เอกสารประกอบการเรียนการสอน ชื่อวิชา รหัสวิชา จํานวนหน่ วยกิต อาจารย์ ผู้สอน
การแกะสลักผักผลไม้และงานใบตอง Fruit Vegetable Carving and Banana Leaf Crafting HE2042212 3 (0-6-3) (บรรยาย-ปฎิบตั ิ-ศึกษาด้วยตนเอง) อาจารย์สุกญั ญา จันทกุล อาจารย์ศกั ริ นทร์ หงส์รัตนาวรกิจ ภาคการศึกษา ที่ 2 ปี การศึกษา 2561
การแกะสลักผักผลไม้ Fruit Vegetable Carving
ประวัตคิ วามเป็ นมาของงานแกะสลักผักและผลไม้ หนังสื อตํารับท้าวศรี จุฬาลักษณ์ หรื อนางนพมาศ ได้กล่าวถึง สมัยสุ โขทัยเป็ นราช ธานี ในรัชสมัยของสมเด็จพระร่ วงเจ้า ได้มีนางสนมคนหนึ่ งชื่ อ นางนพมาศ หรื อท้าวศรี จุฬาลักษณ์ ในพระราชพิธีจองเปรี ยง วันเพ็ญเดื อนสิ บสอง เป็ นนักขัตกฤษ์ ชักโคมลอย นางนพมาศได้คิดตกแต่งโคมลอยให้งามประหลาดกว่าโคมของพระสนมทั้งปวงได้เลือก ผกาเกสรสี ต่างๆ ประดับเป็ นรู ปดอกกระมุทบานกลีบรับแสงพระจันทร์ ล้วนแต่พรรณของ ดอกไม้ซอ้ นสี สลับให้เป็ นลวดลายแล้วจึงนําเอาผลพฤกษาลดาชาติ มาแกะสลักเป็ นมยุระ คณานกวิหคหงส์ให้จบั จิกเกสรบุปผาชาติ อยู่ตามกลี บดอกกระมุท ทั้งเสี ยบแซมเที ยนธู ป และประทับนํ้ามันเปรี ยงเจือด้วยไขข้อพระโค
สมัยกรุ งรัตนโกสิ นทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระราชนิ พนธ์กาพย์แห่ ชม เครื่ องคาวหวาน และแห่ชมผลไม้ได้พรรณนาชมฝี มือการทําอาหาร การปอกคว้านผลไม้ พระราชนิพนธ์กาพย์แห่ชมเครื่ องคาวหวานตอนหนึ่งว่า...... หมากปรางนางปอกแล้ว ใส่ โถแก้วแพร้วพรายแสง ยามชื่นรื่ นโรยแรง ปรางอิ่มอาบซาบนาสา พลับจีนจักด้วยมีด ทําประณี ตนํ้าตาลกวน คิดโอษฐ์อ่อนยิม้ ยวน ยลยิง่ พลับยับยับพรรณ น้อยหน่านําเมล็ดออก ปล้อนเปลือกปอกเป็ นอัศจรรย์ มือใครไหนจักทัน เทียบเทียมที่ฝีมือนาง ผลเงาะไม่งามแงะ ล่อนเมล็ดและเหลือปัญญา หวนเห็นเช่นรจนา จ๋ าเจ้าเงาะเพราะเห็นงาม
งานแกะสลักผักผลไม้ (Carving) เป็ นการนําผักหรื อผลไม้มาประดิษฐ์เป็ น รู ปแบบต่าง ๆ ด้วยการใช้มีดหรื อเครื่ องมืออื่นๆ เช่น มีดแกะสลัก มีดคว้าน มีด ปอก สิ่ ว มาแกะให้เป็ นลวดลาย เป็ นรู ปทรง เป็ นตัวสัตว์ ตราสัญญลักษณ์หรื อ ตามจินตนาการของผูส้ ร้างสรรค์งานแกะสลัก สําหรับการเรี ยนการสอนของ โชติเวชจะใช้มีดแกะสลักเพียงเล่มเดียวในการสร้างสรรค์ผลงาน
อุปกรณ์ ในการแกะสลัก เครื่องใช้ ประเภทมีด เครื่ องใช้ประเภทมีดมีมากมายหลายชนิ ด ควรใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของ งาน เช่น การแกะ การเกลา การปอก ดังนั้นควรเลือกใช้ให้ถูกต้อง 1.มีดแกะสลักที่มีด้ามแบน มีลกั ษณะใบมีดเรี ยวแหลมยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ใบมีดมักจะเป็ นเนื้ อสแตน เลสอย่างดี เพื่อมิ ให้เกิ ดปฏิ กิริยากับผักและผลไม้ มีดด้ามแบนเหมาะสําหรับผูท้ ี่ เริ่ มฝึ กฝนการแกะสลัก เพราะ สามารถควบคุมมีดได้ง่าย 2. มีดแกะสลักที่มีด้ามกลม มีลกั ษณะใบมีดเรี ยวแหลมยาวประมาณ 1.5 – 2.5 นิ้ ว ใบมีดมีท้ งั เนื้ อ สแตนเลส และเนื้ อเหล็ก จึงควรเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน มีดด้ามกลมเหมาะสําหรับผูท้ ี่แกะสลักได้แล้ว เพราะสามารถควบคุมมีดให้ไปตามทิศทางต่างๆ
- มีดจะต้องมีความคม ใบมีดที่บางจะสามารถแกะสลักลวดลายได้ละเอียดและไม่มีรอยชํ้าที่เกิดจาก รอยมีด - นํ้าหนักของด้ามมีดจะต้องมีความเบา เพื่อไม่ให้เกิดการอ่อนล้า - ปลายมี ด จะต้องมี ความเหยียดตรงไม่ มีรอยบิ่ น และควรมี ปลอก หรื อ ซองสํา หรับเก็บมี กเพื่ อ ป้ องกันปลายมีด - ใบมีดควรเลือกที่ไม่เป็ นสนิ มง่ายเพราะจะดูแลรักษายาก และไม่ปลอดภัยต่อการบริ โภค การเก็บรักษามีด - หลังใช้งานแล้วต้องทําความสะอาดทุกครั้ง เพราะผักและผลไม้ที่นาํ มาแกะสลักบางชนิ ดมียาง ต้อง ล้างยางที่คมมีดด้วยมะนาว หรื อนํ้ามันพืชก่อน แล้วจึงล้างด้วยนํ้าให้สะอาด เช็ดให้แห้งเก็บปลายมีดในฝัก หรื อปลอด - หมัน่ ดูแลมีดแกะสลักให้มีความคมสมํ่าเสมอเวลาใช้งานแกะสลักผักและผลไม้จะได้ไม่ช้ าํ โดยหลัง การใช้ตอ้ งลับคมมีดทุกครั้ง เช็ดให้แห้งเก็บใส่กล่องไว้ให้พน้ มือเด็ก - ควรเก็บมี ดแกะสลักในปลอกมี ดเพื่อป้ องกันไม่ให้ปลายมีดกระทบของแข็ง จะทําให้ปลายมีดหัก หรื องอได้
การจั บ มี ด นอกเหนื อ จากมี ด แกะสลัก ที่ ดี จะช่ ว ยให้ ชิ้ น งานมี ค วามสวยงาม การจับมี ดแกะสลักที่ถูกต้องเป็ นอีก ปั จจัยหนึ่ งที่ผแู ้ กะสลักจะต้องให้ความสําคัญ เนื่ องจากการจับมีดที่ถูกต้อง จะเป็ นส่ วนหนึ่ งของการ ลดอุบตั ิเหตุ ขณะแกะสลัก และลดการปวดข้อมือจากการเกร็ งข้อมื อระหว่างการแกะสลักอี กทั้งช่ วยให้การ แกะสลักมีความรวดเร็ ว การจับมีดแกะสลัก มี 2 ลักษณะคือ 1. การจับมีดแบบปอกผักและผลไม้ คือการใช้มือขวาจับด้ามมีด มีดจะ อยูใ่ นลักษณะแนวนอนไปกับอุง้ มือ นิ้วหัวแม่มือจะวางบนสันมีด นิ้ วชี้ วางหรื อแตะ บนวัสดุที่แกะส่ วนสามนิ้ วที่เหลือให้จบั ด้ามมีดแกะสลัก การจับมีดแบบปอกจะใช้ ในการฝาน ตัด เกลา 2.การจับมี ด แบบจับดิ น สอ คื อ การใช้มื อ ขวาจับด้า มมี ด มี ด จะอยู่ใ น ลักษณะแนวตั้งกับอุง้ มื อ นิ้ วหัวแม่มือ นิ้ วชี้ นิ้ วกลาง จะจับมีดอยู่ระหว่างรอยต่อ ของตัวมีดกับด้ามจับมีด นิ้ วก้อยจะ วางหรื อแตะบนวัสดุที่แกะสลัก การจับมีดแบบ จับดินสอใช้ในการกรี ด เซาะร่ อง เจาะเกสรดอก เจาะฉลุลาย และการแกะการจับมีด แบบปอกผักและผลไม้
ประโยชน์ การแกะสลัก 1.ใช้ ในชีวติ ประจําวัน เช่น การแกะสลักผักเครื่ องจิ้ม การจัดชุดผักสลัด การปอกคว้านผลไม้หนั่ ชิ้น ก็เพื่อความสะดวกและความสวยงามในการรับประทาน โดยใช้วิธีการแกะแบบง่ายๆใช้ เวลาน้อยโดยรักษาคุณค่าของสารอาหารไว้ให้มากที่สุด
2. ใช้ ในโอกาสพิเศษและในเทศกาลหรือประเพณีต่างๆ เช่น งานเลี้ยงโอกาสพิเศษ งาน เทศกาล งานประเพณี ต่างๆ การแกะสลักค่อนข้างใช้ระยะเวลาในการแกะสลัก มีความ ละเอียดสวยงาม มีรูปแบบการจัดตามประเภทของงาน เพื่อใช้ตกแต่งสร้างบรรยากาศ เช่น การแกะสลักตกแต่งหัวจาน แกะสลักภาชนะใส่อาหาร ตกแต่งโต๊ะอาหาร หรื อตกแต่ง สถานที่
3.ใช้ ในการสร้ างอาชีพและรายได้ ความรู ้และทักษะทางด้านงานแกะสลักสามารถนําไปประกอบ อาชีพช่างแกะสลักผักและผลไม้ในธุรกิจร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรมรวมถึงยังสามารถเปิ ดสอน แกะสลักให้กบั บุคคลที่สนใจ ทั้งชาวไทยและต่างชาติ สบู่แกะสลักสบู่เป็ นของขวัญของที่ระลึกหรื อของชําร่ วยเนื่ องจากสบู่มีกลินหอม และสามารถ แต้มสี สนั ให้สวยงาม สามารถเก็บไว้ได้นาน
4. ใช้ ในการดํารงศิลปวัฒนธรรมไทย การแกะสลักผักและผลไม้เป็ นงานฝี มือที่เป็ นศิลปประจําชาติ แต่มิได้เผยแพร่ กบั บุคคลทัว่ ไป เพื่อเป็ นการสื บทอดและสื บสานงานแกะสลักให้คงอยูค่ วรเรี ยนรู้ ฝึ กฝนบ่อยๆจนเกิดความชํานาญและพัฒนาลวดลาย วัสดุในการแกะสลักรวมถึงเทคนิ คใหม่ๆเพื่อ เป็ นการอนุรักษ์สืบทอดต่อไป
ผักและผลไม้ ที่ใช้ ในการแกะสลัก ผักสําหรับการแกะสลัก มีอยูห่ ลายหลากชนิ ดให้ เลือกใช้ตามความเหมาะสมของชิ้นงาน เช่น ประเภทผักใบ ลําต้น ราก หัว หรื อผักที่เป็ นผล การเลือกใช้ผกั สําหรับการ แกะสลักควรเลือกใช้ตามฤดูกาลเพราะจะได้ผกั ที่มีราคาถูก คุณภาพดี สําหรับการเลือกผักที่จะนํามาแกะสลักต้องเลือก ผักที่สดใหม่ ผิวตึง มีสีสนั สวยงาม ผลไม้สาํ หรับการแกะสลัก มีอยูห่ ลายหลากชนิ ดให้ เลือกใช้ตามความเหมาะสมของชิ้นงาน ได้แก่ ผลไม้ที่เป็ น ผลเดียว ผลไม้ที่เป็ นผลรวมจากกลุ่มเกสร หรื อผลไม้รวม จากช่อดอก การเลือกใช้ผลไม้สาํ หรับการแกะสลักควร เลือกใช้ตามฤดูกาลเพราะจะได้ผลไม้ที่มีราคาถูก คุณภาพดี สําหรับการเลือกผลไม้ที่จะนํามาแกะสลัก ต้องเลือกผลไม้ที่ มีความสดใหม่ ไม่เหยีย่ วเฉา มีข้วั ของผลสดและมีสีเขียวสี เขียว
การขึน้ รู ปทรงงานแกะสลัก
ก่อนลงมือแกะสลักผักและผลไม้จาํ เป็ นต้องมีการเกลาขึ้นรู ปทรงตามประเภท ของงานแกะสลัก เช่น ใบไม้ ดอกไม้ ตัวสัตว์ ภาชนะ เป็ นต้น การแกะสลักใบไม้โดยมี การเกลาขึ้นรู ปทรงคล้ายหยดนํ้า การแกะสลักดอกไม้ โดยมีการเกลาขึ้นรู ปทรงฐาน โค้ง รู ปทรงกรวย รู ปทรงฐานป้ าน รู ปทรงครึ่ งวงกลม รวมถึงการแกะตัวสัตว์ ภาชนะมี การเกลาขึ้นรู ปทรงให้มีลกั ษณะคล้ายของจริ งมากที่สุด
การแกะสลักลายพืน้ ฐาน เบื้องต้นของการเริ่ มแกะสลักเพื่อให้เกิดทักษะ คือการเกลารู ปทรงดอกข่า การจับมีดแบบต่างๆ การกรี ด การเซาะร่ อง การแกะสลัก โดยมีลวดลายพื้นฐาน เช่น ลวดลายรวงข้าว ลวดลายกลีบดอกรักเร่ ลวดลายคดกริ ช ลวดลายเกล็ดปลา ลวดลายบานชื่น เป็ นต้น และสามารถนําลวดลายพื้นฐานไปประยุกต์ใช้กบั ลวดลายหรื อวัสดุอื่นๆได้
การแกะสลักลวดลาย ดอกไม้ ใบไม้ คือการแกะสลักที่เกิดจากเลียนแบบจาก ดอกไม้ ใบไม้ที่มีอยูต่ ามธรรมชาติ โดยส่ วนใหญ่ เช่น ดอกรักเร่ ดอกบานชื่น ดอก ผีเสื้ อ ดอกกุหลาบ ดอกกล้วยไม้ ใบไม้ชนิ ดต่างๆ เป็ นต้น บางโอกาศเพื่อต้องการให้มีสีสนั ความเหมือนจริ งอาจใช้วิธีการย้อมสี หรื อ ระบายสี ให้ดอกไม้
ลวดลายเครือเถาว์ เป็ นลวดลายที่มีการแกะสลักดอกกลุ่มหลายๆดอกโดยมีการแกะสลัก ดอกขนาดใหญ่ ดอกขนาดกลาง ดอกขนาดเล็ก ใบ สอดแซมสลับกันดูออ้ นช้อย
ตัวสั ตว์ เป็ นลวดลายที่มีความสลับซับซ้อนและจินตนาการสร้างสรรค์มากกว่า ลวดลายอื่นๆ เพราะต้องศึกษารู ปร่ าง ลักษณะธรรมชาติของสัตว์
การดูแลรักษาชิ้นงานแกะสลัก งานแกะสลักผักและผลไมเปนงานที่ตองใชทั้งสมาธิ ความคิดสรางสรรค ความปราณีตในการสรางสรรคชิ้นงาน และที่สําคัญยิ่งคือวัสดุที่ใชในการแกะสลักคือของสด ดังนั้นผูแกะสลักจึงตองทํางานแขงกับเวลา ตองรักษาความสดของ สิ่งที่นํามาแกะสลักใหเกิดความสวยงาม การดูแลชิ้นงานแกะสลักจึงเปนสิ่งสําคัญอีกประการหนึ่งที่ผูแกะสลักควรศึกษา และเรียนรูวิธีการรักษาชิ้นงาน เพื่อใหชิ้นงานแกะสลักมีอายุการใชงานที่ยาวนานคุมคากับเวลาและความปราณีตบรรจง ของชิ้นงานแกะสลักมีขั้นตอนการดูแลรักษา ดังนี้ • กอนลงมือแกะสลักควรลางผักและผลไมใหสะอาด • ขณะแกะสลักตองหมั่นสังเกตผักและผลไม โดยเฉพาะผักผลไมบางชนิดตองดูแลรักษาพิเศษ เชน มะเขือ น้ําเตา ชมพู มะมวง แอปเปล ซึ่งจะดํางาย อาจจะแชน้ํามะนาวหรือน้ําเกลือเจือจาง เพื่อชวยไมใหผักและ ผลไมมีสีดํา • หลังการแกะสลักเสร็จเรียบรอย และรอการใชงานควรเก็บชิ้นงานใสกลองพลาสติกปดฝา หรือหอดวยพลาสติกหออาหารเก็บไวในตูเย็น
จบการนําเสนอ Thank you