กระบวนการยุตธิ รรมเป็นคำทีส่ ำคัญและมีความหมายมาก แต่คนส่วนใหญ่ยงั มีความรูส้ กึ ว่าเป็นเรือ่ งทีห่ า่ งไกลจากการ ดำเนินชีวติ ตามปกติของผูค้ นโดยทัว่ ไป จึงไม่ใคร่ให้ความสำคัญและไม่ใคร่ให้ความสนใจ ทีจ่ ริงคำว่ากระบวนการยุตธิ รรม เป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนไทยทุกคน กระบวนการยุติธรรมหมายถึง การอำนวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมที่พวกเราทุกคนอยู่ร่วมกันในทุกภาคส่วน ปัญหาของสังคมเกือบทุกด้านมีที่มาจากปัญหาความไม่สามารถในการอำนวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นอย่างทั่วถึงและ เท่าเทียมกัน การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ จึงเป็นภาระของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย จะต้องร่วมกันแสวงหาแนวทาง ความคิด ในการแก้ไข ปัญหาอย่างรอบด้าน และเป็นองค์รวม เพื่อให้ทุกส่วนตระหนักและเข้าใจ ตราบใดที่กระบวนการยุติธรรมไม่สามารถดำรงความยุติธรรมไว้ได้ ตราบนั้นผลกระทบจะยังเกิดขึ้นกับประชาชน จะไม่มีวันลดน้อยลงได้ จึงเห็นได้ว่า กระบวนการยุติธรรมไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่เป็นเรื่องที่ทุกคนพึงทราบ และมีความเข้าใจว่ากระบวนการ ยุติธรรมเป็นกระบวนการที่จะนำไปสู่การสร้างความเป็นธรรมในสังคมได้อย่างแท้จริง ศูนย์ศกึ ษาวิจยั และพัฒนากระบวนการยุตธิ รรมไทย แม้จะเป็นองค์กรอิสระทีจ่ ดั ตัง้ ขึน้ ได้ไม่นานนัก แต่มคี วามมุง่ มัน่ และตั้งใจจริงที่จะเข้ามามีส่วนในการเสริมสร้างกลไกกระบวนการยุติธรรมในลักษณะคู่ขนานไปกับสังคม นับว่าเป็น จุดริเริ่มที่จะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง หากในอนาคตองค์กรที่มีผู้ทรงคุณวุฒิหลายสาขาอาชีพได้สมัครใจร่วมกันดำเนิน งานนี้ ก็จะสามารถพัฒนาด้านศักยภาพในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้เจริญก้าวหน้า และตอบสนองต่อการร่วมมือ ร่วมใจ ช่วยกันแก้ปญ ั หาความไม่เป็นธรรมในสังคมได้อย่างเป็นรูปธรรม ที่สำคัญมากๆ คือ ศูนย์ฯ นี้จะต้องมุ่งมั่นและแน่วแน่ในวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้อย่างมั่นคง เพื่อก่อให้เกิดศรัทธา เชื่อถือ เป็นที่สนใจและยอมรับของคนไทยทั้งมวล กระบวนการยุติธรรมมีหลายส่วนของรัฐรวมกันเข้าเป็นกระบวน แต่ละส่วนตั้งแต่ต้นจนสุดท้าย จะต้องดำรงความ เป็นธรรมและความยุติธรรมโดยพร้อมเพรียงกัน ไม่เช่นนั้นทั้งกระบวนก็จะไม่ยุติธรรม มีนักกฎหมายจำนวนไม่น้อยพูดว่า ในบางเรื่องกระบวนการยุติธรรมไม่สามารถจะดำรงความยุติธรรมไว้ได้ เพราะ กฎหมายไม่เป็นธรรม ผมจำได้ว่า ผมเคยได้ยินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชกระแสรับสั่งว่า กฎหมาย บางฉบับของเราไม่เป็นธรรม ศูนย์ฯ นี้น่าจะให้ความสนใจในเรื่องนี้ด้วย ณ โอกาสนี้ผมใคร่ขออำนวยพรให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องของศูนย์ศึกษาฯ ประสบผลสำเร็จในด้านการจัดงานเปิดตัวใน ครั้งนี้ และมีความเจริญก้าวหน้าในการดำเนินงานยิ่งๆ ขึ้นไปในอนาคต * ถอดเทปคำกล่าวอำนวยพรโดย ดร.อมร วาณิชวิวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการ ศูนย์ศึกษาวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย
ฯพณฯ ธานินทร์ กรัยวิเชียร ฯพณฯ พลากร สุวรรณรัฐ ท่านผู้หญิง บุตรี วีระไวทยะ ดร. สุเมธ ตันติเวชกุล
องคมนตรี องคมนตรี รองราชเลขาธิการ เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
รศ.ดร.งามพิศ สัตย์สงวน อดีตหัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณจริยา อัศวรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักเทคโนโลยีและข้อมูลสารสนเทศ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ รศ.ดร.นิเทศ ตินณะกุล อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร. ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) รศ. ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) คุณปรีชา วัชราภัย อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คุณพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ พล.อ.พิศณุ อุไรเลิศ อดีตเจ้ากรมเสมียนตรา กองทัพบก คุณมาริสา รัฐปัตย์ ผู้พิพากษาศาลแพ่ง คุณรัศมี วิศทเวทย์ อดีตเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) พล.ต.อ.ดร.วัชรพล ประสารราชกิจ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อดีตโฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คุณวัชรี ไพศาลเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์การเงินและระบบบัญชี พล.ท.นายแพทย์ สหชาติ พิพิธกุล อดีตผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฎเกล้า คุณอภิเษก มณเฑียรวิเชียรฉาย ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (Modern History) Professor Anthony Heath คณบดีคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด Mr. Kevin Dempsey อดีตอาจารย์ประจำสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
* เรียงรายชื่อตามลำดับอักษรและภาษาไทยอังกฤษ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจะมีบทบาทสำคัญในการให้คำปรึกษาแนะนำในเรื่องที่ทางกรรมการ ของศูนย์ศึกษาฯ เรียนหารือเพื่อเป็นวิทยาทาน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในลักษณะ peer review ช่วยประเมินคุณค่าเกี่ยวกับ บทความ ข้อเขียนของ ผู้ให้ความสนใจที่ประสงค์จะนำข้อเขียนลงตีพิมพ์ในวารสาร “ยุติธรรมคู่ขนาน“ ในกรณีที่ข้อเขียนนั้นๆ สอดคล้องกับ ความรู้ความ ชำนาญโดยตรงของผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละท่าน หากไม่ตรงหรือไม่เกี่ยวข้องทางศูนย์ศึกษาฯ จึงจะติดต่อประสานงานกับผู้ทรง คุณวุฒิภายนอกที่เกี่ยวข้องเป็นลำดับถัดไป
ภาพกิจกรรมตางๆ ของ
ศูนยศึกษาวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย ที่ผานมา
ดร. อมร วาณิชวิวัฒน ในการถวายราชสักการะ ณ พระราชานุสาวรีย สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก บริเวณหนาอาคารศาลาศิริราช ๑๐๐ ป
ดร. อมร วาณิชวิวัฒน กรรมการผูอำนวยการศูนยศึกษาวิจัยฯ ไดเดินทางไปรวมถวายพระพรแดพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว ณ โรงพยาบาลศิริราช
ดร. อมร วาณิชวิวัฒน กรรมการผูอำนวยการศูนยศึกษาวิจัยฯ ในฐานะตัวแทนกรรมการบริหารศูนยศึกษาวิจัยฯ ขณะเขาเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ ประธานองคมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท ณ บานพักสี่เสาเทเวศร เนื่องในโอกาสเทศกาลปใหม
ดร. อมร วาณิชวิวัฒน กรรมการผูอำนวยการศูนยศึกษาวิจัยฯ กำลังรับโอวาทและคำอวยพรตอบรับการมาแสดงความคารวะ จาก ฯพณฯ ประธานองคมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท
ดร. อมร วาณิชวิวัฒน ในโอกาสรับเชิญบรรยายและเปนผูดำเนินการอภิปราย ในการนำเสนอรายงานผลการศึกษาปญหาความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต โดยการสนับสนุนของคณะกรรมาธิการทหาร สภาผูแทนราษฎร
ดร. อมร วาณิชวิวัฒน ในฐานะอนุกรรมาธิการดานการอำนวยความยุติธรรม คณะกรรมาธิการทหาร สภาผูแ ทนราษฎร รวมกับ Mr.Daniel Pruce, Cousellor and Deputy Head of Mission, The British Embassy ประจำประเทศไทย ขณะอภิปราย ประสบการณในการแกไขปญหา ความไมสงบภายในสหราชอาณาจักร กรณีศึกษาประเทศไอรแลนดเหนือ
คณะกรรมาธิการทหาร สภาผูแทนราษฎร เขารวมรับฟงการอภิปรายเกี่ยวกับแนวทาง การแกไขปญหาความไมสงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต ณ โรงแรมรอยัลริเวอร กรุงเทพฯ
บรรยากาศของการรับฟงการอภิปรายการแกไขปญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต ประกอบดวย ผูทรงคุณวุฒิ ขาราชการ ทหาร ตำรวจ ตลอดทั้งสมาชิกสภาผูแทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไดกรุณาใหเกียรติแสดงปาฐกถาพิเศษอีกดวย
ดร. อมร วาณิชวิวัฒน เปนหนึ่งในผูนำเสนอบทความ เรื่อง “รัฐประหาร ๑๙ กันยา กับ พัฒนาการประชาธิปไตยไทย” เนื่องในโอกาสการประชุมวิชาการรัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตรแหงชาติ ครั้งที่ ๙
บรรยากาศในการเขารวมประชุมวิชาการรัฐศาสตรและรัฐประศาสนศาสตรแหงชาติ ครั้งที่ ๙ ในการนำเสนอบทความในเวที “โลกาภิวัฒนกับประชาธิปไตยไทย ๒” ซึ่ง ดร. อมร วาณิชวิวัฒน ไดมีสวนรวมในการนำเสนอ ณ คณะรัฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
ดร. อมร วาณิชวิวัฒน มอบของที่ระลึกแด Mr. Dan Rivers ผูสื่อขาว CNN ประจำประเทศไทย ในโอกาสรับเชิญเปนผูบรรยายพิเศษในเรื่องวาดวยบทบาทของสื่อกับสังคม
พล.ต.อ. วัชรพล ประสารราชกิจ ผูทรงคุณวุฒิของศูนยศึกษาวิจัยฯ กรุณาใหเกียรติรับเชิญ เปนผูบรรยายพิเศษใหกับรายวิชา อาชญาวิทยา ของนิสิตปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
ขอแสดงความยินดี แด พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ผูทรงคุณวุฒิของศูนยศิึกษาวิจัยฯ ในโอกาสไดรับพระบรมราชโองการโปรดเกลาฯ แตงตั้งใหดำรงตำแหนง รองผูบัญชาการตำรวจแหงชาติ (บร.2)
ขอแสดงความยินดี แด คุณปยสวัสดิ์ อัมระนันทน ผูทรงคุณวุฒิของศูนยศิึกษาวิจัยฯ ในโอกาสไดรับการคัดเลือกใหดำรงตำแหนง กรรมการผูอำนวยการใหญ (ดีดี) คนใหม ของ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
1
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ยุติธรรมคู่ขนาน
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552 ภาพปกและพระฉายาลักษณ์ทั้งหมดในเล่ม : ภาพพระราชทาน บรรณาธิการ : ดร.อมร วาณิชวิวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย ISSN : 1905 - 2944 พิมพ์ครั้งแรก : สิงหาคม 2552 จำนวน 2,000 ฉบับ จัดพิมพ์โดย : เอกมัยการพิมพ์และสติกเกอร์ 1863 ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10310 โทร. (02) 3146716 โทรสาร (02) 7180377 อนุสนธิ : ข้อเขียนและสิ่งพิมพ์ทั้งหมดในวารสารยุติธรรมคู่ขนาน เป็นการแสดงทัศนคติและ
วิสัยทัศน์ส่วนบุคคล มิได้เป็นการสะท้อนจุดยืนหรือเจตนารมณ์ใดๆ ของศูนย์ศึกษา
วิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย ลิขสิทธิ์ : ข้อเขียนและสิ่งพิมพ์ทั้งหมดในวารสารยุติธรรมคู่ขนานได้รับความคุ้มครองจาก
กฎหมายลิขสิทธิ์ และเคยดำเนินการจัดพิมพ์ภายใต้พระราชบัญญัติการพิมพ์
พุทธศักราช 2484 (ซึ่งได้ยกเลิกไปแล้ว) การนำไปเผยแพร่เพื่อเป็นวิทยาทาน ทางศูนย์
ศึกษาวิจัยฯ มีความยินดีและพร้อมให้การสนับสนุน แต่หากเป็นการดำเนินการใดๆ ในเชิงพาณิชย์ ผูด้ ำเนินการจะต้องแจ้งให้บรรณาธิการของศูนย์ศกึ ษาวิจยั ฯ รับทราบ เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อพิจารณาให้อนุญาตภายใต้เงื่อนไขข้อตกลงและสัญญาที่ เป็นธรรมก่อนจึงจะดำเนินการได้ตามกฎหมาย All Rights Reserved. This publication is protected under Copyright Law. 2 ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
วารสาร “ยุตธิ รรมคูข่ นาน (Thai Justice Watch)” เป็นวารสารราย 6 เดือน มีวตั ถุประสงค์สำคัญใน การเผยแพร่ขอ้ มูลข่าวสารทางวิชาการทีเ่ กีย่ วข้องกับความเป็นธรรมทางสังคม (Social Justice) ในเชิง สหวิทยาการ ด้วยความเป็นกลางตรงไปตรงมาและผ่านการคัดกรองการตีพมิ พ์โดยคณะผูท้ รงคุณวุฒิ ทีม่ คี วามรูค้ วามชำนาญเฉพาะด้าน การพิจารณาตีพมิ พ์บทความข้อเขียนต่างๆ ในวารสารยุตธิ รรมคูข่ นานเปิดกว้างให้ผสู้ นใจโดยทัว่ ไป สามารถ ส่งบทความข้อเขียนของท่านได้โดยตรงผ่านเว็ปไซต์ของศูนย์ศกึ ษาวิจยั www.thaijustice.org, www.thaijustice.net หรือ email: a.wanichwiwatana@gmail.com ได้ตลอดเวลา ในรูปแบบการ เขียนเชิงวิชาการและระบบการอ้างอิง (references) ทีเ่ ป็นมาตรฐานสากลทัว่ ไป ทัง้ นีห้ ากท่านผูใ้ ดประสงค์จะบริจาคหรือให้การสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ศกึ ษาวิจยั ฯ สามารถ โอนเงินผ่านบัญชีธนาคารในนาม “คณะบุคคลศูนย์ศึกษาวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย”
ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสภากาชาดไทย บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 045-2-98700-2 ซึ่งในนามของ ศูนย์ศกึ ษาวิจยั ฯ ขอให้สตั ยาบันทีจ่ ะดำเนินกิจกรรมทุกประการบนพืน้ ฐานแห่งประโยชน์ของสังคมส่วนรวม เพื่อความเป็นธรรมของสังคมเป็นที่ตั้ง ดร. อมร วาณิชวิวฒ ั น์ กรรมการผูอ้ ำนวยการ ศูนย์ศกึ ษาวิจยั และพัฒนากระบวนการยุตธิ รรมไทย บรรณาธิการ
3
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
คณะผูจ้ ดั ทำวารสาร “ยุตธิ รรมคูข่ นาน” มีความสำนึกในพระมหากรุณาธิคณ ุ ของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารเป็นล้นพ้นที่ได้ทรงพระราชทาน พระราชานุญาตให้ศูนย์ศึกษาวิจัยและพัฒนากระบวนการ ยุติธรรมไทย ดำเนินการจัดพิมพ์วารสาร “ยุติธรรมคู่ขนาน” ในวาระครบรอบปีที่ ๔ ฉบับที่ ๑ ด้วยการเชิญ อักษรพระนามาภิไธยย่อ มวก. ขึ้นพิมพ์บนปกหน้า พร้อมด้วยพระฉายาลักษณ์เพื่อความเป็นสิริมงคลตลอดไป เนื้อหาภายในฉบับนอกจากจะเป็นการเทิดพระเกียรติในช่วงเวลามหามงคลวโรกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ในวันที่ ๒๘ กรกฎาคมที่ผ่านมาแล้ว ยังเป็นการร่วมเทิด พระเกียรติต่อพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในโอกาสที่พระองค์ฯ ทรงได้รับการเชิดชูเกียรติ จากองค์การสหประชาชาติให้ได้รับรางวัล “ทูตสันถวไมตรี (Goodwill Ambassador)” ในการต่อต้านการใช้ ความรุนแรงต่อผู้หญิง อันนำมาซึ่งความปลื้มปิติของพสกนิกรชาวไทยทุกหมู่เหล่า ทั้งนี้เป็นไปดังคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับท่านผู้อ่านและผู้สนใจติดตามกิจกรรมความเคลื่อนไหวต่างๆ ของศูนย์ ศึกษาวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย โดยในฉบับนี้ทางคณะบรรณาธิการ ได้เปิดโอกาสให้ “คนรุ่น ใหม่” หรือผู้ที่ต้องการนำเสนอบทความในแนวทางที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม สามารถส่งบทความ และเสนอข้อคิดเห็นผลงานศึกษาวิจัยเข้ามาเพื่อให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (peer review) ทำการพิจารณา ตีพิมพ์บทความ ซึ่งฉบับนี้มีผลงานที่น่าสนใจทั้งในประเด็นอาชญากรรมของผู้มีศักยภาพสูงในสังคม (white collar crime) ดังกรณีของคุณสุณิชา สู่ศิริ ที่นำเสนอผลงานการศึกษาวิจัยว่าด้วย “การบังคับใช้กฏหมาย เดินอากาศของเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางอากาศ” ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจเพราะแม้จะเป็นคนกลุ่มเล็กๆ แต่มูลค่าความเสียหายที่เกิดจากการกระทำผิดกฏหมายในส่วนนี้เมื่อประเมินแล้วมีมูลค่านับหลายหมื่นล้าน บาทต่อปี นอกจากนี้ยังมีกรณีศึกษาว่าด้วย “ล๊อตเตอรี่ : การพนันหรือเสี่ยงโชค เราเป็นผู้กำหนด” โดย ผศ. ดร. จิตรเกษม งามนิล กรรมการบริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ที่มีมุมมองในการตีความสิ่ง ที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านานในชื่อเรียกสามัญว่า “หวย” กระทั่งเปรียบเสมือนเป็นวิถีชีวิตของคนไทย แต่ หากฉุกคิดให้ดีจะพบว่า “ล๊อตเตอรี่” หรือ “หวย” นี้สามารถถูกตีความได้ในนัยที่ต่างกันขึ้นกับมุมมองของผู้ บริโภคและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นสำคัญ ขณะเดียวกันอาชญากรรมประเภทที่เรียกกันว่าเป็นเรื่องของพฤติกรรมเบี่ยงเบนทางสังคมก็ได้รับความสนใจ จากอดีตนิสิตระดับมหาบัณฑิตในสาขาอาชญาวิทยาและการบริหารกระบวนการยุติธรรม ของคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คือ พ.ต.ต. เจษฎา ยางนอก ที่ได้นำเสนอข้อเขียนในประเด็นว่าด้วย “ทัศนคติต่อ การแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่นหญิงในสถานบันเทิงย่าน อาร์.ซี.เอ” ซึ่งแม้ปัจจุบันอาจมีสถานบันเทิงแหล่ง อื่นๆ เติบโตขึ้นมาเป็นคู่แข่งขัน แต่ในช่วงเวลาที่ พ.ต.ต. เจษฎาฯ ดำเนินการศึกษาวิจัยนั้น อาร์.ซี.เอ. เป็น แหล่งรวมสถานบันเทิงของวัยรุ่นนิสิตนักศึกษาซึ่งผู้เขียนมีมุมมองประเด็นทางสังคมวิทยาอาชญากรรม ที่น่าสนใจอย่างมาก ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
4
นอกจากนั้นในเนื้อหาส่วนอื่นๆ ทางบรรณาธิการได้มีโอกาสเป็นผู้ร่วมจัดทำรายงานการศึกษาแนวทาง การแก้ปัญหาความรุนแรงในสามจังหวัดภาคใต้ จึงได้นำเสนอบทความที่ใช้ประกอบการสัมมนาดังกล่าวผ่าน คณะบรรณาธิการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อพิจารณาจัดพิมพ์และได้รับการอนุมัติให้จัดพิมพ์ได้รวมทั้งบทความที่ได้ นำเสนอในการประชุมสัมนาของสำนักงาน ปปช. และทาง รศ. ดร. พิษณุ เสงี่ยมพงษ์ กรรมการบริหาร ศูนย์ศึกษาวิจัยฯ ยังได้ให้อนุญาตคณะบรรณาธิการลงพิมพ์ซ้ำบทความเกี่ยวกับปัญหาความเป็นธรรมกับ สภาวะแวดล้ อ ม (Fairness and Environmental Ethics) ที่เคยตีพิ มพ์ ในวารสารสังคมศาสตร์ ซึ่งทาง คณะบรรณาธิการเห็นว่า ปัจจุบันปัญหาข้อถกเถียงเกี่ยวกับ “สภาวะแวดล้อมทั้งภายในประเทศและของโลก” กำลังเป็นสิง่ ทีอ่ ยูใ่ นความสนใจของคนทัว่ ไป ทำให้เชือ่ ว่ามุมมองความคิดเห็นของ รศ. ดร. พิษณุฯ ในประเด็น ที่ได้ทำการศึกษาค้นคว้ามานี้ จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการนำไปปรับใช้หรือคิดค้นแนวทางแก้ไขปัญหา เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคมต่อไป พร้อมกันนี้กรรมการบริหารศูนย์ศึกษาวิจัยฯ ทุกท่าน ใคร่ขอแสดงความยินดีกับผู้ทรงคุณวุฒิของศูนย์ศึกษา วิจัยฯ อาทิ พล.ต.อ. วัชรพล ประสารราชกิจ ในโอกาสได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ ดำรงตำแหน่ง รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (บร. ๒) และ ดร. ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงพลังงาน ที่ได้รับการคัดเลือกให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ดีดี) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ส่วนผู้ทรงคุณวุฒิอีกหลายท่านที่ต้องเกษียณอายุราชการในปี ๒๕๕๒ นี้ ล้วนเป็นผู้สร้าง ประโยชน์และมีคุณค่าต่อการพัฒนาสังคมไทยให้ยั่งยืนและเจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศในเวลาที่ผ่าน มาด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่านจะยังคงให้เกียรติให้คำแนะนำปรึกษาพร้อมทั้ง เป็นธุระในการประเมินผลงานทางวิชาการ ข้อเขียนบทความต่างๆ ที่นำเสนอผ่านมายังคณะกรรมการบริหาร ของศูนย์ศึกษาวิจัยฯ อยู่เช่นเดิม ในโอกาสเดียวกันนี้ คณะบรรณาธิการต้องขอขอบคุณมายัง คุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการ ใหญ่ คุณสรัญ รังคสิริ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่กรุณาให้การสนับสนุน การดำเนินการจัดพิมพ์วารสาร “ยุติธรรมคู่ขนาน” อย่างต่อเนื่องด้วยดีเสมอมา ทางคณะบรรณาธิการจึงใคร่ ขอเชิญชวนนักคิด นักเขียนและผู้สนใจ ได้ส่งข้อคิดความเห็นเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมและเรื่องที่ เกี่ยวข้องมาเพื่อทางกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาดำเนินการ ลงพิมพ์ในวารสารฯ ของเรา ซึ่งปัจจุบันทาง ศูนย์ศึกษาวิจัยฯ ได้มีเว้ปไซต์เพิ่มเติมอีกหนึ่งแห่ง คือ www.thaijustice.net ไว้สำหรับ เป็นอีกหนึ่งช่อง ทางในการสื่อสารระหว่างกัน อมร วาณิชวิวัฒน์, D.Phil. (Oxon) กรรมการผู้อำนวยการ ศูนย์ศึกษาวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย บรรณาธิการ 5
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
6
ขัตติยราชผู้ทรงเป็นแบบอย่างสำหรับพสกนิกรชาวไทย อมร วาณิชวิวัฒน์, D.Phil. (Oxon) (ร่าง) ผลการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คณะผู้จัดทำรายงาน ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อนุกรรมาธิการทหาร สภาผู้แทนราษฎร การบังคับใช้กฎหมายการเดินอากาศของเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางอากาศ นางสาวสุณิชา สู่ศิริ รายงานการวิจัย เรื่อง ทัศนคติต่อการแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่นหญิง ในสถานบันเทิง ย่าน อาร์.ซี.เอ. ร้อยตำรวจเอก เจษฎา ยางนอก ล๊อตเตอรี่ การพนันหรือเสี่ยงโชคเราเป็นผู้กำหนด ผศ.ดร. จิตรเกษม งามนิล กำจัดทุจริตคอรัปชั่นด้วยกำลังที่เป็นปึกแผ่นและกฏหมายที่เข้มแข็ง อมร วาณิชวิวัฒน์, D.Phil. (Oxon) รัฐประหาร 19 กันยา กับ พัฒนาการประชาธิปไตยไทย อมร วาณิชวิวัฒน์, D.Phil. (Oxon) Fairness and Environmental Ethics in Tax Revenues Financing and User Fees Financing of Solid Waste Management Dr. Pisanu Sangiampongsa
7
หน้า 1 7 29 43 57 63 69
85
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
8
ขัตติยราชผูทรงเปนแบบอยาง สำหรับพสกนิกรชาวไทย อมร วาณิชวิวัฒน, D.Phil. (Oxon)
ปที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
1
ขัตติยราชผู้ทรงเป็นแบบอย่างสำหรับพสกนิกรชาวไทย อมร วาณิชวิวัฒน์, D.Phil. (Oxon)
เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมารที่ผ่านมา และในโอกาสสำคัญที่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ทรงได้รับรางวัลจากองค์การ สหประชาชาติ ด้านสิทธิมนุษยชนในฐานะ “เจ้าหญิงนักกฎหมาย” ที่ทรงให้ความสำคัญกับความ รุ น แรงในสตรี แ ละเด็ ก คณะผู้ จั ด ทำวารสารยุ ติ ธ รรมคู่ ข นาน จึ ง ใคร่ ข อประทานโอกาสนี้ ร่ ว ม
เทิดพระเกียรติเพื่อเผยแผ่พระปรีชาสามารถให้เป็นที่ปรากฏสืบไป สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร พระราชโอรสในพระบาท สมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงเป็น สยามมกุฎราชกุมารพระองค์แรก ในสมัยการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขของราชอาณาจักรไทย พระราชสมภพ เมื่อวันจันทร์ ที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงสำเร็จการศึกษาขั้นต้นจากโรงเรียนจิตรลดา ก่อนที่จะเสด็จฯ ไปทรงศึกษาต่อที่โรงเรียน คิงส์มีด แคว้นซัสเซกส์ และโรงเรียนมิลฟิลด์ แคว้นซอมเมอร์เซท ประเทศอังกฤษ จากนั้นทรงไปศึกษาต่อ ที่โรงเรียนคิงส์สกูล ซิดนีย์ และสำเร็จการศึกษา จากวิทยาลัยการทหารดันทรูน (Royal Military College, Duntroon) แคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย หลังจากเสด็จกลับประเทศไทย ทรงรับราชการทหาร และศึกษาต่อที่โรงเรียนเสนาธิการทหารบก รุ่นที่ ๔๖ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๐ และทรงผนวช เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ จากนั้นทรงศึกษาที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช รุ่นที่ ๒ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ และหลักสูตรวิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร จากประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓๑
๑ ที่มาของข้อมูลทั้งหมด: ประมวลจาก นิตยสาร สกุลไทย : ๑๖ มกราคม ๒๕๓๓ และ หนังสือมหาวชิราลงกรณ ทรงประสานใจชาว
ไทยทุกเชื้อชาติ หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร, เล่ม ๘๙, ตอน ๒๐๐ ก ฉบับพิเศษ, ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕, หน้า ๑
1
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
พระเกียรติคุณของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร นอกจากทรงเป็นนักการทหาร ผู้ทรงมีอัจฉริยภาพทั้งทางด้านพระราชภารกิจในฐานะครูการบินและนักบินเครื่องบินขับไล่สมรรถนะ สูง เช่น เอฟ ๕ อี/เอฟ แล้ว พระองค์ยังทรงปฎิบัติพระราชกรณียกิจทั้งเป็นการส่วนพระองค์และ ปฎิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในด้านต่างๆ มากมายทั้งการ ศาสนา การศึกษา การเศรษฐกิจ กิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ต่อสังคมรวมทั้งด้านความมั่นคง ของประเทศอย่างมิได้ทรงเห็นแก่ความเหนื่อยยากพระวรกาย ตัวอย่างพระราชกรณียกิจที่โดดเด่นอย่างยิ่ง คือ พระราชดำริของพระองค์ในการจัดการศึกษาในทุก ระดับชั้น อาทิ ทรงเน้นการจัดการศึกษาระดับมัธยมศึกษาให้แก่เยาวชนที่อยู่ห่างไกลโดยเชื่อว่าการ ศึกษาในขั้นนี้มีความสำคัญและเป็นจุดเริ่มต้นที่จะมีส่วนส่งเสริมให้เยาวชนเป็นผู้คิด ทำ และสามารถ แก้ปัญหาร่วมกันทำงานเป็นกลุ่มเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมที่มีการแข่งขันทั้งด้านความรู้ความ สามารถและทางเศรษฐกิจอย่างสูงยิ่งในสังคมยุคปัจจุบันได้ จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณพระราช ทานทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นทุนก่อสร้างโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์ในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร อาทิ โรงเรียนจุฑาธวัชร และเมื่อไม่นานมานี้ คือ โรงเรียนธีปังกรวิทยาพัฒน์
(วัดน้อยใน) ซึ่งเปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ - ๖๒ นอกจากนี้ในโอกาสวันคล้ายวันประสูติ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปังกรรัศมีโชติ วันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๔๙ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ ทรงมีสายพระเนตรอันยาวไกล และพระเมตตาต่อข้าราชบริพาร ในพระองค์ฯ และสมาชิกในครอบครัว โดยทรงพระราชทานศูนย์พัฒนาเด็กทีปังกรรัศมีโชติ และ ห้องสมุดทีปังกรรัศมีโชติ พร้อมทั้งสวนสุขภาพทีปังกรรัศมีโชติ แด่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า
ทีปังกรรัศมีโชติ เพื่อทรงพระราชทานให้เป็นสวัสดิการ สำหรับข้าราชบริพารในพระองค์ฯ และ สมาชิกในครอบครัวทีป่ ฏิบตั หิ น้าทีถ่ วายงานมาเป็นเวลานานเพือ่ เป็นการช่วยแบ่งเบาภาระต่างๆ ๓รวมทัง้ มีโรงเรียนสำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถม คือ โรงเรียนธีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดโบสถ์) เปิดสอน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ - ๖ อีกด้วย ๔ ในส่วนของพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา นอกจากพระองค์จะทรงได้รับรางวัลอัน
๒ ที่มา: สารานุกรมออนไลน์ Wikipedia ๓ ที่มา: เว้ปไซต์ศูนย์พัฒนาเด็กธีปังกรรัศมีโชติ (http://www.dipangkornrasmijotidaycare.go.th/th/about.php) ๔ ที่มา: เว้ปไซต์ โรงเรียนธีปังกรรัศมีโชติ (วัดโบสถ์) http://www.tp-school.ac.th/student.html
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
2
ทรงเกียรติยศอย่างยิ่งจากองค์การสหประชาชาติแล้ว พระองค์ยังทรงดำรงตำแหน่งทูตสันถวไมตรี
(Goodwill Ambassador) ต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิงอีกด้วย ดังคำให้สัมภาษณ์ของ ดร.จีน
เดอคูน่า ผู้อำนวยการสำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ กองทุนการพัฒนา
เพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ ที่กล่าวว่า จากผลการดำเนินงาน โครงการกำลังใจ ในพระดำริ พระเจ้า หลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา พระองค์ทรงประทานความช่วยเหลือแก่กลุ่มผู้ต้องขังสตรีและ เด็กติดผู้ต้องขัง และทรงประทานความช่วยเหลือให้ผู้ต้องขังได้มีโอกาสกลับตัวเป็นพลเมืองดี
ซึ่งหน่วยงาน UNIFEM (United Nations Development Fund for Woman) ผู้ดำเนินโครงการ
“Say NO To Violence Against Women” รู้สึกสำนึกในพระกรุณาธิคุณ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ในพระกรณียกิจที่ทรงช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสกลุ่มหนึ่งในสังคมไทย โดย หน่วยงาน UNIFEM ขอพระราชทานกราบทูลเชิญพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา
ทรงเป็นองค์ “ทูตสันถวไมตรี” (Goodwill Ambassador) ในการต่อต้านความรุนแรงต่อผู้หญิง๕ โดย “โครงการกำลังใจ” ในพระราชดำริของพระองค์ฯ เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องขังหญิงและเด็กติดผู้ต้องขัง ไม่เพียงแต่อำนวยประโยชน์แก่ประเทศไทยเท่านั้น แต่ส่งผลในทางปฏิบัติแก่เรือนจำหญิงทั่วโลกได้ รับการพัฒนายกระดับให้เป็นไปในทิศทางที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน พระ ปรีชาสามารถของพระองค์ยังมีอีกนานับประการ ทำให้สังคมไทยมีความหวัง และพลังที่เข้มแข็งใน การต่อต้านขจัดความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับ ผู้หญิงและเด็กอีกด้วย๖ ทั้งหมดที่ได้กล่าวมานี้เป็นที่ประจักษ์ชัดอย่างยิ่งถึงคุณูปการและพระปรีชาสามารถของขัตติยราชแห่ง ราชวงศ์จักรีทั้งสองพระองค์ที่ทรงอุทิศตนและบำเพ็ญพระราชกรณียกิจและพระกรณียกิจอันทรงคุณ ประโยชน์อย่างเหนือคณานับไม่เพียงเฉพาะพสกนิกรชาวไทยแต่ได้เผื่อแผ่ไปถึงชาวโลกอื่นๆ อย่างไม่ เลือกชั้นวรรณะเผ่าพันธุ์อีกด้วย ในนามของคณะกรรมการบริหาร “ศูนย์ศึกษาวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรมไทย” จึงขอถวาย ราชสดุดีแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้า พัชรกิติยาภา ในโอกาสอันเป็นมงคลยิ่งนี้ ๕ http://www.novaw.or.th/?p=5 ๖ ที่มา: คำกล่าวเทิดพระเกียรติของ นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในโอกาสกล่าวเปิดงานเทิดพระเกียรติ ระหว่างวันที่ ๗-๑๐ พ.ค.
๒๕๕๒ ที่ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ ชั้น ๑ (ที่มาของข่าว: http://www.kamlangjai.or.th/en/cms/detail.php?id=48)
3
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
4
(ราง) รายงานผลการศึกษาแนวทางการแกไขปญหา ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต คณะผูจัดทำรายงาน ศึกษาแนวทางการแกไขปญหา สามจังหวัดชายแดนภาคใต อนุกรรมาธิการทหาร สภาผูแทนราษฎร
5
ปที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
6
(ร่าง) รายงานผลการศึกษา แนวทางการแก้ไขปัญหาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้* คณะผู้จัดทำรายงาน ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหา สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อนุกรรมาธิการทหาร สภาผู้แทนราษฎร
ปัญหาการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความสลับซับซ้อนทัง้ ในเชิงความขัดแย้ง และเหตุผลทางประวัติศาสตร์ ซึ่งภาครัฐได้ใช้ความพยายามในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้พื้นที่ในสามจังหวัดชายแดนภาคภาคใต้จะมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากภูมิภาคอื่นของประเทศ
ส่งผลให้การแก้ไขปัญหาต้องอาศัยความรอบรู้ถึงแก่นแท้ของสาเหตุและปัจจัยซึ่งนำไปสู่ปัญหาที่
เกิดขึ้น และจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกภาคส่วนทั้งรัฐบาล เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักวิชาการ ผู้นำศาสนา ตลอดจน ประชาชนทุกคน ต้องทำความเข้าใจถึงสภาพแท้จริงของเหตุการณ์ความไม่สงบและร่วมกันแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้นอย่างจริงจัง จากการศึกษาของคณะอนุกรรมาธิการฯ พบว่า มีหลายหน่วยงานที่ได้รับการแต่งตั้งจาก รัฐบาลในอดีตทีผ่ า่ นมา เพือ่ ทำการศึกษาและให้ขอ้ เสนอแนะต่อรัฐในการแก้ไขบรรเทาปัญหาชายแดน ภาคใต้ที่ได้รับการยอมรับและกล่าวถึงอยู่หลายหน่วยงานดังนี้ ๑. คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อทำการศึกษาและให้ข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลใน การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในการนี้คณะกรรมการ กอส. ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ และคณะทำงานฯ เพื่อศึกษา วิจัย และเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในหลาย มิติงาน และหนึ่งในมิติงานนั้นคือ มิติงานด้านกระบวนการยุติธรรม โดยได้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน ส่งเสริมการดำเนินกระบวนการยุติธรรมตามหลักนิติธรรม และได้เสนอผลการศึกษาวิจัย เรื่อง “การ ดำเนินกระบวนการยุติธรรมใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ : ปัญหาและแนวทางการแก้ไข” ฉบับ สมบูรณ์ ประกอบด้วย สภาพปัญหา แนวทางแก้ไข และยุทธศาสตร์การสร้างความเชื่อมั่นในการ ดำเนินกระบวนการยุติธรรมใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้ สภาพปัญหา คณะผูว้ จิ ยั ของ กอส. ได้คน้ พบปัญหาในพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนภาคใต้ควรได้รบั การแก้ไขหลายประการ เพื่อทำให้ประชาชนเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรม ได้แก่ ปัญหาความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานที่ใช้ในการดำเนินคดี
•
*
ร่างรายงานผลการศึกษานี้เป็นเพียงข้อมูลพื้นฐานเพื่อประกอบการสัมมนาทางวิชาการ ห้ามมิให้นำไปอ้างอิงหรือเผยแพร่ อนึ่ง ดร.อมร วาณิชวิวัฒน์ ในฐานะอนุกรรมาธิการฯ ผู้ร่วมจัดทำรายงานได้อนุญาตประธานคณะกรรมาธิการผู้จัดทำรายงานเป็นที่ เรียบร้อยด้วยเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในทางวิชาการ 7
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
• ปัญหาการใช้อำนาจบังคับเพื่อมาให้ถ้อยคำต่อเจ้าหน้าที่ • ปัญหาการจับกุมเด็กและเยาวชนที่ไม่เป็นไปตามหลักกฎหมาย • ปัญหาการใช้วิธีการสอบสวนที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย • ปัญหาผลกระทบของการใช้อำนาจค้น • ปัญหาการควบคุมตัวระหว่างจับกุมและสอบสวน • ปัญหาการไม่คืนของกลาง • ปัญหาการลักพาตัวบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม • ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการบังคับใช้กฎหมายกรณีเจ้าหน้าที่รัฐกระทำผิด กับประชาชน
กระทำผิด • ปัญหาการใช้ความรุนแรงในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม
นอกจากนั้น กอส. ได้เสนอยุทธศาตร์การสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินกระบวนการ ยุติธรรมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวม ๕ ยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ ๑ นโยบายการบริหารงานยุติธรรมแบบบูรณาการในสามจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ การเสริมสร้างประสิทธิภาพการดำเนินกระบวนการยุติธรรมตามหลัก นิติธรรม ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การสลายเงื่อนไขความไม่เป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การปรับกระบวนทัศน์และวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ ยุทธศาสตร์ที่ ๕ การเสริมสร้างบทบาทของประชาสังคมในกระบวนการยุติธรรม คณะกรรมการอิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติ (กอส.) ได้สรุปและยื่นข้อเสนอต่อ รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ทั้งมาตรการสมานฉันท์เฉพาะหน้า และมาตรการสมานฉันท์ยั่งยืน โดยในส่วนเนื้อหาของ “มาตรการสมานฉันท์ยั่งยืน : แก้ปัญหาความรุนแรงที่โครงสร้าง” ทาง กอส. ได้เสนอมาตรการส่งเสริมความสมานฉันท์ที่ยั่งยืน รวมทั้งหมด ๗ มาตรการ โดยมีส่วนที่เกี่ยวข้อง กับกระบวนการยุติธรรม รวม ๓ มาตรการ ดังนี้ มาตรการที่ ๑ สร้างประสิทธิภาพการดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรมด้วยความจริง หลักนิตธิ รรม - ความพร้อมรับผิด และเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคมด้วยการให้สาธารณชนเข้ามา มีส่วนร่วมรักษาความยุติธรรม รวม ๖ ประการ ได้แก่ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
8
•
การสร้างความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม ด้วยการทำคดีสำคัญๆ ให้ความจริงปรากฎ
และดำเนินการเยียวยา บรรเทาความเสียหายผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินกระบวนการ
ยุติธรรมที่ผิดพลาดอย่างเป็นรูปธรรม การสร้างเอกภาพของการกำหนดนโยบายการบริหารงานยุติธรรมแบบบูรณาการในจังหวัด
ชายแดนภาคใต้ เน้นแนวทางสันติวิธี ภายใต้หลักนิติธรรม และยุติธรรมชุมชน เสริมสร้างประสิทธิภาพของการดำเนินกระบวนการยุติธรรมตามหลักนิติธรรม โดยควรมี
การจัดทำคูม่ อื สำหรับเจ้าหน้าทีแ่ ละประชาชน เน้นการนำนิตวิ ทิ ยาศาสตร์เข้ามาใช้ และให้
ความสำคัญต่อหลักสิทธิเสรีภาพทางกฎหมาย สร้างระบบการตรวจสอบการดำเนินกระบวนการยุติธรรม การร้องทุกข์ร้องเรียนและการ
เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบที่มีประสิทธิภาพ ด้วยการเสริมพลังประชาชน การตั้งคณะกรรมการ
เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในการบังคับใช้กฎหมายจากภาคประชาสังคมและจัดตั้ง
“กองทุนยุติธรรม” การปรับทัศนคติและวิธีปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมให้ยึดมั่นในหลัก
นิตธิ รรม การคัดเลือกคนดี การสร้างขวัญกำลังใจ การให้คณ ุ ให้โทษ และฝึกอบรมพัฒนา เสริมสร้างบทบาทของภาคประชาสังคมในกระบวนการยุติธรรม และพัฒนากระบวนการ
ยุติธรรมทางเลือก ด้วยการพัฒนาเครือข่ายยุติธรรมชุมชน พัฒนาบทบาทผู้นำศาสนา และ
ผู้นำชุมชนให้มีความรู้ทางกฎหมาย ใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลางโดยการนำเทศนาธรรมวันศุกร์
มาใช้ในการป้องกันปัญหาอาชญากรรม และการกระทำผิดชุมชน มาตรการที่ ๒ มาตรการปรับปรุงระบบกฎหมายอิสลามในบริบทจังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้สอดคล้องกับธรรมนูญชีวิต “ชารีอะฮ์ (Shari a law)” หรือในบางแห่งเรียกว่าเป็น “กฎหมาย อิสลาม”** ดำเนินการให้มีการพัฒนาระบบกฎหมายและระบบศาลในคดีครอบครัวและมรดก และ การนำอนุญาโตตุลาการมาปรับใช้กับชุมชนอย่างจริงจังเพื่อลดความขัดแย้งทางสังคมวัฒนธรรมและ เป็นการช่วยลดทอนการนำคดีที่ไม่เกี่ยวกับความมั่นคงเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมตามปกติอย่างไม่ จำเป็น
• • • • •
** “ชารีอะฮ์” จัดเป็นการนำกรอบแนวคิดของกฎหมายอิสลามมาปรับใช้กับการดำเนินชีวิตของชาวมุสลิม ซึ่งแม้จะมีการเรียกด้วย ความเข้าใจผิดว่าเป็นกฎหมายอิสลาม แต่แท้จริงเป็นเพียงการกำหนดหลักเกณฑ์ของการดำเนินชีวิตที่จะทำให้ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่าง ผาสุกตามมุมมองของศาสนาอิสลาม มีข้อกำหนดในแง่ของเนื้อหาสาระทางการเมือง เศรษฐกิจ การธนาคาร การทำธุรกิจ ประเด็น ทางครอบครัวและประเด็นอื่นๆ ทางสังคม เป็นต้น (ที่มา: http://www.bbc.co.uk/religion/religions/islam/beliefs/sharia_1.shtm) 9
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
มาตรการที่ ๓ มาตรการแก้ไขพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรอิสลาม พ.ศ. ๒๕๔๐ โดยรัฐควรริเริ่มในการแก้ไข โดยเฉพาะในส่วนที่ขัดกับหลักศาสนาอิสลาม โดยยุบรวมหน่วยงานที่ รับผิดชอบเกี่ยวกับกฎหมายอิสลามให้อยู่ภายใต้การรับผิดชอบของกระทรวงวัฒนธรรมเพียงกระทรวง เดียว ให้จัดองค์กรศาสนบริจาคให้มีเอกภาพ เปิดเผย โปร่งใส และตรวจสอบได้ เพื่อบริหารจัดการ เงินบริจาคในสังคม มุสลิม เช่น ซะกาต การบริจาคเพื่อสังคมสงเคราะห์ (เศาะดะเกาะฮ์) และศาสน บริจาคอืน่ (วากัฟ) การคัดเลือกผูน้ ำทีม่ คี ณ ุ ธรรมสามารถมาประกอบเป็นสภาผูใ้ ห้คำปรึกษา (สภาซูรอ) ประจำชุมชน เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกสำคัญขับเคลื่อนงานของสังคมมุสลิมในภาพรวม ๒. การรื้อฟื้นศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ต่อมา ในสมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๐๖/ ๒๕๔๙ ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ เรื่อง นโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้ โดยมีนโยบายด้านอำนวยความยุตธิ รรมเป็นนโยบายหลัก มีแนวทางการปฏิบตั ิ คือ สร้างความ เชื่อมั่นในกระบวนการยุตธิ รรมให้เป็นทีพ่ งึ่ ประชาชนในพืน้ ที่ โดยการขจัดเงือ่ นไขความไม่ยตุ ธิ รรมทุก รูปแบบ บริหารงานยุตธิ รรมแบบบูรณาการ และพัฒนากฎหมายให้สอดคล้องกับวิถชี วี ติ และวัฒนธรรม ของคนในพื้นที่ รวมทั้งสนับสนุนให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการยุติธรรม การ พัฒนากลไกต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน การพัฒนาระบบงาน ยุติธรรมชุมชน และการพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางเลือก ทั้งนี้ รัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๒๐๗/๒๕๔๙
ลงวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๔๙ จัดตั้งศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เรียกโดยย่อว่า
“ศอ.บต.” ขึ้นมาใหม่ เป็นหน่วยงานภายในสำนักนายกรัฐมนตรี ภายใต้การกำกับดูแลของกอง อำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อำนวยการรักษาความมั่นคง ภายใน มีอำนาจหน้าทีด่ ำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายเสริมสร้างสันติสขุ จังหวัดชายแดนภาคใต้หลาย ประการ รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่อำนวยการและประสานการปฏิบัติในการบริหารงานยุติธรรมคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพ การอำนวยความเป็นธรรมโดยการรับเรื่องราวร้องทุกข์ การเยียวยา และการพัฒนา กระบวนการยุตธิ รรม เพือ่ ขจัดเงือ่ นไขความไม่เป็นธรรม รวมทัง้ การตรวจสอบและแก้ไขปัญหาพฤติกรรม ที่ไม่เหมาะสมของเจ้าหน้าที่รัฐ ๓. สำนักงานบริหารงานยุติธรรม (สน.ยธ.) แม้จะเป็นสำนักงานอยู่ในสังกัด ศอ.บต. แต่ในที่นี้ ต้องการแยกส่วนออกมาเพื่อให้ผู้ศึกษาได้เห็นถึงบทบาทความสำคัญในการแก้ปัญหาร่วม กับทาง ศอ.บต. โดยสำนักงานบริหารงานยุติธรรมมีการจัดองค์กรและภารกิจที่น่าสนใจกล่าวคือ
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
10
๓.๑ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ มี ๒ กลุ่มงาน ดังนี้ - กลุ่มงานรับเรื่องราวร้องทุกข์ มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับเรื่องราว
ร้องทุกข์ทุกประเภท ทั้งเอกสาร การร้องเรียนด้วยตนเอง และการร้องทุกข์
ผ่านองค์กรต่างๆ เพื่อประสานการดำเนินงานและแจ้งกลับให้ผู้ร้องทุกข์
รับทราบผลการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดทำสถิติข้อมูล และรายงานต่างๆ - กลุ่มงานให้คำปรึกษาทางกฎหมาย มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดให้มี
ทนายความหรือผูม้ คี วามรูท้ างกฎหมายคอยให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ประชาชน ๓.๒ ส่วนงานอำนวยความยุติธรรม มี ๔ กลุ่มงาน ดังนี้ - กลุม่ งานประสานงานยุตธิ รรม มีหน้าทีร่ บั ผิดชอบในการดำเนินงานนำแนวทาง
สันติวิธี/ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และยุติธรรมทางเลือก มาใช้ในการปฏิบัติงาน
ในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความสมานฉันท์ในพื้นที่จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ รวมทั้งการประสานและกำกับดูแลการดำเนินงานในการอำนวยความ
ยุตธิ รรมตามภารกิจของกระทรวงยุตธิ รรมกับยุตธิ รรมจังหวัด เครือข่ายยุตธิ รรม
ชุมชน และหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม เพื่อระงับข้อพิพาทและ
อำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างทั่วถึง - กลุ่มงานคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย มีหน้าที่
รับผิดชอบในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและให้ความช่วยเหลือประชาชนทาง
กฎหมาย รวมทั้งการให้การช่วยเหลือสงเคราะห์เหยื่อ พยาน และผู้ได้รับผล
กระทบในคดีอาญา และจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ตามที่กฎหมายและทางราชการกำหนด รวมทั้งการคุ้มครองพยานด้วย - กลุม่ งานคดีพเิ ศษและติดตามคดี มีหน้าทีร่ บั ผิดชอบในการป้องกันและดำเนิน
การสืบสวนสอบสวนคดีพเิ ศษในความรับผิดชอบกระทรวงยุตธิ รรม การติดตาม
คดีทปี่ ระชาชนร้องทุกข์/ร้องเรียนหรือได้รบั มอบหมายซึง่ อยูใ่ นความรับผิดชอบ - กลุ่มงานพัฒนาระบบงานยุติธรรม มีหน้าที่รับผิดชอบในการพัฒนาระบบงาน
ยุติธรรมให้สอดคล้องกับขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา และ
วิถีชีวิตของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ การพัฒนาระบบข้อมูลและ
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้สามารถสนับสนุนการพัฒนาระบบงานยุติธรรม
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 11
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ขณะเดียวกันสำนักงานบริหารงานยุติธรรม มียุทธศาสตร์ แนวทางการดำเนินงาน ภายใต้ บริบทในการทำงานร่วมกับ ศอ.บต. ประกอบด้วย วิสยั ทัศน์ (Vision) “เสริมสร้างสันติภาพ สันติธรรม และสันติสขุ ด้วยความสมานฉันท์/สันติ วิธี ภายใต้หลักนิติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้” ยุทธศาสตร์ (Strategic Issue) สร้างความมีส่วนร่วมกับทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาเชิงสมานฉันท์ / สันติวิธี ภายใต้
หลักนิติธรรม สร้างความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมไทย ยุติธรรมถ้วนหน้า ประชามีส่วนร่วม กลยุทธ์ (Strategies) เร่งบูรณาการพัฒนาพื้นที่ให้เกิดสันติภาพ สันติธรรม และสันติสุขบนความสมานฉันท์ เสริมสร้างความยุติธรรมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างทั่วถึง สร้างระบบการปฏิบัติงานตามหลักนิติธรรมที่โปร่งใส พัฒนาระบบการไกล่เกลี่ยประนอมข้อพิพาททุกระดับจากชุมชนสู่กระบวนการยุติธรรม พัฒนากฎหมาย และระบบงานยุติธรรมที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่ เสริมสร้างสมรรถนะในการบริหารองค์กรด้วยระบบการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มาตรการ / แนวทางการดำเนินงาน บูรณาการในการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนอย่างมีเอกภาพ เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่สงบ
ในพื้นที่ให้บรรลุเป้าโดยเร็ว สร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนด้วยการแก้ไขเรื่องทุกข์/ร้องเรียน และแก้ไขเยียวยาผู ้ ได้รบั ผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบให้แล้วเสร็จโดยเร็ว พร้อมแจ้งผลให้ประชาชน
ทราบทุกกรณี สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนด้วยการจัดทำยุทธศาสตร์กระบวนการยุติธรรมเชิง
บูรณาการ และพัฒนากระบวนการยุติธรรมให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม (Due Process)
เพื่อแก้ไขปัญหา / จุดอ่อน / เงื่อนไขความไม่เป็นธรรม
• • • • • • • • • • • •
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
12
•
สร้างความมีส่วนร่วมและเสริมกำลังประชาชนให้เป็นหุ้นส่วนในการสร้างสังคมสันติธรรม
ประชาธรรมสันติสุข ขจัดทุกข์ด้วยสันติวิธี ตามยุทธศาสตร์ “ยุติธรรมถ้วนหน้า ประชา
มีส่วนร่วม” ขจัดเงื่อนไขความไม่เป็นธรรมทุกรูปแบบและพิทักษ์คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน จัดทำโครงการนำร่องต้นแบบการสร้างความสมานฉันท์และลดปัญหาความขัดแย้งระหว่าง
รัฐกับประชาชน และประชาชนกับประชาชน ตั้งแต่ระดับชุมชนถึงกระบวนการยุติธรรม
ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศึกษาวิเคราะห์และพัฒนากฎหมาย / ระบบงานยุติธรรมให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต
ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และศาสนา (ศาลชารีอะฮ์) บูรณาการงานเครือข่ายภาคประชาชน โดยการนำรูปแบบคณะกรรมการหมู่บ้านมาพัฒนา
ร่วมกัน เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย และระงับข้อพิพาทในชุมชน เพื่อลดปริมาณคดี
เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม ตรวจเยีย่ มและพัฒนาส่วนราชการในสังกัดกระทรวงยุตธิ รรมทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีใ่ ห้เป็นหน่วยงาน
ที่มีความทันสมัย โปร่งใส มีประสิทธิภาพ และมีการบูรณาการร่วมกัน จั้งตั้งศูนย์บริการร่วมของหน่วยงานภาครัฐร่วมกับ ศอ.บต. โดยนำศูนย์บริการร่วมของ
กระทรวงยุติธรรมเข้ามาบูรณาการไว้ ณ จุดเดียวกัน (One Stop Service) พัฒนาพื้นที่สีเขียวโดยให้ข้าราชการลงพื้นที่สร้างความมั่นคงปลอดภัย และพัฒนาคุณภาพ
ชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น เพื่อทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นและให้ความร่วมมือกับ
รัฐในการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ แล้วจึงรุกคืบไปในพืน้ ทีใ่ กล้เคียงเพิม่ มากขึน้ ส่งผลให้
ผู้ก่อความไม่สงบ ไม่มีพื้นที่เข้ามาปลุกปั่นยุยง หรือข่มขู่ประชาชน และทำให้ประชาชน
ในพืน้ ทีส่ เี หลืองอยากเปลีย่ นเป็นพืน้ ทีส่ เี ขียว และพืน้ ทีส่ แี ดงอยากเปลีย่ นเป็นพืน้ ทีส่ เี หลือง
ตามลำดับ ถือได้ว่าเป็นการรบชนะโดยไม่ต้องเสียเลือดเนื้อ และเป็นการต่อสู้ในแนวทาง
สันติวิธีอย่างแท้จริง พัฒนาองค์กรและบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย สำนักงานบริหารงานยุตธิ รรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้รว่ มประชุมปรึกษาหารือและทำงาน ร่วมกับ ศอ.บต. มาระยะหนึ่ง ได้มีความเห็นควรจัดให้มี “คณะทำงานสนับสนุนการบริหารงาน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในมิติงานกระทรวงยุติธรรม” ประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงยุติธรรมที่ได้ รับมอบหมายเป็นประธาน โดยมีรองอธิบดีที่ได้รับมอบหมายจากทุกส่วนราชการในสังกัดกระทรวง
• • • • • • •
•
13
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ยุตธิ รรม และรอง ผอ.ศอ.บต. (ยธ.) เป็นคณะทำงาน โดยมีผอู้ ำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ เป็นเลขานุการ และผูอ้ ำนวยการสำนักงานบริหารงานยุตธิ รรมจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นเลขานุการ ร่วมเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการภารกิจงานของกระทรวงยุติธรรม ในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้กบั ส่วนราชการต่าง ๆ ในกระทรวงยุตธิ รรม ในการนีเ้ ห็นควรให้ทกุ ส่วนราชการจัดตัง้ กลุ่มงานสนับสนุนการบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้นเป็นการภายในเพื่อทำหน้าที่ศึกษาและ พัฒนาระบบงานของส่วนราชการนัน้ ๆ ให้เหมาะสมกับสภาพพืน้ ทีแ่ ละสภาพปัญหาในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ และกระทรวงยุตธิ รรม ได้มคี ำสัง่ ที่ ๘๔๕/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๔๙ แต่งตัง้ คณะทำงานสนับสนุนการบริหารงานจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีอำนาจหน้าที่กำหนดแนวทางการ ดำเนินงานของกระทรวงยุตธิ รรม ในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพือ่ สนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงาน บริหารงานยุตธิ รรม กำหนดแผนงานและบูรณาการแผนงาน/โครงการ ของทุกส่วนราชการในกระทรวง ยุตธิ รรม ในพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนภาคใต้ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดำเนินการอืน่ ใดตามทีเ่ ห็นสมควร เพือ่ ประโยชน์ในการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงยุตธิ รรมในพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนภาคใต้ ขณะเดียวกันได้มีคำสั่งคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ที่ ๓/๒๕๔๙ ลงวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๙ แต่งตัง้ คณะอนุกรรมการนโยบายและประสานงานกระบวนการยุตธิ รรม จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีอำนาจหน้าที่พิจารณากำหนดแนวทางการบริหารงานยุติธรรมให้เหมาะสม กับลักษณะเฉพาะของพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จัดทำแผนยุทธศาสตร์และแผนปฏิบัติการในการ แก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ในมิติงานกระบวนการยุติธรรม เสนอแนะและให้ความเห็นเกี่ยว กับการกำหนดนโยบายและแนวทางการบริหารงานยุติธรรมต่อคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงาน ยุติธรรมแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือ องค์กรที่ เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือในการ ประสานงานระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือองค์กรทีเ่ กีย่ วข้องกับการบริหารงานยุตธิ รรม ในการแก้ไข ข้อขัดข้องที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานยุติธรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินผลการปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักนิติธรรม เพื่อแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศึกษา วิเคราะห์ และทำการศึกษาวิจัยเพื่อกำหนดแนวทาง กลยุทธ์ และมาตรการในการปรับปรุง และ พัฒนาการบริหารงานยุตธิ รรมให้สอดคล้องกับสภาพพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนภาคใต้ ประชาสัมพันธ์และ เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับบริหารงานยุติธรรม จัดประชุม สัมมนา ฝึกอบรมหรือเสนอแนะหน่วยงาน ของรัฐ หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
14
หน่วยงานที่ได้ยกตัวอย่างมาทั้ง ๓ หน่วยงานถือได้ว่ามีบทบาทและมีส่วนสำคัญในการ ร่วมกันดำเนินการแก้ปญ ั หาความไม่สงบชายแดนภาคใต้มาเป็นระยะเวลาหนึง่ ซึง่ การประเมินถึงความ สำเร็จในการดำเนินการอาจถือยังขาดรูปธรรมที่ชัดเจน เนื่องด้วยการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นดังได้กล่าวถึง ข้างต้นว่ามีความสลับซับซ้อนเกีย่ วพันกับสาเหตุปจั จัยทางสังคมวัฒนธรรมและประวัตศิ าสตร์ รวมทัง้ การเปลีย่ นรัฐบาลทีม่ หี น้าทีห่ ลักในการรับผิดชอบแก้ไขปัญหาทีเ่ กิดขึน้ อย่างบ่อยครัง้ ในระยะเวลาสอง ถึงสามปีที่ผ่านมามีผลกระทบต่อความต่อเนื่องในการแก้ปัญหาอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ทั้งในแง่ของ ความต่อเนือ่ งในเชิงนโยบายและขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าทีผ่ ปู้ ฎิบตั งิ าน ดังนัน้ การนำเสนอให้เห็นแนวทาง การแก้ปัญหาโดยยึดแนวทางการปฎิบัติหน้าที่และการจัดรูปองค์กรของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังได้นำ เสนอมาทั้งหมดจึงต้องการให้ผู้ศึกษาได้เห็นบทเรียนและเนื้อหาสำคัญของการแก้ไขปัญหาในระยะ เวลาทีผ่ า่ นมาเพือ่ เป็นพืน้ ฐานในการต่อยอดความคิดสำหรับการวางแนวทางแก้ปญ ั หาในอนาคต
15
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
บทสรุปและข้อเสนอแนะ
เป็นที่ยอมรับว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นดินแดนพหุสังคม พหุวัฒนธรรม มีอัตลักษณ์
(Identity) ทางกลุ่มชาติพันธ์ และมีมิติพิเศษในด้านศาสนา สังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม และ ภาษา จึงถือได้ว่าจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นดินแดนที่มีความพิเศษกว่าดินแดนอื่นๆ ในประเทศไทย ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นปัญหาที่ได้เกิดขึ้นเพราะความสลับซับซ้อน ของสาเหตุปัจจัยที่หลากหลายทั้งประเด็นทางสังคมวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ แม้ที่ผ่านมาจะได้ รับการแก้ไขปัญหาจากหลายรัฐบาล ก็มิได้ทำให้ปัญหาความไม่สงบยุติลง เหตุการณ์ปัจจุบันกลับยิ่ง ทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ความรุนแรงสามารถขยายตัวจนส่งผล
กระทบเป็นวงกว้าง และมีความสลับซับซ้อน จนอาจกระทบต่อเอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในประเทศ และเป็นภยันตรายต่อความสงบสุขของประชาชน จึง กลายเป็นปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ ซึ่งปัญหาความไม่สงบชายแดนภาคใต้ดังกล่าวได้ เกิดขึ้นโดยมีสาเหตุเชื่อมโยงกันหลายมิติ มิติด้านอำนวยความยุติธรรมก็เป็นอีกมิติหนึ่งที่เป็นสาเหตุ ทำให้เกิดความไม่สงบเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในห้วงอดีตที่ผ่านมามิติด้านการอำนวย ความยุติธรรมขาดการยอมรับและขาดความเชื่อมั่นจากประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไม่ สามารถเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากกรณี เจ้าหน้าที่ของรัฐบังคับใช้ กฎหมายขาดประสิทธิภาพ บังคับใช้กฎหมายอย่างเลือกปฏิบัติ หรือละเมิดสิทธิของบุคคล ความ หวาดระแวงของประชาชน ความไม่ไว้วางใจเจ้าหน้าทีข่ องรัฐ ได้นำไปสูก่ ารเสือ่ มศรัทธาต่อกฎหมาย และหลักนิติธรรมในท้ายที่สุด นอกจากนี้ ยังปรากฏข้อเท็จจริงว่า การปฏิบัติหน้าที่ของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหาระหว่างองค์กร ดังเช่น กรณีการประสานงานระหว่างสถาบัน นิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ กับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม โดยการทำงานขาดการ ประสานงานกัน มีลักษณะต่างคนต่างทำ เข้าถึงที่เกิดเหตุไม่พร้อมกัน ไม่ใช้ฐานข้อมูลร่วมกัน ด้าน การดำเนินคดีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ พนักงานสอบสวน ไม่ขวนขวายทีจ่ ะรวบรวมพยานหลักฐาน ทางนิตวิ ทิ ยาศาสตร์เพือ่ พิสจู น์ความผิดหรือความบริสทุ ธิข์ องผูต้ อ้ งหา มุง่ เน้นทีจ่ ะพิสจู น์ความผิดพยาน บุคคลเป็นหลัก อันส่งผลทำให้คดีส่วนใหญ่ไม่สามารถนำตัวผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีได้ ปัญหาการใช้กฎหมายพิเศษในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้กลายเป็นอุปสรรคต่อการประกอบ ศาสนกิจของชาวไทยมุสลิม เป็นปัญหาต่อวิถชี วี ติ และการประกอบอาชีพตามสภาพท้องถิน่ และเป็น การล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
16
พ.ศ. ๒๔๕๗ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉกุ เฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และพระราช บัญญัตกิ ารรักษาความมัน่ คงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การใช้อำนาจในการ ดำเนินการ ของเจ้าหน้าทีต่ ามกฎหมายพิเศษดังกล่าว ดังเช่นกรณีการได้มาของข้อมูลต่างๆ ทีไ่ ด้มาจาก การซักถาม โดยอาศัยพระราชบัญญัตกิ ฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ และพระราชกำหนดการบริหาร ราชการในสถานการณ์ฉกุ เฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ย่อมส่งผลต่อการรับฟังเป็นพยานหลักฐานในการกระทำ ความผิดของผู้ต้องสงสัย ทั้งนี้เนื่องจากการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายพิเศษดังกล่าวนั้น มิใช่เป็นการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งยึดสำนวนการ สอบสวนของพนักงานสอบสวนเป็นหลัก ยิ่งไปกว่านั้น การที่พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารกักตัวบุคคลไว้ไม่เกิน ๗ วัน โดยไม่ผ่านการตรวจสอบการใช้ ดุลพินจิ จากอำนาจตุลาการ ย่อมกระทบต่อเสรีภาพ และการใช้ชวี ติ ประจำวันของประชาชนในจังหวัด ชายแดนภาคใต้เป็นอย่างมาก หากการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีลักษณะเป็นการเหวี่ยงแห ย่อมกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนผู้บริสุทธิ์ได้โดยง่าย ปัญหา การประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ เป็นอุปสรรคต่อมาตรการและกลไกควบคุมแก้ไขและฟืน้ ฟูสถานการณ์ดงั ทีไ่ ด้กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ กล่าวคือ หากพื้นที่ใดได้ ดำเนินการประกาศสถานการณ์ฉกุ เฉินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉกุ เฉินแล้ว ย่อมไม่สามารถนำมาตรการและกลไกตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัตกิ ารรักษาความมัน่ คงภายใน ราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ ทีก่ ำหนดว่าผูใ้ ดต้องหาว่าได้กระทำความผิด อันมีผลกระทบต่อความ มัน่ คงภายในราชอาณาจักรตามทีค่ ณะรัฐมนตรีกำหนด แต่กลับใจเข้ามอบตัวต่อพนักงานเจ้าหน้าทีห่ รือ เป็นกรณีทพี่ นักงานสอบสวนได้ดำเนินการการสอบสวนแล้ว ปรากฏว่าผูน้ นั้ ได้กระทำไปเพราะหลงผิด หรือรูเ้ ท่าไม่ถงึ การณ์ และการเปิดโอกาสให้ผนู้ นั้ กลับตัวจะเป็นประโยชน์ตอ่ การรักษาความมัน่ คงภายใน ราชอาณาจักร ซึง่ บทบัญญัตดิ งั กล่าวย่อมมีความสำคัญ เพราะว่าหากได้มกี ารดำเนินการตามมาตรการ หรือกลไกดังกล่าว สามารถกันผูก้ ระทำผิดทีม่ ใิ ช่ตวั การหรือผูน้ ำในการก่อความไม่สงบออกมาจากวังวน ของการก่อความไม่สงบได้ เป็นการทอนกำลังของขบวนการลง อันจะเป็นผลโดยตรงต่อการรักษา ความสงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงในขณะนี้ปรากฏว่าในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้นั้น ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการใน สถานการณ์ฉกุ เฉินแล้ว ดังนัน้ จึงไม่สามารถนำบทบัญญัตมิ าตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติการรักษา ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ มาบังคับใช้ได้ ปัญหาอีกประการหนึ่ง การบังคับใช้ กฎหมายพิเศษโดยเฉพาะพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ ซึ่งให้อำนาจแก่เจ้าหน้าที่ฝ่าย 17
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ทหารอย่างมากมายโดยไม่ตอ้ งผ่านการตรวจสอบจากฝ่ายอืน่ ย่อมก่อให้เกิดคำครหาเกีย่ วกับการละเมิด สิทธิมนุษยชน เช่น การทรมานผู้ต้องสงสัยด้วยวิธีการต่างๆ ดังข้อกล่าวหาขององค์กรนิรโทษกรรม สากลที่ปรากฏตามสื่อต่างประเทศและในประเทศ แม้จะมีมูลความจริงหรือไม่ก็ตาม ก็ย่อมกระทบ ต่อความเชื่อถือในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพราะการใช้ความรุนแรงย่อมเป็นการเพิ่ม ปัญหามากกว่าการคลี่คลายสถานการณ์ นอกจากนี้แล้ว ปัญหาชั้นพนักงานสอบสวนพบว่า พนักงานสอบสวนในพื้นที่จังหวัด ชายแดนภาคใต้ ยังไม่มีประสบการณ์ในการสอบสวนอย่างเพียงพอ ขาดทักษะในการดำเนินคดี
เกี่ยวกับคดีความมั่นคง ทำให้การส่งสำนวนคดีต่อพนักงานอัยการเกิดความล่าช้าและเป็นอุปสรรคใน การดำเนินคดี ส่งผลกระทบต่อการสั่งคดีของพนักงานอัยการ การขาดแคลนอัตรากำลังของพนักงาน อัยการในจังหวัดชายแดนภาคใต้ก็เป็นปัญหาหนึ่งที่กระทบต่อการดำเนินคดี รวมทั้งการไม่เข้าใจใน ภาษาวัฒนธรรมและศาสนาอย่างถ่องแท้ ส่งผลต่อการดำเนินคดีในทุกขัน้ ตอน ส่วนปัญหาชัน้ พิจารณา คดีของศาล เนื่องจากคดีที่เกี่ยวกับความมั่นคง มีความยุ่งยากซับซ้อนในเรื่องของพยานหลักฐาน ซึ่ง มีความเชื่อมโยงในหลายมิติ อีกทั้งยังมีความยุ่งยากในการติดตามพยานมาเบิกความต่อศาล อันมี สาเหตุมาจากพยานเกิดความหวาดกลัวภยันตราย และได้ย้ายไปอยู่นอกเขตจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาดังกล่าวนี้ ในทางปฏิบตั พิ นักงานอัยการได้ดำเนินการยืน่ คำร้องต่อศาลขอสืบพยานบุคคลล่วงหน้า ก่อนฟ้องคดี แต่ข้อเท็จจริงปรากฎว่า ในทางปฏิบัติส่วนใหญ่ศาลไม่อนุญาตให้ดำเนินการสืบพยาน บุคคลล่วงหน้า เนื่องจากเห็นว่ายังไม่มีเหตุตามกฎหมาย อีกประการหนึ่ง ในการพิจารณาคดีในศาล จำเลยส่วนใหญ่จะแต่งตั้งทนายความจากชมรมทนายความมุสลิมซึ่งนับถือศาสนาอิสลามเช่นเดียวกับ จำเลย เป็นผู้รับมอบอำนาจในการดำเนินคดีในศาล ส่งผลทำให้ทนายความมีงานล้นมือและมีวันว่าง นัดคดีความน้อย การหาวันนัดพิจารณาที่ว่างตรงกันจึงกระทำได้ยากขึ้น มีผลทำให้การพิจารณาคดี เนิ่นช้าออกไป นอกจากนี้ ระบบการพิจารณาคดีต่อเนื่องของศาลก็กระทบต่อการดำเนินคดีของ ทนายความในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างมาก เพราะโดยสภาพของคดีในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้เป็นคดีเกี่ยวกับความมั่นคง ซึ่งการดำเนินคดีประเภทนี้มีความยุ่งยากซับซ้อนทั้งในแง่ของพยาน หลักฐานซึ่งมีความยากลำบากในการรวบรวมพยานหลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นพยานเอกสาร พยานวัตถุ หรือพยานบุคคล ดังนัน้ การทีศ่ าลนำระบบการพิจารณาคดีตอ่ เนือ่ ง ซึง่ ได้ใช้กบั ศาลทัว่ ประเทศอยูใ่ น ปัจจุบัน มาใช้กับคดีความมั่นคงที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ย่อมไม่เหมาะสม และส่งผล เสียต่อการดำเนินคดี
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
18
ข้อเสนอแนะ
คณะอนุกรรมาธิการศึกษาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ ด้านอำนวยความยุติธรรม สภาผูแ้ ทนราษฏร ได้พจิ ารณาศึกษาปัญหา ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และได้สรุปปัญหา ต่างๆ ที่มีนัยสำคัญต่อปัญหาความไม่สงบที่ดำรงอยู่ในปัจจุบันดังกล่าวข้างต้น และเห็นว่าในสถานการณ์ ปัจจุบันรัฐบาลควรเน้นการแก้ไขในด้านนิตินโยบายเป็นสำคัญ เพราะจะสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่าง เป็นรูปธรรมชัดเจน จึงมีข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้ ๑. ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายพิเศษ ๑.๑ เสนอให้มกี ารประกาศยกเลิกการบังคับใช้พระราชบัญญัตกิ ฎอัยการศึก พ.ศ. ๒๔๕๗ และพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ ในพื้นที่จังหวัดชายแดน ภาคใต้ และใช้กฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอย่างเข้มงวด ๑.๒ เสนอให้นำมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ มาใช้บังคับอย่างจริงจัง โดยแยกผู้ต้องหาออกเป็น ๔ ประเภท คือ
๑. แกนนำก่อความไม่สงบ ๒. ผู้รับนโยบายจากแกนนำไปสู่การปฏิบัติ ๓. ผู้ปฏิบัติตามนโยบายของ แกนนำ ๔. ผู้สนับสนุนหรือแนวร่วมผู้ต้องหาที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรา ๒๑ คือประเภทที่ ๓ และที่ ๔ ทั้งนี้มีแนวทางในการจัดลำดับความสำคัญของผู้กระทำผิดเพื่อดำเนินคดีในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ดังนี้ ๑.๒.๑ ผูก้ ระทำความผิดทีเ่ ป็นแกนนำของกระบวนการก่อความไม่สงบในจังหวัด ชายแดนภาคใต้ โดยเป็นผู้กำหนดนโยบาย วางแผน หาทุน สนับสนุนในการก่อความไม่สงบใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ ๑.๒.๒ ผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้รับนโยบายจากผู้กระทำความผิดตามข้อ ๑.๒.๑ มาสู่ภาคปฏิบัติโดยเป็นผู้วางแผนจัดกำลังปลุกปั่นครอบงำทางความคิดโดยการนำหลักศาสนาอิสลาม ไปบิดเบือนให้ผู้กระทำความผิดตามนโยบายของแกนนำ หลงเชื่อว่าหลักศาสนาให้เข่นฆ่าผู้ละเมิด ศาสนาอิสลามในสิ่งที่ถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลามเป็นกลยุทธ์ในการปลุกระดมปลูกจิตสำนึกให้
ก่อความไม่สงบพร้อมทั้งให้เงินสนับสนุนที่ได้จากผู้กระทำความผิดจากข้อ ๑.๒.๑ ๑.๒.๓ ผูก้ ระทำความผิดซึง่ เป็นผูน้ ำนโยบายจากผูก้ ระทำความผิดตามข้อ ๑.๒.๒ มาปฏิบัติในภาคสนามหรือที่เรียกทั่วไปว่า กองกำลังทั้งที่ติดอาวุธและไม่ติดอาวุธทำให้การกระทำ ความผิดของกลุ่มนี้เป็นสาเหตุให้ก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยตรง 19
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
๑.๒.๔ ผู้กระทำความผิดกลุ่มผู้สนับสนุนผู้กระทำความผิดตามข้อ ๑.๒.๓ ดังนัน้ เมือ่ จัดลำดับความสำคัญของผูก้ ระทำความผิดเพือ่ ดำเนินคดีตอ่ ศาลดังกล่าว แล้ว จึงเป็นหน้าทีข่ องผูม้ หี น้าทีด่ า้ นอำนวยความยุตธิ รรมจะต้องดำเนินคดีกบั กลุม่ ที่ ๑.๒.๑ และ ๑.๒.๒ ให้ได้ จึงจะแก้ไขปัญหาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ หากไม่มีการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดกับกลุ่ม ที่ ๑.๒.๑ และ ๑.๒.๒ แล้ว แม้วา่ จะมีการพัฒนาด้านอืน่ ฯไปเพียงใดก็ตามก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาความ ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ หน่วยงานที่จะต้องดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินคดีกับกลุ่มที่ ๑.๒.๑ และ
๑.๒.๒ จึงประกอบด้วยหน่วยงานดังต่อไปนี้ ๑. ทหาร กองทัพภาคที่ ๔ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน ภาค ๔ ส่วนหน้า ในฐานะหน่วยงานพิเศษตามมาตรา ๗ วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติการรักษา ความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ ทำหน้าที่หาข่าวกรองและหาประโยชน์จากข่าวกรอง ดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานเพื่อเป้าหมายในการดำเนินคดีกับกลุ่มที่ ๑.๒.๑ และ ๑.๒.๒ ให้ได้โดย อาศัยข้อมูลจากผู้กระทำความผิดกลุ่มที่ ๑.๒.๒ เป็นประการสำคัญ ซึ่งคณะอนุกรรมาธิการฯ เห็น ว่าการจะได้ประโยชน์จากกลุ่มที่ ๑.๒.๑ และ ๑.๒.๒ อาจจะต้องมีวาระแห่งชาติที่จะใช้ประโยชน์ มาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.๒๕๕๑ ๒. ฝ่ายปกครอง นอกจากมีหน้าที่บำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
ยังจะต้องช่วยเหลือฝ่ายทหารและเจ้าหน้าที่ตำรวจในการแสวงหาพยานหลักฐานในการดำเนินคดีกับ
ผู้กระทำความผิดกับกลุ่มที่ ๑.๒.๑ และ ๑.๒.๒ โดยอาศัยความร่วมมือจากแนวร่วมประชาชนผู้กระทำ ความผิดกลุ่มที่๑.๒.๔ ๓. ตำรวจ มีหน้าที่จะต้องระดมสรรพกำลังทุกสิ่งทุกอย่างที่มุ่งสู่การหาพยานหลักฐานที่จะ ฟ้องร้องผู้กระทำความผิดกลุ่มที่ ๑.๒.๑ และ ๑.๒.๒ ให้จงได้ โดยทั้งนี้จำเป็นต้องอาศัยประโยชน์
พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ ในการเจรจาต่อรองผู้ต้องหา ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดกลุ่มที่ ๑.๒.๓ ที่ให้ความร่วมมือในการรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อฟ้องร้อง กลุ่มที่๑.๒.๑ และ ๑.๒.๒ เนื่องจากกลุ่มที่ ๑.๒.๓ นั้น ได้รู้เฉพาะตัวผู้กระทำความผิดสั่งไม่ฟ้องผู้ กระทำความผิดตามข้อ ๑.๒.๓ ต่อไป กลุ่มที่ ๑.๒.๒ ไม่มีทางรู้ถึงตัวผู้กระทำความผิดกลุ่มที่ ๑.๒.๑ ได้ ดังนั้น เมื่อได้พยานหลักฐานดำเนินคดีกับกลุ่มที่ ๑.๒.๒ โดยอาศัยความร่วมมือในการรวบรวม
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
20
พยานหลักฐานผูก้ ระทำความผิดกลุม่ ที่ ๑.๒.๓ จนสามารถดำเนินคดีกบั ผูก้ ระทำความผิดกลุม่ ที่ ๑.๒.๒ ได้แล้วจึงอาศัยอำนาจตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ กรณีเช่นนี้จะต้องกระทำเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งจะกล่าวไว้ในบทสรุปต่อไป เมื่อพนักงานสอบสวนสามารถรวบรวมพยานหลักฐานจนสามารถดำเนินคดีกับกลุ่ม
ที่ ๑.๒.๒ แล้ว พนักงานสอบสวนจะต้องระดมสรรพกำลังทั้งมวลที่จะหาพยานหลักฐานไปสู่การ ดำเนินคดีกบั กลุม่ ที่ ๑.๒.๑ ให้จงได้ ทัง้ นีอ้ าจจำเป็นต้องอาศัยประโยชน์ความร่วมมือของกลุม่ ที่ ๑.๒.๒ ในการรวบรวมพยานหลักฐานจนสามารถดำเนินคดีกับกลุ่มที่ ๑.๒.๑ ได้ โดยการอาศัยประโยชน์ตาม มาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ เจรจาต่อ รองกับกลุ่มที่ ๑.๒.๒ และหากได้รับความร่วมมือในการรวบรวมพยานหลักฐานจากกลุ่มที่ ๑.๒.๒ จนสามารถดำเนินคดีกับกลุ่มที่ ๑.๒.๑ ได้แล้วก็ดำเนินการสั่งไม่ฟ้องกลุ่มที่ ๑.๒.๒ ทั้งนี้อาศัยมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ อนึ่ง สำหรับผู้กระทำความผิดกลุ่มที่ ๑.๒.๔ ไม่สมควรที่จะดำเนินคดีกับกลุ่มนี้ หน่วยงานความมั่นคงตลอดจน ตำรวจ ฝ่ายปกครอง จะต้องให้กลุ่มนี้มาให้การเป็นประโยชน์ในแง่ ของการรวบรวมพยานหลักฐานที่จะดำเนินคดีกับกลุ่มที่ ๑.๒.๓ ต่อไป ทั้งนี้ผู้ที่ให้ความร่วมมือจะ ต้องไม่ถูกดำเนินคดีเลยโดยกันไว้เป็นพยานเท่านั้น กรณีเช่นนี้จะต้องกระทำเป็นวาระแห่งชาติซึ่งจะ กล่าวไว้ในบทสรุปต่อไป ๔. พนักงานอัยการ พนักงานอัยการเป็นกำลังสำคัญที่สุดในการดำเนินคดีที่เกี่ยวกับความมั่นคง โดย เฉพาะอย่างยิ่งการดำเนินคดีกับกลุ่มที่ ๑.๒.๑ และ ๑.๒.๒ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล เพราะพนักงานอัยการจะเป็นผู้ดำเนินการสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหาซึ่งเป็นผู้กระทำความผิด
กลุ่มที่ ๑.๒.๒ และ ๑.๒.๓ ที่ให้ความร่วมมือจนสามารถรวบรวมพยานหลักฐานเพียงพอดำเนินคดีกับ กลุ่มที่ ๑.๒.๒ และ ๑.๒.๓ แล้วแต่กรณี และส่งให้ศาลเป็นผู้พิจารณาตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราช บัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว พนักงานสอบสวนจึงควรขอความร่วมมือจากอัยการสูงสุดให้จัดส่งพนักงานอัยการที่มีความเชี่ยวชาญ ในการรวบรวมพยานหลักฐานที่สามารถพิสูจน์ความผิดของจำเลยในชั้นศาลได้ไปช่วยเหลือพนักงาน สอบสวนในชั้นสอบสวนเพื่อรวบรวมพยานหลักฐานในการดำเนินคดีซึ่งควรดำเนินการเป็นวาระ
แห่งชาติ นอกจากนั้นสำนักงานอัยการสูงสุดมีหน่วยงานที่เกี่ยวกับการช่วยเหลือประชาชนทาง กฎหมายหรือที่เรียกว่า สคช. ซึ่งมีทั้ง สคช.ส่วนกลาง สคช.เขต สคช.จังหวัด และสคช.สาขา เป็น 21
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
สถาบันมาตรฐานระดับสากลในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพของประชาชน เพื่อสร้าง ความเป็นธรรมในสังคม โดยที่สคช.มีภารกิจหลักในด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและผลประโยชน์ ของประชาชนโดยมีพันธกิจในการพัฒนางานด้านสิทธิมนุษยชนและสิทธิเสรีภาพของประชาชนชาว ไทยทั้งในประเทศและนอกประเทศ วิธีการดำเนินการของ สคช. เพื่อบรรลุเป้าประสงค์ตามยุทธศาตร์ ของสำนักงานอัยการสูงสุดโดยผ่านกระบวนการขับเคลื่อนกิจกรรม/งาน/โครงการของ สคช. ด้วยองค์ ความรู้กำหนดมุ่งไปสู่กลุ่มเป้าหมายเพื่อบรรลุถึงผลลัพธ์ที่สนองตอบนโยบายของรัฐบาล ทั้งนี้ โดย อยูภ่ ายใต้แก่นแนวความคิดหลักทีว่ า่ “เอาใจใส่ ดูแล ปกป้อง คุม้ ครองและพิทกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการมุ่งเสริมสร้างชุมชุนเข้มแข็งด้วยการยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงและเน้น บทบาทการมีส่วนร่วมของประชาชนให้เกิดกระบวนการประชาสังคมนำไปสู่ความอยู่ดีมีสุขของ ประชาชน” ๕. ศาล พิจารณาคดีด้วยความรวดเร็วต่อเนื่องและเป็นธรรม ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนใน จังหวัดชายแดนภาคใต้ เกิดความรู้สึกว่าได้รับความเป็นธรรมจากการพิจารณาคดี ๖. ทนายความ ในการดำเนินคดีในชัน้ ศาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้นนั้ เนือ่ งจากผูก้ ระทำความ ผิดส่วนใหญ่เป็นผูน้ บั ถือศาสนาอิสลาม จึงเชือ่ ถือเฉพาะทนายความทีน่ บั ถือศาสนาอิสลามทนายความ จึงควรเป็นทนายความที่นับถือศาสนามุสลิมและเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการดำเนินคดีสูงในการ ช่วยเหลือจำเลย เนือ่ งจากคดีในจังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นคดีเกีย่ วกับความมัน่ คง ในส่วนค่าตอบแทน ในการดำเนินคดีของทนายความที่มีประสบการณ์สูงควรมีค่าตอบแทนที่สูงพอสมควรเพียงพอต่อการ ใช้จา่ ยไม่วา่ จะเป็นในเรือ่ งของค่าพาหนะ ค่าทีพ่ กั สถานทีพ่ บปะกับกับจำเลย ตลอดจนความปลอดภัย ในการปฏิบัติหน้าที่ ทั้งนี้ค่าตอบแทนในการดำเนินคดีควรอยู่ในช่วง ประมาณ ๕๐,๐๐๐-๑๐๐,๐๐๐ บาทต่อคดี โดยใช้เงินงบประมาณจากกองทุนช่วยเหลือที่มีอยู่ อาทิ “กองทุนยุติธรรมเพื่อช่วยเหลือ
ผู้บริสุทธิ์ที่ยากจน” ซึ่งมีจัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงยุติธรรม ซึ่งจะต้องจัดสรรไว้เป็นกองทุนในแต่ละปี
ไม่ตำ่ กว่า ๑๐ ล้านบาทต่อปีขนึ้ ไป ซึง่ โดยหลักปฎิบตั คิ ณะกรรมการกองทุนจะวางหลักเกณฑ์ชว่ ยเหลือ ให้กับประชาชนที่มีแนวโน้มเป็นผู้บริสุทธิ์ที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรมเท่านั้น หากคณะกรรมการกองทุนพิจารณาข้อมูลเบือ้ งต้นแล้วเห็นว่าอาจจะเป็นผูก้ ระทำความผิดจริง ก็สามารถ ที่จะยกคำร้องไม่ช่วยเหลือได้ ๗. หน่วยงานสนับสนุน ได้แก่หน่วยงานทุกหน่วย ทุกกระทรวง ทบวง กรม ที่พัฒนาความเป็นอยู่
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
22
โดยเฉพาะอย่างยิง่ สถาบันนิตวิ ทิ ยาศาสตร์ กระทรวงยุตธิ รรม จะต้องเป็นกำลังเสริมทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ในการสนับสนุนหน่วยงานตามข้อ ๑-๕ เป็นไปอย่างประสิทธิภาพ ๑.๓ เสนอให้รฐั บาลประกาศนโยบายสมานฉันท์โดยยกเลิกบัญชีผตู้ อ้ งสงสัย และเปิด โอกาสให้บคุ คลเหล่านัน้ เข้ามาร่วมสร้างสันติสขุ ทำนองเดียวกับนโยบายร่วมพัฒนาชาติไทยในอดีต ๒. ปัญหาการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของบุคคล - กองอำนวยรักษาความมัน่ คงภายในและคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติควรทำ บันทึกข้อตกลงว่าจะมีการตรวจสอบการใช้อำนาจของเจ้าหน้าที่มิให้มีการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนใน ทุกกรณี - คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนควรทำรายงานต่อรัฐบาล สภาผูแ้ ทนราษฎร และวุฒสิ ภา อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ถึงสถานการณ์ล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชนในชายแดนภาคใต้และแนวทางแก้ไข ปัญหา ๓. ปัญหาชัน้ พนักงานสอบสวน - สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรมอบหมายให้พนักงานสอบสวนที่มีประสบการณ์สูง
เป็นพนักงานสอบสวนในคดีความมั่นคง - สำนักงานตำรวจแห่งชาติควรออกระเบียบเกี่ยวกับการสอบสวนคดีความมั่นคงใน จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะ และควรประชุมออกระเบียบร่วมกับสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อให้ สอดคล้องต้องกัน - สำนักงานตำรวจแห่งชาติและกระทรวงยุติธรรมควรทำบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับการ คุม้ ครองพยานในคดีความมัน่ คงเพือ่ ให้พยานได้รบั การคุม้ ครองในทุกขัน้ ตอน ๔. ปัญหาชัน้ พนักงานอัยการ - อัยการสูงสุดควรใช้อำนาจสั่งไม่ฟ้องในคดีความมั่นคง ถ้าการฟ้องคดีนั้นจะไม่เกิด ประโยชน์ตอ่ สาธารณะ ทัง้ นีเ้ พือ่ กันผูต้ อ้ งหาทีไ่ ม่ใช่ตวั การ หรือแกนนำออกไปจากขบวนการก่อความ ไม่สงบ ทัง้ นี้ เป็นการใช้อำนาจของอัยการสูงสุดซึง่ ไม่เกีย่ วกับมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัตกิ าร รักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ - สำนักงานอัยการสูงสุดควรแต่งตั้งพนักงานอัยการที่มีประสบการณ์สูงเป็นผู้รับ
ผิดชอบในการดำเนินคดีเกีย่ วกับความมัน่ คง และควรออกระเบียบเกีย่ วกับการดำเนินคดีเกีย่ วกับความ มั่นคง ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยเฉพาะเพื่อให้สอดรับการทำงานของพนักงานสอบสวนและศาล ๕. ปัญหาชัน้ พิจารณาคดีของศาล - เสนอให้คณะกรรมการบริหารศาลยุตธิ รรม ออกประกาศจัดตัง้ แผนกคดีความมัน่ คง 23
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ขึ้นในศาลชั้นต้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้เพื่อรองรับการพิจารณาคดีเกี่ยวกับคดีความมั่นคงใน จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเฉพาะ และเสนอให้ประธานศาลฎีกา ออกระเบียบราชการฝ่ายตุลาการ
ศาลยุตธิ รรม ว่าด้วยการพิจารณาคดี และการสืบพยานหลักฐานคดีเกีย่ วกับคดีความมัน่ คง โดยกำหนด ให้ศาลต้องสืบพยานหลักฐานทุกชนิดไว้ล่วงหน้าก่อนฟ้องคดี ตามมาตรา ๒๓๗ ทวิ และมาตรา ๒๓๗ ตรี แห่งประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาความอาญา ทัง้ นี้ ตามพระธรรมนูญศาลยุตธิ รรม มาตรา ๔ และมาตรา ๕ ๖. ปัญหาการปฎิบตั งิ านของสถาบันนิตวิ ทิ ยาศาตร์ตำรวจกับสถาบันนิตวิ ทิ ยาศาตร์ กระทรวง ยุติธรรม - กระทรวงยุติธรรม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ควรทำบันทึกข้อตกลง โดยมีการ ตกลงกันให้ชดั เจนว่าสถาบันนิตวิ ทิ ยาศาสตร์ของทัง้ สององค์กรจะร่วมกันทำงานในลักษณะใด จะแบ่ง พื้นที่หรือจะแบ่งงานกันทำตามความเชี่ยวชาญของแต่ละฝ่าย - ควรกำหนดระเบียบการทำงานของแต่ละฝ่ายให้สอดคล้องต้องกันในทุกๆ กรณี เพือ่
มิให้เกิดปัญหาในการทำงานจนเกิดความเสียหายต่อการอำนวยความยุตธิ รรมและการแก้ไขปัญหาความ ไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเพือ่ ให้ถกู ต้องตามประมวลกฎหมายวิธพี จิ ารณาความอาญา - ควรจัดให้มีการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ระหว่างหน่วยงานเพื่อประโยชน์ในการทำงานร่วมกันต่อไป - สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ตำรวจ หรือสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ควร ต้องออกระเบียบกำหนดระยะเวลาการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานและการส่งผลการตรวจพิสูจน์ไปยัง พนักงานสอบสวนให้ทันกำหนดเวลาตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทุกคดี - สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ของทั้งสององค์กร จะต้องเร่งผลิตบุคลากรที่มีประสบการณ์ ให้เพียงพอต่อการปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพือ่ ให้การพิสจู น์พยานหลักฐานเกินประสิทธิภาพ อย่างแท้จริง ๗. เพื่อให้สามารถดำเนินคดีกับกลุ่มผู้กระทำความผิดกลุ่มที่ ๑.๒ และ ๑.๒ ซึ่งในการนี้ อาจจำเป็นต้องอาศัยมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัตกิ ารรักษาความมัน่ คงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ ในการเจรจาผูต้ อ้ งหา แม้วา่ ในทีส่ ดุ แล้วจะต้องสัง่ ไม่ฟอ้ งผูก้ ระทำความผิดทีร่ บั นโยบายจาก แกนนำ ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติการในการกระทำความผิดโดยตรง จึงจำเป็นต้องมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดับ สูงในการ ตัดสินใจในเรือ่ งนี้ ซึง่ ต้องประกอบด้วย นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีทเี่ กีย่ วข้องกับความมัน่ คง
ผูบ้ ญ ั ชาการ เหล่าทัพ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ และอัยการสูงสุด ร่วมกันพิจารณา เนื่องจากเป็นเรื่อง ที่สำคัญอย่างยิ่ง จึงจำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบร่วมกัน ซึ่งเมื่อพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้กระทำ
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
24
ความผิดทีร่ บั นโยบายจากแกนนำ ก็จะได้ผกู้ ระทำความผิดกลุม่ ที่ ๑.๒ และผูก้ ระทำความผิดกลุม่ ที่ ๑.๒ ยินยอมทีใ่ ห้การเป็นประโยชน์ รวมทั้งพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดกลุ่มที่ ๑.๑ ได้แล้ว ก็ตอ้ งใช้ประโยชน์ตามมาตรา ๒๑ แห่งพระราชบัญญัตกิ ารรักษาความมัน่ คงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ ในการสั่งไม่ฟ้องผู้กระทำความผิดกลุ่มที่ ๑.๒ ต่อไป เมื่อได้ดำเนินการในเรื่องการอำนวยความยุติธรรมโดยวาระแห่งชาติจนสามารถดำเนินคดี
ผู้กระทำความผิดกลุ่มที่ ๑.๑ ได้แล้ว เชื่อว่าปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้จะสงบลง และเปิดโอกาสให้หน่วยงานทีพ่ ฒ ั นาสามารถดำเนินการพัฒนา ประชาชนในพืน้ ทีจ่ งั หวัดชายแดนภาคใต้ ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งจะนำมาซึ่งความสงบสุขในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างถาวร
25
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ปที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
26
การบังคับใชกฎหมายการเดินอากาศ ของเจาหนาที่กรมการขนสงทางอากาศ นางสาวสุณิชา สูศิริ
27
ปที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
28
การบังคับใช้กฎหมายการเดินอากาศของเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางอากาศ เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการบินแบบไม่ประจำภายในประเทศ โดย นางสาวสุณิชา สู่ศิริ 1
ธุรกิจการบินเป็นการขนส่งประเภทหนึ่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภคหรือ ปัจจัยขั้นพื้นฐาน ที่มีความสำคัญในการดำเนินชีวิตและการดำเนินธุรกิจของผู้คนจำนวนมากมาย โดยจะเห็นได้ว่านับ ตั้งแต่ธุรกิจการบินกำเนิดขึ้นก็ได้กลายเป็นธุรกิจซึ่งมีอิทธิพลต่อระบบการคมนาคมขนส่งของโลก อย่างมาก แม้ว่าในปัจจุบันธุรกิจการขนส่งประเภทอื่น อย่างการขนส่งทางบกและการขนส่งทาง
ทางน้ำ จะพัฒนาจนมีศักยภาพและคุณสมบัติเฉพาะตัวอันโดดเด่น ไม่ด้อยไปกว่าการขนส่งทาง อากาศ แต่ด้วยคุณสมบัติที่พิเศษของการขนส่งทางอากาศ ทั้งในด้านความสะดวกและความรวดเร็วใน การขนส่งคนและสินค้าที่มากกว่าการขนส่งประเภทอื่น ธุรกิจการบินจึงยังคงเป็นทางเลือกลำดับแรก สุดสำหรับผู้ที่ต้องการก้าวไปสู่ความสำเร็จหรือจุดมุ่งหมายก่อนผู้อื่นเสมอ ประเทศไทยเริ่มรู้จักการขนส่งทางอากาศในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว
(รัชกาลที่ 6) โดยในระยะแรกการขนส่งทางอากาศถูกนำไปใช้ประโยชน์เพื่อภารกิจทางทหารเท่านั้น แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้สิ้นสุดลง การขนส่งทางอากาศจึงได้เริ่มเข้าไปมีบทบาทในแวดวง พลเรือน โดยครั้งแรกเป็นการบินเพื่อขนส่งไปรษณียภัณฑ์ด้วยการนำไปรษณียภัณฑ์จากกรุงเทพฯ ไปส่งที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งผลจากการทดลองดังกล่าวทำให้รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญ และคุณประโยชน์ของกิจการการบินพลเรือน จึงได้มีดำริให้มีการเปิดสายการบินขนส่งไปรษณียภัณฑ์ และผู้โดยสารขึ้นในเส้นทางที่การคมนาคมทางรถยังไปไม่ถึง โดยเส้นทางบินที่ได้มีการทดลองเปิด บินเป็นครั้งแรก คือ เส้นทางกรุงเทพฯ - จันทบุรี ซึ่งทดลองบินในปี พ.ศ. 2465 ต่อมาในเดือน มิถุนายนปีเดียวกัน ได้เปิดเส้นทางบินนครราชสีมา - ร้อยเอ็ด - อุบลราชธานี ซึ่งปรากฏว่าประชาชน นิยมใช้บริการกันมาก เพราะทำให้การคมนาคมเพื่อการขนส่งพัสดุภัณฑ์และคนโดยสารกระทำได้ อย่างรวดเร็ว2 แต่เนื่องจากธุรกิจการบินเป็นกิจการที่มีต้นทุนสูง จึงทำให้ผู้ที่สามารถจะเข้าถึงธุรกิจ การบินในช่วงสมัยนั้นจำกัดอยู่เพียงกลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น อย่างไรก็ดีผลจากความเจริญก้าวหน้า ทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ได้ส่งผลให้การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการบินรุดหน้าไปอย่างมาก ต้นทุนในการผลิตอากาศยาน บุคลากร อีกทั้งค่าบำรุงรักษา ต่างก็ลดลงจากเมื่อก่อนไปมาก ดังนั้น 1
ปัจจุบนั ข้าราชการสังกัดกรมการขนส่งทางอากาศ กระทรวงคมนาคม อดีตนิสติ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยาและงานยุตธิ รรม คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2 บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. ธุรกิจการบิน (Airline Business). กรุงเทพมหานคร : เพรส แอนด์ ดีไซน์, 2548. 29
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ธุรกิจการบินจึงไม่ได้จำกัด อยู่เพียงกลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ เช่นเดิมอีกต่อไป ทุกวันนี้ เราจึงเห็นผู้คน จำนวนมากมายต่างก็สามารถเข้าถึงธุรกิจการบินได้ในหลายรูปแบบด้วยกัน ทั้งในฐานะของผู้รับ บริการและในฐานะของผู้ให้บริการ การให้บริการขนส่งทางอากาศของผู้ประกอบธุรกิจการบิน หากแบ่งตามลักษณะการให้ บริการอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) สายการบินประจำมีกำหนด คือ สายการบินที่เปิดให้ บริการเป็นประจำแก่สาธารณชน ซึ่งมีทั้งการทำการบินเพื่อรับขนผู้โดยสารและสินค้า โดยทำการบิน ตามเส้นทางภายในประเทศ หรือทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อสินจ้างตามตารางการบิน ที่กำหนดไว้แน่นอน และ (2) สายการบินไม่ประจำ เช่น สายการบินหรือบริษัทการบินที่ทำการบิน เพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์/การบินสนับสนุนการสำรวจขุดเจาะและผลิตปิโตรเลียม/การบินแบบ ไม่ประจำเพือ่ ให้บริการเช่าเหมาและใช้ในกิจการของบริษทั /การบินรับขนผูป้ ว่ ยในกรณีฉกุ เฉิน/การฝึกบิน (โรงเรียนการบิน)/ปล่อยบอลลูนล่าม เป็นต้น ซึ่งธุรกิจการบินแบบไม่ประจำนี้ แม้จะไม่เป็นที่รู้จัก อย่างกว้างขวางเหมือนธุรกิจสายการบินประจำ เนื่องจากความนิยมในบริการยังจำกัดอยู่เพียงเฉพาะ กลุ่มเท่านั้น แต่ก็นับได้ว่ามีบทบาทต่อสังคมและระบบเศรษฐกิจของไทยไม่น้อย และก็มีแนวโน้มว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ธุรกิจการบินแบบไม่ประจำภายในประเทศจะเข้ามามีบทบาทต่อชีวิตของผู้คนใน สังคมเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อมีผู้ประกอบการเข้าสู่ตลาดธุรกิจการบินจำนวนมากและหลากหลายขึ้น การกำกับดูแล และควบคุมให้การประกอบธุรกิจการบินดำเนินไปได้อย่างราบรื่นและปลอดภัย จึงมีความจำเป็นและ สำคัญอย่างยิ่ง แต่จากการสำรวจข้อมูลจากกรมการขนส่งทางอากาศซึ่งเป็นหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการ กำกับดูแลกิจการการบินพลเรือนในประเทศทั้งหมดพบว่า อัตราการกระทำผิดกฎหมาย หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขของผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจการบิน และการประกอบการธุรกิจการบินโดยไม่ ได้รับอนุญาตในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเมื่อตรวจสอบข้อมูลจากปี พ.ศ. 2551 ย้อนหลังไปจนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2546 เฉพาะกรณีความผิดฐานประกอบการธุรกิจการบินโดยไม่ได้รับ อนุญาตอย่างเดียวพบว่า มีบุคคลและนิติบุคคลที่ถูกดำเนินคดีจากการยื่นฟ้องของกรมการขนส่งทาง อากาศในความผิดฐานประกอบการธุรกิจการบินโดยไม่ได้รับอนุญาตจำนวนถึง 6 ราย3 ด้วยกัน โดยมี ทั้งคดีที่เกี่ยวกับนิติบุคคลที่ยังไม่ได้รับการอนุญาตอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ตามกระบวนการก็ได้นำ เครื่องบินไปให้บริการเพื่อประโยชน์ทางการค้าแก่บุคคลทั่วไปก่อน และคดีที่เกี่ยวกับบุคคลหรือ นิติบุคคลที่ขอมีขอใช้อากาศยานส่วนบุคคลเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคลหรือเพื่อกิจการของบริษัทและ 3
ข้อมูลเดือนมีนาคม 2552 จากสำนักกฎหมาย กรมการขนส่งทางอากาศ
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
30
สมาคม แต่ต่อมามีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าได้แอบนำเครื่องบินไปให้บริการเพื่อประโยชน์ ทางการค้า แก่บุคคลทั่วไป การกระทำผิดเหล่านี้ นอกจากจะถูกตรวจพบจากการสุ่มตรวจของ เจ้าหน้าที่และการแจ้งเบาะแสจากประชาชนแล้ว ยังมีบางรายที่ถูกตรวจพบเนื่องจากเกิดอุบัติเหตุ ระหว่างการลักลอบประกอบการ ซึ่งนับว่าอันตรายทั้งต่อผู้ใช้บริการและสาธารณชนอย่างมาก สถิติของการฟ้องร้องดำเนินคดีและผลจากการกระทำความผิดฐานประกอบธุรกิจการบินโดย ไม่ได้รับอนุญาตจำนวน 6 คดี ในช่วงระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา อาจไม่สามารถสะท้อนให้สังคมได้เห็น ถึงความจำเป็นที่จะต้องใส่ใจหรือให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เท่าที่ควร เนื่องจากผลกระทบที่เกิดขึ้นดู เป็นเรื่องเล็กน้อยและไม่ร้ายแรง แต่หากว่าผู้เกี่ยวข้องยังละเลยและปล่อยให้เกิดเรื่องเช่นนี้ต่อไปโดย ไม่มีการควบคุมและกำกับดูแลให้ดีพอ ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอาจไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยอีกต่อไป เพราะอาจจะไม่ใช่เพียงแค่ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ของผู้ใช้บริการเท่านั้น แต่อาจส่งผล ต่อความเชื่อมั่นของผู้คนที่มีต่อระบบความปลอดภัยของวงการการบิน ซึ่งอาจนำไปสู่ผลลบต่อภาพ ลักษณ์ของวงการธุรกิจการบินของไทยทั้งหมด และที่เลวร้ายไปกว่านั้นก็คือการกระทำความผิดนั้น อาจพัฒนาไปถึงขั้นเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศเลยก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีเรื่องที่น่าเป็นห่วงไม่น้อยไปกว่าผลกระทบที่คาดการณ์ว่าอาจจะเกิดขึ้นใน อนาคต คือ สถานการณ์ในปัจจุบันที่เจ้าหน้าที่รู้ว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แต่ก็ไม่อาจดำเนินคดี หรือดำเนินการอื่นใดต่อผู้กระทำผิดได้ เนื่องจากการกระทำผิดของผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตและ ผู้ที่ประกอบการโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น เมื่อพิจารณาจากองค์ประกอบของการกระทำแล้ว ถือว่าเป็น อาชญากรรม เพราะเป็นการกระทำที่ต้องห้ามตามกฎหมายและมีโทษกำหนดไว้ชัดเจน แต่มิได้จัดเป็น อาชญากรรมพื้นฐานทั่วไปที่เป็นการกระทำผิดโดยการใช้แรงหรือกำลังประทุษร้ายเพื่อมุ่งทำลายชีวิต และทรัพย์สินเหมือนที่เรารู้จักและคุ้นเคยกัน หากแต่จัดเป็นอาชญากรรมประเภท อาชญากรรม
คอปกขาวหรืออาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ซึ่งมีความซับซ้อนเป็นพิเศษ มีการตรวจพบการกระทำผิด ได้ค่อนข้างยาก อีกทั้งยังไม่สามารถที่จะดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดได้ ง่ายนัก เนื่องจาก (1) เป็นการกระทำผิดกฎหมายโดยใช้ความรู้ ความสามารถ ความชำนาญ ความ สัมพันธ์ทางอาชีพ อำนาจหน้าที่ ทักษะ/เทคนิควิธีเฉพาะทางของผู้กระทำผิดซึ่งมีสถานะเศรษฐกิจดี และมีสถานภาพทางสังคมสูงประกอบการกระทำความผิด (2) เป็นการกระทำผิดที่ไม่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในร่างกายของเหยื่อโดยตรง ไม่สร้างความหวาดกลัว สะเทือนขวัญ หรือความโกรธแค้นให้กับเหยื่อหรือคนในสังคมเหมือน อาชญากรรมพื้นฐาน ทำให้กำหนดโทษไม่รุนแรงทั้งที่วัตถุประสงค์ของการกระทำผิดก็มุ่งหวังให้เกิด 31
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ประโยชน์ต่อตนเองหรือพวกพ้อง อีกทั้งการกระทำผิดนั้นยังสร้างความเสียหายให้เกิดต่อชีวิตและ ทรัพย์สินของผู้อื่นไม่ต่างไปจากอาชญากรรมพื้นฐานทั่วไป (3) เป็นการกระทำทีส่ ร้างความเสียหายให้แก่เหยือ่ และสังคมไม่นอ้ ย แต่กไ็ ม่สามารถ ทำให้ผู้คนตระหนักและเข้าใจถึงความอันตรายของอาชญากรรมประเภทนี้ได้ดีพอ เนื่องจากผลของ ความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ได้สะท้อนออกมาเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนเหมือนอาชญากรรมพื้นฐานทั่วไป (4) เป็นการกระทำผิดที่ยากจะดำเนินการเอาผิดกับผู้กระทำผิด เนื่องจากการรวบรวม พยานหลักฐานในการกระทำผิดทำได้ยาก และที่สำคัญผู้กระทำผิดเป็นผู้มีอำนาจ มีอิทธิพล มีสาย สัมพันธ์กับผู้มีอิทธิพล และเป็นที่นับน่าถือตาในสังคมทำให้กระบวนการในการดำเนินการตรวจสอบ หรือติดตามการกระทำผิดมีอุปสรรคอยู่เสมอ และด้วยเหตุที่มีองค์ประกอบในการกระทำความผิดอันเป็นลักษณะเฉพาะ จึงทำให้ อาชญากรรมคอปกขาวหรืออาชญากรรมทางเศรษฐกิจ มีลักษณะการบัญญัติกฎหมายและการบังคับ ใช้กฎหมายพิเศษต่างไปจากอาชญากรรมประเภทอื่น การบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ด้วยว่าพฤติกรรมใดจะถูกกำหนดว่าเป็นอาชญากรรมหรือถูกบัญญัติว่าเป็นความผิดตาม กฎหมายหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของกลุ่มผู้มีอำนาจและผู้มีอิทธิพลในทางการเมืองหรือ ทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ4 จึงทำให้การบัญญัติกฎหมายมีลักษณะเป็นไป ในแนวที่จะปกป้องผล ประโยชน์ของกลุ่มผู้มีอำนาจและมีอิทธิพล มากกว่าที่จะมุ่งปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่มคนส่วน ใหญ่ในสังคมโดยเฉพาะกลุ่มคนชั้นล่าง ดังนั้น จึงมักมีการบัญญัติกฎหมายให้พฤติกรรมเบี่ยงเบน ของกลุ่มผู้ด้อยอำนาจในสังคมเป็นอาชญากรรม ในขณะที่พฤติกรรมเบี่ยงเบนของกลุ่มผู้ที่มีสถานะ ทางเศรษฐกิจดี มีสถานภาพทางสังคมสูง มีอิทธิพล มักจะไม่ค่อยถูกกำหนดว่าเป็นอาชญากรรม
มากเท่าไรนัก และหากแม้นว่าพฤติกรรมนั้น ถูกกำหนดให้เป็นอาชญากรรมขึ้นมา การกำหนด บทลงโทษก็จะไม่รุนแรงมาก เพราะสังคมมิได้มองว่าพฤติกรรมนั้นเป็นความผิดที่มีความชั่วร้ายใน ตัวเอง (Mala In Se) เด่นชัดเหมือนเช่นการปล้น ฆ่า ข่มขืน หากแต่พฤติกรรมนั้นกลายเป็นความผิด เพียงเพราะกฎหมายกำหนดให้เป็น (Mala Prohibita)
4
Chambliss and Seidman. Law Order and Power, 1971.
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
32
การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ เนื่องจากวัตถุประสงค์ในการลงโทษอาชญากรที่กระทำผิดในทางเศรษฐกิจไม่มีความ ประสงค์ที่จะให้เกิดมลทินแก่ผู้กระทำความผิด5 การบังคับใช้กฎหมายในการลงโทษ จึงมักจะ ไม่ค่อยเข้มงวดและจริงจังเท่าไรนัก โดยลักษณะการบังคับใช้กฎหมายสำหรับอาชญากรรมทาง เศรษฐกิจจะมิได้บังคับใช้กฎเกณฑ์ในเรื่องเจตนาอย่างชัดเจนแต่จะพิจารณาที่ผลของการกระทำ มากกว่า ว่ากระทบต่อสิทธิอย่างไรและทำให้เกิดความเสียหายอย่างไร6 นอกจากนี้ยังมักจะปล่อย ให้การพิจารณาบังคับใช้กฎหมายขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐในขณะนั้นและดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ผู้มี อำนาจเป็นสำคัญ และเมื่อรวมกับการที่สังคมและผู้บังคับใช้กฎหมายต่างก็มิได้มองว่าการกระทำของ อาชญากรทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่น่ารำคาญหรือน่ารังเกียจก็ยิ่งทำให้ประสิทธิภาพของการบังคับใช้ กฎหมายด้อยลงด้วย เพราะว่าการที่กฎหมายจะบังคับใช้ได้ผลหรือไม่นั้น มิได้ขึ้นอยู่แต่กับเนื้อหา สาระของกฎหมายและอำนาจของผู้บังคับใช้กฎหมายเท่านั้น หากแต่ยังขึ้นอยู่กับความสมัครใจ จิตสำนึก ค่านิยมของคนในสังคมและผู้บังคับใช้กฎหมายด้วย ดังนั้นหากว่ากฎหมายไม่ได้รับการ สนับสนุนและความร่วมมือในการปฏิบัติตามจากคนในสังคมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว ก็ยากที่จะ ทำให้การบังคับใช้กฎหมายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาลักษณะอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ แนวคิดการบัญญัติกฎหมาย แนวคิด การบังคับใช้กฎหมายกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำผิดในการประกอบ ธุรกิจการบินแบบไม่ประจำภายในประเทศ รวมถึงข้อมูลจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่กรมการขนส่ง ทางอากาศและผู้ประกอบการส่วนหนึ่งประกอบกันแล้ว จึงพบว่าสาเหตุของการกระทำผิดของ
ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตและผู้ที่ประกอบการโดยไม่ได้รับอนุญาตมิได้เกิดจากการขาดจิตสำนึก ความเห็นแก่ตัว และความไม่รับผิดชอบของผู้กระทำผิดเท่านั้น หากแต่ยังเกิดจากความบกพร่องของ เนื้อหาสาระของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่อีกด้วย ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของกฎหมายการเดินอากาศ ด้วยลักษณะของกฎหมายการเดินอากาศที่ต้องอ้างอิงกับกฎหมายระหว่างประเทศ (อนุสัญญา ชิคาโก), มีการเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยีการบินอยู่ตลอดเวลา และมีกฎเกณฑ์ที่หลากหลายโดยมี ลักษณะเป็นเรื่องทางเทคนิคจำนวนมาก จึงทำให้เกิดปัญหา 5
วีระพงษ์ บุญโญภาส. อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2540. สุรพงษ์ ถนอมจิตร, อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ : ศึกษาเฉพาะกรณีการขายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ภาค วิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544. 6
33
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
(1) เนื้อหาสาระกฎหมายไม่ครบถ้วน ขาดความชัดเจน และขาดความเหมาะสม ด้านเศรษฐกิจ - ในพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ซึ่งถือเป็นกฎหมายหลักสำหรับ ใช้ในการกำกับดูแลกิจการการบินพลเรือน พบว่าไม่ปรากฏเนื้อหาเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการบิน เลย โดยเนื้อหาเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการบินนั้น มีปรากฏอยู่ในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ลงวันที่ 26 มกราคม 2515 (ปว.58) ซึ่งเป็นการกล่าวถึงกิจการที่เป็นสาธารณูปโภคหลายประเภท โดยรวมเท่านั้น ดังนั้นจึงทำให้การพิจารณาอนุญาต การประกอบธุรกิจการบิน การกำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขต่างๆ เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจการบินจึงต้องอาศัยอำนาจตามแต่ใน ปว.58 ซึ่งไม่มีราย ละเอียดที่ชัดเจน นอกจากนี้ การกำหนดหรือเพิ่มเติมเงื่อนไขประกอบการอนุญาตยังขึ้นอยู่กับ ดุลยพินิจของผู้อนุญาต ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นการหารือร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่เพียงไม่กี่ฝ่ายและ ไม่มีการเปิดโอกาสให้ผู้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น อีกทั้งยังไม่ได้ ผ่านการกลั่นกรองจากหน่วยงานภายนอกซึ่งจะช่วยทำหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องรวมถึงฐานการใช้ อำนาจอีกด้วย ด้ า นความปลอดภั ย - ไม่ มี ก ารกำหนดหลั ก เกณฑ์ ใ นการออกใบรั บ รองผู้ ด ำเนิ น การเดิ น
อากาศ (AOC) ตามประเภทของกิจกรรมทางการบินอย่างชัดเจนทำให้ผู้ประกอบการทุกรายต้องใช้ หลักเกณฑ์เดียวกัน ทั้งที่มีลักษณะของกิจกรรมทางการบินต่างกัน ซึ่งไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรม ต่อผู้ประกอบการ (2) การกำหนดบทลงโทษไม่เหมาะสม การบัญญัติบทลงโทษโดยมากกำหนดให้เป็นโทษ ทางอาญาและโทษทางปกครอง ซึ่งหากเป็นโทษทางอาญาก็มักจะเป็นเพียงโทษปรับ ส่วนโทษจำคุก นั้นส่วนใหญ่เป็นการลงโทษจำคุกที่มีอัตราโทษไม่เกิน 3 ปี ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่จะรอการลงโทษได้ ศาล จึงมักใช้ดลุ ยพินจิ พิพากษาให้จำคุกแต่รอการลงโทษไว้ ดังนัน้ โทษทีม่ ผี ลจริงจึงมักเป็นเพียงโทษปรับ
ในอัตราต่ำ เช่น ความผิดฐานประกอบธุรกิจการบินโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม ปว.58 มีการกำหนด โทษไว้เพียง จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ, ความผิดฐานไม่ ปฏิบัติตามเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตประกอบธุรกิจการบิน กำหนดโทษไว้เพียงปรับไม่เกินสอง หมื่นบาท และในกรณีที่เป็นความผิดต่อเนื่อง ให้ปรับอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาทตลอดเวลาที่ยัง ทำการฝ่าฝืนอยู่ เป็นต้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบบทลงโทษกับผลตอบแทนที่ผู้กระทำผิดอาจจะได้รับจาก การละเมิดกฎหมายและความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นจากการกระทำผิดแล้ว พบว่าไม่มีความเหมาะสม (3) กฎหมายมีความซ้ำซ้อน ทำให้การทำงานต้องมีกระบวนการดำเนินงานหลายขั้นตอน เช่น การจัดตั้งโรงเรียนการบิน นอกจากจะต้องขอใบรับรองสถาบัน การบินสำหรับโรงเรียนฝึกบินแล้ว ยังต้องขอใบรับรองผู้ดำเนินการเดินอากาศ (AOC) อีกใบประกอบด้วย ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยาก
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
34
เพราะเท่ากับว่าต้องขอให้เจ้าหน้าที่ให้การรับรองในประเด็นเดียวกันถึงสองครั้ง นับเป็นการเพิ่มขึ้น ตอนการทำงานโดยไม่จำเป็นให้กับเจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการ (4) การออกและแก้ไขกฎหมายมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและต้องใช้ระยะเวลานาน ทำให้เนื้อหาของ กฎหมายไม่สอดคล้องกับนโยบาย และไม่ทันต่อสถานการณ์ รวมถึงเทคโนโลยีทางการบินที่มีการ เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ (1) การที่ผู้บังคับใช้กฎหมายมีอำนาจไม่มากในขณะที่ผู้อยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายมีอำนาจ และมีอิทธิพลเหนือกว่า ทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายแก่เจ้าหน้าที่หลายประการ ทั้ง ปัญหาในการพิจารณาอนุญาต ปัญหาการตรวจสอบการดำเนินกิจการและปัญหาในการดำเนินการใน กรณีที่มีกระทำผิดเกิดขึ้น (2) การที่ผู้บังคับบัญชาไม่มีนโยบายและแนวทางในการป้องกันปราบปรามการกระทำผิด ที่จริงจังและชัดเจน ทำให้เกิดปัญหาในด้านงบประมาณ อัตรากำลัง และขวัญกำลังใจของเจ้าหน้าที่ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการปฏิบัติงานและการบังคับใช้กฎหมาย ด้านงบประมาณ - ขาดแคลนทั้งงบประมาณสำหรับการปฏิบัติงานและงบประมาณสำหรับ การฝึกอบรมบุคลากร เพราะเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ ซึ่งปฏิบัติงานทางด้านเทคนิคมี ความจำเป็นที่จะต้องได้รับการฝึกอบรมตามกำหนดเป็นประจำเพื่อให้ยังคงขีดความสามารถในระดับ ที่สามารถปฏิบัติงานได้และเพื่อให้ได้รับความรู้ใหม่เพิ่มเติมทันต่อการพัฒนาทางเทคโนโลยีด้านการ บินที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เมื่อไม่มีงบประมาณเพียงพอสำหรับสนับสนุนการปฏิบัติ งานและการพัฒนาคุณภาพ ศักยภาพของบุคลากรแล้ว ผลของการปฏิบัติงานและการบังคับใช้ กฎหมายจึงค่อนข้างไม่สมบูรณ์ ด้านอัตรากำลัง - เนื่องจากภารกิจมีมากในขณะที่จำนวนเจ้าหน้าที่มีจำกัด ประกอบกับค่า
ตอบแทนแก่บุคลากรถูกกำหนดให้เป็นไปตามกรอบเงินเดือนของราชการซึ่งต่ำกว่าภาคเอกชนมาก จึงทำให้บุคลากรซึ่งทำงานด้านเทคนิคส่วนหนึ่งที่ได้สั่งสมความรู้และประสบการณ์ในการทำงานกับ กรมการขนส่งทางอากาศจนเชี่ยวชาญในระดับหนึ่ง มักจะลาออกไปทำงานในภาคเอกชน เนื่องจาก จะได้รับค่าตอบแทนสูงกว่ามากอีกทั้งยังมีโอกาสก้าวหน้ามากกว่าด้วย กรมการขนส่งทางอากาศจึง ไม่สามารถพัฒนาเจ้าหน้าที่ขึ้นมาทดแทนคนเดิมได้ทัน ทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนเจ้าหน้าที่ซึ่งมี ความรู้และประสบการณ์ ในการปฏิบัติงาน (3) ด้วยความจำกัดในด้านอำนาจการตรวจค้นและจับกุม โดยเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวพันกับผู้มี 35
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
อิทธิพล ทำให้เจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางอากาศจำเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากเจ้าหน้าที่ฝ่าย ปกครองและเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่ในการร่วมกันปฏิบัติงาน แต่ที่ผ่านมามักจะไม่ค่อยได้รับความ ร่วมมือเท่าที่ควร ทำให้การปฏิบัติงานในการตรวจสอบการกระทำผิดและการบังคับใช้กฎหมายใน กรณีที่เกิดการกระทำผิดไม่สามารถทำได้เต็มที่ (4) ปัจจุบันการเผยแพร่กฎหมาย ข้อควรปฏิบัติ และข้อควรรู้เกี่ยวกับการบินแก่ประชาชนยัง ไม่กว้างขวางเพียงพอเท่าที่ควร จึงเกิดความไม่รู้ ไม่เข้าใจและไม่ตระหนักในสิทธิประโยชน์ของ
ตัวเอง รวมถึงอันตรายที่อาจจะเกิดจากการกระทำผิดเจ้าหน้าที่จึงขาดแนวร่วมที่จะสนับสนุนและ ร่วมมือในการบังคับใช้กฎหมาย แต่ขณะเดียวกัน ผู้กระทำผิดกลับได้ประโยชน์จากการอาศัยช่องว่าง นี้ ทำให้หลบเลี่ยงกฎหมายได้ง่ายขึ้น (5) ด้วยการกระทำผิดในคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจเป็นความผิดที่ตรวจพบได้ยาก มี ลักษณะการดำเนินการที่ซับซ้อน อีกทั้งพยานส่วนใหญ่จะรู้เห็นกับผู้กระทำผิดหรือตกอยู่ภายใต้ อิทธิพลของผู้กระทำผิด ทำให้การได้มาซึ่งพยานหลักฐาน รวมถึงการรวบรวมพยานหลักฐานเป็นไป ด้วยความยากลำบาก (6) การใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่ไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจนและแน่นอนเท่าที่ควร ทำให้ ประชาชนเกิดความไม่มั่นใจ รู้สึกเหมือนเป็นการเลือกปฏิบัติ ผู้ประกอบการบางรายจึงมีปฏิกิริยา ต่อต้านการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ ทั้งนี้ เนื่องจากความเสมอภาคเป็นสิ่งสำคัญประการหนึ่ง ในการบังคับใช้กฎหมาย ดังนั้นหากผู้อยู่ภายใต้บังคับกฎหมายรู้สึกว่า ผู้บังคับใช้กฎหมายไม่มีความ ยุติธรรม ไม่มีการปฏิบัติอย่างเสมอภาค ก็จะเกิดความรู้สึกต่อต้าน ไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติ ตามกฎหมาย ประสิทธิภาพของการบังคับใช้กฎหมายก็จะลดลง เมื่อได้พิจารณาถึงปัญหาทั้งในด้านเนื้อหาสาระของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมาย ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นแล้ว ผู้เขียนใคร่ขอเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ดังนี้ ด้านเนื้อหาสาระของกฎหมาย (1) ควรมีการกำหนดเรื่องการประกอบธุรกิจการบินไว้ในพระราชบัญญัติ การเดินอากาศซึ่ง เป็นกฎหมายหลักในการกำกับดูแลกิจการเดินอากาศ เพื่อให้การวางหลักเกณฑ์และรายละเอียดในการ ประกอบธุรกิจการบินมีความชัดเจนมากขึ้น รวมถึงอำนาจในการออกกฎหมายลำดับรองที่จะออก ตามมาภายหลังจะได้รับการตรวจสอบทั้งความถูกต้องและฐานการใช้อำนาจอย่างโปร่งใส (2) ควรเร่งดำเนินการเพิ่มเติม แก้ไข ปรับปรุง เนื้อหาของกฎหมาย หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่และไม่ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาในกิจกรรมและธุรกิจ
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
36
การบิน ทั้งนี้ การเพิ่มเติม แก้ไข ปรับปรุงในแต่ละครั้งควรอ้างอิงข้อมูลจากสภาพตลาดธุรกิจการบิน ในขณะนั้นๆ ร่วมด้วยเสมอ เพื่อให้กฎหมาย หลักเกณฑ์ และเงื่อนไข สอดคล้องกับวิวัฒนาการของ เทคโนโลยีทางการบินและสภาพของตลาดการบินที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา (3) ควรมีการปรับปรุงบทลงโทษให้เหมาะสมกับความผิด โดยเพิ่มอัตราโทษสำหรับการ ประกอบธุรกิจการบินโดยไม่ได้รับอนุญาตปรับให้มีความรุนแรงมากขึ้น เพื่อให้เกิดความยำเกรง
ในการกระทำความผิด ส่วนโทษสำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตถูกต้อง แต่ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ให้คงมีทั้งโทษจำคุก มาตรการทางปกครอง และโทษปรับเหมือนเดิม แต่ในส่วนของโทษปรับให้เพิ่ม ค่าปรับในอัตราที่สูงกว่าเดิม (4) หากมีการร่าง ปรับปรุง แก้ไข กฎหมาย หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขต่างๆ ต้องเปิดโอกาสให้ เจ้าหน้าที่และผู้ประกอบการซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการเข้ารับฟัง แสดงความคิดเห็นและ ให้ข้อเสนอแนะ เพราะจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย โดยผู้ประกอบการก็จะได้บอกปัญหาข้อ ขัดข้องเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจให้เจ้าหน้าที่ทราบ และช่วยแก้ไข ฝ่ายเจ้าหน้าที่ก็จะได้ชี้แจงราย ละเอียดและความสำคัญของกฎหมาย หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขต่างๆ ให้ผู้ประกอบการได้ทราบและ เข้าใจอย่างชัดเจน และที่สำคัญทั้งสองฝ่ายจะได้มุมมองหรือความรู้ใหม่ๆ จากการหารือร่วมกันด้วย ด้านการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ (1) การบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ต้องเป็นไปอย่างจริงจัง สม่ำเสมอ โปร่งใส และไม่ เลือกปฏิบัติ โดยผู้บริหารจะต้องกำหนดนโยบายหรือแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนให้แก่เจ้าหน้าที่ พร้อม ทั้งให้การสนับสนุนในด้านงบประมาณ อัตรากำลัง และขวัญกำลังใจอย่างเต็มที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ (2) แม้ว่าที่ผ่านมาการใช้ดุลยพินิจจะสร้างปัญหาให้กับทั้งผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ไม่ น้อย แต่มิอาจปฏิเสธได้ว่าการใช้ดุลยพินิจยังคงมีความจำเป็น เนื่องจากปัจจุบันยังคงมีกติกาบางอย่าง ซึ่งไม่เหมาะสมและยังไม่สามารถแก้ไขได้ในทันที ดังนั้นการใช้ดุลยพินิจจึงยังคงต้องมีอยู่เพื่อช่วย บรรเทาปัญหาดังกล่าวต่อไป อย่างไรก็ดี ต้องมีการปรับปรุงแนวทางในการใช้ดุลยพินิจใหม่ โดย
ผู้เกี่ยวข้องต้องมีการหารือและร่วมกันกำหนดระเบียบปฏิบัติภายในอย่างชัดเจนว่า เรื่องใดบ้างที่ อนุญาตให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้ดุลยพินิจได้ และเรื่องใดบ้างที่ไม่อนุญาตให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลยพินิจใน การพิจารณา โดยในการใช้ดุลยพินิจแต่ละครั้งเจ้าหน้าที่ควรมีการหารือถึงเกณฑ์ในการพิจารณาร่วม กันอีกครั้งก่อน โดยอาจจัดทำออกมาในรูปแบบของคู่มือการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ เพื่อให้การใช้ดุลยพินิจ มีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะช่วยสร้างความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อีกทั้งยังช่วยสร้าง 37
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ความเป็นธรรมและเท่าเทียมแก่ผู้ประกอบการอีกด้วย (3) เจ้าหน้าที่ต้องปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่ โดยต้องรู้จักที่จะมองภาพของการพัฒนาธุรกิจการ บินอย่างเป็นระบบมากขึ้น คือ มองปัจจัยต่างๆ ทั้งในเรื่องศักยภาพของผู้ประกอบการ สภาพตลาด ข้อกฎหมาย เงื่อนไขต่างๆ รวมถึงโอกาสในการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินของประเทศอย่างเชื่อมโยง กัน ซึ่งจะช่วยให้เจ้าหน้าที่ได้เข้าใจว่าแนวทางในการพัฒนากิจการการบินพลเรือนที่เหมาะสมเป็น เช่นไร และสามารถนำไปปรับใช้กับการปฏิบัติงานได้ในที่สุด (4) ปัจจุบันกิจกรรมการบินพลเรือนในประเทศไทยเติบโตขึ้นกว่าเดิมอย่างมาก แต่ด้วย ศักยภาพของกรมการขนส่งทางอากาศในปัจจุบันที่มีข้อจำกัดในหลายด้าน เช่น งบประมาณ อัตรา กำลัง และความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ทำให้ไม่สามารถที่จะกำกับดูแลกิจการการบินได้อย่าง ครอบคลุม ดังนั้นจึงควรสร้างแนวทางในการกำกับดูแลใหม่ โดยจากเดิมที่กรมฯ ต้องกำกับดูแลเอง ทั้งหมด อาจมอบหมายให้เอกชน เช่น สมาคมเกี่ยวกับ การบินที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานและได้ รับการรับรองจากกรมการขนส่งทางอากาศ เข้ามาช่วยกำกับดูแลในบางเรื่อง เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระ ของเจ้าหน้าที่และเพื่อให้การกำกับดูแลเป็นไปอย่างทั่วถึง (5) กิจกรรมการบินพลเรือนในปัจจุบันมีกระจายอยู่ทั่วประเทศ แต่หน้าที่ในการตรวจสอบ การปฏิบัติตามเงื่อนไขใบอนุญาตประกอบการ/ใบอนุญาตจัดตั้งที่ขึ้นลงชั่วคราวถูกกำหนดให้เป็น หน้าที่เฉพาะของเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางเพียงไม่กี่คน ทำให้เกิดปัญหาในการกำกับดูแลการปฏิบัติ ตามกฎหมายของผู้ประกอบการ การบังคับใช้กฎหมายจึงไม่ทั่วถึงและไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ดังนั้น จึงควรมีการแต่งตั้งให้เจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่าย ปกครอง และเจ้าหน้าที่ของกรมการขนส่งทางอากาศ ในส่วนภูมิภาคร่วมเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อ ปฏิบัติงานดังกล่าวด้วย ซึ่งคาดว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานได้มากขึ้น (6) ควรจัดให้มีการอบรมและประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับกฎหมาย หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และข้อควรรู้ที่จำเป็น แก่เจ้าหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ผู้สนใจประกอบการ
ผู้บริโภค และประชาชนโดยทั่วไป เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับธุรกิจการบินอย่างถูกต้องตรงกัน เพราะการเผยแพร่ความรู้ต่าง ๆ ออกไปอย่างกว้างขวาง นอกจากจะเป็นประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้อง
เองแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อกรมการขนส่งทางอากาศอย่างมาก เพราะจะสามารถกำกับดูแลได้ สะดวกและง่ายขึ้น อีกทั้งยังช่วยเพิ่มกำลังคนที่จะมาเป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่ในการสอดส่อง การกระทำผิดของผู้ลักลอบประกอบการและผู้ประกอบการอีกด้วย ท้ายนี้ ผู้เขียนอยากขอชี้แจงว่า แม้บทความนี้สะท้อนให้เห็นความบกพร่อง ในเนื้อหาสาระ ของกฎหมายการเดินอากาศและการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่หลายประการ ซึ่งอาจส่งผล
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
38
กระทบต่อภาพลักษณ์ของกรมการขนส่งทางอากาศในฐานะหน่วยงานผู้กำกับดูแลกิจการการบิน พลเรือนไม่น้อย แต่เพื่อให้กฎหมายยังคงศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจการบินสามารถเติบโตและ ดำเนินกิจการได้อย่างราบรื่น เพื่อให้การทำงานของเจ้าหน้าที่มีคุณภาพ โปร่งใส และยุติธรรมขึ้น และที่สำคัญเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ประชาชนผู้ใช้บริการและสาธารณชนโดยทั่วไป จึงจำเป็นที่ จะต้องมีการหยิบยกปัญหาดังกล่าวข้างต้นมานำเสนอและวิเคราะห์ โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้ จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถค้นพบแนวทางในการแก้ไขปัญหาเหล่านั้นให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีได้ หรืออย่างน้อยก็สามารถพบแนวทางที่จะช่วยบรรเทาปัญหาเหล่านั้นไปได้บ้างไม่มากก็น้อย
39
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
รายการอางอิง บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. ธุรกิจการบิน (Airline Business). กรุงเทพมหานคร : เพรส แอนด ดีไซน , 2548. วีระพงษ บุญโญภาส. อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ. พิมพครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ นิติธรรม, 2540. สุรพงษ ถนอมจิตร. อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ : ศึกษาเฉพาะกรณีการขายสินคาละเมิดลิขสิทธิ์. วิทยานิพนธปริญญามหาบัณฑิต ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย, 2544. Chambliss and Seidman. Law Order and Power, 1971.
ปที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
40
รายงานการวิจัย เรื่อง ทัศนคติตอการแตงกายลอแหลมของวัยรุนหญิง ในสถานบันเทิง ยาน อาร.ซี.เอ. รอยตำรวจเอก เจษฎา ยางนอก
41
ปที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
42
รายงานการวิจัย เรื่อง ทัศนคติต่อการแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่นหญิง ในสถานบันเทิง ย่าน อาร์.ซี.เอ. โดย ร้อยตำรวจเอก เจษฎา ยางนอก*
สรุปผลการวิจัย การวิจัยเรื่องนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านจิตวิทยาส่วนบุคคล และปัจจัยทางสังคม ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยทางสังคมด้านการรับรู้ทางวัฒนธรรมหลักและวัฒนธรรม ย่อย เพื่อทราบถึงความสัมพันธ์ต่อการแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่นหญิงในสถานบันเทิง การศึกษาวิจัย ได้ใช้การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากวัยรุ่นหญิงที่มีอายุในช่วงระหว่าง 20-25 ปี
ที่เข้าไปใช้บริการสถานบันเทิงย่านอาร์.ซี.เอ. เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้เลือกสุ่มตัวอย่าง ทั้งหมดจำนวน 200 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากนั้นนำ ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS ใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติการทดสอบค่า ไคสแควร์ เพื่อความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางดานจิตวิทยาส่วนบุคคล ปัจจัยทางสังคมซึ่งเป็น ตัวแปรอิสระ และการแต่งกายล่อแหลมซึ่งเป็นตัวแปรตาม ผลการวิจัยที่ได้เป็นดังนี้ ข้อมูลพื้นฐานของวันรุ่นหญิงที่ใช้บริการสถานบันเทิงย่านอาร์.ซี.เอ วัยรุ่นหญิงอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 20-25 ปี ซึ่งแต่งกายล่อแหลมเข้ามาเที่ยวสถานบันเทิงย่าน อาร์.ซี.เอ. ส่วนใหญ่กำลังศึกษาหรือจบการศึกษาระดับปริญญาตรี และมีฐานะปานกลางขึ้นไปโดยมี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 12,757.50 บาท สถานภาพครอบครัวนั้นบิดามารดาอยู่ด้วยกัน และ ส่วนใหญ่พักอาศัยอยู่กับบิดามารดา มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร มีเพื่อนหญิงที่สนิท และ มาเที่ยวสถานบันเทิงด้วยกันโดยเฉลี่ยประมาณ 5 คน และมีการพบปะกับเพื่อนที่มาเที่ยวสถาน บันเทิงด้วยกันประมาณ 1-2 วันต่อสัปดาห์ ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาส่วนบุคคล วันรุ่นหญิงแต่งกายล่อแหลมในสถานบันเทิงเนื่องจากต้องการให้เหมาะสมกับสถานที่ซึ่งเป็น สถานบันเทิงในเวลากลางคืน โดยเห็นว่าจะทำให้ตนเองดูสวยงามขึ้น ทันสมัยขึ้น ไม่ตกยุค และ
* ปัจจุบันดำรงตำแหน่งสารวัตรอำนวยการ สถานีตำรวจนครบาลโชคชัย อดีตนิสิตปริญญามหาบัณฑิต สาขาอาชญาวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
43
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ยังเพิ่มความมั่นใจให้กับตนเอง แต่ก็ตระหนักว่าการแต่งกายล่อแหลมอาจนำไปสู่การเกิดปัญหา อาชญากรรม ในขณะที่วัยรุ่นหญิงไม่แน่ใจว่าการแต่งกายล่อแหลมนั้นเหมาะกับสถานที่ซึ่งเป็นสถาน บันเทิงหรือสถานที่พักผ่อนหย่อนใจในเวลากลางวันหรือไม่ ส่วนเหตุผลและแรงจูงด้านจิตวิทยาส่วนบุคคลด้านอื่นๆ มีความแตกต่างกันอย่างหลากหลาย เช่น แต่งกายล่อแหลมเพื่อการดึงดูดเพศตรงข้าม การเข้ากันได้กับกลุ่มเพื่อน การเลียนแบบแฟชั่น เลียนแบบดารา เป็นต้น ปัจจัยทางสังคม ด้านการรับรู้วัฒนธรรมหลัก วัยรุ่นหญิงแต่งกายล่อแหลมในสถานบันเทิง โดยส่วนใหญ่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับการ
แต่งกายล่อแหลมจากสื่อโทรทัศน์ และนิตยสาร เป็นประจำสม่ำเสมอ ในขณะที่หนังสือพิมพ์และ
อินเตอร์เน็ทนั้นรองลงมา ซึ่งเป็นข่าวที่เกี่ยวกับการแต่งกายล่อแหลมและการแต่งกายตามฤดูกาล
อย่างสม่ำเสมอ วัยรุ่นหญิงเหล่านี้พบเห็นดารา นักแสดง หรือบุคคลทั่วไปแต่งกายล่อแหลมอยู่เป็น ประจำ วัยรุ่นหญิงส่วนใหญ่รับรู้ว่าสังคมไทยยอมรับการแต่งกายล่อแหลมในสถานบันเทิงและมองว่า การแต่งกายด้วยเสื้อแขนกุดหรือสายเดี่ยวเป็นเรื่องปกติธรรมดาในสังคมไทยปัจจุบันไปแล้ว แม้ว่าวัยรุ่นหญิงจะได้รับรู้ถึงอันตรายและความไม่เหมาะสมจากการแต่งกายล่อแหลมและ
ไม่แน่ใจถึงการยอมรับของสังคมไทยเกี่ยวกับการแต่งกายล่อแหลม แต่ก็รับรู้ว่าสังคมไทยยอมรับได้ กับการแต่งกายตามแฟชั่นซึ่งบางครั้งอาจถูกมองว่าล่อแหลม แต่ไม่แน่ใจคล้อยไปทางไม่เห็นด้วยว่า สังคมไทยยอมรับการแต่งกายล่อแหลมในเวลากลางวัน ปัจจัยทางด้านสังคม ด้านการรับรู้วัฒนธรรมย่อย วัยรุ่นหญิงที่แต่งกายล่อแหลมในสถานบันเทิงค่อนข้างเห็นด้วยว่าตนเองมักได้รับรู้เกี่ยวกับ การแต่งกายล่อแหลมจากเพื่อนร่วมงานและเพื่อนสนิท โดยส่วนใหญ่มักอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่พูดคุยกัน เกี่ยวกับการแต่งกายล่อแหลมและมักพูดคุยกับเพื่อนเรื่องแต่งกายล่อแหลมเป็นประจำในเรื่องการ
ซื้อหาเสื้อผ้า รวมถึงการแต่งกายล่อแหลมของดารา และในขณะเดียวกันก็พูดคุยกันเกี่ยวกับการ
แต่งกายให้เหมาะสม อันตรายและข้อเสียของการแต่งกายล่อแหลมด้วย การแต่งกายล่อแหลม วัยรุ่นหญิงที่แต่งกายล่อแหลมในสถานบันเทิง โดยส่วนใหญ่มีความนิยมสูงมากต่อการ
แต่งกายด้วยเสื้อแขนกุด และมีความนิยมสูงที่จะสวมใส่ สายเดี่ยว เสื้อกล้าม เสื้อเปิดไหล่ กางเกง
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
44
หรือกระโปรงเอวต่ำ ในขณะที่ผ้าแถบซึ่งมีความล่อแหลมมากไม่ได้รับความนิยมเท่าใดนัก แต่ก็มี
ผู้ที่สวมใส่อยู่จำนวนหนึ่งคิดเป็นร้อยละกว่า 16 เมื่อแบ่งแยกการแต่งกายล่อแหลมออกเป็น 3 ระดับแล้วพบว่าวัยรุ่นหญิงส่วนใหญ่แต่งกาย ล่อแหลมระดับ 3 หรือล่อแหลมมาก คิดเป็นจำนวนกว่าร้อยละ 66 ส่วนระดับ 2 หรือล่อแหลมปานกลาง และระดับ 1 หรือล่อแหลมน้อย มีความใกล้เคียงกัน ซึง่ คิดเป็นร้อยละ 15 และ 19 ตามลำดับ เปรียบเทียบการแต่งกายล่อแหลมของกลุ่มตัวอย่างกับกลุ่มเพื่อน ความนิยมในการแต่งกายระหว่างกลุ่มตัวอย่างกับกลุ่มเพื่อนที่เที่ยวสถานบันเทิงด้วยกันโดย ส่วนใหญ่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันแล้วพบว่ามีความสัมพันธ์กัน ระหว่างการแต่งกายล่อแหลมของกลุ่มตัวอย่างกับกลุ่มเพื่อนของกลุ่มตัวอย่างนั้น วัยรุ่นหญิงที่แต่ง กายล่อแหลมน้อยมักมีกลุ่มเพื่อที่แต่งกายล่อแหลมในระดับสูงกว่าตนเองจำนวนน้อยกว่าวัยรุ่นหญิงที่ แต่งกายล่อแหลมมากกว่า ซึ่งจะมีกลุ่มเพื่อที่แต่งกายล่อแหลมในระดับสูง ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางด้านจิตวิทยาส่วนบุคคล และปัจจัยด้านสังคม กับการแต่งกายล่อแหลม จากการวิเคราะห์ตัวแปรอิสระ และตัวแปรตามแยกกันทำให้เราได้ทราบถึงความคิดเห็นการ รับรู้ และการแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่นหญิงแยกกัน และเมื่อทำการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ ระหว่างตัวแปรโดยการทดสอบค่าไคสแควร์ จากตาราง Cross tabulation เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรอิสระ คือ ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาส่วนบุคคล และปัจจัยทางสังคมซึ่งประกอบด้วยปัจจัย
ด้านการรับรู้วัฒนธรรมหลัก และปัจจัยด้านการรับรู้วัฒนธรรมย่อยของวัยรุ่นหญิงกับตัวแปรตาม คือ
การแต่งกายล่อแหลมในระดับต่าง ๆ แล้วพบว่ามีความสัมพันธ์กันระหว่างสองตัวอย่างมีนัยสำคัญที่
ระดับ 0.05 ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นตัวแปรอิสระกับการแต่งกายล่อแหลมในระดับต่าง ๆ ซึ่ง เป็นตัวแปรตาม เพื่อให้สามารถเจ้าใจถึงปัจจัยที่มีผลต่อการแต่งกายล่อแหลมมากและน้อยของวัยรุ่น หญิงในสถานบันเทิง ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยทางด้านจิตวิทยาส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์ต่อการแต่งกายล่อแหลมในระดับต่าง ๆ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 คือ วัยรุ่นหญิงที่แต่งกายล่อแหลมที่มีความคิดว่าการแต่งกายล่อแหลม จะทำให้ผู้หญิงดูดีขึ้น ต้องการเลียนแบบแฟชั่น ต้องการความสวยงาม ต้องการเพิ่มความมั่นใจในตัว เอง ต้องการเข้ากับกลุ่มเพื่อน และเพื่อให้เหมาะสมกับสถานบันเทิงในเวลากลางคืนนั้น จะแต่งกาย ล่อแหลมในระดับ 3 หรือล่อแหลมมาก มีจำนวนมากที่สุด 45
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
2) ปัจจัยทางสังคมด้านการรับรู้วัฒนธรรมหลักมีความสัมพันธ์ต่อการล่อแหลมในระดับต่างๆ อย่างมีนัยที่ระดับ 0.05 คือ วัยรุ่นหญิงที่รับรู้โดยพบเห็นดารา นักแสดง หรือบุคคลทั่วไปแต่งกาย ล่อแหลม รับรู้ว่าสังคมไทยยอมรับการแต่งกายล่อแหลม รับรู้ว่าสังคมไทยยอมรับว่าการแต่งกาย ล่อแหลมไม่ใช่เรื่องผิด และรับรู้ว่าสังคมไทยยอมรับการแต่งกายล่อแหลมเหมาะสมกับเวลากลางวัน นั้น จะแต่งกายล่อแหลมในระดับ 3 หรือล่อแหลมมาก มีจำนวนมากสุด 3) ปัจจัยทางสังคมด้านการรับรู้วัฒนธรรมย่อยมีความสัมพันธ์ต่อการแต่งกายล่อแหลมใน ระดับต่าง ๆ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 คือ วัยรุ่นหญิงที่มีการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับการแต่งกาย ล่อแหลมจากเพื่อนสนิท และจากเพื่อนร่วมงานหรือร่วมสถาบัน การอภิปรายผลการวิจัย จากผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางสังคมด้านการรับรู้ วัฒนธรรมหลักและวัฒนธรรมย่อยพบว่า มีความสัมพันธ์ต่อการแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่นหญิงใน สถานบันเทิงเวลากลางคืนของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นวัยรุ่นหญิงอายุระหว่าง 20-25 ปี ซึ่งการแต่งกาย ล่อแหลมมาเที่ยวสถานบันเทิงในเวลากลางคืน วัยรุ่นหญิงนี้เป็นผู้ที่มีรายได้หรือฐานะปานกลาง
ขึ้นไป โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนประมาณ 12,757.50 บาท และมักมาเที่ยวกับเพื่อนหญิงเป็นกลุ่ม โดยกลุ่มละประมาณ 5 คน การแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่นหญิงในสถานบันเทิงมีสาเหตุมาจาก ปัจจัยที่สำคัญหลายประการ ซึ่งจากการศึกษาตัวแปรอิสระในการวิจัยนี้พบว่า ปัจจัยดังกล่าวมีความ สัมพันธ์ต่อการแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่นหญิงที่มาเที่ยวสถานบันเทิงในเวลากลางคืน กล่าวคือ วัยรุ่นหญิงมีความเห็นว่าการแต่งกายล่อแหลมนั้นเหมาะสมกับสถานที่ที่เป็นสถานบันเทิงในเวลา กลางคืน และคิดเห็นว่าเป็นการแต่งกายล่อแหลมนั้นทำให้ตนเองดูสวยงามขึ้นทันสมัย ไม่ตกยุค และเพื่อให้เข้ากับกลุ่มเพื่อนได้ อีกทั้งยังเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเอง แม้ว่าจะตระหนักถึงอันตราย จากอาชญากรรมที่อาจจะเกิดขึ้นก็ตาม ในกรณีการแต่งกายล่อแหลมในสถานบันเทิงเวลากลางวันนั้น วัยรุ่นหญิงยังไม่แน่ใจว่ามีความเหมาะสมกับสถานที่หรือไม่ ซึ่งจะเห็นได้ว่าปัจจัยทางด้านจิตวิทยา ส่วนบุคคล เป็นความรู้สึกนึกคิดที่ได้ผ่านการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป ซึ่งสภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมรอบตัวอาจทำให้แต่ละบุคคลเกิดแรงจูงใจที่จะกระทำพฤติกรรมออกมาแตกต่าง
กันไป ซึ่งสอดคล้องกับสิ่งที่ได้รับการปลูกฝังจากสังคมไทยหรือพบเห็นโดยผ่านจากสื่อจนเข้าใจได้ ว่าเป็นสิ่งที่ควรกระทำได้ในสังคมไทย นั่นก็คือปัจจัยทางสังคมด้านการรับรู้วัฒนธรรมหลักซึ่งเป็นสิ่ง สำคัญต่อการตัดสินใจในการแต่งกายล่อแหลมของวัยรุน่ หญิง โดยวัยรุน่ หญิงได้รบั รูถ้ งึ เรือ่ งการแต่งกาย ล่อแหลมในสังคมไทยผ่านข่าวสารจากแหล่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นสื่อโทรทัศน์ นิตยสาร หนังสือพิมพ์
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
46
และอินเตอร์เน็ทอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการพบเห็นดารา บุคคลสำคัญแต่งกายล่อแหลมเป็นประจำ จึงทำให้โดยส่วนใหญ่รับรู้ว่าสังคมไทยยอมรับการแต่งกายล่อแหลมในสถานบันเทิงเวลากลางคืน และการแต่งกายด้วยเสื้อสายเดี่ยวหรือเสื้อแขนกุดเป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วในสังคมไทย ส่วนปัจจัย ทางสังคมด้านการรับรู้วัฒนธรรมย่อยเป็นสิ่งที่ได้รับการปลูกฝัง หรือพบเห็นเกี่ยวกับการแต่งกาย ล่อแหลมจากกลุ่มเพื่อนหรือสังคมย่อยที่วัยรุ่นหญิงแต่ละบุคคลมีความสัมพันธ์อยู่ด้วยจนเข้าในว่าเป็น สิ่งที่ควรกระทำได้ในสังคมไทยก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สอดคล้องกับปัจจัยอื่น ๆ โดยวัยรุ่นหญิง ได้รับ รู้รับข่าวสารเกี่ยวกับการแต่งกายล่อแหลมจากเพื่อสนิทหรือเพื่อนร่วมงาน และมักมีการพูดจากัน
เกี่ยวกับการแต่งกายล่อแหลมอยู่เป็นประจำ ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาข้างต้น มีความสัมพันธ์
อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 กับระดับการแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่นหญิง จากการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทั้ง 3 สามารถสรุปได้ว่า การแต่งกายด้วยเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายชนิดใดชนิดหนึ่งของวัยรุ่นหญิงขึ้นกับปัจจัยส่วนบุคคลทางด้านจิตวิทยาปัจจัยทาง สังคมด้านการรับรูว้ ฒ ั นธรรมหลัก และปัจจัยทางสังคมด้านการรับรูว้ ฒ ั นธรรมย่อย โดยทัง้ 3 ปัจจัย
มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างมากต่อการตัดสินใจแต่งกายหรือไม่แต่งกายด้วยเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ชนิดต่าง ๆ ซึ่งสามารถอธิบายพอสังเขปได้ดังนี้ ภาพแสดงลูกตุ้มความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม ภาพที่2 แสดงลูกตุ้มการแต่งกายด้วยเสื้อสายเดี่ยว ล่อแหลมระดับ 1 47
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
การแต่งกายด้วยเสื้อสายเดี่ยว มีความสัมพันธ์กับตัวแปรอิสระทั้ง 3 ปัจจัย อธิบายได้ว่า ปัจจุบันวัยรุ่นหญิงรับรู้จากสื่อต่าง ๆ และสิ่งที่ได้รับการปลูกฝังจากสังคมไทยว่ายอมรับการแต่งกาย ด้วยเสื้อสายเดี่ยวเป็นเรื่องปกติและกลุ่มเพื่อนหรือกลุ่มวัยรุ่นหญิงทั่วไปก็เป็นที่นิยมสวมใส่กัน
จึงทำให้วัยรุ่นหญิงมีความรู้สึกตนเองก็สามารถแต่งกายด้วยเสื้อสายเดี่ยวได้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าลูกตุ้ม
ทั้ง 3 ปัจจัยมีน้ำหนักถ่วงค่อนข้างมาทางแต่งมากกว่าไม่แต่ง จึงให้วัยรุ่นหญิงที่มีองค์ประกอบของ ปัจจัยดังกล่าวนี้ เป็นบุคคลที่มีการแต่งกายด้วยเสื้อสายเดี่ยว และมองว่าตนเองไม่ได้แต่งกายล่อแหลม ในสังคมไทยปัจจุบันแต่อย่างใด ภาพที่ 3 แสดงลูกตุ้มการแต่งกายด้วยเสื้อเอวลอย ล่อแหลมระดับ 2
การแต่งกายด้วยเสื้อเอวลอย มีความสัมพันธ์กับตัวแปรอิสระทั้ง 3 ปัจจัย อธิบายได้ว่า ปัจจุบันวัยรุ่นหญิงรับรู้จากสื่อต่าง ๆ และสิ่งที่ได้รับการปลูกฝังจากสังคมไทยว่าสังคมไม่ค่อยยอมรับ การแต่งกายด้วยเสื้อเอวลอย แต่กลุ่มเพื่อนหรือกลุ่มวัยรุ่นหญิงทั่วไปก็นิยมสวมใส่กันบ้างตามแฟชั่น จึงทำให้วัยรุ่นหญิงมีความรู้สึกว่าตนเองก็สามารถแต่งกายด้วยเสื้อเอวลอยได้บ้างตามเพื่อนตามแฟชั่น เล็กน้อย ซึ่งจะเห็นได้ว่าน้ำหนักของลูกตุ้มทั้ง 3 ปัจจัยจะถ่วงน้ำหนักทั้งสองข้างเกือบเท่ากัน โดย ค่อนมาทางแต่งเล็กน้อย จึงทำให้วัยรุ่นหญิงที่มีองค์ประกอบของปัจจัยดังกล่าวนี้ เป็นบุคคลที่มีการ แต่งกายด้วยเสื้อเอวลอย และมองว่าตนเองอาจจะแต่งกายตามแฟชั่นตามกลุ่มเพื่อนบ้างเป็นบางครั้ง บางคราวได้เล็กน้อย แต่อาจจะไม่ค่อยเหมาะในสังคมไทยปัจจุบัน ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
48
ภาพที่ 4 แสดงลูกตุ้มการแต่งกายด้วยผ้าแถบ ล่อแหลมระดับ 3
การแต่งกายด้วยผ้าแถบ มีความสัมพันธ์กับตัวแปรอิสระทั้ง 3 ปัจจัย อธิบายได้ว่า ปัจจุบัน วัยรุ่นหญิงรับรู้จากสื่อต่าง ๆ และสิ่งที่ได้รับการปลูกฝังจากสังคมไทยว่าการแต่งกายด้วยผ้าแถบสังคม ยังไม่ยอมรับ และกลุ่มเพื่อนหรือกลุ่มวัยรุ่นหญิงทั่วไปก็ไม่นิยมสวดใส่กัน ซึ่งหากผู้ใดสวมใส่ก็จะ ถูกมองว่าแต่งกายล่อแหลมเกินกว่าคนอื่นที่ควรจะเป็นดูแล้วไม่เหมาะสม จึงทำให้วัยรุ่นหญิงมีความ รู้สึกว่าตนเองไม่สามารถแต่งกายด้วยผ้าแถบได้เนื่องจากเกรงว่าจะถูกมองไม่ดีจากสังคมและกลุ่ม เพื่อน หากจะแต่งก็จะต้องมีความรู้สึกนึกคิดส่วนตัว โดยมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง และไม่สนใจ สายตารอบข้างที่มองมา ซึ่งจะเห็นได้ว่าน้ำหนักของลูกตุ้มทั้ง 3 ปัจจัยจะถ่วงน้ำหนักทั้งหมดมาทาง
ไม่แต่งมากกว่า จึงทำให้วัยรุ่นหญิงที่มีองค์ประกอบของปัจจัยดังกล่าวนี้เป็นบุคคลที่ไม่มีการแต่งกาย ด้วยผ้าแถบ และมองว่าหากตนเองจะแต่งกายด้วยผ้าแถบได้จะต้องเป็นความชอบส่วนตัว และมีความ เชื่อมั่นในตนเองสูงมาก และไม่สนใจสายตารอบข้างที่มองมาหรือสังคมตำหนิ เนื่องจากถือว่ายังไม่ เหมาะสมกับสังคมไทยในปัจจุบัน ข้อเสนอแนะและข้อจำกัดในการวิจัย 1.ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย จากผลการวิจยั ข้อมูลปัจจัยทางด้านจิตวิทยาสว่นบุคคล ปัจจัยทางสังคมด้านการรับรูว้ ฒ ั นธรรม หลัก และปัจจัยทางสังคมด้านการรับรู้วัฒนธรรมย่อย กับการแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่นหญิงที่ใช้ 49
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
บริการสถานบันเทิงย่าน อาร์.ซี.เอ. พบว่ามีความสัมพันธ์กันและนำไปสู่ความนิยมและระดับการแต่ง กายล่อแหลมของวัยรุ่นหญิงในระดับต่าง ๆ แตกต่างกัน จากผลการศึกษาทำให้ได้ข้อเสนอแนะที่เป็น ประโยชน์ดังนี้ 1.1) การแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่นหญิงขึ้นอยู่กับปัจจัยทางด้านจิตวิทยาส่วนบุคคล การ
รับรู้ทางวัฒนธรรมหลัก และการรับรู้ทางวัฒนธรรมย่อย ดังนั้นการป้องกันหรือแก้ไขพฤติกรรมการ
แต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่นหญิง อาจทำได้โดย - ด้านจิตวิทยาส่วนบุคคล 1) วัยรุ่นหญิงเห็นว่าการแต่งกายล่อแหลมเหมาะสมกับสถานบันเทิงในเวลา กลางคืน การห้ามปรามวัยรุ่นหญิงมิให้แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ดูล่อแหลมน้อย เช่น เสื้อสายเดี่ยว เสื้อ แขนกุด อาจทำได้ยาก แต่การรณรงค์ให้วัยรุ่นเห็นว่าการแต่งกายล่อแหลมมาก อาจเกิดอันตรายต่อ
ผู้สวมใส่ได้ เช่น การแต่งกายด้วยผ้าแถบ Micro Skirt หรือเสื้อผ้ารัดรูป อาจสามารถทำได้ง่ายกว่า และสามารถทำได้ให้เป็นผลในทางปฏิบัติ และเป็นประโยชน์ต่อสังคมมากกว่า 2) วัยรุน่ หญิงทีแ่ ต่งกายล่อแหลมรับรูว้ า่ การแต่งกายล่อแหลมมีสว่ นเกีย่ วข้อง ที่อาจจะนำไปสู่การเกิดอาชญากรรมได้ การห้ามมิให้วัยรุ่นหญิงแต่งกายล่อแหลมในเวลากลางคืน
จึงทำได้โดยการประชาสัมพันธ์ให้เห็นถึงผลร้ายจากอาชญากรรมมากขึน้ โดยนำเสนอตัวอย่างเหตุการณ์ ทีเ่ กิดขึน้ จริง เพือ่ ให้วยั รุน่ หญิงตระหนักถึงปัญหาทีอ่ าจจะเกิดขึน้ กับตนเองได้ และหาแนวทางในการ ป้องกันเหตุ - ด้านการรับรู้วัฒนธรรมหลัก 1) วัยรุ่นหญิงได้รับรู้วัฒนธรรมหลักเกี่ยวกับการแต่งกายล่อแหลมผ่านสื่อ โทรทัศน์ และนิตยสารเป็นประจำ แม้ไม่อาจจำกัดหรือห้ามปรามการรับรู้ข่าวสารเหล่านี้ได้ แต่ควร มีการเพิ่มข้อมูลที่เป็นประโยชน์เข้าไปในสื่อเหล่านี้ เช่น ชี้ให้เห็นว่าภาพที่เห็นการแต่งกายล่อแหลม ของดารา นักแสดง มันเป็นการแสดงให้สมบทบาทไม่ควรที่จะนำมาเป็นตัวอย่างในการปฏิบัติใน สังคมไทย และอาจทำให้คนในสังคมมองว่าไม่เหมาะไม่ควร เป็นต้น เพื่อให้วัยรุ่นหญิงตระหนักถึง โทษที่อาจจะเกิดขึ้นของการแต่งกายล่อแหลมด้วย 2) วัยรุ่นหญิงรับรู้ว่าสังคมไทยยอมรับว่าการแต่งกายล่อแหลมเหมาะสมกับ สถานบันเทิงในเวลากลางคืน การลดการแต่งกายล่อแหลมในเวลากลางคืนจึงควรมีการรณรงค์เพื่อให้ วัยรุ่นหญิงได้รับรู้ใหม่ว่า การแต่งกายล่อแหลมไม่ได้เหมาะสมกับสถานบันเทิงในเวลากลางคืน ซึ่ง อาจเป็นอันตรายในการเข้ามาใช้บริการในสถานบันเทิงเวลากลางคืน เช่น การถูกลวนลามทางเพศ หรืออาจเป็นอันตรายในการเดินทางกลับบ้านในเวลากลางคืน ซึ่งอาจนำไปสู่การตกเป็นเหยื่อของ
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
50
อาชญากรทางเพศได้ - ด้านการรับรู้วัฒนธรรมย่อย วัยรุ่นหญิงพูดคุยกับกลุ่มเพื่อนเกี่ยวกับการแต่งกายล่อแหลมเป็นประจำ ซึ่งมีทั้งเรื่อง การหาซื้อเครื่องแต่งกายล่อแหลม การชักชวนกันแต่งกายล่อแหลม รวมไปถึงอันตรายและข้อเสีย ของการแต่งกายล่อแหลม ดังนั้นหากมีการรณรงค์ให้วัยรุ่นหญิงเปลี่ยนแปลงทัศนคติ โดยให้หันมา พูดคุยในกลุ่มเพื่อนเกี่ยวกับอันตรายและข้อเสียของการแต่งกายล่อแหลมแทนการพูดคุยกัน เกี่ยวกับ เครือ่ งแต่งกายล่อแหลม เช่น การนำเสนอของสือ่ ต่าง ๆ หรือจัดสัมมนาเวทีแสดงความคิดเห็นให้วยั รุน่ หญิงได้เห็นภาพ และรับรูท้ างสังคมได้ ก็จะทำให้สงั คมเฉพาะกลุม่ วัยรุน่ หญิงได้รบั รูม้ ากขึน้ อาจทำให้ แต่งกายล่อแหลมน้อยลงได้เช่นกัน 1.2) การแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่นหญิงกับกลุ่มเพื่อนมีความใกล้เคียงกันมาก และส่วน ใหญ่มีทัศนคติที่ว่าการแต่งกายล่อแหลมบางอย่างเหมาะสมกับสถานบันเทิงในเวลากลางคืน การ แก้ไขไม่ให้วัยรุ่นหญิงแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่ค่อนข้างมิดชิด หรือมีความล่อแหลมน้อยบางประเภท เช่น เสื้อแขนกุด เสื้อสายเดี่ยว เป็นต้น อาจจะไม่สามารถทำได้ เพราะวัยรุ่นหญิงต่างตัดสินใจตาม ปัจจัยทั้ง 3 ด้านที่เกี่ยวข้องแล้วสามารถปฏิบัติได้ในสังคมไทย แต่การควบคุมไม่ให้ล่อแหลมมากจน เกินไป และรณรงค์อย่าให้วยั รุน่ หญิงมีความคิดว่าการแต่งกายล่อแหลมมากหรือระดับ 3 และล่อแหลม ปานกลางหรือระดับ 2 เช่น ผ้าแถบ เสือ้ เอวลอย เป็นเรือ่ งปกติธรรมดาของวัยรุน่ หญิงทีส่ วมใส่กนั ใน สังคมไทยปัจจุบนั อาจสามารถทำได้ผลและมีประสิทธิภาพมากกว่า 1.3) วันรุ่นหญิงส่วนใหญ่ยังเห็นว่าการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าล่อแหลมไม่เหมาะสมกับสถาน บันเทิงในเวลากลางวัน แสดงให้เห็นว่าวัยรุน่ หญิงคำนึงถึงความเหมาะสมเป็นสำคัญ แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจัยทัง้ 3 ด้านทีแ่ ตกต่างกัน อาจทำให้วยั รุน่ หญิงอาจมองเห็นว่าการแต่งกายล่อแหลมในสถานบันเทิง เวลากลางวันเหมาะสมขึน้ มาในอนาคตวันข้างหน้าก็ได้ ในสภาพทางสังคมทีเ่ ปิดรับวัฒนธรรมจากต่าง ประเทศ และการนำเสนอของสือ่ มวลชนอย่างเสรีภาพ การปล่อยวางหรือเปิดโอกาสให้วยั รุน่ หญิงได้ แสดงออกในระดับหนึง่ หรือในสถานทีท่ เี่ หมาะสมอาจเป็นประโยชน์ตอ่ การควบคุมพฤติกรรมการแต่ง กายล่อแหลมได้มากกว่าการต่อต้านอย่างเคร่งครัดจนอาจนำไปสูก่ ารต่อต้านขัดขืนทีไ่ ม่อาจควบคุมได้ 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยต่อไป 2.1) ด้วยที่งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาเฉพาะการแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่นหญิงในสถานบันเทิง ย่าน อาร์.ซี.เอ. ซึ่งผลการศึกษาก็ถือว่าได้ข้อมูลในระดับหนึ่ง แต่ไม่อาจจะถือว่าเป็นตัวแทนของวัยรุ่น หญิงทั่วไปทั้งหมดได้ ดังนั้นจึงควรมีการศึกษาวิจัยต่อเนื่องไปในสถานที่ ที่แตกต่างออกไปจากการ 51
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในการป้องกันปัญหาสังคมหรือพัฒนาสังคมไทยต่อไปได้ ในอนาคต 2.2) ด้วยที่งานวิจัยนี้ศึกษาถึงทัศนคติต่อการแต่งกายล่อแหลมของวัยรุ่นหญิงในสถานบันเทิง ย่าน อาร์.ซี.เอ. ซึ่งเป็นการศึกษามุ่งเน้นกลุ่มตัวอย่างที่เข้าไปใช้บริการในสถานบันเทิงย่าน อาร์.ซี.เอ. ในเวลากลางคืน ผู้ศึกษาวิจัยเห็นว่า หากมีการศึกษากลุ่มตัวอย่างที่แต่งกายล่อแหลมไปใช้บริการ สถานบันเทิงในเวลากลางวัน หรือช่วงเวลาว่างปกติที่ไม่ได้ออกไปเที่ยวสถานบันเทิงในเวลากลางคืน ซึ่งข้อมูลที่ได้น่าจะมีประโยชน์สามารถนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลผลการวิจัยนี้ได้ และน่าจะนำ ข้อมูลมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ เพื่อหาแนวทางป้องกันแก้ไขได้ในระดับหนึ่ง 2.3) ด้วยที่งานวิจัยนี้ศึกษาถึงเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่วัยรุ่นหญิงสวมใส่ไปในสถานบันเทิงย่าน อาร์.ซี.เอ. ซึ่งชนิด รูปแบบของเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายนั้น จะมีความหลากหลายแตกต่างกันออกไป โดยการจัดกลุม่ ประเภท ของเสือ้ ผ้าเครือ่ งแต่งกายในงานวิจยั นี้ จะใช้หลักเกณฑ์ในการแบ่งแยกตาม ยุคสมัย และสังคมไทยในปัจจุบนั ทีม่ ี ซึง่ หากมีการศึกษาวิจยั ในครัง้ ต่อไป เสือ้ ผ้าเครือ่ งแต่งกายในงาน วิจยั นีอ้ าจจะใช้เป็นข้อมูลประกอบให้เกิดประโยชน์ไม่ได้ ซึง่ ในอนาคตสังคมไทยปัจจุบนั อาจจะมีการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากมีการศึกษาวิจัยในครั้งต่อไปควรที่จะใช้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันในสังคม ไทยขณะนัน้ 2.4) ด้วยที่งานวิจัยนี้ศึกษาเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล อาจทำให้ได้ข้อมูลในระดับหนึ่ง ซึ่งหากได้มีการศึกษาเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์แบบเจาะลึกอาจทำให้ ได้ผลวิจัยที่เป็นข้อมูลเชิงลึกที่กลุ่มตัวอย่างแสดงออกมาในขณะสัมภาษณ์ให้ข้อมูล ซึ่งจะแตกต่าง
กับการกรอกข้อมูลในแบบสอบถาม และอาจนำมาใช้ประโยชน์ในการป้องกันแก้ไขปัญหาสังคมหรือ พัฒนาสังคมไทยต่อไปในอนาคตได้ 3. ข้อจำกัดในการวิจัย 3.1) ในงานวิจัยนี้ เป็นการเก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นวัยรุ่นหญิงที่ มีอายุในช่วงระหว่าง 20-25 ปี และเข้าไปใช้บริการในสถานบันเทิงย่าน อาร์.ซี.เอ. จะเห็นได้ว่ากลุ่ม ตัวอย่างจำกัดด้วยอายุ จึงทำให้ผู้เก็บข้อมูลต้องใช้ความสามารถในการพูดคุยทำความรู้จักจนคุ้นเคย และมั่นใจว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุอยู่ในช่วงที่ต้องการเก็บข้อมูล จึงมอบแบบสอบถามให้ทำการกรอก ข้อมูล ซึ่งบางคนหน้าตาอ่อนเยาว์กว่าอายุหรือบางคนไม่ยอมรับอายุที่แท้จริงของตนเอง โดยอาจ ทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่มีประสิทธิภาพในการวิจัย
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
52
3.2) ในงานวิจัยนี้เป็นการเก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผู้เก็บข้อมูลจะต้องเก็บข้อมูล
ที่สถานบันเทิงย่าน อาร์.ซี.เอ. ซึ่งเป็นสถานที่ที่มีผู้คนสัญจรไปมา และมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก อีกทั้งภายในสถานบันเทิงจะมีผู้ใช้บริการจำนวนหนาแน่นมาก และแสงสว่างภายในสถานบันเทิงไม่ สามารถมองเห็น จึงทำให้ไม่สามารถที่จะนำแบบสอบถามเข้าไปเก็บข้อมูลได้ภายในสถานบันเทิง ทำให้ตอ้ งมาเก็บข้อมูลในช่วงระหว่างทีก่ ลุม่ ตัวอย่างมานัง่ รอเพือ่ นทีท่ างเข้าหน้าร้าน หรือกลุม่ ตัวอย่าง ที่ออกมาจากร้านเพื่อทำธุระส่วนตัว เช่น โทรศัพท์ กดเงินตู้เอทีเอ็ม เป็นต้น 3.3) ในงานวิจัยนี้เป็นการเก็บข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งผู้เก็บข้อมูลจะต้องรอรับ แบบสอบถามที่กลุ่มตัวอย่างกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว แต่มีกลุ่มตัวอย่างบางคน เมื่อพูดคุยกับผู้เก็บ ข้อมูลแล้วยอมที่จะกรอกแบบสอบถามให้ในระหว่างรอเพื่อน แต่เมื่อเพื่อนมาถึงแล้วต้องไปทำธุระ ส่วนตัว ก็วางแบบสอบถามแล้วไม่กรอกข้อมูลต่อ และไม่เดินกลับมาอีกเลย ทำให้ไม่ได้รับความ ร่วมมือในการกรอกแบบสอบถามของกลุ่มตัวอย่างบางคน ทำให้ไม่ได้ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเหล่านี้
53
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ปที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
54
ลอตเตอรี่ การพนันหรือเสี่ยงโชค เราเปนผูกำหนด ผศ.ดร. จิตรเกษม งามนิล
55
ปที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
56
ล๊อตเตอรี่ การพนันหรือเสี่ยงโชค เราเป็นผู้กำหนด ผศ.ดร. จิตรเกษม งามนิล*
ล๊อตเตอรี่ การพนันหรือเสีย่ งโชค เราเป็นผูก้ ำหนด
“หวย” หรือ ล๊อตเตอรี่ เป็นกิจการหนึง่ ของรัฐบาลในหลายๆ ประเทศทัว่ โลกทีไ่ ด้รบั ความนิยม จากประชาชนของตนเองมากเป็นอันดับต้นๆ ล๊อตเตอรีส่ ามารถเป็นเครือ่ งมือในการหารายได้ของรัฐบาล โดยอาจจัดได้วา่ เป็นรูปแบบพิเศษของการเก็บภาษีเข้ารัฐแบบทีป่ ระชาชนทุกคนทีซ่ อื้ ล๊อตเตอรีน่ นั้ ยินดี จ่ายโดยไม่มีการคัดค้านใดๆ เพราะจะได้เสี่ยงโชคไปในตัวด้วย ถ้าเกิดโชคดีก็อาจจะได้รับเงินรางวัล เป็นจำนวนมากมาย นอกจากนั้น ล๊อตเตอรี่ก็ยังสามารถเป็นการพนันชนิดหนึ่งได้โดยที่ประชาชน สามารถเล่นได้อย่างถูกต้องตามกฏหมายเพราะมีรฐั บาลเป็นผูด้ ำเนินการเอง ขณะทีใ่ นหลายๆ ประเทศ นั้นการพนันเป็นสิ่งผิดกฏหมาย อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาเราพบว่ารัฐบาลของนานาประเทศส่วน ใหญ่สามารถใช้ประโยชน์จากเงินรายได้จากล๊อตเตอรี่ได้อย่างเป็นรูปธรรมและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ สังคมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการนำไปพัฒนาสิ่งที่เป็นสมบัติสาธารณะประโยชน์ อาทิ ประเทศ
สหราชอาณาจักรสามารถปรับปรุงพิพทิ ธภัณฑ์แห่งชาติ หรือบริตชิ มิวเซียมได้ยากยิง่ ใหญ่สมฐานะก็ดว้ ย เงินจากล๊อตเตอรีน่ นั่ เอง จะเห็นว่าล๊อตเตอรีส่ ามารถเป็นเครือ่ งมือของรัฐบาลได้หลายอย่าง เราจะให้ ล๊อตเตอรี่รับใช้สังคมและประเทศชาติอย่างไรก็ขึ้นอยู่ว่าเราจะออกแบบให้มันทำงานตามวัตถุประสงค์ อะไร จะให้เป็นการเสีย่ งโชคหรือการพนันนัน้ เราเป็นผูก้ ำหนดได้ กิจการล๊อตเตอรีใ่ นประเทศต่างๆ มีการดำเนินงานมาช้านานตัง้ แต่โบราณแล้ว โดยส่วนใหญ่ นัน้ ล้วนแล้วแต่มวี ตั ถุประสงค์ไปในแนวการกุศล เพือ่ นำรายได้สว่ นหนึง่ มาพัฒนาและทะนุบำรุงประเทศ และในขณะที่ประชาชนที่ซื้อก็จะได้รับรางวัลส่วนหนึ่งด้วยในยุคแรกๆ รางวัลจะอยู่ในรูปของสิ่งของ
มีค่า ไม่ใช่เงินรางวัลเช่นในปัจจุบัน ล๊อตเตอรี่มีวิวัฒาการน่าสนใจ มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน มาก จนเราสามารถสืบย้อนกลับไปได้ถึงสมัยราชวงศ์ฮั่นของจีนเลยทีเดียว ซึ่งเป็นช่วงเวลาตั้งแต่
ก่อนคริสตกาลเป็นเวลาถึง 200 ปี การขายล๊อตเตอรีใ่ นสมัยนัน้ ก็เพือ่ นำเงินรายได้ไปดำเนินการก่อสร้าง กำแพงเมืองจีน ต่อมาก็ยังพบหลักฐานการขายล๊อตเตอรี่ในสมัยโรมัน เพื่อนำเงินรายได้ส่วนหนึ่งไป ซ่อมแซมเมืองโรม (City of Rome) ส่วนล๊อตเตอรี่ที่เป็นต้นแบบและมีผลมาจนถึงยุคปัจจุบันนั้น
* กรรมการ บริษัท กสท. โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)
57
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
มาจากชาวดัชท์ ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในประมาณปี ค.ศ. 1443 ซึ่งก็เป็นช่วงเวลาเดียวกันกับสมัย
กรุงศรีอยุธยา ทั้งคำว่าล๊อตเตอรี่ก็มีรากศัพท์มาจากภาษาดัชท์ “loterij” ที่มีความหมายเกี่ยวกับ
โชคชะตา ล๊อตเตอรีข่ องชาวดัชท์มรี างวัลเป็นเงินเป็นระบบแรกของโลก โดยวัตถุประสงค์ในการขาย ล๊อตเตอรีน่ นั้ ก็เพือ่ ระดมเงินเพือ่ สร้างและบำรุงรักษากำแพงและป้อมปราการให้เมืองซึง่ อยูต่ ำ่ กว่าระดับ น้ำทะเล ตลอดจนการใช้เงินเพือ่ ช่วยเหลือคนจนและเป็นค่าไถ่ชว่ ยปลดปล่อยกะลาสีเรือทีถ่ กู โจรจับไป ในน่านน้ำต่างประเทศ ปัจจุบนั กิจการล๊อตเตอรีส่ ว่ นใหญ่ในหลายประเทศทัว่ โลกได้รบั การพัฒนาให้มวี ตั ถุประสงค์ เพื่อการเสี่ยงโชคของประชาชนมากกว่าให้เป็นเรื่องของการพนัน ดังจะได้กล่าวต่อไปว่าทั้งสองสิ่งนี้ ต่างกันอย่างไร ครั้งหนึ่งในอดีต ประเทศสหรัฐอเมริกาก็เคยจำต้องหยุดกิจการล๊อตเตอรี่ไปพักใหญ่ หลังจากที่ได้ดำเนินการมาเป็นเวลานานตั้งแต่สมัยก่อร่างสร้างประเทศใหม่ๆ จนสามารถสร้างเมือง ป้อมปราการ โรงพยาบาล ห้องสมุดตลอดมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกอย่างมหาวิทยาลัยพริ๊นซตัน
แต่ด้วยเหตุผลที่เมื่อภายหลัง รัฐบาลพบว่าวัตถุประสงค์ของล๊อตเตอรี่ถูกเบี่ยงเบนไปเป็นเรื่องของการ พนันมากเกินไป จนทำให้เกิดผลกระทบต่อสังคมอย่างกว้างขวาง จนสภาคองเกรสต้องรีบออกกฏหมาย มายกเลิกไป โดยหลังจากเว้นวรรคมาเป็นเวลานาน จนก็เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ล๊อตเตอรี่ จึงได้ถกู นำกลับมาปัดฝุน่ ให้เป็นรูปแบบใหม่ทเี่ รียกว่า ล๊อตโต้ ซึง่ คราวนีม้ ลี กั ษณะเป็นการ เสีย่ งโชคอย่างแท้จริง ไม่ใช่การพนันอีกต่อไป และถือเป็นล๊อตโต้ทมี่ เี งินรางวัลสูงทีส่ ดุ ในโลกรายการ หนึง่ เลยทีเดียว ความแตกต่างระหว่างการทำให้กจิ การล๊อตเตอรีม่ วี ตั ถุประสงค์เป็นการเสีย่ งโชคและไม่ใช่การ พนันนัน้ ก็คอื โอกาสทีค่ นหนึง่ ๆ ทีซ่ อื้ ล๊อตเตอรีจ่ ะถูกรางวัล ถ้าหากเราออกแบบระบบให้คนซือ้ จะต้อง จ่ายเงินซื้อล๊อตเตอรี่มากขึ้นเพื่อจะได้มีโอกาสในการถูกรางวัลมากขึ้น อย่างนี้จึงเรียกว่าเป็นการพนัน เพราะต้องใช้เงินมากจึงจะมีโอกาสได้รับรางวัลมากขึ้น ทำให้ประชาชนมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและถือเป็น ผลกระทบต่อสังคม ในทางตรงกันข้าม ถ้าล๊อตเตอรีถ่ กู ออกแบบให้โอกาสทีจ่ ะถูกรางวัลมีโอกาสน้อย มาก ไม่วา่ จะทุม่ เงินแทงซือ้ ล๊อตเตอรีม่ ากเท่าไร โอกาสทีจ่ ะถูกรางวัลก็ไม่เพิม่ ขึน้ มากนัน้ และยังคงพอๆ กันกับคนทีล่ งเงินซือ้ ด้วยเงินน้อยๆ อยูด่ ี แต่เพือ่ ชดเชยกับโอกาสทีน่ อ้ ยนี้ รางวัลจึงมักเป็นรางวัลใหญ่ มากหรือเรียกอีกอย่างว่า รางวัลแจ๊คพ๊อต โดยเป็นจำนวนเงินมูลค่ามหาศาลเป็นหลักหลายร้อยจนถึง หลายพันล้านบาท ระบบนี้จึงจะเป็นล๊อตเตอรี่ที่เป็นการเสี่ยงโชค ผลกระทบต่อประชาชนและสังคม จะน้อยลง เพราะคนที่ต้องการเสี่ยงโชคไม่จำเป็นต้องใช้จ่ายเงินมากมาย ก็ยังมีโอกาสถูกรางวัลใหญ่ ได้เหมือนดังเช่นคนอืน่ ๆ ทุกคน
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
58
ปัจจุบนั เราสามารถแยกแยะล๊อตเตอรีท่ ดี่ ำเนินการอยูใ่ นประเทศต่างๆ ทัว่ โลกออกได้เป็นสอง ชนิดใหญ่ๆ ได้แก่ ระบบล๊อตเตอรี่ที่มีการพิมพ์เป็นสลากออกจำหน่าย โดยมีจำนวนฉบับที่พิมพ์ใน แต่ละงวดแน่นอนและมีตวั เลขในแต่ละฉบับไม่ซำ้ กัน ตัวเลขนีจ้ ะถูกใช้ในการออกรางวัล นอกจากนัน้ ยังมีการกำหนดรางวัลพร้อมด้วยมูลค่าสำหรับแต่ละรางวัลไว้อย่างแน่นอน เช่น รางวัลที่ 1 จะได้รบั เงิน รางวัลเท่าไร และรางวัลอื่นๆ จะได้เงินรางวัลเป็นจำนวนเท่าไร ในระบบนี้ ผู้ดำเนินการจะมีความ เสีย่ งทีจ่ ะต้องจ่ายเงินรางวัลให้แก่ผถู้ กู รางวัลทุกรางวัล ไม่วา่ จะสามารถขายสลากล๊อตเตอรีห่ มดหรือไม่ ในงวดนัน้ ๆ สลากกินแบ่งรัฐบาลของเราก็จดั อยูใ่ นล๊อตเตอรีป่ ระเภทนี้ สิง่ ทีเ่ ป็นจุดอ่อนของระบบนี ้ ก็คือ ผู้ซื้อไม่มีอิสระอย่างเต็มที่ในการเลือกเลขที่อยู่ในสลากให้เป็นไปตามที่หมายปอง เพราะสลาก แต่ละใบมีตวั เลขแตกต่างกันหมดและถูกกระจายไปทัว่ ประเทศ จะหาตัวเลขทีต่ อ้ งการได้ยากมาก ส่วน ใหญ่จะเลือกได้กเ็ ฉพาะตัวเลขในสองหรือสามหลักสุดท้ายเท่านัน้ จึงส่งผลให้เกิดล๊อตเตอรีน่ อกระบบ ที่มีการดำเนินการเคียงคู่ไปกับสลากกินแบ่งรัฐบาลหรือที่เรารู้จักกันว่าเป็นหวยใต้ดิน โดยมีจุดเด่นคือ การแก้จุดอ่อนของสลากกินแบ่งฯ กล่าวคือการยอมให้ผู้ซื้อสามารถเลือกซื้อตัวเลขที่หมายปองไว้ได้ อย่างอิสระและมีวธี กี ารให้เงินรางวัลในลักษณะแทงเงินมากก็จะได้มาก จึงสามารถเย้ายวนให้ผซู้ อื้ ต้อง ใช้เงินพอสมควรเพื่อจะได้รับเงินตอบแทนมากยิ่งขึ้น สิ่งที่น่าสังเกตุคือหวยใต้ดินจะมีวิธีการขายเลข เพียงแค่เฉพาะเลขสองตัวและสามตัวเท่านัน้ เพราะเป็นกลุม่ เลขทีไ่ ม่ยากเกินไปทีจ่ ะถูกรางวัล และยิง่ ถ้า ลงทุนเลือกซือ้ เลขหมายแบบหว่านซือ้ ไว้หลายๆ เบอร์กจ็ ะยิง่ มีโอกาสถูกรางวัลได้มากขึน้ จึงเห็นได้ ชัดเจนว่าเป็นลักษณะของการพนันและลงเอยด้วยการที่ผู้ซื้อจะต้องลงเงินค่อนข้างมาก ยิ่งหากผู้ซื้อ
มีลักษณะเป็นคนชอบการพนันแล้วก็จะทำให้เกิดปัญหาทางการเงินและกลายเป็นปัญหาของสังคมได้ ด้วยหวยใต้ดนิ สามารถดำเนินการเคียงคูก่ บั ระบบสลากกินแบ่งฯ ได้อย่างลงตัวเช่นนี้ ระบบสลากกินแบ่งฯ ในปัจจุบันจึงเอื้ออำนวยให้เกิดหวยใต้ดินและไม่สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องหวยใต้ดินได้อย่างแน่นอน ครั้นจะทำหวยใต้ดินให้ถูกต้องโดยยกขึ้นมาไว้บนดินก็เป็นการส่งเสริมการพนันอยู่ดี คนที่ทำธุรกิจ
หวยใต้ดนิ ก็ชอบ เพราะหากยังคงดำเนินการในระบบแบบเดิมต่อไปก็เท่ากับว่ารัฐบาลทำงานด้านบริหาร จัดการเกีย่ วกับการออกรางวัลให้ แถมออกอากาศถ่ายทอดทีวใี ห้ดว้ ย ต้องแบกรับค่าใช้จา่ ยทัง้ หมดโดย คนทำธุรกิจใต้ดินไม่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายเหล่านี้เลย เพียงแต่ขายตัวเลขเคียงข้างกันไปกับรัฐบาล อีกระบบหนึ่งที่มีความนิยมสูงสุดในหลายๆ ประเทศทั่วโลก คือ ระบบที่เรามักจะรู้จักกัน
ว่า ล๊อตโต้ เป็นระบบที่ให้อิสระแก่ผู้ซื้อในการเลือกหมายเลขที่ต้องการได้อย่างอิสระภายในกรอบที่ กำหนด ไม่จำกัดจำนวนของล๊อตเตอรีแ่ ละไม่มกี ารพิมพ์สลากไว้ลว่ งหน้า ส่วนรางวัลนัน้ จะเน้นรางวัล ทีห่ นึง่ เพียงรางวัลเดียวหรือเรียกกันว่า แจ๊คพ๊อต ซึง่ เป็นมูลค่าเงินรางวัลสูงมาก ระบบนีจ้ ะไม่กำหนด จำนวนเงินรางวัลไว้ตายตัวว่าจะเป็นเท่าไร แต่จะใช้วธิ กี ำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ทงั้ หมดจากการ 59
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ขายลอตเตอรีใ่ นงวดนัน้ ๆ แทน ซึง่ โดยสวนใหญรางวัลจะมีมลู คาประมาณครีง่ หนึง่ ของรายไดทงั้ หมด ในงวดนั้น และหากในงวดหนึ่งๆ มีผูถูกรางวัลในหมายเลขเดียวกันหลายราย เงินรางวัลก็จะถูกแบง ออกไปเทาๆ กัน เงินรางวัลแจกพอตของระบบลอตโตมีมูลคาสูงมากเปนหลักหลายรอยหลายพันลานบาท ระบบจึงตองถูกออกแบบใหการซื้อเลขหมายแตละครั้งมีโอกาสที่จะถูกรางวัลนอยมาก ดังตัวอยางใน ประเทศสหราชอาณาจักร สัดสวนโอกาสที่จะถูกรางวัลคือประมาณ 1 ตอ 14 ลาน โดยมีเงินรางวัล ที่เคยขึ้นไปสูงสุดถึง 2,400 ลานบาท สวนระบบของประเทศสหรัฐอเมริกามีโอกาสที่จะถูกรางวัล เปนสัดสวนประมาณ 1 ตอ 175 ลาน โดยมีเงินรางวัลที่เคยทบตนขึ้นไปสูงสุดถึง 13,000 ลานบาท ในขณะทีล่ อ ตโตของประเทศอิตาลีจะถูกรางวัลยากทีส่ ดุ คือสัดสวนประมาณ 1 ตอ 600 ลาน สำหรับเงิน รางวัลทีเ่ คยทบตนขึน้ ไปสูงสุดถึง 5,000 ลานบาท วิธกี ารทำใหโอกาสทีจ่ ะถูกรางวัลมีคา นอยมากเชนนี้ มีหลักการคลายๆ กันหมดในทุกประเทศ คือ การกำหนดใหมีลูกบอล 50 ลูกโดยที่แตละลูกมี เลขหมายประจำไมซ้ำกันตั้งแต 0 ถึง 49 ในการออกรางวัลคณะกรรมการจะสุมเลือกลูกบอลขึ้นมา 6 ลูก เพือ่ ใหไดเลขรางวัลประกอบดวยหมายเลข 6 ตัว คนทีจ่ ะถูกรางวัลแจคพอตจะตองซือ้ ลอตโตและ เลือกตัวเลขหนึง่ ชุดประกอบดวยเลข 6 ตัวจากเลข 0 ถึง 49 ใหตรงกันกับเลขรางวัลทีอ่ อกทุกตัว การ ซือ้ ลอตโตหนึง่ ครัง้ โดยสามารถเลือกไดหนึง่ ชุดจะใชเงินนอยมากโดยเฉพาะเมือ่ เทียบกับคาครองชีพใน ประเทศนัน้ ๆ เชนในสหราชอาณาจักรจะใชเงินเพียง 1 ปอนด หรือในสหรัฐอเมริกาจะใชเงินเพียง 1 เหรียญ เทานัน้ ซึง่ เมือ่ พิจารณาโอกาสทีจ่ ะถูกรางวัลแลว ไมวา เราจะลงทุนดวยเงินเพียง 1 เหรียญหรือ ปอนด ก็จะมีโอกาสทีจ่ ะถูกรางวัลใหญไมแตกตางจากการลงเงินถึง 10 หรือ 100 เหรียญหรือปอนด อยูด ี โอกาสทีจ่ ะไดนนั้ จะขึน้ อยูก บั โชคเพียงอยางเดียววาแตละคนจะโชคดีแคไหน วิธีการสุมเลขรางวัลแบบระบบลอตโตนี้ทำใหโอกาสที่ตัวเลขของผูซื้อลอตเตอรี่ตรงกับเลข รางวัลทีอ่ อกยากมากกวาในระบบสลากกินแบงฯ ในปจจุบนั เปนผลใหการคิดทำหวยใตดนิ มาเคียงคู กับระบบนี้ยากขึ้น อีกทั้งโอกาสที่จะถูกรางวัลก็ยากในขณะที่ระบบลอตโตสามารถชดเชยโดยใหเงิน รางวัลทีส่ งู มาก ซึง่ หวยใตดนิ คงจะไมสามารถแขงไดเพราะมีความนาเชือ่ ถือไมเพียงพอ ลอตโตจงึ เปน ตัวอยางของระบบลอตเตอรีท่ เี่ ปนการเสีย่ งโชคมากกวา ประชาชนจะไดไมตอ งใชเงินมากเกินกำลังไป กับการซื้อลอตเตอรี่เหมือนที่เปนอยูในปจจุบัน และจากผลงานวิจัยจากหลายสถาบันยังพบวาประชาชน ที่เสียคาใชจายในการซื้อลอตเตอรี่เปนประจำสวนใหญจะเปนผูมีรายไดคอนขางนอย สุดทาย ไมวา ลอตเตอรี่จะเปนระบบใดก็ตาม แตเมื่อพิจารณาในหลักของเศรษฐศาสตรหรือผลตอบแทนการลงทุน แลว การซื้อลอตเตอรี่นับเปนการลงทุนที่ใหผลตอบแทนที่ต่ำมาก
ปที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
60
กำจัดทุจริตคอรัปชั่น ดวยกำลังที่เปนปกแผนและกฏหมายที่เขมแข็ง อมร วาณิชวิวัฒน, D.Phil. (Oxon)
61
ปที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
62
กำจัดทุจริตคอรัปชั่นด้วยกำลังที่เป็นปึกแผ่นและกฎหมายที่เข้มแข็ง๑
อมร วาณิชวิวัฒน์, D.Phil. (Oxon)๒
ในโอกาสทีไ่ ด้รบั เกียรติจากทางสำนักงาน ปปช. ให้ทำหน้าทีผ่ ดู้ ำเนินรายการและผูร้ ว่ มเสวนาวิชาการ ในหัวข้อเรื่อง “ร่าง พรบ. ปปช. ให้ประโยชน์อะไรแก่ประชาชน” จึงใคร่ขอนำเสนอบทความขนาด กระทัดรัดที่น่าจะให้แนวคิดที่เป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านเกี่ยวกับเรื่องของการป้องกันปราบปราม คอรัปชัน่ หรือการฉ้อราษฎร์บงั หลวงในอีกมุมมองหนึง่
ประเด็นทีน่ า่ สนใจภายในกฎหมาย ปปช. ฉบับใหม่
๑. การแก้ไขเพิม่ เติมบทนิยามคำว่า “ผูด้ ำรงตำแหน่งทางการเมือง” “ผูด้ ำรงตำแหน่งระดับสูง” “ผูบ้ ริหารระดับสูง” “ผูอ้ ำนวยการกอง” และคำว่า “พนักงานไต่สวน” ในประเด็นดังกล่าวนี้หากพิจารณาในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ ซีง่ เป็นฉบับก่อนมีการเสนอแก้ไขเพิม่ เติม จะพบว่ามีการเขียน หรือให้นิยามถึงคำจำกัดความของ “คำสำคัญ” บางคำข้างต้นไว้อย่างกว้างๆ ก็ได้มีการทำให้เกิดความ ชัดเจนระบุไปอย่างไม่คลุมเครือเช่น การให้นยิ ามในส่วนของผูด้ ำรงตำแหน่งทางการเมืองในกรณีของ ผู้บริหารท้องถิ่นรวมทั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและยังได้มีการกำหนดคำ นิยามของคำสำคัญบางคำขึน้ มาใหม่ เช่นคำว่า “พนักงานไต่สวน” ซึง่ หมายถึงผูซ้ งึ่ คณะกรรมการ ปปช. แต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ โดยแต่งตั้งจากพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึง่ ดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการหรือเทียบเท่าขึน้ ไป (ตามการแก้ไขในขัน้ กรรมาธิการ)
๑ วิเคราะห์และเรียบเรียงขึ้นจากร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และ
ร่างที่เสนอเข้าสู่การพิจารณาของกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร พร้อมทั้งประสบการณ์ในฐานะอนุกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์สำนักงาน ปปช. ๒ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกด้านสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด
สหราชอาณาจักร email: a.wanichwiwatana@gmail.com 63
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
โดยสิ่งที่เห็นว่าน่าหยิบยกมานำเสนอคงจะเป็นในแง่ของความพยายามของผู้ร่างที่ต้องการให้กฏหมาย ฉบับใหม่สามารถครอบคลุมเอาผิดกับบุคคลไม่พงึ ประสงค์ได้อย่างกว้างขวางมากยิง่ ขึน้ (widen the net) พร้อมทัง้ แสวงหามาตรการในการเข้าถึงข้อมูลพยานหลักฐานต่างๆ ให้รอบคอบรัดกุมด้วยการอาศัยกลไก ที่เรียกว่าพนักงานไต่สวนซึ่งจะมีบทบาทหน้าที่อันสำคัญในการให้ได้มาซึ่งข้อมูลพยานหลักฐานเพื่อ
ให้คณะกรรมการ ปปช. ประกอบการตัดสินใจในการพิจารณาชีม้ ลู ความผิดเพือ่ ดำเนินการตามขัน้ ตอน กระบวนการของกฎหมายโดยเฉพาะในปัจจุบันรัฐธรรมนูญได้อนุญาตให้ผู้เสียหายสามารถดำเนินการ ฟ้องร้องเพิกถอนคำสั่งหรือการกระทำทางปกครองที่เป็นการละเมิดต่อหน่วยงานของรัฐหรือบุคคล
อืน่ ได้ อีกทัง้ ในกระบวนการเอาผิดต่อผูก้ ระทำความผิดเช่นในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผูด้ ำรงตำแหน่ง ทางการเมืองก็ยงั ใช้ระบบไต่สวนเช่นเดียวกัน ดังนัน้ การปรับรูปแบบกระบวนการเช่นนีก้ เ็ พือ่ จุดมุง่ หมาย สำคัญให้เกิดการสอดประสานรับกันของการปฎิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้อย่าง เต็มที่ ๒. ประเด็นว่าด้วยการสรรหาคณะกรรมการ ปปช. ในร่างพระราชบัญญัติ ปปช. ฉบับใหม่ได้พยายามลดขั้นตอนที่ยุ่งยากสลับซับซ้อนในกระบวนการ สรรหาให้เกิดความชัดเจนเป็นธรรมและเป็นไปอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ โดยให้มคี ณะกรรมการสรรหา กรรมการจำนวน ๕ ท่าน ประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาล ปกครองสูงสุด ประธานสภาผู้แทนราษฎรและผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร จากเดิมในพระราช บัญญัติฯ พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการฯ จำนวนมากถึง ๑๕ คน และยังต้องให้วฒ ุ สิ ภากลัน่ กรองจากจำนวน ๑๘ คนให้เหลือ ๙ คน แต่ในพระราชบัญญัตฉิ บับใหม่ ทางคณะกรรมการสรรหาจะนำเสนอจำนวนเท่าที่จะดำรงตำแหน่งจริงคือ ๙ คนให้วุฒิสภาพิจารณา
ให้ความเห็นชอบ หากไม่เห็นชอบในรายชื่อใดไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนให้ส่งรายชื่อนั้นกลับไปยัง คณะกรรมการสรรหา พร้อมด้วยเหตุผลเพือ่ ให้ดำเนินการสรรหาใหม่ โดยทีห่ ากคณะกรรมการสรรหา ไม่เห็นด้วยกับวุฒิสภาและมีมติยืนยันตามมติเดิมด้วยเสียงเป็นเอกฉันท์ ก็สามารถส่งรายชื่อนั้นให้ ประธานวุฒิสภานำความกราบบังคมทูลเพือ่ ทรงแต่งตัง้ ต่อไป ซึง่ หากมติไม่เป็นเอกฉันท์กจ็ ะต้องเริม่ ต้น กระบวนการสรรหาใหม่ ด้วยกระบวนการขัน้ ตอนทีเ่ ข้าใจว่าท่านผูอ้ า่ นจะสามารถศึกษาเพิม่ เติมได้ใน ร่างพระราชบัญญัติที่มีการนำเสนอต่อกรรมาธิการฯ ทั้งนี้เพื่อให้กระบวนการเป็นไปอย่างถูกต้อง โปร่งใสตรวจสอบได้ดงั กล่าวมาแล้วนัน่ เอง
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
64
๓. ประเด็นว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธกี ารยืน่ บัญชีแสดงรายการทรัพย์สนิ และหนีส้ นิ ของผูด้ ำรง ตำแหน่งทางการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งอื่น และในกรณีที่บุคคลผู้นั้นพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เพื่อไป ดำรงตำแหน่งอื่น ก็ได้มีการแก้ไขหลักเกณฑ์ต่างๆ รวมทั้งในการรายงานผลการตรวจสอบของคณะ กรรมการ ปปช. ก็ได้มกี ารเพิม่ เติมหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบทรัพย์สนิ และหนีส้ นิ อีกทัง้ ธุรกรรมทาง การเงินที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่ได้มาโดยมิชอบรวมไปถึงการสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินในระหว่างที่ ยังไม่มคี ำสัง่ ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผูด้ ำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลสำคัญในการยับยั้งสกัดกั้นมิให้ผู้กระทำผิดสามารถยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินหนี้สิน หรือแปรสภาพไปกระทั่งยากต่อการสืบสวนสอบสวนติดตามให้ทรัพย์สินนั้นตกเป็นของแผ่นดินใน กรณีที่มีการกระทำความผิดจริง ๔. มีการกำหนดมิให้มีการนับระยะเวลาที่ผู้กระทำความผิดหลบหนีในระหว่างถูกดำเนินคดีรวมเป็น ส่วนหนึ่งของอายุความ ในประเด็นว่าด้วยการนับอายุความ หากวิเคราะห์ในทางอาชญาวิทยาหรือการบริหารกระบวนการยุตธิ รรม ก็ตอ้ งยอมรับว่ายังมีขอ้ ถกเถียงในการดำเนินการกันอยูพ่ อสมควร ทัง้ นีใ้ นฝ่ายทีไ่ ม่เห็นด้วยก็มองไปใน ทิศทางทีว่ า่ คดีหลายคดีทเี่ ข้าสูก่ ารพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผูด้ ำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งชื่อของศาลก็ระบุไว้ชัดเจนว่าเป็น “คดีที่นักการเมืองหรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง” เป็น
“ผู้กระทำผิด” ทำให้ฝา่ ยทีม่ องในด้านรัฐศาสตร์การเมืองการปกครองเห็นว่าในทางการเมือง การกลัน่ แกล้งกันหรือการให้รา้ ยเพือ่ กำจัดศัตรูทางการเมืองอาจเป็นไปได้ในหลายรูปแบบ ดังนัน้ การจะเอาผิด อย่างเข้มงวดในทุกๆ ด้านต่อผูอ้ ยูร่ ะหว่างการหลบหนีคดีความอาจต้องพิจารณาให้รอบคอบรัดกุม เพราะ ขณะนี้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองถือเป็นศาลที่มีการตัดสินเบ็ดเสร็จ เด็ดขาดในชัน้ เดียว (the Court of last resort) ไม่มกี ารอุทธรณ์ฎกี าได้อกี ต่อไปเว้นแต่ในกรณีทมี่ ขี อ้ มูล พยานหลักฐานใหม่ซึ่งอาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนไปในสาระสำคัญโดยต้องยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนด เวลา ๓๐ วัน ต่อทีป่ ระชุมใหญ่ศาลฎีกานับแต่วนั มีคำพิพากษา ซึ่งในทางฝ่ายของผู้ที่มองในแง่ของการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดและมีความประสงค์ที่จะกำจัด ปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงอันถือเป็นสิ่งเลวร้ายที่กัดกร่อนสังคมไทยมาเป็นเวลานานก็มีมุมมองใน ประเด็นดังกล่าวนีใ้ นลักษณะทีต่ อ้ งการให้เกิดความเด็ดขาดและเพือ่ ให้ผกู้ ระทำผิดหรือผูท้ คี่ ดิ จะกระทำ 65
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ผิดเกิดความยำเกรง อีกทัง้ มองวาคดีทเี กิดขึน้ หาไดเปนคดีอาญาโดยทัว่ ไป ทำใหไมจำเปนตองคำนึงถึง หลักการหรือเจตนารมณทมี่ ีการกำหนดในประมวลกฎหมายอาญาอยางที่ฝายไมเห็นดวยมีการเรียกรอง ทวงสิทธิแตอยางใด จึงตองเปนวินจิ ฉัยของทานผูอ า นทัง้ หลายวาจะเห็นควรหรือมองวาในเรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ และกำลังจะมีการเปลีย่ นแปลงตอไปในอนาคตนีค้ วรเปนไปในทิศทางเชนใด ๕. ประเด็นวาดวยอำนาจหนาทีข่ องผูป ฎิบตั หิ นาทีต่ ามพระราชบัญญัตฉิ บับใหม จากเดิมในพระราชบัญญัติ ปปช. พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดใหประธานกรรมการ กรรมการ อนุกรรมการ และพนักงานเจาหนาที่เปนเจาพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา แตในพระราชบัญญัติฉบับใหม ไดกำหนดใหประธานกรรมการ กรรมการ เปนเจาพนักงานในการยุตธิ รรมตามกฎหมายซึง่ มีระเบียบ ขอบังคับและประมวลจริยธรรมที่เขมขนและเขมงวดเขามาเกี่ยวของ และใหอนุกรรมการ พนักงาน ไตสวนและพนังานเจาหนาทีเ่ ปนเจาพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา พรอมทัง้ ขยายความการปฎิบตั ิ หนาที่แสวงหาขอเท็จจริงรวบรวมพยานหลักฐานหรือการไตสวนใหทั้งประธานกรรมการ กรรมการ อนุกรรมการและพนักงานไตสวนเปนพนักงานฝายปกครองหรือตำรวจชั้นผูใหญและมีอำนาจตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเชนเดียวกับพนักงานสอบสวน เวนแตอำนาจในการจับและ คุมขังบุคคลใหแจงเจาพนักงานตำรวจเปนผูดำเนินการ ๖. ประเด็นวาดวยกรรมการปองกันและปราบปรามการทุจริตประจำจังหวัด มีการกำหนดใหเปนสวนราชการในสังกัดสำนักงาน ปปช. โดยมีผอู ำนวยการสำนักงาน ปปช.ประจำ จังหวัดเปนผูบ งั คับบัญชาขาราชการและเจาหนาทีซ่ งึ่ อยูใ นบังคับบัญชาขึน้ ตรงตอเลขาธิการคณะกรรมการ ปปช. มีหนาทีร่ บั ผิดชอบงานของคณะกรรมการ ปปช. ประจำจังหวัดหรืองานอืน่ ใดทีค่ ณะกรรมการปปช. มอบหมาย นับเปนความเปลี่ยนแปลงอีกประการที่นาสนใจแมจะมีการวิจารณถึงปญหาในแงงบประมาณและการ มอบหมายอำนาจอีกทั้งบทบาทหนาที่ของหนวยงานระดับทองถิ่นก็นาจะเปนตัวแบบที่พึงพิจารณา ความเปนไปไดในการผนึกกำลังระหวางสวนกลางและทองถิ่นในการแกไขปญหาการทุจริตฉอราษฎร บังหลวงที่พวกเราทุกคนตางตองการกำจัดใหหมดสิ้นโดยเร็ว
ปที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
66
รัฐประหาร 19 กันยา กับ พัฒนาการประชาธิปไตยไทย อมร วาณิชวิวัฒน, D.Phil. (Oxon)
67
ปที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
68
รัฐประหาร 19 กันยา กับ พัฒนาการประชาธิปไตยไทย* ดร. อมร วาณิชวิวัฒน์, D.Phil. (Oxon)**
บทนำ
การรัฐประหารครั้งล่าสุดเมื่อ 19 กันยาน 2549 ปรากฏข้อวิพากษ์วิจารณ์ต่อเหตุการณ์ดังกล่าวอย่าง กว้ า งขวางทั้ ง ในประเทศไทยเองและนานาชาติ1 วั ต ถุ ป ระสงค์ ใ นการนำเสนอบทความว่ า ด้ ว ย “รัฐประหาร 19 กันยา กับ พัฒนาการประชาธิปไตยไทย” มีหลักการและเหตุผลสำคัญเพื่อศึกษา วิเคราะห์ถึงผลกระทบต่างๆ ที่เกิดขึ้น (consequences) ภายหลังการรัฐประหารตามหลักวิชาการ
โดยมิได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อชี้นำหรือตำหนิฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด อย่างไรก็ดีเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจภูมิหลัง
ความเป็นมาของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทบทวนให้เห็นถึงปัญหาที่เป็นสาเหตุหรือ มีส่วนเหนี่ยวนำไปสู่การเกิดการรัฐประหารอันเป็นหน้าประวัติศาสตร์การเมืองที่เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น
ภูมิหลังความเป็นมาต่อเหตุการณ์รัฐประหาร 19 กันยายน 2549
ประเทศไทยกับปรากฏการณ์ที่เรียกว่าเป็นวงจรอุบาทว์ (Vicious cycle) กล่าวคือ นับเนื่องตั้งแต่ ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2475 ช่วงเวลาของการเป็นประชาธิปไตยที่มีพลเรือนเป็นผู้นำรัฐบาล
(civilian government) มีอยู่เพียงระยะเวลาอันสั้นและมีโอกาสเข้ามาบริหารราชการแผ่นดินน้อยครั้ง มาก2 สิ่งที่พบเห็นเกือบเป็นเรื่องปกติ คือการเข้าสู่อำนาจของคณะรัฐบาลทหาร (military junta) ซึ่ง มีที่มาจากการยึดอำนาจหรือการทำรัฐประหาร (coup d’etat) อันถือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นครั้ง แล้วครั้งเล่ากระทั่งภายหลังเหตุการณ์ความไม่สงบมีการเสียเลือดเนื้อของประชาชนเมื่อวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2535 ดังที่รู้จักกันดีในชื่อของเหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่าง มีนัยสำคัญเมื่อประชาชนคนชั้นกลางในสังคมจำนวนมากได้มีส่วนร่วมผลักดันการเคลื่อนไหวกดดัน * บทความการประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 9 (พ.ศ.2551) ** อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 69
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ขับไล่รัฐบาลของคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ซึ่งมีพลเอก สุจินดา คราประยูร เป็นนายกรัฐมนตรี3 ให้พ้นจากอำนาจไป แม้ว่าในอดีตที่ผ่านมาเหตุการณ์ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2516 หรือวันมหาวิปโยค ซึ่งเกิดการปะทะถึงขั้นแตกหักในวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม 2516 จะเคยมี ประชาชนจำนวนมากออกมาบนท้องถนนร่วมกันขับไล่รัฐบาลเผด็จการทหารในเวลานั้นออกไปใน ลักษณะคล้ายๆ กัน แต่กำลังหลักสำคัญส่วนใหญ่ในเวลานั้นได้แก่บรรดา นิสิต นักศึกษา ใน มหาวิทยาลัยเป็นแกนนำ เมื่อภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนในการผลักดันความเปลี่ยนแปลงใน เหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 ได้เป็นผลสำเร็จจึงนำไปสูก่ ารร่างรัฐธรรมนูญโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่มาจากการเลือกสรรบุคคลจากจังหวัดต่างๆ รวมทั้งนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิกระทั่งได้รัฐธรรมนูญ ฉบับ “ประชาชน” ดังที่มีการเรียกขานกัน เนื่องจากมองว่ามีที่มาจากการเรียกร้องต่อสู้ของภาค ประชาชน ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 นั้นเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้ชื่อว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีความยาว มากน่าจะที่สุดในโลก4 และมีบทบัญญัติที่ครอบคลุมเรื่องต่างๆ มากมาย จำนวนมากถึง 336 มาตรา5 สาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ได้ส่งผลให้เกิดองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ได้แก่ คณะ กรรมการการเลือกตัง้ (กกต.)6 ผูต้ รวจการแผ่นดินของรัฐสภา7 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ8 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.)9 ยิง่ กว่านัน้ บทบัญญัตใิ นหลายมาตรา ของรัฐธรรมนูญ ยังมีผลให้เกิดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ไม่ว่าจะเป็น สิทธิในการชุมนุม10 สิทธิในการต่อต้านการรัฐประหารหรือการได้มาซึ่งอำนาจอันไม่ชอบธรรม11 และโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารรวมทั้งการเรียกร้องสิทธิอันพึงมีพึงได้ต่างๆ12 นั่นคือที่มา
ของความรู้สึกหรือสามัญสำนึกของประชาชนจำนวนไม่น้อยที่เชื่อว่า นับแต่การที่รัฐธรรมนูญฉบับ ประชาชนมีผลบังคับใช้ “วงจรอุบาทว์” ดังกล่าวที่เกิดขึ้นครั้งแล้วครั้งเล่าในสังคมไทยตลอดระยะ เวลากว่า 76 ปี ของพัฒนาการแห่งความเป็นประชาธิปไตยนั้น “จะไม่เกิดขึ้นอีก” แต่ความเชื่อดัง กล่าวได้ถูกทำลายจากการรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 ภายหลังที่รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ได้ มี ผ ลใช้ บั ง คั บ มายาวนานเกื อ บสิ บ ปี ก ารรั ฐ ประหารที่ เ กิ ด ขึ้ น เป็ น สิ่ ง ที่ ท ำให้ ห ลายคนตกตะลึ ง
(shocked) และไม่อาจคาดคะเนต่อไปได้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยและสังคมไทยในอนาคต ภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 นอกจากการแบ่งแยกกลุ่มของประชาชนทั้งที่เห็นด้วยกับการรัฐประหารและกลุ่มที่คัดค้าน ยังปรากฎ ว่ามีแรงกดดันจากภายนอกต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้น ดังเช่นการเข้าพบผู้นำทหารที่มี ส่วนในการรัฐประหารหลายครั้งของทูตานุทูตต่างประเทศ เฉพาะอย่างยิ่งการเข้าพบของทูตานุทูต จากประเทศที่มีอิทธิพลอย่างสูงในภูมิภาคอาเซียนและของโลก ไม่ว่าจะเป็นสหราชอาณาจักร และ
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
70
สหรัฐอเมริกา13 การเข้าพบหารือแต่ละครั้งปรากฎทางสื่อมวลชนหลายแขนงว่าเนื้อหาส่วนหนึ่งจะ เป็นข้อหารือเกี่ยวกับกรอบเวลาในการคืนอำนาจให้ประชาชนและการเร่งฟื้นฟูระบอบการปกครอง ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขให้กลับคืนสู่สภาวะปกติดังเดิม14 เนื่องด้วยเหตุผลหนึ่ง ซึ่งถือเป็นหลักหรือแนวนโยบายสำคัญของประเทศเหล่านั้นรวมทั้งของประชาคมโลกมีการตื่นตัว ไม่ ปรารถนาจะคบค้ า หรื อ มี ค วามสั ม พั น ธ์ อ ย่ า งเป็ น ทางการกั บ ประเทศหรื อ รั ฐ ที่ ข าดความเป็ น ประชาธิปไตยอันชอบธรรม15 ซึ่งถือเป็นแรงกดดันต่อประเทศไทยอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้16 ผลแห่งแรงกดดันของหลายฝ่ายที่มี่ต่อรัฐบาลสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้เป็น “ตัวเร่ง (catalyst)” ให้ รัฐบาลต้องคืนอำนาจให้กับประชาชนเร็วขึ้น ซึ่งมีข้อน่าสังเกตว่าในรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี พ.ศ. 2549 ได้กำหนดให้ความคุ้มครองบรรดาการกระทำทั้งหลายซึ่งได้กระทำเนื่องในการยึดและควบคุม อำนาจการปกครองแผ่นดิน เมือ่ วันที่ ๑๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๙ ของหัวหน้าและคณะปฏิรปู การปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รวมตลอดทั้งการกระทำ ของบุคคลที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำดังกล่าวหรือของผู้ซึ่งได้รับมอบหมายหรือได้รับคำสั่ง 17 ดังทราบกันดีว่าทาง คมช. และรัฐบาลในขณะนั้นได้มีความพยายามในการดำเนินคดีกับคณะรัฐบาล ชุดก่อนหน้าในข้อกล่าวหา ต่างๆ เฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการฉ้อราษฎร์บังหลวงแต่นักวิเคราะห์และ นักวิชาการจำนวนไม่น้อยแม้แต่ฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเองได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ ผลการดำเนินงานของรัฐบาลสุรยุทธ์ฯ อย่างค่อนข้างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นประเด็นการแก้ปัญหา เศรษฐกิจและประเด็นที่รุนแรงมากที่สุดคือการดำเนินการที่ล่าช้าไม่ทันท่วงทีต่อการดำเนินคดีต่างๆ กับบุคคลในคณะรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณฯ รวมทั้งอดีตนายกรัฐมนตรีและสมาชิกบางคนในครอบครัว แม้ว่าสิ่งที่รัฐบาลสุรยุทธ์ฯ ร่วมกับทางคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ จะมีความพยายามอย่างสูง
ในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหาย
ต่อรัฐ (คตส.)18 โดยมีนายนาม ยิ้มแย้ม เป็นประธานคณะกรรมการ ในช่วงแรกการดำเนินการเป็น ไปอย่างล่าช้า ด้วยมีข้ออ้างถึงการไม่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการบางหน่วย กระทั่งต้อง มีการต่ออายุของ คตส. ออกไปหลายครั้ง และในหลายกรณีทาง คตส. ต้องดำเนินการเรียกร้องเรื่อง ต่างๆ ผ่านสื่อมวลชนเพื่อเป็นการกดดันหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องให้ดำเนินการสนองนโยบายของการ ตรวจสอบทรัพยสินและดำเนินการต่อผู้กระทำความผิดตามที่ คตส. ค้นพบ19
71
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ยิ่งกว่านั้นพันธะสัญญาประการหนึ่งของรัฐบาลภายใต้การนำของพลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้ให้ไว้ ต่อประชาชนคือ การร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แม้วา่ กระบวนการได้มาซึง่ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) จะเกิดเหตุการณ์อื้อฉาวจากข้อกล่าวหาถึงความไม่โปร่งใสในกระบวนการที่ให้ “สมาชิก สมัชชาแห่งชาติ” จำนวนประมาณ 2,000 คนเลือกตั้งกันเอง แต่เมื่อทางคณะมนตรีความมั่นคง
แห่งชาติ (คมช.) โดย พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน และ นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานสภานิติบัญญัติ แห่งชาติ ยืนยันให้กระบวนการต่างๆ เดินหน้าต่อไป การคัดค้านใดๆ จึงไม่เป็นผล ทำให้ได้สมาชิก สภาร่างรัฐธรรมนูญจำนวน 100 คน มาจากการสรรหาในส่วนของสมัชชาแห่งชาติ ร่วมกับการกำหนด ตัวบุคคลเป็นคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญอีกจำนวน 35 คน20 โดย 10 คนในจำนวนนั้นเป็นผู้ทรง คุณวุฒิที่ทางประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติให้ความเห็นชอบ โดยมี น.ต.ประสงค์ สุ่นสิริ ดำรงตำแหน่งประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญการร่างรัฐธรรมนูญใช้เวลาประมาณ 6 เดือน21 จึงได้จดั ให้ มีการออกเสียงประชามติต่อรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นครั้งแรก22 ผลการลงมติประชาชน ส่วนใหญ่ให้ ความเห็นชอบ แม้จะมีการรณรงค์ให้ประชาชนที่ไม่เห็นด้วยลงมติไม่รับร่าง ซึ่งผลที่ออกมายังคงมี การถกเถียงกันถึงจำนวนร้อยละของการเห็นชอบและไม่เห็นชอบ อีกทั้งประเด็นบัตรเสียและเรื่อง ปลีกย่อยอื่นๆ แต่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของประเทศไทย ก็ได้ผ่านกระบวนการขั้นตอนต่างๆ กระทั่งมีผลบังคับใช้
ผลพวงของรัฐธรรมนูญ 2550 ต่อ ความเปลี่ยนแปลงในสังคมไทยภายหลังการรัฐประหาร
ต้องยอมรับว่าการได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลให้ เกิดรัฐบาลผสมโดยการนำของพรรคพลังประชาชน (พปช.) ซึ่งถูกมองว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มอำนาจ ในรัฐบาลเดิม ซึ่งเมื่อรัฐบาลของนายสมัครสุนทรเวช เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการในเดือน กุมภาพันธ์ 2551 ประเด็นร้อนแรงว่าด้วย “การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ปีพ.ศ. 2550” ที่ร่างโดยสมาชิก สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) ภายใต้การกำกับดูแลของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ได้ถูก หยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นหลักในนโยบายของรัฐบาลแทนที่นโยบายและมาตราการเร่งด่วนที่มีการ แถลงต่อรัฐสภาเมื่อแรกเข้ารับตำแหน่งจำนวน 19 ข้อ23 ซึ่งอ้างว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบริหาร ราชการแผ่นดินของรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้สร้างความไม่พึงพอใจกับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) โดยเฉพาะ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งเป็นแกนนำของกลุ่มพันธมิตรฯ กระทั่งมีการประกาศ
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
72
การต่อสู้เพื่อให้ได้ชัยชนะของประชาชนอย่างแท้จริง และเน้นย้ำการขับไล่รัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช ออกจากกตำแหน่ง ด้วยความเชื่อว่า นายสมัครฯ มีสถานะเป็นเพียงตัวแทน (nominee) ของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในการเข้ามาทำหน้าที่ขับเคลื่อนกลไกต่างๆ ให้นำ ไปสู่การเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นการยกเลิกมาตรา 30924 ของ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่จะทำให้การดำเนินการใดๆ ตามข้อหาหรือความผิดต่างๆ ต่อบุคคลใน รัฐบาลชุดที่แล้ว ซึ่งมีการเริ่มต้นมาในช่วงที่ คมช. และรัฐบาลจากการรัฐประหารนั้นตกไปสิ่งที่เกิด ขึ้นทำให้เกิดความเคลื่อนไหวคัดค้านในหมู่ประชาชนทุกสาขาอาชีพอย่างกว้างขวางกระทั่งนำไปสู่ การชุมนุมยึดถนนราชดำเนินนอก บริเวณสะพานมัฆวาณรังสรรค์ นานกว่า 5 เดือนเต็มและมีการ บุกเข้ายึดทำเนียบรัฐบาลโดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อปลายเดือนสิงหาคม ซึ่ง ในขณะที่กำลังเขียนบทความนี้ การชุมนุมเรียกร้องและการยึดทำเนียบของกลุ่มดังกล่าวก็ยังไม่มีที่ท่า ที่จะยุติลงได้ ในขณะที่ ป ระชาชนบางฝ่ า ยเห็ น ว่ า รั ฐ ธรรมนู ญ ปี พ.ศ. 2550 เป็ น เครื่ อ งมื อ และผลผลิ ต ของ
คณะรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารและกลุ่มอำนาจที่สนับสนุนการรัฐประหาร จึงเกิดกลุ่มต่อต้าน การรัฐประหารที่เชื่อกันว่าอาจได้รับการสนับสนุนจากบุคคลผู้เสียผลประโยชน์ในสังกัดของรัฐบาลที่ ถูกโค่นล้มอำนาจไป มีการเรียกชื่อกลุ่มดังกล่าวว่า “นปก. (แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ)
ซึ่งเวลาต่อมามีการเปลี่ยนชื่อเป็น นปช. (แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ)” มีแกนนำ คนสำคัญ ประกอบด้วย นายวีระ มุสิกพงษ์ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายจตุพร พรหมพันธ์ และ
นายจักรภพ เพ็ญแข โดยที่บุคคลเหล่านี้เคยถูกจับกุมในข้อหาร่วมกันก่อความไม่สงบและยังมีคดี ความต่างๆ อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลยุติธรรม การต่อสู้และความเห็นขัดแย้งเชิงอุดมการณ์ความคิดระหว่างฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการ รัฐประหารไม่ว่าจะมีปัจจัยเคลือบแฝงซ่อนเร้น (hidden agenda) อยู่เบื้องหลังประการใดก็ตาม ต้อง ยอมรับว่า ผลแห่งการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 ได้มีส่วนสร้างรอยปริแยกทางสังคมระหว่างกลุ่ม คนที่เห็นต่างกันอย่างน้อย 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่ต้านการปฎิวัติรัฐประหาร กับ ฝ่ายที่ต้านสิ่งที่เรียกว่า ระบอบทุนนิยมแบบทักษิณ (Thaksinocracy or Thanksinomics)25 หรืออาจนับรวมฝ่ายที่เป็น “กลุ่ม พลังเงียบ (silent majority) ซึ่งมิได้ผสมผสานไปกับกระแสความเชื่อของบุคคลในสองกลุ่มแรก เข้าไปอีกกลุ่มหนึ่ง 73
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนี้ ได้นำไปสู่ความรุนแรงถึงขีดสุดในกลางดึกของวันที่ 2 กันยายน 2551 เป็น เหตุให้นายณรงค์ศักดิ์ กอบไธสงค์ ซึ่งเป็นฝ่ายของ นปช. ถูกทำร้ายถึงแก่ความตาย และนำไปสู่การ ประกาศภาวะฉุกเฉินที่แทบไม่มีผลบังคับใดๆ ได้เลย เมื่อในเวลาต่อมา “กลุ่มพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย (พธม)” ได้ตัดสินใจบุกเข้ายึดทำเนียบรัฐบาล และถนนราชดำเนินนอกเป็นการ ตอบโต้ ทำให้ในที่สุดรัฐบาลรักษาการณ์ภายใต้การนำของ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งมีศักดิ์เป็น
น้องเขยของอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องตัดสินใจยกเลิกประกาศภาวะฉุกเฉินใน 12 วันถัดมา26 ภายหลังที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีจากการเลือกตั้งเมื่อ 23 ธันวาคม 2550 ต้องพ้นจากตำแหน่งตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในกรณีการจัดรายการโทรทัศน์ “ชิมไป บ่นไป” ซึ่งเข้าข่ายการกระทำที่เป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ27 หาก พิจารณาในด้านบวกต่อการรัฐประหารที่ผ่านมา มีความพยายามจะทำการจัดระบบสังคมและการเมือง ในแนวทางทีต่ อ้ งการยับยัง้ รูปแบบการเข้าสูก่ ารเมืองของนายทุนผูม้ อี ทิ ธิพลท้องถิน่ ต่างฯ ทีม่ เี ครือข่าย และเครือญาติสืบทอดอำนาจกันต่อๆ มา สิ่งที่เป็นผลพวงสำคัญประการหนึ่งซึ่งได้มาจากรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. 2550 คือ การตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจรัฐในรูปแบบต่างๆ รวมทั้งสิทธิในการชุมนุม เรียกร้องความต้องการตามระบอบประชาธิปไตยปรากฏอยู่ในมาตรา 6328 ที่อนุญาตให้ประชาชน สามารถดำเนินการเรียกร้องสิทธิต่างๆ ได้ในขอบเขตของกฎหมาย แม้จะมีหลายประเด็นเป็นสิ่งที่ยัง คงถกเถียงถึงความหมายของคำว่า “ขอบเขต” ในหลักปฎิบัตินั้นพึงมีอยู่ในระดับปริมาณเท่าใดจึงจะ เหมาะสมความตื่นตัวเกี่ยวกับประชาธิปไตยของประชาชนภายหลังการรัฐประหาร 2549 เป็นสิ่งที่น่า ยินดี การรับรู้และเรียนรู้เกี่ยวกับประชาธิปไตยผ่านเครือข่ายและสื่อต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย ดังจะเห็น ได้จากยอดขององค์กรคณะบุคคลต่างๆ ที่จดแจ้งขึ้นทะเบียนผ่านสำนักงานสภาพัฒนาการเมือง ใน ความดูแลของสถาบันพระปกเกล้า ประกอบด้วยองค์กรต่างๆ รวมแล้วมากเกือบ 1,000 องค์กร29 สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ย่อมมีส่วนไม่มากก็น้อยต่อพัฒนาการประชาธิปไตยในส่วนของภาคประชาชนที่สามารถ เข้ามามีส่วนในการขับเคลื่อนกลไกการเมืองภาคประชาสังคม (civil society) ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญ ประการหนึ่งของระบอบการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ทั่วโลกยอมรับประการสำคัญภาค ราชการรวมตลอดถึงนักการเมืองเริม่ ตระหนักและรับรูถ้ งึ ความจำเป็นแห่งการบริหารจัดการทีด่ ี (good governance) ว่าเป็นสิ่งที่พวกตนสามารถถูกตรวจสอบและซักถามในวาระโอกาสต่างๆ ได้ตลอดเวลา อันเป็นผลของการมีองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญเข้ามาทำหน้าทีโ่ ดยตรงทัง้ ในส่วนของ คณะกรรมการ การเลือกตัง้ (กกต.) และคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) กระทัง่ ทำให้
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
74
ฉายาที่เคยมีการเรียกขานในอดีตต่อสำนักงานคณะกรรมการป้องการและปราบปรามการทุจริตใน แวดวงราชการ หรือ ปปป. ว่า “เป็นเสือกระดาษ” ได้กลายเป็นสิ่งที่นักการเมืองและข้าราชการที่ ฉ้อราษฎร์บังหลวงพากันเกรงกลัว ดังจะเห็นได้จากหลายคดีที่ทาง ปปช. สามารถดำเนินการกระทั่ง ศาลมีคำสั่งลงโทษได้อย่างเฉียบขาด30 ในแง่ความเคลื่อนไหวของกองทัพภายหลังการรัฐประหาร จาการได้มีโอกาสสอบถามพูดคุยอย่างไม่ เป็นทางการกับนายทหารระดับสูงที่ผู้เขียนได้มีโอกาสพบปะทั้งในการบรรยายในสถาบันการศึกษา ชั้นสูงของกองทัพและในการร่วมประชุมคณะอนุกรรมาธิการทหารสภาผู้แทนราษฎร พบว่าทาง กองทัพมีแนวโน้มในทางที่ไม่เห็นด้วยและไม่ประสงค์จะเห็นการกระทำรัฐประหารดังที่แล้วๆ มาอีก ด้วยเหตุผลของความต้องการเป็น “ทหารอาชีพ (professionalism)” ที่ไม่ต้องการเข้าไปเกี่ยวข้องกับ สิ่งที่ตนเองเห็นว่ามิใช่ความชำนาญเชี่ยวชาญเฉพาะ และสุ่มเสี่ยงต่อการถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทางอัน ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมรอบข้างทั้งในและต่างประเทศเช่นที่แล้วๆ มา นอกจากนั้นภายหลังที่ รัฐธรรมนูญฉบับถาวรปี พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ บรรดานายทหารของกองทัพที่มีบทบาทนำ
ในการทำรัฐประหารหลายคนพยายามไม่ปรากฏตัวต่อสาธารณะ ทั้งพลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน และ พลเอก สะพรั่ง กัลยาณมิตร มีเพียงแกนนำของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) บางคน เช่น พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข ที่ค่อนข้างมีความชัดเจนในจุดยืนต่อการกระทำที่ผ่านมาและได้ให้ สัมภาษณ์สื่อมวลชนบ่อยครั้งเมื่อมีสถานการณ์เผชิญหน้าระหว่างฝ่ายที่มีความเห็นแตกต่างกันระหว่าง กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) และกลุ่มแนวร่วมเพื่อประชาธิปไตยต่อต้าน เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) โดยเฉพาะในเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการแต่งตั้งโยกย้าย
นายทหารในช่วงเวลาที่ผ่านมาเป็นที่น่าสังเกตว่า นายทหารที่ถูกจับตามองและถูกวิพากษ์วิจารณ์
จากสื่อมวลชนและทางกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยค่อนข้างมากอีกท่านหนึ่งคือ
พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบกคนปัจจุบัน ด้วยมีการตั้งข้อสังเกตถึงการเดินทางไป ต่างประเทศร่วมกับคณะของอดีตนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช บ่อยครั้งในระหว่างการดำรง ตำแหน่ง และยังมีท่าทียึดถือ “ความเป็นกลาง” ในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงจากการปะทะกัน ของกลุ่มประชาชนที่มีความเห็นขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่ม นปช. และกลุ่มพันธมิตรฯ โดย เฉพาะความรุนแรงครั้งล่าสุดอันเกิดจากการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ บริเวณหน้ารัฐสภา กระทั่งมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นจำนวนมาก สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ทำให้มีการคาดการณ์ถึงความไม่เป็นเอกภาพในกองทัพ ซึ่งมักเป็นปัญหาทุกครั้งในการ 75
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
โยกย้ายแต่งตั้งนายทหารระดับสูง แม้แต่การโยกย้ายนายทหารก่อนสิ้นปีงบประมาณ 2551 ก็ยังคงมี ข้อกล่าวหาเชื่อมโยงไปถึงอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการขอลี้ภัย ทางการเมืองอยู่ที่ประเทศอังกฤษในขณะนี้ว่า มีส่วนสำคัญต่อการโยกย้ายแต่งตั้งข้าราชการและ กำหนดทิศทางการบริหารราชการแผ่นดินในด้านต่างๆ ของรัฐบาลนายสมัคร สุนทรเวช ตลอดทั้ง รัฐบาลชุดปัจจุบันที่มีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรีทั้งนี้สื่อมวลชนได้เปิดเผยรายชื่อนาย ทหารที่เป็นเพื่อนร่วมชั้นโรงเรียนเตรียมทหารในรุ่นเดียวกับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร (เตรียมทหาร รุ่น 10) ซึ่งได้รับการสนับสนุนให้ได้เป็นผู้นำเหล่าทัพและมีความก้าวหน้าในการโยกย้ายแต่งตั้ง หลายนาย31 สิ่งเหล่านี้จัดได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ข้าราชการในทุกองคาพยพต่างไม่มั่นใจต่อการ ตัดสินใจเข้าผสมกลมกลืนกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอย่างชัดเจน ในด้านหนึ่งแม้จะมองว่ากองทัพได้ถอนตัว ออกไปจากการปกครองไปแล้วเมื่อส่งคืนอำนาจกลั บ คื น สู่ ป ระชาชน แต่ บ ทบาทของกองทั พ ที่ ค่อนข้างสงบและยืนยันในการไม่ปฎิวัติรัฐประหารจากผู้บัญชาการทหารบกแทบทุกครั้งที่มีการถูกตั้ง คำถามก็ยังไม่ได้รับความเชื่อถือของประชาชน ทั้งนี้อาจเกิดจากประสบการณ์ในอดีต รวมไปถึง ความเคลื่อนไหวของนายทหารทั้งในและนอกราชการที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนขึ้นวิพากษ์วิจารณ์การ ทำงานของรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง ทำให้หลายคนไม่มั่นใจว่ากองทัพ หรือเหล่าทหารได้ถอยออกไปจาก ระบบการเมืองจริงหรือไม่32
รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันอันเป็นผลพวงของการรัฐประหารกับประเด็นข้อถกเถียง
เมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ ได้เริ่มมีข้อวิพากษ์วิจารณ์หลาย ประการ โดยเฉพาะความพยายามของฝ่ายรัฐบาลในแก้ไขรัฐธรรมนูญในหลายมาตราที่เป็นชนวนนำ ไปสู่ ค วามขั ด แย้ ง ในทุ ก วั น นี้ ร ะหว่ า งฝ่ า ยพั น ธมิ ต รประชาชนเพื่ อ ประชาธิ ป ไตยกั บ ฝ่ า ยแนวร่ ว ม ประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งมีการมองกันว่าเป็นความพยายามในการแก้ไข เพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ อดี ต นายกรั ฐ มนตรี ทั ก ษิ ณ ชิ น วั ต ร กั บ พวก ตามข้ อ กล่ า วหาของกลุ่ ม พั น ธมิ ต ร ประชาชนเพื่อประชาธิปไตย อย่างไรก็ดียังคงมีประเด็นอื่นที่ควรพิจารณาโดยเฉพาะกรรมวิธีการได้ มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.) และสมาชิกวุฒิสภา (สว.) ซึ่งยังคงมีข้อโต้แย้งกันอยู่หลาย ประการการย้อนกลับไปสู่ระบบการเลือกตั้งแบบ “ผู้มีสิทธิเลือกตั้งหนึ่งคนสามารถเลือกผู้สมัครได้ หลายคน” ซึ่งถูกวิจารณ์ว่าเป็นการสร้างกลไกให้เกิดระบบการเมืองแบบหลายพรรค (multi-party system) เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความกังวลในหมู่นักการเมืองและนักวิชาการจำนวนไม่น้อยว่า ระบบ การเมืองที่ถูกออกแบบด้วยข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญเช่นนี้ อาจนำประเทศกลับไปสู่ระบบการ
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
76
ปกครองในวิถีทางที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีตเมื่อหลายสิบปีก่อน ที่มีการต่อรองผลประโยชน์ทางการ เมืองโดยไม่คำนึงถึงประเทศชาติของบุคคลทางการเมืองในการซื้อขายตำแหน่ง และเป็นการสร้าง ความอ่อนแอต่อการเจริญเติบโตของระบบพรรคการเมือง นอกจากนั้นการกำหนดขนาดพื้นที่ของเขตเลือกตั้งซึ่งมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมและการกำหนดจำนวน ผู้แทนราษฎรและวุฒิสมาชิกอย่างคงที่ไว้ในรัฐธรรมนูญ อาจเป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ ปัจจุบันและศักยภาพในการดูแลปัญหาต่างๆ ของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งในส่วนของวุฒิสมาชิกอาจ เป็นที่ยอมรับได้ เนื่องจากบทบาทหน้าที่ของวุฒิสมาชิกมิใช่การนำงบประมาณที่ได้จากการแปรญัตติ ไปใช้จ่ายในพื้นที่เขตเลือกตั้งเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในเขตเลือกตั้งดังเช่นวิธีการ ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรดำเนินการการเลือกตั้งในระบบใหม่มีข้อวิจารณ์ถึงผู้เกี่ยวข้องในการร่าง รัฐธรรมนูญว่า เป็นไปโดยพื้นฐานของความไม่เชื่อมั่นในระบบการเลือกตั้งแบบเดิมที่ทำให้เกิดระบบ พรรคการเมืองที่เข้มแข็งมากเกินไป โดยเฉพาะพรรคการเมืองที่มีฐานสนับสนุนทางการเงินที่เข้มแข็ง นอกจากนี้การได้มาซึ่ง สส. ในระบบสัดส่วน และ สว. ในระบบการสรรหา ปรากฎภาพสะท้อน ของการแบ่งแยกขั้วของสองฝักฝ่ายอย่างเห็นได้ชัดในการประชุมรัฐสภาหลายครั้งนับแต่ได้จำนวน สส และ สว ครบถ้วนตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ ยิ่งไปกว่านั้นประเด็นเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองที่อดีตพรรคไทยรักไทย (ทรท.) ต้องพบกับจุดจบ และทำให้กรรมการบริหารพรรคจำนวน 111 คน มีการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรค การเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองเป็นเวลานาน 5 ปี33 เป็นอีกหนึ่งในข้อวิจารณ์เกี่ยวกับ ข้อกำหนดที่ถูกตั้งคำถามค่อนข้างมากทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและเห็นขัดแย้งออกไป ซึ่งในส่วนของฝ่าย สนับสนุนนั้นมองว่าการยุบพรรคการเมืองพร้อมด้วยการสั่งห้ามกรรมการบริหารพรรคเกี่ยวข้องกับ การเมืองเช่นนี้ คือ วิธีการที่เฉียบขาดรวดเร็วและได้ผลอย่างยิ่งที่จะสามารถสร้างสรรค์การเมือง
ให้เกิดความโปร่งใสได้แบบ “ก้าวกระโดด” บนสมมติฐานที่เชื่อว่า ตำแหน่งทางการเมืองเท่าที่ผ่าน มายังคงวนเวียนอยู่เพียงญาติพี่น้องคนใกล้ชิดของนักการเมือง ไม่ต่างกับการดำเนินธุรกิจแบบ ครอบครัวของคนไม่กี่ตระกูล34 ซึ่งผลการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550 เป็นบทพิสูจน์หนึ่งว่า การออกแบบระบบที่ดีเลิศ
เพี ย งใด แต่ ใ นที่ สุ ด แล้ ว นั ก การเมื อ งยั ง คงอาศั ย ช่ อ งว่ า งของกฎหมายที่ ไ ม่ ว่ า จะมี ค วามพยายาม
อุดช่ อ งโหว่ อ ย่ างไร นักการเมืองและนักกฎหมายที่ ช่ ำ ชองก็ ยั ง คงสามารถเล็ ด รอดหรื อ สามารถ
77
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
แหวกหาจุดอ่อนที่ทำให้ตนเองงและพวกพ้องได้ประโยชน์อยู่เสมอ โดยการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุด ยังคงพบว่ามีตัวแทนของนักการเมืองที่เข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองทดแทนบุคคลที่ต้องห้ามทางการ เมืองอยู่เป็นจำนวนมาก มีทั้งภรรยา บุตร หรือเครือญาติ35 ด้วยเหตุดังกล่าวกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงมีความพยายามในการนำเสนอแนวคิด ว่ า ด้ ว ย “การเมื อ งใหม่ ” ซึ่ ง ถู ก วิ พ ากษ์ วิ จ ารณ์ อ ย่ า งกว้ า งขวาง โดยเฉพาะในประเด็ น เกี่ ย วกั บ อัตราส่วนของ สส. ที่มาจากการแต่งตั้งในปริมาณที่มากกว่า สส. จากการเลือกตั้งถึงกว่า 2 เท่าตัว ดังที่เรียกกันว่า ระบบ 70/30 กระทั่งทางแกนนำพันธมิตรต้องใช้เวทีปราศรัยในการระดมสมองและ เชิญชวนผู้ร่วมชุมนุมตลอดทั้งนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ร่วมให้ข้อมูลหรือปรับแก้ให้แนวคิด “การเมื อ งใหม่ ” สอดคล้องกับความเป็นจริง มากยิ่ ง ขึ้ น ถื อ ได้ ว่ า ผลพลอยได้ ใ นทางบวกจากการ รัฐประหารอีกประการหนึ่งคือ ความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนต่อการเข้ามามีส่วนร่วมในการ เคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนอย่างไม่เคยมีมาก่อน แต่ภายใต้ความตื่นตัวเช่นนี้ ย่อมมีทั้ง
ผู้เห็นด้วยและผู้ที่อาจมองได้ถึงการข้ามขั้นตอนในการก้าวเดินที่ไกลเกินจุดแห่งความสมดุลที่ควรจะ เป็นหรือไม่ อาทิ กรณีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเดินขบวนประท้วงและบุกรุกเข้าไป ยังสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที ทำเนียบรัฐบาลตลอดทั้งการเข้าไปในพื้นที่สนามบินของท่าอากาศยาน หลายแห่ง ได้ทำให้ภาพลักษณ์แห่งการเคลื่อนไหวชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธของพันธมิตรฯ
ถูกตำหนิและมีกลุ่มประชาชนจำนวนไม่น้อยแสดงความไม่เห็นด้วยผ่านสื่อมวลชนและในกระดาน สนทนาตามเว้ปไซต์ต่างๆ อยู่พอสมควร นอกจากนั้นแล้ว การวิพากษ์วิจารณ์ถึงบทบัญญัติใน รัฐธรรมนูญต่อกรณีการขาดคุณสมบัติความเป็นรัฐมนตรีของนายสมัคร สุนทรเวช ดังคำตัดสิน วินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ36 เป็นอีกข้อถกเถียงที่ได้ถูกหยิบยกมากล่าวถึงอย่างกว้างขวางไม่น้อยไป กว่ากัน เนื่องจากคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลรัฐธรรมนูญย่อมผูกพันทุกองค์กร37 อย่างไรก็ตามภายหลังที่รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ และได้มาซึ่งตุลาการศาล รัฐธรรมนูญชุดใหม่ครบองค์คณะ ก็อาจกล่าวได้ว่าการพิพากษาคดีที่ส่งผลให้นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรีขาดคุณสมบัติกระทั่งต้องพ้นจากตำแหน่งไป เป็นสิ่งที่ทำให้สังคมเพิ่มความสนใจ ต่ อ บทบาทของศาลรั ฐ ธรรมนู ญ มากยิ่ ง ขึ้ น และ ณ ปั จ จุ บั น ยั ง คงมี ค ดี เ กี่ ย วกั บ การวิ นิ จ ฉั ย ยุ บ พรรคการเมืองที่ทางคณะกรรมการการเลือกตั้งส่งเรื่องมาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ซึ่งหลายฝ่ายเชื่อ กันว่า พรรคพลังประชาชน (พปช.) ที่ถูกมองเป็นพรรคสาขาหรือเป็นตัวแทนของพรรคไทยรักไทย ดั้งเดิมนั้น มีแนวโน้มค่อนข้างสูงที่จะถูกตัดสินให้ยุบพรรค หากยึดมาตรฐานในการพิจารณายุบ พรรคไทยรักไทยที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
78
ระบบตรวจสอบทางการเมืองที่เข้มแข็ง
แน่นอนว่าในทรรศนะของผู้ที่ไม่เห็นด้วยหรืออยู่ในสถานะที่ต้องถูกตรวจสอบโดยองค์กรอิสระตาม รัฐธรรมนูญในมาตรา 229-25438 เฉพาะอย่างยิ่ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และคณะ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ปปช.) มีผลให้นักการเมืองจำนวนไม่น้อยเกิด ความระมัดระวังในการประพฤติปฎิบัติและให้ความเคารพยำเกรงต่อกฎหมายมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องด้วยนักการเมืองจำนวนไม่น้อยต้องพ้นตำแหน่งหรือถูกเพิกถอนสิทธิทางการเมือง ซึ่งเป็นผล จากการกระทำความผิดที่บัญญัติไว้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งก็ดี รวมทั้ง การกระทำผิดต่อการแสดงทรัพย์สินและหนี้สินต่างๆ ในกฎหมายของ ป.ป.ช. ได้ปรากฏเป็นที่ ประจักษ์หลายต่อหลายรายด้วยกัน ทั้งนี้การตรวจสอบทางการเมืองที่เข้มแข็งอย่างเป็นทางการ อาทิ หน่วยงานองค์กรต่างๆ ที่กล่าวถึง ข้างต้นจะไม่สามารถสัมฤทธิผลได้หากปราศจากความร่วมมือหรือได้รับความไว้วางใจจากประชาชน ทุกภาคส่วน ความสำเร็จในวันนี้ของหน่วยงานไม่ว่าจะเป็น กกต. หรือ ป.ป.ช. ก็ดี พบว่าภาค ประชาชนได้เข้ามามีส่วนในการช่วยขับเคลื่อนและเป็นหูเป็นตาให้กับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองอีกแรงหนึ่ง ดังเช่นในกรณีของ ป.ป.ช. นอกจากการมี ป.ป.ท. หรือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตภาครัฐ เข้ามาเสริมงานปราบปรามการทุจริตของ ป.ป.ช. อยู่ในสังกัดกระทรวงยุติธรรมแล้ว ยังมีองค์กรภาคประชาสังคมที่เรียกตนเองว่า ป.ป.ช. ภาคประชาชนเกิดขึ้น เป็นส่วนเสริมที่ทำให้ ศักยภาพในการตรวจสอบการประพฤติมิชอบของทั้งนักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีความเข้มข้น และน่าจะมีผลในทางเพิ่มพูนศักยภาพต่อกลไกป้องกันและปราบปรามการทุจริตได้อย่างเด่นชัด
79
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
บทส่งท้าย
จะเห็นได้ว่าความเปลี่ยนแปลงที่เป็นพัฒนาการภายหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน มีส่วนในการ สร้างเสริมความสามารถในการตรวจสอบทางการเมืองและทำให้การเมืองภาคประชาชนมีความ เข้มแข็งอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายให้การสนับสนุนและมุ่งหวังที่จะได้เห็นการเมืองสามารถ ดำเนินได้หลากหลายนอกเหนือจากการถูกจำกัดวงแคบอยู่เพียงบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นนักการเมืองใน รัฐสภาเท่านั้น อย่างไรก็ตามการรัฐประหาร เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ในภาพรวมต้องยอมรับว่าได้สร้างผล
กระทบต่อภาพลักษณ์ความต่อเนื่องของบรรยากาศความเป็นประชาธิปไตยและความเชื่อมั่นต่อ การเมืองการปกครองของประเทศไทยในสายตาชาวโลกเป็นอย่างยิ่ง ความเสียหายในเชิงเศรษฐกิจ เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สามารถวัดเป็นมูลค่าได้ แต่ความเสียหายอันเปรียบเสมือนต้นทุนในการล้มล้าง ระบอบความเชื่อที่เรียกกันว่า “ระบอบทักษิณ (Thaksinocracy)” ยังคงมีการถกเถียงกันอย่าง กว้างขวางแม้ในทุกวันนี้ว่า มีผลคุ้มค่าต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในเวลาต่อๆ มาหรือไม่ ซึ่งแน่นอน ว่าผูใ้ ห้การสนับสนุนความคิดดังกล่าวย่อมเชือ่ มัน่ ว่า หากปล่อยให้การบริหารภายใต้อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ดำเนินต่อไป มูลค่าความเสียหายที่อาจไม่สามารถประเมินค่าได้อาจมีมากกว่านี้ หลายเท่า ในขณะเดียวกัน กลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับวิธีการดังกล่าวนี้ ย่อมให้เหตุผลที่รับฟังได้ในอีก ด้านหนึ่งว่า การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในความเชื่อที่วาดฝันถึงอัศวินม้าขาว (man on horse back) ในการเข้ามาแก้ไขปัญหาได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ได้เคยสอนบทเรียนให้กับประเทศไทยและ ชาวไทยมาครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งหากภาคประชาชนในช่วงเวลาที่ผ่านมาไม่มีความเข้มแข็งและขาด ศักยภาพในการเข้ามาทัดทานอำนาจของฝ่ายการเมืองและผู้นำทหารในอดีต ความเป็นประชาธิปไตย เช่นทุกวันนี้คงไม่อาจเกิดขึ้นได้โดยง่าย ยิ่งกว่านั้นการรัฐประหารไม่มีหลักประกันใดๆ ว่า ในที่สุดผู้มีอำนาจจะมีความจริงใจหรือพร้อมจะคืน อำนาจให้กบั ประชาชนได้เมือ่ ใด การตรวจสอบอำนาจรัฐในช่วงเวลารัฐประหารก็ไม่สามารถกระทำได้ เพราะสื่อมวลชนและการเคลื่อนไหวทางการเมืองใดๆ ย่อมจะถูกสั่งห้ามและถูกยับยั้งด้วยมาตรการ ทางกฎหมายที่กำหนดโดยผู้มีอำนาจในขณะนั้น จึงจำเป็นที่ผู้อ่านจะต้องพิจารณาและวินิจฉัยด้วย ตนเองว่า ผลพวงในทางบวกของการรัฐประหารกับมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรัฐประหาร สิ่งใดจะให้ประโยชน์สูงสุดต่อประเทศและสังคมไทยมากกว่ากัน ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
80
เชิงอรรถ 1 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งอาเซียน (Asian Human Rights commission) ในเขตการปกครองพิเศษฮ่องกง ได้กล่าวถึงการ รัฐประหารของประเทศไทยเมื่อ 19 กันยายน 2549 ว่า ได้ทำให้ประเทศไม่มีรัฐธรรมนูญและขาดหลักนิติธรรม (The Rule of Law) แหล่ง ที่มา Foreword, THAILAND: Military coup 2006: A collection of statements marking one month of renowned military rule inThailand (Asian Human Rights Commision, Hong Kong) October 2006 2 ปิยะนาถ บุนนาค ได้กล่าวถึงคณะรัฐมนตรีหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ว่าประกอบด้วย 5 ประเภท คือ คณะรัฐมนตรีที่ เรียกว่า คณะกรรมการราษฎรแต่อำนาจอยู่กับผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สอง คือคณะรัฐมนตรีที่มีส่นผลสมพลเรือนและทหารแต่ เน้นหนักอำนาจอยู่ที่ฝ่ายทหาร สาม คือ คณะรัฐมนตรีที่ประกอบด้วยสมาชิกคณะราษฎรฝ่ายพลเรือนกับสภา ดังเช่นรัฐบาลพลเรือนสมัยหลัง สงครามโลกครั้งที่สอง สี่ คือ คณะรัฐมนตรีเผด็จการทหาร และห้า คือ คณะรัฐมนตรีที่มีอำนาจคณะรัฐประหารอยู่เบื้องหลัง (ที่มา: ปิยนาถ บุนนาค และคณะ “พัฒนาการระบบคณะรัฐมนตรีไทย หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 – 6 ตุลาคม 2519” สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (2549) หน้า 26 3 เอกสารวิจัยเชิงเสวนา “ชำระประวัติศาสตร์กรณี 6 ตุลาและพฤษภาทมิฬ” ศูนย์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยฯ (ไม่ปรากฎที่พิมพ์) 4 หนังสือพิมพ์สยามธุรกิจ ฉบับที่ 773 ประจำวันที่ 7-3-2007 ถึง 9-3-2007 5 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 จัดพิมพ์โดย สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2549 6 มาตรา 136-148 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 7 มาตรา 196-198 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 8 มาตรา 199-200 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 9 มาตรา 297-302 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 10 มาตรา 44 (1) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและ ปราศจากอาวุธ” 11 มาตรา 65 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 บัญญัติว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใดๆ ที่ เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ” 12 ดังเช่นปรากฏในมาตรา 58 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ความว่า “บุคคลย่อมมีสิทธได้รับทราบข้อมูลหรือ ข่าวสารในความครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระ บทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้ส่วนเสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่น ทั้งนี้ตามที่กฎหมาย บัญญัติ 13 ที่มา หนังสือพิมพ์แนวหน้าออนไลน์ ฉบับวันที่ 7 พฤศจิกายน 2549 14 ที่มา http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=37963 15 ในห้วงเวลาที่ผ่านมาประเทศมหาอำนาจเริ่มลังเลในการให้กำลังทหารเข้าจัดการกับประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่ได้หันมาใช้การ บีบบังคับทางเศรษฐกิจมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (ที่มา: . DANIEL W. DREZNER, THE SANCTIONS PARADOX, ECONOMIC STATECRAFT AND INTERNATIONAL RELATIONS (Cambridge University Press 1999) ใน E. Michael Abler Retooling Economic Sanctions: Challenges of Legitimacy and Efficacy (final paper) 30 August 2008 หน้า 11 16 ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การลดระดับความสัมพันธ์ในเชิงการทูตและการทหารของหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกากับการฝึกร่วม กองทัพไทยในโครงการฝึกผสม “คอบร้าโกลด์” ที่มีการดำเนินการเต็มรูปแบบได้มีการลดระดับลงมาตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป 16 ซึ่งภายหลังที่รัฐบาลพลเรือนได้อำนาจรัฐกลับคืนมาแล้ว หลายอย่างที่ได้ลดทอนไป ได้มีการนำกลับคืนสู่สถานะเดิม 17 มาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2549 18 ตั้งขึ้นตาม ประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ฉบับที่ 30 ลงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2549 19 ในที่สุดคดีที่ทาง คตส. ดำเนินการกระทั่งเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ก็ได้มีคำ พิพากษาในคดีทุจริตการจัดซื้อที่ดินย่านถนนรัชดาภิเษก เป็นคดีแรก สั่งลงโทษจำคุกเฉพาะ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีเป็น เวลา 2 ปี เพราะผิดกฎหมาย ป.ป.ช. ส่วนการซื้อที่ดินของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ถือว่าไม่ขัดกฎหมาย ไม่ต้องยึดค่าที่ดินกว่า 700 ล้านบาท ที่มา: สำนักข่าวไทย 21 ตุลาคม 2551
81
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
20 เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 20-25 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549 21 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549 ในมาตรา 29 วรรคหนึ่ง กำหนดให้สภาร่างรัฐธรรมนูญจัดทำร่าง รัฐธรรมนูญ และพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันเปิดประชุมสภาร่างรัฐธรรมนูญ 22 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับชั่วคราว พุทธศักราช 2549 ในมาตรา 29 วรรคสอง 23 นายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2551 24 มาตรา 309 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติไว้ว่า “บรรดาการใดที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณี
ดังกล่าวไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้ ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้” 25 ที่มา: เอกสารเรื่อง “ระบอบทักษิณ” โดย แก้วสรร อติโพธิ และคณะ 26 รัฐบาลประกาศยกเลิกภาวะฉุกเฉินในวันที่ 14 กันยายน 2551 ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 15 กันยายน 2551 27 ปรากฏอยู่ในมาตรา 265-269 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 โดยเฉพาะในมาตรา 267 ที่ว่า “... จะดำรง ตำแหน่งใดในห้างหุน้ ส่วน บริษทั หรือองค์การทีด่ ำเนินธุรกิจโดยมุง่ หาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งกัน หรือเป็นลูกจ้างของบุคคลใดก็มไิ ด้ดว้ ย” 28 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 63 “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ การ จำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะในกรณีการชุมนุมสาธารณะ และเพื่อ คุ้มครองความสะดวกของประชาชนที่จะใช้ที่สาธารณะ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงคราม หรือ ในระหว่างเวลาที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก” 29 ที่มา: เว้ปไซต์สภาพัฒนาการเมือง www.pdc.go.th 30 นับแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2549 - 6 ตุลาคม 2551 คณะกรรมการ ปปช. ได้มีการดำเนินการเรื่องการกล่าวหาเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทุจริตต่อหน้า ที่ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ รวมทั่งได้มีมติชี้มูลความผิดทางวินัย ทางอาญา และร่ำรวยผิดปกติจำนวน 131 เรื่อง อาทิ กรณี การกล่าวหานายวัฒนา อัศวเหม กับพวกใช้อำนาจหน้าที่ในขณะเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย บังคับ ข่มขืนใจ หรือจูงใจให้ ราษฎรขายที่ดิน ตำบล คลองด่าน อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ ให้โดยมิชอบ (ที่มา: เอกสารผลงานคณะกรรมการ ป.ป.ช. ในรอบ 2 ปี (6 ตุลาคม 2549 – 6 ตุลาคม 2551) สำนักงาน ป.ป.ช.ตุลาคม 2551 31 ที่มา: หนังสือพิมพ์ข่าวสด วันที่ 1 กันยายน 2551 32 เมือ่ วันที่ 16 ตุลาคม 2551 ตัวแทนกองทัพทุกเหล่าทัพและผูบ้ ญั ชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประกอบด้วย พล.อ..ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเรือเอก กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก พล.อ.อ. อิทธพร ศุภวงศ์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ และ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ร่วมออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์สีช่อง 3 ก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ถึงท่าทีของกองทัพในการเข้ามากดดันให้รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดื รับผิดชอบต่อเหตุการณ์ความรุนแรง เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 บริเวณหน้ารัฐสภา 33 เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร พุทธศักราช 2550 34 เห็นได้ชัดเจนว่าในการร่วมกันสรรหานายกรัฐมนตรีคนใหม่แทนที่นายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งพ้นจากตำแหน่งไปนั้น ทั้งพรรคร่วมรัฐบาล และแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล คือ พรรคพลังประชาชน ได้สนับสนุนให้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องเขยของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เข้ามาดำรงตำแหน่ง นอกจากนั้นรายชื่อรัฐมนตรีร่วมคณะก็ชัดเจนว่ายังเป็นการจัดสรรตามสัดส่วนจำนวน สส. ในพรรคแต่ละพรรค ที่เรียกกันว่า “ระบบโควตา” มากกว่าการพิจารณาถึงความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ 35 คอลัมน์ “กล้าได้กล้าเสีย” หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 11 มีนาคม 2551 36 คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญลงมติเอกฉันท์ว่า นายสมัคร มีความผิดตาม มาตรา 267 และ มาตรา 182 วรรคหนึ่ง (7) จึงวินิจฉัยว่าผู้ถูก ร้องสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯ เฉพาะตัว และเมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 182 จึงเป็นเหตุ ให้รัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 180 วรรค 1 (1) แต่ด้วยความเป็นรัฐมนตรีของนายกฯ เป็นการสิ้นสุดลง เฉพาะตัวทำให้รัฐมนตรีในคณะรัฐมนตรีที่เหลือยังอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ารัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ตาม รัฐธรรมนูญมาตรา 181 ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 10 กันยายน 2551 37 ในมาตรา 216 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ความตอนหนึ่งว่า “ ... คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญให้เป็นเด็ดขาด มีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ” 38 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 ประกอบด้วย คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ปรากฏในหมวด 11 องค์กรตามรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 1 องค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
82
เชิงอรรถ
Fairness and Environmental Ethics in Tax Revenues Financing and User Fees Financing of Solid Waste Management Dr. Pisanu Sangiampongsa
83
ปที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
84
Fairness and Environmental Ethics in Tax Revenues Financing and User Fees Financing of Solid Waste Management Dr. Pisanu Sangiampongsa*
*This article is being reprinted from journal of Social Sciences Vol 30, No 1 with permission from the author. 85
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
86
87
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
88
89
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
90
91
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
92
93
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
94
95
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
96
97
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
98
99
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
100
.............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. 101
ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
.............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. .............................................................................................................................................. ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม 2552
102