For Quality Management Vol.185

Page 1

www.tpaemagazine.com

For

Quality

March 2013 Vol.19 No.185

Management

Magazine for Executive Management

University of Thailand Towards Competitiveness in the Global Arena

 

  

ISO 22301มาตรฐานระบบบริหารความตอเน�องทางธุรกิจ พฤติกรรมของลูกคากับตัวแบบของคาโน

การดิ้นรนทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยุคผูนำรุนที่ 5 ของจีน “ติวเขามหาวิทยาลัย” กลยุทธ CRM ตอยอด สรางประสบการณลูกคา (CEM) 5 อันดับสูงสุดของปญหาดาน HRM

130301








Contents

Quality Management Vol.19 No.185 March 2013

Quality for Food 39 การเปรียบเทียบข้อกำ�หนด

15

BRC Food I.6 และ IFS Food V.6 ตอนที่ 2 โดย วรณัน เหล่าปิยกุล และ สุวิมล สุระเรืองชัย

Quality of Life 44 ภาวะกระดูกพรุน ภัยเงียบที่ป้องกันได้ โดย โรงพยาบาลหัวเฉียว

Special Issue 50

มจธ. ประกาศศักยภาพ สถาบันการศึกษาไทยให้ก้าวไกลในสากล 55 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ สถาบันอุดมศึกษาคุณภาพ ในระดับสากล 59 ศิลปากร มหาวิทยาลัยชั้นนำ�แห่งการสร้างสรรค์ โดย กองบรรณาธิการ

Quality System Quality Trend 13 มาตรฐานระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ตอนที่ 4

โดย กิตติพงศ์ จิรวัสวงศ์

Quality Management

15 นวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ตอนที่ 4 รูปแบบและประเภทของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

โดย อรุณ ศิริจานุสรณ์

18 แนวโน้มเทคโนโลยีทีวี 2013 โดย วงศกร ตระกูลหิรัญผดุง 23 Supplier Relationship Management : SRM ความสัมพันธ์ที่มองไม่เห็น แต่จับต้องได้ : กรณีศึกษา: พืชสมุนไพรไทย ข่าและตะไคร้ ตอนที่ 2

โดย สุพัชรี สุปริยกุล นงลักษณ์ นิมิตรภูวดล ณัฎภัทรศญา เศรษฐโชติสมบัติ ลดาวรรณ สว่างอารมณ์ และ ดร.พัลลภา ปีติสันต์

67

Quality Production 26 พฤติกรรมของลูกค้ากับตัวแบบของคาโน

โดย วิบูลย์ พงศ์พรทรัพย์

Quality Tools 29 Thailand Quality Prize ตอนที่ 38

โดย คนคุณภาพ 34 KANO Quality Award: KQA ตอนที่ 38 โดย คนคุณภาพ

Quality Testing & Calibration 36 มาตรวิทยาการสอบเทียบมาตรฐานไฟฟ้า บทที่ 5 ตอนที่ 7

โดย สุพจน์ ตุงคเศรวงศ์

Quality Finance 65 การดิ้นรนทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ

ยุคผู้นำ�รุ่นที่ 5 ของจีน โดย รศ.ดร.สมภพ มานะรังสรรค์ 67 กลยุทธ์ลงทุนและออมได้ให้มีเงินมาก เพื่ออนาคต โดย รศ.สุพัตรา สุภาพ



Contents 74

Quality Management Vol.19 No.185 March 2013

Quality Marketing & Branding 71 Marketing New Trend–Update from Japan: สงคราม After Service

โดย รังสรรค์ เลิศในสัตย์

74

“ติวเข้ามหาวิทยาลัย” กลยุทธ์ CRM ต่อยอด สร้างประสบการณ์ลูกค้า (CEM) โดย ธเนศ ศิริกิจ 76 การตลาดบริการ (Services Marketing): การส่งมอบคุณค่า โดย ผศ.ดร.นภวรรณ คณานุรักษ์ 78 ภาพลักษ์องค์การ...สำ�คัญไฉน โดย ชาคริต ดิเรกวัฒนชัย

Quality People 80 5 อันดับสูงสุดของปัญหาด้าน HRM

โดย ธำ�รงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์ 82 เศรษฐกิจสร้างสรรค์: จาก “ทุนนิยมทำ�ลาย” สู่ “ทุนนิยมสร้างสรรค์” เชสเตอร์ บาร์นาร์ด ผู้นำ�ร่องขบวนการมนุษย์นิยม ตอนที่ 4 โดย ผศ.ดร.สมบัติ กุสุมาวลี 85 วิกฤตการณ์จะทำ�ให้มนุษย์กล้าแกร่งและยอมรับเพื่อความอยู่รอด ตอนที่ 4

85

โดย ศาสตราจารย์ ดร.เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์

Life Style Quality Relax 90 Seahorse-Resort @ Hua-Hin โดย หมูดิน

90

Quality Movement 93 Quality Book Guide 94 Quality Movement 100 Update/Certification Bodies in Thailand 101 Update/Calibration Laboratories in Thailand 102 Update/Consultancy and Training in Thailand 103 Information Services 104 Advertiser’s Index



Editor’s Talk ส

ถาบันการศึกษาถือว่าเป็นสถาบันทางสังคมเบื้องต้นที่บ่มเพาะและปลูกฝังทักษะ เบือ้ งต้นให้กบั บุคลากรในประเทศ ภาคการศึกษาจะมีการเปลีย่ นแปลงไปในทิศทาง ใดย่อมส่งผลให้กลไกในการพัฒนาประเทศต้องสอดคล้องกัน ทุกวันนี้การศึกษาของไทย มีทิศทางที่น่าติดตาม เพราะนโยบายของภาครัฐ รวมถึงการแข่งขันที่มีเป้าหมายสู่การ พัฒนาในระดับสากลมีการตื่นตัวมากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น สถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและ เอกชนจึงต้องเร่งวางแผนสร้างความก้าวหน้าให้กับบัณฑิตของตน โดยเฉพาะการแข่งขัน เสรีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่มีแนวโน้มการเปิดเสรีให้กับ 7 สาขาวิชาชีพ อันได้แก่ อาชีพวิศวกร (engineering services) อาชีพพยาบาล (nursing services) อาชีพสถาปนิก (architectural services) อาชีพการส�ำรวจ (surveying qualifications) อาชีพนักบัญชี (accountancy services) อาชีพทันตแพทย์ (dental practitioners) และ อาชีพแพทย์ (medical practitioners) การเตรียมความพร้อมให้กับ 7 วิชาชีพเหล่านี้จึงเป็นโจทย์ที่ท้าทายให้ สถาบันการศึกษาผลิตคนคุณภาพออกมาแข่งขันได้ในอนาคตอันใกล้ ฉบับที่ 185 เดือนมีนาคม 2556 จึงใคร่ขอน�ำเสนอประเด็นที่น่าสนใจผ่าน Special Issue เกี่ยวกับศักยภาพของสถาบันการศึกษาไทยในเวทีโลก โดยขอเสนอทัศนะจาก ท่านอธิการบดีของมหาวิทยาลัยชั้นน�ำในประเทศ 3 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และ มหาวิทยาลัยศิลปากร อีกทั้งยังมีบทความชวนติดตามในเล่มเช่นเคย อาทิ Quality System น�ำเสนอ บทความเรือ่ ง ISO 22301 มาตรฐานระบบบริหารความต่อเนือ่ งทางธุรกิจ บทความเรือ่ ง พฤติกรรม ของลูกค้ากับตัวแบบของคาโน ส�ำหรับ Quality Management เสนอบทความเรือ่ ง การดิน้ รนทาง เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยุคผู้น�ำรุ่นที่ 5 ของจีน บทความเรื่อง “ติวเข้ามหาวิทยาลัย” กลยุทธ์ CRM ต่อยอด สร้างประสบการณ์ลูกค้า (CEM) และบทความเรื่อง 5 อันดับสูงสุดของปัญหาด้าน HRM และบทความอีกมากมายรอทุกท่านอยู่ภายในเล่ม พบกันใหม่ฉบับหน้า

Published by

Advisors คุณมนตรี ชูนามชัย คุณญาณพัฒน อูทองทรัพย

Executive Editor Editor in Chief Editorial Assistant พรามร ศรีปาลวิทย จารุภา มวงสวย

Graphics Art Director Production Design

PR & Advertising Supervisor: ฬ�ยากร ขุพินิจ โทร. 0-2258-0320-5, 0-2259-9160 ตอ 1730 e-mail: liyakorn@tpa.or.th

Marketing Service

บุษบา ปนงาม โทร. 0-2258-0320-5, 0-2259-9160 ตอ 1750 e-mail: butsaba@tpa.or.th

Advertising ชินกานต ภัทรพิทักษ

Member

วิภาวรรณ สุริยาวิภาต โทร. 0-2259-9160 ตอ 1740

อ่านหรือดาวน์โหลดบทความย้อนหลังได้ที่ www.tpa.or.th/publisher และพบกับ มิติใหม่ของ ในรูปแบบ e-Magazine ผ่าน www.tpaemagazine.com

วัตถุประสงค

Pre-Press Printing Distributor

บริษัท เวิลด ออฟ ดิสทริบิวชั่น จำกัด โทร. 0-2744-6888

บทความและขอมูลในนิตยสารฉบับนี้เปนความคิดเห็นสวนตัว และลิขสิทธิ์ของผูเขียน จึงไมมีสวนผูกพันกับสมาคมสงเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุน) แตอยางใด อีกทั้งขอมูลตาง ๆ อาจผิดพลาดเน�องจากกระบวนการพิมพ จึงมิควรใชอางอิงกอนที่จะตรวจสอบใหชัดเจน และในกรณีมีบทความใดที่ผูอานเห็นวาไดมีการลอกเลียนหรือแอบอางโดยปราศจากการอางอิงหรือทำให เขาใจผิดวาเปนผลงานของผูเขียน กรุณาแจงใหทางสมาคมฯ ทราบ จักเปนพระคุณอยางยิ่ง



Q

System for

uality

Trend Production Tools Testing & Calibration for Food of Life


Q

Trend for

uality

ISO 22301ตอนที่ 4

มาตรฐานระบบบริหารความต่อเนื่องทางธุรกิจ ต่อจากฉบับที่แล้ว การปฏิบัติการ

1. การวางแผนและการควบคุม ในขัน้ ตอนแรกของการปฏิบตั -ิ การ ระบุให้องค์การจะต้องมีการวางแผน การน�ำไปใช้ และการควบคุม กระบวนการต่าง ๆ ทีจ่ ำ� เป็นส�ำหรับการตอบสนองต่อความต้องการ และ การด�ำเนินมาตรการต่าง ๆ ตามทีไ่ ด้จากการระบุความเสีย่ งและโอกาส (ตามข้อก�ำหนดที่ 6.1) ซึ่งประกอบด้วย การจัดท�ำเกณฑ์ส�ำหรับ กระบวนการ การด�ำเนินมาตรการควบคุมกระบวนการทีส่ อดคล้องตาม เกณฑ์ทกี่ ำ� หนด และ การจัดเก็บเอกสารข้อมูลสารสนเทศ เพือ่ ให้เกิด ความเชื่อมั่นว่ากระบวนการได้รับการด�ำเนินการตามแผนงานที่ได้ ก�ำหนดไว้ นอกจากนัน้ องค์การจะต้องมีการควบคุมการเปลีย่ นแปลงต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ รวมทัง้ การทบทวนผลทีจ่ ะเกิดขึน้ จากการเปลีย่ นแปลงทีไ่ ม่ได้ ตั้งใจไว้ และมีการด�ำเนินการในการบรรเทาผลกระทบในทางลบที่

กิตติพงศ์ จิรวัสวงศ์ BCMS Auditor kitroj@yahoo.com

เกิดขึน้ ด้วย ในกรณีทมี่ กี ารจ้างงานภายนอก กระบวนการเหล่านัน้ จะต้อง ได้รบั การควบคุมด้วยเช่นเดียวกัน 2. การวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ และการประเมินความ เสีย่ ง 2.1 บททัว่ ไป องค์การจะต้องมีการจัดท�ำ การน�ำไปใช้ และการ ดูแล กระบวนการ ส�ำหรับการวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ และการ ประเมินความเสีย่ ง โดยการ ➲ จัดท�ำบริบทของการประเมิน ก�ำหนดเกณฑ์การประเมิน และ การประเมินผลกระทบทีอ่ าจเกิดขึน้ ของอุบตั กิ ารณ์ทที่ ำ� ให้องค์การเกิด การหยุดชะงัก ➲ ค�ำนึงถึงข้อกฎหมาย และข้อก�ำหนดอืน ่ ๆ ของหน่วยงานที่ องค์การเป็นสมาชิก ➲ ครอบคลุมถึงการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ การจัดล�ำดับ for Quality Vol.19 No.185 March 2013

13


Vol.19 No.185 March 2013

Trend

14

ความส�ำคัญของมาตรการจัดการความเสีย่ ง และต้นทุนทีเ่ กีย่ วข้อง ➲ ก�ำหนดผลลัพธ์ทต ี่ อ้ งการ จากการวิเคราะห์ผลกระทบทาง ธุรกิจ และการประเมินความเสีย่ ง ➲ ระบุถงึ ข้อก�ำหนดทางด้านสารสนเทศ ทีจ่ ะต้องมีการจัดเก็บ ให้ทนั สมัย และเป็นความลับ 2.2 การวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ องค์การจะต้องมีการ จัดท�ำ การน�ำไปใช้ การจัดท�ำเป็นเอกสาร และการดูแลรักษากระบวนการ ส�ำหรับการประเมินผล เพื่อพิจารณาถึงล�ำดับความส�ำคัญของความ ต่อเนือ่ งและการฟืน้ ฟู รวมถึงวัตถุประสงค์ และเป้าหมายทีต่ อ้ งการ โดย กระบวนการนี้จะประกอบด้วยการประเมินถึงผลกระทบของกิจกรรม ทีส่ นับสนุนต่อผลิตภัณฑ์ และบริการขององค์การ เมือ่ เกิดการหยุดชะงัก ขึน้ ทัง้ นี้ การวิเคราะห์ผลกระทบทางธุรกิจ จะต้องประกอบด้วย ➲ ระบุถงึ กิจกรรมส�ำคัญทีส ่ นับสนุนต่อการท�ำให้เกิดผลิตภัณฑ์ และบริการ ➲ ประเมินถึงผลกระทบตามเวลา ในกรณีทไี่ ม่สามารถด�ำเนิน กิจกรรมนัน้ ๆ ได้ ➲ ก�ำหนดกรอบเวลาส�ำหรับการฟืน ้ ฟูกจิ กรรมในระดับน้อยทีส่ ดุ ทีย่ อมรับได้ (minimum acceptable level) โดยค�ำนึงถึงระยะเวลา ทีไ่ ม่สามารถยอมรับได้ หากไม่สามารถท�ำการฟืน้ ฟูได้สำ� เร็จ ➲ ระบุถงึ ความเชือ ่ มโยงกัน และทรัพยากรสนับสนุนทีจ่ ำ� เป็น ส�ำหรับกิจกรรมเหล่านัน้ รวมถึงผูส้ ง่ มอบ หุน้ ส่วนภายนอกองค์การ และ กลุม่ ต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง 2.3 การประเมินความเสีย่ ง องค์การจะต้องมีการจัดท�ำ การน�ำ ไปใช้ และการดูแลรักษากระบวนการประเมินความเสีย่ ง ในการระบุ การ วิเคราะห์ และการประเมินผลอย่างเป็นระบบ ส�ำหรับความเสี่ยงของ อุบตั กิ ารณ์ทที่ ำ� ให้องค์การเกิดการหยุดชะงักได้ โดยองค์การจะต้อง ➲ ระบุความเสี่ยงที่ท�ำให้เกิดการหยุดชะงักของกิจกรรมที่ ส�ำคัญขององค์การ รวมถึงกระบวนการ ระบบงาน สารสนเทศ บุคลากร

ทรัพย์สนิ หุน้ ส่วนภายนอกองค์การ และทรัพยากรอืน่ ๆ ทีส่ นับสนุนต่อ กิจกรรมนัน้ ๆ ➲ การวิเคราะห์ความเสีย ่ งอย่างเป็นระบบ ➲ การประเมินถึงความเสีย ่ งทีเ่ กีย่ วข้องกับการหยุดชะงักทีจ่ ะ ต้องได้รบั การจัดการ ➲ ระบุถงึ มาตรการทีเ่ หมาะสมกับวัตถุประสงค์ความต่อเนือ ่ง ทางธุรกิจ และสอดคล้องกับความเสีย่ งทีย่ อมรับได้ขององค์การ 3. กลยุทธ์ความต่อเนือ่ งทางธุรกิจ 3.1 การพิจารณาและการคัดเลือก ในการพิจารณาและการ คัดเลือกกลยุทธ์ จะได้มาจากผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ผลกระทบทาง ธุรกิจ และการประเมินความเสีย่ ง โดยองค์การจะต้องพิจารณาถึงกลยุทธ์ ความต่อเนือ่ งทางธุรกิจทีเ่ หมาะสม ส�ำหรับ ➲ การปกป้องกิจกรรมทีส ่ ำ� คัญ ➲ การสร้างความมัน ่ คง ความต่อเนือ่ ง การกลับสูส่ ภาพเดิม และการฟืน้ ฟูกจิ กรรมทีส่ ำ� คัญ และการเกีย่ วข้องพึง่ พากันของกิจกรรม ต่าง ๆ รวมถึงทรัพยากรสนับสนุน ➲ การบรรเทา การตอบสนอง และการจัดการกับผลกระทบที่ เกิดขึน้ ทัง้ นีก้ ารพิจารณากลยุทธ์ จะครอบคลุมไปถึงการอนุมตั กิ รอบ เวลาส�ำหรับการฟืน้ คืนสภาพของกิจกรรม และการประเมินผลขีดความ สามารถด้านความต่อเนือ่ งทางธุรกิจของผูส้ ง่ มอบด้วย 3.2 การก�ำหนดความต้องการด้านทรัพยากร องค์การจะต้อง พิจารณาถึงความต้องการด้านทรัพยากร ในการด�ำเนินการตามกลยุทธ์ ต่าง ๆ ทีไ่ ด้เลือกไว้ โดยทรัพยากรทีจ่ ะต้องน�ำมาพิจารณา จะประกอบด้วย ➲ บุคลากร ➲ สารสนเทศ และข้อมูล ➲ อาคาร สภาพแวดล้อมในการท�ำงาน และสาธารณูปโภคที่ เกีย่ วข้อง ➲ สิ่งอ�ำนวยความสะดวก เครื่องมืออุปกรณ์ และวัสดุสิ้นเปลือง ➲ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสือ ่ สาร (ICT) ➲ การขนส่ง ➲ เงินทุน ➲ หุน ้ ส่วน และผูส้ ง่ มอบ 3.3 การปกป้องและการบรรเทา ในกรณีทพี่ บว่าความเสีย่ งทีไ่ ด้ ระบุไว้ จะต้องได้รบั การจัดการ องค์การจะต้องมีการก�ำหนดมาตรการ เชิงรุกในการลดโอกาสของการเกิดอุบัติการณ์ ลดช่วงเวลาการเกิด อุบตั กิ ารณ์ให้เกิดน้อยทีส่ ดุ รวมถึงจ�ำกัดผลกระทบของอุบตั กิ ารณ์ทมี่ ี ต่อผลิตภัณฑ์ และบริการทีส่ ำ� คัญขององค์การ ทัง้ นีม้ าตรการทีเ่ ลือก และ ด�ำเนินการ จะต้องสอดคล้องกับระดับของความเสีย่ งทีย่ อมรับได้ดว้ ย

อ่านต่อฉบับหน้า


Q

Trend for

uality

ตอนที่

4

นวัตกรรมการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์:

รูปแบบและประเภทของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

อรุณ ศิริจานุสรณ์ รองผู้อำ�นวยการฝ่ายก่อสร้าง บริษัท ณุศาศิริ จำ�กัด (มหาชน) รองผู้อำ�นวยการ สถาบันพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

ต่อจากฉบับที่แล้ว

ปัจ

จุบนั รูปแบบ และประเภทของการด�ำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ในแต่ ล ะโครงการที่ ไ ด้ มี ก ารพั ฒ นาขึ้ น และก่ อ สร้ า งใน ประเทศไทยนัน้ มีอยูห่ ลากหลายพอสมควร ซึง่ ผูป้ ระกอบการทีจ่ ะเข้าสู่ ในธุรกิจนี้ อาจจะมีความสงสัยว่า รูปแบบและประเภทของการด�ำเนิน ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะมีกี่ประเภท กี่กลุ่ม และแต่ละรูปแบบนั้น มี องค์ประกอบอะไรบ้าง ซึ่งบทความเกี่ยวกับรูปแบบและประเภทของ โครงการทีผ่ ปู้ ระกอบการเลือกทีจ่ ะพัฒนานี้ สามารถสรุปได้วา่ แบ่งเป็น กี่ประเภท ซึ่งจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจในแนวทางการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในภาพรวม และเลือกโครงการทีม่ คี วามเหมาะสมกับศักยภาพของ องค์การตนเอง รูปแบบและประเภทของโครงการทีผ่ ปู้ ระกอบการได้มกี ารพัฒนา โครงการ เพือ่ สนองตอบต่อความต้องการของผูใ้ ช้งานภายในโครงการ หรือถ้าให้เหมาะสม ก็คอื กลุม่ ลูกค้าเป้าหมายทีไ่ ด้มกี ารศึกษาการตลาด ไว้ ซึง่ ในการแบ่งรูปแบบและประเภทของธุรกิจลักษณะนี้ จะเน้นไปที่ ประโยชน์ใช้สอย ความต้องการเชิงกายภาพพืน้ ฐาน ลักษณะของรูปแบบ สถาปัตยกรรมและวิศวกรรม โดยผูพ้ ฒ ั นาโครงการจะต้องมีการประสาน องค์ประกอบของสภาพแวดล้อมทีเ่ กีย่ วข้องของการลงทุน เพือ่ การพัฒนา

โครงการในแต่ละด้านไปพร้อม ๆ กัน ซึ่งสามารถที่จะสรุปได้เป็น 4 รูปแบบ และประเภทโครงการ ดังต่อไปนี้ รูปแบบและประเภทโครงการอสังหาริมทรัพย์เพือ่ ทีอ่ ยูอ่ าศัย สามารถสรุปรายละเอียดในรูปแบบ ประเภท และความหมายได้ดังต่อไปนี้ ที่อยู่อาศัยประเภทโครงการต่าง ๆ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2531, น.124-125) ได้มีการแบ่งที่อยู่อาศัยตามสภาพ เศรษฐกิจและสังคมของกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ.2530 เป็นประเภท ใหญ่ ๆ ไว้ดงั นี้ ➲ โครงการจัดสรรบ้านพร้อมที่ดิน คือ บ้านและที่ดินของ โครงการจัดสรรตามชานเมืองมีทั้งราคาปานกลางจนถึงราคาถูก มีทั้ง บ้านเดี่ยว บ้านแฝด และบ้านแถว โครงการระดับนี้มีอยู่ทั่วไปรอบ ๆ กรุงเทพมหานคร โครงการที่อยู่ใกล้ศูนย์กลางเมืองหรือใจกลางเมือง จะเป็นโครงการส�ำหรับผู้มีรายได้สูง ลักษณะของที่อยู่อาศัยขึ้นอยู่กับ ราคาที่ดิน หากที่ดินไม่แพงจะสามารถปลูกสร้างเป็นบ้านเดี่ยวหรือ บ้านแฝดทีม่ ที ดี่ นิ กว้างขวาง แต่ถา้ ทีด่ นิ มีราคาแพง บ้านทีป่ ลูกสร้างมัก เป็นทาวน์เฮาส์ 2-3 ชัน้ มาตรฐานอาคารและวัสดุทใี่ ช้ในการก่อสร้าง for Quality Vol.19 No.185 March 2013

15


Vol.19 No.185 March 2013

Trend

16

ค่อนข้างสูง ขณะทีม่ าตรฐานของชุมชนมักไม่เด่นชัด โดยเฉพาะถ้าเป็น โครงการเล็ก ๆ ทีต่ อ้ งพึง่ พาสาธารณูปโภคและสาธารณูปการภายนอก ชุมชน ➲ โครงการจัดสรรเฉพาะทีด ่ นิ คือ เป็นโครงการพัฒนาทีด่ นิ ตามเขตพืน้ ทีช่ านเมือง มีทงั้ โครงการส�ำหรับผูม้ รี ายได้สงู และรายได้นอ้ ย โครงการส�ำหรับผู้ที่มีรายได้สูงเห็นได้จากองค์ประกอบของชุมชน เช่น สนามกอล์ฟ สโมสร สระว่ายน�้ำ ตัวบ้าน เจ้าของบ้านมักให้สถาปนิก ออกแบบปลูกสร้างเอง โดยการจ้างผูร้ บั เหมา หรือจ้างบริษทั ทีร่ บั จ้างสร้าง บ้านโดยมีแบบบ้านให้เลือก ส่วนในโครงการผูม้ รี ายได้นอ้ ย สาธารณูปโภค และองค์ประกอบจะมีมาตรฐานต�่ำกว่า เช่น ถนนบางแห่งเป็นเพียง ลาดยาง บางแห่งเป็นลูกรัง บ้างอาจจะว่าจ้างผูอ้ นื่ สร้างหรือถ้ามีฝมี อื ทาง ช่างอาจปลูกสร้างเองเช่นเดียวกับบ้านในชนบท ปัจจุบนั มีโครงการพัฒนา ไปในรูปสวนเกษตร มีพนื้ ทีแ่ ปลงขนาดเป็นไร่ เป็นทีส่ นใจของผูม้ รี ายได้ ปานกลางมาก ➲ โครงการอาคารชุด คือ ที่อยู่อาศัยในลักษณะของการมี กรรมสิทธิร์ ว่ ม มีหลายระดับรายได้ มีมาตรฐานทีแ่ ตกต่างกันไปตัง้ แต่ ขนาดของห้อง รูปแบบ การใช้วสั ดุและอุปกรณ์ตา่ ง ๆ อาคารชุดทีร่ าคา อยูใ่ นหลักล้านบาทขึน้ ไป จะมีพนื้ ทีก่ ว้างขวาง การตกแต่งหรูหราและ อยู่ใจกลางเมืองย่านธุรกิจ เช่น ย่านถนนสีลม ถนนสาธร ถนนวิทยุ ถนนราชด�ำริ ถนนสุขุมวิทซอยต้น และย่านสี่แยกราชประสงค์ ส่วน อาคารชุดราคาปานกลางจะอยู่ในท�ำเลที่ราคาที่ดินถูกกว่า เช่น ถนน เพชรบุรตี ดั ใหม่ ถนนสุขมุ วิทซอย 100 ขึน้ ไป ถนนรัชดาภิเษก และถนน ลาดพร้าว ส�ำหรับอาคารชุดราคาประหยัด จะมีอยูแ่ ถบถนนรามค�ำแหง ย่านอนุสาวรียช์ ยั สมรภูมิ ถนนสามเสน ถนนงามวงศ์วาน เมืองทองธานี เป็นต้น จากรายงานของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ประจ�ำปี พ.ศ. 2541 พบว่า แฟลต และอาคารชุด ที่สร้างเสร็จและจดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นของปี พ.ศ.2534-2540 ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลมีจำ� นวนทัง้ สิน้ 366,884 หน่วย ➲ โครงการอาคารเช่า คือ รูปแบบอาคารเช่า (ชัว่ คราว) ทีม ่ ี กระจายอยูท่ วั่ ไป ทัง้ ทีถ่ กู ต้องตามกฎหมาย เช่น แฟลต คอร์ด อพาร์ทเม้นท์ และหอพัก ซึง่ ระดับราคาสูงกว่ากลุม่ ทีไ่ ม่ถกู ต้องตามกฎหมาย ค่าเช่าจะ อยูใ่ นระหว่าง 2,500 บาทต่อเดือนขึน้ ไปจนถึงหลายหมืน่ บาทต่อเดือน (ยกเว้นหอพัก มักจะมีราคาถูกกว่า) กลุม่ ทีไ่ ม่ถกู ต้องตามกฎหมาย ได้แก่ บ้านเช่าราคาถูกโดยมีราคาประมาณ 1,500-2,500 บาทต่อเดือน ซึ่ง มักมีคณ ุ ภาพต�ำ่ กว่ามาตรฐาน ตัวบ้านค่อนข้างแออัด มีสาธารณูปโภค ที่มาตรฐานต�่ำ เช่น อาจมีเพียงทางเดินไม้ หรือทางเดินเทคอนกรีต คาดคะเนว่าทีอ่ ยูใ่ นกรุงเทพ ปัจจุบนั เป็นอาคารเช่าอยูถ่ งึ 1 ใน 3 จากการ ส�ำรวจพบว่า กลุม่ ผูอ้ าศัยในอาคารเช่ามาตรฐานต�ำ่ ยังมีการแบ่งเช่าต่อ สาเหตุทมี่ ผี นู้ ยิ มอาศัยในอาคารเช่าราคาถูกจ�ำนวนมากเป็นเพราะผูเ้ ช่า ส่วนมากจะเป็นผูท้ ยี่ งั ไม่ได้ตดั สินใจในการตัง้ ถิน่ ฐานทีแ่ น่นอน กาญจนา พิทกั ษ์ธรี ธรรม (2537, น. 40-41) ได้แบ่งประเภท ทีอ่ ยูอ่ าศัยตามลักษณะการก่อสร้างได้ 5 ประเภท คือ ➲ บ้านเดีย ่ ว หมายถึง บ้านหลังเดีย่ วโดด ๆ ตัวบ้านต้องห่าง

จากเขตทีด่ นิ ทุกด้านไม่ตำ�่ กว่า 2 เมตร จะเป็นบ้านชัน้ เดียว สองชัน้ หรือ มากกว่าก็ได้แล้วแต่ขนาดของครอบครัว ➲ บ้านแฝด หมายถึง บ้านทีม ่ ผี นังด้านหนึง่ ติดกัน รัว้ ด้านหนึง่ จึงใช้รว่ มกัน ตัวบ้านอีกสามด้านไม่ตดิ กัน ต้องห่างจากเขตทีด่ นิ ด้านละ ไม่ตำ�่ กว่า 2 เมตร ➲ บ้านแถว หมายถึง บ้านหลาย ๆ หลังติดกันเป็นแถว ถ้าการ ก่อสร้างใช้ไม้เป็นวัสดุ ส่วนใหญ่มักเรียกว่า ห้องแถว หรือเรือนแถว และถ้าเป็นโครงสร้างคอนกรีตผนังก่ออิฐก็จะเรียกว่า ตึกแถว โดยเพิง่ จะ เกิดศัพท์ใหม่ทใี่ ช้แทนบ้านแถวนีว้ า่ ทาวน์เฮาส์ ตัวบ้านด้านหน้า และ ด้านหลังต้องห่างจากเขตทีด่ นิ ไม่ตำ�่ กว่า 2 เมตร ➲ แฟลต หรืออพาร์ทเม้นท์ เป็นทีอ ่ ยูอ่ าศัยทีเ่ กิดจากความ ต้องการทีอ่ ยูอ่ าศัยเป็นจ�ำนวนมากในทีด่ นิ จึงมีหลายห้องในอาคารเดียว การมีสทิ ธิใ์ นทีอ่ ยูอ่ าศัยประเภทนี้ จะมีสทิ ธิเ์ ฉพาะในห้องส่วนของตนเอง เท่านั้น ไม่มีสิทธิ์ในอาคารส่วนรวม เช่น ทางเดินบันได หรือในที่ดินที่ อาคารนัน้ ๆ ตัง้ อยู่ และไม่สามารถมีกรรมสิทธิใ์ นทีด่ นิ อีกด้วย ➲ อาคารชุด หรือคอนโดมิเนียม คือ เป็นทีอ ่ ยูอ่ าศัยทีม่ กี าร ก่อสร้างหลายห้องเช่นเดียวกับแฟลต หรืออพาร์ทเม้นท์ แต่มกี ารจัดการขาย และแบ่งกรรมสิทธิใ์ นทรัพย์สนิ นิตกิ รรมอาคารชุดซึง่ เปรียบเสมือน โฉนดทีด่ นิ ทีส่ ามารถเป็นหลักทรัพย์ได้อย่างหนึง่ อาคารชุดบางแห่งจะมี สาธารณูปโภคเพือ่ อ�ำนวยความสะดวกให้แก่ผอู้ าศัย เช่น สระว่ายน�ำ้ สนามเทนนิส ห้องออกก�ำลังกาย และห้องประชุม อนุชา กุลวิสทุ ธิ์ (2547, น.47-50) สามารถแบ่งอสังหาริมทรัพย์ ตามประเภทของทีอ่ ยูอ่ าศัย ตามขนาด เนือ้ ทีข่ องทีด่ นิ และลักษณะการ ก่อสร้าง สามารถแบ่งได้ 5 ประเภท ได้แก่ ➲ บ้านเดีย ่ ว ทีด่ นิ แต่ละแปลงต้องมีความกว้าง และความยาว ไม่ตำ�่ กว่า 10.00 เมตร และมีเนือ้ ทีไ่ ม่ตำ�่ กว่า 50 ตารางวา หากความกว้าง หรือความยาวไม่ได้ขนาดดังกล่าว ต้องมีเนือ้ ทีไ่ ม่ต�่ำกว่า 60 ตารางวา ตัวอาคารต้องห่างจากเขตทีด่ นิ ทุกด้านไม่ตำ�่ กว่า 2.00 เมตร


Trend บ้านแฝด เป็นบ้านทีม่ ผี นังด้านหนึง่ ของอาคารติดกัน ทีด่ นิ แต่ละแปลงต้องมีความกว้างไม่ตำ�่ กว่า 8.00 เมตร และมีเนือ้ ทีไ่ ม่ตำ�่ กว่า 35 ตารางวา ตัวอาคาร ด้านที่ไม่ติดกันต้องห่างจากเขตที่ดิน จะเว้น ด้านละไม่ตำ�่ กว่า 2.00 เมตร ➲ บ้ า นแถว หรื อ ทาวน์ เ ฮาส์ โดยที่ดินแต่ละแปลงต้องมี ความกว้างไม่ตำ�่ กว่า 4.00 เมตร และมีเนือ้ ทีไ่ ม่ตำ�่ กว่า 16 ตารางวา โดย รูปแบบของตัวอาคารด้านหน้าและด้านหลังต้องห่างจากเขตที่ดิน ไม่ตำ�่ กว่า 2.00 เมตร ➲ อาคารพาณิชย์ รูปแบบการพัฒนาโครงการ ที่สามารถใช้ เป็นที่อยู่อาศัยและยังให้เป็นสถานที่ท�ำการค้า หรือประกอบธุรกิจได้ ที่ดินแต่ละแปลงต้องมีความกว้างไม่ต�่ำกว่า 4.00 เมตร และมีเนื้อที่ ไม่ต�่ำกว่า 16 ตารางวา ตัวอาคารต้องห่างจากเขตที่ดินด้านหลังไม่ต�่ำ กว่า 2.00 เมตร ส่วนมากอาคารพาณิชย์จะนิยมก่อสร้างหลาย ๆ ชั้น แต่ก็ไม่เกิน 5 ชั้น ➲ อาคารชุด หรือคอนโดมิเนียม เป็นอาคารที่มีหลายชั้น แต่ละชั้นแบ่งเป็นห้องชุดจ�ำนวนมาก ซึ่งภายในห้องประกอบด้วย ห้องนอน ห้องรับแขก ห้องน�ำ้ อาคารชุดแต่ละแห่งมักมีสงิ่ อ�ำนวยความ สะดวกให้แก่ผู้อยู่อาศัย เช่น สระว่ายน�้ำ ห้องออกก�ำลังกาย สนาม เทนนิส และห้องประชุม ซึง่ จากการทบทวนวรรณกรรมเกีย่ วกับ “อาคารชุด” จากการศึกษาของ มานพ พงศทัต (2527) บริษัท ดี.เอส.แลนด์ จ�ำกัด (2535) ผศ.ประสงค์ แสงพายัพ (2532) สุรพล อ่อนอุระ (2540) ซึ่งสามารถสรุปตามลักษณะของการใช้งานออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ➢ อาคารชุดประเภทอยูอ ่ าศัย (residential condominium) เป็น ลักษณะของอาคารชุดที่จัดสร้างขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นที่พัก อาศัย ในแต่ละห้องชุดมีสภาพเหมือนบ้านทัว่ ๆ ไป และมีขนาดในแต่ละ หน่วยใหญ่หรือเล็กแตกต่างกันไปตามท�ำเลที่ตั้งและวัตถุประสงค์ของ ผูพ้ ฒ ั นาของโครงการนัน้ ๆ อาคารชุดทีม่ รี าคาสูง ส่วนใหญ่อยูใ่ นย่าน การค้าทีส่ ำ� คัญ ๆ และมีสงิ่ อ�ำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวมอยูด่ ว้ ย เช่น สระว่ายน�ำ้ ห้องอบไอน�ำ้ ห้องออกก�ำลังกาย ห้องประชุม ร้านค้าขายปลีก เป็นต้น ➢ อาคารชุดประเภทธุรกิจ (commercial condominium) อาคารชุดลักษณะนี้เป็นอาคารชุดเพื่อใช้เป็นส�ำนักงานหรือสถานประกอบธุรกิจการค้า หรือเป็นส�ำนักงานเพื่อติดต่อค้าขาย มีลักษณะ เหมือนกับอาคารส�ำนักงานทัว่ ไป ซึง่ บริษทั สามารถซือ้ เป็นเจ้าของและ เป็นทรัพย์สนิ ส่วนหนึง่ ของบริษทั ได้ ➢ อาคารชุดประเภทตากอากาศ (resort condominium) เป็น อาคารชุดทีม่ คี วามคล้ายคลึงกับอาคารชุดพักอาศัย แต่ท�ำเลทีต่ งั้ จะอยู่ ในบริเวณแหล่งท่องเทีย่ วตากอากาศทีส่ ำ� คัญ ๆ และมีสงิ่ อ�ำนวยความ สะดวกที่เหมาะกับการพักผ่อนตากอากาศมากขึ้น โดยผู้ซื้ออาคารชุด ประเภทนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ใช้เป็นที่อยู่อาศัยแบบถาวร แต่เพียงแค่ ต้องการเป็นสถานทีพ่ กั ผ่อนส่วนตัวเท่านัน้ ➢ อาคารชุดแบบผสม (mix condominium) อาคารชุดที่ สร้างขึน้ เพือ่ ให้เจ้าของร่วมใช้เป็นทัง้ อาคารส�ำหรับอยูอ่ าศัย และอาคาร

ส� ำ นั ก งาน นอกจากนั้ น ยั ง มี กิ จ การอื่ น ๆ ประกอบอยู ่ ด ้ ว ย เช่ น ศูนย์การค้า หรือโรงแรม เป็นต้น ทัง้ นีเ้ พือ่ ตอบสนองความต้องการของ ผู้อยู่อาศัยที่ต้องการความสะดวกสบายเป็นพิเศษ โดยสาเหตุของการ เกิ ด อาคารชุ ด แบบผสมนี้ เกิ ด จากความพยายามของนั ก ลงทุ น ที่ ต้องการจะพัฒนารูปแบบของอาคารชุดให้แปลกใหม่ และสนองความ ต้องการของตลาดให้ได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม การจัดส่วนพื้นที่ของ บริเวณส�ำนักงาน หรือศูนย์การค้าต้องจัดให้แยกส่วนออกจากบริเวณ ที่พักอาศัยอย่างชัดเจน เช่น มีการแยกใช้ลิฟต์คนละตัว บริเวณพื้นที่ สีเขียว สวนหย่อม สระว่ายน�้ำ และบริเวณส่วนอื่น ๆ ของที่พักอาศัย ส่วนคอนโดเทล (condotel) ซึ่งหมายรวมถึง Condo+Hotel เป็นอีก แบบหนึ่ ง ของคอนโดมิ เ นี ย มแบบผสม ซึ่ ง ปั จ จุ บั น เป็ น ที่ นิ ย มมาก เนื่องจากเจ้าของห้องพักสามารถให้บุคคลอื่นเช่าห้องพักของตน ซึ่งได้ ราคาดีและเป็นที่นิยม การที่ผู้เป็นเจ้าของนิยมเปิดให้เช่าเนื่องจาก สาเหตุที่ว่ามีความต้องการค่อนข้างสูง และผู้มาใช้บริการมักนิยมเข้า พักในอาคารชุดมากกว่า เพราะตกแต่งหรูกว่า มีความเป็นเอกเทศ ไม่ พลุกพล่าน และมีภาพลักษณ์ส�ำหรับการติดต่อธุรกิจดีกว่าไปพัก โรงแรม ➢ อาคารชุดแบบอุตสาหกรรม (industrial condominium) อาคารชุดประเภทนี้ เป็นอาคารชุดทีร่ วมโรงงานหลาย ๆ โรงงานเข้าอยู่ ในอาคารเดียวกัน เป็นทีน่ ยิ มในต่างประเทศทีเ่ ป็นประเทศอุตสาหกรรม เช่น ฮ่องกง ญี่ปุ่น สิงคโปร์ เป็นต้น เพราะเนื้อที่ของประเทศต่าง ๆ เหล่านี้มีเนื้อที่ดินจ�ำกัด และราคาสูง โดยส่วนมากจะเป็นโรงงาน ขนาดย่อม เช่น โรงงานท�ำของเล่น โรงงานท�ำตุ๊กตา โรงงานประกอบ ทรานซิสเตอร์ เป็นต้น ซึ่งการมาอยู่ร่วมกันนี้จะไม่ก่อให้เกิดมลพิษ มากนัก เพราะได้มกี ารก�ำจัดควันเสียร่วมกัน และลดต้นทุนในการผลิต ตลอดจนก�ำจัดของเสียร่วมกัน รวมทั้งมีระบบการดูแลรักษาง่าย เอกสารอ้างอิง 1. พัลลภ กฤตยานวัช. (2550). ทีด่ นิ กับการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ ในวารสารวิชาการธนาคารอาคารสงเคราะห์ ฉบับที่ 42 ปี 2550. กรุงเทพฯ: ธนาคารอาคารสงเคราะห์. 2. โสภณ พรโชคชัย. (2551). สรุปสถานะโครงการอสังหาริมทรัพย์ไทย ครึง่ ปีแรก 2554. กรุงเทพฯ: ศูนย์ขอ้ มูลอสังหาริมทรัพย์ไทย และ บริษทั เอเจนซี-่ ฟอร์เรียลเอสเตท จ�ำกัด. 3. อนุชา กุลวิสทุ ธิ.์ (2553). การลงทุนในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์. พิมพ์ครัง้ ที่ 8. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรุงเทพปรินซ์ตงิ้ จ�ำกัด. 4. เอกภณ จิระสุวรรณ์. (2554). เอกสารประกอบการบรรยาย RD651 วิชาแนวความคิดและกระบวนการ ในการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 5. กีรติ ศตะสุข. (2554). เอกสารประกอบการบรรยาย RD652 วิชาการ ศึกษาความเป็นไปได้ของการพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อ่านต่อฉบับหน้า

Vol.19 No.185 March 2013

17


Q

Trend for

uality

แนวโน้มเทคโนโลยีทีวี เครือ่ ง 2013 รับโทรทัศน์ หรือ ทีวี จัด เป็นหนึ่งในสุดยอดสินค้า อุตสาหกรรมทีไ่ ด้รบั ความนิยมจากผูค้ นอย่าง แพร่หลาย และสร้างรายได้เป็นกอบเป็นก�ำแก่ บริษทั ผูผ้ ลิตมาช้านาน ไม่ตา่ งอะไรกับรถยนต์ คอมพิวเตอร์/โน้ตบุ้ค แม้ความซับซ้อนทาง เทคโนโลยี การผลิต รวมถึงราคาอาจจะถูกกว่า แต่การดู “ทีว”ี กลายเป็นกิจกรรมในชีวติ ประจ�ำวันที่คนขาดไม่ได้ จากผลการส�ำรวจเมื่อปี พ.ศ.2554 ใน 24 ชั่วโมงคนไทยดูทีวีเฉลี่ย 5 ชั่วโมง/วัน มากกว่าการใช้งานหรือพักผ่อน ด้วยคอมพิวเตอร์ หรือขับรถยนต์เสียอีก

รู้จักชนิดของทีวีแบบต่าง ๆ ➲

ทีวจี อ CRT (Cathode Ray Tube Monitor) คือ จอภาพทีร่ บั สัญญาณภาพแบบ

18

for Quality Vol.19 No.185 March 2013

อะนาล็อก ท�ำงานด้วยการยิงล�ำแสงอิเล็กตรอน ไปยังผิวหน้าของจอ ซึ่งมีสารประกอบของ ฟอสฟอรัสฉาบอยูท่ ผี่ วิ เมือ่ ถูกแสงอิเล็กตรอน มากระทบ สารเหล่านีจ้ ะเกิดการเรืองแสงขึน้ มา ท�ำให้เกิดเป็นภาพนัน่ เอง จอภาพของทีวี CRT ท�ำด้วยแก้ว นอกจากหลอดภาพมีความหนา แล้ว ยังมีอุปกรณ์สร้างและยิงอิเล็กตรอน อยูด่ า้ นหลังจอ ท�ำให้เครือ่ งมีขนาดใหญ่ กินเนื้อที่มาก น�้ำหนักเยอะ จึงไม่สามารถท�ำให้ ขนาดหน้าจอใหญ่กว่าทีเ่ ป็นอยู่ ยุคแรกทีผ่ ลิต ทีวจี อ CRT เป็นรุน่ จอขาวด�ำ และเปลีย่ นมา เป็นระบบสีในเวลาต่อมา ➲ ทีวีพลาสม่า (Plasma TV) คือ เป็ น จอที วี ที่ ส ามารถ “ก� ำ เนิ ด แสงได้ เ อง” ท�ำงานด้วยการปล่อยแรงดันไฟเข้าไปกระตุน้ เม็ดพิกเซลให้ส่องสว่าง โดยเม็ดพิกเซลของ

วงศกร ตระกูลหิรัญผดุง wongskora@hotmail.com

Plasma TV จะมี ก๊าซ Neon และ Xenon บรรจุอยูข่ า้ งใน และจะแตกตัวเป็น UV ซึง่ เมือ่ UV ไปกระทบกับสาร Phospor ซึ่งเป็นสาร เรืองแสงที่เคลือบไว้ จะก่อให้เกิดแสงสีต่าง ๆ ออกมา สรุปง่าย ๆ หลักการท�ำงานของมัน คือ หากต้ อ งการให้ เ ม็ ด สี ไ หนส่ อ งสว่ า ง ก็ แ ค่ ปล่อยแรงดันไฟฟ้าเข้าไปเม็ดพิกเซลนัน้ อย่าง รวดเร็วทันใจ เพราะว่า “ก๊าซ” เคลื่อนที่ไวกว่า


Trend 3 มิตแิ บบแว่น 2 สี (passive) โดยทัว่ ไปจะใช้ “สีแดง-ฟ้า” เพื่อกรองสีภาพเฉพาะที่ต้องการ ให้แสดงเข้าตาซ้ายและตาขวา เพื่อให้เกิดมี มิติภาพขึ้นมา ➢ ยุคสอง Polarized 3D หรือ ภาพ 3 มิติแบบ “สลับเส้นเลขคู่เลขคี่” (3D Passive) ซึ่งอาศัยหลักการท�ำงาน ก็คือ ทีวีจะ ปล่อยเส้นภาพเลขคู่ เช่น 2, 4, 6, 8,…,1080 ส�ำหรับตาซ้าย (540 เส้น) และเส้นภาพเลขคี่ 1, 3, 5, 7,…,1079 ส�ำหรับตาขวา (อีก 540 เส้น) และเมื่อเราใส่แว่น Polarized เข้าไปจะ ท�ำให้การรับภาพโดยตาซ้ายและขวาสลับกัน อย่างรวดเร็ว จึงเกิดภาพ 3 มิตลิ อยออกมา แต่ ข้อเสียของระบบ Polarized 3D คือ ความ คมชัดจะถูกลดลงเนื่องจากต้องแบ่งภาพให้ ตาซ้ายและขวาอย่างละครึ่ง กล่าวคือ ภาพ 1080p จะเหลือสัญญาณความชัดเพียง 540p เท่านั้น ➢ ยุคสาม Frame Sequential 3D ส่งเฟรมภาพซ้าย-ขวาสลับกัน (3D Active) เป็นเทคโนโลยีปัจจุบันของทีวี 3D ที่วางขาย อยู ่ ซึ่ ง ทุ ก แบรนด์ ใ ช้ ชื่ อ การตลาดของ เทคโนโลยีนี้ว่า 3D แบบ Active โดยหลัก ก็ คือ ทีวีจะส่ง “เฟรมภาพ” ทั้งเฟรม เข้าตาซ้าย และตาขวาสลับกันอย่างรวดเร็ว (ส�ำหรับ ตาซ้าย 60 เฟรมภาพต่อวินาที และตาขวา 60 เฟรมภาพต่อวินาที) จึงเป็นเหตุผลทีว่ า่ เราเห็น ภาพ 3 มิติบนจอทีวีนั้นมีความเหลื่อมซ้อน ซ้ายขวากันอยู่พอสมควร และเมื่อเราใส่แว่น 3D Active Shutter Glasses จะท�ำให้ภาพลอย มีมิติออกมา ข้อดี: ความคมชัดของภาพสูง เพราะ ทีวีส่งเฟรมภาพออกมาทั้งเฟรม ไม่มีลดทอน เส้นแบบวิธี Line by Line ของ Polarized 3D และมิติภาพก็ถือว่าได้ “แนวลึก” มีมิติดีเยี่ยม ข้ อ เสี ย : แว่ น ตาต้ อ งใส่ แ บตเตอรี่ ท�ำให้ตอ้ งเปลีย่ นหรือชาร์จบ่อย ๆ รวมถึงต้อง เชือ่ มต่อแว่นกับตัวทีวดี ว้ ยสัญญาณ Infrared ตลอดเวลา ท�ำให้ระยะห่างในการรับชมมี จ�ำกัด ➲ สมาร์ททีวี (Smart TV หรือ Internet TV) คือ เครื่องรับโทรทัศน์ที่ผนวกเอา ความสามารถของคอมพิวเตอร์และระบบ

อินเทอร์เน็ตไว้ในจอความละเอียดสูง เพือ่ การ ใช้งานข้อมูลข่าวสารในโลกออนไลน์ การใช้ งานเว็บบราวเซอร์ หรือดาวน์โหลดแอพพลิเคชัน่ มาใช้งานในตัวเครือ่ ง ซึง่ ทีวแี ต่ละรุน่ ก็มี การเชื่อมต่อไม่เหมือนกัน แบ่งเป็น 1. เชื่อมต่อผ่านสาย LAN (Wired ใช้สาย) 2. เชื่ อ มต่ อ ผ่ า น Wi-Fi Adapter USB (Wireless - ไร้สาย) 3. เชือ่ มต่อผ่าน Wi-Fi Built-in ในตัว เครื่อง ส่วนมากจะมีในเฉพาะรุ่นสูง ๆ เท่านั้น (Wireless - ไร้สาย) ซึ่งหลังจากเชื่อมต่อ ผ่ า น WiFi ในวงเดี ย วกั น แล้ ว บางรุ ่ น จะมี ความสามารถในการแชร์ไฟล์จากอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ เช่น เพลง วิดีโอต่าง ๆ เพื่ อ มาแสดงผลทางหน้ า จอที วี ไ ด้ อี ก ด้ ว ย ไม่ว่าจะเป็น Notebook กล้องถ่ายรูป Digital โทรศัพท์ Smart Phone รุ่นต่าง ๆ หรือที่เรา เรียกว่า DLNA

ทิศทางทีวีจากเวที CES 2013

งาน CES 2013 จัดขึ้นที่ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา เป็นงานแสดงสินค้าเทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์เพื่อผู้บริโภคที่จัดขึ้นทุก ๆ ปี และถือเป็นเวทีซึ่งผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่นอ้ ย ต่างมาปล่อยของ เปิดตัวสินค้าใหม่

Vol.19 No.185 March 2013

พวก “ของแข็ง และของเหลว” นั่นจึงเป็นอีก หนึ่งเหตุผลว่าท�ำไม Response Time ของ Plasma TV จึงต�ำ่ แค่ 0.001 MS เท่านัน้ ท�ำให้ อาการ Ghost หรือเงาด�ำ ๆ เวลาภาพเคลือ่ นไหวเร็ ว ที่ พ บได้ บ นจอ LCD LED นั้ น ไม่ ปรากฏบนจอของ Plasma TV เลย ➲ ทีวี LCD (Liquid Crystal Display) ซึ่งใช้หลอดไฟ CCFL หรือ Cold Cathode Fluorescent Lamp ซึ่งมีลักษณะ เป็นหลอดผอมคล้าย ๆ หลอดกาแฟ เรียงใน แนวนอนยาวลงมาเป็นตัวก�ำเนิดแสง และมี Liquid Crystal เป็นผลึกแข็งกึ่งเหลว 3 สี ทั้ง สีแดง น�ำ้ เงิน เขียว คอยบิดตัวเป็นองศาเพือ่ ให้ แสงจากหลอด CCFL Backlight ส่องลอด ผ่านออกมาเป็นสีสันต่าง ๆ หลอด CCFL ซึ่ง ก็คล้าย ๆ กับหลอดไฟที่ใช้กันตามบ้านเรา เจ้าหลอดชนิดนี้ ค่อนข้างจะมีความ “อ้วน” อยูใ่ นตัว นัน่ เป็นหนึง่ ในเหตุผลว่า ท�ำไม LCD TV ถึงได้มีความหนามากกว่า LED TV ➲ ทีวี LED (Light Emitting Diode) ถือเป็นหลอดไฟขนาดเล็ก ให้แสงไฟได้สว่าง มีอายุการใช้งานยาวนาน และประหยัดไฟ กว่าหลอด CCFL อีกด้วย ซึ่ง TV ประเภทนี้ใช้ หลอด LED เป็นตัวก�ำเนิดแสง และมี Liquid Crystal เป็นผลึกแข็งกึ่งเหลว 3 สี ทั้งสีแดง สีน�้ำเงิน และสีเขียวคอยบิดตัวเป็นองศาเพื่อ ให้แสงจากหลอด LED ส่องลอดผ่านออกมา เป็นสีสันต่าง ๆ ตรงจุดนี้จะเห็นว่า หลักการ ท�ำงานของ LED TV เหมือนกับ LCD TV ทุก ด้าน เพียงแต่เราเปลี่ยนจากหลอด CCFL ที่ อ้วนหนาด้านหลัง มาเป็นหลอด LED เป็นตัว ให้แสงแทน ปัจจุบันได้มีการวางหลอด LED ไว้โดยรอบขอบจอทั้งสี่ด้าน เรียกว่า LED Edge เพื่อความสามารถในการกระจายแสง ได้มากขึน้ และความคมชัด รวมถึงท�ำให้ LED TV บางลงกว่าการวางในรูปแบบเดิม ➲ ทีวี 3 มิติ (3D TV) คือ ทีวท ี ใี่ ห้ภาพ มีความ “ตืน้ ลึก หนา บาง ลอย” อย่างชัดเจน ถ้าเปรียบเทียบกับภาพ 2 มิติจากทีวีธรรมดา ซึง่ เป็นภาพ “แบนๆ ติดจอ” แล้ว ความสมจริง ของภาพ 3 มิ ติ จ ะมี ม ากกว่ า แบ่ ง เป็ น 3 ประเภทย่อย ได้แก่ ➢ ยุคแรก Anaglyphic 3D หรือ ภาพ

19


Trend

Vol.19 No.185 March 2013

กันเต็มที่ มีทั้งต้องการโชว์/ไม่ขาย เพื่อแสดง ความเป็นผู้น�ำของอุตสาหกรรม และรุ่นที่ ต้องการขายอีกไม่นาน การปล่อยสินค้าในช่วง เวลานี้ก็เพื่อสร้างกระแสความฮือฮาให้พูด ถึงกันก่อน โดยในปีนี้ถ้าจะวัดดู สิ่งที่หดหายไป ชัด ๆ จากแวดวงเครือ่ งรับโทรทัศน์ระดับ “แถว หน้า” ของโลกทัง้ หลาย ก็คอื “สมาร์ท ทีว”ี ที่ พิสจู น์กนั แล้วว่า “ไม่ฮอต” อย่างทีค่ ดิ กัน ยอดขายก็ไม่ได้เป็นไปตามทีผ่ ผู้ ลิตตัง้ เป้าหมายไว้ เพราะนอกจากความจุกจิกยุ่งยากในการใช้ งาน ไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ตัวอักษรเพื่อเข้า เว็บไซต์ผา่ นรีโมททีวี การตอบสนองค�ำสัง่ ทีย่ งั ไม่รวดเร็วนัก แอพลิเคชั่น/เกม รองรับไม่ หลากหลาย และสนนราคา ซึ่งแพงกว่าทีวี รุน่ ทีไ่ ม่ใช่สมาร์ททีวมี าก โดยการเข้าไปใช้งาน ดังกล่าวสามารถท�ำได้ง่ายกว่า เมื่อใช้ผ่าน มือถือสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์/โน้ตบุค้ และทีห่ ายไปเหมือน ๆ กัน ก็คอื “3D” ที่ดูเหมือนจะนิยมกันอยู่ในแวดวงจ�ำกัดอยู่ เพียงแค่บรรดาเกมเมอร์บางกลุ่มที่นิยมเล่น เกมบางเกม และตลาดระดับบนเท่านัน้ เอง ใน ส่วนของผู้บริโภคทั่วไปดูเหมือนจะตัดสินใจ แล้วว่าโทรทัศน์ 3 มิติ ออกจะเป็นอะไรบาง อย่างทีย่ งั ไม่ “โดน” พอทีจ่ ะควักกระเป๋าเงินเพิม่ เป็นหมืน่ บาท เพือ่ ให้ได้ประสบการณ์ทะลุจอ โดยปัญหาของทีวี 3 มิติมีมากมาย ตั้งแต่ ซอฟต์แวร์ฟอร์เมตดังกล่าวมีราคาสูงและมี จ�ำนวนน้อย รายการทีวีทไี่ ม่ได้แพร่ภาพด้วย ระบบ 3D ทีส่ ำ� คัญ คือ อาการมึนหัว ปวดตา ไม่สามารถดูนาน ๆ ได้ หรือการไม่เหมาะกับ คนที่ใส่แว่นสายตาอยู่แล้ว รวมทั้งแว่น 3D ทีแ่ ถมมาก็มนี อ้ ยเกินไป และต้องใช้ถา่ น แม้ ภายหลังจะมีทวี ี 3D แบบไม่ตอ้ งใช้แว่น 3D

20

อีกต่อไป แต่ราคาค่าตัวยังสูงในระดับหลาย แสนบาท เรียกว่าแพงพอ ๆ กับการซือ้ รถยนต์ เลยทีเดียว แล้วแนวโน้มของทีวตี อ่ ไปอยูท่ ไี่ หน กันแน่ ? ค�ำตอบ ก็คอื เรือ่ งของความคมชัด และลดการใช้พลังงาน สิง่ ทีห่ ลาย ๆ ค่ายผูผ้ ลิตทีวี ไม่วา่ จะ เป็น โซนี่ พานาโซนิค ซัมซุง หรือแอลจี น�ำ ออกมาอวดในงาน CES 2013 ก็คอื “4K TV” เครือ่ งรับโทรทัศน์เจเนอเรชัน่ ใหม่ทเี่ รียกกันอีก อย่างให้เข้าใจง่ายขึ้นว่าคือ “Ultra HD TV” นัน่ เอง “4K” หรือ “Ultra HD” เป็นอีกหนึง่ ตลาด ของจอโทรทัศน์เทคโนโลยีรุ่นใหม่ ที่ขยาย ขนาดจอเป็นจอยักษ์ เพือ่ ช่วยสร้างความรูส้ กึ ท�ำให้การชมโทรทัศน์มีความใกล้เคียงกับ จอภาพยนตร์ในโรงหนัง ถามว่าคมชัดในระดับ ไหน กล่าวคือ 4K มีขนาดภาพความละเอียด 3840 × 2160 มากกว่า Full HD ที่มีขนาด ความละเอียด 1920 × 1080 ตอบให้เห็นภาพ คร่าว ๆ ว่าสักประมาณ 4 เท่า หรือ 2160p ของ ความคมชัดในระดับ Full HD 1080p ทีบ่ า้ น เราเพิง่ ท�ำความคุน้ เคยกันได้ไม่นาน เทคโนโลยีอีกอย่างที่กลายเป็นเรื่อง ใหม่ของอุตสาหกรรมเครือ่ งรับโทรทัศน์ในงาน ก็คือ เทคโนโลยี “โอแอลอีดี” ที่ว่ากันว่าจะ ก้าวขึ้นมาทดแทนเทคโนโลยี แอลซีดี และ พลาสม่ า ที วี ซึ่ ง ใช้ กั น อยู ่ อ ย่ า งแพร่ ห ลาย ในงานซีอีเอส 2013 LG ได้น�ำเอา “Curve OLED TV” เครื่องแรกของโลกออกมาอวด ขนาดจอ 55 นิว้ ก�ำลังพอเหมาะส�ำหรับการ ใช้งานภายในบ้าน ขอบด้านซ้ายและขวา โค้งงอเล็กน้อยราว 5 องศา เพือ่ ชดเชยอาการ หรืออาการเบลอบริเวณริมขอบสองด้าน ซึง่ ไม่ ได้เกิดจากตัวเครื่องรับแต่เกิดจากธรรมชาติ ของตามนุษย์เมือ่ มองจอแบนราบ คราวนีก้ ค็ ง รู้กันแล้วว่าเพราะเหตุใดจอภาพยนตร์ใน โรงหนังถึงต้องโค้งพอเหมาะ หรือ Cinemascope นัน่ เอง

OLED TV เทคโนโลยีแห่งอนาคต

โอแอลอีดี (organic light emitting diode) คือ การพัฒนาให้หน้าจอมีขนาดเล็ก

และบางเบา มีความสามารถในการประหยัด พลังงาน และสามารถแสดงผลที่เยี่ยมยอด โอแอลอีดี ท�ำงานบนฟิล์มขนาดนาโนเมตร ท�ำให้สามารถลดขนาดลงเทียบเท่าระดับ เส้นผม และสามารถพัฒนาเป็นอุปกรณ์โค้งงอ ได้ ในขณะที่จอซีอาร์ที (CRT) แบบเก่านั้น ต้องการพืน้ ทีด่ า้ นหลังทีเ่ พิม่ ขึน้ ตามขนาดของ หน้าจอ ส่วนหน้าจอพลาสมา (plasma) นัน้ ไม่ สามารถท�ำให้บางได้มากกว่านี้ เนือ่ งจากต้อง มีชอ่ งบรรจุกา๊ ซเฉือ่ ยเพือ่ สร้างพลาสมา ในแง่ ของหลักการท�ำงาน โอแอลอีดอี าศัยการเปล่ง แสงจากตัววัสดุโดยตรง โดยรวมเอาข้อดีของ เทคโนโลยีพลาสม่ากับแอลอีดที วี ไี ว้ดว้ ยกัน สรุปจุดเด่นของ OLED TV เมือ่ เทียบ กับ TV ทัว่ ไปทีข่ ายอยูใ่ นตลาด ก็คอื 1. ระดับ Contrast ทีด่ กี ว่า 2. มุมมองภาพเกือบ 180 องศา 3. สีสนั ดีกว่าและสว่างขึน้ 4. มีขนาดที่ บางกว่าเพราะไม่ตอ้ งใช้ Backlight 5. ประหยัดพลังงานมากถึงร้อยละ 20 6. จอภาพ สามารถดัดโค้งงอได้ อย่างไรก็ตาม จุดเสีย ส�ำคัญที่ท�ำให้ทีวีแบบ OLED นั้นยังไม่แพร่ หลาย ก็เพราะความแพงในการผลิตในระยะ เริ่มต้นของเทคโนโลยี คาดว่าจะถูกลงในปี พ.ศ.2558 และจอภาพ OLED ที่ให้สีเขียว และสีนำ�้ เงินมีอายุการใช้งานทีส่ นั้ อยู่ ซึง่ ต้อง อาศัยการวิจยั และพัฒนาอีกสักนิดเพือ่ แก้ไข ปัญหานี้ อันทีจ่ ริง Sony คือ ผูน้ ำ� ในการคิดค้น เทคโนโลยี OLED ในขนาด 11 นิว้ เมือ่ ปี พ.ศ. 2551 แต่ LG กับ Sumsung 2 ยักษ์ใหญ่ใน วงการโทรทัศน์จากเกาหลีใต้ ได้พฒ ั นาแล้วน�ำ เสนอโอแอลอีดีทีวีเพื่อการพาณิชย์ในงาน ซีอีเอสเมื่อปี พ.ศ.2555 แต่เอาเข้าจริง ๆ “แอลจี” กลับแสดงความเป็นผู้น�ำในตลาด เครื่ อ งรั บ โทรทั ศ น์ ข องโลก ด้ ว ยการผลิ ต โอแอลอีดี ทีวี ออกมาวางขายในเดือนมีนาคม นี้ ส่วนซัมซุงประกาศว่าจะวางตลาดทีวีโอแอลอีดีในครึ่งปีหลังที่เกาหลีใต้เป็นประเทศ แรก โดยประเดิมด้วยขนาดจอ 55 นิว้ เช่นกัน ส�ำหรับผูผ้ ลิตโทรทัศน์อนั ดับ 3 และ 4 ของโลก Sony และ Panasonic ซึง่ เป็นบริษทั ญีป่ นุ่ ทัง้ คู่ ได้มขี อ้ ตกลงร่วมกันทีจ่ ะวิจยั และ พัฒนาเทคโนโลยี OLED เช่นเดียวกับ Sharp


Trend ค่ายโทรทัศน์ผบู้ กุ เบิกและเจ้าตลาด LCD TV ในญีป่ นุ่ และ Toshiba ตลอดจน Hitachi ก็ได้ ร่วมมือกันภายใต้แนวคิด “บริษัทแห่งชาติ ญี่ ปุ ่ น ” เพื่ อ ไล่ ต ามเทคโนโลยี ค ่ า ยเกาหลี ต่อไป หลั ง จากสมหวั ง ในการจั ด ประมู ล ระบบโทรศัพท์ 3G ส�ำเร็จลุล่วงไป ในช่วง ปลายปี พ.ศ.2554 ที่ผ่านมานี้เอง โครงการ เปลีย่ นผ่านระบบโทรทัศน์ในประเทศไทย จาก ระบบอะนาล็อกไปสู่โทรทัศน์ในระบบดิจิทัล กลายเป็นภารกิจส�ำคัญของคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) พ.อ.นที ศุ ก ลรั ต น์ รองประธาน กสทช. ในฐานะประธานคณะกรรมการกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวถึงความคืบหน้าของการเปลี่ยนผ่าน ระบบทีวขี องไทยสูท่ วี ดี จิ ทิ ลั ว่า การเปิดประมูล คาดว่าจะเริม่ ไม่เกินไตรมาส 2 ของปีนี้ ส�ำหรับ ทีวดี จิ ทิ ลั มีทงั้ สิน้ 48 ช่อง แบ่งเป็น ช่องบริการ ชุมชน 12 ช่อง ช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง ช่องบริการธุรกิจทั้งหมด 24 ช่องจะถูกแบ่ง ออกเป็น หมวดรายการเด็กและเยาวชน 5 ช่อง หมวดข่าวสารและสาระ 5 ช่อง หมวดช่อง ทัว่ ไป 10 ช่อง และหมวดของช่องรายการทีม่ ี คุณภาพความคมชัดสูง (HD) 4 ช่อง หากเป็นไปตามแผนงานที่ กสทช. คาดการณ์เอาไว้ นัน่ หมายความว่า ภายในปี พ.ศ.2556-2557 นอกจากระบบฟรีทวี ดี งั้ เดิม ช่อง 3-5-7-9-11-TPBS ระบบโทรทัศน์เคเบิล ทีวี ระบบโทรทัศน์ดาวเทียม ที่มีการยื่นขอ อนุญาตมากกว่า 700 ช่องแล้ว ยังจะมีสถานี โทรทัศน์ระบบดิจทิ ลั เพิม่ ขึน้ อีก 48 ช่อง ซึง่ จะ ทยอยเปิ ด ระบบให้ ป ระชาชนได้ รั บ ชมที วี ดิจทิ ลั ตัง้ แต่กลางปี พ.ศ.2557 และจะเปลีย่ น ระบบทีวอี ะนาล็อกเป็นทีวดี จิ ทิ ลั อย่างสมบูรณ์ แบบในปี พ.ศ.2559 ส�ำหรับมาตรฐานของทีวดี จิ ทิ ลั กสทช. เลื อ กใช้ ร ะบบส่ ง สั ญ ญาณแบบ DVB-T2 (Digital Video Broadcasting-Second Generation Terrestrial) ซึ่งเป็นมาตรฐานยุโรป

และเป็นระบบทีใ่ หม่พฒ ั นาจากระบบเดิม คือ DVB-T และมีประสิทธิภาพมากทีส่ ดุ เมือ่ เทียบ กับระบบอื่น ๆ อีกทั้งยังเป็นระบบที่ประเทศ สมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ได้เลือกใช้เช่นกัน ส่วนการรับชมรายการโทรทัศน์ต่าง ๆ ของ ประชาชนผ่านระบบทีวดี จิ ทิ ลั มี 2 รูปแบบ คือ 1. การเปลี่ยนเครื่องโทรทัศน์ใหม่ เป็นเครือ่ งทีม่ จี นู เนอร์ระบบ DVB-T2 ในตัว ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตโทรทัศน์ในประเทศยังไม่ได้ ใส่เข้าไปในทีวี คาดว่าจะเริม่ ในทีวซี งึ่ วางจ�ำหน่ายในไตรมาส 3 เพราะตลาดในประเทศไทย แข่งขันกันด้วยราคา การใส่ระบบ DVB-T2 จะ ท�ำให้เครือ่ งมีราคาสูงขึน้ โดยทีแ่ นวทางก่อน หน้านี้ของภาครัฐก็ยังไม่ชัดเจน คาดว่าในปี พ.ศ.2557 จะน� ำ ที วี ร ะบบดิ จิ ทั ล มาวาง จ�ำหน่ายเป็นการทัว่ ไปอย่างแพร่หลาย 2. การรับชมรายการผ่านอุปกรณ์ Set Top Box ทีร่ บั สัญญาณจากระบบดิจทิ ลั เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องโทรทัศน์ที่ยังคงเป็น ระบบอะนาล็อก ประชาชนก็จะสามารถรับชม รายการต่าง ๆ ของระบบทีวีดิจิทัลได้เช่นกัน โดยไม่ต้องติดตั้งจานดาวเทียม แต่จะติดตั้ง เพียงเสาเล็ก ๆ ทีม่ ากับ Set Top Box หรือ เครือ่ งโทรทัศน์รนุ่ ใหม่ ๆ และทีส่ ร้างความฮือฮามากไปกว่านัน้ นั่นคือ มาตรการแบ่งเบาภาระประชาชนใน การซือ้ อุปกรณ์รบั สัญญาณโทรทัศน์ในระบบ ดิจทิ ลั ผ่านการสนับสนุนของภาครัฐในรูปแบบ ของ คูปองสนับสนุน ให้เกิดการเปลีย่ นมาใช้ เครื่ อ งรั บ โทรทั ศ น์ ใ นระบบดิ จิ ทั ล แก่ ผู ้ ช ม รายการชาวไทย ประมาณการกันว่ามีมากถึง

22 ล้านครัวเรือน (ตามข้อมูลส�ำเนาทะเบียน ราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย) คูปองดังกล่าวจะสามารถให้ประชาชน เลือกได้ว่าจะซื้อเครื่องรับโทรทัศน์รุ่นใหม่ที่มี จูนเนอร์รองรับระบบทีวีดิจิทัล หรือเลือกซื้อ กล่องรับสัญญาณทีวดี จิ ทิ ลั (set top box) มา ติดกับทีวเี ครือ่ งเก่า อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เมือ่ ทีวดี จิ ทิ ลั เปิดใช้งานได้จริงแล้ว ทีวอี ะนาล็อก ระบบเดิมที่ใช้อยู่ในปัจจุบันก็จะแพร่ภาพ กระจายเสียงต่อไปจนกว่าครบสัญญาสัมปทานเดิ ม ทั้ ง นี้ เ พื่ อ เป็ น ทางเลื อ กส� ำ หรั บ ประชาชน ในเบื้องต้นระบุว่า ในกลุ่มทีวีดิจิทัล ประเภทช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง มีความ เคลื่อนไหวทั้งจากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (เอแบค) ช่อง 5 ช่องไทยพีบีเอส กระทรวง มหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวง เกษตรและสหกรณ์ ฯลฯ ขยับตัวที่จะเข้ามา ประมูลรับใบอนุญาตด�ำเนินการช่องทีวดี จิ ทิ ลั ในกลุม่ นีแ้ ล้วอย่างคึกคัก ขณะที่ทีวีดิจิทัล ในหมวดธุรกิจยัง เต็มไปด้วยสีสัน เมื่อผู้ผลิตรายการข่าว อาทิ ช่อง 9 วอยซ์ทีวี สปริงนิวส์ เนชั่นแชนแนล ไทยรัฐทีวี สถานีข่าว ทีเอ็นเอ็น จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ฯลฯ ต่างก็หมายมั่นปั้นมือว่าจะเข้า มาแจ้งเกิดเป็นสถานีข่าวระบบดิจิทัลเป็น รายแรก ๆ ด้วยกันทั้งสิ้น ส่วนกลุ่มผู้ผลิตรายการเด็กปรากฏ ชื่อผู้เชี่ยวชาญอย่าง ช่อง 9 การ์ตูน ช่องแก๊งการ์ตนู การ์ตนู คลับ รวมถึงกลุม่ บริษทั อินทัช จ�ำกัด (กลุ่มชินคอร์ป) จะกระโดดเข้ามาร่วม

Vol.19 No.185 March 2013

ปี 2013 ไทยแพร่ภาพทีวีด้วยระบบดิจิทัล

21


Trend ชิงชัยในช่องทีวีดิจิทัลส�ำหรับเด็ก รวมทั้ ง ในกลุ ่ ม ช่ อ งที วี ดิ จิ ทั ล ความ คมชัดสูง (HD) ก็จะมีทงั้ ช่อง 3 ช่อง 7 ช่อง 9 และกลุม่ อินทัช ให้ความสนใจเข้าร่วมประมูล

สรุปแนวโน้มทีวี ในยุคเปลีย่ นผ่านเป็นดิจทิ ลั

ทีวีจอใหญ่ขึ้น เนื่องจากราคา โทรทัศน์ที่ลดลงอย่างรวดเร็ว จากผลการ ศึกษาของบริษัทที่ปรึกษา WistView พบว่า โทรทัศน์แบบ LCD ทีจ่ ำ� หน่ายในตลาดมีขนาด เพิม่ ขึน้ เช่น ในปี พ.ศ.2552 ขนาดเฉลีย่ 33.6 นิว้ ในปี พ.ศ.2553 ขยายเป็น 33.7 นิว้ ในปี พ.ศ.2554 ขนาดจอเฉลีย่ 34.5 นิว้ และล่าสุด ขยายเป็น 36.5 นิว้ ในปี พ.ศ.2555 ➲ วางขายที วี จ อยั ก ษ์ พ ร้ อ มกั บ เทคโนโลยี 4K ทีวที มี่ ขี นาดจอภาพ 60 นิว้ ขึน้ ไป มีหลายยีห่ อ้ ทีผ่ ลิตออกมาในราคาค่าตัว เกินแสนบาท ได้รบั ความนิยมจากตลาดระดับ บนพอสมควร หลังจากทีต่ อ้ งทนเบือ่ หน่ายกับ เครือ่ งโปรเจคเตอร์ซงึ่ ฉายใส่จอสีขาว หรือผนัง ซึง่ สีสนั ความคมชัด และความหลากหลายของ รายการ ยังเป็นรองทีวีทั่วไปอยู่หลายเท่าตัว แถมยังต้องฉายในห้องมืด ๆ เท่านัน้ โดยทีวี จอยักษ์ทมี่ ขี นาดตัง้ แต่ 60 นิว้ ขึน้ ไป ได้พฒ ั นา ความคมชัด ให้มีสัดส่วนความละเอียดเพิ่ม เป็น 3840 x 2160 จาก 1980 x 1080 ใน ปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อให้ได้เฟรมภาพขนาดใหญ่ ตามขนาดของจอทีม่ ตี งั้ แต่ 60-120 นิว้ อาจ กล่าวได้วา่ เทคโนโลยี 4K ไม่จำ� เป็นส�ำหรับจอ ทีวเี ล็ก ขนาด 55 นิว้ ลงมา เพราะภาพมีความ ชัดเจนอยูแ่ ล้วโดยทีด่ วงตามนุษย์ไม่สามารถ จับความแตกต่างได้ ไม่เหมือนจอใหญ่ซงึ่ ถ้า เฟรมภาพความละเอียดน้อย ก็จะเห็นว่าภาพ ถูกขยายมองใกล้ ๆ จะรูว้ า่ เบลอ ความหนาแน่น ของสีนอ้ ย ไม่คมชัด ดังนัน้ เทคโนโลยี 4k จะ จ�ำเป็นส�ำหรับทีวจี อยักษ์เท่านัน้ ➲ ไม่มท ี วี ี LCD รุน่ ใหม่ และพลาสม่าทีวีจะไม่พัฒนาต่อ รายงานข่าวระบุว่าปี พ.ศ.2556 ผูผ้ ลิตหลายค่ายได้ยกเลิกการผลิต ทีวที ใี่ ช้หลอด LCD เป็นตัวให้แสง โดยเปลีย่ น มาใช้หลอด LED แทน เนือ่ งจากต้องการแก้ ปัญหาขนาดความหนาของทีวี และอัตราภาพ เคลือ่ นไหวทีต่ อ่ เนือ่ งขึน้ นอกจากความสว่าง

Vol.19 No.185 March 2013

22

และคมชัด ซึง่ LED TV ท�ำได้ดกี ว่า LCD TV ในทุกด้านแล้ว เรือ่ งของราคา LED TV ก็ถกู ลงมา เพราะมีการผลิตมากขึน้ จนราคาพอ ๆ กั น ที่ ส� ำ คั ญ คื อ ผู ้ บ ริ โ ภคพร้ อ มยอมจ่ า ย มากกว่าเพือ่ เทคโนโลยีทดี่ กี ว่า ส�ำหรับ Plasma TV ปีนคี้ า่ ย Panasonic ประกาศชัดเจนว่าจะไม่ทมุ่ งบวิจยั และ พัฒนาต่อ เพราะจอประเภทนี้ผลิตมานาน และได้พัฒนาจนสุดทางแล้ว ประกอบกับ ยอดขายในช่วงหลัง ๆ ก็คงที่ โดยจะหันมาทุม่ งบในการพัฒนา OLED TV เพื่อแข่งขันกับ แบรนด์อนื่ ๆ แทน ➲ ทีวจ ี อแก้ว (CRT) ก�ำลังสูญพันธ์ ทีวจี อแก้วทีว่ างขายในห้างดิสเคาน์สโตร์ได้รบั ผลกระทบโดยตรง เนื่องจากจอภาพเหล่านี้ ไม่มที งั้ ช่อง USB และ HDMI ทีห่ ลังเครือ่ ง จึง ไม่สามารถรับภาพผ่านกล่องระบบ Set Top Box ท�ำให้ไม่สามารถแปลงภาพจากอะนาล็อก เป็นดิจิทัลได้ เพราะกล่องระบบดังกล่าวไม่ สามารถใช้เทคโนโลยีสาย AV สีเหลือง ขาว แดง และช่อง RF แปลงสัญญาณเป็นดิจทิ ลั ได้ ดังนัน้ ทีวี CRT จึงไม่สามารถเปลีย่ นเป็น ทีวดี จิ ทิ ลั ได้ ➲ ทีวี LCD Plasma LED ทีวี 3 มิติ สมาร์ททีวที ขี่ ายในช่วง 10 ปีหลัง สามารถ เปลีย่ นเป็นทีวดี จิ ทิ ลั ได้ เพียงแต่ตอ้ งน�ำไปต่อ ผ่านกล่องรับภาพแบบดิจิทัลระบบ DVB-T2 รุ่นใหม่เท่านั้น การเปลี่ยนแปลงระบบออก อากาศเป็นดิจิทัลในประเทศไทยครั้งนี้ไม่ได้ ส่งผลต่อทีวขี า้ งต้นแต่อย่างใด เพราะอย่าลืม ว่าทุกวันนีเ้ รา ๆ ท่าน ๆ ก็แทบจะรับชมภาพ บนจอทีวี ผ่านกล่อง Set Top Box ของค่าย ผูใ้ ห้บริการระบบเคเบิล้ ทีวี หรือฟรีทวี ดี าวเทียม ไม่ค่ายใดก็ค่ายหนึ่งอยู่แล้ว ลักษณะการ ท�ำงานของ Set Top Box เพื่อรับสัญญาณ ดิจิทัลก็คล้าย ๆ กัน โดยไม่ได้รับผ่านจาน ดาวเทียม รวมทั้งการแพร่กระจายสัญญาณ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วย หากแต่จะรับ สัญญาณดิจิทัลผ่านอุปกรณ์เล็ก ๆ โดยตรง ซึง่ กสทช. จะให้การสนับสนุนต่อไป ➲ ร้ า นติ ด ตั้ ง จานดาวเที ย มงาน ลดหดหาย เพราะระบบดิจิทัล DVB-T2 ไม่ ต้องง้อทิศทางองศาของจานดาวเทียม หรือ

อุปกรณ์เสาอากาศบนหลังคา ดังนัน้ ผูท้ จี่ ะรับ ระบบดิจิทัลภาคพื้นดินจึงสามารถเข้ามาใช้ งานได้ทนั ที ขอเพียงมีกล่อง Set Top Box รุน่ ที่รองรับระบบ DVB-T2 หรือมีตัวรับ หรือ เสาอากาศหนวดกุง้ จิว๋ ติดตัง้ ผ่าน USB ต่อกับ ทีวเี ดิม หรือถ้าซือ้ ทีวใี หม่ตอ่ จากนีก้ จ็ ะมีแผง รับดิจทิ ลั แผงเดียวทีฝ่ งั มากับตัวเครือ่ ง ท�ำให้ สามารถใช้ ง านได้ ทั น ที อาชี พ ติ ด ตั้ ง จาน ดาวเทียมจะค่อย ๆ หายไปเช่นเดียวกับงาน ติดตัง้ เดินสายเสาไฟฟ้าทีวี ผู้ประกอบการจานดาวเทียมและ ผู้ให้บริการเคเบิ้ลดาวเทียมต้องปรับตัวสู้ เพราะถ้าบริการและรายการไม่ดีจริง หรือยัง เก็บค่าบริการรายเดือนในราคาแสนแพงอยู่ อีก คงจะอยู่ในตลาดนี้ได้อีกไม่นาน ในเมื่อ ฟรีทีวีในอนาคตมีช่องให้เลือกมากมายกว่า 50 ช่อง เอกสารอ้างอิง 1. เรียบเรียงจากกระทู้เรื่องทีวีต่าง ๆ ใน www.pantip.com และ www.lcdtvthailand.com 2. บทความเรื่อง “แนวโน้มทีวีในอนาคต จาก…ซีอเี อส2013” หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 11 มกราคม 2556 3. ยุทธศักดิ์ คณาสวัสดิ,์ OLED เทคโนโลยี โทรทัศน์แห่งอนาคต. วารสารส่งเสริมการลงทุน ปีที่ 23 ฉบับที่ 11 พฤศจิกายน 2555, หน้า 42-43 4. หนุ่มดิจิตอล, คอลัมน์ จักรวาลไอที : เปลีย่ นผ่านสูท่ วี ดี จิ ติ อล. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวัน ที่ 20 มกราคม 2556 5. คอลัมน์ ในประเทศ : สมรภูมทิ วี ดี จิ ติ อล ระอุ กสทช.แจกไลเซ่น-คูปองหน้าเก่า-ยักษ์ใหญ่โดด ลุย. มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 18 มกราคม 2556


Q

Trend for

uality

ตอนที่

2

SRM ความสัมพันธ์ที่มองไม่เห็น แต่จับต้องได้: Supplier Relationship Management:

กรณีศึกษา: พืชสมุนไพรไทย ข่าและตะไคร้ สุพัชรี สุปริยกุล นงลักษณ์ นิมิตรภูวดล ณัฎภัทรศญา เศรษฐโชติสมบัติ ลดาวรรณ สว่างอารมณ์ นักศึกษาหลักสูตร Ph.D. in Logistics and Supply Chain Management มหาวิทยาลัยศรีปทุม และ ดร.พัลลภา ปีติสันต์ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล

ต่อจากฉบับที่แล้ว

ใน

ฉบับทีแ่ ล้วทีมวิจยั ได้นำ� เสนอข้อมูลเกีย่ วกับความส�ำคัญของ การบริ ห ารจั ด การสั ม พั น ธภาพของซั พ พลายเออร์ และ ลักษณะเฉพาะของการปลูกข่า และตะไคร้ไปแล้ว ในฉบับนี้เป็นการ น�ำเสนอรูปแบบของสัมพันธภาพที่เกิดขึ้น จากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในขบวนการฝ่ายต่าง ๆ ได้แก่ 1. ผู้ปลูก หรือเรียกว่า เกษตรกร ผู้เป็นเจ้าของสวน 2. คนกลาง 3. ผู้ค้าส่ง เช่น ตลาดไท 4. ผู้ค้าปลีก เช่น ตลาดรังสิต ตลาดสี่มุมเมือง ตลาดปัฐวิกรณ์ ห้องเย็นแพ็คส่งออกนอก และ 5. ลูกค้า รวมถึง ลูกค้า รายใหญ่ และลูกค้ารายย่อย ทีมวิจยั พบลักษณะการเชือ่ มโยงสัมพันธภาพในลักษณะรูปแบบต่าง ๆ ได้ทั้งหมด 4 รูปแบบ ดังนี้ ➲ รูปแบบที่ 1 ผู้ปลูก (เจ้าของสวน)

ผู้ค้าส่ง (ตลาดไท)

ความสัมพันธ์รปู แบบที่ 1 พบว่า ผูป้ ลูกขายตรงไปยังผูค้ า้ ส่งที่ ตลาดไท ซึง่ ความน่าสนใจ คือ รูปแบบของสัมพันธภาพนี้ มีโอกาสเกิดขึน้ น้อยมาก สืบเนือ่ งจากปัญหาหลัก คือ ผู้ปลูก ซึง่ คือ เกษตรกรเองนัน้ ไม่ทราบกลไกการตลาด และขาดทักษะในการสือ่ สารด้านธุรกิจกับคูค่ า้ ซึง่ คือ ผูค้ า้ ส่ง (ตลาด) จากการวิจยั พบว่า กรณีทผี่ ปู้ ลูกส่งสินค้าไปขาย กับผูค้ า้ โดยตรงนัน้ เกิดมาจากการทีพ่ อ่ ค้าคนกลางผันตัวมาเป็นเกษตรกร ผูป้ ลูกเอง เนือ่ งจากพ่อค้าคนกลางทราบลูท่ างและเห็นโอกาสในธุรกิจ หลังจากทีเ่ ป็นพ่อค้าคนกลางมานาน จึงหาทางเพิม่ รายได้จากการทีเ่ ป็น

ลูกค้า for Quality Vol.19 No.185 March 2013

23


Trend ตัวกลางเพียงอย่างเดียวมาเป็นเกษตรกรที่ ปลูกเองด้วย โดยพบว่าในปัจจุบันมีพ่อค้า คนกลางผั น ตั ว มาเป็ น เกษตรกรผู ้ ป ลู ก ข่ า ตะไคร้ ประมาณ 5% ของตลาด ➲ รูปแบบที่ 2 ผู้ปลูก (เจ้าของสวน)

ผู้ค้าส่ง (ตลาดไท)

ผู้ค้าปลีก/ส่ง (ตลาดรังสิต สี่มุมเมือง ปัฐวิกรณ์ โรงงานน�้ำพริก ห้องเย็น ที่แพ็คส่งต่างประเทศ)

ลูกค้า

ความสัมพันธ์รปู แบบที่ 2 เป็นความ สัมพันธ์ในรูปแบบทีไ่ ม่ซบั ซ้อนมาก แต่เพิม่ ผูม้ ี ส่วนเกีย่ วข้องในโซ่อปุ ทานเพิม่ เติมเข้ามา คือ ผู้ค้าปลีกและผู้ค้าส่ง ซึ่งน�ำข่า ตะไคร้ ไป จ�ำหน่ายกับตลาดอืน่ ๆ ไม่วา่ จะเป็นตลาดใน รูปแบบค้าส่ง หรือตลาดค้าปลีกทีอ่ ยูไ่ กลจาก บริเวณตลาดไทออกไป รวมถึงห้องเย็น ซึง่ โดย ส่วนมากเป็นบริษัทของคนไทย ที่ประกอบ กิจ การส่งสินค้ าพื ช ผลเกษตรไปขายต่างประเทศ ➲ รูปแบบที่ 3 ผู้ปลูก (เจ้าของสวน)

ตัวกลาง (supplier)

ความสัมพันธ์รปู แบบที่ 3 เป็นความ สัมพันธ์ที่มีการเพิ่มคู่ค้าที่เรียกว่า ตัวกลาง เพิ่มขึ้นมาด้วยสาเหตุที่ว่า ผู้ปลูกขาดความรู้ ความเข้าใจเชิงกลไกด้านการตลาด และรูส้ กึ ถึงความสะดวกสบายในการทีม่ คี นกลางมารับ ซื้อสินค้าถึงที่ แม้จากการวิจัยเราพบว่าพื้นที่ ของผูป้ ลูกบางรายไม่ได้อยูไ่ กล หรือมีปญ ั หา ด้านการเดินทางไปขายสินค้าเองทีต่ ลาดไทย

ผู้ค้าส่ง (ตลาดไท)

ลูกค้า

นอกจากนัน้ ทีมวิจยั ยังพบว่าตัวกลางนัน้ มักใช้รปู แบบการสร้างความสัมพันธ์ทดี่ ใี นระยะยาวกับ เจ้าของสวน ➲ รูปแบบที่ 4

Vol.19 No.185 March 2013

ผู้ปลูก (เจ้าของสวน)

24

ผู้ค้าปลีก/ส่ง (ตลาดรังสิต สี่มุมเมือง ปัฐวิกรณ์ โรงงานน�้ำพริก ห้องเย็น ที่แพ็คส่งต่างประเทศ)

ตัวกลาง (supplier)

ผู้ค้าส่ง (ตลาดไท)

ลูกค้า

ตัวกลาง (supplier)

ผู้ค้าปลีก/ส่ง (ตลาดรังสิต สี่มุมเมือง ปัฐวิกรณ์ โรงงานน�้ำพริก ห้องเย็น ที่แพ็คส่งต่างประเทศ)


Trend ความสัมพันธ์ในรูปแบบที่ 4 จะพบ คู่ค้าที่ท�ำหน้าที่เป็นตัวอย่างเพิ่มขึ้นในอีกขั้น ของกระบวนการจัดการโซ่อปุ ทาน โดยจากการ ส�ำรวจ ทีมวิจยั พบรูปแบบของความสัมพันธ์ใน รูปแบบที่ 3 และ 4 มากทีส่ ดุ คือ ประมาณ 95%

การวิเคราะห์ การสร้างความสัมพันธ์ แบบแน่นแฟ้นในแต่ละกลุ่ม (building deep supplier relationship)

ผู้ปลูก (เจ้าของสวน)

รูปแบบที่ 2 ความสัมพันธ์ย่อย ที่เกิดระหว่างตัวกลาง

ตัวกลาง (supplier)

โดยจะมี รู ป แบบความสั ม พั น ธ์ ที่ เหนียวแน่น (เชิงลึก) ระหว่างคูค่ า้ นี้ ชาวสวน ขายตรงนัน้ ไม่มกี ารขายตรง เพราะขาดความรู้ ด้านกลไกตลาด ซึง่ ไม่ใช่ปญ ั หาด้านโลจิสติกส์ แต่อย่างไร ดังนัน้ จึงจ�ำเป็นต้องผ่านตัวกลาง เว้นเสียแต่ตวั กลางเองจะเพิม่ หรือขยายธุรกิจ ไปเป็นผูป้ ลูกเสียเอง แต่มโี อกาสทีจ่ ะเกิดน้อย มากตัวกลางมีความสัมพันธ์เหนียวแน่นกับ ผูป้ ลูก โดยการสร้างสัมพันธภาพด้วยวิธี ➢ ซือ ้ พันธ์ขา่ -ตะไคร้ให้กบั ชาวสวน ➢ ซือ ้ ปุย๋ ให้ ➢ ให้เงินช่วยเหลือชาวสวนฟรี เช่น ช่วยงานศพเช่นซือ้ โลงให้ ซือ้ สิง่ อ�ำนวยความ สะดวกให้ เช่น ตูเ้ ย็น เครือ่ งซักผ้า ทัง้ นีเ้ พือ่ สร้าง ความภักดีแก่ชาวสวน ➢ ตัวกลาง 1 คน จะผูกกับชาวสวน 20 ราย (20 สวน) ➢ รั บ ซื้ อ สิ น ค้ า จากชาวสวนถึ ง ที่ ชาวสวนเพียงแต่ขดุ รอ โดยตัวกลางจะส่งคน ยกขึน้ รถกระบะ จากนัน้ น�ำข่า ตะไคร้ไปซักล้าง ด้วยน�ำ้ ยาให้ขาวสะอาด และขจัดเชือ้ รา ➢ รับซือ ้ ในราคาต�ำ่ กดราคา (เนือ่ งจากตัวกลางได้ลงทุนให้ชาวสวนมากเพียงพอแล้ว)

ตัวกลาง (supplier) ตัวกลาง A

ตัวกลาง B

รูปแบบความสัมพันธ์แบบนี้ พบว่า เป็ น ความสั ม พั น ธ์ กั บ แบบหลวม ๆ โดย ตัวกลาง A และตัวกลาง B จะมีลกั ษณะการ ท�ำงานเหมือนกันและมีเครือข่ายชาวสวน ประมาณ 20 รายในสังกัดเท่า ๆ กัน โดย ตัวกลางจะมีการตกลงซื้อในราคาเดียวกัน (การฮั๊วราคา) เพื่อรับซื้อจากชาวสวน ท�ำให้ เกิดราคามาตรฐานต�ำ่ ถ้าเมือ่ ใดทีต่ วั กลางเกิดข้อพิพาท ก็นำ� มาซึง่ การแย่งลูกค้า เช่น ตัวกลาง B ให้ราคา รับซือ้ ทีส่ งู กว่าตัวกลาง A ก็จะส่งผลให้ชาวสวน ทีอ่ ยูใ่ นสังกัดของ A ทีไ่ ม่ภกั ดีนนั้ ตีจาก (สัดส่วน ประมาณ 10%) ไปอยูก่ บั ตัวกลาง B เนือ่ งจาก ให้ราคาสูงกว่า พร้อมกับให้ขา่ วทีเ่ สียหายกับ ตัวกลาง A ว่า ตัวกลาง A นัน้ รับซือ้ สินค้าราคา ต�ำ่ กดราคา ส่วนมุมมองของตัวกลาง B ก็ไม่ ได้ ดี กั บ ผู ้ ป ลู ก ของตั ว กลาง A ที่ ดึ ง มาได้ เนือ่ งจากหากผูป้ ลูกไม่ภกั ดีกบั คนทีค่ า้ ขายกัน มานาน ดังนัน้ เกิดความไม่ไว้วางใจของตัวกลาง B ต่อผูป้ ลูกรายนัน้ ท�ำให้เมือ่ ช่วงทีข่ า่ ตะไคร้ ราคาตกต�ำ่ ตัวกลาง B ก็ให้ราคาทีต่ ำ�่ ยิง่ กว่า

ตัวกลาง A เคยให้ ท�ำให้ผู้ปลูกคนเดิมที่เคย ตีจาก ขอกลับมาอยู่กับตัวกลาง A ซึ่งเคย ค้าขายกันมานาน ซึ่งทีมวิจัย พบว่า ปัญหา เหล่านี้เกิดขึ้นเป็นประจ�ำส�ำหรับผู้ปลูกที่ไม่มี ความภักดีตอ่ ตัวกลาง ➲ รูปแบบที่ 3 ระหว่างตัวกลางกับ ผูค้ า้ ส่งในตลาดค้าส่ง ตัวกลาง (supplier)

ผู้ค้าส่ง (ตลาดไท)

รูปแบบความสัมพันธ์นี้เป็นไปแบบ หลวม ๆ เนือ่ งจาก 1. Office ของตลาดแห่ ง นี้ เ ป็ น ผูก้ ำ� หนดราคาสินค้าขึน้ -ลงในแต่ละวัน ตาม กลไกตลาด 2. ตลาดแห่งนี้มีความสัมพันธ์กับ ตัวกลาง (supplier) น้อยมาก กล่าวคือ ความ สัมพันธ์และเกี่ยวข้องระหว่างกันมีเพียงแค่ ตลาดแห่งนี้เก็บเงินจากตัวกลางที่น�ำรถขน ข่า-ตะไคร้เข้ามาในตลาด รถกระบะต้อง จ่ายเงิน 180 บาท (บรรทุก 1.5 ตัน) ต่อวัน ส่วนรถ 10 ล้อ บรรทุก 17 ตัน ก็จา่ ยราคาสูงขึน้ จากการจ่ายเงินนีต้ ลาดไทจะมอบบริการเด็ก ยกของลงจากรถให้ ฉบับหน้าพบกับรูปแบบความสัมพันธ์ ที่ 4 และ 5 ต่อไป

อ่านต่อฉบับหน้า

Vol.19 No.185 March 2013

จากรูปแบบของความเชื่อมโยงกัน ดังที่ได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ สามารถ อธิบายถึงความสัมพันธ์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้ ดังนี้ ➲ รู ป แบบที่ 1 ความสั ม พั น ธ์ ระหว่างผูป้ ลูกกับตัวกลาง

25


Q

Production for

uality

พฤติกรรมของลูกค้า กับตัวแบบของคาโน วิบูลย์ พงศ์พรทรัพย์ viboon@gmail.com

ใน

บทความฉบั บ ที่ แ ล้ ว ผู ้ เ ขี ย นได้ แนะน�ำให้รู้จักค�ำว่า ลูกค้า ไปแล้ว ซึ่งค�ำว่าลูกค้าในมุมมองของคุณภาพ จะ หมายถึง ใครก็ตามที่ได้รับผลกระทบจาก ผลิตภัณฑ์หรือการท�ำงานของเรา โดยลูกค้า แต่ละคนก็มีความต้องการที่แตกต่างกันไป การได้รับการตอบสนองที่แตกต่างกัน ย่อม ส่งผลถึงความพอใจของลูกค้าเหล่านี้ ในการท� ำ ความเข้ า ใจกั บ ลู ก ค้ า สามารถพิจารณาได้ในหลายมุมมอง โดย

มุมมองหนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันได้แก่ “ตัวแบบ ของคาโน (Kano’s Model)” โดย ดร.โนริอากิ คาโน (Dr. Noriaki Kano) ได้ท�ำการศึกษาถึง ความต้องการของลูกค้าภายใต้พฤติกรรมของ ลู ก ค้ า และน� ำ เสนอในรู ป ของกราฟ ซึ่ ง มี แกนนอนแทน “ได้รับ” (ฝั่งขวาแทน “ได้รับ” ในขณะที่ฝั่งซ้ายแทน “ไม่ได้รับ”) ในขณะที่ แกนตั้งแทน “พอใจ” (ด้านบนแทน “พอใจ” ด้านล่างแทน “ไม่พอใจ”) พบว่า สามารถ จ�ำแนกคุณภาพตามพฤติกรรมของลูกค้าได้ ดังรูปที่ 1

พอใจ

มีเสน่ห์ มิติเดียว

เฉย ๆ

ไม่ได้รับ

ต้องมี

ตรงกันข้าม ไม่พอใจ ▲ รูปที่ 1

ตัวแบบของคาโน

26

for Quality Vol.19 No.185 March 2013

ได้รับ

โดยในตัวแบบที่ ดร.คาโน น�ำเสนอ ในครั้งแรกนั้น มีด้วยกัน 4 ประเภท ได้แก่ 1. คุณภาพในระดับเฉย ๆ (indifferent) เป็นคุณภาพที่เมื่อลูกค้าจะได้รับ หรือไม่ได้รับ ก็ไม่รู้สึกอะไรกับคุณภาพนั้น ๆ (แสดงด้วยเส้นตรงที่ทับกับแกน x) 2. คุณภาพที่มีเสน่ห์ (attractive quality) เป็นคุณภาพทีเ่ มือ่ ลูกค้าได้รบั จะรูส้ กึ พอใจมาก แต่หากไม่ได้รบั ก็มไิ ด้ไม่พอใจหรือ อีกนัยหนึ่ง ก็คือ รู้สึกเฉย ๆ นั่นเอง 3. คุณภาพในมิติเดียว (one-dimensional quality) เป็นคุณภาพทีห่ ากลูกค้า ไม่ได้รบั ก็จะเกิดความไม่พอใจ แต่หากได้รบั ก็จะรู้สึกพอใจ 4. คุณภาพที่จ�ำเป็นต้องมี (mustbe quality) เป็นคุณภาพทีห่ ากได้รบั ก็แค่รสู้ กึ เฉย ๆ แต่หากไม่ได้รับ จะเกิดความไม่พอใจ ผู้เขียนเคยฟังบรรยายจาก ดร.คาโน เมื่อหลายปีก่อน ตอนนั้น ดร.คาโน ยกตัวอย่างโดยใช้เรือ่ งราวของคูร่ กั ซึง่ ผูเ้ ขียนคิดว่า เป็นตัวอย่างที่เข้าใจง่ายดี จึงขอยกตัวอย่าง ดังกล่าวมาใช้ในการอธิบายผู้อ่าน ณ ที่นี้ ดร.คาโน อธิบายว่า เมื่อชายหญิง 2 คนมาเจอกัน ความรู้สึกแรก ก็คือ เฉย ๆ


Production

ผลิตภัณฑ์ จะเห็นว่ามีความคล้ายคลึงกัน โดยเมื่อเริ่มมีผลิตภัณฑ์ใหม่เกิดขึ้น ความ รู้สึกแรกของลูกค้า ก็คือ เฉย ๆ ท�ำให้ผลิตภัณฑ์ยังไม่สามารถขายได้ เพราะลูกค้ายัง ไม่รหู้ รือไม่เห็นประโยชน์จากผลิตภัณฑ์นนั้ ๆ ถ้าปล่อยไว้เฉย ๆ ผลิตภัณฑ์ก็ไม่สามารถ ขายได้และตายไปในที่สุด ผู ้ ผ ลิ ต จึ ง จ� ำเป็ น ต้ อ งให้ ค วามรู ้ แ ก่ ลูกค้า จะโดยการโฆษณา การ อธิบายหรือวิธีใดก็ตาม เพื่อให้ ลูกค้าเห็นประโยชน์ตา่ ง ๆ จากการได้รับผลิตภัณฑ์ และเกิ ด ประทั บ ใจ เพื่ อ เปลี่ ย นความรู ้ สึ ก ให้ เ ป็ น “คุณภาพทีม่ เี สน่ห”์ เ พื่ อ ใ ห ้ ลู ก ค ้ า มี ความต้องการใน ผลิ ต ภั ณ ฑ์ นั้น ๆ แต่ ค วาม ประทั บ ใจจะเกิ ด แค่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น เมื่อเวลาผ่านไป ผลิตภัณฑ์ นั้นก็จะกลายเป็นสิ่งที่ลูกค้า คาดหวั ง ไว้ ว ่ า ต้ อ งเป็ น แบบนั้ น

Vol.19 No.185 March 2013

เพราะต่างฝ่ายต่างก็ยงั ไม่รจู้ กั กัน การพบปะก็ อาจเป็นในฐานะเพือ่ นหรือคนรูจ้ กั หลังจากนัน้ การจะได้พบเจออีกฝ่ายหรือไม่ ก็ไม่ได้ท�ำให้ เกิ ด ความพอใจหรื อ ไม่ พ อใจแต่ อ ย่ า งไร (เปรียบเสมือนคุณภาพในระดับเฉย ๆ) แต่ก็อาจมีบ้างที่บางคนเป็นรักแรก พบ คือ เห็นปั๊บก็เกิดอาการ “ปิ๊ง” ทันที ใน ขณะทีบ่ างคูก่ ต็ อ้ งใช้เวลาในการคบหาเรียนรู้ จนวันหนึ่งเกิดอาการ “ถูกใจ” หรือ “ใช่เลย” ความรู ้ สึ ก จะเริ่ ม เปลี่ ย นไป หากวั น ไหน บังเอิญได้เจอคนทีเ่ ราแอบหลงรัก วันนัน้ ก็จะ มีความสุข ยิ้มหน้าบานทั้งวัน (เปรียบได้กับ คุณภาพที่มีเสน่ห์) พอเวลาผ่านไปเรือ่ ย ๆ ความต้องการ อยากเจอ อยากอยูด่ ว้ ยกันก็มมี ากขึน้ วันไหน ไม่ได้เจอหน้า ไม่ได้พูดคุย ก็จะรู้สึกหงุดหงิด ไม่พอใจ วันไหนได้เจอหน้า ได้พูดคุย วันนั้น ก็จะมีความสุข (เป็นคุณภาพในมิติเดียว) แสดงว่าเป็นวันที่ทั้งคู่จะเข้าสู่ประตูวิวาห์ แต่หลังจากนั้น หากอยู่กันไปเรื่อย ๆ แล้วไม่ได้รสู้ กึ พอใจในเวลาทีอ่ ยูด่ ว้ ยกัน เพียง แค่เฉย ๆ (คุณภาพทีจ่ ำ� เป็นต้องมี) ก็แสดงว่า วันที่ทั้งคู่จะแยกทางกันใกล้มาถึงแล้ว จากเรื่องที่ ดร.คาโน เล่าให้ฟัง หาก ผู้อ่านลองนึกเปรียบเทียบกับวงจรชีวิตของ

หากไม่เป็นแบบทีค่ าดหวังก็จะไม่ซอื้ หากเป็น แบบที่คาดหวังก็จะซื้อ ความรู้สึกของลูกค้า จะเปลี่ยนไปเป็น “คุณภาพในมิติเดียว” จนในที่สุดความรู้สึกของลูกค้าบน ผลิตภัณฑ์นั้นจะกลายไปเป็น “คุณภาพที่ จ�ำเป็นต้องมี” กล่าวคือ หากมีผลิตภัณฑ์ ดังกล่าวก็ไม่ได้เป็นตัวตัดสินใจให้ซอื้ แต่หาก ไม่มี คงไม่ซื้อแน่ ๆ ลองมาดูตัวอย่างในชีวิตประจ�ำวัน ที่ ผู้อ่านทุกคนน่าจะคุ้นเคยกันดี ตอนทีผ่ เู้ ขียนยังเป็นเด็ก โทรทัศน์หรือ ทีวีในสมัยนั้น ยังไม่มีรีโมทคอนโทรล การจะ เปลีย่ นช่องก็ตอ้ งเดินไปกดปุม่ หรือบิดช่อง ซึง่ บางคนก็ใช้ด้ามไม้กวาดในการกดปุ่มเพราะ ขี้เกียจลุก จนมาวั น หนึ่ ง มี ก ารคิ ด ค้ น รี โ มทคอนโทรลขึ้นมา หากมี ผู ้ ผ ลิ ต รายหนึ่ ง มี ก ารแถม รีโมทคอนโทรลมาให้กับทีวี แต่ไม่ได้บอกว่า มันคืออะไร ลูกค้าที่ซื้อทีวี ก็คงรู้สึกเฉย ๆ เพราะไม่รู้ว่ามันคืออะไร ? ใช้งานอย่างไร ? การที่ทีวีมีรีโมทคอนโทรลหรือไม่ ? ก็ไม่ได้ ท� ำ ให้ เ กิ ด ความพอใจหรื อ ไม่ พ อใจในที วี เครื่องนี้แต่อย่างไร แต่เมื่อผู้ผลิตมีการสาธิตให้ลูกค้า ทราบถึงประโยชน์ของรีโมทคอนโทรลแล้ว

27


Production ลูกค้าจะรู้สึกประทับใจกับทีวียี่ห้อดังกล่าว และเจ้ารีโมทคอนโทรลนี้ ก็จะเป็นประเด็น แรก ๆ ทีเ่ ราใช้ในการเปรียบเทียบและตัดสินใจ ที่ท�ำให้เราซื้อทีวียี่ห้อนี้ เมื่อเทียบกับยี่ห้อ อื่น ๆ ซึ่งยังไม่มีรีโมทคอนโทรล จนผ่านมาสักพัก ทุกคนเริ่มรู้จักและ เห็ น ประโยชน์ จ ากการใช้ รี โ มทคอนโทรล ดังนั้น ลูกค้าทุกคนจึงเริ่มคาดหวังแล้วว่าทีวี ต้องมีรีโมทคอนโทรล หากไม่มีคงไม่ซื้อ จนมาในปัจจุบัน เวลาเราไปซื้อทีวี ก็ ไม่มีใครถามคนขายแล้วว่า ทีวีรุ่นนี้มีรีโมทคอนโทรลหรือไม่ ? เพราะทีวีทุกเครื่องต้องมี รีโมทคอนโทรล มันกลายเป็นสิ่งที่จ�ำเป็นต้อง มีไปแล้ว หากไม่มีเราคงไม่ซื้อแน่ ๆ แต่การที่ มีรีโมทคอนโทรลก็ไม่ใช่ประเด็นที่ท�ำให้เรา ตัดสินใจซื้อทีวียี่ห้อดังกล่าวแต่อย่างไร ผู ้ อ ่ า นจะเห็ น ได้ ว ่ า ทั้ ง สิ น ค้ า และ บริการ จะมีวงจรชีวิตเหมือนดังรีโมทคอนโทรล เพียงแต่ละระยะเวลาในแต่ละช่วงจะ เร็วหรือช้าแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่าง ๆ คือ เริ่มจาก “คุณในระดับภาพเฉย ๆ” ซึ่ง คุณภาพดังกล่าวยังไม่ก่อให้เกิดการซื้อขาย หลั ง จากได้ รั บ ความรู ้ ค วามเข้ า ใจจนเห็ น ประโยชน์จะพัฒนาไปสู่ “คุณภาพที่มีเสน่ห์” และ “คุณภาพมิติเดียว” ตามล�ำดับ จนใน ที่สุดจะกลายไปเป็นสิ่งที่ “คุณภาพที่จ�ำเป็น ต้องมี” ซึง่ เป็นคุณภาพทีเ่ ริม่ จะขายไม่ได้แล้ว

เนื่องจากเป็นเรื่องธรรมดาที่ใคร ๆ ก็สามารถ ท�ำได้แล้ว ที่เป็นเช่นนี้ เนื่องจากความต้องการ ของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เมือ่ ได้รบั แล้วก็อยากจะได้เพิม่ ขึน้ อีก การผลิต สิ น ค้ า หรื อ บริ ก ารเหมื อ นเดิ ม ย่ อ มไม่ อ าจ รักษาลูกค้าไว้ได้ ดังนั้น ทุกบริษัทจึงจ�ำเป็น ต้องน�ำเสนอสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ อยูเ่ สมอ เพือ่ ให้เกิดคุณภาพทีม่ เี สน่หแ์ ละเป็นทีต่ อ้ งการ ของลูกค้า แต่ก็ใช่ว่าการน�ำเสนอสิ่งต่าง ๆ ให้ ลูกค้า จะก่อให้เกิดความพอใจเสมอไป จากตัวแบบของคาโน พบว่า มีกราฟ เส้นตรงอีก 1 เส้น คือ คุณภาพทีอ่ ยูต่ รงกันข้าม (reverse quality) โดยกราฟดังกล่าวได้รบั การ เพิ่ม เติมจากนักวิจัยในภายหลัง กล่าวคือ ลูกค้าจะพอใจเมื่อไม่ได้รับคุณภาพดังกล่าว แต่จะรู้สึกไม่พอใจเมื่อได้รับ หลายคนอาจสงสัยว่า มีดว้ ยหรือทีไ่ ด้ รับแล้วจะไม่พอใจ ลองนึกถึงผูส้ งู วัยกับเทคโนโลยีตา่ ง ๆ อาทิ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ เราพบว่า หากโทรศัพท์มอื ถือมีฟงั ก์ชนั่ ทีส่ ลับซับซ้อน ใช้งานยาก กลุม่ ผูใ้ ช้งานซึง่ เป็น ผู ้ สู ง อายุ เ หล่ า นี้ จ ะใช้ ง านล� ำ บาก กว่ า จะ โทรศัพท์ได้ก็กดอยู่หลายปุ่ม ส่วนฟังก์ชั่น อื่น ๆ ก็ไม่ได้ใช้อะไร เพราะใช้ไม่เป็น กลาย

เป็นความยุ่งยากในการใช้งานมากกว่า กลุ่ม คนเหล่านี้ต้องการเพียงโทรศัพท์มือถือที่ใช้ โทรออก-รับเข้าเท่านั้น ไม่ต้องมีลูกเล่นอะไร มากมาย จากการมองคุ ณ ภาพในประเภท ดังกล่าว จึงมีมือถือรุ่นพิเศษส�ำหรับคนกลุ่มนี้ โดยเฉพาะ ผู ้ เ ขี ย นเคยเห็ น โทรศั พ ท์ ข อง อาจารย์อาวุโสท่านหนึ่ง ชื่อรุ่น R-Ma (แค่ชื่อ รุ่นก็บอกกลุ่มเป้าหมายแล้ว) ท่านบอกว่า ลูกชายซื้อมาให้ใช้ เห็นครั้งแรกนึกว่าเครื่องคิดเลข เพราะมีหน้าจอเพียงบรรทัดเดียว และ ปุ่มกดมีเพียงตัวเลขและปุ่มอื่นอีกเพียง 2 -3 ปุ่ม ท่านถูกใจมากเพราะปุ่มกดใหญ่ดี (ใหญ่ เท่ากับปุ่มเครื่องคิดเลขที่แม่ค้าในตลาดใช้ กัน) แถมมีปุ่มโทรฉุกเฉินอีกด้วย จะเห็นได้วา่ ความต้องการของลูกค้า มีหลากหลาย และเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การท�ำความเข้าใจความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้า จึงจ�ำเป็นส�ำหรับการสร้าง คุณภาพเพื่อให้องค์การอยู่รอด วันนี้คุณภาพสินค้าของท่านอยู่ใน มิติใด ?

Vol.19 No.185 March 2013

เอกสารอ้างอิง กิตศิ กั ดิ์ พลอยพานิชเจริญ, หลักการควบคุม คุณภาพ: Principal of Quality Control กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), 2550

28


Q

Tools for

สวัสดี...

ทุกท่าน…ฉบับนี้ขอน�ำเสนอผลงาน กลุ่ม Full Team ผลงานเรือ่ ง ลดเวลาในขัน้ ตอน การจัดกลุม่ Full Case บริษทั ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) (ศูนย์กระจาย สินค้าบางบัวทอง) ประเภท Business for Service QCC Prize ระดับ Golden Award

บริษัท ซีพี ออลล์ จ�ำกัด (มหาชน) ด�ำเนินธุรกิจร้านสะดวก ซื้อ ภายใต้ชื่อ “เซเว่นอีเลฟเว่น” ซึ่งมุ่งสรรหาสินค้าและบริการที่มี

ตอนที่ 38

uality

คุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าทุกระดับ ภายใต้ วิสัยทัศน์องค์การ ที่ว่า “เราคือผู้ให้บริการด้านความสะดวกซื้อกับ ลูกค้าทุกชุมชน” กลุม่ Full Team คือ กลุม่ QCC ทีป่ ฏิบตั งิ านในศูนย์กระจาย สินค้าบางบัวทอง (Distribution Center 4: DC4) มีภารกิจในการ จัดส่งสินค้าอุปโภคบริโภค ไปยังร้านสาขาในพื้นที่เขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล ภาคเหนือ และภาคใต้ รวม 24 จังหวัด ปัจจุบันมีร้าน สาขาทีร่ บั ผิดชอบประมาณ 2,402 สาขา และจ�ำนวนรายการสินค้า (Stock Keeping Unit: SKU) 7,000 กว่ารายการ โดยมีผู้ใช้บริการ จ�ำนวน 8 ล้านคนต่อวัน มีปริมาณการใช้รถขนส่งเฉลีย่ 744.6 เทีย่ ว ต่อวัน แบ่งเป็นรถขนส่ง 4 ล้อเล็ก จ�ำนวน 387 คันต่อวัน และรถ ขนส่ง 6 ล้อ จ�ำนวน 95 คันต่อวัน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555) โดย กลุ่ม Full Team มาจากการรวมกลุ่มท�ำงานของ พนักงานแผนก Full Case ฝ่ายจัดสินค้า รับผิดชอบในการจัดสินค้า กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค เพื่อกระจายสินค้าไปยังร้านสาขา ใน รูปแบบการบรรจุเป็น “หีบห่อ” และ “แพ็ค” โดย กลุ่ม Full Team ประกอบด้วยสมาชิก 10 คน และโค้ช 1 คน อายุเฉลี่ย 35 ปี อายุ การท�ำงานเฉลี่ย 7 ปี วุฒิการศึกษา ม.3-ปริญญาตรี สมาชิกกลุ่ม มีความมุ่งมั่น กล้าเผชิญหน้า กล้าคิดนอกกรอบแก้ไขปัญหา ทั้ง หมัน่ เรียนรูเ้ พือ่ ปรับปรุงและพัฒนางานให้ดขี นึ้ ดังค�ำขวัญกลุม่ ทีว่ า่ “ร่วมมือ ร่วมคิด ร่วมท�ำ เพื่อการปรับปรุงที่ดีที่สุด ด้วยทีมงานที่ มีคุณภาพ”

Thailand Quality Prize

ต่อจากฉบับที่แล้ว

ประสานความคิด พิชิตปัญหา พัฒนางานก้าวไกล ร่วมใจทำ� QCC

คนคุณภาพ

award@tpa.or.th

for Quality Vol.19 No.185 March 2013

29


Vol.19 No.185 March 2013

Tools

30

ศูนย์กระจายสินค้าบางบัวทอง มีหน้าที่รับ จัดเก็บ และจัดส่งสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใหม่สด สภาพดี ครบถ้วน ตรงเวลา รวดเร็ว ควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอนตั้งแต่จุดรับสินค้าจนถึงการส่งมอบให้ ร้านสาขาเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยที่มาของการ คัดเลือกกิจกรรม มาจากพันธกิจของศูนย์กระจายสินค้าบางบัวทอง (DC4) ที่ว่า “เราเป็นองค์กรทีพ่ ัฒนาอย่างไม่หยุดยัง้ มุ่งมัน่ ส่งมอบ สินค้าและบริการที่เป็นเลิศ” โดยเราเริ่มต้นกระบวนการค้นหา “ความสุข” ของทีมงานและลูกค้าภายใน ตาม ปรัชญาองค์การที่ว่า “เราปรารถนารอยยิ้มจากลูกค้าด้วยทีมงานที่มีความสุข” โดยทาง กลุม่ Full Team ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการค้นหา “ความสุข” มาวิเคราะห์ พบว่า ส่วนผสมของความสุขที่ได้ของชีวิต ทีมงานและลูกค้าภายในนั้น สามารถจัดหมวดความสัมพันธ์เป็น 4 ชีวิต (DC4 Life Cycle) ดังนี้ 1. ชีวิตการท�ำงาน 2. ชีวิตครอบครัว 3. ชีวิตส่วนตัว 4. ชีวิตสังคม ซึ่งข้อมูลของพนักงาน Full Case กะ 1 และ กะ 2 ท�ำงาน เฉลีย่ 16 ชัว่ โมงต่อวัน โดยท�ำงานล่วงเวลาเฉลีย่ อยูท่ ี่ 124 ชัว่ โมงต่อ

เดือน ซึ่งหน่วยงานที่รับงานต่อจากแผนก Full Case ซึ่งต้องใช้เวลา ท�ำงานมากกว่า 16 ชั่วโมงต่อวัน ได้แก่ แผนกส่งมอบ และรถขนส่ง เป็นผลให้ 3 ชีวิต (ชีวิตครอบครัว ชีวิตส่วนตัว ชีวิตสังคม) ซึ่งเป็นผล ให้ความสมดุลของ 4 ชีวิตของทีมงานและลูกค้าภายในสูญเสียไป ดังนั้น ทางกลุ่มจึงวิเคราะห์กระบวนการท�ำงานว่า กระบวนการใดที่ ท�ำให้เกิดความสูญเปล่า (7 wastes) โดยพบว่า ขั้นตอนจัดสินค้าใช้ เวลา มากที่สุด เฉลี่ย 43.8 นาทีต่อรอบ จากกระบวนการทั้งหมด 47.3 นาที เฉลี่ยต่อรอบเป็น 2.7 เท่าของทุก ๆ กระบวนการ ซึ่งถือ เป็นจุดวิกฤตของกระบวนการ เนือ่ งจากเมือ่ จัดสินค้าได้เร็วกระบวนการจะทัง้ หมดจะเร็วตาม เมือ่ ท�ำได้ชา้ กระบวนการทัง้ หมดจะช้าตาม จึงเป็นที่มาของหัวข้อเรื่องปรับปรุง คือ “ลดเวลาในขั้นตอนการจัด สินค้ากลุ่ม Full Case” โดย ก�ำหนดเป้าหมายไว้ที่ 25 นาทีต่อรอบ จาก 47.3 นาทีต่อรอบ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของหน่วย งานส่งมอบ ตามแนวคิด TQM ด้าน Market in และ Next Process เมือ่ ลดเวลาในขัน้ ตอนการจัดสินค้ากลุม่ Full Case แล้วเวลาท�ำงาน จะสัน้ ลง ส่งผลให้ได้สมดุล 4 ชีวติ คืนมา โดยใช้ระยะเวลาด�ำเนินการ ปรับปรุง 5 เดือน (เมษายน-สิงหาคม พ.ศ.2553) ทางกลุ่มได้ค้นหาสาเหตุของปัญหา โดยพิสูจน์หาสาเหตุ ที่แท้จริงด้วยหลักการ 3 จริง (สถานที่จริง เหตุการณ์จริง ข้อมูลจริง) โดยใช้ชุดข้อมูลจากผังการไหลวิเคราะห์ขั้นตอนการจัดสินค้า Full Case ต่อรอบ พบว่า เวลาที่เกิดความสูญเปล่า มี 3 ประเภท ดังนี้ 1. สูญเสียเวลาจากการรอหยิบสินค้ารายการเดียวกัน (waiting) ที่ต�ำแหน่งบ้านสินค้าขายดี คิดเป็นเวลาสูญเปล่า เฉลี่ย อยู่ที่ 12.1 นาทีต่อรอบ (คิดเป็น 27.6% ของเวลาจัดสินค้าทั้งหมด) พนักงาน 1 คนจัดสินค้าได้เฉลี่ย 7 รอบต่อวัน เสียเวลาจากการรอ หยิบสินค้าเฉลี่ยอยู่ที่ 84.7 นาทีต่อวันต่อคน จากพนักงานทั้งหมด 112 คนต่อวัน คิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 2,466,464 บาทต่อปี พนักงาน จัดสินค้าต้องท�ำงานล่วงเวลาคนละ 1.4 ชั่วโมงต่อวัน


Tools

Vol.19 No.185 March 2013

2. สูญเสียจากการเดินตัวเปล่าไม่เกิดงานไปยังต�ำแหน่ง บ้านจัดสินค้า (motion) พบว่า ล�ำดับการเดินจัดสินค้าเป็นแบบ Z Path (สลับฟันปลา) คิดเป็นเวลาสูญเสีย เฉลี่ยอยู่ที่ 8.7 นาทีต่อ รอบ (คิดเป็น 19.86% ของเวลาจัดสินค้าทั้งหมด) ซึ่งพนักงาน 1 คน จัดสินค้าได้เฉลีย่ 7 รอบต่อวัน พนักงานจัดสินค้าทัง้ หมด 112 คนต่อ วัน คิดเป็นเวลาสูญเสีย 113.68 ชัว่ โมงต่อวัน หรือเท่ากับ 1,060,800 บาทต่อปี พนักงานจัดสินค้าต้องท�ำงานล่วงเวลาคนละ 1.1 ชั่วโมง ต่อวัน 3. สูญเสียจากการจัดเรียงสินค้าใหม่ซ�้ำอีกครั้ง (rework) พบว่า ต�ำแหน่งบ้านสินค้าไม่เรียงตามล�ำดับจากสินค้าที่มีน�้ำหนัก มากไปยังสินค้าที่มีน�้ำหนักเบา ในทุกพื้นที่การจัดสินค้า Full Case กระจายแทรกอยู่ทั่วไปปะปนกับสินค้าที่หนัก คิดเป็นเวลาสูญเสีย เฉลี่ยอยู่ที่ 2.4 นาทีต่อรอบ (คิดเป็น 5.47% ของเวลาจัดสินค้า ทั้งหมด) พนักงาน 1 คน จัดสินค้า 7 รอบต่อวัน พนักงานจัดสินค้า ทั้งหมด 112 คนต่อวัน คิดเป็นเวลาสูญเสีย 31.36 ชั่วโมงต่อวัน หรือ เท่ากับ 271,786 บาทต่อปี พนักงานจัดสินค้าต้องท�ำงานล่วงเวลา คนละ 0.5 ชั่วโมง จากสาเหตุที่แท้จริง (root cause) ข้างต้น ทางกลุ่มจึงได้ ประชุมเพื่อก�ำหนดมาตรการแก้ไขโดยใช้แผนภูมิต้นไม้ (tree diagram) ได้ 5 มาตรการแก้ไข และคัดเลือกมาตรการแก้ไขโดยใช้ตาราง ตัดสินใจ ซึ่งใช้เกณฑ์ประเมินด้านค่าใช้จ่ายในการด�ำเนินงาน ความง่ายต่อการด�ำเนินงาน ระยะเวลาด�ำเนินการ และความสอดคล้องต่อนโยบาย ซึ่งสามารถสรุปมาตรการแก้ไขปัญหาความสูญเปล่าในขั้นตอนการจัดสินค้ากลุ่ม Full Case ได้ 3 มาตรการแก้ไข ดังนี้ ➲ มาตรการแก้ไขที่ 1 คือ “จัดล�ำดับสินค้าทีม ่ นี ำ�้ หนักมาก

ไปหาน�้ำหนักเบา” ในการแก้ไขสาเหตุต�ำแหน่งบ้านสินค้าไม่เรียง ตามล�ำดับจากสินค้าที่มีน�้ำหนักมากไปยังสินค้าที่มีน�้ำหนักเบา โดย มีแนวคิดเพือ่ ลดเวลาในการจัดเรียงสินค้าใหม่ (rework) และป้องกัน สินค้าเบาช�ำรุดเนื่องจากสินค้าหนักทับ โดยมีวิธีการปรับปรุง คือ ตรวจสอบต�ำแน่งสินค้าในระบบจาก WM2000 ได้ขอ้ มูลน�ำ้ หนักของ ตัวสินค้า ตรวจสอบรูปร่างของตัวสินค้า จากนั้นบันทึกรายการใน เอกสารขอย้ายสินค้า แล้วประสานงานกับหน่วยงาน Inventory เพือ่ ท�ำการย้ายต�ำแหน่งบ้านวางสินค้าในระบบ และเริม่ ท�ำการย้ายสินค้า ที่มีน�้ำหนักมากไปไว้ล�ำดับก่อนหน้าสินค้าที่มีน�้ำหนักเบากว่า จากมาตรการแก้ไขที่ 1 สามารถลดเวลาการจัดสินค้า กลุ่ม Full Case ต่อรอบเฉลีย่ เท่ากับ 41.2 นาที ซึง่ ส่งผลให้ความเร็วในการ จัดสินค้า กลุ่ม Full Case เพิ่มขึ้น เฉลี่ยที่ 7,622 ชิ้นต่อชั่วโมง จาก เดิม 6,716 ชิ้นต่อชั่วโมง คิดเป็น 4.3% ➲ มาตรการแก้ไขที่ 2 คือ “เพิ่มต�ำแหน่งวางสินค้าขายดี (ปริมาณการจ่ายสูง)” ในการแก้ไข สาเหตุ ห ยุ ด รอหยิ บ สิ น ค้ า ที่ ต� ำ แหน่ ง บ้ า น สิ น ค้ า ขายดี (ปริมาณการจ่ายสูง) ประกอบด้วยความพยายามในการแก้ไข 3 ครัง้ ดังนี้ ➢ Kaizen 1 คือ “เพิม ่ ต�ำแหน่งสินค้าขายดี Top 20 รายการ แรกเป็น 2 ต�ำแหน่ง” โดยตรวจสอบยอดการจ่ายสินค้า Top 20 รายการสินค้าขายดี ส�ำรวจต�ำแหน่งบ้านสินค้าทีว่ า่ งเพือ่ เพิม่ ต�ำแหน่ง

31


Vol.19 No.185 March 2013

Tools

32

บ้านสินค้า Top 20 รายการขายดี จากนั้นด�ำเนินการย้ายบ้านใน ระบบ WM2000 ติ ด ป้ า ยเพิ่ ม ต� ำ แหน่ ง บ้ า นวางสิ น ค้ า เพื่ อ ให้ หน่วยงานจัดเก็บและด�ำเนินการเติมสินค้าต่อไป จากมาตรการแก้ไขที่ 2 (Kaizen 1) สามารถลดเวลาการจัด สินค้า กลุ่ม Full Case ต่อรอบเฉลี่ยเท่ากับ 35.5 นาที (ยังไม่ บรรลุเป้าหมาย) ส่งผลให้ความเร็วในการจัดสินค้า กลุ่ม Full Case เพิ่มขึ้น เฉลี่ยที่ 8,867 ชิ้นต่อชั่วโมง จากเดิม 7,622 ชิ้นต่อชั่วโมง คิดเป็น 9.1 % ➢ Kaizen 2 มีความพยายามปรับปรุง 3 ครั้ง ดังนี้  Kaizen 2.1 คือ “ก�ำหนดวงจ�ำเพาะสินค้าขายดี” โดย ก�ำหนดต�ำแหน่งบ้านสินค้าขายดีเป็น 4 Rack (288 บ้าน) ให้อยู่ใกล้ พืน้ ทีร่ บั สินค้า เพือ่ ลดเส้นทางในการเติมสินค้าของหน่วยงานจัดเก็บ และเติม  Kaizen 2.2 คือ “เพิ่มรายการสินค้าขายดีให้กับวงจัด สินค้าขายดี” โดยก�ำหนดการ จัดกลุ่มรายการสินค้าขายดี Top 40 รายการ ตัง้ แต่ Rack E0 - E5 ท�ำให้ปริมาณงานในวงสินค้าขายดีคดิ เป็น 40% จากวงสินค้าทั้งหมด จึงมีการแบ่งพนักงานเป็น 4 พื้นที่ ตามปริมาณ Word Load ของแต่ละพืน้ ที่ และเพือ่ ให้การด�ำเนินงาน เป็นไปในทิศทางเดียวกัน จึงก�ำหนดผู้รับผิดชอบประจ�ำวงจัดสินค้า โดยใช้แนวคิดแบบ Small Group หรือระบบเผ่ามาใช้ เพื่อแก้ไขการ จราจรติดขัด และใช้โปรแกรม Full Case.Net เป็นสื่อกลางระหว่าง เผ่าและหน่วยงานส่งมอบ  Kaizen 2.3 คือ “ปรับต�ำแหน่งการวางสินค้าจากเดิมอยู่ แนวระนาบเดียวกันให้เป็นแบบตรงข้ามกัน” ท�ำให้ทิศทางการเดิน

จัดสินค้าแบบ Z Part (สลับฟันปลา) เปลี่ยนเป็นการจัดสินค้าแบบ เส้นตรง ซึ่งจัดได้พร้อมกัน 2 เส้นทางต่อไป จากมาตรการแก้ไขที่ 2 (Kaizen 2.1-2.3) สามารถลดเวลา การจัดสินค้า กลุ่ม Full Case ต่อรอบเฉลี่ยเท่ากับ 24.8 นาที (บรรลุ เป้าหมาย) ส่งผลให้ความเร็วในการจัดสินค้า กลุ่ม Full Case เพิ่ม ขึ้น เฉลี่ยที่ 9,195 ชิ้นต่อชั่วโมง จากเดิม 8,867 ชิ้นต่อชั่วโมง คิดเป็น 18.4% ➢ Kaizen 3 คือ “ขยายพื้นที่ให้กับวงสินค้าขายดี จากเดิม 4 Rack เป็น 8 Rack จัดสินค้า” ซึง่ กลุม่ น�ำคุณสมบัตเิ ด่นของ Kaizen 1 และ 2 มาขยายผลเปิดพื้นที่การจัดสินค้าเพิ่มเป็นวง D0 – D5 โดย คนในเผ่าเป็นผู้ริเริ่มโดยน�ำพื้นที่ที่ใช้งานแล้วไม่เกิดมูลค่าเพิ่ม เดิม ถูกใช้เป็นเพียงที่เก็บสินค้ายกเลิกขายเท่านั้น เพื่อสามารถลดการ


จราจรที่หนาแน่นลงได้ ให้มีเส้นทางการจัดสินค้าเข้า 4 ทาง ออก 4 ทาง เพิ่มสภาพคล่องในการจัดสินค้า สามารถจัดสินค้าแบบใช้วง จัดได้ ระบบการป้อนเติมสินค้าทีม่ อี ตั ราการหมุนเวียนมากขึน้ เร็วขึน้ ส่งผลให้ผู้มาส่งสินค้าไม่ต้องรอนาน สามารถลงสินค้าได้ทันที จากมาตรการแก้ไขที่ 2 (Kaizen 3) สามารถลดเวลาการจัด สินค้า กลุ่ม Full Case ต่อรอบเฉลี่ยเท่ากับ 18.5 นาที ส่งผลให้ ความเร็วในการจัดสินค้า กลุ่ม Full Case เพิ่มขึ้นเฉลี่ยที่ 10,029 ชิ้น ต่อชั่วโมง จากเดิม 9,195 ชิ้นต่อชั่วโมง คิดเป็น 21.3% ➲ มาตรการแก้ไขที่ 3 คือ “ออกแบบผังเส้นทางการจัด สินค้าใหม่ของวงสินค้าปกติ” ในการแก้ไขสาเหตุล�ำดับการเดินจัด สินค้าเส้นทางเป็นแบบ Z Path (สลับฟันปลา) โดยก�ำหนดจ�ำนวน ต�ำแหน่งบ้านสินค้าของวงจัดสินค้า 20, 32, 38 ท�ำการกระจาย ปริมาณยอดงานจัดสินค้าของรายการสินค้าขายดี Top 41-137 ให้ แต่ละวงจัดสินค้าในปริมาณทีเ่ ท่ากัน ท�ำการบันทึกข้อมูลจากเอกสาร การย้ายบ้านสินค้า ในระบบ WM 2000 ติดป้ายเพิ่มต�ำแหน่งที่บ้าน วางสินค้า ซึ่งมาจากการน�ำจุดเด่น Kaizen 2 เรื่องจัดแบบเส้นตรง 2 ทางคู่ จากพืน้ ทีส่ นิ ค้าขายดี มาขยายผลสูส่ นิ ค้าปกติ คือ ท�ำให้ทศิ ทาง การเดินจัดสินค้า เป็นแบบเส้นตรงพร้อมกัน 2 เส้นทาง ในต้นซอย ส่วนท้ายซอยทิศทางจัดแบบ Z Path (สลับฟันปลา) เนือ่ งจากมีพนื้ ที่ จ�ำกัด ไม่สามารถปรับเป็น 2 เส้นทางได้ตลอด จากมาตรการแก้ไขที่ 3 สามารถลดเวลาการจัดสินค้ากลุ่ม Full Case ต่อรอบเฉลี่ยเท่ากับ 16.9 นาที ส่งผลให้ความเร็วในการ จัดสินค้ากลุ่ม Full Case เพิ่มขึ้นเฉลี่ยที่ 11,438 ชิ้นต่อชั่วโมง จาก เดิม 10,029 ชิ้นต่อชั่วโมง คิดเป็น 8.6% หลังจากด�ำเนินการแก้ไข ทางกลุ่มได้ติดตามผลการแก้ไข อย่างต่อเนื่อง พบว่า เวลาเฉลี่ยในการจัดสินค้ากลุ่ม Full Case ต่อ รอบ หลังการปรับปรุง อยู่ที่ 16.9 นาที/รอบ จากเดิม 43.8 นาทีต่อ รอบ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ลดได้ 61.4% ซึ่งบรรลุตามเป้าหมายที่

ก�ำหนดไว้ และผลทางอ้อมที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับจากการหลัง ปรับปรุง คือ ลดมูลค่าสูญเสียจากการรองานจัดสินค้า Full Case ของ แผนกส่งมอบสินค้าเหลือ 93,590 บาทต่อปี (จากเดิม 2,747,520 บาทต่อปี) เพิ่มจ�ำนวนเที่ยวรถขนส่งเป็น 3 เที่ยวต่อวัน จากเดิม 1.7 เที่ยวต่อวัน ท�ำให้สร้างรายได้เพิ่มขึ้น 152,880 บาทต่อคันต่อปี ลด มู ล ค่ า สู ญ เสี ย โอกาสของร้ า นสาขาในการขายลดลงเหลื อ 120,487บาทต่อปี (จากเดิม 1,254,000 บาทต่อปี) และผู้ส่งสินค้า ได้ลงสินค้าภายใน 45นาที (จากเดิมที่ต้องรอข้ามวันข้ามคืน) นอกจากนี้ปัจจุบันยังได้ขยายผลระบบเผ่าไปสู่หน่วยงาน ต่างๆ ดังนี้ แผนกงานส่งมอบ แผนก Break Case แผนกจัดเก็บและ เติม และแผนกรับสินค้า ส�ำหรับกิจกรรมครั้งต่อไป คือ “ลดความผิดพลาดในการจัด สินค้ากลุม่ Full Case” โดยมีมลู เหตุจงู ใจ คือ ลดข้อร้องเรียนจากร้าน สาขาเรื่องสินค้าขาดส่ง กลุ่ม Full Case เฉลี่ย 200ครั้งต่อเดือน ลด ต้นทุนในส่วนมูลค่าสูญเสียจากการจัดสินค้าผิดพลาด เฉลีย่ 29,238 ต่อเดือน และลดเวลาสูญเสีย Pick ซ่อมสินค้าผิดพลาดให้กับ หน่วยงานส่งมอบ เฉลี่ย 39 ชั่วโมงต่อเดือน เตรียมพบกับการน�ำเสนอผลงานกลุม่ กิจกรรมคุณภาพ QCC รอบชิงชนะเลิศ เพื่อรับ Thailand Quality Prize 2013 วันที่ 2-4 เมษายน พ.ศ.2556 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-27173000-29 ต่อ 81 หรือเว็บไซต์ www.tpif.or.th แล้วพบกัน...

อ่านต่อฉบับหน้า

Vol.19 No.185 March 2013

Tools

33


Q

Tools for

uality

34

for Quality Vol.19 No.185 March 20131


Vol.19 No.185 March 2013

Tools

35


Q

Testing & Calibration for

uality

มาตรวิทยาการสอบเทียบมาตรฐานไฟฟ้า

บทที่ 5

ตอนที่

7 (Oscilloscope Calibration) การสอบเทียบมาตรฐานออสซิลโลสโคป การสอบกลับมาตรฐานในระบบสาย 50Ω

สุพจน์ ตุงคเศรวงศ์

ต่อจากฉบับที่แล้ว

ส�ำ

Metrology Product Director, Measuretronix Ltd. supot@measuretronix.com

หรับสโคปที่มีอิมพีแดนซ์ขาเข้า 50Ω คุณสมบัติแรงดันไฟฟ้า คือ Vinc แรงดันที่ปรากฏ (incident) ที่ขั้วขาเข้า แรงดันไฟฟ้านี้จะถูกค�ำนวณ จากก�ำลังไฟฟ้าปรากฏ (Incident Power : Pinc) ตามสมการต่อไปนี้

โดยที่ Zo แทนคุณสมบัติอิมพีแดนซ์ของระบบสาย HF ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว Zo = 50Ω

36

for Quality Vol.19 No.185 March 2013


Testing & Calibration

สปลิตเตอร์ หรือถ้าหาก HF Generator ถูกตั้งระดับด้วยมิเตอร์ มาตรฐานก�ำลังอ้างอิง เนือ่ งจากอิมพีแดนซ์ขาออกสมมูลย์ของตัวสร้าง สัญญาณ (HF-generator และ splitter) ที่โดยทั่วไปจะเข้าคู่กันดีกับ อิมพีแดนซ์ของสายนัน้ สามารถได้คา่ ความไม่แน่นอนของการวัดน้อยๆ แม้ว่าจะใช้กับออสซิลโลสโคปที่ไม่เข้ากัน

▲ รูปที่

1 การสอบกลับมาตรฐานด้วยเครื่องกำ�เนิดสัญญาณ (HF signal generator) ตัวแยกกำ�ลัง (power splitter) และมิเตอร์กำ�ลังไฟฟ้าที่ถูกสอบเทียบฯ แล้ว (calibrated power meter)

อีกวิธีส�ำหรับการสอบเทียบฯ ออสซิลโลสโคป คือ การใช้การ ต่ออุปกรณ์เหมือนรูปที่ 1 แต่ว่าในขั้นตอนแรกนั้นการแสดงค่าก�ำลัง ของมิเตอร์ก�ำลังอ้างอิงที่ต่ออยู่ข้างหนึ่งของสปลิตเตอร์ถูกสอบเทียบฯ ด้วยมิเตอร์ก�ำลังไฟฟ้ามาตรฐานที่ต่ออยู่อีกข้างหนึ่ง ขั้นตอนที่ 2 ต่อ ออสซิลโลสโคปที่จะสอบเทียบฯ (DUT) เข้ากับขั้วสปลิตเตอร์แทนตัว มิเตอร์กำ� ลังไฟฟ้ามาตรฐาน วิธนี เี้ ป็นการสับเปลีย่ น DUT กับมาตรฐาน ที่ขั้วสปลิตเตอร์เดียวกันนี้มักจะถูกใช้กับการสอบเทียบฯ ตัววัดก�ำลัง ไฟฟ้าด้วยก�ำลังไฟฟ้ามาตรฐาน ด้วยการใช้วิธีนี้ความไม่สมดุลของ ตัวสปลิตเตอร์จะไม่มีอิทธิพลต่อการวัด

Vol.19 No.185 March 2013

1. ด้วยวิธกี ารใช้เครือ่ งก�ำเนิดสัญญาณไซน์ HF หรือมิเตอร์ ก�ำลังไฟฟ้าแหล่ง HF จะสร้างสัญญาณสอบเทียบฯ ก�ำลังไฟฟ้าที่ ปรากฏกับตัวออสซิลโลสโคปจะถูกประเมินด้วยตัวแยกก�ำลังสมมาตร และมิเตอร์ก�ำลังไฟฟ้าที่ต่อกับขั้วที่ 2 ของตัวแยกสัญญาณ (รูปที่ 1) ตัวสปลิตเตอร์ (splitter) จะรวมตัวความต้านทาน 2 ตัว (ที่เกือบ) เหมือนกัน ซึ่งจะสอดคล้องกับอิมพีแดนซ์ของสาย (50 Ω) ความ สมมาตรของสปลิตเตอร์สามารถถูกตรวจสอบโดยการวัดก�ำลังไฟฟ้า 2 ครัง้ โดยสลับขัว้ ขาออกกัน ผลการวัดสามารถถูกปรับปรุงโดยการหา ค่าเฉลีย่ ของค่าทัง้ สอง ระบบสร้างสัญญาณสมมูลย์กนั จะประกอบด้วย HF-Generator และ Power Splitter จะให้แหล่งสัญญาณสมมูลย์ ที่ดีที่เข้าคู่กันดี (matched) ที่ขาออกของสปลิตเตอร์เฉพาะเมื่อการวัด ก�ำลังไฟฟ้าที่ขั้วออกของสปลิตเตอร์ถูกอ้างอิงกับค่าแสดงจากมิเตอร์ มาตรฐานก�ำลังอ้างอิง(reference power meter) ที่อีกขั้วหนึ่งของ

37


Testing & Calibration 2. ด้วยวิธกี ารใช้เครือ่ งสอบเทียบฯ ออสซิลโลสโคป แรงดัน ไฟฟ้าขาออกของเครื่องสอบเทียบฯ จะถูกสอบเทียบฯ กับค่า Vz0 ซึ่งก็ คือ แรงดันไฟฟ้าขาออกของเครื่องสอบเทียบฯ ที่จะป้อนเข้ากับโหลด ที่เข้ากัน (matched load) ดังแสดงในรูปที่ 2 (Zo = 50Ω) กรณีที่ ออสซิลโลสโคปเข้ากันอย่างดี ความแตกต่างระหว่างแรงดันที่ปรากฏ Vinc กับค่าแรงดันไฟฟ้าที่แสดง Vzo จะเล็กน้อย เราสามารถแทนการ ใช้เครื่องสอบเทียบฯ ได้โดยใช้ HF Generator ได้ อย่างไรก็ตาม เครื่องสอบเทียบฯ จะท�ำงานเป็นแหล่งสัญญาณที่เข้ากันดีกว่าและ ที่มากกว่านั้น คือ แรงดันไฟฟ้าขาออกยังสามารถถูกปรับค่าช่วง สัญญาณได้แต่ละขั้นที่เล็กกว่ากรณีการใช้ HF Generator

ความราบ (flatness) ▲ รูปที่

2 การสอบกลับมาตรฐานด้วยเครื่องสอบเทียบฯ ออสซิลโลสโคป

อิทธิพลของความผิดเพี้ยนฮาร์โมนิค (harmonic distortions)

ตัววัดก�ำลังไฟฟ้า HF ที่ใช้ส�ำหรับสอบเทียบฯ ระดับสัญญาณ ของออสซิลโลสโคปจะวัดก�ำลัง HF ที่ปรากฏ ซึ่งจะเป็นสัดส่วนกับ ค่าประสิทธิผลยกก�ำลังสองของค่าแรงดันทีป่ อ้ นเข้า ในการเปรียบเทียบ กับออสซิลโลสโคปจะวัดระดับสัญญาณแรงดันไฟฟ้า ซึ่งคือค่าสูงสุด การจะค�ำนวณค่าระดับสัญญาณจากค่าประสิทธิผล (effective value) นั้น สัญญาณที่วัดจะต้องไม่มีฮาร์โมนิคของการผิดเพี้ยนอื่น ๆ ความ ผิดเพี้ยนฮาร์โมนิคสามารถเป็นเหตุของความไม่แน่นอนที่มีนัยส�ำคัญ เพราะการเกิดผลกับค่าแรงดันสูงสุดนี้จะขึ้นกับเฟสของสัญญาณด้วย แต่ผลของฮาร์โมนิคต่อการวัดก�ำลังไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้าด้วยตัววัด ชนิ ด เทอร์ โ มอิ เ ล็ ก ตริ ก (ความร้ อ นจากไฟฟ้ า ) จะไม่ ขึ้ น กั บ เฟส ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีเลวร้ายสุด มีค่าฮาร์โมนิค -4dBc (-30 dBc) สามารถเป็นเหตุของความไม่แน่นอนในการวัดระดับแรงดันไฟฟ้าที่ ประมาณ 1% (3%)

แถบความถีข่ องออสซิลโลสโคปถูกนิยามว่าคือความถีต่ ำ�่ สุดที่ ระดับสัญญาณขาเข้าถูกลดทอนลง 3dB แถบความถี่ที่เป็นคุณสมบัติ เชิงปริมาณนีไ้ ม่ได้เป็นตัวท�ำให้มนั่ ใจว่าออสซิลโลสโคปจะสามารถจับ สัญญาณ HF ได้เที่ยงตรง ดังนั้น ความราบ FV (f) จึงถูกแนะน�ำเป็น ค่าปริมาณเพิ่มเติมขึ้นมา ซึ่งคือการวัดส�ำหรับการตอบสนองความถี่ ภายในช่วงความถี่ทั้งหมดระหว่าง DC และค่าความถี่ตัดตก (cut-off frequency) ของออสซิลโลสโคป ค่าความราบนิยามดังนี้

โดยที่ V (f) แทนค่าแรงดันไฟฟ้าที่แสดงที่ความถี่ f ที่ท�ำ การวัด และ V (fef) ที่ความถี่อ้างอิง (ค่าต�่ำ) ตามล�ำดับ ทั้ง 2 อย่าง เป็นการวัดที่ค่าแรงดันไฟฟ้าป้อนเข้าคงที่ ความราบเป็นการวัดเพื่อ หาความสม�่ำเสมอของการแสดงค่าระดับสัญญาณต่อฟังก์ชั่นของ ความถี่ ส�ำหรับการวัดสัญญาณพัลส์อย่างเที่ยงตรงเป็นสิ่งส�ำคัญที่ ความราบของสโคปจะต้องคงที่ตลอดช่วงความถี่ที่ครอบคลุมโดย องค์ประกอบความถีต่ า่ ง ๆ ของพัลส์ การตรวจหาความราบกระบวนการ วัดแรงดันไฟฟ้าที่ให้ข้างต้นนั้นสามารถน�ำมาประยุกต์ใช้ได้

Vol.19 No.185 March 2013

เอกสารอ้างอิง 1. Calibration Guide EURAMET cg-7 Version 1.0 (06/2011) CALIBRATION OF OSCILLOSCOPES 2. ภาพเครื่องมือประกอบเอกสารจาก Fluke และ Pomona

38

อ่านต่อฉบับหน้า


Q

for Food for

การเปรียบเทียบข้อกำ�หนด

uality

BRC Food I.6 2 IFS Food V.6

ตอนที่

และ

จัดทำ�โดย วรณัน เหล่าปิยกุล บจก. อันดามัน ซีฟู้ด ระนอง ตรวจสอบโดย สุวิมล สุระเรืองชัย System Development Consultant Co., Ltd. suwimol.su@gmail.com, www.sdcexpert.com

ต่อจากฉบับที่แล้ว ข้อกำ�หนด

BRC

ข้อกำ�หนด

IFS

2

แผนความปลอดภัยอาหาร (The Food Safety Plan – HACCP) Fundamental: บริษัทฯ ต้องมีการด�ำเนินการอย่างสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ ของแผนงานความปลอดภัยอาหารอยู่บนพื้นฐานตามหลักการ Codex Alimentarius HACCP Principles (โคเด็กซ์ เอลิเมนทาเรียส์)

2.2 2.2.1 2.2.1.1

2.1 2.1.1

การแต่งตั้งทีมงาน HACCP Step 1 HACCP PLAN จะต้องถูกพัฒนาและจัดการโดยทีมงานทีม่ ที กั ษะ มาจากบุคลากรหลากหลาย รวมถึงผูร้ บั ผิดชอบงานด้านคุณภาพ เทคนิค การผลิต วิศวกรรม และหน่วยงานอื่น ๆ หัวหน้าทีม HACCP ต้องมีความรู้ที่เชิงลึกด้าน HACCP และ แสดงให้เห็นถึงความสามารถและประสบการณ์ในการท�ำระบบ HACCP สมาชิกทีม HACCP ต้องมีความรู้เฉพาะด้านเกี่ยวกับระบบ HACCP และความรู้ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ กระบวนการและ อันตรายที่เกี่ยวข้อง กรณีที่บริษัทไม่มีผู้มีความรู้ภายในที่เหมาะสม ให้ใช้ผู้เชี่ยวชาญ จากภายนอกได้ แต่ ก ารจั ด การในแต่ ล ะวั น ต่ อ ระบบความ ปลอดภัยของอาหารต้องปฏิบัติงานโดยพนักงานของบริษัท

2.2.2 2.2.2.1

Food Safety Management HACCP ระบบ HACCP พื้นฐานของระบบควบคุมความปลอดภัยอาหารของบริษัทฯ ต้องได้รบั การด�ำเนินการอย่างครบถ้วน เป็นระบบ และมีเนือ้ หา ครอบคลุมระบบ HACCP ตามหลักการ CODEX Alimentarius ต้องมีการด�ำเนินการโดยพิจารณาข้อก�ำหนดกฎหมายของการ ผลิตอาหารและกฎหมายของประเทศปลายทาง ระบบ HACCP ต้องได้รับการด�ำเนินการทุกพื้นที่ของการผลิต การจัดตั้งทีม HACCP ทีม HACCP ต้องมีทกั ษะทีห่ ลากหลายและรวมพนักงานระดับ ปฏิบตั กิ ารในทีม พนักงานทีไ่ ด้รบั การแต่งตัง้ ให้เป็นสมาชิกของ ทีม HACCP ต้องมีความรู้เฉพาะด้านในหลักการของระบบ HACCP ผลิตภัณฑ์ และกระบวนการผลิต รวมทั้งอันตรายที่ เกี่ยวข้อง ในกรณีที่ไม่มีผู้มีความรู้ความสามารถภายในบริษัทฯ ต้องจัด ให้มีผู้เชี่ยวชาญภายนอก ผูท้ รี่ บั ผิดชอบในการพัฒนาและดูแลรักษาไว้ซงึ่ ระบบ HACCP ต้องมีหวั หน้าทีมจากภายในบริษทั ฯ และต้องได้รบั การฝึกอบรม ที่เพียงพอในการประยุกต์ใช้หลักการ HACCP ทีม HACCP ต้องได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากผู้บริหาร ระดับสูง และต้องได้รับการสื่อสารให้ทราบโดยทั่วกัน

2.2.2.2 2.2.2.3

for Quality Vol.19 No.185 March 2013

39


for Food

ข้อกำ�หนด

BRC

ข้อกำ�หนด

IFS

2.2

โปรแกรมพื้นฐาน (Pre-requisite programs) GMP บริษัทฯ ต้องจัดท�ำและรักษาสภาพแวดล้อมและกระบวนการใน การปฏิบัติงานที่จ�ำเป็นเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมเพื่อ ผลิ ต ผลิ ต ภั ณ ฑ์ อ าหารที่ ป ลอดภั ย และถู ก ต้ อ งตามกฎหมาย (โปรแกรมพื้นฐาน) ตามรายละเอียดต่อไปนี้อาจใช้เป็นแนวทาง ในการปฏิบัติงานที่จ�ำเป็น ● การท�ำความสะอาดและการฆ่าเชื้อ ● การควบคุมสัตว์พาหะ ● โปรแกรมการบ�ำรุงรักษาส�ำหรับอุปกรณ์และอาคาร ● ข้อก�ำหนดด้านสุขลักษณะส่วนบุคคล ● การฝึกอบรมพนักงาน ● การจัดซื้อ ● การจัดการรถขนส่ง ● กระบวนการป้องกันการปนเปื้อนข้าม ● การควบคุม Allergen มาตรการควบคุมและระเบียบปฏิบตั งิ านเพือ่ การเฝ้าระวังส�ำหรับ โปรแกรมพื้นฐาน ต้องถูกจัดท�ำเป็นเอกสารที่ชัดเจน และต้อง รวมถึงการพัฒนาและทบทวนโปรแกรม HACCP การอธิบายรายละเอียดผลิตภัณฑ์ Step 2 ขอบเขตของ HACCP PLAN รวมถึงผลิตภัณฑ์และกระบวนการ ต้องระบุครอบคลุมส�ำหรับแต่ผลิตภัณฑ์หรือกลุ่มของผลิตภัณฑ์ การอธิบายรายละเอียดผลิตภัณฑ์ต้องได้รับการจัดท�ำอย่าง ครบถ้วน โดยต้องรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยอาหาร ทั้งหมด ตามแนวทางต่าง ๆ ดังนี้ ● ส่วนประกอบ เช่น วัตถุดิบ ส่วนผสมอาหาร สูตรการผลิต ● แหล่งที่มาของวัตถุดิบ ส่วนผสม ● คุ ณ ลั ก ษณะทางกายภาพหรื อ เคมี ที่ มี ผ ลกระทบต่ อ ความ ปลอดภัยของอาหาร เช่น ค่า PH, Aw ● การถนอมอาหารและกระบวนการผลิต เช่น การท�ำให้สก ุ เย็น ● ระบบการบรรจุ เช่ น ภายใต้ บ รรยากาศที่ ดั ด แปรสภาพ สุญญากาศ ● สภาพการจัดเก็บและการกระจายสินค้า เช่น การแช่เย็น การ จัดเก็บในสภาวะอุณหภูมิปกติ ● อายุการเก็บรักษาที่ปลอดภัยภายใต้สภาวะในการเก็บรักษา และเงื่อนไขวิธีการใช้ ● ค�ำแนะน�ำส�ำหรับวิธก ี ารใช้งานและโอกาสทีจ่ ะท�ำให้ผบู้ ริโภค ใช้ผิด เช่น การจัดเก็บ การจัดเตรียม ข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ที่จ�ำเป็นเพื่อน�ำไปวิเคราะห์อันตรายต้อง ได้รบั การรวบรวม, จัดเก็บ, จัดท�ำเป็นเอกสารและปรับให้ทนั สมัย บริษัทฯ ต้องแน่ใจว่า HACCP PLAN อยู่บนพื้นฐานของแหล่ง ข้อมูลซึ่งถูกอ้างอิงและตามที่ร้องขอได้ รายการต่อไปนี้เป็นค�ำ แนะน�ำแหล่งข้อมูลที่จ�ำเป็น เช่น ● ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ฉบับล่าสุด ● ประวัตแ ิ ละอันตรายทีร่ จู้ กั ทีส่ มั พันธ์กบั อาหารทีเ่ ฉพาะเจาะจง ● หลักปฏิบัติที่ดี ● แนวทางการปฏิบัติที่ได้รับการยอมรับ ● กฎหมายความปลอดภั ย อาหารของผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ นประเทศ ปลายทาง ● ข้อก�ำหนดของลูกค้า การระบุวัตถุประสงค์การใช้ผลิตภัณฑ์ Step 3 วัตถุประสงค์การน�ำไปใช้ของผลิตภัณฑ์โดยลูกค้า ต้องถูกอธิบาย ถึงกลุ่มเป้าหมายผู้บริโภคไว้อย่างชัดเจน รวมถึงความเหมาะสม ของผลิตภัณฑ์ส�ำหรับกลุ่มที่เจ็บป่วยได้ง่ายของผู้บริโภค เช่น ทารก ผู้สูงอายุ และผู้ที่แพ้สารก่อเกิดภูมิแพ้อาหาร

2.2.1.1

พื้นฐานของระบบควบคุมความปลอดภัยอาหารของบริษัทฯ ต้องได้รบั การด�ำเนินการอย่างครบถ้วน เป็นระบบ และมีเนือ้ หา ครอบคลุมระบบ HACCP ตามหลักการ CODEX Alimentarius ต้องมีการด�ำเนินการโดยพิจารณาข้อก�ำหนดกฎหมายของการ ผลิตอาหารและกฎหมายของประเทศปลายทาง ระบบ HACCP ต้องได้รับการด�ำเนินการทุกพื้นที่ของการผลิต

2.2.3 2.2.1.2

HACCP Analysis ระบบ HACCP ต้องครอบคลุมวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ หรือกลุ่ม ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด รวมทั้งกระบวนการผลิตทุกกระบวนการ ตัง้ แต่สนิ ค้าไปจนถึงการส่งมอบ รวมไปถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์

2.2.3.1

รายละเอียดของผลิตภัณฑ์ มีการอธิบายรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ รวมทั้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ เช่น ● ส่วนประกอบ เช่น วัตถุดิบ ส่วนผสมอาหาร สูตรการผลิต ● คุณสมบัตท ิ างกายภาพ การทดสอบทางประสาทสัมผัส ทาง เคมีและทางชีวภาพ ● ข้ อ ก� ำ หนดกฎหมายด้ า นความปลอดภั ย ของอาหารและ ผลิตภัณฑ์ ● วิธีการถนอมเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ ● บรรจุภัณฑ์ ● อายุผลิตภัณฑ์ ● สภาพการจัดเก็บ วิธีการขนส่ง และการกระจายสินค้า

2.2.1.3

บริษัทต้องมั่นใจว่า ระบบ HACCP อยู่บนพื้นฐานของข้อมูล ทางวิทยาศาสตร์ หรือข้อก�ำหนดที่ได้รับการทวนสอบทางเชิง เทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการผลิตผลิตภัณฑ์และระเบียบปฏิบัติ งานส�ำหรับการผลิต ระบบ HACCP นี้ ต้องมีการด�ำเนินการไปในทิศทางเดียวกันกับ การพัฒนากระบวนการทางเทคนิคใหม่ ๆ

2.2.3.2

การน�ำไปใช้ของผลิตภัณฑ์ต้องถูกอธิบายการใช้ผลิตภัณฑ์ โดยผูบ้ ริโภคสุดท้าย โดยพิจารณากลุม่ ผูบ้ ริโภคทีเ่ ป็นกลุม่ เสีย่ ง เช่น ผู้ที่แพ้ง่าย เจ็บป่วยง่าย เด็ก คนชรา เป็นต้น

2.2.1

2.3 2.3.1

Vol.19 No.185 March 2013

2.3.2

40

2.4 2.4.1


ข้อกำ�หนด 2.5 2.5.1

2.6 2.6.1

2.7

2.7.1

2.7.2

2.7.3

BRC

ข้อกำ�หนด

IFS

การสร้างแผนภูมิการผลิต Step 4 แผนภูมกิ ารผลิตต้องถูกจัดท�ำให้ครอบคลุมทุกผลิตภัณฑ์ ทุกกลุม่ ผลิตภัณฑ์หรือทุกกระบวนการผลิต โดยต้องจัดท�ำทุกขัน้ ตอนของ กระบวนการผลิต ภายใต้ขอบเขตของระบบ HACCP จากการ คัดเลือกวัตถุดิบ ผ่านกระบวนการผลิต การจัดเก็บ และการ กระจายสินค้า แนวทางค�ำแนะน�ำต่อไปนีค้ วรรวมอยูใ่ นการสร้าง แผนภูมิการผลิต: ● แผนผังของโครงสร้างอาคารและอุปกรณ์ ● วั ต ถุ ดิ บ รวมถึ ง สิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวกของสาธารณู ป โภค และวัสดุที่สัมผัสอาหารอื่น ๆ เช่น น�้ำ บรรจุภัณฑ์ ● ล�ำดับและความสัมพันธ์ของแต่ละขั้นตอนการผลิต ● กระบวนการจากภายนอกและงานเหมาช่วง ● ค่าควบคุมกระบวนการ ● โอกาสที่อาจเกิดความล่าช้าของกระบวนการ ● การน�ำกลับมาท�ำใหม่และการน�ำมาใช้ใหม่ ● การแยกระหว่างพืน ้ ทีท่ มี่ คี วามเสีย่ งต�ำ่ / พืน้ ทีท่ ตี่ อ้ งดูแลรักษา อย่างดี/พื้นที่มีความเสี่ยงสูง (low risk/high care/high risk) ● ผลิตภัณฑ์ส�ำเร็จรูป ระหว่างกระบวนการ สิ่งที่ได้จากผลิตภัณฑ์และขยะของเสีย การทวนสอบแผนภูมิการผลิต Step 5 ทีมงาน HACCP ต้องทวนสอบความถูกต้องของแผนภูมกิ ารผลิต โดยการตรวจสอบในพื้นที่การผลิตและการทบทวนอย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง โดยต้องพิจารณาและประเมินความแปรผันในการ ผลิตแต่ละวันและการผลิตตามฤดูกาล บันทึกการทวนสอบ แผนภูมิการผลิตจะต้องได้รับการจัดเก็บไว้ การด�ำเนินการวิเคราะห์อันตราย Step 6 หลักการที่ 1 รายการอันตรายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในแต่ละ ขั้นตอนกระบวนการผลิต ด�ำเนินการวิเคราะห์อันตรายและ ก�ำหนดวิธีการควบคุมจุดอันตราย ทีมงาน HACCP ต้องชี้บ่งและบันทึกอันตรายทั้งหมดที่มีโอกาส เกิ ด ขึ้ น ในแต่ ล ะขั้ น ตอนการผลิ ต ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ กระบวนการผลิตและสิง่ อ�ำนวยความสะดวก ต้องรวมถึงอันตราย ทีม่ อี ยูใ่ นวัตถุดบิ สิง่ ทีถ่ กู น�ำไปใช้ในระหว่างกระบวนการผลิตหรือ การเหลือรอดของอันตรายทุกขัน้ ตอนกระบวนการผลิตและความ เสีย่ งของสารทีก่ อ่ ให้เกิดการแพ้ (อ้างอิง ข้อก�ำหนด 5.2) นอกจากนี้ต้องพิจาณาว่ามันต้องถูกด�ำเนินการในขั้นตอนที่เกิดขึ้นก่อน หน้าและขั้นตอนที่จะเกิดขึ้นต่อไปในสายการผลิต ทีมงาน HACCP ต้องด�ำเนินการวิเคราะห์อันตรายเพื่อก�ำหนด อันตรายที่จ�ำเป็นต้องถูกป้องกัน ก�ำจัด หรือลดระดับลงสู่ระดับที่ ยอมรับได้ โดยในการวิเคราะห์อันตรายอย่างน้อยต้องพิจารณา ถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้ ● โอกาสการเกิดอันตราย ● ความรุนแรงที่กระทบต่อความปลอดภัยที่มีต่อผู้บริโภค ● ผู้บริโภคที่มีโอกาสเกิดอันตรายได้ง่าย ● การเหลือรอดและการเพิ่มจ�ำนวนของเชื้อจุลินทรีย์ที่เฉพาะ เจาะจงกับผลิตภัณฑ์ ● การมีอยู่หรือการเกิดสารพิษ สารเคมี หรือสิ่งแปลกปลอม ● การปนเปือ ้ นของวัตถุดบิ ผลิตภัณฑ์ระหว่างกระบวนการผลิต หรือผลิตภัณฑ์ส�ำเร็จรูป กรณีที่การก�ำจัดอันตรายไม่ได้สมเหตุสมผลในทางปฏิบัติต่อ ระดับทีส่ ามารถยอมรับได้สำ� หรับอันตรายในผลิตภัณฑ์สำ� เร็จรูป ต้องมีการก�ำหนดและจัดท�ำเป็นเอกสารไว้ ทีมงาน HACCP ต้องพิจารณามาตรการควบคุมอันตรายทีจ่ ำ� เป็น ในการป้องกัน ก�ำจัดอันตรายต่อความปลอดภัยอาหาร หรือลด อันตรายลงสู่ในระดับที่ยอมรับได้ กรณีทกี่ ารควบคุมสามารถท�ำได้โดยโปรแกรมพืน้ ฐานทีม่ อี ยู่ ต้อง มีการระบุและมีการทวนสอบโปรแกรมเพื่อควบคุมอันตรายที่ ตรวจสอบอย่างเพียงพอ การพิจารณาอาจจะก�ำหนดให้มีการใช้ มาตรการควบคุมได้มากกว่า 1 มาตรการ

2.2.3.3

การสร้างแผนภูมิกระบวนการผลิต ต้ อ งมี แ ผนภู มิ ก ารผลิ ต ส� ำ หรั บ แต่ ล ะผลิ ต ภั ณ ฑ์ หรื อ กลุ ่ ม ผลิตภัณฑ์ และส�ำหรับทุกกระบวนการผลิตและกระบวนการ ย่อยต่าง ๆ (รวมถึงการน�ำกลับมาท�ำซ�้ำและผลิตใหม่) แผนภูมิการผลิตต้องได้รับการระบุวันที่ และระบุหมายเลข แต่ละจุด CCP ที่ชัดเจน กรณีทมี่ กี ารเปลีย่ นแปลงเกิดขึน้ ต้องมีการปรับปรุงแผนภูมกิ าร ผลิตให้เป็นปัจจุบัน

2.2.3.4

การตรวจยืนยันความถูกต้องของแผนภูมิการผลิต ทีมงาน HACCP ต้องทบทวนกระบวนการผลิตในทุกขั้นตอน ตามที่ได้ก�ำหนดไว้ในแผนภูมิการผลิต โดยตรวจสอบหน้างาน ในพื้นที่การผลิต การปรับปรุงแผนภูมิต้องได้รับการจัดท�ำในกรณีที่เหมาะสม

2.2.3.5

การวิเคราะห์อันตรายส�ำหรับแต่ละขั้นตอน

2.2.3.5.1

การวิเคราะห์อันตรายต้องพิจารณาถึงอันตรายทางกายภาพ เคมี และชีวภาพทัง้ หมด รวมถึงสารทีก่ อ่ ให้เกิดภูมแิ พ้ Allergen ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้

2.2.3.5.2

การวิเคราะห์อันตรายต้องพิจารณาถึงโอกาสในการเกิดของ อันตรายและระดับความรุนแรงของผลกระทบทีม่ โี อกาสเกิดขึน้ ต่อผู้บริโภค

2.2.3.6.2

ส�ำหรับทุกขั้นตอนที่มีความส�ำคัญส�ำหรับความปลอดภัยด้าน อาหารแต่ไม่ได้ระบุให้เป็นจุด CCP แต่บริษัทฯ ต้องน�ำไป ด� ำ เนิ น การและจั ด ท� ำ เป็ น เอกสารควบคุ ม จุ ด QCP นั้ น มาตรการควบคุมที่เหมาะสมจะต้องถูกน�ำไปปฏิบัติ

Vol.19 No.185 March 2013

for Food

41


for Food ข้อกำ�หนด

BRC

ข้อกำ�หนด

IFS

2.8 2.8.1

การก�ำหนดจุด CCP Step 7 หลักการที่ 2 ส�ำหรับแต่ละอันตรายทีต่ อ้ งการควบคุม จุดควบคุมต้องถูกทบทวน เพื่อชี้บ่งว่าจุดเหล่านี้เป็นจุดวิกฤต โดยต้องพิจารณาอย่างมี เหตุผลและอาจใช้ตารางต้นไม้ (decision tree) ในการตัดสินใจ จุดควบคุมวิกฤตต้องเป็นจุดควบคุมทีต่ อ้ งการเพือ่ ป้องกัน ก�ำจัด อันตรายต่อความปลอดภัยอาหาร หรือลดอันตรายลงสู่ระดับที่ ยอมรับได้ ถ้าอันตรายได้รับการก�ำหนดในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งที่จ�ำเป็น ส�ำหรับความปลอดภัยแต่จดุ ดังกล่าวไม่มกี ารควบคุม ผลิตภัณฑ์ หรือกระบวนการนั้นต้องได้รับการปรับ ณ ขั้นตอนดังกล่าว หรือ ขัน้ ตอนก่อนหน้า หรือขัน้ ตอนต่อไปจากจุดดังกล่าว เพือ่ จัดท�ำเป็น มาตรการควบคุม การก�ำหนดค่าวิกฤต Step 8 หลักการที่ 3 ส�ำหรับแต่ละจุด CCP ต้องได้รับการก�ำหนดค่าวิกฤต (critical limit) ทีเ่ หมาะสม เพือ่ ชีบ้ ง่ อย่างชัดเจน ถ้ากระบวนการอยูภ่ ายใน หรือนอกเหนือการควบคุม ค่าวิกฤตต้อง : ● สามารถตรวจวัดได้ เช่น เวลา อุณหภูมิ pH ● ได้ รั บ การสนั บ สนุ น ด้ ว ยค� ำ แนะน� ำ ที่ ชั ด เจนหรื อ ตั ว อย่ า ง ประกอบในกรณีที่มาตรการควบคุมการตัดสินใจขึ้นอยู่กับ ความรู้สึกของผู้ตรวจสอบ เช่น รูปถ่าย ทีมงาน HACCP ต้องทวนสอบจุดควบคุมวิกฤตแต่ละจุด มีหลักฐานเป็นเอกสารทีต่ อ้ งแสดงให้เห็นว่ามาตรการควบคุมทีถ่ กู เลือก และค่าวิกฤตที่ก�ำหนดไว้มีความสามารถในการควบคุมอันตราย ได้อย่างสม�่ำเสมอให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ตามที่ก�ำหนดไว้ ก�ำหนดระบบการเฝ้าระวัง CCP Step 9 หลักการที่ 4 ระบบการเฝ้าระวังต้องถูกจัดท�ำส�ำหรับแต่ละจุดวิกฤตเพื่อให้ แน่ใจว่าสอดคล้องตามค่าวิกฤต ระบบการเฝ้าระวังต้องสามารถตรวจสอบถึงการสูญเสียการ ควบคุมของจุด CCP ได้ และกรณีที่เป็นไปได้ต้องสามารถแสดง ผลได้ทันเวลาเพื่อแก้ไขได้ทันที โดยการมาตรการเฝ้าระวังให้ พิจารณาแนวทางต่าง ๆ ดังนี้ ● การตรวจวัดแบบตลอดเวลา ● การตรวจวัดแบบบางช่วงเวลา ● การตรวจวัดอย่างต่อเนือ ่ ง เช่น การใช้อปุ กรณ์บนั ทึกอุณหภูมิ มิเตอร์ค่า pH อัตโนมัติ เมือ่ มีการตรวจวัดทีไ่ ม่ตอ่ เนือ่ ง ระบบต้องแน่ใจว่าตัวอย่างทีไ่ ด้รบั การสุ่มเป็นตัวแทนของแต่ละรุ่นของผลิตภัณฑ์ บันทึกทีเ่ กีย่ วข้องกับการเฝ้าระวังอันตรายของแต่ละจุด CCP ต้อง รวมถึงวันที่ เวลา และรายงานผลของการตรวจวัด และต้องถูก ลงนามโดยผู ้ ที่ รั บ ผิ ด ชอบในการเฝ้ า ระวั ง และต้ อ งได้ รั บ การ ทวนสอบโดยผู้ที่ได้รับมอบอ�ำนาจ กรณีที่บันทึกอยู่ในรูปแบบสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ต้องมีหลักฐานว่าบันทึกได้รับการตรวจสอบและ ทวนสอบ

2.2.3.6 2.2.3.6.1

การก�ำหนดจุดควบคุมวิกฤต CCP การก�ำหนดจุด CCP ต้องน�ำแผนภูมิตารางต้นไม้ (decision Tree) หรือเครื่องมืออื่น ๆ มาประยุกต์ใช้ ที่แสดงให้เห็นถึง เหตุผลในการตัดสินใจ

2.2.3.7

การก�ำหนดค่าวิกฤตส�ำหรับแต่ละจุด CCP ส�ำหรับแต่ละจุด CCP ต้องมีการก�ำหนดค่าวิกฤต (critical limit) ที่เหมาะสมและเป็นค่าวิกฤตที่ตรวจพิสูจน์ยืนยันได้อย่าง สมบูรณ์ เพือ่ สามารถชีบ้ ง่ ได้อย่างชัดเจนในกรณีทกี่ ระบวนการ ไม่อยู่ภายใต้การควบคุม

2.2.3.8

การก�ำหนดระบบการเฝ้าระวังอันตรายส�ำหรับแต่ละจุด CCP KO No.2 ต้องมีระเบียบปฏิบตั งิ านทีเ่ ฉพาะเจาะจงส�ำหรับแต่ละจุด CCP เพื่อตรวจสอบการสูญเสียของการควบคุมที่จุด CCP บันทึกการเฝ้าระวังต้องได้รับการเก็บรักษาไว้ตามระยะเวลาที่ เหมาะสม แต่ละจุด CCP ต้องอยูภ่ ายใต้การควบคุม การเฝ้าระวังและการ ควบคุมในแต่ละจุด CCP ต้องถูกแสดงด้วยบันทึก บั น ทึ ก ต้ อ งระบุ ชื่ อ ผู ้ รั บ ผิ ด ชอบ วั น ที่ และผลการเฝ้ า ระวั ง กิจกรรมอย่างชัดเจน

2.9 2.9.1

2.9.2

2.10 2.10.1

2.10.2

Vol.19 No.185 March 2013

2.11 2.11.1

42

ก�ำหนดแผนการปฏิบัติการแก้ไข Step 10 หลักการที่ 5 ทีมงาน HACCP ต้องก�ำหนดและจัดท�ำเป็นเอกสารการแก้ไขเมือ่ ผลการเฝ้าระวังแสดงให้เห็นว่า CCPs นั้นไม่อยู่ภายใต้การ ควบคุมหรือมีแนวโน้มทีจ่ ะสูญเสียการควบคุม โดยต้องรวมถึงการ ปฏิบัติการแก้ไขโดยพนักงานที่ได้รับมอบหมายกับผลิตภัณฑ์ที่ ถูกผลิตระหว่างช่วงเวลาที่สูญเสียการควบคุม

2.2.3.8.1

2.2.3.8.2 2.2.3.8.3 2.2.3.8.4 2.1.3.9

กรณีทมี่ กี ารเปลีย่ นแปลงผูป้ ฏิบตั งิ านในการเฝ้าระวังทีจ่ ดุ CCP ต้องได้รับการฝึกอบรมเฉพาะ/วิธีการปฏิบัติงาน บันทึกของการเฝ้าระวังที่จุด CCP ต้องได้รับการตรวจสอบ จุดควบคุม CP ต้องได้รบั การเฝ้าระวังและการเฝ้าระวังนัน้ ต้อง ถูกบันทึกไว้ การก�ำหนดการปฏิบัติการแก้ไข ในกรณีที่ผลการเฝ้าระวังชี้บ่งว่าจุด CCP หรือ QCP ไม่อยู่ ภายใต้การควบคุม การปฏิบัติการแก้ไขที่เพียงพอต้องถูก ด�ำเนินการและจัดท�ำเป็นเอกสาร การปฏิบัติการแก้ไขต้องเป็นไปตามข้อก�ำหนดผลิตภัณฑ์ที่ไม่ เป็นไปตามข้อก�ำหนด


for Food ข้อกำ�หนด

BRC

ข้อกำ�หนด

IFS

2.12 2.12.1

ก�ำหนดระเบียบปฏิบัติการทวนสอบ Step 11 หลักการที่ 6 ระเบียบปฏิบัติเพื่อการทวนสอบต้องถูกจัดท�ำขึ้นเพื่อยืนยันว่า HACCP PLAN รวมถึงการควบคุมถูกจัดการโดยโปรแกรมพืน้ ฐาน ที่จ�ำเป็นอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างของกิจกรรมการทวนสอบ ได้แก่: ● การตรวจติดตามภายใน ● การทบทวนบันทึก ในกรณีที่ผลการเฝ้าระวังไม่เป็นไปตาม ค่าที่ยอมรับได้ ● การทบทวนข้อร้องเรียนจากหน่วยงานทีบ ่ งั คับใช้กฎหมายหรือ ลูกค้า ● การทบทวนเหตุการณ์การเก็บคืน หรือเรียกคืนผลิตภัณฑ์ รายงานผลของการทวนสอบต้องถูกบันทึกและสื่อสารให้กับ ทีมงาน HACCP รับทราบ การจัดท�ำเอกสารและเก็บบันทึก HACCP Step 12 หลักการที่ 7 การจัดท�ำเอกสารและเก็บบันทึกต้องเพียงพอ เพื่อยืนยันว่า บริษัทฯ ได้ทวนสอบการควบคุม HACCP รวมถึงการควบคุม ได้ถกู จัดการโดยโปรแกรมพืน้ ฐานทีม่ อี ยูภ่ ายในโรงงานและรักษา ไว้ การทบทวนแผนงาน HACCP ทีมงาน HACCP จะต้องทบทวน แผนงาน HACCP และโปรแกรม พื้นฐานที่จ�ำเป็นอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และก่อนการเปลี่ยนแปลง ใดๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์ ซึ่ง แนวทางในการทบทวนอาจรวมถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้: ● การเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบหรือผู้ส่งมอบ ● การเปลี่ยนแปลงส่วนผสม/สูตรการผลิต ● การเปลี่ยนแปลงสภาพกระบวนการผลิตหรืออุปกรณ์ ● การเปลี่ ย นแปลงบรรจุ ภั ณ ฑ์ การจั ด เก็ บ หรื อ สภาพการ กระจายสินค้า ● การเปลี่ยนแปลงกลุ่มผู้บริโภคที่ใช้ผลิตภัณฑ์ ● การวิวฒ ั นาการของความเสีย่ งทีเ่ กิดขึน้ ใหม่สำ� หรับการเจือปน ของส่วนผสม ● การพั ฒ นาข้ อ มู ล ทางวิ ท ยาศาสตร์ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ส่ ว นผสม กระบวนการหรือผลิตภัณฑ์ ผลของการเปลี่ยนแปลงที่เหมาะสมจากการทบทวนต้องรวมอยู่ ในแผนงาน HACCP และ/หรือโปรแกรมพืน้ ฐานทีจ่ ำ� เป็น และต้อง ได้รบั การจัดท�ำเป็นเอกสารและบันทึกผลการทวนสอบทีส่ มบูรณ์

2.1.3.10

การก�ำหนดระเบียบปฏิบัติเพื่อการทวนสอบ ระเบียบปฏิบัติเพื่อการทวนสอบต้องถูกจัดท�ำเพื่อยืนยันว่า ระบบ HACCP มีประสิทธิภาพ การทวนสอบระบบ HACCP ต้องได้รับการจัดทอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตัวอย่างส�ำหรับ กิจกรรมการทวนสอบมีดังนี้ ● การตรวจติดตามภายใน ● การตรวจวิเคราะห์ ● การสุ่มตัวอย่าง ● การตรวจประเมินจากลูกค้า ผู้ตรวจภายนอก ข้อร้องเรียนจากหน่วยงานต่าง ๆ เจ้าหน้าทีผ่ มู้ อี ำ� นาจและลูกค้า รายงานผลการทวนสอบต้องรวมอยู่ในระบบ HACCP

2.1.3.11

การจัดท�ำเอกสารและเก็บบันทึก

2.13.1

2.14 2.14.1

2.2.1.4

การจัดท�ำเอกสารต้องครอบคลุมทุกกระบวนการ ระเบียบ ปฏิบัติงาน มาตรการควบคุม และบันทึกทั้งหมด การจัดท�ำเอกสารและการจัดเก็บบันทึกต้องเหมาะสมตาม ลักษณะและขนาดของบริษัท ระบบ HACCP ต้องได้รับการทบทวนและการเปลี่ยนแปลงที่ จ�ำเป็น ต้องมีการด�ำเนินการเมื่อมีการปรับเปลี่ยนที่เกิดขึ้นใน ผลิตภัณฑ์กระบวนการ หรือขั้นตอนใด ๆ

อ่านต่อฉบับหน้า

Vol.19 No.185 March 2013

2.13

43


Q

of Life for

uality

ภาวะกระดูกพรุน ภัยเงียบที่ป้องกันได้ ปัจจุบัน

44

ศูนย์รังสีวิทยา และคลินิกกระดูกและข้อ โรงพยาบาลหัวเฉียว

พบผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนมากขึ้น เนื่องจากวิถีการด�ำเนินชีวิตของผู้คน เปลีย่ นไป มีสงิ่ อ�ำนวยความสะดวกสบายมากขึน้ และได้ออกก�ำลังกาย น้อยลง ประกอบกับการทีป่ จั จุบนั คนมีอายุขยั ยืนขึน้ จึงพบโรคกระดูกพรุนได้มากขึน้ ตามไปด้วย สถิตผิ ปู้ ว่ ยโรคกระดูกพรุนทัว่ โลกเพิม่ ขึน้ จนกลายเป็นปัญหาทางสาธารณสุขอันดับสอง รองจาก โรคหัวใจและหลอดเลือด และอายุเฉลีย่ ของผูท้ เี่ ป็นโรคกระดูกพรุนเริม่ น้อยลงเรือ่ ย ๆ โดยเฉพาะ ผูห้ ญิงกว่า 200 ล้านคนทัว่ โลก ต้องทุกข์ทรมานจากโรคนี้ ในส่วนของเมืองไทยเป็นทีก่ ล่าวถึงมา นาน และเป็นภัยเงียบทีค่ นส่วนใหญ่มกั มองข้าม โดยข้อมูลทีม่ กี ารส�ำรวจพบก็คอื ผูห้ ญิงมีโอกาส เป็นสัดส่วน 1 ใน 3 คน ฝ่ายผู้ชายพบ 1 ใน 5 กระดูกพรุน หมายถึง ภาวะที่มวลกระดูกมีความหนาแน่นน้อย กว่าปกติ ซึ่งโรคกระดูกพรุนนั้นนับได้ว่าเป็นภัยเงียบเพราะคนส่วน ใหญ่ยังไม่ตระหนักว่าโรคกระดูกพรุนมีความรุนแรง เนื่องจาก โรคกระดูกพรุนมักจะไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า และผู้ป่วย มักจะไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคกระดูกพรุน จนกระทั่งมีภาวะ แทรกซ้อนที่รุนแรง คือ กระดูกหัก ซึ่งก็มักจะสายเกินไปส�ำหรับ การรักษาแล้ว

for Quality Vol.19 No.185 March 2013


of Life

เชื่อมต่อตัวเองนานกว่าคนปกติ หรืออาจไม่ ติดเลยก็ได้ ผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนจึงต้องอยู่ ในเฝือกนานขึ้น เป็นสาเหตุที่อาจท�ำให้เกิด อาการข้อยึดติด จนบางครั้งต้องเข้ารับการ รักษาด้วยวิธีการผ่าตัดยึดกระดูก ซึ่งผลการ รักษามักไม่ได้ผลดีเท่าไรนัก การรั ก ษานั้ น ในกรณี ที่ ก ระดู ก หั ก หรือกระดูกทรุดจ�ำเป็นต้องใช้การผ่าตัดเพื่อ

รักษา นอกจากนี้จะมีการใช้ยาในการรักษา ด้วย โดยจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ยา ระงับการท�ำลายกระดูก ยากระตุ้นการสร้าง กระดูก โดยยาเหล่านี้ควรได้รับอย่างต่อเนื่อง ตามค� ำ แนะน� ำ ของแพทย์ นอกจากใช้ ย า รักษาแล้ว ผู้ป่วยเองสามารถดูแลตัวเองได้ เพียงรับประทานอาหารที่จะช่วยเพิ่มปริมาณ มวลกระดู ก ซึ่ ง สามารถท� ำ ได้ โ ดยการรั บ ประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดี เช่น ปลาและกุ้งแห้ง งาขาว งาด�ำ เนยแข็ง นมวัว เป็นต้น หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ ตลอดจนหมั่นออก ก�ำลังกายอยู่เสมอเพื่อท�ำให้ร่างกายแข็งแรง สุดท้ายนี้การป้องกันโรคกระดูกพรุน นั้นนอกจากเรื่องของการรับประทานอาหาร แล้ว การตรวจวัดความหนาแน่นของมวล กระดูกและการตรวจเลือดนั้นก็สามารถที่จะ ประเมินสภาวะกระดูกของเราและช่วยในการ หาสาเหตุ อื่ น ๆ ที่ อ าจส่ ง ผลให้ เ กิ ด ภาวะ กระดูกพรุนได้ และการออกก�ำลังที่มีน�้ำหนัก กดลงบนกระดูก จะช่วยป้องกันการท�ำลาย กระดูกและช่วยเสริมสร้างกระดูกไปด้วย Vol.19 No.185 March 2013

บุคคลที่มีปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ กระดูกพรุน ได้แก่ บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 45 – 50 ปีขึ้นไป หญิงวัยหมดประจ�ำเดือน หญิงที่ ประจ�ำเดือนหมดเร็วกว่าปกติ หรือหญิงที่มี การผ่ า ตั ด รั ง ไข่ อ อก เนื่ อ งมาจากการขาด ฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ผลิตจากรังไข่จะท�ำให้ กระดูกสลายตัวในอัตราที่เร็วขึ้น นอกจากนี้ กรรมพันธุ์ และการขาดสารอาหารที่มีแคลเซียมสูง ตลอดจนการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และการขาดการออก ก� ำ ลั ง กายอย่ า งสม�่ ำ เสมอก็ เ ป็ น ตั ว เร่ ง ให้ กระดูกพรุนได้เร็วยิ่งขึ้นเช่นกัน อาการของโรคกระดูกพรุน ได้แก่ ปวด ตามกระดูก หรือในบางครั้งอาจมีอาการปวด ตามข้อร่วมด้วย อีกทั้งกระดูกสันหลังจะโก่ง ค่อมซึง่ หากเกิดอาการหลังโก่งค่อมมาก ๆ จะ ท�ำให้ปวดหลังมากและเสียบุคลิก เคลือ่ นไหว ล�ำบาก โดยที่หากอาการกระดูกพรุนมีความ รุนแรงมาก อาจพบภาวะแทรกซ้อนเกิดขึน้ ได้ นั่นคือ กระดูกหัก มักพบมากบริเวณ กระดูก สันหลัง กระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ เป็นต้น อีกทัง้ เมือ่ ผูป้ ว่ ย โรคกระดูกพรุนได้รบั อุบัติเหตุท�ำให้กระดูกหัก จะใช้เวลาในการ

45





Q

Special Issue for

uality

Special Issue


Q

Special Issue for

uality

มจธ.

ประกาศศักยภาพสถาบันการศึกษาไทย

ให้ก้าวไกลในสากล

กองบรรณาธิการ

มหา

วิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือ มจธ. เป็นมหาวิทยาลัยด้าน วิ ศ วกรรมศาสตร์ ที่ มี ชื่ อ เสี ย งมาอย่ า งยาวนาน สื บ เนื่ อ งจากวิ สั ย ทั ศ น์ ข อง มหาวิทยาลัยที่เน้นในเรื่อง 5 มุ่ง คือ ➲ มุ่งมั่น เป็นมหาวิทยาลัยที่ใฝ่เรียนรู้ ➲ มุ่งสู่ ความเป็นเลิศในเทคโนโลยีและการวิจัย ➲ มุ่งธ�ำรง ปณิธานในการสร้างบัณฑิตที่เก่งและดี ➲ มุ่งสร้าง ชื่อเสียงและเกียรติภูมิให้เป็นที่ภูมิใจของประชาคม ➲ มุ่งก้าว ไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นน�ำในระดับโลก ณ วันนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี หรือ มจธ. ได้รบั การจัดอันดับเป็น มหาวิทยาลัย ดีเลิศ ด้านการวิจยั และ ดีเยีย่ ม ด้านการเรียนการสอน โดยได้รบั รางวัลคุณภาพ ในหลากหลายทั้งทางด้านการศึกษา เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมจากหลายสถาบันทั้งในและ ต่างประเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้าน วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็น 1 ใน 8 ของคณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ ที่ เ ก่ า แก่ ที่ สุ ด ของประเทศไทย และเปิ ด ท� ำการสอนทั้ ง ในหลักสูตรปกติ สองภาษาและนานาชาติ ในระดับปริญญาตรี โท และเอก มากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทยด้วย ▲

รองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน

อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

50

for Quality Vol.19 No.185 March 2013


Special Issue

ภาพรวมความเจริญเติบโต ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ตระหนักว่า คนเป็นทรัพยากรที่ ล�้ำค่ายิ่งของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมี ทรัพยากรบุคคล อันประกอบด้วย นักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และศิษย์เก่า ทรัพยากร บุ ค คลเหล่ า นี้ ล ้ ว นมี ส ่ ว นในการสร้ า งผลงาน ความส�ำเร็จ ชื่อเสียง และอนาคตของ มหาวิทยาลัย ส�ำหรับสถานการณ์ความเจริญเติบโต ของมหาวิ ท ยาลั ย ของไทยในภาพรวมนั้ น รองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวแสดงทัศนะว่า “มหาวิทยาลัยในประเทศไทยมีความหลากหลายที่สูง มาก และยั ง มี ม หาวิ ท ยาลั ย ที่ ไ ด้ รั บ การ ยอมรับจากสากลอยู่ไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะ ในอาเซี ย นที่ ย อมรั บ ว่ า มหาวิ ท ยาลั ย ใน

ประเทศไทยมีคุณภาพ ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในแถบอาเซียนจึงถือว่า มหาวิทยาลัยไทยสามารถแข่งขันได้อย่าง เต็มภาคภูมิ” ทั้ ง นี้ ห ากจ� ำ แนกมหาวิ ท ยาลั ย เป็ น ประเภทต่าง ๆ ได้ก็จะท�ำให้เกิดความชัดเจน ยิ่ ง ขึ้ น เช่ น มหาวิ ท ยาลั ย แห่ ง งานวิ จั ย มหาวิทยาลัยเฉพาะทาง มหาวิทยาลัยแห่ง การเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเพื่อชุมชน มหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์ เป็นต้น ซึ่งโดย ภาพรวมแล้วนั้น ไม่ว่าจะเป็นมหาวิทยาลัย ประเภทใดในประเทศไทย ก็เป็นที่ยอมรับ จากทัว่ โลกทัง้ ในแง่คณ ุ ภาพของบัณฑิตและ งานวิจัย

การพัฒนาต่อยอดสู่มหาวิทยาลัยสากล

เมื่อมหาวิทยาลัยมีความหลากหลาย เพราะฉะนั้นการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย

Vol.19 No.185 March 2013

ความส� ำ เร็ จ ที่ เ กิ ด ขึ้ น มาจากความ มุ่งมั่นของผู้บริหารมหาวิทยาลัยจากรุ่นสู่รุ่น ที่ท�ำให้ มจธ. พร้อมเดินหน้าสู่สถาบันการ ศึกษาระดับโลก ซึ่ง ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ร่วมพูดคุยถึงการพัฒนาศักยภาพของ มจธ. เพื่อการแข่งขัน และพัฒนา บัณฑิตของสถาบันในอนาคต

จึงจ�ำเป็นต้องพิจารณาอย่างเหมาะสมกับ มหาวิทยาลัยแต่ละประเภท “ประเทศไทยมี มหาวิทยาลัยทีม่ พี นื้ ฐานดี มีการพัฒนาอย่าง ต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบันอย่างยาวนาน และยังคงต้องการการส่งเสริมรูปแบบหนึ่ง อีกทั้งเรายังมีมหาวิทยาลัยที่ถือว่าอาจจะยัง เพิ่งก่อตั้งมาใหม่ที่ต้องการการสนับสนุนอีก รูปแบบหนึ่ง เรามีมหาวิทยาลัยที่เน้นวัตถุประสงค์เฉพาะด้าน เช่น วิทยาลัยชุมชน ที่ ต้องการการสนับสนุนอีกรูปแบบหนึง่ เพราะฉะนั้นจากมุมมองเหล่านี้จึงต้องวิเคราะห์ว่า เรามี ก ารส่ ง เสริ ม และสนั บ สนุ น ได้ อ ย่ า ง ถูกต้องและเหมาะสมหรือไม่ ? อย่างไร ? เฉกเช่ น มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี ถือว่าเป็นมหาวิทยาลัย แห่งการวิจัย และยังเน้นหนักในเรื่องวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ที่เป็นที่ ยอมรับ นัน่ เพราะเรามีศกั ยภาพด้านบุคลากร และนักศึกษาที่มีคุณภาพ แต่บทบาทของ มจธ. คือ บทบาทด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เราจึงพยายามที่จะท�ำ บทบาทและหน้ า ที่ ข องเราให้ ดี ที่ สุ ด สิ่ ง ที่ พยายามเน้นหนักที่สุด คือ ต้องผลิตบัณฑิต ที่มีคุณภาพทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก รวมทั้งนักวิจัย และที่เรา เรียกว่า Skill Worker Knowledge Shoker ที่ พร้อมจะออกไปปฏิบตั งิ าน และเรายังเน้นใน เรื่องของการวิจัยและพัฒนา โดยเราจะเน้นหนักเรื่องการวิจัยและพัฒนาคุณภาพที่มี ความหมายต่อเศรษฐกิจและสังคม อาทิ เน้น ให้บัณฑิตปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน และภาค อุ ต สาหกรรม นอกจากนี้ ยั ง เน้ น เรื่ อ งการ

51


Special Issue บริการด้านเทคโนโลยี เรียกว่า เราเน้นการ บูรณาการองค์ความรู้ในการเรียนและการ ปฏิบัติงานจริงนั่นเอง” อีกทัง้ มหาวิทยาลัย มุง่ มัน่ ทีจ่ ะปลูกฝัง นั ก ศึ ก ษาให้ มี จิ ต ส� ำ นึ ก ในการใฝ่ เ รี ย นรู ้ สามารถเรียนรูไ้ ด้ดว้ ยตนเอง และเรียนรูอ้ ย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิต ตั้งแต่เป็นนักศึกษาใน มหาวิทยาลัย จนส�ำเร็จไปเป็นผู้ประกอบ วิชาชีพแขนงต่าง ๆ และยังมีการสนับสนุน คณาจารย์ และนักวิจัย ให้แสวงหาความรู้ และประสบการณ์อย่างไม่หยุดยัง้ เพือ่ ให้ทนั ต่อพลวัตทางวิชาการ พัฒนาผู้บริหารและ เจ้าหน้าที่ให้สามารถท�ำงานอย่างมีคุณภาพ และมีประสิทธิภาพ สร้างองค์การให้มีระบบ ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ การระดมสรรพก�ำลังทาง ความคิด และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์

มจธ. เป็นเลิศทางเทคโนโลยีและการวิจัย

Vol.19 No.185 March 2013

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มุง่ มัน่ ทีจ่ ะเป็นสถาบันอุดมศึกษา ที่มีบทบาทโดดเด่นด้านการวิจัย พัฒนาและ เลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะกับบริบททาง เศรษฐกิจและสังคมไทย เพือ่ สร้างประชาคม ไทยที่มีความสุข และมีพลังการแข่งขันใน ประชาคม มหาวิทยาลัยจะสร้างความเข้าใจ ให้ เ กิ ด ขึ้ น ในสั ง คม ถึ ง ผลประโยชน์ แ ละ ผลกระทบของเทคโนโลยีต่อชีวิตและสังคม ตลอดจนความส�ำคัญของการก�ำกับ การใช้ เทคโนโลยี ด ้ ว ยสติ ป ั ญ ญา เพื่ อ การรั ก ษา

52

สภาพแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้วย เหตุนี้ มจธ. จึงส่งเสริมและสนับสนุนการวิจยั การน� ำ ผลงานวิ จั ย ไปใช้ ใ ห้ เ กิ ด ประโยชน์ การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม รวมทั้ง ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมหาวิทยาลัยกับสถาบัน การศึกษาต่าง ๆ โรงเรียนภาคเอกชนและ ชุมชน และยั ง ตั้ ง ปณิ ธ านในการสร้ า ง บั ณ ฑิ ต ที่ เ ก่ ง และดี โดย มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มีปณิธานที่ จะอบรมสัง่ สอนนักศึกษาให้มฐี านความรูท้ าง วิชาการที่ลึกซึ้งและกว้างขวาง มีระบบการ คิดที่มีเหตุผล มีทักษะทางภาษาไทย และมี ความสันทัดในภาษาต่างประเทศอีกอย่าง น้อย 1 ภาษา มีความถนัดเชิงเทคโนโลยี โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้รับการ ปลูกฝังให้ยึดมั่นในจริยธรรม และคุณธรรม มีจิตส�ำนึกที่จะประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดี มี จรรยาบรรณในวิชาชีพ มีวินัย รู้จักหน้าที่ มี ความรับผิดชอบ สนใจ และมีใจเปิดกว้างที่ จะรับวิทยาการใหม่ ๆ มหาวิทยาลัยมุง่ สร้างระบบการศึกษา และระบบประกันคุณภาพการศึกษาอย่าง ต่อเนือ่ ง รวมทัง้ บูรณาการกิจกรรมสร้างเสริม การเรี ย นรู ้ ทั ก ษะทางสั ง คม วั ฒ นธรรม ศีลธรรมจรรยา และการศึกษาทางวิชาการ เข้าด้วยกัน “การเน้นหนักให้เกิดการเรียนรูเ้ ป็นวิธี การฝึกฝนทีด่ ที สี่ ดุ ส�ำหรับการศึกษา ซึง่ แต่ละ มหาวิทยาลัยก็จะมีอตั ลักษณ์เป็นของตนเอง เพราะกลไกในการส่งเสริมและสนับสนุนจะ

ต้องสอดคล้องกับบทบาทหน้าที่ของแต่ละ มหาวิทยาลัย”

มจธ. มหาวิทยาลัยระดับสากล

ที่ผ่านมาในการจัดอันดับ 400 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกของ Times Higher Education World Rankings ปี 2012-2013 ผลปรากฏว่าในปีนมี้ ี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นมหาวิทยาลัยไทย เพี ย งแห่ ง เดี ย วที่ ติ ด อยู ่ ใ นกลุ ่ ม 351-400 และติดอยู่ในอันดับที่ 389 ของมหาวิทยาลัย ที่ ดี ที่ สุ ด ของโลก ซึ่ ง รองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน กล่าวถึงความส�ำเร็จนี้ ว่า “เราไม่เน้นว่าจะต้องอยู่ในอันดับที่เท่าไร ของโลก แต่เมื่อเราได้รับการยอมรับก็เป็นที่ น่ายินดี ทั้งนี้เป้าหมายที่ส�ำคัญที่สุด นั่นคือ มจธ. ก็ จ ะสร้ า งคุ ณ ภาพอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง เพราะการทีเ่ ราสามารถตอบสนองสังคมและ เศรษฐกิจของประเทศได้ ท�ำให้เรามีก�ำลังใจ ที่จะผลิตบุคลากรคุณภาพเพื่อสร้างสรรค์ ผลงานและสังคมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเราจะ ท�ำงานร่วมกับผู้ใช้เทคโนโลยีอย่างใกล้ชิด เพราะเล็ ง เห็ น ว่ า จะสามารถผลิ ต บั ณ ฑิ ต ได้ดีนอกจากจะรู้เรื่องวิชาการแล้ว ยังต้อง สามารถน�ำวิชาการทีม่ ไี ปใช้ให้เกิดประโยชน์ ขึ้นมาได้ ท�ำให้เราเห็นความส�ำคัญเรื่อง การ เรี ย นรู ้ คู ่ ก ารปฏิ บั ติ จึ ง เกิ ด กิ จ กรรมที่ มี ลักษณะการเรียนรูท้ เี่ กิดขึน้ จากการได้ดโู จทย์ จริง ได้ท�ำงานกับผู้ประกอบการจริง เมื่อได้มี โอกาสเข้าไปปฏิบัติงานจริงจะท�ำให้เข้าใจ ทฤษฎีอย่างจริงจัง เพราะนี่จะท�ำให้รู้จริงทั้ง


Special Issue

เป้าหมายของมหาวิทยาลัย 6+1 Flagships ทางทฤษฎี แ ละปฏิ บั ติ ส ่ ง ผลให้ นั ก ศึ ก ษา เข้ า ใจและซึ ม ซั บ ความรู ้ ม ากกว่ า การฟั ง บรรยายเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้จะท�ำให้ เข้าใจโจทย์จากผู้ประกอบการภาคเอกชน แล้วน�ำกลับมาท�ำวิจัย และต่อยอดสู่การ แก้ไขปัญหา สรุปแล้ว คือ เราเน้นคุณภาพการวิจัย ที่ต่อเนื่อง และยังเน้นในเรื่องของความเป็น เลิศ นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้ า ธนบุ รี ยังเน้นค่านิยมที่ว่า เราจะเป็นมืออาชีพ ผลิตบัณฑิตมืออาชีพ ที่ ยื น หยั ด และยึ ด มั่ น ในความถู ก ต้ อ ง มี คุณธรรม และจริยธรรม ดังนั้น จึงพยายาม สร้างบัณฑิตทีม่ ที งั้ ความดีและความเก่ง โดย พยายามให้นักศึกษาแสดงออกให้เห็นถึง การมีจิตสาธารณะ ยกตัวอย่างเช่น ในภาวะ อุทกภัย นักศึกษาของ มจธ. ก็ได้เข้าไปให้ ความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย และยังมี โครงการที่ เ ข้ า ไปท� ำ งานร่ ว มกั บ ชุ ม ชน ใต้สะพาน เช่น ซาเล้ง โดยมีการสร้างองค์ความรู้แก่อาชีพซาเล้งให้สามารถน�ำสิ่งของ เก่าที่เก็บได้มาซ่อมแซมให้กลับมาใช้ได้ใหม่ อีกครั้ง นอกจากนี้ยังให้ความรู้และความ เข้าใจในเรื่องการรักษาความสะอาด การ ด�ำรงชีวิต และการมีอาชีพที่ดีขึ้นได้ เป็นต้น กิจกรรมเหล่านี้ท�ำให้นักศึกษาเข้าใจบริบท ของสังคมไทย ทั้ ง นี้ ส� ำ หรั บ ในมหาวิ ท ยาลั ย เรามี โครงการ Green & Clean Campus นั่นคือ การใช้วทิ ยาศาสตร์และเทคโนโลยีไม่ใช่เพียง เพื่อการลดต้นทุนเท่านั้น แต่ต้องท�ำให้การ

การสร้างให้เกิดองค์กรที่ใฝ่เรียนรู้ 1. Science Strengthening การน�ำ หลั ก การคิ ด และกระบวนการทางวิ ท ยาศาสตร์ ม าประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นการจั ด การเรี ย น การสอน โดยมีการสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีเพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ เพื่อการ พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มกี ารคิดอย่างเป็น ระบบและมีเหตุมีผล มีการเชื่อมโยงความ สัมพันธ์ในการสร้างองค์ความรู้และน�ำไปสู่ การแก้ปัญหาในการท�ำงานและการด�ำรง ชีวิต 2. Management Strengthening การ สร้างศักยภาพของบุคลากร โดยการน�ำแนวคิดทางด้านการบริหารมาใช้ในการท�ำงานให้ เกิดประสิทธิภาพอย่างมีระบบ และสามารถ วิเคราะห์ปจั จัยแวดล้อมทีม่ ผี ลกระทบต่อการ ท� ำ งาน ตลอดจนการสร้ า งบุ ค ลากรให้ มี ความสามารถในเชิงบริหารที่มีประสิทธิภาพ

3. The Best and The Brightest การสร้ า งบั ณ ฑิ ต ให้ เ ป็ น มนุ ษ ย์ ที่ ส มบู ร ณ์ ทัง้ ร่างกายและจิตใจ อยูไ่ ด้ในสังคมไทย เป็น คนเก่ง คนดี มีความสุข ใฝ่รู้ และเรียนรูว้ ธิ กี าร แสวงหาความรู้ เป็นผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนา คิดได้ ท�ำเป็น สามารถ ปรับตัวได้ในสังคมทีม่ กี ารเปลีย่ นแปลงตลอด เวลา 4. Research University มหาวิทยาลัย ที่ ด� ำ เนิ น การวิ จั ย ด้ า นวิ ท ยาศาสตร์ แ ละ เทคโนโลยีและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้าง องค์ความรู้ใหม่ ส�ำหรับสนับสนุนกิจกรรม ด้านการเรียนการสอน การบริการวิชาการ และเป็ น การวิ จั ย ที่ ส นั บ สนุ น การพั ฒ นา ศักยภาพทางด้านขีดความสามารถในการ แข่งขันของประเทศ 5. Electronics University (e-University) มหาวิทยาลัยที่มีรูปแบบการด� ำเนิน กิ จ กรรมภายในมหาวิ ท ยาลั ย โดยน� ำ สื่ อ อิเล็กทรอนิกส์ (electronics) เข้ามาช่วย ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดกิจกรรมทางการ ศึกษาทั้งด้านการเรียนการสอน การบริหาร จัดการ การวิจัย รวมถึงการให้บริการต่าง ๆ ซึง่ สามารถเข้าถึงจากทุกทีไ่ ด้ตลอดเวลา และ สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ 6. Learning Organization องค์กรที่ ขยายขีดความสามารถและเพิม่ ศักยภาพเพือ่ สร้างผลงานและสร้างอนาคตอย่างต่อเนื่อง โดยผู้คนในองค์กรต่างก็เรียนรู้ด้วยกันอย่าง

Vol.19 No.185 March 2013

ผลิตและการใช้งานมีความสอดคล้องกับ สิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ดังนั้น จึงต้องมีการ ค� ำ นวณการใช้ พ ลั ง งานต่ อ หั ว ภายใน มหาวิทยาลัย นักศึกษาจึงได้รับการฝึกฝน และคุ้นเคยกับเรื่องของการรักษ์สิ่งแวดล้อม และพลังงานไปในตัว และมีความรูส้ กึ นึกคิด ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมจนสามารถน�ำไป ใช้ในการท�ำงานได้”

53


Special Issue

ต่อเนื่อง มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ คิดทั้ง ระบบ และมีความเป็นหนึ่งของส่วนรวม 7. Revenue Driven & Cost Conscious มหาวิทยาลัยที่มีระบบบริหารจัดการ รายได้ แ ละต้ น ทุ น อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีเกณฑ์กลางร่วมกัน โดยบุคลากรในองค์กรมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนังถึงความส�ำคัญในด้านรายได้และ ต้นทุน

Vol.19 No.185 March 2013

การเตรียมความพร้อมสู่การแข่งขัน ในอาเซียน

54

อาชีพเหล่านี้จะได้รับการยกเว้น ไม่มี การกีดกัน สามารถเดินทางไปประกอบอาชีพ ในประเทศอาเซียนอื่น ๆ ได้อย่างเสรี ท�ำให้ คนไทยมี โ อกาสในการหางานท� ำ ในต่ า งประเทศมากขึ้น ได้แก่ อาชีพวิศวกร (engineering services) อาชีพพยาบาล (nursing services) อาชีพสถาปนิก (architectural services) อาชีพการส� ำรวจ (surveying qualifications) อาชีพนักบัญชี (accountancy services) อาชีพทันตแพทย์ (dental practitioners) และ อาชีพแพทย์ (medical practitioners) รองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน กล่าวถึงการเตรียมความ พร้อมบัณฑิตสาขาวิศวกรรมว่า “มจธ. เน้น เรื่องของความเป็นสากล โดยเฉพาะทักษะ ทางด้านภาษา ซึง่ เป็นเรือ่ งทีส่ �ำคัญอย่างมาก นักศึกษาจะต้องสื่อสารได้ดีขึ้น แต่ความ เป็นสากลไม่ใช่เรือ่ งนีเ้ ท่านัน้ แต่ยงั มีเรือ่ งของ

การสร้างความเข้าใจภูมิภาคให้ดีขึ้น นั่นคือ เข้าใจว่าประเทศในอาเซียนเป็นอย่างไร ? ประเทศเหล่ า นั้ น มี ค วามเชื่ อ ภาษา และ วัฒนธรรมใดที่แตกต่างจากประเทศไทย ซึ่ง วิ ธี ที่ เ ราเห็ น ว่ า ดี ที่ สุ ด นั่ น คื อ จะต้ อ งให้ นักศึกษามีเพื่อนที่เป็นอาเซียน ดังนั้น เราจึง มี โ ปรแกรมแลกเปลี่ ย นนั ก ศึ ก ษา โดย พยายามให้มีนักศึกษาจากที่ต่าง ๆ เข้ามา เรียนร่วมกัน นอกจากนี้เรายังมองสังคมว่าเราน่า จะเตรียมตัวให้พร้อมเพือ่ ตอบรับความน่าจะ เป็นของสังคมในอนาคต เช่น เรื่องความตรง ต่อเวลา การท�ำงานที่เป็นไปตามมาตรฐาน สากล มจธ. เป็นสถาบันที่ผลิตนักวิทยาศาสตร์และนักเทคโนโลยี จึงต้องทราบว่า มาตรฐานในเรือ่ งนี้ และมาตรฐานแต่ละแห่ง ก็จะต้องสอดคล้องกับความจ�ำเป็นและความ ต้องการของแต่ละแห่ง เพราะฉะนั้นเมื่อมี กลไกของสากล วิธีการท�ำงานที่เป็นสากล การประชุม การแลกเปลีย่ นความคิด และวิถี การท�ำงาน จึงเป็นสิ่งที่ต้องให้ความส�ำคัญ เช่นกัน” ทั้งนี้การแลกเปลี่ยนแรงงานอย่างเสรี ถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะท�ำให้แรงงาน กว้างขวางขึ้น แต่สิ่งที่จะลืมเสียไม่ได้เลย นั่นคือ แรงงานจะต้องมุ่งสร้างและพัฒนา ตนเอง ท่านอธิการบดี มีความเชื่อมั่นว่า บุคลากรของประเทศไทยมีความสามารถไม่ แพ้ประเทศใดในโลก แรงงานเสรีที่เกิดขึ้นนี้ เป็นการสร้างโอกาสให้แรงงานไทยได้แสดง ความสามารถทีม่ อี ย่างเต็มที่ อย่ามองว่านีจ่ ะ เป็นการแย่ง-ชิงกัน แต่ละประเทศในอาเซียน จะได้พัฒนาไปด้วยกัน

อนาคตของ มจธ.

ในอนาคต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้ า ธนบุ รี มุ ่ ง เน้ น ที่ จ ะพั ฒ นา ศักยภาพบุคลากรและนักศึกษาอย่างต่อเนือ่ งต่อไป โดยจะเน้น กระบวนการปรับปรุง การเรียนรูข้ องนักศึกษา ซึง่ ในอดีตมีการเรียน การสอนทีเ่ ป็นวิชาการสูง เน้นความรูม้ าก แต่ ในอนาคตจะต้ อ งฝึ ก หั ด ให้ นั ก ศึ ก ษาเป็ น ผู้เรียนรู้ เป็นผู้ที่รู้จักหาความรู้จากแหล่งการ

เรียนรู้ต่าง ๆ ได้ เป็นผู้ที่สามารถคิดวิเคราะห์ ได้ เป็นผู้ที่มีหลักในการท�ำงาน เพราะฉะนั้น จึงมีการปรับปรุงกระบวนการและถ่ายทอด กระบวนการที่ท�ำให้เกิดการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยจะมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ ยั ง เน้ น โครงการที่ นั ก ศึ ก ษาจะ เข้าไปท�ำงานกับผู้ประกอบการมากขึ้น และ มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้กับต่างประเทศ มากยิ่งขึ้น ในตอนท้ายของบทสัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ศักรินทร์ ภูมริ ตั น อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี กล่าวปิดท้ายว่า “นักศึกษาที่เข้ามา เรียนใน มจธ. จะได้รบั คุณค่าในชีวติ มากกว่า เพียงแค่การได้รับการศึกษา แต่เขาเหล่านั้น จะได้ฝกึ ฝนการเรียนรู้ การใช้ชวี ติ และทักษะ ชี วิ ต ที่ เ ต็ ม รู ป แบบ เพี ย งแค่ มี ค วามตั้ ง มั่ น และหมัน่ เพียรทีจ่ ะสรรหาก�ำไรชีวติ ทีด่ ใี ห้กบั ตนเอง ประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเติบโตขึ้น เรือ่ ย ๆ การเติบโตได้อย่างยัง่ ยืนจะเกิดขึน้ ได้ ถ้าหากเรามีความสามารถในการแข่งขันสูง ทั้ ง นี้ ก็ ต ้ อ งมี ค วามมั่ น ใจว่ า ประชากรใน ประเทศมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเสริมขึ้นไป ภาคเอกชนจะแข่ ง ขั น ได้ และชี วิ ต ความเป็นอยู่จะดีขึ้นได้ ก็จะต้องลงทุนเพื่อ สร้างความรู้ มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานผลิต ความรู้ และพร้อมทีจ่ ะร่วมมือกับภาคเอกชน ในการสร้างความรู้และน�ำความรู้นั้นไปใช้ ต่ อ ยอดให้ เ กิ ด ประโยชน์ ต ่ อ ภาคเอกชน ซึ่ง มจธ. เตรียมพร้อมที่จะผลิตบัณฑิตที่มี คุณภาพสูง มีความรู้ความสามารถ และมี ความคิดที่ดี เขาเหล่านี้พร้อมที่จะเป็นคน ท�ำงานที่มีคุณภาพสูง รวมไปถึงภาครัฐเองก็ ต้องประสานความร่วมมือผ่านระบบนวัตกรรมแห่งชาติ สร้างสรรค์บุคลากรที่มีความ สามารถและต่อยอดสู่การพัฒนาผลิตภาพ และผลิ ต ผลในประเทศให้ ดี ขึ้ น ภายใต้ สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นในอนาคตต่อไป” ท่าน อธิการบดี กล่าวทิ้งท้าย


Q

Special Issue for

uality

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

สถาบันอุดมศึกษาคุณภาพในระดับสากล กองบรรณาธิการ

มหา

วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นสถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของเอกชนใน ประเทศไทย ด้วยคติพจน์ของมหาวิทยาลัย คือ บัณฑิตต้องถึงพร้อมทัง้ คุณธรรม และคุณวุฒิ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้รับการรับรอง มาตรฐาน ISO 9001:2008 ซึ่งถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ได้รับการรับรองมาตรฐานนี้ กว่า 40 ปีที่มหาวิทยาลัย ผลิตบัณฑิตคุณภาพท�ำให้ได้รับการยอมรับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ถึงพร้อมด้วยศักยภาพและ เหมาะสมที่สุดส�ำหรับผู้เรียนที่ต้องการองค์ความรู้เพื่อการแข่งขันในอนาคต รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวถึงสถานการณ์ การศึกษาของไทย และการเตรียมความพร้อมของมหาวิทยาลัยเพื่อมุ่งสู่การแข่งขันในระดับ สากลอย่างถึงแก่น

สถานการณ์การศึกษาของประเทศไทย

“เท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ คนไทยและผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการการศึกษาของ ไทยจ�ำนวนไม่น้อย ยังไม่เข้าใจสภาวการณ์ที่แท้จริงของการศึกษา งานวิจัยของ สมาคมการตลาด สอบถามกลุ่มเป้าหมายจ�ำนวนหนึ่งแสนคนเกี่ยวกับความ พึงพอใจในด้านการศึกษาของไทย อาทิ คุณภาพการศึกษา คุณภาพบุคลากร ผลที่ได้รับ คือ ประมาณ 2 ใน 3 ของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอบว่า พึงพอใจ ถามว่าเป็นไปได้อย่างไรที่คนไทยจ�ำนวนมากพึงพอใจ การศึกษาของไทย พึงพอใจในคุณภาพของบุคลากร และพึงพอใจ กับคุณภาพการศึกษา ? ผมเข้าใจว่าคนไทยมีความเข้าใจเพียงแค่วา่ คุณภาพการศึกษาที่ดีมีเพียงแค่เรื่องการมีสถานศึกษาให้ ▲

รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ

อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

for Quality Vol.19 No.185 March 2013

55


Vol.19 No.185 March 2013

Special Issue

56

ลูกหลานได้เล่าเรียน โอกาสในการศึกษา หมายถึง ลูกหลานเรียนจบการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ คุณภาพของบุคลากร คือ ครูสอนให้ ลูกหลานอ่านออกเขียนได้ อุปกรณ์การศึกษา ที่ดี คือ มีคอมพิวเตอร์และแท็บเล็ตให้ลูก หลานใช้ เท่านั้น แสดงว่าคนส่วนใหญ่ยังไม่ เข้าใจอย่างแท้จริงว่าการศึกษาคืออะไร ?” รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เริ่มต้นพูดคุยกับ ถึงการศึกษาของไทย และยังกล่าวต่อ อีกว่า “แท้จริงแล้ว การศึกษาคือการคิดเป็น หากพิ จ ารณาสถิ ติ ก ารศึ ก ษาของไทยใน ระดับนานาชาติ จะเห็นได้ว่าสถิติลดลงทุกปี ตามล�ำดับ และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศ เพื่อนบ้านแล้ว ดูเหมือนว่าจะมีคุณภาพที่ ต�่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านเสียด้วยซ�้ำไป นี่จึง เป็นหลักฐานหนึง่ ทีแ่ สดงว่าวงการการศึกษา ไทยอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง เพราะความ สามารถในการคิดวิเคราะห์ของคนไทยยังต�ำ่ อยู่มาก มองสิ่งใดก็มองเพียงมิติเดียว” เกิดค�ำถามขึน้ ว่าการศึกษาคืออะไร ? ท่านอธิการบดี อธิบายว่า “การศึกษาไม่ใช่ แค่การไปโรงเรียน การศึกษาไม่ใช่เพียงแค่ การท่องจ�ำ การศึกษาไม่ใช่เพียงแค่การเรียน เพียง 3 เดือนแล้วจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แต่ การศึกษา คือ การมีทักษะชีวิตที่ท�ำให้ อยู่รอดได้ อาทิ ทักษะในการสื่อสาร มีความ คิดและความรู้ในเรื่องที่เป็นพื้นฐานของชีวิต สามารถอ่ า นออกเขี ย นได้ และพยายาม

พัฒนาตนเองอยูต่ ลอดเวลา มีทศั นคติถกู ต้อง ในการเรียนรู้ มีค่านิยมที่ถูกต้องที่ปัจเจกบุคคลควรมี สิง่ เหล่านีค้ อื การศึกษาทีแ่ ท้จริง”

อุปสรรคที่เกิดขึ้น กับวงการการศึกษาของไทย

ที่ ผ ่ า นมาวงการการศึ ก ษาของไทย ขับเคลื่อนได้ไม่เต็มที่เท่าใดนัก สืบเนื่องจาก ปัจจัยภายในทีเ่ กิดขึน้ “จากทีก่ ล่าวมาข้างต้น อุปสรรคทีเ่ กิดขึน้ กับการศึกษาไทยนัน้ เกิดขึน้ จากการไม่เข้าใจเรือ่ งการศึกษาอย่างแท้จริง และอีกปัจจัยหนึ่ง คือ เรื่อง นโยบายการ ศึกษาที่ไม่เน้นเรื่องการศึกษาเพียงอย่าง เดียว แต่นำ� เรือ่ งการศึกษามาเอือ้ ต่อกลุม่ คน

บางกลุ่มให้ได้รับผลประโยชน์” สิ่งส�ำคัญ ทีส่ ดุ ทีต่ อ้ งเร่งด�ำเนินการพัฒนา นัน่ คือ มีการ บริหารจัดการบุคลากรครูทงั้ ประเทศ ควบคุม และจ�ำกัดการโยกย้ายในบางพื้นที่ เพื่อให้ บุคลากรครูมกี ารพัฒนาควบคูไ่ ปกับนโยบาย พัฒนาการศึกษา อีกทั้งที่ผ่านมาโรงเรียนไม่มีอิสระใน การบริหารจัดการ เวลาส่วนใหญ่สูญเสียไป กับการก�ำหนดตัวชี้วัดต่าง ๆ ซึ่งในความเป็น จริ ง แล้ ว ตั ว ชี้ วั ด การเรี ย นการสอนเป็ น สิ่ ง ส�ำคัญในการจัดการสอนของครู แต่ก็น่าจะ ต้ อ งเป็ น ตั ว ชี้ วั ด ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ครู โ ดยตรง เท่านั้น หากต้องท�ำตัวชี้วัดที่ไม่เกี่ยวพันก็จะ ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใด ๆ เลยต่อการเรียน การสอน “การศึกษาในประเทศไทยมีอยู่หลาย มิติด้วยกัน ในโรงเรียนขนาดใหญ่ที่อยู่ใน กรุงเทพฯ หรือโรงเรียนเอกชนที่มีชื่อเสียง มี คุณภาพดีกว่าอดีตมาก และยังดีกว่าประเทศ เพื่อนบ้านด้วย แต่โรงเรียนที่อยู่ห่างไกล ยัง ต้องมีการพัฒนาอีกมาก ดังนั้น เมื่อกล่าวถึง เรื่องของคุณภาพการศึกษาของไทยจึงเป็น เรื่องที่พูดยาก” ท่านอธิการบดี กล่าว

ธุรกิจบัณฑิตย์ มุ่งมั่นสู่การพัฒนาการศึกษาไทย

ท่านอธิการบดี ให้แง่คิดถึงภาพรวม การศึกษาไทยอย่างละเอียด ทั้งนี้ท่านได้


Special Issue

ติดอันดับต้น ๆ ของประเทศล้วนแล้วแต่เป็น มหาวิทยาลัยเอกชนทัง้ สิน้ แต่ในประเทศไทย จะมี ค วามเชื่ อ มั่ น กั บ สถาบั น ของภาครั ฐ มากกว่า เพราะฉะนั้นความเชื่อมั่นในมหาวิทยาลัยของรัฐจึงมีมากกว่าเอกชน ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเอกชนจึงต้องท�ำงานอย่างหนัก เพื่อให้เห็นศักยภาพและนักเรียนเลือกที่จะ เข้ารับการศึกษาในสถาบันเอกชนต่อไป “มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มีความ รับผิดชอบต่อการศึกษาของไทย เราผลิต บัณฑิตที่มีคุณภาพ และจบการศึกษาอย่าง มีทัศนคติที่ดี มองเห็นคุณค่าในตัวเอง เป็น คนดีขึ้น มีความรู้มากขึ้น มีความตระหนัก มี จริยธรรม และมีมูลค่ามากขึ้น นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ยังเตรียมพร้อมที่จะเปิดรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งในวันนี้หลายภาคส่วน ทั้งรัฐและเอกชนในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมเริม่ ต้นทีจ่ ะรับมือกับอนาคตทีจ่ ะเกิดขึน้ ดูได้จากการสร้างสาธารณูปโภคและสาธารณู ป การในประเทศ มหาวิ ท ยาลั ย มี ค วาม ตระหนักในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน โดยมีการ เตรียมการในหลากหลายสิ่ง ตัวอย่างเช่น วิธีคิดของคน เพราะการที่คนจะเข้าอยู่ในที่ เดี ย วกั น มี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ ต ่ อ กั น และเป็ น ที่ ยอมรับซึ่งกันและกันได้นั้น วิธีคิดของเราจะ ต้องถูกต้อง จะคิดว่าเราเหนือกว่าคนอืน่ ไม่ได้ นี่เป็นเรื่องที่ส�ำคัญอย่างมาก มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์ จึงต้องพยายามกระตุ้นทั้งใน

หมู่คณาจารย์และนักศึกษาให้มีวิธีคิดที่ดี และมีความเข้าใจมิติทางประวัติศาสตร์ใน เชิงสากล นอกจากนี้ยังเตรียม ความพร้อมใน ด้านทักษะ โดยเฉพาะทักษะทางด้านภาษา ซึ่ ง ผมคิ ด ว่ า ไม่ ใ ช่ แ ต่ เ พี ย งภาษาอั ง กฤษ เท่านั้น แต่ต้องมีความเชี่ยวชาญในภาษา ท้ อ งถิ่ น ของประเทศเพื่ อ นบ้ า นที่ จ ะเป็ น คู่ค้ากับเราด้วย เช่น ภาษาที่ใช้ในประเทศ อินโดนีเซีย เมียนมาร์ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย เป็นต้น และมหาวิทยาลัยยังให้เครื่องมือแก่ นักศึกษาให้เตรียมความพร้อมสู่การแข่งขัน นั่นคือ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และกฎหมาย ทัง้ นีม้ หาวิทยาลัยมี ศูนย์เตรียมความ พร้อมสู่อาเซียน มีการฝึกอบรม ให้ความรู้ การบริการต่าง ๆ และการบรรยายทั้งภายใน และภายนอกมหาวิทยาลัย”

7 วิชาชีพเสรี ในอาเซียน

“ผมมองว่าการเข้ามาท�ำงานหรือออก ไปท�ำงานในประเทศเพื่อนบ้านเป็นเรื่องที่ ท�ำได้ค่อนข้างยาก เพราะแต่ละประทศมี กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานควบคุม อยู่ เช่น วิชาชีพพยาบาล กฎหมายไทยบังคับ ว่าคนที่จะเป็นพยาบาลได้นั้นจะต้องสอบใบ วิชาชีพพยาบาลให้ได้เสียก่อน โดยการสอบ จะเป็นภาษาไทย นี่จึงไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ อย่ า งรวดเร็ ว ในระยะเวลาอั น ใกล้ เ พราะ

Vol.19 No.185 March 2013

แสดงทัศนะเพิ่มเติมถึงภารกิจและพันธกิจ ของ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ว่า “สถาบัน การศึกษา ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยมีความรับผิดชอบที่สูงมาก เพราะต้อง ท� ำ หน้ า ที่ แ ทนภาครั ฐ เช่ น นั ก เรี ย นและ นักศึกษาสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนของ รัฐได้ ซึ่งรัฐจะต้องเป็นผู้ลงทุนทั้งหมดแก่ผู้ศึกษา แต่เมือ่ มีสถาบันการศึกษาภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วม นี่จึงเป็นส่วนหนึ่งในการ แบ่งเบาภาระของภาครัฐ เรียกได้ว่าเอกชนก็ สามารถเข้ามาท�ำหน้าที่แทนภาครัฐได้ส่วน หนึ่ง ดังนั้น สถานศึกษาเอกชนจึงต้องเน้น หนักในเรื่องคุณภาพเฉกเช่นเดียวกับที่ภาครัฐด�ำเนินการ นี่จึงเป็นความรับผิดชอบของ ผู้ด�ำเนินการสถานศึกษาเอกชน” สืบเนื่องจากความตระหนักถึงความ รั บ ผิ ด ชอบต่ อ การศึ ก ษาของไทยในฐานะ สถานศึกษาเอกชนให้มีคุณภาพเทียบเท่า สถานศึ ก ษาภาครั ฐ มหาวิ ท ยาลั ย ธุ ร กิ จ บั ณ ฑิ ต ย์ จึ ง พยายามพั ฒ นาสถาบั น อย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้เรียนได้รับประโยชน์ สูงสุด “ปัจจุบันสถาบันการศึกษาของรัฐรับ นักศึกษาในแต่ละปีจำ� นวนมากมายมหาศาล เพราะฉะนั้ น จ� ำ นวนนั ก ศึ ก ษาจึ ง กระจาย เข้าไปสู่สถาบันภาครัฐ และด้วยความเชื่อที่ ว่ า สิ่ ง ใดที่ เ ป็ น ของรั ฐ จะดี ก ว่ า ของเอกชน ท�ำให้เกิดการแข่งขันสูงขึ้นทุกปี” ในสหรัฐอเมริกานั้น มหาวิทยาลัยที่

57


Special Issue กฎหมายข้ อ บั ง คั บ ที่ เ ข้ ม งวดนั่ น เอง และ กฎหมายบางประเทศก็เข้มงวดยิ่งกว่าของ ไทยเสียอีก แต่หากเราพัฒนาให้คนของเรามี คุณภาพแล้ว อย่างไรก็ตาม แรงงานไทยมี งานท�ำอย่างแน่นอน” ท่านอธิการบดี ให้ ความเห็น

ศักยภาพของธุรกิจบัณฑิตย์

Vol.19 No.185 March 2013

ความยาวนานกว่า 45 ปี ของ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะ ท�ำให้มวี นั นีไ้ ด้ สิง่ นีเ้ กิดขึน้ จาก “มหาวิทยาลัย ธุรกิจบัณฑิตย์ มีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่งที่ ผมสังเกตเห็นได้ นั่นคือ เป็นมหาวิทยาลัย ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง มีสิ่งใหม่ที่ขับเคลื่อนอยู่ ตลอดเวลา เราจึงมีค�ำขวัญว่า “Progressive University” หมายถึง มหาวิ ท ยาลั ย แห่ ง ความก้าวหน้า ซึ่งค�ำว่าก้าวหน้าในที่นี้มีอยู่ 3 ลักษณะ นั่นคือ ➲ มี พ ลวั ต คือ มีการเปลี่ยนแปลง และขับเคลือ่ นอยูต่ ลอดเวลา อาทิ มี วิทยาลัย นานาชาติ จี น ที่ มุ ่ ง สอนภาษาจี น ส� ำ หรั บ นักศึกษาไทยที่ต้องการเรียนภาษาจีน ใช้ ภาษาจีนเป็นภาษาหลัก ถึงระดับปริญญาโท และเอก ในปีหน้าจะเปิดคณะการท่องเที่ยว และการโรงแรม และคณะวิ ท ยาศาสตร์ ประยุกต์ เน้นในเรื่องความงาม สปา และ สุขภาพ เป็นต้น ส�ำหรับ วิทยาลัยนานาชาติ จีน ที่เปิดสอนอยู่นี้ มีนักศึกษาจากประเทศ

58

เพือ่ นบ้านเข้ามาเรียนเพิม่ มากขึน้ ทัง้ นีเ้ พราะ เล็งเห็นว่าการเข้ามาศึกษาในประเทศไทยจะ ช่ ว ยพั ฒ นาตนเองและน� ำ กลั บ ไปพั ฒ นา ประเทศของเขาเหล่ า นั้ น ได้ โดยเรี ย นกั บ อาจารย์จีนที่มีความสามารถและมีความ เชี่ยวชาญ ➲ มีนวัตกรรม คือ มีสิ่งใหม่ที่ก่อให้ เกิดประโยชน์อยู่ตลอดเวลา และมีความ สร้ า งสรรค์ ทุ ก ภาควิ ช าของเราได้ รั บ การ รับรองมาตรฐาน ISO 9001:2008 เรามีระบบ ประกั น คุ ณ ภาพการเรี ย นการสอน หาก อาจารย์ได้รับการคัดเลือกว่าเป็นอาจารย์ที่ สอนได้ในระดับดีเด่น ก็จะได้รับรางวัลพิเศษ เรามีห้องเรียนที่ถูกติดตั้งอยู่ในระบบ Cloud สามารถดาวน์โหลดเอกสารการเรียนการสอน ได้ตลอดเวลา หากอุปกรณ์การเรียนการสอน เสีย สามารถแจ้งผ่านได้ทางระบบนี้ ภายใน 5 นาที จะมี เ จ้ า หน้ า ที่ เ ข้ า มาแก้ ไ ขอย่ า ง รวดเร็ว และยังมีการบันทึกการเรียนการสอน ย้อนหลังอีกด้วย อี ก ทั้ ง มหาวิ ท ยาลั ย ยั ง มี ศู น ย์ ก าร เตรียมความพร้อมแก่นกั ศึกษา อบรมในเรือ่ ง บุคลิกภาพ การสัมภาษณ์งานให้ได้งาน และ ยั ง มี ก ารทดสอบความรู ้ ด ้ า นธุ ร กิ จ ภาษา อั ง กฤษ และไอที ซึ่ ง นั ก ศึ ก ษาสามารถ ทดสอบความรู้ในระดับใดก็ได้ จากนั้นจะได้ รั บ ใบประกาศนี ย บั ต ร เพื่ อ รั บ รองความ สามารถก่อนที่จะเข้าสมัครงาน

และเรายั ง มี ศู น ย์ แ ห่ ง การปฏิ บั ติ นั่นคือ ส่งเสริมให้นักศึกษาท�ำงานพาร์ทไทม์ สอดรับกับค�ำขวัญของเรา คือ “การงานท�ำให้ คนบริสุทธิ์” มี ศูนย์สันติวีธี ซึ่งด�ำเนินงาน ร่วมกับสถาบันพระปกเกล้าฯ ในการแก้ปัญหาอย่างสันติภายในมหาวิทยาลัย ➲ มี โ ครงการที่ เ ป็ น ประโยชน์ ที่ แท้จริงต่อนักศึกษา โครงการทีด่ ำ� เนินงานจะ เน้นการปฏิบตั ริ ะหว่างอาจารย์และนักศึกษา เพราะการปฏิบตั จิ ะช่วยเพิม่ ทักษะชีวติ ให้กบั นักศึกษาได้ดีกว่าการนั่งเรียนในห้องเรียน เพียงอย่างเดียว เช่น ทฤษฎีคอมพิวเตอร์ ก็ จะเปิดโอกาสให้นกั ศึกษาได้ประดิษฐ์หนุ่ ยนต์ ขึ้นจริง เป็นต้น” “สถาบันการศึกษาเอกชนถือว่าต้อง เป็นผูท้ ำ� งานแทนภาครัฐ และต้องรับผิดชอบ ต่อประชาชน เราจะไม่เลี้ยงดูบุตรหลานของ ท่านอย่างทิ้ง ๆ ขว้าง ๆ เพราะส�ำหรับคนเป็น พ่อแม่แล้ว ไม่มสี งิ่ ใดมีคา่ มากไปกว่าลูกของ ตน เมื่อพ่อแม่ให้สิ่งมีค่าที่สุดในชีวิตมาให้ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ดูแลแล้ว เราก็ จะต้องดูแลให้ดที สี่ ดุ เท่าทีจ่ ะท�ำได้ ให้เพิม่ ทัง้ คุณค่าและมูลค่า เป็นคนดี มีจริยธรรม และ มีทักษะที่ดีในชีวิต หารายได้เลี้ยงครอบครัว และเป็นคนดีของสังคม อีกทั้ง มหาวิทยาลัย ธุ ร กิ จ บั ณ ฑิ ต ย์ ยั ง มี ค วามรั บ ผิ ด ชอบต่ อ การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อการเรียนรู้ ไม่ว่า จะเป็นต้นไม้ ความสะอาด และความเป็น ระเบียบเรียบร้อย ผมเชื่อว่ามหาวิทยาลัย แห่งนี้มีความพร้อมเต็มที่ หากกล่าวถึงเรื่อง คุณภาพถือว่าเป็นสิง่ ทีส่ ำ� คัญส�ำหรับเรา และ คุณภาพของบัณฑิตของเราก็จะเป็นสิง่ พิสจู น์ ว่าเราพร้อมที่จะเข้าสู่การแข่งขันหรือไม่ ?” รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวทิ้งท้าย


Q

Special Issue for

uality

ศิลปากร

มหาวิทยาลัยชั้นนำ�แห่งการสร้างสรรค์

กองบรรณาธิการ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร

มหา

วิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยแห่งศาสตร์และศิลป์ ที่เป็นที่ ยอมรับจากทั้งในประเทศและต่างประเทศมาอย่างยาวนาน ด้วยปรัชญาของมหาวิทยาลัย คือ “ศิลป์และศาสตร์สร้างสรรค์ชาติยงั่ ยืน” และ ปณิธาน “สร้างสรรค์ศิลปะ วิทยาการ และภูมิปัญญาเพื่อสังคม” และวิสัยทัศน์ “ศิลปากรเป็นมหาวิทยาลัยชั้นน�ำแห่งการสร้างสรรค์” ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ใน ชัยชาญ ถาวรเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านได้ให้เกียรติกับ การแสดงวิสัยทัศน์เกี่ยวกับความเจริญเติบโตของสถาบันการศึกษาของไทยในสายตา ชาวโลก พร้อมทัง้ การวางแผนเตรียมความพร้อมเพือ่ พัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร สูก่ ารแข่งขัน ในระดับสากล และสร้างชื่อเสียงแก่ประเทศชาติต่อไป

สถานการณ์การศึกษาในประเทศไทย

หากวิเคราะห์ถึงสถานการณ์การศึกษาในประเทศไทยจะพบว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องอยู่ หลากหลายด้าน ได้แก่ 1. โอกาส ความเสมอภาค และการมีส่วนร่วมทางการศึกษา อัตราการ เข้าเรียนระดับอุดมศึกษาของไทยแม้จะค่อนข้างสูง เพราะคนที่เคยผ่านการเรียนจบชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายส่วนใหญ่เข้าสู่มหาวิทยาลัยมากกว่าออกไปท�ำงาน แต่ส่วนใหญ่เป็น อุดมศึกษาทีเ่ น้นทฤษฎีเป็นฐานถึงร้อยละ 83 เน้นการปฏิบตั /ิ วิชาชีพ เพียงร้อยละ 17 ตรงข้ามกับ ประเทศมาเลเซีย เกาหลีใต้ และนิวซีแลนด์ ทีเ่ ยาวชนเลือกเรียนโปรแกรมเน้นการปฏิบตั /ิ วิชาชีพ มากกว่าร้อยละ 40 2. ความเสมอภาคระหว่างเพศ/ชนชัน้ ประเทศไทยมีความแตกต่างระหว่าง ชนชั้นที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่างกัน กลุ่มคนที่มีรายได้ต�่ำ มีโอกาสได้รับการศึกษา ที่ต�่ำกว่า แม้ภาครัฐจะจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานแบบไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่ผู้ที่มีรายได้ต�่ำก็ยัง for Quality Vol.19 No.185 March 2013

59


Vol.19 No.185 March 2013

Special Issue

60

ขาดแคลนค่ า ใช้ จ ่ า ยในการเดิ น ทางและ ค่ากินอยู่ 3. การมีส่วนร่วมการจัดการศึกษา โดยภาคเอกชน สถานศึกษาเอกชนของไทย มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาน้อยมากทุก ระดับ ไม่เหมือนกับประเทศอื่น ๆ ที่สถาบัน การศึกษาโรงเรียนเอกชนมีส่วนร่วมในการ จัดการศึกษาค่อนข้างสูง ท�ำให้มีการแข่งขัน และนั ก เรี ย นนั ก ศึ ก ษามี ท างเลื อ กเพิ่ ม ขึ้ น 4. ตัวแปรด้านคุณภาพการศึกษา ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีปัญหาครูขาดแคลนในหลาย พืน้ ทีเ่ นือ่ งจากในรอบ 10 ปีทผี่ า่ นมา มีการจ้าง ครูทดแทนอัตราเกษียณน้อยมาก 5. ขนาด ชัน้ เรียนของไทย ในชัน้ ประถมศึกษาต�ำ่ กว่า ค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง และในโรงเรียนขนาดกลางและใหญ่ ชัน้ เรียน ใหญ่กว่าตัวเลขเฉลี่ยของทั้งประเทศมาก 6. ชั่วโมงการสอนของครูไทย มีค่าเฉลี่ย มากกว่ า ประเทศส่ ว นใหญ่ และ 7. งบประมาณและค่ า ใช้ จ ่ า ยทางการศึ ก ษา ค่าใช้จ่ายทางการศึกษาต่อนักเรียนรายหัว ในระดับประถมศึกษาของไทยสูงกว่าประเทศ เพื่อนบ้านหลายประเทศ ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร กล่าวเริ่มต้นถึงสถานการณ์การศึกษาไทย ตามทัศนะของท่านว่า “ส�ำหรับการศึกษาของ ไทยในระดับอุดมศึกษานั้น สามารถแข่งขัน กั บ นานาประเทศได้ แต่ ก็ ขึ้ น อยู ่ กั บ บาง

ศาสตร์บางสาขาวิชาเท่านั้น ส�ำหรับสาขา ศิลปะและการออกแบบของมหาวิทยาลัย ศิลปากร เรียกว่าสามารถแข่งขันได้ในระดับ โลกเลยทีเดียว ซึ่งสาขาวิชาใดที่ดีอยู่แล้วก็ พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น แต่หากสาขาวิชาใดที่ยัง ด้ อ ยอยู ่ ก็ พ ยายามพั ฒ นาให้ ทั ด เที ย มกั บ นานาประเทศ ส�ำหรับ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิชาที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ ศิ ล ปะและการออกแบบเรา สามารถแข่งขันได้ เนื่องจากสถาบันมีพันธมิตรอยู่ทั่วโลก ซึ่ งในระดับประเทศก็จะมี ศิลปกรรมแห่งชาติเป็นผู้ดูแลอยู่ และยังมี งานดีไซเนอร์ออฟเดอะเยียร์ที่สถาบันดูแล รับผิดชอบอยูอ่ ย่างต่อเนือ่ ง ทัง้ นีม้ หาวิทยาลัย เล็งเห็นว่าการประกวดงานศิลปะเป็นการ สร้างโอกาสและประโยชน์แก่นักศึกษาและ ผู้สนใจทั่วไป บางชิ้นงานน�ำไปจ�ำหน่ายใน ต่างประเทศช่วยสร้างรายได้และอาชีพแก่ นักศึกษานอกเหนือจากรางวัลที่ได้รับจาก การประกวด”

มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยแห่งการสร้างสรรค์

ด้วยระยะเวลากว่า 70 ปีที่ มหาวิทยาลั ย ศิ ล ปากร ได้ มี ส ่ ว นสร้ า งสรรค์ แ ละ เสริ ม สร้ า งสั ง คมและประเทศชาติ ความ ยาวนานที่ผ่านมาเห็นได้จากมหาวิทยาลัย ผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตทีม่ คี ณ ุ ภาพและ

มาตรฐานอย่ า งต่ อ เนื่ อ ง “มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากร ถื อ ว่ า เป็ น มหาวิ ท ยาแห่ ง การ สร้างสรรค์ เพราะคร�่ำหวอดในวงการศิลปะ มาอย่างยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษ มหาวิทยาลัยเป็นเจ้าภาพหลักในการประกวดงาน ศิลปะและงานออกแบบ ด้วยรากเหง้าของเรา ที่เริ่มต้นขึ้นมาจากศิลปะและวัฒนธรรม ณ วังท่าพระ ทีม่ ชี า่ งสิบหมูอ่ ยูท่ นี่ นั่ และได้กลาย มาเป็นโรงเรียนประณีตศิลป์ และในที่สุด ก็เกิดเป็นมหาวิทยาลัยศิลปากรขึ้น ในระยะ เริ่มต้น มหาวิทยาลัยมีเพียง 4 สาขาวิชาที่ เกี่ยวข้องกับศิลปะ เช่น จิตรกรรมประติมากรรม มัณฑนศิลป์ สถาปัตยกรรม โดยเฉพาะ โบราณคดี ซึ่ ง เป็ น สาขาวิ ช าที่ เ ปิ ด สอนที่ มหาวิ ท ยาลั ย ศิ ล ปากรเพี ย งแห่ ง เดี ย วใน ประเทศไทย นอกจากนี้ห้องสมุดที่ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตวังท่าพระ ยังเป็น ห้องสมุดทีร่ วบรวมองค์ความรูเ้ กีย่ วกับศิลปะ และการออกแบบทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในประเทศไทย อีกด้วย ดั ง นั น หากพู ด ถึ ง เรื่ อ งของความ สร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้สั่งสม มาอย่ า งยาวนาน และนั ก ศึ ก ษาที่ เ ข้ า มา เรียนที่นี่ถูกคัดสรรมาโดยเฉพาะ อาทิ คณะมัณฑนศิลป์ เรารับเพียงจ�ำนวนไม่กี่ร้อยคน แต่ทุกปีมีผู้ที่สนใจเข้ารับการสอบคัดเลือก กว่าหนึ่งหมื่นคน คณาจารย์ก็เป็นบุคลากร ที่ เ ชี่ ย วชาญทางด้ า นนี้ ม าอย่ า งยาวนาน ดังนั้น จึงสามารถบ่มเพาะองค์ความรู้ให้แก่


Special Issue

บูรณาการองค์ความรู้ด้านศาสตร์และศิลป์

ท่านอธิการบดี กล่าวถึงการสร้างสรรค์องค์ความรู้ในมหาวิทยาลัยเพิ่มเติมว่า “ณ วันนี้ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้พัฒนา องค์ความรู้โดยการประยุกต์ทั้งศาสตร์และ ศิลปะเข้าด้วยกัน อาทิ คณะ ICT ที่มีการน�ำ ศิ ล ปะและการออกแบบมาบู ร ณาการกั บ สาขาคอมพิวเตอร์ ถือว่าเป็นการประยุกต์ ศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ากับศิลปะ ได้อย่างกลมกลืน ท�ำให้เกิดศาสตร์ด้านใหม่ คือ ดิจิทัลอาร์ต พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และไอทีและศิลปะเข้าด้วยกัน จากเดิมที่มี เพียงสองมิติก็กลายเป็นสามมิติ นอกจากนี้ ในคณะ ICT ยังมีสาขาวิชานิเทศศาสตร์บรรจุ อยูด่ ว้ ย ซึง่ จะต้องรูใ้ นเรือ่ งศิลปะ นิเทศศาสตร์ และ ICT ควบคู ่ กั น นั ก ศึ ก ษาจึ ง ใช้ ง าน คอมพิวเตอร์ได้คล่องแคล่วทัง้ การตัดต่องาน ตัดต่อเสียง ภาพแอนนิเมชั่น ตั้งแต่ชั้นปีที่ 1” “ส�ำหรับบุคลากรของ มหาวิทยาลัย ศิ ล ปากร ก็ มี ค วามพร้ อ มที่ จ ะรองรั บ การ พั ฒ นาที่ เ กิ ด ขึ้ น มี ก ารเพิ่ ม ต� ำ แหน่ ง ทาง วิชาการมากขึ้น ทั้งต�ำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และค่อย ๆ ปรับเป็น ศาตราจารย์ ใ นที่ สุ ด สื บ เนื่ อ งจากสภามหาวิ ท ยาลั ย ได้ ใ ห้ น โยบายว่ า ต้ อ งเพิ่ ม ต�ำแหน่งเหล่านี้ และให้มีเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่ง การจะเพิ่มต�ำแหน่งเหล่านี้ได้จะต้องมีการ เพิ่มงานวิจัยที่สร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยจึงตั้ง กองทุนวิจัยและสร้างสรรค์ โดยทั่วไปงาน วิจัยจะรองรับสาขาอื่น ๆ ที่ต้องมีการวิจัย แต่งานวิจัยสร้างสรรค์ คือ สาขาที่เกี่ยวข้อง กับศิลปะและการออกแบบ ที่จะสามารถ น� ำ มาใช้ ข อต� ำ แหน่ ง ทางวิ ช าการได้ โดย มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้เริ่มต้นด�ำเนินการ ตามนโยบายนี้แล้ว ในไม่ช้าคงครบถ้วนตาม เป้าหมายที่สภามหาวิทยาลัยก�ำหนดไว้”

R&D ต่อการพัฒนาการศึกษาไทย

งานวิจยั และพัฒนามีความส�ำคัญต่อ การศึกษาไทยอย่างไรบ้าง ? ท่านอธิการบดี

กล่าวว่า “เมื่อพิจารณาวิทยาเขตต่าง ๆ ของ มหาวิทยาลัยศิลปากร แล้ว จะพบว่า มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสนามจันทร์ มี ทั้ ง คณะวิ ท ยาศาสตร์ คณะอั ก ษรศาสตร์ เป็นต้น อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยของเรา คือ ความเป็นเอกภาพที่อยู่บนความหลากหลาย เราจึงมีการบูรณาการหลักสูตร และ สร้างผลงานขึ้นมากมาย ดังนั้น การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นจึงต้องมีการวิจัยและ พัฒนาเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่อให้ผลงานและ การศึกษาแบบบูรณาการภายในรั้วศิลปากร เกิดประโยชน์แก่ส่วนรวมสูงสุด”

การสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน

การด�ำเนินงานตามพันธกิจของ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งครอบคลุมการจัดการ ศึกษา การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่ สังคม และการท�ำนุบำ� รุงศิลปวัฒนธรรม โดย ผ่านกระบวนการบริหารและกระบวนการ ด้านงบประมาณนั้น ภาครัฐและภาคเอกชน ล้วนมีบทบาทส�ำคัญในการสนับสนุนการ ด�ำเนินงานดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพและ ประสบผลส�ำเร็จตามที่ก�ำหนดไว้ ซึ่งส่งผล โดยตรงต่ อ การพั ฒ นาเศรษฐกิ จ สั ง คม คุณภาพชีวิต และคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีความจ�ำเป็นต้อง ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน โดย ท่านอธิการบดี กล่าวว่า “มหาวิทยาลัย ศิลปากร ได้รบั การสนับสนุนจากภาครัฐและ

เอกชน คือ สนับสนุนการบริหารจัดการ อาทิ ปัจจัยด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอปุ กรณ์ รูปแบบการบริหารจัดการ โดยหน่วยงาน ภาครั ฐ มี ส ่ ว นรั บ ผิ ด ชอบการสนั บ สนุ น โดยตรง แต่ภาคเอกชนมีส่วนสนับสนุนใน รู ป แบบของการให้ ทุ น การศึ ก ษา ทุ น วิ จั ย วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือสนับสนุนการ เรียนการสอน การวิจัย และการสร้างสรรค์ ของมหาวิทยาลัยศิลปากร นอกจากนี้ภาคเอกชนยังให้การสนับสนุนในลักษณะของ โอกาส ความร่วมมือทางด้านวิชาการ เช่น การเป็นแหล่งฝึกงานของนักศึกษา การเป็น แหล่งสหกิจศึกษา การเป็นแหล่งศึกษาดูงาน การเป็นอาจารย์พเิ ศษของหลักสูตรการศึกษา

Vol.19 No.185 March 2013

นักศึกษาได้เข้มงวดที่สุด แนวความคิดที่ เกิดขึ้นจึงสร้างสรรค์จนเปรียบเทียบได้ยาก”

61


Special Issue

ต่าง ๆ การสนับสนุนการเพิ่มคุณวุฒิของ พนักงานของภาคเอกชน เป็นต้น”

Vol.19 No.185 March 2013

การผลิตบัณฑิต เพื่อตอบรับการแข่งขันใน AEC

62

ในส่ ว นของการผลิ ต บั ณ ฑิ ต ของ มหาวิทยาลัยศิลปากรใน 7 สาขาวิชาชีพเสรี ในอาเซียน ซึง่ ประกอบด้วย วิศวกร พยาบาล สถาปนิก การส�ำรวจ นักบัญชี ทันตแพทย์ และแพทย์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ให้ ความส�ำคัญกับคุณภาพของบัณฑิต และ คุณภาพของคณาจารย์ประจ�ำทีม่ สี ว่ นส�ำคัญ ในการผลิ ต บั ณ ฑิ ต ที่ มี คุ ณ ภาพ “ทั้ ง นี้ ใ น การเตรี ย มความพร้ อ มเพื่ อ การแข่ ง ขั น ใน ระดับอาเซียน มหาวิทยาลัยศิลปากร มีส่วน เกีย่ วข้องเฉพาะการผลิตบัณฑิตในสาขาวิชา วิศวกรรมศาสตร์และสาขาสถาปัตยกรรม ศาสตร์เท่านั้น โดยในสาขาวิชาวิศวกรรม ศาสตร์ ซึ่งจัดการเรียนการสอนโดยคณะ วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอตุ สาหกรรม และสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งจัดการ เรียนการสอนโดยคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีแนวโน้มการผลิตบัณฑิตเพื่อตอบรับการ แข่งขันใน AEC คือ คณะวิศวกรรมศาตร์และ เทคโนโลยีอตุ สาหกรรม จัดการเรียนการสอน สาขาวิศวกรรมศาสตร์ในระดับปริญญาตรี โท และเอก จ�ำนวน 14 หลักสูตร ในส่ ว นของการประเมิ น คุ ณ ภาพ บัณฑิตสาขาวิศวกรรมศาสตร์ประจ�ำปีการ ศึกษา 2552 โดยนายจ้างหรือผู้ใช้บัณฑิต

พบว่า ในส่วนของคุณภาพบัณฑิตด้านทักษะ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีความจ�ำเป็น อย่างยิง่ ในการแข่งขันด้านวิชาชีพวิศวกรรมศาสตร์ใน AEC พบว่า บัณฑิตวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีผลการ ประเมินอยู่ในเกณฑ์ “ดีมาก” โดยมีคะแนน การประเมินเฉลี่ย 4.11 คะแนน จากคะแนน เต็มการประเมิน 5.00 คะแนน แสดงให้เห็น ว่าบัณฑิตในสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยศิลปากรนั้น มีความพร้อมใน การแข่งขันใน AEC ค่อนข้างสูง ส�ำหรับคณะสถาปัตยกรรม จัดการ เรียนการสอนในสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ แ ละสาขาที่ เ กี่ ย วข้ อ ง จ� ำ นวน 13 สาขาวิชา แบ่งเป็นระดับปริญญาตรี จ�ำนวน 2 หลักสูตร ระดับปริญญาโท จ�ำนวน 10 หลักสูตร และระดับปริญญาเอก จ�ำนวน 1 หลักสูตร เมือ่ พิจารณาถึงสภาวะการมีงานท�ำ ของบั ณ ฑิ ต สาขาสถาปั ต ยกรรมศาสตร์ พบว่า ในปีการศึกษา 2552 บัณฑิตคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีงานท�ำหรือประกอบ อาชีพอิสระร้อยละ 100 ทั้งนี้ในส่วนของการ ประเมินคุณภาพของบัณฑิต พบว่า ผู้ใช้ บัณฑิตมีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ใน ระดับดีมาก โดยมีผลการประเมินเฉลี่ย 4.10 คะแนน จากคะแนนเต็ม 5.00 คะแนน แสดง ให้เห็นว่าบัณฑิตจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์มีความพร้อมในการแข่งขันใน AEC ค่อนข้างสูง” ในการจัดการเรียนการสอนในสาขา วิชาวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว หลักสูตรการ ศึกษาทุกหลักสูตรของมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยได้ให้ความส�ำคัญอย่างยิ่งกับ การผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ คุณธรรม และ ทั ก ษะที่ ทั น ยุ ค ทั น สมั ย แต่ ยั ง คงด� ำ รงซึ่ ง เอกลักษณ์ความเป็นไทย โดยเฉพาะอย่างยิง่ การเป็ น บั ณ ฑิ ต ที่ มี ค วามคิ ด สร้ า งสรรค์ สามารถประยุกต์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ที่ เ ปลี่ ย นไปของสั ง คม สิ่ ง แวดล้ อ ม และ สาธารณชน โดยมหาวิทยาลัยตระหนักถึง ศั ก ยภาพของมหาวิ ท ยาลั ย ในการพั ฒ นา

ตนเองเพื่อรองรับการแข่งขัน นอกเหนือจาก การแข่งขันในระดับ AEC แต่มหาวิทยาลัย มุ่งสู่การแข่งขันในระดับสากลอีกด้วย ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาภาพรวม พบว่า มหาวิทยาลัย ศิลปากร มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนานาชาติจ�ำนวนทั้งสิ้น 12 หลักสูตร ซึ่ ง เกิ ด จากความร่ ว มมื อ ทางวิ ช าการกั บ หน่วยงาน องค์การ และสถาบันอุดมศึกษา ต่างประเทศ จ�ำนวนทั้งสิ้น 37 สถาบัน ซึ่ง เป็ น กลุ ่ ม ประเทศทั้ ง ในประชาคมอาเซี ย น ประชาคมยุโรป ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลี และญีป่ นุ่ ในลักษณะเครือข่ายความ ร่วมมือ

ฝากถึงภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจให้ก้าวสู่การแข่งขันในอนาคต

ตอนท้ายบทสัมภาษณ์ ท่านอธิการบดี กล่าวฝากถึงผูป้ ระกอบการอุตสาหกรรมและ ธุรกิจว่า “ในช่วงปี พ.ศ.2558 เป็นจุดเริ่มต้น ของการเปลี่ยนแปลงที่ส�ำคัญที่สุดอีกวาระ หนึ่งของประเทศไทย และประเทศสมาชิก ประชาคมอาเซียน ซึง่ การเปลีย่ นแปลงต่าง ๆ ก่อให้เกิดผลกระทบทั้งด้านบวกและลบต่อ ประเทศไทยอย่างไม่อาจหลีกเลีย่ งได้ ทุกภาค ส่วนของสังคมไทยต้องร่วมแรงร่วมใจในการ แข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธุรกิจและ อุตสาหกรรม ดังนั้น ในส่วนของภาควิชาการ โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง ในระดั บ อุ ด มศึ ก ษา มหาวิทยาลัย และสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่ง มีความพร้อมในการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ที่ ท� ำ หน้ า ที่ ใ นการเป็ น ที่ พึ่ ง ของสั ง คม เนื่ อ งจากสถาบั น อุ ด มศึ ก ษาทุ ก แห่ ง เป็ น แหล่งรวมของบุคลากรทางการศึกษา แหล่ง รวมขององค์ ค วามรู ้ แหล่ ง รวมของการ ผลิ ต ผลงานการวิ จั ย และการสร้ า งสรรค์ แหล่งรวมของการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และเอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งภาคธุรกิจและ อุตสาหกรรม รวมทัง้ ภาควิชาการควรร่วมมือ กันในการแข่งขันในอนาคต เพื่อสร้างความ แข็งแกร่งซึง่ กันและกันต่อไป” ท่านอธิการบดี กล่าวฝาก



Management for

Q

uality

Finance Marketing & Branding People


Q

Finance for

uality

สหรั ฐ ฯ ยุคผู้นำ�รุ่นที่ 5 ของจีน การดิ้นรนทางเศรษฐกิจของ

สมภพ มานะรังสรรค์

อธิการบดี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

ประ

ชาคมโลกคาดหวังจีนในการ ถ่วงดุลระบบทุนนิยมคาสิโน ที่น�ำโดยสหรัฐฯ ในปัจจุบันที่ได้ส่งผลให้ เสียศูนย์และไร้ความสมดุลของโลก (global imbalance) มากยิ่งขึ้น ระบบทุ น นิ ย มที่ จี น ใช้ เป็ น ระบบ ทุนนิยมแบบจัดตั้ง ไม่ใช่ทุนนิยมที่ปล่อยให้ บรรดาธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจการเงินนานารูปแบบ ในการกระท�ำ “ปู้ยี้ปู้ย�ำ” แสวงหาประโยชน์จากเศรษฐกิจ โลก โดยมุ่งการเก็งก�ำไรเป็น “สรณะ” เช่นที่ เป็นอยู่ในปัจจุบัน ผูท้ ี่ “ให้ทา้ ย” นักเก็งก�ำไรทัง้ หลาย ก็ คื อ รั ฐ บาลแดนอิ น ทรี ที่ ด� ำ เนิ น การผ่ า น นโยบายการเงิน (monetary policy) และ มาตรการทางการคลัง (fiscal action) นัน่ เอง มาตรการทั้งการเงินและการคลังที่ “ผ่อนคลาย” ชนิดสุดกู่ (extreme expansionary monetary and fiscal policy) ทีช่ ว่ ย “หยุดเลือด” วิกฤตการณ์ซัปไพร์ม (subprime crisis) แก่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ ได้ สร้างผลข้างเคียงทางด้านลบ (side effects) ทั้งแก่เศรษฐกิจของแดนอินทรีเอง และแก่ เศรษฐกิจโลกอันเขื่องอักโขไม่น้อย

ในกรณีเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เองนัน้ การ “ปั ๊ ม ” เงิ น ออกมาโดยมาตรการทั้ ง ทางการเงินและการคลังที่ผ่อนคลายมาก ๆ ดังกล่าว มีผลท�ำให้ทางการอินทรีไม่ว่าจะ เป็ น กระทรวงการคลั ง หรื อ ธนาคารกลาง (federal reserve) มีภาระของหนี้สาธารณะ (public debt) และในภาวะดุลบัญชีการเงิน (balance sheet) ของ “Fed” ด้วยมูลค่า มหาศาล ในด้ า นปั ญ หาหนี้ ส าธารณะนั้ น ปัจจุบัน (ปลายปี พ.ศ.2555) แผ่นดินอินทรี มีหนีไ้ ม่ตำ�่ กว่า 16 ล้านล้าน (trillion) ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นกว่า 100% เมื่อเทียบกับ มูลค่า GDP ของสหรัฐฯ ทีม่ ลู ค่าประมาณ 15 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เศษ ไม่อาจที่จะปฏิเสธได้ว่า ในช่วงกว่า หนึ่ ง ทศวรรษที่ ผ ่ า นมานี้ รั ฐ บาลภายใต้ การน�ำของทั้งประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิ้ล ยู บุช (George W. Bush) และบารัค โอบามา (Barack Obama) ได้เผชิญกับวิกฤตการณ์ ทางการเงินครั้งใหญ่ (ที่ตนเป็นผู้ก่อขึ้นเอง) ติดต่อกันถึงสองครั้ง คือ วิกฤตการณ์ดอตคอม (Dotcom.crisis) ที่เริ่มเกิดในปี พ.ศ. 2544 อันเป็นปีแรกที่ “G.W Bush” ขึ้นด�ำรง

ต�ำแหน่งประมุขแดนอินทรี และวิกฤตการณ์ ซับไพร์มที่เริ่มเกิดในปลายปี พ.ศ.2551 อัน เป็นปีสุดท้ายในสมัยที่สองของ “Bush” ที่ สร้างปัญหายืดเยือ้ เรือ้ รังมาตลอดช่วงสมัยที่ “Obama” ด�ำรงต�ำแหน่งผู้น�ำสหรัฐฯ เพื่อ “ห้ามเลือด” ที่ทะลักไหลออก จากสรีระของเศรษฐกิจอินทรีอันเนื่องจาก วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจดังกล่าวทัง้ รัฐบาล บุชและโอบามาได้อดั ฉีดปริมาณเงิน (money supply) ออกมาชนิดเป็น “พายุบุแคม” ที่ ท�ำให้ “หน้าผา” แห่งหนี้สาธารณะ (publicdebt cliff) ถูกก่อให้ทะมึนสูงขึ้นกว่าเดิม มากมาย ชนิ ด ที่ ถ ้ า ใครต้ อ งตกหล่ น ปาก หน้าผาดังกล่าว ร่างกายและสรีระก็คงจะ แหลกเหลวไม่เหลือ “ชิ้นดี” เป็นแน่แท้ หลายขวบปีที่ผ่านมาที่อยู่ภายใต้ การถือบังเหียนบริหารราชการแผ่นดินของทัง้ “บุช” และ “โอบามา” ธนาคารกลางหรือ “Fed” ได้ท�ำหน้าที่ผลิตก้อนหินและก้อนอิฐ ออกมามากมายชนิดแทบไม่อนั้ เพือ่ น�ำไปให้ กระทรวงการคลังใช้ก่อหน้าผาทางการคลัง (fiscal cliff) ให้สูงทะมึนมากยิ่งขึ้น ภายใต้ ปฏิบตั กิ ารทีร่ กู้ นั ในนาม “Q.E” (Quantitative Easing) ระลอกแล้วระลอกเล่า for Quality Vol.19 No.185 March 2013

65


Vol.19 No.185 March 2013

Finance

66

มาตรการ “Q.E” ก็คือ นโยบาย “สอง ประสาน” ของการผ่อนคลายทั้งมาตรการ ทางการเงิน และการคลัง นัน่ ก็คอื การที่ “Fed” ได้ “ปั๊ม” อิฐหินทางการเงินออกมามากมาย เพือ่ น�ำไปซือ้ พันธบัตรรัฐบาล ทัง้ ระยะสัน้ และ ระยะยาว (treasury bonds and treasury bills) ทีก่ ระทรวงการคลังของแดนอินทรีได้นำ� ออกขายอย่างต่อเนื่อง เพื่อน�ำเงินดังกล่าวไป ใช้กระตุ้นเศรษฐกิจที่ตกต�่ำถดถอย (recession) อันเนื่องมาจากการเผชิญกับปัญหา วิกฤตการณ์ทางการเงินที่เกิดมากและเกิดถี่ กระชั้นรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา แม้วา่ “อิฐหิน” จากมาตรการของการ เงินและการคลังที่ผ่อนคลายแบบ “สุด ๆ” ได้ ช่วย “พยุง” ไม่ให้เศรษฐกิจของแดนอินทรีอัน เป็นแผ่นดินทีม่ ี GDP สูงทีส่ ดุ ในโลก มีอนั ต้อง ล่มสลายหรือพังทะลายลงมา สหรัฐฯ ก็มภี าระ อั น มหาศาล ไม่ ว ่ า จะเป็ น หนี้ ส าธารณะที่ เกิดขึ้นโดยน�้ำมือของกระทรวงการคลัง และ/ หรือภาระในการ “ก�ำจัด” ตัวเลขใน “Balance Sheet” ของ “Fed” เอง ที่ มี “ตั ว เลข” ที่ “แดงโร่” ขึ้นกว่าเดิมไม่ต�่ำกว่า 3-4 เท่าตัวใน ช่วงไม่กขี่ วบปีทผี่ า่ นมา เมือ่ แดนอินทรีตอ้ งฝ่า วิกฤตการณ์ซัปไพร์มที่ยังแผลงฤทธิ์ฟาดฟัน เศรษฐกิจของประเทศมาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่า แผ่นดินอินทรีภายใต้การน�ำของ “บารัค โอบามา” ได้ “ถม” เงินมากมายลงไปใน “ทะเล” แห่งเศรษฐกิจของแดนอินทรี จนสามารถฟื้น ตัวและพุ่งทะยานขึ้นมาใหม่เหมือนกับที่เคย เกิดวิกฤตการณ์ในช่วงก่อนหน้านี้ ภายหลังจากที่ GDP ต้องขยายตัว แบบ “ติดลบ” อยูห่ ลายไตรมาส ก็ถงึ “ก้นเหว” (bottom out) ในกลางปี พ.ศ.2552 ภายหลัง จากที่ทุ่มเท “กระสุน” การเงินผ่านทั้งนโยบาย การเงินและการคลังทีผ่ อ่ นคลายลงไปมากมาย แต่ถึงกระนั้น GDP ของสหรัฐฯ ก็ยัง คงขยายตัวแบบ “ต้วมเตี้ยม หน่อมแน้ม” ติดต่อกันมาถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ.2553 GDP ได้ขยายตัว 2.4% เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2552 อั น เป็ น ปี ที่ อ ยู ่ ใ นใจกลางของวิ ก ฤต ซัปไพร์ม แต่พอถึงปี พ.ศ.2554 GDP กลับ ขยายตัวต่อเพียง 1.8% และจนถึงปี พ.ศ.2555 ในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี GDP ก็ขยายเฉลีย่

เพียง 1.7% เท่านั้น ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ ต�่ำมาก เมื่อเทียบกับทรัพยากรทางการเงิน (financial resource) ทีไ่ ด้ถมลงไประลอกแล้ว ระลอกเล่า จนส่งผลให้เกิดอาการวูบวาบไหวตัว ไปทั่วโลก ไม่ว่าจะผ่านตลาดเงิน (money market) ตลาดทุน (capital markets) และ ตลาดซื้อขายล่วงหน้าสินค้าโภคภัณฑ์ต่าง ๆ (futures commodity markets) แม้ว่าในช่วงไตรมาสที่ 3 อันเป็นช่วง ก่อนเลือกตั้งประธานาธิบดีในสหรัฐฯ GDP ของแดนอินทรีได้ขยายตัว 2.0% แต่ปรากฏว่า ในอัตราการขยายตัวดังกล่าวนัน้ 0.7% มาจาก การระดมมาตรการทางการคลังกระตุน้ เศรษฐกิจ (ในไตรมาสที่ 3 การใช้จา่ ยของรัฐบาลผ่าน มาตรการทางการคลังได้ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 9.6%) ขณะที่เป็นการขยายตัวของภาคส่วน เศรษฐกิจภาคเอกชนเพียง 1.3% เท่านั้น นอกจากการกระตุ้นผ่านมาตรการ ทางการคลัง (fiscal stimulus packages) ต่าง ๆ นานาแล้ว ทางการ “Fed” เองโดย การน�ำของนาย “Ben Bernanke” ยังได้ “ช่วย” โอบามาหาเสียงผ่านการประกาศมาตรการ “Q.E3” ออกมา ในช่วงเวลาไม่กี่เดือนก่อนมี การโรมรันพันตูชว่ งชิงต�ำแหน่งประธานาธิบดี เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2555 ที่ผ่านมา ผลที่ตามมาก็คือ เพียงไม่กี่สัปดาห์ หลั ง จากนั้ น ก็ ไ ด้ มี ก ารประกาศออกมาว่ า อัตราการว่างงานอยูท่ ี่ 8.3% นัน้ ได้ลดลงเหลือ 7.8% ในเดือนกันยายน ก่อนที่จะขยับขึ้นป็น 7.9% ในเดือนตุลาคม อันเป็นช่วงเวลาห่าง จากวันเลือกตั้งเพียงไม่กี่วัน ในต้นปีแรกที่ “บารัค โอบามา” ก้าว ขึน้ ด�ำรงต�ำแหน่งประมุขแดนอินทรี (มกราคม

พ.ศ.2552) อัตราการว่างงานในสหรัฐฯ อยู่ที่ 7.8% แล้วเพิ่มเป็น 9.7% ในเดือนมกราคม ปี พ.ศ.2553 แล 9.1% ในต้นปี พ.ศ.2554 ก่อน ที่ จ ะลดลงเล็ ก น้ อ ยเหลื อ 8.3% ในเดื อ น มกราคม ปี พ.ศ.2555 ตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า แม้ว่า ทางการอินทรีได้ระดมสรรพก�ำลังทุม่ เทกระตุน้ และอัดฉีดเศรษฐกิจผ่านมาตรการทั้งการเงิน และการคลังลงไปมากมาย แต่ก็แก้ไขปัญหา การว่างงานได้ไม่มากนัก ตลอดช่วงประมาณ 4 ปีที่ล่วงผ่านมา ดั ง นั้ น ในสมั ย ที่ 2 ของการด� ำ รง ต�ำแหน่งผูน้ ำ� ของประธานาธิบดีโอบามา คงจะ ต้องระดมก�ำลังอีกมากมายในการ “กระตุ้น” และ “ยกเครื่อง” เศรษฐกิจของแดนอินทรีที่มี การว่างงานในอัตราที่สูงมาก ๆ ติดต่อกัน มาก ๆ ช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ของสหรัฐฯ เอง และมีความเป็นไปได้สูงที่แดนอินทรี จะยังคงใช้มาตรการด้านเศรษฐกิจมหภาคที่ ผ่อนคลายมาก ๆ (expansionary macroeconomic policy) เช่น มาตรการทางการเงิน และการคลัง ฯลฯ กระตุน้ เศรษฐกิจต่อไป ด้วย ความเป็นระบบทุนนิยมที่อิงกับภาคการเงิน (finance-base capitalism) เป็นส�ำคัญของ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ภาวการณ์ดงั กล่าวจะมีผลอย่างไรต่อ เศรษฐกิจโลกและจีน ภายใต้การน�ำของผู้น�ำ รุ่นที่ 5 ที่เป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลกว่าจะมีท่าทีเช่นไร ? นับว่าเป็นเหตุการณ์ที่น่าติดตามอย่างยิ่ง


Q

Finance for

uality

กลยุทธ์ลงทุนและออมได้

ให้มีเงินมากเพื่ออนาคต

รศ.สุพัตรา สุภาพ

อาจารย์อาวุโส จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การ

มีการเงินทีม่ นั่ คงให้ตวั เอง และ ลูก ๆ เป็นสิง่ ส�ำคัญ คนไม่นอ้ ย เป็นห่วงว่า พอเกษียณไม่มงี านท�ำ ไม่มรี ายได้ พอเลี้ยงดูครอบครัว หลายคนพอได้ เ งิ น หลั ง เกษี ย ณมา ก้อนหนึ่ง ก็หมดภายในไม่ถึง 10 ปี ซึ่งมักจะ เกิดขึ้นกับคนที่ไม่ได้รับราชการซึ่งพวกเขาได้ รั บ บ� ำ เหน็ จ บ� ำ นาญเป็ น รายเดื อ น แต่ ค น จ�ำนวนมาก เงินที่ได้ไม่พอค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถยนต์ ค่าเล่าเรียนลูก ค่าใช้จ่ายประจ�ำวัน เป็นต้น คุณปานวาด ท�ำงานรัฐวิสาหกิจ ตอน เกษียณเธอได้เงินมา 3,000,000 บาท เธอ

บอกว่า ตอนนี้เธอไม่มีอาชีพอะไร อายุก็มาก แล้ว ลูกก็ไม่มี สามีก็เกษียณก่อนเธอ สามี ท�ำงานเอกชน ตอนเกษียณก็ได้เงินมาน้อย กว่าเธอ ผลก็คือ ทุกวันนี้ต้องอยู่บ้านเล็ก ๆ ในต่ า งจั ง หวั ด เพราะต้ อ งขายบ้ า นเก่ า ใน กรุงเทพฯ เพื่อจะได้พอมีเงินเลี้ยงชีพ คุณปานวาด เตือนใจทุกคนว่าท�ำงาน ควรนึกถึงอนาคต นึกถึงตอนเกษียณจะอยู่ได้ อย่างไร และควรมีเงินตอนนั้นให้พออยู่ได้ ดู เธอและสามีเป็นตัวอย่างทีค่ ดิ ว่า เงินก้อนทีไ่ ด้ คงพอใช้ แต่ในความเป็นจริงพอใช้ยาก เพราะ เธอลืมคิดเรื่องเงินเฟ้อ นี่ คื อ ตั ว อย่ า งของการขาดการ

วางแผนการเงินส�ำหรับอนาคต โดยเฉพาะ ตอนเกษียณ

ทำ�ไมต้องมีแผนการเงิน

ทุ ก อย่ า งในชี วิ ต ถ้ า รู ้ จั ก วางแผน อะไรถูกอะไรควร จะท�ำให้ชีวิตสุขสบายได้ ไม่ใช่ใช้จ่ายไม่คิด มาคิดได้อีกทีก็สายเสีย แล้ว ยิง่ วางแผนการเงินได้เร็วเท่าไร ยิง่ ดีแก่ ตัวเราเท่านั้น บางคนคิดว่าเราอายุยังน้อย อีกนานกว่าจะเกษียณหรือตาย คิดอะไร มากมายไปท�ำไม การคิดแบบนี้ หลายคนจึงมีปัญหา ตอนเกษียณ ก็ไม่มีเงินพอยังชีพให้กับตัวเอง for Quality Vol.19 No.185 March 2013

67


Finance ต้องมีวินัยการเงิน

และครอบครั ว การวางแผนอย่ า งมี ร ะบบ มีระเบียบว่า หากถึงเวลาเกษียณ เราจะต้อง ใช้เงินเท่าไรในการด�ำรงชีวติ จึงควรท�ำอย่างยิง่ ยิ่งเตรียมคิดเร็ว ก็ยิ่งจะเห็นทางหนี ทีไล่ได้มากขึน้ ไม่วา่ จะเป็นการลงทุนในเรือ่ งใด เพียงแต่ว่า ตอนใกล้เกษียณหรือเกษียณต้อง ลงทุนที่เสี่ยงน้อยลง เงินจะได้ไม่สูญหายไป อย่าเอาความโลภมาบดบังความคิด จนขาดสติ เพื่อเงินที่มีอยู่จะได้ใช้อย่างมี ประสิทธิภาพและประสิทธิผล

Vol.19 No.185 March 2013

เริ่มด้วยทำ�งบการเงิน

68

เป็นการควบคุมการเงินของเราไม่ให้ รายจ่ายเกินรายได้ เริ่มด้วยมีรายได้ต่อเดือนเท่าไร จาก เงินเดือน หรืออื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นค่าเช่ารายได้ พิเศษอะไรก็ตามที่ท�ำเป็นประจ�ำ เช่น รับท�ำ บัญชี ท�ำโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สอนพิเศษ ขายตรง ขายประกันชีวิต เป็นต้น แล้ ว ดู ว ่ า เรามี ร ายจ่ า ยอะไรบ้ า งที่ ประจ�ำ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ประกันชีวิต ประกัน รถยนต์ ค่าภาษี ค่าเล่าเรียน ค่าเบี้ยเลี้ยงลูก ค่าเล่าเรียน ค่าอาหาร ค่าโทรศัพท์ ค่าไฟฟ้า ประปา เป็นต้น หากเราบันทึกทุกอย่างอย่างละเอียด เราจะรู้ว่า เราจ่ายเกินกว่ารายได้ หรือเกิด

ความจ�ำเป็นหรือไม่ ? ทีส่ ำ� คัญ เราต้องใช้เงินเฉพาะทีจ่ ำ� เป็น จริง ๆ เพื่อจะได้มีรายได้มากกว่ารายจ่าย บางครั้งเราไม่รู้หรอกว่าเราใช้เงินในสิ่งที่ไม่ จ�ำเป็น เช่น เที่ยวเตร่กินข้าวนอกบ้าน ซื้อเสื้อผ้าไม่จ�ำเป็นต้องใช้ ซื้อเข้าของที่ไม่คุ้มค่าเงิน อย่าลืมว่า การใช้เงินจ่ายเงินแบบขาด ระเบียบวินยั จะท�ำให้เราไม่มเี งินออม หากเกิด เหตุจ�ำเป็นต้องใช้เงิน ก็จะไม่มีเงินออมพอใช้ ได้ และอาจต้องไปกู้หนี้ยืมสิน จนมีภาระเพิ่ม คือ ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้แก่เจ้าหนี้ การควบคุมค่าใช้จ่ายจึงช่วยให้เรารู้ ว่าอะไรควรใช้ อะไรควรตัดออกได้บา้ ง เพือ่ จะ ได้ไม่เกิดปัญหาการเงิน ทางที่ดีต้องมีรายรับ มากกว่ารายจ่าย และต้องจ่ายเฉพาะทีจ่ ำ� เป็น จริง ๆ เท่านั้น ตัวอย่าง คุณพัตร ชอบซื้ออาหารการ กิน ข้าวของ เครื่องใช้จ�ำนวนมาก กินใช้ไม่ทัน จนเสียหรือหมดอายุ เป็นการใช้เงินมากใน แต่ละเดือน โดยเธอไม่รตู้ วั ในตูเ้ ย็นจึงอัดแน่น ไปด้วยอาหารไม่ว่าจะเป็นหมู เนื้อ ไก่ กุ้ง เนื้อ ปู ผัก ผลไม้ เป็นต้น ผลก็คือ มีการทิ้งของ เน่าเสียในแต่ละเดือนไม่น้อย พอมาดูมูลค่า ของทีซ่ อื้ เธอถึงได้รวู้ า่ ใช้เกินไปกว่าร้อยละ 50 คนไม่น้อยจะเป็นแบบคุณพัตร

การมีวินัยการบริหารการเงินเป็นสิ่ง จ�ำเป็นในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลก เพราะรายได้อาจไม่แน่นอน เราจึงต้องวางแผนการเงินเพือ่ จะได้มี รายได้ที่พอใช้ เหลือใช้ 1. เราจะลงทุนอะไร 2. ไม่เป็นหนี้โดยไม่คิด 3. ถ้ า เป็ น หนี้ ก็ ต ้ อ งใช้ อย่ า ให้ ดอกเบี้ยเพิ่มจนเป็นภาระ ควรปรับหนี้ หรือใช้ หนี้ให้มากขึ้น จะได้ลดปัญหาหนี้สิน 4. ลงทุนทีไ่ ม่เสีย่ งภัย หรือลดภาษีได้ 5. ออมเงินบางส่วนอย่างน้อย ร้อยละ 10 6. ไม่ท�ำอะไรเกินตัว หรือมีวินัยการ เงินนั่นเอง 7. อย่าโลภ อย่าฝันหวาน อย่าคิดว่า เงินหามาได้ง่าย ๆ จะลงทุนอะไรจึงต้องคิด อย่างรอบคอบและมีสติ

จะออมอย่างไร ?

การออมเป็นสิ่งจ�ำเป็นต้องท�ำ ไม่ว่า จะออมได้มากหรือน้อย เพราะจะท�ำให้เรา มีเงินเก็บใช้ในยามจ�ำเป็นหรือมีเป้าหมายที่ ต้องการท�ำ เช่น ซื้อหุ้น ตราสารหนี้ ทอง กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ กองทุนส�ำรอง เลี้ยงชีพ ประกันชีวิต เป็นต้น คุณบีม บอกว่า เขาชอบออมด้วยการ ซื้ออสังหาริมทรัพย์ให้ หรือซื้อทองแท่ง เพราะ เขาเชื่อว่าสัก 10 ปีข้างหน้า ทองแท่งต้องขึ้น ไปถึงบาทละ 30,000 บาท ซึ่งเขาว่าดีกว่า ฝากเงินธนาคาร หรือประกันชีวิต โดยเฉพาะ การประกันชีวิต จะคุ้มครองกรณีเสียชีวิตหรือ ประกันสุขภาพ เขาไม่รังเกียจแต่เขาอยาก ลงทุนในสิ่งที่เขาคิดว่าดีที่สุด อย่างไรก็ตาม การประกันชีวติ มีกำ� หนดเวลา เช่น 10 ปี 20 ปี ซึง่ จะต้องจ่ายเบีย้ ประกันเป็นงวด ๆ แต่เมือ่ ใด ลืมช�ำระ ก็จะหมดสิทธิการคุ้มครอง คุณบีมมีการประกันอสังหาริมทรัพย์ เพราะคิดว่า อย่างน้อยก็เท่ากับประกันความ เสีย่ งหากเกิดอะไรขึน้ และเขาเคยประกันชีวติ แบบสะสมทรัพย์ 10 ปี เมื่อครบเขาจะได้ เงินต้นพร้อมดอกเบี้ยคืน ซึ่งเขาเอาเงินไปซื้อ


Finance

ลดภาวะหนี้สิน

หากมีหนี้สินจากการซื้อบ้าน ที่ดิน รถยนต์ หรื อ อะไรก็ ต าม ต้ อ งพยายาม ผ่อนใช้จะได้ไม่มีปัญหา แต่ ที่ เ ป็ น ปั ญ หาทุ ก วั น นี้ มั ก จะเป็ น เรื่องบัตรเครดิต ซึ่งของ่าย ใช้สะดวก ไม่ต้อง พกเงินสด ที่ควรระวัง คือ ดอกเบี้ย โดยเฉพาะ เงินต้นค้างจ่ายที่ยกยอดไปแต่ละเดือน เรา เสียดอกเบี้ยมากขึ้น ถ้าค้างจ่ายมากเท่าไร ดอกเบี้ยก็มาก ขึน้ จนเราอาจไม่มแี รงจ่ายก็ได้ เพราะดอกเบีย้ จะมากจนคิดไม่ถึง เราจึงต้องจ่ายบัตรเครดิต ที่มีดอกเบี้ยสูง ดีกว่าหนี้ท่วมตัว ส่วนบัตรเครดิตดอกเบี้ยต�่ำกว่า ก็ค่อย ๆ จ่ายทีละน้อย เพื่อปลดหนี้ดอกเบี้ยบัตรเครดิตแต่ละใบ อย่างไรก็ตาม อย่าได้มีบัตรเครดิต มากเกินไป มีพอเหมาะพอควร สัก 3 ใบ ที่ สามารถใช้ได้ทั่วโลกเป็นดีที่สุด และอย่าลืม บัตรเครดิตใบไหนดอกเบี้ยสูง รีบจ่ายก่อน จะ ได้ประหยัดเงินลงได้บ้าง หรือบัตรเครดิตใบ ไหนเป็นหนีม้ ากกว่าใบอืน่ ก็รบี จัดการปลดหนี้ ก่อนทีจ่ ะเป็นหนีม้ ากไปกว่านัน้ และไม่ควรน�ำ บัตรเครดิตหนึ่งไปใช้หนี้อีกบัตรเครดิตหนึ่ง เพราะเท่ากับเราก�ำลังก่อหนี้อีกแห่งหนึ่ง ถ้าท�ำอะไรไม่ถูก ก็น่าจะไปปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญการเงิน หรือไปต่อรองกับธนาคาร เพื่ อ ขอลดอั ต ราดอกเบี้ ย หรื อ ยื ด เวลาการ ช�ำระหนี้ คุณเอ เป็นหนี้ 2 ล้านบาท ช่วงแรกก็ หลบหนีออกนอกประเทศ แต่ญาตสนิทมิตร สหาย บอกว่า เป็นหนีค้ วรใช้ คุณเอจึงกลับเข้า ประเทศ และต่อรองกับเจ้าหนี้จนยอมให้เขา ผ่ อ นใช้ โ ดยคิ ด ดอกเบี้ ย ต�่ ำ กว่ า ที่ กู ้ ไ ป เขา พยายามท� ำ งานทุ ก อย่ า ง เพื่ อ ใช้ ห นี้ แ ละ สามารถใช้หนี้หมดภายใน 4 ปี ทุ ก วั น นี้ คุ ณ เอเป็ น เจ้ า ของกิ จ การ หลายแห่ง มีบ้านหลายหลัง มีรถยนต์ 4 คัน มี รถพ่วงขนาดใหญ่ 1 คัน ไว้ขนของตามทีล่ กู ค้า จ้างวาน

เขาบอกว่า หนี้เกิดขึ้นเพราะเขาท�ำ อะไรเกินตัว โดยไม่คำ� นึงถึงรายได้ แต่เขาก็ได้ คิด โดยรีบใช้หนี้จนหมดและน�ำเงินไปลงทุน ท�ำที่เขาถนัด จนมีฐานะอย่างทุกวันนี้

การลงทุนให้เงินงอกเงย

การลงทุ น ขึ้ น อยู ่ กั บ การศึ ก ษาหา ความรู้เรื่องความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ คาดว่าจะได้ คุณพิศ บอกว่า เธอจะกระจายความ เสี่ยง เช่น เธอซื้อกองทุนเปิดทองค�ำแท่ง-UH (ไม่ประกันเงินดอลล่าร์) โดยให้เหตุผลว่า เธอ คิดว่าทองจะต้องขึ้นราคาในรอบ 5-10 ปี ไม่ น้อยกว่า 50-70% ถ้าราคาต�ำ่ กว่านัน้ เธอบอก ว่าไม่ใส่ใจ เพราะอยากเสี่ยงกับกองทุนเปิดนี้ เพราะเมื่อ 10 ปีที่แล้ว เธอซื้อทองค�ำแท่งไว้ ปรากฏว่า 10 ปีต่อมา ขึ้นราคาไปถึง 300% นอกจากนี้ เ ธอได้ ซื้ อ ETF เพื่ อ ลด ความเสี่ยงในการลงทุน ยิ่งไปกว่านั้น เธอไม่ ตื่นตกใจกับความผันผวนของหุ้น

เวลาหุ้นราคาตก เธอจะซื้อ เวลาหุ้นขึ้นราคา เธอจะขาย หรือหุ้นบางตัว เธอถือไว้ในระยะยาว เพื่อจะได้พอมีก�ำไร ETF เป็นกองทุนเปิดดัชนี ที่จดทะเบียนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ คุณเอ ซื้อตราสารหนี้ เพราเห็นว่า เวลาซื้อขายค่าธรรมเนียมจะต�่ำกว่าค่าธรรมเนียม กองทุนรวม แถมซื้อขายได้ทั้งวัน คุณพิศ คิดว่า ตราสารหนี้ มีก�ำหนด ระยะเวลา เช่น 1 ปี 3 ปี 7 ปี 10 ปี เมื่อครบ ก�ำหนด ก็จะได้เงินต้นและดอกเบี้ยคืน แม้ ดอกเบี้ยจะได้น้อย เธอบอกว่า ชอบตรงความ เสี่ยงต�่ำ เธอจึงลงทุนเช่นกัน หุ้น การซื้อหุ้นเท่ากับเราเป็นเจ้าของ ด้วย ส่วนเราจะได้ผลตอบแทนแค่ไหนขึ้นอยู่ กับประกอบการของบริษัทที่จะออกมาในรูป “เงินปันผล” หรือ “ราคาหุน้ ” ซึง่ ก็มคี วามเสีย่ ง เช่นกัน กองทุนรวม เหมาะกับคนไม่มเี วลาใน การบริหารเงินที่จะลงทุน เพราะจะมีผู้จัดการ ลงทุนบริหารให้แทน โดยดูราคาและจังหวะใน การซือ้ ขาย แต่เราต้องเสียค่าใช้จา่ ย ตัง้ แต่การ จัดการซื้อขาย เป็นต้น อย่ า งไรก็ ต าม กองทุ น รวมให้ ค ่ า ตอบแทนที่ต�่ำ แม้จะเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุน ในหุน้ แต่คนทีช่ อบเสีย่ งจะไม่ชอบ เพราะอยาก ลงทุนอะไรที่ให้ผลตอบแทนสูง แม้จะเสี่ยงสูง เข้าท�ำนอง ขอไปตายเอาดาบหน้า จนอาจเจอหลายดาบก็ได้

Vol.19 No.185 March 2013

กองทุนเปิดทองค�ำแท่ง-UH และทองค�ำแท่ง ซึ่งไม่ว่ากัน แล้วแต่ใครจะอยากใช้เงินไปท�ำ อะไร เป็นสิทธิของแต่ละบุคคล

69


Finance จะรู้เรื่องการลงทุนได้อย่างไร ?

Vol.19 No.185 March 2013

ปัจจุบันเทคโนโลยีสูง มีความรู้ด้าน การลงทุนในสื่อต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ นิตยสารการเงิน เว็บไซต์ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทการลงทุน ธนาคาร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน เป็นต้น ที่มี อยู่ไม่น้อย จึงขอความรู้เรื่องการลงทุนได้ คุณพิศ ได้ชื่อว่าเป็นผู้ลงทุนที่ประสบ ความส�ำเร็จสูง เพราะเธอเล่นหุ้นจนสามารถ ส่ ง ลู ก ไปเรี ย นที่ ส หรั ฐ อเมริ ก าจนลู ก จบ ปริญญาโท เอก ถึง 3 คน แถมยังมีเงินท�ำธุรกิจ ซื้อที่ดิน บ้าน คอนโด เป็นต้น คุณพิศเตือนใจผู้ที่เริ่มต้นอยากเป็น นักลงทุนว่า อย่าลงทุนจนเกินก�ำลัง อย่า เสี่ยงโดยไม่จ�ำเป็น อย่าตกใจการผันผวน ระยะสั้น แต่ควรลงทุนระยะยาว การลงทุนระยะยาวของเธอช่วงนี้ คือ ซื้อกองทุนเปิดทองค�ำแห่ง-UH –ของธนาคาร แต่ไม่ควรกู้เงินมาซื้อ เพราะจะไม่คุ้มค่าดอกเบี้ยของธนาคาร เธอบอกต่อว่า แค่เงินที่ได้ ทุ ก เดื อ น คงท� ำ ให้ ค รอบครั ว เธอดี ขึ้ น ยาก เธอจึงเล่นหุ้น และมีอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า นอกเหนือจากหุ้น ตราสารหนี้ที่เธอพอมีบ้าง เธอยังกล่าวต่ออีกว่า เสียใจที่ไปซื้อ ตราสารหนีบ้ างตัวก�ำหนดระยะเวลานานเกินไปท�ำให้ไม่คมุ้ การลงทุน เพราะเธอลืมคิดเรือ่ ง เงินเฟ้อที่ท�ำให้ค่าของเงินลดลง แต่ที่คุณพิศ ลงทุนหลายด้าน เพราะเธอคิดว่า แค่ธุรกิจที่

70

ท� ำ อยู ่ ไ ม่ อ าจจะช่ ว ยเธอยามแก่ เ ฒ่ า หรื อ เกษียณได้ เธอยังเตือนผู้เขียนว่า พอเกษียณเงิน บ�ำนาญจะไม่พอ ผูเ้ ขียนน่าจะลงทุนอะไรทีพ่ อ จะมีเงินเพิ่มขึ้นมาบ้าง นี่คือ ความหวังดีของเพื่อน ซึ่งก็เป็นจริง เมื่อผู้เขียนเจอค่ารักษา พยาบาล เพราะกรมบัญชีกลางออกกฎไม่ให้ ยาที่จ�ำเป็นต้องกิน ผู้เขียนเลยต้องไปซื้อยา เอง ทั้ง ๆ ที่จ�ำเป็นต้องกินจะเลิกกินยาให้โรค ก�ำเริบได้อย่างไร ความจริงการรับราชการมีเงินเดือน น้อย แต่หวังว่าค่ารักษาพยาบาลจะช่วยได้ ตอน รับราชการใหม่ ๆ ทางราชการก็ให้สวัสดิการเช่น นัน้ แล้วมาเปลีย่ นตอนนีไ้ ด้อย่าไร โดยทัว่ ๆ ไป กฎหมายหรือกฎอะไรจะ ไม่มกี ารย้อนหลัง จะใช้เฉพาะคนใหม่ เหมือน การขึ้นค่าเรียนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะใช้เฉพาะนิสิตเข้าใหม่ นิสิตเก่าตอนเข้ามา ปี 1 ต้องเสียค่าเล่าเรียนเท่าไรตามที่พวกเขา รับทราบก็เสียไปตามนั้น กรมบัญชีกลางจึงควรทบทวนเรื่องนี้ ให้ดี เพราะผูท้ ที่ ำ� งานก่อนรูส้ กึ ว่าไม่เป็นธรรม

การวางแผนการเงินแบบไม่เสี่ยง

ถ้าเราพอมีเงินจะลงทุนควรกระจาย ความเสี่ ย งเพื่ อ จะได้ มี ร ายได้ เช่ น หุ ้ น พันธบัตร เงินฝากประจ�ำ อสังหาริมทรัพย์

เป็นต้น

ที่ส�ำคัญเรานั้นมีเงินพอที่จะลงทุนได้ แค่ไหน ถ้ามีเงินน้อย น่าจะลงทุนในตราสารหนี้ และหุ้น เป็นการให้บริษัทหรือประเทศกู้เงิน และเมือ่ ครบก�ำหนดจะได้เงินต้นพร้อมดอกเบีย้ หุ้นและกองทุนหุ้น หรือกองทุนรวม เท่ากับเราเป็นเจ้าของ จะได้ก�ำไรหรือขาดทุน ก็แล้วแต่ผลประกอบการ อย่างไรก็ตาม คน ไม่น้อยอยากได้ดอกเบี้ยทุกปี จึงซื้อพันธบัตร และได้เงินต้นคืนเมือ่ ครบก�ำหนดหรือตามอายุ ที่ระบุ ที่ต้องระวัง คือ ควรมีเงินสดหมุนเวียน ไม่ให้ขาดมือเพื่อจะได้ไม่ต้องไปกู้ยืม ขณะที่ คนไม่น้อยฝากเงินแบบฝากประจ�ำที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าการฝากแบบออมทรัพย์ แต่ไม่ควร ถอนก่ อ นก� ำ หนด เพราะจะไม่ ไ ด้ ด อกเบี้ ย เท่าที่ระบุ ยกเว้นเงินฝากประจ�ำที่บอกว่าให้ เป็นรายวัน แต่เงินฝากประจ�ำดอกเบี้ยสูงหลาย แห่ง มีเงือ่ นไขว่าจะถอนได้ตอ้ งเหลือเงินอย่าง ต�่ำจ�ำนวนหนึ่ง เช่น 50,000 บาท และจะได้ ดอกเบี้ยเมื่อครบก�ำหนด เช่น 6 เดือน เวลาฝากประจ�ำจึงต้องคิดให้ดวี า่ เรา ต้องใช้เงินนั้นหรือไม่ หรื อ แม้ แ ต่ ซื้ อ พั น ธบั ต ร ถ้ า ไม่ ค รบ ก�ำหนดก็ขายคืนไม่ได้ หากอยากซื้อต้องเป็น เงินที่ไม่คิดจะใช้จริง ๆ ยิ่งพันธบัตรหลาย ๆ ปี ยิง่ ต้องคิดอย่างรอบคอบ เช่น 7 ปี 10 ปี เป็นต้น กว่าจะได้เงินคงเฟ้อไปพอควร อย่ า งไรก็ ต าม ถ้ า มี เ งิ น ก็ น ่ า ลงทุ น ตามทีช่ อบ เพือ่ ลดภาวะเงินเฟ้อไม่ให้คา่ ของ เงินตก ขณะเดียวกันควรลงทุนในหลักทรัพย์ ที่เหมาะสมกับความเสี่ยง จะได้ไม่สูญเงิน ง่าย ๆ


Q

Marketing & Branding for

uality

Marketing New Trend-Update from

สงคราม After Service รังสรรค์ เลิศในสัตย์

คณบดีคณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น E-Mail: orbusiness@hotmail.com

อุตสาหกรรมรถยนต์

After

Service หรือ การบริการหลังการขาย เป็นเครื่องมือ ที่ส�ำคัญที่ขาดไม่ได้ส�ำหรับการตลาดในยุคปัจจุบัน ในยุคที่สินค้ามีเทคโนโลยี หรือดีไซน์ทัดเทียมกัน การแข่งขันเพื่อ เอาชนะกันจึงต้องน�ำเอาเรื่องการบริการหลังการขายมาเป็นกลยุทธ์ ส�ำคัญ โดยเฉพาะตลาดในญี่ปุ่นที่เน้นการสร้างความพึงพอใจสูงสุด ผูผ้ ลิตจึงต้องสร้างความพึงพอใจแก่ผบู้ ริโภค (customer satisfaction) หรือแม้กระทั่งสร้างสิ่งที่ผู้บริโภคไม่ได้คาดหวัง (customer delight)

บริษทั ทีผ่ ลิตรถยนต์ออกมาสูโ่ ลกรายแรก ๆ ของโลก อย่าง เบนซ์ เพิง่ จะได้รบั การยอมรับในด้านการบริการหลังการขายใน ตลาดญี่ปุ่น โดยจากการส�ำรวจในปีที่ผ่านมา เบนซ์ กระโดด จากอันดับที่ 13 มาอยูใ่ นอันดับที่ 2 รองแต่เพียงเล็กซัส ที่ ค รองแชมป์ อั น ดั บ 1 มา 6 ปี แซงหน้ า โตโยต้า นิสสัน ฮอนด้า ค่ายญีป่ นุ่ ไปได้ กลยุทธ์ทเี่ บนซ์นำ� มา ใช้ คือ การทบทวนการใช้กลยุทธ์อย่างจริงจังในเรื่องการ บริการหลังการขาย ในปี พ.ศ.2551 พนักงานของเบนซ์ จะ ไปประจ�ำที่โชว์รูมของดีลเลอร์ ไปท�ำ Workshop ร่วมกับ พนักงานของดีลเลอร์ เป็นเวลา 6 เดือน น�ำเอาระบบ “Coaching Process” เข้ามาใช้ โดยมีการฝึกอบรมตั้งแต่ การเริ่มต้อนรับลูกค้าเมื่อลูกค้าเข้ามาในร้านครั้งแรก หรือ การประสานงานกันระหว่างพนักงานฝ่ายขายกับพนักงาน ฝ่ายบริการเรื่องการซ่อม ให้มีการบริการที่รวดเร็วขึ้น หรือ แม้กระทั่งการโทรติดตามผลกับลูกค้าเป็นระยะ ๆ ทุกเรื่องที่ เกี่ยวกับการดูแลลูกค้า เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุด หากมีโชว์รูมที่มีความพึงพอใจของลูกค้าในระดับต�่ำ ก็จะเน้น ระบบ Coaching Process ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้แบรนด์เบนซ์โดยรวม ได้รบั ความพึงพอใจมากขึน้ ในขณะเดียวกันเพือ่ เป็นการสร้างเสริมแรง จูงใจให้แก่โชว์รมู ได้มกี ารทบทวนระบบ Quality Bonus ในปีทผี่ า่ นมา โดยบริษัทจะท�ำการส�ำรวจความพึงพอใจของลูกค้าของแต่ละโชว์รูม แล้วให้โบนัสตามแต่ผลงานที่แต่ละโชว์รูมได้ทุก ๆ ครึ่งปี นี่จึงเป็น เหตุผลหนึง่ ทีท่ ำ� ให้แต่ละโชว์รมู มีกจิ กรรมเพิม่ ความพึงพอใจของลูกค้า อย่างทั่วถึง for Quality Vol.19 No.185 March 2013

71


Marketing & Branding อีกสิง่ หนึง่ ทีม่ องข้ามไม่ได้ คือ การทบทวนเนือ้ หาของ Service Menu เพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องการบริหารที่ต้องเสียค่าบริการ หรือการประกันทีไ่ ม่ตอ้ งเสียค่าใช้จา่ ยเวลาลูกค้าท�ำการซือ้ รถใหม่ หรือ การพยายามลดต้นทุนอะไหล่ โดยใช้อะไหล่เก่า ท�ำให้ค่าซ่อมต่าง ๆ ลดลงได้ ในขณะเดียวกัน ใน 2 ปีที่ผ่านมา ได้จัดตั้งศูนย์อะไหล่ขึ้นที่ จิบะใกล้กับโตเกียว ท�ำให้สามารถที่จะส่งอะไหล่ได้วันละ 2 ครั้ง สามารถซ่อมได้รวดเร็วยิ่งขึ้น ลูกค้าของเบนซ์ แต่เดิมเป็นกลุ่มคนวัยกลางคนขึ้นไป เพราะ เป็นรถหรูทมี่ ภี าพลักษณ์สงู แต่ปจั จุบนั ได้เปลีย่ นไปแล้ว ตัง้ แต่ได้วาง จ�ำหน่ายรถ B Class ทีม่ รี าคาต�ำ่ กว่า 3 ล้านเยน (1.1 ล้านบาท) ท�ำให้ คนอายุยังน้อยก็สามารถซื้อเบนซ์ได้ พร้อมกันนั้นเบนซ์ก็ต้องปรับ กระบวนการบริการทีส่ อดคล้องกับความต้องการของแต่ละกลุม่ ลูกค้า กลุ่มรถยนต์ญี่ปุ่นเอง นอกจากเล็กซัส ติดอันดับ 1 เป็นปีที่ 6 ติดต่อกัน ในเรื่องความพึงพอใจของลูกค้า โตโยต้า ตกมาอยู่อันดับที่ 4 ในขณะทีฮ่ อนด้าทีเ่ คยเป็นรองแชมป์ ตกมาอยูท่ อี่ นั ดับ 7 ด้วยสาเหตุ ที่ว่าจ�ำนวนรถไฮบริดมียอดขายเพิ่มขึ้น มีสัดส่วนการขายเป็น 30% ของยอดขายรวม ท�ำให้ไม่สามารถที่จะตอบสนองต่อเทคโนโลยีใหม่ ของรถที่ใช้ไฟฟ้าได้ทัน ต่อไปฮอนด้าจะต้องพยายามท�ำให้กระบวนการซ่อมนั้นสั้นลง มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อเพิ่มความพึงพอใจของ ลูกค้าให้มากขึ้นให้ได้

อสังหาริมทรัพย์

Vol.19 No.185 March 2013

ในธุรกิจบ้านจัดสรร ปรากฏว่า อาซาฮีคะเซโฮม ก้าวจาก อันดับ 4 มาเป็นอันดับ 1 สาเหตุที่ได้รับความชื่นชม เพราะเวลา สอบถามนั้นเข้าใจง่าย เสียเวลาน้อย ค่าใช้จ่ายในการให้บริการน้อย บริษัทเองนั้นได้จัดตั้งเฮเบอเรียนเซ็นเตอร์ทั่วประเทศ 9 แห่ง เพื่อ สนับสนุนทางด้านการสื่อสารกับลูกค้าของแต่ละบริษัทสาขาที่มีอยู่ ทั่วประเทศ 50 สาขา คือ การฝึกให้ Communicator มีทักษะการ โต้ตอบกับลูกค้ามากขึ้น สิ่งที่อาซาฮีคะเซโฮมมุ่งหวังนั้น ไม่เพียงแต่ การก�ำจัดจุดบกพร่องเท่านั้น แต่ยังเป็นการบริการหลังการขายจาก มุมมอง การแก้ปัญหาในการอยู่อาศัยของลูกค้า หลาย ๆ ครั้งลูกค้า จะโทรมาให้ไปเปลี่ยนหลอดไฟให้ หรือให้เคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์

72

ถึงแม้จะเป็นการให้บริการที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย แต่ลูกค้าก็ยินดี หาก บริษัทสามารถให้บริการได้

ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์

ใน กลุ่มคอมพิวเตอร์ ปรากฏว่าอันดับหนึ่งคงเหมือนกับ เอปสัน ไดเร็ค ที่ครองอันดับ 1 มาเป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน ลูกค้าปลื้มใจ ในการบริการของเอปสันอย่างมาก ด้วยการบริการที่เอื้ออาทร และ รวดเร็ว เป็นต้นว่าส่งคอมพิวเตอร์ที่เสียไป หลังจากนั้นเพียง 3 วัน ก็ ซ่อมเสร็จส่งกลับมาแล้ว ซึ่งลูกค้าให้การชื่นชมเรื่องของความรวดเร็ว ในการซ่อมคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก แอปเปิ้ลขึ้นจากอันดับ 3 มา เป็นอันดับ 2 ส่วนโตชิบาตกจากอันดับ 2 เป็นอันดับ 3 แอปเปิลนั้น ไม่เพียงแต่ธุรกิจคอมพิวเตอร์เท่านั้น ธุรกิจสมาร์ทโฟนก็ขึ้นมาจาก อันดับ 3 เป็นอันดับ 1 ด้วย แต่เดิมแอปเปิ้ลไม่ค่อยได้รับความเชื่อมั่น ทางด้านการสนับสนุนการบริการหลังการขาย แต่ใน 2-3 ปีที่ผ่านมา กลับดีขนึ้ อย่างมาก ดังทีไ่ ด้เห็นจากความเห็นของลูกค้าแอปเปิล้ ได้รบั การยอมรับในด้านเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ใหม่อยูแ่ ล้ว ไม่วา่ จะเป็น Mac book, iPhone, iPad ล้วนแล้วแต่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยี และมี เสน่ห์เป็นเลิศ แต่กลับไม่ค่อยเน้นการบริการหลังการขายมากนัก จน กระทั่ง 2-3 ปีที่ผ่านมา จากความนิยมของ iPhone, iPad ที่กระจายจาก Core User กลุ่มลูกค้าหลักไปสู่กลุม่ คนวัยกลางคน หรือผูห้ ญิง ท�ำให้ตลาดขยาย ไปอย่างมาก ยิ่งผู้ใช้มีมากขึ้นเท่าไรยิ่งจะต้องมีผู้ที่มาสอบถาม หรือ ผู้ที่ไม่พึงพอใจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะท�ำให้การประเมินต่อแอปเปิ้ลลดต�่ำ ลงได้ จึงมีความจ�ำเป็นต้องเพิม่ การบริการหลังการขายเพือ่ เพิม่ ความ เชื่อมั่น และความพึงพอใจแก่ลูกค้า ตัวอย่างของการปรับปรุงการ บริการหลังการขายของบริษทั เช่น จัดตัง้ “Genius Bar” ขึน้ ในแอปเปิล้ สโตร์ที่เป็นของบริษัท จ�ำนวน 7 แห่งทั่วประเทศ ให้ลูกค้าน�ำเอา Mac Book, iPhone, iPad ทีม่ ปี ญ ั หาการใช้มาทีเ่ คาน์เตอร์บาร์ เช่น ทีก่ นิ ซ่า โตเกียว ในแต่ละวันจะเต็มไปด้วยลูกค้าแทบทุกวัย หากได้มีการส่ง อินเทอร์เน็ตมาจองล่วงหน้า เมื่อมาถึงก็สามารถที่จะน�ำเครื่องที่มี ปัญหาไปปรึกษาวิธกี ารใช้กบั พนักงานทีม่ คี วามรูแ้ ละประสบการณ์สงู หรือสามารถให้ซ่อมได้ทันที จึงเป็นที่นิยมอย่างมาก การมาปรึกษา หารือนั้น ไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่ประการใด แต่หากว่ามีการซ่อม ก็ต้อง เสียค่าใช้จ่ายบ้างเท่านั้น แอปเปิล้ ได้มรี ะบบสมาชิก ทีเ่ รียกว่า “One to One” ทีส่ มาชิก ต้องเสียค่าใช้จ่ายปีละ 9,800 เยน พนักงานของร้านก็จะท�ำการสอน แก่ลูกค้าถึงวิธีการใช้สินค้าของแอปเปิ้ลแบบตัวต่อตัว แต่ไม่ท�ำให้ ความพึงพอใจของลูกค้าต่อการบริการนั้นเพิ่มสูงขึ้น ร้านโดยตรงของ แอปเปิ้ลมักจะมีอยู่ในเมืองใหญ่ ๆ ซึ่งลูกค้าไม่สามารถมาได้เป็น จ�ำนวนมาก ดังนั้น จากเหตุผลที่ว่า iPhone เป็น “สินค้าที่ใช้ในชีวิต ประจ�ำวัน” ลูกค้าส่วนใหญ่อยากจะให้ซ่อมทันทีโดยไม่ต้องจองล่วง หน้า ซึง่ แอปเปิล้ จะต้องมีมาตรการตอบสนอง จึงได้สร้างความสัมพันธ์ กับบริษัทบริการซ่อมภายนอก เป็นต้นว่าท�ำสัญญากับร้านขายกล้อง


Marketing & Branding

โดยตรง ท�ำให้สามารถรู้ถึงความต้องการของลูกค้าที่มีต่อสินค้า ในขณะที่ชาร์ปท�ำการสร้างความแข็งแกร่งให้กับการบริการ หลังการขาย บริษัทเครื่องไฟฟ้ายักษ์ใหญ่ อย่างพานาโซนิค หรือโซนี่ ก็ประสบกับธุรกิจทีวีที่ไม่ดีอย่างมาก ต้องหันมาเน้นการบริการหลัง การขาย เพื่อลูกค้าจะได้ไม่หลีกหนีจากไป ในขณะเดียวกันก็ต้อง ตัดสินใจว่าจะลงทุนล่วงหน้าเพื่อสร้างความแข็งแกร่ง หรือหันมาเน้น ประสิทธิภาพ

Net Supermarket

ในธุรกิจ Net Supermarket อันดับ 1 คือ อันดับ 3 ปีที่แล้ว ก็ คือ อีโตโยคะโด (ซุปเปอร์อนั ดับหนึง่ ของญีป่ นุ่ เจ้าของ เซเว่นอีเลฟเว่น) สาเหตุที่เป็นที่ชื่นชอบ ก็คือ เมื่อสั่งสินค้าไปแล้ว ปรากฏว่าสินค้าไม่มี ก็จะเอาของอย่างอืน่ มาแทนให้ และยังคิดเงินเท่าเดิม โดยก่อนทีจ่ ะส่ง มาก็จะโทรศัพท์มาบอกก่อนว่าสินค้าไม่มี ได้เอาของที่มีราคาสูงกว่า ทดแทนไปให้ เป็นต้นว่า สั่งเนื้อหมูธรรมดา ปรากฏว่าของหมด ทาง ร้านจึงเอาเนือ้ หมูดำ� คุโรบุตะทีม่ รี าคาสูงกว่ามาให้แทน ซึง่ เป็นนโยบาย ของทางร้านว่า “หากของขาดต้องทดแทนด้วยของที่มีราคาสูงกว่า” การทีล่ กู ค้าสัง่ แล้ว ของอาจจะขาดได้เสมอ เป็นเรือ่ งทีห่ ลีกเลีย่ งได้ การ ทดแทนด้วยของที่ราคาสูงกว่าย่อมจะได้รับการยอมรับจากลูกค้า นอกจากนี้หลังเกิดเหตุการณ์เตาปฏิกรณ์ปรมาณูขึ้น ลูกค้าก็จะเลี่ยง สั่งสินค้าที่มาจากแหล่งนั้น ๆ ทางร้านจึงต้องสร้างความมั่นใจให้กับ ลูกค้าว่ามาจากแหล่งอื่น หรือแหล่งที่ลูกค้าต้องการ โดยการจัดท�ำ ระบบที่ลูกค้าสามารถตรวจเช็กได้ ไม่ว่าจะเป็น เบนซ์ ฟูจิตสึเจเนอรัล ที่สามารถก้าวขึ้นมาสู่ อันดับสูงในการส�ำรวจครัง้ นีไ้ ด้นนั้ เพราะว่ามีการท�ำไคเซ็นการบริการ อย่างต่อเนื่อง น�ำเสนอสิ่งที่ลูกค้าต้องการ แล้วความพยายามนั้นก็ สะท้อนกลับมาจากความพึงพอใจของลูกค้า ถึงจะต้องใช้เวลานาน และต้องมีความมุ่งมั่นของผู้บริหาร ไม่มียาอะไรที่จะท�ำให้ความ พึงพอใจของลูกค้าเพิม่ ขึน้ ได้ทนั ทีทนั ใด ความพยายามทีม่ นั่ คงเท่านัน้ จึงจะท�ำให้สัมฤทธิ์ผล

Vol.19 No.185 March 2013

ถ่ายรูปขนาดใหญ่ คิตะมูระ เป็น Service Provider ในการซ่อมให้แก่ สินค้าของแอปเปิ้ล ซึ่งจะท�ำให้มีที่ซ่อมได้อยู่ถึง 60 แห่งทั่วประเทศ ที่ ศูนย์เหล่านีจ้ ะมีสต็อกอะไหล่ของ iPhone อยู่ สามารถซ่อมอย่างง่าย ๆ ในเวลาอันรวดเร็ว เช่น เปลี่ยนแบตเตอรี่ เปลี่ยนจอ หรือกรณีเครื่อง ตกน�้ำ เป็นต้น สามารถน�ำมาซ่อมโดยไม่ต้องมีการจองล่วงหน้าได้ สินค้าประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่าง เครื่องปรับอากาศ นั้น อันดับ 1 ยังคงเป็นชาร์ป ไม่ต่างจากปีที่แล้ว แต่ฟูจิตสึ เจเนอรัล ก้าว ขึ้นมาจากอันดับ 7 มาอยู่อันดับ 2 ตามชาร์ปมาติด ๆ จากครั้งก่อนที่ เคยส�ำรวจปรากฏว่าอันดับนั้นต�่ำ ฟูจิตสึได้พยายามที่จะเพิ่มการ บริการหลังการขาย ใน 2 ปีที่ผ่านมา ท�ำให้ผลลัพธ์เป็นไปอย่างที่เห็น ทีละเล็กละน้อย กลยุทธ์การเพิ่มความแข็งแกร่งของการบริการหลัง การขายของฟูจิตสึ เรียกว่า “กิจกรรม Repair Plus One” ความหมาย ก็ตรงกับชือ่ ของกิจกรรม คือ ไม่เพียงแต่ซอ่ มจุดทีเ่ สียตามทีแ่ จ้งเท่านัน้ แต่ต้องพยายามเพิ่มอะไรอีกสักอย่างเพื่อให้ลูกค้าเกิดความปลื้มปิติ เป็นต้นว่า เมื่อท�ำการซ่อมคอมเพรสเซอร์ที่อยู่ภายนอกห้องแล้ว ยัง ช่วยท�ำความสะอาดฟิลเตอร์ภายในห้องอีกด้วย หรือในทางกลับกัน หากซ่อมเครือ่ งในห้องก็ทำ� ความสะอาดคอมเพรสเซอร์นอกห้องให้ดว้ ย เช่นกัน หรืออาจจะช่วยตรวจดูว่าแบตเตอรี่ของรีโมทจะหมดหรือยัง หรือให้ค�ำแนะน�ำว่าควรจะใช้อย่างประหยัดไฟได้อย่างไร ? เป็นต้น ท�ำให้ Plus One ได้รบั ความนิยม และได้รบั การต้อนรับจากลูกค้าอย่าง มาก แต่เดิมนั้นเวลาลูกค้าจะโทรมาสอบถามมักจะโทรไม่ค่อยติด จึง ต้องท�ำการปรับปรุง Call Center ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ท�ำให้ สามารถแก้ปญ ั หาคนไม่พอเวลา Peak Time ได้ การซ่อมก็เพิม่ จ�ำนวน พนักงานให้มากขึ้น เช่น ท�ำสัญญากับบริษัทให้บริการซ่อมจาก 400 บริษัท เป็น 600 บริษัท ในอีกด้านหนึง่ เพือ่ ให้การบริการหลังการขาย หลังจากรับเรือ่ ง การซ่อมแล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ก็ได้ลงทุนจัดตั้งระบบ IT ขึ้นมา ใหม่ เป็นต้นว่า การแจกเครือ่ งโทรศัพท์มอื ถือแก่พนักงานซ่อม รวมทัง้ บริษทั คูส่ ญ ั ญา จ�ำนวน 700 คน ส�ำนักงานใหญ่กจ็ ะติดต่อกับพนักงาน บริการซ่อม ให้ค�ำแนะน�ำตั้งแต่เริ่มไปเยี่ยมลูกค้าจนกระทั่งซ่อมเสร็จ ท�ำให้ประสิทธิภาพของพนักงานซ่อมเพิม่ สูงขึน้ สามารถให้สญ ั ญากับ ลูกค้าได้ว่า ซ่อมให้เสร็จเรียบร้อยภายใน 3 วัน หลังจากได้รับเรื่อง ส่วนชาร์ป เป็นที่ 1 ทั้งในด้านเครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า หรือแม้แต่ทวี ี หรือดีวดี ี ไม่เปลีย่ นแปลง ชาร์ปได้มรี ะบบการเยีย่ มและ ซ่อมในวันเวลาตามที่ลูกค้าต้องการ โดยขยายบริการนี้ไปทั่วประเทศ มีลูกค้าเรียกร้องให้มาซ่อม ในช่วงภาคเช้ามากขึ้นกว่าปีที่แล้ว บริษัท จึงแจกแท็บเล็ตให้แก่พนักงานบริการซ่อม สามารถท�ำการอธิบายจุด ที่ต้องซ่อม รายละเอียด ให้เห็นได้อย่างง่าย ท�ำให้ลูกค้ามีความ พึงพอใจอย่างมาก ชาร์ปไม่เพียงแต่รกั ษา และเพิม่ คุณภาพในการให้ บริการหลังการขายเท่านัน้ แต่ยงั น�ำเอาความเห็นของลูกค้าไปปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ของตนเองด้วย ได้มีการจัดให้มีระบบ “Monitor Room” ที่ จะให้ฝ่ายงานที่รับผิดชอบการวางแผนผลิตภัณฑ์ การออกแบบ การ พัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถฟังเสียงของลูกค้าทีไ่ ด้มาจาก Call Center

73


Q

Marketing & Branding for

uality

“ติ ว เข้ า มหาวิ ท ยาลั ย ” กลยุทธ์ CRM ต่อยอด สร้างประสบการณ์ลูกค้า (CEM) อาจารย์ธเนศ ศิริกิจ

ที่ปรึกษาการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาด และการวางแผนการจัดการลูกค้าเชิงประสบการณ์ (CEM) อาจารย์ในระดับปริญญาโทหลายสถาบัน และนักวิชาการด้านการตลาด/วิทยากรทั้งภาครัฐและเอกชน

หลาย

ท่านคงจะเห็นกระแสการติวเข้ามหาวิทยาลัยด้วย โครงการไม่วา่ “แบรนด์ซมั เมอร์แคมป์” “โครงการ เตรียมสมอง Peptein Genius Generation” หรือ “โครงการทบทวน ความรู้สู่มหาวิทยาลัยกับมาม่า” แน่นอนในปัจจุบนั คงจะเห็นว่าสิง่ ทีท่ กุ ธุรกิจจะต้องเผชิญและ หนีไม่พน้ คือ 1. การแข่งขันทีส่ งู ขึน้ (competitive) 2. การเปลีย่ นแปลง ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว (rapid change) 3. การสร้างและรักษาลูกค้า (keep relationship) “ดังนั้น กิจกรรมต่าง ๆ ที่คิดและสร้างขึ้นมา ไม่เพียงแต่หา ลูกค้าใหม่และรักษาลูกค้าเดิมเท่านั้น ลูกค้าที่ได้มาต้องเกิดประสบการณ์แล้วไปเล่าต่อได้” จึงเห็นได้วา่ ในการท�ำการตลาดทีเ่ ราก�ำลังบอกว่าการตลาด 3.0 นั้น สิ่งหนึ่งที่ลูกค้าต้องเกิดประสบการณ์กับกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น แล้วจึงเชื่อมโยงเข้าหา Product ที่ขาย หากเรามองกิจกรรมต่าง ๆ ที่ เกิดขึน้ นัน้ ไม่ใช่เพียงแต่ การท�ำ Customer Relationship Management: CRM อย่างเดียว แต่ลูกค้าต้องเกิดประสบการณ์ใหม่ ๆ แล้วไปเล่าต่อถึงความประทับใจ บอกต่อรุ่นสู่รุ่นได้ หรือเกิดประสบการณ์กับ ลูกค้า หรือ Customer Experience Management: CEM ส�ำหรับเหตุการณ์ที่เกิดกระแสติวเข้ามหาวิทยาลัย ไม่ว่าทั้ง แบรนด์ เปปทีน หรือมาม่า ที่ออกมาแข่งขันกันเรื่อง “ติวเข้มเข้า มหาวิทยาลัย” นัน้ เป็นกระแสทีเ่ กิดขึน้ มานาน และเชือ่ ว่ายังคงอยูใ่ นใจ หลายคน เพียงแต่ไม่มีโอกาส หรือไม่มีช่องทางไหนให้กลุ่มนักเรียน ได้บอกกับสังคมว่า “ตอนนี้ถ้าเรียนต้องมีติวแล้ว” มันเปรียบเสมือน

74

for Quality Vol.19 No.185 March 2013

กล่องด�ำ (black box) ที่อยู่ในใจ ซึ่งอาจจะทราบหรือไม่ทราบมาก่อน กระแสการติวมีมานานแล้ว แต่การมีโอกาสติวนั้นคงต้องใช้เงินพอ สมควร เพื่อจะได้ติวกับอาจารย์ที่มีชื่อเสียง และกระแสของสังคมในการเรียนจะบังคับในการติวว่า ต้องติว ไม่งั้นไม่ทันเพื่อน ซึ่งอาจเป็นปัจจัยด้านสังคมเข้ามาเกี่ยวข้อง (social factors) ทีม่ ผี ลต่อการเรียนด้วย และในปัจจุบนั กลุม่ นักเรียนส่วนใหญ่ ไม่ใช่มีครอบครัวเป็นที่ปรึกษาเท่านั้น แต่ยังมีกลุ่มอ้างอิงหรือ “Reference Groups” อีกมากมายที่ให้เป็นข้อมูลและเป็นแรงขับเคลื่อนได้ เหมือนกัน


Marketing & Branding

Mouth) หรือ Buzz Marketing โดยใช้ภาพและการสร้างกระแสให้ เกิดขึน้ แต่สงิ่ เหล่านัน้ ทัง้ โดนัทและ iPhone จะเน้นการมุง่ ไปที่ Selling Focus ซึ่งแตกต่างกับประเด็นทีก่ รณีทงั้ 3 บริษทั ออกมาแข่ง “ติวเข้า มหาวิทยาลัย” ดูจะเป็นการสร้างกระแสใกล้เคียงกัน แต่กระแสการติว เข้ามหาวิทยาลัย ดูจะเป็น “การสร้างภาพลักษณ์ในตราสินค้า (brand image)” มากกว่า คือ เป็นการสร้างคุณค่าหรือภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ ในความรู้สึกนึกคิดของบุคคล อาจเป็นการจูงใจในเชิงจิตวิทยา ซึ่ง กระแสนี้เป็นกระแสที่ดี เพราะท�ำให้เด็กไทยตื่นตัวในสิ่งที่ดี “ผู้เขียนไปบรรยายที่ไหนจะบอกเสมอว่า 4P’S ไม่ใช่สูตร ส�ำเร็จเสมอไป Marketing Tactic นั้น ต้องดู Business ของตนเอง ด้วย ถ้าเป็น Product Service ต้องมีอีก 4P’S เป็น 8P’S คือ เพิ่ม People, Process, Physical Evidence และ Performance” แต่ในยุค Marketing 3.0 นี้ การแข่งขันต้องสร้างกระแสหรือ กิจกรรมที่ให้ตอบแทนกับสังคม ดูดีในสายตา และต้องมีอ�ำนาจพอ ดังนั้น การท�ำตลาดในปัจจุบัน 8P’S ไม่พอซะแล้ว คงต้องมี เพิ่มอีก 3P’S เป็น 11P’S คือ *Presentation ต้องน�ำเสนอเป็น สร้างกระแสได้ *Prospect ก�ำหนดกลุ่ม คาดการณ์เป็น *Power Strategy มีอ�ำนาจในการต่อรองทั้งลูกค้าและสังคมด้วย “จะเห็นได้วา่ ทัง้ แบรนด์ เปปทีน และมาม่า แข่งกิจกรรม “ติว เข้ามหาวิทยาลัย” คงเข้าประเด็นอีก 3P’S เพิ่มขึ้นแน่นอน ดังนัน้ การตลาดปัจจุบนั อย่าลืมเพิม่ อีก 3P’S ด้วย และผูเ้ ขียน คงจะมี Marketing Tactics มาให้ติดตามกันอีกแน่นอน”

Vol.19 No.185 March 2013

ดังนัน้ เมือ่ เกิดความเชือ่ ว่าเรียนต้องมีพเี่ ลีย้ ง หรือติวเข้ม ก็เกิด ความเชื่อ (beliefs) ขึ้นในใจ ถ้ามองในหลักกิจกรรมทางการตลาด การใช้กิจกรรมการติว เข้มเข้ามหาวิทยาลัย จึงเป็นกิจกรรมที่ให้ลูกค้าเกิดประสบการณ์หรือ Customer Experience นัน่ เอง แล้วไปบอกต่อสูร่ นุ่ ลูกรุน่ หลาน จนอาจ เกิดเป็นลักษณะ “Customer Lifetime Value: CLV” คือ สร้างมูลค่าให้ เกิดในระยะยาว ๆ และสร้าง Perception ผ่านดารายอดนิยมทั้งไทย และเกาหลี นิชิคุณ (2PM) รวมทั้งผ่านครูที่มีชื่อเสียง เช่น อ.อุ๊ ครูลิลลี่ ครูพี่แนน เป็นต้น หากเรามองแล้วทั้งแบรนด์ เปปทีน มาม่า มองช่องโอกาสที่ สามารถสร้างกิจกรรมได้ แต่คงไม่ง่ายเท่าไรนัก เพราะพี่ใหญ่อย่าง แบรนด์ เจ้าตลาดที่มีความแข็งแกร่ง หากพูดเรื่องสมองดีต้องคิดถึง แบรนด์ และสิ่งที่ส�ำคัญตราสินค้าต้องเป็นที่น่าเชื่อถือและอาศัยการ เป็นตราสินค้าที่เป็นที่รู้จักเชื่อมโยงกิจกรรมให้สินค้าตนเองดูทันสมัย มากขึ้น และเสริมด้วย Concept White Ocean คือ เป็นองค์การที่เป็น ผู้ให้ มีกิจกรรมที่ส่งเสริมสังคมที่ดี หากจะมองและวิเคราะห์ จะเห็นว่า กิจกรรมติวเข้มเข้ามหาวิทยาลัยเป็น Opportunity ได้ทั้ง 2 ด้าน ➲ โอกาสด้ า นแรก เป็นการเชื่อมโยงกิจกรรมที่เกาะกลุ่ม ลูกค้าวัยเรียน จะท�ำให้สนิ ค้าดูดี ทันสมัย รับผิดชอบต่อสังคม ให้ความ รู้สึกว่าไม่ได้ขาย ขาย ขาย แล้วก็ขายอย่างเดียว แต่มีการคืนให้สังคม และสร้างความสัมพันธ์ด้วย ➲ โอกาสด้ า นที่ ส อง การกวดวิ ช าเป็ น สิ่ ง จ� ำ เป็ น ที่ ทุ ก คน ปรารถนาจะผ่านการสอบเข้าสู่คณะที่ต้องการ หรือเป็นตามกระแสก็ ไม่ผิด หรือ Fashion และในเมืองไทยบ้านเราชนชั้นรากหญ้ายังมีอยู่ มาก อยากกวดวิชาแต่ไม่มีเงิน ดังนั้น การท�ำการตลาดกลุ่มนักเรียน โดยการใช้วิธีจัดโครงการต่าง ๆ อาจเป็น Model ที่ตอบโจทย์ความ ต้องการในกลุ่มลูกค้าวัยเรียนได้ดี เพราะความส�ำเร็จของนักเรียนทีส่ อบเข้าได้ จะบอกต่อ “Word of Mouth: WOM” อยู่ที่ว่ากิจกรรมของบริษัทไหนตอบโจทย์ได้เข้มข้น มากกว่ากัน เพราะการใช้อาจารย์ดัง ๆ มาติวอาจเป็นแม่เหล็กได้ใน ช่วงแรก คงต้องมาวัดกันที่ผลลัพธ์ หรือ Outcome มากกว่าว่าการติว ของค่ายไหนสอบเข้าได้มากกว่ากัน กลยุทธ์การสร้างชุมชนสัมพันธ์ เราจะคิดเสมอว่า Public Relation คือ PR ประชาสัมพันธ์ ขายของ แต่ถ้าโจทย์ดีๆ แล้ว Public + Relation คือ สาธารณชน + ความสัมพันธ์ สร้างภาพลักษณ์ทดี่ ี การ เป็นบริษัทที่ดี (good corporate image) โดยสร้างเหตุการณ์ เรื่องราว ที่ดี สิ่งที่ส�ำคัญ คือ สื่อมวลชนสัมพันธ์ (press relations) และ ประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ (product publicity) ประเด็นของกรณี 3 บริษทั ยักษ์ใหญ่ออกมาแข่งขันท�ำกิจกรรม “ติวเข้ามหาวิทยาลัย” เป็นเหมือนจุดกระแสความนิยมทีห่ าช่องทางใน ระดับคนกลุม่ ใหญ่ทยี่ งั ขาดโอกาส ทีผ่ า่ นมาเราคงเห็นกระแสเหตุการณ์ ผูค้ นต่อแถวยาวเหยียดหน้าร้านโดนัทคริสปีค้ รีม หรือล่าสุด iPhone ลด 50% ทีส่ ยามพารากอน ซึง่ เป็นกระแสการตลาดแบบ WOM (Word of

75


Q

Marketing & Branding for

uality

การตลาดบริการ (Services Marketing)

การส่งมอบคุณค่า ผศ.ดร.นภวรรณ คณานุรักษ์

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ภาพแวดล้ อ มได้ มี ก ารเปลี่ ย นแปลง อย่ า งต่ อ เนื่ อ งส่ ง ผลให้ พ ฤติ ก รรม รูปแบบในการด�ำเนินชีวิต ความชอบและ ความต้องการของลูกค้ามีการเปลี่ยนแปลง แต่ ค วามต้ อ งการของผู ้ บ ริ โ ภคที่ ไ ม่ เ คย เปลี่ยนแปลง คือ ต้องการความพึงพอใจที่ ได้รบั จากสินค้าและบริการทีส่ ามารถส่งมอบ คุณค่า (value) ให้แก่ผู้บริโภคได้เป็นอย่างดี ซึ่งคุณค่าอาจจะเกิดจากการที่นักการตลาด ก�ำหนดราคาสินค้าและบริการในราคาถูก หรือก�ำหนดราคาสูงไปพร้อมกับการส่งมอบ บริการด้านความหรูหรา ความปลอดภัย หรือ ความเชี่ยวชาญ นักการตลาดที่ต้องการน�ำเสนอหรือ ส่งมอบคุณค่าให้แก่ลกู ค้า ควรส่งมอบคุณค่า ที่มีองค์ประกอบต่อไปนี้ 1. ผลิตภัณฑ์หรือบริการทีส่ มบูรณ์-

76

for Quality Vol.19 No.185 March 2013

แบบ นักการตลาดควรให้ความส�ำคัญกับ ค�ำว่า “สมบูรณ์แบบ” เพราะผลิตภัณฑ์หรือ บริการที่บริษัทส่งมอบมักจะมีการออกแบบ และทดสอบความสมบูรณ์แบบจากประสิทธิภาพการใช้งานของผลิตภัณฑ์และบริการ รวมทั้งอายุการใช้งาน ภายใต้สถานการณ์ จ�ำลองทีไ่ ม่ได้ทดสอบจากสถานการณ์การใช้ ผลิตภัณฑ์หรือบริการอย่างแท้จริง เป็นเพราะ ว่าสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นจริงในขณะที่ผู้บริโภคใช้งานนัน้ นักการตลาดและนักวิจยั ไม่ สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้า เช่น ลูกค้าซื้อ รถยนต์ยหี่ อ้ หนึง่ มาใช้งาน และบริษทั รถยนต์ ได้ทดสอบสมรรถนะและประสิทธิภาพการใช้ งานว่ามีคณ ุ ภาพมาตรฐานดี แต่เมือ่ ลูกค้าน�ำ ไปใช้งานเกิดอุบัติเหตุคนเมาขับรถชนอย่าง แรงท�ำให้ลูกค้าได้รับความบาดเจ็บเล็กน้อย เพราะได้ใช้เข็มขัดนิรภัย และระบบถุงลม

นิรภัยท�ำงานเป็นปกติ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นรถยนต์ ของลูกค้าได้รับความเสียหายมาก ลักษณะ เช่นนี้เรียกว่า สถานการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ลว่ งหน้า ซึง่ สถานการณ์เช่นนีล้ กู ค้า เองคงไม่ได้คาดหวังว่ารถยนต์ที่ตนเองซื้อมา จะมี ค วามสมบู ร ณ์ แ บบจนกระทั่ ง ไม่ เ กิ ด ความเสี ย หายใด ๆ เลยจากอุ บั ติ เ หตุ ใ น แต่ละครั้งที่เกิดขึ้น ดังนั้น จึงเข้าใจได้ว่าลูกค้าไม่ได้คาด หวังว่าบริษทั จะสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ หรือบริการที่ไม่มีข้อบกพร่องใด ๆ เลยจาก สถานการณ์แวดล้อมต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น ได้ในทุกขณะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าบริษทั จะสามารถหรือขายสินค้าและ บริการที่มีข้อบกพร่องอย่างชัดเจนให้แก่ผู้บริโภค ยังคงต้องมีการน�ำเสนอสินค้าและ บริการที่ดีมีมาตรฐานอย่างเห็นได้ชัดหรือ


Marketing & Branding ลูกค้า และจะเป็นบริษทั ทีป่ ระสบความส�ำเร็จ แต่บริษทั ทีจ่ ะเป็นเช่นนีไ้ ด้จะต้องมีการพัฒนา กระบวนการแก้ปญ ั หาอย่างต่อเนือ่ ง เพือ่ ตอบ โจทย์ให้กบั ลูกค้าทีป่ ระสบปัญหา ซึง่ จะน�ำไป สู่ความพึงพอใจและความประทับใจที่ลูกค้า มีประสบการณ์ตรงกับบริษัทของเรา เช่น บริษทั LEGO ต้องการทีจ่ ะส่งมอบผลิตภัณฑ์ และบริ ก ารที่ ส มบู ร ณ์ แ บบให้ กั บ ลู ก ค้ า ที่ ซื้อสินค้าของตนเองไป ลูกค้าอาจจะพบว่า ชิ้นส่วนบางชิ้นส่วนขาดหายไป ท�ำให้การต่อ ตัวต่อไม่สมบูรณ์แบบตามที่ตั้งใจไว้ บริษัท LEGO จึงได้พัฒนากระบวนการแก้ปัญหา โดยการเปิดเว็บไซต์ให้ลูกค้าสามารถส่งขอ ชิ้นส่วนที่ขาดหายผ่านทางหน้าเว็บไซต์ได้ ซึ่งบริษัทจะส่งจดหมายขอโทษ พร้อมทั้งส่ง ชิ้นส่วนที่ขาดหายไปมาให้ลูกค้า การกระท�ำ เช่นนีท้ ำ� ให้ลกู ค้าและบริษทั มีความใกล้ชดิ กัน มากขึน้ เพราะสามารถแก้ปญ ั หาให้กบั ลูกค้า ได้เป็นอย่างดี และส่งผลให้ลูกค้าเกิดความ พึงพอใจและประทับใจในสิง่ ทีบ่ ริษทั ได้ทำ� ให้ หรื อ จะกล่ า วได้ ว ่ า บริ ษั ท ได้ มี ก ารส่ ง มอบ คุณค่าให้แก่ลูกค้านั้นเอง ดังนั้น บริษัทควรที่ จะมี ก ารประเมิ น สถานการณ์ ก ารส่ ง มอบ คุณค่าผลิตภัณฑ์ หรือบริการจะมีอะไรที่เกิด ความผิดพลาดบ้าง เพื่อเตรียมความพร้อม หรือกระบวนการแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้าไว้ ตั้งแต่เนิ่น ๆ สรุปได้ว่าการส่งมอบคุณค่าให้แก่ ลูกค้าจะท�ำให้ลูกค้าเกิดการรับรู้ถึงคุณค่าที่ จะน�ำไปสูค่ วามพึงพอใจและความประทับใจ ได้นั้นจะต้องมีส่งมอบให้ครบทั้ง 4 องค์ประกอบ คือ การส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ สมบูรณ์แบบ การส่งมอบอย่างเป็นมิตรและ ใส่ใจ การส่งมอบตรงเวลา และ การส่งมอบ การช่วยเหลือผ่านกระบวนการแก้ปัญหา อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ จึ ง จะเป็ น ธุ ร กิ จ ที่ ประสบความส� ำ เร็ จ และสามารถครองใจ ลูกค้าไว้ได้ยาวนาน Vol.19 No.185 March 2013

เรียกได้ว่าสมบูรณ์แบบ 2. ส่งมอบอย่างเป็นมิตรและใส่ใจ นักการตลาดที่สามารถน�ำเสนอผลิตภัณฑ์ หรือบริการทีส่ มบูรณ์แบบได้เป็นสิง่ ทีด่ ี แต่ถา้ ไม่ได้รับการส่งมอบอย่างเป็นมิตรและใส่ใจ จากพนักงานของบริษัทแล้ว ผลิตภัณฑ์หรือ บริการจะมีความสมบูรณ์อย่างไรก็ไม่มคี วาม หมายใด ๆ แต่ ก ลั บ ท� ำ ให้ ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละ บริการเป็นสิ่งที่ไร้คุณค่าในสายตาลูกค้าไป ซึ่งจะเห็นได้ว่าอุตสาหกรรมที่มีการส่งมอบ คุณค่าอย่างเป็นมิตรและใส่ใจเป็นอย่างมาก คือ อุตสาหกรรมโรงแรมและการท่องเที่ยว เพราะเป็นธุรกิจที่ให้บริการทุกวินาทีที่ลูกค้า มาใช้บริการ และมักจะเผชิญหน้ากับพนักงานของแผนกที่ให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งเป็น ผู้ที่จะต้องให้ความใส่ใจและมีความเป็นมิตร กับลูกค้าในขณะให้บริการในทุกขณะจิต ดังนัน้ การส่งมอบผลิตภัณฑ์หรือบริการที่สมบูรณ์ แบบคงไม่เพียงพอ แต่จะต้องส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการด้วยความเป็นมิตรและใส่ใจ ในความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง 3. ส่ ง มอบตรงเวลา ในปั จ จุ บั น ลูกค้าต้องการความรวดเร็วในการส่งมอบ ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ถึงแม้ว่าบริษัทจะมี

การน�ำเสนอผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความ สมบูรณ์แบบมากน้อยเพียงใดก็ตาม ถ้าไม่ สามารถส่ ง มอบได้ ต รงเวลาตามที่ ลู ก ค้ า ต้องการหรือตามเวลาทีใ่ ห้สญ ั ญาไว้กบั ลูกค้า ก็ไม่มีความหมายใด ๆ การส่งมอบตรงเวลาในอดีตและใน ปัจจุบนั ก็มคี วามแตกต่างกัน เนือ่ งจากลูกค้า ต้องการให้สง่ มอบในเวลาทีร่ วดเร็วมากยิง่ ขึน้ การส่งมอบตรงเวลาที่รวมถึงความรวดเร็วนี้ จะต้องสามารถตอบสนองความต้องการของ ลูกค้าได้ ซึง่ การให้บริการมักจะมีขนั้ ตอนการ ส่งมอบบริการที่มีการก�ำหนดเวลาในแต่ละ ขั้นตอนอย่างชัดเจน เช่น โรงแรม Marriott มี ขั้นตอนการให้บริการอาหาร ที่เรียกว่า Marriott’s 5-10-20 Menu หมายถึง เมนูอาหารที่ จะให้บริการแก่ลูกค้ามีเวลาที่ชัดเจนในการ เตรียมตัง้ แต่ 5 นาที 10 นาที และ 20 นาที ซึง่ มักจะเริ่มจากอาหารว่างเรียกน�้ำย่อยหรือที่ มักจะเรียกกันว่า Appetizer ตามด้วยอาหาร ที่เสิร์ฟก่อนอาหารจานหลัก หรือที่เรียกว่า Entree และตามด้วยอื่น ๆ การก� ำ หนดเวลาที่ ชั ด เจนมี ค วาม ส� ำ คั ญ กั บ ธุ ร กิ จ ร้ า นอาหารเป็ น อย่ า งมาก เพราะเป็ น ปั จ จั ย ส� ำ คั ญ ที่ ลู ก ค้ า ให้ ค วาม ส�ำคัญเป็นอันดับต้น ๆ เช่น นักธุรกิจทีเ่ ดินทาง ไปประชุ ม ต่ า งประเทศอาจมี เ วลาช่ ว งพั ก กลางวันไม่นานนัก มักจะอยากรูว้ า่ แต่ละเมนู ใช้เวลาเท่าไรในการเตรียมอาหารก่อนเสิร์ฟ ถ้านักการตลาดไม่ได้กำ� หนดเวลาทีช่ ดั เจนไว้ ในเมนู ลูกค้ามักจะตั้งค�ำถามว่า “เมนูไหน เร็ว” ซึ่งอาจจะเจอพนักงานตอบว่า “ทุกเมนู ครับ/ค่ะ” แต่การตอบเช่นนั้นต้องมั่นใจว่า สามารถส่งมอบได้ตรงเวลาและรวดเร็วได้ จริง ดังนั้น ในการด�ำเนินธุรกิจในปัจจุบันที่ ลูกค้าให้ความส�ำคัญกับความรวดเร็วและ การตรงต่อเวลา นักการตลาดควรก�ำหนด เวลาทีจ่ ะส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการให้แก่ ลูกค้าไว้ให้ชัดเจน 4. การส่งมอบการช่วยเหลือผ่าน กระบวนการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทที่สามารถส่งมอบบริการที่ตอบสนอง ความต้องการของผูบ้ ริโภคได้อย่างแท้จริง จัด ว่าเป็นบริษัทที่สามารถส่งมอบคุณค่าให้แก่

77


Q

Marketing & Branding for

uality

ภาพลักษ์องค์การ... ชาคริต ดิเรกวัฒนชัย charkritd@gmail.com

ดัง

ที่ท่านทั้งหลายเคยได้ยินสัจธรรม ที่ ว ่ า สิ่ ง ที่ แ น่ น อนคื อ ความไม่ แน่นอน อันแปลเป็นภาษาธุรกิจได้งา่ ย ๆ ว่า อะไร ๆ ก็เกิดขึ้นได้เสมอ แผนงานที่วางไว้ แม้ว่าจะเป็นแผนที่ดีในวันนี้ แต่ก็อาจจะ ล้มเหลวเมือ่ เวลาเปลีย่ นไป แม้จะแปลได้ไม่ ค่อยตรงนัก แต่กส็ ามารถสือ่ ออกมาในความ หมายเดียวกันได้ การวางแผนเป็นสิ่งจ�ำเป็น เพราะถ้าไม่วางแผนเลยท่านก็อาจจะพลาด สิง่ ดี ๆ ไปได้ แต่ตอ้ งยอมรับว่าแม้จะวางแผน อย่างดี บางครั้งแผนก็อาจผิดแผนจนเจอ อุปสรรคอย่างที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น การบริหารงานให้มีประสิทธิภาพ จ�ำเป็นต้องมีทั้งการวางแผนระยะสั้น แผน ระยะยาว และเตรียมแผนส�ำรองไว้หากแผน ระยะสัน้ และระยะยาวไม่เป็นไปตามแผน แต่

78

for Quality Vol.19 No.185 March 2013

สำ�คัญไฉน

ชีวิตการท�ำงานจะมีเหตุการณ์ที่เกินความ คาดหมายจริง ๆ อยูเ่ สมอ ไม่สามารถประเมิน ล่วงหน้าได้เลย หรืออาจจะไม่เคยได้วางแผน ไว้เลย สิ่งที่นักการตลาดสามารถท�ำได้อย่าง ดีที่สุด ก็คือ “การเตรียมรับมือ” เหตุการณ์ที่ผู้บริหารต้องงัดกลยุทธ์ มาใช้นั้นมีอยู่มากมายให้เห็น เช่น วิกฤตใน ช่วงอุทกภัยที่ผ่านมาในปี พ.ศ.2554 เรียกว่า ทุก ๆ บริษัทไม่เคยได้ตั้งตัวและไม่แม้แต่จะ คาดคิดว่าความเสียหายจะเกิดเป็นวงกว้างได้ มากขนาดนั้น วิกฤตดังกล่าวท�ำให้ผู้บริหาร ต้ อ งงั ด กลยุ ท ธ์ เ ฉพาะหน้ า ที่ ใ ช้ แ ก้ ป ั ญ หา ฉุกเฉินเพื่อประคองให้ธุรกิจสามารถด�ำเนิน งานต่อไปได้ อีกปัญหาที่คนไทยยังจ�ำได้ คือ ปัญหาเหตุจราจลกลางเมืองกรุง หรือหลาย ท่านอาจจะยังพอจ�ำได้ถึงเหตุการณ์ไข้หวัด

สายพั น ธุ ์ ใ หม่ ที่ ส ร้ า งความตื่ น กลั ว ให้ กั บ คนไทยและทั่วโลกเป็นอย่างมาก เหตุการณ์ เหล่านี้เป็นเหตุร้ายที่มาอย่างไม่ทันตั้งตัว ผู้บริหารจ�ำเป็นจะต้องมีการตั้งรับอย่างดี มี การปฏิบตั งิ านทีม่ คี วามยืดหยุน่ ทีด่ ี เพือ่ ท�ำให้ ธุรกิจสามารถผ่านช่วงเวลาที่วิกฤตไปได้ แต่วกิ ฤตใดก็ไม่มอี ะไรทีน่ า่ กังวลมาก เท่า วิกฤตเกี่ยวกับชื่อเสียง ของบริษัทหรือ แบรนด์ วิกฤตนีเ้ กิดขึน้ ได้ตลอดเวลาและไม่มี อะไรที่จะเตือนให้รู้ล่วงหน้าได้เลย และอาจ เลวร้ายกว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมา ตั้ ง แต่ ต ้ น วิ ก ฤตชื่ อ เสี ย งจึ ง มี ค วามส� ำ คั ญ และมักจะรุนแรงกว่าเหตุการณ์อื่น ๆ อีกทั้ง ความรุนแรงของการเสียชื่อเสียงยังยากที่ จะประเมินเป็นมูลค่าที่จับต้องได้ ที่ส�ำคัญ วิ ก ฤตชื่ อ เสี ย งเป็ น เรื่ อ งที่ ไ ม่ ส ามารถคาด-


การณ์ล่วงหน้าได้เลย วิกฤตที่เป็นภัยธรรมชาติตา่ ง ๆ ยังพอมีการพยากรณ์ทพี่ อจะเหลือ เวลาให้ตั้งรับ จะทันบ้างไม่ทันบ้างแต่ก็พอมี เวลา แต่เหตุการณ์ทกี่ ระทบต่อชือ่ เสียงมักจะ มาอย่างปัจจุบันทันด่วน วิกฤตอื่น ๆ จะกระทบหลายธุรกิจใน วงกว้าง แต่วกิ ฤตชือ่ เสียงจะเกิดเฉพาะบริษทั ของท่านเท่านั้น ต้องท�ำการฝ่าวิกฤตด้วย ตัวเอง ไม่มีใครช่วยได้ ที่ส�ำคัญที่สุด เมื่อ บริ ษั ท ของท่ า นพบกั บ วิ ก ฤตเรื่ อ งชื่ อ เสี ย ง คนทีด่ ใี จทีส่ ดุ คือคูแ่ ข่งของท่านนัน่ เอง เพราะ คูแ่ ข่งคงต้องใช้โอกาสทองนีต้ กั ตวงประโยชน์ ที่ดีที่สุดเข้าตัวเอง ท่านจะต้องตั้งรับกับเรื่อง ที่ ก ระทบกั บ ภาพลั ก ษณ์ ข ององค์ ก ารและ ยังต้องเสียโอกาสทางธุรกิจไปอีกด้วย

ทำ�อย่างไรเมื่อบริษัทตกอยู่ ในภาวะวิกฤต เรื่องภาพลักษณ์ ?

เมื่อทราบว่าภาวะวิกฤตของธุรกิจ เกิดขึ้นได้เสมอ นักการตลาดจึงจ�ำเป็นต้อง ระแวดระวังเสมอ เพราะเป็นสิง่ ทีส่ ามารถเกิด ขึ้นได้โดยไม่เตือนล่วงหน้า แม้จะเตรียมตัว ป้องกันอย่างดีกเ็ กิดเหตุการณ์ได้เสมอ ภาวะวิกฤตนี้หมายรวมถึงทุกเหตุการณ์ที่มีผลเสีย ต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์หรือบริษัทของ ท่าน ไม่ว่าจะเกิดจากความผิดพลาดจริง ๆ หรือเกิดจากข่าวลือต่าง ๆ โดยสาเหตุที่จะ ท�ำให้เกิดข่าวร้ายกับองค์การนั้นอาจจะมา จากหลายทางดังนี้

เกิดจากความผิดพลาดของสินค้า หรือบริการของบริษัท ข้อนี้น่าจะเป็นเรื่องที่ น่ากังวลสูงสุด เพราะเกิดจากความผิดพลาด ของสินค้าหรือบริการ เช่น สินค้าเครื่องปรับอากาศท�ำให้เกิดไฟฟ้าลัดวงจรจนเกิดไฟไหม้ กรณีทเี่ กีย่ วข้องโดยตรงกับสินค้าและบริการ คงท�ำให้การแก้ภาพลักษณ์ยากขึ้นและคง ต้องแก้กันยาวนานเลยทีเดียว เพราะความ เสียหายนี้จะส่งผลกระทบต่อความมั่นใจใน สินค้าและบริการอย่างมาก ➲ เกิ ด จากพนั ก งานขององค์ ก าร กรณีนอี้ าจไม่เกีย่ วข้องโดยตรงกับสินค้าและ บริการ แต่เกิดจากการที่พนักงานของบริษัท ประพฤติตัวที่ไม่เหมาะสมอันจะท�ำให้เกิด ความเสียหายได้ เช่น พนักงานของบริษัทไป มีเรื่องชกต่อยกับคนอื่นเพราะเมาสุรา เรื่องนี้ แม้จะไม่ส่งผลเสียต่อสินค้าบริการซึ่งเป็น เรื่องหลักของบริษัท แต่ความผิดพลาดที่เกิด จากพนักงานของบริษัทที่มีชื่อเสียงก็มักจะ เป็นจุดที่ข่าวสารแพร่ออกไป ย่อมส่งผลเสีย แก่ภาพลักษณ์ขององค์การได้เสมอ ➲ เกิ ด จากความผิ ด พลาดในการ ท�ำงานอืน่ ๆ กรณีนมี้ กั จะเกิดกับข่าวทีม่ ที าง เสียหายด้านอื่น ๆ และถูกโยงให้เกิดเรื่อง ใหญ่เกินตัว แม้ความเสียหายจะไม่เกีย่ วข้อง กับภาพลักษณ์ของสินค้าและบริการ แต่กจ็ ะ ส่งผลลบต่อภาพลักษณ์อย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้ อย่างเช่น การที่บริษัทถูกสงสัยเรื่องที่มาของ เงินทุนจนถูกตรวจสอบการท�ำบัญชี หาก เรื่องราวจบลงว่าท่านแก้ไขได้ก็ดีไป แต่ถ้า หากแก้ขอ้ กล่าวหาไม่ได้กค็ งจะเสียชือ่ ไปพอ สมควร เมื่อเกิดความเสียหายท่านจะประ-

เมิ น ว่ า ความเสี ย หายนั้ น รุ น แรงมากน้ อ ย เพียงใดได้อย่างไร ? ค�ำตอบอยู่ที่ลูกค้าและ สาธารณชน ท่านจ�ำเป็นต้องประเมินว่า ลูกค้า กลุ่มเป้าหมายของท่านจะรู้สึกอย่างไรกับ สิ่งที่เกิดขึ้น ยิ่งมีผลกระทบต่อสาธารณชน มาก ก็ย่อมเสียหายมาก โดยประเมินจาก ➢ เป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของ สาธารณชน หรือกระทบในวงกว้างของคนใน สังคม หากเป็นเรือ่ งทีค่ นสนใจ นักข่าวก็มกั จะ หยิ บ จั บ ไปเป็ น ข่ า ว เมื่ อ มี ข ่ า วตามหน้ า หนังสือพิมพ์มากก็น่าจะถือว่าเรื่องที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องใหญ่ ➢ เป็ น เรื่ อ งที่ เ กี่ ย วเนื่ อ งกั บ การ ด� ำ เนิ น ธุ ร กิ จ ท่ า นจะต้ อ งเจอกั บ ข่ า วร้ า ย แบบนี้บ่อย ๆ สังคมอาจจะลืมเหตุการณ์ใน วันนี้ แต่เมื่อความเสียหายเกิดจากสินค้า หรือบริการ ก็จะท�ำให้ลกู ค้าหวนนึกถึงเรือ่ งใน อดีตได้เสมอ เป็นเรือ่ งทีผ่ บู้ ริหารต้องให้ความ ส�ำคัญอย่างต่อเนื่อง เช่น การเจอเศษแก้วใน เครื่องดื่มของบริษัท แม้เรื่องราวจะจบไปแต่ ก็จะเป็นเรือ่ งทีค่ นจ�ำได้เสมอ ๆ ทุกครัง้ ทีล่ กู ค้า ซื้อสินค้าของท่าน แต่ไม่ว่าเรื่องราวข่าวร้ายที่เกิดขึ้น จะเป็นอย่างไร สิ่งที่ผู้บริหารจะต้องท�ำอย่าง ระแวดระวัง ก็คือ การรับมือกับสถานการณ์ เหล่านี้อย่างดี ปัญหาที่เกิดขึ้นมักจะรุนแรง และต้องการรับมืออย่างพอเหมาะพอดี ท�ำ มากเกินไปก็จะเกินงาม หากไม่ตั้งรับอย่าง พอดีเรื่องก็จะเลวร้ายมากไปกว่าเดิมอีกด้วย ในฉบับหน้าจะเป็นเรื่องขั้นตอนการ รั บ มื อ สถานการณ์ ฉุ ก เฉิ น ต่ อ ชื่ อ เสี ย งของ แบรนด์ หรือองค์การว่าจะท�ำอย่างไรให้นุ่มละมุนและได้ผลที่สุด ?

Vol.19 No.185 March 2013

Marketing & Branding

79


Q

People for

uality

5ของปัอัญนหาด้ดับาน สูHRM งสุด ธำ�รงศักดิ์ คงคาสวัสดิ์

http://tamrongsakk.blogspot.com

สวัสดี

ครับ กลับมาอีกครั้ง หลังจากที่ได้บอกให้ท่านทราบในตอนที่แล้วว่า 5 อันดับสูงสุดของปัญหาด้าน HRD มีอะไรกันบ้าง ไป แล้ว กลับมาในตอนนีเ้ รามาพูดคุยกันถึงเรือ่ ง 5 อันดับสูงสุดของปัญหาด้าน HRM กันต่อ ซึ่งเรามักจะได้อา่ นพบผลการส�ำรวจ ในเรื่องต่าง ๆ ด้าน HR ที่มักจะอ้างอิงจากบทความ หรือวารสารของฝรั่งกันมาไม่น้อยและมักจะอ้างอิงข้อมูลจากบทความนั้นมาเพื่อประยุกต์ใน งานอยู่บ่อย ๆ แต่ วั น นี้ ผ มบั ง เอิ ญ ได้ อ ่ า นผลการ ส� ำ รวจของบริ ษั ท ไทย ๆ นี่ แ หละครั บ คื อ บริษัท HR Center ได้ท�ำการส�ำรวจค่าตอบแทนและสวัสดิการปี พ.ศ.2554-2555 โดยมี บริษัทต่าง ๆ เข้าร่วมการส�ำรวจ 266 บริษัท ซึ่งก็จะมีข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องค่าตอบแทนและสวัสดิการของบ้านเรา แต่ผมไปเห็นข้อมูลที่น่าสนใจเรื่อง หนึ่งที่เขาสรุปไว้ ก็คือ 5 อันดับสูงสุดของ ปัญหาด้าน HRD และ 5 อันดับสูงสุดของ ปัญหาด้าน HRM ในความคิดเห็นของบริษัท ที่เข้าร่วมการส�ำรวจในครั้งนี้ว่าคิดเห็นกันยัง ไงบ้าง ผมก็เลยอยากจะน�ำเรือ่ งเหล่านีม้ าเล่า สู่กันฟังเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ข้อคิดน�ำไปปรับ ใช้กับองค์การของท่านดังนี้ครับ

5 อันดับสูงสุดของปัญหาด้าน HRM อันดับ

ปัญหา

เปอร์เซ็นต์

1

การสรรหาพนักงานมีแนวโน้มหายากขึ้น

56

2

ขาดการวางแผนอัตราก�ำลังคน

44

3

ไม่มีการปรับปรุงใบก�ำหนดหน้าที่งาน

38

4

ไม่มีหลักเกณฑ์การประเมินผลงานที่เหมาะสม

33

5

โครงสร้างเงินเดือนไม่เหมาะสม ไม่สามารถแข่งขันกับตลาดได้

32

ที่มา: ผลการส�ำรวจค่าตอบแทนและสวัสดิการ ปี 2554/55 บริษัท HR Center จ�ำกัด จาก 266 บริษัท

80

for Quality Vol.19 No.185 March 2013


เรามาไล่เรียงปัญหาไปทีละข้อกันดี ไหมครับ ➲ อันดับ 1 การสรรหาพนักงานมี แนวโน้มหายากขึ้น ในเรื่องนี้เป็นปัญหาของ บ้านเรามานานแล้วนะครับ ซึ่งผมแบ่งเป็น 2 เรื่ อ ง คื อ 1. เราขาดคนท� ำ งานในระดั บ แรงงาน เพราะวันนี้แรงงานในระดับล่างของ เราเองก็ไม่ยอมท�ำงานบางงานจนต้องท�ำให้ ผู้ประกอบการจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาท�ำ แทนอย่างที่เห็นกันอยู่เสมอ ๆ และ 2. เรา ขาดแคลนแรงงานมีฝีมือ ไม่ว่าจะเป็นช่าง วิศวกร แรงงานทีเ่ ป็นวิชาชีพทีม่ ที กั ษะความรู้ ความช�ำนาญในงานเฉพาะด้านต่าง ๆ ซึง่ เกิด จากเราขาดการวางแผนการศึกษาที่สอดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการแรงงานในตลาด แรงงานบ้านเราจนท�ำให้บางองค์การต้องเปิด โรงเรียนสอนนักศึกษาเอง แล้วเมือ่ จบก็รบั เข้า ท�ำงานในองค์การนั้น ๆ เลยเพื่อแก้ปัญหานี้ ซึ่ ง ก็ จ ะได้ พ นั ก งานที่ ถู ก ฝึ ก สอนมาตรงกั บ ความต้องการ ดังนั้น องค์การของท่านก็คง ต้องยกปัญหานี้ขึ้นเป็นปัญหาระดับองค์การ และวางแผนแก้ปัญหานี้อย่างเป็นระบบได้ แล้วนะครับ โดยไม่ใช่ปล่อยให้ฝ่าย HR แก้ ปั ญ หานี้ แ ต่ เ พี ย งฝ่ า ยเดี ย วเหมื อ นเดิ ม อี ก ต่อไป เพราะไม่อย่างนั้นท่านก็จะหาคนยาก ขึ้นไปเรื่อย ๆ ครับ ➲ อันดับ 2 ขาดการวางแผนก�ำลัง คน วันนี้ในหลายองค์การก็ยังปล่อยให้การ

จ้างพนักงานเป็นไปอย่างอิสระตามใจหน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะหน่วยงานที่เป็นฝ่าย หาเงิน เช่น ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายผลิต (แน่นอนว่าฝ่ายทีเ่ ป็น Back Office ถูกควบคุม อัตราก�ำลังอย่างเข้มงวดอยู่แล้ว) โดยไม่ได้ ติ ด ตามดู ว ่ า การเพิ่ ม อั ต ราก� ำ ลั ง เหล่ า นี้ สอดคล้องกับยอดขาย หรือผลประกอบการ อย่างเหมาะสมหรือไม่ ท�ำให้ต้นทุนการจ้าง บุคลากร หรือ Staff Cost บานปลายเป็นภาระ หนักขององค์การ ท่านคงต้องกลับมาดูเรื่องนี้ อย่างจริง ๆ จัง ๆ เพื่อลดปัญหานี้แล้วนะครับ ➲ อันดับ 3 ไม่มีการปรับปรุงใบ ก�ำหนดหน้าที่งาน หรือที่เราเรียกว่า “Job Description: JD” นั่นแหละครับ วันนี้องค์การ ของท่ า นยั ง ท� ำ JD เป็ น แบบฟอร์ ม เป็ น กระดาษ แล้วเจาะรูเข้าแฟ้มห่วงอย่างหนา ตราช้างอยู่หรือเปล่าล่ะครับ ถ้ายังท�ำอยู่ก็คง ต้องเปลี่ยนเป็นไฟล์ดิจิทัล เช่น ให้อยู่ในรูป ของ Ms.Word แล้วใส่ไว้ใน Intranet ของ องค์การ ใครสนใจอยากจะเรียกดูวา่ ต�ำแหน่ง ไหนท�ำอะไรก็เรียกดูได้ แต่เจ้าของ JD (หรือ หน่วยงานต้นสังกัด) เท่านัน้ ทีจ่ ะมี Password ที่ Update JD เพื่อให้ทันสมัยได้ ท�ำอย่างนี้ แล้วก็จะแก้ปญ ั หาการปรับปรุง JD ให้ทนั สมัย ได้แล้วนะครับ ➲ อั น ดั บ 4 ไม่ มี ห ลั ก เกณฑ์ ก าร ประเมินผลการปฏิบัติงานที่เหมาะสม อันนี้ เป็นปัญหาชนิดหนังชีวิตเรื่องยาวเลยล่ะครับ

เพราะ หลายองค์ ก ารในวั น นี้ ยั ง มี วิ ธี ก าร ประเมินผลการปฏิบัติงานแบบเดิม ๆ หรือ ก�ำหนดหัวข้อหรือปัจจัยในการประเมินผลงาน แบบ Rating Scale สัก 10-20 ปัจจัย เช่น ปริมาณงาน คุณภาพงาน ความรูใ้ นงาน ความ ขยันทุม่ เทในงาน ความคิดริเริม่ ฯลฯ แล้วก็ให้ หัวหน้าประเมินลูกน้องจากปัจจัยเหล่านี้ และ สรุปผลรวมของทุกปัจจัยว่าลูกน้องควรจะได้ เกรดอะไร เช่ น ABCDE เป็ น ต้ น วิ ธี ก าร ประเมินแบบนี้ควรปรับเปลี่ยนแล้วล่ะครับ เพราะผู้ประเมินมีแนวโน้มจะใช้อคติในการ ประเมินสูง การประเมินผลงานในปัจจุบนั ควร เป็นการประเมินโดยมีตวั ชีว้ ดั และเป้าหมายที่ ชัดเจน (ทั้งผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน) ที่เรา เรียกกันว่า KPIs (Key Performance Indicators) กันแล้วนะครับ ซึ่งทั้งผู้บริหารและ HR ควรจะต้องศึกษาท�ำความเข้าใจในเครื่องมือ เหล่านี้และน�ำมาประยุกต์ใช้ในการประเมิน ผลงานแล้วครับ ➲ อันดับ 5 โครงสร้างเงินเดือนไม่ เหมาะสม ไม่สามารถแข่งขันกับตลาดได้ นี่ก็ เป็ น ปั ญ หาใหญ่ เ รื่ อ งหนึ่ ง ที่ ห ลายองค์ ก าร มองข้าม คือ ผมมักพบว่าบริษทั ต่างๆ จ�ำนวน ไม่น้อยที่ยังไม่มีโครงสร้างเงินเดือนยังจ่าย ค่าตอบแทนตามใจฉัน (คือ เจ้าของกิจการ หรือผู้บริหาร) โดยขาดหลักเกณฑ์การบริหาร ค่าตอบแทนที่ดี ซึ่งพื้นฐาน ก็คือ จะต้องมี โครงสร้ า งเงิ น เดื อ นเสี ย ก่ อ น ส� ำ หรั บ รายละเอี ย ดของเรื่ อ งนี้ เ ป็ น เรื่ อ งยาวครั บ ผม แนะน� ำ ให้ ท ่ า นลองไปอ่ า นหนั ง สื อ “การ ประเมินค่างาน และการท�ำโครงสร้างเงินเดือน (ภาคปฏิบัติ)” ตามร้านหนังสือทั่วไป ดูกอ่ นนะครับ แล้วท่านจะเห็นความส�ำคัญว่า โครงสร้ า งเงิ น เดื อ นส� ำ คั ญ ยั ง ไงส� ำ หรั บ องค์การของท่านและการแข่งขันที่นับวันแต่ จะมากยิ่งขึ้น ยิ่งในปี พ.ศ.2558 เราจะเข้าสู่ ยุค Asean Economic Community: AEC แล้ว องค์การเรายังไม่มีโครงสร้างเงินเดือน เลย แล้วจะไปแข่งกับเพื่อนบ้านได้ยังไงล่ะ ครับ ในโอกาสนี้ ต ้ อ งขอขอบคุ ณ ข้ อ มู ล จากบริษัท HR Center ไว้ ณ ที่นี้ด้วยนะครับ

Vol.19 No.185 March 2013

People

81


Q

People for

uality

เศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ : จาก “ทุนนิยมทำ�ลาย” สู่ “ทุนนิยมสร้างสรรค์”

เชลเตอร์ บาร์นาร์ด ตอนที่ 4 ต่อจากฉบับที่แล้ว

ผู้นำ�ร่องขบวนการมนุษย์นิยม ผศ.ดร.สมบัติ กุสุมาวลี

คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ engbat@msn.com

นวคิดของบาร์นาร์ดถือเป็นแนวคิดทีเ่ ป็น จุดเปลี่ยนหรือจุด “แตกหัก” จากส�ำนัก คิดการบริหารจัดการแนวคลาสสิก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งการแตกหักกับพวกที่มีแนวคิดแบบ “เทย์เลอริสต์” (Taylorist) ซึง่ หมายถึง บรรดา นักบริหารและนักคิดนักวิชาการที่มักจะเป็น ผู ้ ที่ มี ค วามเชื่ อ มั่ น เลื่ อ มใสในแนวทางการ จัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (scientific management) ของ เฟรดดริก เทย์เลอร์ อันเป็น แนวคิดด้านการบริหารจัดการที่เป็นกระแส หลักในขณะนั้น แต่บาร์นาร์ดกลับย�้ำเน้นว่า “ปัจจัยมนุษย์” ไม่เหมือนกับปัจจัยอื่น ๆ ที่จะ สามารถจับยัดลงไปค�ำนวณอยูใ่ นสูตรสมการ ของการท�ำงานได้ อีกทั้งมนุษย์ยังเป็นสิ่งมี ชีวิตที่มิใช่จะถูกกระตุ้นจูงใจได้เพียงแค่การ ให้รางวัลสิง่ จูงใจทีเ่ ป็นวัตถุภายนอก ดังทีพ่ วก แนวคิดแบบเทย์เลอริสต์มักจะมีวิธีคิดเช่น อย่างนั้น

82

for Quality Vol.19 No.185 March 2013

ในแง่นี้จึงถือได้ว่าตัวแบบทางทฤษฎี ของบาร์ น าร์ ด ช่ ว ยยกระดั บ จากแนวคิ ด

กระแสหลักในขณะนัน้ ทีม่ กั จะให้ความส�ำคัญ อยู่แต่กับการวิเคราะห์ระบบงานเป็นส�ำคัญ แนวคิดของบาร์นาร์ดได้โยกจุดส�ำคัญไปสู่ การวิเคราะห์ลักษณะธรรมชาติพื้นฐานของ ปัจเจกบุคคล เขาพบว่าปัญหาพืน้ ฐานส�ำคัญ ของพวกส�ำนักคิดแนวการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ หรือพวกเทย์เลอริสต์นั้น เกิดจากการ มีสมมติฐาน หรือฐานทางความคิดทีผ่ ดิ พลาด เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ ดังนั้น เมื่อมี ทัศนคติที่มีต�ำหนิบกพร่องแต่เริ่มต้น ครั้น ลงมือบริหารจัดการ จึงท�ำให้ผบู้ ริหารแนวเทย์เลอริสต์ไม่สามารถสร้างความเห็นพ้องต้อง กันและการสร้างความร่วมมือกันท�ำงานของ บรรดาผู้ใช้แรงงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลจากการนี้ท�ำให้บาร์นาร์ดเริ่มวาง รูปแบบทางทฤษฎีทตี่ า่ งไปจากแนวคิดกระแส หลักแบบเดิมที่มักมองมนุษย์เป็นเพียงแค่ “ปัจจัยการผลิต” ที่ไร้ชีวิตจิตใจ


People

ดังเช่นที่บาร์นาร์ดพยายามท�ำความ เข้าใจเกี่ยวกับ “คนในองค์การ” โดยเขาได้ให้ ค�ำนิยามถึง “ปัจเจกบุคคล” (individual) ว่า ในทัศนะของเขาแล้ว คนแต่ละคนหมายถึง “องค์รวมเดี่ยวที่มีเอกลักษณ์แยกขาดจาก สิ่ ง อื่ น ซึ่ ง ประกอบกั น ขึ้ น มาจากพลั ง และ อุปกรณ์นบั ไม่ถว้ นทีเ่ ป็นทัง้ ปัจจัยทางกายภาพ ทางชีวภาพ และทางสังคม ทั้งในอดีตและ ปัจจุบัน” (a single, unique, independent, isolated, whole thing, embodying innumerable forces and materials past and present which are physical, biological, and social forces” (Barnard, 1938: 12) กล่าวอีกนัยหนึ่ง อาจตีความแนวคิด ของบาร์นาร์ดได้วา่ เขามองว่าคนแต่ละคน (ที่ เรี ย กว่ า “ปั จ เจกบุ ค คล”) ที่ ท� ำ งานอยู ่ ใ น องค์การนัน้ แต่ละคนล้วนแล้วแต่มเี อกลักษณ์ เป็นตัวของตัวเอง ไม่เหมือนบุคคลคนอื่น ๆ ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะแต่ละบุคคลล้วนเป็น ผลรวมมาจากพลัง การกระท�ำและองค์ประกอบต่าง ๆ ทั้งในทางวัตถุ พัฒนาการทาง

กายภาพและชีวภาพของแต่ละบุคคล และ ปัจจัยสภาพแวดล้อม บริบททางสังคมของ แต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งแต่ละคน ย่อมเป็นผลรวมของสิง่ เหล่านีท้ คี่ อ่ ย ๆ พัฒนา มานับจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันอันแตกต่าง หลากหลายกันออกไปของแต่ละคน นอกจากนี้บาร์นาร์ดยังมีความเห็น เพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นเรื่องของธรรมชาติ ของมนุษย์นวี้ า่ ในบรรดาคุณสมบัตทิ สี่ ำ� คัญ ๆ ของมนุษย์นั้น มีองค์ประกอบที่ส�ำคัญเป็น อย่างยิ่งประการหนึ่งส�ำหรับมนุษย์ นั่นก็คือ มนุษย์แต่ละคนมีพลังอ�ำนาจประการหนึ่งซึ่ง ท�ำให้มนุษย์มีความแตกต่างจากปัจจัยการ ผลิตประเภทอื่น ๆ นั่นก็คือ มนุษย์มี “อ�ำนาจ ที่จะเลือกและก�ำหนดหรือด�ำเนินไปตาม เป้าประสงค์” (the power of choice and purpose) ประเด็นเรือ่ งการมี “อ�ำนาจทีจ่ ะเลือก และการก� ำ หนดหรื อ ด� ำ เนิ น ไปตามเป้ า ประสงค์” ของมนุษย์แต่ละคนนี่เองที่ชักน�ำ บาร์นาร์ดไปสู่การครุ่นคิดและเชื่อมโยงไปสู่ อีกประเด็นหนึ่งที่ส�ำคัญ ซึ่งต่อมาก็จะกลาย เป็นประเด็นที่มีบทบาทส�ำคัญในการสนับสนุนทฤษฎีองค์การของเขา นั่นก็คือ แนวความคิดของบาร์นาร์ดที่มองว่า “องค์การ” (organization) แท้จริงแล้ว คือ “ระบบแห่ง สหปฏิบัติการ” (cooperative system) หรือ ระบบแห่งการท�ำงานร่วมกัน หากจะกล่าวให้ ชัดเจนยิ่งขึ้น ก็คือ บาร์นาร์ดเห็นว่าองค์การ เป็ น ระบบที่ เ กิ ด ขึ้ น เมื่ อ มี ค นตั้ ง แต่ 2 คน ขึ้นไป ที่มีเป้าประสงค์ไปในทิศทางเดียวกัน มาประกอบกิจกรรมร่วมกัน คน เหล่านี้ตระหนักว่าพวกเขาจะ ไม่ ส ามารถที่ จ ะปฏิ บั ติ กิ จ กรรมให้ ส� ำ เร็ จ ลุ ล ่ ว ง เป้าประสงค์ได้เลยด้วย ตนเองล� ำ พั ง แต่ เพียงผู้เดียว ทั้งนี้ เนื่องจากข้อจ�ำกัด ด้ า นกายภาพและ ชี ว ภาพของแต่ ล ะคน ดังนั้น พวกเขาจึงต้องรวมตัว กันเป็นองค์การ เพื่อที่จะร่วม

กั น ด� ำ เนิ น กิ จ กรรมเพื่ อ ให้ บ รรลุ ต ามเป้ า ประสงค์ที่แต่ละคนได้วางเอาไว้ ด้วยเหตุนี้ หากกล่ า วในระดั บ พื้ น ฐานแล้ ว องค์ ก าร หรื อ ระบบแห่ ง สหกรรมนี้ จึ ง เป็ น เสมื อ น “เครื่องมือ” หรือกลไกที่ส�ำคัญและจ�ำเป็น ที่จะช่วยให้ตอบสนองเป้า-ประสงค์ของผู้คน ที่เกี่ยวข้องที่เข้ามาประกอบกิจกรรมร่วมกัน ในองค์การได้ ดังนั้น สาระส�ำคัญขององค์การและ เป็นสาระส�ำคัญซึง่ น่าทีจ่ ะเป็นหน้าทีท่ สี่ ำ� คัญ ที่สุดประการหนึ่งของการเป็นผู้บริหารองค์การ ก็คือ การพยายามดึงดูด เชื่อมโยงทาง เลือกและความปรารถนาของแต่ละคนใน องค์การ ให้มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงร้อยรัด เข้ากันให้ได้กับเป้าประสงค์หลักขององค์การ ดังที่บาร์นาร์ดได้เขียนถึงประเด็นในท�ำนองนี้ ว่า “องค์การเป็นผลรวมจากการดัดแปลง ปรับแต่งการกระท�ำของแต่ละบุคคล โดย ผ่านการควบคุมหรือการดึงดูดชักจูงโน้มน้าว ให้บุคคลเหล่านั้นเป็นไปตามเป้าหมายที่ องค์การประสงค์” (Barnard, 1938: 17) การควบคุม ชักจูงโน้มน้าวบุคลากร จึ ง เป็ น หน้ า ที่ แ ละเป็ น ขี ด ความสามารถที่

Vol.19 No.185 March 2013

บาร์นาร์ด เริ่มงานเขียนของเขาด้วย การย�้ำเน้นให้เห็นถึงพื้นฐานรากเหง้าแห่ง “ความขัดแย้ง” ระหว่างธรรมชาติของปัจเจกบุคคลกับธรรมชาติขององค์การ กล่าวคือ เขา เห็นว่าองค์การ คือ หน่วยทางสังคมทีถ่ กู สร้าง ขึ้นมาเพื่อการบรรลุสู่เป้าหมายเฉพาะบาง ประการ แต่บรรดาผูค้ นทีถ่ กู จ้างเข้ามาท�ำงาน อาจจะมีวัตถุประสงค์และความปรารถนา ต้องการในชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น การศึ ก ษาเกี่ ย วกั บ องค์ ก ารจึ ง ต้ อ งการชุ ด ทฤษฎีที่มีความเข้าใจอย่างเหมาะสมถูกต้อง เกี่ยวข้องกับ “คน” ในองค์การ

83


Vol.19 No.185 March 2013

People

84

ส�ำคัญของผู้บริหารองค์การ โดยบาร์นาร์ด เสนอว่า รูปแบบขัน้ สูงสุดของการควบคุมทาง สั ง คมจะสามารถบรรลุ ไ ด้ ก็ โ ดยการผ่ า น กระบวนการของการ “ค่อยๆ หยอดแทรกซึม เป้าประสงค์เชิงศีลธรรมร่วมกัน” (instilling a common moral purpose) สอดใส่เข้าไป ในความคิดจิตใจของบรรดาผูท้ เี่ ข้ามาร่วมอยู่ ในองค์การ น่าสนใจว่า เมือ่ มาถึงจุดนี้ บาร์นาร์ด ได้ น� ำ เสนอแนวคิ ด ที่ ช วนไตร่ ต รอง 2 ประการ นั่นคือ 1. การที่เขาใช้ค�ำว่า “เป้าประสงค์ เชิงศีลธรรมร่วมกัน” (common moral purpose) นั้น เป็นเพราะเขาเห็นว่าการที่คนเข้า มาท� ำ กิ จ กรรมร่ ว มกั น ในองค์ ก าร (อย่ า ง เต็มใจและตั้งใจ) โดยพื้นฐานแล้วถือได้ว่า เป็น “ประเด็นทางศีลธรรม” เนื่องเพราะเมื่อ คนแต่ละคน (เต็มใจและตั้งใจ) ที่จะเข้ามา ร่วมงานในองค์การแห่งหนึ่งเพื่อที่จะท�ำให้ เกิดการบรรลุเป้าประสงค์อะไรบางอย่างร่วม กัน ย่อมมี “พลัง” (forces) บางอย่างที่บีบ บังคับให้พวกเขาแต่ละคนต้องปลดระวาง ผลประโยชน์และแรงจูงใจบางอย่างที่เป็น เรื่องส่วนตัวออกไป และทุกคนต้องมุ่งไปสู่ เป้าประสงค์ขององค์การซึ่งยิ่งใหญ่กว่าเรื่อง ส่วนตัว มุมมองเช่นนี้น�ำไปสู่อีกแนวคิดหนึ่ง ของบาร์นาร์ดซึ่งว่าด้วย “ทวิ บุ ค ลิ ก ภาพ” (dual personality) ของแต่ละบุคคล

“ทวิบุคลิกภาพ” คืออะไร? บาร์นาร์ด น�ำเสนอแนวคิดไว้อย่าง น่าสนใจว่า เมื่อมนุษย์แต่ละคนต้องเข้ามา เป็นสมาชิกและต้องท�ำกิจกรรมร่วมกันใน องค์การหนึ่ง พวกเขาแต่ละคนย่อมต้องมี บุคลิกภาพ 2 แบบ กล่าวคือ ➲ ในด้ า นหนึ่ ง แต่ ล ะคนย่ อ มมี “บุคลิกภาพส่วนตัว” (personal) ซึ่งบุคลิกภาพด้านนี้จะถูกขับเคลื่อนโดยแรงกระตุ้น จูงใจทีม่ าจาก “ด้านใน” ของแต่ละคน บุคลิกภาพด้านนี้จึงมีลักษณะเป็น อัตวิสัย (subjective) ของแต่ละคน ➲ แต่ในอีกด้านหนึ่ง แต่ละคนยัง จะต้องแสดง “บุคลิกภาพที่ไม่ใช่ส่วนตัว” (non-personal) อันเป็นบุคลิกภาพด้านที่ ถูกขับเคลื่อนโดยแรงกระตุ้น ทั้งที่เป็นการ สนับสนุน จูงใจ โน้มน้าว บังคับ กดดันจาก ปัจจัยภายนอก ท�ำให้แต่ละคนต้องระวาง “ความเป็นส่วนตัว” เพื่อหลอมรวมเข้ากับ “ส่วนรวม” บุคลิกภาพด้านนีจ้ งึ มีลกั ษณะเป็น ภาวะวิสัย (objective) ที่ไร้อัตตา (impersonal) (Barnard, 1938: 77) ด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าด้วย “ทวิบุคลิกภาพ” ของแต่ละคนเช่นนี้ บาร์นาร์ดจึงเห็นว่า นีแ้ ลคือหน้าทีร่ ว่ มกันของบรรดาผูบ้ ริหารทีจ่ ะ สร้าง “กิจกรรมการแทรกแซงอย่างแข็งขัน” (active intervention) เพื่อเอื้ออ�ำนวยให้เกิด “พลัง” (forces) ทีท่ ำ� ให้คนทีเ่ ข้ามาร่วมอยูใ่ น

องค์ ก ารจะต้ อ งหั น มาให้ ค วามส� ำ คั ญ กั บ “เรื่องที่ไม่ใช่ส่วนตัว” (the non-personal) โดยท�ำให้เกิดความรู้สึกเห็นพ้องว่า การมุ่ง ท�ำงานเพือ่ เป้าหมายขององค์การนัน้ เป็นการ มุ่งแสวงหาเป้าประสงค์เชิงศีลธรรมร่วมกัน ซึ่งดีกว่า มีคณ ุ ค่ากว่าการที่จะหมกมุน่ อยูก่ ับ เป้าหมายหรือผลประโยชน์เฉพาะที่เป็นของ “ส่วนตน” 2. ดั ง นั้ น เพื่ อ จั ด การให้ อ งค์ ก าร สามารถมีการด�ำเนินการปฏิบัติงานให้บรรลุ เป้าหมายได้ บาร์นาร์ดจึงเสนอว่าจ�ำเป็น อย่างยิ่งที่จะต้องมีสิ่งที่เรียกว่า “กิจกรรม การแทรกแซงในเชิ ง การบริ ห ารจั ด การ” (management intervention) กิจกรรมเช่นนี้ จะเป็นสิ่งที่ท�ำให้คนที่เข้ามาร่วมอยู่ในองค์การ หรือ “บุคลากร” เปลี่ยนสภาพจากการมี “บุคลิกภาพของแต่ละบุคคล” (individual personality) ไปเป็นคนที่มี “บุคลิกภาพแห่ง องค์การ” (organizational personality) โดย บาร์นาร์ดเสนอว่าการทีจ่ ะท�ำให้คนมาท�ำงาน ร่วมกัน (cooperation) และมีบุคลิกภาพ แห่งองค์การได้นั้น จ�ำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง หันมาพิจารณาถึงการสร้าง “สิง่ กระตุน้ จูงใจ” (incentives) เป็นที่น่าสังเกตว่า เมื่อน�ำเสนอใน ประเด็ น นี้ บาร์ น าร์ ด ได้ โ ยกหรื อ เปลี่ ย น ประเด็นจากการที่เคยอธิบายว่าการสร้าง ความเห็นพ้องคล้อยตามและการส่งเสริมให้ เกิดการท�ำงานร่วมกันนัน้ ถือเป็นความผูกพัน เชิงศีลธรรมที่ทุกคนในองค์การควรมีร่วมกัน แต่ในเพียงชั่วพริบตาเดียว เขากลับน�ำเสนอ ประเด็นใหม่ว่า การที่จะท�ำให้บุคลากรมี ความเห็นพ้องคล้อยตามและสามารถท�ำงาน ร่วมกันได้นนั้ ยังตัง้ อยูบ่ นพืน้ ฐานของการคิด ค�ำนวณถึงความสมเหตุสมผลของการทีพ่ วก เขาจะได้รับรางวัลตอบแทนจากภายนอก (extrinsic rewards) ด้วย

อ่านต่อฉบับหน้า


Q

People for

uality

ตอนที่ 4 วิกฤตการณ์จะทำ�ให้มนุษย์กล้าแกร่ง

และยอมรับเพื่อความอยู่รอด ศาสตราจารย์ ดร.เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฏ์

ต่อจากฉบับที่แล้ว

ทั่ว

โลกเขามองการณ์ไกล แต่พไี่ ทยยัง มองใกล้รอบรู้ และรู้รอบเฉพาะ เรื่องไม่เป็นเรื่อง แล้วเมื่อไรเราจะทันโลก สร้างบริษทั ระดับโลกขึน้ มา ส�ำหรับฉบับนีจ้ ะ น�ำเสนอ บริษทั โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จ�ำกัด บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศ ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นบริษัทแม่นั้น ตั้งแต่เริ่มจัดตั้ง บริษัทในปี พ.ศ.2480 จนถึงปี พ.ศ.2544 แม้ ไม่ ป รากฏปรั ช ญาของบริ ษั ท ที่ บั น ทึ ก เป็ น ลายลักษณ์อักษรไว้ แต่ในทางปฏิบัติหาได้ เป็นเช่นนั้นไม่ ดังจะเห็นได้จากในประโยค ต้น ๆ ของ “The Toyota Way 2001” ทีป่ ระธาน

ประธานสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ HRDI

ของ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น คือ Mr.Fujio Cho ได้กล่าวไว้วา่ “ตัง้ แต่กอ่ ตัง้ บริษัทเป็นต้นมา เรายึดมั่นในปรัชญาหลัก เรื่ อ งการผลิ ต สิ น ค้ า และการให้ บ ริ ก ารที่ ดี ทีส่ ดุ ” บริษทั ได้พยายามคิดค้นหาวิธกี ารผลิต สินค้าที่ดีที่สุดเป็นปรัชญาหลักของบริษัทใน การด�ำเนินงาน และกิจกรรมทางธุรกิจต่าง ๆ ของบริษัทที่เกิดจากปรัชญาหลักนี้ ท�ำให้ เกิ ด ความเชื่ อ และค่ า นิ ย มในการบริ ห าร จั ด การที่ เ ป็ น เอกลั ก ษณ์ ข องโตโยต้ า ขึ้ น นอกจากนัน้ ยังรวบรวมวิธบี ริหารจัดการและ การปฏิบัติงานจริงเอาไว้ และถ่ายทอดต่อ ๆ กันมาในฐานะที่เป็นแหล่งที่มาของความ

สามารถในการแข่งขันของโตโยต้า ซึ่งแม้ว่า จะมีการถ่ายทอดต่อกันมาเรือ่ ย ๆ ในลักษณะ “ความรู้เงียบ” ที่อยู่ในส�ำนึก แต่ก็ไม่มีการ ประกาศอย่างชัดเจน แต่ตอ่ มานับจากปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา “ความรู้เงียบ” ดังกล่าว ที่ เคยเป็นทีท่ ราบกันเฉพาะในหมูผ่ เู้ กีย่ วข้อง ใน ฐานะปรัชญาทีส่ ำ� คัญของบริษทั โตโยต้าก็ได้ ถูกรวบรวมเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนใน ฐานะที่เป็น “วิถีแห่งโตโยต้า” (The Toyota Way) ขึ้น นอกจากนั้นยังมีการระบุว่า “จะต้อง ประกาศให้ ผู ้ มี ส ่ ว นได้ ส ่ ว นเสี ย ทั่ ว โลกทั้ ง หลาย ซึ่งหมายถึง ลูกค้า พนักงาน บริษัท for Quality Vol.19 No.185 March 2013

85


People เสียของโรงงาน การรณรงค์ตรวจเช็กไอเสีย เป็นประจ�ำ ฯลฯ นอกจากนั้นรัฐบาลไทยยัง คาดหวังให้บริษัทญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนเพื่อให้ เกิดการสร้างงานให้มากขึ้น ดังนั้น เรื่องที่มี การพูดกันว่าญี่ปุ่นปฏิบัติไม่ดีต่อประเทศใน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นนั้ ในปัจจุบนั น่าจะ เป็นเพียงแค่ความเข้าใจผิดเท่านั้น

Vol.19 No.185 March 2013

วิสัยทัศน์ของโตโยต้า ประเทศไทย

86

คู่ค้า บริษัทในเครือ และผู้ถือหุ้น ได้ทราบถึง คุณค่าของปรัชญาพืน้ ฐานของโตโยต้านี้ และ จะต้องอธิบายให้ทราบถึงวิธีการน�ำปรัชญา ดั ง กล่ า วไปใช้ กั บ งานที่ ป ฏิ บั ติ จ ริ ง ” การ ด�ำเนินงานตามปรัชญาของโตโยต้าจะต้อง อาศัยเสาหลัก 2 ประการ ได้แก่ “การปรับปรุง อย่างต่อเนื่อง” และ “การเคารพความเป็น มนุษย์” ซึ่งประการแรกมีความหมายรวมถึง การท้าทาย (challenge) การปรับปรุง (kaizen) ของจริง สถานที่จริง (genchi genbutsu) และประการหลังมีความหมาย รวมถึง การเคารพต่อคน (respect) การท�ำงานเป็น ทีม (teamwork) “วิถีแห่งโตโยต้า” จึงเป็น การอธิบายความหมายของ “ความรู้เงียบ” อันลึกซึ้งให้เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป บริษัท โตโยต้า ประเทศไทย ก่อตั้ง ขึ้นในปี พ.ศ.2505 และแม้ว่าการเข้ามา ลงทุนของบริษัทญี่ปุ่นจะมีส่วนช่วยพัฒนา ประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกัน การอาศัย แรงงานในท้องถิ่นที่มีค่าแรงถูก และการ ด�ำเนินงานที่มีส่วนก่อให้เกิดมลภาวะ เช่น ของเสี ย จากอุ ต สาหกรรม มลภาวะทาง อากาศ เป็นต้น ก็ท�ำให้มีแนวโน้มที่โตโยต้า จะต้องหันกลับมาพิจารณาอย่างจริงจังว่า เป็ น การท� ำ ให้ คุ ณ ภาพชี วิ ต ของผู ้ ค นใน ท้องถิ่นแย่ลงหรือไม่ การตัดสินใจเข้าไป ลงทุนในต่างประเทศของโตโยต้าจากมุมมอง นี้ จริงอยู่ที่เริ่มต้นจากประเด็นที่ว่า “หากมี ตลาด ก็จะเข้าไปลงทุน” แต่ถึงกระนั้น ก็จะ ไม่เข้าไปลงทุนในต่างประเทศ เพียงเพราะ ต้องการต้นทุนค่าแรงต�่ำอย่างเดียว แต่จะ เน้นในเรือ่ งความได้เปรียบในการแข่งขันของ

โตโยต้าในประเทศนั้น ๆ โดยพิจารณาจาก ปัจจัยพืน้ ฐานและในระยะยาว เช่น โครงสร้าง พื้นฐาน ลักษณะของชนชาติ คุณภาพของ แรงงาน และที่ส�ำคัญที่สุด คือ ผลผลิตสูง และลักษณะของตลาด เป็นต้น แม้ว่าเรื่อง ต้นทุนจะมีความส�ำคัญในระยะสั้นโดยใช้ เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเข้าไปลงทุนในต่างประเทศเหมือนกับบริษัทข้ามชาติอื่น ๆ แต่ ต้นทุนนั้นไม่ใช่ประเด็นหลักในการตัดสินใจ เข้าไปลงทุน ค่าแรงของแรงงานในประเทศไทย เท่ากับประมาณ 1 ใน 5 เมื่อเปรียบเทียบกับ ประเทศญีป่ นุ่ แต่ในประเทศจีนนัน้ ค่าแรงยิง่ ต�่ำกว่า คือ เท่ากับ 1 ใน 20 ของญี่ปุ่นเท่านั้น และในบางพื้นที่อาจจะต�่ำถึง 1 ใน 40 ซึ่ง หากพิ จ ารณาในเรื่ อ งต้ น ทุ น แล้ ว โตโยต้ า ประเทศไทยก็คงจะต้องหยุดด�ำเนินกิจการใน ประเทศไทยทันที และรีบย้ายไปประกอบ กิจการในประเทศจีนโดยด่วน แต่ไม่วา่ จะเป็น ประเทศใด หากมี ค วามได้ เ ปรี ย บในการ แข่งขันดังที่ได้กล่าวมาแล้ว โตโยต้าก็จะ เข้าไปลงทุน เพราะไม่ว่าจะเป็นประเทศไทย หรือประเทศจีน หรือประเทศอืน่ ทีม่ คี า่ แรงถูก กว่าเมื่อเปรียบเทียบกับญี่ปุ่น หากอุตสาหกรรมเติบโตขึ้น ค่าแรงก็จะสูงขึ้น การปรับ ระดั บ ของค่ า แรงมี อ ยู ่ ทุ ก หนแห่ ง แม้ ใ น ประเทศไทยเมื่อเทคโนโลยีและคุณภาพของ สินค้าสูงขึ้น ค่าแรงก็ต้องปรับตัวสูงขึ้นตาม ส่วนประเด็นในเรื่องของการรักษาสิ่งแวดล้อมนั้น บริษัทญี่ปุ่นได้รับการยอมรับจาก สังคมในท้องถิน่ ในฐานะทีเ่ ป็นตัวอย่างทีด่ ใี น เรื่องการด�ำเนินการติดตั้งอุปกรณ์บ�ำบัดน�้ำ

1. เป็นบริษัทแกนน�ำของโตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟคิ และเครือข่ายโตโยต้า ทั่วโลก 2. เป็ น บริ ษั ท ที่ ไ ด้ รั บ การยอมรั บ และยกย่องที่สุดในประเทศไทย

หลักการของโตโยต้า ประเทศไทย

1. ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยการ ท้าทายและเปลี่ยนแปลง 2. เคารพและยอมรับผู้อื่น 3. ยึดหลักความพึงพอใจของลูกค้า 4. ทุ่มเทเพื่อมาตรฐานสูงสุด 5. รั บ ผิ ด ชอบต่ อ ชุ ม ชนและสิ่ ง แวดล้อม

พันธกิจของโตโยต้า ประเทศไทย

1. สร้ า งความแข็ ง แกร่ ง ในการ ปฏิบัติงาน และส่งเสริม ให้เกิดความร่วมมือ ระหว่างเอเชียแปซิฟิก 2. บรรลุการเป็นผู้น�ำ ในด้านความ พึงพอใจของลูกค้า และในด้านสัดส่วนการ ตลาด 3. ก�ำหนดให้ความปลอดภัยเป็น กิจกรรมที่ส�ำคัญที่สุดของกิจกรรมรากฐาน ของบริษัท 4. สร้างสังคมที่มีคุณภาพโดยการ ท�ำกิจกรรมที่มีคุณค่าเพื่อสังคม ทั่วโลกเขามองการณ์ไกล แต่พี่ไทย ยังมองใกล้รอบรู้ และรูร้ อบเฉพาะเรือ่ งไม่เป็น เรื่อง แล้วเมื่อไรเราจะทันโลก สร้างบริษัท ระดับโลกขึ้นมา โปรดคิด...และติดตามตอน ต่อ ๆ ไป

อ่านต่อฉบับหน้า




Q

Life Style for

uality

Relax


for

Q

uality

Relax

หมูดิน

90

for Quality Vol.19 No.185 March 2013


Relax

Special Promotion

ซื้อ 1 ห้องแถม 1 ห้อง เข้าพัก 3 วัน 2 คืน โดยจ่ายในราคาคืนเดียว (รวมอาหารเช้า ส�ำหรับ 2 ท่าน /ห้อง) ราคาห้องพัก ✪ ห้อง Moonterrace 2,850.- ✪ ห้อง Malibu 3,400.✪ ห้อง White Vista 4,400.- ✪ ห้อง Exotic 6,400.เงื่อนไข : เฉพาะเข้าพักในวันอาทิตย์ - วันพฤหัสบดี (งดใช้วันศุกร์ - เสาร์ - วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันสงกรานต์) ถ้าหากต้องการพักในช่วงเวลาดังกล่าว งดใช้ห้อง / เพิ่มห้องล่ะ 1,200.-/ห้อง/คืน ไม่สามารถใช้ร่วมกับโปรโมชั่นอื่น ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 มิถุนายน 2556 เท่านั้น รับจัดกรุ้ปสัมมนา จัดเลี้ยงพนักงานประจ�ำปี ติดต่อได้ที่ คุณกมลรัตน์ โทรศัพท์ 0-86-332-5986 / (032) 537-111 โทรสาร (032) 536-201 http://www.seahorse-resort.com

Vol.19 No.185 March 2013

Trip

นี้ หมูดินจะพาไปรู้จักรีสอร์ท ทีม่ เี สน่หอ์ กี แห่งหนึง่ ของหัวหิน หัวหินเป็นเมืองชายหาดที่มีความเงียบสงบ และทะเลทีส่ วยงามอีกแห่งหนึง่ ในประเทศไทย จึ ง ท� ำ ให้ หั ว หิ น แห่ ง นี้ เ ป็ น สถานที่ พั ก ผ่ อ น หย่อนใจของคนเมือง การเดินทางสะดวก สบาย ไม่น่าแปลกใจที่หัวหินจะเป็นสถานที่ ท่องเทีย่ วยอดนิยมและอยูใ่ นใจของใครหลาย คน... รีสอร์ทที่มีเสน่ห์ที่ก�ำลังพูดถึงอยู่นี้ คือ Seahorse - Resort ถึงแม้จะเป็นรีสอร์ทที่ ไม่ติดหาด แต่ห่างจากทะเลเพียง 300 เมตร และห่างจากตัวเมืองหัวหินประมาณ 10 นาที ซึ่ ง ที่ นี่ มี สิ่ ง อ� ำ นวยความสะดวกครบครั น เป็นรีสอร์ทในสไตล์เมดิเตอร์เรเนียนและ โอเรียนทอล มีความเรียบง่ายแต่ทันสมัย ด้ ว ยห้ อ งพั ก สบาย ๆ และมี ชื่ อ ที่ แ ปลกหู ห้องพัก Malibu ห้องพัก White Vista ห้องพัก Exotic Room ห้ อ งพั ก Party Room ห้ อ งพั ก Moon terrace ภายในห้ อ งพั ก ประกอบด้วย เครื่องปรับอากาศ ทีวี ตู้เย็น น�้ ำ ร้ อ น-น�้ ำ เย็ น และระเบี ย งส่ ว นตั ว ซึ่ ง แวดล้อมไปด้วยความเป็นธรรมชาติ พร้อม สระว่ายน�้ำในรีสอร์ท บรรยากาศของวันพักผ่อนอันแสนสบายสามารถสัมผัสได้ทนี่ ี่ และ ซัมเมอร์นี้ Seahorse - Resort จึงเหมาะที่ จะเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของครอบครัวและ เพื่ อ นฝู ง และที่ พิ เ ศษเพิ่ ม ขึ้ น ไปอี ก ที่ นี่ มี รถบริการรับ-ส่งท่านทั่วหัวหินอีกด้วย

91


Q

Movement for

uality

Book Guide Movement


Q

Book Guide for

uality

รู้ไว้ ก่อนใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น

ผู้แต่ง ฟุฮิโตะ ชิโมยามะ ภาพประกอบ มิกิ อิโต ผู้แปล ทัศนีย์ เมธาพิสิฐ จำ�นวนหน้า 159 หน้า ราคา 260 บาท สำ�นักพิมพ์ภาษาและวัฒนธรรม

หลาย ๆ

“ใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่นได้ ไม่ยาก หากเข้าใจ”

คนคงเคยได้ยินว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศที่อาศัย อยูย่ ากส�ำหรับชาวต่างชาติ เพราะกฎระเบียบ ที่เคร่งครัด อีกทั้งวัฒนธรรมและประเพณีก็มีพิธีรีตองมากมาย ท�ำให้ ชาวต่างชาติที่ไม่คุ้นเคยรู้สึกอึดอัดกับการใช้ชีวิต เพราะต้องคอย ระวังว่าสิ่งที่ท�ำนั้นถูกต้องเหมาะสมตามขนบธรรมเนียมและมารยาท ของเขาหรือไม่ ? แต่ความจริงแล้ว การใช้ชีวิตในญี่ปุ่นนั้นไม่ได้ยาก ล�ำบากหรือน่ากลัวขนาดนั้น หากเราได้มีโอกาสท�ำความเข้าใจ ศึกษา หาความรู้ และเตรียมตัวให้พร้อมก่อนไปใช้ชีวิตที่นั่น ดังนั้น ในฉบับนี้ จึงขอน�ำเสนอหนังสือ “รูไ้ ว้ ก่อนใช้ชวี ติ ทีญ ่ ปี่ นุ่ ” เพือ่ เป็นคูม่ อื เพิม่ ความ พร้อม และความมั่นใจให้ผู้ที่ต้องไปใช้ชีวิตในดินแดนแห่งนี้ ภายในเล่มจะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 6 บทใหญ่ด้วยกัน คือ 1. มารยาทในที่สาธารณะ 2. การเยี่ยมเยียนและการเชื้อเชิญ 3. การ คบค้าสมาคมในแต่ละวัน 4. มารยาทในพิธีแต่งงานและงานศพ 5. มารยาทในโต๊ะอาหาร 6. ประเพณีประจ�ำปีของคนญี่ปุ่น รวบรวม

ประเพณีทสี่ ำ� คัญ และการปฏิบตั ติ วั ของคนญีป่ นุ่ ตามประเพณีในแต่ละ เดือน “รูไ้ ว้ ก่อนใช้ชวี ติ ทีญ ่ ปี่ นุ่ ” จะช่วยให้คณ ุ เข้าใจธรรมเนียมปฏิบตั ิ และมารยาทแบบญี่ปุ่นแบบถ่องแท้ ผ่านความสามารถในการอธิบาย ของผู้เขียนที่บรรยายเรื่องวัฒนธรรมที่ละเอียดอ่อนให้สนุกสนานและ อ่านเพลินตั้งแต่ต้นจนจบ ด้วยรูปแบบการน�ำเสนอที่ยกตัวอย่างเป็น หัวข้อหรือสถานการณ์ พร้อมค�ำอธิบายวิธพี งึ ปฏิบตั แิ บบกระชับแต่เป็น รูปธรรม นอกจากนี้เพื่อให้ชาวต่างชาติเข้าใจธรรมชาติของคนญี่ปุ่น มากขึ้น ในแต่ละบทจะมีคอลัมน์เสริมเป็นเกร็ดความรู้เล็ก ๆ น้อย ๆ ผ่านประสบการณ์ตรงของผู้เขียนว่าด้วยแนวคิดของคนญี่ปุ่นซึ่งเป็น ที่มาของธรรมเนียมปฏิบัติต่าง ๆ ซึ่งไม่ค่อยมีหนังสือเล่มอื่นกล่าวถึง หากคุณได้ลอง “เปิดใจ” “เปิดอ่าน” “ปรับตัว” และ “ปรับใช้” แล้วละก็ การใช้ชีวิตในดินแดนอาทิตย์อุทัยจะไม่ใช่เรื่องยากล�ำบาก อีกเลย

for Quality Vol.19 No.185 March 2013

93


Q

Movement for

uality

C ongratulations บริษัท ทูฟ ซูด พีเอสบี (ประเทศไทย) จำ�กัด โดย คุณบวย ก๊ก ไฟ ผู้จัดการทั่วไป มีความยินดี เป็นอย่างยิ่งในการมอบใบรับรองระบบมาตรฐาน ISO 9001:2008 ให้แก่ บริษัท โบลเวลล์ โฮลดิ้งส์ (ไทยแลนด์) จำ�กัด โดยมี คุณเอกศักดิ์ เที่ยงตรง ผู้จัดการโรงงาน และ คุณวิทยา โพธิวัฒน์ ผู้จัดการฝ่าย ประกันคุณภาพ ให้เกียรติรับมอบ สำ�หรับมาตรฐานที่ได้รับนั้นเป็นมาตรฐานสากลที่ระบุข้อกำ�หนดสำ�หรับ ระบบการจัดการคุณภาพขององค์กร วัตถุประสงค์ของมาตรฐานนี้ คือ การนำ�ข้อกำ�หนดในมาตรฐานมา ประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่องค์กรในทุก ๆ ด้าน เช่น ด้านกระบวนการผลิต ด้านบริหาร ดังนั้น ลูกค้าหรือผู้ใช้บริการในองค์กรที่ได้รับรองมาตรฐาน ISO 9001 นั้น สามารถมั่นใจได้ว่าท่านจะได้รับผลิตภัณฑ์และบริการที่ซึ่งสอดคล้องต่อความ ต้องการและเปี่ยมไปด้วยคุณภาพ คุณกบิล สมพงษ์ชัยกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท รุจา คอร์ปอเรชั่น จำ�กัด ผู้ให้บริการรับเหมา ก่อสร้างและปรับปรุงตกแต่งอาคารทุกประเภท อาคารเชิงพาณิชย์ สำ�นักงาน สถานพยาบาล โรงแรม และรีสอร์ท ที่อยู่อาศัย โรงงาน สถานศึกษา สถานที่ราชการและการปรับปรุงอาคารเดิม ได้รับการรับรอง มาตรฐาน ISO 9001:2008 โดยมี คุณอิศรชัย ภิญโญ ผู้จัดการฝ่ายการพาณิชย์ บริษัท บูโร เวอริทัส เซอทิฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำ�กัด เป็นผู้มอบ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ.2555 ณ อาคารกิตรา ซอยแสงแจ่ม ถนนพระราม 9 แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง เมื่อไม่นานมานี้ บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำ�กัด โดย คุณบุญฉวี เชื้อศิริวัฒน์ ผู้จัดการ ฝ่ายปฏิบัติการ เป็นตัวแทนในพิธีมอบใบรับรองมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ ISO 9001 และมาตรฐาน ระบบการจัดการด้านสิง่ แวดล้อม ISO 14001 ให้กบั บริษทั ไทย ซังโค จำ�กัด โดยมี Mr. Hiroyasu Takayama กรรมการผู้จัดการ เป็นตัวแทนผู้รับมอบในครั้งนี้ นับว่าเป็นความสำ�เร็จที่น่าภาคภูมิใจของการพัฒนาและ การที่คงไว้ซึ่งการปรับปรุงการจัดการระบบคุณภาพและระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ก็ต้องอาศัย ความร่วมมือของผู้บริหารและพนักงานภายในองค์กรทุกคน เพื่อนำ�มาซึ่งระบบการจัดการที่ดีขององค์กร และความน่าเชื่อถือให้กับลูกค้าต่อไป

ส�ำนักงานรางวัลคุณภาพแห่งชาติ จัดพิธีมอบรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ประจ�ำปี พ.ศ.2555 เชิดชู 6 องค์กรคุณภาพที่สามารถคว้ารางวัล “การบริหารสู่ความเป็นเลิศ หรือ Thailand Quality Class: TQC” ไปได้ส�ำเร็จ โดยได้รับเกียรติจาก คุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี ณ โรงแรม พลาซ่าแอทธินี รอยัล เมอริเดียน ซึง่ การพิจารณาให้รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) และรางวัลการบริหารสู่ ความเป็นเลิศ (TQC) ครัง้ ที่ 11 ประจ�ำปี พ.ศ.2555 จากการตรวจประเมินองค์กรทีส่ มัครขอรับรางวัล จ�ำนวน 23 องค์กร มีองค์กรทีผ่ า่ นเกณฑ์และได้รบั รางวัล คือ รางวัลคุณภาพแห่งชาติ หรือ Thailand Quality Award: TQA ซึ่งต้องได้รับคะแนนการตรวจประเมินสูงกว่า 650 คะแนนขึ้นไป ยังไม่มีองค์กรใดผ่านเกณฑ์การ ตรวจประเมิน รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ หรือ Thailand Quality Class: TQC ซึ่งต้องได้รับคะแนนการตรวจประเมินสูงกว่า 350 คะแนน มีจ�ำนวน 6 องค์กร ได้แก่ บริษัท เคาน์เตอร์เซอร์วิส จ�ำกัด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนาเชียงใหม่ จ�ำกัด โรงงานผลิตอาหารสัตว์น�้ำ (มหาชัย) บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จ�ำกัด (มหาชน) หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) หน่วยธุรกิจน�้ำมัน บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน)

94

for Quality Vol.19 No.185 March 2013


Movement

E vent คุณชาตรี โพธิ์อบ (ที่สองจากขวา) นายกเทศมนตรีต�ำบลบางปลา จังหวัดสมุทรสาคร และ คุณชัยสิทธิ์ วรค�ำแหง (ขวา) อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร ให้เกียรติร่วมในพิธีเปิดหน่วยการผลิต สีสังเคราะห์ชนิดพิเศษอย่างเป็นทางการของ Huntsman Textile Effects: HTE ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ Huntsman Corporation (NYSE: HUN) และเป็นผูผ้ ลิตสียอ้ มและเคมีสงิ่ ทอชัน้ น�ำ ณ โรงงานมหาชัย จังหวัด สมุทรสาคร เพื่อเสริมก�ำลังความสามารถด้านการผลิต และเพิ่มการรับรู้องค์กรในตลาด สิ่งทอทั่วเอเชีย ซึ่งถือว่าเป็นการขยายและเพิ่มศักยภาพทางด้านความสามารถการผลิตให้แก่โรงงานที่มหาชัยให้มีความ เป็นเลิศยิ่งขึ้น หน่วยนี้มีความเชี่ยวชาญทางด้านการผลิตสีรีแอคทีฟโดยใช้เคมีฟลูออโรไตรอาซีน (CF3) ที่เป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะของ Huntsman

คุณณัฐสิทธิ์ ธีรกุลวาณิช กรรมการผูจ้ ดั การบริษทั ไร้ท์ โซลูชั่น จ�ำกัด (มหาชน) หรือชื่อย่อ “RSPLC” ผู้ผลิต น�ำเข้า จัดจ�ำหน่าย และให้บริการผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ปิโตรเคมี อุตสาหกรรมอาหาร และอุตสาหกรรมพลังงาน ท�ำให้บริษัทมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และได้ก้าวเข้าสู่การแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชน ตั้งแต่เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2555 ที่ผ่านมา ทั้งนี้เพื่อให้การเติบโตเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมั่นคง ทางบริษัทฯ ได้มีการวางแผนงานรองรับ การเติบโตของธุรกิจด้วยการพัฒนาศักยภาพขององค์กรในทุก ๆ ด้าน ทั้งในส่วนการขาย การตลาด การวิจัย การ บริการลูกค้าสัมพันธ์ ตลอดจนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริษัท ไร้ท์ โซลูชั่น เป็นหนึ่งในผู้น�ำด้านผลิตภัณฑ์ถ่านกัมมันต์ (activated carbon) มีการพัฒนาคุณภาพ และคิดค้นกระบวนการวิศวกรรมระบบบ�ำบัดกรองน�้ำประปา กรองน�้ำดื่ม กรองน�้ำเสีย กรองน�้ำส�ำหรับอุตสาหกรรม บ�ำบัดอากาศ กระบวนการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งกระบวนการ บ�ำบัดสารเคมีต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยวางเป้าหมายการขายภายในประเทศในปี พ.ศ.2556 อยู่ที่ 8,200 ตัน หรือคิดเป็นสัดส่วนการตลาด ประมาณ 20% ของปริมาณที่ใช้ภายในประเทศทั้งหมด

บริษัท แม็ก บรูกส์ เอ็กซิบิชั่นส์ (ประเทศอังกฤษ) ผู้จัดงานแสดงสินค้านานาชาติ ร่วมกับ สำ�นักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ สสปน. และ สมาคมผู้ผลิต ชิ้นส่วนยานยนต์ไทย แถลงข่าวการจัดงานอุตสาหกรรมเครื่องยึดและส่วนประกอบระดับภูมิภาค หรือ Fastener Fair Thailand 2013 หลังจากประสบความสำ�เร็จกับการจัดงาน และมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วม ชมงานเป็นจำ�นวนมากในปีที่ผ่านมา พร้อมตั้งเป้าหมายผู้เข้าชมงานปีนี้ 4,000 - 5,000 คน และบริษัท เข้าร่วมงาน 150 - 200 บริษัท รวมทั้งผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องยึดและ ส่วนประกอบในอาเซียน สำ�หรับงาน Fastener Fair Thailand 2013 จะจัดขึ้นในวันที่ 9 - 11 ตุลาคม พ.ศ. 2556 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา

Vol.19 No.185 March 2013

คุณเมตตา อุทกะพันธุ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน) เป็นประธานในงานเปิดตัวหนังสือ “ความส�ำเร็จไม่มีข้อยกเว้น” บทพิสูจน์ของความส�ำเร็จที่ใคร ก็ท�ำได้ และ “อาเซียนรูไ้ ว้ได้เปรียบแน่” หนังสือที่จะท�ำให้คุณรู้จักประชาคมอาเซียนในแบบถึงรากถึงโคน งานเขียนของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน โดยมี คุณระริน อุทกะพันธุ์ ปัญจรุ่งโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จ�ำกัด (มหาชน) คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล คุณอลงกรณ์ พลบุตร และ คุณบุษฎี สันติพิทักษ์ ร่วมแสดงความยินดี ในงาน ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว

95


Movement

E vent สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม แจงผลงานในรอบปี พ.ศ.2555 ทีผ่ า่ นมา หลังปรับโครงสร้าง องค์กรด้วยการทำ� Right Sizing จัดตั้งศูนย์พัฒนาและสนับสนุนอุตสาหกรรมอาหาร และศูนย์บริการ ห้องปฏิบัติการอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถรองรับการให้บริการ และส่งเสริมศักยภาพ ผูป้ ระกอบการ รวมถึงหน่วยงานของรัฐทีเ่ กีย่ วข้อง พร้อมสนับสนุนนโยบาย “ครัวไทยสูค่ รัวโลก” ของรัฐบาล และร่วมผลักดันภาคอุตสาหกรรมอาหารของไทยสู่เวทีการค้าโลกอย่างต่อเนื่อง

สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย (เอทีซไี อ) จัดทำ�โครงการ “ปีแห่งการสร้างความ เติบโตของความต้องการทางด้านไอซีที” (The Year of Growing ICT Demand) เตรียมแผนสร้างตลาด ICT ในประเทศไทยช่วง 3 ปี ประเดิมปีแรก พ.ศ.2556 ผนึกภาครัฐ โดยกระทรวงไอซีทีให้การสนับสนุน เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเปิดตัว พร้อมดึงภาคธุรกิจเอกชนจัดทัพเดินสายจัดกิจกรรมกระตุ้น และสร้างตลาด การใช้ ICT ในกลุ่มอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ทั้งภาครัฐ ภาคอุตสาหกรรม และภาคการศึกษาอย่าง ต่อเนือ่ ง เพือ่ วางรากฐานการใช้ ICT ให้เกิดขึน้ ในทุกภาคส่วน และยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับเศรษฐกิจอาเซียน มิสเตอร์เทรุกาสึ โยไนยามะ (ที่ 4 จากซ้าย) Assistant Manager Upstream Service Program มิสเตอร์โนริฮิเดะ โตมิตะ (ที่ 5 จากซ้าย) General Manager Aftersales Planning and Conversion & Accessories Department Mazda Motor Corporation Company และ มิสเตอร์โตชิมิ ชินากาว่า (ที่ 4 จาก ขวา) ผู้จัดการงานบริการลูกค้าอาเซียน บริษัท มาสด้า เซลล์ (ประเทศไทย) จำ�กัด เข้าเยี่ยมชมโรงงาน สีพ่นซ่อมรถยนต์ดูปองท์ที่จังหวัดสมุทรปราการ โดยมี คุณนพดล ศรีสินรุ่งเรือง (ที่ 3 จากขวา) ผู้จัดการ ฝ่ายขาย บริษัท ดูปองท์ รีฟินิช (ประเทศไทย) จำ�กัด พร้อมทีมงานร่วมให้การต้อนรับ เพื่อสร้างความ เชื่อมั่นให้แก่คู่ค้าในด้านการเป็นผู้นำ�ระบบสีพ่นรถยนต์อันดับหนึ่งของโลก

Vol.19 No.185 March 2013

ผู้ผลิตนิตยสาร Techno & InnoMag สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) จัดงานสัมมนาเรื่อง “Asia 2013 Access New Trend in Technology & Innovation Engagement” โดยได้รบั เกียรติจาก ส�ำนักงาน รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) บริษัท ฟูจิตสึ ซีสเต็ม บีสซีเนส (ประเทศไทย) จ�ำกัด บริษัท ปตท. จ�ำกัด (มหาชน) และ บริษัท ABB (Thailand) จ�ำกัด มาบรรยายให้มุมมองความรู้หลากหลายและ ครอบคลุมด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ประสบความส�ำเร็จเพื่อผู้เข้าร่วม สัมมนาจะสามารถน�ำมาประยุกต์ใช้อย่างสัมฤทธิผ์ ล เมือ่ เดือนกุมภาพันธ์ทผี่ า่ นมา ณ ห้อง Meeting Room 224-225 ไบเทค บางนา (ในงาน Thailand Industrial Fair)

96

คุณสุนิษา อนันทนุพงศ์ ผู้จัดการสายงาน ไวร์เลส คอนเท้นท์ และแอพพลิเคชั่น/คอนเทนต์ บิสซิเนส พาร์ทเนอร์ชิพ บริษัท ทรู มูฟ จ�ำกัด ร่วมกับ คุณปฐมพงศ์ สิรชัยรัตน์ ผู้อ�ำนวยการกลุ่มธุรกิจ อินเทอร์เน็ต และ คุณจิรประวัติ บุณยะเสน ผูอ้ �ำนวยการกลุม่ ธุรกิจโมบาย บริษทั โมโน เทคโนโลยี จ�ำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมให้ลกู ค้าทรูมูฟและทรูมูฟ เอช ได้ร่วมสนุกทายผลบุคคลทีจ่ ะได้รับรางวัลจาก “MThai Top Talk about 2013” กับแคมเปญ “Talk of the Town” พร้อมลุ้นรับรางวัลกว่า 1 ล้าน!! กับทรูมูฟ เอช เพียงกด *561# โทรออก วันนี้ถึง 31 มีนาคมศกนี้เท่านั้น


Movement

S how ใหม่ Fluke CNX 3000 Series ชุดเครื่องมือวัดไร้สายที่ช่วยให้งานซ่อมบ�ำรุงง่ายขึ้น ด้วยการวัดค่าทางไฟฟ้าและอุณหภูมิได้พร้อมกันถึง 10 จุด CNX t3000 โมดูลวัดอุณหภูมิ ด้วยโพรบ K-type

CNX 3000 มัลติมิเตอร์ไร้สาย

CNX a3000 โมดูลแคลมป์ วัดกระแส AC CNX pc3000 PC Adapter แสดงค่าวัดบนจอคอมพิวเตอร์ได้ พร้อมกัน 10 จุดวัด

CNX i3000 โมดูลวัดกระแส AC ด้วยแคลมป์ iFlex™

เชื่อมต่อไร้สาย ระยะไกล 20 เมตร

CNX v3000 โมดูลวัดแรงดัน AC

อ่านค่าวัดในตัวและจากอีก 3 โมดูลพร้อมกัน ในงานไฟฟ้า 3 เฟส ได้อย่างปลอดภัย

ระบบการวัดแบบไร้สายของ Fluke CNX 3000 Series ช่วยให้ คุณวางโมดูลวัดค่าไว้ในจุดทีค่ บั แคบหรืออันตราย แล้วค่อยเฝ้าดูคา่ วัดที่ ระยะปลอดภัย ช่างเทคนิคสามารถตัดไฟ เปิดหน้าปัดแผงสวิตช์ แล้ว ท�ำการต่อโมดูลวัดแรงดันและกระแสทั้ง 3 เฟส จากนั้นปิดหน้าปัดแผง สวิตช์แล้วต่อกระแสไฟฟ้า แล้วอ่านค่าวัดได้อย่างสะดวกที่ด้านนอก พ้นจากระยะอาร์คของไฟฟ้า ด้วยการใช้ประโยชน์จากเครือ่ งมือวัดพืน้ ฐานทางไฟฟ้า ชุดมัลติมิเตอร์ไร้สาย Fluke CNX 3000 Series ช่วยให้ชา่ งเทคนิคขยายขีดความ สามารถและทักษะ เพื่อท�ำงานกับระบบไฟฟ้า 3 เฟส ได้ตามความ ต้องการในงานที่เพิ่มขึ้น โดยไม่จ�ำเป็นต้องอบรมการใช้เครื่องมือวัดที่ ซับซ้อนใหม่ ๆ เพิ่มเติมแต่อย่างใด

***สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อ: คุณสิทธิโชค 08-4710-7667 คุณพลธร 08-1834-0034

บริษัท เมเชอร์โทรนิกซ์ จ�ำกัด

โทรศัพท์ 0-2514-1000; 0-2514-1234 แฟกซ์ 0-2514-0001; 0-2514-0003 Internet: http://www.measuretronix.com, E-Mail: info@measuretronix.com

Vol.19 No.185 March 2013

Fluke ขอแนะน�ำชุดเครื่องมือวัดไร้สายระบบแรกในวงการ ที่ เชือ่ มต่อโมดูลตัววัดแบบไร้สายแล้วส่งค่ามาแสดงผลยังมิเตอร์ตวั หลักที่ ระยะห่างได้ไกลถึง 20 เมตร ช่วยให้การตรวจค้นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ตัวโมดูลมีความแข็งแรงทนทาน สามารถเลือกโมดูล การวัดเป็นชุดต่าง ๆ ให้สอดคล้องเหมาะสมกับงานได้ตามต้องการ ตัวมัลติมิเตอร์หลักที่เป็นแกนกลางของระบบ ซึ่งมีมาตรฐาน ความปลอดภัยสูงระดับ CAT III 1000 V / CAT IV 600 V มีหน้าจอส�ำหรับ แสดงค่าวัดของตัวเอง พร้อมกับค่าวัดสดจากอีก 3 โมดูล และส�ำหรับ งานที่ซับซ้อนก็สามารถดูค่าวัดสดได้พร้อมกันถึง 10 จุด ที่หน้าจอ คอมพิวเตอร์ผ่านตัวเชื่อมต่อไร้สาย CNX PC Adapter ตัวโมดูลวัดประกอบด้วย โมดูลวัดแรงดัน AC โมดูลแคล้มป์วัด กระแส AC โมดูลวัดกระแส AC ด้วยแคล้มป์ iFlex โมดูลวัดอุณหภูมิ ด้วยโพรบ K-Type แต่ละโมดูลใช้วดั ค่าสดและเก็บบันทึกค่าวัดได้ 65,000 ชุดข้อมูล ค่าทีบ่ นั ทึกสามารถเซฟไปยังคอมพิวเตอร์ได้ดว้ ยฟอร์แมต .csv

97




Update

Trend

Certification Bodies

No. 1

2

3

BSi Management System (Thailand) Co. Ltd. Tel. 0-2294-4889-92 Fax : 0-2294-4467 E-mail : infothai@bsigroup.com www.bsithailand.com

4

Bureau Veritas Certification (Thailand) Ltd. Tel. 0-2670-4800 Fax : 0-2718-1940-1 E-mail : marketing@th.bureauveritas.com www.bureauveritas.co.th

5 6 7 8 9 10

11

12 13

14

Vol.19 No.185 March 2013

15

100

Organization Name

AFAQ&WIT Co., Ltd. Tel. 0-2255-8746-8 Fax : 0-2255-8749 E-mail : info@afaq-wit.co.th www.afaq-wit.co.th AJA Registrars Ltd. Tel. 0-2964-9919 Fax : 0-2964-9920 E-mail : sita@ji-net.com www.ajathailand.com

16 17

Certification (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-2279-9909 Fax : 0-2279-9910 www.cert-int.com Det Norske Veritas (Thailand) Co., Ltd. (DNV) Tel. 0-2361-8288-90 Fax : 0-2361-8291 E-mail : dnvban@dnv.com www.dnv.com ETS Product Service Co., Ltd. Tel. 0-2716-8530-6 Fax : 0-2716-8537 European Quality Assurance Co., Ltd. Tel. 0-2591-6483-4 Fax : 0-2591-6483-4 ext. 14 E-mail : info@eqapacific.com www.eqapacific.com Global Certification (Thailand) Ltd. Tel. 0-2526-7459 Fax : 0-2526-7460 Intertek Testing Services (Thailand) Ltd. Tel. 0-2939-0661 Fax : 0-2939-0192 E-mail: jureerat.tharaamornrat@intertek.com www.intertek.com, www.intertek-sc.com Japan Quality Assurance Organization (JQA) through TQA Ltd. Tel. 0-2664-4004 Fax : 0-2664-4064 E-mail : info@tqa.co.th, tqa@loxinfo.co.th www.tqa.co.th, www.jqa.jp Japan Value-Added Certification Co., Ltd. (J-VAC) Tel. 0-2678-6751, 0-81623-9351 Fax : 0-2678-6750 www.j-vac.co.jp Lloyd’s Register Quality Assurance Tel. 0-2367-5594-7 Fax : 0-2367-5598 E-mail : nit.tanasuthiseri@lr.org www.lrqa.com Management System Certification Institute (MASCI) Tel. 0-2617-1727 Fax : 0-2617-1708 E-mail : marketing@masci.or.th www.masci.or.th Moody International (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-2248-1817 Fax : 0-2248-5707 E-mail : cert@moodythai.com www.moodythai.com NQA C.S. (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-2990-6500, 0-2990-6544-5 Fax : 0-2990-6545 E-mail : nqathai@thai.com NSF-CMi Asia-Pacific Tel. 0-2650-3080 Fax : 0-2650-3084 E-mail: asia@nsf.org www. nsf-cmi.com

Certification Services

ISO 9001, ISO 14001, ISO 22000, TS 16949, ISO 13485, OHSAS 18001, GMP, HACCP, TL9000, AS 9100, ISO 9001, ISO 14001, OHSAS 18001, ISO 14064, ISO 50001, PAS 99, ISO 13485, CMDCAS, MDD, JPAL, CE Mark for MD, Kite Mark, ISO/TS 16949, ISO/IEC 27001, ISO/IEC 20000, BS25999 (coming ISO 22301, TL 9000, AS 9100, SA 8000, EICC, ESD, 2nd Party audits ISO 9001, ISO 14001, OHSAS 18001, ISO 14064, ISO 50001, PAS 99, ISO 13485, CMDCAS, MDD, JPAL, CE Mark for MD, Kite Mark, ISO/TS 16949, ISO/IEC 27001, ISO/IEC 20000, BS 25999 (coming ISO 22301), TL 9000, AS 9100, SA 8000, EICC, ESD, 2nd Party audits ISO 9001, ISO 14001, OHSAS 18001, TIS 18001, SA 8000, ISO/TS 16949, GMP, HACCP, BRC, IFS, GlobalGAP(EurepGap), Organic, IS0 22000, ISO 27001, ISO 20000, TL 9000, TLS 8001, AS 9001, TAPA, FSC, Chain of Custody, CE Marking, Code of Conduct, HSPM, VeriCert, CSR Report, CDM, Suppliers’ Audits ISO 9001, TS 16949, ISO 14001, OHSAS 18001, GMP/ HACCP, BS 7799 ISO 9000, ISO 14001, TS 16949, AS 9000, SFM/EMAS, EB Trust, ISO 13485/13488, BS 7799, Tick IT, SA 8000, OHSAS 18001, EN 46001, HACCP R&TTE Test, EMC Test, LVD Test, Bluetooth Mark, CE Mark, FCC Mark, CE 0681 Mark, CSA Mark, GS Mark, Test, OFTA ISO 9001, ISO 14001, AS 9100, GMP, HACCP, SA 8000, OHSAS 18001

No. 18

19

20 21 22

23

24 25

Organization Name

Perry Johnson Registrars, Inc. Tel. 0-2653-2277 Fax : 0-2653-2278 E-mail : pjrthai@pjr.co.th Pro-Application Service Co., Ltd. Authorized Sales and Representative of Underwriters Laboratories Inc. Tel. 0-2363-7767-9 Fax : 0-2363-7770 E-mail : proappser@asianet.co.th www.proapplication.com Thailand Industrial Standards Institute Tel. 0-2202-3429 Fax : 0-2354-3315 www.tisi.go.th GCS International Registra Co., Ltd. Tel. 0-2462-5411 Fax : 0-2462-5412, 0-2873-4171 E-mail : chanyaporn@gcsiter.com SGS (Thailand) Ltd. Direct Line : 0-2678-1368 Tel. 0-2678-1813 press 5 Fax : 0-2678-1508, 0-2678-0620-1 E-mail : ssc.thailand@sgs.com www.th.sgs.com, www.sgs.com Thailand Institute of Scientific and Technological Research Office of Certification Body (TISTR-OCB) Tel. 0-2577-9371, 0-2577-9373 Fax : 0-2577-9372 E-mail : tocb@tistr.or.th Thai International Certified Assessment Co., Ltd. (TICA) Tel. 0-2678-5154, 0-81623-9351 Fax : 0-2678-5155 E-mail : ticacert@gmail.com TUV NORD (Thailand) Ltd. (RWTUV) Tel. 0-2751-4050 Fax : 0-2751-4048 E-mail : Thailand@tuv-nord.com www.tuv-nord.com

26

TUV Rheinland Thailand Ltd. Tel. 0-2318-4862 (7 lines) Fax : 0-2318-4864 E-mail : info@tha.tuv.com www.tuv.co.th

27

TUV SUD PSB (Thailand) Ltd. Tel. 0-2564-8041 Fax : 0-2564-8042 www.tuv-sud-psb.co.th

28

Underwriters Laboratories (Thailand) Ltd. Tel. 0-2207-2407-8 Fax : 0-2264-5943 E-mail : customerservice.th@ul.com www.ul.com

29

Underwriters Laboratories Inc. (UL) International Inspection Co., Ltd. (Autorized Field&Sales Representative of Underwriters Laboratories Inc.) Tel. 0-2711-4934-7, 0-2381-7745-7 Fax : 0-2381-7748 E-mail : pittaya.piriyametha@ii-th.com www.ul.com United Registrar of System (Thailand) Ltd. (URS) Tel. 0-2969-7722-5 Fax : 0-2969-7726-7 E-mail : ursthai@ksc.th.com WCS South East Co., Ltd. Tel. 0-2938-0491-92 Fax : 0-2938-0544 E-mail : wcs-sea@anet.net.th www.wcs-sea.com

ISO 9000, Accreditation by: NAC ISO 9001, ISO 14001, OHSAS 18001, TS 16949, TL 9000 AS 9100, MDD/ISO 13485, BRC, Supplier Evaluation, Factory Evaluatoin, EN 46001 ETL-Mark, S-Mark, GS-Mark, WH-Mark, CE-Mark, CETL- Mar, EMC-Mark, Food Safety, GMP/HACCP, ISO 22000, SA 8000, WRAP, FLA, WEEE/RoHs ISO 9001:2000, ISO 14001, TS 16949, OHSAS 18001, HACCP

ISO 9001, ISO 14001, TS 16949, OHSAS 18001, HACCP/GMP ISO 9001, ISO 14001, TS 16949, 5S, OHSAS 18001, CE Marking, ISO 22000, HACCP, BRC-IOP, IFS, GMP Animal Feed, AS 9100, BS 7799, PED Directive ISO 9001, ISO 14001, TS 16949, TIS/OHSAS 18001, ISO 22000, HACCP, GMP ISO 9000, ISO 14001, TS 16949, OHSAS 18001, AS 9000, VDA 6.1, HACCP ISO 9000, ISO 14000, TS 16949, OHSAS 18001, Tick IT, EN 46000

30

ISO 9001, ISO 14001, OHSAS 18001, HACCP, GMP, BRC, IFS, ISO 22000, SQF, Global GAP, ACP, ACC, TNC, Cook&Thurber Audit etc.

31

Certification Services

ISO 9001, ISO 13485, ISO 14001, ISO 22000, ISO 27001, OHSAS 18001, TL 9000, TS 16949, AS 9100, AS 9120 CE Marking, RoHS & WEEE Directive and E Mark for Europe, CB Scheme for International Markets, D-Mark for Denmak, GS Mark for Germany, GOST-R Mark for Russia, S Mark for Argentina, etc. ISO 22000, ISO 9001, ISO 14001, มอก. 18001, ISO/IEC 17025 ISO 9001, ISO 14001, OHSAS 18001, ISO 22000, GMP, HACCP, Food Safety AS/EN 9100, ISO 9001, ISO/TS 16949, FSC-CoC, ISO 14001, ISO 14064, CDM, OHSAS 18001, ISO 27001, ISO 20000, TL 9000, CSR, SRA, FSSC 22000, ISO 22000, PAS, GMP, HACCP, BRC (Food, Packaging, S&D, CP), AHA, MSC IFS (Food, Logistic), GLOBALGAP, Organic, ISO 13485, CE Mark for MD, CMDCAS, JPAL SA8000,TAPA, ISO28000, 2nd party Audit and others ISO 9001, ISO 14001, ISO 22000, HACCP, GMP, TIS/OHSAS 18001 ISO 9001, ISO 14001, TS 16949, OHSAS 18001, HACCP/GMP ISO 9000, ISO 14001, TS 16949, OHSAS 18001, SA 8000, EN 46000/ISO 13485, BS 7799, IFS, VDA 6.1, CE Marking, HACCP, GMP, GS Marking, ISO 22000, ISO 27000, BS 15000, BOI Scrap, Boiler, Pressure Vesscl Inspection, PED, BRC ISO 9001, ISO 14001, TS 16949/VDA 6.1, TS 16949, OHSAS 18001, SA 8000, ISO/IEC 17025, ISO 13485, HACCP/GMP, ISO/IEC 17799, TL 9000, CE Marking, GS-Mark, TUV-Mark, EMC-Mark, Hong Kong S-Mark, Japan S-Mark, cTUVus Mark, WEEE/RoHs, CBapproval, PSB-Mark, Other Marks Pressure Equip-ment testing, ASME and PED (97/23/EC) ISO 9001, ISO 14001, TS 16949, IFS, BRC-Food Packaging, CE Mark for Medical Devices, ISO 13485, CMDCAS, SA 8000, ISO/IEC 17799/BS 7799, TL 9000, 2nd Party Audit, Hygiene Audit, Automotive Testing, TUV-Mark, EMC-Mark, CBapproval, Other Marks Pres-sure Equipment Testing, PED (97/23/EC) ISO 9001, ISO 14001, TS 16949, OHSAS 18001, ISO 13485/CMDCAS, TL 9000, SA 8000, AS 9100, ISO 27001, ISO 20000, TR 19, UL Mark, CCC Mark, Demko Mark, PSE Mark, UL AR Mark, UL BR Mark, UL GS Mark, EK Mark, NOM Certification, SASO, CE Marking, RoHS Mark, RoHS System (QC 80000), IEC-CB Scheme, Commercial Inspection & Testing Services, and other International Marks ISO 9001, ISO 14001, TS 16949, ISO 20000, ISO 27001, OHSAS 18001, AS 9100, TL 9000, ISO 13485/13488, SA 8000, UL Mark for U.S. and Canada, UL Mark for Agentina, S Mark for Argentina, CCC Mark for China, PSE Marks for Japan, CE Marking for Europe, NOM/Mark for Mexico, Brazillian Mark, UL GS Mark for Germany, CB Scheme for International Markets ISO 9000, ISO 14001, ISO 22000, TS 16949, ISO 13485, ISO 27001, Health & Safety, CE Marking, GMP/ HACCP, BRC-Food, OHSAS 18001 ISO 9001, ISO 14001, HACCP


Calibration Laboratories

37

38 39 40 41

No. 1

2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36

Organization Name

Calibration Center for Industry, Burapha University Tel. 0-3839-3913-4 Fax : 0-3839-3915 Calibration Laboratory, National Institute of Metrology (Thailand) Tel. 0-2248-2181 Fax : 0-2248-4494 Calibration Group, Physics and Engineering Division, Department of Science Service Tel. 0-2246-1387-95 Ext. 336, 337, 338 Fax : 0-2248-0119 Center on Industrial Instrument Calibration, King Mongkut’s University of Technology Thonburi Tel. 0-2872-5281-2 Fax : 0-2872-5283 Dimentional Metrology and Calibration Center, King Mongkut’s Institute of Technology North Bangkok Tel. 0-2913-2500 ext. 6439 Fax : 0-2587-7356 Elite Technology Co., Ltd. Tel. 0-2748-7741-2 Fax : 0-2399-3223 Evidential Breath Tester Calibration, Division of Radiation and Medical Devices, Department of Medical Sciences Tel. 0-2951-1027 Fax : 0-2951-1028 Frequency and Time Standard for Calibration Center, Post and Telegragh Department Tel. 0-2272-6865 Fax : 0-2272-6864 Industrial Metrology and Testing Service Centre Thailand Institute of Scientific and Technological Research Tel. 0-2579-5515 Fax : 0-2579-8592 Ionizing Radiation Metrology Laboratory, Radiation Measurement Division, Office of Atomic Energy for Peace Tel. 0-2562-0096 Fax : 0-2562-0093 Precision Measurement Equipment Laboratory Tel. 0-2534-4472 Fax : 0-2534-4472 Research and Development Institute of Industrial Promotion Technology, Kasetsart University Tel. 0-2942-8566-71 ext. 105 Fax : 0-2940-5414 Secondary Standard Dosimetry Laboratory, Division of Radiation and Medical Devices, Department of Medical Sciences Tel. 0-2951-1027 Fax : 0-2951-1028 Telephone Organization of Thailand Tel. 0-2581-6938 Fax : 0-2581-2025 Testing and Calibration Service, Petroleum Authority of Thailand Tel. 0-2239-7144 Fax : 0-2239-7142 Testing Service Section, National Food Institute Tel. 0-2435-0203-4 ext. 302, 304 Fax : 0-2435-0206 Weights and Measures Laboratory, Bureau of Weights & Measure, Department of Commercial Registration Tel. 0-2547-4345 Fax : 0-2547-4346 Advantage Center Co., Ltd. Tel. 0-2987-3248-50, 0-3896-6366 Fax : 0-2987-3252 Advantage Co., Ltd. Tel. 0-2992-5330-2 Fax : 0-2992-5220 Asia Bio Systems (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-2717-0760 Fax : 0-2717-0764 Ayutthaya Technology Hi-tech Center Co., Ltd. Tel. 0-3535-0137-8 Fax : 0-3535-1716 Burapha Metrology System Co., Ltd. Tel. 0-3839-4927 Fax : 0-3839-4976 Calibratech Co., Ltd. Tel. 0-2964-6211-2, 0-2907-0447-8 Fax : 0-2964-5155 Calibration Laboratory Tel. 0-2578-0353-4, 0-2907-0447-8 Fax : 0-2578-2672 Calibration Laboratory Furniture Tel. 0-2332-2200-5 Fax : 0-2741-8969 Calibration Laboratory, N.M. Technical Center Co., Ltd. Tel. 0-2745-1600 Fax : 0-2745-2801 Calibration Laboratory, Sang Chai Meter Co., Ltd. Tel. 0-2616-8031, 0-2616-8041 Fax : 0-2616-8065 Calibration Operation Division, United Telecom Sales&Services Co., Ltd. Tel. 0-2901-2670-2 Fax : 0-2901-2673 Central Laboratory (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-2940-5993, 0-2940-6881-3 Fax : 0-2940-6668 CMS Technology Co., Ltd. Tel. 0-2954-8400, 0-2591-8833 Fax : 0-2954-8401 Dynistec Co., Ltd. Tel. 0-2946-1314-5 Fax : 0-2946-0458 Family Health Infernational (FHI) PQC Bangkok Laboratory Thailand Tel. 0-2285-5505 Fax : 0-2285-5149 IMI Process Instrument Co., Ltd. Tel. 0-2970-2977 Fax : 0-2552-8403 Industrial Instrument Calibration Center, Industrial Service Department, Technology Promotion Association (Thailand-Japan) Tel. 0-2717-3000-24 ext. 82 Fax : 0-2719-9484 Inctech Metrology Co., Ltd. Tel. 0-2540-0300-2 Fax : 0-2916-8011 Institute of Technological Development for Industry (ITDI) Tel. 0-2913-2500 ext. 6439 Fax : 0-2913-2581

42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71 72 73 74 75 76 77 78

Organization Name

Intech Metrological Center Co., Ltd. Tel. 0-2991-5410, 0-2991-3526 International Testing Service Co., Ltd. (I-Test) Tel. 0-2559-2095 Intro Enterprise Co., Ltd. Tel. 0-2946-1732-7 IQA-Norwest Labs Co., Ltd. Tel. 0-2736-3020 Isotech Instrument (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-2642-9039 Kinetics Corporation Ltd. Tel. 0-2937-3060 Leonics Co., Ltd. Tel. 0-3857-0503-11 ext. 132 Marske Machine (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-3869-1563-4, 0-3868-2992-3 Master Calibration Co., Ltd. Tel. 0-2274-2987-8, 0-2274-2978-9 Measuretronix Co., Ltd. Tel. 0-2514-1000 SCI Plant Services Co., Ltd. Tel. 0-2586-5938 Metrology Co., Ltd. Tel. 0-2316-3362, 0-2317-2161 Metrohm Siam Ltd. Tel. 0-2298-0864 Mettler-Toledo (Thailand) Ltd. Tel. 0-2723-0300 Micro Precision Calibration Inc. Tel. 0-3535-1785 Miracle International Technology Co., Ltd. Tel. 0-2865-4647-8 Mitutoyo (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-2521-6130-5 NEC Corporation (Thailand) Ltd. Tel. 0-2529-2460-5 ext. 386 Performance Team Co., Ltd. Tel. 0-2925-4897 Premier Systems Engineering Co., Ltd. Tel. 0-7447-1480 Ext. 200-3, 0-81766-2929 Professional Calibration & Services Co., Ltd. Tel. 0-2597-9014-5, 0-2569-5158-9 PSB Test (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-2564-8041 Quality Calibration Co., Ltd. Tel. 0-2421-5402, 0-2444-0152-3 Reference Standards Laboratory, Thai Airways International Public Co., Ltd. Tel. 0-2563-8320 Rockertek (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-2690-5500 Sammitr Motors Manufacturing Co., Ltd. Tel.&Fax : 0-2420-0027, 0-2420-1971-2 ext. 1300 Schmidt Electronics (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-2643-1330-9 SP Metrology System (Thailand) Tel. 0-2193-2220 (4 lines) SPC Calibration Center Co., Ltd. Tel. 0-2185-4333 Siemens Ltd. Tel. 0-2366-0951-8 ext. 201-205 SGS (Thailand) Limited, Laboratory Services Tel. 0-2683-0541, 0-2294-7485-9 Siam Leader Tech Co., Ltd. Tel. 0-2812-1937, 0-2812-0560 SKIP Calibration Engineering Co., Ltd. Tel. 0-3877-5374-5 Sumipol Co., Ltd. Tel. 0-2762-3000 Technology Instrument Co., Ltd. Tel. 0-2743-8888 ThaiCRT Co., Ltd. Tel. 0-3849-0220 ext. 304 Thai Calibration Services Co., Ltd. Tel. 0-2420-1610 Thai Scale Co., Ltd. Tel. 0-2420-1610-1 Tira Thai Co., Ltd. Tel. 0-2709-4490 Unithai Group Co., Ltd. Tel. 0-2713-0375 Yokogawa (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-2381-0071 อุตสาหกรรมการบิน บ.จก. Tel. 0-2155-3272

Trend Fax : 0-2991-3394 Fax : 0-2559-2096 Fax : 0-2946-1738-9 Fax : 0-2374-4030 Fax : 0-2448-5203 Fax : 0-2937-3057 Fax : 0-3857-0512 Fax : 0-3868-2988 Fax : 0-2274-2518, 0-2274-2989 Fax : 0-2514-0001 Fax : 0-2586-5791 Fax : 0-2316-4390 Fax : 0-2298-0865 Fax : 0-2719-6479 Fax : 0-3535-1786 Fax : 0-2865-4649 Fax : 0-2521-6136 Fax : 0-2529-2133 Fax : 0-2925-4898 Fax : 0-87447-1290 Fax : 0-2990-9235 Fax : 0-2564-8042 Fax : 0-2809-4584 Fax : 0-2563-9183 Fax : 0-2690-5509

Fax : 0-2643-1340 Fax : 0-2193-2221 Fax : 0-2185-4424 Fax : 0-2747-1223 Fax : 0-2294-7484, 0-2683-0758 Fax : 0-2812-0560 Fax : 0-3877-4944 Fax : 0-2762-3030 Fax : 0-2743-8880 Fax : 0-3849-3694 Fax : 0-2420-1380 Fax : 0-2420-1380 Fax : 0-2709-3236 Fax : 0-2713-0377 Fax : 0-2381-3262-4 Fax : 0-2155-3277

Vol.19 No.185 March 2013

Update

No.

101


Update

Trend

Consultancy and Training No. 1

2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15 16 17 18 19 20 21 22 23 24 25 26 27 28

Vol.19 No.185 March 2013

29

102

30 31 32 33

34 35 36 37 38

Organization Name

ACEE Management International Co., Ltd. Tel. 0-2745-8325-6 Advanced Nav Co., Ltd. Tel. 0-2377-4410-1 Advantage Co., Ltd. Tel. 0-2992-5330-1, 0-2992-5218-9 AIM Inlines Co., Ltd. Tel. 0-2270-0984-5 AQTC (International) Co., Ltd. Tel. 0-81697-4431 Asia Quality Serve Co., Ltd. Tel. 0-5327-2997, 0-84171-2985 Aspects (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-2939-9097 ATS Business Co., Ltd. Tel. 0-2907-7700 Bisman International Co., Ltd. Tel. 0-2939-9097, 0-2939-9775 BPR & TQM Consultant Co., Ltd. Tel. 0-2258-3817, 0-2259-6012 Business & ISO Consulting Co., Ltd. Tel. 0-89897-9818 Cape Bangkok Co., Ltd. Tel. 0-2939-8646, 0-2982-8291-3 CCT Square Co., Ltd. Tel. 0-2939-7717-20 CQM Co., Ltd. Tel. 0-2934-1178-9 Direct Organizing Supply Co., Ltd. Tel. 0-2934-1501-4 Empowerment Co., Ltd. Tel. 0-2964-2965 Francisco International Co., Ltd. Tel. 0-2915-3005 Gemba SPC Management Co., Ltd. Tel. 0-2881-3756-7 GP Business Consulting Co., Ltd. Tel. 0-2733-2700 (Auto) HIPO Training and Consultancy Co., Ltd. Tel. 0-2615-4477-79 Improvision Co., Ltd. Tel. 0-2678-6701-3 Integrate Consulting Co., Ltd. Tel. 0-2762-0823 International Inspection Co., Ltd. Tel. 0-2711-4934-7, 0-2381-7745-7 Infinit Quality Co., Ltd. Tel. 0-2337-5785, 0-81697-7093 IQS Management Co., Ltd. Tel. 0-2943-0367-8 Ixora Co., Ltd. Tel. 0-2896-9633 J&W Consultancy (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-81903-6396, 0-81817-6434 JR Synergy Co., Ltd. Tel. 0-2977-9509 Kenan Institute Asia Tel. 0-2229-5920, 0-2229-3131-2 Laboratory Center for Food and Agricultural Products Tel. 0-2940-6881-3, 0-2940-5993 Maximus Consulting Tel. 081-907-3433 M-FOCUS Co., Ltd. Tel. 0-2513-9892, 0-2513-9901-2 National Science and Technology Development Agency (NSTDA) Tel. 0-2248-7541-8

No.

Fax : 0-2745-8327 Fax : 0-2377-0324 Fax : 0-2992-5220 Fax : 0-2270-0985 Fax : 0-2928-9383 Fax : 0-5327-2997 Fax : 0-2939-9684 Fex. 0-2907-7600 Fax : 0-2939-9684 Fax : 0-2258-6337 Fax : 0-2381-1037 Fax : 0-2939-8647, 0-2982-8290 Fax : 0-2513-7906 Fax : 0-2934-1180 Fax : 0-2539-7139 Fax : 0-2964-1865 Fax : 0-2915-1606 Fax : 0-2881-3758 Fax : 0-2733-2332 Fax : 0-2615-4499 Fax : 0-2678-6704 Fax : 0-2347-3851 Fax : 0-2381-7748 Fax : 0-2337-5785 Fax : 0-2943-0368 Fax : 0-2896-9433 Fax : 0-2185-7196 Fax : 0-2977-9509 Fax : 0-2229-5928 Fax : 0-2940-6668 Fax : 0-2632-2008 Fax : 0-2512-3890 Fax : 0-2248-7549

39 40 41 42 43 44 45 46 47 48 49 50 51 52 53 54 55 56 57 58 59 60 61 62 63 64 65 66 67 68 69 70 71

Organization Name

NY Consultant & Training (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-3533-2279, 0-81991-0534 OMNEX Co., Ltd. Tel. 0-2254-7794-6 Paragon Management Co., Ltd. Tel. 0-2995-4375, 0-2995-6671 Perry Johnson, Inc. Tel. 0-2655-4700 email: pji@pji.co.th Prima Management Co., Ltd. Tel. 0-2690-0600-1 Productivity Management Center (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-81918-9082, 0-89203-6961 Q&A Quality and Calibration Co., Ltd. Tel. 0-2710-2138, 0-2753-7452 Q&A Management Limited Partnership Tel. 0-2594-6184, 0-89985-1663 Q&E Management Co., Ltd. Tel. 0-2735-1503-4, 0-81648-6719 QCD Management Co., Ltd. Tel. 0-2917-9188, 0-2981-0949 Q Con Business (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-2327-4415 Q Express (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-2961-4444 QMI-Quest (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-2260-1311-2 Qualine Management Co., Ltd. Tel. 0-2961-8061-2 Quality Associales Ltd. Tel. 0-2540-5586, 0-88277-2720 Quality Alliance (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-2803-9359 Quality Focus Co., Ltd. Tel. 0-2966-6256, 0-2966-5498 Quality Partner Co., Ltd. Tel. 0-2598-6313, 086-342-9724-5 Quality Satisfied Co., Ltd. Tel. 0-2802-8961 Quality Specialists Co., Ltd. Tel. 0-2902-9501 Quality System Development International (Thailand) Co., Ltd. (QSDI) Tel. 0-2421-4213 Quality Training (Thailand) Ltd. Tel. 0-2902-0384, 0-2516-5298 Q solution Co., Ltd. Tel. 0-2907-7700 Siam Productivity Co., Ltd. Tel. 0-2246-9106-7 STQC : National Science and Technology Development Agency Tel. 0-2564-7000 Solution Center Co., Ltd. Tel. 0-2748-6211-2 Superb Quality Services (SQS) Tel. 0-2921-7862, 0-2921-7962 System Development Consultant Co., Ltd. Tel. 0-2849-3691, 0-81616-3669 Technology Promotion Institute Tel. 0-2717-3000-29 ext. 81 Thailand Productivity Institute Tel. 0-2619-5500 TOP MC (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-2894-5900, 0-82799-5640 TQP Consulting Co., Ltd. Tel. 0-2311-3349-50, 0-81815-4294 Trade Master International Co., Ltd. Tel. 0-2968-7986, 08-1924-6556, 08-9445-6116 UEE Technology (Thailand) Ltd. Tel. 0-2730-6300 Unique Caliber Consultants Co., Ltd. Tel. 0-2267-3810-2, 0-2634-0996-8 Value Added Consulting Co., Ltd. Tel. 0-81861-4331 VKT Management (Thailand) Co., Ltd. Tel. 0-2426-2017 WQA World Quality Co., Ltd. Tel. 0-2510-1144, 0-81830-7336

Fax : 0-3533-2279 Fax : 0-2254-7797 Fax : 0-2995-4375 Fax : 0-2655-4699 Fax : 0-2690-0601 Fax : 0-2939-3588 Fax : 0-2753-7452 Fax : 0-2594-6401 Fax : 0-2735-1504 Fax : 0-2917-9188, 0-2981-0949 Fax : 0-2327-4415 Fax : 0-2961-4224 Fax : 0-2260-1313 Fax : 0-2584-6576 Fax : 0-2906-4978 Fax : 0-2803-9057 Fax : 0-2966-5459 Fax : 0-2598-6312 Fax : 0-2802-8962 Fax : 0-2902-9500 Fax : 0-2809-4584 Fax : 0-2902-0589, 0-2516-1349 Fax : 0-2907-7600 Fax : 0-2246-9109 Fax : 0-2564-7003 Fax : 0-2748-6683 Fax : 0-2921-7862 กด 19 Fax : 0-2849-3691 Fax : 0-2719-9481-3 Fax : 0-2619-8100 Fax : 0-2894-5901, 027-7606-5843 Fax : 0-2311-3359 Fax : 0-2968-8986 Fax : 0-2730-6305 Fax : 0-2238-2755 Fax : 0-3853-5955 Fax : 0-2426-2017 Fax : 0-2945-8082


Trend วัตถุประสงค์ในการหาข้อมูล ❍ เพื่อพิจารณาสั่งซื้อ ❍ เพื่อขอรับบริการ ❍ เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิง ❍ เพื่อเป็นตัวแทนจำ�หน่าย

ว า ร ส า ร ร า ย เ ดื อ น ข อ ง ส. ส. ท. ปี ที่ 1 9 ฉ บั บ ที่ 1 8 5 มี น า ค ม 2 5 5 6

วัตถุประสงค์ในการหาข้อมูล ❍ เป็นสมาชิก ❍ อภินันทนาการ ❍ ซื้อเอง

สำ�หรับท่านที่ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ลงโฆษณา เพียงท่านกรอกข้อมูลในแแบฟอร์ม แล้วส่งแฟกซ์ : 0-2662-1096 เราจะดำ�เนินการจัดส่งข้อมูลกลับไปยังท่านติอไป ภายใน 1 สัปดาห์

Products

Lab Calibrations

Calibration

Dimension

Mass

❍ Measuretronix Ltd. ❍ Technology Instrument Co., Ltd. ❍ V Eye Precision Limited

❍ Technology Instrument Co., Ltd.

❍ Technology Instrument Co., Ltd.

Electric

pH Meter

Equipment

❍ Marske Machine (Thailand) Co., Ltd. ❍ Technology Instrument Co., Ltd.

❍ Technology Instrument Co., Ltd.

❍ Technology Instrument Co., Ltd. ❍ V Eye Precision Limited

Force ❍ Technology Instrument Co., Ltd.

❍ Marske Machine (Thailand) Co., Ltd. ❍ Technology Instrument Co., Ltd.

Hardness

Temperature & Huminity

❍ Technology Instrument Co., Ltd.

❍ Marske Machine (Thailand) Co., Ltd. ❍ Technology Instrument Co., Ltd.

Measurement ❍ Measuretronix Ltd. ❍ Technology Instrument Co., Ltd. ❍ V Eye Precision Limited

Services & etc. ❍ Measuretronix Ltd. ❍ Technology Instrument Co., Ltd. ❍ V Eye Precision Limited

Software ❍ Measuretronix Ltd. ❍ Technology Instrument Co., Ltd.

Length ❍ Marske Machine (Thailand) Co., Ltd. ❍ Technology Instrument Co., Ltd.

Consultancy & Training ❍ CCT Square Co., Ltd.

Pressure

Services & etc. ❍ Marske Machine (Thailand) Co., Ltd. ❍ Technology Instrument Co., Ltd.

Certification Bodies ❍ TÜÜV SUD PSB (Thailand) Ltd.

Testing ❍ Measuretronix Ltd. ❍ V Eye Precision Limited

Training

Vol.17 No.153 July 2010

❍ Measuretronix Ltd.

103


etc.

etc.

5S

TIS/OHSAS 18001

SA 8000

etc.

TQM

Training

ISO/TS 16949

ISO 14001

Temperature & Huminity

Pressure

Six Sigma

pH Meter

Mass

Length

Hardness

Force

Electric

Testing

Inside Front Cover, 1 Back Cover 2

Software

Page

Services

Technology Instrument Co., Ltd. V Eye Precision Limited

11

Measurement

Measuretronix Ltd.

Page

ISO 9001

Back Cover

Equipment

Technology Instrument Co., Ltd.

Products

ISO 17025

102, 103

CCT Square Co., Ltd.

Vol.19 No.185 March 2013

Page

Marske Machine (Thailand) Co., Ltd.

Consultancy & Training

104

HACCP

Lab Calibrations

9

Calibration

TÜV SUD PSB (Thailand) Ltd.

Page

Dimension

Certification Bodies

AS 9000 CE Mark EN/ISO 13485 HACCP ISO 9001 ISO 14001 ISO 22000 ISO 27001 ISO/TS 16949 OHSAS 18001 SA 8000 TIS 18001 TL 9000 VDA 6.1 etc.

Advertiser’s Index

✗ ✗

หมายเหตุ* Advertiser’s Index ได้จัดทำ�ขึ้นเพื่อความสะดวกในการค้นหาชื่อของบริษัทต่าง ๆ ที่ลงโฆษณาในนิตยสารฉบับนี้ โดยไม่มีข้อผูกมัดใด ๆ กับบริษัทที่ลงโฆษณา หากเกิดความผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำ�ขออภัยไว้ ณ ที่นี้ด้วย




Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.