บ้านหม้อ
เรื่อง : ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ ภาพ : คีรีบูน วงษ์ชื่น
Healthy Planet สุขคดีท่องเที่ยวชุมชนเพื่อการเรียนรู้ บ้านหม้อ เรื่อง ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ ภาพ คีรีบูน วงษ์ชื่น ออกแบบปกและรูปเล่ม ชลธิชา ตุไตลา เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ
978-616-7374-61-1 บรรณาธิการอำนวยการ
ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ กองบรรณาธิการ
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดย สำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สน.3) จัดพิมพ์และเผยแพร่โดย
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) 979/116-120 ชั้น 34 อาคารเอส. เอ็ม. ทาวเวอร์ ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2298 0500 โทรสาร 0 2298 0230 www.thaihealth.or.th และ www.punsook.org พิมพ์ครั้งที่ 1
กรกฎาคม 2555
ดำเนินการผลิตโดย
เปนไท พับลิชชิ่ง Penthai Publishing โทรศัพท์ 0 2736 9918 โทรสาร 0 2736 8891 waymagazine@yahoo.com
คำนำ ท่ า มกลางก ระแสวิ ก ฤติ เ ศรษฐกิ จ โ ลกค รั้ ง ใ หญ่ เ ป็ น ประวัติการณ์ในรอบหลายสิบปี ทำให้เกิดการตั้งคำถาม ว่าว กิ ฤติน จี้ ะใหญ่ข นึ้ อ กี เพียงใด จะยดื เยือ้ ข นาดไหน และ วิกฤตินี้จะส่งผลกระทบต่อสังคมไทยชุมชนหมู่บ้านไทย มากน้อยเพียงใด ความวิตกดังกล่าวอาจจะไม่เกิดขึ้น เลยหากปัจจุบันชุมชนหมู่บ้านไทยไม่ถูกลากเข้าสู่ระบบ การผลิตเพื่อขาย นักวิชาการหลายๆ ท่าน ได้วิเคราะห์ถึงระบบ เศรษฐกิจของประเทศไทยว่าในระบบทุนนิยมยังคงมีอีก ระบบดำรงอยู่ในลักษณะคู่ขนาน นั่นคือระบบเศรษฐกิจ ชุมชนหรืออาจจะกล่าวเป็นศัพท์สมัยใหม่ได้ว่าระบบ เศรษฐกิจแบบพอเพียง ในอดีตชุมชนหมู่บ้านจะมีวิถีชีวิตที่เรียบง่ายเน้น ความพอเพียง มีครอบครัวเป็นหน่วยการผลิต การช่วย เหลือซ งึ่ ก นั แ ละกนั ม นี ำ้ ใจเป็นพ นื้ ฐ านของชวี ติ มีพ ธิ กี รรม ต่างๆ เป็นระบบการจัดการในชุมชนและให้ความสำคัญ ของบรรพบุรุษ ผูเ้ฒ่าผู้แก่ ครอบครัว ต่อมาหลังจากรัฐและระบบทุนนิยมได้เข้าไปมี อิทธิพลต่อช ุมชน การผลิตเชิงเดี่ยวและลัทธิบริโภคนิยม ทำให้ช าวบา้ นมรี ายจา่ ยทเี่ ป็นต วั เงินม ากขนึ้ เพียงเท่านัน้
ยังไม่พอสิ่งที่ทำลายความเข้มแข็งของชุมชนที่มากที่สุด คือ รัฐและทุนเข้าไปถ่ายโอนทรัพยากรจากระบบชุมชน หมู่บ้าน ยิ่งรัฐและทุนเข้าไปกอบโกยมากเท่าไร ชุมชน หมู่บ้านไทยยิ่งประสบความอ่อนแอ คำพูดดังก ล่าวไม่ใช่ คำพูดลอยๆ ทีไ่ม่มีหลักฐ านรองรับ หากแต่เมื่อกวาดตา ไปทวั่ แ ผ่นด นิ ไทย หลังก ารประกาศแผนพฒ ั นาเศรษฐกิจ และสังคมมากว่า 40 ปี จะมีสักกี่ชุมชนที่คนในชุมชนไม่ ประสบปญ ั หาความยากจน ไม่ป ระสบปญ ั หาสงิ่ แ วดล้อม หรือไม่ประสบปัญหาสุขภาพ จากสถานการณ์ดังกล่าวถึงเวลาแล้วหรือยังที่ สังคมไทยควรกลับมาเน้นการพัฒนาที่ไม่มองแต่มิติ ประสิทธิภาพ การสร้างมูลค่าและกำไรหรือการตลาด ด้านเดียว แต่ควรจะเป็นเพื่อประโยชน์ของชุมชนและ สังคม เราไม่ควรลดทอนผู้คนลงไปเป็นเพียงตัวเลข หาก ควรเป็นเพื่อส่งเสริมศักยภาพและศักดิ์ศรี ความเป็น มนุษย์ คำตอบสำหรับค ำถามข้างต้นนี้ คงจะต้องช่วยกัน ค้นหา ไม่ว่าจะใช้ร ะยะเวลานานเท่าไร คณะผู้จัดทำ
10 บ้านหม้อ
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
11
12 บ้านหม้อ
01 ถึงเรือนชาน บ้านหม้อ สุดล กู ห ลู กู ต า ไม่มี ‘ต้นตาล’ เครือ่ งหมายทางการคา้ ของเมืองเพชรฯ โผล่แม้สักต้น มีก็เพียงทางหลวงขนาด 4 เลนทที่ อดยาวไป พร้อมกบั ร ถคนั เล็กน อ้ ยใหญ่ท วี่ งิ่ ก นั ขวักไขว่อยูใ่นเมืองแห่งขนมหวาน อาจเป็นเพราะ ‘ตำบลบ้านหม้อ’ อยู่ห่างจากตัว เมืองเพชรบุรเี พียงถนนหลวงกนั้ นับเป็นร ะยะทางได้เพียง 4-5 กิโลเมตรเท่านั้น นาฬิกาบอกเวลาเที่ยงปลายๆ จนเกือบบ่าย แสง แดด ณ ช่วงนั้นยิ่งทำให้บรรยากาศบ้านหม้อร้อนแล้ง มากกว่าปกติ ...แต่ก็ไม่กี่นาทีเท่านั้น
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
อาคารเรียนหลังเก่า ก่อสร้างดว้ ยไม้ข นาด 2 ชัน้ ที่ อยูห่ ลังป้าย ‘องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ’ ขนาด ใหญ่ พร้อมต้นไม้แซมเป็นระยะๆ ทำให้อ ุณหภูมิแถวนั้น ลดลงไปได้หลายองศา ยังไม่รวมกับน้ำเย็นๆ ที่ ‘เจ้าถิ่น’ ขันอาสายกมาต้อนรับ เจ้าถ นิ่ แ ห่งบ า้ นหม้อ มาในชดุ ง า่ ยๆ กึง่ ร าชการ ครึง่ บนเป็นเสือ้ ย ดื ข าวหา่ นคู่ สวมกบั ค รึง่ ล า่ งกางเกงราชการ สีกากี “นีเ่ ป็นโรงเรียนเก่าจ ริงๆ ชือ่ โรงเรียนบา้ นพะเนียด ที่ถูกยุบไปตอนปลายปี 2542 เพราะทั้งโรงเรียนมีครูแค่ 9 คน กับเด็ก อีก 13 คน” ธีรศักดิ์ พานิชวิทย์ นายก องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ หรือ ‘พีห่ มี’ ของลูก น้อง แนะนำสถานที่ ด้วยน้ำเสียงนุ่มๆ ดูใจดี ดูจากป้ายทำเนียบ นายก อบต.บ้านหม้อแล้ว ชื่อของพี่หมี อยู่มาแล้ว 3 สมัยซ้อน ตั้งแต่กลางปี 2544 จนถึ ง ปั จ จุ บั น แถมก่ อ นห น้ า นั้ น ยั ง ค วบ ตำแหน่ ง ป ระธานก รรมการบ ริ ห ารต ำบลบ้ า นหม้ อ (ตำแหน่งเดิม นายก อบต.)มาตั้งแต่ป ี 2540 เมื่อต้นปี 2555 เขาเพิ่งไปรับรางวัลชนะเลิศ ‘องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการบริหารจัดการที่ดี’ ประเภทองค์การบริหารส่วนตำบลภาคกลางซึ่งตำบล บ้านหม้อเคยได้ร บั ร างวัลน มี้ าแล้ว 4 ครัง้ คือ พ.ศ. 2546,
13
14 บ้านหม้อ
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
2547, 2549, 2551 และ 2554 ล่าสุด ถ้าถามว่าตำบลนี้มอี ะไรดี? อาจจะไม่ถูกนัก ต้องถามว่า คนในตำบลนี้มีอะไรดี น่าจะเข้า ท่ากว่า
รูจ้ ักนายกฯ รู้จักบ้านหม้อ
แม้ตามสูติบัตรจะระบุว่าอยุธยาคือบ้านเกิดของ นายกฯหมี แต่ก ารทเี่ขามาได้ด ิบได้ด ถี ึงเมืองเพชรฯ ย่อม ต้องมสี าเหตุ เ มื่ อ รุ่ น พ่ อ ม า เกษี ย ณอ ายุ ร าชการที่ เมืองเพชรฯ และตดั สินใจ ตั้งร กรากที่นี่ คนหนุ่ม เบื่ อ เ รี ย นอ ย่ า งธี ร ศั ก ดิ์ เลือกที่จะกลับมา ‘เลี้ยง วัว (โคนม)’ ทีบ่ ้าน ขยัน ขั น แ ข็ ง จ นตั้ ง บ้ า นเ ป็ น ศูนย์ร บั ซ อื้ น ำ้ นมดบิ ดูแล
15
16 บ้านหม้อ
เกษตรกรเกือบ 200 คน ต่อด ว้ ยการเป็นป ระธานสหกรณ์ ผูเ้ลี้ยงโคนม ควบคูไ่ปกับก ารทำธุรกิจจัดสรรที่ดิน เขาสงั่ สมคนรจู้ กั ไว้ต ลอดระยะเวลาการทำงาน ไม่ นานนกั อดีตก ำนันต ำบลบา้ นหม้อก ม็ าชกั ชวนให้ธ รี ศ กั ดิ์ ไปสมัครผู้ใหญ่บ้าน 1 ใน 6 หมู่บ้านของบ้านหม้อ อัน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านไร่ หมู่ที่ 2 บ้านไร่พะเนียด หมูท่ ี่ 3 บ้านเหมืองทะโมน หมูท่ ี่ 4 บ้านหลุมดิน หมู่ที่ 5 บ้านโคกมะกรูด หมู่ที่ 6 บ้านร่วมพัฒนา “เดิมบ้านหม้อมี 5 หมู่บ้าน กำลังจะแบ่งใหม่ เป็นห มูท่ ี่ 6 ให้เราไปสมัคร เราไม่มคี วามรู้ รูแ้ ค่อ ยากชว่ ย คน เลยลงสมัคร ไม่มีคู่แข่งเลย ก็เลยได้” ความหลังปน เสียงหัวเราะของนายกฯหมีเมื่อปี 2536 เมื่อโชคเข้าข้าง ถัดจากนั้นไม่นาน อดีตกำนัน ตำบลบ้านหม้อใกล้หมดวาระ เลยมาปรึกษาผู้ใหญ่บ้าน มือใหม่ว า่ “อยากเป็นก ำนันไหม” ในใจผใู้ หญ่ห มีต อนนนั้ มีแต่ค วามไม่มั่นใจ เลยตอบไปว่า “ผมไม่รู้จักใครเลย” “พอแกบอกว่าเดี๋ยวช่วย ช่วยเข้าหาชาวบ้าน ผม เองอยากทำงานพัฒนา เลยไม่ป ฏิเสธ”
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
ธงในการทำงานของนายกฯหมี คือ ‘นักพัฒนา’ ไม่ใช่นักการเมือง พอได้ต ำแหน่งม า งานแรกที่เดินหน้า คือ เข้าหาคนทุกระดับตั้งแต่ ชาวบ้าน นายอำเภอ ไป จนถึง ผู้ว่าฯ เพื่อให้ได้งบประมาณมาพัฒนาตำบลมาก ขึ้น กำนันห มีเดินห น้าท ำงานเต็มส บู จ นได้ง บมาพฒ ั นา บ้านหม้อม ากขึ้น ประกอบกับช่วงนั้น (พ.ศ. 2541) สภา ตำบลถกู ย กฐานะขนึ้ เป็น อบต. เพือ่ ให้ม คี วามคล่องตวั ใน การทำงานมากขึ้น กำนันหมีตอนนั้นลงทุนทิ้งเงินเดือนนักปกครอง ราว 3,000 บาท มารับเงินเดือนนายก อบต. 1,500 บาท เพื่อแลกกับการได้ท ำงานพัฒนาเต็มที่
อดีตบ้านหม้อ คือการปั้นหม้อ ชือ่ ‘บ้านหม้อ’ สอดคล้องกบั ค ำบอกเล่าข องชาวบา้ น ท บี่ อกวา่ สมัยก อ่ นคนแถบนี้ ประกอบอาชีพป นั้ ห ม้อเป็น ส่วนใหญ่ เนื่องจากมีดินเหนียวที่ ‘บ้านหลุมดิน’ ปัจจุบัน คือ หมูท่ ี่ 4 หมูบ่ า้ นหลุมด นิ ซึง่ เป็นว ตั ถุดบิ ส ำคัญส ำหรับ
17
18 บ้านหม้อ
การปนั้ และใช้แ ม่นำ้ เพชรบุรเี ป็นเส้นท างลำเลียงสง่ ห ม้อ ที่ปั้นไปขายยังตัวเมืองเพชร จึงเรียกกันว่า หมู่บ้านปั้นหม้อ ก่อนจะกร่อนและ กลายมาเป็น ‘บ้านหม้อ’ ในปัจจุบัน ปี 2555 ที่บ้านหม้อไม่มอี าชีพปั้นหม้อห ลงเหลือ อยู่แล้ว เหลือก็เพียงของเก่าที่คนรุ่นปู่รุ่นย่าเก็บเอาไว้ แล้วถูกโอนมาให้เป็นสมบัติของ ‘ศาลาเหมืองทะโมน’ พิพิธภัณฑ์เก็บของเก่าอันเป็นทภี่ ูมิใจของชาวบ้านหม้อ ปัจจุบันคนบ้านหม้อ มีอ าชีพหลักคือ รับจ้าง รับ ราชการ และเกษตรกรรม มีประชากรราว 8,975 คน แยกเป็นชาย 4,557 และ หญิง 3,204 ด้วยขบั ร ถไปไม่ก นี่ าทีก ถ็ งึ ต วั เมือง ทำให้ส งั คมของ บ้านหม้อข นาด 6.9 ตารางกโิ ลเมตร ออกจะเป็นก งึ่ เมือง กึง่ ช นบท โดยผคู้ นในหมู่ 1 2 3 จะออกแนว ‘ชาวบา้ น’ รับ งานเกษตรกรและรบั จ้างเป็นส ว่ นใหญ่ ส่วนหมู่ 4 5 6 จะ
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
ค่อนไปทาง ‘คนเมือง’ มีห มูบ่ า้ นจดั สรรผดุ ข นึ้ ห ลายหย่อม สอดคล้องกับวิถีชีวิตพนักงานบริษัทแ ละข้าราชการ นอกจากความแตกต่างด้านสภาพสังคมแล้ว หมู่ 1 2 3 กับ หมู่ 4 5 6 ด้านภูมิศาสตร์ ยังถ ูกกั้นด้วย ทางหลวงขนาดใหญ่ ทำให้การไปมาหาสู่เป็นไปอย่าง ยากลำบาก ยังไม่ต้องพูดถึงการพัฒนาที่ อบต. จำเป็น ต้อง ‘เลือกปฏิบัติ’ ไม่ใช่ว ่าปฏิบัติกับห มูไ่หนดี หมูไ่หนแย่ แต่ป ฏิบัติ ให้เข้าทางคนต่างประเภท ต่างรสนิยม เขาชอบแบบไหน ก็ท ำแบบนนั้ เช่น หมู่ 1-3 ชอบทจี่ ะเข้าหาภาครฐั พูดค ยุ เดือดรอ้ นตอ้ งการอะไรกแ็ จ้ง อบต. ผิดก บั ค นหมู่ 4-6 ทีด่ ู เหมือนชีวิตจะพร้อมแล้ว แค่ข าดอะไรก็ไปเพิ่มเติม เช่ น นั้ น งานพั ฒ นาข องน าย กฯหมี จึ ง ไ ม่ ไ ด้ หมายความแ ค่ สิ่ ง ป ลู ก ส ร้ า ง สาธารณู ป โภคพื้ น ฐ าน คุณภาพชีวิตด้านต่างๆ ของคนบ้านหม้อเท่านั้น แต่ยัง ต้องพัฒนา ปรับจิตปรับใจให้คนกึ่งเมืองกึ่งชนบท ช่วย กันคนละไม้คนละมือเพื่อชุมชนสุขภาวะให้ได้
19
20 บ้านหม้อ
ดีไซน์ ให้มีส่วนร่วม งานแรกเมื่อเข้ามารับตำแหน่งของนายกฯหมีคือ วางระบบตำบล วางแผนพัฒนาให้ครบทุกมิติ ไม่ว่าจะ เป็น การศึกษา สุขภาพ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ฯลฯ ทั้งหมดอยูบ่ นพื้นฐ านของ ‘การมสี ่วนร่วม’ และการมีส่วนร่วมนี่เอง ที่เป็นจุดอ่อนของคน บ้านหม้อ “ทำงานแรกๆ วันห นึง่ เจอชาวบา้ นโทรมาตอนเช้า อยากให้อบต. ไปซ่อมถนน เราก็สั่งลูกน้องให้ไปดำเนิน การ แต่งานราชการ อยู่ดีๆ จะไปสั่งซ่อมเลย มันเป็นไป ไม่ได้ ต้องมขี นั้ ต อน พอบา่ ยชาวบา้ นคนเดิมโทรมาตอ่ ว่า ทำไมแจ้งเช้า บ่าย อบต. ยังไม่ทำ เราจึงรวู้ ่าช าวบ้านไม่ เข้าใจเลยว่า ลักษณะการทำงานของ อบต. เป็นย ังไง” เมือ่ ไม่รู้ ก็ต อ้ งให้ค วามรู้ นายกจงึ ล งทุนจ บั ป ากกา เขียนหนังสือช อื่ ว า่ ‘อบต. คืออ ะไร’ แล้วพ มิ พ์เป็นเล่มอ อก มาแจกชาวบา้ น รวมทงั้ จ ดั อ บรมหวั ข้อเดียวกบั ช อื่ ห นังสือ ควบคู่กันไปด้วย ชาวบ้านก็ให้ความร่วมมือส่งคนมาร่วม อบรมกนั ค กึ คัก พอจบหลักสูตรผลทไี่ ด้ค อื หลายคนเข้าใจ อบต. มากขึ้น อบต. ทำงานง่ายขึ้น พร้อมกับธงใหม่ในการทำงานว่า นโยบายและ โครงการ ชาวบ้านต้องเป็นคนคิด ส่วน อบต. เป็นคนทำ
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
แต่เรื่องยังไม่ง่าย เพราะความเข้าใจของชาวบ้าน ไม่ได้ห มายความวา่ พ วกเขาจะยนิ ดีม สี ว่ นรว่ ม ถ้าเรือ่ งนนั้ ไม่ท ำให้ช วี ติ ส ว่ นตวั เดือดรอ้ น พวกเขาเลือกอยูน่ งิ่ ๆ หรือ ไม่ก ็รอรับ ‘คำสั่ง’ มากกว่า เห็นท า่ จ ะไม่ได้การ ทีม อบต.บ้านหม้อจ งึ ย กทมี ไป ตั้งเวทีทุกหมู่บ้าน เปิดวงคุยเลยว่า อบต. และชาวบ้าน ควรพัฒนางานด้านใดบ้าง ทำอย่างนอี้ ยู่ 2 ปีเต็ม ไม่ได้ผ ล เก้าอีว้ า่ งโล่ง ชาวบา้ น ไม่ยอมโผล่หน้าออกมา ทีอ่ อกมาเท่าหยิบมือก็พูดถึงแต่ เรื่องตัวเอง
21
22 บ้านหม้อ
“มันเป็นโครงสร้างของสังคมเมือง การมีส่วนร่วม เกิดขึ้นเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ทุกคนไม่ได้เป็นเจ้าของร่วม กัน เลยเปลี่ยนวิธีใหม่” นายกฯหมีต จี ุดอ่อน
ซอยเท้าเข้าซอย เมื่อเวทีใหญ่ไม่ได้ผล ก็ต้องซอยให้เล็กลง อบต. บ้านหม้อตัดสินใจว่า จะเปลี่ยนจากคุยเรื่องใหญ่ ไปคุย เรื่องเล็ก และใช้วิธีเดินเท้าเข้าไปหาแทนที่จะนั่งรอให้ ชาวบ้านมารับฟังหรือพูดคุย สอดคล้องกับสภาพทางภูมิศาสตร์ของบ้านหม้อ ที่ประกอบไปด้วยซอยเล็กซอยน้อยกว่า 60 ซอย แล้ว เวลาที่คนอยู่บ้านส่วนใหญ่คือ หลังเลิกงาน นายกฯหมี จึงเลือกเอาเวลาแดดร่มลมตกอย่างนั้น เข้าไปไต่ถาม สารทุกข์สุกดิบถึงหน้าประตูบ้าน และเป็นที่มาของชื่อ โครงการ 1 เย็น 1 ซอย “ไปนั่งคุยกับชาวบ้านวันละ 1-2 ซอย เอาเก้าอี้ ไปตั้งหน้าบ้านเลย แล้วล้อมวงคุยกัน ไม่มีวาระประชุม คุยกันเรื่องสัพเพเหระว่าเดือดร้อนเรื่องอะไร ถ้า อบต.
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
จะทำอยากให้ทำเรื่องอะไร เขาก็เล่าให้ฟังว่า บ้านนั้น ไม่ถูกกับบ้านนี้ บ้านนี้ปล่อยหมาออกมา ถึงจ ะเป็นเรื่อง ส่วนตัว แต่มันได้เรื่องการพัฒนา ชาวบ้านบอกว่าได้ใกล้ ชิดก บั อ บต. ได้น งั่ ค ยุ แบบเพื่อนกัน” ผลพลอยได้ จากโครงการ 1 เย็น 1 ซอย คือ ปัญหา จริงๆ ที่ อบต. ได้ร บั รู้ มีท ั้งปัญหาเฉพาะ หน้า ระยะกลางและ ระยะยาว “เรื่องเฉพาะ หน้ า จะไ ด้ รับ ก าร แก้ ไ ขเ ร็ ว ขึ้ น ส่ ว น ระดับกลางและยาว ถูกเก็บไว้อยู่ในแผน เพื่ อ แ ก้ ปั ญ หาต่ อ ไป” ปัญหาทยี่ งั ไม่ได้ร บั ก ารแก้ในทนั ที จะถกู น ำมารวม กันแล้วแยกประเภท จัดหมวด แล้วแปรรูปออกมาเป็น ‘แผนพัฒนาหมู่บ้าน’ ทีม่ ีครบทุกมิติ เพราะ ไปรับฟังมา
23
24 บ้านหม้อ
จากชาวบ้านจริงๆ ที่สำคัญ ‘การเข้าซ อย’ นี้ไปได้ดีกับสังคมกึ่งชนบท กึ่งเมือง โดยเฉพาะหมู่ 4 5 6 ทีม่ ีความเป็นเมืองเกือบ ร้อยเปอร์เซ็นต์ บางวันไม่มีเรื่องคุย ทีม อบต. จะเอาถุงขยะกับน ้ำ หมักช วี ภาพไปแจกตามบา้ น ไม่ได้พ ดู เรือ่ งการพฒ ั นานนั่ โน่นนี่แม้สักคำ หลุดม าแต่เรื่องส่วนตัว เช่น ต้นไม้ร ก ท่อ น้ำตัน ลอกท่อ ฯลฯ “มั น ก ลายเ ป็ นว่ า ปั ญ หาเ ล็ ก ๆ ที่ เ ราม องข้ า ม แต่กลับเป็นความจำเป็นของเขา และเขาก็ได้รับการ เยียวยา”
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
อย่างไรก็ตามอุปนิสัยแบบเมืองๆ ยังคงเป็น อุปสรรคต่องานพัฒนา นายกฯหมียอมรับว่า ‘ความ เห็นแก่ตัว’ คือปัญหาใหญ่ คนไม่ค่อยมีความเอื้ออาทร ต่อกัน จึงไม่ค่อยอยากทำอะไรร่วมกับท้องถิ่น เพราะ คิดว่าตัวเองสามารถยืนด้วยตัวเองได้ ความคิดเรื่อง เอาตัวรอดจึงมาเป็นอันดับ1 มากกว่าจ ะเดินเข้าหาและ พึ่งพา อบต. นำมาสคู่ วามคดิ ค วามเชือ่ ท วี่ า่ ‘สิทธิม ากอ่ น หน้าที่ มาทีหลัง’ และรัฐต้องมีหน้าท ี่บริการประชาชน โครงการอย่าง 1 เย็น 1 ซอย มีข ึ้นมา ส่วนหนึ่งก็ เพือ่ ล ะลายความคดิ แ บบคนเมืองเต็มข นั้ ให้เจือจ างลงไป ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง จากการได้เข้าไปคุย ไปสัมผัสกับค นเมือง นายกฯ หมีค้นพบว่า คนเหล่านี้ไม่ได้ละเลยความเป็นเจ้าของ ชุมชน จริงๆ แล้วเขาอยากมีส่วนร่วม อยากทำกิจกรรม
25
26 บ้านหม้อ
ต่างๆ ด้วย “หลักก ารมีส่วนร่วมทางความคิดข องเขาจะดมี าก แต่ม จี ดุ อ อ่ นเรือ่ งการมสี ว่ นรว่ มทางการบริหาร เพราะเขา ถือว่าเวลาของเขามคี า่ เขาจะไม่เสียเวลาหรือท มุ่ เวลาให้ แก่อ งค์กร จริงๆ เขารักชุมชนของเขานะ แค่เราเอ่ยปาก เขาก็ยินดีช่วย” ยกตั ว อย่ า ง ปี 2554 อบต. จั ด ง านท ำบุ ญ ทอดผ้าป่าเพื่อนำเงินมาซื้ออุปกรณ์การแพทย์ให้ศูนย์ ทันตกรรมบ้านหม้อ พอกระจายข่าวและส่งเอกสารขอ เรี่ยไรเงินตามกำลังศรัทธา ผลตอบรับกลับมาดเีกินคาด เครื่องมือทันตกรรมราวสี่แสนกว่าบาท ได้มาจากเงิน บริจาคล้วนๆ ไม่กระทบงบประมาณแม้ส ักสตางค์ “ต้องเรียกวา่ ได้เงินจ ากการมสี ว่ นรว่ มลว้ นๆ เลย” สิ่งที่นายกฯ ภูมิใจ กุญแจสำคัญอีกอย่างของการดึงคนบ้านหม้อให้ เข้ามามีส่วนร่วมคือ ‘ความโปร่งใส’ โครงการใดๆ ต้อง ไม่หมกเม็ด “เราเ ข้ า สู่ ยุ ค เ ปิ ด อ งค์ ก รใ ห้ ทุ ก ค นเ ข้ า ม าต รวจ สอบการทำงาน ตรวจสอบงบประมาณ โดยการจัดเวที และประชาสัมพันธ์เพื่อคุยเรื่องผลการดำเนินงาน หรือ เวลาทำประชาคมระดับพ ื้นที่ อบต. จะไปกันทั้งทีม เอา เอกสารไปหมด ใครอยากดูอะไร ดูได้หมด”
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
27
28 บ้านหม้อ
02 งานบุญบนกองขยะ สิ่งหนึ่งที่มองไม่เห็นในบ้านหม้อเลยคือ ‘กองขยะ’ หรือข ยะทถี่ กู ท งิ้ ก นั เกลือ่ นกลาดแบบทคี่ นเมืองหลวงเขา ชอบทำกัน ที่นี่ไม่มี เปล่า ไม่ใช่ว่าคนบ้านหม้อจะรักความสะอาดกัน ทุกคน แต่เพราะขยะคือเงินทองสำหรับพวกเขา โดย เฉพาะเหล่าผู้สูงอายุ คนริเริ่มเรื่องนี้ คือ พ.ท.บุญส่ง สังข์สุข อดีตนาย ทหารวัยเกษียณอายุ 2 ปี ที่ยังกระฉับกระเฉงแข็งแรง เขารับหน้าที่เป็นประธานชมรมผู้สูงอายุ ควบตำแหน่ง ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ พ.ท.บุ ญ ส่ ง ก็ ค ล้ า ยกั บ น าย กฯหมี ที่ ไ ม่ ใ ช่ ค น บ้านหม้อ แต่ข อฝากบนั้ ปลายชวี ติ ไว้ท นี่ ี่ และอาสาทำงาน ชนิดเกินร้อย ความที่มาเกษียณอายุที่บ้านหม้อและรู้จักมักคุ้น กับคนที่นี่ ทั้งได้รับความเคารพเชื่อถืออยู่พอสมควร พ.ท.บุญส่งจึงเลือกทำงานกับสิ่งอันไม่พึงประสงค์เป็น อันดับแรก นั่นก็คือ ขยะ “บ้านหม้อม คี นอาศัยอ ยูเ่ ยอะ ทำให้ข ยะมมี ากตาม
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
กันไป การจัดการขยะก็มีค่าใช้จ่ายสูง เลยคิดหาวิธีกันว่า จะช่วยกำจัดขยะกันอย่างไรดี” ก่อนหน้านั้น ขยะตำบลบ้านหม้อมีมากถึงวันละ 20 ตัน ยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่มีทที่ ิ้งอีกต่างหาก ทำให้ต้อง เสียเงินทั้งค่าขน ค่าถังขยะ ค่ารถ และคนงาน คำตอบจึงมาลงที่ผู้สูงอายุ เพราะประธานชมรม ผูส้ งู อ ายุเข้าใจดวี า่ คนวยั เดียวกันน นั้ ว า่ งและเหงาอย่างไร ยิ่ง พ.ท.บุญส่ง อยู่ฟากเมืองอย่างหมู่ 6 ด้วยแล้ว คนแก่ ไม่มีอะไรทำนอกจากเฝ้าบ้าน หลายคนเป็นข้าราชการ เกษียณ “ปี 2545 ชมรมผสู้ งู อ ายุว างแผนตงั้ ค ณะกรรมการ หมู่บ้านละ 2-3 คน เรียกมาคุยกันเรื่องขยะ ชมรมฯ ต้ อ งท ำกิ จ กรรมกั น ปี ละ 4 ครั้ง ให้ผู้สูงอายุ มาคุยกัน ตรวจสุขภาพ พบปะสั ง สรรค์ ฯลฯ อยู่แล้ว และเราเองก็ได้ รั บ ง บป ระมาณจ าก อบต. เราจะต้องช่วยเหลอื อบต.เขาบ้าง” แผนงานจัดการ ขยะขั้นแรกคือ การคัด
29
30 บ้านหม้อ
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
31
32 บ้านหม้อ
แยกขยะแบบบ้านใครบ้านมัน ก่อนลงมือ ทางชมรมจัด อบรมวิธีการคัดแยกขยะให้ก่อน โดยแบ่งเป็น 3 ถุง คือ เศษอาหาร ขยะเป็นพิษ เช่น หลอดไฟ แบตเตอรี และ ขยะรีไซเคิล เช่น กระดาษ ขวดต่างๆ ทีข่ ายได้ ขยะประเภทเศษอาหาร ปลายทางคือ ทำปุ๋ย ซึ่งม ี คนมารับไป เหลือเพียงขยะเป็นพิษที่ปล่อยให้เป็นภาระ ของเจ้าหน้าที่เทศบาล ส่วนประเภทที่นำกลับมาใช้ใหม่ ได้ ถูกส่งมาที่ชมรมผู้สูงอายุ ณ ทีท่ ำการ อบต. “ต้องเก็บให้เต็มถุงก่อน สัก 3-4 ถุง ก็ขนมาให้ อบต. ขาย แล้วเอาเงินเข้าชมรมผู้สูงอายุ” ชมรมผู้สูงอายุบ้านหม้อมีประมาณ 600 คน นอกจากเก็บข ยะแล้ว แต่ละคนกจ็ ะไปตามบา้ นตา่ งๆ พูด คุยและให้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ จนสมาชิกทุกวัย ในบา้ นคดั แ ยกขยะกนั เป็นห มด ทำให้ข ยะในบา้ นหม้อล ด ลงได้วันละ 1 ตัน ถัดจากนั้นคือการแปร ขยะใ ห้ เป็ น ท อง พ.ท.บุ ญ ส่ ง และเพื่อนๆ ในชมรมสำรวจ กันแล้วว่าในพื้นที่ มีที่รับซื้อ ขยะอยูถ่ ึง 6 แห่ง แผนการถัด มาคือ จัดงานบุญ ‘ทอดผ้าป่า ขยะเพือ่ พ ฒ ั นาสงั คม’ โดยทอด
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
กันปีละครั้ง ขยะมตี งั้ เยอะแยะ ทำไมทอดเพียงปลี ะครัง้ คำถาม นี้ ประธานชมรมผู้สูงอายุต ้องตอบอยู่บ่อยๆ “ทั้งๆ ที่ทอดได้มากกว่าน ั้น ก็เพราะเกรงใจคนที่ เขาเก็บขยะขายเป็นอาชีพ ถ้าเราเก็บขายเองหมดเขาก็ ขาดรายได้ แต่ผู้ด้อยโอกาสบางคนเขาก็สู้อุตส่าห์เก็บไว้ เพื่อนำมาทำบุญกับเรานะ” งานบุญผ้าป่าขยะ จัดในเดือนธันวาคมของทุกปี ทำพธิ เี หมือนกบั ก ารทอดผา้ ป่าธ รรมดา มีน ายกองค์การ บริหารสว่ นจงั หวัดม าเป็นป ระธาน มีค นตา่ งตำบลมารว่ ม ด้วยก็ไม่น้อย ช่ ว งเ ช้ า ก่ อ นพิ ธี ท างศ าสนาจ ะเ ริ่ ม ชมรมจั ด โปรแกรมตรวจสุขภาพ กิจกรรมต่างๆ อาทิ บีบนวด คลายเส้น ตัดผมฟรี พอ 10 โมงเช้าพิธีจึงเริ่มขึ้น หลังจ บพธิ ี คณะกรรมการชมรมผสู้ งู อ ายุก พ็ าผรู้ บั ซื้อขยะที่มีราวๆ 5-6 คน ไปดแู ละประมูลข ยะที่ชาวบ้าน ขนมารวมไว้ที่เต็นท์ข้าง อบต. “ใครให้ร าคาสงู สุด คนนนั้ ก ไ็ ด้ไป เงินท ไี่ ด้ม าจะเอา เข้าช มรมฯ ช่วยผสู้ งู อ ายุ ผูด้ อ้ ยโอกาส ช่วยซอ่ มแซมบา้ น ทุนการศึกษาแก่ผู้ยากจน” เงินส ว่ นหนึง่ น ำเข้าก องทุนส วัสดิการผสู้ งู อ ายุ ดูแล และช่วยเหลือ ทั้งตอนเจ็บป่วย และเสียชีวิตของสมาชิก
33
34 บ้านหม้อ
ช่วยซ่อมแซมบ้านเรือน เป็นทุนการศึกษาเด็กๆ อบรม อาชีพให้แก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ เช่น สอนทำดอกไม้ จันทน์ “เราหาตลาดให้ โดยสมาชิกคนใดที่เสียชีวิต ญาติ ต้องซื้อดอกไม้จันทน์จากผู้ด้อยโอกาสและคนพิการ เท่านั้น” ปัจจุบนั สมาชิกช มรมผสู้ งู อายุ มีอายุต งั้ แต่ 50-70 ปี ใครอยากเข้า ตามระเบียบระบุไว้ว า่ ต อ้ งอายุ 45 ขึน้ ไป โดยแบ่งสมาชิกเป็น 2 ประเภท คือ วิสามัญ อายุต ั้งแต่ 45-59 ปี แบบสามัญคือ 60 ปีขึ้นไป ถ้าแ บ่งส มาชิกอ อกตามสวัสดิการ มี 3 ประเภทคอื สมัครครบ 3-5 ปี รับสวัสดิการปีละ 300 บาท ครบ 6-8 ปี ปีละ 400 บาท ครบ 9 ปีข ึ้นไป รับป ีละ 500 บาท ส่วนค่าสมาชิกรายปีมี 2 ราคาคือ 200 กับ 300 บาท เวลาเจ็บป่วยมีค่ารักษา ให้ปลี ะ 300 บาท แต่ถ ้าเสีย ชี วิ ต ไ ด้ 8,500 บาท และ 12,500 บาท ตามลำดับ จน ปัจจุบันชมรมมีเงินสะสมกว่า 600,000 บาท
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
ค่ารักษาพยาบาลสำหรับสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ เป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการต่างๆ ที่ อบต. จัดให้ มีดังนี้ 1.คลอดบุตร 500 บาท 2.เจ็บป่วยปีละครั้ง ครั้งละ 300 บาท 3.บ้านเรือนประสบภัยฉุกเฉิน (จ่ายตามจริง ครอบครัวล ะไม่เกิน 2,000 บาท) 4.เสียชีวิตได้ร ับ 5,000 บาท (ขั้นต ่ำ) 5.เยี่ยมผู้ด้อยโอกาสเดือดร้อน ยากจน ไม่เกิน 300 บาท ต่อปี 6.กรณีผู้สูงอ ายุ 60 ปีขึ้นไปและผู้พิการที่สมัคร - ครบ 3-5 ปี รับส วัสดิการปลี ะ 300 บาท - ครบ 6-8 ปี รับสวัสดิการปลี ะ 400 บาท - ครบ 9 ปีขึ้นไป รับส วัสดิการปลี ะ 500 บาท 7.ถ้ากองทุนมเีงินจำนวนมากจะพิจารณา ให้การช่วยเหลือเด็กและด้านอื่นๆ ฯลฯ
35
36 บ้านหม้อ
ฟังด เู หมือนงานของชมรมผสู้ งู อ ายุจ ะประสบความ สำเร็จดว้ ยดี แต่กว่าจะมาถงึ วนั นี้ได้ ล้มลุกคลุกคลานมา ไม่รู้กี่ครั้ง นับตั้งแต่ปีแรกทกี่ ่อตั้งค ือ 2543 นายกฯหมีขอเล่าย้อนไปถึงจุดเริ่มว่าเดิมที ‘ขยะ’ ก็เหมือนวาระอื่นๆ ที่คนไม่สนใจ เพราะรวู้ ่าม ีเจ้าหน้าที่ รับผิดช อบอยู่แล้ว “คนแก่ชอบทำบุญ เลยลองเอาเรื่องบุญ เรื่อง ธรรมะมาเป็นโจทย์ ว่า ทำบุญด ว้ ยขยะ แทนทีจ่ ะควักเงิน ก็ ใ ห้ เ อาข ยะม ากั น ค นละถุ ง ยิ่ ง ใ ครเ อาม าม ากก็ ยิ่ ง ได้บุญมาก เรียกว่าเป็นกลยุทธ์อย่างหนึ่งเลยนะ” ปี แรกๆ เงิ น ท อด ผ้ า ป่ า นั บ ร วมไ ด้ ไม่กี่พันบาท แต่ พอปหี ลังๆ อาศัย ปากต่อปาก จน ไ ด้ ปี ล ะ ไ ม่ ต่ ำ กว่ า 50,00060,000 บาท บางปีได้มากกว่า นัน้ เพราะจดั ท อด ผ้าป่า 2 ครั้งเป็น กรณีพ ิเศษ
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
จูงใจเพิม่ ด ว้ ยการมอบโล่ให้ ค รัวเรือนทบี่ ริจาคขยะ ครบทุกเดือน งานนี้ทั้งคนแก่และไม่แก่เข้ามาบรจิ าคกัน คึกคัก ในฐ านะข องผู้ น ำอ งค์ ก ร นาย กฯหมี บ อกว่ า กิจกรรมนี้สลายความแข็งต ัวข องชุมชนได้ คนต่างหมูเ่ข้า มามีส่วนร่วมและรู้จักกันมากขึ้น โดยเฉพาะผู้สูงอายุแต่ละหมู่ที่ต่างกัน โดย 1 2 3 เป็นชาวบ้าน ส่วน 4 5 6 เป็นข้าราชการ และฝั่ง ที่เข้ามาร่วมกิจกรรมส่วนใหญ่คือ ชาวบ้าน ส่วนกลุ่ม
37
38 บ้านหม้อ
ข้าราชการเกษียณ มักต้องอยู่เฝ้าบ้านเพราะส่วนใหญ่ เป็นครอบครัวเดี่ยว นอกจากงานบุญแล้ว อีกทางที่ผู้สูงวัยต่างหมู่จะ ไปมาหาสู่กันได้คือ ออกเที่ยวด้วยกัน “เราของบ อบต. พาผู้สูงอายุไปดงู าน ใครไม่เคย นอนแอร์ ไม่เคยขึ้นลิฟต์ เล่นน้ำตก ช็อบปิ้ง เขาได้เห็น ได้ทำหมด ดีใจ แถมไปฟรี ปีน ี้พาไปนครนายก เปิดร ับ สมัครวันเดียวเต็ม” ประธานชมรมยิ้มไปเล่าไป ตอนนี้ ชมรมผู้สูงอายุมีสมาชิกราว 600 คน ยังไม่รับเพิ่มทั้งๆ มีคนประสงค์จะสมัครอีกเยอะ แต่ พ.ท.บุญส่ง ยืนยันว า่ ม ากกว่าน ี้ ดูแลไม่ไหวจริงๆ บางคน ไม่ได้อยู่บ้านหม้อก็ขอเข้ามาเป็นสมาชิก ประธานก็ต้อง ปฏิเสธอย่างนิ่มน วล “เราสงวนไว้ให้คนบ้านหม้อเท่านั้น(ยิ้ม)”
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
โครงการทอดผ้าป่าข ยะ ได้ก ลายมาเป็น หนึ่งในระบบการจัดการสุขภาวะชุมชนโดย ชุมชนของตำบลบา้ นหม้อ โดยอยูภ่ ายใต้ ระบบ จัดการสิ่งแวดล้อมและเกษตรอินทรีย์ ที่เน้น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ โดยใช้ ผู้สูงอายุเป็นกลไกในการรวมตัวกันเพื่อสร้าง จิตสาธารณะในการจัดการขยะระดับครัวเรือน ระดับเด็กและเยาวชน โดยการสร้างมูลค่าของ ขยะเป็นเงินคืนสู่สังคม อีกทั้งมีแนวคิดการ อนุรักษ์วิถีเกษตรกรรมตามหลักเศรษฐกิจพอ เพียงเพื่อให้ประชาชนในตำบลที่ยังคงมีอาชีพ ดั้งเดิมได้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการ ใช้สารเคมีเป็นเกษตรอินทรีย์และกลายเป็น ต้นแบบในการพัฒนาต่อมา
39
40 บ้านหม้อ
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
03 หมอยาแห่งลุ่มน้ำเพชรฯ นายกฯหมีถึงกับออกปากเลยว่า กำลังสำคัญของ งานพัฒนาบ้านหม้อคือ ‘ผู้สูงอายุ’ ที่รวมตัวกันอย่าง เหนียวแน่นและเข้มแข็ง แต่นอกชมรมยังมีผู้สูงอายุอีกคนหนึ่ง ด้วยอายุที่ ล่วงเข้าไป 80 ในปีนี้ (ระเบียบกำหนดให้ไม่เกิน 70 ปี) ยังแ ข็งแ รง มีล กู ห ลานนอกสายเลือดแวะเวียนเข้าม าเยีย่ ม ชนิดหัวบันไดบ้านไม่แห้ง เพราะคุณปู่ คุณตาท่านนี้ มี ของดีติดตัว ‘หมอหลี’ คือช อื่ ข อง นายถาวร นงนุช สมาชิก รุ่นลายครามของหมู่ที่ 3 บ้ า นเ หมื อ งท ะโมน มา ตั้งแต่รุ่นพ่อคือ ‘หมอไข่’ เดิ น ท างจ ากเมื อ งจี น ม า รับใช้อยู่ในวังตั้งแต่สมัย รัชกาลที่ 5 “ปู่ ม ากั บ อ าจารย์ จากเ มื อ งจี น อาจารย์
41
42 บ้านหม้อ
ท่ า นเ ชี่ ย วชาญเ รื่ อ งย า และส มุ น ไพร สมุ น ไพร อาจารย์ เ ขารั ก ษาไ ด้ ทุ ก โรค อาจเป็นเพราะเมื่อ ก่อนโรคยังไม่เยอะขนาด นี้” หลานปู่ไข่ ลูก(สาว) หมอหลี ‘เชษฐ์’-เชษฐ์สุดา นงนุช ย้อนความหลังให้ ฟัง จากนั้นปู่ก็ล่องมา ตามแม่น้ำเพชรบุรี และมาตั้งรกรากสร้างครอบครัวอยู่ ทีบ่ ้านเหมืองทะโมน และพ่อของเชษฐ์เกิดที่นั่น เพราะปชู่ อื่ ไข่ ชาวบา้ นแถบนนั้ จ งึ เรียกกนั ต ดิ ปาก ว่า ‘หมอไข่’ ยามใครเจ็บไข้ไม่สบาย ก็มักไหว้วานให้ไปดู อาการ พอตรวจดแู ล้วว า่ เป็นอ ะไร หมอกจ็ ะขนึ้ เขาไปหา สมุนไพร ไม่ก ล็ งทะเลเพือ่ ไปหาวตั ถุดบิ ต า่ งๆ เอามาลา้ ง ทำความสะอาดแล้วปรุงเป็นยา “สมัยก่อนคนเป็นโรคฝีดาษ โรคเกี่ยวกับเลือด ฝี หนอง เสียเยอะ หลายครั้งปู่ก็ต้องไปเป็นหมอตำแยให้” หลานสาวท้าวความเรื่องปู่ ส่วนพ่อ สมัยเด็กๆ ก็เที่ยว สะพายย่าม ถือมีดหมอ เดินตามปไู่ปไหนต่อไหน เวลา นั้นได้อาศัยเรียนรู้วิชาไปด้วย
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
หมอห ลี ไ ด้ เ รี ย นจ นถึ ง ชั้ น ม.1 หลั ง จ ากนั้ น ก็มาเป็นหมอชาวบ้านเต็มตัว จนระยะเวลาผ่านไป ความเจริญก้าวทางการแพทย์มาเยือนบ้านหม้อ อาทิ สถานีอนามัย แพทย์ประจำตำบล ฯลฯ ระบบบริการ สาธารณสุขสมัยใหม่ เข้ามาจัดระเบียบของเก่า ทำให้ยา หลายตำรับของหมอไข่หายไป “เหลือไว้แค่ตัวยาที่ตรวจสอบได้ว่า ไม่มีผลข้าง เคียงแน่นอน เพราะถ้าเป็นอันตรายทางจังหวัดจะไม่ อนุญาต อีกอย่างสมัยนี้โรคใหม่ๆ ก็เยอะ โรคเก่าที่เคย รักษาได้ก็หายไปด้วย แต่พ่อก็ไปอบรมเพิ่มเติมเรื่อง คุณภาพ ความสะอาดและปลอดภัยกับทางจังหวัดเพิ่ม เติม” จากเดิมที่เคยเดินไปรักษากันถึงบ้าน มาวันนี้ใคร อยากรักษาต้องเป็นฝ่ายมาหาหมอหลีเอง ยาตำรับหมอไข่ที่ยังมีมาถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะ เกีย่ วกบั เรือ่ งเลือด ได้แก่ ยาบำรุงส ตรีห ลังคลอด เช่น ยา พอกแทนการอยู่ไฟ ยารักษาเลือด เพื่อไม่ให้เกิดอาการ หนาวเลือด (อาการหนาวทุกครั้งตอนฝนตกสำหรับสตรี ที่ไม่ได้อยู่ไฟหลังคลอด) ยาขับน้ำคาวปลา ยาขับน้ำนม ยารักษามดลูก หรือรายใดประจำเดือนมาไม่ปกติ เลือด ลมเดินไม่ดี หมอหลีก็รักษาให้ นอกจากนี้ มีย าเด็ก รักษาอาการลนิ้ ข าว ปากเปือ่ ย
43
44 บ้านหม้อ
สำรอก แหวะนม ท้องขึ้น ท้องเสีย ฯลฯ อีกวิถีที่ยังคงแบบโบราณเอาไว้ คือสมุนไพรที่ใช้ เป็นวัตถุดิบ เช่น ไม้เลื้อย รากไม้ แก่นต่างๆ ทีย่ ังต้อง ไปหาตามภูเขา หรือ หอย (แคลเซียม) ที่หาได้ตาม ชายทะเล ถามว่าหายากขึ้นหรือไม่ เพราะเมืองเข้ามาบุกรุก ป่ามากขึ้น เชษฐ์ส่ายหัว “ยังพอหาได้ ตราบใดยังมีทะเล มีภูเขา ตัวย าไม่ หมดหรอก” งานนี้บทหนักตกอยู่ที่คนหาวัตถุดิบ ซึ่งไม่ใช่ใคร ที่ไหน คู่ชีวิตของเชษฐ์นั่นเอง ที่ควบหน้าทีท่ ั้งไปหาและ ขนกลับมายังบ้าน เมื่อวัตถุดิบต่างๆ มาถึงโรงยาแล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ คัดเลือก คัดทิ้งสิ่งป ลอมปนและสกปรกต่างๆ ออก ไป เช่น เส้นผม ลวด ด้าย แล้วท ำความสะอาด จากนั้น นำมาตากแดด ทำกนั เองทกุ ข นั้ ต อน เพราะไม่ม นั่ ใจวา่ ถ า้ ไปจ้างคนข้างนอกทำ จะสะอาดเพียงพอหรือไม่ “ขั้นตอนต่อมา คือ บด แม่จะเป็นคนทำ เรามี เครื่องบดที่ใช้มานาน บดเสร็จเอาแยกเก็บไว้ตามชนิด จากนั้นก็เอามาแยกใส่ห่อตามสูตรยา ซึ่งพ่อจะเป็นคน ทำเอง” อีกหนึ่งเอกลักษณ์ของยา คือ การห่อ ยาทุกตัว
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
ของที่นี่จะถูกห่อไว้ด้วย กระดาษ แล้วเขียนกำกับ สู ต รพ ร้ อ มคู่ มื อ ก ารกิ น การใ ช้ ไ ว้ บ นห่ อ ด้ ว ย ลายมื อ ข องห มอหลี เ อง ทุกห่อ เคล็ ด ลั บ อี ก อ ย่ า ง ของที่นี่ คือไม่มีการห่อยา รอไว้ล่วงหน้า จะเตรียมก็ ต่อเมื่อมีคนเข้ามา บอก อาการ ตรวจอาการเบื้อง ต้น เมื่อนั้นหมอไข่ถึงจะ ลุกไปตักยามาใส่ห่อให้ ส า เ ห ตุ ที่ ผู้ เ ฒ่ า ว ยั 80 ยังต อ้ งมานงั่ ห อ่ ย า เขี ย นส รรพคุ ณ พ ร้ อ มก ารใ ช้ ด้ ว ยล ายมื อ ตั ว เ องนั้ น นอกจากค วามเ ต็ ม ใจส่ ว นตั ว แ ล้ ว ลู ก สาวบ อกว่ า ‘งานรบั แขก’ แบบนที้ ำให้พ อ่ ไม่เหงา การได้ค ยุ ก บั ค นโน้น คนน้ี ทำให้แกมชี วี ติ ชวี า จิตใจดขี น้ึ ช่วยยดื อายุได้อกี ทาง “ส่วนแม่ แกมีความสุขกับการได้อยู่หลังร้าน บด ยาไป แยกขยะ (ไว้ทอดผ้าป่า) ไป” ฟังลูกสาวพูดอยู่นาน หมอหลีขอบ่นแทรกขึ้นบ้าง
45
46 บ้านหม้อ
ว่า ไม่ค อ่ ยเข้าใจคนกนิ ย าสมัยน ี้ บางคนเอายาพอกไปกนิ ฉลากที่เขียนไว้ให้กิน 4 เวลา ก็ย ังโทรมาถามอีกว่า กิน ตอนไหน ต้องอธิบายซ้ำไม่รกู้ ี่รอบ “เด็กสมัยน ี้มันแ ปลก กินช้อนกาแฟเล็ก หรือช้อน กาแฟใหญ่ก็โทรมาถาม” น้ำเสียงของพ่อหมอสงสัย จริงๆ ทุกวัน บ้านหมอหลีมีคนแวะเวียนมาซื้อยาอย่าง สม่ำเสมอ ถือเป็นรายได้หลักข องครอบครัว ทั้งค่าเรียน ลูกหลาน ค่ากินอยู่ภายในบ้าน ก็ม าจากยาห่อทั้งนั้น พี่เชษฐ์วางแผนไว้แล้วว่า ถ้าพ่อกับแม่สิ้นบุญไป ก็จ ะเข้าม ารบั ช ว่ งตอ่ เพราะได้ร ับถ ่ายทอด วิชาความรจู้ ากพอ่ ม า หมดแล้ว แต่ถามถึง รุ่นหลาน ผู้สืบทอด ต่อยังว่าง เพราะไป ทำงานอื่ น กั น ห มด ไม่ ค่ อ ยมี ใ ครส นใจ ศาสตร์ด ้านนี้ “งานพ วกนี้ ต้ อ ง อ า ศั ย ค ว า ม อดทนมาก ละเอียด
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
มาก แก่นยาต้องไปฟันเอาบนเขา หอยก็ต้องไปแบก จากทะเล เหม็นก ็เหม็น เด็กสมัยนี้ไม่ค่อยอดทน เขาไม่ สนใจ” เคยมคี นขา้ งนอกมาขอเรียนวชิ าจากหมอหลี แต่ก ็ ต้องคอตกกลับไป เพราะหมอหลีถอื ว่าข องแบบนมี้ คี รูบา อาจารย์ จะถ่ายทอดแบบสุ่มสี่สุ่มห้าไม่ได้ อย่างเชษฐ์ หมอหลีก็ต้องเป็นคนครอบครูให้ “ถ้าให้ว ชิ าคนอนื่ ไป เขาจะไปทำแบบเราหรือเปล่า ก็ไม่รู้ ของแบบนที้ ำไม่ด มี นั เข้าต วั เดีย๋ วเป็นโน่นเป็นน ี่ ทัง้ กับตัวเราและคนทเี่รารักษา” มีค ุณธรรม 3 ข้อท ี่เชษฐ์ หมอหลี และครอบครัว ต้องยดึ ถือต ลอดมา คือ 1.เหล้าไม่ก นิ บุหรีไ่ ม่ส บู 2.จิตใจ ดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และ 3.ซื่อสัตย์สุจริต ทุกๆ ปี บ้านหมอหลีต้องมีพิธียกครูเพื่อบูชาครู และกันเงินส่วนหนึ่งมาทำบุญ ซึ่งตลอด 80 ปีของหมอ หลี ได้เป็นเจ้าภาพเทศน์มหาชาติม าถึง 3 งานแล้ว แถม
47
48 บ้านหม้อ
บางครัง้ บ างคราว ผูเ้ ฒ่าก ร็ บั ห น้าทีว่ ทิ ยากร ให้ค วามรแู้ ก่ ผูท้ เี่ ข้าม าศกึ ษาดงู าน เพราะทนี่ ถี่ กู ย กให้เป็น ‘แหล่งเรียน รู้ปราชญ์ชาวบ้านหมอสมุนไพร’
แพทย์สมัยใหม่ ณ สถานีอนามัย ภูมิปัญญาโบราณของหมอไข่และหมอหลี ณ วันนี้ จัดอยู่ในหมวด ‘ยาบำรุง’ หากยารักษา ต้องพึ่งหมอแผน ปัจจุบนั โดยเฉพาะโรคยอดฮติ อ ย่าง เบาหวาน ความดนั มะเร็ง ต้องรักษากันยาว นาน และแพง ในเขตบา้ นหม้อเองกม็ โี รงพยาบาล 2 แห่ง เอกชน กับร ฐั อ ย่างละ 1 แห่ง ต่อเมือ่ ข า้ มไปยงั อ ำเภอเมือง สถาน พยาบาลมีให้เลือกหลายระดับ หลายราคา แต่หนึ่งในแผนระบบจัดการสุขภาวะชุมชนโดย ชุมชนของตำบลบ้านหม้อ มี ‘ระบบสุขภาพชุมชน’ รวม อยู่ด้วย โดยมีแนวคิดการเชื่อมโยง การบูรณาการจัดหา บริการสุขภาพแบบมีส่วนร่วมโดยสถานีอนามัยและ อบต.บ้านหม้อร่วมกันปรับภารกิจถ่ายโอนสถานีอนามัย การจัดหาบริการสุขภาพแก่ประชาชนในตำบลให้เข้าถึง
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
บริการด้วยกองทุนฯ ของตำบล และการหนุนเสริมของ อสม. ในการหาการบูรณาการของงานผ่านกิจกรรม สร้างสรรค์ไปยังประชาชนกลุ่มต่างๆ ในตำบล “โจทย์ใหญ่ของเราคือ คนคิดว่าอนามัยหรือจะสู้ โรงพยาบาลเอกชนได้ เราจงึ ค ดิ ว า่ งานอะไรทโ่ี รงพยาบาล แข็งแ รงอยูแ่ ล้วเราจะไม่ท ำ แต่จ ะเลือกทำในสงิ่ ท เี่ ป็นช อ่ ง ว่างของชุมชน” ช่องว่างของนายกฯหมี คือโปรแกรมตรวจสุขภาพ ตั้งแต่ปี 2542 อบต.บ้านหม้อ จัดโครงการตรวจ สุขภาพชุมชน เลือก 3 โรคพื้นฐานที่ชาวบ้านอยากรู้และ ควรรู้ เช่น ตรวจหาค่าคอเรสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และเบาหวาน มอบหมายให้สถานีอนามัยดำเนินการ สนับสนุนงบประมาณโดย อบต. “เราเชือ่ ว า่ ท กุ ค นไม่ส ามารถเข้าส รู่ ะบบบริการของ รัฐได้ทั่วถึง อย่างบัตรทองก็ไม่มบี ริการตรวจหามะเร็ง ที่ ผูห้ ญิงเป็นก นั เยอะๆ มะเร็งป ากมดลูก มะเร็งเต้าน ม หรือ มะเร็งต ่อมลูกห มากในผู้ชาย กับการตรวจค่าการทำงาน ของตับ ที่ต้องตรวจเพราะคนเมืองกินไม่เลือก” จากเดิม คนเดินเข้าสถานีอนามัยไม่ถึง 50 คน ต่อเดือน แต่หลังมีบริการตรวจสุขภาพ ปัจจุบัน เดือนๆ หนึ่งมีคนรักสุขภาพและผู้ป่วยมาใช้บริการสถานีอนามัย ไม่ต่ำกว่า 1,000 คน ในอนาคตนายกฯหมีก็เตรียม
49
50 บ้านหม้อ
เพิ่มโปรแกรมตรวจอีก 6 โรคเรื้อรัง อาทิ หลอดเลือด เบาหวาน ความดัน ฯลฯ บริการตรวจสุขภาพของ อบต.บ้านหม้อ ไม่ใช่ แค่รอให้คนเดินเข้ามา แต่ยังรุกไปถึงหน้าบ้าน คล้ายๆ โครงการ 1 เย็น 1 ซอยดว้ ย โดยทกุ ๆ 1-2 เดือนแรกของปี จะมีทีมแพทย์ออกหน่วยตรวจร่างกายทุกเสาร์-อาทิตย์ “ตามหัวไร่ปลายนาเราไปหมด เพราะคนทอี่ ยู่กับ บ้าน ไม่ได้ทำงานอะไร หรือเป็นเกษตรกร นอกจากบัตร ทองแล้ว จะไม่มสี ทิ ธิก ารรกั ษาอะไรเลย เรากไ็ ปตรวจให้ แล้วก็ชักชวนให้เขา มาตรวจต่อเนื่องที่ สถานีอ นามัย” นีค่ อื ช่องว่างทางสุขภาพ ที่ ก ลายม าเ ป็ น อี ก หนึ่งภารกิจเด่นของ อบต.บ้านหม้อ
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
51
52 บ้านหม้อ
04 ดอกแค แต่พอเพียง ติ ด กั บ รั้ ว บ้ า นหมอห ลี ไม่ ใ ช่ สิ ต้ อ งบ อกว่ า รั้ ว เดียวกัน คือพ ื้นที่สเีขียวราว 5 ไร่ เจ้าของคือ ลูกเขยของ หมอหลี คนทมี่ หี น้าท ไี่ ปขนึ้ เขาลงทะเลหาวตั ถุดบิ แล้วข น กลับมาให้ภรรยา แม่ยาย และพ่อตา ปรุงเป็นยาต่อไป เมืองมน แสนธรรมพล หรือ โย ชาวอุบลราชธานี โดยกำเนิด แต่ม าเป็นลูกเขยบ้านหม้อ และ เป็นเจ้าของ แหล่งเรียนรู้ เกษตรพอเพียง สุภาพบุรุษวัย 45 หน้ากร้านแดดนายนี้ เป็น ลูก ชาวนาร้อยเปอร์เซ็นต์ เรียบจบด้านเกษตร จาก
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แล้วไปเป็นพนักงานกิน เงินเดือนบริษัทโภคภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดของประเทศอยู่ สิบกว่าปี เกี่ยวเก็บความรู้มาทุกกระบวนการผลิต การ ตลาดและธุรกิจ จนออกมาทำกิจการส่วนตัว เขาเลือกเลี้ยงกุ้งกับ บริษทั โภคภัณฑ์ย กั ษ์ใหญ่ร ายเดิม แต่ป ระสบภาวะขาดทุน เป็นล้าน โยบอกว่า สายป่านเรามันสั้น สู้เขาไม่ได้ “เหมือน โชห่วยกับห ้างยักษ์น่ะ” เขาเปรียบเทียบ เลยตั ด สิ น ใ จเดิ น ท างม าบ้ า นหม้ อ บ้ า นเชษฐ์ ศรีภรรยา พร้อมได้แรงหนุนจากน้องเขย ให้มาทำอะไร สักอย่างบนที่ดินเปล่าข ้างบ้าน “ตอนนั้นชีวิตติดลบ ไม่รู้จะทำอะไรแล้ว มาได้ เห็นท ดี่ นิ ต รงนี้ เรากอ็ ยากทำทดี่ นิ ว า่ งๆ ให้เป็นป ระโยชน์
53
54 บ้านหม้อ
ตามความรู้ที่เรียนมา เลยจัดการยกร่อง ลงไม้หลัก – ไม้ ยืนต้น ไว้ก่อนอย่าง ส้มโอ สลับกับไม้ระยะสั้น เช่น พริก ข่า มะกรูด ตะไคร้ ก็ลงไว้เป็นรายได้ รอต้นใหญ่ ... หลัก เศรษฐกิจพ อเพียงทเี่ รารกู้ นั น นั่ แ หละ” วิทยากรเท้าเปล่า เล่าไปเรื่อยๆ ทำไมถึงเป็นส้มโอ? โยต อบว่ า เพราะ ทุกคนรอบตัวต่างชอบกิน เขาเองกด็ ว้ ย เท่าน กี้ เ็ หลือเฟื อ แ ล้ ว ต่ อ ก ารล งแรง ปลูกล กู เขียวๆ หนักๆ พันธุ์ ขาวใหญ่ ต่อด้วยน้อยหน่า พันธุ์เพชรปากช่อง ก่อนหน้านั้นมีมะปราง ด้วยแต่ไม่สำเร็จ เพราะไม่ถูกกับด ินแถวนี้ ปี 2551 ส้มโอขาวใหญ่เกือบจะได้ เก็บก ินแ ล้ว โชคร้าย เจอน้ำท ่วมมิดส วน ของ อร่อยตายหมด เจอความผิดหวังมาแล้วทุกรูปแบบ เงินร อ้ ยเงินล า้ นเคยผา่ นมอื ม าแล้วห มด ทุกข์ ที่มากับน้ำคราวนั้น ทำเอาโยซวนเซไปนิด หน่อย แล้วก็ลุกขึ้นมาปลูกกล้าใหม่ แทบ จะทันที
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
“ มั น เ ป็ น เ รื่ อ ง ธรรมชาติ ใครจะไปห้าม มันได้ ท่วมได้เราก็ปลูก ใหม่ได้ เราเรียนที่จะอยู่ กับมัน ไม่ไปโทษเทวดา ฟ้าด นิ เรือ่ งพรรค์น เี้ จอกนั ทั่วโลก ตัวเล็กอย่างเราจะ รอดได้ยังไง” 6 ปี ผ่ า น ม า ใ น ฐานะชาวสวน ชาวไร่ โย ยอมรั บ ว่ า ยั ง ไ ม่ ไ ด้ อ ะไร เป็ น ชิ้ น เ ป็ น อั น ยกเว้ น รายได้เล็กๆ น้อยๆ จากไม้ร ะยะสั้น อย่าง ข่า ตะไตร้ ใบกะเพรา พริก และไม้ที่ไม่ต้องดูแลมาก แต่ม ีดอกให้ ชนิดเก็บแทบไม่ทัน คือ ดอกแค 5 บาท 10 บาท แม้จ ะเป็นรายได้เล็กน้อยแต่เมื่อ มารวมกัน ทำให้โยมีกำลังใจทำต่อไปได้ พร้อมสัจธรรม อีกข ้อหนึ่งในชีวิต “ต้องทำความจริงสวนกับวัย ยิ่งเราแก่ข ึ้นก็ยิ่งต้อง พึ่งพวกต้นเล็กเหล่านี้ เพราะกำลังเราจะต้องถดถอยไป เรือ่ ยๆ ช่วงเรายงั ม กี ำลัง เรากต็ อ้ งเอาจากลา่ งขนึ้ แต่พ อ เราแก่ ก็ต้องเอาจากต้นลง”
55
56 บ้านหม้อ
รายได้หลักจริงๆ ของโยมาจากดอกแค เขาสมมุติ ให้ฟ งั ว า่ มีดอ กแค 25 ต้น เก็บได้ว นั ล ะ 20 กิโลกรัม ขาย ได้เงินวันละ 200 เดือนละ 5,000 ได้ปลี ะ 50,000 ปี หนึ่งจ ะเก็บดอกได้ 10 เดือนยกเว้นหน้าห นาว 2 เดือน ข้อดีของดอกแคคือ ออกดอกทุกวัน มีข้อแม้อย่าง เดียวคือ ต้องตื่นมาเก็บให้ทัน ไม่อย่างนั้นจะบานเสีย ของหมด แต่ค นส่วนใหญ่ม องข้าม ไปปลูกไม้ผลทยี่ ากๆ ต้องรอนาน ดอกแคของโยสง่ ต ลาดให้แ ม่ค า้ ขาย ขา้ วแกงทกุ ว นั ไม่เคยมีปัญหาเรื่องตลาด เพราะก่อนจะลงมือปลูก เขา ได้ไปตระเวนดูตลาดว่าอะไรมี ไม่มี อะไรแพง อะไรถูก ไม่ใช่นึกอยากปลูกอะไรก็ปลูก “คุณจ ะผลิตอ ะไร เท่าไหร่ และขายให้ใคร ต้องรใู้ ห้ หมดกอ่ นลงมือ” ปัญหาอย่างเดียวของพโี่ ย คือ ไม่มสี นิ ค้า ไม่มีแรงงานช่วย มีแค่สองมือ แถมอีกมือหนึ่งต้องช่วย
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
ภรรยาทำยาอีก เก็บดอกแคเสร็จ เวลาที่เหลือต้องเอามาดูแล บรรดาไม้ผลต่างๆ ทั้งรดน้ำ ใส่ปุ๋ย ประคบประหงมให้ ดีที่สุด รายได้ต่อเดือน 5,000 โยบอกอยู่ได้สบาย เพราะ ไม่ต อ้ งเสียค า่ ใช้จ า่ ยอะไรมาก ผักก ป็ ลูกก นิ เองทงั้ พ ริก ทัง้ ตำลึง พริก ปลาก็เลี้ยงเอง มีปลาดุก ปลานิล ปุ๋ยที่ใช้ก็ใช้ ขี้วัวใช้แกลบมาบำรุงดิน ปุ๋ยเคมียอมรับว่าใช้บ้าง “มี 5,000 ผมเหลือ 5,000 สังคมผมเท่าน ี้น่ะ ไม่ ขยับก็คือไม่เสีย”
57
58 บ้านหม้อ
ถามโยวา่ ชีวติ ต อนนเี้ ป็นอ ย่างไรบา้ ง เขาตอบทนั ที ว่าแฮปปี้ เขาเลือกที่จะมองท้องฟ้า มากกว่าเข็มนาฬิกา เมื่ออยากรู้เวลา และเขาก็ตื่นตี 4 นอน 2 ทุ่ม ตรงเวลา อย่างนี้ ทุกวัน ถามอกี ว า่ ท ำไมพชื ผ ลของพโี่ ยจงึ ข ายได้ เขาบอกวา่ ทำเลที่ดินค่อนข้างกลางเมืองอย่างนี้ เป็นตัวโฆษณาชั้น ดี ใครวิ่งรถผ่านไปผ่านมาเห็นหมดว่าเขาปลูกอะไร ใคร สนใจตัวไหนก็จอดรถเดินเข้ามาคุยกัน หมู่บ้านจัดสรรที่ อยู่ติดกัน ยื่นหน้ามาก็รู้หมดว่าเขาปลูกอะไร “ทำไมมาทำไร่ทำสวนในเมือง ก็ต้องตอบว่าทำ กลางป่ากลางเขา ใครจะไปเห็นล่ะ” จริงของเขา ...ข้าราชการทำงานเชิงร กุ เกษตรกรอย่างเขากต็ อ้ ง รุกแบบนี้เหมือนกัน เช่นเดียวกัน ส้มโอก็ขายได้ลูกละ 60-70 บาท น้อยหน่ากิโลละ 70-80 บาท ถ้าไปปลูกอยู่ในป่า ก็ค ง ไม่มีใครมาซื้อ แต่ลูกอุบลฯ อย่างเขาคิดไกลกว่าน ั้น เขา ฝันว่าจะส่งไม้ผลออกไปเมืองนอก ในอนาคตอันใกล้ เรื่องลู่ทางเขามองไว้หมดแล้ว “คนจะทำเกษตรมันต้องใจรัก ใจรักไม่พอต้อง ศรัทธาด้วย เชื่อในสิ่งที่ทำ” แล้วสายตาของโยก็ไปหยุด อยู่ทสี่ ้มโอ ทีใ่กล้จะได้เก็บกินเต็มทีแล้ว
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
59
60 บ้านหม้อ
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
05 กล้วยกวน หวานๆ มันๆ ขึ้นชื่อว่าเป็นเมืองขนมหวาน แต่จานหวานๆ ที่ ชาวบา้ นหม้อภ มู ใิ จนำเสนอกลับไม่ใช่ ขนมหม้อแ กง หรือ ขนมตาล แต่กลับเป็นเม็ดเล็กๆ ดำๆ เคี้ยวแล้วเหนียว ติดฟันอีกต่างหาก เหนียวแค่ไหน หาก ‘กล้วยกวนชนิดพิเศษ’ ของ อบต.บ้านหม้อ ก็อร่อยจนได้เข้าไปอยู่ในร้านเซเว่นอีเลฟเว่นในฐานะของฝากจากเพชรบุรี ด้วยรสชาติที่ใครๆ ก็บอกว่า หอม หวาน มัน อร่อย จริงหรือไม่ สงสัยต้องบุกไปถึงโรงกวนขนมพื้น เมือง ตำบลบ้านหม้อให้ร ู้กัน ณ อาคารเล็กๆ หัวมุมถ นนของหมู่ 1 หญิงส าว 5-6 คนกำลังง ว่ นอยูก่ บั ก ารกวน การตดั และการหอ่ กลิน่ มันๆ หอมๆ ของกล้วยกับก ะทิอวลไปทั่วบริเวณ ระหว่างที่สาวๆ กำลังยุ่ง ณฤพล สังข์พุก หรือ หนู ชายหนุ่มค นเดียวในโรงกวน ก็อ าสาเล่าเรื่อง กล้วยๆ ว่ามีที่มาจาก แผนพัฒนาตำบลปี 2542 ซึ่งเอาความ ต้องการของชาวบ้านไปเขียนแผนพัฒนาตำบล ช่วงนั้น ชาวบ้านต้องการมีอาชีพเสริม เวลาเดียวกับเศรษฐกิจ
61
62 บ้านหม้อ
ฟองสบู่แตก โจทย์ใหญ่ค ือ แล้วจะทำอะไรกันดี ชาวบา้ นทตี่ อ้ งการอาชีพเสริมก ม็ ารวมตวั ก นั ส่วน ใหญ่เป็นแ ม่บ า้ น มีบ างคนทที่ ำโรงงานกล้วยกวน แต่เป็น ประเภทลูกจ้างรายวัน ครั้นพ อเศรษฐกิจไม่ดี ก็ถ ูกลดวัน จ้าง ทั้งหมดเลยรวมตัวกันเขียนโครงการของบประมาณ อบต. แต่ด ว้ ยความทชี่ ว่ งนนั้ อบต. มีง บจำกัด เลยทดลอง ไปซอื้ ก ล้วยแผ่นจ ากโรงงาน เอามาตดั แ ละหอ่ เอง แล้วน ำ ไปขายส่ง จึงยังไม่มีแบรนด์กล้วยกวนเป็นของตัวเอง “ทำอยูร่ ่วมๆ ปี มีโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจมายัง ท้องถิ่น เลยมาคุยกันว่าอยากมีที่สักแปลงตั้งโรงงาน กวนกล้วยกันเอง พวกเราจะได้กำไรเพิ่มมากขึ้น การ จ้างแรงงานมากขึ้น ร า ย ไ ด้ ก ร ะ จ า ย มากขึ้น เช่น กล้วย มะพร้ า ว เราก็ เ อา จากท้องถิ่นได้” ก ลุ่ ม ก ล้ ว ย ก ว น ไ ด้ เ งิ น ม า ประมาณ 100,000 สร้ า งโ รงงานขึ้ น ม า
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
พร้ อ มซื้ อ อุ ป กรณ์ ส่ ว นที่ ดิ นไ ด้ช าวบ้ า นใ จบุ ญ ย กใ ห้ เพราะอยากเห็นที่ดินส ่วนตัวเป็นประโยชน์แก่ท ้องถิ่น เมื่อกระบวนการส่วนใหญ่ คนหมู่ 1 ผลิตกันเอง ต้นทุนข องกล้วยกวนกต็ ำ่ ล ง ยอดซอื้ เพิม่ ม ากขนึ้ ปรากฏ ว่า ผลิตไม่ทัน ต้องซื้อเตากวนเพิ่มอีกหนึ่ง ลำพั ง ร าคาที่ ย่ อ มเ ยาค งไ ม่ ท ำให้ ก ล้ ว ยก วน บ้านหม้อข ายดบิ ข ายดี แต่เพราะคนซอื้ ไปแล้วม กี ารบอก กันปากต่อป ากของพ่อค้าคนกลาง ทำให้มียอดซื้อสั่งเข้า มาจากทวั่ ป ระเทศ ประกอบกบั ม คี ณะตา่ งๆ เข้าม าดงู าน ที่บ้านหม้อเป็นจ ำนวนมาก บอกต่อกันไปเรื่อยๆ “พอบูมมากก็มีการต่อเติม ขยายห้องเพิ่มเอาไว้ เก็บวัตถุดิบและต้อนรับคนที่มาดูงานบ่อยๆ” ยุครุ่งยุค แรกของกล้วยกวน ล่วงเข้าป ี 2549 เกิดร ฐั ประหารและปญ ั หาทางการ เมือง ซึ่งส่งผ ลกระทบมาถึงกล้วยอย่างช่วยไม่ได้ อันดับแ รกยอดขายตก วัตถุดบิ ข นึ้ ร าคา ทัง้ น ำ้ ตาล มะพร้าว ค่าครองชีพต่างๆ ถีบตัวสูงขึ้น กล้วยกวน บ้านหม้อถึงทางตัน จำเป็นต้องหยุดการผลิต ตอนนั้น ทุกคนคิดเหมือนกันว่า “มันจ บแล้ว” พอการเมืองเริม่ เปลีย่ นขวั้ รัฐบาลมโี ครงการชมุ ชน พอเพียง ผูใ้ หญ่บ า้ นมาประชาคมกบั ช าวบา้ นวา่ ใครอยาก ทำอะไรให้เสนอโครงการไป ชาวบ้านหมู่ 1 จึงอ ยากต่อ
63
64 บ้านหม้อ
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
65
66 บ้านหม้อ
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
67
68 บ้านหม้อ
ยอดกล้วยกวนอีกครั้งหนึ่งเพราะกำลังคน เครื่องมือ สถานที่มีพร้อมอยูแ่ ล้ว ขาดเพียงทุน เมื่อได้ทุนมา สิ่งที่ปรับเป็นอันดับแรกๆ เลย คือ สูตร “เราก วนใ ห้ ห วานน้ อ ยล งเ พื่ อ ล ดก ารป ริ ม าณ น้ำตาล มันก็พอไปได้ แล้วเพิ่มผลิตภัณฑ์อื่นๆ เข้ามา เช่น ขนมหม้อแกง ขนมบ้าบิ่น ที่ช่วยหนุนเสริมรายได้ ให้มากขึ้น” เจ้าของสูตรตัวจริงอย่าง จุก-จิราพร บัวคลี่ เสร็จจาก งานหน้าเตา ก็มาร่วมวงเล่า ว่า นอกจากสูตรที่ปรับลดลง เพื่อความประหยัดแล้ว สูตรที่ ว่านี้ยังเพิ่มความมัน จนกลาย มาเป็นจุดขายของกล้วยกวน บ้านหม้อม าจนถึงวันนี้ นอกจากนี้ กล้วยทุกหวี ที่ ใ ช้ เ ป็ น วั ต ถุ ดิ บ ปลู ก แ บบ ปลอดสารพิษ มะพร้าวเลือก จากสวนที่ไม่ใช้สารเคมี แถม ตลอดกรรมวิธีการทำ ไม่มีการ ใช้สารกันบูด
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
ขั้ น ต อนก ารท ำก ล้ ว ยก วนสู ต รบ้ า นหม้ อ มีด ังนี้ 1.ปอกกล้วย 2.นำกล้วยมาบดให้แหลก 3.นำมะพร้าวมาคั้น ให้ได้น้ำกะทิ 4.เอากล้วยบดเทใส่กระทะ 5.ใส่ก ะทิลงไป กวนรวมกันให้มัน 6.ใส่น้ำตาลทราย 7.ใส่เคล็ดลับสำคัญ อย่างแบะแซ เพื่อให้ กล้วยกวนมีความเหนียว อีกเคล็ดล ับที่จุกกระซิบบ อกมาคือ ถ้าใช้กล้วยงอมหรือสุกจัด น้ำจะเยอะ กล้วยกวนจะไม่อร่อย ทีบ่ ้านหม้อจึงเลือก ใช้แต่กล้วยสุกพอดี 8.กวน 2 ชั่วโมง 9.เอาขึ้นมา รีดให้เป็นแผ่นบาง 10.ทิ้งไว้ให้เย็นตัวก ินเวลาราว 3 ชั่วโมง 11.ตัดเป็นก้อนเล็กๆ แล้วห่อ
69
70 บ้านหม้อ
ยิง่ ไปกว่าน นั้ กล้วยกวนแต่ละเม็ด มีค วามละเอียด อ่อนถึงขั้น อากาศหนาวหรือร้อน ต้องใช้วิธีกวนต่างกัน แต่โดยพนื้ ฐ านแล้ว ส่วนผสมของ 1 กระทะจะใช้ก ล้วยบด ราว 30 กิโลกรัม น้ำตาล 5 กิโลกรัม มะพร้าว 4-5 กิโลกรัม รวมๆ แล้วต้นทุนเฉลี่ยกิโลกรัมละ 70 บาท วันๆ หนึ่งโรงกวนบ้านหม้อผลิตได้ราว 8 กระทะหรือ 208 กิโลกรัม กำลังการผลิตตอนนี้มปี ระมาณ 7 คน จุกที่สวม บทหวั หน้าโรงกวนขนมพนื้ เมืองอกี ต ำแหน่ง บอกวา่ ยอด ขายแบบยงั ไม่ห กั ต น้ ทุนอ ยูท่ ี่ 150,000 บาทตอ่ เดือน แต่ ถ้าห กั ล บกลบหนีท้ กุ อ ย่างแล้วจ ะเหลือร าว 20,000 บาท นอกเหนือจากนี้ ก็จ ะมี การเก็บกะลามะพร้าว กากม ะพร้ า วที่ เ หลื อ จากก ารท ำก ล้ ว ย ทำ ขนม ไปขายตอ่ แ ล้วเก็บ เงินม าเป็นกองกลาง ใช้ เป็ น ค่ า น้ ำ ค่ า อ าหาร รายวัน “ทีน่ เ่ี ราจา่ ยคา่ แรง แพงกว่าที่อื่น อย่างค่า ห่อกับตัด (เป็นก้อน)
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
อยู่ที่ถุงละ 14 บาท แต่ถ ้าห ่ออย่างเดียวถุงละ 8 บาท” ตลาดหลักๆ ของกล้วยกวนบ้านหม้อ มีกระจัด กระจาย ทั้งในกรุงเทพฯ ในเซเว่นอีเลฟเว่น หรือบางที โรงงานต่างๆ ทำไม่ทันออร์เดอร์ ก็ซื้อของบ้านหม้อไป ผสม แต่ถ้าในกรณีบ้านหม้อข องขาด จะไม่ไปซื้อท ี่อื่นมา ขายต่อ จะใช้วิธีบอกไปตรงๆ ว่าม ีไม่พอ ใครชอบกินกล้วยกวนแบบไม่กลัวติดฟัน จุกบอก ว่า ควรกินให้หมดภายใน 1 เดือน และวางไว้ในที่แห้ง ตลอดเวลา อร่อยทั้งทีก็ต้องปลอดภัยต่อสุขภาพด้วย ทาน เสร็จแล้วอย่าลืมแปรงฟันด้วยนะ
71
72 บ้านหม้อ
06 วุ้น ข้าวเกรียบ อาลัว หวานอย่างมีระดับ ในบ้านหม้อใช่จะมีแค่กล้วยกวนที่ชวนชิม ยังมี ขนมหวานๆ หอมๆ รออยู่อีกหลายอย่าง ที่บ้านโคก มะกรูด หมู่ 5 เจ้าของร้านใจดี ลักขณา ธรรมโชติ แห่ง ร้านขนมไทยเพชรพร รอต้อนรับแขกแปลกหน้าด้วย ‘วุ้นน้ำตาลกรอบ’ คำแรกที่กัด นอกจากความกรอบตามชื่อแล้ว ความหอมของเนือ้ ว นุ้ น ำ้ ตาลสดขา้ งในกย็ งั อ วลไปทวั่ ป าก แม้จ ะออกหวานไปสกั ห น่อยสำหรับค นไม่ก นิ ห วาน แต่ข นึ้ ชื่อว่าขนม มันก ็ต้องหวานเป็นธรรมดา
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
ปล่ อ ยใ ห้ ค วามห วานผ่ า นล งคอไ ปห ลายชิ้ น ลักขณานั่งอมยิ้มก่อนบอกถึงที่มาที่ไปของขนมชนิดนี้ ว่า ของดีเพชรบุรีอย่างน้ำตาลสด เอามาแปรรูปท ำขนม อะไรได้บ้าง จนมาลงตัวที่วุ้นน้ำตาลสด รสชาติหวานหอม อร่อย แต่ต ิดต รงที่หมดอายุเร็ว คิดไปคดิ ม าเลยลองนำวนุ้ น ำ้ ตาลสดไปอบแห้งด ว้ ย ตูพ้ ลังงานแสงอาทิตย์ท สี่ ามีอ อกแบบและตอ่ เอง โดยทกุ ขั้นตอนจะไม่มีการใส่สารปรุงแต่งหรือสารกันเสียใดๆ ทั้งสิ้น และใช้น้ำตาลสดที่รองมาจากต้นตาลโดยตรง
73
74 บ้านหม้อ
ใครอยากลองทำกิน ขั้นตอนคร่าวๆ มีดังนี้ 1. นำนำ้ ตาลสดมาตม้ ให้เดือด แล้วกรองดว้ ย ผ้าขาวบาง 2. นำผงวนุ้ ผ สมนำ้ ตาลสดให้เข้าก นั ตัง้ ไปให้ ผงวุ้นละลายตัว 3. เทน้ำตาลทรายใส่ลงไป เคี่ยวกันจนได้ที่ 4. นำส่วนผสมที่ได้ ไปหยอดลงบนพิมพ์ที่ เตรียมไว้ ตัง้ ทง้ิ ไว้ให้เย็น หรือวนุ้ จบั ตวั กนั 5. แซะวุ้นออกจากพิมพ์ นำไปวางบนถาดที่ เตรี ย ม แล้ ว เ ข้ า ตู้ อ บ อบจ นแ ห้ ง ต าม ต้องการ
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
นอกจากวนุ้ ก รอบนำ้ ตาลสดแล้ว ร้านเพชรพรยงั ม ี ของอร่อยอีกหลายเบอร์ ไม่ว ่าจ ะเป็น ขนมอาลัวท ี่งานนี้ ไม่ได้ม าแบบธรรมดา แต่เป็นอ าลัวช าววังร ปู ดอกกุห ลาบ และขนมเก่าแก่ของเพชรบุรอี ย่าง ข้าวเกรียบงา “อาจจะดูเป็นขนมพื้นๆ บ้านๆ แต่ทำขายแทบ ไม่ทัน” ลักขณา บอกอกี ว า่ เดิมที ทีบ่ า้ นหม้อม กี าร รวมกลุ่มทำข้าว เกรียบงากันอยู่ แล้ ว แต่ ส่ ว น ผสมรสชาติไม่ต ่างจากที่อื่น แต่ร้านขนมเพชรพรเลือกเปลี่ยนส่วนผสมสำคัญ จากน้ำตาลที่เหลือจากการทำทองหยิบทองหยอด ก็ เปลี่ยนมาเป็นน้ำตาลโตนด ตามคอนเซ็ปท์ขนมที่ย้ำ ว่า ‘ต้องดีที่สุด’ เท่านั้นยังไม่พ อ น้ำตาลโตนดที่ใช้ทำให้ ข้าวเกรียบงาของบ้านหม้อมีสีน้ำตาลอ่อนเหมือนสีของ น้ำตาลโตนด และสามารถมองเห็นเนื้อมะพร้าวและ งาดำได้ชัดเจน เรือ่ งสารอาหารกไ็ ม่เป็นร องใคร เพราะขา้ วเกรียบงา ทุกแผ่นของที่นี่ทำจากข้าวกล้อง ให้รสชาติม ัน อร่อย ที่ สำคัญส ดุ วัตถุดบิ ท งั้ หมดได้จ ากในชมุ ชน กระจายรายได้
75
76 บ้านหม้อ
ให้ชุมชนอีกท าง จนได้เป็น ‘แหล่งเรียนรู้ กลุ่มขนมไทย เพชรพร’ ที่คนต่างถิ่นตบเท้าเข้ามาดูงานชนิดหัวบันได ไม่เคยแห้ง กว่าจ ะมาถงึ ว นั น ี้ สามสิบก ว่าป ที แี่ ล้ว ลักขณาเคย เปิดร้านเสริมสวยมาก่อน แต่เพราะเวลางานเข้ามากิน พื้นที่ชีวิตมากจนเกินไป ใครอยากแต่งหน้าทำผมก็มา เคาะประตูกันกลางดึก หรือไม่ก็เช้ามืด ทีส่ ำคัญ รายได้ แค่พอเลี้ยงตัว แต่ไม่ได้ในสิ่งทฝี่ ันทั้งหมด จากนั้นก็ไปหาอาชีพเสริม สามีไปเป็นเซลส์แมน ขายสินค้าอุปกรณ์เครื่องครัวบริษัทห นึ่ง ระหว่างนั้นก็ได้ วิชามาเยอะทั้งสูตรขนม อุปกรณ์ เครื่องมือ ฯลฯ จึง ตัดสินใจทำขนมปุยฝ้ายขาย จนครองตลาดใหญ่ 2 แห่ง คือตลาดเพชรบุรีและตลาดหัวหิน เวลาไ ล่ เ ลี่ ย กั น ลั ก ขณาไ ปเ รี ย นวิ ช าเบเ กอ รี ที่ สถาบันชื่อดังในกรุงเทพฯ และเอาความรู้ที่ได้มาลองทำ ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น แยมโรล คุกกี้ ขนมปัง ยิ่งทำให้ ตลาดขนมไปไกลมากขึ้น จนมาถึงเมนูสำคัญอย่าง เค้ก “ไม่เคยเรียนแต่มั่นใจว่าท ำได้ ทำหน้าเค้กให้เรียบ คงไม่ต า่ งจากฉาบปนู เท่าไหร่ แฟนนา่ จ ะทำได้ พอลองทำ แบบลักจำเขามา ก็ทำได้ เลยไปเรียนจริงๆ จังๆ พัฒนา ขึ้นมาหลายสูตร เชื่อไหมว่า ทำเค้ก 10 วันมากกว่าเงิน เดือน 2 เดือนอีก ผลตอบแทนมันสูงจริงๆ ยิ่งช่วงนั้น
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
(ปี 2527-2528) ในเพชรบุรไี ม่ค อ่ ยมใี ครรจู้ กั ธ รุ กิจเบเกอรี เราเลยปรับร้านเป็นเบเกอรีเต็มตัว” ปรากฏว่ า ร้ า นเ บเ กอ รี ข ายดี เ ป็ น เ ทน้ ำ เ ทท่ า นอกจากคู่แข่งที่น้อยจนแทบจะนับรายได้ การตั้งราคาที่ สูงกว่ารายอื่นๆ ทำให้เพชรพรยิ่งขายดิบข ายดี ยกตัวอย่าง ร้านอื่น 80 บาท เพชรพร 120 บาท ของแพงกลับขายดีกว่า เพราะราคาที่บวกเพิ่มเหมือน เป็นการเติมมูลค่าและภาพลักษณ์ลงไปในขนมชิ้นนั้น กลยุทธ์นี้ถูกใช้กับขนมทุกอย่างในร้านเพชรพรมาจนถึง ปัจจุบัน “คุณเชื่อไหม หม้อแกงที่อื่น 35 เราขาย 45 เรา ขายหมดก่อน เพราะร้านอื่นใส่เม็ดบ ัว เราใส่ลูกตาล แต่ การใช้กลยุทธ์เรื่องราคา จำไว้เลยว่าเราต้องให้มากกว่า เจ้าอื่นๆ มันคือค วามต่าง”
77
78 บ้านหม้อ
แต่เมื่อเวลาผ่านไป บ้านหม้อค ลาคล่ำไปด้วยร้าน เบเกอรี เพชรพรเตรียมปรับต ัวอ ีกรอบ เริ่มผ่อนการเน้น เบเกอรี ขยับห าตวั อ นื่ ม าทดแทน แต่ง านนไี้ ม่มมี าเริม่ น บั 1 ใหม่ หากเลือกใช้วิธีการต่อยอด ตั้งต้นจากการเป็นจังหวัดท่องเที่ยวของเพชรบุรี ใครไปใครมาต้องหิ้วขนมกลับบ้านแทบทั้งนั้น และจะดี ไหมถา้ จ ะเอาขนมทดี่ ที สี่ ดุ จ ากทตี่ า่ งๆ ในเมืองเพชรฯ ไม่ ว่าจะเป็นบ้าบิ่นจากท่ายาง ขนมชั้นจากบ้านแหลม หรือ ขนมหม้อแ กงแม่ๆ ทั้งหลาย มาไว้ทเี่พชรพร “นี่คือการปรับตัวเข้าสู่ภาคธุรกิจอย่างเป็นขั้นเป็น ตอน” และเป็นไปตามคาด ร้านค้ารวมขนมอร่อยไปได้ ดี แต่หลังจากนั้น มีคำถามจากลูกค้าเข้ามาว่า อะไรคือ สินค้าของทางร้าน คำตอบ คือไม่มีเลยแม้แต่อ ย่างเดียว “ถ้าจ ะทำสนิ ค้าข องตวั เองขนึ้ ม าสกั อ ย่าง เราจะทำ อะไรดี ก็หาเอาจากของเดิมที่ทำกันอยู่คือ ข้าวเกรียบงา แต่ทำอย่างไรให้ต่าง เราเลยไปจัดกลุ่มทำข้าวเกรียบงา แต่สูตรต้องเป็นอย่างที่เราคิด” จนกลายมาเป็นข้าวเกรียบงา สูตรเฉพาะของร้าน ตามมาด้วยวุ้นกรอบน้ำตาลสด อาลัวช าววัง ฯลฯ และ ที่เพิ่มเข้าไปในทุกผลิตภัณฑ์คือ มผช. หรือ มาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ช ุมชนที่ออกโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ทีเ่น้น
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
79
80 บ้านหม้อ
ตรวจกระบวนการผลิต บรรจุ และส่งออก นอกเหนือไป จากมาตรฐาน อย. ทีม่ ีอยู่แล้ว สามทหารเสือข องรา้ น ข้าวเกรียบงา อาลัว และวนุ้ กรอบนำ้ ตาลสด ทุกช นิ้ ผ า่ นการอบโดยตอู้ บพลังงานแสง อาทิตย์ที่ตอนแรกได้รับความอนุเคราะห์โดยกระทรวง วิทยาศาสตร์แ ละเทคโนโลยี แต่กำลังการผลิตแค่ตู้เดียว ไม่เพียงพอต่อป ริมาณขนม คู่ชีวิตของลักขณาจึงงัดวิชาช่างขึ้นมา คว้าค้อน ตะปู เลื่อย ลงทุนต่อตู้เอง โดยได้แรงบันดาลใจมาจาก ตู้อบขนมหม้อแกงแบบโบราณ จนสำเร็จออกมาเป็น ตูอ้ บไฟฟ้าพ ลังงานแสงอาทิตย์ ทีต่ ดิ พ ดั ลม (บ้านๆ) ช่วย ระบายความร้อนข้างหลัง ทีส่ ำคัญ ทัง้ ต กู้ นิ ค า่ ไฟ แค่ว ันละ 35 บาท ลักขณา ดีดลูกคิดไว้แล้ว เมื่อม ารวม กับค่าวัตถุดิบต่างๆ ที่หาได้ ในท้องถิ่นทั้งหมด พอเ ราถ ามอ อกไ ป รายไ ด้ ห มุ น เวี ย นต่ อ เ ดื อ น ของร้านเพชรพรมีประมาณ เท่าไหร่ ลักขณาไม่ต อบอะไร มากไปกว่ารอยยิ้ม
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
81
82 บ้านหม้อ
07 ของไม่หวานการศึกษา อาคารเ รี ย นห ลั ง เ ก่ า ที่ ปั จ จุ บั น ก ลายม าเ ป็ น ทีท่ ำการของ อบต.บ้านหม้อ คือ โรงเรียนบา้ นไร่พ ะเนียด โรงเรียนประจำตำบลที่ถูกยุบไป เนื่องจากมีครูแค่ 9 คน กับเด็กอีก 13 คน เพราะเด็กๆ พากันไปเรียนที่ตัวเมือง ซึ่งมีโรงเรียนให้เลือกหลายสิบแห่ง เดินทางก็ใกล้แค่ขับ รถเครื่องไม่กี่นาที เมื่อไม่มีโรงเรียน ไม่มีเด็ก โจทย์หนักของส่วน งานการศึกษาบ้านหม้อคือ ‘แล้วเราจะทำการศึกษา เรื่องอะไร’
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
พันทิภา สุกช่วง หรือ น้ำ นักวิชาการศึกษา ดูแล ส่วนการศึกษา และศูนย์พัฒนาทักษะทางการศึกษาของ บ้านหม้อ นำโจทย์น จี้ ากนายกฯหมีม าคดิ ต อ่ หลังจ ากเข้า มาทำงานในปี 2542 ตอนนั้นเด็กและเยาวชนบ้านหม้อ มีปัญหาติดเกมและติดยา หนักเป็นพิเศษช่วงปิดเทอม อบต. กับ กศน.(การศึกษานอกระบบและการ ศึกษาตามอัธยาศัย) เลยจัดกิจกรรมเรียนพิเศษภาคฤดู ร้อน ชักชวนลูกหลานกำนัน ผู้ใหญ่บ้านมาได้ 20 คน เน้นให้ไปสนุกก ับนันทนาการ วาดรูป เล่มเกม ฯลฯ เพื่อ ให้เด็กๆ ใช้เวลาว่างอย่างไม่น ่าเป็นห่วง แต่ก็ไม่ประสบ ความสำเร็จเท่าไหร่ เพราะชวนได้แค่เด็กๆ จากหมู่ 1 2 3 ข้ามสะพานไปไม่ถ ึงเด็กๆ หมู่ 4 5 6 ทีเ่ลือกไปใช้ เวลาว่างในตัวเมืองมากกว่า จนตอ้ งใช้โครงการเวิรค์ ๆ อย่าง 1 เย็น 1 ซอย เข้า มาช่วยประชาสัมพันธ์ไปถึงหน้าบ ้านว่า ถึงไม่มีโรงเรียน แต่ อบต. ก็มสี ่วนงานการศึกษา พร้อมทำแบบสอบถาม เด็กๆ และพ่อแม่ละแวกนั้นไปด้วยว่า ต้องการพัฒนา ทักษะ (ลูกหลาน) ด้านใด “คุยไปคยุ ม า เรากลับเจอวา่ พ อ่ แ ม่ม ปี ญ ั หาเรือ่ งคา่ ครองชีพ เงินไม่พอต่อค่าเรียนลูก เราจึงต ัดสินใจทำฐาน ข้อมูลเด็กบ้านหม้อจริงๆ โดยไปอำเภอ ขอดูทะเบียน ราษฎร์ ไปขอคัดล อกชื่อเด็กอายุ 3-15 ปี เราพบว่า สิ้นป ี
83
84 บ้านหม้อ
2551 ทั้ ง ต ำบลมี เ ด็ ก 1,551 คน จากนั้นเราก็ ลงพื้นที่เลยว่า จำนวนนี้ มีจริงไหม ต้องไปหลัง 6 โมงเย็นจะได้เจอทั้งบ้าน พอไปคุยเลยได้รู้ว่า หมู่ 4 5 6 บางครอบครัวต อ้ ง จ่ายค่าเรียนพิเศษเดือน ละ 20,000 บาท อยาก ให้ลูกได้เรียนกับสถาบันดังๆ” แผนการต่อมาของทีมการศึกษาบ้านหม้อจึงตั้ง เป้า ‘ลดรายจ่ายครัวเรือน จนออกมาเป็นโปรแกรมสอน พิเศษ เสาร์-อาทิตย์ เน้นวิชาหลักๆ เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ จูงใจเด็กๆ ด้วยการไปติดต่อครูอาจารย์ ชื่อดังที่สอนในตัวเมือง เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่พ่อ แม่และตัวเด็กเอง ทั้งหมดฟรี แถมมีอาหารให้ทานระหว่างวัน ผลตอบรับเลย ดีเกินคาด แต่พอเทอม 2 จู่ๆ เด็กก ลับค่อยๆ หายไป จนเหลือไม่ถึงครึ่งห้อง ทีมการศึกษาร้อนใจจึงยกหูถึง บรรดาพ่อแ ม่ “เด็กต อบวา่ เบือ่ ค รูท โี่ รงเรียน เจอกนั จ นั ทร์ถ งึ ศ กุ ร์
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
ยังต้องมาเจอวันเสาร์อีก” น้ำเฉลย เมื่อเด็กเบื่อครู ทีมการศึกษาก็คิดกันหนักว่าจะ ไปต่ออย่างไร ใครบางคนในทีมเสนอขึ้นมาว่า อย่างนั้น ก็ต้องเอาเด็กมาสอนเด็ก เด็ ก ใ นที่ นี้ ห มายถึ ง นั ก ศึ ก ษาปี ที่ 4 ที่ อบต. ทำเอ็มโอยรู ว่ มกบั ม หาวิทยาลัยร าชภัฏเพชรบุรี ให้ม าชว่ ย ฝึกสอนวิชาพื้นฐานต่างๆ ในแบบพี่สอนน้อง “เด็กอยากเรียนมากขึ้น เหมือนเขาได้เรียนกับพี่ ช่องว่างระหว่างวัยน้อยลง แล้วครูฝึกสอนเขาจะมีสื่อ ทันสมัย มีเกมมาเอนเตอร์เทนน้องๆ เราไม่เน้นว่าเด็ก ต้องเก่ง ขอแค่ละลายพฤติกรรมเด็กที่ก้าวร้าว เพราะ เด็กส่วนใหญ่อ ยูใ่นครอบครัวเดี่ยว พ่อแม่ล ูก เด็กๆ ไม่มี โอกาสรู้จักกันเลย” โปรแกรมสอนพิเศษ มีการประเมิน ผลกันทุกปี อย่างปลี า่ สุด เด็กๆ เรียกรอ้ งอยากเรียนจนิ ตคณิต พันท ภิ า อาสาไปติดต่อสถาบันจินตคณิตที่ดีที่สุดในเมืองเพชรฯ พร้อมข้อเสนอที่วิน-วินทั้ง 2 ฝ่าย โดยทาง อบต. บอกไปตามตรงว่า มีง บประมาณ จำกัด แต่ถ้าสถาบันยินดีมาสอนให้ ชื่อเสียงก็จะตามมา โดยไม่ต้องโฆษณา เพราะอย่างน้อยๆ เด็กบ้านหม้อก็ ต้องรู้ว่าครูสอนจินตคณิตมาจากไหน อาศัยบอกกันไป แบบปากต่อปาก
85
86 บ้านหม้อ
ผลปรากฏว่า คอร์สจินตคณิตของบ้านหม้อ เปิด รับสมัครได้เพียงอาทิตย์เดียว...เต็ม อีกวิชาหนึ่งที่เด็กบ้านหม้อค่อนข้างจะเสียเปรียบ คือ สนทนาภาษาอังกฤษ ชนิดที่ว่า วันไหนพาครูฝรั่งเข้า ห้องเรียนมา เด็กๆ ตีตัวอ อกห่างแทบทุกค น อย่าว่าแต่เด็กเลย นักวิชาการศึกษาอย่างน้ำ ก็ เกิดอาการตัวชาเหมือนกันเมื่อต้องพบปะสื่อสารกับคน ตาสีน้ำข้าว “วันหนึ่งแม่ซึ่งเป็นครู พาครูฝรั่งม าทบี่ ้าน ฝากให้ เราช่วยดูแล ครูฝรั่งพูดไทยไม่ได้สักคำ เราก็สปีคไม่ได้ สักคำ ลืมห มดแล้ว นั่งมองกันไปมองกันมา เครียด พอ ถึงกลางวัน หิวทั้งคู่ เราก็กวักมือเรียกให้ม ากินข้าว เขา ก็พ ูดว่า Lunch เราบอกให้เปิดป ระตู เขาก็ Open the Door แค่นี้เราได้ศัพท์แล้ว เราพูดภาษาไทยอะไร เขาก็ พูดอังกฤษตามมา เลยเอามาเล่าให้นายกฯ ฟัง ว่าทั้ง วันเราได้ศ พั ท์เยอะแยะเลยโดยไม่ต อ้ งทอ่ ง ส่วนใหญ่เป็น ศัพท์ท ี่ใช้ในชีวิตประจำวันด้วย” พอเล่าจ บ นายกฯหมีก ็ควักเงินให้ทันที 10,000 บาท บอกให้น้ำไปลองจัดค อร์ส English on Tour แบบ นี้ดู ทริปแรกน้ำพาเด็กๆ 15 คนไปเที่ยวทะเลกับครู ฝรั่งคนเดิม ปรากฏว่า ครูกับนักเรียนได้แลกเปลี่ยนศัพท์
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
กันโดยไม่ต้องท่อง เด็กๆ ก็ส นุกพร้อมได้ศัพท์กลับบ้าน กันไปหลายคำ ของแถมทตี่ ามมาคือ ความกล้าพูด กล้า แสดงออกของเด็กๆ อันเป็นเป้าหมายสำคัญของทีมการ ศึกษา ที่ไม่เน้นอัดวิชาการ อีกเรื่องที่เน้นไม่แพ้ก ันคือ ความเท่าเทียม เพราะเด็กๆ แต่ละหมู่ของบ้านหม้อจะมีมาทุก ฐานะ บางคนมาพร้อมกระติกน้ำเก็บความเย็นรูปบาร์บี้ หรือเบ็นเท็น ผิดกับบางคนที่เอามาแค่ขวดน้ำเปล่า เช่น เดียวกับดินสอ ปากกา พกกันมาแบบ จัดห นัก แต่ครูน้ำของเด็กๆ ก็มีวิธี... “อุปกรณ์เช่น ดินสอ ปากกาสวยๆ เราไม่ให้เอา มาเลย อบต. จะเตรียมไว้ให้สีเดียว ลายเดียวกันหมด เพื่อลดปัญหาใครรวยกว่า จนกว่า ทุกอย่างต้องเท่ากัน แม้แต่ข นม” อย่างเด็กผ หู้ ญิง ครูน ำ้ ร ใู้ จเลือกลายสาวนอ้ ยบาร์บ ี้ ให้ ส่วนผู้ชายก็ลายเบ็นเท็น เพราะครูน้ำเชื่อว่า เด็กๆ จะเ ป็ น ห รื อ คิ ด อ ย่ า งไร ขึ้ น อ ยู่ กั บ การป ลู ก ฝั ง แล้ ว ผ้ า ข าว จะเชื่อฟัง
87
88 บ้านหม้อ
ทุกวันนี้งานด้านการศึกษา ยังอยู่ในจุดที่ต้อง พัฒนาต่อไป แต่ก็ได้แรงหนุนจากเด็กๆ กลุ่มใหญ่ ทั้ง รุน่ เก่าท จี่ บไปแล้วแ ต่ย งั ค งกลับม าชว่ ยงานเป็นพ เี่ ลีย้ งให้ น้องๆ รุ่นหลังอยูเ่สมอ “เราได้ปรับทัศนคติคนบ้านหม้อ จากเดิมโรงเรียน เราโดนยุบ ชาวบ้านไม่เชื่อมั่น แต่ตอนนี้ เขาเห็นว่าเรา ทำได้ มีเด็กๆ มารว่ มกจิ กรรมกบั ศ นู ย์พ ฒ ั นาทกั ษะตลอด ช่วงปิดเทอม” ความรู้นอกห้องเรียนของศูนย์พัฒนาทักษะ ไม่ ได้มีเท่านี้ ด้วยชุมชนบ้านหม้อยังมีของดีอีกเยอะ โดย เฉพาะศิลปวัฒนธรรม คนที่นี่เก่งเรื่องกลองยาว รำวง อบต.ก็ส นับสนุนให้เกิดก ารถา่ ยทอดความรู้ ชวนรนุ่ เดอะ มาสอนเด็กๆ ตีกลองยาว รำไทย จนเด็กๆ ได้รำเป็น ตัวแทนจังหวัด อบต. เองเมื่อเห็นว่า ไปได้ดี จึงให้งบประมาณ 80,000 บาท ตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรรมขึ้นมาโดยใช้บ ้าน ของปราชญ์ด้านนี้เป็นที่ทำการ “ป้าเจ้าของบา้ นแกชอบรำ ชอบให้เด็กม าวงิ่ ในบา้ น เยอะๆ ช่วงแรกๆ ใครมีมาม่า มีก ับข้าวก็หิ้วก ันมา จน บ้านนี้กลายเป็นศูนย์รวมของเด็กๆ ไปแล้ว” นอกจากนี้ ยังมีคอร์สอื่นๆ เช่น ศิลปะ ทำขนมไทย ใครใคร่อยาก เรียนอย่างไหน เรียน
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
เหนือสิ่งอื่นใด โครงการถ่ายทอดวามรู้จากรุ่นสู่ รุ่น ไม่ได้มีเพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาเก่าเท่านั้น แต่เจตนา ของครูน้ำและทีมศูนย์พัฒนาทักษะ ยังต้องการลดช่อง ว่างระหว่างวยั เพราะผสู้ งู ว ยั ไม่น อ้ ย มักท ะเลาะกบั ล กู ๆ หลานๆ หรือเข้าข่ายอาการที่เรียกว่า คุยกันไม่รู้เรื่อง น้ำเลยเริม่ ต น้ แ วะเวียนไปตามบา้ นตา่ งๆ เทียวหา ว่าบ ้านไหนมี ‘ผู้ใหญ่ช ่างเล่า (ความหลัง)’ อยูบ่ ้าง เมื่อได้ คนเดินเรื่อง น้ำก ็จัดการชวนเด็กๆ ที่ชอบฟังมาล้อมวง “คนแก่ก็มีความสุขมีลูกหลายรายล้อม เด็กๆ ก็ ชอบ คนสองวัยได้เข้าใกล้กันมากขึ้นค่ะ”
89
90 บ้านหม้อ
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
08 เรือยาวรุ่นจิ๋ว (แต่แจ๋ว) คนที่ นี่ เ ชื่ อ กั น ว่ า ‘แม่ น้ ำ เ พชรฯ’ คื อ แ ม่ น้ ำ ศักดิ์สิทธิ์ เพราะแม่น้ำอื่นไหลจากเหนือลงใต้ แต่แม่น้ำ เพชรฯ ไหลย้อนจากใต้ไปเหนือ ด้วยตาเปล่า น้ำเพชรฯวันนี้ ใสและเย็นมาก ที่ ผ่านมาอาจมสี กปรกไปบา้ ง แต่ส ดุ ท้ายดว้ ยความรว่ มมอื ร่วมใจของคนทกุ อ ำเภอ น้ำเพชรฯก็ก ลับม าใสเย็นอ กี ร อบ และพร้อมเสมอกับการแข่งเรือยาว แถมเป็นเรือยาวรุ่นจิ๋วด้วย ย้อนกลับไปทหี่ มู่ 1 บ้านไร่ วัดป ระจำหมูบ่ า้ นอย่าง วัดเสาธงเรียงมีเรือจอดทิ้งไว้ เป็นเรือขนาด 23 ฝีพายที่ ชาวบ้านยืมไปพายในงานวัดก ันบ่อยๆ จากนั้นทหารมา ยืมเรือข องวัดไปพาย ถึงฤ ดูแ ข่ง ชาวบา้ นไม่มจี ะพาย เลย ไปพายกับตำบลบ้านลาด แต่พ อพายชนะ บ้านลาดกลับ กวาดรางวัลไปหมด จากจุ ด นั้ น ชาวบ้ า นไร่ แ ห่ ง ต ำบลบ้ า นหม้ อจึ ง คิดอยากมีเรือของตัวเองอย่างจริงจัง เลยเริ่มทำกันดู ประกอบกับหมู่ 1 เอง ขึ้นชื่อเรื่องฝีมือช่างไม้เป็นทุนเดิม
91
92 บ้านหม้อ
อยู่แล้ว เลยเรี่ยรายกันคนละ 100 บาท 500 บาท แล้ว แต่กำลัง ซื้อไม้กระท้อน ซื้อเครื่องมือ ช่วยกันขัดสี เรือ ลำแรกจากไม้ก ระท้อนก็เลยเกิดขึ้น “ทำไปคยุ ก นั ไป ว่าจ ะทำออกมาเป็นเรือห รือม นั จ ะ เป็นอ ะไร (ยิ้ม) จะเป็นไม้จิ้มฟ ันซะล่ะมั้ง” เจ้าของเรื่องเล่าข้างต้นคือ จี หรือ จีรพันธ์ พิมพ์ สว่าง ที่ดูแล ‘แหล่งเรียนรู้ กลุ่มเรือยาว’ ย้อนประวัติ ต่อว่า เรือไม้กระท้อนได้ลงสนามครั้งแรกในวันสืบสาน แม่น้ำเพชรฯ เดือนตุลาคม ปี 2548 แต่ด้วยความที่เป็น เรือใหม่ จมบ้าง ลอยบ้าง คนดูก็ขำ อะไรๆ ยังไม่ค่อย ลงตัว เลยไม่ได้ถ้วยใดๆ กลับมา “แต่ เ ด็ ก ๆ เข้ า ม า สนใจมากขึ้น พอถึงหน้า เรือ เดือนสิงหาคม เขา จะมาช่วยพาย ดูแล ขัดส ี ปีถัดมาเลยสร้างเรือใหม่ 2 ลำ ของผู้ใหญ่กับเด็ก อย่างละลำ พอปี 2550 นายก อบต. เห็นว่าช ุมชน สนใจ เลยจดั ง บสนับสนุน มาให้ปีละ 5,000 บาท จนค่ อ ยๆ เขยิ บ ขึ้ น เ ป็ น
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
10,000 บาทในหลายปตี อ่ ม า เด็กๆ ก็เพิม่ ข นึ้ ห ลายเท่าต วั เด็กรุ่นแรกๆ โตขึ้นก็เขยิบไปพายลำใหญ่” บ้ า นข องจี คื อ แ หล่ ง เ รี ย นรู้ และที่ เ ก็ บ เ รื อ ข อง กลุ่มเรือยาว ขณะเดียวกันก็หาเลี้ยงชีพด้วยธุรกิจรับทำ เฟอร์นเิ จอร์ไปดว้ ย พอเข้าห น้าเรือ ก็จ ะได้ต อ้ นรับส มาชิก ตัวเล็กๆ หน้าใหม่ๆ เสมอ บางคนอายุแค่ 9 ขวบก็มา ขอจับพายแล้ว “เขาเห็นพายมาตั้งแต่เล็กๆ เลยอยากมาขอพาย บ้าง ก็ให้เริ่มจากช่วยวิดน้ำเรือก่อน พอเรือจอดปุ๊บเขา ต้องรบี ล งไปวดิ พอสกั พ กั ก ใ็ ห้เริม่ ฝ กึ พ ายกบั ร นุ่ ใหญ่ เอา ให้ได้จังหวะก่อน” อย่างลูกชายจีตอนนี้อายุ 20 แล้ว ก็ เริ่มจากวิดน้ำเหมือนกับคนอื่นๆ จนตอนนี้เป็นฝีพาย ประจำลำใหญ่ไป ชื่ อ เ สี ย งข องฝี พ ายบ้ า นหม้ อ ไ ม่ เ ป็ น ร องใ คร นอกจากถ้วยรางวัลเกินนิ้วนับ จนต้องเอาไปบริจาคให้
93
94 บ้านหม้อ
โรงเรียนเอาไปใช้ต่อ แล้วยังได้รับเทียบเชิญให้ไปแข่ง จากต่างอำเภอเฉลี่ยป ีละกว่า 10 ครั้ง แต่ส ำคัญกว่าน ั้น คือ เด็กๆ ได้ทำในสิ่งที่เขาชอบแม้ว่ามันจะเหนื่อยและ หนักก็ตาม “เขาชอบของเขา การจะเป็นฝีพายได้ต้องอดทน จริงๆ เพราะมนั ท งั้ เหนือ่ ย ทัง้ ป วดเอว แต่ส นุกน ะ ต้องใช้ ความสามัคคีก ันมากๆ อย่างเรือรุ่นเล็ก 7 ฝีพาย ทุกคน ต้องไปพร้อมกันหมด ถ้าคนหนึ่งหยุดพายเรือจะแพ้ ทันที” สามีของจีก็ช่วยลากเรือทุกครั้งที่มีแข่ง พาเด็ก ไปเป็นโขยง เสียค่าน้ำ ค่าเดินทาง จนหลายครั้งก็ถึง กับเข้าเนื้อ จนบางครั้งก็ถามตัวเองว่า จะดิ้นรนทำไป ทำไม ไหนจะงานดูแล หรือที่เรียกว่าประแป้งเรือ การ ทำบุญแม่ย ่านาง ไปจนถึงทำกับข้าวเลี้ยงฝีพายทเี่ธอนับ เหมือนลูก “ถ้าเราไม่ไป เห็นลำอื่นไป เราก็อยากไปเนอะ ไป แข่งแต่ละครั้ง เชื่อไหม คนดมู ากกว่าค นแข่งเสียอีก”
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
95
96 บ้านหม้อ
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
ชวนเที่ยวบ้านหม้อ
97
98 บ้านหม้อ
พิพิธภัณฑ์ ศาลาเหมืองทะโมน จากที่นักวิชาการการศึกษาอย่างน้ำ ได้ไปเยี่ยม หลายหลังคาเรือนเพือ่ นพบปะคนเก่าค นแก่ น้ำย งั ได้พ บ ของเก่าของแก่ประจำบ้านหลายอย่าง จนเกิดความคิด อยากให้ค นรุ่นใหม่ได้เห็นอย่างที่เธอเห็นบ้าง ‘พิพิธภัณฑ์’ คือคำตอบทลี่ อยเข้ามาในหัว พร้อม กับการตระเวนไปขอของเก่าตามบ้านต่างๆ ยิ้ ม ก ลั บ ม าก็ มี หน้ า ห งายก ลั บ ม าก็ บ่ อ ย แต่ สุ ด ท้ า ยน้ ำ ก็ ไ ด้ ข องม าพ อป ระมาณ ส่ ว นส ถานที่ ไ ด้ รั บ ค วามอ นุ เ คราะห์ จ ากเ จ้ า ของศ าลาป ฏิ บั ติ ธ รรม เรือนเก่า ริมแม่น้ำเพชรฯ ในพื้นที่หมู่ 3 มอบให้เป็น สาธารณประโยชน์ ในบรรดาของเก่าประดามี น้ำภูมิใจกับ เครื่องฝัด ข้าว หรือส ีฝัดมากที่สุด
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ
“ชิ้นนี้อายุ 90 ปี ได้จ ากบ้านลุงเพ็ชร แสนสำราญ แกเก็บไว้ ไม่ย อมขาย ทัง้ ท มี่ คี นมาขอซอื้ เป็นห มืน่ ๆ แกก็ ไม่ยอม บอกว่าถ้าให้ลูกหลานไปขาย เงินมาก็ไม่ได้อะไร แต่ถ้าเอามาให้เด็กๆ ได้ด ู เด็กจะได้ไปบอกๆ กันต่อ ลูก ลุงเพ็ชรเองก็ไม่ค ่อยพอใจ แรกๆ มีม าขอคืน แต่พ อเห็น เด็กๆ เล่นกันสนุก สนใจเครื่องฝัดข ้าวกันใหญ่ ก็เปลี่ยน ใจ แถมยงั เอาของมาบรจิ าคให้เพิม่ อ กี ” สีฝดั ข องลงุ เพ็ช ร เครื่องนใี้หญ่ ขนาดทำจากไม้ทั้งท่อน สำหรับคนรุ่นใหม่ เครื่องฝัดหรือสีฝัด เป็นเครื่อง ฝัดข้าวที่ต้องใช้กำลังคนในการหมุนเครื่อง เพื่อให้เม็ด ข้าวแยกจากรวงข้าว เป็นภูมิปัญญาของคนในชุมชนใน อดีต เครือ่ งฝดั ข า้ วนเี้ ปรียบเสมือนโรงสขี า้ วเล็กๆ ภายใน ครอบครัว
99
100 บ้านหม้อ
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ 101
102 บ้านหม้อ
ใกล้เคียงกัน ยังมี ‘หมวกไม้’ ของลุงเพ็ชรคนเดิม หมวกใบนี้ทำจากไม้ทองหลาง รูปท รงคล้ายหมวกทหาร โบราณ เดิมใช้ส มัยส งครามโลกครัง้ ท ี่ 2 ตอนทลี่ งุ เพ็ช รยงั ประจำการทภี่ าคใต้ ต่อม าเมือ่ ป ลดประจำการ ลุงเพ็ช รก็ ยังใช้ใส่ในชีวิตประจำวัน ถัดไปไม่กี่ก้าว ก็เป็นของลุงเพ็ชรเจ้าเดิมอีก แต่ เป็น ‘เครื่องทำขนมปลากริม’ อายุก ว่า 50 ปี เจ้าเครื่องนี้ ลุงเพ็ชรประดิษฐ์ขึ้นเองโดยใช้ตะปูเจาะเป็นรูถี่ๆ ลงใน แผ่นไม้ ให้ได้ข นาดเท่าเส้นป ลากรมิ ขนมโปรดสองสขี อง ใครหลายคน ภายในศาลาเหมืองทะโมนยังมีของเด็ดรออยู่อีก มาก อาทิ เครื่องทำลอดช่อง หม้อโบราณที่เป็นที่มาของ ชือ่ บ า้ นหม้อ ยุง้ ท ที่ ำจากตาลทงั้ ต น้ ค ว้านตรงกลางเป็นท ี่ เก็บข้าว เครื่องฉายหนังกลางแปลงขนาดเล็กๆ ไว้ดูกัน ในบ้าน จักรยานโบราณ Raleigh ที่เจ้าของขี่มาบรจิ าค ก่อนตายไม่นาน ฯลฯ
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ 103
104 บ้านหม้อ
เจดีย์แดง
ในเว็บไซต์ของ อบต.บ้านหม้อ มีที่เที่ยวบอกไว้ที่ เดียวคือ เจดีย์แดง เป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน มีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยม จัตุรัส ย่อมุมไม้สิบ ฐานสิงห์ มีทางเดินก่อด้วยอิฐรอบ องค์เจดีย์ ส่วนฐานก่ออิฐสอดิน ขนาดกว้างประมาณ 17 x17 เซนติเมตร สูง 20 เมตร พื้นที่ภายในเรือน ธาตุเป็นห้อง 8 เหลี่ยม มีประตูเข้าทางทิศต ะวันออกแต่ ไม่มีร่องรอยการทำบันไดทางขึ้น จึงไม่สามารถทราบถึง
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ 105
ลักษณะการใช้งาน ไม่ป รากฏหลักฐ านแน่ชดั เกีย่ ว กับประวัติการก่อสร้าง จากรูปแบบ สถาปัตยกรรมของเจดีย์ สันนิษฐาน ว่า น่าจ ะมีอายุอยู่ในช่วงตั้งแต่กลาง พุทธศตวรรษที่ 23 ซึ่งสอดคล้อง กับหลักฐานพงศาวดารในสมัยกรุง ศรี อ ยุ ธ ยา ที่ อ าจจ ะเ กี่ ย วข้ อ งกั บ ประวั ติ ก ารก่ อ สร้ า งเ จดี ย์ แ ดง มี ข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงสมเด็จ พระเจ้าเสือ (ขุนห ลวงสรศกั ดิ)์ เสด็จ มาล้อมช้างเถื่อนในป่าเพชรบุรี ในปี จุลศักราช 1064 ปีมะเมีย จัตวาศก ตรงกับ พ.ศ. 2245 ถึงแ ม้วา่ ในพงศาวดารไม่ได้ก ล่าวถงึ ก ารสร้างเจดีย์ แต่จากชื่อ ‘บ้านไร่พะเนียด’ อันเป็นทตี่ ั้งของเจดียแ์ ดง ก็ แสดงให้เห็นว่าบริเวณนเี้คยเป็นท ตี่ ั้งเพนียดคล้องช้างมา ก่อน จึงเป็นไปได้ว่า ในคราวที่สมเด็จพระเจ้าเสือเสด็จ ล้อมช้างที่เพชรบุรีนั้น อาจโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเพนียด และเจดีย์แดงขึ้นด้วยก็เป็นได้ กรมศลิ ปากรได้ป ระกาศขนึ้ ท ะเบียนเจดียแ์ ดงเป็น โบราณสถานของชาติ
106 บ้านหม้อ
กินอิ่มนอนอุ่น ที่โฮมสเตย์ป้าอี๊ด จริงๆ ทั่วตำบลบ้านหม้อมีโฮมสเตย์อ ยู่ 32 หลัง ราคา 350 ต่อคืนพร้อมอาหารเช้า เท่ากันทุกหลัง ส่วนใหญ่เอาไว้รองรับคณะที่มาดงู าน ซึ่งมีเข้ามาไม่ข าด สาย และหนึง่ ในหลายๆ โฮมสเตย์ท อี่ ยูใ่ นระดับ Recommended คือ โฮมสเตย์ป ้าอี๊ด ทีค่ วบตำแหน่งโรงอาหาร ของชาวบ้านหม้อด้วย ตลอดทั้งวันมีคนเดินเข้ามาฝากท้องกับป้าอี๊ดไม่ ขาดสาย เพราะรสมือป้าไม่แพ้ใครจริงๆ ไม่ว่าจะเป็น อาหารพื้นๆ อย่าง ผัดผักรวมมิตร หมูทอด ลาบเห็ด แกงส้มชะอมไข่ ที่อร่อยถึงเครื่องถึงใจ ไม่มีมื้อไหนเลย ทีจ่ ะกินข้าวแค่จานเดียว แต่ท ตี่ อ้ งยกให้เป็นเมนูเด็ดค อื แกงปา่ ป ลาเห็ดโคน ทีเ่ นือ้ ป ลาสดมาก เข้าก บั พ ริกแ กงทใี่ ส่ม าไม่ย งั้ ซดรอ้ นๆ
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ 107
กับข้าวสวย ได้ไข่เจียวมาด้วย เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม ค่ำๆ ป้าอ ดี๊ ก ถ็ อดชดุ แ ม่ค รัวเปลีย่ นบทเป็นเจ้าของ โฮมสเตย์ ทีเ่ตรียมห้องนอนสะอาดสะอ้านไว้ต ้อนรับ ไม่ ได้หรูเลิศอ ย่างโรงแรม 5 ดาว แต่ก ็กินอิ่ม นอนอุ่น อุ่น มากๆ เพราะอุณหภูมเิฉียด 40 องศาในหน้าร ้อน พอตกดึก ป้าอี๊ดใจดี เคาะประตู ก๊อก ก๊อก “ผ้าห่มพอมั้ยลูก” ในมือป้าถ ือผ้านวมใหญ่ ดูหนา หนัก กับสายตาอ่อนโยน “ไม่เป็นไรคะ่ ป า้ อุน่ พ อแล้ว” คำปฏิเสธอย่างสภุ าพ ก่อนจะหันหลังทชี่ ุ่มเหงื่อกลับไปนอนต่อ
108 บ้านหม้อ
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ 109
110 บ้านหม้อ
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ 111
112 บ้านหม้อ
ภาคผนวก
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ 113
องค์การบริหารสว่ นตำบลบา้ นหม้อ ทัง้ 6 หมูบ่ า้ น มีพ นื้ ทีป่ ระมาณ 6.9 ตารางกโิ ลเมตร ครอบคลุมแ นวถนน เพชรเกษมทั้ง 2 ฝั่ง นับตั้งแต่ส ะพานข้ามแม่น้ำเพชรบุรี (ถนนเพชรเกษม) คนพื้นที่เรียกว่าสี่แยกทางหลวงหรือ สีแ่ ยกบา้ นไร่พ ะเนียด ไปจนถึงแ ยกเขาบนั ไดอฐิ ประกอบ ด้วย
หมู่ 1 บ้านไร่
ชาวบ้านหมู่ที่ 1 มีทั้งเชื้อสายไทยและเชื้อสายจีน เดิมเล่าต่อก ันมาว่าน ิยมทำไร่ท ำนา ทำสวนมะม่วง สวน ละมุด ปลูกพ ชื ผ กั ส วนครัวไว้ข ายและกนิ เองในครอบครัว พืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่จ งึ เหมาะแก่ก ารเพาะปลูก ทำเกษตรกรรม ซึ่งอาจเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านว่า ‘บ้านไร่’
หมู่ 2 บ้านไร่พ ะเนียด
บ้านไร่พะเนียด ชื่อนี้สันนิษฐานว่า เป็นช ื่อมีที่มา แต่เดิมสมัยอยุธยาตอนปลาย เพราะปรากฏหลักฐาน ว่าบริเวณหมู่ 2 (บ้านไร่พะเนียด) เคยเป็นพะเนียด คล้องช้างมาก่อน ทั้งนี้ โดยบริเวณฝั่งตรงข้าม องค์การ บริหารส่วนตำบลบา้ นหม้อ หมู่ 2 เคยเป็นพ ะเนียดคล้อง ช้างสมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณดังกล่าวเคยพบซากลาน ปูนด้วยอิฐแดง ชนิดเดียวกับเจดีย์แดง อยู่เป็นบริเวณ กว้างประมาณไร่เศษ
114 บ้านหม้อ
หมู่ 3 บ้านเหมืองทะโมน เรือ่ งเล่าส บื ต อ่ ก นั ม าวา่ บ า้ นเหมืองทะโมน เดิมเป็น เพียงเหมืองทา่ น้ำท มี่ คี วามลกึ แ ละอดุ มสมบูรณ์ม าก ชาว บ้านโดยทวั่ ไปนยิ มมาอาบน้ำต รงเหมืองนี้ อีกท งั้ เป็นท ตี่ งั้ ของโรงเรียนประจำตำบลชื่อว่าโรงเรียนเหมืองทโมน จึง ใช้ชื่อนี้เรื่อยมา
หมู่ 4 บ้านหลุมดิน
สมัยก่อนตำบลบ้านหม้อมีชื่อเสียงในเรื่องการปั้น ดินเผามาก สังเกตได้ว่ามีโรงงานเตาอิฐอยู่ และการใช้ เครื่องปั้นก็ต้องใช้ดินเป็นองค์ประกอบหลักและดินดีจะ อยู่ที่ตำบลบ้านหม้อเท่านั้น จึงมีการขุดหลุมเอาดินไป ใช้จนพื้นที่ดังกล่าวเป็นหลุม ปัจจุบันจ ึงได้ตั้งชื่อห มู่บ้าน นี้ว่าหลุมด ิน
หมู่ 5 บ้านโคกมะกรูด
บ้านโคกมะกรูด แยกออกมาจากบ้านหลุมดิน เนื่องจากว่าบ้านหลุมดินเดิมมีชุมชนอาศัยอยู่อย่างหนา แน่น ประชากรดั้งเดิมทำอาชีพเกษตรกรรม เหตุท ี่เรียก ว่าบ้านโคกมะกรูด เพราะจากเดิมมีวัดเก่าอ ยู่ชื่อ วัดโคก มะกรูด จึงใช้ชื่อนเี้รียกต่อมาจนถึงปัจจุบัน
หมู่ 6 บ้านไร่พ ัฒนา
เดิมเป็นส่วนหนึ่งของหมู่ 4 และ 5 เมื่อป ระชากร มีจำนวนมากขึ้น จึงแบ่งเขตออกมาเป็นหมู่ที่ 6 และ
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ 115
ชาวบ้านร่วมกันพัฒนาให้เกิดความสะดวก และสะอาด มากขึ้น
ที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อต ั้งอยู่ ณ บ้าน เหมืองทะโมน หมู่ที่ 3 ถนนสมานประชากิจ อยูห่ ่างจาก ทีว่ า่ การอำเภอเมืองเพชรบุรี 4 กิโลเมตร โดยมอี าณาเขต ดังนี้ - ทิศเหนือ จดตำบลไร่ส ้ม อำเภอเมืองเพชรบุรี - ทิศใต้ จดตำบลต้นมะม่วง อำเภอเมืองเพชรบุรี และเทศบาลตำบลบ้านลาด อำเภอบ้านลาด - ทิศตะวันออก จดเทศบาลเมืองเพชรบุรี ตำบล ต้นมะม่วง อำเภอเมืองเพชรบุรีและตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี - ทิศตะวันตก จดตำบลไร่ส้ม อำเภอเมืองเพชรบุรี และตำบลบ้านหาด อำเภอบ้านลาด
ประชากร
ประชากรทั้งหมด 7,382 คน เป็นชาย 3,468 คน เป็นห ญิง 3,914 คน ประชากรแฝงประมาณ 3,000 คน มีจ ำนวนครัวเรือนทั้งหมด 3,204 ครัวเรือน
116 บ้านหม้อ
ภูมิประเทศ ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบเต็มพื้นที่ แบ่ง เป็นย า่ นการคา้ พ าณิชย์ ย่านเกษตรกรรมชนบท และยา่ น ที่อยู่อาศัย ซึ่งบางส่วนเป็นเขตชุมชนหนาแน่น
การศึกษา
โรงเรียนมัธยม 1 แห่ง - โรงเรียนคงคาราม วัด/สำนักสงฆ์ 4 แห่ง - วัดเสาธงเรียง - วัดประดิษฐ์วนาราม - วัดคงคาราม - วัดถ้ำแก้ว - สำนักปฏิบัติธรรมถ้ำหว้า
การสาธารณสุข
ตั้งอ ยู่หมูท่ ี่ 4 ตั้งอยู่หมูท่ ี่ ตั้งอยูห่ มูท่ ี่ ตั้งอยู่หมูท่ ี่ ตั้งอยูห่ มู่ที่ ตั้งอ ยู่หมูท่ ี่
1 2 4 5 5
- สถานีอนามัยป ระจำตำบล มี 1 แห่ง - ศูนย์บริการสขุ ภาพชมุ ชนตำบลบา้ นหม้อม ี 1 แห่ง 1. สถานพยาบาลเอกชนมี 1 แห่ง - โรงพยาบาลเพชรรัชต์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 2. ร้านขายยาแผนปัจจุบันม ี 1 แห่ง - ร้านบ้านยา ตั้งอ ยู่หมูท่ ี่ 4 อัตราการมแี ละการใช้สว้ มราดนำ้ 100 เปอร์เซ็นต์
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ 117
ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 1. ชุดสายตรวจตำบลบ้านหม้อร่วมกับ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน - ศูนย์ อปพร. ในเขตตำบลบ้านหม้อ - ตู้ยามสายตรวจตำรวจเคลื่อนที่ ตำบลบ้านหม้อ - กล้องวงจรปิด
อาชีพ
ประชากรใ นเ ขตอ งค์ ก ารบ ริ ห ารส่ ว นต ำบล บ้ า นหม้ อ ป ระกอบอ าชี พ ทางด้ า นเ กษตรกรรม รั บ ราชการ รับจ้างทั่วไป อุตสาหกรรมในครัวเรือน ค้าขาย ธุรกิจส่วนตัว
หน่วยงานธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
1.ปั๊มน้ำมันและก๊าซ จำนวน 2 แห่ง - ปั๊มฉลองขวัญ ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 - ยูนิคแก๊ส ตั้งอ ยู่หมู่ที่ 1 2.โรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 2 แห่ง - โรงน้ำแข็งธารทิพย์ ตั้งอยูห่ มู่ที่ 1 - โรงงานเส้นหมี่ ตั้งอยูห่ มู่ที่ 5 3.ธนาคาร จำนวน 1 แห่ง - ธนาคารไทยพาณิชย์จำกัด ตั้งอ ยูห่ มู่ที่ 5 - ธนาคารกสิกรไทย สาขาเพชรไพบูลย์ ตั้งอ ยู่หมู่ที่ 4
1 แหล่งเรียนรู้ การบริหารจัดการท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วมบูรณาการทุกภาคส่วน แหล่งเรียนรู้ การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่เหมาะสมกับพื้นที่เขตเมือง/ แผนสามปี แหล่งเรียนรู้ กลยุทธ์ในการจัดเก็บข้อมูล(1เย็น1ซอย) แหล่งเรียนรู้ ผู้นำพาความสำเร็จ แหล่งเรียนรู้ การสื่อสารชุมชน แหล่งเรียนรู้ อปพร. แหล่งเรียนรู้ ผ้าป่าขยะเพื่อพัฒนาสังคม แหล่งเรียนรู้ ศูนย์พัฒนาทักษะทางการศึกษา แหล่งเรียนรู้ กศน.ตำบลบ้านหม้อ แหล่งเรียนรู้ กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านหม้อ แหล่งเรียนรู้ กองทุนสวัสดิการพัฒนาสตรีตำบลบ้านหม้อ แหล่งเรียนรู้ กองทุนหลักประกันสุขภาพ แหล่งเรียนรู้ การบริการสาธารณสุขพื้นฐาน แหล่งเรียนรู้ อสม.ตำบลบ้านหม้อ แหล่งเรียนรู้ ปราชญ์ชาวบ้านหมอสมุนไพร ม.3
2
3
แหล่งเรียนรู้ กลุ่มเรือยาว แหล่งเรียนรู้ โรงกวนขนมพื้นเมือง แหล่งเรียนรู้ กลุ่มขนมหวานฟ้ามุ่ย แหล่งเรียนรู้ สมาธิบำบัด แหล่งเรียนรู้ กลุ่มส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ แหล่งเรียนรู้ เกษตรพอเพียง
1 ม.1
2
ม.2
3 ม.2
1
3
แผนที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ 4
แหล่งเรียนรู้ ผลิตภัณฑ์ผ้าใยบัว แหล่งเรียนรู้ กลุ่มขนมไทยเพชรพร แหล่งเรียนรู้ ผลไม้แปรรูป แหล่งเรียนรู้ น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น
5
ม.5
แหล่งเรียนรู้ ศูนย์พัฒนาครอบครัว
สัญลักษณ์แสดงสถานที่สำคัญต่างๆของตำบลบ้านหม้อ สถานที่ตั้งโฮมสเตยในตำบล
4
สถานที่ตั้ง อบต. บานหมอ
ม.6
เขาบันไดอิฐ
5
สถานที่ตั้งฐานเรียนรู สถานที่ตั้งเจดียแดง สถานที่ตั้งวัดตางๆ
ม.4 เขาวัง
สถานที่ตั้งโรงเรียน
120 บ้านหม้อ
ระบบการจัดการสุขภ าวะชุมชนโดยชุมชนของ ตำบลบ้านหม้อ ประกอบด้วยระบบย่อย ดังนี้ 1)ระบบการบริหารจัดการตำบล องค์การบริหาร ส่วนตำบลบ้านหม้อได้มีการพัฒนายกระดับการจัดการ บริหารองค์กรบนฐานคิดการสร้างการมีส่วนร่วมด้วย สานโครงสร้างสมั พันธภาพของภาคีท งั้ ภ ายใน อบต. และ ภายนอก อบต. อาทิ ภาคท้องที่ ภาคประชาชน และ หน่วยงานต่างๆ ทีเ่กี่ยวข้องในพื้นทีใ่ห้ส อดรับก ับวิถชี ีวิต ของคนสังคมเมืองและสังคมชนบท ระบบการบริหาร จัดการองค์กรจึงทำงานแบบบูรณาการของทุกภาคส่วน ในพื้นที่ให้เข้ามามีส่วนร่วมกับ อบต. โดยการกระจาย บทบาทและอำนาจผ่านระบบกลไกของรัฐ เข้าไปผลัก ดันภาคประชาชนให้เกิดการรวมตัวในลักษณะองค์กร ชุมชนให้เกิดภ าวะการจดั การตนเอง และแทรกแนวคิดแ ก่ ประชาชนให้เห็นถึงรูปแบบการทำงานของการปกครอง ท้องถนิ่ ท ตี่ า่ งมสี ว่ นรว่ มตอ่ ก ารพฒ ั นาสงั คม ศักยภาพของ ตนเองโดยผา่ นกจิ กรรมสร้างสรรค์ และกอ่ ให้เกิดก ารกระ เพือ่ ม ข ององค์กรชมุ ชนทขี่ ยายฐานการทำงานเชือ่ มโยงไป สูห่ น่วยงานหรืออ งค์กรอนื่ ๆ โดย อบต. เป็นเพียงผหู้ นุน เสริมให้เกิดสังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบทบนวิถีชีวิตความเป็น ไทย ภายใต้สังคมที่เอื้ออาทรต่อกัน สังคมรู้จักกัน 2)ระบบการเรียนรู้ชุมชน เน้นการจัดการให้เด็ก
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ 121
สามารถเรียนรู้ได้ต ามอัธยาศัย โดยการหนุนเสริมให้เกิด ทักษะให้สอดคล้องกับวิถีท้องถิ่น มีการเชื่อมประสาน องค์กรภายนอกเพื่อเข้ามาร่วมในการสร้างการเรียนรู้ให้ เด็ก เสริมทักษะการดำเนินชีวิตตามวิถีไทย และสร้าง อาชีพให้แก่คนในตำบลแก้ไขปัญหาลดช่องว่างระหว่าง ฐานะและลดรายจ่ายครัวเรือน 3)ระบบการจดั การสงิ่ แ วดล้อมและเกษตรอนิ ทรีย์ เน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแบบบูรณาการ โดยใช้ผู้สูง อายุเป็นก ลไกในการรวมตวั ก นั เพือ่ ส ร้างจติ ส าธารณะใน การจดั การขยะระดับค รัวเรือน ระดับเด็กแ ละเยาวชน โดย การสร้างมลู ค่าข องขยะเป็นเงินค นื ส สู่ งั คม อีกท งั้ ม แี นวคิด การอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพือ่ ให้ป ระชาชนในตำบลทยี่ งั ค งมอี าชีพด งั้ เดิมได้เกิดก าร เปลีย่ นแปลงพฤติกรรมการใช้ส ารเคมีเป็นเกษตรอนิ ทรีย์ และกลายเป็นต้นแบบในการพัฒนาต่อมา 4)ระบบสวัสดิการชุมชน เน้นการจัดสวัสดิการ ดูแลแบบครบวงจร (เกิด แก่ เจ็บ ตาย) ในประชาชนที่ มีการรวมกลุ่มกันด้วยความมีจิตอาสามีความศรัทธาใน การจดั ส วัสดิการ รวมถงึ ก ารดำเนินก ารตามนโยบายของ รัฐที่ให้ อบต. เป็น ผู้ประสานให้เกิดแนวปฏิบัติร่วมกัน ของประชาชนในตำบลเพื่อส่งเสริมการช่วยเหลือเกื้อกูล ในระหว่างกลุ่ม เพื่อส่งเสริมการออม สร้างอาชีพใหม่
122 บ้านหม้อ
โดยอาศัยองค์การบริหารส่วนตำบลการสนับสนุนการ ดำเนินการ 5)ระบบวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เน้น การอนุรักษ์ภูมิปัญญาและการสืบทอดสู่คนรุ่นหลังหาก คนในชุมชนมีสติด ี จะก่อให้เกิดปัญญา ความรู้ สามารถ นำภมู ปิ ญ ั ญา ตลอดจนหลักธ รรมทางศาสนา หรือค วามรู้ ที่มีอยู่ในวิถีชีวิตเดิม ไปใช้เป็นหลักดำเนินชีวิตอย่างมี ความเข้มแ ข็ง จะทำให้ไม่เกิดป ญ ั หาทางสงั คม ชุมชนกจ็ ะ พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งส อดคล้องกับหลักปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง 6)ระบบเศรษฐกิจชุมชน เน้นการสร้างอาชีพเสริม เพิม่ ร ายได้ นำทรัพยากรในตำบลมาใช้ เพือ่ ส ร้างธรุ กิจใน
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ 123
ครัวเรือนโดยลักษณะอาชีพเป็นการดำเนินงานร่วมกับ สมาชิกในครัวเรือน หรือเป็นการรวมตวั ของกลุม่ แ ม่บ า้ น ในตำบลที่มีความเข้มแข็ง และมุ่งเน้นอนุรักษ์และสร้าง งานให้คนในตำบลทั้งอาชีพเสริมและอาชีพหลัก 7)ระบบสุขภาพชุมชน มีแนวคิดก ารเชื่อมโยงการ บูรณาการจัดหาบริการสุขภาพแบบมีส่วนร่วมโดยสถานี อนามัยและ อบต.บ้านหม้อร่วมกันปรับภารกิจการถ่าย โอนสถานีอนามัย การจัดหาบริการสุขภาพแก่ประชาชน ในตำบลให้เข้าถ งึ บ ริการดว้ ยกองทนุ ฯของตำบล และการ หนุนเสริมข อง อสม. ในการหาการบูร ณาการของงานผา่ น กิจกรรมสร้างสรรค์ไปยังป ระชาชนกลุ่มต่างๆ ในตำบล
124 บ้านหม้อ
ทิพย์พิมล เกียรติวาทีรัตนะ 125
เพลงศักยภาพชุมชน คำร้อง-ทำนอง เรียบเรียงดนตรี ขับร้องโดย
วสุ ห้าวหาญ ศราวุธ ทุ่งข ี้เหล็ก ฟางแก้ว พิชญาภา, ศราวุธ ทุ่งข ี้เหล็ก, สมชาย ตรุพิมาย
หนึ่งสมองสองมือที่มี รวมเป็นหลายความคิดดีๆ ออกมายืนตรงนี้ ทำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน ไม่ว า่ จ ะอยูท่ ไ่ี หน เราเป็นค นไทยเปีย่ มความสามารถ เป็นกำลังของประเทศชาติ พัฒนาบ้านเมืองก้าวไกล เป็นคนเหนือ อีสาน กลางใต้ ก็รกั เมืองไทยดว้ ยกนั ท ง้ั นน้ั (สร้อย) หากเราร่วมมือร่วมใจ ทำสิ่งไหนก็ไม่เกินแรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรงร่วมมือ สร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมองที่เรา แบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ อยู่ชนบทห่างไกล ทำนาทำไร่ พอเพียงเลี้ยงตัว ใช้ช มุ ชนดแู ลครอบครัว ใช้ค รอบครัวด แู ลชมุ ชน ปูพ นื้ ฐ าน จากหมู่บ้านตำบล สร้างแปลงเมืองไทยให้น่าอยู่ดังฝัน
เข้าไปฟังและดาวน์โหลดเพลงศักยภาพชุมชนได้ที่ www.punsook.org
ชุมชนทอ้ งถนิ่ บ า้ นเรา เรียนรรู้ ว่ มกนั เพือ่ ก ารพฒ ั นา ชุมชนท้องถิ่นบ้านเรา เรียนรรู้ ่วมกันช่วยกันพัฒนา อยู่ตามเมืองใหญ่เมืองหลวง หัวใจทุกดวงซ่อนไฟ มุ่งมั่น ก้าวออกมาจากรั้วท ี่กั้นจับมือกันทำเพื่อเมืองไทย คนละมือส องมือค ือน้ำใจ โอบกอดชุมชนไว้ด้วยความสุข ยืนนาน หนึ่งสมองสองมือที่มี รวมเป็นหลายความคิดดีๆ ออกมายืนตรงนี้ ทำเพื่อเมืองไทยด้วยกัน หากเราร่วมมือร่วมใจ ทำสิ่งไหนก็ไม่เกินแรง โครงสร้างชุมชนแข็งแกร่ง เพราะเราร่วมแรงร่วมมือ สร้างสรรค์ จัดการทรัพยากรช่วยกัน ด้วยมุมมองที่เรา แบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็มศักยภาพ ด้วย มุมมองที่เราแบ่งปัน ใช้ความคิดสร้างสรรค์ให้เต็ม ศักยภาพ..