ความ(ไม่)เท่าเทียม

Page 1

สารบัญ คำ�นำ�ผู้แปล 6 บทนำ� 12 กิตติกรรมประกาศ 18 หมายเหตุว่าด้วยกราฟ 20 ภาคแรก สำ�เร็จด้านวัตถุ ล้มเหลวด้านสังคม บทที่ 1: จุดจบแห่งยุค 26 บทที่ 2: ความจนหรือความเหลื่อมลํ้า 40 บทที่ 3: ความเหลื่อมลํ้าเข้ามาประชิดเราอย่างไร 60 ภาคสอง ราคาของความเหลื่อมลํ้า บทที่ 4: ชีวิตชุมชนและความสัมพันธ์ทางสังคม 80 บทที่ 5: สุขภาพจิตและการใช้ยา 98 บทที่ 6: สุขภาพกายและอายุขัย 110 บทที่ 7: โรคอ้วน: ช่องว่างรายได้ยิ่งห่าง รอบเอวยิ่งกว้าง 128 บทที่ 8: ผลสัมฤทธิ์ด้านการศึกษา 146 บทที่ 9: แม่วัยรุ่น: ผลิตซํ้าความขาดแคลน 164 บทที่ 10: ความรุนแรง: การได้รับความนับถือ 178 บทที่ 11: การจองจำ�และลงโทษ 198 บทที่ 12: การเลื่อนชั้นทางสังคม: โอกาสที่เหลื่อมลํ้า 214


ภาคสาม สังคมที่ดีกว่าเดิม บทที่ 13: สังคมป่วย 232 บทที่ 14: มรดกทางสังคมของเรา 262 บทที่ 15: ความเท่าเทียมกับความยั่งยืน 286 บทที่ 16: สร้างอนาคต 306 ปัจฉิมลิขิต: การวิจัยเจอการเมือง 354 กองทุนเท่าเทียม 388 ภาคผนวก 392 แหล่งข้อมูลสำ�หรับดัชนีปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคม 400 สถิติ 404 บรรณานุกรม 406 รู้จักผู้เขียน 443 รู้จักผู้แปล 445


คำ�นำ�ผู้แปล

ปัจจุบนั คงมีนอ้ ยคนทีจ่ ะปฏิเสธว่า ความเหลือ่ มล�ำ้ ทางเศรษฐกิจและ สังคมในประเทศไทยนั้น เป็น ‘ปัญหาใหญ่’ ที่จ�ำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไข ถ้าหากเศรษฐกิจและประชาธิปไตยจะเปลี่ยนวิถีออกจากวิถีแห่งความ อยุติธรรม ภาวะ ‘รวยกระจุก จนกระจาย’ ตลอดจนมหกรรมบริโภคนิยม อันฟุง้ เฟ้อและอันตราย เข้าสูว่ ถิ เี ศรษฐกิจและการเมืองทีย่ งั่ ยืนอย่างแท้จริง ในมุมมองของพลเมืองประเทศก�ำลังพัฒนาที่มีความเหลื่อมล�้ำ เป็นอันดับต้นๆ ของโลก ผู้แปลคิดว่าหนังสือ ความ(ไม่)เท่าเทียม เล่มนี้มา ถูกที่ถูกเวลาเป็นอย่างยิ่ง ผูเ้ ขียนทัง้ สองคือ ริชาร์ด วิลกินสัน และ เคท พิคเก็ตต์ ผูเ้ ชีย่ วชาญ ด้านระบาดวิทยาและสาธารณสุข สรุปผลการวิจยั ของตัวเองและนักวิจยั อีก หลายร้อยคนว่า ความเหลือ่ มลำ�้ ทางรายได้มคี วามสัมพันธ์อย่างมีนยั ส�ำคัญ ทางสถิติกับตัวชี้วัดด้านสุขภาพและสังคมจ�ำนวนมาก ตั้งแต่ระดับสุขภาพ ของปัจเจก ความไว้วางใจซึ่งกันและกันในชุมชน ไปจนถึงอัตราฆาตกรรม อัตราการจองจ�ำ อัตราการคลอดของแม่วัยรุ่น ฯลฯ วิลกินสันกับพิคเก็ตต์เสนอต่อไปว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความ เหลื่อมล�้ำทางรายได้กับปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมเหล่านี้ นอกจาก จะไม่ใช่ความบังเอิญแล้ว ยังน่าจะเป็นความสัมพันธ์แบบเป็นเหตุเป็นผล (causation) กล่าวคือ ความเหลือ่ มลำ�้ ทีม่ ากขึน้ ส่งผลให้ปญ ั หาเหล่านีร้ นุ แรง ขึ้น สาเหตุมูลฐานประการหนึ่งคือ มนุษย์โดยพื้นฐานดั้งเดิมตามธรรมชาติ 6

The Spir it Lev e l


มิใช่ ‘สัตว์เศรษฐกิจ’ หากเป็น ‘สัตว์สังคม’ ผู้ปรารถนาอยากได้รับการ ยอมรับนับถือจากคนอื่น หากแต่ “ความแตกต่างทางรายได้ที่ถ่างกว้าง กว่าดูจะท�ำให้โครงสร้างสังคมแข็งตัวกว่าเดิม ลดทอนโอกาสของคนใน การปีนบันไดสังคม” อีกทั้งยังท�ำให้ ‘สถานะทางสังคม’ มีความส�ำคัญต่อ การได้รับการยอมรับมากกว่าในสังคมที่มีความเท่าเทียมกันมากกว่า ข้อเสนอของผู้เขียนทั้งสองที่ว่าความเหลื่อมล�้ำทางรายได้เป็น สาเหตุ ข องปั ญ หาสุ ข ภาพและปั ญ หาสั ง คมจ�ำนวนมากนั้ น ยั ง เป็ น ที่ ถกเถี ย งกั น ว่ า จริ ง หรื อ ไม่ เ พี ย งใด อย่ า งไรก็ ต าม ข้ อ สรุ ป ที่ ว ่ า ความ เหลื่ อ มล�้ ำ ทางรายได้ มี ค วามสั ม พั น ธ์ อ ย่ า งใกล้ ชิ ด กั บ ปั ญ หาเหล่ า นั้ น ปัจจุบันก็เป็นข้อเท็จจริงที่มีข้อมูลหลักฐานรองรับอย่างหนักแน่นจาก งานวิจัยหลายร้อยชิ้น แม้ว่าบทวิเคราะห์ในหนังสือเล่มนี้จะเน้นแต่ข้อมูลของประเทศ ร�่ำรวย ผู้แปลเชื่อว่าทฤษฎีและข้อสรุปส่วนใหญ่ก็น่าจะอธิบายสถานการณ์ ของประเทศก�ำลังพัฒนาอย่างไทยได้เช่นกัน เพราะถึงแม้ว่าสังคมแต่ละ สั ง คมย่ อ มมี ร ะดั บ การพั ฒ นาทางเศรษฐกิ จ ต่ า งกั น และมี บ ริ บ ททาง วัฒนธรรมไม่เหมือนกัน มนุษย์ทุกคนล้วนเป็น ‘สัตว์สังคม’ อีกทั้งหลาย ปัญหาในเมืองไทยดูจะมี ‘ความลาดชันทางสังคม’ (social gradient) สูง (ยิ่งด้อยฐานะยิ่งประสบปัญหามาก) เช่นเดียวกับในประเทศร�่ำรวย ในอดีต นักเศรษฐศาสตร์หลายคนเคยคิดว่า ความเหลื่อมล�้ำ ทางรายได้ไม่ใช่ ‘ปัญหา’ ที่เราควรมุ่งหาทางแก้ไข เพราะมันเป็นผลพวง ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการพัฒนาเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งที่ ‘ดี’ และ ‘จ�ำเป็น’ เพราะมันสร้างแรงจูงใจให้คนท�ำงานหนัก ดิ้นรนถีบตัวเองบน บันไดสังคม แต่ ข ้ อ มู ล หลั ก ฐานที่ เ พิ่ ม พู น ขึ้ น เรื่ อ ยๆ ของนั ก วิ จั ย อย่ า ง วิลกินสันและพิคเก็ตต์ ได้หักล้างความเชื่อท�ำนองนี้ลงอย่างราบคาบ ข้อ เท็ จ จริงกลับกลายเป็นว่า สังคมที่มีความเท่าเทียมกันมากกว่ามักจะ สร้างสรรค์กว่า (สะท้อนจากตัววัดอย่างเช่น อัตราส่วนการจดสิทธิบัตร R i ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

7


ต่อหัวประชากร) และประวัติศาสตร์โลกก็มีตัวอย่างมากมายของสังคมที่ สามารถลดความเหลื่อมล�้ำ ขณะเดียวกันผู้คนก็มีคุณภาพชีวิตดีกว่าเดิม ในความเห็นของผู้แปล ประเด็นที่น่าสนใจที่สุดในหนังสือเล่มนี้ คือการที่ผู้เขียนทั้งสองชี้ว่า การลดความเหลื่อมล�้ำทางรายได้ไม่เพียงแต่ดี ส�ำหรับผูด้ อ้ ยโอกาสเท่านัน้ แต่ยงั จะปรับปรุงคุณภาพชีวติ ของคนทัง้ สังคม กระทั่งคนรวยก็จะได้ประโยชน์ด้วย ความประสงค์ อ ยากให้ รั ฐ ด�ำเนิ น นโยบายและมาตรการที่ ล ด ความเหลื่อมล�้ำอย่างแท้จริง จึงสามารถเป็น ‘ผลประโยชน์ส่วนตัวที่รู้แจ้ง’ (enlightened self-interest) ของเราทุกคน ไม่ว่าจะจนหรือรวย ไม่ว่าจะ ใส่เสื้อสีอะไรก็ตาม ยิ่งเราแสดงออกซึ่งความประสงค์ส่วนตัวนี้มากขึ้น ถึงจุดหนึ่ง เราอาจมี ‘มติมหาชน’ ที่มีพลังพอจุดประกายการเปลี่ยนแปลงที่จ�ำเป็น ต้องเกิดในภาคการเมือง ท้ายนี้ ผู้เขียนขอขอบคุณ ส�ำนักงานปฏิรูป (สปร.) ที่ได้ให้การ สนั บ สนุ น โครงการแปลและตี พิ ม พ์ ห นั ง สื อ ที่ ส�ำคั ญ ยิ่ ง เล่ ม นี้ หนั ง สื อ ที่ ผู้แปลเชื่อว่าจะสร้างพลังชักน�ำให้นักเศรษฐศาสตร์ แพทย์ นักจิตวิทยา นักพัฒนา นักการเมือง นักสังคมวิทยา และนักอืน่ ๆ อีกหลายต่อหลายนักให้ มาพูดภาษาเดียวกัน ในเรือ่ งเดียวกัน ในประเด็นทีต่ อ้ งอาศัยความเชีย่ วชาญ หลายด้านผสมกัน ได้เป็นครั้งแรก ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่าน และร่วมกันวาดเส้นทางสู่ สังคมที่มีความเท่าเทียมมากกว่าเดิม

8

The Spir it Lev e l

สฤณี อาชวานันทกุล “คนชายขอบ” | www.fringer.org 10 ตุลาคม 2555


The Spirit Level Why Equality is Better for Everyone by

Richard Wilkinson and Kate Pickett

ความ(ไม่)เท่าเทียม แปลโดย

สฤณี อาชวานันทกุล


บทนำ�

h


ปกติคนเรามักยกหางงานของตัวเอง และเราก็กลัวว่าจะอวดอ้างเกิน จริง แต่หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่นโยบายสวยหรูแค่เปลือกนอกหรืออคติที่เสนอ วิธียกโลกให้เข้าที่เข้าทาง งานที่เราอธิบายในนี้มาจากงานวิจัยอันยาวนาน (ห้าสิบปีระหว่างเราทั้งคู่) ซึ่งตั้งต้นจากความพยายามที่จะเข้าใจสาเหตุ ของอายุขัยที่แตกต่างกัน ที่เรียกว่า ‘ความเหลื่อมล�้ำด้านสุขภาพ’ ระหว่าง คนต่างชนชั้นในสังคมสมัยใหม่ โจทย์หลักเริ่มแรกคือพยายามเข้าใจว่า เหตุใดสุขภาพถึงได้เสื่อมลงเรื่อยๆ ทุกระดับชั้นของสังคมที่ต�่ำลง คนจน สุขภาพแย่กว่าชนชั้นกลาง ส่วนคนชั้นกลางก็มีสุขภาพแย่กว่าคนที่มี ฐานะดีกว่า ผู้เขียนทั้งสองก็ไม่ต่างจากคนอื่นที่ท�ำงานกับปัจจัยทางสังคม ที่ส่งผลต่อสุขภาพ ภูมิหลังด้านระบาดวิทยาของเราส่งผลให้ระเบียบวิธี ของเราคื อ วิ ธี ซึ่ ง ใช้ ใ นการสื บ สาวสาเหตุ ข องโรคร้ า ยในหมู ่ ป ระชากร – พยายามค้ น หาว่ า ท�ำไมคนกลุ ่ ม หนึ่ ง เป็ น โรค ในขณะที่ ค นอี ก กลุ ่ ม ไม่เป็น หรืออธิบายว่าท�ำไมโรคบางโรคถึงได้แพร่หลายมากกว่าในอดีต Ri ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

13


อย่างไรก็ตาม เราสามารถใช้ระเบียบวิธีเดียวกันนี้ในการท�ำความเข้าใจ สาเหตุของปัญหาอื่นๆ ด้วย ไม่เฉพาะแต่ปัญหาด้านสุขภาพ ค�ำว่า ‘การแพทย์โดยหลักฐาน’ (evidence-based medicine) ถูกใช้อธิบายความพยายามในวันนี้ที่จะรับประกันว่า การรักษาพยาบาล จะตั้งอยู่บนข้อมูลหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ดีที่สุดเพื่อหาค�ำตอบว่า อะไรใช้ได้ อะไรใช้ไม่ได้ เราเคยคิดจะตั้งชื่อหนังสือเล่มนี้ว่า ‘การเมือง โดยหลักฐาน’ งานวิจัยซึ่งเป็นรากฐานค�ำอธิบายของเรานั้น มาจาก งานของทีมวิจัยจ�ำนวนมากในมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยหลายแห่ง วิธีการที่ท�ำซ�้ำได้ (replicable method) ถูกใช้ในการศึกษาผลลัพธ์ที่ สังเกตได้และเป็นภววิสัย รายงานวิจัยที่ผ่านการทบทวนจากเพื่อนร่วม วิชาชีพได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการและวิทยาศาสตร์ นั่นไม่ได้หมายความว่าเราไม่เดาอะไรเลย ผลลัพธ์ต้องได้รับการ ตีความเสมอ แต่ปกติก็มักมีเหตุผลดีๆ ว่าท�ำไมชุดการตีความหนึ่งจึง ได้ รั บ เลื อ กเหนื อ ชุ ด อื่ น ทฤษฎี แ ละการคาดการณ์ เ บื้ อ งแรกมั ก จะถู ก ตั้งค�ำถามจากการค้นพบครั้งต่อๆ มาซึ่งท�ำให้ต้องคิดใหม่ เราอยากพา คุณเดินบนเส้นทางที่เราเดินมาเนิ่นนาน ใช้ข้อมูลหลักฐานชิ้นส�ำคัญๆ เป็ น ป้ า ยบอกทาง ทิ้ ง ทางตั น และทางเลี้ ย วผิ ด ที่ เ สี ย เวลามหาศาลไว้ ข้างหลัง เพื่อไปยังจุดที่คุณจะเข้าใจเรามากกว่าเดิมว่าเหตุใดเราจึงเชื่อว่า มีวิธีที่สามารถปรับปรุงคุณภาพชีวิตของคนทุกคนในสังคมสมัยใหม่ให้ ดีขึ้นได้ เราจะน�ำเสนอข้อมูลหลักฐานและเหตุผลว่าท�ำไมเราจึงตีความ แบบที่เราตีความ คุณจะได้ตัดสินด้วยตัวเองได้ ในระดับสามัญส�ำนึก เรายอมรับกันตลอดมาว่าความเหลื่อมล�้ำ นั้นบั่นทอนสังคม แต่ดูมีเหตุผลน้อยมากที่จะคิดว่าระดับความเหลื่อมล�้ำ ในสั ง คมที่ พั ฒ นาแล้ ว แตกต่ า งกั น มากพอให้ เ กิ ด ผลลั พ ธ์ ที่ ม องเห็ น ได้ เหตุ ผ ลที่ ต อนแรกชั ก จู ง เราไปหาผลลั พ ธ์ นั้ น วั น นี้ ดู ไ ม่ ส ลั ก ส�ำคั ญ เลย เมื่อเทียบกับภาพใหญ่อันน่าทึ่งที่ปรากฏ การค้นพบหลายครั้งเป็นเรื่อง ของโชคพอๆ กับการตัดสินใจ 14

The Spir it Lev e l


เหตุ ผ ลที่ ภ าพใหญ่ ซึ่ ง เราน�ำเสนอไม่ เ คยถู ก รวมเข้ า ด้ ว ยกั น ก่อนหน้านี้ น่าจะเป็นเพราะข้อมูลส่วนใหญ่เพิ่งมีให้ศึกษาไม่กี่ปีมานี้เอง ทั้งข้อมูลรายได้และการกระจายรายได้ที่เปรียบเทียบกันได้ของประเทศ ต่างๆ ตลอดจนข้อมูลปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคม ไม่เร็วก็ช้าย่อมมี ใครสักคนค้นพบแบบเดียวกับเรา ข้อมูลเหล่านี้ท�ำให้เราและนักวิจัยคน อื่นๆ สามารถวิเคราะห์ได้ว่าสังคมต่างๆ แตกต่างกันอย่างไร ปัจจัยหนึ่ง เชื่อมโยงกับอีกปัจจัยหนึ่งอย่างไร และท�ำให้เราสามารถทดสอบทฤษฎี ต่างๆ ได้อย่างรัดกุมมากขึ้น เป็ น เรื่ อ งง่ า ยที่ จ ะจิ น ตนาการว่ า การค้ น พบในวิ ท ยาศาสตร์ ธรรมชาติ ไ ด้ รั บ การยอมรั บ มากกว่ า การค้ น พบในวิ ท ยาศาสตร์ สั ง คม ราวกับว่าทฤษฎีทางกายภาพนั้นเป็นที่โต้แย้งกันน้อยกว่าทฤษฎีเกี่ยวกับ สังคม แต่ประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติกลับเต็มไปด้วยความ ขัดแย้งส่วนตัวที่ฝังรากลึก ซึ่งเริ่มต้นจากการถกเถียงทางทฤษฎี แต่มัก จะด�ำเนินไปตลอดชั่วชีวิตคน การถกเถียงในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมัก จ�ำกัดอยู่ในวงผู้เชี่ยวชาญ คนส่วนใหญ่ไม่มีความเห็นอะไรรุนแรงเกี่ยวกับ ทฤษฎีฟิสิกส์อนุภาคที่ขัดแย้งกัน แต่พวกเขามีความเห็นเกี่ยวกับการ ท�ำงานของสังคม ทฤษฎีสังคมส่วนหนึ่งคือทฤษฎีเกี่ยวกับตัวเราเอง อาจ มองได้ด้วยซ�้ำว่าเป็นส่วนหนึ่งของการตระหนักรู้ในตัวตนของปัจเจกหรือ สังคม นักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติไม่ต้องหว่านล้อมให้เซลล์หรืออนุภาค ยอมรับในทฤษฎีของพวกเขา แต่นักวิทยาศาสตร์สังคมต้องเผชิญกับ มุมมองส่วนตัวและกลุ่มผลประโยชน์มากมาย ในปี 1847 อิกนัซ เซมเมลไวซ์ (Ignaz Semmelweiss) พบว่าหาก แพทย์ล้างมือก่อนท�ำคลอด อัตราการตายจากการติดเชื้อระหว่างคลอด จะลดลงอย่างฮวบฮาบ แต่ก่อนที่งานของเขาจะสร้างประโยชน์ได้ เขาต้อง หว่านล้อมผู้คนให้เปลี่ยนพฤติกรรม โดยเฉพาะเพื่อนร่วมวิชาชีพแพทย์ การต่อสู้ที่แท้จริงไม่ใช่การค้นพบของเขา แต่อยู่ที่เหตุการณ์หลังจากนั้น มุมมองของเขาถูกเยาะเย้ยถากถาง กดดันให้เขาคลุ้มคลั่งและสุดท้ายก็ Ri ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

15


ฆ่าตัวตาย วงการแพทย์สว่ นใหญ่ไม่ให้ความส�ำคัญกับงานของเขาจริงจังจน กระทั่ง หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) และ โจเซฟ ลิสเตอร์ (Joseph Lister) พัฒนาทฤษฎีเชือ้ โรคก่อโรคขึน้ มาอธิบายความส�ำคัญของสุขอนามัย เราใช้ชีวิตในยุคแห่งการมองโลกในแง่ร้าย นอกจากจะกังวลเรื่อง ผลพวงทีอ่ าจเกิดจากภาวะโลกร้อนแล้ว เรายังรูส้ กึ ว่าหลายสังคมถูกกดทับ ด้วยความล้มเหลวทางสังคมมากขึ้นเรื่อยๆ และตอนนี้เราก็ทุกข์ทวีคูณ จากภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจและคนตกงานจ�ำนวนมากทีต่ ามมา แต่ความ รู้ที่ว่าเราไม่อาจท�ำอย่างที่เคยท�ำในอดีตและความรู้ว่าการเปลี่ยนแปลง เป็นสิ่งจ�ำเป็นอาจเป็นเหตุผลให้เรามองโลกในแง่ดีได้ และโอกาสในการ สร้างโลกที่ดีกว่าเดิมก็อาจมาถึงเสียที เสียงตอบรับอันล้นหลามต่อหนังสือ เล่มนีฉ้ บับพิมพ์ปกแข็งเป็นเครือ่ งยืนยันว่าคนในวงกว้างกระหายอยากเห็น การเปลี่ยนแปลง และปรารถนาที่จะหาทางออกให้กับปัญหาที่เราเผชิญ เราปรับปรุงเนื้อหาเพียงเล็กน้อยเท่านั้นส�ำหรับฉบับพิมพ์ใหม่ ในภาคผนวกเราแจกแจงรายละเอียดแหล่งที่มาของสถิติ ระเบียบวิธีและ ผลการประเมิน ซึ่งเราคิดว่าผู้อ่านส่วนใหญ่คงไม่อยากอ่าน แต่ก็ท�ำไว้ ให้กับใครก็ตามที่ชอบข้อมูล เราปรับปรุงบทที่ 13 ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่ ว่าด้วยเหตุและผลให้เป็นระเบียบและหนักแน่นกว่าเดิม นอกจากนั้นเรา ได้ขยับขยายบทอภิปรายว่าด้วยสาเหตุที่ท�ำให้สังคมต่างๆ ในอดีตมีความ เท่าเทียมกันมากกว่าหรือน้อยกว่าในปัจจุบัน เนื่องจากเราสรุปว่าการ เปลี่ ย นแปลงเหล่ า นี้ ถู ก ขั บ ดั น ด้ ว ยการเปลี่ ย นแปลงของทั ศ นคติ ท าง การเมือง เราจึงคิดว่าไม่ควรมีใครอภิปรายนโยบายราวกับว่ามันเป็น เรื่องของการหาวิธีแก้ทางเทคนิคที่ถูกต้องเท่านั้น ในเมื่อมีหลายร้อยวิธี ที่สังคมจะมีความเท่าเทียมกันมากกว่าเดิมได้หากต้องการเช่นนั้นจริงๆ เราจึงไม่ฟันธงว่าต้องใช้ชุดนโยบายอะไร สิ่งที่เราต้องการไม่ใช่ทางออก ฉลาดๆ หากแต่เป็นสังคมที่ตระหนักในประโยชน์ของความเท่าเทียมกัน ที่มากขึ้น ถ้าหากเราคิดถูก ทฤษฎีและหลักฐานทั้งปวงในหนังสือเล่มนี้ ก็บอกเราว่าจะปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชากรแทบทุกคนในสังคม 16

The Spir it Lev e l


ได้อย่างไร แต่หากเรายังไม่สามารถเปลี่ยนวิธีที่ผู้คนมองสังคมที่ตัวเอง อาศัยอยู่ ทฤษฎีนี้ก็จะยังเป็นหมันอยู่นั่นเอง มติมหาชนจะสนับสนุนการ เปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่จ�ำเป็นก็ต่อเมื่อมุมมองแบบที่เราร่างเค้าโครง ในหนังสือเล่มนี้แทรกซึมเข้าไปในความรู้สึกนึกคิดของมวลชน ด้วยเหตุนี้ เราจึงก่อตัง้ กองทุนไม่แสวงก�ำไรชือ่ กองทุนเท่าเทียม (The Equality Trust) (อธิบายไว้ในช่วงท้ายของหนังสือเล่มนี้) ขึ้นมาเพื่อพยายามเผยแพร่ หลักฐานอย่างในหนังสือเล่มนี้ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และเสนอว่ามีทางรอด จากป่าลึกส�ำหรับเราทั้งมวล

Ri ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

17


กิตติกรรมประกาศ

เราเป็นหนี้บุญคุณกองทุนโจเซฟ ราวน์ทรี ชาริทาเบิล (Joseph Rowntree Charitable Trust) โดยเฉพาะสตีเฟน พิตแทม (Stephen Pittam) ผูส้ นับสนุนความพยายามของเราทีจ่ ะเผยแพร่งานวิจยั ผ่านกองทุน เท่าเทียม และ คาธริน บัสบี (Kathryn Busby) กับบิล เคอร์รี (Bill Kerry) ผู้ท�ำงานหนักในการเผยแพร่งานนี้อย่างสม�่ำเสมอ ริ ช าร์ ด วิ ล กิ น สั น ขอขอบคุ ณ มหาวิ ท ยาลั ย น็ อ ตติ ง แฮมและ อดีตเพื่อนร่วมงานของเขาในคณะระบาดวิทยาและสาธารณสุขส�ำหรับ เสรีภาพทีท่ �ำให้เขามีเวลาอุทศิ ให้กบั งานวิจยั ในหนังสือเล่มนี้ เคท พิคเก็ตต์ ขอขอบคุ ณ มหาวิ ท ยาลั ย ยอร์ ก และเพื่ อ นร่ ว มงานของเธอส�ำหรั บ การ สนับสนุนตลอดมา เราผลิตซ�้ำภาพ 3.1 และ 3.2 โดยได้รับอนุญาตอย่างเอื้อเฟื้อจาก จีน ทเวนจ์ (Jean Twenge) เราเป็นหนี้บุญคุณส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เคมบริดจ์ที่อนุญาตให้ผลิตซ�้ำภาพ 4.3 และ 10.1 ภาพ 6.7 ได้รับอนุญาต จากบริษัทไบรอัน คริสตี ดีไซน์ และภาพ 15.3 ได้รับอนุญาตจากวารสาร เศรษฐศาสตร์ (Economic Journal) ภาพอื่นๆ เป็นของเราเอง เราอนุญาต ให้ทุกคนน�ำไปใช้ได้โดยอ้างอิงแหล่งที่มา การ์ตูนในหน้า 40, 60, 98, 146, 164, 178, 198, 214, 232, 262, 286 และ 306 มาจาก www.CartoonStock.com เราขอขอบคุณเว็บไซต์และ นักวาดการ์ตนู ดังต่อไปนีท้ อี่ นุญาตให้น�ำการ์ตนู มาผลิตซ�ำ้ : หน้า 26 ลิขสิทธิ์ 18

The Spir it Lev e l


© แอนดี ซิงเกอร์ (Andy Singer), 2007, politicalcartoons.com; หน้า 80 ลิขสิทธิ์ © เดอะ นิวยอร์กเกอร์ (The New Yorker) คอลเล็กชั่น, 1996, ปีเตอร์ สไตเนอร์ (Peter Steiner), cartoonbank.com; หน้า 110 ลิขสิทธิ์ © โจเซฟ ฟาร์ริส (Joseph Farris), cartoonbank.com; หน้า 128 ลิขสิทธิ์ © เดอะ นิวยอร์กเกอร์ (The New Yorker) คอลเล็กชั่น, 2005, ลี โลเรนซ์ (Lee Lorenz), cartoonbank.com

Ri ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

19


หมายเหตุว่าด้วยกราฟ

ข้อเท็จจริงจากตัวเลข: วิธีอ่านกราฟในหนังสือเล่มนี้ กราฟส่ ว นใหญ่ ที่ เ ราใช้ ใ นหนั ง สื อ เล่ ม นี้ คื อ แผนภู มิ ที่ เ ชื่ อ มโยง ความเหลื่อมล�้ำทางรายได้เข้ากับปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมต่างๆ มันแสดงความสัมพันธ์ ก) ระหว่างประเทศ เปรียบเทียบสถิติของประเทศ ร�่ำรวย หรือไม่ก็ ข) ในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว เปรียบเทียบสถิติ ระหว่างมลรัฐต่างๆ ในกราฟทั้งหมดนี้ เราวางความเหลื่อมล�้ำทางรายได้ไว้บนแกน นอน (แกน x) ฉะนั้นสังคมที่มีความเหลื่อมล�้ำทางรายได้ต�่ำจะอยู่ทางซ้าย สังคมที่มีความเหลื่อมล�้ำทางรายได้สูงจะอยู่ทางขวา ตัวชี้วัดด้านสุขภาพ และสังคมแสดงบนแกนตั้ง (แกน y) ทางซ้ายมือของกราฟ กราฟส่วนใหญ่มีองค์ประกอบสองอย่าง อย่างแรกคือแผนภูมิ กระจาย (scatter plot) แสดงข้อมูลจากประเทศร�่ำรวยหรือมลรัฐต่างๆ ในสหรัฐอเมริกา ให้ผู้อ่านเปรียบเทียบระหว่างสังคมได้ อย่างที่สองคือ เส้นตรงถดถอย (regression line) ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ ‘ที่น่าจะเป็น ที่สุด’ ระหว่างความเหลื่อมล�้ำทางรายได้กับผลที่แสดงในกราฟนั้นๆ เรา ไม่ได้เลือกเส้นนี้เอง มันถูกค�ำนวณมาโดยโปรแกรมทางสถิติ เพื่อหาเส้น ที่อธิบายแนวโน้มผ่านจุดข้อมูลต่างๆ ได้ดีที่สุด เป็นไปได้ด้วยที่จะค�ำนวณ ว่าแบบแผนที่เราเห็นนั้นมีโอกาสน้อยแค่ไหนที่จะเกิดจากความบังเอิญ ล้วนๆ เราแสดงเส้นตรงถดถอยเฉพาะในกรณีที่ความสัมพันธ์มีโอกาส เกิดโดยบังเอิญน้อยมาก กราฟไหนไม่แสดงเส้นตรงถดถอยแปลว่าเราไม่ พบหลักฐานว่ามีความสัมพันธ์ 20

The Spir it Lev e l


ถ้ า หากเส้ น นี้ ท แยงขึ้ น จากซ้ า ยไปขวา ก็ แ สดงว่ า ผลลั พ ธ์ (outcome) ด้านสุขภาพหรือสังคมนั้นพบเห็นได้มากกว่าในสังคมที่มี ความเหลื่อมล�้ำมากกว่า แบบแผนนี้มักจะเกิดกับประเด็นที่เราคิดว่าแย่ อย่างเช่นความรุนแรง แกน y

แกน x

ถ้าหากเส้นทแยงลงจากซ้ายไปขวา ก็แสดงว่าผลลัพธ์ดา้ นสุขภาพ หรือสังคมนัน้ พบเห็นได้นอ้ ยกว่าในสังคมทีม่ คี วามเหลือ่ มล�ำ้ มากกว่า เราพบ แบบแผนนี้กับประเด็นที่เราคิดว่าดี อย่างเช่นความไว้วางใจซึ่งกันและกัน แกน y

แกน x


จุดข้อมูลที่กระจายตัวกันมากบนกราฟแปลว่ามีปัจจัยอื่นๆ ที่ ส่งอิทธิผลต่อผลลัพธ์ อาจไม่ได้แปลว่าความเหลื่อมล�้ำไม่มีอิทธิพล แต่สื่อ เพียงว่ามีปัจจัยอื่นที่ส�ำคัญไม่แพ้กัน แกน y

แกน x

จุดข้อมูลที่กระจายตัวกันค่อนข้างแคบบนกราฟแปลว่ามีความ สัมพันธ์ค่อนข้างใกล้ชิดระหว่างความเหลื่อมล�้ำกับผลลัพธ์ที่แสดง และ ความเหลื่อมล�้ำก็เป็นปัจจัยที่ใช้พยากรณ์ผลลัพธ์ได้ค่อนข้างดี แกน y

แกน x


อ่ า นรายละเอี ย ดวิ ธี ข องเราเพิ่ ม เติ ม ได้ จ ากเว็ บ ไซต์ www. equalitytrust.org.uk

Ri ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

23


ภาคแรก

h


สำ�เร็จด้านวัตถุ ล้มเหลวด้านสังคม Material Success, Social Failure


“คุณได้ในสิ่งที่คุณจ่ายเงินซื้อ” ผมเพิ่งได้ลดภาษี $200,000 …โคตรรักประเทศนี้เลย ...แต่ท�ำไมมันถึงได้โสโครก อย่างนี้?!


บทที่ 1

h จุดจบแห่งยุค

ข้าปรารถนาความร�ำ่ รวย เพือ่ มอบของขวัญแด่เหล่าสหายหรือฟืน้ ฟู สุขภาพของคนป่วยให้กลับมาหายดีด้วยความสะดวกดายและอุดม สมบูรณ์ ความช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ คือความร�่ำรวยเทียบเทียม ความพึงใจประจ�ำวัน เมือ่ มนุษย์ไม่หวิ โหยอีกต่อไป คนจนกับคนรวย จะเป็นน�้ำหนึ่งใจเดียวกัน ยูริพิดีส, Electra (อิเล็กตรา)

ความย้อนแย้งทีน่ า่ ทึง่ เรือ่ งหนึง่ คือ ณ จุดสุดยอดของผลสัมฤทธิด์ า้ น วัตถุและเทคนิคของมนุษย์ เรากลับจิตตกมากกว่าเดิม สุ่มเสี่ยงว่าจะเป็น โรคซึมเศร้า กังวลต่อมุมมองของคนอื่นที่มีต่อเรา ไม่แน่ใจว่าเพื่อนไว้ใจ ได้แค่ไหน ถูกผลักดันให้ก้มหน้าก้มตาบริโภคและไม่มีชีวิตชุมชนหรือมี น้อยมาก ในเมื่อเราขาดความสัมพันธ์ทางสังคมที่ผ่อนคลายและความ พึงพอใจทางอารมณ์ที่จ�ำเป็น เราก็ปลอบใจตัวเองด้วยการกินมากเกิน ควร หมกมุ่นกับการช็อปปิ้งและใช้เงิน หรือไม่ก็ตกเป็นเหยื่อของการ Ri ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

27


เสพแอลกอฮอล์เกินขนาด สารเสพติด และยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย เป็นไปได้อย่างไรทีเ่ ราสร้างความทุกข์ทรมานทางจิตใจและอารมณ์ ได้ขนาดนี้ ทั้งๆ ที่เรามีความมั่งคั่งและความสุขสบายในชีวิตอย่างไม่เคยมี มาก่อนในประวัติศาสตร์มนุษย์? หลายครั้งสิ่งที่เรารู้สึกว่าขาดหายไปนั้น ไม่มีอะไรมากไปกว่าการมีเวลาสังสรรค์กับเพื่อนๆ แม้กระทั่งสิ่งเล็กน้อย นี้ก็ยังอาจดูไกลเกินเอื้อม เราพูดราวกับว่าชีวิตเป็นการต่อสู้เพื่อความ อยู่รอดทางจิตวิทยาตลอดเวลา ดิ้นรนเพื่อเอาชนะความเครียดและอ่อน ระโหยทางจิตใจ แต่ที่จริงความหรูหราฟุ่มเฟือยของชีวิตเรานั้นมหึมา มหาศาลเสียจนคุกคามดาวเคราะห์โลกทั้งดวง งานวิจัยจากสถาบันฮาร์วูดเพื่อนวัตกรรมสาธารณะ (ได้รับการ สนับสนุนเงินทุนโดยมูลนิธิตระกูลเมิร์ค) ในสหรัฐอเมริการะบุว่า ชาว อเมริกันรู้สึกว่า ‘วัตถุนิยม’ กั้นกลางระหว่างพวกเขากับการเติมเต็ม ความต้องการทางสังคม รายงานชื่อ Yearning for Balance (ไขว่คว้า หาสมดุล) ซึ่งใช้ข้อมูลจากการส�ำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกันทั่ว ประเทศสรุปว่า พวกเขา ‘รู้สึกลังเลใจลึกๆ เกี่ยวกับความมั่งคั่งและความ ร�่ำรวยทางวัตถุ’1 ผู ้ ต อบแบบส�ำรวจแทบทั้ ง หมดอยากให้ สั ง คม ‘ย้ า ยออกจาก ความละโมบฟุ้งเฟ้อ ไปสู่วิถีชีวิตที่ตั้งอยู่บนคุณค่า ชุมชน และครอบครัว’ แต่พวกเขาก็รู้สึกด้วยว่าเพื่อนร่วมชาติไม่ให้ความส�ำคัญกับปัจจัยเหล่านี้ และมองว่าเพื่อนร่วมชาติ ‘แปลกแยก เห็นแก่ตัว และไม่รับผิดชอบมากขึ้น เรื่อยๆ’ ผลก็คือพวกเขามักรู้สึกเปล่าเปลี่ยว อย่างไรก็ตาม รายงานระบุ ด้วยว่า พอได้พูดคุยกันเป็นกลุ่ม คนเหล่านี้ก็ ‘แปลกใจและตื่นเต้นที่ พบว่ า คนอื่ น ก็ คิ ด เหมื อ นกั น ’ ความไม่ ส บายใจที่ เ รารู ้ สึ ก เกี่ ย วกั บ การ สูญเสียคุณค่าทางสังคมและวิธีที่เราถูกดึงเข้าสู่การไขว่คว้าหาความสบาย ทางวัตถุนั้นมักจะเป็นความรู้สึกส่วนตัวที่ตัดเราออกจากคนอื่น แทนที่จะ สมานใจพวกเราให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเมืองกระแสหลักไม่สนใจประเด็นเหล่านี้อีกต่อไปแล้ว และ 28

The Spir it Lev e l


ก็เลิกล้มความพยายามที่จะน�ำเสนอวิสัยทัศน์ร่วมที่สามารถสร้างแรง บันดาลใจให้เราสร้างสังคมที่ดีกว่าเก่า ในฐานะผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง เรามองไม่เห็นความเชื่อร่วมกันใดๆ อีกต่อไปแล้วว่าสังคมจะต่างจากที่ เป็นอยู่ได้ แทนที่จะแสวงหาสังคมที่ดีกว่าเดิม สิ่งเดียวที่เกือบทุกคน ไขว่คว้าคือความส�ำเร็จในสังคมเดิมในฐานะปัจเจก ความแตกต่างระหว่างความส�ำเร็จทางวัตถุกับความล้มเหลว ทางสังคมในประเทศร�่ำรวยหลายประเทศเป็นป้ายบอกทางที่ส�ำคัญว่า หากเราอยากจะปรับปรุงคุณภาพชีวิตที่แท้จริง เราก็ต้องเบนเข็มความ สนใจออกจากมาตรฐานเชิงวัตถุและการเติบโตทางเศรษฐกิจ หันไปมอง หาหนทางปรับปรุงสุขภาพจิตและสุขภาวะของสังคมทั้งสังคม อย่างไร ก็ตาม ทันทีที่เราพูดถึงอะไรสักอย่างด้านจิตใจ การอภิปรายก็มักจะหัน ไปหมกมุ่นอยู่กับวิธีรักษาเยียวยาระดับปัจเจกทันที การใช้ความคิดทาง การเมืองดูจะตีบตันอยู่ใต้ทราย บัดนี้เป็นไปได้แล้วที่เราจะวาดภาพใหม่ ภาพที่ปลุกเร้าความ สนใจและไม่ขัดแย้งในตัวเอง ภาพที่บอกเราได้ว่าจะปลดปล่อยสังคมออก จากพฤติกรรมผิดปกติที่มีมากมายเหลือเกินได้อย่างไร ความเข้าใจที่ ถูกต้องว่าก�ำลังเกิดอะไรขึ้นสามารถเปลี่ยนแปลงการเมืองและคุณภาพ ชีวิตของเราทุกคนได้ มันจะเปลี่ยนประสบการณ์ที่เรามีต่อโลก เปลี่ยน เป้าหมายในการเลือกตั้งของเรา และเปลี่ยนสิ่งที่เราเรียกร้องจากนัก การเมือง ในหนังสือเล่มนี้ เราแสดงให้เห็นว่าคุณภาพของความสัมพันธ์ ทางสังคมนั้นตั้งอยู่บนฐานรากทางวัตถุ ขนาดของความแตกต่างทาง รายได้ ส ่ ง ผลอย่ า งยิ่ ง ต่ อ วิ ธี ที่ เ ราปฏิ สั ม พั น ธ์ กั น แทนที่ จ ะโทษพ่ อ แม่ ศาสนา คุณค่า การศึกษา หรือระบบลงโทษทางกฎหมาย เราจะแสดง ให้เห็นว่าขนาดของความเหลื่อมล�้ำเป็นคานงัดเชิงนโยบายที่ทรงพลัง และกระทบต่ อ สุ ข ภาพจิ ต ของเราทุ ก คน ครั้ ง หนึ่ ง โลกเคยต้ อ งใช้ ผ ล การศึกษาเรื่องน�้ำหนักตัวของทารกเพื่อพิสูจน์ว่า การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ Ri ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

29


ให้ความรักความเอาใจใส่นั้นจ�ำเป็นต่อพัฒนาการของเด็ก เช่นเดียวกัน คราวนี้ก็ต้องใช้ผลการศึกษาเรื่องอัตราการตายและการกระจายรายได้ มาชี้ ใ ห้ เ ห็ น ความต้ อ งการทางสั ง คมของผู ้ ใ หญ่ และสาธิ ต ว่ า สั ง คมจะ ตอบสนองต่อความต้องการเหล่านั้นได้อย่างไร เนิ่นนานก่อนวิกฤตการเงินซึ่งเร่งเครื่องในครึ่งหลังของปี 2008 บางครั้งเมื่อนักการเมืองของสหราชอาณาจักรออกความเห็นเกี่ยวกับ ความเสื่อมของชุมชนหรืออัตราการเพิ่มขึ้นของพฤติกรรมต่อต้านสังคม รูปแบบต่างๆ ก็มีการพูดถึง ‘สังคมที่พังทลาย’ ของเราอยู่บ้าง การล่ม สลายทางการเงิ น เบี่ ย งเบนความสนใจกลั บ ไปสู ่ เ ศรษฐกิ จ ที่ พั ง ทลาย และในขณะที่บางครั้งพฤติกรรมของคนจนถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุ ของสังคมที่พังทลาย คนรวยก็ถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุของเศรษฐกิจที่ พังทลายเช่นกัน ผู้น�ำสถาบันการเงินที่ได้รับความไว้วางใจที่สุดหลายแห่ง ถูกผลักดันด้วยแนวโน้มว่าจะได้เงินเดือนและโบนัสสูงๆ ไม่สิ้นสุด พวกเขา จึงโยนความรอบคอบทิ้งลงหน้าต่าง และสร้างบ้านไพ่ที่ตั้งอยู่ได้ด้วยการ ป้องกันของฟองสบู่เก็งก�ำไรบางเฉียบ แต่ความจริงคือ ทั้งสังคมและ เศรษฐกิจที่พังทลายต่างเป็นผลจากความเหลื่อมล�้ำที่ถ่างกว้างขึ้น สุดทางของหลักฐาน เราจะเริ่มต้นด้วยการวาดเค้าโครงของหลักฐานที่ชี้ว่า เราได้ เข้าใกล้จดุ จบของสิง่ ทีก่ ารเติบโตทางเศรษฐกิจท�ำให้เราได้ ตลอดระยะเวลา หลายพันปีที่ผ่านมา วิธีที่ดีที่สุดในการปรับปรุงคุณภาพชีวิตของมนุษย์คือ การยกระดับมาตรฐานการด�ำรงชีพด้านวัตถุ เมื่อครั้งที่สุนัขป่าป้วนเปี้ยน รอบประตูบ้าน ช่วงเวลาที่ดีคือช่วงเวลาที่อาหารอุดมสมบูรณ์ แต่ส�ำหรับ คนแทบทั้งหมดในประเทศร�่ำรวยวันนี้ ความทุกข์ขุกเข็ญในชีวิตไม่ได้เป็น เรื่องของการเติมกระเพาะให้อิ่ม มีน�้ำสะอาดใช้ และรักษาร่างกายให้อบอุ่น อีกต่อไป คนส่วนใหญ่ตอนนี้อยากกินน้อยลง ไม่ใช่มากขึ้น และก็เป็น 30

The Spir it Lev e l


ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่โดยเฉลี่ยคนจนอ้วนกว่าคนรวย การเติบโต ทางเศรษฐกิจได้ท�ำงานของมันในฐานะหัวจักรน�ำความก้าวหน้าอันยิง่ ใหญ่ เกือบส�ำเร็จบริบูรณ์แล้วในประเทศร�่ำรวย ไม่เพียงแต่มาตรวัดความอยู่ดี มีสุขและความสุขได้หยุดขยายตัวไปพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ในขณะทีป่ ระเทศร�ำ่ รวยทวีความมัง่ คัง่ อาการจิตตก ซึมเศร้า และปัญหา สังคมอื่นๆ อีกมากมายก็ถีบตัวสูงขึ้นในระยะยาว ประชากรของประเทศ ร�่ำรวยได้มาถึงจุดสิ้นสุดของการเดินทางครั้งประวัติศาสตร์อันยาวนาน วิถีแห่งการเดินทางของเรานั้นแสดงในภาพ 1.1 ซึ่งบ่งบอกถึง แนวโน้มอายุขัยเฉลี่ยเทียบกับรายได้ประชาชาติต่อหัวในประเทศต่างๆ แบ่งตามระดับการพัฒนาเศรษฐกิจ ในบรรดาประเทศยากจน อายุขัย เฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะแรกๆ ของการพัฒนาเศรษฐกิจ แต่พอ ถึงประเทศรายได้ระดับกลาง อัตราการเพิ่มก็ชะลอตัวลง ขณะที่มาตรฐาน การด�ำรงชีพสูงขึ้นและประเทศรวยขึ้นเรื่อยๆ ความสัมพันธ์ระหว่างการ เติบโตทางเศรษฐกิจกับอายุขัยเฉลี่ยก็อ่อนแอลง สุดท้ายความสัมพันธ์ก็ หายไปอย่างสิ้นเชิง และกราฟที่พุ่งสูงในภาพ 1.1 ก็กลายเป็นเส้นนอน – แสดงว่ายิ่งประเทศร�่ำรวยรวยขึ้น อายุขัยเฉลี่ยของประชากรก็ไม่ได้ เพิ่มตามอีกต่อไป ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นแล้วในประเทศที่รวยที่สุดใน โลกประมาณสามสิบประเทศ ซึ่งอยู่ใกล้มุมขวาบนในภาพ 1.1 การที่กราฟในภาพ 1.1 ลดระดับจนแบนนั้นไม่ใช่เป็นเพราะ เราไปถึงขีดสุดของอายุขัยเฉลี่ย เพราะแม้แต่ประชากรของประเทศที่รวย ที่สุดก็ยังมีสุขภาพดีกว่าเดิมได้เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งที่เปลี่ยนไปคือการ ปรับปรุงเหล่านั้นหยุดเกี่ยวข้องกับมาตรฐานการด�ำรงชีพเฉลี่ย ทุกสิบปีที่ ผ่านไป อายุขยั เฉลีย่ ในกลุม่ ประเทศรำ�่ รวยจะเพิม่ ขึน้ ประมาณสองถึงสามปี ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นไม่ว่าเศรษฐกิจจะเติบโตหรือไม่ ด้วยเหตุนี้ประเทศ ที่รวยมากอย่างสหรัฐอเมริกาจึงไม่ดีไปกว่ากรีซหรือนิวซีแลนด์ ถึงแม้ สองประเทศหลังจะรวยไม่ถึงครึ่งของสหรัฐอเมริกา สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา ผ่านไปคือกราฟทั้งอันย้ายขึ้นด้านบน แทนที่จะเคลื่อนไปตามกราฟใน Ri ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

31


อายุขัยเฉลี่ย (ปี)

32

The Spir it Lev e l

รายได้ประชาชาติต่อหัว (ดอลลาร์สหรัฐ)

ภาพ 1.1 การพัฒนาเศรษฐกิจเพิ่มอายุขัยเฉลี่ยแค่ในระยะแรกเท่านั้นหรือ?2


ภาพ 1.1 – รายได้ระดับเดียวกันตอนนี้เชื่อมโยงกับอายุขัยเฉลี่ยที่สูง ขึ้น เมื่อมองข้อมูลชุดนี้แล้ว เราก็อดไม่ได้ที่จะสรุปว่า เมื่อประเทศต่างๆ รวยขึ้น มาตรฐานการด�ำรงชีพที่ดีขึ้นก็ส่งผลต่อสุขภาพน้อยลงเรื่อยๆ สุขภาพที่ดีและการมีอายุยืนนั้นส�ำคัญก็จริง แต่คุณภาพชีวิต ก็มีองค์ประกอบอื่นเช่นกัน แต่ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพกับ การเติบโตทางเศรษฐกิจค่อยๆ เลือนราง ความสัมพันธ์กบั ความสุขก็ไม่ได้ ดีไปกว่ากัน ระดับความสุขของคนเพิ่มสูงขึ้นในระยะแรกของการเติบโต ทางเศรษฐกิจ แล้วก็ค่อยๆ ลดระดับจนแบนราบ คนที่เสนอประเด็นนี้ อย่างแข็งขันคือนักเศรษฐศาสตร์นาม ริชาร์ด ลายาร์ด (Richard Layard) ในหนังสือว่าด้วยความสุขของเขา3 ข้อมูลเรื่องความสุขในแต่ละประเทศ น่าจะได้รับอิทธิพลสูงมากจากวัฒนธรรม ในบางสังคม การไม่พูดว่าคุณ มีความสุขอาจดูเหมือนยอมรับความล้มเหลว ขณะที่ในบางสังคม การ อ้างว่าคุณมีความสุขอาจดูเหมือนยกหางตัวเอง แต่ถึงแม้จะมีความยาก เหล่านี้ ภาพ 1.2 ก็แสดงให้เห็นว่า ‘กราฟความสุข’ ลดระดับจนแบนราบ ในประเทศที่ร�่ำรวยที่สุดเช่นเดียวกับกราฟอายุขัยเฉลี่ย ในทั้งสองกรณี ผลส�ำคัญที่สุดเกิดขึ้นในระยะแรกๆ ของการเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ ยิ่งประเทศรวยขึ้น ความมั่งคั่งส่วนเพิ่มยิ่งเติมความสุขให้กับประชากร น้อยลง ในกราฟทั้งสองนี้ เส้นความสุขและอายุขัยเฉลี่ยแบนราบที่ระดับ รายได้ต่อหัวประมาณ 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ แต่ก็มีหลักฐานอยู่บ้างว่า ระดับรายได้ที่เกิดการแบนราบนั้นอาจสูงขึ้นตามกาลเวลา4 หลักฐานที่บ่งชี้ว่าระดับความสุขไม่ขยับขึ้นอีกแม้เมื่อประเทศ ร�่ำรวยรวยขึ้นนั้นไม่ได้มาจากการเปรียบเทียบประเทศต่างๆ ในเวลา เดียวกัน (ดังแสดงในภาพ 1.2) อย่างเดียวเท่านั้น ส�ำหรับบางประเทศ อย่างเช่น ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร เราสามารถดูการ เปลี่ยนแปลงของความสุขผ่านช่วงเวลาที่ยาวนานพอ เพื่อประเมินว่า ความสุขเพิม่ ขึน้ เมือ่ ประเทศรวยขึน้ หรือไม่ หลักฐานชีว้ า่ ความสุขไม่เพิม่ ขึน้ แม้ช่วงเวลาจะยาวนานพอให้รายได้ที่แท้จริง (หมายถึงหักผลของเงินเฟ้อ Ri ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

33


ร้อยละของประชากรที่ 'มีความสุข' หรือ 'ค่อนข้างมีความสุข'

34

The Spir it Lev e l

รายได้ประชาชาติต่อหัว (ดอลลาร์สหรัฐ)

ภาพ 1.2 ความสุขและรายได้เฉลี่ย (ไม่พบข้อมูลจากสหราชอาณาจักร)5


ออกแล้ว - ผูแ้ ปล) เพิม่ ขึน้ ถึงสองเท่า นักวิจยั ทีใ่ ช้ตวั ชีว้ ดั อืน่ ของความอยูด่ ี มีสุขก็พบแบบแผนเดียวกัน - ตัวชี้วัดอื่นเช่น ‘มาตรวัดสวัสดิการทาง เศรษฐกิจ’ (measure of economic welfare) หรือ ‘ดัชนีชี้วัดความก้าวหน้า ที่แท้จริง’ (genuine progress indicator) ซึ่งพยายามค�ำนวณประโยชน์ สุทธิของการเติบโตหลังจากที่หักต้นทุนอย่างมลพิษและการจราจรติดขัด ออกแล้ว ฉะนั้นไม่ว่าเราจะดูสุขภาพ ความสุข หรือตัวชี้วัดอื่นของความ อยู่ดีมีสุข ภาพที่ได้ก็เหมือนกัน ในประเทศยากจน การพัฒนาเศรษฐกิจ ยังส�ำคัญมากส�ำหรับความอยู่ดีมีสุขของมนุษย์ การเพิ่มระดับมาตรฐาน การด�ำรงชีพของประชากรส่งผลให้ทงั้ มาตรวัดเชิงภววิสยั อย่างเช่นอายุขยั เฉลีย่ และมาตรวัดเชิงอัตวิสยั อย่างเช่นความสุข ดีขนึ้ ทัง้ คู่ แต่เมือ่ ประเทศ เติบโตจนก้าวเข้าสู่กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและร�่ำรวย รายได้ที่เพิ่มขึ้นก็ ส่งผลน้อยลงเรื่อยๆ นี่คือแบบแผนที่ใช้ในการพยากรณ์ได้ ขณะที่คุณมีทุกอย่างมาก ขึน้ เรือ่ ยๆ ส่วนเพิม่ ทีค่ ณ ุ มี ไม่วา่ จะเป็นขนมปังหรือรถยนต์ ก็สง่ ผลต่อความ อยู่ดีมีสุขของคุณน้อยลง ถ้าคุณหิว ขนมปังก็คือทุกสิ่งทุกอย่าง แต่เมื่อคุณ อิ่มแล้ว ขนมปังอีกหลายก้อนก็ไม่ได้ช่วยอะไรคุณมาก และอาจก่อความ ร�ำคาญด้วยซ�้ำเมื่อมันเริ่มบูด ไม่ ช ้ า ก็ เ ร็ ว ในประวั ติ ศ าสตร์ อั น ยาวนานของการเติ บ โตทาง เศรษฐกิจ ประเทศต่างๆ ก็จะไปถึงจุดที่ความมั่งคั่งให้ ‘ผลตอบแทนส่วน เพิ่มลดลง’ (diminishing returns) – รายได้ที่เพิ่มขึ้น ‘ซื้อ’ สุขภาพ ความสุข หรือความอยู่ดีมีสุขได้น้อยลง ประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศตอนนี้มี รายได้เฉลี่ยสูงขึ้นติดกันมาแล้วกว่า 150 ปี ความมั่งคั่งส่วนเพิ่มไม่ได้เป็น ประโยชน์เท่ากับที่มันเคยเป็น แนวโน้มของสาเหตุการตายยืนยันว่าการตีความแบบนี้ถูกต้อง เมื่อประเทศต่างๆ เริ่มรวย โรคที่มากับความจนก็เป็นสิ่งแรกที่ลดลง โรค ระบาดรุนแรงอย่างวัณโรค อหิวาตกโรค หรือหัดซึ่งยังพบบ่อยในประเทศ Ri ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

35


ที่ยากจนที่สุดทุกวันนี้ ค่อยๆ ลดบทบาทในฐานะสาเหตุการตายที่ส�ำคัญ ที่สุดลง เมื่อมันหายไป ก็เหลือแต่โรคที่เรียกกันว่าโรคคนรวย นั่นคือ โรค ระบบหัวใจและหลอดเลือด และโรคมะเร็ง ซึ่งบั่นทอนสุขภาพไปเรื่อยๆ ขณะทีโ่ รคคนจนนัน้ พบบ่อยในวัยเด็กและมักคร่าชีวติ คนได้ทกุ วัยแม้แต่วยั ฉกรรจ์ โรคคนรวยส่วนใหญ่มักเป็นโรคแห่งวัยชรา หลักฐานอีกชิ้นหนึ่งยืนยันว่า กราฟในภาพ 1.1 และ 1.2 แบนราบ ลงเนื่องจากประเทศต่างๆ ได้ไปถึงจุดหักเหของระดับมาตรฐานการด�ำรง ชีพเชิงวัตถุ – หลังจากจุดนั้นการเติบโตทางเศรษฐกิจให้ประโยชน์น้อยลง หลักฐานนั้นคือโรคที่เราเคยเรียกว่า ‘โรคคนรวย’ กลายเป็นโรคของคนจน ในประเทศร�่ำรวย โรคอย่างโรคหัวใจ เส้นเลือดอุดตันเฉียบพลันและ โรคอ้วนเคยแพร่หลายในหมู่คนรวยมากกว่า โรคหัวใจเคยถูกมองว่าเป็น โรคของนักธุรกิจ และครั้งหนึ่งคนรวยคือคนอ้วนและคนจนคือคนผอม ทว่าตั้งแต่ทศวรรษ 1950 เป็นต้นมา ในประเทศพัฒนาแล้วประเทศแล้ว ประเทศเล่า แบบแผนนี้กลับไขว้สลับกัน โรคที่เคยพบบ่อยที่สุดในหมู่ คนรวยในแต่ละสังคมกลายเป็นโรคที่พบบ่อยขึ้นในหมู่คนจน ขีดจำ�กัดด้านสิ่งแวดล้อมของการเติบโต ขณะที่ประเทศร�่ำรวยก�ำลังไปถึงจุดสิ้นสุดของประโยชน์ที่แท้จริง จากการเติบโตทางเศรษฐกิจ เราก็ต้องตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนและ ขีดจ�ำกัดด้านสิง่ แวดล้อมจากการเติบโต การลดปริมาณการปล่อยคาร์บอน ลงอย่างฮวบฮาบเพื่อป้องกันไม่ให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและ ระดับน�้ำทะเลสูงขึ้นไปถึงจุดที่หวนคืนไม่ได้นั้นอาจหมายความว่าแม้แต่ ระดับการบริโภคในปัจจุบนั ก็ไม่ยงั่ ยืน – โดยเฉพาะถ้ามาตรฐานการด�ำรงชีพ ของประเทศก�ำลังพัฒนาที่จนกว่าจะต้องปรับตัวสูงขึ้นอีกตามที่มันต้อง เป็น ในบทที่ 15 เราจะอภิปรายถึงวิธีที่มุมมองในหนังสือเล่มนี้สอดคล้อง กับนโยบายที่ถูกออกแบบมาลดภาวะโลกร้อน 36

The Spir it Lev e l


ความแตกต่างทางรายได้ภายในและระหว่างสังคม เราเป็นคนรุ่นแรกที่ต้องหาค�ำตอบใหม่ๆ ให้กับค�ำถามที่ว่า เราจะ ปรับปรุงคุณภาพชีวิตที่แท้จริงของมนุษย์ได้อย่างไร เราจะหันไปหาอะไร ถ้าไม่ใช่การเติบโตทางเศรษฐกิจ? เบาะแสอันทรงพลังข้อหนึ่งสู่ค�ำตอบ มาจากข้อเท็จจริงทีว่ า่ ความแตกต่างทางรายได้ภายในสังคมของเราเองนัน้ ส่งผลกระทบมากกว่าความแตกต่างทางรายได้ระหว่างสังคมรำ�่ รวยด้วยกัน ในบทที่ 4-12 เราเน้นที่ชุดปัญหาสุขภาพและสังคม อย่างเช่น ความรุนแรง อาการป่วยทางจิต แม่วยั รุน่ และความล้มเหลวทางการศึกษา ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนจนมากกว่าคนรวยในแต่ละประเทศ ผลที่เกิดขึ้น คือ ดูเหมือนว่ารายได้และมาตรฐานการด�ำรงชีพที่สูงขึ้นช่วยยกผู้คนออก จากปัญหาเหล่านี้ อย่างไรก็ดี เมื่อเราเปรียบเทียบระหว่างสังคมก็พบว่า ปัญหาสังคมเหล่านี้แทบไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ กับระดับรายได้เฉลี่ยใน สังคมใดสังคมหนึ่ง ลองยกตัวอย่างเรื่องสุขภาพ แทนที่จะดูอายุขัยเฉลี่ยทั้งประเทศ ร�่ำรวยและประเทศยากจนแบบที่แสดงในภาพ 1.1 ลองดูเฉพาะประเทศที่ รวยที่สุด ภาพ 1.3 แสดงเฉพาะประเทศกลุ่มนี้ ข้อมูลชี้ชัดว่าบางประเทศ อาจรวยกว่าประเทศอื่นเกือบสองเท่าโดยไม่ส่งผลดีใดๆ ต่ออายุขัยเฉลี่ย แต่ภายในแต่ละประเทศ อัตราการตายเกี่ยวพันกับรายได้อย่างใกล้ชิด และเป็นระบบ ภาพ 1.4 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการตายกับระดับ รายได้ในสหรัฐอเมริกา โดยจ�ำแนกอัตราการตายตามรายได้ครัวเรือนทัว่ ไป ของรหัสไปรษณีย์ที่พวกเขาอาศัยอยู่ ทางขวามือแสดงเขตรหัสไปรษณีย์ ที่ร�่ำรวย อัตราการตายต�่ำ ส่วนทางซ้ายแสดงรหัสไปรษณีย์ที่จนกว่า อัตรา การตายสูงกว่า ถึงแม้เราจะใช้ข้อมูลของสหรัฐอเมริกาเพียงประเทศเดียว แต่เราก็พบความลาดชันด้านสุขภาพลักษณะนี้ในแทบทุกสังคม ต่างกัน ก็เพียงระดับความชันเท่านั้น รายได้สูงโยงกับอัตราการตายต�่ำแทบทุก ระดับชั้นในสังคม สังเกตด้วยว่านี่ไม่ใช่แค่เรื่องคนจนมีสุขภาพแย่กว่า คนอืน่ ๆ ประเด็นทีน่ า่ ตกใจมากจากภาพ 1.4 คือ ความลาดชันทางสุขภาพ นั้นพบได้ทั่วไปทั่วทั้งสังคม – ความลาดชันกระทบกับเราทุกคน Ri ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

37


อายุขัยเฉลี่ย - ชายและหญิง (ปี)

รายได้ประชาชาติต่อหัว (ดอลลาร์สหรัฐ)

ภาพ 1.3 อายุขัยเฉลี่ยไม่เกี่ยวกับรายได้เฉลี่ยระหว่างประเทศร�่ำรวยด้วยกัน6

ภายในประเทศแต่ล ะประเทศ สุข ภาพและความสุขของผู้คน เกี่ยวโยงกับรายได้ของพวกเขา โดยเฉลี่ยแล้วคนรวยมีแนวโน้มที่จะมี สุขภาพดีกว่าและมีความสุขมากกว่าคนที่จนกว่าในสังคมเดียวกัน แต่พอ เปรียบเทียบระหว่างประเทศร�ำ่ รวยด้วยกัน ปรากฏว่าการทีป่ ระชากรเฉลีย่ ในสังคมใดสังคมหนึง่ รวยกว่าประชากรในสังคมอืน่ เกือบสองเท่านัน้ ไม่สร้าง ความแตกต่างใดๆ เลย เราจะอธิบายความย้อนแย้งข้อนี้ได้อย่างไร – ความแตกต่างของ รายได้เฉลี่ยหรือมาตรฐานการด�ำรงชีพระหว่างประชากรทั้งประเทศไม่มี ความหมาย แต่ความแตกต่างของรายได้เฉลี่ยภายในกลุ่มประชากรมี ความหมายมาก มีค�ำอธิบายอยู่สองชุดที่เป็นไปได้ ชุดแรกคือ สิ่งที่มี ความหมายในประเทศร�่ำรวยอาจไม่ใช่ระดับรายได้และมาตรฐานการด�ำรง ชีพจริงๆ ของคุณ แต่อยู่ที่การน�ำปัจจัยเหล่านี้ไปเปรียบเทียบกับคนอื่น 38

The Spir it Lev e l


อัตราการตายต่อประชากรหนึ่งหมื่นคน จน

รายได้เฉลี่ยของครัวเรือนแบ่งตามรหัสไปรษณีย์

รวย

ภาพ 1.4 อัตราการตายเกีย่ วพันอย่างใกล้ชดิ กับความแตกต่างทางรายได้ภายในสังคม7

ในสังคมเดียวกัน บางทีมาตรฐานเฉลี่ยอาจไม่ส�ำคัญ สิ่งเดียวที่ส�ำคัญคือ คุณก�ำลังไปได้ดีกว่าหรือแย่กว่าคนอื่น นั่นคือ คุณอยู่ตรงไหนในล�ำดับชั้น ทางสังคม ชุดค�ำอธิบายอีกชุดหนึ่งที่เป็นไปได้คือ ความลาดชันทางสังคม ของสุขภาพที่แสดงในภาพ 1.4 นั้นไม่ได้เกิดจากผลของระดับรายได้โดย เปรียบเทียบหรือสถานะทางสังคมต่อสุขภาพ แต่เกิดจากผลของการ เลื่อนชั้นทางสังคม (social mobility) ซึ่งแบ่งแยกระหว่างคนสุขภาพดีกับ คนสุขภาพแย่ บางทีคนสุขภาพดีอาจเลื่อนชั้นทางสังคมได้ แต่คนสุขภาพ แย่ตกไปอยู่ข้างล่าง เราจะคลี่คลายประเด็นนี้ในบทต่อไป เราจะดูว่าการลดหรือขยาย ความแตกต่างทางรายได้ในสังคมมีความส�ำคัญขนาดไหน สังคมทีเ่ ท่าเทียม กันมากกว่าประสบปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมเท่ากับสังคมทีเ่ ท่าเทียม กันน้อยกว่าหรือไม่?

Ri ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

39


“คุณสมิธครับ ซื้อลิขสิทธิ์พระคัมภีร์ไบเบิลมาหน่อย แล้วแก้ท่อนที่พูดถึงเศรษฐีกับรูเข็มซะ”

(หมายถึงข้อความในไบเบิลที่ว่า “ให้อูฐลอดรูเข็มยังง่ายกว่าที่คนรวยจะเข้าอาณาจักรของ พระเจ้า” – ผู้แปล)


บทที่ 2

h ความจนหรือความเหลื่อมลํ้า?

ความจนไม่ใช่การมีทรัพย์สมบัตไิ ม่กชี่ นิ้ หรือเป็นเพียงความสัมพันธ์ ระหว่างวิธีการกับเป้าหมาย เหนือสิ่งอื่นใดมันคือความสัมพันธ์ ระหว่างคน ความจนคือสถานะทางสังคม ... มันกลายเป็น ... เครื่องแบ่งแยกระหว่างชนชั้นอันน่ารังเกียจ ... มาร์แชล ซาห์ลินส์, Stone Age Economics

เหลื่อมลํ้าเท่าไร? ในบททีแ่ ล้ว เราได้เห็นว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจและการเพิม่ ขึน้ ของรายได้เฉลี่ยส่งผลต่อความอยู่ดีมีสุขน้อยลงในประเทศร�่ำรวย แต่เรา ได้ เ ห็ น เช่ น กั น ว่ า ภายในสั ง คมแต่ ล ะสั ง คม ปั ญ หาสุ ข ภาพและปั ญ หา สังคมยังผูกโยงอย่างใกล้ชิดกับรายได้ ในบทนี้เราจะได้เห็นว่าระดับความ เหลื่อมล�้ำทางรายได้ในสังคมส่งผลเพียงใด ภาพ 2.1 แสดงขนาดของความแตกต่างทางรายได้ระหว่างประเทศ Ri ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

41


พัฒนาแล้ว บนสุดคือประเทศที่ประชากรเท่าเทียมกันที่สุด ล่างสุดคือ ประเทศที่ประชากรเท่าเทียมกันน้อยที่สุด ความยาวของแถบแนวนอน แสดงว่าคนร้อยละ 20 ที่รวยที่สุดในประเทศรวยกว่าคนร้อยละ 20 ที่จน ทีส่ ดุ กีเ่ ท่า ในประเทศอย่างญีป่ นุ่ และประเทศแถบสแกนดิเนเวียบางประเทศ ที่อยู่บนสุดของภาพนี้ คนร้อยละ 20 ที่รวยที่สุดรวยกว่าคนร้อยละ 20 ที่ จนที่สุดไม่ถึงสี่เท่า ล่างสุดของภาพคือประเทศที่เหลื่อมล�้ำกว่านั้นอย่าง น้อยสองเท่า รวมถึงสองประเทศที่คนร้อยละ 20 ที่รวยที่สุดรวยกว่าคน ร้อยละ 20 ที่จนที่สุดประมาณเก้าเท่า ประเทศที่เหลื่อมล�้ำที่สุดคือ สิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา โปรตุเกส และสหราชอาณาจักร (ตัวเลขที่ใช้คือรายได้หลัง หักภาษีและรวมสวัสดิการต่างๆ จากรัฐ และปรับฐานส�ำหรับจ�ำนวนสมาชิก ในครัวเรือนแล้ว) การวัดความเหลื่อมล�้ำทางรายได้มีหลายวิธี ทุกวิธีเชื่อมโยงกัน แนบแน่นเสียจนไม่ว่าคุณจะใช้วิธีไหนก็แทบไม่แตกต่าง แทนที่จะใช้คน ร้อยละ 20 ที่รวยที่สุดและจนที่สุด เราอาจเปรียบเทียบคนร้อยละ 10 หรือ ร้อยละ 30 ที่รวยที่สุดและจนที่สุดก็ได้ หรือเราอาจดูสัดส่วนรายได้ทั้งหมด ที่ไปถึงมือคนครึ่งล่างของประเทศ ปกติแล้วคนครึ่งล่างที่จนที่สุดจะมี ส่วนแบ่งรายได้ประมาณร้อยละ 20-25 ของรายได้ทั้งหมด ขณะที่คน ครึ่งบนที่รวยที่สุดจะได้รายได้ส่วนที่เหลือร้อยละ 75-80 มาตรวัดตัวหนึ่ง ที่สลับซับซ้อนกว่านี้คือ ค่าสัมประสิทธิ์จีนี (Gini coefficient) มันวัดความ เหลือ่ มลำ�้ ตลอดทัง้ สังคมแทนทีจ่ ะเปรียบเทียบระหว่างสองด้านสุดขัว้ เท่านัน้ ถ้าหากคนคนเดียวได้รายได้ทั้งหมดของประเทศและคนอื่นไม่ได้อะไรเลย (ความเหลื่อมล�้ำมากที่สุด) สัมประสิทธิ์จีนีจะมีค่าเท่ากับ 1 ถ้าหากแบ่งปัน รายได้อย่างเท่าเทียม ทุกคนมีรายได้เท่ากันหมด สัมประสิทธิ์จีนีจะมีค่า เท่ากับ 0 ยิง่ มีคา่ น้อยเพียงใด สังคมยิง่ เท่าเทียมมากเท่านัน้ ค่าสัมประสิทธิ์ จีนีที่พบบ่อยที่สุดมักอยู่ระหว่าง 0.3 ถึง 0.5 มาตรวัดความเหลื่อมล�้ำทาง รายได้อีกตัวหนึ่งชื่อ ดัชนีโรบินฮู้ด เพราะมันบอกคุณว่าจะต้องเอารายได้ จากคนรวยไปให้คนจนเท่าไรจึงจะเกิดความเท่าเทียมทางรายได้สมบูรณ์ แบบ 42

The Spir it Lev e l


ช่องว่างรายได้ (เท่า)

ภาพ 2.1 คนร้อยละ 20 ที่รวยที่สุดรวยกว่าคนร้อยละ 20 ที่จนที่สุดเท่าไรใน แต่ละประเทศ?2

เราหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวหาว่าเลือกมาตรวัดของตัวเอง ด้วย การใช้ ม าตรวั ด ที่ อ งค์ ก รทางการเป็ น ผู ้ ค�ำนวณแทนที่ จ ะค�ำนวณด้ ว ย ตัวเอง เราใช้สัดส่วนรายได้ของคนร้อยละ 20 ที่รวยที่สุดและจนที่สุด ทุกครั้งที่เราเปรียบเทียบความเหลื่อมล�้ำในประเทศต่างๆ เพราะเข้าใจง่าย และองค์การสหประชาชาติก็มีข้อมูลพร้อม เราใช้ค่าสัมประสิทธิ์จีนีเมื่อ เปรียบเทียบความเหลื่อมล�้ำในมลรัฐต่างๆ ของสหรัฐอเมริกาเพราะเป็น มาตรวัดที่ใช้กันแพร่หลายที่สุด นักเศรษฐศาสตร์ชอบใช้ และส�ำนักงาน สถิติแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาก็มีข้อมูลพร้อม ในงานวิจัยทางวิชาการ หลายฉบับ เราและคนอืน่ ๆ ใช้มาตรวัดความเหลือ่ มลำ�้ สองตัวทีแ่ ตกต่างกัน เพื่อชี้ให้เห็นว่า การเลือกตัวชี้วัดแทบไม่ส่งผลใดๆ ในสาระส�ำคัญ Ri ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

43


ขนาดของความเหลื่อมลํ้าสำ�คัญหรือไม่? เมื่อเราไปถึงจุดที่การเติบโตทางเศรษฐกิจไม่สามารถยกระดับ คุณภาพชีวิตได้แล้วและก็เผชิญกับปัญหาความเสียหายด้านสิ่งแวดล้อม ความเหลื่อมล�้ำที่แสดงในภาพ 2.1 สร้างความแตกต่างอย่างไรบ้าง? เป็นที่รู้กันมานานหลายปีแล้วว่า สังคมที่เหลื่อมล�้ำมากกว่ามี สุขภาพแย่กว่าและเกิดเหตุรุนแรงมากกว่า อย่างไรก็ดี ระหว่างที่ท�ำงาน วิจัย เราพบว่าแทบทุกปัญหาที่พบบ่อยในชั้นล่างสุดของบันไดสังคมก็เป็น ปัญหาที่พบบ่อยในสังคมที่มีความเหลื่อมล�้ำมากกว่าด้วย ไม่ใช่แค่สุขภาพ แย่และเหตุรุนแรง แต่ยังรวมปัญหาสังคมอื่นๆ อีกมากมายก่ายกองดังที่ เราจะแสดงให้เห็นในบทต่อๆ ไป ปัญหาเกือบทั้งหมดมีส่วนท�ำให้คนรู้สึก เป็นวงกว้างว่าสังคมสมัยใหม่ล้มเหลวทางสังคมถึงแม้จะมั่งคั่งทางวัตถุ เราหาค�ำตอบว่าจริงหรือไม่ทปี่ ญ ั หาเหล่านีพ้ บบ่อยกว่าในสังคมที่ เหลือ่ มลำ�้ มากกว่า ด้วยการรวบรวมข้อมูลด้านสุขภาพและปัญหาสังคมอืน่ ๆ ที่เปรียบเทียบระหว่างประเทศได้และน่าเชื่อถือเท่าที่เราหาได้ รายการ ข้อมูลที่ได้มามีดังนี้ • ระดับความไว้เนื้อเชื่อใจกัน • อาการป่วยทางจิต (รวมทั้งอาการเสพติดยาและแอลกอฮอล์) • อายุขัยเฉลี่ยและอัตราการตายของทารก • โรคอ้วน • ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็ก • อัตราการมีลูกของแม่วัยรุ่น • อัตราฆาตกรรม • อัตราการจองจ�ำ • ระดับการเลื่อนชั้นทางสังคม (ไม่มีข้อมูลระดับมลรัฐในสหรัฐอเมริกา)

44

The Spir it Lev e l


บางครั้ ง สิ่ ง ที่ ดู เ หมื อ นความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งสองสิ่ ง อาจไม่ ใ ช่ ความสั ม พั น ธ์ จ ริ ง ๆ หรื อ อาจเกิ ด จากความบั ง เอิ ญ ล้ ว นๆ เราจึ ง ต้ อ ง รวบรวมข้อมูลด้านสุขภาพและปัญหาสังคมแบบเดียวกัน – หรือใกล้เคียง ที่สุด – ในห้าสิบมลรัฐของสหรัฐอเมริกาด้วย เพื่อให้เราสามารถตรวจสอบ ว่าปัญหาเหล่านั้นผูกโยงกับความเหลื่อมล�้ำจริงๆ ในสถานการณ์สองชุดที่ เป็นเอกเทศจากกัน ดังที่ลินดอน จอห์นสัน (Lyndon Johnson) เคยกล่าว ว่า “สหรัฐอเมริกาไม่ได้เป็นเพียงชาติ หากแต่เป็นชาติแห่งชาติต่างๆ” เราแสดงภาพใหญ่ดว้ ยการประมวลปัญหาด้านสุขภาพและปัญหา ด้านสังคมทั้งหมดของแต่ละประเทศและแยกแต่ละมลรัฐ มาสร้างเป็น ดัชนีปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมส�ำหรับแต่ละประเทศและแต่ละมลรัฐ ปัจจัยแต่ละตัวในดัชนีนมี้ นี ำ�้ หนักเท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น คะแนนของอาการ ป่วยทางจิตมีอิทธิพลต่อคะแนนรวมของสังคมเท่ากับอัตราฆาตกรรมหรือ อัตราการมีลกู ของแม่วยั รุน่ ผลทีไ่ ด้คอื ดัชนีทแี่ สดงให้เห็นว่าปัญหาสุขภาพ และปัญหาสังคมเหล่านั้นเกิดบ่อยเพียงใดในแต่ละประเทศและแต่ละมลรัฐ ในสหรัฐอเมริกา ปัจจัยอย่างอายุขัยเฉลี่ยถูกให้คะแนนกลับข้าง เพื่อให้ คะแนนของตัวชี้วัดทุกตัวยิ่งสูงยิ่งสะท้อนผลแย่ ยิ่งคะแนนในดัชนีปัญหา สุขภาพและปัญหาสังคมสูงเท่าไร ก็แปลว่าสถานการณ์ยิ่งย�่ำแย่เท่านั้น (กรุณาดูค�ำอธิบายวิธกี ารคัดเลือกประเทศและวิธตี คี วามกราฟทีเ่ ราน�ำเสนอ ได้ในภาคผนวก) เราเริ่มต้นด้วยการแสดงในภาพ 2.2 ว่ามีแนวโน้มสูงมากที่ปัญหา สุขภาพและปัญหาสังคมจะเกิดน้อยกว่าในสังคมที่เท่าเทียมกันมากกว่า ยิง่ ความเหลือ่ มล�ำ้ ถ่างกว้าง (ไปทางขวาบนแกนนอน) คะแนนในดัชนีปญ ั หา สุขภาพและปัญหาสังคมของเรายิ่งสูง ปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมพบ บ่อยกว่าจริงๆ ในประเทศที่มีความเหลื่อมล�้ำทางรายได้สูงกว่า ตัวแปร สองตัวนี้เกี่ยวพันกันอย่างลึกซึ้งเหลือเชื่อ – ความบังเอิญอย่างเดียวแทบ ไม่มีวันผลิตกราฟกระจายตัวที่ประเทศต่างๆ เรียงกันแบบนี้ เราย�้ ำ ว่ า ปั ญ หาสุ ข ภาพและปั ญ หาสั ง คมเกี่ ย วพั น กั บ ความ Ri ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

45


ดัชนีปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคม

แย่กว่า

ดีกว่า ต�่ำ

สูง ความเหลื่อมล�้ำทางรายได้

ภาพ 2.2 ปั ญ หาสุ ข ภาพและปั ญ หาสั ง คมสั ม พั น ธ์ อ ย่ า งใกล้ ชิ ด กั บ ความ เหลื่อมล�้ำในประเทศร�่ำรวย

เหลื่อมล�้ำจริงๆ ไม่ใช่มาตรฐานการด�ำรงชีพเฉลี่ยด้วยการแสดงดัชนี ปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมตัวเดิมในภาพ 2.3 แต่คราวนี้เราพล็อต กราฟเทียบกับรายได้เฉลี่ย (รายได้ประชาชาติต่อหัว) ภาพนี้แสดงชัด ว่าไม่มีแนวโน้มใดๆ ว่าประเทศร�่ำรวยจะมีผลลัพธ์ดีกว่า และยืนยันสิ่งที่ เราพบจากภาพ 1.1 และ 1.2 ในบทแรก อย่างไรก็ตาม นอกจากเราจะรู้ว่าปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคม พบบ่อยกว่าในกลุม่ ผูม้ รี ายได้นอ้ ยในแต่ละสังคมแล้ว (ดังแสดงในภาพ 1.4) ตอนนี้เรายังรู้ด้วยว่าสังคมที่เหลื่อมล�้ำมากกว่าแบกรับภาระจากปัญหา เหล่านี้มากกว่า ลองมาดูวา่ แบบแผนเดียวกันนีเ้ กิดกับห้าสิบมลรัฐในสหรัฐอเมริกา หรือเปล่า เพื่อตรวจสอบว่าผลลัพธ์ข้างต้นเป็นแค่เรื่องบังเอิญหรือไม่ 46

The Spir it Lev e l


ดัชนีปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคม

แย่กว่า

ดีกว่า รายได้ประชาชาติต่อหัว (ดอลลาร์สหรัฐ)

ภาพ 2.3 ปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมมีความสัมพันธ์อ่อนมากกับรายได้ ประชาชาติเฉลี่ยในประเทศร�่ำรวย

เรามีขอ้ มูลปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมส�ำหรับมลรัฐต่างๆ เกือบเหมือน กับข้อมูลที่เราใช้ค�ำนวณดัชนีระหว่างประเทศ ภาพ 2.4 แสดงให้เห็นว่า ดัชนีปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมนั้นมีความสัมพันธ์กับระดับความ เหลื่อมล�้ำในแต่ละมลรัฐสูงมาก และภาพ 2.5 ก็แสดงว่าไม่มีความสัมพันธ์ ที่ ชัด เจนใดๆ ระหว่ า งดั ช นี กับ ระดั บรายได้เ ฉลี่ย ฉะนั้นหลักฐานจาก สหรัฐอเมริกาจึงยืนยันภาพระดับนานาชาติ ต�ำแหน่งของสหรัฐอเมริกา ในกราฟระหว่างประเทศ (ภาพ 2.2) ชี้ว่าระดับรายได้เฉลี่ยที่ค่อนข้างสูง ในสหรัฐอเมริกานั้นไม่ช่วยลดปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมลงเลยเมื่อ เทียบกับประเทศอื่น เราควรตั้งข้อสังเกตด้วยว่า สาเหตุหนึ่งที่ดัชนีของเราซึ่งประมวล ปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมสิบประการมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับความ Ri ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

47


ดัชนีปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคม

แย่กว่า

ดีกว่า ต�่ำ

ความเหลื่อมล�้ำทางรายได้

สูง

ภาพ 2.4 ปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมสัมพันธ์อย่างใกล้ชดิ กับความเหลือ่ มล�ำ้ ในมลรัฐต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา

ดัชนีปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคม

แย่กว่า

ดีกว่า

รายได้ประชาชาติต่อหัว (ดอลลาร์สหรัฐ)

ภาพ 2.5 ปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมมีความสัมพันธ์อ่อนมากกับรายได้ ประชาชาติเฉลี่ยในมลรัฐต่างๆ ของสหรัฐอเมริกา


เหลือ่ มล�ำ้ เป็นเพราะการเอามันมารวมกันมักขับเน้นจุดร่วมของปัญหาและ ลดนำ�้ หนักของจุดต่าง ในบทที่ 4-12 เราจะวิเคราะห์วา่ ปัญหาเหล่านี้ – เมือ่ มองแยกทีละปัญหา – มีความสัมพันธ์กับความเหลื่อมล�้ำหรือไม่ และจะ อภิปรายเหตุผลต่างๆ ที่ความเหลื่อมล�้ำอาจท�ำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ ไม่มีใครสามารถปฏิเสธหลักฐานนี้ว่าเป็นเพียงมายากลทางสถิติ ที่อาศัยหมอกควันและกระจกเงา ความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่แสดงในภาพ 2.2 ชีว้ า่ ปัจจัยร่วมทีเ่ กีย่ วข้องกับการมีปญ ั หาสุขภาพและปัญหาสังคมอย่างมาก คือระดับความเหลื่อมล�้ำในแต่ละประเทศจริงๆ ข้อมูลทั้งหมดมาจากแหล่ง ข้อมูลที่น่าเชื่อถือที่สุด ตั้งแต่ธนาคารโลก องค์การอนามัยโลก องค์การ สหประชาชาติ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี) และองค์กรอื่นๆ ความสัมพันธ์เหล่านี้เกิดจากการที่เราเลือกปัญหาที่ไม่สะท้อน ความจริงมาหรือเปล่า? เราตอบค�ำถามนี้ด้วยการหยิบ ‘ดัชนีความอยู่ดีมี สุขของเด็กในประเทศร�่ำรวย’ ซึ่งประมวลโดยยูนิเซฟมาพล็อตกราฟดูด้วย ดัชนีนรี้ วบรวมตัวชีว้ ดั สีส่ บิ ตัวทีค่ รอบคลุมหลายมิตเิ กีย่ วกับความอยูด่ มี สี ขุ ของเด็ก (เราตัดตัววัดความจนโดยเปรียบเทียบของเด็กออกไป เพราะโดย นิยามก็มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับความเหลื่อมล�้ำอยู่แล้ว) ภาพ 2.6 แสดง ว่าความอยู่ดีมีสุขของเด็กสัมพันธ์ใกล้ชิดกับความเหลื่อมล�้ำ และภาพ 2.7 แสดงว่ามันไม่เกี่ยวข้องใดๆ กับรายได้เฉลี่ยในแต่ละประเทศ ความลาดชันทางสังคม ดังทีเ่ ราได้ทงิ้ ท้ายในบททีแ่ ล้ว อาจมีสมมติฐานทีแ่ พร่หลายสองข้อ ซึง่ อธิบายว่า เหตุใดคนทีอ่ ยูล่ า่ งสุดในสังคมถึงได้ประสบปัญหามากกว่าคน อื่น ข้อแรก สถานการณ์ที่แวดล้อมพวกเขาก่อให้เกิดปัญหาเหล่านั้น หรือ ข้อสอง พวกเขาตกลงไปอยู่ข้างล่างเพราะสุ่มเสี่ยงที่จะโดนกระทบจาก ปัญหาซึ่งฉุดพวกเขาลงไป หลักฐานที่เราพบในบทนี้ส่องประเด็นเหล่านี้ จากมุมใหม่ Ri ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

49


ดัชนีความอยู่ดีมีสุขของเด็กของยูนิเซฟ

ดีกว่า

แย่กว่า ต�่ำ

ความเหลื่อมล�้ำทางรายได้

สูง

ภาพ 2.6 ดัชนีความอยู่ดีมีสุขของเด็กจากข้อมูลของยูนิเซฟมีความสัมพันธ์กับ ความเหลื่อมล�้ำในประเทศร�่ำรวย

ดัชนีความอยู่ดีมีสุขของเด็กของยูนิเซฟ

ดีกว่า

แย่กว่า รายได้ประชาชาติต่อหัว (ดอลลาร์สหรัฐ)

ภาพ 2.7 ดัชนีความอยูด่ มี สี ขุ ของเด็กจากข้อมูลของยูนเิ ซฟไม่มคี วามสัมพันธ์กบั รายได้ประชาชาติต่อหัวในประเทศร�่ำรวย


ก่อนอื่นลองหยิบมุมมองที่ว่า สังคมคือระบบจัดเรียงล�ำดับอัน ยอดเยี่ยม คนไต่ขึ้นหรือลงบันไดสังคมตามลักษณะส่วนตัวและความ เปราะบางของพวกเขา แม้ว่าเหตุการณ์อย่างเช่นการมีสุขภาพแย่ ผลการ เรียนไม่ดี หรือการมีลูกตั้งแต่เป็นวัยรุ่นล้วนกดความเป็นไปได้ในการปีน บันไดสังคม การจัดเรียงล�ำดับอย่างเดียวก็อธิบายไม่ได้ว่าท�ำไมสังคมที่ เหลื่อมล�้ำมากกว่าถึงได้มีปัญหาเหล่านี้มากกว่าสังคมที่เหลื่อมล�้ำน้อยกว่า การเลื่อนชั้นทางสังคมอาจอธิบายว่าท�ำไมปัญหาจึงกระจุกตัวอยู่ชั้นต�่ำสุด ได้บางส่วน แต่อธิบายไม่ได้ว่าเหตุใดสังคมที่เหลื่อมล�้ำมากกว่าจึงมีปัญหา โดยรวมมากกว่า มุมมองที่ว่าปัญหาสังคมเกิดจากสถานการณ์ด้านวัตถุที่ย�่ ำแย่ อย่างเช่นที่อยู่อาศัยไม่ดี โภชนาการไม่ดี การขาดโอกาสด้านการศึกษา และอื่นๆ สื่อนัยว่าสังคมพัฒนาแล้วที่ร�่ำรวยกว่าควรไปได้ดีกว่าสังคมอื่น แต่ความจริงไม่เป็นเช่นนัน้ – สังคมทีร่ ำ�่ รวยทีส่ ดุ บางสังคมกลับเผชิญปัญหา หนักที่สุด น่าทึ่งว่ามาตรวัดปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมทั้งสองชุดจาก บริบทที่แตกต่างกันมาก รวมถึงตัวชี้วัดความอยู่ดีมีสุขของเด็กในกลุ่ม ประเทศร�่ำรวยล้วนบอกเรื่องราวเดียวกัน ปัญหาในประเทศร�่ำรวยไม่ได้ เกิดจากการที่ประเทศเหล่านั้นรวยไม่พอ (หรือรวยเกินไป) แต่เกิดจาก ขนาดที่ใ หญ่เกินไปของความแตกต่างด้านวัตถุของคนในแต่ละสังคม ประเด็นส�ำคัญคือเราอยู่จุดไหนเมื่อเทียบกับคนอื่นในสังคมของเราเอง แน่นอน แม้แต่ในประเทศทีร่ วยทีส่ ดุ บางครัง้ คนกลุม่ น้อยทีย่ ากจน ทีส่ ดุ ก็ไม่มเี งินพอซือ้ ข้าวกิน อย่างไรก็ดี ผลส�ำรวจชาวอเมริกนั ร้อยละ 12.6 ที่ใช้ชีวิตอยู่ใต้เส้นความยากจนของทางการ (ซึ่งใช้ระดับรายได้สัมบูรณ์ ไม่ใช่รายได้เชิงเปรียบเทียบอย่างเช่นครึ่งหนึ่งของรายได้เฉลี่ย) ระบุว่า ร้อยละ 80 ของคนจนเหล่านี้มีเครื่องปรับอากาศใช้ เกือบร้อยละ 75 เป็น เจ้าของรถยนต์หรือรถบรรทุกอย่างน้อยหนึ่งคัน และประมาณร้อยละ 33 มีคอมพิวเตอร์ เครื่องล้างจาน หรือรถคันที่สอง ความหมายของข้อมูลนี้ Ri ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

51


คือ เวลาที่คนไม่มีเงินซื้อปัจจัยสี่อย่างเช่นอาหาร ปกติมันก็สะท้อนว่า พวกเขาปรารถนาอยากใช้ชีวิตตามค่านิยมในสังคมขณะนั้นมากเพียงใด ยกตัวอย่างเช่น คุณอาจรู้สึกว่าการรักษาหน้าตาด้วยการซื้อเสื้อผ้าดีๆ ใส่ นั้นส�ำคัญกว่าการซื้ออาหาร เรารู้จักหนุ่มคนหนึ่งที่ไม่มีงานท�ำ แต่หมด รายได้ทั้งเดือนไปกับโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่เพราะเขาบอกว่าสาวๆ ไม่ สนใจคนที่ไม่มีของเจ๋งๆ อดัม สมิธ(Adam Smith) เคยย�้ำว่าสิ่งส�ำคัญคือ ความสามารถในการน�ำเสนอตัวเองอย่างน่าเชื่อถือในสังคม โดยไม่รู้สึก อับอายหรือมีมลทินว่าเรา ‘ดูจน’ อย่างไรก็ตาม ความลาดชันด้านสุขภาพพาดผ่านทั้งสังคมจาก รวยสุดถึงจนสุดฉันใด แรงกดดันของความเหลื่อมล�้ำและความรู้สึกว่าต้อง มีเหมือนคนอื่นก็ไม่ได้จ�ำกัดอยู่เพียงคนจนกลุ่มเล็กฉันนั้น เราจะได้เห็นว่า ผลกระทบนี้แพร่หลายในทุกกลุ่มประชากร ปัญหาต่าง แต่รากเดียว ผูด้ �ำเนินนโยบายมีแนวโน้มทีจ่ ะรับมือกับปัญหาสุขภาพและปัญหา สังคมที่เราพบว่าเกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล�้ำราวกับว่าพวกมันอยู่กัน คนละโลก แต่ละปัญหาต้องการบริการและวิธีแก้ของมันเอง เราจ่ายค่า ตอบแทนให้แพทย์และพยาบาลดูแลคนไข้ จ่ายค่าตอบแทนต�ำรวจและ สร้างเรือนจ�ำมาจัดการกับอาชญากรรม จ่ายค่าตอบแทนครูมาสอนเด็ก เรียนอ่อนและนักจิตวิทยาการศึกษามาแก้ปญ ั หาการศึกษา จ่ายค่าตอบแทน นักสังคมสงเคราะห์ ศูนย์บ�ำบัดผู้ติดยา จิตแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญด้าน การดูแลสุขภาพมาจัดการกับปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย บริการเหล่านี้ล้วน มีราคาแพง และทุกบริการได้ผลเพียงบางส่วนเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น คุณภาพการรักษาพยาบาลทีแ่ ตกต่างกันมากส่งผลต่ออายุขยั เฉลีย่ ของคน น้อยกว่าความแตกต่างด้านสังคมของพวกเขา ซึ่งส่งผลต่อความเสี่ยงที่จะ เป็นโรครุนแรงถึงชีวิตตั้งแต่ต้น และต่อให้บริการต่างๆ ประสบความส�ำเร็จ 52

The Spir it Lev e l


ในการหยุดไม่ให้ใครสักคนก่ออาชญากรรมซ�้ำ รักษาโรคมะเร็งได้ ท�ำให้ คนเลิกติดยา หรือแก้ปัญหาความล้มเหลวด้านการศึกษา เราก็รู้ดีว่าสังคม ของเราจะยังคงสร้างปัญหาเหล่านี้ให้กับคนรุ่นใหม่รุ่นแล้วรุ่นเล่า ในขณะ เดียวกันปัญหาเหล่านี้ก็พบได้มากที่สุดในกลุ่มคนที่ถูกสังคมละเลยที่สุด อีกทั้งยังพบมากกว่าหลายเท่าในสังคมที่เหลื่อมล�้ำมากกว่า ความเหลื่อมลํ้าทางรายได้บอกอะไรกับเรา? ก่อนที่จะไปถึงบทต่อๆ ไปที่เราจะดูว่าขนาดของความแตกต่าง ทางรายได้เกี่ยวโยงกับปัญหาอื่นๆ อย่างไร เราควรพูดอะไรเล็กน้อยใน ประเด็นที่ว่า ความแตกต่างทางรายได้นั้นบอกอะไรกับเราเกี่ยวกับสังคม มนุษย์ เราได้ผ่านการใช้ชีวิตในสังคมมาแล้วทุกรูปแบบ ตั้งแต่สังคมนักล่า และเก็บของป่า สังคมเท่าเทียมแบบหารเท่าในยุคก่อนประวัตศิ าสตร์ จนถึง สังคมเผด็จการที่ปกครองโดยเศรษฐี ถึงแม้ว่าประชาธิปไตยตลาดเสรี สมัยใหม่จะไม่ใช่ขวั้ ใดขัว้ หนึง่ ในสองขัว้ นี้ แต่กม็ เี หตุผลทีเ่ ราจะตัง้ สมมุตฐิ าน ว่าล�ำดับชั้นของมันมีความแตกต่างกัน เราเชื่อว่านี่คือสิ่งที่วัดได้ด้วยความ เหลื่อมล�้ำทางรายได้ เมื่อใดที่ความแตกต่างทางรายได้ถ่างกว้าง เมื่อนั้น ระยะห่างทางสังคมก็ขยายใหญ่กว่าเดิมและการแบ่งสังคมออกเป็นชั้นๆ ก็ ทวีความเข้มข้นมากขึ้น คงจะดี ถ ้ า เรามี ดั ช นี ห ลายตั ว ที่ วั ด ขนาดของความเหลื่ อ มล�้ ำ ต�่ำสูงในแต่ละประเทศ เราจะได้สามารถเปรียบเทียบความเหลื่อมล�้ำด้าน ความมั่งคั่ง การศึกษา และอ�ำนาจ นอกเหนือไปจากด้านรายได้ น่าสนใจ ด้วยทีจ่ ะดูวา่ ตัวเลขพวกนีเ้ กีย่ วข้องกับระยะห่างทางสังคมอย่างไร เกีย่ วข้อง กับดัชนีสถานะทางสังคมอย่างเช่นเสือ้ ผ้าทีค่ นเลือกใส่ ดนตรีและภาพยนตร์ ที่คนเลือกเสพ หรือเกี่ยวข้องกับความส�ำคัญของล�ำดับชั้นและต�ำแหน่ง อย่างไร ในอนาคตอาจมีตัวชี้วัดที่เราใช้เปรียบเทียบระหว่างประเทศต่างๆ ได้มากขึ้น แต่ตอนนี้เราต้องพึ่งความเหลื่อมล�้ำทางรายได้ตัวเดียว แต่สิ่งที่ Ri ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

53


อาจสร้างความประหลาดใจคือข้อเท็จจริงที่ว่าล�ำพังมาตรวัดตัวนี้ตัวเดียว ก็บอกอะไรๆ เราได้มากมายแล้ว มีเหตุผลส�ำคัญสองข้อที่เราตีความความเหลื่อมล�้ำทางรายได้ แบบนี้ ข้อแรก มีเพียงปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมที่มีความลาดชันทาง สังคมสูง – คือยิง่ ไต่ลงบันไดสังคมก็ยงิ่ พบบ่อย – เท่านัน้ ทีพ่ บบ่อยในสังคม ที่มีความเหลื่อมล�้ำมาก ข้อนี้ดูจะเป็นปรากฏการณ์ทั่วไป – ยิ่งปัญหาใด ปัญหาหนึ่งมีความลาดชันทางสังคมภายในสังคมสูงก็ยิ่งสัมพันธ์กับความ เหลื่อมล�้ำ8 ข้อเท็จจริงข้อนี้ไม่เพียงเป็นจริงส�ำหรับปัญหาแต่ละปัญหา เท่านั้น – ตั้งแต่อัตราแม่วัยรุ่นถึงสัดส่วนเด็กที่เรียนแย่ – แต่ยังดูเหมือน จะจริงส�ำหรับความแตกต่างทางเพศในปัญหาเดียวกันด้วย ยกตัวอย่าง เช่ น สาเหตุ ที่ อั ต ราการเป็ น โรคอ้ ว นของผู ้ ห ญิ ง ดู จ ะสั ม พั น ธ์ กั บ ความ เหลื่อมล�้ำมากกว่าของผู้ชายคือ ความลาดชันทางสังคมของโรคอ้วนใน ผู้หญิงนั้นสูงชันกว่าของผู้ชาย ดังที่เราจะได้เห็นต่อไป ปัญหาสุขภาพซึ่ง ปกติพบได้น้อยกว่าในกลุ่มคนจน อย่างเช่นโรคมะเร็งเต้านม ก็ไม่มีความ สัมพันธ์ใดๆ กับความเหลื่อมล�้ำ9 เหตุ ผ ลข้ อ สองที่ เ สนอว่ า ความเหลื่ อ มล�้ ำ ทางรายได้ ส ะท้ อ น ความชั น ของล�ำดั บ ชั้ น ทางสั ง คมนั้ น ชั ด เจนเมื่ อ เราทบทวนงานวิ จั ย เกือบ 170 ชิ้นที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเหลื่อมล�้ำทางรายได้ กับสุขภาพ10 ขนาดของพื้นที่ซึ่งนักวิจัยวัดความเหลื่อมล�้ำนั้นแตกต่าง หลากหลายอย่างมาก งานวิจัยบางชิ้นค�ำนวณความเหลื่อมล�้ำในระดับ ท้ อ งถิ่ น และดู ว ่ า มั น เกี่ ย วข้ อ งกั บ อั ต ราการตายเฉลี่ ย ในท้ อ งถิ่ น นั้ น ๆ หรือไม่ บางชิ้นใช้เมืองทั้งเมืองเป็นหน่วยวัดความเหลื่อมล�้ำและสุขภาพ บางชิ้นดูระดับภูมิภาคและมลรัฐ หรือเปรียบเทียบระหว่างประเทศต่างๆ เมื่อเราทบทวนงานวิจัยทั้งหมดนี้เราก็พบแบบแผนที่ชัดเจน ถึงแม้ว่าจะ มีข้อมูลหลักฐานมหาศาลว่าความเหลื่อมล�้ำสัมพันธ์กับสุขภาพเมื่อวัดใน พื้นที่ขนาดกว้าง (ภูมิภาค มลรัฐ หรือทั้งประเทศ) แต่ความสัมพันธ์กลับ ไม่ชัดเจนเท่าเมื่อวัดความเหลื่อมล�้ำในระดับท้องถิ่นเล็กๆ 54

The Spir it Lev e l


ข้อค้นพบนี้มีเหตุมีผลมากถ้าเราลองคิดดูว่า ท�ำไมปัญหาสุขภาพ มักจะหนักกว่าในท้องถิ่นที่ยากจนซึ่งอาจมีอายุขัยเฉลี่ยน้อยกว่าคนใน ละแวกที่มีสุขภาพดีที่สุดถึงสิบปี ค�ำตอบไม่ใช่ว่ามีความเหลื่อมล�้ำภายใน ท้องถิน่ ทีป่ ระชากรสุขภาพไม่ดี แต่คอื ข้อเท็จจริงทีว่ า่ ท้องถิน่ นัน้ ๆ เหลือ่ มล�ำ้ หรือขัดสนเมื่อเทียบกับสังคมที่เหลือ ประเด็นส�ำคัญคือระดับของความ เหลื่อมล�้ำตลอดทั้งสังคม เราสรุปว่าขนาดของความแตกต่างทางรายได้บอกเราเรื่องล�ำดับ ชั้นทางสังคมซึ่งแสดงความลาดชันในประเด็นสังคมจ�ำนวนมาก ไม่ใช่บอก เราเกี่ยวกับอิทธิพลอะไรสักอย่างต่อสุขภาพ (หรือปัญหาสังคม) ที่ก่อน หน้านี้เราไม่เคยรู้ เนื่องจากความลาดชันทางสังคมในปัญหาสุขภาพและ ปัญหาสังคมสะท้อนความแตกต่างในสถานะทางสังคม ในวัฒนธรรมและ พฤติกรรม ดูเหมือนว่าความเหลื่อมล�้ำทางรายได้จะเป็นหัวใจของความ แตกต่างเหล่านั้น บางทีเราน่าจะมองว่าขนาดของความเหลื่อมล�้ำทางวัตถุในสังคม ได้มอบกรอบหรือเค้าโครงให้ความแตกต่างทางชนชั้นหรือวัฒนธรรม ก่อร่างสร้างรูปอยู่ภายใน เมื่อเวลาผ่านไปนานพอ ความแตกต่างหยาบๆ ในความมั่งคั่งก็ถูกฉาบทับด้วยความแตกต่างในการแต่งกาย รสนิยมทาง สุนทรียะ การศึกษา ความรู้สึกในตัวตน และสัญญะอื่นๆ ของอัตลักษณ์ ทางชนชั้น ยกตัวอย่างเช่น ลองคิดดูว่าความแตกต่างทางรายได้มหาศาล ที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ในรัสเซียจะส่งผลต่อโครงสร้างชนชั้นในสังคม อย่างไร เมื่อลูกๆ ของมหาเศรษฐีรัสเซียรุ่นใหม่เติบโตขึ้นมาในบ้านใหญ่ หรูหรา ไปโรงเรียนเอกชนและเดินทางท่องโลก พวกเขาจะพัฒนาสิ่ง ประดับประดาทางวัฒนธรรมของชนชั้นสูง นักการเมืองสายอนุรักษนิยม ชาวอังกฤษคนหนึ่งถูกโจษจันไปทั่วว่า ‘ต้องซื้อเฟอร์นิเจอร์ของตัวเอง’ ถึงแม้สงั คมจะมีอคติตอ่ เศรษฐีใหม่เสมอมา แต่ความมัง่ คัง่ ก็ไม่ใหม่เสมอไป เมื่อเฟอร์นิเจอร์นั้นตกเป็นของลูก ตระกูลก็กลายเป็นผู้ดีเก่า แม้แต่ในสมัย ศตวรรษที่สิบแปด เมื่อคนคิดว่าชาติตระกูลและการเลี้ยงดูคือสิ่งที่นิยาม Ri ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

55


ชนชั้นสูงในสังคม ถ้าคุณสูญเสียทรัพย์สมบัติคุณอาจมีสถานะ ‘ผู้ดีตกยาก’ ชั่วคราว แต่หลังจากผ่านไปหนึ่งชั่วคน ก็แทบไม่มีอะไรที่แยกแยะคุณออก จากคนจนคนอื่นอีกต่อไป ยิ่งไปกว่านั้น ในนิยายเรื่อง แมนส์ฟีลด์ พาร์ค (Mansfield Park) และ เซนส์ แอนด์ เซนสิบิลิตี้ (Sense and Sensibility) ของเจน ออสเตน (Jane Austen) ยังสื่อว่า ผลพวงของการแต่งงานเพื่อความรักแทนการ แต่งงานเพือ่ เงินนัน้ อาจหนักหนาสาหัส ไม่วา่ คุณจะเกิดมายากดีมจี น ไม่วา่ คุณจะได้หรือเสียความมั่งคั่งทางวัตถุ คุณก็ไม่มีวันเป็น ‘บุคคลส�ำคัญ’ ได้ โดยไม่มเี งิน ข้อเท็จจริงทีว่ า่ ความแตกต่างทางวัตถุมอบกรอบให้เกิดความ แตกต่างทางสังคมคือสาเหตุที่คนเรามักจะมองว่าความเหลื่อมล�้ำก่อความ ร้าวฉานในสังคม คุณภาพชีวิตกับมาตรวัดผลงานระดับชาติ เราเดินมาถึงจุดจบของสิง่ ทีม่ าตรฐานการด�ำรงชีพสูงๆ มอบให้กบั เราได้ แต่เราก็เป็นคนรุน่ แรกเช่นกันทีพ่ บวิธอี นื่ ในการยกระดับคุณภาพชีวติ ที่แท้จริง หลักฐานชี้ว่าการลดความเหลื่อมล�้ำคือวิธีปรับปรุงคุณภาพของ สภาพแวดล้อมทางสังคมที่ดีที่สุด ดังนั้นจึงเป็นวิธีปรับปรุงคุณภาพชีวิตที่ ดีที่สุดด้วย เราจะพบว่าคนรวยก็ได้ประโยชน์เช่นกันในบทที่ 13 ชัดเจนว่าความเท่าเทียมกันที่มากกว่า รวมทั้งการปรับปรุงความ อยู่ดีมีสุขของประชากรทั้งประเทศเป็นหัวใจของความส�ำเร็จของประเทศ ต่างๆ ในหลายสาขา เมื่อความเหลื่อมล�้ำด้านสุขภาพปรากฏเป็นวาระ สาธารณะด้านสุขภาพเป็นครั้งแรกตอนต้นทศวรรษ 1980 บางครั้งผู้คน จะถามว่าท�ำไมเราถึงหมกมุ่นกับความเหลื่อมล�้ำขนาดนี้ พวกเขาเถียงว่า หน้าที่ของคนที่ท�ำงานด้านสาธารณสุขคือยกระดับมาตรฐานสุขภาพใน ภาพรวมให้ ดี ขึ้ น เร็ ว ที่ สุ ด เท่ า ที่ จ ะเป็ น ไปได้ จากมุ ม นี้ ค วามเหลื่ อ มล�้ำ ด้านสุขภาพเป็นเพียงเรื่องรองที่ไม่สลักส�ำคัญอะไร ตอนนี้เรารู้แล้วว่า 56

The Spir it Lev e l


สถานการณ์ที่แท้จริงอาจตรงกันข้าม มาตรฐานสุขภาพระดับชาติและ ผลลัพธ์ส�ำคัญอื่นๆ ที่เราจะอภิปรายในบทต่อๆ ไปนั้นส่วนใหญ่ถูกก�ำหนด โดยขนาดของความเหลื่อมล�้ำในสังคม ถ้าคุณอยากรู้ว่าท�ำไมสังคมใด สังคมหนึง่ จึงไปได้ดกี ว่าสังคมอืน่ สิง่ แรกทีค่ วรมองคือระดับความเหลือ่ มล�ำ้ ไม่มหี รอกนโยบายลดความเหลือ่ มล�ำ้ ด้านสุขภาพหรือความเหลือ่ มล�ำ้ ด้าน ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กที่แยกต่างหากจากนโยบายยกระดับ มาตรฐานผลงานของประเทศ การลดความเหลื่อมล�้ำคือวิธีที่ดีที่สุดที่จะท�ำ ทั้งสองอย่าง ถ้าหากประเทศใดประเทศหนึ่งอยากได้ผลสัมฤทธิ์ด้านการ ศึกษาสูงขึ้นส�ำหรับนักเรียน ประเทศนั้นก็ต้องรับมือกับความเหลื่อมล�้ำ ขั้นรากฐานซึ่งท�ำให้ความลาดชันทางสังคมของผลสัมฤทธิ์ด้านการศึกษา สูงชันกว่าเดิม ประเทศกำ�ลังพัฒนา ก่อนจบประเด็นนี้ เราควรย�้ำว่าถึงแม้ความเหลื่อมล�้ำจะส�ำคัญใน ประเทศก�ำลังพัฒนา มันก็อาจจะส�ำคัญด้วยส่วนผสมของเหตุผลทีแ่ ตกต่าง ออกไป ในประเทศร�่ำรวยตอนนี้ หัวใจหลักคือความส�ำคัญเชิงสัญลักษณ์ ของความมัง่ คัง่ และทรัพย์สมบัติ ความหมายเชิงสัญญะของสินค้าทีบ่ ง่ บอก สถานะและอัตลักษณ์มักจะส�ำคัญกว่าตัวสินค้าเอง พูดอย่างหยาบๆ คือ สินค้าชั้นสองถูกมองว่าสะท้อนคนชั้นสอง สิ่งของที่เรามีเป็นเครื่องแสดงสถานะทุกหนแห่ง แต่ในสังคม ยากจนที่ปัจจัยสี่คิดเป็นสัดส่วนค่อนข้างสูงในการบริโภค เหตุผลที่สังคมที่ เท่าเทียมกันมากกว่าเจริญรุ่งเรืองกว่าอาจไม่เกี่ยวกับประเด็นเรื่องสถานะ เท่าไร แต่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ว่าในสังคมนั้นมีคนจ�ำนวนน้อยกว่าที่เข้า ไม่ถึงอาหาร น�้ำสะอาด และที่อยู่อาศัย มีแต่ในประเทศร�่ำรวยเท่านั้นที่ สุขภาพกับความอยู่ดีมีสุขไม่สัมพันธ์กับรายได้ประชาชาติเฉลี่ยต่อหัวอีก ต่อไป ในประเทศยากจนยังจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องยกระดับมาตรฐานการด�ำรงชีพ Ri ch a rd Wi l ki n so n & K a t e P i cket t

57


โดยเฉพาะส�ำหรับคนที่จนที่สุด ในสังคมเหล่านั้นการกระจายทรัพยากรที่ เท่าเทียมกันมากขึ้นจะท�ำให้มีคนจ�ำนวนน้อยลงที่ต้องใช้ชีวิตในสลัม ดื่ม น�้ำสกปรก มีอาหารไม่พอกินหรือพยายามกระเสือกกระสนดิ้นรนบนที่ดิน น้อยนิด ในบทต่อไปเราจะลงรายละเอียดอีกเล็กน้อยว่า เหตุใดคนใน ประเทศพัฒนาแล้วถึงได้เปราะบางต่อความเหลือ่ มล�ำ้ เสียจนส่งผลต่อความ อยู่ดีมีสุขทางจิตใจและสังคมของคนสมัยใหม่ในสาระส�ำคัญ

58

The Spir it Lev e l


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.