Factsheet เจาะลึกข้อมูลจีนรายมณฑล (2554)

Page 1

สารจากเอกอัครราชทูตประจำ�สาธารณรัฐประชาชนจีน การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนจะครบรอบปีที่ 37 และ จะ ก้าวเข้าสู่ปีที่ 38 ในเดือนกรกฎาคม 2555 นี้ นับเป็นตัวอย่างของความสัมพันธ์ระหว่างมิตรประเทศที่ได้เสริมสร้างความไว้วางใจ ต่อกันในทุกๆ ด้าน เพื่อส่งเสริมเกื้อกูลกัน ทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจ และความคุ้นเคยเข้าใจกันดีในทุกระดับ ความสัมพันธ์ ที่เป็นทางการกว่า 37 ปีดังกล่าวเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ฉันญาติมิตรที่มีอย่างแนบแน่นตลอดหลายร้อยปีที่ผ่านมา สะท้อนออกมาในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิถีการดำ�เนินชีวิตของประชาชนทั้งสองประเทศ และการแลกเปลี่ยนและไปมาหาสู่ทาง เศรษฐกิจการค้าที่มีอยู่ในประวัติศาสตร์ยาวนานหลายร้อยปี ปัจจุบัน บทบาทของจีนเพิ่มมากขึ้นในประชาคมโลกและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาททางเศรษฐกิจ ด้วยขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ทุนสำ�รองและมูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก คงไม่เป็นการกล่าวเกินจริง หากจะเปรียบเศรษฐกิจจีนเป็นเครื่องยนต์หลักที่มีความสำ�คัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเอเชียและของโลก ในส่วนของไทย ปัจจุบันจีนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 และเป็นคู่ค้าอันดับ 2 นอกจากนี้ จีนยังเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของอาเซียน ขณะที่อาเซียนเป็นตลาดลงทุนอันดับ 1 ของจีน ข้อเท็จจริงข้างต้น ทำ�ให้ปฏิเสธไม่ได้ถึงความสำ�คัญของจีนในฐานหุ้นส่วน ทางเศรษฐกิจรายใหญ่ของไทย การติดตามข่าวสารและพัฒนาการทางเศรษฐกิจของจีนอย่างใกล้ชิดจึงมีความสำ�คัญอย่างยิ่งต่อการปรับ กลยุทธ์ของไทยให้สอดคล้องและเกิดประโยชน์สูงสุดในการค้าและการลงทุนกับจีน เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2555 ระหว่างการเยือนจีนอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี นักธุรกิจชั้นนำ�ของไทยจำ�นวน 117 คน จาก 8 สาขาธุรกิจได้หยิบยกประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับการทำ�ธุรกิจ การค้า การลงทุนกับจีนขึ้นหารือกับนายกรัฐมนตรี ด้วยกระทรวงการต่างประเทศให้บทบาทนำ�กับด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของภาคเอกชนซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนหลักของ เศรษฐกิจไทย ศูนย์ข้อมูลธุรกิจไทยในจีน ภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงการต่างประเทศ จึงได้จัดทำ�แบบสอบถามเพื่อรวบรวม ประเด็น ปัญหา และประสบการณ์จริงจากนักธุรกิจกลุ่มดังกล่าวตลอดจนนักธุรกิจอื่นๆ ที่สนใจจะพัฒนาความร่วมมือลงทุนค้าขาย กับจีน ประมวลเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์และสอดคล้องกับความสนใจของภาคธุรกิจในปัจจุบันและนำ�เสนอในเวทีติดตามผลการ เยือนจีนของนายกรัฐมนตรีในส่วนของภาคธุรกิจครั้งนี้ เพื่อให้การปฏิสัมพันธ์ของไทย-จีนทั้งสองฝ่ายเกิดผลเป็นรูปธรรมให้มากที่สุด และเกิดประโยชน์สูงสุด สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การเพิ่มพูนเศรษฐกิจการค้าทุกด้านที่ไทยและจีนได้กำ�หนดไว้ร่วมกัน

(นายวิบูลย์ คูสกุล) เอกอัครราชทูตไทยประจำ�สาธารณรัฐประชาชนจีน 6 กรกฎาคม 2555



สาธารณรัฐประชาชนจีน (People’s Republic of China) • • • • • •

ขนาดเศรษฐกิจของจีนใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก เงินทุนสารองสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก มูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับ 1 ของโลก มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยในทุกระดับ จีนเป็นมหาอานาจในเอเชียและมีนโยบายที่จะเพิ่มบทบาทในเวทีระดับภูมิภาค และระดับโลกมากขึ้นในทุกด้าน โดยเฉพาะการแก้ปัญหาระหว่างประเทศ จีนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 และเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของไทย (รองจากญี่ปุ่น) และไทยเป็นคู่ค้าอันดับ 14 ของจีน

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษาราชการ ศาสนา

9,600,000 ตร.กม. (ใหญ่กว่าไทย 18 เท่า) ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก 1,340 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) กรุงปักกิ่ง (ฺ​ฺBeijing) จีนกลาง พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์ อิสลาม

ประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติ

นายหู จิ่นเทา (Mr. Hu Jintao) นายเวิน เจียเป่า (Mr. Wen Jiabao) นายอู๋ ปังกั๋ว (Mr. Wu Bangguo) นายเจี่ย ชิ่งหลิน (Jia Qinglin) ฮั่น (91.6%) และมีชนกลุ่มน้อย 55 กลุ่ม

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP GDP per Capita GDP Growth ทรัพยากรธรรมชาติ การค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวของการค้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 7,299.8 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) USD 4,515 (ไทย: USD 5,112) CPI 9.2% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก ถ่านหิน เหล็ก น้ามัน ก๊าซธรรมชาติ แร่ธาตุ USD 3,642.1 พันล้าน มูลค่าการส่งออก 22.5% มูลค่าการนำ�เข้า อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กาเนิดไฟฟ้า ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ เหล็ก เฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า แผงวงจรไฟฟ้า ปิโตรเลียมดิบ ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ น้ำ�มันดิบ

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.4% (ไทย: 3.8%) ถลุงเหล็ก เครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องประดับ สิ่งทอ USD 1,898.6 พันล้าน (+20.3%) USD 1,743.5 ล้าน (+24.9%) สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ เยอรมนี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา เยอรมนี

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 64,737 ล้าน เพิ่มขึ้น 22.3% ไทยได้ดุลการค้า โดยจีนนำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 39,040 ล้าน เพิ่มขึ้น 17.6% และส่งออกไปไทย USD 25,697 ล้าน เพิ่มขึ้น 30.2% สินค้านำ�เข้าจากไทย ยางพารา เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์มันสาปะหลัง ผลิตภัณฑ์ไม้ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ สินค้าส่งออกไปไทย เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด การท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจากจีนไปไทยมากเป็นอันดับ 2 รองจากมาเลเซีย ในปี 2553 นักท่องเที่ยวจีนไปไทย 1,127,559 คน นักท่องเที่ยวไทยมาจีน 500,100 คน และปี 2554 (ม.ค.-พ.ย.) นักท่องเที่ยวจีน ไปไทย 1,571,294 คน เพิ่มขึ้น 57.6% จากช่วงเดียวกันของปี 2553 และนักท่องเที่ยวไทยมาจีน (ม.ค.–ก.ย. 2554) จานวน 452,800 คน การลงทุน จีนลงทุนในไทยเป็นอันดับ 2 มูลค่าการลงทุนประมาณ USD 811 ล้าน การลงทุนสะสมของจีนในไทย (2548-2554) มีมูลค่าประมาณ USD 2,738 ล้าน ไทยลงทุนในจีนมูลค่า USD 51.34 ล้าน (2553) การลงทุนสะสม ของไทยในจีน (2548-2553) มีมูลค่า USD 3,290 ล้าน ในขณะที่มูลค่า การลงทุนสะสมระหว่างกัน (2548-2554) รวมประมาณ USD 6,028 ล้าน จำ�นวนคนไทย 33,100คน (นักศึกษาร้อยละ 60 นักธุรกิจร้อยละ 30 อื่น ๆ ร้อยละ 10) สำ�นักงานทางการทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง และสถานกงสุลใหญ่อีก 8 แห่ง (นครกว่างโจว นครคุนหมิง นครเฉิงตู นครซีอาน เมืองเซี่ยเหมิน นครเซี่ยงไฮ้ นครหนานหนิง และเมืองฮ่องกง)


“จีน” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว มีพลวัตสูง และเป็นพลัง ขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ (economic powerhouse) ของภูมิภาค และของโลกด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี • เป็ น ประเทศที่ น่ า ลงทุ น มากที่ สุ ดในโลกเนื่ อ งด้ ว ยมี ต ลาดที่ ใ หญ่ มหาศาล • มีเงินทุนสารองมากที่สุดในโลก • รั ฐ บาลจี น มี นโยบายพั ฒ นาสาธารณู ป โภคขั้ น พื้ น ฐานให้ พ ร้ อ ม รองรั บ การลงทุ น และดาเนิ น นโยบายพิ เ ศษเพื่ อ ดึ ง ดู ด นั ก ลงทุ น ต่างชาติมาลงทุนในจีน • จีนยังมีค่าแรงงานต่าและค่าเช่าที่ดินในเขตชนบทที่ค่อนข้างต่ำ� โดยเฉพาะในพื้นที่ทางภาคตะวันตก • รัฐบาลจีนส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

จุดอ่อน • จีนมีพื้นที่มากเป็นอันดับ 3 ของโลก ประกอบด้วย 23 มณฑล 5 เขตปกครองตนเอง 4 มหานคร และ 2 เขตบริหารพิเศษ (ฮ่องกงและมาเก๊า) ซึ่งแต่ละเขตปกครอง/มณฑลล้วนมีขนาดใหญ่ ทำ�ให้ต้นทุนการขนส่งเคลื่อนย้ายสินค้าภายในประเทศจีนอยู่ใน ระดับสูง มีข้อจากัดในด้านช่องทางกระจายสินค้า • รัฐบาลจีนได้ดาเนินนโยบายกระจายอานาจจากส่วนกลางสู่ท้องถิ่น ทำ�ให้รัฐบาลท้องถิ่นในแต่ละเขตปกครอง/มณฑลมีอานาจทางการ บริหารค่อนข้างมาก และบางมณฑลมีปัญหากีดกันสินค้าที่ผลิต หรือส่งมาจากมณฑลอื่น • ยังขาดการพัฒนาในด้านการเงินอยู่มาก เงินหยวนยังมีการใช้ค่อนข้าง จำ�กัดในวงการค้าและการเงินระหว่างประเทศ

โอกาสของไทย • แม้ว่าจีนจะมีพื้นที่กว้างใหญ่ที่เหมาะสาหรับทาการเกษตร ทั้งเลี้ยงสัตว์และทาการเพาะปลูก แต่ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปเนื่องจาก นโยบายการพัฒนาประเทศ ทำ�ให้ผลผลิตทางการเกษตรโดยรวม ลดลงในแทบทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นข้าว ถั่วลิสงหรืออ้อย ในขณะที่ ความต้องการบริโภคอาหารโดยรวมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำ�ให้มี ความต้องการนาเข้าสินค้าจากภายนอก • ชาวจีนมีทัศนคติในทางบวกกับสินค้าเกษตรจากไทย โดยเฉพาะ ข้าวหอมมะลิและทุเรียนซึ่งได้รับความนิยมสูง • ตลาดจี น มี ค วามต้ อ งการยางพารามารองรั บ การขยายตั ว ของ อุตสาหกรรมยานยนต์ แม้ว่าในขณะนี้จีนมีความสามารถผลิต ยางพาราได้เอง แต่ก็ไม่เพียงพอกับความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้น มากในอุตสาหกรรมการผลิตยางรถยนต์ และอุปกรณ์ก่อสร้างต่าง ๆ โดยมณฑลที่มีศักยภาพในการเปิดตลาดยางพาราของไทย ได้แก่ มณฑลเหลียวหนิง เสฉวน ฝูเจี้ยน เจ้อเจียง และกวางตุ้ง • จีนมีความต้องการเม็ดพลาสติกสูง โดยไทยส่งออกเม็ดพลาสติกไป จีนสูงเป็นอันดับ 2 เพื่อเป็นสินค้ากึ่งวัตถุดิบในการผลิตอุตสาหกรรม อื่นต่อไป โดยมณฑลที่มีความต้องการเม็ดพลาสติกจากไทย ได้แก่ มณฑลเหลียวหนิง เจ้อเจียง กวางตุ้ง เป็นต้น • รัฐบาลจีนได้ระบุสาขาอุตสาหกรรม 10 ประเภท ที่จะส่งเสริม พัฒนา ได้แก่ 1)อุตสาหกรรมพลังงานใหม่ 2)อุตสาหกรรม ประหยัดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อม 3)อุตสาหกรรมยาชีวภาพ 4)อุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G 5)อุตสาหกรรมการควบรวม เครือข่ายโทรคมนาคม เครือข่ายคอมพิวเตอร์และเครือข่ายเคเบิ้ล ทีวีเป็นเครือข่ายเดียวกัน 6)อุตสาหกรรมโลจิสติกส์สมัยใหม่ 7)อุตสาหกรรมสารสนเทศ 8)อุตสาหกรรมซอฟแวร์และสิ่งประดิษฐ์ สร้างสรรค์ 9)อุตสาหกรรมบันเทิงและวัฒนธรรม 10)อุตสาหกรรมกีฬา ส่งเสริมสุขภาพ เป็นโอกาสสาหรับ นักลงทุนไทยในด้านที่เกี่ยวข้อง • หลังจากเปิดเขตการค้าเสรีระหว่างจีน-อาเซียนในปี 2553 ส่งผลให้ จีนกลายเป็นตลาดที่ใหญ่มาก และเป็นโอกาสการค้าการลงทุนของ ไทยในทุกด้าน

ความท้าทาย • ตลาดจีนมีความซับซ้อนมากขึ้นตามระดับการเปิดเสรี การจะเข้าไป ทำ�การค้าในจีน นอกจากต้องศึกษานโยบายของทางการที่มีการ เปลี่ยนแปลงพัฒนาอยู่ตลอดเวลา ซึ่งแต่ละมณฑลมีนโยบายส่งเสริม การค้าและการลงทุนที่แตกต่างกัน สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยยังขาด ความเข้าใจอีกมาก คือ ลักษณะเฉพาะต่าง ๆ ของตลาดจีน ธรรมเนียม ปฏิบัติ และกลยุทธ์การค้าของคนจีน • มีความเหลื่อมล้าของฐานะทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง ตลาดจีนจึงมี ลักษณะเฉพาะและแตกต่างหลากหลายไปตามภูมิภาค นักธุรกิจ และนักลงทุนต่างชาติต้องสารวจตลาดและรู้จักลักษณะ กฎระเบียบ และวิธีปฏิบัติในแต่ละพื้นที่อย่างถ่องแท้ก่อนที่จะเข้าไปรุกตลาดจีน • ผู้บริโภคจีนยังไม่รู้จักและเข้าใจสินค้าไทยเท่าที่ควร • ค่ า แรงงานและค่ า เช่ า ที่ ดิ นของจี นในเมื อ งใหญ่ สู งขึ้นอย่างก้า ว กระโดด ขณะที่กาลังซื้อและความต้องการบริโภคสินค้าที่มีคุณภาพ ก็สูงขึ้นมาก นักธุรกิจไทยควรปรับตัวเพื่อเข้ากับสถานการณ์ดังกล่าว และเปลี่ยนกลยุทธ์จาก Made in China มาเป็น Made for China


• • • • • • •

กรุงปักกิ่ง (Beijing)

เป็นเมืองหลวงของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นศูนย์กลางทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ การคมนาคม และวัฒนธรรมของประเทศ GDP ต่อหัวสูงเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองจากนครเทียนจินและเซี่ยงไฮ้ เป็นเมืองที่มีระบบสาธารณูปโภคที่สมบูรณ์แบบ เป็นศูนย์กลางการเงินและศูนย์กลางธุรกิจที่สาคัญของจีน เป็นฐานการทางวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในจีน มีเขตศูนย์กลาง ทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์จงกวนชุนที่ได้ชื่อว่าเป็น “Silicon Valley ของจีน” เป็นเมืองที่มีอุตสาหกรรมการบริการขนาดใหญ่ที่สุดในแผ่นดินใหญ่จีน เป็นเมืองที่มีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงจานวนมากที่สุดในประเทศจีน

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร ภาษา ศาสนา

16,800 ตร.กม. (ไทยใหญ่กว่าประมาณ 29 เท่า) ใหญ่เป็นอันดับ 29 ของจีน 20.19 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) จีนกลาง จีนปักกิ่ง พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า อิสลาม คริสต์

เลขาธิการพรรคฯ นายกเทศมนตรี ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายหลิว ฉี (Liu Qi) นายกัว จินหลง (Guo Jinlong) นายตู้ เต๋ออิ่น (Du Deyin) นายหวัง อันซุ่น (Wang Anshun) ฮั่น (95.7%) มองโกล แมนจู หุย

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP GDP per Capita GDP Growth ทรัพยากรธรรมชาติ การค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวของการค้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 247.9 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) USD 12,447 (ไทย: USD 5,112) CPI 8.1% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก ถ่านหิน เหล็ก หินแกรนิต หินอ่อน USD 389,490 ล้าน มูลค่าการส่งออก 29.1% มูลค่าการนำ�เข้า ผลิตภัณฑ์แร่ สิ่งทอ โลหะพื้นฐาน ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเคมี เครื่องจักรและชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ สินค้า เทคโนโลยีชั้นสูง รถยนต์และชิ้นส่วน แร่เหล็ก สินค้าเกษตร ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ น้ำ�มันสาเร็จรูป ธัญพืช วงจรรวม เครื่องบิน เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ น้ำ�ตาล เหล็กกล้า

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.6% (ไทย: 3.8%) การบริการ เทคโนโลยีชั้นสูง การผลิต รถยนต์ การผลิตเหล็กและเหล็กกล้า USD 59,030 ล้าน (+6.5%) USD 330,470 ล้าน (+34.2%) ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง เกาหลีใต้ อินเดีย เยอรมนี

ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอเมริกา เยอรมนี แองโกลา ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ เกาหลีใต้

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 940.57 ล้าน ลดลง 2.7% ไทยได้ดุลการค้า โดยปักกิ่งนำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 590.70 ล้าน ลดลง 5.7%และส่งออกไปไทย USD 349.87 ล้าน เพิ่มขึ้น 2.8% สินค้านำ�เข้าจากไทย เครื่องโทรศัพท์ วงจรวม พลาสติก อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติและชิ้นส่วน สารประกอบเคมีอินทรีย์ ข้าวหอมมะลิ ยางพารา สินค้าส่งออกไปไทย เครื่องโทรศัพท์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เหล็กผสม ปิโตรเลียมและน้ามันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส อุปกรณ์การแพทย์ อุปกรณ์สานักงาน เครื่องยนต์ เรือ วงจรรวม พลาสติกและเครื่องแปรรูปที่เกี่ยวข้อง ธุรกิจสำ�คัญของไทย บ.การบินไทย บ.บางกอกแอร์เวย์ บ.เจียไต๋ (เครือเจริญโภคภัณฑ์) ธ.กรุงเทพ ธ.กสิกรไทย Sizzler Atlantic Laboratories Corp.,Ltd Peak Pacific (China) Investment Ltd เครือกระทิงแดง Beijing Sanyou Group (Sammit Motor) จำ�นวนคนไทย ประมาณ 1,341 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานเอกอัครราชทูต สนง.พาณิชย์ในต่างประเทศ สนง.เศรษฐกิจการลงทุน สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ททท. ณ กรุงปักกิ่ง/งานที่ปรึกษาการศุลกากรประจาสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“ปักกิ่ง” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • มีการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอุตสาหกรรม เทคโนโลยีชั้นสูง • มีความพร้อมทางด้านสิ่งอานวยความสะดวกต่าง ๆ • รัฐบาลกลางให้ความสาคัญอย่างมากในด้านการศึกษาและการ กำ�หนดนโยบายทางด้านเศรษฐกิจ วิสาหกิจที่ตั้งใน กรุงปักกิ่งสามารถ รับรู้ข้อมูลด้านนโยบายได้อย่างรวดเร็ว และสามารถติดต่อกับหน่วยงาน ภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้โดยตรง • เป็นเมืองที่เชื่อมตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ เป็น ศูนย์กลางของตลาดภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาค ตะวันตกเฉียงเหนือของจีน

จุดอ่อน • มีตน้ ทุนการดาเนินธุรกิจสูงเป็นอันดับ 3 ของจีน รองจากนครเซีย่ งไฮ้ และนครหางโจว โดยต้นทุนด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์และ ราคาค่าเช่าสานักงานสูงเป็นอันดับ 1 ของจีน (จากการจัดอันดับ โดยนิตยสาร “Forbes” ปี 2554) • การจราจรของกรุงปักกิ่งอยู่ในสภาพที่แออัดมาก แม้รัฐบาลได้ออก นโยบายต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหานี้ เช่น มาตรการจากัดการออก ทะเบียนรถยนต์ใหม่เพื่อควบคุมไม่ให้จำ�นวนรถยนต์เพิ่มขึ้นเร็ว เกินไป รวมถึงการจากัดการวิ่งของรถยนต์ตามเลขทะเบียนคู่-คี่ ตามเลขตัวสุดท้ายของป้ายทะเบียนรถในชั่วโมงเร่งด่วนโดยเฉพาะ ช่วงเช้าและ ช่วงเย็น เป็นต้น

โอกาสของไทย • ตลาดสินค้าบริโภคของปักกิ่งเติบโตอย่างรวดเร็ว โดย ยอดการจำ�หน่าย สินค้าบริโภคของกรุงปักกิง่ ติดอันดับต้น ๆ ของจีน เป็นโอกาสสำ�หรับ ธุรกิจค้าปลีกของไทยที่จะบุกเข้าตลาดปักกิ่ง • ผู้บริโภคมีกาลังซื้อสูง ประกอบกับประชาชนเลือกที่จะยกระดับ คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ให้สูงขึ้นด้วยการหาซื้อสินค้าและ บริการที่มีคุณภาพสูง เป็นโอกาสสาหรับธุรกิจบริการจากไทย อาทิ สปาและร้านอาหาร ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ที่สามารถดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคในพื้นที่ปักกิ่งได้ • ความเข้ ม แข็ ง ด้ า นการพั ฒ นาทางวิ ท ยาศาสตร์ แ ละเทคโนโลยี ชั้นสูงเป็นโอกาสสาหรับบริษัทไทยที่จะหาซื้อเทคโนโลยีและสินค้า เทคโนโลยีชั้นสูงเพื่อนาไปเพิ่มกาลังการแข่งขันในตลาด

ความท้าทาย • บริษัทใหม่ ที่ อ ยากจะเข้า มาลงทุนย่ อ มต้อ งเผชิญกับการแข่งขัน ที่สูงและรุนแรง เนื่องจากกรุงปักกิ่งเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงทำ�ให้มี บริษัทจานวนมากมาลงทุนบุกเบิกในตลาดนี้ ก่อนจะเข้ามาทำ�ธุรกิจ จึงต้องศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของประชาชนในพื้นที่อย่างรอบคอบ


มหานครเทียนจิน (Tianjin) • • • •

เป็นหนึ่งในพื้นที่ “กลุ่มเศรษฐกิจทะเลโป๋ไห่” (Bohai Bay Economic Zone) และ “กลุ่มเศรษฐกิจจิง-จิน-จี้” (กรุงปักกิ่ง นครเทียนจินและมณฑลเหอเป่ย) เป็นจุดสัญจรระหว่างเมืองต่าง ๆ ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาค ตะวันตกเฉียงเหนือของจีน และเป็นจุดผ่านระหว่างสองฝากฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของ เรือเดินสมุทรกว่า 30 เส้นทาง เทียนจินเป็นเมืองท่าเชิงพาณิชย์แบบครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในจีนตอนเหนือ และเป็นท่าเรือ ตู้ขนสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ เป็นเมืองที่มีมูลค่าการผลิตต่อหัวสูงที่สุดในประเทศ

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร ภาษา ศาสนา

11,920 ตร.กม. (ไทยใหญ่กว่าประมาณ 42 เท่า) ใหญ่เป็นอันดับ 30 ของจีน 12.938 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) จีนกลาง จีนเทียนจิน พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์ อิสลาม

เลขาธิการพรรคฯ นายกเทศมนตรี ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายจาง เกาลี่ (Zhang Gaoli) นายหวง ซินกั๋ว (Huang Xinguo) นายเซียว หวายหย่วน (Xiao Huaiyuan) นายสิง หยวนหมิ่น (Xing Yuanmin) ฮั่น (97%) หุย แมนจู

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP USD 170.3 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) GDP per Capita USD 13,058 (ไทย: USD 5,112) CPI GDP Growth 16.4% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก ทรัพยากรธรรมชาติ น้ามันปิโตรเลียม แมงกานีส โบรัม ทรัพยากรทางทะเล การค้ากับต่างประเทศ USD 103,391 ล้าน มูลค่าการส่งออก การขยายตัวของการค้า 25.9% มูลค่าการนำ�เข้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ เครื่องจักรยนต์และชิ้นส่วน คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ สินค้าเทคโนโลยีชั้นสูง ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 4.9% (ไทย: 3.8%) อุตสาหกรรมอุปกรณ์โทรคมนาคม และไมโครอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตรถยนต์ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ USD 44,498 ล้าน (+18.7%) USD 58,893 ล้าน (+32.0%) สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อาเซียน รัสเซีย ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 1,415.24 ล้าน เพิ่มขึ้น 40.5% ไทยได้ดุลการค้า โดยเทียนจินนำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 718.19 ล้าน เพิ่มขึ้น 41.9% และส่งออกไปไทย USD 697.05 ล้าน เพิ่มขึ้น 39.0% สินค้านำ�เข้าจากไทย ยางดิบ แผงวงจรรวม ผลิตภัณฑ์พลาสติกขั้นต้น น้าตาล แป้ง เครื่องจักร สินค้าส่งออกไปไทย อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ LCD เหล็กกล้า เครื่องจักรอุตสาหกรรมทั่วไปและชิ้นส่วนอะไหล่ อุปกรณ์สื่อสาร แร่ธาตุ ธุรกิจสำ�คัญของไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ผลิตอาหารสัตว์ ผลิตและแปรรูปธัญพืชและน้ามันประกอบอาหาร การผลิต premix production) จำ�นวนคนไทย ประมาณ 186 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานเอกอัครราชทูต สนง.เศรษฐกิจการลงทุน สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ททท. ณ กรุงปักกิ่ง/สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซีอาน/งานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“เทียนจิน” วันนี้ : สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • เป็นเมืองท่าที่ใหญ่ที่สุดของจีนตอนเหนือ มีปริมาณการขนส่งคิด เป็นร้อยละ 8 ของทั้งประเทศ มีปริมาณสินค้าเข้าออกผ่านท่าเรือ (Throughput) มากเป็นอันดับสอง และมีปริมาณสินค้าส่งออก ผ่านท่าเรือมากเป็นอันดับหนึ่ง • ทำ�เลที่ตั้งของเทียนจินมีความหมายเชิงยุทธศาสตร์ เป็นจุดสัญจร ระหว่างเมืองต่าง ๆ ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน เทียนจินยังติดกับกรุงปักกิ่งเป็น แหล่งพึ่งพาทางอุตสาหกรรมและทางเกษตรที่สาคัญของกรุงปักกิ่ง • เป็นจุดรวมของวิสาหกิจต่างชาติ ซึ่งมีมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ คิดเป็นร้อยละ 23 ของมูลค่าการค้าระหว่างประเทศของจีนทาง ตอนเหนือ • ต้ น ทุ น การดาเนิ น ธุ ร กิ จ ยั ง ต่ า เมื่ อ เที ย บกั บ กรุ ง ปั ก กิ่ ง ที่ อ ยู่ ติ ด กั น ในขณะที่ประชากรมีกาลังซื้ออยู่ในระดับสูง • นครเทียนจินมีเขตพัฒนาเศรษฐกิจหลายแห่งที่มีชื่อเสียง มีสภาพ แวดล้อมทางการลงทุนและการค้าที่ดี อาทิ เขตเศรษฐกิจใหม่ ปินไห่ (Binhai New Area) นิคมพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยี เทียนจิน (Tianjin Economic and Technological Development Area: TEDA)

จุดอ่อน • ในบรรดามหานครที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลางทั้ง 4 ของจีนนั้น เทียนจิน เป็นเมืองเดียวที่ไม่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ในอดีตรัฐบาลไม่มี นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของเทียนจินเป็นพิเศษ ต่างจากเมือง สำ�คัญอื่น ๆ ของจีน ทำ�ให้ระดับการพัฒนาและระดับการดึงดูด นักลงทุนของเทียนจินยังไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม เมื่อ 2-3 ปีที่ ผ่านมารัฐบาลจีนมีนโยบายจัดตั้งเขตเศรษฐกิจใหม่ปินไห่ ทำ�ให้อัตรา การเจริญเติบโตและการพัฒนาของเทียนจินสูงขึ้นมาก

โอกาสของไทย • ปัจจุบัน เทียนจินให้ความสาคัญกับอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง และอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน เนื่องจากนคร เทียนจินมีพลังงาน ความร้อนใต้พิภพมากที่สุดในจีน มีพลังงานแสงแดดและพลังงานลม อุดมสมบูรณ์ วิสาหกิจไทยที่มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีสามารถ เข้าไปลงทุนหรือร่วมลงทุนได้

ความท้าทาย • วิสาหกิจไทยที่จะเข้ามาต้องเตรียมพร้อมที่จะแข่งขันกับคู่แข่งที่มี ประสบการณ์มากและมีความแข็งแกร่ง เนื่องจากนครเทียนจิน เป็นแหล่งรวมของวิสาหกิจระดับสูงทั้งจากในและต่างประเทศ • นครเทียนจินอยู่ไกลจากประเทศไทย ชาวเทียนจินยังไม่รู้จัก ประเทศไทยมากนัก ด้วยทำ�เลที่ตั้งที่ใกล้กับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ ส่งผลให้สินค้าจากประเทศดังกล่าวเข้ามาทำ�ตลาดในเทียนจินได้ ง่าย สินค้าไทยประเภทเดียวกันอาจแข็งขันได้ยากเมื่อคานึงถึงต้นทุน การขนส่งที่สูงกว่ามาก


มณฑลเหอเป่ย (Hebei Province)

• • • • •

เป็นศูนย์กลางการคมนาคมเชื่อมโยงกรุงปักกิ่งกับเมืองต่าง ๆ ของจีน มีบทบาทสำ�คัญในด้านอุตสาหกรรมเบาของจีน โดยมีโรงงานด้านการแปรรูปจำ�นวนมาก ในมณฑลเหอเป่ย เป็นแหล่งทรัพยากรพลังงานที่สาคัญของประเทศ โดยเป็นมณฑลที่ได้รับการพัฒนาด้าน อุตสาหกรรมพลังงานจากรัฐบาล เป็น 1 ใน 13 มณฑลที่เป็นแหล่งผลิตถ่านหินของจีน เป็นฐานสำ�คัญในการผลิตธัญพืชและฝ้ายของจีน มีทรัพยากรแร่ที่อุดมสมบูรณ์ โดยมีทรัพยากรแร่รวม 156 ชนิด แต่ยังขาดแคลน ทรัพยากรน้ำ�

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

187,693 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 36.6% ของไทย) ใหญ่เป็นอันดับ 12 ของจีน 72.41 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) นครสือเจียจวง (Shi Jiazhuang) จีนกลาง จีนจี้-หลู่ (จี้:ชื่อย่อของมณฑลเหอเป่ย หลู่:ชื่อย่อของมณฑลซานตง) จีนปักกิ่ง จีนจิ้น พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์ อิสลาม คาทอลิก

เลขาธิการพรรคฯ ผู้ว่าการมณฑล ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายจาง ชิ่งหลี (Zhang Qingli) นายจาง ชิ่งเหว่ย(Zhang Qingwei) นายจาง ชิ่งหลี (Zhang Qingli) นายฟู่ จื้อฟาง (Fu Zhifang) ฮั่น (96%) แมนจู หุย มองโกล

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP GDP per Capita GDP Growth ทรัพยากรธรรมชาติ การค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวของการค้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 375.1 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) USD 5,198 (ไทย: USD 5,112) CPI 11.3% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก น้ามันและก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน หินปูน แร่เหล็ก สัตว์ ไม้ USD 53,600 ล้าน มูลค่าการส่งออก 27.4% มูลค่าการนำ�เข้า เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เสื้อผ้า เหล็กกล้า ยา ผลิตภัณฑ์เคมี สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเบา ผลิตภัณฑ์หินแร่ แร่เหล็ก สินค้าเกษตร ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.7% (ไทย: 3.8%) เหมืองถ่านหิน เหล็กกล้า เครื่อง กระเบื้อง ไฟฟ้า สิ่งทอ ปิโตรเลียม เภสัชกรรม USD 28,580 ล้าน (+26.7%) USD 25,020 ล้าน (+28.3%) สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา อาเซียน เกาหลี ใต้ รัสเซีย ญี่ปุ่น อินเดีย บราซิล ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย บราซิล สหรัฐอเมริกา อาเซียน

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 563.92 ล้าน เพิ่มขึ้น 29.1% ไทยเสียดุลการค้า โดยเหอเป่ยนำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 119.16 ล้าน เพิ่มขึ้น 25.8% และส่งออกไปไทย USD 444.76 ล้าน เพิ่มขึ้น 30.2% สินค้านำ�เข้าจากไทย ยางพารา แป้ง วงจรรวม พลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก แร่เหล็ก เครื่องจักรยนต์และชิ้นส่วน ใยพืช สินค้าส่งออกไปไทย เหล็ก เครื่องจักรยนต์และชิ้นส่วน ปุ๋ย เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์เคมีอินทรีย์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องในของสัตว์ ถั่วชนิดต่าง ๆ ผ้า ธุรกิจสำ�คัญของไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ (การผลิตอาหารสัตว์) จำ�นวนคนไทย ประมาณ 74 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานเอกอัครราชทูต สนง.เศรษฐกิจการลงทุน สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ททท. ณ กรุงปักกิ่ง/สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซีอาน/งานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“เหอเป่ย” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • ตั้งอยู่ทางภาคเหนือของจีน โดยทิศเหนือติดกับกรุงปักกิ่ง และมีชายฝั่ง ทะเลเชื่อมต่อจากนครเทียนจิน ทำ�ให้มณฑลเหอเป่ยเป็นศูนย์กลาง การคมนาคมที่เชื่อมโยงกรุงปักกิ่งกับเมืองต่าง ๆ ของประเทศจีน • เป็นมณฑลที่มีช่องทางการขนส่งอย่างสมบูรณ์ทั้งทางบก ทางน้ำ� และทางอากาศ • จัดเป็นมณฑลที่รัฐบาลจีนให้ความสำ�คัญ และมีระดับการพัฒนาทาง เศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอยู่ในศูนย์กลางของกลุ่มเศรษฐกิจ โป๋ไห่ ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างมณฑลทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือกับ ทิศตะวันตกของจีน โดยมีทะเล โป๋ไห่คนั่ กลางระหว่างมณฑลซานตง กับประเทศญี่ปุ่นและคาบสมุทรเกาหลี • เป็นฐานการผลิตขนาดใหญ่ของสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ที่สำ�คัญ โดยมีผลผลิตด้านการเกษตรมากเป็นอันดับต้น ๆ ของจีน และผลิตเหล็กกล้ามากที่สุดในจีน รวมถึงอุตสาหกรรมถ่านหิน สิ่งทอ เคมี ยา วัสดุก่อสร้าง • มีบทบาทสาคัญในด้านอุตสาหกรรมเบาของจีน โดยมีโรงงานแปรรูป จำ�นวนมาก

จุดอ่อน • การพัฒนาทางเศรษฐกิจยังไม่ทั่วถึง แม้ว่าจะได้เปรียบในเรื่องภูมิศาสตร์ เพราะเป็นมณฑลที่อยู่ริมชายฝั่งทะเล แต่มีพื้นที่ในเขตชนบทกว่า 40% ของมณฑล และยังมีอาเภอที่ยากจนติดอันดับของจีน

โอกาสของไทย • เป็นตลาดที่มีศักยภาพต่อการลงทุนธุรกิจค้าปลีกของไทย โดยมีปัจจัย สนับสนุนด้านภูมิศาสตร์และอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจ “จิง-จิน-จี้” ประกอบไปด้วยพื้นที่กรุงปักกิ่ง นครเทียนจิน และมณฑลเหอเป่ย ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่มีกลุ่มผู้บริโภค 120 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วน ประมาณ 10% ของจานวนผู้บริโภคทั้งประเทศ เป็นศูนย์กลาง ในการกระจายสิ น ค้ า และศู น ย์ ก ารคมนาคมที่ ส าคั ญโดยตลาด ผู้บริโภคที่สำ�คัญของมณฑลเหอเป่ย ได้แก่ เมืองสือเจียจวง ถังซาน ฉินหวงเต่า และหานตัน

ความท้าทาย • แม้ ว่ า ธุ ร กิ จ ค้ า ปลี กในมณฑลเหอเป่ ย มี โ อกาสเติ บโตในเกณฑ์ ดี แต่ผู้ประกอบการควรพึงระวังภาวะการแข่งขันในตลาดจากบริษัท ค้าปลีกข้ามชาติและบริษัทท้องถิ่นในจีน • ผู้ประกอบการควรศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของผู้บริโภค ในมณฑลเหอเป่ยเพื่อนาเสนอสินค้าและบริการให้ตรงตามความ ต้องการของผู้บริโภคในพื้นที่


มณฑลเฮยหลงเจียง (Heilongjiang)

• • • • • • •

เป็น 1 ใน 3 มณฑลภาคอีสานของจีน มีพรมแดนติดกับประเทศรัสเซียยาวเกือบ 3,000 กม. มีด่านพรมแดนทางบก 15 แห่ง และเป็นประตูสู่ “ยูเรเซีย” เป็นหนึ่งในพื้นที่ภายใต้แผนฟื้นฟูและพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฉบับที่ 12 และยุทธศาสตร์พัฒนาและฟื้นฟูภาคอีสานของจีน เป็นแหล่งสารองน้ามันดิบ และแหล่งผลิตธัญพืชที่สาคัญอันดับ 1 ของจีน เป็นแหล่งผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สาคัญของจีน เป็นชุมทางการคมนาคมขนส่งที่สาคัญของจีน ทั้งทางถนน ทางรถไฟ ทางแม่น้ำ� ทางอากาศ และการขนส่งน้ำ�มันทางท่อ เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลประติมากรรมหิมะและน้ำ�แข็งที่มีชื่อเสียงระดับโลก

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

469,000 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 91.4% ของไทย) ใหญ่เป็นอันดับ 6 ของจีน 38.34 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) นครฮาร์บิน (Harbin) จีนกลาง และจีนตงเป่ย พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์ อิสลาม คาทอลิก

เลขาธิการพรรคฯ ผู้ว่าการมณฑล ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายจี๋ ปิ่งสวน (Ji Bingxuan) นายหวัง เซี่ยนขุย (Wang Xiankui) นายจี๋ ปิ่งสวน (Ji Bingxuan) นายตู้ ยู่ซิน (Du Yuxin) ฮั่น (95%) แมนจู เกาหลี มองโกล หุย

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP GDP per Capita GDP Growth ทรัพยากรธรรมชาติ การค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวของการค้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 193.6 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) USD 5,050 (ไทย: USD 5,112) CPI 12.2% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก น้ำ�มันดิบ ป่าไม้ แร่ธรรมชาติ ถ่านหิน USD 38,510 ล้าน มูลค่าการส่งออก 50.9% มูลค่าการนำ�เข้า เครื่องใช้ไฟฟ้า สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม ตลาดส่งออกที่สาคัญ รองเท้า กระเป๋า สินค้าเกษตร เฟอร์นิเจอร์ น้ำ�มันดิบ เครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าเกษตร ตลาดนำ�เข้าที่สาคัญ น้ำ�มันสาเร็จรูป ไม้ ปุ๋ย แร่เหล็ก

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.8% (ไทย: 3.8%) พลังงานไฟฟ้า ถ่านหิน การถลุงและ หลอมโลหะ วัสดุก่อสร้าง วิศวกรรมชีวภาพ USD 17,670 ล้าน (+8.5%) USD 20,840 ล้าน (+130.0%) รัสเซีย อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา รัสเซีย อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 58.62 ล้าน เพิ่มขึ้น 21.6% ไทยเสียดุลการค้า โดยเฮยหลงเจียงนำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 20.90 ล้าน เพิ่มขึ้น 35.1% และส่งออกไปไทย USD 37.72 ล้าน เพิ่มขึ้น 15.3% สินค้านำ�เข้าจากไทย เยื่อไม้ แป้งมันสาปะหลัง สารประกอบยาง ยางขั้นปฐมภูมิ ยางแผ่น โพลีไวนิลขั้นปฐมภูมิ สินค้าส่งออกไปไทย แร่อโลหะ พาราฟิน สารละลายกรด ผักแช่แข็งและเย็น ผลิตภัณฑ์ไม้ สิ่งทอจากใยป่าน ธุรกิจสำ�คัญของไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำ�นวนคนไทย ประมาณ 80 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานเอกอัครราชทูต สนง.เศรษฐกิจการลงทุน สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ททท. ณ กรุงปักกิ่ง/สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้/งานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“เฮยหลงเจียง” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • เป็นมณฑลที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งน้ำ�มัน ไม้ ถ่านหิน แร่โลหะ และแร่อโลหะ โดยมีปริมาณสะสมมากเป็นอันดับ ต้น ๆ ของประเทศ • เป็นฐานการผลิตสินค้าเกษตรที่สาคัญของจีน โดยปี 2554 มีผล ผลิตธัญพืชมากกว่า 20,000 ล้านกิโลกรัม ตอบสนองความต้องการ ธัญพืชร้อยละ 10 ของประชากรจีน ธัญพืชที่สาคัญ ได้แก่ ถั่วเหลือง ข้าวสาลี ข้าวโพด มันฝรั่ง และข้าวเจ้า • มีพื้นฐานทางอุตสาหกรรมที่มั่นคง ระบบอุตสาหกรรมค่อนข้างสมบูรณ์ เนื่องจากเป็น 1 ใน 3 มณฑลภาคอีสาน ซึ่งเป็นแหล่งกาเนิดของ อุตสาหกรรมจีน • เป็นฐานพลังงาน วัตถุดิบ และฐานการผลิตอุปกรณ์ขนาดใหญ่ที่ สำ�คัญของจีน • พรมแดนที่ติดกับประเทศรัสเซียทำ�ให้มีบทบาทสาคัญในการเป็น จุดเชื่อมด้านการค้าระหว่างมณฑลต่าง ๆ กับรัสเซีย

จุดอ่อน • อยู่ในพื้นที่ตอนในของประเทศ การคมนาคมยังไม่ค่อยสะดวก มากนักเมื่อเทียบกับเมืองที่อยู่ชายฝั่งทะเลอย่างเทียนจินและ เซี่ยงไฮ้ แต่ก็สามารถขนส่งสินค้าทางน้าได้ เนื่องจากมีแม่น้ำ� หลายสายไหลผ่าน • กาลังซื้อของผู้บริโภคท้องถิ่นอยู่ระดับปานกลาง

โอกาสของไทย • เป็ น หนึ่ งในพื้ น ที่ ฐ านอุ ต สาหกรรมเก่ า ทางภาคอี ส านของจี น ที่ รั ฐ บาลกลางมี นโยบายสนับ สนุน การพัฒ นาเพื่อ ฟื้น ฟูเศรษฐกิ จ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แผนการฟื้นฟูได้ส่งเสริมการพัฒนา อุตสาหกรรมต่าง ๆ และสร้างสรรค์ระบบสาธารณูปโภคให้ดียิ่งขึ้น ทำ�ให้เฮยหลงเจียงกลายเป็นตลาดที่มีศักยภาพสาหรับชาวต่างชาติ ธุรกิจที่น่าสนใจในเฮยหลงเจียงตามการส่งเสริมจากรัฐบาลให้เป็น “6 ฐาน” อุตสาหกรรม ได้แก่ การผลิตอุปกรณ์ ปิโตรเคมี พลังงาน ยาและเวชภัณฑ์ อาหาร และป่าไม้ • เฮยหลงเจียงตั้งอยู่ในเขตหนาวเย็นไม่มีผลไม้เขตร้อน จึงเป็นโอกาส ที่ดีสาหรับผลไม้เขตร้อนของไทย

ความท้าทาย • อยู่ไกลจากไทยเมื่อเทียบกับมณฑลอื่น ๆ ของจีน เนื่องจากตั้งอยู่ทาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือสุดของประเทศ ทำ�ให้ต้นทุนการขนส่ง สินค้าสูง • ทำ�เลที่ตั้งซึ่งอยู่เหนือสุดของพื้นที่ประเทศจีนส่งผลให้พฤติกรรม และรสนิยมการบริโภคแตกต่างจากมณฑลทางใต้ค่อนข้างมาก ผู้ประกอบการไทยรวมถึงผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์บุกตลาด พื้นที่อื่น ๆ ในจีนควรทาการสารวจตลาดอย่างรอบคอบก่อน • ความไม่คุ้นเคยกับสภาพอากาศที่หนาวเย็นอาจส่งผลต่อการดำ�รง ชีวิตและดาเนินธุรกิจ


มณฑลจี๋หลิน (Jilin Province) • • • •

เป็นแหล่งผลิต แปรรูป และส่งออกโสมที่ใหญ่สุดในจีน เป็นเขตที่มีการเลี้ยงกวางเพื่อการพาณิชย์ที่สาคัญที่สุดของจีน โดยเฉพาะ เขากวางอ่อน เป็นวัตถุดิบสำ�คัญของยาจีนแผนโบราณ เป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของจีน เป็นแหล่งหินน้ำ�มันซึ่งมีปริมาณมากที่สุดในประเทศ เป็นแหล่งธัญพืชที่สาคัญของประเทศโดยเฉพาะข้าวโพด ทาให้จี๋หลินได้รับสมญานามว่า “เขตข้าวโพดสีทอง (Golden Corn Belts)” โดยมีไร่ข้าวโพด ผลผลิต และการส่งออก มากเป็นอันดับ 1 ของจีน

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

187,400 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 36.5% ของไทย) เลขาธิการพรรคฯ ใหญ่เป็นอันดับ 13 ของจีน ผู้ว่าการมณฑล 27.49 ล้านคน (ไทยมีประชากร 65 ล้านคน) ปธ.สภาผู้แทน ปชช. นครฉางชุน (Changchun) ปธ.สภาที่ปรึกษา จีนกลาง จีนท้องถิ่น (ภาษาจี๋หลิน) ชนชาติหลัก พุทธ เต๋า อิสลาม คริสต์

นายซุน เจิ้งไฉ (Sun Zhengcai) นายหวาง หลูหลิน (Wang Rulin) นายซุน เจิ้งไฉ (Sun Zhengcai) นายปาอินเฉาหลู่ (Bayinchaolu) ฮั่น (91%) เกาหลี (เฉาเสี่ยน) แมนจู มองโกล หุย และซีป๋อ

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP GDP per Capita GDP Growth ทรัพยากรธรรมชาติ การค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวของการค้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 163.0 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) USD 5,933 (ไทย: USD 5,112) CPI 13.7% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก หินน้ำ�มัน แร่ Wollastonite แร่ Scoria ป่าไม้ และดินดา USD 22,047 ล้าน มูลค่าการส่งออก 30.9% มูลค่าการนำ�เข้า เครื่องนุ่งห่ม ข้าวโพด โลหะ ยานยนต์ ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ และชิ้นส่วน เฟอร์นิเจอร์ไม้ สินค้าเกษตร ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วน เครื่องจักรกล ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ แร่โลหะ ปุ๋ย เหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.2% (ไทย: 3.8%) ยานยนต์และส่วนประกอบ ปิโตรเคมี อาหารแปรรูป ยาจีนแผนโบราณ ออปโตอิเล็กทรอนิกส์ USD 4,998 ล้าน (+11.7%) USD 17,049 ล้าน (+37.8%) ญี่ปุ่น รัสเซีย เกาหลีใต้ เกาหลีเหนือ สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ญี่ปุ่น เยอรมนี ฮังการี สหรัฐอเมริกา บราซิล เบลเยี่ยม

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 100.70 ล้าน ลดลง 36.9% ไทยได้ดุลการค้า โดยจี๋หลินนำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 55.95 ล้านลดลง 9.1% และส่งออกไปไทย USD 44.77 ล้าน ลดลง 54.4% สินค้านำ�เข้าจากไทย ยางพารา แผงวงจรไฟฟ้ารวม เครื่องปั๊มอากาศ เส้นใยที่มีลักษณะเป็นก้อน อาทิ โพลีเอสเตอร์ แผ่นวงจรพิมพ์ สินค้าส่งออกไปไทย สารประกอบพวกที่มีเฮทเทอโรอะตอม น้ำ�ตาลก้อน เหล็กอัลลอยด์รีดร้อน อะไหล่รถยนต์ เหล็กเส้น คาร์บอนอิเล็กโตรต (carbon electrode) ธุรกิจสำ�คัญของไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ (อาหารสัตว์และเนื้อไก่) บริษัท ฉางชุน สามมิตร มอเตอร์ จำ�กัด จำ�นวนคนไทย 32 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานเอกอัครราชทูตไทย สนง.เศรษฐกิจการลงทุน สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ททท. ณ กรุงปักกิ่ง/สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้/งานที่ปรึกษาการศุลกากรประจำ� สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“จี๋หลิน” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • จี๋หลินมีความหมายว่า “เมืองที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้” มีพื้นที่ ป่าไม้คิดเป็นร้อยละ 43.4 ของพื้นที่มณฑล และเป็นมณฑลนาร่อง การสร้างนิเวศวิทยาระดับชาติ • ได้รับสมญานามว่าเป็น “พื้นที่ดินดำ�” เหมาะกับการเพาะปลูก และเป็นเขตผลิตธัญพืชเพื่อการพาณิชย์ที่สาคัญของจีน โดยปี 2554 มีผลผลิตธัญพืชกว่า 30 ล้านตัน ผลผลิตต่อหมู่ (1 หมู่ประมาณ 0.25 ไร่) มากถึง 465.1 กิโลกรัม สูงสุดเป็นอันดับ 1 ของจีน • ธัญพืชที่สาคัญของจี๋หลินได้แก่ ข้าวโพด ข้าวสาร และถั่วเหลือง จี๋หลินมีปริมาณการส่งออกข้าวโพดมากกว่าร้อยละ 50 ของทั้งจีน • เป็นเขตผลิตโสมที่สำ�คัญของจีน โดยมีปริมาณการผลิตถึงร้อยละ 80 ของทั้งจีน และร้อยละ 75 ของโลก อีกทั้งยังเป็นเขตเลี้ยง กวางเพื่อการพาณิชย์ที่สำ�คัญของจีน • นครฉางชุ น เมื อ งเอกของจี๋ ห ลิ น เป็ น ฐานการผลิ ต อุ ต สาหกรรม ยานยนต์ และชิ้นส่วนที่ใหญ่ที่สุดของจีน ทำ�ให้ จี๋หลินได้รับฉายาว่า เป็น “เมืองแห่งยานยนต์” โดยมี 2 บริษัทยานยนต์ที่สำ�คัญของจีน ตั้งอยู่ ได้แก่ กลุ่มบริษัท First Automobile Work (บริษัทชั้นนำ� ด้านรถยนต์) และบริษัท Changchun Railway Vehicle (ผู้นำ� ด้านการผลิตรถไฟของจีน)

จุดอ่อน • มณฑลจี๋หลินตั้งอยู่ไกลจากไทยเมื่อเทียบกับมณฑลเลียบชายฝั่ง ทางภาคตะวันออกของจีน • ยังไม่มีเที่ยวบินตรงระหว่างไทยกับจี๋หลิน ผู้โดยสารจากไทยจำ�เป็น ต้องต่อเครื่องที่นครเซี่ยงไฮ้ หรือกรุงปักกิ่ง • จี๋หลินมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำ�และหนาวเย็นมากเช่นเดียวกับมณฑล อื่นๆ ในภาคอีสานของจีน โดยอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 2-6 องศาเซลเซียส ในฤดูหนาวมีอุณหภูมิเฉลี่ย –11 องศาเซลเซียส

โอกาสของไทย • สินค้าไทยในจี๋หลินมีโอกาส เนื่องจากสินค้าไทยมีคุณภาพดีและต้นทุน ไม่สูงเท่าสินค้าของญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ใกล้กับจี๋หลิน มากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับไทย • ผูป้ ระกอบการไทยทีส่ นใจลงทุนหรือค้าขายกับจีห๋ ลิน สามารถเข้าไป ทดลองตลาดผ่านงาน China Jilin Northeast Asia Investment and Trade Expo ที่จัดขึ้นช่วงเดือนกันยายนของทุกปี • ธุรกิจที่จี๋หลินให้ความสนใจเป็นพิเศษ ได้แก่ ธุรกิจอาหารและเครื่องปรุง ผลไม้ ของตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์ การออกแบบ และ อสังหาริมทรัพย์ ในทางกลับกัน สินค้าประเภทโสม สมุนไพรจีน และเครื่องมือแพทย์ของจี๋หลิน เป็นโอกาสสำ�หรับกลุ่มธุรกิจด้าน การรักษาสุขภาพและแพทย์แผนจีนในไทย

ความท้าทาย • ผู้ประกอบการที่จะเข้าไปในจี๋หลินต้องพร้อมรับมือกับการแข่งขัน ที่ดุเดือดจากประเทศที่ใกล้กับจี๋หลินมากกว่าโดยเฉพาะเกาหลีใต้ และญี่ปุ่นซึ่งเข้ามาดาเนินธุรกิจและลงทุนอยู่ก่อนแล้ว • ควรทาการศึกษาตลาดอย่างรอบคอบโดยควรพิจารณาในภาพรวม ทั้งภาคอีสานของจีน ได้แก่ จี๋หลิน เหลียวหนิง และเฮยหลงเจียง ไปพร้อมกัน


มณฑลเหลียวหนิง (Liaoning Province) • • • • •

เป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมหนักและการแปรรูปวัตถุดิบของจีน เป็นมณฑลที่ผลิตเหล็กกล้ามากเป็นอันดับ 2 ของจีน ผลิตเหล็กหลอมเป็นอันดับ 3 ของจีน และผลิตน้ามันดิบเป็นอันดับ 4 ของจีน มีคลังขนาดใหญ่ที่สุดในจีนสาหรับเก็บสารองธัญพืชจาพวกเมล็ดข้าว มีโรงงานแปรรูป แป้งสาลี 1,050 ตันต่อวัน มีพื้นที่ทาประมงน้ำ�เค็มใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน มหาวิทยาลัยในมณฑลเหลียวหนิงมีชื่อเสียงด้านวิชาฟิสิกส์และเทคโนโลยี อาทิ มหาวิทยาลัยฟิสิกส์และเทคโนโลยีต้าเหลียน

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

148,000 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 29% ของไทย) ใหญ่เป็นอันดับ 21 ของจีน 43.83 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) นครเสิ่นหยาง (Shenyang) จีนกลาง จีนตงเป่ย จีนเจียวเหลียว พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์ อิสลาม

เลขาธิการพรรคฯ ผู้ว่าการมณฑล ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายหวัง หมิน (Wang Min) นายเฉิน เจิ้งเกา (Chen Zhenggao) นายหวัง หมิน (Wang Min) นายเยี่ยว์ ฝูหง (Yue Fuhong) ฮั่น (84%) แมนจู (13%) มองโกล หุย

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP GDP per Capita GDP Growth ทรัพยากรธรรมชาติ การค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวของการค้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 341.0 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) USD 7,788 (ไทย: USD 5,112) CPI 12.1% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน ยูเรเนียม แร่เหล็ก แมงกานีส แมกนีเซียมคาร์บอเนต ซิลิกา หินปูน ฟลูออไรด์ และแร่โดโลไมต์ USD 95,960 ล้าน มูลค่าการส่งออก 19% มูลค่าการนำ�เข้า อุปกรณ์สื่อสารและชิ้นส่วน อุปกรณ์ ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ ประมวลผลและชิ้นส่วน เครื่องจักร ของเรือ สินค้าเทคโนโลยีชั้นสูง สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์เกษตร น้ามันดิบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ เครื่องจักรและชิ้นส่วน สินค้า เทคโนโลยีชั้นสูง ข้าว ยางพารา

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.2% (ไทย: 3.8%) อุตสาหกรรมปิโตรเคมี การหลอม และแปรรูปโลหะ อิเล็กทรอนิกส์และ การสื่อสาร และเครื่องจักรกล USD 51,040 ล้าน (+18.4%) USD 44,920 ล้าน (+19.6%) ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ สิงคโปร์ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา บราซิล อิหร่าน อาเซียน

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 1,222.14 ล้าน เพิ่มขึ้น 23.0% ไทยได้ดุลการค้า โดยเหลียวหนิงนำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 611.67 ล้าน เพิ่มขึ้น 2.7% และส่งออกไปไทย USD 610.47 ล้าน เพิ่มขึ้น 52.7% สินค้านำ�เข้าจากไทย ยางพาราและผลิตภัณฑ์จากยางพารา น้ามันปิโตรเลียม แผงวงจรวม อุปกรณ์ประมวลผลชิ้นส่วนพลาสติก สินค้าส่งออกไปไทย เครื่องจักร รางรถไฟ ยานยนต์และชิ้นส่วน สินค้าเหล็กกล้า ข้าวมอลต์ ธุรกิจสำ�คัญของไทย บ.หลงสื่อเย่ เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ผลิตอาหารสัตว์และอาหารปลา เลี้ยงและแปรรูปเนื้อสัตว์) จำ�นวนคนไทย ประมาณ 270 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานเอกอัครราชทูต สนง.เศรษฐกิจการลงทุน สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ททท. ณ กรุงปักกิ่ง/สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครเซี่ยงไฮ้/งานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“เหลียวหนิง” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • เป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่สำ�คัญของจีน ได้แก่ ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และถ่านหิน • เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำ�คัญของกลุ่มเศรษฐกิจโป๋ไห่และทะเลเหลือง ผลผลิตทางเกษตรกรรมที่สาคัญ ได้แก่ ธัญพืช ผลไม้และสินค้า ทางทะเล • อุตสาหกรรมที่สำ�คัญในมณฑลเหลียวหนิง ได้แก่ เกษตรแปรรูป การผลิตอุปกรณ์และเครื่องจักรกล และเสื้อผ้าสาเร็จรูป สำ�หรับ อุตสาหกรรมบริการที่เด่นของมณฑลเหลียวหนิงคือ ธุรกิจซอฟแวร์ โดยเฉพาะที่เมืองต้าเหลียน • มีเมืองต้าเหลียนเป็นเมืองท่าที่สำ�คัญ มีท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของจีน อีกทั้งเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้าและการท่องเที่ยว รวมถึงศูนย์กลางการบริการไอทีและธุรกิจ ส่งออกที่สำ�คัญของจีน

จุดอ่อน • แม้จะเป็นมณฑลที่ติดกับทะเล แต่ยังเปิดรับต่างประเทศไม่มากนัก เมื่อเทียบกับมณฑลที่ติดทะเลทางตะวันออกของจีน • ระบบและกฎหมายสาหรับการลงทุนจากต่างประเทศในเหลียว หนิงยังไม่สมบูรณ์ ทาให้นักลงทุนมองการบริหารของรัฐบาลว่าขาด ความโปร่งใสและประสิทธิภาพ • รูปแบบการพัฒนาของเหลียวหนิงพึ่งพาอุตสาหกรรม และ ทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก นโยบายการสนับสนุนการลงทุนต่างชาติ ให้ความสาคัญในอุตสาหกรรมการผลิตที่ไม่จาเป็นต้องใช้เทคโนโลยี ชั้นสูงแต่ให้กาไรสูง • รัฐบาลท้องถิ่นยังควบคุมการลงทุนในภาคเกษตรและภาคบริการ อย่างเข้มงวด

โอกาสของไทย • เป็นตลาดส่งออกที่มีศักยภาพสูงสำ�หรับยางพาราของไทย เนื่องจาก เหลียวหนิงเป็นฐานผลิตยานยนต์ที่สำ�คัญของจีน โดยมีบริษัทผลิต ยานยนต์ต่างชาติหลายรายเข้ามาลงทุน รวมถึงยังเป็นฐานการผลิต ยางรถยนต์ใหญ่ที่สุดของจีนด้วย • มีศักยภาพสาหรับการลงทุนธุรกิจสปาและนวดแผนโบราณ โดยเมือง ที่น่าสนใจเข้าไปลงทุน ได้แก่ นครเสิ่นหยางมีตลาดผู้บริโภคขนาดใหญ่ ที่สุดในมณฑลเหลียวหนิง และเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การค้า และการคมนาคมทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน และเมือง ต้าเหลียน ซึ่งเป็นเมืองท่าทางการค้าระหว่างประเทศ ศูนย์กลาง การลงทุน และแหล่งท่องเที่ยวที่มีบทบาทสำ�คัญในมณฑลเหลียวหนิง • ธุรกิจท่องเที่ยวที่เติบโตอย่างรวดเร็วเป็นปัจจัยช่วยผลักดันโอกาส การขยายตั ว ของธุ ร กิ จ ภาคบริ ก ารเนื่ อ งจากมณฑลเหลี ย วหนิ ง มีแหล่งท่องเที่ยวสาคัญทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของจีน อาทิ Mukden Palace ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในนครเสิ่นหยาง ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก และเมืองต้าเหลียนที่มี สถาปัตยกรรมที่โดดเด่นของรัสเซียและญี่ปุ่น

ความท้าทาย • ผู้ประกอบการไทยต้องเผชิญภาวะการแข่งขันที่ดุเดือดจากคู่แข่ง ท้องถิ่นจีนและต่างชาติ อาทิ มาเลเซีย เวียดนามและอินโดนีเซีย ผู้ส่งออกไทยควรปรับกลยุทธ์ให้เข้ากับภาวะการแข่งขันที่เข้มข้น • สำ�หรับอุตสาหกรรมยางพารา รัฐบาลจีนมีนโยบายส่งเสริมการ เพาะปลูกยางพาราในต่างประเทศเพื่อลดต้นทุนการผลิตสินค้า และเพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคในการเสาะหาวัตถุดิบเพื่อป้อนเข้าสู่ อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ ขณะที่สินค้ายางพาราทุกประเภท ยังคงเป็นสินค้าอ่อนไหวภายใต้ข้อตกลงการค้าอาเซียน-จีน โดยคง อัตราภาษีนาเข้าจนถึงปี 2558 • ผู้ ป ระกอบการธุ ร กิ จ สปาและนวดแผนโบราณไทยอาจประสบ ปัญหาในขั้นตอนการจัดตั้งสถานประกอบที่มีความซับซ้อนและยุ่งยาก ในจีน รวมถึงอุปสรรคด้านกฎหมายแรงงานสาหรับแรงงานชาว ต่างชาติที่เคร่งครัดของรัฐบาลจีน ตลอดจนอุปสรรคทางภาษาซึ่ง ผู้ประกอบการควรจัดเตรียมหลักสูตรทั้งภาษาจีนและภาษาอังกฤษ สำ�หรับพนักงานเพื่อใช้ในการสื่อสารกับกลุ่มผู้รับบริการชาวจีน และต่างชาติ


มณฑลซานตง(Shangdong Province) • • • • • •

เป็นมณฑลที่มีปริมาณสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกมากถึง 1 ใน 4 ของจีน มีมูลค่า GDP สูงเป็นอันดับ 3 ของจีน (รองจากมณฑลกวางตุ้งและเจียงซู) เป็นแหล่งน้ำ�มันดิบสาคัญมากถึง 1 ใน 3 ของจีน และเป็นศูนย์กลางการผลิตน้ำ�มัน ชายฝั่งทะเลที่ใหญ่ที่สุดของจีนต่อเนื่องกันมา 8 ปี มีท่าเรือชิงเต่าที่มีการขนส่งสินค้าจากต่างประเทศทางทะเลที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือของจีน และเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางทะเลของภูมิภาคเอเชียะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มอาเซียนเป็นแหล่งนำ�เข้าใหญ่ที่สุดของซานตง เป็นแหล่งกำ�เนิดของการศึกษาขงจื้อและเป็นบ้านเกิดของขงจื้อ

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

157,126 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 30.6% ของไทย) ใหญ่เป็นอันดับ 20 ของจีน 95.79 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) นครจี่หนาน (Jinan) จีนกลาง จีนจี้หลู่ จีนจงหยวน พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์ อิสลาม

เลขาธิการพรรคฯ ผู้ว่าการมณฑล ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายเจียง ยี่คาง (Jiang Yikang) นายเจียง ต้าหมิง (Jiang Daming) นายเจียง ยี่คาง (Jiang Yikang) นายหลิว เหว่ย (Liu Wei) ฮั่น (99.4%) หุย (0.2%)

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP GDP per Capita GDP Growth ทรัพยากรธรรมชาติ การค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวของการค้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 703.4 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย : USD 345.6 พันล้าน) USD 7,317 (ไทย: USD 5,112) CPI 10.9% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก ผลิตผลทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ ทางทะเล ทองคา น้ามัน เพชร โคบอลต์ USD 235,990 ล้าน มูลค่าการส่งออก 24.8% มูลค่าการนำ�เข้า เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ เชื้อเพลิง ปูนซีเมนต์ เหล็กกล้า ปุ๋ย สิ่งทอ ทองคา ผลิตภัณฑ์การเกษตร หินแร่ พลาสติก เครื่องใช้ไฟฟ้าและ ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ไม้ เหล็กกล้า ยางพารา

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.0% (ไทย: 3.8%) เหล็กกล้า อุตสาหกรรมรถยนต์ เรือ น้ำ�มัน ปิโตรเคมี โลหะ สิ่งทอ อุปกรณ์เครื่องจักร อุปกรณ์สื่อสาร USD 125,790 ล้าน (+20.7%) USD 110,200 ล้าน (+29.8%) สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อาเซียน อาเซียน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 6,963 ล้าน เพิ่มขึ้น 48.5% ไทยได้ดุลการค้า โดยซานตงนำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 5,034 ล้าน เพิ่มขึ้น 53.3% และส่งออกไปไทย USD 1,929 ล้าน เพิ่มขึ้น 37.2% สินค้านำ�เข้าจากไทย ยางธรรมชาติ พลาสติกขั้นปฐมภูมิ แผงวงจรรวม เครื่องประมวลผลและชิ้นส่วน สินค้าเกษตร สิ่งทอ มันสาปะหลัง สินค้าส่งออกไปไทย ผลิตภัณฑ์เคมี ยาและเวชภัณฑ์ สิ่งทอ เครื่องจักรกลและชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์เหล็ก โครงการลงทุนไทย โครงการนิคมอุตสาหกรรมไทยที่เมืองเจ่าจวง (Zaozhuang) ธุรกิจสำ�คัญของไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ บ.บ้านปู บ.M Thai Group บ.RCL จากัด (มหาชน) สาขาชิงเต่า จำ�นวนคนไทย 89 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานเอกอัครราชทูต สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ททท. ณ กรุงปักกิ่ง/สนง.ส่งเสริมการค้า ในต่างประเทศ สนง.เศรษฐกิจการลงทุน ณ นครเซี่ยงไฮ้/งานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“ซานตง” วันนี้ : สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งน้ามันเซิ่งลี่ในเมืองตงอิ๋น ซึ่งเป็นแหล่งน้ำ�มันดิบใหญ่เป็นอันดับสองของจีน สามารถผลิตน้ำ�มัน และก๊าซธรรมชาติได้ประมาณ 2 ล้านตันต่อปี • มีพันธุ์พืชกว่า 3,100 ชนิด มีผลไม้กว่า 90 ชนิด เมืองต่างๆ ใน ซานตงล้วนเป็นแหล่งผลิตผลไม้ที่ขึ้นชื่อของจีน อาทิ เยียนไถเป็น แหล่งผลิตแอปเปิล ไหลหยางเป็นแหล่งผลิตสาลี่ • เป็นแหล่งผลิตฝ้าย น้ามัน พืชจาพวกข้าว ถั่ว สมุนไพรจีน ยาสูบ ที่สำ�คัญของจีน • มี ส าธารณู ป โภคที่ พ ร้ อ มสรรพโดยมี ป ริ ม าณการผลิ ตไฟฟ้ า มาก อันดับ 3 ของจีน • อยู่ใกล้กับประเทศเกาหลีใต้และญี่ปุ่นโดยมีท่าเรือชิงเต่าซึ่งเป็น ศูนย์กลางการคมนาคมทางทะเลของภูมิภาคเอเชียตะวันออก

จุดอ่อน • ระบบกฎหมายด้านการค้าต่างประเทศยังไม่ทันสมัยและนโยบาย สนั บ สนุ น การลงทุ น ยั ง ขาดความต่ อ เนื่ อ งเมื่ อ เที ย บกั บ มณฑล ชายฝั่งตะวันออกของจีนอย่างมณฑลเจียงซูและกวางตุ้ง • หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลวิสาหกิจต่างชาติยังมีประสิทธิภาพ และการบริการที่ไม่ดีนัก

โอกาสของไทย • ไทยและซานตงมีจุดเด่นทางเศรษฐกิจที่คล้ายคลึงกันคือ มีความ เชี่ยวชาญทางด้านเกษตรกรรมโดยเฉพาะการพัฒนาผลผลิตธัญพืช และผักผลไม้ เป็นโอกาสสาหรับภาคการเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม แปรรูปสินค้าเกษตร ในการร่วมกันพัฒนาตลาดและเทคโนโลยี ระหว่างกัน • รัฐบาลซานตงสนับสนุนการพัฒนาและการนำ�เข้าเทคโนโลยีชั้นสูง และผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชั้นสูง • มีอาเซียนเป็นแหล่งนำ�เข้ารายใหญ่ที่สุด มีศักยภาพสูงสาหรับการ เข้ามาลงทุนและพัฒนาตลาดสินค้าด้วย • ประชากรจานวนมากเป็นอันดับ 2 ของจีน และมี GDP มากเป็น อันดับ 3 ของจีน ชาวซานตงมีกาลังซื้ออยู่ในระดับสูง • มี ค่ า แรงและค่ า เช่ า ที่ ดิ น ถู ก กว่ า เมื่ อ เที ย บมณฑลเจี ย งซู แ ละ กวางตุ้ง เป็นอีกพื้นที่หนึ่งในจีนที่เหมาะกับการลงทุนและดาเนินธุรกิจ

ความท้าทาย • ผู้ประกอบการไทยควรเตรียมพร้อมในการรับมือกับการแข่งขันที่สูง เนื่องจากซานตงเป็นแหล่งรวมของรัฐวิสาหกิจและบริษัทท้องถิ่น ที่มีชื่อเสียงของจีน อาทิ บ.Hisense บ.Haier บ.เบียร์ Qingdao ซึ่งมีความแข็งแกร่งและมีความสามารถทางการแข่งขันสูง • รัฐบาลซานตงมีแผนจะสร้างเขตการค้าเสรีกับประเทศเกาหลีใต้ และญี่ปุ่น และกาลังดาเนินมาตรการสนับสนุนการพัฒนาและ นำ�เข้าเทคโนโลยีชั้นสูงและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง แต่จากสถิติการ ค้าระหว่างไทย-ซานตง สินค้าส่งออกจากไทยไปซานตงส่วนใหญ่ ยังเป็นวัตถุดิบที่มีราคาถูกและขาดเทคโนโลยีชั้นสูง เป็นความท้าทาย สำ�หรับบริษัทไทยที่ประสงค์เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในตลาดใหญ่อย่าง ซานตง


มณฑลซานซี (Shanxi Province) • • • • •

มีปริมาณสะสมของถ่านหินมากที่สุดในจีน เป็นสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของปริมาณทั้งหมดในจีน เป็นฐานที่ใหญ่ที่สุดของจีนในการผลิตเหล้าขาว การขุดทองเหลืองและการ ผลิตเหล็กกล้าพิเศษ เป็นมณฑลที่มีประวัติการค้ายาวนานโดยชาวซานซีมีชื่อเสียงในทางการค้าตั้งแต่ยุค เส้นทางสายไหม เป็นฐานอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรและพลังงานที่สาคัญของจีน ผลิตไฟฟ้าได้มากที่สุดในจีน

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

156,800 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 30% ของไทย) ใหญ่เป็นอันดับ 19 ของจีน 35.71 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) นครไท่หยวน (Taiyuan) จีนกลาง จีนซานซี อิสลาม พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์

เลขาธิการพรรคฯ ผู้ว่าการมณฑล ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา การเมือง ชนชาติหลัก

นายหยวน ฉุนชิง (Yuan Chunqing) นายหวัง จุน(Wang Jun) นายหยวน ฉุนชิง (Yuan Chunqing) นายเซว เหยียนจง (Xue Yanzhong) ฮั่น (99%) หุย

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP USD 171.8 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) GDP per Capita USD 4,796 (ไทย: USD 5,112) CPI GDP Growth 13% (ไทย: 0.1%) อัตราค่าแรงขั้นต่ำ� ทรัพยากรธรรมชาติ ถ่านหิน ถ่านโค้ก แร่เหล็ก อุตสาหกรรมหลัก การค้ากับต่างประเทศ USD 14,760 ล้าน มูลค่าการส่งออก การขยายตัวของการค้า 17.4% มูลค่าการนำ�เข้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ ถ่านหิน เหล็ก อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ แร่โลหะต่างๆ ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.2% (ไทย: 3.8%) แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ เดือนละ 1,125 หยวน 1,035 หยวน 945 หยวน และ 855 หยวน อุตสาหกรรมพลังงาน อุตสาหกรรม เทคนิคการทาโลหะผสม เครื่องจักร เครื่องกล และอุตสาหกรรมเคมี USD 5,430 ล้าน (+15.4%) USD 9,330 ล้าน (+18.5%) เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย บราซิล ญี่ปุ่น

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 94.50 ล้าน เพิ่มขึ้น 22.7% ไทยเสียดุลการค้า โดยซานซีนาเข้าสินค้าจากไทย USD 13.23 ล้าน เพิ่มขึ้น 24.0% และส่งออกไปไทย USD 81.27 ล้าน เพิ่มขึ้น 22.5% สินค้านำ�เข้าจากไทย ยางพาราธรรมชาติ แผงวงจรรวม สวิตช์ไฟ บรรจุภัณฑ์ สินค้าส่งออกไปไทย ถ่านหิน เหล็กกล้า เครื่องจักรกล ผลไม้ ผลิตภัณฑ์สารแมกนีเซียม ธุรกิจสำ�คัญของไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานเอกอัครราชทูต สนง.เศรษฐกิจการลงทุน สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ททท. ณ กรุงปักกิ่ง/สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซีอาน/งานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“ซานซี” วันนี้ : สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • ตั้งอยู่ภาคกลางของจีน เป็นจุดเชื่อมโยงกรุงปักกิ่ง นครเทียนจิน และภาคตะวันตก • รัฐบาลจีนให้ความสำ�คัญกับการส่งเสริมการพัฒนาภาคกลาง กำ�หนด ให้ซานซีเป็นเขตที่มีคุณค่าเชิงยุทธศาสตร์สำ�หรับการลงทุน เมื่อเทียบ กับมณฑลทางชายฝั่งภาคตะวันออก ซานซีได้เปรียบทั้งด้านต้นทุน การผลิตและต้นทุนการลงทุน โดยต่ากว่าประมาณร้อยละ 30-40 • เป็นมณฑลที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ มีแร่ธาตุที่ค้นพบ เป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศ ได้แก่ ถ่านหิน หินแร่บอคไซด์ ธาตุ แคลเลียม อลูมิเนียม • ได้รับขนานนามว่าเป็น “เมืองแห่งถ่านหิน” โดยมีพื้นที่ที่มีแร่ ถ่านหิน 62,800 ตร.กม. โดยคิดเป็นร้อยละ 40 ของพื้นที่ทั้ง มณฑล มีปริมาณถ่านหินหนึ่งในสามของทั้งประเทศผลิตถ่านหิน ปริมาณมากกว่า 100 ล้านตันต่อปี และคาดว่ามีปริมาณถ่านหิน สารองประมาณ 900,000 ล้านตัน โดยมีการสารวจปริมาณ ถ่านหินแล้ว 260,800 ล้านตัน • มี ค วามแข็ ง แกร่ ง ด้ า นอุ ต สาหกรรมการผลิ ต เครื่ อ งจั ก รกล อุตสาหกรรมพลังงานและอุตสาหกรรมการหลอมโลหะ

จุดอ่อน • เป็นมณฑลภาคกลางที่ไม่ติดทะเล ยังมีการติดต่อแลกเปลี่ยนกับ ต่างประเทศน้อย • เมื่อเทียบกับมณฑลซานตงและเสฉวนที่มีขนาดเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน พบว่า ระบบเศรษฐกิจของซานซียังไม่เปิดกว้างนัก การลงทุนจาก ต่างประเทศยังมีค่อนข้างน้อยมาก • กลยุทธ์การพัฒนาของซานซียังพึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก • คุณภาพบุคลากรโดยรวมยังไม่สามารถแข่งขันกับมณฑลภาคตะวันออก โดยเฉพาะแรงงานในอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูงยังต้องการ การพัฒนา

โอกาสของไทย • รั ฐ บาลซานซี ไ ด้ ใ ห้ ค วามสาคั ญในการดึ ง ดู ด นั ก ลงทุ น ต่ า งชาติ อย่างมาก โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม อาทิ เคมีถ่านหิน เครื่องจักรกล เทคโนโลยีชั้นสูง การท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมแปรรูปผลิตผล เกษตร • เป็นมณฑลที่มีกาลังซื้อพอสมควร จึงเป็นตลาดที่มีศักยภาพทั้งสินค้า อุปโภค สินค้าฟุม่ เฟือยรวมถึงการบริการ อาทิ การนวดไทย ตลอดจน การส่งเสริมให้ชาวซานซีไปท่องเที่ยวประเทศไทย

ความท้าทาย • ชาวซานซียังไม่ค่อยรู้จักและใกล้ชิดกับประเทศไทยมากนัก สินค้าไทย ที่จะมาตีตลาดซานซียังต้องใช้เวลาและความพยายามในการสร้าง ความนิยม


มณฑลเหอหนาน (Henan Province) • • • • •

มีแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุทอี่ ดุ มสมบูรณ์ทสี่ ดุ แห่งหนึง่ ของโลก มีปริมาณสารองแร่โมลิบดินมั มากเป็นอันดับ 1 ของจีน และยังเป็นแหล่งวัตถุดิบพลังงานที่สาคัญของจีน GDP ของมณฑลเหอหนานครองอันดับ 1 ในภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศ โดยสูงเป็นอันดับ 5 ของจีน เป็นฐานการผลิตรถเครน มีปริมาณการผลิตสูงเป็นอันดับ 1 ของจีน เป็นฐานการผลิตสินค้าเกษตรหลักของประเทศที่มีผลิตผลทางการเกษตรมากเป็นอันดับ ต้นๆ ของประเทศ มีจำ�นวนประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของจีน รองจากมณฑลกวางตุ้งและมณฑลซานตง

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

165,540 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 ของไทย) ใหญ่เป็นอันดับ 18 ของจีน 93.88 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) นครเจิ้งโจว (Zhengzhou) จีนกลาง จีนเหอหนาน พุทธมหายาน อิสลาม

เลขาธิการพรรคฯ ผู้ว่าการมณฑล ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายหลู จ่านกง (Lu Zhangong) นายกัว เกิงเม่า (Guo Gengmao) นายหลู จ่านกง (Lu Zhangong) นายเย่ ตงซง (Ye Dongsong) ฮั่น (98.8%) หุย มองโกล ถู่เจีย

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP GDP per Capita GDP Growth ทรัพยากรธรรมชาติ การค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวของการค้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 421.6 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) USD 4,487 (ไทย: USD 5,112) CPI 11.6% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก แร่ธาตุ ได้แก่ โมลิบดินัม เพิร์ลไลท์ อลูมินัมซิลิเกท ด่าง ทอง ไทเทเนียม USD 32,642 ล้าน มูลค่าการส่งออก 83.1% มูลค่าการนำ�เข้า เครื่องจักรกลไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ เทคโนโลยีชั้นสูง เสื้อผ้าและสิ่งทอ ผลิตภัณฑ์เกษตร เครื่องจักรกลไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ เทคโนโลยีชั้นสูง แผงวงจรไฟฟ้ารวม เครื่องมือโลหะ เยื่อกระดาษ

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.6% (ไทย: 3.8%) อาหาร อลูมิเนียม ถ่านหิน รถยนต์ และอะไหล่ เครื่องจักร เสื้อผ้าและ สิ่งทอ USD 19,240 ล้าน (+82.7%) USD 13,402 ล้าน (+83.5%) สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น รัสเซีย บราซิล สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา บราซิล ไต้หวัน อินเดีย

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 569.04 ล้าน เพิ่มขึ้น 2.8% ไทยเสียดุลการค้า โดยเหอหนานนำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 224.78 ล้าน ลดลง 8.2% และส่งออกไปไทย USD 344.26 ล้าน เพิ่มขึ้น 11.5% สินค้านำ�เข้าจากไทย ยางพารา โทรศัพท์ อะไหล่ยานยนต์ แป้งมันสาปะหลัง โพลีอาซีทอล แผง วงจรไฟฟ้ารวม สวิตช์วงจรไฟฟ้า โพลีเมอของเอทิลีน สินค้าส่งออกไปไทย เครื่องเงิน ผักแห้ง ทองเหลือง เครื่องใช้ในบ้าน อลูมิเนียม อาหารสัตว์ อัญมณี ธัญพืช เครื่องเทศ ธุรกิจสำ�คัญของไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำ�นวนคนไทย ประมาณ 38 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานเอกอัครราชทูต สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ททท. ณ กรุงปักกิ่ง/สนง.ส่งเสริมการค้า ในต่างประเทศ ณ นครซีอาน/สนง.เศรษฐกิจการลงทุน ณ นครเซี่ยงไฮ้/งานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“เหอหนาน” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • เคยเป็ น ที่ ตั้ ง ของเมื อ งหลวงในหลายราชวงศ์ จึ ง เป็ น ศู น ย์ ก ลาง วัฒนธรรมโบราณที่สำ�คัญแห่งหนึ่งของจีน • เป็นแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีการค้นพบทรัพยากรแร่ธาตุทั้งหมด 126 ชนิด โดยแร่ธาตุที่มี การสำ�รวจพบและทราบปริมาณที่แน่นอนแล้วมีจานวน 74 ชนิด อาทิ โมลิบดินัม (Molybdenum) (มีเหมืองแร่โมลิบดินัมที่ใหญ่ เป็นอันดับสองของโลก) อลูมินัมซิลิเกท (Aluminum Silicate) เพิร์ลไลท์ (Pearlite) ด่างจำ�พวกคาร์บอเนตและไบคาร์บอเนต (Trona) ทอง (มีปริมาณมากที่สุดรองจากมณฑลซานตง) และ ไทเทเนียม • เป็นแหล่งทรัพยากรถ่านหินที่สาคัญของประเทศ สามารถผลิต ถ่านหินได้ถึง 100 ล้านตันต่อปี มากเป็นอันดับสองของจีนและ เป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินที่สาคัญของจีน • มีสภาพภูมิอากาศเหมาะสมต่อการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เป็นฐาน การผลิตทางการเกษตรหลักของจีน โดยผลิตผลทางการเกษตร ที่ผลิตได้มากเป็นอันดับต้นของประเทศ ได้แก่ ข้าวสาลี ยาสูบ งา ถั่วลิสง ฝ้าย ปอกระเจา ข้าวโพด ถั่วเหลือง และแตงโม ผลิตผล ประเภทผลไม้และผลไม้แห้งที่ผลิตได้มาก ได้แก่ ลูกท้อ ลูกบ๊วย วอลนัท กีวี และพุทราแดง • มีจานวนประชากรมากและเป็นมณฑลที่กาลังพัฒนา จึงมีแรงงาน พอเพียงและต้นทุนการผลิตยังต่ำ�

จุดอ่อน • ตั้งอยู่ทางภาคกลางของจีนส่งผลให้ได้รับการพัฒนาช้ากว่ามณฑล ทางตะวันออกที่ติดทะเล • เป็นมณฑลที่มี GDP ต่อหัวค่อนข้างต่ำ� และมีกาลังซื้อไม่สูง

โอกาสของไทย • เหอหนานตั้งอยู่ในจุดที่เป็น”หัวใจ” ของจีน ตั้งแต่โบราณที่มีการ ทำ�ศึกแย่งชิงดินแดน จนมีสุภาษิตจีนที่ว่า “เต๋อจง หยวน เจ่อเต๋อ เทียนเซี่ย” ซึ่งหมายความว่า ผู้ใดสามารถพิชิตเหอหนานได้ ผู้นั้น ก็จะพิชิตได้ทั่วแผ่นดินจีน สะท้อนให้เห็นถึงความสาคัญของเหอหนาน ที่มีมาแต่ในอดีต ในปัจจุบัน เหอหนานยังคงความสาคัญและเป็น พื้นที่โอกาสสาหรับการลงทุน ซึ่งเมื่อพิจารณาจากสภาวการณ์ ปัจจุบันก็เหมาะกับการลงทุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากด้วยบริเวณ ภาคตะวันออกและภาคใต้ของจีนย้ายโรงงานและอุตสาหกรรมการ ผลิตเข้าสู่ตอนกลางของจีนที่มีต้นทุนการผลิตถูกกว่ามาก

ความท้าทาย • ยังไม่ได้เปิดสู่ต่างชาติมากนัก การลงทุนจากต่างประเทศยังน้อย ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่รู้จักและยอมรับสินค้าต่างชาติรวมถึง สินค้าไทยเท่าที่ควร • ไม่เป็นที่รู้จักของนักธุรกิจไทย เนื่องจากตั้งอยู่ห่างไกลจากประเทศไทย โดยยังไม่มีสายการบินตรงระหว่างไทยกับเหอหนาน


มณฑลหูเป่ย (Hubei Province) • เป็นที่ตั้งของเขื่อนสามโตรกซึ่งเป็นเขื่อนผลิตกระแสไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก • มีทรัพยากรทางธรรมชาติจำ�นวนมาก อาทิ แร่ธาตุ 136 ชนิด และก๊าซธรรมชาติมาก เป็นอันดับต้นๆ ของจีน • มีนครอูฮ่ นั่ เป็นเมืองเอกขนาดใหญ่ทปี่ ระกอบด้วย 3 เขต อยูส่ องฟากของแม่น�้ำ แยงซีเกียง เป็นชุมทางการขนส่งทางน้ำ�และมีทางรางรถไฟที่ยาวที่สุดในจีนตอนกลางเชื่อมต่อ เมืองหลักของจีน อาทิ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กว่างโจว ฉงชิ่ง เฉิงตู • มีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและมีนักศึกษาต่างชาติจำ�นวนมาก

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

185,900 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 36% ของไทย) ใหญ่เป็นอันดับ 14 ของจีน 57.58 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) อู่ฮั่น (Wuhan) จีนกลาง จีนซีหนาน จีนกั้น พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า อิสลาม

เลขาธิการพรรคฯ ผู้ว่าการมณฑล ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายหลี่ หงจง (Li Hongzhong) นายหวัง กั๋วเซิง(Wang Guosheng) นายหลี่ หงจง (Li Hongzhong) นายหยาง ซง (Yang Song) ฮั่น (95.6%) ถู่เจีย (3.7%) แม้ว (0.4%)

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP GDP per Capita GDP Growth ทรัพยากรธรรมชาติ การค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวของการค้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 303.3 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) USD 5,283 (ไทย: USD 5,112) CPI 13.8% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก ถ่านหิน เหล็ก ฟอสฟอรัส หินปูน ทองแดง เงิน ทรัพยากรน้ำ�และ ก๊าซธรรมชาติ USD 33,519 ล้าน มูลค่าการส่งออก 29.1% มูลค่าการนำ�เข้า เครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ เทคโนโลยีชั้นสูง เรือ เสื้อผ้า สินค้าเกษตร วัสดุเหล็กกล้า รถยนต์ และชิ้นส่วนรถยนต์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ แร่เหล็ก ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชั้นสูง แผงวงจรรวม ชิ้นส่วนรถยนต์

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.8% (ไทย: 3.8%) รถยนต์ เครื่องจักรกล เหล็ก น้ำ�มัน ถ่านหิน พลังงานไฟฟ้า อาหารแปรรูป อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ USD 19,535 ล้าน (+35.3%) USD 13,984 ล้าน (+21.5%) สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา อาเซียน ญี่ปุ่น ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา อาเซียน

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 512.82 ล้าน เพิ่มขึ้น 43.8% ไทยเสียดุลการค้า โดยหูเป่ยนำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 221.62 ล้าน เพิ่มขึ้น 69.5% และส่งออกไปไทย USD 291.2 ล้าน เพิ่มขึ้น 28.8% สินค้านำ�เข้าจากไทย อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติและชิ้นส่วน แผงวงจรรวม เครื่องปรับอากาศ ยางพารา ชิ้นส่วนอะไหล่รถยนต์ พลาสติก โทรศัพท์ มันสาปะหลัง สินค้าส่งออกไปไทย ผัก ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์เคมีอนินทรีย์ เหล็กกล้า รถจักรสำ�หรับขนย้ายสินค้า เหล็ก เครื่องผลิตไฟฟ้า ธุรกิจสำ�คัญของไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ผลิตอาหารสัตว์ที่เมืองเซียงฝาน ห้างค้าปลีก Lotus) บ.Summit Auto Seats (ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์) จำ�นวนคนไทย 189 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานเอกอัครราชทูต สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง/สนง.เศรษฐกิจการลงทุน ททท. ณ นครเซี่ยงไฮ้/สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ งานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“หูเป่ย” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • เป็นแหล่งทรัพยากรป่าไม้ติดอันดับของประเทศ อุดมไปด้วยพืช เศรษฐกิจ อาทิ ต้นน้ำ�มันถง ต้นน้ำ�มันชา • เป็น “อู่ข้าวอู่น้ำ�” ของประเทศจีน เป็นฐานการผลิตธัญพืชและ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ� มีศักยภาพในการผลิตฝ้ายและข้าวเปลือก • มีโครงสร้างพื้นฐานเกื้อกูลต่ออุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ ปัจจุบัน เป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน เป็นฐาน การผลิตของกลุ่มตงเฟิง มอเตอร์ (DongFeng Motor Corp) และ บ.Aeolux Automotives และฐานการผลิตของอุตสาหกรรม การตกแต่งรถยนต์ การผลิตอุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ • มีเส้นทางการคมนาคมทางน้ำ�ที่สะดวก มีท่าเรือขนาดใหญ่และเก่า แก่ของจีน เป็นเส้นทางเดินเรือเพื่อส่งสินค้าไปยังญี่ปุ่นและฮ่องกง ท่าเรือที่นครอู่ฮั่นสามารถรองรับการขนถ่ายสินค้าได้ถึง 100 ล้าน ตันต่อปี • โครงการพั ฒ นาทางด้ า นอุ ต สาหกรรมที่ มี มู ล ค่ า ระดั บ แสนล้ า น หยวน อาทิ อุตสาหกรรมรถยนต์ เหล็ก เทคโนโลยีสารสนเทศ

จุดอ่อน • ความเหลื่อมล้าระหว่างเมืองภายในมณฑลค่อนข้างสูง เนื่องจาก นิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ล้วนกระจุกตัวที่นครอู่ฮั่นและเมืองริมแม่น้ำ� แยงซีเกียง รัฐบาลเน้นให้ความสาคัญกับการสร้างระบบสาธารณูปโภค ในเมืองดังกล่าว • ยังไม่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติมากนัก เมื่อเทียบกับ มณฑลทางภาคตะวันออกที่ติดทะเล • เป็นมณฑลที่ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศ ไม่มีพรมแดนที่ติดกับ ต่างประเทศและห่างจากทะเล ส่งผลให้ต้นทุนในการขนส่งสินค้า ระหว่างประเทศสูงกว่าเมืองท่าอื่น ๆ

โอกาสของไทย • เป็นฐานของการผลิตที่สาคัญของจีนครอบคลุมทั้งด้านอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม ผู้ประกอบการไทยสามารถใช้ศักยภาพของพื้นที่ และความสะดวกของการขนส่งภายในประเทศที่พร้อมสรรพทั้ง ทางน้ำ� ทางถนน และทางรถไฟ ในการลงทุนและการกระจาย สินค้า • ได้รับการผลักดันทางด้านเศรษฐกิจจากรัฐบาลจีนด้วย นโยบาย กระตุ้ น การลงทุ น จากต่ า งประเทศเพื่ อ เพิ่ ม ศั ก ยภาพทางด้ า น เศรษฐกิจบริเวณภาคกลางและภาคตะวันตกของจีน เป็นโอกาส สำ�คัญที่ธุรกิจไทยจะสามารถขยายช่องทางและโอกาสการเข้ามา ลงทุนในมณฑลหูเป่ย

ความท้าทาย • ผู้ประกอบการไทยควรทำ�การตลาดสินค้าไทยอย่างต่อเนื่องเพื่อ สร้างความนิยมในกลุ่มผู้บริโภคชาวหูเป่ย


มณฑลชิงไห่ (Qinghai Province) • เป็นมณฑลที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ได้รับสมญานามว่าเป็น “แหล่งขุมทรัพย์ของจีน” • อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรน้ำ� เป็นต้นกำ�เนิดของแม่น้ำ�เหลือง แม่น้ำ�แยงซีเกียง และแม่น้ำ�หลานชาง (แม่น้ำ�โขง) และมีทะเลสาบน้ำ�เค็มที่ใหญ่ที่สุดในจีน • มีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์กว้างใหญ่ นับเป็นมณฑลที่มีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ที่สุดหนึ่งในสี่ของจีน • เป็นมณฑลที่ผลิตสมุนไพรถั่งเช่ามากที่สุดในจีน โดยปริมาณผลิตครองสัดส่วน ร้อยละ 70 ของจีน

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

721,000 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 1.4 เท่าของไทย) เลขาธิการพรรคฯ ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของจีน ผู้ว่าการมณฑล 5.68 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) ปธ.สภาผู้แทน ปชช. นครซีหนิง (Xining) ปธ.สภาที่ปรึกษา จีนกลาง จีนชิงไห่ ทิเบต ชนชาติหลัก พุทธมหายาน อิสลาม ลัทธิเต๋า คริสต์

นายเฉียง เว่ย (Qiang Wei) นายลั่ว ฮุ่ยหนิง (Luo Huining) นายเฉียง เว่ย (Qiang Wei) นายเหริน ชิงเจีย (Ren Qingjia) ฮั่น (54%) ทิเบต (20.8%) หุย (16%) ถู่(4%) ซาลาร์ (1.8%) มองโกล (1.8%)

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP USD 25.3 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) GDP per Capita USD 4,473 (ไทย: USD 5,112) CPI GDP Growth 13.5% (ไทย: 0.1%) อัตราค่าแรงขั้นต่า ทรัพยากรธรรมชาติ แร่โลหะ อาทิ โพแทสเซียม โซเดียม อุตสาหกรรมหลัก แมกนีเซียม ลิเธียม การค้ากับต่างประเทศ USD 924 ล้าน มูลค่าการส่งออก การขยายตัวของการค้า 17.1% มูลค่าการนำ�เข้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ ผ้าขนแกะแคชเมียร์ สิ่งทอ โลหะ ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ เหล็กผสมซิลิคอน เครื่องแต่งกาย สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ ออกไซด์ของอลูมิเนียม (alumina) ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน/ 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 6.1% (ไทย: 3.8%) 750-770 หยวนต่อเดือน เกษตรกรรม ปศุสัตว์ เคมี เกลือ โลหะ ที่มิใช่เหล็ก การผลิตไฟฟ้า การขุด เจาะน้ำ�มันและก๊าซธรรมชาติ USD 662 ล้าน (+41.9%) USD 262 ล้าน (-18.8%) ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ เยอรมนี ฮ่องกง ออสเตรเลีย อังกฤษ ออสเตรเลีย เยอรมนี สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น รัสเซีย

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 5.03 ล้าน เพิ่มขึ้น 580% ไทยได้ดุลการค้า โดยชิงไห่นำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 2.61 ล้าน เพิ่มขึ้น 20.8 เท่า และส่งออกไปไทย USD 2.42 ล้าน เพิ่มขึ้น 2.9 เท่า สินค้านำ�เข้าจากไทย แผ่นบอร์ดพลาสติกที่ไม่ใช่โฟม ยางพารา พลาสติกเส้น สินค้าส่งออกไปไทย เหล็กผสม ปลาแช่แข็ง โลหะที่ไม่อยู่ในกลุ่มเหล็ก เสื้อผ้า แร่ใยหิน อุปกรณ์วาดเขียน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานเอกอัครราชทูต สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง/สนง. ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง/ททท. ณ นครเฉิงตู/งานที่ปรึกษาการศุลกากรประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว/คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)


“ชิงไห่” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ จนได้รับสมญานามว่า “แหล่ง ขุมทรัพย์ของจีน” มีการค้นพบทรัพยากรแร่ธาตุแล้วทั้งสิ้น 120 ชนิด ที่สาคัญ อาทิ โพแทสเซียม โซเดียม แมกนีเซียม ลิเธียม และยั ง มี ป ริ ม าณแร่ โ พแทสเซี ย มคาร์ บ อเนตสารองในบริ เ วณ ทะเลสาบน้ำ�เค็มฉาเอ่อฮั่น (Qarhan) มากถึง 145 ล้านตัน คิดเป็น สัดส่วนกว่าร้อยละ 97 ของทั้งจีน • มีทะเลสาบน้ำ�เค็ม 30 กว่าแห่ง มีปริมาณเกลือสะสมรวมกว่า 70,000 ล้านตัน • เป็นต้นกำ�เนิดของแม่น้าเหลือง แม่น้ำ�แยงซีเกียง และแม่น้ำ�หลานชาง อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรน้ำ� มีแม่น้ำ�ทั้งสิ้น 108 สาย มีกำ�ลัง การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานน้ำ�ปีละกว่า 18 ล้านกิโลวัตต์ • มีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์กว้างใหญ่ติดอันดับ 1 ใน 4 ของจีน

จุดอ่อน • สภาพอากาศรุนแรงเนื่องจากภูมิประเทศเป็นที่ราบสูง ภูมิอากาศ มีลักษณะ 5 ประการคือ (1) ได้รับแสงอาทิตย์มากเป็นพิเศษ (2) อุณหภูมิค่อนข้างต่ำ� โดยอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีประมาณ -5.7 – 8.5 องศาเซลเซียส (3) ปริมาณน้ำ�ฝนน้อย โดยปริมาณน้าฝนเฉลี่ยทั้งปี น้อยกว่า 400 มิลลิเมตร (4) ฤดูฝนและฤดูร้อนจะอยู่ในช่วงเวลา เดียวกัน (พฤษภาคมถึงกันยายนของทุกปี) โดยเป็นช่วงที่มีอุณหภูมิสูง ประกอบกับมีฝนตกชุก (5) ประสบกับภัยธรรมชาติเป็นประจำ�จาก พายุลูกเห็บ พายุหิมะ รวมถึงสภาพอากาศแห้งและลมพัดแรง ส่งผล ทำ�ให้มณฑลซิงไห่ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างทั่วถึง • กาลังซื้อของประชาชนยังอยู่ในระดับต่ำ� • สาธารณูปโภคสาหรับการลงทุนยังไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะระบบ การคมนาคมและขนส่ง

โอกาสของไทย • เป็นพื้นที่หนึ่งในแผนการบุกเบิกพัฒนาภาคตะวันตกของรัฐบาลจีน ได้รับการสนับสนุนทางนโยบายอย่างมากโดยเฉพาะอุตสาหกรรม สาขาพลังงานทดแทน การขุดหินแร่ การท่องเที่ยวและการผลิตยา • เป็นโอกาสสาหรับการลงทุนและการค้าเนื่องจากมีค่าแรงงานและ ค่าเช่าที่ดินถูกกว่าทางมณฑลฝั่งตะวันออกถึงร้อยละ 30-40 • เป็นตลาดในการจัดหาสินค้าสาหรับผู้ประกอบการด้านสมุนไพร และแพทย์แผนจีนในไทย เนือ่ งจากชิงไห่มสี มุนไพรหลากหลายชนิด ที่มีศักยภาพในการส่งออก เช่น ถั่งเช่า ชะเอม ต้นโสม เป็นต้น

ความท้าทาย • เป็นตลาดใหม่สาหรับไทย ชาวชิงไห่ยังไม่รู้จักสินค้าไทยมากนัก • ระดับการศึกษาของประชาชนในท้องถิ่นยังอยู่ในระดับต่า อาจมี ความลาบากในการจ้างงานที่ต้องใช้ทักษะความสามารถที่สูง


เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน (Inner Mongolia Autonomous Region) • มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน • อุดมไปด้วยทรัพยากรแร่ธาตุที่มีความสาคัญทางเศรษฐกิจหลายชนิด โดยเป็นแหล่งผลิตสำ�คัญของโลกสาหรับแร่หายากซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบสำ�คัญ ในการผลิตอุปกรณ์ไฮเทคต่าง ๆ • มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดในจีนและมีทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 73.3 ของปริมาณทุ่งหญ้าทั่วประเทศจีน ทาให้มองโกเลียในเป็นฐานการเกษตรและปศุสัตว์ ที่สาคัญของจีน

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

1,183,000 ตร.กม. (ใหญ่เป็น 2.3 เท่าของไทย) ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของจีน 24.82 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) นครฮูเหอเฮ่าเท่อ (Hohhot) จีนกลาง จีนจิ้น จีนมองโกล พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์ อิสลาม

เลขาธิการพรรคฯ ผู้ว่าการมณฑล ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายหู ชุนหวา (Hu Chunhua) นายปา เท่อเอ่อร์ (Ba Te’er) นายหู ชุนหวา (Hu Chunhua) ฮั่น (79%) มองโกล (17%) แมนจู หุย ฮั่น (79%) มองโกล (17%) แมนจู หุย

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP USD 220.5 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) GDP per Capita USD 8,905 (ไทย: USD 5,112) CPI GDP Growth 14.3% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก ทรัพยากรธรรมชาติ ถ่านหิน น้ำ�มัน ก๊าซธรรมชาติ แร่โลหะหายาก (Rare Earth) สังกะสี ฟลูออไรด์ การค้ากับต่างประเทศ USD 11,939 ล้าน มูลค่าการส่งออก การขยายตัวของการค้า 39.1% มูลค่าการนำ�เข้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ เครื่องจักร และอิเล็กทรอนิกส์ ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ โลหะผสมจากเหล็ก โลหะหายาก ชิ้นส่วนอากาศยาน สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ ถ่านหิน แร่เหล็ก ไม้ ทองแดง ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน/ 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.8% (ไทย: 3.8%) พลังงาน โลหะหลอม เครื่องจักร เคมี ผลผลิตแปรรูปทางการเกษตร ปศุสัตว์ USD 4,687 ล้าน (+40.6%) USD 7,252 ล้าน (+38.2%) มองโกเลีย ญี่ปุ่น รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย รัสเซีย มองโกเลีย สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 169.26 ล้าน เพิ่มขึ้น 70.4% ไทยเสียดุลการค้า โดยมองโกเลียในนำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 13.35 ล้าน เพิ่มขึ้น 44.2% และส่งออกไปไทย USD 155.92 ล้าน เพิ่มขึ้น 73.1% สินค้านำ�เข้าจากไทย พลาสติก ข้าว ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เครื่องจักรอำ�นวยความสะดวกในการขนย้าย โพลีเอทิลีน สินค้าส่งออกไปไทย เหล็กกล้ารอบสูง รางและเหล็กประกอบราง ก๊าซไฮโดรเจน แคลเซียมคาร์ไบด์ ธุรกิจสำ�คัญของไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ (อาหารสัตว์และเนื้อไก่) พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานเอกอัครราชทูต สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ททท. ณ กรุงปักกิ่ง/สนง.ส่งเสริมการค้า ในต่างประเทศ ณ นครซีอาน/งานที่ปรึกษาการศุลกากรประจาสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว/คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)


“มองโกเลียใน” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ทิศเหนือติดกับประเทศมองโกเลีย และรัสเซีย ขณะที่ทิศใต้มีพรมแดนติดกับมณฑลต่างๆ รวม 8 มณฑล ได้แก่ มณฑลเฮยหลงเจียง จี๋หลิน เหลียวหนิง เหอเป่ย ซานซี ส่านซี กานซู และเขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย ทำ�ให้มองโกเลียใน เป็นประตูเข้า-ออกประเทศในภาคเหนือของจีน • มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ที่ราบสูง “เอ้อเอ๋อตัวซี” ทาง ทิศเหนือของมองโกเลียในเป็นพื้นที่ที่มีการทับถมของตะกอนจึงมี ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรแร่ธาตุมาก โดยเฉพาะถ่านหิน น้ำ�มัน และแร่โลหะหายาก • เป็นฐานผลิตพลังงานที่สาคัญในแผนการพัฒนาของรัฐบาลจีนโดย สามารถผลิตพลังงานไฟฟ้าจากลมได้มากที่สุดในประเทศ • เป็นฐานฟาร์มปศุสัตว์และฐานเกษตรกรรมที่สาคัญของจีน เป็นแหล่ง ผลิตนมวัว ขนแกะแคชเมียร์ และข้าวสาร

จุดอ่อน • เป็นเขตที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่มาก รัฐบาลกลางจึงดาเนินมาตรการ ต่างๆ อย่างระมัดระวัง • สภาพอากาศแตกต่างกันมากระหว่างฤดูร้อนและฤดูหนาว ฤดูร้อน มีระยะเวลาสั้นและอากาศร้อนรุนแรง ขณะที่ฤดูหนาวมีอากาศหนาว รุนแรง โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี -1 ถึง 10 องศาเซลเซียส • ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา การใช้พื้นที่โดยไม่คานึงถึงสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้มองโกเลียในประสบกับปัญหา อาทิ ฝนไม่ตกต้องตาม ฤดูกาล การกัดกร่อนของลมทะเลทราย การเหือดแห้งของลาน้ำ� และการขยายตัวของพื้นที่ทะเลทราย • ขาดความพร้อมด้านสาธารณูปโภค ระบบการสื่อสารและโทรคมนาคม ระบบการขนส่งยังไม่ครอบคลุม • กำ�ลังซื้อของประชาชนอยู่ในระดับกลาง

โอกาสของไทย • มีศักยภาพสูงสำ�หรับการเป็นแหล่งจัดหาวัตถุดิบอุตสาหกรรม เช่น ยางพารา เม็ดพลาสติก เป็นต้น • รัฐบาลจีนมีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาพลังงานทดแทน วิสาหกิจ ที่มีเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถเข้าไปลงทุนในมองโกเลียในโดย เฉพาะด้านพลังงานลม • การลงทุนด้านสิ่งทอจากขนแพะแคชเมียร์เป็นอีกหนึ่งช่องทางการ ลงทุนที่น่าสนใจ เนื่องจากขนแกะในมองโกเลียในมีชื่อเสียงทั้งด้าน คุณภาพและความสวยงาม ได้สมญานามว่าเป็น ”ขนแกะอันดับหนึ่ง ของจีน” • ต้นทุนทางการลงทุนของมองโกเลียในยังต่ากว่ามณฑลอื่นๆ ทาง ภาคกลางและภาคตะวันออก

ความท้าทาย • ตลาดยังไม่ค่อยเปิดเมื่อเทียบกับมณฑลอื่น นักลงทุนต่างชาติอาจ พบข้อจากัดในการลงทุนและทาธุรกิจค่อนข้างมาก • ความไม่คุ้นเคยกับรูปแบบวิถีชีวิตของประชาชน สภาพแวดล้อม และสภาพอากาศอาจส่ ง ผลต่ อ การดารงชี วิ ต และดำ � เนิ น ธุ ร กิ จ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูงขนาดกว้างใหญ่ ประกอบกับ บางส่วนของพื้นที่มีภูเขาสกัดกั้นลมจากชายฝั่งทำ�ให้ได้รับอิทธิพล จากลมมรสุมภาคพื้นทวีป


เขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ (Xinjiang Uygur Autonomous Region) • เป็นเขตปกครองระดับมณฑลที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดของจีน อุดมไปด้วยทรัพยากร ธรรมชาติที่หลากหลาย อาทิ เชื้อเพลิง ผลไม้แถบทะเลทราย • มีสถานที่ท่องเที่ยวตามรอยเส้นทางสายไหม และการเผยแผ่ศาสนาที่สำ�คัญของโลก • เป็น 1 ใน 2 เขตการปกครองตนเองที่มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม • รัฐบาลจีนดำ�เนินนโยบายกับซินเจียงด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เนื่องจากมีกระแสต้องการจะแยกตัวเป็นรัฐอิสระสูง

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 1,660,00 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 3 เท่าของไทย) เลขาธิการพรรคฯ ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของจีน ผู้ว่าการมณฑล ประชากร 22.09 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) ปธ.สภาผู้แทน ปชช. นครเอก นครอุรุมชี (Urumqi) ปธ.สภาที่ปรึกษา ภาษา จีนกลาง อุยกูร์ ชนชาติหลัก ศาสนา อิสลาม

นายหวัง ชุนเสียน (Wang Chunxian) นายหนูเอ่อ ไป๋เค่อลี่ (Nuer Baikeli) นายอ้ายลี่เกิง อีหมิงปาไห่ (Ailigeng Yimingbahai) นายอ้ายซือไห่ถี เค่อหลี่มู่ไป้ Aisihaiti Kelimubai) อุยกูร์ ฮั่น มองโกล หุย

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP GDP per Capita GDP Growth ทรัพยากรธรรมชาติ การค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวของการค้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 101.7 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) USD 4,633 (ไทย: USD 5,112) CPI 12% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก น้ำ�มันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน แร่ทองแดง ทองคา แร่เหล็ก พลังงานแสงอาทิตย์ USD 22,822 ล้าน มูลค่าการส่งออก 32.2% มูลค่าการนำ�เข้า ผลิตภัณฑ์เกษตร สิ่งทอ เสื้อผ้า ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ รองเท้า ปูนซีเมนต์ น้ำ�มันดิบ หินแร่เหล็ก เครื่องใช้ไฟฟ้า ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ และอิเล็กทรอนิกส์

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน/ 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.9% (ไทย: 3.8%) อุตสาหกรรมปิโตรเคมี เหล็กกล้า ไฟฟ้า สิ่งทอ อาหาร อุตสาหกรรม เกษตร การท่องเที่ยว USD 16,829 ล้าน (+29.8%) USD 5,993 ล้าน (+44.0%) คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน รัสเซีย สหภาพยุโรป อาเซียน คาซัคสถาน รัสเซีย สหภาพยุโรป ชิลี

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 33.65 ล้าน ไทยเสียดุลการค้า โดยซินเจียงนำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 0.22 ล้าน ลดลง 27.8% และส่งออกไปไทย USD 33.43 ล้าน เพิ่มขึ้น 55.5% สินค้านำ�เข้าจากไทย ยางพารา น้ำ�ตาล ปูนซีเมนต์ ถ่านไฟฟ้า ทุเรียน ขนุน สินค้าส่งออกไปไทย ปิโตรเคมี โซดาไฟ ผลไม้ (ส้ม องุ่น มะเขือเทศ แอปเปิล) ธุรกิจสำ�คัญของไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานเอกอัครราชทูต สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง/สนง.ส่งเสริมการค้า ในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง/ททท. ณ นครเฉิงตู/งานที่ปรึกษาการศุลกากรประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว/คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)


“ซินเจียง” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • ตั้งอยู่ติดกับเอเชียกลางและประเทศรัสเซียซึ่งเป็นทางเชื่อมไปยัง ทวีปยุโรป และมีแนวโน้มที่จะเป็นจุดกระจายสินค้าเข้าออก เอเชีย-ยุโรป • มีทรัพยากรธรรมชาติจานวนมาก โดยเฉพาะน้ามันและก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีปริมาณคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 และ 34 ของจีน มากเป็น อันดับสามและอันดับหกของจีน • มีเทคโนโลยีพลังงานสะอาด อาทิ พลังลมและแสงอาทิตย์ • มีผลิตผลทางการเกษตรมากมายหลายชนิด ซึ่งมีคุณภาพดีและได้ รับความนิยมจากทั้งชาวจีนและชาวต่างชาติ โอกาสของไทย • เมื่อเทียบกับมณฑลทางภาคตะวันออกและภาคกลาง ซินเจียงมีค่าแรง ขัน้ ต่�ำ และค่าเช่าบ้าน/สานักงานทีต่ �่ำ กว่า อีกทัง้ รัฐบาลจีนมีนโยบาย สนับสนุนการลงทุนในซินเจียง • ซินเจียงติดกับเอเชียกลาง เป็นแหล่งลงทุนและเหมาะกับการสร้าง โรงงานสาหรับนักลงทุนไทยที่จะเข้ามาเจาะตลาดเอเชียกลางและ ประเทศรัสเซียโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล

จุดอ่อน • รัฐบาลกลางควบคุมดูแลในด้านต่างๆ ของซินเจียงอย่างใกล้ชิด ทำ�ให้ รัฐบาลท้องถิ่นไม่สามารถดำ�เนินนโยบายสนับสนุนการลงทุนและ พัฒนาเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่อง • แม้ว่าซินเจียงจะมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย แต่ระบบสาธารณูปโภค พื้นฐานยังไม่สมบูรณ์ การใช้ทรัพยากรยังขาดประสิทธิผลและ ประสิทธิภาพ • มูลค่าการผลิตของซินเจียงยังเป็นสัดส่วนน้อยในจีน การพัฒนา เศรษฐกิจพึ่งพาทรัพยากรโดยไม่ได้คำ�นึงถึงความเป็นมิตรต่อสิ่ง แวดล้อมเท่าที่ควร ผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ยังเป็นผลิตผลชั้นปฐมภูมิ ไม่ได้ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง • รัฐบาลท้องถิ่นบริหารงานยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ ทำ�ให้การจด ทะเบียนของบริษัทต่างชาติยากและมีปัญหากว่ามณฑลอื่นๆ ความท้าทาย • ซินเจียงห่างจากประเทศไทยมาก การคมนาคมขนส่งจากประเทศไทย ใช้ระยะเวลานาน ส่งผลให้ต้นทุนการขนส่งสูง และสินค้าอาจเน่า เสียได้ง่าย • ชาวซินเจียงยังไม่มีความใกล้ชิดกับคนไทยและประเทศไทย รู้จัก และเข้าใจประเทศไทยน้อย หากจะเจาะตลาดที่ ซินเจียงจะต้องใช้ ความพยายามอย่างมาก


เขตปกครองตนเองทิเบต (Tibet Autonomous Region) • •

ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น “หลังคาโลก” มีระดับความสูงจากน้าทะเลโดยเฉลี่ย 4,572 เมตร รัฐบาลให้ความสาคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจทิเบตเป็นอย่างมาก โดยได้จัดตั้งเขต “Lhasa Economic and Technological Development Zone” เพื่อพัฒนา เป็นเขตอุตสาหกรรม เขตการค้าและเขตบริการขั้นพื้นฐานครบวงจร รวมทั้ง เป็นเขตเทคโนโลยีชั้นสูงที่นำ�ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในพื้นที่มาพัฒนาและแปรรูป

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 1,202,230 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 2.3 เท่าของไทย) เลขาธิการพรรคฯ ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน ผู้ว่าการมณฑล ประชากร 2.81 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) ปธ.สภาผู้แทน ปชช. นครเอก นครลาซา (Lhasa) ปธ.สภาที่ปรึกษา ภาษา ทิเบต จีนกลาง ชนชาติหลัก ศาสนา พุทธมหายาน

นายเฉิน ฉวนกั๋ว (Chen Quanguo) นายไป๋หม่าชื่อหลิน (Baimachilin) นายเซี่ยงปาผิงซั่ว (Xiang ba ping cuo) นายพ้าปาลา เก๋อเล่หล่างเจี๊ย (Pabala Gelielangjie) ทิเบต ฮั่น หุย

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP GDP per Capita GDP Growth ทรัพยากรธรรมชาติ การค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวของการค้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 9.4 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) USD 3,108 (ไทย: USD 5,112) CPI 12.7% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก พลังงานน้ำ� น้ำ�มัน แร่ธาตุต่าง ๆ (อาทิ แร่โครเมียมที่มีมากถึง 40% ของจีน แร่ลิเธียม แร่ทองแดง) USD 1,358.61 ล้าน มูลค่าการส่งออก 62.5% มูลค่าการนำ�เข้า สิ่งทอ รองเท้ายาง ผลิตภัณฑ์ทาง ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ การเกษตร สมุนไพร เบียร์ น้าแร่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรกล ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ ผลิตภัณฑ์ไม้

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน/ 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.0% (ไทย: 3.8%) อุตสาหกรรมผลิตสมุนไพร อุตสาหกรรมแร่ธาตุ อุตสาหกรรม หัตถกรรม อุตสาหกรรมอาหารปลอด สารพิษ USD 1,183.1 ล้าน (+53.4%) USD 175.5 ล้าน (+170.0%) เนปาล ฮ่องกง อินเดีย อิตาลี พม่า ญี่ปุ่น เนปาล อิตาลี

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 210,364 ไทยเสียดุลการค้า โดยเป็นการส่งออกจากทิเบตไปไทยทั้งหมด ไม่มีการนำ�เข้าสินค้าจากประเทศไทย (ปี 2553 ไม่ปรากฏสถิติการค้าขายระหว่างทิเบตกับไท) สินค้านำ�เข้าจากไทย ไฮดราซีน ธุรกิจสำ�คัญของไทย บ.ECI-Metro พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานเอกอัครราชทูต สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง/สนง.ส่งเสริมการค้า ในต่างประเทศ ณ นครคุนหมิง/ททท. ณ นครเฉิงตู/งานที่ปรึกษาการศุลกากรประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว/คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)


“ทิเบต” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • เป็นพื้นที่ตอนในที่เต็มไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ แร่ธาตุต่างๆ ที่อุดมสมบูรณ์ ที่ตั้งบนที่ราบสูงเฉลี่ย 4,000 ม.ขึ้นไป ทำ�ให้มี ลักษณะพิเศษ อาทิ ความอุดมสมบูรณ์ของสมุนไพรหลายชนิดซึ่ง เหมาะกับการนำ�มาทำ�เป็นยาแผนจีนและยาแผนตะวันตก • มี ทิ ว ทั ศ น์ ที่ ส วยงามและวั ฒ นธรรมที่ เ ป็ น เอกลั ก ษณ์ เ ฉพาะตน ดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ และนักท่องเที่ยวจำ�นวนมาก • เป็ น แหล่ ง กาเนิ ด ของแม่ น้ำ � หลายสายและเป็ น ที่ ตั้ ง ของภู เ ขา หิมาลัย มีแหล่งน้ำ�แร่สามารถนามาจำ�หน่ายและใช้ประโยชน์ได้ หลากหลายรูปแบบ ปัจจุบัน ทิเบตผลิตเบียร์และน้าแร่แบรนด์ของ ตัวเองซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากทั้งจากชาวจีนและชาวต่างชาติ

จุดอ่อน • เป็นเขตที่มีชนกลุ่มน้อยซึ่งมีปัญหาอย่างมากกับรัฐบาลจีน ส่งผลให้ รัฐบาลจีนมีความระมัดระวังใการเปิดให้ต่างชาติเข้าไปปฏิสัมพันธ์ หรือทำ�การค้าการลงทุนในทิเบต • GDP ของเขตทิเบตยังไม่สูงมาก เป็นพื้นที่ที่ยังต้องการ การลงทุน พัฒนาทางด้านสาธารณูปโภคพื้นฐานอีกมาก ประชาชนมีรายได้ต่ำ� ผู้บริโภคมีกาลังซื้อต่ำ� ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงพึ่งพาการค้าแบบ แลกเปลี่ยนสินค้าในตลาด • ระบบการคมนาคมและการสื่อสารยังล้าหลังมาก การขนส่งระหว่าง ทิเบตกับภายนอกยังไม่สะดวกทาให้ต้นทุนการขนส่งสูง • ประชาชนยังไม่ค่อยเปิดรับสินค้าจากต่างถิ่น

โอกาสของไทย • ปัจจุบัน รัฐบาลกลางของจีนอยู่ในระหว่างการใช้นโยบายสนับสนุน การพัฒนาทิเบตในทุกๆ ด้าน รวมถึงการยกระดับคุณภาพชีวิตของ ชาวทิเบตให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเพื่อลดช่องว่างของการพัฒนา เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นๆ ของจีน ผู้ประกอบการและนักลงทุนที่มี ความเชี่ยวชาญในการพัฒนา และยกระดับคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ สามารถลองมาปักธงในทิเบตได้

ความท้าทาย • ความท้าทายของสภาพที่ตั้ง ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และประชากร ทำ�ให้การเข้าถึงทิเบตต้องใช้ความเชี่ยวชาญและความรู้เฉพาะด้าน นอกเหนือจากการดาเนินธุรกิจและการค้า ซึ่งต่างจากการลงทุน ในมณฑลอื่นๆ ของจีน


มณฑลกวางตุ้ง (Guangdong Province)

• • • • •

เป็นมณฑลที่มีประชากรและมูลค่า GDP มากที่สุดในจีน มีเขตเศรษฐกิจพิเศษ 3 แห่งที่เมืองเซินเจิ้น จูไห่และซัวเถา ร้อยละ 80 ของผักและผลไม้จากไทยถูกส่งไปที่ตลาดขายส่งผลไม้เจียงหนาน นครกว่างโจว ก่อนกระจายไปทั่วจีน มีการจัดงานแสดงสินค้านำ�เข้าและส่งออก (canton fair) ที่ใหญ่ที่สุดในจีน โดยจัดขึ้นปีละ 2 ครั้ง ที่นครกว่างโจวในช่วงเดือนเมษายนและตุลาคม มหาวิทยาลัยภาษาและการค้าต่างประเทศมณฑลกวางตุ้งมีภาควิชาภาษาไทย

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

179,756.5 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 35% ของไทย) ใหญ่เป็นอันดับ 15 ของจีน 104.30 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) นครกว่างโจว (Guangzhou) จีนกลาง จีนกวางตุ้ง จีนแต้จิ๋ว จีนแคะ พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า อิสลาม คริสต์

เลขาธิการพรรคฯ ผู้ว่าการมณฑล ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายวาง หยาง (Wang Yang) นายจู เสี่ยวตาน (Zhu Xiaodan) นายโอว กว่างหยวน (Ou Guangyuan) นายหวง หลงหยุน (Huang Longyun) ฮั่น (98%) จ้วง เย้า ถู่เจีย แม้ว ต้ง

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP USD 815.4 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) GDP per Capita USD 7,787 (ไทย: USD 5,112) CPI GDP Growth 9.0% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก ทรัพยากรธรรมชาติ แร่เหล็ก ซีเมนต์ ซัลเฟอร์ ถ่านหิน เจอร์มาเนียม ผลิตภัณฑ์ทางทะเล การค้ากับต่างประเทศ USD 913,476 ล้าน มูลค่าการส่งออก การขยายตัวของการค้า 16.4% มูลค่าการนำ�เข้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสื่อสาร เครื่องจักรยนต์และชิ้นส่วน สิ่งทอ ของเล่นเด็ก รองเท้า สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ เครื่องจักรและชิ้นส่วน พลาสติก เชื้อเพลิงและนํ้ามัน เหล็กกล้า

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน/ 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.3% (ไทย: 3.8%) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยี สื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องจักร ปิโตรเคมี สิ่งทอ ยานยนต์ อาหาร USD 531,942 ล้าน (+17.4%) USD 381,534 ล้าน (+15.0%) ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน ญี่ปุ่น เยอรมนี ไต้หวัน ญี่ปุ่น อาเซียน เกาหลีใต้ สหภาพยุโรป

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 20,135.75 ล้าน เพิ่มขึ้น 17.3% ไทยได้ดุลการค้า โดยกวางตุ้งนำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 13,558.05 ล้าน เพิ่มขึ้น 12.2% และส่งออกไปไทย USD 6,577.70 ล้าน เพิ่มขึ้น 29.4% สินค้านำ�เข้าจากไทย ฮาร์ดไดรฟ์ แผงวงจรรวม ชิ้นส่วนไมโครอิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก ข้าวหอมมะลิ แป้งมันสำ�ปะหลัง ยางพารา ผลไม้ สินค้าส่งออกของไทย อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และสื่อสาร เฟอร์นิเจอร์ เครื่องจักร สินค้าพลาสติก เซรามิก ของเล่นเด็ก สิ่งทอ การท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจากกวางตุ้งไปไทย 430,000 คน นักท่องเที่ยวไทยมากวางตุ้ง 260,000 คน (ปี 2553) ธุรกิจสำ�คัญของไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ (อาหารสัตว์ เลี้ยงสัตว์ ผลิตมอเตอร์ไซค์ อาหารแช่แข็ง ห้างค้าปลีก Lotus) บ.การบินไทย บ.PTT Polymer บ.SCG Trading บ.ง่วนสูน บ.Loxley Intertrade ธ.กรุงเทพ ธ.กสิกรไทย จำ�นวนคนไทย ประมาณ 900 คน เป็นนักธุรกิจและพนักงานประมาณ 150 คน นักศึกษาประมาณ 750 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานกงสุลใหญ่ สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สนง.เศรษฐกิจการลงทุน ฝ่ายการเกษตร งานที่ปรึกษาการศุลกากรประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว/ททท. ณ เมืองฮ่องกง


“ทิเบต” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • เป็นศูนย์กลางการคมนาคมของจีนตอนใต้ โดยเฉพาะทางอากาศ ที่ มี ส นามบิ น นานาชาติไ ป๋หยุน ของนครกว่างโจวเป็น ศู นย์ ก ลาง ติดต่อกับภูมิภาคต่างๆ ในจีนและต่างประเทศ มีขนาดใหญ่เป็น อันดับ 3 รองจากปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ ทางเรือมีท่าเรือนํ้าลึกเสอโข่ว (She Kou) และเหยียนเถียน (Yan Tian) ของเซินเจิ้นรองรับ ปริมาณการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์มากเป็นอันดับ 2 ของจีน แผ่นดินใหญ่รองจากเซี่ยงไฮ้ • มีโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคเพียบพร้อม • เป็นพื้นที่แรกของจีนที่เปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ ทำ�ให้กฎระเบียบ ต่างๆ ค่อนข้างทันสมัย • ทำ�เลที่ตั้งใกล้กับฮ่องกงและมาเก๊าส่งผลให้มณฑลกวางตุ้งเปิดรับ เทคโนโลยีและสินค้าต่างประเทศอย่างรวดเร็ว • เป็นฐานการผลิตสินค้าประเภทต่างๆ ที่สำ�คัญของจีน มีเครือข่าย ห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่ง • มีบทบาทนำ�ความร่วมมือในกลุ่มสหพื้นที่เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยม ปากแม่นํ้าจูเจียง (PPRD: Pan Pearl River Delta) ซึ่งประกอบ ด้วย 9 มณฑลตอนใต้ของจีนกับฮ่องกงและมาเก๊า • มีมหาวิทยาลัยภาษาและการค้าต่างประเทศมณฑลกวางตุ้งที่ผลิต บุคลากรจีนที่พูดภาษาไทย

จุดอ่อน • ค่าแรงขั้นตํ่าสูงเป็นลำ�ดับต้นในจีน โดยเขตเศรษฐกิจพิเศษเซินเจิ้น มีค่าแรงขั้นตํ่าสูงที่สุดในจีน คือ 1,500 หยวน/เดือน • ภาษายังคงเป็นอุปสรรคในการเจรจาธุรกิจ ทั้งที่มีการปฏิสัมพันธ์ ค้าขายกับต่างประเทศมาเนิ่นนาน โดยทั่วไปนิยมการเจรจาธุรกิจ ด้วยภาษากวางตุ้งหรือจีนกลางผ่านล่ามมากกว่าภาษาอังกฤษ

โอกาสของไทย • มณฑลกวางตุ้งมีตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดของจีน ด้วยจำ�นวน ประชากรมากกว่า 100 ล้านคน มีผู้บริโภคหลายระดับเหมาะกับเป็น แหล่งทดลองตลาด • คนกวางตุ้ ง พิ ถี พิ ถั น และให้ ค วามสำ � คั ญ กั บ การรั บ ประทาน อุตสาหกรรมอาหารและสินค้าบริโภคยังมีโอกาสอีกมาก • เป็นฐานการผลิตที่สำ�คัญของจีน พื้นที่การผลิตแบ่งตามอุตสาหกรรม อย่างชัดเจน เช่น เทคโนโลยีการสื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์ที่เมือง เซินเจิ้น อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ที่เมืองตงกว่าน อุตสาหกรรมส่องสว่างที่เมือง จงซาน เซรามิคที่เมืองฝอซาน เป็นต้น • ทำ�เลที่ตั้งใกล้กับไทย มีบริการทางคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศ ครบครัน เป็นโอกาสของผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องการมาซื้อ สินค้าขายส่งเพื่อไปจัดจำ�หน่ายต่อ • การจัดตั้งโรงงานในมณฑลกวางตุ้งไม่ใช่เรื่องยากนัก ผู้ลงทุน ที่มีศักยภาพควรมีเทคโนโลยีชั้นสูงและอยู่ในสาขาอุตสาหกรรม ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสอดคล้องกับนโยบายของมณฑล หากเป็น อุตสาหกรรมที่เน้นการใช้แรงงานและทรัพยากรอาจพิจารณาส่วน ตอนเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือของมณฑล

ความท้าทาย • มณฑลกวางตุ้งเป็นพื้นที่แรกของจีนที่ดำ�เนินนโยบายเปิดประเทศ จึงมี “ผู้เล่น” เข้ามาแล้วจำ�นวนมาก การเป็น “ผู้เล่น” รายใหม่ อาจต้องพบกับการแข่งขันที่สูงกว่าในอดีต • ต้นทุนการดำ�เนินการโดยเฉพาะค่าแรงและค่าเช่าที่เพิ่มสูง ขึ้นอย่าง ต่อเนื่อง • มณฑลกวางตุ้งมีความชำ�นาญด้านการพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ การเข้ามาดำ�เนินธุรกิจควรมากับนวัตกรรมที่ สอดคล้องกับพฤติกรรม ของผู้บริโภค ตลอดจนต้องศึกษาและเตรียมพร้อมสำ�หรับการ ปกป้องลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญาด้วย


มณฑลไห่หนาน (Hainan Province) • • • • •

เป็นแหล่งพักผ่อนตากอากาศชายทะเลที่สาคัญของประเทศจีน ได้รับฉายาว่าเป็น “ฮาวายของจีน” มีรายได้หลักจากภาคบริการและการท่องเที่ยว เป็นมณฑลที่มีสัดส่วนการผลิตภาคการเกษตรต่อ GDP มากที่สุดของประเท ส่วนใหญ่เป็นการผลิตภาคกสิกรรม รองลงมาคือการประมง เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศครอบคลุมทั้งมณฑล เป็นแหล่งเพาะปลูกผลไม้เขตร้อน และเป็นฐานผลิตยางพาราที่สาคัญของจีน โดยมีสัดส่วนการผลิตยางพารากว่าครึ่งหนึ่งของผลผลิตยางพารารวมทั้งประเทศ สถาปนาความสัมพันธ์เมืองพี่เมืองน้องกับจังหวัดภูเก็ตตั้งแต่ปี 2548

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

35,354 ตร.กม. (ไทยใหญ่กว่าประมาณ 13.5 เท่า) เลขาธิการพรรคฯ ใหญ่เป็นอันดับ 28 ของจีน ผู้ว่าการมณฑล 8.96 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) ปธ.สภาผู้แทน ปชช. นครไหโข่ว (Haikou) ปธ.สภาที่ปรึกษา จีนกลาง จีนไหหลำ� ชนชาติหลัก พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า อิสลาม คริสต์

นายหลัว เป่าหมิง (Luo Baoming) นายเจี่ยง ติ้งจือ (Jiang Dingzhi) นายหลัว เป่าหมิง (Luo Baoming) นายหยู ซวิน (Yu Xun) ฮั่น (82%) ชนกลุ่มน้อยเผ่าหลี (16%) แม้ว จ้วง หุย

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP GDP per Capita GDP Growth ทรัพยากรธรรมชาติ การค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวของการค้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 38.9 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) USD 4,429 (ไทย: USD 5,112) CPI 12.0% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก น้ามัน ก๊าซธรรมชาติ แร่ไทเทเนียม เกลือทะเล USD 13,023 ล้าน มูลค่าการส่งออก 20.4% มูลค่าการนำ�เข้า น้ำ�มันสาเร็จรูป ก๊าซธรรมชาติ ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ ผลผลิตทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์ ทางทะเล เครื่องจักรและอุปกรณ์ ไฟฟ้า ปุ๋ยเคมี น้ำ�มันดิบ เครื่องจักรและอุปกรณ์ ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ ไฟฟ้า สินค้าเทคโนโลยีชั้นสูง เครื่องบินและชิ้นส่วน น้ำ�มัน สำ�เร็จรูป เหล็กและผลิตภัณฑ์

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน/ 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 6.1% (ไทย: 3.8%) อุตสาหกรรมปิโตรเคมี ยานยนต์ ก๊าซธรรมชาติ ผลิตแก้ว กระดาษ และเวชภัณฑ์ USD 2,542 ล้าน (+6.3%) USD 10,481 ล้าน (+24.4%) อาเซียน ฮ่องกง สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ โอมาน ลิเบีย สหรัฐอเมริกา แองโกลา สหภาพยุโรป และอาเซียน

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 117.91 ล้าน เพิ่มขึ้น 18.7% ไทยได้ดุลการค้า โดยไห่หนานนำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 78.93 ล้าน เพิ่มขึ้น 22.1% และส่งออกไปไทย USD 38.98 ล้าน เพิ่มขึ้น 12.4% สินค้านำ�เข้าจากไทย ไม้ฟืน สตาร์ช ยางพารา โพลิเมอร์ในรูปเอธิลีน ยารักษาหรือป้องกันโรค ยกทรงและเครื่องรัดทรง สินค้าส่งออกของไทย แร่ธาตุและปุ๋ยเคมี สายเคเบิลส่งสัญญาณและใยแก้วนำ�แสง เหล็กและโลหะผสม เรือขนส่งผู้โดยสารน้ำ�เลี้ยงและสิ่งสกัดจากพืช เฟอร์นิเจอร์ การท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวไทยมาไห่หนาน 5,051 คน เพิ่มขึ้น 52.1% (ปี 2553) ธุรกิจสำ�คัญของไทย บ.CP Aquaculture (Hainan) จำ�นวนคนไทย ประมาณ 300 คน เป็นนักธุรกิจและพนักงานประมาณ 280 คน นักศึกษาประมาณ 20 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานกงสุลใหญ่ สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สนง.เศรษฐกิจการลงทุน ฝ่ายการเกษตร งานที่ปรึกษาการศุลกากรประจาสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว/ททท. ณ เมืองฮ่องกง


“ไห่หนาน” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • ได้รับการพัฒนาเป็นเกาะท่องเที่ยวนานาชาติของจีนเมื่อปี 2553 จึงมีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรม โดยริเริ่มนโยบายการคืนภาษีให้กับนักท่องเที่ยวเป็นครั้งแรกของ ประเทศตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 และนโยบายสินค้าปลอดภาษี ให้ กั บ นั ก ท่ อ งเที่ ย วทั้ ง ชาวจี น และต่ า งชาติ ที่ เ ดิ น ทางออกจาก ไห่หนานโดยไม่ต้องออกนอกประเทศตั้งแต่เดือนเมษายน 2554 • เป็ น เขตเศรษฐกิ จ พิ เ ศษของจี น ที่ มี พ ลวั ต ภาคการท่ อ งเที่ ย วสู ง จุดมุ่งหมายที่จะเป็นเกาะท่องเที่ยวนานาชาติภายในปี 2563 ทำ�ให้ มีนโยบายและสิทธิพิเศษต่างๆ ในการสนับสนุนเป้าหมายจากรัฐบาล กลางอย่างต่อเนื่อง • ได้เปรียบด้านต้นทุนแรงงาน ด้วยอัตราค่าแรงขั้นต่าที่ต่ำ�ที่สุดในจีน คือ 830 หยวน/เดือน

จุดอ่อน • เป็นเขตปกครองระดับมณฑลของจีนที่มีขนาดพื้นที่ทางบกน้อย ที่สุด • เป็นเกาะ ไม่มีเส้นทางเชื่อมช่องแคบโฉงโจว (Qiongzhou strait) ระหว่างตอนใต้ของมณฑลกวางตุ้งกับไห่หนาน ส่งผลให้การคมนาคม ขนส่งสินค้าเข้าและออกจากไห่หนานยังไม่สะดวกมากนัก • จำ�นวนประชากรน้อย รายได้เฉลี่ยต่อหัวไม่สูง และประชากรส่วนใหญ่ ยังอยู่ในภาคเกษตรกรรม

โอกาสของไทย • มีชายหาดและทะเลที่สวยงาม อากาศอบอุ่นตลอดทั้งปี จึงเป็น จุดหมายแห่งการพักผ่อนตากอากาศที่สาคัญของนักท่องเที่ยวทั้งใน และต่างประเทศ ซึ่งมีจำ�นวนมากกว่า 30 ล้านคนต่อปี โดยรายได้ ของมณฑลเกือบ 80% มาจากภาคการท่องเที่ยว ธุรกิจการท่องเที่ยว และการบริการของไทย อาทิ โรงแรม สปา อาหาร สามารถเข้า มาทำ�ตลาดเพื่อตอบสนองกับนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง • ตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น เป็นพื้นที่เพาะปลูกพืชและผลไม้เขตร้อน ที่สำ�คัญของจีน เหมาะกับการตั้งโรงงานแปรรูปสินค้าทางการเกษตร และอุตสาหกรรมทางการเกษตร • การบริหารเครือโรงแรมในไห่หนานยังขาดทักษะการบริหารและ บริการอย่างมาก ปัจจุบันถึงแม้มีการสร้างโรงแรมระดับ 5 ดาว จำ�นวนมาก แต่ส่วนใหญ่ใช้เครือโรงแรมต่างชาติเข้ามาบริหารงาน อาทิ Banyan Tree, Dusit Thani, Sheraton, Kempinsky จึงเป็นโอกาสของธุรกิจบริการของไทยที่จะเข้ามาเป็นหุ้นส่วนด้าน อุตสาหกรรมบริการในไห่หนาน • สินค้าไทยที่มีศักยภาพสามารถแสวงหาความร่วมมือกับร้านค้า สินค้าปลอดภาษีของไห่หนาน เนื่องจากเป็นพื้นที่เดียวของจีนที่ เปิดให้นักท่องเที่ยวที่เดินทางออกจาก ไห่หนานโดยไม่ต้องออกนอก ประเทศสามารถจับจ่ายซื้อสินค้าปลอดภาษีในร้านค้าปลอดภาษีได้ แม้ในปัจจุบันมีกาหนดเพดานการจับจ่ายปีละ 2 ครั้ง ครั้งละ 5,000 หยวน แต่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มเพดานจานวนเงินและจานวน ครั้งในอนาคต

ความท้าทาย • อยู่ระหว่างการขยายตัวของเมืองเพื่อรองรับการเติบโตของภาค อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การลงทุนทำ�ธุรกิจใน ไห่หนานต้อง พิจารณาทำ�เลที่ตั้งเพื่อมิให้เกิดปัญหาการเวนคืนที่ดินในอนาคต และให้ ค วามสำ � คั ญ กั บ มาตรการและเทคโนโลยี ที่ เ ป็ น มิ ต รกั บ สิ่งแวดล้อม • พฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มนักท่องเที่ยวมีความหลากหลาย ควร ศึกษารูปแบบของการจับจ่ายใช้สอยและการเลือกซื้อสินค้าและ บริการก่อนทาตลาดอย่างจริงจัง


มณฑลยูนนาน (Yunnan Province)

• • • • • •

มีอาณาเขตติดต่อกับ 3 ประเทศในอาเซียน คือ พม่า เวียดนามและลาว เป็นมณฑลของจีนที่อยู่ใกล้ไทยมากที่สุด เป็นมณฑลที่มีชนกลุ่มน้อยมากที่สุดในจีนถึง 26 ชนเผ่า ผลิตดอกไม้ตัดสดได้มากเป็นอันดับ 1 ของจีน เป็นมณฑลแห่งสมุนไพรจีน มีชนิดของสมุนไพรจีนมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศ นครคุนหมิงเมืองเอกของมณฑลได้รับสมญานามเป็น “เมืองแห่งฤดูใบไม้ผลิ” (Spring City) เนื่องจากมีอากาศอบอุ่นตลอด 4 ฤดู (อุณหภูมิเฉลี่ย 15-18 องศา)

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

394,000 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 77% ของไทย) ใหญ่เป็นอันดับ 8 ของจีน 46 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) นครคุนหมิง (Kunming) จีนกลาง ภาษาท้องถิ่น (ภาษายูนนาน) พุทธ อิสลาม คริสต์ ลัทธิเต๋า

เลขาธิการพรรคฯ ผู้ว่าการมณฑล ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายฉิน กวางหรง (Qin Guangrong) นายหลี่ จี้เหิง (Li Jiheng) นายฉิน กวางหรง (Qin Guangrong) นายหลัว เจิ้งฟู่ (Luo Zhengfu) ฮั่น (67%) อี๋ อาข่า ป๋าย ไต

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP USD 135.5 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) GDP per Capita USD 2,935 (ไทย: USD 5,112) CPI GDP Growth 13.7% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก ทรัพยากรธรรมชาติ ตะกั่ว สังกะสี ดีบุก เหล็ก ฟอสฟอรัส ถ่านหิน ทองแดง การค้ากับต่างประเทศ USD 16,053 ล้าน มูลค่าการส่งออก การขยายตัวของการค้า 19.6% มูลค่าการนำ�เข้า สินค้าส่งออกที่สาคัญ สารไดแอมโมเนียมไฮโดรเจนฟอสเฟต ตลาดส่งออกที่สาคัญ ปุ๋ย ไฟฟ้า กระเป๋า ยาสูบ ทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟต สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ แร่ทองแดง น้ำ�มันปาล์ม กำ�มะถัน แร่ ตลาดนำ�เข้าที่สาคัญ ตะกั่ว แร่เหล็ก ยางผสมขั้นต้น ดีบุก รถขุดดิน ประเภทหมุนได้ 360 องศา

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 4.9% (ไทย: 3.8%) ยาสูบ ท่องเที่ยว พลังงาน สินแร่และโลหะ USD 9,473 ล้าน (+24.6%) USD 6,580 ล้าน (+13.2%) พม่า เวียดนาม ไทย มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา อินเดีย มาเลเซีย พม่า ไทย อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 738 ล้าน เพิ่มขึ้น 58.9 % ไทยเสียดุลการค้า โดยยูนนานนาเข้าสินค้าจากไทย USD 336 ล้าน เพิ่มขึ้น 157.7 % และส่งออกไปไทย USD 402 ล้าน เพิ่มขึ้น 20.2 % สินค้านำ�เข้าจากไทย ยางธรรมชาติ ดีบุก มังคุดสดและแห้ง เคมีภัณฑ์ ลาไยสด ดอกไม้ ยางแผ่นรมควัน กล้วยหอมสดและแห้ง สินค้าส่งออกไปไทย สารไดแอมโมเนียมไฮโดรเจนฟอสเฟต ผลไม้สด กระเทียมแห้งและสด บรอกโคลีสดและแช่แข็ง ถั่วลันเตาสดและแช่แข็ง ผักสด องุ่นสด กระหล่าดอกสดและแช่แข็ง การท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจากยูนนานไปไทย 61,445 คน นักท่องเที่ยวไทยมายูนนาน 387,526 คน ธุรกิจสาคัญของไทย บ.การบินไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ (อาหารสัตว์) ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย จำ�นวนคนไทย รวม 741 คน เป็นนักเรียน 420 คน คนทำ�งาน 51 คน และอื่นๆ 270 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานกงสุลใหญ่ สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ททท. ณ นครคุนหมิง/ฝายการเกษตร งานที่ปรึกษาการศุลกากรประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว/คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)


“ยูนนาน” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เชื่อมสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ เป็นมณฑลที่มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ใกล้ไทยที่สุด • มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ได้รับสมญานามว่าเป็น “อาณาจักรแห่งโลหะ สัตว์และพันธุ์ไม้ของจีน” โดยมีพื้นที่ปลูกชา และกาแฟมากเป็นอันดับ 1 ของจีน • มีผลผลิตดอกไม้ตัดสด ยาสูบ กาแฟ ยางพารา วอลนัตและ แมกคาดาเมียมากเป็นอันดับ 1 ของจีน • มีแร่ธาตุที่สำ�คัญ ได้แก่ สังกะสีและตะกั่ว (ปริมาณสารองมาก เป็นอันดับ 1 ของจีน) ดีบุกและฟอสฟอรัส (ปริมาณสารองมาก เป็นอันดับ 2 ของจีน) และทองแดง (ปริมาณสารองมากเป็น อันดับ 3 ของจีน)

จุดอ่อน • ยูนนานมีสภาพเศรษฐกิจที่พัฒนาไม่ทั่วถึงและเป็นมณฑลที่ค่อนข้าง ยากจน มูลค่า GDP เฉลี่ยต่อหัวต่าเป็นอันดับ 2 ของจีน • ขาดแคลนบุคลากรและเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะเมื่อ เทียบกับการพัฒนาทางภาคตะวันออก • ไม่มีทางออกสู่ทะเล การคมนาคมขนส่งเน้นเส้นทางบกผ่านทางด่วน และเส้นทางรถไฟซึ่งมีค่าขนส่งสูงกว่าทางน้ำ�

โอกาสของไทย • ตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค. 2554 คณะรัฐมนตรีจีนได้อนุมัติ “ยุทธศาสตร์ หัวสะพาน” ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ระดับประเทศเพื่อให้ยูนนานเป็น ประตูทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีนที่เปิดสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ โดยยูนนานเน้นการพัฒนาโครงข่ายเชื่อมโยงทาง คมนาคมกับมณฑลตอนในและกับภูมิภาค ทั้งเส้นทางถนน และ เส้นทางรถไฟ รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานรองรับการเชื่อมโยง อาทิ เขตโลจิสติกส์ เขตเศรษฐกิจบริเวณชายแดน โดยใช้ประโยชน์จาก การมีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้านถึง 3 ประเทศ คือ ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งจะทำ�ให้การคมนาคมขนส่งสินค้า การค้า ชายแดน และการค้าระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น เป็นโอกาสของ นักลงทุนที่จะเข้ามาใช้ยูนนานเป็นฐานการผลิตและกระจายสินค้า ในจีน • ไทยกับยูนนานมีเส้นทางเชื่อมโยงทางคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว อาทิ เส้นทาง R3A ซึ่งจะสะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้นเมื่อสะพาน ข้ามแม่น้ำ�โขงแห่งที่ 4 (เชียงราย – ห้วยทราย (ลาว)) แล้วเสร็จ และเส้นทางรถไฟตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ที่จะเกิดขึ้น ในอนาคต รวมถึงเส้นทางแม่น้ำ�โขงซึ่งไทยได้เปิดใช้ท่าเรือเชียงแสน แห่งที่ 2 รองรับการขนส่งสินค้ากับท่าเรือกวนเหล่ยของยูนนานแล้ว

ความท้าทาย • ผู้ค้ารายใหม่อาจต้องเผชิญกับคู่แข่งเดิมรวมถึงคู่แข่งจากประเทศ เพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดต่อกับยูนนานซึ่งได้รับสิทธิทางภาษีที่ มากกว่าไทย เนื่องจากจีนให้สิทธิทางภาษีกับดินแดนที่มีอาณาเขต ติดต่อกันอย่างลาว พม่าและเวียดนาม


มณฑลกุ้ยโจว (Guizhou Province) • ผลิตใบยาสูบมากเป็นอันดับ 2 ของจีนรองจากยูนนาน • มีพื้นที่ปลูกชามากเป็นอันดับ 2 ของจีน • “มณฑลแห่งสมุนไพรจีน” มีชนิดของสมุนไพรจีนมากเป็นอันดับ 2 รองจากยูนนาน • ได้รับสมญานามว่าเป็นมณฑลแห่งเหล้าขาว เป็นแหล่งผลิตเหล้าขาวแบรนด์เหมาไถ ที่ขึ้นชื่อของจีน และเป็นสุรากลั่นที่มีชื่อเสียงระดับโลกรองจากวิสกี้ของอังกฤษ และบรั่นดีของฝรั่งเศส • ได้รับสมญานามว่าเป็น “เมืองแห่งการพักผ่อนในฤดูร้อน” โดยมีน้ำ�ตกหวงกั่วซู ซึ่งเป็นน้ำ�ตกที่ใหญ่ที่สุดในจีน และถ้าวังมังกรซึ่งเป็นถ้าที่ยาวที่สุดในจีน

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

176,167 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 ของไทย) ใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของจีน 34.7 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) นครกุ้ยโจว (Guizhou) จีนกลาง ภาษาท้องถิ่น (ภาษากุ้ยหยาง) พุทธ ลัทธิเต๋า คริสต์ อิสลาม

เลขาธิการพรรคฯ ผู้ว่าการมณฑล ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายลี่ จ้านซู (Li Zhanshu) นายจ้าว เค่อจื้อ (Zhao Kezhi) นายลี่ จ้านซู (Li Zhanshu) นายหวัง เจิ้งฝู (Wang Zhengfu) ฮั่น (64%) แม้ว ปู้อี ถู่เจีย ต้ง อี๋

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP USD 88.3 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) GDP per Capita USD 2,495 (ไทย: USD 5,112) CPI GDP Growth 15.0% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก ทรัพยากรธรรมชาติ ปรอท แบไรท์ หินทราย ฟอสฟอรัส บอกไซด์ แมงกานีส แมกนีเซียม แกลเลียม อลูมิเนียม ถ่านหิน การค้ากับต่างประเทศ USD 4,884 ล้าน มูลค่าการส่งออก การขยายตัวของการค้า 55.2% มูลค่าการนำ�เข้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ ปุ๋ย ยาสูบ เครื่องจักรกลไฟฟ้า ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ ผลิตภัณฑ์ไฮเทค สารไดแอมโมเนียมฟอสเฟต ยางล้อรถ ทริปเปิลซุปเปอร์ฟอสเฟต สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ กำ�มะถัน ยางพารา แร่เหล็ก ตลาดนำ�เข้าที่สาคัญ เครื่องจักรกลไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ไฮเทค

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.1% (ไทย: 3.8%) การผลิตไฟฟ้า สินแร่และโลหะ เคมี ยาสูบ และเครื่องดื่ม USD 2,985 ล้าน (+55.5%) USD 1,899 ล้าน (+54.8%) อินเดีย สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง อินโดนีเซีย ไทย บราซิล ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย ไทย แอฟริกา บราซิล แคนาดา อินเดีย

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 400 ล้าน เพิ่มขึ้น 4.3% ไทยได้ดุลการค้า โดยกุ้ยโจวนาเข้าสินค้าจากไทย USD 242 ล้าน เพิ่มขึ้น 17.2% และส่งออกไปไทย USD 158 ล้าน เพิ่มขึ้น 73.3% สินค้านำ�เข้าจากไทย ยางพารา ผงแทนทาลัม เครื่องจักรกล ระบบดิจิตอล แร่แมงกานีส ชิ้นส่วนแม่กุญแจ ภาชนะที่มีอลูมิเนียม สินค้าส่งออกไปไทย สารไดแอมโมเนียมฟอสเฟต ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยที่มีแร่ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส กรดฟอสฟอรัสสำ�หรับอุตสาหกรรมอาหาร ล้อยางรถ แร่คอรันดัม การท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวไทยมากุ้ยโจวมีประมาณ 7,000 คน ธุรกิจสำ�คัญของไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ (Guizhou Chia Tai Enterprise) จำ�นวนคนไทย รวม 16 คน เป็นนักเรียน 11 คน คนทำ�งาน 4 คน และอื่นๆ 1 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง/สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง/สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครหนานหนิง/งานที่ปรึกษา การศุลกากรประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว/คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)


“กุ้ยโจว” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • พลังงาน (น้ำ� ไฟฟ้าและถ่านหิน) เป็นอุตสาหกรรมสาคัญ และ เป็นจุดยุทธศาสตร์ “การส่งไฟฟ้าจากตะวันตกสูต่ ะวันออก” ทีส่ �ำ คัญ ของจีน • มีแร่ธาตุมากกว่า 110 ชนิด และมีปริมาณแร่สารองติด 5 อันดับ แรกของจีนถึง 28 ชนิด อาทิ ปรอท อลูมิเนียม ฟอสฟอรัส ถ่านหิน แมงกานีส พลอย ทองคำ� ซึ่งเป็นแร่สาคัญ 7 ชนิดของ กุ้ยโจว มีการพัฒนาอุตสาหกรรมแร่ธาตุในรูปแบบห่วงโซ่อุตสาหกรรม แบบบูรณาการ อาทิ การนาถ่านหินมาผลิตกระแสไฟฟ้าและใช้ ไฟฟ้าถลุงแร่อลูมิเนียมต่อ การนาแร่ธาตุสาคัญมาใช้ในอุตสาหกรรม การบิน เช่น เครื่องบินฝึกหัดระดับสูง “ซานอิง” (mountain eagle) ซึ่งผลิตโดยบริษัทการบินกุ้ยโจว และการผลิตชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ให้กับยานอวกาศเสินโจว 5 เสินโจว 6 และเสินโจว 7 เป็นต้น • กุ้ยโจวเป็น 1 ใน 4 เขตการผลิตสมุนไพรจีนที่ใหญ่ที่สุดในจีน อุตสาหกรรมยาสมุนไพรจีนของชนกลุ่มน้อยในกุ้ยโจว ถือว่าอยู่ใน ระดับแนวหน้าของประเทศ

จุดอ่อน • ยากจนที่สุดในจีนในแง่ของมูลค่า GDP เฉลี่ยต่อหัว • ไม่มีทางออกสู่ทะเล ต้องอาศัยเส้นทางรถไฟและทางด่วนที่เชื่อม ต่อกับกว่างซีและกวางตุ้งเพื่อออกสู่ทะเล • ไม่มีตารางการบินตรงระหว่างกุ้ยโจว–ไทย แต่มีการบินแบบเช่า เหมาลำ�จากกุ้ยหยาง-กรุงเทพฯ และกุ้ยหยาง–ภูเก็ต การเดินทาง เข้าไทยปกติจะใช้เที่ยวบินเส้นทางกุ้ยหยาง–กว่างโจว–กรุงเทพฯ ซึ่งมีเที่ยวบินของสายการบิน China Southern บินวันละ 1 เที่ยวบิน ทุกวันตั้งแต่วันที่ 25 มี.ค. 2555 เป็นต้นมา

โอกาสของไทย • กุ้ยโจวเน้นความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวกับอาเซียน โดยหลังจาก เส้นทางรถไฟหนานหนิง-กุ้ยหยาง-คุนหมิงแล้วเสร็จจะสามารถ เชื่อมสู่อาเซียนได้ง่ายขึ้น • กุ้ยโจวส่งเสริมนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมที่ใช้ เทคโนโลยีชั้นสูง โลหะ และการท่องเที่ยว • สินค้าไทยที่มีโอกาสสูงในกุ้ยโจว คือ อาหารและผลไม้ไทย โดย ภาครัฐไทยได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและเพิ่มพูนความนิยมใน อาหารและผลไม้ไทยที่นครกุ้ยหยางอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับความ สนใจจากชาวกุ้ยโจวเป็นอย่างดี

ความท้าทาย • ผู้ประกอบการที่จะเข้าไปบุกตลาดในกุ้ยโจวควรศึกษาสภาพตลาด และวัฒนธรรมของชาวกุ้ยโจว ด้วยความซับซ้อนที่ว่า แม้เป็น มณฑลที่ยากจนแต่ผู้บริโภคในเมืองกลับมีรสนิยมในการบริโภค และพร้อมใช้จ่ายอย่างสบาย


มณฑลหูหนาน (Hunan Province) • มีปริมาณน้ำ�จืดมากเป็นอันดับ 2 ของจีน เนื่องจากมีทะเลสาบต้งถิง (Dongting Lake) ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำ�จืดที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน เป็นที่มาของชื่อมณฑล “หูหนาน” ที่แปลว่า “ทิศใต้ของทะเลสาบ” • ได้สมญานามว่าเป็น “แหล่งผลิตข้าวและปลาน้าจืดรายใหญ่ของจีน” • เป็นแหล่งแร่พลวงที่มีมากเป็นอันดับ 1 ของจีน • เป็นบ้านเกิดของประธานเหมา เจ๋อตง ผู้สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน • เป็นแหล่งผลิตพลุและประทัดมากเป็นอันดับ 1 ของจีน • ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีนในด้านการเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สุกร

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

211,800 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 41% ของไทย) ใหญ่เป็นอันดับ 10 ของจีน 65.7 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) นครฉางซา (Changsha) จีนกลาง ภาษาท้องถิ่น (ภาษาหูหนาน) พุทธ ลัทธิเต๋า คริสต์ อิสลาม

เลขาธิการพรรคฯ ผู้ว่าการมณฑล ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายโจว เฉียง (Zhou Qiang) นายสวี โส่วเสิ้ง (Xu Shousheng) นายโจว เฉียง (Zhou Qiang) นายหู เปียว (Hu Biao) ฮั่น (90%) ถู่เจีย แม้ว ต้ง เย้า

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP GDP per Capita GDP Growth ทรัพยากรธรรมชาติ การค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวของการค้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 304.0 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) USD 4,618 (ไทย: USD 5,112) CPI 12.8% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก พลวงดา แบไรท์ ทังสเตน ตะกั่ว สังกะสี ฟลูออไรต์ บิสมัท โมนาไซต์ USD 19,000 ล้าน มูลค่าการส่งออก 29.6% มูลค่าการนำ�เข้า เหล็ก เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์แมงกานีส ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ พลุและประทัด สิ่งทอ รถยนต์และชิ้นส่วน พลวงออกไซด์ เงินที่ไม่ขึ้นรูป แร่เหล็ก รถยนต์และชิ้นส่วน แร่ตะกั่ว ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ หม้อแปลงไฟฟ้า อุปกรณ์ที่ใช้วัดและ ตรวจสอบที่ควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติ พลาสติกที่ใช้แล้ว

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.5% (ไทย: 3.8%) สินแร่และโลหะ การผลิตรถยนต์และ อะไหล่ เคมี ยาสูบ พลุและประทัด USD 9,897 ล้าน (+24.4%) USD 9,103 ล้าน (+35.9%) ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เยอรมนี แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 249 ล้าน เพิ่มขึ้น 21.5% ไทยเสียดุลการค้า โดยหูหนานนาเข้าสินค้าจากไทย USD 64 ล้าน เพิ่มขึ้น 4.7% และส่งออกไปไทย USD 185 ล้าน เพิ่มขึ้น 28.6% สินค้านำ�เข้าจากไทย โลหะหายาก แร่ทอเรียม เยื่อกระดาษ เส้นใยทาก้นกรองบุหรี่ แร่พลวง วงจรไฟฟ้า ข้าวเจ้าและข้าวเหนียว สินค้าส่งออกไปไทย เครื่องจักรเพื่อการแปรรูปยางพาราและพลาสติก พลุและประทัด กระดาษและเยื่อกระดาษ รถยกขนาดใหญ่ เหล็กอัลลอยด์ เฟอร์นิเจอร์ไม้ ผลไม้กระป๋องประเภทส้มจีน ท่อเหล็กไร้ตะเข็บ การท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวไทยมาหูหนาน 35,232 คน ธุรกิจสำ�คัญของไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ (อาหารสัตว์ ข้าว และธุรกิจฟาร์มสุกร) จำ�นวนคนไทย รวม 6 คน เป็นนักเรียน 2 คน คนทำ�งาน 2 คน และอื่นๆ 2 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานกงสุลใหญ่ ททท. ณ นครคุนหมิง/สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง/สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครหนานหนิง/สนง.เศรษฐกิจการลงทุน งานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“หูหนาน” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • เป็นแหล่งแร่พลวงที่ใหญ่ที่สุดของจีน และมีความอุดมสมบูรณ์ของ โลหะที่ไม่ใช่กลุ่มเหล็กเป็นลำ�ดับต้นๆ ของจีน เช่น ทังสเตน บิสมัท และโมนาไซต์ เป็นต้น • มี ค วามอุ ด มสมบู ร ณ์ ด้ า นการเกษตรโดยได้ ส มญานามว่ า เป็ น “แหล่งผลิตข้าวและปลาน้ำ�จืดรายใหญ่ของจีน” มีทะเลสาบต้งถิง ซึ่งเป็นทะเลสาบน้ำ�จืดที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของจีน และเพาะพันธุ์ สุกรได้มากเป็นอันดับ 2 ของจีน รวมถึงมีชื่อเสียงด้านพันธุ์ข้าว ลูกผสม (Hybrid Rice) เนื่องจากมีศูนย์วิจัยและพัฒนาข้าวลูกผสม แห่งชาติจีนตั้งอยู่ • มีศักยภาพด้านธุรกิจบันเทิง โดยสถานีโทรทัศน์หูหนานเป็นสถานี โทรทัศน์ด้านบันเทิงที่มีชื่อเสียงและประสบความสำ�เร็จอย่างสูง มีส่วนแบ่งตลาดบันเทิงและสัดส่วนผู้ชมสูงที่สุดในจีน

จุดอ่อน • ไม่มที างออกทีต่ ดิ กับทะเลโดยตรง อย่างไรก็ดสี ามารถอาศัยเส้นทาง แม่น้ำ�แยงซีเกียงออกสู่ทะเลได้ผ่านท่าเรือ เฉิงหลิงจี • การขนส่งสินค้าทางบกต้องผ่านกวางตุ้งเพื่อออกสู่ทะเล • ไม่มีเที่ยวบินตรงระหว่างหูหนานกับไทย ส่วนใหญ่นิยมไปต่อเครื่อง ที่กว่างโจว เนื่องจากปัจจุบันมีรถไฟความเร็วสูงฉางซา-กว่างโจว ซึ่งใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง 40 นาที

โอกาสของไทย • กำ�ลังซื้อของชาวหูหนานอยู่ในระดับสูง โดยหูหนานมีจำ�นวนประชากร มากเป็นอันดับ 7 ของจีน มีมูลค่า GDP ติดอันดับ 9 ของจีน และชาวนครฉางซามีรายได้เฉลี่ยต่อหัว 26,451 หยวนต่อปี สูงเป็น อันดับ 6 ของจีน • ชาวหูหนานให้ความสำ�คัญกับอาหารการกิน นิยมทานเผ็ดพอ ประมาณต่างกับชาวเสฉวนที่ทานเผ็ดจัด • สถานีโทรทัศน์หูหนานเป็นช่องทางด้านบันเทิงอันดับหนึ่งของจีน มีรายการวาไรตี้ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 และ 2 ซึ่งบ่อยครั้ง จะเชิญดาราไทยและนักร้องไทยที่ชาวจีนชื่นชอบมาร่วมรายการ และได้ประชาสัมพันธ์อาหาร ผลไม้และ ขนมไทย มวยไทย และ วัฒนธรรมไทย จึงเป็นโอกาสของนักธุรกิจไทยที่จะอาศัยกระแส T- pop เปิดตลาดและขยายสินค้าไทยในจีน • มีท่าเรือเฉิงหลิงจีซึ่งเป็นเป็นท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดและเป็นแห่งเดียว ของหูหนานที่ขนส่งสินค้าไปต่างประเทศ เป็น 1 ใน 8 ท่าเรือ ใหญ่แห่งสายน้ำ�แยงซีเกียงซึ่งผ่านไปยังยังฉงชิ่ง อู่ฮั่น เซี่ยงไฮ้ หนานจิง เหลียนหยุนกั่ง และเมืองอื่นๆ ปัจจุบัน มีการขนส่ง สินค้ากว่า 60 ล้านตันต่อปี

ความท้าทาย • นักธุรกิจหน้าใหม่ของไทยต้องแข่งขันกับนักธุรกิจท้องถิ่น โดยชาว หูหนานมีกลยุทธ์ในการทาธุรกิจเน้นการขายเอากำ�ไรน้อย แต่ให้ สินค้าได้ระบายออกอย่างรวดเร็ว เมื่อต้องทำ�ธุรกิจร่วมกับชาวหูหนาน ต้องมอบความไว้วางใจอย่างเต็มที่ ชาวหูหนานจะมอบความเป็น พันธมิตรอย่างเต็มที่ตอบแทนเช่นกัน


มณฑลเสฉวน (Sichuan Province)

• เป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันตกของจีน (Go West Policy) ซึ่งเริ่มดาเนินการตั้งแต่ปี 2543 โดยรัฐบาลกลางของจีนให้ความสาคัญกับการสร้าง เส้นทางเชื่อมโยงภาคตะวันตกกับภาคตะวันออกของจีน เพื่อเป็นช่องทางการกระจาย สินค้า การดึงดูดเทคโนโลยี และการลงทุนจากฝั่งตะวันออก รวมถึงมีสิทธิพิเศษ ทางภาษีให้กับธุรกิจต่างชาติที่มาลงทุน • นครเฉิงตูเป็นเมืองนำ�ร่องในการดำ�เนินนโยบายพัฒนาเขตเมืองและชนบทอย่างสมดุล (Coordinated Urban-Rural Balanced Development) เพื่อลดช่องว่างในการ กระจายรายได้ระหว่างประชาชนในเขตพื้นที่เมืองและชนบท • เป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ รัฐบาลจีนกาหนดยุทธศาสตร์พัฒนาให้นครเฉิงตูเป็น ศูนย์กลางการขนส่งระบบรางที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันตก ภายในปี 2555

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

485,000 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 94% ของไทย) ใหญ่เป็นอันดับ 5 ของจีน 90 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) นครเฉิงตู (Chengdu) จีนกลาง พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า อิสลาม

เลขาธิการพรรคฯ ผู้ว่าการมณฑล ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายหลิว ฉีเป่า (Liu Qibao) นายเจี่ยง จวี้เฟิง (Mr. Jiang Jufeng) นายหลิว ฉีเป่า (Liu Qibao) นายเถา อู่เซียน (Tao Wuxian) ฮั่น อี๋ ทิเบต

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP GDP per Capita GDP Growth ทรัพยากรธรรมชาติ การค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวของการค้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 325.5 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) USD 4,046 (ไทย: USD 5,112) CPI 15% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก แร่ไทเทเนียม แร่วาเนเดียม เหล็ก น้ำ�มันและก๊าซธรรมชาติ USD 47,780 ล้าน มูลค่าการส่งออก 46.2% มูลค่าการนำ�เข้า คอมพิวเตอร์ วงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ กระเป๋า เสื้อผ้า สิ่งทอ รองเท้า แผงวงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ สินแร่ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์สาหรับด้านการบิน

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.3% (ไทย: 3.8%) IT ซอฟแวร์ เฟอร์นิเจอร์ อสังหาริมทรัพย์ อุปกรณ์เล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยีสื่อสาร USD 29,040 ล้าน (+54.2%) USD 18,740 ล้าน (+35.3%) สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียนฮ่องกง อินเดีย สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา อาเซียน

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 381.38 ล้าน เพิ่มขึ้น 35.6% ไทยเสียดุลการค้า โดยเสฉวนนาเข้าสินค้าจากไทย USD 145.57 ล้าน เพิ่มขึ้น 153.1% และส่งออกไปไทย USD 235.81 ล้าน เพิ่มขึ้น 5.4% สินค้านำ�เข้าจากไทย วงจรไฟฟ้าและส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ แร่ธาตุ ผลไม้ ธัญพืช ข้าวหอมมะลิ ยางพารา สินค้าส่งออกไปไทย วัสดุแม่เหล็ก เคมีอนินทรีย์ ส่วนประกอบและเครื่องจักรกลสาหรับขุดเจาะ ผลิตภัณฑ์เคมี วัสดุเหล็กกล้า การท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจากเสฉวนไปไทย 109,007 คน นักท่องเที่ยวไทยมาเสฉวน 42,294 คน ธุรกิจสำ�คัญของไทย บ.การบินไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ (บ.ECI-Metro ห้างค้าปลีก Lotus) บ.สหพัฒน์ (ร่วมทุนกับบริษัทจีน) จำ�นวนคนไทย ประมาณ 120 คน เป็นนักธุรกิจประมาณ 40 คน นักศึกษาประมาณ 80 คน (ส่วนใหญ่อยู่ในนครเฉิงตู) พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานกงสุลใหญ่ สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ททท. ณ นครเฉิงตู/สนง.เศรษฐกิจการลงทุน ณ นครเซี่ยงไฮ้/ สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง/งานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“เสฉวน” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • ตั้งอยู่ตอนกลางของจีน เป็นจุดเชื่อมโยงสาคัญของภาคตะวันออก และภาคตะวันตก • รัฐบาลจีนมีนโยบายส่งเสริมให้นครเฉิงตูเป็นศูนย์กลางภาคตะวันตก ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การค้าการลงทุน ตลอดจนการคมนาคม ขนส่งเพื่อเชื่อมโยงจากมณฑลอื่นๆ สู่ภาคตะวันตกของจีน • ผู้บริโภคในมณฑลเสฉวน โดยเฉพาะในนครเฉิงตูเป็นกลุ่มผู้บริโภค ที่มีกาลังในการซื้อสินค้าสูง ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์จีน หรือแบรนด์ ต่างประเทศ

จุดอ่อน • ไม่มีทางออกทะเล และมีส่วนหนึ่งของมณฑลเป็นพื้นที่ภูเขาสูง จึงทำ�ให้การพัฒนาระบบคมนาคมมีอุปสรรคและต้องใช้การลงทุน สูงกว่าภาคตะวันออก • ประชาชนเสฉวนยังขาดความเป็นสากล และมีความรู้เกี่ยวกับ ต่างประเทศค่อนข้างจากัด

โอกาสของไทย • มณฑลเสฉวนกำ�ลังมีแนวทางที่จะพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่ง เชื่อมถึงไทยโดยทางบก จึงเป็นโอกาสเหมาะสมที่จะแสวงหาลู่ทาง การค้าผ่านการขนส่งที่สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น • มณฑลเสฉวนมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จำ�นวนประชากรระดับบนที่มีกาลังซื้อสูงและนิยมใช้จ่ายเพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็ว สินค้าคุณภาพสูงของไทย อาทิ ผลไม้ ข้าวหอมมะลิ เครื่องเรือน รวมถึงการท่องเที่ยว มีโอกาสขยายตัวอีกมาก • ประชาชนเสฉวนรุ่นใหม่สนใจต่างประเทศเพิ่มขึ้น ทั้งด้านการท่องเที่ยว บันเทิง แฟชั่น อาหาร ซึ่งประเทศไทยพร้อมอยู่แล้วในการนำ�เสนอ สิ่งต่างๆ เหล่านี้

ความท้าทาย • มณฑลเสฉวนมีลักษณะเฉพาะตัวและมีความตระหนักในความยิ่งใหญ่ ของตนเอง พึ่งเปิดตัวเองไม่นานในการร่วมมือกับต่างประเทศ การปฏิสัมพันธ์ทางธุรกิจกับคนท้องถิ่นยังไม่เป็นสากล • นักธุรกิจที่จะลงทุนในเสฉวนต้องมีทั้งความกล้า ความอดทน พร้อมด้วยเงินทุนก้อนใหญ่ เพราะมาตรการการอนุญาตจัดตั้งบริษัท ต้องใช้เวลานานและมีขั้นตอนซับซ้อน


มหานครฉงชิ่ง (Chongqing Municipal) • รัฐบาลจีนให้ความสำ�คัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของนครฉงชิ่งเป็นอย่างมาก ในปี 2553 ได้ก่อตั้งเขตเศรษฐกิจใหม่เหลี่ยงเจียงขึ้น นับเป็นเขตเศรษฐกิจใหม่อันดับ 4 ของจีน ต่อจากเซินเจิ้น (2523) ผู่ตง (2533) และปินไห่ (2543) และมีเขตสินค้าปลอดภาษี เหลียงลู่ซุ่นทานซึ่งเป็นเขตสินค้าปลอดภาษีแห่งแรกของจีนตอนใน • รัฐบาลฉงชิ่งมีนโยบายส่งเสริมด้านเทคโนโลยีมากขึ้น ในปี 2551ได้ก่อตั้งศูนย์เทคโนโลยีซี หย่งฉงชิ่ง เพื่อดึงดูดให้บริษัท IT ชั้นนาของโลกเข้ามาตั้งบริษัท และภายในบริเวณดังกล่าว ได้ก่อตั้งเขตปลอดภาษีด้านเทคโนโลยีด้วย

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 82,400 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 16% ของไทย) เลขาธิการพรรคฯ ใหญ่เป็นอันดับ 26 ของจีน นายกเทศมนตรี ประชากร 33.3 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ภาษา จีนกลาง ปธ.สภาที่ปรึกษา ศาสนา พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า ชนชาติหลัก

นางจาเต๋อเจียง (Zhang Dejiang) นายหวง ฉีฟาน (Huang Qifan) นายเฉิน ฉุนเกิน (Chen Cungen) นางสิง หยวนหมิ่น (Xing Yuanmin) ฮั่น (95%) และชนกลุ่มน้อย เช่น ถู่เจีย แม้ว หุย มองโกล ฯลฯ

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP GDP per Capita GDP Growth ทรัพยากรธรรมชาติ การค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวของการค้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 155.0 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) USD 5,341 (ไทย: USD 5,112) CPI 15.2% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก พืชสมุนไพรกว่า 2,000 ชนิด แร่ธาตุประมาณ 75 ชนิด แร่สตรอนเทียม พบมากที่สุดในจีน แร่แมงกานีสมาก เป็นอันดับ 2 ในจีน แร่วานาเดียม มากเป็นอันดับ 3 ในจีน USD 29,220 ล้าน มูลค่าการส่งออก 135.1% มูลค่าการนำ�เข้า อุปกรณ์เครื่องจักรและไฟฟ้า ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ คอมพิวเตอร์แบบพกพา รถยนต์และรถจักรยานยนต์ สิ่งทอ แร่เหล็ก แร่กามะถัน ยางพารา ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ ฝ้าย ถั่วเหลือง

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.3% (ไทย: 3.8%) ยานยนต์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ ยาและยาสมุนไพร วัสดุก่อสร้าง และ ปิโตรเคมี

USD 19,840 ล้าน (+164.9%) USD 9,380 ล้าน (+89.9%) สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ อินเดีย เยอรมนี อิหร่าน ญี่ปุ่น เม็กซิโก ญี่ปุ่น มาเลเซีย เยอรมนี หรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ไต้หวัน

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 559.56 ล้าน เพิ่มขึ้น 153.5% ไทยเสียดุลการค้า โดยฉงชิ่งนำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 277.34 ล้าน เพิ่มขึ้น 126.6% และส่งออกไปไทย USD 282.22 ล้าน เพิ่มขึ้น 195.8% สินค้านำ�เข้าจากไทย ฮาร์ดไดรฟ์ ยางพารา ชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ วงจรไฟฟ้า สินค้าส่งออกไปไทย อุปกรณ์ประมวลผลระบบดิจิตอล ลูกสูบ (125 มล.) หม้อแปลง ชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ การท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจากฉงชิ่งไปไทย 79,389 คน ธุรกิจสำ�คัญของไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ (บ.ECI-Metro ห้างค้าปลีก Lotus) และ บ.Thai Air Asia จำ�นวนคนไทย ประมาณ 370 คน เป็นนักธุรกิจประมาณ 20 คน นักศึกษาประมาณ 350 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานกงสุลใหญ่ สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ททท. ณ นครเฉิงตู/สนง.เศรษฐกิจการลงทุน ณ นครเซี่ยงไฮ้/สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง/งานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“ฉงชิ่ง” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • เป็ น เขตปกครองพิ เ ศษระดั บ มหานครแห่ ง เดี ย วของจี นในภาค ตะวันตก ซึ่งได้สิทธิพิเศษในด้านการบริหาร และมีกฎระเบียบที่เอื้อ ต่อการค้าการลงทุนของต่างชาติ • เป็นที่ตั้งของเขตเศรษฐกิจใหม่เหลี่ยงเจียง ซึ่งเพิ่งได้รับการพัฒนา ล่าสุดเมื่อปี 2553 ต่อจากเขตผู่ตง (เซี่ยงไฮ้ 2533) และปินไห่ (เทียนจิน 2543) • มีท่าเรือตอนในที่ใหญ่ที่สุดในจีน เป็นจุดเชื่อมการขนส่งสินค้าจาก แม่น้ำ�แยงซีจากตะวันออกถึงตะวันตก และมี ท่าเรือปลอดภาษี เหลี่ยงลู่ชุ่นทาน

จุดอ่อน • เป็นมหานครที่ยังคงมีการพัฒนาแบบปิด และยังมีกลุ่ม ผู้มีอิทธิพล ท้องถิ่นอยู่จำ�นวนมาก ซึ่งอาจจะส่งผลต่อ การเข้ามาดาเนินธุรกิจ ของบุคคลจากต่างมณฑลหรือบริษัทต่างชาติ • สภาพภูมิประเทศมีลักษณะแบบเมืองภูเขา มีหมอกปกคลุมในฤดู หนาวและร้อนจัดในฤดูร้อน จึงมีผลต่อการคมนาคมขนส่งและการ ใช้ชีวิตของชาวต่างถิ่นและต่างชาติ

โอกาสของไทย • ส่วนหนึ่งของเขตเศรษฐกิจใหม่ที่ตั้งขึ้นในฉงชิ่ง เน้นด้านเทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งสอดคล้องกับแนวทาง การค้าการลงทุนที่ไทยมีความเชี่ยวชาญ จึงเป็นโอกาสสาหรับภาค ธุรกิจ IT ในประเทศไทยที่จะเข้ามาลงทุน • ผู้ประกอบการรายใหญ่ของไทย อาทิ ECI-Metro และ เครือเจริญ โภคภัณฑ์ ประสบความสาเร็จในการบุกตลาดฮาร์ดแวร์ และค้า ปลีกของฉงชิ่ง จึงมีลู่ทางนาพาธุรกิจ ขนาดย่อมให้เข้ามาขยาย ตลาดในฉงชิ่งได้ อาทิ สินค้าประเภทอาหาร เครื่องนุ่งห่ม • ปัจจุบัน ชาวฉงชิ่งรู้จักประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากนักศึกษา ไทยจานวนมากได้เข้ามาศึกษาในพื้นที่ ส่งผลให้เรื่องราวเกี่ยวกับ ประเทศไทยเริ่มเป็นที่สนใจและได้รับ การจับตามองมากขึ้น จึงเป็น โอกาสของไทยในด้านอื่นๆ ไม่เฉพาะด้านการค้า แต่รวมถึงการ ท่องเที่ยว ศิลปวัฒนธรรม และการศึกษา

ความท้าทาย • ผู้บริโภคชาวฉงชิ่งมีพฤติกรรมเก็บออม ประหยัด ไม่ฟุ่มเฟือย ผู้ ป ระกอบการที่ จ ะมาลงทุ น ต้ อ งศึ ก ษาพฤติ ก รรมของผู้ บ ริ โ ภค ท้องถิ่นก่อนตัดสินใจมาเปิดตลาด • คนไทยและคนฉงชิ่ง ยังไม่ค่อยรับรู้และเข้าใจซึ่งกันและกัน จึงทำ�ให้ การจำ�หน่ายผลิตภัณฑ์และบริการไทยในฉงชิ่ง ยังต้องใช้ความพยายาม อีกมาก เช่นเดียวกับ การประชาสัมพันธ์นครฉงชิ่งให้แก่คนไทย


มณฑลส่านซี (Shaanxi Province) • เป็นที่ตั้งของเมืองหลวงเก่าของจีนกว่า 10 ราชวงศ์ เป็นจุดเริ่มต้นเส้นทางสายไหม • เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยและศูนย์วิจัยศึกษาต่างๆ มีศักยภาพด้านอุปกรณ์การบิน และอวกาศ อิเล็กทรอนิกส์และการผลิตรถยนต์ • มีเขตสาธิตหยางหลิงเป็นต้นแบบเขตสาธิตอุตสาหกรรมไฮเทคทางการเกษตร เป็นมณฑลที่ผลิตแอปเปิลมากเป็นอันดับต้นของประเทศ และเป็นแหล่งผลิต น้ำ�สกัดแอปเปิลเข้มข้นส่งออกอันดับ 1 ของจีน • มีปริมาณสะสมของทรัพยากรแร่ธาตุมากถึง 1 ใน 3 ของปริมาณสะสมแร่ธาตุทั้งหมด ของจีน • มีมหาวิทยาลัยการศึกษาต่างประเทศซึ่งเปิดสอนวิชาภาษาไทยในระดับปริญญาตรี

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

205, 800 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 40% ของไทย) ใหญ่เป็นอันดับ 11 ของจีน 38.03 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) นครซีอาน (Xi’an) จีนกลาง ภาษาท้องถิ่นส่านซี พุทธ อิสลาม

เลขาธิการพรรคฯ ผู้ว่าการมณฑล ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายจ้าว เล่อจี้ (Zhao Leji) นายจ้าว เจิ้งหย่ง (Zhao Zhengyong) นายจ้าว เล่อจี้ (Zhao Leji) นายหม่า จงผิง (Ma Zhongping) ฮั่น (99.5 %) หุย (0.5%)

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP USD 196.7 พันล้าน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) GDP per Capita USD 5,154 (ไทย: USD 5,112) GDP Growth 13.9% (ไทย: 0.1%) ทรัพยากรธรรมชาติ แร่เกลือ ถ่านหิน น้ำ�มัน ก๊าซธรรมชาติ และแร่โมลิบดินัม การค้ากับต่างประเทศ USD 14,624 ล้าน การขยายตัวของการค้า 21% สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ น้ำ�แอปเปิล รถบรรทุกขนาดใหญ่ อุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนเครื่องบิน สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องจักร

สกุลเงิน CPI อุตสาหกรรมหลัก มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำ�เข้า ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.7% (ไทย 3.8%) ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติ การผลิตชิ้นส่วน เครื่องบินและอวกาศ อุปกรณ์การสื่อสาร น้ำ�แอปเปิล การท่องเที่ยว USD 7,011 ล้าน (+12.9%) USD 7,613 ล้าน (+29.2%) สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซีย ไทย สหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ เยอรมนี ไทย

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 126 ล้าน เพิ่มขึ้น 56.7 % ไทยเสียดุลการค้า โดยส่านซีนาเข้าสินค้าจากประเทศไทย USD 9.3 ล้าน ลดลง 35.4% และส่งออกไปไทย USD 116.7 ล้าน เพิ่มขึ้น 76.8% สินค้านำ�เข้าจากไทย อุปกรณ์แผงวงจรรวม เครื่องวัด Oscilloscope อุปกรณ์วัด Frequency Spectrum หินบด อาหารทะเล พรมและวัสดุสิ่งทอ สินค้าส่งออกไปไทย สารประกอบอะมิโน แอปเปิลและสาลี่สด รถพ่วงและรถแทรกเตอร์ สารให้สี ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ แมกนีเซียมและผลิตภัณฑ์จากแมกนีเซียม ผักแช่เย็นและผักแห้งหรือผักเชื่อม การท่องเที่ยว ผู้ขอตรวจลงตราผ่านสถานกงสุลใหญ่ ณ นครซีอาน รวม 10,541 ราย (ต.ค.53-ก.ย.54) นักท่องเที่ยวไทยมาซีอาน 19,649 คน (ปี 2553) ธุรกิจสำ�คัญของไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ (อาหารสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสุกรและไก่ เวชภัณฑ์และสมุนไพร ห้างค้าปลีก Lotus) นอกจากนี้ยังมีการลงทุนของบริษัทก่อสร้างและถ่านหิน จำ�นวนคนไทย ประมาณ 32 คน เป็นนักเรียนจานวน 19 คน เจ้าหน้าที่และพนักงาน 13 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานกงสุลใหญ่ สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซีอาน/ททท. ณ นครเฉิงตู/สนง.เศรษฐกิจการลงทุน ณ นครเซี่ยงไฮ้/สนง.คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ณ นครเซี่ยงไฮ้/สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง/งานที่ปรึกษาการศุลกากรประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“ส่านซี” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • เป็นมณฑลสำ�คัญในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ได้รับการ สนับสนุนจากรัฐบาลกลางในการเร่งพัฒนามณฑลเพื่อเป็นแหล่ง รองรับการย้ายฐานการผลิตจากภาคตะวันออก ที่นับวันจะมีค่าแรง สูงขึ้นเรื่อยๆ และขณะนี้ มีกิจการต่างชาติหลายแห่งเริ่มทยอย ย้ายฐานการผลิตจากภาคตะวันออกของจีน • ได้เปรียบในฐานะเป็นแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุ ถ่านหิน และมีการเร่ง พัฒนาด้านเทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะชิ้นส่วน การบิน การอวกาศ เครื่องมืออุปกรณ์สื่อสารต่างๆ เป็นต้น • ในระยะยาว ส่านซีจะเป็นจุดเชื่อมเส้นทางรถไฟของจีนทางภาค ตะวันตกเฉียงเหนือกับส่วนอื่นๆ ในประเทศและจีนยังวางแผนให้ ส่านซีเป็นศูนย์กลางของจีนตะวันตกเพื่อเชื่อมโยงจีนกับเอเชีย กลางและยุโรปต่อไป • ได้จัดตั้งศูนย์โลจิสติกส์รองรับการกระจายสินค้าในอนาคต • ด้านการท่องเที่ยว ได้เร่งพัฒนาทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน เร่งเปิด เส้นทางบินตรงกับต่างประเทศและพัฒนามาตรฐานการให้บริการ

จุดอ่อน • ประสบการณ์และ know-how ในเชิงพาณิชย์ของนักธุรกิจในพื้นที่ ยังไม่เทียบเท่ามณฑลทางฝั่งตะวันออก • ความเชี่ยวชาญของแรงงานในพื้นที่อาจจะไม่สูงมากและยังต้องการ การฝึกอบรม • การดำ�เนินการตามกรอบกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวกับธุรกิจในประเทศ และระหว่างประเทศซึ่งรัฐบาลกลางประกาศ อาจไม่เร็วเท่ามณฑล ใหญ่ๆ ในฝั่งตะวันออก

โอกาสของไทย • เป็นแหล่งโอกาสสาหรับทั้งผู้สนใจลงทุนขนาดใหญ่และเล็ก ขณะนี้ บริษัทชั้นนำ�ของโลก อาทิ Samsung Honeywell Airbus Emerson ต่างเข้ามาตั้งและขยายฐานการผลิต/ศูนย์ในซีอาน • ภาคบริการโดยเฉพาะโรงแรมและเส้นทางบินกาลังขยายตัวอย่าง รวดเร็ว • มีบริษัทขนาดใหญ่ซึ่งผลิตสินค้ารถบรรทุกและบริษัทสารวจขุด เจาะพลังงาน • ธุรกิจของไทยขนาดรองลงมาที่จะมีศักยภาพเนื่องจาก กาลังซื้อใน มณฑลขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ ผลไม้ สินค้าเกษตร อาหาร ไทย • มีมหาวิทยาลัยการศึกษาต่างประเทศซึ่งจัดสอนภาษาไทยในระดับ ปริญญาตรีเป็นข้อได้เปรียบสำ�หรับผู้ลงทุนที่สนใจมองหาบุคลากร ในพื้นที่

ความท้าทาย • ผู้บริโภคในส่านซี (ดังเช่นตลาดตอนในอื่นๆ ของจีนหลายที่ซึ่งเพิ่งจะ เริ่มมีกาลังซื้อมากขึ้น) ยังไม่มีการรับรู้ของแหล่งสินค้า หรือคุณภาพ สินค้าต่างประเทศที่ดีมากนัก หากสินค้าไทยที่นาเข้ามาไม่เน้นยุทธวิธี การตลาดที่ดี อาจเสี่ยงกับการที่ผู้ประกอบการอื่นๆ นำ�สินค้าของตนมา “สวมโอกาส” อ้างเป็นสินค้าไทยได้ • การแข่ ง ขั น ของต่ า งประเทศในพื้ น ที่ เ ริ่ ม เข้ ม แข็ ง ขึ้ น และมี ผู้ ประกอบการหลายชาติเริ่มเห็นโอกาสในส่านซีและพยายามเข้า มาบุกตลาดในมณฑล โดยผู้ลงทุนรายใหญ่ ได้แก่ ไต้หวัน ฮ่องกง เกาหลี สิงคโปร์ นอกจากนี้ สาหรับสินค้าบริโภคอุปโภค มีประเทศ อื่นๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาทิ มาเลเซีย เวียดนาม ซึ่งเริ่ม ผลักดันสินค้าของตนเข้ามาในส่านซีเช่นกัน


มณฑลกานซู (Gansu Province) • • • •

มีพื้นที่ปลูกและมีผลผลิตมันฝรั่งมากเป็นอันดับ 1 ของจีนและเป็น แหล่งพันธุ์พืชสมุนไพร เช่น ตังกุย และโสมตังเซิน มากเป็นอันดับ 2 ของจีน มีแหล่งแร่ธาตุจำ�นวนมากโดยเป็นแหล่งแร่นิเกิล โคบอลต์ แพลตทินัม อันดับ 1 ของจีน เป็นแหล่งท่องเที่ยวเส้นทางสายไหมและมีถ้าพุทธศิลป์ในเมืองตุนหวง ซึ่งเป็นมรดกโลกของจีนที่ขึ้นทะเบียนกับยูเนสโกเป็นที่แรก เป็นแหล่งพลังงานลมอันดับต้นของจีน และตอนเหนือของกานซูถือเป็นพื้นที่ ที่มีแสงอาทิตย์มากเป็นอันดับต้นของจีน

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

455,000 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 89% ของไทย) เลขาธิการพรรคฯ ใหญ่เป็นอันดับ 7 ของจีน ผู้ว่าการมณฑล 27.24 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) ปธ.สภาผู้แทน ปชช. นครหลานโจว (Lanzhou) ปธ.สภาที่ปรึกษา จีนกลาง ภาษาหุย ภาษาทิเบต ภาษาตงเซียง ชนชาติหลัก พุทธ อิสลาม

นายหวาง ซานยุ่น (Wang Sangyun) นายหลิว เหว่ยผิง (Liu Weiping) นายหวาง ซานยุ่น (Wang Sangyun) นายเฝิง เจี้ยนเซิน (Feng Jianshen) ฮั่น (91%) หุย (5%) ตงเซียง (2%) ทิเบต (2%)

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP GDP per Capita GDP Growth ทรัพยากรธรรมชาติ การค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวของการค้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 79.7 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) USD 2,549.57 (ไทย: USD 5,112) CPI 12.5% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก นิเกิล โคบอลต์ แร่ตระกูลแพลตทินัม ซิลิเนียม แร่สังกะสี แทลเลียม และเทลลูเรียม USD 8,760 ล้าน มูลค่าการส่งออก 18.6% มูลค่าการนำ�เข้า แร่โลหะและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักร ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ และอิเล็กทรอนิกส์ ผลไม้ ธัญพืช แร่โลหะและผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์ใน ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ อุตสาหกรรมการบินอวกาศ สินค้า วัสดุใหม่ เวชภัณฑ์ เครื่องจักรในการผลิต เกษตรแปรรูป

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 6% (ไทย 3.8%) แร่โลหะและผลิตภัณฑ์ สินค้าเครื่องจักร อิเล็กทรอนิกส์ ผลไม้ USD 2,180 ล้าน (+33.4%) USD 6,580 ล้าน (+14.4%) ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป อาเซียน ญี่ปุ่น เยอรมนี ไต้หวัน ญี่ปุ่น อาเซียน เกาหลีใต้ สหภาพยุโรป

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 51.44 ล้าน เพิ่มขึ้น 48.2 % ไทยเสียดุลการค้า โดยกานซูนาเข้าสินค้าจากประเทศไทย USD 2.74 ล้านลดลง 11.6% และส่งออกไปไทย USD 48.7 ล้าน เพิ่มขึ้น 51.1% สินค้านำ�เข้าจากไทย แป้งมันและอินูลิน วัสดุสิ่งทอ กระดาษรีไซเคิล ท่อเหล็ก สินค้าส่งออกไปไทย แอปเปิล สาลี่สด ถ่านแบตเตอร์รี่ ถั่ว ผลไม้อื่นๆ มะเขือเทศแปรรูป การท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจากกานซูไปไทยประมาณ 5,000 คน ไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมในต่างประเทศ อันดับ 4 นักท่องเที่ยวไทยมากานซูประมาณ 300 คน ธุรกิจสำ�คัญของไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ด้านปศุสัตว์) บ.Gansu Lan Tai Huan Jing Bao Hu Co.,Ltd (บริษัทร่วมทุนระหว่างไทยกับจีนผลิตสินค้าเครื่องกรองน้ำ� พัฒนาระบบอนุรักษ์น้ำ�) บ.Lanzhou Hua Fu Real Estate Development Co.,Ltd (บริษัทร่วมทุนไทยจีนพัฒนาและขายอสังหาริมทรัพย์) จำ�นวนคนไทย 7 คน เป็นนักเรียน 3 คน พนักงานบริษัท 4 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซีอาน/สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ททท. ณ นครเฉิงตู/สนง.ที่ปรึกษาการเกษตร ต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง/งานที่ปรึกษาการศุลกากรประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“กานซู” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • เป็นแหล่งทรัพยากรแร่ธาตุต่างๆ (นิเกิล โคบอลต์ แพลตทินัม) เป็นอันดับ 1 ของจีน รวมทั้งแหล่งพืชสมุนไพรเป็นจานวนมาก • เป็นแหล่งพลังงานลมอันดับต้นของจีน และตอนเหนือของกานซู ถือเป็นพื้นที่ที่มีแสงอาทิตย์มากเป็นอันดับต้นของจีน • มี ค วามหลากหลายของแหล่ ง ท่ อ งเที่ ย วทั้ ง ด้ า นศาสนาและ ประวัติศาสตร์ (อาทิ ถ้าพุทธศิลป์ที่ตุนหวงซึ่งเป็นมรดกโลก และ จุดเที่ยวชมตามเส้นทางสายไหม) ด้านวิทยาศาตร์ (จุดปล่อยยาน อวกาศของจีน) ด้านธรรมชาติ และด้านวัฒนธรรมของชนกลุ่ม น้อยชาวทิเบตและชาวหุย โอกาสของไทย • ในฐานะที่เป็นแหล่งสมุนไพรจีน ผู้ประกอบการไทยอาจพิจารณา โอกาสธุรกิจด้านสมุนไพรในมณฑลนี้ ขณะที่สินค้าที่มณฑลกานซู สนใจนำ�เข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ ยาแผนปัจจุบัน เครื่องจักร สินค้าเกษตรแปรรูป เครื่องมือสาหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ • การหาคู่ธุรกิจในภาคการท่องเที่ยวและการบริการน่าจะเป็นโอกาส ที่ดีสำ�หรับบริษัทในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและ ภาคบริการ

จุดอ่อน • มีมูลค่าการค้ากับต่างประเทศไม่มาก และส่วนใหญ่จะเป็นสินค้า ประเภทแร่ต่างๆ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสาคัญของมณฑล • เครือข่ายการคมนาคมซึ่งเชื่อมโยงภายในมณฑล และระหว่างมณฑล กานซูกับส่วนอื่นๆ ของประเทศ ยังคงอยู่ระหว่างการพัฒนา (สินค้า บางชนิด อาทิ ผักและผลไม้จะถูกกระจายต่อจากมณฑลส่านซี ซึ่ง รับสินค้ามาจากมณฑลหน้าด่านมายังมณฑลกานซู) • ยังไม่มีเที่ยวบินลักษณะบินเป็นประจาตามตารางบินตรงไปต่าง ประเทศ มีเพียงเที่ยวบินเช่าเหมาลาในบางฤดูกาลท่องเที่ยว • กานซูประสบภัยธรรมชาติเป็นประจาเกือบทุกปี เนื่องด้วยสภาพ ภูมิประเทศมีแนวโน้มเกิดโคลนถล่มได้ง่าย โดยนักวิชาการระบุว่า เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่มีจุดศูนย์กลางที่เมืองเวิ่นชวน มณฑลเสฉวนเมื่อปี 2551 ได้เป็นปัจจัยสาคัญเพิ่มอัตราความ เสี่ยงของโคลนถล่มมากขึ้นด้วย ความท้าทาย • ผู้บริโภคท้องถิ่นยังไม่คุ้นเคยกับสินค้าต่างประเทศ ผู้ส่งออกสินค้า อาจต้องพิจารณาศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคและยุทธวิธีการตลาดใน พื้นที่เพื่อสร้าง brand loyalty และป้องกันสินค้า “สวมรอย”


เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ย (Ningxia Autonomous Region) • เป็นฐานการผลิตอาหารฮาลาลและสินค้ามุสลิมของจีน เนื่องจากจีนมีนโยบายให้ หนิงเซี่ยเป็นฐานเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศมุสลิม • มีทรัพยากรยิปซั่มมากเป็นอันดับ 1 ของจีน และมีถ่านหินมีปริมาณมากเป็นอันดับ 5 ของจีน • เป็นแหล่งเพาะปลูกเก๋ากี้และผลิตภัณฑ์แปรรูปเก๋ากี้คุณภาพดีติดอันดับ 1 ของจีน และมีอุตสาหกรรมไวน์ที่กาลังเติบโตค่อนข้างเร็ว • เป็นพื้นที่รับแสงแดดได้มากที่สุดที่หนึ่งของจีน จึงมีศักยภาพในการผลิตพลังงาน จากแสงอาทิตย์

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

66, 400 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 1 ใน 8 ของไทย) ใหญ่เป็นอันดับ 27 ของจีน 6.39 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) นครหยินชวน(Yinchuan) ภาษาจีนกลาง ภาษาหุย พุทธ อิสลาม

เลขาธิการพรรคฯ ผู้ว่าการมณฑล ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายจาง ยี่ (Zhang Yi) นายหวาง เจิ้งเหว่ย (Wang Zhengwei) นายจาง ยี่ (Zhang Yi) นายเซี่ยง จงซี (Xiang Zhongxi) ฮั่น (79%) หุย (20%) แมนจู (0.4%)

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP GDP per Capita GDP Growth ทรัพยากรธรรมชาติ การค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวของการค้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 32.7 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) USD 4,248.40 (ไทย: USD 5,112) CPI 12.5% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก ยิปซั่ม ถ่านหิน ดินเหนียวทนไฟ หินปูนขาว สารละลายซิลิกา แร่ ซัลเฟอร์และเหล็ก แร่ฟอสฟอรัส USD 2,279 ล้าน มูลค่าการส่งออก 16.3% มูลค่าการนำ�เข้า แร่ธาตุ ผ้าขนแคชเมียร์ เงิน อาหาร ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ ฮาลาลและสินค้ามุสลิม ผลิตภัณฑ์ เครื่องกลและไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีชั้นสูง อุปกรณ์และชิ้นส่วน ประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ เสื้อผ้า ผลิตภัณฑ์เครื่องกลและไฟฟ้า ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชั้นสูง แผงวงจรไฟฟ้า แร่เหล็ก ผลิตผลการเกษตร

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 6.3% (ไทย 3.8%) แร่ธาตุ ผ้าขนแคชเมียร์ เงิน อาหารฮาลาล และสินค้ามุสลิม ผลิตภัณฑ์เครื่องกลและ ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชั้นสูง ไวน์ USD 1,599 ล้าน (+36.7%) USD 680 ล้าน (-13.1%) ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อิตาลี

ออสเตรเลีย เยอรมนี ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 74.4 ล้าน เพิ่มขึ้น 23.8% ไทยเสียดุลการค้า โดยหนิงเซี่ยนาเข้าสินค้าจากไทย USD 15.4 ล้าน ลดลง 1.1% และส่งออกไปไทย USD 59 ล้าน เพิ่มขึ้น 32.5% สินค้านำ�เข้าจากไทย ยางพารา แทนทาลัม อุปกรณ์ในอุตสาหกรรม สินค้าส่งออกไปไทย แทนทาลัม ไททาเนี่ยมผสม โลหะผสมเหล็ก ยาปฏิชีวนะ สารเคมี ธุรกิจสำ�คัญของไทย บ.Ningxia Daylong Winery (ผลิตไวน์ออร์แกนิก) บ.หยินชวนเจิ้งต้า (บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ที่ร่วมทุนกับมณฑลหนิงเซี่ย ดำ�เนินธุรกิจประเภทปศุสัตว์) จำ�นวนคนไทย พนักงานสปา 10 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซีอาน/สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ททท. ณ นครเฉิงตู/สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง/งานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว/คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)


“หนิงเซี่ย” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • จีนมีนโยบายให้หนิงเซี่ยเป็นฐานเชื่อมความสัมพันธ์กับประเทศ มุสลิมและวางยุทธศาสตร์ให้หนิงเซี่ยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรม ฮาลาล รัฐบาลหนิงเซี่ยจึงผลักดันการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมฮาลาล และวางแผนให้หนิงเซี่ยเป็นศูนย์ผลิต แปรรูปและกระจายสินค้า ฮาลาลในจีนและในระดับนานาชาติ • เป็นแหล่งแร่ยปิ ซัม่ มากอันดับ 1 ของจีน รวมทัง้ มีพนื้ ทีร่ บั แสงอาทิตย์ มากเป็นอันดับต้นของจีน • มีภูมิอากาศที่เหมาะแก่การเพาะปลูกเก๋ากี้ และองุ่นเพื่อทำ�ไวน์ โดยหนิงเซี่ยมีนโยบายประชาสัมพันธ์ไวน์ของมณฑลให้มีชื่อเสียง ในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ โดยเริ่มจากยุโรปตะวันออก • หนิงเซี่ยได้เปิดศูนย์กระจายสินค้าหนิงเซี่ยที่หาดใหญ่ • ในระยะยาว หนิงเซี่ยมีนโยบายจัดตั้ง Yinchuan International Airport Logistics Zone ซึง่ หนิงเซีย่ วางเป้าทีจ่ ะกลายเป็น “Oriental Dubai” โอกาสของไทย • ไทยสามารถร่วมมือกับหนิงเซี่ยในห่วงโซ่อุตสาหกรรมการผลิต อาหารฮาลาลท่ามกลางกระแสข้อกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัย ของอาหารที่ผลิตจากจีน • มีธุรกิจของไทยเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมไวน์ของหนิงเซี่ยแล้ว เนื่องจากประชากรมีกาลังซื้อที่มากขึ้นและการพัฒนาไวน์หนิงเซี่ย ถือเป็นการขานรับกระแสสินค้าประเภทฟุ่มเฟือย ที่กำ�ลังเป็นที่นิยม ในประเทศจีน

จุดอ่อน • มูลค่าการค้ากับต่างประเทศของหนิงเซี่ยยังคงไม่มากนัก ด้วยจำ�นวน ประชากรเพียง 6.39 ล้านคน และเครือข่ายการคมนาคมทั้งภายใน หนิงเซี่ยและกับส่วนอื่นๆ ของประเทศ ยังคงอยู่ระหว่างการพัฒนา • ปัจจุบันยังไม่มีเที่ยวบินตรงไปต่างประเทศและเพิ่งจะเริ่มการจัด เที่ยวบินเช่าเหมาลาไปประเทศเกาหลีใต้สาหรับฤดูกาลท่องเที่ยว • กิจการด้านเกษตรในหนิงเซี่ยที่ใช้น้าเป็นจานวนมากมักประสบ ปัญหาได้ เนื่องจากภาวการณ์ขาดแคลนและความจาเป็นใน การ จัดสรรแบ่งปันน้าระหว่างกัน ความท้าทาย • มีผู้เล่นประเทศอื่นๆ ที่จับมือกับหนิงเซี่ยในด้านอาหารฮาลาลแล้ว อาทิ ประเทศมาเลเซีย • ผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรของหนิงเซี่ยให้ความสนใจการพัฒนา พันธุ์พืช ต่างๆ รวมทั้งข้าวและกล้วยไม้ เพื่อสร้างพันธุ์พืชที่ทนต่อสภาพ แวดล้อมแห้งแล้งและหนาวเย็นของหนิงเซี่ย และให้ ผลิตผลดี เพื่อปลูกในหนิงเซี่ยเองและอาจนาไปสู่การลดการพึ่งพาสินค้าจาก ภายนอก รวมทั้งการส่งออกในอนาคตได้


มณฑลฝูเจี้ยน (Fujian Province)

• ตั้งอยู่ใกล้กับไต้หวันมากที่สุด ห่างจากไต้หวันเพียง 125 -160 กม. • มีชายฝั่งทะเลยาวเป็นอันดับ 2 ของจีน ระยะทางรวม 3,324 กม. • เป็นบ้านเกิดของชาวจีนโพ้นทะเลเชื้อสายฮกเกี้ยนจานวนมากในไต้หวัน ฮ่องกง และอาเซียน ซึ่งมีบทบาทสาคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของมณฑลในช่วง 30 ปี ที่ผ่านมา • เมืองเซี่ยเหมินเป็น 1 ใน 6 เขตเศรษฐกิจพิเศษของจีน • เป็นศูนย์กลางของเขตเศรษฐกิจชายฝั่งตะวันตกช่องแคบไต้หวัน (Western Taiwan Straits Economic Zone)

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

121,400 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 1 ใน 4 ของไทย) ใหญ่เป็นอันดับ 23 ของประเทศจีน 37.20 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) นครฝูโจว (Fuzhou) จีนกลาง หมิ่นหนาน (ฮกเกี้ยน) หมิ่นตง จีนแคะ พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์ อิสลาม

เลขาธิการพรรคฯ ผู้ว่าการมณฑล ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นางซุน ชุนหลาน (Sun Chunlan) นายซู ซู่หลิน (Su Shulin) นางซุน ชุนหลาน (Sun Chunlan) นางเหลียง ฉี่ผิง (Liang Qiping) ฮั่น (98%) เซอ หุย เกาซาน

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP USD 269.3 พันล้าน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) GDP per Capita USD 7,271 (ไทย: USD 5,112) GDP Growth 12.2% (ไทย: 0.1%) ทรัพยากรธรรมชาติ เหล็ก ทองคา ตะกั่ว สังกะสี หินปูน หินแกรนิต ผลิตภัณฑ์จากทะเล การค้ากับต่างประเทศ USD 143,563 ล้าน การขยายตัวของการค้า 32% สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ เครื่องจักรไฟฟ้า สินค้าเทคโนโลยีชั้นสูง เครื่องนุ่งห่มและ สิ่งทอ สินค้าเกษตร รองเท้า เฟอร์นิเจอร์ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า สินค้าเทคโนโลยีชั้นสูง สินค้าขั้นปฐมภูมิ อาทิ แร่เหล็ก ถั่วเหลือง พลาสติก

สกุลเงิน CPI อุตสาหกรรมหลัก มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำ�เข้า ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.3% (ไทย: 3.8%) อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยี สื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องจักร ปิโตรเคมี สิ่งทอ และอาหารแปรรูป USD 92,842 ล้าน (+29.9%) USD 50,721 ล้าน (+36%) สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา อาเซียน ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน

ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ

ไต้หวัน อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 2,163.29 ล้าน เพิ่มขึ้น 22.1% ไทยได้ดุลการค้า โดยฝูเจี้ยนนาเข้าสินค้าจากไทย USD 1,175.58 ล้าน เพิ่มขึ้น 14.9% และส่งออกไปไทย USD 987.71 ล้าน เพิ่มขึ้น 32.0% สินค้านำ�เข้าจากไทย ยางพารา เครื่องจักร พลาสติก เคมีอินทรีย์ (Organic Chemicals) ผลไม้ สินค้าส่งออกไปไทย เครื่องจักรไฟฟ้า (Electrical Machinery) เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ ปลาและอาหารทะเล ร่มและ ไม้เท้าช่วยเดิน รองเท้า ธุรกิจสำ�คัญของไทย บ.การบินไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ (อุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ อาหารสัตว์ จำ�หน่ายอาหารและเวชภัณฑ์สัตว์) ธ.กรุงเทพ บ.ไทยซัมมิท (ชิ้นส่วนยานยนต์) จำ�นวนคนไทย ประมาณ 900 คน เป็นนักธุรกิจ/พนักงานประมาณ 70 คน นักศึกษาประมาณ 830 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานกงสุลใหญ่ สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน/สนง.เศรษฐกิจการลงทุน ณ นครกว่างโจว/ฝ่ายการเกษตร ณ นครกว่างโจว/งานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว/ททท. ณ นครเซี่ยงไฮ้


“ฝูเจี้ยน” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • เป็นหนึ่งในเมืองท่าสำ�คัญ โดยท่าเรือเซี่ยเหมินถือเป็นท่าเรือที่มี ปริมาณสินค้าผ่านเข้า-ออกมากที่สุดแห่งหนึ่งของจีน • เป็นศูนย์กลางเชื่อมความสัมพันธ์ทุกด้านของจีนกับไต้หวัน โดยเฉพาะ อย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจ • เขตเศรษฐกิจพิเศษเซี่ยเหมินเป็นพื้นที่ทดลองเปิดรับการลงทุนต่างชาติ มาแล้วกว่า 30 ปี

จุดอ่อน • แม้จะเป็นมณฑลติดทะเล แต่การเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวมยังช้า กว่ามณฑลชายฝั่งทะเลอื่นๆ เนื่องจากความสัมพันธ์กับไต้หวัน ที่ไม่ราบรื่นนักในอดีต ปัจจัยทางการเมืองระหว่างช่องแคบไต้หวัน ค่อนข้างมีผลต่อการพัฒนาของมณฑลฝูเจี้ยน อย่างไรก็ดี ช่วงหลายปี ที่ผ่านมาความสัมพันธ์จีน-ไต้หวันดีขึ้นเป็นลำ�ดับ ส่งผลให้เกิดการ ลงทุนในด้านต่างๆ เพิ่มขึ้นมาก

โอกาสของไทย • ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เมืองเซี่ยเหมินได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ชาวจีนสูงมากในทุกช่วงวันหยุดเทศกาล ธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ไทยในฐานะที่มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ ไม่ว่าจะเป็น โรงแรม สปา ร้านอาหาร การแสดงศิลปะ ต่างๆ อาจหาโอกาสในการเข้ามา ลงทุนได้ • อุตสาหกรรมที่ฝูเจี้ยนสนับสนุนการลงทุนจากต่างชาติล้วนเป็น อุตสาหกรรมหนักและอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูงบวกกับ เงินลงทุนจานวนมาก หากธุรกิจ SMEs ของไทยในด้านดังกล่าว ที่ยังไม่พร้อมในการลงทุนก็สามารถอาศัยคู่ค้าในพื้นที่ทาหน้าที่เปิด ตลาดแทนได้ • การที่มีอาณาเขตติดต่อกับมณฑลใหญ่และเป็นที่รู้จักของคนไทย มากกว่าอย่างมณฑลกวางตุ้ง ทาให้สามารถเป็นอีกตัวเลือกสาคัญ ในการเริ่มขยายตลาดสาหรับธุรกิจไทยที่มีการลงทุนและคุ้นเคยกับ มณฑลกวางตุ้งอยู่ก่อนแล้ว

ความท้าทาย • เนื่องจากเป็นตลาดที่ยังไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของคนไทยมากนัก ผู้ที่เข้ามา ลงทุนหรือทาตลาดต้องใช้ความอดทนและความพยายามมากกว่า มณฑลที่เป็นตลาดที่คุ้นเคยของไทย • ฝูเจี้ยนเป็นบ้านเกิดของชาวจีนโพ้นทะเลจานวนมาก ซึ่งปัจจุบัน ชาวจีนโพ้นทะเลเหล่านี้ได้กลับเข้ามาลงทุนทาธุรกิจในฝูเจี้ยนเป็น จำ�นวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากไต้หวัน สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ดังนั้นธุรกิจไทยที่จะเข้ามาเปิดตลาดจึงควรศึกษาพฤติกรรมของทั้ง คู่แข่งและผู้บริโภคท้องถิ่นไปพร้อมกันด้วย


มณฑลเจียงซี (Jiangxi Province) • พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าไม้และภูเขาจึงอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแร่ธาตุหลายชนิดที่มีปริมาณมากเป็นอันดับต้นของประเทศจีน เช่น ทองแดง ทองคา เงิน วุลแฟรม ยูเรเนียม โลหะหายาก เป็นต้น • เป็นที่ตั้งของทะเลสาบผอหยาง ทะเสสาบน้าจืดที่ใหญ่ที่สุดในจีน และยังเป็นทางผ่านของ แม่น้ำ�แยงซีเกียงซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งทางแม่น้ำ�ที่สาคัญที่สุดของจีน • เป็นมณฑลตอนในที่ตั้งอยู่ใกล้กับไต้หวันมากที่สุด และมีอาณาเขตติดต่อกับ มณฑลชายฝั่งตะวันออกที่มีท่าเรือสาคัญ 3 มณฑล ได้แก่ กวางตุ้ง ฝูเจี้ยน และเจ้อเจียง

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

166,947 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 ของไทย) ใหญ่เป็นอันดับ 17 ของประเทศจีน 44.88 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) นครหนานชาง (Nanchang) จีนกลาง ก้าน จีนแคะ พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์ อิสลาม

เลขาธิการพรรคฯ ผู้ว่าการมณฑล ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายซู หรง (Su Rong) นายลู่ ซินเซ่อ (Lu Xinshe) นายซู หรง (Su Rong) นายจาง อี้โจ๋ง (Zhang Yijiong) ฮั่น (99%) เซอ จ้วง แมนจู

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP GDP per Capita GDP Growth ทรัพยากรธรรมชาติ การค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวของการค้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 179.3 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) USD 4,006 (ไทย: USD 5,112) CPI 12.5% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก ทองแดง ทองคา เงิน วุลแฟรม ยูเรเนียม โลหะหายาก USD 31,556 ล้าน มูลค่าการส่งออก 46.1% มูลค่าการนำ�เข้า เครื่องจักร สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ สิ่งทอ กระเป๋า ผลิตภัณฑ์พลาสติก เฟอร์นิเจอร์ รองเท้า เครื่องจักรและชิ้นส่วน ทองแดง ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ แร่เหล็ก

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.2% (ไทย: 3.8%) ยานยนต์และอากาศยาน เหมืองแร่ ยาชีวภาพ อาหารแปรรูป อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ USD 21,881 ล้าน (+63.1%) USD 9,675 ล้าน (+18.1%) สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา อาเซียน ฮ่องกง ญี่ปุ่น ละตินอเมริกา สหภาพยุโรป ไต้หวัน ออสเตรเลีย แอฟริกา อาเซียน

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 296.68 ล้าน เพิ่มขึ้น 23.58% ไทยเสียดุลการค้า โดยเจียงซีนำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 65.54 ล้าน ลดลง 14.87% และส่งออกไปไทย USD 231.13 ล้าน เพิ่มขึ้น 45.52% สินค้านำ�เข้าจากไทย น้ำ�ยางธรรมชาติ แผงวงจรรวม (IC) ยางพารา แร่เซอร์โคเนียม (Zirconium) และเศษทองแดง (Copper Scrap) สินค้าส่งออกไปไทย เหล็ก โลหะผสมจากเหล็ก ชุดเกียร์รถยนต์ ประทัดและดอกไม้ไฟ และคาร์บอนแบล็ก (Carbon Black) ธุรกิจสำ�คัญของไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ (อุตสาหกรรมเลี้ยงสัตว์ อาหารสัตว์ จำ�หน่ายอาหารและเวชภัณฑ์สัตว์ ผลิตไวน์) จำ�นวนคนไทย ประมาณ 100 คน เป็นนักธุรกิจ/พนักงานประมาณ 40 คน นักศึกษาประมาณ 60 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองเซี่ยเหมิน/ททท. ณ นครเซี่ยงไฮ้/สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง/สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สนง.เศรษฐกิจการลงทุน งานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“เจียงซี” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • เป็นมณฑลตอนในที่ตั้งอยู่ใกล้กับไต้หวันมากที่สุด และมีอาณาเขต ติดต่อกับมณฑลชายฝั่งตะวันออกที่มีท่าเรือสาคัญ 3 มณฑล ได้แก่ กวางตุ้ง ฝูเจี้ยน และเจ้อเจียง เหมาะเป็นฐานการผลิตเพื่อการ บริโภคภายในและการส่งออก • ราคาปัจจัยการผลิตยังคงอยู่ในระดับต่ำ� โดยค่าแรงขั้นต่ำ�เฉลี่ยอยู่ที่ เพียง 610 – 870 หยวนต่อเดือน โอกาสของไทย • แม้ว่าเศรษฐกิจโดยภาพรวมยังพัฒนาไม่มาก แต่ด้วยนโยบาย สนับสนุนของรัฐบาลกลางที่ต้องการกระจายความเจริญสู่มณฑล ตอนในให้มากขึ้น ทำ�ให้ช่วงที่ผ่านมามีธุรกิจหลายประเภทย้ายและ ขยายฐานการผลิตจากมณฑลชายฝั่งเข้าสู่มณฑลเจียงซี โดยเฉพาะ อย่างยิ่งอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น จึงเหมาะกับการตั้งฐาน การผลิตเพื่อส่งไปจาหน่ายยังพื้นที่อื่นๆ เนื่องจากราคาปัจจัยการผลิต ที่ไม่สูงรวมถึงมีอาณาเขตติดต่อกับมณฑลชายฝั่งทะเล และมณฑล ตอนในหลายมณฑล

จุดอ่อน • ไม่มีทางออกทะเล ระบบการคมนาคมต่างๆ ยังค่อนข้างล้าหลัง อย่างไรก็ดี ขณะนี้โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางหนานชาง– ผู่เถียน (เมืองชายฝั่งทะเลในมณฑลฝูเจี้ยน) กาลังอยู่ในระหว่าง การก่อสร้าง คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปี 2556 ความท้าทาย • รายได้เฉลี่ยของชาวมณฑลเจียงซีถือว่ายังอยู่ในระดับต่า ไม่เหมาะ ที่จะเข้ามาเปิดตลาดสินค้าใหม่ๆ ต้องรอให้ความนิยมเผยแพร่มาจาก มณฑลชายฝั่งทะเลอีกทอดหนึ่ง • เศรษฐกิจในภาพรวมและระดับการเปิดรับการลงทุนจากต่างชาติ ยังไม่มาก ทำ�ให้อาจเกิดปัญหาในการติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ ที่ เกี่ยวข้อง


นครเซี่ยงไฮ้ (Shanghai)

• เป็นหนึ่งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้าแยงซีเกียง ซึ่งเป็นเขตเศรษฐกิจที่สำ�คัญ ทางภาคตะวันออกของจีน • เป็นเมืองที่มีระบบการคมนาคมทันสมัยที่สุดในจีน (รถไฟแม่เหล็ก Maglev) • เป็นเมืองที่มีบริษัทข้ามชาติเข้ามาก่อตั้งสำ�นักงานใหญ่มากที่สุดและ มีชาวต่างชาติอาศัย มากที่สุดในจีน • ท่าเรือมีปริมาณการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์มากที่สุดในโลก (มากกว่า 30 ล้านตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 20 ฟุต) • สถิตินาเข้าผลไม้ไทยมากเป็นอันดับ 2 รองจากมณฑลกวางตุ้ง • เป็นศูนย์กลางการจัดงานประชุมนานาชาติและงานแสดงสินค้านานาชาติที่สำ�คัญที่สุดในจีน (สถิติการจัดงานระดับนานาชาติมากที่สุดในจีน)

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร ภาษา ศาสนา

6,340.5 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 4 เท่าของ กทม.) เขตการปกครองระดับมณฑลที่มีพื้นที่น้อยที่สุด 23.02 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) จีนกลาง จีนเซี่ยงไฮ้ พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์ อิสลาม

เลขาธิการพรรคฯ นายกเทศมนตรี ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายหยู เจิ้งเซิง (Yu Zhengsheng) นายหาน เจิ้ง (Han Zheng) นายหลิว หยุนเกิง (Liu Yungeng) นายเฝิง กั๋วฉิน (Feng Guoqin) ฮั่น (98.8%) ชนกลุ่มน้อยอื่นๆ (1.2%)

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP GDP per Capita GDP Growth ทรัพยากรธรรมชาติ การค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวของการค้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 297.27 พันล้าน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) USD 12,911 (ไทย: USD 5,112) 8.2% (ไทย: 0.1%) สัตว์ทะเลตามชายฝั่ง 20 กว่าชนิด น้ำ�มันดิบในภาพอุตสาหกรรม และก๊าซธรรมชาติ USD 438,000 ล้าน 18.6% เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรยนต์และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วนมาตรวัดไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์โลหะ สินค้าเทคโนโลยีชั้นสูง อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ LCD

สกุลเงิน CPI อัตราค่าแรงขั้นต่ำ� อุตสาหกรรมหลัก มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำ�เข้า ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.2% (ไทย: 3.8%) 1,450 หยวน/เดือน หรือ 12 หยวน/ช.ม. อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยี การคมนาคมและการสื่อสาร การเงิน การท่องเที่ยว เครื่องจักรกลไฟฟ้า USD 228,000 ล้าน (+21%) USD 210,000 ล้าน (+16%) ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา

ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ

ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อาเซียน ไต้หวัน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 9,102.48 ล้าน เพิ่มขึ้น 17.9% ไทยได้ดุลการค้า โดยเซี่ยงไฮ้นำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 5,915.12 ล้าน เพิ่มขึ้น 11.4% และส่งออกไปไทย USD 3,187.36 ล้าน เพิ่มขึ้น 32.0% สินค้านำ�เข้าจากไทย เครื่องจักรสานักงาน เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เคมีอินทรีย์ ผลิตภัณฑ์พลาสติกขั้นต้น และยางดิบ สินค้าส่งออกไปไทย เครื่องจักรสานักงาน เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรอุตสาหกรรมทั่วไปและชิ้นส่วนอะไหล่ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้เฉพาะ และเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเฉพาะทาง ธุรกิจสำ�คัญของไทย บ.การบินไทย เครือเจริญโภคภัณฑ์ (Super Brand Mall, CP Lotus, CP Food) ธ.กรุงเทพ บ.ดับเบิ้ลเอ บ.ปตท. บ.SCG Trading บ.บ้านปูพร็อพเพอร์ตี้ บ.ดอกบัวคู่ บ.โอเชียนกลาส บ.สหยูเนียน บ.Aeroflex จำ�นวนคนไทย ประมาณ 1,500 คน เป็นผู้มาทางานและผู้ติดตามประมาณ 500 คน นักศึกษาประมาณ 1,000 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานกงสุลใหญ่ สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สนง.เศรษฐกิจการลงทุน ททท. ณ นครเซี่ยงไฮ้/สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง/งานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“เซี่ยงไฮ้” วันนี้ : สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • รัฐบาลจีนได้วางนโยบายให้เป็นศูนย์กลางระหว่างประเทศใน 4 ด้าน ได้แก่ ศูนย์กลางเศรษฐกิจ ศูนย์กลางการเงิน ศูนย์กลางการค้า และศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทางเรือ • ได้ดำ�เนินนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ จากภาคการผลิตไปสู่ ภาคบริการและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชั้นสูง • ระบบการคมนาคมทันสมัย สิ่งอานวยความสะดวกที่ ครบครัน มีเทคโนโลยีระดับสูงและการบริหารจัดการที่เป็นระบบ • นโยบายดึงดูดบริษัทและบุคลากรจากต่างชาติ ทาให้ เซี่ยงไฮ้เป็น พื้นที่ที่มีบริษัทข้ามชาติเข้ามาจัดตั้งสานักงานใหญ่มากที่สุดในจีน (มากกว่า 900 บริษัท) • มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้ามาของธุรกิจต่างชาติมากในอันดับ ต้นๆ ของจีน • ผู้บริโภคมีฐานะทางเศรษฐกิจดี มีรสนิยมและกาลังซื้อสูง สอดคล้อง กับสภาพเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างมากของเซี่ยงไฮ้ในปัจจุบัน โอกาสของไทย • นโยบายของเซี่ยงไฮ้ที่มุ่งเน้นภาคบริการเป็นหลักจึงเป็นโอกาส ของธุ ร กิ จ บริ การของไทยซึ่ง มีความเชี่ย วชาญมากกว่าจี นในแง่ การบริหารจัดการหรือเทคโนโลยี เช่น ธุรกิจร้านอาหาร สปา ห้าง สรรพสินค้า เป็นต้น นอกจากนี้ ธุรกิจโรงพยาบาลและธุรกิจเพื่อ สุขภาพเป็นอีกสาขาหนึ่งที่ไทยมีศักยภาพ โดยนครเซี่ยงไฮ้เริ่มเข้า สู่ สั ง คมผู้ สู ง อายุ ท าให้ มี ค วามต้ อ งการบริ ก ารด้ า นสุ ข ภาพที่ มี คุณภาพสูง และยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐที่ต้องการดึงดูดให้ ต่างชาติเข้ามาลงทุนในด้านดังกล่าว • ตลาดเซี่ยงไฮ้เป็นโอกาสของสินค้าดี มีคุณภาพ และมีดีไซน์สร้างสรรค์ ของไทย ด้วยชาวเซี่ยงไฮ้มีกาลังซื้อที่สูง นิยมในของดี และเปิดรับ ต่อสินค้าใหม่ๆ อาทิ สินค้าเกษตรที่มีคุณภาพสูง ของตกแต่งบ้าน หรือสินค้าที่ดูดีมีดีไซน์ • รายงาน 2012 Regional Analysis of China’s Outbound Tourism (11 พ.ค.55) ชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นจุดหมายปลาย ทางอันดับ 1 ของกรุ๊ปทัวร์จากเซี่ยงไฮ้ แซงหน้าญี่ปุ่นและเพิ่มขึ้น ถึง 69% สะท้อนถึงความนิยมในประเทศไทยและโอกาสของไทย ในการดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวเซี่ยงไฮ้ให้มากขึ้นอีกในอนาคต

จุดอ่อน • อัตราค่าครองชีพในเซี่ยงไฮ้อยู่ในเกณฑ์สูงมาก หากเปรียบเทียบกับ เมืองอื่นๆ ของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งไม่ว่า จะเป็นค่าเช่าที่พักอาศัย ค่าเช่าสานักงาน หรือค่าเช่าหน้าร้าน รัฐบาลเซี่ยงไฮ้กำ�หนดค่าแรงงานขั้นต่าที่เดือนละ 1,450 หยวน (ยังไม่รวมสวัสดิการอื่นๆ ที่นายจ้างต้องจ่าย) หรือที่ชั่วโมงละ 12.5 หยวน สูงเป็นอันดับ 2 รองจากเมืองเซินเจิ้นของมณฑลกวางตุ้ง • ความเป็นทางการและสากลนามาซึ่งกฎระเบียบและมาตรฐาน ที่เข้มงวด ทำ�ให้การทำ�ธุรกิจในนครเซี่ยงไฮ้มีขั้นตอนมากกว่าและ มีความยืดหยุ่นไม่เท่ากับการทาธุรกิจในเมืองอื่นๆ ของจีน • ปัจจัยทั้งหมดดังกล่าวข้างต้นล้วนส่งผลให้ต้นทุนการทำ�ธุรกิจหรือ การใช้ชีวิตในเซี่ยงไฮ้อยู่ในระดับที่สูงมาก ความท้าทาย • ต้นทุนธุรกิจที่สูงประกอบกับอัตราการแข่งขันที่สูงในธุรกิจประเภท เดียวกันทำ�ให้บริษัทที่ต้องการเข้ามาลงทุนใน นครเซี่ยงไฮ้ควรมีพื้นฐาน ทางธุรกิจที่เข้มแข็งและมีเงินทุนมากพอในระดับหนึ่ง • ความหลากหลายของสินค้าและผลิตภัณฑ์ในตลาด โดยเฉพาะสินค้า นำ�เข้าจากต่างประเทศ ทาให้ผู้บริโภคเกิดการเปรียบเทียบสินค้าใน ลักษณะเดียวกันทั้งเรื่องราคาหรือคุณภาพ สินค้าที่จะเข้ามาในตลาด แห่งนี้จาเป็นต้องสร้างแบรนด์ สร้างคุณภาพ สร้างเอกลักษณ์และ ความโดดเด่น เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคที่มีกาลังการซื้อสูง และมักจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดให้กับตนเอง • ชาวเซี่ยงไฮ้ที่มีกำ�ลังซื้อสูงมักนิยมการท่องเที่ยวที่มีระดับ เช่น รีสอร์ตหรูบนเกาะไห่หนาน เกาะบาหลี หรือประเทศตะวันตก ซึ่ ง ภาพลั ก ษณ์ ข องการท่ อ งเที่ ย วไทยที่ มี ร าคาถู ก ทาให้ ไ ทยเสี ย โอกาสในการดึงดูดนักท่องเที่ยวชาวเซี่ยงไฮ้ที่มีคุณภาพ การหา พาร์ทเนอร์บริษัททัวร์จีนที่น่าเชื่อถือ (ไม่ทำ�ทัวร์ศูนย์เหรียญ) ตลอดจน การเสนอโปรแกรมและโฆษณาทัวร์ที่มีคุณภาพ เพื่อดึงดูดชาว เซี่ยงไฮ้ยุคใหม่ที่ชอบเดินทางเองหรือกรุ๊ปทัวร์ที่มีกาลังซื้อ จะสามารถ ช่วยเพิ่มมูลค่าและนำ�รายได้มาให้กับการท่องเที่ยวไทยอย่างมหาศาล


มณฑลเจ้อเจียง (Zhejiang Province) • เป็นหนึ่งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้าแยงซีเกียง ซึ่งเป็นเขต เศรษฐกิจที่สำ�คัญทางภาคตะวันออกของจีน • มูลค่าการลงทุนในต่างประเทศสูงเป็นอันดับ 1 ของจีน • ประชาชนในเขตชนบทมีรายได้สูงที่สุดในจีน นานติดต่อกัน 27 ปี • มูลค่าการส่งออกสินค้ามากเป็นอันดับ 3 ของจีน (รองจากมณฑลกวางตุ้ง และเจียงซู) • มีเงินทุนของธุรกิจภาคเอกชนมากที่สุดในจีน • เป็นมณฑลที่มีดัชนีการพัฒนาในภาพรวมสูงที่สุดในทุกมณฑลของจีน • เป็นที่ตั้งของตลาดค้าส่งอี้อูตลาดค้าส่งสินค้าเบ็ดเตล็ดที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

101,800 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของไทย) ใหญ่เป็นอันดับ 25 ของจีน 54.43 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) นครหางโจว (Hangzhou) จีนกลาง จีนอู๋ พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์ อิสลาม

เลขาธิการพรรคฯ ผู้ว่าการมณฑล ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายจ้าว หงจู้ (Zhao Hongzhu) นายเซี่ย เป่าหลง (Xia Baolong) นายจ้าว หงจู้ (Zhao Hongzhu) นางเฉียว ฉวนซิ่ว (Qiao Chuanxiu) ฮั่น (99.2%) เชอ (0.4%)

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP USD 495.5 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) GDP per Capita USD 9,103 (ไทย: USD 5,112) CPI GDP Growth 9.0% (ไทย: 0.1%) อัตราค่าแรงขั้นต่ำ� ทรัพยากรธรรมชาติ แร่โลหะ ถ่านหิน สารส้ม เถ้าภูเขาไฟ อุตสาหกรรมหลัก ใช้ในงานก่อสร้างและงานปูน แร่ฟลูโอไรท์ ดินสาหร่ายเปลือกแข็ง การค้ากับต่างประเทศ USD 309,400 ล้าน มูลค่าการส่งออก การขยายตัวของการค้า 22% มูลค่าการนำ�เข้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สิ่งทอ เครื่องแต่งกาย เฟอร์นิเจอร์ ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชั้นสูง

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.4% (ไทย: 3.8%) แบ่งออกเป็น 4 ระดับ คือ เดือนละ 1,310 หยวน 1,160 หยวน 1,060 หยวน และ 950 หยวน ดินเหนียว เคมีภัณฑ์ โทรศัพท์มือถือ ไฟเบอร์ ยาเส้น เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ USD 216,400 ล้าน (+19.9%) USD 93,000 ล้าน (+27.3%) สหภาพยุโรป อาเซียน สหรัฐอเมริกา อาเซียน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 4,931.05 ล้าน เพิ่มขึ้น 33.2% ไทยเสียดุลการค้า โดยเจ้อเจียงนำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 2,244.56 ล้าน เพิ่มขึ้น 30.3% และส่งออกไปไทย USD 2,686.49 ล้าน เพิ่มขึ้น 35.7% สินค้านำ�เข้าจากไทย ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเส้นด้าย วัสดุเหล็ก อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ แผงวรจรไฟฟ้า และส่วนประกอบไมโครอิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์เปิด-ปิดและป้องกันวงจรไฟฟ้า แผงวงจรพิมพ์ (PCB) น้ำ�มันสาเร็จรูป ผลิตภัณฑ์แก้ว ผลไม้สด-แห้ง ทองแดง (ยังไม่ผ่านการหลอม) สินค้าส่งออกไปไทย ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเส้นด้าย วัสดุเหล็ก มอเตอร์ไฟฟ้าและเครื่องกาเนิดไฟฟ้า น้ำ�มันดิบ สายไฟฟ้าและ สายเคเบิล สกรูยึดที่ทาจากทองแดงหรือเหล็ก อะไหล่รถยนต์ อุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์ ทรานซิสเตอร์ไดโอด ผลิตภัณฑ์ประมง ธุรกิจสำ�คัญของไทย ห้างเซ็นทรัล บ.สหยูเนียน บ.ดัชมิลล์ บ.Zhengjiang Yi Tai Foodstuffs Trading พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานกงสุลใหญ่ สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สนง.เศรษฐกิจการลงทุน ททท. ณ นครเซี่ยงไฮ้/สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง/งานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“เจ้อเจียง” วันนี้ : สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • มีศักยภาพทางเศรษฐกิจรอบด้านทั้งภาคธุรกิจการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว โดยได้กาหนดยุทธศาสตร์ของแต่ละเมืองแบ่งตาม ภูมิภาคได้เป็นอย่างดี อาทิ ตอนเหนือของมณฑล มีนครหางโจว เป็นศูนย์กลางด้านการท่องเที่ยวและการบริโภค ตอนกลางมีเมือง อี้อูเป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าส่ง ตอนใต้มีเมืองเวินโจวเป็นศูนย์กลาง ด้านการลงทุนของวิสาหกิจภาคเอกชนซึ่งมีความเข้มแข็งระดับ แนวหน้าของจีน และทางตะวันออกมีเมืองหนิงโปเป็นศูนย์กลาง การขนส่งที่สำ�คัญระดับนานาชาติ ทำ�ให้เจ้อเจียงเป็นมณฑลที่ มั่งคั่ง ประชากรมีกำ�ลังซื้อสูง • มีความโดดเด่นทางที่ตั้งภูมิศาสตร์ โดยอยู่ติดกับเซี่ยงไฮ้ซึ่งเป็น ศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจของจีน และยังสามารถเดินทางเชื่อมต่อ กับพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของจีนได้ตั้งแต่ภาคเหนือ (ปักกิ่ง/มณฑล ซานตง) ภาคกลาง (เซี่ยงไฮ้/มณฑลเจียงซู) ไปจนถึงภาคใต้ (มณฑลฝูเจี้ยน/มณฑลกวางตุ้ง) • มีเครือข่ายการคมนาคมเชื่อมต่อกับมณฑลอื่นๆ ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ • ภาคธุรกิจเอกชนมีศักยภาพสูงทาให้เจ้อเจียงเป็นมณฑลที่ก้าวออก ไปลงทุนยังต่างประเทศมากเป็นอันดับ 1 ของจีน โอกาสของไทย • สถิติการยื่นขอวีซ่าท่องเที่ยวที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ และผลสารวจพฤติกรรมผู้บริโภคและความนิยมในไทยระหว่างงาน World Leisure Expoนครหางโจวช่วงสิ้นปี 2554 สะท้อนความ ชื่ น ชอบต่ อ สถานที่ ท่ อ งเที่ ย วและวั ฒ นธรรมไทยของคนเจ้ อ เจี ย ง ประกอบกั บ ชาวเจ้ อ เจี ย งจานวนมากมี ก าลั ง ซื้ อ สู ง เป็ นโอกาส สำ�หรับภาคธุรกิจการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องของไทย ในการสร้างผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวและบริการใหม่ๆ ที่มีคุณภาพ เพื่อดึงดูดให้กลุ่มคนเจ้อเจียงเดินทางไปไทยมากขึ้น • เมืองอี้อูของเจ้อเจียงเป็นที่ตั้งของตลาดค้าส่งสินค้าเบ็ดเตล็ดที่ ใหญ่ที่สุดของโลก มีนักธุรกิจจากทุกมุมโลกเดินทางมาทาการค้า รวมถึงนักธุรกิจไทย ตลาดอี้อูยังมีอาคารสำ�หรับสินค้านานาชาติ สามารถเป็นช่องทางจาหน่ายสินค้าไทยให้กับจีนและต่างชาติได้ เช่นกัน • หลายเมืองของเจ้อเจียง อาทิ นครหางโจว เมืองหนิงโป และเวินโจว เป็ น เมื อ งที่ ป ระชากรมี ก าลั ง ซื้ อ สู ง เป็ นโอกาสของสิ น ค้ า ไทย คุณภาพสูงที่จะเข้ามาเจาะตลาดเหล่านี้ • มี วิ ส าหกิ จ ที่ เ ข้ ม แข็ ง และออกไปลงทุ นในต่ า งประเทศมากที่ สุ ด ในจีน เป็นโอกาสของไทยที่จะดึงดูดหรือร่วมทุนกับวิสาหกิจที่มี ศักยภาพจากมณฑลเจ้อเจียง

จุดอ่อน • ระบบการคมนาคมภายในมณฑลเองยังไม่รุดหน้าเท่าที่ควร แม้ว่า การคมนาคมจากตอนเหนือสู่ตอนใต้ของมณฑลจะมีเส้นทางรถไฟ ความเร็วสูง แต่การเดินทางจากทางตะวันออกสู่ตะวันตกยังคง ต้องใช้ระบบเส้นทางถนนโดยไม่มีรถไฟรองรับ หรือการคมนาคม ในหางโจวที่เป็นเมืองเอกของมณฑล ซึ่งยังคงไม่มีระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน (เพิ่งจะเริ่มสร้าง ในขณะที่เมือกเอกของมณฑลอื่นๆ ที่สำ�คัญล้วน เปิดใช้รถไฟฟ้าใต้ดินแล้ว) • อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ยังมีความ ไม่เท่าเทียมกัน โดยสังเกตได้จากพื้นที่ตอนเหนือที่ติดกับ เซี่ยงไฮ้และพื้นที่ทาง ตะวันออกที่ติดกับชายฝั่งทะเลมีพัฒนาการทางเศรษฐกิจมากกว่า พื้นที่ทางตะวันตกของมณฑล • เจ้อเจียงมีพลังงานไม่เพียงพอ ต้องนาเข้าจากมณฑลอื่นๆ ถึงร้อยละ 97 ทำ�ให้ต้นทุนการผลิตทางอุตสาหกรรมอยู่ในเกณฑ์ที่สูง ความท้าทาย • ศักยภาพที่โดดเด่นของมณฑล ทำ�ให้ธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ต่างเข้ามาทาการค้าการลงทุนสร้าง แบรนด์เพื่อเข้ามาตีตลาดและมี ความร่วมมือกับเจ้อเจียงจานวนมาก ก่อให้เกิดการแข่งขันที่สูง ผู้ประกอบการไทยต้องมีจุดเด่นของตนเองเพื่อสร้างความแตกต่าง พัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการและฐานะ ที่ดีขึ้นของชาวเจ้อเจียง • การดึงดูดนักลงทุนจากเจ้อเจียง ซึ่งประเทศไทยคงต้องหยิบยกความ ได้เปรียบของการลงทุนที่ไทยมาสู้กับประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศ ในกลุ่มอาเซียน • ระดับความรู้จักและความนิยมในประเทศไทยยังแตกต่างกันใน แต่ละเมืองของมณฑลเจ้อเจียง


มณฑลเจียงซู (Jiangsu Province) • เป็นหนึ่งในพื้นที่เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้าแยงซีเกียง ซึ่งเป็นเขต เศรษฐกิจที่สาคัญทางภาคตะวันออกของจีน • มูลค่า GDP และมูลค่าการนาเข้า-ส่งออกมากเป็นอันดับ 2 ของจีน (รองจากมณฑลกวางตุ้ง) • มูลค่าการลงทุนจากต่างชาติสูงที่สุดในจีนเป็นระยะเวลาติดต่อกันถึง 9 ปี • เป็นมณฑลที่มีเส้นทางการขนส่งทางแม่น้ายาวที่สุดในจีนถึง 24,000 ก.ม. • มีท่าเรือขนส่งทางแม่น้าที่ใหญ่ที่สุดในจีนตั้งอยู่ที่นครหนานจิง • เป็นมณฑลที่มีสถาบันระดับอุดมศึกษามากที่สุดในจีน ตลอดจนมีการเปิดรับนักศึกษาใหม่ ระดับอุดมศึกษาและจานวนนักศึกษาในสถาบันมากที่สุดในจีน

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

102,600 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 1 ใน 5 ของไทย) ใหญ่เป็นอันดับ 24 ของประเทศจีน 78.66 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) นครหนานจิง (Nanjing) จีนกลาง จีนอู๋ พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์ อิสลาม

เลขาธิการพรรคฯ ผู้ว่าการมณฑล ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายหลัว จื้อจวิน (Luo Zhijun) นายหลี่ เสวียหย่ง (Zhu Xueyong) นายหลัว จื้อจวิน (Luo Zhijun) นางจาง เหลียนเจิน (Zhang Lianzhen) ฮั่น (99.6%) หุย (0.2%)

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP USD 750.0 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) GDP per Capita USD 9,535 (ไทย: USD 5,112) CPI GDP Growth 12.4% (ไทย: 0.1%) อัตราค่าแรงขั้นต่ำ� ทรัพยากรธรรมชาติ ประมง ถ่านหิน ฟอสฟอรัส อุตสาหกรรมหลัก ดินเหนียว เกลือโซเดียม ซิลิกา ธาตุโลหะ แร่เหล็ก การค้ากับต่างประเทศ USD 539,760 ล้าน มูลค่าการส่งออก การขยายตัวของการค้า 15.9% มูลค่าการนำ�เข้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ สินค้าอุตสาหกรรม การสื่อสาร สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ เทคโนโลยีชั้นสูง เครื่องใช้ไฟฟ้า ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ และอิเล็กทรอนิกส์

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.3% (ไทย: 3.8%) แบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ เดือนละ 1,320 หยวน 1,100 หยวน และ 950 หยวน โลหะ อุตสาหกรรมรถยนต์ น้ามัน เครื่องแต่งกาย สิ่งทอ เสื้อผ้า ยา USD 312,620 ล้าน (+15.6%) USD 227,140 ล้าน (+16.3%) สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อาเซียน ละตินอเมริกา เกาหลีใต้ ชิลี ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เปรู

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 11,113 ล้าน เพิ่มขึ้น 14.7% ไทยได้ดุลการค้า โดยเจียงซูนำ�เข้าสินค้าจากประเทศไทย USD 6,365 ล้าน เพิ่มขึ้น 8.0% และส่งออกไปไทย USD 4,748 ล้าน เพิ่มขึ้น 25.2% สินค้านำ�เข้าจากไทย อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ อะไหล่เครื่องประมวลผลข้อมูล แผงวงจรรวม สินค้าเกษตร ยางธรรมชาติ และพลาสติกขั้นปฐมภูมิ สินค้าส่งออกไปไทย คอมพิวเตอร์แบบพกพา จอภาพ LCD เส้นด้ายและสิ่งทอ อุปกรณ์ประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ และผลิตภัณฑ์เหล็ก ธุรกิจไทยที่สำ�คัญ บ.Danyang Heritage Food บ.RPD Property Development บ.Siam Agro-Food Industry บ.Pornpat Group พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานกงสุลใหญ่ สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สนง.เศรษฐกิจการลงทุน ททท. ณ นครเซี่ยงไฮ้/สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง/งานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“เจียงซู” วันนี้ : สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • เป็นฐานอุตสาหกรรมที่สำ�คัญของจีน มีนิคมอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หลายแห่งโดยมีปริมาณอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลมากที่สุดในจีน เป็นฐานอุตสาหกรรมเคมีปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดทางตอนใต้ของจีน (มีผลผลิตมากกว่า 20 ชนิด) ตลอดจนมีความโดดเด่นใน อุตสาหกรรมสิ่งทอตั้งแต่อดีต และมีศักยภาพในการแปรรูปโลหะที่ ไม่ใช่เหล็ก (Non-Ferrous Metals) มากเป็นอันดับ 1 ของจีน • มีมูลค่าการลงทุนจากต่างชาติมากเป็นอันดับ 1 ของจีน ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นกลุ่มนักลงทุนจากไต้หวัน สิงคโปร์ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี และเกาหลีใต้ โดยได้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรม อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมเบา อุตสาหกรรม สิ่งทอ อุตสาหกรรม เครื่องจักร และอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ เป็นต้น • มีท่าเรือเหลียนหยุนกั่งที่เป็นท่าเรือหลัก 1 ใน 3 ของพื้นที่ สามเหลี่ ยมปากแม่ น้าแยงซีเกียงเชื่อ มโยงภูมิภาคเอเชี ย-ยุ โรป อี ก ทั้ ง ยั ง เป็ น ศู น ย์ ก ลางของเส้ น ทางรถไฟความเร็ ว สู ง ปั ก กิ่ ง เซี่ยงไฮ้ด้วย • เป็ น ฐานการผลิ ต สิ น ค้ า ประมงน้ำ � จื ดในระดั บ แนวหน้ า ของจี น โดยเฉพาะปูขนจากทะเลสาบหยางเฉิงชื่อดังของเมือง คุนซาน ซึ่ง จำ�หน่ายทั้งในจีนเองและส่งออกไปต่างประเทศ โอกาสของไทย • เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่สามารถพิจารณาใช้เป็นที่ตั้งฐานการผลิตใน พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้าแยงซีเกียง ปัจจุบัน มีธุรกิจไทยเข้ามา ลงทุนในเจียงซูแล้วกว่า 10 ราย ครอบคลุมธุรกิจการแปรรูป อาหาร อสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้าง การผลิตด้านเทคโนโลยี ยานยนต์ สิ่งทอ และเคมีภัณฑ์ • ผู้บริโภคมีกาลังซื้ออยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างดีโดยหันมาสนใจสินค้า คุณภาพแต่ยังไม่ยึดติดแบรนด์เท่ากับผู้บริโภคในเซี่ยงไฮ้ รายจ่าย เฉลี่ยต่อหัวของชาวเจียงซูสูงถึง 18,133 หยวนต่อปี ซึ่งสูงกว่าค่า เฉลี่ยรายจ่ายของทั่วประเทศจีนประมาณ 6,700 หยวน (ยังต่ำ�กว่า เซี่ยงไฮ้และเจ้อเจียง)

จุดอ่อน • ความเจริญของภาคอุตสาหกรรมกระจุกตัวอยู่ทางพื้นที่ตอนใต้ของ มณฑล เช่น นครหนานจิง เมืองซูโจว ฉางโจว อู๋ซี เจิ้นเจียง และคุนซาน เป็นต้น ซึ่งล้วนแต่มีพื้นที่ใกล้และได้รับอิทธิพลการ เติบโตทางเศรษฐกิจจากนครเซี่ยงไฮ้ ขณะที่ตอนเหนือของมณฑล ยังไม่ก้าวหน้าเทียบเท่า • การกระจายรายได้ไปสู่ประชาชนยังไม่ดีเท่าที่ควร ดังเห็นได้จาก รายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อปีของประชากรยังคงน้อยกว่านครเซี่ยงไฮ้ และมณฑลเจ้อเจียงแม้ว่าอัตราการเติบโตของ GDP มากกว่า ความท้าทาย • การลงทุนจากต่างชาติมีมากที่สุดในจีนโดยส่วนใหญ่เป็นในรูปการ เข้ามาตั้งโรงงานอุตสาหกรรมทาให้เกิดการแข่งขันกันเพื่อดึงดูด แรงงานท้องถิ่นโดยการให้สวัสดิการเพิ่มเติมจากค่าแรงขั้นต่า ซึ่ง ทำ�ให้ต้นทุนในการทาธุรกิจ สูงขึ้น • หลายๆ เมืองของมณฑลเจียงซูกาลังเติบโตและยกระดับการพัฒนา เกิดการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านการวางผังเมือง อาทิ เปลี่ยนพื้นที่ เขตอุตสาหกรรมเป็นพื้นที่เขตพาณิชย์ อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่ เข้ามาลงทุนในพื้นที่ดังกล่าว ก่อนการลงทุนจึงควรศึกษาแนวทาง การพัฒนาผังเมืองของรัฐบาลท้องถิ่นอย่างรอบคอบ • การรับรู้และการเปิดรับสินค้าจากต่างชาติของชาวเจียงซู ยังไม่เท่า กับอีก 2 พื้นที่ในเขตสามเหลี่ยมแม่น้าแยงซีเกียง (เซี่ยงไฮ้และ เจ้อเจียง) ต้องใช้ความพยายามในการสร้างความรับรู้และภาพลักษณ์ ให้แก่สินค้าและบริการเพื่อให้เกิดการยอมรับ


มณฑลอานฮุย (Anhui Province) • เป็นมณฑลที่นำ�ละครทีวีไทยเข้ามาฉายในจีน และมีปริมาณนำ�เข้าละครทีวีไทย มากเป็นอันดับ 1 ของจีน • ปริมาณการส่งออกรถยนต์มากเป็นอันดับ 1 ของจีน ถึง 228,000 คัน เมื่อปี 2554 (คิดเป็น 27% ของปริมาณการส่งออกรถยนต์ทั้งหมดในจีน) • ปริมาณการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนสูงอยู่ในระดับแนวหน้าของจีน โดยผลิตตู้เย็นมากเป็นอันดับ 1 ของจีน • เป็นมณฑลที่ได้รับยกย่องว่ามีพลเมืองดีมากที่สุดในจีน (ผลจากการคัดเลือกผู้แทนพลเมืองดีทั่วทั้งจีน ประจำ�ปี 2554)

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

139,400 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 27% ของไทย) ใหญ่เป็นอันดับ 22 ของประเทศจีน 59.50 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) นครเหอเฝย (Hefei) จีนกลาง จีนฮุย พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์ อิสลาม

เลขาธิการพรรคฯ ผู้ว่าการมณฑล ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายจาง เป่าซุ่น (Zhang Baoshun) นางหลี่ ปิน (Li Bin) นายจาง เป่าซุ่น (Zhang Baoshun) นายหวัง หมิงฟาง (Wang Mingfang) ฮั่น (99%) หุย (0.6%)

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP USD 233.8 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) GDP per Capita USD 3,932 (ไทย: USD 5,112) CPI GDP Growth 9.0% (ไทย: 0.1%) อัตราค่าแรงขั้นต่ำ� ทรัพยากรธรรมชาติ แร่ทองแดง โลหะ ซัลเฟอร์ ปูนขาว อุตสาหกรรมหลัก ถ่านหิน ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การค้ากับต่างประเทศ USD 31,340 ล้าน มูลค่าการส่งออก การขยายตัวของการค้า 29.1% มูลค่าการนำ�เข้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชั้นสูง สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชั้นสูง

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.6% (ไทย: 3.8%) แบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ เดือนละ 1,010 หยวน 900 หยวน 800 หยวน 750 หยวน และ 720 หยวน พลังงาน กระจก ยางรถยนต์ เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ในครัวเรือน เหล็กกล้า โลหะ USD 17,080 ล้าน (+37.6%) USD 14,250 ล้าน (+20.2%) สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา ไต้หวัน

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 420 ล้าน เพิ่มขึ้น 32.2% ไทยเสียดุลการค้า โดยอานฮุยนำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 140 ล้าน เพิ่มขึ้น 64.8% และส่งออกไปไทย USD 280 ล้าน เพิ่มขึ้น 20.4% สินค้านำ�เข้าจากไทย ยางพารา มันสาปะหลังอบแห้ง พลาสติก แผงวงจรไฟฟ้า (IC) เส้นใยสังเคราะห์ สินค้าส่งออกไปไทย ปุ๋ยเคมี ผลิตภัณฑ์จักสาน กรดมะนาว วัสดุเหล็ก สิ่งทอ อะไหล่ยานยนต์ พลาสติก สายไฟฟ้าและสายเคเบิล ธุรกิจสำ�คัญของไทย บ.ปูนซีเมนต์อู๋หูฉางซิง (ร่วมทุนจีน-ไทย) บ.ธุรกิจบันเทิงฉูโจวไท่หลิน (ลงทุนโดยไทย) พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานกงสุลใหญ่ สนง.เศรษฐกิจการลงทุน ททท. ณ นครเซี่ยงไฮ้/สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองเซี่ยเหมิน/สนง.ที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ณ กรุงปักกิ่ง/งานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“อานฮุย” วันนี้ : สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • มียุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจให้เป็นฐานรองรับการเคลื่อนย้าย อุตสาหกรรมจากพื้นที่เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้าแยงซีเกียง (เซี่ยงไฮ้ เจียงซู และเจ้อเจียง) โดยได้สร้างความพร้อมให้กับ ศูนย์กลางของมณฑลอย่างนคร เหอเฝย และเมืองโดยรอบอย่าง เมืองอู๋หู เฉาหู ฉูโจว หม่าอานซาน • นครเซี่ยงไฮ้ มณฑลเจียงซู และเจ้อเจียงให้ความสาคัญกับการ ขยายฐานอุตสาหกรรมมายังมณฑลอานฮุยก่อนมณฑล อื่นๆ ของจีน • มีความเข้มแข็งทางด้านอุตสาหกรรมการผลิต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การผลิตรถยนต์ ซึ่งมีปริมาณการส่งออกมากเป็นอันดับ 1 ของจีน และการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ซึ่งมีปริมาณการผลิตสูง อยู่ในระดับแนวหน้าของจีน • ทำ � หน้ า ที่ เ ป็ น สะพานเชื่ อ มการติ ด ต่ อ ระหว่ า งพื้ น ที่ เ ศรษฐกิ จ สามเหลี่ยมปากแม่น้ำ�แยงซีเกียงกับพื้นที่ตอนในของจีน • อานฮุยยังมีระดับต้นทุนในการทำ�ธุรกิจต่ำ�กว่าเขตพื้นที่ เศรษฐกิจ สามเหลี่ยมปากแม่น้าแยงซีเกียง โอกาสของไทย • ไทยสามารถใช้อานฮุยเป็นฐานการผลิตในอุตสาหกรรมที่อานฮุยให้ ความสำ � คั ญ พยายามยกระดั บ และเร่ ง การพั ฒ นาอย่ า ง อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชั้นสูงและสิ่งทอ • ฝ่ายไทยอาจร่วมมือด้านเทคโนโลยีการผลิตกับอานฮุย โดยดึงดูด บริษัทที่มีศักยภาพในอานฮุยให้เข้าไปลงทุนในไทยได้เช่นกัน • ธุรกิจบันเทิงไทยอาจต่อยอดความสำ�เร็จโดยขยายความร่วมมือกับ อานฮุยในการแลกเปลี่ยนและผลิตผลงานด้านการบันเทิงร่วมกัน เนื่องจากอานฮุยทีวีเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีชื่อเสียงด้านธุรกิจละคร ทีวีของจีนและเป็นสถานีที่ทดลองนาละครทีวีไทยเข้ามาเผยแพร่ ในจีนจนประสบความสาเร็จและทาให้ละครไทยเป็นที่รู้จักกันอย่าง แพร่หลาย

จุดอ่อน • ไม่มีอาณาเขตติดต่อกับทะเล ส่งผลให้การติดต่อกับต่างชาติโดย เส้นทางคมนาคมทางน้าจำ�เป็นต้องผ่าน เซี่ยงไฮ้ เจียงซู หรือเจ้อเจียง ก่อน ซึ่งทำ�ให้อานฮุยมีระดับความเป็นสากลต่ำ�กว่าทั้ง 3 พื้นที่ข้างต้น • ประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานท้องถิ่น ชาวอานฮุยมักจะเดินทาง ไปหางานทำ�ในนครเซี่ยงไฮ้หรือมณฑลใกล้เคียงที่มีอัตราการพัฒนา ทางเศรษฐกิจที่ดีกว่า ทำ�ให้วิสาหกิจในอานฮุยจานวนมากมีความ ยากลำ�บากในการสรรหาบุคลากร ผลการสารวจพบว่าร้อยละ 77 ของวิสาหกิจในอานฮุยขาดแคลนแรงงานทั่วไป และร้อยละ 22 ขาดแคลนแรงงานที่มีความชำ�นาญด้านเทคโนโลยี ความท้าทาย • อานฮุยมีความเป็นสากลอยู่ในระดับกลาง ระดับการเปิดรับต่างชาติ ไม่เทียบเท่าเซี่ยงไฮ้ เจ้อเจียงและเจียงซู อาจเป็นอุปสรรคต่อการ ทำ�ธุรกิจการค้าสาหรับต่างชาติ อีกทั้งต้องคานึงถึงปัญหาขาดแคลน ด้านทรัพยากรแรงงานด้วย • ต่างชาติเริ่มทยอยเข้าสู่สนามการแข่งขันในอานฮุยอย่างรวดเร็ว เนื่องด้วยเล็งเห็นศักยภาพในการเติบโตทางเศรษฐกิจของมณฑล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในนครเหอเฝยมีการลงทุนทาธุรกิจด้านบริการ ของต่างชาติมากขึ้น ทั้งโรงแรมห้าดาว ห้างสรรพสินค้าหรู และ สินค้าแบรนด์เนมเป็นความท้าทายของไทยที่จะหาโอกาสเข้าไปยัง มณฑลอานฮุยให้ทันกับประเทศอื่นๆ ในภาวะที่การแข่งขันยังไม่สูง มากนัก


เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง (Guangxi Zhuang Autonomous Region)

• มีฐานะเทียบเท่ามณฑลหนึ่งของจีน • ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศจีน โดยทิศเหนือติดมณฑลกุ้ยโจวและหูหนาน ทิศตะวันตกติดมณฑลยูนนาน ทิศตะวันออกติดมณฑลกวางตุ้ง ทิศใต้ติดทะเล (อ่าวตังเกี๋ย) และประเทศเวียดนาม • แบ่งการปกครองออกเป็น 14 เมือง มีนครหนานหนิงเป็นเมืองเอก • ได้รับการกาหนดให้เป็น “ประตูสู่อาเซียน” ของจีน (มีความได้เปรียบด้านทำ�เลที่ตั้งและการ มีชายแดนติดกับเวียดนามกว่า 1,000 กม.) รวมถึงเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนา ระดับชาติ อาทิ China-ASEAN Expo แผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจอ่าวเป่ยปู้ และการประชุม Pan-Pearl River Delta • มีเส้นทางถนนที่เชื่อมต่อกับภาคอีสานของไทย (อาทิ R8 R9 R12) • เป็นมณฑลที่มีนักศึกษาจีนเรียนภาษาไทยมากที่สุด ในแต่ละปีมีนักศึกษาจีนไปเรียนต่อที่ไทย ประมาณ 2,000 คน • เป็นแหล่งผลิตและแปรรูปน้ำ�ตาลอ้อยใหญ่ที่สุดในจีน

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร นครเอก ภาษา ศาสนา

236,660 ตร.กม. (พื้นที่ประมาณ 46% ของไทย) ใหญ่เป็นอันดับ 9 ของจีน 51.99 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) นครหนานหนิง (Nanning) จีนกลาง จีนกวางตุ้ง จีนกุ้ยหลิ่ว จ้วง พุทธมหายาน คริสต์ อิสลาม

เลขาธิการพรรคฯ ผู้ว่าการเขตฯ ปธ.สภาผู้แทน ปชช. ปธ.สภาที่ปรึกษา ชนชาติหลัก

นายกัว เซิงคุน (Guo Sheng Kun) นายหม่า เปียว (Ma Biao) นายกัว เซิงคุน (Guo Sheng Kun) นางเฉิน จี้หว่า (Chen Ji Wa) ฮั่น (62%) จ้วง (34%) เย้า แม้ว ต้ง

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP USD 185.7 พันล้าน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) GDP per Capita USD 3,945 (ไทย: USD 5,112) GDP Growth 12.3% (ไทย: 0.1%) ทรัพยากรธรรมชาติ แร่เหล็ก ซีเมนต์ ซัลเฟอร์ ถ่านหิน เจอร์มาเนียม ผลิตภัณฑ์ทางทะเล การค้ากับต่างประเทศ USD 23,330 ล้าน การขยายตัวของการค้า 31.5% สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์ สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ� สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ ถั่วเหลือง สินแร่ และถ่านหิน

สกุลเงิน CPI อุตสาหกรรมหลัก

หยวน (4.73 บาทต่อ 1 หยวน / 6.46 หยวนต่อ 1 USD) 5.9% (ไทย: 3.8%) ถลุงและแปรรูปโลหะ พลังงานไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ การแปรรูปอาหารเกษตร

มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำ�เข้า ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 12,458 ล้าน (+29.7%) USD 10,872 ล้าน (+33.7%) เวียดนาม ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย เวียดนาม บราซิล สหรัฐอเมริกา อินเดีย

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 269.719 ล้าน ลดลง 6.9% ไทยเสียดุลการค้า โดยกว่างซีนำ�เข้าสินค้าจากประเทศไทย USD 94.518 ล้าน ลดลง 37.2% และส่งออกไปไทย USD 161.392 ล้าน เพิ่มขึ้น 37.4% สินค้านำ�เข้าจากไทย สตาร์ชมันสาปะหลัง ขี้แร่ขี้ตะกอนเหล็ก น้ำ�ยางธรรมชาติ ยางแผ่นรมควัน ยางมะตอย สินค้าส่งออกไปไทย กรดฟอสฟอริก ซิลิคอน สตีไทต์ธรรมชาติ อลูมิเนียมอัลลอยด์ ไทเทเนียมออกไซด์ การท่องเที่ยว สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง ให้การตรวจลงตราประเภทท่องเที่ยวแก่ชาวกว่างซี 15,078 ฉบับ ขณะที่มีนักท่องเที่ยวไทยมากว่างซี ประมาณ 30,000 คน ธุรกิจสำ�คัญของไทย เครือน้ำ�ตาลมิตรผล เครือเจริญโภคภัณฑ์ (อาหารสัตว์ และเลี้ยงสัตว์) จำ�นวนคนไทย ประมาณ 650 คน เป็นนักธุรกิจประมาณ 50 คน นักศึกษาประมาณ 600 คน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานกงสุลใหญ่ สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครหนานหนิง/ททท. ณ นครคุนหมิง/สนง.เศรษฐกิจการลงทุน ฝ่ายการเกษตร งานที่ปรึกษาการศุลกากร ประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“กว่างซี” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • การเป็นเขตปกครองตนเองและตั้งอยู่ทางภาคตะวันตกทำ�ให้กว่างซี ได้รับนโยบายสนับสนุนพิเศษทั้งจากรัฐบาลกลาง (Go west) และ รัฐบาลท้องถิ่น (Beibu Gulf Economic Zone, Border Trade และเขตควบคุมพิเศษทางศุลกากรต่างๆ) เพื่อดึงดูดการลงทุน • ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลกลางให้เป็น “ประตูสู่อาเซียน” เนื่องจาก เป็นมณฑลเดียวของจีนที่มีพรมแดนติดอาเซียน ทั้งทางบก (ติดเวียดนาม ซึ่งมีถนนวิ่งสู่ภาคอีสานของไทยได้) ทางทะเล (ท่าเรือเมืองเป๋ยไห่ ชินโจว และฝางเฉิงก่าง) และทางอากาศ • มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรม ป่าไม้ ประมง และแร่ธาตุ เป็นแหล่งปลูกผลไม้เขตกึ่งร้อนที่สาคัญของ ประเทศ • มีความพร้อมด้านทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ด้านภาษาไทย มีสถาบัน การศึกษา 27 แห่งที่เปิดสอนวิชาภาษาไทย ซึ่งเป็นจานวนมาก ที่สุดในประเทศ • อัตราค่าแรงขั้นต่ำ�คือ 1,000 หยวนต่อเดือน ต่ำ�กว่าค่าเฉลี่ยของ ทั้งประเทศ โอกาสของไทย • เป็นตลาดเกิดใหม่ที่น่าสนใจ เนื่องจากยังมีผู้ประกอบการไม่มาก ทำ�ให้มีโอกาสแจ้งเกิดได้ง่ายกว่ามณฑลที่มีการแข่งขันสูง • ใช้ประโยชน์จากนโยบายพิเศษเพื่อสนับสนุนการลงทุนได้ โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมสะอาดและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ ตลอดจน การลงทุนเพื่อรองรับนโยบายการเป็นประตูสู่อาเซียนของจีน • ใช้ประโยชน์จากศูนย์กระจายสินค้าและโลจิสติกส์ต่างๆ ที่กว่างซี รังสรรค์ขึ้นเพื่อรองรับการเป็นประตูสู่อาเซียน อาทิ งาน China-ASEAN Expo ตลาดค้าส่งผักและผลไม้ไฮกรีน และศูนย์การค้าสินค้าจีน อาเซียนไชน่าเซาท์ซิตี้ • ใช้ ป ระโยชน์ เ ส้ น ทางถนนที่ เ ชื่ อ มระหว่ า งอี ส านของไทยกั บ จี น (R8 R9 R12) เพื่อการค้าและการท่องเที่ยว

จุดอ่อน • เป็นมณฑลที่เปิดสู่ภายนอกได้ไม่นาน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีประสบการณ์และความพร้อมในการค้ากับต่างประเทศน้อย โดย เฉพาะเมื่อเทียบกับมณฑลในภาคตะวันออก • ภัยธรรมชาติ อาทิ ภัยแล้ง อุทกภัย เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา ทางเศรษฐกิจ • การค้ากับอาเซียนส่วนใหญ่เป็นการค้ากับเวียดนาม (มีพรมแดน ติดกัน) คิดเป็นสัดส่วนถึง 80% ของการค้าระหว่างกว่างซีกับ อาเซียน • กฎระเบียบหยุมหยิมเช่นเดียวกับมณฑลอื่นๆ ของจีน ในฐานะ นักลงทุนต่างชาติ ผู้ประกอบการควรศึกษากฎระเบียบต่างๆ ในการ ทำ�ธุรกิจในจีน รวมถึงการเตรียมความพร้อมกับความไม่แน่นอนที่ เกิดจากการเปลี่ยนแปลงข้อบังคับต่างๆ อย่างกะทันหัน ความท้าทาย • ยังขาดผู้ประกอบการที่มีศักยภาพและความพร้อมในการทำ�การค้า ต่างประเทศ • กำ�ลังซื้อยังไม่สูงนัก โดยในปี 2554 ชาวกว่างซีมีรายได้เฉลี่ยต่อ หัวเท่ากับ 120,000 บาท/ปี (ไทย: 150,000 บาท/ปี) • เวียดนามได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าชายแดนกับกว่างซี ทำ�ให้ไทย เสียเปรียบในการแข่งขัน • นโยบาย “ประตูสู่อาเซียนของจีน” ยังไม่บรรลุผล โดยการค้า ระหว่างกว่างซีกับอาเซียนคิดเป็นเพียง 2.6% ของยอดการค้าจีน อาเซียน • การคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศยังไม่สะดวก โดยเฉพาะกับไทย โดยปริมาณการคมนาคมทางน้าและทางอากาศระหว่างไทยกับ กว่างซียังน้อย ทำ�ให้ราคาค่าขนส่งสูง ขณะที่ถนนที่เชื่อมระหว่าง ภาคอีสานของไทยกับกว่างซีมีคุณภาพไม่ดีนัก ต้นทุนการคมนาคม ทางบกยังสูง เป็นอุปสรรคต่อการขนส่งสินค้าและการแลกเปลี่ยน ในระดับประชาชน • โครงสร้างอุตสาหกรรมเป็นอุตสาหกรรมหนักที่ต้องพึ่งพาแรงงาน เข้มข้น ยังคงขาดแคลนอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง รวมถึง ภาคบริการยังไม่พัฒนาเท่ากับมณฑลในภาคตะวันออก • การพั ฒ นาภาคอุ ต สาหกรรมอย่ า งเร่ ง รี บ และการเปลี่ ย นแปลง ของสภาพภูมิอากาศทาให้กว่างซีต้องประสบปัญหาขาดทรัพยากร เฉียบพลัน โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้า


เขตบริหารพิเศษฮ่องกง (Hong Kong Special Administrative Region: HKSAR)

• เป็นเมืองที่มีความเสรีทางเศรษฐกิจและมีศักยภาพในการแข่งขันสูงที่สุดในโลก • มีระบบเศรษฐกิจที่เน้นภาคบริการมากที่สุดในโลก • เป็นศูนย์กลางทางการค้า เศรษฐกิจ และการเงินของภูมิภาคเอเชีย • เป็นตลาดระดมทุน IPO (Initial Public Offering) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก • มีตลาดหุ้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของเอเชีย และใหญ่เป็นอันดับ 7 ของโลก • เป็นเมืองท่าปลอดภาษี • เป็นศูนย์กลางการพัฒนาธุรกิจเงินหยวนข้ามพรมแดน • มีนักท่องเที่ยวมากถึง 41.9 ล้านคน (ปี 2554) มากกว่าจานวนประชากรท้องถิ่น เกือบ 6 เท่า • ได้รับสิทธิพิเศษต่างๆ จากจีนภายใต้ข้อตกลง CEPA (Closer Economic Partnership Arrangement) และกรอบความร่วมมือ PPRD (Pan Pearl River Delta)

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ภูมิประเทศ ประชากร ศาสนา

1,103 ตร.กม. (เล็กกว่าไทยประมาณ 500 เท่า) ประกอบด้วยเกาะฮ่องกง คาบสมุทรเกาลูน ดินแดน New Territories และเกาะเล็กๆ อีก 235 เกาะ 7 ล้านคน (ไทยมีประชากร 64 ล้านคน) พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์ อิสลาม ฮินดู

ผู้บริหารสูงสุด ฮ่องกง (Chief Executive) ภาษา ชนชาติหลัก

นายเหลิ่ง จันเย้ง (Leung Chun-ying) เข้ารับตำ�แหน่งเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2555 จีนกวางตุ้ง จีนกลาง อังกฤษ จีนฮั่น (95%)

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP GDP per Capita GDP Growth ทรัพยากรธรรมชาติ การค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวของการค้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 242.8 พันล้าน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) USD 34,300 (ไทย: USD 5,112) 5.0% (ไทย: 0.1%) ฮ่องกงมีพื้นที่จากัดและไม่มี ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการส่งออก USD 910,500 ล้าน 11% อุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์สื่อสาร เสื้อผ้าและ สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ อุปกรณ์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนอุปกรณ์สื่อสาร เครื่องจักร เสื้อผ้าและสิ่งทอ น้ำ�มันปิโตรเลียม

สกุลเงิน CPI อุตสาหกรรมหลัก มูลค่าการส่งออก มูลค่าการนำ�เข้า ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ

HKD (3.97 บาท ต่อ 1 HKD / 7.75 HKD ต่อ 1 USD) 5.3% (ไทย: 3.8%) บริการด้านการเงิน การค้าและ โลจิสติกส์ การท่องเที่ยว บริการ ด้านวิชาชีพ USD 427,900 ล้าน (+10.1%) USD 482,600 ล้าน (+11.9%) จีน สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย เยอรมนี

ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ

จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 18,818.42 ล้าน เพิ่มขึ้น 25.9% ไทยได้ดุลการค้า โดยฮ่องกงนำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 16,479.03 ล้าน เพิ่มขึ้น 25.5% และส่งออกไปไทย USD 2,339.39 ล้าน เพิ่มขึ้น 28.7% สินค้านำ�เข้าจากไทย กระดาษและสิ่งพิมพ์ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า สินค้าส่งออกไปไทย ลวดและสายเคเบิล อัญมณีและเครื่องประดับ เงินแท่งและทองคำ� คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ การท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจากฮ่องกงไปไทย 421,126 คน นักท่องเที่ยวจากไทยมาฮ่องกง 472,918 คน ธุรกิจสำ�คัญของไทย บ.การบินไทย ธ.กรุงเทพ ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.กสิกรไทย ธ.กรุงศรีอยุธยา บ.ซี.พี. เมอร์แชนไดซิ่ง บ.สิงห์ คอร์เปอเรชั่น บ.ส. ขอนแก่น ฟู้ดส์ จำ�นวนคนไทย ประมาณ 28,000 คน ส่วนใหญ่ประกอบวิชาชีพด้านการเงิน การธนาคาร และผู้ช่วยแม่บ้าน พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานกงสุลใหญ่ สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สนง.ศุลกากร สนง.แรงงาน ททท. ณ เมืองฮ่องกง/สนง.เศรษฐกิจการลงทุน ฝ่ายการเกษตรประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“ฮ่องกง” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • ปกครองภายใต้หลักการ “หนึ่งประเทศ สองระบบ” • มีอิสระในการดำ�เนินนโยบายด้านเศรษฐกิจ เป็นเมืองท่าปลอดภาษี มีความเสรีทางการค้าสูง มีระบบกฎหมายชัดเจน ได้รับการยอมรับ ในระดับนานาชาติ รวมทั้งมีความโปร่งใสในการบริหารงานภาครัฐ • เป็นประตูสู่จีนและเชื่อมจีนกับประเทศภายนอก • เป็นศูนย์กลางทางการเงิน เศรษฐกิจ และการลงทุนจากต่างประเทศ • เป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์และมีศักยภาพด้านธุรกิจบริการ • เป็นที่ตั้งของสำ�นักงานใหญ่และสาขาของบริษัทข้ามชาติ รวมทั้ง เป็นศูนย์กลางการจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการนานาชาติ ตลอดทั้งปี สามารถดึงดูดทั้งผู้ซื้อและผู้ขายที่มีศักยภาพจากทั่วโลก • ประชาชนมีศักยภาพ มีการศึกษาสูง พูดได้หลายภาษา และมี กำ�ลังซื้อสูง โอกาสของไทย • การส่งสินค้าอุปโภค/บริโภคไปยังฮ่องกง โดยเฉพาะสินค้าทางการ เกษตร อาทิ ข้าวและผลไม้ไทย โดยสินค้าไทยจำ�เป็นต้องสร้าง ความตระหนักในเรื่องคุณภาพ เนื่องจากผู้บริโภคชาวฮ่องกงมีกำ�ลัง ซื้อสูงและใส่ใจสุขภาพ รวมทั้งยังให้ความสาคัญกับคุณภาพของ สินค้ามากกว่าราคา • ผู้ประกอบการไทยสามารถใช้ประโยชน์จากข้อตกลง CEPA และ กรอบความร่วมมือ PPRD ในการเข้าสู่ตลาดจีนโดยการร่วมทุน กับบริษัทในฮ่องกงเพื่อจะได้รับสิทธิให้ดำ�เนินธุรกิจในจีนได้อย่าง ยืดหยุ่น ทั้งด้านการค้า การลงทุน โดยเฉพาะธุรกิจภาคบริการไทย ที่มีศักยภาพ อาทิ การผลิตสินค้า ออกแบบ การผลิตภาพยนตร์ และบริการเสริมความงามและสุขภาพ • “การสร้างความนิยมในฮ่องกง จะส่งผลให้เกิดความนิยมในจีนต่อไป” กล่าวคือ สินค้าที่ได้รับความนิยมในฮ่องกงจะส่งผลให้ผู้บริโภค ชาวจีนนิยมบริโภคสินค้านั้นๆ ตามไปด้วย ฮ่องกงจึงเป็นเสมือน พื้นที่ในการทดสอบตลาดและสร้างความตระหนักก่อนเข้าสู่ตลาด จีน รวมถึงตลาดระดับนานาชาติต่อไป • ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs สามารถเข้าร่วมงานจัด แสดงสินค้าที่ฮ่องกงในโอกาสต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าก่อน เข้าสู่ตลาดจีนและตลาดระดับนานาชาติ

จุดอ่อน • เป็นเมืองที่มีพื้นที่จำ�กัด มีประชากรน้อย ทำ�ให้ไม่สามารถผลิตสินค้า อุปโภค/บริโภค ได้เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ และต้อง พึ่งพาการนำ�เข้าจากต่างประเทศเป็นสำ�คัญ โดยสินค้านำ�เข้าส่วนใหญ่ ได้แก่ น้ำ�มันเชื้อเพลิง สินแร่และวัตถุดิบ สินค้าอุปโภค/บริโภคต่างๆ • ข้อจำ�กัดด้านพื้นที่ส่งผลให้ระดับราคาอสังหาริมทรัพย์ในฮ่องกงสูง มาก ซึ่งเป็นอุปสรรคสาหรับการดาเนินธุรกิจในฮ่องกง • ข้อจากัดด้านทรัพยากรบุคคลส่งผลให้ค่าจ้างแรงงานในฮ่องกง มีอัตราค่อนข้างสูง ส่งผลกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ ความท้าทาย • การเปิดตลาดและเข้าไปดำ�เนินธุรกิจที่ฮ่องกงต้องใช้ต้นทุนดำ�เนิน งานค่อนข้างสูง ทั้งด้านค่าจ้างแรงงานท้องถิ่น และที่ตั้งสานักงาน • ฮ่องกงเป็นตลาดที่ได้รับการพัฒนามาระยะหนึ่งแล้ว ทำ�ให้การเริ่ม ลงทุนหรือดำ�เนินกิจการในฮ่องกงต้องเผชิญกับการแข่งขันค่อนข้างสูง ผู้ ป ระกอบการไทยที่ จ ะเข้ า มาดาเนิ น ธุ ร กิ จ จึ ง ควรศึ ก ษาข้ อ มู ล ทางการตลาดและวางแผนล่วงหน้าอย่างรอบคอบ • ฮ่องกงเป็นเมืองที่มีกฎระเบียบต่างๆ ชัดเจน อาทิ กฎหมายภาษี กฎหมายฉลาก กฎหมายด้านสุขอนามัย และกฎหมายค่าแรงขั้นต่ำ� ผู้ประกอบการจึงต้องดำ�เนินการในด้านต่างๆ ให้สอดคล้องกับกฎ ระเบียบอย่างเคร่งครัด


เขตบริหารพิเศษมาเก๊า (Macau Special Administrative Region: MSAR) • เป็นเมืองที่มีจุดแข็งในธุรกิจภาคบริการ โดยเฉพาะการท่องเที่ยว บันเทิง และคาสิโน มีรายได้จากธุรกิจคาสิโนสูงกว่าลาสเวกัส และเป็นศูนย์กลางคาสิโนที่มีปริมาณเงิน หมุนเวียนสูงที่สุดในโลก • อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจประมาณ 20% ต่อปี ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมา • เป็นสะพานเชื่อมกับกลุ่มประเทศผู้ใช้ภาษาโปรตุเกส • มีข้อได้เปรียบด้านความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภาษา และรัฐบาลได้พยายาม ส่งเสริมให้มาเก๊ามีความหลากหลายทางเศรษฐกิจ อาทิ การพัฒนาอุตสาหกรรม สร้างสรรค์ การจัดการประชุมและนิทรรศการ และการพัฒนาด้านโลจิสติกส์ • มีโครงการพัฒนาเขตใหม่เหิงฉิน (Hengqin New Area) ร่วมกับเมืองจูไห่ มณฑลกวางตุ้ง โดยเขตดังกล่าวจะเป็นเขตศูนย์กลางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง

ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ ประชากร ภาษา ศาสนา

27.3 ตร.กม. (เล็กกว่าไทยประมาณ 19,000 เท่า) ประกอบด้วยเกาะฮ่องกง คาบสมุทรเกาลูน ดินแดน จีนกวางตุ้ง จีนกลาง อังกฤษ โปรตุเกส พุทธมหายาน ลัทธิเต๋า คริสต์

ผู้บริหารสูงสุด ฮ่องกง (Chief Executive) ชนชาติหลัก

นายเฟอร์นานโด ชุย ไซออน (Fernando Chui Sai-on) เข้ารับตำ�แหน่งเมื่อวันที่ 20 ธ.ค. 2552 จีนฮั่น (95%) โปรตุเกส ฟิลิปปินส์

ข้อมูลเศรษฐกิจ (ปี 2554) GDP GDP per Capita GDP Growth ทรัพยากรธรรมชาติ การค้ากับต่างประเทศ การขยายตัวของการค้า สินค้าส่งออกที่สำ�คัญ สินค้านำ�เข้าที่สำ�คัญ

USD 36.5 พันล้าน สกุลเงิน (ไทย: USD 345.6 พันล้าน) USD 66,311 (ไทย: USD 5,112) CPI 20.7% (ไทย: 0.1%) อุตสาหกรรมหลัก มาเก๊ามีพื้นที่จำ�กัดและไม่มี ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อการส่งออก USD 8,660.83 ล้าน มูลค่าการส่งออก 35.6% มูลค่าการนำ�เข้า เสื้อผ้าและสิ่งทอ เครื่องจักรและ ตลาดส่งออกที่สำ�คัญ ชิ้นส่วน รองเท้า วัตถุดิบ อาหารและเครื่องดื่ม ตลาดนำ�เข้าที่สำ�คัญ เชื้อเพลิงและน้ำ�มันหล่อลื่น เสื้อผ้า รองเท้า รถยนต์และรถมอเตอร์ไซค์

ปาตาคา (3.89 บาทต่อ 1 ปาตาคา / 8.00 ปาตาคาต่อ 1 USD) 5.8% (ไทย: 3.8%) การท่องเที่ยว บันเทิง การก่อสร้าง การจัดการประชุมและนิทรรศการ USD 871.7 ล้าน (+0.2%) USD 7,789.89 ล้าน (+41.2%) สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน ฮ่องกง จีน ฮ่องกง ไต้หวัน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น

สถิติสำ�คัญที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย (ปี 2554) การค้ากับไทย USD 25.20 ล้าน ลดลง 18.7% ไทยได้ดุลการค้า โดยมาเก๊านำ�เข้าสินค้าจากไทย USD 17.78 ล้าน ลดลง 19.3% และส่งออกไปไทย USD 7.42 ล้าน ลดลง 17.1% สินค้านำ�เข้าจากไทย ข้าว เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องใช้สำ�หรับเดินทาง ทองแดง ผลิตภัณฑ์เภสัชภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ข้าว อุปกรณ์กึ่งตัวนา ทรานซิสเตอร์และไดโอด สินค้าส่งออกไปไทย สินแร่ โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ลวดและสายเคเบิล เสื้อผ้าสำ�เร็จรูป การท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจากมาเก๊าไปไทย 53,656 คน นักท่องเที่ยวจากไทยไปมาเก๊า 196,375 คน จำ�นวนคนไทย ประมาณ 1,460 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ทางานในภาคบริการ พื้นที่ความรับผิดชอบของ สถานกงสุลใหญ่ สนง.ส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ สนง.ศุลกากร สนง.แรงงาน ททท. ณ เมืองฮ่องกง/สนง.เศรษฐกิจการลงทุน ฝ่ายการเกษตรประจำ�สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว


“มาเก๊า” วันนี้: สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องรู้ จุดแข็ง • ปกครองภายใต้หลักการ “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ทำ�ให้มีอิสระ ในการดำ�เนินนโยบายด้านเศรษฐกิจและมีเสรีทางการค้าสูง • มีความเข้มแข็งในธุรกิจภาคบริการ โดยเฉพาะธุรกิจคาสิโน การท่องเที่ยว และแหล่งบันเทิง • มีบทบาทสำ�คัญในการเป็นสะพานเชื่อมกับกลุ่มประเทศผู้ใช้ภาษา โปรตุเกส • มีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม • มีบทบาทสำ�คัญในการเป็นประตูสู่จีนตอนใต้ โดยมาเก๊ามีเขตแดน ติดต่อกับจีนในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ�เพิร์ล (Pearl River Delta: PRD) และมีความตกลงร่วมกันในการพัฒนาเขตอุตสาหกรรม เมืองจู่ไห่ มณฑลกวางตุ้ง เพื่อสร้างการเติบโตทางอุตสาหกรรม และการขนถ่ายสินค้าของทั้งสองฝ่าย • ประชากรมีรายได้ต่อหัวค่อนข้างสูงและมีกาลังซื้อสูง โอกาสของไทย • ผู้บริโภคชาวมาเก๊ามีกำ�ลังซื้อสูงและให้ความสำ�คัญกับคุณภาพของ สินค้ามากกว่าราคา จึงเป็นโอกาสของสินค้าไทยซึ่งเป็นที่รู้จักใน กลุ่มผู้บริโภคชาวมาเก๊าอยู่แล้ว โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ผลไม้ สินค้าอุปโภคและบริโภคต่างๆ • ผู้ประกอบการไทยสามารถใช้ประโยชน์จากข้อตกลง CEPA (Closer Economic Partnership Arrangement) และกรอบความร่วมมือ PPRD (Pan Pearl River Delta) ในการเข้าสู่ตลาดจีน โดยการ ร่วมทุนกับบริษัทในมาเก๊าเพื่อจะได้รับสิทธิให้ดำ�เนินธุรกิจในจีนได้ อย่างยืดหยุ่น • แม้มาเก๊าจะมีประชากรน้อย แต่มีนักท่องเที่ยวในแต่ละปีจำ�นวนมาก (28 ล้านคน) ผู้ประกอบการไทยสามารถ เจาะตลาดนักท่องเที่ยว ในมาเก๊าที่มีทั้งชาวจีนและ ชาวต่างประเทศซึ่งมีกาลังซื้อสูง • ปัจจุบันมีสายการบินที่ให้บริการบินตรงจากกรุงเทพฯ–มาเก๊าทุกวัน (สายการบิน Air Macau, Air Asia และ Thai Smile ในเครือ การบินไทย) โดยใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมงครึ่ง จึงเป็นโอกาสสำ�หรับ ผู้ประกอบการไทยในการหาลู่ทางขยายการค้า และการลงทุนเข้าไป ในมาเก๊า

จุดอ่อน • เป็นเมืองที่มีพื้นที่จำ�กัด มีจำ�นวนประชากรน้อย ไม่สามารถผลิต สินค้าอุปโภคและบริโภคได้เอง จึงต้องพึ่งพาการนำ�เข้าจากต่าง ประเทศเป็นสำ�คัญ โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคและบริโภค • ยังขาดความหลากหลายทางเศรษฐกิจ โดยมีอุตสาหกรรมภาคบริการ และคาสิโนเป็นธุรกิจสาขาหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจมาเก๊า • มาเก๊ า มี ชื่ อ เสี ย งด้ า นธุ ร กิ จ คาสิ โ นและถู ก มองว่ า เป็ น เมื อ งแห่ ง การพนัน ทำ�ให้ไม่สามารถดึงดูดทรัพยากรบุคคลที่มีศักยภาพจาก ภายนอกเข้ามาพัฒนาในด้านต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ ความท้าทาย • มาเก๊ามีขนาดตลาดที่เล็กและมีประชากรน้อย นักลงทุนและนักธุรกิจ จึงต้องพิจารณาถึงปัจจัยด้านความคุ้มทุนเมื่อจะเข้าไปลงทุนในมาเก๊า • กลุ่มนักท่องเที่ยวในมาเก๊ามีความหลากหลาย ผู้ประกอบการควร ศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคและพัฒนาสินค้าให้ตรงตามความ ต้องการของผู้บริโภค • กลุ่มนักท่องเที่ยวในมาเก๊าจะใช้จ่ายผ่านโรงแรม และร้านอาหาร เป็นหลัก การหาช่องทางการค้า การลงทุน และการกระจายสินค้า ที่เหมาะสมเป็นสิ่งสาคัญที่ผู้ประกอบการไทยควรพิจารณา


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.