ลำดับเหตุการณ์สำคัญในงานตรวจเงินแผ่นดินไทย

Page 1







ล�ำดับเหตุกำรณ์ส�ำคัญ ในงำนตรวจเงินแผ่นดินไทย

(พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


เจ้าพนักงานผู้ตรวจใหญ่ ฤาที่ ๒ ทั้ง ๒ นายนี้ต้องสาบาล ถวายความซื่อสัจแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยความจริงใจว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะรับราชการตรวจบาญชีสอบสวนจำานวนเงินแล สิ่งของซึ่งขึ้นในแผ่นดินทั่วพระราชอาณาจักร จะตรวจตราโดยเลอียด ไม่ให้พลาดพลั้งเสียผลประโยชน์ในแผ่นดินได้ แลจะตั้งใจทำา ให้เต็มกำาลังเต็มปัญญาของข้าพระพุทธเจ้าทุกเรื่องทุกราย

ที่มา: พระราชบัญญัติสำาหรับกรมพระคลังมหาสมบัติแลว่าด้วยกรมต่าง ๆ ซึ่งจะเบิกเงินส่งเงิน จ.ศ. ๑๒๓๗ หมวดมาตราที่ ๘ ข้อ ๕




ค�ำน�ำ “...เพราะเงินแผ่นดินนั้น คือ เงินของประชาชนทั้งชาติ...” ความ บางตอนของพระราชด�ารัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรง พระราชทานให้แก่ส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดิน นับเป็นถ้อยค�า ที่ เ ปี ่ ย มด้ ว ยความหมายของค� า ว่ า เงิ น แผ่ น ดิ น อย่ า งแท้ จ ริ ง คนตรวจเงินแผ่นดินทุกคนล้วนยึดมั่นในพระราชด�ารัสนี้ในการ ปฏิบัติหน้าที่ราชการงานตรวจเงินแผ่นดินด้วยความซื่อสัตย์และ เที่ยงธรรมมาโดยตลอด ในโอกาสครบรอบวันคล้ายวันสถาปนาส�านักงานการตรวจเงิน แผ่ น ดิ น ปี ที่ ๑๐๐ ส� า นั ก งานการตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ได้ จั ด ท� า หนังสือที่ระลึกชุด ‘หนึ่งศตวรรษส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดิน หนึ่ ง ร้ อ ยปี มี เรื่ อ งบอกเล่ า ’ เพื่ อ เป็ น การบั น ทึ ก ประวั ติ ศ าสตร์ การตรวจเงินแผ่นดินไทย และพัฒนาการขององค์กรตรวจเงิน แผ่นดินในรอบ ๑๐๐ ปี ทีผ่ า่ นมา หนังสือที่ระลึกชุดนี้ประกอบด้วย ๓ เล่ม ได้แก่ เล่มที่ ๑ ล�าดับ เหตุการณ์สา� คัญในงานตรวจเงินแผ่นดินไทย เล่มที่ ๒ ประวัตศิ าสตร์ การตรวจเงินแผ่นดินไทย และ เล่มที่ ๓ พัฒนาการตรวจเงิน แผ่นดินและผลงานเด่น โดยคณะผู้จัดท�าหนังสือมุ่งหวังให้หนังสือ ที่ระลึกชุดนี้เป็นอนุสรณ์บันทึกเรื่องราวความเป็นมาของส�านักงาน การตรวจเงินแผ่นดินตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อสร้างความ ภาคภูมิใจให้แก่คนตรวจเงินแผ่นดิน ตลอดจนเพื่อให้ประชาชน ได้ตระหนักในคุณค่าของเงินแผ่นดิน


กำรตรวจเงินแผ่นดิน ในรัชสมัยพระบำทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้ำเจ้ำอยู่หัว



๑๔

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


เริ่มต้นที่ออฟฟิศหลวง ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๑๘

ตราพระราชบัญญัตกิ รมพระคลังมหาสมบัติ แลว่าด้วยกรมต่าง ๆ ซึง่ จะเบิกเงินส่งเงิน จ.ศ. ๑๒๓๗ นับเป็นครั้งแรกที่บัญญัติเรื่องงานตรวจเงินแผ่นดินไว้ ตามหมวด มาตราที่ ๘ ว่าด้วยออฟฟิซหลวงในพระบรมมหาราชวังที่ภาษาอังกฤษเรียกว่า ออดิตออฟฟิซ หมวดมาตราที่ ๘ ก�าหนดอ�านาจหน้าทีข่ องเจ้าพนักงานใหญ่ผตู้ รวจ หรือออดิเตอเยเนอราล ให้มีหน้าที่ตรวจบัญชีเงินทองของแผ่นดินได้ทั่วราชอาณาจักร พร้อมทั้งก�าหนด มาตรฐานการตรวจสอบและมีอ�านาจตรวจสอบทั้งในการรับ การจ่าย การเก็บรักษา ตลอดจนการจัดซือ้ หมวดมาตราที่ ๘ มีทงั้ หมด ๑๖ ข้อ ประกอบด้วยค�าอธิบาย ๗ ข้อ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตัง้ ออฟฟิซหลวง หรื อ ออดิ ต ออฟฟิ ซ ขึ้ น เพื่ อ เป็ น ที่ ป ระชุ ม ตรวจบั ญ ชี ค ลั ง ให้ มี ฐ านะเป็ น อิ ส ระ ไม่ขึ้นกับกรมพระคลังมหาสมบัติ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้อง ยาเธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ (สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์ วโรปการ) เป็นออดิเตอเยเนอราล (Auditor General) คนแรก

• พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระผู้ทรงพระราชทาน การตรวจเงินแผ่นดินไทย

๑๕


๑๖

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


• กรมพระยาเทวะวงศ์- วโรปการ ทรงเริ่มรับ ราชการที่ออฟฟิซหลวง โดยได้รับพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เป็น ออดิเตอเยเนอราล คนแรก ด้วยพระชันษา เพียง ๑๗ ปี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์- วโรปการ ทรงเป็น ต้นราชสกุล เทวกุล ที่มา: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (ภ.หวญ.๒๕๒-๓๔)

ออฟฟิซหลวงตั้งอยู่ ณ พระที่นั่งด�ารงสวัสดิ์อนัญวงศ์ซึ่งเป็นพระราชมณเฑียรสถาน ใกล้ที่ประทับในพระบรมมหาราชวัง และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็ จ ฯ ไปตรวจบั ญ ชี พ ระคลั ง ด้ ว ยพระองค์ เ องที่ อ อฟฟิ ซ หลวงทุ ก วั น โดยทรง รับหน้าที่ส่วนการตรวจบัญชีต่างกระทรวงมาทรงท�าเอง

• หมวดมาตราที่ ๘ ว่าด้วยออฟฟิซหลวง ในพระบรมมหาราชวัง พระราชบัญญัติส�าหรับ กรมพระคลังมหาสมบัติ แลว่าด้วยกรมต่าง ๆ ซึ่งจะเบิกเงินส่งเงิน จ.ศ. ๑๒๓๗ ในหมวด มาตราที่ ๘ บัญญัติเนื้อหา ของการตรวจเงินแผ่นดินไว้ ๑๖ ข้อ ตั้งแต่ เรื่องความ เป็นอิสระในการตรวจสอบ หน้าที่ผู้ตรวจสอบ การถวายรายงาน ผลการตรวจสอบ ช่วงเวลา ที่จะเข้าท�าการตรวจสอบ ตลอดจนวิธีการตรวจสอบ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากหนังสือ ประชุมกฎหมายศก

พ.ศ. ๒๔๒๐

ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมทบออดิตออฟฟิซเข้ากับกรมราชเลขานุการ

๑๗


พ.ศ. ๒๔๒๓

ประกาศให้ เ ลิ ก ออดิ ต ออฟฟิ ซ และให้ ย กเอาเงิ น เดื อ นในออดิ ต ออฟฟิ ซ ไปตั้ ง เป็ น เงิ น เดื อ นบาญชี ก ลาง โดยความตอนหนึ่ ง ในพระบรมราชวิ นิ จ ฉั ย ให้ ต ้ อ งเลิ ก ออดิ ต ออฟฟิ ซ ทรงอธิ บ ายไว้ ว ่ า ‘เพราะกฎหมายออดิ ต ออฟฟิ ศ เปนกฎหมายดี แต่ผู้ที่จะท�า ได้บอกแก่ฉันตรงแล้วว่าท�าไม่ได้ตามกฎหมาย’

• พระราชหัตถเลขา ของพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับการใช้เงินหลวง ที่มา: ส�าเนาต้นฉบับจาก หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ภาพดังกล่าวน�ามาใช้เป็น หน้าปกรายงานผลการปฏิบัติ ราชการส�านักงาน การตรวจเงินแผ่นดิน ประจ�าปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๐

๑๘

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


ยุคสมัยแห่งกรมตรวจ ๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๓๓

ตราพระราชบัญญัติพระธรรมนูญหน้าที่ราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (ร.ศ.๑๐๙) พระราชบัญญัติฉบับนี้ก�าหนดให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติท�าหน้าที่ รับจ่าย และรักษาเงินแผ่นดินทัง้ สรรพราชสมบัตพิ สั ดุทงั้ ปวง กับถือบัญชีพระราชทรัพย์ ส�าหรับแผ่นดินทั้งสิ้น และเก็บภาษีอากรตลอดทั่วพระราชอาณาจักร มีเสนาบดี รับผิดชอบบังคับราชการ โครงสร้างภายในกระทรวงประกอบด้วยกรมเจ้ากระทรวง และกรมขึ้นรวมเป็นกรมใหญ่ ๑๓ กรม โดยมี กรมตรวจ เป็นหนึ่งในกรมใหญ่ เจ้ากระทรวงที่ท�าหน้าที่ตรวจสอบบัญชี ตรวจราคา ตรวจรายงานการรับจ่ายเงิน แผ่ น ดิ น และสรรพราชสมบั ติ ก ารภาษี อ ากรทั้ ง หมด เมื่ อ แรกตั้ ง กรมตรวจ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาพิพิธโภไคยสวรรย์ เป็นอธิบดีกรมตรวจคนแรก • พระราชบัญญัติ พระธรรมนูญ น่าที่ราชการ กระทรวง พระคลังมหาสมบัติ (ร.ศ. ๑๐๙) กฎหมาย ฉบับนี้ได้บัญญัติหน้าที่ ของกรมตรวจไว้ส�าหรับ ตรวจบาญชี ตรวจราคา ตรวจรายงานการรับจ่าย เงินแผ่นดิน แลสรรพราชสมบัติ การภาษีอากรทั้งสิ้น ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๓๓

ตราพระราชบัญญัติกรมตรวจ ๑๖ มาตรา ร.ศ. ๑๐๙

๑๙


• อ�านาจหน้าที่ของ กรมตรวจ ที่ปรากฏใน พระราชบัญญัติ กรมตรวจ ๑๖ มาตรา ร.ศ. ๑๐๙ บัญญัติให้ กรมตรวจมีหน้าที่ ตรวจทรัพย์สมบัตแิ ผ่นดิน ๕ อย่าง ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

• รายชื่อข้าราชการ กรมตรวจยุคแรก มี พระยาพิพธิ โภไคยสวรรย์ เป็นอธิบดีกรมตรวจ คนแรก ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๒๐

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


พ.ศ. ๒๔๓๙

กระทรวงพระคลังมหาสมบัติเริ่มจัดท�างบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรก โดยวาง ระเบียบการจัดท�างบประมาณรายจ่าย แล้วรวบรวมขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อขอ พระราชทานพระบรมราชานุญาต นอกจากนี้ ยังวางระเบียบการควบคุมการใช้จา่ ยเงิน ของกระทรวงและกรมต่าง ๆ ทัง้ หมด ทัง้ นีเ้ ป็นการก�าหนดรายจ่าย มิให้เกินก�าลังของ เงิ น รายได้ เพื่ อ รั ก ษาดุ ล ยภาพและความมั่ น คงของฐานะการคลั ง ของประเทศ ขณะเดียวกันในการจัดท�างบประมาณแผ่นดิน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แยก การเงินส่วนแผ่นดินและส่วนพระองค์ออกจากกันอย่างเด็ดขาด พระราชทรัพย์ ส่วนพระองค์นั้นให้พระคลังข้างที่เป็นผู้จัดการ

• ภาพศาลาลูกขุนใน พระบรมมหาราชวัง ที่มา: www.vajiravudh.ac.th

พ.ศ. ๒๔๔๑

ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้มิสเตอร์ชาร์ลส์ เจมส์ ริเวตต์ คาร์แนค (Mr. Charles James Rivett Carnac) รับราชการในต�าแหน่งอธิบดีพิเศษ กรมตรวจ แลสารบาญชี กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

• Mr. Charles James Rivett Carnac อธิบดี กรมตรวจแลสารบาญชี ด�ารงต�าแหน่งอธิบดีพิเศษ กรมตรวจแลสารบาญชี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๑ Mr. Charles Rivett Carnac รับราชการในฐานะที่ปรึกษา กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ในสมัยพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มา: ที่ระลึกวันสถาปนา กรมบัญชีกลางครบ ๗๐ ปี

๒๑


• ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ เป็นอธิบดีกรมตรวจ แลกรมสารบาญชี ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

พ.ศ. ๒๔๔๕

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ (พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ) เป็นอธิบดีกรมตรวจแลกรมสารบาญชี

• พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ในรัชกาลพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยูห่ วั โปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้า กิติยากรวรลักษณ์ทรงกรมเป็น กรมพระจันทบุรนี ฤนาถ พระองค์ ทรงพระปรีชาในด้านการคลัง และการเศรษฐกิจ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ พระองค์ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย ความเห็นต่อพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า “...เห็นควรมีกรมขึ้นในกระทรวง พระคลังอีกกรมหนึ่ง ขนานนาม ว่า กรมตรวจเงินแผ่นดิน มีน่าที่ ตรวจตราเงินแผ่นดินและเงินที่ รัฐบาลมีน่าที่รับผิดชอบ ทั้งมีน่า ที่แนะน�าระเบียบราชการของ กรมสารบาญชีแก่บรรดา กระทรวงที่มีน่าที่เก็บจ่ายหรือ รักษาเงินแผ่นดิน แลช่วยเหลือ เสนาบดีกระทรวงพระคลัง ในการพิจารณาเพิ่มต�าแหน่ง ราชการ รวมเป็นน่าที่อันส�าคัญ ๔ ประการ เปนกรมมีอธิบดีเป็น หัวน่า” กรมพระจันทบุรีนฤนาถ ทรงเป็นต้นราชสกุล กิติยากร ที่มา: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (ภ.สบ.๔๖/๑๓)

• รายชื่อข้าราชการ

กรมตรวจแล กรมสารบาญชี สมัยพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ากิติยากร วรลักษณ์ ในครั้งที่ พระองค์ยังทรงกรมเป็น กรมหมืน่ จันทบุรนี ฤนาถ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๒๒

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


๒๓


๒๔

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


พ.ศ. ๒๔๕๑

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส (พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่น พิทยาลงกรณ์) เป็นอธิบดีกรมตรวจแลกรมสารบาญชี

ที่มาภาพ: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

• พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส (พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่น พิทยาลงกรณ์) ได้รบั พระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้เป็นอธิบดี กรมตรวจแลกรมสารบาญชี เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ทรงด�ารง ต�าแหน่งนี้จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๕๘ พระองค์ทรง เป็นต้นราชสกุล รัชนี ที่มา: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (ภ.๐๐๑ หวญ.๑๘-๒๓)

๒๕


การตรวจเงินแผ่นดิน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว



๒๘

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


• พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งกรมตรวจเงิน แผ่นดิน เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๘ ที่มา: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (๒๒M๐๐๐๐๕๑)

• พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงศ์อธิราช (หม่อมเจ้า พร้อม สนิทวงศ์) ประธานกรรมการตรวจ รายรับรายจ่ายของแผ่นดิน ที่มา: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (๑๘M๐๐๐๐๗๐)

พ.ศ. ๒๔๕๓

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตัง้ กรรมการตรวจพระราชทรัพย์หรือกรรมการตรวจรายรับรายจ่ายของแผ่นดิน ประกอบไปด้วย พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพร้อมพงศ์อธิราช (หม่อมเจ้าพร้อม สนิทวงศ์) อธิบดีกรมศุลกากร เป็นประธานกรรมการ และมีกรรมการ ๔ คน ได้แก่ พระยากัลยาณไมตรี นายวิลเลียมสัน นายเกรแฮม และพระยารัษฎากรโกมล • เจ้าพระยาวรพงศ์พิพฒ ั น์ อธิบดีกรมตรวจ มหาดเล็กคนแรก ที่มา: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (๒๘M๐๐๐๐๕)

พ.ศ. ๒๔๕๖

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราช บัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๖ เพื่อวางระเบียบก�าหนดเวลาที่กระทรวง ต่าง ๆ จะต้องยื่นงบประมาณต่อกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ เวลาที่จะต้องทูลเกล้าฯ ถวาย กับเวลาที่จะพระราชทานพระบรมราชานุญาตและก�าหนดวิธีการจ่ายเงินนอก งบประมาณในระหว่างปีการใช้จ่ายเงินนอกงบประมาณของแต่ละปี ก�าหนดให้สิ้นสุด ในวันที่ ๓๑ มีนาคม ของปีงบประมาณนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้ง กรมตรวจมหาดเล็ก ขึ้นเพื่อควบคุมรายจ่าย พระราชทรัพย์ภายในกรมมหาดเล็ก และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์เป็นอธิบดีกรมตรวจมหาดเล็ก

๒๙


• พระราชบัญญัติ วิธีการงบประมาณ พ.ศ. ๒๔๕๖ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

• งบประมาณแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๗ สะท้อนให้เห็นการเจริญ เติบโตทางการเศรษฐกิจ การคลังของสยาม ในสมัยนั้น ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๓๐

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


สถาปนากรมตรวจเงินแผ่นดิน ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๘

• มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายอีมิลิโอ ฟลอริโอ หรือ นายอี. ฟลอริโอ ด�ารงต�าแหน่งอธิบดี กรมตรวจเงินแผ่นดิน คนแรก ในช่วงเริม่ ต้น ตัง้ กรมตรวจเงินแผ่นดิน ท่านได้วางรากฐาน รายงานการตรวจเงินแผ่นดิน รายงานการตรวจสอบ ธนบัตรเลิกใช้ รายงานการ ตรวจอ�าเภอ และรายงาน การตรวจสรรพากรจังหวัด ที่มา: ถ่ายภาพจากต้นฉบับ โดย นายรัฐธรรม ชวนเชย และนายโสมทัต นิธิตรีรัตน์

เนื่ อ งจากแต่ ล ะปี เงิ น รายได้ แ ละรายจ่ า ยของแผ่ น ดิ น เพิ่ ม ขึ้ น พระบาทสมเด็ จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชด�าริเห็นควรจะตรวจตราการรับหรือจ่ายและการ รักษาเงินให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยมีเจ้าหน้าที่เฉพาะส�าหรับปฏิบัติการนี้แผนกหนึ่ง ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตงั้ กรมตรวจเงินแผ่นดิน ขึน้ ในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ตามประกาศตั้งกรมตรวจเงินแผ่นดิน ณ วันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๘ โดยให้ กรมตรวจเงินแผ่นดินท�าหน้าที่ตรวจตราเจ้าหน้าที่ต่าง ๆ ซึ่งท�าการรับหรือจ่ายเงิน แผ่นดินและเงินอื่น ๆ ที่รัฐบาลต้องรับผิดชอบ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายอีมิลิโอ ฟลอริโอ (Mr. Emilio Florio) หรือ นายอี. ฟลอริโอ เป็นอธิบดีกรมตรวจเงินแผ่นดิน

• ประกาศตั้ง กรมตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๘ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๓๑


เมื่อเจ้าพนักงานกรมตรวจเงินแผ่นดินไปตรวจเมื่อใด เจ้าพนักงาน ที่ระบุในข้อ ๑ มีน่าที่ชี้แจงการด้วยวาจาหรือเปนหนังสือตามที่ เจ้าพนักงานกรมตรวจเงินแผ่นดินต้องการจะทราบ แลทั้งให้นำาบาญชี แลทะเบียนทั้งปวงที่เกี่ยวเนื่องแก่น่าที่ของตนในการเงินดังกล่าว แล้วในข้อ ๑ นั้น มาให้ตรวจ เมื่อเจ้าพนักงานกรมตรวจเงินแผ่นดิน จะต้องการนับสอบเงินสดหรือตั๋วตราหรือใบสำาคัญหรือต้นขั้วหรือ หนังสือสำาคัญก็ดี ให้เจ้าน่าที่ผู้รักษาการนั้น ๆ ยอมให้ตรวจ ตามประสงค์

ที่มา: ประกาศข้อบังคับอำานวยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๔๕๘



• เนื้อหาในประกาศตั้ง กรมตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๘ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๓๔

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


• ประกาศตั้งอธิบดี กรมตรวจเงินแผ่นดิน โดยพระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายอี. ฟลอริโอ เป็นอธิบดีกรมตรวจเงิน แผ่นดิน ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา • อาคารศุลกสถาน สถานที่ท�าการตรวจเงิน แผ่นดินในสมัยนายอี. ฟลอริโอ (ข้อมูลปรากฏใน หนังสือที่ระลึกครบรอบ ๖๐ ปี ส�านักงาน คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๑๘) ที่มา: เว็บไซต์ธงสยาม

พ.ศ. ๒๔๕๘

ประกาศกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ว่าด้วยกฎข้อบังคับอ�านวยการตรวจเงินแผ่นดิน ก�าหนดหน้าที่และกิจการของกรมตรวจเงินแผ่นดิน

๓๕


• ประกาศกฎข้อบังคับ อ�านวยการตรวจเงิน แผ่นดิน ประกาศฉบับนี้ บัญญัติอ�านาจหน้าที่ ของกรมตรวจเงินแผ่นดิน ไว้ชัดเจน โดยเรียก ผู้ตรวจสอบสมัยนั้นว่า เจ้าพนักงานกรมตรวจเงิน แผ่นดิน ที่มา: ส�าเนาภาพถ่ายจาก ราชกิจจานุเบกษา

• พระยาอนุรักษ์ราชโกษา (ประเวศ อมาตยกุล) ที่มา: ที่ระลึกวันสถาปนา กรมบัญชีกลางครบ ๗๐ ปี

พ.ศ. ๒๔๖๐

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) อธิบดี กรมบาญชีกลาง เป็นผู้รักษาการก�ากับดูแลกรมตรวจเงินแผ่นดิน หลังจาก นายอี. ฟลอริโอ พ้นจากต�าแหน่ง

พ.ศ. ๒๔๖๔

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาอนุรักษ์ราชโกษา (ประเวศ อมาตยกุล) อธิบดี กรมบาญชีกลางเป็นผู้รักษาการก�ากับดูแลกรมตรวจเงินแผ่นดิน

๓๖

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


• เจ้าพระยาพลเทพ (เฉลิม โกมารกุล ณ นคร) ที่มา: ที่ระลึกวันสถาปนา กรมบัญชีกลางครบ ๗๐ ปี

๓๗


กำรตรวจเงินแผ่นดิน ในรัชสมัยพระบำทสมเด็จ พระปกเกล้ำเจ้ำอยู่หัว ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๖๙

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สมทบ กรมตรวจเงินแผ่นดินเข้ากับกรมบาญชีกลาง งานตรวจเงินแผ่นดินจึงเป็น แผนกหนึ่งในกรมบาญชีกลาง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาโกมารกุล มนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) เป็นอธิบดีและเป็นผู้รักษาการกรมตรวจเงินแผ่นดิน อีกต�าแหน่งหนึ่ง

• ในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยูห่ วั เกิดการเปลี่ยนแปลงในงาน ตรวจเงินแผ่นดิน ๓ ครั้ง กล่าวคือ ครั้งที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมทบกรมตรวจเงิน แผ่นดินเข้ากับกรมบาญชีกลาง ต่อมาครั้งที่ ๒ หลังเปลีย่ นแปลงการปกครอง ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะกรรมการราษฎร ให้โอนกรมตรวจ เงินแผ่นดินมาขึ้นตรงกับ คณะกรรมการราษฎร และ ครั้งที่ ๓ ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้ตราพระราชบัญญัติ ว่าด้วยคณะกรรมการตรวจ เงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๔๗๖ ที่มา: หอจดหมายเหตุแห่งชาติ (๑๕M๐๐๐๐๖๙)



• พระยาโกมารกุลมนตรี (ชื่น โกมารกุล ณ นคร) อธิบดีกรมบาญชีกลางยุคที่ สมทบกรมตรวจเงินแผ่นดิน เข้าเป็นแผนกหนึ่ง ที่มา: ที่ระลึกวันสถาปนา กรมบัญชีกลางครบ ๗๐ ปี

๔๐

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


• ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาโกมารกุลมนตรี อธิบดีกรมบาญชีกลาง เป็นผู้รักษาการกรมตรวจ เงินแผ่นดิน ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

• พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ) ที่มา: ที่ระลึกวันสถาปนา กรมบัญชีกลางครบ ๗๐ ปี

พ.ศ. ๒๔๗๓

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาไชยยศสมบัติ (เสริม กฤษณามระ) เป็นอธิบดี กรมบาญชีกลาง และให้พระยานรนารถภักดี (ปุย บุนนาค) ผู้ช่วยอธิบดีกรมบาญชี กลางเป็นผู้ดูแลควบคุมแผนกตรวจเงินแผ่นดิน

๔๑


กำรตรวจเงินแผ่นดิน ในระบอบประชำธิป ไตย • ประกาศให้โอน กรมตรวจเงินแผ่นดิน ในกระทรวงพระคลัง มหาสมบัติขึ้นต่อ คณะกรรมการราษฎร หลังเปลี่ยนแปลง การปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ บทบาทของงานตรวจเงิน แผ่นดินมีความส�าคัญ อย่างยิง่ โดยเจตนารมณ์เดิม ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (นายปรีดี พนมยงค์) ต้องการให้กรมตรวจเงิน แผ่นดินพัฒนาไปสู่รูปแบบ ของศาลบัญชีเช่นเดียวกับ ศาลบัญชี (la Cour des comptes) ของประเทศ ฝรั่งเศส ที่มา: พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว)



๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๕

ประกาศโอนกรมตรวจเงินแผ่นดินไปขึ้นต่อคณะกรรมการราษฎร เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ มีหลวงด�าริอิศรานุวรรต (หม่อมหลวงด�าริห์ อิศรางกูร) เป็น ผู้ท�าการแทนอธิบดีกรมตรวจเงินแผ่นดิน

• พระยามโนปกรณ์ นิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) ประธานคณะกรรมการ ราษฎร ที่มา: วิกิพีเดียไทย

ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๔๔

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


• ประกาศให้โอน กรมตรวจเงินแผ่นดิน ในกระทรวงพระคลัง มหาสมบัติขึ้นต่อ คณะกรรมการราษฎร เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

พ.ศ. ๒๔๗๕

กรมตรวจเงินแผ่นดินออกค�าสั่งโครงการตรวจสอบบัญชีโดยให้เรียกว่าสายตรวจ เช่น สายตรวจที่ ๑ ตรวจบัญชีการเดินรถไฟหลวง สายตรวจที่ ๒ ตรวจบัญชีไปรษณียโ์ ทรเลข คลังออมสิน เป็นต้น กรมตรวจเงินแผ่นดินได้วางระเบียบการตรวจใบส�าคัญคู่จ่ายเป็นครั้งแรกโดยอธิบาย หลักการตรวจ การรักษาใบส�าคัญคู่จ่าย การเทียบยอดเงินเบิกจากคลังกับงบเดือน ใบส�าคัญ การเสนอรายงานผลการเงินแผ่นดิน เป็นต้น หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง กระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้โอนข้าราชการในสังกัด กรมบาญชีกลางจ�านวน ๑๔๕ คน มาท�างานที่กรมตรวจเงินแผ่นดิน

๔๕


ยุคคณะกรรมกำร ตรวจเงินแผ่นดิน



๔๘

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๖

ตราพระราชบั ญ ญั ติ ว ่ า ด้ ว ยคณะกรรมการตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น พ.ศ. ๒๔๗๖ ตั้งคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งหลวงด�าริ อิศรานุวรรตเป็นประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคนแรก โดยคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินชุดแรกมีทงั้ หมด ๑๙ คน และให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินย้าย มาสังกัดส�านักนายกรัฐมนตรีปรากฏตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการ ส�านักงานและกรมในส�านักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๔๗๖ มาตราที่ ๘

• หลวงด�าริอิศรานุวรรต มีส่วนส�าคัญในการยกร่าง พระราชบัญญัติว่าด้วย คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน พ.ศ. ๒๔๗๖ ซึ่งเป็นกฎหมายตรวจเงิน แผ่นดินฉบับแรกในยุค ประชาธิปไตย หลังจากนั้น ท่านได้รับพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ให้ด�ารง ต�าแหน่งประธาน คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินคนแรก เมื่อวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๗๖ ถ่ายภาพจากต้นฉบับ โดย นายรัฐธรรม ชวนเชย และ นายโสมทัต นิธิตรีรัตน์

• หลวงด�าริอิศรานุวรรต นับเป็นผู้วางรากฐานในงาน ตรวจเงินแผ่นดิน โดยเฉพาะการ ตรวจสอบบัญชี ในยุคบุกเบิก ก่อร่างสร้างกรม ท่านได้จัดให้มี การฝึกอบรมและปรับปรุงการ ตรวจบัญชีให้มีความทันสมัย รวมทั้งริเริ่มให้มีการศึกษา วิชาบัญชีในมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ท่านพ้นจาก ต�าแหน่งประธานคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินในปี พ.ศ. ๒๔๘๘ รวมระยะเวลา ที่อยู่ในต�าแหน่ง ๑๒ ปี

๔๙


• พระราชบัญญัติว่าด้วย คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน พ.ศ. ๒๔๗๖ ซึง่ เป็นกฎหมายการตรวจเงิน แผ่นดินฉบับแรกในยุค เริ่มต้นประชาธิปไตย ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

• ประกาศตั้งประธาน คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน พระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้หลวงด�าริอิศรานุวรรต ด�ารงต�าแหน่งประธาน คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๕๐

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


• พระราชกฤษฎีกา จัดวางระเบียบราชการ ส�านักงานและกรม ในส�านักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๔๗๖ โดย มาตรา ๘ ของกฎหมาย ฉบับนี้ ได้แบ่งส่วนราชการ ของคณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินออกเป็น ๓ ส่วน ได้แก่ ส�านักงานเลขานุการ กองตรวจเงินแผ่นดิน ส่วนกลาง และกองตรวจเงิน แผ่นดินส่วนภูมิภาค ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๕๑


• เงินเดือนของ คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

• แจ้งความตั้งกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งเป็น กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ชุดแรก พ.ศ. ๒๔๗๖ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๕๒

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


• แจ้งความตั้งกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งเป็น กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ชุดแรก พ.ศ. ๒๔๗๖ มีหลวงวรพากย์พินิจ (วินท์ อัศวนนท์) เป็น กรรมการและเลขาธิการ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

พ.ศ. ๒๔๗๖

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินก�าหนดเครื่องหมายการตรวจบัญชี ใบเสร็จ ใบส�าคัญ และหลักฐานต่าง ๆ เป็นครั้งแรก

พ.ศ. ๒๔๗๗

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเริ่มต้นโครงการนักศึกษาฝึกหัดการตรวจสอบบัญชี ภายในคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน โดยในปีแรกมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์มาฝึกหัดการตรวจสอบบัญชี จ�านวน ๘๐ คน และต่อมาได้รับบรรจุเป็น ข้าราชการวิสามัญ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินบรรจุข้าราชการหญิง จ�านวน ๔ คน เป็นครั้งแรกที่มี การรับข้าราชการหญิงเข้าท�างานตรวจเงินแผ่นดิน

๕๓


หลวงด�าริอิศรานุวรรต เรียบเรียงประวัติคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินขึ้นเพื่อเป็น ทีร่ ะลึกในงานพิธถี วายพระกฐินพระราชทาน ณ วัดส้มเกลีย้ ง จังหวัดนนทบุรี นับเป็นการ เรียบเรียงประวัติการตรวจเงินแผ่นดินไทยเป็นครั้งแรก

• บัญชีพระกฐิน พระราชทาน พ.ศ. ๒๔๗๗ ซึ่งคณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินได้ท�าบุญ พระกฐินพระราชทาน ณ วัดส้มเกลี้ยง จังหวัดนนทบุรี ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

พ.ศ. ๒๔๗๘

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินชี้แจง วัตถุประสงค์โดยย่อของการตรวจเงิน แผ่นดิน ๔ ประการ ได้แก่ (๑) รายจ่าย เป็นไปตามข้อบังคับหรือระเบียบของ กระทรวงการคลังหรือไม่ (๒) รายรับ เป็นไปตามกฎหมายหรือกฎข้อบังคับ ใด ๆ หรื อ ไม่ (๓) ทั้ ง รายรั บ และ รายจ่ายเป็นไปตามความจริงและตาม งบประมาณหรือไม่ เพราะเหตุใด และ (๔) ทรัพย์สินที่มีอยู่ถูกต้องเพียงไร

พ.ศ. ๒๔๗๙

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเสนอรายงานของคณะกรรมการฯ ต่อสภาผูแ้ ทนราษฎร เป็นครั้งแรก ตามรายงานผลการตรวจงบปีรายรับรายจ่ายของแผ่นดินประจ�าปี พ.ศ. ๒๔๗๖

พ.ศ. ๒๔๘๐

ส�านักนายกรัฐมนตรีออกระเบียบการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินโดยแบ่ง กรรมการตรวจเงินแผ่นดินออกเป็น ชั้น ๑ และชั้น ๒ ซึ่งจะคัดเลือกกรรมการโดยใช้ เบี้ยแดง เบี้ยขาว เป็นอุปกรณ์เลือกกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

๕๔

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)

• หนังสือประวัติ คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน โดย หลวงด�าริอิศรานุวรรต พิมพ์แจกในงานพระกฐิน พระราชทาน


• รายงานการประชุม สภาผู้แทนราษฎร สมัยที่ ๑ พ.ศ. ๒๔๗๖

• การประชุมสภา ผู้แทนราษฎรครั้งแรก ในพระที่นั่งอนันตสมาคม ที่มา: เว็บไซต์ห้องสมุดรัฐสภา

๕๕


• พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระที่นั่งภายในพระราชวังดุสิตเพื่อใช้เป็นสถานที่เสด็จออกมหาสมาคม พระองค์ได้เสด็จพระราชด�าเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๑ พร้อมทั้งพระราชทานชื่อพระที่นั่งว่า พระที่นั่งอนันตสมาคม พระที่นั่งองค์นี้ออกแบบโดย นายมาริโอ ตามานโญ และมีเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นแม่กองจัดการก่อสร้าง อย่างไรก็ดี พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จสวรรคตก่อนที่พระที่นั่งจะสร้างเสร็จสมบูรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ด�าเนินการก่อสร้างพระที่นั่งต่อไปจนเสร็จสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ใช้ระยะเวลาก่อสร้างทั้งสิ้น ๘ ปี งบประมาณ ๑๕ ล้านบาท ภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ พระที่นั่งอนันตสมาคมถูกใช้เป็นรัฐสภาแห่งแรกที่ใช้ประชุมสภาผู้แทนราษฎร



• การตั้งกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ผู้ลงนามตั้งกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน คือ พันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรี ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

พ.ศ. ๒๔๘๐

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินออกค�าสั่งเรื่องการแนะน�าผู้รับตรวจเป็นลายลักษณ์ อักษรโดยใช้แบบ จดหมายบันทึก ซึง่ เป็นเอกสารส�าคัญของผูต้ รวจสอบในการสอบถาม ข้อมูลเพื่อประกอบการตรวจสอบ

๕๘

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


พ.ศ. ๒๔๘๑

กระทรวงมหาดไทยมอบอ�านาจให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นผูต้ รวจสอบบัญชี เทศบาล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของงานตรวจเงินแผ่นดินท้องถิ่น

พ.ศ. ๒๔๘๒

ส�านักนายกรัฐมนตรีตงั้ ให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นส�านักกลางบัญชี มีอา� นาจ เป็นผูต้ รวจสอบบัญชีและประทับตราบัญชีของผูต้ รวจสอบกิจการ ร้านค้าเอกชนในเขต พระนครธนบุรี โดยประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็นสารวัตรบัญชีใหญ่ โดยต�าแหน่ง

๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๔

ประกาศใช้เครื่องหมายราชการแห่งคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

• รายงานแสดงกิจการ ของคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน ระหว่าง ปี ๒๔๗๕-๒๔๘๐ ถ่ายภาพจากต้นฉบับ โดย นายรัฐธรรม ชวนเชย และนายโสมทัต นิธิตรีรัตน์

• ตราสัญลักษณ์ของ คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน นับเป็นครั้งแรกที่มี การออกแบบและประกาศ ใช้ตราสัญลักษณ์ของ องค์กรตรวจเงินแผ่นดิน ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๕๙


• พระราชกฤษฎีกา จัดวางระเบียบราชการ คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน ในส�านักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๔๘๕ นับเป็นการปรับปรุง โครงสร้างองค์กรตรวจเงิน แผ่นดินครั้งที่ ๒ โดยแบ่ง ส่วนราชการออกเป็น ๑ ส�านัก ๕ กอง ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

พ.ศ. ๒๔๘๕

ปรับปรุงโครงสร้างคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบ ราชการ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ในส�านักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๔๘๕ โดย แบ่งส่วนราชการออกเป็น ๑ ส�านัก ๕ กอง ได้แก่ ส�านักงานเลขานุการ กองตรวจเงิน รัฐพาณิชย์และเงินทุน กองตรวจเงินทหาร กองตรวจเงินพลเรือนและอืน่ ๆ กองตรวจเงิน เทศบาล และกองตรวจเงินส่วนภูมิภาค

๖๐

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


• ประกาศตั้งประธาน คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ โดยมีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ หลวงวรพากย์พินิจ ด�ารงต�าแหน่งประธาน คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน ต่อจาก หลวงด�าริอิศรานุวรรต ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

• ข้าราชการคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินในอดีตของ ‘สายตรวจ’ กระทรวงศึกษาธิการ ถ่ายภาพจากต้นฉบับ โดย นายรัฐธรรม ชวนเชย และ นายโสมทัต นิธิตรีรัตน์

๖๑


พ.ศ. ๒๔๘๖

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินออกค�าสั่งเรื่องบัตรประจ�าตัวข้าราชการ นับเป็น ครั้งแรกที่มีการออกบัตรข้าราชการภายในส�านักงาน

พ.ศ. ๒๔๙๑

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ หลวงวรพากย์พินิจ (วินท์ อัศวนนท์) ด�ารงต�าแหน่งประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินต่อจากหลวงด�าริอศิ รานุวรรต

๖๒

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)

• หลวงวรพากย์พินิจ เลขาธิการคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินคนแรก ต่อมาท่านได้รบั พระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็น ประธานคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน คนที่ ๒ ถ่ายภาพจากต้นฉบับ โดย นายรัฐธรรม ชวนเชย และ นายโสมทัต นิธิตรีรัตน์


• กรรมการตรวจเงิน แผ่นดินในสมัยที่ หลวงวรพากย์พินิจ (วินท์ อัศวนนท์) เป็นประธานคณะ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ถ่ายภาพจากต้นฉบับ โดย นายรัฐธรรม ชวนเชย และ นายโสมทัต นิธิตรีรัตน์

• ศาลาลูกขุนใน ที่ท�าการตรวจเงิน แผ่นดินในอดีต ที่มา: www.oag.go.th

พ.ศ. ๒๔๙๔

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตัง้ ให้ นายเลือ่ น ชุม่ กมล ด�ารงต�าแหน่งประธาน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

๖๓


• จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีผู้ทูลเกล้าฯ เสนอชื่อนายเลื่อน ชุ่มกมล ด�ารงต�าแหน่งประธาน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ต่อจากหลวงวรพากย์พินิจ ที่มา: วิกิพีเดียไทย • นายเลื่อน ชุ่มกมล เริ่ม รับราชการต�าแหน่งเสมียน กรมตรวจเงินแผ่นดินช่วงที่ กรมตรวจเงินแผ่นดินสมทบเป็น แผนกหนึ่งของกรมบัญชีกลาง ท่าน คือ ข้าราชการกลุ่มแรก ที่โอนมาจากกรมบัญชีกลางเพื่อมา บุกเบิกก่อร่างสร้างกรมตรวจเงิน แผ่นดินและคณะกรรมการตรวจ เงินแผ่นดิน ในเวลาต่อมาท่านได้รับ เลือกให้เป็นคณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินชั้น ๑ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕ และได้รับแต่งตั้งเป็นเลขาธิการ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๑ สมัยที่หลวงวรพากย์พินิจ เป็นประธานคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินนายเลื่อน ได้รับ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินคนที่ ๓ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๓ ในยุคของ ประธานเลื่อน ท่านได้น�าส�านักงาน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเป็น สมาชิกสถาบันการตรวจสอบสูงสุด หรือ INTOSAI เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ท่านเป็นประธานคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินที่ด�ารงต�าแหน่ง ยาวนานที่สุด คือ ๑๕ ปี (พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๕๐๘) ถ่ายภาพจากต้นฉบับ โดย นายรัฐธรรม ชวนเชย และนายโสมทัต นิธิตรีรัตน์ • ประกาศตั้งประธาน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕ โดยมี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้นายเลื่อน ชุ่มกมล ด�ารงต�าแหน่งประธานคณะ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คนที่ ๓ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๖๔

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


๖๕


ยุคส�ำนักงำนคณะกรรมกำร ตรวจเงินแผ่นดิน



พ.ศ. ๒๔๙๕

ปรับปรุงโครงสร้างส�านักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (การปรับปรุงโครงสร้าง ครั้งนี้ได้เปลี่ยนชื่อจาก คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เป็น ส�านักงานคณะกรรมการ ตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ) โดยเพิ่ ม แผนกสถิ ติ แ ละรวบรวมเป็ น แผนกหนึ่ ง ของส� า นั ก งาน เลขานุการ และเพิ่ม กองสารวัตรบัญชี (ภายหลังกองสารวัตรบัญชีเปลี่ยนชื่อเป็น กองตรวจสอบพิเศษ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๗ เพื่อท�าหน้าที่สืบสวน สอบสวนทางการบัญชี และการเงิน ตลอดจนตรวจสอบกรณีทุจริตทางการเงิน)

• ตราประทับครั่ง ‘ส�านักงานคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน’ เครื่องมือ ส�าหรับอายัดเอกสารในอดีต ภาพถ่าย โดย ด�ารงค์ฤทธิ์ สถิตด�ารงธรรม

• พระราชกฤษฎีกา จัดวางระเบียบราชการ ส�านักงานคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน ในส�านักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ๒๔๙๕ นับเป็นการ ปรับปรุงโครงสร้างองค์กร ตรวจเงินแผ่นดินครั้งที่ ๓ โดยโครงสร้างดังกล่าว ได้เพิ่มกองสารวัตรบัญชี เข้ามา ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๖๘

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)



พ.ศ. ๒๔๙๗

ตราพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการส�านักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ทบวงคณะรัฐมนตรีฝา่ ยบริหาร ในส�านักคณะรัฐมนตรี (ในสมัยจอมพล ป. พิบลู สงคราม ได้เปลีย่ นชือ่ สังกัดจากส�านักนายกรัฐมนตรีเป็นส�านักคณะรัฐมนตรี) ช่วงเวลาดังกล่าว ส�านักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินขยายงานตรวจเงินแผ่นดินไปสู่ภูมิภาค ทั้งหมด ๙ ภูมิภาค และมีที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา พระนคร นครราชสีมา อุดรธานี เชียงใหม่ พิษณุโลก นครปฐม นครศรีธรรมราช และสงขลา การตรวจสอบของส� า นั ก งานคณะกรรมการตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น เริ่ ม มี ลั ก ษณะงาน หลากหลายขึน้ จากเดิมทีเ่ น้นการตรวจสอบบัญชีใบส�าคัญ ตรวจสอบงบเดือนใบส�าคัญ คูจ่ า่ ย ต่อมาได้พฒ ั นาการตรวจสอบรับรองกิจการทีเ่ ป็นรัฐวิสาหกิจ ตรวจสอบเกีย่ วกับ การทุจริต ตรวจสอบเกีย่ วกับการจ้างและจัดซือ้ และตรวจสอบค�าร้องเรียนกล่าวโทษ

พ.ศ. ๒๔๙๙

ส�านักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเข้าเป็นสมาชิกองค์การสถาบันการตรวจสอบ สูงสุดระหว่างประเทศ (International Organization of Supreme Audit Institutions) หรือ INTOSAI โดยมีวตั ถุประสงค์เพือ่ ส่งเสริมการแลกเปลีย่ นความคิดเห็นและประสบการณ์ ระหว่างสถาบันตรวจเงินแผ่นดินในประเทศต่าง ๆ ซึ่งจะน�าไปสู่การพัฒนางาน ตรวจเงินแผ่นดินในอนาคต และส�านักงานฯ ส่งผู้แทน ๒ ท่าน คือ หม่อมราชวงศ์ ทองแท่ง ทองแถม และ นายปรีชา ไทยอารี เข้าร่วมประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสถาบันการ ตรวจสอบสูงสุดระหว่างประเทศ (International Congress of Supreme Audit Institutions: INCOSAI) ครั้งที่ ๒ ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม

• สัญลักษณ์ ของ INTOSAI

๗๐

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)

• การประชุม INCOSAI ครั้งที่ ๒ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๙ โดยส�านักงาน คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินส่งผู้แทนเข้าร่วม ประชุม ๒ คน ที่มา: INTOSAI 50 Years (1953-2003) Page 40-41


• หนังสือรายงานกิจการ ประจ�าปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ของ ส�านักงานคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน ส�านักนายกรัฐมนตรี ภาพถ่าย โดย นายรัฐธรรม ชวนเชย และนายโสมทัต นิธิตรีรัตน์ • กรรมการตรวจเงิน แผ่นดินในสมัยที่ นายเลื่อน ชุ่มกมล เป็น ประธานคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน ถ่ายภาพจากต้นฉบับ โดย นายรัฐธรรม ชวนเชย และ นายโสมทัต นิธิตรีรัตน์

พ.ศ. ๒๕๐๔

ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรตรวจเงินแผ่นดิน จั ด ท� ำ รำยงำนกิ จ กำรประจ� ำ ปี ขึ้ น เป็ น ครั้งแรก โดยรวบรวมสถิติข้อมูลต่ำง ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับกำรตรวจสอบ ทั้งนี้เนื้อหำที่ ปรำกฏในรำยงำนไม่สำมำรถเผยแพร่ได้ โดยปกหลังรำยงำนประทับตรำไว้ว่ำ ‘เป็น ควำมลับใช้ในรำชกำร’

พ.ศ. ๒๕๐๖

ส�ำนักงำนคณะกรรมกำรตรวจเงินแผ่นดิน เสนอแนวทำงกำรป้ อ งปรำมกำรทุ จ ริ ต จ�ำนวน ๗ ข้อ ต่อรัฐบำล นับเป็นบทบำท ส� ำ คั ญ ของงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ในกำร ป้องปรำมกำรทุจริต

๗๑


๗๒

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


พ.ศ. ๒๕๐๘

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตัง้ นายค�านึง ชาญเลขา ด�ารงต�าแหน่งประธาน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และในปีเดียวกันนัน้ ได้มพี ระบรมราชโองการโปรดเกล้า ให้ นายค�านึง ชาญเลขา และนายสุพัฒน์ สุธาธรรม กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นศาสตราจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับได้ว่าบุคลากรของส�านักงาน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้รบั การยอมรับว่าเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญด้านบัญชีเป็นอย่างยิง่ • นายค�านึง ชาญเลขา นับเป็นลูกหม้อของ คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินที่เริ่มต้น รับราชการในยุคที่ ก่อร่างสร้างกรม ท่านได้ รับแต่งตัง้ ให้เป็นกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินชัน้ ๑ ปี พ.ศ. ๒๔๙๐ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ชัน้ ๒ ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ โดยไปปฏิบัติราชการที่ ภาค ๕ จังหวัดสงขลา เคยเป็นหัวหน้ากอง สารวัตรบัญชี ผูอ้ า� นวยการ กองตรวจเงินแผ่นดิน ส่วนภูมิภาค และได้รับ แต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการ คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินเมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๐๖ จนกระทั่งได้รับพระบรม ราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เป็นประธานคณะ กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คนที่ ๔ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘ นอกจากนี้ท่าน ยังได้รับพระบรม ราชโองการโปรดเกล้าฯ เป็นศาสตราจารย์พิเศษ ของมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์

พ.ศ. ๒๕๐๙

ส�านักงานฯ จัดท�าแนวทางพิจารณาประมวล ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ เกี่ยวกับการ ตรวจสอบ โดยจัดท�าในรูปแบบดัชนีลา� ดับเรือ่ งประเภท หมวดหมู่ เพือ่ ประโยชน์สา� หรับ ใช้เป็นคูม่ อื ในการตรวจสอบการทักท้วง การติดตามผลการทักท้วง และประเมินผลของ การทักท้วง

พ.ศ. ๒๕๑๐

ส�านักงานฯ น�าวิธีทดสอบมาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบบัญชี งบเดือนและใบส�าคัญ จ่าย เนื่องจากการตรวจสอบบัญชีและงบเดือนใบส�าคัญโดยละเอียดตามที่เคยปฏิบัติ กันมานั้น ไม่เหมาะสมกับภาระงานที่มากขึ้น ดังนั้น จึงควรปรับปรุงวิธีการตรวจสอบ จากการตรวจสอบโดยละเอี ย ดมาใช้ วิ ธี ท ดสอบเพื่ อ ให้ ก ารตรวจสอบประสบผล กว้างขวางขึ้น

• ประกาศแต่งตั้ง นายค�านึง ชาญเลขา เป็นประธานคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน และนายสุพัฒน์ สุธาธรรม เป็นเลขาธิการ คณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๗๓


พ.ศ. ๒๕๑๓

ยกเลิกต�าแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน โดยกรรมการตรวจเงินแผ่นดินคนสุดท้าย คือ นางฤดี จิวาลักษณ์ (นับตัง้ แต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๖ เป็นต้นมา กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ในประวัติศาสตร์ มีทั้งสิ้น ๙๓ คน)

• ตราสัญลักษณ์ของ ส�านักงานคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน เป็นการเปลี่ยนแปลง ตราสัญลักษณ์ครั้งที่ ๒ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

พ.ศ. ๒๕๑๔

เปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ จากเดิม ตราคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เป็น ตราส�านักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน โดยเพิ่มเสาคันชั่งเข้าไป

๗๔

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


• ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๑๖ พ.ศ. ๒๕๑๕ ก�าหนดให้ ส�านักงานคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน อยู่ในบังคับบัญชา ของนายกรัฐมนตรี ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

พ.ศ. ๒๕๑๕

ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ ๒๑๖ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๕ จัดระเบียบ ราชการแผ่นดิน โดยในข้อ ๓๓ ก�าหนดให้ส�านักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีอา� นาจหน้าทีต่ ามทีก่ า� หนดไว้ในกฎหมาย และให้อยูใ่ นบังคับบัญชาของนายกรัฐมนตรี

• ศาสตราจารย์พิเศษ สุพัฒน์ สุธาธรรม ประธานคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินคนที่ ๕ ถ่ายภาพจากต้นฉบับ โดย นายรัฐธรรม ชวนเชย และ นายโสมทัต นิธิตรีรัตน์

พ.ศ. ๒๕๑๗

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายสุพัฒน์ สุธาธรรม ด�ารงต�าแหน่ง ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และปีเดียวกันนั้น ส�านักงานฯ ปรับปรุง โครงสร้างครั้งใหญ่ (หลังจากปรับปรุงโครงสร้างครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๗) โดย โครงสร้างองค์กรใหม่ ประกอบด้วย ส�านักงานเลขานุการกรม กองวิชาการ กองตรวจเงิน รัฐวิสาหกิจและเงินทุน กองตรวจเงินทหาร กองตรวจเงินฝ่ายบริหาร กองตรวจเงิน ฝ่ายเศรษฐกิจและสังคม กองตรวจสอบพิเศษ รวมทั้งส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน ภูมิภาคที่ ๑-๙

๗๕


• พระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการ ส�านักงานคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๑๗ นับเป็นการ ปรับปรุงโครงสร้างองค์กร ตรวจเงินแผ่นดินครั้งที่ ๔ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๗๖

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


พ.ศ. ๒๕๑๗

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๑๗ บัญญัติเรื่องการตรวจเงินแผ่นดินไว้ ในส่วนที่ ๖ หมวดที่ ๖ ว่าด้วย ผู้ตรวจเงินแผ่นดินของรัฐสภา ประกอบด้วย ๖ มาตรา (มาตรา ๑๖๘-๑๗๓) โดยสาระส�าคัญ คือ ผู้ตรวจเงินแผ่นดินของรัฐสภามีอ�านาจ หน้าที่ในการตรวจสอบการรับจ่ายเงินแผ่นดินและการรับจ่ายทรัพย์สินของหน่วยงาน ราชการ รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมี ฐานะเป็นอิสระแยกจากฝ่ายบริหาร และให้เจ้าหน้าที่ตรวจเงินแผ่นดินเป็นข้าราชการ ฝ่ายรัฐสภา ซึ่งเป็นไปตามหลักสากล การแต่งตั้ง การถอดถอนผู้ตรวจเงินแผ่นดิน จะเป็นไปโดยมติของรัฐสภาตามบทบัญญัติของกฎหมาย อย่างไรก็ตาม รัฐสภาในสมัยนั้นไม่ได้ออกกฎหมายรองรับความตามรัฐธรรมนูญ ท�าให้การผลักดันส�านักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินสู่การเป็นผู้ตรวจเงิน แผ่นดินรัฐสภาจึงหยุดชะงัก ซึ่งในเวลาต่อมารัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้ถูกยกเลิกโดย คณะรัฐประหารเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙

พ.ศ. ๒๕๑๘

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายชาญ เลิศลักษณา ด�ารงต�าแหน่ง ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ครบรอบการสถาปนา ๖๐ ปี ส�านักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มีการจัดท�า หนังสือทีร่ ะลึกครบรอบ ๖๐ ปี โดยเรียบเรียงประวัตสิ า� นักงานคณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินพร้อมทั้งเล่าเกร็ดต่าง ๆ ในการท�างานตรวจเงินแผ่นดิน นับเป็นการเรียบเรียง ประวัติกรมครั้งที่ ๒ โดยผู้เรียบเรียงประวัติครั้งนี้ คือ นายประยูร ศรียรรยงค์ และ นายธรรมรัฐ ณ ระนอง

• หนังสือที่ระลึก ครบรอบ ๖๐ ปี ส�ำนักงำนคณะกรรมกำร ตรวจเงินแผ่นดิน เรียบเรียงโดย นำยประยูร ศรียรรยงค์ และนำยธรรมรัฐ ณ ระนอง นับเป็นครั้งที่ ๒ ที่มีกำร เรียบเรียงประวัติศำสตร์ ขององค์กรตรวจเงิน แผ่นดินไทย

๗๗


• ผู้ตรวจเงินแผ่นดินของ รัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๑๗ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

พ.ศ. ๒๕๑๙

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายวิเชียร วงศ์เบี้ยสัจจ์ ด�ารงต�าแหน่ง ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน นายประยูรศักดิ์ ชลายนเดชะ และ นายเปรม มาลากุล ณ อยุธยา เสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งส�านักงานตรวจเงินแผ่นดินของรัฐสภา พุทธศักราช.... โดยการเสนอร่าง ครัง้ แรก ทีป่ ระชุมรับหลักการ และหลังจากประชุมหลายครัง้ เพือ่ ปรับปรุงร่างกฎหมาย ฉบับนี้ ท�าให้ร่างพระราชบัญญัติได้ตัดค�าว่า ส�านักงานตรวจเงินแผ่นดินของรัฐสภา ออก และเปลี่ยนเป็นร่างพระราชบัญญัติการตรวจเงินแผ่นดิน พุทธศักราช...

๗๘

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)

• นายวิเชียร วงศ์เบี้ยสัจจ์ ประธานคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินคนสุดท้าย และผู้อ�านวยการส�านักงาน ตรวจเงินแผ่นดินคนแรก


• ตัวอย่างรายงาน กิจการประจ�าปีของ ส�านักงานคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน ถ่ายภาพจากต้นฉบับ โดย นายรัฐธรรม ชวนเชย และนายโสมทัต นิธิตรีรัตน์

ยุคส�ำนักงำนตรวจเงินแผ่นดิน ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๒

ตราพระราชบัญญัติการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๒๒ เพื่อให้การตรวจสอบการรับจ่าย เก็บรักษาเงิน และทรัพย์สินอื่นของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเป็นไปโดยถูกต้องและ เรียบร้อย มีประสิทธิภาพ โดยนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ กฎหมายตรวจเงินแผ่นดินฉบับใหม่เพิม่ ขอบเขตและมิตกิ ารตรวจสอบทีค่ รอบคลุมการใช้จา่ ย งบประมาณแผ่นดินอย่างมีประสิทธิภาพคุ้มค่า ซึ่งในเวลาต่อมา ส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้ น� า วิ ธี ก ารตรวจสอบสมั ย ใหม่ ม าใช้ เรี ย กว่ า การตรวจสอบการด� า เนิ น งาน หรื อ Performance Audit มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายวิเชียร วงศ์เบี้ยสัจจ์ ด�ารงต�าแหน่ง ผู้อ�านวยการส�านักงานตรวจเงินแผ่นดินคนแรก (กฎหมายตรวจเงินแผ่นดินฉบับเก่า นายวิเชียร ด�ารงต�าแหน่งประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน และเมื่อตรากฎหมาย ฉบับใหม่จงึ ด�ารงต�าแหน่งเป็นผูอ้ า� นวยการส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน) และวันที่ ๑๒ มิถนุ ายน พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้ประกาศใช้เครือ่ งหมายราชการส�านักงานตรวจเงินแผ่นดินแทนเครือ่ งหมาย เดิม นอกจากนี้ยังก�าหนดแบบบัตรประจ�าตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ของส�านักงานตรวจเงิน แผ่นดิน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๒๒ ส�านักงานตรวจเงินแผ่นดินเริ่มตรวจสอบโครงการที่ใช้เงินกู้จากต่างประเทศ เนื่องจาก เจ้าของเงินกู้ เช่น ธนาคารโลกมีข้อก�าหนดในสัญญาให้ประเทศผู้กู้จัดท�าบัญชีและรายงาน การเงินของโครงการ และให้มีการตรวจสอบบัญชีและรายงานการเงินด้วย

๗๙


๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๒

ส� า นั ก งานตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น เป็ น หนึ่ ง ในสมาชิ ก ผู ้ ริ เริ่ ม ก่ อ ตั้ ง องค์ ก ารสถาบั น การ ตรวจสอบสูงสุดแห่งเอเชีย หรือ Asian Organization of Supreme Audit Institutions (ASOSAI) ร่วมกับสมาชิกองค์กรตรวจเงินแผ่นดินในภูมิภาคเอเชีย ๑๑ ประเทศ

• พระราชบัญญัติ การตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๒๒ หลังจากที่ ประกาศใช้กฎหมายฉบับนีแ้ ล้ว ส�านักงานคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน ได้เปลี่ยน ชื่อเป็นส�านักงานตรวจเงิน แผ่นดิน กฎหมายตรวจเงิน แผ่นดิน ปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เพิม่ อ�านาจหน้าที่ในการ ท�างานตรวจเงินแผ่นดิน ให้มีความหลากหลายขึ้น โดยเฉพาะการตรวจสอบถึง ความประหยัด ความคุ้มค่า ประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ แผ่นดิน ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๘๐

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


• ตราสัญลักษณ์ของ ส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน เป็นการเปลี่ยนแปลง ตราสัญลักษณ์ครั้งที่ ๓ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

• รายงานการประชุม สภาผู้แทนราษฎรเพื่อ รับทราบรายงานผลการ ปฏิบัติราชการประจ�าปี ของส�านักงานตรวจเงิน แผ่นดิน

๘๑


พ.ศ. ๒๕๒๓

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายทวี หนุนภักดี ด� ารงต�าแหน่ง ผู้อ�านวยการส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน

พ.ศ. ๒๕๒๔

ส�านักงานตรวจเงินแผ่นดินก�าหนดนโยบายตรวจสอบประจ�าปีโดยให้ตรวจสอบการ ด�าเนินงาน (Performance Audit) ของหน่วยงานบางหน่วยเป็นครัง้ แรก และให้รายงาน ผลการตรวจสอบพร้อมกับการตรวจสอบการเงินโครงการที่ใช้เงินกู้ต่างประเทศของ ส่วนราชการ

• รายงานการตรวจสอบ การด�าเนินงาน (Performance Audit Report) ในยุคเริ่มต้น โดยใช้ชื่อรายงานว่า รายงานการตรวจสอบ ประเมินผล ถ่ายภาพจากต้นฉบับ โดย นายรัฐธรรม ชวนเชย และนายโสมทัต นิธิตรีรัตน์

พ.ศ. ๒๕๒๘

ส�านักงานตรวจเงินแผ่นดินปรับปรุงโครงสร้างภายในเพื่อรองรับกฎหมายตรวจเงิน แผ่นดินฉบับปี พ.ศ. ๒๕๒๒ โดยการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งนี้ท�าให้ส�านักงานฯ ประกอบด้วย หน่วยงานภายใน ๑๗ ส่วน โดยเพิ่ม กองตรวจสอบการใช้ทรัพย์สินของ รัฐ ขึ้นมาเพื่อท�าหน้าที่ตรวจสอบการด�าเนินงาน

• ตัวอย่างรายงานประจ�าปี ของส�านักงานตรวจเงิน แผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๒๒๒๕๒๔ ถ่ายภาพจากต้นฉบับ โดย นายรัฐธรรม ชวนเชย และนายโสมทัต นิธิตรีรัตน์

๘๒

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


• บัตรประจ�าตัว พนักงานเจ้าหน้าที่ ไว้ใช้ส�าหรับการปฏิบัติ ราชการในงาน ตรวจสอบ เช่น การแสดงบัตรเพื่อ บันทึกถ้อยค�าในการ ตรวจสอบสืบสวน ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๘๓


• พระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการ ส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๒๘ การแบ่งส่วนราชการครั้งนี้ เป็นการปรับปรุง โครงสร้างเพื่อรองรับ อ�านาจหน้าที่ที่เพิ่มขึ้น ตามกฎหมายการตรวจเงิน แผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๒๒ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๘๔

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


พ.ศ. ๒๕๓๐

ฉลองครบรอบ ๗๒ ปี การสถาปนาส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน มีการจัดท�าหนังสือ ที่ระลึกครบรอบ ๗๒ ปี เรียบเรียงประวัติส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน นับเป็นการ เรียบเรียงประวัติกรมครั้งที่ ๓ โดยผู้เรียบเรียงประวัติครั้งนี้ คือ นายธรรมรัฐ ณ ระนอง และเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายรูปหมู่ข้าราชการและลูกจ้างของส�านักงาน นอกจากนี้ ส� า นั ก งานตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ได้ ย ้ า ยที่ ท� า การตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น จากศาลาลู ก ขุ น ใน พระบรมมหาราชวัง มาอยู่ที่หมู่ตึกกระทรวงการคลัง ถนนพระรามหก พญาไท ส�านักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะมนตรี ขององค์การสถาบัน การตรวจสอบสูงสุดแห่งเอเชีย ครัง้ ที่ ๑๑ (The 11th ASOSAI Governing Board Meeting)

• อาคารที่ท�าการ ตรวจเงินแผ่นดิน ถนนพระรามที่หก ที่ตั้งของ ส�านักงานการตรวจเงิน แผ่นดินในปัจจุบัน

• รายงานประจ�าปี พ.ศ. ๒๕๒๘ และ ๒๕๒๙ หน้าปกแสดงรูป ที่ท�าการตรวจเงินแผ่นดิน ณ ศาลาลูกขุนใน พระบรมมหาราชวัง และ หมู่ตึกกระทรวงการคลัง ถนนพระรามที่หก ถ่ายภาพจากต้นฉบับ โดย นายรัฐธรรม ชวนเชย และนายโสมทัต นิธิตรีรัตน์

๘๕


พ.ศ. ๒๕๓๑

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายมนัส วงศ์ยุติธรรม ด�ารงต�าแหน่ง ผู้อ�านวยการส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน ส�านักงานฯ ปรับปรุงโครงสร้าง โดยขยายหน่วยงานภายในเป็น ๒๒ ส่วน เพิ่มกอง ตรวจเงินพลเรือนขึ้น ๓ กอง กองตรวจเงินรัฐวิสาหกิจและเงินทุน ๒ กอง นอกจากนี้ ยังขยายส�านักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาคออกไปอีก ๓ ภูมิภาค มีที่ตั้งอยู่ในจังหวัด อุบลราชธานี เพชรบุรี และสุราษฎร์ธานี ตามล�าดับ

พ.ศ. ๒๕๓๒

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายสนิท เสนาสุข ด�ารงต�าแหน่ง ผู้อ�านวยการส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๓ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายประหยัด ถิระวัฒน์ ด�ารงต�าแหน่ง ผู้อ�านวยการส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน

• นางฤดี จิวาลักษณ์ อดีตกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินคนสุดท้าย และผู้อ�านวยการหญิง คนแรก ถ่ายภาพจากต้นฉบับ โดย นายรัฐธรรม ชวนเชย และนายโสมทัต นิธิตรีรัตน์

พ.ศ. ๒๕๓๕

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นางฤดี จิวาลักษณ์ ด�ารงต�าแหน่ง ผู้อ�านวยการส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน (นักบริหาร ๑๑) นับเป็นข้าราชการหญิง คนแรกที่ขึ้นด�ารงต�าแหน่งสูงสุด ในส�านักงานฯ และได้ต�าแหน่งระดับบริหาร ๑๑ เทียบเท่าปลัดกระทรวง

๘๖

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


• พระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการ ส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๑ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๘๗


พ.ศ. ๒๕๓๖

ส�านักงานฯ ปรับปรุงโครงสร้างภายในตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการ ส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๖ โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น ๒๒ ส่วน

พ.ศ. ๒๕๓๗

ส� า นั ก งานตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น เสนอ มาตรการเพื่ อ ป้ อ งกั น หรื อ ลดโอกาส ในการสมยอมกั น ในการเสนอราคา (ฮั้ว) ต่อรัฐบาล โดยเฉพาะกรณีการ จ้ า งเหมาก่ อ สร้ า งของส่ ว นราชการ มาตรการดังกล่าวรู้จักในชื่อ มาตรการ ป้องกันการฮั้วประมูล หรือ ว ๑ ปี ๓๗ ส� า นั ก งานตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น เป็ น หน่วยงานแรกที่ให้ความส�าคัญกับเรื่อง การสมยอมกันในการเสนอราคา ซึ่ง มาตรการป้องกันดังกล่าวมาจากการ ประมวลข้ อ สั ง เกตและข้ อ เสนอแนะ จากการตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง (Public Procurement Audit)

๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘

พระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ทรง พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทาน พระราชด�ารัสแก่ขา้ ราชการและลูกจ้าง ส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน ในโอกาส ที่ส�านักงานตรวจเงินแผ่นดินครบรอบ ๘๐ ปี โดยความตอนหนึ่งในพระราชด�ารัสที่ว่า ‘การควบคุมและตรวจสอบ เงิ น แผ่ น ดิ น เป็ น สิ่ ง ส� า คั ญ และจ� า เป็ น เพราะเงินแผ่นดินนัน้ คือเงินของประชาชน ทั้งชาติ’ ซึ่งเปรียบเสมือนศูนย์รวมจิตใจ ของคนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ที่ จ ะยึ ด มั่ น ท�างานเพื่อพิทักษ์รักษาประโยชน์ให้กับ ประเทศชาติและประชาชน

๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘

ฉลองครบรอบ ๑๒๐ ปี การตรวจเงินแผ่นดินไทย, ๘๐ ปี ส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน มีการจัดท�าหนังสือที่ระลึก เรียบเรียงประวัติส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน นับเป็นการ เรียบเรียงประวัติกรมครั้งที่ ๔ โดยผู้เรียบเรียงประวัติครั้งนี้ คือ นางสาวเนตรทราย ตั้งขจรศักดิ์

๘๘

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


• พระราชด�ารัสพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานแก่ ข้าราชการส�านักงานตรวจเงิน แผ่นดิน เนื่องในโอกาสที่ส�านักงานฯ ครบ ๘๐ ปี แห่งการสถาปนา ในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ ที่มา: www.oag.go.th

๘๙


พ.ศ. ๒๕๓๘

ส�านักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะมนตรี ขององค์การสถาบันการ ตรวจสอบสูงสุดแห่งเอเชีย ครั้งที่ ๒๒ (The 22nd ASOSAI Governing Board Meeting)

พ.ศ. ๒๕๓๙

ส�านักงานฯ ปรับปรุงโครงสร้างภายในตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการส�านักงาน ตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยยกระดับกองขึน้ เป็นส�านัก เช่น ส�านักตรวจสอบด้าน เศรษฐกิจ ส�านักพัฒนาการตรวจสอบ นอกจากนีข้ ยายงานตรวจเงินแผ่นดินไปสูภ่ มู ภิ าค เพิ่มขึ้นเป็น ๑๕ ภูมิภาค โดยเพิ่มจังหวัดที่ตั้งภาค ได้แก่ ขอนแก่น ล�าปาง และ นครศรีธรรมราช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายปัญญา สติฐิต ด�ารงต�าแหน่ง ผู้อ�านวยการส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน

พ.ศ. ๒๕๔๐

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายนนทพล นิ่มสมบุญ ด�ารงต�าแหน่ง ผู้อ�านวยการส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน

• พระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการ ส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๙๐

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


• นายนนทพล นิ่มสมบุญ ผู้อ�านวยการส�านักงาน ตรวจเงินแผ่นดินคนสุดท้าย ก่อนที่ส�านักงานฯ จะปรับปรุงโครงสร้าง เป็นองค์กรอิสระ ตามรัฐธรรมนูญ ปี พ.ศ. ๒๕๔๐

๙๑



• รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ หมวด ๑๑ มาตรา ๓๑๒ บัญญัติ เนื้อหาว่าด้วยการ ตรวจเงินแผ่นดิน โดยการตรวจเงินแผ่นดิน ให้กระท�าโดย คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินและผู้ว่าการ ตรวจเงินแผ่นดินที่เป็น อิสระและเป็นกลาง ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๙๓


• รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้บัญญัติ เรื่องการตรวจเงินแผ่นดิน ไว้ในหมวด ๑๑ มาตรา ๓๑๒ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

พ.ศ. ๒๕๔๐

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ บัญญัติเรื่องการตรวจเงินแผ่นดินไว้ ในหมวด ๑๑ มาตรา ๓๑๒ โดยการตรวจเงินแผ่นดินให้กระท�าโดยคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินที่เป็นอิสระและเป็นกลาง ซึ่งนับเป็น ครั้งแรกที่การตรวจเงินแผ่นดินถูกน�ามาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

พ.ศ. ๒๕๔๑

ส�านักงานตรวจเงินแผ่นดินจัดท�าเว็บไซต์หน่วยงานเป็นครัง้ แรกโดยใช้ชอื่ โฮมเพจ www. oag.go.th

พ.ศ. ๒๕๔๒

ส�านักงานตรวจเงินแผ่นดินเสนอรัฐบาลเกีย่ วกับแนวปฏิบตั ใิ นการก�ากับดูแลการเผยแพร่ ข่าวสารประกวดราคาเพือ่ เสริมมาตรการป้องกันหรือลดโอกาสในการสมยอมกันในการ เสนอราคา ทั้งนี้เพื่อเป็นมาตรการป้องกันการทุจริตในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ส�านักงานตรวจเงินแผ่นดินเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะมนตรี ขององค์การสถาบันการ ตรวจสอบสูงสุดแห่งเอเชีย ครั้งที่ ๒๗ (The 27th ASOSAI Governing Board Meeting) ณ จังหวัดภูเก็ต

๙๔

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


• รายงานประจ�าปีระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๓๐-๒๕๔๑ ถ่ายภาพจากต้นฉบับ โดย นายรัฐธรรม ชวนเชย และนายโสมทัต นิธิตรีรัตน์

๙๕


ยุคส�ำนักงำน กำรตรวจเงินแผ่นดิน : ก้ำวสู่กำรเป็นองค์กรอิสระ ตำมรัฐธรรมนูญ



๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๒

ตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒ เพื่อให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่บัญญัติให้การ ตรวจเงินแผ่นดินกระท�าโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและผู้ว่าการตรวจเงิน แผ่นดินที่เป็นอิสระและเป็นกลาง กฎหมายฉบับนี้นับเป็นกฎหมายตรวจเงินแผ่นดิน ฉบับที่ ๓ ที่วางกลไกการตรวจเงินแผ่นดินให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีอ�านาจ หน้าทีก่ �าหนดนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน ก�าหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานการตรวจเงิน แผ่นดิน พิจารณาผลการตรวจสอบที่ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินเสนอ ขณะเดียวกัน การตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ยั ง ประกอบด้ ว ย ผู ้ ว ่ า การตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น และส� า นั ก งาน การตรวจเงินแผ่นดินที่ท�าหน้าที่ด้วยความเป็นอิสระและเป็นกลาง นอกจากนี้ในส่วน ที่ ๒ ของกฎหมายตรวจเงินแผ่นดิน ยังบัญญัติเรื่องวินัยทางงบประมาณและการคลัง เพือ่ ให้ระบบการควบคุมตรวจสอบการเงินแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีวนิ ยั

๙๘

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


• พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงิน แผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒ โดยหลังจากประกาศ กฎหมายฉบับนี้แล้ว ส�านักงานตรวจเงินแผ่นดิน ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ส�านักงานการตรวจเงิน แผ่นดิน ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๙๙


๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๓

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ ดร.ปัญญา ตันติยวรงค์ เป็นประธาน กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน พร้อมกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จ�านวน ๙ คน คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้ประกาศนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ. ๒๕๔๓๒๕๔๖) โดยมุ่งเน้นเป้าหมายส�าคัญ ๓ ประการ คือ ด�าเนินบทบาทในการเสริมสร้าง ให้เกิดการบริหารกิจการบ้านเมืองทีด่ ใี นภาครัฐ ป้องกันและควบคุมการใช้จา่ ยเงินของ รัฐให้เป็นไปโดยถูกต้อง ไม่เกิดความเสียหายหรือรั่วไหล ติดตามการใช้จ่ายเงินของรัฐ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ สู ง สุ ด คุ ้ ม ค่ า เป็ น ไปตามกฎหมาย ระเบี ย บ ข้ อ บั ง คั บ และมติ คณะรัฐมนตรี

• ตราสัญลักษณ์ ส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓

ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่องตราสัญลักษณ์ส�านักงานการตรวจเงิน แผ่นดิน ส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสมัชชา ครั้งที่ ๘ และการประชุมคณะมนตรีครั้งที่ ๒๘-๒๙ ของ ASOSAI (The 8th ASOSAI Assembly and the 28th-29th ASOSAI Governing Board Meeting) ระหว่างวันที่ ๙-๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ โดยเป็นการประชุมสมัชชาครั้งแรกที่จัดขึ้นในประเทศไทย การ ประชุมครั้งนี้ ดร.ปัญญา ตันติยวรงค์ ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ได้รับเลือก ให้ด�ารงต�าแหน่งประธานสมัชชาและประธานคณะมนตรี ASOSAI

๑๐๐

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


• ดร.ปัญญา ตันติยวรงค์ (คนกลาง) ประธาน กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คนแรก และได้รับเลือกให้ ด�ารงต�าแหน่งประธาน คณะมนตรี ASOSAI ที่มา: เว็บไซต์ ASOSAI

พ.ศ. ๒๕๔๔

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้วางระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วย มาตรฐานการควบคุมภายใน พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการควบคุมภายใน (Internal Control) ของหน่วยรับตรวจเพื่อป้องกันความเสียหายและลดความสูญเสีย คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้วางระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วย วินัยทางงบประมาณและการคลัง พ.ศ. ๒๕๔๔ และระเบียบคณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน ว่าด้วยวิธีพิจารณาความผิดวินัยทางงบประมาณและการคลัง พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งการออกระเบียบทั้งสองฉบับนี้ เพื่อรองรับการด�าเนินการทางวินัยและงบประมาณ การคลังที่ปรากฏในกฎหมายการตรวจเงินแผ่นดินฉบับปัจจุบัน

• คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินคณะแรก หลังจากที่ รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. ๒๕๔๐ บัญญัติให้การ ตรวจเงินแผ่นดินกระท�าโดย คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินและผู้ว่าการ ตรวจเงินแผ่นดิน ภาพจาก www.oag.go.th

๑๐๑


พ.ศ. ๒๕๔๕

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นางจารุวรรณ เมณฑกา เป็นผู้ว่าการ ตรวจเงินแผ่นดินคนแรก ทั้งนี้ภายหลังท่านได้รับพระมหากรุณาธิคุณพระราชทาน ต�าแหน่งเป็น คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่องการแบ่งส่วนราชการภายในของ ส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๕ ประกาศดังกล่าวเป็นการปรับปรุง โครงสร้างส�านักงานฯ โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น ๓๓ ส�านักงาน และ ๒ กลุม่ งาน โดยมีสา� นักใหม่เกิดขึน้ เพือ่ รับผิดชอบงานตามภารกิจ เช่น ส�านักงานอ�านวย กิจการคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ส�านักงานวินัยทางงบประมาณและการคลัง เป็นต้น

พ.ศ. ๒๕๔๕

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้วางระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ว่าด้วย หลักเกณฑ์การตรวจสอบการใช้จ่ายเงินราชการลับหรือเงินที่มีลักษณะคล้ายกับ เงินราชการลับ พ.ศ. ๒๕๔๕ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้ออกมาตรการการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหาร ส่วนต�าบล (อ.๑๐๐) ทั้งนี้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ อบต. ถือปฏิบัติและผู้รับผิดชอบก�ากับงาน อบต. ด�าเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง

พ.ศ. ๒๕๔๖

ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง การจัดท�าแผนปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง พ.ศ. ๒๕๔๖ ทั้งนี้เพื่อให้การบริหารงบประมาณและการตรวจสอบเป็นไปด้วยความ เหมาะสมในการที่จะเสริมสร้างประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ นอกจากนี้ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้ออกประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง การก�าหนดภาพเครือ่ งหมายแสดงสังกัดของข้าราชการส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๖

๑๐๒

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)

• คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผูว้ า่ การตรวจเงินแผ่นดินคนแรก หลังจากส�านักงานตรวจเงิน แผ่นดินปรับปรุงโครงสร้างเป็น องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ที่มา: วิกิพีเดียไทย


๑๐๓


พ.ศ. ๒๕๔๖

ประกาศส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง แบบบัตรประจ�าตัวเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึง่ มีอยู่ ๒ รูปแบบ คือ แบบทีไ่ ม่ได้ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และแบบที่ ออกด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดินเปิดตัวสูส่ าธารณชนด้วยรายการ ‘สตง. พบประชาชน’ ทางสถานีวิทยุรัฐสภา FM ๘๗.๕ เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่าง สตง. กับประชาชน

๑๐๔

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)

• ประกาศ คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน เรื่องการ แบ่งส่วนราชการภายใน ของส�านักงานการ ตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๕ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา


๑๐๕


พ.ศ. ๒๕๔๗

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้ออกมาตรฐานการตรวจเงินแผ่นดิน ๑ ฉบับ คือ มาตรฐานเกี่ยวกับการจัดท�าและแบบรายงานที่จ�าเป็นส�าหรับการตรวจเงินแผ่นดิน ที่หน่วยรับตรวจต้องจัดส่งให้แก่ส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นประจ�า (มตง.๔) รวมทั้งได้ออกมาตรการการตรวจเงินแผ่นดิน จ�านวน ๕ ฉบับ ได้แก่ (๑) มาตรการ เรื่องการป้องกันหรือควบคุมความเสียหายให้หน่วยรับตรวจ (มลก.๓) (๒) มาตรการ การเงินการคลังของ อบต. (อ.๒๐๐) (๓) มาตรการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุ ของ อบต. (อ.๓๐๐) (๔) มาตรการการด�าเนินงานตามแผนงาน งานและโครงการ ของ อบต. (อ.๔๐๐) และ (๕) มาตรการการบริหารและควบคุมทางการเงินของหน่วย รับตรวจขนาดเล็ก (มลก.๖) ส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดินเสนอแนวทางด�าเนินการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย แก่แผ่นดิน โดยแนวทางดังกล่าวมาจากการตรวจสอบทีพ่ บข้อบกพร่องในการบริหาร จัดการของหน่วยรับตรวจทีเ่ กิดจากการไม่มขี อ้ ก�าหนดให้หน่วยรับตรวจปฏิบตั ซิ งึ่ อาจ มีผลเสียหายต่อราชการหรือเอื้อต่อการทุจริต ดังนั้น สตง. จึงเสนอให้ผู้มีอ�านาจ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ

๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตัง้ ให้ นายนรชัย ศรีพมิ ล เป็นประธานกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน พร้อมกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จ�านวน ๙ คน

พ.ศ. ๒๕๔๘

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินชุดที่ ๒ ก�าหนดนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๕๓

• นายนรชัย ศรีพิมล ประธานกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินชุดที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๘-๒๕๔๙)


๑๐๗


• ประกาศแต่งตั้ง ประธานกรรมการ และกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน คณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินชุดนี้ มีทั้งสิ้น ๑๐ คน มีนายนรชัย ศรีพิมล เป็นประธานกรรมการ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘

ฉลองครบรอบวันสถาปนา ๙๐ ปี ส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดิน มีการจัดท�าหนังสือ ที่ระลึก เรียบเรียงประวัตสิ า� นักงานการตรวจเงินแผ่นดิน นับเป็นการเรียบเรียงประวัติ ส�านักงานครั้งที่ ๕ โดยผู้เรียบเรียงประวัติครั้งนี้ คือ นายทรงวุฒิ ด่านวุฒินันท์

๑๐๘

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)

• หนังสือที่ระลึก ฉลองครบรอบ วันสถาปนา ๙๐ ปี ส�านักงานการตรวจเงิน แผ่นดิน มีการจัดท�า หนังสือที่ระลึก เรียบเรียงประวัติ ส�านักงานการตรวจเงิน แผ่นดิน นับเป็นการ เรียบเรียงประวัติ ส�านักงานครั้งที่ ๕ โดย ผู้เรียบเรียงประวัติ ครั้งนี้ คือ นายทรงวุฒิ ด่านวุฒินันท์


พ.ศ. ๒๕๔๙

ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่องการแบ่งส่วนราชการภายในของ ส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๙ ประกาศดังกล่าวเป็นการปรับปรุง โครงสร้างส�านักงานฯ โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น ๔๓ ส�านักงาน และ ๑ กลุม่ งาน โดยการปรับปรุงโครงสร้างครัง้ นีจ้ า� แนกตามลักษณะงานตรวจสอบหลักของ ส�านักงาน ได้แก่ การตรวจสอบการเงิน (Financial Audit) การตรวจสอบการบริหาร พัสดุและสืบสวน (Public Procurement Audit and Investigative Audit) และการตรวจ สอบการด�าเนินงาน (Performance Audit) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินเสนอมาตรการป้องกันความเสียหายเกี่ยวกับการ ใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีก่อสร้าง บูรณะ และบ�ารุงรักษาทางและ สะพาน ต่อคณะรัฐมนตรี

• ประกาศ คณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน เรื่องการแบ่งส่วน ราชการและอ�านาจ หน้าที่ภายในของ ส�านักงานการตรวจเงิน แผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๙ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๑๐๙


๑๑๐

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


พ.ศ. ๒๕๕๐

• รายงานผลการ ปฏิบัติงานของส�านักงาน การตรวจเงินแผ่นดินช่วง ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๔๒๕๔๙ ที่มา: ถ่ายภาพจากต้นฉบับ โดย นายรัฐธรรม ชวนเชย และ นายโสมทัต นิธิตรีรัตน์

ส�ำนักงำนกำรตรวจเงินแผ่นดินก�ำหนดแผนยุทธศำสตร์กำรตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๓) ภำยใต้วิสัยทัศน์ที่ว่ำ (๑) สร้ำงสรรค์ผลงำนให้เป็นที่ยอมรับต่อ สำธำรณชน (๒) ตรวจสอบเยี่ยงมืออำชีพอย่ำงมีมำตรฐำน และ (๓) งำนรวดเร็ว เที่ยงธรรม อิสระ และเป็นกลำง

พ.ศ. ๒๕๕๑

ส�ำนักงำนกำรตรวจเงินแผ่นดินพัฒนำกำรใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชว่ ยในกำรตรวจ สอบ เผยแพร่แก่ขำ้ รำชกำร สตง. โดยจัดท�ำแนวทำงกำรใช้โปรแกรม Audit Command Language (ACL) ช่วยในกำรตรวจสอบ และจัดท�ำกระดำษท�ำกำรส�ำหรับกำร ตรวจสอบงบกำรเงินของหน่วยงำนภำครัฐในระบบ GFMIS (Government Fiscal Management Information System) รวมทั้งเริ่มต้นโครงกำรก่อสร้ำงสถำบันธรรมำภิบำลเพื่อยกระดับพัฒนำศักยภำพผู้ตรวจสอบภำครัฐ

• โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ส�าเร็จรูป ACL (Audit Command Language) ที่ส�านักงานการตรวจเงิน แผ่นดินพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ ในการตรวจสอบ ด้านบัญชีการเงิน

๑๑๑


พ.ศ. ๒๕๕๒

ส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดินเริ่มโครงการน�าร่องการตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Audit) ๒ เรือ่ ง คือ (๑) การประเมินการจัดการผลกระทบสิง่ แวดล้อม ด้านเสียงที่เกิดจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ (๒) การป้องกันและแก้ไขปัญหา การกัดเซาะชายฝั่งทะเล ทั้งนี้ การตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นกระบวนทัศน์ใหม่ ในการตรวจสอบที่สอดคล้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development) ส�านักงานฯ เริ่มมุ่งเน้นการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายแก่เงินแผ่นดิน ภายใต้ แนวทางการป้องปราม (Preventive Approach) ซึ่งข้อเสนอแนะจากการตรวจสอบ หลายเรื่องถูกน�าไปวางเป็นหลักเกณฑ์การควบคุมดูแลการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน



พ.ศ. ๒๕๕๕

ส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้รบั เลือกให้เป็นคณะมนตรีของสถาบันการตรวจสอบ สูงสุดแห่งเอเชีย (ASOSAI Governing Board Committee) ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๕๒๕๕๘ นับเป็นครั้งที่ ๔ ที่ส�านักงานฯ ได้รับเลือกให้เป็นคณะมนตรีสถาบันการ ตรวจสอบสูงสุดแห่งเอเชีย ทั้งนี้การคัดเลือกคณะมนตรีของสถาบันการตรวจสอบ สูงสุดแห่งเอเชียจะก�าหนดขึ้นในทุก ๓ ปี ซึ่งที่ผ่านมาส�านักงานฯ เคยได้รับคัดเลือกให้ เป็นคณะมนตรีฯ ในการประชุมครัง้ ที่ ๓ ครัง้ ที่ ๗ และครัง้ ที่ ๘ โดยในครัง้ นัน้ ดร.ปัญญา ตันติยวรงค์ ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้รับเกียรติให้ด�ารงต�าแหน่ง ประธานคณะมนตรีสถาบันการตรวจสอบสูงสุดแห่งเอเชียด้วย ส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดินเป็นหนึ่งในสมาชิกผู้ริเริ่มก่อตั้งองค์การสถาบันการ ตรวจสอบสูงสุดแห่งภูมิภาคอาเซียน หรือ ASEAN Organization of Supreme Audit Institutions (ASEANSAI) โดย ASEANSAI ประกอบด้วย สมาชิกองค์กรตรวจเงิน แผ่ น ดิ น ในภู มิ ภ าคอาเซี ย น ๑๐ ประเทศ ได้ แ ก่ (๑) บรู ไ นดารุ ส ซาลาม (๒) ราชอาณาจักรกัมพูชา (๓) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (๔) สาธารณรัฐ อินโดนีเซีย (๕) สาธารณรัฐแห่งสหภาพพม่า (๖) สหพันธรัฐมาเลเซีย (๗) สาธารณรัฐ ฟิลิปปินส์ (๘) สาธารณรัฐสิงคโปร์ (๙) ราชอาณาจักรไทย และ (๑๐) สาธารณรัฐ สังคมนิยมเวียดนาม

๑๑๔

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)

• องค์กรตรวจเงินแผ่นดิน ในภูมิภาคอาเซียน ร่วมกันก่อตั้ง ASEANSAI ที่มา: ASEANSAI


พ.ศ. ๒๕๕๕

• การปรับปรุงโครงสร้าง โดยขยายการจัดตั้งส�านัก ตรวจเงินแผ่นดินจังหวัด (สตจ.) จ�านวน ๗๖ จังหวัด มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ สตจ. เป็นหน่วย ปฏิบัติการตรวจสอบ เชิงพื้นที่ที่ต้องการให้การ ตรวจสอบท�าได้อย่าง ครอบคลุม รวดเร็ว ทันกาล รวมทั้งการเปิด เว็บไซต์ สตง. ต่อต้านการ คอร์รัปชั่น เป็นหนึ่งใน ช่องทางการเข้าถึงการมี ส่วนร่วมของประชาชน ในงานตรวจเงินแผ่นดิน

ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง การแบ่งส่วนราชการภายในของ ส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ประกาศดังกล่าวเป็นการปรับปรุง โครงสร้างส�านักงานฯ โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น ๑๓๑ ส�านักงาน และ ๑ กลุม่ งาน โดยการปรับปรุงโครงสร้างองค์กรครัง้ นีน้ บั เป็นการเปลีย่ นแปลงครัง้ ส�าคัญ ขององค์กรตรวจเงินแผ่นดินไทยที่พยายามให้การตรวจสอบเป็นไปอย่างครอบคลุม ทั่วถึง โดยเฉพาะการตั้งส�านักตรวจสอบพิเศษภาค ๑-๑๕ เพื่อปฏิบัติงานด้านการ ตรวจสอบสืบสวนและตรวจสอบการด�าเนินงาน การตัง้ ส�านักตรวจเงินแผ่นดินจังหวัด ๗๖ จังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นหน่วยปฏิบัติการ ตรวจสอบเชิงพืน้ ทีท่ สี่ ามารถเข้าถึงหน่วยรับตรวจได้รวดเร็ว ทันกาล และครอบคลุมหน่วย รับตรวจที่เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

พ.ศ. ๒๕๕๖

ส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้ความส�าคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน ในงานตรวจเงินแผ่นดิน โดยส�านักงานฯ ได้จัดกิจกรรมเปิดบ้าน สตง. (Open House) ในจังหวัดต่าง ๆ รวมทั้งใช้กิจกรรมรณรงค์ ‘รู้รักษ์เงินแผ่นดิน’ เพื่อให้ภาคประชาชน มีส่วนร่วมในการที่จะตระหนักถึงความส�าคัญของเงินแผ่นดิน นอกจากนี้ สตง. ยังได้ รับเงินทุนสนับสนุนจากธนาคารโลกเพื่อจัดท�าเว็บไซต์ สตง. ต่อต้านการคอร์รัปชั่น www.oaganticorruption.com ไว้ เ ป็ น ช่ อ งทางที่ เ ปิ ด ขึ้ น ส� า หรั บ การแจ้ ง เรื่ อ ง ร้องเรียนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต การถูกเรียกรับสินบน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดินในการแสวงหาความ ร่วมมือจากภาคประชาชนในรูปแบบต่าง ๆ

๑๑๕


• รายงานผลการ ปฏิบัติงานของส�านักงาน การตรวจเงินแผ่นดิน ช่วงระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔ ถ่ายภาพจากต้นฉบับ โดย นายรัฐธรรม ชวนเชย และ นายโสมทัต นิธิตรีรัตน์

๑๑๖

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


• ประกาศคณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน เรื่อง การแบ่งส่วนราชการ และอ�านาจหน้าที่ภายในของ ส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๔ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๑๑๗


๑๑๘

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)

• ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง การแบ่งส่วนราชการและอ�านาจหน้าที่ ภายในของส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา


• ประกาศแต่งตั้ง ประธานกรรมการและ กรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน คณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดินชุดนี้ มีทั้งสิ้น ๗ คน มี ศาสตราจารย์พิเศษ ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม เป็นประธานกรรมการ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๑๑๙



• กรรมการตรวจเงิน แผ่นดินชุดปัจจุบัน (จากซ้ายไปขวา) นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร นายสุทธิพล ทวีชัยการ นายปิยพันธุ ์ นิมมานเหมินท์ นายชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม นางอุไร ร่มโพธิหยก นางจิรพร มีหลีสวัสดิ์ และ นายวิทยา อาคมพิทักษ์ ถ่ายภาพ โดย นายพงศธร เชื้อเชาวลิต นายรัฐธรรม ชวนเชย และ นายโสมทัต นิธิตรีรัตน์

๑๒๑


๑๒๒

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


• ศาสตราจารย์พิเศษ ชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม ประธานกรรมการตรวจเงิน แผ่นดินคนปัจจุบัน

๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ ศาสตราจารย์พิเศษ ชั ย สิ ท ธิ์ ตราชู ธ รรม เป็ น ประธานกรรมการตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น พร้อมกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จ�านวน ๖ คน

๑๒๓


• นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน คนปัจจุบัน

๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗

มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส เป็นผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน

พ.ศ. ๒๕๕๘

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้ประกาศนโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน (พ.ศ. ๒๕๕๘-๒๕๖๐) โดยนโยบายการตรวจสอบมุ่งไปที่ตรวจสอบ เชิงรุก (Proactive Audit) การติดตามการด�าเนินโครงการของรัฐบาลที่มี ผลต่อฐานะการเงินการคลังของประเทศ หรือเรื่องที่ประชาชนให้ความ สนใจ การตรวจสอบการจัดเก็บรายได้แผ่นดินและการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การตรวจสอบเชิงป้องปราม และบูรณาการ ตรวจสอบลักษณะงานต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ นอกจากนี้พยายามที่จะ ยกระดับมาตรฐานการตรวจเงินแผ่นดินให้ทนั สมัยสอดคล้องกับมาตรฐาน สากล ส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้รับเลือกให้เป็นคณะมนตรีของสถาบัน การตรวจสอบสูงสุดแห่งเอเชีย (ASOSAI Governing Board Committee) ในการประชุม ASOSAI Assembly ครัง้ ที่ ๑๓ ทีป่ ระเทศมาเลเซีย นับเป็นการ ด�ารงต�าแหน่งครั้งที่ ๕

๑๒๔

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


๑๒๕


• ประกาศแต่งตั้งผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ได้รับพระกรุณา โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็นผู้ว่าการตรวจเงิน แผ่นดิน เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๗ ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๑๒๖

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)


พ.ศ. ๒๕๕๘

คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินและส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดินริเริ่มโครงการ อาสาสมัครตรวจเงินแผ่นดิน (อส.ตง.) ซึ่งเป็นการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในการ สอดส่องดูแลการใช้จ่ายเงินแผ่นดินให้เป็นไปอย่างคุ้มค่า โครงการ อส.ตง. นับเป็นหนึ่ง ในแนวทางของการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในงานตรวจเงินแผ่นดิน (Citizen Participation) ประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรือ่ งการแบ่งส่วนราชการภายในของส�านักงาน การตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๕๘ ประกาศดังกล่าวเป็นการปรับปรุงโครงสร้าง ส�านักงานฯ โดยแบ่งส่วนราชการภายในออกเป็น ๑๓๓ ส�านักงาน และ ๑ กลุ่มงาน ทัง้ นีค้ ณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีนโยบายเน้นการตรวจสอบการจัดเก็บรายได้ ท�าให้ เพิ่มส�านักตรวจสอบการจัดเก็บรายได้ขึ้นมาเพื่อท�าหน้าที่ตรวจสอบการจัดเก็บภาษี อากร ค่าธรรมเนียมและรายได้อนื่ ของหน่วยรับตรวจ และแสดงความเห็นว่าเป็นไปตาม กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับและมติคณะรัฐมนตรีหรือไม่ นอกจากนี้ยังตรวจสอบ การประเมินภาษีอากรและระบบการจัดเก็บภาษีอากรว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ เป็นไปโดยมีประสิทธิภาพและได้ผลตามเป้าหมายหรือไม่

๑๒๗


๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘

ครบรอบ ๑๐๐ ปี การสถาปนาส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดิน

๑๒๘

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)

ตราสัญลักษณ์ ๑๐๐ ปี ส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ผู้ออกแบบ นางสาวแสงระวี โอภาสปกรณ์กิจ พนักงานสมทบตรวจเงินแผ่นดิน (ด้านประชาสัมพันธ์)


ที่มา: ส�าเนาภาพถ่าย จากราชกิจจานุเบกษา

๑๒๙


วิวัฒนาการของการตรวจเงินแผ่นดินไทย ระยะเวลา

ชื่อองค์กร

ต�าแหน่งสูงสุด

๒๔๑๘-๒๔๒๓

ออฟฟิศหลวง (ออดิตออฟฟิศ)

เจ้าพนักงานผู้ตรวจใหญ่ พระมหากษัตริย์ (ออดิเตอเยเนอราล)

๒๔๒๓-๒๔๓๓

สมทบเป็นกองจ่าย ในกรมบาญชีกลาง

อธิบดีกรมบาญชีกลาง

พระมหากษัตริย์

๒๔๓๓-๒๔๕๘

กรมตรวจ

อธิบดีกรมตรวจ

เสนาบดีกระทรวง พระคลังมหาสมบัติ

พระราชบัญญัติ กรมตรวจ ๑๖ มาตรา ร.ศ. ๑๐๙

๒๔๕๘-๒๔๖๙

กรมตรวจเงินแผ่นดิน

อธิบดีกรม ตรวจเงินแผ่นดิน

เสนาบดีกระทรวง พระคลังมหาสมบัติ

ประกาศตัง้ กรมตรวจเงิน แผ่นดิน ณ วันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๘

๒๔๖๙-๒๔๗๕

เป็นแผนกหนึ่งภายใน กรมบาญชีกลาง

อธิบดีกรมบาญชีกลาง มอบหมายให้มีผู้ดูแล แผนกตรวจเงินแผ่นดิน

เสนาบดีกระทรวง พระคลังมหาสมบัติ

ประกาศสมทบ กรมตรวจเงินแผ่นดิน เข้ากับกรมบาญชีกลาง

๒๔๗๕-๒๔๗๖

กรมตรวจเงินแผ่นดิน

อธิบดีกรมตรวจเงิน แผ่นดิน

คณะกรรมการ ราษฎร

ประกาศโอนกรมตรวจเงิน แผ่นดินไปขึ้นต่อ คณะกรรมการราษฎร เมื่อวันที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๕

๒๔๗๖-๒๕๑๕

คณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน

ประธาน คณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน

ส�านักนายกรัฐมนตรี

๒๕๑๕-๒๕๒๒

ส�านักงาน คณะกรรมการตรวจเงิน แผ่นดิน

ประธาน คณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน

พระราชบัญญัติ ว่าด้วยคณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๔๗๖

๒๕๒๒-๒๕๔๒

ส�านักงาน ตรวจเงินแผ่นดิน

ผู้อ�านวยการ ส� า นั ก งานตรวจเงิ น แผ่นดิน

๒๕๔๒-ปัจจุบัน

ส�านักงานการ ตรวจเงินแผ่นดิน

ประธานกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน และมี ผู้ว่าการตรวจเงิน แผ่นดินเป็นผู้บังคับ บัญชาส�านักงาน การตรวจเงินแผ่นดิน

๑๓๐

ล� ำ ดั บ เหตุ ก ำรณ์ ส� ำ คั ญ ในงำนตรวจเงิ น แผ่ น ดิ น ไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘)

การบังคับบัญชา

นายกรัฐมนตรี

คณะกรรมการ ตรวจเงินแผ่นดิน

กฎหมายและประกาศ พระราชบัญญัติกรม พระคลังมหาสมบัติ แลว่าด้วยกรมต่าง ๆ ซึ่งจะเบิกเงินส่งเงิน จ.ศ. ๑๒๓๗ หมวดมาตราที่ ๘

พระราชบัญญัติ การตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๒๒ พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการตรวจเงิน แผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๔๒



ล�าดับเหตุการณ์ส�าคัญในงานตรวจเงินแผ่นดินไทย (พ.ศ. ๒๔๑๘-๒๕๕๘) หนังสือที่ระลึกในโอกาสครบรอบ ๑๐๐ ปี ส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พิมพ์ครั้งแรก : กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๘ จ�านวน ๒,๐๐๐ เล่ม เลขมาตรฐานสากลประจ�าหนังสือ ISBN 978-616-7813-01-1

รายชื่อคณะท�างานด้านวิชาการ จัดท�าหนังสือและสื่อวีดิทัศน์ที่ระลึก ๑ ศตวรรษ ส�านักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่ปรึกษา นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส นายมณเฑียร เจริญผล ประธานคณะท�างาน นางสาวพวงชมนาถ จริยะจินดา รองประธานคณะท�างาน นางรุ่งนภา เจริญคุณวิวัฏ นางอาภัสรา คุณวัฒน์ ควบคุมก�ากับ นางเกล็ดนที มโนสันติ์ นายคณพศ หงสาวรางกูร นายธีรยุทธ วัฒนะธรรมศิริ เขียนและเรียบเรียงเนื้อหา นายสุทธิ สุนทรานุรักษ์ ภาพถ่าย นายรัฐธรรม ชวนเชย นายพงศ์ธร เชื้อชวลิต นายโสมทัต นิธิตรีรัตน์ วีดิทัศน์ นายจักรพนธ์ วิไลพันธ์ นายณัฐพล ภู่ประเสริฐ นางสาวภัทรนันท์ สุขย์ดวง นายธีระพงศ์ จิโรจน์กุล ประสานงาน นายยุทธพงศ์ ภูวเศรษฐาวร นายชิราวุธ ยอดกุล นายสมเกียรติ คงสวัสดิ์ ผู้ออกแบบตราสัญลักษณ์หน้าปก นางสาวปรินดา ป้องกงลาด กรมศิลปากร

ผู้จัดท�า บริษัท จีเอ็ม มัลติมีเดีย กรุ๊ป จ�ากัด (มหาชน) อาคาร GM Group ๙๑๔ ถนนพระราม ๕ แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพฯ ๑๐๓๐๐ โทรศัพท์ : ๐๒ ๒๔๑ ๘๐๐๐ ประธานกรรมการบริหาร นายปกรณ์ พงศ์วราภา บรรณาธิการศิลปกรรม นายประทีป ปัจฉิมทึก ช่างภาพ นายด�ารงฤทธิ์ สถิตด�ารงธรรม ประสานงาน นางพาสนา พลอยมีค่า ผู้จัดการฝ่ายผลิต นางรัตนา โค้ว พิสูจน์อักษร นางเจนจิรา ต่ายเทศ นางพรกรัณย์ พลับพลี แยกสี บริษัท กนกศิลป์ (ไทยแลนด์) จ�ากัด พิมพ์ที่ บริษัท โอเอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จ�ากัด






Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.