Neoliberalism final (p1 30)

Page 1


เสรีนิยมใหม่: ความรู้ฉบับพกพา • วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง แปล จากเรื่อง Ne o lib e r a l i s m: A V e r y S h or t I n t r o duc t i o n โดย M a n fr e d B . S t e g e r และ R a v i K . R o y พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ op e n wo r l d s, มีนาคม 2559 ราคา 260 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ ศิลปกรรม พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ภรณ์ทิพย์ ปิยฤทธิพงศ์ • บรรณาธิการเล่ม ฐณฐ จินดานนท์ พิสูจน์อักษร จิราพร เฮงเจริญ บุญชัย แซ่เงี้ยว ออกแบบปก พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ • บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2 - 6 1 8 - 4 7 3 0 e -m a il: o pe n w o r l d s t h a i l a n d @g m a i l . c o m fa c e b o o k : w w w . f a c e b o o k . c o m / o p e n w o r l d s we b s i t e : w w w . o p e n w o r l d s . i n . t h จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0 - 2 7 3 9 - 8 0 0 0 โทรสาร 0 - 2 7 3 9 - 8 3 5 6 - 9 we b s i t e : h t t p : / / w w w . s e - e d . c o m /


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ สำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 0-2618-4730 และ 09-7174-9124 หรือ e - ma i l : o p en w o rld st h a ila n d @ g m a il. co m

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ สเตเกอร์, แมนเฟร็ด. เสรีนิยมใหม่: ความรู้ฉบับพกพา.-- กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส, 2559. 246 หน้า. 1. เสรีนิยมใหม่. 2. เสรีนิยม. I. รวี รอย, ผู้แต่งร่วม. II. วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง. 320.51 ISBN 978-616-7885-31-5 • Thai language translation copyright 2016 by openworlds publishing house /Copyright © 2010 by Manfred B. Steger and Ravi K. Roy All Rights Reserved. Neoliberalism: A Very Short Introduction, by Manfred B. Steger and Ravi K. Ro y wa s o rig in a lly p u b l i s h e d i n E n g l i s h i n 2 0 1 0 . This translation is published by arrangement with Oxford University Press t hrou g h T u ttle -M o ri Ag e n c y C o . , L t d . The Thai edition is translated by Worapoj Wongkitrungruang and publis h e d b y o p e n wo rl d s p u b l i s h i n g h o u s e , 2 0 1 6 . เสรีนิยมใหม่: ความรู้ฉบับพกพา ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 2010 แปลและจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด ตามข้อตกลงกับสานักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ภาพปกหน้า: Wall street sign โดย Staras/Shutterstock ภาพปกหลัง: NYSE โดย Abhisit Vejjajiva/Flickr URL: https://flic.kr/p/724WAf



สารบัญ

. สารบัญภาพประกอบ : 6 สารบัญแผนภาพและตาราง : 8 สารบัญแผนที่ : 9 ค�ำน�ำผู้เขียน : 10 1. เสรีนิยม “ใหม่” ที่ตรงไหน? ลัทธิเสรีนิยมเก่าและใหม่ : 18 2. คลื่นลูกแรกของเสรีนิยมใหม่ในทศวรรษ 1980 เรแกนโนมิกส์และลัทธิแธตเชอร์ : 50 3. คลื่นลูกที่สองของลัทธิเสรีนิยมใหม่ในทศวรรษ 1990 ลัทธิตลาดโลกนิยมของคลินตันและหนทางที่สามของแบลร์ : 96 4. ลัทธิเสรีนิยมใหม่และการพัฒนาในเอเชีย : 138 5. ลัทธิเสรีนิยมใหม่ในลาตินอเมริกาและแอฟริกา : 172 6. วิกฤตของลัทธิเสรีนิยมใหม่ในช่วงทศวรรษ 2000 และหลังจากนั้น : 204 อ้างอิง : 234 ประวัติผู้เขียน : 244 ประวัติผู้แปล : 245


สารบัญภาพประกอบ

. 1. ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ก�ำลังกล่าวสุนทรพจน์เข้ารับต�ำแหน่ง เมื่อปี 2009 © Rich Friedman/Corbis 20 2. อาดัม สมิธ (1723-1790) Courtesy of the Adam Smith Institute 22 3. จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (1883-1946) © Hulton Archives/Getty Images 26 4. ฟรีดริช เอากุสท์ ฟอน ไฮเอค (1899-1992) © Hulton Archives/Getty Images 41 5. มิลตัน ฟรีดแมน (1912-2006) © Bettmann/Corbis 44 6. โรนัลด์ วิลสัน เรแกน (1911-2004) ประธานาธิบดีคนที่ 40 ของ สหรัฐอเมริกา (1981-1989) Courtesy of the Library of Congress 59 7. ไมเคิล ดักลาส แสดงเป็นเจ้าพ่อการเงิน กอร์ดอน เก็กโก ในภาพยนตร์ เรื่อง Wall Street ซึ่งมีค�ำพูดโด่งดังอย่าง “ความโลภคือความดี” (Greed is good) © Collection Cinema Photos12.com 68 8. มาร์กาเรต ฮิลดา แธตเชอร์ (1925-2013) นายกรัฐมนตรีแห่ง สหราชอาณาจักร (1979-1990) © Manchester Daily Express/ Science & Society Picture Library 79 9. เรแกนและกอร์บาชอฟจับมือกันที่การประชุมสุดยอดในกรุงมอสโก ปี 1988 ภายหลังการแลกเปลี่ยนสัตยาบันสารของสนธิสัญญาอาวุธ นิวเคลียร์พิสัยกลาง © RIA Novosli/TopFoto 91 10. ประธานาธิบดีบิล คลินตัน และนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร โทนี แบลร์ แลกเปลี่ยนความคิดกันที่ “การเสวนาโต๊ะกลมว่าด้วยหนทางที่สาม: การอภิบาลสายก้าวหน้าส�ำหรับศตวรรษที่ 21” (Roundtable Discussion on the Third Way: Progressive Governance for the 21st Century) จัด เมื่อวันที่ 25 เมษายน 1999 ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. © Getty Images 100


11. จุนอิชิโร โคะอิซุมิ (1932- ) นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (2001-2006) © AFP/ Getty Images 149 12. ผู้น�ำแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน เติ้ง เสี่ยวผิง (1904-1997) © Hulton Archives/Getty Images 153 13. มันโมหัน สิงห์ (1932- ) นายกรัฐมนตรีอินเดีย (2004-2014) © AP/ Press Association Images 167 14. เอร์เนสโต เซดีโย ปอนเซ เด เลออง (1951- ) ประธานาธิบดีเม็กซิโก (1994-2000) © AP/Press Association Images 189 15. เจเรไมอาห์ (เจอร์รี) รอว์ลิงส์ (1947- ) ประมุขแห่งรัฐกานา (1979; 1981-1993) ประธานาธิบดีกานา (1993-2001) © 2004 UPP/ TopFoto 195


สารบัญแผนภาพและตาราง

. A. เรแกนโนมิกส์และลัทธิแธตเชอร์: เสรีนิยมใหม่แบบเศรษฐศาสตร์ด้าน อุปทานและแบบการเงินนิยม 58 B. ซีอีโอที่ได้รับค่าตอบแทนดีที่สุดในสหรัฐอเมริกา, 1996 (หน่วย: พัน ดอลลาร์สหรัฐ) 113 C. ค่าจ้างโดยเฉลี่ยรายชั่วโมงของลูกจ้างที่ไม่ได้มีต�ำแหน่งบริหาร ในการจ้างงานนอกภาคกสิกรรมของเอกชน 115 D. สัดส่วนรายได้ครัวเรือนต่อรายได้รวมในสหรัฐอเมริกา, 1967-2003 116 E. ดัชนีบิ๊กแมคและค่าเงินหยวนที่ต�่ำเกินจริง 158 F. อัตราการเติบโตของจีดีพีในอินเดีย, 2006-2009 168 G. ประเทศที่มีความเหลื่อมล�้ำสูงที่สุดในโลก 15 ประเทศ 178 H. ดัชนีการพัฒนามนุษย์ของกานา, 2005 201 I. ค่าตอบแทนปี 2008 (เงินเดือน โบนัส และสิทธิเลือกซื้อหุ้นใน ราคาที่ก�ำหนด) ของซีอีโอ 10 อันดับแรกในสหรัฐอเมริกา 219 J. วิกฤตการเงินโลก: ความสูญเสียและเงินที่ใช้เข้าอุ้มสถาบันการเงินของ สหรัฐฯ และประเทศในยุโรปภายใต้บริบทต่างๆ 221 K. การทรุดตัวลงของการค้าโลก 225 L. การหดตัวของเศรษฐกิจโลก 225


สารบัญแผนที่

. 1. เขตวิสาหกิจพิเศษของจีน 156 2. ประเทศที่ตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจถดถอยเพราะวิกฤตการเงินโลก 223


10

Neoliberalism

ค�ำน�ำผู้เขียน

.

โลกในศตวรรษที่ 21 ถือเป็นโลกทีม่ กี ารพึง่ พาอาศัยกันอย่าง มีนัยส�ำคัญ โลกาภิวัตน์ท�ำให้ความสัมพันธ์ทางสังคมแผ่ขยาย กว้างขึ้น และแพร่กระจายด้วยอัตราเร่งที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกทั้งใน มิติของพื้นที่และเวลา การปฏิวัติดิจิทัลกระตุ้นให้เกิดเครือข่าย สารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งทั้งปัจเจกชน รัฐ และวิสาหกิจ ล้วนติดพันอยูใ่ นเครือข่ายนีท้ งั้ สิน้ เครือข่ายผูก้ อ่ การร้ายข้ามชาติ ซึ่ ง ลงมื อ ปฏิ บั ติ ก ารจากที่ ไ หนก็ ไ ด้ พุ ่ ง เป้ า ไปที่ สั ญ ลั ก ษณ์ เชิงอ�ำนาจโลกย์ และกระตุ้นให้ผู้น�ำการเมืองในโลกตะวันตก ต้องประกาศ “สงครามต่อต้านการก่อการร้ายระดับโลก” การ เปลีย่ นแปลงสภาพภูมอิ ากาศและโรคระบาดทีแ่ พร่กระจายไปทุก มุมโลกได้กลายเป็นความจริงอันน่าสะพรึงกลัว ส่งผลให้ประเทศ ต่างๆ ต้องร่วมมือกันหาแผนการเพื่อหยุดยั้งหายนะระดับโลกนี้ การแตกของฟองสบู่ที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ จุดชนวนให้เกิดวิกฤต การเงินโลก ซึ่งท�ำให้สินทรัพย์นับล้านล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลก อันตรธานไปและเบียดขับให้ประชาคมโลกไปยืนอยู่ที่ปลายเหว แห่งภาวะเศรษฐกิจตกต�ำ่ ครัง้ ใหญ่ (Great Depression) รอบใหม่


A

Very Short Introduction

11

ครั้งหนึ่งเสียงแห่งความผยองในชัยชนะเคยเฝ้าดูการล่มสลาย ของลัทธิคอมมิวนิสต์ในโซเวียตว่าเป็น “จุดจบแห่งประวัตศิ าสตร์” (end of history) และจุดเริ่มต้นของการปกครองภายใต้ลัทธิ ทุนนิยมตลาดเสรีแบบอเมริกาที่ไร้ซึ่งคู่ต่อกร แต่เสียงเหล่านั้น กลับเงียบงันลงเมื่อปรากฏว่าศตวรรษใหม่นี้ยังคงเป็นสนามรบ ทางอุดมการณ์ทอี่ ดุ มการณ์ทางการเมืองทุกรูปแบบยังคงแข่งขัน กันเพื่อเอาชนะใจชาวโลก ลัทธิเสรีนิยมใหม่ (neoliberalism) คือหนึ่งใน “ลัทธิ” ใหม่ที่เข้าร่วมสนามรบทางอุดมการณ์เช่นกัน ค�ำนี้บัญญัติขึ้นใน เยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งโดยนักเศรษฐศาสตร์และ นักวิชาการด้านกฎหมายกลุ่มเล็กๆ ที่สังกัด “ส�ำนักคิดไฟรบูร์ก” (Freiburg School) เพื่ อ ใช้ อ ้ า งอิ ง ถึ ง แผนการสายกลางใน การรื้ อ ฟื ้ น ลั ท ธิ เ สรี นิ ย มคลาสสิ ก ในช่ ว งทศวรรษ 1970 นักเศรษฐศาสตร์ลาตินอเมริกากลุ่มหนึ่งได้น�ำ ลัทธิเสรีนิยมใหม่ (neoliberalismo) มาใช้ส�ำหรับโมเดลสนับสนุนตลาดของพวก เขา อย่างไรก็ดี พอถึงช่วงต้นทศวรรษ 1990 นักวิจารณ์การ ปฏิ รูปตลาดฝ่ า ยซ้ ายในประเทศก� ำลั ง พัฒ นาได้ท� ำให้ “ลั ทธิ เสรีนิยมใหม่” มีความหมายในเชิงลบที่เชื่อมโยงกับ “ฉันทมติ วอชิงตัน” (Washington Consensus คือชุดโครงสร้างสถาบัน และนโยบายเศรษฐกิจที่ถูกกล่าวหาว่าสหรัฐฯ ออกแบบมาเพื่อ แพร่กระจายทุนนิยมแบบอเมริกาและระบบวัฒนธรรมทีเ่ กีย่ วข้อง ไปทั่วโลก) นักวิจารณ์คนอื่นๆ ปฏิเสธ “ลัทธิเสรีนิยมใหม่” ว่า เป็นแค่ค�ำติดหูไร้ความหมายซึ่งคิดค้นโดยนักวิชาการหัวรุนแรง หรือนักชาตินยิ มทางเศรษฐกิจทีต่ อ่ ต้านการเปลีย่ นแปลง เพือ่ ลด


12

Neoliberalism

คุณค่าความส�ำเร็จทางวิชาการของนักเศรษฐศาสตร์นโี อคลาสสิก (neoclassical economists) เช่น นักเศรษฐศาสตร์รางวัล โนเบลอย่าง มิลตัน ฟรีดแมน (Milton Friedman) และ ฟรีดริช เอากุสท์ ฟอน ไฮเอค (Friedrich August von Hayek) บางคน มองเสรีนิยมใหม่ว่าเป็นรูปแบบหลังสมัยใหม่ของ “ค�ำคุยเรื่อง ตลาดเสรีสดุ ขัว้ ” (laissez-faire talk) อันงดงามในอดีต ซึง่ ยกย่อง ความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนของปัจเจกชน ประสิทธิภาพทาง เศรษฐกิจ และการแข่งขันที่ไร้การควบคุม อย่างไรก็ดี แม้จะได้ รับค�ำวิพากษ์วจิ ารณ์มากมาย แต่ลทั ธิเสรีนยิ มใหม่กไ็ ด้เข้าไปอยู่ ในใจของสาธารณชนแล้ว ทุกวันนี้ ค�ำค�ำนี้ปรากฏในพาดหัวข่าว ของหนังสือพิมพ์ส�ำคัญของโลกแทบจะรายวัน ช่วง 25 ปีสดุ ท้ายของศตวรรษที่ 20 ผูค้ นเชือ่ มโยง “ลัทธิ เสรีนิยมใหม่” เข้ากับนักการเมืองหลายคน เช่น โรนัลด์ เรแกน, มาร์กาเรต แธตเชอร์, บิล คลินตัน, โทนี แบลร์, เอากุสโต ปีโนเชต์, บอริส เยลต์ซิน, เจียง เจ๋อหมิน, มันโมหัน สิงห์, จุนอิชิโร โคะอิซุมิ, จอห์น เฮาเวิร์ด และ จอร์จ ดับเบิลยู. บุช แต่ไม่มีผู้น�ำ ทางการเมืองคนใดในนั้นเลยที่ยอมรับ “การติดป้าย” ที่ก�ำกวม นี้กับสาธารณะ แม้พวกเขาล้วนนิยมชมชอบนโยบาย “เสรีนิยม ใหม่” ทีม่ งุ่ เป้าไปทีก่ ารผ่อนปรนการก�ำกับดูแลเศรษฐกิจของชาติ การเปิดเสรีการค้าระหว่างประเทศ และการสร้างตลาดโลกทีเ่ ป็น หนึ่งเดียว ในยุครุ่งโรจน์ช่วงทศวรรษ 1990 ลัทธิเสรีนิยมใหม่ ครอบง�ำโลกได้เบ็ดเสร็จ มันกลืนกินเข้าไปถึงใจกลางอดีตกลุ่ม ประเทศสหภาพโซเวียต และบีบให้ประเทศก�ำลังพัฒนารับชุด กฎเกณฑ์และเงื่อนไขแบบใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจ นอกจาก


A

Very Short Introduction

13

นัน้ ลัทธิเสรีนยิ มใหม่ยงั เผยตัวให้เห็นว่าสามารถปรับเปลีย่ นใช้ได้ หลากหลายสถานการณ์ เพราะกระทัง่ สหายพรรคคอมมิวนิสต์จนี หลังยุคเหมายังหลงมนตร์เสน่ห์ ทั้งที่ “ลัทธิสังคมนิยมใหม่แบบ จีน” ที่ผ่านการปฏิรูปมาแล้วของพวกเขาชวนสงสัยว่าจะขัดแย้ง กับลัทธิเสรีนิยมใหม่ กระนั้นก็ตาม ในช่วงรุ่งอรุณแห่งศตวรรษที่ 21 ลัทธิ เสรีนิยมใหม่เริ่มสูญสิ้นความน่าเชื่อถือ เนื่องจากเศรษฐกิจโลก ที่ก่อตัวขึ้นบนหลักการของเสรีนิยมใหม่ได้สั่นคลอนไปถึงแก่น กลางจากหายนะทางการเงินที่โลกไม่เคยประจักษ์มาก่อนตั้งแต่ ยุคมืดช่วงทศวรรษ 1930 ลัทธิเสรีนิยมใหม่มาถึงจุดจบแล้วหรือ มันจะฟื้นกลับมารุ่งโรจน์ได้เหมือนที่เคย? ผู้น�ำนักปฏิรูปในกลุ่ม ประเทศจี 20 (G20) จะเริม่ ต้นเดินไปบนเส้นทางใหม่อย่างแท้จริง หรือจะพยายามดิ้นรนหาทางกลับไปยังวันวานอันรุ่งโรจน์ของ เสรีนิยมใหม่ในช่วงการค�ำรามทางเศรษฐกิจแห่งทศวรรษ 1990 (Roaring Nineties)? เรามีทางเลือกอืน่ ทีเ่ ป็นไปได้นอกเหนือจาก ลัทธิเสรีนิยมใหม่หรือไม่? แม้หนังสือเล่มนี้จะมุ่งถกเถียงค�ำถามส�ำคัญดังกล่าว แต่มันก็ถูกออกแบบมาเพื่อแนะน�ำผู้อ่านให้รู้จักกับจุดก�ำเนิด วิวัฒนาการ และแนวคิดหลักของเสรีนิยมใหม่ ผ่านการส�ำรวจ การเผยตัวเชิงรูปธรรมของแนวคิดนี้ในหลากหลายประเทศและ ภูมิภาคทั่วโลก การส�ำรวจครั้งนี้จะเผยให้เห็นว่า แม้นักเสรีนิยม ใหม่ทั่วโลกจะมีความเชื่อร่วมกันเกี่ยวกับอ�ำนาจของตลาดเสรี ที่ “ก�ำกับดูแลตัวเอง” (self-regulating) เพื่อใช้สร้างโลกให้ดีขึ้น แต่ชุดความเชื่อของพวกเขาก็มีลักษณะที่แตกต่างหลากหลาย


14

Neoliberalism

ตัวอย่างเช่น เรแกนโนมิกส์ (Reaganomics) ก็แตกต่างจาก ลัทธิแธตเชอร์ (Thatcherism) อีกทัง้ ลัทธิตลาดโลกนิยม (market globalism) ของคลินตันในบางแง่มุมก็ไม่เหมือนกับหนทางที่ สาม (Third Way) ของโทนี แบลร์ ส่วนชนชั้นน�ำทางการเมืองใน ประเทศก�ำลังพัฒนา (ส่วนมากได้รบั การศึกษาจากมหาวิทยาลัย ชั้นน�ำในประเทศพัฒนาแล้ว) ก็เรียนรู้ที่จะปรับใช้หลักการของ ฉันทมติวอชิงตันให้เข้ากับบริบทในท้องถิ่นและเป้าหมายทาง การเมืองของตน กล่าวได้วา่ ลัทธิเสรีนยิ มใหม่สามารถปรับตัวให้ เข้ากับสิ่งแวดล้อม ปัญหา และโอกาสที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ เราจึงควรคิดถึง เสรีนิยมใหม่ในรูปพหูพจน์ (neoliberalisms) มากกว่าจะมองว่าเป็นการเผยตัวอันยิ่งใหญ่ในรูปแบบเดียว แนวคิด นโยบาย และรูปแบบการอภิบาลหลักๆ ที่ ขับเคลื่อนโครงการเสรีนิยมใหม่เหล่านี้ ถือเป็นหัวใจส�ำคัญของ หนังสือเล่มนี้ การเขียนหนังสือแนะน�ำเล่มนี้ให้เป็น ฉบับพกพา ตามความต้องการของส�ำนักพิมพ์ทำ� ให้ตอ้ งเลือกเฉพาะประเด็น ส�ำคัญทั่วไปโดยไม่ได้ลงรายละเอียดมากนัก เป้าประสงค์หลัก ของหนังสือเล่มนี้คือการน�ำเสนอเค้าโครงของปรากฏการณ์อัน ซับซ้อนนี้ให้เข้าถึงได้ง่ายและเปี่ยมด้วยสาระ โดยเน้นเฉพาะ ข้อมูลทีเ่ ป็นแกนหลัก ผูท้ อี่ า่ นหนังสือเล่มนีจ้ นเข้าใจและต้องการ ค้นคว้าหัวข้อนีใ้ ห้ลกึ ยิง่ ขึน้ สามารถหาอ่านเพิม่ เติมได้จากแหล่ง อ้างอิงท้ายหนังสือ เราขอขอบคุณสถาบันวิจัยนครโลกและศูนย์วิจัยโลกนิยม (the Global Cities Research Institute and the Globalism Research Centre) ที่ มหาวิทยาลัย RMIT (Royal Melbourne


A

Very Short Introduction

15

Institute of Technology) รวมถึงสภาวิจัยออสเตรเลีย (the Australian Research Council - ARC) ที่ให้การสนับสนุนอันมี ค่าแก่การวิจัยนี้ เราซาบซึ้งในความช่วยเหลือของเพื่อนร่วมงาน และผองเพื่อนที่มหาวิทยาลัย RMIT, มหาวิทยาลัยฮาวาย, มหาวิทยาลัยแคลร์มอนต์, มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตา บาร์บารา, มหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์เซี่ยงไฮ้ (Shanghai Academy of the Social Sciences), มหาวิทยาลัยเสรีแห่งเบอร์ลนิ และ มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด การได้ทำ� งานกับ แอนเดรีย คีแกน และ ทีมงานผู้มากความสามารถของเธอที่ส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ออกซ์ฟอร์ดนัน้ ถือเป็นสิง่ ทีย่ อดเยีย่ ม แต่เหนืออืน่ ใด เราขอบคุณ ครอบครัวของพวกเราส�ำหรับความรักและการสนับสนุนอันมัน่ คง ขอมอบหนังสือเล่มนี้ให้กับเพอร์ลี, โจน และนิโคล มีผู้คนอีกมาก ที่ช่วยท�ำให้หนังสือเล่มนี้ดีขึ้น ข้อบกพร่องใดๆ ที่ยังเหลืออยู่ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว



เสรีนิยมใหม่ •

ความรู้ฉบับพกพา

NEOLIBERALISM • A Very Short Introduction by

Manfred B. Steger & Ravi K. Roy

แปลโดย

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง


บทที่ 1

/ เสรีนิยม “ใหม่” ที่ตรงไหน? ลัทธิเสรีนิยมเก่าและใหม่


A

Very Short Introduction

19

ในการกล่าวสุนทรพจน์ในพิธีสาบานตนเข้ารับต�ำแหน่ง เมื่ อ ปี 2009 ท่ า มกลางวิ ก ฤตเศรษฐกิ จ ที่ ย�่ ำ แย่ ที่ สุ ด นั บ แต่ ภาวะเศรษฐกิจตกต�่ำครั้งใหญ่ในทศวรรษ 1930 บารัก โอบามา (Barack Obama) พูดอย่างไม่อ้อมค้อมถึงสิ่งที่เขาเชื่อว่าเป็น ตัวการของหายนะทางการเงินโลก นั่นคือ ความโลภและการ ไร้ ค วามรั บ ผิ ด ชอบของคนบางกลุ ่ ม รวมถึ ง ความผิ ด พลาด ร่วมกันของประชาชนที่จะตัดสินใจท�ำในสิ่งที่ยากและเตรียมตัว ให้พร้อมส�ำหรับยุคใหม่ และเพื่อขยายความข้อโต้แย้งดังกล่าว ประธานาธิ บ ดี ห นุ ่ ม ยื น กรานว่ า ค� ำ ถามส� ำ คั ญ ในวั น นี้ ไ ม่ ใ ช่ รัฐบาลใหญ่หรือเล็กเกินไปอีกแล้ว แต่อยู่ที่ว่าท�ำงานได้หรือไม่ หลังจากนั้น ขณะที่เขาเพ่งไปยังกล้องที่ฉายภาพเคร่งขรึมของ ตัวเองผ่านจอทีวแี ละคอมพิวเตอร์นบั ไม่ถว้ นทัว่ โลก ผูน้ ำ� อเมริกนั ก็กล่าวถึงกระบวนทัศน์ทางเศรษฐกิจทีค่ รอบง�ำเรามาตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมา


20

Neoliberalism

ภาพประกอบ 1 ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ก�ำลังกล่าวสุนทรพจน์เข้ารับ ต�ำแหน่งเมื่อปี 2009

ค�ำถามเบื้องหน้าเราไม่ใช่ว่าตลาดเป็นพลังที่ดีหรือแย่ เพราะพลังของตลาดในการสร้างความมัง่ คัง่ และขยับขยาย อิสรภาพนัน้ ไม่มสี งิ่ ใดเทียบเท่า แต่วกิ ฤตครัง้ นีย้ ำ�้ เตือนเรา ว่า หากปราศจากการเฝ้าระวัง ตลาดก็อาจปั่นป่วนจนเรา ควบคุมไม่ได้

นักวิจารณ์ตามข่าวตอบสนองอย่างรวดเร็วและตรง ประเด็นว่า สุนทรพจน์ของโอบามาชีช้ ดั ว่า ยุคของ “ลัทธิเสรีนยิ ม ใหม่” อาจใกล้ถึงกาลอวสาน


A

Very Short Introduction

21

แน่นอนว่าหลักอุดมคติของเสรีนยิ มใหม่ทเี่ ชือ่ ว่า “ตลาด ก�ำกับดูแลตัวเอง” เป็นเครือ่ งจักรขับเคลือ่ นให้ปจั เจกชนแสวงหา ความมัง่ คัง่ อย่างมีเหตุมผี ลซึง่ เป็นสิง่ ทีโ่ อบามาวิจารณ์นนั้ ถือเป็น หลักความเชื่อที่เหล่านักเศรษฐศาสตร์ยึดถือมาตั้งแต่ช่วงปลาย ศตวรรษที่ 18 “นักเสรีนิยมคลาสสิก” อย่าง อาดัม สมิธ (Adam Smith) และ เดวิด ริคาร์โด (David Ricardo) ต่อต้านลัทธิพาณิชยนิยม (mercantilism) ของกษัตริย์ที่ใช้อ�ำนาจควบคุมเศรษฐกิจ เกือบเบ็ดเสร็จเพื่อให้ได้ครอบครองทองจ�ำนวนมากและบรรลุ เป้าหมายอันเลวร้าย พวกเขาต่างพร�่ำสอนถึงคุณความดีของ เศรษฐกิจแบบ “ตลาดเสรี” และ “ตลาดเสรีสุดขั้ว” (laissez-faire) สมิธได้รับเครดิตว่าเป็นผู้สร้างภาพลักษณ์ของ สัตว์เศรษฐกิจ (homo economicus) ตามแบบยุครู้แจ้งของสกอตแลนด์ (Scottish Enlightenment) มุมมองนี้เชื่อว่าคนเป็นปัจเจกอันสันโดษ ที่การกระท�ำของพวกเขาสะท้อนถึงผลประโยชน์เชิงวัตถุของ ตนเอง ตามความเชื่อนี้ ประเด็นทางการเมืองและเศรษฐกิจ เป็นสิ่งที่แยกขาดจากกันได้เป็นส่วนมาก โดยเศรษฐกิจนั้นมี สถานะเหนือกว่า เนื่องจากท�ำงานได้ดีที่สุดภายใต้ระบบกฎ ธรรมชาติที่กลมกลืนปราศจากการแทรกแซงของรัฐบาล ดังนั้น รัฐไม่ควร “แทรกแซง” กิจกรรมทางเศรษฐกิจของพลเมืองผู้เห็น แก่ประโยชน์สว่ นตน และใช้อำ� นาจเพือ่ ก่อให้เกิดการแลกเปลีย่ น ทางเศรษฐกิจอย่างเสรีแทน ทฤษฎี “ความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ” (comparative advantage) ของริคาร์โด กลายเป็นเพลงสวดอันศักดิ์สิทธิ์ ของผู้สนับสนุนการค้าเสรีสมัยใหม่ เขาเชื่อว่าการค้าเสรีจะน�ำ ไปสู่สถานการณ์ซึ่งทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ประโยชน์ เพราะท�ำให้


22

ภาพประกอบ 2 อาดัม สมิธ (1723-1790)

Neoliberalism


A

Very Short Introduction

23

แต่ละประเทศเกิดความช�ำนาญเฉพาะด้าน (specialization) ในการผลิตสินค้าทีต่ นมีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ ตัวอย่าง เช่น ถ้าอิตาลีผลิตไวน์ได้ถูกกว่าอังกฤษ และอังกฤษผลิตเสื้อผ้า ได้ถูกกว่าอิตาลี ทั้งสองประเทศก็จะได้ประโยชน์จากความ ช�ำนาญเฉพาะด้านและการค้า ความจริงแล้ว ริคาร์โดไปไกลถึง ขัน้ เสนอว่า ประโยชน์จากความช�ำนาญเฉพาะด้านและการค้าจะ เกิดขึ้นกระทั่งในกรณีท่ีมีเพียงประเทศเดียวที่มีความได้เปรียบ เชิงสัมบูรณ์ (absolute advantage) ในการผลิตสินค้าทุกชนิด ที่ค้าขายกัน ในทางการเมือง ทฤษฎีของริคาร์โดเป็นข้อโต้แย้ง อันทรงพลังเพื่อต่อต้านการแทรกแซงการค้าของรัฐบาล และ ถูกใช้เป็นอาวุธเชิงอุดมการณ์อันน่าเกรงขามโดยนักเสรีนิยมใน ศตวรรษที่ 19 อย่าง ริชาร์ด คอบเดน (Richard Cobden) เพื่อ ให้มีการยกเลิกกฎหมายจ�ำกัดการน�ำเข้าธัญพืช (Corn Law) ซึ่ง คุ้มครองการค้าในอังกฤษ ส�ำหรับนักเสรีนิยมคลาสสิก ผู้ผลิตถือเป็นผู้รับใช้ของ ลูกค้าที่ต้องการสนองตอบความจ�ำเป็นและความต้องการเชิง วัตถุตามที่ตนคิดว่าเหมาะสม นักเสรีนิยมคลาสสิกอุทิศตนให้ กับการคุ้มครองกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลและการบังคับใช้สัญญา ตามกฎหมาย พวกเขาโต้แย้งว่า “มือที่มองไม่เห็น” (invisible hand) ของตลาดท�ำให้การจัดสรรทรัพยากรมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลสูงสุด พร้อมกับช่วยสนับสนุนการค้าระหว่างชาติ ต่างๆ อย่างสันติ แนวคิดของพวกเขาได้รบั การพิสจู น์วา่ เป็นพลัง ทีเ่ ข้มแข็งในการฟูมฟักการปฏิวตั อิ นั ยิง่ ใหญ่ทงั้ หลายในศตวรรษ ที่ 18 ซึ่งโค่นล้มราชวงศ์ แบ่งแยกอ�ำนาจของคริสตจักรออกจาก


24

Neoliberalism

รัฐ และท�ำลายหลักความเชื่อของลัทธิพาณิชยนิยม เกือบตลอด ศตวรรษที่ 19 ผูส้ บื ทอดลัทธิเสรีนยิ มคลาสสิกพยายามหว่านล้อม ผู้คนว่า ช่วงเวลาที่เศรษฐกิจย�่ำแย่นั้นสะท้อนถึง “ความล้มเหลว ของรัฐบาล” (government failure) บางรูปแบบ โดยทั่วไปแล้ว การแทรกแซงของรั ฐ ที่ ม ากเกิ น ไปจะน� ำ ไปสู ่ สั ญ ญาณราคา ที่ บิ ด เบื อ น พวกเขาให้ เ หตุ ผ ลว่ า จะมี สิ่ ง ที่ เ รี ย กว่ า “ความ ล้มเหลวของตลาด” (market failure) ได้อย่างไร? ในเมื่อตลาด (ที่ได้รับการคุ้มครองจากการแทรกแซงของรัฐอย่างเหมาะสม) โดยธรรมชาติแล้วไม่อาจ “ล้มเหลว” ได้ ลัทธิเสรีนิยมคลาสสิกและยุครู้แจ้ง ลัทธิเสรีนิยมคลาสสิกเกิดขึ้นพร้อมๆ กับขบวนการสู่การ รู้แจ้ง (Enlightenment movement) ในช่วงปลายศตวรรษ ที่ 17 และศตวรรษที่ 18 ซึง่ ประกาศว่า เหตุผลคือรากฐานแห่ง เสรีภาพของปัจเจกชน นักคิดในยุครู้แจ้งอย่าง จอห์น ล็อก (John Locke, 1632-1704) โต้แย้งว่า ใน “ภาวะธรรมชาติ” (state of nature) คนทุกคนเป็นอิสระและเท่าเทียม ดังนั้น จึงครอบครองสิทธิอันมิอาจพรากไปได้ซึ่งเป็นอิสระจาก กฎหมายของรัฐหรือผู้มีอ�ำนาจใดๆ มนุษย์ผู้ซึ่งมีสิทธิใน ชีวิต เสรีภาพ และการถือครองกรรมสิทธิ์ตามธรรมชาตินั้น มีความชอบธรรมในการตั้งรัฐบาล ที่มีอ�ำนาจจ�ำกัด โดย หน้าทีห่ ลักของรัฐบาลเช่นนัน้ คือการรักษาและคุม้ ครองสิทธิ


A

Very Short Introduction

25

ของปัจเจกชน โดยเฉพาะสิทธิในการถือครองกรรมสิทธิข์ อง เอกชน ทว่าศตวรรษที่ 20 อันผันผวนได้ท�ำให้ความศรัทธาต่อ “ความจริง” ของลัทธิเสรีนิยมคลาสสิกเสื่อมคลายลง และกว่าที่ “นักเสรีนิยมใหม่” จะน�ำแนวคิดที่เคยรุ่งโรจน์ในอดีตนี้กลับมาได้ ภายใต้อาภรณ์ใหม่ก็ต้องรอจนทศวรรษ 1980 แล้วเกิดอะไรขึ้น ระหว่างช่วงเวลานั้น? เรื่องราวนี้เป็นที่รู้จักดี ความโหดร้ายอัน ยาวนานของภาวะเศรษฐกิจตกต�ำ่ ครัง้ ใหญ่ทำ� ให้นกั เศรษฐศาสตร์ อย่าง จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (John Maynard Keynes) และ คาร์ล โปลันยี (Karl Polanyi) เชื่อว่า รัฐบาลเป็นมากกว่าแค่ “ยามเฝ้าราตรี” (night watchman) ซึ่งเป็นบทบาทที่นักเสรีนิยม คลาสสิกมอบหมายให้กบั รัฐ ทว่าในเวลาเดียวกัน เคนส์และ “นัก เสรีนิยมสายความเท่าเทียม” (egalitarian liberals) รุ่นใหม่ของ เขา ก็ไม่เห็นด้วยกับพวกมาร์กซิสต์ทเี่ ชือ่ ว่า การคงอยูข่ องวิกฤต เศรษฐกิจเป็นหลักฐานบ่งชีถ้ งึ การล่มสลายของทุนนิยมทีก่ ำ� ลังจะ เกิดขึน้ และชัยชนะของ “ชนกรรมาชีพสายปฏิวตั ”ิ (revolutionary proletariat) ผูเ้ ห็นชัดแจ้งถึง “ความผิดเพีย้ นทางอุดมการณ์” ของ “ชนชั้นกระฎุมพีผู้ปกครอง” (ruling bourgeoisie) ดังนั้นคนงาน จึงไม่มที างยอมติดกับดักอันแยบยล ทีใ่ ห้ยอมรับการขูดรีดในนาม ของอุดมคติเสรีนยิ มทีฟ่ งั ดูดแี ต่ขาดความจริงใจอย่าง “อิสรภาพ” “โอกาส” และ “การท�ำงานหนัก” อีกแล้ว แม้นักเสรีนิยมสาย ความเท่าเทียมอย่างนายกรัฐมนตรีคลีเมนต์ แอตต์ลี (Clement


26

Neoliberalism

ภาพประกอบ 3 จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ (1883-1946)

Attlee) และประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ (Franklin D. Roosevelt) จะพยายามป้องกันการปฏิวัติผ่านการปฏิรูป


A

Very Short Introduction

27

เศรษฐกิจ แต่พวกเขาก็ยังเป็นผู้พิทักษ์เสรีภาพส่วนบุคคลและ สิทธิในการถือครองกรรมสิทธิด์ ว้ ย พวกเขาวิพากษ์ลทั ธิเสรีนยิ ม คลาสสิกที่มองไม่เห็นว่า ทุนนิยมสมัยใหม่จ�ำเป็นต้องอยู่ภายใต้ การก�ำกับดูแลและการควบคุมโดยรัฐฆราวาสที่เข้มแข็ง เคนส์สนับสนุนให้ภาครัฐใช้จ่ายเงินมหาศาลในช่วงที่ เกิดวิกฤตเศรษฐกิจเพื่อสร้างงานใหม่และเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อ การบริโภคของประชาชน ซึ่งถือเป็นการท้าทายความเชื่อของ เสรีนิยมคลาสสิกที่ว่า กลไกตลาดจะแก้ไขตัวเองโดยธรรมชาติ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจและกลับสู่ดุลยภาพที่มีการจ้างงานเต็มที่ เคนส์เชื่อมโยงการว่างงานเข้ากับการขาดแคลนเงินลงทุนและ การใช้จ่ายของภาคเอกชนในระบบเศรษฐกิจ ส่วนเหตุที่ท�ำให้ การลงทุนและการใช้จ่ายหายไป เขาโทษนักลงทุนวิสัยทัศน์สั้น ผู้ละโมบว่า การลงทุนเพื่อเก็งก�ำไรของพวกเขานั้นท�ำให้ตลาด เสียเสถียรภาพ “ลัทธิส�ำนักเคนส์” (Keynesianism) ซึ่งยึดมั่น ในหลักการของตลาดแต่ต่อต้าน “ตลาดเสรี” เรียกร้องกระทั่งให้ รัฐเป็นเจ้าของกิจการระดับชาติทมี่ คี วามส�ำคัญ เช่น บริษทั รถไฟ หรือพลังงาน เคนส์เป็นผูแ้ ทนของอังกฤษในการประชุมเบรตตันวูดส์ (Bretton Woods) ที่สหรัฐฯ เมื่อปี 1944 การประชุมครั้งนั้น ได้วางระเบียบว่าด้วยเศรษฐกิจระหว่างประเทศหลังสงคราม และจัดตั้งสถาบันเศรษฐกิจระหว่างประเทศขึ้น กองทุนการเงิน ระหว่างประเทศ (International Monetary Fund - IMF) จัด ตั้งขึ้นเพื่อดูแลระบบการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารระหว่าง ประเทศเพื่อการบูรณะและการพัฒนา (International Bank for


28

Neoliberalism

Reconstruction and Development) ซึ่งภายหลังรู้จักกันในชื่อ ธนาคารโลก (World Bank) แรกเริ่มจัดตั้งขึ้นมาเพื่อให้เงินกู้ แก่การบูรณะยุโรปหลังสงคราม อย่างไรก็ดี ในช่วงทศวรรษ 1950 วัตถุประสงค์ของสถาบันนี้ได้ครอบคลุมถึงการให้เงินทุน แก่โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศก�ำลังพัฒนาทั่วโลก สถาบันสุดท้ายคือ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและ การค้า (General Agreement on Tariffs and Trade - GATT) จัดตั้งขึ้นในปี 1947 ในฐานะองค์การการค้าระดับโลกที่มีหน้าที่ ขยายแนวคิดและบังคับใช้ขอ้ ตกลงการค้าแบบพหุภาคี ในปี 1995 องค์การการค้าโลก (World Trade Organization - WTO) ได้รับ การตัง้ ขึน้ โดยเป็นองค์การสืบทอดจาก GATT ต่อมาได้กลายเป็น เป้าส�ำคัญในการถกเถียงสาธารณะถึงการออกแบบข้อตกลง การค้าเสรีตามแนวทางเสรีนิยมใหม่ การประยุกต์ใช้แนวคิดของส�ำนักเคนส์ในทางการเมือง กระตุ้นให้เกิดสิ่งที่นักเศรษฐศาสตร์บางคนเรียกว่า “ยุคทองของ ทุนนิยมควบคุม” (golden age of controlled capitalism) ซึ่งคง อยู่ประมาณช่วงปี 1945-1975 แผนงาน “นิวดีล” (New Deal) และ “สังคมอันยิ่งใหญ่” (Great Society) น�ำโดย แฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ และประธานาธิบดีลนิ ดอน จอห์นสัน (Lyndon Johnson) โมเดลสังคมนิยมประชาธิปไตยแบบสวีเดนที่ได้รับการชื่นชม อย่างมาก และ “ลัทธิสวัสดิการนิยม” (welfarism) แบบอังกฤษ ที่เริ่มต้นเมื่อปี 1945 ล้วนสะท้อนถึงฉันทมติทางการเมืองร่วม ในประเทศโลกตะวันตก ซึง่ น�ำไปสูส่ งิ่ ทีน่ กั วิจารณ์บางคนเรียกว่า “จุดจบของอุดมการณ์” (end of ideology) รัฐบาลของแต่ละ ชาติควบคุมเงินที่ไหลเข้าออกผ่านเขตแดนของตน การเก็บ


A

Very Short Introduction

29

ภาษีในอัตราสูงกับผู้มั่งคั่งและบริษัทที่มีก�ำไรน�ำไปสู่การขยาย ตัวของรัฐสวัสดิการ ค่าจ้างและบริการทางสังคมที่เพิ่มมากขึ้น ในประเทศร�่ำรวยที่พัฒนาแล้ว เปิดทางให้คนงานเลื่อนชั้นไปสู่ ชนชั้นกลาง ยุคทองของทุนนิยมควบคุมในสหรัฐอเมริกา เศรษฐกิ จ ของสหรั ฐ ฯ ตั้ ง อยู ่ บ นฐานการผลิ ต คราวละ มากๆ (mass production) การผลิตคราวละมากๆ ได้ก�ำไร จากการที่ชนชั้นกลางจ�ำนวนมากมีเงินเพียงพอที่จะหาซื้อ สิ่งของที่ผลิตได้คราวละมากๆ ชนชั้นกลางมีเงินเพราะก�ำไร จากการผลิตคราวละมากๆ ถูกแบ่งสรรให้กบั บริษทั ยักษ์ใหญ่ กับซัปพลายเออร์ ผู้ค้าปลีก และลูกจ้าง อ�ำนาจต่อรองของ กลุ่มลูกจ้างได้รับการยกระดับและมีผลบังคับผ่านบทบาท ของรัฐบาล เกือบ 1 ใน 3 ของแรงงานเป็นสมาชิกของสหภาพ ประโยชน์โพดผลทางเศรษฐกิจกระจายตัวไปทัว่ ประเทศ (ไป สู่ชาวนา ทหารผ่านศึก เมืองขนาดเล็ก และธุรกิจขนาดเล็ก) ผ่านการก�ำกับดูแล (กิจการรถไฟ โทรศัพท์ สาธารณูปโภค และธุรกิจขนาดเล็ก) และการให้เงินอุดหนุน (การพยุงราคา สินค้า ทางด่วน เงินกู้จากรัฐบาลกลาง) ที่มา: Robert B. Reich, Supercapitalism: The Transformation of Business, Democracy, and Everyday Life (New York: Knopf, 2008), p. 17


30

Neoliberalism

กระทั่งประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) สมาชิกพรรคริพบั ลิกนั สายอนุรกั ษนิยม ก็ยงั ประกาศในทศวรรษ 1970 ว่า “เราคิดแบบเคนส์กันหมดแล้ว” (we are all Keynesians now) การเคลือ่ นไหวของส�ำนักเคนส์ทเี่ ชือ่ ในการแทรกแซง ของรัฐและการก�ำกับตลาดนีเ่ องทีม่ อบความหมายทางเศรษฐกิจ สมัยใหม่ให้แก่ค�ำว่า “ลัทธิเสรีนิยม” (liberalism) นั่นคือ หลัก ความเชื่อที่สนับสนุนรัฐขนาดใหญ่ที่มีบทบาทเชิงรุก การก�ำกับ อุตสาหกรรม การเก็บภาษีอัตราสูงกับคนรวย และโครงการ สวัสดิการสังคมที่ขยายครอบคลุมส�ำหรับทุกคน เศรษฐศาสตร์มหภาคส�ำนักเคนส์ งานชิ้นเอกของ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ คือ The General Theory of Employment, Interest and Money (ทฤษฎี ทัว่ ไปของการจ้างงาน ดอกเบีย้ และเงิน) ได้รบั การตีพมิ พ์ใน ปี 1936 อันเป็นห้วงเวลาทีภ่ าวะเศรษฐกิจตกต�ำ่ ครัง้ ใหญ่ทวี ความรุนแรงสูงสุด หนังสือเล่มนี้ได้รับความสนใจในวงกว้าง ทันที เพราะท้าทายแนวคิดเรื่องการท�ำงานด้านเศรษฐกิจ สมัยใหม่ของส�ำนักเสรีนิยมคลาสสิกได้ส�ำเร็จ แนวคิดของ ส�ำนักเคนส์ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า มีความส�ำคัญต่อการ พัฒนากรอบทฤษฎี “เศรษฐศาสตร์มหภาค” เศรษฐศาสตร์ สาขาใหม่นี้ประกาศว่า รัฐบาลชาติสามารถเก็บรวบรวม ข้อมูลและท�ำนายวิกฤตเศรษฐกิจได้ล่วงหน้า ดังนั้นจึงเสนอ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.