Adam smith a primer web preview p 1 47

Page 1


อาดัม สมิธ: ชีวิตและความคิด • พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ แปล จากเรื่อง A da m S m i t h – A P r i m e r โดย E a m o n n B u t l e r พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ o p e n w o r l d s , สิงหาคม 2558 ราคา 235 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ภรณ์ทิพย์ ปิยฤทธิพงศ์ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์ • บรรณาธิการเล่ม บุญชัย แซ่เงี้ยว บรรณาธิการต้นฉบับ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ออกแบบปก w r ongd e s i g n • จัดท�ำโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 604/157 ถนนสาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2 - 6 1 8 - 4 7 3 0 e m a il: op e n w o r l d s t h a i l a n d @g m a i l . c o m fa c e b o o k : w w w . f a c e b o o k . c o m / o p e n w o r l d s twitte r : w w w . t w i t t e r . c o m / o p e n w o r l d s _ t h we b s i t e : w w w . o p e n w o r l d s . i n . t h จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 - 2 7 3 9 - 8 0 0 0 โทรสาร 0 - 2 7 5 1 - 5 9 9 9 we b s i t e : h t t p : / / w w w . s e - e d . c o m /


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อโดยตรงที่สำ�นักพิมพ์ หมายเลขโทรศัพท์ 02 618 4730 และ 097 174 9124 หรือ Email: openworldsthailand@gmail.com

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ บัตเลอร์, เอมอนน์ อาดัม สมิธ: ชีวิตและความคิด.-กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2558. 200 หน้า. 1. สมิธ, อดัม, ค.ศ. 1723-1790. I. พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง. 923.3 ISBN 978-616-7885-18-6 • First published by the Institute of Economic Affairs, London; June 2007 Chapters 1-8 copyright © Eamonn Butler 2007 Other text copyright © The Institute of Economic Affairs 2007 Thai language translation copyright 2015 by openworlds publishing house Adam Sm ith – A Prim er , b y E a m o n n B u t l e r w a s o r i g i n a l l y published in G reat Brita in in 2 0 0 7 . This translation is published by arrangement with The Institute of Economic Af f a irs . The T h a i e d itio n is tra n s l a t e d b y P i c h i t L i k i t k i j s o m b o o n a nd published by op e n wo rld s p u b lis h i n g h o u s e , 2 0 1 5 . อาดัม สมิธ: ชีวิตและความคิด ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 2007 แปลและตีพิมพ์เป็นภาษาไทยโดยข้อตกลงกับสถาบันกิจการเศรษฐกิจ (IEA)


สารบัญ

. ค�ำน�ำผู้แปล 8 ค�ำน�ำ โดย อาลัน พีค็อก 16 กิตติกรรมประกาศ 20 สรุปย่อ 21 บทน�ำ โดย กาวิน เคนเนดี 26 1 ท�ำไม อาดัม สมิธ จึงส�ำคัญ? 38 • ทรรศนะเก่าของวิชาเศรษฐศาสตร์ 39 ผลิตภาพของการแลกเปลี่ยนโดยเสรี 41 ระเบียบสังคมบนพี้นฐานของเสรีภาพ 42 จิตวิทยาว่าด้วยจริยธรรม 44 ประโยชน์ส่วนตนกับคุณความดี 45 ธรรมชาติมนุษย์กับสังคมมนุษย์ 46 2 ชีวิตและงานของสมิธ 48 • เคิร์กคอดีและกลาสโกว์ 49


อ็อกซฟอร์ดกับสิ่งจูงใจต่อพฤติกรรม 51 อาชีพบรรยายในช่วงแรก 52 การเดินทาง 53 ความมั่งคั่งของชาติ 55 ข้าหลวงศุลกากร 56 3 ความมั่งคั่งของชาติ 58 • สาระส�ำคัญของหนังสือโดยกว้าง 59 การผลิตและการแลกเปลี่ยน 63 การสะสมทุน 82 ประวัติศาสตร์สถาบันทางเศรษฐกิจ 90 ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์และนโยบายเศรษฐกิจ 91 บทบาทของรัฐบาล 100 ความมั่งคั่งของชาติ ในวันนี้ 112 4 ทฤษฎีว่าด้วยความคิดทางศีลธรรม 114 • สาระส�ำคัญหลักของหนังสือ 115 การรู้สึกร่วมตามธรรมชาติอันเป็นพื้นฐานของคุณความดี 118 รางวัล การลงโทษ และสังคม 121 ความยุติธรรมในฐานะรากฐาน 125


การวิจารณ์ตนเองและการรู้ผิดชอบ 126 กฎศีลธรรม 128 ท่าทีต่อความมั่งคั่ง 129 การปรับปรุงสถานะตนเองให้ดีขึ้น 131 ว่าด้วยคุณความดี 132 ธรรมนูญของสังคมคุณความดี 134 5 ค�ำบรรยายและงานเขียนอื่นๆ ของสมิธ 136 • สาระส�ำคัญหลักร่วมกัน 138 สมิธว่าด้วยปรัชญาวิทยาศาสตร์ 139 จิตวิทยาการสื่อสาร 143 สมิธว่าด้วยรัฐบาลและนโยบายสาธารณะ 147 ข้อสรุป 153 6 หัวข้อนอกประเด็นว่าด้วย “มือที่มองไม่เห็น” 156 • คนรวยสร้างงานให้คนจน 157 อุตสาหกรรมภายในประเทศและต่างประเทศ 159 ผลที่ไม่ได้ตั้งใจของการกระท�ำของมนุษย์ 160 ระบบที่ด�ำเนินไปโดยตัวเอง 162 การกระท�ำของปัจเจกชนและผลลัพธ์ทางสังคม 163


7 ข้อความที่มีชื่อเสียงบางส่วนของ อาดัม สมิธ 166 8 บรรณานุกรมคัดสรร 184 ข้อคิดเห็นเพิ่มเติม: นัยส�ำคัญของ อาดัม สมิธ ในปัจจุบัน โดย เครก สมิธ 190 ประวัติผู้เขียน 198 ประวัติผู้แปล 199


8

Adam

Smith

ค�ำน�ำผู้แปล

.

ในบรรดานักคิดทางเศรษฐศาสตร์การเมือง คงปฏิเสธ ไม่ได้วา่ คนทีม่ อี ทิ ธิพลมากทีส่ ดุ และยาวนานทีส่ ดุ ในโลกยุคสมัย ใหม่ก็คือ อาดัม สมิธ แม้แต่คนที่ไม่ได้เรียนมาทางเศรษฐศาสตร์ ก็ยงั ได้ยนิ ค�ำกล่าวทีว่ า่ อาดัม สมิธ เป็นบิดาของวิชาเศรษฐศาสตร์ นักศึกษาปริญญาตรีจะได้รับการบอกเล่าตั้งแต่ปีแรกของการ ศึกษาว่า วิชาความรู้ที่พวกเขาก�ำลังร�่ำเรียนอยู่นั้น มีจุดเริ่มที่ หนังสือเรื่อง ความมั่งคั่งของชาติ (The Wealth of Nations) ซึ่งเขียนโดยนักคิดชาวสก็อตเมื่อกว่าสองร้อยปีมาแล้วที่ชื่อว่า อาดัม สมิธ ในประเทศไทย ยังมีคนจ�ำนวนไม่มากที่เข้าใจว่า อาดัม สมิธ คิดและเขียนอะไรเกี่ยวกับวิชาเศรษฐศาสตร์ไว้บ้าง และ ยิ่งมีคนจ�ำนวนน้อยลงไปอีกที่รู้ว่าในยุคสมัยนั้น อาดัม สมิธ เป็น นักปรัชญาและมีผลงานเขียนอันมีชื่อเสียงอย่างมากอีกชิ้นหนึ่ง คือ ทฤษฎีว่าด้วยความคิดทางศีลธรรม (The Theory of Moral Sentiments)


A

Primer

9

ในยุโรป อาดัม สมิธ มีอทิ ธิพลทางความคิดต่อเศรษฐกิจ แบบเสรีนยิ มอย่างมากตลอดช่วงศตวรรษที่ 19 ถึงต้นศตวรรษที่ 20 จากนัน้ อิทธิพลของ อาดัม สมิธ ก็คอ่ ยๆ จางหายไปเนือ่ งจาก วิกฤตเศรษฐกิจตกต�ำ่ ครัง้ ใหญ่ในทศวรรษ 1930 และสงครามโลก ทัง้ สองครัง้ ซึง่ เป็นผลให้สาธารณชน นักวิชาการ และนักการเมือง พากันสูญเสียความเชื่อมั่นในกลไกตลาดทุนนิยมเสรี แล้วหันมา หวังพึ่งการแทรกแซงของรัฐเพื่อ “แก้ไขข้อบกพร่องของกลไก ตลาด” วงการเศรษฐศาสตร์ในทศวรรษ 1950-1970 ถูกครอบง�ำ ด้วยเศรษฐศาสตร์มหภาคแบบเคนส์ที่เชื่อว่า กลไกตลาดเสรี “ล้มเหลว” ไม่สามารถบรรลุภาวะ “การจ้างงานเต็มที่” ได้ด้วย ตนเอง จ�ำต้องให้รฐั บาลเข้าแทรกแซงด้วยการใช้จา่ ยภาครัฐและ ลดภาษีเพื่อกระตุ้นการจ้างงานเต็มที่ ทศวรรษ 1960-1970 นับ เป็น “ยุคทองของเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์” ปัญหาการว่างงานและ วัฏจักรเศรษฐกิจที่ขึ้นๆ ลงๆ ดูเหมือนจะหายสาบสูญ ความคิด เศรษฐกิจแบบเสรีนิยมของ อาดัม สมิธ ดูเหมือนจะพ้นสมัยและ เป็นเพียงหัวข้อหนึ่งในวิชา “ประวัติความคิดทางเศรษฐศาสตร์” ที่สอนกันในวิชาเศรษฐศาสตร์ระดับปริญญาตรีเท่านั้น แต่วิกฤตเศรษฐกิจยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกาใน ช่วงปลายทศวรรษ 1970 ได้เผยให้เห็นจุดอ่อนของเศรษฐศาสตร์ มหภาคแบบเคนส์ จากนโยบายกระตุน้ การจ้างงานเต็มทีต่ อ่ เนือ่ ง ยาวนานจนระบบเศรษฐกิจเกิด “อาการดื้อยา” ประจวบกับเกิด วิกฤตพลังงาน การว่างงานเพิ่มสูงขึ้นและไม่ตอบสนองต่อการ กระตุน้ เศรษฐกิจ แล้วยังเกิดผลข้างเคียงกลายเป็นหนีส้ าธารณะ ล้นพ้นตัว อัตราเงินเฟ้อสูงต่อเนือ่ ง ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเรือ้ รัง


10

Adam

Smith

เกิดวิกฤตค่าเงินและดุลการช�ำระเงิน จนก่อให้เกิด “วิกฤตทาง อุดมการณ์” ในหมู่นักเศรษฐศาสตร์ยุคนั้น ซึ่งได้หันกลับมา ตั้งค�ำถามถึง “ความเชื่อมั่นในบทบาทรัฐบาลกับประสิทธิภาพ การท�ำงานของกลไกตลาดเสรี” อีกครั้ง ผลในคราวนี้ได้ก่อเกิดเป็นส�ำนักคิดทางเศรษฐศาสตร์ แบบเสรีนิยม ตั้งแต่การรื้อฟื้นเศรษฐศาสตร์ส�ำนักออสเตรีย (ฟรีดริช ฟอน ไฮเยก) การเฟื่องขึ้นของส�ำนักการเงินนิยม (มิลตัน ฟรีดแมน) และต่อเนื่องด้วยเศรษฐศาสตร์คลาสสิกใหม่ ในปัจจุบนั (เช่น โรเบิรต์ ลูคสั และ โธมัส ซาร์เจนต์) โดยทัง้ หมดนี้ มีแรงบันดาลใจทางอุดมการณ์และทางทฤษฎีร่วมกันคือ อาดัม สมิธ แม้แต่ประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน แห่งสหรัฐอเมริกา และ นายกรัฐมนตรีมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ ของอังกฤษ ผู้ซึ่งด�ำเนิน นโยบายปฏิรูปเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาและอังกฤษในทศวรรษ 1980 ก็อ้างว่าได้รับแรงบันดาลใจจาก อาดัม สมิธ นโยบาย เศรษฐกิจมหภาคแบบเคนส์เสื่อมความนิยมในหมู่รัฐบาลและ นักการเมือง ประจวบกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและ ค่ายสังคมนิยม และการมาถึงของ “โลกาภิวัตน์ยุคที่สอง” ใน ต้นทศวรรษ 1990 พร้อมกับกระแส “แปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็น ของเอกชน ลดการควบคุมแทรกแซงของรัฐ และเปิดเสรีการค้า การลงทุน” ทีเ่ รียกว่า “ฉันทามติวอชิงตัน” ได้ทำ� ให้เกิดความสนใจ ในความคิดของ อาดัม สมิธ อีกครั้ง นับแต่ตน้ ทศวรรษ 1980 ความสนใจและความรูเ้ กีย่ วกับ อาดัม สมิธ ในวงการเมืองและโลกวิชาการตะวันตกได้ขยายตัว ไปอย่างมากมาย มีทั้งนิตยสาร วารสารวิชาการ งานเสวนาและ


A

Primer

11

การประชุมวิชาการ เกิดเป็นสมาคมอาดัม สมิธ ในประเทศต่างๆ ไปจนถึงสถาบันให้ค�ำปรึกษาเชิงนโยบายที่เน้นกลไกตลาดเสรี (ทีเ่ รียกว่า “ถังความคิดตลาดเสรี” หรือ free-market think tanks) มหาวิทยาลัยหลายแห่งเปิดวิชา “อาดัม สมิธศึกษา” โดยเฉพาะ หนังสือ ความมัง่ คัง่ ของชาติ ทีไ่ ด้รบั การตีพมิ พ์ใหม่หลายรูปแบบ ทั้งปกอ่อนราคาถูกไปจนถึงปกแข็งเดินทองพร้อมกล่องบรรจุ มีลวดลายสวยงาม กลายเป็นหนังสือขายดีอย่างต่อเนื่องจนถึง ปัจจุบัน ความสนใจยั ง ขยายไปถึ ง ความคิ ด ทางปรั ช ญาของ อาดัม สมิธ ทฤษฎีวา่ ด้วยความคิดทางศีลธรรม ได้รบั การตีพมิ พ์ วางจ�ำหน่ายทัว่ ไป ความคิดทางปรัชญาของ อาดัม สมิธ กลายเป็น หัวข้อศึกษาในมหาวิทยาลัยและวงประชุมเสวนาอีกครั้ง และ ที่ส�ำคัญคือ หนังสือปกอ่อนมากมายหลายสิบรายการที่ “แนะน�ำ อธิบาย ประยุกต์” ความคิดทางปรัชญาและเศรษฐกิจของ อาดัม สมิธ มีวางขายเต็มตูใ้ นร้านหนังสือตามเมืองใหญ่ๆ ทัว่ โลก แม้แต่ ในโลกอินเทอร์เน็ตก็มีเว็บไซต์เกี่ยวกับ อาดัม สมิธ มากมาย น�ำเสนอข้อคิดเห็น วิจารณ์ ประเมิน อาดัม สมิธ ตลอดจนมีงาน เขียนของ อาดัม สมิธ ในรูปแบบไฟล์ให้ดาวน์โหลดกันอย่างเต็มที่ จนมีผู้ขนานนามปรากฏการณ์ดังกล่าวว่าเป็น “การ กลับมาอีกครัง้ ของ อาดัม สมิธ” (The Second Coming of Adam Smith) ล้อเลียนกับค�ำพูดในทางศาสนาทีว่ ่า “การกลับมาอีกครัง้ ของพระคริสต์” (The Second Coming of Christ) วิกฤตการเงินสหรัฐอเมริกาปี 2007-2008 ที่เรียกว่า “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์” จากภาวะฟองสบูแ่ ตกในตลาดหลักทรัพย์


12

Adam

Smith

และตลาดอสังหาริมทรัพย์สหรัฐอเมริกา แพร่กระจายไปสู่ทวีป ยุโรป ลุกลามไปเป็นภาวะเศรษฐกิจตกต�่ำ และก็เช่นเดียวกับ วิกฤตเศรษฐกิจทุกครั้งในอดีตคือ มีนักวิชาการ สื่อมวลชน และ นักการเมืองเรียงหน้ากันออกมาประกาศถึง “ความบกพร่องของ กลไกตลาดเสรี” “อาดัม สมิธ ล้าสมัยไปแล้ว” และ “การฟืน้ คืนชีพ ของเศรษฐศาสตร์แบบเคนส์” รวมทั้งมีหนังสือแนะน�ำ คาร์ล มาร์กซ และ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ ออกมาเป็นชุดในโอกาส เดี ย วกั น แต่ ท ว่ า ในคราวนี้ นโยบายอั ด ฉี ด ระบบเศรษฐกิ จ ด้วยเงินอุดหนุนสวัสดิการและการขาดดุลรายจ่ายภาครัฐจ�ำนวน มหาศาลของประธานาธิบดีโอบามาและบรรดารัฐบาลตะวันตก กลับไม่เกิดผล ภาวะเศรษฐกิจตกต�่ำยืดเยื้อนานหลายปี จนเพิ่ง จะมาฟื้นตัวอย่างชัดเจนในปี 2014 นี้เอง แม้แต่สาเหตุของวิกฤตการเงินและเศรษฐกิจครั้งนี้ก็ ได้รบั การศึกษาอย่างละเอียด โดยสืบสาวไปถึงต้นเหตุได้วา่ ไม่ใช่ เพราะ “กลไกตลาดเสรี” โดยตัวมันเอง แต่เป็นความผิดพลาด ของธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาในช่วงปี 1998-2003 ที่ “อุ้ม” ตลาดหลักทรัพย์ทอี่ อ่ นตัวลงในเวลานัน้ ด้วยการลดอัตราดอกเบีย้ ลงเหลือเพียงร้อยละ 1 เป็นเวลาหลายปี ประจวบกับความ ย่อหย่อนของธนาคารกลางในการก�ำกับดูแลสถาบันการเงิน จึงไปกระตุ้นให้เกิดภาวะฟองสบู่ในตลาดหลักทรัพย์ ก่อนจะ ลุกลามไปยังตลาดอสังหาริมทรัพย์และภาคการเงินทั้งหมดใน เวลาต่อมา วิกฤตการเงินและเศรษฐกิจถดถอยของโลกตะวันตก ครั้งล่าสุดเป็นการยืนยันค�ำอธิบายวิกฤตเศรษฐกิจของ ฟรีดริช


A

Primer

13

ฟอน ไฮเยก นักเศรษฐศาสตร์ออสเตรีย ตั้งแต่ทศวรรษ 1930 เขาชี้ว่าต้นเหตุของวัฏจักรเศรษฐกิจเกิดจากความพยายามของ ธนาคารกลางทีไ่ ปปรับเปลีย่ นอุปทานเงินและอัตราดอกเบีย้ เพือ่ ควบคุมการลงทุนรวมทั้งการออมและการบริโภคของประชาชน แต่กลับก่อให้เกิดการลงทุนและการใช้จา่ ยสูงเกินจริงในช่วงเวลา หนึง่ ซึง่ ถูกชดเชยด้วยการปรับตัวด้านตรงข้าม เกิดเป็นการตกต�ำ่ ลงของการลงทุนและการใช้จ่ายในอีกช่วงหนึ่ง (แม้แต่ “วิกฤต ต้มย�ำกุ้ง” ที่เกิดกับประเทศไทยในปี 1997 ก็มีลักษณะหลาย ประการทีค่ ล้ายคลึงกับ “วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์” ของสหรัฐอเมริกา และก็ไม่พ้นไปจากกรอบทฤษฎีของไฮเยกเช่นกัน) ในประเทศไทย ความเข้าใจผิดที่ส�ำคัญที่สุดข้อหนึ่ง เกี่ยวกับ อาดัม สมิธ ก็คือ “อาดัม สมิธ สอนว่า ความเห็นแก่ตัว เป็นสิ่งที่ดี” และเลยเถิดไปถึงการประณามวิชาเศรษฐศาสตร์ว่า “สอนให้คนเห็นแก่ตัว” ความจริงแล้ว อาดัม สมิธ เพียงแต่ยืนยัน ว่า “ปัจเจกชนมีแรงจูงใจเป็นการแสวงหาประโยชน์สว่ นตน (selfinterest)” ซึง่ “ประโยชน์สว่ นตน” นีเ้ ป็นเพียงสภาพทางจิตวิทยา ปกติของปัจเจกชน แต่ในทางเศรษฐกิจ เขาจะแสดงออกเป็น พฤติกรรมที่เป็นคุณหรือเป็นโทษต่อผู้อื่นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับ สภาพแวดล้อมของตลาด ระบบตลาดแบบแข่งขันจะเหนี่ยวน�ำ ให้ปัจเจกชนต้อง “ท�ำประโยชน์ให้กับสังคม” เพื่อที่ตนจะได้ ประโยชน์ที่ตนต้องการ แต่ในระบบตลาดผูกขาด (ซึ่ง อาดัม สมิธ เชื่อว่ามักจะเกิดจากการแทรกแซงของรัฐบาล) ประโยชน์ ส่วนตนของปัจเจกชนกลับจะเป็นผลร้ายต่อสังคม ส่วนในโลก ศีลธรรม ปัจเจกชนต้องประพฤติดตี อ่ ผูอ้ นื่ ก็เพือ่ ทีต่ นจะได้รบั การ


14

Adam

Smith

ปฏิบัติจากผู้อื่นด้วย “ความเห็นอกเห็นใจ” และ “ความรู้สึกร่วม” ในชะตากรรมของตนเอง เป็นความจริงที่ว่า อาดัม สมิธ สนับสนุนตลาดแข่งขัน เสรี แต่นั่นไม่ใช่เพราะว่า “อาดัม สมิธ ปกป้องผลประโยชน์ของ นายทุน” อย่างที่ถูกกล่าวหาอยู่เสมอ การวิเคราะห์ของ อาดัม สมิธ ใน ความมั่งคั่งของชาติ แสดงว่า ประชาชนทั่วๆ ไป รวมถึง ลูกจ้างคนงานและคนยากจนต่างหากทีไ่ ด้รบั ประโยชน์จากตลาด แข่งขันเสรี เพราะการแข่งขันในหมู่นายทุนท�ำให้มีการสนอง สินค้าและบริการในราคาถูกลง และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ตามมาก็ท�ำให้ค่าจ้างคนงานสูงขึ้น ผู ้ แ ปลได้ ส อนความคิ ด ปรั ช ญาและเศรษฐศาสตร์ ของ อาดัม สมิธ มานานกว่ายี่สิบปี โดยเป็นส่วนหนึ่งของวิชา “เศรษฐศาสตร์การเมือง” ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และก็หวัง ที่จะหาหนังสือเล่มเล็กๆ ที่แนะน�ำ อาดัม สมิธ เป็นภาษาไทย ส�ำหรับนักศึกษาไทยที่ไม่คุ้นกับภาษาอังกฤษให้ได้อ่านเข้าใจ ง่ายๆ แต่หนังสือแนะน�ำที่มีอยู่มากมายก็ไม่มีเล่มใดที่ถูกใจ จน กระทั่งได้พบเล่มที่เขียนโดย เอมอนน์ บัตเลอร์ เรื่อง Adam Smith – A Primer ซึ่งมีขนาดสั้น กะทัดรัด อ่านง่าย มีเนื้อหา ครอบคลุมความคิดของสมิธอย่างรอบด้านทีส่ ดุ ทัง้ เศรษฐศาสตร์ จริยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วาทศิลป์ ช่วยให้ผู้อ่านมองเห็น อาดัม สมิธ ได้ครบด้านในฐานะนักปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งในยุคของ เขา รวมทั้งในยุคของเราด้วย ผูแ้ ปลได้ลงมือแปลเป็นภาษาไทยโดยได้รบั อนุญาตจาก สถาบันกิจการเศรษฐกิจซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ แปลเสร็จเป็น


A

Primer

15

ต้นร่างมาตั้งแต่ปี 2552 แล้วก็หยุดไปด้วยภาระผูกพันด้านอื่นๆ กระทั่งได้พบกับผู้บริหารของส�ำนักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์สที่ก�ำลัง มองหาหนังสือแนะน�ำ อาดัม สมิธ อยูพ่ อดี ผูแ้ ปลจึงได้นำ� ต้นร่าง เดิมมาตรวจแก้ขัดเกลาจนเสร็จเป็นต้นฉบับในที่สุด การแปลข้อความจากภาษาอังกฤษสูภ่ าษาไทยตรงแบบ ค�ำต่อค�ำ ประโยคต่อประโยค ในหลายครั้ง จะไม่ได้เนื้อความที่ เข้าใจได้เนื่องจากมีโครงสร้างภาษาที่แตกต่างกัน ผู้แปลได้ใช้ เครือ่ งหมาย [ ] เติมข้อความภาษาไทยของผูแ้ ปลลงในเนือ้ ความ เพื่อให้ข้อความแปลไทยมีความต่อเนื่อง เป็นธรรมชาติ และอ่าน เข้าใจได้ง่ายขึ้น ขอขอบคุ ณ ส� ำ นั ก พิ ม พ์ โ อเพ่ น เวิ ล ด์ ส ทั้ ง ผู ้ บ ริ ห าร ผู้ประสานงาน อาจารย์ปกป้อง จันวิทย์ คณะเศรษฐศาสตร์ อาจารย์วรพจน์ วงศ์กจิ รุง่ เรือง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ช่วยผลักดันงานชิ้นนี้ รวมทั้งคุณ บุญชัย แซ่เงี้ยว และคุณวิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ บรรณาธิการ ผู้ตรวจแก้ต้นฉบับอย่างละเอียด ที่ช่วยให้หนังสือแนะน�ำ อาดัม สมิ ธ ฉบั บ แปลไทยเล่ ม นี้ ไ ด้ เ ผยแพร่ อ อกสู ่ ส าธารณะ เป็ น ประโยชน์ทั้งต่อนักเรียน นิสิตนักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่ สนใจความคิดทางเศรษฐศาสตร์และปรัชญาของ อาดัม สมิธ ตลอดจนน�ำมุมมองของ อาดัม สมิธ ไปประยุกต์ใช้พิจารณา ความเป็นไปของเศรษฐกิจสังคมโลกในปัจจุบัน

พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ มิถุนายน 2558


16

Adam

Smith

ค�ำน�ำ

.

เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าเพิ่งได้รับแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ ด้านเศรษฐกิจพาณิชย์และกฎหมายการค้า (ภายหลังย่อเป็น ศาสตราจารย์แห่งศาสตร์เศรษฐกิจ!) ณ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ ข้าพเจ้าได้รับเชิญให้ไปบรรยายในการสัมมนาที่มหาวิทยาลัย ฮาร์วาร์ดในปี 1958 พอดีเป็นช่วงที่หนังสือ สังคมมั่งคั่ง (The Affluent Society) ของ จอห์น เคนเนธ กัลเบรธ (John Kenneth Galbraith) เพิ่งจะปรากฏออกมาใหม่ๆ ซึ่งหนังสือดังกล่าวมี ค�ำกล่าวถึง อาดัม สมิธ ในทางดีอยู่บ้าง ในเวลานั้น เคนเนธ กัลเบรธ ก�ำลัง [มีชื่อเสียง] เป็นที่ต้องการอย่างมาก และเพื่อน ที่ฮาร์วาร์ดคนหนึ่งเชื่อว่า เขาได้ท�ำ “วีรกรรม” น้อยๆ ส�ำเร็จ ด้วยการจัดให้ข้าพเจ้าได้พบกับกัลเบรธในช่วงอาหารกลางวัน [เมือ่ ได้พบกันตามนัด] เพือ่ ให้แขกผูม้ าเยือนรูส้ กึ สบายใจ กัลเบรธ จึ ง ได้ ก ล่ า วขึ้ น ว่ า “อาลั น คุ ณ รู ้ สึ ก ยั ง ไงที่ ไ ด้ นั่ ง ในต� ำ แหน่ ง


A

Primer

17

ศาสตราจารย์ ท างเศรษฐศาสตร์ ที่ ท รงเกี ย รติ ที่ สุ ด ในโลก?” ข้าพเจ้ารู้สึกงงงวยและได้อธิบายไปว่า ต�ำแหน่งศาสตราจารย์ ที่เอดินบะระนั้น แต่เดิมถูกตั้งขึ้นและได้รับการสนับสนุนทาง การเงินจากบริษัทพ่อค้าแห่งเอดินบะระ (Merchant Company of Edinburgh) เมื่อปี 1870 ด้วยความเชื่ออย่างผิวเผินว่า นั ก เศรษฐศาสตร์ ส ามารถท� ำ นายวั ฏ จั ก รธุ ร กิ จ ได้ เคนเนธ กัลเบรธ กลับตอบว่า “แต่คณ ุ ก�ำลังนัง่ ในต�ำแหน่งศาสตราจารย์ที่ อาดัม สมิธ เคยนั่งมิใช่หรือ?” ข้าพเจ้าตอบว่า “ขออภัยครับ ผิด มหาวิทยาลัย ผิดวิชา และผิดศตวรรษ” (ดังทีท่ า่ นทัง้ หลายทราบ ดีว่า อาดัม สมิธ เป็นศาสตราจารย์ด้านตรรกะ และต่อมาคือด้าน จริยศาสตร์ทกี่ ลาสโกว์) อาหารกลางวันมือ้ นัน้ ระหว่างเราสองคน จึงไม่ค่อยประสบความส�ำเร็จสักเท่าไรนัก... ข้าพเจ้าออกจะรูส้ กึ เสียใจอยูเ่ ล็กน้อยทีไ่ ด้เปิดเผยความ ไม่รู้ของ เคนเนธ กัลเบรธ ออกมา เพราะความจริงแล้ว อาดัม สมิธ ก็มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับเอดินบะระแม้ว่าท่านจะ ไม่เคยมีตำ� แหน่งทางวิชาการใดๆ ทีน่ นั่ เลย ร่างของท่านถูกฝังที่ เอดินบะระ และในบริเวณใกล้เคียงเร็วๆ นีเ้ ราน่าจะได้เห็นรูปปัน้ รูปแรกของท่านที่สร้างในสก็อตแลนด์เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่าน จากความพยายามทุ่มเทของสถาบันอาดัม สมิธ และที่จริงโดย ส่วนใหญ่แล้วก็เป็นความพยายามของ เอมอนน์ บัตเลอร์ ผูเ้ ขียน หนังสือแนะน�ำความคิดของสมิธอันยอดเยี่ยมเล่มนี้ ยิ่งกว่านั้น ข้าพเจ้าก็เหมือนกับคนอื่นๆ อีกหลายคนที่แสดงตัวว่ามีความรู้ ยกย่องชืน่ ชม และในฐานะชาวสก็อตทีแ่ ทบจะเป็นเจ้าข้าวเจ้าของ สมิธ ข้าพเจ้าจึงค่อนข้างพุ่งความสนใจไปที่เนื้อหาของหนังสือ


18

Adam

Smith

ความมั่งคั่งของชาติ แต่ข้าพเจ้ากลับไม่ตระหนักว่า ส�ำหรับสมิธ แล้ว หนังสือ ทฤษฎีวา่ ด้วยความคิดทางศีลธรรม ของท่านมิเพียง เป็นเสาหลักในแนวคิดของท่านว่าด้วยศีลธรรมเท่านัน้ แต่ยงั เป็น เสาหลักในการวิเคราะห์ของท่านต่อบรรดาทรรศนะเกีย่ วกับการ รับรูข้ องปัจเจกชนว่าพวกเขาจะประพฤติและควรจะประพฤติตน อย่างไรในธุรกรรมประจ�ำวันระหว่างกันและกัน แม้ จ ะไม่ มี เ หตุ ผ ลอื่ น ใดเพิ่ ม เติ ม อี ก หนั ง สื อ ความรู ้ เบื้องต้นของ ดร. บัตเลอร์เล่มนี้ ซึ่งเสริมด้วยบทน�ำที่น่าเชื่อถือ อย่ า งยิ่ ง ของศาสตราจารย์ เ คนเนดี ก็ ไ ด้ แ สดงให้ เ ห็ น อย่ า ง ชัดเจนว่า ไม่เคยมีสิ่งที่เรียกว่า “ปัญหา อาดัม สมิธ” ที่จะต้อง ประนีประนอมความคิดทางจริยศาสตร์ของสมิธให้เข้ากับการ วิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์ของท่าน ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นถึง ความเชื่อผิดๆ ที่ยังแพร่หลายอยู่ว่า อาดัม สมิธ เป็นทนาย กระฎุมพีที่แก้ต่างให้กับ “ทุนนิยม” และการขูดรีดก�ำไร (ค�ำว่า “ทุนนิยม” ไม่มีปรากฏในงานของสมิธเลย ไม่ว่าในที่ใด) ประเด็น ดังกล่าวได้แสดงให้เห็นบางส่วนถึงลักษณะหนึ่งที่ไม่ธรรมดา ของหนังสือเล่มนี้ คือการให้ความสนใจอย่างมากต่อการตีความ ทรรศนะของสมิธในเรื่องพื้นฐานทางศีลธรรมของการกระท�ำ ของมนุษย์ที่ปรากฏใน ทฤษฎีว่าด้วยความคิดทางศีลธรรม ซึ่ง เป็นข้อสนับสนุนค�ำกล่าวของ ดร. บัตเลอร์ที่ว่า ควรมองสมิธ ในเบื้องต้นว่าเป็นนักจิตวิทยาสังคม ข้าพเจ้าได้ชี้ให้เห็นอย่างเพียงพอแล้วว่า ดร. บัตเลอร์ ได้เขียนเอกสารทีม่ เิ พียงให้การอธิบายอย่างเชีย่ วชาญในสิง่ ทีเ่ รา รู้เกี่ยวกับชีวิตและยุคสมัยของสมิธเท่านั้น แต่ยังให้การอธิบาย


A

Primer

19

ในแง่มุมที่มีลักษณะแปลกใหม่ซึ่งผู้เชี่ยวชาญควรได้ลิ้มรสด้วย ข้าพเจ้าได้บรรลุภาระหน้าที่อันน่ายินดีนี้แล้ว และข้าพเจ้าไม่ ปรารถนาทีจ่ ะถ่วงรัง้ ท่านผูอ้ า่ นให้ได้รบั ความเพลิดเพลินจากงาน เล่มนี้มากเท่าที่ข้าพเจ้าได้รับมาแล้ว อาลัน พีค็อก ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ด้านเศรษฐศาสตร์การคลัง วิทยาลัยธุรกิจเอดินบะระ มหาวิทยาลัยเฮเรียต-วัตต์


20

Adam

Smith

กิตติกรรมประกาศ

.

ขอขอบคุณ ดร. แมดเซน พีรี (Madsen Pirie) และศาสตราจารย์ กาวิน เคนเนดี (Gavin Kennedy) ส�ำหรับข้อคิดเห็นทีม่ ตี อ่ เนือ้ หา และขอขอบคุณ ลิส เดวีส์ (Lis Davies) ส�ำหรับความช่วยเหลือ ในการอ้างอิงข้อความเอกสาร

ทรรศนะที่แสดงไว้ในเอกสารนี้ก็เช่นเดียวกับสิ่งตีพิมพ์อื่นๆ ของสถาบันกิจการเศรษฐกิจ คือเป็นทรรศนะของผู้เขียน มิได้ เป็นทรรศนะของสถาบันกิจการเศรษฐกิจ (ซึ่งไม่มีทรรศนะ เฉพาะขององค์กร) คณะผู้จัดการแทนสถาบัน สมาชิกสภา ที่ปรึกษาวิชาการ หรือเจ้าหน้าที่อาวุโสของสถาบันแต่อย่างใด


A

Primer

21

สรุปย่อ

.

• ความมั่งคั่งของชาติไม่ใช่ปริมาณทองค�ำและเงินที่มีอยู่ใน คลังดังที่พวกลัทธิพาณิชยนิยมเชื่อ แต่เป็นปริมาณทั้งหมด ของการผลิ ต และการพาณิ ช ย์ ข องชาติ นั้ น อั น เป็ น สิ่ ง ที่ ปัจจุบันเราเรียกว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ • ในการแลกเปลี่ยนโดยเสรี ทั้งสองฝ่ายต่างมีสถานะที่ดีขึ้น ไม่มีใครยอมเข้าร่วมการแลกเปลี่ยนใดๆ ถ้าพวกเขาคาดว่า จะสูญเสียจากการแลกเปลีย่ นนัน้ ด้วยเหตุนกี้ ารน�ำเข้าสินค้า จึงมีคุณค่าต่อเรามากเท่ากับที่การส่งออกของเรามีคุณค่า ต่อผู้อื่น เราไม่จ�ำเป็นต้องท�ำให้คนอื่นยากจนลงเพื่อให้เรา ร�ำ่ รวยขึน้ ความจริงแล้วเราจะได้ประโยชน์มากกว่าถ้าลูกค้า ของเราร�่ำรวยมั่งคั่ง • การก�ำกับควบคุมการพาณิชย์มีรากฐานที่มาที่ผิดๆ และ ไม่ก่อประโยชน์ ภาษี การเก็บภาษีศุลกากรจากสินค้าเข้า การให้เงินอุดหนุนสินค้าออก และการล�ำเอียงเอื้อประโยชน์


22

Adam

Smith

แก่อตุ สาหกรรมในประเทศ ล้วนเป็นอันตรายต่อความเจริญ รุ่งเรือง • สมรรถนะในการผลิตของชาติหนึ่งๆ ขึ้นอยู่กับการแบ่งงาน กันท�ำและการสะสมทุนทีช่ าตินนั้ ๆ ก่อให้เกิดขึน้ การเพิม่ ขึน้ อย่างมากมายมหาศาลของผลผลิตสามารถเกิดขึ้นได้ด้วย การแบ่งการผลิตออกเป็นภาระงานเล็กๆ จ�ำนวนมาก และ แต่ละภาระงานกระท�ำโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน การแบ่ง งานกันท�ำนี้เองที่ท�ำให้ผู้ผลิตมีส่วนเกินไว้เพื่อการลงทุน • รายได้ในอนาคตของชาติหนึง่ ๆ ขึน้ อยูก่ บั อัตราการสะสมทุน ยิ่งมีการลงทุนในกระบวนการผลิตที่ดีกว่าเดิมเป็นจ�ำนวน มากเท่าใด ก็ยิ่งก่อให้เกิดความมั่งคั่งมากยิ่งขึ้นในอนาคต • เมื่อมีการค้าเสรีและการแข่งขัน ระบบตลาดจะทุ่มเทโดย อัตโนมัติไปที่ความต้องการที่เร่งด่วนที่สุด เมื่อสิ่งใดหาได้ ยาก ผู้คนก็พร้อมที่จะจ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อสิ่งนั้น และในเมื่อมี ก�ำไรมากขึ้นจากการสนองสิ่งนั้น ผู้ผลิตก็จะลงทุนเพื่อผลิต สิ่งนั้นมากขึ้น • ความเจริญรุง่ เรืองจะเติบโตได้รวดเร็วทีส่ ดุ เมือ่ มีตลาดทีเ่ ปิด และแข่งขัน พร้อมด้วยการแลกเปลีย่ นโดยเสรีและปราศจาก การบังคับ การป้องกันประเทศ การยุติธรรม และการยึด หลักกฎหมาย เป็นสิ่งจ�ำเป็นเพื่อรักษาระบบเปิดดังกล่าวไว้


A

Primer

23

เสรีภาพและประโยชน์ส่วนตนไม่ได้น�ำไปสู่ความสับสน อลหม่าน หากแต่ก่อให้เกิดระเบียบและความสอดคล้องกัน เสมือนว่าถูกเหนี่ยวน�ำด้วย “มือที่มองไม่เห็น” • กลุ่มผลประโยชน์ใช้อ�ำนาจรัฐบาลไปบิดเบือนระบบตลาด เพื่อประโยชน์ของพวกเขาเอง นายจ้างและพวกวิชาชีพ เฉพาะทางอาจสนับสนุนการก�ำกับควบคุมเพื่อจ�ำกัดการ แข่งขัน เช่น สร้างอุปสรรคในการเข้าสู่ตลาดที่กีดกันมิให้ คนอื่นเข้ามาประกอบอาชีพเฉพาะใดๆ • ภาษีควรเป็นสัดส่วนต่อรายได้ ควรมีความแน่นอน และ สะดวกที่จะจ่าย ภาษีควรมีต้นทุนในการจัดเก็บต�่ำ ไม่ควร เป็นอุปสรรคต่อธุรกิจ ไม่ควรเป็นภาระหนักอึ้งจนท�ำให้เกิด การหลบเลี่ยงภาษี และไม่ควรท�ำให้ผู้จัดเก็บภาษีต้องมา เยี่ยมเยือน [ผู้เสียภาษี] บ่อยครั้ง • มนุษย์มี “ความเห็นอกเห็นใจ” (หรือการรู้สึกร่วม) ต่อผู้อื่น โดยธรรมชาติ สิง่ นีท้ ำ� ให้พวกเขาสามารถผ่อนเบาพฤติกรรม และรักษาความสอดคล้องกลมกลืนไว้ได้ สิง่ นีย้ งั เป็นพืน้ ฐาน ของการประเมินในเชิงศีลธรรมต่อพฤติกรรมใดๆ และเป็น แหล่งที่มาของคุณความดีของมนุษย์ ธรรมชาติของมนุษย์ เป็นปัจจัยโน้มน�ำการสร้างสรรค์สังคมที่สอดคล้องกลมกลืน ยิง่ กว่าการใช้หลักเหตุผลทีย่ โสโอหังของพวกคลัง่ อุดมการณ์ และพวกเพ้อฝัน



พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ แปล


บทน�ำ

/ กาวิน เคนเนดี

กาวิน เคนเนดี เป็นศาสตราจารย์กิตติคุณ ณ มหาวิทยาลัยเฮเรียต-วัตต์ และเป็นผูแ้ ต่งหนังสือเรือ่ ง มรดกทีส่ ญ ู หายของ อาดัม สมิธ (Adam Smith’s Lost Legacy) ตีพิมพ์โดยสำ�นักพิมพ์พัลเกรฟ-แมกมิลลัน ในปี 2005


A

Primer

27

เอมอนน์ บัตเลอร์ ได้เขียนหนังสือแนะน�ำชีวติ และความคิด ของ อาดัม สมิธ ไว้อย่างน่าชืน่ ชมและน่าเชือ่ ถือยิง่ นีเ่ ป็นหนังสือ แนะน�ำขนาดสั้นที่ได้ตีพิมพ์ที่ดีที่สุดที่ข้าพเจ้ารู้จัก เป็นหนังสือ ทีจ่ ะช่วยให้ทกุ คนได้รจู้ กั ว่า แท้จริงแล้วสมิธเป็นใคร เกีย่ วข้องกับ เรื่องใด เอมอนน์ บัตเลอร์ หลีกเลี่ยงประเด็นโต้แย้งถกเถียง เกีย่ วกับเศรษฐศาสตร์การเมืองของ อาดัม สมิธ ซึง่ ได้มกี ารเขียน ไว้เป็นจ�ำนวนมากตลอดหลายปีที่ผ่านมา การบอกเล่าเรื่องของ สมิธ ตัวบุคคล และหนังสือของเขาเป็นการประเมินอย่างเทีย่ งตรง ต่อการสังเคราะห์พเิ ศษหนึง่ เดียวของสมิธว่าด้วยวิวฒ ั นาการของ สังคมบริเตนจนถึงครึ่งหลังของศตวรรษที่ 18 อาดัม สมิธ ตีพมิ พ์ผลงานทีเ่ ป็นทีร่ จู้ กั น้อยกว่าคือ ทฤษฎี ว่าด้วยความคิดทางศีลธรรม (The Theory of Moral Sentiments) เป็นเวลา 17 ปีก่อนที่หนังสือ การสืบค้นถึงลักษณะและต้นเหตุ ของความมั่งคั่งของชาติ (An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations) จะตีพิมพ์ จากช่องว่างเวลา


28

Adam

Smith

ระหว่างหนังสือสองเล่มนีเ้ อง ท�ำให้มผี อู้ า้ งว่า สมิธได้แทนทีค่ ณ ุ ค่า ทางศีลธรรมของความปรารถนาดี [ในหนังสือเล่มแรก] ด้วย ผลประโยชน์ส่วนตนที่ไม่เกี่ยวกับศีลธรรม [ในหนังสือเล่มหลัง] ในฐานที่เป็นแรงจูงใจในการกระท�ำของมนุษย์ แต่จากบันทึกที่ จดไว้โดยนักศึกษาผู้ไม่ปรากฏนามในช่วงปี 1762-1763 ท�ำให้ เรารู้ว่า ค�ำบรรยายจ�ำนวนมากของสมิธ [ในช่วงเวลาดังกล่าว] ได้มาปรากฏตัวอีกครั้งแทบจะค�ำต่อค�ำใน ความมั่งคั่งของชาติ (The Wealth of Nations) ในปี 1776 และสมิธยังได้ตีพิมพ์ ค�ำบรรยายของเขาในเรื่องจริยศาสตร์ (1751-1764) เป็น ทฤษฎี ว่าด้วยความคิดทางศีลธรรม (1759) อีกด้วย ฉะนั้น อาดัม สมิธ จึงมิได้มีทรรศนะที่ขัดแย้งในตัวเองเกี่ยวกับแรงจูงใจของมนุษย์ แต่อย่างใด สมิธเป็นนักปรัชญาจริยศาสตร์ วิชาเศรษฐศาสตร์ใน ศตวรรษที่ 18 ยังมิได้เป็นสาขาวิชาทีเ่ ป็นเอกเทศเหมือนในปลาย ศตวรรษที่ 19 เป็นความจริงทีม่ ผี เู้ ขียนจุลสารเกีย่ วกับประเด็นทาง เศรษฐกิจทัง้ ก่อนหน้านีแ้ ละร่วมสมัยหลายคน (มหาวิทยาลัยเยล มีเอกสารประเภทดังกล่าวหลายพันชิน้ จากศตวรรษที่ 16-18) และ ผู้เขียนบางคนก็มีคุณูปการต่อวิชาเศรษฐศาสตร์ แต่ไม่มีใครเลย ทีจ่ ะสืบค้นอย่างครอบคลุมกว้างขวางในขอบข่ายและในลักษณะ ที่ อาดัม สมิธ ได้กระท�ำ ก่อนหน้าสมิธ เศรษฐศาสตร์การเมืองวางจุดสนใจไปที่ การสร้างความร�่ำรวยให้กับองค์อธิปัตย์และรัฐด้วยทองค�ำและ เงินแท่งเพื่อใช้จ่ายในสงครามต่างแดน แต่ ความมั่งคั่งของชาติ กลับเปลี่ยนจุดสนใจของเศรษฐศาสตร์การเมืองไปที่การสร้าง


A

Primer

29

ความร�่ำรวยให้แก่ผู้บริโภคด้วย “ผลผลิตในแต่ละปีของที่ดินและ แรงงาน” หนังสือ ความมั่งคั่งของชาติ ไม่ใช่ต�ำรา แต่เจาะจง อภิปรายถึงลักษณะโดยธรรมชาติของความมัง่ คัง่ และอะไรทีเ่ ป็น ต้นเหตุให้ความมั่งคั่งเพิ่มพูนขึ้น [ใน ความมั่งคั่งของชาติ] เล่มที่ 1 และเล่มที่ 2 อธิบาย ถึงลักษณะเด่นพิเศษของสังคมมนุษย์ เช่น ความโน้มเอียงที่จะ แลกเปลี่ยน การแบ่งงานกันท�ำ ปัจจัยการผลิต พลวัตของตลาด และการกระจายรายได้ในหมู่ผู้ที่เข้าร่วมการผลิต เล่มที่ 3 จัด วางประเทศบริเตนช่วงศตวรรษที่ 18 ในปริบทวิวัฒนาการทาง สังคมของสังคมมนุษย์ จาก “การล่าสัตว์” ยุคบุพกาล ผ่าน “การ เลี้ยงสัตว์” และ “เกษตรกรรม” เข้าสู่ยุคพาณิชย์ และแสดง ให้เห็นว่าการล่มสลายของกรุงโรมในศตวรรษที่ 5 ได้ขัดจังหวะ การก้าวหน้า “ตามธรรมชาติ” ดังกล่าวในยุโรปตะวันตกอย่างไร ยุ โ รปเริ่ ม ฟื ้ น ตั ว หลั ง จากศตวรรษที่ 5 โดยฟื ้ น ตั ว ภายใต้ภาระของนโยบายที่รับใช้สิ่งที่สมิธเรียกว่า “การค้าแบบ พาณิชยนิยม” ซึ่งเล่มที่ 4 ได้ท�ำการวิพากษ์อย่างแหลมคม ต่อความเห็นผิดเบื้องแรกสุดของแนวคิดดังกล่าวที่ว่า ความ มั่งคั่งของชาติประกอบด้วยการสะสมทองค�ำและเงินแท่ง และ ดุลการค้ามีความส�ำคัญเพราะว่า ประเทศหนึ่งๆ จะต้องส่งออก สินค้ามากกว่าน�ำเข้าสินค้า ทีเ่ ลวร้ายไปกว่านัน้ คือ ความเห็นผิด ดังกล่าวยังเชือ่ ว่า ระบบเศรษฐกิจในประเทศจะเข้มแข็งขึน้ ได้ดว้ ย การผูกขาดคุม้ ครอง การจ�ำกัดควบคุมการจ้างและการเคลือ่ นย้าย แรงงาน และด้วยการแทรกแซงเสรีภาพตามธรรมชาติในตลาด หนทางแก้ไขของสมิธต่อความเห็นผิดเหล่านี้รวมศูนย์


30

Adam

Smith

อยูท่ กี่ ารปลดปล่อยตลาดให้เป็นอิสระจากการแทรกแซงทีเ่ ข้าไป เปลีย่ นการท�ำงานตามธรรมชาติของมัน การแลกเปลีย่ นผลผลิต โดยเสรีทผี่ ลิตขึน้ ภายใต้การแข่งขันจะท�ำให้อตั ราการเติบโตทาง เศรษฐกิจตามธรรมชาติเกิดขึ้นได้โดยให้ผู้คนผสมผสาน “ที่ดิน แรงงาน หรือทุน” ของตนเข้ากับของผูอ้ นื่ สมิธสนับสนุนให้ขยาย การแลกเปลี่ยนเสรีดังกล่าวไปสู่การผลิตสินค้าเพื่อขายในตลาด หลังจากจ่ายค่าเช่าให้แก่เจ้าที่ดิน ค่าจ้างให้แก่ผู้ใช้แรงงาน และ ก�ำไรให้แก่พ่อค้าและนักอุตสาหกรรมแล้ว เจ้าของทุนก็จะน�ำ ก�ำไรสุทธิของพวกเขากลับไปลงทุนอีกครั้งในกิจกรรมการผลิต ที่เพิ่มขึ้น โดยผ่านการผลิตและการแลกเปลี่ยนรอบแล้วรอบเล่า ก็จะสร้างสรรค์ความมั่งคั่งที่แท้จริงของสังคมจากผลผลิตใน แต่ละปีของที่ดินและแรงงาน ซึ่งจะเติบโตต่อไปอย่างช้าๆ และ ค่อยเป็นค่อยไป ผ่านวัฏจักรรอบแล้วรอบเล่าของ “กงล้อการ หมุนเวียนที่ยิ่งใหญ่” ในเล่มที่ 5 สมิธกล่าวถึงบทบาทที่เหมาะสมของรัฐบาล โดยอธิบายบทบาทหน้าที่พื้นฐาน อันได้แก่ การป้องกันประเทศ การยุติธรรม การสาธารณูปโภคและสถาบันที่เอื้ออ�ำนวยต่อ การพาณิชย์ การให้การศึกษาแก่ “ประชาชนทุกวัย” มาตรการ ต่อต้าน “โรคภัยที่น่ารังเกียจและขยะแขยง” การรักษา “พระ เกียรติขององค์อธิปัตย์” ตลอดจนการสนับสนุนค่าใช้จ่ายเหล่านี้ ด้วยการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมจากผูท้ ไี่ ด้ประโยชน์ (แทน การก่อหนี้สาธารณะ) ความมั่ ง คั่ ง ของชาติ กล่ า วถึ ง “หลั ก เศรษฐศาสตร์ การเมือง” แบบพาณิชยนิยมทีส่ ร้างความเสียหายมากเป็นพิเศษ


A

Primer

31

ในยุคของสมิธ หลักการดังกล่าววิวัฒนาการขึ้นมาในช่วงที่ยุโรป ฟื้นตัวจากการล่มสลายของกรุงโรมและการก่อตัวของรัฐชาติที่ ยาวนานร่วมพันปีจากระบอบขุนศึกและระบอบศักดินา ในช่วง เวลา 200 ปีมานี้มีตัวอย่างนักเขียนจ�ำนวนมากที่มีข้อได้เปรียบ จากผลงานและการวิจยั ร่วมสองศตวรรษ มาประเมินหนังสือของ สมิธ ซึ่งหนังสือของสมิธก็สามารถผ่านการทดสอบนี้มาได้ด้วยดี ประชาชนส่วนข้างมากในยุโรปตะวันตกนั้นยากจน อย่างน่าสังเวช ความยากจนสัมบูรณ์และการกดขีข่ ม่ เหงเป็นแรง ผลักดันส�ำคัญให้เกิดการอพยพไปสู่อเมริกาเหนือ แอฟริกาใต้ และออสเตรเลเซีย [ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และหมู่เกาะ บริเวณนั้น] ตราบจนถึงทศวรรษต้นๆ ของศตวรรษที่ 20 แต่ สมิธมองทะลุข้อเท็จจริงเรื่องความยากจนไปถึงต้นเหตุ ซึ่งก็คือ การปราศจากการสร้างความมั่งคั่ง การลดความยากจนจะต้อง มาจากภายในสังคมนั้นเท่านั้นโดยการสร้างเงื่อนไขที่ก่อให้ เกิดการสร้างความมั่งคั่ง นี่คือปัญหาที่สมิธมุ่งใช้แนววิเคราะห์ เชิงประวัติศาสตร์ในการศึกษามนุษยชาติ งานเขียนของสมิธ โปรยปรายไปด้ ว ยตั ว อย่ า งและข้ อ ความอ้ า งอิ ง จากเอกสาร คลาสสิกภาษากรีกและละติน ซึ่งสมิธมีความเชี่ยวชาญอย่างยิ่ง สมิธก็เป็นเหมือนบุคคลส�ำคัญทั้งหลายของยุคแสงสว่างทาง ปัญญา (Enlightenment) แห่งศตวรรษที่ 18 เขามองย้อนกลับ ไปถึงต้นก�ำเนิดของสังคม มิใช่มองไปข้างหน้าสู่สังคมเพ้อฝัน ยูโทเปียแบบต่างๆ ลัทธิโรแมนติกเพ้อฝันเช่นว่านั้นเฟื่องฟู อยู่ในศตวรรษที่ 19 มิใช่ในศตวรรษที่ 18 [ของสมิธ] อารยธรรมของยุโรปได้เสื่อมทรุดลงสู่ความป่าเถื่อน


32

Adam

Smith

แบบขุนศึกและระบอบศักดินา แต่กเ็ ช่นกัน สภาวการณ์ทดี่ ำ� เนิน ไปอย่างช้าๆ และค่อยเป็นค่อยไป (ซึ่งเป็นวลีที่ใช้ทั่วไปในงาน ของสมิธ) ก็คือผลผลิตทางการเกษตรฟื้นตัว ประชากรเพิ่มขึ้น และการพาณิ ช ย์ ไ ด้ เ ริ่ ม ขึ้ น ใหม่ ใ นงานออกร้ า นและตลาดที่ กระจัดกระจายไปทั่ว ในช่วงหนึ่งร้อยปีก่อนปี 1760 รายการ สิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือนแม้แต่ในบ้านที่ยากจนที่สุดของผู้ใช้ แรงงานธรรมดาๆ (ซึ่งส่วนมากได้มาโดยเป็นสินค้ามือสอง) ก็ แสดงถึง “ความอุดมสมบูรณ์” ในระดับหนึ่ง เหนือกว่าเครื่องใช้ ในครัวเรือนของชนเผ่าล่าสัตว์ในอเมริกาเหนือและบรรดา “เจ้า ผู้ปกครอง” ที่ทรงอ�ำนาจที่สุดของพวกเขา จากรายงานของ นักเดินทางผสมผสานกับการสังเกตของสมิธเองต่อโรงงานและ โรงตีเหล็กขนาดเล็กที่ท�ำตะปูและเข็มในพื้นที่ใกล้เคียงรอบๆ เมืองเคิร์กคอดี สมิธมองเห็นการสร้างสรรค์ความมั่งคั่งที่แท้จริง ซึ่งมิใช่ในรูปของทองค�ำและเงินแท่ง แต่ในรูปของการผลิตและ การกระจายผลผลิต ซึ่งแม้จะยังหยาบอยู่ แต่ก็เป็นผลผลิตจาก ที่ดินและแรงงานของสังคม แล้วจึงกลายเป็นสิ่งที่มองเห็นได้ใน ครัวเรือนของประชากรคนท�ำงาน ซึ่งเป็นมาตรวัดที่แท้จริงถึง ความอุดมสมบูรณ์โดยสัมพัทธ์ของประเทศหนึ่งๆ ความเข้าใจอันลึกซึ้งแรกสุดของสมิธนั้น มิใช่อยู่ที่การ ค้นพบการแบ่งงานกันท�ำ - “เกียรติ” ในการค้นพบสิง่ นีน้ บั ถอยหลัง ได้ถึงเพลโต และในยุค “สมัยใหม่” [ผู้ค้นพบ] ก็คือเซอร์วิลเลียม เพตตี (Sir William Petty, 1690) - แต่อยู่ที่สมิธเข้าใจชัดถึงนัย ส�ำคัญของการแบ่งงานกันท�ำ ว่าเป็นหนทางทีค่ วามอุดมสมบูรณ์ แท้จริงอาจแผ่ขยายไปในหมู่ประชากรส่วนข้างมาก มิใช่เพียง


A

Primer

33

แค่ส่วนที่ร�่ำรวยที่สุดของประชากร และยังท�ำให้พวกเขาอุดม สมบูรณ์ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นไปอีกภายในเวลาไม่กี่ชั่วอายุคน ประเด็นนีไ้ ด้โน้มน�ำให้สมิธตัง้ ค�ำถามว่า ถ้าการแบ่งงาน กันท�ำเป็นกุญแจแล้ว มีเงือ่ นไขใดบ้างทีจ่ ะช่วยเพิม่ ผลผลิตให้มาก ขึน้ และจะก�ำหนดส่วนแบ่งของแต่ละคน [ในผลผลิตนัน้ ] อย่างไร ที่ส�ำคัญคือมีอุปสรรคอะไรที่ขัดขวางมิให้สิ่งเหล่านี้บังเกิดขึ้น? ในการก้าวกระโดดจากการสาธยายไปสู่การวิเคราะห์นี้เอง สมิธ ก็ได้ก้าวเท้าแรกไปสู่รากฐานของศาสตร์แห่งวิชาเศรษฐศาสตร์ แบบใหม่ ข้ า พเจ้ า ขอเสนอบทสรุ ป ย่ อ ดั ง ต่ อ ไปนี้ ส� ำ หรั บ แบบ จ�ำลองของสมิธว่าด้วยระบบเศรษฐกิจพาณิชย์ที่ท�ำงานภายใต้ เสรีภาพสมบูรณ์ โดยเป็นส่วนเติมเต็มให้กับการน�ำเสนออัน ยอดเยี่ยมของ เอมอนน์ บัตเลอร์ ที่จะตามมาในหนังสือเล่มนี้ สังคมการพาณิชย์ได้พัฒนาการแลกเปลี่ยนผลผลิต ที่อาจขายได้ในตลาดและที่เป็นผลจากการแบ่งงานกันท�ำ การ แลกเปลี่ยนสิ่งของกับสิ่งของ (barter) ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยน โดยตรงแต่ไม่มปี ระสิทธิภาพระหว่างสินค้าต่อสินค้านัน้ มีมานาน ก่อนการปรากฏตัวของการแลกเปลี่ยนทางอ้อมโดยใช้เงินตรา ซึง่ มีประสิทธิภาพมากกว่า การมีอยูข่ องเงินเหรียญในอารยธรรม โบราณหลายพันปีก่อนแสดงถึงการมีอยู่มานานแล้วของการ พาณิชย์ที่เป็นผลจากการแบ่งงานกันท�ำ (มิฉะนั้นพวกเขาจะมี เงินเหรียญไปท�ำไมกันเล่า?) การแลกเปลี่ยนเริ่มแรกสุดเป็นการแลกเปลี่ยนระหว่าง ผลผลิตของชนบท (อาหารและวัตถุดิบ) กับผลผลิตของเมือง


34

Adam

Smith

เล็กๆ (เครื่องมืออุตสาหกรรมบุพกาลและเครื่องประดับ) ราคา ตลาด (market price) ของสินค้าในการแลกเปลี่ยนถูกก�ำหนด โดยอุปทานและอุปสงค์มผี ล1 และอาจจะต่างจากสิง่ ทีส่ มิธเรียกว่า “ราคาธรรมชาติ” (natural price) ซึ่งเป็นราคาที่ผลตอบแทนแก่ เจ้าของปัจจัยการผลิต (ที่ดิน แรงงาน ทุน) ที่ร่วมมือกันในการ ผลิตอย่างเท่ากันพอดีกับต้นทุนของพวกเขาโดยรวมอัตราก�ำไร ธรรมชาติในท้องถิ่นนั้นไว้ด้วย ส่วนราคาตลาดซึ่งกวัดแกว่งอยู่ ตลอดเวลารอบๆ ดุลยภาพแต่ไม่เคยหยุดลง ณ ดุลยภาพทีส่ มบูรณ์ นั้นอาจไม่พอที่จะชดเชยต้นทุนของเจ้าของปัจจัยการผลิตก็ได้ อย่างไรก็ตาม ราคาตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปก็เป็นสัญญาณให้ ผูเ้ ข้าร่วมการแลกเปลีย่ นต้องจ่ายมากหรือน้อย และ [ผูผ้ ลิต] ต้อง สนองผลผลิตมากหรือน้อยตามไปด้วย โดยที่อุปทานที่มีอยู่จริง จ�ำต้องปรับตัวตามสัญญาณเหล่านี้เมื่อเวลาผ่านไป ทั้งหมดนี้ ประกอบขึ้นเป็นพลวัตของระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขัน แรงงานมีทั้งแรงงานผลิตและแรงงานไม่ผลิต โดยที่ ความแตกต่างขึ้นอยู่ว่าแรงงานที่ท�ำงานร่วมกับทุนคงที่2 นั้น ท�ำการผลิตสินค้าที่ขายในตลาดแล้วได้รับต้นทุนรวมทั้งก�ำไร ของวิสาหกิจกลับคืนมาหรือไม่ บรรดาผลผลิตของแรงงานไม่ ผลิต (ตัวอย่างเช่น คนรับใช้ในบ้านที่บริการอาหารมื้อเย็นให้กับ ครอบครัวที่ร�่ำรวย) ที่ไม่มีขายในตลาดเพื่อให้ได้ต้นทุนกลับคืน [อุปสงค์มีผล (effectual demand) หมายถึงความต้องการสินค้าโดยผู้ซื้อ มีกำ�ลังซื้อจริง] 2 [ทุนคงที่ (fixed capital) ได้แก่ปัจจัยการผลิตที่ใช้งานได้หลายรอบการผลิต เช่น เครื่องจักร โรงงาน สิ่งก่อสร้าง ยานพาหนะ เป็นต้น] 1


A

Primer

35

มานั้นเป็นการบริโภคจากรายได้ ในทางตรงข้าม ผลผลิตของ แรงงานผลิตจะได้ต้นทุนกลับคืนมาและผลิตซ�้ำเป็นรายได้สุทธิ (ก�ำไร) ซึ่งอาจถูกใช้เพื่อบริโภค (การใช้จ่ายฟุ่มเฟือย) หรือเพื่อ การลงทุนสุทธิ (การมัธยัสถ์อดออม)3 ก็ได้ ชาติต่างๆ เติบโต มัง่ คัง่ ยิง่ ขึน้ จากการมีสดั ส่วนของผูผ้ ลิตทีม่ ธั ยัสถ์อดออมมากกว่า สัดส่วนของผูบ้ ริโภคทีฟ่ มุ่ เฟือยในช่วงเวลาหนึง่ ๆ และด้วยอัตรา การลงทุนสุทธิในแต่ละปีนี้เอง ระบบเศรษฐกิจจะเพิ่มการจ้าง งาน (ท�ำให้ค่าจ้างของแรงงานเพิ่มสูงขึ้น และแพร่กระจายความ สมบูรณ์มั่งคั่งไปในหมู่คนส่วนข้างมากที่มีฐานะด้อยที่สุด) ซึ่ง จะไปเพิ่มผลผลิตแต่ละปีอันประกอบด้วย “สิ่งจ�ำเป็น สิ่งอ�ำนวย ความสะดวก และสิ่งบันเทิงในชีวิต” เป็นที่น่าเสียดายว่า การล่มสลายของกรุงโรมได้ท�ำให้ กระบวนการธรรมชาตินี้สะดุดหยุดลง และเมื่อระบบเศรษฐกิจ ฟืน้ ตัวขึน้ ในอีกหนึง่ พันปีตอ่ มาโดยใช้ประโยชน์จากการปรับปรุง เทคโนโลยีการเพาะปลูกให้ดีขึ้นและศักยภาพทางเทคโนโลยี แบบใหม่ที่ได้จากการฟื้นฟูศิลปวิทยาการในสาขาวิทยาศาสตร์ สังคมก็ได้พฒ ั นาสถาบันการเมืองรวมทัง้ ลัทธิคำ� สอนทางศาสนา ที่ตายตัว แล้วออกเป็นกฎหมายมารองรับความคิดพาณิชยนิยม [นัยหนึ่ง การจ้างแรงงานผลิตเป็นการลงทุนผลิตเพื่อขายในตลาด ที่ได้รับ ต้นทุนและกำ�ไรกลับคืนมา ส่วนการจ้างแรงงานไม่ผลิต (เช่น คนใช้ในบ้าน) เป็นการใช้จา่ ยจากรายได้ของตัวเองเพือ่ การบริโภคส่วนบุคคลของคนรวย จึง ไม่คนื ทุนและไม่กอ่ เกิดกำ�ไร ส่วนการลงทุนสุทธิ (net investment) ก็คอื การนำ� กำ�ไรในอดีตมาลงทุนในเครื่องจักรใหม่ โรงงาน อาคารสิ่งก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น นอกเหนือไปจากส่วนที่ชดเชยการเสื่อมค่าของเครื่องจักรโรงงานเก่า]

3


36

Adam

Smith

ทีผ่ ดิ ๆ ซึง่ มีบทบาทขัดขวางวิวฒ ั นาการตามธรรมชาติของระบบ เศรษฐกิจ เสรีภาพสมบูรณ์ถูกลดทอนลงด้วยบทบัญญัติที่บังคับ เก็บภาษีศุลกากรสินค้าเข้า อากร และข้อห้ามต่างๆ ที่ต่อต้าน การค้าเสรี ตลอดจนบทบัญญัตขิ องสมาคมอาชีพและกลุม่ ผูกขาด งานช่างในเมืองซึ่งลดทอนประโยชน์ที่ได้จากการเข้าและออก จากตลาดโดยเสรีเพือ่ การแข่งขัน บทบัญญัตเิ หล่านัน้ ยังห้ามสิทธิ ธรรมชาติของแรงงานทีจ่ ะเข้ามาท�ำงานในสาขาอาชีพทีพ่ วกเขา ไม่ได้เป็นลูกมือฝึกหัดที่ยาวนานมาก่อน รวมทั้งห้ามปัจเจกชน ขายหรือซื้อผลผลิตที่ไม่ได้ผลิตมาจากแหล่งผลิตเฉพาะ และ เพื่อบรรลุภาพลวงตาของพวกพาณิชยนิยมในเรื่องดุลการค้า ก็ ยังก�ำหนดให้มีอากร การคืนอากร และเงินอุดหนุนส�ำหรับสินค้า น�ำเข้าและสินค้าส่งออก โดยทัง้ หมดนีล้ ว้ นเป็นผลร้ายต่อผูบ้ ริโภค ข้อเท็จจริงที่น่ากังวลคือ อุปสรรคขัดขวางจ�ำนวนมาก ทีม่ ตี อ่ การรักษาอัตราการลงทุนสุทธิทเี่ ป็นบวกซึง่ เป็นประเด็นที่ อาดัม สมิธ สนใจนั้น ก็ยังอยู่กับเราในศตวรรษที่ 21 และยังคง ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายนิติบัญญัติที่ฝักใฝ่ลัทธิพาณิชยนิยม และพวกประชานิยมจอมปลอม ทุกวันนี้ในระบบเศรษฐกิจโลก ที่ซึ่งความยากจนสัมบูรณ์ในประเทศพัฒนาแล้วไม่ใช่ปัญหา เหมือนในยุคสมัยของสมิธอีกต่อไปนั้น ปัญหาความยากจน สัมบูรณ์และความยากจนสัมพัทธ์4 ในประเทศก�ำลังพัฒนาและ [ความยากจนสัมบูรณ์ (absolute poverty) เป็นมาตรวัดความยากจนใน ประเทศหนึ่งๆ โดยค�ำนวณจากรายได้ขั้นต�่ำสุดที่เรียกว่า “เส้นความยากจน” ซึ่งครอบคลุมสินค้าบริการขั้นต�่ำสุดที่คนจะมีชีวิตอยู่ได้ ประชากรที่มีรายได้

4


A

Primer

37

ประเทศไม่พัฒนาในโลกนี้ก็น่าที่จะสร้างความสะเทือนใจให้แก่ นักเศรษฐศาสตร์ทุกคนดังที่ได้เกิดขึ้นในหัวใจและความคิดของ อาดัม สมิธ ผู้ซึ่งเมื่อเรามองย้อนกลับไปก็ถือได้ว่า ท่านเป็น นักเศรษฐศาสตร์คนแรกเลยทีเดียว เกือบทัง้ หมดของสิง่ ทีเ่ รียกว่าเรือ่ งนอกประเด็นและการ อรรถาธิบายทีล่ ะเอียดลออซึง่ เชือ่ กันว่าท�ำให้ ความมัง่ คัง่ ของชาติ “อ่านยาก” และ “ไม่ตรงประเด็น” ส�ำหรับผู้อ่านสมัยใหม่นั้น เกิด จากความเข้าใจผิดในสิ่งที่สมิธเป็นและคิด สมิธไม่ใช่ผู้แต่งต�ำรา “หลักเศรษฐศาสตร์” ในท่วงท�ำนองสมัยใหม่ วิชา [เศรษฐศาสตร์] ดังกล่าวไม่มีอยู่ในช่วงที่สมิธมีชีวิต สมิธเขียนรายงานเกี่ยวกับ การสืบค้นของเขาถึงความหมายที่แท้จริงของความมั่งคั่งของ ชาติ อะไรที่เป็นต้นเหตุให้ความมั่งคั่งเพิ่มพูนขึ้นและให้สังคม ก้าวรุดหน้าไปสู่ความมั่งคั่งสมบูรณ์ และอะไรที่ฉุดรั้งสังคมไว้ ผลงานของสมิธเป็นหนังสือถูกเล่มทีม่ าถูกเวลา นีเ่ ป็นอัจฉริยภาพ และมรดกของเขา และการน�ำเสนอโดย เอมอนน์ บัตเลอร์ ก็เป็น โอกาสอันดีที่สุดส�ำหรับผู้อ่านที่จะได้เห็นว่าเป็นเพราะเหตุใด

ต�่ำกว่า “เส้นความยากจน” ให้นับเป็น “คนจน” ส่วนความยากจนสัมพัทธ์ (relative poverty) เป็นมาตรวัดความยากจน โดยค�ำนวณค่า “รายได้ปานกลาง” (median income) ของประเทศนั้น แล้วจึงก�ำหนดให้จ�ำนวนร้อยละของ รายได้ปานกลางนั้นเป็น “เส้นความยากจน” เช่น สหภาพยุโรปก�ำหนดให้ ร้อยละ 60 ของรายได้ปานกลางเป็น “เส้นความยากจน” ประชากรที่มีรายได้ ต�่ำกว่านี้ให้นับเป็น “คนจน” ตัวเลขความยากจนสัมพัทธ์จะสะท้อนความ ไม่เท่าเทียมในการกระจายรายได้ในหมู่ประชากรของประเทศนั้นได้ดีกว่า]


1. ท�ำไม อาดัม สมิธ จึงส�ำคัญ?

/


A

Primer

39

อาดัม สมิธ (Adam Smith, 1723-1790) เป็นนักปรัชญาและ นักเศรษฐศาสตร์ชาวสก็อต ซึ่งรู้จักกันดีที่สุดในฐานที่เป็นผู้แต่ง หนังสือเรือ่ ง การสืบค้นถึงลักษณะและต้นเหตุของความมัง่ คัง่ ของ ชาติ (An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nations, 1776) อันเป็นหนังสือที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดเล่ม หนึง่ เท่าทีเ่ คยมีมา สมิธได้เปลีย่ นแปลงความคิดของเราเกีย่ วกับ หลักการของชีวติ ทางเศรษฐกิจ จากรูปแบบความคิดโบราณมาสู่ รูปแบบความคิดสมัยใหม่ทแี่ ตกต่างอย่างเด่นชัดบนพืน้ ฐานของ ความเข้าใจใหม่ทั้งหมดว่า สังคมมนุษย์ท�ำงานอย่างไร ทรรศนะเก่าของวิชาเศรษฐศาสตร์ สมิธได้เปลีย่ นความคิดของเราไปอย่างมากมายเสียจน เป็นการยากที่จะอธิบายถึงระบบเศรษฐกิจที่ด�ำรงอยู่ในยุคสมัย ของเขา ระบบเศรษฐกิจดังกล่าวซึง่ เรียกกันว่า ลัทธิพาณิชยนิยม (mercantilism) วัดระดับความมั่งคั่งของชาติในรูปปริมาณสะสม


40

Adam

Smith

ของทองค�ำและเงินของประเทศหนึ่งๆ การน�ำเข้าสินค้าจาก ต่างประเทศถูกมองว่าเป็นการสร้างความเสียหาย เพราะนั่น หมายความว่า ทองค�ำและเงินซึ่งถือเป็นความมั่งคั่งจะต้องถูก จ่ายออกไปเพื่อการน�ำเข้า ส่วนการส่งออกสินค้ากลับถูกมองว่า เป็นสิ่งที่ดี เพราะโลหะมีค่าเหล่านี้จะไหลกลับเข้ามาในประเทศ การค้าให้ประโยชน์แก่ผู้ขายเท่านั้น แต่ไม่ให้ประโยชน์แก่ผู้ซื้อ และชาติหนึ่งๆ จะร�่ำรวยขึ้นได้ก็ต่อเมื่อชาติอื่นๆ ยากจนลง เท่านั้น บนฐานของความคิดดังกล่าวนี้เอง จึงได้มีการก่อรูป โครงสร้างการควบคุมขนาดมหึมาขึน้ เพือ่ ป้องกันมิให้ความมัง่ คัง่ ของชาติต้องรั่วไหลออกไป ได้แก่ ภาษีที่จัดเก็บจากสินค้าเข้า เงินอุดหนุนแก่ผู้ส่งออก และการคุ้มครองอุตสาหกรรมภายใน ประเทศ แม้แต่อาณานิคมอเมริกาของบริเตนเองก็ยังถูกลงโทษ ด้วยมาตรการดังกล่าวภายใต้ระบบนี้ ซึ่งได้ก่อให้เกิดผลหายนะ ตามมา [เป็นสงครามประกาศเอกราชจากบริเตนและแยกตัวเป็น ประเทศสหรัฐอเมริกา] ที่จริงแล้ว การพาณิชย์ทั้งปวงล้วนถูก มองด้วยความหวาดระแวงในขณะที่วัฒนธรรมของลัทธิปกป้อง ทางการค้า (protectionism) แพร่กระจายอยูท่ วั่ ทัง้ ระบบเศรษฐกิจ ในประเทศ บรรดานครใหญ่ต่างห้ามช่างฝีมือจากเมืองอื่นมิให้ ย้ายเข้ามาหางานท�ำ ส่วนพวกนักอุตสาหกรรมและพ่อค้าก็รอ้ งขอ สิทธิผกู ขาดคุม้ ครองจากกษัตริย์ ขณะทีเ่ ครือ่ งมือประหยัดแรงงาน อย่างเครือ่ งถักถุงน่อง กลับถูกห้ามใช้เพราะถือว่าเป็นภัยคุกคาม ต่อผู้ผลิตที่มีอยู่เดิม


A

Primer

41

ผลิตภาพของการแลกเปลี่ยนโดยเสรี สมิ ธ แสดงให้ เ ห็ นว่ า โครงสร้ า งอั นใหญ่ โ ตของลั ท ธิ พาณิชยนิยมนี้มีพื้นฐานบนความผิดพลาดและเป็นผลร้ายต่อ การผลิต สมิธแย้งว่า ในการแลกเปลี่ยนโดยเสรี ทั้งสองฝ่ายจะมี สถานะที่ดีขึ้น เหตุผลนั้นง่ายๆ คือไม่มีใครที่ยินยอมเข้าร่วมการ แลกเปลีย่ นถ้าเขาคาดว่าจะเสียประโยชน์จากการแลกเปลีย่ นนัน้ ผูซ้ อื้ ก็ได้กำ� ไรเช่นเดียวกับผูข้ าย สินค้าน�ำเข้ามีคณ ุ ค่าส�ำหรับเรา มากพอๆ กับทีส่ นิ ค้าส่งออกของเรามีคณ ุ ค่าต่อผูอ้ นื่ เราไม่จำ� เป็น ต้องท�ำให้คนอืน่ ยากจนลงเพือ่ ให้ตวั เราเองร�ำ่ รวยมัง่ คัง่ ขึน้ ทีจ่ ริง แล้วเราจะได้ประโยชน์มากกว่าถ้าลูกค้าของเราร�่ำรวย1 จากสั จ ธรรมหลั ก ที่ ว ่ า การแลกเปลี่ ย นโดยเสรี ใ ห้ ประโยชน์แก่ทั้งสองฝ่ายนี้เอง สมิธได้ยืนยันว่า การค้าและการ แลกเปลี่ยนเพิ่มความเจริญมั่งคั่งให้แก่เราอย่างแน่นอนเยี่ยง เดียวกับเกษตรกรรมหรืออุตสาหกรรม ความมั่งคั่งของชาติ หนึ่งๆ ไม่ใช่ปริมาณทองค�ำและเงินในคลัง แต่เป็นการผลิตและ การพาณิชย์รวมของชาตินนั้ ๆ อันเป็นสิง่ ทีใ่ นปัจจุบนั เราเรียกว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (gross domestic product) นีเ่ ป็นแนวความคิดใหม่ แต่กเ็ ป็นความคิดทีท่ รงพลังยิง่ ความคิดนีไ้ ด้เจาะช่องว่างทางปัญญาขนาดใหญ่ทะลุผา่ นก�ำแพง กีดกันทางการค้าที่ถูกสร้างขึ้นรอบๆ บรรดารัฐในยุโรปมาตั้งแต่ The Wealth of Nations, Book IV, ch. III, part II, p. 493, para. c9. (เลขหน้าในเชิงอรรถอ้างถึง รวมงานและจดหมายของ อาดัม สมิธ ฉบับพิมพ์ กลาสโกว์ โปรดดูบรรณานุกรมคัดสรรที่อยู่ตอนท้ายของหนังสือนี้)

1


42

Adam

Smith

ศตวรรษที่ 16 ความคิดใหม่นี้ยังมีผลเชิงปฏิบัติอีกด้วย หนังสือ ความมั่งคั่งของชาติ ที่เต็มไปด้วยท่วงท�ำนองตรงไปตรงมา แหลมคม ท้าทาย มีไหวพริบเชิงเสียดสีประชดประชัน และ เต็มไปด้วยกรณีตัวอย่างจ�ำนวนมากมายนั้น สามารถอ่านและ เข้าถึงได้ง่ายโดยผู้คนที่เคยชินอยู่กับการปฏิบัติ ซึ่งจะแปล ความคิดของหนังสือเล่มนี้ไปเป็นการกระท�ำ หนังสือเล่มนี้ปรากฏขึ้นช้าเกินกว่าที่จะช่วยหลีกเลี่ยง มิให้เกิดสงครามกับอาณานิคมอเมริกา แต่กไ็ ด้วางรากฐานให้กบั นโยบายสนับสนุนการค้าเสรีและการปฏิรูประบบภาษีให้ง่ายขึ้น ของนายกรัฐมนตรีวลิ เลียม พิตต์ (William Pitt) และมาตรการเปิด เสรีตลาดสินค้าเกษตรของเซอร์โรเบิร์ต พีล (Sir Robert Peel) ในเวลาต่อมา ฉะนั้นจึงน่าจะเป็นความจริงที่ว่า หนังสือเล่มนี้ เป็นรากฐานให้กับยุคการค้าเสรีและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ในศตวรรษที่ 19 อันยิ่งใหญ่ กระทั่งทุกวันนี้สามัญส�ำนึกในเรื่อง การค้าเสรี [ที่ว่าให้ประโยชน์แก่คู่ค้าทั้งสองฝ่าย] ก็เป็นที่ยอมรับ ไปทั่วโลก ไม่ว่าในทางปฏิบัติจะมีความยากล�ำบากสักเพียงใด ในการบรรลุการค้าเสรีก็ตาม ระเบียบสังคมบนพื้นฐานของเสรีภาพ สมิธไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าถึงอิทธิพลข้างต้น [ของ หนังสือ ความมั่งคั่งของชาติ] แต่ความเชื่อมั่นที่เพิ่มขึ้น [ของ สมิธ] ต่อเสรีภาพส่วนบุคคลและเสรีภาพทางการค้าก็ก�ำเนิด มาจากความเข้าใจใหม่และถึงรากของสมิธเองว่าสังคมมนุษย์


A

Primer

43

ท�ำงานจริงๆ อย่างไร เขาตระหนักว่า ความสอดคล้องกลมกลืน ทางสังคมจะเกิดขึ้นตามธรรมชาติเมื่อมนุษย์ดิ้นรนต่อสู้เพื่อหา หนทางที่จะใช้ชีวิตและท�ำงานร่วมกัน เสรีภาพและประโยชน์ ส่วนตนไม่จ�ำเป็นต้องน�ำไปสู่ความสับสนอลหม่าน หากแต่ก่อให้ เกิดระเบียบและความสอดคล้องกัน เสมือนว่าถูกเหนี่ยวน�ำด้วย “มือที่มองไม่เห็น” (an invisible hand) เสรี ภ าพและประโยชน์ ส ่ ว นตนยั ง ก่ อ ให้ เ กิ ด การใช้ ทรัพยากรทีม่ ปี ระสิทธิภาพทีส่ ดุ เท่าทีเ่ ป็นไปได้ เมือ่ เสรีชนท�ำการ ต่อรองซึง่ กันและกัน - เพียงเพือ่ ปรับปรุงสภาวะของตนให้ดขี นึ้ ที่ดิน ทุน ทักษะ ความรู้ เวลา ความกล้าริเริ่มในสิ่งใหม่ และ ความคิดช่างประดิษฐ์ของชาติ ก็จะถูกเหนี่ยวน�ำโดยอัตโนมัติ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ไปสู่จุดหมายและเป้าประสงค์ที่ผู้คน ให้ค่าสูงสุด ฉะนั้น การรักษาไว้ซึ่งระเบียบสังคมที่รุ่งเรืองจึงไม่ ต้องการการก�ำกับควบคุมอย่างต่อเนื่องจากบรรดากษัตริย์และ รัฐมนตรีแต่อย่างใด ระเบียบสังคมดังกล่าวจะเติบใหญ่ขนึ้ เหมือน มีชีวิตโดยเป็นผลมาจากธรรมชาติของมนุษย์เอง แต่การที่จะ เติบโตให้ดที สี่ ดุ และท�ำงานให้มปี ระสิทธิภาพสูงสุด ระเบียบสังคม นัน้ ต้องมีระบบตลาดเปิดทีแ่ ข่งขัน พร้อมด้วยการแลกเปลีย่ นโดย เสรีและปราศจากการบังคับ ระเบียบสังคมดังกล่าวจ�ำเป็นต้อง มีกฎที่มุ่งรักษาลักษณะเปิดนั้น ดังเช่นเตาไฟเป็นสิ่งจ�ำเป็นเพื่อ รักษาไฟให้ลกุ โชน แต่กฎทีว่ า่ นัน้ อันได้แก่กฎความยุตธิ รรมและ กฎศีลธรรม มีลกั ษณะเป็นการทัว่ ไปและไม่เจาะจงบุคคล [จึงไม่มี ลักษณะกีดกันหรือเลือกปฏิบัติ] ซึ่งแตกต่างอย่างมากจากการ


44

Adam

Smith

แทรกแซงของเจ้าหน้าที่รัฐพาณิชยนิยมที่มีลักษณะเฉพาะและ [มุ่งให้ประโยชน์หรือกีดกัน] เจาะจงตัวบุคคล หนังสือ ความมั่งคั่งของชาติ จึงมิเพียงเป็นการศึกษา วิชาเศรษฐศาสตร์ อย่างที่เราเข้าใจกันในปัจจุบัน แต่ยังเป็น ต�ำราบุกเบิกว่าด้วยจิตวิทยาสังคมของมนุษย์ที่เกี่ยวกับชีวิต สวัสดิภาพ สถาบันการเมือง กฎหมาย และศีลธรรม จิตวิทยาว่าด้วยจริยธรรม สมิ ธ มาจากยุ ค สมั ย ซึ่ ง ยั ง เป็ น ไปได้ ที่ ป ั ญ ญาชนผู ้ มี การศึกษาคนหนึ่งจะรู้ทุกอย่างเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ศิลปะ วรรณกรรม ปรัชญา ความรู้กรีก-โรมัน และจริยศาสตร์ และสมิธ ก็มคี วามรูใ้ นสิง่ เหล่านีจ้ ริง เขารวบรวมหนังสือเป็นห้องสมุดขนาด ใหญ่มหึมาไว้ และมีแผนการที่จะเขียนประวัติวิชาศิลปศาสตร์ รวมทั้งหนังสือเกี่ยวกับกฎหมายและการปกครอง ความมั่งคั่ง ของชาติ ไม่ใช่งานชิ้นแรกที่สร้างชื่อเสียงให้กับสมิธ หากแต่ เป็นหนังสือว่าด้วยจริยศาสตร์เรื่อง ทฤษฎีว่าด้วยความคิดทาง ศีลธรรม (The Theory of Moral Sentiments) งานชิ้นนี้ปัจจุบัน ไม่เป็นทีร่ จู้ กั มากนัก แต่ในเวลานัน้ เป็นหนังสือทีท่ รงอิทธิพลมิได้ ยิง่ หย่อนไปกว่า ความมัง่ คัง่ ของชาติ และมีความส�ำคัญต่อ อาดัม สมิธ ผู้แต่งไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ทฤษฎีว่าด้วยความคิดทางศีลธรรม พยายามที่จะระบุ พื้นฐานที่เราใช้เพื่อการประเมินเชิงศีลธรรม และก็เป็นอีกครั้ง ที่สมิธมองประเด็นนี้ว่าเป็นเรื่องของจิตวิทยามนุษย์ในเชิงลึก


A

Primer

45

มนุษย์มี “ความเห็นอกเห็นใจ” ตามธรรมชาติ (sympathy หรือ ที่ในปัจจุบันเราเรียกว่า “การรู้สึกร่วม” หรือ empathy) ต่อผู้อื่น ซึ่งท�ำให้พวกเขาสามารถเข้าใจได้ว่าควรจะผ่อนเบาพฤติกรรม ของตนและรักษาไว้ซึ่งความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างกัน อย่างไร ความเห็นอกเห็นใจนีแ้ หละทีเ่ ป็นพืน้ ฐานของการประเมิน พฤติกรรมในเชิงศีลธรรม และเป็นแหล่งทีม่ าของคุณความดีของ มนุษย์ ประโยชน์ส่วนตนกับคุณความดี ปัจจุบนั บางคนสงสัยว่า ประโยชน์สว่ นตนซึง่ ขับเคลือ่ น ระบบเศรษฐกิจของสมิธนั้นจะไปกันได้กับ “ความเห็นอกเห็นใจ” ทีข่ บั เคลือ่ นจริยศาสตร์ของเขาได้อย่างไร ต่อไปนีค้ อื ค�ำตอบของ สมิธ “ไม่วา่ มนุษย์จะถูกเข้าใจว่าเห็นแก่ตวั สักเพียงไรก็ตาม แต่ก็ เป็นที่ชัดเจนว่า มีหลักการบางอย่างในธรรมชาติของเขาที่ท�ำให้ เขาใส่ใจในชะตากรรมของผู้อื่น และท�ำให้ความสุขของผู้อื่นเป็น สิง่ จ�ำเป็นส�ำหรับเขาด้วย แม้วา่ เขาจะไม่ได้รบั อะไรเลยจากความ สุขของผู้อื่นนอกจากความพึงพอใจที่ได้เห็นความสุขนั้น”2 นัยหนึง่ ธรรมชาติของมนุษย์นนั้ ซับซ้อน ช่างอบขนมปัง มิได้สนองขนมปังให้แก่เราด้วยความใจบุญสุนทาน แต่ขณะ เดียวกันก็มิใช่ประโยชน์ส่วนตนที่กระตุ้นให้บางคนโดดลงไปใน แม่น�้ำเพื่อช่วยชีวิตคนที่ก�ำลังจะจมน�้ำ หนังสือของสมิธทั้งสอง 2

The Theory of Moral Sentiments, part I, ch. I, p. 9, para. 1.


46

Adam

Smith

เล่มเป็นความพยายามที่เสริมกันและกันในการระบุสาเหตุว่า มนุษย์ที่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนสามารถใช้ชีวิต - และก็ใช้ชีวิต จริงๆ - อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ (ในปริมณฑลทางศีลธรรม) และ อย่างมีผลิตภาพ (ในปริมณฑลทางเศรษฐกิจ) แต่แน่นอนว่า ความมัง่ คัง่ ของชาติ ไม่ใช่ตำ� ราสนับสนุน ระบบทุนนิยมที่ปลาใหญ่กินปลาเล็กเหมือนกับที่มันถูกล้อเลียน เป็นบางครั้ง ประโยชน์ส่วนตนอาจเป็นแรงขับเคลื่อนระบบ เศรษฐกิจ แต่ถา้ มีการแข่งขันทีเ่ ปิดกว้างและปราศจากการบังคับ อย่างแท้จริงแล้ว ประโยชน์สว่ นตนก็จะเป็นพลังเพือ่ ประโยชน์ใน ทางดี แต่ไม่ว่าในกรณีใด ความเป็นมนุษย์และความปรารถนาดี ของสมิธก็ปรากฏอยูท่ กุ หน้าในหนังสือของเขา สมิธยกสวัสดิภาพ ของชาติและโดยเฉพาะอย่างยิง่ สวัสดิภาพของคนจนให้อยูเ่ หนือ ประโยชน์เฉพาะกลุ่มของพวกพ่อค้าและผู้ทรงอ�ำนาจ ทั้งต�ำหนิ ติเตียนนักอุตสาหกรรมที่พยายามขัดขวางการแข่งขันเสรี และ ประณามรัฐบาลที่ให้การช่วยเหลือคนพวกนั้น ธรรมชาติมนุษย์กับสังคมมนุษย์ นักคิดในศตวรรษที่ 18 ต่างเชื่อว่า จะต้องมีรากฐาน ส�ำหรับสังคมทีส่ มเหตุผลกว่าลัทธิคำ� สอนทีส่ บื ทอดโดยพวกพระ หรือค�ำสั่งของผู้ทรงอ�ำนาจทางการเมือง บางคนดิ้นรนแสวงหา ระบบกฎหมายและจริยธรรมที่ “มีเหตุมีผล” [โดยถือว่าเป็น รากฐานของสังคมมนุษย์] แต่สมิธอธิบายว่า สังคมมนุษย์รวมทัง้ วิทยาศาสตร์ ภาษา ศิลปะ และการพาณิชย์นนั้ มีรากหยัง่ ลึกอยูใ่ น


A

Primer

47

ธรรมชาติมนุษย์ เขาแสดงให้เห็นว่า สัญชาตญาณตามธรรมชาติ ของเราเป็นปัจจัยเหนี่ยวน�ำที่ดีกว่าหลักเหตุผลที่คุยโวโอ้อวด เกินตัวอย่างไร ถ้าเราเพียงแต่ยกเลิก “ระบบทั้งปวงที่ให้การ สนับสนุน [ผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม] หรือจ�ำกัดควบคุม [กีดกัน กลุ่มอื่น]”3 แล้วอาศัยแต่ “เสรีภาพตามธรรมชาติ” เราก็จะพบตัว เราเองว่าได้ลงหลักปักฐานอย่างแน่นอนอยู่ในระเบียบสังคมที่ สอดคล้องกลมกลืน สันติ และมีประสิทธิภาพ แม้จะไม่ได้ตั้งใจ ก็ตาม ระเบียบสังคมเสรีนยิ มนีไ้ ม่ตอ้ งการการดูแลเอาใจใส่อยู่ ตลอดเวลาจากกษัตริยแ์ ละบรรดารัฐมนตรีเพือ่ คอยพิทกั ษ์รกั ษา ไว้แต่อย่างใด ระเบียบสังคมนี้ขึ้นอยู่กับมนุษย์ที่ปฏิบัติตามกฎ การประพฤติระหว่างกันบางประการ เช่น ความยุตธิ รรมและการ เคารพในชีวติ และทรัพย์สนิ ของผูอ้ นื่ ดังนัน้ แล้วระเบียบสังคมโดย รวมทีเ่ ป็นคุณก็จะปรากฏขึน้ อย่างเป็นธรรมชาติ การแสวงหาของ สมิธก็คือการระบุถึงหลักการธรรมชาติว่าด้วยพฤติกรรมมนุษย์ ซึ่งในทางเป็นจริงได้สร้างสรรค์ผลลัพธ์ที่ถือว่าเป็นโชคดี [เป็น สังคมที่สอดคล้องกลมกลืนในปัจจุบัน]

3

The Wealth of Nations, Book IV, ch. IX, part II, p. 687, para. 51.


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.