Banyong pongpanich think (p 1 41)

Page 1


บรรยง พงษ์พานิช คิด พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์ openworlds, มกราคม 2557 ราคา 185 บาท คณะบรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร ปกป้อง จันวิทย์ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการ ปกป้อง จันวิทย์ ฐณฐ จินดานนท์ บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ ภูมิ นํ้าวล ฐณฐ จินดานนท์ ออกแบบปก wrongdesign ภาพปก ศุภชัย เกศการุณกุล พิสูจน์อักษร กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์ จัดทำ�โดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด 604/157 ถ.สาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 02-669-5145 โทรสาร 02-669-5146 email : openworldsthailand@gmail.com facebook : www.facebook.com/openworlds twitter : www.twitter.com/openworlds_th website : www.openworlds.in.th จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8356-9 website : http://www.se-ed.com/


ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ บรรยง พงษ์พานิช. บรรยง พงษ์พานิช คิด.-- กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2556. 200 หน้า. 1. บรรยง พงษ์พานิช. I. ชื่อเรื่อง. 923.8593 ISBN 978-616-91597-7-3


สารบัญ

‘เตา’ ที่ผมรู้จัก - วรากรณ์ สามโกเศศ 20 ปี กับคุณบรรยง - ศุภวุฒิ สายเชื้อ จากใจผู้เขียน

6 10 14

รักการอ่าน ผมกับรักบี้ น�้ำใจนักกีฬา เหลียวหน้า มองหลัง 36 ปี ชีวิตการงาน โอกาส เคล็ดลับอยู่ที่ความไม่ลับ ไว้เนื้อ เชื่อใจ หลักมั่วๆ ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์: เสาะหา - สั่งสอน หลักมั่วๆ ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์: ให้ท�ำ - บ�ำรุง - ส่งเสริม องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) บรรษัทภิบาล (Corporate Governance): Substance VS Form CSR (Corporate Social Responsibility)

22 28 34 42 48 52 56 62 68 74 78 82


มหากาพย์ต้มย�ำกุ้ง (1): 16 ปีแห่งความหลัง 88 มหากาพย์ต้มย�ำกุ้ง (2): ทวนอดีต 96 มหากาพย์ต้มย�ำกุ้ง (3): แก้วิกฤต 102 มหากาพย์ต้มย�ำกุ้ง (4): ปรส. 110 มหากาพย์ต้มย�ำกุ้ง (5): IMF กับกฎหมายขายชาติ 116 มหากาพย์ต้มย�ำกุ้ง (6): ฟื้นก�ำลังหลังสร่างไข้ 124 มหากาพย์ต้มย�ำกุ้ง (7): ฟินาเล่ 132 มหากาพย์ต้มย�ำกุ้ง (8): ควันหลง 140 เราจะเจอวิกฤตเศรษฐกิจแบบเดียวกับ 144 ปี 2540 กันอีกไหม? ACT NOW! (1) 148 ACT NOW! (2): ควันหลงจาก 152 “วันต่อต้านคอร์รัปชั่น” ประสบการณ์ล�้ำค่าจากมหาวิบัติภัยสึนามิ 158 Save Andaman Network: การร่วมก่อตั้ง SAN 166 หมู่บ้านทับตะวัน 172 ปัญหาเชาวน์ VS ปัญหาชีวิตจริง 174 ชีวิต ... คิดง่ายๆ Simple Like That 182 จากพี่เตาถึงน้องๆ 190


‘เตา’ ที่ผมรู้จัก วรากรณ์ สามโกเศศ

ในแวดวงการเงินและเศรษฐกิจไทยไม่มใี ครไม่รจู้ กั ชือ่ “เตา” หรือ บรรยง พงษ์พานิช หนุ่มใหญ่ผู้เป็นที่รักของผู้ใหญ่ พี่ น้อง และผองเพื่อน ซึ่งต่างคนต่างใช้ค�ำน�ำหน้าชื่อ “เตา” แตกต่างกัน ตามความใกล้ชิดและรสนิยม หลายคนอาจมีค�ำน�ำหน้าชื่อเพียงค�ำเดียวตลอดชีวิต เช่น “ไอ้” “พี่” “น้า” “เฮีย” หรือ “คุณ” ด้วยความที่คนอื่นไม่อยากหรือ ไม่กล้าใช้ค�ำอื่นน�ำหน้า แต่นั่นไม่ใช่กับ “เตา” มันไม่ใช่เรื่องปกติอย่างแน่นอนที่คนๆ หนึ่งจะมีค�ำน�ำหน้า ชื่อได้หลายค�ำเช่นนี้ “เตา” เป็นชื่อที่ผมเรียกตามปกติ บางครั้งก็ เติม “คุณ” ข้างหน้าตามกาลเทศะ ผมถามตัวเองว่าท�ำไมกรณีของ เตาจึงเป็นเช่นนี้ จนสุดท้ายก็ได้ค�ำตอบว่า เพราะมีคนจ�ำนวนมาก รักเตาเป็นพิเศษ คุณลักษณะส�ำคัญที่ท�ำให้เตาเป็นที่รักของคนรู้จักก็คือ ความจริงใจ ความเป็นกันเอง ความเป็นมิตร ตลอดจนความ ตรงไปตรงมาในการแสดงคิดเห็นเรื่องต่างๆ อย่างสุจริตใจและ 6 บรรยง พงษ์พานิช


เปิดเผย สิ่งเหล่านี้ท�ำให้ผมนึกถึงเพื่อนคนหนึ่ง ซึ่งเป็นคนที่เตา เองก็รักและนับถือมากเช่นกัน นั่นก็คือ คุณวิโรจน์ นวลแข ผู้มี ลักษณะเหมือนเตาในหลายเรื่อง สิ่งที่เตามีและเป็นประโยชน์ต่อสังคมก็คือ ความสามารถ ในการวิ เ คราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินและสังคม บน พื้นฐานทางวิชาการที่ไม่ถูกบดบังด้วยทฤษฎีซับซ้อนหรือผล ประโยชน์ส่วนตัว เตามีความภาคภูมิใจกับเกรด 2.00 ที่ได้รับ ตอนเรียนจบจากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นอันมาก เพราะนั่นเป็นเครื่องยืนยันว่าคุณภาพของบัณฑิต ทีแ่ ท้จริงและเกรดทีไ่ ด้รบั จากมหาวิทยาลัยของไทยนัน้ ไม่มคี วาม สอดคล้องกันเลย ถึงแม้เตาจะไม่ได้เขียนบทความวิชาการชนิดที่ “ขลัง” เสีย จนน่าปิดทองและยกขึน้ หิง้ แต่เตาก็เขียนบทวิเคราะห์สถานการณ์ เศรษฐกิจและการเงินทีน่ า่ สนใจ ชนิดทีผ่ อู้ า่ นเข้าใจได้อย่างชัดเจน และไม่ตอ้ งปีนกระไดอ่าน อีกทัง้ ยังน�ำเสนออย่างมีสสี นั และรสชาติ เอร็ดอร่อย จนจ�ำได้ไม่รู้ลืม งานวิ เ คราะห์ ข องเตาที่ ป รากฏอยู ่ ใ นหนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ ป็ น หลักฐานยืนยันสิ่งที่ผมได้เล่ามาเป็นอย่างดี คงไม่ต้องสาธยายให้ มากความไปกว่านี้ เตายังมีอีกสิ่งหนึ่ง นอกจากความสามารถในการบริหาร หน่วยงานการเงินและองค์กรอื่นๆ หลากหลายลักษณะ นั่นคือ ความรูค้ วามสามารถอย่างแท้จริงในสิง่ ทีเ่ ตาเชีย่ วชาญ การอธิบาย ให้เพื่อนร่วมงานเห็นพ้องด้วย การปลุกเร้าความรู้สึกและชี้น�ำให้ คนอื่นคล้อยตาม สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความสามารถพิเศษของเตาที่ หาคนเทียบเคียงได้ยาก

คิด 7


สิง่ ทีท่ �ำให้ผมรักเตาก็คอื ความรักในสังคมและเพือ่ นมนุษย์ ทีม่ อี ยูใ่ นตัว มีคนจ�ำนวนไม่มากนักทีร่ วู้ า่ คนๆ นีค้ อื ผูอ้ ยูเ่ บือ้ งหลัง การบริจาคเงินจ�ำนวนมากให้แก่กจิ กรรมทัง้ หลายทีเ่ ป็นประโยชน์ ต่อสังคมและโลก โดยที่ไม่ต้องการให้ใครรู้ เตาให้เงินแบบเงียบๆ ไม่กระโตกกระตาก ไม่เคยคุยโม้โอ้อวด เพราะเขาไม่ต้องการ สิ่งตอบแทน คนๆ นี้คือหนึ่งในคนไทยผู้ชอบ “ปิดทองหลังพระ” โดยหวังว่าทองที่ปิดนั้นจะมิได้เป็นเพียงแค่แผ่นทองที่สร้างความ งดงามและความขลังเท่านั้น หากยังต้องการให้สร้างประโยชน์แก่ ผู้ที่อยู่เบื้องหน้าพระพุทธรูปอีกด้วย ผมเขียนค�ำนิยมให้หนังสือเล่มนีด้ ว้ ยความสบายใจเป็นทีส่ ดุ เพราะเป็นโอกาสที่จะเล่าตัวอย่างของ “ชีวิตที่ดี” ให้คนรุ่นใหม่ได้ พิจารณา เพื่อน�ำไปสืบสานและปฏิบัติต่อไปในอนาคต เมื่อหลายปีก่อน ดาราเก่าแก่ของฮอลลีวูดชื่อ แม เวสต์ (Mae West) กล่าวไว้ว่า “You only live once, but if you do it right, once is enough.” ผมมัน่ ใจว่าเตาได้ “do it right” แล้ว และไม่ตอ้ งการมากกว่า “once” เพราะเตาเป็นศิษย์ท่านพุทธทาสอย่างแท้จริง

8 บรรยง พงษ์พานิช



20 ปี กับคุณบรรยง ศุภวุฒิ สายเชื้อ

ผมพบคุณบรรยง พงษ์พานิช ครั้งแรกเมื่อ 20 ปีที่แล้ว เมื่อ ผมมาสมัครงานเป็นนักเศรษฐศาสตร์ในฝ่ายวิจยั ของบริษทั เงินทุน หลักทรัพย์ ภัทรธนกิจ จ�ำกัด (มหาชน) ในปี 2537 โดย ดร.อโศก วงศ์ชะอุ่ม ซึ่งในขณะนั้นเป็นหัวหน้าฝ่ายวิจัย ได้กรุณาชักชวน ให้ผมมาท�ำงานในวงการหลักทรัพย์ ถึงแม้ว่าผมจะรับราชการใน กระทรวงการต่างประเทศมากว่า 12 ปี และไม่มีประสบการณ์ใน การท�ำงานภาคเอกชนเลย การพบคุณบรรยงในครั้งนั้นเป็นการ สัมภาษณ์เพื่อรับผมเข้าท�ำงานที่ภัทรฯ ซึ่งผมจ�ำได้ไม่มีวันลืม เพราะคุณบรรยงได้พดู คุยและสอบถามผมในเรือ่ งต่างๆ เป็นเวลา เกือบ 3 ชัว่ โมง ท�ำให้ผมรูส้ กึ ดีใจอย่างยิง่ ทีค่ ณ ุ บรรยงให้โอกาสผม และที่ส�ำคัญคือ ท�ำให้ผมเกิด “ความไว้เนื้อเชื่อใจ” ต่อคุณบรรยง และภัทรฯ จนผมเลือกเป็นพนักงานของภัทรฯ โดยไม่เคยคิดจะ ย้ายไปอยู่ที่ไหนอีกจนถึงทุกวันนี้ คุณบรรยงที่ผมรู้จักเป็นคนที่ใฝ่รู้และศึกษาจนกว่าจะรู้จริง โดยพยายามค้นคว้าจนเข้าถึงแก่นสาร เกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้ง และถ่องแท้ ซึ่งใครก็ตามที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับคุณบรรยงก็จะได้ 10 บรรยง พงษ์พานิช


รับความรูใ้ หม่ๆ หรือได้มมุ มองทีไ่ ม่เคยนึกถึงมาก่อน แม้แต่ความ รูส้ กึ “ไว้เนือ้ เชือ่ ใจ” ซึง่ เรามักจะพูดกันอย่างลอยๆ คุณบรรยงก็ได้ วิเคราะห์เอาไว้อย่างละเอียดและน่าสนใจว่ามีส่วนประกอบอะไร บ้าง เพื่อเป็นแนวทางให้พวกเราชาวภัทรฯ ใช้ในการท�ำงานจน สามารถสร้างความผูกพันที่ยั่งยืนกับลูกค้าได้ ทั้งนี้ ในช่วง 20 ปีที่ผมท�ำงานที่ภัทร ผมได้เห็นคุณบรรยง ทุ่มเทให้กับบริษัท ซึ่งถือได้ว่าเป็นบ้านหลังที่สองของชาวภัทรฯ หลายคนรวมทั้งผมด้วย หนังสือ บรรยง พงษ์พานิช คิด และ บรรยง พงษ์พานิช เขียน นี้ ผมกล้ายืนยันได้เลยว่าไม่เหมือนกับหนังสือเล่มอื่นๆ ที่ ผู้เขียนเล่าประสบการณ์ของตัวเอง เช่น เป็นที่ทราบกันว่าคุณ บรรยงท�ำงานในวงการตลาดเงินตลาดทุนมานานกว่า 36 ปี จน เป็นที่รู้จักกันดี แต่กลับเขียนบทความเรื่อง “6 เหตุผล: ท�ำไมเรา ไม่ควรเล่นหุ้นด้วยตัวเอง” นอกจากนั้น คุณบรรยงยังยอมรับว่าผลการเรียนจบตอน มศ. 5 ด้วยคะแนนคาบเส้น (500/1000) และจบเศรษฐศาสตร์ บัณฑิตด้วยเกรดเฉลี่ย 2.00 ท�ำให้ “หางานท�ำไม่ได้จนผ่านไป กว่า 8 เดือน” แต่ต่อมากลับได้รับเชิญให้กล่าวสุนทรพจน์ส�ำหรับ การเริม่ ต้น หรือ Commencement Speech ในพิธรี บั ปริญญาของ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ในปี 2555 การวิเคราะห์ของคุณบรรยงในด้านต่างๆ นั้น แสดงถึง ความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย แต่ลักษณะพิเศษของคุณ บรรยงคือการวิเคราะห์ที่สะท้อนความชัดเจนของความคิดและ ข้อสรุป เช่นในบทความที่กล่าวถึงปรัชญาหลักของ “โลกาภิวัตน์” คุณบรรยงให้นิยามว่า “เป็นการใช้ภูมิปัญญาและทรัพยากรของ คนทั้งโลกมาช่วยกันน�ำพาความเจริญ” คิด 11


ดังนั้น กฎหมายต่างๆ ที่ปกป้องสิทธิในการเป็นเจ้าของ ให้กับคนไทย เช่น พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จึง เป็นการฝืนโลกาภิวตั น์ และถือเป็น “พ.ร.บ. กีดกันผูม้ ปี ระสิทธิภาพ” ซึ่งคุณบรรยง “ตั้งค�ำถามว่า คนไทยที่จะได้ประโยชน์จากการ คุ้มครองเช่นนี้ ‘มีกี่คนกันวะ’ (แน่นอนว่ารวมผมอยู่ด้วย) และคน ไทยที่ต้องช่วยจ่ายช่วยรับภาระเพิ่ม เพื่อสนองอุดมการณ์มายานี้ ‘มีกี่สิบล้านคน’ ” ที่ผ่านมา ผมเห็นคนไทยน้อยคนนักที่จะเขียน บทความที่มีความชัดเจนในเชิงความคิดได้เหมือนคุณบรรยง แม้แต่ในด้านเศรษฐศาสตร์มหภาค (ซึ่งคุณบรรยงยอมรับ ว่าผ่านมาแบบคาบเส้น เพราะไม่คอ่ ยได้เข้าห้องเรียน) คุณบรรยง ก็สามารถวิเคราะห์ได้อย่างลึกซึ้งและครบถ้วน รวมถึงการเสนอ แนะให้แก้ปัญหาความเหลื่อมล�้ำที่เพิ่มขึ้นด้วยมาตรการที่ส่งผล เสียต่อประโยชน์ส่วนตนอย่างตรงไปตรงมา คือการเพิ่มภาษี คนรวย เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีที่ดิน ภาษีทรัพย์สิน ภาษี มรดก และภาษีดอกเบี้ย และการลดอ�ำนาจและอิทธิพลของนัก ธุรกิจโดยเพิม่ บทบาทของตัวแทนภาคประชาสังคม เช่น ผูบ้ ริโภค แรงงาน และ NGO หนังสือเล่มนี้จึงสะท้อนความเป็น “บรรยง พงษ์พานิช” ได้ อย่างดี คือมีความลึกซึง้ ชัดเจน และตรงไปตรงมาอย่างไม่เกรงใจ ใคร ด้วยความที่ไม่ชอบความคิดหละหลวม แม้ผอู้ า่ นอาจไม่เห็นด้วยกับความเห็นของคุณบรรยง แต่ผม เชื่อมั่นว่าหนังสือ บรรยง พงษ์พานิช คิด และ บรรยง พงษ์พานิช เขียน จะท�ำให้ผู้อ่านทุกท่านต้อง “คิด” และหากจะ “คิดแย้ง” ก็จะ ยิ่งเป็นประโยชน์ครับ

12 บรรยง พงษ์พานิช



จากใจผู้เขียน บรรยง พงษ์พานิช

“อยากเป็นครู” “อยากเป็นนักเขียน” นั่นเป็นความฝันวัยเด็กในช่วงอายุ 10 - 16 ปีของผม ความทีเ่ ป็นเด็กตัง้ ใจเรียนและรักการอ่าน ชนิดทีเ่ รียกได้วา่ อ่านหนังสือเกือบทุกเล่มในห้องสมุดโรงเรียน ท�ำให้ผมใฝ่ฝนั อยาก เป็นครูที่สอนหนังสือให้ได้ดีและสนุก รวมทั้งอยากเป็นนักเขียน ที่เขียนเรื่องบู๊ได้อย่าง “พนมเทียน” เขียนเรื่องตลกได้อย่าง “ป. อินทรปาลิต” เขียนเรือ่ งสัน้ ได้อย่าง “ ’รงค์ วงษ์สวรรค์” “ประชา พูนวิวัฒน์” และ “อาจินต์ ปัญจพรรค์” เขียนนิยายรักได้อย่าง “ทมยันตี” “รพีพร” และ “ก.สุรางคนางค์” เขียนเรื่องแปลได้อย่าง “ว. ณ ประมวลมารค” แถมรอบรู้เป็นพหูสูตอย่าง “ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช” เรียกได้ว่า ท่านเหล่านี้และท่านอื่นๆ อีกหลายสิบคน ล้วนแต่เป็นนักเขียนในดวงใจทั้งสิ้น สมั ย เด็ ก ๆ ผมเคยสมั ค รเข้ า เป็ น ที ม งานใน “สมาคม หนังสือพิมพ์” ของโรงเรียนเพื่อช่วยเขาท�ำหนังสือ บางทีพี่ๆ ก็ อนุญาตให้ผมเขียนบทความลงหนังสือประจ�ำภาคการศึกษาหรือ 14 บรรยง พงษ์พานิช


หนังสือพิมพ์แปะข้างฝาบ้าง แต่ท้ายที่สุด เมื่อกลับไปอ่านแล้ว ก็ เป็นบทความที่ท�ำให้หน้าแดงทุกที ด้วยว่าคุณภาพ เนื้อหาสาระ และส�ำนวนนั้น ล้วนอยู่ในขั้น “ใช้ไม่ได้” อ่านแล้วก็กระดากอาย ทุกครั้งไป พอโตขึน้ มาอยูช่ นั้ มัธยมปลาย ผมก็กลายเป็นวัยรุน่ ใจแตก หันไปสนใจอย่างอื่น ความฝันวัยเด็กทั้งหลายก็ค่อยๆ เลือนหาย ไป ยิง่ พอถึงวัยท�ำงาน ก็มวั แต่มงุ่ หน้าสร้างเนือ้ สร้างตัว จนตกเป็น ทาสของงานและ “ทุนนิยม” อยู่ร่วม 20 ปี เพราะเอาแต่ขลุกอยู่กับ เรือ่ งของธุรกิจและตลาดทุน เพียงเพือ่ แสวงหาทรัพย์หรือความสุข ฉาบฉวยอื่นๆ ตามค่านิยมของ “สังคมผิวเปลือก” จนลุถงึ อายุ 40 ในปี 2537 ผมจึงเริม่ คิดว่าสร้างตัวมาพอแล้ว ประกอบกับความเบื่อหน่ายในภาวะฟองสบู่เต็มที่ เนื่องจากราคา หุน้ สูงขึน้ อย่างไร้เหตุผล จนความรูแ้ ละหลักวิชาใดๆ ทีเ่ คยศึกษามา ดูจะไร้ความหมาย ผมจึงตัดสินใจลาออกจากงานไปล่าฝันในวัยเด็ก ด้วยการไปสมัครเป็นอาจารย์สอนเต็มเวลาทีจ่ ฬุ าฯ เขาก็ตงั้ ให้ผม เป็น “ศาสตราภิชาน” (รุน่ แรก) ของภาควิชาการเงิน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี แต่ปรากฏว่าสอนหนังสืออยูไ่ ด้ไม่ถงึ 2 ปี ก็มี เหตุให้ถูกตามกลับมาท�ำงาน (ก็ฟองสบู่มันจวนจะแตกเต็มทีแล้ว นี่ครับ) ผมจึงไม่ได้เป็นครูเต็มเวลาอีก แต่ถึงอย่างนั้น ผมก็ยังหา โอกาสไปบรรยายตามองค์กรต่างๆ ตลอดมา ผมผ่านวิกฤตต้มย�ำกุง้ มาอย่างสะบักสะบอม แต่มนั ก็ท�ำให้ ผมได้รับความรู้และความเข้าใจด้านต่างๆ เช่น เศรษฐศาสตร์และ ตลาดทุน เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล แถมยังโชคดีที่ได้เรียนรู้เรื่องการ บริหารองค์กรในระดับสากล มันก็น่าแปลกนะครับ ที่ชีวิตยามยากมักสอนเราได้ดีและ ถึงแก่นกว่ายามรุง่ เรือง คงจะจริงทีเ่ ค้าว่า “ในวิกฤตมีโอกาสเสมอ” คิด 15


ด้วยความที่เป็นคนชอบพูดชอบสอน บรรดาเพื่อนร่วม งานทั้งหลายของผมจึงต้องรับกรรมด้วยการฟังบรรยายเรื่อง ต่างๆ ซ�้ำซาก จนอาจเกิดความเบื่อหน่ายขึ้นมาจับใจ หลายๆ คนพยายามแนะน�ำให้ผมเขียนหนังสือเสียที (ไม่รู้ว่าพูดด้วย ความจริงใจ หรือคร้านจะฟังผมพล่ามเต็มที) แต่จนแล้วจนรอด ผมก็ผัดผ่อนเรื่อยมา ไม่ได้เริ่มลงมือเสียที ครั้นจะไปจ้าง “มือผี” (ghostwriter) ให้มาช่วยเขียนอย่างที่บางคนแนะ ผมก็ไม่คิดว่า ตัวเองจะส�ำคัญหรือน่าสนใจขนาดนั้น จนกระทั่งเมื่อ 8 เดือนที่แล้ว มีผู้หวังดีมาสมัคร เปิดบัญชี และสอนให้ผมรูจ้ กั กับ “เจ้าเฟซบุก๊ ” (Facebook) ทีค่ นเขาเล่นและ ใช้กนั อย่างแพร่หลายมานานหลายปีแล้ว ผมก็เลยได้มโี อกาสสาน ต่อความฝันที่อยากเป็นนักเขียนในวัยเด็กเอาตอนอายุเกือบ 60 หลังจากนั้น ผมก็ “บรรเลง” บทความสารพัดเรื่องลงใน เฟซบุ๊กกว่า 100 เรื่อง ในช่วงเดือนเมษายน - ธันวาคม 2556 แต่ ก็ต้องสารภาพว่า ผมเขียนอย่างที่อยากเขียนอยากเล่า และเขียน ตามที่คิด ที่รู้ และที่เห็น จึงไม่บังอาจรับรองความถูกต้องสมควร ไปทั้งหมด แถมหลายครั้ง ผมเขียนแบบตามใจคนเขียนมากกว่า จะสนใจคนอ่านเสียด้วยซ�้ำ การเขียนบทความในเฟซบุก๊ เป็นกิจกรรมทีส่ นุกมาก เพราะ มีทงั้ การถกเถียง การวิพากษ์วจิ ารณ์ การเสริมแทรกความรูค้ วาม เห็น และการชมเชยด่าทอ อีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกันได้แทบจะ ทันที ภายในเวลาแค่ 8 เดือน ผมได้รับความรู้ในเรื่องต่างๆ เพิ่ม ขึน้ มากมาย และได้รจู้ กั เพือ่ นๆ ทีส่ ว่ นมากยังไม่เคยเห็นหน้าค่าตา แต่กลับรู้สึกสนิทสนมราวกับรู้จักกันมานานอีกนับร้อยนับพันคน นับได้ว่าเป็นเหตุการณ์เปลี่ยนชีวิตอีกครั้งหนึ่ง ในวัยใกล้แซยิด แต่ทนี่ า่ อัศจรรย์ใจกว่าก็คอื การได้รบั การติดต่อจากเพือ่ นๆ 16 บรรยง พงษ์พานิช


ที่ openworlds ส�ำนักพิมพ์ของคนรุน่ ใหม่มาตรฐานสูง ซึง่ มีค�ำขวัญ ว่า “distilling global insights” ว่าจะขอน�ำเอาบทความต่างๆ ที่ ผมเขียนไว้ไปพิมพ์รวมเล่ม ผมจึงแอบภูมิใจเล็กๆ ว่า นี่เขาคิด ว่าความคิดเห็นของเราควรค่าแก่การตีพิมพ์ขนาดนั้นเชียวหรือ หลังจากที่ผมซักถามจนแน่ใจแล้วว่า การตัดสินใจตีพิมพ์ ไม่ได้เป็นเพราะความเป็นมิตร ความเกรงใจ ความสงสารทีเ่ ห็นเรา ตัง้ อกตัง้ ใจเขียน และไม่ได้คดิ ว่าเราคงจะสัง่ ซือ้ ไปแจกเองเป็นร้อย เป็นพันเล่ม หนังสือ บรรยง พงษ์พานิช คิด และ บรรยง พงษ์พานิช เขียน จึงปรากฏขึ้นในบรรณพิภพ ว่าไปแล้วก็อดไม่ได้ที่จะคิดถึงหนังสือชื่อ The Other Guy Blinked: How Pepsi Won the Cola Wars ที่เขียนโดย โรเจอร์ เอ็นริโก (Roger Enrico) อดีต CEO ของ PepsiCo, Inc. หนังสือ เล่มนี้เคยติดอันดับขายดี และผู้เขียนก็เคยมอบหนังสือพร้อม ลายเซ็นให้ผมกับมือเมื่อ 25 ปีก่อน อย่างไรก็ตาม อีก 15 ปีถัด มา ผมได้มีโอกาสพบเขาอีกและบอกเขาว่าผมยังเก็บหนังสือเล่ม นั้นไว้อยู่ เขากลับตอบว่า “การเขียนหนังสือเล่มนั้นเป็นสิ่งที่น่า อับอายทีส่ ดุ เท่าทีผ่ มเคยท�ำมา” เพราะหลังจากนัน้ ไม่นาน “เป๊ปซี”่ ก็ถูก “โคคา-โคล่า” ตีกลับ จนต้องหันไปเน้นท�ำธุรกิจด้านอื่นแทน แต่ก็ยังคงประสบความส�ำเร็จมากเช่นกัน ผมก็ได้แต่หวังว่า เมื่อเวลาผ่านไป ผมคงไม่ต้องมาบอกว่า “หนังสือทั้ง 2 เล่มนี้เป็นความอับอายครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต” เหมือน เช่นที่เคยรู้สึกหน้าแดงยามกลับไปอ่านงานเขียนสมัยเด็ก ในทาง กลับกัน ถ้าใครก็ตามที่บังเอิญได้อ่านข้อ “คิด” ข้อ “เขียน” ของผม แล้วสามารถน�ำไปใช้ประโยชน์และขยายผลคิดค้นต่อ หรือหาก หนังสือ 2 เล่มนี้ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่ได้บ้าง ผมก็ จะถือเป็นความภาคภูมิใจอันยิ่งใหญ่ในชีวิต คิด 17


เพราะผมเองก็ได้รบั แรงบันดาลใจแทบทุกอย่างในชีวติ จาก การอ่านหนังสือทั้งหลายเช่นกัน ท้ายที่สุด ผมขอขอบคุณเพื่อนทุกคนที่ openworlds โดย เฉพาะ ปกป้อง จันวิทย์ ที่เป็นผู้ริเริ่มความคิดในการท�ำหนังสือ ชุดนี้ วรพจน์ วงศ์กจิ รุง่ เรือง บรรณาธิการบริหารส�ำนักพิมพ์ ฐณฐ จินดานนท์ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล บรรณาธิการศิลปกรรม ศุภชัย เกศการุณกุล ช่างภาพ กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์ ผู้พิสูจน์อักษร นอกจากนั้นผมขอขอบคุณ ธนกร จ๋วงพานิช ทีแ่ นะน�ำเพือ่ นใหม่นามว่า “เฟซบุก๊ ” ให้ผมรูจ้ กั ขอบคุณ ภรรยาของผม อทิติ พงษ์พานิช ที่คอยตักเตือนเสมอเวลาผม เอาแต่หมกมุ่นกับการเขียนบทความในเฟซบุ๊ก จนเวลาในการ อ่านลดลงอย่างฮวบฮาบ “มีแต่ ‘ของออก’ ไม่เพิ่ม ‘ของเข้า’ เดี๋ยว อีกหน่อยก็โง่ตาย” เธอว่าไว้อย่างนั้น และที่ส�ำคัญที่สุด ต้องขอขอบคุณเพื่อนในเฟซบุ๊กกว่า 9,000 คน ที่เข้ามาติดตาม กดไลค์ กดแชร์ และแสดงความคิด เห็น จนเป็นแรงบันดาลใจให้ผมสนุกกับการเขียนบทความตลอด ระยะเวลาที่ผ่านมา ขอขอบพระคุณทุกท่านจากใจจริงครับ

18 บรรยง พงษ์พานิช





รักการอ่าน

“There are many little ways to enlarge your child’s world. Love of books is the best of all.” Jacqueline Kennedy “Today a reader, tomorrow a leader.” Margaret Fuller “There is no friend as loyal as a book.” Ernest Hemingway หากถามว่านิสัยอะไรที่ท�ำให้ผมเป็นคนอย่างนี้ สิ่งใดที่มี อิทธิพลกับชีวิตและความคิดของผมอย่างมาก ผมไม่ลังเลเลยที่ จะตอบว่า นิสัย “รักการอ่านหนังสือ” ก่อนจะเข้ามาเรียนหนังสือในกรุงเมือ่ อายุได้ 10 ขวบ (ป. 5) 22 บรรยง พงษ์พานิช


ผมเป็นเด็กต่างจังหวัดที่เรียนหนังสืออยู่ในโรงเรียนเล็กๆ ชื่อ “ชูศิลป์วิทยา” ใน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช (แต่โตขึ้น วิชา ศิลปกรรมทุกด้านของผมแย่หมด ... ศักดิ์วุฒิ วิเศษมณี หนึ่งใน ศิลปินเอกปัจจุบัน เป็นเพื่อนร่วมโรงเรียนนี้) พ่อผมเป็นคนทีใ่ ฝ่รู้ ชอบอ่านหนังสือ และชอบท้าทายลูกๆ ในด้านความรู้ โดยกระตุน้ ให้แข่งขันกัน เวลานัง่ รถด้วยกัน พวกเรา พี่น้อง 6 คน ชาย 5 หญิง 1 ต้องคอยแข่งกัน โดยใช้เลขทะเบียน รถที่สวนทางมา บวกบ้าง คูณบ้าง ลบบ้าง ถ้าชนะ จะได้รางวัล ทีละสลึง ซึ่งท�ำให้ผมค่อนข้างเก่งและเร็วเรื่องตัวเลขมาตลอด เวลาเราสงสัยอะไร พ่อจะตอบทุกอย่างโดยไม่เคยบอกปัด ให้พ้นๆ ไป (โดยมีสารานุกรมชุดเล็กๆ เป็นเครื่องช่วย ... แต่ ปัจจุบันใช้มือถือหรือไอแพดอันเล็กๆ ก็พอ) ยกตัวอย่างเช่น ตอน ผมอายุ 8 ขวบ ผมเคยถามพ่อว่า “ท�ำไมตอนเช้าพระอาทิตย์แสง อ่อนสวยงาม และดูด้วยตาเปล่าได้ แต่พอกลางวันกลับมีแสงจ้า ดูไม่ได้ พอตกเย็นก็ดูได้อีกแล้ว” พ่อผมก็ลงทุนเอาวงเวียนมา วาดวงกลม 2 วงซ้อนกัน วงในเป็นโลก วงนอกเป็นบรรยากาศ ที่ห่อหุ้ม แล้วลากเส้นให้ดูว่า ในช่วงเช้ากับเย็น แสงอาทิตย์ต้อง ผ่านชัน้ บรรยากาศมากกว่าตอนกลางวันมาก จึงท�ำให้บรรยากาศ ช่วยกรองแสง เด็กช่างซักอย่างผมก็เลยถามต่อว่า แล้วท�ำไมยาน เมอร์คิวรีวิ่งในอวกาศแล้วท้องฟ้ามืดสีด�ำล่ะ (ที่ถามเพราะ ใน ปี 1962 จอห์น เกล็นน์ เป็นชาวอเมริกันคนแรกที่โคจรรอบโลก ... ตอนนั้นก�ำลังดัง) เดือดร้อนพ่อต้องไปค้นคว้าอยู่นาน ก่อนจะ กลับมาอธิบายเรื่องแสง เรื่องรังสี และเรื่องแสงท�ำปฏิกิริยากับ บรรยากาศเสียยืดยาว โดยสรุปว่า ในอวกาศ ถึงท้องฟ้าจะเป็นสีด�ำ แต่ก็มองด้วยตาเปล่าไม่ได้อยู่ดี แถมสัมผัสกับแสงโดยตรงก็ยัง ไม่ได้ (รายละเอียดจ�ำไม่ได้แล้วครับ) คิด 23


นี่เป็นความทรงจ�ำและความประทับใจเล็กๆ น้อยๆ ที่ผม ไม่เคยลืม และมั่นใจว่านี่เป็นเหตุให้ผมถูกปลูกฝังทัศนคติขี้สงสัย อยากรู้อยากเห็น และมั่นใจว่าทุกอย่างมีค�ำตอบ การแสวงหา แรงบันดาลใจยามเยาว์วยั เป็นสิง่ ทีม่ อี ทิ ธิพลกับพฤติกรรมของเรา เมื่อเติบใหญ่เสมอ เมื่อ 50 กว่าปีที่แล้ว พ่อผมเป็นคนต่างจังหวัดไม่กี่คนที่ รับนิตยสาร ไทม์ (Time) กับ ไลฟ์ (Life) และมีตู้หนังสือใบโต ภายในนั้นมีหนังสืออยู่ร่วมร้อยเล่ม โดยเรียงกันอย่างอัดแน่น ในตู้หนังสือมีหนังสือประเภทวรรณคดีและสารคดีอยู่มากมาย ตั้งแต่ 10 ขวบ ผมก็อ่านหนังสือเกือบหมดตู้ เอาเท่าที่จ�ำได้ ก็เช่น สามก๊ก, ราชาธิราช, เกิดวังปารุสก์, เจ้าชีวิต (2 เล่ม หลังนี้เป็นงานทรงนิพนธ์ใน พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า จุลจักรพงษ์), ไทยกับสงครามโลกครั้งที่ 2 (ศ.ดิเรก ชัยนาม), นิทานเวตาล, ประมวลนิทาน ของ น.ม.ส., เสด็จฯ เยือนทวีปยุโรป พ.ศ. 2503, ชู้รักของ “ไอเซนฮาวร์” (แปลจากงานเขียนของ เคย์ ซัมเมอร์สบี ที่ภายหลังอ้างว่าเป็นชู้รัก), คลั่งเพราะรัก (ว. ณ ประมวญมารค), เชอร์ล็อก โฮล์มส์ ฯลฯ ก็ถือว่าแปลกมากที่ ไม่วา่ จะผ่านมากีส่ บิ ปี เราก็มกั จะไม่ลมื หนังสือทีเ่ คยอ่านในวัยเด็ก ก่อนอายุ 10 ขวบ แถมยังมีตู้หนังสือเล็กอีกใบหนึ่งที่ใส่กุญแจไว้ แต่ในที่สุด ผมก็เอาลวดเขี่ยจนเปิดได้ ในนั้นไม่ใช่หนังสือโป๊อย่างที่คิด แต่ เป็นพวกวรรณกรรมเริงรมย์ที่พ่อผมคิดว่าเด็กยังไม่ควรอ่าน เช่น สามเกลอ ของ ป. อินทรปาลิต, เล็บครุฑ ของพนมเทียน และพวก นิยายก�ำลังภายใน เช่น มังกรหยก ทีก่ �ำลังโด่งดัง ซึง่ ก็แน่นอนครับ ว่าผมแอบอ่านจนหมดอยู่แล้ว พอมาเข้าโรงเรียนประจ�ำทีว่ ชิราวุธฯ ผมค่อนข้างเก็บตัวและ 24 บรรยง พงษ์พานิช


ไม่คอ่ ยสุงสิงคบหากับใคร (ก็ผมรูส้ กึ ว่าเด็กคนอืน่ โง่ไปหมดนีค่ รับ) มีโลกของตัวเอง วางตัวเองเป็นศูนย์กลาง และเห็นแก่ตวั จนเพือ่ น ฝูงไม่ค่อยชอบหน้าสักเท่าไหร่ ตอน ป. 5 - ป. 6 ผมอยูก่ ลุม่ เด็กเล็ก แต่พอช่วง ป. 7 - มศ. 5 ก็เข้าคณะกับพวกเด็กโต 3 ปีแรกผมก็ยังเหมือนเดิม ไม่ยุ่งกับใคร ไม่เล่นกีฬา (ทีว่ ชิราวุธฯ เราเล่นกีฬาวันละ 3 ชัว่ โมง) วันๆ ขลุกอยู่ แต่ในห้องสมุดทีแ่ ทบไม่มคี นเลย ผมอ่านหนังสือจนเกือบหมดห้อง สมุด เพราะมีหนังสือค่อนข้างน้อย ผมอ่านมันทุกอย่าง ทั้งสารคดี เรื่องแปล ก�ำลังภายใน ยันนิยายของทมยันตี แล้วช่วงปลายของชั้น มศ. 2 (ตอนอายุ 15 ปี) ก็มีหนังสือ 2 เล่มที่เปลี่ยนชีวิตผม เล่มแรก เป็นหนังสือทีแ่ ปลจากหนังสือเล่มดังมากของ เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie) ซึ่งเขียนตั้งแต่ปี 1936 ชื่อ วิธีชนะใจ มิตรและจูงใจคน (How to Win Friends and Influence People) ทุกวันนี้ก็ยังมีขายอยู่ หนังสือเล่มนี้ท�ำให้ผมเลิกบ้าตัวเอง คิดถึง คนอื่นมากขึ้น พยายามเข้าใจคน แล้วก็เลยพยายามกลับมาเข้า สังคม ถือเป็นหนังสือทีม่ อี ทิ ธิพลต่อความคิดและพฤติกรรมของคน ทัว่ โลกจ�ำนวนมาก ลองไปหาอ่านดูสคิ รับ เพราะแนวคิดยังใช้ได้ดี ในโลกปัจจุบันอยู่เลย (แต่ก็มีการพูดกันว่า ถ้าใครอ่านเกิน 2 รอบ ให้ระวังยิ่งกว่าคนอ่าน สามก๊ก อีก) เล่มที่ 2 เป็นหนังสือภาษาอังกฤษ ซึ่งบรรยายถึงวิธีฝึก นักกีฬาในวัยเด็ก เพราะเมื่ออยากเข้าสังคมในโรงเรียนผม ก็มี แต่ต้องเล่นกีฬาให้เป็นเท่านั้น จึงจะได้รับการยอมรับ ส�ำหรับ เด็กเอาแต่เรียนอย่างผม เพื่อนฝูงเค้าเรียกกันว่า “ไอ้พวกปาก เหม็น” นัยว่าเอาแต่อ่านหนังสือ ไม่พูดคุยกับใคร จนน�้ำลายบูด (ผมเรียนดีระดับร้อยละ 90 จน มศ. 3) ผมเริ่มช้ากว่าคนอื่นเขา คิด 25


ก็เลยต้องฝึกหนักหน่อย ถ้าหวังจะตามให้ทัน แถมตัวเองก็ไม่มี ทักษะหรือพรสวรรค์อะไรเลย ตอนต้น มศ. 3 ผมเปลี่ยนไปอย่างมาก พยายาม “เสือก” และเข้าวงสังคมกับเพือ่ น ในขณะเดียวกัน ผมก็ตนื่ ตี 5 ทุกวัน เพือ่ วิ่งรอบโรงเรียนคนเดียววันละ 10 กิโลเมตร ช่วงบ่ายก็บ้าคลั่งฝึก กีฬาวันละร่วม 4-5 ชัว่ โมง (พยายามแสวงหาพรน่ะครับ) ขอเข้าไป เสือกไปแจมกับเขาทุกกีฬา ไม่ว่าจะเป็นรักบี้ บาสเกตบอล กรีฑา วอลเลย์บอล หรือฟุตบอล (อย่างหลังนี้ขุนไม่ค่อยขึ้น เพราะไม่ได้ ฝึกทักษะตั้งแต่เด็ก) ด้วยผลแห่งความมุมานะอย่างบ้าคลั่ง พอตอน มศ. 4 ก็ เลยติดทีมโรงเรียนทุกอย่าง ทั้งรักบี้ บาสเกตบอล และกรีฑา (วิ่ง 1,500 เมตร กับ 400 เมตร) พอตอน มศ. 5 ผมก็ติดรักบี้ทีมชาติ เท่ระเบิดไปเลย แล้วก็แน่นอนครับว่า ความเหลิง ความหลงตัว และความ ทะนงตน ย่อมมาพร้อมกับความส�ำเร็จเสมอ ผมเข้าใจไปว่าตัวเอง ประสบความส�ำเร็จเข้าให้แล้ว จึงเลิกเอาใจใส่การเรียน พอ มศ. 4 ผลการเรียนก็ตกฮวบ เหลือแค่ร้อยละ 72 แล้วก็จบ มศ. 5 ไปได้ อย่างฉิวเฉียดที่ร้อยละ 50 พอดิบพอดี ทีผ่ มสอบเข้าคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้ ก็เป็นเพราะบุญ เก่า เนื่องด้วยเขาสอบแค่ 4 วิชา คือคณิตศาสตร์ กข. (ซึ่งเป็นวิชา เดียวที่ผมยังเรียนอยู่ เพราะหลงรักการบวกเลขทะเบียนรถมา ตัง้ แต่เด็กนีค่ รับ) ภาษาอังกฤษ (ก็เล่นถือดิกชันนารีไว้อา่ นหนังสือ ตอนเด็กนี่ครับ) ภาษาไทย และสังคมศึกษา (ซึ่ง 2 อย่างหลังย่อม เข้าทางคนอ่านหนังสือหมดห้องสมุดอย่างผม) ทีนผี้ มเลยยิง่ ได้ใจใหญ่ เพราะขนาดท�ำตัวชุย่ ห่วย ไม่รบั ผิด ชอบ และไม่มวี นิ ยั ขนาดนี้ ผมก็ยงั เอาตัวรอดเข้าจุฬาฯ มาได้ ตอน 26 บรรยง พงษ์พานิช


เรียนมหาวิทยาลัยเลยท�ำตัวแย่ยิ่งกว่าเดิม แต่ก็จบออกมาด้วย เกรด 2.00 ในเวลา 5 ปี เพียงเพือ่ ทีจ่ ะเรียนรูโ้ ดยเกือบทันทีวา่ ตัวเอง นัน้ “โง่บดั ซบ” เพราะคิดผิด หลงผิด และหลงทางไปถึง 7 ปี เลยต้อง มาเหนื่อยเรียนในภายหลัง ซึ่งก็แน่นอนครับว่าต้องอ่านหนังสือ อีกมากมาย โดยมีหนังสืออีกหลายเล่มที่ช่วยเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนชีวิต และสร้างแรงบันดาลใจให้เปลี่ยนพฤติกรรม ในประวัตชิ วี ติ วัยเยาว์ของผม แทบไม่มอี ะไรทีน่ า่ ประทับใจ และน่าเอาอย่างเลยแม้แต่น้อย ที่จะพอมีดีอยู่บ้าง ก็มีแค่ 2 อย่าง เท่านั้น คือ “การรักการอ่าน” กับ “ความมุ่งมั่นท�ำจริง” ด้วยส�ำนึก ตนว่าไม่เคยมีพรสวรรค์ใดๆ ทุกครั้งที่คุณสับสนงงงวย ท้อแท้หดหู่ รู้สึกล้มเหลว หรือ แม้แต่ในยามสุขส�ำเร็จร่าเริง ก็อย่าลืมที่จะเดินเข้าร้านหนังสือ นะครับ ทุกอย่างมีค�ำตอบอยู่แล้ว เพียงแต่รอให้เราไปค้นคว้า แสวงหาเท่านั้น “The things I want to know are in books. My best friend is the man who’ll get me a book I haven’t read.” Abraham Lincoln “Books serve to show a man that those original thoughts of his aren’t very new at all.” Abraham Lincoln 24 ตุลาคม 2556 คิด 27


ผมกับรักบี้

ผมเล่นรักบี้ตั้งแต่เด็กเหมือนกับนักเรียนวชิราวุธฯ เกือบ ทุกคน พอเข้าจุฬาฯ ได้อย่างฟลุกๆ ก็เล่นให้อยู่ 5 ปีจนเรียนจบ (ผมเรียนนาน เพื่อเอาความรู้ให้แน่นน่ะครับ) ผมมีความผูกพันกับรักบี้จุฬาฯ มาก ทั้งกับโค้ช พี่ๆ ที่ผลัด เปลี่ยนกันมาดูแล เพื่อนร่วมทีม และน้องๆ ทุกคนจากทุกรุ่น ถึง แม้ว่าตลอด 5 ปีที่ผมเล่น เราไม่เคยชนะเลิศรายการใดๆ เลย ไม่ว่ากีฬาอุดมศึกษาฯ กีฬามหาวิทยาลัยฯ ฯลฯ เป็นได้แค่รอง แชมป์เกือบทุกครัง้ กระนัน้ สปิรติ ของรักบีจ้ ฬุ าฯ ก็ยงั เป็นสิง่ พิเศษ ที่ประทับใจผมตลอดมา ถึงแม้เราไม่เคยได้แชมป์ แต่เราก็ไม่เคย แพ้หลุดลุย่ สูไ้ ด้สสู ใี ห้กองเชียร์ได้มลี นุ้ (ก่อนคอตก) ทุกที ก็สมัยผม ยังไม่มี “โครงการช้างเผือก” ทีร่ บั นักกีฬาทีมชาติเข้ามหาวิทยาลัย นี่ครับ รามค�ำแหงมีทีมชาติตั้ง 12 คน จุฬาฯ มีแค่ 2 คนเอง สู้ได้ แค่นี้ก็เท่เหลือหลายแล้ว แต่ถึงจะแพ้ ทุกครั้งพี่ๆ ก็มาเชียร์ แถม ยังมาดูแลตั้งแต่เลี้ยงมื้อเที่ยง (ซึ่งท�ำให้จุกจนวิ่งไม่ออก ... ที่แพ้ ก็เพราะพี่นั่นแหละ) ไปจนถึงเลี้ยงปลอบใจหลังแข่ง (ก็มันไม่มี 28 บรรยง พงษ์พานิช


แชมป์ให้เลี้ยงฉลอง แต่พี่เค้าอยากเลี้ยงนี่ครับ) สิ่งเหล่านี้ถือเป็น ธรรมเนียม “พีด่ แู ลน้อง” ทีง่ ดงาม พีๆ่ แวะมาเยีย่ มเยียนดูแลตัง้ แต่ ตอนซ้อม บางท่านมาแทบทุกวัน ตัวผมเองยังรูส้ กึ ละอายว่าได้ท�ำ สิ่งเหล่านี้น้อยมากเมื่อโตขึ้น ก็ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่ช่วยสาน ต่อธรรมเนียมนีต้ ลอดมา หากมีอะไรทีผ่ มพอจะช่วยได้กข็ อให้บอก เมื่อคืนก่อน น้องๆ ได้จัดงานคืนสู่เหย้า หลังแข่งกับศิษย์ ปัจจุบันที่สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ (สนจ.) ผมก็เดินทางไปร่วมงาน โดยผมได้แวะไปรับ นพ.พินจิ ทวีสนิ หนุม่ น้อยอายุ 85 ปี ผูถ้ อื ได้วา่ เป็นวัตถุโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ซึ่งยังมีลมหายใจอยู่ของรักบี้จุฬาฯ “หมอ” เป็นโค้ชรักบี้จุฬาฯ อยู่หลายสิบปี เรียกได้ว่าเป็น แพทย์ทไี่ ม่เคยเปิดคลินกิ หรือท�ำงานเอกชนเลย เพราะพอตกบ่าย ก็อยู่ที่สนามรักบี้แทบทุกวัน ท่านสืบทอดสปิริตนี้มาจากป๋ายุกต์ อัศวรักษ์ ซึ่งเคยท�ำมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้น งานเมือ่ คืนเป็นงานทีส่ นุกและอบอุน่ เช่นเคย แต่ผมรูส้ กึ ว่า รุ่นพี่มาน้อยไปหน่อย ไม่ทราบว่าแจ้งข่าวได้ทั่วถึงกว้างขวางพอ หรือเปล่า และรู้สึกว่าน้องๆ เข้ามาสังสรรค์ตีซี้กับรุ่นพี่น้อยไปนิด ไม่รวู้ า่ เป็นเพราะความรูส้ กึ ว่ามีชอ่ งว่างระหว่างวัยของพวก Gen Y เขาหรือเปล่า ถือเป็นเรื่องที่น่าเสียดาย เพราะความจริงแล้ว “การ เสือก” อย่างชาญฉลาดนี่สร้างประโยชน์ได้เยอะเลย ผมมีเรื่องรักบี้อยากเล่าให้ฟังอยู่ 2 เรื่อง ส�ำหรับเรื่องแรก เคยมีปรมาจารย์ทางการบริหารจัดการ (ถ้าผมจ�ำไม่ผิด น่าจะเป็น ปีเตอร์ ดรักเกอร์) เคยกล่าวว่า หากจะ น�ำปรัชญาในการท�ำงานเป็นทีมของวงการกีฬามาใช้ในการบริหาร จัดการแล้ว ปรัชญาของทีมรักบีน้ า่ จะมีคณ ุ ค่าทีส่ ดุ ด้วยเหตุผลดังนี้ • ในเกมรักบี้จะมีหลัก “14 เพื่อ 1” คือคน 14 คนจะต้อง ท�ำงานหนักและทุ่มเททุกอย่าง เพื่อให้คน 1 คนท�ำคะแนนให้กับ คิด 29


ทีมได้ โดยไม่มีการก�ำหนดว่า 14 คนเป็นใคร หรือ 1 คนเป็นใคร ขึ้นอยู่กับจังหวะ ตามแต่โอกาสจะอ�ำนวย • ในเกมรักบี้ คนที่ท�ำงานหนักที่สุด (ก็พวก “บักๆ” ทั้ง หลายที่ต้องเข้าฟัดเข้าคลุกเพื่อให้ได้ครอบครองลูกนั่นแหละ) มัก จะไม่ค่อยมีใครเห็น โดยเฉพาะคนดู แต่ผู้ร่วมทีมทุกคนจะส�ำนึก ให้ความส�ำคัญ และให้เกียรติคนเหล่านี้เสมอ • ไม่มีฮีโร่ในเกมรักบี้ ผู้ที่ท�ำคะแนนได้ ก็เพียงแต่ท�ำหน้าที่ และมีสว่ นร่วมกับเกมเท่ากับเพือ่ นๆ ไม่มกี ารกระโดดโลดเต้นโชว์ เท่ หรือแสดงท่าทางสร้างสรรค์วิปริตใดๆ อย่างมากเพื่อนก็ตบ กบาลแล้วชมว่า “Good Job” เท่านั้น • ในเกมรั ก บี้ ผู ้ เ ล่ น จะต้ อ งให้ เ กี ย รติ คู ่ ต ่ อ สู ้ ไม่ มี ก าร ดู ห มิ่ น เหยี ย ดหยามกั น (ไม่ เ หมื อ นตะกร้ อ หรื อ วอลเลย์ บ อล ที่มีการชี้พื้นเพื่อเป็นการเยาะเย้ยคู่แข่งตลอดเวลา) และเป็น ธรรมเนียมเมื่อจบการแข่งขัน ที่ผู้ชนะจะต้องรีบตั้งแถวเพื่อปรบ มือให้เกียรติแก่ผู้แพ้ จากนั้นจึงสลับกัน เพื่อให้ผู้แพ้แสดงความ ยินดีให้แก่ผู้ชนะ แค่นี้

คงมีเรื่องดีๆ อย่างอื่นอีกที่ท่านเอ่ยถึง เสียแต่ว่าผมจ�ำได้

ส�ำหรับเรื่องที่ 2 รักบี้เปลี่ยนชีวิตผมถึง 2 ครั้ง ตอนเด็ก ผมเป็นเด็กเรียนที่ขี้อายและมีโลกส่วนตัวสูง ผม ไม่ค่อยสุงสิงสมาคมกับใคร (ปัจจุบันเหลือแต่ขี้อายอย่างเดียว) และมีผลการเรียนดีมาก พอเล่นรักบี้ ตอน มศ. 4 ก็ตดิ ทีมโรงเรียน แถมยังติดทีมชาติตอน มศ. 5 ผมก็เลยเกิดอาการเหิมเกริมและ ทะนงตน แถมในสมัยนั้นโรงเรียนผมยังยึดเอารักบี้เป็น “วิถีชีวิต” เชิดชูคนเล่นรักบี้เก่งเสมือนเป็นเทพอีกต่างหาก เมื่อได้รับทั้ง 30 บรรยง พงษ์พานิช


เกียรติทั้งอ�ำนาจ ผมก็เลยหลงผิด คิดว่าตัวเองประสบความ ส�ำเร็จยิ่งใหญ่ในชีวิตเข้าแล้ว ผมจึงเลิกเรียนหนังสือ ถึงจะเข้า สมาคมกับคนอื่น แต่ก็เป็นแบบอวดเก่งอวดดี เที่ยวข่มเหงคน ที่เขาด้อยกว่า (ขอถือโอกาสนี้ขอโทษเพื่อนเก่าด้วยเลยแล้วกัน) ผลการเรียนของผมตอนจบ มศ. 5 ได้ร้อยละ 50 (คือ 500 จาก 1000 เป๊ะๆ โดยไม่ต้องบวกต้องเพิ่ม) ความจริงโรงเรียนเขาก็ ไม่ได้ผิดอะไรนะครับ ผมมันห่วยของผมเอง พอเข้ า มหาลั ย ได้ ยิ่ ง แล้ ว ใหญ่ นอกจากการเล่ น กี ฬ า แล้ว ผมก็แทบไม่ได้ท�ำอะไรที่มีสาระ ดีแต่เล่นการพนัน เสพ อบายมุข จีบสาว ป้อๆ ไปวันๆ ไม่เข้าเรียน ผมอาศัยเพื่อนฝูงกับ เล่ห์กระเท่ห์เอาตัวรอดมาได้ แต่ก็ใช้เวลา 5 ปี ถึงจบออกมาเป็น “เศรษฐศาสตรบัณฑิต” ด้วยเกรดเฉลีย่ สะสม 2.00 (แน่ไหมล่ะครับ เรือ่ งการคาดคะเน น่าจะไปเป็นนักวิเคราะห์หนุ้ ) ทัง้ ทีแ่ ทบไม่รดู้ ว้ ย ซ�้ำว่าอุปสงค์กับอุปทานมันต่างกันยังไง เมือ่ ถึงคราวต้องหางาน ผมจึงเริม่ ส�ำนึก เพือ่ นๆ ได้งานดีๆ กันไปหมดแล้ว ไอ้เตากลับหางานท�ำไม่ได้ จนผ่านไปกว่า 8 เดือน เพราะเมื่อไปสมัครที่ธนาคารกสิกรไทย พอกรอกใบสมัครและส่ง ใบเกรดเสร็จ เค้าก็ไม่ให้สอบ โดยบอกว่าเสียเวลาตรวจเปล่าๆ ธนาคารไทยพาณิชย์ยิ่งแล้วใหญ่ เขาไม่ให้ผมกรอกใบสมัครด้วย ซ�้ำ แล้วบอกผมว่า “ไปข้างหน้าเถอะน้อง เปลืองกระดาษ” ร�่ำๆ จะไปสมัครต�ำรวจอยู่แล้ว เพราะเพื่อนชวน ด้วยเหตุว่าเขาก�ำลัง ส่งเสริมกีฬารักบี้ (สมัยท่านรองฯ ชุมพล โลหะชาละ) ซึ่งก็ไม่แน่ นะครับ เพราะถ้าผมท�ำจริง พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว เพื่อนผม อาจจะยังไม่ได้เป็น ผบ.ตร. ก็ได้ แต่สุดท้ายก็เป็นเพราะงานปาร์ตี้รักบี้หลังการแข่งนัดหนึ่ง ที่ สนจ. เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2520 นี่แหละครับ ที่ท�ำให้ คิด 31


ผมได้งานที่ยังท�ำอยู่ทุกวันนี้ เนื่องจากเป็นยุคที่ตลาดหุ้นเริ่ม บูม (ยุคราชาเงินทุน) และผมได้ไปเจอพี่วิโรจน์ นวลแข ซึ่งพอ คุน้ เคยจากงานปาร์ตรี้ กั บีจ้ ฬุ าฯ ก่อนหน้านัน้ (ก็ผมชอบเสนอหน้า ชอบเสือกเป็นอาจิณอยู่แล้วน่ะ) และพอดีว่าพี่เขาก�ำลังเสาะหา พนักงานเสมียนเคาะกระดานหุ้นที่มี “ร่างกายก�ำย�ำ ทนแรง เบียดแรงกระแทกได้ดี ถนัดการแก่งแย่งช่วงชิง และเจ้าเล่ห์ทัน คน” ซึ่งไม่ใช่คุณสมบัติทางวิชาการใดๆ เลย เป็นคุณสมบัติของ นักรักบี้ล้วนๆ ผมก็เลยได้งานที่ “ภัทรธนกิจ” โดยมีเงินเดือนเริ่ม ต้นที่ 2,450 บาท แล้วก็ตะบันท�ำที่นี่ที่เดียวมา 36 ปี จนถึงวันนี้ แหละครับ ผมโชคดีสุดๆ ที่เป็นนักรักบี้จุฬาฯ แล้วไปงานปาร์ตี้วันนั้น เพราะงานนี้ได้ท�ำให้ผมมาอยู่ในอุตสาหกรรมที่เติบโตเป็นพันเท่า ซึง่ ก็พลอยท�ำให้ผมได้ดี และได้มาอยูใ่ นองค์กรทีด่ ที สี่ ดุ ส�ำหรับผม ไปด้วย เหตุการณ์นี้ท�ำให้ผมส�ำนึกได้อย่างรวดเร็วว่าชีวิต 7 ปีที่ ผ่านมาเป็นการหลงทางหลงผิด และไร้ซงึ่ สาระแก่นสารโดยสิน้ เชิง ท�ำให้ผมกลับตัวกลับใจหันมาศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจังและบ้าคลัง่ เพื่อชดเชยเวลาที่เสียไป และทีส่ �ำคัญ องค์กรนี้ยงั ให้โอกาสเรียนรู้ และแสดงความสามารถอย่างเต็มที่ (วันก่อนผมได้รับเชิญไป บรรยายเกีย่ วกับเศรษฐศาสตร์ และได้เจออาจารย์เก่า ท่านเข้ามา ทักว่า “เฮ้ย!! ไปหกล้มหัวฟาดที่ไหนมาวะ เอ็งไม่ใช่ไอ้เตาลูกศิษย์ ข้านี่หว่า”) ถ้าผมไม่ได้เล่นรักบี้ ... ชีวิตผมอาจจะไม่หลงทาง (ไม่แน่ นะครับ อาจจะได้เป็นด็อกเตอร์จากฮาร์วาร์ด เท่เหมือน ดร.วิรไท สันติประภพ ก็เป็นได้) 32 บรรยง พงษ์พานิช


ถ้าผมไม่ได้เป็นนักรักบี้จุฬาฯ ... ผมก็คงไม่ได้มีโอกาส กลับตัวกลับใจ ด้วยเหตุนี้ ... ผมถึงรักรักบี้จุฬาฯ จริงๆ 30 มิถุนายน 2556

คิด 33


น�้ำใจนักกีฬา

“The most important thing in the Olympic Games is not winning but taking part; the essential thing in life is not conquering but fighting well.” Pierre de Coubertin ในชีวิตนี้ ผมเล่นกีฬามามากมาย ทั้งจ�ำนวนชนิดกีฬาและ จ�ำนวนครั้งที่ลงแข่งขัน แต่ก็ขอบอกตรงๆ ว่า จนเดี๋ยวนี้ผมก็ยัง ไม่ค่อยแน่ใจว่าเป็นแค่ “คนเล่นกีฬา” หรือเป็น “นักกีฬา” ที่มีน�้ำใจ นักกีฬาอย่างสมบูรณ์แท้จริง จากเด็กวัยก่อน 15 ปีที่ไม่รักกีฬา คอยแต่จะหลบเลี่ยง เวลาที่ถูกบังคับให้เล่น ก็กลายมาเป็นคนที่ทุ่มเทอย่างบ้าคลั่ง ตื่น ตั้งแต่ตี 5 เพื่อวิ่งคนเดียววันละ 10 กิโลเมตรอยู่เกือบครึ่งปี ขอ เข้าซ้อมกีฬาทุกประเภทโดยไม่ได้รับเชิญ เริ่มลงสนามตั้งแต่บ่าย 3 โมง ยื้อเลิกเอาตอน 6 โมง 25 นาทีทุกวัน ที่วชิราวุธฯ เราต้อง เข้าแถวกินข้าวตอน 6 โมงครึ่ง ท�ำให้ผมมีเวลาอาบน�้ำแค่ 5 นาที จนขี้กลากขึ้นเลยนะครับ 34 บรรยง พงษ์พานิช


ตอนปิดเทอม ถ้าผมกลับต่างจังหวัด ก็จะต้องไปด้อมๆ มองๆ ตามสนามบาสเกตบอล หวังจะขอเค้าลงเล่นแจมด้วย หรือ ไม่กไ็ ปตีแบดมินตัน เมือ่ อยูก่ รุงเทพฯ ถ้าไม่อยูต่ ามสนามกีฬาเพือ่ ดูเขาแข่ง ผมก็จะอยู่ที่สนามโรงเรียนสหคุณศึกษา ... แบบว่าไป ขอคุกเข่าขอเป็นศิษย์ “เฮียเหลียง” ซึ่งเป็นโค้ชนามกระเดื่อง ผม ไปนัง่ ขอบสนามอยูห่ ลายวัน กว่าเค้าจะยอมให้ลงไปซ้อมให้ดู และ ในที่สุดก็ให้ร่วมเล่น จนได้ลงแข่งทีมประชาชนชาย ข ในชื่อ “ทีม หงษ์เหิร” และได้ร่วมคัดทีมชาติตอนอยู่ มศ. 5 (แต่ตกรอบ 20 คนสุดท้าย) ซึ่งความจริงที่วชิราวุธฯ ก็มีโค้ชเก่งชื่อ อ.ว่อง สังขมี (ท่านเพิง่ ถึงแก่กรรมเมือ่ 1 สัปดาห์กอ่ นผมเขียน) ทีเ่ คยเป็นผูช้ ว่ ย โค้ชทีมชาติ แต่วชิราวุธฯ เค้าเล่นบาสฯ กันแค่ปีละ 4-5 เดือนเอง แต่ในขณะที่ผมเสี้ยน อยากเล่นทั้งปีนี่ครับ ตอนปี 2513 ผมอยู่ มศ. 4 ไทยต้องรับเป็นเจ้าภาพเอเชียน เกมส์ ครั้งที่ 6 แทนเกาหลีใต้ที่เกิดถังแตก ท�ำให้ไม่มีเงินจัด (เมื่อ 40 ปีที่แล้ว เค้าช่างยากจนน่าสงสาร ถึงกับต้องให้เรารับกู้หน้า ให้ แต่มาเดี๋ยวนี้ดันรวยกว่าเรา 5 เท่าได้ไง ... จัดโอลิมปิกไปครั้ง บอลโลกไปอีกครัง้ เอ็งต้องโกงแน่ๆ เลย ... เอ๊ะ! หรือเป็นเพราะว่า เค้าเลิกโกงกันแน่วะ) ผมไปอ้อนวอนจนได้บตั รแขวนคอมาใบหนึง่ เข้าได้ทกุ สนาม เชือ่ ไหมครับว่า ตลอด 2 สัปดาห์ ผมไปสนามกีฬา คนเดียวตั้งแต่ 9 โมงเช้า และดูจนดึกถึง 4 ทุ่มทุกวัน ดูมันแทบ ทุกประเภท วนเวียนอยูแ่ ค่สนามศุภชลาศัยกับสนามกีฬาหัวหมาก (อินดอร์สเตเดียมกับเวลโลโดรม) ในปีนั้น ไทยได้ 9 เหรียญทอง จากกรีฑา (อาณัติ รัตนพล) 2 จากมวย 2 จากยกน�้ำหนัก 1 จาก จักรยาน และอีกอย่างคือ ... ผมก็จ�ำไม่ได้แล้วเหมือนกัน กีฬาที่ผมเล่นจริงจังจนได้ลงแข่งขันในระดับชาติ ระดับ กีฬาแห่งชาติ ระดับมหาวิทยาลัย และระดับสโมสร ก็มหี ลายอย่าง คิด 35


ยกตัวอย่างเช่น ผมเล่นรักบี้ทีมชาติระหว่างปี 2514-2519 เคยไป แข่งรักบี้ชิงแชมป์เอเชีย ครั้งที่ 3 ปี 1972 ที่ฮ่องกง จนคว้าที่ 3 มาได้ และครั้งที่ 4 ปี 1974 ที่ศรีลังกา เคยได้เหรียญทองจากการ แข่งขันซีเกมส์ ครัง้ ที่ 8 ปี 1975 แล้วยังไปแข่งฮ่องกง เซเวนส์ ครัง้ ที่ 1 ปี 1976 ได้รองแชมป์ประเภท Bowl (ระดับ 3) ตอนที่ผมเข้าจุฬาฯ ปี 1 ยังไม่มีโครงการช้างเผือกที่รับ นักกีฬาทีมชาติเข้ามาเรียนแบบพิเศษ ผมลงแข่งกรีฑาน้องใหม่ โดยแข่งแค่ 2 วัน ได้ไป 4 เหรียญทอง จากการวิ่ง 200 ม. 400 ม. 1,500 ม. และ 3,000 ม. ได้เหรียญเงินอีก 2 เหรียญ จากกระโดด สูงกับทุ่มน�้ำหนัก ตอนแรกก็นึกว่าตัวเองเท่จัด แต่พอเดินผ่าน กลุ่มสาวอักษรฯ เท่านั้นแหละ ก็แอบได้ยินเค้านินทาว่า “ไอ้เด็ก เสดสาดคนนั้นน่ะ มันควาย มันบักเสียจริงๆ นะ” ผมก็เลยซึมไป แถมยังได้ชื่อเล่นอีกชื่อที่คณะเศรษฐศาสตร์ว่า “ไอ้บักควาย” (แต่ ถ้าใครเรียกตอนอารมณ์ไม่ดี กูกจ็ ะโชว์ควายใส่มงึ เต็มทีเ่ หมือนกัน) ผมเล่ น กี ฬ าในที ม ของจุ ฬ าฯ รวม 4 อย่ า ง คื อ รั ก บี้ บาสเกตบอล วอลเลย์บอล และทศกรีฑา ซึ่งทั้ง 4 อย่างนี้ ผมมี โอกาสทีจ่ ะติดทีมชาติทงั้ สิน้ โค้ชทีมชาติตา่ งก็ทาบทามอยากให้ไป ฝึกจริงจัง ตัวผมเองก็แอบตัง้ ความหวังว่าจะได้ท�ำสถิตดิ ว้ ยการติด ทีมชาติ 4 อย่าง (อ.อรุณ แสนโกศิก ท่านเคยติดทีมชาติ 3 อย่าง คือกรีฑา ฟุตบอล และรักบี้ แล้วก็มี “ไอ้เหลือง” จุฑา ติงศภัทิย์ เพื่อนรักคนหนึ่งของผม ก็ติดทั้งฟุตบอลและรักบี้) ความจริงตอน เป็นน้องใหม่ ผมเล่นแบดมินตันให้ทีมน้องใหม่ของมหาวิทยาลัย ด้วย ไปแข่งอยู่ 3-4 ครั้ง พี่ๆ ก็อยากให้ฝึกเป็นทีมใหญ่ แต่ผมเห็น ว่าไม้แบดมันอันเล็ก ไม่ค่อยเท่ แถมท่าตีก็ดูหน่อมแน้ม อ้อนแอ้น และไม่แมน ผมเลยขอกราบลา ตอนทีอ่ ยูป่ ี 1 มีการแข่งกีฬามหาวิทยาลัย ครัง้ ที่ 2 ปี 2515 36 บรรยง พงษ์พานิช


ซึ่งจุฬาฯ เป็นเจ้าภาพ ผมก็ลงเล่นทั้ง 4 อย่าง แถมยังได้รับ มอบหมายให้ถือธงจุฬาฯ ในพิธีเปิดด้วย ผมจ�ำได้ว่าลงแข่งตั้งแต่ 8 โมงเช้ายัน 4 ทุ่มเกือบทุกวัน วันหนึ่งก็แข่งหลายอย่าง ยกเว้น 2 วันที่แข่งทศกรีฑา วันละ 5 อย่าง พอกลับไปก็นอนแบะเลย มีอยู่วันหนึ่ง ตอนเช้าผมแข่งบาส บ่ายแข่งรักบี้ แล้วก็ต้องวิ่งรอก ไปแข่งวอลเลย์บอลตอนหัวค�่ำ ไม่รู้เหมือนกันว่าเอาพละก�ำลังมา จากไหน สมแล้วที่เค้าให้ฉายาว่า “ไอ้บักควาย” สุดท้าย ผมได้ แค่ 1 เหรียญเงินจากรักบี้ 2 เหรียญทองแดงจากวอลเลย์บอลกับ ทศกรีฑา โดยเฉพาะทศกรีฑานี่ ศ.ปัจจัย บุนนาค ประธานจัดการ แข่งขัน แกขอจองมอบเหรียญเอง พอมาถึง ท่านก็แปลกใจ บอกว่า “อ้าว เมือ่ กีน้ งั่ ดูอยู่ นึกว่าไอ้เตาจะได้เหรียญทอง” เพราะว่าประเภท ลู่ ผมเข้าที่ 1 หมด แต่ผมห่วยประเภทลานอยู่ 2 อย่าง คือกระโดด ค�้ำถ่อ ซึ่งโดดได้แค่ 180 ซม. (กระโดดสูงธรรมดาได้ 175 ซม.) กับพุ่งแหลน ซึ่งพุ่งได้แค่ 30 เมตรเศษ ซึ่งแทบไม่ได้ดีไปกว่า ขว้างจานเลย สรุปแล้วเลยต้องพ่ายให้กบั 2 ท่านทีเ่ ป็นทีมชาติทงั้ คู่ พอตอนปลายปี 2 ความฝันด้านกีฬาของผมก็สลายลง เนื่องจากได้รับบาดเจ็บที่เข่าซ้ายอย่างรุนแรงจนต้องผ่าตัดใหญ่ ซึ่งถึงแม้จะกลับมาเล่นกีฬาได้ แต่ก็ไม่เคยดีเหมือนเดิม (จริงๆ ต้องโทษตัวเองด้วยว่าไม่มีวินัยที่ดีในการฟื้นฟู) ท้ายที่สุด ผม เลยต้องเลิกเล่นกรีฑาไปเลย ส่วนที่เหลืออีก 3 อย่างก็ยังเล่นให้ ทีมมหาวิทยาลัยอยู่ แต่ก็ไม่ดีเหมือนเดิม ส่วนรักบี้ ผมยังเล่น ทีมชาติอยู่อีกหลายปี แต่สุดท้ายก็กลับมาเจ็บอีก พอต้องผ่าตัด ครั้งที่ 3 ในปี 2520 เลยจ�ำเป็นต้องเลิก แล้วหันมาหัดเล่นกีฬา เบาๆ เช่น เทนนิสและกอล์ฟ หากนับจนถึงปัจจุบัน ผมผ่าตัดเข่า ไปแล้ว 5 ครั้งด้วยกัน โดยแบ่งเป็นข้างซ้าย 3 หน ข้างขวา 2 หน ก็เลยได้ครองสถิติด้านนี้แทน คิด 37


เมื่อวันก่อน ผมไปเดินอยู่ในโรงพยาบาล แล้วก็มีหมอคน หนึ่งเดินเข้ามาทักว่า “คุณเตา ผมเคยเป็นแฟนกีฬาที่ตามดูคุณ ตลอดสมัยอยู่จุฬาฯ แต่น่าเสียดายมากที่ขาหักเสียก่อน ไม่งั้น คุณมีสิทธิ์ติดทีมชาติทั้ง 4 อย่างแน่ โชคร้ายจริงๆ” ผมก็ได้แต่ นึกในใจว่า จริงๆ แล้วผมคงจะโชคดีมากกว่า ไม่งั้นวันนี้น่าจะได้ เป็นโค้ชกีฬาแน่ๆ นี่แหละครับ ... ที่เค้าเรียกว่า “โชคชะตา” (ไม่ ได้ดูถูกอาชีพเกี่ยวกับกีฬานะครับ เพียงแต่ว่ามันไม่น่าจะเหมาะ กับผมสักเท่าไหร่) ขอบอกตรงๆ ว่า ตอนที่ผมเล่นกีฬาเยอะๆ ผมไม่เคย สนใจ และไม่ค่อยเข้าใจค�ำว่า “สปิริต” กับค�ำว่า “น�้ำใจนักกีฬา” เพราะมุ่งหวังแต่จะติดทีมหรือติดตัวจริง (ซึ่งแน่นอนว่า หมายถึง ต้องเก่ง ต้องดี และต้องเด่นกว่าเพื่อนร่วมทีมกันเอง) พอลงแข่ง ผมก็มงุ่ หวังแต่ชยั ชนะ โดยไม่สนใจว่าได้มาด้วยวิธใี ด ตุกติกเจ้าเล่ห์ ตบตากรรมการเท่าทีจ่ ะท�ำได้ ข้อดีเพียง 2 อย่างของผมคือ ไม่เคย อยากให้คู่แข่งขันบาดเจ็บเลย (เพราะเวลาตัวเองเจ็บ ก็เข้าใจดีว่า มันเศร้าแค่ไหน) และถือคติว่า “อยากสูงต้องยืดตัว หากเตะคน อื่นล้ม เราก็ไม่สูงขึ้นหรอก” ซึ่งเป็นคติที่พ่อผมพร�่ำสอนตลอดมา ท�ำให้ผมมุ่งพัฒนาตนมากกว่าจะไปขัดแข้งขัดขาใคร อย่างไรก็ดี การเล่นกีฬาได้ให้บทเรียนชีวติ ข้อคิด รากฐาน ของบุคลิก และหลักการแก่ผมมากมาย ผมจะขอยกตัวอย่างนะ ครับ • ตอนปลายปี 2514 ทีมรักบีข้ องวชิราวุธฯ พ่ายแพ้ให้แก่ทมี โรงเรียนเตรียมทหารเป็นครัง้ แรกในรอบกว่า 10 ปี ทัง้ ทีเ่ ราเคยต้อน เขายับเมือ่ ต้นปี ซึง่ ชัดเจนว่าเป็นเพราะความประมาท การซ้อมน้อย การเตรียมตัวน้อย และความมัน่ ใจเกินเหตุ ท�ำให้เป็นเรือ่ งน่าอัปยศ อดสูสดุ ๆ ทุกคนต่างก็หดหูก่ นั หมด ท่านเจ้าคุณ พระยาภะรตราชา 38 บรรยง พงษ์พานิช


ผู้ที่มักให้โอวาทสั้นๆ ก่อนแข่งทุกครั้งว่า “กีฬามีแพ้ มีชนะ แต่ วันนี้! ... แพ้ไม่ได้!” ท่านโกรธมาก สั่งงดการให้เครื่องหมาย สามารถทัง้ หมด ผมเลยเป็นนักรักบีค้ นเดียวในประวัตศิ าสตร์ของ วชิราวุธฯ ที่ติดทีมชาติตั้งแต่เป็นนักเรียน แต่ได้แค่เครื่องหมาย สามารถระดั บ ที่ ส าม ผมถื อ ว่ า นั่ น เป็ น เหตุ ก ารณ์ แ รกที่ ส อน ให้ผมรู้จักค�ำว่า “รู้แพ้” กับ “ความประมาท” (ตอนหลังถึงจะ แพ้เรื่อยๆ แต่ทุกครั้งที่แพ้ ผมจะทบทวนหาสาเหตุจากความ ผิดพลาดของตัวเองให้พบทุกครั้ง ไม่เคยโทษคนอื่นหรือฟ้าดิน อีกเลย) • ตอนแข่งขันวิ่งกรีฑาทีมนักเรียน 1,500 เมตร รอบคัด เลือก ปี 2514 ผมเข้าเป็นที่ 1 โดยทิ้งห่างที่ 2 เกือบ 50 เมตร ตอนเข้าเส้นชัยเลยเกิดความล�ำพองใจ วิง่ โบกมือซะร่วม 10 เมตร ตอนเข้าแถวขึน้ รถจะกลับโรงเรียน ท่านผูบ้ งั คับการ (ท่านเจ้าคุณ ภะรตราชา เจ้าเดิม) ก็ชมทุกคนว่า “วันนี้ทุกคนท�ำได้ดีมาก” แต่แล้วก็ปรี่เข้ามาตบหน้าผมหลายฉาด พร้อมกับด่าว่า “ยกเว้น เจ้านี่! อวดดี! ผยอง! ท�ำท่าทุเรศ! น่าเกลียด! น่าอาย ขายหน้า! เสียชื่อโรงเรียนผู้ดี!” พอวันรุ่งขึ้น ผมต้อง “วัด” กับแชมป์เยาวชนจากอเมริกา ที่มาเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่โรงเรียนนานาชาติ ISB ถึงผมจะ วิ่งท�ำเวลาได้ดีที่สุดในชีวิต (4:28 นาที) แต่ก็แพ้เขาไปหลายเมตร จนนัง่ ซึมเป็นท่อนไม้ ท่านเจ้าคุณจึงเรียกไปบอกว่า “นีเ่ ป็นครัง้ แรก ทีด่ ใี จเมือ่ เห็นเด็กวชิราวุธฯ แพ้กฬี า หวังว่าจะได้บทเรียนกันบ้าง” ผมเชือ่ ว่าจริงๆ ท่านรักและเอ็นดูผมเป็นพิเศษ แต่กห็ มัน่ ไส้ ในความยโสของผมไปพร้อมๆ กัน บทเรียนครั้งนั้นท�ำให้ผมลด ความยโสโอหังลงมาก และท�ำให้เริม่ รูจ้ กั ค�ำว่า “อ่อนน้อมถ่อมตน”

คิด 39


• ตอนอยู่จุฬาฯ ด้วยความทะนงตนว่าเป็นทีมชาติ ซึ่งที่ จุฬาฯ มีกันอยู่แค่ 2-3 คน ผมก็เลยขาดซ้อมรักบี้บ่อย เกเรบ้าง หรือไม่ก็ไปซ้อมกีฬาอื่นที่ยังไม่ได้เป็นตัวจริงบ้าง จนมีนัดส�ำคัญ นัดหนึ่ง โค้ช (นพ.พินิจ ทวีสิน กับ ม.ร.ว.จีริเดชา กิติยากร) เลย จับผมนั่งเป็นตัวส�ำรองเพราะขาดซ้อม พอพักครึง่ และเกมยังสูสี ผมก็พยายามเถียงโค้ชว่า “ต้องไป ซ้อมกีฬาอืน่ ” ท่านบอกว่า “นัน่ เป็นปัญหาของลือ้ รักบีต้ อ้ งเล่นเป็น ทีม ถ้าไม่ซอ้ ม ก็ไม่ตอ้ งเล่น ต่อให้เก่งแค่ไหนก็ไม่ส�ำคัญ” จนเกือบ หมดเวลาการแข่งขัน โค้ชถึงยอมเปลี่ยนให้ผมลงเล่น แล้วก็โชคดี ที่เฉือนชนะมาได้ ไม่งั้นผมนึกไม่ออกเลยว่าจะมองหน้าเพื่อนร่วม ทีมทีท่ กุ คนตัง้ อกตัง้ ใจฝึกซ้อมกันเต็มทีไ่ ด้อย่างไร ตัง้ แต่นนั้ มา ผม ก็แทบไม่ขาดซ้อมอีกเลย เพราะทุกอย่าง “ต้องเป็นทีม” • ผมไม่เคยเป็นหัวหน้าทีมกีฬาใดๆ เลย แต่เวลาเล่น ผมจะได้ ชื่ อ ว่ า เป็ น ผู ้ ที่ ค อยกระตุ ้ น และคอยวางแผนแก้ เ กม จนเป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมทีม ผมไม่เคยบ่นหรือโทษเพื่อน ร่วมทีม แต่จะขอโทษเพื่อนทุกครั้งที่ตัวเองท�ำผิดพลาด ส่วนตัว ผมเองก็จะขยันอย่างยิง่ ในสนาม วิง่ ไม่เคยหยุด ไปอยูท่ กุ ทีท่ กุ แห่ง ทั้ ง รุ ก ทั้ ง รั บ ผมเป็ น คนมี พ ละก�ำลั ง เหลื อ เฟื อ เสมอ และเล่ น อย่างเต็มที่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะน�ำหรือว่าตามมากน้อยแค่ไหน “ไม่เคยยอมตาย” จริงๆ (ตอนสมัยยังฟิต ผมเชื่อว่าผมเล่นรักบี้ ติดต่อกันได้ 2 นัดอย่างสบายๆ) ผมเชื่อว่าผมเรียนรู้การเป็นผู้น�ำ ในสนามกี ฬ านี่ เ อง มั น ท�ำให้ ผ มเรี ย นรู ้ ที่ จ ะ “เคารพผู ้ อื่ น ” ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมทีมหรือฝ่ายตรงข้าม ซึ่งผมคิดว่านี่เป็น คุณสมบัติที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งของผมจวบจนปัจจุบัน

40 บรรยง พงษ์พานิช


อย่างที่เกริ่นไว้ตั้งแต่ตอนต้นนะครับว่า ถึงผมจะเล่นหรือ แข่งกีฬามามากมาย และเรียนรู้ปรับปรุงตัวมากแค่ไหน แต่ผม ก็ไม่แน่ใจจริงๆ ว่าผมนั้นมี “สปิริต” และ “นํ้าใจนักกีฬา” อย่าง แท้จริงขนาดไหน ค�ำว่า “น�้ำใจนักกีฬา” นั้นมีความหมายกว้างไกล ไม่ใช่แค่ เล่นกีฬาเก่ง หรือเล่นชนะได้ถ้วยได้รางวัล สิ่งเหล่านั้นไม่ส�ำคัญ เลยด้วยซ�้ำ “นักกีฬา” ที่แท้นั้น ต้องมีคุณสมบัติดังนี้ • “fair play” ไม่ตุกติก ขี้โกง หรือมุ่งท�ำร้ายคู่แข่งขัน • “following the rules” เคารพกติกา ไม่เลี่ยงหรือท�ำผิดกฎ • “accepting the judgements of referees and officials” เชื่อฟังกรรมการ และเข้าใจ แม้เกิดความผิดพลาด • “respecting fellows & opponents” รู้จักเคารพผู้อื่น ทั้ง เพื่อนร่วมทีมและคู่แข่ง • “being a good loser, not a sore loser” เป็นผู้แพ้ที่ดี มีอารมณ์ขันได้ ไม่บูดบึ้ง • “being a good winner” ไม่ดูถูกเหยียดหยามผู้แพ้ ไม่ยโสล�ำพอง ถึงแม้ตอนนีผ้ มไม่สามารถทีจ่ ะเป็นนักกีฬาทีเ่ ก่งกาจได้อกี ต่อไปแล้ว ด้วยวัยและสังขารที่ร่วงโรยตามเหตุปัจจัย แต่ผมยัง ตั้งใจที่จะปรับปรุงตัวต่อไป เพื่อที่จะได้เป็น “นักกีฬา” ที่ดี ทั้งใน และนอกสนามกีฬา ทั้งในการเล่นและการใช้ชีวิต มาเป็น “นักกีฬา” ที่ดีกันเถอะครับ อย่าสักแต่ว่าเป็น “คนเล่นกีฬา” เก่งเลย 25 ตุลาคม 2556 คิด 41


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.