Digital future web

Page 1


Digital Future อนาคตเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมใหม่ในยุคดิจิทัล สฤณี อาชวานันทกุล • พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์ op e n w o r l d s , ตุลาคม 2558 ราคา 195 บาท • คณะบรรณาธิการอำ�นวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล ผู้จัดการสำ�นักพิมพ์ ภรณ์ทิพย์ ปิยฤทธิพงศ์ บรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์ • บรรณาธิการเล่ม วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ บรรณาธิการต้นฉบับ บุญชัย แซ่เงี้ยว ออกแบบปก w r ongd e s i g n • จัดทำ�โดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2 - 6 1 8 - 4 7 3 0 email: openworldsthailand@gmail.com facebook: www.facebook.com/openworlds twitter: www.twitter.com/openworlds_th website: www.openworlds.in.th • จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) SE - E D U C A TI O N P U B L I C C O M P A N Y L I M ITE D เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 - 2 7 3 9 - 8 2 2 2 , 0 - 2 7 3 9 - 8 0 0 0 โทรสาร 0 - 2 7 3 9 - 8 3 5 6 - 9 website: http://www.se-ed.com/


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อสำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 02-618-4730 และ 097-174-9124 หรือ Email: openworldsthailand@gmail.com

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ สฤณี อาชวานันทกุล. Digital Future.-- กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2558. 200 หน้า. 1. ความรู้ทั่วไป. 2. อินเทอร์เน็ต. I. ชื่อเรื่อง. 030 ISBN 978-616-7885-23-0


สารบัญ

ค�ำน�ำ

9

ภาค 1 ประชาธิปไตย + ประชาชน 2.0

13

1. ความเป็นสากลของประชาธิปไตย 2. แก้คอร์รัปชันอย่างเป็นประชาธิปไตย: แง่คิดจากอเมริกา 3. การเคลื่อนไหวที่ชอบธรรม: บทเรียนจากภาคประชาชนอินเดียและไอซ์แลนด์ 4. ประชาธิปไตย คนรุ่นใหม่ และการศึกษา: โจชัว หว่อง กับ “ปฏิวัติร่ม” ฮ่องกง 5. ชาตินิยมกับเสรีภาพ: เวียดนามในวันฉลองการปลดปล่อยฮานอย 6. ท้องถนนกับประชาชนผู้ด้อยโอกาส: แง่คิดจากเอ็กต้า ปาริฉัตร 7. ลูกหนี้ เจ้าหนี้ และประชาธิปไตย: บทเรียนจากกรีซ 2015 8. ลักษณะของ “รัฐประหารที่เป็นประชาธิปไตย” 9. มองเผด็จการทหารผ่านแว่นเศรษฐศาสตร์การเมือง 10. ประชามติที่แท้จริง: บทเรียนจากประชามติรัฐธรรมนูญ 2550 11. จะต้านโกงต้องเพิ่มอ�ำนาจประชาชน: บทเรียนจากการเลือกตั้งอินโดนีเซีย

14 19 24 29 34 39 44 49 54 59 64


12. Ice Bucket Challenge: เคล็ดลับความส�ำเร็จของแคมเปญเพื่อสังคม 13. การเคลื่อนไหวทางสังคม 2.0 ในไทย: แคมเปญปลานกแก้วกับ BIG Trees 14. “ประชาธิปไตยแบบลื่นไหล” 15. วิถี “ประชาธิปไตยแบบลื่นไหล” ของพรรคไพเรตเยอรมัน 16. Generation Citizen กับการปฏิรูปวิชา “หน้าที่พลเมือง” 17. กลไกเพิ่มพลังพลเมือง: เกมกับนวัตกรรมภาครัฐ 18. การจัดท�ำงบประมาณแบบมีส่วนร่วม

69 74 79 83 87 92 97

ภาค 2 เศรษฐกิจดิจิทัล สังคมดิจิทัล

103

1. สถาปัตยกรรมของอินเทอร์เน็ต: ลักษณะและนัยต่อความรับผิดทางกฎหมาย 2. กลไกก�ำกับดูแลอินเทอร์เน็ต และปัญหาในไทย: กฎหมายและสถาปัตยกรรม 3. กลไกก�ำกับดูแลอินเทอร์เน็ต และปัญหาในไทย: ค่านิยมในสังคมสองขั้ว 4. กลไกการก�ำกับดูแล: โค้ดสร้างค่านิยม ค่านิยมสร้างโค้ด 5. “เศรษฐกิจดิจิทัล” เพื่อใคร?: อันตรายของชุดกฎหมายไซเบอร์ 6. หัวใจของเศรษฐกิจดิจิทัล

104 111 118 123 131 136


7. “จ�ำเป็นและได้ส่วน”: บทเรียนข้ามโลกจาก เอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน 8. มองกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลผ่านฐานคิดของ ฝ่ายความมั่นคง 9. กระบวนการร่างกฎหมาย 2.0: บทเรียนจากกฎหมายอินเทอร์เน็ตบราซิล 10. สิ่งที่กฎหมายดิจิทัลควรท�ำ: ข้อมูลเปิด + รัฐเปิด 11. ใครปกป้องความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว ออนไลน์ให้เราบ้าง? 12. ถอยสู่ยุคอนาล็อก: ร่าง พ.ร.บ. การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 13. ราคาของการเซ็นเซอร์ 14. เกมกับสังคมสมัยใหม่: สิ่งที่กองเซ็นเซอร์ไม่เข้าใจ 15. Hacker Team กับมหกรรมถ�้ำมองกระฉ่อนโลก 16. กระชากเศรษฐกิจดิจิทัลถอยหลังด้วย “ซิงเกิลเกตเวย์”

142

แนะน�ำผู้เขียน

196

147 152 157 162 168 173 179 184 190




คำ�นำ�

ผู้เขียนสงสัยว่า มีใครอีกไหมที่ยังกังขาว่าอินเทอร์เน็ตก�ำลัง เปลี่ยนแปลงทุกมิติในชีวิตของคนเราไปอย่างไม่มีวันหวนคืน ทั้งทาง เศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ตลอดจนพฤติกรรม และแม้แต่ การท�ำงานของสมอง! ในโลกยุคสังคมออนไลน์ซงึ่ เอือ้ อ�ำนวยให้เกิดเวทีและกลไกต่างๆ ให้คนตัวเล็กๆ ส่งเสียง เอื้อต่อประชาธิปไตยฐานรากอย่างไม่เคยปรากฏ มาก่อน มีใครอีกไหมที่ไม่อยากมีสิทธิมีเสียง และไม่รู้ว่าตนมีพลัง การปกครองภายใต้คณะรัฐประหาร ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา ได้ลบล้างความขัดแย้งให้หายไปจากท้องถนน หลายคน โล่งอกกับการไม่ต้องใจหายใจคว�่ำกับระเบิด M79 อีกต่อไป อย่างไรก็ตาม ความขัดแย้งยังคงด�ำรงอยู่ในใจคน และผู้เขียน เกรงว่าจะร้าวลึกลงกว่าเดิม การ “จัดระเบียบสังคม” ด้วยการใช้ก�ำลังบีบบังคับ อาจเนรมิต ให้ชายหาดสวยงามได้ ทางเดินสองฝั่งถนนไร้เงาหาบเร่แผงลอยได้ สฤณี อาชวานันทกุล

9


สลากกินแบ่งราคา 80 บาทได้ แต่ผู้ได้รับผลกระทบจะร้องเรียนกับใคร หากมิได้รสู้ กึ ว่าตนได้รบั การ “คืนความสุข” และผูท้ ไี่ ม่เห็นด้วยไม่สามารถ ออกมาวิพากษ์วิจารณ์ได้ การ “ปฏิรูปประเทศ” ซึ่งน�ำโดยนายทหารที่อ้างว่ามีความรู้อื่น นอกเหนือจากเรื่องความมั่นคง จะแผ้วถางทางไปสู่การปฏิรูปที่ยั่งยืนได้ อย่างไร ในเมื่อวัฒนธรรมกองทัพของไทยยังไม่เคยคุ้นกับความโกลาหล ของสังคมออนไลน์ซึ่งจ�ำเป็นต่อการสร้างสังคมประชาธิปไตย การปฏิรปู ทีแ่ ท้จริงจะต้องเริม่ ต้นจากการมีสว่ นร่วมของประชาชน และหล่อเลี้ยงด้วยฉันทามติว่า สังคมจะแบ่งปันประโยชน์ แบกรับต้นทุน และความผิดพลาดต่างๆ อันอาจเกิดจากแนวทางปฏิรูปนั้นๆ ร่วมกัน วันนี้ปฏิเสธไม่ได้ว่าระบอบประชาธิปไตยทั่วโลกมีปัญหา ใช่แต่ เฉพาะที่เมืองไทย ประชาชนแทบทุกทวีปคับข้องใจว่าเหตุใด “ผู้แทน ราษฎร” จึงยึดเอาประโยชน์ส่วนตัวหรือของพวกพ้องเป็นที่ตั้ง สภา หลายประเทศตกอยู่ในสภาพพิกลพิการ เพราะพรรคการเมืองตั้งหน้า “เล่นการเมือง” สาดโคลนและกีดขวางฝ่ายตรงข้ามเป็นสรณะ มากกว่า จะหาจุดร่วมสงวนจุดต่างเพื่อสรรค์สร้างประโยชน์สาธารณะ ผูเ้ ขียนเชือ่ มัน่ ว่า วิธแี ก้ปญ ั หาต่างๆ ของประชาธิปไตย อาทิ ปัญหา การทุจริตเลือกตั้ง คอร์รัปชันภาครัฐ พรรคการเมืองไม่เป็นปากเป็นเสียง แทนประชาชน นโยบายรัฐไร้ธรรมาภิบาล ฯลฯ ล้วนแต่ต้องอาศัยการ ปรับปรุง-ต่อเติม-ต่อยอดกลไกต่างๆ ให้มคี วามเป็นประชาธิปไตย “มากขึน้ ” มิใช่ “น้อยลง” เริ่ ม ต้ น จากการเคารพในความเท่ า เที ย มทางการเมื อ งและ ศักยภาพของประชาชนทุกคน มิใช่สถาปนาระบอบ “คนดี” ทีไ่ ร้การตรวจสอบขึน้ มาเถลิงอ�ำนาจ และคิดแทนประชาชน หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นจากความเชื่อมั่นข้างต้นของผู้เขียน โดย ยกตัวอย่างรูปธรรมจากทัว่ โลกว่าวิถที เี่ ป็นประชาธิปไตยทัง้ ใน “เป้าหมาย” 10

Digital Future


และ “กระบวนการ” นั้นจ�ำเป็นเพียงใดในสังคมพหุนิยม แล้วเทคโนโลยี ดิจิทัลและโลกออนไลน์สามารถส่งเสริมสนับสนุนวิถีเหล่านี้ได้ดีเพียงใด ถึงแม้จะเขียนขึ้นตามกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกและของ ไทย ผู้เขียนก็เชื่อว่าเรื่องราวเหล่านี้สามารถให้บทเรียนแก่เราได้อย่าง ไร้กาลเวลา เพราะโลกทุกยุคทุกสมัย ย่อมหมุนไปด้วยคนตัวเล็กเสมอ ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่าน

สฤณี อาชวานันทกุล กันยายน 2558

สฤณี อาชวานันทกุล

11



ภาค 1

• ประชาธิปไตย + ประชาชน 2.0


ความเป็นสากลของประชาธิปไตย

ในสายตาของผู้เขียน การเคลื่อนไหวของ “มวลมหาประชาชน” หลังจากที่นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศยุบสภาในวันที่ 9 ธันวาคม 2556 ได้กระโดดข้ามเส้นความชอบธรรมของการออกมาต่อต้าน “เผด็จการเสียงข้างมาก” ไปสู่การเป็นม็อบที่ก�ำลังท�ำตัวเป็น “เผด็จการ เสียงข้างน้อย” โดยไม่แยแสว่าประชาธิปไตยต้องใส่ใจทั้ง “เป้าหมาย” และ “วิธีการ” คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้ เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) มี ความคิดดีๆ เรือ่ งการปฏิรปู หลายเรือ่ ง ซึง่ ประชาชนทุกกลุม่ น่าจะร่วมกัน ผลักดันต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด อุดช่องโหว่ ในกระบวนการถอดถอนนักการเมือง หรือการปรับโครงสร้างต�ำรวจ อย่างไรก็ดี “วิธีการ” ที่ กปปส. ยืนยันว่าจ�ำเป็นต้องใช้ ไม่มี ทางเลือกอื่น คือ ล้มการเลือกตั้งวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557 จากนั้นหา “นายกฯ คนกลาง” ตั้ง “สภาประชาชน” ขึ้นมา “ปฏิรูปประเทศ” 1 ปีถึง 14

Digital Future


1 ปีครึ่ง แล้วค่อยคืนอ�ำนาจให้นักการเมือง วิธีนี้ผู้เขียนนั่ง-นอน-ตะแคงดู ทุกมุมแล้วก็ไม่เห็นจะเรียกว่าประชาธิปไตยตรงไหนได้ เพราะนายกฯ กับ สภาแบบนี้ไม่อาจอ้างได้ว่าเป็นตัวแทนของคนไทยทั้งประเทศได้เลย ผู้ชุมนุมหลายคนไม่ปฏิเสธว่า นี่คือการเสนอให้ “เว้นวรรค ประชาธิปไตย” ชั่วคราว โดยอ้างว่าประชาธิปไตยเป็น “ของตะวันตก” แต่ประเทศไทยมีเอกลักษณ์และบริบทเฉพาะตัว ไม่จ�ำเป็นที่เราจะต้อง “เดินตามก้นฝรั่ง” มุมมองเช่นนี้เป็นความเข้าใจผิดที่อันตราย โดยเฉพาะในเมื่อ ยุคนี้ประชากรกว่า 2 ใน 3 ของโลกในทุกทวีป ยกเว้นตะวันออกกลาง ใช้ ชีวิตอยู่ในระบอบประชาธิปไตย รวมถึงประเทศที่ภูมิใจในเอกลักษณ์ทาง วัฒนธรรมของตัวเองที่แตกต่างจาก “อังกฤษ-อเมริกัน” อย่างเช่นอินเดีย ญี่ปุ่น และทุกประเทศในทวีปอเมริกาใต้ แม้แต่จีน ป้อมปราการท้ายๆ ของระบอบคอมมิวนิสต์ คนจีนเกินครึง่ ก็ตอบแบบส�ำรวจว่า “ชอบแนวคิด เรือ่ งประชาธิปไตย” และนักวิเคราะห์หลายคนก็มองว่ารัฐบาลกลางของจีน ฟังเสียงประชาชนเพิม่ ขึน้ มาก มากยิง่ กว่ารัสเซียเสียอีก (เช่น การนัดหยุด งานเพือ่ ประท้วงยังเป็นเรือ่ งผิดกฎหมายในรัสเซีย แต่ถกู กฎหมายในจีน) อมาตยา เซน (Amartya Sen) อาจารย์ที่รักของผู้เขียนและ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล เสนอมานานกว่าสองทศวรรษแล้วว่า ระบอบประชาธิปไตยประสบความส�ำเร็จในโลกสมัยใหม่ไม่ใช่เพราะหลาย ประเทศ “เห่อฝรัง่ ” หากแต่เป็นเพราะประชาธิปไตยสะท้อน “คุณค่าสากล” บางอย่างทีม่ นุษย์ตา่ งเชือ้ ชาติ ศาสนา และวัฒนธรรม ล้วนแต่ยดึ ถือร่วมกัน ก่อนอืน่ อาจารย์เซนยืนยันว่า “ประชาธิปไตย” มิได้หมายถึงระบอบ การปกครองของ “เสียงข้างมาก” เพียงอย่างเดียว ถึงแม้ว่าการเลือกตั้ง และการเคารพในสิทธิเลือกตั้งจะส�ำคัญ แต่ประชาธิปไตยจะต้องมีกลไก คุ้มครองเสรีภาพ สิทธิตามกฎหมาย และวางหลักประกันว่าประชาชนจะ สามารถสื่อสารกันได้อย่างเสรี สื่อไม่ถูกรัฐเซ็นเซอร์หรือบิดเบือน ล�ำพัง การเลือกตั้งอย่างเดียวอาจบกพร่อง ถ้าหากจัดการเลือกตั้งโดยไม่ให้ สฤณี อาชวานันทกุล

15


ทุกฝ่ายในสังคมมีโอกาสน�ำเสนอข้อเรียกร้องและความเดือดร้อน หรือ ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่มีอิสรภาพที่จะเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร ไม่มีโอกาสได้ พิจารณามุมมองที่หลากหลายของผู้ลงสมัครเลือกตั้ง เมื่อมองจากแง่นี้ ประชาธิปไตยจึงเป็นระบอบที่ต้องบ�ำรุงรักษาและพัฒนาไม่หยุดนิ่ง จะดู แต่เงื่อนไขทางเทคนิค (เช่น มีการปกครองของเสียงข้างมาก) เพียงอย่าง เดียวไม่ได้ มุมมองข้างต้นของอาจารย์เซนดูจะสอดคล้องกับ กปปส. ซึ่งมี ชนวนอยูท่ กี่ ารต่อต้าน “เผด็จการเสียงข้างมาก” แต่อาจารย์เซนชีต้ อ่ ไปว่า ระบอบประชาธิปไตยในนิยามข้างต้นนัน้ มี “คุณค่าสากล” ซึง่ เรามองเห็นได้ จากการพินจิ ดูวา่ ประชาธิปไตยส่งผลดีตอ่ ชีวติ ความเป็นอยูข่ องประชาชน อย่างไร ประการแรก เสรีภาพทางการเมืองเป็นส่วนส�ำคัญที่ขาดไม่ได้ ของเสรีภาพมนุษย์ การใช้สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเป็นหัวใจ ของการมี “ชีวิตที่ดี” ของมนุษย์ในฐานะที่เป็นสัตว์สังคม มิใช่เพียงสัตว์ เศรษฐกิจ การมีส่วนร่วมทางการเมืองและทางสังคมนั้นมีคุณค่าในตัวมัน เอง เพราะถ้าเราไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองก็ยากที่เราจะใช้ชีวิตอย่างมี ความสุขได้ ในเมือ่ การตัดสินใจทางการเมืองส่งผลต่อชีวติ เรา (ตัวอย่างใน ไทย เช่น ประชาชนผู้ได้รับผลกระทบในบางพื้นที่ถูกกีดกันไม่ให้เข้าร่วม เวทีรับฟังความคิดเห็นโครงการจัดการน�้ำ 3.5 แสนล้าน) ประการที่สอง อาจารย์เซนชี้ว่าประชาธิปไตยมีคุณค่าในฐานะ “เครื่องมือ” ที่สร้างหลักประกันว่าประชาชนทุกกลุ่มจะมีสิทธิร้องเรียน เรียกร้อง และได้รบั ความสนใจจากนักการเมือง ในประเด็นต่างๆ ทีป่ ระชาชน แต่ละกลุ่มมองว่าเป็นเรื่องส�ำคัญ รวมถึงประเด็นเรื่องความต้องการทาง เศรษฐกิจด้วย งานวิจยั ชิน้ เอกของอาจารย์เซนซึง่ น�ำไปสูห่ นังสือคลาสสิก Development as Freedom (การพัฒนาในฐานะเสรีภาพ, พิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 1999) และท�ำให้เขาได้รบั รางวัลโนเบล (สาขาเศรษฐศาสตร์ปี 1998) คือการพิสูจน์ว่าภาวะทุพภิกขภัย (ขาดแคลนอาหารอย่างรุนแรง) ไม่เคย 16

Digital Future


เกิดขึน้ ในสังคมประชาธิปไตยทีม่ เี อกราชและสือ่ เสรี เนือ่ งจากทุพภิกขภัย ไม่ได้เกิดจากภัยธรรมชาติ แต่เกิดจากความล้มเหลวของนโยบายรัฐ รัฐที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่มีฝ่ายค้าน ไม่มีสื่อเสรี และไม่มีการเลือกตั้ง ทีป่ ระชาชนมีตวั เลือก ฉะนัน้ จึงไม่เผชิญกับแรงกดดันใดๆ ให้เปลีย่ นแปลง นโยบายที่ท�ำให้ประชาชนล้มตายทุกปี ประการที่สาม ประชาธิปไตยเปิดช่องทางให้ประชาชนมีโอกาส แลกเปลีย่ นเรียนรูซ้ งึ่ กันและกัน และการเรียนรูน้ ชี้ ว่ ยให้สงั คมก่อร่างสร้าง รูปคุณค่าและล�ำดับความส�ำคัญของคุณค่าต่างๆ ที่ยึดมั่นร่วมกัน แม้แต่ แนวคิดเรือ่ ง “ความต้องการ” (needs) รวมถึงการเข้าใจความต้องการทาง เศรษฐกิจของประชาชนแต่ละกลุ่มนั้นก็ต้องอาศัยการอภิปรายสาธารณะ การแลกเปลี่ยนข้อมูล มุมมอง และการวิเคราะห์ พูดอีกอย่างคือ การ จะรู้ได้ว่าคนแต่ละกลุ่มมีความต้องการอะไรบ้าง ความต้องการเหล่านั้น มีรายละเอียดอย่างไรและเร่งด่วนเพียงใด ต้องเปิดให้คนทุกกลุ่มใช้สิทธิ ทางการเมืองและสิทธิพลเมืองของตน เมือ่ มองจากมุมนี้ สิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมืองทีเ่ กีย่ วข้อง กับการสร้างหลักประกันว่าประชาชนจะได้อภิปราย ถกเถียง และคัดค้าน ในทางสาธารณะ จึงเป็นหัวใจของการสร้าง “ทางเลือก” ที่มีเหตุมีผลและ ผ่านการคิดใคร่ครวญมาแล้ว อาจารย์เซนย�้ำว่า กระบวนการอภิปรายสาธารณะนั้นจ�ำเป็น ส�ำหรับการสร้างคุณค่าและการล�ำดับความส�ำคัญของคุณค่าต่างๆ ที่เรา เรียกได้ว่าเป็น “ของสังคม” ของเรา พูดอีกอย่างคือ เราไม่อาจอวดอ้าง ชุดคุณค่าใดๆ ก็ตามที่ไม่ได้มาจากการอภิปรายสาธารณะว่า “สะท้อน สังคม” โดยรวม ประชาธิปไตยเป็นคุณค่าสากล เพราะมนุษย์ทุกคนล้วนอยากให้ คนอืน่ ยอมรับว่าทุกคนมีสทิ ธิเสรีภาพขัน้ พืน้ ฐานอย่างเท่าเทียมโดยก�ำเนิด กระบวนการหรือวิธีการใดๆ ก็ตามที่มิได้ยึดมั่นในหลักการข้อนี้ ย่อมไม่ อาจเรียกว่าเป็นประชาธิปไตยได้ สฤณี อาชวานันทกุล

17


คงเป็นเรื่องน่าเศร้าถ้า “มวลมหาประชาชน” จะภูมิใจในพลัง ของตนเองที่สามารถขับไล่รัฐบาลทุนหนาลุแก่อ�ำนาจได้ส�ำเร็จ แต่กลับ ไม่มั่นใจว่ามีพลังที่จะติดตามตรวจสอบพฤติกรรมซื้อเสียงในช่วงเลือกตั้ง และพฤติกรรมลุแก่อ�ำนาจหลังเลือกตัง้ จนถึงขัน้ ยอมเว้นวรรคประชาธิปไตย ชั่วคราว ผู้เขียนคิดว่า บางที “ความเป็นไทย” ที่แท้จริง อาจหมายถึงการ ยก “ความเป็นไทย” มาเป็นข้ออ้างแบบมักง่ายในการปฏิเสธคุณค่าอัน เป็นสากล พิมพ์ครั้งแรกในคอลัมน์ “รู้ทันตลาดทุน”, กรุงเทพธุรกิจ 23 ธันวาคม 2556

18

Digital Future


แก้คอร์รัปชันอย่างเป็นประชาธิปไตย: แง่คิดจากอเมริกา

เดือนพฤศจิกายน 2556 การเมืองไทยร้อนระอุอกี ครัง้ เมือ่ แกนน�ำ “มวลมหาประชาชน” ยกระดับการชุมนุมขึน้ เรือ่ ยๆ โดยอ้างว่ามีฉนั ทานุมตั ิ จากผู้ชุมนุมให้มา “ปฏิวัติประชาชน” และปฏิรูปประเทศโดยการจัดตั้ง “สภาประชาชน” ก่อนคืนอ�ำนาจให้กับนักการเมือง แนวทาง “สภาประชาชน” ใช่วา่ จะท�ำไม่ได้ภายใต้รฐั ธรรมนูญ แต่ การใช้ค�ำว่า “ปฏิวัติประชาชน” และอ้างมาตรา 3 มาตรา 7 ถี่ขึ้นเรื่อยๆ1 ก็ น่าเป็นห่วงว่าความชอบธรรมจะมาจากไหน ประชาชนอีกหลายล้านคนที่ ไม่ใช่มวลมหาประชาชนจะมีสว่ นร่วมออกความเห็นและใช้อ�ำนาจหนึง่ คน หนึ่งเสียงได้อย่างไร ในเมื่อแกนน�ำพูดว่า “ปฏิวัติ” มากกว่า “ประชามติ” รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 มาตรา 3 บัญญัตวิ า่ “อำ�นาจอธิปไตยเป็นของ ปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริยผ์ ทู้ รงเป็นประมุขทรงใช้อ�ำ นาจนัน้ ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้, การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม” ส่วน มาตรา 7 ระบุว่า “ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณี นัน้ ไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริยท์ รงเป็นประมุข” 1

สฤณี อาชวานันทกุล

19


ถ้าอยากเป็น “ประชาธิปไตยสมบูรณ์” ก็ต้องเป็นประชาธิปไตย ทั้งในเชิงเป้าหมายและวิธีการ ถ้าเป้าหมายเป็นประชาธิปไตย แต่วิธีการ ไม่ใช่ ก็ยากที่เราจะหลุดพ้นจากวังวนอุบาทว์ของการประท้วงใหญ่ชนิด “ไม่ชนะไม่เลิก” ไปได้ อย่างไรก็ดี ประวัติศาสตร์ต้องจารึกไว้ว่า พลังของ “มวลมหา ประชาชน” ในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2556 เป็นการชุมนุมโดยสงบและสันติ ที่มีผู้เข้าร่วมมากที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า คนไทยนับล้านและน่าจะหลายล้านเหลืออดแล้วกับคอร์รัปชัน ทั้งชนิดที่ ผิดกฎหมายคือการทุจริตนานัปการ และชนิดทีถ่ กู กฎหมายอาทิพฤติกรรม “เผด็จการรัฐสภา” ดังสะท้อนจากความพยายามที่จะลักไก่ออกกฎหมาย “นิรโทษกรรมเหมาเข่ง-สุดซอย” โดยไม่แยแสประชาชน และจะท�ำให้ไทย เป็นประเทศแรกที่นิรโทษกรรมคดีคอร์รัปชันของนักการเมือง ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ถ้าปราศจากการชุมนุมคัดค้านมโหฬาร จากประชาชน ร่างกฎหมายอัปยศนี้ก็จะออกมาเป็นกฎหมายจริงได้แบบ ปอกกล้วยเข้าปาก เพราะ ส.ส. เสียงข้างมากพร้อมใจกันยกมือสนับสนุน อย่างน่าอดสู การจัดการกับคอร์รัปชันอย่างจริงจังจึงต้องจัดการทั้งคอร์รัปชัน ชนิดที่ผิดกฎหมายและชนิดที่ถูกกฎหมาย วิธจี ดั การกับคอร์รปั ชันชนิดทีถ่ กู กฎหมายหรือ “เผด็จการรัฐสภา” นัน้ ผูเ้ ขียนสนับสนุนการแก้รฐั ธรรมนูญเพือ่ เปิดทางให้ผสู้ มัครสมาชิกสภา ผู้แทนราษฎรหรือ ส.ส. ไม่ต้องสังกัดพรรคการเมือง ผ่อนปรนข้อก�ำหนด การตั้งพรรคการเมืองให้ประชาชนคนธรรมดาท�ำได้ง่ายขึ้น ผู้ว่าราชการ จังหวัดมาจากการเลือกตัง้ กระจายอ�ำนาจไปสูป่ ระชาชนในท้องถิน่ มากขึน้ โดยเฉพาะการจัดท�ำประชามติในโครงการขนาดใหญ่ และจัดตัง้ หน่วยงาน วิเคราะห์งบประมาณแผ่นดินประจ�ำรัฐสภาที่เป็นอิสระตามแบบอย่าง ส�ำนักงบประมาณประจ�ำรัฐสภาในอเมริกา (Congressional Budget Office - CBO) 20

Digital Future


วิธีจัดการกับคอร์รัปชันชนิดที่ผิดกฎหมาย ผู้เขียนเห็นด้วยกับ นักวิชาการหลายท่านทีเ่ สนอว่าต้องให้คดีคอร์รปั ชันไม่มวี นั หมดอายุความ แต่ผู้เขียนมองว่าต้องท�ำอย่างอื่นประกอบด้วยอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะ การเพิ่มช่องทางของประชาชนในการตรวจสอบรัฐ และเพิ่มต้นทุนของ ภาคธุรกิจในการติดสินบน อย่างหลังนี้ท�ำได้ด้วยการบัญญัติให้ “ผู้ให้สินบน” รับโทษเท่ากับ “ผู้รับสินบน” ทุกกรณี และอธิบายให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้าใจมากขึ้นเรื่อง ความรับผิดชอบของกรรมการบริษัท ไม่ใช่ตีความว่าสิทธิส่วนบุคคลของ กรรมการอยู่เหนือความรับผิดชอบ ในทีน่ ผี้ เู้ ขียนอยากเล่าตัวอย่างของความพยายามทีจ่ ะแก้ปญ ั หา คอร์รปั ชันชนิดทีถ่ กู กฎหมายในอเมริกา ซึง่ มีลกั ษณะแตกต่างจากไทยมาก แต่เกิดจาก “ต้นตอ” เดียวกัน นั่นคือ อ�ำนาจของกลุ่มทุนใหญ่ที่มีต่อการ ท�ำงานของสภา ท�ำให้สภารับใช้กลุ่มทุนมากกว่ารับใช้ประชาชน หนึ่งในผู้น�ำการรณรงค์ให้แก้ปัญหานี้คือ ลอว์เรนซ์ เลสสิก (Lawrence Lessig) นักกฎหมายชื่อดังชาวอเมริกัน ผู้ผันตัวจากการเป็น นักรณรงค์คัดค้านกฎหมายลิขสิทธิ์ มาเป็นนักรณรงค์ต่อต้านคอร์รัปชัน ชนิดถูกกฎหมายที่เขามองว่าเป็นรากฐานของปัญหาทั้งมวลในภาค การเมืองอเมริกา2 ผู้เขียนมีโอกาสได้พบกับอาจารย์เลสสิกในเดือนพฤศจิกายน 2556 ระหว่างการเยือนอเมริกา 7 สัปดาห์ในฐานะ Southeast Asia Regional Fellow (ทั้งรุ่นมี 23 คน) ภายใต้ทุน Eisenhower Fellowships ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงก�ำไรในสหรัฐอเมริกา อาจารย์เลสสิกสรุปปัญหาคอร์รัปชัน “ต้นตอ” ไว้ว่า คือการที่ ทุกวันนี้ ส.ส. พึง่ พาเงินจากคนมัง่ มีและบริษทั ร�ำ่ รวยจ�ำนวนหยิบมือเดียว อ่านสรุปปัญหาเรื่องนี้และข้อเสนอได้ใน Lawrence Lessig, “Lesterland: The Corruption of Congress and How to End It”, http://www.scribd.com/doc/148565740/Lesterlandthe-Corruption-of-Congress-and-How-to-End-It 2

สฤณี อาชวานันทกุล

21


เวลาหาเสียงเลือกตั้ง ท�ำให้สภาคองเกรสไม่ท�ำงานเพื่อประชาชนทั่วไป แต่ท�ำงานพิทกั ษ์ผลประโยชน์ “นายทุน” ของตัวเองเป็นหลัก (อาจารย์เคย ค�ำนวณว่า อเมริกาทัง้ ประเทศมีคนราว 311 ล้านคน แต่ทนุ ในการหาเสียง เลือกตั้งแต่ละครั้งมาจากคนและบริษัทเพียง 144,000 ราย หรือร้อยละ 0.05 เท่านั้น) ทุกวันนี้สมาชิกสภาคองเกรสใช้เวลา 3 วันในทุกสัปดาห์ หาเงินเพื่อเตรียมลงเลือกตั้งครั้งต่อไป ท�ำให้วาระส�ำคัญๆ ของประชาชน ทัง้ ฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาบนไม้บรรทัดอุดมการณ์ไม่คบื หน้าไปไหน ตัง้ แต่ การแก้กฎหมายภาษี (ฝ่ายขวา) จนถึงการแก้ปัญหาโลกร้อน (ฝ่ายซ้าย) กฎหมายหลายอย่างเอื้อต่อการให้สมาชิกสภาคองเกรส “ไถ” ภาคธุรกิจ เช่น สิทธิประโยชน์ทางภาษีจ�ำนวนมากมีวันหมดอายุ ท�ำให้ ส.ส. ใช้เป็นข้อต่อรองกับภาคธุรกิจได้ (“ถ้าคุณให้ทนุ แคมเปญเลือกตัง้ ของ ฉัน ฉันจะไปต่ออายุสิทธิประโยชน์ตัวนี้ให้คุณ”) งานวิจัยจ�ำนวนมากชี้ว่า ภาคธุรกิจเองก็ยินดี เพราะได้ผลตอบแทนตั้งแต่ 6-220 เหรียญสหรัฐต่อ เงิน “ลงทุน” ทุก 1 เหรียญสหรัฐทีท่ มุ่ ให้กบั การล็อบบีแ้ ละแคมเปญเลือกตัง้ อาจารย์เลสสิกเสนอว่า วิธีแก้ปัญหาคอร์รัปชันที่ถูกกฎหมาย ชนิดนี้คือการปฏิรูประบบการระดมทุนเลือกตั้ง เขาเสนอให้แจก “คูปอง ประชาธิปไตย” มูลค่า 50 เหรียญสหรัฐแก่ประชาชนทุกคน ผู้สมัครรับ เลือกตั้งจะได้เงินนี้ไปต่อเมื่อสัญญาว่าจะรับเฉพาะคูปองนี้เท่านั้นในการ หาเสียง ถ้าอยากรับเงินบริจาคจากปัจเจกหรือองค์กรโดยตรงก็รับได้ ไม่เกินสองเท่าของมูลค่าคูปองประชาธิปไตย อเมริกามีประชากร 300 ล้านคน ถ้าชาวอเมริกันครึ่งประเทศ ตกลงใช้ระบบนี้ คูปองทัง้ หมดจะมีมลู ค่า 7,500 ล้านเหรียญสหรัฐ มากกว่า เงินบริจาคพรรคการเมืองใหญ่สองพรรครวมกันกว่าสองเท่า อาจารย์ ค�ำนวณว่า สภาคองเกรสในปี ค.ศ. 2009 ใช้เงินแจก “สวัสดิการภาค ธุรกิจ” ไปกว่า 90,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ฉะนั้นหากระบบใหม่นี้สามารถ ลดสวัสดิการธุรกิจได้ร้อยละ 10 ก็นับว่าคุ้มทุนแล้ว แล้วจะผลักดันการปฏิรูปนี้ได้อย่างไรในภาวะที่สภาคองเกรส 22

Digital Future


ไม่ท�ำงาน? อาจารย์มองว่ามี 4 วิธีที่เป็นไปได้ วิธีแรกคือสภาคองเกรส ออกกฎหมาย วิธีที่สองคือหาผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้รับความนิยมสูงและ ไม่ใช่นักการเมืองมาลงสมัคร ส.ส. และไม่ถอนตัวจนกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ ให้ค�ำมั่นสัญญาว่าจะไปผลักดันการปฏิรูป วิธีที่สามคือให้ประธานาธิบดี งัดข้อกับสภาคองเกรส และวิธสี ดุ ท้ายคือแก้รฐั ธรรมนูญ ซึง่ ต้องใช้เสียง 3 ใน 4 ของรัฐทั้งหมดในอเมริกา อาจารย์เลสสิกมองว่าวิธที สี่ เี่ ป็นไปได้มากทีส่ ดุ แต่กห็ นีไม่พน้ การ รณรงค์ผลักดันไปเรือ่ ยๆ ให้กลายเป็นขบวนเคลือ่ นไหวของภาคประชาชน ไม่เลือกผูส้ มัครทีไ่ ม่สญ ั ญาว่าจะปฏิรปู และหลังการเลือกตัง้ ก็ตอ้ งติดตาม ตรวจสอบอย่างเข้มข้นตลอดไป พูดง่ายๆ คือเป็นประชาธิปไตยทั้งในเป้าหมายและวิธีการ พิมพ์ครั้งแรกในชื่อ “คอร์รัปชันชนิดที่ถูกกฎหมาย กับชนิดที่ผิดกฎหมาย: แง่คิดจากอเมริกา”, คอลัมน์ “รู้ทันตลาดทุน”, กรุงเทพธุรกิจ 9 ธันวาคม 2556

สฤณี อาชวานันทกุล

23


การเคลื่อนไหวที่ชอบธรรม: บทเรียนจากภาคประชาชนอินเดียและไอซ์แลนด์

ปี 2557 เปิดฉากขึ้นท่ามกลางบรรยากาศการเมืองไทยร้อนระอุ พรรคการเมืองสองพรรคใหญ่ต่างท�ำตัว “เกรียน” ในภาษาวัยรุ่น พรรค หนึ่งประกาศบอยคอตไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง อีกพรรคส่งนักการเมืองที่ คนร้อง “ยี”้ กันทัง้ เมืองมาลงเลือกตัง้ ทัง้ ชุด ราวกับจะเย้ยว่าข้าส่งเสาไฟฟ้า ลงก็ยังได้เพราะแกไม่มีทางเลือก ท่ามกลางความไม่แน่นอนมากมาย สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือเสียง เรียกร้อง “การปฏิรูป” ก�ำลังดังกระหึ่มขึ้นอีกครั้งในไทย หลังจากที่ดังมา แล้วหลายระลอกแทบทุกครั้งที่เกิดโศกนาฏกรรมทางการเมือง ในความเป็นจริง “การปฏิรปู ” ระดับประเทศไม่วา่ จะมิตใิ ด ดูคล้าย กับ “การพัฒนาทีย่ งั่ ยืน” ตรงทีไ่ ม่มคี �ำว่า “จบ” ไม่มี “จุดสิน้ สุด” ทีช่ ดั เจน และ ไม่มี “เส้นชัย” ให้ไปถึง มีแต่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้วยความอุตสาหะ และอดทนเท่านั้นเพื่อให้ทันกับขนาดและลักษณะของปัญหา อย่างไรก็ตาม ในรอบหลายปีมานี้คนไทยเคยชินกับการตื่นตัว ของประชาชนในรูปการชุมนุมประท้วงบนท้องถนนมากกว่ารูปแบบอื่นๆ 24

Digital Future


ซึ่งเมื่อเป็นการประท้วงแบบ “ไม่ชนะไม่เลิก” แกนน�ำก็ย่อมอยากชักจูงให้ คนเชื่อว่า “ชนะแล้ว” หรือ “ใกล้จบแล้ว” และ “มีวิธีเดียวเท่านั้น” แกนน�ำผูช้ มุ นุมกลุม่ กปปส. ใช้วาทกรรมและวาทศิลป์นบั ไม่ถว้ น มาประโคมว่า “นักการเมือง” และ “ระบอบทักษิณ” นัน้ ชัว่ ช้าสามานย์สนิ้ ดี เป้าหมายอยู่ที่การ “โค่น” รัฐ ยึดเอาอ�ำนาจรัฐมาไว้เอง รายละเอียดและ ความชอบธรรมของวิธีการปฏิรูปไว้ว่ากันวันหลัง ในสถานการณ์ทดี่ คู บั ขันและมืดมน ลองมาดูบทเรียนจากต่างแดน กันต่ออีกเล็กน้อย กลางเดือนธันวาคม ค.ศ. 2013 รัฐสภาอินเดียผ่านกฎหมาย ต่อต้านคอร์รัปชันฉบับส�ำคัญ ก่อตั้งต�ำแหน่ง “ผู้ตรวจการแผ่นดิน” ขึ้น มาใหม่ มีสถานะเป็นองค์กรอิสระ มีอ�ำนาจสอบสวนและด�ำเนินคดีทุจริต คอร์รัปชันของนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐทุกหน่วยงาน รวมถึงส�ำนัก นายกรัฐมนตรีด้วย (ผู้ตรวจการแผ่นดินของไทยมีอ�ำนาจเพียงยื่นค�ำร้อง ต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองเท่านั้น) ผูด้ �ำรงต�ำแหน่งผูต้ รวจการแผ่นดินของอินเดียมาจากการแต่งตัง้ โดยคณะกรรมการสรรหา ซึง่ ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา ผู้น�ำพรรคฝ่ายค้าน และผู้เชี่ยวชาญกฎหมาย ราหุล คานธี (Rahul Gandhi) รองประธานพรรคคองเกรส ซึ่งกุมเสียงข้างมากในสภา ประกาศว่ากฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันฉบับ ใหม่เอี่ยมนี้ “โดยล�ำพังไม่เพียงพอที่จะสู้กับคอร์รัปชัน ... เราควรลงมือ ต่อกรกับมันจนกว่าจะส�ำเร็จ ... ร่างกฎหมายต่อต้านคอร์รปั ชันอีก 6 ฉบับ ยังค้างอยู่ในสภา” อย่างไรก็ดี การผ่านกฎหมายฉบับนี้นับว่าเป็นก้าวส�ำคัญใน ประวัติศาสตร์อินเดีย เพราะร่างกฎหมายนี้ถูกยื่นและตีตกในสภาอินเดีย มาแล้วถึง 8 ครั้ง ตลอดระยะเวลาเกือบครึ่งศตวรรษ นักวิเคราะห์เห็นตรงกันว่า ไม่ใช่เหตุบังเอิญที่สภาอินเดียผ่าน กฎหมายฉบับนี้เพียงไม่กี่วันหลังจากที่พรรคคองเกรสของนายราหุล สฤณี อาชวานันทกุล

25


แพ้การเลือกตั้งระดับรัฐหลายแห่ง ท่ามกลางกระแสความโกรธแค้นของ ประชาชนที่หาว่าพรรคคองเกรส “ไร้น�้ำยา” ในการจัดการกับคอร์รัปชัน ขั้นเขมือบจ�ำนวนมาก ความพ่ายแพ้ในสนามเลือกตั้งครั้งนี้ท�ำให้พรรคคองเกรสต้อง หันมาทบทวนตัวเองครั้งใหญ่ เพราะดูเป็นพรรค “ไดโนเสาร์” ในสายตา ของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งหลายล้านคน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ เติบโตมาพร้อมกับ “ภาพจ�ำ” ของนางอินทิรา คานธี และนายราจีฟ คานธี สองผู้ยิ่งใหญ่แห่งอินเดีย ผูท้ มี่ สี ว่ นส�ำคัญในการเคลือ่ นไหวต่อต้านคอร์รปั ชันจนกลายเป็น กระแสสังคม ผลักดันให้กฎหมายฉบับนีผ้ า่ นสภาได้ส�ำเร็จคือ อัณณา หชาเร (Anna Hazare) นักเคลือ่ นไหวทางสังคมชัน้ ครูผตู้ อ่ ต้านคอร์รปั ชันด้วยการ อดอาหารประท้วงรัฐทุกระดับตลอดระยะเวลา 40 ปีที่ผ่านมา1 นอกจากจะเปิดโปงคอร์รัปชันมากมาย หชาเรยังเป็นผู้น�ำการ เคลือ่ นไหวในรัฐมหาราษฏระ ผลักดันให้รฐั บาลแห่งรัฐออกกฎหมายข้อมูล ข่าวสารของรัฐ ซึ่งต่อมากลายเป็นกฎหมายแม่แบบของกฎหมายข้อมูล ข่าวสารของรัฐบาลกลางอินเดียในปี 2005 กฎหมายต่อต้านคอร์รัปชันฉบับประวัติศาสตร์ผ่านสภาในวันที่ 9 ของการอดอาหารประท้วงรอบล่าสุดของหชาเร ร่างกฎหมายฉบับนี้ร่างขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อกว่า 46 ปีที่แล้ว แต่ เพิ่งจะบังคับใช้เป็นผลส�ำเร็จเมื่อเร็วๆ นี้เอง ย้อนไปในปี 2011 ทีห่ ชาเรอดอาหารเป็นครัง้ แรกเพือ่ เรียกร้องให้ รัฐบาลหยิบร่างกฎหมายเสนอเข้าสภาจนเป็นผลส�ำเร็จ ในสภาอีกซีกโลก รัฐสภาไอซ์แลนด์เพิง่ ผ่านกฎหมายข้อมูลข่าวสารด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ กฎหมายฉบับนีไ้ ด้รบั เสียงชืน่ ชมว่าเป็นกฎหมายคุม้ ครองสือ่ และ ข้อมูลข่าวสารที่ดีที่สุดฉบับหนึ่งในโลก นอกจากจะปกป้องสื่อมวลชนและ ดูการเคลื่อนไหวต่อต้านคอร์รัปชันของ อัณณา หชาเร ได้ที่ http://www.annahazare.org/ anticorruption-movement.html 1

26

Digital Future


แหล่งข่าวแล้ว ยังปกป้องผูใ้ ห้เบาะแสการทุจริตคอร์รปั ชันเป็นกรณีพเิ ศษ นับเป็นก้าวส�ำคัญสูก่ ารท�ำให้ไอซ์แลนด์เป็น “ทีพ่ งึ่ พิงส�ำหรับเสรีภาพในการ แสดงออก” ผู้มีบทบาทส�ำคัญในการผลักดันกฎหมายฉบับนี้คือ บีร์จิตตา ยอนส์ดอตตีร์ (Birgitta Jónsdóttir) กวีและนักเคลื่อนไหวผู้ผันตัวมาเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร2 ในปี 2008 เศรษฐกิจของไอซ์แลนด์โดนหางเลขวิกฤตการเงิน โลกอย่างรุนแรง ระบบธนาคารจวนเจียนล้มละลาย คนไอซ์แลนด์จ�ำนวน มหาศาลออกมาประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกอย่างไม่เคยเกิดขึ้น มาก่อนในประวัติศาสตร์ของประเทศที่มีประชากรราว 3 แสนคน บีร์จิตตาโดดเข้าร่วมขบวนผู้ประท้วงซึ่งขยายใหญ่อย่างรวดเร็ว เธอกลายเป็ น หั ว หอกจั ด ตั้ ง แนวร่ ว มประชาชนซึ่ ง ต่ อ มาจดทะเบี ย น เป็นพรรคการเมืองชื่อว่า “ขบวนการเคลื่อนไหว” (The Movement หรือ “Hreyfingin” ในภาษาไอซ์แลนด์) จุดยืนของพรรคคือการปฏิรูป ประชาธิปไตยในไอซ์แลนด์เพื่อกระจายอ�ำนาจไปสู่มือประชาชนมากขึ้น พรรคขบวนการเคลื่อนไหวส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งผู้แทนราษฎร ในเดือนเมษายนปี 2009 ได้คะแนนเสียงจากประชาชนถึงร้อยละ 7 จึงได้ โควตาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 4 คนจาก 63 ที่นั่งในสภา ถึงแม้จะจด ทะเบียนเป็นพรรคการเมืองเพียง 2 เดือนก่อนวันเลือกตั้ง และแทบไม่มี งบประมาณหาเสียงใดๆ การต่อต้านคอร์รปั ชันในอินเดียสอนเราว่า การต่อสูท้ ี่ “สงบ สันติ อหิงสา” อย่างแท้จริง มีเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม มีความอดทน อดกลัน้ ค่อยๆ โน้มน้าวให้ประชาชนคนอืน่ สนับสนุนโดยไม่ไปละเมิดสิทธิ ใคร และ “กัดไม่ปล่อย” นั้น มีพลังและยั่งยืนเพียงใด การต่อต้านคอร์รัปชันในไอซ์แลนด์สอนเราว่า การเคลื่อนไหว ของภาคประชาชนทีส่ ร้างการเปลีย่ นแปลงจริงๆ นัน้ หลายเรือ่ งไม่จ�ำเป็น 2

ติดตามบล็อกของเธอได้ที่ http://joyb.blogspot.com/ สฤณี อาชวานันทกุล

27


จะต้องทิ้งระบบหรือท�ำนอกระบบ แต่สามารถเคลื่อนไหวในระบบได้ หากแต่ต้องเริ่มจากการท�ำความเข้าใจว่า การเลือกตั้งไม่ใช่ และไม่เคยเป็น “วิธีแก้ปัญหา” ใดๆ เป็นแต่เพียงกลไกรองรับการใช้สิทธิ ขั้นพื้นฐานของประชาชน เพื่อหา “เจ้าภาพ” ฝั่งรัฐในการแก้ปัญหา และ เปิด “โอกาส” ให้ประชาชนด้วยกันได้เข้าไปเป็น “ตัวแทน” เท่านั้น พิมพ์ครั้งแรกในคอลัมน์ “รู้ทันตลาดทุน”, กรุงเทพธุรกิจ 6 มกราคม 2557

28

Digital Future


ประชาธิปไตย คนรุ่นใหม่ และการศึกษา: โจชัว หว่อง กับ “ปฏิวัติร่ม” ฮ่องกง

ข่าวใหญ่ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2014 หนีไม่พน้ การชุมนุมประท้วง รัฐบาลจีนของประชาชนชาวฮ่องกง ซึง่ ได้รบั การขนานนามว่า “ปฏิวตั ริ ม่ ” จากการใช้วิธีกางร่มกันแก๊สน�้ำตาจากต�ำรวจ ภาพประชาชนหลายแสนคนหลั่งไหลออกมาชุมนุมโดยสันติ ติดต่อกันหลายวัน เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยขั้นพื้นฐานจากรัฐบาลจีน นั่นคือสิทธิการเลือกตั้งผู้น�ำสูงสุดของฮ่องกงโดยตรง นับเป็นเหตุการณ์ ประวัติศาสตร์ที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนนับตั้งแต่อังกฤษคืน “เขตปกครอง พิเศษ” แห่งนี้สู่อ้อมอกจีนแผ่นดินใหญ่ในปี 1997 เพื่อนชาวฮ่องกงของผู้เขียนหลายคนที่ท�ำงานธนาคารก็ใช้เวลา หลังเลิกงานออกไปร่วมชุมนุมกับเขาด้วย พวกเขาเล่าให้ฟังว่าคนฮ่องกง จ�ำนวนมากโกรธจีนที่เคยสัญญาว่าจะใช้ระบบ “หนึ่งประเทศ สองระบบ” ปกครองฮ่องกงไปอีกอย่างน้อย 50 ปี แต่ในการเลือกตั้งปี 2017 กลับจะ ให้คนฮ่องกงเลือกผู้น�ำจากกลุ่มผู้สมัครที่ถูกคัดกรองมาแล้วชั้นหนึ่งก่อน พวกเขามองว่าหัวหน้าเขตปกครองพิเศษและพวกพ้องทีอ่ ยูใ่ นอ�ำนาจเป็น “ลูกไล่” ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ดูแลผลประโยชน์ของจีนมากกว่าดูแล ปากท้องของชาวฮ่องกง สฤณี อาชวานันทกุล

29


http://mashable.com/2014/09/30/hong-kong-protestsupdates/

1. “ปฏิวัติร่ม” ในฮ่องกง

บางคนอาจสงสั ย ว่ า ในเมื่ อ ฮ่ อ งกงก็ เ ป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของจี น ผลประโยชน์ของทั้งสองชาตินี้น่าจะสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันไม่ใช่ หรือ เพื่อนอธิบายว่าพูดแบบนั้นก็ถูกบางส่วน โรงงานจีนจ�ำนวนมาก ในเขตอุตสาหกรรมอย่างเสิ่นเจิ้นไม่มีวันสร้างได้ถ้าปราศจากเงินทุนและ ความช�่ำชองของนักธุรกิจจากฮ่องกง (รวมถึงชาวจีนโพ้นทะเลอีกหลาย ชาติ ตั้งแต่สิงคโปร์ ไต้หวัน ฯลฯ) ส่วนฮ่องกงเองก็ได้อานิสงส์จากสินค้า ราคาถูกและนักท่องเที่ยวจากแผ่นดินใหญ่เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ของทั้งสองเลวร้ายลงในรอบไม่กี่ปี ที่ผ่านมา ความเหลื่อมล�้ำทางเศรษฐกิจในฮ่องกงสูงเป็นอันดับต้นๆ ของ โลก (ดูจากค่าสัมประสิทธิ์จีน1ี ที่สูงกว่า .537 ซึ่งในภาษาเศรษฐศาสตร์ ค่ า สั ม ประสิ ท ธิ์ จี นี (Gini Coefficient) พั ฒ นาโดยนั ก สถิ ติ ช าวอิ ต าลี คอร์ ร าโด จี นี (Corrado Gini) เป็นวิธีวัดการกระจายของข้อมูลทางสถิติอย่างหนึ่งที่นิยมใช้เป็นตัวบ่งชี้ ความเหลื่อมล�้ำของการกระจายรายได้หรือการกระจายความร�่ำรวย ค่าสัมประสิทธิ์จีนีถูก นิยามให้เป็นอัตราส่วนซึ่งมีค่าระหว่าง 0 ถึง 1 ค่าที่ต�่ำจะแสดงถึงความเท่าเทียมในการ กระจายรายได้ หากค่านีส้ งู ขึน้ จะบ่งชีถ้ งึ การกระจายรายได้ทเี่ หลือ่ มลำ�้ มากขึน้ (http://www. thaibizchina.com/thaibizchina/th/china-economic-business/result.php?SECTION_ ID=466&ID=1183) 1

30

Digital Future


หากค่านี้เกิน .50 ถือว่าสูงมาก) และวันนี้ฮ่องกงมีคนจนอย่างเป็น ทางการ (ใช้ชีวิตอยู่ใต้เส้นความยากจน) ถึงร้อยละ 20 นอกจากนี้การ จัดตัง้ สหภาพแรงงานในฮ่องกงยังผิดกฎหมาย ส่วนกฎหมายค่าแรงขัน้ ต�ำ่ เพิง่ มีเมือ่ ปี 2010 นีเ้ อง แถมระดับค่าแรงขัน้ ต�ำ่ ทางการในเวลานัน้ ก็นอ้ ยนิด คือ 28 เหรียญฮ่องกงต่อชั่วโมง หรือประมาณ 120 บาทต่อชั่วโมงเท่านั้น ไม่พอค่ารถใต้ดนิ กลับบ้านด้วยซำ�้ ในเมืองทีม่ คี า่ ครองชีพแพงติดอันดับโลก เพือ่ นบอกว่าวันนีค้ นหนุม่ สาวในฮ่องกงรูส้ กึ แปลกแยกกับรัฐบาล ที่พวกเขาไม่เคยมีสิทธิเลือกมากขึ้นเรื่อยๆ และมองไม่เห็นอนาคต คน ที่พอมีทางหนีทีไล่ (จบการศึกษาสูงๆ ซึ่งมักแปลว่าอย่างน้อยต้องเป็น ชนชั้นกลาง) ก็ทยอยอพยพไปหางานท�ำในต่างแดนในอัตราสูงที่สุด นับตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา อัตราการพบจิตแพทย์ก็เพิ่มสูงขึ้น มากเช่นเดียวกัน ทั้งหมดนี้ช่วยอธิบายว่า เหตุใด “ปฏิวัติร่ม” ในฮ่องกงครั้งนี้จึง มีคนหนุ่มสาวเข้าร่วมเป็นประวัติการณ์ หลายคนโดดเรียนมานั่งชุมนุม ประท้วงกลางแดด ติวต�ำราเรียนกันกลางถนน ฝ่ายอาจารย์มหาวิทยาลัย หลายคนก็ใจดี อัดเทปค�ำบรรยายในคาบตัวเองให้ลูกศิษย์ที่ขาดเรียน ดาวน์โหลดไปฟังได้ แถมอธิการบดีมหาวิทยาลัยบางคนยังเดินทางมา ให้ก�ำลังใจนักศึกษาที่ยืนหยัดประท้วงอย่างสันติ แตกต่างจากอธิการบดี ของไทยบางคนราวฟ้ากับเหว (เพือ่ นของผูเ้ ขียนทีไ่ ปประท้วงส่วนใหญ่ไม่ชอบค�ำว่า “ปฏิวตั ริ ม่ ” เพราะพวกเขาไม่ได้อยากโค่นระบอบการปกครอง เพียงแต่มาเรียกร้อง ให้ผนู้ �ำลาออกและให้ประชาชนมีสทิ ธิเลือกตัง้ ผูน้ �ำโดยตรง พวกเขาบอกว่า ต้องโทษสื่อต่างประเทศที่ใช้ค�ำว่า “ปฏิวัติ” แต่มาถึงตอนนี้คงต้องปล่อย เลยตามเลย เพราะการเสนอข่าวของสือ่ ยักษ์ใหญ่หลายค่ายท�ำให้ชาวโลก ได้เห็นปรากฏการณ์นี้) แล้ว “แกนน�ำ” ของคนหนุม่ สาวเหล่านีเ้ ป็นใคร? หนุม่ น้อยคนหนึง่ ทีม่ บี ทบาทส�ำคัญคือ โจชัว หว่อง (Joshua Wong) ผูม้ คี วามคิดความอ่าน สฤณี อาชวานันทกุล

31


http://www.theguardian.com/world/2014/oct/01/joshua-wongteenager-public-face-hong-kong-protests

2. โจชัว หว่อง แกนน�ำคนส�ำคัญของขบวนการนักศึกษาเพื่อประชาธิปไตย

เป็นผู้ใหญ่เกินตัว ดังที่ผู้เขียนแปลบางตอนจากข่าวในหนังสือพิมพ์ The Guardian เกีย่ วกับตัวเขามาเล่าสูก่ นั ฟัง2 (เนือ้ หาในวงเล็บเป็นของผูเ้ ขียน) โจชัว หว่อง ยังเด็กเกินกว่าจะมีสิทธิขับรถหรือซื้อเหล้าดื่มในบาร์ ยังไม่ตอ้ งพูดถึงสิทธิเลือกตัง้ แต่ในวัย 17 ปี เขาได้กลายเป็น “หน้าตา” ของ การชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง กลายเป็นแรงบันดาลใจ ให้กับพลเมืองรุ่นราวคราวพ่อ ผู้ร่วมก่อตั้งขบวนการนักศึกษา “Scholarism” ผู้นี้เป็นนักกิจกรรม ตัวยง สองปีก่อนตอนอายุ 15 โจชัวน�ำขบวนนักเรียนต่อต้านแผนรื้อ หลักสูตร “การศึกษาแห่งชาติ” (แนวทางฟังคล้ายกับแผนการรื้อหลักสูตร ปลูกฝัง “ค่านิยม 12 ประการ” สมัยเผด็จการ คสช. ของบ้านเรา) ซึ่งถูก วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนาหูว่ามีเป้าหมายเพื่อ “ล้างสมอง” เด็กๆ ให้นิยม ชมชอบรัฐบาลจีน แคมเปญต่อต้านของ Scholarism ครั้งนั้นดึงนักเรียน หลายวัยมาร่วมมากถึง 100,000 คน ชุมนุมกดดันหน้าทีท่ �ำการรัฐจนรัฐบาล http://www.theguardian.com/world/2014/oct/01/joshua-wong-teenager-public-facehong-kong-protests 2

32

Digital Future


ต้องยอม “แขวน” นโยบายรื้อหลักสูตรไปก่อน นับจากนั้นโจชัวก็กลายเป็น ขวัญใจวัยรุ่นในชั่วข้ามคืน ในการ “ปฏิวัติร่ม” ครั้งนี้ โจชัวและเพื่อนๆ ถูกต�ำรวจควบคุมตัว 40 ชั่วโมงหลังจากที่บุกเข้าไปประท้วงในเขตสถานที่ราชการ ต่อมาศาลสั่งให้ ต�ำรวจปล่อยตัวเขาเพราะ “ควบคุมตัวนานเกินความจ�ำเป็น” แต่กว่าจะออก มาได้ โจชัวก็กลายเป็นเซเล็บระดับโลก ผูส้ ร้างแรงบันดาลใจให้คนอีกหลาย แสนคนออกมาร่วมประท้วง ไม่นับคนอีกมากมายที่เปลี่ยนรูปโปรไฟล์ใน เฟซบุ๊กและโซเชียลมีเดียอื่นๆ เป็นรูปร่มหรือริบบิ้นสีเหลือง ซึ่งเป็น สัญลักษณ์ของการประท้วงในครั้งนี้ โจชัวไม่ชอบแสงไฟที่สาดมาที่ตัวเขา ก่อนหน้านี้ในปี 2012 ตอนที่ รณรงค์ต่อต้านหลักสูตร “ล้างสมอง” ของรัฐ เขาพูดว่า “ถ้าหากขบวนการ เคลื่อนไหวทางสังคมกลายเป็นการบูชาใครสักคนละก็ นั่นแหละคือปัญหา ใหญ่” ในครั้งนี้เขาย�้ำว่า “คุณไม่ต้องเป็นไอดอลใครก็เป็นส่วนหนึ่งของ ขบวนการทางสังคมได้ คุณแค่ต้องแคร์ในประเด็นนั้นๆ จริงๆ” โจชัวเปรียบเทียบการคัดกรองผูส้ มัครเป็นหัวหน้าเขตปกครองพิเศษ ชั้นหนึ่งก่อนจะให้ประชาชนโหวตเลือก ว่าเหมือนกับการให้คนเลือกว่าจะ กินอะไรระหว่างศูนย์การค้าสองแห่ง “นี่เป็นตัวเลือกที่แท้จริงหรือเปล่า? ข้างในศูนย์การค้านั่นคล้ายกัน มาก ยังไงๆ คุณก็ต้องลงเอยด้วยการไปกินร้าน Pepper Lunch อยู่ดี” โจชัวยืนกรานกับสื่อตลอดมาว่าเขาไม่ใช่ฮีโร่ เพราะ “ฮีโร่ของการ เคลื่อนไหวครั้งนี้คือพลเมืองฮ่องกงทุกคน”

ในบทสัมภาษณ์กับนิตยสาร Time ฉบับเอเชีย (ตุลาคม 2014) ซึง่ ท�ำสกูป๊ ปกเรือ่ งปฏิวตั ริ ม่ สองฉบับติดต่อกัน โจชัวเน้นว่า “อนาคตไม่ใช่ สิ่งที่ผู้ใหญ่จะเป็นคนตัดสิน [เพราะอนาคตย่อมเป็นของเด็ก] ... ผมอยาก จะถามผู้ใหญ่ คนที่มีเงินทุนและอ�ำนาจ ว่าท�ำไมพวกเขาจึงไม่ต่อสู้เพื่อ ประชาธิปไตยครับ?” พิมพ์ครั้งแรกในคอลัมน์ “ประชาชน 2.0”, กรุงเทพธุรกิจ 13 ตุลาคม 2557 สฤณี อาชวานันทกุล

33


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.