1
ระบบการประกัน คุณ ภาพการศึก ษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 ได้กำาหนดจุดมุ่งหมายและหลักการของการจัดการศึกษาที่มุ่ง เน้นคุณภาพและมาตรฐาน โดยกำาหนดให้สถานศึกษาจัดให้มีระบบประกัน คุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก เพื่อใช้เป็นกลไกใน การผดุ รักษาคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษา ระบบการประกันคุณภาพภายในเป็นระบบและกลไกในการพัฒนา ติดตามตรวจสอบ และประเมินการดำาเนินงานของสถานศึกษาให้เป็นไป ตามนโยบาย เป้าหมาย และระดับคุณภาพตามมาตรฐานที่กำาหนดโดย สถานศึกษาและหรือหน่วยงานต้นสังกัด และการประกันคุณภาพภายในเป็น ส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำาเนินการอย่างต่อเนื่อง มี การจัดทำารายงานประจำาปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายในเสนอต่อ สภาสถาบัน หน่วยงานต้นสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเปิดเผยต่อ สาธารณะชนอันนำาไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อ รองรับการประกันคุณภาพภายนอก การประกันคุณภาพภายนอกเป็นการติดตามและตรวจสอบคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาโดย “สำานักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน)” พระราชบัญญัติการ ศึกษาแห่งชาติได้กำาหนดให้สถานศึกษาทุกแห่งต้องได้รับการประเมิน คุณภาพภายนอกอย่างน้อย 1 ครั้งในทุกรอบ 5 ปี ในปี 2555 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และคณะศิลปศาสตร์ได้รับการประเมินคุณภาพ ภายนอกรอบสามแล้ว นโยบายด้า นการประกัน คุณ ภาพการศึก ษาคณะศิล ปศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ให้ความสำาคัญเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งมีผลต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิต ดังนั้น
2
คณะศิลปศาสตร์จึงกำาหนดนโยบายในการประกันคุณภาพการศึกษาไว้ ดังนี้ 1. การประกันคุณภาพการศึกษาเป็นสิ่งที่ผลักดันให้การดำาเนินงาน ของคณะฯ ไปสู่ทิศทางที่พึงประสงค์ ดังนั้นคณะศิลปศาสตร์จึงได้แต่งตั้ง คณะกรรมการทั้งหมด 5 ชุดที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลภารกิจด้านการประกัน คุณภาพการศึกษาอย่างครอบคลุมทุกระดับและทุกด้าน ได้แก่ (1) คณะกรรมการนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาคณะ ศิลปศาสตร์ (2) คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาระดับภาควิชา/ โครงการพิเศษ (3) คณะกรรมการฝ่ายดำาเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา (4) คณะกรรมการประชาสัมพันธ์และบริหารเทคโนโลยีและ สารสนเทศคณะศิลปศาสตร์ (5) คณะกรรมการประชาสัมพันธ์การประกันคุณภาพการ ศึกษาคณะศิลปศาสตร์ 2. ผลการประกันคุณภาพการศึกษาเป็นสิ่งที่คณะศิลปศาสตร์จะได้นำา ไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรมในรายงานการประเมินตนเองจะแสดงผลการ ประกันคุณภาพอย่างชัดเจน พร้อมทั้งเสนอแนะแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไข ปัญหาเหล่านั้น 3. คณะศิลปศาสตร์มีเป้าประสงค์ที่จะผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถ ทางวิชาการและเพียบพร้อมไปด้วยคุณธรรมจริยธรรม สอดคล้องกับความ ต้องการของตลาดแรงงาน คณะฯ ได้นำาผลการประกันคุณภาพมาปรับปรุง คุณภาพของนักศึกษาอย่างสมำ่าเสมอ โดยรองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และรองคณบดีฝ่ายการนักศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบ 4. หน่วยงานภายในคณะศิลปศาสตร์ ได้แก่ ภาควิชา/โครงการพิเศษ จัดทำารายงานการประเมินตนเองของภาควิชา/โครงการพิเศษ ในองค์
3
ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิต และองค์ประกอบที่ 4 การวิจัย และสนับสนุน การประกันคุณภาพการศึกษาโดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการประกัน คุณภาพการศึกษาเพื่อใช้ประกอบการจัดทำารายงานการประเมินตนเองของ คณะฯ และนำาผลการประเมินมาวางแผนพัฒนาการดำาเนินงาน 5. คณะศิลปศาสตร์มีนโยบายพัฒนาระบบสนับสนุนการประกัน คุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เช่น การสร้างฐานข้อมูลประกันคุณภาพ การศึกษา ฐานข้อมูลบุคลากร ฐานข้อมูลงานวิจัย ฯลฯ การดำา เนิน งานด้า นประกัน คุณ ภาพการศึก ษาคณะศิล ปศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์มีการดำาเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ดังนี้ 1. คณะศิลปศาสตร์มีการจัดตั้งคณะกรรมการประกันคุณภาพการ ศึกษาทั้งระดับคณะ ภาควิชา และ สำานักงานเลขานุการคณะ 2. คณะศิลปศาสตร์ได้กำาหนดระบบและกลไกการประกันคุณภาพ ภายใน มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ 2.1 จัดทำาแผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติงานการประกันคุณภาพการ ศึกษา คณะศิลปศาสตร์
ปีการศึกษา 2556
แผนการดำาเนินงาน
ประกันคุณภาพการศึกษาคณะศิลปศาสตร์ปีการศึกษา 2556 (1 มิถุนายน 2556 – 31 พฤษภาคม 2557) และเสนอเข้าที่ประชุมกรรมการประจำาคณะ ศิลปศาสตร์เพื่อพิจารณา 2.2 กำาหนดค่าเป้าหมายของแต่ละตัวบ่งชี้ในภาพรวมของ คณะฯ และเสนอเข้าที่ประชุมกรรมการประจำาคณะศิลปศาสตร์เพื่อพิจารณา 2.3 กำาหนดตัวบ่งชี้สะท้อนเอกลักษณ์ของคณะฯ และเสนอเข้า ที่ประชุมกรรมการประจำาคณะ ศิลปศาสตร์เพื่อพิจารณา
4
2.4 กำาหนดแผนกลยุทธ์/แผนงานการบริหารสถาบันให้เกิด เอกลักษณ์ของคณะได้ด้าน
“ความหลากหลายและเสรีภาพทางวิชาการ”
และเสนอเข้าที่ประชุมกรรมการประจำาคณะศิลปศาสตร์เพื่อพิจารณา 2.5 ภาควิชา/โครงการพิเศษ จัดทำารายงานการประเมินตนเอง องค์ประกอบที่ 2 การผลิตบัณฑิตและองค์ประกอบที่ 4 การวิจัย 2.6 ภาควิชา/โครงการพิเศษ รับการตรวจประเมินคุณภาพ ภายใน 2.7 สำานักงานเลขานุการคณะทำาหน้าที่จัดเก็บข้อมูลตามตัวบ่ง ชี้คุณภาพของคณะศิลปศาสตร์ 2.8 คณะศิลปศาสตร์จัดทำารายงานการประเมินตนเอง (Self Assessment Report: SAR) ประจำาปีการศึกษาเพื่อประเมินคุณภาพในภาพ รวมและนำาผลที่ได้ไปปรับปรุงการทำางานของคณะฯให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานในรอบปีการศึกษาที่ผ่านมา 2.9 คณะศิลปศาสตร์จัดส่งรายงานผลการประเมินตนเอง ประจำาปีการศึกษาให้ทางมหาวิทยาลัย ภายในระยะเวลาที่กำาหนด 3. การตรวจสอบระบบประกันคุณภาพจากหน่วยงานภายในและ ภายนอก สำานักงานส่งเสริมมาตรฐานและประกันคุณภาพมหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์จะแจ้งคณะฯ เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับการตรวจสอบ และประเมินคุณภาพจากทางมหาวิทยาลัยและองค์กรภายนอก ในปีการศึกษา 2556 การประกันคุณภาพการศึกษาของคณะ ศิลปศาสตร์ดำาเนินงานตามตัวบ่งชี้ที่พัฒนาขึ้นภายใต้องค์ประกอบคุณภาพ 9 ด้าน และครอบคลุมพันธกิจหลัก 4 ประการของการอุดมศึกษา ในการรายงานผลการดำาเนินการประจำาปีการศึกษา 2556 คณะ ศิลปศาสตร์ได้จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายใน ระดับภาควิชา/โครงการ พิเศษ ทั้งหมด 18 หน่วยงาน (14 ภาควิชา และ 4 โครงการพิเศษ) ตามข้อ
5
กำาหนดของ สกอ. โดยมีการประเมินองค์ประกอบที่ 2 (การผลิตบัณฑิต) และองค์ประกอบที่ 4 (การวิจัย) ตามข้อกำาหนดของกรรมการประกัน คุณภาพของมหาวิทยาลัย ซึ่งผลการประเมินดังกล่าวได้นำามาเป็นส่วนหนึ่ง ของการประเมินระดับคณะด้วยเช่นกัน การบริห ารงานด้า นประกัน คุณ ภาพการศึก ษาคณะศิล ปศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์มีคณะกรรมการเพื่อการประกันคุณภาพ ดังต่อไปนี้ 1. คณะกรรมการนโยบายประกัน คุณ ภาพการศึก ษาระดับ คณะฯ มีหน้าที่ 1.1 กำาหนด ดูแล กำากับนโยบายให้เป็นไปตามนโยบายการ ประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และของคณะ ศิลปศาสตร์ 1.2 วิเคราะห์ตัวบ่งชี้ทุกประเภท และนำาเสนอข้อมูลให้ผู้บริหาร พิจารณาดำาเนินการ 1.3 สร้างระบบการจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการ ประกันคุณภาพ ทั้งในระดับคณะฯ และ ระดับภาควิชา/โครงการพิเศษ 1.4 วางแผนงาน ติดตาม ประเมิน พัฒนา แก้ไข ปรับปรุงการ ดำาเนินการตามผลการประเมิน 1.5 ส่งเสริมการประกันคุณภาพของคณะในทุกรูปแบบเพื่อให้ เกิดการดำาเนินการอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาให้เป็นส่วนหนึ่งของงานประจำา ในทุกระดับ 2. คณะกรรมการประกัน คุณ ภาพการศึก ษาระดับ ภาควิช า / หน่ว ยงานเทีย บเท่า มีหน้าที่ 2.1 เชื่อมโยงและประสานงานระหว่างคณะและภาควิชา/ โครงการพิเศษ ในการดำาเนินการด้านการ
ประกันคุณภาพการศึกษา
2.2 สร้างความเข้าใจการทำางานด้านการประกันคุณภาพใน สังกัดของตนเอง และมีบทบาทด้านต่างๆ ใน
6
การดำาเนินการด้านการประกันคุณภาพเพื่อให้เกิดการพัฒนา 2.3 เป็นผู้รับผิดชอบหลักหรือเป็นผู้ร่วมจัดทำารายงานการ ประเมินตนเองของสังกัด 2.4 จัดเก็บและให้ข้อมูลด้านการประกันคุณภาพการศึกษาแก่ คณะศิลปศาสตร์ 2.5. เสนอความเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อการทำางานด้านการ ประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กร 3. คณะกรรมการประกัน คุณ ภาพการศึก ษาระดับ สำา นัก งาน เลขานุก ารคณะ มีหน้าที่ 3.1 สร้างมาตรฐานการทำางานของสำานักงานเลขานุการคณะ โดยการทบทวนขอบเขตภาระงานของแต่ละฝ่าย วิเคราะห์สัดส่วนภาระงาน และจำานวนบุคลากรของแต่ละแผนก 3.2 ปรับปรุงวิธีการทำางาน การจัดเก็บข้อมูล และสร้างระบบ การจัดเก็บฐานข้อมูลของแต่ละแผนกให้เป็นเอกภาพ 3.3 สร้างระบบเชื่อมโยงการทำางานระหว่างแต่ละแผนกเพื่อ ให้เกิดความคล่องตัวและเกิดประสิทธิภาพในการทำางาน 3.4 สร้างระบบควบคุมภายในและการประเมินตนเองเพื่อ ให้การทำางานเป็นไปอย่างมีทิศทางและมีระบบเพื่อให้เกิดมาตรฐานการ ทำางาน 4. คณะกรรมการประชาสัม พัน ธ์ก ารประกัน คุณ ภาพการ ศึก ษา มีหน้าที่ 4.1 สร้างระบบและแผนการประชาสัมพันธ์การดำาเนินงานด้าน การประกันคุณภาพการศึกษาของคณะศิลปศาสตร์ 4.2 ประชาสัมพันธ์ข้อมูล ข่าว ความเคลื่อนไหว และการจัด กิจกรรมด้านต่างๆ ของงานประกันคุณภาพการศึกษาในระดับคณะ/ภาค วิชา และสำานักงานเลขานุการคณะ โดยดำาเนินการในเชิงรุก
7
4.3 ส่งเสริมความเข้าใจอันดีในเรื่องของการประกันคุณภาพ การศึกษาให้ประชาคมศิลปศาสตร์ 4.4. ติดตามงานและประเมินผลการดำาเนินงาน พร้อมทั้งปรับปรุง พัฒนา แก้ไข ตามผลประเมิน
8