“
ท้ายที่สุดก็ได้ 10 เทรนด์นโยบายที่จะเกิดขึ้นกับ กรุงเทพมหานครในอนาคต เพื่อที่จะร่วมมองอนาคต กรุงเทพฯไปด้วยกัน ไม่ใช่เพียงหวังว่าผู้ว่าราชการจังหวัด กรุงเทพมหานครคนใหม่จะสามารถแก้ปัญหาทุกอย่างได้หมด เพราะวาระกรุงเทพคือเรื่องของคนกรุงเทพทุกคน
ถึงแม้จะมีสถานะที่ค่อนข้างเป็นเอกเทศและสามารถบูรณาการแก้ปัญหา โดยส่วนท้องถิ่นได้ แต่แท้ที่จริงแล้วกรุงเทพมหานครยังคงเต็มไปด้วยปัญหา มากมายทั้งในด้าน การวางผังเมือง การคมนาคม ปัญหาอาชญากรรม ชุมชน แออัด มลภาวะ และอีกหลายด้าน กรุงเทพมหานคร ได้กลายเป็นเมืองโตเดี่ยว อย่างสมบูรณ์แบบเมื่อความเจริญทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม รวมไปถึง ศูนย์กลางของอำ�นาจได้กระจุกตัวมาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร และอาศัยการดึง ทรัพยากรจากพื้นที่อื่นๆ เข้ามาพัฒนา
“
เป็นเวลา 220 ปีที่กรุงเทพมหานครได้เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย มี ประชากรอาศัยตามทะเบียนมากกว่า 6 ล้านคน ไม่นับกับประชากรแฝงและผู้ ที่เข้ามาติดต่ออีกวันละไม่ตํ่ากว่า 2 ล้านคน กรุงเทพมหานคร มีสถานะเป็นเขต ปกครองพิเศษ ที่มีการจัดสรรอำ�นาจและโครงสร้างการบริหารงบประมาณเป็น ของตัวเอง มีผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ดำ�รงตำ�แหน่งวาระครั้งละ 4 ปี
และเนื่องจากในช่วงต้นปี 2556 จะมีการเลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครหลังจาก ที่ ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร จะดำ�รงตำ�แหน่งครบวาระ 4 ปี จึงเป็นโอกาสที่ดี ในการที่จะจัดทำ� “วาระกรุงเทพมหานคร” เพื่อที่จะสรุปและรับฟังปัญหาจาก ประชาชน สัมภาษณ์และถอดบทเรียนจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการบริหาร งานกรุงเทพมหานครโดยตรง ทั้งอดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพมหานคร ตัวแทนจากภาคเอกชน อดีตผู้ที่มีส่วน ในการวางแผนระบบขนส่งกรุงเทพ รวมไปถึงข้อมูลจากนักวิชาการและนัก พัฒนาสังคมที่มีความรู้ในประเด็นต่างๆ เพื่อจัดทำ�ข้อมูล ข้อเสนอเชิงนโยบาย และข้อเสนอแนะที่จะเป็นแนวทางให้กับผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครคนใหม่ รวมไปถึงชุมชนและหน่วยงานต่างๆ อนึ่งจากประสบการณ์ในระยะเวลาที่ผ่านมา ในเวลาระหว่างการจัดเวที ประชันวิสัยทัศน์ของผู้สมัครผู้ว่ากรุงเทพมหานคร โดยส่วนใหญ่ผู้ร่วมอภิปราย มักจะเสนอข้อเรียกร้องเชิงนามธรรม การจัดทำ�วาระกรุงเทพมหานครจะ เป็นการพัฒนาข้อเรียกร้องให้กลายเป็นข้อเสนอที่สามารถจับต้องได้บนฐาน ข้อมูลและข้อเท็จจริง และในท้ายที่สุดก็ได้ 10 เทรนด์นโยบายที่จะเกิดขึ้นกับ กรุงเทพมหานครในอนาคต เพื่อที่จะร่วมมองอนาคตกรุงเทพฯไปด้วยกัน ไม่ใช่ เพียงหวังว่าผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานครคนใหม่จะสามารถแก้ปัญหา ทุกอย่างได้หมด เพราะวาระกรุงเทพคือเรื่องของคนกรุงเทพทุกคน พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ ผู้ประสานงานโครงการ Agenda Bangkok
2
เทรนด์สำ�หรับนโยบายกรุงเทพมหานครในอนาคต
ประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ อดีตสมาชิกวุฒิสภากรุงเทพฯ และ นักพัฒนาชุมชนรางวัลแมกไซไซ สาขาการบริการสาธารณะ
“ภาคประชาชน ต้องมีส่วนร่วมในการยกระดับคุณภาพชีวิตของตัวเองด้วย” Q:ในฐานะประชาชนนอกจากเรื่องของการเข้าไปร้องขอความ ช่วยเหลือจะมีส่วนร่วมอย่างไร ในการพัฒนาเมืองกรุงเทพได้ บ้าง? ประทีป:ก็ยังน้อยอยู่นะคะ เพราะว่าปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่าจะมีการ เลือกตั้ง ส.ข.และส.ก. ก็ยังเป็นส่วนเล็กๆนิดเดียวที่พรรคการเมือง นำ�เอาคนในพื้นที่เข้าไปผสมผสานเพื่อจะทำ�ให้ มีความรู้ความ เข้าใจเกี่ยวกับปัญหาของชุมชน แล้วก็ให้เกิดการแก้ไข แต่ว่า ในบางเขต ก็จะมีการประชุม เขตก็จะให้เดือนละหนึ่งครั้งที่ ประชาชนสามารถไปพูดคุย หรือว่าไปนำ�เสนอปัญหาได้ แล้ว หน่วยงานต่างๆก็มานั่งรับฟัง ก็เกิดจากคลองเตยนี่แหละที่เริ่มต้น ไปแล้ว คลองเตยเป็นจุดเริ่มต้นกระบวนการให้ประชาชน ให้คน ยากคนจนมีโอกาสในการนำ�เสนอปัญหาของตัวเอง แล้วปัจจุบัน นี้ก็หลายเขต แต่ก็ไม่ทุกเขตที่มีการประชุมผู้นำ�ชุมชนในทุกเดือน แต่ว่าดิฉันเองยังมองอย่างนี้ ว่าปัญหาของกรุงเทพมหานครคือ กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่เป็นเมืองหลวง และเป็นเมืองที่มีผู้คน มาจากที่ต่างๆแล้วมาอยู่ แล้วก็ มันไม่มีความรักความผูกพันใน พื้นที่ ยังมีความรู้สึกว่ามาทำ�มาหากินอย่างเดียว Q: ปัญหาหนึ่งก็คือประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกว่าไม่ต้องเป็น เจ้าของ ของสาธารณะจึง ไม่ต้องดูแลรักษาใช่ไหมครับ? ประทีป:ใช่ จากความรู้รักและผูกพัน จะต้องดูแลรักษาและช่วย เหลือกันมันยังน้อย ถ้าหากว่าเรามีประชาคมที่เข้มแข็งขึ้น ให้ แต่ละเขต 50 เขต เขามีประชาคมในพื้นที่นั้นเข้ามารวมกัน อาจ จะผ่านโดยการเลือกตั้งเป็นผู้อำ�นวยการเขต หรือหากไม่มีการ เลือกตั้งเป็นผู้อำ�นวยการเขต ก็อาจจะมีเป็นประชาคมขึ้นมาเป็น เรื่องเป็นราว ไม่ใช่เป็นแค่คนของพรรคการเมือง แต่เป็นคนที่ทำ� มาหากินในที่ต่างๆ ให้เขาเข้ารวมตัวกันและช่วยกันดูแล ดูแลกัน ทั้งชุมชน ดูแลกันทั้งเขต เพราะว่าในแต่ละเขตมันจะมีความแตก ต่างเหลื่อมลํ้ากันอยู่ ใช่ไหมคะ อย่างเขตคลองเตย ความ เหลื่อมลํ้าจะเห็นได้ชัดมากที่สุด เราจะมีตึกสูงมากที่สุด และ คนจนในสลัม มีสลัม 43 ชุมชนก็เกือบแสนคน ที่อยู่ในสลัมก็เกือบ
แสน เพราะฉะนั้นดิฉันก็คิดว่าตึกสูงๆเหล่านั้นให้เขา ที่คุณมาทำ� มาหากินอยู่ คุณก็ควรจะเอื้อเฟื้อดูแล อย่างกรณีของบริษัท ล๊อกเล่ย์นะคะ เขาก็ให้การดูแลชุมชนที่อยู่รอบๆบริษัท ไม่ว่าจะ เป็นเรื่องของการสวัสดิการสังคมอะไรต่างๆ ดิฉันคิดว่านี่เป็นจุด เริ่มที่ดี แล้วก็ควรจะใช้ตัวอย่างนี้ เป็นตัวอย่างของการที่ไปขยาย ให้ครบ 50 เขตว่าแทนที่ผู้อำ�นวยการเขต หรือเจ้าหน้าที่เขตจะมา นั่งคิดแค่ไม่กี่คน แต่ว่าถ้าเกิดเราสามารถขยายการมีส่วนร่วมของ ภาคประชาชนให้ทั่วทุกเขตก็ยิ่งดี Q:ครูประทีปนี่มีโอกาสเข้าไปเคลื่อนไหวในภาคประชาชนใน หลายๆโอกาส อยากถามว่าภาคประชาชน หรือประชาชน ทั่วไปควรตระหนักสิทธิ์ของตัวเองอย่างไรบ้างครับ? ประทีป:คือ ของเราเนี่ยนะคะ ประชาชนโดยทั่วไปก็ยังมองว่า เขาเนี่ยอยู่เป็นประชาชน ไม่มีเส้น ไม่มีสาย พูดไปก็ไม่มีอะไร เปลี่ยนแปลง ประชาชนยังคิดอย่างนี้อยู่ เลือกตั้งไปเดี๋ยวก็เลือก ไปมันก็เหมือนกันหมด เลือกไปก็หายหมด ประชาชนต้องเปลี่ยน ใหม่ เปลี่ยนความคิดนี้ใหม่ ว่าเขามีสิทธิ์ มีศักดิ์ศรี เขาเสียภาษี แล้วก็ยังมีชาวบ้านอีก ดิฉันเชื่อว่าไม่ตํ่ากว่า 30-40 เปอร์เซ็นต์ ของประเทศนี้ที่ยังไม่รู้ว่าเขาเสียภาษีหรือเปล่า เขาเป็นประชาชน ที่ควรจะมีสิทธิอะไรบ้างเขาไม่รู้ เขาควรจะรู้ว่า เขาเองสามารถที่ จะเรียกร้องได้ สามารถที่จะจินตนาการว่า การศึกษาของเขารัฐ ควรจะมารับผิดชอบอะไรคุณภาพชีวิตในที่ทำ�งาน เขาควรจะได้ รับการดูแลอย่างไร ที่อยู่อาศัยของเขา โจรผู้ร้ายอะไรต่างๆเขา ควรที่จะมีโอกาส หรือบางทีดิฉันก็เข้าใจนะคะ เขาเรียกร้องไป อันตรายมาถึงเขาอีก การถูกมาร์คหัวอีกก็เข้าใจ อันนี้มันก็มีการ สร้างกลุ่มเพื่อจะซัพพอร์ตให้เกิดความเข้มแข็ง แล้วให้ประชาชน มีความกล้าหาญที่จะลุกขึ้นมาแล้วบอกว่า ฉันอยากเห็นการ เปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าเดิม
3
อภิรักษ์ โกษะโยธิน อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร 2 สมัย
“กรุงเทพฯต้องการคนที่มีวิสัยทัศน์” Q: ปัญหาหลักๆของกรุงเทพมหานครในฐานะที่ท่านเคยมีส่วน ร่วมในการวางนโยบายกรุงเทพมหานครคืออะไร? อภิรักษ์ : เรื่องการบริหารจัดการหรือโครงสร้างองค์กร กทม. ตอนนี้เรามีข้าราชการบวกลูกจ้างเกือบแสนคนซึ่งถือว่าเยอะ มาก แต่ว่าเวลาทำ�งานนี่มันก็จะมีข้อจำ�กัด ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องข้อ กฎหมายของ พ.ร.บ. บริหาร กทม. ออกมาตั้งแต่ปี 28 ตอนนี้ก็ อายุประมาณ 20 กว่าปี เกือบ 30 ปี เป็นเรื่องที่น่าปรับปรุงให้ เหมาะกับยุคสมัย Q: กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่เข้มแข็งแล้วเราจะสามารถ รับมือกับประชาคมอาเซียนในปี 2015 มากแค่ไหน? อภิรักษ์: คืออย่างนี้ ตามที่ผมมองว่ากรุงเทพมหานครนอกจากจะ เป็นเมืองหลวงของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นเมืองศูนย์กลางของ ภูมิภาคด้วย ดังนั้นการเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนในปี 2558 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า ผมมองว่ามีอยู่ 4 เรื่องที่ เป็นเรื่องสำ�คัญขอใช้ภาษาอังกฤษเรียกว่า 4G ได้แก่ 1. Gateway ในวันนี้ในเชิงทำ�เลที่ตั้งหรือยุทธศาสตร์ต้องถือว่ากรุงเทพมหานคร เป็นเมือง ศูนย์กลางที่จะเชื่อมโยงกับเมืองต่างๆในภูมิภาคอาเซียน ได้ดีที่สุดเมื่อ เทียบกับเมืองอื่น พูดง่ายๆเป็นศูนย์กลางด้านการ เดินทาง ไม่ว่าจะเป็นด้านการบิน ศูนย์กลางทางด้านคมนาคม ขนส่งโดยลักษณะภูมิประเทศ และต้องผลักดันในเรื่องการ เชื่อมโยงการขนส่งทั้งระบบถนนและระบบรางในลักษณะที่เรียก ว่า “ระเบียงเศรษฐกิจ” ทางเหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก ใน ลักษณะที่เรียกว่า North South East West Corridor 2.Green ในโลกนี้เมืองที่เป็น Mega City ต้องพัฒนาเมืองให้เป็นเมืองสี เขียว มีการวางระบบผังเมืองที่ดี เพิ่มพื้นที่สีเขียว เช่น การปลูก ต้นไม้ การเพิ่มสวนหย่อม สวนสาธารณะ ทั้งขนาดใหญ่หรือขนาด 4
เทรนด์สำ�หรับนโยบายกรุงเทพมหานครในอนาคต
เล็กที่เป็น Pocket Park ให้คนในชุมชนสามารถที่จะมีความ สะดวกในพื้นที่เปิดโล่งที่เขาจะสามารถพา ลูกหลานไปวิ่งเล่น พา ครอบครัวไปพักผ่อนออกกำ�ลังกาย ในขณะเดียวกันต้องมีระบบ ป้องกันภัยพิบัติจะเป็นโครงการป้องกันนํ้าท่วม โครงการสร้าง แนวกั้นนํ้า โครงการอุโมงค์ระบายนํ้าขนาดใหญ่ โครงการแก้มลิง โครงการที่บริหารจัดการเชื่อมโยงกับจังหวัดต่างๆในเรื่องของลุ่ม แม่นํ้าทาง เหนือ ตะวันตก ตะวันออก ที่จะเร่งระบายนํ้าได้ หรือ แม้แต่การป้องกันภัยพิบัติแผ่นดินไหว การแจ้งเตือนภัย ผมคิดว่า แบบนี้จะทำ�ให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองน่าอยู่ มีสภาพแวดล้อม ที่ดี 3.Good Life หมายความว่าคุณภาพชีวิตของคนเมือง ถือเป็นเรื่องที่มีความ สำ�คัญมาก ถ้าเรามีระบบวางผังเมืองที่ดี มีระบบวางโครงสร้างพื้น ฐานต่างๆ อย่างเช่น ระบบขนส่งมวลชน ระบบการบริหารจัดการ เก็บขยะ ความสะอาด การวางระบบการศึกษาที่ดีให้กับพี่น้อง ประชาชน มีโรงเรียนที่มีคุณภาพ (ปัจจุบันกรุงเทพมหานครดูแล โรงเรียนถึง 430 กว่าแห่ง) แบบนี้ต้องยกระดับคุณภาพชีวิตของ คน ทั้งในเรื่องความปลอดภัย ความสะดวกในการเดินทาง ทั้งใน เรื่องสวัสดิการสังคมต่างๆ อันนี้ไม่นับในเรื่องของศิลปวัฒนธรรม ซึ่งเป็นอีกมุมหนึ่ง ส่วนใหญ่เราจะมองมุม infrastructure เรื่อง โครงสร้างพื้นฐาน แต่ว่าเรื่องนี้เป็นมุมทางจิตใจ 4.Good Governance ผมว่านี่เป็นเรื่องสำ�คัญมากในโลกสมัยใหม่ คำ�ว่า Good Governance ในความหมายของผมไม่ได้หมายถึงเรื่องธรรมาภิบาล เรื่อง ความโปร่งใสเท่านั้น แต่มองในเรื่องของการเปิดโอกาส ในเรื่อง ของ participation คือเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชนเข้ามามี ส่วนร่วมสะท้อนปัญหาต่างๆส่วนที่สอง เรื่องงบประมาณที่บริหาร ราชการของ กทม. ไม่ควรจำ�กัดเฉพาะงบประมาณของ กทม. อย่างเดียว แต่ควรผลักดันการมีส่วนร่วมในลักษณะที่เรียกว่า Private Public Partnership (PPP) เปิดโอกาสให้มีการบริหาร จัดการเมือง
ณรงค์ศักดิ์ ภูมิศรีสอาด ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการประสานรัฐกิจ บริษัท ซีพี ออลล์ จำ�กัด (มหาชน) ตัวแทนภาคเอกชน
“ การมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนเป็นสิ่งสำ�คัญ เพราะกรุงเทพฯไม่ใช่ของคนในคนหนึ่ง” Q: จากประสบการณ์ที่ได้ทำ�งานร่วมกับภาครัฐ มองจากมุม มองเอกชนเข้าไป ในภาครัฐมีลักษณะ ข้อดีข้อด้อยเมื่อเทียบกับ เอกชนแตกต่างกันอย่างไร ณรงค์ศักดิ์: คือภาครัฐยึดในเรื่องกฎระเบียบอยู่แล้วในเรื่องการ ทำ�งาน แล้วก็มีขั้นตอน มีกระบวนการ มีลำ�ดับชั้นในการดำ�เนิน งานมีมากอยู่แล้ว แต่ถ้าถามว่าภาคเอกชนมีความแตกต่างกัน คงจะชัดเจนนะครับว่าเรามีอิสระในการทำ�งาน โดยเฉพาะหน่วย งานเอกชนลักษณะใหญ่ๆอย่างเรา อย่างเซเว่นมี 6,600 กว่าสาขา มีหน่วยงานภายในอยู่ประมาณ 40 กว่าหน่วยงาน ทุกหน่วยงาน มีอิสระในการทำ�งาน แล้วก็การตัดสินใจในเรื่องบางเรื่องซึ่งไม่ จำ�เป็นต้องไปขอนโยบายเราคิดอยู่แล้วว่าอันนี้คือนโยบาย ชัดเจน อยู่แล้ว เราก็เดินหน้าเลย เพราะฉะนั้นความแตกต่างก็จะเกิดขึ้น คือหนึ่งเรื่องการมีอิสระ สองเรื่องการตัดสินใจ สามเรื่องการจัดใช้ งบประมาณ งบประมาณก็มีส่วนตัวของเรา เพราะฉะนั้นเมื่อมีงบ ประมาณของเราแล้ว ไม่จำ�เป็นจะต้องไปขอใช้งบประมาณอีก ผม ก็เชื่อว่าระบบราชการยังต้องเป็นไปตามขั้นตอน เพราะฉะนั้นการ มีอิสระอย่างนี้เกิดขึ้น การทำ�งานจึงต้องรวดเร็ว เพราะเราต้อง แข่งขันในตลาดให้ได้ Q:ปัญหาของกรุงเทพฯ ในสายตาของภาคเอกชนคืออะไร? ณรงค์ศักดิ์: ผมว่าเรื่องของคูคลองตอนนี้ที่เป็นเรื่องสำ�คัญมาก ก็ คือเรื่องนํ้าเน่า คูคลองขนาดนี้นอกจากนํ้าเน่าแล้วยังตื้นเขิน แล้ว ก็ยังไม่ได้มีการจัดการเกี่ยวกับเรื่องของผู้ลุกลํ้า รวมไปถึงเรื่องของ การที่เรียกว่าถูกถม ถูกทิ้งไปโดยไม่ได้จัดการ ผมยกตัวอย่างง่ายๆ แถวมีนบุรี เมื่อก่อนมีคูคลองข้างถนนในเส้นทางรองทั้งหมดเลย คูคลองสองข้างนะครับ วันนี้ถูกถมหมดแล้วบางทีเขาทำ�ถูกต้อง ตามกฎหมายคือไม่ถม ก็จะเป็นแอ่งนํ้า แต่ที่ที่ถมไปก็เป็นถนน เป็นที่จอดรถ เป็นที่ค้าขายเป็นอย่างนี้ทั่วทุกแห่ง เพราะว่าถ้าแก้ สิ่งเหล่านี้ได้ นํ้าท่วมก็หมดไป คนก็เป็นอยู่อย่างถูกต้องหรือสบาย ขึ้น เพราะว่ามีวิวทิวทัศน์ที่มันได้มันได้รับกลับมาในเรื่องของความ เขียวพวก นี้ ผมว่ามันต้องช่วยกันแล้ว
Q: ตอนนี้เรากำ�ลังพูดถึงเรื่องหลักการใหม่ Public Private Partnership (PPP) ก็คือการทำ�งานร่วมระหว่างภาครัฐกับ เอกชนในการทำ�กิจกรรมต่างๆ ในมุมมองของภาคเอกชน คุณ มองจุดนี้อย่างไร แล้วก็สามารถนำ�มาประยุกต์กับทาง กทม. หรือซีพีได้อย่างไรบ้าง? ณรงค์ศักดิ์: ผมว่าทั้ง 50 เขตของเรามีคณะกรรมการวัฒนธรรม หรืออะไรก็ตามที่ขณะนี้มีอยู่ แต่ยังไม่เหมือนตำ�รวจ ตำ�รวจขณะ นี้ เอาเอกชนหรือผู้ที่มีความพร้อมหรือว่าผู้ที่ให้ความคิดความเห็น ช่วยในการ บริหารจัดการ ถามว่าเข้าไปแล้ว เราไปหวังประโยชน์ อะไรหรือเปล่า ไม่มีแล้วหละครับ ถ้าบริษัทใหญ่หรือคนที่มีความ พร้อมเขามีแต่ให้ แล้ว กทม.พร้อมไหมครับที่จะให้เอกชนเข้าไป มีส่วนร่วมกับการบริหารจัดการของเขต ถ้าเข้าไปร่วมได้ ผม ว่าทำ�ให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดี การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน หรือแม้ กระทั่งการที่เราจะต้องทำ�ให้ถูกต้อง คือเข้าไปอยู่ใกล้ ใครบ้างที่ จะบอกให้เพื่อนเดือดร้อน รู้จักท่านผู้อำ�นวยการเขต ผู้ช่วย หรือ แม้กระทั่ง กทม.เองที่เป็นส่วนกลาง จะเป็นสำ�นักไล่ไปถึงท่านรอง ปลัด ท่านปลัดก็ตาม ยิ่งรู้จักกันเรายิ่งต้องระวังมากขึ้นเพื่อไม่ให้ คนเหล่านั้น ทั้งหลายเดือดร้อน แต่ถามว่าเราช่วยอะไรได้ อะไรที่ ช่วยกันได้ช่วยเลยครับ ทุกวันนี้พร้อมเสมอนะครับ 7-11 เองช่วย เหลือในหลายส่วน เรียนให้ทราบว่าเรื่องการรักการอ่าน เราทำ�ให้ กับโรงเรียนใน กทม.ทั้งหมด เรื่องการให้ทุนการศึกษาซึ่งได้เข้าไป คุยกับท่านรองผู้ว่า อยากให้เด็ก กทม.ตอนนี้มีโอกาสในการเรียน เรียนแล้วต้องมีงานทำ� ธุรกิจเหล่านี้ที่เราขยายต่อไปจะเป็นฐานที่ จะรองรับเด็กที่จบออกมาแล้วไม่มี งานทำ� ทุกวันนี้เราพร้อมที่จะ ให้เรียนฟรี ระหว่างเรียนมีรายได้
5
กชววรณ เขมะประสิทธิ์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สมาคมรถร่วมบริการของกรุงเทพ (รถร่วมฯ ขสมก.)
“ปัญหาของกรุงเทพฯคือปัญหาโครงสร้างการทับซ้อนของนโยบาย” Q: ปัญหาการเดินรถในกรุงเทพฯ เกิดจากการทับซ้อนของ นโยบายใช่หรือเปล่า? กชวรรณ: เรื่องหนึ่งก็คือว่าเส้นทางไม่ได้ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นเลย มันมีแต่ถูกกำ�หนดเพิ่มขึ้นแล้วก็จับรถยัดใส่ลงไป เพราะฉะนั้น จำ�นวนรถมันก็เลยเกินความต้องการ ในหลายเส้นทางมันมีรถวิ่ง ซับซ้อนกัน ยกตัวอย่างลาดพร้าว มีรถวิ่งถึง 600 กว่าคันต่อวัน นี่ เส้นทางเดียว เพราะฉะนั้นบางเส้นทางมันก็เลยถูกจับเส้นทางเพิ่ม ลงไปเพิ่มลงไป เลยเป็นเส้นทางที่คาบเกี่ยวกัน เพราะฉะนั้นตรง นี้มันน่าจะมีระบบปรับปรุงเส้นทางเกิดขึ้นได้แล้ว แต่จริงๆแล้วก็ มีหน่วยงานสำ�นักงานเขตการเดินรถ ที่คอยปรับปรุงเรื่องเส้นทาง และจำ�นวนรถอยู่แล้ว แต่ยังไม่ถูกนำ�มาใช้จริง แต่ถูกนำ�ไปใช้เพื่อ ขอซื้อรถเท่านั้น อันนี้ก็เลยเป็นเหตุที่ว่า ณ วันนี้การให้บริการของ รถร่วมจะไม่ดีขึ้นแน่นอน ถ้ายังมีจำ�นวนรถที่เพิ่มขึ้นหรือมีเส้นทาง ที่เพิ่มขึ้นเข้ามาเรื่อยๆโดยไม่ ได้ถูกจัดให้ดีขึ้น ถ้ากรณีที่ว่ามีเส้น ทางรายได้ให้อยู่เลี้ยงตัวเองได้ ปรับปรุงบริการได้ ปรับปรุงตัวรถ ได้ รายได้เพิ่มขึ้นอันนี้ ก็สามารถทำ�ให้รถร่วมอยู่ได้อย่างปกติ แต่ ว่าวันนี้ไม่ใช่ มันมีการมาทับซ้อนกันเยอะมาก Q:ปัญหาของความทับซ้อนของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ก็เป็นปัญหาใช่ไหมครับ? กชวรรณ: ขสมก.ขึ้นอยู่กับกรมขนส่งทางบก ขึ้นกับกระทรวง คมนาคม กทม.เขาก็ไม่อยากเอาหนี้มา เขาอยากจะทำ�ใหม่ เพราะ ขสมก.เขาทำ�ขาดทุนไว้เยอะเขาก็อยากจะถ่ายเทหนี้ออก แต่ถ้าภาครัฐบาลไม่มาบริหารจัดการตรงนี้ มันก็คงจะเกินแสน ล้านไปแล้ว คือการเดินรถของ กทม.ทุกวันนี้กลายมาเป็นปัญหา ของการเมืองไปด้วย เพราะการที่จะปรับขึ้นราคาหรืออะไร ก็ กลายเป็นไปกระทบกับการเมือง แล้วทุกวันนี้ยิ่งมีการให้เดินรถ ขึ้นฟรี 800 คัน ยิ่งกระทบกับภาคเอกชนอย่างใหญ่ เพราะว่ารถ ฟรีมา รถเอกชนมาวิ่งคู่กับรถฟรี ถามว่าคุณจะขึ้นรถอะไรถ้าไม่ ใช่ช่วงจำ�กัดเวลาที่ต้องเดินทาง ตรงนั้นเราเก็บรายได้ได้เพียงเล็ก น้อย แต่ว่าทุกวันนี้มันไม่ใช่แล้ว มันก็จะได้แค่ช่วงชั่วโมงเร่งด่วน 6
เทรนด์สำ�หรับนโยบายกรุงเทพมหานครในอนาคต
ที่ทุกคนต้องไปรถอะไรมาก็ต้องไป อันนั้นก็กลายเป็นว่าทุกวันนี้ จะได้แค่ 2 ขา ขาเช้าเข้าเมือง แล้วก็ขาเลิกงานออกไป แล้วช่วง ระหว่างวันก็จะเป็นรถฟรีเก็บไปหมด เขาก็กระจาย 800 คันไป หมด นี่ก็เป็นปัญหาใหญ่เหมือนกันที่ว่า ถ้าคุณจะเอางบตรงนั้นมา ดูแล คุณสู้ให้บัตรเขาไปใช้เลยดีกว่า ใช้กับรถร่วมก็ได้ ใช้กับอะไร ก็ได้ ทำ�ไมต้องมาจำ�กัดว่าต้องใช้กับอันนี้ คุณจะเอาเป็นคูปองก็ได้ มาขึ้นเงิน แฟร์กว่า มันช่วยได้กับทุกคน อันนี้มันเหมือนกับหลาย มาตรฐานมากเลย ช่วย ขสมก.เขาได้วันละ 8,000 บาทต่อคัน ต่อ วันรถตอนนี้นะ แต่ภาคเอกชนเราอย่างเสนอไปขอแค่ 6,500 เอง นะ ถูกกว่าตั้ง 1,500 ทำ�ไมไม่มาจ้างเรา ในเมื่อรถก็ไม่ใช่ดีกว่าเรา เหรอ รถ ขสมก.ก็เก่ากว่าเราด้วย ก็ตก 240,000 ต่อเดือนต่อคัน คูณ 800 คันแล้วเขาอนุมัติที 3-6 เดือนเกือบ 200 ล้านบาทนี่คือ การเอาภาษีของคนทั้งประเทศมาอุดหนุนกรุงเทพฯ กทม.คุณ เก็บภาษีเยอะแยะกว่านี้อีก แต่ทำ�ไมคุณไม่มาดูแลประชาชนตรงนี้ Q: จากประสบการณ์ที่ผ่านมาการประสานงานกับภาครัฐนั้น ยากลำ�บากแค่ไหนครับ? กชวรรณ: คือผู้ว่าฯกรุงเทพฯ เขาไม่ยอมมาแตะต้องประเด็นนี้ แล้วก็ไปสร้างระบบใหม่ เช่น รถ BRT คือเขาคุยไม่ได้ เจรจาไม่ได้ แล้วจริงๆแล้วไม่ใช่คุณจัดการไม่ได้หรอก คือทุกคนไม่ยอมอยู่บน หลักการสันติวิธี หรือที่อาจจะต้องเจรจาหลายๆรอบ แต่คุณเลือก ที่จะไม่คุย คุยครั้งหนึ่งไม่จบ เขาก็คิดว่าไปต่อไม่ได้ คุณจะคุยครั้ง ที่ร้อยก็ได้ ครั้งที่พันก็ได้ แต่คุณได้คุยหรือได้สื่อสารกันมา เผื่อที่ จะมีอะไรที่จะยอมรับกันได้
ประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (MRTA)
“กรุงเทพฯจะต้องดูแลคนทุกคนอย่างเท่าเทียม” Q: ตอนที่คุณตัดสินใจลงสมัครผู้ว่าฯกรุงเทพมหานคร คุณ คิดถึงอะไรเป็นสิ่งแรก? ประภัสร์: ในความคิดของผม เรื่องแรกคือชีวิตความเป็นอยู่ของพี่ น้องประชาชนในกรุงเทพมหานคร ไม่ใช่ไปดูแลเฉพาะบ้านที่มีรั้ว แล้วพวกที่ไม่มีรั้ว อยู่แบบสลัมไม่ต้องไปดูแลมัน ไม่ใช่นะครับ คุณ ต้องดูแลอย่างเท่าเทียมกัน แต่ในวันนี้ ความเป็นจริงเป็นอย่างนั้น หรือเปล่า นี่คือประเด็นแรก ประเด็นที่สอง ความร่วมมือระหว่าง กทม. กับรัฐบาล การเป็น พรรคที่แตกต่างกัน มันไม่น่าจะเป็นอุปสรรคหรือเครื่องขวางกั้น ในการร่วมมือกัน แต่ถ้าสังเกตจากการทำ�งาน มันไม่ค่อยมีการ ร่วมมือกัน และจะพูดได้เลยว่า กทม. เหมือนเป็นรัฐอิสระ โดย ถือว่าฉันก็มาจากการเลือกตั้งเหมือนกัน แล้วตอนนี้พรรคฉันเป็น คนละขั้วกับพรรครัฐบาล ก็ต่างคนต่างอยู่ แนวคิดแบบนี้ไม่อยู่ใน ความคิดของผม Q: แสดงว่าคุณเห็นปัญหาความเหลื่อมลํ้าในชุมชนแต่ละชุมชน ของกรุงเทพฯ? ประภัสร์: ไม่น่าเชื่อว่าในยุคนี้ ตอนนั้นก็ 2551 ยังมีชุมชนซึ่งอยู่ ในพื้นที่นํ้าครำ� ไฟฟ้าไม่มี ประปาไม่มี แล้วก็ไม่ได้รับการดูแลจาก กทม. ขยะก็ทิ้งปล่อยกันตามนํ้า ต้องถามว่าทำ�ไม กทม. ไม่เอา เงินซึ่งมีอยู่น้อยนิด มาดูแลพวกนี้ แทนที่จะอยากทำ�งานก่อสร้าง ฐานะที่อยู่ในรัฐวิสาหกิจมาก่อน ผมเข้าใจว่าการก่อสร้างมันดี กว่าล่ะ อันนี้เราก็พูดความจริงกันเลยนะครับ แต่ว่าถามว่ามันถูก หรือเปล่า กทม. มีงบประมาณปีละ7-8 หมื่นล้านต่อปี มีรายได้ ประมาณนี้ แล้วคุณเอาเงินส่วนใหญ่ไปลงทุนโครงการใหญ่นี่ แล้ว เงินที่จะไปดูแลพี่น้องประชาชนมันอยู่ตรงไหน Q: ปัญหาเรื่องผังเมืองและคมนาคมยังคงเป็นเรื่องใหญ่ของ กรุงเทพมหานคร ใช่หรือไม่? ประภัสร์ : ปัญหาของประเทศไทยวันนี้ ต้องยอมรับนะครับว่า ผังเมืองประเทศไทยเราเริ่มทำ�มานานแล้ว แต่มันไม่เคยใช้ได้อย่าง เต็มที่ เพราะอะไรครับ เพราะว่ามันมีกลุ่มผลประโยชน์มาแอบ อยู่ มันเป็นหลักทั่วไป ทั่วไป ทุกแห่งในโลกจะเหมือนกันหมด ยิ่ง
คุณมีสตางค์มากเท่าไร นี่เป็นสุภาษิตได้เลยนะครับ ที่เขาพูดเล่น กันว่า ยิ่งคุณมีเงินมากเท่าไร คุณยิ่งมีกฎหมายมากเท่านั้น ถ้าคุณ มีเงินน้อยๆ กฎหมายมีนิดเดียว เพราะว่าอะไรครับ เพราะว่าเขา หมายความว่า ถ้าคุณมีเงินเยอะๆ คุณสามารถไปจ้างทนายมา ไปค้นกฎหมายนั่นนี่มา แล้วก็มาบอกว่าอันนี้จะเป็นอย่างนี้ เป็น อย่างนี้ได้ แต่ว่าถ้าคุณมีเงินน้อยคุณก็ไม่มีปัญญาไปจ้าง คุณก็รู้อยู่ แค่นี้แล้วคุณก็ต้องยอมเขา คุณไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วมันมีกฎหมายอื่น ที่มันใช้ได้ นี่มันเป็นสัจธรรม Q: คุณคิดว่าปัญหาเหล่านี้วันหนึ่งอาจจะทำ�ให้ประเทศไทย ลด ระดับความสำ�คัญจากเวทีโลก? ประภัสร์ : วันนี้สิ่งที่สำ�คัญที่สุดคืออีกไม่กี่ปีข้างหน้า ปี 2558 เราจะมีประชาคมอาเซียน จะมีเรื่องต้องเชื่อมต่อกันอีกมาก เช่น เรื่องคมนาคม เรื่องอิสระของคนที่จะโยกย้ายมากขึ้น สามารถเดิน ทางผ่านไปผ่านมา แรงงานเข้ามาได้หมด ตรงนี้เป็นอะไรที่น่าเป็น ห่วง เพราะในแง่ของการขนส่ง มันเป็นเรื่องที่สำ�คัญมากๆ ที่เรา ต้องดูแลเรื่องพวกนี้ ส่วนเรื่อง กทม. ก็สำ�คัญแต่บังเอิญขอบเขต ของงาน ตามความคิดผมคิดว่า กทม. สำ�คัญจริง แต่ว่ามันเป็น แค่จุดๆ หนึ่งของประเทศไทย ประเทศไทยอยู่ได้ต้องทั้งประเทศ ไม่ใช่แค่ กทม. แล้วก็บังเอิญการรถไฟซึ่งวันนี้ก็ค่อนข้างจะปัญหา เยอะ ผมก็เลยคิดว่าอยากทำ�ให้รถไฟมันเดินไปข้างหน้า อยากทำ� อะไรที่เพื่อให้ประเทศเราไม่ช้าไปกว่าคนอื่นเขา วันนี้เราก็ช้ามา มากแล้ว ประเทศไทยเราเป็นคนเริ่ม เป็นประเทศแรกๆ ในแถบนี้ ที่มีรถไฟ เราเริ่มพร้อมกับญี่ปุ่น ถ้าเรามีพัฒนาการไปเรื่อยๆ แบบ ญี่ปุ่น ผมเชื่อว่าวันนี้เราต้องมีแล้ว hi-speed train แต่บังเอิญ ของเรามันหยุดอยู่กับที่ด้วยสาเหตุหลายอย่าง อันนี้ไม่ได้โทษการ รถไฟคนเดียวนะ ถ้าไปดูประวัติ จะไม่โทษรถไฟคนเดียว เพราะ มีสาเหตุหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวพันให้เราหยุดอยู่กับที่มานานมาก วันนี้กลายเป็นว่ามาเลเซียสร้างทางรถไฟมาจอดที่ชายแดน เขา สร้างมารอเราแล้ว เรายังไม่ทำ�อะไรเลย ตรงนี้เป็นอะไรที่มันดูแล้ว มันอึดอัด ดังนั้นในฐานะที่ผมเคยอยู่กับระบบราง ก็อยากเข้าไป ทำ�ตรงนี้ 7
10 สัญญาณการเปลี่ยนแปลงกทม.ในทศวรรษหน้า สัญญาณการเปลี่ยนแปลง กทม. ในทศวรรษหน้า ที่มีศักยภาพ และแนวโน้มนำ�ไปสู่การพัฒนานโยบายสาธารณะในระดับ “เมืองมหานคร” ได้ถูกกลั่นกรองจากความคิด โดยวิธีการ “กวาด สัญญาณการเปลี่ยนแปลงในแนวราบ (Horizon scanning)” กับกลุ่มคนรุ่นใหม่ นักวิชาการ และผู้นำ�ความคิด ที่มาร่วม กระบวนการมองอนาคต (Foresight) ออกมาได้ 10 กลุ่ม สัญญาณการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว มี 3 มิติสำ�คัญ ได้แก่ • มิติด้านผลกระทบ (Impact) ใน 5 ด้านคือ สังคม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการเมือง ที่อาจเกิดขึ้นใน กทม. ทั้งนี้ โดยธรรมชาติแล้ว สัญญาณหนึ่งมักมีผลกระทบในหลายมิติ ซึ่ง สามารถบ่งชี้ด้วยระดับค่าตัวชี้วัดจากน้อยไปหามาก (1 – 5) • มิติด้านโอกาสความเป็นไปได้ในการเกิดขึ้นของแต่ละประเด็น (Likelihood) และมิติด้านโอกาสที่ประเด็นนั้น ๆ จะเกิดความ แปลกแยกในเชิงความคิดเห็น (Controversy) โดยดูจากค่าความ น่าจะเป็นจากน้อยไปหามาก (0 – 1)
Controversial
1.0
0.0
วัตถุประสงค์ในการสร้างการมีส่วนร่วมเชิงนโยบาย (Policy participation) สำ�หรับ นักวิชาการ นักธุรกิจ องค์กรและกลุ่ม ชุมชนต่าง ๆ และประชากรทุกคน เพื่อนำ�เสนอประเด็นอุบัติใหม่ (Emerging issues) อันจะนำ�ไปสู่การทำ�นวัตกรรมทางการเมือง (Policy innovation) แก่ ผู้ว่าราชการ ผู้บริหาร นักการเมืองท้อง ถิ่น และหน่วยงานราชการในสังกัด กทม. เพื่อเตรียมความพร้อม สำ�หรับการรับมือต่อความไม่แน่นอนในอนาคต
การกวาดสัญญาณการเปลี่ยนแปลงในแนวราบ (Horizon Scanning) คืออะไร?
กระบวนการอย่างเป็นระบบที่คำ�นึงถึงพัฒนาการของอนาคตซึ่งไม่ได้อยู่ในแนว ความคิดกระแสหลัก (Mainstream ideology) และระบบการวางแผน (Planning) ในปัจจุบันแต่อาจมีนัยสำ�คัญ เทคนิคนี้เหมาะสำ�หรับองค์กรสมัยใหม่ที่ต้องการส่ง เสริมความสามารถในการ“คิดนอกกรอบ” เพื่อคาดการณ์และเตรียมตัวรับมือกับ ภัยคุกคาม (Threat) ความเสี่ยง (Risk) และ โอกาสใหม่ๆ (New Opportunities) อีกทั้งยังช่วยให้เกิดความมั่นใจในการพัฒนากลยุทธ์ที่รองรับการเปลี่ยนแปลงของ บริบทในอนาคต 1.0
0.0
Likelihood
• เมืองมหานครแห่ง AEC (AEC Megacities) • แรงงานรุ่นใหม่ (Next generation labor) • อาชญากรรมอุบัติใหม่ (Emerging crime) • ความหลากหลายทางเพศ (Sex in the City) • สิทธิอุบัติใหม่ (Emerging rights) • อัตลักษณ์กรุงเทพฯ (BKK Identity) • พื้นที่ทั่วถึง (Inclusive Space) • ผู้นำ�รอบด้าน (360 degree Leadership) • สังคมคาร์บอนตํ่าตธ (Low-Carbon Society) • ศิลปะเพื่อทุกคน (Art for All) 8
เทรนด์สำ�หรับนโยบายกรุงเทพมหานครในอนาคต
แนวโน้มนโยบายดังกล่าว สามารถจัดกลุ่มได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ อาเซียนภิวัตน์ (Aseanization) หรือ กระบวนการภูมิภาคภิวัตน์อาเซียนถือได้ว่าเป็นกลุ่มการ เปลี่ยนแปลงที่มีโอกาสความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นและมีความ แปลกแยกทางความคิดเห็นในระดับสูงเนื่องจากกลุ่มประเด็นดัง กล่าวมีผลกระทบในระดับภูมิภาคที่ผนวกเอามิติของความเป็น เมืองมหานคร (Urbanization) และการอพยพย้ายถิ่นฐานของ แรงงาน (Migration) และการเกิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558การเกิดมาตรฐานเมืองมหานครแห่ง AEC จะส่ง ผลกระทบต่อการเป็นกรุงเทพมหานครมากที่สุดโดยเฉพาะอย่าง ยิ่งการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรไปสู่สังคมสูงวัยและ การเปิดเสรีทางตลาดแรงงานในภูมิภาค จะส่งผลให้ “สมการแรง งานกทม.” เปลี่ยนแปลงไปโดยมีกลุ่มแรงงานผมสีดอกเลา (Grey labor) และแรงงานข้ามชาติใหม่ (Bangkok Diaspora) เป็นแรง ผลักดันและขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจกทม. ในขณะที่ กทม.ก็ จะต้องเตรียมรับมือกับอาชญากรรมอุบัติใหม่ที่มาพร้อมกับการ เปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมข้างต้น อย่างหลีกเลี่ยง ไม่พ้น มะม่วงใหญ่ (The Big Mango) มหานครนิวยอร์คเป็นที่รู้จักกันว่าคือ “แอปเปิลใหญ่” (THE BIG APPLE) เช่นเดียวกัน กรุงเทพมหานครก็คือ “มะม่วงใหญ่” (The Big Mango) ที่หลอมรวมเอา วิถีชีวิต วัฒนธรรม อาชีพ ชนชาติ และอาชญากรรมที่หลากหลายจากทั่วทั้งทวีปเอเชียและจาก มุมอื่นๆของโลกมารวมไว้ มะม่วงใหญ่ลูกนี้กำ�ลังจะถูกท้าทายจาก ประเด็นด้านความมั่นคงและความปลอดภัยเพื่อรับมือภัยคุกคาม ใหม่ๆด้านครอบครัวและความสัมพันธ์ที่จำ�เป็นต้องมีการยอมรับ สังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายเช่นเพศวิถีซึ่งเป็นจุดเด่นอีก ด้านหนึ่งของกรุงเทพมหานครรวมไปถึงการเคลื่อนตัวของเมืองไป สู่โครงสร้างและข้อตกลงทางระบบเศรษฐกิจใหม่จะนำ�ไปสู่ธุรกิจ อุตสาหกรรมและอาชีพที่แตกต่างไปจากเดิม โดยกลุ่มแรงงาน รุ่นใหม่
มรกตนคร (Emerald city) อัตลักษณ์ของกรุงเทพมหานครและอัตลักษณ์ร่วมของคน กทม. (Identity) ยังคงมีพัฒนาการและการรับรู้ที่หลากหลายอยู่ ยกตัวอย่าง เช่น กทม. ที่ถูกมองว่าเป็นเมืองศิลป์และคำ�นิยมที่ตั้ง ไว้ ไม่ได้สะท้อนตัวตนในดีเอ็นเอของคนกรุงเทพมหานครอย่าง แท้จริงอีกทั้งภาวะโลกร้อนจะเป็นตัวเร่งทำ�ให้เมืองมหานครแห่ง นี้จำ�เป็นต้องสร้าง “สังคมคาร์บอนตํ่า” (Low Carbon Society, LCS) ที่เป็น 1 ในปรัชญาของการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน ให้ เกิดขึ้น อีกทั้งพื้นที่ที่มีรูปแบบการใช้ประโยชน์และพลวัตมาก ขึ้น (Space) ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่สาธารณะเชิงกายภาพ พื้นที่ใน โลกไซเบอร์และพื้นที่ทางความคิดของประชากรกลุ่มต่างๆสิ่ง แปลกใหม่เหล่านี้จะมีโอกาสเกิดขึ้นจริงได้ยากหากผู้นำ�ไร้วิสัย ทัศน์ อีกทั้งมีการบริหารพื้นที่ใช้สอยต่างๆอย่างไร้พลวัต และ ไม่ ใส่ใจต่ออนาคตของอัตลักษณ์เมือง กทม. จึงต้องการ “ภาวะ ผู้นำ�รอบด้าน”(360 Degree Leaderships) เพื่อตอบโจทย์การ เปลี่ยนแปลงในอนาคตนั่นเอง ถนนของเรา (Our Road) เพื่อให้คำ�ขวัญที่ว่า “กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้างเมืองศูนย์กลางการ ปกครองวัดวังงามเรืองรองเมืองหลวงของประเทศไทย” เป็น ความจริงที่มีชีวิตขึ้นมาได้ประเด็นด้านวัฒนธรรมและศิลปะที่ทุก คนสามารถเข้าถึงได้ (Art for All) และสิทธิอุบัติใหม่ (Emerging Rights) นั้นถือได้ว่าเป็นความท้าทายที่สำ�คัญอย่างยิ่ง กรุงเทพฯ จะสามารถเปลี่ยนเป็นเมืองแห่งศิลปะอย่างเมืองศิลปะของโลก เฉกเช่น ปารีส หรือ มิลาน ได้หรือไม่ก็ต้องอาศัยความอิสระของ ปัจเจกชนในการรังสรรค์ผลงานในที่ต่างๆ รวมถึงที่สาธารณะ ซึ่ง อาจจะไปขัดแย้งกับอำ�นาจการปกครองเก่าๆของกรุงเทพฯ และ จำ�เป็นต้องสร้างสิทธิใหม่ๆ ขึ้นมา นอกจากนี้สิทธิที่ยังมองไม่เห็นและคาดไม่ถึงจะเกิดขึ้นอีกมากใน อนาคตก็จะเป็นตัวท้าทายให้กรุงเทพฯต้องปรับตัวเพื่อแบ่งพื้นที่ ในการใช้อำ�นาจการปกครองระหว่างผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานครและ ประชาชนกรุงเทพฯ
9
10
เทรนด์สำ�หรับนโยบายกรุงเทพมหานครในอนาคต
11
12
เทรนด์สำ�หรับนโยบายกรุงเทพมหานครในอนาคต
13
14
เทรนด์สำ�หรับนโยบายกรุงเทพมหานครในอนาคต
15
16
เทรนด์สำ�หรับนโยบายกรุงเทพมหานครในอนาคต
17
INFO 5
18
เทรนด์สำ�หรับนโยบายกรุงเทพมหานครในอนาคต
19
INFO 6
20
เทรนด์สำ�หรับนโยบายกรุงเทพมหานครในอนาคต
21
INFO 7
22
เทรนด์สำ�หรับนโยบายกรุงเทพมหานครในอนาคต
23
INFO 8
24
เทรนด์สำ�หรับนโยบายกรุงเทพมหานครในอนาคต
25
INFO 9
26
เทรนด์สำ�หรับนโยบายกรุงเทพมหานครในอนาคต
27
INFO 10
28
เทรนด์สำ�หรับนโยบายกรุงเทพมหานครในอนาคต
29
Reference • ความหลากหลายทางเพศ (Sex in the City) http://www.washingtonpost.com/politics/for-obama-gay-marriage-stance-borne-of-a-longevolution/2012/05/10/gIQAIDIlGU_story.html http://www.cnngo.com/mumbai/life/india-ready-gay-travelers-086621 http://www.manager.co.th/china/viewnews.aspx?NewsID=9550000085317 http://www.toonaripost.com/2011/07/world-news/lgbt-in-thailand-tolerated-or-accepted/ http://en.wikipedia.org/wiki/Timeline_of_LGBT_history http://www.ct.gov/dcf/lib/dcf/wmv/pdf/timeline_of_lgbt_history.pdf http://www.infoplease.com/ipa/A0761909.html • แรงงานรุ่นใหม่ (Next generation labor) http://ihppthaigov.net/publication/attachbook/116/chapter2.pdf http://thailand.unfpa.org/documents/thai_ageing_englishversion.pdf http://www.scbeic.com/ENG/document/insight_apr10_en United Nations Population Division 2009 World Population Prospects: The 2008 Revision, United Nations Population Division 2009 Population Projection for Thailand 2005 - 2025, Mahidol University World Population Ageing 1950-2050, UN IDB US Cencus Bureau, NESDB; SCB EIC analysis http://www.scb.co.th/eic/doc/en/insight/SCB%20Insight%20Feb%202011%20Eng_AEC.pdf http://wp.doe.go.th/s_map.html http://wp.doe.go.th/sites/default/files/statistic/7/sm07-55.pdf http://www.un.or.th/documents/TMR-2011.pdf • อัตลักษณ์กรุงเทพฯ (BKK Identity) Travel & Leisure names Bangkok World’s Best City 2012 http://www.travelandleisure.com/worldsbest/2012/cities Bangkok receives World’s Best City Award 2012 http://www.pattayamail.com/travel/special-report-bangkok-receives-world-s-best-cityaward-2012-14976 Bangkok ranks 17 among top 29 cities to visit in 2012 http://www.pattayamail.com/travel/bangkok-ranks-17-among-top-29-cities-to-visitin-2012-13402 Asia’s 10 greatest street food cities http://www.cnngo.com/explorations/eat/asia-street-food-cities-612721?page=0,3 http://www.lboro.ac.uk/gawc/gawcworlds.html The Economist Intelligence Unit. Global Liveability Report. http://www.eiu.com/site_info.asp?info_name=The_Global_Liveability_Report New liveability index http://visual.ly/how-liveable-are-cities?view=true Hot spots: Benchmarking global city competitiveness, January 2012 http://www.citigroup.com/citi/citiforcities/pdfs/hotspots.pdf City Brand Rankings http://www.publicaffairsasia.net/location_branding2012.pdf Bangkok ranks 2nd in ASEAN as city with highest living cost http://www.thaivisa.com/forum/topic/473349-bangkok-ranks-2nd-in-asean-as-city-withhighest-living-cost/ Economist Intelligence Unit. 2012. Worldwide Cost of Living 2012 http://www.romandie.com/news/pdf/PDF_Coe_la_vie_ravers_le_monde__Zurich_1er_ 30
เทรนด์สำ�หรับนโยบายกรุงเทพมหานครในอนาคต
Gen_3__ROM_150220120502.pdf 2012 Global Cities Index and Emerging Cities: What is Bangkok Ranking? http://www.doingbusinessthailand.com/thailand-business/doing-business-in-thailand/2012global-cities-index-and-emerging-cities-what-is-bangkok-ranking.html How to be a Bangkok local: 10 tips on faking it http://www.cnngo.com/bangkok/life/how-be-bangkok-local-10-tips-faking-it-880230 http://www.ryt9.com/s/iqry/1427448 • ศิลปะเพื่อทุกคน (Art for All) http://www.princeton.edu/~artspol/workpap/WP20%20-%20Guetzkow.pdf Culture-driven Urban Regeneration: A Case Study of The KadeeJeen Neighbourhood, Bangkok http://www.cisasia.net/Case_Study_Brief/Bangkok/04-BKK-Art-Revitalization.pdf Temporal Intervention - City Innovation for Public Art in Bangkok http://www.cisasia.net/ Case_Study_Brief/Bangkok/03-BKK-Public-Art.pdf http://www.artforall.or.th/ • อาชญากรรมอุบัติใหม่ (Emerging crime) http://en.wikipedia.org/wiki/Computer_crime http://now-static.norton.com/now/en/pu/images/Promotions/2012/cybercrimeReport/2012_ Norton_Cybercrime_Report_Master_FINAL_050912.pdf, http://www.symantec.com/about/news/ release/article.jsp?prid=20120905_02 http://www.bangkokpost.com/tech/mobile/305352/crossroads-of-mobile-innovation http://www.mobilemonday.net/reports/SEA_Report_2012.pdf http://www.bangkokpost.com/business/telecom/289969/survey-thai-mobile-usage-passes-tvand-desktop-pc http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/cities/ http://visual.ly/internet-things-0 • พื้นที่ทั่วถึง (Inclusive Space) Asian Green City Index http://www.thecrystal.org/_download/Asian-Green-City-Index.pdf http://www.bangkokpost.com/tech/mobile/305352/crossroads-of-mobile-innovation Press Freedom Index 2011-2012 http://en.rsf.org/press-freedom-index-2011-2012,1043.html • สังคมคาร์บอนตํ่า (Low-Carbon Society) Report of Delphi Analysis: For The Low Carbon Society Beyond 2050 Project - APEC CTF http://www.reuters.com/article/2012/09/25/climate-inaction-idINDEE88O0HH20120925 http://www.bloomberg.com/slideshow/2012-07-06/top-20-cities-with-billions-at-risk-fromclimate-change.html#slide12 http://www.knowledge.allianz.com/environment/pollution/?1384/whats-your-citys-carbonfootprint-gallery • เมืองมหานครแห่ง AEC (AEC Megacities) “Towards Innovative, Liveable and Prosperous Asian Megacities” project - cisasia.net • สิทธิอุบัติใหม่ (Emerging rights) http://www.go6tv.com/2011/09/blog-post_4273.html http://www.hiclasssociety.com/hiclass/detailcontent1.php?sub_id=388 http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article& id=133577:2012-07-28-1225-13&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524 • ผู้นำ�รอบด้าน (360 degree Leadership) “Towards Innovative, Liveable and Prosperous Asian Megacities” project - cisasia.net
ผู้ประสานงานโครงการ
พิเชฐ ยิ่งเกียรติคุณ
หัวหน้าทีมวิจัย
ดร.พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ กานต์ ยืนยง
ทีมวิจัย
ปรีดา ชัยนาจิตร ภาคภูมิ แสงกนกกุล ปาริชาติ โชคเกิด เจริญชัย ไชยไพบูลย์วงศ์ อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ จิรายุ อนุรักษ์จันทรา ชัยพร เซียนพานิช สเก็ดดาว วัฒนลี
ศิลปกรรม ธุรการ
วรุตม์ รินธนาเลิศ www.varut.net ศุภรัตน์ ตั้งศรีวงศ์ ฉัตรสุดา หาญบาง
ขอขอบคุณผู้เข้าร่วมให้ข้อมูลทุกท่านที่ทำ�ให้โครงการนี้สามารถสำ�เร็จลุล่วงไปด้วยดี ข้อมูลและวิเคราะห์โดย บริหารโครงการโดย สนับสนุนโดย ลิขสิทธิ์ สามารถติดตามโครงการและความเคลื่อนไหวได้ทาง twitter: @agendabkk facebook: www.facebook.com/AgendaBangkok
31
32
เทรนด์สำ�หรับนโยบายกรุงเทพมหานครในอนาคต