ครูคุณภาพสร้างได้ • วิลาสินี ฤกษ์ปฏิมา เดอเบส แปล จากเรื่อง Building a Be t t e r Teacher: How Te a c hing Work s ( a nd How t o T each I t to Everyone) โดย Elizabeth Green พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ open wo rld s, มีนาคม 2560 ราคา 425 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ บุญชัย แซ่เงี้ยว ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ อภิรดา มีเดช ศิลปกรรม พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ภาคย์ มหิธิธรรมธร • บรรณาธิการเล่ม กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ บรรณาธิการต้นฉบับ บุญชัย แซ่เงี้ยว ออกแบบปก พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ • จัดท�ำโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2 6 1 8 4 7 30 e m a il: o p e n wo r ld sth a ila n d @gmail. c om f a c e book : www.fa ce b o o k.co m/ openw orlds t w it t e r: www.twitte r .co m/o p enw orlds bk k w e bs it e : www.o p e n wo r lds . in. t h จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) S E - E DUCA TIO N P UB L IC CO MPAN Y LI MI TED เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 2 7 3 9 8 2 2 2 , 0 2 739 8000 โทรสาร 0 2 7 3 9 8 3 5 6-9 w e bs it e : h ttp ://www.se -ed. c om/
สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ สำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 0 2618 4730 และ 09 7174 9124 หรือ Em a il: o p e n w o rld st h a il and@gmail.c om
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ กรีน, เอลิซาเบธ, ค.ศ. 1984-. ครูคุณภาพสร้างได้.-- กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2560. 448 หน้า. 1. ครู. 2. ครู--สหรัฐอเมริกา. I. วิลาสินี ฤกษ์ปฏิมา เดอเบส, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง. 371.102 ISBN 978-616-7885-48-3 • Copyright © 2015, 2014 by Elizabeth Green This edition published by arrangement with Openworlds Publishing House through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd. Thai language translation copyright © 2017 by Openworlds Publishing House All rights reserved. •
สารบัญ
ค�ำนิยม 6 ค�ำน�ำผู้แปล 10 บทน�ำ จะเป็นครูได้อย่างไร (ภาคหนึ่ง) 16 1. บิดาผู้ก่อตั้ง 42 2. ก�ำเนิดครู 68 3. เรื่องเศร้าที่สปาร์ตัน 108 4. นวดและขึ้นฟู 146 5. สตาร์ตอัปทางการศึกษา 188
6. การจัดกลุ่มค�ำของเลมอฟ 216 7. ระเบียบเรื่องระเบียบวินัย 240 8. พลังของอารมณ์ขันเฉพาะกลุ่ม 278 9. ความปรารถนาสูงสุด 306 10. อาชีพแห่งความหวัง 338 ปัจฉิมบท จะเป็นครูได้อย่างไร (ภาคสอง) 382 บทส่งท้าย: ครูที่ดีกว่า 394 กิตติกรรมประกาศ 406 อ้างอิง 410 รู้จักผู้เขียน 446 รู้จักผู้แปล 447
ค�ำนิยม
ในปัจจุบันดูเหมือนว่าการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจะเป็นปัญหา ใหญ่ของหลายๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทยซึ่งได้ทุ่มเทงบประมาณ จ�ำนวนมากเพือ่ แก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยวิธที หี่ ลากหลาย ไม่วา่ จะเป็นการ ขึ้นเงินเดือนครูโดยประเมินจากการสร้างผลงานวิทยฐานะ การพัฒนา มาตรฐานการประเมินคุณภาพการศึกษาในระดับต่างๆ การพัฒนาข้อสอบ เพื่อวัดสัมฤทธิผลทางการศึกษา ฯลฯ แม้กระนั้นคุณภาพการศึกษาไทย ก็ยังคงอยู่ในระดับที่น่าเป็นห่วง ในขณะเดียวกันภาครัฐเองก็ดูจะไม่ สามารถเชื่อมโยงได้ว่านโยบายต่างๆ ที่พยายามใช้ในการแก้ปัญหาการ ศึกษาในปัจจุบันนั้น จะมีผลต่อการพัฒนาคุณภาพในการจัดการเรียนรู้ แก่นักเรียนอย่างไร เอลิซาเบธ กรีน (Elizabeth Green) ได้ชี้ให้เห็นในหนังสือ ครู คุณภาพสร้างได้ (Building a Better Teacher) เล่มนี้ว่าแนวทางการแก้ ปัญหาการศึกษาซึ่งละเลยปัจจัยแท้จริงทีจ่ ะช่วยพัฒนาคุณภาพการเรียน รู้ของนักเรียนนั้นไม่ใช่ปัญหาของประเทศไทยเพียงประเทศเดียว ส�ำหรับ สหรัฐอเมริกาซึ่งน�ำระบบแรงจูงใจและการลงโทษครูอย่างเข้มข้นมาใช้ ควบคุมเพื่อให้พวกเขาพยายามหาวิธีให้เด็กท�ำแบบทดสอบมาตรฐานได้ คะแนนสูงๆ นัน้ ท้ายทีส่ ดุ แล้วคุณภาพการเรียนการสอนก็ไม่ได้ดขี นึ้ เช่นกัน ผู้เขียนได้เสนอว่าการพัฒนาทักษะการจัดการเรียนรู้ให้กับครูน่าจะเป็น 6
Building a Be t t e r Te a c h e r
ปัจจัยที่ส�ำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา แต่วิธีการนี้ก็มักถูก ละเลย เนื่องจากความเชื่อว่าความสามารถในการสอนเป็นทักษะเฉพาะ บุคคล ทัง้ ทีค่ วามจริงทักษะดังกล่าวเป็นสิง่ ทีส่ ามารถฝึกฝน ถ่ายถอด และ ถอดออกมาเป็นองค์ความรู้อย่างมีระบบได้ การสร้างระบบที่ช่วยเสริม ทักษะการสอนให้ครูทั่วประเทศนั้นเป็นแนวทางที่ส�ำคัญอย่างยิ่งต่อการ พัฒนาคุณภาพการศึกษาในภาพรวม ผูเ้ ขียนเล่าเรือ่ งดังกล่าวผ่านประวัติ ชีวิตนักการศึกษาหลายท่านที่พยายามหาแนวทางพัฒนาทักษะการสอน แก่ครูในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่สมัยอดีตที่ยังไม่มีองค์ความรู้ด้านทักษะการ สอนเลยจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าเนื้อหาส่วนหนึ่งของหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงนโยบายและ ประวั ติ ศ าสตร์ ก ารศึ ก ษา แต่ เ นื้ อ หาที่ ส� ำ คั ญ อี ก ประเด็ น หนึ่ ง คื อ การ น�ำเสนอเรือ่ งราวของคนตัวเล็กๆ ทีเ่ ริม่ คิดทวนกระแส หรือลุกขึน้ มาปฏิวตั ิ การศึกษาและการเรียนรู้ของมนุษย์ จนเกิดความเปลี่ยนแปลงในระดับ และบริบทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น: ครูที่ไม่ชอบคณิตศาสตร์ แต่ต้องกลับไปเรียนคณิตศาสตร์ใน มหาวิทยาลัยอีกครั้ง เพื่อหาวิธีการสอนคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมให้กับ ลูกศิษย์ จนเกิดเป็นงานวิจัยเกีย่ วกับวิธกี ารสอนคณิตศาสตร์ทนี่ า่ ทึง่ และ ได้ท�ำให้เกิดวิธีการสอนแบบใหม่ซึ่งมีประสิทธิภาพขึ้นมา ครูสอนพิเศษทีต่ กใจว่าลูกศิษย์ของตนเองเรียนจบชัน้ มัธยมแต่ยงั อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ และพยายามแก้ปัญหาจนกลายเป็นแนวทางการ จัดการห้องเรียนด้วยระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด ซึ่งได้รับการยอมรับ และน�ำไปใช้อย่างกว้างขวาง (ก่อนที่จะถูกท้าทายและเปลี่ยนแปลงใน เวลาต่อมา) ครูทเี่ คยเชือ่ ในการบังคับใช้ระเบียบวินยั เข้มงวดในโรงเรียน แต่ได้ เรียนรู้ว่าการแก้ปัญหาเรื่องนี้ไม่ใช่เพียงการใช้ค�ำสั่ง แต่คือการท�ำให้ นักเรียนได้สะท้อน ตระหนักรู้ และเข้าใจการกระท�ำของตนเอง E l i za b et h G reen
7
เรื่องราวของคนเหล่านี้ไม่เพียงสร้างแรงบันดาลใจ แต่ผู้เขียน ยังแสดงให้เห็นว่าการเปลีย่ นแปลงทางการศึกษาจะเกิดขึน้ ได้จริงนัน้ ไม่ใช่ เรื่องง่าย การเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยการท�ำงานและทุ่มเทอย่างหนักจาก หลายฝ่าย ต้องมีการยอมรับปัญหา ต้องเก็บข้อมูลและประสบการณ์อย่าง ยาวนาน ต้องมีการวิจยั อย่างเข้มข้นเป็นระบบ และจะต้องไม่ปล่อยให้องค์ ความรูท้ มี่ อี ยูห่ ยุดนิง่ แต่ตอ้ งพัฒนาและท้าทายอย่างสม�ำ่ เสมอ รวมทัง้ ต้อง พร้อมเผชิญกับความเข้าใจผิดและปัญหาอุปสรรคนานัปการ แม้วา่ เรือ่ งราวในหนังสือเล่มนีจ้ ะเกิดขึน้ ในสหรัฐอเมริกา แต่แก่น สาระและคุณค่าของหนังสือเล่มนีน้ า่ จะเป็นประโยชน์อย่างยิง่ ต่อครู นักการ ศึกษา รวมทัง้ ผูส้ นใจทัว่ ไปในประเทศไทย โดยเฉพาะในแง่การสร้างความ ตระหนักรู้เรื่องความหลากหลายของวิธีการสอนและการจัดการชั้นเรียน หรือเรือ่ งการลงโทษเมือ่ นักเรียนไม่เชือ่ ฟัง ซึง่ มักพบเห็นได้ทวั่ ไปในบริบท การศึกษาไทย โครงการผู้น�ำแห่งอนาคตหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเรื่องราวในหนังสือ เล่มนี้จะช่วยกระตุ้นเตือนให้เราหันมามองถึงสถานการณ์ด้านการศึกษา ไทยอย่างจริงจัง เริม่ พูดคุยถึงสิง่ ทีเ่ ราแต่ละคนจะสามารถท�ำได้ และทีส่ ำ� คัญ ที่สุดคือ การลงมือสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดกับคุณภาพการเรียนรู้ และการพัฒนาเยาวชนของชาติอย่างแท้จริง
8
โครงการผู้น�ำแห่งอนาคต คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
Building a Be t t e r Te a c h e r
ค�ำน�ำผู้แปล
“การสอนหนังสือเป็นอาชีพแห่งความหวัง เหนืออื่นใด การสอน ต้องอาศัยศรัทธา ต้องมีความเต็มอกเต็มใจที่จะเชื่อว่าอะไรที่ยัง ไม่ได้เกิดขึ้นในปัจจุบัน อาจเกิดขึ้นได้ในวันหนึ่ง” เดวิด โคเฮน
การศึกษาเป็นพืน้ ฐานส�ำคัญในการสร้างทรัพยากรบุคคลเพือ่ พัฒนา ประเทศ ดังนั้นการสร้างครูที่มีคุณภาพจึงมีความส�ำคัญอย่างยิ่ง แต่ท�ำ อย่างไรจึงจะไปถึงจุดนั้นได้? กรีนเล่าความเป็นมาเรื่องการศึกษาในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยยกตัวอย่างแนวคิดและแนวทางปฏิบัติของนักวิจัยและนักการศึกษา ชั้นน�ำหลายท่าน อีกทั้งยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้ผู้อ่านเห็นภาพชัดเจน เกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอนของโรงเรียนรัฐบาล โรงเรียนแนวทางเลือก ในประเทศสหรัฐอเมริกา และโรงเรียนในประเทศญี่ปุ่น ข้อดีและข้อเสีย ต่างๆ ของวิธีการเหล่านั้นล้วนเป็นบทเรียนที่น่าสนใจต่อวงการศึกษา ในบ้านเรา หนังสือเล่มนี้บอกเล่าให้ทราบว่าครูชั้นเยี่ยมไม่ได้เป็นเช่นนั้น มาตั้งแต่เกิด ครูธรรมดาๆ ก็สามารถพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถ ให้กลายเป็นครูชั้นเยี่ยมได้ ผู้แปลขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์ openworlds ที่ให้โอกาสในการ ท�ำงาน ขอขอบคุณบรรณาธิการ คุณกัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ ผูช้ ว่ ยแก้ไข 10
Building a Be t t e r Te a c h e r
และดูแลต้นฉบับ ขอขอบคุณกัลยาณมิตร คุณสุเพียงพิชญ์ พรฤกษ์งาม และ ดร. อุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์ ผู้พร้อมให้ค�ำปรึกษาและช่วยเหลือยามมี ข้อข้องใจเสมอมา และท้ายสุด คุณค่าความดีงามของหนังสือเล่มนีข้ อมอบ อุทิศให้ผู้เป็น “ครู” ทุกท่าน วิลาสินี ฤกษ์ปฏิมา เดอเบส
E l i za b et h G reen
11
แด่คนในครอบครัวของฉัน คุณพ่อคุณแม่ พี่ชาย น้องชาย และเดฟ
Building a Better Teacher How Teaching Works (and How to Teach It to Everyone)
. by
Elizabeth Green
ครูคุณภาพสร้างได้
แปลโดย
วิลาสินี ฤกษ์ปฏิมา เดอเบส
บทน�ำ จะเป็นครูได้อย่างไร (ภาคหนึ่ง)
หมายเหตุผู้เขียน: ฉันได้เปลี่ยนชื่อของเด็กๆ ทั้งหมดในหนังสือเล่มนี้เป็นนามแฝง เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัว ยกเว้นที่ระบุไว้ในหมายเหตุ
คุณเปิดประตูและเดินเข้ามาในห้อง คุณยังยืนอยู่ แต่ก�ำลังคิดว่า ควรจะนั่งลงไหม? ห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้านี้อยู่ในความรับผิดชอบของคุณ ในห้องมี กระดานด�ำและอัดแน่นไปด้วยเก้าอีเ้ ลกเชอร์ 26 ตัว แสงแดดยามบ่ายอ่อน ส่องผ่านหน้าต่างลงมากระทบผิวโต๊ะ อีกสักครู่จะมีนักเรียนชั้นประถม ปีที่ห้าจ�ำนวน 26 คนเข้ามาในห้อง ชื่อของพวกเขาเรียงกันอยู่ในแผ่น รายชือ่ ริชาร์ด, แคเธอรีน, แอนโธนี, เอ็ดดี, วารูนา, เกียว, อาวัด, ดอนนา, รูธ, ไทโรน, เอลลี, เอโนยัต, เลติเซีย, ชาร์ลอ็ ตต์, คาริม, ชาโนตา, เมสซิมา, ซอนดรา, โดโรตา, อีวาน, คอนนี, อิลเลอานา, ยะซุ, รีบา, จุมานะฮ์, แคนดิซ และชาห์รุก รัฐที่คุณอาศัยอยู่และเขตการศึกษาที่จ่ายเงินเดือนให้คุณนั้น ก�ำหนดว่า ในเวลา 60 นาทีนับจากนี้ คุณจะต้องท�ำให้เด็กๆ เข้าใจเรื่อง “อัตราความเร็ว” หรือค�ำถามเจาะจงในวันนี้คือ หากรถวิ่งด้วยความเร็ว 55 ไมล์ต่อชั่วโมง ถ้าวิ่ง 15 นาทีจะวิ่งได้กี่ไมล์? และถ้าวิ่ง 2 ชั่วโมงจะได้ กี่ไมล์? เมื่อถึงปลายปีการศึกษา นักเรียนของคุณควรจะเชี่ยวชาญเรื่อง E l i za b et h G reen
17
เศษส่วน จ�ำนวนลบ ฟังก์ชั่นเชิงเส้น การหารยาว อัตราส่วน สัดส่วน รวมทัง้ เลขชีก้ ำ� ลัง นอกจากนีค้ ณ ุ ยังมีหน้าทีส่ อนให้พวกเขาเป็นพลเมืองดี โดยสอดแทรกหลักประชาธิปไตยเข้าไปในบทเรียน (ใช่แล้ว ในบทเรียน วิชาคณิตศาสตร์นลี่ ะ่ ) และไม่วา่ จะเหลือเวลาอีกเท่าไหร่กต็ าม อย่าลืมช่วย ให้เด็กๆ ก้าวข้ามผ่านอุปสรรคในชีวติ ทีพ่ วกเขาเผชิญอยู่ ไม่วา่ จะเป็นเรือ่ ง เชือ้ ชาติ ฐานะทางเศรษฐกิจ พ่อแม่ หรือสติปญ ั ญา คุณต้องท�ำให้ความฝัน แบบอเมริกนั ทีเ่ ชือ่ ว่าความส�ำเร็จมาจากความรูค้ วามสามารถเขยิบเข้าใกล้ ความเป็นจริง คุณพร้อมหรือยัง? ประตูเปิดผลัวะ เด็กๆ วิ่งกรูผ่านห้องเก็บเสื้อโค้ต พวกเขาจัด เสือ้ ผ้าให้เรียบร้อย และแย่งกันดืม่ น�ำ้ จากแท่นด้วยเรีย่ วแรงทีย่ งั เหลือจาก ช่วงพักเบรก นั่นวารูนาจากเคนยา เธอรูปร่างบาง ผิวสีเข้ม เกียวมาจาก ญีป่ นุ่ เขาสูงราว 120 เซนติเมตร พูดน้อย แคเธอรีนขยันและไว้ผมเปีย เอ็ดดี มีกระที่หน้าและไม่อยู่นิ่ง เขาเดินไปนั่งที่หลังห้อง ไทโรนเพิ่งย้ายมาจาก รัฐเซาท์แคโรไลนาและไม่ค่อยตั้งใจเรียน เขานั่งอยู่ใกล้ๆ คุณที่ด้านหน้า อย่าเอาแต่ยืนเฉยๆ สิ สอนอะไรสักอย่าง! ริชาร์ดนัง่ ติดกับไทโรนแถวๆ หน้าห้อง ทัง้ คูเ่ ป็นนักเรียนใหม่ในปีนี้ วันแรกที่เปิดเรียนริชาร์ดแนะน�ำตัวและพูดขึ้นมาเองว่าวิชาคณิตศาสตร์ เป็น “วิชาที่ผมเรียนได้แย่” ครึ่งชั่วโมงต่อมา เด็กๆ ต่างเอียงคอกระซิบกระซาบพูดคุยกัน พวกเขาก�ำลังท�ำโจทย์เลขซึ่งคุณเขียนไว้บนกระดานด�ำตอนที่พวกเขา ยังพักเบรกกันอยู่ โจทย์: รถวิ่งด้วยความเร็ว 55 ไมล์ต่อชั่วโมง จงวาดแผนภาพ ที่แสดงให้เห็นว่า รถจะไปอยู่ที่จุดไหน (ก) หลังจากผ่านไป 1 ชั่วโมง (ข) หลังจากผ่านไป 2 ชั่วโมง 18
Building a Be t t e r Te a c h e r
(ค) หลังจากผ่านไป 30 นาที (ง) หลังจากผ่านไป 15 นาที
ลองคิดดูว่าคุณจะท�ำให้ทุกคนหยุดพูดได้ไหม บนโต๊ะของคุณมี กระดิ่งเล็กๆ วางอยู่ใบหนึ่ง คุณจะสั่นกระดิ่งหรือเปล่า? คุณอาจยกมือ ข้างหนึ่งและใช้มืออีกข้างปิดปากตัวเองไว้ ลองใช้วิธีแบบเก่าที่ว่า เมื่อครู ยกมือขึ้น เธอต้องหยุดพูด จะดีไหม? คุณเลือกกระดิ่ง วิธีนี้ได้ผล คุณจึง เริ่มแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเด็กๆ ในไม่ช้าเวลาก็ผ่านไป 15 นาที จวนหมดคาบเรียนแล้ว นักเรียน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มละ 4-6 คนต่างคิดแก้โจทย์ข้อนี้ คุณเดินไปมารอบๆ เฝ้าสังเกตว่าพวกเขาท�ำได้มากน้อยแค่ไหน คุณคิดอยู่ว่าเมื่อไหร่จะพูด เมื่อไหร่จะพยักหน้า และเมื่อไหร่ต้องกลั้นหัวเราะเวลาที่นักเรียนท�ำอะไร ตลกๆ น่าเอ็นดู นอกจากนี้คุณยังใช้เหตุผลในการอธิบายโจทย์ข้อ ก ข และ ค ให้นักเรียนฟัง คุณวาดเส้นแนวนอนบนกระดานด�ำ โดยให้ดา้ นบนของเส้นแสดง ระยะทางและด้านล่างแสดงเวลา ด้านขวาสุดมีเส้นขีดแสดงระยะ 110 ไมล์ และ 2 ชั่วโมง พร้อมวงกลม (ข) ที่กึ่งกลางเส้นแนวนอนคุณขีดเส้นแสดง ระยะ 55 ไมล์ และ 1 ชั่วโมง พร้อมวงกลม (ก) นอกจากนี้ยังมีเส้นเล็กๆ ที่ขีดอยู่ระหว่างเลข 0 กับ 55 ซึ่งแสดงวงกลม (ค) ที่ระยะ 27.5 ไมล์และ ½ ชั่วโมง แผนภาพมีลักษณะดังนี้ 27.5 ไมล์ 0 ไมล์
วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน
55 ไมล์
0 นาที 1 ชั่วโมง ก ค ½ ชั่วโมง
110 ไมล์ 2 ชั่วโมง ข
E l i za b et h G reen
19
คุณชี้ไปที่กระดานด�ำและตั้งค�ำถาม ใครช่วยบอกหน่อยว่าโจทย์ ข้อ ง ควรจะอยู่ตรงไหนบนแผนภาพ? เด็กๆ ชูมอื สลอน ริชาร์ดอยูข่ า้ งหน้าคุณพอดีและเขาก็ยกมือด้วย คุณพอรู้ว่าเด็กคนอื่นเข้าใจเรื่อง “อัตราความเร็ว” หรืออย่างน้อยก็รู้ว่าจะ ท�ำโจทย์ขอ้ นีอ้ ย่างไร แต่คณ ุ ไม่รเู้ ลยว่าริชาร์ดเข้าใจหรือไม่ หลังจากทีเ่ ขา พูดถึง “วิชาที่เรียนได้แย่” ไป คุณได้รวบรวมสมุดจดวิชาคณิตศาสตร์ของ ริชาร์ดและเด็กคนอืน่ ๆ ในทุกสัปดาห์ ริชาร์ดจดบันทึกน้อยมากและไม่คอ่ ย ยกมือตอบ แต่ตอนนี้เขากลับอาสาตอบค�ำถามส่วนที่ยากที่สุดและคุณก็ ไม่รู้ว่าเขาจะตอบอะไร คุณจะท�ำอย่างไร? คุณเหลือบดูนาฬิกา เหลือเวลาอีกเพียง 10 นาที คุณมีเวลาพอทีจ่ ะ เสี่ยงกับค�ำตอบที่ผิดหรือเปล่า? แล้วริชาร์ดล่ะ? ถ้าค�ำตอบของเขา ไม่ได้ใกล้เคียงล่ะ? ถ้าเขาตอบผิด เด็กชายเชื้อสายแอฟริกันอเมริกัน ในห้องเรียนทีม่ เี ด็กหลายเชือ้ ชาติจะปิดตัวเอง และจะลังเลทีจ่ ะมีสว่ นร่วม อีกไหม? ในทางกลับกัน หากคุณ ไม่ เรียกให้เขาตอบ คุณก�ำลังส่งข้อความ อะไรให้กับนักเรียนที่เหลือ? “ริชาร์ด” คุณพูด เขายืนขึน้ กางสมุดบันทึกกลับหัวเพือ่ จะได้มอง เห็นเมื่อออกไปยืนหน้ากระดาน เขาเดินช้าๆ ไปหน้าห้อง ทุกคนรอคอย ในความเงียบ ง: จงแสดงจุดที่รถวิ่งไปด้วยความเร็ว 55 ไมล์ต่อชั่วโมงเมื่อเวลา ผ่านไป 15 นาที เขาใช้ชอล์กขีดเส้นเล็กๆ แบ่งครึ่งระหว่าง 0 กับ 27.5 และเขียนว่า “15 นาที” บริเวณด้านบนของเส้นที่ใช้บอกระยะทาง ส่วน ด้านล่างของเส้น เขาเขียนเลข “18” ระหว่าง 0 นาทีกับ ½ ชั่วโมง ดังภาพ
20
Building a Be t t e r Te a c h e r
วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน
27.5 ไมล์ 0 ไมล์ 15 นาที 0 นาที
18
ค ½ ชั่วโมง
55 ไมล์
110 ไมล์
1 ชั่วโมง ก
2 ชั่วโมง ข
“เอ่อ” เขาบอก “สิบแปด” อะไรนะ? นอกจากเขาจะระบุเวลา (15 นาที) ตรงที่ที่ควรระบุ ระยะทางแล้ว เขายังใส่เลข 18 ไว้ดว้ ย นัน่ ไม่เข้าท่าเลย รถทีว่ งิ่ ด้วยความเร็ว 55 ไมล์ต่อชั่วโมงย่อมไม่สามารถเดินทางได้ 18 ไมล์ภายใน 15 นาที การค�ำนวณอย่างสมเหตุสมผลที่ไหนจะให้ค�ำตอบเท่ากับ 18 กัน? แน่ละ ค�ำตอบนี้ไม่ได้มาจาก 27.5 หารด้วย 2 หรือ 110 หารด้วย 4 แน่ๆ ไม่มี ตรงไหนที่เกี่ยวข้องกับตัวเลขบนกระดานเลย คุณจะท�ำอย่างไร? คุณอาจแก้เวลาและระยะทางให้สลับทีโ่ ดยเร็วแล้วท�ำเป็นไม่สนใจ ค�ำตอบทีผ่ ดิ เพราะมันอาจเกิดจากความสะเพร่า แต่ถา้ ไม่ใช่อย่างนัน้ ล่ะ? คุณตัดสินใจว่าจะไม่ทึกทักไปก่อน “18 ไมล์หรือ 18 นาที” คุณเสี่ยงถาม คุณอธิบายเพิ่มเติมว่า “เธอเขียนเลข 18 ติดกับค�ำว่านาที เธอ หมายถึง 18 ไมล์กับ 15 นาทีใช่ไหม” ริชาร์ดพยักหน้า ลบตัวเลข และ เขียนใหม่ ตอนนี้ตัวเลขสลับต�ำแหน่งกลายเป็น 18 ไมล์กับ 15 นาที แต่เลข 18 ที่น่าฉงนยังปรากฏอยู่ คุณจะท�ำอย่างไร? คุณจะพูดไปเลยตรงๆ ว่า นัน่ ไม่ถกู หรือเปล่า? ริชาร์ดหมายความว่าอะไรกันแน่? คุณมองไปที่เด็กคนอื่นและถามว่า ใครช่วยอธิบายได้ไหมว่า ริชาร์ดคิดค�ำตอบอย่างไร? เด็กๆ ยกมือขึน้ พรึบพรับอีกครัง้ คุณพยายามคิดว่าใครทีต่ อ้ งการ E l i za b et h G reen
21
พูดจริงๆ ใครที่แค่โบกดินสอไปมา จ�ำไว้ว่าคุณไม่ได้สอนริชาร์ดคนเดียว เด็กๆ อีก 25 คนต้องได้ความรู้ด้วย พวกเขาคิดอะไรอยู่? เด็กๆ ก�ำลัง เรียนรู้อยู่หรือไม่? เมือ่ ดูเวลา คุณเห็นว่าเหลืออีกไม่กนี่ าที แต่การถามตอบนีอ้ าจใช้ เวลานานกว่านัน้ เลิกเลยดีไหม เอาไว้วนั หน้าก็ได้ แต่ดรู ชิ าร์ดสิ เขายังเชือ่ ว่า 18 เป็นค�ำตอบที่ถูก เขาไม่รู้ว่าตัวเองไม่รู้เรื่อง คุณเรียกแคเธอรีนคนขยัน “เอ่อ...” เธอบอก “หนูไม่เห็นด้วยกับ ค�ำตอบนั้น” แล้วหยุดชะงัก จากนั้นก็ “เอ่อ...” คุณคิดไตร่ตรอง แคเธอรีนอยากบอกค�ำตอบทีถ่ กู ต้อง แต่กอ่ นหน้า นีค้ ณ ุ พูดว่า ใครช่วยอธิบายได้ไหมว่า ริชาร์ด คิดค�ำตอบออกมาได้อย่างไร คุณไม่ได้ถามว่าใครสามารถอธิบายความคิดของตัวเองได้บ้าง ดูเหมือน แคเธอรีนจะรูว้ า่ เธอไม่ได้ตอบค�ำถามทีค่ ณ ุ ต้องการ ทีเ่ ธอท�ำเสียง “เอ่อ...” และสบตาคุณก็เพื่อขออนุญาตขัดค�ำสั่ง คุณจะอนุญาตไหม? บางทีอาจควร เพียงพยักหน้าเท่านัน้ คุณรูว้ า่ แคเธอรีนจะพูดค�ำตอบที่ถูกต้องชัดเจน และคาบเรียนจะจบทันเวลาพอดี แต่ดูริชาร์ดสิ ถ้าแคเธอรีนเด็กหญิงผิวขาวผู้แคล่วคล่องรีบเฉลยค�ำตอบ ที่ถูกต้อง เหตุการณ์นี้จะมีผลต่อเขาอย่างไร? ในทางกลับกัน ถ้าคุณไม่ให้ แคเธอรีนพูดต่อ จะมีผลอย่างไรกับนักเรียนที่เหลือในห้อง? จากทั้งสอง กรณี เด็กๆ จะเรียนรู้อะไรเกี่ยวกับชาติพันธุ์ เพศ และวิชาคณิตศาสตร์? ในวันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 แม็กดาลีน แลมเพิร์ต (Magdalene Lampert) ได้ตดั สินใจอย่างฉับพลัน สตรีผมทองสลวยซึง่ รวบ ไว้ด้านหลังศีรษะคนนี้มักเก็บอาการ ช่างสังเกต เธอมีประสบการณ์สอน กว่าสิบปี เธอชีไ้ ปทีเ่ ลข 18 แล้วถามว่า “มีใคร เห็นด้วย กับค�ำตอบนีไ้ หม?” คนทั่วไปมักมองว่าเหล่าครูชั้นเยี่ยมนั้นเก่งมาตั้งแต่เกิด เหล่าครูผู้เป็น ต�ำนานนั้นเปลี่ยนคนพาลให้กลายเป็นปราชญ์ เปลี่ยนคนไม่รู้หนังสือ 22
Building a Be t t e r Te a c h e r
ให้กลายเป็นอัจฉริยะ และเปลี่ยนคนเกียจคร้านให้กลายเป็นกวีด้วย พรสวรรค์วิเศษเหนือมนุษย์ ดูอย่าง มิเชลล์ ไฟฟ์เฟอร์ ผู้รับบทเป็นอดีต นาวิกโยธินในภาพยนตร์เรือ่ ง Dangerous Minds เอ็ดเวิรด์ เจมส์ โอลมอส ซึ่งแสดงเป็น ไคเม เอสกาลันเต ในเรื่อง Stand and Deliver และ โรบิน วิลเลียมส์ ในภาพยนตร์เรื่อง Dead Poets Society ซึ่งกล่าววลี “carpe diem” <seize the day หรือจงฉกฉวยวันเวลาในปัจจุบันไว้> การสอน หนังสือคือพันธกิจในชีวติ ของพวกเขา การเป็นครูไม่ใช่เรือ่ งความช�ำนาญ และการฝึกหัด หากแต่เป็นพรบันดาลที่เกิดขึ้นอย่างวิเศษและอัศจรรย์ ในทางตรงกันข้าม ครูที่ไม่ดีถูกสร้างภาพให้ชอบความโหดร้าย (เช่น ตัวละคร ซู ซิลเวสเตอร์ ในเรื่อง Glee) น่าเบื่อสุดๆ (อย่างบทของ เบน สไตน์ ที่พูดงึมง�ำอยู่ตลอดใน Ferris Bueller’s Day Off) หรือทึ่มจน น่าขัน (อย่างมิสเตอร์แกร์ริสันในเรื่อง South Park) นี่คือวิธีการเล่าเรื่องที่ พบบ่อยๆ ฉันขอเรียกเรือ่ งราวท�ำนองนีว้ า่ “มายาภาพเกีย่ วกับคนทีเ่ กิดมา เพื่อเป็นครู” (Myth of the Natural-Born Teacher) ถึงแม้จะพบไม่บอ่ ย แต่ในบางกรณีตวั ละครครูกม็ กี ารเปลีย่ นแปลง ไปในทางทีด่ ขี นึ้ ดังเช่นเรือ่ ง Goodbye, Mr. Chips ซึง่ เป็นนิยายและกลาย มาเป็นภาพยนตร์ ในเรื่องนี้ ครูธรรมดาๆ คนหนึ่งที่ชื่อมิสเตอร์ชิปส์กลับ “มีชีวิตชีวา” ขึ้นมาเหมือนกับเรื่องลูกเป็ดขี้เหร่ นั่นคือเผยให้เห็นถึง ศักยภาพทีซ่ อ่ นอยูใ่ นตัวมากกว่าการพัฒนาทักษะใหม่ๆ คนอืน่ อาจคิดว่า มิสเตอร์ชปิ ส์กลายเป็น “คนใหม่” แต่ทจี่ ริงภาพยนตร์ชใี้ ห้เราเห็นว่า เขาเพียง แค่ทิ้ง “วิธีการสอนที่เชื่องช้าและน่าเบื่อ” แล้วเผยให้เห็น “อารมณ์ขัน” ที่ “เขามีอยู่ในตัวอยู่แล้ว” ต่างหาก ความเชื่ อ เรื่ อ งคนที่ เ กิ ด มาเพื่ อ เป็ น ครู ป รากฏอยู ่ ใ นงานวิ จั ย จ�ำนวนนับพันมานานหลายสิบปีแล้ว นักวิจัยก็พยายามซ�้ำแล้วซ�้ำอีกเพื่อ อธิบายเรือ่ งการสอนทีด่ ี โดยบอกว่าเกิดจากบุคลิกภาพ (personality) และ คุณลักษณะ (character trait) ของครู นักวิชาการประเมินว่า ครูที่มีความ สามารถทีส่ ดุ ต้องเป็นคนทีช่ อบพูดคุยเข้าสังคม เป็นมิตร รูจ้ กั ผิดชอบชัว่ ดี E l i za b et h G reen
23
เปิดกว้างกับประสบการณ์ใหม่ๆ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ปรับตัวเข้ากับ สังคมได้ อารมณ์ละเอียดอ่อน ไม่ท้อถอย มีอารมณ์ขัน หรือมีทั้งหมดที่ กล่าวมา อย่างไรก็ตาม ถึงจะล่วงไปแล้วหลายสิบปีแต่งานวิจัยเหล่านี้ ก็ยงั ไม่สามารถให้ขอ้ สรุปได้ ครูชนั้ เยีย่ มอาจเป็นคนทีช่ อบพูดคุยเข้าสังคม หรือเก็บเนื้อเก็บตัวก็ได้ อาจตลกหรือเอาจริงเอาจัง หรืออาจยืดหยุ่นหรือ เข้มงวดก็ได้ แม้แต่คนที่รับผิดชอบเรื่องการฝึกหัดครู ซึ่งตามค�ำจ�ำกัดความ ควรจะเป็นคนที่เชื่อว่าการเป็นครูสอนกันได้ ก็ยังเชื่อเรื่องคนที่เกิดมา เพื่อเป็นครู “ฉันคิดว่าแรงผลักและความสามารถในการสอนที่มีมาแต่ ก�ำเนิดนั้นมีอยู่จริง” ซิลเวีย กิสต์ (Sylvia Gist) คณบดีคณะครุศาสตร์แห่ง มหาวิทยาลัยชิคาโกสเตต บอกฉันเมื่อเราพบกันในปี 2009 ดูเหมือนคน ส่วนใหญ่จะเห็นพ้องในเรื่องนี้ คุณอาจมีหรือไม่มีติดตัวมาก็เท่านั้น ก่อนพบกับ แม็กดาลีน แลมเพิร์ต ฉันก็เคยคิดอย่างนี้ เพื่อนๆ ของฉันที่เป็นครูดูเหมือนจะเกิดมาเพื่อยืนหน้ากระดาน ฉันเห็นสิ่งนี้จาก บุคลิกภาพและความใส่ใจมากล้นที่พวกเขามี คนหนึ่งเอาจริงเอาจังและ ละเอียดอ่อนอย่างเห็นได้ชัด ส่วนอีกคนมีความเชื่อมั่นทุ่มเทกระตือรือร้น พวกเขาชอบเข้าสังคม มีเสน่ห์ ชอบออกท่าออกทาง ไม่วา่ พวกเขาจะไปไหน ก็มักดึงดูดความสนใจผู้คน ไม่น่าแปลกใจเลยที่พวกเขาตัดสินใจเป็นครู ในขณะที่ฉัน ซึ่งเป็นคนเอาจริงเอาจังจนน่าอาย ไม่ค่อยตลก และช่าง สงสัย กลายมาเป็นนักหนังสือพิมพ์ พวกเขามีคณ ุ สมบัตวิ เิ ศษของ “ความ เป็นครู” นั่นเป็นสิ่งที่ เจน ฮันนาเวย์ (Jane Hannaway) ผู้อ�ำนวยการ สถาบั น วิ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล พั ฒ นาการด้ า นงานวิ จั ย การศึ ก ษาแห่ ง ชาติ (National Center for Analysis of Longitudinal Data in Education Research) และอดีตครู บอกฉันว่ามันคือ “เวทมนตร์คาถา” ครัง้ แรกทีฉ่ นั พบแม็กดาลีน พรสวรรค์ของเธอเห็นได้ชดั เจน และ ทีแรกมันก็ดูเหมือนเวทมนตร์จริงๆ เราพบกันในฤดูหนาวปี 2009 ยี่สิบปี หลังจากวันที่เธอสอนวิชาคณิตศาสตร์ระดับชั้นประถมห้าให้แคเธอรีน 24
Building a Be t t e r Te a c h e r
และริชาร์ด ขณะนีเ้ ธอเป็นศาสตราจารย์อยูท่ คี่ ณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย มิชแิ กน เรานัง่ กันอยูท่ ปี่ ลายโต๊ะยาวในห้องท�ำงานของเธอซึง่ รับแดดเต็มที่ เราก�ำลังดูแบบฝึกหัดของนักเรียนชั้นประถมห้าที่ชื่อแบรนดอน ในโจทย์เกี่ยวกับราคาริบบิ้น แบรนดอนเข้าใจผิดและตอบว่า = 1.5 แม็กดาลีนถามฉันว่า อะไรท�ำให้แบรนดอนคิดอย่างนั้น? นี่เป็นครั้งแรกที่แม็กดาลีนอ่านใจฉัน เธอท�ำเช่นนั้นหลังจาก ถามค�ำถามฉันข้อหนึ่ง เธอหรี่เปลือกตาลงเล็กน้อย ท�ำปากย่น และหยั่ง เข้าไปในความคิดของคุณ ฉันไม่รู้ว่าท�ำไมแบรนดอนจึงได้ค�ำตอบ 1.5 แต่แม็กดาลีนรู้ แทนที่เธอจะให้ค�ำตอบฉัน เธอกลับต้องการให้ฉันคิดว่าอะไรที่ น่าจะสมเหตุสมผล (เช่นเดียวกับในปี 1989 ที่เธอต้องการให้ริชาร์ดคิด กับค�ำตอบของเขาที่ได้ออกมา 18) เธอวาดเครื่องหมายหารยาว ฉันจ�ำว่า เครื่องหมายนี้คือรูป “บ้าน” ตั้งแต่สมัยเรียนประถมห้า แม็กดาลีนเขียน เลขทั้งสองจ�ำนวนสลับต�ำแหน่งกัน เลข 12 อยู่ใต้บ้าน เลข 7 อยู่ด้านนอก ทางซ้ายมือ เหมือนกับเราก�ำลังหาว่า 12 หารด้วย 7 ได้เท่าไหร่ มากกว่า จะหาว่า 7 หารด้วย 12 ได้เท่าไหร่ เมื่อตั้งเลข 12 หารด้วย 7 นักเรียน ก็จะเห็นว่าได้ 1 และเหลือเศษ 5 (12 − 7) ตามภาษาเด็กชั้นประถมห้า เขาคงเขียนว่า “1 เศษ 5” เมือ่ เราดูกระดาษแบบฝึกหัดของแบรนดอนก็พบว่าใช่เลย เราเห็น บ้านอยู่เหนือเลข 12 โดยมีเลข 7 อยู่ด้านนอก และมีรอยปากกาสีเขียว เขียนไว้ขา้ งๆ ว่า “1 เศษ 5” แม็กดาลีนอธิบายว่า แบรนดอนคงจะเข้าใจผิด โดยตีความว่า “1 เศษ 5” คือ 1.5 (ที่จริงค�ำตอบที่ถูกคือ 1 เศษ 5 ส่วน 7) แม็กดาลีนสังเกตเห็นปัญหาและข้ามไปหาสาเหตุได้รวดเร็วราวกับ เล่นกล แทนที่จะแค่ดูค�ำตอบสุดท้ายที่ผิด เธอกลับถอดความหมายการ แก้โจทย์เลขของแบรนดอนซึง่ ดูเกือบไร้เหตุผลส�ำหรับฉัน ให้เป็นเรือ่ งทีม่ ี เหตุผล (แม้ว่าจะเป็นการท�ำโจทย์ที่มจี ุดบกพร่องก็ตาม) เธอกระโดดย้อน เข้าไปในความคิดของเขา และพบต้นตอข้อผิดพลาดโดยใช้เวลาไม่ถงึ นาที E l i za b et h G reen
25
แล้วถ้าแบรนดอนท�ำข้อผิดพลาดอื่นๆ อีกในขณะที่พยายามหา ราคาของริบบิน้ เหล่านัน้ ล่ะ? ไหนจะข้อผิดพลาดทีเ่ พือ่ นๆ ของเขาท�ำ นีย่ งั ไม่นับข้อผิดพลาดที่พวกเขาไม่ได้เขียนลงกระดาษแต่อาจมีอยู่อีกล่ะ? ทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่งานของเด็กนักเรียนห้องเดียวในหนึ่งวันในปีการ ศึกษานัน้ และเป็นงานของระดับชัน้ เรียนเดียว นักเรียนคนเดียว และเพียง วิชาเดียว ฉันเฝ้ามองด้วยความประทับใจในขณะทีแ่ ม็กดาลีนดูเอกสารต่อ เธอย้อนอ่านความคิดของเด็กๆ ซึง่ แต่ละคนก็ดเู หมือนจะมีความเข้าใจผิด ในแบบของตน แต่ยิ่งฉันเรียนรู้เกี่ยวกับแม็กดาลีนและการสอนหนังสือของเธอ มากเท่าไร ฉันก็ยิ่งรู้ว่าสิ่งที่ดูเหมือนการอ่านใจนั้นแท้จริงแล้วเป็นผล มาจากทักษะพิเศษ ไม่ใช่พรสวรรค์ที่มีมาแต่เกิด ความส�ำเร็จไม่ได้ขึ้นกับ บุคลิกภาพของเธอ แม็กดาลีนไม่ค่อยแสดงออก ช่างครุ่นคิด และระมัด ระวังตัว บุคลิกภาพของเธอมีหลายอย่างที่ตรงข้ามกับครูในต�ำนานแบบ ภาพยนตร์ฮอลลีวูด ความส�ำเร็จของแม็กดาลีนมาจากองค์ความรู้และ ทักษะซึ่งเธอสะสมมานานปี การสอนหนังสืออย่างที่เธอท�ำจึงเป็นศาสตร์ ที่ซับซ้อน แม็กดาลีนท�ำให้ฉนั เห็นว่าความเชือ่ ผิดๆ เรือ่ งคนทีเ่ กิดมาเพือ่ เป็น ครูนนั้ อย่างดีกเ็ ป็นได้แค่คำ� กล่าวฉบับสุภาพของภาษิตซึง่ จอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ เขียนไว้วา่ “คนทีม่ คี วามสามารถจะลงมือท�ำ ส่วนคนทีไ่ ร้ความสามารถ จะสอนหนังสือ” การคิดว่างานสอนหนังสือเป็น “เวทมนตร์คาถา” ที่ผสม คุณสมบัติเฉพาะส่วนบุคคล (personal charisma) เข้ากับความชื่นชอบ ในสิง่ ทีท่ ำ� (passion) ก็เท่ากับเราก�ำลังบอกว่า คนทีฉ่ ลาดจะลงมือท�ำ คนทีม่ ี เสน่หจ์ ะสอนหนังสือ ฉันคิดว่านีเ่ ป็นแนวคิดทีอ่ นั ตราย หากเราเข้าใจกลไก การสอนไปแบบผิดๆ เราก็จะเข้าใจในปัจจัยที่ท�ำให้การสอนดีขึ้นไปแบบ ผิดๆ เช่นกัน ถ้าเข้าใจผิดเช่นนีแ้ ล้ว มักแน่ใจได้เลยว่าการสอนจะไม่เกิดผล
26
Building a Be t t e r Te a c h e r
“นั่นไง!” การที่ แม็กดาลีน แลมเพิร์ต ตัดสินใจไม่แก้ค�ำตอบของริชาร์ด ถือว่าได้ผล อย่างน้อยก็ส่วนหนึ่ง ค�ำตอบไม่เป็นเหตุเป็นผลของเขาที่บอกว่ารถยนต์ที่วิ่งด้วย ความเร็ว 55 ไมล์ต่อชั่วโมงจะวิ่งได้ 18 ไมล์ภายใน 15 นาทียังคงอยู่บน กระดานด�ำ แต่หลังจากแม็กดาลีนถามเด็กๆ ในห้องว่ามีใครเห็นด้วยกับ ค�ำตอบของริชาร์ดบ้าง บรรยากาศในห้องก็ชวนให้ดูอึดอัดเพราะไม่มีใคร ตอบอะไร และในที่สุดริชาร์ดก็พูดขึ้นมา “ผมเปลี่ยนใจได้ไหมครับ?” เขาถามเธอ เขาต้องการ “ใส่จ�ำนวน สิบสามครึ่ง หรือ 13.5” แทนเลข 18 ชักเข้าท่า! เขาควรค�ำนวณออกมาดังนี้ เนือ่ งจาก 55 ไมล์สมั พันธ์ กับ 60 นาที และครึ่งหนึ่งของ 55 ไมล์คือ 27.5 ซึ่งสัมพันธ์กับ 30 นาที ดังนั้นต้องหารครึ่งอีกครั้งเพื่อหา 1 ใน 4 ของเวลา 60 นาที ผลที่ต้องได้ จะออกมาเป็น 13.75 เขาได้ค�ำตอบใกล้เคียงแล้ว แต่แม็กดาลีนยังคงไม่เข้าใจว่าท�ำไมตอนแรกเขาจึงบอกว่า 18 เธอ ต้องรูใ้ ห้ได้วา่ สมองของเขาคิดอะไรผิดพลาด แม็กดาลีนชีไ้ ปบนกระดานด�ำ ที่ริชาร์ดเคยเขียนค�ำตอบว่า “18” เธอถามเขาว่าท�ำไมจึงเปลี่ยนใจ เขากลับไปยังที่นั่งของตัวเองแล้ว “เพราะว่า” เขาพูด “18 บวก 18 ไม่เท่ากับ 27” “นั่นไง!” เธอพูด พลางแสดงอาการดีใจเล็กน้อย เขาเข้าใจแล้ว อย่างน้อยก็เกือบหมด แม็กดาลีนวางมือข้างหนึ่ง บนกระดานและปิดเลข 18 ซึ่งเป็นค�ำตอบที่ผิดเอาไว้ เธอหมุนตัวกลับมา ทางริชาร์ดและเด็กๆ ที่เหลือ เธอต้องการให้ทุกคนได้ยินในสิ่งที่เธอก�ำลัง จะพูด ก่อนหน้านี้ริชาร์ดคิดเลขผิด แต่ขณะนี้เขาเริ่มมีข้อพิสูจน์ (proof ซึง่ หมายถึงการให้คำ� อธิบายทางคณิตศาสตร์วา่ ท�ำไมค�ำตอบจึงไม่ใช่ 18) แม็กดาลีนอยากให้ทุกคนสนใจกับการแก้โจทย์เลขของริชาร์ด บนกระดานด�ำปรากฏแผนภาพดังนี้
E l i za b et h G reen
27
27.5 ไมล์
0 ไมล์
0 นาที
15 ½ ชั่วโมง
เธอพูดว่า จ�ำนวนใดก็ตามที่จะใส่ตรงจุดนี้ เมื่อเพิ่มสองเท่าแล้ว ต้องใกล้เคียงกับ 27 นักเรียนด้านหลังห้องเริ่มส่งเสียงพึมพ�ำ “ไม่ใกล้เคียงเลย!” เด็ก คนหนึ่งพูดเสียงดัง ส่วนอีกคนยกมือขึ้น แม็กดาลีนสังเกตเห็นเด็กทั้งสองแต่ยังไม่ท�ำอะไร เธอนึกถึง จ�ำนวน 27 ตัวเลขบนกระดานคือระยะไมล์ที่ถูกต้อง ครึ่งหนึ่งของ 55 คือ 27.5 ไม่ใช่ 27 หากริชาร์ดต้องการความแม่นย�ำ เขาคงจะพยายามหาตัวเลข ที่เมื่อเพิ่มเป็น 2 เท่าจะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 27.5 ไม่ใช่ 27 แต่ถ้าพวกเขา พูดถึงรถยนต์จริงๆ การที่เขาค�ำนวณระยะทางออกมาได้เท่ากับ 13.5 ไมล์แทนที่จะเป็น 13.75 ไมล์นั้น ถือเป็นเรื่องส�ำคัญไหม? อาจจะส�ำคัญ หรืออาจจะไม่ส�ำคัญก็ได้ แต่การรู้จักหาค่าประมาณเป็นทักษะที่ส�ำคัญ และแม็กดาลีนก็พอใจกับความสามารถของริชาร์ด เขารู้จักประมาณค่า หาข้อพิสูจน์ และที่ยิ่งกว่านั้น เขาคิดโดยใช้หลักคณิตศาสตร์ได้ เธอไม่ต้องการท�ำให้ริชาร์ดคิดว่าเขาท�ำพลาด แต่ก็ยังต้องการ ช่วยริชาร์ดกับนักเรียนคนอืน่ ๆ ในชัน้ ให้ได้คำ� ตอบทีถ่ กู ต้อง อย่างไรก็ตาม หากเธอไม่ต้องการให้เด็กๆ ยุ่งยากกับการแบ่งเลข 27.5 ออกเป็น 2 ส่วน เธอคงก�ำหนดโจทย์ให้เป็นตัวเลขกลมๆ เช่น รถวิ่งด้วยอัตรา 60 ไมล์ต่อ ชัว่ โมง การค�ำนวณก็จะง่ายและชัดเจน แต่หนึง่ ในวัตถุประสงค์ของการเรียน ระดับนีค้ อื ให้เด็กๆ รูจ้ กั แปลงค่าทศนิยมกับเศษส่วน และสามารถหารเลข ทัง้ สองแบบนีใ้ นใจได้ เธอเลือกจ�ำนวน 55 เพราะต้องการให้เด็กในชัน้ รูจ้ กั หาทางแก้ปัญหาในรูปแบบที่ก�ำลังเป็นอยู่นั่นเอง แม็กดาลีนจะแสดงออกอย่างไรว่าริชาร์ดแก้ปญ ั หาได้ดี แต่ในขณะ 28
Building a Be t t e r Te a c h e r
เดียวกันเธอก็ตอ้ งการแก้ไขความผิดพลาดของเขาด้วย เธอส�ำรวจดูเด็กๆ ทีย่ กมือเพิม่ ขึน้ อีกหลายคน แอนโธนีโบกมือไปมา แม็กดาลีนรูว้ า่ เด็กชาย ตัวเล็กคนนี้ชอบพูด อาวัด เด็กชายเงียบๆ ผู้มีลายมือสวยงามก็ยกมือ เช่นกัน นักเรียนคนใดที่จะเข้าใจท่าทีที่ไม่ชัดเจนของเธอ ซึ่งเกิดจากการ ยอมรับค�ำตอบของริชาร์ด แต่ก็ต้องการขยายความต่อไปอีกหน่อย เธอ เลือกอาวัด ที่น่าแปลกคือ โรงเรียนรัฐบาลของประเทศเราได้รับอิทธิพลมากที่สุดจาก แนวคิดผิดๆ ที่ว่าคนจะเป็นครูนั้นเป็นมาตั้งแต่เกิด ทั้งๆ ที่สัญญาณเตือน เกี่ยวกับคุณภาพการสอนอันน่าผิดหวังของประเทศส่งเสียงดังมาโดย ตลอด และส่งเสียงดังมากจนเข้าขั้นวิกฤตไปแล้ว บารัก โอบามา กล่าวไว้เมื่อปี 2007 ว่า “นับตั้งแต่วินาทีที่เด็กๆ ก้าวเข้าสู่ห้องเรียน สิ่งส�ำคัญที่สุดสิ่งเดียวที่จะก�ำหนดความส�ำเร็จของ พวกเขาไม่ใช่สีผิวหรือภูมิหลัง ไม่ส�ำคัญว่าพ่อแม่ของเขาเป็นใครหรือมี เงินทองเท่าไหร่ เพราะปัจจัยที่ส�ำคัญที่สุดก็คือ ใครคือครูของพวกเขา” ขณะนัน้ โอบามาเป็นผูส้ มัครชิงต�ำแหน่งประธานาธิบดี เมือ่ ได้รบั ต�ำแหน่ง แล้ว จุดยืนของเขายิ่งแข็งแกร่งขึ้น ในปัจจุบันจากการที่รัฐบาลขยายผล นโยบาย ท�ำให้เขตการศึกษาทัว่ ประเทศพยายามอย่างยิง่ ยวดทีจ่ ะพัฒนา ประสิทธิภาพครู มีการถกเถียงกันอย่างดุเดือดเกีย่ วกับการปฏิรปู ดังกล่าว ผู้คนมากมายรวมทั้งครูจ�ำนวนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับความพยายามของ โอบามา คนเหล่านี้ไม่ได้คัดค้านข้อเสนอของเขา พวกเขาเห็นด้วยว่าครูมี ความส�ำคัญและควรปรับปรุงคุณภาพการสอน แต่สิ่งที่พวกเขาโต้แย้งคือ เราจะท�ำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้นได้อย่างไร ข้อเสนอข้อหนึง่ คือ รัฐบาลของโอบามาเสนอให้พฒ ั นาการศึกษา โดยใช้หลัก มาตรฐานความรับผิดชอบของครู <accountability ในวงการ การศึกษาหมายถึงนโยบายที่ให้ครูมีส่วนรับผิดชอบกับความก้าวหน้า E l i za b et h G reen
29
ด้านวิชาการของเด็ก และตอบแทนครูผา่ นกองทุนเงินเดือนหรือสวัสดิการ> แนวคิดนี้บอกว่าปัญหาของการศึกษาแบบอเมริกันก็คือ เราปฏิบัติกับ ครูทุกคนเหมือนกันหมด ครูได้ขึ้นเงินเดือนในอัตราเดียวกัน ผ่านเกณฑ์ การประเมินผลเดียวกัน และได้รับสิทธิการคุ้มครองเหมือนกัน ไม่ว่า พวกเขาจะเป็นครูที่สร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนอย่าง โรบิน วิลเลียมส์ หรือเป็นครูที่ไม่น่าเชื่อถืออย่าง เบน สไตน์ ก็ตาม แต่ในความเป็นจริง ครูมีทั้งดีและแย่ ครูบางคนช่วยให้เด็กเรียนรู้ ในขณะที่บางคนท�ำให้เด็ก ถอยหลัง “แคลิฟอร์เนียมีครูอยู่ 300,000 คน” โอบามากล่าวในการปราศรัย เมื่อปี 2009 “ครูระดับหัวกะทิ 10 เปอร์เซ็นต์แรก ซึ่งมีจ�ำนวน 30,000 คน สอนอยู่ในรัฐนี้ และครูแย่ๆ ที่ติดอันดับ 10 เปอร์เซ็นต์ท้าย ซึ่งมีจ�ำนวน 30,000 คน ก็สอนอยู่ที่นี่เช่นกัน ปัญหาก็คือ เราไม่สามารถบอกได้ว่าใคร เป็นครูประเภทไหน” เขากล่าวต่ออีกว่า “ตรงนี้ เราใช้ข้อมูลมาช่วยได้” การประเมินว่าครูคนไหนประสบความส�ำเร็จและคนไหนไม่ประสบความ ส�ำเร็จ จะท�ำให้เราสามารถให้รางวัลแก่ครูทดี่ เี ด่น และก�ำจัดครูทไี่ ม่ได้เรือ่ ง ออกไป ซึ่งเท่ากับว่าได้ปรับปรุงคุณภาพการสอนโดยรวม นโยบายของ โอบามาท�ำให้มกี ารปรับปรุงระบบประเมินคุณภาพครู มีการขยายระบบนี้ เพื่อใช้ทั่วประเทศ รวมถึงมีการให้รางวัลตอบแทนและบทลงโทษซึ่งจะ ส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงานของครู ข้อเสนออีกประการตรงข้ามกับข้อเสนอแรกอย่างสิน้ เชิง เนือ่ งจาก เสนอให้ครูมี อิสระในการท�ำงาน (autonomy) ในขณะที่ฝ่ายสนับสนุน มาตรฐานความรับผิดชอบเรียกร้องให้มีการทดสอบนักเรียนอย่างทั่วถึง และต้ อ งประเมิน การสอนเป็นประจ�ำ ฝ่า ยสนับ สนุนแนวทางที่เลือก ความเป็ น อิ ส ระกลั บ กล่ า วว่ า ครู เ ป็ น ผู ้ เ ชี่ ย วชาญในวิ ช าชี พ และควร ได้รับการปฏิบัติอย่างมืออาชีพ อาชีพครูก็เหมือนทนายเหมือนแพทย์ พวกเขาจะท�ำหน้าที่ได้ดีขึ้นต่อเมื่อได้รับความไว้วางใจ ความนับถือ และ อิสระอย่างที่พวกเขาต้องการเพื่อให้งานออกมาดี ล่าสุดฝ่ายสนับสนุน 30
Building a Be t t e r Te a c h e r
แนวคิดดังกล่าวได้ยกประเทศฟินแลนด์ขนึ้ มาเปรียบเทียบ รายงานล่าสุด ของสหภาพครูแห่งชิคาโก (Chicago Teachers Union) ระบุวา่ ทีฟ่ นิ แลนด์ “งานสอนหนังสือได้รับการนับถือและเป็นวิชาชีพชั้นน�ำ ครูมีอิสระใน ชั้นเรียน พวกเขาท�ำงานเป็นหมู่คณะเพื่อพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียน และมีส่วนร่วมในการดูแลกิจการของโรงเรียน” รายงานดังกล่าวสรุปว่า ที่ฟินแลนด์ “ไม่มีการประเมินครู พวกเขาได้รับความไว้วางใจ” ในฐานะค�ำอธิบายสถานการณ์ ทั้งข้อเสนอเรื่องมาตรฐานความ รับผิดชอบและข้อเสนอที่ให้ครูมีอิสระในการท�ำงานต่างมีข้อเท็จจริง แฝงอยู่ ครูจ�ำนวนมากขาดอิสระอย่างที่พวกเขาต้องการ ไม่ค่อยได้รับ ฟีดแบ็กการท�ำงาน แต่ในฐานะแผนการแก้ไข ข้อเสนอแนะหรือค�ำแนะน�ำ เชิงรูปธรรมในการปรับปรุงการสอนของทั้งสองแบบนี้ยังไม่ประสบผล ส�ำเร็จ การเปลี่ยนแปลงโดยใช้ข้อเสนอข้อใดข้อหนึ่งเพียงอย่างเดียว ไม่ช่วยให้เราได้ครูที่ดีขึ้น เพียงแค่ลองค�ำนวณง่ายๆ ก็จะท�ำให้เราเห็น ปัญหาเรือ่ งมาตรฐานความรับผิดชอบของครูได้อย่างชัดเจน กล่าวคือ หาก เราตัดครูที่รั้ง 10 เปอร์เซ็นต์ท้ายทิ้งไปตามที่โอบามาบอก เราต้องหาครู มาแทนถึง 30,000 คน และนี่แค่รัฐแคลิฟอร์เนียเท่านั้น ในระดับประเทศ ตัวเลขสูงกว่านัน้ นับสิบเท่า ในขณะเดียวกันโรงเรียนจ�ำนวนมากก็ทดลอง ให้ครูมีอิสระในการท�ำงานมาหลายปี และเราก็ยังเห็นครูต้องต่อสู้ดิ้นรน กันอยู่ อาจกล่าวได้ว่า การใช้แนวคิดเรื่องมาตรฐานความรับผิดชอบ หรือแนวคิดเรื่องอิสระในการท�ำงานของครูนั้นอาจไม่พอ เพราะแนวคิด ทัง้ สองต่างอยูใ่ นวังวนมายาภาพเรือ่ งคนทีเ่ กิดมาเพือ่ เป็นครู ทัง้ สองกรณีนี้ มีสมมติฐานว่า ครูทดี่ รี อู้ ยูแ่ ล้วว่าจะช่วยให้เด็กเรียนรูอ้ ย่างไร ครูทดี่ เี หล่านี้ ควรได้ปฏิบัติหน้าที่ และต้องรับผิดชอบหากไม่ท�ำตามนั้น หากท�ำเช่นนี้ พวกเขาจะท�ำงานได้ดีขึ้น สุดท้ายแล้วข้อถกเถียงทั้งสองกรณีก็ขึ้นอยู่กับ การเดิมพันลมๆ แล้งๆ ว่าครูธรรมดาจะสามารถคิดหาวิธีกลายเป็นครู ผู้เก่งกาจได้เอง E l i za b et h G reen
31