MEMORY OF KANCHANABURI
Photo by Nassaran
บทนำ� กาญจนบุรีคือดินแดนแห่งธรรมชาติ อันอุดมสมบูรณ์ด้วยผืนป่า พรรณไม้ โถงถ้ำ� น้ำ�ตก และ ประเพณีวัฒนธรรมอันหลากหลายของผู้คนหลากเชื้อชาติที่อาศัยอยู่ร่วมกันอย่างเอื้ออารี ทั้งไทย พม่า มอญ ปากะญอ (กะเหรี่ยง) ฯลฯ ยิ่งไปกว่านั้น กาญจนบุรียังเต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ โดย เฉพาะเหตุการณ์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งมีอนุสรณสถานหลายแห่งปรากฏให้เห็นเป็นหลักฐาน เช่น สะพานข้ามแม่น้ำ�แคว สุสานทหารสัมพันธมิตร พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด ฯลฯด้วยความหลากหลาย ของพื้นที่และเรื่องราวที่สั่งสมอยู่ในจังหวัดชายแดนตะวันตกแห่งนี้ กาญจนบุรีจึงเป็นจุดหมายปลายทาง ที่เหมาะสำ�หรับนักท่องเที่ยวทุกสไตล์ ทุกวัย และทุกฤดูกาล หนังสือภาพเรื่์องธรรมชาติ แหล่งประวัติศาตร์ในจังหวัดกาญจนบุรีเล่มนี้ จะเป็นการนำ�เสนอ ในเชิงท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และแหล่งประวัติศาสตร์ที่สำ�คัญ ทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่อง เที่ยวให้สำ�หรับบุคคลที่รักและสนใจในเรื่องของการถ่ายภาพด้วย ผู้จัดทำ�จึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ เล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่บุคคลทุกเพศทุกวัยและหากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำ�กราบขออภัยมา ณ ที่นี้
นางสาวนัศรันทร์ ฉายแก้ว
ผู้จัดทำ�
สารบัญ สุสานทหารสัมพันธมิตร
หน้า 2
ทางรถไฟสายมรณะ
หน้า 12
น้ำ�ตกเอราวัณ
สะพานข้ามแม่น้ำ�แคว
หน้า 6
ช่องเขาขาด หน้า 18
ถ้ำ�ละว้า
หน้า 26
หน้า 32
เหมืองปิล๊อก
ด่านเจดีย์สามองค์
หน้า 38
วัดวังก์วิเวการาม
หน้า 48
หน้า 46
สะพานมอญ
หน้า 54
การเดินทางไปจังหวัดกาญจนบุรี 2. ทางรถโดยสารประจำ�ทาง
รถโดยสารปรับอากาศ ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ รถปรับอากาศชั้นหนึ่ง ออกทุก 15 นาที ตั้งแต่เวลา 05.00-22.30 น. รถปรับอากาศชั้นสองออกทุก 20 นาที ตั้งแต่เวลา 05.10-20.30 น. ใช้ เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 435-1200, 434-7192 รถโดยสารธรรมดา ออกจากสถานีขนส่งสายใต้ทุก 15 นาที ตั้งแต่เวลา 04.00-20.00 น. ใช้เวลา เดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 434-5557-8
3. ทางรถไฟ
KANCHANABURI
เส้นทางที่ 1 ไปตามถนนเพชรเกษมหรือไปตามถนนบรมราชชนนี ผ่านนครชัยศรี นครปฐม บ้านโป่ง ท่ามะกา ท่าม่วง ถึงจังหวัดกาญจนบุรี ระยะทาง 129 กม. ใช้เวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงครึ่ง
MEMORY OF
1. ทางรถยนต์
ออกจากสถานีรถไฟบางกอกน้อย วันละ 2 เที่ยว เวลา 07.50 น. และ 13.45 น. แวะจอดที่สถานี กาญจนบุรี สะพานข้ามแม่น้ำ�แคว ท่ากิเลน สถานีน้ำ�ตก สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 4113102 วันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ มีรถไฟเที่ยวพิเศษ นำ�เที่ยวไปกลับภายในวันเดียว ราย ละเอียดสอบถาม โทร. 223-7010, 223-7020, 225-6964
MEMORY OF KANCHANABURI
1
2
MEMORY OF KANCHANABURI
สุสานทหารสัมพันธมิตร (ดอนรัก) หรือ "สุสานทหารสหประชาชาติ" หรือที่ชาวจังหวัดกาญจนบุรีทั่วไป เรียกว่า "ป่าช้าอังกฤษ" เป็นสุสานขนาดใหญ่บนพื้นที่ 17 ไร่ บรรจุศพเชลย ศึกที่เสียชีวิตระหว่างการสร้างทางรถไฟสายมรณะถึง 6,982 หลุม โดย เชลยศึก 300 คนเสียชีวิตด้วยอหิวาตกโรคและฝังไว้ที่ค่ายนิเกะ ประมาณ 15 กิโลเมตร ก่อนถึงด่านเจดีย์สามองค์)ส่วนที่เหลือได้จากหลุมฝังศพเชลย ศึกตามค่ายต่างๆและยังมีสุสานช่องไก่ ซึ่งรัฐบาลไทยและฝ่ายสัมพันธมิตร ได้ตกลงกันเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2497 เพื่อสร้างสุสานสองแห่งนี้ขึ้น บรรยากาศในสุสานเงียบสงบและร่มรื่น
พื้นที่ภายในได้รับการตกแต่งไว้
อย่างเป็นระเบียบสวยงาม เหนือหลุมฝังศพทุกหลุมมีแผ่นทองเหลืองจารึก ชื่อ อายุ และประเทศของผู้เสียชีวิต บรรทัดสุดท้ายเป็นคำ�ไว้อาลัยที่โศก เศร้า ทุกปีจะมีวันที่รำ�ลึกถึงผู้เสียชีวิตเฉพาะของคนชาติต่างๆ
MEMORY OF KANCHANABURI
3
4
MEMORY OF KANCHANABURI
สถานที่แห่งนี้มีความเงียบสงบ ชวนให้รำ�ลึกถึงเหตุการณ์การสู้รบและผลลัพธ์ที่ตามมา สุสานแห่งนี้
“บรรจุศพทหารเชลยศึกถึง 6,982 หลุม”
MEMORY OF KANCHANABURI
5
6
MEMORY OF KANCHANABURI
สะพานข้ามแม่นำ�้แคว สะพานข้ามแม่น้ำ�แควเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำ�คัญยิ่งแห่ง หนึ่ง เป็นสะพานที่สำ�คัญที่สุดของเส้นทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นสมัย สงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์ ประมาณ 61,700 คน สมทบด้วยกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย พม่า (เมียนมาร์) และ อินเดีย อีกจำ�นวนมาก มาก่อสร้างทางรถไฟสาย ยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า ซึ่งเส้นทางช่วงหนึ่งจะ ต้องข้ามแม่น้ำ�แควใหญ่ จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและ ทางรถไฟสายนี้ เต็มไปด้วยความยากลำ�บาก ความทารุณของสงครามและ โรคภัย ตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำ�ให้เชลยศึกหลายหมื่นคนต้องเสีย ชีวิตลง สะพานข้ามแม่น้ำ�แควใช้เวลาสร้างเพียง 1 เดือน โดยนำ�เหล็กจาก มลายูมาประกอบเป็นชิ้น ๆ ตอนกลางทำ�เป็นสะพานเหล็ก 11 ช่วง หัวและ โครงสะพานเป็นไม้ มีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2487 ได้ถูกทิ้งระเบิดหลายครั้งจน สะพานหักท่อนกลาง ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง รัฐบาลไทยได้ซ่อมแซม ใหม่ด้วยเหล็กรูปเหลี่ยม เมื่อปี พ.ศ. 2489 จนสามารถใช้งานได้ ปัจจุบัน มี การยกย่องให้เป็น สัญลักษณ์แห่งสันติภาพ
MEMORY OF KANCHANABURI
7
“บริเวณกลางสะพานแม่น้ำ�แคว” เป็นจุดซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมมาถ่ายรูปกันมาก ด้านข้างสะพานมีชานยื่นออก เพื่อให้นักท่องเที่ยวหลบเมื่อรถไฟจะวิ่งผ่าน
8
MEMORY OF KANCHANABURI
MEMORY OF KANCHANABURI
9
ท่าเรือสะพานข้ามแม่น้ำ�แคว (ต้นโพธิ์) มีเรือและแพทั้งหมดให้บริการนำ�เที่ยวไปตามลำ�นำ�้แควใหญ่และ แควน้อย ราคาไม่แพง มี 2 แห่ง คือ - หน้าหัวเมือง เรือและแพทั้งหมดจากบริเวณนี้ล่องไปตามลำ�น้ำ�แควน้อย - สะพานแมน้ำ�แคว จากจุดนี้นักท่องเที่ยวจะได้ล่องแม่น้ำ�แควและแวะตาม สถานที่ท่องเที่ยวริมน้ำ�ซึ้งอยู่ไม่ห่างจาก สะพานข้ามแม่น้ำ� แควมาก นัก
10
MEMORY OF KANCHANABURI
MEMORY OF KANCHANABURI
11
12
MEMORY OF KANCHANABURI
ทางรถไฟสายมรณะ ทางรถไฟสายนี้สร้างขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยใช้แรงงาน เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตรและกรรมกรชาวเอเชียที่กองทัพญี่ปุ่นเกณฑ์ มาสร้าง เพื่อใช้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ผ่านประเทศพม่า ปัจจุบันเส้น ทางนี้ไปสุดปลายทางที่บ้านท่าเสาหรือสถานีน้ำ�ตก ระยะทางจากสถานี กาญจนบุรีถึงสถานีน้ำ�ตกเป็นระยะทางประมาณ 77 กิโลเมตร การรถไฟ แห่งประเทศไทยเปิดเดินรถบนเส้นทางนี้ทุกวันและจัดรถไฟขบวนพิเศษ สายกรุงเทพฯ - น้ำ�ตก ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดราชการ จุดที่นัก ท่องเที่ยวให้ความสนใจมากคือช่วงสะพานข้ามแม่น้ำ�แคว
และช่วงโค้ง
มรณะหรือถ้ำ�กระแซ ซึ่งเป็นสะพานโค้งเลียบแม่น้ำ�แควน้อยยาวประมาณ 400 เมตร
MEMORY OF KANCHANABURI
13
14
MEMORY OF KANCHANABURI
ความสวยงามและความน่าทึ่ง ที่คนสมัยก่อนสร้างทางไปได้ยังไง รถไฟหนักเป็นร้อยๆตัน แต่ทำ�ให้ผ่านได้บนท่อนซุงเล็กๆ หลายๆ ท่อนเขาบอกไว้ว่า
“1 ชีวิต = 1” ไม้หมอนรางรถไฟ ของเชลยศึกในยามสงคราม
MEMORY OF KANCHANABURI
15
ร
“บรรยากาศยามเช้า” จะมีพระสงฆ์เดินผ่านทางรถไฟสายมรณะเส้นนี้เพื่อบิณฑบาตร
16
MEMORY OF KANCHANABURI
มุมมองที่มองจากบนรถไฟจะเห็นวิวข้างทาง “แม่น้ำ�แควน้อย” อีกมุมหนึ่งที่สวยงามมาก
MEMORY OF KANCHANABURI
17
18
MEMORY OF KANCHANABURI
ช่องเขาขาด หรือ "ช่องไฟนรก" เป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า (เส้นทางรถไฟสายมรณะ)ตลอดเส้นทางรถไฟสายไทย-พม่า (เส้นทางรถไฟ สายมรณะ)มีหลายจุดที่มีเนินหิน ภูเขา หน้าผา หรือหุบเหว ขวางอยู่จึง ต้องขุดให้เป็นช่องเพื่อที่รถไฟสามารถวิ่งผ่านไปได้ซึ่งที่ช่องเขาขาด หรือ ช่องไฟนรก เป็นจุดที่ใหญ่ที่สุดบนเส้นทางนี้ การขุดเจาะช่องเขาขาดเริ่ม ในเดือนเมษายนปีพ.ศ. 2486 ปรากฏว่างานล่าช้ากว่ากำ�หนดจึงมีช่วงที่ เร่งงานซึ่งแรงงานแต่ละกะต้องทำ�งานถึง 18 ชั่วโมงโดยงานส่วนใหญ่ล้วน ใช้แรงคนทั้งสิ้น เช่นการสกัดภูเขาด้วยมือ ซึ่งเป็นการทำ�งานที่ทารุณยิ่ง เนื่องจากต้องปีนลงไปสกัดในช่องเขาซึ่งบางช่วงสูงถึง 11 เมตร จนแทบ ไม่มีอากาศหายใจทั้งยังต้องทำ�งานท่ามกลางอากาศร้อนอบอ้าวในช่วง เดือนมีนาคม ในภาวะขาดแคลนน้ำ�และอาหาร เมื่อเจ็บป่วยแพทย์และ อุปกรณ์ทางการแพทย์ก็ไม่เพียงพอต่อการพยาบาลต้องดูแลกันตามมีตาม เกิด เชลยศึกและกรรมกรที่ช่องเขาขาดต้องทำ�งานตอนกลางคืนด้วยแสง ไฟจากคบเพลิงและกองเพลิงทำ�ให้สะท้อนเห็นเงาของเชลยศึกและผู้คุม วูบวาบบนผนังทำ�ให้ที่นี่ได้รับการขนานนามว่า "ช่องไฟนรก" หรือ Hellfire Pass ในภาษาอังกฤษ MEMORY OF KANCHANABURI
19
ในทุกวันที่ 25 เมษายนของทุกปี จะมีชาวต่างชาติ และคนไทยมากหน้า หลายตา เดินทางมาร่วมพิธีวันรำ�ลึกถึงเชลยศึกออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ซึ่งเรียกว่า วัน ANSAC DAY ซึ่งอาจเป็นบรรดาญาติพี่น้อง ครอบครัว และรวมถึงอดีตเชลย ศึกชาวออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอีกหลายๆ ชาติ ที่รอดชีวิต ดอกไม้ แสงเทียน และพวงมาลา เป็นสิ่งแสดงความเสียใจ และแสดงความรำ�ลึกนึกถึงการจากไป ของผู้เป็นที่รัก ในเหตุการณ์ที่ตราตรึงของช่องเขาขาด ในครานั้น…
“ป้านอนุสรณ์ช่องเขาขาด”
20
MEMORY OF KANCHANABURI
MEMORY OF KANCHANABURI
21
22
MEMORY OF KANCHANABURI
พิพิธภัณฑ์ช่องเขาขาด ช่องเขาขาดพิพิธภัณฑ์สถานแห่งความทรงจำ� เป็นสถานที่จัดแสดง มินิเธียเตอร์ และรวบรวมข้อมูลภาพถ่าย ข้าวของเครื่องใช้ระหว่างการ สร้างทางรถไฟสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยรัฐบาลออสเตรเลียได้จัดตั้ง พิพิธภัณฑ์ขึ้น พิพิธภัณฑ์นี้จัดไว้อย่างเป็นระเบียบสวยงาม ภายในบริเวณมี เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติไปยังช่องเขาขาด ซึ่งเป็นสวนหนึ่งของทางรถไฟ สายมรณะ ที่เชลยศึกในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ตัดเจาะภูเขาหินด้วยมือ ปราศจากเครื่องมืออันทันสมัยให้เป็นช่อง สำ�หรับสร้างทางรถไฟ ปัจจุบันยังมีร่องรอยของทางรถไฟปรากฏอยู่ มีเส้นทาง เดินตามรอยราง รถไฟ ที่ตักช่องเขา เป็นทางรถไฟ ที่สมัยสงครามโลก ญี่ปุ่น เอาเฉฉลยศึก ตัดทางรถไฟเส้นนี้ ไปพม่า..เดินไปเรื่อยๆ ก็จะมีจุดที่ไวอาลัย
MEMORY OF KANCHANABURI
23
24
MEMORY OF KANCHANABURI
“ห้องแสดงภาพ”
หุ่นจำ�ลองการขุดรางรถไฟ และเครื่องมือที่ใช้ขุดรางรถไฟ
MEMORY OF KANCHANABURI
25
26
MEMORY OF KANCHANABURI
อุทยานแห่งชาติน้ำ�ตกเอราวัณ ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเอราวัณ ตำ�บลท่ากระดาน อำ�เภอ ศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี อยู่ห่างจากที่ทำ�การอุทยานประมาณ 500 เมตร มีความสูงจากระดับน้ำ�ทะเลตั้งแต่ 100 - 400 เมตร แบ่งเป็นชั้น ต่างๆ 7 ชั้น มีระยะทางจากชั้นล่างสุดขึ้นไปชั้นบนสุด 1500 เมตร ลำ�น้ำ� เมื่อตกลงมาแล้วจะไหลลงแม่น้ำ�แควใหญ่บริเวณที่ทำ�การอุทยาน
เดิม
น้ำ�ตกนี้ชาวบ้านเรียกว่า น้ำ�ตกสะด่องม่องลาย อันเป็นชื่อลำ�ห้วยม่องลาย ที่เป็นต้นน้ำ� โดยบริเวณน้ำ�ตกจะมีน้ำ�ตลอดปีแต่จะมีน้ำ�น้อยในช่วงฤดูแล้ง ราวเดือนธันวาคมถึงเมษายน
MEMORY OF KANCHANABURI
27
น้ำ�ตกเอราวัณ มีทั้งหมด 7 ชั้น ความสวยของแต่ละชั้นงดงามไปคนละแบบ
28
MEMORY OF KANCHANABURI
“ทุกชั้นน้ำ�ใส ไหลเย็น”
MEMORY OF KANCHANABURI
29
30
MEMORY OF KANCHANABURI
ลักษณะน้ำ�ตกชั้นที่ 7 ของที่นี่ มีลักษณะคล้ายหัวช้างเอราวัณ 3 เศียร จึงกลายเป็นที่มาของชื่อ น้ำ�ตกเอราวัณ ซึ่งเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปเป็นอย่างดี
“ คุณคือผู้พิชิต ”
MEMORY OF KANCHANABURI
31
32
MEMORY OF KANCHANABURI
ถำ�้ละว้า เป็นถ้ำ�แรกๆ ที่ถูกค้นพบของกาญจนบุรีโดยนายผิน ดอกเข็ม เมื่อ ราวๆ ปีพ.ศ. 2496 หรือเมื่อเกือบ 60 ปีมาแล้ว แถมตอนค้นพบยังพบ พร้อมกับโครงกระดูกมนุษย์โบราณอีกด้วย
จึงทำ�ให้สันนิษฐานได้ว่าที่
แห่งนี้อาจจะเคยเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์ในยุค ก่อนประวัติศาสตร์ก็เป็น ได้ นอกจากนี้ด้วยที่ตั้งของถ้ำ�ละว้าที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติไทรโยคซึ่ง ห่าง จากอำ�เภอเมืองไม่มากนัก การเดินทางมาท่องเที่ยวถ้ำ�ละว้าจึงถือว่า สะดวกมากพอควรเลยทีเดียว
MEMORY OF KANCHANABURI
33
บริเวณส่วนด้านหน้าภายในถ้ำ�ละว้า มีหินงอกหินย้อย และ ”พระพุทธรูป” ที่เคารพนับถือ
34
MEMORY OF KANCHANABURI
ผนังถำ�้บางส่วนมองเห็นการเปลี่ยนแปลงเป็นชั้นๆชัดเจน และ “หินงอกหินย้อย” ที่เรียงรายชิดกันอย่างหนาแน่น
MEMORY OF KANCHANABURI
35
“ป้ายคำ�แนะนำ�” การเตรียมตัวเพื่อเข้าถ้ำ�ไว้ให้อ่าน โดยถ้ำ�จะแบ่งเป็นห้องๆ มีทั้งหมด ๕ ห้อง 36
MEMORY OF KANCHANABURI
MEMORY OF KANCHANABURI
37
38
MEMORY OF KANCHANABURI
เหมืองปิล็อก ย้อนอดีต ปิล๊อกไปเมื่อหลาย 10 ปีก่อน มีผู้พบเห็นชาวพม่าเข้ามา ลักลอบขุดแร่ในพื้นที่ตำ�บลปิล๊อกไปขายให้ ทหารอังกฤษ คำ�เล่าลือนี้ทำ�ให้ กรมทรัพยากรธรณีสมัยนั้นนำ�คณะนายช่างมาสำ�รวจก็ถึงกับตะลึง เมื่อพบ ว่าพื้นที่แถบนี้ี่มีแร่ดีบุกและวุลแฟรมอยู่มากมายรองลงมาและมักอยู่ปะปน กัน คือ แร่ทังสะเตน และยังมีสายแร่ทองคำ� ปะปนอยู่กับ สายแร่ดีบุกต่อมา ปี พ.ศ. 2483 องค์การเหมืองแร่ กรมโลหะกิจ ได้เปิด“เหมืองปิล๊อก”ขึ้น เป็น แห่งแรกที่บ้านอีต่อง ต.ปิล๊อก จากการเปิดเหมืองในครั้งนั้นได้เกิดการ ปะทะกันระหว่างตำ�รวจกับกรรมกรพม่า เพราะฝ่ายไทยห้ามกรรมกรพม่า นำ�แร่ ไปขายให้อังกฤษ แต่กรรมกรพม่าฝ่าฝืน จึงเกิดการปะทะกันทำ�ให้มี ผู้บาด เจ็บและล้มตายจำ�นวนมาก ในอดีตชาวบ้านเรียกว่า "เหมืองผีหลอก" ต่อมาเพี้ยนเป็น "ปิล๊อก" ซึ่งกลายเป็นชื่อ เหมืองแร่และตำ�บลในเวลาต่อมา หลังจากนั้นก็ได้มีเหมืองแร่อื่นๆทยอยเปิดตามกันมาอีกมากมายทั้ง เหมือง เล็ก เหมืองใหญ่ ราว 50-60 เหมือง โดยผู้คนพากันเรียกบรรดาเหมือง ทั้งหลายในพื้นที่แถบนี้แบบเหมารวมว่า “เหมืองปิล๊อก” ดินแดนแห่งนี้ เปรียบเสมือนขุมทรัพย์ของ บรรดานายเมืองทั้งหลายที่ต่างหลั่งไหลเข้ามา ผู้แสวง โชคมีทั้งคนไทย พม่า และที่มาจากแถบอินเดีย เหมืองแร่จึง สร้าง ความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ชุมชนโดยรอบเป็นอย่างมากเนื่อง
MEMORY OF KANCHANABURI
39
บ้านอีต่อง หมู่บ้านของชายไทยเชื่อสานพม่า เป็นหมู่บ้านเล็กๆที่ยังคง มีวิถีชีวิตอันงดงาม จากหมู่บ้านมีจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นเขาช้าง เผือกซึ่งเป็นยอดเขา ที่สูงที่สุด ของ อ. ทองผาภูมิ มีนักนักท่องเที่ยว ที่รักการเดินป่าและผจญภัยขึ้นไปพิชิตความสวยงาม และ ยิ่งใหญ่ ของที่นี่กันแทบทุกปี
40
MEMORY OF KANCHANABURI
MEMORY OF KANCHANABURI
41
“
42
MEMORY OF KANCHANABURI
เป็นจุดชมทิวทัศน์ที่อยู่บนยอดเขาสูง มีกระแสลมพัดผ่านตลอดเวลา
“อากาศบริสุทธิ์และเย็นสบาย” จากการสำ�รวจ
ได้พบว่า จุดชมทิวทัศน์แห่งนี้มีความ สวยงามมาก เมื่อเราไปอยู่บนจุดนี้แล้วเรา ”สามารถมองเห็นทิวทัศน์ต่าง ๆ
ได้รอบตัว “
MEMORY OF KANCHANABURI
43
วัดเหมืองปิล็อกถ้ามองจากด้านหน้าพระพุทธรูปขึ้นไปจะเห็น
44
MEMORY OF KANCHANABURI
“เจดีย์เรียงกันอย่างสวยงาม”
วัดเหมืองปิล็อกถ้ามองจากด้านหลังพระพุทธรูปจะเห็น “วิวทิวทัศน์บริเวณรอบๆวัด”
MEMORY OF KANCHANABURI
45
46
MEMORY OF KANCHANABURI
พระเจดีย์สามองค์ พระเจดีย์สามองค์นี้เดิมเรียกว่า หินสามกอง เป็นที่สักการะของคน ไทย โดยทั่วไปก่อนเดินทางออกจากเขตแดนไทยเข้าสู่เขตแดนพม่า ต่อมา ในปี พ.ศ. 2472 พระศรีสุวรรณคีรี เจ้าเมืองสังขละบุรีได้เป็นผู้นำ�ชาวบ้าน ก่อสร้างเจดีย์ขนาดเล็กสามองค์ดังที่เห็นในปัจจุบัน
นอกจากนี้ด่านเจดีย์
สามองค์ยังเป็นช่องทางเดินทัพที่สำ�คัญของไทยและพม่าในอดีต
บริเวณ
ด่านเจดีย์สามองค์ มีร้านขายสินค้าจากประเทศพม่า นักท่องเที่ยวสามารถ ข้ามชายแดนเข้าไปชมตลาดพญาตองซู ซึ่งเป็นตลาดชายแดน ที่มีการ จำ�หน่ายสินค้าของพม่า
MEMORY OF KANCHANABURI
47
48
MEMORY OF KANCHANABURI
วัดวังก์วิเวการาม หรือ วัดหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม ก่อสร้างด้วยศิลปะแบบ พม่า มีพระพุทธรูปหินอ่อน และ งาช้างแมมมอธ มีเจดีย์พุทธคยาจำ�ลอง สร้างจำ�ลองแบบจาก เจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยเริ่มก่อสร้าง พ.ศ. 2518 แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2529 สะพานมอญ เป็นสะพานไม้ที่ยาวที่สุดใน ประเทศไทย ยาวประมาณ 900 เมตร เมื่อ พ.ศ. 2527 การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้ก่อสร้างเขื่อน เขาแหลม หรือ เขื่อนวชิราลงกรณ์ ซึ่งเมื่อกักเก็บน้ำ�แล้ว น้ำ�ในเขื่อนเขา แหลมจะท่วมตัวอำ�เภอเก่ารวมทั้งบริเวณหมู่บ้านชาวมอญทั้งหมด ทางวัด จึงได้ย้ายมาอยู่บนเนินเขาในที่ปัจจุบัน
MEMORY OF KANCHANABURI
49
50
MEMORY OF KANCHANABURI
“รอยพระพุทธบาทจำ�ลอง” ซึ่งประชาชนนิยมมาเสี่ยงตั้งเหรียญ เห็นเหรียญหลายอันมีทั้งตั้งอยู่ และล้มลงไปแล้ว
MEMORY OF KANCHANABURI
51
องค์จำ�ลองเจดีย์พุทธคยา
52
MEMORY OF KANCHANABURI
วัดใต้น้ำ� หรือ วัดวังก์วิเวการามเก่า โบราณสถานสำ�คัญที่จัด เป็น Unzeen ของอำ�เภอสังขละบุรี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งไฮไลน์ ของการมาเยือนสังขละเลยก็ว่าได้
ยิ่งถ้ามาในช่วงเดือน
มีนาคม - เมษายน โดยประมาณ ระดับน้ำ�ในเขื่อนวิชราลง กรณ์จะลดลง ทำ�ให้สามารถขึ้นไปเดินชมโบสถ์ภายในวัดได้
MEMORY OF KANCHANABURI
53
54
MEMORY OF KANCHANABURI
สะพานอุตตมานุสรณ์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า สะพานมอญ หรือ สะพานไม้มอญ เป็น สะพานไม้ที่ยาวที่สุดในประเทศไทยมีความยาว 850 เมตร
และเป็น
สะพานไม้ที่ยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากสะพานไม้อูเบ็ง ในประเทศ พม่า เป็นสะพานที่ข้ามแม่น้ำ�ซองกาเรีย ที่ตำ�บลหนองลู อำ�เภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี สะพานนี้สร้างขึ้นโดยดำ�ริของ หลวงพ่ออุตตมะ เจ้าอาวาสวัดวังก์วิ เวการาม ในปี พ.ศ. 2529 จนถึง พ.ศ. 2530 โดยใช้แรงงานของชาวมอญ เป็นสะพานไม้ที่ใช้สัญจรไปมาของชาวมอญและชาวไทยที่อาศัยอยู่บริเวณ นี้ ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เวลา 18.30 น. สะพานอุตตมา นุสรณ์ได้พังทลายขาดเป็น 2 ท่อนในช่วงกลางสะพาน ความยาวประมาณ 30 เมตร เนื่องจากเกิดเหตุฝนตกหนักติดต่อกันนานถึง 3 วัน ทำ�ให้เกิด น้ำ�ป่าไหลเชี่ยวกรากจากทุ่งใหญ่นเรศวร พัดขยะตอไม้ลงสูแม่น้ำ�ซองกาเลีย ปะทะกับเสาสะพานทำ�ให้เกิดขาดกลาง และเสียหายเพิ่มเป็น 70 เมตร ใน เที่ยงของวันต่อมา
MEMORY OF KANCHANABURI
55
ถึงแม้จะเป็นช่วงเวลาที่ “สะพานมอญขาด” แต่ก็ไม่อาจลบเลือนเสน่ห์ของสังขละบุรีลงไปได้เลย
56
MEMORY OF KANCHANABURI
MEMORY OF KANCHANABURI
57
“ยามเช้า” 58
MEMORY OF KANCHAN58ABURI
จะมีพระสงฆ์เดินข้ามฝั่งมาบิณฑบาตร
สะพานลูกบวบที่สร้างโดยใช้ไม่ไผ่สำ�หรับเดินไปมาชั่วคราวระหว่างรอสะพานมอญบูรณะ “สัญจร”
MEMORY OF KANCHANABURI
59
Photo Book Design “The Nature and History site in Kanchanaburi.�