โรงแรมตะมาลี
ปีที่ 13 ฉบับที่ 192
เดือนมีนาคม 2560
FREE COPY
086-479-1946 FREE COPY
ดร.โจ คัพ ครั้งที่ 7
93 MHz คิดดี ท�ำดี ที่นี่เมืองนคร
ประจ�ำเดือนมีนาคม 2560
1
ชมและเชียร์ติดขอบสนามได้ที่
สนามนครศรี ปาร์ค ฟุตซอล (หัวอิฐ)
2
เดือนมีนาคม 2560
FREE COPY
นับวันยิ่งเน่า! สนามกีฬากลางเมืองคอนงบ 13.4 ล้าน
ดินลูกรังโผล่ แฉหน่วยงานตรวจสอบไม่กล้าหือ สนามกีฬากลางนครศรีธรรมราช ยังจมฝุ่น ผู้ร้องเรียนต่อ สตง.เข้าตรวจสอบการใช้งบประมาณ 13.4 ล้านบาท แฉเส้นใหญ่จริง หน่วยงานตรวจสอบไม่กล้าหือ งัดเอกสารรับเรื่องแล้วเงียบ ทั้ง ป.ป.ช.ป.ป.ท.-ส�ำนักนายกรัฐมนตรี ส่วน สตง.พบเรื่องไปกองที่ห้องผู้บริหาร ระดับสูงข้ามปี วันนี้ (22 มี.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานความคืบหน้าการตรวจสอบ สนามกีฬากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะในส่วนของสนาม ฟุตบอล และลู่วิ่งได้ถูกปรับปรุงด้วยงบประมาณสูงถึง 13.4 ล้านบาท โดย การด�ำเนินโครงการของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จนถูกตรวจสอบ โดยส�ำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคที่ 14 นครศรีธรรมราช เมื่อ 3 ปีก่อน หลังจากนั้น เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้ส่งคืนให้แก่องค์การ บริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ในสภาพทรุดโทรมอย่างหนักแม้ว่าจะ ใช้งบไปจ�ำนวนมาก โดยล่าสุด นายสนั่น ศิลารัตน์ ปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด รักษาราชการแทนนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ เสนอญัตติทบทวนการรับโอนคืนสนามกีฬากลางนครศรีธรรมราช กลับไป ให้เทศบาลนครนครศรีธรรมราช รับผิดชอบเต็มเช่นเดิม โดยอ้างเอกภาพ ในการบริหารงาน ขณะที่ นายชัยชนะ เดชเดโช ส.อบจ.นครศรีธรรมราช ได้ ยืนยันถึงขีดความสามารถขององค์การบริหารส่วนจังหวัด รวมทั้งการเตรียม ตั้งงบประมาณฟื้นฟูบูรณะในปีงบประมาณ 2560 อีก 10 ล้านบาทอยู่แล้ว จึงไม่จ�ำเป็นต้องคืนไปให้เทศบาลนครนครศรีธรรมราช โดยในที่สุดสมาชิก มีมติไม่ทบทวนการรับโอนนามกีฬาแห่งนี้ 28 เสียง แม้ว่าการรับโอนจะยัง ไม่เสร็จสมบูรณ์ตามกฎหมายและระเบียบพัสดุก็ตาม หลายส่วนจึงยังคง เป็นสุญญากาศที่ไม่สามารถบริการจัดการได้ อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้ผู้ที่ร้องเรียนต่อส�ำนักงานตรวจเงิน แผ่นดิน เมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา ระบุว่าการตรวจสอบของ สตง.ในส่วน ภูมิภาคเสร็จสิ้นไปเรียบร้อยแล้วทุกขั้นตอนในการชี้มูลไปแล้ว และพร้อม ที่จะน�ำเอกสารมาเปิดเผยต่อสาธารณะ แต่การติดตามล่าสุดนั้นทราบว่า จนถึงขณะนี้เรื่องไปกองค้างอยู่ ที่ห้องของผู้บริหาร สตง. ระดับสูงรายหนึ่ง ที่มีความสนิทสนมกับนักการ เมืองในพรรคประชาธิปัตย์ และมีความสัมพันธ์กับผู้บริหารเทศบาลนคร นครศรีธรรมราช ซึ่งสอดคล้องต่อการยืนยันของ นายพิศิษฐ์ ลีลาวัชโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ที่เคยเปิดเผยถึงเรื่องนี้เมื่อปลายปี 2559 ระบุว่า
ที่มา : ผู้จัดการ Online
จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช.ยังไม่ทราบเรื่องนี้ แต่ได้ถูก เจ้าหน้าที่ได้ส่งกลับมายังจังหวัดนครศรีธรรมราช เรื่องเงียบหายไปเช่นกัน นอกจากนั้น ยังมีการร้องเรียนไปยังประธาน ป.ป.ช.จังหวัด นครศรีธรรมราช พร้อมทั้งแนบหลักฐานไปเป็นจ�ำนวนมากที่รวบรวมไว้ ตั้งแต่ปี 2555 จนถึง 2557 ปรากฏว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้า รวมทั้งมีหนังสือตอบรับมาจากส�ำนักงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เมื่อเดือนมิถุนายน 2558 ขณะนั้น พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา ยังด�ำรงต�ำแหน่ง เป็นรัฐมนตรี ได้แจ้งมาเพียงว่าได้ส่งเรื่องไปยังส�ำนักงาน ป.ป.ท.แล้ว หลัง จากนั้นทุกอย่างได้เงียบหายไปทั้งหมด “แต่หลักฐานที่ฟ้องต่อชาวนครศรีธรรมราช และเยาวชนที่เล่น เรื่องอยู่ในระหว่างการพิจารณาของรองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กีฬาคือ สนามกีฬาที่ทรุดโทรมกลายเป็นดินลูกรัง เป็นผลมาจากเม็ดเงิน ขณะที่ผู้ร้องเรียนให้มีการตรวจสอบการปรับปรุงสนามกีฬา 13.4 ล้านในการพัฒนาจริงหรือไม่จริงทุกฝ่ายย่อมรู้ดีอยู่แก่ใจ แม้สนามชน 13.4 ล้าน ได้น�ำหลักฐานเข้าแสดงต่อ “MGR Online ภาคใต้” ว่า ข้อ โคหลายแห่งของนครศรีธรรมราช ยังมีสภาพดีกว่าสนามฟุตบอลแห่งนี้” เท็จจริงในเรื่องนี้ไม่ได้มีเฉพาะ สตง.เท่านั้นที่เรื่องเงียบไป โดยมีเอกสาร ผู้ร้องรายนี้ระบุ มายืนยันว่าได้ส่งหลักฐานที่ได้ร้องเรียนไปอีกหลายหน่วยงาน เช่น ส�ำนัก นายกรัฐมนตรี ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2557 และคาดว่า พล.อ.ประยุทธ์
บิ๊ก กอ.รมน.ลงจี้แก้ปัญหาภูเขาขยะ กอ.รมน.ส่ ง นายทหารระดั บ สู ง เข้ า ตรวจสอบภู เ ขาขยะ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช หลังยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมได้ ขณะที่ผู้บริหารไม่ปรากฏตัว ส่งเพียงผู้อ�ำนวยการ กองเข้าแจงแทน อ้างนายกเทศมนตรีติดราชการ วันนี้ (13 มี.ค.) กองอ�ำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราช อาณาจักร ได้ส่ง พล.ท.ชัยณรงค์ แกล้วกล้า ผู้อ�ำนวยการศูนย์ประสานการ ปฏิบัติ 4 กอ.รมน. และ พล.ต.อาคม พงศ์พรหม ผู้บัญชาการมณฑลทหาร บกที่ 41 พร้อมด้วยนายทหารระดับสูง เข้าตรวจสอบพื้นที่บริเวณภูเขา ขยะที่อยู่ในความรับผิดชอบของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช หลังจาก ภูเขาขยะแห่งนี้ยังส่งผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงต่อเนื่อง ตลอดหลายปีที่ผ่านมา และยังไม่สามารถแก้ไขได้ แม้ว่าก่อนหน้านี้ กองบัญชาการควบคุมมณฑลทหารบกที่ 41 ได้เรียกเข้าประชุมมาแล้ว 2 ครั้ง รวมทั้งก�ำหนดเงื่อนเวลาในการแก้ไข ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม แต่กลับไม่ปรากฏความคืบหน้าเช่นเดียวกัน ซึ่ง การเข้าตรวจสอบครั้งนี้ไม่ปรากฏผู้บริหารเทศบาลนครนครศรีธรรมราช แต่ส่งเพียง นายสมพร กาญจนโสภาค ผู้อ�ำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่ง แวดล้อม เข้าชี้แจง และตอบข้อซักถามเพียงคนเดียว โดยอ้างว่า ตัวนายก เทศมนตรี และรองนายกเทศมนตรี ติดราชการด่วน ขณะที่ พล.ต.อาคม พงศ์พรหม ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 41 ได้สอบถาม นายสมพร กาญจนโสภาค ผู้อ�ำนวยการกองสาธารณสุข และสิ่งแวดล้อม ว่า เป็นคนที่ไหนคนนครฯ หรือไม่ ขณะที่นายสมพร บอก ว่าเป็นคนนครศรีธรรมราช พล.ต.อาคม จึงบอกว่าถ้าเป็นคนนครฯ ขอให้ พูดความจริงกันหน่อย พูดความจริงกันเลย
พล.ท.ชัยณรงค์ แกล้วกล้า ผู้อ�ำนวยการศูนย์ประสานการ ปฏิบัติ 4 กอ.รมน.ตั้งข้อสังเกตถึงการใช้จ่ายงบประมาณเกือบ 10 ล้าน บาท เพื่อท�ำถนนคันดิน แต่กลับไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งการแก้ไข ปัญหาทั้งหมดนี้เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ต้องท�ำหากไม่ท�ำอาจต้อง พักงาน โดยขณะนี้ผู้บัญชาการ รส.ก�ำลังติดตามในเรื่องนี้ ซึ่งต้องคุยกัน หลังไมค์ อย่างไรก็ตาม พล.ท.ชัยณรงค์ ยังเร่งรัดให้มีการแก้ไขปัญหา โดยเร็ว โดยเฉพาะปัญหาการกองสูงขึ้นของขยะที่ผิดหลักวิชาการ และ ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง ซึ่งหากมีการแก้ไขปัญหา อย่างจริงจัง สามารถที่จะหยุดภาวะขยะที่ตกค้าง และล้นมากกว่า 1.2 ล้านตัน โดยใช้พื้นที่ของเทศบาลในการจัดการได้ พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกต เรื่องผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในภูเขาขยะกับคนบางกลุ่ม ขณะเดียวกัน พล.ต.อาคม พงศ์พรหม ผู้บัญชาการมณฑล ทหารบกที่ 41 ได้รายงานตรงต่อ พล.ท.ชัยณรงค์ ว่า ได้ประชุมคณะ กรรมการที่ถูกจัดตั้งขึ้นโดยจังหวัดนครศรีธรรมราชแล้ว 2 ครั้ง และได้
ที่มา : ผู้จัดการ Online
ก�ำหนดกรอบเวลาการท�ำงาน และปฏิทินการท�ำงานที่ชัดเจน พร้อมทั้งขอ ให้จัดส่งให้แก่กองบัญชาการควบคุม แต่จนถึงขณะนี้ยังเพิกเฉยยังไม่มีการ ส่งมาให้ ส่วนข้อมูลในเชิงลึกนั้นจะรายงานตรงต่อ พล.ท.ชัยณรงค์ ในภาย หลัง ส่วนพื้นที่ความเสียหายจากภาพมุมสูงยังเห็นได้ชัดว่า ในขณะนี้ ทุ่งนาของชาวบ้านซึ่งไม่สามารถเพาะปลูกได้แล้ว ยังเต็มไปด้วยน�้ำเน่าเสีย ในพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้าน แม้ว่าเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จะ ยืนยันว่า การรั่วไหลของน�้ำเน่าเสียจากกองขยะจะยุติแล้วก็ตาม และได้ ชี้แจงไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเบื้องต้นว่าอยู่นอกเขตพื้นที่ของเทศบาล ขณะที่เจ้าหน้าที่ระบุว่า ต้นก�ำเนิดของแหล่งน�้ำเน่าเสียคือ ภูเขาขยะ ที่อยู่ ในความรับผิดชอบของเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ที่จะต้องแสดงความ รับผิดชอบ
เดือนมีนาคม 2560
FREE COPY
ย่อยยับอัปรา...
หลายปีก่อน สนามหน้าเมือง นครศรีธรรมราช ตกเป็นข่าวใหญ่โตสร้างชื่อในทางเสื่อมเสียให้กับภาพลักษณ์ ของบ้านนี้เมืองนี้นครศรีธรรมราช หากจ�ำกันได้ สภาพ ของสนามหน้ า เมื อ งในเวลานั้ น ไม่ ต ่ า งจากสนามแข่ ง รถ จักรยานยนต์วิบากมากมายนัก หลังเกิดเสียงกู่ร้องและพลัง มวลชนออกมาต่อต้านการใช้สนามหน้าเมืองเป็นพื้นที่จัดงาน มหกรรมต่างๆอย่างพร�่ำเพื่อ ตอบสนองความต้องการทาง เศรษฐกิจของคนบางกลุ่ม สนามหน้าเมืองกลายเป็นพื้นที่ กลางเพื่อใช้ประโยชน์อย่างสร้างสรรค์ขึ้นมาอีกครา ลุจากสนามหน้าเมือง นับหลายปีที่ผ่านมา สนาม หน้าศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ก็กลายเป็นพื้นที่ ทางการค้า ไม่ต่างจากยุคหนึ่งที่เคยกร�ำกันเป็นล�่ำเป็นสัน ณ สนามหน้าเมือง สนามหน้าศาลากลางจังหวัดกลายเป็นพื้นที่ ทางเศรษฐกิจของกลุ่มบุคคลบางกลุ่มอีกครั้งครา มหกรรม ประดามีที่รังสรรค์กันขึ้น เพื่อให้เกิดช่องทางแสวงหาราย ได้ที่มิควรได้ เกิดขึ้นถี่ยิบ กระทั่งเสียงเล่าลือเล่าขานดังไป เกินกว่ากลิ่นขี้เยี่ยวริมก�ำแพงศาลากลาง นับถึงคราพ่อเมือง คนใหม่ มารับต�ำแหน่ง พื้นที่บริเวณสนามหน้าศาลากลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงได้พักหยุดหายใจ แต่ดูเหมือนความต้องการทางเศรษฐกิจไม่เคยหยุด การเคลื่อนไหว วงจรอุบาทว์ช�ำเราพื้นที่กลางของมวลชนคน นครหวนกลับมายังสนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราชอีกครั้ง ล่วงปี 2560 มาเพียงสามเดือน พื้นที่สนามหน้าเมืองแห่งนี้ถูก น�ำมาใช้ประโยชน์เพื่อการอื่นที่มิใช่เพื่อประโยชน์สาธารณะ อย่างแท้จริงไปแล้วกี่ครั้งหน และดูเหมือนแนวโน้มจะยังไม่ นิ่งหยุด ความถี่และความต้องการใช้ ทบทวีขึ้นในอัตราเร่งที่ น่าเกรงขาม ค�ำถามที่ค้างคาใจก็คือ บทเรียนประสบการณ์ จากเมื่อวันวานแค่เพียงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พวกเราชาวเมือง นครลืมเลือนกันไปหมดแล้วจริงๆ หรืออย่างไร ฤา สนามกีฬากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช เพียงแห่งเดียว ยังเชิดหน้าชูตาเมืองนครศรีธรรมราชแห่งนี้ ให้ได้อับอายขายหน้าไม่พอ ฤา ต้องรอให้สนามหน้าเมืองนครศรีธรรมราช กลายเป็นที่เชิดชูยิ่งในทางอัปลักษณ์อีกแห่งหนึ่ง จึงจักถือ ได้ว่า เป็นที่ภาคภูมิใจอย่างหาที่สุดมิได้ของพวกเรา ชาว จังหวัดนครศรีธรรมราช
3
ปลายเดือนมีนาคม 2560 ที่ผ่านมา มีกระแสข่าว ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ การเลื อ กตั้ ง องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น (อปท.) ปรากฏออกมา ให้คอการเมืองได้เสพสมบ่มิสมกันพอ เป็นกระษัย เริ่มต้นจาก 27 มี.ค. 60 มติชนออนไลน์ รายงาน ข่าว ระบุว่า เผยข่าวดี!! ‘บิ๊กป้อม’แย้ม อยากคืนเลือกตั้งให้ ท้องถิ่นก่อน ซึ่งรายละเอียดในเนื้อข่าว มีดังนี้ “พีระศักดิ์” เผย “บิ๊กป้อม” แย้มอยากคืนเลือก ตั้งท้องถิ่นก่อน เมื่อวันที่ 27 มีนาคม นายพีระศักดิ์ พอจิต รองประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คนที่ 2 ในฐานะ กรรมการเตรียมการเพื่อสร้างความสามัคคีปรองดอง ใน คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูป ประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ป.ย.ป.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้ลงพื้นที่ รับฟังความเห็น พอรับฟังความเห็น เสร็จเเล้วจะน�ำความคิด ข้อเสนอต่างๆ มาสังเคราะห์ โดยอาจท�ำออกมาใน รูปแบบสัญญาประชาคม โดยไม่ถึง ขนาดไปบังคับให้ใครมาเซ็นชื่ออะไร อาจเป็นการลงความ เห็นร่วมกันว่า จะยอมรับผลการเลือกตั้ง หรือการเลือกตั้ง ครั้งต่อไปจะช่วยไม่ให้มีการซื้อสิทธิขายเสียง ได้การเลือกตั้ง บริสุทธิ์ ยุติธรรม เป็นต้น ทั้งนี้จากการลงพื้นที่ตามต่างจังหวัด เเยกย่อยทั้ง ภาคใต้ ภาคเหนือ หรือภาคอีสาน พูดคุยกับผู้น�ำท้องถิ่น ชุมชน ประชาชน พบว่า ความปรองดองสมานฉันท์ของคน ในชาติ เป็นสิ่งที่ทุกคนอยากเห็น โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ตนได้พูดคุยกับ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ประธานคณะกรรมการเตรียมการสร้างความสามัคคีปรองดอง ของ ป.ย.ป. บอกว่า อยากให้มีการจัดการเลือกตั้งในระดับ ท้องถิ่นก่อน เพื่อให้ต่อไปนักการเมืองจะไม่สามารถไปครอบง�ำ การเลือกตั้งท้องถิ่นได้อีก เเต่ไม่รู้ระยะเวลาว่าจะเริ่มเมื่อใด และอาจเปลี่ยนเเปลงได้
ลมเพลมพัด!?... ...ซึ่งเนื้อข่าว มีว่า รองนายกรัฐมนตรี ปฏิเสธใช้ ม.44 ดันเลือกตั้งท้อง ถิ่นก่อนเลือกตั้งใหญ่ ระบุเป็นเพียงการพูดเผื่อไว้ว่าจะเป็น การป้ อ งกั น การเมื อ งระดั บ ชาติ แ ทรกแซงการเมื อ งท้ อ งถิ่ น เท่านั้น เพราะต้องรอกฎหมายลูกเสร็จก่อน พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ปฏิเสธข่าวผลักดันให้จัดการ เลือกตั้งท้องถิ่นก่อนการเลือกตั้งทั่วไป ยืนยันไม่ได้พูดเช่นนั้น เพียงแต่สมมุติว่าหากมีการเลือกตั้งท้องถิ่นก่อนเลือกตั้งใหญ่จะ เป็นการป้องกันนักการเมืองระดับชาติครอบง�ำการเลือกตั้งท้อง ถิ่น แต่ยังไม่สามารถท�ำได้ในขณะนี้เนื่องจากต้องรอให้กฎหมาย ลูกออกมาเสียก่อน และต้องยึดตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ยืนยันไม่สามารถใช้อ�ำนาจพิเศษตามมาตรา 44 บังคับเรื่องนี้ ได้ ทุกอย่างต้องเป็นไปตามขั้นตอนของโรดแมปและกฎหมาย
ส� ำ นั ก ข่ า วนครโพสต์ . ..ตามติ ด สถานการณ์ ส�ำนักข่าวนครโพสต์...สรุปข่าวเรื่องการเลือกตั้ง การเมือง ฟังบทสัมภาษณ์ดังที่ว่าแล้ว ก็ให้นึกว่า ขึ้น เป็นเป็นล�ำไม้ไผ่ พอเหลาลงไปไหงกลายเป็นบ้องกัญชา ท้องถิ่นไว้ ณ หน้าร้อนแล้ว ปี 2560 ไว้เพียงสั้นๆ ได้ใจความ และก็เป็นจริงดังว่า เพราะให้หลังถัดมาอีกสองวัน (วันที่ 29 ว่า ยังไม่มีอะไรในกอไผ่ นอกจากหน่อไม้และหน่อตง (ฮา)... มี.ค. 60) ก็ปรากฏข่าวอีกชิ้นจาก ครอบครัวข่าว 3 ที่ระบุว่า “พล.อ.ประวิตร” ปฏิเสธ ใช้ ม.44 ดันเลือกตั้งท้องถิ่น
เกียรติยศและศักดิ์ศรีของท้องถิ่น เจ้าของ : สหกรณ์ผู้สื่อข่าวจังหวัด นครศรีธรรมราช ประธานที่ปรึกษา : ดร.เพ็ญพร เกตุชาติ คณะที่ปรึกษา : ดร.กณพ เกตุชาติ, ภาวินทร์ ณ พัทลุง มานะ นวลหวาน, อครพล หนูทวี, สุทัศน์ เดชเดโช, ฉัตรชัย อรุณสุวรรณกร, ด.ต.นิรภัฏ วัฒนประเสริฐกุล, ดร.ณัฐวุฒิ ภารพบ ผู้อ�ำนวยการ : สุรโรจน์ นวลมังสอ ที่ปรึกษากฎหมาย : สมชาย ฝั่งชลจิตร บรรณาธิการที่ปรึกษา : เลิศ อักษรนิตย์ สาธิต รักกมล บรรณาธิการอาวุโส : จ�ำลอง ฝั่งชลจิตร บรรณาธิการบริหาร : สุรโรจน์ นวลมังสอ
บรรณาธิการ : ณรงค์ ธีระกุล หัวหน้ากองบรรณาธิการ : ไพฑูรย์ อินทศิลา กองบรรณาธิการ : กฤษณะ ทิวัตถ์สิริกุล จอม กิจวิบูลย์ ณัฏฐ์ ธีระกุล ณัฐชนา ฤทธิผล กนกลักษณ์ เส้งคง รูปเล่ม/จัดหน้า : เมาลิด จิตต์ประไพย หัวหน้าฝ่ายโฆษณา : จรินท์พร บุญชัก ฝ่ายโฆษณา : ปราณี กาญจนโรจน์ การเงิน/ธุรการ : ปราณี กาญจนโรจน์ แยกสี-พิมพ์ที่ : โรงพิมพ์เม็ดทราย ถ.ราชด�ำเนิน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โทร. 0-7534-1475, 08-1892-6060 ส�ำนักงานหนังสือพิมพ์นครโพสต์ : เลขที่ 2/1 ซ.อัศวรักษ์ 1 ถ.ราชด�ำเนิน ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช 80000 โทร. 0-7532-0227 email : nakhonpost@hotmail.com
4
เดือนมีนาคม 2560
FREE COPY
ราชา รฏฺฐสฺส ปญฺญานํ ผู้ปกครองเป็นเครื่องส่องถึงประเทศ หนังสือพิมพ์นครโพสต์ “เกียรติยศ และศักดิ์ศรีของท้องถิ่น” ฉบับนี้ประจ�ำเดือนมีนาคม พ.ศ.2560 เรื่องน่ายินดี...ส�ำนักศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช โดยนายอาณัฐ บ�ำรุงวงศ์ ผู้อ�ำนวยการฯ ระบุ ผลการวิเคราะห์หลักฐานทางโบราณคดี พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราช ในการขุดค้นครั้งที่ 2 ยืนยัน พระบรมธาตุเจดีย์มีอายุยาวนานกว่า 1 พันปี เป็นเมืองที่เก่าแก่กว่าสุโขทัย ผลทางโบราณคดีนี้จะเป็นข้อมูลหลักฐานที่สนับสนุนการเป็นมรดกโลก ขององค์พระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชต่อไป... จับกระแสเอ็นจีโอเมืองคอน กรณี หยุด 9 เขื่อน 1 แม่น�้ำนครศรีธรรมราช ปลายเดือนมีนาคม พี่น้องชุมชนป่าต้นน�้ำวังหีบและพี่น้องในสมัชชา 9 เขื่อน 1 แม่น�้ำ นครศรีธรรมราช ร่วมกันยื่นหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ขอให้ยกเลิกค�ำสั่ง แต่งตั้งคณะท�ำงานโครงการก่อสร้างเขื่อน 6 เขื่อนที่มีค�ำสั่งไปแล้ว และให้ยกเลิกการด�ำเนินการใดๆ กับ อีก 3 เขื่อนและแม่น�้ำไชยมนตรี เพื่อเข้าสู่กระบวนการสมานฉันท์ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชอย่าง เป็นรูปธรรม และกรรมการสิทธิมนุษยชนฯ จะลงพื้นที่วังหีบ อ.ทุ่งสง 19 เม.ย.60 นี้ เพื่อร่วมรับฟัง ความจริง กรณีชาวบ้านร้องชลประทานละเมิดสิทธิชุมชนฯ... เรื่องน่าบัดสี 3 ปีผ่านพ้นไป การตรวจสอบโครงการปรับปรุงสนามกีฬากลาง นครศรีธรรมราช ยังหาค�ำตอบกันไม่ได้ ส�ำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นได้ แค่เสือกระดาษ งบประมาณปรับปรุงสนาม 13.4 ล้านบาท ถมทิ้งไป คุณภาพของสนาม กีฬากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเฉพาะ สนามฟุตบอลที่ยังเป็นสนามลานดินลูกรัง ‘อัศวรักษ์’ ไม่สามารถรองรับการแข่งขันใดๆ ที่ต้องใช้ มาตรฐานสนามมาประกอบเป็ น ตั ว ชี้ วั ด ขณะที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง อบจ. และเทศบาลนครฯ ยังมัวเมาเอาแต่เล่นเกมการเมือง กีฬา ฟุตบอลของจังหวัดจึงกลายเป็นตัวประกันไปโดยปริยาย... ต่อกันที่เรื่องน�้ำประปาสีชาเย็นของ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ประกาศขึ้นราคากันไปแล้ว พี่น้องประชาชนในเขตเทศบาลนครนครศรี ธรรมราชและผู้ใช้น�้ำประปาของเทศบาลฯ เตรียมตัวรับทุกขลาภกันอย่างถ้วนหน้า ‘น�้ำประปาเชาวน์วัศ’ นอกจากจะกินไม่ได้แล้ว ยังมีของแถมเป็นราคาแพงให้ได้แรงอก...ว่าพรรค์พรือกันละครับพี่น้อง!!! เสียงลือเสียงเล่าอ้าง เรื่องคุณนายเทศบาลฯ ดังกระชั้นถี่ ทั้งกรณีบังคับคุณสามีสั่งย้ายผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดที่บังอาจกระด้างกระเดื่องไม่ยอมรับใบสั่งฝากเด็กเข้าท�ำงาน และเรื่องสั่งการแม่บ้านเทศบาลฯ ไปอยู่โยงเฝ้าคฤหาสน์ระหว่างคุณเธอไปช๊อปปิ้งห้างดังแถวหัวถนน...จะจริงเท็จอย่างไรไม่มีใครกล้ายืนยัน แต่พฤติการณ์พรรค์นี้ ประชาชีไม่ชอบใจแน่นอน.... ข่าวประชาสัมพันธ์...ฟุตบอลสร้างคน เยาวชน สร้างชาติ “ดร.โจ คัพ ครั้งที่ 7” ชิงถ้วยพร้อมเงินรางวัล 200,000 บาท รุ่นเยาวชนอายุไม่เกิน 9, 11, 13, 15 และ 18 ปี เริ่มบรรเลงเพลงเตะกันไปแล้วตั้งแต่ 25 มีนาคม 60 ที่ผ่านมา ปีนี้จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 7 มีทีมฟุตบอลทั่วภาคใต้สนใจเข้าร่วมโม่แข้งรวม 117 ทีม ชมและเชียร์กันได้ ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ ณ สนามหญ้าเทียม นครศรี ปาร์ค ฟุตซอล ถ.กะโรม หัวอิฐ งานนี้น้องๆ เยาวชน ทั่วภาคใต้ ทั้งกล่าวขวัญและยินดี เพราะมีกิจกรรมกีฬาดีๆ ให้ได้ร่วมแข่งขันกันในช่วง ปิดเทอม อีกข่าว...สนามกีฬาชนโคแห่งใหม่ของเมืองนคร สนามกีฬาชนโค
ในนาคร
ดูงานต้นแบบโรงไฟฟ้าชุมชน : เมื่อเร็วๆ นี้ ดร.โจ กณพ เกตุชาติ ผู้บริหารบริษัทเกษตรลุ่มน�้ำ จ�ำกัด ให้การต้อนรับ สมาชิกชมรมผู้เลี้ยงหมูจากนบพิต�ำ น�ำโดยส�ำนักงานพลังงานจังหวัด มาดูงาน ณ โรงงงานสกัดน�้ำมันปาล์ม บริษัท เกษตรลุ่มน�้ำ จ�ำกัด เรื่องการแปลงของเสียให้เป็นก๊าซและใช้ก๊าซไปเดินเครื่องปั่นไฟ เพื่อน�ำเอาไปปรับใช้กับ ฟาร์มหมู ช่วยลดรายจ่ายค่าไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี
บ้านนาทราย (ตลาดช้อย) ต.นาทราย อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โดย “ส.จ.แอ๋ว” สมชาย เกตุชาติ ฝากบอกแฟนๆ กีฬาวัวชนคนสู้ ก�ำหนดแข่งขันนัดปฐมฤกษ์ ระหว่างวันที่ 20-22 เมษายน 2560 นี้ มีวัวดีวัวดังหลายสิบคู่ให้ดูชม แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้า...
แยกขยะ เอาไปไหน!!! โดย...
กน
ี กวล
จากการที่ผู้บริหารเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้มีนโยบาย ให้ประชาชน มีการคัดแยกขยะ เพื่อจะได้มีการจัดการกับขยะได้ดีกว่าที่ เป็นอยู่ และคงคิดว่าจะสามารถลดปัญหาภูเขาขยะได้บ้าง แต่คงลืมคิดไปว่า กระบวนการทั้งหมดควรจะมีการจัดการที่ดีตั้งแต่เริ่มรณรงค์ และสิ้นสุด ถึงขั้นตอนสุดท้ายในการจัดการกับขยะเหล่านี้ เสียงสะท้อนต่อแนวนโยบายการคัดแยกขยะขอเทศบาลฯ จากมุมมองของพี่น้องในเขตเทศบาลฯ คิดเห็นกันอย่างไร ไปติดตามกัน “ผมเป็ น คนเก็ บ ขยะขายจากถั ง ขยะในเขตเทศบาลนคร นครศรีธรรมราชมานานพอควร เคยได้ยินข่าวว่าทางเทศบาลรณรงค์ให้ ประชาชนคัดแยกขยะก่อนทิ้ง เท่าที่ผมเห็นและสังเกตตามบ้านไม่ค่อยมี ใครคัดแยกกันนะครับ ผมก็ยังเก็บขวดน�้ำ ขวดแก้ว หรือถุงพลาสติกจาก ถังขยะที่มีเศษขยะอื่นด้วย อาจจะมีบางบ้านที่คัดแยกขยะแต่ไม่ได้ท�ำตาม อย่างที่เทศบาลบอกนะครับ เขาคัดแยกเพื่อเอาไว้ขายเอง” “การคัดแยกขยะกว่าจะถึงกองขยะมันคัดแยกกันหลายครั้ง เริ่มตั้งแต่คัดแยกจากบ้านเรือน คนเก็บขยะตามถังขยะอย่างผม คน เก็บขยะประจ�ำรถของเทศบาล และคนเก็บขยะที่กองขยะอีก แต่ให้ผม มองจากบ้านเรือน ผมว่าสิ่งที่เทศบาลท�ำยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร” นี่เป็น เสียงสะท้อนของพี่บ่าว อายุ 35 ปี จากชุมชนหลังสถานีรถไฟ ที่ถือว่า เป็นคนคลุกคลีและเห็นถึงการคัดแยกขยะของประชาชนในพื้นที่ได้มากอีก คนหนึ่ง น้าน้อย อายุ 42 ปี ประชาชนในพื้นที่เขต 2 มองว่าการ คัดแยกขยะนั้นเท่ากับว่าเป็นการส่งเงินจ�ำนวนหนึ่งให้กับคนเก็บขยะของ เทศบาล เพราะเวลาที่เราคัดแยกขยะแล้วไปทิ้งนั้น คนเก็บขยะจะน�ำเอา มาใส่ถุงเพื่อน�ำไปขายอีกทีหนึ่ง แต่น้าน้อยคิดว่าหากจะให้มีการคัดแยก ขยะเพื่อการจัดการขยะที่ดีจริงๆ ควรเริ่มจากการจัดการถังขยะก่อนดีกว่า หรือไม่ “ถังขยะที่น�ำมาวางมีเพียงถังเดียว แล้วจะให้ประชาชนทิ้งยังไง หากเราแยกขยะตามหลักการแล้วเราจะเอาขยะจ�ำพวกหลอดไฟหรือขยะ
มอบเงินช่วยเหลือ : อัมรินทร์ทีวี ช่อง 34 มอบเงินจ�ำนวน 1 ล้านบาทโดยการประสานงานของสมาคมผู้สื่อ ข่าวนครศรีธรรมราช ช่วยเหลือสนับสนุนพัฒนา โรงเรียน/ชุมชน/มัสยิด หลังอุทกภัยครั้งใหญ่รวม 8 แห่งใน จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยอยู่ในระหว่างทยอยส่งมอบทั้ง 8 แห่ง
เคมีเอาไปทิ้งถังไหน ตรงนี้อยากฝากถึงผู้บริหารที่ออกแนวคิดนี้ขึ้นมาค่ะ” ป้าพริ้ม อายุ 63 ปี ข้าราชการวัยเกษียณ อาศัยอยู่ชุมชน หัวถนน บอกว่า การให้ประชาชนคัดแยกขยะเป็นเรื่องทีดีมาก แต่ถังขยะ ที่มารองรับขยะซึ่งผ่านการคัดแยกแล้ว มีเพียงพอหรือไม่ “ที่ส�ำคัญรถเก็บขยะสามารถรองรับการคัดแยกดีพอหรือยัง ทุกวันที่เห็นรถมาเก็บขยะก็เอาทิ้งลงไปในรถคันเดียวกัน แล้วพนักงาน เก็บขยะ ก็คุ้ยหาขยะที่สามารถน�ำไปขายได้ เรื่องขยะควรจะมีการบริหาร จัดการอย่างเป็นระบบครบวงจร ไม่ใช่ให้ประชาชนมาคัดแยกขยะแล้ว ตัวเองยังไม่ได้มีการจัดการอะไรเลย ตรงนี้แสดงให้เห็นถึงความไม่เข้าใจ ปัญหาของผู้บริหาร” การคัดแยกขยะเพื่อน�ำไปขายของแต่ละครัวเรือน กับการ บริหารจัดการขยะด้วยการคัดแยกขยะที่เริ่มต้นจากครัวเรือน เป็นคนละ เรื่องเดียวกัน!?...
เดือนมีนาคม 2560
FREE COPY
5
เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น การขุดคลองไทยแนว 9 A (12 มีนาคม 60) ที่โรงแรมราวดี ถนนอ้อมค่าย ต�ำบลปากพูน อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พลเอกพงษ์เทพ เทพประทีป เลขาธิการมูลนิธิรัฐบุรุษพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นประธานในการ ประชุมเสวนาเพื่อให้ความรู้ ความใจ และเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็น “ชาว นครศรีธรรมราชคิดอย่างไรกับการเสนอให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมการ ศึกษาความเป็นไปได้ของการขุดคลองไทยแนว 9 A” โดยมีนายดนัย เจียมวิเศษสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช ว่าที่ ร.ต.ประพันธ์ เพ็งเจริญ หัวหน้าแกนน�ำคลองไทยจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ทรงคุณวุฒิ อดีตนักการเมือง หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนจากส่วนราชการต่างๆ ทั้ง ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น หน่วยงานอิสระ สื่อมวลชน และ ประชาชนจากต�ำบลพื้นที่เป้าหมายที่คาดว่าเส้นทางคลองไทยแนว 9 A จะพาดผ่าน ทั้ง 19 ต�ำบล ตลอดถึงผู้สังเกตการณ์จากจังหวัดพัทลุง ตรัง กระบี่ และสงขลา กว่า 400 คน เข้าร่วมประชุมเสวนา โดยจะเปิดเวที รับฟังความคิดเห็น “ชาวนครศรีธรรมราชคิดอย่างไรกับการเสนอให้รัฐบาล ตั้งคณะกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ของการขุดคลองไทยแนว 9 A” จากผู้เข้าร่วมเสวนาด้วย ส�ำหรับแนวทางการพัฒนาคลองไทย คือ โครงการขุดคลอง เชื่อมต่อทะเลอันดามันและอ่าวไทย การศึกษาขั้นต้นความเป็นไปได้ โครงการขุดคลองไทยควรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 400 เมตร ความ ยาวรวมทั้งสิ้น 135 กิโลเมตร โดยเริ่ม จาก อ�ำเภอสิเกา จังหวัดตรัง นครศรีธรรมราช และออกสู่อ่าวไทยที่อ�ำเภอระโนด จังหวัดสงขลา จะมีการ พัฒนา 2 ฝั่งคลองให้เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้าและท่าเรือ เพื่อให้ ไทยกลายเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนสินค้าภูมิภาคเอเชียตะวันออกรวมไป ถึงแหล่งท่องเที่ยว คลองไทยช่วยลดพื้นที่ยากจน เนื่องจากเมื่อคลองไทย เกิดขึ้นพื้นที่ 2 ฝั่งคลองจะถูกพัฒนาให้กลายเป็นศูนย์แลกเปลี่ยนสินค้า ศูนย์กลางการเงินธนาคาร เพื่อเพิ่มการจ้างงานสร้างรายได้แก่ประชาชน ในพื้นที่ นอกจากนี้คลองไทยจะลดต้นทุนการขนส่งสินค้าของไทย สามารถ ร่นระยะเวลาในการขนส่งได้ประมาณ 2 วัน โดยไม่ต้องผ่านช่องแคบ มะละกา อีกทั้งช่วยลดต้นทุนการขนส่งน�้ำมันดิบจากตะวันออกกลางสู่ไทย นอกจากนี้กองทัพเรือยังสามารถเคลื่อนพลจากอ่าวไทยสู่อันดามันได้ อย่างรวดเร็ว ท�ำให้ปฏิบัติการต่างๆ ของกองทัพเรือสามารถท�ำได้ทัน ท่วงทีอีกทั้งไม่ต้องเคลื่อนที่ผ่านน่านน�้ำประเทศเพื่อบ้าน ไทยจะเป็น
ศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนสินค้า เรือประมง ไทยสามารถจับปลาได้ 2 ฝั่งทะเลด้วย ขณะที่จากการศึกษาข้อสงสัย หลายๆ ฝ่ายอย่างรอบด้านโดยเฉพาะ ประชาชนเกี่ยวกับคลองไทย ของสมาคม การค้าและอุตสาหกรรมไทย – จีน จากการ ลงพื้นที่ส�ำรวจความคิดเห็นของประชาชน ในพื้นที่ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่นั้นมีข้อ สงสัยและข้อห่วงใยในโครงการคลองไทย อยู่หลายประการ ซึ่งจากกรายงานการ ศึ ก ษาของนั ก วิ ช าการจากมหาวิ ท ยาลั ย ชั้ น น� ำ จากประเทศจี น ได้ เ ขี ย นอธิ บ ายถึ ง มาตรการที่ จ ะน� ำ มาใช้ ใ นการลดผลกระ ทบในทุกๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นสังคม ด้าน เศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึง ปัญหาการรุกล�้ำของน�้ำเค็ม ด้วยวิทยาการ สมั ย ใหม่ ก ารป้ อ งกั น น�้ ำ เค็ ม นั้ น สามารถ ท�ำได้หลายรูปแบบ อาทิ การจัดท�ำประตู น�้ำเพื่อป้องกันไม่ให้น�้ำเค็มไหลลงสู่แหล่ง น�้ำจืด การวางระบบชลประทานเพื่อรักษา ระดับน�้ำจืดให้พอเหมาะ หรือแม้กระทั่ง การปรับปรุงพันธุ์พืชให้สามารถอยู่ร่วมกับน�้ำเค็มได้ ส�ำหรับการชดเชยให้ กับประชาชนผู้ได้รับผลกระทบนั้น จะต้องได้รับการชดเชยที่เป็นธรรม ซึ่ง แบ่งเกณฑ์ในการชดเชยตามผลกระทบ คือ กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่อยู่ในแนวการ ขุด ประชาชนกลุ่มนี้ได้รับค่าเวณคืนที่ดินพร้อมทั้งจะได้รับสิทธิในการย้าย เข้าไปอยู่ยังพื้นที่อยู่อาศัยที่ได้จัดเตรียมไว้ อีกทั้งจะได้สิทธิในการประกอบ อาชีพโดยราคาที่ดินที่ใช้ในการเวณคืนนั้นต้องเป็นที่พึงพอใจของเจ้าของ ที่ดิน กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการสัญจรของเรือ กลุ่มนี้ จะไม่ถูกเวณคืน แต่อาจจะได้รับผลกระทบจากเสียง มลภาวะที่เรือสัญจร ไปมา จึงสมควรได้รับการชดเชย และรวมไปถึงได้สิทธิในการประกอบ อาชีพในเมืองใหม่ที่เกิดขึ้น ขณะที่การย้ายถิ่นฐาน ตามการศึกษาน่าจะมี ประชาชนอย่างน้อย 45,000 ครัวเรือนจะได้รับผลกระทบโดยตรง ต้อง
ย้ายถิ่นฐานและเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตการจัดสรรที่อยู่อาศัยให้ใหม่นั้น จะ ถูกท�ำขึ้นในรูปแบบของชุมชนอนุรักษ์ ซึ่งจะให้ชาวบ้านที่เคยอยู่อาศัยได้ เข้าไปอยู่และท�ำงานในเขตอนุรักษ์วัฒนธรรมการเกษตร นอกจากนี้ยัง มีการศึกษาการลดผลกระทบต่อแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล การกัดเซาะ ตามแนวชายฝั่งอ่าวไทย รวมถึงการรักษาแหล่งน�้ำจืดในภาคใต้ด้วย ส�ำหรับจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของจังหวัดที่ คาดว่าคลองไทยแนว 9 A จะพาดผ่านในพื้นที่เป้าหมาย 5 อ�ำเภอ 21 ต�ำบล 152 หมู่บ้าน ประกอบด้วย อ�ำเภอบางขัน 2 ต�ำบล อ�ำเภอทุ่งสง 2 ต�ำบล อ�ำเภอชะอวด 11 ต�ำบล อ�ำเภอจุฬาภรณ์ 4 ต�ำบล และอ�ำเภอหัวไทร 2 ต�ำบล
6
เดือนมีนาคม 2560
FREE COPY
สนามกีฬากลาง
“นครดินแดง” นับถอยหลังเมื่อ พ.ศ.2525 ครั้งฉลองกรุงเทพมหานคร 200 ปี เทศบาลเมืองนครศรีธรรมราช ในยุคที่ นายสมนึก เกตุชาติ ด�ำรงต�ำแหน่ง เทศมนตรีฝ่ายการศึกษา ผู้เขียนยังศึกษาในระดับชั้น ปวช. แผนกช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช ได้เป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกทีมฟุตบอล ทีมท่าม้า ที่มีสปอนเซอร์ พี่อู๊ด (เคยศึกษาที่ประเทศอังกฤษ) จากร้านปืน นคร ที่มีโลโก้เสื้อกีฬาชุดสีแดงขาวรูปปืนใหญ่ โลโก้ของทีมอาร์เซนอล ยุค นั้นการจัดการแข่งขัน ฟุตบอล ในช่วงฤดูร้อน รุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ซึ่งในยุค นั้นเด็กๆ ในเขตเทศบาลจะมีโอกาสได้ใช้เวลาว่างช่วงปิดภาคเรียนเทอม ใหญ่ ซึ่งโรงเรียนก็จะปิดอยู่ร่วม 3 เดือน เล่นกีฬาจากการสนับสนุนของ เทศบาลเมืองนครศรีธรรมราชโดย โดยมีฤกษ์ยามที่ดีจัดการแข่งขันกีฬา ฟุตบอลและกีฬาอื่นๆ เพื่อเด็กและเยาวชนในช่วงปิดภาคเรียนเป็นครั้งแรก ข้อเท็จจริงคือ ผู้เขียนจ�ำได้ว่าเคยเขียนถึงอดีตเรื่องราวเหล่านี้ ลงในหนังสือพิมพ์ฉบับที่เท่าไหร่ปีไหนจ�ำได้ไม่แน่ชัด สนามที่ใช้ท�ำการ แข่งขันฟุตบอลดังกล่าว คือสนามหน้าเมือง ในยุคนั้นสนามหน้าเมืองใน วันเสาร์อาทิตย์ ที่ยังคงมีตลาดนัดและทุกปีมีการจัดงานรื่นเริง มโหรสพ เทศกาลงานเดือน 10 ยังคงใช้สนามหน้าเมืองเป็นสถานที่จัดงานอยู่ พื้น สนามที่ใช้แข่งขัน ต้องคอยระวังตรวจตราเป็นอย่างดี เนื่องจากจะมีเศษ วัสดุ กระเบื้อง ตะปู สังกะสี และขวดน�้ำ ที่แตกแล้วชนิดต่างๆ มากมาย ตกค้างกลาดเกลื่อนหลงเหลือจากการจัดเก็บที่ไม่ละเอียด ซึ่งต่างจาก ปัจจุบัน ได้ย้ายไปจัดกันที่สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์84 (ทุ่งท่าลาด) ส่วนตลาดนัดเสาร์-อาทิตย์ ย้ายไปที่ถนนพัฒนาการคูขวาง ตั้งอยู่บริเวณ ใกล้ส่วนงานดับเพลิง ศูนย์จักรกล และส�ำหรับกิจกรรมการแข่งขันกีฬา หลังจากจัดที่สนามหน้าเมือง อยู่เพียงไม่กี่ปีก็ได้ย้ายไปใช้สนามกีฬาจังหวัด นครศรีธรรมราช ซึ่งแต่เดิมก็คือ ชื่อว่าสนามกีฬาชาติตระการโกศล สมัยก่อนตั้งชื่อนี้เพื่อเป็นเกียรติแก่ พ.ต.อ.หลวงชาติตระการโกศล (เจียม ลิมปิชาติ) ภูมิล�ำเนาท่านอยู่ที่ อ�ำเภอเมือง นครศรีธรรมราช อดีต อธิบดีกรมต�ำรวจ ก่อนยุค พ.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ สมัย พ.ศ.2499 ท่านเป็น ผู้ที่ชื่นชอบกีฬา เป็นนักกีฬาสมัยนั้น โดยเฉพาะกีฬาบาสเก็ตบอล เป็นผู้ ริเริ่มก่อตั้งสนามกีฬาประจ�ำจังหวัดต่างๆ ในภูมิภาค รวมทั้งสนามกีฬากลาง จังหวัดนครศรีธรรมราช บ้านเกิดของท่านด้วย (Website : National Sport Museum) วันนี้สนามกีฬาชาติตระการโกศล ที่เคยยิ่งใหญ่สง่างามสม ศักดิ์ศรีในฐานะเคยเป็นสนามกีฬาประจ�ำจังหวัด นครศรีธรรมราช ในฐานะ
ที่เคยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาแห่งชาติถึง ผู้เขียนขอพาย้อนอดีต ถึง สนามกีฬาแห่งนี้กันพอนึกภาพออก สนามกีฬาจังหวัดนครศรีธรรมราช สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2517 มีพื้นที่ 52 ไร่เศษเพื่อรองรับการจัด การแข่งขัน กีฬาแห่งชาติ ครั้งจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นเจ้าภาพ หลังจากนั้น ได้มอบหมายให้ศึกษาธิการจังหวัด และองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรี ธรรมราช เป็นผู้ดูแลบ�ำรุงรักษา โดยทะเบียนทรัพย์สินอยู่ในความรับผิดชอบ ของ อบจ.นครศรีธรรมราช ต่อมาในปี พ.ศ.2529 มีการปรับปรุงสนาม กีฬา เพื่อรองรับการแข่งขันกีฬาเยาวชนแห่งชาติ ปี พ.ศ.2533 กรรมการ จังหวัด เห็นว่าสนามกีฬาควรมีหน่วยงานที่มีความพร้อมในการดูแล รักษา จึงมีมติที่ประชุมเห็นควรให้เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เป็นผู้ดูแล และบ�ำรุงรักษา ปี พ.ศ.2534 ซึ่งทางเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ก็ได้ เข้าไปรับผิดชอบดูแลสนามกีฬาจังหวัดตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 2534 และได้ลงทุนซ่อมแซมปรับปรุง ตลอดจนถึงการดูแลบ�ำรุงรักษา ตั้งแต่ปี 2534-2546 ใช้เงินกว่า 64 ล้านบาท ต่อมาเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2546 จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยส�ำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด นครศรีธรรมราช สอบถามทางเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ว่าพร้อม การรับโอนการดูแลสนามกีฬาจังหวัดหรือไม่ โดยวันที่ 12 พฤษภาคม
2546 เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ได้ตอบรับความพร้อม ตลอดถึง ได้รับโอนสนามกีฬาจังหวัด ซึ่งต่อมาวันที่ 30 มีนาคม 2548 ทาง อบจ. นครศรีธรรมราช ได้ส่งมอบสนามกีฬาจังหวัดให้กับทางเทศบาลนครนครศรี ธรรมราช เป็นผู้บริหารจัดการดูแลสนามกีฬาจังหวัดให้อยู่ในสภาพดี สามารถใช้ประโยชน์สูงสุด โดยประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการ โดย ทางเทศบาลนครนครศรีธรรมราช จัดงบประมาณในการดูแลบ�ำรุงรักษา ให้อยู่ในสภาพการใช้งาน ตามมาตรฐานการกีฬามาตลอด มี ภ าพในอดี ต ที่ ป ระทั บ ใจผู ้ เ ขี ย นคื อ การที่ บ รรดาโรงเรี ย น ต่างๆ จากทุกอ�ำเภอในจังหวัดนครศรีธรรมราช เข้ามาใช้บริการสนาม กีฬาจังหวัด ใช้ในการจัดการแข่งขันกีฬาประจ�ำปี ส�ำหรับนักเรียน เยาวชนตลอดถึงประชาชนทั่วไป ที่มีการจัดโปรแกรมการแข่งขันกีฬาที่ บรรดาโรงเรียนจากอ�ำเภอเหล่านั้น ส่งเข้าแข่งขัน เป็นกีฬาประเพณี ที่ มีความสนุกสนาน สร้างความสมัครสมานสามัคคี สร้างโอกาสให้บรรดา นักเรียนโรงเรียนต่างๆ ทั้งใน และต่างอ�ำเภอ ได้มีโอกาสพบปะ นักกีฬา จากโรงเรียนต่างๆเข้ามา ใช้ชีวิตพักอาศัยตามโรงเรียนในเขตเทศบาล ซึ่ง ในแต่ละโรงเรียนก็จะให้การต้อนรับเป็นอย่างดีในฐานะเจ้าบ้าน การค้าขาย ในตัวเมืองก็จะมีบรรยากาศที่ดี พ่อค้าแม่ค้าขาย การซื้อขายแลกเปลี่ยน สร้างเศรษฐกิจในเขตพื้นที่เมืองให้คึกคักจนเห็นได้ชัด ผู้เขียนในวัยเด็ก ช่วงที่มีความสุขกับกิจกรรมการจัดการแข่งขัน กีฬาจังหวัด ยังคงติดตาตรึงใจจนถึงทุกวันนี้ ถึงแม้การจัดการแข่งขัน กีฬาจังหวัดในปัจจุบันจะไม่สนุกสนานเหมือนเก่าก็ตามที อดีตภาพที่ชินตาของผู้เขียนยังคิดค�ำนึงได้ คือ บรรยากาศการ ออกก�ำลังกายส�ำหรับคนนครทั้งใน/นอกเขตเทศบาลนครนครศรีธรรมราช ที่ นิ ย มมาออกก� ำ ลั ง กายเพื่ อ สุ ข ภาพในช่ ว งเย็ น หลั ง วั น ท� ำ งานที่ ห นั ก หน่วง ถ้าผู้คนวิ่งออกก�ำลังกายรอบสนามกีฬากลาง วันนี้ยังคงมีความ นิยมของผู้คนที่จะนิยมวิ่งออกก�ำลังกายอยู่อย่างเดิม หากแต่ที่ต่างกัน ออกไป คือภาพของสนามกีฬากลาง สนามฟุตบอลที่เคยเขียวชอุ่ม กลับเห็น เป็นแต่เพียงสีแดงของชั้นดินลูกรังปน หินก้อนเล็กใหญ่สลับกัน ที่ใช้เป็น ดินส�ำหรับปลูกหญ้า เมื่อมีนักกีฬาฟุตบอลมาใช้ก็จะเห็นเป็นฝุ่นแดงตลบ อบอวล อยู่เช่นนั้นจากที่เคยเป็นสนามฟุตบอลที่ดีที่สุดของจังหวัด ขณะที่ เมื่อมาดู ลู่วิ่งยางสังเคราะห์กึ่งธรรมชาติมาตราฐานรองรับกีฬาระดับชาติ วันนี้เกินค�ำบรรยาย ข่าวคราวเรื่องการตรวจสอบความผิดปกติในการซ่อมแซม จัดซื้อจัดจ้างผิดปกติรอผลตรวจสอบ เป็นข่าวกันไม่เว้นแต่ละวัน ที่ดูจะ ค่อนข้างเหนื่อยใจพอสมควร คงเป็นข่าวซุบซิบจากผู้ใช้ไปบริการสนาม ที่บางที ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อีกทั้งผู้คนที่ไปพบเห็นมาเล่าสู่กันฟัง ด้วยความคับข้องใจที่ต้องทนดู อดีตสนามกีฬาที่เคยยิ่งใหญ่ สมฐานะ คนรักษ์เกียรติภูมิอย่างคนนคร ใครจะว่ากันอย่างไร อีกนานหรือไม่ ที่อดีต อันยิ่งใหญ่จะกลับคืนมา
เดือนมีนาคม 2560
FREE COPY โกลบอลเฮ้าส์ เล็งเห็นโอกาสการขยายตัวของธุรกิจวัสดุ ก่อสร้างและของตกแต่งบ้านในภาคใต้ ทุ่มงบกว่า 500 ล้าน ประเดิม เปิด 2 สาขาแรกที่สุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช มั่นใจจุดเด่นใน การเป็น ศูนย์รวมวัสดุก่อสร้างและของตกแต่งบ้านที่ใหญ่ที่สุดในเมือง ไทยและมีบริการที่ทันสมัย รวดเร็ว แม่นย�ำ จะได้รับการตอบรับจาก กลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างดี เตรียมลุยเปิดสาขาให้ครอบคลุมทุกจังหวัด ในภาคใต้ พร้อมเปิดสาขาที่ 3 ในภาคใต้ที่จังหวัดพัทลุงช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ นายอภิสิทธิ์ รุจิเกียรติก�ำจร ประธานกรรมการ บริษัท สยาม โกลบอลเฮ้าส์ จ�ำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สุราษฎร์ธานีและนครศรีธรรมราช นับเป็นจังหวัดที่มีอัตราการเติบโตของตลาดการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับผู้บริโภคเริ่มมีความคุ้นเคยกับการเลือก ซื้อสินค้าวัสดุก่อสร้างจากร้านค้าประเภทโมเดิร์นเทรดมากขึ้น บริษัทฯ จึงได้เปิดโกลบอลเฮ้าส์ขึ้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี บริเวณใกล้สี่แยกบางกุ้ง ถนนเส้นปากน�้ำตาปี และจังหวัดนครศรีธรรมราช บริเวณถนนอ้อมค่าย วชิราวุธ ภายใต้งบลงทุนสาขาละกว่า 250 ล้านบาท เพื่อเป็นทางเลือก ใหม่และเพิ่มความสะดวกสบายให้กับลูกค้าที่ต้องการสินค้าวัสดุก่อสร้าง และของตกแต่งบ้าน ที่มีให้เลือกอย่างครบครัน หลากหลาย พร้อมบริการ ที่ทันสมัย ซึ่งการเปิดสาขาในภาคใต้ในครั้งนี้ส่งผลให้โกลบอลเฮ้าส์มีสาขา รวมทั้งสิ้น 48 สาขา นับเป็นศูนย์รวมวัสดุก่อสร้างและของตกแต่งบ้านที่มี สาขา มากที่สุดในประเทศไทยเมื่อเทียบกับร้านค้าประเภทเดียวกัน “โกลบอลเฮ้าส์มีความได้เปรียบในการแข่งขันโดยมีจุดแข็งที่ เป็นศูนย์รวมวัสดุก่อสร้างและของตกแต่งบ้านขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศ มีการน�ำนวัตกรรมการค้าระบบโมเดิร์นเทรดใหม่มาปรับใช้ตลอดเวลา รวมทั้ง มีการพัฒนาการให้บริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความ ต้องการของลูกค้าให้ได้รับความพึงพอใจสูงสุด ซึ่งการมาเปิดสาขาใหม่ที่ 2 จังหวัดนี้ โกลบอลเฮ้าส์ก็ได้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าในพื้นที่ด้วย
7
“โกลบอลเฮ้าส์” เดินหน้าบุกตลาดภาคใต้
ประเดิม 2 สาขาแรก ที่สุราษฎร์ฯ และนครฯ การเพิ่มสัดส่วนสินค้าในกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรและการท่องเที่ยว มากกว่าสาขาอื่น เนื่องจาก 2 จังหวัดนี้เป็นจังหวัดที่เศรษฐกิจหลักจะมา จากภาคการเกษตรและภาคการท่องเที่ยว” นายอภิสิทธิ์ กล่าว นายอภิสิทธิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากสุราษฎร์ธานีและ นครศรีธรรมราชแล้ว โกลบอลเฮ้าส์ยังมีแผนที่จะขยายสาขาให้ครอบคลุม ทุกจังหวัดในภาคใต้ โดยขณะนี้ก�ำลังก่อสร้างสาขาที่ 3 ในภาคใต้ที่จังหวัด พัทลุง ซึ่งคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ อนึ่ง โกลบอลเฮ้าส์ นับเป็นศูนย์รวมวัสดุก่อสร้างและของ ตกแต่งบ้าน ที่มีสินค้าคุณภาพกว่าแสนรายการ นับล้านชิ้น ในราคาที่คุ้มค่า บนพื้นที่ขายกว่า 15,000 ตารางเมตร ซึ่งสินค้าแต่ละชิ้นได้รับการคัดสรร มาเพื่อตอบโจทย์ลูกค้าทั้งเจ้าของบ้าน ช่าง ผู้รับเหมาและงานโครงการ รวมถึงเกษตรกร อาทิ ปูนซีเมนต์ เหล็กเส้น เหล็กรูปพรรณ กระเบื้องมุง หลังคา เครื่องมือช่าง สินค้าฮาร์ดแวร์ สุขภัณฑ์ กระเบื้องเซรามิก สีและ เคมีภัณฑ์ โคมไฟและอุปกรณ์ไฟฟ้า ท่อประปา ประตูหน้าต่าง เฟอร์นิเจอร์ ของตกแต่งบ้าน สินค้ากลุ่มเกษตร โดยมีสินค้าครบครันส�ำหรับการสร้าง บ้านทั้งหลัง ตามสโลแกน “โกลบอลเฮ้าส์ ครบ หลากหลาย ให้บ้านคุณ” ทั้งนี้ โกลบอลเฮ้าส์ยังได้พัฒนาระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ (Automated Storage Retrieval System) หรือ ASRS ที่ ศูนย์กระจาย ประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้าได้อย่างรวดเร็วและแม่นย�ำ นอกจากนี้ สินค้าโกลบอลเฮ้าส์ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยมีพื้นที่จัดเก็บ โกลบอลเฮ้าส์ยังมีระบบสมาชิกโกลบอลคลับ เพื่อให้ลูกค้าได้สะสมคะแนน สินค้าได้กว่า 43,000 พาเลท นับได้ว่าเป็นเป็นระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ และ รับสิทธิประโยชน์มากมาย ที่ มี พื้ น ที่ จั ด เก็ บ สิ น ค้ า มากที่ สุ ด ในธุ ร กิ จ ค้ า ปลี ก วั ส ดุ ก ่ อ สร้ า งของเมื อ ง ไทย พร้อมเปิดใช้ระบบ ASRS เต็มรูปแบบในเดือนเมษายนนี้ เพื่อเพิ่ม
กรมทางหลวงชนบท มีความประสงค์จะด�ำเนิน โครงการส� ำ รวจออกแบบถนนเฉลิ ม พระเกี ย รติ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช จึงขอเชิญเจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้มีส่วน ได้เสีย ที่อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวและบริเวณ ใกล้เคียง และผู้ที่สนใจทั่วไป เข้าร่วมประชุมรับฟัง ความคิดเห็นของประชาชน ในวันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ.2560 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ห้องมโนราห์ โรงแรมราวดี ต�ำบลปากพูน อ�ำเภอเมือง จังหวัด นครศรีธรรมราช หากจะขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณา ติดต่อสอบถามได้ที่บริษัท แอมเพิล คอนซัลแทน ท์ (ไทยแลนด์) จ�ำกัด (ส�ำนักงานสาขา) เลขที่ 40 ซอยรังสิต-นครนายก 26 ซอย 1 ต�ำบลประชาธิปัตย์ อ�ำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี 12130 เบอร์โทร 090-896-9304"
ติดต่อโฆษณา
081-7197008 fax 075-320227
กองทัพเรือ ประกอบพิธีส่งมอบบ้านให้แก่ผู้ประสบภัย
ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช 6 หลัง
วันนี้ (8 มีนาคม 2560) พลเรือเอก จุมพล ลุมพิกานนท์ หัวหน้าคณะฝ่ายเสนาธิการประจ�ำผู้ บังคับบัญชา ผู้แทนผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธาน ในพิธีส่งมอบบ้านให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาค ใต้ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช จ�ำนวน 6 หลัง ที่บ้าน เลขที่ 15 /1 หมู่ 1 ต�ำบลนาหมอบุญ อ�ำเภอจุฬาภรณ์ โดยมีนายดนัย เจียมวิเศษสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัด นครศรีธรรมราช เป็นผู้แทนรับมอบ เพื่อส่งมอบ ต่อบ้านที่กองทัพเรือ โดยศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพเรือสร้างทั้ง 6 หลัง ในพื้นที่อ�ำเภอจุฬาภรณ์ 2 หลัง คือที่ บ้านนางปรีดา ขาวเศษ บ้านเลขที่ 15 /1 หมู่ 3 ต�ำบลนาหมอบุญ และ บ้านนางสาวทัศนี ยศชู บ้านเลขที่ 34/8 หมู่ 2ต�ำบลควนหนองคว้า และใน พื้นที่อ�ำเภอชะอวด จ�ำนวน 4 หลัง คือ บ้านนางสาว สุมล เมืองแก้ว บ้านเลขที่ 1/1 หมู่ 7 ต�ำบลชะอวด บ้านนางเล็ก แซ่ลิ้ม บ้านเลขที่ 136/2 หมู่ 4 ต�ำบล บ้านตูล บ้านนางราตรี พิทัก บ้านเลขที่ 21/1 หมู่ 1 ต�ำบลวังอ่าง และบ้าวนางจันทร์ ชูแก้ว บ้านเลขที่ 40 ถนนศรีมาประสิทธิ์ ต�ำบลชะอวด อ�ำเภอชะอวด โดย มีนายอ�ำเภอ ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์กรปกครอง และ ประชาชนในพื้นที่ร่วมในพิธี โอกาสนี้ พลเรือเอก จุมพล ลุมพิกานนท์ หัวหน้าคณะฝ่ายเสนาธิการประจ�ำผู้บังคับบัญชา ผู้ แทนผู้บัญชาการทหารเรือ เยี่ยมชมบ้านที่สร้างโดย
ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองทัพเรือ ให้ก�ำลังใจแก่ เจ้าของบ้านทั้ง 6 หลัง พร้อมกล่าวว่า จากสถานการณ์ ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น สร้างความเสียหายให้กับพี่ น้องชาวไทยในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบ้านเรือนของ พี่น้องประชาชน โดยกระทรวงกลาโหม ทั้งกองทับ บก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ได้ลงพื้นที่ให้การ ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดยส่งเรือ ผลักดันน�้ำ จ�ำนวน 90 ล�ำ มาช่วยเหลือ ทั้งจังหวัด สุราษฎร์ นครศรีธรรมราช หลังจากน�้ำลดได้เร่งด�ำเนิน การช่วยเหลือในการฟื้นฟู ซึ่งทหารเรือรับผิดชอบหลัก ใน 3 พื้นที่ คือ จังหวัดชุมพร 9 หลัง นครศรีธรรมราช 6 หลัง และ นราธิวาส 4 หลัง โดยนอกจากสร้างบ้าน แล้ว ยังมีการซ่อมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหายด้วย และยังคงช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือด ร้อนอย่างต่อเนื่องที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัย ด้าน นางราตรี พิทักษ์ ตัวแทนเจ้าของ บ้านทั้ง 6 หลัง กล่าวขอบคุณทุกภาคส่วนที่มาร่วม ช่วยเหลือ ทั้งจังหวัด อ�ำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้อง ถิ่น ก�ำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนในพื้นที่ โดยเฉพาะ กองทัพเรือที่มาสร้างบ้านให้ในครั้งนี้ ถือว่ามาร่วมให้ ชีวิตใหม่ของผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนพักบ้านเสียหาย จากอุทกภัย และขอสัญญาว่าตนจะตั้งใจท�ำความดี และเป็นคนดี เพื่อตอบแทนบุญคุณของทุกคน
8
เดือนมีนาคม 2560
FREE COPY
เดินหน้าขับเคลื่อนพระบรมธาตุขึ้นบัญชีมรดกโลก (10 มี.ค. 60) ที่ห้องประชุมส�ำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครศรี ธรรมราช ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัด นายสกล จันทรักษ์ รองผู้ว่าราชการ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานประชุมคณะกรรมการในการน�ำเสนอ วัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช (พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช) เพื่อขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลก ครั้งที่ 2/2560 โดยมีคณะ กรรมการ เจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องเข้าประชุมพร้อมเพรียงกัน โดยการประชุมดังกล่าวเพื่อติดตามความคืบหน้าการขับเคลื่อน พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช เพื่อขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลก โดยเฉพาะใน ประเด็นที่เกี่ยวข้องสืบเนื่อง อาทิ ความคืบหน้าการแก้ไขสนิมที่ปล้องไฉน ขององค์พระบรมธาตุ ความคืบหน้าการขุดค้นทางโบราณคดี วัดพระ มหาธาตุวรมหาวิหาร ทั้งนี้ในส่วนของความคืบหน้าการแก้ไขสนิมที่ปล้อง ไฉนขององค์พระบรมธาตุนั้น นายอาณัติ บ�ำรุงวงศ์ ผู้อ�ำนวยการส�ำนัก ศิลปากรที่ 14 นครศรีธรรมราช กล่าวว่ามีความคืบหน้าตามล�ำดับ โดยได้ ด�ำเนินการซ่อมผิวบริเวณที่มีคราบสนิมที่ปล้องไฉนด้วยเทคนิคโบราณ คือ
การใช้ปูนหมักและหินด�ำ ส่วนการจัดท�ำนั่งร้านใหม่ได้ด�ำเนินการแล้ว เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยจะใช้เวลาติดตั้งประมาณ 1 เดือน ซึ่งในช่วงที่ถอดนั่งร้านออกจะมีการน�ำแผ่นพลาสติกที่คลุมยอดเจดีย์ ออกด้วย
เชฟรอน จัดพีธีเปิดโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ มอบอุปกรณ์ออกก�ำลังกายให้กองทัพภาคที่ 4 บริษัท เชฟรอนประเทศไทยส�ำรวจและผลิต จ�ำกัด จัดท�ำ “โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์และติดตั้งเครื่องออกก�ำลังกายกลางแจ้ง” เพื่อ ส่งเสริมสุขภาพด้านการออกก�ำลังกายของก�ำลังพลและครอบครัว พัฒนา สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ แหล่งสันทนาการ สนับสนุนแหล่งท่องเที่ยวให้กับ ประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช เชฟรอนประเทศไทยสนับสนุนอุปกรณ์ ออกก�ำลังกาย รวมมูลค่าทั้งสิ้น 496,747.50 บาท มอบโดยผู้แทนบริษัทฯ นางหทัยรัตน์ อติชาติ ผู้จัดการฝ่ายนโยบายด้านรัฐกิจและกิจการสัมพันธ์ โดยมีพล.ต.อาคม พงศ์พรหม ผบ.มทบ.41 ให้เกียรติเป็นประธานพิธีมอบ ณ สวนสาธารณะภายใน มณฑลทหารบกที่ 41 ค่ายวชิราวุธ อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช นางหทัยรัตน์ กล่าวว่า “เชฟรอนได้พัฒนาอุตสาหกรรมการ ส�ำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยมา กว่า 55 ปี ซึ่งนอกเหนือจาก พันธกิจในด้านการจัดหาพลังงาน เชฟรอนยังมีความมุ่งมั่นในการด�ำเนิน ธุรกิจควบคู่ไปพร้อมกับการท�ำงานร่วมกับชุมชนและสังคมมาอย่างต่อ เนื่อง โดยเฉพาะการพัฒนาสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ประชาชน จึงได้ร่วม กับมณฑลทหารบกที่ 41 และแผนกยุทธโยธา กองทัพภาคที่ 4 ปรับปรุง สถานที่สนามเด็กเล่นและติดตั้งเครื่องออกก�ำลังกายภายในกองทัพภาคที่ 4 เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป โดยมีเป้าหมายให้ก�ำลังพลและครอบครัว รวมถึงประชาชนทั่วไป มีพลานามัยสมบูรณ์ แข็งแรง” นอกจากนี้ เชฟรอนยังเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น ด้วยการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม เพื่อให้ประชาชนได้มีคุณภาพ แวดล้อม การพัฒนาเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิต และการส่งเสริมให้ ชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายของบริษัท ที่ก�ำหนดไว้ 4 ด้าน พนักงานมีส่วนร่วมในการท�ำกิจกรรมเพื่อสังคม คือการสนับสนุนการศึกษา ส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง
สถาบันการบินพลเรือนร่วมใจช่วยผู้ประสบภัยน�้ำท่วม
พลอากาศเอก สฤษดิ์พงษ์ โกมุทานนท์ ประธานกรรมการ คณะ กรรมการ พร้อมผู้บริหารสถาบันการบินพลเรือนและพนักงาน เตรียมพร้อม ส่งมอบเงินบริจาคและสิ่งของจากผู้มีจิตศรัทธาที่ได้บริจาคเงิน ให้แก่ โรงเรียน ปากพล ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง และโรงเรียนมหาราช 3 ต.ถ�้ำใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ที่ได้รับความเดือดร้อนจากอุทกภัยในภาคใต้ ผ่านโครงการ “สถาบันการบินพลเรือนร่วมใจช่วยผู้ประสบภัยน�้ำท่วม” เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2560 ณ สถาบันการบินพลเรือน กรุงเทพฯ
ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ
หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษา ธิการ เป็นประธานมอบบ้านในโครงการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย พิบัติจังหวัดนครศรีธรรมราช ของกระทรวงศึกษาธิการ ในพื้นที่ต�ำบล กรุงชิง อ�ำเภอนบพิต�ำ จ�ำนวน 5 หลัง ที่คณะครูและนักศึกษาในสังกัด ส�ำนักงาน กศน. ได้ร่วมกันสร้างบ้านให้ผู้ประสบอุทกภัยที่บ้านพังเสียหาย จนแล้วเสร็จ โดยมีนายดนัย เจียมวิเศษสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บริหาร กระทรวงศึกษาธิการ ว่าที่ ร.ต.อุทัย ทาบทอง นายอ�ำเภอนบพิต�ำ ผู้บริหาร ท้องถิ่น ทัองที่ และประชาชนร่วมในพิธี
อบรม “มิสเตอร์เตือนภัย” สร้างเครือข่าย เฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยในระดับพื้นที่ วันนี้ (17 มี.ค.60) ที่ห้องประชุมส�ำนักงานส่งเสริมการศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ศูนย์ราชการนาสาร ต�ำบลนาสาร อ�ำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช นายสกล จันทรักษ์ รองผู้ว่า ราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดอบรมเครือข่ายอาสาสมัคร เตือนภัย “มิสเตอร์เตือนภัย” จังหวัดนครศรีธรรมราช ประจ�ำปีงบประมาณ 2560 โดยมีนายประภาส ขาวด�ำ พร้อมด้วยคณะวิทยากร เจ้าหน้าที่
ส� ำ นั ก งานป้ อ งกั น และบรรเทาสาธารณภั ย จั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราช กล่าวรายงานและให้การต้อนรับ การจัดอบรมเครือข่ายอาสาสมัครเตือนภัย “มิสเตอร์เตือนภัย” จังหวัดนครศรีธรรมราช ครั้งนี้เป็นการขยายผลการด�ำเนินงานตาม แนวทางของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ที่ต้องการให้มีอาสา สมัครเตือนภัยให้ครอบคลุมพื้นที่ทุกหมู่บ้าน/ชุมชน เพื่อให้ผู้เข้ารับการ อบรมได้น�ำความรู้ ความเข้าใจไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการ เฝ้าระวังและแจ้งเตือนภัยในท้องถิ่นของตน รวมทั้งเพื่อเตรียมความ พร้อมรับมือกับภัยพิบัติทั้งช่วงก่อนเกิดภัย ขณะเกิดภัย และหลังเกิด ภัย ตลอดจนได้ร่วมฝึกทักษะการวางแผนการอพยพประชาชนในพื้นที่ เสี่ยงภัย ไปยังพื้นที่ปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนสามารถลด ตัวเลขความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนได้ต่อไป การจัด อบรมครั้งนี้ มีผู้สนใจทั้งผู้น�ำหมู่บ้าน/ชุมชน และอาสาสมัคร จาก 75 หมู่บ้าน ของ 11 อ�ำเภอ คือ อ�ำเภอเมือง, ลานสกา ,ท่าศาลา ,ขนอม ,สิชล,พรหมคีรี ,พิปูน ,ร่อนพิบูลย์ ,ชะอวด ,จุฬาภรณ์ และอ�ำเภอช้าง กลาง เข้าร่วม 150 คน ใช้ระยะเวลาในฝึกอบรม จ�ำนวน 1 วัน
ไทวัสดุมอบท่อประปา
นายไชยา ชูเกตุ ผู้จัดการไทวัสดุ สาขาสุราษฎร์ธานี พร้อมด้วย พนักงาน เป็นตัวแทนบริษัท ซีอาร์ซี ไทวัสดุ จ�ำกัด ยึดแนวคิด “ไทวัสดุ เคียงข้าง สร้างสุข” มอบท่อประปาให้แก่องค์การบริหารส่วนต�ำบลกรุงชิง ผ่านโครงการปันฝันปันยิ้ม กรณีเกิดผลกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัย ณ ต�ำบลกรุงชิง อ�ำเภอนบพิต�ำ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งจากภัยพิบัติ ดังกล่าว ท�ำให้ท่อน�้ำประปาได้รับความเสียหายเป็นจ�ำนวนมาก และท�ำให้ ประชาชนขาดแคลนน�้ำดื่ม-น�้ำใช้ในชีวิตประจ�ำวัน โดยได้ประสานงานกับ ทางบริษัท ไชโย ไปป์ แอนด์ ฟิตติ้ง จ�ำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตท่อประปาคุณภาพ รายใหญ่ของประเทศ ในการสนับสนุนท่อประปาเพื่อใช้ในการก่อสร้าง โดยมีพลตรีสิทธิพร มุสิกะสิน ผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 5 เป็น ผู้รับมอบ ณ ต�ำบลกรุงชิง อ�ำเภอนบพิต�ำ จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อ เร็วๆ นี้
เดือนมีนาคม 2560
FREE COPY
9
ลุ้นคลอดกฎหมายปิโตรเลียม เปิดประมูล “เอราวัณ-บงกช” มิ.ย. กระทรวงพลังงาน ก�ำลังใจจดใจจ่อกับการพิจารณาข้อกฎหมายของ ร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... และร่าง พ.ร.บ.ภาษีเงินได้ ปิโตรเลียม (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่รอลุ้นกันว่าในวันที่ 30 มีนาคม นี้จะมี การน�ำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ใน วาระ 2 และ 3 หรือไม่ ก่อนจะประกาศให้มีผลใช้บังคับต่อไป เนื่องจากขณะนี้มีความล่าช้ามาแล้ว ซึ่งหากยังลากกันต่อไป อาจจะเป็นตัวบ่งบอกได้ว่า วิกฤติด้านพลังงานของประเทศก�ำลังใกล้จะ มาถึงในระยะอันใกล้นี้ เพราะกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ จะน�ำไปใช้กับการเปิด ประมูลแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมที่จะหมดอายุในปี 2565-2566 ของแหล่ง เอราวัณ ของบริษัท เชฟรอนประเทศไทยส�ำรวจและผลิต จ�ำกัด และแหล่ง บงกช ของบริษัท ปตท.ส�ำรวจและผลิตปิโตรเลียม จ�ำกัด (มหาชน) เพื่อ ให้การผลิตก๊าซธรรมชาติเกิดการต่อเนื่อง ซึ่งทั้ง 2 แห่งนี้ถือเป็นแหล่งใหญ่ ผลิตก๊าซในอ่าวไทยได้กว่า 2,000 ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หากกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ ผ่านการพิจารณาของ สนช. ได้จริง ภายในเดือนเมษายนนี้ ก็ยังต้องมีขั้นตอนการด�ำเนินงานต่างๆ กว่าจะไปสู่ การเปิดประมูลได้ เปิดรับฟังความเห็นกฎหมายรอง โดยนายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ชี้ให้ เห็นว่าหากร่าง พ.ร.บ. ทั้ง 2 ฉบับผ่านการพิจารณาของ สนช. แล้ว จะต้อง ไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้กฎหมายมีผลใช้บังคับ และจะต้องมี กฎหมายรอง ซึ่งกรมจะต้องไปจัดท�ำรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมในร่างกฎ กระทรวง 5 ฉบับ และ 1 ประกาศ ออกมารองรับ ประกอบด้วย ประกาศ คณะกรรมการปิโตรเลียมเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการก�ำหนดรูปแบบการ ให้สิทธิแต่ละแปลงว่าจะใช้ระบบใด และจะมีกฎกระทรวงอีก 5 ฉบับ มา รองรับอีก ประกอบด้วย กฎกระทรวงก�ำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และ เงื่อนไข และการได้รับสิทธิเป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต พ.ศ. ...(ม.53/1) กฎกระทรวงก�ำหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไข และการได้มาซึ่งผู้รับ
เคเอฟซี ประเทศไทย โดยผู้บริหารแฟรนไชส์และแบรนด์เคเอฟซี น�ำคณะผู้บริหารร้านฯ และพนักงานจิตอาสา ส่งมอบเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องครัว อุปกรณ์การทานอาหาร รวมถึงข้าวสารอาหารแห้ง และเงิน บริจาค แก่นักเรียน คณะครู และผู้อ�ำนวยการ โรงเรียนวัดเกาะจาก อ�ำเภอ ปากพนัง และโรงเรียนบ้านคันธง อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากเหตุการณ์อุทกภัยในภาคใต้และส่งเสริม โภชนาการและสุขภาพที่ดี ตอกย�้ำจุดยืนในการอยู่เคียงข้างคนไทยทุกช่วง เวลาภายใต้แคมเปญ "KFC Be Beside You" เมื่อเร็วๆ นี้
สัญญาจ้างส�ำรวจและผลิต พ.ศ. ...(ม.53/9) กฎกระทรวงก� ำ หนดแบบสั ญ ญาแบ่ ง ปั น ผลผลิต พ.ศ. ...(ม.53/2) กฎกระทรวง ก� ำ หนดแบบสั ญ ญาจ้ า งส� ำ รวจและผลิ ต พ.ศ. ...(ม.53/10) และ กฎกระทรวงก�ำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข และระยะ เวลาในการให้ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตน�ำ ส่งค่าภาคหลวงแก่รัฐ พ.ศ. ...
(ม.53/6) เพื่อรองรับระบบ พีเอสซี และ เอสซี เมื่อผ่านการรับฟังความคิดเห็นแล้ว จะต้องน�ำเข้าสู่การพิจารณา ของคณะกรรมการปิโตรเลียมเห็นชอบแล้ว จะต้องน�ำเสนอผู้บริหารของ กระทรวงเป็นล�ำดับ ไม่ว่าจะเป็นปลัดกระทรวง ไปจนถึงรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพลังงาน เพื่อน�ำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี และ หลังจากนั้นส่งให้กฤษฎีกาตรวจร่างเสนอกลับมาให้ ครม.เห็นชอบ และ ส่งกลับมาให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานลงนามในประกาศกระทรวง และกฎกระทรวงต่อไป ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวนี้คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือนนับตั้งแต่เปิดรับฟังความเห็น ออกทีโออาร์ประมูล หลังจากนั้น จะเข้าสู่ขั้นตอนการประกาศเชิญชวนเอกชนเข้ามา ร่วมประมูลหรือเปิดขายทีโออาร์การประมูลภายในเดือนมิถุนายน 2560 ระหว่างนี้จะเปิดให้เอกชนที่ซื้อซองประมูลไปแล้ว สามารถเข้ามาดูข้อมูล ด้านธรณีของทั้ง 2 แหล่งได้ เพื่อน�ำไปสู่การยื่นการประมูล และตัดสินหา ผู้ชนะ ซึ่งจะต้องใช้เวลาประมาณอีก 7 เดือน หากเป็นไปตามนี้ ก็เข้าใจว่า จะได้ผู้ชนะการประมูลราวเดือนธันวาคมปีนี้เป็นอย่างช้า แต่ปัญหาอยู่ที่ว่าทาง สนช. จะสามารถประกาศกฎหมายทั้ง 2 ฉบับภายในเดือนมีนาคมนี้ได้หรือไม่ เพราะหากต้องเลื่อนออกไปอีก จะ กระทบขั้นตอนการด�ำเนินงานดังกล่าว ซึ่งหมายความว่าการตัดสินหา
เมื่อเร็วๆ นี้ เรืออากาศโทสมพร ปานด�ำ ผู้อ�ำนวยการ วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช พร้อมคณะผู้บริหาร คณะครูและ บุคลากรทางการศึกษา ตรวจเยี่ยม ติดตาม ให้ก�ำลังใจ เเละพบนักเรียน นักศึกษา จ�ำนวน 97 คน ในโครงการบวชบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน ถวายเป็ น พระราชกุ ศ ลแด่ พ ระบาทสมเด็ จ พระปรมิ น ทรมหาภู มิ พ ล อดุลยเดช ประจ�ำปีการศึกษา 2559 โดยเข้าค่ายฝึกอบรม เตรียมความ พร้อมก่อนบวชบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน วันที่ 16 - 20 มีนาคม 2560 ณ วัดป่าห้วยพระ อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช และบรรพชา ถวายเป็ นพระราชกุ ศ ลแด่ พ ระบาทสมเด็ จ พระปรมิ นทรมหาภู มิ พ ล อดุลยเดช เป็นเวลา 10 วัน ตั้งแต่ 21 -30 มีนาคม 2560 ณ วัดป่าห้วย พระ อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช
รับถ่ายภาพมุมสูง ถ่ายภาพทางอากาศ
ความชัดระดับ 4K
เปิดประเด็น
Tel.089-4108464
ผู้ชนะการประมูลต้องเลื่อนออกไปด้วย ซึ่งกระทรวงพลังงานก�ำลังเป็น ห่วงในเรื่องนี้อยู่ เพราะจะมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ที่จะเข้ามาประมูล เนื่องจากจะไม่สามารถวางแผนการผลิตปิโตรเลียมล่วงหน้า 4 ปีก่อน สัมปทานจะหมดอายุได้ และจะกระทบต่อการผลิตก๊าซที่ต่อเนื่องจากทั้ง 2 แหล่ง สุดท้ายคงต้องวัดใจ สนช. ว่าจะพิจารณาข้อกฎหมายออก มาในรูปแบบใด และจะมีการเลื่อนประกาศใช้กฎหมายทั้ง 2 ฉบับออก ไป หรือไม่ โดยมีเรื่องของความมั่นคงด้านพลังงานเป็นเดิมพัน (ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ)
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เขต 2 (ภาคใต้) จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ด�ำเนินการฉีดล้างอุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบสายส่งและระบบจ�ำหน่าย ของ บริษัท วนชัย พาเนล อินดัสทรีส์ จ�ำกัด ประจ�ำปี 2560 โดยไม่ดับ ไฟ โดยหน่วยฮอทไลน์ กองบ�ำรุงรักษา ฝ่ายปฏิบัติการและบ�ำรุงรักษา ซึ่งเป็นการให้บริการบ�ำรุงรักษาระบบไฟฟ้าโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายเป็นกรณี พิเศษ ส�ำหรับลูกค้าที่มีค่าไฟฟ้ามากกว่า 20 ล้านบาท / เดือน ทั้งนี้เพื่อ สร้างมั่นคงของระบบไฟฟ้า และความพึงพอใจในการให้บริการแก่ลูกค้า ทั้งนี้เพื่อเป็นไปตามนโยบายท่านผู้ว่าการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ที่ก�ำหนด ให้ ปี 2560 เป็น "ปีแห่งความปลอดภัยที่ยั่งยืน
10
เดือนมีนาคม 2560
FREE COPY
ผู้ว่าฯ เมืองคอน สนับสนุนเปิด “มหาลัยวัวชน” ส่งเสริมอาชีพรายได้และการท่องเทีย ่ วครบวงจร ผู้ว่าฯ เมืองคอนพร้อมสนับสนุนการพัฒนาสนามกีฬาชนโค-ไก่ชน เป็น “มหาลัยวัวชน” รวมทั้งหมู่บ้านหรือถนสายไก่ชน” ส่งเสริมอาชีพ ราย ได้และการท่องเที่ยวอย่างจริงจังครบวงจร-ส.จ.แอ๋ว”รับแนวนโยบาย เร่งพัฒนาสนามกีฬาชนโคบ้านนาทรายสู่การเป็น “มหาลัยวัวชน”เป็น แห่งแรกในเมืองไทย จากกรณี ที่ มี ก ระแสข่ า วว่ า ทางจั ง หวั ด นครศรี ธ รรมราชจะ เข้มงวดกวดขันเรื่องการเล่นการพนันทุกชนิด จนถึงขั้นสั่งห้ามถ่ายทอด สดการแข่งขันกีฬาชนโคซึ่งเป็นพื้นที่อยู่คู่กับจังหวัดนครศรีธรรมราชและ ภาคใต้มาตั้งแต่ครั้งโบราณ รวมทั้งห้ามถ่ายทอดสดกีฬาไก่ชนอีกด้วย ท� ำ ให้ เ กิ ด ผลกระทบกั บ ประชาชนในกลุ ่ ม ที่ นิ ย มการเลรี้ ย งวั ว ชนและ ไก่ชน จนมีการวิพากวิจารณ์อย่างกว้างขวางและเรียกร้องให้ทางขังหวัด นครศรีธรรมราชชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ ล่าสุดผู้สื่อข่าวรายงานว่านายจ�ำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการ จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้สั่งการให้นายณรงค์พร ณ พัทลุง ปลัดจังหวัด นครศรีธรรมราช ท�ำหนังสือชี้แจงไปยังนายอ�ำเภอทุกอ�ำเภอเพื่อท�ำความ เข้าใจกับประชาชนว่าจังหวัดนครศรีธรรมราชจะยุดแนวทางการปฏิบัติ ตามระเบียบกฎหมายอย่างเคร่งครัด และยึดหลักการด�ำเนินการเช่นเดียว กับสนามมวย โดยอนุญาตให้ถ่ายทอดสดการแข่งขันได้ รวมทั้งการเล่น การพนันประเภทที่ระบุไว้ตามบัญชี ข. ท้ายพระราชบัญญัติการพนัน พุทธศักราช 2478 หรือการเล่นซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน หรือการเล่นอื่นใด ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ออกกฎกระทรวงระบุเพิ่มเติมไว้ ปัจจุบันการพนันตามบัญชี ข. มีทั้งสิ้น 28 ชนิด ซึ่งรวมทั้งกีฬาชนโคและ ไก่ชนด้วย นายจ�ำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา กล่าวว่า ทุกเรื่องย่อมมีสองด้าน แต่ตนอยากให้มองในมิติที่เป็นประโยชน์ เราต้องเปิดใจให้กว้างเพราะ เรื่องวัวชน ไก่ชนมันเป็นวิถีในท้องถิ่นที่มีอยู่ในสายเลือด ไก่ชนวัวชนมีมา นานตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ โดยส่วนตัวผมก็ชอบดูวัวชน เพราะวัวชนมันเป็น ศิลปะการต่อสู้ คล้ายกับกีฬามวยไทย ผมได้ดูคลิปตอนที่พระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 พร้อมด้วยสมเด็จ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชด�ำเนินเยี่ยมเยียนพสกนิกร จ.สงจลา เมื่อปี 2502 และทางจังหวัดสงขลาได้จัดกีฬาวัวชนให้ทอดพระเนตร โดย วัวชน 2 ตัวต่อสู้กันอย่างดุเดือด มีลีลา ชั้นเชิงการต่อสู้ที่น่าสนใจมาก ทั้ง สองพระองค์ทรงทอดพระเนตรนานกว่า 1 ชั่วโมงแต่วัวชนทั้งสองตัวก็ยัง
ไม่รู้แพ้รู้ชนะ กรรมการจึงยุติการแข่งขันตัดสินให้วัวชนทั้งสองตัวเสมอกัน อย่างไรก็ตามโดยส่วนตัวผมไม่ชอบดูไก่ชนเพราะผมเลี้ยงไก่สวยงาม เวลา มันชนกันผมสงสารมันจึงไม่ชอบดูมัน ในจังหวัดนครศรีธรรมราชผมอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้ง ภาครัฐและเอกชนช่วยกันสนับสนุน ส่งเสริมกีฬาวัวชน ไก่ชนอย่างจริงจัง ครบวงจร ผมอยากเห็นการพัฒนายกระดับการชนวัวและไก่ชน ให้ก้าวข้าม เรื่องการพนันไปให้ได้ และด�ำเนินการในรูปแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ ส่งเสริมอาชีพ รายได้ และการท่องเที่ยว มีการศึกษาถึงประวัติความเป็น มาทุกด้าน อาทิ สายพันธุ์วัวชน ไก่ชนมีกี่สายพันธุ์ การพัฒนาสายพันธุ์ การเลี้ยง อาหาร วัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งการตั้งชื่อวัวชนไก่ชนมีพื้นฐานที่มา อย่างไร การชนกันมีการด�ำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องอย่างไร แม้แต่ความ เชื่อทางด้านเวทย์มนต์ ไสยศาสตร์ที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นต้น มันเป็นเรื่องที่ น่าศึกษา ค้นคว้าเป็นอย่างมาก ผมอยากเห็นการร่วมมือกันพัฒนาให้เกิด ถนนสาย หมู่บ้านหรือถนนสายไก่ชน วัวชน นักท่องเที่ยวต่างจากถิ่นที่เดิน ทางเข้ามาสามารถเข้าไปเรียนรู้ ศึกษาได้อย่างครบวงจรในหมู่บ้านนั้นๆ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวอีกว่า ในส่วนของ วัวชนผมถือว่าเป็นเอกลักษณ์ อัตลักษณ์ของชาวนครศรีธรรมราชและ ภาคใต้หลายจังหวัด เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่อยู่ในสายเลือดแลพะวิถีการ ด�ำเนินชีวิตของประชาชน อย่างกว้างขวาง มีผู้คนเกี่ยวข้องกับวัวชนเป็น จ�ำนวนมาก ต้องร่วมมือกันพัฒนาจนถึงขั้นเปิดเป็น “มหาลัยวัวชน” สนาม ชนวัวควรจะมีการจัดนิทรรศการ เรื่องราว ประวัติความเป็นมาที่เกี่ยวข้อง กับวัวชนอย่างครบวงจร ส่งเสริมอาช�ำการเลี้ยงวัวชน การปลูกหญ้า การ พัฒนาสายพันธุ์วัวชน การจัดท�ำสินค้าที่ระลึกและอื่นๆ เพื่อเป็นแห่งศึกษา เรียนรู้เกี่ยวกับวัวชนอย่างแท้จริง ที่ส�ำคัญนอกจากส่งเสริมอาชีพและ รายได้แล้วยังส่งเสริมการท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี ผมอยากเห็นมหาวิทยาลัย วัวชนเกิดขึ้นในจังหวัดนครศรีธรรมราชอย่างจริงๆ จังๆ ในอนาคตลูกหลาน ที่เรียนหนังสือไม่เก่ง ไม่ชอบเรียนหนังสือ ก็สามารถเข้าเรียนในมหาวิทยาลัย วัวชน และกลายเป็นอาชีพสร้างรายได้ท�ำให้สามารถอยู่ในสังคมได้ เรา ต้องช่วยกันหลายๆ ฝ่าย พี่น้องสื่อมวลชนก็ต้องมาช่วยเหลือผมด้วย นายสมชาย เกตุชาติ หรือ ส.จ.แอ๋ว นายสนามกีฬาวัวชน บ้านนาทราย (ตลาดช้อย) ต.นาทราย อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช กล่าว ว่า สนามกีฬาวัวชนบ้านนาทราย เป็นสนามที่เพิ่งได้รับอนุญาต จาก กระทรวงมหาดไทย และจังหวัดนครศรีธรรมราช และเพิ่งด�ำเนินการ
ก่อสร้างแล้วเสร็จ มีก�ำหนดแข่งขันนัดปฐมฤกษ์ระหว่างวันที่ 20-22 เมษายน 2560 ตนในฐานะตัวแทนชาวกีฬาวัวชน-ไก่ชนต้องขอขอบคุณผู้ว่า ราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช นายอ�ำเภอและหัวหนาส่วนราชการ ที่เกี่ยวข้องที่เข้าใจเรื่องกีฬาวัวชน ไก่ชนอย่างแท้จริง ก่อนหน้านี้สนามกีฬา วัวชน ไก่ชนถูกมองว่าเป็นแหล่งการพนันและอาชญากรรมอื่นๆ และมี กลุ่มบางคนมองว่านายสนามวัวชน ไก่ชน เป็นผู้มีอิทธิพล ในเรื่องนี้ตน อยากให้สังคมช่วยพิจารณา วิเคราะห์ข้อมูลให้รอบด้านและตัดสินกันเอง ว่าเป็นผู้มีอิทธิพลจริงหรือไม่ “ตนและทีมงานจะน้อมรับแนวนโยบายของท่านผู้ว่าราชการจังหวัด นครศรีธรรมราชในการพัฒนาสนามกีฬาชนโคบ้านนาทรายไปสู่ความเป็น “มหาวิทยาลัยวัวชน”ให้ได้ แต่คงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ในเบื้องต้น จะจัดพื้นที่ในอาคารอ�ำนวยการจัดเป็นนิทรรศการกีฬาวัวชน เพื่อให้ นักท่องเที่ยวได้ศึกษาเรียนรู้เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับกีฬาวัวชน ซึ่งในขณะนี้ ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนรอบพื้นที่สนามกีฬาชนโคบ้านนาทราย ได้ปลูกหญ้าอาหารโค ท�ำคอกเลี้ยงให้เจ้าของโคที่ติดคู่ชนเช่า และอื่นๆ ซึ่งล้วนสร้างอาชีพและรายได้สูงน่าพอใจ รวมทั้งการค้าขายและอาชีพ ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เชื่อว่ามหาวิทยาลัยวัวชนจะเกิดขึ้นเป็นแห่งแรกในภาคใต้ และประเทศไทยในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอน”.
กระทรวงพลังงาน ชู “คีรีวง”
ต้นแบบชุมชนเข้มแข็งด้านพลังงาน กระทรวงพลังงาน ยกโครงการผลิตไฟฟ้าจากกังหันน�้ำ ชุมชนคีรีวง เป็นต้นแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐและประชาชนใน การพัฒนาพลังงานอย่างยั่งยืน สอดรับนโยบายประชารัฐของรัฐบาล และสอดคล้องแผน AEDP 2015 ของกระทรวงพลังงาน ชี้ เป็นการ ส่งเสริมการลงทุนพลังงานทดแทนในระดับชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพ ชีวิตของประชาชนและความมั่นคงทางพลังงานของประเทศ เมื่อเร็วๆ นี้ นายสุรเชษฐ์ หรดี พลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช กระทรวงพลังงาน เปิดเผย โครงการผลิตไฟฟ้าจากกังหันน�้ำชุมชนคีรีวง ในพื้นที่ ต.กาโลน อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช เป็นหนึ่งตัวอย่างความ ส�ำเร็จของโครงการประชารัฐ จาก 26 โครงการทั่วประเทศ ที่ด�ำเนินงาน โดยส�ำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ ส�ำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน โดยมี ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีพลังงาน เพื่อสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ETE) เป็นที่ปรึกษาบริหารโครงการ โดยโครงการ ดั ง กล่ า วถื อ เป็ น ต้ น แบบความส� ำ เร็ จ ความร่ ว มมื อ ระหว่ า งภาครั ฐ และ ประชาชนอย่างชัดเจน ทั้งด้านงบประมาณ เทคโนโลยี และความรู้ต่างๆ ที่ ผสานกันอย่างลงตัวเพื่อประโยชน์ต่อชุมชนอย่างแท้จริง พลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวต่อว่า โครงการผลิต ไฟฟ้าจากกังหันน�้ำชุมชนคีรีวง ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อ ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และเริ่มด�ำเนินการมาตั้งแต่ปี 2557 โดยมี มูลค่าโครงการรวม 3,842,000 บาท กระทรวงพลังงานสนับสนุนงบลงทุน
จ�ำนวน 2,148,960 บาท หรือคิด เป็นร้อยละ 60 ส่วนชุมชนร่วม ลงทุนจ�ำนวน 1,693,040 บาท คิดเป็นร้อยละ 40 มีจ�ำนวน ครัวเรือนที่เข้าร่วม รวมทั้งหมด 83 ครัวเรือน ซึ่งมีติดตั้งกังหันน�้ำ ขนาดต่างๆ ดังนี้ ก�ำลังการผลิต 200 วัตต์ จ�ำนวน 10 ชุด ก�ำลัง การผลิต 300 วัตต์ จ�ำนวน 30 ชุด ก�ำลังการผลิต 1,000 วัตต์ จ�ำนวน 40 ชุด และก�ำลังการผลิต 3,000 วัตต์ จ�ำนวน 3 ชุด รวมก�ำลังการผลิตทั้งหมด 60 กิโลวัตต์ ทั้งนี้ การผลิตไฟฟ้าจากกังหันน�้ำดังกล่าวเกิดผลประโยชน์ ในด้านการประหยัดไฟฟ้าเทียบเท่าอยู่ที่ 150,000 kWh /ปี และคิดเป็น ผลประหยัดพลังงานได้ประมาณ 525,000 บาท/ปี เป็นการสร้างการ มีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของและสร้างความภูมิใจให้กับคนในชุมชน และยังสอดคล้องกับทิศทางของประเทศที่เดินหน้าขับเคลื่อนการพัฒนา พลังงานทดแทน ให้เป็นไปตามเป้าหมายของแผนพัฒนาพลังงานทดแทน และพลังงานทางเลือก พ.ศ.2558-2579 อีกด้วย “โครงการผลิตไฟฟ้าจากกังหันน�้ำขนาดเล็กมากในพื้นที่ชุมชน คีรีวง จัดท�ำขึ้น เนื่องจากชุมชนในพื้นที่ดังกล่าวตั้งอยู่ในเทือกเขาห่างไกล
ระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆ เช่น ระบบน�้ำประปา ระบบสายส่ง ไฟฟ้า ไม่สามารถเข้าถึงตัวชุมชนได้ ที่ผ่านมา ชาวบ้านต้องอาศัยเครื่องปั่น กระแสไฟฟ้า ที่ใช้น�้ำมันเป็นเชื้อเพลิง เพื่อใช้ในการเกษตรและกิจกรรม อื่นๆ ภายในครัวเรือน และต้องแบกรับต้นทุนการท�ำเกษตรกรรม รวมถึง ค่าใช้จ่ายต่อเดือนของแต่ละครัวเรือนที่ค่อนข้างสูง ดังนั้น เพื่อบรรเทา ความเดือดร้อนของชาวบ้านจากปัญหาทางด้านพลังงานข้างต้น จึงได้มี การบูรณาการและหารือร่วมกันระหว่างชุมชน สถาบันวิชาการ และ กระทรวงพลังงาน และได้เสนอโครงการผลิตไฟฟ้ากังหันน�้ำขนาดเล็กมาก ในพื้นที่ชุมชนคีรีวง โดยเดินท่อน�้ำจากแหล่งน�้ำบนภูเขามายังจุดติดตั้ง กังหันน�้ำเพื่อผลิตไฟฟ้าส�ำหรับใช้ภายในครัวเรือนและกิจกรรมการเกษตร การด�ำเนินการเป็นไปในรูปแบบประชารัฐ ที่กระทรวงพลังงานในฐานะ ภาครัฐให้เงินสนับสนุน 60% และชาวบ้านสมทบเพิ่มอีก 40 % เป็นการ สร้างการมีส่วนร่วมในความเป็นเจ้าของและสร้างความภูมิใจให้กับคนใน ชุมชน ช่วยลดรายจ่าย พร้อมทั้งเพิ่มคุณภาพชีวิตของชาวบ้านได้พร้อมๆ กัน” พลังงานจังหวัดนครศรีธรรมราชกล่าว
เดือนมีนาคม 2560
FREE COPY มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ขอแสดงความยินดีกับ นักวิจัยทั้ง 5 ท่าน ที่ได้รับรางวัลการน�ำเสนอผลงานวิจัยในระดับดีมาก และผู ้ อ� ำ นวยการสถาบั น วิ จั ย และพั ฒ นาที่ ไ ด้ รั บ รางวั ล ผู ้ ป ระสานงาน โครงการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น ระดับภาคใต้ ในการประชุมใหญ่โครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษา ครั้งที่ 5 (HERP CONGRESS V) “รากฐานภูมิปัญญาไทย นวัตกรรมวิจัย สู่สากล” ในระหว่างวันที่ 2 - 4 มีนาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุดรธานี จัดโดยส�ำนักบริหารโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและ พัฒนา มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ส�ำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี รศ.วิมล ด�ำศรี อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชเข้าร่วม กิจกรรมใน 2 ประเภท คือ การจัดนิทรรศการเรื่อง สาคู และการใช้ ประโยชน์ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น ในนามของกลุ่มเครือข่ายมหาวิทยาลัย ราชภัฏ–ราชมงคล ภาคใต้ และการน�ำเสนอผลงานวิจัย โดยนักวิจัยของ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก ส�ำนักบริหารโครงการฯ ประจ�ำปีงบประมาณ 2558 เข้าร่วมน�ำเสนองาน วิจัย จ�ำนวน 5 เรื่อง ประกอบด้วย 1. เรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว เกรียบจากผักพื้นบ้าน นักวิจัย คือ อาจารย์วราศรี แสงกระจ่าง และ อาจารย์จุรีภรณ์ นวลมุสิก 2. เรื่องการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการ ศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ วิถีชีวิต และภูมิปัญญาท้องถิ่น : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช นักวิจัย คือ ผศ.ดร.จุติพร อัศว โสวรรณ ผศ.ดร.สมพร เรืองอ่อน ผศ.สุรศักดิ์ แก้วอ่อน อาจารย์จุฑามาศ ศุภพันธ์ อาจารย์วิเชียร มันแหล่ และผศ.ดร.สุภาวดี รามสูตร 3. เรื่อง การศึกษาและพัฒนารูปแบบการปลูกข้าวไร่พันธุ์พื้นเมือง เพื่อส่งเสริม การใช้ประโยชน์ด้านอาหารอย่างยั่งยืน ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช นักวิจัย คือ ผศ.วรรณชัย พรหมเกิด
11
นักวิจัย มรภ.นศ.เจ๋ง คว้ารางวัลยกทีม
4. เรื่องการกระจายตัวและการใช้ประโยชน์ป่าสาคูในพื้นที่ภาคใต้ : จังหวัดนครศรีธรรมราช นักวิจัย คือ ผศ.ศุภมาตร อิสสระพันธุ์ อาจารย์ มลิมาศ จริยพงศ์ อาจารย์วัฒนณรงค์ มากพันธ์ ผศ.นฤมล ขุนวีช่วย อาจารย์มานะ ขุนวีช่วย ผศ.ฉัตรชัย สังข์ผุด นางจีราภรณ์ สังข์ผุด อาจารย์ บุญยิ่ง ประทุม อาจารย์เชษฐา มุหะหมัด และผศ.สุริยะ จันทร์แก้ว และ 5. เรื่องการขยายพันธุ์สาคู, ด้วงสาคู ผสมผสานกับการประมงของแหล่งน�้ำ สู่รายได้เพิ่มของเกษตรกรในจังหวัดนครศรีธรรมราช นักวิจัย คือ ผศ.สุริยะ
จันทร์แก้ว ซึ่งโครงการวิจัยล�ำดับที่ 1, 2 , 3 และ 5 ได้รับรางวัลผลงาน วิจัยระดับดีมากประเภทโปสเตอร์ ส่วน โครงการล�ำดับที่ 4 ได้รับรางวัล ผลงานวิจัยระดับดีมากประเภทบรรยาย นอกจากนี้ ผศ.สุรศักดิ์ แก้วอ่อน ยังได้รับรางวัลผู้ประสาน งานโครงการวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น ระดับภาคใต้อีกหนึ่งรางวัลด้วย อธิการบดีกล่าวเพิ่มเติม
คณะกรรมาธิการการเมือง ลงพื้นที่ รับฟังและแลกเปลีย ่ นความคิดเห็น เมื่อเร็วๆ นี้ เรืออากาศโทสมพร ปานด�ำ ผู้อ�ำนวยการวิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช พร้อม คณะผู้บริหาร ตรวจเยี่ยม ติดตาม และให้ก�ำลังใจ คณะครูแผนกวิชาช่างก่อสร้าง, แผนกโยธา และ นักเรียน นักศึกษา บุคลากรทางการศึกษา ที่จัดท�ำ โครงการสร้างบ้านพักผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ตามภารกิจของโครงการอาชีวศึกษาประชารัฐ ช่วยเหลือประชาชน จ�ำนวน 2 หลัง ณ ต�ำบล คลองสระ อ�ำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ระหว่างวันที่ 11 มีนาคม – 9 เมษายน 2560
เชฟรอนคว้ารางวัลชนะเลิศ การประกวดนวัตกรรม การส�ำรวจและผลิตปิโตรเลียมประจ�ำปี 2559 เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยส�ำรวจและผลิต จ�ำกัด ได้รับรางวัลชนะเลิศในการประกวดโครงการนวัตกรรมการส�ำรวจ และผลิตปิโตรเลียมประจ�ำปี พ.ศ. 2559 (SPE Thailand E&P Awards 2016) จัดโดยสมาคมวิศวกรปิโตรเลียมนานาชาติ สาขาประเทศไทย โดย นายแมตต์ โฮฮ์เนน วิศวกรปิโตรเลียมอาวุโส เชฟรอนประเทศไทย ได้ เป็นตัวแทนรับมอบรางวัลจากนายวีระศักดิ์ พึ่งรัศมี อธิบดีกรมเชื้อเพลิง ธรรมชาติ โดยมีนายแบรด มิดเดิลตัน กรรมการผู้จัดการใหญ่ เชฟรอน เอเชียเซ้าท์ รวมถึงคณะผู้บริหารของบริษัทฯ พร้อมด้วยผู้ประกอบการ ด้านปิโตรเลียมต่างๆ เข้าร่วมงาน ในปีนี้ “โครงการส�ำรวจหลุมผลิตผ่านเคเบิลใยแก้วน�ำแสง” ของทีมวิศวกรปิโตรเลียมจากเชฟรอนประเทศไทย ได้คว้ารางวัลชนะเลิศ จากการประกวดในครั้งนี้ เนื่องจากมีความโดดเด่นด้านนวัตกรรมจากการ พัฒนาเทคโนโลยีการใช้เส้นใยแก้วน�ำแสงแบบใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การผลิตของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมในอ่าวไทย การประกวดโครงการนวัตกรรมการส�ำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ SPE Thailand E&P Awards จัดขึ้นเพื่อเปิดโอกาสให้วิศวกร ปิโตรเลียมได้แสดงศักยภาพในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ ที่สามารถ น�ำมาต่อยอดในการพัฒนาอุตสาหกรรมส�ำรวจและผลิตปิโตรเลียมให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น พร้อมกันนั้น ยังเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความ ผู้น�ำด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของเชฟรอน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ รู้ระหว่างสมาชิกที่เป็นประโยชน์และน�ำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ซึ่งการได้รับ กับธุรกิจส�ำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยอย่างยั่งยืน รางวัลดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงบุคลากรที่มีคุณภาพ ผสานกับความเป็น
ที่ห้องประชุมศรีปราชญ์ ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดนครศรี ธรรมราช นายกล้านรงค์ จันทิก ประธานคณะกรรมาธิการการเมือง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และคณะ ได้เดินทางลงพื้นที่จังหวัด นครศรีธรรมราช เพื่อรับประชุมรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นใน ประเด็นที่เป็นประโยชน์ต่อการด�ำเนินงานตามอ�ำนาจหน้าที่ของคณะ กรรมาธิการ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยมีนายจ�ำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ นายอ�ำเภอ ผู้แทนองค์กรอิสระ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่ ว ยงานที่ เ กี่ ย วข้ อ งร่ ว มรั บ ฟั ง และแลกเปลี่ ย นความคิ ด เห็ น อย่างหลากหลาย ส�ำหรับการลงพื้นที่นครศรีธรรมราชครั้งนี้ ทางคณะกรรมาธิการ การเมือง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช.ได้น�ำประเด็นความ คืบหน้าการจัดท�ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ตลอดจนสาระส�ำคัญใน บางมาตราของร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวมาร่วมพูดคุยและแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น โดยเฉพาะในประเด็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส�ำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง การจัดท�ำยุทธศาสตร์ 20 ปี ประเทศไทย และแนวทางการปฏิรูประเทศ ที่เบื้องต้นภาคส่วนใน ระดับพื้นที่ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นที่สอดคล้องในแนวทางการปฏิรูป ประเทศ พร้อมทั้งเรียกร้องให้เร่งด�ำเนินการในประเด็นดังกล่าวเพื่อ ความก้าวหน้าในการพัฒนาประเทศ โดยขอให้มีการปรับยุทธศาสตร์ การพัฒนาประเทศ ทั้งในส่วนของแผนงาน/โครงการ ที่จะต้องค�ำนึง ถึงความสามารถในการน�ำไปปฏิบัติได้จริง เน้นการพัฒนาทั้งระบบ มากกว่าการจัดสรรงบประมาณแบบเกลี่ยพื้นที่ เพื่อความชัดเจนและ เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งการสนับสนุนแนวทางการพัฒนา ประเทศ ที่รัฐบาลได้มุ่งเน้นการพัฒนาแบบกลุ่มจังหวัดด้วย
12
เดือนมีนาคม 2560
FREE COPY
แม่ทัพภาคที่ 4 ตรวจเยี่ยมการก่อสร้างบ้านให้ผู้ประสบอุทกภัย วันนี้(14 มี.ค.60) พลโทปิยวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 4 ได้ ตรวจเยี่ยมความก้าวหน้าการก่อสร้างบ้านใหม่ให้ผู้ประสบอุทกภัย จ�ำนวน 34 หลัง ที่บ้านถ�้ำใหญ่ หมู่ที่ 4 ต.ถ�้ำใหญ่ อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช โดย มีนายจ�ำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช พลตรี ปริยารณ มัชฌิมวงศ์ ผู้บัญชาการมณฑลหารบกที่ 43 นายทศพร จันทร ประวัติ นายอ�ำเภอทุ่งสง และนายอนุวัตร นาคฤทธิ์ นายกเทศมนตรีต�ำบล ถ�้ำใหญ่ นายทหาร และประชาชนร่วมให้การต้อนรับ โดยกองทัพภาค ที่ 4 เป็นผู้ด�ำเนินการสร้างบ้าน มี 4 หน่วยที่รับผิดชอบหลักคือ กองพล พัฒนาที่ 4 กองพลทหารราบที่ 5 กองบัญชาการช่วยรบที่ 4 และ มณฑล ทหารบกที่ 43 ขณะนี้การก่อสร้างก้าวหน้าไปแล้วร้อยละ 36 ก�ำหนดแล้ว เสร็จทั้ง 34 หลัง ภายในวันที่ 30 มีนาคม 2560 และสามารถส่งมอบบ้าน ให้ผู้ประสบอุทกภัยได้ภายในสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน 2560 โอกาสนี้แม่ทัพภาคที่ 4 พร้อมด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรี ธรรมราช นายอ�ำเภอทุ่งสง และรองผู้จัดการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทุ่งสง ได้ ร่วมกันจับสลากบ้านให้ผู้ประสบอุทกภัยทั้ง 34 ราย เพื่อให้เกิดความเป็น ธรรมกับทุกคน จากนั้นผู้ประสบอุทกภัยจับหมายเลขบ้านเพื่อเป็นเจ้าของ บ้าน ซึ่งได้มีการออกบ้านเลขที่เพื่อขอขยายเขตให้บริการไฟฟ้าต่อไป พลโท ปิยะวัฒน์ นาควานิช แม่ทัพภาคที่ 4 กล่าวว่า สมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุอุทกภัยที่ ผ่านมา ซึ่งพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สนองพระราช
ด�ำรัส โดยสั่งการให้ทุกภาคส่วน ทั้งกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ร่วมบูรณาการจัดก�ำลังพลและยุทโธปกรณ์ เข้าช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ตั้งแต่ขั้นของการเกิดภัยจนถึงขึ้นของการ ฟื้นฟู โดยในพื้นที่ต�ำบลถ�้ำใหญ่ อ�ำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช หน่วยทหารของกองทัพภาคที่ 4 และส่วนราชการในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ได้
คณะทูตานุทูต ประจ�ำประเทศไทย ศึกษาดูงานพืน ้ ทีน ่ ครศรีธรรมราช
วันนี้(17 มี.ค.60) ที่ศูนย์ OTOP บ้าน คีรีวง ต�ำบลก�ำโลน อ�ำเภอลานสกา นา งบุษยา มาทแล็ง ปลัดกระทรวงการ ต่างประเทศ พร้อมคณะทูตานุทูตและ คู่สมรส จ�ำนวน 80 คน เจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องจากกระทรวงการ ต่างประเทศ เข้าเยี่ยมชมและศึกษาวิถีชีวิตของพี่น้องชาวคีรีวง โดยมี นายส�ำคัญ อรทัย พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนหน่วยงานใน พื้นที่ให้การต้อนรับ ส�ำหรับการเดินทางลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชครั้งนี้ คณะทูตานุทูต ประจ�ำประเทศไทย พร้อมคู่สมรส จะเข้าเยี่ยมชม พร้อมศึกษาถึงศิลปวัฒนธรรมของเมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งการ เข้าเยี่ยมชมกลุ่ม OTOP ในหมู่บ้านคีรีวงครั้งนี้ ทางคณะทูตานุทูต ประจ�ำประเทศไทย พร้อมคู่สมรส ได้เข้าชมการผลิตสบู่จากเปลือก มังคุด ของกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง และกลุ่มมัดย้อมสีธรรมชาติ โดย ทางคณะได้ซักถามด้วยความสนใจพร้อมทั้งศึกษาขั้นตอนการท�ำผ้า
วันนี้ (17 มี.ค. 60) ที่ห้องประชุมคอซิมบี้ ศาลากลางจังหวัด ภูเก็ต นายโชคชัย เดชอมรธัญ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ได้ลงนามใน บันทึกความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและการพัฒนา สู่เมืองอัจฉริยะระหว่างจังหวัดภูเก็ตและจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมี นายจ�ำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้ ลงนาม นอกจากนี้ยังเป็นการประชุมร่วมกับภาคีระหว่างส่วนราชการ และภาคเอกชนทั้ง 2 จังหวัด ในเรื่องของการพัฒนาเศรษฐกิจและ การท่องเที่ยวของทั้ง 2 จังหวัด โดยมีวัตถุประสงค์มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างภาคีเครือข่ายความ ร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวและสร้างขีดความสามารถ ในการแข่งขัน โดยก�ำหนดให้มีกิจกรรมการจัดประชุมภาคีที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว จังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัด ภูเก็ต ภายใต้หัวข้อ “Imagine Nakhon Si Thammarat & Phuket 2017 : A new Economic and Tourism Cooperation Development” ส�ำหรับใจความส�ำคัญของบันทึกความร่วมมือ (MOU) ประกอบ ด้วย จังหวัดทั้ง 2 จะร่วมมือและสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ การท่อง เที่ยวและการพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) รวมถึงจังหวัดทั้ง 2 จะร่วมกันส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาค ประชาชน ในการพัฒนาเศรษฐกิจ การบริหารจัดการการท่องเที่ยว สร้าง ความเชื่อมโยงด้านการท่องเที่ยวระหว่างจังหวัด รวมถึงจังหวัดทั้งสอง จะร่วมกันก�ำหนดกิจกรรมการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว ภายใต้หัวข้อ “Imagine Nakhon Si Thammarat& Phuket 2017 : A new Economic and Tourism Cooperation Development” และส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวในเส้นทางท่องเที่ยวนครศรีธรรมราชภูเก็ต และ ภูเก็ต-นครศรีธรรมราช ตลอดจนจังหวัดทั้งสองจะส่งเสริมและ
มัดย้อมและร่วมทดลองท�ำผ้ามัดย้อมจากสีธรรมชาติอย่างสนุกสนาน ส่วนในวันพรุ่งนี้ทางคณะฯ จะได้เดินทางไปยังพื้นที่อ�ำเภอปากพนัง เพื่อทัศนศึกษาและเยี่ยมชมโครงการตามแนวพระราชด�ำริ ของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ณ ศูนย์อ�ำนวยการ ประสานการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน�้ำปากพนัง อ�ำเภอปากพนัง ก่อนเดินทาง มายังวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร เพื่อนมัสการและเยี่ยมชมความ งดงามของภูมิสถาปัตย์ภายในบริเวณวัดพระมหาธาตุ วรมหาวิหาร และเข้าชมโบราณวัตถุ ณ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติจังหวัดนครศรี ธรรมราช อ�ำเภอเมืองนครศรีธรรมราชเป็นล�ำดับต่อไป
ร่วมกันด�ำเนินการก่อสร้างบ้านให้กับพี่น้องประชาชน จ�ำนวน 34 หลัง โอกาสนี้ในนามของกองทัพบก รวมถึงจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยผู้ว่า ราชการจังหวัด ขอเป็นก�ำลังใจให้พี่น้องประชาชนทุกคน และขอให้ทุกคน ได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เนื่องจากเมื่อบ้านด�ำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ พื้นที่แห่งนี้ จะเป็นอีก 1 ชุมชุน จ�ำเป็นต้องมีความเข็มแข็ง พร้อมที่จะก้าว ไปสู่การพัฒนา ทั้งในด้านการส่งเสริมอาชีพ รวมถึงด้านอื่นๆ ตามแผนการ พัฒนาของเทศบาลต�ำบลถ�้ำใหญ่ ในโอกาสต่อไป และกองทัพภาคที่ 4 จะ ได้มอบที่นอนหมอนมุ้ง เครื่องครัว และเสื้อผ้าเด็ก ๆ ให้ต่อไปด้วย นายจ�ำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ขอแสดงความยินดีกับพี่น้องประชาชนที่ได้บ้านใหม่ด้วย ขอให้มี ความรักความสามัคคีต่อกัน ต่อไปจังหวัดพร้อมที่จะน�ำศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน มาปรับใช้ในชุมชนดังกล่าวโดยเฉพาะเรื่องแนว ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง นายอนุวัตร นาคฤทธิ์ นายกเทศมนตรีต�ำบลถ�้ำใหญ่ กล่าวว่า ที่ดินที่ใช้สร้างบ้านแปลงดังกล่าวมีเนื้อที่ 4 ไร่ โดยรับการอุทิศจากนาย พงษ์ศักดิ์ ภักดีชน และเครือญาติ ที่ต้องการมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือพี่ น้องประชาชนที่ประสบภัยพิบัติ ส�ำหรับการสร้างบ้านให้กับผู้ประสบภัยที่บ้านถ�้ำใหญ่ หมู่ที่ 4 ต�ำบลถ�้ำใหญ่ ย้ายมาจากบ้านน�้ำรอบ หมู่ที่ 9 ต.ถ�้ำใหญ่ อ.ทุ่งสง เป็น บ้านผู้ประสบภัยแบบที่ 2 ของกรมโยธาธิการและผังเมือง เป็นบ้านสองชั้น กว้าง 3.6 เมตร ยาว 6 เมตร มีพื้นที่ใช้สอย 45 ตารางเมตร
จังหวัดนครศรีธรรมราช MOU จังหวัดภูเก็ต หนุนร่วมมือทางเศรษฐกิจและการท่องเทีย ่ ว
สนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนสินค้าท้องถิ่นและซื้อขายแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และคณะ ได้ศึกษา OTOP และจังหวัดทั้งสองจะร่วมกันส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมอื่นๆ ดูงานระบบการก�ำจัดขยะของเทศบาลนครภูเก็ต และการด�ำเนินงาน นอกเหนือจากที่ระบุไว้เพื่อเป็นการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวและพัฒนา phuket Smart City ณ SiPA จังหวัดให้มีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยั่งยืน
เดือนมีนาคม 2560
FREE COPY
13
3,000 นักปั่นร่วมเปิดต�ำนานเมืองคล้องช้าง
“ปั่นเปิดเมืองพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์” อ�ำเภอช้างกลางจัดกิจกรรมเปิดต�ำนาน เมืองคล้องช้าง “ปั่น เปิดเมืองพ่อท่านคล้าย” ครั้งที่ 1 มีนักปั่นเข้าร่วมทั่วประเทศกว่า 3000 คัน วันนี้(26 มีนาคม 2560) ตั้งแต่เวลา 07.30 น. ที่สนามหน้า ที่ว่าการอ�ำเภอช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช นายดนัย เจียมวิเศษสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานเปิดกิจกรรม “ปั่น เปิดเมืองพ่อท่านคล้าย”ครั่งที่ 1 โดยมี นายธีระพงศ์ ช่วยชู นายอ�ำเภอ ช้างกลาง ให้การต้อนรับ ซึ่งมีนักปั่นจักรยานทั้งชายและหญิงเข้าร่วม กิจกรรมในครั้งนี้กว่า 3000 คัน จากทั่วจังหวัดภาคใต้ให้ความสนใจและ เข้าร่วมในครั้งนี้ ส�ำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ เกิดขึ้นจากทุกภาคส่วน ทั้ง
ภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้น�ำท้องที่ กลุ่มพลังมวลชน ในพื้นที่อ�ำเภอช้างกลาง ฉวาง นาบอน ทุ่งสง และใกล้เคียง ได้หารือกัน ต้องการที่จะพัฒนาพื้นที่ฝั่งตะวันตกของจังหวัดนครศรีธรรมราช ทั้งด้าน การท่องเที่ยว ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษาและด้านเศรษฐกิจภายใต้ แนวคิด “เปิดต�ำนาน เมืองคล้องช้าง” โดยนายธีระพงศ์ ช่วยชู นายอ�ำเภอช้างกลาง เปิดเผยว่า ส�ำหรับกิจกรรม “ปั่นเปิดเมืองพ่อท่านคล้าย” ซึ่งได้จัดเป็นครั้งที่ 1 ใน วันนี้ ได้ก�ำหนดน�ำนักปั่นจากทั่วประเทศ ปั่นตามรอยเกจิดังพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ และวัดมะนาวหวาน ซึ่งเคยเป็นที่เสด็จของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 และปั่นไปตามสถานที่ท่องเที่ยว ของอ�ำเภอช้างกลาง โดยการจัดกิจกรรมปั่นจักรยานเพื่อการกุศล “ปั่น
เปิดเมืองพ่อท่านคล้าย” ระยะทาง 35 กิโลเมตร ในครั้งนี้ เพื่อหารายได้ สมทบทุนการก่อสร้างมณฑปพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ ณ โรงพยาบาล พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์ และปรับปรุงภูมิทัศน์หน้าที่ว่าการอ�ำเภอช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช อีกด้วย
เชฟรอน-คีนัน ภายใต้โครงการ Chevron Enjoy Science : สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต จับมือ 12 กลุ่มมหาวิทยาลัย ร่วมเป็น เครือข่ายพันธมิตรยกระดับสะเต็มศึกษา พัฒนา “คนต้นน�้ำ” ตั้งแต่ผู้บริหาร สถานศึกษา - ศึกษานิเทศก์ - ครูพี่เลี้ยง - ครูประจ�ำการและครูฝึกสอน พร้อมจัดตั้ง STEM HUB 12 แห่ง เพื่อเป็นพลังส�ำคัญขับเคลื่อนการเรียนรู้ รูปแบบใหม่ ตอบโจทย์การสร้างบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและตรงตาม ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ตามยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 รศ.นพ.โศภณ นภาธร ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจ�ำกระทรวง ศึกษาธิการ กล่าวว่า ปัจจุบันการพัฒนาศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ นับเป็นความท้าทายของประเทศในการเดินหน้าสู่ยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 จึงเป็นโจทย์ส�ำคัญที่ต้องเร่งเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาของประเทศ เพื่อพัฒนาทักษะเด็กไทยให้ก้าวทันความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ซึ่งหนึ่ง ในนโยบายส�ำคัญตามที่ภาครัฐได้ก�ำหนด คือ ให้มหาวิทยาลัยเป็นพี่เลี้ยง ให้กับโรงเรียนในท้องถิ่น เพื่อท�ำหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้ พัฒนาครูของ โรงเรียนทุกระดับการศึกษารวมทั้งชุมชน การลงนามความร่วมมือระหว่าง 12 กลุ่มมหาวิทยาลัยกับ โครงการ Chevron Enjoy Science : สนุกวิทย์ พลังคิด เพื่ออนาคต ในครั้งนี้จึงถือเป็นการด�ำเนินตามแนวทาง “รัฐร่วมเอกชน” ของรัฐบาล และเป็นการวางรากฐานพัฒนาการศึกษารูปแบบใหม่เพื่อยกระดับสะเต็ม ศึกษาที่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวง
Chevron Enjoy Science ผนึก 12 กลุ่มมหาวิทยาลัย สร้างเครือข่ายพัฒนา “คนต้นน�้ำด้านการศึกษา” รูปแบบใหม่ ยกระดับสะเต็มศึกษาแบบครบวงจร นายไพโรจน์ กวียานันท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เชฟรอนประเทศไทยส�ำรวจและผลิต จ�ำกัด กล่าวว่า การลงนาม ความร่วมมือดังกล่าวเป็นการสร้างเครือข่ายพันธมิตรสะเต็มศึกษาที่เข้ม แข็ง เนื่องจากมหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานที่มีทุนด้านทรัพยากรบุคคล และทุนทางสังคมสูง การเข้ามาเป็นหลักในการระดมความร่วมมือระหว่าง รัฐ เอกชนและท้องถิ่น จึงถือเป็นการพัฒนา “ต้นน�้ำการศึกษา” ครอบคลุม ตั้งแต่ผู้บริหารสถานศึกษา ครูประจ�ำการ ครูฝึกสอน ซึ่งจะช่วยส่งเสริม และยกระดับการเรียนการสอนด้านสะเต็มศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ น�ำไปสู่การสร้างทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งหัวใจส�ำคัญคือ การบูรณาการความคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา เพื่อน�ำไปสู่การสร้างนวัตกรรม ที่ตอบโจทย์ตามยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 ความจ�ำเป็นเร่งด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไข คือ การลดความ เหลื่อมล�้ำในการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ หรือ การสร้างความเท่าเทียม ระหว่างสถานศึกษาขนาดใหญ่ โรงเรียนขยายโอกาสและโรงเรียนขนาดเล็ก ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งรูปแบบ “รัฐร่วมเอกชน” จะสามารถตอบโจทย์ เพื่อลดความเหลื่อมล�้ำแต่ละพื้นที่ได้อย่างตรงจุด เพราะการแก้ไขปัญหา ที่ยั่งยืนคงไม่สามารถผลักให้เป็นหน้าที่ภาครัฐฝ่ายเดียวได้ จึงเป็นที่มา ความร่วมมือกับ 7 องค์กรภาครัฐ และภาคีเครือข่ายด้านการศึกษาในการ ด�ำเนินโครงการ Chevron Enjoy Science นายไพโรจน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การด�ำเนินโครงการฯ ที่ผ่านมา 2 ปี ได้รับความร่วมมือจากองค์กรและหน่วยงานการศึกษาในแต่ละพื้นที่ เป็นอย่างดี กระทั่งปัจจุบันได้จัดตั้ง STEM HUB (ศูนย์สะเต็ม) แล้ว 5 แห่ง
คือที่จังหวัดสงขลา สมุทรปราการ ขอนแก่น เชียงใหม่และนครศรีธรรมราช โดยมีแผนจะขยายอีก 7 แห่งจนครบตามเป้าหมาย 12 แห่งในปีที่ 3 นี้ ด้านนายปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานสถาบันคีนันแห่งเอเซีย กล่าวว่า ผลจากการตั้ง STEM HUB ท�ำให้วันนี้เริ่มเกิดการสร้างชุมชน แห่งการเรียนรู้ ที่ขับเคลื่อนโดยมีศูนย์สะเต็มผสานกับมหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง สู่โรงเรียนแม่ข่ายและลูกข่าย ช่วยกระตุ้นให้เกิดการติดตาม ประเมินผล และแบ่งปันองค์ความรู้ระหว่างกันขึ้น เห็นได้จากที่ครูเริ่มมีการแบ่งบทบาท หน้าที่แลกเปลี่ยนวิธีใช้หลักสูตรและอุปกรณ์ ขณะที่มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยง ซึ่งเป็นจุดตั้ง STEM HUB ก็เข้ามาสนับสนุนแนะน�ำการสอนเพิ่มเติม ท�ำให้สร้างการมีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาท้องถิ่น
พร้อมกับการกระตุ้นให้ครูปรับการเรียนการสอนให้เด็กเกิดความสนุก และคิดเป็นมากขึ้น “เป้าหมายโครงการฯ ไม่ได้มุ่งพัฒนาเด็กให้ ‘เก่งแบบเป็นเลิศ’ เฉพาะกลุ่ม แต่มุ่งยกระดับการศึกษาในภาพรวมโดยเฉพาะโรงเรียนขยาย โอกาสและโรงเรียนขนาดเล็ก พร้อมสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาครูและ เครือข่ายโรงเรียนให้เข้มแข็งเพื่อให้เด็กและเยาวชนเห็นความส�ำคัญของ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี น�ำความรู้ไปใช้ในชีวิตจริง ซึ่งเชื่อว่าเมื่อสิ่ง เหล่านี้เป็นไปตามที่ตั้งเป้าไว้จะมีส่วนช่วยพัฒนา ‘คน’ ให้ตอบโจทย์ ประเทศที่ก�ำลังก้าวสู่ไทยแลนด์ 4.0” นายปิยะบุตรกล่าว
14
เดือนมีนาคม 2560
FREE COPY
บริการห้องพัก ห้องอาหาร ห้องประชุมสัมมนา งานเลี้ยงมงคลสมรส
แบงค์ & บอย ศูนย์รวมของเด็กเล่นทุกชนิด จ�ำหน่าย... สินค้าเบ็ดเตล็ด เครื่องใช้ครัวเรือน ของขวัญปีใหม่ ตุ๊กตา กิ๊ฟช้อป ฯลฯ bankandboyshop, bankandboy www.facebook.com/bankandboy
โทร.075-358405, 075-761702
095-3203270
เดือนมีนาคม 2560
FREE COPY
15
รมว.พลังงาน ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู ผู้ประสบอุทกภัย
พร้อมตรวจติดตามสถานการณ์พลังงานในพื้นที่ภาคใต้
วันนี้ (10 มีนาคม 2560) พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน พร้อมด้วย นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัด กระทรวงพลังงาน น�ำคณะผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ในสังกัด กระทรวงพลังงาน ลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อให้ความช่วยเหลือ และฟื้นฟูผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมตรวจติดตาม สถานการณ์พลังงาน 9 จังหวัดในกลุ่มภาคใต้ ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง กระบี่ พังงา ระนอง ภูเก็ต และตรัง เพื่อสร้าง ความมั่นใจประชาชนผู้ใช้พลังงานครอบคลุมทุกกลุ่มพลังงาน ได้แก่ ไฟฟ้า น�้ำมัน ก๊าชธรรมชาติ โดยมี นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี รองผู้ว่าราชการ จังหวัดนครศรีธรรมราช และพลังงานจังหวัดจาก 9 จังหวัดในกลุ่มภาคใต้ ให้การต้อนรับ ณ โรงแรมทวินโลตัส อ�ำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช โอกาสนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานส�ำรวจความเสียหาย และตรวจสอบคุณภาพน�้ำมันหลังน�้ำท่วม สถานีบริการน�้ำมันในพื้นที่อ�ำเภอ เมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ สถานีบริการน�้ำมัน ปตท.ศิรินคร ถนน พัฒนาการคูขวาง (ประตูลอด) สถานีบริการน�้ำมันเชลล์ หจก.นครเชลล์ สี่แยกพัฒนาการคูขวาง และตรวจเช็คสภาพถังก๊าซหุงต้ม รวมทั้งชมการ สาธิต การควบคุมเพลิง ณ สถานีบรรจุแก๊สหุงต้ม ปตท. ถนนอ้อมค่าย วชิราวุธ จากนั้นได้ตรวจเยี่ยมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ซึ่งกลุ่ม ปตท.รวม
กับโรงพยาบาลกรุงเทพ หาดใหญ่ ที่ให้บริการตรวจรักษาโรคทั่วไปแก่ ประชาชน และตรวจเยี่ยมการให้บริการซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้า และรถ จักรยานยนต์ ของวิทยาลัยสารพัดช่างนครศรีธรรมราช ณ ศูนย์โอท็อป นครศรีธรรมราช (สวนศรีธรรมาโศกราช) อ.เมืองนครศรีธรรมราช พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชในครั้ง เพื่อให้ความช่วยเหลือ และฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช จากสถานการณ์ น�้ำท่วมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา พร้อมทั้งติดตามการบ�ำรุงรักษาสถานที่ด้าน พลังงานที่ได้รับความเสียหาย และตรวจสอบศักยภาพของการให้บริการ เกี่ยวกับด้านพลังงานภายหลังสถานการณ์น�้ำท่วม เพื่อสร้างความมั่นใจให้ กับประชาชน โดยได้มีการตรวจสอบคุณภาพน�้ำมันและสถานีบริการน�้ำมัน การตรวจสอบสภาพถังก๊าซหุงต้ม การสนับสนุนหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อ ให้บริการประชาชน รวมถึงการฟื้นฟูและมอบอุปกรณ์การเรียนการสอนให้ กับโรงเรียนมัชฌิมภูผา ในพื้นที่อ�ำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช นอกจากนี้ ยังได้มีการหารือข้อราชการเกี่ยวกับสถานการณ์ พลังงานของกลุ่มภาคใต้ 9 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรี ธรรมราช พัทลุง กระบี่ พังงา ระนอง ภูเก็ต และตรัง โดยได้มีการมอบหมาย ให้พลังงานจังหวัดและเจ้าหน้าที่กระทรวงพลังงานในพื้นที่ภาคใต้ มุ่งเน้น การท�ำงานอย่างบูรณาการติดตามดูแลสถานการณ์พลังงานอย่างใกล้ชิด ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ พร้อมทั้งให้ด�ำเนินการช่วยเหลือ ฟื้นฟู ผู้ประสบภัยจากสถานการณ์น�้ำท่วมทั้งในส่วนของโครงการพลังงาน ต่างๆ ที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงพลังงาน สถานที่ราชการ โรงเรียน วัด และที่อยู่อาศัยของชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนอย่าง ต่อเนื่องจนกระทั่งเข้าสู่ภาวะปกติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวต่อว่า ส�ำหรับการให้ ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย และฟื้นฟูสถานที่ประสบภัยหลังสถานการณ์ น�้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ กระทรวงพลังงาน ได้ร่วมกับบริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และหน่วยงานเครือข่ายด้าน พลังงานต่างๆ ให้ความช่วยเหลือกระจายไปยังทุกจังหวัดที่ได้รับผลกระทบ
โดยมุ่งเน้นพื้นที่ที่ความช่วยเหลือยังเข้าไม่ถึง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ทั่วทุกพื้นที่อย่างแท้จริง “ในสถานการณ์น�้ำท่วมภาคใต้ที่ผ่านมา กระทรวงพลังงาน ได้ ติดตามผลกระทบในด้านพลังงานอย่างใกล้ชิด และได้มอบหมายให้หน่วยงาน ในสังกัดทั้งส่วนกลางและในพื้นที่ รวมถึงบริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) การ ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เฝ้าระวังสถานที่และบริการด้านพลังงาน ให้ครอบคลุมทั้งในเรื่องไฟฟ้า น�้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ไม่ให้เกิดผลกระทบ ต่อประชาชนผู้ใช้บริการ พร้อมทั้งด�ำเนินการให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทา ความเดื อ ดร้ อ นของชาวบ้ า นที่ ป ระสบภั ย มาอย่ า งต่ อ เนื่ อ งตั้ ง แต่ เ กิ ด เหตุการณ์น�้ำท่วม เช่น การมอบเงินช่วยเหลือผ่านโครงการ “ประชารัฐ ร่วมใจ ช่วยอุทกภัยใต้” กว่า 47 ล้านบาท การสนับสนุนเรือท้องแบน 3 ล�ำ มอบถุงยังชีพ 37,393 ถุง น�้ำดื่มกว่า 5 แสนขวด หลอดไฟ LED 74 ชุด อาหาร กล่องกว่า 2 หมื่นกล่อง ยาสามัญประจ�ำบ้านกว่า 1 หมื่นชุด เครื่องนุ่งห่มกว่า 2 หมื่นชุด ตลอดจนการให้ความร่วมมือกับจังหวัดต่างๆ ในพื้นที่ประสบภัย เพื่อป้องกันอันตรายทั้งในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนจากระบบไฟฟ้า ในช่วงที่เกิดสถานการณ์น�้ำท่วม” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าว
จับฉลากเข้าเรียนโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราชคึกคัก บรรยากาศการจับฉลากเพื่อเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาล นครศรีธรรมราช (ณ นคร อุทิศ) ในระดับชั้นอนุบาล เป็นไปอย่างคึกคัก โดยผู้ปกครองได้น�ำบุตรหลานซึ่งก่อนหน้านี้ได้มายื่นใบสมัครเพื่อ ขอเข้ารับการคัดเลือกไว้แล้วตั้งแต่ช่วงเช้าตรู่ โดยส่วนใหญ่กล่าวว่า อยากให้บุตรหลานของตัวเองได้มีโอกาสได้เข้าเรียนตามที่ตั้งใจไว้ ขณะที่ในส่วนของการเตรียมความพร้อมด้านสถานที่นั้น มีความพร้อม เต็มที่ โดยทางโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช (ณ นคร อุทิศ) ได้จัด เตรียมเต็นท์ขนาดใหญ่ พร้อมโต๊ะที่ระบุหมายเลขประจ�ำตัวผู้สมัคร เพื่อรอรับการมาลงทะเบียนและรายงานตัว นอกจากนี้ ยังจัดให้มีเก้าอี้ ส�ำหรับผู้ปกครองที่มาร่วมลุ้นและให้ก�ำลังใจบุตร-หลาน ในบริเวณ ต่างๆ เป็นจ�ำนวนมาก ส่วนภายในห้องประชุมซึ่งเป็นสถานที่เข้าจับ ฉลากเพื่อคัดเลือกนักเรียนนั้น มีการจัดเตรียมความพร้อมอย่างเต็มที่ อีกทั้งยังได้รับความสนใจจากผู้แทนภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่และคณะ สื่อมวลชน เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน รวมทั้งมีการติดตั้งระบบโทรทัศน์
วงจรปิดเพื่อ ให้ผู้ปกครองและบุคคลทั่วไปที่มาร่วมชมและให้ก�ำลังใจ เด็กๆ ได้เห็นบรรยากาศการจับฉลากภายในห้องประชุมอย่างทั่วถึงด้วย นายสินเทา บุญขวัญ ผู้อ�ำนวยการโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช (ณ นคร อุทิศ) กล่าวว่าโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช (ณ นคร อุทิศ) ได้ รับความสนใจจากเด็กและผู้ปกครองมาสมัครเข้าเรียนในระดับชั้นอนุบาล 1 ประจ�ำปีการศึกษา 2560 และผ่านการตรวจสอบว่ามีคุณสมบัติถูกต้อง ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่ก�ำหนดไว้ จ�ำนวน 703 คน ขณะที่โรงเรียน สามารถรับนักเรียนเข้าเรียนในระดับชั้นอนุบาล ปีที่ 1 โดยวิธีจับฉลากได้ เพียง 240 คนเท่านั้น และทางโรงเรียนได้ให้ความส�ำคัญกับประเด็นความ โปร่งใสและความเท่าเทียมทางโอกาสของเด็กๆ ทุกคน มีการจัดระบบเพื่อ ลดช่องว่างของขั้นตอนต่างๆ มีการติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิด มีการ ติดตั้งจอ LED ขนาดใหญ่ที่บริเวณภายนอกห้องประชุม เพื่อให้ผู้ปกครอง และนักเรียนที่มาร่วมกิจกรรมได้รับชมบรรยากาศการจับฉลากภายใน อาคารห้องประชุมอย่างใกล้ชิด และขอขอบคุณผู้ปกครองที่ได้ให้ความ
ไว้วางใจและเชื่อมั่นในระบบการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน อนุบาลนครศรีธรรมราช (ณ นคร อุทิศ) และในส่วนตัวอยากให้เด็กและ ผู้ปกครองทุกคนได้สมหวัง แต่เนื่องจากทางโรงเรียนมีข้อจ�ำกัดเรื่องเรื่อง สถานที่และบุคลากรที่มีอยู่อย่างจ�ำกัด จึงขอให้เด็กๆ และผู้ปกครองที่ พลาดหวังในครั้งนี้ ได้มีก�ำลังใจและหาสถาบันการศึกษาที่อยู่ในใจล�ำดับ รองลงไป พร้อมทั้งใช้โอกาสในการเข้าเรียนที่โรงเรียนอนุบาลนครศรี ธรรมราช (ณ นคร อุทิศ) อีกครั้งในการคัดเลือกนักเรียนเข้าเรียนในระดับ ประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ในโครงการ English Programme หรือ EP
16
เดือนมีนาคม 2560
FREE COPY