สึนามิ
Ts
un
ื่นแห่งการปฏิ รู ป
rm
คล
o am f e i : waves of r
มูลนิธช ิ ม ุ ชนไท ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุน การสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู (Tsunami : waves of reform)
หมายเลขมาตรฐานสากลประจ�ำหนังสือ ISBN : 978-616-92459-0-2 พิมพ์ครัง้ แรก 2,000 เล่ม บรรณาธิการบริหาร ปรีดา คงแป้น จ�ำนงค์ จิตรนิรตั น์ พิชยา แก้วขาว ไมตรี จงไกรจักร์ บรรณาธิการ กรรณจริยา สุขรุง่ คณะผูเ้ ขียน ปรีดา คงแป้น ปิยนาถ ประยูร หนูเพียร แสนอินทร์ มณีรตั น์ มิตรปราสาท ดร.นฤมล อรุโณทัย นิศานาถ รัตนนาคินทร์ (โยธาสมุทร) กองบรรณาธิการ ศิรนิ นั ต์ สุวรรณโมลี สุภาภรณ์ จรูลรัตติกลุ จิรวรรณ ชูชำ� นาญ พิชติ ไพศาลโอภาส วารีรตั น์ คงแป้น ออกแบบปกและรูปเล่ม หนูเพียร แสนอินทร์ จัดพิมพ์โดย พิมพ์ที่ สืบค้นข้อมูลเพิม่ เติม สนับสนุนโดย
มูลนิธชิ มุ ชนไท เลขที่ 11 ถนนกรุงเทพกรีฑา ซอย 1 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพ ฯ โทร. 0-2379-5386-7 โรงพิมพ์บริษทั พีเอ็นพี กรุป๊ จ�ำกัด 1421 หมูบ่ า้ นเสนาวิลล่า ถ.ลาดพร้าว คลองจัน่ บางกะปิ กทม. 10240 โทร. 02-365-5300 www.chumchonthai.or.th ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
4
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ค�ำนิยม พลเอกสุรนิ ทร์ พิกลุ ทอง ประธานคณะกรรมการแก้ปญ ั หาทีด่ นิ ทีท่ ำ� กิน และพืน้ ทีท่ างจิตวิญญาณชุมชนชาวเล ผมได้รบั การประสานจาก คุณปรีดา คงแป้น ผูจ้ ดั การมูลนิธิ ชุมชนไท ขอให้เขียนค�ำนิยมของหนังสือ สึนามิ : คลืน่ แห่งการปฏิรปู ในฐานะทีผ่ มได้มสี ว่ นร่วมในการแก้ไขปัญหาเรือ่ งทีด่ นิ และทีอ่ ยูอ่ าศัยของ ชุมชนทีป่ ระสบภัยพิบตั ิ แล้วไม่สามารถกลับไปก่อสร้างบ้านอยูอ่ าศัยใน ทีด่ นิ เดิมได้ เนือ่ งจากเกิดมีเจ้าของทีด่ นิ ทัง้ ภาครัฐและเอกชน ผมต้อง ขอขอบคุณทีใ่ ห้เกียรติผมได้มสี ว่ นร่วมในหนังสือทีม่ คี ณ ุ ค่าเล่มนี้ การเกิด คลืน่ สึนามิ เมือ่ 26 ธันวาคม 2547 ในครัง้ นัน้ ย่อม เป็นทีท่ ราบกันดีวา่ ได้บงั เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงแก่มนุษยชาติ ชายฝัง่ ทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย การจัดการภัยพิบตั ทิ เี่ กิดขึน้ โดยไม่ทราบล่วงหน้า ไม่ทราบขนาด ไม่ทราบสถานที่ และไม่ทราบว่า จะเกิดความสูญเสียมากน้อยแค่ไหน และไม่เคยประสบมาก่อน เมือ่ เกิด ขึน้ แล้ว การบริหารจัดการเป็นเรือ่ งทีย่ ากยิง่ ทีส่ ดุ ทีจ่ ะให้เรียบร้อยถูกต้อง ครบถ้วน ทัง้ ๆ ทีค่ นทุกภาคส่วนมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าทีจ่ ะให้การ
Tsunami : waves of reform
บริหารจัดการส�ำเร็จเรียบร้อยในทุกประเด็นปัญหา โดยการทุม่ เททัง้ กาย สติปญ ั ญาและก�ำลังทรัพย์ทงั้ โดยตรงและโดยอ้อม หนังสือสึนามิ : คลื่นแห่งการปฏิรูป ได้เรียบเรียงโดยผู้ที่ ประสบการณ์ตรง ได้คลีใ่ ห้เห็นความดีงามของสังคมไทย สังคมโลก ความ ส�ำเร็จ ความบกพร่อง ความผิดพลาดทัง้ ในอดีต และปัจจุบนั ได้เผยให้ เห็นธาตุแท้ของสังคมไทย ทัง้ ในยามปกติ และยามวิกฤติิ โดยเผยให้เห็น สิง่ ทีค่ ดิ ว่าไม่นา่ จะมีอดีตทีซ่ กุ ซ่อนไว้ อันก่อให้เกิดการปฏิรปู เกือบจะ ทุกด้านและเป็นการปฏิรปู จากฐานรากจากล่างขึน้ บน ซึง่ เป็นการปฏิรปู ทีแ่ ท้จริง ขอขอบคุณและคารวะต่อผู้ท่ีเกี่ยวข้องทุกท่านทุกฝ่ายที่ได้ ร่วมกันท�ำให้มีเอกสารที่ส�ำคัญและเป็นประโยชน์ยิ่งแก่สังคม ฉบับนี้ สึนามิ : คลืน่ แห่งการปฏิรปู 23 กรกรฏาคม 2558
5
6
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ค�ำนิยม ดร.วณี ปิน่ ประทีป ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนักประสานการพัฒนาสังคมสุขภาวะ (สปพส.) หนังสือสินามิ : คลื่นแห่งการปฏิรูปเป็นหนังสือที่รวบรวม เรือ่ งราว ประสบการณ์ ในการจัดการ ศูนย์พกั พิงชัว่ คราว เมือ่ เกิด ภัยพิบตั ิ มีบทเรียนการฟืน้ ฟูชวี ติ และชุมชนผูป้ ระสบภัยได้เห็นถึงการ พลิกวิกฤติเิ ป็นโอกาสของผูค้ นทีป่ ระสบภัย ทัง้ เด็ก ผูห้ ญิง หนังสือเล่มนี้ จะมีเรือ่ งเล่าของผูป้ ระสบภัยซึง่ เป็นประสบการณ์ตรงทีห่ าอ่านได้ยากจาก หนังสือเล่มอืน่ หนังสือเล่มนี้ จะสร้างแรงบันดาลใจให้กบั ผูค้ นในการลุกขึน้ มา ต่อสูเ้ มือ่ ยามประสบภัยพิบตั ิ ซึง่ พวกเรารับรูก้ นั อยูต่ ลอดเวลาว่ามนุษย์ไม่ อาจหลีกเลีย่ งภัยพิบตั ทิ เี่ กิดจากธรรมชาติ แต่มนุษย์สามารถทีจ่ ะลด ขนาดความเสี่ยง และความรุนแรงจากภัยพิบัติได้ ภัยพิบัติเป็นสิ่งที่ หลีกเลีย่ งได้ยากและเป็นความเสีย่ งของมวลมนุษยชาติ ดังนัน้ จึงเป็น หน้าทีข่ องมนุษย์ทกุ คนทีต่ อ้ งเตรียมพร้อมกับการเผชิญภัยพิบตั ิ ในขณะ เดียวกันต้องพร้อมทีจ่ ะรับมือ ลดความเสีย่ ง ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง จากการสรุปบทเรียน การวางแผนการจัดการภัยพิบตั ทิ มี่ ปี ระสิทธิภาพ
Tsunami : waves of reform
การเตรียมความพร้อมทีจ่ ะให้การช่วยเหลือฟืน้ ฟูได้อย่างรวดเร็วและทัน การ บทเรียนและประสบการณ์ในการจัดการด้านต่างๆ ตัง้ แต่การ จัดการศูนย์พกั พิง การจัดการอาสาสมัคร การจัดระบบชุมชน การจัด ระบบในชุมชน การจัดการแหล่งทุน งานกูช้ พี งานกูภ้ ยั งานการแพทย์ สาธารณสุข ล้วนเป็นบทเรียนทีเ่ กิดจากการปฏิบตั ิ และเกิดการเรียนรู้ เป็นสิง่ ทีค่ วรศึกษาและน�ำมาเป็นทุนทีส่ ำ� คัญในการเผชิญกับภัยพิบตั ทิ ี่ อาจจะเกิดขึน้ อีกในอนาคต คลืน่ ยักษ์สนิ ามิได้เกิดเพียงเรือ่ งราวทีเ่ ลวร้าย เรือ่ งราวความ สูญเสีย แต่อกี ด้านหนึง่ คือ ความเสียสละและมิตรภาพ จิตใจทีง่ ดงาม อาสาสมัครทีม่ คี วามมุง่ มัน่ ในการช่วยเหลือผูป้ ระสบภัย เป็นความงดงาม ทีเ่ กิดขึน้ ท่ามกลางความโศกเศร้าผูอ้ า่ นจะได้เห็นรูปธรรมความงดงาม ดังกล่าวจากหนังสือเล่มนี้ หลังการเกิดภัยพิบตั คิ อื การฟืน้ ฟูชวี ติ และชุมชนผูป้ ระสบภัยซึง่ เป็นงานทีต่ อ้ งการ การจัดการอย่างเป็นระบบ เพือ่ ต้องการให้ผปู้ ระสบ ภัย ได้ลกุ ขึน้ มาต่อสู้ ฟืน้ ฟู ชุมชน ให้กลับคืนมา ในหนังสือเล่มนี้ จะบอก เล่าถึงการจัดระบบของชุมชน ทีท่ ำ� ให้ชมุ ชนมีพลังลุกขึน้ มาฟืน้ ชุมชนอีก ครัง้ หนึง่
7
8
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ปัญหาการสูญเสียทีด่ นิ หลังการเกิดภัยพิบตั ิ เป็นปัญหาทีร่ นุ แรง ทีส่ ดุ ทีม่ กั เกิดขึน้ กับผูป้ ระสบภัยทีเ่ ป็นคนท้องถิน่ เดิมทีเ่ ป็นคนยากไร้ ไม่มี เอกสารสิทธิในที่ดิน เป็นการซ�้ำเติมความทุกข์ยากเพิ่มขึ้นไปอีก หลังเกิดภัยพิบตั แิ ล้วแผนทีม่ กั จะเปลีย่ นแปลง คนยากจนจะมีโอกาส ถูกไล่ที่จากภาครัฐหรือที่เอกชนเป็นการซ�้ำเติมความทุกข์ยากของ ผูป้ ระสบภัยเพิม่ มากขึน้ ไปอีก ในส่วนของเรือ่ งเล่าจากผูป้ ระสบภัย เป็นเรือ่ งราวของความเป็น จริงของชีวติ การเผชิญกับความทุกข์ของผูค้ นทีร่ อดชีวติ จากผูส้ ญ ู เสีย ต้องรวบรวมทัง้ แรงกาย แรงใจ พลังความคิดลุกขึน้ มา รวบรวมความ กล้าหาญ การยืนหยัดทีจ่ ะพึง่ ตนเอง จัดการตนเองในภาวะยากล�ำบาก ล้วนเป็นประสบการณ์ทมี่ คี ณ ุ ค่า น่าเรียนรู้ บุคคลทีท่ ำ� งานด้านประชา สังคม ด้านการสร้างเสริมความเข้มแข็งของชุมชน หากได้อา่ นหนังสือ เล่มนีจ้ นจบ จะได้เรียนรูป้ ระสบการณ์ทเี่ กิดขึน้ จริงในการท�ำงานชุมชนที่ อยูใ่ นสภาวะยากล�ำบาก ซึง่ จะแตกต่างจากการท�ำงานชุมชนในภาวะปกติ อย่างสิน้ เชิง หนังสือเล่มนีจ้ ะช่วยสร้างแรงบันดาลใจอย่างมหาศาล ในการ ลุกขึน้ มาพึง่ ตนเองและจัดการตนเองร่วมเรียนรูไ้ ปกับเขาเหล่านัน้ ด้วยกัน
22 กรกฎาคม 2558
Tsunami : waves of reform
ค�ำนิยม รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพงศ์ จิตรนิรตั น์ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา มายาคติทไี่ ด้รบั การตอกย�ำ้ มาอย่างยาวนานในสังคมไทยในการ มองปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ว่าเป็นสิง่ ทีไ่ ม่อาจหลีกเลีย่ ง หลีกหนีได้พน้ เพราะ เป็นเรือ่ งราวทีถ่ กู ลิขติ ก�ำหนดไว้แล้วอย่างตายตัว อันเนือ่ งมาจากบุญ บาป กรรม วาสนาแต่เก่าก่อน ทางออกคือการก้มหน้าก้มตายอมรับชะตา กรรม ยอมจ�ำนน ทนฝืน ในฐานะเครือ่ งประโลมโลกชีวติ ไม่ให้เจ็บปวด รวดร้าวจนเกินไปนัก และสิง่ เหล่านีน้ เี่ องทีถ่ กู น�ำมาใช้เป็นเครือ่ งมืออัน ทรงพลังของเหล่าบรรดา “อ�ำนาจน�ำ” ในการกดทับ พันธนาการผูค้ นไว้ อย่างเหนียวแน่น พร้อมๆ กับการสร้างวาทกรรมอันแยบยลในนามความ ปรารถนาดี การหยิบยืน่ ไมตรี ทีต่ อกย�ำ้ ภาวะของการกดขี่ สูญเสีย หรือ สิน้ หวัง
9
10
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
บ่อยครัง้ ของเหตุการณ์โศกนาฏกรรรมในสังคมจึงเป็นเพียงการ สงเคราะห์ อันเนื่องมาจากความใจบุญสุนทาน ความรู้สึกสงสารที่ ฉาบฉวย หรือการลดทอนให้เป็นเพียงการแผ่ใบบุญให้แก่ผตู้ กทุกข์ได้ยาก เท่านัน้ ทว่าการกล่าวเช่นนีไ้ ม่ได้หมายความว่ามนุษยธรรม ความสงสาร เห็นอกเห็นใจ หรือการช่วยเหลือเฉพาะหน้าจะต้องถูกกวาดทิง้ ให้อยูใ่ น ซอกหลืบแห่งความลืมเลือน หรือขจัดให้หมดสิน้ ไป หากคือการนิยามให้ ความหมายใหม่ของการฟืน้ ฟู เยียวยาทีน่ ำ� ไปสูก่ ารสร้างพลังอ�ำนาจและ การมีสว่ นร่วมให้เขาและ/ เธอ เหล่านัน้ ลุกขึน้ มาจัดการ รังสรรค์ชวี ติ ใหม่ อย่างมีความหวัง ภาคภูมใิ จในตัวตน-คนอืน่ และการธ�ำรงไว้ซงึ่ คุณค่าและ ศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์ หากกล่าวเฉพาะการเกิดขึน้ ของคลืน่ ยักษ์สนึ ามิทมี่ าพร้อมกับ โศกนาฏกรรมทีเ่ จ็บปวด บาดลึกความรูส้ กึ ของผูค้ นทัง้ สังคม ก็ตกอยูใ่ น วงจร วังวนมายาคติดงั กล่าวไม่แตกต่างกันมากนัก ทว่าผูค้ นกลุม่ หนึง่ ได้ ริเริม่ กระบวนการพลิกฟืน้ พลังชีวติ พลังชุมชนขึน้ มาใหม่ ทัง้ ในแง่การ เยียวยา แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ระยะสัน้ ระยะยาว รวมถึงการผลักดัน การแก้ไขปัญหาในเชิงนโยบายและโครงสร้าง ผ่านการเชือ่ มประสาน การ ยกระดับเป็นส่วนหนึง่ ของ “ขบวนการชุมชน” ทีไ่ ม่จำ� กัดพรมแดนพืน้ ที่ วาระ ประเด็นปัญหาเฉพาะเรือ่ งเท่านัน้ เพราะประเด็นปัญหาเฉพาะหน้าทีผ่ ดุ โผล่ได้ฉายชีใ้ ห้เห็นถึงความ เหลือ่ มล�ำ้ ความอยุตธิ รรม ทีถ่ กู ปิดทับ อ�ำพรางมาอย่างยาวนานในสังคม ไทย, ปฏิบตั กิ ารอันเข้มแข็งด้วยความหวัง ความรัก และมิตรภาพทีเ่ กีย่ ว เนื่องโยงใยผู้คนอันหลากหลาย ทั้งจากผู้ประสบปัญหา อาสาสมัคร
Tsunami : waves of reform
นักจัดระบบชุมชน นักวิชาการ นักพัฒนาสังคม ฯลฯ เพือ่ ก้าวข้าม/ พัง ทลายก�ำแพงแห่งการกีดกัน และการสร้างหน้าต่างแห่งโอกาสของชุมชน ทีบ่ อกเล่าเรียงร้อยผ่านหนังสือสึนามิ : คลืน่ แห่งการปฏิรปู จึงนับว่ามี ความส�ำคัญและเป็นบทเรียนทีล่ ำ�้ ค่ายิง่ ส�ำหรับเราทุกคน หนังสือเล่มนีไ้ ม่เพียงท�ำหน้าทีเ่ ป็นเลขานุการทางประวัตศิ าสตร์ บันทึกเรือ่ งราวอันเจ็บปวด เศร้ารันทด ท้อแท้สนิ้ หวัง ทีถ่ าโถม ประเด ประดังเข้ามา ทัง้ เฉพาะหน้าและหลังจากนัน้ เท่านัน้ หากคือบทเรียนการ พลิกฟืน้ พลังชีวติ และชุมชน การสานสายใย ถักทอความเป็นมนุษย์ในห้วง ยามของประวัตศิ าสตร์อนั เจ็บปวด และอนาคตของการก้าวเดินอันเหยียด ยาว บทเรียนทัง้ หมดทัง้ มวลในหนังสือเล่มนีบ้ อก ย�ำ้ เตือนและพิสจู น์ให้ เห็นถึงพลังของผูค้ นทีธ่ รรมดาสามัญทีไ่ ด้สานทอ ก่อพลังอันง่ายงามตาม วิถี ลีลา และอัตลักษณ์แห่งตัวตน และก่อรูปเป็น “คลืน่ ขบวนชุมชน” ทีท่ รงอ�ำนาจ และพร้อมถาโถมโหมกระหน�ำ่ โครงสร้างและมายาคติสงั คม อันเก่าก่อน เพือ่ ก้าวสูก่ ารถากถาง สร้างสังคมใหม่ ทีไ่ กลกว่าการปฏิรปู แล้ว อย่างไม่ตอ้ งสงสัย กรกฎาคม 2558
11
12
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ค�ำน�ำ ปรีดา คงแป้น ผูจ้ ดั การมูลนิธชิ มุ ชนไท การจัดท�ำหนังสือ สึนามิ คลืน่ ปฏิรปู เล่มนี้ เกิดจากการกระตุน้ ของหมอบัญชา พงษ์พานิช ทีเ่ ห็นว่าแม้เวลาผ่านไป 10 ปีแล้ว แต่เรือ่ งราว ทีเ่ กิดขึน้ หลังคลืน่ ยักษ์สนึ ามิคราวนัน้ ยังไม่จบสิน้ คนทีเ่ กีย่ วข้องกลุม่ หนึง่ ยังคงท�ำกิจกรรมต่างๆ ทัง้ การแก้ปญ ั หาและการพัฒนาฟืน้ ฟูวถิ ชี วี ติ อย่าง ต่อเนือ่ ง จึงเป็นทีม่ าของการสรุปบทเรียน 10 ปีหลังจากเกิดสึนามิ หลังจากการเกิดสึนามิ มูลนิธชิ มุ ชนไท และภาคีความร่วมมือทัง้ ภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรชุมชนและภาควิชาการ ร่วมมือกันแก้ปญ ั หาและพัฒนาฟืน้ ฟู ตามบทบาทและภารกิจของแต่ละ องค์กร ซึง่ นับเป็นปรากฏการณ์ความร่วมมือทีด่ เี ยีย่ มในสังคมไทย และแล้ว การฟืน้ ฟูจากภัยพิบตั ธิ รรมชาติ ก็สามารถผ่านพ้นไปได้ในเวลาไม่เกิน 5 ปี เมือ่ มีคำ� ถามว่าท�ำไม 10 ปีแล้ว มูลนิธชิ มุ ชนไท ยังคงต้องท�ำงาน อยูก่ บั พืน้ ทีป่ ระสบภัยสึนามิอนั ดามัน ค�ำตอบก็คอื สิง่ ทีเ่ ราเรียกว่า “ซุกอยู่ ใต้พรม” คือ ปัญหาทีด่ นิ และคนชายขอบ ซึง่ คลืน่ ยักษ์สนึ ามิได้คลีใ่ ห้เราเห็น อย่างชัดเจนว่าอันดามันเป็นทีท่ อ่ งเทีย่ วระดับโลก มีรายได้เข้าประเทศนับ แสนล้าน แต่เราได้ทอดทิง้ ชนพืน้ เมืองทีอ่ าศัยมากว่า 300 ปี ให้ถกู เบียดขับ แย่งชิงพืน้ ทีท่ งั้ ทีอ่ ยู่ ทีท่ ำ� กินในทะเลและพืน้ ทีท่ างจิตวิญญาณของพวกเขา ซึง่ ยังมีกลุม่ ประมงพืน้ บ้าน กลุม่ คนจนเมือง และกลุม่ คนไทยพลัดถิน่ :
Tsunami : waves of reform
คนไทยทีไ่ ร้สญ ั ชาติ ทีถ่ กู ทิง้ ให้เผชิญกับปัญหาท่ามกลางกระแสการพัฒนา เช่นเดียวกัน กระบวนการท�ำงานทีส่ ำ� คัญของมูลนิธชิ มุ ชนไทในพืน้ ทีป่ ระสบภัย สึนามิ คือ งานส่งเสริมกระบวนการมีสว่ นร่วมของชุมชน CO (Community Organization) คือ กระบวนการพัฒนาทีใ่ ห้คนเป็นแกนหลัก โดยใช้ปญ ั หา ร่วมของผูป้ ระสบภัย เป็นเงือ่ นไข ในการท�ำงาน สร้างทีม แกนน�ำทีผ่ า่ นการ เรียนรูท้ า่ มกลางการท�ำ เน้นกระตุน้ ให้ผมู้ สี ว่ นได้สว่ นเสียลงมือท�ำเอง ไม่ทำ� แทน ไม่คดิ แทน เน้น “สร้างคน สร้างทีม ระวังการน�ำเดีย่ ว” จนท�ำให้ทมี แกนน�ำเกิดความมัน่ ใจ เกิดความภาคภูมใิ จ เรียนรูใ้ นการบริหารจัดการร่วม กัน เกิดวัฒธรรมในการท�ำงานร่วมกันเป็นทีม ซึง่ จะน�ำสูก่ ระบวนการพัฒนา ในเรือ่ งต่างๆ จากทีมแกนน�ำเล็กๆ ขยายสูท่ มี ทีใ่ หญ่ขนึ้ จากประเด็นปัญหา เล็กขยายสูเ่ รือ่ งทีใ่ หญ่ขนึ้ ดังจะเห็นได้วา่ กระบวนการ “สร้างเครือข่ายผู้ ประสบภัยสึนามิและสิทธิชมุ ชน” การท�ำงานเริม่ จากสนับสนุนให้มกี ารรวม กลุม่ กันสร้างศูนย์พกั พิงชัว่ คราว ยกระดับสูก่ ารท�ำกองทุนหมุนเวียน การ ท�ำกลุม่ ออมทรัพย์ ธนาคารชุมชน กองทุนสวัสดิการ การสร้างบ้านโดยผู้ ประสบภัยมีสว่ นร่วม การร่วมกันแก้ปญ ั หาทีด่ นิ การผลักดันให้รฐั บาลมี กลไกในการแก้ปญ ั หาทีด่ นิ แก้ปญ ั หาคนชายขอบทัง้ กลุม่ ชาติพนั ธ์ชาวเล และกลุม่ คนไทยพลัดถิน่ : คนไร้สญ ั ชาติ จนปัญหาของคนตัวเล็กๆ ใน อันดามัน มีทยี่ นื ในระดับนโยบาย การสร้างคนเป็นทีม และการสนับสนุนให้เชื่อมโยงกันเป็น เครือข่ายฯ เป็นฐานส�ำคัญของการท�ำงานพัฒนาชุมชนซึ่งกล่าวได้ว่า สามารถพัฒนาส่งพลังไปสูเ่ รือ่ งอืน่ ๆ ได้อย่างยัง่ ยืนแท้จริง ซึง่ บทพิสจู น์นดี้ ู ได้จากกระบวนการพัฒนาหลังการประสบภัยสึนามิผา่ นไป 10 ปี ทีส่ ำ� คัญ ดังนี้
13
14
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
(1) ท�ำให้ชมุ ชนประสบภัยกลายเป็นชุมชนป้องกันภัย จนบ้าน ชุมชนบ้านน�ำ้ เค็มได้รบั รางวัลมากมาย เป็นทีศ่ กึ ษาดูงานขององค์กรทัง้ ใน และต่างประเทศกว่า 30 ประเทศทัว่ โลก มีทมี ป้องกันภัยทีส่ ามารถออกไป ช่วยพื้นที่อื่นได้และเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายชุมชนเพื่อการฏิรูปสังคมและ การเมืองจังหวัดพังงา น�ำสูก่ ารแก้ปญ ั หาทีด่ นิ ทรัพยากรและคนชายขอบใน พังงา ยกระดับร่วมมือกันทัง้ จังหวัดและท้องถิน่ เป็นโครงการรัฐร่วมราษฎร์ จัดการภัยพิบตั ิ และโครงการพังงาแห่งความสุข (2) การเกิดเครือข่ายกลุม่ ชาติพนั ธ์ชาวเล และเกิดมติ ครม. เพือ่ แก้ปญ ั หาชาวเล อันเป็นชนเผ่าแรกในประเทศไทยน�ำสูก่ ารตัง้ กลไกแก้ปญ ั หา ต่อเนือ่ ง (3) การเกิดเครือข่ายแก้ปญ ั หาการคืนสัญชาติคนไทย หรือคน ไทยพลัดถิน่ จนสามารถผลักดัน พรบ.สัญชาติฉบับที่ 5 จนบรรลุผลและยัง คงติดตามต่อเนือ่ ง (4) การเกิดเครือข่ายสิทธิคนจนพัฒนาภูเก็ต มีสมาชิก 30 ชุมชน ร่วมกับท้องถิ่นและจังหวัดในการเสนอแก้ปัญหาทีด่ ินในรูปแบบ “สิทธิรว่ มของชุมชนในการจัดการทีด่ นิ และทรัพยากร” ร่วมทัง้ การร่วมปลูก ป่าชายเลนล้านต้นและการท�ำธนาคารเครือข่าย เพือ่ พึง่ ตนเองและแก้ปญ ั หา หนีน้ อกระบบ เป็นต้น ซึง่ เครือข่ายฯ ได้เข้าร่วมกับการพัฒนาอืน่ ๆ ในระดับ จังหวัดและระดับประเทศ ทัง้ การร่วมให้ความคิดเห็น หรือ ผลักดันกฎหมาย และนโยบายสาธารณะทีส่ ำ� คัญ นอกจากนี้ ได้รวบรวมประสบการณ์และบทเรียนการจัดการภัย พิบตั ใิ นพืน้ ทีพ่ น้ื ทีต่ า่ งๆ จากเพือ่ นภาคีความร่วมมือของหลายองค์กร เช่น จากพืน้ ทีป่ ระสบภัยแผ่นดินไหว จังหวัดเชียงราย พืน้ ทีน่ ำ�้ ท่วมกรุงเทพฯ และภาคกลาง พืน้ ทีด่ นิ โคลนถล่ม ทัง้ ภาคใต้และภาคเหนือ ฯลฯ ซึง่ บทเรียน
Tsunami : waves of reform
จากการจัดการภัยพิบตั ิ มีหลากหลายมิติ ทัง้ การจัดการศูนย์พกั พิง การ ให้ผู้ประสบภัยมีส่วนร่วมในการจัดการ การมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้หญิง กลุม่ เปราะบาง กลุม่ คนชายขอบ และพบว่าเมือ่ เกิดเหตุภยั พิบตั จิ ะเชือ่ มโยง กับการจัดการวิถชี วี ติ ชุมชน การจัดการทรัพยากรและทีด่ นิ อย่างแยกไม่ออก บทเรียนเหล่านี้ ตอกย�ำ้ ว่า “การเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบตั ิ ของชุมชนและท้องถิน่ มีความส�ำคัญมาก” เพราะชุมชนและท้องถิน่ เป็น ด่านแรกของการเผชิญเหตุ รูจ้ กั คนและพืน้ ทีด่ ี รวมทัง้ เดิมพันด้วยชีวติ และ ทรัพย์สนิ ซึง่ การเข้าไปช่วยเหลือของภาครัฐมีขอ้ จ�ำกัดเพราะภัยทีเ่ กิดขึน้ อาจจะเกิดกว่าทีค่ าดไว้ หรือเหตุอนื่ ๆ ทีม่ อี ยูม่ ากมาย บทเรียนจาก 10 ปีสนึ ามิ ท�ำให้พบว่า ถึงเวลาแล้วทีป่ ระเทศไทย จะมีวาระปฏิรปู ระบบการจัดการภัยพิบตั ิ ทีเ่ น้นการมีสว่ นร่วมของชุมชน ท้องถิน่ และภัยพิบตั จิ ากธรรมชาติ อาจไม่รา้ ยแรงเท่ากับภัยจากปัญหา เชิงโครงสร้าง ทีส่ ะสมมานาน อันก่อให้เกิด “การพัฒนาทีไ่ ร้สมดุล” และ จะน�ำสูส่ งั คมทีไ่ ร้ความสงบสุขจนเกินการเยียวยา ซึง่ กระบวนการพลิก วิกฤติเป็นโอกาส ท�ำให้กลุม่ คนเล็กๆ ที่ “ไร้สทิ ธิทจี่ ะมีเสียง” กลายเป็น “พลเมืองทีม่ พี ลัง” ร่วมกันฟืน้ ฟูวถิ ชี วี ติ และร่วมพัฒนาสังคมก็เป็นแนวทาง “การสร้างสังคมร่มเย็นเป็นสุข” ทีท่ กุ คนแสวงหา มูลนิธชิ มุ ชนไท จึงขอขอบคุณ เพือ่ นภาคีทเี่ กีย่ วข้องทุกภาคส่วน ทีส่ นับสนุนกระบวนการจัดสรุปบทเรียน 10 ปีสนึ ามิ ในครัง้ นี้ และหวังว่า หนังสือสึนามิ : คลืน่ ปฏิรปู จะเกิดประโยชน์ตอ่ สังคมต่อไป มูลนิธชิ มุ ชนไท
15
16
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ค�ำน�ำจากผูเ้ ขียน
ปิยนาถ ประยูร หนูเพียร แสนอินทร์
เรือ่ งราวในหนังสือเล่มนีเ้ ป็นบทเรียนทีเ่ กีย่ วเนือ่ งจากเหตุการณ์ ภัยพิบตั ทิ เี่ กิดขึน้ เมือ่ เดือนธันวาคม พ.ศ.2547 ซึง่ ได้มกี ารถอดบทเรียน ไว้ในวาระต่างๆ ตลอดระยะเวลา 10 ปีทผี่ า่ นมา และได้มกี ารถอดบท เรียนซ�้ำอีก 2 ครั้ง ช่วงปลายเดือนตุลาคมและต้นเดือนธันวาคม พ.ศ.2557 ในวาระครบรอบ 10 ปี สึนามิ ในบทน�ำของหนังสือนัน้ คณะผูเ้ ขียนได้นำ� เอกสารที่ อ.มณีรตั น์ มิตรปราสาท ได้ทบทวนบทเรียนจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์สนึ ามิ ร้อยเรียงใหม่ให้เห็นบทเรียนแต่ละช่วงเหตุการณ์อย่าง ชัดเจน ทั้งในช่วงที่เกิดเหตุการณ์เพียงไม่กี่วัน ระยะฟื้นฟูเยียวยา การพลิกฟืน้ ชุมชน และบทเรียนทีเ่ กิดจากการแก้ปญ ั หาในเรือ่ งต่างๆ ทีเ่ ป็นผลกระทบมาจากเหตุการณ์สนึ ามิ ส่วนภาคแรกของหนังสือนั้นเกิดจากการถอดบทเรียนในช่วง ปลายเดือนตุลาคม พ.ศ. 2547 โดยกลุม่ แกนน�ำทีเ่ ป็นผูป้ ระสบภัยพิบตั ิ สึนามิ และกลุม่ ทีป่ รึกษาหรือพีเ่ ลีย้ งทีเ่ ป็นนักจัดระบบชุมชน ได้สรุป
Tsunami : waves of reform
บทเรียนจากประสบการณ์ในการร่วมกันจัดการศูนย์พกั พิงบางม่วง ทัง้ ใน แง่ของการบริหารจัดการศูนย์พกั พิง การฟืน้ ฟูเยียวยา และกระบวนการ ในการหล่อหลอมฟูมฟักผูน้ ำ� ชุมชนให้ลกุ ขึน้ มามีบทบาทในการดูแลและ จัดการศูนย์พกั พิง การจัดการชุมชน รวมไปถึงการฟืน้ ฟูชมุ ชน จัดท�ำแผน แม่บทชุมชนและการเตรียมความพร้อมของชุมชนในการรับมือกับภัย พิบตั ิ น�ำไปสูค่ วามงอกงามของขบวนการประชาชนหลังภัยสึนามิ ทีพ่ ลิก วิกฤติเิ ป็นโอกาสและข้ามพ้นไปจากเรือ่ งของตนเองไปสูก่ ารปฏิรปู สังคม ไทยทัง้ สังคม ผลักดันเชิงนโยบายให้เกิดกฎหมายทีบ่ งั คับใช้เพือ่ ให้เกิด ความเป็นธรรม ลดความเหลือ่ มล�ำ้ ในสังคม บทเรียนจากประสบการณ์ดงั กล่าวได้มกี ารน�ำมาอภิปรายซ�ำ้ เพือ่ ให้เห็นแต่ละประเด็นทีช่ ดั เจนขึน้ ในบทที่ 4 บทเรียนภัยพิบตั สิ กู่ ารปฏิรปู คณะผูเ้ ขียนได้สรุปมาจากสาระส�ำคัญของการประชุมถอดบทเรียนทีจ่ ดั ขึน้ เมือ่ เดือนธันวาคม พ.ศ.2557 โดย ดร.นฤมล อรุโณทัย นักวิจยั จาก สถาบันวิจยั สังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้บนั ทึกการถอดบทเรียนไว้ ในภาคทีส่ อง ว่าด้วยเรือ่ งเล่าจากผูป้ ระสบภัยและอาสาสมัคร สึนามิ ซึง่ ถือเป็นการเรียนรูจ้ ากเรือ่ งเล่าประสบการณ์-ประสบภัย และใน บทสุดท้ายเป็นเรือ่ งเล่าจากการแลกเปลีย่ นประสบการณ์ของผูป้ ระสบ ภัยพิบตั ขิ องไทยกับผูป้ ระสบภัยในต่างประเทศ เพือ่ เรียนรูก้ ารจัดการภัย พิบตั แิ ละการแก้ปญ ั หาของผูป้ ระสบภัยในทีต่ า่ งๆ ทีแ่ ตกต่างกันตามบริบท ของแต่ละประเทศ
17
18
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ทุกส่วนในหนังสือเล่มนีจ้ งึ เกิดจากการถอดบทเรียนหลายๆ ครัง้ และได้มีการปรับปรุงให้บทเรียนในบางเรื่องนั้นแจ่มชัดขึ้นเรื่อยๆ ให้ สามารถน�ำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสม และในบางเรือ่ งราวอาจจะ เป็นประเด็นทีต่ อ้ งฝากไว้ให้ขบคิดและหาหนทางร่วมกันต่อไปในอนาคต แม้วา่ คณะผูเ้ ขียนจะไม่ได้เกีย่ วข้องกับเหตุการณ์สนึ ามิโดยตรง แต่ก็ได้รู้จักกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หลายท่าน โดยเฉพาะผู้ที่ สูญเสียคนในครอบครัวและคนทีร่ กั ท�ำให้คดิ เสมอว่า หากเราจะลดความ สูญเสียจากภัยพิบตั ิ ส่งข่าวสารการพยากรณ์ลว่ งหน้าได้รวดเร็ว ฉับไว ผูค้ นมีความรูแ้ ละเข้าใจต่อภัยพิบตั ใิ นแต่ละรูปแบบ และพืน้ ทีเ่ สีย่ งภัยมี การเตรียมพร้อมรับมือทีด่ ี ความสูญเสียเหมือนทีผ่ า่ นมาก็จะลดลงและ อาจหลีกเลีย่ งความสูญเสียได้ สิง่ หนึง่ ทีไ่ ด้ยำ�้ ไว้ในหนังสือก็คอื ภัยพิบตั นิ นั้ เป็นความเสีย่ งร่วม กันของมวลมนุษยชาติ ซึ่งบอกเราในฐานะมนุษย์ให้รู้ว่า เราไม่ควร ประมาทต่อภัยพิบตั ไิ ม่วา่ รูปแบบใด และต้องเตรียมความพร้อมในการ รับมือกับปัญหาต่างๆ ทีอ่ าจจะเกิดขึน้ ทัง้ ปัญหาเฉพาะหน้าเมือ่ เกิด ปัญหา และปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ตามมาหลังเกิดเหตุการณ์ ส�ำหรับคณะผูเ้ ขียน การท�ำหนังสือถอดบทเรียน 10 ปี สึนามิ ถือเป็นโอกาสในการเรียนรูเ้ รือ่ งราวต่างๆ นับจากเกิดเหตุการณ์ เห็น เรือ่ งราวของการดิน้ รนต่อสูเ้ พือ่ ให้มชี วี ติ รอด จากความสิน้ หวังสูค่ วาม กล้าหาญทีจ่ ะฝันและวาดหวังถึงชีวติ ทีด่ ขี นึ้ การลุกขึน้ หยัดยืน ความ พยายามในการแก้ปญ ั หาต่างๆ ของผูท้ เี่ ข้าไปช่วยเหลือ – ระหว่างการเขียน
Tsunami : waves of reform
ท�ำให้ได้สมั ผัสถึงความเป็นมนุษย์ในทุกผูค้ นทีเ่ กีย่ วข้อง รูส้ กึ ได้ถงึ พลังและ ความเข้มแข็งของแต่ละคนทีไ่ ด้เอ่ยอ้างถึงในเรือ่ งนี้ และได้นำ� พลังของคน เหล่านัน้ ช่วยกันเติมพลังให้กบั หนังสือเล่มนี้ คลืน่ ยักษ์สนึ ามิไม่ได้เป็นคลืน่ แห่งความสูญเสียเท่านัน้ แต่เป็น คลืน่ ทีท่ ำ� ให้คนจ�ำนวนหนึง่ ได้ลกุ ขึน้ มาพลิกเปลีย่ นให้ภยั พิบตั ริ า้ ยแรงนี้ เป็นคลืน่ แห่งการเรียนรูแ้ ละคลืน่ แห่งโอกาส ในการพลิกฟืน้ ชีวติ และชุมชน คณะผูเ้ ขียนขอขอบคุณ พีด่ ว้ ง - ปรีดา คงแป้น ทีใ่ ห้โอกาสและ ให้ความไว้วางใจในการเขียนหนังสือเล่มนี้ ขอบคุณทุกท่านทีม่ สี ว่ นร่วมในการถอดบทเรียน บอกเล่าเรือ่ ง ราวทีม่ ชี วี ติ ชีวา อาทิ พีน่ งค์ - จ�ำนงค์ จิตรนิรตั น์,พีด่ กุ -พิชยา แก้วขาว, ไมตรี จงไกรจักร์, ภควินท์ แสงคง, โชคดี สมพรม,ประยูร จงไกรจักร์, ปัญญา อนันตะกูล, ศักดิด์ า พรรณรังสี, กุศล ฤทธิชยั ,ไพรัช เพ็งจันทร์ และ อุย้ - วารีรตั น์ คงแป้น ทีช่ ว่ ยประสานงาน ดูแลและคอยไถ่ถามเป็น ระยะ รวมทัง้ เจ้าหน้าทีม่ ลู นิธชิ มุ ชนไททุกท่านทีอ่ ำ� นวยความสะดวกใน เรือ่ งต่างๆ และขอขอบคุณนักวิชาการทุกท่านทีไ่ ด้ทำ� งานวิจยั เก็บข้อมูล และสรุปบทเรียนทีเ่ กีย่ วข้องกับการถอดบทเรียนจากเหตุการณ์ 10 ปี สึนามิ ขอบคุณ พีอ่ ุ๊ – กรรณจริยา สุขรุง่ ทีช่ ว่ ยอ่านและปรับปรุงให้ หนังสือน่าอ่านขึ้น ขอบคุณในความอดทน ให้ค�ำแนะน�ำ ข้อคิดที่มี ประโยชน์และเป็นแรงบันดาลใจของน้องๆ เสมอมา
19
20
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
สุดท้าย ขอขอบคุณทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องในเหตุการณ์ สึนามิ ทัง้ ทีม่ สี ว่ นร่วมในช่วงเหตุการณ์ และมีสว่ นร่วมในประเด็นทีเ่ กิด จากผลกระทบของเหตุการณ์สนึ ามิ ขอบคุณมูลนิธชิ มุ ชนไท ส�ำนักงาน กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ทีใ่ ห้ความส�ำคัญและ ท�ำให้เกิดหนังสือเล่มนี้ คณะผูเ้ ขียนหวังเป็นอย่างยิง่ ว่า ผูอ้ า่ นจะได้รบั ประโยชน์จาก บทเรียนด้านต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกับเหตุการณ์ภยั พิบตั สิ นึ ามิ และน�ำไป วางแผน ปรับใช้กบั เหตุการณ์ภยั พิบตั อิ นื่ ๆ ได้ รวมถึงบทเรียนทีเ่ ป็น ข้อพึงระวัง และตระหนักร่วมกันว่าภัยพิบตั ไิ ม่ได้เป็นเรือ่ งทีห่ า่ งไกลกับ มนุษย์เลย หากแต่เป็นภัยใกล้ตวั ทีท่ ำ� ให้เราต้องเตรียมตัวและไม่อยูใ่ น ความประมาท
Tsunami : waves of reform
จากใจบรรณาธิการ กรรณจริยา สุขรุง่ เมือ่ ดิฉนั ได้รบั การติดต่อให้บรรณาธิการหนังสือเล่มนี้ ค�ำว่า “สึนามิ” ท�ำให้ดฉิ นั นิง่ งันไปครูห่ นึง่ ก่อนจะตอบรับด้วยความรูส้ กึ ยินดีเป็น อย่างยิง่ ในเสีย้ ววินาทีแห่งความเงียบนัน้ ภาพความทรงจ�ำในอดีตเมือ่ 10 ปีก่อนซัดกระหน�่ำเข้ามาในใจ เกาะพีพี บ้านน�้ำเค็ม เขาหลัก เกาะพระทอง วัดย่านยาว ค่ายพักพิงชัว่ คราว หาดป่าตอง และอีกหลาย พืน้ ทีป่ ระสบภัยทีด่ ฉิ นั ย�ำ่ เดินไปร่วม 10 วัน เพือ่ รายงานและเขียนสารคดี ข่าวให้กบั หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ทดี่ ฉิ นั สังกัดอยูใ่ นเวลานัน้ ดิฉนั จ�ำได้วา่ ตนเองต้องรวบรวมพลังใจอยูส่ กั พัก ยืนสงบนิง่ สักครูใ่ นพืน้ ทีท่ เี่ หลือเพียงซาก ก่อนทีจ่ ะเดินเข้าไปพูดคุยกับผูค้ นมากมาย ทีก่ ำ� ลังสับสน อลหม่าน และเศร้าโศกอยูเ่ วลานัน้ แม้จะได้เตรียมใจไว้กอ่ น แล้ว แต่กอ็ ดไม่ได้ทจี่ ะรูส้ กึ จุกในล�ำคอเวลาทีต่ อ้ งพูดคุยกับผูป้ ระสบภัยที่ ตาแดงก�ำ่ รับรูป้ ญ ั หาความทุกข์ยากทีพ่ วกเขาผ่านพบ และความท้าทาย ใหม่ๆ ทีพ่ วกเขาต้องเผชิญในทุกๆ วันใหม่
21
22
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
แม้ดิฉันจะเขาไปในพื้นที่ด้วยบทบาทหน้าที่ของความเป็น ผูส้ อื่ ข่าว แต่สงิ่ ทีเ่ หนือกว่านัน้ คือ ความเป็นมนุษย์และความเป็นเพือ่ น ทีถ่ กู ปลุกขึน้ มาโดยธรรมชาติ ส�ำนึกดังกล่าวมีคณ ุ ค่าความหมายส�ำหรับ ตัวเองและส�ำหรับผูป้ ระสบภัย อาสาสมัคร และผูค้ นมากหน้าหลายตาที่ ระดมหัวใจเข้าไปในพืน้ ทีเ่ พือ่ ช่วยเหลือเกือ้ กูลเพือ่ นร่วมทุกข์รว่ มสุขใน สังคม ตามก�ำลังศักยภาพและหน้าทีข่ องตน หนึง่ ปีให้หลัง ดิฉนั มีโอกาสกลับไปยังพืน้ ทีป่ ระสบภัยอีกครัง้ ในฐานะผูป้ ระสานงานผูส้ อื่ ข่าวต่างประเทศทีม่ ารายงานความคืบหน้าของ เรือ่ งราวและชีวติ ในวาระครบรอบ 1 ปีเหตุภยั พิบตั ิ ดิฉนั ได้เห็นความ ก้าวหน้าของหลายโครงการที่ช่วยให้ผู้คนได้มีโอกาสสร้างชีวิตใหม่ โดยเฉพาะการประกอบอาชีพประมง แนวทางการสร้างรายได้เสริมให้กบั ผูห้ ญิงและเยาวชนทีส่ ญ ู เสียเสาหลักในครอบครัวไปกับเกลียวคลืน่ ฯลฯ ความทรงจ�ำของดิฉนั กับสึนามิหยุดอยูเ่ พียงนัน้ แต่เรือ่ งราวชีวติ ของผูป้ ระสบภัยยังด�ำเนินต่อ จนในวันนี้ เรือ่ งราวของสึนามิกลับมา อีกครัง้ ในรูปแบบต้นฉบับหนังสือ สึนามิ : คลืน่ แห่งการปฏิรปู ดิฉนั อ่านหนังสือเล่มนีด้ ว้ ยรอยยิม้ เพียงหนึง่ ทศววรษเท่านัน้ หลายชีวติ หลายชุมชนพลิกฟืน้ พลังในตนขึน้ มาอย่างอัศจรรย์ และยัง ขยายศักยภาพของตนไปสร้างความเข้มแข็งมัน่ คงให้กบั เพือ่ นร่วมสังคม ในภาคส่วนอืน่ ๆ ด้วย --- ความสูญเสียจากภัยพิบตั ขิ นาดใหญ่เป็น บริบทที่ขับเน้นให้เราเห็นความงามในหัวใจมนุษย์และค้นพบพลัง ศักยภาพความเป็นมนุษย์ที่มีอยู่ในตัวของเราทุกคน ที่จะช่วยเราให้
Tsunami : waves of reform
ก้าวข้ามวิกฤติ (และแน่นอนว่า เราก็ได้เห็นด้านกลับของความดีในตัว มนุษย์เช่นกัน) การอ่านหนังสือเล่มนีท้ ำ� ให้ดฉิ นั นึกถึงการพูดคุยกับชาวมอแกน กลุม่ หนึง่ ทีเ่ กาะกลุม่ กันอยูท่ วี่ ดั แห่งหนึง่ ระหว่างรอวันคืนถิน่ ในมหาสมุทร ดิฉนั ถามพวกเขาถึงเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ จ�ำได้วา่ หญิงคนหนึง่ เล่าผ่านล่าม ให้ฟงั ว่า เธอไม่แน่ใจว่าบรรพบุรษุ เคยประสบเหตุเช่นทีพ่ วกเธอพบเจอ หรือไม่ แต่ปยู่ า่ ตาทวดเคยบอกต่อๆ กันมาเกีย่ วกับสะดือทะเล ระดับน�ำ้ ทีจ่ ะลดหายไปอย่างฉับพลัน แล้วบอกว่า ต้องวิง่ หนีไปทีส่ งู เธอกล่าว อีกว่า ในชุมชนของเธอ ผูค้ นรอดชีวติ ทัง้ หมด เกร็ดความทรงจ�ำนีท้ ำ� ให้ดฉิ นั คิดได้วา่ แม้เราจะไม่มปี ระสบการณ์ ตรงจากเหตุการณ์จริง แต่การได้รบั รู้ ได้ยนิ ได้ฟงั เรือ่ งเล่าบางอย่างที่ บรรพชนถ่ายทอดไว้กเ็ ป็นแนวทางทีช่ ว่ ยให้รอดและฝ่าวิกฤติได้ ดิฉนั ย้อนคิดถึง สึนามิ : คลืน่ แห่งการปฏิรปู หนังสือเล่มนี้ ก็คงท�ำหน้าทีบ่ อกเล่าและถ่ายทอดความรูใ้ ห้สงั คมรอดได้เช่นกัน ทัง้ ใน ยามทีเ่ ผชิญวิกฤติภยั ธรรมชาติและภัยสังคม ทุกถ้อยค�ำและเนือ้ ความในหนังสือเล่มนีเ้ ป็นบทเรียนทีม่ ชี วี ติ และแลกมาด้วยชีวติ ความรูต้ า่ งๆ สกัดกลัน่ มาจากชีวติ ในช่วงทศวรรษที่ ผ่านมา ทัง้ ชีวติ ของผูป้ ระสบภัย อาสาสมัคร นักวิชาการ นักจัดระบบ ชุมชนและอีกหลายชีวติ ทีเ่ กีย่ วข้อง
23
24
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ดิฉนั จึงแอบเชือ่ และหวังในใจว่า การได้อา่ นและรับรูว้ ธิ ที ผี่ ปู้ ระสบ ภัยสึนามิขา้ มพ้นวิกฤติและรังสรรค์โอกาสใหม่ในชีวติ จะเป็นความรูท้ ชี่ ว่ ย ให้พวกเรา ทีไ่ ม่ได้มปี ระสบการณ์โดยตรง ได้เรียนรูต้ าม แม้ในความคิด ความทรงจ�ำ วันใดวันหนึง่ หากเกิดภัยพิบตั ไิ ม่วา่ จะในรูปแบบใด ความรู้ ทีเ่ คยผ่านตา จ�ำได้กอ็ าจจะเข้ามาช่วยชีท้ างให้เราเผชิญกับวิกฤติได้ โดย ไม่ตอ้ งตัง้ ต้นเรียนรูใ้ หม่อย่างทีผ่ ปู้ ระสบภัยทัง้ หลายเริม่ ต้นจากศูนย์ (สูญ) ลองผิดลองถูก จนค้นพบแนวทางในการเผชิญและรับมือกับภัยพิบตั ิ อย่างน้อยส�ำหรับดิฉนั เอง ก็ได้หลักคิดส�ำคัญในการฟืน้ ฟู คือ ให้ผปู้ ระสบภัยมีสว่ นร่วมในการเยียวยาและฟืน้ ฟูชวี ติ และชุมชน จากหลัก คิดนีก้ แ็ ตกออกเป็นหลายแนวทางทีจ่ ะเริม่ ต้นท�ำงาน เป็นต้นว่า สร้างส้วม เพื่อรวมคน ให้ชุมชนร่วมจัดการเรื่องอาหาร น�้ำ ความปลอดภัย หรือการท�ำสภากาแฟทีจ่ ะเป็นพืน้ ทีเ่ ยียวยาจิตใจทีร่ ะทมทุกข์ให้รสู้ กึ ว่า มีเพือ่ น และจากวงสนทนากาแฟนัน้ ก็นำ� ไปสูก่ ารร่วมใจลงมือสร้างสรรค์ โอกาสในชีวติ ร่วมกัน ยิ่งไปกว่านั้น สาระในหนังสือเล่มนี้จะช่วยกระตุ้นให้เราเห็น ความจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องเตรียมการรับมือภัยพิบตั ิ ทีน่ บั วันก็ยงิ่ ทวีความถี่ และความรุนแรง การเตรียมความพร้อมรับมือภับพิบตั ดิ งั ทีไ่ ด้นำ� เสนอไว้ ในหนังสือเล่มนี้เป็นกระบวนการและเครื่องมือที่ช่วยเสริมสร้างความ เข้มแข็งของพลเมือง ของชุมชน และของประเทศด้วย ไม่ว่าจะเกิด ภัยพิบตั หิ รือไม่กต็ าม
Tsunami : waves of reform
ดิฉนั ซาบซึง้ ในความพากเพียรและทุม่ เทของทุกคนทีอ่ ยูเ่ บือ้ ง หลังการท�ำหนังสือเล่มนี้ ทัง้ ผูป้ ระสบภัย นักจัดระบบชุมชน อาสาสมัคร นักวิจยั นักวิชาการ วิทยากรกระบวนการถอดบทเรียน ผูบ้ นั ทึกความรู้ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบทเรียนทั้งหลาย ทั้งที่มีหรือไม่มีในหนังสือ เล่มนี้ ทีร่ ว่ มกันถ่ายทอดและบันทึกบทเรียนส�ำคัญแห่งประวัตศิ าสตร์ เล่มนี้ หวังเป็นอย่างยิง่ ว่า สาระในหนังสือเล่มนีจ้ ะเป็นแผนทีน่ ำ� ทางให้ เรารับมือกับภัยพิบตั ไิ ด้อย่างราบรืน่ และยังจะเป็นเรือ่ งเล่ากล่าวขาน ให้ชนรุน่ หลังได้ตอ่ ยอดการเรียนรูย้ งิ่ ๆ ขึน้ ไป ด้วยจิตคารวะ
25
สารบัญ บทน�ำ สึนามิ : คลืน่ แห่งการเรียนรู้
32
คลืน่ แห่งการเรียนรู้ ณ โมงยามแห่งวิกฤติ
40
คลืน่ แห่งการฟืน้ ฟู
55
คลืน่ แห่งการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบตั ิ
71
ภัยพิบตั ิ : ความเสีย่ งและความรับผิดชอบ ร่วมกันของมวลมนุษยชาติ ภาคแรก : ตามคลืน่ – ทวนคลืน่ สูเ่ ส้นทางการปฏิรปู
84
บทที่ 1 บทเรียนและประสบการณ์ในการจัดการ ศูนย์พกั พิงชัว่ คราว หลากบทเรียนส�ำคัญจากประสบการณ์การ จัดการศูนย์พกั พิงชัว่ คราว การจัดระบบกับองค์กรภายนอกและอาสา สมัคร การเชือ่ มโยงเครือข่ายแห่งการช่วยเหลือ
95
92
100 124 126
บ้านพักชัว่ คราว บททดสอบการจัดระบบโดย 128 ชุมชน การเรียนรูป้ ระชาธิปไตยผ่านการปฏิบตั ิ 131
บทที่ 2 บทเรียนจากการฟืน้ ฟูชวี ติ และชุมชน 137 ผูป้ ระสบภัยสึนามิ รากฐานการฟืน้ ฟูสกู่ ารพัฒนา : กระบวนการ 139 มีสว่ นร่วมโดยชุมชน สร้างบ้าน วางผังชุมชน แบบมีสว่ นร่วม 142 ฟืน้ ฟูอาชีพ สนับสนุนกองทุนหมุนเวียน
146
กองทุนส�ำหรับการฟืน้ ฟูสภาพชีวติ และชุมชน ของผูป้ ระสบภัยพิบตั ิ การจัดตัง้ กลุม่ ปกป้องทรัพยากร พัฒนา สังคม ฟืน้ ฟูศลิ ปวัฒนธรรม จัดท�ำแผนแม่บทเพือ่ การพัฒนาชุมชนระยะ ยาวและการพัฒนาแกนน�ำ บทที่ 3 ความงอกงามของขบวนการประชาชน หลังภัยสึนามิ คลืน่ กระทบสูค่ รอบครัวและสังคม หลังคลืน่ ยักษ์
149 151 154 159 160
พลิกวิกฤติ สร้างโอกาส ให้กบั เด็กและผูห้ ญิง 164 /บทบาทและความซับซ้อนของความเป็น หญิงในภาวะวิกฤต แผนรับมือภัยพิบตั โิ ดยชุมชนเป็นฐาน 169 เปิดปมปัญหาหลังคลืน่ สึนามิ
182
สูเ้ พือ่ สิทธิ สูก่ ารปฏิรปู ทีด่ นิ
195
จากผูป้ ระสบภัยสูค่ วามเป็นเครือข่าย
204
เครือข่ายผูป้ ระสบภัยสึนามิ สู่ เครือข่าย ชุมชนเพือ่ การปฏิรปู การเมือง (คปสม.) ลดความเหลือ่ มล�ำ้ สร้างความเป็นธรรม : ขับเคลือ่ นกฎหมายเพือ่ คนจน 4 ฉบับ บทที่ 4 บทเรียนภัยพิบัติสู่การปฏิรูป
215
บทเรียน # 1 การจัดการศูนย์พกั พิง
235
บทเรียน # 2 อาสาสมัครภัยพิบตั ิ
238
บทเรียน # 3 งานจัดระบบชุมชน
243
บทเรียน # 4 แหล่งทุน
252
บทเรียน # 5 งานกูช้ พี กูภ้ ยั การแพทย์
260
222 233
ภาคสอง : เรียนรูจ้ ากเรือ่ งเล่า ประสบการณ์ – ประสบภัย บทที่ 5 เรือ่ งเล่าจากผูป้ ระสบภัยและ อาสาสมัครสึนามิ จากบ้านน�ำ้ เค็ม... สูพ่ งั งาแห่งความสุข ไมตรี จงไกรจักร์ ผูป้ ระสบภัยสึนามิกบั งานจัดระบบชุมชน จ�ำนงค์ จิตรนิรตั น์ วาระประเทศไทย...ว่าด้วยภัยพิบตั ิ นพ.บัญชา พงษ์พานิช สึนามิกบั การท�ำงานทางสังคม : เส้นทาง ความเจริญงอกงามของผูค้ นหัวใจอาสา นิศานาถ รัตนนาคินทร์ (โยธาสมุทร) จิตอาสาจากคลืน่ สึนามิสคู่ ลืน่ สังคม ดร.มิชติ า จ�ำปาเทศ รอดสุทธิ ประสบการณ์งานอาสาสมัคร ความหวัง ความฝัน การเติบโต ธนพล ทรงพุฒิ
266 269 270 297 315 325 340 340
เรือ่ งเล่าจากอาสาสมัคร ธีรพงษ์ สุทธิวราภิรกั ษ์ กรองแก้ว ปัญจมหาพร Lynda Warrington Sheila Sulley Andy Chaggar Elaine Chong Stephen Mackay
358
บทที่ 6 การแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับ ผู้ประสบภัยในต่างประเทศ นิวออร์ลีนส์ : ความหลากหลายที่ถูกเลือกปฏิบัติ ศรีลังกา : สึนามิกับสิทธิชุมชน
375
อินโดนีเซีย : จากสึนามิ สู่สันติภาพ
384
เมียนมาร์ : พายุนาร์กีสกับการพึ่งตนเอง
387
แคนาดา : แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในวันที่อยู่อาศัยสากล
389
บรรณานุกรม
377 381
บทน�ำ
สึนามิ :
คลืน ่ แห่งการเรียนรู้
มนุษย์ไม่สามารถโยนความผิดให้กบ ั ธรรมชาติได้ ภัยพิบัติเป็นความเกี่ยวเนื่องกันของมนุษย์กับ ธรรมชาติ และการจัดการภัยพิบต ั เิ ป็นเรือ ่ งของ มนุษย์ที่ควรมีความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งใน ระดั บ ชุ ม ชนและระดั บ นโยบาย ที่ ต ้ อ งด� ำ เนิ น สอดคล้องกันไปอย่างเป็นองค์รวม
ยามเช้าของวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ทางภาคใต้ของ
ประเทศไทย ผูค้ นรูส้ กึ ถึงความสัน่ ไหวอย่างรุนแรงของแผ่นดินได้อย่าง ชัดเจน โดยเฉพาะผูท้ อี่ ยูบ่ นตึกสูงแถบชายฝัง่ อันดามัน ศูนย์อตุ นุ ยิ มวิทยา ภาคใต้ฝง่ั ตะวันตกรายงานการเกิดแผ่นดินไหวครัง้ นีว้ า่ มีจดุ ศูนย์กลางของ การเกิดแผ่นดินไหวบริเวณหัวเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย (ละติจดู 3.4 ลิปดา ลองติจดู 9.5 องศาตะวันออก) ลึกลงไปในแผ่นดินประมาณ 30 กิโลเมตร ซึ่งห่างจากชายฝั่งอันดามันในจังหวัดภาคใต้ของไทย ประมาณ 500-600 กิโลเมตร แผ่นดินไหวครัง้ นีม้ รี ะดับความรุนแรง 8.1 ริกเตอร์ นับเป็นแผ่นดินไหวครัง้ รุนแรงทีส่ ดุ ทีเ่ กิดขึน้ ในทะเลอันดามัน และรุนแรงมากเป็นอันดับ 5 ของโลกนับตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา และคาดการณ์กนั ว่าจะเกิดอาฟเตอร์ชอ็ คตามมาอีกหลายครัง้
36
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
แต่ไม่มใี ครคิดว่าแผ่นดินไหวครัง้ นีจ้ ะน�ำพาสิง่ ทีอ่ ยูเ่ หนือการ คาดการณ์มาด้วย เมือ่ เวลาประมาณ 9.00 น. เกิดคลืน่ ยักษ์ซดั เข้าพืน้ ทีห่ ลาย จังหวัดชายฝัง่ อันดามัน ทีจ่ งั หวัดภูเก็ต บริเวณหาดป่าตอง กมลา กะตะ กะรน หาดไนยาง คลืน่ ยักษ์ได้ซดั เข้าฝัง่ จ�ำนวนหลายลูก น�ำ้ ทะเลทะลัก ท่วมบ้านเรือนประชาชน อาคารสิง่ ปลูกสร้างต่างๆ ทัง้ ชีวติ และข้าวของถูก กระแสน�้ำพัดพา คลื่นยังซัดเรือเล็กและเรือน�ำเที่ยว รวมทั้งรถยนต์ รถกระบะ รวมหลาย 10 คัน ขึน้ ไปติดอยูท่ บี่ ริเวณชายป่า ประชาชน จ�ำนวนมากวิ่งหนีกันจ้าละหวั่น บ้างอพยพขึ้นไปที่บริเวณเขาที่อยู่ ใกล้เคียง รวมทัง้ ทีท่ ำ� การศาลากลางจังหวัดภูเก็ต เจ้าหน้าที่ต�ำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกาศห้าม ประชาชนลงเล่นน�ำ้ พร้อมกับน�ำเรือออกจากฝัง่ และห้ามรถใช้เส้นทางใน บางเส้นทางทีใ่ กล้กบั ชายฝัง่ ทะเลเป็นการชัว่ คราว โดยให้หน่วยกูภ้ ยั กัน ประชาชนและนักท่องเทีย่ วออกห่างจากชายฝัง่ เพราะระดับคลืน่ สูงขึน้ เรือ่ ยๆ โดยเฉพาะทีบ่ ริเวณท่าฉัตรไชย คลืน่ ยักษ์ถล่มพัดบ้านเรือนราษฎร และข้าราชการเสียหายจ�ำนวนมาก และต่อมามีรายงานการพบผูเ้ สียชีวติ ทีห่ าดป่าตอง ช่วงเวลาเดียวกัน ก็มีรายงานข่าวว่า คลื่นยักษ์ได้ขยายแรง กระเพือ่ มไปถึงพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ ตามชายฝัง่ ทะเลอันดามัน เช่น จังหวัดพังงา ระนอง กระบี่ สตูล และตรัง
Tsunami : waves of reform
คลืน่ สึนามิกบั ความสูญเสีย สรุปรายงานผลกระทบจากคลืน่ ยักษ์สนึ ามิของ กระทรวงมหาดไทยทีเ่ สนอต่อคณะรัฐมนตรี เมือ่ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2548 6 จังหวัดประสบภัย ได้แก่ ภูเก็ต พังงา กระบี่ ระนอง สตูล และตรัง ครอบคลุมพืน้ ที่ 29 อ�ำเภอ 161 ต�ำบล 502 หมูบ่ า้ น 20,178 ครอบครัว ได้รบั ความเดือดร้อน 5,395 คน เสียชีวติ (บางข้อมูลได้ให้ตวั เลขผูเ้ สีย ชีวติ โดยประมาณว่า มีถงึ 8,212 คน) 8,457 คน ได้รบั บาดเจ็บ 2,906 คน สูญหาย 7,000 คน ไร้ทอี่ ยูอ่ าศัย (ประมาณ) จังหวัดพังงาประสบภัยรุนแรงทีส่ ดุ ครอบคลุม 66 หมูบ่ า้ น 18 ต�ำบล ใน 6 อ�ำเภอ ประชาชน 19,509 คน /4,394 ครอบครัวได้รบั ความเดือดร้อน อ�ำเภอตะกัว่ ป่าเป็นพืน้ ทีท่ ปี่ ระสบเหตุมากทีส่ ดุ มีผู้เสียชีวิตทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเฉพาะพื้นที่นี้ จ�ำนวน 4,225 คน บาดเจ็บ 5,597 คน ผูเ้ สียชีวติ ทีเ่ ป็น ผู้มีถิ่นฐานในอ�ำเภอตะกั่วป่ามีจ�ำนวน 562 คน และ สูญหาย 492 คน (ข้อมูล : ส�ำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา 2548)
37
38
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
แม้คลืน่ ยักษ์ในวันนัน้ ได้สงบลงแล้ว แต่ผลกระทบในระยะยาวที่ เกิดขึน้ กับชีวติ ผูท้ รี่ อดนัน้ ยังคงด�ำเนินอยู่ ทัง้ ผลกระทบต่อจิตใจและด้าน อืน่ ๆ เช่น วิถชี วี ติ ทีอ่ ยูอ่ าศัย ฯลฯ ทีแ่ ม้เวลาจะล่วงผ่านกว่า 10 ปีแล้ว ก็ยงั คงต้องดิน้ รนแก้ไขปัญหากันอยู่ อีกทัง้ ยังเป็นปัญหาทีม่ คี วามเลือ่ น ไหลเปลีย่ นแปลงอยูต่ ลอดเวลาอีกด้วย
คลืน ่ สึนามิไม่เหมือนกับคลืน ่ ทะเล (tidal wave) ตามปกติ เพราะมีความยาวของคลืน ่ ยาว กว่ามาก แทนที่ จ ะเป็ น คลื่ น หั ว แตก (breaking wave) ตามปกติ คลืน ่ สึนามิเริม ่ แรกอาจดูเหมือน กับว่าคลืน ่ น�ำ้ เพิม ่ ระดับสูงขึน ้ อย่างรวดเร็ว และ ด้วยเหตุนี้ คลื่นสึนามิจึงมักเรียกว่าเป็นคลื่น ยักษ์ โดยทั่วไป คลื่นสึนามิ ประกอบด้วยกลุ่ม คลื่นซึ่งมีคาบเป็นนาทีหรืออาจมากถึงชั่วโมง มากันเรียกว่าเป็น “คลืน ่ ขบวน” (wave train)1
Tsunami : waves of reform
ทว่า ท่ามกลางความสูญเสีย ความท้าทาย ปัญหาอุปสรรคต่างๆ ก็ได้กอ่ ให้เกิดคลืน่ แห่งจิตส�ำนึกใหม่ คลืน่ แห่งการเรียนรู้ ความตระหนัก เห็นความหมายและความส�ำคัญของการด�ำรงอยูร่ ว่ มกันในชุมชนและ สังคม ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา หลายหน่วยงาน องค์กร กลุม่ คน ชุมชน ได้ศกึ ษาวิจยั และบันทึกบทเรียนทีเ่ กีย่ วข้องกับเหตุการณ์ สึนามิ ซึง่ ในบทนีจ้ ะได้ประมวลภาพบทเรียนโดยย่อในแต่ละด้าน แต่ละ ขัน้ ตอน รวมทัง้ ข้อเสนอแนะ แนวทางต่างๆ ทีจ่ ะน�ำไปสูก่ ารท�ำนโยบายที่ เกีย่ วข้องกับภัยพิบตั ิ และปิดท้ายด้วยข้อตระหนักถึงภัยพิบตั ทิ เ่ี ป็นความ เสีย่ งของมวลมนุษยชาติอย่างหลีกเลีย่ งไม่ได้
39
40
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
คลืน ่ การเรียนรู้ ณ โมงยามแห่งวิกฤติ คลืน่ สึนามิไม่เพียงซัดพาเอาปัญหาเข้ามาในสังคม แต่เมือ่ คลืน่ สงบแล้ว สิง่ ทีโ่ ผล่ปรากฏคือปัญหาทีท่ บั ถม กลบฝัง และถูกละเลยมา ยาวนานในสังคมไทย นีจ่ งึ เป็นบททดสอบส�ำคัญทีภ่ ยั พิบตั หิ ยิบยืน่ ให้เรา ได้เรียนรู้ เพือ่ พัฒนาชีวติ ยกระดับศักยภาพของเราทัง้ สังคม และใน ทุกมิติ สังคมไทย ใส่ใจเรือ ่ ง “เฉพาะหน้า” ? สุรชิ ยั หวันแก้ว นักวิชาการด้านสังคมวิทยา ได้ตงั้ ข้อสังเกตเรือ่ ง ภัยพิบตั วิ า่ “เรามักจะสนใจเรือ่ ง ภัยพิบตั แิ ต่เฉพาะในช่วงทีม่ นั อุบตั ขิ นึ้ ” กล่าวคือ ในช่วงก่อนทีจ่ ะเกิดเหตุภยั พิบตั ิ มีผรู้ ู้ ผูท้ ศี่ กึ ษาเรือ่ งการขยับตัว ของเปลือกโลกออกมาคาดการณ์แนวโน้มและเตือนว่า ประเทศไทยมีแนว โน้มทีจ่ ะได้รบั ผลกระทบจากแผ่นดินไหว แม้จะมีการเตือนและค�ำอธิบาย เชิงวิชาการ สังคมไทยก็ดจู ะไม่ตระหนัก ไม่เตรียมตัวเตรียมใจส�ำหรับ โอกาสทีอ่ าจจะเกิดขึน้ จึงท�ำให้เราตระหนก ตกอกตกใจ เมือ่ เหตุภยั พิบตั ิ เกิดขึน้ จริง และหาทางแก้เท่าทีจ่ ะท�ำได้เฉพาะหน้าเป็นเรือ่ งๆ อย่างๆ ไป ซึง่ การแก้ปญ ั หาเฉพาะหน้าโดยขาดความรู้ ขาดการเตรียมตัวมาก่อนนัน้ ก็สร้างความโกลาหลและปัญหาซ้อนทับปัญหาเดิมขึน้ ไป เช่นกัน
Tsunami : waves of reform
ข่าวคลืน่ ยักษ์สนึ ามิถล่มชายฝัง่ อันดามันของไทยได้สร้าง “ความ รูส้ กึ ร่วม” ให้กบั ผูค้ นทัว่ โลก ธารน�ำ้ ใจและความช่วยเหลือจากอาสา สมัครจ�ำนวนมาก เจ้าหน้าทีข่ องรัฐทัง้ ในพืน้ ทีจ่ งั หวัดใกล้เคียงและจาก ส่วนกลาง รวมทัง้ ผูท้ ตี่ ามหาญาติพนี่ อ้ ง เพือ่ นมิตร หลัง่ ไหลอย่างท่วมท้น ไปยังพืน้ ทีป่ ระสบภัยในเวลาอันรวดเร็ว จนท�ำให้ระบบขนส่งคมนาคมและ ระบบการสือ่ สารขัดข้อง (ล่มไปช่วงหนึง่ ) นอกจากนัน้ ความช่วยเหลือทีล่ งไปก็ขาดการจัดการทีเ่ ป็นระบบ ท�ำให้เกิดภาวะต่างคนต่างท�ำ ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการให้ความ ช่วยเหลือ งานทีเ่ ร่งด่วนทีส่ ดุ ในเวลานัน้ คือ การน�ำผูบ้ าดเจ็บส่งโรงพยาบาล แต่การค้นหาผู้คนที่ถูกคลื่นซัด ไปติดอยู่ตามซากอาคารบ้านเรือน หรือซอกสิง่ ปลูกสร้าง บ้างอยูใ่ ต้ดนิ โคลนและต้นไม้ทหี่ กั โค่น สภาพทาง กายภาพในภาวะหลังคลืน่ ยักษ์เช่นนีท้ ำ� ให้การค้นหาและน�ำตัวผูบ้ าดเจ็บ ส่งสถานพยาบาลเต็มไปด้วยความยากล�ำบากและอุปสรรค ยิง่ ไปกว่านัน้ การค้นหาให้ความช่วยเหลือก็ยงั ไม่เป็นระบบ ขาดการเชือ่ มประสานกัน จึงท�ำให้การค้นหาเป็นในลักษณะ ต่างคนต่างท�ำ ใครช่วยตรงไหนได้กอ่ นก็ เข้าไปช่วย โรงพยาบาลขนาดเล็กและขนาดกลางในพืน้ ทีจ่ งั หวัดทีป่ ระสบ ภัยและจังหวัดใกล้เคียง รวมทัง้ สถานพยาบาลต่างๆ ไม่สามารถรองรับ ผูบ้ าดเจ็บจ�ำนวนมากได้ แต่ดว้ ยสถานการณ์วกิ ฤติฉบั พลันเช่นนัน้ สถาน พยาบาลจ�ำต้องเปิดพืน้ ทีแ่ ละรับรองผูค้ นจ�ำนวนมาก ทัง้ ผูบ้ าดเจ็บ ญาติ
41
42
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
และผูท้ ตี่ ามหาญาติ ท�ำให้ทงั้ สถานพยาบาลและผูค้ นต้องอยูร่ ว่ มกันใน ความแออัดและโกลาหล แม้ทกุ ฝ่ายจะท�ำงานกันอย่างเต็มก�ำลัง แต่การ ติดต่อประสานงานเพือ่ เคลือ่ นย้ายผูบ้ าดเจ็บไปยังโรงพยาบาลอืน่ ๆ และ การเคลื่อนย้ายทั้งทางรถและทางเครื่องบินก็ด�ำเนินไปอย่างทุลักทุเล เนือ่ งจากไม่ได้มกี ารเตรียมการในการย้ายผูบ้ าดเจ็บฉุกเฉินและมีจำ� นวน มากเท่านีม้ าก่อน งานทีเ่ ร่งด่วนและส�ำคัญไม่แพ้กนั กับการค้นหาผูร้ อดชีวติ และ บาดเจ็บคือ การระดมคนเพือ่ เก็บและค้นหาศพผูเ้ สียชีวติ ค้นหาหลักฐาน ต่างๆ เพือ่ ระบุตวั บุคคล รวมไปถึงการตรวจพิสจู น์ศพจากเอกลักษณ์ บุคคลเพือ่ ให้ญาติมารับศพ การระดมแพทย์ พยาบาล อาสาสมัคร เพือ่ ช่วยท�ำงานในด้านนี้ จึงมีทงั้ จากผูเ้ ชีย่ วชาญชาวไทยและต่างประเทศ หน่วยกูช้ พี เก็บศพ หลายหน่วยงาน ต่างฝ่ายต่างเก็บและท�ำรายชือ่ ผูเ้ สียชีวติ และเคลือ่ นย้าย ศพไปไว้ในสถานทีต่ า่ งๆ การตรวจพิสจู น์ศพหลายพันศพนับเป็นงานที่ หนักและใช้เวลา รวมถึงยังมีศพอีกนับพันทีต่ รวจพิสจู น์ ไม่ได้ สถานทีเ่ ก็บ ศพแทบจะไม่เพียงพอที่วางศพ อีกทั้งญาติที่ก�ำลังโศกเศร้าเสียใจก็ พยายามตระเวนตามหาบุคคลทีส่ ญ ู หาย -- บรรยากาศทีส่ บั สนอลหม่าน ยากต่อการประสานงาน และยิง่ ซ�ำ้ เติมความรูส้ กึ สูญเสียในหัวใจของผู้ ประสบภัยและผูท้ เี่ กีย่ วข้อง นับเป็นภาพแห่งโศกนาฏกรรมครัง้ ใหญ่ของ เมืองไทยเลยทีเดียว
Tsunami : waves of reform
ไร้ระบบ พร่องประสาน? นพ.บัญชา พงษ์พานิช นักวิชาการอิสระ หนึง่ ในผูท้ มี่ บี ทบาท เข้าไปช่วยเหลือผูป้ ระสบภัย ย�ำ้ ข้อสรุปว่า “เมืองไทยไม่พร้อมรับมือ ภัยพิบตั ”ิ 2 และน�ำเสนอบทเรียนส�ำคัญทีบ่ ง่ บอกความไม่พร้อมของเรา นับตัง้ แต่
การเก็บกูร้ า่ งไร้ชวี ติ ของหน่วยอาสาสมัคร สมาคม มูลนิธิ จ�ำนวนมากจากทัว่ ประเทศ ทีม่ าช่วยกันเก็บกู้ ไม่สามารถแบ่งเขตการ เก็บกู้ เนือ่ งจากพืน้ ทีก่ ว้างและเข้าถึงยาก มีการแข่งขันผลงาน ยิง่ อยูใ่ น ภาวะเร่งรีบแข่งกับเวลาท�ำให้การเก็บกูร้ า่ งไร้ชวี ติ ไม่เป็นระบบ
การบันทึกหลักฐานประกอบร่าง ยังขาดการบันทึกพิกดั จุดที่ พบ ระบุเพศ ชายหรือหญิง ชาวไทยหรือชาวต่างชาติ (ตะวันออกหรือ ตะวันตก) รวมไปถึงการเก็บรวบรวมวัตถุพยานทีพ่ บพร้อมร่าง เช่น เครือ่ งประดับ ของติดตัวต่างๆ บางกรณี วัตถุพยานเหล่านีถ้ กู เก็บแยก ออกมาจากศพ ใส่ไว้ในห่อผ้ารวมกันไว้ ส่งผลให้หลักฐานสับสน ยุง่ ยาก ในการสืบค้นเพือ่ ยืนยันตัวตนภายหลัง
การรวบรวมร่างไร้ชวี ติ มีการน�ำส่งร่างไปยังทีต่ า่ งๆ ตามแต่ สะดวกของแต่ละหน่วยแต่ละศูนย์ ร่างทีอ่ ยูอ่ กี บริเวณหนึง่ ถูกรวบรวมไป ไว้ยงั ศูนย์ทหี่ า่ งไกลจากบริเวณทีพ่ บ ยิง่ ยุง่ ยากในการสืบค้นหาของญาติ ทีท่ ำ� ให้ตอ้ งไปในทุกๆ ทีเ่ ก็บร่างผูเ้ สียชีวติ
43
44
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
การชันสูตร ทีท่ กุ สถาบันได้สง่ บุคลากรไปท�ำการชันสูตร เช่น คณะแพทย์จฬุ าลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชันสูตรทีว่ ดั ล�ำแก่น, มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ ชันสูตรทีศ่ นู ย์บางเนียง, ศิรริ าชพยาบาล มหาวิทยาลัยขอนแก่น สงขลานครินร์ รามาธิบดี และสถาบันนิตวิ ทิ ยาศาสตร์ ชันสูตรทีศ่ นู ย์บาง ม่วง, สถาบันนิตวิ ทิ ยาศาสตร์ ทีว่ ดั ย่านยาว ต่างหน่วยต่างชันสูตรร่างที่ มีอยูจ่ ำ� นวนมาก มีการประสานงานระหว่างกันน้อย การบริการสนับสนุน แต่ละหน่วยก็ตา่ งกัน บางศูนย์ขดั สนเครือ่ งมือ อุปกรณ์ตา่ งๆ จนอยูใ่ น สภาพขลุกขลัก นอกจากนัน้ แต่ละหน่วยงานยังมีรายละเอียดการบันทึก ผลการชันสูตรที่ต่างกัน เช่น บางหน่วยไม่มีการวัดส่วนสูง การเก็บ ตัวอย่าง ดีเอ็นเอ ทัง้ จากเนือ้ เยือ่ กระพุง้ แก้ม กล้ามเนือ้ โคนขา และ กระดูกอ่อนซีโ่ ครง ของแต่ละหน่วยก็ตา่ งกัน ส่วนเรือ่ งข้อมูลฟันเพิง่ มีการ ท�ำกันในตอนหลัง
การจัดส่งรายงานการชันสูตรไม่เป็นไปตามแนวปฏิบัติ (protocol) คือ ส่งรายงานแก่เจ้าพนักงานต�ำรวจเพือ่ ด�ำเนินการต่อ นอกจากนัน้ ยังมีอปุ สรรคในการประสานกับหน่วยชันสูตรต่างประเทศ ต่างฝ่ายต่างท�ำงานตามความเข้าใจของตน ส่งผลให้ตอ้ งท�ำงานซ�ำ้ หลาย รอบ ขยายวงสูค่ วามขัดแย้ง ทัง้ หมดนีท้ ำ� ให้ฐานข้อมูลของการชันสูตรไม่ ลงตัว และไม่อาจน�ำไปใช้งานได้ทนั ท่วงที การเก็บรักษาร่างไร้ชวี ติ ขาดระบบทีม่ ปี ระสิทธิภาพและเป็น มาตรฐาน (เพราะท�ำตามสภาพของปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ) เริม่ จากวิธฉี ดี น�ำ้ ยา แล้วบรรจุหบี ศพ ต่อมาเมือ่ น�ำ้ ยาฉีดศพไม่พอ หีบไม่พอ ก็ใช้วธิ หี อ่ ผ้าแล้ว
Tsunami : waves of reform
ฝังลงใต้ดนิ เพือ่ ชะลอการเสือ่ มสภาพ จนสุดท้าย เก็บรักษาร่างด้วยการ บรรจุใส่หอ่ แล้ววางในคอนเทนเนอร์ตดิ เครือ่ งท�ำความเย็น การบันทึกรหัสประจ�ำร่างของผูเ้ สียชีวติ ก็เช่นกัน วัสดุทใี่ ช้ ตอน แรกเป็นป้ายกระดาษทีใ่ ช้พนั แขนหรือใส่ในถุงพลาสติก เมือ่ เวลาผ่านไป หรือสัมผัสกับสิง่ อืน่ ๆ โดยเฉพาะน�ำ้ ก็เลอะเทอะ สีหมึกซีดจาง จึงต้อง เปลีย่ นใช้แผ่นกระดาษเคลือบพลาสติก และต่อมาเปลีย่ นเป็นป้ายโลหะฝัง ไมโครชิพ กระบวนการเปลีย่ นป้ายรหัสประจ�ำตัวนีท้ ำ� ให้เกิดความสับสน บ้างปิดป้ายผิดร่าง และมีรา่ ง ทีไ่ ม่มปี า้ ย ก็ตอ้ งจัดท�ำใหม่กนั หลายรอบ เป็นต้น นอกจากนี้ ก็มที งั้ การจัดท�ำฐานข้อมูลของร่างไร้ชวี ติ ซึง่ แต่ละ หน่วยงาน แต่ละศูนย์จดั ท�ำระบบ ไม่เหมือนกัน กลายเป็นอุปสรรคในการ สืบค้นหาข้อมูลของญาติ มีทงั้ ระบบฐานข้อมูลสืบค้นทีไ่ ม่สามารถ สืบค้น ได้ ท�ำข้อมูลเก็บไว้แล้วไม่ได้ใช้ สรุปได้วา่ เรือ่ งระบบฐานข้อมูลก็ไม่สามารถ จัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การจัดท�ำฐานข้อมูลผูส้ ญ ู หาย หลายหน่วยงานเปิดให้บริการ รับแจ้งผูศ้ นู ย์หาย ส่วนใหญ่จะให้แจ้งชือ่ -สกุล และทีอ่ ยูผ่ แู้ จ้ง แต่มบี าง หน่วยงานทีข่ อข้อมูลรูปพรรณสัณฐานและข้อมูลประกอบการพิสจู น์เช่น ต�ำหนิ การแต่งตัว พิกดั ทีส่ ญ ู หาย ข้อมูลต่างๆ เหล่านีไ้ ม่ได้จดั เป็นระบบ หลายครัง้ ซ�ำ้ ซ้อน การสืบค้นท�ำได้ยาก จนถึงท�ำไม่ได้ เนือ่ งจากการแจ้ง นัน้ เป็นเพียงการลงทะเบียนบัญชีผสู้ ญ ู หายไว้เท่านัน้ เราจึงเห็นใบประกาศ คนหายทีญ ่ าตินำ� ไปติดตามทีต่ า่ งๆ ในหลายพืน้ ทีเ่ ช่นเขาหลัก ย่านยาว พังงา ภูเก็ต
45
46
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
การสืบค้นผูส้ ญ ู หาย ญาติมติ รต้องดิน้ รนหาเองโดยเดินทางไป ตามศูนย์ตา่ งๆ เดินดูทลี ะร่าง หรือดูใบปิดประกาศรูปถ่ายแต่ละศูนย์ ส่วน การจัดท�ำระบบอินทราเน็ต เมือ่ ผูค้ น้ หาเดินดูภาพถ่ายพร้อมรหัสพบว่า น่าจะคล้ายก็ตอ้ งขอให้อาสาสมัครเปิดคอมพิวเตอร์โน้ตบุค๊ ค้นหาข้อมูล การชันสูตรประกอบวันละหลายรายท�ำให้ตอ้ งน�ำเข้าสูร่ ะบบอินเทอร์เน็ต เพือ่ สะดวกในการค้นหา แต่เปิดให้บริการได้เพียง 2 วัน ก็ตอ้ งยุตเิ มือ่ มี เหตุผลเรือ่ งความปลอดภัย เรือ่ งสิทธิสว่ นบุคคล ต้องใช้การสืบค้นทีต่ อ้ ง แสดงหลักฐานประกอบ ดูในแฟ้มและเครือ่ งคอมพิวเตอร์ ซึง่ ขัน้ ตอนต่างๆ ใช้เวลานาน การจัดการพืน้ ที่ ในพืน้ ทีป่ ระสบภัย ไม่มกี ารกันเขตห้ามเข้า ท�ำให้ใครๆ ก็สามารถสัญจรเข้าออกได้โดยสะดวก จนเกิดเหตุทรัพย์สนิ สูญหาย อาคารทีเ่ หลืออยูถ่ กู รือ้ ถอน เพือ่ เอาวัสดุอาคารและสิง่ ของไป ขาย ยังมีเรือ่ งการคมนาคมขนส่งในพืน้ ที่ ทีข่ าดการจัดการ ท�ำให้รถติด เนืองแน่น การเดินทางขนส่งล�ำเลียงข้าวของความช่วยเหลือยากแก่การ ท�ำงาน ข้อมูลทีน่ กั วิชาการทัง้ หลายได้ศกึ ษาและสะท้อนไว้ในเรือ่ งความ ไม่พร้อมในการรับมือกับภัยพิบตั สิ นึ ามินนั้ ยังเป็นปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ซ�ำ้ ซาก ในพืน้ ทีแ่ ละเหตุการณ์ภยั พิบตั อิ นื่ ๆ ทีเ่ กิดขึน้ ภายหลัง เช่น สถานการณ์ มหาอุทกภัยปี พ.ศ. 2554 ความไม่พร้อม ในการรับมือกับภัยพิบตั มิ ี ทัง้ เรือ่ งการจัดการศูนย์พกั พิงผูป้ ระสบภัย และการจัดการน�ำ้ ไม่ให้ทว่ ม ขัง ท�ำอย่างไรให้ไหลลงสูท่ ะเลได้อย่างรวดเร็ว การผันน�ำ้ จากพืน้ ทีห่ นึง่ ไป ยังที่หนึ่ง ท�ำให้พื้นที่ประสบภัยขยาย วงกว้าง และการจัดการดูแล
Tsunami : waves of reform
ผูป้ ระสบภัยทีถ่ กู น�ำ้ ท่วมขังนานนับเดือนทีไ่ ม่ทวั่ ถึง และปัญหาอืน่ ๆ อีก มากมาย เรายังคงเป็นสังคมไทย ใส่ใจ “เฉพาะหน้า” ยังให้ความส�ำคัญ น้อยไปในการเตรียมคิด เตรียมการเรือ่ งการจัดการภัยพิบตั ปิ ระเภทต่างๆ อย่างเป็นระบบ วางแผนขัน้ ตอนในการช่วยเหลือ จัดสรรหน่วยงานรับผิด ชอบด้านต่างๆ ทีท่ ำ� งานประสานกันและมีนโยบายรองรับทีท่ ำ� ให้การ รับมือกับปัญหาภัยพิบตั มิ ปี ระสิทธิภาพขึน้
น�ำ้ ลด ตอผุด ความไม่พร้อมและไม่เคยเตรียมการมาก่อน ทั้งในแง่ความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถ ท�ำให้การรับมือปัญหาเป็นการเฉพาะหน้า ซึง่ หลายครัง้ กลับสร้างและซ�ำ้ เติมปัญหาทีเ่ กิดขึน้ อยูแ่ ล้ว “78 สัปดาห์หลังสึนามิ” คาร์ล เซกชไนเดอร์ และ วไลทัศน์ วรกุล3 ได้กล่าวถึงบทเรียนทีไ่ ด้เรียนรูเ้ กีย่ วกับ “ปัญหาความช่วยเหลือที่ ไม่มรี ะบบระเบียบ” ทัง้ ความช่วยเหลือ จากของไทยและต่างประเทศทีม่ ี มากมาย ระบบการจัดการของบริจาคทีไ่ ม่เท่าเทียม ไม่ทวั่ ถึง ของบริจาค ทีไ่ ม่เหมาะสมและไม่ชว่ ยให้เกิดประโยชน์อะไรมากนัก ไม่มกี ารสือ่ สาร ระหว่างผูใ้ ห้ความช่วยเหลือกับผูข้ อรับ การช่วยเหลือ สิง่ ของไม่วา่ จ�ำเป็น หรือไม่จำ� เป็นก็รบั เอาไว้กอ่ น
47
48
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ภายหลังเหตุการณ์ จึงเหมือน “น�ำ้ ลด ตอผุด” ทั้งปัญหาเดิมและปัญหาต่อเนื่อง ที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจจาก สาธารณชน ปัญหาทีไ่ ม่มกี ารแก้ไขในระดับนโยบายเท่าทีค่ วรเช่นปัญหา แรงงานต่างด้าว แรงงานเด็ก ปัญหาสิทธิมนุษยชนของชนกลุม่ น้อย คนไร้ สัญชาติ ไร้สถานะ รวมไปถึงปัญหาเกีย่ วกับการจัดการธรรมชาติและ สิง่ แวดล้อม จากหนังสือ “เมือ่ ร่วมมือฟืน้ ฟูกไู้ ทย...จากภัยพิบตั ิ “สึนามิ” เสนอ 60 กรณีศกึ ษาทีร่ ว่ มไม้รว่ มมือกันจัดการภัยพิบตั ใิ นประเทศไทย” โดย ไพโรจน์ สิงบัน และคณะ4 ได้ยกตัวอย่างปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ทีช่ มุ ชนบ้าน เกาะมุก ต�ำบลเกาะลิบง อ�ำเภอกันตัง จังหวัดตรัง หลังจากเผชิญกับคลืน่ ยักษ์สนึ ามาแล้ว ชาวบ้านยังเผชิญกับปัญหาการกระจายความช่วยเหลือ ทีไ่ ม่เป็นระบบและไม่ทวั่ ถึงจากหน่วยงานภายนอก เกิดการทะเลาะเบาะ แว้งถึงขัน้ กลายเป็นความขัดแย้งขึน้ ในหมูบ่ า้ น จนกระทัง่ แกนน�ำทีเ่ ป็นผู้ อาวุโสในชุมชนเริม่ คิดและด�ำเนินการจัดตัง้ กรรมการขึน้ มาจัดการปัญหา โดยมีบทบาทเฉพาะกิจ คือ การส�ำรวจข้อมูลความเสียหายของคนทัง้ เกาะ ท�ำแผนการให้ความช่วยเหลือ จัดตัง้ ศูนย์กลางการรับของบริจาค และสร้างระบบการแจกจ่ายสิ่งของเหล่านี้ ตลอดจนบรรเทาความ เดือดร้อน ฟืน้ ฟู และสร้างสรรค์ชมุ ชนขึน้ มาใหม่ โดยได้รบั การหนุนเสริม จากหน่วยงานภายนอกอย่างเป็นระบบ
Tsunami : waves of reform
สร้างบ้านไม่ตามใจผูอ้ ยู่ การช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยและการฟืน้ ฟูความเสียหาย การจัดหา ทีอ่ ยูอ่ าศัยเป็นไปอย่างไม่มรี ะบบ การออกแบบและกระบวนการในการ สร้างบ้านให้กบั ชุมชนก่อให้เกิดปัญหา โดยเฉพาะการสร้างบ้านในชุมชน บ้านน�ำ้ เค็มจ�ำนวนประมาณ 700 หลัง ซึง่ การออกแบบบ้านไม่ได้คำ� นึง ถึงลักษณะเฉพาะของพืน้ ทีแ่ ละไม่สามารถตอบสนองความต้องการของ ชาวบ้านทีอ่ ยูอ่ าศัยได้ อย่างไรก็ตาม มีแบบอย่างการท�ำงานทีต่ อบสนองความต้องการ ด้านทีอ่ ยูอ่ าศัยของผูป้ ระสบภัย คือ นักวิชาการคณะสถาปัตยกรรมจาก มหาวิทยาลัยต่างๆ ทัว่ ประเทศ และ กลุม่ สถาปนิกชุมชนเพือ่ ทีอ่ ยูอ่ าศัย และสภาพแวดล้อม หรือ CASE (Community Architects for Shelter and Environment) ซึง่ ท�ำงานร่วมกับชุมชนในระยะยาว เพือ่ ปรับปรุง พืน้ ทีแ่ ละทีอ่ ยูอ่ าศัย มีการจัดประชุมเชิงปฏิบตั กิ ารหลายครัง้ เพือ่ ร่วมกัน วางโครงสร้างผังชุมชนและการออกแบบบ้าน ท�ำให้การออกแบบ ครอบคลุมการวางผังที่ดี ได้รับการยอมรับจากชุมชนและสามารถใช้ ประโยชน์ได้จริง ซึง่ นอกจากจะช่วยตอบสนองความจ�ำเป็นหลายประการ ของชุมชนแล้ว ยังท�ำให้สภาพแวดล้อมของท้องถิน่ ดีขนึ้ ด้วย5
49
50
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ช่วยฉาบฉวย : ความช่วยเหลือทีไ่ ม่ตอ่ เนือ่ งและไม่สอดคล้อง กับวิถชี วี ติ ภาสกร จ�ำลองราช (2557) 6 ได้เล่าเรือ่ งราวของผูไ้ ด้รบั ผล กระทบจากเหตุการณ์สนึ ามิผา่ นเรือ่ งสัน้ 3 เรือ่ ง ใน วิถที ถี่ กู รุกล�ำ้ : คนชายข่าว คนชายขอบ I หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ผ่านพ้นไป พบว่า ชาวมอแกนทีเ่ กาะเหลานัน้ ได้รบั ความช่วยเหลือจากหน่วยงาน ภายนอกหลังเหตุการณ์สนึ ามิสนิ้ สุดลงใหม่ๆ เช่น คณะนายต�ำรวจ บริจาคเสาบ้านละ 1 ต้น โดยสัญญาว่าจะน�ำมาช่วยเหลืออีกบ้านละ 8 ต้น มีผมู้ าบริจาคเรือ เครือ่ งมือประมงหรือมีองค์กรพัฒนาเอกชนบาง หน่วยงานเข้ามาและสัญญากับชาวบ้านว่าจะให้ความช่วยเหลือต่างๆ แต่ เมือ่ เวลาผ่านไป ชาวบ้านยังคงไม่ได้เสาอีก 8 ต้นทีค่ ณะนายต�ำรวจสัญญา ว่าจะให้ เรือทีไ่ ด้รบั บริจาคเป็นเรือใหญ่ซงึ่ ชาวบ้านใช้ไม่ถนัดมือ เครือ่ งมือ ประมงก็มเี ฉพาะอวนปู ส่วนองค์กรพัฒนาเอกชนนัน้ ก็ไม่เข้ามาในหมูบ่ า้ น อีกเลย ท�ำให้วถิ ชี วี ติ ของชาวมอแกนด�ำเนินไปอย่างยากล�ำบาก
หนังสือเล่มนีเ้ ขียนถึงคนชายขอบในพืน้ ทีต่ า่ งๆ ทัว่ ทุกภูมภิ าคของไทย แต่มกี ารกล่าวถึงเรือ่ ง ราวของผูไ้ ด้รบั ผลกระทบจากเหตูการณ์สนึ ามิใน 3 เรือ่ งคือ “38 ชีวติ ทีห่ ายไปกับสึนามิ และ 3 ปีแห่งมิตรภาพบนหาดป่าตอง” (น.74- 79 2550) เขียนเมือ่ เดือนธันวาคม “ ในวัย 4 ขวบของเด็กหญิงสึนามิ” (น.80-84)เขียนเมือ่ ธันวาคม 2551 และ “ปล่อยเกาะ ของแท้ มอแกน เกาะเหลา” (น.90-95) เขียนเมือ่ มกราคม 2550 I
Tsunami : waves of reform
พนักงานบริการ : กลุม่ คนทีถ่ กู ละเลย ในเรื่องสั้นของ ภาสกร จ�ำลองราช ยังได้กล่าวถึงกลุ่มคน ชายขอบทีถ่ กู เรียกว่า “พนักงานบริการ” ทีห่ าดป่าตอง จ.ภูเก็ต และ “มอแกน” ทีเ่ กาะเหลา จ.ระนอง เป็นกลุม่ คนทีถ่ กู ละเลย ไม่ได้รบั การ ฟืน้ ฟูทงั้ ในด้านจิตใจและวิถชี วี ติ โดยในส่วนของคนกลุม่ แรกเป็นพนักงาน บริการทีม่ าท�ำงานทีห่ าดป่าตอง หลังเหตุการณ์สนึ ามิ เครือข่ายพนักงาน บริการหรือ “เอ็มพาวเวอร์” ได้ทำ� การส�ำรวจพนักงานบริการทีส่ ญ ู หาย พบว่ามีประมาณ 38 ชีวติ แต่คนเหล่านนีก้ ลับไม่ได้รบั ความสนใจใดๆ จากทุกหน่วยงาน เพราะยากต่อการสืบหาเนือ่ งจากบุคคลเหล่านีส้ ว่ น ใหญ่เป็นคนจากทีอ่ นื่ เมือ่ มาท�ำงานมักตัง้ ชือ่ ใหม่เพือ่ ให้แขกต่างชาติ ออกเสียงได้งา่ ยขึน้ ส่วนชือ่ จริงนัน้ แม้จะมีระเบียบบังคับให้เจ้าของร้าน จัดท�ำไว้ แต่ในความเป็นจริงนายจ้างก็ไม่เห็นความจ�ำเป็นทีต่ อ้ งเก็บชือ่ และประวัตพิ นักงานเอาไว้เพราะไม่อยากผูกมัดทางกฎหมาย
วิกฤติวิ ถิ ชี วี ติ ชาวเล จากกรณีศกึ ษาในหนังสือของ ไพโรจน์ สิงบัน และคณะ กล่าว ถึงวิกฤติวิ ถิ ชี วี ติ ชาวเลว่า หลังเหตุการณ์สนึ ามิแม้กลุม่ ชาวเลจะได้รบั ความช่วยเหลือจากหน่วยงานภายนอกเป็นจ�ำนวนมาก ในฐานะทีเ่ ป็น กลุม่ คนดัง้ เดิมในพืน้ ที่ แต่บางครัง้ การให้ความช่วยเหลือเหล่านัน้ ก็ทำ� ไป อย่างไม่เข้าใจวัฒนธรรมของชาวเลและสนับสนุนให้เขาเดินออกจากพืน้ ที่
51
52
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ทางวัฒนธรรมของตนเอง มาสูก่ ารพัฒนากระแสหลักทีเ่ น้นแต่วตั ถุนยิ ม และบริโภคนิยม ซึง่ ถือเป็นการท�ำลายคุณค่าและส่งผลต่อการเปลีย่ น แปลงของชุมชน เช่นเดียวกับงานของ ธีรศักดิ์ สุขสันติกมล (2553)7 ทีก่ ล่าว ถึง “ผลกระทบของการพัฒนาภายหลังเหตุการณ์สนึ ามิ พ.ศ. 2547 ต่อการปรับเปลีย่ นอัตลักษณ์ของกลุม่ ชาติพนั ธุม์ อแกนบ้านเกาะเหลา หน้านอก จังหวัดระนอง” ท�ำให้เห็นว่าการปฏิบตั งิ านเพือ่ ช่วยเหลือและ พัฒนาชาวมอแกนของหน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนมีทงั้ ที่ คล้ายคลึงกันและแตกต่างกัน ขึน้ อยูก่ บั ภาระงานรับผิดชอบของแต่ละ องค์กร อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์หลังสึนามิ ท�ำให้ชาวมอแกนรูส้ กึ มีสทิ ธิมเี สียง และกล้าแสดงออกมากขึน้
สูญเสียบ้าน ถูกยึดทีด่ นิ หลั ง สึ น ามิ ไ ด้ เ กิ ด กรณี พิ พ าทเรื่ อ งที่ ดิ น ระหว่ า งนั ก อสังหาริมทรัพย์ ชุมชน และองค์การบริหารส่วนท้องถิน่ ชาวบ้านทีม่ ี ปัญหาเรือ่ งสิทธิในการครอบครองทีด่ นิ ส่วนใหญ่เป็นชุมชนทีย่ งั ชีพด้วย การท�ำประมงชายฝัง่ อันดามัน ด�ำรงชีวติ โดยอาศัยทรัพยากรจากทะเลมา หลายทศวรรษแล้ว ชาวชุมชนอาศัยอยูบ่ นทีด่ นิ ของตนเองมานานก่อนจะ
Tsunami : waves of reform
มีการท�ำเอกสารสิทธิไ์ ม่วา่ จะเป็นการออกเอกสารสิทธิใ์ ห้กบั เอกชนหรือ เพือ่ สาธารณประโยชน์ใดๆ ก็ตาม แต่หลังจากเหตุการณ์สนึ ามิ ชุมชน หลายชุมชนถูกกีดกันไม่ให้กลับเข้าไปอาศัยทีเ่ ดิม ซ�ำ้ ยังต้องย้ายไปอยู่ แหล่งทีพ่ กั อาศัยทีไ่ กลจากทะเลทีเ่ ป็นแหล่งเลีย้ งปากท้องของพวกเขา ส่วนหนึง่ เป็นปัญหาของชุมชนทีต่ งั้ อยูใ่ นแนวเขตของการป้องกัน ภัยพิบตั ิ นโยบายการก�ำหนดแนวเขตป้องกันภัยพิบตั ิ ประมาณ 2 กิโลเมตร จากชายฝั่ง ซึ่งถูกน�ำเสนอในประเทศอินเดีย ศรีลังกา อินโดนีเซีย และไทย ส่งผลกระทบต่อทีอ่ ยูอ่ าศัยและการเลีย้ งชีพของชาว ประมงพืน้ บ้าน แม้วา่ รัฐบาลจะมีกระบวนการแก้ไขคือ การแต่งตัง้ คณะ อนุกรรมการแก้ไขปัญหาทีด่ นิ ในพืน้ ทีธ่ รณีพบิ ตั สิ นึ ามิ 6 จังหวัด เพือ่ มา ด�ำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยชุมชนได้รบั อนุญาตและมีสทิ ธิในการ ใช้ประโยชน์ทดี่ นิ ของรัฐได้ในนามของชุมชน สิทธินรี้ ะบุวา่ ชาวบ้านคนใด คนหนึง่ ไม่สามารถทีจ่ ะขายทีด่ นิ หรือตัดแบ่งขายได้ เพราะทีด่ นิ นีถ้ อื เป็น ทรัพย์สินของชุมชนทั้งหมดร่วมกัน เรียกว่า “สิทธิร่วมของชุมชน” มีพธิ ลี งนามในบันทึกข้อตกลง ซึง่ ได้ระบุให้ชมุ ชนเป็นผูด้ แู ลและฟืน้ ฟูพนื้ ที่ ชายเลนในบริเวณพืน้ ทีฟ่ น้ื ฟูดงั กล่าว แต่ยงั ไม่สามารถแก้ไขปัญหาทีด่ นิ ให้ กับชาวบ้านได้ทงั้ หมด 8
53
54
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
สูเ้ พือ่ สิทธิคนไทยพลัดถิน่ จากกรณีศึกษาในหนังสือของ ไพโรจน์ สิงบัน และคณะ ได้กล่าวถึงกลุม่ คนทีต่ อ้ งประสบกับความยากล�ำบากหลายประการอีก กลุม่ หนึง่ นัน่ ก็คอื กลุม่ คนไทยพลัดถิน่ เนือ่ งจากความช่วยเหลือทีม่ าจาก ภาครัฐเกือบทุกหน่วยงานไม่ได้เน้นเรือ่ งสิทธิมนุษยชน ทีม่ งุ่ ไปช่วยเหลือ ผู้เดือดร้อนโดยไม่เลือกปฏิบัติ สิ่งที่ภาครัฐมองหาก่อนที่จะให้ความ ช่วยเหลือก็คือสถานะบุคคลตามกฎหมาย ดังนั้นการจะได้รับความ ช่วยเหลือใดๆ จากเหตุการณ์สนึ ามิ จึงขึน้ อยูก่ บั การแสดงหลักฐานบัตร ประชาชนเท่านัน้ ภัยสึนามิทำ� ให้เกิดการตระหนักในสภาพปัญหาของคนเหล่านี้ และมีความพยายามรวมกลุ่มของคนชายขอบเพื่อสร้างการยอมรับสู่ สังคมสาธารณะมากขึน้ หลายกลุม่ มีความกล้าทีจ่ ะแสดงศักดิศ์ รี ตัวตน จึงรวมตัวกันเป็น “เครือข่ายชาวเลและเครือข่ายแก้ปญ ั หาการคืนสัญชาติ คนไทย : คนไทยพลัดถิน่ ” และเชือ่ มโยงกันเป็นเครือข่ายผูป้ ระสบภัย สึนามิ 6 จังหวัด น�ำเสนอปัญหาออกสูส่ งั คมเพือ่ ปรับทัศนคติ และ/หรือ การมองว่าพวกเขาเหล่านัน้ เป็นกลุม่ คนชัน้ สองของสังคมไทย ให้ได้รบั การ ยอมรับในสาธารณะซึง่ ถือเป็นก้าวแรกและน�ำไปสูก่ ารแก้ปญ ั หาในอนาคต ต่อไป เป็นต้น
Tsunami : waves of reform
คลืน ่ แห่งการฟืน ้ ฟู
บทเรียนจากการฟืน้ ฟูชมุ ชนหลังสึนามิ นับเป็นอีกเรือ่ งหนึง่ ทีไ่ ด้มกี ารกล่าวถึงกันมากในช่วง 10 ปีทผี่ า่ นมา ในเบือ้ งต้นดูเหมือนว่า แนวทางการฟืน้ ฟูชมุ ชนจะเป็นไปตามแผนงานทีห่ น่วยงานหรือองค์กร ต่างๆ ได้ตงั้ ไว้ หลายหน่วยงานมีแผนอย่างชัดเจนว่าจะลงไปท�ำอะไรใน ชุมชน ดังทีไ่ ด้กล่าวมาบ้างแล้วว่า สิง่ ทีห่ น่วยงานหรือองค์กรต่างๆ วางแผนทีจ่ ะท�ำไม่ตรงตามความต้องการของคนในชุมชน ดังนัน้ หลาย องค์กรจึงได้ปรับแผนงานของตนและฟังเสียงของคนในชุมชนมากขึ้น การฟืน้ ฟูชมุ ชนท�ำให้องค์กรต่างๆ ทีเ่ ข้าไปท�ำงานฟืน้ ฟูได้เรียนรูร้ ว่ มกันกับ คนในชุมชนในหลายๆ เรือ่ ง ฟืน ้ ฟูชม ุ ชนประมงและท่องเทีย ่ ว ในช่วงปีแรกของเหตุการณ์ คาร์ล เซกชไนเดอร์ และเฟรดดี สโตร์เฮล์ (2549) ได้เสนอบทความเรือ่ ง สโคปชาร์เตอร์ การฟืน้ ฟู สึนามิอย่างยัง่ ยืน : รูปแบบการเป็นเจ้าของธุรกิจการท่องเทีย่ วเชิงนิเวศ อันเป็นทางเลือก โดยชุมชนหมู่บ้านน�้ำเค็มและหมู่บ้านเกาะมุก ประเทศไทย
55
56
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
บทความชิน้ นีก้ ล่าวถึง สโคปชาร์เตอร์ (SCOPE-Charters) ว่า เป็นโครงการทีเ่ ปิดโอกาสให้ชาวประมงในท้องถิน่ และชุมชนสร้างรายได้ จากตลาดการท่องเทีย่ วในประเทศไทย ด้วยการสนับสนุนให้เกิดความเป็น เจ้าของธุรกิจในการจัดการท่องเทีย่ วเชิงอนุรกั ษ์อย่างยัง่ ยืนทีไ่ ม่บบี บังคับ ให้ละทิง้ วัฒนธรรมและวิถชี วี ติ ดัง้ เดิม โดยอาศัยความต้องการของตลาด เป็นแรงผลักดัน ซึ่งจะส่งผลต่อการฟื้นฟูชุมชนหลังเหตุการณ์สึนามิ การด�ำเนินโครงการในระยะแรกร่วมมือกับชุมชนทีม่ คี วามพร้อม 2 แห่ง คือ ชุมชนหมูบ่ า้ นน�ำ้ เค็มและหมูบ่ า้ นเกาะมุก สโคปชาร์ เ ตอร์ ช ่ ว ยให้ ช าวประมงในท้ อ งถิ่ น และชุ ม ชนมี สถานภาพเป็นผูล้ งทุนในธุรกิจเรือน�ำเทีย่ ว และเป็นผูร้ บั ประโยชน์จาก รายได้ทเี่ กิดขึน้ ผ่านธนาคารชุมชนซึง่ เป็นองค์กรทีไ่ ม่มงุ่ แสวงหาก�ำไร มีการจัดจ้างผูม้ คี วามรูค้ วามสามารถด้านการบริหารเรือน�ำเทีย่ วเข้ามา ดูแล และให้ชมุ ชนมีสว่ นร่วมในการต่อเรือ การซ่อมบ�ำรุง และการให้ บริการในเรือ ตลอดจนการสนับสนุนให้โครงการเรือน�ำเทีย่ วสามารถรวม กิจการเรือน�ำเทีย่ วและทีพ่ กั และท�ำการตลาดโดยองค์กรความร่วมมือ Touristic Union International และบริษทั เครือข่ายในยุโรป นอกจากนีช้ มุ ชนยังจะได้รบั ประโยชน์จากธุรกิจเกีย่ วเนือ่ งอืน่ ๆ เมือ่ มีจำ� นวนนักท่องเทีย่ วเพิม่ มากขึน้ เช่น การขายอาหารทะเลสดและ อาหารแห้ง สินค้าที่ระลึก เช่น ผ้าบาติก การท�ำร้านเสริมสวยและ สปา ร้านนวดแผนไทย บริการอินเทอร์เน็ต บริการจองตัว๋ เครือ่ งบินและ ยานพาหนะต่างๆ เป็นต้น
Tsunami : waves of reform
การมีสว ่ นร่วมของชุมชน ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์ และปูรณ์ ขวัญสุวรรณ (2550)9 ได้เสนอบทความเรือ่ ง ประชาสังคม เครือข่ายและการมีสว่ นร่วมของ ชุมชนในการก�ำหนดแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาพื้นที่ชุมชนบ้าน น�ำ้ เค็ม จังหวัดพังงา กล่าวถึง กระบวนการมีสว่ นร่วมของชุมชน (civic participation) ในการก�ำหนดแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาพื้นที่ ตามแนวคิดเรือ่ งการวางแผนจากล่างสูบ่ น (bottom-up planning) โดยใช้ การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการที่เน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน (action planning and research : community participation approach) ใน ฐานะทีเ่ ป็นกระบวนการทีเ่ น้นการท�ำงานจากฐานล่างสูก่ ารเปลีย่ นแปลง เชิงนโยบาย วิธกี ารรวบรวมความต้องการและแผนของชุมชนหลัก ๆ ได้แก่ การส�ำรวจพื้นที่โดยคนในท้องถิ่น (surveys) การจัดเวทีประชาคม (public forum) และการสัมภาษณ์เชิงลึกพร้อมกับการสนทนากลุม่ ย่อย เฉพาะระดับแกนน�ำ (key person interview and focus group) ผลลัพธ์ทไี่ ด้ นอกจากกรอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนใน 3 ด้านคือ ด้านกายภาพและสิง่ แวดล้อม, ด้านสังคมและวัฒนธรรม, และ ด้านเศรษฐกิจและการท่องเทีย่ ว ตลอดจนชุดโครงการย่อยเพือ่ ให้บรรลุ วัตถุประสงค์ของการพัฒนาในพืน้ ที่
57
58
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
นอกจากนั้ น บทความนี้ ยั ง ได้ ส ะท้ อ นบทเรี ย นและการ เปลีย่ นแปลงทีเ่ กิดขึน้ จากการก่อรูปของกระบวนการจัดท�ำแผนแบบมี ส่วนร่วมของชุมชน โดยมีองค์ประกอบทีส่ ำ� คัญ 4 ประการคือ 1) ชุมชนต้องมีประเด็นปัญหาสาธารณะร่วมกัน เพื่อให้มี เป้าหมายและทิศทางในการรวมกลุม่ มีความชัดเจน 2) มีผนู้ ำ� ทีเ่ ข้มแข็ง โดยผูน้ ำ� ชุมชนและกลุม่ องค์กรต้องมีความ มุง่ มัน่ และเจตจ�ำนงทีด่ ี ทีป่ รารถนาจะเป็นประโยชน์แก่คนในท้องถิน่ เป็น ส�ำคัญ 3) มีภาคีความร่วมมือจากภาคประชาสังคม ได้แก่ หน่วยงาน ปกครองท้องถิน่ ในฐานะองค์กรปกครองพืน้ ที,่ องค์กรพัฒนาเอกชน ใน ฐานะพีเ่ ลีย้ งในการจัดการองค์กร, สถาบันการศึกษา ในฐานะทีป่ รึกษาด้าน วิชาการและเทคนิค, เครือข่ายชุมชนและประชาสังคม ในฐานะแนวร่วม เสริมประเด็นปัญหา/ความต้องการให้มนี ำ�้ หนัก และสือ่ มวลชน ในฐานะ กระบอกเสียงและผลักดันประเด็นเรียกร้องให้เป็นประเด็นสาธารณะ 4) การบริหารจัดการองค์กรทีม่ ปี ระสิทธิภาพ
Tsunami : waves of reform
การเปิ ด โอกาสให้ ช าวบ้ า นได้ พู ด คุ ย และ ถกกันถึงปัญหาต่างๆ ทีเ่ ผชิญอยู่ ท�ำให้ชาวบ้านได้ แสดงความคิ ด เห็ น เพื่ อ ช่ ว ยกั น คิ ด หาวิ ธี ฟ ื ้ น ฟู เยียวยาที่เหมาะสม ซึ่งกระบวนการพูดคุยระหว่าง ชาวบ้านนี้มีความส�ำคัญอย่างยิ่ง เพราะท�ำให้ชาว บ้านเชือ ่ ในสิง ่ ทีค ่ ด ิ จะท�ำ ชาวบ้านจะค่อยๆ เพิม ่ ความ เชือ ่ มัน ่ ว่าจะสามารถรับผิดชอบจัดการฟืน ้ ฟูเยียวยา ได้ดว้ ยตนเอง และตระหนักว่าชาวบ้านเองคือผูท ้ จ ี่ ะ น�ำความเปลีย ่ นแปลงมาสูช ่ ม ุ ชน
นอกจากนีย้ งั เสนอถึงข้อจ�ำกัดของกระบวนการจัดท�ำแผนแบบมี ส่วนร่วมในชุมชนบ้านน�ำ้ เค็มว่า ประชาสังคมทีม่ สี ว่ นร่วมในการจัดท�ำแผน พัฒนาทีผ่ า่ นมายังไม่สามารถเชือ่ มโยงภาคประชาชนไปสูภ่ าคธุรกิจเอกชน และภาครัฐ (ระดับชาติ) ทีเ่ กีย่ วข้องได้ ท�ำให้แผนขาดข้อคิดทีห่ ลากหลาย รวมไปถึงความสามารถของชุมชนในการบริหารจัดการโครงการ ทัง้ ด้าน ประสิทธิภาพ ความโปร่งใส และความสามารถในการรับมือกับการ เปลีย่ นแปลง ยังเป็นประเด็นทีท่ า้ ทายชุมชนในการด�ำเนินการให้เกิดขึน้ จริงในอนาคต มิเช่นนั้นแผนที่เสนอโดยชุมชนอาจไม่ก่อให้เกิดการ เปลีย่ นแปลงในเชิงนโยบาย และไม่มผี ลต่อการเปลีย่ นแปลงความสัมพันธ์ เชิงอ�ำนาจระหว่างชุมชนกับหน่วยงานรัฐ และในท้ายทีส่ ดุ แผนพัฒนา ดังกล่าวอาจมีสถานะเพียงแค่ขอ้ เสนอแนะจากภาคประชาชนเท่านัน้
59
60
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
การฟืน ้ ฟูโดยชุมชนเป็นฐาน ในการช่วยเหลือฟื้นฟูชุมชน แม้จะมีหน่วยงานภายนอกที่มี ทรัพยากร แต่หากชุมชนไม่พร้อมและไม่ลกุ ขึน้ มาด้วยตนเองก็ยากทีจ่ ะ ฟืน้ ฟูชมุ ชนได้สำ� เร็จ เพ็ญประภา ภัทรานุกรม ได้เสนอบทความ เกีย่ วกับการพัฒนา ทุนทางสังคมโดยชุมชนเป็นฐาน10 โดยยกตัวอย่างชุมชนบ้านน�้ำเค็ม จังหวัดพังงา ทีป่ ระสบความส�ำเร็จในการฟืน้ ฟูและสร้างชุมชนทีเ่ ข้มแข็ง หลังจากประสบกับภาวะวิกฤติิ การรวมตัวกันของชาวบ้านในชุมชน โดยมีผนู้ ำ� ทีเ่ อาจริงเอาจัง ส่งผลให้เกิดกลุม่ คนท�ำงานทีเ่ ข้มแข็ง รวมทัง้ ความสัมพันธ์ของคนใน ชุมชนก็เป็นทุนทางสังคมทีด่ ี ท�ำให้มกี ารวางแผนแม่บทการพัฒนาชุมชน โดยใช้วธิ กี ารให้ชมุ ชนมีสว่ นร่วม มีการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเป็น ระบบ การจัดตัง้ ธนาคารชุมชน การจัดสวัสดิการชุมชน ตัง้ แต่เกิดจนตาย โดยชุมชนเอง การจัดตัง้ สหกรณ์เพือ่ ทีอ่ ยูอ่ าศัยของชุมชนบ้านน�ำ้ เค็ม เพือ่ การออมและให้สนิ เชือ่ เพือ่ การฟืน้ ฟูและพัฒนาเพือ่ เพิม่ อาชีพรายได้ ของชุมชน
Tsunami : waves of reform
ชุ ม ชนบ้ า นน�้ ำ เค็ ม เป็ น ตั ว อย่ า งของ ชุมชนที่พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส น�ำไปสู่การ เสนอแนวทางหลายประการ ในการพัฒนาทุน ทางสังคมโดยใช้ชม ุ ชนเป็นฐาน
ชุมชนบ้านน�้ำเค็มเป็นตัวอย่างของชุมชนที่พลิกวิกฤติิให้เป็น โอกาส น�ำไปสูก่ ารเสนอแนวทางหลายประการในการพัฒนาทุนทาง สังคมโดยใช้ชมุ ชนเป็นฐาน ได้แก่ การสร้างกระบวนการเรียนรูข้ องสมาชิก ในชุมชนโดยเฉพาะเด็กและเยาวชน การพัฒนาความรูแ้ ละทักษะในการ ประกอบอาชีพ การสร้างเครือข่ายชุมชนในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ การสร้างผูน้ ำ� ทีม่ ปี ญ ั ญา มีแผนพัฒนาชุมชนทีม่ าจากการมีสว่ นร่วมของ ชุมชน การสร้างให้ชมุ ชนเห็นคุณค่าของการกินและอยูอ่ ย่างพอเพียงตาม แนวเศรษฐกิจพอเพียง รวมทัง้ การสร้างเสริมความเสมอภาคหญิงชาย ในชุมชนด้วย สอดคล้องกับงานเขียนของ ศิรนิ นั ต์ สุวรรณโมลี 11 ซึง่ ได้ยก กรณีศกึ ษาทีช่ มุ ชนบ้านน�ำ้ เค็ม ต .บางม่วง อ.ตะกัว่ ป่า จ.พังงา ถึง แนวทางการพัฒนาโดยชุมชนเป็นฐานจากภาคประชาสังคม กล่าวคือ การด�ำเนินงานต่างๆ ในชุมชน ควรเกิดจากความร่วมมือประสานการ ด�ำเนินงานร่วมกันทัง้ ภาคชุมชน ภาครัฐ และองค์กรพัฒนาเอกชน
61
62
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ภาคชุมชนควรมีการรวมกลุ่มและการจัดการองค์กรชุมชน (organization building) ซึง่ เป็นหัวใจของกระบวนการจัดการความเสีย่ ง จากภัยพิบตั โิ ดยมีชมุ ชนเป็นฐาน โดยชุมชนควรเข้ามามีสว่ นร่วมตัง้ แต่ ช่วงต้นของการฟืน้ ฟูชมุ ชน และในการสร้างการมีสว่ นร่วมของชุมชนนัน้ องค์กรพัฒนาเอกชนสามารถช่วยท�ำงานเชิงลึกเพื่อวางรากฐานการ จัดการตนเองให้กบั ชุมชนได้ รวมทัง้ ด้านงบประมาณและอุปกรณ์ตา่ งๆ ในช่วงต้นนั้นองค์กรพัฒนาเอกชนก็สามารถจัดหามาให้กับชุมชนได้ คล่องตัวกว่าภาครัฐ ส่วนภาครัฐควรมีบทบาทสนับสนุนการสานต่อการ ด�ำเนินงานให้กบั ชุมชนในระยะยาวควบคูไ่ ปกับให้ความรูแ้ ละสร้างความ เข้าใจในสิทธิหน้าทีใ่ นการด�ำเนินงานทีถ่ กู ต้องแก่ชมุ ชน กระบวนการฟืน ้ ฟูวถ ิ ชี ว ี ต ิ หลังเกิดเหตุการณ์สนึ ามิ ความพยายามในการฟืน้ ฟูชมุ ชนและ วิถชี วี ติ ของผูค้ นท�ำให้เกิดกระบวนการเรียนรูร้ ว่ มกันผ่านการลงมือท�ำของ คนในชุมชนและสังคมรวมไปถึงหน่วยงานทัง้ ภาครัฐและเอกชน ซึง่ ต่อมา ไมตรี จงไกรจักร์ จ�ำนงค์ จิตรนิรตั น์ และปรีดา คงแป้น (2553)12 ได้รว่ มกันสรุปบทเรียนจากการฟืน้ ฟูวถิ ชี วี ติ ของผูป้ ระสบภัยไว้ดงั นี้
Tsunami : waves of reform
ช่วง 7 วันแรกของการเกิดภัยพิบตั ิ • ทัง้ ภาครัฐและภาคเอกชน เข้าไปให้ความช่วยเหลือ ผูบ้ าดเจ็บ และค้นหาศพ ท�ำการส�ำรวจแบบเร่งด่วนเพื่อทราบจ�ำนวน ผูเ้ ดือดร้อนและรอดตาย พร้อมทัง้ ระดมสิง่ ของต่างๆ เพือ่ ช่วย เหลือ • เตรียมสถานทีศ่ นู ย์พกั พิง จัดหาเต็นท์ทพี่ กั ชัว่ คราวเพือ่ รวมคน และบรรเทาทุกข์ลว่ งหน้า โดยมีการวางแผน ท�ำผังการกางเต็นท์ หาทีมในการจัดการ ทีมท�ำข้อมูล และมีส�ำนักงานเพื่อเป็น ศูนย์กลางในการประสานงาน • เมื่อผู้เข้าประสบภัยเข้ามาอยู่ในศูนย์พักพิงที่เตรียมไว้แล้ว เริม่ จัดระบบในทีพ่ กั ชัว่ คราวทันที
ช่วงของการจัดระบบในทีพ่ กั ชัว่ คราว • จัดประชุมตัวแทนกลุม่ หรือคณะประสานงานเพือ่ สร้างแกนน�ำ ใหม่ทา่ มกลางวิกฤติ โดยจัดให้มกี ารประชุมทุกคืน เพือ่ สรุปบท เรียนของการท�ำงานในแต่ละวัน เพือ่ ชีแ้ จงข้อมูลข่าวสาร หารือ ประเด็นทีเ่ ป็นปัญหา และกระตุน้ ให้เกิดการแก้ปญ ั หาร่วมกันโดย ไม่รอให้คนอืน่ มาช่วยเพราะผูเ้ ดือดร้อนมีจำ� นวนมาก • วางกติกาในการอยูร่ ว่ มกัน และช่วยกันแก้ปญ ั หาเฉพาะหน้า
63
64
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
• น�ำผลการประชุมปรึกษาหารืออย่างเข้มข้นไปปฏิบตั ิ และติดตาม ผลร่วมกัน เพือ่ สร้างการเรียนรูท้ า่ มกลางการปฏิบตั อิ ย่างค่อย เป็นค่อยไป • รวบรวมข้อมูลของสมาชิก โดยให้ตวั แทนกลุม่ เป็นผูด้ ำ� เนินการ ทัง้ นีเ้ พือ่ ให้สมาชิกในกลุม่ รูจ้ กั กันมากยิง่ ขึน้ • ประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ทีเ่ ข้ามาช่วยเหลือ และจัดท�ำแผนเสนอต่อฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้อง • การจัดระบบรับบริจาคเข้ากองกลาง เพือ่ แก้วกิ ฤติคิ วามวุน่ วาย สลายความขัดแย้ง และเป็นแบบฝึกหัดของการสร้างความเอือ้ อาทรต่อกัน • ทีมหลักในการจัดการบริหารศูนย์พกั ชัว่ คราว ควรเป็นนักพัฒนา ทีม่ ปี ระสบการณ์ เพือ่ ประเมินสถานการณ์เป็นระยะๆ • นักพัฒนาสังเกตและศึกษาแกนน�ำแต่ละคนอย่างละเอียด ท�ำงานทางความคิด ประเมินสถานการณ์ วางแผนและบริหาร จัดการ และควบคุมสถานการณ์ตา่ งๆ ให้ได้ • สร้างกิจกรรมหลากหลายตามความจ�ำเป็น เพือ่ เตรียมความ พร้อมให้กบั ชาวบ้าน สนับสนุนให้มกี ารเรียนรูท้ า่ มกลางการท�ำ และฟืน้ ฟูจติ ใจแก่ผปู้ ระสบภัย เช่นศูนย์เด็กและเยาวชน กลุม่ อาชีพต่างๆ เป็นต้น
Tsunami : waves of reform
• สร้างศูนย์กลางขยายความช่วยเหลือไปสู่พื้นที่อื่นๆ โดยทีม ตัวแทนชาวบ้านเป็นผูด้ ำ� เนินการ เพือ่ สนับสนุนให้เกิดการผูกใจ สร้างความสัมพันธ์ทดี่ ี และเป็นเพือ่ นกันระยะยาว
ช่วงฟืน้ ฟูวถิ ชี วี ติ และชุมชน • กรณีเกิดปัญหาทีด่ นิ เนือ่ งจากทีอ่ ยูอ่ าศัยเดิมของผูป้ ระสบภัยอยู่ ในทีด่ นิ ของรัฐหรือเอกชนควรสนับสนุนให้สร้างบ้านในทีด่ นิ เดิม เพือ่ ไม่ให้เป็นการซ�ำ้ เติมผูป้ ระสบภัย ส่วนปัญหาเรือ่ งเอกสารสิทธิ์ ทีด่ นิ ควรพิจารณาทีหลัง • เร่งสร้างชุมชนใหม่ทเี่ ข้มแข็งในทีด่ นิ เดิม • การสร้างบ้านและวางผังชุมชนต้องยึดหลักชุมชนมีสว่ นร่วม • สนับสนุนให้ชุมชนท�ำแผนแม่บทในการแก้ปัญหาและพัฒนา ชุมชนระยะยาว เช่นการย้ายกลับเข้าสูช่ มุ ชนเดิม การประกอบ อาชีพ รายได้ การเรียนหนังสือของเด็ก เป็นต้น • ข้อควรระวังคือ การบริจาคเป็นดาบ 2 คม เพราะท�ำให้ผปู้ ระสบ ภัยหวังพึง่ คนอืน่ มากขึน้ จนแก้ไขยาก • ควรให้ความช่วยเหลือเป็นพิเศษกับคนชายขอบ เช่น กลุ่ม ชาติพนั ธุช์ าวเล คนไร้สญ ั ชาติ เป็นต้น
65
66
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
• บ�ำบัดความโศกเศร้าสร้างขวัญก�ำลังใจ และเพิม่ พลังชีวติ ด้วย การฟืน้ ฟูวฒ ั นธรรม ประเพณี พิธกี รรม ศาสนา การละเล่น พืน้ บ้าน และภูมปิ ญ ั ญาของท้องถิน่ • สนับสนุนการรวมตัวกันเพือ่ ให้เกิดเครือข่ายผูป้ ระสบภัยเพือ่ แก้ไขปัญหาร่วมกัน • สนับสนุนให้สรุปปัญหาและผลการท�ำงานฟืน้ ฟูชมุ ชนของเครือ ข่ายชุมชนผูป้ ระสบภัย เพือ่ เสนอต่อสาธารณะ เป็นการสร้าง ความภูมใิ จ ความมัน่ ใจในการร่วมกันคิด ร่วมกันท�ำ และร่วมกัน ผลักดันแก้ปญ ั หาอืน่ ๆ ในระยะยาว แนวทางการฟืน ้ ฟูชม ุ ชนหลังภัยพิบต ั ิ การฟื้นฟูชุมชนหลังภัยพิบัติ เป็นประเด็นส�ำคัญที่หลาย หน่วยงานให้ความสนใจ โดยเฉพาะแนวทางที่จะเอื้อให้เกิดการ เปลีย่ นแปลงเชิงโครงสร้างทีจ่ ะส่งผลต่อการจัดการกับปัญหาภัยพิบตั ิ ทีส่ ามารถเปลีย่ นความสูญเสียและสิน้ หวังมาเป็นพลังในการดูแลปกป้อง ชุมชนจากภัยพิบตั ใิ นระยะยาว และส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนในอนาคต สมสุข บุญญบัญชาและไดแอน อาร์เชอร์ (2554)13 ได้เสนอ แนวทางการฟืน้ ฟูชมุ ชนหลังภัยพิบตั โิ ดยการจัดการของชุมชนว่า
Tsunami : waves of reform
1. ต้องตระหนักว่าผู้ประสบภัยพิบัติไม่ใช่ผู้เคราะห์ร้ายที่ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และต้องพึง่ พาผูอ้ นื่ แต่ผปู้ ระสบภัยคือก�ำลังส�ำคัญใน กระบวนการฟืน้ ฟูเยียวยา 2. หากหน่วยงานและองค์กรทีเ่ กีย่ วข้องมีความรูค้ วามเข้าใจและ วิธกี ารทีถ่ กู ต้องก็จะสามารถช่วยให้ผปู้ ระสบภัยได้ใช้พลังอย่างสร้างสรรค์ กล่าวคือ การให้ความช่วยเหลือทันทีทเี่ กิดภัยพิบตั นิ อกจากจะให้เงิน อาหาร และสิง่ ใช้สอยทีจ่ ำ� เป็นแล้ว ต้องให้โอกาสชุมชนได้ใช้กำ� ลังและ ศักยภาพในการสร้างชุมชนขึน้ มาใหม่ โดยกระบวนการฟืน้ ฟูเยียวยา สามารถท�ำได้ตงั้ แต่จดุ เริม่ ต้นทีช่ าวบ้านผูป้ ระสบภัยมาอาศัยร่วมกันใน ศูนย์พกั พิง คือ 1) การเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้พูดคุยและถกกันถึงปัญหา ต่างๆ ทีเ่ ผชิญอยู่ ท�ำให้ชาวบ้านได้แสดงความคิดเห็น เพือ่ ช่วยกันคิดหาวิธฟี น้ื ฟูเยียวยาทีเ่ หมาะสม ซึง่ กระบวนการ พูดคุยระหว่างชาวบ้านนีม้ คี วามส�ำคัญอย่างยิง่ เพราะท�ำให้ ชาวบ้านเชือ่ ในสิง่ ทีค่ ดิ จะท�ำ ชาวบ้านจะค่อยๆ เพิม่ ความ เชือ่ มัน่ ว่าจะสามารถรับผิดชอบจัดการฟืน้ ฟูเยียวยาได้ดว้ ย ตนเอง และตระหนักว่าชาวบ้านเองคือผู้ที่จะน�ำความ เปลีย่ นแปลงมาสูช่ มุ ชน 2) เสริมให้เกิดการตั้งกลุ่มกิจกรรมต่างๆ เพื่อเชื่อมร้อย ผูป้ ระสบภัยให้เข้ามามีสว่ นร่วมในการสร้างบ้านและชุมชน ของตนเองขึน้ มาใหม่ เช่น กลุม่ ซ่อมแซมและก่อสร้างบ้าน
67
68
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
กลุม่ ฟืน้ ฟูชวี ติ ความเป็นอยู่ กลุม่ สวัสดิการ กลุม่ รับเงิน บริจาค เป็นต้น และเชื่อมโยงกลุ่มกิจกรรมเหล่านี้เข้า ด้วยกัน เพือ่ สร้างกระบวนการทีก่ ว้างขวางขึน้ ศักยภาพ ของชาวบ้านจะเพิม่ ขึน้ ผ่านกระบวนการมีสว่ นร่วม 3) เสริมให้เกิดการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์และ/หรือกองทุน หมุนเวียนขึน้ ในชุมชน เพราะกองทุนเป็นเครือ่ งมือทีน่ ำ� ชาวบ้านมาพูดคุยกันและระดมความคิดเห็นถึงการใช้ กองทุนหมุนเวียนให้เกิดประโยชน์ การพูดคุยช่วยให้ กระบวนการชาวบ้านมีความเข้มแข็ง เกิดเป็นระบบ เป็น วัฒนธรรมใหม่ และหนทางใหม่ทจี่ ะหลอมรวมผูป้ ระสบภัย เข้าเป็นกลุม่ ก้อน เป็นชุมชนทีเ่ ข้มแข็งยิง่ กว่าเดิม 4) เสริมให้เกิดเครือข่ายองค์กรชุมชนเพือ่ ให้ขอ้ เรียกร้องของ ผูป้ ระสบภัยมีนำ�้ หนักและมีพลังมากขึน้ เพราะเครือข่าย องค์กรชุมชนมีความส�ำคัญในการแลกเปลี่ยนบทเรียน ประสบการณ์ และให้กำ� ลังใจชาวชุมชน ในการกลับไปสร้าง ชุมชนใหม่ในทีด่ นิ เดิม หรือในการต่อรองเพือ่ การยอมรับ จากภาครัฐ รวมถึงขับเคลือ่ นกระบวนการฟืน้ ฟูชมุ ชนใน ระยะยาวได้ 5) ภาคส่วนต่างๆ ทีเ่ ข้ามามีสว่ นร่วมในการฟืน้ ฟูชมุ ชน ต้อง สร้างการสือ่ สารทีส่ มดุลทัง้ สองฝ่าย หมายถึงการให้พนื้ ที่ แก่ชมุ ชนได้แสดงออกว่าพวกเขาต้องการอะไร และให้ชมุ ชน
Tsunami : waves of reform
ได้เป็นผูจ้ ดั การฟืน้ ฟูพฒ ั นาชุมชนหลังภัยพิบตั โิ ดยชุมชนเอง หน่วยงานและองค์กรต่างๆ ต้องไม่ตดั สินใจแทนชาวบ้าน และไม่เลือกวิธชี ว่ ยเหลือชาวบ้านด้วยการแจกจ่ายเครือ่ ง อุปโภคบริโภค โดยไม่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้มบี ทบาท จัดการเพือ่ เปลีย่ นแปลงชีวติ ของตนให้ดขี นึ้ 6) การให้เงินทุนสนับสนุนต้องมีความยืดหยุ่นมากพอแก่ ผูป้ ระสบภัย ควบคูไ่ ปกับการให้อำ� นาจแก่ผปู้ ระสบภัยใน การบริหารจัดการกองทุน ถ้าเงินกองทุนมีขอ้ จ�ำกัดในการ ใช้หรือระเบียบที่เข้มงวดและชาวบ้านไม่มีอ�ำนาจในการ บริหารจัดการกองทุน ความเปลีย่ นแปลงทีห่ วังว่าจะเกิด ขึน้ ผ่านกระบวนการฟืน้ ฟูชมุ ชนอาจไม่สามารถเกิดขึน้
ผูป ้ ระสบภัยพิบต ั ไิ ม่ใช่ผเู้ คราะห์รา้ ยทีช ่ ว่ ย เหลือตัวเองไม่ได้และต้องพึง ่ พาผูอ ้ น ื่ แต่ผป ู้ ระสบ ภัยคือก�ำลังส�ำคัญในกระบวนการฟืน ้ ฟูเยียวยา
69
70
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
บทความนี้ยกตัวอย่างการฟื้นฟูชุมชนที่ศูนย์พักพิงบางม่วง จังหวัดพังงา เมื่อปี 2547 ว่าเกิดขึ้นเพื่อรองรับผู้ประสบภัยสึนามิ ประมาณ 850 ครอบครัว ศูนย์ฯ แห่งนีด้ แู ลจัดการโดยผูป้ ระสบภัยใน ศูนย์ฯ มีการจัดตัง้ คณะท�ำงานหลายชุดเพือ่ ดูแลเรือ่ งต่างๆ เช่น ท�ำอาหาร สุขอนามัย ระบบน�ำ้ กินน�ำ้ ใช้ การรักษาพยาบาลผูเ้ จ็บป่วยและกิจกรรม ส�ำหรับเด็กๆ เป็นต้น มีการแบ่งชาวบ้านออกเป็นกลุม่ ย่อยๆ กลุม่ ละ 10 ครอบครัว ชาวบ้าน 3 กลุม่ ย่อยรวมเป็นหนึง่ กลุม่ ใหญ่ มีหวั หน้ากลุม่ รับผิดชอบ ทุกคืนจะมีการประชุม สมาชิกในศูนย์ฯ ทัง้ หมด เพือ่ พูดคุย ประเด็นต่างๆ เกีย่ วกับการจัดการศูนย์ฯ อย่างเปิดเผย โปร่งใส นอกจาก เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแล้วระบบการจัดการโดยการมีสว่ นร่วม ของสมาชิกในศูนย์ฯ ยังเป็นการเตรียมชาวบ้านให้มคี วามพร้อม ในการต่อ รองเรือ่ งอืน่ ๆ ตามมา เช่น ทีด่ นิ การก่อสร้างทีอ่ ยูอ่ าศัย การพัฒนาอาชีพ เป็นต้น แนวทางการฟืน้ ฟูชมุ ชนดังกล่าวสามารถเป็นตัวอย่างให้กบั พืน้ ที่ อืน่ ๆ ทีป่ ระสบภัยพิบตั แิ ละมีการฟืน้ ฟูชมุ ชนหลังภัยพิบตั โิ ดยการจัดการ ของชุมชน ทัง้ ในประเทศอินเดีย พม่า ศรีลงั กา และอินโดนีเซีย เป็นต้น
Tsunami : waves of reform
คลืน ่ แห่งการเตรียมพร้อม รับมือภัยพิบต ั ิ ก่อนเกิดเหตุการณ์สนึ ามิ ชุมชนไม่เคยมีขอ้ มูลทีเ่ กีย่ วข้องกับ ภัยพิบตั ิ ดังนัน้ จึงไม่มกี ารเตือนภัย และแผนในการรับมือกับภัยพิบตั มิ า ก่อน เหตุการณ์ภยั พิบตั สิ นึ ามิทำ� ให้หลายฝ่ายต้องย้อนกลับมามองเรือ่ ง ของการเตรียมความพร้อมเพือ่ รับมือกับภัยพิบตั ทิ อี่ าจจะเกิดขึน้ อีกใน อนาคต ในเอกสาร “เพือ่ สังคมไทยทีพ่ ร้อมพอต่อภัยพิบตั ”ิ ซึง่ เป็นการ สรุปบทเรียนรู้ 3 ปี สึนามิ (2550)14 ได้กล่าวถึงบทเรียนส�ำคัญหลักๆ 4 ประการทีน่ า่ สนใจ ได้แก่
1) ด้านข้อมูลความรู้ พบว่า ประชาชน หน่วยงาน ภาครัฐ เอกชนส่วนใหญ่ ตลอดจนหน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบกับการจัดการภัยพิบตั ิ ยังขาดความตระหนักรูท้ จี่ ะศึกษาค้นหาความรูใ้ นเรือ่ งภัยพิบตั ิ ความรูท้ มี่ ี อยูย่ งั เป็นส่วนๆ เศษเสีย้ ว ขาดความเข้าใจโดยองค์รวม ส่งผลให้การ รับมือและการจัดการภัยพิบตั ใิ นอนาคตไม่มปี ระสิทธิภาพ
2) ด้านระบบการจัดการ พบว่า ระบบการจัดการกลางใน ช่วงเหตุการณ์สนึ ามิยงั ไม่ชดั เจน หน่วยงานทีร่ บั ผิดชอบหลักมีงานล้นมือ ท�ำให้กลุม่ องค์กรในพืน้ ทีต่ อ้ งลุกขึน้ มาจัดการตนเองในทุกระดับเกิดปัญหา
71
72
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ต่างคนต่างท�ำ ไม่สามารถเชือ่ มประสานกันได้ การจัดการจึงมีทงั้ แนวราบ และแนวดิง่
3) องค์กรประสานงานเพือ่ รับมือภัยพิบตั ิ เป็นหน่วยทีเ่ ชือ่ ม ประสานให้ระบบงานขับเคลือ่ นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถให้การ ช่วยเหลือฟืน้ ฟูได้รวดเร็ว และตรงตามความต้องการ
4) ความเข้มแข็งของชุมชน เป็นรากฐานของการจัดการภัย พิบตั ทิ กุ ด้าน โดยมีระบบพีเ่ ลีย้ งคอยแนะน�ำ กระตุน้ ความคิด แรงใจ เสริมสร้างศักยภาพ หนุนให้ชมุ ชนลุกขึน้ มาจัดการตนเองให้ได้ พร้อมตัง้ ระบบรองรับที่มีการจัดการ ด้านการรวมตัว การบริหาร การเงิน และประชุมเพือ่ ด�ำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนือ่ ง นโยบายกับแนวทางการรับมือภัยพิบต ั ิ ชุมชนปรับตัวเรียนรู้เพื่อที่จะรับมือกับภัยพิบัติ โดยการพึ่ง ตนเองเป็นหลัก และให้หน่วยงาน องค์กรภาครัฐและเอกชนเป็นส่วน สนับสนุน ดังนัน้ การก�ำหนดนโยบายและแนวทางของภาครัฐเองก็ควร จะสอดคล้องไปกับแนวทางของชุมชนด้วย ในงานวิจยั เรือ่ ง “นโยบายและ แนวทางการพัฒนาระบบการรับมือภัยพิบตั ิ ด้านสังคมและการจัดการ ปกครอง : กรณีศกึ ษาจากประสบการณ์ธรณีพบิ ตั สิ นึ ามิ ” โดย สุรชิ ยั หวันแก้วและคณะ (2550)15 ได้ศกึ ษาทบทวนประสบการณ์ดา้ นการ
Tsunami : waves of reform
จัดระบบและแนวทางการบริหารจัดการกับภัยพิบตั ใิ นช่วงฉุกเฉิน การส่ง เสริมการด�ำเนินงานในช่วงฟืน้ ฟู ครอบคลุมประเด็นความร่วมมือระหว่าง ประเทศ ความสัมพันธ์ของระบบสนับสนุนและมาตรการของหน่วยงาน ระดับต่างๆ การจัดการในมิตดิ า้ นสังคมต่างๆ ทัง้ ในระดับองค์กรส่วนกลาง องค์กรส่วนท้องถิ่น และระดับชุมชน ซึ่งท�ำการศึกษาทั้งกรณีของ ประเทศไทยและประเทศทีเ่ คยประสบภัยพิบตั อิ ย่าง เช่นประเทศญีป่ นุ่ งานวิจยั ดังกล่าวพบว่า การรับมือภัยพิบตั ขิ องสังคมไทย จาก เหตุการณ์สนึ ามิมจี ดุ เด่นทีน่ า่ สนใจ 2 ประการคือ 1) ระบบรับมือกับ วิกฤติขิ องรัฐบาลมีประสิทธิภาพเพราะสามารถตอบสนองต่อสภาวการณ์ ได้อย่างรวดเร็วเมือ่ เทียบกับประเทศอืน่ ๆ 2) บทบาทการรับมือภัยพิบตั ิ ของภาคประชาสังคมและชุมชนปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะ อย่างยิง่ ในช่วง 6 – 10 เดือนให้หลังทีด่ จู ะท�ำงานตรงเป้ากลุม่ ผูป้ ระสบ ภัยได้มากกว่าการท�ำงานของภาครัฐ สามารถรุกถึงตัวชุมชนและ ผูป้ ระสบภัยตลอดจนสามารถกระตุน้ ให้เกิดการจัดระบบตนเอง (selforganization) เพือ่ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าและสามารถวางแผนพัฒนา เพือ่ ฟืน้ ฟูชมุ ชนในระยะยาว นอกจากนี้ยังพบข้ออ่อนของระบบการรับมือภัยพิบัติของ สังคมไทย ทีส่ ง่ ผลต่อการจัดการทีข่ าดความยัง่ ยืนและเป็นองค์รวม ได้แก่ 1) ระบบรับมือกับภัยพิบตั ทิ เี่ อาผูป้ ระสบภัยเป็นตัวตัง้ ยังขาด ประสิทธิภาพและประสิทธิผลอย่างแท้จริงเพราะยังมีคนชายขอบที่
73
74
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ตกส�ำรวจและไม่ได้รบั ความช่วยเหลือจากระบบอีกเป็นจ�ำนวนมากแม้ เวลาจะผ่านไป 1 ปีแล้วก็ตาม 2) กระบวนการนโยบายการรับมือภัยพิบตั ยิ งั ขาดการให้นำ�้ หนัก กับมิตทิ เี่ อือ้ ให้เกิดการฟืน้ ฟูอย่างยัง่ ยืนในช่วงกอบกูแ้ ละช่วงฟืน้ ฟู เกิดช่อง ว่างให้นายทุนมาแสวงหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ บางกรณีนำ� มาสูค่ วาม ขัดแย้งเช่น เรือ่ งกรรมสิทธิท์ ดี่ นิ เป็นต้น 3) นโยบายการรับมือกับภัยพิบตั ิ ให้ความส�ำคัญกับการแก้ ปัญหาฉุกเฉินและเน้นการตอบสนองต่อเป้าหมายจากเบือ้ งบน มากกว่า การให้ความส�ำคัญกับกระบวนการฟืน้ ฟูชวี ติ อย่างเป็นองค์รวม 4) การสือ่ สารว่าด้วยเรือ่ งภัยพิบตั ิ ส่วนใหญ่เน้นการสือ่ สาร ให้คนทัว่ ไปรับรูเ้ หตุการณ์มากกว่าการให้นำ�้ หนักกับชุมชนผูป้ ระสบภัย เป็นตัวตัง้ ไม่มกี ารสือ่ สารระดับชุมชน ระบบการเตือนภัยเน้นการใช้ เครือ่ งจักรกลในภาพระดับใหญ่ โดยมองข้ามมิตทิ างวัฒนธรรมและการ ส่งเสริมขีดความสามารถและประสิทธิภาพในระดับชุมชนท้องถิน่ การค้นพบข้อดีและข้ออ่อนดังกล่าว น�ำไปสูก่ ารจัดท�ำข้อเสนอเชิง นโยบายและมาตรการการบริหารจัดการกรณีภยั พิบตั ิ ทัง้ ในระดับท้องถิน่ ระดับจังหวัดและส่วนกลาง เพือ่ ให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความ จ�ำเป็นทีต่ อ้ งการจะเปลีย่ นแปลงไปในแต่ละช่วง ได้แก่ ระยะฉุกเฉิน ระยะ สัน้ ระยะกลาง และระยะยาว ตลอดจนการค้นหาแนวทางและมาตรการ ในการจัดระบบสนับสนุนที่เอื้อต่อการฟื้นฟูชีวิตและชุมชนในลักษณะ ทีย่ งั่ ยืน
Tsunami : waves of reform
เตรียมชุมชนให้พร้อมรับมือภัยพิบต ั ิ ในหนังสือ “สูค่ วามพร้อมพอต่อนานาภัย...ในอนาคตหลักคิด และแนวทางการจัดการภัยพิบตั ิ ถอดรหัสจากกรณีศกึ ษาสึนามิของ ประเทศไทย” โดย ไพโรจน์ สิงบัน และคณะ (2551)16 ได้กล่าวถึง หลักทัว่ ไปว่าด้วยวัฏจักรของภัยพิบตั ิ 3 จังหวะ 7 ระบบย่อย คือ 1) จังหวะก่อนเกิดภัยพิบตั ิ ประกอบด้วย 3 ระบบย่อย คือ · ระบบการศึกษาเรียนรู้ ความรู้ การจดจ�ำระลึกได้ และ ตระหนักในเรือ่ งภัยพิบตั ิ · ระบบป้องกัน ลด และปกป้องความเสีย่ งจากภัยพิบตั ิ ทัง้ หลาย · ระบบเตือนและความพร้อมเผชิญ แผนการเฝ้าระวัง ฝึกซ้อม ตลอดจนการอพยพ 2) จังหวะเมือ่ เกิดภัย ประกอบด้วย 2 ระบบย่อย คือ · ระบบปฏิบัติการพิเศษในภาวะฉุกเฉินเพื่อตอบโต้ ระงับ สกัดภัย การจัดการพืน้ ที่ ช่วยชีวติ และเก็บกูร้ า่ ง คืนครอบครัว · ระบบปฏิบัติการทางการแพทย์เพื่อช่วยชีวิต รักษา พยาบาล และฟืน้ ฟูสภาพ
75
76
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
3) จังหวะหลังเกิดภัย ประกอบด้วย 2 ระบบย่อย คือ · ระบบการช่ ว ยเหลื อ บรรเทาทุ ก ข์ น�้ ำ อาหาร ยารักษาโรค ทีอ่ ยูอ่ าศัย การจัดการถิน่ ฐานและชุมชน ทีเ่ หมาะสม · ระบบการฟืน้ ฟูหลังภัยพิบตั ิ ฟืน้ ฟูวถิ ชี วี ติ ชุมชน อาชีพ สังคมวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังเสนอถึงการเตรียมความพร้อมในมิติของการ จัดการว่า จ�ำเป็นต้องให้ความส�ำคัญกับการประเมินระดับความรุนแรง ของภัยพิบตั โิ ดยจ�ำแนกไว้เป็น 3 ระดับคือ ระดับ 1 สาธารณภัยทัว่ ไปขนาดเล็ก เขตท้องทีส่ ามารถควบคุม สถานการณ์และการจัดการได้โดยล�ำพัง ระดับที่ 2 สาธารณภัยขนาดกลาง ต้องอาศัยการสนับสนุน ความช่วยเหลือจากหลายหน่วยงานในเขตจังหวัดหรือจังหวัดใกล้เคียง ระดับ 3 สาธารณภัยขนาดใหญ่ มีผลกระทบรุนแรงกว้างขวาง หรือสาธารณภัยทีจ่ ำ� เป็นต้องอาศัยผูเ้ ชีย่ วชาญหรืออุปกรณ์พเิ ศษ ต้อง ระดมความช่วยเหลือจากหลายฝ่าย และอาศัยความช่วยเหลือจาก ภายนอกจังหวัด ทั้งนี้ ได้มีการน�ำหลักการของการจัดการภัยพิบัติโดยชุมชน เป็นฐาน (Community-Based Disaster Risk Management –
Tsunami : waves of reform
CBDRM) ซึง่ แปลและปรับปรุงมาจากเอกสารของ Asian Disaster Preparedness Center – ADPC ทีเ่ สนอหลักการ 7 ขัน้ ตอน คือ (1) ก�ำหนดชุมชนเป้าหมาย (select the community) (2) เข้าใจ เข้าถึง เชือ่ มัน่ ในศักยภาพการเรียนรูแ้ ละการตืน่ ตัว ของชุมชน (Rapport Building and Understanding the Community) (3) ประเมินอันตรายทีค่ กุ คาม ความเสีย่ งและศักยภาพชุมชน (Participatory Disaster Risk Assesment – PDRA) (4) มีแผนปฏิบตั กิ ารทีก่ ำ� หนดกลวิธลี ดความเสีย่ งและเพิม่ ศักยภาพชุมชน (Participatory DRM Planning) (5) สร้างทีมและองค์กรชุมชน (Building and Training CDRM Organization - CDRMO) (6) มีการจัดการเองของชุมชน (Community-Managed Implementation) (7) มีการก�ำกับ ติดตามประเมินตนเอง (Participatory Monitoring and Evaluation) ในการน�ำเสนอหลักการดังกล่าว ให้ความส�ำคัญกับเงือ่ นไขความ เข้มแข็งของชุมชนเป็นพืน้ ฐาน โดยไม่จำ� เป็นต้องให้ภยั พิบตั เิ กิดขึน้ มา ก่อน การเตรียมความพร้อมของชุมชนในการรับมือกับภัยพิบตั ติ า่ งๆ ที่ อาจจะเกิดขึ้นถือเป็นเรื่องส�ำคัญของชุมชนทั้งประเทศและทั่วโลก หลั ก การเหล่ า นี้ เ กิ ด จากการสรุ ป บทเรี ย นของชุ ม ชนที่ เ คยผ่ า น ประสบการณ์ประสบภัยพิบตั ิ ถือเป็นตัวอย่างของแผนรับมือภัยพิบตั ใิ ห้ กับชุมชนอืน่ ๆ ไม่ให้ประสบกับชะตากรรมซ�ำ้ รอยเหตุการณ์ในอดีต
77
78
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
นอกจากนี้ ยังได้มีการวิเคราะห์ถึงปัจจัยต่างๆ ที่ท�ำให้เกิด “แผนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติที่ดี” จากกรณีบ้านน�้ำเค็มมี 10 ประการ คือ ความมุง่ มัน่ จริงจังของผูค้ น (กลุม่ แกนน�ำ), ภาคี พันธมิตรคอยช่วยเหลือชีแ้ นะและส่งเสริมสนับสนุนต่อเนือ่ ง, การรวมตัว ตัง้ กลุม่ ขยายวงไม่หยุดหย่อน, ความตืน่ ตัวเรียนรูไ้ ม่สนิ้ สุด, ลงมือปฏิบตั ิ จริงทันทีในแทบทุกเรือ่ งทีเ่ กีย่ วเนือ่ ง, จัดการกองทุน การเงิน การออม จนเป็นธนาคารและระบบสวัสดิการกลางของชุมชน, ประสานเชิงรุกกับ ทุกฝ่ายอย่างเอาจริงเอาจังไม่รงั้ รอ, มองไกลไปถึงแผนพัฒนาชุมชนใน อนาคตอย่างยัง่ ยืน, มีแผนเตรียมความพร้อมรับภัยพิบตั แิ ละการซ้อม เสมือนจริง และมีใจเผือ่ แผ่แก่เพือ่ นผูป้ ระสบภัยทัว่ ไป ไม่คบั แคบเฉพาะ หมูค่ ณะและชุมชนของตนเอง กรณีชมุ ชนบ้านน�ำ้ เค็มและเครือข่ายชุมชนทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจาก สึนามิ เป็นหนึง่ ในแนวการปฏิบตั ทิ ดี่ ี ทีเ่ ป็นโมเดลความร่วมมือจากหลาย ภาคส่วนในการจัดการภัยพิบตั ิ โดย มูลนิธศิ นู ย์เตรียมความพร้อม ป้องกันภัยพิบตั แิ ห่งเอเชีย (2556)17 ได้กล่าวถึงในรายงานเกีย่ วกับ “การประเมินแผน นโยบาย และการด�ำเนินงานจัดการภัยพิบัติใน ประเทศไทย” ซึ่งเป็นรายงานการวิจัยเพื่อช่วยรัฐบาลไทยทบทวน นโยบายด้านการจัดการภัยพิบัติและการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน และสนับสนุนการมีสว่ นร่วมของผูม้ สี ว่ นได้สว่ นเสีย โดยเฉพาะอย่างยิง่ องค์กรภาคประชาสังคม (Civil Society Organization :CSOs) และกลุม่ เปราะบางต่างๆ เพือ่ ให้เป็นไปตามข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยการจัดการ ภัยพิบตั แิ ละการตอบโต้สถานการณ์ฉกุ เฉิน (ASEAN Agreement on Disaster Management and Emergency Response: AADMER)
Tsunami : waves of reform
ในรายงานยังแสดงให้เห็นถึงการด�ำเนินกิจกรรมเพือ่ สร้างชุมชน ทีป่ ลอดภัยมากกว่าเดิม โดยในระยะฟืน้ ฟูบรู ณะได้รบั ความร่วมมือทีเ่ กิด จากองค์กรพัฒนาเอกชน หน่วยงานรัฐทีใ่ ห้การสนับสนุนการสร้างความ สัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนให้แน่นแฟ้นขึน้ ท�ำให้ชมุ ชนสามารถรับมือ กับภัยพิบัติได้ด้วยขีดความสามารถของตนแทนที่จะพึ่งพาองค์กร ภายนอก ประสบการณ์ของบ้านน�้ำเค็มถูกน�ำไปใช้เป็นตัวอย่างให้กับ ชุมชนอืน่ ๆ ในจังหวัดพังงาและจังหวัดข้างเคียงทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจาก ภัยพิบัติ และน�ำไปสู่การก่อตั้ง “เครือข่ายผู้ประสบภัยสึนามิและ สิทธิชมุ ชน” จิตอาสาชุมชน ฝ่าวิกฤติ ตลอดระยะเวลา 10 ปี หลังเกิดเหตุการณ์สนึ ามิ นอกจากความ พยายามในการฟื้นฟูชุมชนและวิถีชีวิตรวมทั้งค้นหาแนวทางในการ ป้องกันและรับมือกับภัยพิบัติของคนในชุมชนบ้านน�้ำเค็มแล้ว ยังมี กระแส/กระบวนการจิตอาสาทีเ่ ข้ามาช่วยเหลือพีน่ อ้ งผูป้ ระสบภัยและ ผูเ้ ดือดร้อนในประเด็นอืน่ ๆ อีกทัง้ เข้าร่วมแลกเปลีย่ นเรียนรูก้ บั ชุมชนอืน่ ๆ ทัว่ ประเทศ ซึง่ เป็นการปรับเปลีย่ นแนวคิด และการด�ำเนินชีวติ เพือ่ สร้าง ชุมชนแห่งความสุข ทัง้ นี้ รสรินทร์ เกรย์ และคณะ (2556) ได้นำ� เสนอ ปรากฏการณ์นี้ไว้ในบทความเรื่อง “บ้านน�้ำเค็มแห่งความสุข...การ มีจิตอาสาภายหลังเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิ”18 จากการสัมภาษณ์
79
80
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
อาสาสมัครจ�ำนวน 5 คน ได้แก่ วันชัย เจริญจิตต์ หัวหน้าอาสาสมัคร อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.), บันลือ ชูศรี ทีมเตรียม ความพร้อมและเป็นผู้เฝ้าระวังที่สวนอนุสรณ์สึนามิบ้านน�้ำเค็ม 24 ชัว่ โมง, ประยูร จงไกรจักร์ ประธานศูนย์อปพร.และตัวแทนจังหวัดพังงา เรือ่ งภัยพิบตั ,ิ ไมตรี จงไกรจักร์ ผูป้ ระสานงานชุมชนบ้าน น�ำ้ เค็ม และ ประธาน ลายลักษณ์ อาสาสมัครอปพร. บทความดังกล่าว เสนอมุมมองความคิดเกี่ยวกับเหตุการณ์ ภัยพิบตั วิ า่ เป็นเรือ่ งทีส่ ามารถเกิดได้ทกุ เวลา และเมือ่ เกิดขึน้ แล้วทุกคน มีสทิ ธิตายเหมือนกันหมดและไม่สามารถเอาอะไรไปได้เลย จึงเกิดแนวคิด ว่าต้องช่วยเหลือกันและกันโดยค�ำนึงถึงชีวติ คนก่อนเป็นส�ำคัญ พวกเขา รูส้ กึ อยากช่วยเพือ่ นบ้านทีป่ ระสบชะตากรรมร่วมกัน อยากช่วยเหลือคน อืน่ ๆ เหมือนทีค่ นอืน่ ๆ เคยเข้ามาช่วยเหลือตน และคิดว่าต้องท�ำอะไร เพือ่ ตอบแทนสังคมกลับคืนบ้าง ส�ำหรับการเตรียมความพร้อมของชุมชนบ้านน�ำ้ เค็มในปัจจุบนั มี การจัดซ้อมอพยพปีละ 2 ครัง้ และมีหลักสูตรสอนในโรงเรียนเรือ่ งภัย ธรรมชาติ นอกจากนีย้ งั มีทมี อาสาสมัครกูช้ พี อีก 70 คน มีการแบ่ง บทบาทหน้าทีโ่ ดยเป็นฝ่ายเฝ้าระวัง 2 คน ประชาสัมพันธ์ 4 คน มีฝา่ ย จราจรอพยพ กูภ้ ยั พยาบาล เป็นต้น เมือ่ เกิดเหตุการณ์จะมีเสือ้ กัก๊ สีดำ� เป็นสัญลักษณ์ และชาวบ้านมีการเตรียมพร้อมอพยพโดยทุกบ้านมี ถุงยังชีพ เสือ้ ผ้า เอกสารส�ำคัญ เป็นต้น
Tsunami : waves of reform
ชุมชนเตรียมความพร้อมทัง ้ รับมือและฟืน ้ ฟู ดังทีไ่ ด้กล่าวมาแล้วในหัวข้อก่อนๆ ทัง้ ในเรือ่ งของการฟืน้ ฟูหลัง จากเกิดภัยพิบตั ิ ทีต่ อ้ งมีการฟืน้ ฟูมาจากภายในชุมชน คนในชุมชน สามารถพึง่ ตนเองและพึง่ กันเองได้ ส�ำรวจข้อมูล ความต้องการ และช่วย เหลือกันโดยให้หน่วยงาน องค์กรภายนอกให้การสนับสนุน การช่วยเหลือ และฟืน้ ฟูกจ็ ะท�ำได้ตรงตามความต้องการของคนในชุมชน ไม่ทำ� ให้เกิดการ แก้ปญ ั หาไม่ตรงจุด ส�ำหรับการรับมือภัยพิบัติก็เช่นกัน บทเรียนที่ผ่านมานั้น มีตวั อย่างทีช่ ดั เจนว่า การจัดการรับมือภัยพิบตั โิ ดยชุมชนเป็นฐานนัน้ จะช่วยให้ชมุ ชนเข้มแข็งและมีความพร้อมทีจ่ ะเผชิญกับภัยพิบตั ติ า่ งๆ ได้ ในบทความของ ชาญวิทย์ ชัยกันย์ (2556)19 ได้กล่าวถึง “ประสบการณ์การศึกษาดูงานการจัดการภัยพิบตั ทิ บี่ า้ นน�ำ้ เค็ม จ.พังงา” ซึง่ ได้ให้ขอ้ มูลในด้านการเตรียมชุมชนเพือ่ รับมือกับภัยพิบตั ิ การเตรียม แผนความพร้อมก่อนเพือ่ ป้องกันภัยพิบตั ิ และการฟืน้ ฟูหลังภัยพิบตั เิ พือ่ เสริมความเข็มแข็งของชุมชน ซึง่ คนบ้านน�ำ้ เค็มให้ความส�ำคัญกับการพึง่ ตนเอง รวมกลุม่ แก้ปญ ั หาด้วยตนเองตัง้ แต่ตน้ และสนับสนุนให้เครือข่าย ชุมชนหรือให้ผมู้ จี ติ อาสาอืน่ ๆ เข้าไปช่วยอย่างเป็นระบบ โดยมีหลักการหรือเงือ่ นไขทีต่ อ้ งตระหนักร่วมกัน 10 ประการคือ
81
82
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
1) พิจารณาความเดือดร้อนทีจ่ ะเกิดขึน้ เป็นเงือ่ นไขในการจัด กระบวนการพัฒนาแบบมีสว่ นร่วมของชุมชน เครือข่าย องค์กรท้องถิน่ และภาคีความร่วมมือทัง้ ภาครัฐ ภาคเอกชน 2) ในการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนนัน้ ๆ จะต้องค�ำนึง ถึง “ศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์ จิตใจ และจิตวิญญาณ” ทีไ่ ม่กดทับศักยภาพ ของผูป้ ระสบภัย 3) จะต้องเป็นการช่วยเหลือทีส่ นับสนุนให้ “คนใน” ดูแลกันเอง ซึง่ เป็นแบบฝึกหัดของการเรียนรูท้ า่ มกลางการท�ำ ได้ฝกึ การจัดการ การ แบ่งปัน และได้เรียนรูว้ า่ ใครซือ่ สัตย์โปร่งใส ไว้ใจได้ 4) ต้องก่อให้เกิดการช่วยเหลือทีต่ รงตามเป้าหมายสอดคล้อง กับวัฒนธรรม และความต้องการทีแ่ ท้จริง รวมทัง้ เกิดการกระจายสูผ่ ู้ เดือดร้อนได้รวดเร็ว และตัดวงจรทุจริตคอร์รปั ชันของระบบ 5) ชุมชนผูป้ ระสบภัยจะต้องสร้างความผูกพันและระบบการ ดูแลกันเอง ซึง่ จะส่งผลต่อการอยูร่ ว่ มกัน และการช่วยเหลือกันเองใน ระยะยาว รวมทัง้ อาจข้ามพ้นความขัดแย้งทีเ่ คยมี 6) เน้นกระบวนการเยียวยาจิตใจจากทีห่ วาดกลัว หดหู่ หมด ก�ำลังใจ สิน้ หวัง ให้พลิกกลับมาเป็นพลังแห่งการต่อสูต้ งั้ หลัก และเดิน หน้าได้อย่างมัน่ ใจเพราะมีเพือ่ น มีกลุม่ มีเครือข่าย 7) ต้องคิดว่าจะเป็นโอกาสในการพัฒนาศักยภาพแกนน�ำ
Tsunami : waves of reform
เครือข่ายชุมช และนักจัดระบบชุมชนรุน่ ใหม่ให้เข้าใจปัญหาเชิงโครงสร้าง สามารถวิเคราะห์เชือ่ มโยงปัญหาชุมชนท้องถิน่ กับปัญหาเชิงโครงสร้างได้ อันจะน�ำไปสูค่ วามร่วมมือในการจัดการทรัพยากรร่วมกัน 8) สามารถเชือ่ มโยงกับเพือ่ นผูป้ ระสบภัยอืน่ ๆ ให้เป็นเครือข่าย แลกเปลีย่ นประสบการณ์ระหว่างกัน ช่วยเหลือกันเองเมือ่ มีภยั และน�ำไป สู่การพัฒนาเรื่องของสังคมโดยรวมเป็นกระบวนการ “สร้างส�ำนึก สาธารณะ” ผ่านเหตุภยั พิบตั ิ 9) ควรเริม่ กระบวนการตัง้ ต้นทีจ่ ะกระตุน้ ให้ชมุ ชนผูป้ ระสบภัย เปลี่ยนเป็น “ชุมชนป้องกันภัย” โดยการร่วมกันท�ำแผนคิดค้น กระบวนการป้องกันภัยที่สอดคล้องกันระหว่างความรู้ภายนอกกับ ภูมปิ ญ ั ญาในแต่ละภูมนิ เิ วศวัฒนธรรมของท้องถิน่ 10) ก�ำหนดให้เป็นกระบวนการพัฒนา “แนวราบ” ทัง้ เน้นการ คิดจากฐานรากสูข่ า้ งบนแทนการพัฒนาแนวดิง่ รวมศูนย์อำ� นาจทีเ่ ป็นต้น เหตุของปัญหาหลายประการในสังคมไทยปัจจุบนั นอกจากนีช้ มุ ชนบ้านน�ำ้ เค็มยังมีแผนเตรียมความพร้อมเพือ่ ป้องกันภัยพิบตั ิ เพราะเป็นแนวทางส�ำคัญทีจ่ ะสามารถลดความสูญเสีย ชีวติ หรือให้เกิดการสูญเสียน้อยทีส่ ดุ โดยมีการการค้นหาและพัฒนาอาสา สมัคร จัดท�ำข้อมูลชุมชนทุกอย่างทีม่ ปี ระโยชน์ตอ่ การวิเคราะห์ความเสีย่ ง ของการเกิดภัย วิเคราะห์ขอ้ มูลเพือ่ จัดท�ำแผน สร้างภาคีความร่วมมือ รณรงค์สร้างความตระหนักให้กบั สมาชิกในชุมชน ติดตามผลการด�ำเนิน การตามแผน เป็นต้น
83
84
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ภัยพิบต ั ิ : ความเสีย ่ งและ ความรับผิดชอบร่วมกัน ของมวลมนุษยชาติ
ภัยพิบตั ิ (Disaster) คือ ภัยทีก่ อ่ ให้เกิดอันตราย และความ เสียหายต่อชีวติ และทรัพย์สนิ โดยส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สิง่ แวดล้อม และวิถชี วี ติ ของผูค้ นในสังคมทัง้ ในระยะสัน้ และระยะยาว ภัยพิบตั มิ ที งั้ จากภัยธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด สึนามิ พายุโซนร้อน ดินถล่ม อุทกภัย ภัยแล้ง พายุหมิ ะ และโรคระบาดต่างๆ เป็นต้น ส่วนภัย พิบตั ทิ เี่ กิดจากการกระท�ำของมนุษย์ ได้แก่ การก่อการร้าย การทดลอง นิวเคลียร์ อุบตั เิ หตุรา้ ยแรง เช่น การรัว่ ไหลของสารเคมี นอกจากนีย้ งั รวมถึงการบรรจบกันระหว่างภัยธรรมชาติและภัยจากน�ำ้ มือมนุษย์ เช่น กรณีเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิทญ ี่ ปี่ นุ่ น�ำไปสูก่ ารรัว่ ไหลของเตา ปฏิกรณ์ ปรมณู เป็นต้น ภัยพิบตั เิ ป็นสิง่ ทีห่ ลีกเลีย่ งได้ยาก และเป็นความเสีย่ งของมวล มนุษยชาติ ยิ่งสภาวะสิ่งแวดล้อมของโลกเสื่อมโทรมลงอย่างมาก ยิง่ ส่งผลให้สภาพภูมอิ ากาศแปรปรวน อุณหภูมสิ งู ขึน้ ฤดูกาลเปลีย่ นไป มีเหตุปจั จัยทีท่ ำ� ให้เกิดภัยพิบตั ไิ ด้มากขึน้ ทัง้ การสูบน�ำ้ ใต้ดนิ ปริมาณมาก จนส่งผลให้เกิดการทรุดตัวของพืน้ ดิน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณ
Tsunami : waves of reform
มากจากโรงงานอุตสาหกรรมจนส่งผลให้ระดับน�ำ้ ทะเลเพิม่ สูงขึน้ และท่วม พื้นที่ในระดับต�่ำ การเปลี่ยนทางน�้ำจนท�ำให้เกิดภัยแล้งในบางพื้นที่ รวมถึงการทดลองทางวิทยาศาสตร์ เช่น การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ ใต้ดิน ซึ่งส่งผลต่อชั้นหินใต้เปลือกโลก ที่อาจมีผลกระทบต่อโลกใน ระยะยาว เมื่อพิจารณาถึงผลกระทบของภัยพิบัติ จากสรุปความการ บรรยายพิเศษ เรื่อง “ภัยธรรมชาติในมุมมองทางมานุษยวิทยา” โดย ศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ เลสลี อี.สปอนเซล (Professor Emeritus Leslie E. Sponsel) (2555)20 กล่าวถึง ภัยพิบตั ทิ กี่ อ่ ให้เกิดผล กระทบต่อเนือ่ งทัง้ ในเชิงเวลาและเชิงพืน้ ทีค่ วบคูก่ นั ไป กลุม่ คนทีแ่ ตกต่าง กันจะรับมือกับภัยพิบัติและได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติแตกต่างกัน ไปด้วย เนือ่ งจากแต่ละกลุม่ มีความเปราะบางแตกต่างกัน ความเปราะบางต่อภัยพิบตั ขิ องแต่ละกลุม่ ขึน้ อยูก่ บั ลักษณะทาง ภูมศิ าสตร์ เช่น พืน้ ทีบ่ ริเวณชายฝัง่ หรือภูเขาจะมีความเปราะบางต่อ ภัยพิบตั มิ ากกว่า แต่นอกเหนือจากสภาพภูมศิ าสตร์แล้ว ปัจจัยส�ำคัญที่ ท�ำให้ความเปราะบางของแต่ละกลุม่ มีไม่เท่ากันก็คอื สภาพทางสังคมและ เศรษฐกิจ เช่น คนยากจน คนชายขอบ ก็จะมีความเปราะบางต่อภัยพิบตั ิ มากกว่ากลุม่ อืน่ ๆ
85
86
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ดังนัน้ แม้ความเสีย่ งจากภัยพิบตั ขิ องคนแต่ละกลุม่ จะไม่เท่ากัน และมนุษย์ไม่อาจหลีกเลีย่ งภัยพิบตั ทิ เี่ กิดจากธรรมชาติและภัยพิบตั ทิ มี่ ี มนุษย์เข้าไปเกีย่ วข้องได้ แต่มนุษย์สามารถทีจ่ ะลดขนาด ความเสีย่ ง และ ความรุนแรงจากภัยพิบตั ไิ ด้ รวมทัง้ การลดความเสีย่ งของกลุม่ ทีม่ คี วาม เปราะบาง ปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องจากการสรุปบทเรียนทีผ่ า่ นมา ด้วย การวางแผนการจัดการภัยพิบตั ทิ มี่ ปี ระสิทธิภาพ เน้นการด�ำเนินการใน เชิงป้องกันและบรรเทาผลกระทบทีเ่ กิดจากภัยพิบตั ไิ ว้ลว่ งหน้า เตรียม พร้อมทีจ่ ะให้การช่วยเหลือ ฟืน้ ฟู ป้องกันและรับมืออย่างมีประสิทธิภาพ โดยเน้นการมีสว่ นร่วมของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะกลุม่ ทีม่ คี วามเปราะบาง ต่อภัยพิบตั ิ เช่น ประชาชนในพืน้ ทีเ่ สีย่ ง เป็นต้น ภัยพิบต ั ก ิ บ ั ความรับผิดชอบของมนุษย์ บทเรียนส�ำคัญทีเ่ กีย่ วข้องกับภัยพิบตั คิ รัง้ ใหญ่อย่างคลืน่ ยักษ์ สึนามิ ได้เผยให้เห็นถึงความไม่พร้อมในการจัดการภัยพิบตั ิ ไม่วา่ จะ เป็นการจัดการเชิงรับหรือเชิงรุก นับเป็นเหตุการณ์ทที่ ำ� ให้ปญ ั หาต่างๆ ปรากฏขึน้ ทัง้ ปัญหาเดิมทีม่ อี ยูแ่ ล้ว และปัญหาใหม่ทเ่ี กิดจากการแก้ ปัญหาทีก่ ระทบถึงกัน มุมมองหนึง่ ทีน่ า่ สนใจส�ำหรับการจัดการภัยพิบตั ติ า่ งๆ ไม่วา่ จะ เป็นภัยธรรมชาติหรือภัยทีเ่ กิดจากน�ำ้ มือมนุษย์ ก็คอื ประเด็นทีเ่ กีย่ วข้อง
Tsunami : waves of reform
มนุษย์ไม่อาจหลีกเลีย ่ งภัยพิบต ั ท ิ เี่ กิดจาก ธรรมชาติและภัยพิบัติที่มีมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องได้ แต่มนุษย์สามารถที่จะลดขนาด ความเสี่ยง และ ความรุนแรงจากภัยพิบต ั ไิ ด้ รวมทัง ้ การลดความ เสี่ยงของกลุ่มที่มีความเปราะบาง ปรับปรุงแก้ไข ข้อบกพร่องจากการสรุปบทเรียนทีผ ่ า่ นมา
กับ “หน้าทีค่ วามรับผิดชอบของมนุษย์” ซึง่ มีการกล่าวถึงกันมากในแง่ มานุษยวิทยาและสังคมวิทยา โดย ศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ เลสลี อี. สปอนเซล ได้นยิ าม ความรับผิดชอบ (responsibility) ทีเ่ กีย่ วข้องกับ ภัยพิบตั วิ า่ เนือ่ งจากภัยพิบตั ไิ ม่ใช่เรือ่ งธรรมชาติลว้ นๆ แต่หลายกรณี เกี่ยวข้องกับน�้ำมือมนุษย์ เพราะเหตุนี้ จึงจ�ำเป็นที่จะต้องมีบุคคล รับผิดชอบหรือว่ามีสว่ นใดทีต่ อ้ งรับผิดชอบมากกว่าส่วนอืน่ เช่น บรรษัท อุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ทปี่ ล่อยควันพิษสูงมาก จ�ำเป็นต้องลดควันลง หรือไม่ ต้องเสียภาษีในอัตราเท่าใด ประเด็นความรับผิดชอบกับความ เปลีย่ นแปลงภูมอิ ากาศโลก ใครจะเป็นคนรับผิดชอบเท่าไหร่ สอดคล้องกับบทความของ อาจารย์สรุ ชิ ยั หวันแก้ว (2555)21 เรื่อง “สังคมวิทยาภัยพิบัติและวิกฤติิการณ์ บทบาทของการเรียนรู้ ภายใต้ภาวะไม่แน่นอน” ทีไ่ ด้กล่าวถึง ความเกีย่ วข้องของภัยพิบตั กิ บั หน้าทีค่ วามรับผิดชอบของมนุษย์ ทัง้ ในด้านเหตุปจั จัยของปัญหาและใน ทางการแก้ไข ความสนใจต่อเรือ่ งภัยพิบตั ทิ หี่ นั เหมาสูม่ ติ ดิ า้ นสังคมและ บทบาทความรับผิดของมนุษย์เป็นหลักมากขึน้ แม้วา่ ก่อนหน้านีจ้ ะเคย
87
88
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
นับว่าภัยอันมีที่มาจากธรรมชาติล้วนๆ (natural disaster) โดย ปราศจากความเกีย่ วข้องกับหน้าทีค่ วามรับผิดชอบของมนุษย์เราเลยนัน้ ก็ไม่เป็นเช่นนัน้ อีกต่อไป ด้วยเหตุผลเพราะว่า มนุษย์ได้เข้าไปมีบทบาท ต่อธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมรอบตัวมากขึน้ ทุกที นับตัง้ แต่ทมี่ กี ารปฏิวตั ิ อุตสาหกรรมและการพัฒนาของวิทยาศาสตร์กบั เทคโนโลยี เป็นต้นมา ดังนัน้ เหตุการณ์ทเี่ กิดจากภัยธรรมชาติ ทีอ่ าจจะเคยเอือ้ ให้เกิด การแก้ตา่ งว่าเป็นเหตุสดุ วิสยั ท�ำให้ไม่เกิดการอภิปรายกันโดยปริยาย และแม้วา่ ภัยพิบตั นิ นั้ จะมีตน้ ตอจากธรรมชาติทพี่ น้ วิสยั ของคนเราแล้ว เราก็ยังต้องพิจารณาในขอบเขตของความรับผิดชอบของมนุษย์ด้วย เพราะมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องในแง่ของการรับมือ ช่วยเหลือและแก้ไข ปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ตามมา การรับมือและแก้ปญ ั หาภัยพิบต ั ิ เป็นเรือ ่ งของมนุษย์ เหตุการณ์ภยั พิบตั สิ นึ ามิ ท�ำให้ผคู้ นหันมาสนใจทีม่ าและสาเหตุ ของภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติ สภาพภูมศิ าสตร์ ผลกระทบด้านสิง่ แวดล้อม ทีท่ ำ� ให้เกิดความแปรปรวนของดินฟ้าอากาศ จากทีเ่ คยมองเป็นเรือ่ งไกล ตัวและไม่ใช่เหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ได้บอ่ ยๆ ก็เริม่ ให้ความสนใจ ใส่ใจกับการ เตรียมความพร้อมในการับมือมากยิง่ ขึน้ แต่เมือ่ ช่วงวิกฤติจิ ากเหตุการณ์
Tsunami : waves of reform
ผ่านไปสักระยะหนึง่ การเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ ก็จะค่อยๆ ลด ลง เช่น การเตรียมความพร้อมด้านการเตือนภัย การสือ่ สารในสังคมและ การเตรียมความพร้อมการสือ่ สารในสถานการณ์วกิ ฤติ โครงสร้างองค์กร และบทบาทองค์กร ผลกระทบต่อชุมชนและสังคม การรับมือภัยพิบตั ิ การฟืน้ ฟูและพัฒนา เป็นต้น เมือ่ อยูใ่ นช่วงสถานการณ์ทกี่ ำ� ลังเผชิญภัยพิบตั ิ หน่วยงานต่างๆ ที่มีบทบาทเกี่ยวข้อง ทั้งที่ท�ำหน้าที่เตือนภัย การให้ข้อมูลข่าวสาร การเข้าไปช่วยเหลือเร่งด่วน ฉุกเฉิน ต่างก็ต้องท�ำหน้าที่ตามความ รับผิดชอบ แต่จะท�ำหน้าทีไ่ ด้ดพี อหรือไม่ ระบบต่างๆ มีความบกพร่อง อ่อนแอตรงไหน ในบทความบอกว่า เมือ่ ใดมีปญ ั หาก็จะเน้นแต่ความ รับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการ แต่ผู้ตัดสินใจทางนโยบาย ไม่ตอ้ งปรับปรุงแก้ไขใด ๆ เสมือนไม่มอี ะไรเกิดขึน้ ทัง้ ๆ ทีส่ งั คมต้องการ การสืบสวนอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ การแก้ปญ ั หาทีโ่ ปร่งใส ตรวจสอบได้ มีระบบความรับผิดชอบทางการเมืองของผูต้ ดั สินใจทางนโยบายทีด่ ำ� เนิน การในช่วงภาวะวิกฤติิ ไม่ใช่เมือ่ เห็นว่าเป็นภัยพิบตั ทิ เี่ กิดจากธรรมชาติ แล้วจะไม่ตอ้ งแก้ไขปรับปรุงใดๆ ทัง้ สิน้ หรือท�ำนโยบายแก้ปญ ั หาโดย ขาดความรับผิดชอบและขาดจริยธรรมโดยไม่มใี ครตัง้ ข้อสังเกตหรือถูก ตรวจสอบ
89
90
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ความรับผิดชอบต่อการจัดการภัยพิบต ั ิ ภัยพิบตั ิ เป็นส่วนหนึง่ ทีเ่ ผยให้เราเห็นถึงการกระท�ำของมนุษย์ วิธกี ารในการรับมือกับปัญหา จริยธรรมในการช่วยเหลือ และความรับผิดชอบ ต่อสิง่ ทีไ่ ด้กระท�ำลงไปในทุกๆ ขัน้ ตอน โดยเฉพาะอย่างยิง่ การท�ำตาม นโยบายและการตัดสินใจทีเ่ กีย่ วข้องกับเรือ่ งนี้ การรับมือของสังคมต่อการจัดการภัยพิบัติ จึงควรมองใน ประเด็นทีเ่ กีย่ วข้อง 2 เรือ่ ง22 ได้แก่
1. การรับผิดชอบทีต่ รวจสอบได้ ผูม้ ตี ำ� แหน่งหน้าทีใ่ นระดับ ต่างๆ ชีแ้ จงการท�ำงานของตนเองก่อนเกิดเหตุและหลังเกิดเหตุการณ์ อย่างไร การตัดสินใจและการปฏิบตั หิ น้าทีใ่ นแต่ละระดับแต่ละขัน้ ตอนมี ส่วนเพิ่มและลดความเสียหายในเวลาต่อมาอย่างไร ค�ำชี้แจงและค�ำ อธิบายเหล่านี้ย่อมถูกอภิปรายหรือถูกตัดสิน หรือถูกวินิจฉัยโทษใน ทางใดทางหนึง่
2. การเรียนรู้ เพือ่ ถอดบทเรียน หมายถึงว่า ภายหลังเกิด เหตุการณ์ สังคมแลเห็นความส�ำคัญของการประเมินประสิทธิภาพการ ท�ำงาน กลไก และสถาบัน รวมถึงนโยบายและมาตรการ ในการรับมือ หากเกิดภัยพิบตั ใิ นอนาคตอย่างไร การกระท�ำดังกล่าวย่อมกินความไปถึง ปฏิรูปสถาบัน อันได้แก่การปรับปรุงกลไก และสถาบันนั้นๆ ในด้าน ระเบียบหรือกติกา ตลอดจนการออกแบบกลไกหรือโครงสร้างสถาบันขึน้
Tsunami : waves of reform
มาใหม่ เพือ่ ให้สามารถรองรับภาวะวิกฤติิ ป้องกันวิกฤติกิ ารณ์ หรือจ�ำกัด ความเสียหายจากภัยพิบตั ใิ นอนาคตได้ดกี ว่าเดิม ยิง่ ไปกว่านัน้ สังคมอาจ ต้องการการเรียนรูเ้ พือ่ จะรับมือกับภัยพิบตั แิ ละวิกฤติไิ ด้ดกี ว่าเดิม ความรับผิดชอบต่อการจัดการภัยพิบตั ิ จะท�ำให้สงั คมก้าวพ้นไป จากการท�ำงานแบบเดิม ๆ แต่จะน�ำไปสูก่ ารปฏิรปู ระบบการเมืองและ ระบบราชการได้ โดยมีภาคประชาสังคม องค์กรพัฒนาเอกชน ชุมชน และประชาชาชนคอยหนุนเสริม นอกจากนีย้ งั เป็นการส่งเสริมบทบาท ของผูน้ ำ� ทีม่ คี วามสามารถในการแก้ปญ ั หาในภาวะวิกฤติิ ซึง่ จะเป็นการ สร้างแนวทางของการแก้ปญ ั หาทีย่ ง่ั ยืนร่วมกันในอนาคต ข้อแนะน�ำทีน่ า่ สนใจส�ำหรับการสร้างความรับผิดชอบต่อการ จัดการภัยพิบตั ิ ก็คอื เมือ่ เหตุการณ์ภยั พิบตั ผิ า่ นพ้นไป ข้อมูลจะต้องน�ำ มาจัดการเชิงระบบหรือจัดระบบให้สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงได้ สาธารณะสามารถเข้าถึงรายงานการท�ำงานของแต่ละคณะ แต่ละหน่วย แต่ละฝ่ายทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ สร้างความกระจ่าง โปร่งใส และให้เห็นว่าไม่มี เรือ่ งของผลประโยชน์เข้ามาเกีย่ วข้อง ซึง่ ระบบนีส้ ามารถจัดท�ำขึน้ มาได้ใน ทุกระดับ ทัง้ การจัดการของท้องถิน่ หน่วยงานและองค์กรจากระดับย่อย จนถึงหน่วยงานระดับประเทศ และเพือ่ เป็นการยืนยันให้ตรงกันจะต้องมี หน่วยงานตรวจสอบข้อเท็จจริงทีย่ ดึ ประโยชน์สาธารณะช่วยในการกลัน่ กรองข้อมูลเพือ่ ให้สงั คมสาธารณะเชือ่ ถือในข้อมูลดังกล่าวได้
91
92
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ภาคแรก :
Tsunami : waves of reform
ตามคลืน ่ – ทวนคลืน ่ เส้นทางการปฏิรป ู
93
94
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ภัยพิบัติสึนามิ ได้สร้างความสูญเสีย หลายอย่างให้กบ ั ผูป ้ ระสบภัย แต่ในระหว่างการ ฟืน ้ ตัว ปรับตัวเพือ ่ ก้าวต่อไป ชาวบ้านกลับได้มี โอกาสเรียนรูห ้ ลายสิง ่ หลายอย่างเช่นกัน ...การเริ่ ม ต้ น ใหม่ เ พื่ อ สร้ า งบ้ า นเรื อ น สร้างชุมชน ฟืน ้ ฟูจต ิ ใจ นับเป็นช่วงเวลาทีช ่ าว ชุมชนต่างได้เรียนรู้ถึงการรวมตัวกัน การ ปรึกษาหารือ รับฟังความคิดเห็นซึง ่ กันและกัน และการเชือ ่ มโยงกับเครือข่ายอืน ่ ๆ ท�ำให้พวกเขา ไม่ตอ ้ งเผชิญกับปัญหาอย่างโดดเดีย ่ วล�ำพัง
Tsunami : waves of reform
บทที่ 1
eg
บทเรียนและประสบการณ์ ในการจัดการศูนย์พก ั พิงชัว ่ คราว “ศูนย์พักพิงบางม่วง” ก่อก�ำเนิดขึ้นหลังเหตุภัยพิบัติเพียง 6 วันเท่านัน้ โดยเน้นให้ความช่วยเหลือและทีพ่ กั ชัว่ คราวกับผูป้ ระสบภัย ในอ�ำเภอบางม่วง ทีใ่ นช่วงแรกกระจัดกระจายกันไปตามทีพ่ กั ฉุกเฉินต่างๆ เพือ่ ให้คนในชุมชนกลับมารวมตัวกันเป็นปึกแผ่น แม้จะก่อตัง้ เพือ่ รับมือกับปัญหาต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ จากเหตุภยั พิบตั ิ ซึง่ ก็ได้คลีค่ ลายลงไปพอสมควร แต่ศนู ย์นไี้ ด้ตอ่ ยอดพัฒนาตัวเองให้เป็น พืน้ ทีแ่ ห่งพลังชุมชน โดยเปลีย่ นชือ่ เป็น “ศูนย์ประสานงานชุมชนบ้าน น�ำ้ เค็ม” ทีด่ แู ลชีวติ ชุมชนในทุกมิติ ไม่วา่ จะเป็นการตัง้ ธนาคารชุมชนเพือ่ สนับสนุนการประกอบอาชีพ สวัสดิการชุมชน จัดท�ำแผนแม่บทการ พัฒนาและฟืน้ ฟูพนื้ ทีแ่ บบมีสว่ นร่วม เป็นต้น
95
96
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
นีเ่ ป็นหนึง่ บทเรียนทีน่ า่ สนใจของการพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสใน การสร้างความมัน่ คงเข้มแข็งให้กบั ชุมชน ไม่เพียงเพือ่ รับมือกับภัยพิบตั ทิ ี่ อาจเกิดขึน้ แต่เพือ่ รับมือกับทุกปัญหาทีช่ มุ ชนต้องเผชิญร่วมกัน อันเป็น พืน้ ฐานของประชาธิปไตยภาคพลเมืองโดยแท้ “ศูนย์พกั พิงบางม่วง” หรือศูนย์ชว่ ยเหลือและทีพ่ กั ชัว่ คราว ผูป้ ระสบภัยบางม่วง เปิดให้การช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยจากเหตุการณ์ สึนามิ ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เพือ่ เชือ่ มโยงผูป้ ระสบภัยที่ กระจัดกระจายหาทีพ่ กั ฉุกเฉินในทีต่ า่ งๆ ให้กลับมารวมกัน มีผปู้ ระสบภัย ลงทะเบียนจ�ำนวน 855 ครอบครัว เกือบทัง้ หมดมาจากบ้านน�ำ้ เค็ม โดยในช่วงสัปดาห์แรกผูป้ ระสบภัยได้พกั อาศัยอยูใ่ นเต็นท์กว่า 500 หลัง เมือ่ บ้านพักชัว่ คราวในทีต่ า่ งๆ ก่อสร้างเสร็จ จึงทยอยแยกกันไปอยูต่ าม ศูนย์ตา่ งๆ ซึง่ พืน้ ทีศ่ นู ย์ฯ บางม่วงแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ พืน้ ทีบ่ ริเวณ ส�ำนักงาน อบต.บางม่วง มีบา้ นพักผูป้ ระสบภัยจ�ำนวน 190 หลัง และ พืน้ ทีก่ รมทรัพยากรธรณีฯ จ�ำนวน 289 หลัง รวมทัง้ สิน้ 479 หลัง ซึง่ เป็นศูนย์พกั พิงชัว่ คราวทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ใน 6 จังหวัดพืน้ ทีป่ ระสบภัย ในช่วงเดือนแรกของการท�ำงาน มีหน่วยงานต่างๆ ลงทะเบียน ช่วยเหลือศูนย์กว่า 85 หน่วยงาน มีอาสาสมัครทีท่ ำ� งานในศูนย์ชว่ ง เดือนมกราคม พ.ศ. 2548 ประมาณวันละ 100 คน ท�ำหน้าทีบ่ ริหาร จัดการโดยแบ่งออกเป็นกลุม่ ๆ เช่น กลุม่ จัดการเรือ่ งรับบริจาค กลุม่ แม่ ครัว/จัดการเรือ่ งอาหาร กลุม่ ดูแลรักษาความปลอดภัย กลุม่ ดูแลโกดัง และของบริจาค กลุม่ ประสานข้อมูลผูเ้ ข้าพักอาศัย กลุม่ ประสานก่อสร้าง ทีพ่ กั ชัว่ คราว กลุม่ ดูแลน�ำ้ ดืม่ น�ำ้ ใช้ กลุม่ อาชีพ กลุม่ เยาวชน ฯลฯ
Tsunami : waves of reform
หลังจากสถานการณ์ตา่ งๆ เริม่ คลีค่ ลายลง ในการจัดงานร�ำลึก 1 ปี สึนามิ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2548 ศูนย์พกั พิงทีบ่ างม่วงก็ปดิ ตัวลง ผูป้ ระสบภัยทยอยย้ายกลับบ้านน�ำ้ เค็มและชุมชนใหม่อนื่ ๆ และได้เปิด “ศูนย์ประสานงานชุมชนบ้านน�ำ้ เค็ม” ทีห่ น้าวัดน�ำ้ เค็ม โดยมีการตัง้ คณะ กรรมการขึน้ มาท�ำหน้าทีบ่ ริหารจัดการ โดยคัดเลือกจากผูท้ อี่ าสาสมัคร เข้ามาท�ำงานเพื่อชุมชน มาเป็นตัวแทนในการบริหารงานฝ่ายต่างๆ อีกทัง้ ยังเป็นตัวกลางในการประสานด้านแหล่งเงินทุนในการสนับสนุน กลุม่ อาชีพ มีการตัง้ ธนาคารชุมชนเพือ่ ช่วยเหลือในด้านเงินกู้ สวัสดิการ ชุมชน และสร้างวินยั ในการออมของชุมชน จัดท�ำแผนแม่บทการพัฒนา และฟืน้ ฟูพนื้ ทีแ่ บบมีสว่ นร่วม ตลอดจนเป็นแกนในการประสานงานของ เครือข่ายผูป้ ระสบภัยสึนามิ 6 จังหวัดด้วย เรื่องราวและพัฒนาการของศูนย์พักพิงบางม่วงเป็นบทเรียน ส�ำคัญ ทีจ่ ะช่วยให้สงั คมเห็นหลักการ วิธกี ารและการด�ำเนินการในการ จัดการศูนย์พักพิงชั่วคราว ที่ช่วยเหลือชุมชนได้จริงในภาวะวิกฤติ และยังเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชมุ ชนให้จดั การตนเอง ทัง้ รับมือกับ ปัญหา และสร้างสรรค์ความเป็นอยูร่ ว่ มกันในชุมชน โดยชุมชน และเพือ่ ชุมชนเอง ทัง้ นี้ การถอดบทเรียนของศูนย์พกั พิงบางม่วง ต�ำบลบางม่วง อ.ตะกัว่ ป่า จ.พังงา น�ำมาจากประสบการณ์การท�ำงานร่วมกันระหว่าง ชุมชนผูป้ ระสบภัยสึนามิ กับ นักจัดระบบชุมชนในการจัดการศูนย์พกั พิง ชัว่ คราวแห่งนี้
97
98
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ในส่วนผูป้ ระสบภัยพิบตั สิ นึ ามิทเี่ ป็นแกนน�ำชุมชน ได้แก่ ไมตรี จงไกรจักร์, ประยูร จงไกรจักร์, ปัญญา อนันตะกูล, ศักดิด์ า พรรณรังสี, กุศล ฤทธิชยั , ไพรัช เพ็งจันทร์ ซึง่ ปัจจุบนั แกนน�ำชุมชนเหล่านีเ้ ป็นผูม้ ี บทบาทในสังคมในเรือ่ งของการจัดการภัยพิบตั ิ และงานช่วยเหลือสังคม ในประเด็นต่างๆ แกนน�ำชุมชนและนักพัฒนาเหล่านีไ้ ด้ผา่ นการพูดคุย สรุปบทเรียน ทีผ่ า่ นมาในการท�ำงานแต่ละย่างก้าวของพวกเขา จนสามารถเขียนแผน แม่บทชุมชน แผนพัฒนาจังหวัด และมีขอ้ เสนอต่อนโยบายในหลาย ประเด็นทีเ่ กีย่ วข้องกับความเดือดร้อนของพวกเขาและพีน่ อ้ งชาวบ้านอีก หลายชุมชนทีท่ กุ ข์ยาก นอกเหนือจากเรือ่ งของการจัดการภัยพิบตั โิ ดย ชุมชนแล้ว ก็ยงั มีการเข้าร่วมร่างกฎหมายทีส่ ำ� คัญอีก 4 ฉบับได้แก่ ร่าง พรบ.ธนาคารทีด่ นิ ร่าง พรบ.สิทธิชมุ ชนในการจัดการทีด่ นิ และทรัพยากร ในรูปแบบโฉนดชุมชน ร่าง พรบ.ภาษีทดี่ นิ อัตราก้าวหน้า และร่าง พรบ. กองทุนยุตธิ รรม ส�ำหรับนักจัดระบบชุมชน (Community Organizers (CO) ที่ เข้าไปในชุมชนประสบภัยพิบตั สิ นึ ามิในบทบาทของการเป็นพีเ่ ลีย้ ง เป็นที่ ปรึกษาให้กบั ชาวบ้าน แกนน�ำชุมชน ได้แก่ จ�ำนงค์ จิตรนิรตั น์, ปรีดา คงแป้น, พิชยา แก้วขาว, ภควินท์ แสงคง, โชคดี สมพรม (มูลนิธชิ มุ ชน ไท) และคนอืน่ ๆ ทีจ่ ะมาจากองค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันพัฒนาองค์กร ชุมชน มูลนิธิ และองค์กรต่างๆ ทีม่ ารวมตัวกันเป็นอาสาสมัครหลักๆ ใน การช่วยเหลือผูป้ ระสบภัย
Tsunami : waves of reform
กลุม่ คนเหล่านีม้ ปี ระสบการณ์ในการจัดระบบในชุมชนทีถ่ กู ไล่รอื้ ชุมชนแออัด ซึง่ เป็นชุมชนทีไ่ ด้รบั ความเดือดร้อนและค่อนข้างจัดการยาก รวมไปถึงการจัดระบบในชุมชนของผูท้ ไี่ ด้รบั ความเดือดร้อนจากกรณีอนื่ ๆ เช่น ชาวบ้านทีถ่ กู ไล่ทจี่ ากโครงการพัฒนาของรัฐ การไล่ทชี่ าวบ้านเพือ่ สร้างเขือ่ นหรือสิง่ ปลูกสร้างบางอย่างในนามของการพัฒนา การจัดระบบ ชุมชนกับชาวบ้านทีก่ ำ� ลังประสบความเดือดร้อน ทีม่ คี วามโกรธ ความ น้อยเนือ้ ต�ำ่ ใจ กระบวนการหลักทีน่ กั จัดระบบชุมชนเหล่านีย้ ดึ ถือเป็นแกนใน การด�ำเนินการ คือ การปลุกพลัง สร้างความมัน่ ใจ ให้ความรู้ ให้เข้าใจ ถึงศักดิศ์ รีความเป็นมนุษย์และสิทธิตา่ งๆ ทีเ่ ขาพึงมี โดยเน้นการหล่อ หลอมแกนน�ำชาวบ้าน แกนน�ำชุมชนให้มจี ติ ใจเสียสละช่วยเหลือผูอ้ นื่ ให้ รูจ้ กั วิเคราะห์วางแผนและท�ำกระบวนการมีสว่ นร่วมในชุมชน ฯลฯ ฉะนั้น เมื่อเกิดภัยพิบัติ นักจัดระบบชุมชนเหล่านี้จึงน�ำ ประสบการณ์และทักษะทีส่ งั่ สมมา ไปช่วยเหลือชุมชนผูป้ ระสบภัย ให้ ชาวบ้านได้รว่ มคิด ร่วมท�ำ และเป็นส่วนหนึง่ ในการพัฒนาชุมชนของพวก เขาเองต่อไปได้
99
100
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
หลากบทเรียนส�ำคัญ จากประสบการณ์ การจัดการศูนย์พก ั พิงชัว ่ คราว
เริม ่ นับหนึง ่ ณ ชัว ่ โมงทีส ่ ญ ู ส�ำรวจพืน ้ ที่ รูจ ้ ก ั คนเพือ ่ วางแผน เมือ่ เกิดภัยพิบตั ิ ผูท้ เี่ ข้าไปช่วยเหลือ ไม่วา่ หน่วยงานหรือองค์กร ใดก็ตาม ควรส�ำรวจข้อมูลอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะข้อมูลพืน้ ทีป่ ระสบภัย ประเมินความเสียหายเบือ้ งต้น และพืน้ ทีท่ คี่ วามช่วยเหลือยังเข้าไม่ถงึ ซึง่ ในส่วนของการส�ำรวจข้อมูลอย่างรวดเร็ว อาจจะต้องติดต่อกับเครือข่ายที่ มีความคุน้ เคยกับพืน้ ทีน่ นั้ ๆ ในกรณีภัยพิบัติสึนามิ กลุ่มคนท�ำงานทางสังคมกลุ่มนี้ ได้ สอบถามข้อมูลไปยังเครือข่ายทีม่ คี วามใกล้ชดิ กับคนในพืน้ ทีป่ ระสบภัย และมีการแนะน�ำบอกต่อกันมา จากนัน้ พวกเขาก็ลงพืน้ ทีท่ คี่ าดการณ์กนั ในตอนนัน้ ว่าจะเกิดความเสียหายมากทีส่ ดุ และยังไม่ได้รบั ความช่วยเหลือ มากนัก ส่วนหนึง่ เพราะในช่วงเริม่ ต้นทีม่ เี หตุการณ์สนึ ามิ รายงานข่าว
Tsunami : waves of reform
ต่างๆ จะเน้นไปในพืน้ ทีก่ ารท่องเทีย่ วทัง้ ในจังหวัดภูเก็ตและพังงา แต่พนื้ ที่ ต�ำบลบางม่วง เป็นพืน้ ทีอ่ ยูอ่ าศัยของชาวบ้านทีป่ ระกอบอาชีพประมง เป็นหลัก การลงส�ำรวจชุมชนในต�ำบลบางม่วง ในช่วงทีเ่ กิดภัยพิบตั นิ นั้ พิชยา แก้วขาว เล่าว่า ส่วนหนึง่ เป็นเพราะพืน้ ทีแ่ ห่งนีเ้ คยมีผคู้ นอยูอ่ าศัย กันอย่างหนาแน่น เมือ่ ได้รบั รูจ้ ากรายงานข่าวว่าทีน่ เี่ ป็นพืน้ ทีป่ ระสบภัยที่ เสียหายมากทีส่ ดุ และความช่วยเหลือยังเข้าไม่ถงึ จึงตัง้ ใจจะลงพืน้ ทีเ่ พือ่ ส�ำรวจข้อมูลก่อน แต่ยงั ไม่ได้วางแผนว่าจะท�ำอะไร เมือ่ ปรีดา คงแป้น ชวนทุกคนร่วมเดินทางเพือ่ เข้าไปส�ำรวจพืน้ ทีด่ งั กล่าว เผือ่ ว่าจะช่วยเหลือ อะไรได้บา้ ง นอกจากการช่วยเหลือด้วยการบริจาคเงินเพียงอย่างเดียว เมือ่ มาถึง ต.บางม่วง อ.ตะกัว่ ป่า จ.พังงา ทุกคนก็เริม่ ต้นส�ำรวจ ข้อมูลชุมชน โดยแยกย้ายกันไปพูดคุยกับชาวบ้านผูป้ ระสบภัย ผูน้ ำ� ชุมชน เพือ่ ส�ำรวจความต้องการเบือ้ งต้นของผูท้ กี่ ำ� ลังเดือดร้อนว่าพอจะช่วยเหลือ อะไรได้บา้ ง ก่อนจะกลับมาพูดคุยวางแผนกัน
101
102
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
รวมกัน เราอยู่ ท่ามกลางความสับสนอลหม่านของเหตุการณ์ นักพัฒนากลุม่ นี้ มีความคิดว่า ความช่วยเหลือทีพ่ วกเขาจะท�ำนัน้ จะต้องไม่เหมือนกับที่ คนอืน่ ท�ำอยูแ่ ล้ว เพือ่ ไม่ให้เกิดความซ�ำ้ ซ้อน และทีส่ ำ� คัญต้องคิดถึงความ ยัง่ ยืนด้วย คิดถึงชีวติ ของผูป้ ระสบภัยทีต่ อ้ งอยูต่ อ่ ไป ภาพผูป้ ระสบภัยทีส่ ญ ู เสียญาติ พีน่ อ้ ง ลูก หลาน บ้านเรือน กลายเป็นซากปรักหักพัง อาชีพก็หายไปพร้อมกับเรือทีถ่ กู คลืน่ พาจมหาย ต้องวิง่ หนีเอาชีวติ รอด ทัง้ เสียขวัญ หวาดผวา กระทบกระเทือนทางใจ อย่างรุนแรง จนไม่รวู้ า่ ชีวติ ข้างหน้าจะเป็นอย่างไร --- ภาพแห่งความรูส้ กึ เหล่านีท้ ำ� ให้นกั พัฒนากลุม่ นี้ คิดว่า สิง่ ทีต่ อ้ งท�ำเป็นอันดับแรก คือ การ รวมตัว รวมขวัญและก�ำลังใจ การรวมคนให้ได้และให้มาอยูด่ ว้ ยกันในที่ ปลอดภัย มีทนี่ อน มีอาหาร ไม่ให้ตา่ งคนต่างอยู่ กระจัดกระจาย การ ช่วยเหลืออย่างเป็นระบบก็จะสามารถท�ำได้ ในการแบ่งทีมไปส�ำรวจพืน้ ที่ ประเด็นทีช่ ว่ ยกันส�ำรวจ อาทิ ส่วนไหนทีไ่ ด้รบั ความเสียหายมาก มีใครเข้าไปช่วยเหลือแล้วบ้าง ชาวบ้าน ที่ยังรอดชีวิตไปอยู่กันที่ไหน อย่างไร และสอบถามความต้องการว่า ต้องการให้ชว่ ยเหลืออะไรบ้าง ซึง่ ในตอนนัน้ เริม่ มีของบริจาคส่งมายัง องค์การบริหารส่วนต�ำบลบางม่วงแล้ว แต่ยงั ไม่มกี ารแจกจ่ายของบริจาค ให้กบั ชาวบ้าน และยังพบปัญหาว่าส่วนใหญ่นอกจากเอกสารหายแล้ว ยังมีชาวบ้านทีไ่ ม่มเี อกสารเป็นชาวพืน้ ถิน่ เช่น ชาวเลมอแกน อีกทัง้
Tsunami : waves of reform
ระเบียบของราชการท�ำให้การช่วยเหลือเป็นไปอย่างล่าช้า ผูป้ ฏิบตั งิ านใน พืน้ ที่ ทีไ่ ม่มอี ำ� นาจตัดสินใจก็ทำ� อะไรได้ไม่มากนัก “ตอนนัน้ พวกเราแบ่งกันเป็น 3 ทีม คือ ส่วนทีไ่ ปประสานงาน ติดต่อกับ นายก อบต. และอีก 2 ทีมลงไปส�ำรวจข้อมูลกับชาวบ้าน สอบถามว่าอยากให้ชว่ ยตรงไหนอย่างไรบ้าง” จ�ำนงค์ จิตรนิรตั น์ กล่าว ถึงการเริม่ ต้นส�ำรวจชุมชน เมือ่ เข้าไปสอบถามทีอ่ งค์การบริหารส่วนต�ำบลบางม่วง และได้ รับค�ำแนะน�ำให้ไปพูดคุยกับ ไมตรี จงไกรจักร์ สมาชิกองค์การบริหารส่วน ต�ำบลบางม่วงในขณะนัน้ ว่าจะรวมคนได้อย่างไร ไมตรีเล่าถึงเรือ่ งทีม่ คี น แปลกหน้าสองสามคนทีเ่ ดินเข้ามาถามค�ำถามต่างๆ นานา ว่า “ผมก็แปลกใจทีม่ คี นแปลกๆ มาถามว่า ท�ำอย่างไรจึงจะรวมคน ได้ ผมก็บอกเขาไปว่าถ้ามีสว้ ม มีหอ้ งน�ำ้ รับรองคนต้องมาแน่ๆ เพราะมัน เป็นธรรมชาติของมนุษย์อยูแ่ ล้ว สองสามคนนีก้ ถ็ ามย�ำ้ ว่าถ้าส้วมมาแล้ว คนมาแน่ไหม ผมก็ยนื ยัน แต่กไ็ ม่เชือ่ เท่าไรว่าเขาจะสร้างส้วมให้ได้”23 จากเรือ่ งห้องน�ำ้ ห้องส้วม ทีถ่ กู เสนอขึน้ มา ท�ำให้นกั พัฒนากลุม่ นี้ ซึง่ เคยได้ยนิ ได้ฟงั การจัดระบบชุมชนในปากีสถานและอินเดียมาบ้าง ก็นำ� เรือ่ งนีม้ าปรึกษาหารือกัน และเห็นว่าสิง่ ทีเ่ สนอมานัน้ เป็นเรือ่ งของ ส่วนรวมทีช่ าวบ้านทุกคนสามารถใช้ประโยชน์ได้
103
104
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
“คิดว่าเจอตรงไหนท�ำเลยเพราะเรามีเงินจากมูลนิธฯิ อยูพ่ อ สมควร และได้ถามไมตรีวา่ คนทีย่ งั อยู่ (รอดตาย) อยูท่ ไ่ี หน ไมตรีบอก ว่าอยูท่ อี่ ำ� เภอบ้าง อยูต่ ามโคนต้นไม้บา้ ง วัดอยูไ่ ม่ได้มแี ต่ศพ จึงถามต่อว่า แล้วจุดไหนทีท่ ำ� ให้คนรูส้ กึ ปลอดภัย เป็นการถามไปเรือ่ ยๆ พอไมตรีบอก เรือ่ งส้วม ก็ถามถึงพืน้ ทีท่ จี่ ะสามารถสร้างได้ จากนัน้ ก็ไปเคาะประตูรา้ น วั ส ดุ ก ่ อ สร้ า งในตลาดเพื่ อ ขอซื้ อ คอห่ า นกั บ ท่ อ น�้ ำ ส� ำ หรั บ ท� ำ ส้ ว ม 10 ห้อง” 24 ปรีดาเล่าถึงเหตุการณ์ในช่วงนัน้ กล่าวโดยสรุป ในขั้นตอนส�ำรวจข้อมูลชุมชนและอ่าน สถานการณ์ตา่ งๆ นัน้ นักพัฒนากลุม่ นีถ้ อดรหัสได้วา่
การท�ำงานกับชุมชนทีป่ ระสบภัยและอยูใ่ นภาวะวิกฤติิ ต้อง เริม่ ต้นให้เร็ว และไม่ตอ้ งรอให้ขอ้ มูลสมบูรณ์กอ่ นแล้วค่อยท�ำ เพราะจะ ไม่ทนั กับสถานการณ์ความเดือดร้อนของชาวบ้าน ทีส่ รุปเช่นนีเ้ พราะว่า หลายหน่วยงาน ทัง้ หน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน ส่วนใหญ่ มักใช้เวลาในการเก็บข้อมูลนานเกินไป บางหน่วยงานใช้เวลากว่าหนึง่ เดือนถึงจะเริ่มต้นแผนการท�ำงาน ท�ำให้ไม่สามารถริเริ่มท�ำงานได้ เมือ่ เวลาผ่านไป สิง่ ทีท่ ำ� ได้คอื การเข้าร่วมกับหน่วยงานอืน่ ทีท่ ำ� งานอยู่ ก่อนแล้ว และหากหลักการในการท�ำงานไม่สอดคล้องกันก็อาจจะท�ำให้ เกิดความขัดแย้งกันได้
Tsunami : waves of reform
รูจ้ กั คน ส�ำรวจความต้องการ การส�ำรวจข้อมูลอย่างเร็ว ท�ำให้พอจะทราบถึงจ�ำนวนคนทีเ่ ดือดร้อน รอดตาย ซึง่ อยูใ่ นภาวะสับสน สอบถามความต้องการต่างๆ พอคร่าวๆ ทัง้ ความต้องการส่วนตัวและ ความต้องการทีจ่ ะช่วยเหลือดูแลกันและกันของผูท้ เี่ ดือดร้อน เช่น การ ตามหาญาติทหี่ ายไป ความต้องการของบริจาคอาหาร เสือ้ ผ้า เครือ่ งนุง่ ห่ม ทีพ่ กั อาศัย การรักษาพยาบาล และความต้องการอืน่ ๆ
ส�ำรวจพืน้ ที่ สถานทีท่ ป่ี ลอดภัย ไม่ไกลจากจุดเกิดเหตุ ใน กรณีของการเกิดสึนามิ การส�ำรวจพืน้ ทีเ่ พือ่ รวมคน จะต้องเป็นพืน้ ทีท่ ี่ ห่างไกลจากทะเล มีความปลอดภัยแน่นอน โดยทัว่ ไปเมือ่ เกิดภัยพิบตั ิ ควรส�ำรวจพืน้ ทีส่ ว่ นกลางของชุมชน เช่น โรงเรียน วัด หรือสถานทีข่ อง องค์กรส่วนท้องถิน่ สถานทีข่ องทางราชการ ทีส่ ำ� คัญต้องเป็นสถานทีซ่ งึ่ ผู้ ประสบภัยเชือ่ มัน่ ว่าเป็นทีท่ ปี่ ลอดภัย นอกจากส�ำรวจพืน้ ทีป่ ลอดภัยทีจ่ ะรวมคนได้แล้ว ก็ควรท�ำความ รูจ้ กั กับคนในพืน้ ทีท่ สี่ ามารถช่วยเหลือในการติดต่อประสานเพือ่ ขอใช้ สถานที่ และร้านค้าต่างๆ รวมทัง้ สถานทีท่ พี่ อจะหยิบยืมข้าวของทีจ่ ำ� เป็น ในการตัง้ ศูนย์พกั ชัว่ คราวได้ เมือ่ สรุปและวิเคราะห์ขอ้ มูลกันอย่างเร็วแล้ว ก็ตดั สินใจเริม่ ต้นท�ำ ในสิง่ ทีช่ าวบ้านต้องการจริงๆ ก่อนในเบือ้ งต้น เช่น ในกรณีของผูป้ ระสบภัย สึนามิที่ ต.บางม่วง ได้มกี ารเสนอให้ “สร้างส้วม รวมคน” นักพัฒนาจึง เริม่ ต้นการสร้างศูนย์พกั พิงชัว่ คราวจากตรงนี้
105
106
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ตัง ้ ศูนย์พก ั ชัว ่ คราว รวมคน แบ่งปันปัจจัยสี่ เมือ่ ส�ำรวจพืน้ ที่ ส�ำรวจชุมชน รูจ้ กั คนและรูค้ วามต้องการของผู้ ประสบภัยแล้ว ก็ถงึ ขัน้ ตอนของการตัง้ ศูนย์พกั พิงชัว่ คราวเพือ่ ช่วยเหลือ ผูป้ ระสบภัย ในกรณีของการตัง้ ศูนย์พกั พิงบางม่วง ได้ขอใช้สถานทีข่ อง กรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการเหมืองแร่ทที่ ง้ิ ร้างไว้ เมือ่ คิดว่าสถานที่ แห่งนี้เหมาะที่จะตั้งศูนย์พักพิง จึงมีการแบ่งงานกันระหว่างทีมของ นักพัฒนา และทีมของไมตรี ซึง่ เป็นผูป้ ระสบภัยทีอ่ ยูใ่ นชุมชน ชาวบ้านต้องมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น การขอความร่วมมือ และปรึกษาหารือกับชาวบ้านในพืน้ ทีค่ วรท�ำตัง้ แต่เริม่ ต้น เมือ่ ทราบความ ต้องการของผู้ประสบภัยและสอบถามความเห็นจากผู้ประสบภัย พิจารณาและร่วมกันคิดร่วมกันวางแผน พร้อมทัง้ แบ่งงานกันท�ำ เพือ่ ให้ ชาวบ้านได้ชว่ ยเหลือกันเอง และช่วยเหลือตัวเองได้ ไม่หวังพึง่ พาคนจาก ภายนอก ในกรณีนี้ ไมตรี จงไกรจักร์ ซึ่งเป็นผู้ประสบภัยในชุมชน ได้ดำ� เนินการประสานงานขอใช้สถานที่ ใช้รถในการปรับพืน้ ทีเ่ พือ่ ตัง้ เต็นท์ ทีพ่ กั ชัว่ คราว และขอแรงคนในชุมชนให้ชว่ ยกันคนละไม้คนละมือ “วันนัน้ ผมรับปากทีจ่ ะไปส�ำรวจและได้รบั หน้าทีไ่ ปขอสถานที่ เดินไปทีอ่ ำ� เภอ ที่ อบต. ไปบอกว่า “นายครับ ชาวบ้านไม่มที อี่ ยู่ จะขอ
Tsunami : waves of reform
ใช้พนื้ ทีข่ องอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ต้องขออนุญาตใคร” แกว่าบอกสถาน ทีร่ าชการเป็นของชาวบ้าน ตอนนีช้ าวบ้านเดือดร้อนให้ใช้ได้เลย พอเข้าไป แล้วเห็นรถแบ็คโฮไม่มนี ำ�้ มัน ก็ไปหาน�ำ้ มันมาเติม เอามาใช้ปรับพืน้ ที่ พีๆ่ ก็มคี นส่งเต็นท์มาให้ พร้อมวัสดุทำ� ส้วม เราก็เริม่ ลงมือท�ำ และ ชาวบ้ า นก็ ท ยอยกั น มาอยู ่ บ ้ า งแล้ ว แต่ ต ่ อ มาหั ว หน้ า ส� ำ นั ก งาน อุตสาหกรรมจังหวัดพังงา ก็มาถามว่า “ใครอนุญาตให้ใช้พนื้ ที่ หยุด!!” ขณะนัน้ มี รมต. สรอรรถ กลิน่ ประทุม มาลงพืน้ ทีพ่ อดี ก็มคี นบอกผมว่า ให้ไปบอกรัฐมนตรีวา่ เราจะสร้างศูนย์พกั ชัว่ คราวกัน ทัง้ สถานที่ น�ำ้ ไฟ ก็ใช้ได้หมดแล้วแต่หน่วยงานทีด่ แู ลไม่อนุญาติ จังหวะทีร่ ฐั มนตรีมาลง พืน้ ที่ ผมก็เข้าไปคุย ท�ำให้เดินหน้าสร้างศูนย์พกั ชัว่ คราวได้” 25 โดยใน ขณะนัน้ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ( พอช.) เป็นผูท้ ำ� หนังสือขออนุญาต แทนผูเ้ ดือดร้อน ผูท้ เี่ ข้าไปช่วยเหลือประสานงานภายนอก จัดหาสิง่ ของทีจ่ ำ� เป็น อีกทัง้ การแบ่งบทบาทกันตัง้ แต่ตน้ เป็นเรือ่ งส�ำคัญมาก เมือ่ ผูท้ เี่ ข้าไป ช่วยเหลือปรึกษาหารือกับชาวบ้านผูป้ ระสบภัย และมีการแบ่งงานกันท�ำ แล้ว การประสานงานกับหน่วยงานภายนอก และการจัดหาสิง่ ของต่างๆ ไม่วา่ จะด้วยวิธรี บั บริจาค หรือจัดซือ้ จะต้องจัดหามาอย่างรวดเร็ว เช่น การจัดหาเต็นท์ทพ่ี กั ชัว่ คราว และข้าวของเพือ่ ยังชีพอืน่ ๆ ทัง้ อาหาร เครือ่ งนุง่ ห่ม ยารักษาโรคต่างๆ อย่างเช่น ในกรณีผปู้ ระสบภัยสึนามิ ได้มี การประสานงานกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) เพือ่ จัดหาเต็นท์ ทีพ่ กั ชัว่ คราวได้ภายใน 2-3 วัน โดยระดมจัดซือ้ จากห้างร้านต่างๆ ทัว่ ประเทศเพือ่ น�ำมาจัดส่งให้กบั ศูนย์พกั พิงชัว่ คราวบางม่วง
107
108
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
การตั้งเต็นท์ที่พักชั่วคราวก่อน จะเป็นการช่วยบรรเทาทุกข์ เฉพาะหน้า เนือ่ งจากการสร้างบ้านพักชัว่ คราวต้องใช้เวลานานนับเดือน แต่การจัดหาเต็นท์ทพี่ กั สามารถท�ำได้เลย จ�ำนงค์ เล่าถึงการวางแผนตัง้ ศูนย์พกั ว่า “ด้วยวิธคี ดิ ทีจ่ ะต้องรวมคนให้ได้ และเริม่ เชือ่ มัน่ ขึน้ มาเพราะ ไมตรีหาคนได้ ให้ชาวบ้านช่วยกันท�ำเองได้ พอได้พนื้ ทีว่ า่ จะสร้างส้วม ทีไ่ หน เราก็เริม่ มองรอบๆ และเห็นว่ายังมีพนื้ ทีอ่ กี มาก จึงมีไอเดียว่า น่าจะใช้พนื้ ทีใ่ ห้คมุ้ ก็วาดผังว่าจะใช้อาคารจอดรถในอุตสาหกรรมเหมือง แร่ทำ� ศูนย์พกั ชัว่ คราวทีบ่ า้ นบางม่วง”26 พิชยาเล่าต่อถึงการประสานงานหาเต็นท์ “ชาวบ้านบอกว่าสีว่ นั แล้วชาวบ้านยังไม่มที นี่ อน พีด่ ว้ ง (ปรีดา คงแป้น) ให้เราหาซือ้ เต็นท์ให้ ได้ 300 หลัง เมือ่ เราพูดคุยกันคิดว่า การทีค่ นอยูเ่ ป็นครอบครัวจะดีกว่า จึงต้องหาเต็นท์เป็นหลังๆ ให้อยูก่ นั เป็นครอบครัว จึงพยายามประสาน งานไปที่ พอช. หาซือ้ เต็นท์ทหี่ าดใหญ่ รุง่ เช้ากลับมาทีบ่ างม่วง วัสดุ ก่อสร้างและเต็นท์มารออยูแ่ ล้วพร้อมก่อสร้าง” 27 ส�ำหรับอุปกรณ์ทำ� ห้องน�ำ้ ห้องส้วม ก็ไปเคาะประตูรา้ นวัสดุกอ่ สร้างให้ขายอุปกรณ์ โดยมี ผูใ้ หญ่กมล ลิม่ สกุล ซึง่ เป็นคนในพืน้ ทีช่ ว่ ยประสานงานให้อกี ทางหนึง่ ด้วย ประกาศข่าวหรือประชาสัมพันธ์ให้คนมาอยูร่ วมกัน มีทพี่ กั อาหาร และของใช้จำ� เป็น เมือ่ ศูนย์พกั พิงเริม่ เป็นรูปเป็นร่าง และมีขา้ ว ของทีจ่ ำ� เป็นในการช่วยเหลือผูป้ ระสบภัย ก็ให้คนในชุมชนชักชวนมาอยู่ รวมกัน เพือ่ จะได้ชว่ ยเหลือกันและกัน
Tsunami : waves of reform
“พอวันที่ 31 ธันวาคม 2547 เริม่ หาคนมาก่อสร้าง และมีการ วาดผังก่อนลงมือท�ำ ตอนนีเ้ ริม่ คิดว่าจะหาคนมาอยูอ่ ย่างไร ตอนนัน้ คน อยูก่ นั ทีห่ น้าอ�ำเภอบางม่วง เราก็ขออนุญาตใช้รถทหารเพือ่ ขนคนมา เขาบอกว่าต้องขออนุญาตนายที่ กทม. ก่อนว่าจะขนคนมาได้ไหม ก็นกึ โมโหจึงเรีย่ ไรเงิน จ้างรถทีม่ าส่งของบริจาคให้ชว่ ยขนส่งคนจากทีอ่ ำ� เภอ มาทีศ่ นู ย์พกั ชัว่ คราว” 28 ขณะทีห่ อ้ งน�ำ้ และเต็นท์กำ� ลังเริม่ ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่าง อีกทีม หนึง่ น�ำโดย พิชยา แก้วขาว ก็ได้ชกั ชวนกลุม่ ผูห้ ญิงให้มาช่วยกันนัง่ ลง ทะเบียน ให้คนชรา เด็กอ่อน ให้เข้าอยูเ่ ป็นอันดับต้นๆ “คนทีม่ ากลุม่ แรก คือ ชาวเล และเราให้อยูท่ โี่ รงรถก่อน เริม่ ประสานเพือ่ หาเต็นท์เพิม่ ออกแบบการวางเต็นท์เป็นแถว แถวละสิบหลัง เป็นกลุม่ ๆ เพือ่ ทีจ่ ะได้ดแู ลง่าย และรุง่ เช้าเมือ่ เต็นท์มา ชาวเลก็ยงั อยูท่ ี่ โรงรถ เพราะเขามากลุม่ ใหญ่และอยากอยูด่ ว้ ยกัน” 29
109
110
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
เริม ่ การจัดระบบศูนย์พก ั พิงชัว ่ คราว การอยู่รวมกันจ�ำนวนมากในศูนย์พักพิงชั่วคราวต้องมีการ จัดระบบ มีระเบียบและกติกาในการอยูร่ ว่ มกัน ทัง้ การจัดระบบการอยู่ ร่วมกันทางกายภาพ อาทิ การวางผังเต็นท์ทพี่ กั สถานทีส่ ว่ นกลางของ ชุมชน อย่างโรงครัว ห้องน�ำ้ ห้องส้วม การจัดระบบดูแลความเป็นอยู่ ความปลอดภัย ซึง่ ศูนย์พกั พิงบางม่วงเน้นระบบทีใ่ ห้ชมุ ชนร่วมกันจัดการ คนในชุมชนเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือกันเอง การปรึกษาหารือประชุม ร่วมกัน ท�ำงานร่วมกัน และมีความโปร่งใส การวางแผนผังเต็นท์ จุดทีจ่ ะเป็นศูนย์ประสานงาน ทีต่ งั้ โรงครัว ห้องน�ำ้ ห้องส้วม ควรมีการวางแผนผังตัง้ แต่ตน้ และประเมินว่าจะมีผคู้ น ทีก่ ระจัดกระจายทีต่ อ้ งการทีพ่ กั จ�ำนวนเท่าไหร่ เพือ่ ให้สามารถจัดการ ดูแลได้งา่ ย การลงทะเบียนคนและการท�ำข้อมูล การลงทะเบียนคนส�ำหรับ เข้าพักในเต็นท์ ให้มองในมิตขิ องครอบครัว ในภาวะวิกฤติแิ ล้วส่วนใหญ่ ผูป้ ระสบภัยต้องการอยูเ่ ป็นครอบครัว หรืออยูใ่ กล้ชดิ กับญาติเพือ่ จะได้ สอบถามปรับทุกข์กนั มีศนู ย์ประสานงานกลางหรือส�ำนักงานของศูนย์ จุดทีจ่ ำ� เป็น ทีส่ ดุ ส�ำหรับศูนย์พกั พิงก็คอื ศูนย์ประสานงาน เพือ่ ให้เกิดความสะดวก ส�ำหรับทีมท�ำงานทุกทีม ทุกฝ่าย ประสานงานทัง้ ภายในและภายนอก
Tsunami : waves of reform
แบ่งหน้าทีก่ นั ทัง้ ผูท้ มี่ าช่วยเหลือหรือนักพัฒนาซึง่ ท�ำหน้าทีเ่ ป็นทีป่ รึกษา หรือพี่เลี้ยง และชาวบ้านที่อาสาสมัครมาช่วย เพื่อรับเรื่องร้องทุกข์ รับฟังปัญหา เป็นศูนย์กลางการช่วยเหลือ ประชาสัมพันธ์แจ้งข่าว เป็นต้น ประสานงานกับหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ทัง้ ภาครัฐและภาค เอกชนในการเข้ามาช่วยเหลือ เช่น จัดสร้างโรงเรือนอาคารทีจ่ ำ� เป็น เพือ่ พยาบาล อาหารเสบียง ศูนย์เด็ก หรือส้วม น�ำ้ ดืม่ น�ำ้ ใช้ การดูแล ความปลอดภัย จัดท�ำแผนระยะต่างๆ เสนอต่อฝ่ายเกีย่ วข้อง กรณีทพี่ กั ชัว่ คราวบางม่วง (อุตสาหกรรมเหมืองแร่) มีเต็นท์ ทีพ่ กั จ�ำนวนกว่า 800 หลัง จึงเป็นทีด่ งึ ดูดให้ผสู้ นับสนุนทัง้ หลายหลัง่ ไหล เข้ามาอย่างไม่ขาดสาย มีกลุม่ องค์กรต่างๆ มากว่า 50 แห่งทีม่ าร่วม สนับสนุน ดังนัน้ เพือ่ ให้การจัดระบบการช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยบรรลุ เป้าหมาย จึงต้องมีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันอย่างต่อเนือ่ งเป็นหลัก
ระบบชุมชนจัดการตัวเอง
การจัดระบบให้ความช่วยเหลือโดยเน้นให้ความส�ำคัญกับศักดิศ์ รี ความเป็นมนุษย์และสนับสนุนให้คนดูแลกันเอง มีทมี หลักในการบริหาร จัดการศูนย์ เช่น จัดระบบเต็นท์เป็น 50 แถว แถวละ 10 เต็นท์ 5 แถว เท่ากับ 1 โซน แต่ละแถวมีหวั หน้าแถว แต่ละโซนมีหวั หน้าโซน รวม 10 โซน, หัวหน้าแถว หัวหน้าโซนมีหน้าทีด่ แู ลความเป็นอยู่ ความ เรียบร้อย และความปลอดภัยของสมาชิก รวมทัง้ บอก-เตือนสมาชิกให้ ท�ำตามกติกา มีการติดป้ายหน้าเต็นท์เหมือนบ้านเลขที่ว่า ชื่ออะไร
111
112
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
มาจากไหน โซนอะไร แถวไหน หลังทีเ่ ท่าไร, ท�ำป้ายแขวนให้เจ้าของ เต็นท์ ว่าเป็นคนโซนไหน แถวอะไร หลังเท่าไร เหมือนบัตรประชาชน ส�ำหรับแสดงตัว เป็นต้น มีการก�ำหนดกติการ่วมกัน เช่น กติกาการจัด คนเข้าเต็นท์เพราะมีผปู้ ระสบภัยจ�ำนวนมาก ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามท�ำกับข้าว ในเต็นท์ เพราะเกรงไฟไหม้ และต้องช่วยกันเก็บขยะ รอบโซน เป็นต้น ระบบอาสาสมัครจากผูป้ ระสบภัย เมือ่ แบ่งแถว แบ่งโซนแล้ว จึงจัดระบบอาสาสมัครของแต่ละแถว แต่ละโซนในการช่วยกันดูแลศูนย์ พัก โดยขอให้มอี าสาสมัครในการช่วยเหลืองานส่วนกลาง เช่น งานใน โรงครัว งานท�ำความสะอาดศูนย์พกั งานรักษาความปลอดภัย เป็นต้น การท�ำงานอาสาสมัครในศูนย์พกั ท�ำให้หลายคนรูส้ กึ ว่าตัวเองได้ทำ� อะไร เพือ่ คนอืน่ ทีเ่ ดือดร้อน ไม่จมอยูก่ บั ความทุกข์เศร้าเสียใจทีส่ ญ ู เสียคนใน ครอบครัว เป็นจุดเริม่ ต้นของการเป็นอาสาสมัครเพือ่ ช่วยเหลือผูอ้ นื่ รวบรวมข้อมูลของสมาชิก ส่วนนีจ้ ะแบ่งงานให้เป็นหน้าทีข่ อง คนในชุมชนช่วยกันส�ำรวจข้อมูล เช่น ชือ่ -สกุล สมาชิกครอบครัว ผูพ้ กิ าร ผูป้ ว่ ย คนท้อง เด็ก คนแก่ คนตาย ทีอ่ ยูอ่ าศัยดัง้ เดิม ความต้องการ เร่งด่วน ความต้องการระยะยาว เป็นต้น โดยแบ่งงานให้ตวั แทนกลุม่ ท�ำ หน้าทีใ่ นการส�ำรวจและมาสรุปร่วมกัน ซึง่ นอกจากจะท�ำให้ได้ขอ้ มูลของ สมาชิกแล้ว ยังเป็นกระบวนการที่ท�ำให้ตัวแทนกลุ่มรู้จักสมาชิกของ ตนเองมากขึน้ ส่งผลให้เกิดความเอือ้ อาทรต่อกันมากยิง่ ขึน้ นอกจากนี้ ควรมีอาสาสมัครทีส่ ามารถช่วยเก็บภาพถ่าย หรือวีดโี อ เพือ่ บันทึกเรือ่ ง ราวและบรรยากาศต่างๆ ไว้ ส�ำหรับเป็นข้อมูลสนับสนุนในการท�ำงาน ร่วมกับสือ่ มวลชนต่อไป
Tsunami : waves of reform
ค้นหาผู้น�ำ -แกนน�ำ ผู้ที่เอาธุระเรื่องส่วนรวม และการสร้างทีม การมองหาแกนน�ำและผู้น�ำ ดูจากคนที่เป็นที่ยอมรับของ ชาวบ้าน ไม่ใช่ผนู้ ำ� โดยต�ำแหน่ง แต่เป็นคนร่วมทุกข์รว่ มสุข คอยช่วยเหลือ และเสียสละเพือ่ คนอืน่ ได้ แม้วา่ ตนเองจะเป็นผูป้ ระสบภัยเช่นกัน แต่กม็ ี ใจอยากช่วยผูท้ เ่ี ดือดร้อนคนอืน่ ๆ ด้วย นอกจากนี้ ต้องรูว้ า่ เขามีความสามารถอะไร หรือท�ำอะไรได้บา้ ง เช่น ดูแลสถานที่ ดูแลความปลอดภัย ช่วยในการสือ่ สาร ประสานงาน เป็นต้น เพือ่ เป็นการสร้างทีมแกนน�ำในชุมชนให้สามารถท�ำงานช่วยเหลือ ผูป้ ระสบภัยด้วยกันได้ และคนเหล่านีน้ อกจากได้รบั การยอมรับแล้ว ยัง มีขอ้ มูลของคนในชุมชน เข้าใจสายสัมพันธ์ของคนในชุมชนเป็นอย่างดี -- การแบ่งบทบาทหน้าทีข่ องแกนน�ำแต่ละคน แต่ละฝ่ายเพือ่ ให้เกิดความ ชัดเจน และชาวบ้านจะได้ขอความช่วยเหลือได้สะดวก การท�ำป้ายแขวน คอบอกหน้าทีข่ องแต่ละคน ท�ำให้ระบบการจัดการยิง่ สะดวกขึน้ ในประเด็นนี้ จากเอกสาร “ร�ำลึก 10 ปี สึนามิ” ได้เสนอว่า นักพัฒนาต้องสังเกตและศึกษาคนทีจ่ ะมาเป็นแกนน�ำ เพือ่ ท�ำงานทาง ความคิด ฝึกให้แกนน�ำรูจ้ กั วิเคราะห์และแสดงความคิดเห็น โดยใช้การ ประชุมทีมระหว่างแกนน�ำกับนักพัฒนาเป็นหลัก เพือ่ เรียนรูก้ ารท�ำงาน ร่วมกันทัง้ กับแกนน�ำอืน่ ๆ ในชุมชนด้วยกันเอง และกับนักพัฒนาทีท่ ำ� หน้าทีเ่ ป็นทีป่ รึกษา
113
114
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
บุคลิกของแกนน�ำ เช่น · · · · ·
ความคิด ท่าทีการให้ มีสว่ นร่วม มีคณ ุ ธรรม เป็นธรรม การประสานงานกับคนอืน่ ระดมความร่วมมือได้ ขยัน ทัง้ การคิด และการท�ำ มีแนวคิดท�ำงานเป็นทีม
การประชุมปรึกษาหารือ – กติกาการอยูร ่ ว ่ มกัน การทีค่ นมาอยูร่ วมกันเป็นจ�ำนวนมาก การจัดระบบชุมชนยิง่ ต้องการการมีสว่ นร่วมสูง การจะสร้างการยอมรับจึงมาจากการประชุม กันในทุกระดับ และการทีค่ นอยูใ่ นความทุกข์ โศกเศร้า เสียใจ แต่ละคน มีความคิดทีแ่ ตกต่างหลากหลาย มีความต้องการและปัญหาทีแ่ ตกต่าง กันไป การปรึกษาหารือกัน ช่วยกันคิด ช่วยกันก�ำหนดกติกาการอยู่ ร่วมกันจึงจ�ำเป็นมาก -- การประชุมร่วมกันทุกคืน เพือ่ สรุปบทเรียนของ การท�ำงานในแต่ละวัน มีการตัง้ กติการ่วมกัน เช่น ห้ามส่งเสียงดัง ห้าม เสพสิง่ มึนเมา เป็นต้น ทุกเรือ่ งมีการเสนอเข้าทีป่ ระชุมเพือ่ พิจารณา หา ทางออก และเสนอทางเลือก ตัดสินใจร่วมกันจนได้ข้อสรุปและให้ที่ ประชุมรับรอง ท�ำให้เห็นถึงการจัดการโดยชาวบ้าน ทีป่ รึกษาเป็นเหมือน พีเ่ ลีย้ งทีใ่ ห้คำ� ปรึกษา การจัดการโดยคนใน ชาวบ้านท�ำข้อตกลงกันเอง ประชุมปรึกษาหารือ หาข้อสรุป และช่วยกันท�ำงานเอง
Tsunami : waves of reform
จัดประชุมตัวแทนกลุม่ หรือ คณะประสานงาน เพือ่ สร้าง แกนน�ำใหม่ ท่ามกลางวิกฤติ ในช่วงแรกควรมีการประชุมหารือร่วมกัน ทุกคืน รวมทัง้ จัดประชุมชีแ้ จงแก่ผเู้ ดือดร้อน กระตุน้ ให้มาแก้ปญ ั หา ร่วมกัน ไม่รอให้คนอืน่ ช่วยเพราะผูเ้ ดือดร้อนมีจำ� นวนมาก แต่คนช่วยมี น้อย ผูป้ ระสบภัยต้องเริม่ เองก่อน แล้วบอกความต้องการทีช่ ดั เจนต่อผู้ ทีจ่ ะมาช่วยเหลือ และใช้ทปี่ ระชุมใหญ่ตงั้ กติกาการอยูร่ ว่ มกันในทีพ่ กั ชัว่ คราว การแก้ปญ ั หาเฉพาะหน้าร่วมกัน แต่ละคนจะน�ำเอาเรือ่ งทีเ่ ดือด ร้อนมาหารือกัน มีการวางกติกาการอยู่ร่วมกัน เช่น ไม่ดื่มเหล้า การดูแลความปลอดภัย การรับของบริจาค การจัดการขยะ การดูแล เด็ก ฯลฯ
ประชุมปรึกษาหารืออย่างเข้มข้น น�ำผลไปปฏิบัติ และ ประเมินผลร่วมกัน เป็นการเรียนรูท้ า่ มกลางการท�ำ ท�ำให้แกนน�ำ เริม่ เข้าใจการร่วมคิดร่วมท�ำในการจัดการศูนย์พกั ชัว่ คราวอย่างค่อยเป็น ค่อยไป เป็นกระบวนการทีเ่ ปิดให้ชาวบ้านได้พดู คุยและถกกันถึงปัญหา ต่างๆ ทีเ่ ผชิญอยู่ ให้ชาวบ้านได้แสดงความคิดเห็น ช่วยกันคิดหาวิธกี าร แก้ปญ ั หาและฟืน้ ฟูเยียวยาด้วยตนเองอย่างเหมาะสม ในกรณีของศูนย์ พักพิงบางม่วง ระยะแรกมีการประชุมร่วมกันช่วง 18.00น.-19.00 น. ของทุกวันเพือ่ สรุปงานและวางแผนการท�ำงานต่อไป โดยให้ชาวบ้าน ทัง้ หมดช่วยกันแสดงความคิดเห็นและตัดสินใจกันในทีป่ ระชุมแก้ปญ ั หา เฉพาะหน้าไป
115
116
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ต่อมาการประชุมของชุมชนที่จัดขึ้นในทุกๆ เย็นของทุกวัน เริ่มมีปัญหามากขึ้น มีการถกเถียงจนไม่สามารถหาข้อยุติได้ จึงใช้ “สภากาแฟ” เป็นทีห่ ารือนอกรอบในทุกเช้าเพือ่ วางกรอบ แนวทาง กติกาในการท�ำงาน เพือ่ น�ำสูก่ ารประชุมวงแรกคือ การประชุมแกนน�ำ ชุมชน 15 คน (หัวหน้าโซน และหัวหน้ากลุม่ ปัญหา หรือหัวหน้า กลุ่มอาชีพ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในช่วง 16.00 น. กระทั่ง 18.00 น. จึงน�ำเข้าสูก่ รรมการกลาง 60 คน ทีม่ าจากตัวแทนโซน ประมาณ 19.30 น. จึงเป็นการประชุมสมาชิกในชุมชนทัง้ หมดซึง่ มีกว่า 1,000 คน มาอธิบาย อภิปราย ฟัง แล้วลงมติรบั รอง หรือเสนอ ปรับปรุงเปลีย่ นแปลง ให้ได้ขอ้ ยุตริ ว่ มกัน กระบวนการท�ำงานดังกล่าว ท�ำกันทุกวันจนชาวบ้านเข้าบ้านพักชั่วคราวหมด รวมเวลาทั้งสิ้น ประมาณ 6 เดือน จึงปรับแนวทางการประชุมใหม่เป็นประชุมกรรมการ และตัวแทนจากองค์กรต่างๆ ในตอนเช้าประมาณ 9.00 น. และประชุม ใหญ่ชาวบ้านทัง้ หมดสัปดาห์ละ 1 ครัง้ จนครบ 1 ปี ส่งผลให้ชาวบ้านมี ความเชือ่ มัน่ ว่าจะสามารถรับผิดชอบจัดการฟืน้ ฟูเยียวยาได้ดว้ ยตนเอง และตระหนักว่าชาวบ้านเอง คือ ผูท้ จี่ ะน�ำความเปลีย่ นแปลงมาสูช่ มุ ชนได้
Tsunami : waves of reform
ความโปร่งใสในการบริหารจัดการศูนย์พก ั พิง เนือ่ งจากมีการบริจาคสิง่ ของต่างๆ บริจาคเงิน ให้กบั ผูป้ ระสบ ภัยมากมาย จนท�ำให้เกิดปัญหาข้าวของล้นเต็นท์จนไม่มที นี่ อน และมีการ บ่นกันเรือ่ งเงินบริจาค ทีม่ กั จะได้แต่เต็นท์ทอี่ ยูร่ อบนอก คนทีอ่ ยูข่ า้ งใน ไม่ได้รบั ของบริจาค จึงมีระบบการจัดการของบริจาค โดยมีโกดังเก็บของ ให้ฝากของได้ และมีระบบการจัดการส�ำหรับผูท้ มี่ าบริจาค ให้บริจาคเข้า ส่วนกลาง และผูป้ ระสบภัยในศูนย์พกั ทีต่ อ้ งการใช้ของ ก็ให้มาเบิกของ บริจาคจากโกดังกลาง - รวมทัง้ การจัดการเรือ่ งเงินบริจาค ทีม่ กี ารรับ บริจาค ขึน้ กระดานกลางแจ้งยอดทุกวัน การจัดระบบรับบริจาคเข้ากองกลาง เพือ่ แก้วกิ ฤติความวุน่ วาย สลายความขัดแย้ง และเป็นแบบฝึกหัดของการสร้างความเอือ้ อาทร ต่อกัน ซึง่ กรณีประเทศไทยส่งผลให้เกิดกองทุนหมุนเวียนยัง่ ยืนจนถึง ปัจจุบนั หลังจากทีม่ กี ารตัง้ เต็นท์ชวั่ คราวนับพันหลัง การหลัง่ ไหลของผู้ บริจาคมีเข้ามาอย่างมากมาย ผูบ้ ริจาคส่วนใหญ่ ต้องการแจกของให้ถงึ มือผูป้ ระสบภัย มีการเข้าแถวรับของกันวันละนับสิบครัง้ บางรายน�ำของ มาน้อยท�ำให้ผู้ประสบภัยบางคนได้รับของ ในขณะที่บางคนไม่ได้รับ เกิดความขัดแย้งกันขึน้ ประกอบกับทีพ่ กั ทีเ่ ป็นเต๊นท์เล็กมากจนไม่มที ี่ เก็บของ
117
118
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
จากสภาพการณ์เช่นนีท้ ำ� ให้ชมุ ชนนีต้ งั้ คณะท�ำงานขึน้ เพือ่ ดูแล เรือ่ งนี้ มีการประชุมหารือเรือ่ งการรับบริจาคของและเงินเข้ากองกลาง อธิบายให้ผบู้ ริจาคเข้าใจ ติดป้ายประชาสัมพันธ์แจกเอกสารทัง้ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เปิดบัญชีธนาคารร่วมกัน จัดเก็บของบริจาคเข้าโกดัง และท�ำระบบการเบิกจ่ายของใช้ทจี่ ำ� เป็นอย่างเป็นธรรม ศักดิด์ า พรรณรังสี ผูด้ แู ลระบบโกดังเก็บของบริจาค เล่าให้ ฟังว่า “ในกรณีของศูนย์พักพิงบางม่วง ซึ่งเป็นจุดที่มีผู้หลั่งไหลมา บริจาคเป็นจ�ำนวนมาก จากเดิมทีท่ าง อบต. ตัง้ ศูนย์บริจาคขึน้ มาเพือ่ รับ ของบริจาคเอง มีการจัดบัตรคิวต่างๆ ท�ำให้ผบู้ ริจาคและชาวบ้าน ต้องเข้า แถว การเข้าแถวทั้งวันเพื่อบริจาค และชาวบ้านก็ต้องยืนรอรับของ เกิดความไม่สะดวกกันทัง้ สองฝ่าย จึงช่วยกันคิดระบบว่า ควรจะรับ บริจาครวมกันไว้ทเี่ ดียว แล้วเก็บของเข้าโกดัง โดยระบบการรับของก็ไม่ ต้องใช้บตั ร แต่ใช้ให้ชาวบ้านคุมโกดัง เพราะได้บทเรียนจาก อบต. จึงปรับ มาเป็นการใช้ใบเบิก ให้หวั หน้าแถวเซ็น และหยิบของให้ เรือ่ งนีเ้ ป็นเรือ่ ง ใหม่ เราก็ทำ� ได้ไม่ดนี กั แต่ยงั ดีกว่าไม่มกี ารจัดระบบอะไรเลย” 30 ประเด็นส�ำคัญในเรือ่ งการรับและจัดของบริจาค คือ ของทีไ่ ด้รบั บริจาคจะต้องเข้ากองกลาง และต้องแจกจ่ายให้ถงึ มือของคนชายขอบ คนไม่มบี ตั รประชาชน และไม่มที ะเบียนบ้านด้วย เช่น ชาวเล คนไทย พลัดถิน่
Tsunami : waves of reform
ผูท้ ที่ ำ� หน้าทีจ่ ดั การเรือ่ งของบริจาคจะต้องวางระบบการจัดการ ข้าวของต่างๆ ในขณะนัน้ ได้มกี ารจัดเป็นโกดังเก็บของ ผูท้ ดี่ แู ลโกดังจะท�ำ หน้าทีจ่ ดั ของ เก็บของ บันทึกของทีน่ ำ� เข้ามา และของทีใ่ ห้ผปู้ ระสบภัยมา เบิกไปใช้ โดยมีการเซ็นชือ่ รับรองในการเบิกของ-รับของ และมีการ ก�ำหนดกติกาต่างๆ เช่น การเบิกของใช้ไม่สามารถเบิกซ�ำ้ ได้อกี อย่างเช่น กระทะ ทีน่ อน เนือ่ งจากในขณะนัน้ มีบางคนมาเบิกซ�ำ้ ส่วนอาหาร เช่น ไข่ บะหมีส่ ำ� เร็จรูป สามารถเบิกได้ทกุ วัน เป็นต้น ทีส่ ำ� คัญ การจัดการของบริจาคควรให้ผปู้ ระสบภัยได้จดั การวาง ระบบกันเอง และแบ่งงานกันท�ำในเรือ่ งของการจัดของ การเบิกจ่ายของ นอกจากจะท�ำให้ผปู้ ระสบภัยได้มงี านท�ำ ช่วยเหลือกันเองแล้ว ผูป้ ระสบ ภัยยังรูจ้ กั คนในชุมชนของตัวเองเป็นอย่างดี สามารถจัดการข้าวของ บริจาคให้กับผู้ประสบภัยกลุ่มต่างๆ ได้อย่างทั่วถึงมากกว่าการให้ หน่วยงานใดหน่วยงานหนึง่ เข้าไปจัดการและวางระบบ โดยเฉพาะการใช้ ระบบตรวจสอบชือ่ ตามทะเบียนบ้านและการขอดูบตั รประชาชนก่อนจะ ให้ผปู้ ระสบภัยเบิกของ การจัดการของบริจาคนัน้ ควรจัดระบบให้เกิดความเป็นธรรมต่อ ผูบ้ ริจาค เพือ่ ให้ของถึงมือผูร้ บั ตามวัตถุประสงค์ของผูบ้ ริจาค และควร แบ่งปันให้กบั ผูร้ บั บริจาคอย่างทัว่ ถึงกัน ไม่ใช่เฉพาะผูบ้ ริจาคทีอ่ ยูใ่ นเต็นท์ รอบนอก ซึง่ เข้าถึงผูบ้ ริจาคได้งา่ ย ระบบการจัดการของบริจาคจึงควรมีการวางระบบการแจกจ่าย ของให้ผปู้ ระสบภัยทุกคนรูส้ กึ ได้ของทัว่ ถึงกัน
119
120
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
การจัดการเงินบริจาคกับกองทุนผูป้ ระสบภัย ในขณะนัน้ มีการรวมเงินบริจาคได้ประมาณ 1,400,000 บาท ซึง่ มีการน�ำไปแบ่งกันครอบครัวละ 900 บาท ท�ำให้เกิดความขัดแย้ง เพราะมีบางครอบครัวไม่ได้ ท�ำให้เห็นว่า ในภาวะวิกฤติเิ ช่นนี้ เมือ่ มีเงิน บริจาคทุกคนย่อมอยากได้ ดังนัน้ หากเราสามารถคิดระบบไว้กอ่ นก็จะ ช่วยได้มาก เพราะการแบ่งเงินก็ตอ้ งแบ่งให้ครบทุกครอบครัว ถ้าไม่ครบ ก็ตอ้ งเข้ากองกลางทีม่ กี รรมการร่วมกันดูแล ตัดสินใจ กลุม่ แกนน�ำจึงสรุปในส่วนนีว้ า่ ถ้ายังไม่มรี ะบบอย่าเพิง่ รับเงิน บริจาคเข้ามา ให้มเี ป้าหมายชัดเจนว่าจะให้เพือ่ อะไร เช่น เงินยังชีพให้ เหมาะกับครอบครัว ตามจ�ำนวนสมาชิก เงินกองทุนฟืน้ ฟูอาชีพ ซ่อมแซม บ้าน ตัง้ กรอบคร่าวๆ ไว้วา่ จะท�ำอย่างไรกับเงินนัน้ ก�ำหนดกรรมการ ก�ำหนดว่าต้องเป็นสมาชิกชุมชน มีการท�ำข้อมูล เป็นต้น
การร่วมคิดร่วมท�ำในการจัดการศูนย์พก ั ชัว่ คราวอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นกระบวนการ ที่เปิดให้ชาวบ้านได้พูดคุยและถกกันถึงปัญหา ต่างๆ ที่เผชิญอยู่ ให้ชาวบ้านได้แสดงความ คิดเห็น ช่วยกันคิดหาวิธก ี ารแก้ปญ ั หาและฟืน ้ ฟู เยียวยาด้วยตนเองอย่างเหมาะสม
Tsunami : waves of reform
การจัดการการสือ ่ สารภายในศูนย์ การสือ่ สารภายในศูนย์เป็นเรือ่ งส�ำคัญมาก เนือ่ งจากคนอยูร่ วม กันจ�ำนวนมาก ต้องการความเข้าใจร่วมกันในหลายๆ เรือ่ ง รวมทัง้ หลาย คนสภาพจิตใจบอบช�ำ้ ระบบการสือ่ สารภายใน เช่น หอกระจายข่าว หรือ วิทยุชมุ ชน จึงช่วยในเรือ่ งของข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทัง้ การแจ้งข่าวสาร ภายใน การแจ้งยอดบัญชี การประกาศขอความร่วมมือ การรับฟังข่าวสาร จากภายนอก การอัพเดทสถานการณ์ตา่ งๆ รวมไปถึงการเยียวยาจิตใจ ด้วยการฟังธรรม ฟังการบรรยายทีช่ ว่ ยในการให้กำ� ลังใจกันและกัน ปัญญา อนันตะกูล แกนน�ำอีกคนหนึง่ ทีด่ แู ลเรือ่ งการสือ่ สาร ภายใน เล่าว่า “พวกเรามีแนวคิดว่าจะต้องมีการจัดตัง้ วิทยุชมุ ชนขึน้ มา เพราะ ว่าจ�ำนวนคนในศูนย์บางม่วงมีจำ� นวนมาก ตอนนัน้ น่าจะพันกว่าคน คน อยูก่ นั เยอะๆ ก็ตอ้ งมีถกเถียงกัน ไม่แน่ใจอันไหนเรือ่ งจริง อันไหนข่าวลือ เราก็มาคิดกันว่า เราอยากให้คนรูเ้ รือ่ งอะไร มีอะไรทีเ่ ขาจ�ำเป็นต้องรู้ เช่น เรือ่ งของบริจาค เรือ่ งเงิน ไม่อยากให้ตอ้ งมาว่ากล่าวกัน แจ้งข่าวให้รทู้ นั ที กันไปเลย เราก็จดั หาวิทยุมาแจกทุกเต็นท์การกระจายข่าวสารผ่านวิทยุ ชุมชน ชาวบ้านก็เข้าใจว่ามีอะไรเกิดขึน้ บ้าง คุยกันทุกเรือ่ ง ทัง้ ข่าวสาร บ้านเมือง เชิญคนมาเล่าเรือ่ งให้ชาวบ้านฟังทุกวัน ท�ำให้ทกุ คนได้รบั ข้อมูล เท่ากัน นอกนัน้ เราก็มที งั้ การแปะป้าย กระดานข่าว และมีหวั หน้ากลุม่ หัวหน้าโซน ทีไ่ ปบอกเล่าให้ฟงั อีกที” 31
121
122
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
การเยียวยาจิตใจ จัดกิจกรรม หลายคนสูญเสียทัง้ ครอบครัว สภาพจิตใจย�ำ่ แย่ หลายคนอยาก ท�ำงาน ท�ำกิจกรรมไม่ให้ตวั เองว่าง คิดมาก มีการตัง้ สภากาแฟ เพือ่ เป็น พืน้ ทีก่ ลางให้คนได้พดู คุยกัน ตรงกับความต้องการของมนุษย์ทตี่ อ้ งอยูก่ นั เป็นสังคม มีปฏิสมั พันธ์กนั จนเกิดการคิดทีจ่ ะท�ำอะไรร่วมกัน เกิดกลุม่ กิจกรรมต่างๆ เช่น การสานแหอวน ท�ำผ้ามัดย้อมจากผ้าขาวทีม่ ผี บู้ ริจาค เพือ่ ห่อศพซึง่ มีอยูจ่ ำ� นวนมาก และท�ำกลุม่ อาชีพต่างๆ พัฒนาไปเป็นกลุม่ ท�ำเรือ ต่อเรือ เป็นต้น สร้างกิจกรรมหลากหลายตามความจ�ำเป็นและเสริมให้เกิดกลุม่ และ/หรือองค์กร เป็นการฟืน้ ฟูดว้ ยการกระตุน้ ให้ผปู้ ระสบภัยช่วยเหลือ ตนเองและผูอ้ นื่ ในกรณีของบ้านน�ำ้ เค็ม มีการตัง้ “สภากาแฟ” เพือ่ ให้ ชาวบ้านออกจากทีพ่ กั ชัว่ คราวมาพูดคุย ปรับทุกข์ ให้คลายสภาพจิตใจที่ ตึงเครียดอยูใ่ นขณะนัน้ โดยเริม่ ระดมหุน้ จากทีมงานหุน้ ละ 100 บาท จ�ำนวน 32 หุน้ ได้ทนุ มา 3,200 บาท น�ำไปซือ้ อุปกรณ์ หาไม้ทเี่ หลือ จากการสร้างบ้านชัว่ คราวมาสร้างเพิงและทีน่ งั่ รุง่ ขึน้ จึงเปิดร้านขายกาแฟ แก้วละ 7 บาท วันแรกได้เงิน 700 บาท หมายความว่ามีคนมานัง่ คุยกัน 100 คน ต่อมามีการคุยเรือ่ งอาชีพ เลยไปถึงเรือ่ งกลุม่ ออมทรัพย์เพือ่ ใช้เป็นทุนในการประกอบอาชีพต่างๆ ตามมาเช่น กลุม่ เลีย้ งปลาในกระชัง กลุม่ ซ่อมสร้างเรือ กลุม่ มาดอวน เป็นต้น รวมประมาณ 23 กลุม่ โดย ก�ำหนดให้กลุม่ อาชีพต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ ต้องมีการออมทรัพย์ในกลุม่ ทุกกลุม่
Tsunami : waves of reform
เพือ่ ใช้เป็นทุนในการด�ำเนินการ และมีขอ้ ตกลงร่วมกันว่า ใครทีไ่ ด้รบั ความ ช่วยเหลือ ในอนาคตต้องส่งเข้ากองทุนเพือ่ ช่วยเหลือคนอืน่ ๆ ร้อยละ 50 ของทุนทีไ่ ด้รบั ไป กลุม่ กิจกรรมทีห่ ลากหลายในศูนย์พกั พิงจึงเกิดจากการ ร่วมกันพูดคุยของแกนน�ำเพื่อขยายการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน และ พัฒนาไปสูก่ ารเกิดจัดตัง้ กลุม่ อาชีพ กลุม่ ออมทรัพย์ การสนับสนุนให้มี การเรียนรูท้ า่ มกลางการท�ำ ท�ำให้เกิดคณะท�ำงานศูนย์ประสานงานบ้าน น�ำ้ เค็มและเกิดกองทุนของชุมชนจนถึงวันนี้ นอกจากกลุม่ อาชีพแล้ว ก็ยงั มีกจิ กรรมอืน่ ๆ ตามกลุม่ คนและ ตามวัฒนธรรม รวมทัง้ เป็นไปตามศักยภาพ เช่น ศูนย์เด็กและเยาวชน ฟืน้ ฟูวฒ ั นธรรม อาสาสมัครชุมชน การจัดการกองทุน การออมทรัพย์ หรือธนาคารชุมชน หมอยา ก่อสร้าง ต่อเรือ งานฝีมอื ต่างๆ การออกแบบ วางผังพืน้ ทีท่ อี่ ยูอ่ าศัย การรวมคน การสร้างทีพ่ กั ชัว่ คราว การประชุมพูดคุย การแบ่ง งานกันไปท�ำเป็นส่วนหนึง่ ของการฟืน้ ฟูและหล่อหลอมจิตใจผูป้ ระสบภัย นอกจากนี้ยังมีจิตแพทย์ นักจิตวิทยาจากหลายองค์กร รวมทั้งผู้น�ำ ศาสนาเกือบทุกศาสนาทีเ่ ข้ามาร่วม
123
124
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
การจัดระบบกับองค์กรภายนอก และอาสาสมัคร นอกจากการจัดระบบภายในศูนย์พกั แล้ว สิง่ ทีต่ อ้ งท�ำควบคูก่ นั ไปคือการจัดการกับหน่วยงานและองค์กรภายนอกทีเ่ ข้ามา เนือ่ งจากศูนย์ บางม่วงเป็นศูนย์ขนาดใหญ่ทรี่ วมผูป้ ระสบภัยจ�ำนวนมาก หน่วยงานต่างๆ จึงเข้ามาให้การช่วยเหลือตามภารกิจงานของตน ดังนัน้ จึงต้องมีการจัด ระบบการเข้ามาของหน่วยงานต่างๆ ต้องมีหน่วยแพทย์-พยาบาลไว้ดแู ล รักษาผู้ป่วย จิตแพทย์ที่จะช่วยรักษาพูดคุย รวมทั้ง หน่วยงาน ราชการอืน่ ๆ เช่น การส�ำรวจข้อมูลทางทะเบียนราษฎร์ ส�ำรวจคนหาย ควบคูไ่ ปกับหน่วยงานทีค่ น้ หาคนหาย- นักเรียน วปอ.ทีต่ อ้ งการเข้ามา เรียนรูก้ บั ชาวบ้าน - องค์กรช่วยเหลือจากต่างประเทศทีต่ อ้ งการเข้ามา ช่วยเหลือด้านต่างๆ - อีกทัง้ ฝ่ายการเมือง ทีต่ อ้ งการเข้ามาเยีย่ มเยือน - นักข่าวทีต่ อ้ งลงมาท�ำข่าวในพืน้ ที่ - องค์กรพัฒนาเอกชนทีม่ เี ป้าหมาย ในการท�ำงานของตน เช่น ด้านเด็ก ด้านการศึกษา กลุม่ สตรี เป็นต้น จึงมีการประสานงานและมีศนู ย์ของหลายหน่วยงานตัง้ อยูเ่ พือ่ จัดกิจกรรม – นอกจากนี้ ก็ยงั มี กลุม่ อาสาสมัคร ทีต่ อ้ งการช่วยเหลือคนทีป่ ระสบภัย ทัง้ ทีม่ าเป็นกลุม่ และเดินทางเข้ามาเดีย่ วๆ ดังนัน้ จึงมีความจ�ำเป็นอย่าง ยิง่ ทีจ่ ะต้องมีการจัดระบบอาสาสมัคร บทบาทของหน่วยงานภายนอกทีเ่ ข้ามาให้ความช่วยเหลือเมือ่ เกิดภัยพิบตั ิ ต้องจัดระบบให้มกี ารสือ่ สารทีช่ ดั เจนว่าผูร้ อดชีวติ จากภัย
Tsunami : waves of reform
พิบตั แิ ละ/หรือชุมชนผูป้ ระสบภัยต้องการอะไร และมีพนื้ ทีส่ อื่ สารความ ต้องการเหล่านัน้ ออกไปอย่างชัดเจน ในขณะทีผ่ ใู้ ห้การสนับสนุนและ/ หรือหน่วยงานภายนอก ต้องรับฟังว่าชุมชนต้องการอะไร ต้องไม่ตดั สินใจ แทนชาวบ้าน และไม่เลือกใช้วธิ ชี ว่ ยเหลือชาวบ้านด้วยการแจกจ่ายเครือ่ ง อุปโภคบริโภค หรือหากช่วยเหลือในรูปของโครงการ ก็ไม่ควรก�ำหนด โครงการในลักษณะทีต่ ายตัว ขาดความยืดหยุน่ หรือโครงการในลักษณะ ที่ไม่เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วมในการคิดและการจัดการเพื่อ เปลีย่ นแปลงชีวติ ของตนให้ดขี นึ้ การจัดระบบอาสาสมัคร ในพืน้ ทีป่ ระสบภัยพิบตั ิ อาสาสมัคร จะมีอยู่ 3 รูปแบบคือ อาสาสมัครทีเ่ ป็นคนในชุมชนเองหรือเป็นผูป้ ระสบ ภัย อาสาสมัครทัว่ ไปทีม่ าจากภายนอกต้องการเข้าไปช่วยเหลือ เช่น นักศึกษา พนักงานบริษทั ทัว่ ไป และอาสาสมัครทีม่ ที กั ษะช�ำนาญการ เช่น แพทย์ วิศวกร การจัดระบบอาสาสมัคร ทางศูนย์ประสานงานควรมีการลง ทะเบียนอาสาสมัคร มีการสัมภาษณ์สอบถามทักษะของอาสาสมัคร และ มีการปฐมนิเทศอาสาสมัครในแต่ละรุน่ เพือ่ ให้ขอ้ มูลเบือ้ งต้นเกีย่ วกับพืน้ ที่ หรือข้อมูลศูนย์พกั ท�ำความเข้าใจถึงบทบาทหน้าทีข่ องการเป็นอาสาสมัคร และมีฝา่ ยประสานงานคอยดูแลแจกจ่ายงานให้กบั อาสาสมัคร เพือ่ ให้งาน มีประสิทธิภาพ ต้องมีขอ้ มูลว่าอาสาสมัครคนไหนอยูก่ บั พืน้ ทีไ่ ด้ระยะเวลา กีว่ นั ระยะสัน้ หรือระยะยาว แต่ละคนเหมาะทีจ่ ะท�ำงานอะไร เป็นต้น การจัดระบบอาสาสมัครจากภายนอก ยังเป็นประเด็นทีห่ ลาย ฝ่ายต้องเรียนรูแ้ ละสรุปบทเรียนต่อไป
125
126
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
การเชือ ่ มโยงเครือข่าย แห่งการช่วยเหลือ ชุมชนผูป้ ระสบภัยทีต่ งั้ หลักได้แล้วอย่างศูนย์พกั พิงบางม่วง ได้ขยายความช่วยเหลือไปให้กับชุมชนอื่นๆ ที่อาจจะเข้าไม่ถึงการ ช่วยเหลือ หรือได้รบั การช่วยเหลืออย่างไม่เป็นระบบ เพราะชาวบ้านที่ ประสบภัยจะเข้าใจปัญหาและแนวทางการท�ำงานกับเพื่อน เกิดการ ช่วยเหลือและให้กำ� ลังใจซึง่ กันและกัน เกิดการแลกเปลีย่ นประสบการณ์ และบทเรียนระหว่างกัน กรณีศนู ย์พกั พิงบางม่วง แกนน�ำชาวบ้านเริม่ ไปช่วยเหลือชุมชน อืน่ ๆ เช่น ทับตะวัน แหลมป้อม บ้านปากเตรียม เกาะทรายด�ำ และ เกาะลันตา เป็นต้น โดยแกนน�ำและทีมงานลงพืน้ ทีส่ ำ� รวจข้อมูลในชุมชน อืน่ ๆ ส�ำรวจความเดือดร้อนและความต้องการ จ�ำนงค์ จิตรนิรัตน์ เล่าถึงการขยายความช่วยเหลือไปสู่ที่ อืน่ ๆ ว่า “วิธคี ดิ ของเราก็คอื การท�ำให้ชาวบ้านดูแลศูนย์ได้ดว้ ยตนเอง แบ่งหน้าที่ เมือ่ มีขา้ วของมากขึน้ จึงคิดว่าต้องร่วมกันช่วยเหลือชาวบ้าน ทีอ่ นื่ ทีเ่ ดือดร้อนด้วย ก็มกี ารส่งทีมชาวบ้านไปส�ำรวจว่าทีอ่ นื่ เขาขาดเหลือ อะไร พืน้ ทีท่ ไี่ ปส�ำรวจ เช่น ทับตะวัน ทุง่ หว้า บ้านไร่
Tsunami : waves of reform
เราก็เดินส�ำรวจปัญหา จึงพบว่าชาวบ้านมีปญ ั หาเรือ่ งกลับไปอยู่ ในทีด่ นิ เดิมของตัวเองไม่ได้ ซึง่ เป็นเรือ่ งทีเ่ ราต้องช่วยกันต่อไป ในเบือ้ ง ต้นชาวบ้านไม่มขี า้ วสาร อาหาร เราก็มาประกาศข่าวขอรับบริจาคจาก ชาวบ้านทีศ่ นู ย์พกั บางม่วง ประกาศผ่านหอกระจายข่าวและวิทยุชมุ ชน ภายในศูนย์ ว่าขอรับบริจาคของทีไ่ ม่มที เี่ ก็บไปให้กบั ศูนย์พกั อืน่ ๆ ด้วย ชาวบ้านก็ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ” 32 การเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่อื่นๆและการพบเห็น ปัญหาทีด่ นิ เป็นปัญหาร่วมของทุกพืน้ ที่ ท�ำให้เกิดการเชือ่ มโยงชุมชนของ ผูป้ ระสบภัย จนน�ำไปสูก่ ารจัดตัง้ เครือข่ายผูป้ ระสบภัยสึนามิฯ ซึง่ เกิด ขึน้ เพียง 1 เดือนหลังภัยพิบตั ิ เป็นการเชือ่ มโยงกลุม่ ต่างๆ ในพืน้ ที่ อันดามัน 3 กลุม่ หลักเข้าด้วยกัน คือ กลุม่ ทีม่ ปี ญ ั หาทีด่ นิ กลุม่ ชาวเล และกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นที่ไร้สัญชาติ ซึ่งการท�ำงานเชื่อมโยงกันเป็น เครือข่ายยังด�ำเนินต่อเนือ่ งเรือ่ ยมาและขยายวงไปประเด็นอืน่ ๆ อาทิ ใน คราวทีม่ เี หตุผทู้ ปี่ ระสบภัยโคลนถล่ม น�ำ้ ท่วม แผ่นดินไหว ก็มกี ารระดม ทุนและส่งทีมไปช่วยเหลือ ปัญหาหนึง่ ทีช่ าวบ้านหลายแห่งต้องเผชิญร่วมกันในขณะนัน้ คือ เรือ่ งทีด่ นิ และทีอ่ ยูอ่ าศัย โดยทัง้ จากภาครัฐและเอกชน ใช้ภยั พิบตั เิ ป็น โอกาสในการบังคับใช้กฎหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับทีด่ นิ โดยห้ามชุมชนเข้าไป อยูอ่ าศัยหรือท�ำมาหากินในเขตทีด่ นิ ชายทะเล ส่งผลให้ชมุ ชนทีป่ ระสบภัย เดือดร้อนหลายแห่ง การรวมเป็นเครือข่าย จึงเป็นกระบวนการสร้างความ เข้มแข็งให้กบั ชุมชนทัง้ ในด้านการให้ความช่วยเหลือระหว่างกันในการ ฟืน้ ฟูและ/หรือสร้างชุมชนใหม่ เป็นกลไกหลักในการแก้ปญ ั หาระดับ นโยบาย และเป็นกลไกในการป้องกันภัยพิบตั ทิ อี่ าจจะมีขนึ้ ในอนาคตด้วย
127
128
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
บ้านพักชัว ่ คราว บททดสอบการจัดระบบโดยชุมชน หลังเหตุการณ์สนึ ามิผา่ นไปประมาณ 1 เดือน หลายหน่วยงาน ก็พอจะตัง้ หลักได้ และเริม่ มีโครงการช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยเข้ามาในพืน้ ที่ ซึ่งมีทั้งของภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนาเอกชน จึงมีการแบ่ง ผูป้ ระสบภัยไปยังบ้านพักชัว่ คราวในจุดต่างๆ หลายที่ อาทิ บ้านพัก ชัว่ คราวทีศ่ นู ย์พกั พิงบางม่วง 308 หลัง ทีพ่ รุเตียว 185 หลัง บ้าน พักชัว่ คราวของธนาคารออมสิน 130 หลัง บ้านพักชัว่ คราวทีว่ ดั น�ำ้ เค็ม 50 หลัง บ้านพักชัว่ คราวทีอ่ นามัยต�ำบล 50 หลัง บ้านพักชัว่ คราวของ เพือ่ นพึง่ ภาฯ ทีน่ ำ�้ เค็ม 100 หลัง และทีบ่ างม่วงอีก 120 หลัง บ้านพัก ชัว่ คราวทีบ่ างหลุด 80 หลัง รวม 1,053 หลัง “เมือ่ การจัดระบบภายในศูนย์พกั พิงบางม่วงเริม่ เข้าทีเ่ ข้าทาง ก็มกี ารวางแผนสร้างบ้านพักชัว่ คราว ซึง่ ทุกคนก็อยากจะเข้าไปอยูใ่ นบ้าน ก่อน เพราะการอยูใ่ นเต็นท์อากาศค่อนข้างร้อน จึงมีการปรึกษาหารือกัน และช่วยกันสร้างบ้านพักชัว่ คราว ซึง่ ท�ำด้วยไม้อดั และบางหน่วยงานจะ สร้างให้เป็นบ้านน็อคดาวน์” 33 ศักดา เล่าถึงแผนการสร้างบ้านพักชัว่ คราว
Tsunami : waves of reform
การสร้างบ้านพักชัว่ คราว โดยส่วนใหญ่แล้วผูป้ ระสบภัยจะมีสว่ น ร่วมในการลงมือก่อสร้างเอง จะมีบางส่วนบางหน่วยงานทีจ่ า้ งผูร้ บั เหมา เข้าไปก่อสร้างให้ ซึ่งในส่วนนี้ส�ำหรับนักพัฒนาชุมชนอย่าง จ�ำนงค์ จิตรนิรตั น์ ได้ให้ความเห็นต่อการเตรียมตัวสร้างบ้านพักชัว่ คราวไว้วา่ “เมือ่ ชาวบ้านสามารถยืนอยูไ่ ด้ดว้ ยตัวเองระดับหนึง่ แล้ว ควรให้ เขาบริหารจัดการตนเอง ช่วยกันคิด ช่วยกันท�ำ ไม่ใช่หวังพึง่ พาคนทีเ่ ข้า มาช่วยเหลือ มาบริจาค เพราะคนเหล่านัน้ มาแล้วก็ไป เราต้องท�ำให้ ชาวบ้านยืนด้วยขาตนเองให้ได้ ในตอนนัน้ ทีเ่ ตรียมจะสร้างบ้านพักชัว่ คราว ชาวบ้านก็มาถามเรือ่ งค่าแรง ก็มกี ารถกเถียงกันมาก จนท�ำให้เราคิดว่า การทีเ่ ขาจะสร้างบ้านของตัวเองก็ยงั คิดค่าแรง ซึง่ ไม่ควรเป็นแบบนัน้ ” 34 ในตอนนัน้ นอกจากชาวบ้านผูป้ ระสบภัยซึง่ มีความคิดเห็นทีแ่ ตก ต่างกันแล้ว ยังมีแนวคิดของหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทีเ่ ข้ามาช่วยเหลือ แม้ชาวบ้านจะมีการปรึกษาหารือกันเข้าใจแล้ว และมีทางเลือกของแต่ละ กลุม่ ทีแ่ ตกต่างกัน โดยชาวบ้านบางส่วนทีเ่ ห็นด้วยกับการช่วยกันสร้าง บ้านพักชัว่ คราว ก็ลงมือช่วยกันสร้างบ้านพัก และมีบางส่วนทีเ่ ห็นว่า หน่วยงานทีเ่ ข้ามาช่วยเหลือเขาสร้างให้อยูแ่ ล้ว แค่ขนกระเป๋าข้าวของ ต่างๆ ก็ยา้ ยเข้าไปอยูไ่ ด้เลยก็สะดวกดี เมือ่ ปรึกษาหารือและให้ชาวบ้าน ตัดสินใจ ก็มบี างส่วนทีย่ า้ ยไปยังศูนย์พกั ต่างๆ ด้วยเหตุผลทีแ่ ตกต่างกัน แต่เมือ่ ชาวบ้านย้ายเข้าไปอยูใ่ นบางศูนย์พกั นัน้ ก็พบว่าไม่มรี ะบบการ จัดการศูนย์พกั ทีด่ ี ต่างคนต่างอยู่ ขาดการรับผิดชอบต่อเรือ่ งส่วนรวม
129
130
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ร่วมกัน ไม่มกี ารแบ่งหน้าทีใ่ นการช่วยเหลือดูแล และไม่มพี เี่ ลีย้ งให้คำ� ปรึกษา จึงกลายเป็นบทสรุปส�ำหรับแกนน�ำชาวบ้านอย่าง ประยูร จงไกรจักร์ ว่า “นีเ่ ป็นบทพิสจู น์วา่ ชาวบ้านเติบโตด้วยตัวเองไม่ได้ ต้องมีระบบ พีเ่ ลีย้ งให้คำ� ปรึกษา เพราะว่าหลายเรือ่ งชาวบ้านไม่สามารถแก้ปญ ั หา ได้เอง การทีม่ พี เี่ ลีย้ ง มีพป่ี รึกษา ท�ำให้ชว่ ยในการจัดการปัญหาบางอย่าง ได้ทเี่ กินขอบเขตของชาวบ้านจะท�ำได้ ช่วยประสานงานในบางเรือ่ ง ช่วย ชีแ้ นะแนวทางไม่ให้หลงทางได้ พีเ่ ลีย้ งหรือทีป่ รึกษาจึงมีความจ�ำเป็นใน การฝึกฝน หล่อหลอมชาวบ้านให้เติบโต” 35
Tsunami : waves of reform
การเรียนรูป ้ ระชาธิปไตย ผ่านการปฏิบต ั ิ บทเรียนส�ำคัญส�ำหรับผู้ประสบภัยสึนามิที่ได้เรียนรู้จากการ จัดการระบบของศูนย์พกั พิงชัว่ คราว ทีอ่ อกแบบให้มกี ารประชุม ปรึกษา หารือ การเลือกตัวแทนเข้ามามีสว่ นร่วมในการร่วมออกความคิด ความ เห็น และตัดสินใจร่วมกัน สร้างการยอมรับร่วมกัน เป็นส่วนหนึง่ ของการ เรียนรูป้ ระชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือ (deliberative democracy) ใน ภาวะวิกฤติิเช่นนี้ ท�ำให้ได้เห็นลักษณะของผู้น�ำในหลายรูปแบบ ซึ่ง สถานการณ์ตา่ งๆ ในศูนย์พกั พิงทีจ่ ำ� ลองการอยูร่ ว่ มกันในสังคม ท�ำให้ คนในชุมชน รับรูแ้ ละเผชิญกับปัญหา ร่วมกันแก้ปญ ั หา คัดเลือกตัวแทน จากคุณลักษณะเช่น การเป็นคนทุม่ เท เสียสละ มีภาวะผูน้ ำ� ซึง่ โดย ส่วนใหญ่ไม่ใช่ผู้น�ำโดยต�ำแหน่ง และไม่ใช่เรื่องของระบบตัวแทนแบบ นักการเมือง แต่เป็นการเมืองในรูปแบบทีท่ กุ คนมีสว่ นร่วม มีสว่ นได้ ส่วนเสีย ร่วมกันรับผิดชอบ ไมตรี หนึ่งในตัวแทนของชุมชน ได้สะท้อนถึงการเรียนรู้ ประชาธิปไตยในรูปแบบนีว้ า่ “การคิด ตัดสินใจ ลงมือท�ำ เราถูกฝึกมาโดยไม่รตู้ วั แต่ละช่วง เวลา เราเรียนรูก้ ารจัดการบางอย่างให้เหมาะสมลงตัวร่วมกัน อย่างตอน ทีเ่ ราสร้างบ้านพักชัว่ คราว มีแหล่งทุนภายนอกเข้ามา อยากเข้ามามี
131
132
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ส่วนร่วมในการจัดการศูนย์พักชั่วคราวด้วย เราก็มีการปรึกษาหารือ มีการแบ่งโซน ให้แต่ละกลุม่ ทีเ่ ข้ามาได้อยู่ และจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะ กับกลุม่ นัน้ ๆ เช่น เด็กอ่อน ผูส้ งู อายุ เราก็ให้ความเคารพในศักดิศ์ รีความ เป็นมนุษย์ของแต่ละคน แต่ละกลุม่ เช่น กลุม่ พีน่ อ้ งชาวเล ทีอ่ ยากจะอยู่ ในโซนเดียวกัน ซึง่ เป็นวัฒนธรรมของเขา เราก็มรี ะบบจัดการให้เขาได้อยู่ ตามวิถชี วี ติ ของเขา แต่ในศูนย์พกั อืน่ ๆ ถูกจัดระบบมาแล้ว ผูป้ ระสบภัย ทีอ่ ยูใ่ นศูนย์ทจี่ ดั การแบบนัน้ ก็คอ่ นข้างจะอึดอัด เขาอยากตัดสินใจเอง เลือกเอง ถ้าไม่เป็นไปตามความต้องการของพวกเขา ก็ตอ้ งมีเหตุผล มีการพิจารณาร่วมกัน ไม่ใช่การสัง่ การว่าต้องเป็นแบบนัน้ แบบนี้ สิง่ ส�ำคัญ ก็คอื พีเ่ ลีย้ งหรือทีป่ รึกษา เกาะติด ไม่ปล่อย อยูก่ บั ชาวบ้านตลอด เวลา” 36 ปรีดา คงแป้น หนึง่ ในทีป่ รึกษาคนส�ำคัญ กล่าวถึงการหล่อ หลอมชาวบ้านให้เข้าใจวิถปี ระชาธิปไตยแบบปรึกษาหารือว่า “ในฐานะนักจัดระบบชุมชน เราต้องท�ำให้เขาเห็นก่อนว่า เราเข้า มาในบทบาทอะไร ไม่ใช่มาท�ำให้ หรือบอกให้ชาวบ้านท�ำ แต่เรามาท�ำ ร่วมกัน ท�ำอย่างไรให้เขาไว้ใจ มีความมัน่ ใจ บุคลิกของทีป่ รึกษา จะต้อง เกาะติด ไม่ปล่อยให้ชาวบ้านอยูต่ ามยถากรรม มีปญ ั หาปรึกษากันได้ บุคลิกจริงใจ เอาจริง พึง่ ได้ ท�ำให้อยากคบเหมือนเพือ่ น ถ้ามาแค่คยุ แล้ว หายไป นอกจากช่วยชาวบ้านไม่ได้แล้ว จะเข้ามาในชุมชนก็ยากด้วย เราเรียนรูด้ ว้ ยกัน เรียนกันท่ามกลางสถาณการณ์จริง แก้ปญ ั หาจริง
Tsunami : waves of reform
เช้าประชุมวางแผน แบ่งกันไปท�ำ เย็นสรุปงาน สรุปบทเรียนกันทุกวัน ชาวบ้านก็จะได้รวู้ า่ ทีค่ ดิ ท�ำ ท�ำได้หรือท�ำไม่ได้ มีปญ ั หาอะไร ติดขัด ตรงไหน ต้องแก้ยงั ไงก็ชว่ ยกันออกความคิด ทุกวันนีเ้ ขาจัดประชุมกันเอง ช่วยกันคิดช่วยกันแก้ปญ ั หาเอง และไปช่วยคนอืน่ ได้ดว้ ย” 37 ภัยพิบตั สิ นึ ามิได้สร้างความสูญเสียหลายอย่างให้กบั ผูป้ ระสบภัย แต่ในระหว่างการฟืน้ ตัว ปรับตัวเพือ่ ก้าวต่อไป ชาวบ้านกลับได้มโี อกาส เรียนรูห้ ลายสิง่ หลายอย่างเช่นกัน อีกทัง้ การเผชิญปัญหาอีกมากมายใน ระหว่างฟืน้ ฟู ทัง้ ปัญหาเรือ่ งทีด่ นิ การเริม่ ต้นใหม่เพือ่ สร้างบ้านเรือนสร้าง ชุมชน การฟืน้ ฟูสงั คม วัฒนธรรมชุมชน และการฟืน้ ฟูจติ ใจ ระหว่างการ เผชิญกับปัญหาและต้องแก้ปญ ั หา ต่อสูด้ นิ้ รน นับเป็นช่วงเวลาทีช่ าวชุมชน ต่างได้เรียนรูถ้ งึ การรวมตัวกัน การปรึกษาหารือ รับฟังความคิดเห็นซึง่ กัน และกัน รูจ้ กั การวางแผนร่วมกัน แบ่งงาน แบ่งหน้าทีก่ นั ท�ำได้เชือ่ มโยงกับ เครือข่ายอืน่ ๆ รูจ้ กั ผูค้ นมากมาย ไม่ตอ้ งเผชิญกับปัญหาอย่างโดดเดีย่ ว ล�ำพัง หรือหันมองไปทางไหนก็มแี ต่พวกเดียวกัน แต่ยงั มีกลุม่ คนต่างๆ ในสังคมทีจ่ ะเป็นแนวร่วมในการช่วยเหลือ แบ่งปัน และร่วมผลักดันให้ ประเด็นปัญหาที่พวกเขาก�ำลังเผชิญได้รับการแก้ไขตามแนวทางที่ เหมาะสม ปัญญา อนันตะกูล หนึง่ ในแกนน�ำชุมชน ได้แบ่งปันประสบการณ์ ทีไ่ ด้รว่ มเรียนรูห้ ลังสึนามิวา่
133
134
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
“จากสึนามิจนมาถึงปัจจุบนั สิง่ ดีทเี่ กิดขึน้ คือ การรวมกลุม่ กัน ของพวกเรา และท�ำอะไรหลายอย่างได้เอง การจัดตั้งกลุ่มง่ายขึ้น การต่อรองกับหน่วยงานต่างๆ ท�ำได้รวดเร็ว ถ้าเป็นเมือ่ ก่อนแค่ไม่กคี่ นยืน่ เรือ่ งกันเองไปยังหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง กว่าจะรูว้ า่ เรือ่ งไปถึงไหนก็ชา้ แต่พอเรารูจ้ กั รวมตัวกัน เรามีเครือข่าย เราจะท�ำอะไรก็ปรึกษากัน ท�ำได้ เร็วขึน้ ยกตัวอย่าง เมือ่ ก่อนการท�ำประมงทีบ่ า้ นน�ำ้ เค็ม ใครอยากท�ำ ก็ทำ� ได้จะใช้อวนลาก เรือไฟ ยังไงก็ได้ แต่พอเราเห็นว่ามันมีผลกระทบเรา ก็รวมตัวกันคิดกันว่าจะระงับเครือ่ งมือทีไ่ ม่ควรใช้ เช่น ไฟกระสุนทีม่ าล่อ ไฟแถวชายหาด เราก็หา้ มไม่ให้ทำ� ประมงชนิดนี้ จนทุกวันนีก้ ม็ ขี อ้ ห้าม เพือ่ เราจะได้รกั ษาระบบนิเวศชายฝัง่ เอาไว้ได้ ประมงพืน้ บ้านก็อยูไ่ ด้” “ช่วงหลังสึนามิ ถ้าเราไม่มกี ระบวนการทีท่ ำ� ให้เรามีสว่ นร่วมใน การดูแลรักษาชุมชมของเราร่วมกัน เราก็ไม่รจู้ ะอยูก่ นั อย่างไร เพราะบ้าน น�ำ้ เค็มต้องเจอกับหลายโครงการหลายรูปแบบมาก ทัง้ โครงการทีจ่ ะมา ขุดทรายไปไปสิงคโปร์ ทัง้ โครงการอืน่ ๆ แต่พอเรารวมตัวเป็นกลุม่ รวมกัน เป็นเครือข่าย ทุกวันนีจ้ ะท�ำอะไรเราก็ชว่ ยกัน ชาวบ้านก็ให้ความร่วมมือ ไม่วา่ จะซ้อมอพยพ รักษาสิง่ แวดล้อม ท�ำให้เรามัน่ ใจว่าในอนาคตไม่วา่ จะ เป็นอย่างไร เราก็ยงั รวมตัว เชือ่ มกลุม่ องค์กรต่างๆ เข้ามาช่วยกันได้” 38
การเรียนรูป้ ระชาธิปไตยผ่านการปฏิบตั ขิ องแกนน�ำหรือผูน้ ำ� ที่ เริม่ จากการแก้ปญ ั หาในชุมชนของตนเอง ขยายไปสูจ่ ติ ใจอาสาสมัครทีจ่ ะ ช่วยเหลือคนอืน่ และร่วมคิดกัน ร่วมท�ำ พึง่ ตนเองและพึง่ พากันเอง ไม่ ตัง้ ความหวังแล้วนัง่ รองอมืองอเท้าให้คนอืน่ เข้ามาช่วยเหลือ ลุกขึน้ มา ก�ำหนดตนเอง เป็นชุมชนทีจ่ ดั การตนเองโดยการสร้างการมีสว่ นร่วม จากคนในชุมชน ไม่มใี ครใช้อำ� นาจสัง่ การ มีแต่การร่วมมือ แบ่งปัน และ ช่วยเหลือกัน เพือ่ ชุมชนและสังคมทีเ่ ป็นสุขของพวกเขาเอง
การให้ความช่วยเหลือทีเ่ ยียวยาและยัง ่ ยืน ไม่ใช่การสงเคราะห์ซง ่ึ อาจตอกย�ำ้ ภาวะแห่งความ สูญเสียหรือสิ้นหวังที่ผู้ประสบภัยก�ำลังเผชิญ ตรงกันข้าม บทเรียนการฟืน ้ ฟูชม ุ ชนผูป ้ ระสบภัย สึนามิสะท้อนว่า การเยียวยาฟืน ้ ฟูทส ี่ ร้างพลัง คือ การช่วยให้ผป ู้ ระสบภัยลุกขึน ้ มามีสว่ นร่วมใน การจั ด การกั บ ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้ น และช่ ว ยกั น สร้างสรรค์ชีวิตใหม่ กระบวนการเหล่านี้ท�ำให้ พวกเขาตระหนักเห็นพลังและศักยภาพในตน เกิด ความภาคภูมใิ จ ความมัน ่ ใจและความหวังในการ เดินหน้าชีวต ิ
บทที่ 2 eg บทเรียนจากการฟืน ้ ฟูชว ี ต ิ และ ชุมชนผูป ้ ระสบภัยสึนามิ ความเปราะบางต่อภัยพิบตั ขิ องแต่ละกลุม่ คนนัน้ มีไม่เท่ากัน ขึน้ อยูก่ บั ลักษณะทางภูมศิ าสตร์ และสภาพทางเศรษฐกิจ สังคม ของแต่ละ กลุม่ กลุม่ คนยากจนและกลุม่ คนชายขอบ เป็นกลุม่ ทีม่ คี วามเปราะบาง ต่อภัยพิบตั มิ ากกว่ากลุม่ อืน่ ๆ เมือ่ ต้องเผชิญกับภัยพิบตั ยิ งิ่ ท�ำให้บอบช�ำ้ รุนแรงและฟืน้ คืนสภาพยากยิง่ กว่ากลุม่ คนทัว่ ไปหรือกลุม่ คนทีม่ ตี น้ ทุน ชีวติ สูง ขาดพลังในการพึง่ ตนเองเพือ่ ฟืน้ คืนสภาพให้กลับมาปกติได้ดงั เดิมหากไม่ได้รับการช่วยเหลือดูแลจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กร พัฒนาต่างๆ การฟืน้ ฟูชมุ ชนหลังภัยพิบตั ิ จึงต้องศึกษาความเป็นอยูข่ อง แต่ละกลุ่ม และออกแบบการฟื้นฟูชีวิตและชุมชนให้สอดคล้องและ ครอบคลุมทัง้ การฟืน้ ฟูในระยะสัน้ และระยะยาว
138
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
การฟืน้ ฟูชมุ ชนหลังภัยพิบตั สิ นึ ามิ ท�ำให้เห็นกระบวนการจัด ระบบชุมชนทีส่ ง่ ผลให้ชมุ ชนสามารถพลิกวิกฤติใิ ห้เป็นโอกาสได้ ฟืน้ พลัง จากความสูญเสียสิ้นหวัง เป็นพลังในการดูแลปกป้องชุมชน รักษา ทรัพยากร และบริหารจัดการชุมชนให้เข้มแข็งขึน้ มาได้ อันเกิดมาจาก แนวคิดในการมองผูป้ ระสบภัยว่า ผูป้ ระสบภัยพิบตั ไิ ม่ใช่ผเู้ คราะห์รา้ ยที่ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และต้องพึง่ พาผูอ้ นื่ แต่ผปู้ ระสบภัยคือก�ำลังส�ำคัญใน กระบวนการฟืน้ ฟูเยียวยา39 ดังนัน้ หน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ทีเ่ ข้าไป ช่วยเหลือชุมชน จะต้องเข้าใจกระบวนการฟืน้ ฟูชมุ ชนในรูปแบบดังกล่าว เพือ่ ให้สามารถเข้าไปช่วยเหลือ และสนับสนุนชุมชนให้มโี อกาสได้ลกุ ขึน้ มาพัฒนาตนเอง พัฒนาแกนน�ำ และร่วมกันวางแผนพัฒนาชุมชนด้วย ตนเองได้
Tsunami : waves of reform
รากฐานการฟืน ้ ฟูสก ู่ ารพัฒนา : กระบวนการมีสว ่ นร่วมโดยชุมชน การฟืน้ ฟูเยียวยาผูป้ ระสบภัยเพือ่ ให้เขาได้ฟน้ื ศักยภาพในการ ดูแลตนเองและชุมชน ควรเริม่ ต้นตัง้ แต่การจัดระบบชุมชนในศูนย์พกั พิง ชัว่ คราว ใช้การพูดคุย ถกถึงปัญหาทีช่ าวบ้านเผชิญอยู่ ร่วมแสดงความ คิดเห็นปรึกษาหารือเพือ่ สร้างและฟืน้ ฟูชมุ ชน เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้ ร่วมคิดร่วมวางแผนตัง้ แต่ตน้ มอบหมายหน้าที่ แบ่งงานกันท�ำ ให้ชาวบ้าน ได้รว่ มรับผิดชอบในแต่ละส่วนงาน และเลือกตัวแทนชาวบ้านตัง้ เป็นคณะ กรรมการเพือ่ บริหารศูนย์ หน่วยงานและองค์กรพัฒนาต่างๆ ควรมีบทบาทหน้าทีใ่ นการ สนับสนุน เป็นพีเ่ ลีย้ งหรือทีป่ รึกษาให้กบั ผูป้ ระสบภัย เพือ่ ช่วยประคับ ประคองให้พวกเขาลุกขึน้ มาจัดการกับปัญหาทีเ่ ขาเผชิญอยู่ และสร้าง อนาคตของชุมชนด้วยตนเอง จ�ำนงค์ จิตรนิรตั น์ หนึง่ ในนักพัฒนาทีม่ ปี ระสบการณ์การจัด ระบบชุมชน เล่าถึงแนวคิดในการเข้าไปช่วยเหลือผูป้ ระสบภัย และการ เผชิญกับปัญหาต่างๆ ร่วมกับชาวบ้าน “เรามุง่ ให้คนทีร่ อดชีวติ ได้มคี ณ ุ ภาพชีวติ ทีด่ ขี นึ้ ท�ำอย่างไรให้เขา ฟืน้ คืนสูช่ วี ติ ปกติของเขาให้เร็วทีส่ ดุ ในช่วงวิกฤติเราก็พยายามเยียวยา
139
140
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
เราเองก็ทำ� งานไป วิเคราะห์ไป จัดระบบชุมชนไปพร้อมกับการแก้ปญ ั หา ขยายพืน้ ทีเ่ พือ่ เชือ่ มโยงกันเป็นเครือข่าย มีการช่วยเหลือเพือ่ ให้ชาวบ้าน ได้กลับไปอยูใ่ นทีด่ นิ เดิม ท�ำอย่างไรให้เขาได้ออกแบบบ้านเอง ได้ลงมือ ท�ำเอง แต่เราก็พบกับปัญหาเรือ่ งทีด่ นิ ของชาวบ้านทีม่ กี ารอ้างสิทธิจ์ าก นายทุนบ้าง บางที่ก็ถูกอ้างสิทธิ์โดยหน่วยงานรัฐ เราก็คิดว่าต้องมี เครือข่ายเพือ่ ร่วมมือกันแก้ปญ ั หาต่อไป” 40 การเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้มบี ทบาทส�ำคัญในการบริหารจัดการ ศูนย์พกั พิง กระบวนการพูดคุย ปรึกษาหารือในเรือ่ งปัญหาทีช่ าวบ้าน ก�ำลังเผชิญอยูแ่ ละหาทางออกร่วมกัน ท�ำให้ชาวบ้านตระหนักถึงคุณค่าใน ตนเอง และเชือ่ มัน่ ว่าตนเองสามารถรับผิดชอบจัดการฟืน้ ฟูเยียวยาได้ ด้วยตัวเอง ยิง่ มีองค์กรหน่วยงานต่างๆ ทีร่ บั ฟัง ร่วมปรึกษาหารือ ยิง่ ช่วย หนุนเสริมให้ชาวบ้านกล้าทีจ่ ะลุกขึน้ มาสร้างการเปลีย่ นแปลงด้วยตัวเอง ศักดิด์ า พรรณรังสี หนึง่ ในผูป้ ระสบภัยสึนามิทกี่ า้ วขึน้ มาเป็น แกนน�ำชุมชน เขาทนนัง่ ๆ นอนๆ อยูใ่ นเต็นท์ของผูป้ ระสบภัยไม่ไหว และคิดว่าต้องหาอะไรท�ำ ไม่อยากงอมืองอเท้ารอรับการช่วยเหลือไป วันๆ จึงลุกขึน้ มาเป็นอาสาสมัครในศูนย์พกั พิง ต่อมาได้รบั เลือกเป็นรอง หัวหน้าโซน และได้เข้าร่วมประชุมปรึกษาหารือกับแกนน�ำคนอืน่ ๆ ทีร่ ว่ ม กันบริหารจัดการศูนย์พกั พิง ได้ทำ� หน้าทีเ่ ป็นคนดูแลโกดังของบริจาค จัดระเบียบข้าวของ ท�ำระบบแจกจ่ายของ และเห็นการท�ำงานขององค์กร ทีเ่ ข้ามาท�ำงานร่วมกันในศูนย์พกั พิงบางม่วง
Tsunami : waves of reform
ศักด์ดาเล่าให้ฟงั ว่า เขาและเพือ่ นๆ ได้ยนิ เสียงบ่นถึงความทุกข์ ความเศร้าเสียใจของพีน่ อ้ งในศูนย์พกั พิง และคิดกันว่าต้องท�ำอะไรสัก อย่าง จึงเปิดร้านกาแฟเพื่อดึงให้คนได้เข้ามานั่งปรับทุกข์ พูดคุยกัน เป็นการหาพืน้ ทีก่ ลางให้กบั คนในศูนย์พกั พิง “เราคิดกันว่าจะเปิดร้านกาแฟ ให้คนได้มาเล่าสารทุกข์สกุ ดิบกัน เดิน ถามว่าใครจะหุน้ ด้วยบ้าง ได้เงินมา 2,100 บาท เช้ามาขายกาแฟ ได้ 80 บาท คนมานัง่ เยอะมาก มาพูดกันถึงปัญหาต่างๆ บางคนอยาก ออกเล บางคนอยากท�ำอาชีพ เราก็เลยเสนอความคิดกันในทีป่ ระชุมว่า ใครอยากท�ำอาชีพอะไรให้รวมตัวกัน คิดกันมา หลังจากนัน้ ก็เกิดกลุม่ อาชีพต่างๆ ตามมา” “เรือ่ งการรับบริจาค เราก็มกี องรับบริจาค มีเงินบริจาคเข้ามา ตอนนัน้ พีต่ ู่ (นิศานาถ รัตนนาคินทร์ (โยธาสมุทร)) ก็แนะน�ำว่าให้ตงั้ ธนาคารชุมชน ตอนเริม่ ต้นก็ยากนะ ชาวบ้านยังไม่คอ่ ยเข้าใจ ไมตรีกเ็ ลย เสนอว่าให้แกนน�ำท�ำก่อน เริม่ จากเปิดบัญชีคนละ 100 บาท” 41 ในชุมชนมีการแบ่งหน้าทีก่ นั ท�ำงาน โดยการตัง้ คณะท�ำงานขึน้ มา หลายกลุม่ เพือ่ ดูแลเรือ่ งต่างๆ ภายในศูนย์ เช่น กลุม่ แม่ครัวจัดการเรือ่ ง อาหาร กลุม่ ดูแลน�ำ้ ดืม่ น�ำ้ ใช้ กลุม่ สุขอนามัยจัดการขยะ กลุม่ จัดการเรือ่ ง รับบริจาค กลุม่ ดูแลเด็ก กลุม่ เยาวชน กลุม่ ประสานก่อสร้างทีพ่ กั ชัว่ คราว กลุม่ ประสานข้อมูลผูเ้ ข้าพักอาศัย รวมถึงประสานหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง กับผูป้ ระสบภัย เช่น ประสานการตัง้ โต๊ะเพือ่ รับเรือ่ งร้องเรียนของทาง ราชการ ประสานหน่วยงานองค์กรให้เตรียมการช่วยเหลือ การตัง้ โต๊ะ
141
142
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
บริจาค การจัดการของบริจาค การเบิกของบริจาค ซึง่ ชาวบ้านบริหาร จัดการเองทุกเรือ่ ง ท�ำให้แกนน�ำเริม่ เข้าใจการร่วมคิดร่วมท�ำ จนสัง่ สม เป็นประสบการณ์ทบี่ ม่ เพาะชาวบ้านให้กลายเป็นแกนน�ำส�ำคัญในการ ฟืน้ ฟูชมุ ชนและร่วมแก้ปญ ั หาทีต่ อ้ งเผชิญในเวลาต่อมา
สร้างบ้าน วางผังชุมชน แบบมีสว ่ นร่วม การฟืน้ ฟูชวี ติ และชุมชนผูป้ ระสบภัยในระยะยาว คือ การสร้าง บ้านและทีอ่ ยูอ่ าศัย ในขัน้ ตอนนีค้ วรเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้มสี ว่ นร่วมใน การสร้างชุมชนของตนเองขึน้ มาใหม่ หน่วยงานของรัฐและองค์กรพัฒนา เอกชนควรร่วมกันสนับสนุนงบประมาณในการสร้างบ้านใหม่ของชาวบ้าน อย่างรวดเร็ว โดยหารือกับชาวบ้านในการสร้างบ้านว่าต้องการจะอยูบ่ น พืน้ ทีเ่ ดิมหรือใกล้กบั พืน้ ทีเ่ ดิม หรือจัดหาพืน้ ทีใ่ หม่ ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากชาวบ้าน ในพืน้ ทีป่ ระสบภัยบางส่วนอาจจะไม่ตอ้ งการอยูใ่ นพืน้ ทีเ่ ดิมทีม่ คี วามเสีย่ ง ต่อภัยพิบตั ิ แต่ตอ้ งการอยูอ่ าศัยในพืน้ ทีใ่ กล้เคียงหรือย้ายไปอยูท่ ใี่ หม่เพือ่ หลีกเลีย่ งความเสีย่ ง การหารือกับชุมชนจะท�ำให้ได้รถู้ งึ ความต้องการทีแ่ ท้ จริง และเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้มสี ว่ นร่วมตัง้ แต่ตน้
Tsunami : waves of reform
ขัน้ ตอนการสร้างบ้าน ควรมีสถาปนิกมาช่วยออกแบบผังชุมชน และแบบบ้าน โดยใช้กระบวนการมีสว่ นร่วมของชาวบ้าน ให้ได้แบบบ้าน ที่มาจากความต้องการของชาวบ้าน สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนและ ท้องถิน่ ทัง้ นี้ จากบทเรียนของผูป้ ระสบภัยสึนามิ ได้มกี ารเสนอว่า ควร เน้นการมีสว่ นร่วมของชาวบ้านและชุมชนเป็นหลักในทุกขัน้ ตอน ทัง้ การ มีสว่ นร่วมในการออกแบบบ้าน ออกแบบชุมชน และการลงมือก่อสร้าง บ้าน โดยมีขอ้ สรุปทีน่ า่ สนใจว่า การสร้างบ้านจะเป็นเครือ่ งมือในการสร้าง ความเข้มแข็งให้กบั ชุมชนต่อไปในระยะยาว กล่าวคือ ในช่วงสร้างบ้าน ให้ใช้ การสร้างบ้านเป็นเงือ่ นไขในการสร้างคน สร้างความภูมใิ จของ ชุมชน โดยทุกคนทัง้ ผูช้ าย ผูห้ ญิง เด็ก มาร่วมกันสร้างบ้าน ให้มกี ารแบ่ง งานกันท�ำ เช่น มีฝา่ ยก่อสร้าง ฝ่ายการเงิน ฝ่ายอาหารและน�ำ้ ฝ่าย ประสานงานกับอาสาสมัคร เป็นต้น เพือ่ ส่งเสริมกระบวนการสร้างการ มีสว่ นร่วมของชุมชน ท�ำให้คนในชุมชนรักและหวงแหนชุมชน เกิดการ เรียนรูน้ สิ ยั ใจคอความเอือ้ อาทร ได้เห็นความสามารถทีแ่ ท้จริงระหว่างกัน ชัดเจน เป็นประโยชน์กบั การจัดตัง้ คณะกรรมการในการบริหารจัดการ เรือ่ งต่างๆ ของชุมชนในระยะต่อไป
143
144
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ส�ำหรับผูป้ ระสบภัยสึนามิในประเทศไทย พบว่ามีการให้ความ ช่วยเหลือและฟืน้ ฟูผปู้ ระสบภัยใน 2 รูปแบบหลัก ๆ คือ
1. รูปแบบการช่วยเหลือทีผ่ สู้ นับสนุนเรือ่ งทีอ่ ยูอ่ าศัยใช้หลัก การมีสว่ นร่วมของชาวบ้านและชุมชน และมีเงือ่ นไขให้ผอู้ ยูอ่ าศัย สร้างบ้านกันเอง โดยมีการระดมอาสาสมัครทัง้ ในและต่างประเทศมา ร่วมกันสร้างบ้าน เช่น ชุมชนบ้านน�ำ้ เค็ม (ซอยตกปู ซอยร่มเย็น ) ชุมชน ทับตะวัน ชุมชนบ้านทุง่ หว้า ชุมชนบ้านปากเตรียม มีการออกแบบบ้าน โดยให้ชาวบ้านมีสว่ นร่วมในการคิด ค�ำนึงถึงประโยชน์ใช้สอยในครัวเรือน ระบบสาธารณูปโภค ทัง้ ประปา ไฟฟ้า ถนน และพืน้ ทีส่ าธารณะ เป็นต้น ในชุมชนเหล่านี้ พบว่า ชาวบ้านสามารถเข้าอยูอ่ าศัยและจัดระบบชุมชน ของตนเองได้ อนึง่ กลุม่ คนไร้บา้ นหรือคนทีอ่ าศัยอยูบ่ า้ นเช่าในชุมชนบ้านน�ำ้ เค็มเดิม หลังเหตุการณ์สนึ ามิ รัฐไม่ให้ความช่วยเหลือเพราะไม่มที ดี่ นิ ใน การสร้างบ้านของตนเอง จึงรวมกลุม่ จัดท�ำโครงการบ้านมัน่ คง โดยซือ้ ทีด่ นิ จากเอกชนในพืน้ ทีใ่ กล้เคียง และมีการลงแขกกันถางทีด่ นิ ทีร่ กร้าง ช่วยกันสร้างบ้าน และจัดท�ำระบบสาธารณูปโภคต่างๆ ตามทีอ่ อกแบบ ร่วมกับสถาปนิกของโครงการ ปัจจุบนั โครงการแล้วเสร็จ สมาชิกเข้าอยู่ อาศัย และมีการรวมกลุม่ ท�ำกิจกรรมร่วมกันอย่างต่อเนือ่ ง เป็นต้น
2. รูปแบบความช่วยเหลือด้วยการสร้างบ้านให้ผปู้ ระสบภัย โดยหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยขาดการมีสว่ นร่วมของชาวบ้าน หน่วยงานดังกล่าวสร้างบ้านทีอ่ ยูอ่ าศัยให้ใหม่ พร้อมสาธารณูปโภคใน
Tsunami : waves of reform
ชุมชนและพืน้ ทีส่ าธารณะ เมือ่ ด�ำเนินการแล้วเสร็จ ชาวบ้านก็เข้าไปอยู่ อาศัยได้ ซึง่ เมือ่ ชาวบ้านเข้าไปอยูแ่ ล้ว ก็พบกับปัญหามากมาย เป็นต้นว่า แบบบ้านไม่เอื้อต่อประโยชน์ใช้สอย ไม่เหมาะกับจ�ำนวนสมาชิกใน ครอบครัว ไม่มพี นื้ ทีว่ างเครือ่ งมือประมง หรืออยูไ่ กลจากทะเลท�ำให้ ชาวบ้านไม่สามารถประกอบอาชีพได้ นอกจากนั้น บ้านน็อคดาวน์ส�ำเร็จรูปจากต่างประเทศไม่ สอดคล้องกับสภาพภูมอิ ากาศของเมืองไทย จึงท�ำให้ผอู้ าศัยจ�ำนวนมาก ไม่อาจอยูใ่ นบ้านได้ เนือ่ งจากอากาศภายในบ้านร้อนและอบอ้าว อีกทัง้ ไม่สามารถซ่อมแซมเองได้ เมือ่ เจอปัญหาทีอ่ ยูอ่ าศัย ชาวบ้านไม่สามารถ แก้ไขปัญหาได้ดว้ ยตัวเอง แต่ตอ้ งรอให้ทางหน่วยงานมาจัดการแก้ไข ปัญหาให้ ปัจจุบัน บ้านบางส่วนถูกรื้อ ขยาย ต่อเติม ปรับปรุงใหม่ บางส่วนมีการเปลีย่ นมือซือ้ ขาย หรือถูกเรียกคืนเพราะไม่มสี ทิ ธิทถี่ กู ต้อง เช่ น บ้ า นในชุ ม ชนน�้ ำ เค็ ม บางส่ ว น ชุ ม ชนหมู ่ บ ้ า นไอที วี ร ่ ว มใจ ชุมชนพรุเตียว เป็นต้น การให้ความช่วยเหลือและฟืน้ ฟูชมุ ชนผูป้ ระสบภัย ทัง้ 2 รูปแบบ สะท้อนให้เห็นว่า เมือ่ เกิดภัยพิบตั ิ หน่วยงานต่างๆ ทัง้ ภาครัฐ เอกชน และองค์กรพัฒนา ควรประสานความร่วมมือในการสร้างรูปแบบการช่วย เหลือทีเ่ น้นการมีสว่ นร่วมของชาวบ้านผูป้ ระสบภัยซึง่ เป็นเจ้าของปัญหา เปิดโอกาสให้มสี ว่ นในการร่วมคิดและลงมือปฏิบตั เิ พือ่ ให้การออกแบบ บ้าน การสร้างบ้าน และการวางผังชุมชน สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ และการด�ำรงชีวติ ของผูค้ นในชุมชน ตลอดจนการฟืน้ ฟูชมุ ชนในอนาคต
145
146
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ฟืน ้ ฟูอาชีพ สนับสนุนกองทุนหมุนเวียน
การฟืน้ ฟูอาชีพเป็นอีกเรือ่ งหนึง่ ทีค่ วรเริม่ ต้นตัง้ แต่ผปู้ ระสบภัย อยูใ่ นศูนย์พกั พิงชัว่ คราว ส่งเสริมให้ชาวบ้านรวมกลุม่ ตามความสนใจ อาจจะรวมกลุม่ เพือ่ ท�ำอาชีพเดิม หรือรวมกลุม่ เพือ่ ท�ำกิจกรรมหารายได้ เสริมระหว่างทีย่ งั กลับคืนสูอ่ าชีพเดิมไม่ได้ เนือ่ งจากเครือ่ งมือในการ ประกอบอาชีพเสียหายหรือถูกท�ำลายจากภัยพิบตั ิ ทีส่ ำ� คัญ การช่วย เหลือของหน่วยงานต่างๆ ในการฟืน้ ฟูอาชีพ ควรค�ำนึงถึงความถนัดและ ภูมปิ ญ ั ญาของชาวบ้านด้วย ในกรณีผู้ประสบภัยสึนามิ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ประมงพืน้ บ้าน การให้ความช่วยเหลือสนับสนุนจึงมักจะอยูใ่ นรูปของการ ให้เรือและเครือ่ งมือประมง ซึง่ ปัญหาทีเ่ กิดขึน้ คือ ชาวบ้านจ�ำเป็นต้อง รับเครือ่ งมือการประมงทีห่ น่วยงานต่างๆ ช่วยเหลือมอบให้ โดยทีไ่ ม่ สามารถใช้เครือ่ งมือนัน้ ในการประกอบอาชีพได้จริง เพราะไม่สอดคล้อง กับความถนัดของตน เช่น ชาวประมงบางรายได้รบั เรือขนาดใหญ่และ อวนปู ซึง่ เดิมใช้เรือขนาดกลางหรือเล็กเท่านัน้ ดังนัน้ การช่วยเหลือให้ ชาวบ้านฟืน้ ฟูอาชีพ จึงควรส�ำรวจตรวจสอบอาชีพและความถนัดของ ชาวบ้านแต่ละกลุม่ ประเมินความเสียหาย ขนาดของเครือ่ งมือการประมง ทีช่ าวบ้านต้องใช้มอี ะไรบ้าง เป็นต้น
Tsunami : waves of reform
ส�ำหรับผูป้ ระสบภัยทีศ่ นู ย์พกั พิงบางม่วง ส่วนใหญ่มอี าชีพท�ำ ประมง ชาวบ้านเคยมีทั้งเรือใหญ่ เรืออวน เรือปั่นไฟ เรือไดหมึก เรือตังเก เรือลอบปลา ลอบหมึกหอม ลอบปลาเก๋า ลอบปูดำ� เป็นต้น การออกทะเลของชาวบ้านก็ไปไม่ไกลนัก เป็นลักษณะของประมงขนาด กลาง และขนาดเล็ก มีแพปลา แม่คา้ มารอซือ้ ปลาอยูท่ ที่ า่ เรืออยูแ่ ล้ว การเลีย้ งปลาในกระชังก็เป็นอาชีพทีช่ าวบ้านท�ำกันมานาน แต่เมือ่ กระชัง เครือ่ งมือหาปลา และเรือเสียหายเกือบหมด ก็ทำ� ให้ชาวบ้านต้องเริม่ ต้น อาชีพใหม่ดว้ ยความช่วยเหลือของหน่วยงานรัฐ และเอกชน ตลอดจน องค์กร มูลนิธติ า่ งๆ จากปัญหาทีช่ าวบ้านไม่สามารถใช้เครือ่ งมือประมง ทัง้ อวน ลอบ และเรือ ทีผ่ ใู้ ห้การช่วยเหลือจัดหามาให้ได้ จึงได้มกี ารปรึกษาหารือ และหาทางออกโดยชาวบ้านและหน่วยงาน องค์กร ทีจ่ ะเข้ามาช่วยเหลือ ให้ช่วยสนับสนุนชาวประมงในการท�ำอู่ซ่อมและสร้างเรือขึ้นมาเอง ช่วยเหลือในการหาไม้ หาช่างท�ำเรือ โดยน�ำเงินชดเชยจากรัฐบาลและ หน่วยงานต่างๆ ที่ร่วมกันสนับสนุนมาตั้งเป็นกองทุนหมุนเวียนให้ ชาวบ้านกูย้ มื ต่อเรือและจัดหาอุปกรณ์ทชี่ าวบ้านจะใช้ในการท�ำประมง แต่ละแบบ และเมื่อสามารถออกทะเลจับปลาหาหมึกหาปูได้แล้ว ค่อยทยอยส่งคืนกลุม่ ทีเ่ ป็นกองทุนหมุนเวียนต่อไป การตัง้ กองทุนหมุนเวียน จึงเป็นทางออกส�ำหรับการฟืน้ ฟูอาชีพ ในระยะยาวที่ตรงตามความต้องการของชาวบ้าน ถึงแม้ว่าบางส่วน จะยังรอรับเรือแจกฟรีจากหน่วยงานต่างๆ ทีเ่ ข้าไปบริจาค แต่เมือ่ เรือมี
147
148
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ปัญหา ใช้ไม่ได้ตามความต้องการ หรือถึงเวลาต้องซ่อมแซมก็ยงั ต้อง ใช้เงินทุนในการดูแลบ�ำรุงรักษา ก่อนหน้านีเ้ มือ่ ชาวบ้านขาดเงินทุนในการ ซ่อมแซมเรือหรือจัดซือ้ เครือ่ งมือทัง้ หลาย ก็ตอ้ งไปกูย้ มื จากเจ้าหนีท้ ใี่ ห้ กูย้ มื และต้องจ่ายดอกเบีย้ ราคาแพง ท�ำให้มหี นีส้ นิ เพิม่ ขึน้ จนถูกยึดทีด่ นิ หรือขายทรัพย์สนิ เพือ่ จ่ายหนี้ ดังนั้น การมีกองทุนหมุนเวียนจะช่วยให้ชาวบ้านสามารถ วางแผนการประกอบอาชีพของตนเอง และมีหลักประกันว่ายังมีกองทุน ทีจ่ ะให้การสนับสนุนช่วยเหลือซึง่ กันและกัน ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กบั ชุมชนอีกทางหนึง่
Tsunami : waves of reform
กองทุนส�ำหรับการฟืน ้ ฟูสภาพชีวต ิ และชุมชนของผูป ้ ระสบภัยพิบต ั ิ นอกจากกองทุนหมุนเวียนในเรือ่ งของการฟืน้ ฟูอาชีพ การจัด ตัง้ กองทุนยังมีความส�ำคัญมากส�ำหรับการดูแลช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยใน ด้านอืน่ ๆ ทัง้ การสร้างบ้าน ซ่อมแซมบ้าน การช่วยเหลือด้านการศึกษา ของเด็กและเยาวชนทีเ่ ป็นลูกหลานของคนในชุมชน การจัดสวัสดิการ การรักษาพยาบาล การดูแลผูส้ งู อายุ รวมไปถึงการจัดซือ้ ทีด่ นิ เพือ่ ให้ ชาวบ้านได้สร้างบ้านเพือ่ อยูอ่ าศัยส�ำหรับชาวบ้านทีไ่ ร้ทอี่ ยูอ่ าศัย หรือชาว บ้านทีอ่ ยูบ่ า้ นเช่าก็สามารถมีบา้ นเป็นของตัวเองได้ การจัดตัง้ กองทุนยังก่อให้เกิดความร่วมมือกันของหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ทีต่ อ้ งการช่วยเหลือผูป้ ระสบภัย ท�ำให้เห็นถึงประโยชน์ที่ ผูป้ ระสบภัยจะได้รบั จากการรวบรวมเงินบริจาค และในการจัดตัง้ กองทุน สามารถแยกประเภทของกองทุนได้วา่ แต่ละกองทุนต้องการให้ชาวบ้าน น�ำเงินทุนไปใช้ประโยชน์อะไร ซึง่ จะท�ำให้การมอบเงินบริจาคกับการ น�ำเงินไปใช้ของผูป้ ระสบภัยมีความสอดคล้องตามความต้องการของทัง้ สองฝ่าย และเป็นส่วนหนึง่ ของการแก้ปญ ั หาในรูปของเงินให้เปล่า ทีท่ ำ� ให้ ชาวบ้านเกิดปัญหาว่าได้รบั เงินไม่เท่ากัน หรือมีชาวบ้านบางส่วนทีไ่ ม่ได้รบั การช่วยเหลือเท่าทีค่ วร ศักดิด์ า พรรณรังสี หนึง่ ในผูป้ ระสบภัย เล่าว่า
149
150
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
“เรามีบทเรียนจากการจัดการเงินบริจาค ตอนทีอ่ ยูใ่ นศูนย์พกั พิง บางม่วง เริ่มแรกเราไม่รู้ว่าควรจะจัดการอย่างไร ได้เงินมาประมาณ 1,400,000 บาท ก็มกี ารถกเถียงกันว่าจะท�ำยังไงกับเงินก้อนนี้ จนได้ขอ้ ยุตวิ า่ ให้แบ่งเงินกัน ได้รบั เงินกันครอบครัวละ 900 บาท เงินก็หมด ตัว ใครตัวมัน เราก็มบี ทเรียนจากทีเ่ ราท�ำสภากาแฟ ลงหุน้ กัน เอาเงินมาร่วม ลงทุนกัน เงินก็ยงั อยู่ ได้กำ� ไรเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ อีก เราก็นา่ จะท�ำแบบนีก้ บั เงินบริจาคได้ ให้เป็นทุนในการตัง้ ต้น ท�ำเป็นกองทุนฟืน้ ฟู ตอนนีก้ ม็ กี ลุม่ ต่างๆ ทัง้ เลีย้ งปลาในกระชัง กลุม่ มาดอวน เพาะเห็ด แต่ละกลุม่ ก็มรี าย ได้ มีการออมทรัพย์ ได้เงินมาเราก็ไปฝากธนาคารพาณิชย์ เราก็มคี วาม คิดใหม่ขนึ้ มาอีก มีขอ้ เสนอว่าท�ำไมเราไม่ตงั้ ธนาคารชุมชนของเราเอง จะได้มเี งินหมุนเวียนไว้พฒ ั นาอาชีพ ดูแลความเป็นอยูข่ องพวกเรากันเอง พีๆ่ ทีเ่ ป็นอาสาสมัครจากธนาคารกรุงไทยก็มาเป็นทีป่ รึกษาให้คำ� แนะน�ำ วางระบบ จนมีธนาคารชุมชนของคนบ้านน�ำ้ เค็มได้” 42 การตั้งกองทุนหรือธนาคารชุมชนขึ้นมาเอง ท�ำให้ชาวบ้านมี อิสระทางการเงิน สามารถร่วมกันบริหารจัดการกองทุนได้เอง โดย หน่วยงานหรือองค์กรที่เข้าไปช่วยเหลือท�ำหน้าที่พี่เลี้ยง ที่ปรึกษา สนับสนุนด้านความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับการบริหารกองทุน หรือการท�ำ กลุม่ ออมทรัพย์ออมเงินในรูปแบบต่างๆ และเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้ไป ศึกษาดูงานเรียนรูจ้ ากกลุม่ อืน่ ๆ เพือ่ จะได้พดู คุยซักถามถึงข้อกังวลหรือ สิง่ ทีไ่ ม่เข้าใจจากผูท้ มี่ ปี ระสบการณ์จริง จะท�ำให้ชาวบ้านเชือ่ มัน่ และกล้า ทีจ่ ะบริหารจัดการการเงินของชุมชนด้วยตัวเอง
Tsunami : waves of reform
การจัดตัง ้ กลุม ่ ปกป้องทรัพยากร พัฒนาสังคม ฟืน ้ ฟูศล ิ ปวัฒนธรรม
การจัดตั้งกลุ่มต่างๆ เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือฟื้นฟู ผูป้ ระสบภัย ในกรณีของผูป้ ระสบภัยสึนามิ ชาวบ้านได้รวมกลุม่ กันมาก ถึงเกือบ 30 กลุม่ ซึง่ เป็นทัง้ กลุม่ อาชีพ กลุม่ หารายได้เสริม และกิจกรรม ทีท่ ำ� เพือ่ คลายเครียด ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ และกลุม่ ทีท่ ำ� กิจกรรม เพือ่ สิง่ แวดล้อมและสังคม กลุม่ ต่างๆ ทีเ่ กิดขึน้ จากการรวมกลุม่ ของ ผูป้ ระสบภัยสึนามิ ได้แก่ กลุม่ เลีย้ งปลาในกระชัง กลุม่ มาดอวนชุมชน เข้มแข็ง พึง่ ตนเองได้ กลุม่ เรือหัวโทงสึนามิ กลุม่ เบ็ดราว กลุม่ โรงท�ำกว๊าน ชุมชน กลุม่ ซ่อมเครือ่ งยนต์ กลุม่ ผลิตน�ำ้ แข็งยูนติ กลุม่ เพาะเห็ดฟาง กลุม่ แกะลายกระจก กลุม่ ทอผ้าซาโอริ กลุม่ ท�ำผ้าบาติก กลุม่ ผ้ามัดย้อม กลุม่ จักสาน กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า กลุ่มซักรีด กลุ่มนวดแผนไทย กลุ่มท�ำ เฟอร์นเิ จอร์ กลุม่ แปรรูปสิง่ ประดิษฐ์จากไม้ กลุม่ สร้างบ้าน บ้านน�ำ้ เค็ม (ซอยร่มเย็น) กลุม่ บ้านเช่า กลุม่ คนไร้บา้ น กลุม่ ศิลปะเด็ก กลุม่ อนุรกั ษ์ อันดามัน กลุม่ สภากาแฟ ฯลฯ เป็นต้น แม้วา่ บางกลุม่ จะมีการท�ำกิจกรรมกันเฉพาะในช่วงเวลาทีอ่ ยูใ่ น ศูนย์พกั พิง แต่ทกั ษะบางอย่างทีไ่ ด้ฝกึ ฝนก็สามารถน�ำมาใช้ประกอบอาชีพ
151
152
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ได้ในอนาคต นอกจากทักษะอาชีพเกีย่ วกับการประมงแล้ว พืน้ ทีป่ ระสบ ภัยสึนามิยงั เป็นพืน้ ทีต่ ดิ ทะเลทีส่ ามารถส่งเสริมการท่องเทีย่ วได้ ชาวบ้าน บางกลุ่มจึงหันมาประกอบอาชีพเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ทั้งการท�ำ โฮมสเตย์ รีสอร์ทขนาดเล็ก และการท่องเทีย่ วเชิงอนุรกั ษ์ ปัจจุบนั ชุมชนผูป้ ระสบภัย โดยเฉพาะบ้านน�ำ้ เค็ม ได้ใช้กจิ กรรม การจัดตั้งกลุ่มเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ของคนในชุมชน เด็กและ เยาวชน ให้เข้ามามีสว่ นร่วมในการพัฒนาชุมชน รักษาทรัพยากร มีการ จัดตัง้ กลุม่ เยาวชน กลุม่ อนุรกั ษ์ปา่ ชายเลน 12 กลุม่ และเป็นตัวอย่าง ให้กับกลุ่มอื่นๆ ในจังหวัด ด�ำเนินกิจกรรมเพื่อการพัฒนาจังหวัด ร่วมกับเครือข่ายต่างๆ ในจังหวัดอื่นๆ ขยายความร่วมมือไปได้ใน ระดับหนึง่ ซึง่ เป็นรากฐานส�ำคัญของการพัฒนาสังคมและประเทศ เช่น การร่วมกับสมัชชาเด็กและเยาวชน สมัชชาสุขภาพระดับจังหวัด และ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น ปัญญา อนันตะกูล หนึง่ ในแกนน�ำชุมชนบ้านน�ำ้ เค็มกล่าวว่า “สิง่ ทีด่ ที เี่ กิดขึน้ หลังจากสึนามิ คือ เรารวมกลุม่ กันง่ายขึน้ และ ชาวบ้านก็มามีบทบาทในการเป็นแกนน�ำแบบไม่เป็นทางการ สามารถ ปกป้องทรัพยากร รูเ้ รือ่ งป่า สิง่ แวดล้อม ทะเล ภัยพิบตั ติ า่ งๆ ชาวบ้าน สามารถดูแลได้ทกุ เรือ่ ง จากทีเ่ มือ่ ก่อนตัวใครตัวมัน ชาวบ้านเรียนรูท้ จี่ ะ รับมือกับวิกฤติิ และมีใจอยากจะช่วยเหลือคนอื่น ร่วมกิจกรรมกับ
Tsunami : waves of reform
กลุม่ อืน่ ฟืน้ ฟูความสัมพันธ์ของคนในชุมชน เราอยูร่ ว่ มกันกับเพือ่ นอีก หลากหลายพืน้ ทีไ่ ด้ เช่น เครือข่ายประมงพืน้ บ้าน เราพยายามสร้างสิง่ ใหม่ขนึ้ เรือ่ ยๆ และเรายังมีแกนน�ำรุน่ ใหม่ขนึ้ มาท�ำงานต่อเรือ่ ยๆ ทีเ่ ติบโต ผ่านการท�ำกิจกรรมต่างๆ เช่น รับมือภัยพิบตั ิ ดูแลสิง่ แวดล้อม ปกป้อง ทรัพยากร และยกระดับเพือ่ ท�ำสิง่ อืน่ ๆ ช่วยเหลือคนอืน่ หากมีวกิ ฤติิ ระดับประเทศ คนรุน่ ใหม่เหล่านีก้ จ็ ะเข้าไปช่วยได้” 43 นอกจากการมีกลุม่ ต่างๆ เพือ่ ร่วมกันพัฒนาชุมชน และมีสว่ น ร่วมกับประเด็นอืน่ ๆ ในสังคมส่วนรวมแล้ว ยังมีการสนับสนุนการจัดตัง้ กลุม่ เพือ่ การฟืน้ ฟูประเพณีวฒ ั นธรรม ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ทีจ่ ะช่วยยึดโยง ผูค้ นในชุมชน สร้างความสัมพันธ์ทดี่ ตี อ่ กันผ่านกิจกรรมทางสังคม หลัง จากภัยพิบัติสึนามิ ชุมชนบ้านน�้ำเค็มได้มีการสนับสนุนให้เกิดลาน วัฒนธรรม พิธกี รรมส่งเสริมศาสนา การละเล่นพืน้ บ้าน ภูมปิ ญ ั ญา ภาษาของชาวบ้าน พิพธิ ภัณฑ์ทอ้ งถิน่ ซึง่ กิจกรรมเหล่านีเ้ ป็นกระบวนการ ในการรวมคน สร้างขวัญก�ำลังใจ บ�ำบัดความโศกเศร้าเสียใจ สร้างความ มัน่ ใจและเพิม่ พลังชีวติ โดยเฉพาะกลุม่ คนชายขอบ หรือคนกลุม่ น้อย ให้มโี อกาสได้แสดงออกในลักษณะต่างๆ ส�ำหรับเครือข่ายผูป้ ระสบภัยสึนามิ 6 จังหวัดอันดามัน ได้มกี าร ฟื้นฟูกลุ่มศิลปินอันดามันและจัดให้มีการแสดงในงานต่างๆ ได้แก่ ร็องแง็ง ลิเกป่า มโนราห์ ร�ำมะนา ฯลฯ ซึง่ เป็นการสืบสานศิลปะพืน้ บ้าน ให้ความบันเทิง สานสัมพันธ์ของผูค้ นทีม่ ปี ระเพณีวฒ ั นธรรมใกล้เคียงกัน เกิดความภาคภูมิใจและเห็นคุณค่าในศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นร่วมกัน
153
154
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
รวมทัง้ มีการสร้างสรรค์บทเพลงอัลบัม้ เสียงใจอันดามัน ทีส่ ะท้อนเรือ่ ง ราววิถชี วี ติ ของคนในอันดามันทุกกลุม่ ทัง้ ชาวประมง ชาวเลและคนไทย พลัดถิน่ ทีไ่ ร้สญ ั ชาติ
จัดท�ำแผนแม่บท เพือ ่ การพัฒนาชุมชนระยะยาว และการพัฒนาแกนน�ำ
เนือ่ งจากชุมชนทีป่ ระสบภัยพิบตั ิ แม้จะเป็นชุมชนดัง้ เดิม แต่ภยั พิบตั ทิ ำ� ให้ชมุ ชนต้องเริม่ ต้นใหม่ การวางแผนเพือ่ กับคืนสูพ่ นื้ ที่ ชุมชนเดิม การเริ่มต้นอาชีพ และการสร้างชุมชนใหม่ จึงควรมีการ สนับสนุนและเปิดโอกาสให้ชมุ ชนได้มสี ว่ นร่วมในการก�ำหนดแผนเพือ่ การ พัฒนาชุมชนของตนเองในระยะยาว โดยเน้นให้ผู้ประสบภัยสามารถ พึง่ ตนเองได้ และค�ำนึงถึงความยัง่ ยืนในทุกด้าน ทัง้ เรือ่ งอาชีพ รายได้ การอยูก่ ารกิน การศึกษาของเด็กและเยาวชน การดูแลผูส้ งู อายุ ผูป้ ว่ ย การดูแลสิง่ แวดล้อม รวมทัง้ การรับมือกับภัยพิบตั ทิ อี่ าจจะเกิดขึน้ มา ได้อกี
Tsunami : waves of reform
ในกรณีของผูป้ ระสบภัยสึนามิ ชุมชนบ้านน�ำ้ เค็มได้มกี ารเก็บ ข้อมูลสมาชิกและวิวฒ ั นาการของชุมชนทุกมิติ ชุมชนมีสว่ นร่วมในการ ก�ำหนดแผนเพือ่ การพัฒนาชุมชนของตนเอง ปรึกษาหารือ วางแผน และ น�ำไปสู่การปฏิบัติเพื่อสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง น่าอยู่ โดยการวางแผน ครอบคลุมทุกด้าน ทัง้ เศรษฐกิจและการท่องเทีย่ ว สังคมและวัฒนธรรม ด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม และการจัดระบบชุมชนในรูปของการ พัฒนากลุม่ อาชีพต่างๆ รวมถึงระบบธนาคารชุมชน และการจัดสวัสดิการ ให้กบั สมาชิกในชุมชนด้วย รวมทัง้ การเตรียมความพร้อมรับมือกรณีเกิด ภัยพิบตั ิ โดยมีทมี อาสาสมัครชาวบ้าน มีการซ้อมหนีภยั วิทยุสอื่ สาร การเฝ้าระวังคลืน่ และร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องเพือ่ ให้การรับมือ ภัยพิบตั ไิ ด้ผลระยาว ไม่ใช่การเตรียมตัวในระยะสัน้ เมือ่ เห็นว่าไม่มเี หตุเกิด ติดต่อกันหลายปีกเ็ กิดความหละหลวม ชุมชนจะมีสว่ นกระตุน้ ให้ทกุ หน่วยงาน ทุกฝ่าย ท�ำตามแผนอย่างสม�ำ่ เสมอ ในขณะที่ชุมชนอื่นๆ ยังไม่มีแผนรับมือภัยพิบัติอย่างเด่นชัด แต่ภาครัฐก็มกี ารจัดท�ำแผนพัฒนาภูมภิ าคอันดามันเพือ่ การพัฒนาพืน้ ที่ ทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากธรณีพบิ ตั สิ นึ ามิครอบคลุมพืน้ ทีจ่ งั หวัดกระบี่ พังงา และภูเก็ต มียทุ ธศาสตร์และแผนพัฒนาหลักๆ คือ มุง่ เน้นการสร้าง เครือ่ งมือเพือ่ เป็นแนวทางในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ครอบคลุมแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม แผนการจัดการด้าน สิง่ แวดล้อม ตลอดจนการจัดเตรียมแผนด้านโครงสร้างพืน้ ฐาน โดยมี แนวทางการด�ำเนินงานทีท่ นั สมัย มีการปรับปรุงการประสานงานด้านการ ใช้ทรัพยากรทีม่ อี ยูใ่ นภูมภิ าคให้มปี ระสิทธิภาพมากขึน้ โดยอาศัยแผน
155
156
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
พัฒนาระดับ ต่างๆ ได้แก่ แผนโครงสร้างในภาพรวม แผนพัฒนาพืน้ ที่ เฉพาะในรายละเอียด และแผนปฏิบตั กิ ารของโครงการน�ำร่องส�ำหรับ ท้องทีเ่ ฉพาะแห่ง44 ส่งผลให้เกิดกระแสการวิพากษ์วจิ ารณ์ในเรือ่ งผล กระทบต่อชุมชนทัง้ ด้านการเวนคืนทีด่ นิ การเข้ามาของนายทุนอันเป็น ภัยต่อการคุกคามของเศรษฐกิจท้องถิน่ ขนาดเล็กต่างๆ นอกจากแผนแม่บทในการพัฒนาชุมชนแล้ว ยังมีการพัฒนาแกน น�ำของชุมชน รวมไปถึงการสนับสนุนและสร้างแกนน�ำรุน่ ใหม่ เพือ่ สานต่อ แนวความคิดและการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งยั่งยืนต่อไป ดังนั้นการ สนับสนุนให้แกนน�ำได้มโี อกาสแลกเปลีย่ นเรียนรู้ ดูงาน กับกลุม่ เครือข่าย จึงส�ำคัญอย่างยิง่ ในการท�ำงานร่วมกันของกลุม่ แกนน�ำ ต้องมีการปรึกษา หารือ ประชุมร่วมกัน ลงมือปฏิบตั งิ าน และมีการสรุปบทเรียนการท�ำงาน อย่างต่อเนือ่ ง รูจ้ กั วิเคราะห์จดุ แข็งจุดอ่อนของตนเอง วิเคราะห์ชมุ ชน และมองภาพรวมของการพัฒนาชุมชน ยกระดับในการเชือ่ มโยงเครือข่าย และวิเคราะห์ประเด็นงานต่างๆ ในระดับทีก่ ว้างขึน้ ไปจนถึงการวิเคราะห์ ไปถึงทิศทางของการพัฒนาประเทศ เพื่อให้แกนน�ำเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ทีจ่ ะท�ำงานร่วมกับทัง้ คนในชุมชนและภายนอกชุมชนได้ การพัฒนาแกนน�ำจึงเป็นส่วนหนึง่ ของการพัฒนาชุมชนทีต่ อ้ งท�ำควบคู่ กันไป
ขบวนการประชาชนงอกงามจากภัยพิบต ั ิ ความสูญเสีย สิน ้ หวัง พลิกเปลีย ่ นจาก “เหยือ ่ ” มา เป็น “ผู้กอบกู้วิกฤต” เติบโตเข้มแข็งพร้อมที่จะ เผชิญกับวิกฤตนานา ทีละก้าว ทีละขัน ้ คนเล็กๆ คนแล้วคนเล่า ลุกขึน ้ หยัดยืน รวมใจสานพลังกันเป็นเครือข่ายภาค ประชาชน แก้ปญ ั หาของตนเอง ชุมชน ขยายสูก ่ าร ช่ ว ยเหลื อ ผู ้ อื่ น และผู ้ ท่ี ย ากล� ำ บากกว่ า เป็ น ขบวนการทีเ่ ติบโตขึน ้ เรือ ่ ยๆ จนก้าวขึน ้ สูก ่ ารปฏิรป ู สังคมให้เกิดความเป็นธรรม ลดความเหลือ ่ มล�ำ้ ที่ สะสมมาอย่างยาวนานในสังคมไทย เพื่อสร้าง สังคมทีน ่ า่ อยูแ่ ละเป็นสุขร่วมกัน
บทที่ 3
eg ความงอกงามของขบวนการประชาชน หลังภัยสึนามิ เพียงชัว่ พริบตา คลืน่ ยักษ์สนึ ามิได้พลิกชีวติ ผูค้ นมากมายและ อย่างไม่มวี นั หวนกลับ ผูค้ นจ�ำนวนมากบาดเจ็บ ล้มตาย และสูญหาย สมาชิกในครอบครัวกระจัดกระจาย บ้านเรือน สิง่ ปลูกสร้าง ทรัพย์สนิ มี ค่าต่างๆ พังทลาย ... แม้คลืน่ ลมจะสงบแล้ว แต่กเ็ หมือนคลืน่ ซ�ำ้ กรรม ซัด ผูป้ ระสบภัยยังต้องเผชิญกับผลกระทบทีเ่ กิดขึน้ ตามมา ระลอกแล้ว ระลอกเล่า พวกเขาต้องต่อสูด้ นิ้ รนเพือ่ ให้มที อี่ ยูอ่ าศัยทีป่ ลอดภัย มีทที่ าง ท�ำมาหากินเพือ่ ประคับประคองชีวติ ทีเ่ หลือให้อยูไ่ ด้ และกอบกูเ้ อาศักดิศ์ รี และสิทธิแห่งความเป็นมนุษย์ทเี่ ท่าเทียมกับคนอืน่ ๆ กลับคืนมา ภัยพิบตั คิ รัง้ นีเ้ ป็นบททดสอบส�ำคัญของหัวใจมนุษย์ ทีส่ ามารถ แปรเปลีย่ นความยากล�ำบากให้เป็นโอกาสในการตัง้ หลักใหม่ในชีวติ ร่วม กันค้นหาคุณค่าความหมายในการด�ำรงอยู่ ยืนหยัดต่อสูเ้ พือ่ ความถูกต้อง และเป็นธรรม ฟืน้ ฟูจติ ส�ำนึกสาธารณะในการช่วยเหลือกันในสังคม พลิก ฟืน้ และพัฒนาชุมชนให้มพี ลังเข้มแข็ง และร่วมเป็นส่วนส�ำคัญในการ พัฒนาประเทศ
160
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
คลืน ่ กระทบ สูค ่ รอบครัวและสังคมหลังคลืน ่ ยักษ์ คลืน่ สึนามิทำ� ลายขวัญก�ำลังใจและทิง้ ร่องรอยของบาดแผลทัง้ ทางกายและจิตใจ ทีถ่ งึ แม้วา่ กาลเวลาจะผ่านไปแล้ว สภาพร่างกายอาจ จะฟืน้ เป็นปกติ บางรายอาจมีภาวะพิการ แต่หลายคนได้รบั ผลกระทบ ทางจิตใจทีย่ ากจะฟืน้ คืนดังเดิม หลายครอบครัวพลัดพรากจากคนทีร่ กั สูญเสียบ้าน ทรัพย์สนิ อาชีพ รายได้ ฯลฯ ในบางพืน้ ที่ พบว่ามีอบุ ตั กิ ารณ์ ความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มขึ้น ปัญหาการหย่าร้าง ความก้าวร้าว หงุดหงิด ทะเลาะวิวาท ภาวะซึมเศร้า เด็กถูกท�ำร้าย เด็กไม่อยากไป โรงเรียน ความรูส้ กึ ไม่ปลอดภัย ไม่เป็นสุข ขาดความมัน่ คงทางจิตใจ ซึง่ เป็นผลกระทบต่อครอบครัว ชุมชน และสังคมอย่างยิง่ จากการศึกษาของ พิมลพรรณ อิศรภักดี ผูช้ ว่ ยศาสตราจารย์ ประจ�ำสถาบันวิจยั ประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล45 พบว่า ผลกระทบทางสุขภาพทีอ่ าจจะเป็นปัญหา คือ สภาพจิตใจของประชาชน ไม่วา่ จะเป็นกลุม่ ผูไ้ ด้รบั ผลกระทบโดยตรง ได้แก่ ผูท้ สี่ ญ ู เสียบุคคลอัน เป็นทีร่ กั สูญเสียทรัพย์สนิ ทีอ่ ยูอ่ าศัย ไม่ได้รบั ความยุตธิ รรมจากการได้ รับความช่วยเหลือทีไ่ ม่เท่าเทียม และกลุม่ ทีไ่ ม่ได้ประสบภัยโดยตรง ได้แก่ ญาติ ผูใ้ กล้ชดิ ของผูเ้ สียชีวติ หรือสูญหาย รวมทัง้ กลุม่ ผูใ้ ห้ความช่วยเหลือ ทีอ่ อ่ นล้าและเผชิญกับความขัดแย้งในกลุม่ คนท�ำงาน
Tsunami : waves of reform
จากการประเมินปัญหาสุขภาพจิตผูป้ ระสบภัยในช่วง 8 สัปดาห์ หลังเหตุการณ์สึนามิร่วมกันระหว่างศูนย์ความร่วมมือด้านเอดส์ ประเทศไทยและกรมสุขภาพจิต พบว่า ผูป้ ระสบภัยจังหวัดพังงามีปญ ั หา ความเครียดรุนแรงภายหลังเกิดเหตุวกิ ฤติิ (Post Traumatic Stress Disorder :PTSD) ในสัดส่วนทีส่ งู ทีส่ ดุ โดยผูท้ อี่ าศัยอยูใ่ นศูนย์พกั พิง ประมาณร้อยละ 12 และผูท้ อี่ าศัยในชุมชน ร้อยละ 7 มีอาการ PTSD ส่วนผูท้ อี่ ยูใ่ นชุมชนจังหวัดกระบีแ่ ละภูเก็ต พบเพียงร้อยละ 3 ส�ำหรับปัญหาซึมเศร้าพบว่าเกิดขึน้ กับผูป้ ระสบภัยทีอ่ าศัยใน ศูนย์พกั พิง และผูท้ อี่ าศัยในชุมชนจังหวัดพังงา ร้อยละ 30 และร้อยละ 20 ตามล�ำดับ ในขณะทีผ่ ทู้ อี่ ยูใ่ นชุมชนจังหวัดกระบีแ่ ละภูเก็ต มีอาการ ซึมเศร้า ร้อยละ 10 (van Griensven et al., 2006) ส่วนกลุม่ ผูป้ ระสบ ภัยทีเ่ ป็นเด็ก พบปัญหาความเครียดรุนแรงภายหลังเกิดเหตุวกิ ฤติิ หรือ PTSD ของเด็กในจังหวัดพังงา ร้อยละ 13 เด็กในจังหวัดภูเก็ตและกระบี่ ร้อยละ 8 ส่วนภาวะซึมเศร้า พบร้อยละ 10 และ ร้อยละ 7 ตามล�ำดับ (Thienkrua et al. 2006) การเปลีย ่ น จาก “เหยือ ่ ” มาเป็น “ผูก ้ อบกู้ วิกฤติ” จึงเป็นแนวทางหนึง ่ ทีจ ่ ะช่วยลดปัญหา สุขภาพจิตทีอ ่ าจเกิดขึน ้ ตามมาได้ อีกทัง ้ ยังช่วย เสริมสร้างให้เกิดความความเอือ ้ อาทร ความเห็น อกเห็นใจ ความสามัคคี รูส ้ ก ึ เป็นเจ้าของชุมชน ชุมชนมีความเข้มแข็งและเกิดความภาคภูมใิ จใน ตัวเองมากยิง ่ ขึน ้ อีกด้วย
161
162
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
เมื่ อ มี ก ารส� ำ รวจปั ญ หาสุ ข ภาพจิ ต ในพื้ น ที่ 6 จั ง หวั ด ทีป่ ระสบภัย 9 เดือนหลังเกิดเหตุการณ์ พบว่า ผูป้ ระสบภัยมีอาการทาง จิตสูงถึง 9,131 ราย ป่วยทางจิตขัน้ รุนแรง 362 ราย ปัญหาสุขภาพจิต ทีพ่ บมากทีส่ ดุ คือ ผูป้ ว่ ยทีอ่ ยูใ่ นภาวะซึมเศร้าพบถึงร้อยละ 29 รองลงมา เป็นโรคพีทเี อสดี (PTSD) หรือความผิดปกติทางจิตใจภายหลังเกิดเหตุ วิกฤติ พบร้อยละ 23 ผูค้ ดิ ฆ่าตัวตายมีรอ้ ยละ 9 ติดสารเสพติดเพือ่ ดับ ความทุกข์ใจ ร้อยละ 6 และอีกร้อยละ 3 มีความเศร้าโศกอย่างมาก ร้อง ไห้บอ่ ยๆ นอนไม่หลับ โหยหาบุคคลทีเ่ สียชีวติ และไม่ตอ้ งการเห็นสิง่ ทีย่ ำ�้ เตือนให้คดิ ถึงผูต้ าย ซึง่ ผูป้ ระสบภัยจะคงยังเห็นภาพติดตา ตืน่ กลัวเวลา ทีไ่ ด้ยนิ หรือเห็นสิง่ ทีเ่ ตือนให้ระลึกถึงเหตุการณ์ นอนไม่หลับ ฝันร้าย บางครัง้ ระแวดระวังสะดุง้ ผวา ใจสัน่ อึดอัดไม่สบายใจ โดยเฉพาะได้ยนิ ข่าวแผ่นดินไหว ส่วนใหญ่พบในผูห้ ญิงมากกว่าชายประมาณ 2 เท่าตัว ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากสภาพจิตใจของผูห้ ญิงมีความอ่อนไหวกว่าผูช้ าย ฉะนัน้ กระบวนการเยียวยาและฟืน้ ฟูจติ ใจจึงมีสว่ นส�ำคัญมาก ไม่ยงิ่ หย่อนไปกว่าการฟืน้ ฟูดา้ นอาชีพ รายได้ การชดเชยสิง่ ปลูกสร้างทัง้ หลาย กระบวนการเยียวยาควรเริม่ ท�ำตัง้ แต่ชว่ งแรกหลังจากประสบภัย พิบตั ิ ไม่ควรปล่อยเวลาให้ลว่ งเลยเกินไป และไม่ควรท�ำให้เกิดความรูส้ กึ ว่าผูป้ ระสบภัยถูกซ�ำ้ เติม เช่น ต้องสูญเสียคนในครอบครัว อาชีพ รายได้ แล้วยังถูกยึดทีด่ นิ ทีอ่ ยูม่ ายาวนาน ซึง่ เป็นการซ�ำ้ เติมผูป้ ระสบภัยทีห่ นัก หนาเกินไป จนอาจท�ำให้ผู้ประสบภัยรู้สึกต่อต้านสังคมและอาจเดิน ทางผิดได้
Tsunami : waves of reform
หลักการส�ำคัญในการเผชิญกับปัญหาหรือเยียวยาฟืน้ ฟูสภาพ จิตใจผูป้ ระสบภัยให้กลับสูภ่ าวะปกติโดยเร็วทีส่ ดุ คือ การอาศัยการมีสว่ น ร่วมของคนในชุมชน ในการช่วยกันฟืน้ ฟูเยียวยาจิตใจ ให้ความส�ำคัญกับ การเปลีย่ นสภาวะเหยือ่ จากภัยพิบตั มิ าเป็นผูร้ ว่ มกอบกูว้ กิ ฤติิ ดึงพลังของ คนในชุมชน มาสร้างความร่วมไม้รว่ มมือในการฟืน้ ชีวติ และชุมชนร่วมกัน ดูแลกันและกัน เพือ่ เป็นการสร้างคุณค่าให้แก่ผปู้ ระสบภัย ให้เห็นความ ส�ำคัญของการช่วยเหลือและจัดการกันเองภายในชุมชน ไม่รอความ ช่วยเหลือจากภายนอกเพียงอย่างเดียว เพราะยิ่งคนจมอยู่กับความ สูญเสียมากเท่าไร ก็จะยิง่ ท�ำให้เกิดภาวะซึมเศร้าและการท�ำร้ายตนเอง มากขึน้ เท่านัน้ การเปลีย่ น จาก “เหยือ่ ” มาเป็น “ผูก้ อบกูว้ กิ ฤติ” จึงเป็น แนวทางหนึง่ ทีจ่ ะช่วยลดปัญหาสุขภาพจิตทีอ่ าจเกิดขึน้ ตามมาได้ อีกทัง้ ยังช่วยเสริมสร้างให้เกิดความความเอื้ออาทร ความเห็นอกเห็นใจ ความสามัคคี รูส้ กึ เป็นเจ้าของชุมชน ชุมชนมีความเข้มแข็งและเกิดความ ภาคภูมใิ จในตัวเองมากยิง่ ขึน้ อีกด้วย 46
163
164
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
พลิกวิกฤติิ สร้างโอกาส ให้กบ ั เด็กและ ผูห ้ ญิง /บทบาทและความซับซ้อนของ ความเป็นหญิงในภาวะวิกฤติ
คลื่นยักษ์สึนามิมีผลกระทบต่อคนแต่ละเพศ วัย และกลุ่ม ชาติพนั ธุใ์ นลักษณะทีแ่ ตกต่างกันไป จากข้อมูลของ ณัฐวรรณ สุขแพทย์ อาสาสมัครมูลนิธผิ หู้ ญิง47 พบว่า เหตุการณ์ภยั พิบตั สิ นึ ามิสง่ ผลให้เกิด การใช้ความรุนแรงในครอบครัว และผูห้ ญิงจ�ำนวนมากต้องแบกภาระ ปัญหาภายในครอบครัวมากขึน้ แต่ทว่าพวกเธอยังไม่ได้รบั การยอมรับ และไม่ได้มสี ว่ นร่วมในกระบวนการตัดสินใจในชุมชนเท่าทีค่ วร โดยเฉพาะ ผูห้ ญิงชาวเลและแรงงานต่างด้าว ดังนัน้ การให้ความช่วยเหลือหรือ พัฒนาชุมชนภายหลังภัยพิบัติหรือภาวะวิกฤติ จ�ำเป็นต้องเข้าใจมิติ หญิง-ชายด้วย ปรากฏการณ์ทพี่ บ คือ เมือ่ ได้รบั เงินช่วยเหลือ ฝ่ายชายมัก น�ำเงินไปกินเหล้าและเล่นพนัน (อันเป็นผลกระทบจากภาวะทางจิต ดังที่ ได้กล่าวไปแล้ว) สิง่ นีจ้ งึ น�ำไปสูค่ วามขัดแย้งในครอบครัวจนถึงขัน้ ผูห้ ญิง ได้รบั บาดเจ็บ และส่งผลให้เกิดปัญหาหย่าร้างแยกทาง เด็กหลายคนถูก ทอดทิง้ ไว้กบั ญาติในชุมชน
Tsunami : waves of reform
ไม่เพียงถูกกระท�ำความรุนแรงทางร่างกาย จิตใจและเพศอย่าง สาหัส จากสามี คนรักและคนใกล้ตวั ผูห้ ญิงยังถูกซ�ำ้ เติมด้วยความรุนแรง จากโครงสร้างสังคม วัฒนธรรม ด้วยความเป็นหญิง หญิงหม้าย และการ ทีไ่ ม่ได้เป็นหัวหน้าครอบครัว ท�ำให้พวกเธอไม่ได้รบั ความช่วยเหลือต่างๆ อย่างเท่าเทียมและโดยตรง ที่ส�ำคัญ พวกเธอถูกท�ำให้รู้สึกโดดเดี่ยว ท่ามกลางสังคมทีม่ องว่าปัญหาการทะเลาะกันระหว่างสามี-ภรรยาเป็น เรือ่ งภายในครอบครัว แม้หน่วยงานภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชนจะ มีนโยบายป้องกันและยุตคิ วามรุนแรงต่อผูห้ ญิงแล้วก็ตาม48 การด�ำเนินการช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยจึงควรมีความละเอียดอ่อน ในเรือ่ งของผูห้ ญิงในหลายประเด็น ทัง้ สรีระร่างกาย การมีประจ�ำเดือน การตัง้ ครรภ์ การคลอดและการเลีย้ งทารก ความเสีย่ งทีจ่ ะถูกล่วงละเมิด ทางเพศ นอกจากนัน้ กรอบของวัฒนธรรมและสังคมยังเป็นปัญหาส�ำคัญ ทีจ่ ำ� กัดสิทธิผหู้ ญิงบางกลุม่ ในพืน้ ทีป่ ระสบภัยด้วย องค์กรที่ท�ำงานด้านผู้หญิงและองค์กรที่มีความเข้าใจในมิติ หญิงชายได้เข้าไปช่วยเหลือกลุม่ ผูห้ ญิงทีป่ ระสบภัย โดยใช้กระบวนการ มีสว่ นร่วม จัดตัง้ กลุม่ และสร้างกระบวนการเรียนรูใ้ ห้ผหู้ ญิงเข้าร่วมในการ ท�ำงานชุมชน ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้หญิงได้รับสิทธิเสมอภาค เท่าเทียม จัดกิจกรรม ส่งเสริมอาชีพ รวมกลุม่ กันแก้ปญ ั หาตัวเองและ ช่วยกันเยียวยาจิตใจ รวมถึงการผลักดันให้เกิดกระบวนการเรียนรูร้ ว่ มกัน ระหว่างองค์กรในมิตหิ ญิงชายจนสามารถสร้างการเปลีย่ นแปลงได้ อาทิ การยกเลิกแนวคิดเรือ่ งหัวหน้าครอบครัว ทีเ่ คยใช้เป็นเกณฑ์ในการแจก
165
166
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
จ่ายเงินชดเชยความเสียหาย โดยเข้าใจว่าผูช้ ายทีม่ ชี อื่ ในทะเบียนบ้านเป็น หัวหน้าครอบครัว แต่ผหู้ ญิงก็แบ่งเบาภาระหารายได้มาสูค่ รอบครัวและ เลีย้ งลูก และการแจกจ่ายของบริจาคให้กบั ผูห้ ญิงควรก�ำหนดให้เจ้าหน้าที่ ผูห้ ญิงเป็นผูแ้ จก เนือ่ งจากในบางกลุม่ ผูห้ ญิงรูส้ กึ เขินอายและไม่กล้ารับ ของจากเจ้าหน้าทีช่ าย นอกจากองค์กรต่างๆ แล้ว ยังมีกลุม่ ผูห้ ญิงในพืน้ ทีท่ ลี่ กุ ขึน้ มามี บทบาททัง้ ในระดับชุมชนและเครือข่าย ท�ำกิจกรรมทีเ่ กีย่ วข้องกับอาชีพ รายได้ การจัดการการเงิน การปกป้องทรัพยากร ทีด่ นิ บ้าน สิง่ แวดล้อม ชุมชน และเรือ่ งสาธารณะอืน่ ๆ จนปัจจุบนั แกนน�ำผูห้ ญิงในชุมชนเหล่า นีย้ งั คงมีบทบาทในหลายประเด็น เช่น กลุม่ ผูห้ ญิงไทยพลัดถิน่ ทีข่ บั เคลือ่ นปัญหาสถานะบุคคล คนไร้สญ ั ชาติ ประเด็นทีด่ นิ เป็นการท�ำงาน เสริมกันระหว่างหญิงชาย เพือ่ ร่วมมือกันพัฒนาชุมชนต่อไป การช่วยเหลือและพัฒนาเด็ก ผลกระทบจากสึนามิตอ่ เด็กนัน้ มีหลายรูปแบบ ทัง้ กลุม่ เด็กที่ พ่อแม่เสียชีวติ กลุม่ เด็กทีอ่ ยูใ่ นเหตุการณ์ภยั พิบตั กิ บั พ่อแม่ และกลุม่ เด็ก ทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากการทีผ่ ปู้ กครองพ่อแม่ได้รบั บาดเจ็บเสียหาย สภาพ ปัญหาของเด็กนัน้ มีทงั้ ทีไ่ ด้รบั ผลกระทบกระทือนทางจิตใจ ผลกระทบทาง ร่างกายทีบ่ าดเจ็บจากภัยพิบตั ิ ผลกระทบจากอาชีพรายได้ของผูป้ กครอง ทีท่ ำ� ให้ยากจน และมีผลกระทบต่ออนาคตของเด็ก
Tsunami : waves of reform
เด็กทีป่ ระสบภัยพิบตั หิ ลายคน แม้เหตุการณ์จะผ่านไปนานแล้ว แต่กย็ งั มีอาการเหม่อซึม แม้โดยรวมเด็กจะเศร้าโศกเสียใจต่อความสูญ เสียคนในครอบครัวสักระยะหนึ่ง และสามารถเยียวยารักษาจิตใจได้ (ขึน้ อยูก่ บั การช่วยเหลือดูแลทีเ่ หมาะสมและต่อเนือ่ ง) การแก้ปญ ั หาผล กระทบทีม่ ตี อ่ เด็ก ไม่ใช่เพียงการช่วยเหลือบริจาคเงินเพือ่ การศึกษาให้เด็ก ได้เรียนต่อเท่านัน้ แต่ยงั มีเรือ่ งของการฟืน้ ฟูเสริมสร้างก�ำลังใจ การช่วย เหลือครอบครัวของเด็กให้มอี าชีพ รายได้ ทีส่ ามารถดูแลเด็กได้ตอ่ เนือ่ ง ต่อไป เนือ่ งจากเด็กทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากสึนามิ ไม่ใช่มเี พียงเด็กใน พืน้ ทีป่ ระสบภัยเท่านัน้ แต่มเี ด็กจ�ำนวนมากทีก่ ระจายตัวอยูท่ วั่ ประเทศ ทีพ่ อ่ แม่ ผูป้ กครองเข้ามาท�ำงานในพืน้ ทีภ่ าคใต้และประสบกับภัยพิบตั ิ จนท�ำให้เด็กต้องสูญเสีย ซึง่ กระทบต่อรายได้ทจี่ ะมาจุนเจือครอบครัวเพือ่ ให้เด็กได้สร้างอนาคตต่อไป ส�ำหรับการช่วยเหลือเด็กที่ประสบภัยสึนามินั้นมีในหลาย ลักษณะ ทัง้ ทีอ่ งค์กรเข้าไปช่วยเหลือเฉพาะเด็ก และองค์กรทีเ่ ข้าไปช่วย เหลือครอบครัวพัฒนาควบคูไ่ ปกับชุมชน ซึง่ ลักษณะการช่วยเหลือหลาย รูปแบบเหล่านีก้ ท็ ำ� ให้เกิดปัญหาว่า บางหน่วยงานไม่สามารถปฏิบตั กิ าร ช่วยเหลือเด็กและครอบครัวรวมทัง้ การท�ำงานร่วมกับชุมชนไปพร้อมๆ กันได้ ท�ำให้ตอ้ งมีการปรับตัวและปรับกระบวนการในการช่วยเหลือเด็ก ให้สอดคล้องกับความต้องการของเด็กและชุมชน
167
168
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
นอกจากความช่วยเหลือด้านทุนการศึกษา มอบอุปกรณ์ การเรียน และการสร้างศูนย์เด็กและเยาวชนแล้ว หลายหน่วยงานได้รว่ ม กันจัดกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูจิตใจให้เด็กได้ผ่อนคลาย จัดกิจกรรมการ รวมกลุม่ และกิจกรรมพัฒนาแกนน�ำเยาวชน เพือ่ ให้เด็กได้มสี ว่ นร่วมกับ กิจกรรมของชุมชน และสามารถคิดค้นกิจกรรมในการพัฒนาชุมชนต่อไป ปัจจุบัน เด็กที่ได้รับการช่วยเหลือและร่วมกิจกรรมพัฒนา บางส่วนได้รวมกลุม่ กันท�ำกิจกรรมทีค่ อ่ นข้างหลากหลาย ทัง้ การดูแลและ ฟืน้ ฟูปา่ ชายเลน การจัดการขยะในชุมชน การรณรงค์ภาวะโลกร้อน การ รณรงค์ปอ้ งกันภัยจากโรคเอดส์ ตลอดจนการเข้าร่วมกับการจัดกิจกรรม สมัชชาเด็กและเยาวชน และการเป็นแกนน�ำเด็กเยาวชนทีท่ ำ� กิจกรรมทัง้ ในระดับจังหวัดและระดับประเทศ
Tsunami : waves of reform
แผนรับมือภัยพิบต ั โิ ดยชุมชนเป็นฐาน ความเสียหายและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภัยพิบัติ ส่งผล กระทบโดยตรงกับคนในทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีเ่ สีย่ งภัย ไม่วา่ จะเป็นผลกระทบต่อ ความปลอดภัยในชีวติ และทรัพย์สนิ ผลกระทบต่อการประกอบอาชีพ ตราบใดทีไ่ ม่อาจโยกย้ายชุมชนออกจากพืน้ ทีเ่ สีย่ งภัยได้ ไม่วา่ จะด้วย เพราะความรักถิน่ ฐานบ้านเกิด หรือเพราะเป็นพืน้ ทีท่ ำ� กินแห่งเดียว หรือ เพราะความขาดแคลนทุนทรัพย์ในการโยกย้ายถิน่ ฐาน ทีท่ ำ� ให้ประชาชน ต้องด�ำรงชีวติ อยูใ่ นชุมชน ทัง้ ๆ ทีร่ วู้ า่ เป็นพืน้ ทีเ่ สีย่ งภัย การจัดการภัยพิบตั โิ ดยอาศัยชุมชนเป็นฐานจึงเป็นแนวทางทีด่ ี ทีค่ นในชุมชนพืน้ ทีเ่ สีย่ งภัยจะสามารถพึง่ พาตนเองให้มคี วามปลอดภัย โดยการเตรียมตนเองและเตรียมชุมชนให้มคี วามพร้อมทีจ่ ะเผชิญภัยพิบตั ิ โดยได้รบั ผลกระทบน้อยทีส่ ดุ หรือสามารถอยูร่ ว่ มกับภัยได้อย่างสงบสุข และพึง่ พาความช่วยเหลือจากภายนอกให้นอ้ ยทีส่ ดุ ซึง่ การท�ำให้ชมุ ชน เข้มแข็ง เตรียมพร้อมป้องกันภัยเป็นการเพิม่ ศักยภาพชุมชนให้พงึ่ พา ตนเองได้ในระดับหนึง่ 49 การจัดการภัยพิบตั โิ ดยชุมชนเป็นฐาน เป็นนวัตกรรมทีพ่ ฒ ั นาขึน้ หลังจากเหตุการณ์สนึ ามิ ถึงแม้วา่ จะเคยมีแนวคิดเรือ่ งดังกล่าวมาก่อน แต่ก็ไม่เคยน�ำมาศึกษาในเชิงปฏิบัติอย่างจริงจัง และยังไม่เคยมีการ
169
170
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
จัดกระบวนการเรียนรูร้ ว่ มกันกับชุมชน เพือ่ ให้ชมุ ชนลุกขึน้ มาจัดการร่วม กับองค์กรต่างๆ ในท้องถิน่ อย่างจริงจังชัดเจน แต่หลังเหตุการณ์สนึ ามิ แกนน�ำในชุมชนบ้านน�ำ้ เค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกัว่ ป่า จ.พังงา และผูท้ ี่ เกีย่ วข้องต่างก็พยายามช่วยกันพัฒนากระบวนการต่างๆ อย่างต่อเนือ่ ง โดยร่วมมือกับชุมชน ทีม่ คี วามเสีย่ งต่อภัยพิบตั ิ องค์กรปกครองส่วน ท้องถิน่ อ�ำเภอ จังหวัด และหน่วยงานต่างๆ ทุกระดับให้เข้ามาสนับสนุน เนือ่ งจากการจัดการกับภัยพิบตั ไิ ม่ใช่หน้าทีข่ องหน่วยงานหรือบุคคลใด บุคคลหนึง่ แต่ตอ้ งอาศัยการมีสว่ นร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาทุก ขัน้ ตอน และในเมือ่ ชุมชนเป็นกลุม่ แรกทีม่ ี ความเสีย่ งต่อภัยพิบตั ิ ชุมชน จึงเป็นจุดส�ำคัญของปฏิบตั กิ ารนี้ จุดเด่นของการจัดการภัยพิบตั โิ ดยชุมชนเป็นฐาน50 ก็คอื
1. เตือนภัยให้เร็ว หมายความว่า หน่วยงานด้านการจัดการ ภัยพิบตั ิ ทัง้ ระดับประเทศและระดับ ท้องถิน่ ต้องมีระบบแจ้งเตือนภัยล่วง หน้าทีร่ วดเร็วและมีประสิทธิภาพ และประชาชนทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีเ่ สีย่ งต้อง เตรียมความพร้อม มีแผนในการรับมือก่อนเกิดภัยพิบตั ิ โดยการท�ำแผน รับมือ คนในชุมชนต้องร่วมคิด วางแผน วิเคราะห์ปญ ั หาร่วมกัน จนเข้าใจ ข้อจ�ำกัดต่างๆ ของชุมชน จัดหาพื้นที่ปลอดภัย มีความพร้อมต่อ สถานการณ์ฉกุ เฉินโดยไม่ตอ้ งรอความช่วยเหลือจากภายนอก
2. ช่วยให้ชมุ ชนเข้มแข็ง การท�ำงานร่วมกัน การแบ่งหน้าทีแ่ ละ ความรับผิดชอบในชุมชนเพือ่ มุง่ บรรลุเป้าหมายเดียวกันจะน�ำไปสูก่ าร ท�ำงานเป็นกลุม่ และความมีนำ�้ หนึง่ ใจเดียวกัน รวมทัง้ รูจ้ กั เตรียมพร้อมรับ
Tsunami : waves of reform
ภัยและการเผชิญภัยในภาวะฉุกเฉินซึง่ จะท�ำให้ชมุ ชนสามารถยืนอยูไ่ ด้ ด้วยตนเอง ช่วยลดหรือขจัดความล่อแหลมเสีย่ งภัยของชุมชน ลดผลกระ ทบของภัยพิบตั ทิ จี่ ะเกิดขึน้ ในอนาคต บ้านน�ำ้ เค็ม : ชุมชนต้นแบบ ด้านการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบต ั ิ ในประเทศไทย มีชมุ ชนหรือหมูบ่ า้ นกว่า 20,000 ชุมชนทีอ่ ยูใ่ น พืน้ ทีเ่ สีย่ งภัยพิบตั ิ และหลายพืน้ ทีต่ อ้ งพบกับภัยพิบตั ซิ ำ�้ ซากทุกปี ทัง้ จากภัยแล้ง น�ำ้ ท่วม ดินโคลนถล่ม พายุฤดูรอ้ น และจุดเสีย่ งของการเกิด ภัยพิบตั นิ านๆ ครัง้ อย่างแผ่นดินไหว แต่ละชุมชนต่างก็เรียนรูป้ รับตัวเพือ่ รั บ มื อ กั บ ภั ย พิ บั ติ แ ตกต่ า งกั น ออกไป ส� ำ หรั บ ชุ ม ชนบ้ า นน�้ ำ เค็ ม ต.บางม่วง อ.ตะกัว่ ป่า จ.พังงา ผูป้ ระสบภัยสึนามิ ไดัพยายามพลิกวิก ฤติใิ ห้เป็นโอกาส สร้างกระบวนการเรียนรูเ้ พือ่ จัดการภัยพิบตั โิ ดยชุมชน และเป็นต้นแบบด้านการเตรียมความพร้อมรับมือกับภัยพิบตั ิ ทีช่ มุ ชนใน ประเทศและต่างประเทศกว่า 30 ประเทศมาศึกษาดูงาน ศิรนิ นั ต์ สุวรรณโมลี ได้ถอดประสบการณ์ชมุ ชนบ้านน�ำ้ เค็ม เรือ่ งการท�ำแผนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบตั โิ ดยชุมชนเป็นขัน้ ตอน ดังนี้
171
172
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
โมเดลการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบตั ขิ องชุมชนบ้านน�ำ้ เค็ม ทุนทางการเงิน ทุนทางสังคม ทุนมนุษย์
ทุนสิ่งแวดล้อม ทรัพยากร
ทุนทางกายภาพ
ช่วงเริ่มต้นการจัดการ
วางรากฐานการจัดการตนเอง
รวมกลุม่ แลกเปลีย่ นความคิดเห็น
ต้องมีพเี่ ลีย้ งทีใ่ ห้คำ� ปรึกษาในการด�ำเนินงาน
สร้างความตระหนัก หาแกนน�ำและสร้างทีม แบ่งหน้าทีร่ บั ผิดชอบ
สือ่ สารเรือ่ งความรับผิดชอบ และเจ้าภาพทีช่ ดั เจน
หาแกนน�ำตัวจริงทีจ่ ะรับผิดชอบการด�ำเนินงาน สร้างทีมปฏิบตั กิ าร
พัฒนาทักษะการจัดการภัยพิบตั ิ (สร้างทุนมนุษย์) ภาครัฐเอือ้ อ�ำนาจด้วยการรับรองการด�ำเนินงาน
วางแผนเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบตั ิ
ระดมความคิด ประเมินความเสีย่ งร่วมกับชาวบ้าน ด�ำเนินงานลดความเสีย่ งทางกายภาพแก่ชมุ ชน
ช่วงสานต่อการจัดการ
พัฒนาขีดความสามารถเพิม่ เติม ผสานเข้ากับกลุม่ ต่างๆ ในชุมชน สร้างเครือข่ายกับกลุม่ ชุมชนข้างเคียง และองค์กรทีเ่ กีย่ วข้อง
ต่อยอดทักษะในการจัดการภัยทีจ่ ำ� เป็นเพิม่ เติม จัดการเครือ่ งมือและอุปกรณ์ทจี่ ำ� เป็นในการจัดการ โยงการด�ำเนินงานและการรวมกลุม่ สร้างการด�ำเนินงานในระยะยาว เตรียมพร้อมช่วยเหลือกันและกันในอนาคต แลกเปลีย่ นเรียนรูส้ ะท้อนบทเรียนระหว่างชุมชน
Tsunami : waves of reform
ในช่วงเริม่ ต้นการด�ำเนินการ ประกอบด้วย
1. วางรากฐานการจัดการตนเอง โดยเริม่ ต้นจากการศึกษา ทุนทีน่ ำ� มาใช้ในการพัฒนาชุมชน เช่น ทุนมนุษย์ ทุนทางสังคม ทุนทางการ เงิน ทุนสิง่ แวดล้อม และทุนทางกายภาพของชุมชน เพือ่ หาจุดอ่อนและ จุดแข็ง โดยประชุมระดมความคิดเห็นจากชาวบ้านโดยตรง เชือ่ มโยงให้ ชาวบ้านเกิดการรวมกลุ่ม แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน สร้างความ ตระหนักร่วม หาแกนน�ำและสร้างทีม แบ่งหน้าทีร่ บั ผิดชอบ
2. สร้างทีมปฏิบัติงานและกระตุ้นให้ภายในชุมชนได้ เชือ่ มโยงกัน เริม่ จากการค้นหา แกนน�ำตัวจริง ผูท้ อี่ าสาเข้ามาท�ำงาน เพือ่ ชุมชน เรียนรูจ้ ากการท�ำงานร่วมกัน ความรับผิดชอบต่องาน ความ ตัง้ ใจ การแก้ปญ ั หา เชือ่ มโยงคนในชุมชนให้เข้ามาท�ำงานร่วมกันได้
3. สร้างแผนเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบตั ิ ในขัน้ ตอนนี้ แกนน�ำและชาวบ้านได้เรียนรู้ปัญหาของตนเอง การร่วมคิด ร่วมท�ำ ร่วมแก้ปญ ั หา ระดมความคิดเห็นและประเมินความเสีย่ งร่วมกันได้ โดย มีภาครัฐคอยเอือ้ อ�ำนวย ให้การสนับสนุนทัง้ ในเชิงนโยบาย ความรูใ้ นเชิง กายภาพของพืน้ ที่ การประเมินความเสีย่ งต่อภัยพิบตั ทิ เ่ี ป็นข้อมูลทาง ภูมศิ าสตร์ตา่ งๆ และมีการวิเคราะห์รว่ มกันทัง้ นักพัฒนาทีไ่ ปเอือ้ อ�ำนวย กระบวนการ ภาครัฐ และชุมชน
173
174
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ในช่วงสานต่อการจัดการ ประกอบด้วย
4.พัฒนาขีดความสามารถหรือต่อยอดทักษะทีจ่ ำ� เป็นใน การจัดการภัย จัดหาเครือ่ งมือทีจ่ ำ� เป็น ฝึกฝนวิธกี ารใช้เครือ่ งมือ ศึกษาเรียนรูเ้ พิม่ เติมด้านเทคนิคการกูช้ พี กูภ้ ยั วิธใี นการสังเกตก่อนเกิด ภัย และกระบวนการเรียนรูเ้ หล่านี้ ต้องให้ทกุ กลุม่ ได้เรียนรูท้ งั้ หมด ทัง้ ชาวบ้านทีเ่ ป็นคนชายขอบ แรงงานต่างด้าว กลุม่ สตรีและด็ก เป็นต้น
5. ผสานเข้ากับกลุม่ ต่าง ในชุมชน เมือ่ ชุมชนมีคณะท�ำงาน และมีแผนในการเตรียมพร้อมรับมือกับ ภัยพิบตั แิ ล้ว ควรประสานความ ร่วมมือกับกลุม่ ต่างๆ ในชุมชน เพือ่ ให้เกิดความร่วมมือกันในระยะยาว
6. สร้างเครือข่ายกับชุมชนข้างเคียงและองค์กรทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ เตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือกันและกันในอนาคต และแลก เปลีย่ นเรียนรู้ สะท้อนบทเรียนระหว่างชุมชน
Tsunami : waves of reform
หลักการส�ำคัญในการรับมือภัยพิบต ั โิ ดยชุมชน ไมตรี จงไกรจักร์ ผูป้ ระสานงานชุมชนบ้านน�ำ้ เค็มได้กล่าวถึง การเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบตั โิ ดยชุมชนเป็นฐานว่า เป็นแนวทาง ทีจ่ ะสามารถลดการสูญเสียชีวติ หรือท�ำให้เกิดการสูญเสียน้อยทีส่ ดุ ท�ำให้ คนในชุมชนมีสติรตู้ วั ว่าควรท�ำอย่างไร เมือ่ อยูใ่ นพืน้ ทีเ่ สีย่ ง และสามารถ หลีกเลีย่ งภัยพิบตั ไิ ด้อย่างมีเหตุมผี ล ถ้าหากชุมชนใดสามารถร่วมมือกัน สร้างกระบวนการมีสว่ นร่วมในการเตรียมชุมชนเพือ่ รับมือภัยพิบตั ไิ ด้ บริหารจัดการคน พืน้ ที่ และทรัพยากรในชุมชนได้ ก็จะสามารถสร้าง ความเข้มแข็งให้กบั ชุมชน เป็นชุมชนจัดการตนเองในอีกรูปแบบหนึง่ ส�ำหรับโมเดลการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบตั ขิ องชุมชน บ้านน�้ำเค็ม อาจจะมีความแตกต่าง จากชุมชนอื่นๆ ในช่วงเริ่มต้น เนื่องจากชุมชนบ้านน�้ำเค็มประสบภัยพิบัติสึนามิ ซึ่งได้สร้างความ เสียหาย อย่างฉับพลันและมหาศาล ความหวาดผวาต่อภัยพิบตั สิ นึ ามิ ท�ำให้ชว่ งแรกคนในชุมชนไม่สามารถ ด�ำเนินชีวติ ตามปกติได้ แผ่นดินไหว เพียงเล็กน้อย หรือมีขา่ วลือว่ามีแผ่นดินไหว ทุกคนก็จะพยายามวิง่ หนี เอาตัวรอด ไม่วา่ เป็นเวลาดึกดืน่ แค่ไหนก็ตอ้ งตืน่ มาวิง่ หนีภยั สร้างความ โกลาหลให้กบั ชุมชนเป็นอันมาก คนในชุมชนจึงมีความมุง่ มัน่ ในการร่วม กันเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือภัยพิบัติ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า มีความพร้อมเมื่อภัยมา ไมตรี จงไกรจักร์ ได้สรุปหลักการส�ำคัญ51 ส�ำหรับการเตรียมความพร้อมในการจัดการภัยพิบตั โิ ดยชุมชนเป็นฐาน ไว้ดงั นี้
175
176
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
1. การค้นหาอาสาสมัคร แกนน�ำจะต้องสร้างความเข้าใจกับ คนในชุมชนระดับหนึง่ เพือ่ สร้างกระบวนการเริม่ ต้นด้วยกันและหาอาสา สมัคร เมือ่ ได้อาสาสมัครจึงเกิดกระบวนการพัฒนาอาสาสมัครด้วยการ อบรมคือการจัดท�ำข้อมูลชุมชนซึง่ เป็นเรือ่ งทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ
2. การจัดท�ำข้อมูลชุมชน เพือ่ ให้ชมุ ชนรูถ้ งึ ทรัพยากรด้าน ต่างๆ ทีช่ มุ ชนมีอยู่ ไม่วา่ จะเป็นทุนทางสังคม ทุนทางการเงิน ทุนทางสิง่ แวดล้อม ทุนทางกายภาพต่างๆ ข้อมูลทุกอย่างทีม่ ปี ระโยชน์ตอ่ การ วิเคราะห์ความเสีย่ งของการเกิดภัย จุดปลอดภัย ปัญหา อุปสรรค เช่น ข้อมูลประชากร ผูส้ งู อายุ ผูพ้ กิ าร เด็ก คนท้อง ข้อมูลถนน ข้อมูลสิง่ ปลูก สร้าง ข้อมูลรถ ข้อมูลถังแก๊ส ข้อมูลทีอ่ าจเสีย่ งต่อการเกิดภัย วิธกี ารให้ ได้มาซึง่ ข้อมูลอาจประชุมกลุม่ ย่อยหรือลงพืน้ ทีจ่ ดั เก็บแบบส�ำรวจและ ต้องท�ำแผนทีช่ มุ ชน เช่น ถนน สะพาน จุดเสีย่ งภัย จุดปลอดภัย เป็นต้น
3. การรวบรวม และวิเคราะห์ขอ้ มูลเพือ่ ท�ำแผน หลังจากได้ ข้อมูลแล้วอาสาสมัครต้องมาน�ำเสนอในรูปแบบแผนทีท่ ำ� มือ จากนัน้ จึง ช่วยกันแลกเปลีย่ น และวิเคราะห์ขอ้ มูล ร่วมสรุปเพือ่ เกิดการเรียนรูร้ ว่ ม กัน โอกาสเสีย่ งในการเกิดภัยพิบตั ิ ช่วงเวลาการเกิดภัย จนเกิดปฏิทนิ ภัย พิบตั ทิ างธรรมชาติ โดยการวิเคราะห์ขอ้ มูลอย่างมีเหตุมผี ล เช่น เรือ่ ง ประชากรกับเส้นทางอพยพเหมาะหรือไม่อย่างไร จุดปลอดภัยเหมาะสม หรือไม่ เมือ่ ค้นหาสาเหตุตา่ งๆ ได้แล้ว ก็รว่ มก�ำหนดร่างแผนเตรียม ป้องกันภัยด้วยกัน เช่นว่า จากข้อมูลทัง้ หมดเราจะท�ำอย่างไรบ้างให้คนใน
Tsunami : waves of reform
ชุมชนเราปลอดภัย อาจมีคำ� ถามมากมายให้ทมี งานหาค�ำตอบเช่นทีมงาน จะมีการประสานกันได้รวดเร็วทีส่ ดุ ท�ำอย่างไร การแจ้งเตือนอย่างไรให้ทวั่ ถึง การอพยพอย่างไร ใครตัดสินใจอพยพ อพยพไปทีไ่ หน หากมีคน ตกค้างจะเอาอะไรไปช่วย หากมีคนเจ็บจะท�ำอย่างไร แล้วสุดท้ายอาสา สมัครต้องท�ำอะไรเป็นบ้าง
4. การพัฒนาอาสาสมัคร เมือ่ เกิดแผนเตรียมพร้อมป้องกัน ภัยแล้ว อาสาสมัครอาจมีหน้าทีห่ รือบทบาทเกิดขึน้ มากมายเช่นการ จัดการจราจร การอพยพหลบภัย การวิเคราะห์ภยั การแจ้งเตือนภัย การ เฝ้าระวัง การกูช้ พี ชุมชนจ�ำเป็นต้องพัฒนาอาสาสมัครเหล่านัน้ ให้มี ความรูค้ วามช�ำนาญและสามารถขยับตามแผนเตรียมพร้อมป้องกันภัยได้ โดยร่วมมือกับเจ้าหน้าทีภ่ าครัฐ
5. การสร้างภาคีความร่วมมือ เมือ่ เกิดแผนเตรียมความ พร้อมภายในชุมชน อาจเป็นฉบับร่าง และควรมีแผนการพัฒนาร่วมกัน กับหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องเช่นกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จังหวัด องค์การบริหารส่วนต�ำบล (อบต.) ผูใ้ หญ่บา้ น ก�ำนัน อ�ำเภอ และ องค์กรภาคเอกชนทีม่ ปี ระสบการณ์ เพือ่ ให้เกิดแผนทีม่ คี ณ ุ ภาพ และเกิด ความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ทีม่ อี งค์กรความรู้ และมีงบประมาณใน การสนับสนุน
177
178
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
6. การรณรงค์สร้างความตระหนักให้กบั สมาชิกในชุมชน โดยน�ำแผนทีผ่ า่ นกระบวนการกลัน่ กรองของคณะท�ำงาน และภาคีความ ร่วมมือแล้วกลับไปให้ชมุ ชนประชาพิจารณ์แผนครัง้ สุดท้าย ซึง่ จะท�ำให้เกิด การเรียนรูใ้ นกระบวนการขับเคลือ่ นแผน และแผนทีม่ คี ณ ุ ภาพ เพราะหาก ชุมชนไม่เห็นความส�ำคัญของแผนแล้วก็จะไม่สามารถขับเคลือ่ นแผนได้ และเมือ่ แผนสมบูรณ์แล้วก็ตอ้ งสร้างความตระหนักให้กบั คนในชุมชนทันที โดยทีมอาสาสมัครและผูท้ เี่ กีย่ วข้องร่วมรณรงค์ในวาระงานต่างๆ ของ ชุมชนทีม่ อี ยูแ่ ล้ว เช่น งานประเพณี งานบุญ งานกุศลในทุกโอกาส
7. การน�ำเสนอแผนให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือที่ สนับสนุน กิจกรรมเตรียมความพร้อมเช่นท้องถิน่ เทศบาล ส�ำนักงาน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด (ปภ.จังหวัด) องค์กรพัฒนา เอกชน หรือนโยบายรัฐบาล เมือ่ แผนสมบูรณ์แล้ว ในแผนจะต้องบอกถึง ขัน้ ตอนในการขับเคลือ่ นทัง้ หมดและความจ�ำเป็นต้องมีเครือ่ งมือ อุปกรณ์ สนับสนุนให้แผนขับเคลือ่ นได้ เช่น การแจ้งเตือนภัยอาจต้องมีหอกระจาย ข่าวประจ�ำหมูบ่ า้ น วิทยุสอื่ สารส�ำหรับอาสาสมัคร ไซเรนมือหมุนส�ำหรับ แจ้งเตือนภัย เป็นต้น รวมถึงการเสนอนโยบายเรือ่ งแนวทางการเตรียม ชุมชนเพือ่ รับมือภัยพิบตั ิ และการด�ำเนินกิจกรรมตามแผนเช่นป้ายบอก ทาง อุปกรณ์จำ� เป็น การซ้อมแผน
8. การติดตามผลการด�ำเนินการตามแผน มีการติดตาม ประเมินผล และบันทึกผล ทัง้ ปัญหา อุปสรรค ผลดีทเี่ กิดขึน้ ทัง้ ทางตรง และทางอ้อม เพื่อน�ำผลกลับมาวิเคราะห์หลังการซ้อมแผนหรือการ ปรับปรุงแผนให้มคี ณ ุ ภาพขึน้
Tsunami : waves of reform
9. การค้นหาแกนน�ำรุน่ ใหม่เพือ่ การเผยแพร่ จิตสาธารณะ และขยายผลการพัฒนาเครือข่ายที่ต่อเนื่อง การศึกษาดูงานเพื่อการ พัฒนาศักยภาพ ฝึกทบทวน และค้นหาอาสาสมัครรุน่ ใหม่ๆ สิง่ ส�ำคัญ คือ จะมีวธิ อี ย่างไรให้อาสาสมัครมีจติ สาธารณะ เช่น การพบปะประชุมกัน อย่างสม�ำ่ เสมอ การท�ำกิจกรรมของส่วนรวมทัง้ ในชุมชน และภายนอก ชุมชนเพือ่ สร้างจิตอาสาเช่นการออกไปช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยนอกพืน้ ที่ ทีม่ คี วามต้องการอาสาสมัคร และเข้าร่วมแลกเปลีย่ นกับอาสาสมัครจาก พืน้ ทีอ่ นื่ ๆ ในเวทีตา่ งๆ เข้าร่วมกิจกรรมเพือ่ ขยายเครือข่ายแลกเปลีย่ น เรียนรูไ้ ปสูพ่ นื้ ทีอ่ นื่ ๆ ต่อไป
179
180
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
เตรียมการฟืน ้ ฟูหลังภัยพิบต ั ิ เพือ ่ เสริมความเข้มแข็งของชุมชน
ภายหลังทีภ่ ยั พิบตั ไิ ด้ผา่ นพ้นไปแล้วก็จะเข้าสูช่ ว่ งของการฟืน้ ฟู ทางด้านกายภาพในเบือ้ งต้น จากต้นแบบของชุมชนบ้านน�ำ้ เค็ม ได้สรุป หลักการฟืน้ ฟูชมุ ชนหลังภัยพิบตั ิ ดังนี้
1. วิเคราะห์ขอ้ มูล เมือ่ ได้ขอ้ มูลจากการส�ำรวจความเสียหาย แล้ว น�ำข้อมูลทีไ่ ด้มาประมวลให้ได้ประเด็นส�ำคัญๆ เช่นผูเ้ สียหายจ�ำนวน กีค่ รอบครัว มีอะไรเสียหายบ้าง ถนน สะพานหรืออืน่ ๆ ทีเ่ สียหายทัง้ หมด เพือ่ น�ำข้อมูลมาจัดล�ำดับความส�ำคัญทีต่ อ้ งฟืน้ ฟู แก้ปญ ั หาก่อน-หลัง ข้อมูลภาพรวม ต้องติดประกาศในทีเ่ ปิดเผยและน�ำข้อมูลเสนอต่อหน่วย งานทีเ่ กีย่ วข้อง เพือ่ ให้เกิดการช่วยเหลือตรงกับความเสียหายทีเ่ กิดขึน้ ไม่ ซ�ำ้ ซ้อน และป้องกันการทุจริตได้
2. จัดท�ำแผนการฟืน้ ฟูชมุ ชน เมือ่ มีขอ้ มูลครบถ้วนแล้ว ก็เริม่ ท�ำแผนจากภายในชุมชนให้รอบด้านและมีประสิทธิภาพ ก่อนทีจ่ ะเสนอ ต่อหน่วยงาน องค์กรทีเ่ กีย่ วข้องทัง้ ภาครัฐและเอกชน ในล�ำดับต่อไป
3. จัดองค์กรชุมชน ควรมีการจัดตัง้ คณะท�ำงานทีม่ จี ติ อาสา และมาจากสมาชิกในชุมชน ทีส่ ำ� คัญคือผูป้ ระสบภัยต้องเป็นหลักให้ได้ องค์กรปกครองในท้องถิน่ ต้องเป็นทีป่ รึกษา พร้อมกันนัน้ ในชุมชนควรจะ
Tsunami : waves of reform
มีการวางระบบการแก้ไขปัญหาระยะยาวเช่นจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ แก้ปญ ั หาทีด่ นิ โดยใช้ทนุ และทรัพยากรในชุมชนก่อน
4. สร้างบ้านพักถาวรและบ้านชัว่ คราว สิง่ แรกทีต่ อ้ งท�ำหลัง จากภัยพิบตั ขิ นาดใหญ่ ทีส่ ร้างความเสียหายจนท�ำให้บา้ นพังทัง้ หลังคือ การสร้างบ้านชัว่ คราวและการสร้างบ้านพักถาวร ซึง่ ควรเปิดโอกาสให้ ชุมชนเข้ามามีสว่ นร่วม อันจะเป็นกลไกในการเสริมความเข้มแข็งองค์กร ชุมชนได้ ตลอดระยะเวลา 10 ปี ขั้นตอนและหลักการส�ำคัญเหล่านี้ ซึง่ เป็นการเรียนรูผ้ า่ นประสบการณ์ของชุมชนบ้านเค็ม กลายเป็นต้นแบบ ส�ำคัญของการเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบตั โิ ดยชุมชนเป็นฐาน เป็นแหล่งเรียนรูข้ องชุมชนต่างๆ รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และชาวบ้านผูป้ ระสบภัยยังได้เข้าร่วมแลกเปลีย่ นกับผูป้ ระสบภัยในต่าง ประเทศในเรือ่ งการวางแผนการรับมือและการฟืน้ ฟูภยั พิบตั ดิ ว้ ย
181
182
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
เปิดปมปัญหาหลังคลืน ่ สึนามิ คลืน่ ยักษ์สนึ ามิทำ� ให้บา้ นเรือนเสียหายกว่า 12,815 ครัวเรือน รวม 58,550 คน ประมาณค่าความสูญเสียหลายแสนล้านบาท52 (ซึง่ ต่อมาพืน้ ทีท่ เี่ กิดความเสียหายเหล่านีไ้ ด้รบั การฟืน้ ฟูและเยียวยามาเป็น ล�ำดับ) แต่ภายหลังภัยพิบตั ิ แบบแผนทีม่ กั พบเหมือนกันทัว่ โลกรวมถึง ประเทศไทย คือ เสียบ้านแล้ว ผูป้ ระสบภัยยังเสีย่ งกับการสูญเสียทีด่ นิ ที่ เคยพักอาศัยด้วย ไม่ใช่จากคลืน่ ยักษ์ แต่จากการไล่ทจี่ ากทางภาครัฐ หรือ/และเอกชน หลายกรณีเป็นปัญหาทีส่ ะสมมาแต่เดิม และภัยพิบตั ิ ช่วยเข้ามาเร่งให้จงั หวะและโอกาสในการฮุบทีด่ นิ และเอาทีด่ นิ คืนนัน้ เร็ว และง่ายขึน้ ดังนัน้ กระบวนการท�ำงานจัดระบบชุมชนจึงเน้นการฟืน้ ฟู ทีจ่ ะ ไม่เป็นการซ�ำ้ เติมผูป้ ระสบภัยให้รสู้ กึ สูญเสียมากขึน้ กว่าเดิม โดยสนับสนุน ให้สร้างบ้านในทีด่ นิ เดิม ส่วนปัญหาเรือ่ งเอกสารสิทธิท์ ด่ี นิ ทีเ่ ป็นปัญหา สะสมมาแต่เดิมนัน้ จะถูกน�ำมาพิจารณาในคราวหลัง เพือ่ ให้ความยุตธิ รรม แก่ทุกฝ่าย โดยอาจมีการใช้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน การตั้ง อนุกรรมการแก้ไขปัญหาทีด่ นิ หลังภัยพิบตั ิ หรือการฟ้องศาลแล้วแต่กรณี ซึ่งควรมีผู้เชี่ยวชาญหลายฝ่ายเข้ามาสนับสนุน เช่น นักกฎหมาย นักประวัตศิ าสตร์ชมุ ชน นักท�ำแผนที่ ทัง้ แผนทีเ่ ดินดิน แผนทีภ่ าพถ่าย อากาศ เป็นต้น
Tsunami : waves of reform
จากการท�ำงานของเครือข่ายผูป้ ระสบภัยสึนามิฯ ได้มกี ารสรุป ถึงชุมชนหรือพืน้ ทีท่ ปี่ ระสบปัญหาทีด่ นิ จาก พืน้ ทีป่ ระสบภัย ดังนี้ · กรณีที่ดินของรัฐพิพาทกับรัฐ ได้แก่ บ้านหัวแหลม บ้านสังกาฮู้ จังหวัดกระบี,่ บ้านทุง่ หว้า จังหวัดพังงา, หมูบ่ า้ น คลองปากบาง บ้านนอกเล จังหวัดภูเก็ต, บ้านตาเสะ บ้าน เกาะมุก บ้านมดตะนอย บ้านควนตุง้ กู บ้านพระม่วง บ้าน ฉางหลาง บ้านแหลมไทร บ้านหาดทรายทอง จังหวัดตรัง · ที่ดินพิพาทเอกชน ได้แก่ บ้านแหลมป้อม บ้านทับตะวัน บ้านในไร่ จังหวัดพังงา53 กรณีพนื้ ทีท่ ปี่ ระสบปัญหาทีด่ นิ เหล่านี้ บางส่วนสามารถกลับ เข้าไปอยูใ่ นชุมชนเดิมได้ บางส่วนยังอยูใ่ นขัน้ ตอนของการพิสจู น์ในชัน้ ศาล อย่างไรก็ตาม กลุม่ เปราะบางในพืน้ ทีป่ ระสบภัย ยังคงเป็นกลุม่ ทีไ่ ด้รบั การ ฟืน้ ฟูและเยียวยาน้อยจนถึงไม่ได้รบั การเยียวยา อีกทัง้ ยังถูกเบียดขับออก จากพืน้ ทีเ่ ดิมทีเ่ คยอาศัย ดังตัวอย่างจากการเข้าไปศึกษากลุม่ ต่างๆ ดังนี้
แหลมป้อม: กรณีทด่ี นิ พิพาทเอกชน ชุมชนแหลมป้อม บ้านน�ำ้ เค็ม อ�ำเภอตะกัว่ ป่า จังหวัดพังงา มี สมาชิก 52 ครอบครัว แต่หลังจากวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 มี สมาชิกเพียง 30 ครอบครัวทีก่ ลับมาอยูท่ เี่ ดิม ส่วนทีไ่ ม่กลับมานัน้ มี
183
184
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
หลายเหตุผล บางครอบครัวเสียชีวติ หมดทัง้ บ้าน บางครอบครัวกลัวคลืน่ สึนามิจะมาอีก และบางครอบครัวก็มเี หตุจำ� เป็นอืน่ ๆ54 ชุมชนนี้มีกรณีพิพาทเรื่องที่ดินมาตลอด เพราะเป็นพื้นที่ สัมปทานเหมืองแร่มาตัง้ แต่ราวปี พ.ศ. 2514 ชาวแหลมป้อมยังอยูอ่ าศัย ในพืน้ ทีเ่ ดิมมาโดยตลอด แม้หลังจากทีป่ ระทานบัตรเหมืองแร่จะหมดอายุ ไปแล้ว และยังไม่มใี ครมาอ้างสิทธิเ์ ป็นเจ้าของทีด่ นิ บริเวณนัน้ ชาวชุมชน แหลมป้อมในปัจจุบนั จึงเป็นรุน่ ทีเ่ กิดทีแ่ หลมป้อม บางคนครอบครัวย้าย มาตัง้ แต่รนุ่ ปูร่ นุ่ ตา บางคนก็ยา้ ยมารุน่ พ่อ เมือ่ ประทานบัตรเหมืองแร่เเปลงสุดท้ายหมดอายุลง ในปี พ.ศ. 2533 ทางราชการได้ทำ� ถนนลูกรังเข้ามาในชุมชน ออกเลขทีบ่ า้ นให้ และ มาปักเสาพาดสายไฟให้มไี ฟฟ้าใช้ทกุ ครัวเรือน ชาวบ้านน�ำ้ เค็มซึง่ แหลม ป้อมเป็นสมาชิกอยูไ่ ด้ชมุ นุมเรียกร้องให้ทางราชการออกเอกสารสิทธิใ์ น ทีด่ นิ ให้ ไม่นานหลังจากนัน้ จึงมีการออกเอกสารสิทธิใ์ ห้ชาวบ้านน�ำ้ เค็ม ในพืน้ ทีท่ เี่ คยได้รบั ประทานบัตรเหมืองแร่ โดยเริม่ ออกให้ตงั้ แต่ปี พ.ศ. 2533 ไปจนถึงปี พ.ศ. 2534 จ�ำนวนหลายราย แต่กลับไม่ได้ออก เอกสารสิทธิใ์ ห้พนื้ ทีแ่ หลมป้อม ระหว่างนีช้ าวแหลมป้อมถูกข้าราชการ บางส่วนเรียกร้องเงินเพือ่ แลกกับการออกเอกสารสิทธิ์ แต่เมือ่ ชาวบ้านไม่ ยอมจ่ายให้ ชาวแหลมป้อมจึงไม่มีเอกสารสิทธิ์ทั้งที่อยู่ในเขตพื้นที่ ประทานบัตรเหมืองแร่เช่นเดียวกับทีอ่ นื่ ๆ เมือ่ เกิดคลืน่ ยักษ์ บ้านเรือนพังเสียหายทัง้ 60 หลัง และมี ชาวบ้านทีจ่ ะกลับมาอยูท่ เี่ ดิมจ�ำนวน 30 ครอบครัว ซึง่ 30 ครอบครัวนี้
Tsunami : waves of reform
เดิมมีสมาชิก 146 คน เสียชีวติ ในสึนามิ 27 คน สูญหาย 21 คน จึง เหลือผูร้ อดชีวติ มา 98 คน ส่วนครอบครัวทีไ่ ม่กลับมานัน้ บางส่วนเสีย ชีวติ บางส่วนไม่กล้ากลับมาเพราะกลัวคลืน่ ยักษ์จะกลับมาอีก แต่บาง ส่วนได้ยอมความกับบริษทั ฯ หลังจากเกิดคลืน่ ยักษ์ บริษทั ฯ น�ำป้ายมาปักและจ้างคนมาเฝ้า พืน้ ทีโ่ ดยห้ามไม่ให้ชาวบ้านเข้าไปในพืน้ ทีแ่ ม้แต่จะกลับเข้าไปค้นหาศพ คนในครอบครัว นอกจากนี้ ยังห้ามชาวบ้านเข้าไปปลูกทีพ่ กั อาศัย มีการ ใช้อทิ ธิพลข่มขูค่ กุ คาม เมือ่ ชาวบ้านจ�ำนวน 30 ครอบครัวได้ยา้ ยกลับเข้า อยูอ่ าศัยในพืน้ ทีเ่ ดิม ชาวบ้านทัง้ หมดถูกแจ้งความข้อหาบุกรุก และยังมี การข่มขูต่ า่ งๆ นานา เป็นต้น
เกาะมุก : กรณีทด่ี นิ รัฐ เกาะมุก ต�ำบลเกาะลิบง อ�ำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เป็นเกาะที่ มีความหลากหลายทางทรัพยากรสูง มีพนื้ ทีป่ า่ อุดมสมบูรณ์ทงั้ ป่าเขาใน ทีส่ งู ป่าชายเลน ทรัพยากรในทะเล มีแหล่งป่าชายเลนถึง 158 ไร่ อยูท่ างฝัง่ ด้านตะวันตกของเกาะติดพืน้ ทีอ่ า่ วพังงา อ่าวป่ากัง้ และอ่าว หัวนอนบางส่วน ซึง่ เป็นแหล่งเพาะพันธุส์ ตั ว์นำ�้ แหล่งอาหารของชุมชน และแนวกันคลืน่ ลม ข้อมูลจากกรมทรัพยากรชายฝัง่ กล่าวว่า เกาะมุกเป็นแหล่งหญ้า ทะเลขนาดใหญ่เชื่อมไปจนถึงแหล่งหญ้าทะเลเกาะลิบงซึ่งเป็นแหล่ง ทรัพยากรธรรมชาติสำ� คัญของฝัง่ ทะเลอันดามัน เป็นทีอ่ าศัยหากินของ
185
186
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
พะยูน จ�ำนวนมากกว่า 100 ตัว มีแหล่งปะการังธรรมชาติ ซึง่ เป็นทีอ่ ยู่ อาศัยของสัตว์น�้ำจ�ำนวนมาก บริเวณด้านหลังเกาะเป็นแหล่งรังนก นางแอ่น ในเกาะยังมีถ�้ำมรกตซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ส�ำคัญระดับ ประเทศ เรียกได้วา่ เกาะมุก ทัง้ บนเกาะและบริเวญโดยรอบเป็นแหล่งท�ำ มาหากินทีส่ ำ� คัญของชาวประมงพืน้ บ้าน การท�ำประมงแบบพืน้ บ้านเป็นอาชีพดัง้ เดิม ทีท่ ำ� กันมากเกือบ ทัง้ หมูบ่ า้ น ชาวบ้านสามารถ หาจับกุง้ หอย ปู ปลา ปลาหมึก โดยไม่ ต้องนัง่ เรือไปไกล โดยใช้เครือ่ งมือหลากหลาย เช่น ไซหมึก อวนหมึก ตกเบ็ด อวนปลา อวนปู ด�ำหอย ใครทีไ่ ม่มเี รือ ก็หากุง้ หาหอยริมชายฝัง่ หรือในป่าชายเลนมาเป็นอาหารประจ�ำวันได้ แม้ในฤดูมรสุม เมือ่ มีการประกาศให้พนื้ ทีเ่ กาะมุกอยูใ่ นเขตอุทยานแห่งชาติหาด เจ้าไหม ในปี พ.ศ. 2524ยกเว้นบริเวณทีร่ าบชายฝัง่ ซึง่ จัดเป็นเขตทีอ่ ยู่ อาศัยของชุมชนซึง่ เป็นพืน้ ทีป่ ระมาณร้อยละ 30 ของเกาะ ท�ำให้เกิด การตืน่ ตัวในเรือ่ งการถือครองทีด่ นิ ในพืน้ ทีเ่ กาะมุกเป็นอย่างมาก ทัง้ ทีแ่ ต่ เดิมชาวบ้านแทบไม่ได้สนใจการเป็นเจ้าของทีด่ นิ ก็เริม่ สนใจทีจ่ ะถือครอง ทีด่ นิ โดยการไปออกเอกสารสิทธิท์ ดี่ นิ ทีเ่ คยอยูม่ าแต่เดิม ซึง่ ก็ออกได้บา้ ง ไม่ได้บา้ ง ภายหลังเมือ่ การท่องเทีย่ วเติบโตมากขึน้ ความต้องการทีด่ นิ ส�ำหรับสร้างทีพ่ กั รองรับนักท่องเทีย่ วก็มมี ากขึน้ เป็นเงาตามตัว เมือ่ ทีด่ นิ ราคาสูงขึ้น จึงมีการเปลี่ยนมือ ขายให้นักลงทุนจากทั้งภายในและ ภายนอกพืน้ ที่
Tsunami : waves of reform
ปัญหาต่างๆ ข้างต้นเป็นปัญหาทีส่ ะสมมาอย่างยาวนาน เมือ่ มี เหตุการณ์สนึ ามิ ท�ำให้ชาวบ้านทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากปัญหาเดิมอยูแ่ ล้ว ต้องรวมตัวกันเพือ่ แก้ปญ ั หาทัง้ ระบบ เครือข่ายประมงพืน้ บ้านภาคใต้ ที่ แต่เดิมขับเคลือ่ นเรือ่ งปัญหาทรัพยากรทางทะเลชายฝัง่ อวนลาก อวนรุน ต้องมาต่อสูใ้ นกรณีปญ ั หาเรือ่ งทีด่ นิ ไปด้วย ปัญหาทีด่ นิ และทีท่ ำ� กินบนเกาะมุก จึงได้มกี ารเจรจาร่วมกันกับ กรมป่าไม้ และกรมอุทยาน เพือ่ ร่วมกันท�ำการกันพืน้ ทีส่ ำ� หรับการสร้างที่ อยูอ่ าศัยได้อย่างลงตัวร่วมกัน
ชาวเล : ยิปซีแห่งท้องทะเลผูถ้ กู ลืม ชาวเลกลุม่ มอแกน มอแกลน และอูรกั ราโว้ย เป็นกลุม่ คนพืน้ เมืองดัง้ เดิมทีอ่ ยูอ่ าศัยอยูช่ ายฝัง่ ทะเล และหมูเ่ กาะต่างๆ มาเป็นเวลากว่า 300 ปี แล้ว วิถีของคนที่อยู่กับธรรมชาติมักจะอยู่อย่างพึ่งพิง ไม่ เบียดเบียน ไม่โลภ จึงไม่นา่ แปลกใจทีพ่ วกเขาจะอยูแ่ บบไม่มเี อกสารสิทธิ์ บนทีด่ นิ ซึง่ ยังเป็นเหตุให้สทิ ธิตา่ งๆ เข้าไม่ถงึ คนกลุม่ นีอ้ กี ด้วย จากงานวิจยั ชุมชนร่วมกับมูลนิธชิ มุ ชนไทได้กล่าวถึงผลพวงของ การพัฒนาที่ก่อความเหลื่อมล�้ำในเรื่องที่อยู่อาศัยของชาวเลไว้อย่าง น่าสนใจ คือ “ชาวเลส่วนใหญ่ไม่มนั่ คงในทีอ่ ยูอ่ าศัย เพราะไม่มเี อกสารสิทธิ์
187
188
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ทีด่ นิ แม้วา่ การศึกษาวิจยั ระบุวา่ ชาวเลอาศัยมาเป็นเวลานานกว่า 300 ปี แต่หลายชุมชนอยูใ่ นทีด่ นิ ของหน่วยงานรัฐ เช่น ป่าชายเลน ทีส่ าธารณะ กรมเจ้าท่า ราชพัสดุ ป่าสงวนแห่งชาติ และเขตอุทยาน บางชุมชนมี เอกชนอ้างสิทธิเหนือทีด่ นิ โดยออกเอกสารทับทีช่ มุ ชนและขับไล่ชาวเล ขณะนีม้ ชี มุ ชนชาวเลทีไ่ ม่มนั่ คงในการอยูอ่ าศัยถึง 28 แห่ง” ปัญหาทีท่ ำ� กินดัง้ เดิมในทะเล แต่เดิมชาวเลหากินตามเกาะแก่ง ท้องทะเล และหน้าหาดโดยใช้อปุ กรณ์ประมงแบบพืน้ บ้าน แต่นโยบาย ส่งเสริมการท่องเทีย่ วท�ำให้พวกเขาถูกกันออกจากพืน้ ทีเ่ หล่านี้ เนือ่ งจาก เป็นพืน้ ทีท่ มี่ มี ลู ค่าตลาดสูงมาก จากข้อมูลราคาตลาดและราคาประเมิน ราชการของชายหาดในจังหวัดภูเก็ต (ปี พ.ศ. 2547) โดย มูลนิธปิ ระเมิน ค่าทรัพย์สนิ แห่งประเทศไทย พบว่า ทีด่ นิ รอบเมืองและริมทะเล มีมลู ค่า ถึง 2 ล้าน – 20 ล้านบาทต่อไร่เลยทีเดียว จึงไม่นา่ แปลกใจว่าท�ำไมทีอ่ ยูอ่ าศัยและทีท่ ำ� กินดัง้ เดิมของชาว ประมงพืน้ บ้านและชาวเล จึงถูกรุกรานด้วยกระแสการท�ำเหมืองแร่ การ สัมปทานท�ำไม้ การพัฒนาท่องเทีย่ ว และการบริการ การแย่งชิงทีด่ นิ ชายฝัง่ ทะเลอย่างรุนแรง และราคาทีด่ นิ ทีส่ งู เพิม่ ขึน้ อย่างรวดเร็ว เป็นตัว เร่งให้มกี ารออกเอกสารสิทธิท์ ดี่ นิ ในทีด่ นิ ชายฝัง่ ทะเล ทัง้ ทีถ่ กู กฎหมาย และผิดกฎหมาย ในขณะทีช่ าวประมงพืน้ บ้านและชาวเลดัง้ เดิมยังคงท�ำ มาหากินจับปลาตามวิถชี วี ติ ในท้องทะเลโดยไม่สนใจ และไม่ตระหนักถึง ความจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องมีเอกสารสิทธิท์ ดี่ นิ ชาวประมงพืน้ บ้านและชาวเลจึง ต้องตกเป็นเหยือ่ ของการพัฒนา ทีเ่ สียเปรียบทัง้ ในทางกฎหมายและไม่ได้
Tsunami : waves of reform
รับการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาจากรัฐอย่างจริงจัง ดังเช่น กรณีของบ้าน ราไวย์ และอีกหลายกรณีทเี่ ป็นลักษณะความขัดแย้งระหว่างกลุม่ ทุนกับ ชุมชนในทีด่ นิ ซึง่ ตามกฎหมายเป็นของเอกชน แต่ในทางปฏิบตั เิ ป็นทีท่ ำ� มาหากินของชุมชนมายาวนาน กรณีเช่นนี้ต้องมีการพิสูจน์สิทธิโดย มาตรการทางศาล และเป็นเรือ่ งท้าทายว่าระหว่างสิทธิครอบครองดัง้ เดิม กับสิทธิทางเอกสาร ใครควรได้รบั การคุม้ ครองมากกว่ากัน55 งานศึกษาวิจยั สังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระบุวา่ วิถดี งั้ เดิม ของชาวเลยากจะเปลีย่ นแปลงได้โดยง่าย เหตุผลเพราะความช�ำนาญใน การอยูก่ บั ท้องทะเลเป็นปัจจัยส�ำคัญ ฉะนัน้ การเปลีย่ นจากการท�ำ ประมงหรือหาของทะเลไปท�ำอาชีพอืน่ จึงไม่ใช่ทางเลือกอันดับต้นๆ จากงานวิจัยยังกล่าวเพิ่มเติมว่า กลุ่มชาวเลไม่คุ้นชินกับคน ภายนอกเพราะความรูส้ กึ ต�ำ่ ต้อยกว่ากลุม่ อืน่ นอกจากนี้ ชาวเลส่วนหนึง่ ประสบปัญหาการไร้สถานะ ไร้สญ ั ชาติ ท�ำให้ขาดซึง่ สิทธิในการรับการ บริการขัน้ พืน้ ฐาน ไม่วา่ จะเป็น การศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน สิทธิในการรักษา พยาบาล การเดินทางออกนอกพืน้ ที่ การได้รบั ความคุม้ ครองด้านแรงงาน ถึงแม้จะมีความพยายามเสนอให้เพิ่มชื่อในทะเบียนราษฎร แต่ กระบวนการแก้ปญ ั หาของหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องยังมีขอ้ จ�ำกัด ทัง้ กฎ ระเบียบทีไ่ ม่สอดคล้องกับชาวเล ความไม่เข้าใจของเจ้าหน้าที่ ความใส่ใจ กับปัญหาของคนชายขอบอย่างจริงจัง ฯลฯ56
189
190
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
กลุม่ ชาวเลเป็นเพียงตัวอย่างหนึง่ ของปัญหาทีเ่ ป็นผลกระทบจาก คลืน่ ยักษ์สนึ ามิ ด้านหนึง่ ก็เป็นความสูญเสีย แต่ดา้ นหนึง่ ก็ทำ� ให้ปญ ั หาที่ ซ่อนอยูใ่ ต้ภเู ขาน�ำ้ แข็งผุดขึน้ มาท�ำให้สงั คมได้ตระหนัก ครุน่ คิด และหา ทางคลีค่ ลายให้สำ� เร็จต่อไป
คนไทยพลัดถิน่ : สถานะทีม่ องไม่เห็น ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ นักกฎหมายมหาชน นิยามถึงคนไทย พลัดถิน่ เป็นคนเชือ้ สายไทยทีไ่ ร้สญ ั ชาติไว้อย่างน่าสนใจว่า “คนกลุม่ นีส้ ญ ั ชาติพร่ามัว อันเกิดจากการเปลีย่ นแปลงอาณาเขต ของราชอาณาจักรไทยในอดีต” เขตมะริด ทะวาย ตะนาวศรี ฯลฯ ในประเทศเมียนมาร์ รวมทัง้ บางส่วนของกัมพูชาในปัจจุบนั แต่เดิมเคยเป็นของประเทศไทย เมือ่ เกิด การแบ่งรัฐชาติใหม่ พวกเขาถูกท�ำให้เป็นพลเมืองของเมียนมาร์และ กัมพูชาไปโดยปริยาย จนเมือ่ เกิดเหตุสงครามในประเทศเพือ่ นบ้านเหล่า นัน้ คนเหล่านีไ้ ด้หนีภยั สงครามเข้ามาอยูอ่ าศัยในประเทศไทย แต่ยงั ไม่ได้ สัญชาติไทย ประมาณการว่า คนกลุม่ นีม้ ถี งึ 38,000 คน โดยกรมการ ปกครองขึน้ ทะเบียนแล้วจ�ำนวน 18,309 คน ใน 5 จังหวัด กระจาย อยูใ่ น 43 อ�ำเภอ/อบต. คือ ระนอง 5,221 คน ประจวบฯ 3,079 คน ชุมพร 1,338 คน ตราด 6,071 คน ตาก 2,489 คน และมีผตู้ กส�ำรวจ/ ผูพ้ ลัดหลงทางทะเบียน/ผูเ้ กิดใหม่ รวมอีกกว่า 20,000 คน
Tsunami : waves of reform
คนไทยพลัดถิน่ มีทงั้ นับถือศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม อาศัย สร้างบ้านบนทีด่ นิ ว่างตามชุมชนต่างๆ สภาพความเป็นอยูล่ ำ� บาก ไม่มี สิทธิขน้ั พืน้ ฐานใด ๆ มีรายได้ไม่แน่นอน อาชีพส่วนใหญ่ คือ ท�ำประมง ท�ำสวน รับจ้างรายวัน เช่น ปอกมะพร้าว เก็บสับปะรด กรีดยาง เจียระไน พลอย ฯลฯ และด้วยเหตุทคี่ นกลุม่ นีไ้ ม่มสี ถานะ จึงมักถูกเอาเปรียบ ถูก โกงค่าแรงหรือโกงทรัพย์สนิ อืน่ ๆ57 จากการท�ำงานเกีย่ วกับชุมชนเมือง ในประเด็นการจัดการขยะที่ จังหวัดระนอง ในราว ปี พ.ศ. 2544 ภควินทร์ แสงคง ทีป่ รึกษาเครือ ข่ายแก้ปญ ั หาคืนสัญชาติคนไทย ได้มโี อกาสพูดคุยกับตัวแทนของคนไทย พลัดถิน่ จังหวัดระนอง ถึงชุมชนคนไทยพลัดถิน่ ทีก่ ระจายตัวอยูแ่ ถบ จังหวัดระนอง และประจวบคีรีขันธ์ ต่อมาจึงได้มีการพูดคุย เรียนรู้ ท�ำความเข้าใจเกีย่ วกับประเด็นนี้ ผ่านกระบวนการเรียนรูข้ องโครงการ ปฏิบตั กิ ารชุมชนและเมืองน่าอยูภ่ าคใต้ โดยมูลนิธชิ มุ ชนไท สถาบันพัฒนา องค์กรชุมชน หรือ พอช. กรรมการสิทธิมนุษยชน ได้เปิดเวที “เล่าขาน ต�ำนานคน กรณีคนไทยพลัดถิน่ ” ในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2545 ซึง่ ขณะนัน้ กระแสสังคมภายนอกรับรูแ้ ละสนใจประเด็นของคนไทยพลัดถิน่ แต่ยงั ไม่เข้าใจและไม่รจู้ ะช่วยเหลืออย่างไร58 ช่วงเหตุการณ์สนึ ามิ คนไทยพลัดถิน่ จ�ำนวนหนึง่ เข้าไม่ถงึ ความ ช่วยเหลือต่างๆ เนือ่ งมาจากไม่มสี ถานะทางสัญชาติไทยดังกล่าว แต่จาก การท�ำงานกับพืน้ ทีม่ าอย่างต่อเนือ่ ง กลุม่ คนไทยพลัดถิน่ จังหวัดระนอง และประจวบคีรีขันธ์ กลับรวมกลุ่มเพื่อเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย
191
192
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
รวมตัวเป็นอาสาสมัครสร้างบ้านพักชั่วคราว และบ้านพักถาวร ทีบ่ า้ นปากเตรียม จังหวัดพังงา สร้างบ้านพักทีท่ า่ เรือบางกล้วย บ้านหาด ทรายด�ำ หน้านอก จังหวัดระนอง ท�ำอาหารกับกลุม่ บ้านมัน่ คงหลังสวน ให้พนี่ อ้ งบ้านน�ำ้ เค็ม ในศูนย์พกั พิงชัว่ คราวบางม่วง จังหวัดพังงา และช่วย เก็บข้อมูลความเสียหายในพืน้ ทีจ่ งั หวัดระนอง การเข้าร่วมงาน 1 ปีสนึ ามิทบี่ า้ นทุง่ หว้า เป็นพืน้ ทีห่ นึง่ ทีท่ ำ� ให้ คนไทยพลัดถิน่ ได้แสดงตัวตนผ่านการละเล่นหนังตะลุง ลิเกป่า และใน งานนี้ จากการร่วมท�ำงานและเชือ่ มร้อยเครือข่ายผ่านความทุกข์ยากจาก เหตุภยั สึนามิ เครือข่ายการแก้ปญ ั หาคืนสัญชาติคนไทยจังหวัดระนอง จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์ จึงเข้าเป็นสมาชิก เครือข่ายผูป้ ระภัยสึนามิ 6 จังหวัด (ภายหลังได้เปลีย่ นชือ่ เป็น เครือข่ายผูป้ ระภัยสึนามิและสิทธิ ชุมชน) และยืน่ ข้อเสนอต่อตัวแทนรัฐบาล จากปฏิบัติการครั้งส�ำคัญดังกล่าว ท�ำให้รัฐบาลมีมติคณะ รัฐมนตรีในต้นปี พ.ศ. 2549 ภายใต้ยทุ ธศาสตร์ 18 มกราคม พ.ศ. 2548 ส่งผลให้กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย มีหนังสือสัง่ การอีก 3 ครัง้ เพือ่ ส�ำรวจกลุม่ เป้าหมายตามยุทธศาสตร์ดงั กล่าว 5 กลุม่ ได้แก่
Tsunami : waves of reform
1. เด็กนักเรียนทีอ่ าศัยอยูใ่ นสถานศึกษาของทางราชการ 2. กลุม่ ทีอ่ าศัยอยูใ่ นประเทศไทยเป็นเวลานานแต่ตกส�ำรวจ ทีเ่ ป็นเครือญาติกบั ชนกลุม่ น้อย 21 กลุม่ และกลุม่ ทีไ่ ม่เกีย่ วพันกับ ชนกลุม่ น้อย 3. กลุม่ ท�ำคุณประโยชน์ให้กบั ประเทศไทย 4. กลุม่ คนไร้รากเหง้า 5. กลุม่ บุตรของผูไ้ ม่มสี ถานะทางทะเบียน การส�ำรวจกลุม่ เป้าหมายทัง้ 5 กลุม่ นีค้ รอบคลุมกว่า 260,000 คน ทัว่ ประเทศ (เป็นผูถ้ อื บัตรเลข 0 เลขกลุม่ 89) เพือ่ รอการพิสจู น์ สถานะต่อไป ถือเป็นความก้าวหน้าในการแก้ปญ ั หา หลังงาน 1 ปี สึนามิ เป้าหมายของเครือข่ายฯ ชัดเจนขึน้ นัน่ คือ การกลับคืนสัญชาติไทย ทิศทางการแก้ปญ ั หามีความชัดเจนมากขึน้ เครือข่ายฯ ส่งสมาชิกกว่า 1,500 คน เข้าร่วมเรียนรูป้ ญ ั หาเชิงโครงสร้าง ในเวทีทางการเมือง ตัง้ แต่ทอ้ งสนามหลวงถึงหน้าท�ำเนียบ ถือเป็นการ เรียนรูแ้ ละฝึกฝนในเชิงยุทธวิธกี ารเคลือ่ นไหว เข้าร่วมโรงเรียนชาวบ้าน เรียนรูก้ ระบวนการท�ำงานตัง้ แต่การถอดบทเรียน การวิเคราะห์ผมู้ สี ว่ นได้ เสีย การวางแผนสูก่ ารฝึกปฏิบตั จิ ริง และการสรุปบทเรียน แลกเปลีย่ น เพือ่ สร้างเครือ่ งมือใหม่ๆ พร้อมขยายผลต่อ เข้าร่วมเวทีนำ� เสนอการแก้ ปัญหากับสถาบันการศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ น�ำไปสู่การ
193
194
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ยกระดับการต่อสูภ้ าคประชาชนเป็นเครือข่ายชุมชนเพือ่ การปฏิรปู สังคม และการเมือง (คปสม.) และเชือ่ มโยงกับเครือข่ายชุมชนในภูมภิ าคอืน่ ๆ ทัว่ ประเทศเป็นขบวนประชาชนเพือ่ สังคมทีเ่ ป็นธรรม (PMOVE)59 ในทีส่ ดุ เมือ่ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2557 คนไทยพลัดถิน่ ประมาณ 500 คน ได้เดินเท้าจากด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์ มายังหน้ารัฐสภาในวันเปิดสมัยประชุมวันแรก เพื่อเร่งรัดให้รัฐสภา เร่งออกกฎหมายสัญชาติ เพือ่ ให้พวกเขาได้อาศัยอยูใ่ นประเทศไทยเหมือน คนไทยคนหนึง่ นับได้วา่ คลืน่ สึนามิได้ชว่ ยชะล้างปัญหาทีห่ มักหมมมาช้านานใน สังคม ดังเช่น ปัญหาของคนไทยพลัดถิน่ ทีเ่ ผยปรากฏขึน้ และได้รบั การ แก้ไขเพือ่ สิทธิและความเป็นคนไทยอย่างเท่าเทียมกัน
Tsunami : waves of reform
สูเ้ พือ ่ สิทธิ สูก ่ ารปฏิรป ู ทีด ่ น ิ คลืน่ ยักษ์สนึ ามิได้เผยให้สงั คมเห็นช่องว่างความเหลือ่ มล�ำ้ ทาง สังคมที่ห่างและกว้างมาก กลุ่มคนชายขอบถูกปล่อยปละ เพิกเฉย ในขณะทีก่ ลุม่ คนทีม่ โี อกาสทางสังคมและเศรษฐกิจมากว่าได้รบั การเอือ้ ประโยชน์จากกฎหมาย นโยบายต่างๆ จากภาครัฐ อาทิ พระราชบัญญัติ ป่าไม้ พ.ศ. 2484 (แก้ไขเพิม่ เติม พ.ศ. 2532) อนุญาตให้เอกชน สามารถเข้ามาใช้ประโยชน์จากพืน้ ทีป่ า่ โดยไม่คำ� นึงถึงชุมชนทีต่ งั้ อยู่ มาก่อน ยังผลให้ชาวบ้านทีอ่ าศัยอยูก่ อ่ น แต่ไม่มเี อกสารสิทธิต์ อ้ งกลาย เป็นผูก้ ระท�ำผิด และต้องออกจากพืน้ ทีน่ นั้ ๆ สภาพปัญหาดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีคิดในการจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติทแี่ ตกต่างกันอย่างสิน้ เชิงระหว่างชาวบ้านกับรัฐ60 อีกทัง้ นโยบายส่งเสริมการท่องเทีย่ วทีส่ ดุ โต่งเปิดทางให้กระแสทุนเข้ามา ลงทุนด้านการท่องเทีย่ ว โดยไม่คำ� นึงถึงวิถดี งั้ เดิมของชุมชน ปัญหาใน ลักษณะนี้เกิดขึ้นซ�้ำซาก ทับถม หมักหมมมานาน จึงไม่ใช่เรื่องง่าย ทีจ่ ะแก้ไข เครือข่ายผูป้ ระสบภัยสึนามิและสิทธิชมุ ชนตระหนักถึงปัญหานี้ ทีจ่ ะมีผลต่อการฟืน้ ฟูทอี่ ยูอ่ าศัยและสิทธิในการกลับเข้าไปอยูอ่ าศัยใน พืน้ ทีด่ นิ เดิมของตนเองได้ จึงได้นำ� เสนอประเด็นและสรุปความคืบหน้าใน กรณีทดี่ นิ จากเวที “ร�ำลึก 10 ปี สึนามิ สูก่ ารปฎิรปู นโยบาย บทเรียน
195
196
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ภัยพิบตั ”ิ เมือ่ วันที่ 24–26 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ณ อนุสรณ์สถาน สึนามิ บ้านน�้ำเค็ม ต�ำบลบางม่วง อ�ำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา61 ดังต่อไปนี้ กระบวนการแก้ไขปัญหาทีด ่ น ิ พืน ้ ทีธ ่ รณีพบ ิ ต ั ิ กระบวนการแก้ไขปัญหาที่ดินพื้นที่ธรณีพิบัติในช่วงที่ผ่านมา เริม่ จากทีม่ ชี มุ ชนประสบปัญหาไม่สามารถเข้าไปก่อสร้างทีพ่ กั ถาวรในที่ เดิมได้ และเกิดการพิพาททัง้ กับภาคเอกชนและหน่วยงานราชการใน ท้องถิน่ ต่อมา ได้มคี ำ� สัง่ แต่งตัง้ คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาทีด่ นิ ในพืน้ ที่ ประสบภัยธรณีพิบัติ 6 จังหวัด โดยมี พลเอกสุรินทร์ พิกุลทอง เป็นประธาน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ( พอช.) เป็นฝ่ายเลขานุการฯ ในการประชุมอนุกรรมการแก้ไขปัญหาทีด่ นิ ในพืน้ ทีป่ ระสบภัยธรณีพบิ ตั ิ 6 จังหวัด เห็นชอบให้ 13 ชุมชน 1,156 ครัวเรือน อยูอ่ าศัยได้ถาวร ในช่วงต้น การแก้ไขปัญหาที่ดิน ได้ข้อยุติไป 13 หมู่บ้าน โดยความร่วมมือหลายฝ่าย ทัง้ ในส่วนของชุมชนผูป้ ระสบภัย องค์กร พัฒนาเอกชน หน่วยงานรัฐทีเ่ กีย่ วข้อง ประสบการณ์และแนวทางจาก การแก้ปญ ั หาทีด่ นิ สึนามินำ� ไปสูก่ ารขยายผล แก้ปญ ั หาทีจ่ งั หวัดอืน่ ๆ ของรัฐบาลในช่วงนัน้ ภายใต้ชอื่ คณะกรรมการแก้ปญ ั หาความยากจน ด้านทีด่ นิ ระดับจังหวัด
Tsunami : waves of reform
ขณะทีก่ ารร้องเรียนเรือ่ งทีด่ นิ มีมากขึน้ มีการร้องเรียนถึง 122 หมูบ่ า้ น ในช่วงหลังการแก้ปญ ั หาเป็นไปในลักษณะ ไม่ตอ่ เนือ่ ง ไม่ชดั เจน เพราะมีการเปลีย่ นแปลงทางการเมืองบ่อยครัง้ จะเห็นได้จากการตัง้ อนุกรรมการแก้ปญ ั หาทีด่ นิ หลายครัง้ โดยมีคณะอนุกรรมการทีเ่ กีย่ วข้อง กับการแก้ไขปัญหาทีด่ นิ ในพืน้ ทีป่ ระสบภัยธรณีพบิ ตั ิ ดังนี้ •
คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ธรณีพิบัติ 6 จังหวัด
ตัง้ โดย คณะกรรมการแกไ ขปญ หาการบุกรุกทีด่ นิ ของรัฐ (กบร.) มีประชุม 5 ครั้ง ได้มีมติเห็นชอบให้ชุมชนอยู่ในที่ดินรัฐได้ 13 หมูบ่ า้ น ดังนี้ 1. จังหวัดกระบี่ 2 หมูบ่ า้ น คือ บ้านหัวแหลม บ้านสังกาฮู้ 2. จังหวัดพังงา 1 หมูบ่ า้ น คือ บ้านทุง่ หว้า 3. จังหวัดภูเก็ต 2 หมูบ่ า้ น คือ คลองปากบาง บ้านนอกเล 4. จังหวัดตรัง 8 หมูบ่ า้ น คือ บ้านตาเสะ บ้านเกาะมุก บ้านมดตะนอย บ้านควนตุง้ กู บ้านพระม่วง บ้านฉางหลาง บ้านแหลมไทร บ้านหาดทรายทอง แต่จากการเห็นชอบของคณะอนุกรรมการดังกล่าว ก็ยังไม่มี หน่วยงานใดรับผิดชอบในการน�ำเข้าในมติคณะรัฐมนตรี ดังนัน้ มติของ คณะอนุกรรมการดังกล่าวจึงไม่มผี ลในทางกฎหมายและชุมชนยังไม่มนั่ คง ในการเข้าไปอยูอ่ าศัย
197
198
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
· คณะอนุกรรมการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาทีด่ นิ เพือ่ แก้ไข ปัญหาความยากจนในพืน้ ทีป่ ระสบภัยธรณีพบิ ตั แิ ละพืน้ ที่ ทีเ่ กีย่ วข้อง เป็นค�ำสัง่ ศตจ. ปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธาน มีการ ประชุมอนุกรรมการ 1 ครัง้ ในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548 โดยมีมติให้มีการสอบสวนการออกเอกสารสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเอกชน ทีบ่ า้ นแหลมป้อม บ้านทับตะวัน และบ้านในไร่ จังหวัดพังงา แต่ยงั ไม่ได้ ข้อยุตแิ ละไม่มคี วามคืบหน้าการพิสจู น์ทมี่ าของการออกเอกสารสิทธิ์ · คณะกรรมการแก้ไขปัญหาทีด่ นิ และสัญชาติในพืน้ ทีป่ ระสบ ภัยธรณีพบิ ตั ิ ตัง้ โดยมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ซึง่ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน รัฐมนตรีวา่ การกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมเป็นรองประธาน ได้ดำ� เนินการเจรจา ระหว่างเอกชนและชุมชนทีอ่ ยูอ่ าศัยในพืน้ ที่ มีการประชุมและลงพืน้ ที่ 4 ครัง้ แต่ยงั ไม่สามารถหาข้อยุตไิ ด้ และไม่ได้หยิบยกประเด็นการพิสจู น์ทมี่ า ของเอกสารสิทธิข์ นึ้ มาพิจารณาร่วม · คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาความยากจนด้านทีด่ นิ แต่งตั้งโดยศูนย์อ�ำนวยการปฏิบัติการต่อสู้เพื่อเอาชนะความ ยากจนภาคประชาชนระดับชาติ ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 โดย มีพลเอกสุรนิ ทร์ พิกลุ ทอง เป็นประธาน มีการเสนอแนวทางการแก้ไข ปัญหาทีด่ นิ โดยอ�ำเภอเป็นตัวตัง้ และมีชมุ ชนเป็นแกนกลาง ดังนี้
Tsunami : waves of reform
1. มีการประชุมร่วมเพือ่ แก้ไขปัญหาในพืน้ ที่ จังหวัดภูเก็ต 2. กรณีทชี่ มุ ชนทับยาง จังหวัดพังงา ได้ตงั้ คณะอนุกรรมการ แก้ไขปัญหาเฉพาะพืน้ ที่ โดย คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการ บุกรุกทีด่ นิ ของรัฐ (กบร.) 3. ลงพืน้ ทีจ่ งั หวัดระนอง · คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาทีด่ นิ และสนับสนุนแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) แต่งตัง้ โดย ประธานคณะมนตรีความมัน่ คงแห่งชาติ (คมช.) โดยมี พลเอกสุรนิ ทร์ พิกลุ ทอง เป็นประธาน ลงพืน้ ทีต่ ดิ ตามความ คืบหน้าในจังหวัดภูเก็ต โดยมอบหมายให้ผวู้ า่ ราชการจังหวัดภูเก็ตแต่งตัง้ คณะอนุกรรมการแก้ปญ ั หาทีด่ นิ ระดับอ�ำเภอ กรณีการร้องเรียนเรือ่ งทีด่ นิ ส่วนใหญ่เป็นกรณีพพิ าทใน ทีด่ นิ รัฐ จ�ำนวน 122 หมูบ่ า้ น ใน 142 พืน้ ที่ จ�ำนวน 12,669 ครอบครัว รวมทัง้ สิน้ เป็นพืน้ ทีจ่ ำ� นวน 3,4264 ไร่ แบ่งเป็น จังหวัดระนอง 22 หมูบ่ า้ น, จังหวัดตรัง 11 หมูบ่ า้ น, จังหวัดภูเก็ต 30 หมูบ่ า้ น, จังหวัด กระบี่ 24 หมูบ่ า้ น, จังหวัดพังงา 32 หมูบ่ า้ น ปัญหาทีด่ นิ ใน 122 หมูบ่ า้ น ส่วนใหญ่เป็นกรณีพพิ าทกับหน่วย งานรัฐ 103 หมูบ่ า้ น และกรณีพพิ าททีด่ นิ เอกชน 19 หมูบ่ า้ น
199
200
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
กรณีพพิ าททีด่ นิ รัฐ แบ่งเป็น พิพาทป่าสงวน 44 หมูบ่ า้ น, พิพาทป่าชายเลน 27 หมูบ่ า้ น, พิพาทอุทยาน 24 หมูบ่ า้ น, พิพาทที่ สาธารณะ 11 หมูบ่ า้ น, กรมเจ้าท่า 8 หมูบ่ า้ น, ราชพัสดุ 8 หมูบ่ า้ น กรณีพพิ าทในทีด่ นิ ดังกล่าว มีชาวบ้านถูกฟ้องขับไล่และเรือ่ งอยู่ ระหว่างขึน้ ศาล จ�ำนวน 407 กรณี ใน 28 ชุมชน ซึง่ มีผทู้ ไี่ ด้รบั ผล กระทบทัง้ สิน้ 2,258 ครัวเรือน ตารางแสดงพืน้ ทีท่ มี่ ปี ญ ั หาด้านคดีความ ในพืน้ ที่ 5 จังหวัดอันดามัน พืน้ ที่ (จังหวัด)
จ�ำนวน ชุมชน
จ�ำนวนครัวเรือน ทีม่ ผี ลกระทบ
จ�ำนวนคดี
ระนอง
2
156
11
พังงา
7
411
228
ภูเก็ต
10
1,465
48/124
กระบี่
7
210
29
ตรัง
2
16
4
รวม
28
2,258
320/407
ทีม่ า: ศูนย์กฎหมายและสิทธิชมุ ชนพืน้ ทีอ่ นั ดามัน พ.ศ. 2549
Tsunami : waves of reform
ผลของการต่อสู้ : ชัยชนะของ 13 หมูบ ่ า้ น เมือ่ วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550 พลเอกสุรนิ ทร์ พิกลุ ทอง ได้นำ� เรือ่ งเข้าทีป่ ระชุม คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการบุกรุกทีด่ นิ ของรัฐ (กบร.) โดยนายโฆสิต ปัน้ เปีย่ มรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีในสมัยนัน้ เป็น ประธานทีป่ ระชุม ซึง่ มติทปี่ ระชุมรับทราบและให้หน่วยเลขาฯ จัดท�ำ หนังสือถึงจังหวัด หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องเพือ่ ด�ำเนินการ อีกทัง้ ท�ำบันทึก ถึงรองนายกรัฐมนตรีเพื่อรายงานนายกรัฐมนตรีต่อไป จากที่ประชุม ดังกล่าวท�ำให้ 13 หมู่บ้านสามารถกลับเข้าไปอยู่อาศัยในที่ดินเดิม ของตนเองได้ โดยมีรายละเอียดดังตาราง
201
202
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ตารางหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องกับพืน้ ที่ 13 หมูบ่ า้ น พืน้ ที่
หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง
1. บ้านเกาะมุก หมูท่ ี่ 2 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง 2. บ้านควนตุง้ กู ม.3 ต.บางสัก อ.กันตัง จ.ตรัง 3. บ้านตะเสะ หมู่ 4 ต.ตะเสะ กิง่ อ.หาดส�ำราญ จ.ตรัง 4. บ้านมดตะนอย หมู่ 3 ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง 5. บ้านแหลมไทร หมู่ 3 ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา จ.ตรัง
กรมป่าไม้ / กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิแ่ วดล้อม กรมป่าไม้ / กระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิแ่ วดล้อม กรมการขนส่งทางน�ำ้ ฯ
6. บ้านพระม่วง หมู่ 6 ต.นา เกลือ อ.กันตัง จ.ตรัง 7. บ้านฉางหลาง หมู่ 5 ต.ไม้ ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง
กรมการขนส่งทางน�ำ้ ฯ
8. บ้านหาดทรายทอง ม.4 ต.เกาะสุกร อ.ปะเหลียน จ.ตรัง 9. บ้านหัวแหลม จ.กระบี่
ส�ำนักงานทีด่ นิ จังหวัด / กรมทีด่ นิ / กระทรวงมหาดไทย กรมการขนส่งทางน�ำ้ ฯ
10. บ้านสังกาอู้ จ.กระบี่
กรมการขนส่งทางน�ำ้ ฯ
11. บ้านทุง่ หว้า อ.ตะกัว่ ป่า จ.พังงา 12. บ้านปากบาง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต 13. บ้านนอกเล อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต
ส�ำนักงานทีด่ นิ จังหวัด / กรมทีด่ นิ / กระทรวงมหาดไทย ส�ำนักงานทีด่ นิ จังหวัด / กรมทีด่ นิ / กระทรวงมหาดไทย ส�ำนักงานทีด่ นิ จังหวัด / กรมทีด่ นิ / กระทรวงมหาดไทย
กรมการขนส่งทางน�ำ้ ฯ กรมการขนส่งทางน�ำ้ ฯ
กรมการขนส่งทางน�ำ้ ฯ
แนวทาง แก้ไข
รับรองสิทธิเป็น แปลงรวม รับรองสิทธิเป็น แปลงรวม รับรองสิทธิเป็น แปลงรวม รับรองสิทธิเป็น แปลงรวม รับรองสิทธิเป็น แปลงรวม รับรองสิทธิเป็น แปลงรวม รับรองสิทธิเป็น แปลงรวม รับรองสิทธิเป็น แปลงรวม รับรองสิทธิเป็น แปลงรวม รับรองสิทธิเป็น แปลงรวม รับรองสิทธิเป็น แปลงรวม รับรองสิทธิเป็น แปลงรวม รับรองสิทธิเป็น แปลงรวม
Tsunami : waves of reform
คลืน่ แห่งการเปลีย่ นแปลงในระยะสิบปีทผี่ า่ นมาได้เผยให้สงั คม เห็นปัญหาทีย่ งิ่ ใหญ่ของชาวบ้านทีอ่ าศัยอยูช่ ายฝัง่ ทะเลมายาวนาน ทัง้ ปัญหาความขัดแย้งเรือ่ งทีด่ นิ ปัญหาคนชายขอบทีถ่ กู ละเลยจากการ พัฒนา ทัง้ กลุม่ ชาติพนั ธุช์ าวเล และกลุม่ คนไทยพลัดถิน่ คนไร้สญ ั ชาติที่ ไม่ได้รบั การช่วยเหลือ เนือ่ งจากไม่มบี ตั รสถานะบุคคล กลุม่ คนเหล่านีไ้ ด้ เกาะเกีย่ ว ร้อยรัดกันไว้ดว้ ยสายใยของปัญหาร่วม ก่อเกิดกระบวนการการ ท�ำงานทีส่ ามารถพลิกวิกฤติเิ ป็นโอกาส ท�ำให้ผปู้ ระสบภัยทีต่ า่ งคนต่างอยู่ ได้มารวมกลุม่ กันและเสนอทิศทางในการจัดการภัยพิบตั ริ ว่ มกันอย่างเป็น ระบบต่อไป
203
204
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
จากผูป ้ ระสบภัย สูค ่ วามเป็นเครือข่าย นับจากวันทีเ่ กิดภัยพิบตั จิ นวันนี้ 10 ปีแล้ว ผูป้ ระสบภัยในพืน้ ที่ 6 จังหวัดได้รวมตัวช่วยกันแก้ปญ ั หา มีการเชือ่ มโยงกับเครือข่ายอืน่ ๆ ทัว่ ประเทศ มากกว่า 10 เครือข่าย ทีท่ ำ� งานร่วมกันโดยการสนับสนุน ของมูลนิธชิ มุ นไท เพือ่ แก้ปญ ั หาทีด่ นิ และคนชายขอบ อาทิเช่น เครือข่าย แก้ปัญหาการคืนสัญชาติไทย (คนไทยพลัดถิ่น) เครือข่ายชาวเล เครือข่ายสิทธิคนจนพัฒนาภูเก็ต เครือข่ายชุมชนจังหวัดพังงา เครือข่าย ฟืน้ ฟูเกาะลันตา เครือข่ายรักษ์อา่ วไทยตอนบน เครือข่ายสิง่ แวดล้อม ปทุมธานี เครือข่ายชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี เครือข่ายชุมชนศรัทธา ชายแดนใต้ และเครือข่ายสามชุกตลาดร้อยปี ฯลฯ ซึง่ รวมตัวกันเป็น เครือข่ายชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) ทั้งนี้ เป็นเครือข่ายระดับประเทศ กว้างขวางและมีขอบเขตการท�ำงานทีส่ ร้าง ผลสะเทือนทัง้ ประเทศในบางประเด็น --- ทัง้ หมดนีม้ จี ดุ เริม่ ต้นเล็กๆ จาก กลุม่ ออมทรัพย์
Tsunami : waves of reform
กลุม ่ ออมทรัพย์จด ุ ก�ำเนิดสายสัมพันธ์สร้าง เครือข่าย/ความเคลือ ่ นไหวทางสังคม
ประชา หุตานุวตั ร62 ได้ตงั้ ข้อสังเกตเกีย่ วกับการออมทรัพย์ ของกลุม่ เครือข่ายคนจนไว้อย่างน่าสนใจว่า การออมทรัพย์เป็นกิจกรรมที่ ตอบสนองความจ�ำเป็นเฉพาะหน้าของคนจน ทีม่ กั จะขัดสนเงินทองเป็น ครัง้ คราว จะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ และมักต้องหยิบยืมจากแหล่ง เงินกูน้ อกระบบด้วยดอกเบีย้ ทีไ่ ม่เป็นธรรมอย่างยิง่ การออมทรัพย์รว่ มกัน และกูก้ นั ภายในกลุม่ ท�ำให้ชาวบ้านจ�ำนวนมาก ค่อยๆ ปลดหนี้ หรือลด หนีล้ งได้ กลุม่ ออมทรัพย์เป็นเหตุให้ชาวบ้านได้ประชุมกัน พบหน้ากัน ฝึกท�ำงานด้วยกันและปรึกษาหารือกันในเรือ่ งต่างๆ เกีย่ วกับชุมชน ท�ำให้ ชาวบ้านเข้าใจปัญหาทางโครงสร้างทีซ่ บั ซ้อนขึน้ ไปได้เรือ่ ยๆ และเป็นพลัง รวมกลุม่ ทีล่ ม้ ได้ยาก การออมทรัพย์จงึ เป็นหนทางหนึง่ ในการสะสมเงิน ร่วมกันเพือ่ แก้ปญ ั หาทีก่ ำ� ลังเผชิญอยู่ เช่น กลุม่ คนไทยพลัดถิน่ ได้ใช้การ ออมทรัพย์เพื่อรวบรวมเงินช่วยเหลือคนที่ออกไปท�ำงานเคลื่อนไหว เพือ่ ชุมชน และต่อสูจ้ นได้ พระราชบัญญัตสิ ญ ั ชาติฉบับที่ 5 ว่าด้วยการ คืนสัญชาติไทย หรือบางกลุม่ ออมเงิน แล้วผลัดกันสร้างบ้านด้วยเงินออม ของกลุม่ บางกรณีกอ็ อมทรัพย์เพือ่ สูค้ ดี พอคดีเสร็จกลุม่ ก็ยงั มีเงินเหลือ ท�ำกิจกรรมอืน่ ๆ ต่อ เป็นต้น
205
206
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
นอกจากนี้ การออมทรัพย์เป็นการสร้างโครงสร้างทาง อ�ำนาจใหม่ แทนทีช่ าวบ้านจะพึง่ ธนาคารพาณิชย์ หรือนายหน้าเงินกูน้ อก ระบบ ชาวบ้านร่วมกันสร้างระบบธนาคารของตนเอง โดยยกระดับจาก การออมทรัพย์ในระดับชุมชน มาเป็นหลายๆ ชุมชนมาออมร่วมกันเป็น ออมทรัพย์ของเครือข่าย คล้ายๆ ธนาคารในหมูค่ นจนด้วยกัน เงินรายได้ ดอกเบีย้ ก็หมุนเวียนอยูใ่ นชุมชนต่างๆ บางแห่งสามารถจัดสวัสดิการ ชุมชนได้อย่างเป็นชิน้ เป็นอันขึน้ เรือ่ ยๆ ท้ายที่สุด การออมทรัพย์ท�ำให้ชาวบ้านสามารถอยู่อย่าง มีศกั ดิศ์ รี โดยเฉพาะในกลุม่ ชาติพนั ธุช์ าวเลกลุม่ ทีม่ ปี ญ ั หาทีด่ นิ และกลุม่ คนไทยพลัดถิน่ การออมทรัพย์เป็นกิจกรรมเบือ้ งต้นทีน่ ำ� ไปสูข่ มุ พลัง ของขบวนการเคลือ่ นไหวทางสังคม (social movement) ของกลุม่ และ เครือข่ายผูป้ ระสบภัยสึนามิอย่างเป็นรูปธรรม ผูบ ้ ก ุ เบิกมิใช่ผบ ู้ ก ุ รุก กรณีชาติพน ั ธุช์ าวเล การกดทับคนชายขอบนั้นไม่ได้เกิดเฉพาะด้านเศรษฐกิจและ การเมืองเท่านัน้ หากควบคูก่ บั การกดทับทางวัฒนธรรมด้วย คนชายขอบ มักจะถูกมองว่าตํา่ ต้อยด้อยค่า ดังนัน้ การผลักดันวิถวี ฒ ั นธรรมชาวเลให้ ปรากฎตัวออกสู่สายตาของสาธารณชนจึงเป็นยุทธวิธีหนึ่งของการ
Tsunami : waves of reform
เคลือ่ นไหว จึงเป็นขัน้ ตอนการต่อสูท้ สี่ ำ� คัญขัน้ หนึง่ เพือ่ สร้างความเชือ่ มัน่ และภาคภูมใิ นหมูช่ าวเลด้วยกันเองก่อนสร้างการยอมรับของสังคม พิธลี อยเรือเป็นพิธกี รรมส�ำคัญประจ�ำปี ทีจ่ ดั ขึน้ ปีละสองครัง้ ในเดือน 6 และเดือน 11 ของทุกปี คุณค่าและความหมายของพิธกี รรม คือ เพือ่ สะเดาะเคราะห์ ขอขมาต่อทะเล และท�ำให้ปลาชุกชุมจับได้ตลอด ทัง้ ปี อีกทัง้ ยังเป็นวันพบญาติครัง้ ใหญ่ของปีอกี ด้วย แต่หลังจากสึนามิ ปัญหาทีด่ นิ ทีท่ ำ� กินในทะเลของกลุม่ ชาติพนั ธุ์ ชาวเลมีมากขึ้น และภาคีสนับสนุนเพื่อการแก้ปัญหาชาวเล โดย สถาบันวิจยั สังคมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรนิ ธร และมูลนิธชิ มุ ชนไท ได้รว่ มกันผลักดันให้เกิดมติคณะรัฐมนตรีเรือ่ งการ ฟืน้ ฟูวถิ ชี วี ติ ชาวเลขึน้ หลังจากนัน้ ได้มกี ารสนับสนุนให้มงี านรวมญาติ ชาติพนั ธุช์ าวเลขึน้ ทุกปี เพือ่ เปิดพืน้ ทีท่ างสังคมและสาธารณะให้กบั กลุม่ ชาติพันธุ์ชาวเล และกระตุ้นให้ระดับนโยบายเร่งแก้ปัญหาของกลุ่ม ชาติพนั ธุช์ าวเลอย่างเป็นรูปธรรม วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557 กลุม่ ชาติพนั ธุช์ าวเลได้จดั งาน “รวมญาติชาติพนั ธุช์ าวเล” ครัง้ ที่ 5 ที่ หอประชุมศูนย์มานุษยวิทยา สิรนิ ธร (องค์การมหาชน) งานนีไ้ ด้ยกระดับขึน้ มาสูก่ ารบูรณาการแก้ ปัญหาชาวเลสูก่ ารปฎิรปู ประเทศได้ในระดับหนึง่ ศ. ศรีศกั ร วัลลิโภดม ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านมานุษยวิทยา สรุปความ ตอนหนึง่ จากงานเสวนาครัง้ นีว้ า่
207
208
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
“ความเป็นชุมชนมีความเป็นองค์รวม ไม่ควรต้องแยกส่วน การต่อสูต้ อ้ งเอาชุมชนกลับมา เรือ่ งสิทธิชมุ ชนเป็นเรือ่ งส�ำคัญ และเรือ่ ง ทีด่ นิ นัน้ เป็น 1 ในโครงสร้างทีเ่ มือ่ รัฐเข้ามาเกีย่ วข้อง ท�ำให้แยกส่วน การเคลื่อนไหวเรื่องที่ดินต้องมีจุดหมายรวม และเห็นด้วยว่าต้องมี กฎหมายลูกมารองรับ เพือ่ ให้เห็นว่า เราไม่ใช่ผบู้ กุ รุก แต่เป็นผูท้ อี่ ยู่ มานานแล้ว” พล.อ.สุรนิ ทร์ พิกลุ ทอง กล่าวย�ำ้ ว่า “ปัญหาอยูท่ กี่ ารเอาจริงเอาจังของรัฐบาล ทีผ่ า่ นมา ไม่มรี ฐั บาล ชุดไหนที่ท�ำอย่างจริงจัง รัฐที่มีคุณธรรมควรน�ำหลักพุทธศาสนา ทศพิศราชธรรม 10 อย่างมาบริหารประเทศ จะท�ำให้ประชาชนอยูด่ มี สี ขุ ได้ โดยทีไ่ ม่จำ� เป็นต้องมีการแต่งตัง้ คณะกรรมการ/คณะท�ำงานชุดต่างๆ ออกมา การให้ขอ้ มูลกับผูบ้ ริหารควรให้ขอ้ มูลเชิงลึก การปฏิรปู ต้องไม่เป็นการท�ำเฉพาะหน้า ตอนนีไ้ ม่มใี ครพูดถึงการ แก้ไขปัญหาร่วมกัน ควรเอาความจริงมาพูดกัน ข้าราชการมองไม่เห็น ความยากล� ำ บากของชาวบ้ า น ท� ำ ให้ ก ารแก้ ไ ขปั ญ หาไม่ ต รงจุ ด การขับเคลื่อนเรื่องชาวเลคาดว่าจะท�ำให้เสร็จภายในปี พ.ศ. 2558 ชาวเลไม่ควรทิง้ รากเหง้าของตัวเอง วิถชี วี ติ วัฒนธรรม จะท�ำให้ไม่มี ตัวตนและหลักฐานประวัตศิ าสตร์ ชาวเลและผูป้ ระกอบการควรอยูร่ ว่ ม กันได้”
Tsunami : waves of reform
ในการจัดเวทีครัง้ นัน้ มีการเดินทางเข้าพบรัฐมนตรีประจ�ำส�ำนัก นายกรัฐมนตรี เพือ่ ยืน่ ข้อเสนอในการแก้ปญ ั หา ซึง่ ได้รบั การตอบรับ ตามข้อเสนอ ได้แก่ 1. จะประสานกองทุนยุตธิ รรมช่วยเหลือชาวเลทีห่ าดราไวย์ ในแบบกลุม่ หรือชุมชน 2. จะสัง่ การให้สำ� นักงานต�ำรวจแห่งชาติ(สตช.) รับแจ้งความ จากชาวเลทีห่ ลีเป๊ะทีไ่ ด้รบั ความเดือดร้อนโดยทันที 3. จะท�ำหนังสือถึงผูว้ า่ ราชการจังหวัดให้ความคุม้ ครองพืน้ ที่ 41 ชุมชนชาวเลและสุสาน 15 แห่ง 4. จะช่วยเหลือเร่งด่วนกรณีชาวเลทีบ่ งึ ขุมเขียว ของชุมชน ทับตะวัน จังหวัดพังงา ซึ่งมีมากว่าร้อยปี ภายหลัง เหตุการณ์สนึ ามิ นายทุนอ้างตัวเป็นเจ้าของพืน้ ทีแ่ ละห้าม ชาวบ้านเข้าไปใช้พนื้ ทีอ่ กี 5. จะประสานกระทรวงยุติธรรมให้ชะลอการบังคับคดีของ ชาวเลทีห่ าดราไวย์ 6. จะสั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัดช่วยดูแลวิถีชีวิตชาวเล ทีร่ อ่ นเร่ 7. เห็นด้วยกับร่างกฎหมายทีด่ นิ เพือ่ คนจน 4 ฉบับ 8. จะประสานงานเรือ่ งบัตรประชาชนชาวเล จ�ำนวน 500 คน 9. ตัง้ คณะอนุกรรมการพิจารณาเขตผ่อนปรน เขตทีท่ ำ� กิน
209
210
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
หลังจากยื่นหนังสือและมีการตอบรับข้อเสนอดังกล่าวแล้ว ชาวบ้านไม่ได้หยุดรอให้ทางรัฐท�ำตามที่รับปากว่าจะช่วยเหลือเพียง ทางเดียว แต่ได้มกี ารขับเคลือ่ นประเด็นต่อ โดยการรวบรวมข้อมูลคนที่ ไม่มบี ตั ร และคนทีถ่ อื บัตรขึน้ ต้นด้วยเลข 0 เพือ่ รวบรวมจัดท�ำเป็น ข้อเสนอให้รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขสั่งการให้ทุกโรงพยาบาล จัดบริการทางด้านการรักษาพยาบาลให้กบั กลุม่ ชาติพนั ธุช์ าวเลอย่าง เท่าเทียมกับผู้ป่วยอื่นๆ อีกทั้งรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ปัญหาคน ไม่มีบัตรที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่ และรวมตัวกันเข้าพบปลัดกระทรวง มหาดไทยต่อไป อย่างไรก็ตาม กรณีกลุม่ ชาติพนั ธุช์ าวเลยังเป็นกรณีทตี่ อ้ งต่อสู้ อีกยาวนาน การท�ำความเข้าใจกับสาธารณะ จึงเป็นภารกิจทีท่ ำ� ควบคู่ ไปกับการเรียกร้องสิทธิบนทีด่ นิ และทีท่ ำ� กินของบรรพบุรษุ ทีส่ บื ทอดกัน มาอย่างยาวนานนี้
Tsunami : waves of reform
คืนสัญชาติ คืนศักดิศ ์ รี คืนมาตุภม ู ิ: คนไทยพลัดถิน ่ กับการขับเคลือ ่ น พระราชบัญญัตส ิ ญ ั ชาติ พิธกี รรมทุบกระปุกออมสินไม้ไผ่ เช้าวันที่ 13 มกราคม ปี พ.ศ. 2554 พีน่ อ้ งคนไทยพลัดถิน่ ประกอบพิธกี รรม คารวะบรรพชน พร้อม ประกาศเจตนารมณ์ และน�ำกระปุกออมสินไม้ไผ่ทรี่ ว่ มกันหยอดเงินสะสม ไว้วนั ละห้าบาท มาทุบเพือ่ น�ำเงินทีส่ ะสมนัน้ มาสมทบทุนท�ำกิจกรรมเดิน ธรรมยาตรา ใช้ชอ่ื ว่า ปฏิบตั กิ าร เดินเท้า “จากด่านสิงขร ถึง รัฐสภา” เพือ่ ผลักดันพระราชบัญญัตสิ ญ ั ชาติ ของเครือข่ายคนไทยพลัดถิน่ โดยเริม่ ต้นเดินทางจากด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์เมือ่ วันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554 ใช้เวลา 14 วัน ในระหว่างเดินยาตรา จะมีกจิ กรรมรณรงค์อย่างต่อเนือ่ งเพือ่ การ สือ่ สารประเด็นของคนไทยพลัดถิน่ และเรียกร้องขอสัญชาติ ขอการ ยอมรับจากรัฐว่าพวกเขาก็เป็นคนไทยทีม่ สี ทิ ธิเท่าเทียมกับคนไทยคนอืน่ ๆ ทุกประการ ผ่านข้อเรียกร้อง 3 ข้อ คือ 1. ให้รฐั บาลเร่งรัด น�ำร่างพระราชบัญญัตสิ ญ ั ชาติ (ฉบับที.่ ..) พ.ศ. ..... เข้าพิจารณาในสภาฯ เป็นวาระเร่งด่วน (ก่อนเข้าทีป่ ระชุมสภา ผูแ้ ทนราษฎรในวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ.2554)
211
212
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
2. ตัง้ คณะกรรมการยกร่างกฎกระทรวง ว่าด้วย “การพิสจู น์และ รับรองความเป็นคนไทยพลัดถิน่ ” ตามแนวทางพระราชบัญญัติ ดังกล่าว 3. ตัง้ คณะกรรมการส�ำรวจตรวจสอบ แก้ไข ข้อมูล คนไทยพลัด ถิน่ ในพืน้ ทีต่ า่ งๆ โดยการมีสว่ นร่วมของเครือข่ายการแก้ปญ ั หาคืนสัญชาติ คนไทยและหน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้อง พระราชบัญญัตสิ ญ ั ชาติทกี่ ลุม่ คนไทยพลัดถิน่ เรียกร้อง ทีจ่ ริง แล้วคือ พระราชบัญญัตแิ ก้ไขเพิม่ เติม พระราชบัญญัตสิ ญ ั ชาติ พ.ศ. 2508 ทีเ่ ดิมก�ำหนดวิธกี ารได้สญ ั ชาติไทยไว้สองประการ คือ ได้สญ ั ชาติ โดยการเกิดในประเทศไทย หรือเกิดจากพ่อแม่คนไทย และการแปลง สัญชาติเท่านัน้ แต่ไม่มบี ทบัญญัตริ บั รองการได้สถานะของคนไทยพลัดถิน่ ตามทีเ่ รียกร้องให้ “คืนสัญชาติไทย” ดังนัน้ ร่างพระราชบัญญัตสิ ญ ั ชาติทกี่ ลุม่ คนไทยพลัดถิน่ เรียกร้อง ให้รัฐสภาเร่งพิจารณาให้ทันการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2554 จึงมีเนือ้ หาทีส่ ำ� คัญ คือ การแก้ไขเพิม่ เติม ให้มี สาระส�ำคัญคือ ให้คนไทยพลัดถิ่นที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย และลูกหลานของคนไทยพลัดถิน่ ได้สญ ั ชาติไทย โดยการเกิด หรือ การ สืบสายโลหิต ภควินท์ แสงคง ผูป้ ระสานงานเครือข่ายคนไทยพลัดถิน่ กล่าวถึง การขับเคลื่อนของกลุ่มคนไทยพลัดถิ่นว่า แม้จะเรียกร้องจนได้ พระราชบัญญัตสิ ญ ั ชาติมาแล้วก็ตาม แต่การใช้กฎหมายของเจ้าหน้าทีย่ งั
Tsunami : waves of reform
ล่าช้า ดังนัน้ การท�ำงานเพือ่ สร้างการเปลีย่ นแปลง นอกจากจะเปลีย่ น โครงสร้างแล้ว ยังต้องท�ำงานเพือ่ เปลีย่ นวิธคี ดิ ด้วย “กว่าจะต่อสูใ้ ห้ได้กฎหมายมา เราคิดว่าหนักแล้ว แต่ทหี่ นักกว่า คือการท�ำให้กฎหมายใช้ได้จริง นับจากการเคลือ่ นไหวมาสิบปี” ภควินท์ กล่าวสรุป จากแนวคิดดังกล่าวจึงน�ำไปสูก่ ารท�ำงานในระดับความร่วมมือ จากหลายฝ่ายไปพร้อมๆ กัน ดังทีป่ รากฏขึน้ ในเวที “แนวทางเพือ่ การ ประกาศใช้พระราชบัญญัติสัญชาติ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2555” ณ ส�ำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เวทีนนั้ จัดขึน้ โดยคณะ อนุกรรมการด้านสถานะบุคคลของผูไ้ ร้สญ ั ชาติ ไทยพลัดถิน่ ผูอ้ พยพและ ชนพืน้ เมือง มีตวั แทนจากภาครัฐทีเ่ กีย่ วข้อง อาทิ ผูแ้ ทนจากกระทรวง มหาดไทย ส�ำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผูแ้ ทนจากกองบัญชาการ ต�ำรวจสันติบาลและผูแ้ ทนจากกรมการปกครอง ผูแ้ ทนจากแกนน�ำเครือ ข่ายไทยพลัดถิน่ จังหวัดระนอง จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์ และจังหวัดตราด ร่วมแลกเปลีย่ นความคิดเห็นในเวทีดงั กล่าว นพ.นิรนั ดร์ พิทกั ษ์วชั ระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ให้ความเห็นทีส่ อดคล้องกับเครือข่ายคนไทยพลัดถิน่ ว่า “เมือ่ มีกฎหมายส�ำหรับคนไทยพลัดถิน่ แล้ว เราก็ตอ้ งมาดูถงึ วิธี การบังคับใช้กฎหมายว่าเป็นอย่างไร ซึง่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน แห่งชาติไม่ได้มหี น้าทีใ่ นการตรวจสอบเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องประสาน กับภาครัฐและเอกชนในการดูแลและคุม้ ครองสิทธิมนุษยชนของประชาชน
213
214
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
โดยในการบังคับใช้กฎหมาย จะต้องค�ำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนเป็น หลัก เราจะต้องมาร่วมกันสร้างกระบวนการท�ำงานร่วมกับหน่วยงานภาค รัฐ และประชาชนเพือ่ ให้เกิดประโยชน์ตอ่ ส่วนรวม แล้วคนไทยพลัดถิน่ ก็ จะได้สทิ ธิกลับคืนมา” เวที 12 ปี คนไทยพลัดถิน่ วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 ณ ด่านสิงขร จังหวัดประจวบคีรขี นั ธ์ เป็นอีกครัง้ ทีเ่ ครือข่ายคนไทย พลัดถิ่นได้ประกาศเจตนารมณ์ที่จะปฏิรูปกระบวนการแก้ปัญหา คนไร้สญ ั ชาติ มีการจัดเวทีสาธารณะทีเ่ ผยแพร่เรือ่ งราวของพวกเขาผ่าน ทางช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบเี อส ท�ำให้ประเด็น ของคนไทยพลัดถิน่ เป็นทีต่ ระหนักต่อสังคมเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ เครือข่ายคนไร้สญ ั ชาติได้สร้างแนวร่วมเพือ่ เชือ่ มร้อยประเด็น สูก่ ารแก้ปญ ั หาสัญชาติ ยกระดับมาสูก่ ารเคลือ่ นไหวในนาม เครือข่าย ชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง (คปสม.) และขบวนการ ประชาชนเพือ่ สังคมทีเ่ ป็นธรรม (P-Move) เพือ่ ร่วมปฏิรปู กฎหมายเพือ่ สังคมทีเ่ ป็นธรรม ในหลักการทีว่ า่ “ลดความเหลือ่ มล�ำ้ สร้างความเป็น ธรรม เพิม่ อ�ำนาจให้ประชาชน”
Tsunami : waves of reform
เครือข่ายผูป ้ ระสบภัยสึนามิ สู่ เครือข่ายชุมชนเพือ ่ การปฏิรป ู การเมือง (คปสม.) ทีผ่ า่ นมา ภาคประชาชนไม่ได้มบี ทบาทในการก�ำหนดทิศทาง การพัฒนาวิถชี วี ติ ของตนเอง ปัญหาของภาคประชาชนหลายเรือ่ งเกิด จากแนวนโยบายของรัฐ การจัดสรรทรัพยากรอย่างไม่เป็นธรรม ภาคประชาชนไม่ได้มโี อกาส ร่วมคิด ร่วมตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาของ ตนเอง รวมทัง้ การเมืองภาคประชาชนยังไม่เข้มแข็งมากพอ การตรวจ สอบถ่วงดุลมีนอ้ ยมาก ท�ำให้เกิดปัญหาการทุจริตคอร์รปั ชันทางการเมือง จนเป็นเหตุให้เกิดความวุน่ วายทางการเมือง ทว่า เหตุการณ์ภยั พิบตั สิ นึ ามิได้สร้างโอกาสใหม่ ท�ำให้ผคู้ นและ ชุมชนทีม่ ปี ญ ั หาร่วมจาก 13 เครือข่าย จ�ำนวน 531 ชุมชน มารวมตัว กันในนาม เครือข่ายชุมชนเพือ่ การปฏิรปู สังคมและการเมือง (คปสม.) เพือ่ ผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยการปฏิรปู สังคมและ การเมือง และเป็นการแก้ไขปัญหาที่องค์กรประชาชนมีส่วนร่วมใน การตัดสินใจ โดยภาพรวม ปัญหาส�ำคัญทีช่ มุ ชนในเครือข่าย คปสม. น�ำเสนอ มี 4 ประเด็นหลัก คือ
215
216
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
1. ปัญหาทีด่ นิ ทัง้ การถูกไล่ทแี่ ละทีด่ นิ ชุมชนทับซ้อนกับการ ประกาศของหน่วยงานราชการ 2. ปัญหาความขัดแย้งการใช้ทรัพยากร เช่น การสัมปทาน เหมืองแร่ การดูดทราย 3. ปัญหาคนชายขอบ คนไร้สัญชาติ ที่ถูกเอาเปรียบ เช่น ชาวเล คนไทยพลัดถิน่ 4. ปัญหาความรุนแรงจังหวัดชายแดนใต้ ในปี พ.ศ. 2549-2550 เครือข่าย คปสม. ได้ด�ำเนินงาน โครงการส�ำรวจและเก็บข้อมูลปัญหาสังคมด้านสิทธิชมุ ชนในการจัดการ ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติ และปัญหาสิทธิขั้นพื้นฐานของกลุ่ม ชาติพนั ธุใ์ นประเทศไทย โดยร่วมมือกับกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ และมูลนิธชิ มุ ชนไท ซึง่ ในการด�ำเนินงานท�ำให้เครือข่ายต่างๆ ทัว่ ประเทศ หาแนวทางแก้ไข ปัญหาและท�ำกิจกรรมร่วมกันมาอย่างต่อเนือ่ ง ผลส�ำเร็จบางประการที่เกิดขึ้นจากการผลักดันประเด็นของ เครือข่าย คปสม. อาทิ การแก้ไขปัญหาทีด่ นิ ในพืน้ ทีอ่ นั ดามัน การมีมติ คณะรัฐมนตรีเรื่องออกบัตรประชาชนให้ชาวเล การแก้ไขปัญหาที่ดิน จังหวัดอุบลราชธานี การร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่าง พ.ร.บ.สภา องค์กรชุมชน เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการประสานสนับสนุนการแก้ปญ ั หา สังคม เข้าร่วมคณะกรรมการประสานการแก้ปญ ั หาสืบเนือ่ งจากภัยพิบตั ิ 6 จังหวัดอันดามัน เป็นต้น
Tsunami : waves of reform
เครือข่าย คปสม. เป็นแกนหลักในการจัดเวทีเวทีระดมความ คิดเห็นเกี่ยวกับยกร่าง พ.ร.บ.สภาพัฒนาการเมือง โดยสมาชิกของ เครือข่ายเข้าร่วมในเวทีตา่ งๆ ในภูมภิ าค ไม่นอ้ ยกว่า 10 เวที และการ เข้าร่วมร่าง พรบ.สภาการเมือง ท�ำให้แกนน�ำเครือข่ายเข้าใจความ แตกต่างระหว่างการเมืองภาคตัวแทน และการเมืองภาคพลเมืองชัดเจน ขึน้ และเห็นความส�ำคัญของการสร้างการเมืองภาคพลเมืองให้เข้มแข็ง เพือ่ เกิดความสมดุลในสังคม
กระบวนการพัฒนาเครือข่ายฯ ทีผ่ า่ นมามีอย่างต่อเนือ่ ง ดังนี้ · การประชุมคณะกรรมการเครือข่ายและคณะท�ำงานเครือข่าย ทุกสองเดือน · การจัดเวทีและสนับสนุนความเข้มแข็งของเครือข่ายแต่ละ ประเด็น หรือ พืน้ ที่ · การเสริมศักยภาพและการพัฒนาแกนน�ำ โดยจัดหลักสูตร โรงเรียนชาวบ้าน · การร่วมผลักดันแก้ไขปัญหาระดับนโยบาย ทัง้ ปัญหาทีด่ นิ ทรัพยากร คนไร้สญ ั ชาติ · การจัดรณรงค์เผยแพร่ตอ่ สาธารณะ และร่วมอบรมนักข่าว พลเมืองกับสถานีโทรทัศน์ไทยพีบเี อส
217
218
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
· สร้างกระบวนการแลกเปลีย่ นเรียนรูร้ ะหว่างกันเป็นระยะ เช่น การรวมพลังเครือข่ายช่วยสร้างบ้านชาวเลเกาะเหลา จังหวัดระนอง · การสนับสนุนให้มกี ารเก็บรวบรวมส�ำรวจข้อมูลสมาชิก และ ข้อมูลทุกด้านโดยชุมชนเป็นหลัก · การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อต่างๆ ทั้งโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์
กิจกรรมทีท่ ำ� ร่วมกันของเครือข่าย คปสม. · เสนอบทสรุปในการแก้ไขปัญหาชุมชนต่อนายกรัฐมนตรี สภานิตบิ ญ ั ญัตแิ ห่งชาติ และหน่วยงานก�ำหนดนโยบาย ในเรือ่ งต่างๆ รวม 18 เรือ่ ง อาทิเช่น การแก้ปญ ั หาทีด่ นิ แบบมีสว่ นร่วม การแก้ปญ ั หาบัตร ประชาชนชาวเล การตัง้ คณะอนุกรรมการตรวจสอบเอกสารสิทธิท์ ดี่ นิ ทีอ่ อกโดยมิชอบ · จัดสัมมนา “ทางเลือกใหม่ของชุมชนท้องถิน่ ในการจัดการ ทรัพยากรในพืน้ ทีท่ อ่ งเทีย่ วอย่างยัง่ ยืน” · สัมมนา พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน: ปฏิบตั กิ ารเรียนรู้ เพือ่ สร้าง ประชาธิปไตยรากหญ้าและประชาคม เปิดเวทีแลกเปลีย่ นความคิดเห็นต่อ ร่างพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชนร่วมกันระหว่าง นักวิชาการ นักพัฒนาสังคม นักกฏหมาย สือ่ มวลชน แกนน�ำองค์กรชุมชนภาคส่วน ต่างๆ ในสังคม เพือ่ สร้างความเข้าใจและให้ความรูเ้ รือ่ งสภาองค์กรชุมชน
Tsunami : waves of reform
เพือ่ ร่วมกันก�ำหนดแนวทางการขยายผลเรือ่ งพระราชบัญญัตสิ ภาองค์กร ชุมชน · ร่วมจัดเวทีระดมความเห็น ร่าง พรบ.สภาพัฒนาการเมือง ใน ภูมภิ าคต่างๆ รวม 10 เวที · ประชุมเครือข่าย คปสม. เพื่อติดตามความคืบหน้าและ สถานการณ์ปญ ั หาขององค์กรสมาชิก และร่วมกันจัดท�ำแผนการพัฒนา การประสานงาน และการบริหารของเครือข่าย · จัดงาน วันชนเผ่าพื้นเมืองสากล เป็นการสร้างพื้นที่ทาง นโยบาย และการประเมินความคืบหน้าของยุทธศาสตร์การจัดการสิทธิ และสถานะบุคคล และการส�ำรวจข้อมูลชาวบ้าน · ประชุมคณะกรรมการประสานแก้ไขปัญหาสืบเนือ่ งจากพืน้ ที่ ธรณีพบิ ตั ิ 6 จังหวัด · ประชุมเครือข่าย คปสม. เพื่อทบทวนกระบวนการและ แผนการท�ำงานร่วมกัน เพือ่ ติดตามกิจกรรมของแต่ละพืน้ ที่ และรับรูถ้ งึ ปัญหาอุปสรรค์ตา่ งๆ ในการแก้ปญ ั หาเชิงนโยบายของแต่ละเครือข่าย · จัดงานมหกรรม เปิดเลเขเรือทีเ่ กาะลันตา จังหวัดกระบี่ โดย เครือข่ายชุมชนฟืน้ ฟูเกาะลันตา ร่วมกับภาคีทงั้ ภาครัฐและภาคเอกชน เพือ่ ประกาศความร่วมมือในการอนุรกั ษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเสนอ แนวทางการท่องเทีย่ วทีช่ มุ ชนท้องถิน่ เป็นแกนหลัก
219
220
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
· ประชุมเชิงปฏิบตั กิ าร ติดตามความคืบหน้าของเครือข่าย ปัญหาอุปสรรค และร่วมกันวิเคราะห์จดุ เด่น จุดด้อย และความเข้มแข็ง ของกลุม่ เครือข่ายต่างๆ · การจัดเวทีแลกเปลีย่ นเรียนรู้ “กระบวนการฟืน้ ฟูเมืองเก่าโดย ชุมชนเป็นแกนหลัก” โดยใช้กรณีสามชุกตลาดร้อยปี ซึง่ เป็นพืน้ ทีก่ าร ท�ำงานของเครือข่ายฯ เป็นพืน้ ทีต่ วั อย่าง · งาน “ร�ำลึกสึนามิ สานพลัง พลิกฟืน้ อันดามัน” เพือ่ เผยแพร่ กระบวนการมีสว่ นร่วมขององค์กรชุมชนทีเ่ กิดขึน้ หลังสึนามิ จนเป็นกระ บวนการ “พลิกวิกฤติิ เป็นโอกาส” ผ่านกิจกรรมทีห่ ลากหลาย เป็นศูนย์ เรียนรูท้ มี่ กี ารศึกษาดูงานจาก 30 ประเทศทัว่ โลก · การน�ำเสนอบทเรียนการฟืน้ ฟูผปู้ ระสบภัยสึนามิ โดยชุมชน เป็นแกนหลัก ในเวทีตา่ งๆ เช่น เวทีบทเรียนภัยพิบตั ิ โดยกระทรวงพัฒนา สังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ และกรมป้องกันสาธารณะภัย เวทีภยั พิบตั อิ าเซียน กรุงย่างกุง้ ประเทศพม่า (หลังประสบภัยนาร์กสี ) และน�ำ เสนอประสบการณ์ในเวทีภยั พิบตั นิ านาชาติทปี่ ระเทศเยอรมัน ฯลฯ · เชิญคณะกรรมาธิการด้านธรรมาภิบาลและการตรวจสอบ ทุจริต ลงพืน้ ทีด่ ขู อ้ เท็จจริงเกีย่ วกับผลกระทบกับชุมชน ศึกษากรณีสร้าง เขือ่ นบ้านกุม่ จังหวัดอุบลราชธานี
Tsunami : waves of reform
· น�ำเสนอ สุขภาวะของคนไทยพลัดถิน่ : คนไร้สญ ั ชาติ ในเวที สมัชชาสุขภาพ ณ อาคารสหประชาชาติ · น�ำเสนอปัญหาชาวเล และแนวทางแก้ไข ต่อรัฐมนตรีกระทรวง วัฒนธรรม (โดย เครือข่าย คปสม. มูลนิธชิ มุ ชนไท และสถาบันวิจยั สังคม จุฬาฯ ) · ชี้แจงปัญหาชาวเล และปัญหาอื่นๆในพื้นที่อันดามัน คณะกรรมาธิการสวัสดิการสังคมและพัฒนาความมัน่ คงมนุษย์ · น�ำเสนอปัญหาสิทธิมนุษยชน “คนไทยพลัดถิน่ ” ร่วมกับ เครือข่ายสิทธิมนุษยชน ต่อนายกรัฐมนตรีทที่ ำ� เนียบรัฐบาล · ประกาศตัง้ “กองทุนปกป้องทีด่ นิ ทรัพยากร และวัฒนธรรม ในพืน้ ทีอ่ นั ดามัน” โดยสมาชิกเครือข่ายในพืน้ ทีอ่ นั ดามัน 3,000 คน สมทบคนละ 10 บาทต่อเดือน เพือ่ ช่วยเหลือสมาชิกทีถ่ กู ด�ำเนินคดีและ เพือ่ ผลักดันการแก้ปญ ั หาเชิงนโยบาย · เกิดคณะกรรมการแก้ปัญหาที่ดินที่ชาวบ้านมีส่วนร่วมใน จังหวัดอุบลราชธานี และสามารถแก้ปญ ั หาทีด่ นิ ไปได้กว่า 200 แปลง
221
222
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ลดความเหลือ ่ มล�ำ้ สร้างความเป็นธรรม : ขับเคลือ ่ น กฎหมายเพือ ่ คนจน 4 ฉบับ ขบวนการเคลือ่ นไหวทางสังคม (social movement) ของ เครือข่าย คปสม. และเครือข่าย P-Move เดินทางมาถึงจุดทีน่ า่ สนใจ อีกครัง้ เมือ่ เครือข่ายฯ ผลักดันกฏหมายเพือ่ คนจน 4 ฉบับ โดยมีรา่ ง พระราชบัญญัตทิ สี่ ำ� คัญ คือ 1. ร่าง พรบ.ว่าด้วยสิทธิชุมชนในการจัดการที่ดินและ ทรัพยากร (โฉนดชุมชน) 2. ร่าง พรบ.ธนาคารทีด่ นิ 3. ร่าง พรบ. ภาษีทดี่ นิ อัตราก้าวหน้า 4. ร่าง พรบ.กองทุนยุตธิ รรม กฏหมายทัง้ 4 ฉบับนี้ มุง่ แก้ปญ ั หาระหว่างประชาชนกับรัฐ ในการแก้ไขปัญหาการกระจุกตัวของการถือครองทรัพยากร โดยเฉพาะ ทีด่ นิ รวมไปถึงการแก้ไขกฎหมายทีด่ นิ เพือ่ ให้มปี ระสิทธิภาพ โดยเพิม่ การ มีสว่ นร่วมและสร้างความเป็นธรรมมากขึน้
Tsunami : waves of reform
ท�ำไมต้องปฏิรป ู ทีด ่ น ิ จากรายงานของคณะกรรมการปฏิรปู ระบบการจัดการทรัพยากร โดยชุมชน สภาปฏิรปู แห่งชาติ ระบุวา่ ความเหลือ่ มล�ำ้ ในการถือครอง ทีด่ นิ ถือเป็นปัญหาทีส่ ำ� คัญของประเทศไทย เกิดปัญหาการกระจุกตัวของ การถือครองทีด่ นิ โดยคนกลุม่ น้อยของประเทศถือครองทีด่ นิ ส่วนมาก ซึง่ บางส่วนเป็นการซือ้ เพือ่ การเก็งก�ำไรน�ำไปสูป่ ญ ั หาทีด่ นิ ถูกปล่อยร้าง ปัญหาการใช้ทดี่ นิ ต�ำ่ กว่าศักยภาพ และปัญหาการใช้ทดี่ นิ ผิดวัตถุประสงค์ ประเทศไทยมีพนื้ ที่ 320.7 ล้านไร่ แบ่งเป็นพืน้ ทีป่ า่ ไม้ประมาณ 107 ล้านไร่ พืน้ ทีก่ ารเกษตรประมาณ150ล้านไร่ และเป็นพืน้ ทีใ่ ช้ประโย ชน์อนื่ ๆทัง้ สิน้ กว่า 60 ล้านไร่ ข้อมูลการถือครองทีด่ นิ พบว่า คน 1 คนครอบครอง มากกว่า 600,000 ไร่ คน 10% ครอบครองมากกว่า 60% ของทีท่ งั้ ประเทศ คน 10% ครอบครองเฉลีย่ คนละ มากว่า 100 ไร่ คน 90% ครอบครอง เฉลีย่ น้อยกว่า 1 ไร่ คน 90% ครอบครองน้อยกว่า 40% ของทีท่ งั้ ประเทศ คนจน 889,022 ครอบครัว ไม่มที ที่ ำ� กิน
223
224
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ทีด่ นิ ทีม่ กี ารถือครองถูกปล่อยทิง้ ไว้ โดยไม่ใช้ประโยชน์ทำ� ให้ประเทศ เสียโอกาสของรายได้ ขัน้ ต�ำ่ ปีละ 127,384.07 ล้านบาท ในขณะที่ ประชาชนจ�ำนวนมากไม่มที ที่ ำ� กินหรือมีทดี่ นิ ไม่เพียงพอในการท�ำกินและ อยูอ่ าศัย ทีด่ นิ กว่าร้อยละ 50 ของทีด่ นิ ที่ ส.ป.ก. จัดสรรเพือ่ ท�ำการ เกษตรถูกครอบครองโดยบุคคลทีไ่ ม่ใช่เจ้าของสิทธิเ์ ดิม ทีด่ นิ ประมาณ 30 ล้านไร่ ซึง่ อยูใ่ นเขตชลประทาน มีการน�ำไปสร้างโรงงานอุตสาหกรรม รีสอร์ท บ้านจัดสรร ฯลฯ ไปแล้วประมาณ 5 ล้านไร่ จากเหตุผลและประเด็นปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงสมควรให้มกี ลไก การบริหารจัดการทีด่ นิ ทีเ่ หมาะสมและยัง่ ยืน สามารถตอบสนองต่อความ ต้องการคนไทยทัง้ 65.1 ล้านคนทัว่ ประเทศได้ ดังนี้ 1) ให้มกี ารกระจายการถือครองทีด่ นิ อย่างเป็นธรรมและยัง่ ยืน 2) สนับสนุนให้เกษตรกรผูย้ ากไร้มที ดี่ นิ ท�ำกินหรือทีด่ นิ อยูอ่ าศัย 3) ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารจัดการทีด่ นิ ร่วมกันของชุมชน 4) บริหารจัดการทีด่ นิ ของรัฐและทีด่ นิ ของเอกชนเพือ่ ให้มกี ารใช้ ประโยชน์ทอี่ ย่างยัง่ ยืน
Tsunami : waves of reform
แนวคิดหลักกฏหมาย 4 ฉบับ 63
(ร่าง) พระราชบัญญัตสิ ทิ ธิชมุ ชนในการจัดการทีด่ นิ และ ทรัพยากร (โฉนดชุมชน) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติ เกี่ ย วกั บ สิ ท ธิ ชุ ม ชนในการอนุ รั ก ษ์ ฟื ้ น ฟู แ ละใช้ ป ระโยชน์ จ าก ทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม เนื่องมาจากมีประชาชนจ�ำนวนมากได้ครอบครองและท�ำ ประโยชน์ในทีด่ นิ ของรัฐมาเป็นเวลายาวนาน มีสาเหตุมาจากนโยบายของ รัฐในอดีต ความไม่ชดั เจนของเขตทีด่ นิ ของรัฐ ความยากจน และการไร้ที่ ท�ำกินของประชาชน โดยทีท่ างราชการไม่สามารถบังคับใช้กฎหมายอย่าง เคร่งครัดหรืออพยพประชาชนเหล่านัน้ ออกจากทีด่ นิ ของรัฐได้ การปล่อย ให้มกี ารครอบครองทีด่ นิ ของรัฐต่อไปก็จะยิง่ ท�ำให้ปญ ั หาลุกลามมากขึน้ การจัดการทีด่ นิ ตามกฎหมายทีม่ อี ยูก่ ม็ ไิ ด้มหี ลักประกันว่าจะไม่ เกิดการขยายการครอบครองที่ดินของรัฐอีก จึงควรน�ำหลักการสิทธิ ชุมชนทีบ่ ญ ั ญัตไิ ว้ในรัฐธรรมนูญมาใช้รว่ มกับการบริหารจัดการทีด่ นิ เพือ่ ให้รฐั สามารถรักษาทีด่ นิ ของรัฐไว้ได้ และส่งเสริมให้ประชาชนทีร่ วมตัวกัน เป็นชุมชนมีสทิ ธิใช้ประโยชน์ทดี่ นิ ตามหลักเกณฑ์ วิธกี ารเงือ่ นไข และ
225
226
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ระยะเวลาทีไ่ ด้รบั อนุญาต โดยควบคุมกันเอง เป็นการลดความขัดแย้ง ระหว่างภาครัฐและประชาชน อีกทัง้ ส่งเสริมให้ประชาชนมีสว่ นร่วมในการ ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อมให้สมดุลและยัง่ ยืน
(ร่าง) พระราชบัญญัตธิ นาคารทีด่ นิ ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่มอี าชีพ ท�ำการเกษตร ทีด่ นิ จึงเป็นปัจจัยส�ำคัญและเป็นรากฐานเบือ้ งต้นของการ ผลิตทางการเกษตร แต่ปจั จุบนั เกษตรกรก�ำลังประสบความเดือดร้อน เนือ่ งจากต้องสูญเสียสิทธิในทีด่ นิ กลายเป็นผูเ้ ช่าทีด่ นิ และต้องเสียค่าเช่า ในอัตราสูง รวมทัง้ การขาดแคลนทีด่ นิ ท�ำกิน โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย และผูย้ ากจนทีไ่ ม่อาจเข้าถึงทีด่ นิ นอกจากนัน้ ยังมีปญ ั หาการกระจุกตัว ของการถือครองทีด่ นิ ปัญหาการเก็งก�ำไรทีด่ นิ เป็นเหตุให้ทดี่ นิ ถูกทิง้ ร้าง ไม่ทำ� ประโยชน์หรือใช้ประโยชน์ได้ไม่เต็มที่ และปัญหาการสูญเสียทีด่ นิ ที่ เหมาะสมส�ำหรับการท�ำเกษตรกรรม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยก�ำหนดให้รฐั ต้องกระจายการ ถือครองทีด่ นิ อย่างเป็นธรรม และด�ำเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิห์ รือ สิทธิในทีด่ นิ เพือ่ ประกอบการเกษตรกรรมอย่างทัว่ ถึง ทว่า ปัจจุบนั ยัง ไม่มอี งค์กร หน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันใดรับผิดชอบแก้ไขปัญหาได้
Tsunami : waves of reform
อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนัน้ จึงสมควรจัดตัง้ ธนาคารทีด่ นิ เพือ่ ท�ำหน้าที่ สนับสนุนหรือช่วยเหลือเกษตรกรให้มที ดี่ นิ ท�ำกินและให้การใช้ทดี่ นิ เกิด ประโยชน์มากทีส่ ดุ สามารถด�ำเนินงานได้อย่างอิสระและคล่องตัว
(ร่าง) พระราชบัญญัตภิ าษีทด่ี นิ อัตราก้าวหน้า ประเทศไทยมีการพัฒนาทางเศรษฐกิ จ และสั ง คมมาเป็ น เวลานาน โดยมีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพิม่ ขึน้ มาโดยตลอด แต่ยงั ปรากฎปัญหาส�ำคัญในสังคมไทย นัน่ คือ ปัญหาการกระจายการถือครอง ทีด่ นิ ทีไ่ ม่เป็นธรรม มีการกระจุกตัวของการถือครองทีด่ นิ อยูก่ บั คนบาง กลุม่ ของประเทศเท่านัน้ ในขณะทีค่ นส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนยากจนและ เกษตรกรรายย่อยไม่มที ดี่ นิ ถือครองหรือไม่มโี อกาสในการเข้าใช้ประโยชน์ ในที่ดิน ซึ่งเป็นทรัพยากรและเป็นฐานการผลิตที่ส�ำคัญของประเทศ นอกจากนัน้ ยังมีการการถือครองทีด่ นิ ไว้โดยมิได้ทำ� ประโยชน์ แต่เป็นการ ถือครองไว้เพือ่ การเก็งก�ำ ไร ดังนัน้ เพือ่ ให้เกิดการกระจายการถือครองทีด่ นิ ทีเ่ ป็นธรรมและ ยัง่ ยืน และท�ำให้เกิดการน�ำทีด่ นิ มาใช้ประโยชน์เพือ่ ให้เกิดมูลค่าเพิม่ ทาง เศรษฐกิจมากขึน้ รวมทัง้ สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทีก่ ำ� หนดให้รฐั ต้องกระจายการถือครองทีด่ นิ อย่างเป็นธรรม จึงต้องมีการ ปฏิรปู ภาษีทดี่ นิ ซึง่ มีสาระหลักๆ คือ
227
228
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
- ผูถ้ อื ครองทีด่ นิ มากควรจ่ายมาก เพราะทีด่ นิ เป็นทรัพยากร ทีม่ จี ำ� กัด - ทีด่ นิ และสิง่ ปลูกสร้างเชิงพาณิชย์เก็บอัตราภาษีสงู กว่าทีด่ นิ เพือ่ การเกษตร - ทีด่ นิ ว่างเปล่าหรือไม่ใช้ประโยชน์ควรเก็บภาษีในอัตราทีเ่ พิม่ ขึน้ ทุกปี - รายได้ภาษีทดี่ นิ ควรจัดสรรให้เป็นรายได้ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิน่ ร่างพระราชบัญญัตินี้จึงเป็นที่จับตามองและถกเถียงในกลุ่ม นักวิชาการและผูม้ สี ว่ นได้เสียในผลประโยชน์ของทีด่ นิ อยูอ่ ย่างต่อเนือ่ ง
(ร่าง) พระราชบัญญัตกิ องทุนยุตธิ รรม
กองทุนยุตธิ รรมเดิมมีรายรับจากแหล่งเดียว คือ งบประมาณ ของรัฐ ซึง่ จัดสรรให้ปลี ะประมาณ 30 -40 ล้านบาท แล้วแต่นโยบาย ของรัฐบาล ซึง่ ปรากฏว่าไม่เพียงพอในภารกิจช่วยเหลือผูย้ ากไร้ให้เข้าถึง กระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียมกันทั้งประเทศ ในขณะที่การ ช่วยเหลือผูย้ ากไร้ในการเข้าถึงกระบวนการยุตธิ รรมไม่ได้ขนึ้ อยูก่ บั นโยบาย รัฐบาลแต่ละชุด แต่เป็นหน้าทีท่ กี่ ำ� หนดในรัฐธรรมนูญ อีกทัง้ การจ่าย
Tsunami : waves of reform
ค่าตอบแทนผูเ้ สียหายทางคดี ยังไม่มแี หล่งเงินทุนในการใช้จา่ ย โดยต้อง อาศัยงบประมาณของรัฐแต่เพียงอย่างเดียว ดังนัน้ กองทุนยุตธิ รรม ตามพระราชบัญญัตฉิ บับประชาชนจึงมี แนวคิดทีจ่ ะหารายรับจากหลายทาง โดยใช้หลักการช่วยเหลือเกือ้ กูลกัน ของคนในสังคม กองทุนยุตธิ รรมใหม่นจี้ ะมีรายรับจากการน�ำเงินบางส่วน หักเข้าเป็นรายรับของกองทุนเพือ่ ช่วยเหลือผูย้ ากไร้ทไี่ ม่มโี อกาสเข้าถึง กระบวนการยุตธิ รรม ซึง่ ได้แก่ ค่าธรรมเนียมศาล ค่าทนายความ ภารกิจอีกด้านหนึง่ ของกองทุนยุตธิ รรม คือ การเยียวยาผูเ้ สีย หายในคดีอาญา รายรับของกองทุนยุตธิ รรมทีส่ อดคล้องกับภารกิจนี้ คือ เงินค่าปรับในคดีอาญา เพราะจ�ำเลยเป็นผูก้ อ่ ให้เกิดความเสียหายสมควร ทีจ่ ะน�ำเงินค่าปรับมาเข้ากองทุน เพือ่ เยียวยาความเสียหายให้กบั ผูเ้ สีย หาย นอกจากนี้ กองทุนใหม่ยงั มีรายรับจากเงินค่าเบีย้ ประกันภัยของ สัญญาประกันภัย ไม่วา่ จะเป็นประกันชีวติ หรือประกันวินาศภัย ของผู้ ท�ำสัญญาประกันภัยทัง้ ประเทศ หักเป็นรายรับของกองทุนตามอัตราที่ คณะกรรมการก�ำหนด เพราะคนทีพ่ งึ่ ตนเองได้สามารถซือ้ ประกันความ เสียหายและได้รบั เงินการเยียวยาความเสียหายจากบริษทั ประกันภัย ใน ขณะทีผ่ ยู้ ากไร้ไม่มโี อกาสดังกล่าว การหักเงินบางส่วนจากสัญญาประกันภัยเข้ากองทุนยุตธิ รรม เพือ่ เยียวยาผูท้ ไี่ ม่มโี อกาสเยียวยาความเสียหายทีต่ นได้รบั จากคดีอาญา จึ ง เป็ น แนวทางขยายการเยี ย วยาความเสี ย หายให้ กั บ ผู ้ เ สี ย หาย ได้มากขึน้
229
230
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ภารกิจในการเยียวยาจ�ำเลยทีถ่ กู ยกฟ้องในคดีอาญา ซึง่ เป็นผู้ บริสทุ ธิท์ ตี่ อ่ สูต้ ามกระบวนการยุตธิ รรมและไม่หนี เงินทีใ่ ช้ในการเยียวยา จ�ำเลยที่บริสุทธิ์นี้ควรมีที่มาจากจ�ำเลยที่หลบหนีจากกระบวนการ ยุตธิ รรม ดังนัน้ เงินสมทบเข้ากองทุนอีกส่วนหนึง่ จึงเป็นเงินและทรัพย์สนิ ทีไ่ ด้จากการบังคับหลักประกันตัวผูต้ อ้ งหาและจ�ำเลยในคดีอาญาทีห่ ลบ หนีการปล่อยชัว่ คราว การน�ำเงินสมทบเข้ากองทุนจากแหล่งต่างๆ เพือ่ ใช้จา่ ยตามภารกิจของกองทุนเป็นแนวคิดทีท่ ำ� ให้กองทุนมีรายรับทีม่ ากขึน้ อยูไ่ ด้ดว้ ยตนเองโดยไม่ตอ้ งพึง่ พางบประมาณของรัฐมากเกินไป อย่างไร ก็ดี รัฐยังคงมีหน้าทีส่ ง่ เงินสมทบให้กบั กองทุนอยูเ่ สมอ หากกฎหมายเพื่อคนจนทั้ง 4 ฉบับ ผ่านการพิจารณาและ ประกาศเป็นพระราชบัญญัติ สามารถบังคับใช้และมีกฎหมายรองรับ น�ำไปสูก่ ารปฏิบตั ไิ ด้จริง ก็จะช่วยแก้ปญ ั หาการจัดการทีด่ นิ และทรัพยากร ให้กับคนยากคนจน ผู้ที่มีปัญหาความเดือดร้อนและไม่ได้รับความ เป็นธรรมซึง่ มีอยูเ่ ป็นจ�ำนวนมากในแผ่นดิน
การจัดการภัยพิบต ั เิ ป็นการเชือ ่ มโยงความรูแ้ ละกด้ว
การจัดการภัยพิบัติเป็นการเชื่ อมโยง ความรู้และกระบวนการเข้าด้วยกัน เป็นการ เรียนรูท ้ า่ มกลางการลงมือท�ำ ทีท ่ ำ� ให้คน ้ พบว่า การส่งเสริมกระบวนการพัฒนาชุมชนและเสริม สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนนั้น เป็นการ ท�ำงานในเชิงบูรณาการที่แท้จริง ที่ทุกคนได้ เข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งเป็นหัวใจส�ำคัญของการ ก้าวเดินไปสูก ่ ารปฏิรป ู ประเทศไทย
บทที่ 4 eg บทเรียนภัยพิบต ั ส ิ ก ู่ ารปฏิรป ู ... เมือ่ ผูป้ ระสบภัยเป็นครู และประสบการณ์คอื ความรู้ คลืน่ ยักษ์สนึ ามิกระตุน้ ให้หลายภาคส่วนตระหนักถึงภัยพิบตั แิ ละ ความเสีย่ งต่างๆ ในสังคม ซึง่ ส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนในสังคม โดยไม่ แบ่งแยกหรือเลือกกลุม่ ใดกลุม่ หนึง่ การเรียนรูจ้ ากเหตุการณ์สนึ ามิเมือ่ ปี พ.ศ. 2547 จึงนับว่าเป็นก้าวส�ำคัญทีเ่ ราจะใช้เป็นฐานในการเรียนรู้ เพือ่ รับมือภัยพิบตั จิ ากธรรมชาติอนื่ ๆ ทีม่ แี นวโน้มจะเกิดมากและทวี ความรุนแรงมากขึน้ ทุกที ด้วยเหตุนี้ ตัวแทนผูป้ ระสบภัย องค์กรพัฒนาเอกชน นักวิชาการ ตัวแทนภาครัฐ ภาคเอกชน และตัวแทนเครือข่ายอาสาสมัคร จึงได้รว่ ม กันจัดเวที “สรุปบทเรียน 10 ปี สึนามิ” ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ณ ศูนย์ศกึ ษาสันติภาพและความขัดแย้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
234
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ในเวทีดงั กล่าว มีการถอดบทเรียนจากพีน่ อ้ งในชุมชนและองค์กร ภาคประชาชนทีผ่ า่ นประสบการณ์จากภัยพิบตั ิ จนถึงการรวมตัวกันฟืน้ ฟู ชีวติ จิตใจ และชุมชน จนขยายเป็นพลังขับเคลือ่ นสังคมในวงกว้างต่อมา ชาวบ้านเป็น “ครู” และประสบการณ์ความเป็นจริงในพืน้ ทีข่ อง พวกเขาถูกแปลงเป็น “ความรู”้ ทีถ่ กู น�ำมาวิเคราะห์และสรุปบทเรียนใน เชิงวิชาการ ต่อยอดสูก่ ารเรียนรูข้ า้ มเครือข่ายและข้ามประเทศในประเด็น การรับมือและจัดการกับภัยพิบตั ิ ทั้งนี้ ดร.นฤมล อรุโณทัย นักวิจัยจากสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สรุปเนือ้ หาสาระต่างๆ ทีเ่ ป็นหลากบทเรียน ส�ำคัญจากเหตุการณ์สนึ ามิ ดังต่อไปนี้
Tsunami : waves of reform
บทเรียน # 1 การจัดการศูนย์พก ั พิง เหตุการณ์สนึ ามิเป็นจุดเริม่ ต้นทีช่ ว่ ยปูฐานคิดเรือ่ งระบบการ จัดศูนย์พักพิง โดยเน้นให้ผู้ประสบภัยเป็นผู้จัดการศูนย์ ส่วนบุคคล ภายนอกมีบทบาทหนุนเสริมงานในฐานะอาสาสมัครหรือพี่เลี้ยงให้ ค�ำปรึกษา ในเบือ้ งต้น ศูนย์พกั พิงจ�ำเป็นต้องมี ข้อมูลผูป้ ระสบภัยและ ข้อมูลชุมชน เพือ่ ท�ำให้ทราบถึงบริบทของชุมชนในภาพรวม ข้อมูลดัง กล่าวไม่ใช่ขอ้ มูลเพือ่ การลงทะเบียนผูป้ ระสบภัยเท่านัน้ แต่ตอ้ งเป็นข้อมูล ของชุมชน อาทิ แผนทีช่ มุ ชนทางกายภาพ บ้านเรือน สมาชิกในชุมชน เป็นต้น การส�ำรวจข้อมูลผูป้ ระสบภัยและชุมชนต้องเป็นการส�ำรวจให้เห็น ภาพร่วมกันและหมัน่ ตรวจสอบข้อมูลอยูเ่ สมอ การก�ำหนดพืน้ ทีอ่ พยพหนีภยั ทีช่ ดั เจนก็เป็นอีกเรือ่ งทีม่ คี วาม ส�ำคัญ เพราะจะช่วยให้อพยพไม่สบั สน เช่น การหนีขนึ้ ทีส่ งู เมือ่ คลืน่ สึนา มิพดั เข้ามา รวมไปถึงการรวมตัวยังจุดต่างๆ ทีเ่ ป็นพืน้ ทีก่ ลางจะได้ไม่พลัด หลงกัน เป็นต้น บทเรียนของผู้ประสบภัยสึนามิในประเด็นนี้เป็นประโยชน์ต่อ ผูป้ ระสบภัยน�ำ้ ท่วมในจังหวัดอุบลราชธานี เดิมอุบลราชธานีประสบภัย
235
236
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
น�ำ้ ท่วมมาโดยตลอดและมักเปลีย่ นพืน้ ทีอ่ พยพไปเรือ่ ยๆ ท�ำให้การเข้าไป ช่วยเหลือโดยหน่วยงานต่างๆ ค่อนข้างยากล�ำบาก ภายหลังจังหวัด อุบลราชธานีกำ� หนดพืน้ ทีอ่ พยพชัดเจนขึน้ โดยก�ำหนดเป็นจุดรวมตัวเพือ่ สร้างบ้านชัว่ คราวยามน�ำ้ ท่วม ท�ำให้รฐั สามารถจัดหาสาธารณูปโภคและ ความช่วยเหลือได้งา่ ยขึน้ การตัง้ ศูนย์พกั พิง บ้านน็อคดาวน์เป็นทางออกทีส่ ะดวกในการ ตัง้ ศูนย์พกั พิง เพราะประกอบได้งา่ ยและรวดเร็ว นอกจากนัน้ โรงเรียน และศูนย์เด็กเล็กก็อาจจะพัฒนาเป็นศูนย์พักพิงที่เหมาะสมได้อีกด้วย ประเด็นส�ำคัญที่ควรพิจารณา คือ การจัดการให้ศูนย์พักพิงมีความ ปลอดภัย อาทิ การเตรียมห้องน�ำ้ -ห้องส้วมแยกหญิงชายและให้มจี ำ� นวน เพียงพอ เป็นต้น บทเรียนในศูนย์พกั พิงชัว่ คราวทีเ่ อาคนจากหลายพืน้ ทีม่ าอยูร่ วม กัน โดยไม่จดั การแบ่งการอยูเ่ ป็นสัดเป็นส่วน อาทิ ให้เด็กวัยรุน่ ทัง้ หญิง และชายอยูด่ ว้ ยกันท�ำให้เกิดปัญหาเชิงชูส้ าว รวมไปถึงปัญหาการเมาสุรา แล้วส่งเสียงดัง เมื่อมีพื้นที่อพยพและก�ำหนดศูนย์พักพิงชั่วคราวแล้วก็ควร จะตัง้ ศูนย์รบั ความช่วยเหลือ เช่น จุดรับและกระจายอาหารและของใช้ที่ จ�ำเป็น ฯลฯ เพือ่ ให้ระบบรับและส่งต่อมีประสิทธิภาพ ซึง่ ก็ตอ้ งอาศัย ข้อมูลพืน้ ฐานจากชุมชนทีต่ อ้ งท�ำไว้รว่ มกันดังกล่าวข้างต้น
Tsunami : waves of reform
นอกจากนัน้ การตัง้ ศูนย์พกั พิงก็ตอ้ งค�ำนึงถึงบริบทของพืน้ ทีแ่ ละ ความเป็นชุมชนท้องถิน่ ด้วย อาทิ การอยูอ่ าศัยร่วมกันเป็นครอบครัว เป็นหมูบ่ า้ น เรือ่ งนีม้ บี ทเรียนจากศูนย์พกั พิงทีส่ าละวิน คือ ชาวกะเหรีย่ ง สามารถสร้างทีอ่ ยูอ่ าศัยด้วยไม้ไผ่ได้อย่างรวดเร็วและมีการจัดแบ่งพืน้ ที่ (แบ่งเป็นโซน) ไม่ได้อยูร่ วมกันในทีเ่ ดียวทัง้ หมด หรือในพืน้ ทีท่ มี่ ภี ยั พิบตั ิ ซ�้ำซากควรจะมีศูนย์พักพิงที่ค่อนข้างถาวร ซึ่งก�ำหนดไว้เป็นพื้นที่ซึ่ง ชาวบ้านจะอพยพมาอยูเ่ มือ่ เกิดภัยน�ำ้ ท่วม เป็นต้น การตัง้ โรงครัวกลาง เป็นสิง่ จ�ำเป็นทีส่ ดุ หน่วยงานรัฐไม่ควรส่ง เสริมการซือ้ ข้าวกล่อง หรือแจกถุงยังชีพตลอดเวลา เพราะจะท�ำให้ผู้ ประสบภัยกลายเป็นคนรอรับความช่วยเหลือไปเรือ่ ยๆ สิง่ ทีค่ วรท�ำ คือ สนับสนุนให้ชมุ ชนตัง้ โรงครัวด้วยตัวเอง โดยจัดหาเครือ่ งครัว เครือ่ งใช้ ประกอบอาหาร วัตถุดบิ เช่น ข้าวสารอาหารแห้ง ฯลฯ ให้ผปู้ ระสบภัย เป็นแกนหลักในการจัดการโรงครัวเอง การสร้างกิจกรรมในศูนย์พกั ชัว่ คราว กิจกรรมในศูนย์พกั พิงควร เป็นกิจกรรมทีส่ อดคล้องกับวิถชี วี ติ ประจ�ำวันและสามารถเยียวยาจิตใจผู้ ประสบภัยไปด้วย เช่น งานศิลปะต่างๆ อาทิ การท�ำผ้าบาติกของกลุม่ ผู้ หญิงทีส่ ามารถน�ำผลงานออกขายเพือ่ น�ำเงินเข้ามาเป็นทุนหมุนเวียน ส�ำหรับการฟืน้ ฟูในระยะถัดไป
237
238
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
บทเรียน # 2 อาสาสมัครภัยพิบต ั ิ หลังเกิดภัยพิบัติสึนามิ มีการประกาศรับอาสาสมัครผ่าน เว็บไซต์ของมูลนิธกิ ระจกเงา และเปิดรับสมัครอาสาทีห่ น้างานด้วย อาสา สมัครเหล่านีเ้ กิดขึน้ จากจิตอาสา คือ ผูท้ มี่ ใี จอยากช่วยเหลือผูอ้ นื่ ต่อมา อาสาสมัครเหล่านี้ยกระดับจากอาสาสมัครภายนอกเป็นอาสาสมัคร ชุมชนผูป้ ระสบภัย จนไปถึงการเป็นอาสาสมัครมืออาชีพ คือ อาสาสมัคร ทีม่ ที กั ษะความพร้อม และมีระบบการจัดการทีท่ ำ� ให้พวกเขาลงมือให้ ความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงที เมือ่ เกิดภัยพิบตั หิ รือมีความ ต้องการความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ คลื่น จิตอาสาน�ำไปสู่การเชื่อมโยงและยกระดับเครื อ ข่ า ย อาสาสมัคร เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ทั้งชุมชนที่ได้รับการ ช่วยเหลือและอาสาสามัคร ทีส่ ำ� คัญ การทีค่ นในชุมชนผูป้ ระสบภัยผัน ตัวเองเป็นอาสาสมัคร ทั้งด้านการระดมทุน สื่อ สารสาธารณะ ประชาสัมพันธ์ โดยชาวบ้านในชุมชนเป็นผู้ด�ำเนินการงานต่างๆ ใน ชุมชนเอง วิกฤติจึงกลายเป็นเครื่องมือน�ำไปสู่กระบวนการพึ่งตนเอง ถึงวันนี้ ผูป้ ระสบภัยในพืน้ ทีไ่ ด้ยกระดับเป็นอาสาสมัครมืออาชีพทีค่ อย ช่วยเหลือผูอ้ นื่ และก้าวไปสูก่ ารเป็นวิทยากรเพือ่ ให้ความรูแ้ ก่ชมุ ชนอืน่
Tsunami : waves of reform
อีกด้วย ที่ส�ำคัญ อาสาสมัครโดยชุมชนยังมีบทบาทส�ำคัญต่อเนื่อง ในการผลักดันประเด็นทางสังคมในภาพใหญ่ได้ดว้ ย ยกตัวอย่าง กลุม่ ชาวบ้านทีล่ กุ ขึน้ มาเป็นอาสาสมัคร เช่น ชุมชนน�ำ้ เค็ม มีผนู้ ำ� สามารถที่ ยกระดับมาเป็นวิทยากรทีส่ ามารถบรรยายเกีย่ วกับเรือ่ งภัยพิบตั แิ ละ ชุมชนผูป้ ระสบภัย และสามารถเชือ่ มโยงปัญหาต่างๆ ในชุมชนได้ในระดับ นโยบาย อาสาสมัครเครือข่ายไทยพลัดถิน่ ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึง่ ทีป่ ระสบ ผลส�ำเร็จในการเปิดพื้นที่ให้กลุ่มคนที่ไร้ตัวตนได้เป็นที่รับรู้ในสังคม ใช้โอกาสของการเป็นอาสาสมัครสึนามิทบี่ า้ นน�ำ้ เค็ม ยกระดับไปสูก่ ารแก้ ปัญหาคนไร้สญ ั ชาติ มีโอกาสได้นำ� เสนอประเด็นการส�ำรวจข้อมูลชุมชนแก่ รัฐมนตรี จนสามารถส�ำรวจผูไ้ ม่มสี ถานะทางทะเบียนในพืน้ ทีส่ นึ ามิได้ ในทีส่ ดุ
การจัดการอาสาสมัครภัยพิบตั ิ
บทเรียนของมูลนิธกิ ระจกเงาทีเ่ กีย่ วกับอาสาสมัครภัยพิบตั ิ คือ ต้องมีศนู ย์ขอ้ มูลและศูนย์อาสาสมัคร เพือ่ เป็นจุดทีจ่ ะกระจายอาสาสมัคร ออกไปตามชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ไม่ซำ�้ ซ้อน และทีส่ ำ� คัญ สามารถจัดอาสาสมัครทีม่ ที กั ษะและความถนัดเหมาะกับงานในพืน้ ที่
239
240
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
การจัดการอาสาสมัครภัยพิบตั ติ อ้ งมีศนู ย์กลางประสานงาน เพือ่ ให้อาสาสมัครเข้าไปรายงานตัวกับหน่วยงานทีบ่ ริหารในพืน้ ทีไ่ ด้ โดยศูนย์ ประสานงานกลางต้องประสานเชือ่ มโยงทรัพยากรลงสูพ่ นื้ ทีแ่ ละความ ต้องการได้จริง มีการสัมภาษณ์ขอ้ มูลเบือ้ งต้นของอาสาสมัครว่าเป็นใคร มีประสบการณ์อะไร จากนัน้ ควรมีการปฐมนิเทศ ก�ำหนดกฎกติกา สิง่ ที่ ควรท�ำและไม่ควรท�ำในชุมชน ให้ความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับชุมชนก่อน ลงมือปฏิบตั งิ าน หลังจากนัน้ จึงควรมีกระบวนการจ่ายงานให้กบั อาสา สมัครอย่างทัว่ ถึง ศูนย์กลางประสานงานกลางต้องประเมินทรัพยากรของชุมชน และควรสนับสนุนให้ผปู้ ระสบภัยเป็นอาสาสมัครในพืน้ ทีด่ ว้ ย เพือ่ ลด จ�ำนวนคนทีโ่ หมเข้ามาในพืน้ ทีป่ ระสบภัย การจัดการอาสาสมัครต้องท�ำอย่างเป็นระบบ เพือ่ ไม่ให้เกิดความ ซ�ำ้ ซ้อน อันจะเป็นการสิน้ เปลืองทรัพยากร ดังนัน้ จึงควรมีการประเมิน ต้นทุนศักยภาพของอาสาสมัคร ก�ำหนดการเข้ามาของอาสาสมัคร แล้ว จึงแบ่งงานในพืน้ ที่ นอกจากนัน้ อาสาสมัครภายนอกต้องไม่เพิม่ ภาระให้ ชุมชน เช่น มาพักหรือพึง่ พาโรงครัวของชุมชน เป็นต้น ทีส่ ำ� คัญ ควรมี ระบบถ่ายโอนประสบการณ์การเรียนรูข้ องอาสาสมัครด้วย เพือ่ ให้ผทู้ ี่ อาสาแต่ละรุน่ (คนทีม่ าภายหลัง) ได้เรียนรูจ้ ากคนทีท่ ำ� มาก่อน
Tsunami : waves of reform
ประสบการณ์ของอาสาสมัคร หลั ง เหตุ ก ารณ์ สึ น ามิ มี ทั้ ง อาสาสมั ค รหน้ า ใหม่ ที่ ไ ม่ มี ประสบการณ์และอาสาสมัครนักพัฒนาทีม่ ปี ระสบการณ์ บทบาทของ อาสาสมัครสองกลุม่ จึงแตกต่างกัน แต่สามารถฝึกปฏิบตั ซิ ำ�้ ๆ และค่อยๆ เก็บเกีย่ วประสบการณ์ เรียนรูจ้ ากอาสาสมัครรุน่ เก่าทีม่ ปี ระสบการณ์หรือ การเรียนรูจ้ ากหน้างาน จากนัน้ จึงยกระดับการเรียนรูไ้ ปท�ำเรือ่ งอืน่ ๆ เช่น อาสาสมัครนักพัฒนาทีเ่ คยท�ำงานในชุมชนแออัดมาก่อนย่อมเข้าใจ การท�ำงานเรือ่ งการจัดระบบชุมชน การจัดการทีอ่ ยูอ่ าศัย กระบวนการ ในการสร้างทีอ่ ยูใ่ หม่ น�ำประสบการณ์ในชุมชนแออัดมาประยุกต์ใช้กบั การ สร้างหรือก�ำหนดต�ำแหน่งในการตัง้ เต็นท์พกั อาศัยชัว่ คราว เพราะระบบ การจัดเต็นท์ชวั่ คราวเทียบเคียงได้กบั ระบบการจัดการบ้านถาวร เป็นต้น ข้อเสนอเกีย่ วกับงานอาสาสมัคร ดังนี้ 1. องค์กรทีท่ ำ� งานอาสาสมัครควรเปิดรับนักศึกษาฝึกงานเข้ามา สูก่ ระบวนการเพือ่ ให้เกิดการมองงานหรือคิดออกแบบงานด้านสังคมทีม่ ี ส่วนเกีย่ วกับการบริหารจัดการอาสาสมัครในช่วงวิกฤติไิ ด้ 2. กระตุน้ “จิตอาสา” ภายในตัวบุคคล สร้างจิตอาสาในพืน้ ที่ ชุมชนเพื่อให้ดูแลในพื้นที่เองได้ เป็นอาสาสมัครด้วยใจไม่ใช่ภายใต้ สถานการณ์ 3. หลังจากทีอ่ าสาสมัครลงพืน้ ทีแ่ ละท�ำงานเสร็จในแต่ละวันควร มีการถอดบทเรียน ปัญหาอุปสรรค และวางแผนงานร่วมกัน
241
242
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
1. กระบวนการท�ำงานอาสาสมัครจากชาวบ้านทีพ่ ฒ ั นามาเป็น อาสาสมัครกูภ้ ยั ต้องสนับสนุนให้มกี ารพัฒนาศักยภาพอย่างสม�ำ่ เสมอ เช่นเดียวกับ สถาบันการแพทย์ฉกุ เฉินแห่งชาติทมี่ รี ะบบการแพทย์ฉกุ เฉิน (Emergency Medical System : EMS) มีมาตรฐานในการเคลือ่ นย้าย ผูป้ ว่ ย ซึง่ ต้องเป็นผูท้ ผี่ า่ นการอบรมเท่านัน้ อาสาสมัครในชุมชนควรมี โอกาสในการฝึกอบรมและพัฒนาทักษะเหล่านีด้ ว้ ยเช่นกัน 2. เสนอให้มพี ระราชบัญญัตใิ นการดูแลอาสาสมัครทัว่ ไปและมี กฎหมายรองรับ เช่น กรณีเกิดอุบตั เิ หตุกบั อาสาสมัครทีต่ อ้ งเข้ารับการ รักษา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ ควรเป็น หน่วยงานทีด่ แู ล โดยมีระบบให้สำ� นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จ่ายเงินอุดหนุน โดยให้งบองค์การบริหารส่วนต�ำบล (อบต.) เป็นต้น 3. หลังเกิดภัยในระยะต้น มักจะเกิดความวุน่ วาย เช่น มีปญ ั หา การจราจรติดขัด หน่วยงานในท้องถิน่ องค์การบริหารส่วนต�ำบล ต้องมี ความรูค้ วามเข้าใจเกีย่ วกับกฎหมาย และสร้างแนวทางการปฏิบตั ใิ ห้ ชัดเจน มีหลักการบริหารจัดการภัยพิบตั ใิ นแต่ละท้องถิน่ เช่น องค์การ บริหารส่วนต�ำบลและ อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) มีสทิ ธิในการสัง่ ห้ามและจัดการเส้นทางได้ นอกจากนีต้ อ้ งมีการอบรมและ ซ้อมอย่างสม�่ำเสมอ เพื่อการปฏิบัติงานที่คล่องตัวในกรณีที่เกิด ภาวะฉุกเฉิน
Tsunami : waves of reform
บทเรียน # 3 งานจัดระบบชุมชน สิ่งที่ต้องค�ำนึงในการจัดระบบชุมชน คือ การวิเคราะห์ สถานการณ์ชมุ ชน เช่น เรือ่ งความขัดแย้ง เรือ่ งการแบ่งพรรคแบ่งพวก ปัญหาส่วนบุคคล รวมถึงการจัดระบบคนในชุมชนและจัดระบบคนที่ เข้าไปช่วยเหลือ เพราะคนทีเ่ ข้ามาใหม่อาจท�ำให้ระบบทีม่ อี ยูม่ ปี ญ ั หา เช่น คนที่เข้ามาอยากบริจาคของหรือเงินโดยตรงกับใครบางคนหรือ บางกลุม่ ท�ำให้ชมุ ชนเกิดความขัดแย้ง บทเรียนจากการจัดระบบชุมชนต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม ของแต่ละชุมชนด้วย เพราะเครือ่ งมือ กระบวนการ วิธกี ารทีใ่ ช้กบั ชุมชน หนึง่ ๆ อาจไม่เหมาะกับชุมชนอืน่ ก็ได้
การจัดการระบบทีมงานและชุมชน
ตัวอย่างการใช้บทเรียนการจัดการชุมชนจากเหตุการณ์สนึ ามิ และภัยพิบตั ดิ นิ โคลนถล่มทีอ่ ตุ รดิตถ์ของมูลนิธกิ ระจกเงา กล่าวถึงการ เริม่ ต้นด้วยการเข้าไปตัง้ ศูนย์ประสานงาน ให้ความช่วยเหลือในชุมชนเพือ่ รวบรวมข้อมูลต่างๆ มีการประชุมชาวบ้านเพือ่ น�ำเสนอปัญหา อุปสรรค และสิง่ ทีต่ อ้ งการให้ชว่ ยเหลือ แต่กระบวนการท�ำงานอาสาสมัครจัดระบบ
243
244
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ชุมชนยังขาดการถอดบทเรียนถึงสาเหตุของภัยพิบตั วิ า่ ภัยพิบตั เิ กิดจาก สาเหตุสำ� คัญอะไรบ้าง เช่น ปัญหาโคลนถล่ม มีสาเหตุสำ� คัญมาจากการ ตัดไม้ทำ� ลายป่า เมือ่ ไม่มปี า่ ส�ำหรับซับน�ำ้ ฝนทีต่ กลงมาอย่างต่อเนือ่ ง ท�ำให้ดนิ โคลนไหลลงมายังหมูบ่ า้ นทีอ่ ยูเ่ ชิงเขา เป็นต้น เรือ่ งนีส้ ะท้อนว่า การทีค่ นนอกเข้าไปในชุมชนโดยไม่มขี อ้ มูลราย ละเอียดเชิงลึกของปัญหาในชุมชน ท�ำให้แก้ปญ ั หาได้ในระดับปรากฎการณ์ เท่านัน้
รูปแบบการจัดระบบชุมชนในภาวะวิกฤติิ
1. การจัดระบบชุมชนผูป้ ระสบภัย ต้องวิเคราะห์ปญ ั หาภายใน ว่ามีเรือ่ งอะไรบ้าง ซึง่ จะสอดคล้องให้การจัดระบบชุมชนท�ำให้สามารถอยู่ ร่วมกับผูป้ ระสบภัยอืน่ ได้ดว้ ย ส่วนกิจกรรมอย่างอืน่ เป็นเพียงตัวเสริม เช่น การจัดการขยะ การท�ำครัว แต่ละงานก็ตอ้ งจัดระบบอีกระดับหนึง่ อย่างเช่น การท�ำครัวรวมก็ตอ้ งมีการจัดระบบ จ�ำนวนคนในครัว การ วางแผนอาหาร 3 มือ้ แบ่งเป็นอาหารส�ำหรับเด็ก อาหารส�ำหรับผูใ้ หญ่ คิดเมนูในแต่ละมือ้ สรรหาแหล่งวัตถุดบิ โดยอาจมีอาสาสมัครเข้าไปช่วย ประสานงานร่วมกับฝ่ายท�ำครัวและฝ่ายจัดระบบการท�ำอาหาร เป็นต้น 2.การจัดระบบอาสาสมัครกลุ่มต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดความ โกลาหลวุน่ วาย ได้แก่ การส�ำรวจข้อมูลศูนย์พกั พิง การท�ำข้อมูลของ
Tsunami : waves of reform
ชาวบ้านภายในชุมชนเกีย่ วกับความถนัดในด้านต่างๆ บทบาทหน้าทีใ่ น กลุม่ เพือ่ เชือ่ มโยงรองรับกับระบบอาสาสมัครจากภายนอก จะท�ำให้การ วางแผนการท�ำงานเสร็จรวดเร็ว เช่น เรือ่ งสร้างบ้าน จัดระบบคณะ กรรมการสร้างบ้านของชุมชนท�ำงานร่วมกับอาสาสมัครสร้างบ้าน อาสา สมัครเรือ่ งไฟฟ้า อาสาสมัครเรือ่ งสิง่ ของบริจาค ส่วนปัญหาอืน่ ๆ อาทิ ปัญหาทีด่ นิ อาจใช้กระบวนการการสร้าง เครือข่ายผูป้ ระสบภัยของมูลนิธชิ มุ ชนไท เป็นแนวทางแก้ปญ ั หา เพือ่ ให้ คนทีม่ ปี ญ ั หาเดียวกันเกิดการช่วยเหลือกันและผูกโยงกับเรือ่ งอืน่ ๆ ด้วย จะท�ำให้เขาก้าวผ่านวิกฤติทิ เี่ ป็นอยู่ และเข้มแข็งพอทีจ่ ะก้าวผ่านปัญหาอืน่ ทีย่ งั ด�ำรงอยูแ่ ละปัญหาในภายภาคหน้า
ภาวะผูน้ ำ� กับการจัดระบบชุมชน
ในการจัดระบบชุมชน ภาวะผูน้ ำ� นัน้ เป็นเรือ่ งส�ำคัญ สิง่ ทีส่ ะท้อน ให้เห็นจากชุมชนทีป่ ระสบภัยพิบตั ิ คือ กลุม่ ชายขอบ กลุม่ เปราะบาง ทีไ่ ม่สามารถพูดหรือน�ำเสนอปัญหาด้วยตนเองได้ หลังภัยพิบตั สิ นึ ามิ หลายชุมชนมีผนู้ ำ� เดีย่ ว หรือผูน้ ำ� ทีต่ ดิ ต่อ กับภายนอกและกลายเป็นผูน้ ำ� ทีค่ รอบง�ำและกุมอ�ำนาจในชุมชน ท�ำให้ ชาวบ้านคนอืน่ ไม่มบี ทบาทและไม่มโี อกาสพัฒนา เงือ่ นไขส�ำคัญในการ จัดระบบชุมชน คือ การจัดระบบตนเองของชุมชน
245
246
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ในช่วงทีเ่ กิดวิกฤติภิ ยั พิบตั เิ ป็นโอกาสให้เกิดการจัดโครงสร้าง อ�ำนาจในการจัดการตนเองใหม่ แม้จะมีอำ� นาจเก่าอยู่ แต่โอกาสนีจ้ ะท�ำให้ คนอืน่ และสังคมได้เห็นบทบาทของคนเล็กคนน้อย สร้างอ�ำนาจในตนให้ กับชาวบ้าน สามารถจัดการตนเองได้ ท�ำให้เกิดการจัดสมดุลใหม่ ทัง้ ระดับชุมชนและระดับสังคม สามารถท�ำงานข้ามชุมชน และเครือข่าย ชุมชนได้ การจัดระบบชุมชนจึงไม่ใช่แค่การจัดระบบเท่านัน้ แต่เป็นการ เติมกระบวนการและความรู้สู่ชุมชน ชาวบ้านหลายคนมีการพัฒนา ศักยภาพตนเองจนมีความเชีย่ วชาญด้านกฎหมาย แต่หลายเรือ่ งก็ตดิ ขัด ทีก่ ารน�ำกฎหมายมาสูภ่ าคปฏิบตั ิ การจัดระบบชุมชนยังได้เห็นมิตแิ ห่งความรูแ้ ละการเรียนรูท้ เี่ ชือ่ ม โยงกั บ การรั บ มื อ ภัย พิบัติแ ละการค้น พบความเป็ นพหุ สั ง คมของ ประเทศไทย การค้นพบนีเ้ ป็นหัวใจของการปฏิรปู รอบใหม่เพือ่ สังคมพหุ วัฒนธรรม การจัดระบบชุมชนจึงเป็นงานทีเ่ ข้าไปส่งเสริมกระบวนการ พัฒนาชุมชนและเสริมความเข้มแข็งของชุมชนท่ามกลางวิกฤติ ทีไ่ ม่ได้ มองเรือ่ งภัยพิบตั เิ ท่านัน้ แต่เป็นการท�ำงานแบบบูรณาการ
Tsunami : waves of reform
ข้อค้นพบจากงานจัดระบบชุมชน
การจัดระบบชุมชนสามารถท�ำได้ดกี บั ชุมชนทีม่ ปี ญ ั หาและภาวะ วิกฤติสิ งู ปัญหากลายเป็นเครือ่ งมือทีช่ ว่ ยให้เกิดการจัดระบบชุมชนและ ยกระดับชุมชน ทัง้ ในฝ่ายผูป้ ระสบภัยและผูช้ ว่ ยเหลือ วิกฤติจากภัยพิบตั ชิ ว่ ยให้ประเด็นต่างๆ เปิดเผยต่อสาธารณะและ เกิดเหตุการณ์ตอ่ เนือ่ งหลายอย่าง เช่น กรณีภยั พิบตั พิ ายุไซโคลนนาร์กสี ซึง่ เป็นช่วงทีเ่ มียนม่าร์เริม่ จะเปิดประเทศ ท�ำให้นานาประเทศเข้าไปช่วย เหลือผูป้ ระสบภัยได้ ส่วนประเทศอินโดนีเซียในช่วงทีเ่ กิดภัยพิบตั สิ นึ ามิก็ มีสว่ นท�ำให้เกิดการเจรจาสันติภาพของอาเจะห์ และในประเทศไทย เหตุการณ์สนึ ามิทำ� ให้ปญ ั หาของกลุม่ คนชายขอบ ไทยพลัดถิน่ ชาวเล มีตวั ตนและถูกหยิบยกขึน้ มาเพือ่ แก้ปญ ั หา การเสนอมติ ครม.แก้ปญ ั หา บัตรประชาชนของชาวเลมอแกน คนไทยพลัดถิน่ ก็มกี ารผลักดันเรือ่ งการ ส�ำรวจผูไ้ ม่มสี ถานะทางทะเบียน อ�ำนาจทีเ่ คยกดทับชาวบ้านก็คลายออก ในกรณีของชุมชนทุง่ หว้า จังหวัดพังงา ชาวบ้านมีปญ ั หากลับสูท่ ดี่ นิ เดิม ไม่ได้ ชาวบ้านจึงรวมตัวกันยึดพืน้ ทีค่ นื เข้าไปสร้างบ้าน จนท�ำให้มกี ารตัง้ คณะกรรมการระดับชาติแก้ไขปัญหาทีด่ นิ โดยเฉพาะปัญหาทีด่ นิ นัน้ ท�ำให้ มีคณะกรรมการแก้ไขปัญหากรณีสนึ ามิโดยเฉพาะ และมีการแต่งตัง้ ในทุก รัฐบาลทีท่ ำ� งานต่อเนือ่ งมานับ 10 ปี แม้ยงั ไม่สำ� เร็จแต่กม็ พี นื้ ทีท่ าง นโยบายเพือ่ ให้เกิดการแก้ไขปัญหามาโดยตลอด
247
248
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
การพลิกวิกฤติใิ ห้เป็นโอกาสเพือ่ สือ่ สารกับสังคม ยกระดับการ แก้ไขปัญหาไปสูน่ โยบายสาธารณะ เป็นยุทธวิธแี ละประสบการณ์หนึง่ ของ นักจัดระบบชุมชนเพื่อให้ผู้ประสบภัยสามารถแก้ปัญหาได้ทันกับ สถานการณ์ของปัญหาเฉพาะในวิกฤตินิ นั้ ๆ ขึน้ อยูก่ บั ว่าผูป้ ระสบภัยหรือ เครือข่ายทีม่ อี ยูจ่ ะใช้โอกาสในภาวะวิกฤติเิ พือ่ เปิดพืน้ ทีท่ างสังคมเพือ่ ยก ระดับปัญหาเหมือนดังเช่น กลุม่ ไทยพลัดถิน่ กลุม่ มอแกน ได้หรือไม่ และ สิง่ ส�ำคัญก็คอื จะน�ำบทเรียนนีไ้ ปใช้ในพืน้ ทีอ่ นื่ อย่างไร
บทเรียนจากการจัดระบบชุมชน
บทเรียนเรือ่ งอาสาสมัครกับการจัดระบบชุมชน อาสาสมัครทีม่ ี เจตนาดีในการเข้ามาช่วยเหลือแต่กระบวนการท�ำงานอาจจะไม่สอดคล้อง กับชุมชน หรือ ความต้องการของชุมชน ท�ำให้เกิดปัญหาต่อการท�ำงาน ดังนัน้ งานส่งเสริมความเข้มแข็งกระบวนการชุมชนในช่วงภัยพิบตั ิ ควรมี การประเมินสถานการณ์กอ่ น แล้วพัฒนากระบวนการชุมชนภายหลัง ยก ตัวอย่าง ทีจ่ งั หวัดกระบี่ หลังเกิดเหตุการณ์สนึ ามิสามารถจัดกระบวนการ ชุมชนได้ ในช่วงของการฟืน้ ฟูชมุ ชนระยะยาว ได้มกี ารจัดระบบอาสา สมัครทีเ่ ป็นชาวบ้านในชุมชน ให้ลกุ ขึน้ มาช่วยเหลือชุมชน และจัดระบบ งานอาสาสมัครภายนอกทีม่ าจากองค์กรต่างๆ ทีเ่ ข้ามาในชุมชน ศึกษา ข้อมูลแต่ละองค์กรว่าท�ำงานอะไร มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร เพือ่ ท�ำความเข้าใจร่วมกันในการวางแผนงาน มีการอบรมอาสาสมัครเป็นระ ยะๆ เพือ่ ให้เข้าใจระบบชุมชนและมองประเด็นปัญหาของชุมชนให้ชดั เจน
Tsunami : waves of reform
เป็นต้น ดังนัน้ การจัดกระบวนการงานชุมชนจึงต้องท�ำทัง้ ภายในและ ภายนอก มีการประสานงานทีช่ ดั เจน เช่น การประสานงานกับ อบต. และหน่วยงานต่างๆ ทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ที่ รวมทัง้ การประสานงานกับองค์กร ภายนอกพืน้ ที่ ให้ทกุ ส่วนสามารถท�ำงานเพือ่ เสริมสร้างให้ชมุ ชนเข้มแข็ง ขึน้ ได้ บทเรียนเรือ่ งสถานะบุคคลกับการจัดระบบชุมชน จากการเกิด ภัยพิบตั สิ นึ ามิ ท�ำให้วงวิชาการเข้าใจและรับรูป้ ญ ั หาของผูไ้ ม่มสี ถานะมาก ขึน้ แต่หลักปฏิบตั ขิ องหน่วยงานยังไม่ชดั เจน นักจัดระบบชุมชนจาก องค์กรภายนอกเปรียบเสมือนผู้ช่วยเติมเต็มดุลยภาพให้กลุ่มคนไม่มี สถานะทางทะเบียนได้มตี วั ตน ใช้วฒ ั นธรรมในการท�ำงานสนับสนุนให้เกิด เครือข่ายผูไ้ ม่มสี ถานะทางทะเบียนซึง่ มาจากกลุม่ ย่อยๆ ในหลายพืน้ ที่ ท�ำให้มพี นื้ ทีใ่ นการแสดงออกและเรียกร้องสิทธิมากขึน้ แม้จะมีแรงต้าน จากกลุม่ คนทีม่ อี ำ� นาจเดิมกดทับอยู่ ท�ำให้ตอ้ งช่วยกันหาแนวทางทะลุ กรอบอ�ำนาจเดิมให้ได้
ปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการจัดระบบชุมชน
1. แหล่งทุน ผูน้ ำ� เดีย่ วอาจเป็นคนทีส่ ามารถเข้าถึงแหล่งทุน มี ข้อมูลต่างๆ ทีเ่ กีย่ วกับแหล่งทุน รวมถึงเรือ่ งผลประโยชน์ แต่อำ� นาจใน แนวราบและแนวดิง่ ของชุมชนนัน้ ไม่มี (ส่วนนีจ้ ะเพิม่ เติมในช่วงบทเรียน ของแหล่งทุน)
249
250
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
2. องค์กรทีเ่ ข้าไปช่วยเหลือในชุมชนแต่เลือกท�ำงานกับผูน้ ำ� เพียง คนเดียว ท�ำให้เกิดการรวบอ�ำนาจ สังคมไทยมีโครงสร้างแบบอ�ำนาจเดีย่ ว อยูแ่ ล้ว ไม่มผี นู้ ำ� เป็นทีม และไม่สามารถถ่วงดุลหรือตรวจสอบ ดังนัน้ จึงต้องมีการจัดการระบบอ�ำนาจ พยายามสร้างผูน้ ำ� ใหม่ๆ ขึน้ มา นักจัด กระบวนชุมชนต้องมีประสบการณ์ รูเ้ งือ่ นไขและบริบทของพืน้ ทีน่ นั้ ๆ ด้วย ต้องใช้เวลาถอดบทเรียนให้เข้มข้นกว่าเดิม เข้าใจเขา เข้าใจเรา
อุปสรรคและข้อเสนอในการถอดบทเรียนชุมชน
1. นักจัดระบบหรืออาสาสมัครทีเ่ ป็นคนนอกต้องเข้าไปร่วมทุกข์ ร่วมสุข วิเคราะห์ชมุ ชน อ่านผูน้ ำ� ให้ได้ ภาวะผูน้ ำ� ทีด่ คี วรมีคณ ุ ธรรม จริยธรรมก�ำกับด้วย ในอนาคตต้องมองผูน้ ำ� ทีเ่ ป็นกลุม่ มากขึน้ เป็นผูน้ ำ� ที่ แบ่งปัน ให้โอกาสผูอ้ นื่ ผลัดกันเป็นผูน้ ำ� ผูต้ ามสลับกัน 2. นักจัดระบบหรืออาสาสมัครซึง่ เป็นคนนอก มีโอกาสท�ำให้ ความขัดแย้งในชุมชนมีสงู ขึน้ เพราะถืออ�ำนาจ ถือการต่อรอง แต่ไม่มี กระบวนการถอดบทเรียนของตัวเองหรือองค์กร ท�ำให้ไม่ทราบปัญหา อุปสรรคทีแ่ ท้จริงว่าคืออะไร แม้แต่สงิ่ ทีไ่ ม่สำ� เร็จคืออะไร เพราะไม่ยอมรับ เกีย่ วกับการท�ำงานทีไ่ ม่สำ� เร็จ ทัง้ ทีค่ วามผิดพลาดนัน้ อาจน�ำไปสูก่ าร เรียนรูข้ องคนและองค์กร เช่น การเรียนรูเ้ รือ่ งปัญหาทีด่ นิ การส่งเสริม กระบวนการความเข้มแข็งชุมชน
Tsunami : waves of reform
3. การเปลีย่ นม้ากลางศึก ทีมสนับสนุนส่งเสริมความเข้มแข็ง ชุมชนเข้าไปจัดกระบวนชุมชนแล้วอาจมีการด�ำเนินการผิดทาง จึงเกิดการ เปลีย่ นคนเข้ามาท�ำงานแทน ท�ำให้เกิดการสะดุด ชาวบ้านในชุมชนยากที่ จะเริม่ ใหม่กบั คนใหม่ๆ นอกจากนัน้ ต่างองค์กร ก็ตา่ งประสบการณ์และ ยุทธวิธดี งั นัน้ การเปลีย่ นคนหรือส่งต่องานให้กบั คนอืน่ หรือองค์กรอืน่ ก็ อาจจะท�ำให้เกิดปัญหาในชุมชนได้ การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนในภาวะวิกฤติคิ วรมีการถอด บทเรียนหลังวิกฤติิ การถอดบทเรียนเป็นการช่วยย�ำ้ เตือนในสิง่ ทีพ่ บ สภาพปัญหาทีต่ อ้ งช่วยกันแก้ไข การส่งเสริมและถอดบทเรียนบ่อยๆ ช่วย ให้รเู้ ท่าทันภัย เป็นอีกเครือ่ งมือทีท่ ำ� ให้ชมุ ชนเข้มแข็งและรูเ้ รือ่ งภัยพิบตั ิ เป็นการสร้างความเข้มแข็งเพือ่ ให้ผปู้ ระสบภัยพร้อมเผชิญกับภัยพิบตั ใิ น อนาคต ทีมส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนไม่ใช่ทำ� เฉพาะหน้าเท่านัน้ แต่ตอ้ งใช้ทกุ ประเด็นเป็นเงือ่ นไขในการเสริมความเข้มแข็งชุมชน เช่น เตรียมแผนทีจ่ ะช่วยเหลือชุมชนในการสร้างชุมชนใหม่ทงั้ ในทีด่ นิ เดิมและ ในทีด่ นิ แห่งใหม่ เช่น การออกแบบบ้านถาวรต้องมีการเตรียมความพร้อม ในการเตรียมชุมชน อาชีพในอนาคต อาสาสมัครระยะยาว รวมถึงการหา ค�ำจ�ำกัดความที่เหมาะสมของศูนย์พักชั่วคราว ศูนย์พักพิง บ้านพัก ชัว่ คราว จะเลือกค�ำไหนทีเ่ หมาะสม
251
252
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
บทเรียน # 4 แหล่งทุน เมือ่ เกิดเหตุภยั พิบตั ติ า่ งๆ มักจะมีความช่วยเหลือจากภายนอก หลัง่ ไหลเข้าไปยังพืน้ ทีป่ ระสบภัย ความช่วยเหลือต่างๆ จะมีทงั้ รายเล็ก รายใหญ่ ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมไปถึงองค์กรต่างประเทศ ทัง้ นี้ รูปแบบ การสนับสนุนช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยของแหล่งทุนส�ำหรับกรณีภยั พิบตั ิ มีรปู แบบทีน่ า่ สนใจ คือ 1. ทุนแบบรัฐ มักจะเป็นการชดเชย เยียวยา ผ่านหน่วยงาน ต่างๆ ซึง่ มีระเบียบข้อบังคับในการชดเชย เยียวยา การเบิกจ่ายและจัด ซือ้ จัดจ้างแบบระบบราชการ 2. ทุนแบบเอกชน นิยมช่วยเหลือโดยผ่านองค์กรหรือหน่วยงาน ภาครัฐ รวมไปถึงการลงไปบริจาคสิง่ ของ เงิน ให้แก่ผปู้ ระสบภัยโดยตรง 3. องค์กรพัฒนาเอกชน มีทงั้ ในรูปแบบเงินกองทุนหรือเป็น อุปกรณ์ทมี่ คี วามจ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีพ การประกอบอาชีพ การสร้างบ้าน สิง่ อ�ำนวยความสะดวกต่างๆ 4. องค์กร/หน่วยงานอิสระ เช่น ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) ส�ำนักงาน คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) อาจจะไม่ได้ทำ� งานภัยพิบตั เิ อง โดยตรง แต่จะใช้ลกั ษณะการท�ำงานผ่านเครือข่าย/องค์กรต่างๆ
Tsunami : waves of reform
ข้อจ�ำกัดของแหล่งทุน
1. หากเป็นแหล่งทุนหรือการให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐ เป็น ลักษณะการชดเชย เยียวยา ทรัพย์สนิ ทีไ่ ด้รบั ความเสียหาย ซึง่ ต้องกรอก แบบฟอร์มรายละเอียดข้อมูลต่างๆ แบบฟอร์มมีความแตกต่างกันในแต่ละ หน่วยงาน ไม่มกี ารแนะน�ำข้อมูลในการเขียนอย่างทัว่ ถึง เช่น การชดเชย เรือ่ งบ้าน เมล็ดพันธุข์ า้ ว อุปกรณ์เครือ่ งมือประกอบอาชีพ ฯลฯ พบว่า แนวปฏิบตั ทิ ใี่ ช้ไม่มมี าตรฐานทีช่ ดั เจน การชดเชยทีไ่ ม่เป็นธรรมขึน้ อยูก่ บั ดุลยพินจิ ของเจ้าหน้าทีท่ จี่ า่ ยค่าชดเชย เช่น กรณีบา้ นพังเสียหาย หากมี การเขียนเอกสารและระบุรายละเอียดทีช่ ดั เจนเป็นรายการจะได้รบั ค่า ชดเชยมากกว่า การเขียนว่าบ้านพังทัง้ หมด อีกทัง้ ชุมชนไม่สามารถต่อ รองเรือ่ งเงินบริจาคเพือ่ ชุมชนเอามาบริหารจัดการเอง ท�ำให้ชาวบ้านเสีย ประโยชน์ 2. องค์กรเอกชน แหล่งทุนภายนอกห่วงแต่สนองตอบความ ต้องการของตนเอง เป้าหมายตนเอง หรือการน�ำเสนอต่อสือ่ สาธารณะ มุง่ เน้นการโฆษณา ประชาสัมพันธ์องค์กร เช่น การน�ำของหรือเช็คบริจาค กลับหลังจากถ่ายรูปเสร็จ การอ้างว่าบริจาคให้ชมุ ชนแต่เงินตกอยูก่ บั อีก หน่วยงาน ท�ำให้ชาวบ้านในชุมชนเกิดความขัดแย้งและความแคลงใจต่อผู้ ประสานงานชุมชน การมีเงือ่ นไขในการให้ความช่วยเหลือกับชุมชน ห้าม รับความช่วยเหลือซ�ำ้ ซ้อนในเรือ่ งเดียวกัน การติดป้ายชือ่ หมูบ่ า้ นกลาย เป็นหมูบ่ า้ นใหม่แทนชือ่ หมูบ่ า้ นเดิมของผูป้ ระสบภัย เป็นการกดทับชุมชน เดิม ผู้หาผลประโยชน์แอบอ้างกับแหล่งทุนหรือทุนที่จะให้สร้างบ้าน
253
254
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ห้ามคนอืน่ เข้ามาท�ำ หรือมีเจตจ�ำนงบริจาคเพือ่ ไปลดภาษี เช่น กรณี ห้างร้านทีบ่ ริจาคถังเก็บน�ำ้ ทีจ่ งั หวัดอุบลราชธานีเพียงถ่ายรูปอุปกรณ์เพือ่ ประชาสัมพันธ์วา่ บริษทั ท�ำกิจกรรมช่วยเหลือสังคม หรือการบริจาคผ่าน รัฐบาล กรณีกองทุนจากภาคสือ่ ทีต่ อ้ งการสร้างบ้านและถ่ายรูปให้เสร็จ โดยไม่คำ� นึงและปฏิบตั ติ ามข้อตกลงทีไ่ ด้ประชุมวางแผนท�ำงานร่วมกันกับ องค์กรทีส่ ง่ เสริมความเข้มแข็งชุมชน ท�ำให้งานไม่สำ� เร็จ 1. เอกชนทีบ่ ริจาคทุนให้รฐั การจะน�ำทุนเหล่านัน้ ไปใช้ตอ้ งผ่าน ระบบการใช้จา่ ยของรัฐ มีระบบการเบิกจ่าย จัดซือ้ จัดจ้างหรือประมูล ท�ำให้ตดิ ปัญหาเมือ่ ต้องการใช้งบประมาณเร่งด่วน เช่น ทุนทีร่ ฐั ได้รบั ส่งต่อ ให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) การน�ำไปใช้ต้องผ่าน ระเบียบ หรือกรณีเงินบริจาคสึนามิที่บริจาคให้กับรัฐบาล ติดระบบ ราชการของกระทรวงไม่สามารถน�ำเงินบริจาคออกมาใช้ได้ ท�ำให้มงี บ ประมาณทีไ่ ม่ได้ใช้ประโยชน์กว่า 90 ล้านบาท หรือผ่านระบบการจัดซือ้ จัดจ้าง กรณีบา้ นเขาพนม จังหวัดกระบี่ ก็เข้าระบบจัดซือ้ จัดจ้างของ จังหวัด ท�ำให้เกิดช่องทางในการคอร์รปั ชัน ไม่โปร่งใส 2. การช่วยเหลือช่วยเฉพาะคนในพื้นที่มักจะใช้เอกสารใบ ทะเบียนบ้านเป็นหลัก ท�ำให้คนนอกพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย ขาดโอกาสในการเข้าถึงความช่วยเหลือ
Tsunami : waves of reform
การสะท้อนข้อมูลกรณีการรับทุน
จากเหตุ ก ารณ์ ดิ น โคลนถล่ ม ที่ ต.กรุ ง ชิ ง กิ่ ง อ.นบพิ ต� ำ จ.นครศรีธรรมราช มีกรณีทปี่ ฏิเสธการรับทุนทีเ่ ข้าไปช่วยเหลือเพราะเกรง จะเกิดปัญหาความขัดแย้งในชุมชน อาสาสมัครเพียงตัง้ ใจอยากช่วยเหลือ และเห็นชุมชนมีการเตรียมความพร้อมเกีย่ วกับการรับมือภัยพิบตั ขิ อง ชุมชนเองได้ และใช้ระยะเวลาในการท�ำงานประมาณ 2 ปี ชุมชนก็มกี าร ขยายฐานเครือข่าย สมาชิกทัง้ ต�ำบล 200 กว่าคน ได้ขอ้ ค้นพบว่า การที่ คนภายนอกเข้าไปในชุมชน ต้องมีทรัพยากรอืน่ ทีจ่ ะใช้เป็นเครือ่ งมือในการ ท�ำงานด้วย นอกเหนือจากเรือ่ งเงินทุน แหล่งทุนทีเ่ ข้าไปยังบางชุมชนมีจำ� นวนมาก ไม่ได้สำ� รวจข้อมูล ชุมชนอย่างแท้จริง จึงเกิดปัญหา เช่น บางคนได้รบั ความช่วยเหลือมาก บางคนได้นอ้ ย ไม่มมี าตรฐานในการช่วยเหลือ จึงท�ำให้เกิดความขัดแย้ง ในชุมชน อีกทัง้ คนทีล่ งไปส่งเสริมความเข้มแข็ง หน่วยงานหรือแหล่งทุน มักตอบสนองแต่โครงการของแหล่งทุนของตนเอง ไม่มกี ารพูดคุยปรึกษา หารือกันกับกลุม่ ทีล่ งไปช่วยเหลือ จึงเกิดปัญหาผูน้ ำ� เดีย่ วหรือชาวบ้าน ต้องจ�ำใจเลือก เพือ่ ให้ได้รบั ความช่วยเหลือก่อน หรือการช่วยเหลือทีไ่ ม่ ตรงกับความต้องการ เช่น กรณีการน�ำพันธุข์ า้ วใหม่ๆ เข้าไปให้ชาวบ้าน เป็นข้าวนาปีทปี่ ลูกในฤดูฝน แต่เอาไปให้ในช่วงหลังน�ำ้ ท่วมซึง่ เป็นช่วงที่ ชาวบ้านก�ำลังจะท�ำนาปรังในฤดูแล้ง เป็นต้น
255
256
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ในบางพืน้ ที่ ภาคเอกชนทีจ่ ะสนับสนุนให้ทนุ ตัง้ เงือ่ นไขให้ผรู้ บั เงินสนับสนุนต้องเปลีย่ นศาสนา ท�ำให้ชาวบ้านมีความขัดแย้งกันเอง เป็นการเข้าไปสนับสนุนแก้ไขปัญหาเบือ้ งต้นทีไ่ ม่ตรงจุด ท�ำลายระบบ ความเชือ่ ดัง้ เดิมของชุมชน การสนับสนุนเงินลงไปในชุมชนท�ำให้ผนู้ ำ� บาง คนเห็นแก่ประโยชน์สว่ นตน เกิดความขัดแย้งกันในชุมชน ในบางกรณี บางหน่วยงานได้กำ� หนดพืน้ ทีท่ ตี่ อ้ งการช่วยเหลือ โดยสร้างบ้านให้กบั ผูเ้ สียหายทีอ่ ยูบ่ ริเวณริมถนน และมีการจัดซือ้ อุปกรณ์ ก่อสร้างให้ทกุ อย่าง โดยไม่พจิ ารณาช่วยเหลือผูเ้ สียหายทีม่ บี า้ นห่างไกล จากถนน ซึง่ มีความจ�ำเป็นต้องได้รบั การช่วยเหลือเช่นกัน ในบางกรณี รายละเอียดเงินสร้างบ้านสึนามิมกี ารแบ่งสัดส่วน รัฐก�ำหนดให้หลังละ 140,000 บาท โดยแบ่งเป็นค่าแรงหลังละ 40,000 บาท วัสดุอปุ กรณ์ 80,000 บาท สาธารณูปโภค 20,000 บาท แต่ในความจริง ชาวบ้าน ต้องติดตัง้ สาธารณูปโภคน�ำ้ -ไฟเอง ส่วนทีช่ าวบ้านได้รบั จริง 80,000 บาททีเ่ ป็นวัสดุกอ่ สร้าง แล้วหน่วยงานของรัฐก็เข้าไปควบคุมงบประมาณ ก�ำหนดโครงสร้าง การจัดซือ้ จัดจ้างวัสดุอปุ กรณ์ทงั้ หมด ถ้าชาวบ้านขอ วัสดุอปุ กรณ์ไปก่อสร้างเอง จะออกให้ครึง่ เดียว คือ จาก 80,000 บาท จะให้เพียง 40,000 บาท สิง่ ทีพ่ บคือ มีการคิดราคาวัสดุอปุ กรณ์เกิน ราคาจริง เช่น เหล็กเส้น กระเบือ้ ง และมีการลดขนาดบ้าน ให้ราคาที่ ต�ำ่ ลง มีการเปลีย่ นอุปกรณ์วสั ดุกอ่ สร้างคนละขนาด นอกจากนี้ บางพืน้ ที่ ก็มีปัญหาติดขัดเนื่องจากเป็นพื้นที่การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ซึง่ ไม่สามารถโอนให้ชาวบ้านได้
Tsunami : waves of reform
การทีช่ าวบ้านประเมินความเสียหายต�ำ่ กว่าความเป็นจริง ท�ำให้ เงินค่าชดเชยทีไ่ ด้รบั ไม่เพียงพอ และบางกรณีกไ็ ม่ได้รบั การชดเชย เช่น กรณีนำ�้ ท่วมทีจ่ งั หวัดอุบลราชธานี หากเป็นบ้านปูน ทางรัฐจะไม่ชดเชย ค่าเสียหายให้ จ่ายชดเชยเฉพาะบ้านไม้ เมือ่ บ้านปูนทรุดจึงไม่ได้รบั การ เยียวยา บางหน่วยงานเข้าไปสนับสนุนทุนในแบบทีใ่ ห้ชาวบ้านได้คดิ เอง ท�ำเอง ต้องมีการส�ำรวจความต้องการและเหมาะสมของสิง่ ทีจ่ ะให้การ สนับสนุนนัน้ ๆ เช่น กรณีนำ�้ ท่วมดินโคลนถล่ม มีการช่วยเหลือชาวบ้าน เรือ่ งเรือ ก็มกี ารศึกษาก่อนว่าสภาพชุมชนเป็นอย่างไร ควรใช้เรือแบบใด ให้เหมาะสมกับพืน้ ทีซ่ งึ่ เป็นทีล่ มุ่ ต�ำ่ บ้านอยูบ่ นทีด่ อน มีการขุดหน้าดิน ขาย เมือ่ น�ำ้ ท่วม น�ำ้ เชีย่ วมาก ควรใช้เรือแบบใด และเมือ่ ช่วงเหตุการณ์ ผ่านไป อบต.ก็สามารถน�ำไปใช้ตอ่ ได้ หรือการให้บา้ นน็อคดาวน์ เต็นท์ ทีช่ มุ ชนสามารถเอาไปใช้งานต่อในชุมชนได้
ข้อเสนอบทเรียนแหล่งทุน
1. แนวทางช่วยเหลือและปฏิบตั ขิ องภาครัฐยังไม่มมี าตรฐานที่ เป็นกลาง ทัง้ ทีร่ ะเบียบของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) มี มาตรฐานเฉพาะ แต่แนวทางปฏิบตั ยิ งั ไม่มมี าตรฐานชัดเจน องค์การ บริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) และองค์การบริหารส่วนต�ำบล (อบต.) เป็นหน่วยสนับสนุนเท่านัน้ โดยให้หน่วยงาน ปภ.จ่าย เช่น กรณีแผ่นดิน
257
258
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ไหวทีเ่ ชียงรายต้องมีการจ่ายเงินชดเชย แต่พบว่าแบบฟอร์มของทัง้ 3 อ�ำเภอและแบบฟอร์มของจังหวัดไม่เหมือนกัน เมือ่ เรือ่ งส่งถึงจังหวัด ก็มี เจ้าหน้าที่ส�ำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดเป็นฝ่ายส�ำรวจ ส�ำนักงาน ปภ. เป็นฝ่ายจ่ายค่าชดเชย อบจ. เป็นส่วนสนับสนุนส่วนที่ เหลือด้านการเงิน ทัง้ 3 หน่วยงาน รวมถึง ธนาคารเพือ่ การเกษตรและ สหกรณ์ (ธกส.) ไม่ได้ใช้ฐานข้อมูลเดียวกันในการชดเชย แต่ละพืน้ ทีต่ อ้ ง ให้ อบต. แต่ละหมูบ่ า้ นส�ำรวจใหม่ทงั้ หมด เป็นการสิน้ เปลืองเวลาและ ทรัพยากร แนวทางช่วยเหลือและปฏิบตั ขิ องภาครัฐจึงควรมีมาตรฐาน กลาง มาจากฐานข้อมูลเดียวกัน 2. ควรจัดท�ำคูม่ อื หรือจัดกิจกรรมอบรมการเขียนรายงาน การก รอกแบบฟอร์มเบิกจ่ายค่าเสียหาย ค่าชดเชยแก่ผปู้ ระสบภัย เพือ่ ให้ สอดคล้องกับการเรียกร้องค่าเสียหายจากรัฐ เช่น ในกรณีบา้ นเสียหาย ผู้ ประสบภัยควรกรอกแบบฟอร์มอย่างไร โดยใช้แบบฟอร์มกลางทีเ่ ป็นแนว ปฏิบตั ริ ว่ มกัน และในแต่เหตุการณ์ภยั พิบตั กิ ค็ วรมีแนวปฏิบตั ทิ ชี่ ดั เจน เนือ่ งจากทีผ่ า่ นมาพบว่า แบบฟอร์มในแต่ละพืน้ ทีใ่ ช้ไม่เหมือนกัน และยัง มีขั้นตอนที่ให้ผู้ใหญ่บ้านหรือข้าราชการเป็นคนช่วยพิจารณา โดยใช้ ดุลพินจิ ของเจ้าหน้าที่ ทัง้ ๆ ทีม่ รี ะเบียบปฏิบตั ทิ ชี่ ดั เจน ท�ำให้เกิดปัญหา เรื่องการกรอกแบบฟอร์มที่ส่งผลให้ผู้ประสบภัยไม่ได้รับการชดเชย เยียวยาตามความเหมาะสม
Tsunami : waves of reform
3. ควรมีเจ้าหน้าทีใ่ ห้คำ� แนะน�ำการกรอกแบบฟอร์มรายละเอียด ความเสียหายเพือ่ รับค่าชดเชย ไม่ใช่ให้ชาวบ้านลงนามเพียงอย่างเดียว ส่วนช่องตัวเลขกรอกภายหลัง และต้องเขียนรายละเอียดให้มากทีส่ ดุ เช่น หลอดไฟ ราคา ... ชุดเครือ่ งนอน ราคา... ชุดนักเรียน ราคา... ฯลฯ 4. ควรมีหน่วยงานโดยเฉพาะทีต่ งั้ ขึน้ มาเพือ่ เป็นศูนย์กลางการ ดูแลรับผิดชอบการชดเชย เยียวยาผูป้ ระสบภัย โดยมีการรวมแบบฟอร์ม รายละเอียดเกีย่ วกับความเสียหายและการชดเชยให้ครอบคลุมทุกเรือ่ ง ทุกหน่วยงาน ไม่ตอ้ งแยกว่าเป็นของหน่วยงานไหน เพือ่ สะดวกต่อการ เก็บรวมรวมข้อมูล และแนวทางปฏิบตั ไิ ด้มาตรฐานชัดเจน ไม่ตอ้ งใช้ ดุลยพินจิ ของเจ้าหน้าทีอ่ ย่างทีเ่ ป็นมา 5. ชุมชนต้องมีระบบการจัดการแหล่งทุนทีเ่ ข้ามาอย่างชัดเจน คอยพิจารณาเลือกรับหรือไม่รบั ทุนตามกรณี อาจจัดตัง้ เป็นคณะกรรมการ ดูแลแหล่งทุนโดยเฉพาะ ทีช่ าวบ้านมีสว่ นร่วม มีความโปร่งใส สามารถ ตรวจสอบได้ เพือ่ ลดปัญหาความขัดแย้งในชุมชน เช่น กรณีแหล่งทุน เอกชนทีเ่ ข้ามาช่วยเหลือชาวบ้านซือ้ จักรยานยนต์ให้โดยตรง ซึง่ เป็นการ เพิม่ ภาระค่าใช้จา่ ยให้ชาวบ้านต่อไปในอนาคต
259
260
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
บทเรียน # 5 งานกูช้ พ ี กูภ ้ ย ั การแพทย์ สถาบันการแพทย์ฉกุ เฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ตัง้ ขึน้ มาภายหลัง เหตุการณ์สนึ ามิ เป็นองค์การมหาชน ทีไ่ ด้รบั งบประมาณจากรัฐ เป็น อิสระจากรัฐแต่อยูภ่ ายใต้กำ� กับของรัฐ คือ ขึน้ กับกระทรวงสาธารณสุข หน้าทีห่ ลักของ สพฉ. เป็นการกูช้ พี ไม่ใช่กภู้ ยั เน้นการประสานงานกับ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องส่วนทีเ่ กีย่ วกับหน่วยงานสาธารณสุข และการส่งต่อ ผูป้ ว่ ยเข้ารับการรักษาพยาบาลให้ทนั ท่วงที สถาบันมีสายด่วน 1669 ศูนย์นเรนทรทัว่ ประเทศ หากมีการ เจ็บป่วยฉุกเฉินจะใช้ศนู ย์นเรนทรเป็นตัวกลางส่งต่อผูป้ ว่ ย โดยส�ำนักงาน สาธารณสุขจังหวัด (สสจ.จังหวัด) จะมีศนู ย์สงั่ การ วินจิ ฉัยว่าจะส่งกรณี ไปทีไ่ หน อย่างไร และมีการล�ำเลียงผูป้ ว่ ยทางอากาศ มีสว่ นทีท่ ำ� ข้อตกลง (MOU) กับกรมป่าไม้ ทีต่ อ้ งใช้บคุ ลากรเข้าในพืน้ ทีท่ รุ กันดารหรือพืน้ ที่ ล�ำบาก ยากแก่การเข้าถึง นอกจากนี้มีการตั้งหน่วยใหม่ คือ ศูนย์ประสานการแพทย์ ฉุกเฉินในภาวะภัยพิบตั ิ เป็นอาสาสมัครทางด้านกูช้ พี เป็นหลัก มีทมี งาน เอง มีการประสาน การตัง้ หน่วยแพทย์เคลือ่ นที่ หน่วยครัว หน่วยช่าง ฯลฯ เวลาลงพืน้ ทีก่ ไ็ ม่ตอ้ งพึง่ พาส่วนของชุมชน
Tsunami : waves of reform
การกูช้ พี กูภ้ ยั การแพทย์ ของสถาบันการแพทย์ฉกุ เฉิน สถาบันการแพทย์ฉกุ เฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จะมีศนู ย์นเรนทรเป็น หน่วยกูช้ พี ในต่างจังหวัด ส่วนในกรุงเทพฯ จะเป็นศูนย์เอราวัณ โดยจะ แยกกันท�ำงาน และมีมลู นิธติ า่ งๆ ในพืน้ ทีค่ อยเป็นหน่วยประสานและ ช่วยเหลือ ในกรณีของบ้านน�ำ้ เค็ม จังหวัดพังงา จะมีอาสาสมัครเป็นทัง้ หน่วยกูช้ พี และกูภ้ ยั โดย สพฉ.จะท�ำหน้าทีพ่ จิ ารณาและประสานงานว่า เป็นกรณีใด เช่น ภัยพิบตั ิ กูภ้ ยั หรือกูช้ พี สายด่วน 1669 เป็นสายด่วนบริการทัว่ ประเทศ โดยมีศนู ย์ สัง่ การในแต่ละจังหวัด ทัง้ นีค้ สู่ ายในแต่ละจังหวัดจะมากหรือน้อยขึน้ อยู่ กับพืน้ ทีแ่ ละสถิตกิ ารประสบภัย ทีผ่ า่ นมา ประเทศไทยมีการอบรมการ พัฒนาศักยภาพของงานกูช้ พี และกูภ้ ยั ทีท่ ำ� ร่วมกับ สพฉ. และพัฒนา ระบบส่งต่อไปไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่พร้อมปฏิบัติงานได้ทันที รวมถึงระบบสับสายบริการ 1669 ในกรณีทสี่ ายทีโ่ ทรเข้ามานัน้ ไม่ใช่กรณี ฉุกเฉิน (เนือ่ งจากมีกรณีสายทีโ่ ทรเข้ามาก่อกวนอยูบ่ า้ ง) บทเรียนที่ดีในการท�ำงานทั้งงานกู้ชีพและกู้ภัย ซึ่งสามารถ ช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็วในกรณีของการเกิดภัยพิบตั ิ คือ โครงการช่วย เหลือภัยพิบตั ทิ จี่ งั หวัดเชียงใหม่ โดย นพ.ธรณี กายี ผูอ้ ำ� นวยการส�ำนัก ระบบบริการการแพทย์ฉกุ เฉิน โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ซงึ่ เป็นแพทย์ทดี่ แู ลงานการแพทย์ฉกุ เฉิน ของ จังหวัดเชียงใหม่ ได้ผลักดัน ให้เกิดการร่วมมือกันของหน่วยงานต่างๆ ทัง้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิน่
261
262
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
และหน่วยกูช้ พี กูภ้ ยั ของเอกชน เพือ่ ให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงระบบ บริการการแพทย์ฉกุ เฉินได้มากขึน้ จากสถิตกิ ารเข้าไปช่วยเหลือผูป้ ว่ ยโดยระบบการแพทย์ฉกุ เฉิน ของจังหวัดเชียงใหม่ มีความรวดเร็วมากทีส่ ดุ เป็นอันดับหนึง่ ของประเทศ คือใช้เวลาประมาณ 2 นาที จากเวลามาตรฐานทีก่ ำ� หนดไว้ 8 นาที เพราะ ในเขตเมืองเชียงใหม่และปริมณฑลมีหน่วยชุดปฏิบตั กิ ารฉุกเฉินเบือ้ งต้น อยูม่ าก และมีเครือข่ายของเอกชนเข้ามาให้ความร่วมมือด้วย ท�ำให้จงั หวัด เชียงใหม่สามารถท�ำงานได้ครอบคลุมทั้งงานกู้ภัยและกู้ชีพกู้ภัย คือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และ กูช้ พี คือ สถาบันการ แพทย์ฉกุ เฉิน (สพฉ.) ทัง้ นีไ้ ด้รบั การสนับสนุนจาก สสส. ในการพัฒนา ระบบสายด่วน 1669 เดิมคูส่ าย 1669 รับสายผูเ้ ดือดร้อนทุกรูปแบบที่ โทรเข้ามา ต่อมามีการพัฒนาระบบ คูส่ ายของ ปภ. เป็นสายด่วน 1784 สายด่วนของต�ำรวจ 191 และสายด่วนของ สพฉ. 1669 เพือ่ ให้สาย ทีโ่ ทรเข้ามาต่อตรงกับลักษณะงานของแต่ละหน่วย นอกจากนี้ ยังมีการท�ำ ตูด้ จิ ทิ ลั ใหม่ เปลีย่ นระบบแอนะล็อกเป็นดิจทิ ลั และฝึกอบรมพนักงานรับ โทรศัพท์ให้แยกกรณีออกและโอนสายให้ตรงกับปัญหา เหล่านีเ้ กิดจากความสัมพันธ์ของหมอทีม่ ที ศั นคติเปิดและความ สัมพันธ์อนั ดีของคนท�ำงานภาครัฐ ท�ำให้เห็นพัฒนาการจัดระบบการ จัดการภัยพิบตั ใิ หม่ของ สพฉ. รวมถึงเรือ่ งการส่งต่อเตียงผูป้ ว่ ยมีเครือข่าย ส่งงานต่อ ประสานกับ ปภ.และกูภ้ ยั มีการอบรมร่วมกันซ้อมแผนจริง เห็นมิตกิ ารพัฒนาเรือ่ งหนึง่ ไปสูก่ ารพัฒนาอีกเรือ่ งรวมถึงด้านทักษะด้วย
Tsunami : waves of reform
หลังจากเหตุการณ์สนึ ามิ ระบบการแพทย์ฉกุ เฉินมีพฒ ั นาการ เพือ่ การจัดการสูภ่ ยั พิบตั มิ ากขึน้ จากทีท่ ำ� เรือ่ งกูช้ พี อย่างเดียว สพฉ. ได้ ยกระดับขึน้ มาสูก่ ารตัง้ ศูนย์ประสานงานการแพทย์ฉกุ เฉินในภาวะภัย พิบตั ิ อย่างไรก็ตาม กลุม่ อาสาสมัครทีเ่ ข้าไปช่วยงานการกูช้ พี กูภ้ ยั สะท้อนว่า ในระยะต้นของการประสบภัย หน่วยงานต่างๆ จะเป็นลักษณะ ต่างคนต่างท�ำงาน การเก็บศพไม่มรี ะบบ ถึงแม้ชมุ ชนจะเคยผ่านการ อบรมกูช้ พี กูภ้ ยั มาแล้ว แต่ไม่ได้ผา่ นการอบรมระบบการแพทย์ฉกุ เฉิน (Emergency Medical System : EMS) ด้านการขนย้ายผูป้ ว่ ยอย่างถูก ต้อง ในกรณีนี้ ภายหลังทีม นพ. บัญชา พงษ์พานิช ได้ชว่ ยให้คำ� แนะน�ำ การถ่ายรูป ถ่ายสถานทีเ่ ก็บศพ มีพฒ ั นาการขึน้ มาอย่างเป็นระบบ ระเบียบมากขึน้ ข้อจ�ำกัดการพัฒนาศักยภาพกูภ้ ยั การพัฒนาช่วงภาวะวิกฤติ จากเหตุการณ์สนึ ามิ ไม่มคี นเข้ามาจัดการกับอาสาสมัครทุกกลุม่ เช่น อปพร.อยูใ่ นความดูแลของ ปภ. กูช้ พี อยูใ่ นก�ำกับของศูนย์นเรนทร และ อสม. มีโครงสร้างขึน้ กับกรมอนามัย เป็นโครงสร้างการจัดการแบบรัฐ อาสาสมัครเมือ่ เข้าสูร่ ะบบนีก้ เ็ ป็นคนของหน่วยงานตามสังกัดไป โดยปริยาย ไม่เปิดช่องทางให้แต่ละหน่วยท�ำเรือ่ งภัยพิบตั เิ อง ยังเป็น หน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัตปิ อ้ งกันภัยพิบตั ิ พ.ศ. 2550
263
264
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ข้อจ�ำกัดของการพัฒนาศักภาพการกูภ้ ยั โดยสรุปดังนี้ 1. ปัญหาเชิงโครงสร้างทางกฎหมาย พระราชบัญญัตติ า่ งๆ รวม ไปถึงขัน้ ตอนของข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ปภ. ครูฝกึ เจ้าหน้าทีช่ ำ� นาญการ ขาดการฝึกฝนทักษะอย่างต่อเนือ่ งเพิม่ เติม 2. อปพร.เป็นเพียงอาสาไม่ใช่คนทีท่ ำ� งานประจ�ำ เมือ่ เกิดเหตุ ฉุกเฉินไม่สามารถควบคุมจ�ำนวนคนได้ ว่ามากน้อยแค่ไหน เมือ่ มีการจัด ฝึกอบรมทักษะต่างๆ มักจะมีคนเข้าร่วมน้อย การดึงคนมาให้เป็นก�ำลัง หรือพัฒนาไปสูข่ นั้ อืน่ ๆ ไม่สามารถท�ำได้ พัฒนาได้ยาก แม้แต่ อสม.ซึง่ สามารถน�ำมาฝึกให้มคี วามเชีย่ วชาญ เพือ่ เป็นแรงสนับสนุน ช่วยเหลือใน ชุมชนก็ยงั มีขอ้ จ�ำกัด 3. การจัดคนเข้าอบรมโครงการระบบการแพทย์ฉกุ เฉิน (EMS) มีการประสานกับผูน้ ำ� ในท้องถิน่ เพือ่ หาคนมาอบรม แต่ไม่ได้เป็นคนที่ อยากเป็นอาสาจริงๆ เป็นการจัดคนตามใจผูน้ ำ� คนทีไ่ ปอบรมก็ไม่ได้มา ช่วยเหลือชาวบ้านอย่างแท้จริง
Tsunami : waves of reform
ข้อเสนอแนะ
1. ให้ สพฉ.จัดตัง้ ศูนย์ประสานงาน เป็นหน่วยประสานงาน อาสาสมัครทัง้ ระดับกูภ้ ยั กูช้ พี ชุมชน ดูแลทรัพยากรต่างๆ เมือ่ เกิดเหตุ วิกฤติิ อาสาสมัครมีบทบาทชัดเจน มีทมี ท�ำงาน รูข้ อ้ มูลเบือ้ งต้นในด้าน ต่างๆ และมีระบบการท�ำงานให้อาสาสมัครกูช้ พี กูภ้ ยั มารายงานตัว จัดแบ่งงานให้เป็นระบบ จะได้อาสาสมัครทีม่ จี ติ วิญญาณ ท�ำงานได้มี ประสิทธิภาพ และมีระบบการดูแลอาสาสมัครระยะยาว ให้เกิดความ ยัง่ ยืน มีสถานะมากขึน้ 2. สร้างเครือข่ายกับอาสาสมัครกลุม่ ต่างๆ ทัว่ ประเทศ และสร้าง ความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ ส�ำนักงานป้องกันและบรรเทา สาธารณภัย (ปภ.) โรงพยาบาลจังหวัด และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ระดับต�ำบล (รพสต.) เสนอให้มีการพัฒนาศักยภาพ การเรียนรู้ เพิม่ อาสาสมัครให้สงั คม เห็นความจ�ำเป็นทีจ่ ะท�ำต่อไปข้างหน้า ให้ระบบ การรับมือภัยพิบตั แิ ข็งแรง พัฒนาสูเ่ ป้าหมายร่วมกัน ไม่ได้พฒ ั นาเพือ่ องค์กรตนเอง 3. สร้างความร่วมมือในการท�ำงานร่วมกันของหน่วยงานด้านการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกับหน่วยงานทีท่ ำ� งานด้านการแพทย์ ฉุกเฉิน เพือ่ ให้การช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยไปถึงเป้าหมายทีแ่ ท้จริง
265
266
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ภาคสอง :
Tsunami : waves of reform
เรียนรูจ ้ ากเรือ ่ งเล่า
ประสบการณ์ – ประสบภัย
267
บทที่ 5 eg เรือ ่ งเล่าจากผูป ้ ระสบภัย และอาสาสมัครสึนามิ คลืน่ ยักษ์สนึ ามิเป็นจุดเริม่ ต้นของหลากหลายเรือ่ งราว ทัง้ เรือ่ ง ราวทีเ่ ลวร้ายและงดงาม เรือ่ งราวแห่งความสูญเสีย ความเสียสละและ มิตรภาพ เรือ่ งราวของการล้มลุกคลุกคลาน และยืนหยัดลุกขึน้ สูเ้ พือ่ กอบ กูช้ วี ติ อีกทัง้ เรือ่ งราวของผูร้ บั ทีแ่ ปรเปลีย่ นเป็นผูเ้ สียสละ ช่วยเหลือผูอ้ นื่ ร่วมจิตร่วมใจท�ำงานให้กบั สังคม จากหมูบ่ า้ นเล็กๆ ชุมชนเล็กๆ สูค่ วาม ใฝ่ฝนั ปฏิรปู ท้องถิน่ และประเทศชาติให้เป็นผืนแผ่นดินทีน่ า่ อยู่ ผูค้ นมี ความสุข เท่าเทียม และมีศกั ดิศ์ รีเสมอกัน เรือ่ งราวต่างๆ เหล่านีม้ าจากผูท้ เี่ กีย่ วข้องกับเหตุการณ์สนึ ามิ ทัง้ อาสาสมัครทีเ่ ป็นนักจัดระบบชุมชน อาสาสมัครทีม่ าจากภาคธุรกิจ นักวิชาการ แพทย์ นักพัฒนาสังคม และอาสาสมัครทัว่ ไปทีม่ จี ติ อาสา ปรารถนาทีจ่ ะช่วยเหลือผูอ้ นื่ ทีป่ ระสบภัย หลายเรือ่ งราวจากหลากบุคคลทีผ่ า่ นประสบการณ์ภยั พิบตั เิ ป็น ส่วนหนึง่ ของบันทึกประวัตศิ าสตร์ ทีบ่ อกเล่าบทเรียนส�ำคัญให้เรารูว้ า่ ต่อไปข้างหน้าเราจะก้าวเดินอย่างไร
270
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
จากบ้านน�ำ้ เค็ม ... สูพ ่ ง ั งาแห่งความสุข ไมตรี จงไกรจักร์ : เล่าเรือ่ ง กองบรรณาธิการ : เรียบเรียง
“การสร้ า งสั ง คมให้ น ่ า อยู ่ ต ้ อ งสร้ า งการ เปลี่ ย นแปลงที่ ชุ ม ชนให้ พึ่ ง ตนเองเป็ น หลั ก ให้ชม ุ ชนสร้างรูปธรรมการพัฒนาร่วมกัน”
ชายฝัง่ ทะเลอันดามัน ชุมชนบ้านน�ำ้ เค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกัว่ ป่า จ.พังงา เช้าวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ช่วงส่งท้ายปีเก่าต้อนรับ ปีใหม่ เป็นวันทีอ่ ากาศสดใส ท้องฟ้าสีสดและหมูเ่ มฆทีแ่ ต่งแต้มผืนน�ำ้ ทะเลให้เป็นสีฟา้ อมเขียว เรือประมงพืน้ บ้านริมชายฝัง่ จอดอยูเ่ รียงรายทอดยาวอยูก่ ว่า 300 ล�ำ ขณะนัน้ อยูใ่ นช่วงทีช่ าวประมงหลายคนก�ำลังเก็บเครือ่ งมือหา ปลา บ้างก็กำ� ลังท�ำความสะอาดเรือและเก็บเรือขึน้ ชายฝัง่
Tsunami : waves of reform
ไม่มใี ครได้ฟงั ข่าวหรือประกาศใดๆ จากทัง้ วิทยุและโทรทัศน์ เพราะทุกคนก�ำลังง่วนกับการท�ำงานหลายคนคงก�ำลังคิดวางแผนไป เยีย่ มญาติในวันหยุดทีจ่ ะถึงอีกไม่กวี่ นั และแล้ว ก็มบี างสิง่ บางอย่างที่ บ่งบอกถึงความผิดปกติเกิดขึน้ หลังจากทีช่ าวประมงบางคนทักว่า ท�ำไมน�ำ้ ทะเลจึงลดฮวบเร็วกว่าปกติ ทัง้ ๆ ทีเ่ ป็นช่วงลมทะเลทีน่ ำ�้ ทะเล จะสูงเพือ่ ให้เรือลอยเข้าชายฝัง่
นัน่ !! ท�ำไมคลืน่ ทีม่ านัน่ สูงเท่าก�ำแพง เป็นแนวยาวทัง้ ทะเล!!
ไม่ทนั สิน้ เสียงทัก เสียงตะโกนโหวกแหวกก็ดงั ขึน้ ทุกคนต่างวิง่ หนีเอาตัวรอดเมือ่ ได้ยนิ ค�ำว่าคลืน่ ยักษ์ถล่ม ไมตรี จงไกรจักร์ หนึง่ ในชาวบ้านชุมชนบ้านน�ำ้ เค็ม ก�ำลังนัง่ คุยกันอยูก่ บั เพือ่ นๆ ชาวประมงพืน้ บ้าน มองเห็นคลืน่ ทีก่ อ่ ตัวเหมือน ก�ำแพงสูง ก็รบี บอกให้ทกุ คนวิง่ หนีให้หา่ งชายทะเล ตัวเขาเองและ ครอบครัวรีบวิง่ ไปยังบ้านทีอ่ ยูห่ า่ งจากชายฝัง่ และวิง่ ขึน้ ไปยังชัน้ สองอย่าง ทุลกั ทุเล ขณะนัน้ พ่อของเขาวิง่ กลับลงไปชัน้ ล่างเพือ่ ปิดประตู ด้วยความ เป็นห่วงทุกคนในครอบครัว โดยไม่ฟงั เสียงตะโกนห้าม เมือ่ พ่อก�ำลังวิง่ กลับขึน้ มาบนบ้าน คลืน่ ก็ซดั ทะลุผา่ นเข้าตัวบ้านและพาร่างพ่อของเขา จมหายไป เขากล่าวว่าไม่มคี รัง้ ไหนทีจ่ ะสะเทือนใจเท่าครัง้ นี้ ขณะทีต่ ะโกนหาพ่อ ทุกคนพลันนึกได้วา่ หลานชายอีกคนทีข่ อ อนุญาตไปตกปลาทีช่ ายทะเลตัง้ แต่เช้าก็ยงั ไม่กลับมา ยิง่ ท�ำให้เหตุการณ์ เลวร้ายลงเรือ่ ยๆ
271
272
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
เวลาผ่านไปราว 15 นาที คลืน่ ก็ไหลกลับลงสูท่ ะเล เมือ่ ทุกอย่าง เงียบสงบอีกครัง้ ภาพใหม่กเ็ ข้ามาแทนที่ ภายในหมูบ่ า้ นเต็มไปด้วยซาก ปรักหักพัง ทางเดิน บ้านคน กองขยะปะปนกันแทบจะแยกไม่ออก เขา เดินตามหาพ่อด้วยความกระวนกระวาย ไมตรีนำ� ร่างของพ่อยกขึน้ บ่าและวิง่ ขึน้ ชัน้ บน ทุกคนร้องตะโกน เรียกพ่อกันวุน่ วายไปหมด เมือ่ แน่ใจว่าช่วยชีวติ พ่อไม่ได้แล้ว เสียงร�ำ่ ให้ ของทุกคนก็ดงั ขึน้ เรือ่ ยๆ เมือ่ คลืน่ ยักษ์สงบลง ทุกคนเร่งมือส�ำรวจเส้นทางเพือ่ อพยพผู้ รอดชีวติ แต่มผี สู้ งู อายุ 4-5 คน คนตาบอด 2 คน ศพพ่ออีกหนึง่ ทุก คนก�ำลังอยูใ่ นช่วงสับสนไม่รจู้ ะจัดการอย่างไร ไมตรีได้สติและตะโกนบอกให้ทกุ คนช่วยกันต่อแพเพือ่ เคลือ่ นย้าย ศพและคนบาดเจ็บออกจากพืน้ ทีอ่ ย่างรวดเร็ว โดยน�ำซากกระชังเลีย้ ง ปลาทีค่ ลืน่ ซัดมาติดข้างบ้าน น�ำแผงเหล็ก ไม้กระดานและกล่องโฟม ขนาดใหญ่ มาต่อเป็นแพอย่างรวดเร็ว ไมตรีบอกทุกคน “ไปรวมกันทีว่ ทิ ยาลัยการอาชีพตะกัว่ ป่าก่อน นะ แล้วค่อยว่ากัน” จากนัน้ ไมตรีและพีช่ าย รวมถึงคนทีเ่ หลือเดินกลับเข้าไปใน พืน้ ทีต่ ามหาหลานชายอีกรอบ ก่อนค�ำ่ ทุกคนรีบกลับเข้ามาเพือ่ วางแผน จัดการเรือ่ งศพ ให้ญาตินำ� ไปบ�ำเพ็ญกุศลทีจ่ งั หวัดนครศรีธรรมราชซึง่ เป็นบ้านเกิดของพ่อ
Tsunami : waves of reform
ราวเทีย่ งคืน ทุกคนยืนส่งผูท้ จี่ ากไป ด้วยจิตใจทีห่ ดหูแ่ ละมืด แปดด้าน สูก ่ ารเปลีย ่ นผ่าน แม้ไมตรีจะเป็นหนึง่ ในผูป้ ระสบภัยจากคลืน่ ยักษ์สนึ ามิ แต่ใน ช่วงเวลานัน้ เขาเป็นหนึง่ ในสมาชิกองค์การบริหารส่วนต�ำบล ซึง่ ชาวบ้าน ทีเ่ ดือดร้อนจากภัยพิบตั หิ วังพึง่ พา หลายคนถามเขาว่า จะช่วยเหลือ อะไรได้บา้ ง หลายคนต�ำหนิ ต่อว่าต่อขาน เพราะก�ำลังเดือดร้อนทัง้ ข้าว ปลาอาหาร ทีน่ อน ทีพ่ กั การตามหาคนหาย ฯลฯ ด้วยภาระอันหนัก อึง้ นีท้ ำ� ให้เขาต้องวางปัญหาของตัวเองไว้กอ่ น และตัง้ หลักอยูท่ ที่ ำ� การ องค์การบริหารส่วนต�ำบลบางม่วง ใครมาปรึกษาก็จะได้พบเจอ “ต้อง ดูแลเขาเพราะเราเป็นนักการเมือง เขาเลือกเรามา” นีค่ อื สิง่ ทีด่ งั ก้อง อยูใ่ นใจของเขา สามวันแห่งวิบากกรรมผ่านไปอย่างอลหม่านและสับสน บ่าย วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ขณะทีภ่ ายในทีท่ ำ� การองค์การบริหารฯ บางม่วง ก�ำลังวุน่ วายกับการยกของรับบริจาคอยู่ มีชาย-หญิง 3-4 คน ซึง่ ดูจากการแต่งกายแล้วไม่คนุ้ ว่าเป็นคนในพืน้ ที่ บ้างใส่ผา้ พันคอ บ้างใส่ ผ้าถุงเดินตรงเข้ามาหาไมตรี เมือ่ ได้สนทนากับคนกลุม่ นี้ จึงทราบว่าพวกเขาต้องการเข้ามา ช่วยเหลือและอยากจะรวมคนให้มาอยูด่ ว้ ยกันมากทีส่ ดุ ซึง่ ตรงกับความ ต้องการของไมตรี เขาจึงได้เสนอว่า
273
274
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
“เอาคนมารวมอยูด่ ว้ ยกันครับ ถึงจะดูแลทุกคนได้ และต้องท�ำ ส้วมกับห้องน�ำ้ ครับพี”่ เมือ่ สิน้ สุดการสนทนา ทัง้ หมดก็ขอตัวกลับ ก่อนกลับ พวกเขา ย�ำ้ ว่า ถ้าพรุง่ นีม้ หี อ้ งน�ำ้ ต้องไปพาคนมารวมกัน ไมตรีตอบตกลงโดยที่ ไม่มนั่ ใจว่าคนกลุม่ นีจ้ ะท�ำได้ตามทีบ่ อกได้หรือไม่ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ปรีดา คงแป้น จ�ำนงค์ จิตรนิรตั น์ จากมูลนิธชิ มุ ชนไท สมภพ พร้อมพอชืน่ บุญ จากสถาบัน พัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และทีมงานอีกหลายคน ทัง้ หมดชวนกันไป หาสถานทีจ่ ดั ตัง้ ศูนย์พกั ชัว่ คราว เราเดินไปข้างทีท่ ำ� การองค์การบริหาร ส่วนต�ำบลบางม่วง ซึง่ เป็นพืน้ ทีข่ องกรมอุตสาหกรรมพืน้ ฐานและการ เหมืองแร่ มีบริเวณกว้างพอทีจ่ ดั ตัง้ ศูนย์พกั ได้ เช้าวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 ไมตรีมาทีท่ ำ� การองค์การ บริหารส่วนต�ำบลบางม่วง ภาพทีเ่ ห็นท�ำให้ทกุ คนแทบไม่เชือ่ สายตา มีคน มาร่วมสร้างห้องน�ำ้ ห้องส้วม เริม่ กางเต็นท์ โดยมีการออกแบบผังการวาง ระบบทุกอย่างเพือ่ ป้องกันเรือ่ งปัญหาระบบน�ำ้ เสีย และสุขอนามัย ไมตรีออกไปติดต่อชาวบ้านด้วยความมั่นใจมากขึ้น ศูนย์พัก ชัว่ คราวเกิดขึน้ อย่างรวดเร็ว เพราะมีการออกแบบผังบริเวณการอยูร่ ว่ ม กันอย่างเป็นระบบ ซึง่ จะใช้กติกา จัดระบบตัง้ แต่แรกเข้ามาอยูร่ ว่ มกัน ใครมาก่อน อยูก่ อ่ น โดยการจัดเป็นหมู่ เหมือนหมูล่ กู เสือ สิบครอบครัว มีหวั หน้าหนึง่ คน และสิบหมูเ่ ป็นหนึง่ หมวดหรือโซน จากนัน้ ต้องส่งตัว แทนจากทุกหมู่ท�ำหน้าที่ส่วนกลางที่ก�ำหนดขึ้นร่วมกัน เช่น ทีมรับ
Tsunami : waves of reform
บริจาค ทีมรักษาความปลอดภัย ทีมแม่ครัว ทีมสุขอนามัย ทีมประสาน งาน โดยจะประชุมกันทุกวันเพือ่ สรุปปัญหา แนวทางแก้ปญ ั หา และ องค์กรสนับสนุน พร้อมทัง้ เป็นทีป่ รึกษาในการแก้ปญ ั หาของศูนย์พกั ชัว่ คราว ช่วงนีเ้ ป็นหัวใจหลักของการพัฒนาคน จากผูป้ ระสบภัย เปลีย่ น ผ่านกลายเป็นผูท้ ลี่ กุ ขึน้ มาบริหารจัดการตนเอง จากการลงมือ เริม่ มอง เห็นบทบาทของกันและกัน มองเห็นงานทีท่ ำ� ร่วมกัน มองเห็นปัญหา และแนวทางแก้ปญ ั หาในชุมชน หลายคนพูดติดตลกว่า “เดินแขวนป้ายไปมาในศูนย์แล้วมัน รูส้ กึ ดี” เพราะการท�ำป้ายแขวนคอไว้วา่ ใครท�ำหน้าทีอ่ ะไร ใครต�ำแหน่ง ไหน เป็นจุดเปลีย่ นบทบาทของคนในช่วงวิกฤต และท�ำให้หลายคนกลาย เป็นคนทีร่ บั ผิดชอบต่อหน้าทีแ่ ละบทบาททีไ่ ด้รบั มอบหมายมากขึน้ ไมตรีมีป้ายแขวนคอที่เขียนว่า “ผู้ประสานงานชุมชนบ้าน น�ำ้ เค็ม” เมือ่ ศูนย์พกั ชัว่ คราวจัดระบบลงตัวได้ระดับหนึง่ แล้ว เย็นวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2548 ไมตรีกเ็ ดินทางออกจากศูนย์พกั ชัว่ คราวโดย ไม่บอกกล่าวใครเป็นเวลา 4 วัน เพือ่ ไปจัดการงานศพพ่อของเขาที่ จังหวัดนครศรีธรรมราชแล้วจึงกลับมารับภาระต่อจากวันนัน้ ถึงปัจจุบนั
275
276
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
บทเรียนราคาแพง สูก ่ องทุนผูป ้ ระสบภัย ศูนย์พกั ชัว่ คราวเริม่ ลงตัวมากขึน้ แล้ว มีการจัดระบบ มีคณะ กรรมการในศูนย์ทำ� งานกันอย่างเป็นระบบขึน้ เรือ่ ยๆ แต่สงิ่ หนึง่ ทีย่ งั แก้ ปัญหากันไม่ตก คือ การจัดการกับเงินบริจาค ในช่วงแรกของการจัดตัง้ ศูนย์พกั ชัว่ คราว ไมตรีเล่าว่า ได้นงั่ มอง คนทีเ่ ข้ามาบริจาคเงินในศูนย์พกั ชัว่ คราว คนแล้วคนเล่า กลุม่ แล้วกลุม่ เล่า มีทงั้ คนทีเ่ ข้ามาแจกเป็นรายวัน รายชัว่ โมง สัง่ ให้ผปู้ ระสบภัยเข้าแถวบ้าง นั่งลงบ้าง บางคนได้รับเงินบริจาควันละ 500 –10,000 บาทต่อ ครอบครัว แต่กระนัน้ เงินทีไ่ ด้มา ก็ไม่ได้ทำ� ให้ชาวบ้านรูส้ กึ ว่าพอ เมือ่ เป็นเช่นนี้ เราในฐานะคณะกรรมการศูนย์กค็ ดิ ว่าจะท�ำอย่างไร ทีจ่ ะท�ำให้ คนได้รบั เงินบริจาคอย่างเท่าเทียม ไม่ทะเลาะกัน จึงมีมติในทีป่ ระชุมของ คืนหนึง่ ให้จดั ตัง้ กล่องรับบริจาคเข้ากองกลาง เมือ่ รวบรวมเงินบริจาคเข้ากองกลางได้มา 1,400,000 บาท ชาวบ้านในทีป่ ระชุมมีขอ้ เสนอให้แบ่งเงินเท่าๆ กัน คณะกรรมการก็จำ� ต้องยอมเพราะเป็นมติทปี่ ระชุมแล้ว โดยมีกำ� นันคนหนึง่ ท�ำหน้าทีแ่ จก เงินให้กบั ชาวบ้านครอบครัวละ 900 บาท โดยมีประเด็นการหาเสียง หรือเรือ่ งการเมืองเข้ามาเกีย่ วข้องกับเงินก้อนนี้ ท�ำให้หลายคนไม่พอใจ ต่อมา ก�ำนันคนนี้ถูกตั้งข้อสังเกตและต่อว่า เพราะมีชาวบ้านหลาย ครอบครัวทีไ่ ม่ได้เงิน จากนัน้ ปัญหาก็ลกุ ลามเป็นความขัดแย้งไปอีก หลายประเด็น
Tsunami : waves of reform
บทเรียนราคา 1,400,000 บาท เป็นความผิดพลาดส�ำคัญ ส�ำหรับคณะกรรมการ จนต้องน�ำเข้าหารือในทีป่ ระชุม โดยมีขอ้ สรุปว่า ให้ปดิ การรับบริจาคกองกลาง จัดตัง้ กลุม่ ออมทรัพย์เพือ่ เตรียมการพัฒนา เป็นกองทุนหมุนเวียน โดยมอบหมายให้ทมี ประสานงานเจรจากับผูม้ าบ ริจาคว่า ชาวบ้านต้องการบริหารเงินบริจาค ให้เป็นกองทุนหมุนเวียน เพือ่ ส่งเสริมอาชีพ หลายหน่วยงาน หลายองค์กร มีทงั้ ทีเ่ ห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ทีไ่ ม่เห็นด้วยก็ขอบริจาคตามความคิดเดิมของตัวเอง แต่แล้วการเดิน บริจาคโดยตรงก็ตอ้ งถอยร่นกลับมา เพราะถึงแม้จะน�ำเงินมามากเท่าใด ก็ยงั แจกเงินให้ชาวบ้านไม่ครบทุกครอบครัว จึงถูกชาวบ้านต่อว่ากลับ ท�ำให้ผบู้ ริจาคบางคนถึงกับร้องไห้กลับไปก็มี เย็นวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2548 ทีป่ ระชุมเริม่ เห็นความจริง ของเงินบริจาคว่า การให้แบบรายคน รายครอบครัว ไม่สามารถอยูอ่ ย่าง ยัง่ ยืนได้ จึงคิดทีจ่ ะตัง้ กองทุนหมุนเวียน โดยเริม่ จากกลุม่ แรก คือ กลุม่ สภากาแฟ ด้วยการลงทุนร่วมกันคนละ 100 บาท ได้เงินมาจ�ำนวนหนึง่ เราก็เอาไปเปิดเป็นสภากาแฟชุมชนสายสัมพันธ์ สภากาแฟเป็นเครือ่ งมือทีใ่ ห้ทกุ คนมีทนี่ งั่ คุย แลกเปลีย่ นกัน เกีย่ วกับปัญหาต่างๆ และหาทางแก้ไขร่วมกัน ขณะเดียวกันก็เริม่ มีการ คิดถึงเรือ่ งกลุม่ อาชีพ การทีผ่ เู้ ดือดร้อนรวมกลุม่ กันท�ำโครงการ พร้อมทัง้ จัดตัง้ ระบบ ออมเงินของกลุม่ ตนเองขึน้ ท�ำให้ผสู้ นับสนุนเห็นความส�ำคัญ จึงเกิดเป็น
277
278
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
รูปแบบการท�ำงานทีใ่ ห้แต่ละกลุม่ คิดโครงการ แล้วเขียนเสนอต่อคณะ กรรมการศูนย์ประสานงาน เมือ่ คณะกรรมการพิจารณาแล้วจึงประสาน ต่อไปยังแหล่งทุน ซึง่ ต่อมาพัฒนาเป็น “ศูนย์ประสานงานชุมชนบ้าน น�ำ้ เค็ม” ขึน้ อย่างเป็นรูปเป็นร่าง การก่อเกิดกลุม่ อาชีพก็เกิดขึน้ เรือ่ ยๆ จาก 1 กลุม่ ขยายเป็น 20 กลุม่ อาชีพ แล้วจากกลุม่ อาชีพหลายๆ กลุม่ ก็รวมกันขึน้ มาท�ำออม ทรัพย์กลุม่ อาชีพทุกกลุม่ ท�ำให้มเี งินออมจ�ำนวนมาก แต่ยงั ขาดระบบ การจัดการ ต่อมา จึงมีการรวมตัวกัน ก่อตัง้ ธนาคารชุมชนบ้านเค็ม 100 วันสึนามิ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2548 เป็นวันทีธ่ นาคาร ชุมชนบ้านน�ำ้ เค็มเปิดตัวครัง้ แรก ธนาคารชุมชนเป็นกระบวนการจัด ระบบการเงินเพือ่ ให้มรี ะบบการบริหารจัดการทีม่ รี ปู แบบและถูกต้องตาม หลักการบริหารการเงิน กลุม่ เรือหัวโทงสึนามิ เกิดจากการพูดคุยกันในสภากาแฟให้ ก�ำเนิดแนวคิดการสร้างอูเ่ รือ โดยมีเครือข่ายความร่วมมือฟืน้ ฟูชมุ ชน ชายฝัง่ อันดามัน น�ำโดย ภาคภูมิ วิธานติรวัฒน์ เข้ามาสนับสนุนด้าน การเงิน เป็นการประสานแหล่งทุนในการสนับสนุนการซ่อมสร้างเรือ กระบวนการสร้างเรือเกิดขึน้ โดยสมาชิกในศูนย์และพีน่ อ้ งจาก สมาพันธ์ประมงพืน้ บ้าน ต่อมา มีหลายหน่วยงานเข้ามาสนับสนุน ทัง้ เครือซิเมนต์ไทย โตโยต้า DOW CHEMICALS สถานทูตนอร์เวย์ JVC สมาคมบริษทั หลักทรัพย์และสภาธุรกิจตลาดทุนไทย
Tsunami : waves of reform
เสียงเลือ่ ย กบ ค้อน ขวาน ดังไปทัว่ ทัง้ อูต่ อ่ เรือ และนีก่ เ็ ป็น หนึง่ ในความภูมใิ จทีเ่ กิดจากการริเริม่ ของคนในชุมชน (ศูนย์พกั ชัว่ คราว) เอง อันเป็นจุดเริม่ ต้นของกลุม่ อาชีพอืน่ ๆ อีกหลายกลุม่ โดยใช้ทนุ จาก กองทุนหมุนเวียนทัง้ หมด สร้างบ้าน สร้างชุมชน เมือ่ รัฐบาลประกาศจะสร้างบ้านให้ทกุ ครอบครัว ทีม่ เี อกสาร สิทธิท์ ดี่ นิ เป็นของตนเอง โดยมอบหมายให้ ทหารเป็นหน่วยสร้างบ้าน ซึง่ มีแบบบ้าน 2 แบบคือ ขนาด 6x6 เมตร และขนาด 4x9 เมตร โดย ผูป้ ระสบภัยรอหิว้ กระเป๋าเข้าอยูไ่ ด้ทนั ที หากครอบครัวไหนมีสมาชิกเกิน 5 คนจะสร้างให้ทพี่ รุเตียว ซึง่ ห่างจากบ้านน�ำ้ เค็ม 10 กิโลเมตร หรือ สร้างทีบ่ างม่วงให้อกี หลัง โดยห่างจากบ้านน�ำ้ เค็มเดิม 4 กิโลเมตร ในช่วงทีจ่ ะมีการสร้างบ้าน ไมตรีเล่าว่าหลายคนมาบ่นกับเขาว่า “มันวุน่ วายเหลือเกินกับการสร้างบ้านใหม่ให้พวกเรา ตอนแรก บอกว่า ห้ามสร้าง หากไม่มกี รรมสิทธิ์ อันตรายอยูใ่ กล้ชายน�ำ้ จะสร้าง ให้ใหม่ทนี่ นั่ บ้าง ทีน่ บี่ า้ ง หลายที่ ก็ไปไกลไม่รจู้ ะไปอยูห่ รือท�ำกินกัน อย่างไร คนประมงอย่างเราอยูไ่ กลทะเลก็หมดท่า”
279
280
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
“ให้เงินสร้างแค่สามหมืน่ ไม่รคู้ ดิ ออกมาได้อย่างไร สุดท้ายก็ อย่างทีเ่ ห็น เป็นบ้านกล่องบ้าง บ้านกรงนกบ้าง แคบคับจนไม่รจู้ ะอยู่ เข้าไปได้อย่างไร เอกชนสร้างปูพนื้ แผ่นกระเบือ้ ง ฝรัง่ มาติดป้าย ไอ้เรือ่ ง ผังหนีภยั ให้รอดคลืน่ ไม่เห็นท�ำอะไร บางหน่วยงานก็จะสร้างบ้านให้อย่าง เดียว ไม่ฟงั ว่าเราเคยอยูต่ รงไหน สร้างออกมาก็เป็นบ้านทรงกล่องไม้ขดี แถมมีปา้ ยชือ่ ชุมชนใหม่ทไี่ ม่ใช่บา้ นเราอีกแล้ว” ค�ำปรับทุกข์ของคนน�ำ้ เค็มทีจ่ ำ� ต้องรับบ้านหลายร้อยหลัง ที่ หลายหน่วยงานสร้างมาให้ โดยทีไ่ ม่ได้ถามความสมัครใจของผูอ้ ยู่ “จะอยูก่ นั อย่างไร มีหอ้ งเดียว 4 คูณ 9 หรือ 6 คูณ 6 เมตร กับหนึง่ ห้องน�ำ้ บ้านนึงมีพอ่ แม่ลกู สองสามคนก็อยูย่ ากแล้ว เขามีแค่ 2 แบบ ใครเอาก็เอา ไม่เอาก็ชา่ งมัน จะต่อเสริมเติมใหม่กย็ าก ไม่มมี า ถามมาดูหรือปรึกษาพวกเราเลย” ประยูร จงไกรจักร์ พีช่ ายของไมตรี เสนอว่า การจะสร้างบ้าน สร้างแค่ครัง้ เดียว ถึงยังไงก็ตอ้ งสร้างบ้านตามใจผูอ้ ยู่ จึงชวนเพือ่ นพ้อง น้องพีผ่ ปู้ ระสบภัยได้ราว 23 ครอบครัว เข้าไปเจรจาต่อรองกับทหารว่า ขอออกแบบบ้านเอง โดยทีท่ หารจัดวัสดุอปุ กรณ์ให้ เมือ่ ค�ำตอบแรกคือ ไม่ได้ ก็ยงั ไม่ยอ่ ท้อ เฝ้าเพียรเจรจาอยูห่ ลายวัน สุดท้าย ทหารยอมสนับสนุนอุปกรณ์ให้หลังละไม่เกิน 6 หมืน่ บาท ทางทีมทีป่ รึกษาจึงประสานการสนับสนุนจากแหล่งทุนมาให้อกี หลัง ละ 1.4 แสนบาท ท�ำให้การออกแบบบ้านแบบมีสว่ นร่วม และจัดตัง้ กลุม่ สร้างบ้านเป็นกลุม่ แรก
Tsunami : waves of reform
ครัง้ นี้ ท�ำให้ชมุ ชนได้ผนู้ ำ� ใหม่ขนึ้ มาเพิม่ อีกหลายคน อีกกลุม่ หนึง่ คือชาวบ้านในซอยตกปู ทีม่ ตี วั แทนกลุม่ คือ ปาน - ปัญญา อนันตะกูล ซอยตกปูเดิม เป็นบ้านทีอ่ ยูบ่ นพืน้ ทีน่ ำ�้ ทะเล มีสะพานใต้ถุนสูง เด็กๆ และคนในซอยจะตกปูไปขายและไว้กินใน ครอบครัว แต่เมือ่ จะให้ยา้ ยออกไปอยูข่ า้ งนอก ซึง่ เป็นวิถชี วี ติ ทีไ่ ม่คนุ้ ชิน ปานซึง่ เป็นตัวแทนกลุม่ จึงได้เจรจากับหน่วยงานต่างๆ ทีเ่ ข้ามาช่วยเหลือ โดยมีตวั แทนจากเครือข่ายสลัม 4 ภาคกับเครือข่ายต่างๆ พาสถาปนิก ชุมชนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้ามาช่วยออกแบบบ้านตามทีค่ นใน ชุมชนต้องการ พร้อมมีผงั สะพาน บริเวณชุมชนตลอดซอยให้นา่ อยู่ แต่ งบประมาณเพียงแค่แสนเดียวไม่พอส�ำหรับการก่อสร้าง เพราะว่าต้องท�ำ ทั้งสะพาน ทั้งฐานราก เครือข่ายผู้ประสบภัยสึนามิจึงได้จัดสรรงบ ประมาณทีท่ างสมาคมบริษทั หลักทรัพย์และสภาธุรกิจตลาดทุนไทยให้ มาจึงท�ำให้บ้านในซอยตกปูสามารถท�ำได้ตามความต้องการของคน ในชุมชน กลุม่ คนไร้บา้ น เป็นอีกกลุม่ หนึง่ ทีต่ งั้ ค�ำถามกับการสร้างบ้าน ของหน่วยงานต่างๆ และรัฐบาล แต่ยงั มีกลุม่ คนทีไ่ ม่มบี า้ น ซึง่ มีสมาชิก กว่า 100 คน ไม่มบี า้ นจะอยู่ ศักดิด์ า พรรณรังสี หนึง่ ในคณะท�ำงาน ศูนย์ประสานงานบ้านน�ำ้ เค็ม และเป็นผูท้ อี่ าศัยอยูใ่ นบ้านเช่าในชุมชน บ้านน�ำ้ เค็มก่อนจะเกิดภัยพิบตั ิ ซึง่ พยายามเข้าไปประสานงานกับหน่วย งานรัฐในช่วงแรก แต่ได้รบั การปฏิเสธการช่วยเหลือ เพราะไม่มนี โยบาย ช่วยเหลือคนบ้านเช่า ท�ำให้พวกเขาไม่มสี ทิ ธิท์ จี่ ะมีบา้ น
281
282
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ในกลุ่มจึงได้ส�ำรวจและลงทะเบียน ชักชวนกันท�ำกลุ่มออม ทรัพย์ ช่วยกันคิดหาวิธใี นการแก้ปญ ั หา ทัง้ เจรจา น�ำปัญหาเข้าไปปรึกษา หารือกับเครือข่าย จนต่อมารัฐบาลเริม่ สร้างบ้านถาวรนอกพืน้ ทีบ่ า้ นน�ำ้ เค็มจ�ำนวนมากประมาณ 1,000 หลัง ก็มคี วามหวังว่าจะได้เข้าไปอยูใ่ น บ้านทีเ่ ขาสร้างนี้ แต่ตอ้ งเสียค่าเช่าทีด่ นิ รายปี จึงท�ำให้คนทีล่ งทะเบียน ไว้เริม่ ทยอยลาออก สมาชิกเริม่ ท้อใจ จนกระทัง่ วันหนึง่ จ�ำนง จิตรนิรตั น์ หนึง่ ในทีป่ รึกษาทีเ่ ข้ามา ช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยก็บอกกับทีป่ ระชุมว่า มีทดี่ นิ ขายไร่ละหนึง่ ล้านบาท ขอให้สมาชิกไปดูทดี่ นิ ก่อนว่าพอใจหรือไม่ หากพอใจในทีด่ นิ แล้ว ให้กลุม่ แต่งตัง้ กรรมการเจรจาต่อรองราคาลดลงเหลือไร่ละเก้าแสนบาท ทีด่ นิ ดังกล่าวใช้งบประมาณจากเงินบริจาคขององค์กรต่างๆ ที่ บริจาคผ่านมูลนิธชิ มุ ชนไทส่วนหนึง่ น�ำมาสร้างเป็นพืน้ ทีส่ ว่ นกลางของ ชุมชน เช่น ศูนย์ชมุ ชน ท�ำถนน จากนัน้ กลุม่ ได้กเู้ งินจาก พอช. เพือ่ ซื้อที่ดินสร้างบ้านให้แก่สมาชิก เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการเป็น เจ้าของทีด่ นิ และบ้าน โดยวิธกี ารผ่อนช�ำระเป็นรายเดือน ระยะเวลา 15 ปี โดยให้ผอ่ นช�ำระกับกลุม่ และกลุม่ ผ่อนช�ำระคืนให้กบั พอช. อีกทอดหนึง่ เมื่อกลุ่มแรกเดินหน้าไปได้ กลุ่มถัดมาซึ่งเป็นคนที่ยังตกค้าง ไร้ทอี่ ยูอ่ าศัย หรือครอบครัวขยาย ก็ได้ทยอยรวมตัวกันเพือ่ สร้างบ้าน เช่นกัน โดยได้รับความร่วมแรงร่วมใจจากสมาชิกกลุ่มแรกๆ ด้วย และแล้วสมาชิกทัง้ สองกลุม่ ก็ชว่ ยกันสร้างบ้านของตนเองจนแล้วเสร็จ
Tsunami : waves of reform
ชุมชนต้องเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบต ั ิ ในช่วงทีอ่ ยูศ่ นู ย์พกั ชัว่ คราว เกิดแผ่นดินไหวอีกนับครัง้ ไม่ถว้ น เมือ่ เกิดแผ่นดินไหวทุกครัง้ ชาวบ้านต่างก็ตน่ื ตระหนกโกลาหลกันไปหมด “กว่า 3 ปี ทีต่ อ้ งวิง่ หนีแม้แผ่นดินจะไหวทีไ่ หนก็ตาม แล้วเรา จะอยูก่ นั อย่างไร แล้วแผ่นดินไหวทีหนึง่ เราวิง่ กันแบบนี้ ไม่เป็นโรคจิต กันทัง้ หมูบ่ า้ นหรือ” นีเ่ ป็นค�ำถามทีค่ ณะกรรมการศูนย์ประสานงานและแกนน�ำชุมชน ตัง้ ค�ำถามและพยายามหาค�ำตอบอยูต่ ลอดมา เมือ่ ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบตั แิ ห่งเอเชีย - ADPC (Asian Disaster Preparedness Center) เชิญแกนน�ำเข้าร่วมอบรม หลักสูตร ชุมชนเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบตั ิ ท�ำให้เห็นแนวทางของการ เตรียมพร้อมชุมชนในการรับมือภัยพิบตั ิ การประชุมขององค์กรสนับสนุน อย่างเป็นทางการเกิดขึน้ อีกครัง้ ในปี พ.ศ. 2550 “องค์กรภาคีสนับสนุนในน�ำ้ เค็ม ควรหาทางสนับสนุนให้ชมุ ชน เตรียมพร้อมรับมือภัยพิบตั ิ เพราะจะพัฒนาอะไรก็ไม่ยงั่ ยืนหากชุมชน ต้องคอยวิง่ หนีแผ่นดินไหวตลอดเวลา” ไมตรีพดู ในทีป่ ระชุมทุกครัง้ เกีย่ วกับการทีช่ มุ ชนต้องรับมือกับ ภัยพิบตั ใิ ห้ได้ดว้ ยชุมชนเอง
283
284
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
มี 13 องค์กรที่พร้อมสนับสนุนให้ชุมชนขับเคลื่อนเรื่องนี้ องค์กรหลักๆ เช่น แอ็คชั่นเอดประเทศไทย มูลนิธิรักษ์ไทย มูลนิธิ อันดามัน มูลนิธชิ มุ ชนไท ส�ำนักงานและป้องกันและบรรเทาสาธารณะ ภัยจังหวัดพังงา และอื่นๆ ร่วมกันจัดท�ำข้อมูลชุมชน แผนที่ชุมชน และพัฒนาอาสาสมัคร จัดท�ำแผนเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติ ขับเคลือ่ นแผนเตรียมพร้อมป้องกันภัยเช่นจัดท�ำป้ายบอกทาง จัดหา เครือ่ งมือสือ่ สาร เสือ้ ชูชพี เสือ้ สะท้อนแสง จุดปลอดภัย แผนทีเ่ ส้นทาง อพยพหลบภัย และเรือกูภ้ ยั พร้อมทัง้ พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครอย่าง ต่อเนือ่ งจนท�ำให้ชมุ ชนได้รบั รางวัลมากมาย และกลายเป็นพืน้ ทีแ่ ห่งการ เรียนรูใ้ ห้เครือข่ายชุมชนและองค์กรระหว่างประเทศด้วย บทเรียนจากอดีต ชีใ้ ห้เห็นถึงการบริหารจัดการภัยพิบตั ใิ นหลาย เรือ่ ง ทัง้ ส่วนดีทคี่ วรน�ำไปเป็นแบบอย่าง และส่วนทีค่ วรจะต้องปรับปรุง หากมีเหตุการณ์เกิดขึน้ ปี พ.ศ. 2557 มีการท�ำกระบวนการทบทวนในพืน้ ทีเ่ ป้าหมาย 8 พืน้ ที่ เพือ่ ท�ำความเข้าใจและทบทวนแผนเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบตั ิ โดยชุมชน และคัดเลือกพืน้ ทีพ่ ฒ ั นาเป็นพืน้ ทีต่ น้ แบบเพิม่ ใน 2 ต�ำบล คือ ต�ำบลบางวัน และต�ำบลเกาะยาวน้อย เน้นการจัดเวทีให้ความรู้ การ จัดกระบวนการท�ำแผนอย่างมีสว่ นร่วม ทบทวนแผน พัฒนาแผน พัฒนา อาสาสมัครอย่างมืออาชีพ กระบวนการดังกล่าวท�ำให้ผวู้ า่ ราชการจังหวัดพังงา ผ่านงบ ประมาณสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ�ำนวน
Tsunami : waves of reform
400,000 บาท เพือ่ หนุนเสริมเรือ่ งการขับเคลือ่ นแผนเช่นการจัดหา อุปกรณ์ เครือ่ งมือทีจ่ ำ� เป็น และขยายพืน้ ทีเ่ พิม่ อีก 4 ต�ำบล จังหวัดพังงาแต่งตัง้ กรรมการขับเคลือ่ นภัยพิบตั ขิ นึ้ มา โดยมีชดุ อ�ำนวยการ มีผวู้ า่ ราชการจังหวัดเป็นประธาน นายอ�ำเภอทุกอ�ำเภอ ผูบ้ ริหารท้องถิน่ ทีป่ ฏิบตั กิ ารทุกพืน้ ที่ หน่วยงานทีเ่ กีย่ วข้องและคณะ ท�ำงานภัยพิบตั ชิ มุ ชนเป็นกรรมการ โดยจัดประชุมชีแ้ จงโครงการ มอบ นโยบาย และทิศทางการขับเคลือ่ นการจัดการภัยพิบตั โิ ดยชุมชน เพือ่ ให้ เกิดความร่วมมือในระดับพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร และแต่งตัง้ คณะท�ำงานขับ เคลือ่ นขึน้ มา 1 ชุด เพือ่ ให้ลงพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร มีคณะท�ำงานภัยพิบตั เิ ป็น หลักในการขับเคลือ่ น และส�ำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดพังงา (ปภ.จังหวัดพังงา) เป็นทีมงาน จากพื้นที่จัดการภัยพิบัติสู่นโยบายจังหวัดพังงา “พังงาแห่ง ความสุข โดยการจัดการภัยพิบตั ทิ ชี่ มุ ชน” เมือ่ มีนโยบายและงบประมาณ สนับสนุนในจังหวัด การขับเคลือ่ นการจัดการภัยพิบตั กิ เ็ ดินหน้าได้อย่าง กว้างขวางขึน้ บางพืน้ ทีอ่ าจเป็นเพียงเวทีทำ� ความเข้าใจ บางพืน้ ทีอ่ าจ เป็นกระบวนการพัฒนาอาสาสมัคร บางพืน้ ทีอ่ าจเป็นการจัดท�ำแผน และบางพืน้ ทีท่ ำ� ทัง้ กระบวนการและระบบทีเ่ ข้มข้นขึน้ ด้วยความหลากหลายต่างๆ ทีต่ อ้ งยกระดับและพัฒนาอย่าง ต่อเนือ่ ง ท�ำให้คณะท�ำงานผลักดันให้การจัดการภัยพิบตั โิ ดยชุมชน บรรจุ อยูใ่ นแผนยุทธศาสตร์จงั หวัดทีจ่ ะสามารถท�ำงานได้ตอ่ ไป
285
286
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
สูเ่ ครือข่ายผูป ้ ระสบภัยสึนามิ ร่วมผลักดันปัญหาเพือ ่ คนจน เมือ่ ครบหนึง่ เดือน ศูนย์พกั ชัว่ คราวบางม่วงมีการจัดระบบ ต่างๆ สามารถจัดการกับปัญหาทีเ่ ข้ามาได้ดพี อสมควร แต่ยงั มีอกี หลาย ชุมชนทีผ่ ปู้ ระสบภัยยังขาดปัจจัยต่างๆ เช่น น�ำ้ ดืม่ ข้าวสาร อาหารแห้ง นมเด็ก ในศูนย์บางม่วงจะรับของบริจาคเหล่านี้ และน�ำไปกระจายต่อยัง ศูนย์ประสบภัยแหล่งอืน่ เช่น บ้านในไร่ ซึง่ อยูด่ า้ นในห่างจากถนนใหญ่ เข้าไปประมาณ 5 กิโลเมตร ชาวบ้านยังไม่มเี สือ่ ไม่มผี า้ ห่ม ไม่มนี มให้ เด็ก ไม่มมี งุ้ ไม่มขี า้ วสาร ทางกลุม่ จึงได้รวบรวมผูป้ ระสบภัยเหล่านีใ้ น อีกหลายๆ ชุมชน เพือ่ ประสานงานให้เกิดการเชือ่ มโยงและช่วยเหลือกัน ในเบือ้ งต้น วันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2548 ได้มกี ารนัดประชุมแลกเปลีย่ น ประสบการณ์การท�ำงานในเดือนทีผ่ า่ นมา เราก็รวู้ า่ มีพนื้ ทีท่ ยี่ งั ไม่ได้รบั ความช่วยเหลือเลย ดังนัน้ ข้อสรุปของทีป่ ระชุมจากตัวแทนของ 18 ชุมชน จัดท�ำข้อเสนอร่วมกันต่อรัฐบาลเกีย่ วกับแนวทางการแก้ปญ ั หา ของชาวบ้าน ทีป่ ระชุมยังมีขอ้ เสนอให้ทกุ พืน้ ทีช่ ว่ ยกันบริจาคของบริจาค ทีไ่ ด้รบั มาต่อไปยังชุมชนอืน่ อันเป็นเรือ่ งใหม่ทสี่ ง่ สัญญาณว่า พวกเรา จะดูแลซึง่ กันและกัน จากครัง้ แรกของการประชุมในนามเครือข่าย มีการประชุมกัน ทุกเดือนและยังมีสมาชิกชุมชนผูป้ ระสบภัยเพิม่ ขึน้ เรือ่ ยๆ การประชุม
Tsunami : waves of reform
แต่ละครัง้ จะมีขอ้ เสนอกับนโยบาย ซึง่ ผูแ้ ทนรัฐบาลจะลงพืน้ ทีก่ ระจาย อยูใ่ นทุกจังหวัดช่วงนัน้ การเจรจาต่อรองจึงเกิดขึน้ ในทุกช่วงขณะ เช่น การเจรจาเพือ่ ให้ผปู้ ระสบภัยกลับเข้าไปอยูใ่ นพืน้ ทีเ่ ดิมก่อน และการ สร้างบ้านให้ชาวบ้านออกแบบบ้านเอง เป็นต้น พลเอกเชาวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น เดินทางมารับข้อเสนอของเครือข่ายผูป้ ระสบภัยสึนามิ ทีศ่ นู ย์พกั ชัว่ คราว บางม่วง โดยการประสานงานของคุณสมสุข บุญญะบัญชา ผูอ้ ำ� นวยการ สถานบันองค์กรพัฒนาชุมชน (พอช.) ในสมัยนัน้ ผูป้ ระสบภัยทุกคนต่าง ตืน่ เต้นทีไ่ ด้พบและพูดคุยกับรองนายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี ซึง่ ได้ให้นโยบายผ่านสือ่ มวลชนว่า “ผูป้ ระสบภัยทุกคนมีสทิ ธิท์ จี่ ะอยูใ่ น ทีด่ นิ เดิมได้” หลังจากการเจรจาจบลง ผูป้ ระสบภัยจึงกลับไปยึดพืน้ ที่ เดิมของตนเองสร้างบ้านสร้างชุมชนทันที ไมตรีเล่าว่า “การที่ผมได้นั่งทานข้าวโต๊ะเดียวกับรองนายก รัฐมนตรีเป็นการสร้างพลังใจอย่างมาก ท�ำให้รสู้ กึ ว่าสิง่ ทีท่ ำ� มาทัง้ หมด เป็นเรือ่ งใหม่ ลงมือท�ำแล้ว เมือ่ เจอปัญหายังมีชอ่ งทางแก้ไขได้ เมือ่ มีขอ้ เสนอกับนโยบายยังสามารถได้พดู ได้คยุ กับคนระดับรองนายกรัฐมนตรี ผมมีพลังทีจ่ ะเดินหน้าต่ออย่างบอกไม่ถกู การรวมพลังในวันนัน้ จัดขึน้ ทีโ่ รงเรียนตะกัว่ ป่า เสนานุกลู เพือ่ น�ำเสนอสิ่งที่เครือข่ายได้พยายามฟื้นฟูชุมชนมาด้วยชุมชนเอง มีข้อ ปัญหาอุปสรรคอะไรทีร่ ฐั บาลต้องแก้ปญ ั หาให้ตรงกับความเดือดร้อนของ ชาวบ้านบ้าง
287
288
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
จากการท�ำงานร่วมกับผูป้ ระสบภัย และทีมงานพีเ่ ลีย้ ง ท�ำให้ ไมตรีรวู้ า่ ปัญหาส�ำคัญของคนยากไร้ นัน้ มีทงั้ สิทธิในทีท่ ำ� กินและยังมี เรือ่ งสิทธิของความเป็นคนไทยของกลุม่ คนเล็กคนน้อยในสังคม เช่น กลุม่ คนไทยพลัดถิน่ กลุม่ ชาติพนั ธุช์ าวเลอีกด้วย “ผมได้มโี อกาสเข้าร่วมก�ำหนดวางแผนในทุกขัน้ ตอนของการ เคลือ่ นร่วมกับพีน่ อ้ งเครือข่ายไทยพลัดถิน่ พวกเราท�ำทุกอย่างตัง้ แต่เขียน ค�ำอธิบาย แล้วไปส่งในกล่องรับจดหมายของนักการเมืองทุกคน การเชิญ บางคนมาฟังค�ำอธิบาย การมานอนรอเฝ้าการพิจารณากฎหมายหน้า รัฐสภา การใช้สอื่ มวลชนท�ำความเข้าใจกับสังคมอย่างเต็มที่ หัวใจของ เรื่องนี้คือการสื่อสารกับสังคมให้เข้าร่วมผลักดันกฎหมาย และเข้าใจ ความเป็นคนไทยพลัดถิน่ ” หลังจากเหตุการณ์สึนามิ ปัญหาของชาวเลได้ถูกเปิดขึ้นต่อ สาธารณะอย่างทีไ่ ม่เคยเป็นมาก่อน เมือ่ พบว่า มีชาวเลกว่า 21 ชุมชน ถูกรุกรานอย่างหนัก ทัง้ เรือ่ งทีอ่ ยูอ่ าศัย ถึงแม้วา่ มี 10 ชุมชนร่วมแก้ ปัญหากับรัฐให้พออยูไ่ ด้แล้ว แต่กย็ งั มีทฝี่ งั ศพของคนในชุมชนอีกหลาย ชุมชนถูกขุดรือ้ ศพออกเพือ่ สร้างรีสอร์ท บางชุมชนถูกสร้างทับสุสาน บาง ชุมชนหาทีเ่ พือ่ กดดันให้มกี ารแลกเปลีย่ นกับสุสานเพราะอยูใ่ กล้ทะเลสวย บางชุมชนเอาที่ประกอบพิธีกรรมไปเป็นสวนสาธารณะ สร้างพื้นที่ อาบแดดส่วนตัว หรืออืน่ ๆ ปัจจุบนั ปัญหาของคนไทยพลัดถิน่ และชาติพนั ธุช์ าวเล ยัง เป็นประเด็นสาธารณะให้ถกเถียง ต่อสูก้ นั เพือ่ ปกป้องถิน่ ฐานบ้านเกิดที่
Tsunami : waves of reform
อยูม่ าตัง้ แต่บรรพบุรษุ เสียงของคนตัวเล็กๆ ทีพ่ ยายามรักษาทีท่ ำ� กิน ผืนสุดท้าย กับนายทุนผูต้ อ้ งการพืน้ ทีร่ มิ ทะเลอันสวยงามยังคงต้องต่อสู้ กันต่อไป พังงาแห่งความสุข คนพังงาส่วนใหญ่อาจไม่เคยรับรูม้ าก่อนเลยว่า “พังงา” เป็น จั ง หวั ด ที่ มี ค วามสุ ข มากที่ สุ ด ในประเทศไทยติ ด ต่ อ กั น สองปี ใ นปี พ.ศ. 2552 และ 2553 จากรายงานสถานการณ์สขุ ภาพจิตคนไทย ในปี พ.ศ.2551 และการส�ำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ตลอดปี พ.ศ.2552 และ พ.ศ. 2553 อีกทัง้ ผลการส�ำรวจของเอแบคโพล ปี พ.ศ. 2554 ก็สรุปว่า พังงาเป็นจังหวัดทีป่ ระชาชนอยูแ่ ล้วมีความสุขอันดับที่ 3 รองจากจังหวัด สุพรรณบุรแี ละจังหวัดอุตรดิตถ์ “ตกลงความสุขของคนพังงาเริม่ ลดลงแล้วจริงหรือ” ต่อมาปี พ.ศ.2555 และ ปีพ.ศ.2556 จังหวัดพังงามีความสุข อยูอ่ นั ดับที่ 3 รองจากจังหวัดบึงกาฬและจังหวัดแม่ฮอ่ งสอน “คนพังงาควรทวงถาม และค้นหาความสุขทีแ่ ท้จริงจากคนพังงา เองเสียทีแล้ว”
289
290
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
นัน่ คือ บทสรุปของขบวนประชาชนกลุม่ เล็ก ซึง่ ในวงนีม้ ผี เู้ ข้า ร่วมจากหลายภาคส่วน ทีผ่ มเข้าไปเกีย่ วข้องจนได้รบั การยอมรับให้เป็น ผูป้ ระสานงาน “เดินหน้าพัฒนาสูพ่ งั งาแห่งความสุข” “พังงาแห่งความสุข” จึงเป็นวาทกรรมใหม่ทเี่ กิดขึน้ จากวงเล็กๆ แล้วเริม่ ขยายวงไปสูก่ ลุม่ องค์กรชุมชน องค์กรเครือข่ายภาครัฐ ภาค เอกชน และหาฉันทามติรว่ มกัน กระบวนการจึงเริม่ ขึน้ ด้วยการน�ำมติของทุกกลุม่ ทุกเครือข่าย ทุกองค์กร จัดเวทีประกาศเจตนาร่วมกันของคนพังงาทีข่ บั เคลือ่ นสังคม เพือ่ “เดินหน้าพัฒนาสูพ่ งั งาแห่งความสุข” ซึง่ มีผเู้ ข้าร่วมจากทุกภาค ส่วน กว่า 800 คน โดยการน�ำพืน้ ทีร่ ปู ธรรมแห่งความสุข จากเรือ่ งเล็กๆ ประเด็นงานพัฒนาในพืน้ ที่ รวมถึงเศรษฐกิจของคนพังงาทีท่ ำ� ให้คนพังงา มีความสุข ในเวทีนี้ ผูว้ า่ ราชการจังหวัดพังงาเข้าร่วมฟังการน�ำเสนอทิศทาง ของคนพังงา ต่อมาผูว้ า่ ราชการพังงา มอบให้เป็นนโยบายและสนับสนุน งบประมาณ เพือ่ ค้นหาความสุขของคนพังงา ค�ำถามจึงตามมามากมายว่า “จะท�ำอย่างไร จะเริม่ ตรงไหน จะชวนใครมาร่วม จะท�ำกับใคร” ไมตรีและกลุม่ เครือข่ายภาคประชาชนในพังงาจึงสรุปบทเรียน ร่วมกันว่า กระบวนการประชาชน ประชาสังคม และภาคส่วนต่างๆ ของ สังคมต้องท�ำความเข้าใจให้เป็นไปในทางทีส่ อดคล้องกัน จึงมีวงพูดคุยกัน
Tsunami : waves of reform
หลายรอบ และลงมือท�ำโดยการลงพืน้ ทีต่ ำ� บล เพือ่ ค้นหาความสุขของ คนพังงาถึงในพืน้ ที่ โดยรวมคนพังงามีความสุขจริงๆ แต่มบี างสิง่ ทีท่ ำ� ให้ คนพังงาความสุขลดลง เช่น การพัฒนาทีข่ าดการมีสว่ นร่วมในทุกระดับ เรือ่ งการพนันวงเล็กวงน้อยทีม่ ใี นหลายหมูบ่ า้ น และมีเจ้าหน้าทีร่ ฐั บาง คนเข้าไปมีผลประโยชน์อยูด่ ว้ ย การพนันเป็นต้นเหตุหลักๆ ทีส่ ง่ ผลต่อปัญหาสังคมอืน่ ๆ ท�ำให้ มีเสียงสะท้อนอยูเ่ สมอว่า “มัวแต่เล่นไพ่กนั นีแ่ หละจึงไม่มเี วลาดูแลลูก หลาน ท�ำให้ลกู หลานบางคนท้องก่อนวัยอันควร เยาวชนบางคนก็ไม่ได้ กลับบ้านตามเวลา และไปเกีย่ วข้องกับยาเสพติด พ่อแม่บางคนหมดเงิน เพราะการพนัน ท�ำให้เป็นหนี้ หนี้นอกระบบก็เข้ามาแทรกแซงหรือ หนีห้ มวกกันน็อคจึงรุกคืบเข้ามาในหมูบ่ า้ น และบางรายถึงขัน้ บ้านแตก สาแหรกขาด หนีหนี้ เพียงแค่ยกตัวอย่างการพนันอย่างเดียวนะ มันเชือ่ มโยงได้ขนาดนี”้ ตัวแทนชาวบ้านลุกขึน้ เชือ่ มโยงของปัญหาให้เห็นเป็นรูปธรรม “หวยหุ้นก็เป็นปัญหาหนึ่งที่คนพังงาส่วนใหญ่บอกว่าท�ำให้ความสุข ลดลง” อีกคนเสริมขึน้ จากในวงสัมมนา เมือ่ ความสุขคนในหมูบ่ า้ นต�ำบลลดลง ก็มผี แู้ ทนจากสภาองค์กร ชุมชนต�ำบลบางคนเสนอทางแก้ว่า “ผมว่าทีวีเลิกการถ่ายทอดการ เคลือ่ นไหวของตลาดหุน้ เพราะนักเล่นหุน้ เขาคงมีชอ่ งทางในการติดตาม แต่ชาวบ้านไม่จำ� เป็นต้องรู้ ถ้าเขาไม่รไู้ ม่เห็นเขาก็จะขาดความเชือ่ มัน่ ใน การออกหวย คนซือ้ หวยก็จะลดลงทันที ครึง่ หนึง่ ”
291
292
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ทัง้ หมดอาจเป็นปัญหาพืน้ ฐานทีห่ น่วยงานปล่อยปละละเลยใน การก�ำกับดูแล แต่ปญ ั หาหลักๆ ทีท่ ำ� ให้ความสุขคนพังงาลดลง คือ ราคา พืชผลทางการเกษตรลดลง และไร้ทศิ ทางในการแก้ปญ ั หา ไม่เว้นแม้ กระทัง่ หน่วยงานทีม่ หี น้าทีแ่ ละงบประมาณต่างคน ต่างท�ำตามแผนงาน โครงการตัวเอง โดยใช้ชมุ ชน แกนน�ำ เป็นองค์ประกอบในโครงการ หรือ ไม่มโี ครงการก็ไม่ทำ� ปัญหาทีด่ เู หมือนไกลตัวแต่เป็นปัญหาใหญ่คอื หน่วย งานท�ำแผนพัฒนาและกิจกรรมโดยขาดการมีสว่ นร่วม หรือขาดหลัก ธรรมาภิบาล จังหวัดจัดการตนเอง “พังงาแห่งความสุข” จึงเกิดการขับเคลือ่ น และด�ำเนินการ ตามแผนงานร่วมกัน 1. ปี พ.ศ. 2555 เตรียมการประสานความร่วมมือกับทุกภาค ส่วนและประกาศเจตนารมณ์รว่ มกัน 2. ปี พ.ศ. 2556 จัดเวทีพฒ ั นาเพือ่ ก�ำหนดเป้าหมายร่วมกัน โดยมีองค์กรชุมชน ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจนักวิชาการ และข้าราชการเกษียณ และก�ำหนดแผนงานร่วมกันเพือ่ ลงพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารโดยผูว้ า่ ราชการจังหวัดพังงาได้ออกค�ำสัง่ แต่งตัง้ คณะท�ำงานโดยสนับสนุนงบประมาณในการขับเคลือ่ น เพือ่ จัด เวทีในพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารระดับต�ำบล เพือ่ ศึกษาปัจจัย ต้นทุน ข้อ กังวลและข้อเสนอ ทีจ่ ะท�ำให้คนพังงามีความสุขเพิม่ ขึน้ หรือ ลดลง และมีขอ้ ตกลงต�ำบลแห่งความสุข 8 ต�ำบล และข้อ ตกลงร่วมระดับจังหวัดที่จะท�ำให้คนพังงาแห่งความสุข จากทุกภาคส่วนทีเ่ กีย่ วข้อง
Tsunami : waves of reform
3. ปี พ.ศ. 2557 จะร่วมกันสร้างรูปธรรมความสุขในพืน้ ที่ 8 ต�ำบลให้เกิดขึน้ ไม่นอ้ ย กว่า 100 รูปธรรมแห่งความสุข และ ขยายพืน้ ทีเ่ รียนรูใ้ ห้คลอบคลุมต�ำบลอืน่ ๆ อีก 16 ต�ำบล และ จัดตัง้ “สภาพลเมืองพังงาแห่งความสุข” พร้อมทัง้ ประกาศ ยุทธศาสตร์พงั งาแห่งความสุข โดยอาศัยให้ธรรมนูญต�ำบลแห่ง ความสุข ใน 8 ต�ำบล 4. ปี พ.ศ. 2558 จะร่วมสร้าง 200 รูปธรรม พังงาแห่งความ สุข ในอีก 16 ต�ำบล รูปธรรม และขับเคลือ่ นยุทธศาสตร์พงั งา แห่งความสุข และขยายพืน้ ทีเ่ รียนรู้ อีก 16 พืน้ ที่ โดยสร้าง ธรรมนูญแห่งความสุขในอีก 16 ต�ำบลและยก/(ร่าง)ธรรมนูญ จังหวัดพังงาแห่งความสุข 5. ปี พ.ศ. 2559 ขับเคลือ่ นพืน้ ทีแ่ ห่งความสุข 40 ต�ำบลเดิม และขยายพืน้ ทีต่ ำ� บลแห่งความสุขให้ครอบคลุมทัง้ จังหวัด 51 ต�ำบล พืน้ ที/่ 200 รูปธรรมแห่งความสุข 40 ธรรมนูญ/รับ ฟังความเห็น(ร่าง)ธรรมนูญพังงาแห่งความสุข 6. ปี พ.ศ. 2560 ประกาศธรรมนูญพังงาแห่งความสุข และเดิน หน้าสูจ่ งั หวัดพังงาปกครองตนเอง เพือ่ สร้างความเท่าเทียม และลดความเหลือ่ มล�ำ้ อย่างยัง่ ยืน การขับเคลือ่ นของขบวนการภาคประชาชน ภาคีภาคเอกชน และภาคีภาครัฐ ในพังงา ไม่ได้นงิ่ นอนใจกับกระแสความขัดแย้งทางการ เมืองในปัจจุบัน แต่คนพังงาเดินหน้าเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาความ
293
294
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ขัดแย้งในพื้นที่โดยให้คนในชุมชน สังคม และจังหวัดเป็นตัวตั้ง โดย ก�ำหนดการพัฒนาพังงาร่วมกัน โดยใช้หน่วยงาน ภาคี ทีม่ หี น้าทีบ่ ทบาท เดิม ปรับเปลีย่ นแนวทาง เพือ่ ตอบโจทย์คนพังงาอย่างแท้จริง มุง ่ สร้างสังคมน่าอยูแ่ ละเป็นธรรม ไมตรี จงไกรจักร์ มักจะแนะน�ำตัวกับคนที่เขาได้พบเจอว่า เขาเป็นหนึง่ ในผูป้ ระสบภัยสึนามิ แต่หลายคนเห็นเขาเป็นนักเคลือ่ นไหว ทีท่ ำ� งานขับเคลือ่ นสังคมในหลายประเด็น ซึง่ แม้แต่ตวั เขาเองก็ไม่คดิ ว่า ตัวเองจะเดินในเส้นทางนีห้ ากเขาไม่ประสบกับภัยพิบตั สิ นึ ามิ เขาย้อนกลับไปเล่าว่า ตัวเขาเองไม่เคยคิดว่าจะมาท�ำงาน ขับเคลือ่ นสังคมอย่างทุกวันนี้ เขาเหมือนกับคนอืน่ ทัว่ ๆ ไป ทีห่ ลังจาก เรียนจบชัน้ ปวช.ไฟฟ้า จากเทคนิคภูเก็ต ก็มงุ่ หน้าเข้ากรุงเทพฯ มา เรียนหนังสือ หางานท�ำเป็นเด็กอูซ่ อ่ มรถบ้าง ท�ำงานตามโรงงานบ้าง ได้ รับค่าแรงวันละ 100 กว่าบาท จนส่งตัวเองเรียนจบได้ในทีส่ ดุ หลังปี พ.ศ. 2541 เขาก็กลับไปอยูบ่ า้ น ท�ำอาชีพประมง และตัง้ หลักปักฐาน สร้างครอบครัว สร้างฐานะให้ตวั เองได้ระดับหนึง่ ในปี พ.ศ. 2547 เขาได้มโี อกาสแลกเปลีย่ นกับนักการเมือง ท้องถิน่ ถึงแนวทางในการพัฒนาหมูบ่ า้ น ด้วยอุดมการณ์ทอี่ ยากเห็นสิง่ ทีด่ กี ว่าและคิดว่าความรูท้ มี่ จี ะท�ำประโยชน์ให้บา้ นตัวเองได้ จึงลงสมัคร
Tsunami : waves of reform
รับเลือกตัง้ เป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนต�ำบลบางม่วง และได้รบั การ เลือกตัง้ เข้าไปท�ำหน้าทีด่ งั หวัง เมือ่ ชีวติ เกิดการเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ จากภัยพิบตั สิ นึ ามิถล่ม บ้านน�ำ้ เค็ม เขาสูญเสียทัง้ บ้าน รถ อาชีพ ชีวติ พ่อ หลานชายคนเดียว ญาติพนี่ อ้ ง อีกกว่า 40 คน เขาได้พลิกฟืน้ ตัวเอง จากผูป้ ระสบภัย มาเป็นผูร้ ว่ มสร้างชุมชน ใหม่ขนึ้ ทีศ่ นู ย์พกั ชัว่ คราวบางม่วง ของผูป้ ระสบภัยสึนามิบา้ นน�ำ้ เค็ม โดย การสนับสนุนของภาคีความร่วมมือหลายองค์กร จากบทเรียนการแก้ปญ ั หาชุมชนด้วยตนเองและขยายไปร่วมมือ กับชุมชนอืน่ ๆ ในนามเครือข่ายผูป้ ระสบภัยสึนามิ ท�ำให้เขายึดหลักว่า ต้องร่วมสร้างชุมชนให้นา่ อยูด่ ว้ ยมือคนในชุมชนเอง เครือข่ายผูป้ ระสบภัยสึนามิได้ขยายไปสูพ่ นื้ ทีจ่ งั หวัดอืน่ ๆ เช่น ปทุมธานี อุบลราชธานี สงขลา ฯลฯ กว่า 400 ชุมชน เป็นเครือข่าย ชุมชนเพื่อการปฏิรูปสังคมและการเมือง ร่วมกันสร้างสังคมให้น่าอยู่ สร้างโมเดลกิจกรรมดีๆ ให้เกิดขึน้ เช่น เกิดโมเดลจัดการภัยพิบตั โิ ดย ชุมชน จนเป็นทีศ่ กึ ษาดูงานจากคนทัว่ โลก เกิดธนาคารชุมชน ธนาคาร เครือข่ายคนจน เกิดระบบสวัสดิการชุมชนเอง เกิดศูนย์วฒ ั นธรรมชุมชน ศูนย์วฒ ั นธรรมชาวเล เกิดวงดนตรีเยาวชน เกิดกลุม่ เยาวชนเพือ่ สิง่ แวดล้อม เกิดศูนย์เรียนรูใ้ นรูปแบบต่างๆ อย่างหลากหลายทัว่ ประเทศ
295
296
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ไมตรีเน้นว่า จากประสบการณ์ทลี่ งมือท�ำมาหลายปี เครือข่าย มองว่าทิศทางการปฏิรปู สังคมและการเมืองควรต้องเข้าไปร่วมเปลีย่ น ไมตรีจงึ เข้าไปร่วมแสดงความคิดเห็นในร่าง พ.ร.บ. สภาพัฒนาการเมือง เมือ่ เกิดองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะ (ไทยพีบเี อส) ขึน้ จากนัน้ ก็เข้าไปเป็นสมาชิกสภาผูช้ มและผูฟ้ งั ครัน้ ความขัดแย้งทางการเมือง ในปี พ.ศ. 2553 ในนามเครือ ข่ายฯ เข้าร่วมเข้าร่วมผลักดันให้เกิดการปฏิรูปประเทศ และร่วม กระบวนการสมัชชาปฏิรปู ประเทศ โดยน�ำเสนอการแก้ปญ ั หาทีด่ นิ เพือ่ “ลดความเหลือ่ มล�ำ้ และสร้างความเป็นธรรมในสังคม” เขากล่าวทิง้ ท้ายว่า “ผมคิดว่า การสร้างสังคมให้นา่ อยูต่ อ้ งสร้าง การเปลีย่ นแปลงทีช่ มุ ชนให้พงึ่ ตนเองเป็นหลัก ให้ชมุ ชนสร้างรูปธรรมการ พัฒนาร่วมกัน ค�ำนึงถึงและหาแนวทางแก้ปญ ั หาของคนตัวเล็กตัวน้อย คนเปราะบาง ผูใ้ ช้แรงงาน คนไร้สถานะ คนทีอ่ ยูก่ บั ความรุนแรงทุกวัน เช่นในจังหวัดชายแดนใต้ กลุม่ ชาติพนั ธุแ์ ละชนเผ่าพืน้ เมือง ทีย่ งั ไม่มสี ทิ ธิ ไม่มเี สียงหรือถูกละเมิดสิทธิอยูท่ กุ วัน”
Tsunami : waves of reform
ผูป ้ ระสบภัยสึนามิ กับงานจัดระบบชุมชน จ�ำนงค์ จิตรนิรตั น์ : เรือ่ ง กองบรรณาธิการ : เรียบเรียง
หัวใจของงานจัดระบบชุมชนในพื้นที่ภัย พิบัติที่รุนแรง คือ ให้คนที่เข้มแข็งดูแลคนที่ อ่อนแอ จากนัน ้ ค่อยค้นคว้าต่อไปว่าจะยกระดับ ผูค ้ นอีกต่อไปอย่างไร
เมือ่ เกิดเหตุการณ์ภยั พิบตั ิ ภาพทีเ่ รามักพบเห็นจนเจนตา คือ หน่วยงานกูช้ พี กูภ้ ยั และภาพผูใ้ จบุญบริจาคข้าวของเครือ่ งใช้ถาโถม เข้าไปยังพืน้ ทีอ่ ย่างล้นหลาม แต่เมือ่ วิกฤตนัน้ เริม่ คลายลง กระแสความ เศร้าสะเทือนใจก็เริม่ คลายตามลงไป ทุกอย่างเงียบหายราวกับไม่เคยเกิด ภัยพิบตั ขิ นึ้ แต่ความเป็นจริงหาเป็นเช่นนัน้ ไม่ สิง่ ทีย่ งั เกิดขึน้ อยูเ่ สมอแต่ไม่ได้อยูใ่ นความสนใจของสังคม คือ เรื่องราวของการเยียวยาและฟื้นฟูผู้ประสบภัย ชุมชนที่ประสบภัย ในช่วงหลังภัยวิกฤต
297
298
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
จ�ำนงค์ จิตรนิรตั น์ เล่าเรือ่ ง “กระบวนจัดระบบชุมชน” (Community Organization – CO) ท่ามกลางภาวะวิกฤตในเหตุการณ์ ภัยพิบตั สิ นึ ามิ ซึง่ แตกต่างๆ จากการจัดระบบชุมชนทีเ่ คยท�ำกับชุมชน ทีเ่ ดือดร้อนเรือ่ งทีอ่ ยูอ่ าศัยและถูกไล่รอื้ แต่ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ การสร้าง การมีส่วนร่วมของคนในชุมชน เป็นเรื่องที่ท้าทายส�ำหรับคนท�ำงาน พัฒนาสังคมเป็นอย่างยิง่ เรือ ่ งเล่าของการสร้างส้วมรวมคน ในระยะแรกของการเกิดสึนามิ บ้านน�้ำเค็มดูเหมือนจะถูก ตัดขาดจากการรับรู้จากสังคมภายนอก กว่าจะเป็นข่าวว่าเป็นพื้นที่ ประสบภัยขนาดหนักทีส่ ดุ ก็เข้าสูว่ นั ทีส่ หี่ รือห้าแล้ว จ�ำนงค์ และทีมงานจากมูลนิธชิ มุ ชนไท เดินทางเข้าไปในพืน้ ที่ ต.บางม่วง อ.ตะกัว่ ป่า จ.พังงา และเห็นสภาพพืน้ ทีท่ เี่ รียกได้วา่ ทุกอย่าง ราบเป็นหน้ากลอง เศษขยะ กลุม่ ควันไฟยังระอุอยูเ่ ป็นหย่อม ๆ เป็น ภาพทีท่ กุ คนไม่อาจลืมได้ตลอดชีวติ ถึงแม้ทีมงานทั้งหมดไม่มีประสบการณ์การกู้ภัย แต่จาก ประสบการณ์การท�ำงานชุมชน เมือ่ ตัดสินใจเข้ามายังพืน้ ทีต่ ำ� บลบาง ม่วงแล้วจึงไปเริม่ ต้นทีอ่ งค์การบริหารส่วนต�ำบลบางม่วง โดยเบือ้ งต้นคิด ว่า อาจเริม่ ช่วยจัดการกับของบริจาค เพราะมีคนมารอรับของกินของใช้ แต่เข้าไปรับไม่ได้ เจ้าหน้าทีข่ อง อบต. ก็กำ� ลังวุน่ วายอยูก่ บั การแพ็ค
Tsunami : waves of reform
ข้าวของลงกล่อง ยังไม่ได้มกี ารแจกจ่ายของออกไปให้กบั ผูท้ เี่ ดือดร้อน ทีมงานของจ�ำนงค์ค์เข้าไปพูดคุยกับนายกองค์การบริหารส่วนต�ำบล บางม่วง แนะน�ำตัว และเสนอตัวเข้าช่วยเหลือผูท้ เี่ ดือดร้อนว่าพอจะช่วย อะไรได้บา้ ง แต่นายก อบต. บอกว่าก�ำลังยุง่ มาก ให้ลองไปคุยกับ สมาชิก อบต. ทีย่ นื อยูใ่ ต้ตน้ ตะขบข้างๆ ส�ำนักงาน จ�ำนงค์และทีมงานจึงได้เข้าไปแนะน�ำตัวกับ ไมตรี จงไกรจักร์ ชายหนุม่ ผิวคล�ำ้ และเพือ่ นสมาชิก อบต.อีกคนหนึง่ ทีก่ ำ� ลังยืนปรึกษา หารือกันอยูใ่ ต้รม่ ไม้ เมือ่ จ�ำนงค์เข้าไปสอบถามว่าจะให้ชว่ ยอะไรได้บา้ ง ไมตรีกต็ อบกลับมาในท�ำนองว่า “ถ้าพีม่ เี งิน เอามาสร้างส้วมเพือ่ ให้คน มาอยูร่ วมกันก่อน ตอนนีช้ าวบ้านไม่มที อี่ ยู่ ทีน่ อน” จ�ำนงค์จำ� ได้วา่ ใน ขณะนัน้ เขาตอบไปว่า ว่ากัน”
“เงินหรือ ไม่มี เรามาดูกอ่ นว่า จะช่วยอะไรได้บา้ ง แล้วค่อย
“ถ้าไม่มอี ะไรเลย ก็ทำ� อะไรไม่ได้ ตอนนีค้ นสาหัสแล้ว อาหาร มีแล้ว เดีย๋ วของบริจาค ยังไงชาวบ้านก็ตอ้ งเอา กองเป็นภูเขานัน่ อาหาร มีแล้ว แต่ขาดทีน่ อน บ้านพังกันหมด แล้ววัดก็ศพเต็ม ส้วมก็ไม่มี คือ พีต่ อ้ งท�ำทันทีนะตอนนี้ นีล่ ะ่ ถึงจะช่วยพวกเราได้” ไมตรีตอบกลับด้วย เสียงเข้มห้วน การได้พดู คุยกับไมตรี ท�ำให้ทกุ คนนึกภาพของการจัดระบบ ชุมชนในปากีสถาน ทีเ่ ริม่ ต้นจาก “ส้วม”
299
300
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
หลังจากสอบถามกันว่า ควรจะท�ำส้วมกีห่ อ้ ง ท�ำตรงไหนได้ เนือ่ งจากเงินทีม่ อี ยูใ่ นตอนนัน้ มีแค่สหี่ มืน่ จะเริม่ ต้นท�ำอะไรได้บา้ ง แต่ เมือ่ ไมตรีเสนอว่าท�ำเท่าทีท่ ำ� ได้กอ่ น สัก 2-3 ห้อง ก็ยงั ดี และถ้าทางทีม งานทีเ่ ข้ามาช่วยเหลือตกลงว่าจะสร้างส้วมก่อน ก็จะได้พาไปหาผูใ้ หญ่ บ้านให้ชว่ ยกันหาทีว่ า่ จะสร้างส้วมทีไ่ หน “ตอนนีค้ นกระจัดกระจาย ของบริจาคอยูน่ ี่ แต่มาแล้ว ไม่รู้ จะกลับไปนอนไหน มาแล้วก็ไม่ได้ของก็เลยไม่มา ไปอยูบ่ นเขา ในป่า แต่ถ้าเราท�ำส้วมหรือท�ำบ้านได้ คนก็จะมาที่นี่ เพราะอาหารอยู่นี่” ไมตรีเล่าสถานการณ์ให้ฟงั
จ�ำนงค์มคี วามเห็นว่าสิง่ ทีช่ าวบ้านอย่างไมตรีเสนอมานัน้ น่า สนใจ จึงได้ปรึกษากับทีมงานว่าน่าจะเริม่ ต้นจากการน�ำเงินทีม่ อี ยูม่ าท�ำ ส้วม แต่อยากท�ำสัก 10 ห้อง เพราะ 3-4 ห้อง แทบช่วยอะไรไม่ได้ จากนัน้ จึงคิดกันต่อว่า หากคนมาทีส่ ว้ ม ต้องลงมาจากบนเขา ก็ตอ้ งมี ทีพ่ กั ซึง่ อยูใ่ นบริเวณเดียวกัน จึงได้เริม่ ต้นแบ่งงานกัน โดยให้ทางฝ่าย ไมตรีจดั การในเรือ่ งสถานที่ ส่วนทีมงานของจ�ำนงค์คก์ เ็ ริม่ ประสานหางบ ประมาณเพิม่ เติม ในทีส่ ดุ การคล�ำหาหนทางในภาวะวิกฤตสุดขีดก็มจี ดุ เริม่ ต้น ด้วยความมัน่ ใจในตัวของกลุม่ คนเล็กๆ ทีเ่ พิง่ รูจ้ กั กันไม่ถงึ ชัว่ โมง ตกลง ใจเชือ่ ในข้อเสนอของไมตรี หนุม่ อบต.หน้าใหม่ ทีเ่ สนอให้ “ท�ำส้วม รวมคน”
Tsunami : waves of reform
เช้าวันต่อมา รถขุดดินก็มาถึงพร้อมวัสดุ ทีมงานของไมตรีเปิด รัว้ เข้าไปในพืน้ ทีก่ รมทรัพยากรธรณีทที่ งิ้ ร้างไว้ ไม่มใี ครกลัวข้อหาบุกรุก ทีร่ าชการ แต่อาศัยความชุลมุนของสถานการณ์ ส้วมชุดแรกก็พร้อม ใช้งานท่ามกลางความสนใจของผูป้ ระสบภัยทีเ่ ริม่ เข้ามาถามไถ่ เมือ่ รูว้ า่ จะสร้างทีพ่ กั ด้วย ก็ยงิ่ มีคนสนใจ ชาวเลกลุม่ หนึง่ ใจกล้ามาก่อน ตอนนัน้ ยังไม่มที พี่ กั จึงถือ โอกาสใช้อาคารจอดรถทิ้งร้างหลังหนึ่งให้อยู่ก่อน เมื่อเห็นคนเริ่มมา จึงปรึกษากันว่าถึงแม้จะยังไม่ชดั เจนว่ามีเงินมากน้อยเท่าใด แต่นา่ จะลอง หาเต็นท์สนามมาวางก่อน เพราะราคาถูก รือ้ ย้ายง่าย เมือ่ เห็นพ้องกัน ก็มกี ารโทรศัพท์ประสานงานไปยังทีมงานทีอ่ ยูก่ รุงเทพฯ ให้หาซือ้ เต้นท์ มาสัก 50 หลัง เช้ารุง่ ขึน้ เต็นท์กม็ าถึง ทีมไมตรีจดั การวางแปลนกาง โดยทีม ของจ�ำนงค์คใ์ ช้ประสบการณ์การจัดตัง้ กลุม่ ย่อยในสลัมมาใช้วางแผนจัด ระบบไว้เป็นชุดละ 10 หลัง เพือ่ ให้คนอยูร่ วมกันเป็นกลุม่ ย่อย เพือ่ ดูแล กันเองในอนาคต วันต่อมา ภาพทีเ่ ห็นเป็นรูปร่างของค่ายทีพ่ กั ชัว่ คราว มีทพี่ กั สนาม ส้วม ทัง้ หมดอยูใ่ นพืน้ ทีก่ ว่า 20 ไร่ของหน่วยราชการและเป็น พืน้ ทีเ่ นินสูง เมือ่ เชือ่ ว่าสึนามิจะมาไม่ถงึ ทีมชาวบ้านก็ออกกระจายข่าว แจ้งคนในทีต่ า่ งๆ เต็นท์ทกุ หลัง จึงมีผเู้ ข้าพักหมดในพริบตา ท�ำให้คนทีม่ าช้า หอบสิ่งของที่พอเหลือจากคลื่นยักษ์มายืนหน้าละห้อยจ�ำนวนมาก
301
302
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ทีมงานจึงปรึกษากันต่ออีกว่า จะกว้านซือ้ เต็นท์ให้ได้มากทีส่ ดุ และให้สง่ มาด่วน ภายในสามวัน ผูป้ ระสบภัยก็หลัง่ ไหลเข้ามา จากชาวเลชุด แรกกลุม่ หนึง่ จากนัน้ คนอืน่ ทีบ่ อกกันปากต่อปากก็ทยอยมาพร้อมกับ เต็นท์สนามทีท่ ยอยส่งมาถึง เพียง 5 วัน ผูค้ นก็มารวมกันนับหมืน่ และ มีทที า่ ว่าจะต้องปักหลักกันยาว เพราะแต่ละคนต่างไม่มที ไี่ ป ผูป้ ระสบภัย ส่วนใหญ่ตอ้ งการมาอยูท่ นี่ มี่ ากกว่าทีห่ น้าอ�ำเภอตะกัว่ ป่า เพราะอยูใ่ กล้ บ้านเก่า สะดวกกับการรือ้ ค้นหาคนสูญหายหรือทรัพย์สนิ ในทีส่ ดุ ศูนย์พกั พิงชัว่ คราวบ้านบางม่วงซึง่ ตัง้ อยูบ่ นพืน้ ที่ 20 ไร่ ก็มเี ต็นท์อยูป่ ระมาณ 1,000 หลัง และดูแลผูค้ นเรือนหมืน่ นับเป็น ค่ายทีช่ าวบ้านกับนักจัดระบบชุมชนจัดระบบกันเองแบบร้อยเปอร์เซ็นต์ ชาวบ้านตัง้ ชือ่ ค่ายนีว้ า่ ศูนย์ผปู้ ระสบภัยสึนามิบางม่วง จริงๆ แล้วก็คอื หมูบ่ า้ นชัว่ คราว เพราะในขณะนัน้ ไม่รอู้ นาคตเลยว่า ทัง้ หมดจะได้กลับ คืนสูบ่ า้ นน�ำ้ เค็มทีเ่ คยอยูเ่ ดิมเมือ่ ใด จ�ำนงค์เล่าว่า การดูแลผูค้ นจ�ำนวนมากมายขนาดนีเ้ ป็นเรือ่ ง ท้าทายมาก เป็นประสบการณ์ทไี่ ม่เหมือนกับการชุมนุมสมัชชาคนจนของ เครือข่ายสลัม เพราะทีน่ นั่ มีเป้าหมายและคูต่ อ่ สูท้ ชี่ ดั เจน คือ รัฐ มวลชน ทีม่ าก็เต็มไปด้วยความกระตือรือร้น พึง่ ตัวเองได้ แต่ศูนย์พักพิงบางม่วง เต็มไปด้วยคนนับหมื่นที่เศร้าซึม อารมณ์แปรปรวน จิตใจกระทบกระเทือนอย่างหนัก มีคนทีเ่ หลือตัวคน เดียว คนทีส่ ญ ู เสียสมาชิกในครอบครัวไปตัง้ แต่ 2 คน คนทีส่ ญ ู เสียญาติ
Tsunami : waves of reform
ไปถึง 30 คนก็มี อีกทัง้ เด็กทีพ่ อ่ แม่พนี่ อ้ งหายไปหมด คนสูญเสียบ้าน และทรัพย์สนิ ทัง้ หมดมารวมกันอยูท่ นี่ ี่ การจัดการให้ผคู้ นเข้าอยูเ่ ป็นชุด ชุดละสิบหลัง ใครก็ตามทีม่ า ต้องอยูใ่ ห้ครบสิบหลังก่อน และหน้าทีแ่ รกของคนมาก่อน คือ ให้ดแู ลคน ทีม่ าทีหลังด้วย การมีสว่ นร่วมจัดระบบการอยูอ่ าศัยนีก้ ลายเป็นกติกาหรือ สัญญาใจ ทีจ่ ะพึง่ พิงกัน นีเ่ ป็นเมล็ดพันธุแ์ รกจากบทเรียนประสบการณ์ และเป็นหลักการท�ำงานจัดระบบชุมชน คือ การพึง่ พิงกันเอง การจัดกลุม่ ย่อยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สมาชิกทุกกลุม่ มีหน้าที่ดูแลเพื่อนที่เศร้าซึม รวมทั้งเรื่องความสะอาด และความ ปลอดภัยทุกชนิด วางกฎกติกาการอยูรว่ มกันเช่นระบบดูแลกันในกลุม่ ย่อย ห้ามดืม่ สุราอย่างเอิกเกริก ไม่เล่นการพนันและการเสพติดต่างๆ เป็นต้น อีกทัง้ มีการส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมในทุกๆ ค�ำ่ และน�ำข้อเสนอ มาเข้าวงประชุมและน�ำเรือ่ งจากวงประชุมกลับไปบอกต่อ เป็นต้น จึงมี ตัวแทนชาวบ้านมาเป็นเหมือนกรรมการประมาณ 50 คน วิธแี บ่งทีพ่ กั เป็นกลุม่ ย่อย การมีหน้าทีภ่ ารกิจ การมีตวั แทน เข้าประชุม ท�ำให้ชาวบ้านหลายคนเริม่ มีพฒ ั นาการ ยกระดับความคิด ให้แหลมคมมากขึน้ โดยตัวแทนมีความคิดเห็นร่วมกันเกีย่ วกับปัญหา และการจัดการศูนย์พกั ฯ ดังนี้
303
304
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
1. ต้องมีการประชุมใหญ่สมาชิกทัง้ หมดบ้างตามความจ�ำเป็น โดยใช้ลานกลางทีพ่ กั ทีก่ นั ไว้แล้ว เพราะต้องการให้สมาชิกได้รเู้ รือ่ งต่างๆ ด้วยตัวเอง 2. เริม่ มีบคุ คลภายนอกเข้ามาในศูนย์มากขึน้ อีกทัง้ มีปญ ั หา ข้าวของหาย ควรมีระบบยามตรวจทีท่ างเข้าออกโดยเฉพาะกลางคืน 3. ชาวบ้านเริม่ ทะเลาะกันเอง สาเหตุเพราะแย่งคิวรอรับ บริจาคทีผ่ บู้ ริจาคมักมีของมาไม่มากพอ 4. มีเสือ้ ผ้าบริจาคจ�ำนวนมากทีเ่ หลือใช้แล้ว จะจัดการอย่างไร ให้เกิดประโยชน์ 5. น�ำ้ ใช้เริม่ ไม่พอ เพราะรถน�ำ้ ส่งไม่ทนั เนือ่ งจากมีคนเข้ามา อยูอ่ าศัยหนาแน่นมากขึน้ จากปัญหาข้างต้น ทีป่ ระชุมเห็นร่วมกันว่า หากมีผบู้ ริจาคเงิน หรือสิง่ ของเข้ากองอ�ำนวยการโดยผ่านบัญชีธนาคาร และมีทมี รับเงิน พร้อมถ่ายรูปร่วมให้ผบู้ ริจาคกลับไปเป็นหลักฐาน ส่วนปัญหาเรือ่ งเสือ้ ผ้า ทีม่ ากเกินความจ�ำเป็น ให้บริจาคต่อไปยังผูป้ ระสบภัยแหล่งอืน่ ๆ ส่วน เรือ่ งน�ำ้ ใช้ และให้ขนึ้ ป้ายรับบริจาคเครือ่ งกรองน�ำ้ ขนาดใหญ่ เพือ่ กรอง น�้ำในบึงหน้าศูนย์ขึ้นมาใช้ แต่ช่วงที่ไม่มีเครื่อง ให้ท�ำแบบภูมิปัญญา ชาวบ้านไปพลางๆ ก่อน เป็นต้น การก�ำเนิดขึน้ ของศูนย์บางม่วง ทีม่ คี นอยูร่ วมกันจ�ำนวนมาก แต่มรี ะบบกรรมการชาวบ้านบริหารจัดการกันเอง ดูแลกันเอง เป็นสิง่ ใหม่
Tsunami : waves of reform
ในห้วงวิกฤต แม้ปญ ั หาต่างๆ จะยังไม่คลีค่ ลาย ทัง้ ศพทีย่ งั หาไม่พบ หรือพบแล้วแต่ยงั พิสจู น์ไม่เสร็จ พืน้ ทีพ่ งั ทลายยังไม่ได้เคลียร์ให้เรียบร้อย อีกทัง้ ยังไม่รวู้ า่ จะมีบา้ นใหม่ได้หรือไม่ อย่างไร ฯลฯ แต่ศนู ย์บางม่วงได้ ท�ำหน้าทีเ่ รียกขวัญก�ำลังใจของคนกลับมา ดีกว่าเผชิญหน้ากับชะตากรรม อย่างโดดเดีย่ วล�ำพัง ยกระดับฟืน ้ ฟูจต ิ ใจ วันหนึง่ มีขอ้ ตกลงในทีป่ ระชุมใหญ่วา่ ข้าวของทีไ่ ด้รบั บริจาค มาเป็นส่วนตัวก่อนหน้านัน้ ทุกคนเก็บไว้เต็มเต็นท์จนไม่มที นี่ อน และ ของบางอย่าง เช่น เตาแก็ส อาจมีอนั ตราย จึงมีมติให้เอามาลงทะเบียน ฝากไว้ทกี่ องกลาง ส่วนอาหารแห้งต่างๆ ให้นำ� มารวมกัน แล้วมาเบิกไป เป็นกลุม่ ๆ ต่อมา เมือ่ มีการจัดการข้าวของ ได้เจอผ้าขาวดิบห่อศพทีห่ ลง เหลืออยูจ่ ำ� นวนมาก ทีมงานจึงเกิดความคิดให้ผเู้ ศร้าซึมมาช่วยกันตัดผ้า เย็บส่งขายหารายได้ ปรากฎว่าไปได้ดมี าก จึงประสานนักศิลปะมาช่วย วาดจนเกิดสีสนั สดใส จนในทีส่ ดุ กลายเป็นสินค้าของศูนย์ ต่อมาก็ขยาย เป็นกลุม่ บาติกของเยาวชน งานศิลปะจากผ้าดิบเหล่านี้ จึงกลายเป็น เครือ่ งมือบ�ำบัด ทีท่ งั้ เด็กและผูใ้ หญ่ทำ� ได้และมีรายได้เป็นกอบเป็นก�ำ จากจุดนีน้ ำ� มาสูก่ ารคิดฟืน้ ฟูอาชีพเสริมคนทัง้ ศูนย์ เพือ่ ให้ทกุ คนได้พากันข้ามพ้นช่วงเวลาแห่งความเศร้าโศกไปพร้อมๆ กัน
305
306
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ในศูนย์เปลีย่ นจากมหกรรมความเศร้าเป็นมหกรรมอาชีพขึน้ ทันใด แทบทุกคนมีสงิ่ ทีจ่ ะต้องท�ำตัง้ แต่ตนื่ ขึน้ มาจนก่อนนอน แถมมีราย ได้พอประมาณ มีการเย็บแหอวน ตัดเย็บผ้า ผ้าบาติก โดยเฉพาะการ ซ่อมเรือท�ำเรือหาปลา ซึง่ มีคณ ุ ค่าทางจิตใจอย่างสูง เพราะเรือคือวิถชี วี ติ ของคนทีน่ นั่ ตอนเกิดสึนามิ เรือหาปลาขนาดเล็กแทบทัง้ หมดพังเสียหาย เมือ่ เกิดโรงซ่อมเรือ โดยช่างผูป้ ระสบภัยเอง มันกลายเป็นสัญลักษ์ของ การเริม่ ต้นชีวติ ใหม่อย่างแท้จริง สิง่ เหล่านีเ้ ป็นการบ�ำบัดหรือเยียวยาจิตใจด้วยตัวชุมชนเอง เพราะชาวบ้านทีล่ งมือคิด ประสานงาน ร่วมแรงกันสร้างส้วม สร้างศูนย์ ในระยะเริม่ ต้น กลุม่ นีท้ ำ� งาน ใช้แรงสร้างสิง่ ต่างๆ ให้เพือ่ นๆ ได้เข้ามา อยูอ่ าศัยและตัวเองก็ใช้สทิ ธินนั้ ไม่แตกต่างไปจากคนอืน่ ๆ เป็นพลังใจที่ ก้าวข้ามความทุกข์อนั สาหัส ไปสูก่ ารช่วยเพือ่ นเพือ่ ให้พงึ่ พิงกันเองได้ สิง่ นีเ้ ป็นสิง่ ส�ำคัญทีเ่ รียกได้วา่ เป็นการยกระดับส�ำนึกส่วนรวม อันเกิดจากความเชือ่ มัน่ ในระบบ หรือโครงสร้างทีด่ ี และผูน้ ำ� ทีด่ ี ผูน้ ำ� ทีม่ คี วามเข้มแข็ง สามารถหยุดความเศร้าโศกได้เร็ว การทีใ่ ห้คนทีเ่ ข้ม แข็งดูแลคนทีอ่ อ่ นแอ จากนัน้ ค่อยค้นคว้าต่อไปว่าจะยกระดับผูค้ นต่อไป อย่างไร จึงน่าจะเป็นหัวใจของงานจัดระบบชุมชนในพืน้ ทีภ่ ยั พิบตั อิ ย่าง หนึง่ และนีเ่ องคือเบ้าหลอมแกนน�ำรุน่ หลังต่อๆ มา พวกเขาไม่เพียงเป็น พลังการจัดการศูนย์บางม่วงเท่านัน้ วิธคี ดิ หรือแนวทางนีย้ งั กระจายไป สู ่ เ พื่ อ นชุ ม ชนอื่ น ในพื้ น ที่ ภั ย พิ บั ติ แ ละเกิ ด เป็ น เครื อ ข่ า ยสึ น ามิ ใ น เวลาต่อมา
Tsunami : waves of reform
ทัง้ หมดนีค้ อื มหกรรมการบ�ำบัดทีท่ รงพลังทีส่ ดุ เป็นก้าวแรก ของการฟืน้ คืนของคนทีไ่ ร้ความหวัง จัดระบบผูบ ้ ริจาค นอกจากการจัดระบบชุมชนของผู้ประสบภัยแล้ว การจัด ระบบผูบ้ ริจาคก็เป็นสิง่ จ�ำเป็นมากในช่วงเวลานัน้ การมีผบู้ ริจาคทีเ่ ข้าใจ และสนับสนุนสิ่งของตามความต้องการของผู้เดือดร้อน จะท�ำให้ของ บริจาคทีไ่ ด้รบั มาเกิดประโยชน์สงู สุด คณะท�ำงานจึงเสนอให้ผบู้ ริจาคหลีก เลีย่ นงการสนับสนุนเป็นรายคน งานพัฒนาในสถานการณ์ปกติ ผูบ้ ริจาค ถือเป็นเป้าหมายการรณรงค์ทางสาธารณะเพือ่ ให้เขาเข้าใจสิทธิชมุ ชน แต่ ในเหตุภยั พิบตั ิ ควรเสนอให้ผบู้ ริจาค บริจาคเงินหรือสิง่ ของให้ตรงความ ต้องการของผูร้ บั ข้อมูลและข้อเสนอเหล่านี้ ส่วนใหญ่ได้จากทีป่ ระชุมชาว บ้านวงต่างๆ และเสนอให้กบั ผูบ้ ริจาคถูกจังหวะทัง้ ผูร้ บั และผูใ้ ห้ ทีมงานประสบความส�ำเร็จในการเชิญชวนให้ผบู้ ริจาครายใหญ่ เห็นด้วยกับหลักการช่วยเหลือแบบยัง่ ยืน โดยการสนับสนุนให้เกิดกลุม่ อาชีพทีเ่ คยอยูใ่ นวิถชี วี ติ ก่อนประสบภัย หรือช่องทางอาชีพใหม่ ทีม่ เี หตุ มีผล นัน่ เป็นทีม่ าของมหกรรมฟืน้ ฟูอาชีพ ซึง่ มีการท�ำทะเบียนผูบ้ ริจาค ไว้ประมาณ 200 ราย
307
308
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
เมือ่ ศูนย์บางม่วงลงตัว จึงเริม่ ออกตรวจตราพืน้ ทีข่ า้ งเคียง ขณะทีท่ มี อีกส่วนหนึง่ เดินทางไประนอง กระบี่ ตรัง สตูล ยกเว้นภูเก็ตที่ มีหน่วยงานต่างๆ ลงพืน้ ทีม่ ากแล้ว เป็นการตัดสินใจขยายพืน้ ที่ โดยน�ำ ประสบการณ์ทไี่ ด้จากบางม่วง และข้าวของต่างๆ ทีม่ อี ยูจ่ ำ� นวนมาก น�ำ ไปช่วยเหลือพืน้ ทีป่ ระสบภัยอืน่ ๆ ให้เขาตัง้ ตัวได้บา้ ง จ�ำนงค์เล่าว่า หลังเหตุการณ์คลืน่ ยักษ์สนึ ามิพดั ผ่านไปราว ครึง่ เดือน คลืน่ ทุนก็เริม่ ก่อตัวและถาโถมเข้าใส่ บ้านแหลมป้อมซึง่ เป็น ส่วนหนึ่งของบ้านน�้ำเค็ม ถูกนายทุนระดับรองประธานสภาผู้แทนฯ ใช้ปนื ขูแ่ ละประกาศห้ามเข้าพืน้ ที,่ ชุมชนมอแกนทีบ่ า้ นทับตะวัน บ้านใน ไร่ มีนายทุนแสดงเอกสารเป็นเจ้าของพืน้ ทีช่ มุ ชน ทีร่ าบเตียนด้วยแรง คลืน่ , ชุมชนมอแกนบ้านทุง่ หว้า อบต.ห้ามชาวบ้านเข้าพืน้ ทีเ่ พราะจะใช้ สร้างโรงพยาบาล, บ้านปากเตรียม อ.คุระบุรี นักการเมืองท้องถิน่ ไม่ให้ คนหนีตายมาจากหน้าหาด ปลูกสร้างที่พักชั่วคราว, ที่เกาะลันตา ราชการกับนายทุนห้ามชาวบ้าน ทัง้ ชาวเลอูรกั ลาโว้ยและมุสลิมปลูกสร้าง บ้านเรือนในทีเ่ ดิม, ชุมชนมุสลิมดัง้ เดิมแถวรอยต่อสตูลตรัง เกาะสุกร เกาะบุโหลน และอ�ำเภอละงู ต่างก็มปี ญ ั หาทีด่ นิ หลังสึนามิวา่ ใครเป็น เจ้าของทีแ่ ท้จริง เมือ่ ต้องช่วยเข้าแก้ปญ ั หาของชาวบ้านทีไ่ ด้รบั ความไม่เป็น ธรรมจากนายทุนเหล่านี้ จ�ำนงค์และทีมงานซึง่ มีประสบการณ์การต่อสู้ แก้ปญ ั หาทีด่ นิ ในชุมชนเมือง ช่วยกันวางแผนว่าน่าจะต้องยึดทีด่ นิ ชุมชน เดิมไว้กอ่ น การเจรจาค่อยตามมาทีหลัง จึงได้ประสานและจัดระบบ ผูบ้ ริจาคให้กระจายกันสนับสนุน โดยการสร้างบ้านยึดพืน้ ทีอ่ ย่างรวดเร็ว
Tsunami : waves of reform
จากชาวบ้านเอง โดยมีชา่ งกลาง อาสาสมัครจากศูนย์บา้ นน�ำ้ เค็มและ อาสาสมัครจากทัว่ ประเทศเป็นช่างแรงงานสนับสนุน ผูบ้ ริจาคทีไ่ ด้รบั การประสาน ท�ำความเข้าใจถึงความจ�ำเป็น เหตุผลทางมนุษยธรรมและการเป็นผูบ้ กุ เบิกอยูอ่ าศัยมาอย่างยาวนาน ท�ำให้มกี ารสนับสนุนอย่างเต็มที่ ค่อนรุง่ วันหนึง่ มีการติดต่อให้ทมี งานไปรับของบริจาคชิน้ หนึง่ ริมถนน ปรากฏว่าเป็นรถแบ็คโฮใหม่เอี่ยมคันหนึ่งถูกส่งมาจากผู้ไม่ ประสงค์ออกนาม และมันกลายเป็นอาวุธลับของชาวบ้านในการบุกเข้า ยึดเคลียร์พนื้ ทีแ่ บบรีบเข้ารีบออก เปิดทางให้รถไม้วสั ดุสร้างบ้านเข้าถึง พืน้ ที่ ท�ำให้แทบทุกชุมชนอพยพกลับเข้าอยูใ่ นทีด่ นิ เดิมและเริม่ สร้างบ้าน สวมตอบ้านหลังเดิมได้ทนั ท่วงที ทุกแห่งสร้างชุมชนใหม่อย่างไม่โดดเดีย่ ว มีทมี งานและอาสาสมัครบ้านน�ำ้ เค็มเป็นทีป่ รึกษาใกล้ชดิ ส�ำหรับผูบ้ ริจาค ก็ได้รบั การประสานให้กระจายการสนับสนุน ไปตามโซนต่างๆ ในหลายจังหวัด หลายพืน้ ที่ และพวกเขาก็มแี ผน ทีจ่ ะ ดูแลสนับสนุนระยะยาวพอทีจ่ ะให้ชาวบ้านได้ตงั้ หลัก กระทัง่ ปลายปี พ.ศ. 2548 การฟืน้ ฟูชมุ ชนจากภัยคลืน่ สึนา มิกไ็ ด้แปรสภาพเป็นการต่อสูเ้ พือ่ สิทธิในทีด่ นิ ของชุมชนดัง้ เดิม เมือ่ ผูอ้ า้ ง โฉนดเริม่ ฟ้องร้องไล่ทชี่ มุ ชน ทัง้ ชาวบ้านและทีมงานนักจัดระบบชุมชน ก็ยกระดับและจัดระบบต่อสูส้ ทิ ธิชมุ ชนอย่างเต็มรูปแบบเช่นกัน
309
310
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
เครือข่ายผูป ้ ระสบภัยสึนามิ หลังครึง่ ปีสนึ ามิ ทีมงานได้มกี ารวิเคราะห์สถานการณ์ ครัง้ ใหญ่ จากการวิเคราะห์เห็นได้ชดั เจนว่า ตลอดชายฝัง่ อันดามันมี ปัญหาทีด่ นิ ซุกอยูใ่ ต้พรมมาตลอด ปรากฎการณ์คลืน่ ยักษ์สนึ ามิได้กวาด ปัญหาเหล่านัน้ ขึน้ มาให้เห็นเด่นชัดขึน้ ปัญหาทีด่ นิ ชายฝัง่ ไม่วา่ เป็นป่า ภูเขา ชายหาด ส่วนใหญ่อยูใ่ นเอกสารครอบครองตามกฎหมายของ หน่วยงานรัฐและเอกชน ทัง้ ๆ ทีผ่ นื ดินเหล่านัน้ ถูกบุกเบิกและสร้างเป็น ชุมชนโดยชาวบ้านมาหลายร้อยปีมาแล้ว ทีมงานเริม่ จัดท�ำระบบบข้อมูล พบว่าหน่วยราชการทีอ่ า้ งการ ครอบครองพื้นที่คืออุทยานแห่งชาติ หน่วยป่าชายเลน กรมเจ้าท่า เป็นต้น หน่วยงานเหล่านีล้ ว้ นเพิง่ ประกาศเขตราชการเหล่านีแ้ ละเอกชน ก็เพิง่ มาในช่วงทีม่ กี ารท่องเทีย่ ว ไม่กปี่ ที ผี่ า่ นมา แม้จะมีการไล่ทกี่ นั บ้าง แต่กไ็ ม่มากนัก ทว่าเมือ่ เกิดภัยสึนามิ ดูเหมือนเจ้าของทีด่ นิ ตามเอกสาร จะถือเป็นโอกาสในการไล่ทเี่ สียเลย เมือ่ หลายพืน้ ที่ หลายชุมชน ชาวบ้านไม่สามารถย้ายกลับ เข้าไปอยูบ่ นทีด่ นิ เดิมของตนเองได้ จากอิทธิพลท้องถิน่ และนายทุน รูป แบบการช่วยเหลือจึงออกแบบการท�ำงาน โดยเริม่ ต้นจากการฟืน้ ฟู ชุมชน ให้ชมุ ชนได้เข้าถึงสิทธิในทีด่ นิ เดิม มีการเชือ่ มโยงเครือข่าย และ การเจรจาระดับนโยบาย
Tsunami : waves of reform
เมื่อทุกชุมชนเข้ายึดพื้นที่เดิมและเร่งสร้างบ้านให้เสร็จ เรียบร้อย ในปลายปี พ.ศ. 2548 เราจัดการประชุมพบปะกันระหว่าง ชุมชนพืน้ ทีป่ ระสบภัยหลายครัง้ ชุมชนปากเตรียมเป็นพืน้ ทีม่ คี นไทยพลัด ถิน่ รวมอยูด่ ว้ ย ทีมท�ำงานทีน่ นั่ จึงประสานคนไทยพลัดถิน่ ในจังหวัด ระนองทีจ่ ดั ตัง้ ไว้กอ่ นหน้านัน้ ให้มาร่วมประชุมด้วย ในวาระครบหนึง่ ปีแรกของการฟืน้ ฟูภยั สึนามิ จึงได้รวมตัว กันจัดงานภายใต้แนวคิด ประสบภัย ประสบการณ์ ประสานเพือ่ น โดย เชิญเลขาธิการนายกรัฐมนตรีมารับเรือ่ ง โดยมีขอ้ เสนอหลัก ดังนี้
-ให้รฐั บาลตัง้ กรรมการพิสจู น์สทิ ธิทดี่ นิ สึนามิ
-ให้เจรจากับผูเ้ กีย่ วข้องให้หยุดการไล่รอื้
-ให้คนไทยพลัดถิน่ ได้เข้าถึงการช่วยเหลือ
ต่อมารัฐบาลได้ตงั้ กรรมการตามข้อเสนอ หากแต่การไล่รอื้ ทุก แห่งยังไม่ยตุ ลิ ง เครือข่ายยังใช้ยทุ ธวิธสี ร้างบ้าน ฟืน้ ฟูไปเรือ่ ยๆ จัดตัง้ ทีมทนายอาสาขึน้ สูค้ ดีทถี่ กู ฟ้องร้อง รวมไปถึงการตัง้ ทีมท�ำ อ่านและ แปลภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูลนี้ประกอบกับการท�ำผังเมืองชุมชน ประวัตศิ าสตร์พนื้ ที่ ผังการใช้ประโยชน์แปลงที่ดนิ สาธารณะในชุมชน พร้อมผังตระกูล เพือ่ เตรียมยืน่ ให้กบั กรรมการตรวจสอบพิสจู น์สทิ ธิ รูปแบบการท�ำงานแบบนีต้ อ่ มาได้มกี ารอบรมเผยแพร่อย่าง กว้างขวาง เป็นอาวุธลับอีกชิ้นที่ทรงประสิทธิภาพ เป็นหลักฐานที่มี เหตุผล เมื่อผ่านสื่อออกไปสู่สาธารณะ ท�ำให้ชุมชนทั้งหมดที่อยู่ใน
311
312
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
กระบวนการนีส้ ามารถกลับเข้าไปอยูใ่ นทีด่ นิ เดิมของตัวเองได้ทงั้ หมด ถึงแม้จะอยูใ่ นฐานะผิดกฎหมาย แต่กม็ กี ารพิสจู น์สทิ ธิขนานไปกับการ ถูกฟ้องร้องด�ำเนินคดี ในระดับนโยบาย ได้มกี ารประสานงานกับทีมสมาชิกวุฒสิ ภา (สว.) น�้ำดีให้ลงมาช่วยตรวจสอบพื้นที่เช่นบ้านทุ่งหว้า ในที่สุดก็ใช้ ประมวลกฎหมายทีด่ นิ มาตรา 9 ยุตโิ ครงการสร้างโรงพยาบาล แล้วให้ ชุมชนอยูไ่ ปอีก10 ปี เมือ่ การตรวจสอบพิสจู น์สทิ ธิบางแห่งเสร็จสิน้ เตรียมยืน่ กับ รัฐบาล จะพบว่าพืน้ ทีห่ ลายแห่งเป็นของรัฐฯ และอีกหลายพืน้ ที่ เอกชน อ้างความสัมพันธ์ทางการเมืองทัง้ ตรงทัง้ อ้อมกับรัฐ การท�ำงานจึงต้อง ยกระดับขึน้ เรือ่ ยๆ ต่อมาจึงได้จดั ตัง้ เป็นเครือข่ายชุมชนเพือ่ การปฏิรปู การสังคมและการเมือง ( คปสม.) ขึน้ เพือ่ เจรจาประกอบการพิจารณา การแก้ไขทีด่ นิ สึนามิ และมีขอ้ เจรจาเพิม่ เติม อีก 2 ข้อคือ
1. ให้ประกาศเขตรับรองพืน้ ทีว่ ฒ ั นธรรมชาวเล
2. คืนสัญชาติไทยออกบัตรประชาชนให้คนไทยพลัดถิน่
จากนัน้ เครือข่ายชุมชนเพือ่ การปฏิรปู การสังคมและการเมือง ( คปสม.) มีบทบาทในการยืน่ หนังสือ และเจรจาต่อเนือ่ งมาทุกรัฐบาล กระทัง่ ปี พ.ศ. 2553 จึงเริม่ เห็นความส�ำเร็จ อาทิเช่น 1. มติ ครม. รับรองเขตวัฒนธรรมพิเศษชาวเล พร้อมงบ ประมาณฟืน้ ฟูผา่ นกระทรวงวัฒนธรรม
Tsunami : waves of reform
2. พืน้ ทีพ่ พิ าททับตะวัน ไกล่เกลีย่ แบ่งทีก่ บั นายทุนและได้ โฉนดรายแปลง 3. พืน้ ทีท่ งุ่ หว้าใช้ประมวลกฎหมายทีด่ นิ มาตรา 9 อยูอ่ าศัย ได้ 10 ปี พร้อมพืน้ ทีว่ ฒ ั นธรรม 4. พืน้ ทีแ่ หลมป้อมชาวบ้านได้โฉนด แต่ไม่มที างเข้าหมูบ่ า้ น ท้ายทีส่ ดุ ต้องขายคืนนายทุน 5. ชุมชนชาวเล เกาะลันตา สังกาอู้ ได้โฉนดรายแปลง พร้อม พืน้ ทีว่ ฒ ั นธรรม 6. ชุมชนปากเตรียมซือ้ ทีด่ นิ ดูแลร่วมกัน จัดตัง้ เป็นชุมชนใหม่ 7. กรณีการแก้ปญ ั หาชุมชนปลากะตัก ชุมชนริมป่าชายเลน ภูเก็ต ทีผ่ า่ นการท�ำงานของกรรมการพิสจู น์สทิ ธิจนได้ทดี่ นิ ทีอ่ ยูอ่ าศัย ถาวร กระบวนการแก้ปญ ั หาได้ขยายพืน้ ทีอ่ นื่ ๆ ในเกาะภูเก็ต กระทัง่ จัด ตัง้ ขึน้ เป็นเครือข่ายสิทธิคนจนพัฒนาภูเก็ต ในทีส่ ดุ และได้ขยายจาก ประเด็นผูป้ ระสบภัยสึนามิ สูป่ ระเด็นสิทธิทดี่ นิ ชุมชน และพัฒนายกระดับ ตลอดมาจนปัจจุบนั 8. นอกจากการแก้ปญ ั หาเร่งด่วนในบางกรณี อาทิ สังกาอู้ ลันตา ทับตะวัน ทุง่ หว้า บ้านน�ำ้ เค็ม เป็นต้น และการผลักดันให้เกิด มติ ครม.เขตวัฒนธรรมพิเศษชาวเลแล้ว ทีมงานเราได้ทำ� งานจัดตัง้ ขบวน ชาวเลอย่างต่อเนือ่ ง เพราะปัญหาสิทธิชมุ ชนชาวเลส่วนใหญ่ยงั ไม่ได้รบั การแก้ไข
313
314
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ส�ำหรับบ้านน�้ำเค็ม ซึ่งถือเป็นต้นก�ำเนิดของขบวนการ เครือข่ายสึนามิและเครือข่ายชาวเล ได้จดั ระบบเงินบริจาคร่วมกับการ ออมเงินใหม่ โดยก่อตัง้ ธนาคารชุมชน บริหารเงินมากกว่า 10 ล้านบาท ที่ส�ำคัญคือการพัฒนาสมาชิกขึ้นเป็นทีมอาสาป้องกันภัยพิบัติภาค ประชาชน และกลายเป็นพืน้ ทีศ่ กึ ษาดูงานด้านภัยพิบตั ขิ องประเทศและ ต่างประเทศกว่า 30 ชาติ บทบาททีส่ ำ� คัญล่าสุดของพวกเขา คือ การ ผลักดันโมเดล พังงาแห่งความสุข ส�ำหรับหลายพืน้ ที่ ปัญหาทีด่ นิ ยังไม่ได้รบั การแก้ไขและปัญหา ก็ทวีความรุนแรงขึน้ กรรมการพิสจู น์สทิ ธิทดี่ นิ ก็หมดวาระลง การเชือ่ ม โยงประสาน คปสม.ให้รว่ มกับเครือข่ายอืน่ ๆ ทัว่ ประเทศเช่นสหพันธ์ เกษตรภาคเหนือ ใต้ อีสาน ปากมูน รวม 9 องค์กร จัดตัง้ ขึน้ เป็น เครือข่ายขบวนการประชาชนเพือ่ สังคมทีเ่ ป็นธรรม (ขปส. หรือเรียกสัน้ ๆ ว่า P-Move) เจรจากับทุกรัฐบาลอย่างต่อเนือ่ ง รวมทัง้ การผลักดัน กฎหมาย 4 ฉบับ จนถึงปัจจุบนั ตลอดห้วงเวลาการเติบโตของขบวนการ 10 ปี จ�ำนงค์และ ทีมงานนักจัดระบบชุมชนเริม่ ต้นจากการเข้าไปช่วยเหลือผูป้ ระสบภัย สึนามิ และใช้การมีสว่ นร่วมของชุมชนในการจัดการระบบชุมชน จนใน ทีส่ ดุ ก็นำ� ไปสูก่ ารเชือ่ มโยงกันเป็นเครือข่ายเพือ่ ท�ำงานในประเด็นสิทธิ ทีด่ นิ ชุมชน การพัฒนาคุณภาพชีวติ อย่างครบวงจร และการผลักดันแก้ ปัญหาความเหลือ่ มล�ำ้ ในสังคม
Tsunami : waves of reform
วาระประเทศไทย...ว่าด้วยภัยพิบต ั ิ ในวาระ 10 ปี สึนามิ 26 ธันวาคม 2557 นพ.บัญชา พงษ์พานิช
คืนนีเ้ มือ่ 10 ปีทแี่ ล้ว ผมนอนอยูท่ สี่ วนโมกข์ อ�ำเภอไชยา สุราษฎร์ธานี เพือ่ งานการจัดตัง้ หอจดหมายเหตุพทุ ธทาส อินทปัญโญ ทีก่ ำ� ลังก่อการ ยังไม่เป็นทีย่ ตุ วิ า่ จะมาตัง้ ทีก่ รุงเทพอย่างทีเ่ ป็นในทุกวันนี้ โดยขณะทีเ่ กิดแผ่นดินไหวใหญ่ตอนเช้าวันที่ 26 นัน้ ผมก�ำลังขับรถอยู่ บนถนนสายเอเซียทีห่ น้าสวนโมกข์ เพือ่ ลงไปสมทบกับคณะทีต่ งั้ ชือ่ ว่า “เพือ่ นไทยลงไปเยีย่ มพีน่ อ้ งชายแดนใต้” ทีป่ ตั ตานี ซึง่ ก�ำลังเริม่ เกิด เหตุการณ์ตา่ งๆ ตอนนัน้ ผมรูส้ กึ ว่ามีอะไรมาเขย่ารถทีก่ ำ� ลังวิง่ แล้วต่อ มาจึงได้รผู้ า่ นวิทยุวา่ เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ทเี่ กาะสุมาตราจนไปถึงปัตตานี จึงรูช้ ดั ว่าสึนามิได้ถล่มไปทัว่ อาจารย์โฉ หรือ ปาริชาต สถาปิตานนท์ ทีไ่ ปด้วยก็วนุ่ อยูก่ บั การถามข่าวถึงคุณพ่อคุณแม่และน้องทัง้ 2 ทีล่ งไป เทีย่ วอยูท่ เี่ ขาหลัก จังหวัดพังงา ซึง่ ยังติดต่อกันไม่ได้ จากนัน้ ผมจึงตัดสินใจตรงไปจึงหวัดตรัง ทีม่ กี ารนัดพบเพือ่ น พ้องน้องพีภ่ าคใต้ เพือ่ ประมวลสถานการณ์พร้อมกับประเมินว่า “จะท�ำ
315
316
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
อะไรกันได้บ้าง” โดยมีการตกลงแบ่งกันไปลงส�ำรวจประเมินพื้นที่ทั้ง 6 จังหวัดอันดามัน แล้วนัดกลับมาหารืออีกครัง้ ในวันที่ 4 มกราคม พร้อมการส�ำรองเงินทองและข้าวของเพื่อเอาไปช่วยผู้ประสบภัยกัน ตามก�ำลัง ด้วยความทีข่ ณะนัน้ ก�ำลังท�ำโครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขทีภ่ าค ใต้ หรือ “ดับบ้านดับเมือง เรียนรูอ้ ยูด่ ที ปี่ ากใต้” กันอยู่ โดยมีเกาะปู จังหวัดกระบีเ่ ป็นหนึง่ ในพืน้ ทีโ่ ครงการ ผมกับพวกจึงเลือกไปเกาะปู แล้ว พบว่าแม้ทเี่ กาะจะไม่เสียหายมาก นอกจากเรือและเครือ่ งมือประมง แต่ ชาวเกาะปูกลับเสียชีวติ มาก เนือ่ งจากไปท�ำงานกันทีเ่ กาะพีพเี ป็นส่วน ใหญ่ ศพแรกทีพ่ บก�ำลังจะมาถึง ชือ่ “บังบัญชา” พร้อมกันนัน้ เราก็ได้ รับค�ำเตือนว่า อย่าไปพีพี เพราะวุน่ วายสับสนไปหมด ตอนนีไ้ ม่อนุญาต ให้ใครขึน้ เกาะโดยเด็ดขาดแล้ว พวกเราจึงขับรถต่อไปสูเ่ ขาหลักโดยได้พบกับความ “บอกไม่ถกู ” ไปตลอดทาง โดยเฉพาะทีฐ่ านทัพเรือและท่าเรือทับละมุ ซึง่ เละไม่มชี นิ้ ดี จนไปถึงวัดล�ำแก่น ก็ “ไม่ตอ้ งบอกอะไรอีก” เพราะพบกองศพล้นโลง เรียงรายอยูเ่ ป็นร้อยเป็นพัน กระทัง่ ถึงเขาหลัก รถติดยาว พวกเราได้คยุ กับผูก้ ำ� กับต�ำรวจ ท่านหนึง่ ซึง่ บอกผมว่า “ใครก็ได้ชว่ ยด้วย โดยเฉพาะต้องการระบบฐาน ข้อมูลเพื่อการสืบค้นหาญาติมิตร ที่สูญหายพร้อมกับการพิสูจน์ศพ ทีไ่ ม่รวู้ า่ จะท�ำอย่างไร”
Tsunami : waves of reform
ผมจึงโทรศัพท์บอก คุณหมอกฤษดา เรืองอารียร์ ชั ต์ ที่ สสส. ขอให้เตรียมหาคนอาสาลงไปช่วย พร้อมกับตรงไปลงพื้นที่เขาหลัก บางเนียง บางสัก น�ำ้ เค็ม บางม่วง และวัดย่านยาว ทีเ่ ขาหลัก ผมได้พบ กับคุณหมอพรทิพย์ โรจนสุนนั ท์ กับคณะ ทีก่ ำ� ลังยุง่ อยูก่ บั การจัดการ ศพและพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคล และพบปัญหาเดียวกัน และเมื่อผม ประสานกับทางจังหวัดพังงารวมทั้งทีมสาธารณสุข ก็มีปัญหาเดียว กันอีก พวกเราจึงตกลงตัง้ หน่วยอาสาสมัครสึนามิขนึ้ ทีโ่ รงแรมเขาหลัก เนเจอร์ ทีท่ มี กูภ้ ยั เก็บศพจากหลายมูลนิธใิ ช้เป็นฐาน โดย สสส. ได้มลู นิธิ กระจกเงา ภายใต้การน�ำของหนูหริง่ สมบัติ บุญงามอนงค์ ยกทีมลงมา รับช่วง ตัง้ เป็นศูนย์อาสาสมัครสึนามิ หรือ Tsunami Volunteer Center (TVC) และผมได้เวียนช่วยอยูด่ ว้ ยเป็นเดือนๆ สลับกับการไปช่วยเพือ่ น พีน่ อ้ งภาคใต้ ทีก่ ลับไปสรุปกันทีต่ รังในวันที่ 4 ตามทีไ่ ด้นดั หมายไว้ แล้ว ตัง้ เป็นเครือข่ายความร่วมมือฟืน้ ฟูชมุ ชนชายฝัง่ อันดามัน หรือ Save Andaman Network (SAN) เลือกท�ำเรือ่ งการฟืน้ ฟูชวี ติ ชุมชนชาว ประมงพืน้ บ้านชายฝัง่ ตลอดทัง้ 6 จังหวัด เนือ่ งจากเป็นกลุม่ ชายขอบ ไม่มใี ครมองเห็น เราเริม่ ท�ำ โดยมีกลุม่ เอ็นจีโอทีส่ นั ทัด สมัครจะท�ำ ด้วย การสนับสนุนการซ่อมสร้างเรือและเครือ่ งมือประมงแบบมีสว่ นร่วมผ่าน ระบบกองทุนและอู่ซ่อมสร้างของชุมชน ซึ่งผมถูกขอให้รับบทบาท ประธานเครือข่าย เพือ่ การจัดระบบ ท�ำแผนงานพร้อมกับการจัดหางบ ประมาณและประสานการต่างๆ จนเกิดการขยายบทบาท พื้นที่ เครือข่ายอย่างกว้างขวาง มีผู้เข้าร่วมและสนับสนุนงบประมาณเป็น จ�ำนวนมาก จากหลากหลายฝ่าย โดยเฉพาะเครือซิเมนต์ไทย กับตลาดหลักทรัพย์และสมาคมธุรกิจตลาดทุนไทย
317
318
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
เครือข่ายความร่วมมือฟืน้ ฟูชมุ ชนชายฝัง่ อันดามันมีปฏิบตั กิ าร ในเกือบ 150 หมูบ่ า้ น/ชุมชน ชาวประมงชายฝัง่ อันดามันจากระนองถึง สตูล จัดตัง้ กว่า 50 อูซ่ อ่ มสร้างเรือชุมชน ท�ำการซ่อมสร้างเรือร่วม 1,500 ล�ำเพือ่ ให้ ชาวประมงกลับสูอ่ าชีพเพือ่ เริม่ ต้นชีวติ ใหม่ เกือบครึง่ หนึ่งของเรือชาวประมงเล็กที่เสียหาย รวมทั้งกิจกรรมร่วมอื่นๆ คือ การซ่อม-สร้างบ้านแบบมีสว่ นร่วม การจัดตัง้ ศูนย์กฎหมายอันดามันเพือ่ ช่วยแก้ไขปัญหาด้านกฎหมายให้ชมุ ชนชาวประมงพืน้ ทีต่ ลอดจนคนชาย ขอบทัง้ หลาย ท้ายสุดคือระบบการจัดการภัยพิบตั โิ ดยชุมชนทีร่ เิ ริม่ ใน บ้านน�ำ้ เค็มจนเป็นต้นแบบอยูใ่ นขณะนี้
(ภาพการบันทึกรายการวาระประเทศไทย ทีร่ มิ ทะเลข้างอนุสรณ์สถานบ้านน�ำ้ เค็ม ตะกัว่ ป่า พังงา เมือ่ บ่ายวันที่ 25 ธันวาคม 2557 )
Tsunami : waves of reform
รายการนีอ้ อกอากาศในวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2557 เพือ่ น พีน่ อ้ งทีร่ ว่ มงานกันมาโดยเฉพาะชาวบ้านน�ำ้ เค็มชวนผมให้มาร่วมการ บันทึกรายการ วาระประเทศไทย ของสถานีโทรทัศน์ TPBS ที่มี ณาตยา แวววีรคุปต์ เป็นพิธกี ร รายการนี้ มีผรู้ ว่ มสนทนาเกือบ 20 คน จากภาคผูป้ ระสบภัย เอกชนผูม้ าช่วย ภาครัฐ ภาควิชาการ ตลอดจน ภาคนโยบายจากสภาปฏิรปู แห่งชาติ เราคุยกันภายในเวลา 2 ชัว่ โมง ภายใต้ประเด็นทีว่ า่ “สึนามิคอื คลืน่ แห่งการเปลีย่ นแปลง” แล้ว 10 ปี มานีเ้ ปลีย่ นแปลงอะไรไปบ้าง? ดูเหมือน ทางเวทีสนทนามุง่ ติดตามปัญหาทีค่ า้ งคาของชุมชน ชาวบ้าน คือ เรือ่ งปัญหาทีด่ นิ ปัญหาชาวเล และปัญหาคนไทยไร้สญ ั ชาติ ทีโ่ ผล่ผดุ ขึน้ มาหลังภัยคลืน่ ยักษ์ ซึง่ ใช้เวลาในการบอกเล่าและหาทางออก อยูน่ าน กว่าจะได้เข้าประเด็นหลักว่าด้วย “ภัยพิบตั ”ิ ก็แทบไม่มเี วลา โดยผมได้ตงั้ ค�ำถามว่า “หากวันทีค่ รบรอบ 10 ปีสนึ ามิ แล้ว เกิดแผ่นดินไหวตามด้วยสึนามิอกี ครัง้ เรามีความพร้อมพอกันเท่าไหร่” ท่านรองผูว้ า่ ราชการจังหวัดพังงาบอกว่า 60 ใน 100 ในขณะทีห่ ลาย คนบอกว่า 50 : 50 บางคนบอกว่าน่าจะสัก 40 คุณหมอก้องเกียรติ จากโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ตบอกว่า ไม่นา่ จะดีกว่าเดิม ผอ.ศูนย์ปอ้ งกัน และบรรเทาสาธารณภัยสุราษฎร์ธานีบอกว่า ดีสมบูรณ์พร้อมทั้ง กฎหมาย ระบบเตือนภัย มิสเตอร์เตือนภัย การซักซ้อม และอาสา สมัคร อปพร. ทีม่ เี ต็มประเทศ แล้วท่านรองผูว้ า่ ขอปรับเป็นพร้อม 80 แบบหลายคนงงๆ โดยคุณณาตยาถามผมว่า แล้วผมมีข้อเสนอชัดๆ อย่างไร
319
320
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
จากฐานทีเ่ คยประสานจัดการสรุปบทเรียนไว้เมือ่ ครบ 3 ปีของ เหตุภยั พิบตั ิ และเคยถูกเชิญไปร่วมสัมมนากับสถาบันวูด๊ โรว์ วิลสัน ที่ กรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ผมพอจะสรุปเร็วๆ ว่า ให้ปฏิรปู ระบบการ จัดการภัยพิบตั ขิ องประเทศเสียใหม่ ทัง้ ในเรือ่ งของกฎหมาย ระบบ โครงสร้างการจัดการ และความมีสว่ นร่วมเป็นเจ้าของ และมีขอ้ เสนอ 3 เรือ่ ง ดังนี้ 1) แม้พระราชบัญญัตปิ อ้ งกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 จะได้ออกมาหลังภัยสึนามิ 3 ปี แต่จากร่างเดิมทีย่ งั ไม่เกิดสึนามิ ซึง่ ถึงทุกวันนีม้ มี ติ ใิ หม่ ๆ เพิม่ ขึน้ มากมาย ไม่วา่ จะเป็นชนิด ประเภท ขนาด พืน้ ที่ ดังทีเ่ กิดแผ่นดินไหวในภาคเหนืออย่างต่อเนือ่ ง เกิดน�ำ้ ท่วม ใหญ่ในภาคกลางถึงใจกลางกรุงเทพ พบว่า ล้มเหลวไม่เป็นท่าในแทบทุก ภัย โดยขณะนี้ มีบทเรียนจากสากล ความก้าวหน้าทางวิทยาการ ตลอด จนปรากฏกรณีศกึ ษาผูส้ ามารถมีบทบาทร่วมในการจัดการภัยเพิม่ ขึน้ พร้อมๆ กับความเสีย่ งของภัยในอีกหลายรูปแบบทีม่ ใิ ช่เพียงภัยธรรมชาติ จึงจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องมีการทบทวนและปรับปรุงตัวบทกฎหมายเพือ่ ให้การ จัดการเป็นระบบครบถ้วนสอดคล้องต่อบริบททีเ่ ปลีย่ นแปลงตัง้ แต่ (1) การตระหนักรูเ้ ตรียมความพร้อม (2) ป้องกันและลดความรุนแรงเสีย หาย (3) พร้อมเผชิญเพือ่ ความปลอดภัย (4) ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ และ (5) ฟืน้ ฟูชวี ติ ชุมชน 2) จริง ๆ แล้วระบบโครงสร้างการจัดการภัยพิบตั นิ นั้ จะต้องบู รณาการเป็นเชิงซ้อนของ 3 ระดับ คือ ระดับพืน้ ทีช่ มุ ชน ระดับท้องถิน่ และระดับส่วนกลาง มีทงั้ แนวตัง้ และแนวระนาบ เฉพาะผูเ้ ชีย่ วชาญภาย
Tsunami : waves of reform
ใต้ระบบบัญชาเหตุการณ์และเปิดให้มสี ว่ นร่วมอย่างขยายวง ภายใต้ระบบ ประสานจัดการทีด่ ี สหรัฐอเมริกาซึง่ ถือว่าเป็นหนึง่ ในต้นแบบของการ จัดการภัยพิบตั ิ มีระบบโครงสร้างเชิงดิง่ เป็นองค์กรระดับกระทรวง ก็ ต้องทบทวนระบบใหม่หมด หลังจากเกิดเหตุใหญ่เกินการจัดการในช่วง ระยะ 10 ปีทผี่ า่ นมา ประเทศไทยซึง่ แม้จะริเริม่ และตัง้ กรมป้องกันฯ มา เกือบ 100 ปี แต่ตลอดระยะทีผ่ า่ นมา มีความลุม่ ๆ ดอนๆ ด้วยการยุบ ย้ายไปมาหลายกระทรวง หลายรอบ จนแม้ทกุ วันนี้ ทีอ่ ยูก่ บั กระทรวง มหาดไทยก็ยากทีจ่ ะมีความพร้อมเพียงพอเพือ่ การจัดการภัยพิบตั ทิ ด่ี ี เพราะขาดผูร้ แู้ ละผูเ้ ชีย่ วชาญ พร้อมระบบรองรับทีต่ อ่ เนือ่ ง มีแต่นกั ปกครองทีม่ งุ่ หมายการเติบโตในเส้นทางการปกครองเสียโดยมาก ระบบ โครงสร้างที่รวมทั้งองค์กรและองคาพยพการจัดการภัยพิบัติของ ประเทศไทยควรได้รบั การปรับปรุงในจังหวะนี้ 3) เมือ่ ครัง้ แผ่นดินไหวใหญ่ทเี่ มืองโกเบ ประเทศญีป่ นุ่ มีการ ส�ำรวจวิจยั ถามว่า ใครคือผูม้ าช่วยคนส�ำคัญของผูป้ ระสบภัย ค�ำตอบคือ เพือ่ นบ้านข้างเคียงและผูค้ นรายรอบ มิใช่รฐั บาลหรือใครทีอ่ ยูไ่ กลออกไป การจัดการภัยพิบตั จิ งึ ต้องเริม่ จากสิง่ ทีใ่ กล้ตวั ทีส่ ดุ ก่อนทีจ่ ะขยายวง กว้างออกไป การมีส่วนร่วมและเป็นเจ้าของระบบจึงมีความส�ำคัญ กฎหมายและระบบโครงสร้างการจัดการภัยพิบตั จิ ะต้องเห็นและให้ความ ส�ำคัญในเรือ่ งนี้ รัฐโดยล�ำพัง ท้องถิน่ โดยล�ำพัง ไม่สามารถท�ำเองได้ ทัง้ หมด ต้องหนุนเสริมความเข้มแข็งและการจัดการตนเองได้ในระดับ ครัวเรือน ชุมชนและท้องถิน่ และคอยเชือ่ มโยงสนับสนุนส่งเสริมเติมเต็ม เป็นเครือข่ายความร่วมมืออย่างต่อเนือ่ งให้ยงั่ ยืน
321
322
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
(ภาพการสังสรรของอาสาสมัครสึนามิ TVC ทีเ่ ขาหลัก เมือ่ บ่ายวันที่ 25 ธันวาคม 2557)
หลังสิน้ สุดเวทีสนทนาในรายการโทรทัศน์ มีการตกปากรับค�ำ ว่าจะน�ำข้อเสนอไปสานต่อ โดยสมาชิกสภาปฏิรปู แห่งชาติบอกว่า จะน�ำ ไปขับเคลือ่ นต่อ โดยผมได้มอบหนังสือทัง้ 4 เล่มในชุดบทเรียนรูข้ อง ประเทศไทยเพือ่ ความพร้อมพอต่อนานาภัยทีร่ ว่ มกันท�ำเมือ่ ครบ 3 ปี ประกอบด้วย 60 บทเรียนจาก 60 องค์กรทีล่ งไปท�ำงานสารพัดทัง้ ภาครัฐ เอกชน ชุมชน ธุรกิจ ต่างประเทศ และบทเรียนส�ำคัญของบ้าน น�ำ้ เค็ม กับบทสรุปพร้อมแนวทางเพือ่ ความพร้อมพอฉบับภาษาไทย โดย มีอกี เล่มเป็นบทสรุปสัมมนาทีว่ อชิงตันทีน่ ำ� บทเรียนของไทยไปรวมไว้ ด้วย โดยในเช้าวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2557 ผมได้ไปร่วมประชุม
Tsunami : waves of reform
คณะกรรมการกิจการเพือ่ สังคมแห่งชาติ (Social Entrepreneur-SE) ที่ตั้งมา 4 ปีแต่รัฐบาลที่แล้วไม่เรียกประชุม รัฐบาลนี้มีรองนายกฯ ยงยุทธ ยุทธวงศ์ นัดเป็นครัง้ แรกหลังหมดวาระแล้ว ก็ได้เอาไปมอบไว้ อีกชุดในโอกาสครบรอบ 10 ปี ทีก่ ำ� ลังประชุมในเรือ่ งทีน่ า่ จะเกีย่ วข้อง แต่ปรากฏว่าฝ่ายเลขาฯ (ทาง สสส.) ตัง้ เรือ่ งไม่คอ่ ยให้เกีย่ วข้องอย่าง น่าเสียดาย ได้พยายามเสนอแนะ และทัดทาน ก็ดวู า่ ไม่เป็นผล ส่วนในพืน้ ทีน่ นั้ ก่อนกลับมาขึน้ เครือ่ งบินทีภ่ เู ก็ต ก็ได้แวะเยีย่ ม อาสาสมัครสึนามิจากทัว่ โลกทีน่ ดั กันมาร�ำลึกทีเ่ ขาหลักร่วม 150 คน อย่างน่าจะท�ำอะไรให้มากกว่าทีเ่ พียงมาพบปะ สังสรรเท่านัน้ ในนัน้ ผมได้พบนาย Pau Comellas จากบาเซโลน่า ประเทศ สเปน จ�ำได้วา่ พบกันทีบ่ า้ นมอแกลนทับตะวัน เขาเป็นคนทีม่ าขอท�ำ ห้องน�ำ้ ใส่บา้ น เพราะไม่ถนัดงานไม้ ผมได้ถา่ ยรูปใส่ไฟล์ใส่ในสไลด์ Power Point ให้ เขาไปเปิดเล่าให้พชี่ ายฟัง ยังตืน่ เต้นกันยกใหญ่วา่ เหลือเชือ่ ทีน่ อ้ งไปช่วยสึนามิอยูเ่ มืองไทย แล้วมีหมอจากเมืองไทยได้รว่ มงานแล้ว ถ่ายรูปเอาไปเล่าถึงเสปน สวัสดีครับ 10 ปี สึนามิเมืองไทย ไม่รู้เมื่อไหร่จะได้วาระ ประเทศไทยในเรือ่ งนีอ้ ย่างจริงจัง
323
324
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
เริม ่ คิดเขียนวันที่ 2557 ธันวาคม ทีบ ่ า้ นน�ำ้ เค็ม แล้วลงมือขณะรอเครื่องบินกลับกรุงเทพที่สนามบิน ภูเก็ต และเขียนต่อจนเสร็จที่สนามบินดอนเมืองขณะ ร อ เ ค รื่ อ ง บิ น ก ลั บ น ค ร ศ รี ธ ร ร ม ร า ช บ ่ า ย วั น ที่ 27 ธันวาคม 2557
(ภาพ) กับอาสาสมัครสึนามิ TVC ทีบ่ า้ นน�ำ้ เค็ม (ภาพ) คนสวมเสือ้ ยืดสีขาว Andy Chaggar เป็นผูป้ ระสบภัยสูญเสียคนรักแล้วผันมาเป็นอาสา ทุกวันนีเ้ ป็น CEO ของ International Disaster Volunteer (IDVolunteer.org) (ภาพ) ผูช้ ายทีย่ นื ข้างผมคือนาย Pau Comellas ชาวบาเซโลนาทีจ่ องสร้างส้วมทีท่ บั ตะวัน แล้วผมไปพบพีช่ ายทีเ่ สปน
Tsunami : waves of reform
สึนามิกบ ั การท�ำงานทางสังคม : เส้นทางความเจริญงอกงาม ของผูค ้ นหัวใจอาสา นิศานาถ รัตนนาคินทร์ (โยธาสมุทร)
ก่อเกิดจากคลืน ่ ยักษ์ คลืน่ ยักษ์สนึ ามิอาจพรากชีวติ ผูค้ นเรือนแสน แต่กใ็ ห้กำ� เนิดหัวใจ ใหม่กบั ผูค้ นนับไม่ถว้ น รวมถึงความเปลีย่ นแปลงในสังคม ภายหลังภัยพิบตั สิ นึ ามิ เรา (ข้าพเจ้า) ได้คนุ้ เคยและร่วมงาน กับเหล่าอาสาสมัครอิสระ และเจ้าหน้าทีจ่ ากองค์กรต่างๆ ผูม้ หี วั ใจทุม่ เท ท�ำงานเพือ่ บรรเทาทุกข์ของเหล่าผูป้ ระสบภัย แม้เราจะไม่อาจทุม่ เทได้ เช่นเขาเหล่านัน้ แต่กพ็ ยายามนึกถึงแหล่งทรัพยากรทีม่ ใี นองค์กรของเรา และข่ายสัมพันธ์ทเี่ ราท�ำงานด้วย เผือ่ ว่าเราอาจจะเชือ่ มต่อร้อยความ ต้องการทีจ่ ำ� เป็นส�ำหรับการท�ำงานในพืน้ ทีป่ ระสบภัยได้
325
326
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ทีเ่ ขาหลัก จังหวัดพังงา หนึง่ ในพืน้ ทีป่ ระสบภัยรุนแรง เราลงงาน ครัง้ แรกโดยพรรคพวกให้รถไป ได้รว่ มกับอาสาสมัคร 48 ชีวติ ทีไ่ ม่รจู้ กั กันมาก่อน ต่อมา ได้รับแจ้งว่า ยังขาดอุปกรณ์ในการบันทึกข้อมูล ทีมงานของเราจึงได้จัดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่พอใช้งานได้จ�ำนวน 22 เครือ่ ง เพือ่ ลงโปรแกรมประมวลข้อมูลผูเ้ สียชีวติ ชาวต่างชาติตาม แนวคิดของมูลนิธกิ ระจกเงา ศูนย์นจี้ งึ เป็นศูนย์ทมี่ อี าสาสมัครหลายชาติ ซึง่ เชือ่ มโยงกันมาจนถึงปัจจุบนั มูลนิธิกระจกเงาส่งข่าวให้เราลงพื้นที่ร่วมรับฟังและลงงานการ จัดการการเงินทีบ่ า้ นน�ำ้ เค็ม จังหวัดพังงา จึงเป็นโอกาสให้เราได้พบกับ ไมตรี (ไมตรี จงไกรจักร์) , ด้วง (ปรีดา คงแป้น) และทีมงานมูลนิธิ ชุมชนไท ซึง่ ได้รว่ มด้วยช่วยกันในงานภัยพิบตั หิ ลายครัง้ หลายหน เราท�ำ หน้าทีเ่ หมือน “ยาแนว” พยายามเสริมส่วนทีจ่ ะหาได้ตามทีห่ น้างาน ต้องการ แม้วกิ ฤตทีถ่ าโถมมาจากคลืน่ ยักษ์สนึ ามิจางไปแล้ว แต่อาสา สมัครทีร่ ว่ มงานกันในช่วงนัน้ --- ซึง่ ประกอบด้วย มูลนิธกิ ระจกเงา มูลนิธชิ มุ ชนไท บางกอกฟอรัม่ NGO องค์กรอาสา และอาสาสมัครอิสระ ยังเดินงานเรือ่ งภัยพิบตั กิ นั ต่อ เหล่าอาสาสมัครอิสระ อย่าง เรา อ.มิ (ดร.มิชติ า จ�ำปาเทศ รอดสุทธิ) น้องกบ (อนันตา อินทรอักษร) น้องมดแดง (ณัฐยา เดวิดสัน) และอีกหลายๆ คน ยังคงพบปะนัดคุยกันอย่างสม�ำ่ เสมอ ด้วย มีงานและยังมีพบิ ตั ภิ ยั เกิดขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง จนท�ำให้พวกเรากลายเป็น เพือ่ นรัก และรวมกันเป็นข่ายงานอาสาสมัครอิสระแบบขาประจ�ำ และ บางส่วนก็เดินงานด้านข่ายจิตอาสาต่อไป
Tsunami : waves of reform
ปี พ.ศ. 2549 เหตุการณ์อทุ กภัยและโคลนถล่มในภาคเหนือตอน ล่างเรียกร้องบรรดาอาสาให้ขนึ้ ไปทีจ่ งั หวัดอุตรดิตถ์ ซึง่ เป็นพืน้ ทีท่ ไี่ ด้รบั ผลกระทบมากทีส่ ดุ เราจึงได้เรียนรูแ้ ละเพิม่ พูนประสบการณ์ในงานด้าน ภัยพิบตั ใิ นประเด็นดินโคลนถล่ม มูลนิธกิ ระจกเงากับข่ายอาสาสมัครมอง เรือ่ งการฟืน้ ฟูหลังภัยพิบตั ิ เราจึงคุยกับพืน้ ที่ คิดท�ำโรงเพาะเห็ดกัน เพราะพื้นที่ใกล้ๆ ผลิตก้อนเห็ดขายอยู่เดิมแล้ว เราจึงประสานการ สนับสนุนจากกองทุนจัดการภัยพิบัติของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาสร้างโรงเพาะเห็ด ช่วงขาล่องลงกรุงเทพฯ เราเอาก้อนเห็ดติดรถมาเป็นร้อย เมือ่ ผ่าน จังหวัดอยุธยาซึง่ ก�ำลังประสบกับความเดือดร้อนจากภาวะน�ำ้ ท่วมสูง มาก เราจึงแวะส�ำรวจพืน้ ที่ เพือ่ ดูวา่ จะให้ความช่วยเหลืออะไรได้บา้ ง เรา พบเรือ่ งหนึง่ ว่า เห็ดเป็นแหล่งอาหารทีด่ ใี นยามวิกฤต ผูป้ ระสบภัยน�ำ ก้อนเห็ดแขวนไว้กบั ขอบหน้าต่าง รดน�ำ้ (ซึง่ มีอยูร่ อบตัวและรอบบ้าน) ไม่นานก็จะได้อาหารบริโภคทีม่ โี ปรตีนและแร่ธาตุ เป็นคุณค่าทางอาหาร เพิม่ เติมจากอาหารแห้ง บะหมีก่ งึ่ ส�ำเร็จ และอาหารกระป๋องทีไ่ ด้รบั บริจาค ทัง้ จากทีมของเราและจากองค์กรสาธารณกุศลอืน่ ๆ ความคิด ท�ำครัวกันเองก็เกิดขึน้ การอาสาสมัครท�ำให้พวกเราเหล่าอาสากอดคอกันกลมเกลียว เหนียวแน่น ทัง้ ในพืน้ ทีห่ น้างานอาสาและในองค์กรสนับสนุน น้องกุก๊ (อัญชัน แกมเชย) จากบางกอกฟอรัม่ ทีมของมูลนิธชิ มุ ชนไท และอาสา จากมูลนิธกิ ระจกเงา ซึง่ เคยท�ำงานในช่วงสึนามิดว้ ยกัน ยังคงเกาะเกีย่ ว กันไปเป็นอาสาสมัครงานภัยพิบตั ติ า่ งๆ ตามวาระจนถึงปี พ.ศ. 2550
327
328
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ในยุครัฐบาลของ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลนานนท์ โดยท่านอาจารย์ไพบูลย์ วัฒนศิรธิ รรม ในต�ำแหน่งรองนายกฯ มีมติให้ “การให้และการอาสาช่วย เหลือสังคมเป็นวาระแห่งชาติ” ช่วงเวลาใกล้เคียงกันนัน้ เอง กระแสโลกเริม่ ให้ความส�ำคัญกับธุรกิจ ทีร่ บั ผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility หรือย่อว่า CSR) นับเป็นโอกาสทีร่ อคอย เราได้รบั การคัดเลือก (ด้วยการ Vote) ให้เป็นประธานคณะท�ำงาน CSR ขององค์กรเรา เราจึงขอตัง้ ชมรมอาสา สมัครในทีท่ ำ� งาน เพือ่ บ่มเพาะเมล็ดพันธุแ์ ห่งการช่วยเหลือเกือ้ กูลกันใน ใจผูค้ น สร้างแรงบันดาลใจให้คนหันมาร่วมมือกันในการแก้ไขทุกข์ของ สังคม และสร้างสรรค์สงิ่ ดีงามด้วยกัน เราวางหลักการไว้วา่ ชมรมนีต้ อ้ งเป็นของพนักงานและเป็นอิสระ จากโครงสร้างขององค์กร (เหมือนสหภาพฯ) ดังนัน้ เราจึงมีทงั้ ชมรม กรุงไทยอาสา และฝ่าย CSR ขององค์กร แต่ทงั้ นี้ ส�ำนักงานธนาคารกรุง ไทยจะให้การสนับสนุนงบประมาณบางส่วน เช่น ค่าเดินทาง ส่วนค่าที่ พัก ค่าอาหาร เป็นส่วนทีอ่ าสาสมัครต้องรับผิดชอบเอง ด้วยหลักการ อย่างนี้ เราจึงรูส้ กึ เป็นอิสระ ช่วยเหลือกันในทุกเรือ่ ง รวมถึงการระดม ทุนหาเงินเข้าชมรมกันเองด้วย ซึง่ แนวทางการท�ำงานของชมรมได้หลอม รวมพวกเราช่วยเหลือกัน มีความเป็นน�ำ้ หนึง่ ใจเดียวกัน
Tsunami : waves of reform
ชมรมอาสาสมัคร สร้างแรงบันดาลใจ เปิดจิตใจและคลีค ่ ลายก�ำแพงของตัวตน ชมรมกรุงไทยอาสา ก่อตัง้ ขึน้ เมือ่ ปี พ.ศ. 2550 มุง่ รณรงค์ให้ พนักงาน ครอบครัว พนักงานในบริษทั ในเครือและลูกค้า เข้าร่วมกิจกรรม พร้อมให้ความรูห้ ลากหลายอย่าง อาทิ เมือ่ ไม่มภี ยั พิบตั กิ ป็ ลูกปะการัง ปลูกป่าโกงกาง ปลูกกล้วยป่ารักษาต้นน�ำ้ ท�ำโรงเรียนร่วมกับนักศึกษา ฯลฯ เมื่อมีภัยพิบัติก็ลงพื้นที่หรือช่วยจัดกิจกรรมระดมทุน จัดของ สนับสนุนงานพืน้ ที่ เพือ่ เปิดโลกทัศน์ผา่ นการเรียนรูจ้ ากประสบการณ์ตรง อันหลากหลายตามกิจกรรมทีอ่ าสาสมัครอยากเข้าร่วม สิง่ เหล่านีส้ ร้าง แรงบันดาลใจและจิตส�ำนึกในการช่วยเหลือและรับผิดชอบสังคม รวมถึง สานสัมพันธภาพทีด่ รี ะหว่างกันด้วย พนักงานในชมรมได้รบั ความรูส้ กึ ดีและภาคภูมใิ จ ทีไ่ ด้เห็นความ สามารถของตนในการสร้างประโยชน์ ให้สว่ นรวม จาการด�ำเนินกิจกรรม ของชมรม แต่ความท้าทายทีต่ อ้ งเผชิญ คือ การยอมรับของคนภายใน องค์กร จากทุกระดับ มีหลากประเด็นค�ำถามทีเ่ ราต้องชีแ้ จงและถกแถลง เสมอ โดยเฉพาะในช่วงขอรับงบประมาณ ซึง่ มักจะมีคำ� ถามเช่นว่า “ท�ำไม ชมรมฯ ไม่ทำ� กิจกรรมอย่างใดอย่างเดียวให้เกิดภาพลักษณ์ตอ่ องค์กร?” ค�ำตอบของเรา คือ เราไม่ได้ทำ� หน้าทีป่ ระชาสัมพันธ์องค์กรต่อ สาธารณะ แต่เรามุง่ สร้างแรงบันดาลใจและพัฒนาจิตอาสาในหมูพ่ นักงาน ขององค์กรตามวิถขี องเขาเอง
329
330
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
กระบวนการพัฒนาศักยภาพ อาสาสมัครในทีท ่ ำ� งาน การจัดอาสาสมัครลงพื้นที่งาน พนักงานจะได้เรียนรู้ผ่าน ประสบการณ์ตรงในเรือ่ งราวนัน้ ๆ รวมทัง้ เรียนรูจ้ ากองค์กรงานในพืน้ ที่ และอาสาสมัครจากภายนอกทีม่ าร่วมงาน อาสาสมัครได้ขยายการรับรู้ เกิดแรงบันดาลใจในการแสวงหาความรูใ้ หม่ๆ และรูจ้ กั สานสัมพันธ์กบั ผูอ้ นื่ กระบวนการดังกล่าวเป็นการพัฒนาจิต และพัฒนาศักยภาพความ เป็นมนุษย์ ทัง้ ยังสร้างความเป็นทีมในหมูพ่ นักงานและผูอ้ นื่ ด้วย (team spirit)
ศูนย์รว่ มแรง รวมใจ สถานการณ์สร้างการยอมรับ ในทีส่ ดุ ชมรมฯ ก็ได้รบั การยอมรับ จากเพือ่ นๆ ภายในองค์กรอย่างกว้างขวางทีเดียว นับตัง้ แต่ปี พ.ศ. 2549 เมือ่ ใดทีเ่ กิดเหตุภยั พิบตั ิ ทัง้ ในและต่าง ประเทศ ส�ำนักงานใหญ่ของเราจะเปิดเป็นศูนย์รบั บริจาคและจัดส่งสิง่ ของ ไปยังพืน้ ทีป่ ระสบภัย ซึง่ สาขาต่างๆ ของธนาคารก็เข้าร่วมด้วย บางครัง้ ขับรถมาจากต่างจังหวัดน�ำของมาส่งให้ องค์กรเราได้ทำ� งานร่วมกับทีม อาสาขณะนั้น มี “อาสาดุสิต” ของน้องปู (ชิดชนก ฌาณคุปรัตน์) และทีม ยังมีบางกอกฟอรัม่ รวมทัง้ การสนับสนุนบางครัง้ จากชมรม
Tsunami : waves of reform
รัฐวิสาหกิจเพือ่ ชุมชน (รัฐวิสาหกิจทีม่ าร่วมท�ำงานเพือ่ ชุมชน) ช่วยขน ของลงปัตตานี และพืน้ ทีป่ ระสบภัย ครัง้ เหตุอทุ กภัย ปี พ.ศ. 2553 ได้รว่ มกับกลุม่ อาสาสมัครอิสระ ขาประจ�ำ อย่าง น้องแคธี่ (วิลาวัลย์ บุญจันทร์) น้องกบ (อนันตา อินทรอักษร) และเพือ่ น ฯลฯ จัดกิจกรรมระดมทุนเพือ่ สนับสนุนอุปกรณ์ ให้โรงเรียนในพืน้ ทีป่ ระสบภัยช่วงฟืน้ ฟู และช่วงหลังการประท้วงทีแ่ ยก ราชประสงค์ ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2553 เราจัด “ตลาดนัดน�ำ้ ใจ คน ไทยไม่ทงิ้ กัน” โดยจัดพืน้ ทีค่ า้ ขายให้ตามทีช่ มุ ชนต้องการทีล่ านสุขมุ วิท พร้อมมีศิลปินมากมายมาร่วมงาน ระดมตั้งกองทุนให้ชุมชนที่ได้รับ ผลกระทบ ในช่วงมหาอุทกภัย ปี พ.ศ. 2554 อาสาสมัครทัง้ หลายจาก อาสาดุสติ ชมรมกรุงไทยอาสาอาสาอิสระ ท�ำงานกันทุกวัน ตอนพักเทีย่ ง และหลังเลิกงาน ในช่วงเย็นถึงค�ำ่ มืด เราจะเห็นภาพน่าประทับใจทีผ่ คู้ น นับร้อยมารวมตัวกันด้วยใจอาสา --- พนักงานธนาคาร ตัง้ แต่ รปภ. ถึง ผูบ้ ริหารลงมาช่วยระดมทุน คณะนักเรียนโรงเรียนละแวกใกล้เคียงมา ช่วยจัดของ นักศึกษาและคนท�ำงานทีเ่ ดินทางโดยรถไฟ BTS ก็มาลงขัน ร่วมแรงด้วย และบางครัง้ ก็มพี ระคุณเจ้ามาร่วมช่วยอีกแรง และบางคืน ยืดยาวไปจนถึง 3 ทุม่ กว่า ช่วงดึก บางวันอาสาสมัครกว่า 300 คน ได้ รับแจกกาแฟที่บริษัทกาแฟขันอาสามาเป็นแรงหนุนสนับสนุนการ อาสาสมัคร
331
332
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ภัยพิบัติเป็นสิ่งที่ป้องกันหรือหลีกเลี่ยงได้ยาก แต่ทุกครั้งที่ เกิดขึน้ เราเรียนรูท้ จี่ ะดูแลให้หวั ใจอาสางอกงามเติบโตขึน้ เสมอ ไม่เพียง แต่งานอาสาสมัครภายในประเทศ แต่เรารวมกันเพือ่ เพือ่ นร่วมโลกทีก่ ำ� ลัง ประสบภัยพิบตั ดิ ว้ ย อย่างครัง้ ทีเ่ กิดภัยพิบตั พิ ายุนาร์กสี (Nagris) ที่ สหพันธรัฐเมียนมาร์ ในปี พ.ศ.2551 เหตุแผ่นดินไหวทีเ่ ฮติ (Haiti) ปี พ.ศ.2553 และภัยพิบตั สิ นึ ามิทปี่ ระเทศญีป่ นุ่ ปี พ.ศ. 2554 อาสา สมัครอิสระและพวกเราเชือ่ มต่องานกับเครือข่ายทัง้ หลาย บางกอกฟ อรัม่ อาสาดุสติ มูลนิธชิ มุ ชนไท มูลนิธกิ ระจกเงา ฯลฯ เพือ่ ร่วมกันจัด งานตามวาระ นอกจากนัน้ ประสบการณ์ทเี่ คยร่วมงานด้านอาสาสมัคร กับชาวต่างชาติ ก็ท�ำให้พวกเราเชื่อมงานให้ความช่วยเหลือระหว่าง ประเทศได้สะดวกขึน้ อย่างกรณี ให้ความช่วยเหลือกับผูป้ ระสบภัยจาก พายุนาร์กสี เราต้องวางแผนเพือ่ ได้ไปท�ำงาน ทีมกระจกเงาและอาสาน้อง มดแดง (ณัฐยา เดวิดสัน) ลงไปทีล่ มุ่ น�ำ้ ซึง่ โดนพายุหนัก โดยท�ำงานร่วม กับ UN และ Asian เหตุแผ่นดินไหวในเฮติ เครือข่ายของพวกเราจัดงาน ระดมทุนใหญ่และประสานกับอาสาสมัครอเมริกนั ทีเ่ คยร่วมงานกันครัง้ ภัยพิบตั สิ นึ ามิ จัดส่งทุนไปเพือ่ การท�ำงานทีเ่ ฮติ ตามล�ำดับ ล่าสุด ในคราวทีป่ ระเทศญีป่ นุ่ ประสบกับภัยสึนามิครัง้ ใหญ่ เมือ่ ปลายปี พ.ศ.2554 พวกเราร่วมกันจัดกิจกรรมระดมทุนในโครงการ “Wish & Pray for Japan” ทีส่ ำ� นักงานธนาคารกรุงไทยและทีส่ วน เบญจศิริ ในงานมีกจิ กรรมต่างๆ มากมาย อาทิ วาดภาพบนการ์ดและ เขียนข้อความถึงชาวญีป่ นุ่ ทีป่ ระสบภัย เล่นดนตรี การแสดง ฯลฯ
Tsunami : waves of reform
เรานัง่ ท�ำการ์ดกันทีส่ ำ� นักงาน พีค่ ดิ (สมคิด ชัยจิตวนิช) ช่าง ภาพอาชีพน�ำเอาภาพถ่ายของตนเองมาเป็นภาพการ์ดให้ทกุ คนได้เขียน ข้อความ ส่งก�ำลังใจให้ชาวญีป่ นุ่ ผูป้ ระสบภัย อาสาสมัครร่วมกิจกรรม มากันเดีย่ วบ้าง เป็นคูบ่ า้ ง กลุม่ บ้าง และครอบครัวบ้าง ทีโ่ ต๊ะท�ำกิจกรรมเด็กหญิงไทยวัย 10 ขวบคนหนึง่ ก�ำลังเขียน ภาษาญีป่ นุ่ ลงบนการ์ด น้องในทีมอาสาสมัครของพวกเรารูส้ กึ แปลกใจ จึงเข้าไปถาม “เจนนี่ หนูเขียนภาษาญีป่ นุ่ ได้ดว้ ยเหรอ” “เปล่าหรอกค่ะ หนูเปิดดูจากในเว็บ ค�ำนี้ มันมีความหมายให้ ก�ำลังใจนะคะ” เจนนีต่ อบและยิม้ อย่างภาคภูมใิ จ ทีมของเรารูส้ กึ ทึง่ กับความตัง้ ใจของสาวน้อยคนนี้ “แม่เจ้า! ช่างคิดจังเลย พยายามมากด้วย ไปหาข้อความภาษาญีป่ นุ่ ในเว็บมา ซะด้วย” กิจกรรมนี้ มีอาสาสมัครชาวญีป่ นุ่ มาร่วมด้วย พวกเขาก�ำลังคุย กันทีบ่ า้ นพักคนชราชาวญีป่ นุ่ ในประเทศไทย ด้วยทราบว่าพวกเราก�ำลัง จัดงานเพือ่ ช่วยผูป้ ระสบภัยทีญ ่ ปี่ นุ่ ทันทีทพี่ วกเขารู้ ก็รบี รุดมาช่วยเรา ในงาน และชมรมผูส้ งู อายุชาวญีป่ นุ่ ในประเทศไทยก็สง่ เงินสมทบบริจาค ให้ผปู้ ระสบอุทกภัยภาคใต้ของไทยทีง่ านเราด้วย งานนี้ พวกเรา อาสาสมัครคนไทยกับพีน่ อ้ งชาวญีป่ นุ่ ทีอ่ ยูใ่ น เมืองไทยกอดกันด้วยน�ำ้ ตาแห่งมิตรภาพ ส่วนการ์ดทัง้ หลายราวกว่า 400 ใบนัน้ ได้สง่ มอบให้กบั มูลนิธิ Japan Foundation และการ์ดเหล่า นัน้ ได้ไปแสดงในงานการช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยทีญ ่ ปี่ นุ่ ด้วย
333
334
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
กิจกรรมวันนัน้ ปิดท้ายด้วยการหลอมพลังใจของพวกเราทุกคน ท�ำจิตสงบเป็นสมาธิ แล้วส่งก�ำลังใจไปถึงผูป้ ระสบภัยในประเทศญีป่ นุ่ ทุกคน ทีผ่ า่ นมา การจัดกิจกรรมระดมทุนเพือ่ ช่วยเหลือผูป้ ระสบภัย พิบตั ทิ งั้ ในและต่างประเทศ มีชาวต่างประเทศจ�ำนวนมากอาสาเข้าร่วม กิจกรรม ทัง้ มาร่วมบริจาคสิง่ ของ มาเป็นอาสาสมัครจัดของบริจาค เล่น ดนตรี ใช้ทกั ษะและความรูใ้ นการพิสจู น์ความเป็นของแท้ของสินค้าแบ รนด์เนม (Brand Name) ก่อนน�ำไปประมูล ความร่วมมือทีเ่ ราได้รบั จากอาสาสมัครชาวไทยทีห่ ลากหลาย วัย และบรรดาอาสาชาวต่างชาติ เกิดจากข่ายอาสาสมัครของเรา ทีเ่ ชือ่ ม ร้อยกับเพื่อนชาวไทยและต่างชาติ การประชาสัมพันธ์ผ่าน social network อีกทัง้ พืน้ ทีท่ ำ� งานของอาสาสมัครทีส่ ำ� นักงานธนาคาร ตัง้ อยู่ ในย่านส�ำนักงานต่างๆ และเป็นย่านทีอ่ ยูอ่ าศัยของชาวต่างชาติ รวมทัง้ การเดินทางไปมาก็สะดวกด้วยรถไฟ BTS และทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ คนทีม่ หี วั ใจ พร้อมช่วยเหลือกัน มีอยูท่ กุ หนทุกแห่ง ไม่วา่ จะเป็นคนเชือ้ ชาติหรือ ภาษาใด
Tsunami : waves of reform
รวมตัวเป็น “อาสาฝ่าน�ำ้ ท่วม” งานอาสาทีผ่ า่ นมาเป็นสิง่ ทีฝ่ กึ ฝนและเตรียมเราให้พร้อมรับกับ งานทีห่ นักกว่าเดิม ช่วงมหาอุทกภัย ปีพ.ศ. 2554 ทุกคนกระโจนข้าสู่ กระแสน�ำ้ ทีไ่ หลบ่าในทันที พวกเราสานเครือข่ายและร่วมมือกับสถานี โทรทัศน์ ThaiPBS ทีมงานของเรา บางกอกฟอรัม่ อาสาดุสติ และมูลนิธชิ มุ ชนไท เริม่ ด้วยการลงพืน้ ที่ ส�ำรวจความต้องการตามสภาพความเป็นจริง เพือ่ ชีเ้ ป้าหมายลงงานและให้ขอ้ มูลทีมสนับสนุน เพือ่ จัดทีมระดมของบริจาค ตามทีพ่ นื้ ทีต่ อ้ งการ เกิดเป็นวงจรงานทีบ่ รู ณาการพลังจากหลายฝ่าย หลากภาคี ทีม่ าร่วมกันอาสาตามความสามารถเฉพาะของแต่ละบุคคล และแต่ละบทบาทองค์กร ตั้งแต่การรับ-ส่งข้อมูลสถานการณ์ความ ต้องการทีเ่ ป็นปัจจุบนั องค์กรพืน้ ทีห่ น้างานชีเ้ ป้าหมายงาน หน่วยระดม ทรัพยากรสนับสนุนเชือ่ มประสานองค์กรพีน่ อ้ ง เพือ่ ระดมและจัดการ สิง่ ของรับบริจาค บรรจุถงุ ช่วยเหลือ แล้วส่งอุปกรณ์ของบริจาคไปยัง พืน้ ทีเ่ ป้าหมาย และทีส่ ดุ พรรคพวกก็เรียกเราไปลงท�ำงานใน “ทีมอาสา ฝ่าน�ำ้ ท่วม” ซึง่ ท�ำงานกับ ThaiPBS นักวิชาการอิสระ ข่ายพืน้ ทีช่ มุ ชน ต่างๆ ทีมงานกลางของ “อาสาฝ่าน�ำ้ ท่วม” มีพนี่ อ้ งอาสาราว 30 ชีวติ อาทิ คุณอเนก (อเนก นาคะบุตร) ลักษณ์ (สมลักษณ์ หุตานุวตั ร) อ.มิชิตา ตู่ (อยุธยา) แคธี่ (วิลาวัลย์ บุญจันทร์) อุ๊ กบ นอม
335
336
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
แบ๊งค์ (งาม) อ.อุย้ ต๊าฟ พีว่ เิ ชียร (ราชบุร)ี และทีมน้องอาสาอีกหลาย คน ประสานงานกับกองเรือภาคประชาชน อาจารย์ ผูเ้ ชีย่ วชาญเรือ่ งน�ำ้ องค์กรพีน่ อ้ งทีป่ ฏิบตั กิ ารหน้างาน เครือข่ายชุมชนพืน้ ที่ นักธุรกิจ หลังจากตัง้ ฐานปฏิบตั กิ ารที่ ThaiPBS สักระยะ เราก็ตดั สินใจ เคลือ่ นมาตัง้ ทัพ “อาสาฝ่าน�ำ้ ท่วม” ทีส่ นามกีฬา จ.ราชบุรี ท�ำเลทีเ่ หมาะ สมในการปฏิบตั กิ าร เพราะกรุงเทพน�ำ้ ท่วม และเล็งว่าต้องจัดการน�ำ้ ลง ทะเลให้เร็วทีส่ ดุ กว่า 2 เดือน พวกเราท�ำงานกันทีน่ โี่ ดยไม่มวี นั หยุด ลงงานแต่ เช้าตรู่ ประชุมสรุปงานทุกวัน ภารกิจในแต่ละวันมักเสร็จหลังเทีย่ งคืน เสมอ (เรือ่ งนีย้ าว) โดยย่อ กลุม่ อาสาฝ่าน�ำ้ ท่วมท�ำงานเชิงกลยุทธ์ เรา ร่วมงานกับหลายภาคส่วน อาทิ ปฏิบตั กิ ารพาน�ำ้ ลงทะเล, ร่วมกับชุมชน ทะลวงคลองเพือ่ พีน่ อ้ งปลายน�ำ้ , ร่วมปฏิบตั กิ ารกูส้ วนส้มโอ, แหล่ง อาหารสุดท้าย เอาให้อยู่ ฯลฯ ทีมงานต่างๆ ประกอบด้วย • ฝ่ายนโยบาย, ฝ่ายข้อมูลกลาง, ฝ่ายประสานองค์กร นอก-ใน ระบบ และปฏิบตั กิ ารบน social network, ฝ่ายสือ่ สาธารณะ, ฝ่ายข่ายวิทยุสอื่ สาร, ฝ่ายประสานงานการอพยพ, ฝ่ายการเงิน และตรวจสอบบัญชี, ฝ่ายส�ำนักงาน และสวัสดิการ, ผูป้ ระสาน งาน ศูนย์กำ� หนดยุทธศาสตร์การจัดการภัยพิบตั เิ ฉพาะกิจ • มีภารกิจเป็นศูนย์ขอ้ มูลสถานการณ์นำ�้ , ประมวลองค์ความรู้ และเสนอแนวทางการจัดการน�ำ้
Tsunami : waves of reform
สนับสนุนและประสาน การจัดตั้งศูนย์พักพิง, สนับสนุน กระบวนการปฏิบตั งิ านต่อเป้าการท�ำงาน,ประสานข้อมูลกลุม่ เสีย่ งเพือ่ การตัดสินใจ, สนับสนุนกระบวนการมีสว่ นร่วมของ ภาคประชาชนและ ภาคส่วนต่างๆ เพือ่ สร้างภาคประชาชนที่ เข้มแข็ง
เมื่อเวลาแห่งความต้องการเรียกร้อง มาถึง สัญญาใจของข่ายอาสาสมัครที่ยังคง เกาะเกีย ่ วกันโดยปราศจากถ้อยค�ำ ก็จะผสานใจ กันออกเดินทางไปบนถนนเส้นเดียวกันตลอดไป
337
338
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
จากพลังอาสาสูพ ่ ลังการเมืองภาคพลเมือง จากการท�ำงานร่วมกันระหว่างนักวิชาการทุกมิติในเรื่องการ จัดการน�ำ้ ข่ายชุมชน แกนน�ำลุม่ น�ำ้ สูส่ ถานการณ์ โครงการ 3 แสน 5 หมืน่ ล้านของรัฐบาล ท�ำให้เรา ซึง่ เป็นเพียงคนเล็กๆ ได้เห็นความร่วม มือทีเ่ ชือ่ มโยงพัฒนาการความแข็งแรงของข่ายภาคประชาชน ทีร่ ว่ มมือ กับภาคส่วนต่างๆ ผลักดันประเด็นสูน่ โยบายสาธารณะ ดังมีบนั ทึกส่วน หนึง่ ของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ไว้ ดังนี้
การจัดการความรูเ้ รือ่ งน�ำ้ ในมิตใิ หม่ เดือนพฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2554 มีการประชุมเตรียมเวทีเสวนา เรื่องน�้ำในหัวข้อต่างๆ ของเครือข่ายในวิกฤตน�้ำ เป้าหมายเพื่อเสริม (empower) ความรู ้ สติปญ ั ญาร่วมของภาคส่วนต่างๆ เป็นการชวนคิด และแสวงหาความจริง ในการจัดการสังคมไทยในมิตใิ หม่ เวทีเสวนา แบ่งออกดังนี้ 1. หัวข้อ ความจริงเรื่องน�้ำ เสนอความรู้ การจัดระบบ ความรู้ ประกอบด้วยผูร้ เู้ รือ่ งน�ำ้ จากหน่วยงาน สถาบัน นักวิชาการอิสระ 2. หัวข้อ โครงสร้างการบริหารระบบการจัดการน�ำ้ เสนอ นโยบายการจัดการน�้ำ ประกอบด้วยหน่วยงานรัฐที่ เกีย่ วข้องและนักวิชาการ
Tsunami : waves of reform
3. หัวข้อ บทบาทของสือ่ ในสถานการณ์ภยั พิบตั ิ ประกอบด้วย สือ่ มวลชนแขนงต่างๆ 4. หัวข้อ มิตใิ หม่ของการมีสว่ นร่วมเรือ่ งน�ำ้ จ�ำแนกภูมศิ าสตร์ ความรูต้ ามสายอาชีพ ประชาคม ชุมชน นักวิชาการ ฯลฯ 5. หัวข้อ กฎหมายและนโยบาย จากนัน้ ได้มกี ารสรุปและประมวลความรูแ้ ละข้อมูลจากทุกเวที เพือ่ น�ำเสนอต่อสังคมผ่านการจัดเวทีสาธารณะ สูก่ ารคัดค้านประเด็นใหญ่ 3 แสน 5 หมืน่ ล้านด้วย ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 วสท.เปิดเวทีวพิ ากษ์ TOR แผน น�ำ้ 3 แสน 5 หมืน่ ล้าน โดยสรุปว่า แผนนีไ้ ม่มนี ยิ ามแผนทีช่ ดั เจน ไม่ ค�ำนึงถึงผลกระทบทางสิง่ แวดล้อมและสังคม พูดถึงแต่การสร้างและวาง เงือ่ นไข ให้บริษทั ทีร่ บั เหมาต้องเคยรับงานไม่นอ้ ยกว่า 30,000 ล้านบาท มาก่อนในระยะ 10 ปีทผี่ า่ นมา ต้องเป็นบริษทั ขนาดใหญ่บริษทั เดียว หากเป็นบริษทั ต่างชาติ ให้แค่สถานฑูตรับรอง เป็นต้น หลายประเด็น ในแผนน�ำ้ 3 แสน 5 หมืน่ ล้านเป็นเรือ่ งส�ำคัญทีต่ อ้ งพิจารณาและติดตาม อย่างใกล้ชดิ จนเมือ่ มีการประกาศเปิดรับการยืน่ ซองจากบริษทั ในวันที่ 24 กค. พ.ศ. 2555 เรือ่ งนีก้ ก็ ลายเป็นประเด็นใหญ่ระดับชาติ ซึง่ เครือ ข่ายหลายภาคส่วนร่วมใจกันผลักดันประเด็นนีส้ นู่ โยบายสาธารณะท�ำให้ แผนน�ำ้ นีไ้ ด้ถกู ระงับไปในทีส่ ดุ
339
340
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
จิตอาสา : จากคลืน ่ สึนามิสค ู่ ลืน ่ สังคม ดร.มิชติ า จ�ำปาเทศ รอดสุทธิ
อดีตอาสาสมัครสึนามิขอให้เราช่วยเขียนเรื่องราวการเกิด เติบโตของ“จิตอาสา” ทีผ่ า่ นมา ยอมรับเลยว่า ความจ�ำเลือนลางไปมาก พอดีวา่ วันหนึง่ เรามีโอกาสไปอูซ่ อ่ มรถ แล้วเหลือบไปเห็นป้าย ทีต่ ดิ อยูใ่ นศูนย์ เขียนว่า “จิตอาสาบริจาคเลือด” “จิตอาสา” ใจใคร่ครวญกับค�ำนี้ ระหว่างขับรถออกมาจากศูนย์ “คนมันต้องมีจติ อาสามากกว่านีถ้ งึ จะท�ำได้” นีห่ รือเปล่าเป็น ผลสะเทือนทีย่ งั คงมีให้เห็นอยู่ แม้เวลาผ่านไป 10 ปีแล้ว วันแห่งการระดมพล ระดมใจ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 คลืน่ ยักษ์สนึ ามิทำ� ให้ผคู้ น ล้มตายเป็นแสนทั่วโลก ภาคใต้ของประเทศไทยเป็นหนึ่งในที่เกิดเหตุ วันรุง่ ขึน้ คือ วันที่ 27 ธันวาคม คนจ�ำนวนมากจากหลายประเทศหลัง่ ไหลลงไปในพืน้ ที่ ทัง้ ทีไ่ ม่ใช่หน้าที่ พวกเขา คือ “อาสาสมัคร”
Tsunami : waves of reform
เริ่มจากวันที่ สสส. (ส�ำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้าง เสริมสุขภาพ) จัดการประชุมผูเ้ กีย่ วข้องเกีย่ วกับอาสาสมัครสึนามิ โดย การด�ำริของ ศ.นพ.ประเวศ วะสี แนะให้ ดร.สรยุทธยุทธ์ รัตนพจนาถ (เอเชีย) และอาจารย์ ธีระพล เต็มอุดม (หนุม่ ) ทีมจัดการแผนงาน พัฒนาจิตเพือ่ สุขภาพ โครงการร่วมระหว่าง สสส. (ส�ำนักงานกองทุน สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) มสช. (มูลนิธสิ าธารณสุขแห่งชาติ) และ มสส. (มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์) ไปเกี่ยวผู้คนมาคิดร่วมกันถึง แนวทางการส่งเสริมขยายต่อความงดงามของจิตใจอาสาสมัครทีก่ ำ� ลัง ผุดบังเกิดอยู่ วันนัน้ นพ.บัญชา พงษ์พานิช และ ทพ.กฤษดา เรืองอารียร์ ชั ต์ นัง่ เป็นประธานคูก่ นั จาก 40 กว่าคน ทีเ่ ข้าร่วมประชุม เกิดการเกาะเกีย่ ว กันโดยธรรมชาติ เป็นแกน “เครือข่ายจิตอาสา” ทีป่ ระกอบด้วยองค์กรกว่า 10 แห่ง ได้แก่ เครือข่ายพุทธิกาเพือ่ พระพุทธศาสนาและสังคมไทย, มอส. (มูลนิธอิ าสาสมัครเพือ่ สังคม), YIY, V4N, Thai rural RuralnetNet (ปัจจุบนั คือ Change fusion), มูลนิธบิ รู ณะชนบทแห่งประเทศไทยใน พระบรมราชูปถัมภ์, We-Volunteer, U-volunteer, UNV, Kenan International Institute, มูลนิธกิ ระจกเงา, บางกอกฟอรัม่ , ส�ำนักงาน บัณฑิตอาสาสมัคร (สบอ.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีคณ ุ วินย์ เมฆไตรภพ (ปัจจุบนั คือพระวินย์สริ วิ ฑฺ ฒ ฺ โน) ซึง่ ต่อมาได้รบั เป็นผูป้ ระสาน เครือข่ายทัว่ ไปและดูแลเว็บไซต์ของเครือข่าย www.volunteerspirit.org
341
342
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
วิธที ำ� งานของเครือข่ายเป็นแบบองค์กรเครือข่าย (Network Organization) คือไม่มผี นู้ ำ� ถาวร งานใดใครเป็นแกนประสานก็ดแู ลภาพ รวมไป เรียกกันเล่นๆ ว่าท�ำงานแบบ “ลงแขกเกีย่ วข้าว” อาสาสมัครสึนามิสอ ู่ าสาสมัครเพือ ่ สังคม เครือข่ายจิตอาสามีงานร่วมกันครั้งแรก คือ โครงการฉลาด ท�ำบุญด้วยจิตอาสา ประสานงานหลักโดย คุณพรทิพย์ ฝนหว่านไฟ (มิก) จากเครือข่ายพุทธิกาฯ งานอาสาสมัครถูกออกแบบให้เอือ้ อ�ำนวยแก่คน ท�ำงานกระแสหลักได้มโี อกาสปล่อยพลังความรักความเมตตา ผ่านการ ให้ผอู้ นื่ และธรรมชาติ เช่น อาสานวดเด็ก อาสาสร้างกุฏดิ นิ อาสาปลูก ปะการัง อาสาปลูกป่า โดยสอดแทรกประเด็นทางสังคมและ/หรือเรียน รู้ธรรมะ เข้าใจความหมายของการท�ำบุญ เช่นจากพระอาจารย์ ไพศาล วิสาโล แต่ละกิจกรรมใช้การสือ่ สารมวลชนด้วยสือ่ ชนิดต่างๆ ทัง้ กระแส หลักและ social network คูข่ นานตีปบ๊ี เพือ่ การประชาสัมพันธ์แนวคิด จิตอาสาให้แก่สงั คมวงกว้าง ไม่ใช่เพียงเชิญชวนให้องค์กรภาคส่วนต่างๆ เข้าร่วมกิจกรรม แต่ให้เข้าใจและริเริม่ ท�ำด้วยตนเอง เรียกได้วา่ ท�ำทัง้ ทาง อากาศและภาคพืน้ (air-war และ ground-war) โดยผ่านกิจกรรม ต่างๆ เช่น โครงการ 60 ปี 60 ล้านความดีนอ้ มเกล้าถวายในหลวง (ใน โอกาสครบรอบ 60 ปีแห่งการครองราชย์), อาสาเพือ่ ในหลวง, 21
Tsunami : waves of reform
ตุลาคม วันอาสาสมัครไทย, 27 ธันวาคม วันจิตอาสา และเชือ่ มต่อกับ การส่งเสริมงานอาสาสมัครนานาชาติ โดยเครือข่ายจิตอาสาได้เข้าเป็น สมาชิก IAVE (International Association for Volunteer Effort) และ ประสาน ASEAN Volunteer Network ปี 2550 คณะรัฐมนตรีของท่านพล.อ.สุรยุทธ์ จุลนานนท์ โดย การผลักดันและเอื้ออ�ำนวยของท่านรองนายกไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม มีมติให้ “การให้และการอาสาช่วยเหลือสังคมเป็นวาระแห่งชาติ” เพือ่ ส่งเสริมและผลักดันความดีเป็นรูปธรรมให้เกิดขึน้ ทัว่ ประเทศ เครือข่าย จิตอาสาได้ทำ� งานใกล้ชดิ กับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมัน่ คง ของมนุษย์ (พม.) ในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่ง ชาติ และก่อตัง้ ศูนย์สง่ เสริมการให้และการอาสาช่วยเหลือสังคม (ศกอส.) โดยมีอาจารย์ศภุ รัตน์ รัตนมุขย์ (สบอ.) เป็นประธาน เพือ่ การวางแผน ยุทธศาสตร์และผลักดันจิตอาสาทัง้ ในเชิงโครงสร้างระบบและการสือ่ สาร รณรงค์ในแต่ละพืน้ ที่ ภาครัฐแต่ละกระทรวงออกมาตรการต่างๆ เช่น กระทรวงการ พัฒนาสังคมและความมัน่ คงของมนุษย์ (พม.) จัดท�ำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี สร้างสวัสดิการสังคมไทย (พ.ศ.2550-2554) โดยมียทุ ธศาสตร์ การพัฒนาการแก้ปญ ั หาส�ำคัญคือการสร้างจิตอาสาและใช้กลไกให้ทกุ ภาค ส่วนเข้ามาเป็นหุน้ ส่วนทางสังคม, กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ก�ำหนด “จิตอาสา” เป็นหนึง่ ในค่านิยมหลักขององค์กร (core value) เพือ่ ส่ง เสริมวัฒนธรรมองค์กรและสานต่อลงในหลักสูตรและกิจกรรมการศึกษา, ส�ำนักงานข้าราชการพลเรือน (กพ.) อนุญาตให้ขา้ ราชการและเจ้าหน้าที่
343
344
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ของรัฐ ลาไปท�ำงานอาสาสมัครโดยไม่ถอื เป็นวันลาได้ 5 วันท�ำการ, กระทรวงการคลัง ส่งเสริมตัวช่วยทางภาษีทหี่ กั ลดหย่อนภาษีได้ 2% จากรายได้ทงั้ หมดมาเป็นค่าบริจาคแก่องค์กรสาธารณประโยชน์ เป็นต้น กิจกรรมทีช่ ว่ ยให้ทรงพลังขึน้ คือ “ท�ำดีเพือ่ พ่อ” เนือ่ งจากเป็น ปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา คนไทยทุกภาคส่วนทัว่ ประเทศจึงพร้อมใจกันท�ำดีถวายเป็นพระราชกุศล ในรูปแบบต่างๆ ทัง้ ทีส่ ร้างสรรค์อย่างอิสระ หรือมีการออกแบบจาก ส่วนกลาง เช่น 8 ล้านการให้ 8 พันโครงการ 8 พันวันลา, แผนทีท่ ำ� ดี, ต้นไม้แห่งความดี เป็นต้น กระแส CSR (Corporate Social Responsibility) หรือความ รับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจต่างๆ ถูกกระตุน้ ส่งเสริมให้เกิดคูข่ นาน สอดคล้องกันขึน้ โดยมีคณ ุ ศิรชิ ยั สาครรัตนกุล และดร.พิพฒ ั น์ ยอด พฤติการ เป็นแกนประสานร่วมในกระทรวงการพัฒนาสังคมและความ มัน่ คงของมนุษย์ (พม.) ร่วมมือกับหลายหน่วยงานเช่นตลาดหลักทรัพย์ หอการค้าไทย และสภาอุตสาหกรรม เกิดการเคลือ่ นไหวเพือ่ ช่วยเหลือ สังคมมากขึน้ จากภาคธุรกิจ ตัง้ แต่การบริจาคเงิน บริจาคสิง่ ของให้ผู้ ประสบภัยหรือผูท้ ตี่ อ้ งการ มีการรณรงค์เรือ่ งให้ทำ� ดีในมุมต่างๆ อนุญาต ให้พนักงานท�ำงานเป็นอาสาสมัครได้โดยไม่ถอื เป็นวันลา 10 วัน หรือ บางองค์กรถึงขนาดมีสว่ นร่วมในการแก้ปญ ั หาสังคม ปัจจุบนั ค�ำว่า “เครือข่ายจิตอาสา” กลายเป็นค�ำสามัญ หมาย ถึงกลุม่ อาสาสมัครทัง้ หลาย ซึง่ ได้แตกหน่อเกิดขึน้ อย่างมากมายหลาย
Tsunami : waves of reform
กลุม่ มีทงั้ งานดูแลเยียวยาใจผูป้ ว่ ย, งานผสมผสานหลักธรรมเข้ากับงาน อาสา, การและรวมตัวกันใช้ความรูว้ ชิ าชีพเข้าช่วยเหลือสังคม ทัง้ ยังมี ระบบฝากเวลาจับคู่ (matching system) และ แนะน�ำงานอาสาโดย ธนาคารจิตอาสา (JitArsaBank.com), หรือคนไทยขอมือหน่อย, เฟสบุค๊ เพจ Facebook อาสาสมัครฟืน้ ฟูประเทศไทย และเฟสบุค๊ เพจ VolunteerSpirit ทีต่ า่ งมีสมาชิกหลายแสนคน เครือข่ายจิตอาสาดัง้ เดิม ทีเ่ กิดขึน้ ปัจจุบนั ด�ำเนินการอยูโ่ ดยการประสานของคุณนันทินี มาลา นนท์ (แอม) ยังคงดูแลการเชือ่ มต่อพัฒนางานจิตอาสาในเชิงลึกและ กว้างมากขึน้ ผูส้ นับสนุนให้จติ อาสาเกิดเริม่ จากภาคสังคม คือ สสส. และ ศูนย์คณ ุ ธรรม ให้เครือข่ายจิตอาสาลงมือ แต่ที่ “จิตอาสา” เบิกบาน เติบโตได้ตอ่ เนือ่ งถึงวันนีน้ นั้ เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของหัวใจผูค้ น จากทุกภาคส่วนในประเทศ อันไม่สามารถเอ่ยชื่อเล่าให้ฟังได้หมดใน บทความนี้ “จิตอาสา” หรือ “จิตสาธารณะ” เมตตาทีจ่ ะให้หรือช่วยเหลือ ด้วยความอ่อนน้อมและละวางตัวตน ไม่เพียงแต่เห็นตัวเราเอง จึงจะ น�ำไปสูค่ วามสุข อย่างน้อยในใจของผูท้ ำ� เพือ่ สังคมทีเ่ ป็นธรรมและ สันติสขุ ร่วมกัน
345
346
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ประสบการณ์งานอาสาสมัคร ความหวัง ความฝัน การเติบโต ธนพล ทรงพุฒิ
การท� ำ งานอาสาสมั ค ร ไม่ ใ ช่ เ พี ย ง การขุ ด ดิ น สร้ า งฝายหรื อ กิ จ กรรมทั่ ว ๆ ไป แต่เป็นงานสร้างคนที่เริ่มต้นจากคนที่มีจิต ที่ จ ะอาสาช่ ว ยเหลื อ คนอื่ น มาสู ่ ก ารพั ฒ นา ตัวเองด้วย
ตัดสินใจแรก เช้าวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ผมตืน่ มาพบว่า โทรทัศน์ ทุกช่องออกข่าวเหมือนกันหมด คือคลืน่ ยักษ์สนึ ามิเข้าซัดชายฝัง่ อันดามัน จนกระทัง่ บ่ายสองโมงข่าวก็ยงั เหมือนเดิม และสถานการณ์กม็ แี นวโน้ม ว่าจะวุน่ วาย ความเสียหายเกิดขึน้ มากมาย ผมจึงปรึกษากับเพือ่ นๆ ถึงความช่วยเหลือทีเ่ ราจะท�ำได้ จึงตกลงกันว่าจะใช้งบจากค่ายอาสา พัฒนาของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (ABAC) เพือ่ ลงไปยังพืน้ ทีว่ า่ จะท�ำ อะไรได้บา้ ง
Tsunami : waves of reform
ตลอด 16 ชัว่ โมงของการเดินทาง เราเห็นรถกูภ้ ยั วิง่ ไปมาไม่ ขาดสาย ระหว่างทีเ่ ปิดวิทยุฟงั เหตุการณ์ตา่ งๆ จนไปถึงอ�ำเภอตะกัว่ ป่า ก็คดิ กันว่าหากช่วยอะไรได้กจ็ ะช่วยก่อน จึงมองไปทีก่ ารช่วยตอกตะปู ประกอบโลงศพ เพราะเรามีทกั ษะในงานช่างอยูบ่ า้ ง แต่ในความเป็นจริง เมื่อไปถึง งานเหล่านั้นเสร็จหมดแล้ว สรุปว่า วันนั้นเราได้ช่วยยก และขนของ ช่วงบ่ายของวันที่สอง เราไปที่วัดบางม่วงซึ่งเป็นสถานที่ เก็บศพ เราเห็นคนใส่ชดุ ขาวก�ำลังคัดแยกศพ จึงไปช่วยกันยก ฝังชิพ ซึง่ เรายังไม่ตอ้ งใส่ชดุ ขาว เพราะศพยังไม่เน่า วันต่อมาจึงไปช่วยทีว่ ดั บาง ม่วงอีกครึง่ วันแล้วจึงไปทีเ่ ขาหลัก ตลอดสองสามวัน เราจะพบเห็นคนทีไ่ ม่รสู้ ถานการณ์ ขับรถไป มาแบบไม่รจู้ ะไปทีไ่ หน ผมใช้คำ� ว่า “นักท่องเทีย่ วภัยพิบตั ”ิ คืนวันที่ 31 ธันวาคม ในขณะที่เมืองหลวง count down แต่พวกเรา count ศพ กันจนถึงเทีย่ งคืนกว่า และวางแผนกลับกรุงเทพฯ ในวันที่ 2 มกราคม ของปีใหม่
347
348
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ถึงกลับบ้านก็ทนอยูไ่ ม่ได้ เมื่ออยู่บ้านได้ 3-4วัน ผมรู้สึกทนอยู่ไม่ไหว เพราะคิดอยู่ ตลอดเวลาว่า ที่นั่น น่าจะยังให้เราท�ำอะไรได้อีก แต่ตอนนั้นไม่มี งบประมาณในการลงพืน้ ที่ จึงค้นหาข้อมูลจากทางอินเทอร์เน็ตว่ามีทไี่ หน รับอาสาสมัคร ทีไ่ ม่ตอ้ งเสียค่าเดินทาง มีอาหารและทีพ่ กั ให้ เมือ่ ค้นเจอ ศูนย์ประสานงานอาสาสมัครสึนามิ ผมจึงรีบติดต่อ ไปทางโทรศัพท์ประสานการเดินทาง และขึน้ เครือ่ งจากดอนเมืองไปลง ทีภ่ เู ก็ต วันต่อมา มีการแบ่งงานกันออกส�ำรวจพืน้ ที่ ผมซึง่ ไม่ได้ออก ไปส�ำรวจ จึงได้พบกับพีห่ นูหริง่ สมบัติ บุญงามอนงค์ จึงเข้าไปถามว่า “ผมท�ำอะไรได้บา้ ง บอกผมเลย” ขณะนัน้ มีความต้องการคนจัดระบบ back office การท�ำ ระบบไฟ จัดระบบข้อมูลศพ ท�ำคอมพิวเตอร์ ท�ำงานออฟฟิศและ งานแปล ผมได้เรียนรู้งานอาสาสมัครมากในช่วงนั้น เพราะเป็นเด็ก กิจกรรม ท�ำให้เรียนรูอ้ ะไรเร็ว และชอบจัดการงานประสานงานต่างๆ งานร้อนและท้าทายยิ่งของอาสาสมัครอย่างเราคือการเป็น อาสาสมัครสร้างบ้าน ทีบ่ า้ นแหลมป้อม ซึง่ ตอนนัน้ มีประเด็นทับซ้อน เรือ่ งทีด่ นิ ชาวบ้านไม่สามารภกลับเข้าอาศัยในทีด่ นิ เดิมทีเ่ คยอยูอ่ าศัยได้ เครื อ ข่ า ยสลั ม สี่ ภ าคเข้ า ไปช่ ว ยเหลื อ เรื่ อ งการจั ด การสิ ท ธิ์ ใ นการ
Tsunami : waves of reform
ครอบครองและด�ำเนินการให้ชาวบ้านได้กลับไปอยูใ่ นทีด่ นิ เดิมของตน ใน การนี้ ธนู แนบเนียน จากเครือข่ายสลัมสีภ่ าค ได้โทรมาเรือ่ งหาอาสา สมัครไปสร้างบ้าน และพบอาสาทีจ่ ะไปร่วมงาน จัดการอาสาและของบริจาค สัปดาห์หนึ่งๆ เราพบปัญหาและค�ำถามที่เกี่ยวข้องกับ อาสาสมัครว่า จะท�ำอะไร จะพักทีไ่ หน จะเดินทางอย่างไร จึงได้พฒ ั นา เวบไซด์ www.tsunamivolunteer.net เพือ่ ใช้เป็นช่องทางหนึง่ ส�ำหรับ ตอบค�ำถามด้านการจัดการอาสาสมัคร เป็นการจัดระบบอาสาสมัครใน ภาวะวิกฤติ โดยสร้างระบบตอบค�ำถามทีถ่ ามบ่อย (FAQ) อีกทัง้ จัดคน ดูแลส่วนกลางส�ำหรับรับโทรศัพท์ และช่วยตอบและคลีค่ ลายค�ำถามต่างๆ ส�ำหรับด้านผูบ้ ริจาคค�ำถามทีเ่ จอบ่อยคือ “เรามีของบริจาคอยู่ ทีน่ ี่ มาเอาหน่อยได้ไหม เอาไปลงทีไ่ หนได้ จัดการให้หน่อยได้ไหม” “เราเดินทางวันนี้ พร้อมของอย่างนีๆ้ อยากให้ชาวบ้านมาตัง้ แถวรับของบริจาคจากมือเรานะคะ จัดการให้หน่อยได้ไหม” บทเรียนจากศูนย์ผปู้ ระสบภัยบางม่วงได้ขอ้ สรุปว่า การจัดการ ไม่ควรจะกระจายให้ชาวบ้านโดยตรงอย่างเด็ดขาด เพราะจัดการล�ำบาก และเป็นปัญหามาก เราต้องอธิบายว่า หากของแจกไม่พอ มันจะเกิด
349
350
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ความวุ่นวาย เกิดความเสียหาย แล้วมันไม่คุ้ม เราจะให้ชุมชนเป็น ผู้จัดการของเองได้หรือไม่ ค�ำตอบที่ได้มาคือ “ไม่ได้ นายสั่งมา อยากมอบให้กบั มือ กลัวไม่ถงึ ” นอกจากผูบ้ ริจาคแล้ว ระหว่างนัน้ มีอาสาสมัครนับโดยรวมแล้ว ประมาณ 5,000 คน มีอาสาสมัครคนไทยประมาณ 1,000 คน ก็ลม้ ลุก คลุกคลานและเผชิญปัญหานานัปการ ยกตัวอย่างเช่น เรามีอาสาสมัคร ฝรั่งเป็นโปรเจ็คเมเนเจอร์ (project manager) ที่ติดใบกระท่อม อย่างแรง เมือ่ ต�ำรวจพบว่า เขาพกใบกระท่อมเป็นตับ เขาก็เถียงกับ ต�ำรวจว่า คนไทยก็เคีย้ ว ว่าแล้วก็โดนจับไป เรามีอาสาสมัครต่างชาติ เมา เพีย้ นๆ ก็ไม่นอ้ ย ด้วยความหลากหลายนีท้ ำ� ให้ผมคิดว่า ระบบการ จัดการและทีมงานอาสาสมัครต้องแข็ง มีโครงสร้างและยืดหยุน่ ได้ตาม ความเหมาะสม นอกจากนี้ ยังต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องการจัดการกับชุมชน เพราะชาวบ้านต้องการบ้าน แต่เราไม่มงี บสร้าง จึงไม่ควรให้คำ� มัน่ สัญญา เพราะเราท�ำไม่ได้ จากนัน้ จึงมีการพัฒนาฝ่ายระดมทุนขึน้ มา โดยร่วมมือ กับ พอช. ภาคใต้ ถัดมามีการฟืน้ ฟูอาชีพต่อเรือ (boatyard) ทีแ่ หลม ประการัง งานนีต้ อ้ งชืน่ ชมคุณสกอตต์ (Scott) ทีม่ สี ว่ นท�ำให้การต่อเรือ เกิดขึน้ มาอย่างเป็นรูปธรรม เพือ่ ฟืน้ ฟูอาชีพทีเ่ หมาะสมกับพืน้ ที่ เขาเป็น หนึง่ ในอาสาสมัคร ทีท่ มุ่ เทช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยในประเทศไทย เขาขาย โรงงาน ขายบ้าน น�ำเงินมาช่วยระดมทุนร่วมกับชาวบ้าน ซึ่งการ ต่อเรือนี้ ชาวบ้านทีจ่ ะได้เรือล�ำถัดไปต้องเวียนกันมาช่วย ส่วนอาสาก็ ท�ำงานทีไ่ ม่ตอ้ งมีทกั ษะอย่างงานขัดไม้ ขนไม้ หรือขนอิฐ เป็นต้น
Tsunami : waves of reform
ในเวลาวิกฤต เราต้องการ “คน” ทีช่ ว่ ยตอบโจทย์ความต้องการ ได้กอ่ นเป็นอันดับต้นๆ นีเ่ ป็นจุดเริม่ ของงานอาสาสมัครในประเทศไทย ที่ ก�ำลังจะเกิดขึน้ อย่างเป็นรูปธรรม จากใต้ขน ึ้ เหนือ ปี พ.ศ. 2549 เกิดเหตุโคลนถล่มทีอ่ ำ� เภอลับแล จังหวัด อุตรดิตถ์ พีห่ นูหริง่ (สมบัติ บุญงามอนงค์) มอบหมายงานให้ทมี ขึน้ ไปว่า ท�ำอะไรได้ เมือ่ ไปถึง เราเปิดวงสนทนา พูดคุยและสรุปบทเรียน การจัดการชุมชน ปัญหาอุปสรรค เบือ้ งต้นสรุปว่าภารกิจแรก คือ ต้อง ช่วยกันขุดโคลนทีถ่ ล่ม ปีนนั้ เป็นปีครบรอบการครองราชย์ มีการสนับสนุนจากโครงการ อาสารักษ์ในหลวง มีชาวบ้านจากบ้านน�ำ้ เค็ม และอาสาสมัครสึนามิ ขึน้ มาช่วยถึงจังหวัดอุตรดิตถ์ ปีนนั้ เป็นปีทมี่ อี าสาสมัครคนไทยทีเ่ ป็น ผูห้ ญิงจ�ำนวนมากใส่สายเดีย่ วมาลงแรงงานอาสาสมัคร ท�ำให้ททหาร ทีม่ าช่วยตักดินไม่มสี มาธิ ตักผิด ตักถูก จนต้องเตือนให้สาวๆ แต่งตัวให้ มิดชิดขึน้ สักหน่อย มีการเรียกแบบแซวๆ กันว่า “อาสาสายเดีย่ ว” นอกจากนี้ การท�ำงานกับอาสาสมัครท�ำให้เราได้พบเจอและรูจ้ กั กับกลุ่มคนที่หลากหลาย ได้พบผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เช่น ดร.เดช วัฒนชัยยิง่ เจริญ อาจารย์ทมี่ หาวิทยาลัยนเรศวร และผูเ้ ชีย่ วชาญอันดับ 2 ของโลกด้านกล้วยพันธุต์ า่ งๆ นอกจากอาสามัครรายคนแล้ว ยังมีอาสา
351
352
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
สมัครจากมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์มาร่วมเป็นก�ำลังหลัก รวมไป ถึงน้องๆ จากบ้านกาญจนาภิเษกบางส่วนก็มาร่วมเป็นอาสามัครด้วย การท�ำงานกับอาสาสมัครดังกล่าวจะใช้วธิ ใี ห้หวั หน้าทีมแต่ละ ทีมถอดบทเรียนในเรือ่ งปัญหาอุปสรรค สิง่ ทีเ่ ราต้องการมากทีส่ ดุ คือการ สื่อสารกับอาสาสมัครเกี่ยวกับสังคมและชุมชน งานขุดโคลนในช่วง 4 เดือนนัน้ มีอาสาสมัครเข้าร่วมสัปดาห์ละ 400 คน ท�ำให้ทำ� งานพร้อม กันหลายหมูบ่ า้ นได้ งานอาสาสมัครในครัง้ นีท้ ำ� ให้อาสาบางคนผันตัวเอง เป็นเจ้าหน้าทีม่ ลู นิธกิ ระจกเงาจนปัจจุบนั แม้เราจะมีบทเรียนเรื่องการจัดการอาสาสมัครมาหลายครั้ง ก็ตาม แต่กย็ งั ไม่สามารถถ่ายทอดบทเรียนนีไ้ ปสูห่ น่วยงานอืน่ ๆ เช่น สถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานราชการ นัน่ เพราะหลายคนคิดแต่รอ ค�ำสัง่ ให้ผนู้ ำ� คิดให้ และไม่ได้ทำ� งานเชิงยุทธศาสตร์เชิงรุกมากนัก การขุดโคลนนี้ เราใช้บทเรียนจากบ้านน�ำ้ เค็มมาจัดการ คือ หาก ขุดทีบ่ า้ นใด ก็ให้บา้ นนัน้ เป็นศูนย์กลาง โดยมีหมูบ่ า้ นข้างๆ มาช่วย และ หมุนเวียนกันไปจนครบ โดยประชุมร่วมกับผูใ้ หญ่บา้ นว่า บ้านไหนต้อง ขุดโคลนก่อน ก็แจ้งและเรียงล�ำดับกันไป หลังจากนัน้ เหตุการณ์โคลนถล่มก็ยงั เกิดซ�ำ้ ซากและยังพบเจอ ปัญหาแบบเดิม แต่สงิ่ ทีเ่ ปลีย่ นไปคือ ชุมชนและท้องถิน่ สามารถจัดการ เองได้ การท�ำงานอาสาสมัคร ไม่ใช่เพียงการขุดดิน สร้างฝายหรือกิจ กรรมทัว่ ๆ ไป แต่เป็นงาน สร้างคน ทีเ่ ริม่ ต้นจากคนทีม่ จี ติ ทีจ่ ะอาสาช่วย
Tsunami : waves of reform
เหลือคนอืน่ มาสูก่ ารพัฒนาตัวเองด้วย นอกจากอาสาสมัครในประเทศ แล้ว ยังมีโอกาสทีจ่ ะเดินทางไปประเทศเพือ่ นบ้านในนาม อาสาสมัคร ASEAN นาร์กส ี หน้าต่างของการเปิดพม่า พายุใต้ฝนุ่ นาร์กสี เป็นภัยพิบตั หิ นึง่ ซึง่ ส่งผลกระทบต่อประเทศ พม่าเป็นอย่างมาก ทั้งภาวะน�้ำท่วม ดินถล่ม อาคารที่อยู่อาศัยพัง เสียหาย และมีผไู้ ด้รบั ผลกระทบนับหมืน่ ๆ คน การลงพื้นที่ในสัปดาห์แรก เราลงไปศึกษาปัญหาและถอด บทเรียนการท�ำงานของชุมชน ต่อมาก็รายงานต่อ ASEAN ถึงผลความ ต้องการของชุมชน จากการส�ำรวจ พบความเสียหายหลักๆ คือ เรือ่ ง การเกษตรและประมง คณะกรรมการของหมูบ่ า้ นทีป่ ระสบภัยก็ทำ� ข้อมูล อาชีพและการฟืน้ ฟูสง่ มาให้ ASEAN เพือ่ ประมวลแนวทางในการฟืน้ ฟู ทีต่ อ้ งแก้ไขปัญหาปากท้องของชาวบ้าน พายุใต้ฝนุ่ นาร์กสี นอกจากจะเป็นภัยพิบตั ทิ หี่ ลายองค์กรต้อง ร่วมกันช่วยเหลือลงสูป่ ระเทศพม่า ถือได้วา่ เป็นหน้าต่างของการระดม ทรัพยากรจากองค์การสหประชาชาติ (UN) ธนาคารโลก (World bank) ธนาคารเพือ่ การพัฒนาเอเชีย (ADB) ผ่านกระทรวงการต่างประเทศ มาใช้ในการฟื้นฟูความเป็นอยู่ของชาวบ้าน เป็นต้นแบบที่ขยายการ ท�ำงานระดับพื้นที่ ซึ่งเชื่อมต่อกับการท�ำงานร่วมกับองค์กรระดับ
353
354
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
นานาชาติกบั ผ่านหน่วยงานระดับชาติทสี่ ร้างบทบาทกระจายงานออก สูช่ มุ ชน โครงการน�ำร่องในการกระจายอ�ำนาจของรัฐในขณะนัน้ เริม่ จาก การกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยไม่ใช้เงินลงไปยังชุมชนโดยตรง ที่หมู่บ้าน SyiGyi มีการสัง่ ซือ้ ใบเมีย่ ง (bitter leaf) ซึง่ ไร่ใบเมีย่ งนีร้ อดจาก พายุถล่ม โดยให้ชาวบ้านเก็บมาขายกับโครงการ พอขายได้แล้ว เงินครึง่ หนึง่ ของกองทุนจะกลับคืนสูห่ มูบ่ า้ นและให้หมูบ่ า้ นอืน่ ยืมไปหมุนเวียน ต่อไป แต่ข้อแม้ของโครงการจะไม่เน้นตัวเงิน แต่เน้นการหมุนเวียน ผลผลิต เช่น ชาวบ้านเก็บเมีย่ งได้ 10,000 ใบ จะต้องแบ่ง 2,000 ใบ ให้บา้ นอืน่ ทีป่ ระสบภัยด้วย ภารกิจครัง้ นีใ้ ช้เวลา 6 เดือน เราท�ำเรือ่ งนี้ เรารูว้ า่ เราหวังผล อะไร และใครได้อะไร เราชัดเจนถึงประโยชน์ของการฟืน้ ฟู หลังจากนัน้ งานของ ASEAN ก็จบที่การส่งมอบเรือและต้นแบบของงานฟื้นฟู เศรษฐกิจชุมชน น�ำ้ ท่วมปี 2554 ช่วงเหตุการณ์นำ�้ ท่วมปีพ.ศ. 2554 มีการจัดตัง้ ศูนย์ปฏิบตั กิ าร ช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยน�ำ้ ท่วม (ศปภ.) ขึน้ ทีส่ นามบินดอนเมือง มูลนิธิ กระจกเงาได้ทำ� ศปภ.ภาคประชาชน บริหารจัดการงานโดยผ่านอาสา สมัคร ทัง้ แบบชัว่ คราวและแบบระยะยาว โดยมีองค์กรเครือข่ายจิตอาสา
Tsunami : waves of reform
เป็นแนวร่วม มีอาสาสมัครจากทุกสาขาวิชาชีพมาร่วมกิจกรรม โดยแบ่งโครงสร้างการท�ำงานออกเป็นสองส่วน คือ ฝ่ายปฏิบัติการ ส่วนหน้า และฝ่ายสนับสนุนส่วนหลัง โดยปฏิบตั กิ ารส่วนหน้า คือ การระดมอาสาสมัครปฏิบตั ภิ ารกิจ ในหน้างานทีต่ อ้ งเผชิญเหตุเฉพาะหน้าและเร่งด่วน เช่น อาสาสมัคร จัดท�ำกระสอบทราย กองเรืออพยพประชาชน กองรถอพยพประชาชน และอาสาสมัครประจ�ำศูนย์อพยพ ส่วนฝ่ายสนับสนุนส่วนหลังเป็นเสมือนฐานการบัญชาการและ บริหารจัดการ เชือ่ มโยงงานส่วนอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้องเช่นศูนย์ประสานเหตุ ฉุกเฉินทีร่ บั แจ้งเรือ่ งการขออพยพประชาชนจาก สายด่วน 1111 กด 5 ของรัฐบาล บทเรียนจากภารกิจช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยน�ำ้ ท่วม ทีร่ ว่ มมือกับ สายด่วน 1111 ของศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน�้ำท่วม (ศปภ.) คือ การแบ่งพืน้ ทีป่ ระสบภัยเป็นเส้นกริด (grid) เพือ่ การส�ำรวจ และประสานจุดในการเข้าพืน้ ทีใ่ ห้เป็นมาตรฐาน ซึง่ ควรจะท�ำงานควบคู่ กับเครือข่ายวิทยุสื่อสาร หรือกู้ภัยภายในพื้นที่ให้เข้าถึงได้ตรงจุด ยกตัวอย่าง การประสานงานมายังสายด่วน 1111 กับ วิทยุสอื่ สารใน ท้องทีว่ า่ มีผปู้ ระสบภัยใน Grid A7 ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน จะง่ายกว่าการแจ้งบ้านเลขที่ แล้วแจ้งผ่าน อบต. เป็นต้น นอกจากนีย้ งั มีการประสานงานและก่อตัง้ ศูนย์ปฏิบตั กิ ารช่วย เหลือผูป้ ระสบอุทกภัยระดับต�ำบล (ศปภ.ต�ำบล) ทีจ่ ดั ท�ำฐานข้อมูล
355
356
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ต�ำบล เพือ่ ค้นหาผูป้ ระสานงานหลักและทรัพยากรในพืน้ ทีใ่ นการตอบโต้ กับปัญหาอย่างรวดเร็ว และกองทุนน�ำ้ มันเชือ้ เพลิงเพือ่ สนับสนุนน�ำ้ มัน เชือ้ เพลิงในการปฏิบตั ภิ ารกิจของหน่วยกูช้ พี ทีอ่ อกช่วยเหลือผูป้ ระสบ อุทกภัย เป็นต้น นอกจากนีย้ งั มีการบริหารจัดการอาสาสมัครในการท�ำ เสือ้ ชูชพี และแพจากขวดน�ำ้ ส�ำหรับจ่ายแจกให้ประชาชนเพือ่ ลดความ เสีย่ งจากอุบตั เิ หตุในการจมน�ำ้ ซึง่ ตลอดระยะเวลาการตัง้ ศปภ.ภาค ประชาชนทีผ่ า่ นมา มีอาสาสมัครมาร่วมงานกันไม่นอ้ ยกว่า 6,000 คน64 บทเรียนส�ำคัญและความฝันของการจัดการภัย สึนามิเป็นจุดเริม่ ต้นของกระบวนคิด การจัดการกับคนหลาย อย่างหลายแบบ ซึง่ งานเหล่านีไ้ ม่มมี าตรฐานตายตัวในเรือ่ งของทักษะ แต่ละภัยพิบตั ทิ เี่ กิดขึน้ อยูท่ กี่ ารปรับใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ แต่ จุดทีส่ ำ� คัญ คือ “ต้องจิตใหญ่ ใจกว้าง” มองแต่ละเรือ่ งอย่างเข้าใจ และ ต้องใจกว้างกับปัญหาระหว่างหน่วยงานทีแ่ ตกต่างกัน สิบปีเหตุสนึ ามิ ยังคาดหวังว่าจะมีกลไกการท�ำงานด้านภัยพิบตั ิ ทีพ่ ฒ ั นายิง่ ขึน้ ไม่วา่ จะเป็นระดับหน่วยงาน และการพัฒนาการจัดการ ในระดับพืน้ ที่ โดยมองไปทีโ่ ครงสร้าง หากหน่วยงานต่างๆ ทีแ่ ยกกันอยู่ นัน้ สามารถมารวมกันเป็นหน่วยเดียวกัน ในโครงสร้างเดียวกันได้ยามเกิด ภัยพิบตั ิ จะท�ำให้การจัดการชุมชนบนพืน้ ทีเ่ สีย่ ง ทีม่ คี วามหลากหลาย สามาถท�ำได้รวดเร็วและเข้าถึง
Tsunami : waves of reform
ภัยพิบตั ทิ จี่ ะเกิดขึน้ อีกในอนาคต ควรจะมีกองทุนภัยพิบตั ิ ส�ำหรับชุมชน โดยสมาชิกในชุมชนเอง เริม่ จากทุกคนเห็นความส�ำคัญ จากนัน้ จึงขยาย ชักชวนชุมชนอืน่ ๆ มาท�ำในลักษณะเดียวกัน ทัง้ นีต้ อ้ ง เริม่ จากจุดตัง้ ต้นของชุมชนใดชุมชนหนึง่ ให้เป็นรูปธรรม และท้ายทีส่ ดุ คือ ท�ำให้ชมุ ชนบนพืน้ ทีเ่ สีย่ งภัยต่างๆ มีโครงสร้างและแผนการจัดการ ด้วยตัวเองได้อย่างยัง่ ยืน
357
เรือ ่ งเล่าจาก อาสาสมัคร กรองแก้ว ปัญจมหาพร ประเทศไทย
Elaine Chong Singapore
Sheila Sulley England
Stephen Mackay Auckland, New Zealand
Andy Chaggar England
ธีรพงษ์ สุทธิวราภิรกั ษ์ ประเทศไทย
Lynda Warrington England
กรองแก้ว ปัญจมหาพร : ประเทศไทย เริม่ ต้นงานอาสาสมัครอย่างไร และท�ำต่อเนือ่ งมาอย่างไร เริม่ ต้นงานอาสาสมัครในโครงการชมรมเด็ก ซึง่ เป็นโครงการ ฟืน้ ฟูสภาพจิตใจของเด็กหลังจากเหตุการณ์สนึ ามิ เป็นระยะเวลาสิบวัน ในระหว่างการรอเริม่ งานใหม่กบั บริษทั โทรคมนาคมเบอร์หนึง่ ของเมือง ไทย ในฐานะเด็กนักศึกษาจบใหม่ เป็นเรือ่ งยากทีเ่ ราจะตัดสินใจเลือก หนทางในชีวติ ยังจ�ำได้วา่ ก่อนจะขนกระเป๋าเสือ้ ผ้ามาเขาหลัก ยังเดิน ขึน้ เดินลงอพาร์ทเม้นต์หลายสิบรอบ ก่อนจะตัดสินใจได้วา่ มาเขาหลัก สักหนึง่ ปี แล้วค่อยกลับไปหางานใหม่กย็ งั ไม่สายเกินไป เหตุการณ์ภยั พิบตั แิ บบนีใ้ ช่วา่ จะเกิดขึน้ กันได้บอ่ ยๆ ท้ายทีส่ ดุ ท�ำงานกับศูนย์อาสา สมัครสึนามิเป็นเวลาสามปีครึง่ และยังคงภูมใิ จทีไ่ ด้เป็นคนสุดท้ายในทีม ทีไ่ ด้ถอดป้ายศูนย์อาสาสมัครสึนามิออก เพือ่ เป็นสัญลักษณ์ในการปิด ศูนย์อาสาสมัครสึนามิอย่างเป็นทางการ และส่งมอบงานส่วนทีเ่ หลือให้ คนทีอ่ ยูใ่ นพืน้ ทีต่ อ่ ไป แม้งานจัดการอาสาสมัครจะเป็นงานแรกหลังเรียนจบมาใหม่ๆ แต่หลังจากนัน้ โอกาสในงานอืน่ ๆ ก็ทยอยเข้ามาเรือ่ ยๆ จากผูค้ นทีเ่ คย รูจ้ กั จากศูนย์อาสาสมัครสึนามิ ในปี ค.ศ. 2008 หลังเหตุการณ์พายุ ไซโคลนพัดเข้าสูอ่ า่ วอิระวดี ประทศเมียนมาร์ เราได้มโี อกาสเข้าไปช่วย งานในพม่าระยะหนึง่ และได้จดุ ประกายความสนใจทีจ่ ะท�ำงานเพือ่ ช่วย
360
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
เหลือด้านการศึกษาส�ำหรับนักพัฒนาสังคมชาวเมียนมาร์ตอ่ มาเป็นเวลา สามปี โดยส่วนหนึ่งของงานคือการจัดการศึกษาจากประสบการณ์ (experiential learning) ให้นกั ศึกษาปริญญาตรี และโทชาวพม่าทีก่ ำ� ลัง ศึกษาในภูมภิ าคเอเชียผ่านการท�ำงานอาสาสมัครในองค์กรพัฒนาต่างๆ ในภูมภิ าค งานล่าสุดทีก่ ำ� ลังท�ำอยูใ่ นปัจจุบนั คือ ผูป้ ระสานงานโครงการ อาสาสมัครนานาชาติออสเตรเลียเพือ่ การพัฒนา โดยท�ำหน้าทีใ่ นการ จัดการอาสาสมัครระยะยาวเพือ่ พัฒนาศักยภาพนักพัฒนาชาวเมียนมาร์ ในประเทศเมียนมาร์ และในค่ายผูล้ ภี้ ยั ชนกลุม่ น้อยจากประเทศเมียนมาร์ ทีอ่ าศัยในประเทศไทย ไม่ผดิ นักหากจะกล่าวว่า เหตุผลทีไ่ ด้มโี อกาส ท�ำงานปัจจุบนั เป็นเพราะประสบการณ์ทไี่ ด้จากการท�ำงานการจัดการ อาสาสมัครจากศูนย์อาสาสมัครสึนามิ และการท�ำงานพัฒนาด้านการ ศึกษาในประเทศเมียนมาร์เป็นระยะเวลากว่าหกปี ได้บทสรุปเกีย่ วกับการท�ำงานอย่างไรบ้าง เกือบ 9 ปีในการท�ำงานด้านการจัดการอาสาสมัคร พบว่า การ มีอาสาสมัครทีด่ ี มีความรู้ ความสามารถเพียงอย่างเดียว ไม่อาจจะท�ำให้ เกิดการเปลีย่ นแปลงอย่างยัง่ ยืนได้ หากต้องการให้งานอาสาสมัครมี คุณค่า ได้รับการยอมรับ จ�ำเป็นต้องมีระบบการจัดการที่ดีและมี ประสิทธิภาพ เพือ่ จะดึงศักยภาพของอาสาสมัครแต่ละคนมาใช้ให้เกิด ประโยชน์ตอ่ สังคม ต่อเนือ่ งในระยะยาวได้มากทีส่ ดุ
Tsunami : waves of reform
ข้อคิดถึงสังคม สังคมในอุดมคติของเราคือสังคมทีค่ นจิตใจดีและพร้อมจะช่วย เหลือสังคม แม้จะยังไม่มที กั ษะหรือความสามารถทีช่ ว่ ยเหลือสังคม แต่ ก็ยนิ ดีทจ่ี ะพัฒนาความรูแ้ ละความสามารถทีเ่ หมาะสมและยืน่ ความช่วย เหลือให้กบั คนทีต่ อ้ งการความช่วยเหลือได้ เราฝันทีจ่ ะเห็นคนมีความรู้ มีทกั ษะและความสามารถในด้านต่างๆ ร่วมแรงร่วมใจกับองค์กรภาค ประชาสังคมช่วยกันลดช่องว่างในสังคม เพือ่ ทีเ่ ราจะอยูร่ ว่ มกันอย่างมี ความสุขมากขึน้
361
362
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ธีรพงษ์ สุทธิวราภิรก ั ษ์ : ประเทศไทย ตอนนีท้ ำ� อะไร เติบโตงานในทางสังคมอย่างไร
ไม่ได้ทำ� กิจกรรมทางสังคมแล้ว
ได้อะไรจาก The Volunteer Center (ศูนย์อาสาสมัคร) บ้าง การมีจติ ใจอาสาประการเดียวไม่เพียงพอ จะต้องอุทศิ ตน และ หาวิธีที่จะท�ำให้เป้าหมายบรรลุผล ทั้งการร่วมมือกับกลุ่ม และหาก จ�ำเป็นก็ตอ้ งริเริม่ ด้วยตนเอง ข้อคิดต่องานทางสังคม การท�ำงานเป็นทีมคือสิ่งส�ำคัญ มีความประสงค์อทุ ศิ ตนและบริจาคทรัพย์ สิ่งของอยู่เสมอ การจัดการที่ดีจะท�ำให้ เป้าหมายลุลว่ งได้
Tsunami : waves of reform
Elaine Chong : Singapore What have you learned from being at TVC? I learnt that empowering the community to help themselves is the best way forward to help building up their resilience. What would you like to share about being social activist/ volunteer? As a volunteer, coming with an open heart and mind would not only reap a great experience but also fabulous friendships that last a lifetime. After volunteering with TVC (Tsunami Volunteer Center) as the international volunteer coordinator (2007-2008), I worked with the Singapore International Foundation (SIF), a not-for-profit organisation which sends skilled volunteers overseas to share their knowledge and skills with counterparts. I played an intrinsic role in reviewing the whole volunteer management system and organised high level events. Subsequently, I joined the Earth Observatory of Singapore (EOS), a research institute that conducts fundamental research on earthquakes, volcanoes,
363
364
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
tsunamis & climate change, where I designed and managed the EOS outreach programs, and worked on establishing and maintaining networks with various stakeholders to support the effective dissemination of EOS scientific discoveries. Currently, I am undertaking my Masters on Disaster Preparedness, Mitigation and Management at Asian Institute of Technology (AIT) so that I can apply my knowledge, skills and experience to minimise the multi-hazard risks for Asia and to support the on-going development efforts.
Tsunami : waves of reform
Stephen Mackay Auckland, New Zealand (originally born in England) How do you continue your volunteer work?
Occasionally with local community organisations.
What have you learned from TVC? Open hearted trust from an organisation leads to open hearted commitment from its members. TVC remains unique in my experience, as an organisation based in a communal collective agreement, driving real positive change at a time of need. Not talk and discussion but real action on the ground. You could argue that it was inevitable that people would gather to provide support and that success was somehow bound to follow. However we have seen way too many occasions across the globe in these past ten years to confirm that this is not the case. So TVC’s success was caused by something else, something much greater than I have seen before or since.
365
366
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
It is my view that it was because of ‘principles and values-led’ leadership coupled with a light management structure. I define ‘light’ as young and committed people; creative in that, in the face of no prior history or experience of such devastation, they were not hindered by the inertia that usually gets in the way of effective mobilisation. There was an air of ‘anything is possible’ which everyone could be a part of. As an organisation, it was not surprising that TVC was able to attract commitment from a far. ‘Principles and values’ cross all boundaries and so it did not surprise me, that so many volunteers joined in from so many countries and that finance was generated to fund this effort. So what I have learnt from TVC is to keep a solid basis of my values and ideals at the core of all that I do in my business practice. What would you like to share about being social activist/ volunteer?
Tsunami : waves of reform
Go for it. I can’t say exactly why Lynda and I volunteered. I had never done it before and I have not done anything on such a large scale again. It was simply our time to respond. We did so with total commitment that I cannot entirely explain. It was just the right thing to do. So if it feels like it’s the right thing for you to do, just go --- do it. I loved my total experience of being in KhaoLak. Despite the utter devastation my experience is one connected with love. So many people came with open hearts and minds. They had a wilingness to serve and do what they could for the common good. There was very little ego in existence. We worked hard. We played hard. We slept. And then we got up and did it again and again each day for six months.
367
368
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
Lynda Warrington England How do you continue your volunteer work? I worked as a teacher for 6 months at BanNiang School and Lom Ken. I am from England and still have a cottage there and visit often. Currently, we live in New Zealand. I do little voluntary work, but always involve myself in with local community based activities. e. g. helping at fundraisers for kindergarten. What have you learned from TVC? My experience at TVC helped me to learn that I could be incredibly resourceful, that material possessions meant little, that the collective work of many could produce something amazing.
Tsunami : waves of reform
What would you like to share about being social activist/ volunteer? I would share with others that you never know the strength within you to go out of your comfort zone and take on that which you thought you were never capable of...until you volunteer. Rewards come from seeing the effect you have on others that need help.
369
370
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
Sheila Sulley England How do you continue your volunteer work? I work for a Cancer Charity in U.K. and I hope to go to the Philippines soon to help rebuild after the hurricane that hit. What have you learned from TVC?
If a team all work together you can achieve ANYTHING!
What would you like to share about being social activist/ volunteer? I would like to share that I get an enormous amount of satisfaction from helping others and get to meet some amazing people. Also you learn about the real country and not just the tourist side of things.
Tsunami : waves of reform
Andy Chaggar England How do you continue your volunteer work? After Thailand I volunteered in Peru for 9 months after an earthquake in 2007. With some other TVC volunteers I then decided to start my own charity, International Disaster Volunteers (IDV). In the last 5 years IDV has worked in Haiti, after the 2010 earthquake, and also in the Philippines. In the Philippines we first worked in Manila, helping communities hit by regular floods to become more resilient. We are currently working in
371
372
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
Tacloban (the Philippines) to help communities hit by super typhoon Haiyan. Other TVC volunteers worked with IDV in all these locations and in total IDV has now helped over 10,000 people.
What have you learned from TVC? I was actually in KhaoLak when the tsunami hit and I was seriously injured. I also lost my girlfriend of 6 years. I was devastated but working with the TVC taught me a lot of things.
374
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
Tsunami : waves of reform
บทที่ 6 eg การแลกเปลีย ่ นประสบการณ์ กับผูป ้ ระสบภัยในต่างประเทศ ภัยพิบตั ทิ างธรรมชาติเป็นเรือ่ งทีเ่ กิดขึน้ ได้ทกุ พืน้ ทีบ่ นโลกนี้ และปัญหาทีเ่ กิดขึน้ อันเนือ่ งจากภัยพิบตั นิ นั้ ก็เป็นทุกข์อนั สากล คือ ไม่ ว่าจะเป็นคนเชือ้ ชาติ สัญชาติใด มีระบบการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคมแบบใด ก็ลว้ นประสบทุกข์ภยั และปัญหาได้เช่นกัน ภัยพิบัติจึงเป็นปัญหาร่วม ที่เราต้องร่วมใจเรียนรู้และรับมือ ทีผ่ า่ นมา ผูป้ ระสบภัยรูปแบบต่างๆ ไม่วา่ น�ำ้ ท่วม แผ่นดินไหว สึนามิ พายุเฮอริเคน ในโลกได้รว่ มแบ่งปันประสบการณ์และความรูก้ ารรับมือ กับภัยพิบตั ิ
375
376
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
บทเรียนจากความส�ำเร็จของเครือข่ายผูป้ ระสบภัยสึนามิทศี่ นู ย์ พักพิงบ้านบางม่วงถูกน�ำไปใช้เป็นต้นแบบการรับมือภัยจากพิบัติโดย ชุมชนให้กบั พืน้ ทีป่ ระสบภัยอืน่ ๆ ทัง้ ในและต่างประเทศ ท�ำให้เพือ่ นผู้ ประสบภัยในหลายประเทศมีขวัญก�ำลังใจ ทีจ่ ะต่อสู้ ต่อรองให้ศกั ดิศ์ รี และวิถีชีวิตที่ภูมิใจกลับคืนมา ในขณะที่คนไทยเองก็ได้เรียนรู้จากอีก หลายประเทศเช่นกัน หลายปัญหาและประสบการณ์อันเนื่องจากภัยพิบัติในหลาย พื้นที่สะท้อนว่า ปัญหาทางสังคม การเมือง เศรษฐกิจ ฐานคิดทาง วัฒนธรรม อย่างปัญหาด้านเชือ้ ชาติและวรรณะในสังคม เหล่านีเ้ ป็น ปัจจัยส�ำคัญที่จะช่วยให้กระบวนการฟื้นฟูและเยียวยารวดเร็ว มี ประสิทธิภาพ หรือเป็นอุปสรรคทีซ่ ำ�้ เติมทุกข์จากภัยทีผ่ คู้ นก�ำลังเผชิญ อยู่ และท�ำให้การรับมือและเยียวยาปัญหาจากภัยพิบตั ยิ งุ่ ยาก ซับซ้อน เป็นเท่าทวี อย่างไรก็ดี เราพบว่า ในหลายกรณี หากเราเรียนรูท้ จี่ ะเผชิญ ปัญหาร่วมกันได้ดี ภัยพิบตั นิ นั้ เองจะเปิดโอกาสให้เราเยียวยาบาดแผล ในสังคมทีฝ่ งั ลึกมาเนิน่ นานเช่นกัน
Tsunami : waves of reform
นิวออร์ลน ี ส์ : ความหลากหลายทีถ ่ ก ู เลือกปฏิบต ั ิ เมืองนิวออร์ลนี ส์ (New Orleans) รัฐหลุยเซียน่า เป็นทีร่ จู้ กั อย่ า งแพร่ ห ลายในฐานะถิ่ น แห่ ง เพลงแจ๊ ส และความงามทาง สถาปัตยกรรมแบบฝรัง่ เศส ตามย่านเก่าแก่ของเมือง ผูค้ นทัง้ ผูอ้ ยูอ่ าศัย และนักท่องเทีย่ วจะได้ยนิ เสียงเพลงแจ๊สทีบ่ รรเลงประกอบขบวนพาเหรด และงานมาดิกราส์ดงั กังวานอย่างไม่รจู้ บ นิวออร์ลนี ส์เป็นเมืองทีม่ บี รรยากาศกลิน่ อายแห่งความเก่าแก่ ผสานกับความรืน่ เริงบันเทิงใจทีไ่ ม่จำ� กัดด้วยยุคสมัย และยังคงความงาม ที่ธรรมชาติของแม่น�้ำและทะเลสาปจัดสรรให้ด้วย ด้วยเมืองนี้ตั้งอยู่ ระหว่างแม่นำ�้ มิสซิสซิปปี้ (Mississippi) กับ ทะเลสาปพอนเชอร์เทรน (Lake Pontchartrain) และมีทางน�ำ้ เชือ่ มจากแม่นำ�้ มาสูท่ ะเลสาบก่อน จะไหลลงสูอ่ า่ วเม็กซิโก พืน้ ทีเ่ กือบครึง่ ของนิวออร์ลนี ส์อยูต่ ำ�่ กว่าระดับ น�ำ้ ทะเล ในบางจุดอยูต่ ำ�่ กว่าระดับน�ำ้ ทะเลถึง 3 เมตร จึงมีการสร้าง เขือ่ นกัน้ น�ำ้ เพือ่ กันไม่ให้นำ�้ จากแม่นำ�้ มิสซิสซิปปีไ้ หลเข้าท่วมเมือง แม้จะเรียนรูท้ จี่ ะปรับตัวอยูก่ บั น�ำ้ ได้อย่างดี แต่สงิ่ ทีไ่ ม่คาดคิด และไม่ได้เตรียมการมักเกิดขึน้ ได้เสมอ เมือ่ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2548 พายุเฮอร์รเิ คนแคทรีนา่ ทีค่ วามรุนแรงระดับ 5 ซึง่ มีความเร็วลม สูงสุดที่ 280 กิโลเมตรต่อชัว่ โมง ได้ขนึ้ ฝัง่ ทีม่ ลรัฐลุยเซียน่าและลดระดับ ความรุนแรงลงทีร่ ะดับ 4 เมือ่ เคลือ่ นตัวผ่านเมืองนิวออร์ลนี ส์ไปทาง
377
378
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ตะวันออก ผ่านมิสซิสซิปปี้ เทนเนสซี และเคลือ่ นตัวต่อเนือ่ งไปทางเหนือ จนถึงประเทศแคนาดา พายุเฮอร์ริเคนแคทรีน่าถือเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่สร้าง ความเสียหายเป็นวงกว้างมากทีส่ ดุ ในประวัตศิ าสตร์ของสหรัฐอเมริกา ครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างกว่า 92,000 ตารางไมล์ ท�ำลาย ทรัพย์สนิ สิง่ ปลูกสร้างและสาธารณูปโภคต่างๆ ของเมืองขนาดใหญ่อย่าง นิวออร์ลนี ส์ไปเกือบทัง้ หมด ผูค้ นมากกว่า 1,800 คนเสียชีวติ และชาว อเมริกนั หลายหมืน่ ครัวเรือนต้องไร้ทอี่ ยูอ่ าศัย ปราศจากอาหารและสิง่ ประทังชีวติ ขัน้ พืน้ ฐานเป็นเวลานาน แม้คำ� สัง่ อพยพผูค้ นของทางการจะช่วยให้ประชาชนกว่า 1 ล้าน คนรอดพ้นจากภัยพิบตั ิ แต่กม็ ปี ระชาชนอีกจ�ำนวนไม่นอ้ ยทีย่ งั ปักหลัก อยูใ่ นบ้านเรือนของตัวเอง และถูกตัดขาดเป็นเวลานานกว่าความช่วย เหลือจะเข้าไปถึง65
คนยากจนถูกกีดกันออกจากพื้นที่ : การช�ำระล้างทาง ชาติพนั ธุ์ ในการบรรยายเรือ่ ง ภัยธรรมชาติในมุมมองทางมานุษยวิทยา (Natural Hazards in Anthropological Perspective) ทีจ่ ดั โดย ศูนย์ ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2555
Tsunami : waves of reform
ศ. เลสลี อี สปอนเซล (Professor Leslie E. Sponsel) แห่ง มหาวิทยาลัยฮาวายทีม่ าโนว (University of Hawai i at Mànoa) กล่าวว่า บุคคลทีป่ ระสบปัญหา หรือได้รบั ผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ครัง้ นีม้ ากทีส่ ดุ คือคนยากจน ซึง่ ก็คอื คนแอฟริกนั -อเมริกนั เมืองนิวออร์ลนี ส์เป็นเขตพืน้ ทีเ่ ศรษฐกิจ วัฒนธรรม และแหล่ง ท่องเทีย่ วส�ำคัญ ผูอ้ ยูอ่ าศัยส่วนใหญ่เป็นคนแอฟริกนั -อเมริกนั ทีอ่ ยูก่ นั มานับตัง้ แต่อดีต แต่หลังจากทีพ่ ายุเฮอริเคนถล่มเมืองจนย่อยยับ ก็ทำ� ให้ มีการอพยพผูค้ นออกจากพืน้ ที่ นับเป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการช�ำระ ล้างทางชาติพนั ธุ์ (ethnic cleansing) ต่อคนแอฟริกนั -อเมริกนั ทีเ่ คย อยูใ่ นพืน้ ทีน่ มี้ าแต่เดิม รวมถึงชาวเวียดนามทีอ่ พยพเข้าไปอยูอ่ าศัยใน พืน้ ทีน่ ี้ ท�ำประมง ประกอบธุรกิจเล็ก ๆ พวกเขาทัง้ หมดนีถ้ กู กันและ ผลักดันออกจากพืน้ ทีท่ อี่ าศัยและด�ำรงชีวติ ผ่านข้ออ้างทีว่ า่ จะฟืน้ ฟูเมือง ขึน้ ใหม่ นีค่ อื การช�ำระล้างทางชาติพนั ธุต์ ามสไตล์อเมริกนั ทีอ่ าศัยพิบตั ิ ภัยแคทรีนา่ เป็นเครือ่ งมือ นอกจากนี้ ยังมีประเด็นเรือ่ งการส่งความช่วยเหลือจากส่วน กลางทีล่ า่ ช้า โดยเฉพาะกับกลุม่ ชนผิวสีทมี่ ฐี านะยากจน พวกเขาได้รบั ความช่วยเหลือล่าช้ากว่ากลุม่ คนผิวขาวทีป่ ระสบภัยเช่นกัน ไมตรี จงไกรจักร์ สะท้อนข้อคิดเห็นจากเวทีแลกเปลี่ยน ประสบการณ์การรับมือกับภัยพิบตั ิ กับตัวแทนผูป้ ระสบภัยจากนิวออร์ลนี ส์ ไว้อย่างน่าสนใจว่า
379
380
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
“FIMAi เป็นหน่วยงานเพือ่ จัดการกับภาวะวิฤติ หน่วยนีป้ ระกาศ ให้ทกุ คนห้ามเข้าพืน้ ที่ ซึง่ เป็นแบบแผนของการเกิดภัยพิบตั ิ คือ เมือ่ เกิด เหตุการณ์ภยั พิบตั กิ จ็ ะถือโอกาสขับไล่คนทีอ่ ยูอ่ าศัยเดิม เพือ่ น�ำพืน้ ที่ ท�ำเลดี ๆ มาพัฒนา นอกจากนี้ ความช่วยเหลือทีล่ า่ ช้าจากส่วนกลาง ตอกย�ำ้ ว่า ในกรณีอย่างนี้ ชุมชนต้องพึง่ พากันเองให้มากขึน้ ไมตรีและเครือข่ายผูป้ ระสบภัยสึนามิได้แลกเปลีย่ นประสบการณ์ ของตนเองในเรือ่ ง การจัดการศูนย์พกั พิงชัว่ คราว อาทิ การดูแลของ บริจาค การบริหารศูนย์โดยสมาชิก เป็นต้น ซึง่ บทเรียนเหล่านีไ้ ด้ให้ แนวทางกับกลุม่ คนเวียดนามและกลุม่ คนผิวสีในนิวออร์ลนี ส์ ทีจ่ ะไปดูแล สถานการณ์ของตน อย่างกรณีที่ ชาวบ้านจากนิวออร์ลนี ส์มาดูงานทีบ่ า้ น น�้ำเค็ม บางส่วนก็กลับไปรวมตัวกันเรียกร้อง เจรจา ต่อรองนายก เทศมนตรีของเมืองจนสามารถกลับเข้าไปอยูใ่ นพืน้ ทีอ่ าศัยเดิมของตนได้ รวมแล้วราว 900 ครอบครัว กรณีทเี่ กิดขึน้ ทีน่ วิ ออร์ลนี ส์ชชี้ ดั ว่า รูปแบบการจัดการภัยพิบตั ิ ในแบบทีร่ ฐั บาลเป็นผูด้ แู ลทุกอย่าง โดยประชาชนในพืน้ ทีป่ ระสบภัยไม่ อาจเข้าไปมีสว่ นร่วมได้ ส่งผลกระทบต่อวิถคี วามเป็นอยู่ อัตลักษณ์ตา่ งๆ ของชาติพนั ธุ์ ตัวตนทางประวัตศิ าสตร์ และท�ำให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียม กันของพลเมืองอเมริกนั ได้อย่างชัดเจน ซึง่ เป็นการซ�ำ้ เติมผูป้ ระสบภัยที่ มีความสูญเสียอยูแ่ ล้วให้สญ ู เสียมากยิง่ ขึน้ อย่างทีไ่ ม่ควรจะเป็น ฟีมา หรือ ส�ำนักจัดการภาวะฉุกเฉินส่วนกลาง (FEMA - Federal Emergency Management Agency) เป็นหน่วยงานภายในรัฐของสหรัฐอเมริกาทีก่ อ่ ตัง้ ขึน้ ส�ำหรับปฏิบตั กิ ารในสถานการณ์ ฉุกเฉิน เมือ่ 1 เมษายน พ.ศ. 2522 โดยมีหน้าทีห่ ลักคือการประสานงานส�ำหรับแก้ปญ ั หาภัย พิบตั ทิ เี่ กิดขึน้ ในสหรัฐอเมริกา I
Tsunami : waves of reform
ศรีลง ั กา : สึนามิกบ ั สิทธิชม ุ ชน ศรีลงั กาเป็นประเทศทีม่ ปี ญ ั หาความขัดแย้งทางเชือ้ ชาติระหว่าง ชาวสิงหลและชาวทมิฬมาเป็นเวลานับศตวรรษ ชาวทมิฬต้องการแยก ดินแดนทางภาคเหนือและตะวันออกของประเทศให้เป็นมาตุภมู ทิ มิฬ จึง ได้กอ่ ตัง้ กลุม่ LTTE (ชือ่ ทีร่ จู้ กั ทัว่ ไปเรียกว่า กลุม่ กบฏพยัคฆ์ทมิฬอีแลม) เพือ่ เป็นกองก�ำลังในการต่อสูก้ บั รัฐบาล โดยใช้วธิ กี ารก่อการร้ายและการ ลอบสังหาร โดยพุง่ เป้าไปทีห่ น่วยทหาร ผูน้ ำ� ทางการเมือง และเจ้าหน้าที่ ทางการท้องถิน่ ชาวสิงหล ทัง้ สองฝ่ายได้มกี ารลงนามความตกลงหยุดยิงเมือ่ ปี พ.ศ. 2545 โดยมีประเทศนอร์เวย์เป็นผู้ไกล่เกลี่ย และได้เจรจาสันติภาพมาแล้ว 8 ครัง้ (ครัง้ ที่ 8 จัดขึน้ เมือ่ วันที่ 28 – 29 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ทีน่ ครเจนีวา โดยไม่ปรากฏผลทีส่ ำ� คัญใดๆ) อย่างไรก็ตาม การเจรจา หยุดชะงักเป็นช่วงๆ อุปสรรคส�ำคัญของการเจรจา คือ ขาดความไว้ วางใจซึง่ กันและกัน และความจริงใจทีจ่ ะยุตปิ ญ ั หาอย่างถาวร66 เมื่อศรีลังกาประสบกับเหตุสึนามิ แม้จะเป็นความทุกข์ยาก สาหัสกับผู้คน แต่นานาชาติก็หวังมากว่า ทุกข์ร่วมในครั้งนี้จะสาน สันติภาพในประเทศนีไ้ ด้ ทว่า เรือ่ งราวกลับไม่เป็นดังหวัง
381
382
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
ระบบวรรณะที่ฝังรากลึกในวัฒนธรรมเป็นอุปสรรคต่อการให้ ความช่วยเหลือกับคนในวรรณะต�ำ่ ทีส่ ดุ อีกทัง้ บรรยากาศแห่งความ ขัดแย้งทางการเมืองระหว่างมุสลิมสองฝ่ายที่มีมายาวนานก็ยิ่งท�ำให้ กระบวนการฟืน้ ฟูและเยียวยาทุกข์ของผูค้ นทีไ่ ด้รบั ผลกระทบจากคลืน่ ยักษ์สนึ ามิยากล�ำบากขึน้ เป็นเท่าทวี เพราะรัฐบาลกับกลุม่ กบฏพยัคฆ์ ทมิฬอีแลมยังคงต่อสูก้ นั ทางการเมือง รวมถึงเรือ่ งการแบ่งเงินช่วยเหลือ จ�ำนวนหลายร้อยล้านดอลลาร์67 อย่างไรก็ดี ท่ามกลางอุปสรรคนานาดังที่กล่าวไปนั้น หลาย ประเทศก็พยายามระดมความช่วยเหลือให้ศรีลงั กาในรูปแบบต่างๆ ตาม หลักมนุษยธรรมจนกระทัง่ สถานการณ์ในศรีลงั กาฟืน้ ฟูขนึ้ ในทีส่ ดุ ในระยะฟืน้ ฟูนเี้ อง มีการประกาศจากเทศมนตรีในหลายเมือง ทีอ่ ยูต่ ามชายหาดให้ผคู้ นและชุมชนประมงทีอ่ ยูต่ ดิ ทะเลต้องอยูห่ า่ งจาก ชายฝัง่ 200 เมตร ค�ำประกาศนีเ้ ท่ากับเป็นการไล่ประชาชนออกจาก พืน้ ทีท่ งั้ หมด
Tsunami : waves of reform
ตัวแทนจากเครือข่ายผูป้ ระสบภัยสึนามิ บ้านน�ำ้ เค็ม ได้มโี อกาส เดินทางไปยังประเทศศรีลงั กาเพือ่ เข้าไปแลกเปลีย่ นประสบการณ์หลังเกิด เหตุการณ์ได้ไม่นาน ผลของการแลกเปลีย่ นประสบการณ์ครัง้ นัน้ ท�ำให้ ชุมชนผูป้ ระสบภัยบริเวณชายหาดของศรีลงั กาได้เข้าไปเจรจาต่อรองกับ รัฐบาลท้องถิ่น ซึ่งระบบของศรีลังกามีข้อดีอยู่ที่ว่า รัฐบาลท้องถิ่น สามารถออกประกาศได้โดยไม่ตอ้ งรอการตัดสินใจจากรัฐบาลกลาง (ซึง่ ต่างจากประเทศไทยทีห่ ลายอย่างต้องรอการตัดสินใจจากรัฐบาลกลาง) ดังนัน้ เมือ่ ชุมชนชายฝัง่ ได้เจรจาต่อรองกับรัฐบาลท้องถิน่ ส�ำเร็จ ก็ทำ� ให้ ชุมชนสามารถขยับเข้าไปใกล้กบั ทะเลซึง่ เป็นแหล่งท�ำมาหากินได้ จาก เดิม ทีป่ ระกาศให้ผคู้ นอยูห่ า่ งจากทะเล 200 เมตร ก็ขยับเข้ามาเป็น 60 เมตร นับได้ว่าเป็นการเจรจาที่มีความคืบหน้าของชุมชน ท่ามกลาง สถานการณ์ทางการเมืองทีย่ งั ไม่แน่นอนของประเทศศรีลงั กา
383
384
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
อินโดนีเซีย : จากสึนามิ สูส ่ น ั ติภาพ ความพยายามเจรจาและหาข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาล อินโดนีเซียและชาวอาเจะห์ เพือ่ สันติภาพด�ำเนินการมากว่าทศววรษ แต่ ยังไม่ปรากฏเค้าลางแห่งความส�ำเร็จ จนกระทัง่ คลืน่ ยักษ์สนึ ามิซดั ถล่ม ชายฝัง่ อาเจะห์เมือ่ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 คลืน่ ยักษ์ทำ� ลายเมืองและหลายชีวติ แต่กเ็ ป็นตัวเร่งกระบวนการ สูส่ นั ติภาพสูอ่ าเจะห์ “สึ น ามิ ท� ำ ให้ ทั้ ง สองฝ่ า ยเปลี่ ย นความคิ ด เรื่ อ งจุ ด ยื น ของ ตัวเอง” 68 สันติภาพในอาเจะห์ เป็นประเด็นส�ำคัญทีห่ ลายฝ่ายสนใจ ใน เวทีแลกเปลีย่ นประสบการณ์ในงานร�ำลึกครบรอบหนึง่ ปีสนึ ามิ ปลายปี พ.ศ. 2548 ทีอ่ าเจะห์ ประเทศอินโดนีเซีย คราวนัน้ เครือข่ายผูป้ ระสบ ภัยสึนามิ และองค์กรต่างๆ ทีเ่ กีย่ วข้องจากทัว่ โลกไปร่วมแลกเปลีย่ น ประสบการณ์ดา้ นการจัดการภัยพิบตั ขิ องแต่ละประเทศ และยังได้โอกาส ในการเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการสร้างสันติภาพและการฟืน้ ฟูอาเจะห์ อีกด้วย มูลเหตุของความขัดแย้งในอาเจะห์เริ่มต้นขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2519 สืบเนือ่ งมาจากหลายปีกอ่ นหน้านัน้ รัฐบาลอินโดนีเซียสมัยอดีต ประธานาธิบดีซฮู าร์โต้ ให้สมั ปทานขุดเจาะน�ำ้ มันแก่บริษทั จากประเทศ
Tsunami : waves of reform
สหรัฐฯ ขณะทีค่ นในอาเจะห์ไม่ได้รบั ส่วนแบ่งอย่างเป็นธรรม เช่นเดียว กับทรัพยากรธรรมชาติอนื่ ๆ ทีค่ นในพืน้ ทีไ่ ม่ได้ใช้ประโยชน์ นอกจากนัน้ ยังมีการจ�ำกัดและห้ามแสดงออกทางวัฒนธรรมท้องถิน่ ด้วย ความไม่พอใจเรือ่ งการปกครองทีม่ คี นจากส่วนกลางมาควบคุม โดยบางครัง้ ละเลยความรูส้ กึ ของคนในท้องถิน่ ความไม่เท่าเทียมในเรือ่ ง การเข้าท�ำงานภาครัฐ ยิง่ ตอกย�ำ้ ความเจ็บปวดในส�ำนึกทางประวัตศิ าสตร์ ทีอ่ าเจะห์เคยเป็นอาณาจักรอิสลามทีร่ งุ่ เรือง ก่อนทีจ่ ะถูกครอบครองโดย ชาวดัชต์เป็นเวลานาน ประเด็นเรื่องเอกลักษณ์ชาติพันธุ์จึงเป็นเรื่อง ละเอียดอ่อนมากส�ำหรับชาวอาเจะห์ ทัง้ หมดนีจ้ งึ เป็นเหตุให้เกิดการก่อตัง้ กลุม่ “กัม” (ขบวนการปลด ปล่อยอาเจะห์หรือ GAM (Gerakan Aceh Merdeka)) ช่วงปี พ.ศ. 2532 กองก�ำลังกัมได้รบั ความสนับสนุนจากต่างชาติ และต่อต้านกองทัพ อย่างเข้มแข็ง ท�ำให้รฐั บาลจัดตัง้ เขตหวงห้ามทางทหารในอาเจะห์ ช่วง นีเ้ องทีม่ กี ารละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรงในพืน้ ทีจ่ ากฝีมอื ของทัง้ ทหารและกองก�ำลังกัม ในปี พ.ศ. 2547 อินโดนีเซียเข้าสูก่ ารเลือกตัง้ ประธานาธิบดี ท�ำให้กระบวนการสันติภาพต้องหยุดชะงักอีกครัง้ และในช่วงปลายปีนนั้ เอง คือ วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 คลืน่ ยักษ์สนึ ามิซดั เข้าชายฝัง่ จังหวัดอาเจะห์ สร้างความสูญเสียสาหัสแก่ชาวเมือง ทว่า วิกฤตนก็มโี อกาสแฝงเร้นอยู่ เหตุภยั พิบตั คิ รัง้ นีเ้ ป็นแรงกระตุน้ ส�ำคัญทีท่ ำ� ให้ทงั้ รัฐบาลและ
385
386
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
กลุม่ กัม เร่งรัดกระบวนการเจรจาเพือ่ สันติภาพ จนได้ขอ้ ตกลงจัดตัง้ เขต ปกครองตนเอง แบ่งรายได้จากทรัพยากรให้ทอ้ งทีร่ อ้ ยละ 70 ส่วนรัฐบาล กลางได้รอ้ ยละ 30 แต่อำ� นาจด้านกลาโหม ความมัน่ คง การต่างประเทศ และระบบเศรษฐกิจการคลัง ยังคงอยูก่ บั รัฐบาลกลาง กว่า 20 ปีของความขัดแย้งทีท่ ำ� ให้มผี เู้ สียชีวติ มากกว่า 15,000 คน บวกกับอีก 7 ปี ในการด�ำเนินการสูส่ นั ติภาพ ในทีส่ ดุ ความสงบจึง คืนสูอ่ าเจะห์ ซึง่ กระบวนการทัง้ หมดบรรลุได้ ก็ดว้ ยความตัง้ ใจของผูท้ ี่ เกีย่ วข้องกับความขัดแย้งในทุก ๆ ฝ่าย ทีม่ คี วามตัง้ ใจให้เกิดสันติภาพ69 “เป็ น ที่ น ่ า สั ง เกตว่ า ระบบการปกครองที่ ไ ม่ ใ ช่ ร ะบอบ ประชาธิปไตย มีหวั ใจในการช่วยเหลือกันยามวิกฤติมากว่าประเทศทีเ่ ป็น ประชาธิปไตยอย่างสหรัฐอเมริกา” ตัวแทนเครือข่ายผูป้ ระสบภัยสึนามิ สรุปทิง้ ท้ายหลังจากเล่าถึงความประทับใจในการเจรจาสันติภาพของ อาเจะห์
Tsunami : waves of reform
เมียนมาร์ : พายุนาร์กส ี กับการพึง ่ ตนเอง ต้นเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2551 พายุไซโคลน นาร์กสี พัดเข้า พืน้ ทีแ่ ถบสามเหลีย่ มปากแม่นำ�้ อิระวดี และนครย่างกุง้ เมืองหลวงของ เมียนมาร์ สร้างความสูญเสียอย่างมหาศาล ชาวเมียนมาร์เสียชีวติ นับ หมื่นคน สูญหายอีกหลายหมื่นชีวิต บ้านเรือน ทรัพย์สิน และ สาธารณูปโภคต่างๆ พังยับเยิน70 หลายหน่วยงานในประเทศไทยระดมก�ำลังเพือ่ เข้าไปช่วยเหลือ ตัง้ แต่ระยะแรกจนถึงระยะฟืน้ ฟู องค์กร เช่น เสมสิกขาลัย มูลนิธเิ สฐียร โกเศศ-นาคะประทีป มูลนิธชิ มุ ชนไท เข้าไปท�ำกระบวนการอบรมเกีย่ ว กับการฟืน้ ฟูชมุ ชนหลังภัยพิบตั ิ โดยการแนะน�ำให้มกี ารจัดตัง้ กลุม่ ออม ทรัพย์กบั เครือข่ายแกนน�ำชุมชน แม้กระนัน้ ในช่วงเวลาดังกล่าว สถานการณ์ในเมียนมาร์ยงั มี ปัญหาเรือ่ งชนเผ่าต่างๆ กับรัฐบาล ท�ำให้การช่วยเหลือเข้าไม่ถงึ ผูป้ ระสบ ภัยในหลายพืน้ ที่ ประชาชนส่วนใหญ่จงึ ต้องพึง่ ตนเองในทุกด้าน “ส�ำหรับประเทศที่ปิดตัวจากโลกภายนอก และสถานการณ์ การเมืองภายในทีม่ ปี ญ ั หาระหว่างกลุม่ ต่างๆ เช่น เมียนมาร์ เราจะเห็น ความพยายามพึง่ พาตัวเอง โดยไม่รอหรือร้องขอความช่วยเหลือจากต่าง ประเทศ เหตุนก้ี ท็ ำ� ให้การเข้าไปของกลุม่ หรือองค์กร ทีจ่ ะเข้าไปช่วยเหลือ และแลกเปลีย่ นประสบการณ์การรับมือกับภัยพิบตั เิ ป็นไปค่อนข้างล�ำบาก
387
388
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
และจ�ำกัด คือ เข้าไปในเมียนมาร์ได้เพียงหนึง่ ครัง้ อย่างไรก็ตาม เมียนมาร์ เป็นประเทศทีน่ ำ� แนวคิดเรือ่ งการฟืน้ ฟูหลังเกิดภัยพิบตั ไิ ปใช้มากทีส่ ดุ ” ปรีดา คงแป้น ผูจ้ ดั การมูลนิธชิ มุ ชนไท ให้ความเห็น จากการเข้าไปแนะน�ำเกี่ยวกับการตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อ ช่วยเหลือกันในชุมชน และแกนน�ำได้นำ� ไปปรับใช้ โดยระยะแรกจะมีเงิน ตัง้ ต้นจากแหล่งทุน จากนัน้ สมาชิกทีส่ มัครใจจะมีการออมเป็นรายเดือน เดือนละเท่าๆ กัน ซึง่ ทางกลุม่ ออมทรัพย์จะน�ำเงินไปฝากธนาคาร หาก สมาชิกมีความประสงค์จะกูเ้ งิน ให้ไปกูเ้ งินจากธนาคารโดยจะมีกองทุน ค�ำ้ ประกันให้ การตัง้ กลุม่ ออมทรัพย์นถี้ อื ว่าได้ผลเพราะกลุม่ ยังมีการออม กันอยู่อย่างต่อเนื่อง ไม่ได้ล้มหายไปเหมือนหลายกลุ่ม เพราะมีการ สานต่อ มีแกนน�ำรุน่ ใหม่ผลัดเปลีย่ นหมุนเวียนกันขึน้ มาน�ำ ในประเด็น นี้ ปรีดา คงแป้น ได้ให้ความเห็นไว้วา่ “กลุม่ ออมทรัพย์ใช้ได้กบั กลุม่ ชาวบ้านทีม่ ฐี านะยากจน เป็นจุด เริม่ ต้นของการพบปะเพือ่ ให้เกิดกิจกรรมทางสังคมร่วมกันและสร้างความ เข้มแข็งให้กบั กลุม่ ชุมชนได้เป็นอย่างดี” การพึง่ ตนเองได้แม้ในยามวิกฤติของชุมชนเล็กๆ ในเมียนมาร์ เป็นตัวอย่างหนึง่ ทีท่ ำ� ให้เราเห็นความไม่ยน่ ย่อและยอมแพ้ของมนุษย์ที่ ก้าวข้ามข้อจ�ำกัดต่างๆ และสามารถยืนได้ดว้ ยตัวชุมชนได้อย่างน่าสนใจ
Tsunami : waves of reform
แคนาดา : แลกเปลีย ่ นประสบการณ์ ในวันทีอ ่ ยูอ ่ าศัยสากล วันจันทร์แรกในเดือนตุลาคมของทุกปี สหประชาชาติกำ� หนดให้ เป็นวันทีอ่ ยูอ่ าศัยโลก (World Habitat Day) เพือ่ ให้ประเทศต่างๆ ใน โลกได้ให้ความสนใจกับสถานการณ์การอยูอ่ าศัยและการตัง้ ถิน่ ฐานของ มนุษย์ ตลอดจนสิทธิพนื้ ฐานของการมีทอี่ ยูอ่ าศัยทีเ่ หมาะสม และเพือ่ สร้างความตระหนักในความรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการให้มนุษย์ทกุ คนมีทอี่ ยูอ่ าศัยในอนาคต เป็นการปฏิบตั กิ นั ทัว่ โลก ภายใต้การแก้ปญ ั หา ตามแผน 40/202 ในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 198571 วันทีอ่ ยูอ่ าศัยโลกในปี ค.ศ. 2013 จัดขึน้ ทีเ่ มืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา และในโอกาสนัน้ เครือข่ายผูป้ ระสบภัยสึนามิ ได้ไปร่วม แลกเปลีย่ นเกีย่ วกับการฟืน้ ฟูทอี่ ยูอ่ าศัยหลังเกิดภัยพิบตั ิ การสร้างทีอ่ ยู่ อาศัยในภาวะภัยพิบัติ และน�ำเสนอประเด็นการแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับ “การสร้างบ้านอย่างมีสว่ นร่วมของผูป้ ระสบภัย” ซึง่ เป็นส่วนหนึง่ ของ การฟืน้ ฟูชมุ ชนและสร้างความเข้มแข็งให้กบั ชุมชนหลังภัยพิบตั ิ
389
390
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
นอกจากนี้ ยังได้เรียนรูก้ ารสร้างบ้านพักชัว่ คราวให้กบั ผูป้ ระสบ ภัยพิบตั โิ ดยมีวสั ดุอปุ กรณ์ทใี่ ช้เวลาในการสร้างเพียง 2 ชัว่ โมง แทนทีจ่ ะ ใช้เวลาเกือบเดือนอย่างเช่นทีท่ ำ� กันโดยทัว่ ไป บ้านพักชัว่ คราวนี้ เป็นบ้านพักแบบถอดประกอบได้ สามารถ ใช้งานได้หลายรูปแบบ และใช้ได้นานกว่า 10 ปี ประกอบด้วยชุดขนาด 3 ห้องต่อ 3 ครอบครัว กว้าง 2.40 เมตร ยาว 10.80 เมตร ราคา ประมาณ 30,000 บาท อีกทัง้ มีหอ้ งน�ำ้ ยกพืน้ มีถงั เก็บปฏิกลู ด้านล่าง ท�ำให้งา่ ยในการจัดการดูแลและใช้งาน เพือ่ ใช้ในระหว่างประสบภัย นอกจากนี้ ยังได้นำ� เสนอมีระบบอืน่ ๆ เช่น ต้องมีทมี จัดการ อุปกรณ์สว่ นกลาง ทัง้ บ้านพักชัว่ คราว เรือ ห้องน�ำ้ มีทมี จัดการระบบ สาธารณูปโภค ทัง้ น�ำ้ กิน น�ำ้ ใช้ ไฟฟ้า การดูแลความสะอาด อบรมการ ใช้วิทยุสื่อสารแก่ผู้รับผิดชอบ เช่น ฝ่ายเรือ พื้นที่อพยพและชุมชน จัดทีมอพยพขนย้ายก่อนน�ำ้ ท่วม และหลังน�ำ้ ลด เป็นต้น
Tsunami : waves of reform
แม้วา่ ตลอดระยะเวลา 10 ปี ทีผ่ า่ นมา จะมีการแลกเปลีย่ น ประสบการณ์ในการจัดการภัยพิบตั กิ บั ประเทศต่างๆ ทัว่ โลก หลายต่อ หลายครัง้ แต่การจัดการภัยพิบตั ขิ องแต่ละประเทศก็ยงั ต้องมีการพัฒนา ขึน้ มาจากบริบทของชุมชนท้องถิน่ ในแต่ละพืน้ ที่ แต่ละประเทศ ตัวแปร ทีม่ อี ยูม่ ากมายทัง้ เรือ่ งการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ค่านิยม ทีแ่ ตกต่างกัน ท�ำให้การจัดการภัยพิบตั ไิ ม่อาจจัดการได้ดว้ ยรูปแบบใดรูป แบบหนึง่ แต่สามารถน�ำรูปแบบต่างๆ ทีไ่ ด้เรียนรูจ้ ากประสบการณ์ของ พืน้ ทีอ่ นื่ ๆ มาออกแบบปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของพืน้ ทีน่ นั้ ๆ และ สามารถยืดหยุน่ ได้ตามตัวแปรทีม่ อี ยูจ่ ริง ซึง่ แต่ละพืน้ ทีจ่ ะต้องพัฒนาการ จัดการภัยพิบตั ทิ เี่ หมาะสมขึน้ มาจากการมีสว่ นร่วมของผูค้ นในพืน้ ทีน่ นั้ ๆ เพือ่ ให้แผนการจัดการภัยพิบตั ไิ ม่ใช่แค่แผนทีอ่ ยูบ่ นกระดาษ แต่เป็นแผนที่ อยูใ่ นใจทุกคนและสามารถน�ำมาใช้ได้ผลจริงเมือ่ ต้องประสบพบเจอกับ ภัยพิบตั ไิ ม่วา่ รูปแบบใด
391
392
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
อ้างอิง 1. http://th.wikipedia.org/wiki/ อ้างจาก Fradin, Judith Bloom and Dennis Brindell (2008). Witness to Disaster: Tsunamis. Witness to Disaster. Washington, D.C.: National Geographic Society. p 42, 43. 2. บัญชา พงษ์พานิช. (2548). ระลึก 100 วัน คลืน่ ยักษ์ถล่มไทยที่ อันดามัน. นครศรีธรรมราช : PLAY + LEARN เพลินสถาน หมากปาล์ม เมืองนคร. : 24-29. 3. คาร์ล เซกชไนเดอร์ และ วไลทัศน์ วรกุล. (2550). “78 สัปดาห์หลัง สึนามิ : บทสรุปความช่วยเหลือเชิงคุณภาพและปริมาณหลังเหตุการณ์ สึนามิในประเทศไทย.Tsunami Aid Watch Programme,มูลนิธไิ ฮน์รคิ เบิลล์ ส�ำนักงานภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. เชียงใหม่. หน้า 20- 21 4. ไพโรจน์ สิงบัน และคณะ. (2551). เมือ่ ร่วมมือฟืน้ ฟูกไู้ ทย...จากภัย พิบตั ”ิ สึนามิ” เสนอ 60 กรณีศกึ ษาทีร่ ว่ มไม้รว่ มมือกันจัดการภัยพิบตั ใิ น ประเทศไทย. กรุงเทพฯ : แปลน โมทิฟ จ�ำกัด. 5. ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2554). อ้างแล้ว. 6. ภาสกร จ�ำลองราช. (2557). วิถที ถี่ กู รุกล�ำ้ : คนชายข่าว คนชายขอบ. โครงการสือ่ สารสุขภาวะชุมชนชายขอบ. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.หจก.
Tsunami : waves of reform
7. ธีรศักดิ์ สุขสันติกมล. (2553). ผลกระทบของการพัฒนาภายหลังเหตุ การณ์สนึ ามิ พ.ศ.2547 ต่อการปรับเปลีย่ นอัตลักษณ์ของกลุม่ ชาติพนั ธุ์ มอแกนบ้านเกาะเหลาหน้านอก จังหวัดระนอง. วิทยานิพนธ์หลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชามานุษยวิทยา ภาควิชามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ. 8. ส�ำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). “การเกิดคลืน่ ยักษ์สนึ ามิในภูมภิ าคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมือ่ ปี 2547”. ใน รายงานการศึกษาเบือ้ งต้น การจัดการภัยพิบตั แิ ละ การฟืน้ ฟูบรู ณะหลังเกิดหลังเกิดภัย กรณีศกึ ษาไทยและต่างประเทศ. กรุงเทพฯ : ศูนย์การพิมพ์เพชรรุง่ . หน้า 71 – 86. 9. ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์ และ ปูรณ์ ขวัญสุวรรณ.(2550). ประชาสังคม เครือข่าย และการมีสว่ นร่วมของชุมชนในการก�ำหนดแผนยุทธศาสตร์เพือ่ การพัฒนาพื้นที่ชุมชนบ้านน�้ำเค็ม จังหวัดพังงา ใน Journal of Architectural/Planning Research and Studies. Thammasat University. Volume 5. Issue 2. : p, 77-96 10. เพ็ญประภา ภัทรานุกรม. (2553). การพัฒนาทุนทางสังคมโดยชุมชน เป็นฐานในชุมชนประสบภัยพิบตั สิ นึ ามิ : กรณีศกึ ษาชุมชนในพืน้ ทีจ่ งั หวัด พังงา. วารสารร่มพฤกษ์. ปีที่ 28 ฉบับที่ 2 กุมภาพันธ์-พฤษภาคม 2553 : หน้า 2-34.
393
394
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
11. ศิรนิ นั ต์ สุวรรณโมลี. (2552). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการ ความเสีย่ งจากภัยพิบตั โิ ดยชุมชนเป็นฐานจากภาคประชาสังคม : กรณี ศึกษาชุมชนบ้านน�ำ้ เค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกัว่ ป่า จ.พังงา. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรชีวภาพ คณะ ทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้า ธนบุรี 12. ไมตรี จงไกรจักร์ และคณะ. (2553). กระบวนการฟืน้ ฟูวถิ ชี วี ติ โดย ผูป้ ระสบภัยเป็นแกนหลัก กรณี : พืน้ ทีป่ ระสบภัยสึนามิ ชายฝัง่ อันดามัน ประเทศไทย เอกสารประกอบ เวที ปฏิรปู ...การจัดการภัยพิบตั ิ ร่วมพลิก วิกฤตเป็นโอกาส วาระร�ำลึก 6 ปี สึนามิ 21 ธันวาคม 2553 โรงแรมปรินซ์พาเลซ โบ้เบ้ทาว์เวอร์. กรุงเทพฯ. : หน้า 2-10 13. สมสุข บุญญบัญชา และ ไดแอน อาร์เชอร์. (2011). “แนวทางการ ฟืน้ ฟูชมุ ชนหลังภัยพิบตั โิ ดยการจัดการของชุมชน” ใน Environment and Urbanization. October 2011; vol. 23, 2 : p, 351-364. 14. การประชุมสรุปบทเรียนรู้ 3 ปีสนึ ามิ “เพือ่ สังคมไทยทีพ่ ร้อมพอต่อภัย พิบตั ”ิ (2550). โครงการถอดรหัสข้อเรียนรูเ้ พือ่ การอยูด่ จี ากกรณีธรณี พิบตั ภิ ยั ใต้ทะเลและคลืน่ ยักษ์ 21 ธันวาคม 2550 ณ ห้องประชุม ใหญ่ ชัน้ 2 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิง่ แวดล้อม. กรุงเทพฯ. เอกสารอัดส�ำเนา. 15. สุรชิ ยั หวันแก้วและคณะ. (2550). สังคมวิทยาสึนามิ : การรับมือกับ ภัยพิบตั .ิ กรุงเทพฯ : สถาบันวิจยั สังคม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 16. ไพโรจน์ สิงบัน และคณะ. (2551). สูค่ วามพร้อมพอต่อนานาภัย... ในอนาคต หลักคิดและแนวทางการจัดการภัยพิบตั ิ ถอดรหัสจากกรณี ศึกษาสึนามิของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : แปลน โมทิฟ จ�ำกัด.
Tsunami : waves of reform
17. มูลนิธศิ นู ย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบตั แิ ห่งเอเชีย. (2556). การ ประเมินแผน นโยบาย และการด�ำเนินงานจัดการภัยพิบตั ใิ นประเทศไทย. ม.ป.ป. 18. รสรินทร์ เกรย์ และคณะ. (2556). “บ้านน�ำ้ เค็มแห่งความสุข...การมี จิตอาสาภายหลังเหตุการณ์ภยั พิบตั สิ นึ ามิ” ในความสุขของชาวพังงา ภูเก็ตและชาวน�้ำเค็มหลังสึนามิ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม นครปฐม : มหาวิทยาลัยมหิดล : หน้า 81-99. 19. ชาญวิทย์ ชัยกันย์. (2556). “Trip นีม้ เี รือ่ งเล่า : ประสบการณ์การ ศึกษาดูงานการจัดการภัยพิบตั ทิ บี่ า้ นน�ำ้ เค็ม จ.พังงา.” ใน ประชาคมวิจยั ฉบับที่ 111 ปีที่ 20 กันยายน – ตุลาคม 2556. กรุงเทพฯ : ส�ำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.) 20. นิรมล ยุวบุณย์. (2555). “ภัยธรรมชาติในมุมมองทางมานุษยวิทยา” สรุปและเรียบเรียงจากการบรรยาย ของ ศาสตราจารย์เกียรติคณ ุ เลสลี อี.สปอนเซล (Professor Emeritus Leslie E. Sponsel) คณะ มานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาย ประเทศสหรัฐอเมริกา. มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. หน้า 3-4. 21. สุรชิ ยั หวันแก้ว. (2555). เรือ่ ง “สังคมวิทยาภัยพิบตั แิ ละวิกฤติการณ์ บทบาทของการเรียนรูภ้ ายใต้ภาวะไม่แน่นอน”. วารสารสังคมศาสตร์. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ปีที่ 42 ฉบับที่ 2 กรกฎาคมธันวาคม 2555 22. สุรชิ ยั หวันแก้ว.อ้างแล้ว. 23. ไมตรี จงไกรจักร์. เล่าเรือ่ งใน “การประชุมถอดบทเรียน 10 ปี สึนามิ” ระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม 2557.
395
24. ปรีดา คงแป้น. เล่าเรือ่ งใน “การประชุมถอดบทเรียน 10 ปี สึนามิ” ระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม 2557. 25. ไมตรี จงไกรจักร์. อ้างแล้ว. 26. จ�ำนงค์ จิตรนิรตั น์. เล่าเรือ่ งใน “การประชุมถอดบทเรียน 10 ปี สึนามิ” ระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม 2557. 27. พิชยา แก้วขาว. เล่าเรือ่ งใน “การประชุมถอดบทเรียน 10 ปี สึนามิ” ระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม 2557. 28. ไมตรี จงไกรจักร์. อ้างแล้ว. 29. พิชยา แก้วขาว. อ้างแล้ว. 30. ศักดิด์ า พรรณรังสี. เล่าเรือ่ งใน “การประชุมถอดบทเรียน 10 ปี สึนามิ” ระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม 2557. 31. ปัญญา อนันตะกูล. เล่าเรื่องใน “การประชุมถอดบทเรียน 10 ปี สึนามิ” ระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม 2557. 32. จ�ำนงค์ จิตรนิรตั น์. อ้างแล้ว. 33. ศักดิด์ า พรรณรังสี. อ้างแล้ว. 34. จ�ำนงค์ จิตรนิรตั น์. อ้างแล้ว. 35. ประยูร จงไกรจักร์. เล่าเรือ่ งใน “การประชุมถอดบทเรียน 10 ปี สึนามิ” ระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม 2557. 36. ไมตรี จงไกรจักร์. อ้างแล้ว. 37. ปรีดา คงแป้น. อ้างแล้ว. 38. ปัญญา อนันตะกูล. อ้างแล้ว.
Tsunami : waves of reform
39. สมสุข บุญญบัญชา และ ไดแอน อาร์เชอร์. (2011). “แนวทางการ ฟืน้ ฟูชมุ ชนหลังภัยพิบตั โิ ดยการจัดการของชุมชน” ใน Environment and Urbanization. October 2011; vol. 23, 2: p. 351-364. 40. จ�ำนงค์ จิตรนิรตั น์. เล่าเรือ่ งใน “การประชุมถอดบทเรียน 10 ปี สึนามิ” ระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม 2557. 41. ศักดิด์ า พรรณรังสี. เล่าเรือ่ งใน “การประชุมถอดบทเรียน 10 ปี สึนามิ” ระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม 2557. 42. ศักดิด์ า พรรณรังสี. อ้างแล้ว. 43. ปัญญา อนันตะกูล. เล่าเรือ่ งใน “การประชุมถอดบทเรียน 10 ปี สึนามิ” ระหว่างวันที่ 27-28 ตุลาคม 2557. 44. กระทรวงการคลังและธนาคารเพือ่ การพัฒนาแห่งเอเชีย. 2548. แผน พัฒนาภูมภิ าคอันดามันเพือ่ การพัฒนาพืน้ ทีท่ ไี่ ด้รบั ผลกระทบ จากธรณี พิบตั สิ นึ ามิ. (แผ่นพับ) กรุงเทพฯ. 45. http://www.ipsr.mahidol.ac.th/IPSR/AnnualConference/ ConferenceII/Article/Article06.htm 46. สธ. เปิดเวทีรำ� ลึก 10 ปีสนึ ามิ เรียนรูอ้ ย่างยัง่ ยืน หลังคลืน่ ยักษ์สนึ ามิ, ข่าวแจกกรมสุขภาพจิต, ธันวาคม 2557 http://www.forums.dmh. go.th/ 47. http://www.womenthai.org/ 48. ผู้หญิงอันดามัน, ความรุนแรงต่อผู้หญิงหลังสึนามิในประเทศไทย. องค์การแอ๊คชัน่ เอดส์ ประเทศไทย. 2550
397
398
สึนามิ : คลืน ่ แห่งการปฏิรป ู
49. คูม่ อื ประชาชนในการจัดการความเสีย่ งภัยพิบตั โิ ดยอาศัยชุมชนเป็นฐาน , การจัดท�ำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของชุมชน , ส�ำนักส่งเสริม การป้องกันสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวง มหาดไทย ).ภป( 50. ศิรนิ นั ต์ สุวรรณโมลี. (2552). การศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการ ความเสีย่ งจากภัยพิบตั โิ ดยชุมชนเป็นฐานจากภาคประชาสังคม : กรณี ศึกษาชุมชนบ้านน�ำ้ เค็ม ต.บางม่วง อ.ตะกัว่ ป่า จ.พังงา. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการทรัพยากรชีวภาพ คณะ ทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้า ธนบุรี 51. ชาญวิทย์ ชัยกันย์. (2556). “Trip นีม้ เี รือ่ งเล่า : ประสบการณ์การ ศึกษาดูงานการจัดการภัยพิบตั ทิ บี่ า้ นน�ำ้ เค็ม จ.พังงา.” ใน ประชาคมวิจยั ฉบับที่ 111 ปีที่ 20 กันยายน – ตุลาคม 2556 กรุงเทพฯ : ส�ำนักงาน กองทุนสนับสนุนการวิจยั (สกว.) 52. รายงานกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ปี 2548. 53. เอกสารแจก ร�ำลึก 10 ปี สึนามิ วันที่ 24 – 26 ธันวาคม 2557 ณ อนุสรณ์สถานสึนามิ บ้านน�ำ้ เค็ม ต�ำบลบางม่วง อ�ำเภอตะกัว่ ป่า จังหวัด พังงา. 54. ชาลินี สะท้านบัว. บ้านแห่งอนาคต : ไปดูการสร้างบ้านหลังสึนามิ, 2550 55. ศยามล ไกยูรวงศ์, สมยศ โต๊ะหลัง, ดาวรรณ สันหลี : ผลประโยชน์บน ผืนดินกับเสียงคร�ำ่ ครวญของผูป้ ระสบภัย , 2551 56. วิกฤติ วิถชี าวเล มูลนิธชิ มุ ชนไท หน้า 24 57. บนเส้นทางวิบาก..สูส่ ญ ั ชาติไทย ..ของ คนไทยพลัดถิน่ , http://www. codi.or.th/
Tsunami : waves of reform
58. ภควินทร์ แสงคง, เอกสารน�ำเสนอข้อมูลและกระบวนการท�ำงาน คนไทย พลัดถิน่ ในจังหวัดระนอง และประจวบคีรขี นั ธ์ 59. ภควินทร์ แสงคง, อ้างแล้ว 60. บัณฑิต ศิรริ กั ษ์โสภณ, การเมืองเรือ่ งป่าชุมชน, มหาวิทยาลัยเทีย่ งคืน, http://midnightuniv.org/ 61. เอกสารแจกร�ำลึก 10 ปี สึนามิ “สูก่ ารปฎิรปู นโยบาย บทเรียนภัย พิบตั ”ิ , วันที่ 24 – 26 ธันวาคม 2557 ณ อนุสรณ์สถานสึนามิ บ้านน�ำ้ เค็ม ต�ำบลบางม่วง อ�ำเภอตะกัว่ ป่า จังหวัดพังงา 62. ประชา หุตานุวตั ร, กรองจากหยาดเหงือ่ รอยยิม้ และน้าตา พันธกิจ สร้างสรรค์ผนู้ าประชาธิปไตย จากรากฐานของสังคมไทย, คณะกรรมการ นิเวศเอเชีย 63. ศึกษารายละเอียดเกีย่ วกับกฎหมายทัง้ 4 ฉบับได้ที่ หน้าเพจ กฏหมาย เพือ่ คนจน 4 ฉบับhttps://www.facebook.com/4lawsForPeople 64. รายงานพิเศษ “ศปภ. ภาคประชาชน จัดการปัญหาผ่านงานอาสาสมัคร”, เอกลักษณ์ หลุม่ ชมแข, มูลนิธกิ ระจกเงา http://www.mirror.or.th 65. ส�ำนักข่าวไทยพับบลิคก้า http://thaipublica.org 66. กระทรวงการต่างประเทศ www.mfa.go.th, ประชาไท http://www. prachatai.com/ 67. http://www.manager.co.th 68. http://www.manager.co.th 69. http://news.thaipbs.or.th/content/ถอดบทเรียนสันติภาพอาเจะห์ 70. วิชาการดอทคอม http://www.vcharkarn.com/ 71. http://unhabitat.org/world-habitat-day/
399
(ภาพหนุ่ยชวนเพื่อนๆ ช่วยกันจัดของเพื่อนำ�ไปช่วยผู้ประภัย : จากวิโชติ ไกรเทพ )
ร�ำลึกถึงหนุ่ย สิรินี ยมนา “สู่สุคติ” เพื่อนอาสาสมัครสึนามิ ที่ร่วมช่วยเหลือผู้ประสบภัยฯ เธอเป็นคนหนึ่งที่ร่วมปกป้อง กลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน ด้วยหัวใจที่ห่วงใยทุกคน
320 บาท
มูลนิธิชุมชนไท