Justice (p 1 35)

Page 1


ความยุติธรรม • สฤณี อาชวานันทกุล แปล จากเรื่อง J U S TI C E : WH A T ’ S TH E R I G H T TH I N G TO D O? โดย M i c h a e l J . S a n d e l พิมพ์ครั้งที่ 2 : สำ�นักพิมพ์ o p e n w o r l d s , กรกฎาคม 2557 พิมพ์ครั้งแรก : สำ�นักพิมพ์ op e n w o r l d s , ตุลาคม 2554 ราคา 280 บาท คณะบรรณาธิการอำ�นวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล บรรณาธิการ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ (ฉบับปรับปรุง) กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ (ฉบับพิมพ์ครั้งแรก) พิสูจน์อักษร พุทธิพงศ์ อึงคนึงเวช วชิรวิทย์ คงคาลัย กองบรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ภูมิ น�้ำวล ฐนฐ จินดานนท์ ออกแบบปก w r o ngd e s i g n จัดทำ�โดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด 604/157 ถ. สาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 0 2 - 6 1 8 - 4 7 3 0 email: openworldsthailand@gmail.com facebook: www.facebook.com/openworlds twitter: www.twitter.com/openworlds_th website: www.openworlds.in.th จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) SE- E D U C A TI O N P U B L I C C O M P A N Y L I M ITE D อาคารเนชั่นทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 - 2 7 3 9 - 8 2 2 2 , 0 - 2 7 3 9 - 8 0 0 0 โทรสาร 0 - 2 7 3 9 - 8 3 5 6 - 9 website: http://www.se-ed.com/

สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล หมายเลขโทรศัพท์ 086 403 6451 หรือ Email: openworldsthailand@gmail.com

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ ความยุติธรรม = Justice: What’s the Right Thing to Do?-- กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส, 2557. 372 หน้า. 1. จริยศาสตร์. 2. ความยุติธรรม. 3. ค่านิยม I. สฤณี อาชวานันทกุล, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง. 172.2222 ISBN 978-616-90707-6-4 • Copyright for JUSTICE: What’s the Right Thing to Do? Copyright © 2009 by Michael J. Sandel Thai language translation copyright © 2011 by Openworlds Publishing House Copyright arranged with International Creative Management, Inc., C/o Curtis Brown, Haymarket House, 28-29 Haymarket, London SW1Y 4SP through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd. All RIGHTS RESERVED.


สารบัญ

บทที่ 6: ข้อสนับสนุนความเท่าเทียม/จอห์น รอลส์ 184 บทที่ 7: ถกเถียงเรื่องระบบโควตา 216 บทที่ 8: ใครคู่ควรกับอะไร?/อริสโตเติล 238

คำ�นำ�ผู้แปล 6

บทที่ 9: เราเป็นหนี้บุญคุณกันเรื่องอะไร?/ ความย้อนแย้งเรื่องความจงรักภักดี 268

บทที่ 1: การทำ�สิ่งที่ถูกต้อง 16

บทที่ 10: ความยุติธรรมและความดีสาธารณะ 312

บทที่ 2: หลักความสุขสูงสุด/อรรถประโยชน์นิยม 50

เชิงอรรถ 344

บทที่ 3: เราเป็นเจ้าของตัวเองหรือเปล่า?/ลัทธิอิสรนิยม 82

คำ�ขอบคุณ 366

บทที่ 4: ลูกจ้าง/ตลาดและศีลธรรม 104

รู้จักผู้เขียน 368

บทที่ 5: สิ่งสำ�คัญคือเจตนา/อิมมานูเอล คานท์ 138

รู้จักผู้แปล 370


คำ�นำ�ผู้แปล ฉบับปรับปรุง

เอลีนอร์ รูสเวลต์ อดีตสตรีหมายเลขหนึ่งของอเมริกา ผู้มีบทบาท สำ�คัญในการร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เขียนวาทะอมตะใน หนังสือชีวประวัติของเธอไว้ว่า “ความยุติธรรมไม่อาจยุติธรรมกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หากแต่ต้อง ยุติธรรมกับทั้งสองฝ่าย” “ความยุตธิ รรม” ในนิยามข้างต้นดูจะอยูไ่ กลเกินเอือ้ ม เมือ่ หันกลับ มาดูวิกฤตการเมืองซึ่งกินเวลามายาวนานเกือบหนึ่งทศวรรษ นับตั้งแต่มี การชุมนุมประท้วงอดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2548 มีใครอีกหรือในเมืองไทยทีไ่ ม่ได้รบั ผลกระทบใดๆ จากความขัดแย้ง แบ่งสีที่นับวันมีแต่จะร้าวลึกลงเรื่อยๆ จนยากแก่การสืบสาวชนวนแห่ง ความคับแค้น อย่าว่าแต่จะคลี่คลาย มีใครอีกไหมที่กล้าพูดว่า สังคมไทยเป็นสังคมแห่งนิติรัฐ นิติธรรม หลังจากมีการยึดอำ�นาจอธิปไตยของประชาชนด้วยเหตุผลว่า “ไม่มที างเลือก อื่น” โดยไม่เปิดให้ฝ่ายที่เห็นต่างมีพื้นที่ในการวิพากษ์วิจารณ์ ป่วยการทีจ่ ะถามว่า ความยุตธิ รรมคืออะไร ในเมือ่ ความอยุตธิ รรม ครองเมืองอย่างชัดแจ้ง เสียดแทงเข้าไปในมโนสำ�นึกของทุกคนทีย่ งั มีความ รู้สึก และฝังรากลึกลงอย่างเยียบเย็น 6

Justice

ด้วยเหตุนี้กระมัง หนังสือ ความยุติธรรม จึงได้รับการตอบรับ อย่างดียิ่งจากผู้อ่านชาวไทย นับตั้งแต่ฉบับพิมพ์ครั้งแรกในปี 2554 อาจารย์ไมเคิล แซนเดล ปรมาจารย์ด้านปรัชญาการเมือง น่าจะ เป็นผู้นำ�ทางให้เราได้ทำ�ความรู้จักกับ “ความยุติธรรม” ที่ดีที่สุดคนหนึ่ง เพราะนอกจากอาจารย์จะสอนเรื่องนี้อย่างสนุกสนานและแจ่มชัด อาจารย์ ยังสอนด้วยใจที่เปิดกว้างและอารีอย่างยิ่ง ศี ล ธรรมแบบพุ ท ธเป็ น คุ ณ ค่ า ชุ ด หนึ่ ง ศี ล ธรรมแบบเสรี นิ ย ม ประชาธิปไตยก็เป็นคุณค่าอีกชุดหนึ่ง คุณค่าสองชุดนี้จะอยู่ร่วมกันอย่างปรองดองได้อย่างไร น่าจะต้อง เริ่มจากการมองให้เห็นความหมายที่แท้จริงของ “ความยุติธรรม” จากการ ใช้ “เหตุผลทางศีลธรรม” ดังวิธีที่อาจารย์แซนเดลอธิบายในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนขอขอบคุณผองเพื่อนผู้ร่วมก่อตั้งสำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส สำ�หรับมิตรภาพที่เสมอต้นเสมอปลาย ขอขอบคุณ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ บรรณาธิการเล่มฉบับปรับปรุง ที่ได้ตรวจสอบความถูกต้องและขัดเกลา สำ�นวนภาษาของผู้แปลอย่างพิถีพิถัน ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่าน และขอเชิญมาร่วมกันฝ่าฟัน และใฝ่ฝันถึงวันฟ้าเปิด--วันที่ความยุติธรรมจะบังเกิดในสังคมไทย หรือ อย่างน้อยเหยื่อของความอยุติธรรมก็ได้รับการเยียวยา เราจะได้พ้นจากยุค “ทีใคร ทีมัน” เสียที สฤณี อาชวานันทกุล “คนชายขอบ” | http://www.fringer.org/ วันครบรอบ 82 ปี การอภิวัฒน์สยาม 24 มิถุนายน 2475

M ichael Sandel

7


คำ�นำ�ผู้แปล ฉบับพิมพ์ครั้งแรก

ความขั ด แย้ ง แบ่ ง สี ใ นสั ง คมไทยปะทุ ขึ้ น ตั้ ง แต่ ปี พ.ศ. 2548 บานปลายสืบเนื่องนานหลายปีโดยยังไม่มีวี่แววว่าจะสร่างซา ประเทศไทย เดินดุจเรือไร้หางเสือ ผ่านรัฐประหาร รัฐบาลนอมินี รัฐบาลอำ�มาตย์ พลิก กลับมาเป็นรัฐบาลโคลนนิง จนถึงปี พ.ศ. 2554 ความยุติธรรมในสังคม ยังดูเป็นอุดมคติอันไกลโพ้น ขณะที่ความอยุติธรรมชัดแจ้ง ฝากรอยแผล ทางกายและในใจคนอย่างท่วมท้นขึ้นเรื่อยๆ จนคำ�กล่าวที่ว่า “คุกไทยมีไว้ ขังคนจน” ดูจะเป็นสัจธรรมอันยากสั่นคลอน อย่างไรก็ดี คุณูปการประการหนึ่งของความอึมครึมและแตกแยก ในสังคมคือ คำ�ว่า “ความยุติธรรม” ถูกพูดถึงอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ในแทบทุกระดับชั้น ตั้งแต่ผู้นำ�ประเทศจนถึงคนเดินดิน แม่ค้าถกเรื่อง “ตุลาการภิวัตน์” กับลูกค้าระหว่างตักข้าวแกงใส่จาน คนทั่วไปโดยเฉพาะ ผูใ้ ส่เสือ้ สีที่ “ตืน่ ตัวทางการเมืองอย่างฉับพลัน” ตามวาทะของอาจารย์เกษียร เตชะพีระ ถกเถียงเรื่องความยุติธรรมทางสังคมอย่างหน้าดำ�ครํ่าเครียด และบางทีก็ถึงขั้นลงไม้ลงมือ แต่ไม่ว่าเราจะถกเรื่องความยุติธรรมกันมากเพียงใด สิ่งที่ยัง พบเห็นน้อยมากในทัศนะของผู้แปลคือ การถกเถียงอย่างรอบด้าน เคารพ ซึง่ กันและกัน และพยายามให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย อันล้วนเป็นปัจจัย ที่จำ�เป็นต่อการเดินสู่ “ความยุติธรรม” ที่แท้จริง 8

Justice

การถกเถียงเรือ่ งความยุตธิ รรม ตัง้ แต่เรือ่ งระดับชาติจนถึงเรือ่ งใน ครอบครัว ยังดูจะมุ่งไปที่การชักโวหารเหตุผลจากแม่นํ้าทั้งห้ามาสาธยาย ว่าทำ�ไม “ฉันถูก แกผิด” และ “ความยุติธรรม” ก็มักถูกใช้ในความหมายว่า อะไรก็ตามที่ทำ�ให้ฉันหรือพวกของฉันได้ประโยชน์ โดยไม่สนใจว่าคนอื่น ได้รบั ผลกระทบอย่างไร กระทัง่ ไม่อยากฟังเพราะปักใจเชือ่ ไปแล้วว่าคนอืน่ ไม่ควรค่าแก่การรับฟัง เพราะเป็นสลิ่ม เป็นควายที่ถูกซื้อ เป็นชนชั้นกลาง ดัดจริต เป็นพวกล้มเจ้า ฯลฯ การเที่ยวแขวน “ป้าย” ง่ายๆ เหล่านี้ให้แก่ผู้คิดต่าง ทำ�ให้คน จำ�นวนมากไม่ถกกันอย่างเปิดใจและตรงไปตรงมา หมกมุ่นกับการใช้ วาทศิลป์สร้างวาทกรรมด้านเดียวมาสนับสนุนการต่อสู้ทางการเมือง อาทิ เศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนเข้มแข็ง ประชานิยม ทุนโลกาภิวัตน์ ฯลฯ ทั้งที่ ในโลกแห่งความจริง สิ่งที่คำ�เหล่านี้อธิบายไม่ได้มีแต่ด้านบวกหรือด้านลบ เพียงด้านเดียว และคำ�หลายคำ�ที่ถูกหยิบขึ้นมาใช้เป็นอาวุธทางความคิด นั้น แท้จริงสามารถใช้ร่วมกันได้อย่างไม่เคอะเขินเพื่ออธิบายความจริง เช่นกลุ่มการเงิ นชุ มชนหลายกลุ่ มใช้ ห ลั ก เศรษฐกิ จพอเพี ยงช่ วยเหลื อ ชาวบ้ า นที่ เ ป็ น หนี้ สิ น ล้ น พ้ น ได้ สำ � เร็ จ เสร็ จ แล้ ว ก็ นำ � เงิ น กู้ ใ นนโยบาย “ประชานิยม” อย่างเช่นกองทุนเอสเอ็มแอล มาช่วยให้พวกเขาก่อร่าง สร้างตัวขึ้นมาใหม่ ความยุติธรรมจะบังเกิดได้อย่างไรในเมื่อเรายังไม่เข้าใจกัน เราจะเข้าใจกันได้อย่างไรในเมื่อเรายังไม่ให้ความยุติธรรมแม้กับ ถ้อยคำ� ล่ามโซ่ตีกรอบความหมายของมันอย่างคับแคบด้วยวาทกรรมที่ใช้ ฟาดฟันทางการเมือง แบ่งโลกออกเป็นขาวดำ� ทัง้ ทีโ่ ลกจริงหลากหลายกว่า นั้น ซับซ้อนกว่านั้น และมีความหวังมากกว่านั้น ในห้วงยามที่สังคมเป็นเช่นนี้ ผู้แปลคิดว่าหนังสือ ความยุติธรรม มาถูกทีถ่ กู เวลาเป็นอย่างยิง่ เพราะผูเ้ ขียน ไมเคิล แซนเดล เป็นนักปรัชญา การเมืองร่วมสมัยที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงในโลกวิชาการ ยิ่งกว่านั้นคือ อาจารย์เป็นปัญญาชนสาธารณะทีม่ คี วามสุขกับการใช้ปรัชญาทางการเมือง M ichael Sandel

9


หลากสำ�นักตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเป็นแว่นขยายส่องประเด็นสาธารณะ ต่างๆ ที่อยู่ในความสนใจของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแต่งงานของ คนรักเพศเดียวกัน การเกณฑ์ทหาร การโก่งราคาในภาวะฉุกเฉิน โบนัส มหาศาลของผูบ้ ริหารธนาคาร การเก็บภาษีคนรวยมาช่วยคนจน การอุม้ บุญ การุณยฆาต สิทธิส่วนบุคคลกับประโยชน์สาธารณะ ฯลฯ ผู้ แ ปลโชคดี ที่ เ คยนั่ ง เรี ย นวิ ช า “ความยุ ติ ธ รรม” กั บ อาจารย์ วิชานี้เป็นวิชาที่ได้รับความนิยมสูงสุดในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดติดต่อกัน นานกว่าสองทศวรรษ มีนักศึกษาลงทะเบียนเรียนมากกว่า 1,000 คน ทุกภาคเรียน มากจนต้องไปเรียนกันในโรงละครแซนเดอร์สซึ่งจุคนได้มาก ที่สุดในมหาวิทยาลัย สิ่งที่ทำ�ให้ผู้แปลทึ่งที่สุดไม่ใช่ความรอบรู้ของอาจารย์แซนเดล หากแต่เป็นความเอือ้ อาทร อ่อนโยน และเคารพความคิดเห็นของนักศึกษา ทุกคนอย่างจริงใจ กระทั่งกับคนที่ดันทุรัง ดื้อดึง ด่าทอเพื่อนร่วมห้อง หรือ พูดจาถากถางอาจารย์ด้วยความเชื่อมั่นเกินขีดความสามารถของตัวเอง อาจารย์แซนเดลก็รับฟังอย่างตั้งใจ ใจเย็น และใจกว้าง ชี้ชวนให้ผู้คิดต่าง เสนอความเห็นและถกเถียงกันในชั้นเรียน โดยสอดแทรกความคิดเห็น ของตัวเองให้น้อยที่สุด อาจฟังดูเหลือเชื่อว่า ในชั้นเรียนซึ่งมีนักศึกษายัดทะนานนับพัน ล้นห้องจนบางคาบถึงกับต้องนั่งพื้นตรงทางเดินกันนับร้อยคน อาจารย์ กลับสามารถถามคำ�ถามและดำ�เนินบทสนทนาระหว่างนักศึกษาได้อย่าง มีชีวิตชีวาและท้าทายความคิด (“เอ้า หนุ่มน้อยเสื้อหนาวสีขาวใส่แว่น ชั้นสามจากบนสุด คิดอย่างไรครับ”) แต่ อ าจารย์ แ ซนเดลทำ�ได้ หนังสือเล่ม นี้เป็นการถ่ายทอดบท สนทนาและการโต้วาทีในชั้นเรียน ระหว่างนักศึกษาด้วยกัน และระหว่าง อาจารย์กับนักศึกษา ราวกับยกวิชาในตำ�นานวิชานี้ทั้งวิชามาอยู่บนหน้า กระดาษ นอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความคิดและปรัชญา 10

Jus tice

การเมืองในโลกตะวันตกแล้ว อาจารย์แซนเดลพยายามจะบอกเราว่า ความยุติธรรมนั้นถึงที่สุดแล้วเป็นเรื่องของการ “ให้คุณค่า” กับสิ่งต่างๆ และด้วยเหตุนี้ ทั้ง “เหตุผล” และ “ศีลธรรม” จึงมีความจำ�เป็นอย่างยิ่ง ดังเนื้อความตอนหนึ่งว่า “การขอให้ พ ลเมื อ งในระบอบประชาธิ ป ไตยทิ้ ง ความเชื่ อ ทาง ศีลธรรมและศาสนาไว้เบื้องหลังเมื่อพวกเขาเดินเข้าสู่วงอภิปราย สาธารณะนั้น อาจดูเป็นวิธีสร้างหลักประกันว่าคนจะอดทนอดกลั้น และเคารพซึ่ ง กั น และกั น แต่ ใ นความเป็ น จริ ง สิ่ ง ที่ เ กิ ด ขึ้ น อาจ ตรงกันข้าม การตัดสินคำ�ถามสำ�คัญๆ ในประเด็นสาธารณะขณะ แสร้งทำ�ตัวเป็นกลาง ทั้งที่เป็นกลางจริงๆ ไม่ได้นั้น คือสูตรสร้าง ปฏิกิริยาโต้กลับและความไม่พอใจ การเมืองกลวงเปล่าอันสิ้นไร้ การโต้เถียงทางศีลธรรมอย่างหนักแน่นทำ�ให้ชีวิตพลเมืองของเรา แร้นแค้น นอกจากนี้มันยังเชื้อเชิญลัทธิคลั่งศีลธรรมอันคับแคบ และไม่อดทนอดกลั้น นักรากฐานนิยมวิ่งเข้าสู่พื้นที่ซึ่งนักเสรีนิยม ไม่กล้าย่างเท้าเข้าไป”

ผู้แปลคิดว่าหนังสือเล่มนี้ฉายภาพอย่างแจ่มชัดว่า เหตุใด “การ ใช้เหตุผลทางศีลธรรม” จึงไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปไม่ได้หรือไม่ควรทำ� หากแต่ เป็นสิ่งที่เราทำ�อยู่แล้วในชีวิตประจำ�วัน ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่ ผู้แปลหวังว่า หนังสือเล่มนี้จะเป็นส่วนเล็กๆ ในการส่งเสริม ขยับขยาย และยกระดับ การถกเถียงประเด็นสาธารณะในสังคมไทยให้พน้ ไปจากมุมมองอันคับแคบ ไม่ว่าจะเป็นแบบเข้าข้างตัวเอง แบบยึดติดกับตัวบทกฎหมาย หรือแบบ “ลัทธิคลั่งศีลธรรม” ก็ตามที หนังสือเล่มนี้เป็นตัวอย่างของปัญญาปฏิบัติ เป็นการใช้เหตุผล สาธารณะ เพื่อถกมิติทางศีลธรรมในประเด็นสาธารณะ เพื่อชีวิตและ ประโยชน์สาธารณะ เป็นหนังสือที่ทุก “นัก” ไม่ควรพลาดด้่วยประการทั้งปวง M ichael Sandel

11


นอกจากนี้ผู้แปลยังหวังว่าหนังสือเล่มนี้จะชี้ให้เห็นคุณูปการของ การ “ฟัง” อย่างเปิดใจและอ่อนโยน ดังที่อาจารย์แซนเดลทำ�อย่างเสมอต้น เสมอปลายตลอดมา เพราะการฟังอย่างตั้งใจนั้น นอกจากจะยากกว่าการพูดหลาย เท่าตัวแล้ว ยังจำ�เป็นต่อการเอื้ออำ�นวยให้เกิดความยุติธรรมที่แท้จริง หรือ อย่างน้อยก็ชว่ ยบรรเทาความอยุตธิ รรมทีต่ อกตรึงความรูส้ กึ “น้อยเนือ้ ตาํ่ ใจ ทางการเมือง” ตามวาทะของคุณโตมร ศุขปรีชา ผู้ แ ปลขอขอบคุ ณ ปกป้ อ ง จั น วิ ท ย์ ภิ ญ โญ ไตรสุ ริ ย ธรรมา พลอยแสง เอกญาติ แอลสิ ท ธิ์ เวอร์ ก ารา กรมั ย พล สิ ริ ม งคลรุ จิ กุ ล และ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ผองเพื่อนผู้ร่วมก่อตั้งสำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส สำ � หรั บ กำ � ลั ง ใจและมิ ต รภาพที่ ม อบให้ เ สมอมา ขอขอบคุ ณ กฤดิ ก ร เผดิ ม เกื้ อ กู ล พงศ์ บรรณาธิ ก ารเล่ ม ที่ ไ ด้ ต รวจสอบความถู ก ต้ อ งและ ขัดเกลาสำ�นวนภาษาของผู้แปลอย่างพิถีพิถัน เหนือสิ่งอื่นใด ขอขอบคุณอาจารย์ไมเคิล แซนเดล ผู้ฉายไฟ ให้เห็นความสำ�คัญของปรัชญาในชีวิตจริง ความสนุกสนานของการถก ประเด็นสาธารณะ และความงดงามของการครุ่นคิดถึง “ชีวิตที่ดี” อย่าง ยากจะลืมเลือน ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่าน สฤณี อาชวานันทกุล “คนชายขอบ” | http://www.fringer.org/

12

Jus tice


JUSTICE What’s the Right Thing to Do?

by

Michael J. Sandel

ความยุติธรรม แปลโดย

สฤณี อาชวานันทกุล


1 การทำ�สิ่งที่ถูกต้อง

ในฤดู ร้ อ นปี ค.ศ. 2004 พายุ เ ฮอริ เ คนชาร์ ลี ย์ คำ � รามก้ อ งจาก อ่าวเม็กซิโก พัดผ่านรัฐฟลอริดาไปยังมหาสมุทรแอตแลนติก ส่งผลให้มี ผู้เสียชีวิต 22 ราย ก่อความเสียหาย 11,000 ล้านเหรียญสหรัฐ1 นอกจากนี้ ยังทิ้งวิวาทะเรื่องการโก่งราคาไว้เบื้องหลัง ปั๊ ม นํ้ า มั น ในเมื อ งออร์ แ ลนโดขายนํ้ า แข็ ง ซึ่ ง ปกติ ร าคาถุ ง ละ 2 เหรียญ ในราคา 10 เหรียญ หลายคนไม่มีทางเลือกจึงต้องจำ�ใจซื้อ เนื่องจากขาดแคลนไฟฟ้าสำ�หรับตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศ ในช่วง กลางเดือนสิงหาคม ความต้องการเลื่อยไฟฟ้าและช่างซ่อมหลังคาเพื่อ จัดการซากต้นไม้ก็มากขึ้น ผู้รับเหมาเสนอว่าจะยกต้นไม้ 2 ต้นลงจาก หลังคาบ้านในราคา 23,000 เหรียญ ร้านค้าซึ่งปกติขายเครื่องปั่นไฟ ในครัวเรือนราคา 250 เหรียญ ตอนนี้เรียก 2,000 เหรียญ หญิงชรา อายุ 77 ปีที่หนีตายพร้อมสามีชราและลูกสาวพิการต้องจ่าย 160 เหรียญ ต่อคืนเพื่อค้างแรมในโรงแรมม่านรูด จากราคาปกติ 40 เหรียญ2

M ichael Sandel

17


ชาวฟลอริดาหลายคนโกรธแค้นที่โดนโก่งราคา หนังสือพิมพ์ ยูเอสเอทูเดย์ พาดหัวว่า “แร้งลงหลังพายุ” ชาวเมืองคนหนึ่งบอกว่าเขา ต้องจ่าย 10,500 เหรียญ เพื่อจ้างคนมายกต้นไม้ลงจากหลังคา เขามองว่า ไม่ถูกต้องที่คนจะ “ฉวยโอกาสจากความเดือดร้อนและความทุกข์ยากของ คนอื่น” ชาร์ลี คริสต์ (Charlie Crist) อัยการรัฐฟลอริดาเห็นด้วย เขากล่าว ว่า “ผมตกตะลึงมากกับระดับความโลภซึ่งฝังลึกในวิญญาณของบางคน จนสามารถแสวงหาผลประโยชน์จากผู้ตกทุกข์ได้ยากจากพายุเฮอริเคน”3 ตอนนี้ฟลอริดามีกฎหมายใหม่เพื่อห้ามการโก่งราคา หลังอุบัติภัย ครั้งนั้น สำ�นักงานอัยการของรัฐได้รับเรื่องร้องเรียนมากกว่า 2,000 เรื่อง บางเรื่ อ งนำ � ไปสู่ ก ารฟ้องร้องจนชนะคดี โรงแรมอะเดย์ส อินน์ในเมือง เวสต์ปาล์มบีชต้องจ่ายเงินค่าปรับและค่าเสียหายจำ�นวน 70,000 เหรียญ ในข้อหาค้ากำ�ไรเกินควร4 แต่ขณะที่ ชาร์ลี คริสต์ เริ่มบังคับใช้กฎหมายห้ามการโก่งราคา นักเศรษฐศาสตร์บางคนก็แย้งว่า กฎหมายฉบับนี้ รวมถึงความโกรธแค้น ของประชาชนเป็นเรือ่ งเข้าใจผิด นักปรัชญาและนักเทววิทยาในยุคกลางเชือ่ ว่า การแลกเปลีย่ นควรเกิดขึน้ ใน “ราคาทีเ่ ป็นธรรม” ซึง่ กำ�หนดโดยประเพณี หรือมูลค่าในตัวเองของข้าวของ แต่ในสังคมตลาด นักเศรษฐศาสตร์สังเกต ว่า ราคาถูกกำ�หนดด้วยอุปสงค์และอุปทาน ฉะนั้น “ราคาที่เป็นธรรม” จึง ไม่มีอยู่จริง ธอมัส โซเวลล์ (Thomas Sowell) นักเศรษฐศาสตร์ตลาดเสรี เรียกการโก่งราคาว่า “คำ�ที่เร้าอารมณ์แต่ไร้ความหมายทางเศรษฐศาสตร์ นักเศรษฐศาสตร์ไม่สนใจคำ�คำ�นี้ เพราะมันดูสับสนเกินกว่าจะเข้าไปยุ่ง” บทความของโซเวลล์ในหนังสือพิมพ์ แทมปาทริบูน อธิบายว่า “ ‘การโก่ง ราคา’ ช่วยชาวฟลอริดาอย่างไร” ข้อกล่าวหาว่าโก่งราคาเกิดขึ้น “เมื่อราคา พุ่งสูงกว่าระดับปกติที่คนคุ้นเคย” แต่ “ระดับราคาปกติที่คนคุ้นเคย” นั้น หาได้มีความศักดิ์สิทธิ์ทางศีลธรรมไม่ ราคาเหล่านี้ “ไม่มีความพิเศษ หรือ ‘เป็นธรรม’ มากไปกว่าราคาอื่น” ที่สภาพตลาด รวมถึงสภาพหลัง หายนะจากเฮอริเคนบันดาลให้เกิด5 18

Jus tice

โซเวลล์อา้ งว่าการทีน่ าํ้ แข็ง นาํ้ ดืม่ ค่าจ้างซ่อมหลังคา เครือ่ งปัน่ ไฟ และห้องพักในโรงแรมมีราคาแพงขึ้นนั้นมีประโยชน์ตรงช่วยจำ�กัดการใช้ สิ่งเหล่านั้นของผู้บริโภค และเพิ่มแรงจูงใจให้ผู้ผลิตในบริเวณห่างไกล นำ�ส่งสินค้าและบริการซึ่งเป็นที่ต้องการมากที่สุดหลังหายนะจากเฮอริเคน ถ้าหากนํา้ แข็งมีราคาถุงละ 10 เหรียญในช่วงร้อนอบอ้าวของเดือนสิงหาคม ที่ชาวฟลอริดาเจอไฟดับเป็นครั้งคราว ผู้ผลิตนํ้าแข็งก็รู้สึกคุ้มค่าที่จะผลิต และส่งนาํ้ แข็งมากกว่าเดิม โซเวลล์อธิบายว่าไม่มอี ะไรไม่เป็นธรรมเกีย่ วกับ ราคาเหล่านีเ้ ลย มันแค่สะท้อนมูลค่าทีผ่ ซู้ อื้ และผูข้ ายมอบให้กบั สิง่ ทีพ่ วกเขา แลกเปลี่ยนกัน6 เจฟฟ์ จาโคบี (Jeff Jacoby) นักวิจารณ์และกองเชียร์ตลาดแห่ง หนังสือพิมพ์ บอสตันโกลบ ต่อต้านกฎหมายค้ากำ�ไรเกินควรด้วยเหตุผล ทำ�นองเดียวกัน “การคิดราคาที่ตลาดรับได้ไม่ใช่การโก่งราคาเลย ไม่ใช่ ความโลภหรือหน้าด้านด้วย มันเป็นวิธีที่สังคมเสรีจัดสรรสินค้าและบริการ ต่างหาก” จาโคบียอมรับว่า “ราคาที่พุ่งสูงขึ้นเป็นเรื่องน่าโมโห โดยเฉพาะ สำ�หรับคนทีช่ วี ติ ตกอยูใ่ นความยุง่ เหยิงสับสนจากพายุ” แต่ความโกรธแค้น ของสาธารณชนไม่ ไ ด้ ทำ � ให้ ก ารแทรกแซงตลาดเสรี เ ป็ น สิ่ ง ชอบธรรม ราคาแพงหู ฉี่ ส ร้ า งแรงจู ง ใจให้ ผู้ ผ ลิ ต ผลิ ต สิ น ค้ า ที่ ค นต้ อ งการมากขึ้ น ดังนั้นมันจึง “สร้างประโยชน์มากกว่าโทษหลายเท่า” เขาสรุปว่า “การ ประณามพ่อค้าว่าเป็นปีศาจร้ายจะไม่ช่วยฟื้นฟูฟลอริดา สิ่งที่จะช่วยคือ ปล่อยให้พวกเขาทำ�ธุรกิจต่อไป”7 อัยการคริสต์ (สมาชิกพรรครีพับลิกัน ซึ่งต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็น ผู้ว่าการรัฐฟลอริดา) ตีพิมพ์บทความในหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งในเมือง แทมปา โดยปกป้องกฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกินควรว่า “ในภาวะฉุกเฉิน รั ฐ บาลไม่ อ าจยื น ดู อ ยู่ ข อบสนามเมื่ อ ประชาชนต้ อ งจ่ า ยราคาอั น ไร้ ซึ่ ง มโนธรรม ขณะที่พวกเขาวิ่งหนีเอาชีวิตรอดหรือเสาะหาปัจจัยพื้นฐาน สำ�หรับครอบครัวหลังจากเฮอริเคน”8 คริสต์ปฏิเสธแนวคิดที่ว่า ราคา “ไร้ซึ่งมโนธรรม” เหล่านี้สะท้อนการแลกเปลี่ยนที่เสรีจริง M ichael Sandel

19


นี่ไม่ใช่สถานการณ์ปกติในตลาดเสรี ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายต่างสมัคร ใจซื้ อ ขายกั น ในตลาดโดยตกลงราคากั น บนพื้ น ฐานของอุ ป สงค์ และอุปทาน ในภาวะฉุกเฉิน ผูซ้ อื้ อยูภ่ ายใต้แรงกดดันและปราศจาก อิสรภาพ พวกเขาถูกบังคับให้ต้องซื้อปัจจัยพื้นฐานอย่างเช่นที่พัก ที่ปลอดภัย9

วิวาทะว่าด้วยการค้ากำ�ไรเกินควรที่เกิดขึ้นภายหลังอุบัติภัยจาก เฮอริเคนชาร์ลีย์ ก่อให้เกิดคำ�ถามยากๆ ว่าด้วยศีลธรรมและกฎหมาย ผิดหรือเปล่าที่ผู้ขายสินค้าและบริการจะฉวยโอกาสจากภัยธรรมชาติ ตั้ง ราคาอย่างไรก็ได้เท่าที่ตลาดแบกรับไหว? ถ้าผิด กฎหมายควรจัดการกับ กรณีนี้อย่างไร? รัฐควรห้ามค้ากำ�ไรเกินควรหรือไม่ ในเมื่อมันเป็นการ แทรกแซงเสรีภาพของผู้ซื้อและผู้ขายในการตกลงทำ�ธุรกรรมกัน? สวัสดิการ เสรีภาพ และคุณธรรม คำ�ถามเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวกับว่าปัจเจกควรปฏิบัติต่อกันอย่างไร เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับคำ�ถามที่ว่ากฎหมายควรมีหน้าตาอย่างไร และเรา ควรจัดระเบียบสังคมอย่างไร เหล่านี้คือคำ�ถามเกี่ยวกับความยุติธรรม ก่อนที่เราจะตอบคำ�ถามเหล่านี้ได้ เราต้องสำ�รวจความหมายของความ ยุ ติ ธ รรมเสี ย ก่ อ น ที่ จริงเราได้เริ่ม สำ�รวจไปแล้ว ถ้าหากคุณ พิจารณา วิ ว าทะเรื่ อ งการค้ า กำ � ไรเกิ น ควรอย่ า งละเอี ย ด คุ ณ จะสั ง เกตเห็ น ว่ า ข้ อ ถกเถี ย งที่ ส นั บ สนุ น หรื อ คั ด ค้ า นกฎหมายห้ า มค้ า กำ � ไรเกิ น ควรนั้ น วนเวียนอยู่รอบๆ ความคิด 3 เรื่องด้วยกัน นั่นคือ การสร้างสวัสดิการ สูงสุด ความเคารพในเสรีภาพ และการส่งเสริมคุณธรรม แต่ละความคิด ชี้ให้เห็นวิธีคิดเกี่ยวกับความยุติธรรมที่แตกต่างกัน เหตุ ผ ลมาตรฐานที่ ส นั บ สนุ น ตลาดเสรี ไ ร้ ก ารแทรกแซงตั้ ง อยู่ บนข้อเรียกร้อง 2 ข้อ ข้อแรกว่าด้วยสวัสดิการ ข้อสองว่าด้วยเสรีภาพ ก่อนอื่น ตลาดส่งเสริมสวัสดิการของสังคมโดยรวมด้วยการมอบแรงจูงใจ 20

Jus tice

ให้คนทำ�งานหนักเพื่อส่งมอบสินค้าที่คนอื่นต้องการ (ในภาษาชาวบ้าน เรามักจะมองว่าสวัสดิการเป็นเรื่องเดียวกันกับความเจริญรุ่งเรืองทาง เศรษฐกิจ แต่ในความเป็นจริงสวัสดิการเป็นแนวคิดที่กว้างกว่า ซึ่งรวมมิติ อื่นของความอยู่ดีมีสุขนอกเหนือจากมิติทางเศรษฐกิจด้วย) ข้อสอง ตลาด เคารพในเสรีภาพส่วนบุคคล แทนที่จะกำ�หนดมูลค่าตายตัวให้สินค้าและ บริการต่างๆ ตลาดปล่อยให้ผคู้ นเลือกเอาเองว่าสิง่ ทีพ่ วกเขาแลกเปลีย่ นกัน นั้นจะมีมูลค่าเท่าไร ไม่นา่ แปลกใจทีผ่ คู้ ดั ค้านกฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกินควรจะหยิบยก ข้อเรียกร้อง 2 ข้อนีข้ นึ้ มา ผูส้ นับสนุนกฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกินควรโต้ตอบ อย่างไร? ก่อนอืน่ พวกเขาเถียงว่าสวัสดิการของสังคมโดยรวมไม่ได้ดขี นึ้ เลย จากราคาแพงหูฉี่ยามลำ�บาก ถึงแม้ว่าราคาแพงลิบลิ่วจะกระตุ้นให้คนผลิต สินค้ามากขึ้น แต่เราก็ต้องชั่งนํ้าหนักผลประโยชน์นี้กับภาระที่ตกอยู่กับ คนที่มีกำ�ลังซื้อสินค้านั้นน้อยที่สุด สำ�หรับคนรวย การจ่ายค่านํ้ามันหรือ ค่าห้องพักในโรงแรมม่านรูดช่วงพายุในราคาหฤโหดอาจแค่กอ่ ความรำ�คาญ แต่สำ�หรับผู้มีฐานะทางเศรษฐกิจด้อย ราคานั้นทำ�ให้พวกเขาเดือดร้อน แสนสาหัส อาจทำ�ให้พวกเขาตกอยู่ในอันตรายมากกว่าเดิมแทนที่จะได้ หนีไปอย่างปลอดภัย ผู้สนับสนุนกฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกินควรเสนอว่า การประเมินสวัสดิการอะไรก็ตามควรนับรวมความเจ็บปวดและความ ทุกข์ยากของคนที่ไม่มีกำ�ลังซื้อปัจจัยพื้นฐานในภาวะฉุกเฉินเอาไว้ด้วย ข้อสอง ผู้ปกป้องกฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกินควรเสนอว่า ตลาดเสรี ไม่ได้เสรีจริงในบางสถานการณ์ ดังทีค่ ริสต์ชวี้ า่ “ผูซ้ อื้ ซึง่ อยูภ่ ายใต้แรงกดดัน นั้นปราศจากอิสรภาพ พวกเขาถูกบังคับให้ซื้อปัจจัยพื้นฐานอย่างเช่น ที่พักที่ปลอดภัย” ถ้าคุณกำ�ลังหอบครอบครัวหนีตายจากพายุเฮอริเคน ราคาแพงหูฉที่ คี่ ณ ุ ต้องจ่ายเป็นค่านาํ้ มันหรือค่าทีพ่ กั ก็ไม่ใช่การแลกเปลีย่ น โดยสมัครใจ แต่คล้ายกับการถูกกรรโชกทรัพย์มากกว่า ดังนั้นก่อนจะ ตัดสินว่ากฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกินควรเป็นธรรมหรือไม่ เราจะต้องประเมิน ความขัดแย้งระหว่างสวัสดิการกับเสรีภาพเสียก่อน M ichael Sandel

21


เราต้องพิจารณาข้อเสนออีกข้อหนึง่ ด้วย เสียงประชาชนทีส่ นับสนุน กฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกินควรมาจากสาเหตุอนื่ ทีเ่ ด่นชัดกว่าสวัสดิการหรือ เสรีภาพ คนเรารูส้ กึ แค้นเคืองกับ “แร้งกา” ทีฉ่ วยโอกาสจากความเดือดร้อน ของคนอื่น พวกเขาอยากให้คนเหล่านี้ถูกลงโทษ ไม่ใช่ได้รางวัลเป็นกำ�ไร มหาศาล เรามั ก จะปั ด ความรู้ สึก ทำ � นองนี้ ว่ า เป็ น เพียงอารมณ์ล้า สมัย ซึง่ ไม่ควรมีบทบาทในการกำ�หนดนโยบายสาธารณะหรือการออกกฎหมาย ดังที่จาโคบีเขียนว่า “การประณามพ่อค้าว่าเป็นปีศาจร้ายจะไม่ช่วยฟื้นฟู ฟลอริดา”10 ความแค้นเคืองต่อพ่อค้านักฉวยโอกาสนัน้ เป็นมากกว่าความโกรธ ที่ไร้จุดหมาย หากแต่มันชี้ไปยังข้อเสนอทางศีลธรรมที่เราควรพิจารณา อย่างจริงจัง ความแค้นเคืองคือความโกรธชนิดพิเศษที่คุณรู้สึกเวลาที่ คุณเชื่อว่าคนกำ�ลังได้ในสิ่งที่เขาไม่สมควรจะได้ ความแค้นเคืองทำ�นองนี้ คือความแค้นต่อความอยุติธรรม คริสต์แตะต้นตอทางศีลธรรมของความแค้นเคืองที่ว่านี้ เมื่อเขา อธิบายถึง “ความโลภซึ่งฝังลึกในวิญญาณของบางคน จนสามารถแสวงหา ผลประโยชน์จากผู้ตกทุกข์ได้ยากจากพายุเฮอริเคน” เขาไม่ได้เชื่อมโยง ข้อสังเกตนีเ้ ข้ากับกฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกินควร แต่นยั ในความเห็นของเขา คล้ายกับประโยคด้านล่างนี้ ซึ่งเราอาจเรียกว่า ข้อเสนอว่าด้วยคุณธรรม ความโลภคือความชั่วร้าย เป็นกิเลสที่แย่ โดยเฉพาะเมื่อมันทำ�ให้ คนหลงลืมความทุกข์ของผู้อื่น ความโลภเป็นมากกว่าความชั่วส่วนตัว เพราะมันขัดแย้งกับคุณธรรมของพลเมือง สังคมทีด่ ชี ว่ ยเหลือเจือจานกันใน ยุคขุกเข็ญ แทนที่จะแสวงหาความได้เปรียบสูงสุด ผู้คนดูแลซึ่งกันและกัน สังคมทีค่ นเอาเปรียบเพือ่ นบ้านเพือ่ ผลประโยชน์ทางการเงินในห้วงยามแห่ง วิกฤตไม่ใช่สังคมที่ดี ดังนั้นความโลภเกินเลยจึงเป็นความชั่วร้ายซึ่งสังคม ที่ดีควรขัดขวางถ้าทำ�ได้ กฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกินควรกำ�จัดความโลภ ไม่ได้ แต่อย่างน้อยมันก็สามารถยับยั้งความโลภที่ไร้ยางอายที่สุดและส่ง สัญญาณว่าสังคมไม่ยอมรับมัน สังคมใดลงโทษพฤติกรรมโลภมากแทนที่ 22

Jus tice

จะตกรางวัลให้มัน สังคมนั้นเน้นคุณธรรมของพลเมืองที่ว่า เราควรร่วมกัน เสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม การยอมรับว่าข้อถกเถียงเชิงคุณธรรมมีพลังทางศีลธรรมไม่ใช่การ ยืนกรานว่ามันจะต้องมาก่อนเสมอไปเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจัยอื่น ในบาง กรณีคณ ุ อาจสรุปว่า ชุมชนทีเ่ ดือดร้อนจากพายุเฮอริเคนสมควรเดิมพันกับ ปีศาจ กล่าวคือยอมให้เกิดการค้ากำ�ไรเกินควร ด้วยความหวังว่าจะสามารถ ดึงดูดกองทัพช่างซ่อมหลังคาและผูร้ บั เหมาจากทัว่ ทุกสารทิศ ถึงแม้จะต้อง เสียต้นทุนทางศีลธรรมโดยการยอมรับความโลภก็ตาม คุณอาจคิดว่าเราต้อง ซ่อมหลังคาก่อน แล้วค่อยซ่อมโครงสร้างสังคมทีหลัง อย่างไรก็ดีประเด็น สำ�คัญที่เราต้องสังเกตคือ การถกเถียงเรื่องกฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกินควร ไม่ ไ ด้ เ ป็ น เพี ย งเรื่ อ งของสวั ส ดิ ก ารและเสรี ภ าพ หากแต่ เ ป็ น เรื่ อ งของ คุณธรรมด้วย กล่าวคือเป็นเรือ่ งของการปลูกฝังทัศนคติและอุปนิสยั รวมทัง้ คุณลักษณะของผู้คนอันเป็นฐานของสังคมที่ดี คนบางคน รวมทั้งหลายคนที่สนับสนุนกฎหมายห้ามค้ากำ�ไรเกิน ควร มองว่าข้อถกเถียงเชิงคุณธรรมทำ�ให้รู้สึกกระอักกระอ่วนใจ สาเหตุคือ มันดูเป็นเรื่องของดุลพินิจมากกว่าข้อถกเถียงที่อิงสวัสดิการและเสรีภาพ การตั้งคำ�ถามว่านโยบายใดนโยบายหนึ่งจะเร่งอัตราการฟื้นฟูหรือกระตุ้น อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือไม่นั้น ไม่จำ�เป็นต้องตัดสินค่านิยมของ ผู้คน มันตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าคนทุกคนย่อมอยากได้รายได้มากกว่าเดิม ไม่ใช่นอ้ ยกว่าเดิม และไม่ตดั สินว่าใครดีใครเลวจากวิธกี ารใช้เงิน ในทำ�นอง เดียวกัน การตอบคำ�ถามว่าผูค้ นมีอสิ รภาพทีจ่ ะเลือกหรือไม่ในภาวะบีบคัน้ นั้น ไม่จำ�เป็นต้องประเมินสิ่งที่พวกเขาตัดสินใจเลือก ดูแค่ว่าพวกเขามี อิสรภาพหรือถูกบังคับหรือไม่เพียงใดเท่านั้นก็พอ ในทางตรงกันข้าม ข้อถกเถียงเชิงคุณธรรมตั้งอยู่บนการตัดสินว่า ความโลภคือความชั่วร้ายที่รัฐควรขัดขวาง แต่ใครเล่าจะเป็นคนตัดสินว่า อะไรคือความดี อะไรคือความชั่ว? พลเมืองของสังคมพหุนิยมเห็นต่าง เกี่ยวกับเรื่องทำ�นองนี้อยู่แล้วมิใช่หรือ? มันอันตรายมิใช่หรือที่จะบัญญัติ M ichael Sandel

23


ดุลพินิจเรื่องคุณธรรมไว้ในกฎหมาย? เมื่อเผชิญกับข้อกังวลเหล่านี้ คน จำ�นวนมากมองว่ารัฐบาลควรวางตัวเป็นกลางในประเด็นความดีและความ ชั่ว รัฐไม่ควรพยายามปลูกฝังทัศนคติที่ดีหรือขัดขวางทัศนคติที่ไม่ดี ด้วยเหตุนี้ เมื่อเราพินิจพิเคราะห์ปฏิกิริยาของเราต่อการค้ากำ�ไร เกินควร เราจึงพบว่าเราถูกดึงไปในสองทิศทาง ทางหนึ่งเรารู้สึกแค้นเคือง ทีเ่ ห็นคนได้ในสิง่ ทีพ่ วกเขาไม่สมควรจะได้ เราคิดว่าความโลภทีฉ่ วยโอกาส จากความทุกข์ของมนุษย์ควรถูกลงโทษ ไม่ใช่ได้รางวัล แต่แล้วเราก็กังวล เมื่อดุลพินิจเกี่ยวกับคุณธรรมเข้าไปอยู่ในตัวบทกฎหมาย ภาวะอิหลักอิเหลื่อนี้ชี้ให้เห็นคำ�ถามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดข้อหนึ่งของ ปรั ช ญาการเมื อ ง สั ง คมที่ ยุ ติ ธ รรมควรส่ ง เสริ ม คุ ณ ธรรมของพลเมื อ ง หรือไม่? หรือว่ากฎหมายควรเป็นกลางระหว่างแนวคิดเรื่องความดีที่ ปะทะกัน พลเมืองจะได้มีอิสรภาพในการเลือกใช้ชีวิตในแบบที่พวกเขา อยากใช้? ในตำ�ราปรัชญาการเมือง คำ�ถามข้อนี้แบ่งยุคระหว่างแนวคิด การเมื อ งโบราณกั บ แนวคิ ด การเมื อ งสมั ย ใหม่ ในแง่ ห นึ่ ง ตำ � ราพู ด ถู ก อริสโตเติลสอนว่าความยุติธรรมคือการมอบสิ่งที่ผู้คนสมควรได้รับ การจะ ตัดสินว่าใครควรได้รับอะไร หมายความว่าเราต้องตัดสินก่อนว่าคุณธรรม ข้อใดบ้างที่คู่ควรกับเกียรติยศและผลตอบแทน อริสโตเติลยืนยันว่าเรา ไม่มที างตัดสินได้วา่ รัฐธรรมนูญทีย่ ตุ ธิ รรมคืออะไร หากเรายังไม่ได้ไตร่ตรอง ดูก่อนว่าเราอยากใช้ชีวิตแบบไหน สำ�หรับอริสโตเติลแล้ว กฎหมายเป็น กลางไม่ได้ในประเด็นเกี่ยวกับชีวิตที่ดี ในทางตรงกันข้าม นักปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ ตัง้ แต่ อิมมานูเอล คานท์ ในศตวรรษที่ 18 จนถึง จอห์น รอลส์ ในศตวรรษที่ 20 เถียงว่า หลักความยุติธรรมที่นิยามสิทธิต่างๆ ของเราไม่ควรตั้งอยู่บนแนวคิดเรื่อง คุณธรรมหรือวิธีใช้ชีวิตที่ดีที่สุดแนวใดแนวหนึ่งเป็นการเฉพาะ สังคมที่ ยุตธิ รรมเคารพในอิสรภาพของคนแต่ละคนทีจ่ ะเลือกเองว่าชีวติ ทีด่ คี อื อะไร

24

Jus tice

ดังนัน้ คุณอาจบอกว่า ทฤษฎีความยุตธิ รรมสมัยโบราณตัง้ ต้นจาก คุณธรรม ขณะที่ทฤษฎีสมัยใหม่ตั้งต้นจากเสรีภาพ ในบทต่อๆ ไปของ หนังสือเล่มนี้ เราจะมาสำ�รวจจุดแข็งและจุดอ่อนของแต่ละแนวทาง แต่ ก่อนอื่น เราควรตระหนักว่าความแตกต่างข้อนี้อาจทำ�ให้เราเข้าใจผิด ถ้าเราหันไปดูข้อถกเถียงเกี่ยวกับความยุติธรรมที่สร้างสีสันให้แก่ การเมืองร่วมสมัย ไม่ใช่ในหมูน่ กั ปรัชญา แต่ในหมูค่ นธรรมดาสามัญ เราจะ พบกับภาพที่ซับซ้อน จริงอยู่ว่าข้อถกเถียงของเราส่วนใหญ่เป็นเรื่องของ การสร้างความเจริญรุง่ เรืองและความเคารพในเสรีภาพส่วนบุคคล อย่างน้อย ก็บนพืน้ ผิว แต่สงิ่ ทีเ่ ราพบภายใต้ขอ้ ถกเถียงเหล่านี้ ซึง่ บางครัง้ ก็ขดั แย้งกับ ความเชื่ออีกชุดหนึ่ง ว่าคุณธรรมข้อใดมีค่าควรแก่เกียรติและรางวัล และ วิถชี วี ติ แบบไหนทีส่ งั คมทีด่ คี วรสนับสนุน เราเทใจให้ความเจริญรุง่ เรืองและ เสรีภาพก็จริง แต่เราก็ไม่อาจสลัดแนวคิดเรือ่ งความยุตธิ รรมสายดุลพินจิ ได้ ความเชื่อที่ว่าความยุติธรรมเป็นเรื่องของคุณธรรมพอๆ กับทางเลือกนั้น หยั่งรากลึกมาก การคิดเรื่องความยุติธรรมดูเหมือนจะทำ�ให้เราหนีไม่พ้น ที่จะครุ่นคิดถึงวิธีใช้ชีวิตที่ดีที่สุด บาดแผลอะไรคู่ควรกับเหรียญกล้าหาญ? ในบางประเด็ น คำ � ถามเกี่ ย วกั บ คุ ณ ธรรมและเกี ย รติ ก็ ชั ด เจน จนปฏิเสธไม่ได้ ลองดูวิวาทะเมื่อไม่นานมานี้ว่าใครสมควรได้รับเหรียญ กล้าหาญเป็นตัวอย่าง ตัง้ แต่ปี 1932 กองทัพอเมริกนั มอบเหรียญกล้าหาญ แก่ทหารที่บาดเจ็บหรือล้มตายจากอาวุธของศัตรู นอกเหนือจากเกียรติยศ ผู้รับเหรียญกล้าหาญยังได้รับสิทธิพิเศษในโรงพยาบาลทหารผ่านศึกด้วย ตั้งแต่ช่วงเริ่มสงครามในอิรักและอัฟกานิสถาน ทหารผ่านศึก ป่วยเป็นโรคเครียดจากภาวะหวาดผวา (post-traumatic stress disorder) จนต้องเข้ารับการรักษามากขึ้นเรื่อยๆ อาการของโรคนี้มีตั้งแต่ฝันร้าย ซํ้ า ซาก หดหู่ อ ย่ า งรุ น แรง และฆ่ า ตั ว ตาย ทหารผ่ า นศึ ก ไม่ น้ อ ยกว่ า M ichael Sandel

25


300,000 นายป่ ว ยเป็ น โรคนี้ ห รื อ มี ภ าวะหดหู่ รุ น แรง นั ก รณรงค์ เ พื่ อ ทหารผ่านศึกเสนอว่า พวกเขาเหล่านี้สมควรได้รับเหรียญกล้าหาญด้วย ในเมื่อบาดแผลทางจิตใจทำ�ร้ายคนได้เท่ากับบาดแผลทางกาย ทหารที่ ทนทุกข์ทรมานจากบาดแผลทางใจก็สมควรได้รบั เหรียญกล้าหาญเช่นกัน11 หลังจากคณะที่ปรึกษาของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ พิจารณา ประเด็นดังกล่าว ในปี 2009 กระทรวงกลาโหมก็ประกาศว่า จะสงวน เหรียญกล้าหาญไว้ให้แก่ทหารผ่านศึกทีม่ บี าดแผลบนร่างกายเท่านัน้ ส่วน ทหารผ่านศึกทีม่ อี าการทางจิตและป่วยเป็นโรคหวาดผวาทางจิตไม่เข้าข่าย นี้ แม้ว่าพวกเขาจะได้รับการอุดหนุนการรักษาพยาบาลและค่าชดเชย ผู้พิการจากรัฐก็ตาม กระทรวงกลาโหมแจงเหตุผลสองข้อคือโรคเครียด จากภาวะหวาดผวาไม่ได้เกิดจากความจงใจของศัตรู และเป็นโรคทีว่ นิ จิ ฉัย อย่างเป็นภววิสัยได้ยาก12 กระทรวงกลาโหมตัดสินใจถูกต้องหรือเปล่า? เหตุผลที่อ้างนั้น ฟังไม่ขึ้นในตัวมันเอง ในสงครามอิรัก อาการบาดเจ็บที่ทหารประสบ บ่อยที่สุดอาการหนึ่งและทำ�ให้มีสิทธิได้รับเหรียญกล้าหาญคือแก้วหูแตก เนื่องจากยืนอยู่ใกล้จุดที่ระเบิดลง13 แต่ระเบิดแบบนี้ไม่เหมือนกับกระสุน และลูกระเบิด มันไม่ใช่ยุทธวิธีที่ศัตรูตั้งใจจะทำ�ร้ายหรือฆ่าฝ่ายตรงข้าม แต่เป็นเพียงผลข้างเคียงของการสู้รบ (เหมือนกับโรคเครียดจากภาวะ หวาดผวา) นอกจากนี้ แม้อาการจากภาวะหวาดผวาอาจวินิจฉัยยากกว่า แขนขาขาดก็จริง แต่บาดแผลที่มันก่ออาจรุนแรงและยืนยาวกว่ากันมาก วิวาทะในวงกว้างเกี่ยวกับเหรียญกล้าหาญเผยให้เห็นว่า ประเด็น ที่แท้จริงคือความหมายของเหรียญกล้าหาญและคุณธรรมที่ได้รับการ ยกย่อง แล้วคุณธรรมในทีน่ มี้ อี ะไรบ้าง? เหรียญกล้าหาญแตกต่างจากรางวัล เกียรติยศอืน่ ๆ ของกองทัพตรงทีม่ นั เชิดชูการเสียสละ ไม่ใช่ความกล้าหาญ คุณไม่ต้องทำ�ตัวเป็นวีรบุรุษแต่อย่างใด มีเพียงบาดแผลที่ศัตรูฝากไว้ก็ เข้าข่ายแล้ว คำ�ถามคือบาดแผลแบบใดบ้างที่ควรเข้าข่าย

26

Jus tice

ทหารผ่านศึกกลุม่ หนึง่ ซึง่ เรียกตัวเองว่า กองกำ�ลังเหรียญกล้าหาญ (Military Order of the Purple Heart) ไม่เห็นด้วยกับการมอบเหรียญแก่ ทหารผ่านศึกที่ได้รับบาดแผลทางจิตใจ เพราะจะทำ�ให้รางวัลนี้ “เสื่อมเสีย” โฆษกกลุ่มประกาศว่า “การเสียเลือดเนื้อ” ควรเป็นเกณฑ์สำ�คัญ14 เขา ไม่ได้อธิบายว่าเหตุใดจึงไม่นับบาดแผลที่ไร้เลือด แต่ ไทเลอร์ อี. บูดรู (Tyler E. Boudreau) อดีตนาวาเอกผู้สนับสนุนการนับรวมบาดแผลทาง จิตใจ วิเคราะห์กรณีพิพาทนี้อย่างน่าเชื่อถือ เขาบอกว่าการต่อต้านมาจาก ทัศนคติที่ฝังลึกของกองทัพซึ่งมองโรคเครียดจากภาวะหวาดผวาว่าเป็น เครือ่ งชีบ้ ง่ ความอ่อนแอ “วัฒนธรรมทีเ่ รียกร้องให้คนใจแข็งในขณะเดียวกัน ก็สนับสนุนให้คนไม่เชื่อข้อเสนอที่ว่า ความรุนแรงของสงครามอาจทำ�ร้าย จิตใจทีเ่ ข้มแข็งทีส่ ดุ ... เรือ่ งเศร้าคือ ตราบใดทีว่ ฒ ั นธรรมทางทหารของเรา ยังเหยียดหยามบาดแผลทางจิตใจจากสงคราม ก็ยากมากที่ทหารผ่านศึก เหล่านี้จะได้รับเหรียญกล้าหาญ”15 จะเห็ น ว่ า การถกเถี ย งเรื่ อ งเหรี ย ญกล้ า หาญเป็ น มากกว่ า การ ถกเถียงทางการแพทย์หรือทางเทคนิคว่าเราจะรับรองว่าใครมีบาดแผล จริงๆ ได้อย่างไร หัวใจของความขัดแย้งคือแนวคิดที่แตกต่างกันว่าด้วย ลักษณะของคุณธรรมและความห้าวหาญของทหาร คนที่ยืนกรานว่าควร นับเฉพาะการเสียเลือดเสียเนือ้ เท่านัน้ เชือ่ ว่า โรคเครียดจากภาวะหวาดผวา สะท้อนความอ่อนแอที่ไม่คู่ควรกับเกียรติยศ คนที่เชื่อว่าควรนับบาดแผล ทางจิตใจเถียงว่า ทหารผ่านศึกที่ป่วยเป็นโรคนี้และมีอาการหดหู่รุนแรง ได้เสียสละเพื่อชาติอย่างแน่นอนและชัดเจนพอๆ กับทหารที่แขนขาขาด การถกเถี ย งเรื่ อ งเหรี ย ญกล้ า หาญสะท้ อ นให้ เ ห็ น ตรรกะทาง ศีลธรรมในทฤษฎีความยุติธรรมของอริสโตเติล เราไม่อาจตัดสินว่าใคร คู่ควรกับเหรียญเกียรติยศได้โดยไม่ถามว่าเหรียญนั้นเชิดชูคุณธรรมอะไร และการจะตอบคำ�ถามนัน้ ได้กแ็ ปลว่าเราต้องประเมินแนวคิดเรือ่ งคุณธรรม และการเสียสละหลายแนวคิดที่แตกต่างกัน

M ichael Sandel

27


บางคนอาจเสนอว่าเหรียญเกียรติยศเป็นกรณีพิเศษ เป็นการเดิน ย้อนยุคสู่ศีลธรรมโบราณว่าด้วยเกียรติและคุณธรรม ทุกวันนี้การถกเถียง ของเราเกี่ยวกับความยุติธรรมเป็นเรื่องของวิธีแบ่งปันผลประโยชน์ยาม รุ่งเรืองหรือภาระในยามยาก และการนิยามสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมือง ในประเด็นเหล่านี้ สวัสดิการและเสรีภาพเป็นเรือ่ งใหญ่กจ็ ริง แต่การถกเถียง กันเรือ่ งความดีและความเลวของการจัดการทางเศรษฐกิจมักจะนำ�เรากลับ ไปสู่คำ�ถามของอริสโตเติลที่ว่า ใครคู่ควรกับอะไรและทำ�ไม แค้นเคืองเรื่องรัฐอุ้ม ความเกรี้ยวกราดของประชาชนในวิกฤตการเงินปี 2008-2009 เป็นตัวอย่างที่ดี ราคาหุ้นและราคาที่ดินถีบตัวสูงขึ้นต่อเนื่องติดต่อกัน หลายปี วั น พิ พ ากษามาถึ ง เมื่ อ ฟองสบู่ บ้ า นและอสั ง หาริ ม ทรั พ ย์ แ ตก ธนาคารและสถาบันการเงินได้กำ�ไรหลายพันล้านเหรียญจากหลักทรัพย์ ซับซ้อนอิงสินเชื่อบ้านที่ตอนนี้มูลค่าดิ่งเหว บริษัทการเงินซึ่งครั้งหนึ่ง เคยยื ด อกตอนนี้ ก ลั บ ซวนเซเจี ย นล่ ม สลาย ตลาดหุ้ น ตกอย่ า งรุ น แรง ไม่เพียงทำ�ให้นักลงทุนขาใหญ่พังพินาศ แต่ยังรวมถึงคนอเมริกันทั่วๆ ไป ด้วย เพราะบัญชีเงินบำ�นาญของพวกเขาสูญค่าเกือบทั้งหมด ความมั่งคั่ง ของครัวเรือนอเมริกันลดลงถึง 11 ล้านล้านเหรียญในปี 2008 ตัวเลขนี้ เท่ากับผลผลิตมวลรวมประชาชาติรายปีของเยอรมนี ญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรรวมกัน16 ในเดือนตุลาคม 2008 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ขอเงิน 700,000 ล้านเหรียญจากสภาคองเกรสเพื่อไปอุ้มธนาคารและสถาบัน การเงินยักษ์ใหญ่ของประเทศ มันดูไม่ยุติธรรมเลยที่ภาคการเงินได้กำ�ไร มหาศาลในช่วงที่เศรษฐกิจดี แล้วตอนนี้กำ�ลังขอให้ประชาชนผู้เสียภาษี แบกรับภาระเมื่อเศรษฐกิจยํ่าแย่ แต่ดูเหมือนจะไม่มีทางเลือกอื่น ธนาคาร และสถาบันการเงินขยายตัวจนมีขนาดใหญ่มโหฬาร ผูกพันกับทุกมิติของ 28

Jus tice

เศรษฐกิจเสียจนการล่มสลายของพวกมันอาจฉุดระบบการเงินทั้งระบบ ลงเหวไปด้วย พูดง่ายๆ คือ พวกมัน “ใหญ่เกินกว่าจะล้ม” (too big to fail) ไม่มใี ครเห็นด้วยว่าธนาคารและวาณิชธนกิจทัง้ หลายคูค่ วรกับเงิน ภาษี เดิมพันทีบ่ า้ บิน่ ของพวกมัน (ซึง่ ทำ�ได้เพราะรัฐกำ�กับดูแลไม่เพียงพอ) ก่อให้เกิดวิกฤต แต่ในกรณีนดี้ เู หมือนว่าความอยูร่ อดของเศรษฐกิจทัง้ ระบบ ดูจะมีนํ้าหนักมากกว่าประเด็นเรื่องความยุติธรรม สภาคองเกรสอนุมัติ แพ็กเกจเงินช่วยเหลืออย่างไม่เต็มใจ ต่อมาภาคการเงินก็จ่ายโบนัส ไม่นานหลังจากได้รับเงินอุ้มจาก ภาครัฐ เราก็ได้อ่านข่าวว่าบางบริษัทที่อยู่รอดได้ด้วยเงินภาษีกำ�ลังจ่าย โบนัสหลายล้านเหรียญให้แก่ผบู้ ริหาร กรณีออื้ ฉาวทีส่ ดุ คือ อเมริกนั อินเตอร์แนชันแนล กรุป๊ (เอไอจี) บริษทั ประกันทีล่ ม่ สลายจากการลงทุนความเสีย่ ง สูงของฝ่ายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ถึงแม้ว่าเอไอจีจะฟื้นคืนชีพด้วยเงิน อุดหนุนมหาศาลจากภาครัฐ (ยอดรวมกว่า 173,000 ล้านเหรียญ) บริษัท ก็จ่ายโบนัสถึง 165 ล้านเหรียญให้แก่ผู้บริหารของฝ่ายที่ก่อให้เกิดวิกฤต ทั้งบริษัทมีพนักงาน 73 คน ได้รับโบนัส 1 ล้านเหรียญหรือมากกว่านั้น17 ข่าวโบนัสเอไอจีกอ่ พายุตอ่ ต้านจากสาธารณชนอย่างรุนแรง คราวนี้ ผูค้ นไม่ได้แค้นเรือ่ งนาํ้ แข็งราคาถุงละ 10 เหรียญหรือห้องพักโรงแรมม่านรูด แพงเกินไป แต่แค้นที่ผู้มีส่วนทำ�ให้ระบบการเงินโลกเกือบล่มสลายได้รับ ผลตอบแทนงามๆ บนการแบกรั บ ภาระของผู้ เสี ย ภาษี ภาพนี้ มีอ ะไร บางอย่างผิดเพีย้ น ถึงแม้วา่ ตอนนีร้ ฐั บาลอเมริกนั จะเป็นเจ้าของหุน้ ร้อยละ 80 ของเอไอจี รัฐมนตรีคลังยังต้องวิงวอนต่อซีอีโอที่รัฐบาลแต่งตั้งให้ยกเลิก การจ่ายโบนัส แต่คำ�วิงวอนไม่เป็นผล ซีอีโอตอบว่า “เราไม่อาจดึงดูดและ เก็บคนเก่งๆ เอาไว้ได้ ... ถ้าหากพนักงานเชื่อว่าผลตอบแทนของพวกเขา ถูกกระทรวงการคลังปรับขึน้ ลงได้ตามอำ�เภอใจ” เขาอ้างว่าความเก่งกาจของ พนักงานเอไอจีนนั้ จำ�เป็นต่อการจัดการกับสินทรัพย์เป็นพิษ เพือ่ ประโยชน์ ของผู้เสียภาษีซึ่งได้กลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทไปแล้ว18

M ichael Sandel

29


มวลชนตอบโต้ อ ย่ า งเกรี้ ย วกราด พาดหั ว ข่ า วหน้ า หนึ่ ง ของ หนังสือพิมพ์หัวสี นิวยอร์กโพสต์ สรุปความรู้สึกของคนจำ�นวนมากไว้ว่า “เฮ้ย อย่าเพิง่ ดีใจเจ้าวายร้ายตัวโลภ”19 (Not So Fast You Greedy Bastards) สภาผู้ แ ทนราษฎรอเมริ กั น หาทางดึ ง ค่ า ตอบแทนกลั บ ด้ ว ยการอนุ มั ติ กฎหมายเก็บภาษีรอ้ ยละ 90 จากเงินโบนัสของบริษทั ทีร่ ฐั อุม้ ค่อนข้างมาก20 แอนดรูว์ คูโอโม (Andrew Cuomo) อัยการรัฐนิวยอร์ก กดดันจนผูไ้ ด้รบั โบนัส สูงสุดของเอไอจี 15 คนจาก 20 คนยอมคืนเงินโบนัส รวมมูลค่าเงินที่คืน ทั้งหมดกว่า 50 ล้านเหรียญ21 การกระทำ�ดังกล่าวบรรเทาความโกรธแค้น ของประชาชนลงได้บา้ ง และเสียงสนับสนุนมาตรการเก็บภาษีลงโทษก็ตกไป ในชัน้ วุฒสิ ภา22 แต่เหตุการณ์นกี้ ท็ �ำ ให้ประชาชนคลางแคลงใจ ไม่อยากให้รฐั ใช้เงินมากกว่านี้ในการเก็บกวาดขยะพิษที่อุตสาหกรรมการเงินก่อ หัวใจของความแค้นเรือ่ งรัฐอุม้ คือความรูส้ กึ ว่าเกิดความอยุตธิ รรม กระทัง่ ก่อนเรือ่ งโบนัสจะแดงขึน้ มา ประชาชนก็สนับสนุนการทีร่ ฐั เข้าไปอุม้ ธนาคารอย่างไม่เต็มใจและขัดแย้งอยู่ในที ชาวอเมริกันรู้สึกขัดแย้งระหว่าง ความจำ�เป็นในการป้องกันการล่มสลายทางเศรษฐกิจที่จะทำ�ให้ทุกคน เสียหาย กับความเชื่อที่ว่าการโอนเงินมหาศาลให้แก่ธนาคารและบริษัท ลงทุนทีล่ ม้ เหลวนัน้ ไม่ยตุ ธิ รรมอย่างร้ายแรง สภาคองเกรสและสาธารณชน ยอมให้รัฐอุ้มเพื่อหลีกเลี่ยงหายนะทางเศรษฐกิจ แต่ในแง่ศีลธรรม ทั้งสอง ฝ่ายรู้สึกว่าถูกกรรโชกทรัพย์ สิ่ ง ที่ อ ยู่ เ บื้ อ งหลั ง ความแค้ น เคื อ งเรื่ อ งนี้ คื อ ความเชื่ อ ในเรื่ อ ง ความคู่ควรทางศีลธรรม ผู้บริหารที่ได้รับโบนัส (และบริษัทที่ได้รับเงินอุ้ม) ไม่คคู่ วรกับมันเลย แต่ท�ำ ไมพวกเขาจึงไม่คคู่ วรล่ะ? เหตุผลอาจไม่ชดั เท่ากับ ที่เราคิด ลองนึกถึงเหตุผลสองข้อที่เป็นไปได้ ข้อหนึ่งเกี่ยวกับความโลภ อีกข้อหนึ่งเกี่ยวกับความล้มเหลว ทีม่ าของความโกรธแค้นส่วนหนึง่ คือ โบนัสดูเหมือนจะให้รางวัลกับ ความโลภ ดังทีพ่ าดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์หวั สีจงใจชีใ้ ห้เห็น สาธารณชน มองว่าเรื่องนี้น่ารังเกียจทางศีลธรรม ไม่เพียงแต่โบนัสเท่านั้น แต่เงินภาษี อุ้มภาคการเงินโดยรวมดูเหมือนจะให้รางวัลพฤติกรรมละโมบแทนที่จะ 30

Jus tice

ลงโทษ นักค้าตราสารอนุพันธ์ชักนำ�บริษัทและประเทศทั้งประเทศเข้าสู่ ภาวะล่อแหลมทางการเงินอย่างรุนแรง ด้วยการลงทุนอย่างบ้าบิ่นเพื่อ แสวงหากำ�ไรให้สงู ขึน้ อย่างไม่หยุดยัง้ พวกเขาได้ก�ำ ไรไปแล้วยามเศรษฐกิจ เติบโต แต่ตอนนีก้ ลับไม่รสู้ กึ ผิดทีไ่ ด้โบนัสหลายล้านเหรียญ กระทัง่ หลังจาก ที่การลงทุนของพวกเขาล้มเหลว23 คนที่วิพากษ์วิจารณ์เรื่องความโลภไม่ได้มีแต่หนังสือพิมพ์หัวสี เจ้าหน้าที่รัฐก็วิพากษ์วิจารณ์เหมือนกัน (แบบมีมารยาทดีกว่า) วุฒิสมาชิก เชอร์รอด บราวน์ (Sherrod Brown จากรัฐโอไฮโอ สมาชิกพรรคเดโมแครต) กล่าวว่าพฤติกรรมของเอไอจีนนั้ “แสดงถึงความโลภ ความหยิง่ ยโส และสิง่ ที่ ยํ่าแย่กว่านั้น”24 ประธานาธิบดีโอบามากล่าวว่า เอไอจี “ประสบหายนะทาง การเงินจากความบ้าบิ่นและความโลภ”25 ปัญหาของข้อวิพากษ์เรื่องความโลภคือ มันไม่แยกแยะระหว่าง ผลตอบแทนที่ เ กิ ด จากการเข้ า ไปอุ้ ม ของภาครั ฐ หลั ง เกิ ด วิ ก ฤตกั บ ผล ตอบแทนที่ตลาดมอบให้ในภาวะรุ่งโรจน์ ความโลภคือกิเลส เป็นทัศนคติ ทีไ่ ม่ดี คือความปรารถนาคับแคบเกินเลยทีจ่ ะหาประโยชน์ ดังนัน้ จึงเข้าใจได้ ว่าเหตุใดคนถึงไม่อยากให้รางวัลตอบแทนความโลภ แต่มเี หตุผลหรือเปล่า ที่เราจะคิดว่าคนที่ได้โบนัสจากเงินอุ้มนั้นโลภมากกว่าที่พวกเขาเคยเป็น เมื่อไม่กี่ปีก่อนตอนที่พวกเขากำ�ลังลิงโลดใจและได้ผลตอบแทนมหาศาล กว่านี้อีก? นักค้าหลักทรัพย์ นายธนาคาร และผู้จัดการกองทุนเก็งกำ�ไร ระยะสั้นในภาคการเงินอเมริกันคือกลุ่มคนที่กร้านโลก การเสาะแสวง ผลประโยชน์ทางการเงินคืออาชีพของพวกเขา ไม่วา่ อาชีพนีจ้ ะทำ�ให้พวกเขา นิสัยเสียหรือไม่ คุณธรรมของพวกเขาก็ไม่น่าจะดีขึ้นหรือแย่ลงตามภาวะ ตลาดหุน้ ด้วยเหตุนถี้ า้ หากการให้รางวัลแก่ความโลภด้วยโบนัสจากเงินอุม้ เป็นเรื่องผิด กำ�ไรมหาศาลที่ตลาดตกรางวัลให้ก็ต้องผิดด้วยใช่หรือไม่? ในปี 2008 สาธารณชนโกรธแค้นที่เห็นสถาบันการเงิน (บางแห่งอยู่ได้ด้วย เงินอุ้มจากภาษีประชาชน) จ่ายโบนัสรวมกันถึง 16,000 ล้านเหรียญ แต่ตัวเลขนี้น้อยกว่าโบนัสที่จ่ายในปี 2006 (34,000 ล้านเหรียญ) และปี M ichael Sandel

31


2007 (33,000 ล้านเหรียญ)26 ถ้าหากว่าความโลภเป็นเหตุผลที่พวกเขา ไม่ควรได้เงินในตอนนี้ แล้วเราจะบอกว่าพวกเขาไม่ควรได้รับเงินในอดีต ด้วยเหตุผลอะไรเล่า? ความแตกต่างประการหนึ่งซึ่งชัดเจนคือ โบนัสจากเงินอุ้มมาจาก เงินภาษีของประชาชน ขณะที่โบนัสที่จ่ายในยุครุ่งโรจน์มาจากผลกำ�ไร ของบริษทั เอง แต่ถา้ หากความแค้นเคืองตัง้ อยูบ่ นความเชือ่ ทีว่ า่ นักการเงิน ไม่สมควรจะได้รับโบนัสมหาศาล ที่มาของเงินก็ไม่ใช่ปัจจัยตัดสินทาง ศีลธรรม อย่างไรก็ดีมันก็ชี้เบาะแสสำ�คัญ เหตุผลที่โบนัสมาจากประชาชน ผู้เสียภาษีก็เพราะบริษัทเหล่านั้นล้มเหลว จุดนี้นำ�เราไปสู่หัวใจของเสียง ก่นด่า ชาวอเมริกนั ต่อต้านเงินโบนัสและการอุม้ ไม่ใช่เพราะมันให้รางวัลกับ ความโลภ แต่เพราะมันให้รางวัลกับความล้มเหลว ชาวอเมริกันทนความล้มเหลวไม่ได้ยิ่งกว่าความโลภ ในสังคมที่ ขับดันด้วยตลาดเสรี คนที่มีความทะเยอทะยานถูกคาดหวังว่าจะไล่ล่าหา ประโยชน์ส่วนตนอย่างแข็งขัน และเส้นแบ่งระหว่างผลประโยชน์ส่วนตน กับความโลภก็มักจะเลือนราง แต่เส้นแบ่งระหว่างความสำ�เร็จกับความ ล้มเหลวถูกจารึกอย่างชัดเจนกว่านัน้ ความคิดทีว่ า่ คนเราคูค่ วรกับรางวัลที่ ความสำ�เร็จมอบให้คือหัวใจของความฝันแบบอเมริกัน ถึงแม้จะพูดถึงความโลภเพียงผ่านๆ ประธานาธิบดีโอบามาก็ เข้าใจดีวา่ การตกรางวัลให้ความล้มเหลวคือบ่อเกิดของความโกรธแค้นและ ไม่ลงรอยกัน ตอนที่โอบามาประกาศเพดานค่าตอบแทนผู้บริหารสำ�หรับ บริษัทที่ได้รับเงินอุ้ม เขาก็ระบุบ่อเกิดของความโกรธแค้นอย่างชัดเจนว่า นี่คืออเมริกา เราไม่ดูหมิ่นความรํ่ารวย เราไม่อิจฉาริษยาใครก็ตาม ที่ประสบความสำ�เร็จ และเราก็เชื่อจริงๆ ว่าทุกคนควรได้รางวัลจาก ความสำ�เร็จ แต่สิ่งที่ทำ�ให้คนโมโห ซึ่งก็สมควรโมโห คือข้อเท็จจริง ว่าผู้บริหารได้รางวัลจากความล้มเหลว โดยเฉพาะเมื่อรางวัลนั้นได้ รับการอุดหนุนจากประชาชนผู้เสียภาษี27

32

Jus tice

คำ�กล่าวที่พิสดารที่สุดครั้งหนึ่งเกี่ยวกับศีลธรรมแห่งการอุ้มคือ คำ�กล่าวของวุฒิสมาชิกชาร์ลส์ กราสลีย์ (Charles Grassley จากรัฐ ไอโอวา พรรครี พั บ ลิ กั น ) นั ก อนุ รั ก ษนิ ย มทางการคลั ง จากภาคกลาง เมื่อความโกรธเรื่องโบนัสพุ่งถึงจุดสูงสุด กราสลีย์ก็ให้สัมภาษณ์รายการ วิทยุรายการหนึง่ ในไอโอวาว่า สิง่ ทีท่ �ำ ให้เขาอึดอัดใจทีส่ ดุ คือผูบ้ ริหารบริษทั ปฏิเสธทีจ่ ะยอมรับผิดใดๆ ต่อความล้มเหลว เขาจะ “รูส้ กึ ดีกบั พวกเขามาก ขึ้นอีกนิดหน่อยถ้าหากผู้บริหารเหล่านี้จะทำ�ตามธรรมเนียมของคนญี่ปุ่น มายืนต่อหน้าชาวอเมริกัน ค้อมศีรษะจรดเท้าพูดว่า ‘ผมขอโทษ’ แล้วก็ ลาออก หรือไม่ก็ทำ�ฮาราคีรีซะ”28 หลังจากนั้นกราสลีย์อธิบายว่า เขาไม่ได้เรียกร้องให้ผู้บริหาร ฆ่าตัวตายจริงๆ แต่เขาอยากให้แสดงความรับผิดชอบต่อความล้มเหลว แสดงออกว่าสำ�นึกผิด และขอโทษต่อสาธารณะ “ผมไม่เคยได้ยินซีอีโอ คนไหนทำ�แบบนีเ้ ลย และมันก็ท�ำ ให้ผเู้ สียภาษีในเขตของผมไม่อยากโกยเงิน ออกมาให้ตลอดเวลา”29 ความเห็นของกราสลียส์ นับสนุนความคิดของผมว่า ความโกรธแค้น ต่อการอุม้ ไม่ใช่เรือ่ งของความโลภ สิง่ ทีก่ ระทบสำ�นึกความยุตธิ รรมของคน อเมริกันเป็นหลักคือ เงินภาษีของพวกเขากำ�ลังถูกใช้เป็นรางวัลแด่ความ ล้มเหลว ถ้าผมคิดถูก เราก็ยงั ต้องถามว่ามุมมองต่อการอุม้ แบบนีช้ อบธรรม หรือไม่ ซีอโี อ ผูบ้ ริหารระดับสูงของธนาคาร และบริษทั ลงทุนยักษ์ใหญ่เป็น ตัวการของวิกฤตรอบนีจ้ ริงหรือไม่? ผูบ้ ริหารหลายคนไม่คดิ อย่างนัน้ ตอนที่ ไปให้ปากคำ�ต่อคณะกรรมการสืบสวนวิกฤตการเงินของสภาคองเกรส พวกเขายืนกรานว่าได้ทำ�ทุกอย่างเท่าที่ทำ�ได้แล้วภายใต้ข้อมูลที่มีอยู่ อดีตซีอีโอของแบร์ สเติร์นส์ วาณิชธนกิจที่ล้มครืนในปี 2008 บอกว่า เขาคิดหนักเป็นนานว่าสามารถทำ�อะไรแตกต่างไปจากเดิมได้ไหม เขาสรุป ว่าได้ทำ�ทุกอย่างเท่าที่ทำ�ได้แล้ว “ผมคิดไม่ออกจริงๆ ว่าจะทำ�อะไรได้ ... ที่จะทำ�ให้สถานการณ์ของเราเปลี่ยนแปลงไป”30 M ichael Sandel

33


ซีอโี อคนอืน่ ของบริษทั ทีล่ ม้ เหลวเห็นด้วย โดยยืนกรานว่าพวกเขา เป็นเหยื่อของ “สึนามิทางการเงิน” ซึ่งอยู่เหนือการควบคุม31 เทรดเดอร์ หนุ่มสาวก็มีทัศนคติคล้ายกัน พวกเขาไม่เข้าใจว่าผู้คนโกรธแค้นที่พวกตน ได้โบนัสสูงๆ ทำ�ไม เทรดเดอร์คนหนึง่ กล่าวกับผูส้ อื่ ข่าวจากนิตยสาร วานิตี แฟร์ ว่า “ไม่มใี ครเห็นใจเราเลย ... ไม่ใช่วา่ เราไม่ได้ท�ำ งานหนักเสียหน่อย”32 การเปรียบเทียบวิกฤตการเงินกับสึนามิกลายเป็นส่วนหนึ่งของ ภาษาการอุ้ม โดยเฉพาะในแวดวงนักการเงิน ถ้าหากผู้บริหารพูดถูกที่ว่า บริษัทของพวกเขาล้มเหลวจากพลังทางเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่า ไม่ใช่การ ตัดสินใจของตัวเอง นี่ก็อธิบายได้ว่าเหตุใดพวกเขาจึงไม่ได้แสดงความ สำ�นึกผิดอย่างที่วุฒิสมาชิกกราสลีย์อยากได้ยิน แต่มันก็ก่อให้เกิดคำ�ถาม ที่กว้างไกลเกี่ยวกับความล้มเหลว ความสำ�เร็จ และความยุติธรรม ถ้าหากพลังทางเศรษฐกิจเชิงระบบเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดความ เสียหายอย่างใหญ่หลวงในปี 2008 และ 2009 มันก็เป็นตัวการที่สร้างกำ�ไร ละลานตาในปีก่อนๆ ใช่หรือไม่? ถ้าหากสภาพภูมิอากาศเป็นสาเหตุของ ปีที่ซบเซา แล้วจะเป็นไปได้อย่างไรที่พรสวรรค์ ปัญญา และความมุมานะ อุตสาหะของนายธนาคาร เทรดเดอร์ และผู้บริหารสถาบันการเงิน เป็น สาเหตุของผลตอบแทนทะลุฟ้าที่เกิดขึ้นในยามพระอาทิตย์ส่องแสง? เมือ่ พวกเขาเผชิญหน้ากับความโกรธแค้นของประชาชนทีต่ อ้ งจ่าย โบนัสตอบแทนความล้มเหลว เหล่าซีอีโออ้างว่าผลตอบแทนทางการเงิน ไม่ใช่ผลงานของพวกเขาทั้งหมด แต่เป็นผลลัพธ์ของพลังที่อยู่นอกเหนือ การควบคุม พวกเขาอาจมีประเด็น แต่ถ้าจริง เราก็มีเหตุผลที่จะตั้งคำ�ถาม ต่อข้ออ้างที่ว่าพวกเขาควรได้ค่าตอบแทนมหาศาลในภาวะตลาดขาขึ้น ทัง้ ทีจ่ ดุ จบของสงครามเย็น โลกาภิวตั น์ดา้ นการค้าและตลาดทุน การเติบโต ของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ต และปัจจัยอื่นๆ อีกมากมาย มีสว่ นช่วยหนุนเสริมความสำ�เร็จของอุตสาหกรรมการเงินในทศวรรษ 1990 และปีแรกๆ ของศตวรรษที่ 21

34

Jus tice

ในปี 2007 ซีอีโอของบริษัทอเมริกันยักษ์ใหญ่ได้รับค่าตอบแทน 344 เท่าของค่าตอบแทนเฉลีย่ ของพนักงาน33 ทำ�ไมผูบ้ ริหารคูค่ วรทีจ่ ะได้รบั ค่าตอบแทนมากกว่าพนักงานถึงขนาดนั้น? จริงอยู่ที่พวกเขาส่วนใหญ่ ทำ�งานหนักและเก่งกาจ แต่ลองคิดดูว่า ในปี 1980 ซีอีโอได้รับค่าตอบแทน เพียง 42 เท่าของค่าเฉลี่ย34 ผู้บริหารในปี 1980 เก่งกาจน้อยกว่าและ ทำ�งานหนักไม่เท่าผู้บริหารทุกวันนี้หรือเปล่า? หรือว่าความแตกต่างนี้ สะท้อนปัจจัยอื่นที่ไม่เกี่ยวกับฝีมือและทักษะเลย? ลองเปรียบเทียบระดับค่าตอบแทนของผู้บริหารในสหรัฐอเมริกา และประเทศอื่นดู ซีอีโอของบริษัทใหญ่ที่สุดในอเมริกาได้รับค่าตอบแทน เฉลี่ย 13.3 ล้านเหรียญต่อปี (ตัวเลขปี 2004-2006) ขณะที่ซีอีโอฝั่งยุโรป ได้ 6.6 ล้านเหรียญ และซีอีโอญี่ปุ่นได้ 1.5 ล้านเหรียญ35 ผู้บริหารชาว อเมริกนั คูค่ วรกว่าซีอโี อยุโรป 2 เท่า และคูค่ วรกว่าซีอโี อญีป่ นุ่ 9 เท่าหรือไม่? หรือว่าความแตกต่างนี้สะท้อนปัจจัยอื่นที่ไม่เกี่ยวกับความพยายามและ ความเก่งกาจของผู้บริหาร? ความโกรธแค้นเรื่องเงินอุ้มที่กระพือไปทั่วสหรัฐอเมริกาตอนต้น ปี 2009 สะท้อนมุมมองที่แพร่หลายว่า ผู้ทำ�ลายบริษัทที่พวกเขาบริหาร ด้วยการลงทุนความเสีย่ งสูงไม่ควรได้รบั รางวัลเป็นโบนัสหลายล้านเหรียญ แต่การถกเถียงเรื่องโบนัสก็นำ�ไปสู่คำ�ถามว่า ใครสมควรได้รับอะไรในยาม รุง่ โรจน์ ผูป้ ระสบความสำ�เร็จควรได้รบั รางวัลทีต่ ลาดมอบให้ หรือว่ารางวัล นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นที่พวกเขาควบคุมไม่ได้? กรณีนี้บอกอะไรกับเรา เรือ่ งหน้าทีข่ องพลเมืองในยุครุง่ เรืองและยุคยากเข็ญ? เรายังต้องรอดูตอ่ ไป ว่าวิกฤตการเงินจะจุดประกายวิวาทะสาธารณะในประเด็นเหล่านี้หรือไม่

M ichael Sandel

35


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.