คำ�นิยม
ในฐานะที่ เ ป็ น ผู้ ค ลั่ ง ไคล้ ห นั ง สื อ 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn และเป็นผู้เผยแพร่ให้นักการศึกษา ไทยและผู้ห่วงใยคุณภาพการศึกษาไทยอ่านหนังสือเล่มนี้ รวมทั้งแนะนำ� แก่ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ และ นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ สอง มูลนิธิคู่แฝดที่อยู่ในตึกเดียวกันและทำ�งานเพื่อสังคมในลักษณะสร้างสรรค์ การพัฒนาวิชาการเช่นเดียวกัน โดยมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติเน้นด้าน การพัฒนาสุขภาพ และมูลนิธิสดศรีฯ เน้นด้านพัฒนาการศึกษาหรือการ เรียนรู้ ผมได้เสนอคุณหมอทั้งสองว่า น่าจะหาทางแปลหนังสือเล่มนี้ออก เผยแพร่แก่สังคมไทย ผมจึ ง มี ค วามยิ น ดี เ ป็ น พิ เ ศษที่ มู ล นิ ธิ ส ดศรี ฯ และสำ � นั ก พิ ม พ์ openworlds ดำ�เนินการแปลและเผยแพร่หนังสือเล่มนี้ ยิ่งได้อ่านต้นฉบับ แปล โดยคุณวรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ผู้แปลหลัก และคุณอธิป จิตตฤกษ์ ก็พบว่าแปลได้อย่างมีฝีมือ ทำ�ให้อ่านเข้าใจได้ง่ายและลื่นไหล ผมยิ่งชื่นใจ ที่ผู้คนในสังคมไทยจะได้มีหนังสือดี ซึ่งสื่อสาระสำ�คัญยิ่งของการศึกษา 6
ทักษะแห่งอนาคตใหม่
ยุคใหม่ ที่แตกต่างไปจากแนวคิดเดิมๆ โดยสิ้นเชิง นักการศึกษา ครู พ่อแม่ผู้ปกครองนักเรียน และผู้สนใจคุณภาพของการศึกษาทุกคนควร ได้อ่านหนังสือเล่มนี้ เพื่อจะได้ช่วยกันขับเคลื่อนการศึกษาไทยออกไปจาก ความเชื่อหรือวิธีคิดเก่าๆ ให้การเรียนรู้ในสังคมไทยบรรลุการเรียนรู้ทักษะ สำ�หรับมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 ให้จงได้ หลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้ (ภาคภาษาอังกฤษ) ผมเกิดแรงบันดาลใจ อย่างแรงกล้าทีจ่ ะเขียนข้อตีความหรือข้อสรุปของผม ออกเผยแพร่ในบล็อก gotoknow.org โดยใส่คำ�หลักว่า 21st Century Skills ดังนั้น หากท่าน ผู้สนใจเข้าไปค้นที่ http://gotoknow.org/blog/thaikm/tag/21st century skills ท่านจะได้อ่านบันทึกความเข้าใจและความรู้สึกของผม เกี่ยวกับ สาระสำ�คัญของการเรียนรู้เพื่อเตรียมเยาวชนออกไปดำ�รงชีวิตในโลกแห่ง ศตวรรษที่ 21 ซึ่งแตกต่างไปจากศตวรรษที่ 20 และ 19 โดยสิ้นเชิง ทั้ง ที่เป็นบันทึกจากการอ่านหนังสือเล่มนี้ และจากแรงบันดาลใจที่ได้จาก กิจกรรมอื่นๆ แต่บันทึกในบล็อกเหล่านั้นเขียนอย่างย่นย่อ เน้นจุดประทับใจ เป็นแบบตีความ ไม่เน้นความครบถ้วน และไม่เป็นระบบอย่างหนังสือ เล่ ม นี้ การอ่ า นบั น ทึ ก ในบล็ อ กเหล่ า นั้ น จึ ง ไม่ ท ดแทนการอ่ า นหนั ง สื อ เล่มนี้ทั้งเล่มหรือทีละบท แต่อาจช่วยให้อ่านหนังสือสนุกขึ้น ที่จริงผมได้อ่านหนังสือเล่มนี้ภาคภาษาอังกฤษมาแล้ว 2 จบ และ ได้อ่านหนังสือทำ�นองเดียวกันเล่มอื่น รวมทั้งได้อ่านจากเว็บไซต์ และดู วิดโี อจาก YouTube แต่เมือ่ ได้อา่ นฉบับแปลเป็นภาษาไทย ผมยังรูส้ กึ สนุก ตื่นเต้น และได้สาระเพิ่มขึ้นอีก หนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยบทนำ�รับเชิญ บทนำ�ของบรรณาธิการ และบทความอีก 14 บท แต่ละบทเขียนโดยนักการศึกษาที่ครํ่าหวอดและ เป็นที่นับถือทั่วโลกทั้งสิ้น เช่น Howard Gardner เจ้าของทฤษฎี Multiple Intelligences เขียนเรื่อง Five Minds for the Future, Richard และ Rebecca DuFour ผู้ ริ เ ริ่ ม และพั ฒ นาศาสตร์ แ ละศิ ล ป์ ว่ า ด้ ว ย PLC การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
7
(Professional Learning Communities) เขี ย นเรื่ อ ง The Role of Professional Learning Communities in Advancing 21st Century Skills, Linda Darling-Hammond ศาตราจารย์ด้านการศึกษา โดยเฉพาะ อย่างยิ่งด้านการพัฒนาครู แห่งมหาวิทยาลัย สแตนฟอร์ด ให้สัมภาษณ์ James Bellanca ออกมาเป็นบทที่ 2 เรื่อง New Policies for 21st Century Demands เป็นต้น อ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว ท่านจะยิ่งตระหนักว่า ระบบการศึกษาไทย จะต้องพัฒนาไปมากกว่าที่ระบุในแผนปฏิรูปการศึกษาแห่งชาติ ทศวรรษ ที่สอง อย่างมากมาย เป็นเรื่องที่คนไทยทั้งชาติจะต้องช่วยกันผลักดันให้มี การขับเคลือ่ นการเปลีย่ นแปลงนี้ หากเราไม่ท�ำ หรือทำ�ไม่ส�ำ เร็จ คนไทยยุค ต่อไปจะเป็นคนที่ล้าหลังคนในประเทศอื่นๆ อย่างน่าตกใจ ผมจึงขอขอบคุณสำ�นักพิมพ์ openworlds และคณะผู้แปล รวมทั้ง มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ ที่ร่วมกันจัดแปลและจัดพิมพ์แผยแพร่หนังสือดี เล่มนี้ให้แก่สังคมไทย และขอบคุณที่ให้เกียรติผมเขียนคำ�นิยมนี้ ศ.นพ. วิจารณ์ พานิช
8
ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันส่งเสริม การจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) รองประธานกรรมการมูลนิธิสยามกัมมาจล
ทักษะแห่งอนาคตใหม่
คำ�นำ�
มู ล นิ ธิ ส ดศรี - สฤษดิ์ ว งศ์ (มสส.) ก่ อ ตั้ ง ขึ้ น ในปี พ.ศ. 2537 ตามเจตนารมณ์ของพลตรีนายแพทย์สฤษดิ์วงศ์ และ คุณหญิงสดศรี วงศ์ถว้ ยทอง ทีจ่ ะสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิง่ การสนั บ สนุ น การพั ฒ นากระบวนการเรี ย นรู้ และนวั ต กรรมทางการ ศึกษา ในตอนแรกมูลนิธิฯ ได้ผลิตวารสารสานปฏิรูปให้แก่วงการศึกษา ไทย ในเวลาต่อมาจึงได้ศึกษาและทำ�งานขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะทาง จิตวิญญาณซึ่งรวมความถึงจิตวิญญาณความเป็นครูด้วย ปี พ.ศ.2554 การศึกษาไทยอยู่ในภาวะวิกฤตด้านคุณภาพดัง จะเห็นได้จากตัวชีว้ ดั ด้านการศึกษาและการสอบหลายครัง้ ทีส่ �ำ คัญกว่าตัว ชี้วัดคือนักเรียนนักศึกษาซึ่งเป็นผลผลิตของการศึกษาไม่มีศักยภาพที่จะ เรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงของโลกและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มูลนิธิฯ เชื่อว่าการปฏิรูปการศึกษาที่แท้ควรปฏิรูปกระบวนทัศน์ด้วย จากกระบวน ทัศน์เดิมที่ครูเป็นผู้มอบความรู้ให้แก่นักเรียนนักศึกษาในสถาบันต่างๆ เปลี่ยนเป็นช่วยกันออกแบบกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างครูกับเด็ก และเยาวชนทุกคนในสังคม นั่นคือ “กระบวนการเรียนรู้สำ�คัญกว่าความรู้” และ “ครูมใิ ช่ผมู้ อบความรู”้ แต่เป็น “ผูอ้ อกแบบกระบวนการเรียนรูโ้ ดยเรียนรู้ ไปพร้อมๆ กันกับเด็กและเยาวชน” เป้าหมายของการเรียนรูจ้ ะมิใช่ตวั ความรูอ้ กี ต่อไป เพราะตัวความรู้ นั้นมีมากมายมหาศาลเกินกว่าที่จะมอบให้นักเรียนแต่ละชั้นปีได้ อีกทั้ง 10
ทักษะแห่งอนาคตใหม่
นักเรียนในศตวรรษใหม่มหี นทางค้นหาความรูด้ ว้ ยตนเองจากทุกหนแห่งทัง้ ในสิง่ แวดล้อมและในอินเทอร์เน็ต หากการศึกษาไทยยังยํา่ อยูก่ บั กระบวนทัศน์เดิมคือมอบความรู้เป็นรายวิชาก็จะไม่ทันสถานการณ์โลก ที่ควรทำ� คือมีกระบวนทัศน์ใหม่ที่จะพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้ใฝ่เรียนรู้ตลอด ชีวิต เด็กและเยาวชนจะเรียนรู้อะไรบ้างขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละคน แต่ที่ ทุกคนควรมีคอื ความสามารถในการเรียนรูต้ ลอดเวลา ตลอดชีวติ และพัฒนา ตนเองอย่างต่อเนื่อง มูลนิธิฯ ได้ขับเคลื่อนประเด็นจิตวิญญาณความเป็นครูด้วยการ จัดวงแลกเปลีย่ นเรียนรูร้ ะหว่างครูทมี่ คี วามสามารถในการจัดกระบวนการ เรียนรูเ้ พือ่ ความเป็นมนุษย์ทสี่ มบูรณ์มาแล้ว มูลนิธฯิ มีความตัง้ ใจขับเคลือ่ น การปฏิรูปการศึกษาให้เป็นการปฏิรูปการเรียนรู้ด้วยการจัดการความรู้ ระหว่างครูทมี่ ปี ระสบการณ์ตรงในการจัดการเรียนการสอนแบบ ProblemBased Learning (PBL) แล้วสร้างชุมชนการเรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ที่เรียกว่า Professional Learning Community (PLC) ทั้งนี้เพื่อให้ชุมชนการ เรียนรู้ครูเพื่อศิษย์ในท้องถิ่นต่างๆ สามารถพัฒนาตนเองและการศึกษา ของชาติอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในเครื่องมือสร้าง ความเข้าใจเรือ่ งการปฏิรปู การศึกษาด้วยกระบวนทัศน์ใหม่ดงั ทีบ่ รรยายมา มูลนิธิฯ ขอขอบพระคุณมูลนิธิสยามกัมมาจลซึ่งเป็นภาคีความ ร่วมมือในการปฏิรูปการศึกษาด้วยกระบวนทัศน์ใหม่นี้ ขอขอบพระคุณ ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช และ นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ ทีไ่ ด้ให้หลักคิดและปรัชญา การศึกษาทีม่ คี า่ ยิง่ แก่มลู นิธฯิ รวมทัง้ ขอบพระคุณสำ�นักพิมพ์ openworlds ทีช่ ว่ ยเหลือด้านการแปลและจัดพิมพ์หนังสือทีม่ คี ณ ุ ค่าเล่มนีอ้ ย่างมีคณ ุ ภาพ เป็นที่เรียบร้อย การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
นพ. ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ 11
สารบัญ คำ�นำ� รอน แบรนต์ บทนำ� เจมส์ เบลลันกา และ รอน แบรนต์ บทเกริ่นนำ� เคน เคย์
18 20 30
1. จิตห้าลักษณะสำ�หรับอนาคต 58 เฮาเวิร์ด การ์ดเนอร์ 2. นโยบายใหม่ที่สนองความต้องการในศตวรรษที่ 21 ลินดา ดาร์ลิง-แฮมมอนด์ สัมภาษณ์โดย เจมส์ เบลลันกา
88
3. การเปรียบเทียบกรอบความคิดสำ�หรับทักษะแห่ง ศตวรรษที่ 21 คริส ดีดี้
110
4. บทบาทของชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ต่อความก้าวหน้าของทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ริชาร์ด ดูโฟร์ และ รีเบ็กคา ดูโฟร์ 5 วิสัยทัศน์ของสิงคโปร์: สอนให้น้อยลง เรียนรู้ให้มากขึ้น โรบิน โฟการ์ตี้ และ ไบรอัน เอ็ม. พีท
146
6. การออกแบบสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ แบบใหม่เพื่อสนับสนุนทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 บ็อบ เพิร์ลแมน
196
170
7. กรอบความคิดในการนำ�ไปปฏิบัติ 240 เพื่อสนับสนุนทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เจย์ แม็คไท และ เอลเลียต ซีฟ 8. การเรียนรู้จากปัญหา: รากฐานสำ�หรับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จอห์น แบเรลล์
9. การเรียนรู้แบบร่วมมือและการแก้ไขความขัดแย้ง: ทักษะที่จำ�เป็นแห่งศตวรรษที่ 21 เดวิด ดับเบิลยู. จอห์นสัน และ โรเจอร์ ที. จอห์นสัน
272
304
10. การเตรียมนักเรียนให้เชี่ยวชาญทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 332 ดักลาส ฟิเชอร์ และ แนนซี เฟรย์ 11. นวัตกรรมจากเทคโนโลยี เชอริล เลมกี
358
12. เทคโนโลยีลํ้าหน้า ข้อมูลล้าหลัง อลัน โนเวมเบอร์
394
13. ท่องไปในเครือข่ายสังคมในฐานะเครื่องมือการเรียนรู้ วิล ริชาร์ดสัน
408
14. กรอบการประเมินทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ดักลาส รีฟส์
436
บทส่งท้าย: ภาวะผู้นำ� การเปลี่ยนแปลง และอนาคตของ วาระทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 แอนดี ฮาร์กรีฟส์
464
21st
CENTURY SKILLS Rethinking How Students Learn
Edited by
James Bellanca and Ron Brandt
ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 แปลโดย
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์
เกี่ยวกับบรรณาธิการ
เจมส์ เบลลันกา
รอน แบรนต์
เจมส์ เบลลันกา เจมส์ เบลลั น กา (James Bellanca, MA) เป็ น ผู้ ก่ อ ตั้ ง และ ผู้บริหารสูงสุดของ International Renewal Institute, Inc และรักษาการ ผู้อำ�นวยการกลุ่มความร่วมมือในรัฐอิลลินอยส์เพื่อทักษะแห่งศตวรรษ ที่ 21 (Illinois Consortium for 21st Century Skills) เขายังเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท Skylight Professional Development ในปี 1982 ในฐานะประธาน เขาได้ฝึกสอนที่ปรึกษานักเขียนกว่า 20 คน ในช่วงที่บุกเบิกการใช้วิธีสอน เชิงยุทธศาสตร์ในการพัฒนาทางวิชาชีพแบบครบถ้วนให้กับ Skylight เขาร่วมแต่งหนังสือมากกว่า 20 เล่ม ซึง่ สนับสนุนการประยุกต์ใช้วธิ คี ดิ และ ความร่วมมือข้ามหลักสูตรภายใต้แนวคิดสำ�คัญทีว่ า่ “ไม่ใช่เพียงเพือ่ การสอบ แต่เพือ่ การเรียนรูท้ งั้ ชีวติ ” ปัจจุบนั เขาพยายามต่อยอดทฤษฎีของรอยเฟิน ฟอยเออร์สไตน์ (Reuven Feuerstein) นักจิตวิทยาด้านการรับรู้ เพื่อ พัฒนาวิธกี ารสอนทีต่ อบสนองความต้องการเรียนรูข้ องเด็กทีเ่ รียนช้าอย่าง ได้ผล เขามีงานที่ได้รับการตีพิมพ์มากมายในฐานะผู้สนับสนุนการสอน ที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดีในการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 อาทิ 16
ทักษะแห่งอนาคตใหม่
Designing Professional Development for Change: A Guide for Improving Classroom Instruction, Enriched Learning Projects: A Practical Pathway to 21st Century Skills; Collaboration and Cooperation in 21st Century Schools; 200+ Active Learning Strategies and Projects for Engaging Students’ Multiple Intelligences; และ A Guide to Graphic Organizers: Helping Students Organize and Process Content for Deeper Learning รอน แบรนต์ รอน แบรนต์ (Ron Brandt, Ed.D.) เป็นบรรณาธิการสิง่ พิมพ์ให้กบั สมาคมกำ�กับดูแลและพัฒนาหลักสูตร (Association for Supervision and Curriculum Development หรือ ASCD) เมืองอเล็กซานเดรีย รัฐเวอร์จิเนีย เป็นเวลาเกือบ 20 ปีก่อนเกษียณในปี 1997 ในระหว่างทำ�งานที่ ASCD เขาเป็นที่รู้จักในฐานะบรรณาธิการบริหารของนิตยสาร Educational Leadership ในช่วงทศวรรษ 1980 เขาส่งเสริมการสอนให้รู้จักคิดในระดับ ประถมและมัธยมศึกษา โดยร่วมมือกับโรเบิรต์ มาร์ซาโน (Robert Marzano) และทีมนักการศึกษาทำ�หนังสือ Dimensions of Thinking และตำ�รา ฝึกอบรมครู Dimensions of Learning นอกจากนี้แบรนต์ยังเป็นผู้แต่ง หรือเป็นบรรณาธิการให้กับหนังสือจำ�นวนมาก ก่อนร่วมงานกับ ASCD เขาเคยเป็นครูและหัวหน้าครูที่เมืองราซีน รัฐวิสคอนซิน เป็นผู้อำ�นวยการ ฝ่ายพัฒนาบุคลากรที่เมืองมินนีแอโพลิส รัฐมินนิโซตา และเป็นผู้ช่วย ผู้อำ�นวยการเขตการศึกษาที่เมืองลิงคอล์น รัฐเนแบรสกา
การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
17
คำ�นำ� รอน แบรนต์
เหล่ า นั ก การศึ ก ษากำ � ลั ง เผชิ ญ หน้ า กั บ ความท้ า ทายครั้ ง ใหญ่ อีกครั้ง นั่นคือการปลูกฝังทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ให้แก่นักเรียน มี นักวิจารณ์ที่ต่อต้านแนวคิดนี้ด้วยเกรงว่าการเน้นทักษะอย่างเช่นการ คิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหาอาจลดทอนการสอนเนื้อหาที่สำ�คัญ อย่างเช่นประวัติศาสตร์และวรรณคดี ความกังวลเหล่านี้อาจฟังดูมีเหตุผล แต่การยืนกรานว่า “ทักษะไม่ใช่สิ่งที่สอนหรือนำ�ไปประยุกต์ใช้อย่างได้ผล หากปราศจากความรู้พื้นฐานในวิชาต่างๆ”[1] นั้นไม่ถูกต้อง ทั้งความรู้ และ ทักษะล้วนจำ�เป็นและอาศัยซึ่งกันและกัน ซึ่งทั้งฝ่ายที่สนับสนุนและฝ่ายที่ วิจารณ์ตา่ งเห็นพ้องในเรือ่ งนี้ ผูเ้ ขียนทีป่ รากฏในหนังสือเล่มนีท้ กุ คนทราบ จากประสบการณ์วา่ การสอนทีม่ ปี ระสิทธิผลนัน้ ต้องทำ�ให้นกั เรียนใช้ทกั ษะ เพื่อแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง คนทุกยุคทุกสมัยไม่อาจเลี่ยงความรับผิดชอบในการตัดสินใจว่า อะไรคือสิ่งที่นักเรียนควรเรียนรู้ โดยวิเคราะห์จากสิ่งที่คนรุ่นก่อนประสบ มา สหรัฐอเมริกาในยุคแรกๆ ประชากรในเขตนิวอิงแลนด์ถกู สอนให้คดิ เลข 18
ทักษะแห่งอนาคตใหม่
ง่ายๆ เขียนจดหมาย และอ่านคัมภีร์ไบเบิล พอเข้าสู่ทศวรรษ 1900 เมื่อเกษตรกรรมเจริญมากขึ้น โรงเรียนมัธยมในเขตชนบทเริ่มสอนอาชีพ การเกษตร และพอมีเทคโนโลยีเข้ามาเช่นในปัจจุบัน โรงเรียนก็ต้องเพิ่ม วิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ความจำ�เป็นของการศึกษาทีเ่ ชือ่ มโยงกับความต้องการของสังคม ถูกล้อเลียนไว้ในหนังสือเล่มเล็กน่าอ่านซึ่งตีพิมพ์เมื่อ 70 ปีที่แล้ว หนังสือ เล่ า ว่ า ในยุ ค หิ น เก่ า ทำ � ไมโรงเรี ย นต้ อ งหั น มาสอนวิ ธี จั บ ปลาและขู่ เ สื อ เขี้ยวดาบ[2] จุดมุ่งหมายของหนังสือเล่มนี้ไม่ใช่การล้อเลียนความพยายาม ในการทำ�หลักสูตรให้เข้ากับความต้องการของสังคม แต่เป็นการใช้อารมณ์ ขันเพือ่ เตือนให้เห็นความยากลำ�บากของการกระทำ�ดังกล่าว ตัวอย่างเช่น เมื่อนักการศึกษาในยุคหินเก่าตัดสินใจสอนวิชาขู่เสือ พวกเขาหาได้แต่ เสือชราสองตัวที่ไร้พิษสงมาให้นักเรียนฝึกขู่ ความพยายามทีจ่ ะคาดหมายความต้องการของนักเรียนในอนาคต ไม่ใช่เรื่องของการทำ�ตามกระแส แต่เป็นเรื่องที่จำ�เป็นต้องทำ� แน่นอนว่า นีเ่ ป็นแค่การเริม่ ต้น ส่วนทีย่ ากยิง่ กว่าคือ หนึง่ หาว่าความต้องการแบบใหม่ นีเ้ ข้ากับหลักสูตรทีม่ อี ยูอ่ ย่างไร และ สอง หาวิธที จี่ ะสอนสิง่ นัน้ ควบคูไ่ ปกับ เนือ้ หา แล้วค่อยจัดการกับขัน้ ตอนอันซับซ้อนของการนำ�ไปปฏิบตั ิ เจตนา ของหนังสือเล่มนีก้ เ็ พือ่ ช่วยผูอ้ า่ นจัดการกับภาระอันยิง่ ใหญ่นี้ และเช่นเดียว กับชาวยุคหินเก่าในหนังสือของเบนจามิน เราอาจไม่บรรลุความพยายาม เหล่านี้ได้ทั้งหมด แต่เราต้องน้อมรับความท้าทายที่เกิดขึ้น บรรณานุกรม
[1] [2]
Common Core. (2009). A challenge to the Partnership for 21st Century Skills. Accessed at www.commoncore.org/p21-challenge.php on November 5, 2009. Benjamin, H. R. W. (1939). The saber-tooth curriculum. New York: McGraw-Hill.
การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
19
บทนำ� เจมส์ เบลลันกา และ รอน แบรนต์
แนวคิดริเริม่ ของการเปลีย่ นแปลงครัง้ ใหญ่ในภาคส่วนทีส่ �ำ คัญของ สังคมมักเกิดขึ้นจากคนนอก เช่นเดียวกับการเคลื่อนไหวที่รู้จักกันในชื่อ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” ซึ่งสนับสนุนโดยภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สมาชิกของภาคีฯ ประกอบด้วยบริษัทขนาดใหญ่ องค์กรวิชาชีพระดับ ประเทศ และสำ�นักงานด้านการศึกษาของรัฐ หน่วยงานเหล่านี้มีความ กังวลเพราะเล็งเห็นความจำ�เป็นทีป่ ระชาชนจะต้องมีทกั ษะทีย่ งั ประโยชน์ได้ เกิ น กว่ า ทั ก ษะที่ เ น้ น ในโรงเรี ย นทุ ก วั น นี้ ผู้ นำ � ที่ ไ ด้ รั บ เลื อ ก รวมทั้ ง ประธานาธิบดีโอบามา และผู้ว่าการรัฐจำ�นวนมากต่างเห็นพ้องว่าการ เปลี่ยนแปลงนี้เป็นสิ่งจำ�เป็น ถ้าต้องการเห็นนักเรียนอเมริกันมีศักยภาพ พอที่จะแข่งขันในตลาดงานระดับโลก เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว ภาคีฯ ได้แจงรายละเอียดของกรอบ ความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งอยากเห็นทุกรัฐรับไปใช้เป็น วาระนำ�เพื่อปรับปรุงการสอน (ดูแผนภาพ ก.1 ในบทเกริ่นนำ�ของเคน เคย์ ประธานภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21) การพลิกโฉมนโยบาย ของรัฐที่เข้าร่วมคาดว่าจะเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานการศึกษา ในปัจจุบันก่อน และในขั้นต่อไป ภาคีฯ ต้องการเห็นแนวปฏิบัติที่สอดคล้อง กับมาตรฐานใหม่ซงึ่ จะส่งผลให้นกั เรียนสามารถพัฒนาทักษะทีจ่ �ำ เป็นขึน้ ได้ อันที่จริง แนวปฏิบัติที่หวังผลลัพธ์ดังกล่าวเริ่มปรากฏให้เห็น มากขึ้น ครู หัวหน้าครู หัวหน้าเขตการศึกษา และกรรมการบริหาร 20
ทักษะแห่งอนาคตใหม่
โรงเรียนที่รับกรอบความคิดนี้ไปใช้ก่อนใครก็เริ่มจะเห็นผล ครูบางคน ได้เปลี่ยนแปลงห้องเรียนให้เป็นสถานที่สำ�หรับเรียนรู้ที่เพียบพร้อมด้วย เทคโนโลยี นักเรียนในชั้นได้ลองสิ่งใหม่ ได้ทำ�โครงการ เสี่ยงตัดสินใจ และ แก้ไขปัญหาที่สำ�คัญ แม้วา่ โรงเรียนทีป่ รับตัวเข้าสูว่ าระของทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ยัง มีจ�ำ นวนน้อยกว่าโรงเรียนทีย่ งั ยึดติดกับแนวปฏิบตั แิ ละเนือ้ หาของศตวรรษ ที่ 20 แต่การเปลี่ยนแปลงก็เริ่มปรากฏขึ้นบ้างแล้ว โดยเฉพาะในรัฐที่ เป็นสมาชิกของภาคีฯ ในบางรัฐผู้นำ�ของการเปลี่ยนแปลงคือโรงเรียนใน กำ�กับของรัฐที่พยายามหลบหนีจากโมเดลการเรียนการสอนแบบ “เดิมๆ” ขณะที่ในบางรัฐผู้นำ�ของการเปลี่ยนแปลงคือโรงเรียนรัฐที่นิยามความ สัมพันธ์ระหว่างการเรียนและการสอนขึ้นมาใหม่ ในระดับเขตการศึกษา การปฏิรูปโดยรวมสู่การเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 ต้องเผชิญกับความท้าทายอย่างยิ่ง ในเมืองทูซอน รัฐแอริโซนา และ เมืองวอเรนวิลล์ รัฐอิลลินอยส์ ผู้นำ�ของโรงเรียนตั้งแต่กรรมการบริหารและ ฝ่ายบริหารส่วนกลาง ได้เผยวิสัยทัศน์เรื่องการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และ แผนเชิงยุทธศาสตร์ในระดับเขตแก่สาธารณชน แผนการเหล่านี้ผลักดัน ให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน ซึ่งได้แก่การออกแบบตึกเรียนใหม่ การเปลี่ยนหลักสูตร การพัฒนาทางวิชาชีพในระยะยาวสำ�หรับผู้นำ�และครู และการบูรณาการเทคโนโลยีในแต่ละโรงเรียน ในระดั บ รั ฐ เวสต์ เ วอร์ จิ เ นี ย ซึ่ ง เป็ น รั ฐ ที่ ส นั บ สนุ น ทั ก ษะแห่ ง ศตวรรษที่ 21 ตั้งแต่แรกได้ชักชวนให้กระทรวงศึกษาธิการของรัฐต่างๆ เข้าร่วมการส่งเสริมทักษะศตวรรษใหม่ เวสต์เวอร์จิเนียได้สร้างเว็บไซต์ที่ ใช้งานง่ายชื่อว่า Teach 21 (http://wvde.state.wv.us/teach21/) โดยเสนอ มาตรฐานสมรรถภาพสำ�หรับศตวรรษที่ 21 อันประกอบด้วยแนวการสอน แผนหน่วยการเรียน และแนวคิดตัวอย่างสำ�หรับการเรียนรู้จากโครงการ ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาและสาขาสำ�หรับผู้ที่ต้องช่วยเหลือเป็นพิเศษ และ ได้จัดเตรียมกลุ่มผู้นำ�ครูที่คอยช่วยเหลือผู้ที่ใช้วิธีการเรียนรู้ผ่านโครงการ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
21
ตลอดทั้งปีการศึกษา ครูและโรงเรียนต่างๆ อาทิ โรงเรียนประถมประจำ� เขตวอชิ ง ตั น ในเมื อ งบู แ คนนอนถู ก กระตุ้ น ให้ ท บทวนวิ ธี ก ารสอนและ การประเมินให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของทรัพยากรที่มีมากมายนี้ และ นำ�การเรียนรู้จากโครงการไปใช้ในการสอนประจำ�วัน รัฐอิลลินอยส์เลือกใช้วิธีการที่ต่างออกไป เมื่อกรรมาธิการด้าน การศึกษาแห่งรัฐอิลลินอยส์เข้าเป็นสมาชิกของภาคีฯ อย่างเป็นทางการ กลุ่มผู้นำ�ภาคการศึกษาและภาคธุรกิจได้ตั้งกลุ่มความร่วมมืออิสระเพื่อ ดึงเขตการศึกษาให้เข้ามาร่วมวางแผนการนำ�กรอบความคิดของภาคีฯ ไปปฏิบัติ วิสัยทัศน์ของกลุ่มความร่วมมือในรัฐอิลลินอยส์นี้มีแผนการที่จะ สร้างความร่วมมือระหว่างเขตต่างๆ เพือ่ การพัฒนาทางวิชาชีพในระยะยาว และการเปลี่ยนแปลงโดยรวมในโรงเรียนที่เป็นสมาชิก แกนนำ�ของกลุ่ม ความร่วมมือซึ่งทำ�งานใกล้ชิดกับเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมาธิการฯ กำ�ลัง เชื่อมโยงกระบวนการ “จากล่างขึ้นบน” ของตนเข้ากับแผนกำ�หนดทิศทาง ของคณะกรรมาธิการฯ ชือ่ ของกระบวนการดังกล่าวเกิดขึน้ ทีโ่ รงเรียนมัธยม นิวไทรเออร์อสี ต์ (New Trier East) เมืองวินเนทกา รัฐอิลลินอยส์ และตัง้ ชือ่ โดยแมรี ไอดา แมคไกวร์ (Mary Ida Maguire) ผู้ช่วยผู้อำ�นวยการเขต การศึกษาในตอนนั้น กระบวนการจากล่างขึ้นบนสนับสนุนให้กลุ่มต่างๆ อาทิ ครู ผู้ปกครอง และผู้บริหาร ช่วยกันออกความเห็นเรื่องสิ่งที่ต้อง ปรับปรุงเพื่อจัดสรรงบในปีการศึกษาถัดไป ความเห็นที่ดีที่สุดของแต่ละ กลุ่มจะอยู่อันดับบน คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่สุ่มเลือกจาก กลุ่มต่างๆ จะกำ�หนดเกณฑ์ คัดเลือกความคิดที่ดีที่สุด และทำ�ข้อเสนอต่อ กรรมการจัดสรรงบประมาณโรงเรียน คณะกรรมการของกลุม่ ความร่วมมือ 30 คนใช้กระบวนการจากล่างขึ้นบนนี้ในการกำ�หนดโครงการนวัตกรรมที่ สมควรได้รับเงินเพื่อดำ�เนินการ ในระดับประเทศ มีองค์กรวิชาชีพต่างๆ จำ�นวนหนึ่งที่ร่วมมือกับ ภาคีฯ แต่ที่โดดเด่นที่สุดคือ สภาครูภาษาอังกฤษแห่งชาติ (National Council of Teachers of English), สมาคมครูวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 22
ทักษะแห่งอนาคตใหม่
National Science Teachers Association), สภาสังคมศึกษาแห่งชาติ (National Council for Social Studies) และสมาคมห้ อ งสมุ ด แห่ ง สหรัฐอเมริกา (American Library Association) องค์กรเหล่านีไ้ ด้รว่ มมือกับ ภาคีฯ ในการพัฒนาแนวทางสำ�หรับทรัพยากรทางออนไลน์เพื่อบูรณาการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เข้าไปในเนื้อหา องค์กรอื่นๆ เช่น สมาคมการ ศึกษาแห่งชาติ (National Education Association) และสมาคมกำ�กับ ดูแลและพัฒนาหลักสูตร (Association for Supervision and Curriculum Development) ได้ดำ�เนินการเพื่อช่วยยกระดับการรับรู้ของสมาชิก เราขอเริ่มต้นด้วยการอธิบายวิสัยทัศน์ที่จัดทำ�โดยภาคีเพื่อทักษะ แห่งศตวรรษที่ 21 เราตระหนักดีว่าหนังสือรวมรวมบทความเล่มนี้ไม่ใช่ บทสรุปของการศึกษาในหัวข้อดังกล่าว แต่เราเชื่อมั่นว่านี่คือก้าวที่สำ�คัญ อีกก้าวหนึ่ง ภารกิ จ แรกของเราในการคิ ด ทำ � หนั ง สื อ เล่ ม นี้ คื อ กำ � หนด ประเด็ น หลั ก ที่ จ ะนำ � ไปสู่ ก ารสนทนา จากนั้ น จึ ง กำ � หนดตั ว ผู้ เ ขี ย นที่ คราํ่ หวอดในวงการและมีสายตากว้างไกลเพือ่ กล่าวถึงประเด็นทีก่ �ำ หนดไว้ เราขอให้พวกเขาช่วยตอบคำ�ถามพื้นฐานสามข้อที่จะช่วยอธิบายแนวคิด สำ�คัญของทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ดังนี้ (1) เหตุใดทักษะที่ระบุในกรอบ ความคิดจึงจำ�เป็นต่อการเรียนรู้ในอนาคต (2) ทักษะใดที่สำ�คัญที่สุด และ (3) เราทำ�อะไรได้บ้างที่จะช่วยผลักดันให้โรงเรียนบรรจุทักษะเหล่านี้ใน รายการสอนเพื่อให้การเรียนรู้สำ�หรับศตวรรษที่ 21 บังเกิดผล สรุปความของบทต่างๆ ที่ปรากฏในหนังสือ ในบทเกริน่ นำ� เคน เคย์ ประธานภาคีเพือ่ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 นำ�เสนอกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งภาคีฯ พยายาม ผลักดัน เขาตอบคำ�ถามหลักสามข้อข้างต้นและสนับสนุนการปรับเปลี่ยน การสอนและการเรียนรู้ให้สัมพันธ์กันโดยคำ�นึงถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น ในบทที่ 1 เฮาเวิร์ด การ์ดเนอร์ กล่าวถึงจิต 5 ลักษณะที่สังคมควร การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
23
ปลูกฝังในคนรุน่ ถัดไป โดยมีสามลักษณะทีเ่ กีย่ วข้องกับการรับรู้ และอีกสอง ลักษณะทีเ่ กีย่ วข้องกับมนุษย์ การ์ดเนอร์อธิบายลักษณะสำ�คัญของจิตแต่ละ ลักษณะ ให้เห็นว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และอาจถูกบิดเบือนได้อย่างไร เขา สรุปด้วยคำ�แนะนำ�ว่าลักษณะทัง้ ห้าของจิตน่าจะหลอมรวมกันเป็นหนึง่ เพือ่ สนับสนุนการเติบโตของมนุษย์ได้อย่างไร ในบทที่ 2 ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์ลินดา ดาร์ลิง-แฮมมอนด์ เธอ เรียกร้องให้มีการปรับนโยบายครั้งใหญ่เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา โรงเรียนสำ�หรับศตวรรษที่ 21 โดยแนะนำ�ให้ปรับเปลี่ยนมาตรฐาน, หลักสูตร, วิธีการสอนและการประเมินไปในทิศทางเดียวกัน สร้างความ เข้มแข็งทางวิชาชีพในหมู่ครูและผู้บริหารโรงเรียน ปรับเปลี่ยนตารางเวลา ให้ครูมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางวิชาชีพมากขึ้น และจัดสรรทรัพยากร ให้แก่โรงเรียนต่างๆ อย่างเท่าเทียม เธอกำ�ชับให้สหรัฐอเมริกาใช้แนวทาง ที่สมดุลมากขึ้นในการปฏิรูปโรงเรียน และเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ จำ�เป็นอย่างยิ่งหากสหรัฐฯ ต้องการกอบกู้ความเป็นผู้นำ�ด้านการศึกษา ในบทที่ 3 คริส ดีดี้ เปรียบเทียบทักษะสำ�คัญต่างๆ สำ�หรับศตวรรษ ที่ 21 โดยตั้งคำ�ถามว่า “คำ�ว่าทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 นั้นมีนิยามที่หลาก หลายเพียงใด” เขาตั้งข้อสังเกตว่าความไม่ชัดเจนของคำ�ว่าทักษะแห่ง ศตวรรษที่ 21 อาจเป็นปัญหา การตรวจสอบของเขาจึงให้ความกระจ่างว่า กรอบความคิดทัง้ หลายนัน้ มีอะไรทีเ่ หมือนกัน และมีอะไรบ้างเป็นจุดต่างที่ ช่วยเสริมแนวคิดความหมายให้กับแนวคิดที่กำ�ลังมีอิทธิพลนี้ ในบทที่ 4 ริชาร์ด และรีเบ็กคา ดูโฟร์ อภิปรายเรื่องถึงสภาพ แวดล้อมในโรงเรียนทีจ่ �ำ เป็นต่อการสอนทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 พวกเขา สังเกตว่า สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุดสำ�หรับการสอนทักษะชีวิตและ ทักษะการทำ�งานอย่างที่ภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องการ คือ ชุมชนการเรียนรู้วิชาชีพที่เป็นต้นแบบของทักษะเหล่านั้น พวกเขาเชื่อ ว่าชุมชนดังกล่าวคือเครื่องมือสำ�คัญที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างที่ผู้ สนับสนุนทักษะฯ อยากจะเห็น 24
ทักษะแห่งอนาคตใหม่
ในบทที่ 5 โรบิน โฟการ์ตี และไบรอัน พีท กล่าวถึงประเทศสิงคโปร์ ที่ซึ่งพวกเขาทำ�งานเป็นที่ปรึกษาด้านการศึกษาให้กับโครงการ “สอนให้ น้อยลง เรียนรูใ้ ห้มากขึน้ ” (Teach Less, Learn More) โฟการ์ตแี ละพีทเล่า ความคิดและความรูส้ กึ ของครูทลี่ งั เลว่าจะเลือกอะไร ระหว่างวิธเี ดิมๆ แบบ อำ�นาจนิยมที่เน้นการแข่งขัน กับวิธีแบบใหม่ที่ให้นักเรียนทำ�งานเป็นทีม และตัดสินใจร่วมกัน ซึง่ ช่วยกระตุน้ ให้นกั เรียนเข้าใจได้มากกว่าการท่องจำ� ในบทที่ 6 บ็อบ เพิร์ลแมน พาเราชมอาคารเรียนที่ออกแบบมา เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกัน และชี้ให้เห็นว่าการออกแบบสไตล์กล่อง สี่เหลี่ยมอย่างที่เราคุ้นเคยในปัจจุบันเหมาะกับโมเดลของโรงงานที่ล้าสมัย ไปแล้ว เขาแสดงให้เห็นว่าในการออกแบบอาคารเรียนแบบใหม่ต้องคำ�นึง ถึงประโยชน์ก่อนรูปแบบ ซึ่งประโยชน์ที่ว่าในความหมายปัจจุบันคือการ มีส่วนร่วม การแก้ไขปัญหา และการสื่อสาร ในบทที่ 7 เจย์ แม็คไท และเอลเลียต ซีฟ พยายามตอบคำ�ถาม ว่า เราจะรวมผลลัพธ์ที่พึงประสงค์สำ�หรับศตวรรษที่ 21 เข้าไปในหลักสูตร ที่อัดแน่นซึ่งตกค้างมาจากศตวรรษก่อนได้อย่างไร โดยใช้แนวทางอย่าง เป็นระบบทีใ่ ช้ประโยชน์จากหลักและแนวปฏิบตั ขิ องแนวทางการออกแบบ การเรียนรู้เพื่อสร้างความเข้าใจ ผู้เขียนแสดงองค์ประกอบหลักที่สัมพันธ์ กัน 5 ประการ ซึ่งได้แก่ (1) พันธกิจด้านการสอน (2) หลักในการเรียนรู้ (3) หลักสูตรและระบบประเมินผล (4) โปรแกรมการสอนและแนวปฏิบัติ (5) ปัจจัยสนับสนุนโดยรวม ผู้เขียนสำ�รวจองค์ประกอบแต่ละอย่าง และ เสนอแนะวิธีที่โรงเรียนและเขตการศึกษาสามารถนำ�ไปปรับปรุงองค์กร จนสามารถนำ�แนวคิดนี้ไปปฏิบัติในการเรียนการสอนเพื่อสร้างทักษะแห่ง ศตวรรษใหม่ให้แก่นักเรียนทุกคน ในบทที่ 8 จอห์น แบเรลล์ แสดงให้เห็นว่าการเรียนรู้จากปัญหา เป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เขาอธิบายวิธีที่ ครูจะสามารถปรับเปลี่ยนหลักสูตรจากวิธีที่สอนอยู่ฝ่ายเดียวไปสู่การสอน ที่เปิดให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและตั้งคำ�ถาม ตัวอย่างเชิง การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
25
รูปธรรมของเขาแสดงให้เห็นว่าการสืบค้นจากปัญหาสามารถปรับใช้ได้กับ นักเรียนทุกวัย ทุกระดับความสามารถ และทีม่ ปี ญ ั หาในการเรียนทุกรูปแบบ ในบทที่ 9 เดวิด จอห์นสัน และโรเจอร์ จอห์นสัน ชี้ให้เห็นความ ท้าทายสำ�คัญ 4 ประการในศตวรรษที่ 21 ซึ่งได้แก่ (1) การพึ่งพากันใน ระดับโลกที่มากขึ้น (2) จำ�นวนประเทศประชาธิปไตยที่เพิ่มขึ้น (3) ความ ต้องการผูป้ ระกอบการทีม่ หี วั สร้างสรรค์ (4) ความสำ�คัญของความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลที่มีต่อการพัฒนาอัตลักษณ์ส่วนบุคคล ทั้งสองอภิปรายว่า เหตุใดการเรียนรูแ้ บบร่วมมือ การพิพาทเชิงสร้างสรรค์ และการต่อรองเพือ่ แก้ไขปัญหา จึงมีบทบาทอย่างยิ่งในการสอนนักเรียนให้มีความสามารถ และคุณค่าที่จำ�เป็นต่อการรับมือความท้าทายเหล่านี้ เพื่อนำ�ไปสู่ชีวิตที่ สร้างสรรค์และสมบูรณ์ ในบทที่ 10 ดักลาส ฟิเชอร์ และแนนซี เฟรย์ อธิบายวิธีการสาม อย่างที่ครูสามารถใช้รับมือกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง อย่างสุดขั้วและความต้องการของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 วิธีดังกล่าว ได้แก่ (1) การพิจารณาหน้าที่การใช้งานมากกว่าตัวเครื่องมือ (2) การ ทบทวนนโยบายด้านเทคโนโลยี และ (3) การพัฒนาความคิดของนักเรียน ผ่านการสอนอย่างจงใจ ในบทที่ 11 เชอริล เลมกี แนะนำ�นวัตกรรม 3 อย่างที่สำ�คัญของ การเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งได้แก่ การทำ�ให้เห็นภาพ การทำ�ความรู้ ให้เป็นประชาธิปไตย และวัฒนธรรมการมีสว่ นร่วมในการเรียนรู้ เธอสาธิต ได้อย่างน่าประทับใจให้เห็นถึงวิธีที่เทคโนโลยีจะช่วยให้เกิดความสมดุล ระหว่างแนวทางของการใช้ภาพกับการสือ่ สารแบบเดิมทีใ่ ช้ภาษาเป็นหลัก ในบทที่ 12 อลัน โนเวมเบอร์ ตอกยํ้าเหตุผลของเพิร์ลแมนในการ ออกแบบโรงเรียนขึน้ มาใหม่ โดยชีข้ อ้ ควรระวังในการใช้เทคโนโลยีราคาแพง เพื่อสืบทอดแนวโน้มในการมองโรงเรียนในฐานะผู้ดูแลด้านการเรียนรู้ของ นักเรียน เขากล่าวว่าถึงเวลาแล้วทีเ่ ราไม่เพียงแต่จะต้องออกแบบโครงสร้าง ทางกายภาพของโรงเรียนเท่านัน้ แต่ตอ้ งรวมไปถึงวัฒนธรรมของโรงเรียน 26
ทักษะแห่งอนาคตใหม่
ด้วย เทคโนโลยีทำ�ให้นักเรียนสามารถพึ่งพาโรงเรียนน้อยลงและมีความ รับผิดชอบจัดการเรื่องการเรียนรู้ของตนเองได้มากขึ้น ในบทที่ 13 วิล ริชาร์ดสัน เรียกร้องให้เราหันมาสนใจเทคโนโลยี เครือข่ายทางสังคมที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม โดยกล่าวว่าภูมิทัศน์ ใหม่อันทรงพลังนี้แม้จะมีปัญหามากมาย แต่ก็มีศักยภาพในการสร้างการ เรียนรู้ได้อย่างมหาศาล เขาอธิบายถึงความนิยมของชั้นเรียนเสมือนใน ระดับโลก, ความท้าทายของการเรียนรูแ้ บบไร้ขอ้ จำ�กัดจากชัน้ เรียนเสมือน, ศักยภาพและหลุมพราง และหนทางที่นักการศึกษาจะสามารถเปลี่ยน ไปสู่ความรู้พื้นฐานด้านเครือข่ายเพื่อปรับปรุงคุณภาพของประสบการณ์ การเรียนรู้ให้แก่นักเรียน ในบทที่ 14 ดักลาส รีฟส์ ชี้ปัญหาอันท้าทายของการประเมิน เขา แย้งว่าเราจะวัดทักษะต่างๆ ที่ผู้สนับสนุนทักษะศตวรรษที่ 21 ต้องการ ได้อย่างถูกต้องก็ต่อเมื่อเราทิ้งการทดสอบแบบมาตรฐานเท่านั้น เขาเสนอ เกณฑ์ 3 อย่างเพื่อกำ�หนดวิธีที่นักการศึกษาจะสามารถรู้ได้ว่านักเรียน กำ�ลังเรียนรูเ้ นือ้ หาและทักษะของศตวรรษที่ 21 หรือไม่ และแสดงให้เห็นว่า เกณฑ์เหล่านี้นำ�ไปใช้ในทางปฏิบัติได้อย่างไร ในบทส่ ง ท้ า ย แอนดี ฮาร์ ก รี ฟ ส์ สรุ ป หนั ง สื อ เล่ ม นี้ ด้ ว ยการ ตั้งคำ�ถามเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเพื่อสนับสนุนทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เขาใช้การเปรียบเปรยเพือ่ อธิบายประวัตคิ วามเป็นมาของการเปลีย่ นแปลง ในระบบการศึกษาทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและน่าจะเกิดในอนาคต เขาแบ่ง พัฒนาการด้านการศึกษาออกเป็นระยะต่างๆ และเรียกการมุ่งเน้นทักษะ แห่งศตวรรษที่ 21 ว่าเป็นหนทางที่สาม เขาแจกแจงผลลัพธ์ในเชิงบวก และลบที่เกิดขึ้นจากหนทางก่อน และมองไปข้างหน้าถึงหนทางที่สี่ที่น่า ปรารถนายิ่งกว่า
การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
27
เคน เคย์ เคน เคย์ (Ken Kay, JD) ใช้เวลา 25 ปีที่ผ่านมาสร้างความ ร่วมมือระหว่างชุมชนด้านการศึกษา ธุรกิจ และนโยบาย เพือ่ ปรับปรุงความ สามารถในการแข่งขันของสหรัฐอเมริกา เขาเป็นประธานภาคีเพื่อทักษะ แห่งศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills) ซึ่งเป็นองค์กร ระดับแนวหน้าของประเทศที่ผลักดันให้บรรจุทักษะแห่งอนาคตเข้าไปใน ระบบการศึกษา รวมถึงเตรียมความพร้อมให้เด็กทุกคนประสบความสำ�เร็จ ภายใต้ระบบเศรษฐกิจโลกใหม่ เขายังเป็นผู้บริหารสูงสุดและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัทที่ปรึกษาด้านการศึกษาชื่อ e-Luminate Group ตลอดชีวิตการทำ�งาน เคย์คือเสียงสนับสนุนหลักและเป็นผู้ก่อตั้ง กลุ่มทำ�งานที่จับประเด็นเรื่องความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษา และอุตสาหกรรม โดยเฉพาะนโยบายและแนวปฏิบัติที่สนับสนุนนวัตกรรม และความเป็นผูน้ �ำ ทางเทคโนโลยี ในฐานะกรรมการบริหารของเวทีผบู้ ริหาร ด้านการศึกษาและเทคโนโลยี (CEO Forum on Education and Technology) เขาเป็นผู้นำ�ในการพัฒนาแผนผังแนวทางการใช้เทคโนโลยีและการเตรียม ความพร้อมในโรงเรียน (School Technology & Readiness Guide 28
ทักษะแห่งอนาคตใหม่
หรือ StaR Chart) ที่โรงเรียนทั่วประเทศนำ�ไปปฏิบัติเพื่อปรับปรุงการใช้ เทคโนโลยีในชัน้ เรียนระดับ K-12 (ระดับอนุบาลจนถึงเกรด 12) นอกจากนี้ ในฐานะนั ก กฎหมายและผู้ ส ร้ า งกลุ่ ม ทำ � งานระดั บ ชาติ เขาช่ ว ยเหลื อ โครงการทีเ่ สนอโดยมหาวิทยาลัยและผูน้ �ำ ด้านเทคโนโลยีในการพัฒนางาน วิจยั และนโยบายให้เกิดความก้าวหน้า รวมทัง้ โครงการทีเ่ สนอโดยผูบ้ ริหาร สูงสุดในภาคอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์เพื่อพัฒนานโยบายด้านการค้าและ เทคโนโลยีของสหรัฐอเมริกา ในบทเกริ่นนำ�นี้ เคย์นำ�เสนอกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ใน ศตวรรษที่ 21 ที่กลุ่มของเขาสนับสนุน เคย์ตอบคำ�ถามสำ�คัญ 3 ข้อ (1) เหตุใดทักษะในกรอบความคิดฯ จึงสำ�คัญต่อการเรียนรู้ในอนาคต (2) ทักษะใดสำ�คัญที่สุด และ (3) ต้องทำ�สิ่งใดเพื่อผลักดันให้โรงเรียนบรรจุ ทักษะเหล่านี้ในรายการสอนเพื่อให้การเรียนรู้สำ�หรับอนาคตบังเกิดผล เขายังสนับสนุนการปรับเปลี่ยนการสอนและการเรียนรู้ให้สัมพันธ์กันโดย คำ�นึงถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น
∞
การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
29
บทเกริ่นนำ�
ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: สำ�คัญอย่างไร คืออะไร และจะทำ�สำ�เร็จได้อย่างไร เคน เคย์ ประธานภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
นักเขียนนามว่า มัลคอล์ม แกลดเวลล์[14] ได้อธิบายไว้อย่าง ชาญฉลาดว่าการเปลีย่ นแปลงทางสังคมเกิดขึน้ ได้อย่างไรและเพราะเหตุใด เมื่อเรามาถึง “จุดพลิกผัน” ซึ่งเป็นเวลาที่เหตุการณ์ต่างๆ มาบรรจบกันใน ภาวะทีพ่ ร้อมจะนำ�เราไปสูเ่ ส้นทางใหม่ทไี่ ม่อาจหยุดยัง้ ได้ นักวิทยาศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ และนักสังคมวิทยา ต่างใช้คำ�นี้อธิบายช่วงเวลาที่มีการ เปลี่ยนแปลงสำ�คัญเกิดขึ้น และทำ�ให้เกิดสิ่งใหม่ที่แตกต่างจากเดิมอย่าง ชัดเจน ผมเชื่ อ ว่ า เรากำ � ลั ง อยู่ ต รงขอบของจุ ด พลิ ก ผั น ในการศึ ก ษาที่ รัฐดำ�เนินการ ช่วงเวลาอันใกล้ส�ำ หรับโมเดลการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึง่ จะช่วยเตรียมนักเรียนให้พร้อมรับมือกับข้อเรียกร้องของการเป็นพลเมือง การเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย และการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพอย่างที่ ต้องการในสหัสวรรษใหม่นี้ ผมรู้ สึ ก เป็ น เกี ย รติ ที่ บ รรณาธิ ก ารขอให้ ผ มเขี ย นบทเกริ่ น นำ � สำ�หรับหนังสือเล่มนี้ และให้ผมบรรยายแนวคิดสำ�คัญโดยรวมของทักษะ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
31
แห่งศตวรรษใหม่โดยใช้ “กรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” ที่พัฒนาขึ้นโดยภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (Partnership for 21st Century Skills)[23] หนังสือเล่มนีร้ วบรวมงานเขียนทีส่ ะท้อนความเป็นไปได้ ต่างๆ ของการเรียนรูท้ จี่ ำ�เป็นในศตวรรษที่ 21 โดยผูท้ ใี่ ส่ใจระบบการศึกษา ในสหรัฐอเมริกา เป็นเรื่องน่ายินดีที่บุคคลเหล่านี้หลายท่านมีส่วนในการ คิดและผลักดันให้เกิดแนวทางอันเข้มแข็งที่ให้การศึกษาแก่คนหนุ่มสาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสมาชิกบางท่านของภาคีฯ ได้ร่วมงานกับโครงการ อันน่าตื่นเต้นนี้มาตั้งแต่ปี 2001 วิสัยทัศน์สำ�หรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งพัฒนาโดยภาคีฯ (สรุปไว้ในภาพที่ ก.1) นำ�เสนอบริบทที่น่าสนใจซึ่งเกี่ยวพันกับเนื้อหา ที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ วิสัยทัศน์นี้เสนอความคิดองค์รวมอย่างเป็น ระบบเพื่อใช้ปรับแนวคิดและฟื้นฟูการศึกษาของรัฐขึ้นมาใหม่ โดยนำ�องค์ ประกอบทัง้ หมดมารวมกัน ทัง้ ผลการเรียนรูข้ องนักเรียนและระบบสนับสนุน การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ให้กลายเป็นกรอบความคิดรวม สำ�หรับเรา ทุกคนแล้วจุดเริ่มต้นที่แท้จริงสำ�หรับกรอบความคิดนี้คือผลลัพธ์สุดท้าย นั่นคือ สิ่งที่นักเรียนควรได้รับ (ในแง่ของความเชี่ยวชาญในวิชาแกน, แนวคิดสำ�คัญในศตวรรษที่ 21 และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21) หลังจาก จบการศึกษาเพื่อก้าวสู่การศึกษาระดับสูง, การทำ�งาน และการดำ�รงชีวิต อย่างอิสระ เราจำ�เป็นต้องเข้าใจผลลัพธ์เหล่านีก้ อ่ นทีจ่ ะเริม่ สร้างโครงสร้าง พื้นฐานที่จะช่วยยกระดับการศึกษาให้ไปถึงจุดที่ต้องการ เหตุผลที่มีระบบ สนับสนุนการศึกษา (มาตรฐานและการประเมินผล), หลักสูตรและการสอน, การพัฒนาทางวิชาชีพ และสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ ก็เพือ่ บรรลุผลลัพธ์ ที่สำ�คัญและจำ�เป็นต่อนักเรียนอย่างแท้จริง หากปรับเปลี่ยนโครงสร้างพื้นฐานก่อนโดยไม่เข้าใจผลลัพธ์ที่ นักเรียนต้องการอย่างถ่องแท้แล้ว ก็จะเป็นการชิงสุกก่อนห่าม เปรียบเช่น การสร้างบ้าน คงเป็นเรื่องไม่สมเหตุสมผลถ้าสั่งให้ติดตั้งท่อประปาก่อนที่ 32
ทักษะแห่งอนาคตใหม่
สถาปนิกจะเขียนแปลนเสร็จ การศึกษาก็เช่นกัน ผลลัพธ์ทเี่ ราคาดหวังจาก นักเรียนในศตวรรษที่ 21 คือแปลนที่บอกรายละเอียดทั้งหมด ภาคีฯ ได้ออกแบบวิสัยทัศน์ที่รอบด้านสำ�หรับระบบการศึกษา ในศตวรรษใหม่ แม้ ว่ า เรายั ง ไม่ ไ ด้ คำ � ตอบทั้ ง หมด ยั ง มี ค วามคิ ด ดี ๆ มากมายดังเห็นได้จากบทความต่างๆ ที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้ ที่จะเสริม ความแข็งแกร่งให้กับวิสัยทัศน์ด้านการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และช่วย ปรับเปลี่ยนระบบที่มีอยู่ในทุกแง่มุม เราไม่ ไ ด้ เ คร่ ง ครั ด กั บ คำ � ที่ ใ ช้ อ ธิ บ ายทั ก ษะแห่ ง ศตวรรษใหม่ ตัวอย่างเช่น เราใช้ค�ำ ว่า ความสามารถในการปรับตัว (adaptability) ขณะที่ คนอื่นใช้คำ�ว่า ความยืดหยุ่น (resiliency) เราใช้คำ�ว่า การคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) ส่วนคนอื่นเรียกว่า การคิดอย่างเป็นระบบ (systems thinking) สิ่งเหล่านี้ไม่สำ�คัญตราบใดที่เรากำ�ลังพูดถึงแนวคิดเดียวกัน อย่างไรก็ตาม คำ�ว่า “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” ก็ไม่ใช่คำ�คลุมเครือที่จะ หมายถึงอะไรก็ได้ องค์ประกอบทั้งหมดในโมเดลที่เรานำ�เสนอได้ผ่านการ นิยาม การพัฒนา และการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนโดยผู้เชี่ยวชาญชั้นนำ� นักวิชาการ นักการศึกษา นักธุรกิจ ผู้ปกครอง และสมาชิกของชุมชน เราขอเชิ ญ ชวนให้ บุ ค คลและองค์ ก รทั้ ง หลายนำ � โมเดลนี้ ไ ป ประยุกต์ใช้ เพื่อจุดประกายให้เกิดการสนทนาในระดับชาติที่ถกเถียงเรื่อง องค์ประกอบทีจ่ �ำ เป็นต่อการพัฒนานักเรียนในศตวรรษใหม่ เป็นเรือ่ งสำ�คัญ ยิง่ ต้องมีนกั การศึกษาและตัวแทนภาคธุรกิจเข้าร่วมการสนทนาดังกล่าว[31] รัฐ เขต และโรงเรียนต่างๆ ต้องพูดคุยและหาข้อตกลงร่วมกันถึงผลลัพธ์ ที่ควรให้คุณค่า แล้วจึงสร้างระบบที่สามารถก่อให้เกิดผลลัพธ์เหล่านั้น
การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
33
ภาพที่ ก.1: กรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะชีวิต และ การทำ�งาน
วิชาแกนและ ทักษะด้าน แนวคิดสำ�คัญในศตวรรษที่ 21 สารสนเทศ สื่อ และ เทคโนโลยี
มาตรฐานและการประเมิน หลักสูตรและการสอน การพัฒนาทางวิชาชีพ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้
วิชาแกน • ภาษาอังกฤษ การอ่าน หรือศิลปะการใช้ภาษา • ภาษาสำ�คัญของโลก • ศิลปะ • คณิตศาสตร์
• • • • •
เศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ การปกครองและหน้าที่พลเมือง
แนวคิดสำ�คัญในศตวรรษที่ 21 • จิตสำ�นึกต่อโลก • ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจ และการเป็น ผู้ประกอบการ
34
ทักษะแห่งอนาคตใหม่
• ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง • ความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ • ความรู้พื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อม ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม • ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม • การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา • การสื่อสารและการร่วมมือทำ�งาน ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี • ความรู้พื้นฐานด้านสารสนเทศ • ความรู้พื้นฐานด้านสื่อ • ความรู้พื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ทักษะชีวิตและการทำ�งาน • ความยืดหยุ่นและความสามารถในการปรับตัว • ความคิดริเริ่มและการชี้นำ�ตนเอง • ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม • การเพิ่มผลผลิตและความรู้รับผิด • ความเป็นผู้นำ�และความรับผิดชอบ ระบบสนับสนุนการศึกษาของศตวรรษที่ 21 • มาตรฐานและการประเมินของศตวรรษที่ 21 • หลักสูตรและการสอนของศตวรรษที่ 21 • การพัฒนาทางวิชาชีพของศตวรรษที่ 21 • สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21 ที่มา: ภาคีเพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21[23]
การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
35
เหตุใดจึงต้องหาโมเดลใหม่ด้านการศึกษาสำ�หรับศตวรรษที่ 21 พลั ง ที่ บี บ บั ง คั บ ให้ ก ารศึ ก ษาต้ อ งเปลี่ ย นแปลงอย่ า งไม่ อ าจ หลีกเลี่ยงนี้ได้ก่อตัวขึ้นมาพักหนึ่งแล้ว ซึ่งมีสาเหตุดังต่อไปนี้ : • โลกกำ�ลังเปลี่ยนแปลง ระบบเศรษฐกิจโลกที่มาพร้อมกับการอุบัติ ของภาคอุตสาหกรรมและวิชาชีพ ได้มอบโอกาสอันยิ่งใหญ่ให้แก่ใคร ก็ตามทีม่ ที กั ษะในการใช้ประโยชน์จากระบบเศรษฐกิจนี้ ตลอดสามสิบ ปีทผี่ า่ นมา การแข่งขันและความร่วมมือในระดับโลกเกิดขึน้ รวดเร็วจน น่าตกใจ ซึง่ เป็นผลจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาค เศรษฐกิจบริการที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล ความรู้ และนวัตกรรมได้เข้า มาแทนทีภ่ าคเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและได้เปลีย่ นแปลงวงการธุรกิจ และการทำ�งาน กว่าสามในสีข่ องตำ�แหน่งงานทัง้ หมดในสหรัฐอเมริกา ขณะนี้อยู่ในภาคบริการ งานที่ใช้แรงแบบซํ้าซากต้องเปิดทางให้ กับงานที่ใช้สมองและอาศัยปฏิสัมพันธ์ หรือแม้แต่ในกลุ่มแรงงานมี ฝีมือก็ตาม เทคโนโลยีได้เข้ามาแทนที่การทำ�งานแบบซํ้าซาก ขณะ เดียวกันก็ถกู ใช้เพือ่ ช่วยพนักงานทีม่ ที กั ษะในขัน้ สูงให้เพิม่ ผลผลิตได้ มากขึน้ และสร้างสรรค์ยงิ่ ขึน้ [1] ผูท้ สี่ ามารถปรับตัวและสร้างประโยชน์ ให้องค์กร, ผลิตภัณฑ์ และกระบวนการทำ�งาน ด้วยการใช้ทักษะด้าน การสื่อสาร, การแก้ไขปัญหา และการคิดเชิงวิพากษ์เพื่อปรับเปลี่ยน การทำ�งานและมีผลงานตามความคาดหวังขององค์กร ก็จะได้รับผล ตอบแทนจากเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า, อุตสาหกรรมและบริษัทที่มีนวัต กรรม และตำ�แหน่งงานที่เติบโตอย่างรวดเร็ว[22] ในยุ ค ที่ ก ารเปลี่ ย นแปลงเกิ ด ขึ้ น รวดเร็ ว เช่ น นี้ สั ญ ญา ประชาคม (social contract) ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของศตวรรษก่อนได้ มลายไปจนหมดสิ้น ความสำ�เร็จในโรงเรียนไม่ได้รับประกันว่าจะมี งานหรืออาชีพไปตลอดชีวติ ดังทีเ่ คยเกิดกับคนอเมริกนั ในยุคก่อนหน้า ปัจจุบันผู้คนคาดหวังว่าจะทำ�งานหลายงานในหลายสาขาได้ตลอด 36
ทักษะแห่งอนาคตใหม่
วัยทำ�งานของตน จากข้อมูลของสำ�นักสถิติแรงงานสหรัฐอเมริกา[4] คนที่เกิดหลังยุคเบบี้บูม (baby boom) โดยเฉลี่ยเคยผ่านงานมาแล้ว 10.8 งานในช่วงอายุ 18-42 ปี สัญญาประชาคมยุคใหม่แตกต่าง จากยุคที่ผ่านมา กล่าวคือ คนที่มีความรู้และทักษะในการรับมือกับ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและสามารถปรับตัวเองให้ เข้ากับสถานการณ์ใหม่ๆ ได้เท่านั้นที่จะประสบความสำ�เร็จ ทักษะ แห่งศตวรรษที่ 21 จะช่วยให้เราสามารถเรียนรู้และปรับตัวต่อการ เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ดังนั้น ทักษะแห่งศตวรรษใหม่จึงเป็น ใบเบิกทางสูก่ ารเลือ่ นสถานะทางเศรษฐกิจ ส่วนคนทีป่ ราศจากทักษะ ดังกล่าวก็ต้องจมปลักอยู่กับงานที่ใช้ทักษะน้อยและค่าจ้างตํ่า ความ เชี่ยวชาญในทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จึงกลายเป็นสิทธิพลเมืองชุด ใหม่ที่จำ�เป็นในยุคของเรา • โรงเรียนและนักเรียนในสหรัฐอเมริกายังไม่ปรับตัวตามโลกที่ เปลี่ยนแปลง ทุกวันนี้ระบบการศึกษาของรัฐไม่ได้เตรียมนักเรียน ให้พร้อมสำ�หรับโอกาสและข้อเรียกร้องทางเศรษฐกิจ, แรงงาน และ ความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 นักเรียนจำ�นวนมากไม่เคยได้ รับการสนับสนุนที่จำ�เป็นต่อการเรียนรู้จากครอบครัวและสังคม ยิ่ง ไปกว่านั้น นักเรียนไม่รู้สึกว่ามีส่วนร่วมหรือได้แรงบันดาลใจจากการ เรียนในโรงเรียนซึ่งดูห่างไกลจากชีวิตและไม่สัมพันธ์กับอนาคตของ พวกเขา สัดส่วนของนักเรียนมัธยมปลายที่เลิกเรียนกลางคันได้มา ถึงจุดวิกฤต มีเพียงร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมดและเพียงร้อย ละ 50 ของนักเรียนที่เป็นชนกลุ่มน้อยเท่านั้นที่สำ�เร็จการศึกษาตาม กำ�หนดและได้รับประกาศนียบัตร[27] เรากำ�ลังเผชิญกับปัญหาช่องว่างทางผลสัมฤทธิ์ที่น่าตกใจ ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ในระดับชาติ นักเรียนผิวดำ�, นักเรียน เชื้อสายสเปน (ฮิสแปนิก) และนักเรียนที่ด้อยโอกาส ทำ�คะแนนได้ตํ่า การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
37
กว่าเพื่อนในการประเมินผลระดับชาติ (ดูเพิ่มเติม[15][17][19]) ซึ่ง ฉุดรั้งระดับความสามารถโดยรวมของแรงงานในอนาคต สิ่งนี้จะยิ่ง เป็นปัญหามากขึ้นเพราะโครงสร้างประชากรในสหรัฐอเมริกากำ�ลัง เปลี่ยนแปลง โดยประชากรที่เป็นชนกลุ่มน้อยกำ�ลังเพิ่มขึ้นเร็วกว่า ประชากรกลุ่มที่เหลือ[29] ในระดับนานาชาติ นักเรียนอเมริกันทำ�คะแนนได้น้อยกว่า คะแนนเฉลีย่ ในโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Programme for International Student Assessment หรือ PISA) ซึ่งเป็นเกณฑ์ที่ ใช้ประเมินทักษะการอ่าน, คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ของประเทศ พัฒนาแล้ว (ดูตัวอย่างใน[20]) ผลลัพธ์จาก PISA บอกความจริงบาง อย่างแก่เรา เพราะการประเมินของ PISA ใช้วัดทักษะเชิงประยุกต์ (ซึ่งเราเรียกว่าทักษะแห่งศตวรรษที่ 21) ในการคิดเชิงวิพากษ์และ การแก้ไขปัญหา แม้แต่นักเรียนอเมริกันที่เก่งที่สุดก็ไม่สามารถทำ� คะแนนจากการประเมินนีไ้ ด้ดเี ท่านักเรียนจากประเทศอืน่ ๆ ทีม่ คี วาม ก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ และต่อให้นกั เรียนในสหรัฐอเมริกาทุกคนจะสำ�เร็จการศึกษา ระดับมัธยมปลายและมีความรูด้ เี ยีย่ มในวิชาแบบเดิม พวกเขาก็ยงั ไม่ พร้อมอยูด่ ที จี่ ะสนองความคาดหวังของระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ ทุก วันนี้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 คือพลังที่สร้างความมั่งคั่งของประเทศ ทักษะทีช่ ว่ ยส่งเสริมนวัตกรรมรวมทัง้ ความคิดสร้างสรรค์, การคิดเชิง วิพากษ์ และการแก้ไขปัญหากำ�ลังเป็นที่ต้องการอย่างมาก[6][7][18] แต่ ฝ่ายนายจ้างกลับรายงานว่ายังขาดแคลนทักษะเชิงประยุกต์เหล่านีแ้ ม้ จะเป็นแรงงานระดับมหาวิทยาลัยก็ตาม ความสำ�เร็จทางการศึกษาไม่ อาจรับประกันความสามารถทั้งทางวิชาการและทักษะได้อีกต่อไป[30]
38
ทักษะแห่งอนาคตใหม่
• สหรัฐอเมริกาขาดเป้าหมายหรือทิศทางที่ชัดเจนในการรักษา ศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจในอนาคต สหรัฐอเมริกายัง คงเป็นชาติที่มีศักยภาพในการแข่งขันสูงที่สุดในโลก แต่ “ความชะล่า ใจ” อาจบ่อนทำ�ลายตำ�แหน่งผู้นำ�นี[16] ้ ผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ในภาคอุตสาหกรรม และสถาบันอุดมศึกษาได้รับคำ�เตือนมาหลายปีแล้วว่า สหรัฐอเมริกา กำ � ลั ง สู ญเสียความได้เปรียบในการแข่งขันเนื่องจากความพร้อม ด้านแรงงานในสาขาเหล่านี้ยังมีไม่พอ ชาติที่เป็นคู่แข่งในเอเชีย และยุโรปตระหนักดีว่าทักษะเหล่านี้มีความสำ�คัญเพียงใดและกำ�ลัง ไล่กวดสหรัฐฯ อย่างกระชัน้ ชิด ความพยายามของนานาประเทศ (ซึง่ ประสบความสำ�เร็จอย่างยิ่ง) ในการปรับปรุงระบบศึกษาและขัดเกลา ทักษะแห่งศตวรรษใหม่เป็นสัญญาณเตือนว่า สหรัฐอเมริกามีคู่แข่ง ที่เหนือกว่าซึ่งสามารถผลิตแรงงานคุณภาพสูง ฉลาดเฉลียว และ ทะเยอทะยานสำ�หรับระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ นอกจากนี้ การเติบโต ทางเศรษฐกิจจากแรงขับเคลือ่ นของเทคโนโลยีสารสนเทศตัง้ แต่ปลาย ทศวรรษที่ 1980 และต้นทศวรรษที่ 1990 ก็มแี นวโน้มทีจ่ ะถึงจุดอิม่ ตัว หากไม่มกี ารลงทุนเพิม่ ในทรัพยากรแรงงานทีจ่ บั ต้องไม่ได้ เช่น ความ คิด ความรู้ และพรสวรรค์[30] การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ควรจะมีลักษณะอย่างไร เพื่อจัดการกับความท้าทายที่กำ�ลังเผชิญอยู่นี้ เราต้องการโมเดล ใหม่ที่นำ�มิติต่างๆ ในระบบการศึกษามาจัดวางให้สอดคล้อง เพื่อเตรียม ชาวอเมริกันให้พร้อมแข่งขันได้ ภาคีเพือ่ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ใช้เวลาในช่วงทศวรรษทีผ่ า่ นมา พัฒนากรอบความคิดเพือ่ การเรียนรูใ้ นศตวรรษที่ 21 ทีเ่ ข้มแข็ง (ภาพที่ ก.1) ซึ่งสามารถตอบสนองต่อความต้องการที่กำ�ลังเปลี่ยนแปลงของสังคมซึ่ง คนหนุม่ สาวกำ�ลังเผชิญอยู่ กรอบความคิดนีไ้ ด้แรงสนับสนุนอย่างต่อเนือ่ ง การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
39
และกระตือรือร้นจากองค์กรชั้นนำ�ด้านการศึกษา ประชาคมธุรกิจ และ ผูก้ �ำ หนดนโยบาย และทีข่ าดไม่ได้คอื ผูป้ กครอง ครูตงั้ แต่ระดับอนุบาลจนถึง อุดมศึกษา และองค์กรชุมชน จนสามารถพัฒนาให้กลายเป็นวิสัยทัศน์เพื่อ การศึกษาที่รอบด้านและมีเป้าหมายชัดเจน[28] ภาพกราฟิ ก ของกรอบความคิ ด ดั ง กล่ า วสรุ ป ได้ อ ย่ า งดี เ ยี่ ย ม เนือ่ งจากแสดงให้เห็นการบูรณาการของวิชาแกน แนวคิดสำ�คัญในศตวรรษ ที่ 21 และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยมีระบบสนับสนุนการศึกษาที่ สอดคล้องกับผลลัพธ์เหล่านี้ กรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 เสนอแนวทางสำ�หรับการศึกษาสาธารณะที่เป็นไปได้ ตอบสนองต่อ สถานการณ์ และน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุผลหลายประการดังนี้
กรอบความคิดนี้เน้นผลลัพธ์ที่สำ�คัญ การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ต้องยึดผลลัพธ์ทั้งในแง่ของความรู้ใน วิชาแกนและทักษะแห่งศตวรรษใหม่ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่โรงเรียน สถานที่ ทำ�งาน และชุมชนต่างเห็นคุณค่า นับเป็นความล้มเหลวระดับชาติทนี่ กั เรียน อเมริกนั ส่วนใหญ่จบชัน้ มัธยมโดยขาดความสามารถหลักทีน่ ายจ้างและครู ระดับอุดมศึกษาเห็นว่าจำ�เป็นอย่างยิง่ ในโลกของการทำ�งานและการศึกษา ขั้นสูง การคิดเชิงวิพากษ์, การแก้ปัญหา, ความคิดสร้างสรรค์ และทักษะ แห่งศตวรรษที่ 21 คือเครื่องมือที่เราต้องใช้เพื่อปีนบันไดทางเศรษฐกิจ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21จะช่วยเตรียมความพร้อมให้นักเรียน รู้จักคิด, เรียนรู้, ทำ�งาน, แก้ปัญหา, สื่อสาร และร่วมมือทำ�งานได้อย่างมี ประสิทธิผลไปตลอดชีวิต บางคนว่าทักษะเหล่านี้ไม่ได้เป็นของศตวรรษ ที่ 21 โดยเฉพาะ ซึ่งผมก็เห็นด้วย แต่เราเรียกร้องทักษะเหล่านี้ด้วยเหตุผล 3 ประการ ประการแรก ทักษะเหล่านี้แทบไม่เคยถูกบรรจุในหลักสูตรหรือ ถูกประเมินเลย และถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ “ถ้ามีก็ดี” มากกว่า “จำ�เป็นต้องมี” ทักษะเหล่านีจ้ งึ ถูกสอนแบบตามมีตามเกิด นักเรียนบางคนอาจเกิดทักษะ 40
ทักษะแห่งอนาคตใหม่
เหล่านี้โดยบังเอิญจากชีวิตประจำ�วันและประสบการณ์ในการทำ�งาน หรือ บางครั้งอาจเกิดในโรงเรียนถ้าเจอครูเก่งๆ หรือฉลาดพอที่จะเห็นความ สำ�คัญและสร้างทักษะดังกล่าวขึน้ เอง เราไม่อาจปล่อยให้การพัฒนาทักษะ ที่สำ�คัญเหล่านี้เกิดขึ้นตามยถากรรมถ้าอยากเห็นสหรัฐฯ แข่งขันกับชาติ อื่นได้ ประการที่สอง ทักษะเหล่านี้มีความสำ�คัญต่อนักเรียนทุกคนใน วันนี้ ไม่ได้จ�ำ กัดแค่อภิชนบางกลุม่ ในระบบเศรษฐกิจทีผ่ า่ นมา คนอเมริกนั อยู่ในโลกแห่งลำ�ดับชั้นซึ่งมีวิธีคิดแบบสายการผลิต ผู้บริหารระดับสูงและ ผู้เชี่ยวชาญมีหน้าที่คิด แก้ไขปัญหา ตัดสินใจ และสื่อสารแทนตัวองค์กร พวกเขาออกคำ�สั่ง และพนักงานส่วนใหญ่ก็มีหน้าที่ทำ�ตามคำ�สั่งเท่านั้น แต่โลกปัจจุบนั ไม่ได้เป็นเช่นนัน้ แล้ว องค์กรทีแ่ ข่งขันได้ตอ้ งปรับโครงสร้าง การบริหารให้แบนลง เพิ่มการใช้เทคโนโลยี สร้างระบบงานที่ยืดหยุ่น และกระจายความรับผิดชอบให้พนักงานระดับปฏิบัติการและทีมโครงการ มากขึ้น การเปลี่ยนแปลงเชิงองค์กรและเชิงพฤติกรรมนี้ช่วยเพิ่มระดับ ผลผลิตและนวัตกรรม [2][13][25][33] ในสภาพความจริงเช่นนี้ นักเรียนที่ ไม่ถนัดทักษะแห่งศตวรรษใหม่ย่อมไม่อาจใช้ศักยภาพทางเศรษฐกิจของ ตนได้อย่างเต็มที่ ภายใต้โครงสร้างทีร่ าบแบน พนักงานทุกคนมีขอ้ มูลและเครือ่ งมือ ให้เลือกใช้มากขึ้นและมีอิสระกว่าเดิม แต่ก็ต้องแลกกับความคาดหวังว่า จะสามารถรับผิดชอบและจัดการกับงานได้ด้วยตัวเอง เหมือนที่ผู้บริหาร คนหนึง่ ของบริษทั แอปเปิล (Apple) เคยบอกผมว่า พนักงานคนไหนทีย่ งั ต้อง มีคนคอยจัดการเรื่องงานให้ก็จะถูกเลิกจ้าง ความรับผิดชอบที่เปลี่ยนไป เช่นนี้เกิดขึ้นกับชีวิตส่วนตัวด้วยเช่นกัน ผู้มีอำ�นาจกำ�กับดูแลผู้อื่นหรือ คอยบอกว่าต้องทำ�อะไรนับวันก็ยงิ่ ลดน้อยลง คนเราทุกวันนีต้ อ้ งรับผิดชอบ เรื่องสุขภาพของเราเอง ต้องหาข้อมูล ต้องเลือกกรมธรรม์ ต้องพิทักษ์สิทธิ์ ของตน และดูแลสุขภาพของตนร่วมกับผู้ให้บริการ การใช้ชีวิตในสังคมก็ เช่นกัน เราต้องแสวงหาข้อมูลเพื่อทำ�ความเข้าใจปัญหาต่างๆ ด้วยตัวเอง การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
41
ข่าวท้องถิ่นจะไม่ถูกส่งตรงถึงหน้าบ้านทุกวันอีกต่อไปเพราะหนังสือพิมพ์ กระดาษเสื่อมความนิยมลง ประการที่สาม ทักษะต่างๆ ที่นายจ้างและครูระดับอุดมศึกษา เห็นว่าจำ�เป็นต่อความสำ�เร็จได้มาบรรจบกัน แม้แต่คนที่เพิ่งเริ่มทำ�งาน ใหม่ๆ ก็ถกู คาดหวังว่าจะสามารถใช้ทกั ษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพือ่ ทำ�งานให้ ลุลว่ งได้[6][7][18] งานในระดับทีห่ าเลีย้ งชีพได้ทกุ วันนีก้ ต็ อ้ งการวุฒกิ ารศึกษา ไม่ตาํ่ กว่ามัธยมปลาย โดยเฉพาะงาน 271 อย่างทีม่ แี นวโน้มเพิม่ ขึน้ ใน 10 ปี ข้างหน้าตามข้อมูลของกระทรวงแรงงานสหรัฐอเมริกา[3] นักเรียนส่วนมากที่ปรารถนาจะเรียนต่อในระดับวิทยาลัยก็เพราะ ตระหนักในเรือ่ งดังกล่าว อันทีจ่ ริง สัดส่วนของแรงงานทีจ่ บการศึกษาระดับ สูงก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำ�คัญ[5] ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มีความสำ�คัญ เช่นกันในการเปลีย่ นผ่านไปสูว่ ทิ ยาลัยและหลักสูตรฝึกอบรมงาน ในบรรดา องค์ประกอบต่างๆ ของการเตรียมความพร้อมสู่รั้ววิทยาลัยที่นำ�เสนอโดย มูลนิธิเมลินดา เกตส์ มี “พฤติกรรมทางวิชาการ” (academic behavior) และ “ทักษะและสำ�นึกเชิงบริบท” (contextual skill and awareness) รวม อยู่ด้วย[8][9] ซึ่งเป็นทักษะที่อยู่ในกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 นักเรียนทุกคนควรได้รบั การฝึกทักษะทีจ่ �ำ เป็นไม่วา่ พวกเขาจะเลือก เดินบนเส้นทางใดในอนาคต กรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ยังครอบคลุม แนวคิดหลักทีเ่ กิดขึน้ ใหม่ในศตวรรษที่ 21 ซึง่ อาจไม่เป็นทีค่ นุ้ เคย นายจ้าง และครู ตลอดจนผู้ปกครอง ผู้กำ�หนดนโยบาย และผู้สนับสนุนของชุมชน ต่างเห็นว่าแนวคิดหลักและทักษะใหม่เหล่านี้สำ�คัญอย่างยิ่ง แต่ยังไม่มี การเน้นสิ่งเหล่านี้ในการศึกษาของรัฐเท่าที่ควร แนวคิดสำ�คัญเหล่านี้มี พื้นฐานจากชีวิตประจำ�วัน และชาวอเมริกันทุกคนก็กำ�ลังดำ�เนินชีวิตอยู่ ใต้แนวคิดสำ�คัญดังกล่าว พวกเขาต้องการให้โรงเรียนผสมผสานแนวคิด สำ�คัญแบบใหม่นี้ ซึ่งเป็นการรวมเนื้อหาและทักษะเข้าด้วยกัน เพื่อให้คน หนุ่มสาวพร้อมเผชิญกับโลกที่ซับซ้อนได้ดียิ่งขึ้น 42
ทักษะแห่งอนาคตใหม่
ตัวอย่างเช่น จิตสำ�นึกต่อโลกเป็นแนวคิดสำ�คัญในระบบเศรษฐกิจ โลก คนอเมริกนั ต้องเข้าใจปัญหาของโลกทีส่ ง่ ผลกระทบต่อตนเองในฐานะ พลเมืองและคนทำ�งาน ต้องเรียนรู้และทำ�งานร่วมกับคนจากวัฒนธรรม และวิถีชีวิตที่หลากหลาย และสามารถสื่อสารด้วยภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษา อังกฤษได้ ในทำ�นองเดียวกัน ความรู้พื้นฐานด้านการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจ และการประกอบกิจการ คือทักษะใหม่ที่จำ�เป็น ทุกวันนี้เงินบำ�นาญแบบ รับประกันแทบจะไม่มีอีกแล้ว ดังนั้น ความรับผิดชอบในการวางแผน การ ออม และการลงทุนหลังเกษียณจึงตกอยูใ่ นมือของแต่ละคน วิกฤตการณ์ที่ เพิง่ เกิดขึน้ ในภาคธนาคาร ธุรกิจสินเชือ่ และการจำ�นอง รวมทัง้ ภาวะถดถอย ทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ เป็นการตอกยํ้าความสำ�คัญของความรู้ความเข้าใจ ว่าพลังทางเศรษฐกิจมีผลต่อชีวิตของผู้คนมากเพียงใด การตัดสินใจที่ ผิดพลาดด้านการเงินอาจส่งผลร้ายต่อคุณภาพชีวิตของเราไปอีกนาน ในการทำ�งาน ผู้คนต้องเรียนรู้ว่าจะปรับตัวและทำ�ประโยชน์ให้องค์กรที่ ใหญ่โตขึน้ ได้อย่างไร และต้องรูจ้ กั นำ�วิธคี ดิ แบบผูป้ ระกอบการมาใช้ในชีวติ เมื่อตระหนักถึงโอกาส, ความเสี่ยง และรางวัลแล้ว เราก็จะสามารถเพิ่ม ผลงาน เพิ่มทางเลือกในอาชีพ และจัดการกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง ได้อย่างสุขม ประการสุดท้าย กรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อธิบายทักษะหลายอย่างที่เป็นของใหม่ (อย่างน้อยก็ในแวดวงการศึกษา) ซึง่ ได้แก่ ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม, ความยืดหยุน่ และความสามารถ ในการปรับตัว, ความเป็นผู้นำ�และทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ซึ่งล้วน จำ�เป็นสำ�หรับนักเรียนทุกคน ทักษะเหล่านี้ทำ�ให้บางคนโดดเด่นกว่า คนอื่น การปรับความคิดเพียงเล็กน้อยอาจนำ�ความก้าวหน้าครั้งใหญ่มาสู่ ชีวติ และองค์กร การเต็มใจรับความเปลีย่ นแปลงในเชิงบวกทำ�ให้เราพร้อม ทีจ่ ะเปิดรับความเป็นไปได้ใหม่ๆ และรับมือกับการเปลีย่ นแปลงทีไ่ ม่คาดฝัน และไม่อาจหลีกเลีย่ งในชีวติ การรับบทบาทผูน้ �ำ ช่วยให้เราสามารถควบคุม การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
43
ชีวิตของตนเองได้ดีขึ้น ขณะที่ทักษะการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรมช่วยเพิ่ม ประสิทธิผลในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นไม่ว่าในโรงเรียน ที่ทำ�งาน และ ในชุมชน ทักษะแบบใหม่ยงั เป็นสิง่ ทีแ่ ยกองค์กรหรือชาติทกี่ า้ วหน้าออกจาก กลุ่มที่ล้าหลัง และยังช่วยเสริมศักยภาพการแข่งขันในทุกด้าน อาทิ ความ แปลกใหม่ ความคล่องตัว และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง, ความสามารถ ที่จะเปลี่ยนความคิดที่แหวกแนวให้กลายเป็นนวัตกรรมของสินค้า บริการ และทางแก้ปัญหา, และความสามารถที่จะบรรลุความพยายามที่คุ้มค่า เอาชนะอุปสรรค และเชื่อมความแตกต่างทางวัฒนธรรม การผสมผสานของวิชาแกน, แนวคิดสำ�คัญของศตวรรษที่ 21 และทักษะแห่งศตวรรษใหม่ ได้สร้างความหมายใหม่ให้กับความแข็งแกร่ง ทางการศึกษาในยุคของเรา ชาวอเมริกันจำ�นวนมากต่างสนับสนุนให้ การศึกษาแข็งแกร่งขึ้นเพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อมก่อนเข้าสู่รั้ววิทยาลัย และโลกของการทำ�งาน ซึ่งเป็นจุดยืนที่เราเห็นพ้องเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ความแข็งแกร่งในแบบเก่ามีความหมายเท่ากับ ความเป็นเลิศในเนือ้ หา (ของวิชาแกน) เท่านัน้ ซึง่ ไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว ในยุคทีค่ วามรูแ้ ละข้อมูลข่าวสารเปลีย่ นแปลงตลอดเวลา นักเรียนต้องมีทงั้ ความรู้ในเนื้อหาและทักษะที่จะประยุกต์ใช้และปรับเปลี่ยนความรู้เหล่านั้น ให้เข้ากับเป้าหมายทีย่ งั ประโยชน์และสร้างสรรค์ รวมถึงเพือ่ การเรียนรูอ้ ย่าง ต่อเนื่องตามเนื้อหาและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ผมเคยได้ยนิ จอห์น แบรนส์ฟอร์ด (John Bransford) ศาสตราจารย์ ด้านการศึกษาและจิตวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยวอชิงตันผู้โด่งดัง และผู้ร่วม เขียนหนังสือ How People Learn: Bridging Research and Practice[11] และ How Students Learn: Science in the Classroom[12] เล่าไว้ว่า ในสหรัฐอเมริกา เราบอกนักเรียนเรื่องเดิมๆ ซํ้าเป็นร้อยครั้ง พอถึงครั้งที่ 101 เราก็จะถามพวกเขาว่าจำ�สิ่งที่บอกไปร้อยครั้งแรกได้หรือไม่ ใน ศตวรรษที่ 21 บททดสอบความแข็งแกร่งทางการศึกษาที่แท้จริงคือการที่ 44
ทักษะแห่งอนาคตใหม่
นักเรียนมองดูสิ่งที่พวกเขาไม่เคยเห็นมาก่อนแล้วรู้ว่าจะทำ�อะไรกับสิ่งนั้น การรวมทักษะแห่งศตวรรษใหม่เข้าไปในวิชาแกนช่วยเพิ่มความ แข็งแกร่งให้กบั การศึกษาได้อย่างแท้จริง การจดจำ�ข้อเท็จจริงหรือคำ�ศัพท์ ในตำ�รา หรือทำ�ตามขั้นตอนหรือกระบวนการได้เป็นกิจกรรมที่ใช้ความ สามารถในการรู้คิดขั้นตํ่า ขณะที่การแสดงความเข้าใจเชิงลึกผ่านการ วางแผน การใช้หลักฐาน และการให้เหตุผลเชิงนามธรรมนั้นต้องใช้ความ สามารถในการรู้คิดที่สูงกว่า การเชื่อมโยงความคิดที่สัมพันธ์กันระหว่าง เนือ้ หาในสาขาเดียวกันหรือต่างสาขา หรือการคิดค้นวิธไี ขปัญหาทีซ่ บั ซ้อน ต้องอาศัยการต่อยอดทางความคิด และการรู้คิดในระดับที่สูงขึ้นไป[32] ความเชื่อมโยงระหว่างทักษะและความแข็งแกร่งทางการศึกษา สามารถดูได้จากผลการประเมินระดับนานาชาติอย่างเช่น PISA นักเรียน ที่รู้จักใช้วิธีคิดเชิงวิพากษ์และทักษะการแก้ปัญหาในวิชาคณิตศาสตร์และ วิทยาศาสตร์ทำ�คะแนนได้ดีกว่านักเรียนที่ไร้ทักษะดังกล่าว ด้วยเหตุนี้ ใน ระบบการศึกษาของศตวรรษที่ 21 ความแข็งแกร่งจึงหมายถึงความเป็นเลิศ ในเนื้อหาและทักษะควบคู่กัน ผมเห็นตัวชี้วัดที่น่าเชื่อจำ�นวนมากซึ่งบอกว่า ความเชี่ยวชาญใน ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 คือผลลัพธ์ที่ใช่สำ�หรับยุคนี้ จึงจำ�เป็นต้องจัด ระบบการศึกษาของรัฐให้สอดคล้องกับเป้าหมายดังกล่าว กรอบความคิดนีเ้ ห็นว่าระบบสนับสนุนการศึกษา โดยเฉพาะ ประสบการณ์ในการเรียนรู้ทางวิชาชีพ เป็นสิ่งสำ�คัญ วิสัยทัศน์สำ�หรับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ตั้งอยู่บนความจริง ที่ว่า ถ้าอยากให้นักเรียนมีทักษะแห่งศตวรรษใหม่ ก็ต้องมีระบบการศึกษา ที่สอดคล้องกับเป้าหมายนี้ อาจดู เ หมื อ นเป็ น ความปรารถนาอั น ยิ่ ง ใหญ่ แต่ มี ห ลั ก ฐานที่ บอกว่ารัฐต่างๆ ได้เตรียมพร้อมโดยสมัครใจที่ทำ�สิ่งนี้ให้สำ�เร็จ ก่อนเดือน ตุลาคม 2009 มี 14 รัฐ (แอริโซนา, อิลลินอยส์, ไอโอวา, แคนซัส, ลุยเซียนา, การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
45
เมน, แมสซาชูเซตส์, เนวาดา, นิวเจอร์ซีย์, นอร์ทแคโรไลนา, โอไฮโอ, เซาท์ดาโคตา, เวสต์เวอร์จิเนีย และวิสคอนซิน) ให้คำ�มั่นว่าจะปรับเปลี่ยน มาตรฐานและเครื่องมือประเมิน, หลักสูตรและวิธีการสอน, การพัฒนา ทางวิชาชีพ และสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดผลลัพธ์ ตามเป้าหมายของทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 รัฐและเขตที่คืบหน้าไปมาก ได้ใช้แนวทางแบบองค์รวมและทำ�เป็นระบบ โดยสามารถอธิบายทักษะที่ เห็นคุณค่า และจัดระบบต่างๆ ของทุกภาคส่วนให้สอดคล้องไปในทิศทาง ดังกล่าว รัฐจำ�นวนมากกำ�ลังเผชิญความท้าทายที่น่ากังวล อุตสาหกรรม หลักกำ�ลังปรับโครงสร้างและมีการเลิกจ้าง เศรษฐกิจที่ซบเซาเมื่อไม่นาน มานี้ยิ่งซํ้าเติมปัญหา และกระทบกับงบประมาณของรัฐและโรงเรียนอย่าง รุนแรง อย่างไรก็ตาม รัฐเหล่านี้ได้หันมาพิจารณากรอบความคิดเพื่อการ เรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อย่างถี่ถ้วน และสนับสนุนการใช้กรอบความคิดนี้ เพื่อเป็นต้นแบบในการจัดตั้งระบบการศึกษาสำ�หรับศตวรรษใหม่ โดย ตระหนักว่าต้องเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาเสียใหม่เพื่อพัฒนาแรงงาน และเศรษฐกิจในรัฐ ยกตัวอย่างเช่น รัฐเวสต์เวอร์จิเนียกำ�ลังทบทวนและ ปรับมาตรฐาน, วิธีประเมิน, วิธีการสอน, การพัฒนาทางวิชาชีพ, การ เตรียมความพร้อมของครู, การพัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน และโครงการด้าน เทคโนโลยี โดยทั้งหมดนี้จะอาศัยกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 ของภาคีฯ การพัฒนาทางวิชาชีพคือส่วนที่สำ�คัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลง สตีฟ เพน (Steve Paine) ผูอ้ �ำ นวยการเขตการศึกษาในเวสต์เวอร์จเิ นียบอก กับผมว่า เขาอุทิศเวลาทำ�งานร้อยละ 80 ไปกับการปรับปรุงประสิทธิผล ของครูในการสอนทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 นั่นเป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้ว การ อธิบายเรื่องทักษะที่สำ�คัญให้เข้าใจเป็นเพียงก้าวแรก รัฐและเขตต่างๆ ไม่ควรทึกทักเอาเองว่าครูทุกคนจะหนีออกจากกรอบของศตวรรษที่ 20 ได้เองโดยไม่พึ่งการพัฒนาทางวิชาชีพ กระทรวงศึกษาธิการแห่งรัฐ 46
ทักษะแห่งอนาคตใหม่
เวสต์เวอร์จเิ นียทำ�ทุกวิถที างเพือ่ ผลักดันภารกิจนี้ โดยเริม่ จากการฝึกอบรม ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในเชิงลึกให้แก่ครูทุกคนในช่วงฤดูร้อน ตามด้วย การแนะแนวผ่านเว็บไซต์ในระหว่างปีการศึกษา รัฐเวสต์เวอร์จเิ นียยังจัดทำ� เว็บไซต์ที่เปิดให้เข้าไปมีส่วนร่วมชื่อว่า Teach 21 ซึ่งมีทรัพยากรมากมาย ที่ครูสามารถนำ�ไปใช้ในชั้นเรียน ภาคีเพือ่ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ได้พฒ ั นาแผนผังของเนือ้ หาและ ทรัพยากรทางออนไลน์ ซึง่ มีรายละเอียดทีเ่ จาะจงเรือ่ งการเรียนรูใ้ นศตวรรษ ที่ 21 สำ�หรับครู ทรัพยากรเหล่านีช้ ว่ ยสนับสนุนการเรียนรูแ้ บบลงมือปฏิบตั ิ การแสวงหาความรู้ และการพัฒนาทักษะการคิดระดับสูง ซึ่งครูที่เก่งมักใช้ วิธดี งั กล่าว[10] อันทีจ่ ริง มีครูและนักการศึกษาจำ�นวนมากซึง่ ทำ�งานใกล้ชดิ กับนักเรียนได้บกุ เบิกวิธกี ารสอนเหล่านี้ ทรัพยากรสำ�หรับการสอนทัง้ หมด อยู่ที่เว็บไซต์ของ Route 21 (www.21stcenturyskills.org/route21/) โครงสร้างพื้นฐานที่ใช้สนับสนุนการศึกษาทั้งหมดจะต้องได้รับ การพัฒนาให้ทันสมัย เพื่อสร้างภาวะที่เหมาะสมต่อการสอน การเรียนรู้ และผลลัพธ์ที่ต้องการ เราได้เรียนรู้จากโครงการจัดทำ�มาตรฐานที่เคยมี ในอดีตว่า การละเลยโครงสร้างพื้นฐานเป็นการโยนภาระให้นักเรียนมาก เกินไป เป็นการไม่ยตุ ธิ รรมและเป็นเรือ่ งสูญเปล่าทีเ่ ราจะไปคาดหวังให้เด็ก ทำ�ได้เกินความคาดหมายโดยปราศจากโครงสร้างพืน้ ฐานสนับสนุน ดังนัน้ เพื่อช่วยให้รัฐ เขต และโรงเรียน สามารถเดินหน้าต่อได้ เราจึงพัฒนาและ ปรับปรุงคูม่ อื ทีม่ าพร้อมกับแนวปฏิบตั แิ ละเครือ่ งมือในการประเมินตนเอง[24] องค์ประกอบทีส่ �ำ คัญทัง้ หมดของระบบการศึกษาจะช่วยสนับสนุน ให้เกิดผลลัพธ์จากการเรียนรู้ทักษะแห่งอนาคตที่ครบถ้วนไม่บกพร่อง กรอบความคิ ด นี้ ต รงกั บ ความคิ ด ของผู้ กำ � หนดนโยบาย นักการศึกษา ประชาคมธุรกิจ องค์กรชุมชน และผู้ปกครอง องค์กรต่าง ๆ จำ�นวนมากได้พัฒนาโมเดลเพื่อปรับปรุงการศึกษา แต่มีไม่มากนักที่กล้าให้คนนับพันจากต่างสาขาอาชีพทำ�การตรวจสอบ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
47
โมเดลของตน ซึ่งโมเดลของเราที่ประกอบด้วยวิชาแกน แนวคิดสำ�คัญใน ศตวรรษที่ 21 และทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ได้ท�ำ การตรวจสอบเช่นนัน้ แล้ว เราพัฒนากรอบความคิดนี้ร่วมกับองค์กรเกือบ 40 องค์กรที่ เป็นสมาชิก ซึ่งรวมถึงสมาคมการศึกษาแห่งชาติ (National Education Association) และสมาชิกของสมาคมฯ อีก 3.2 ล้านคน เราตระเวนไปตาม ทีต่ า่ งๆ นำ�กรอบความคิดนีไ้ ปนำ�เสนอแก่ผกู้ �ำ หนดนโยบาย นักการศึกษา นักธุรกิจ องค์กรชุมชน และผู้ปกครองนักเรียน เรารับฟังข้อคิดเห็นและ นำ�มาปรับปรุงชุดทักษะและแนวคิดสำ�คัญในกรอบความคิด เราสำ�รวจ ความเห็นจากนักธุรกิจและผู้ปกครองนักเรียน ซึ่งเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่า ทักษะแห่งศตวรรษใหม่เป็นสิง่ จำ�เป็นต่อความสำ�เร็จในปัจจุบนั [6][21] พวกเขา เชื่อว่าโรงเรียนควรสอนทักษะแห่งศตวรรษใหม่ เป็นความเชื่อที่อยู่บน พื้นฐานของความเป็นจริง ทั้งจากความคาดหวังของที่ทำ�งาน ข้อเรียกร้อง ของการเป็นพลเมือง และความท้าทายในชีวิตที่ต้องประสบทุกเมื่อเชื่อวัน การสำ�รวจและรายงานทีท่ �ำ โดยองค์กรอืน่ ๆ สนับสนุนสิง่ ทีเ่ ราค้นพบเช่นกัน สิ่งนี้ไม่ใช่ประเด็นเล็กๆ การเคลื่อนไหวเพื่อผลักดันทักษะแห่ง ศตวรรษที่ 21 มีความแตกต่างจากความพยายามปรับปรุงการศึกษาที่มี มาก่อน (เช่น การผลักดันให้ปรับปรุงระบบการศึกษาในช่วงทศวรรษ 1980) ตรงที่ผู้นำ�ของการเคลื่อนไหวครั้งนี้มีทั้งผู้กำ�หนดนโยบาย นักการศึกษา และประชาคมธุรกิจ ซึ่งต่างประสานเป็นเสียงเดียวกัน เราร่วมกันวัดความ สนใจและทัศนคติของผู้มีส่วนได้เสียหลักในการศึกษาของรัฐ และพยายาม สร้างพลังสนับสนุนโมเดลของเราในวงกว้างทั้งจากระดับบนลงมาและจาก ระดับล่างขึน้ ไป ในรัฐต่างๆ ผูว้ า่ การรัฐ, ผูบ้ ริหารสถานบันการศึกษาของรัฐ, คณะกรรมการด้านการศึกษาของรัฐ, กรรมการบริหารโรงเรียนในท้องถิ่น, นักธุรกิจ, องค์กรชุมชน, นักการศึกษา, ผู้ปกครอง และประชาชนผู้มีสิทธิ ออกเสียงต่างมีส่วนร่วมและกระตือรือร้นกับโมเดลของเรา มีงานอีกมากมายที่เราต้องทำ�เพื่อสร้างความเข้าใจให้เกิดขึ้น ในระดับประเทศ ในทุกเขต ทุกชุมชน และทุกครัวเรือน กระนั้น แรง 48
ทักษะแห่งอนาคตใหม่
สนับสนุนทีไ่ ด้รบั บวกกับความสำ�เร็จใน 14 รัฐทีน่ �ำ ร่องช่วยเปิดโอกาสให้เรา เข้าร่วมการอภิปรายในระดับชาติเกีย่ วกับผลลัพธ์ทเี่ ราคาดหวังจากนักเรียน ซึ่งส่งผลให้มีผู้สนับสนุนโมเดลของเรามากขึ้น ผู้นำ�ของรัฐ, เขต และโรงเรียน รวมถึงกลุ่มชุมชนจะเริ่มตรวจสอบ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา พวกเขาจะพิจารณา ทักษะใหม่ๆ ที่นักเรียนควรเรียนรู้ในอีก 20 ปีข้างหน้าหรือไกลกว่านั้น และเมื่อใดที่สามารถอธิบายทักษะใหม่เหล่านี้ด้วยคำ �พูดของตนเองได้ พวกเขาก็จะพร้อมที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าระบบการศึกษาเพื่อทำ�วิสัยทัศน์ให้ กลายเป็นจริง อนาคตของการเรียนรู้ หนังสือเล่มนี้เป็นสิ่งที่เตือนว่าเราได้มาถึงจุดพลิกผันของระบบ การศึกษา เมื่อบุคคลผู้ชื่อเสียงทั้งหลายต่างครุ่นคิดอย่างจริงจังถึงเรื่อง อนาคตของการเรียนรู้ จึงเป็นสัญญาณว่าถึงเวลาที่เราต้องกล้าลงมือทำ� บางอย่าง สิ่ ง ที่ เ ป็ น เดิ ม พั น ในขณะนี้ คื อ ขี ด ความสามารถในการแข่ ง ขั น ของชาติ และสิ่งอื่นๆ ที่ควบคู่กัน อาทิ ประชาธิปไตยที่มั่นคง, ความเป็น ผูน้ �ำ ในเวทีโลก, ความมัง่ คัง่ อันยัง่ ยืน และความสำ�เร็จของคนยุคถัดไป เป็น ความจริงเสมอมาในประวัติศาสตร์ของประเทศว่าชาวอเมริกันคือกลจักร ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เติบโต แต่ในเวลานี้และในยุคนี้เราต้องมีความรู้ และทักษะเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในศตวรรษที่ 21 ในห้องประชุมและห้องเรียนทั่วประเทศ ผมได้พบปะผู้คนนับพัน ที่พร้อมจะรับความท้าทายนี้ การสนับสนุนกรอบความคิดเพื่อการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 จากสังคมในวงกว้างเป็นการบอกกลายๆ ว่า เป็นไปได้ อย่ า งยิ่ ง ที่ จ ะสร้ า งเจตจำ � นงทางการเมื อ งเพื่ อ ระบบการศึ ก ษาสำ � หรั บ ศตวรรษที่ 21 เป็นเรื่องน่าตื่นเต้นที่กรอบความคิดนี้ดึงดูดความสนใจได้ มากเพียงนี้ แต่ก็ยังเร็วเกินไปที่จะประกาศชัยชนะ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
49
เราจำ�เป็นต้องเดินหน้าต่อไป จากฉันทมติในวิสัยทัศน์การเรียนรู้ เพื่ อ ศตวรรษที่ 21 ไปสู่ ค วามเข้ า ใจและความยึ ด มั่ น ต่ อ ผลลั พ ธ์ ข อง การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อันที่จริงคำ�ว่า “การศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21” หรือ “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21” อาจถูกตีความตามใจชอบได้ หลายคน ตีความว่าห้องเรียนที่มีเทคโนโลยี หรือโรงเรียนสมัยใหม่ หรือวิชาแกนที่ มีเนื้อหาแน่น คือสิ่งเดียวกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยไม่คำ�นึงว่า นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 จนเชี่ยวชาญหรือไม่ ในความ เป็นจริง ความชำ�นาญในการใช้อปุ กรณ์ดจิ ติ อลไม่ได้หมายความว่านักเรียน จะมีจิตสำ�นึกต่อโลกหรือมีความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพ, มีทักษะการเรียนรู้ และนวัตกรรม, มีทักษะชีวิตและการทำ�งาน หรือแม้แต่ความรู้พื้นฐานด้าน สื่อ ในทำ�นองเดียวกัน นักการศึกษาจำ�นวนมากอ้างว่าพวกเขากำ�ลังสอน ทักษะแห่งศตวรรษใหม่ แต่กลับไม่ใส่ทักษะโดยรวมที่สอนลงในมาตรฐาน และวิธกี ารประเมิน, หลักสูตรและการสอน, หรือการพัฒนาทางวิชาชีพและ สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ ก้าวต่อไปที่สำ�คัญที่สุดคือการสร้างข้อตกลงร่วมกันถึงผลลัพธ์ที่ คาดหวังในแง่ของความเชีย่ วชาญทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เท่านัน้ ยังไม่พอ เรายังต้องวางแผนระบบการศึกษาทัง้ หมดด้วยความมุง่ มัน่ และโปร่งใส โดย เริ่มจากการใช้ผลลัพธ์ของการเรียนรู้ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เพื่อติดตาม ความคิดที่ปรากฏในหนังสือเล่มนี้อย่างไม่ลดละ
50
ทักษะแห่งอนาคตใหม่
กิตติกรรมประกาศ ขอขอบคุณสมาชิกทั้งอดีตและปัจจุบันของคณะกรรมการภาคี เพื่อทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และสภายุทธศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง สำ�หรับแรง สนับสนุนอันยิง่ ใหญ่ในการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และขอขอบคุณ มาร์ธา วอคลีย์ สำ�หรับความช่วยเหลือในการเขียนบทเกริ่นนำ�นี้ บรรณานุกรม [1] [2]
[3]
[4] [5] [6]
Autor, D. H., Levy, F., & Murnane, R. J. (2003, November). The skill content of recent technological change: An empirical exploration. Quarterly Journal of Economics, 118(4), 1279–1333. Black, S. E., & Lynch, L. M. (2004, February). What’s driving the new economy?: The benefits of workplace innovation. The Economic Journal, 114, 97–116. Bureau of Labor Statistics, U.S. Department of Labor. (2008, June 27). Number of jobs held, labor market activity, and earnings growth among the youngest baby boomers: Results from a longitudinal survey. Washington, DC: Author. Accessed at www.bls.gov/news.release/pdf/nlsoy. pdf on December 8, 2009. Bureau of Labor Statistics, U.S. Department of Labor. (2008, June 27). Number of jobs held, labor market activity, and earnings growth among the youngest baby boomers: Results from a longitudinal survey. Washington, DC: Author. Accessed at www.bls.gov/news.release/pdf/nlsoy.pdf on December 8, 2009. Bureau of Labor Statistics, U.S. Department of Labor. (2009). Occupational projections and training data, 2008–09 edition. Accessed at www.bls.gov/ emp/optd/optdtabi_5.pdf on December 8, 2009. Carnevale, A. P., & Desrochers, D. M. (2002, Fall). The missing middle: Aligning education and the knowledge economy. Journal for Vocational and Special Needs Education, 25(1), 3–23. Casner-Lotto, J., & Barrington, L. (2006). Are they really ready to work? Employers’ perspectives on the basic knowledge and applied skills of new
การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
51
[7] [8] [9]
[10] [11] [12] [13]
[14] [15]
[16] [17] 52
entrants to the 21st century U.S. workforce. New York: The Conference Board. Accessed at www.21stcenturyskills.org/documents/FINAL_ REPORT_PDF09–29–06.pdf on June 18, 2009. Conference Board. (2007). CEO challenge 2007: Top 10 challenges (Research Report 1406). New York: Author. Conley, D. T. (2005). College knowledge™: What it really takes for students to succeed and what we can do to get them ready. San Francisco: JosseyBass. Conley, D. T. (2007). Toward a more comprehensive conception of college readiness. Eugene, OR: Educational Policy Improvement Center. Accessed at www.gatesfoundation.org/learning/Documents/CollegeReadinessPaper. pdf on June 18, 2009. Darling-Hammond, L., Barron, B., Pearson, P. D., Schoenfeld, A. H., Stage, E. K., & Zimmerman, T. D., et al. (2008). Powerful learning: What we know about teaching for understanding. San Francisco: Jossey-Bass. Donovan, S., Bransford, J., & Pellegrino, J. W. (Eds.). (2000). How people learn: Bridging research and practice. Washington, DC: National Academies Press. Donovan, S., & Bransford, J. (2004). How students learn: Science in the classroom. Washington, DC: National Academies Press. Gera, S., & Gu, W. (2004, Fall). The effect of organizational innovation and information technology on firm performance. International Productivity Monitor, 9, 37–51. Accessed at www.csls.ca/ipm/9/gera_gu-e.pdf on June 18, 2009. Gladwell, M. (2000). The tipping point: How little things can make a big difference. Boston: Little, Brown. Grigg, W., Donahue, P., & Dion, G. (2007). The nation’s report card: 12thgrade reading and mathematics 2005 (NCES 2007-468). U.S. Department of Education, National Center for Education Statistics. Washington, DC: U.S. Government Printing Office. Accessed at http://nces.ed.gov/ nationsreportcard/pdf/main2005/2007468.pdf on December 7, 2009. International Institute for Management Development. (2009). IMD world competitiveness yearbook. Lausanne, Switzerland: Author. Lee, J., Grigg, W., & Donahue, P. (2007). The nation’s report card: Reading ทักษะแห่งอนาคตใหม่
[18]
[19]
[20] [21]
[22]
[23] [24]
[25]
2007 (NCES 2007-496). Washington, DC: National Center for Education Statistics, Institute of Education Sciences, U.S. Department of Education. Accessed at http://nces.ed.gov/nationsreportcard/pdf/main2007/2007496. pdf on December 7, 2009. Lichtenberg, J., Woock, C., & Wright, M. (2008). Ready to innovate: Key findings. New York: The Conference Board. Accessed at www.artsusa.org/ pdf/information_services/research/policy_roundtable/ready_to_innovate.pdf on June 18, 2009. National Center for Education Statistics (2009). The nation’s report card: Mathematics 2009 (NCES 2009-451). Washington, DC: Institute of Education Sciences, U.S. Department of Education. Accessed at http:// nces.ed.gov/nationsreportcard/pdf/main2009/2010451.pdf on December 7, 2009. Organisation for Economic Co-operation and Development (2009). Top of the class: High performers in science in PISA 2006. Paris: Author. Accessed at www.pisa.oecd.org/dataoecd/44/17/42645389.pdf on December 7, 2009. Partnership for 21st Century Skills. (2007). Beyond the three Rs: Voter attitudes toward 21st century skills. Tucson, AZ: Author. Accessed at www.21stcenturyskills.org/documents/P21_pollreport_singlepg.pdf on June 18, 2009. Partnership for 21st Century Skills. (2008). 21st century skills, education & competitiveness: A resource and policy guide. Tucson, AZ: Author. Accessed at www.21stcenturyskills.org/documents/21st_century_skills_ education_and_competitiveness_guide.pdf on June 18, 2009. Partnership for 21st Century Skills. (2009a). Framework for 21st century learning. Tucson, AZ: Author. Accessed at www.21stcenturyskills.org/ documents/framework_flyer_updated_april_2009.pdf on November 1, 2009. Partnership for 21st Century Skills. (2009b). The MILE guide: Milestones for improving learning & education. Tucson, AZ: Author. Accessed at www.21stcenturyskills.org/documents/MILE_Guide_091101.pdf on December 8, 2009. Pilat, D. (2004, December). The economic impact of ICT: A European perspective (IIR Working Paper 05–07). Paper presented to the Conference on IT Innovation, Tokyo. Accessed at www.iir.hit-u.ac.jp/iir-w3/event/
การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
53
[26] [27] [28] [29]
[30] [31] [32]
[33]
WP05–07pilat.pdf on June 18, 2009. Scott, M. (2009, May 19). Competitiveness: The U.S. and Europe are tops. Business Week. Accessed at www.businessweek.com/globalbiz/content/ may2009/gb20090519_222765.htm on June 18, 2009. Swanson, C. B. (2009, April). Cities in crisis 2009: Closing the graduation gap. Bethesda, MD: Editorial Projects in Education. Accessed at www. edweek.org/media/cities_in_crisis_2009.pdf on December 7, 2009. Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st century skills: Learning for life in our times. San Francisco: Jossey-Bass. U.S. Census Bureau. (2008, August 14). An older and more diverse nation by midcentury. Washington, DC: Author. Accessed at www.census. gov/Press-Release/www/releases/archives/population/012496.html on December 7, 2009. van Ark, B., Barrington, L., Fosler, G., Hulten, C., & Woock, C. (2009). Innovation and U.S. competitiveness: Reevaluating the contributors to growth. New York: The Conference Board. Wagner, T. (2008). The global achievement gap: Why even our best schools don’t teach the new survival skills our children need—and what we can do about it. New York: Basic Books. Webb, N. L. (1997, April). Criteria for alignment of expectations and assessments in mathematics and science education (Research Monograph 6). Madison, WI: National Institute for Science Education. Accessed at http://hub.mspnet.org/media/data/WebbCriteria.pdf?media_000000000924. pdf on June 18, 2009. Zoghi, C., Mohr, R. D., & Meyer, P. B. (2007, May). Workplace organization and innovation (Working Paper No. 405). Washington, DC: U.S. Bureau of Labor Statistics.
∞
54
ทักษะแห่งอนาคตใหม่