อๆไปน่ะครับ ส่งคำ�ตอบมาที่ akeelawat@yahoo.com หรือจดหมายมาที่ 23 หมู่ 10 ถนน พหลโยธิน อ.แม่สาย จ.เชียงราย 57130

อยู่ที่เดิม

แดง : แล้วแม่เธอทำ�ยังไงล่ะ แก้ว : เราเคยเห็นหน้านายที่ไหนมาก่อน น้อง : ก็ส่งฉันไปค้างบ้านคุณย่า นะสิ หรือเปล่า น้ำ� : คงไม่หรอก หน้าเราก็อยู่ตรงกลาง เผลอตัว เก่งอายุ 10 ขวบ โทรศัพท์หาอาจารย์ของ ระหว่างสองหูนี่มาตั้งนานแล้ว เขา “ เด็กชายเก่งไม่สบายป่วยหนักครับ วัน ไม่ต้องกินยา แดง : เมื่อวานฉันไปซื้อยาแก้ปวดหัวให้ นี้เขาไปเรียนไม่ได้ ” “เหรอค่ะ” อาจารย์พูด “ขอโทษ นั่นใคร แม่ของฉัน น้อง : เวลาแม่ของฉันปวดหัวไม่เห็นต้อง เป็นคนโทรมาค่ะ ?” “คุณพ่อของผมครับ” เก่งตอบ กินยาเลย

คำ�ถาม 1. ขณะที่นกแก้วกำ�ลังเดินทางไปวัด ก็พบ คุณยายและเด็กข้างบ้าน 2 คนเดินสวนมา รู้ไหมว่ามีกี่คนที่กำ�ลังไปวัด ? 2. ช่วยกันเติมเลข 1- 9 เพื่อให้โจทย์นี้ 3. ใน 1 ปี เดือนไหน ที่มี 28 วัน สมบูรณ์มีข้อแม้ว่าเลขแต่ละตัวใช้ได้เพียงหนึ่ง ขอให้โชคดีน่ะครับ.............สวัสดี ครั้งเท่านั้น กันยายน ๒๕๕๒

45 44


DG’s Activities

(บนสุด) ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ เป็นประธานเปิดโครงการฝึกทักษะชีวิต เยาวชน วันพุธที่ 5 สิงหาคม 2552 ณ โรงเรียนปิยมิตรวิทยา อ.เชียงคำ� จังหวัดพะเยา (กลางขวา) ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ร่วมปลูกต้นพญาเสือ โคร่ง ในโครงการ“ปลูกป่าเพื่อแม่”เมื่อวันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม 2552 ณ บริเวณบ้านม้งขุนช่างเคี่ยน อุทยานแห่งชาติปุย ต.สุเทพ อ.เมือง เชียงใหม่ (กลางซ้าย) รางวัลแห่งความภาคภูมิใจของสโมสร ที่มีการเพิ่มสมาชิกของ สโมสรมากที่สุดของภาค 3360 โรตารีสากล สโมสรโรตารีพิษณุโลก นำ�โดย

44 45

นย.ชญากานต์ พิทตระพันธ์ มอบโดย ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ ในการ ประชุมอบรมสัมมนา สมาชิกภาพภาค ประจำ�ปี 2552-2553 วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม 2552 ณ โรงแรมเกรทเธอร์ แม่โขงลอด์จ อ.เชียงแสน จังหวัด เชียงราย (ล่างสุด) ผวภ.แววดาว ลิ้มเล็งเลิศ เป็นประธาน ปล่อยปลาใน งาน“12 สิงหา มหาราชินี”สนับสนุนกิจกรรมโดย สโมสรโรตารีอุตรดิตถ์ วันพุธที่ 12 สิงหาคม 2552 ณ ลานเอนกประสงค์ริมน้ำ�น่าน อ.เมือง กันยายน จ.อุตรดิตถ์

๒๕๕๒


แทนคำ�นับพัน

Kia Ora Aotearoa

Aotearoa [เอาเตอารัว] หมายถึง “ดินแดนแห่งแนวเมฆขาว”

นิวซีแลนด์ หรือ Niu Tireni [นิวทิเรนี] ตามภาษาของชนพื้นเมือง ชาวเมารี ประเทศที่มีประชากรแกะ มากกว่าผู้คน ณ บริเวณริมอ่าวของทะเลสาบ Wakatipu ที่เมืองควีนส์ทาวน์ เกาะใต้ เป็นที่ตั้งของสวน แสนสวยพร้อมทัศนียภาพอันงดงาม ของแนวเมฆขาวสมสมญานาม โดยมีสัญญลักษณ์ “Service above Self” อยู่บนประตูทางเข้าสวนสาธารณะริมหาดแห่งนี้

กันยายน ๒๕๕๒


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.