วิทยาศาสตร์: ปรัชญา ปริศนา และความจริง • น�ำชัย ชีววิวรรธน์ แปล จากเรื่อง The Me a ning of S c ie nc e โดย Tim L e we n s พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ open wo rld s, มิถุนายน 2560 ราคา 325 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ บุญชัย แซ่เงี้ยว ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ อภิรดา มีเดช ศิลปกรรม พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ภาคย์ มหิธิธรรมธร • บรรณาธิการเล่ม ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ บรรณาธิการต้นฉบับ บุญชัย แซ่เงี้ยว ออกแบบปก พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ • จัดท�ำโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2 6 1 8 4 7 3 0 e m a il: o p e n wo r ld sth a ila n d @ g ma il.c om f ac e book : www.fa ce b o o k.co m/o p e n w orlds t wit t e r: www.twitte r .co m/o p e n wo r ld s BKK w e bs it e : www.o p e n wo r ld s.in .th จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) S E -E DUCA TIO N P UB L IC CO MP A NY L IMI TED เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 2 7 3 9 8 2 2 2 , 0 2 7 3 9 8 0 0 0 โทรสาร 0 2 7 3 9 8 3 5 6 - 9 w e bs it e : h ttp ://www.se - e d .co m/
สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ สำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 0 2618 4730 และ 09 7174 9124 หรือ Em a il: o p e n w o rld st h a ila n d @ gmail.c om
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ เลเวนส์, ทิม. วิทยาศาสตร์: ปรัชญา ปริศนา และความจริง.-กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2560. 304 หน้า. 1. วิทยาศาสตร์--ปรัชญา. I. นำ�ชัย ชีววิวรรธน์, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง. 501 ISBN 978-616-7885-53-7 • Copyright © Tim Lewens, 2015. This edition published by arrangement with Openworlds Publishing House through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd. Thai language translation copyright © 2017 by Openworlds Publishing House All rights reserved. • ภาพปกหน้า: Science Photo/Shutterstock, Uncle Leo/Shutterstock, James Steidl/ShutterStock, Illuminated Jellyfish by Eric Kilby/Flickr, Wallace’s Golden Birdwing by Bernard DUPONT/Flickr, Giant Blue Swallowtail by Bernard DUPONT/Flickr, Saturn during Equinox by NASA/Wikimedia Commons
สารบัญ ค�ำน�ำผู้แปล 6 กิตติกรรมประกาศ 10 หมายเหตุส�ำหรับผู้อ่าน 15 บทน�ำ อัศจรรย์แห่งวิทยาศาสตร์ 17 ภาค 1 “วิทยาศาสตร์” หมายถึงอะไร? บทที่ 1 วิทยาศาสตร์ท�ำงานอย่างไร? 26 บทที่ 2 นั่น ใช่วิทยาศาสตร์ ไหม? 62 บทที่ 3 “กระบวนทัศน์” ของกระบวนทัศน์ 88 บทที่ 4 แต่ว่ามันจริงหรือ? 122
ภาค 2 วิทยาศาสตร์มีความหมายต่อเราอย่างไร บทที่ 5 คุณค่าและความสัตย์จริง 156 บทที่ 6 ความอารีของมนุษย์ 186 บทที่ 7 ระวังธรรมชาติไว้! 212 บทที่ 8 อิสรภาพที่สูญสิ้น? 240 ปัจฉิมบท ขอบเขตที่วิทยาศาสตร์เอื้อมถึง 270 แหล่งข้อมูล 282 รู้จักผู้เขียน 302 รู้จักผู้แปล 303
ค�ำน�ำผู้แปล
นักวิทยาศาสตร์ก็เหมือนกับปลาในน�้ำ บางครั้งเราอาจมองน�้ำ ในแบบที่สัตว์อื่นที่ไม่ได้อยู่ในน�้ำมอง และบางครั้งก็อาจจะมองไปไม่ พ้นน�้ำเสียที ในหนังสือ วิทยาศาสตร์: ปรัชญา ปริศนา และความจริง (The Meaning of Science) เล่มนี้ ทิม เลเวนส์ ผู้เขียนซึ่งเป็นนักปรัชญา ต้ อ งการส� ำ รวจตรวจสอบขอบเขตและข้ อ จ� ำ กั ด ของระเบี ย บวิ ธี ท าง วิทยาศาสตร์ หรืออาจพูดอีกอย่างว่า เขาก�ำลังชวนให้ผอู้ า่ นท่องไปในโลก ของ “ปรัชญาวิทยาศาสตร์” ผู้เขียนเฝ้าศึกษาว่าผลกระทบจากความส�ำเร็จอันใหญ่หลวง ของวิทยาศาสตร์สามารถบดบังหรือกระทั่งทดแทนวิธีแสวงหาความรู้ แบบอืน่ ๆ ได้หรือไม่ โดยไล่สำ� รวจในหลากหลายแวดวง ทัง้ ประวัตศิ าสตร์ ศิลปะ หรือแม้แต่การเมือง! เขาอภิปรายโดยคัดเลือกตัวอย่างทีต่ งั้ อยูอ่ ย่าง หมิ่นเหม่บนเส้นแบ่งระหว่างความเป็น “วิทยาศาสตร์” กับ “วิทยาศาสตร์ เทียม” เช่น เศรษฐศาสตร์ ทฤษฎีววิ ฒ ั นาการ ทฤษฎีการออกแบบอันชาญ ฉลาด ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ โฮมีโอพาธี ฯลฯ และสุดท้ายเขายังส�ำรวจด้วยว่า วิทยาศาสตร์ให้ “คุณค่า” กับ สังคมมากน้อยเพียงใด นอกจากข้อคิดเห็นเชิงวิพากษ์ที่มีต่อหลักการต่างๆ แล้ว ในเล่ม ยังสอดแทรกแนวคิดของบรรดานักคิดและนักวิทยาศาสตร์คนส�ำคัญของ 6
Th e Meaning of Sci e n c e
โลก เช่น คาร์ล พอปเปอร์, เดวิด ฮิวม์, โทมัส คูนห์, อิมมานูเอล คานท์, เรอเน เดการ์ต, ฟรีดริช นีทเชอ, ริชาร์ด ฟายน์แมน, ชาร์ลส์ ดาร์วิน, ไอแซก นิวตัน ฯลฯ และบางครั้งยังบอกเล่าเกร็ดชีวประวัติอันมีสีสัน ของบุคคลเหล่านี้ เช่นในกรณีของพอปเปอร์ (คุณอ่านแล้วต้องชอบแน่!) นอกจากนี้ผู้เขียนยังกล่าวถึงการทดลองเขย่าโลก เช่น การทดลองของ เอ็ดดิงตันและเซิรน์ ผูอ้ า่ นจะได้เรียนรู้ “ค�ำส�ำคัญ” หลายๆ ค�ำ เช่น พลาซีโบ โนซีโบ นิรนัย อุปนัย กระบวนทัศน์ ฯลฯ ซึ่งบางค�ำอาจคุ้นเคยกันดี ในขณะที่บางค�ำไม่คุ้นหูนัก นอกจากผู้อ่านจะได้คิดตาม เห็นพ้อง หรือนึกโต้แย้งในใจเมื่อได้ อ่านเนือ้ หาในเล่ม ผูเ้ ขียนยังส�ำแดงฝีมอื เหนือชัน้ ยิง่ กว่าให้เห็นในหลายบท หลายตอน เช่น ตัวอย่างในบทที่ 5 เกี่ยวกับงานวิจัยเรื่อง “จุดสุดยอดของ ผูห้ ญิง” ทีย่ กมาอภิปรายประเด็นคุณค่าและความถูกต้องของวิทยาศาสตร์ ซึง่ ผูแ้ ปลเชือ่ ว่าผูอ้ า่ นจะต้องทึง่ กับข้อมูลทีใ่ ช้ถกเถียงไม่มากก็นอ้ ย เช่นเดียว กับเรือ่ งการบิดเบือนวิทยาศาสตร์เพือ่ รับใช้เผด็จการโซเวียตของ โทรฟิม ลีเซนโก ที่อ่านแล้วคงรู้สึกสยดสยองกันถ้วนหน้า หนังสือเล่มนี้น่าจะเป็น “จุดตั้งต้น” ส�ำหรับผู้อ่านทั้งในและนอก วงการวิทยาศาสตร์ ให้มาร่วมอภิปรายถกเถียงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ในแง่มุมต่างๆ อย่างหลากหลายและเป็นระบบ ดังที่เราต่างรู้กันดีว่า วิทยาศาสตร์ส่งผลกระทบต่อชีวิตมากเพียงใด เราจึงไม่ควรปล่อยให้ วิทยาศาสตร์เป็นเพียงเรื่องของนักวิทยาศาสตร์เท่านั้น แต่ต้องถือเป็น ธุระว่า “วิทยาศาสตร์เป็นของทุกคน” ซึ่งต้องอาศัยความรู้พื้นฐานทาง วิทยาศาสตร์และประเด็นที่เกี่ยวข้องดีพอ จึงจะท�ำเช่นนั้นได้
น�ำชัย ชีววิวรรธน์ 8 พฤษภาคม 2560
Ti m L ew en s
7
แด่ โรสและแซม
กิตติกรรมประกาศ
อันดับแรกผมเป็นหนีบ้ ญ ุ คุณ ลอรา สติกนีย์ แห่งส�ำนักพิมพ์เพนกวิน ซึง่ กรุณาชวนผมเขียนหนังสือเล่มนี้ เธอเป็นบรรณาธิการทีท่ งั้ กระตือรือร้น และอดทน รวมทัง้ ใส่ใจในรายละเอียดเป็นอย่างดี ผมยังต้องขอบคุณเพือ่ น ร่วมงานและเพือ่ นๆ หลายคนคือ แอนนา อเล็กซานโดรวา, รีอานา เบตซ์เลอร์, เอเดรียน โบเทล, แอนดรูว์ บัสเกลล์, คริสโตเฟอร์ คลาร์ก, คริส เอ็ดกูส, เบธ แฮนนอน, สตีเฟน จอห์น และ ฮิว ไพรซ์ ทีช่ ว่ ยอ่านต้นฉบับร่างตลอด ทั้งเล่ม ความเห็นจากภรรยาของผม เอมมา กิลบี มีคุณค่าอย่างเหลือล้น ผมยังเป็นหนีเ้ ธอด้วยเหตุผลอีกนับไม่ถว้ น ผมขอขอบคุณ โจนาธาน เบิรช์ , ชัง ฮาซ็อก, เฮเลน เคอร์รี, แดน เดนเน็ตต์, เจเรมี โฮวิก, นิก จาร์ดีน, ลิซา ลอยด์, แอรอน เชอร์เกอร์ และ คาริสซา วาร์มา ส�ำหรับค�ำแนะน�ำ ในแต่ละบทหรือเนือ้ หาย่อยๆ ทีส่ นั้ กว่านัน้ รวมทัง้ เจน โรเบิรต์ สัน กับงาน ตรวจแก้ตน้ ฉบับทีย่ อดเยีย่ ม ผมขอขอบคุณ ทามารา ฮัก, เฮเลน แมคโดนัลด์, คริสตินา แมคลีช, ฮิว เมลเลอร์, ลุยซา รัสเซลล์ และ เดวิด ธอมป์สัน ส�ำหรับการให้ความรู้ แรงสนับสนุน และก�ำลังใจรูปแบบอื่นๆ ผมเป็นหนี้บุญคุณมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์และวิทยาลัยแคลร์ ทีอ่ นุญาตให้ผมได้ใช้เวลาเขียนหนังสือเล่มนี้ ทัง้ ยังติดหนีเ้ พือ่ นร่วมงานที่ ศูนย์วจิ ยั CRASSH (โดยเฉพาะอย่างยิง่ ไซมอน โกลด์ฮลิ ล์ และ แคเธอรีน เฮอร์ลีย์) ที่ช่วยให้ผมได้อยู่ในสิ่งแวดล้อมอันน่าตื่นเต้นจนสามารถเขียน 10
The Meaning of S c i e n c e
หนังสือเล่มนีจ้ นจบ และผมยังติดหนีส้ ภาวิจยั ยุโรป (เงินทุนวิจยั หมายเลข 284123) ที่มอบทุนวิจัยส่วนใหญ่ซึ่งมีส่วนก่อร่างสร้างหนังสือเล่มนี้ ผมขอขอบคุ ณ นั ก ศึ ก ษาอี ก หลายคนจากภาควิ ช าประวั ติ ศ าสตร์ แ ละ ปรัชญาวิทยาศาสตร์ และคณะปรัชญาของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ซึง่ เป็น ผู้ที่ท�ำให้ผมขบคิดอย่างหนักว่าปรัชญาวิทยาศาสตร์คืออะไรกันแน่ และ เหตุใดมันจึงส�ำคัญ การเขียนหนังสือสักเล่มขึน้ โดยมีเป้าหมายเพือ่ แนะน�ำ ให้ผู้คนรู้จักกับวิชานี้ ท�ำให้ตัวผมหวนคิดถึง ปีเตอร์ ลิปตัน ผู้เป็นครู ตัวอย่างและเป็นมิตรสหายที่ผมยังระลึกถึงเสมอ ผมขออุทิศหนังสือเล่มนี้ให้กับโรสและแซม ลูกๆ ของผม แม้ผม ไม่อาจกล่าวอย่างตรงไปตรงมาได้ว่าหากปราศจากพวกเขาแล้วผมคง เขียนหนังสือเล่มนีอ้ อกมาไม่ได้ แต่มนั ก็คงออกมาในแบบทีต่ า่ งออกไปมาก ทีเดียว คงออกมาแย่ยิ่ง และผมคงรู้สึกสนุกสนานน้อยกว่านี้สักครึ่งหนึ่ง ตอนที่เขียนมัน
Ti m L ew en s
11
The Meaning of Science by
Tim Lewens
วิทยาศาสตร์: ปรัชญา ปริศนา และความจริง
แปลโดย
นำ�ชัย ชีววิวรรธน์
หมายเหตุส�ำหรับผู้อ่าน บทต่างๆ ในหนังสือเล่มนีส้ มบูรณ์ในตัวเองพอสมควร จึงไม่จำ� เป็นต้องอ่าน เรียงตามล�ำดับ แต่ละบทปิดท้ายด้วยค�ำแนะน�ำสัน้ ๆ เกีย่ วกับหนังสืออ่าน เพิ่มเติมส�ำหรับผู้ที่ประสงค์จะศึกษาต่อยอดในหัวข้อที่บรรยายไว้ ผู้อ่าน ส่วนใหญ่สามารถข้ามเชิงอรรถท้ายเล่มที่ให้ไว้จ�ำนวนมากได้ เชิงอรรถ เหล่านี้ใช้บ่งบอกที่มาของข้อเท็จจริง ข้อถกเถียง และค�ำกล่าวต่างๆ ที่ อ้างอิงในเนื้อหาหลัก
16
The Meaning of S c i e n c e
บทนำ�
อัศจรรย์แห่ง วิทยาศาสตร์
Ti m L ew en s
17
ความส�ำเร็จที่มาจากวิทยาศาสตร์นั้นแสนวิเศษเหลือเชื่อ มันช่วย อธิบายทุกสิง่ ทุกอย่าง ตัง้ แต่ตน้ ก�ำเนิดวัฒนธรรมของมนุษย์ไปจนถึงกลไก การน�ำทางของแมลง ตัง้ แต่การก�ำเนิดของหลุมด�ำไปจนถึงการท�ำงานของ ตลาดมืด มันน�ำเราไปสูก่ ารตัดสินทางจริยธรรมและสัมผัสแห่งสุนทรียภาพ มันเพ่งพิจารณาองค์ประกอบพืน้ ฐานทีส่ ดุ ของเอกภพและห้วงเวลา ณ จุด ก�ำเนิดแรกสุด มันเป็นประจักษ์พยานในกิจกรรมส่วนตัวที่ละเอียดลึกซึ้ง รวมถึงสารพัดพฤติกรรมสาธารณะของเรา วิธกี ารทางวิทยาศาสตร์มนี ำ�้ หนัก น่าเชื่อถือมากเสียจนพวกมันเป็นที่เห็นพ้องต้องกันแม้ในกรณีที่มอง ไม่เห็นหรือจับต้องไม่ได้ ไม่ว่าจะในอดีตอันเนิ่นนานไปจนถึงอนาคตอัน แสนไกล ด้วยเหตุนเี้ องวิทยาศาสตร์จงึ กระตุน้ เตือนเราถึงปัญหาหนักหนา สาหัสทีส่ ดุ ทีม่ นุษยชาติกำ� ลังเผชิญ วิทยาศาสตร์นเี่ องทีเ่ ป็นสิง่ จ�ำเป็นและ จะแสดงบทบาทส�ำคัญหากเราต้องการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ หนังสือปรัชญาวิทยาศาสตร์เบื้องต้นเล่มนี้จะพาเราถอยห่าง ออกจากความส�ำเร็จทั้งหลายทั้งปวงของวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะตั้งชุด Ti m L ew en s
19
ค�ำถามเกี่ยวกับความส�ำคัญของงานด้านวิทยาศาสตร์ในมุมมองกว้างๆ นี่คือหนังสือส�ำหรับใครก็ตามที่สนใจว่าวิทยาศาสตร์หมายถึงอะไรกันแน่ และวิทยาศาสตร์มีความหมายใดต่อเรา โดยผู้อ่านไม่จ�ำเป็นต้องมีความรู้ ทางวิทยาศาสตร์ใดๆ เป็นพิเศษ และไม่ตอ้ งคุน้ เคยกับเรือ่ งราวทางปรัชญา เลยก็ได้ ปรั ช ญาวิ ทยาศาสตร์นั้น เป็นเช่นเดียวกับปรัชญาสาขาอื่นๆ นั่นคือเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ และยังเหมือนกับปรัชญาสาขาอื่นๆ ตรงที่มันมีลักษณะผสมผสาน ริชาร์ด ฟายน์แมน (Richard Feynman) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกันผู้เปี่ยมเสน่ห์ ซึ่งได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี 1965 ไม่สู้โปรดปรานสาขานี้สักเท่าใดนัก เขากล่าวหาว่า “ปรัชญา วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อนักวิทยาศาสตร์แบบเดียวกับที่ปักษีวิทยา มีประโยชน์ต่อนกนั่นแหละ”1 หากฟายน์แมนเป็นคนกล่าวค�ำพูดนีจ้ ริงก็ถอื ว่าเลือกตัวอย่างได้ ไม่เหมาะสมนัก ปักษีวทิ ยาไม่มปี ระโยชน์ใดเลยกับนกเพราะนกเข้าใจวิชานี้ ไม่ได้ หากเพียงแต่มีนกสักตัวเรียนรู้วิธีที่นักปักษีวิทยาใช้แยกแยะลูกนก คักคูจากลูกนกในครอกของมันเอง นกตัวนั้นก็คงรอดพ้นไม่ถูกนกคักคู ลวงล่อให้เลี้ยงลูกแทน แน่นอนฟายน์แมนคงไม่ได้ตั้งใจจะชี้ว่าปรัชญา ซับซ้อนเกินกว่าทีน่ กั วิทยาศาสตร์จะเข้าใจ เขาเพียงแต่ไม่พบหลักฐานเชิง ประจักษ์ใดที่แสดงว่าปรัชญาจะช่วยงานทางวิทยาศาสตร์ได้ มีค�ำตอบดีๆ มากมายที่จะใช้โต้ตอบค�ำกล่าวท้าทายท�ำนองนี้ ค�ำตอบหนึง่ มาจากนักฟิสกิ ส์ทเี่ รืองนามยิง่ กว่าฟายน์แมนเสียอีก ในปี 1944 ขณะที่ โรเบิร์ต ธอร์นตัน (Robert Thornton) ซึ่งเพิ่งได้ดุษฎีบัณฑิตด้าน ปรัชญาวิทยาศาสตร์เริ่มสอนฟิสิกส์สมัยใหม่ให้นักศึกษาที่มหาวิทยาลัย เปอร์โตริโก เขาเขียนไปหา อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein) เพื่อขอ ค�ำแนะน�ำว่าควรใส่เรือ่ งปรัชญาเข้าไปในหลักสูตรฟิสกิ ส์ดหี รือไม่ ไอน์สไตน์ เขียนตอบกลับมาชัดเจนว่า “ควร” ทั้งยังบ่นอีกด้วยว่า “ในสายตาของผม คนจ�ำนวนมากในสมัยนี้ แม้แต่คนที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ ล้วนไม่ต่างจาก 20
The Meaning of S c i e n c e
คนทีม่ องเห็นต้นไม้นบั พันต้น แต่กลับมองไม่เห็นป่าสักผืนเดียว” ไอน์สไตน์ ยังอธิบายเพิ่มเติมอีกด้วยว่าจะแก้อาการสายตาสั้นแบบนี้ได้อย่างไร ความรูภ้ มู หิ ลังด้านประวัตศิ าสตร์และปรัชญาช่วยให้เป็นอิสระ จากอคติในยุคสมัยนั้นๆ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ต้องทน ทุกข์ทรมานจากมัน ในมุมมองของผม ความเป็นไทที่เกิดจาก ทัศนญาณ (insight) ทางปรัชญาคือเครื่องหมายที่ใช้แยกแยะ ช่างฝีมือหรือผู้เชี่ยวชาญออกจากนักค้นหาสัจธรรมที่แท้2
ส� ำ หรับไอน์สไตน์แ ล้ว ปรัช ญาวิทยาศาสตร์ที่ผ นวกรวมกับ ประวัติศาสตร์วิทยาศาสตร์จะส�ำแดงคุณค่าให้เห็นเมื่อมันปลดปล่อย จินตนาการของผู้ศึกษาค้นคว้า3 ในหนังสือเล่มนี้ เราจะมาดูกนั ว่าวิทยาศาสตร์ทะเยอทะยานอย่าง น่าชื่นชมเพียงใดในการน�ำกระบวนการต่างๆ มาใช้อธิบายเรื่องราวอัน ลึกซึ้งที่สุดให้เราเข้าใจได้ เช่น เมื่อนักจิตวิทยา นักวิวัฒนาการ และนัก ประสาทวิทยาศาสตร์ เริม่ ต้นศึกษาประเด็นเรือ่ งธรรมชาติของจริยศาสตร์ และความเป็นจริงของการเลือกได้อย่างอิสระ หากพวกเขาบุกบั่นสืบค้น ลึกลงไปเรือ่ ยๆ คงเป็นไปไม่ได้เลยทีพ่ วกเขาจะหลีกเลีย่ งไม่เข้าไปยุง่ เกีย่ ว กับปรัชญา นักวิทยาศาสตร์จะไม่อาจแสดงบทวินจิ ฉัยเรือ่ งแรงสะท้อนจาก การสร้างทฤษฎีวิวัฒนาการซึ่งเกี่ยวข้องกับศีลธรรมของมนุษย์ และจะ ไม่อาจประเมินความเป็นไปของเจตจ�ำนงอิสระ (free will) ได้แม้วา่ จะศึกษา ค้นคว้าด้านประสาทวิทยาศาสตร์มาแล้วก็ตาม นอกเสียจากว่าพวกเขาจะมี แนวคิดที่ชัดแจ้งเกี่ยวกับศีลธรรมหรือเข้าใจเรื่องอิสรภาพแห่งเจตจ�ำนง ดังกล่าวเสียก่อน กล่าวอีกนัยหนึง่ คือ ไม่วา่ นักวิทยาศาสตร์จะชอบหรือไม่ ท้ายสุดพวกเขาย่อมลงเอยด้วยการวิ่งตรงไปสู่ปมประเด็นที่เคยเป็น ปริศนาส�ำหรับนักปรัชญามานานนับศตวรรษอยู่ดี แต่นี่ไม่ได้หมายความว่าจะไม่เหลือสิ่งใดให้นักปรัชญาเรียนรู้ Ti m L ew en s
21
หากนักวิทยาศาสตร์เริ่มยึดครองถิ่นฐานซึ่งแต่เดิมเคยเป็นของสาขา มนุษยศาสตร์ ในทางตรงกันข้าม ผลงานด้านปรัชญาในระยะหลังๆ ทีเ่ กีย่ วกับ ศี ล ธรรมและเจตจ� ำ นงอิ ส ระล้ ว นเกี่ ย วเนื่ อ งกั บ งานวิ จั ย วิ ท ยาศาสตร์ ชัน้ เยีย่ มในสาขาวิวฒ ั นาการ สภาวะจิต และพฤติกรรมทางสังคม ในสาขา เหล่านี้ ปรัชญาและวิทยาศาสตร์ผนึกก�ำลังสร้างสรรค์รว่ มกันอยูเ่ นืองนิตย์ พวกเขาต่างเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เราไม่ควรอนุมานว่าเราสามารถตรวจวัดคุณค่าของปรัชญา วิทยาศาสตร์ได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ด้วยมาตรวัดเดียวกับที่ใช้ในทาง วิทยาศาสตร์ เพราะปรัชญาวิทยาศาสตร์ยังมีนัยส�ำคัญพื้นฐานด้าน วัฒนธรรม แม้วิทยาศาสตร์จะสอดส่ายสายตาไปทุกหนแห่ง แต่มันจะ เห็นได้ทุกอย่างจริงหรือ? ที่สุดแล้ววิทยาศาสตร์จะสอนเราทุกคนในเรื่อง ที่เราสมควรรู้จริงหรือ? หรือเป็นไปได้ว่าอาจมีแนวทางอื่นที่ใช้ท�ำความ เข้าใจและเป็นแนวทางอันได้มาด้วยวิธีการที่แตกต่างออกไป ซึ่งบางที อาจอาศัยวรรณกรรมหรือแนวคิดเชิงนามธรรมก็ได้ ค�ำถามทางปรัชญา ท�ำนองนี้ให้ความส�ำคัญกับขอบเขตที่วิทยาศาสตร์จะไปถึง และช่วยให้ เราเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์และศิลปะสร้างคุณูปการแตกต่างกันอย่างไร ต่อความรู้ของมนุษยชาติ ปรัชญาวิทยาศาสตร์ยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเมืองอีกด้วย เราจะประเมิ น ไม่ ไ ด้ ว ่ า รั ฐ บาลควรตอบสนองต่ อ ภั ย คุ ก คามเรื่ อ งการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร หากเราไม่ตั้งต้นจากการตัดสินใจ ว่าจะวินิจฉัยด้วยเหตุผลแบบไหน ในเมื่อหลักฐานที่เรามีอยู่ยังไม่ชัดเจน ในขณะที่สิ่งที่เดิมพันมีมูลค่าสูงมาก เราคงตัดสินใจไม่ได้ว่าควรจะใช้ งบประมาณด้านสาธารณสุขไปกับการรักษาแบบโฮมีโอพาธี <homeopathy – การรักษาตามแนวธรรมชาติทเี่ ชือ่ ว่าร่างกายของเรามีความสามารถ ในการเยียวยารักษาตัวเองได้> หรือไม่ โดยไม่ตั้งค�ำถามถึงหลักเกณฑ์ ที่บ่งชี้ว่าสิ่งนั้นคือวิทยาศาสตร์แท้หรือกลลวงตาของวิทยาศาสตร์เทียม (pseudo-science) เราคงประเมินไม่ได้ว่าประเทศประชาธิปไตยควรจะ 22
The Meaning of S c i e n c e
ใช้ประโยชน์จากค�ำแนะน�ำเชิงเทคนิคด้านวิทยาศาสตร์อย่างไร หากไม่ ตรวจทานกับข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่เป็นกลาง ซึ่งย่อมพ่วงมากับคุณค่าเชิง การเมืองและศีลธรรม กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ เรื่องที่ปรัชญาวิทยาศาสตร์หยิบยกขึ้นมา ซึง่ เป็นเรือ่ งทีเ่ ราจะส�ำรวจกันต่อไปในหนังสือเล่มนี้ มีความหมายอย่างยิง่ ต่อค�ำถามส�ำคัญที่สุดทั้งหลายทั้งปวงในรูปแบบที่น�ำไปปฏิบัติได้จริง
Ti m L ew en s
23