Foucault: A Very Short Introduction p. 1-26

Page 1


ฟูโกต์: ความรู้ฉบับพกพา • สายพิณ ศุพุทธมงคล แปล จากเรื่อง F o u c a ul t : A V e r y S h or t I n t r o duc t i o n โดย Gary Gutting พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ o p e n w o r l d s , ตุลาคม 2558 ราคา 230 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ภรณ์ทิพย์ ปิยฤทธิพงศ์ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์ • บรรณาธิการเล่ม บุญชัย แซ่เงี้ยว บรรณาธิการต้นฉบับ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ออกแบบปก w r o ngd e s i g n • จัดท�ำโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2 - 6 1 8 - 4 7 3 0 e m a il: o p e n w o r l d s t h a i l a n d @g m a i l . c o m fa c e b o o k : w w w . f a c e b o o k . c o m / o p e n w o r l d s twitte r: w w w . t w i t t e r . c o m / o p e n w o r l d s _ t h we b s i t e : w w w . o p e n w o r l d s . i n . t h จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED เลขที่ 1858/87-90 อาคารที ซี ไ อเอฟทาวเวอร์ ชั้ น ที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 - 2 7 3 9 - 8 2 2 2 , 0 - 2 7 3 9 - 8 0 0 0 โทรสาร 0 - 2 7 3 9 - 8 3 5 6 - 9 we b s i t e : h t t p : / / w w w . s e - e d . c o m /


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ สำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 02-618-4730 และ 097-174-9124 หรือ Email: openworldsthailand@gmail.com

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ กัตติง, แกรี. ฟูโกต์: ความรู้ฉบับพกพา. -- กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2558. 192 หน้า. -- (ความรู้ฉบับพกพา). 1. ฟูโกต์, มิเชล, ค.ศ. 1926-1984. 2. ปรัชญา. I. สายพิณ ศุพุทธมงคล, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง. 194 ISBN 978-616-7885-21-6 • Thai language translation copyright 2015 by openworlds publishing house /Copyright © 2005 by Gary Gutting All Rights Reserved. Foucault: A Very Short Introduction, by Gary Gutting was originally publis h e d in En g lis h in 2 0 0 5 . This translation is published by arrangement with Oxford University Press t hrou g h T u ttle -M o ri Ag e n c y C o . , L t d . The T h a i e d itio n is tra n s l a t e d b y S a i p i n S u p u t t a m o n g k o l a nd published by op e n wo rld s p u b lis h i n g h o u s e , 2 0 1 5 . ฟูโกต์: ความรู้ฉบับพกพา ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 2005 แปลและตีพิมพ์เป็นภาษาไทยโดยข้อตกลงกับสำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด


สารบัญ

. ชื่อย่อ : 6 กิตติกรรมประกาศผู้แปล : 8 กิตติกรรมประกาศผู้เขียน : 9 1. หลายชีวิตและผลงาน : 14 2. วรรณกรรม : 28 3. การเมือง : 44 4. โบราณคดีวิทยา : 62 5. วงศาวิทยา : 78 6. นักปรัชญาคลุมหน้า : 94 7. ความบ้า : 114 8. อาชญากรรมและการลงทัณฑ์ : 130 9. เพศสมัยใหม่ : 148 10. เพศในยุคโบราณ : 164 แหล่งอ้างอิง และบทอ่านต่อ : 180 ประวัติผู้เขียน : 190 ประวัติผู้แปล : 191


สารบัญภาพประกอบ

. 1. ฟูโกต์ แถวบนสุด กับเพื่อนร่วมชั้นเรียน Private collection 19 2. เรมงด์ รูสแซ็ล, 1895 © Rue des Archives 21 3. ฌอร์ฌ บาไตย์ © Photos12.com/Interfoto 37 4. ฟูโกต์กับซาทร์ © Gérard Aimé 49 5. ฟูโกต์ไปพูดที่มหาวิทยาลัยดับเบิลยู. เบอร์ลิน เทคนิคัล, 1978 © Raymond Depardon/Magnum Photos 56 6. ฌอร์ฌ กูวีเย พินิจฟอสซิลสัตว์ © Bettmann/Corbis 72 7. “สามศาสดา”: ลู ซาโลเม พอล เร และ ฟรีดริช นีทเชอ, 1882 © akg-images 86 8. อิมมานูเอล คานท์ © 2004 TopFoto.co.uk 98 9. กาสตง บาเชอลาร์ด © Rue des Archives 107 10. ปีแนลปลดพันธนาการคนบ้า (1876) ภาพสีนำ�้ มันโดย โตนี โรแบร์-เฟลอรี โรงพยาบาลซาลแปทรีแยร์ กรุงปารีส © Photos12.com/ARJ 117 11. ทัณฑสถานรัฐอิลลินอยส์ © Bettmann/Corbis 137 12. ฟูโกต์กบั ผูแ้ สดงเป็นผูพ้ พิ ากษาในช่วงถ่ายท�ำภาพยนตร์เรือ่ ง Moi, Pierre Riviere © René Allio/DR 139 13. ฟูโกต์ที่บ้านของเขา, 1978 © Martine Franck/Magnum Photos 157 14. ฟูโกต์ที่เบิร์กลีย์ Courtesy of Paul Rabinow 177


ชื่อย่อ

. ผู้เขียนใช้ชื่อย่อของงานเขียนของฟูโกต์ทั้งเล่ม ดังนี้ หนังสือของฟูโกต์ AK (DL) The Archaeology of Knowledge, tr. Alan Sheridan (New York: Vintage, 1972). รวมทัง้ “The Discourse on Language” (DL), แปล จาก L’ordre du discours, ปาฐกถาของฟูโกต์ในการรับต�ำแหน่งที่ Collège de France. BC The Birth of the Clinic, tr. Alan Sheridan (New York: Vintage, 1973). CS The Care of the Self, Volume 3 of The History of Sexuality, tr. Robert Hurley (New York: Vintage, 1986). HF Histoire de la folie à l’âge classique (Paris: Gallimard, 1972). HS The History of Sexuality, Volume 1: An Introduction, tr. Robert Hurley (New York: Vintage, 1978). DP Discipline and Punish, tr. Alan Sheridan (New York: Vintage, 1977). MC Madness and Civilization, tr. Richard Howard (New York: Vintage, 1965). เล่มนี้เป็นการแปล HF อย่างย่นย่อมากๆ OT The Order of Things, tr. Alan Sheridan (New York: Vintage, 1970). แปลจาก Les mot et les choses. RR Death and the Labyrinth: The World of Raymond Roussel, tr. Charles Ruas (Garden City, New York: Doubleday and Co., 1986). แปลจาก Raymond Roussel. รวมทั้งบทสัมภาษณ์ฟูโกต์ โดย Charles Ruas. UP The Use of Pleasures, Volume 2 of The History of Sexuality, tr. Robert Hurley (New York: Vintage, 1985).


หนังสือรวมบทความ การบรรยาย และบทสัมภาษณ์ฟูโกต์ DE Daniel Defert and François Ewald (eds), Dits et écrits, 19541988, four volumes (Paris: Gallimard, 1994). ซึ่งรวมทุกอย่าง นอกจากหนังสือที่ฟูโกต์ตีพิมพ์ EW The Essential Works of Michel Foucault, ed. Paul Rabinow. ทั้งชุดมีสามเล่มที่เลือกแปลจาก Dits et écrits. EW I Volume 1, Ethics: Subjectivity and Truth, ed. Paul Rabinow, tr. Robert Hurley et al. (New York: New Press, 1997). EW II Volume 2, Aesthetics: Method and Epistemology, ed. James Faubion, tr. Robert Hurley et al. (New York: New Press, 1998). EW III Volume 3, Power, ed. James Faubion, tr. Robert Hurley et al. (New York: New Press, 2000). P/K Colin Gordon (ed.), Power/Knowledge: Selected Interviews and Other Writings, 1972-1977 (New York: Pantheon, 1980). PPC Lawrence Kritzman (ed.), Michel Foucault: Philosophy, Politics, Culture, tr. Alan Sheridan (London: Routledge, 1988). หนังสือรวมบทความสองเล่มสุดท้ายมีบทความส�ำคัญบางชิ้นที่ไม่ได้ตีพิมพ์ ใน EW


8

Foucault

กิตติกรรมประกาศผู้แปล

. ขอบคุณส�ำนักพิมพ์ openworlds ที่ไว้วางใจให้ข้าพเจ้า เป็นผู้แปลหนังสือเล่มเล็กที่เนื้อหาไม่น้อยนิด มีวิธีมองนักคิด และความคิดที่แปลกตา น่าสนใจ และยังเขียนอย่างมีโครงเรื่อง มีท่วงทีลีลาที่น่าทึ่ง ในแง่นี้ หนังสือที่ส�ำนักพิมพ์มอบหมายให้ แปลเล่มนี้จึงเป็นหนังสือในฝันของนักแปล ขอบคุ ณ เพื่ อ นนั ก วิ ช าการต่ า งมหาวิ ท ยาลั ย และ นักศึกษาทีด่ อี กี จ�ำนวนหนึง่ ทีพ่ ากเพียรอ่านต้นฉบับแปลทีย่ งั ไม่ สมบูรณ์ และให้กำ� ลังใจด้วยวิธกี ารเฉพาะตัวของแต่ละคน สุดท้าย ขอขอบคุณ สุดแดน วิสุทธิลักษณ์ เพื่อนร่วมงานที่อ่านต้นฉบับ แปลให้อย่างตั้งใจ ตั้งแต่บรรทัดแรกจนบรรทัดสุดท้าย และให้ ค�ำเสนอแนะทีช่ ว่ ยให้งานลุลว่ งไปได้โดยความสบายใจของผูแ้ ปล


A

Very Short Introduction

9

กิตติกรรมประกาศผู้เขียน

. ผมเขียนร่างแรกของหนังสือในช่วงฤดูร้อน ค.ศ. 2003 ขณะสอนวิ ช าสั ม มนาเกี่ ย วกั บ ฟู โ กต์ ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย โยฮั น น์ วูล์ฟกัง เกอเธ่ ที่แฟรงก์เฟิร์ต ขอขอบคุณ อักซ์เซิล ฮอนเนท ที่เชิญและให้ความช่วยเหลือมากมาย ขอบคุณนักศึกษาในวิชา สัมมนาที่ให้ความสนใจและส�ำหรับค�ำถามทั้งหลายของพวกเขา และขอบคุณพนักงานของภัตตาคารลิเทอราทูรเ์ ฮาส์ (โดยเฉพาะ โอลิเวอร์กับฟรันซ์) ส�ำหรับการบริการ อาหาร และไวน์ชั้นยอด เช่นทุกครั้ง ผู้ท�ำหน้าที่อ่านต้นฉบับนี้เป็นคนแรกและ เป็นผู้อ่านที่ดีที่สุดคือภรรยาของผม อานัสทาเซีย ฟรีล กัตติง ผมขอบคุณ เจอร์รี บรูนส์ และ ทอดด์ เมย์ ที่ให้ความเห็นที่ เป็นประโยชน์ และขอขอบคุณ มาร์ชา ฟิเลียน แห่งส�ำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ทีช่ วนผมเขียนหนังสือเล่มนีแ้ ละให้การ สนับสนุนตลอดโครงการนี้



แด่อานัสทาเซีย ด้วยความรักเสมอมา



ฟูโกต์ •

ความรู้ฉบับพกพา

FOUCAULT • A

Very

Short

Introduction

by

Gary Gutting

แปลโดย

สายพิณ ศุพุทธมงคล


บทที่ 1

/ หลายชีวิตและผลงาน


A

Very Short Introduction

15

อย่าถามว่าผมเป็นใคร ... ผมให้ฟูโกต์พูดก่อน: “อย่าถามว่าผมคือใคร และอย่า บอกให้ผมเป็นคนเดิม ... ปล่อยให้เป็นหน้าทีข่ องพวกข้าราชการ และต�ำรวจที่ตรวจเอกสารของเราเถอะ” (AK, 17) ผมท�ำตามทีเ่ ขาบอก เพราะชีวติ ของฟูโกต์อา่ นได้หลาย แบบ และจะอ่านแบบไหนก็มขี อ้ มูลสนับสนุนทัง้ สิน้ การอ่านแบบ หนึ่งเป็นแบบมาตรฐานที่ไล่เรียงล�ำดับความส�ำเร็จทางวิชาการ ปอล-มิแช็ล ฟูโกต์ (Paul-Michel Foucault) เป็นบุตรของ ครอบครัวที่ได้รับการนับหน้าถือตานอกกรุงปารีส บิดา ของเขาเป็นแพทย์ที่ประสบความส�ำเร็จ เขาเป็นนักเรียน ที่ มี ผ ลการเรี ย นยอดเยี่ ย ม จะว่ า เป็ น ดาวดวงเด่ น ของ โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง (École Normale Supérieure) สถาบันการศึกษาอันทรงเกียรติของฝรั่งเศสก็ว่าได้ สาย สัมพันธ์ทางวิชาการและทางการเมืองท�ำให้เขาไม่ต้อง


16

Foucault

เป็นครูมัธยม ซึ่งผู้ที่มีความทะเยอทะยานทางวิชาการใน ฝรั่งเศสต้องท�ำ ฟูโกต์ใช้เวลาช่วงนั้นในสวีเดน โปแลนด์ และเยอรมนี ขณะเดียวกันก็เขียนวิทยานิพนธ์ ซึ่งได้รับ การอนุมัติหัวข้อโดยศาสตราจารย์ผู้มีชื่อเสียงที่สุดคนหนึ่ง แห่งมหาวิทยาลัยซอร์บอนน์ และเมือ่ วิทยานิพนธ์ได้รบั การ ตีพิมพ์ ก็ได้รับค�ำชมเชยจากปัญญาชนชั้นน�ำของประเทศ ในช่วง 8 ปีหลังจากนั้น ฟูโกต์ด�ำรงต�ำแหน่งศาสตราจารย์ ในหลายมหาวิทยาลัย หนังสือ ถ้อยค�ำและสรรพสิ่ง (Les mots et les choses) ของเขา ซึ่งตีพิมพ์ ค.ศ. 1966 เป็น หนังสือวิชาการขายดี และท�ำให้เขาเป็นตัวเก็งที่จะได้รับ ต�ำแหน่ง “เมธีเอกแห่งฝรั่งเศส” ต่อจากซาทร์ (Sartre) สองสามปีหลังจากนั้น เขาได้รับเลือกให้ด�ำรงต�ำแหน่ง ศาสตราจารย์ทวี่ ทิ ยาลัยแห่งฝรัง่ เศส (Collège de France) อภิมหาวิทยาลัยของประเทศ [ผูท้ ดี่ ำ� รงต�ำแหน่งก่อนหน้านี้ คือแบร์กซง (Bergson) และแมร์โล-ปงตี (Merleau-Ponty)] ซึ่งท�ำให้เขาขึ้นสู่จุดสูงสุดของโลกวิชาการฝรั่งเศส และไม่ ต้องรับภาระงานสอนเช่นอาจารย์ทั่วไป จากนั้นเป็นต้นมา ฟูโกต์กเ็ ดินทางไปบรรยายในหลายประเทศทัว่ โลก (รวมทัง้ ที่ญี่ปุ่น บราซิล และแคลิฟอร์เนีย) มีผู้มาฟังการบรรยาย ของเขาแน่นห้องประชุม เขาท�ำกิจกรรมทางการเมืองมาก ขึ้น แต่ก็ยังสามารถเขียนผลงานวิชาการชั้นเยี่ยมเกี่ยวกับ อาชญากรรมและเพศวิถีที่ท�ำให้เขากลายเป็นพระเอกของ วงการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เมื่อเขาเสียชีวิต ใน ค.ศ. 1984 มีหนังสือเกี่ยวกับชีวิตและผลงานของเขา


A

Very Short Introduction

17

หลายสิบเล่ม และชื่อเสียงหลังความตายของเขาก็ยิ่งมีแต่ จะเพิ่มขึ้น

แต่เราอาจอ่านชีวติ ของเขาอีกแบบ ทีก่ ม็ คี วามเป็นไปได้ ไม่แพ้กัน: ฟูโกต์เป็นบุตรชายที่ปราดเปรื่องทว่ามีปัญหาทางอารมณ์ บิดาของเขาเป็นแพทย์ผู้นิยมใช้อ�ำนาจกับคนรอบข้าง ความทุ ก ข์ อั น เกิ ด จากรสนิ ย มรั ก ร่ ว มเพศอาจเป็ น เหตุ ให้เขาพยายามฆ่าตัวตายขณะศึกษาที่โรงเรียนฝึกหัดครู ชัน้ สูง และท�ำให้ตอ้ งเข้ารับการรักษาทางจิตเวช เขาเกลียด สังคมฝรั่งเศสมากจนต้องหนีไปท� ำงานในต�ำแหน่งที่ไม่ สลักส�ำคัญในต่างประเทศ แต่ก็ไม่พบเสรีภาพที่เขาไขว่หา แม้จะประสบความส�ำเร็จทางวิชาการอย่างสูง แต่สิ่งที่เขา ค้นหามาตลอดชีวิตคือความตื่นเต้นอย่างถึงขีดสุด (ที่เขา เรียกว่า “limit-experiences”) จากการใช้สารเสพติดและ การมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง (sadomasochistic sex) เขา เสียชีวิตก่อนอายุครบ 60 ปีด้วยโรคเอดส์ ที่อาจได้รับเชื้อ มาจากแหล่งบันเทิงทางเพศที่ซานฟรานซิสโก

เรายังสามารถเล่าชีวิตของเขาจากมุมทางการเมือง การเคลือ่ นไหว และการมีสว่ นร่วมในกิจกรรมเพือ่ ความเป็นธรรม ทางสังคมดังนี้


18

Foucault

ฟูโกต์เป็นผู้ที่มีอิสระทางความคิด และมุ่งมั่นต่อสู้เพื่อ เสรีภาพทั้งของตนเองและผู้อื่นมาตั้งแต่ต้น ความชิงชัง การกดบังคับของเขาจะพลุ่งโพลงขึ้นระหว่างการอภิปราย ประเด็นทีซ่ บั ซ้อนและเป็นวิชาการ เขามองงานทางปัญญา ทีผ่ ดิ แผกแหวกแนวของตนเองในฐานะเครือ่ งมือใน “กล่อง เครือ่ งมือ” ทีเ่ ขายืน่ ให้ผทู้ ตี่ อ่ ต้านพวกทรราชย์ และผลก็เป็น อย่างทีเ่ ขาปรารถนา เขาเป็นวีรบุรษุ ของขบวนการต่อต้าน อ�ำนาจครอบง�ำของจิตเวช ขบวนการปฏิรูปทัณฑสถาน ขบวนการเพื่อเสรีภาพของคนรักเพศเดียวกัน ...

ไม่มีการอ่านแบบใดที่ผิด แต่เพราะเรื่องเหล่านี้จริงไป ทั้งหมด เราจึงมองไม่ออกว่าชีวิตของฟูโกต์คืออย่างไรกันแน่ ซึ่งก็เป็นอย่างที่เขาต้องการ การตั้งชื่อหนังสืออย่าง ฟูโกต์ที่ฝัน เฟ้อไป (Hallucinating Foucault) [นวนิยายเขียนโดย แพทริเซีย ดังก์เกอร์ (Patricia Duncker)] และบทไว้อาลัย “ฟูโกต์ที่ข้าพเจ้า จินตนาการ” (Foucault as I Imagine Him) [โดย มอรีส บลองโชต์ (Maurice Blanchot)] ไม่ได้ท�ำอย่างไม่มีเจตนา เพราะอย่างน้อย จนถึงปัจจุบัน เรารู้จักชีวิตส่วนตัวของฟูโกต์น้อยเกินกว่าจะท�ำ อะไรได้มากกว่าคาดเดาความเชื่อมโยงระหว่างชีวิตส่วนตัว กับผลงานของเขา หนังสือ ความปรารถนาของ มิแช็ล ฟูโกต์ (The Passions of Michel Foucault) ของ เจมส์ มิลเลอร์ (James Miller) แสดงให้เห็นทั้งความเป็นไปได้อันจ�ำกัดและอันตรายที่ เกิดจากการท�ำเช่นนี้ แต่ทำ� ไมเราต้องอ่านชีวติ เพือ่ ให้เข้าใจผลงาน ในเมือ่ เรา


A

Very Short Introduction

1. ฟูโกต์ แถวบนสุด กับเพื่อนร่วมชั้นเรียนที่ปัวตีเย ค.ศ. 1944

19


20

Foucault

สามารถอ่านผลงานเพือ่ เข้าใจชีวติ ได้? การด�ำรงอยูข่ องฟูโกต์ใน หลายลักษณะคือสิง่ ทีเ่ ขาเขียนในหนังสือของเขา และงานเหล่านี้ บอกว่าเขาเป็นใครได้มากกว่าเรื่องเล่าที่หลุดรอดจากความ ทรงจ�ำที่ถูกบิดถูกเบือน และจากความพยายามของฟูโกต์เองที่ พยายามรักษาความเป็นส่วนตัวของชีวิตเขา จุ ด เริ่ ม ต้ น ที่ ดี ที่ สุ ด คื อ เรมงด์ รู ส แซ็ ล (Raymond Roussel) งานวรรณกรรมศึกษาขนาดยาวเล่มเดียว และเป็นงาน ทีเ่ ขาบอกเองว่า “เป็นบางอย่างทีส่ ว่ นตัวมากๆ” (RR, interview, 185) การที่ฟูโกต์เลือกศึกษารูสแซ็ลมีนัยส�ำคัญอย่างยิ่ง กระทั่ง ในช่วงทศวรรษ 1950 ทีฟ่ โู กต์บงั เอิญไปพบหนังสือของนักเขียน ผู้นี้ที่ร้านหนังสือเลฟต์แบงก์ รูสแซ็ล (1877-1933) ยังเป็น นักเขียนชายขอบที่ไม่มีใครสนใจ เป็น “นักเขียนแนวทดลอง” ที่ ไม่ได้เขียนงานตามทฤษฎีหรือแนววรรณกรรมใด แต่เขียนจาก ความลุ่มหลงทะนงตนในฐานะนักเขียน [ปีแยร์ ฌาเนต์ (Pierre Janet) จิตแพทย์ผู้มีชื่อเสียง เคยตรวจและวินิจฉัยว่ารูสแซ็ล มี อ าการทางจิ ต อั น เกิ ด จาก “ความคลั่ ง ศาสนา”] มรดกของ บรรพบุรุษท�ำให้รูสแซ็ลสามารถทุ่มเทเวลาให้กับการเขียน แต่ บทกวี บทละคร และนวนิยายที่เขาเขียนตั้งแต่ ค.ศ. 1894 จนกระทั่งเสียชีวิต มักถูกหัวเราะเยาะหรือมองข้ามไป มีเพียง ผู้นิยมศิลปะแนวเหนือจริงและเป็นแฟนนวนิยายของ เรมงด์ เกอโน (Raymond Queneau) เพียงไม่กี่คนที่อ่านงานของเขา แต่นี่ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะงานของรูสแซ็ลแม้จะ ใช้เกณฑ์ของงานแนวก้าวหน้า (avant-garde) มาวัด ก็ยังจัดว่า ประหลาด จุดเด่นของงานอยู่ที่การบรรยายวัตถุและการกระท�ำ


A

Very Short Introduction

21

2. เรมงด์ รูสแซ็ล อายุ 18 ปี ค.ศ. 1895

อย่างละเอียดยิบย่อย และการเขียนด้วยกติกาอันแปลกประหลาด ที่เขาตั้งขึ้นเองอย่างที่อธิบายไว้ในบทความ “วิธีเขียนหนังสือ ของข้าพเจ้า” (How I Wrote Certain of My Books) (ที่ระบุให้ ตีพิมพ์หลังเขาเสียชีวิตแล้ว) เช่น เขาจะก�ำหนดให้ตนเองเริ่มต้น และจบเรื่องด้วยวลีเดียวกันที่มีอักษรต่างกันเพียงตัวเดียว แต่ อักษรตัวเดียวนัน้ ท�ำให้ความหมายของวลีแตกต่างกันโดยสิน้ เชิง


22

Foucault

เช่น นวนิยายเรื่องหนึ่งเริ่มด้วย “Les lettres du blanc sur les bandes du vieux billard” (ตัวอักษรสีขาวบนนวมบุโต๊ะบิลเลียด ตัวเก่า) และจบด้วย “les lettres du blanc sur les bandes du vieux pillard” (จดหมายของคนผิวขาวทีเ่ ขียนเกีย่ วกับฝูงโจรแก่) รูสแซ็ลยังใช้กลวิธีการประพันธ์แบบอื่นที่เล่นกับรูปค�ำเดียวที่มี หลายความหมาย สิง่ แรกทีด่ งึ ดูดฟูโกต์คอื ความเป็นนักเขียนชายขอบของ รูสแซ็ล รูสแซ็ลเป็นนักเขียนผู้ไม่เคยประสบความส�ำเร็จและถูก วินจิ ฉัยว่า “ป่วยทางจิต” ฟูโกต์มกั สนใจและเห็นใจผูท้ ถี่ กู ปทัสถาน ของสังคมกระแสหลักผลักให้เป็นคนนอก ความสนใจในช่วงแรก อาจไม่ได้มีอะไรมากกว่าอาการรังเกียจกระฎุมพีของปัญญาชน ฝรั่งเศส แต่นานไปก็พัฒนาเป็นพันธกิจส่วนตัวที่จะต่อต้าน ปทัสถานทางสังคมที่กีดกั้นคนบางกลุ่ม พันธกิจนี้น�ำไปสู่การ เข้าร่วมการเคลื่อนไหวทางสังคม (เช่นงานของเขาที่เกี่ยวกับ การปฏิรูปทัณฑสถาน) และการคิดถึงงานเขียนในฐานะ “กล่อง เครื่องมือ” ให้ผู้ที่ต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและทาง การเมืองเอาไปใช้งาน แต่ฟโู กต์กต็ นื่ ตาตืน่ ใจกับการทีร่ สู แซ็ลกันอัตภาวะของ มนุษย์ (human subjectivity) ออกจากงานของเขาด้วย การ ไม่ให้ที่ทางแก่อัตภาวะมนุษย์เห็นได้จาก ประการแรก การให้ ความส�ำคัญกับความเป็นวัตถุวิสัยของพื้นที่/สถานที่เหนือส�ำนึก และการรับรู้ด้านเวลา รูสแซ็ลมักบรรยายวัตถุหรือการกระท�ำ อย่างละเอียดถี่ถ้วน แต่ไม่ยอมกล่าวถึงบุคลิกและประสบการณ์ ของตัวละคร รวมทัง้ ไม่ยอมให้อตั ภาวะของผูเ้ ขียนปรากฏออกมา


A

Very Short Introduction

23

ในงานเขียน การเขียนภายใต้การก�ำกับอย่างเคร่งครัดของหลัก ไวยากรณ์ ท�ำให้ค�ำไหลหลั่งจากโครงสร้างของภาษามากกว่า จากความคิดและความรู้สึกของรูสแซ็ลเอง ความสนใจการเขียน แนวนี้ของฟูโกต์สอดคล้องกับค�ำประกาศที่ว่าเขา “เขียนเพื่อให้ ไร้หน้า” (AK, 17) เพื่อเปลื้องอัตลักษณ์ของหน้ากากที่เขาสวม ในการเขียนหนังสือแต่ละเล่ม ก่อนเสียชีวิตไม่นานเขาเขียนว่า “เป้าหมายหลักในการมีชีวิตและการท�ำงานคือการกลายเป็น คนอืน่ ทีไ่ ม่ใช่ตวั เราในตอนทีเ่ ริม่ เขียน” (“Truth, Power, Self”, 9) ฟูโกต์ชี้ให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างตัวตนที่สูญไป เพราะภาษา กับความตายซึ่งเป็นข้อจ�ำกัดที่ละเมิดมิได้และ เป็นการเพิกถอนอัตภาวะโดยสมบูรณ์ ในการวิเคราะห์งานของ รูสแซ็ล ฟูโกต์ให้ความส�ำคัญกับความคลุมเครือของตัวผู้เขียน และความตายที่ไม่อาจอธิบายได้ของเขา มีผู้พบร่างของรูสแซ็ล บนพืน้ ห้องในโรงแรม ตรงประตูทปี่ ดิ ล็อก (ซึง่ ก่อนหน้านีเ้ คยเปิด ไว้เสมอ) เขาอาจจะพยายามเปิดประตูเพือ่ ให้คนมาช่วย หรืออาจ จะล็อกประตูไว้เพื่อไม่ให้ใครมาช่วยชีวิต ส�ำหรับฟูโกต์ สภาวะ การตายนี้สอดคล้องกับ “กุญแจ” ไขปริศนางานเขียนที่รูสแซ็ล ทิ้งไว้ใน “วิธีเขียนหนังสือของข้าพเจ้า” กล่าวคือ เช่นเดียวกับที่ เราไม่มีทางรู้ว่าเขาใช้กุญแจเพื่อจะเปิดประตูให้คนอื่น หรือเพื่อ ปิดไม่ให้คนเข้า เราก็ไม่มีทางรู้ว่ากุญแจวรรณกรรมมีไว้เพื่อเปิด หรือปิดความหมายทีอ่ ยูใ่ นงาน และความตายของเขาก็ทำ� ให้เรา ไม่มที างได้ค�ำตอบ ความตายของเขายังท�ำให้เราไม่อาจประเมิน ค่ากุญแจวรรณกรรมที่เชื่อมโยงกับภาษาในหนังสือ ซึ่งปิดกั้น อัตภาวะของชีวิตทั้งของนักเขียนและตัวละครดังที่กล่าวแล้ว


24

Foucault

เราไม่มีทางรู้ว่า ใช่การเน้นที่ความตายซึ่งปรากฏใน หนังสือหลายเล่มของฟูโกต์หรือไม่ ที่ท�ำให้ฟูโกต์มีพฤติกรรมที่ ท�ำให้ตัวเขาเองและผู้อื่นเสี่ยงที่จะติดเอดส์อย่างที่มิลเลอร์ชวน ให้ผู้อ่านสงสัย แต่ที่แน่ๆ คือ ในงานของฟูโกต์ เราจะเห็นความ หลงใหลเรื่องการสูญของตัวตน ทั้งที่เกิดจากความตาย และที่ สะท้อนในการใช้ภาษาตามหลักไวยากรณ์ (linguistic formalism) เช่นในงานเขียนของรูสแซ็ล นักวิชาการมักไม่รวม เรมงด์ รูสแซ็ล ไว้ในผลงาน ชิ้นหลักของฟูโกต์ อาจจะเพราะมันไม่ใช่งานทางประวัติศาสตร์ เช่นชิน้ อืน่ ๆ ฟูโกต์เองก็พอใจทีค่ นไม่พดู ถึงหนังสือเล่มนี้ เขาบอก “ผมคิดว่า [เรมงด์ รูสแซ็ล] ไม่เกีย่ วอะไรกับหนังสือเล่มอืน่ ๆ ของ ผม ... ไม่มใี ครสนใจหนังสือเล่มนี้ และผมก็ดใี จ หนังสือเล่มนีเ้ ป็น กิจที่ไม่เปิดเผยของผม” (RR, interview, 185) แต่ แ ม้ ห นั ง สื อ เล่ ม นี้ จ ะไม่ เ ข้ า ชุ ด กั บ ผลงานเชิ ง ประวัติศาสตร์ที่มีความเป็นปรัชญาของฟูโกต์ แต่ประเด็นของ เรื่องก็เป็นประเด็นที่ปรากฏในงานชิ้นอื่น โดยเฉพาะใน ก�ำเนิด คลินกิ รักษาโรค (The Birth of the Clinic) ซึง่ ตีพมิ พ์ในปีเดียวกัน (1963) และเริ่มเรื่องว่า “หนังสือเล่มนี้ว่าด้วยพื้นที่ ภาษา และ ความตาย” (BC, ix) แน่นอนว่าในการศึกษาการเกิดขึน้ ของคลินกิ รักษาโรคสมัยใหม่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประเด็นเหล่านี้ มีความหมายหลายอย่าง “พื้นที่” คือเมืองที่มีการระบาดของ กาฬโรค ตึกคนไข้อนาถา ศพของคนที่เสียชีวิตเพราะกาฬโรค และถูกแพทย์ชันสูตร “ภาษา” คืออาการของโรคและความเป็น ไปได้ และ “ความตาย” คือสภาวะทางร่างกาย ไม่ใช่สัญลักษณ์


A

Very Short Introduction

25

ของอัตภาวะที่ถูกขับให้ไปอยู่ตรงชายขอบ เช่นเดียวกับในการศึกษาวรรณกรรมของฟูโกต์ ความ สนใจเรื่องพื้นที่ (แทนที่จะเป็นเวลา) และภาษา (ในฐานะระบบ ที่ด�ำรงอยู่อย่างเป็นอิสระ) สะท้อนวิถีการคิดที่ต้องการถอด อัตภาวะออกจากความเป็นศูนย์กลาง และหันมาให้ความส�ำคัญ กับระบบในเชิงโครงสร้าง ความตายในประวัติศาสตร์การแพทย์ สมัยใหม่ของฟูโกต์เป็นหัวใจของการด�ำรงอยู่ของมนุษย์ ความ ตายไม่ใช่แค่การสูญไป แต่เป็น “ความเป็นไปได้ที่อยู่ในชีวิต” (BC, 156) ทีเ่ ป็นรากฐาน (ผ่านการชันสูตรศพผูเ้ สียชีวติ ด้วยโรค) ของความรู้อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับชีวิตของเรา ฟูโกต์ สรุปว่า “ความตายละจากสวรรค์อันน่าเศร้าของมัน และกลาย เป็นท่วงท�ำนองหลักของมนุษย์ เป็นความจริงที่ไม่อาจเห็นได้ เป็นความลับที่มองเห็นได้” (BC, 172) เราจึงอาจมองได้ว่า ก�ำเนิดคลินิกรักษาโรค เป็นการ วิ เ คราะห์ ด ้ า นที่ เ ป็ น วิ ท ยาศาสตร์ ข องเรื่ อ งที่ อ ยู ่ ใ นใจฟู โ กต์ ในขณะที่ เรมงด์ รูสแซ็ล เป็นการวิเคราะห์ด้านสุนทรียศาสตร์ ทีต่ อ้ งอาศัยความเพียรพยายามในการส�ำรวจความซับซ้อนลึกลับ ที่อยู่ในงาน แต่ความแตกต่างส�ำคัญของหนังสือสองเล่มนี้คือ ใน เรมงด์ รูสแซ็ล จะไม่มีการวิพากษ์อย่างรุนแรงที่เกิดเป็นระยะๆ ในตัวบทที่เป็นวิชาการของ ก�ำเนิดคลินิกรักษาโรค ตัวอย่างเช่น ในค�ำน�ำของหนังสือเล่มหลัง หลังจากกล่าวถึงประเด็นทั้งหลาย ที่จะอภิปรายในหนังสือ และก่อนจะกล่าวถึงข้อสังเกตเกี่ยวกับ วิธีวิทยาทางประวัติศาสตร์ จู่ๆ ฟูโกต์ก็โจมตีค�ำกล่าวอ้างที่ว่า ความรูท้ างการแพทย์สมัยใหม่ได้สร้าง “องค์ความรูท้ เี่ ข้มข้นทีส่ ดุ


26

Foucault

ในแบบการแพทย์มนุษยนิยมดัง้ เดิมทีเ่ กิดมาพร้อมความเห็นอก เห็นใจกันของมนุษย์” และกล่าวหา “การเข้าใจของปรากฏการณ์ วิทยาที่ไร้สติ” ว่าก�ำลัง “เอามโนทัศน์ที่แห้งแล้งและกระจ้อยร่อย มาผสมกับความคิดกึ่งสุกกึ่งดิบของปรากฏการณ์วิทยา” เขายังถากถาง “ศัพท์แสงที่ดูเย้ายวนทว่าปวกเปียกไร้ น�ำ้ ยา ... อย่างความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กบั ผูป้ ว่ ย” ว่า “เป็นการ เสียเวลาไปกับการพยายามสือ่ พลังอันปวกเปียกของการแต่งงาน ในจินตนาการในรูปของความคิดที่ไม่ใช่กระทั่งความคิด” (BC, xiv) การโพล่งออกมาเช่นนี้ แม้จะปรากฏเพียงครั้งคราว แต่ก็ จะพบได้เสมอๆ ในการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ของฟูโกต์ ที่เรา จะเห็นต่อไปว่าเป็นสัญญาณที่บ่งถึงนัยทางการเมืองของงาน เหล่านั้น ซึ่งตรงกันข้ามกับใน เรมงด์ รูสแซ็ล ที่ฟูโกต์ตกอยู่ใต้ มนตร์สะกดของความรื่นรมย์เพื่อสุนทรียภาพล้วนๆ เขาแต่ง บันทึกความทรงจ�ำ “ห้วงแห่งความสุข” ที่รูสแซ็ล “เป็นที่รักของ ผมอยู่หลายปี” (RR, interview, 185) ความต่างนี้เป็นประเด็น แรก และผมเสนอว่านี่คือความขัดแย้งพื้นฐานในชีวิตและความ คิดของฟูโกต์ คือระหว่างการใคร่ครวญทางสุนทรียศาสตร์กับ การเคลื่อนไหวทางการเมือง


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.