คำ�นิยม
“เราต้องการวิถีคิดใหม่โดยสิ้นเชิงถ้ามนุษยชาติจะอยู่รอดได้” อัลเบิรต์ ไอน์สไตน์ หนังสือ “จากหลากหลายกลายเป็นหนึ่ง” โดย ดี ฮ็อค เล่มนี้ คือ วิถี คิดใหม่โดยสิ้นเชิง วิถีคิดเก่าได้ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ทุกๆ ด้านเพิ่มขึ้นๆ จนถึง ระดับมหวิกฤต (Great crisis) ทัง้ ทางเศรษฐกิจ สังคม สิง่ แวดล้อม การเมือง และสถาบันทุกชนิด ซึ่งรวมแล้วต้องเรียกว่าวิกฤตอารยธรรม (Civilization crisis) วิถคี ดิ เก่าเกิดจากจิตสำ�นึกเล็ก ไม่เห็นทัง้ หมด จึงคิดแบบแยกส่วน วิถีคิดแบบแยกส่วนอย่างหนึ่ง คือ “คิดเชิงอำ�นาจ” เมื่อคิดเชิงอำ�นาจก็คิด แบบแนวดิ่งจากบนลงล่าง หรือ top down ทุกหนทุกแห่งล้วนคิดและทำ� แบบท็อปดาวน์ เช่น พ่อแม่กับลูก ครูกับนักเรียน ผู้บริหารกับผู้ปฏิบัติงาน 4
O ne From Many
ในองค์กรหรือสถาบันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทางการเมือง ราชการ การศึกษา ธุรกิจ หรือศาสนา ซึ่งอาจแสดงด้วยแผนภาพข้างล่างนี้ การเมือง ราชการ การศึกษา ธุรกิจ ศาสนา สถาบันในวิถีคิดเก่าล้วนเป็นแนวดิ่งที่ใช้อำ�นาจจากบนลงล่าง
ดี ฮ็อค เป็นลูกคนจนในรัฐยูทาห์ สหรัฐอเมริกา เขาไม่มีโอกาส เรียนมหาวิทยาลัย แต่ชอบอ่านหนังสือและสังเกตธรรมชาติ เมือ่ เขาทำ�งาน ในบริษัทหลายแห่ง เขาพบว่าองค์กรเหล่านั้นล้วนใช้อำ�นาจจากบนลงล่าง ไม่เหมือนกับธรรมชาติที่เขาสังเกตมา ในองค์กรที่ใช้อำ�นาจเหล่านี้ผู้คนมี พฤติกรรมเบี่ยงเบน ไม่มีความสุข ไม่เรียนรู้และสร้างสรรค์ ทำ�ให้เขาได้ ข้อสรุปว่า ความล้มเหลวเชิงสถาบัน (Institutional failure) นำ�ไปสู่ วิกฤตการณ์ต่างๆ ของมนุษย์ ดี ฮ็อค จากเด็กยากจนที่ไม่ได้เข้าเรียนมหาวิทยาลัย กลายมา เป็นผู้ก่อตั้งและซีอีโอคนแรกของธุรกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ VISA ซึ่ง มีธนาคารและบริษัทเป็นหมื่นๆ แห่ง เข้ามาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่าย ใน เครือข่ายวีซ่านี้เป็นความสัมพันธ์ทางราบ ที่ไม่มีใครมีอำ�นาจเหนือใคร
D ee H o ck
5
สถาบันในวิถีคิดใหม่ เป็นความสัมพันธ์ทางราบ เป็นเครือข่าย ไม่มีใครมีอำ�นาจเหนือใคร
ตามแผนภาพ ทุกหน่วยเข้ามาสัมพันธ์กันด้วยความสมัครใจ มีอิสระที่จะคิดเองตัดสินใจเอง เข้ามาสัมพันธ์ด้วยการเรียนรู้และเกิด ประโยชน์ร่วมกัน จึงมีความสุขและความสร้างสรรค์สูง มีความเชื่อถือ ไว้วางใจกัน (Trust) จึงมีความสูงส่งทางจิตวิญญาณ ดี ฮ็อค ได้บัญญัติ ศัพท์ใหม่เรียกองค์กรชนิดนี้ว่า Chaordic มาจากคำ�ว่า Chaos (โกลาหล ไร้ระเบียบ) บวกกับคำ�ว่า Order (มีระเบียบ) คือเมือ่ ไม่มใี ครควบคุม เริม่ ต้น จึงโกลาหล แต่ต่อมามันก็จัดระเบียบลงตัวของมันเอง เป็นการก่อระเบียบ ขึ้นด้วยตัวเอง (Self-organization) ดี ฮ็อค เป็นคนถ่อมตัว และดูจิตหรือด้านในของตัวเองตลอดเวลา ดังที่เขาเรียกความคิดของเขาว่าเจ้าลิงเฒ่า (Old monkey mind) ในตัวเขา มีสัตว์ร้ายอยู่ 4 ตัว ได้แก่ อัตตา ความโลภ ความอิจฉา และความมักใหญ่ ใฝ่สูง ที่เขาต้องเฝ้าดูตลอดเวลาว่ามันออกมาเพ่นพ่านในเวลาที่เขาคิด พูด หรือทำ�อะไรหรือไม่ ข้อเขียนของเขาจึงประกอบด้วยธรรมะอันลึกซึ้ง 6
O ne From Many
ถ้าผู้อ่านอ่านด้วยความละเอียดและไตร่ตรองจะเกิดวิถีคิดใหม่ ธรรมะของ ดี ฮ็อค เหมือนธรรมะแบบพุทธ แต่แตกต่างทีไ่ ม่ใช่ธรรมะแบบลอยตัวเหมือน ชาวพุทธส่วนใหญ่ แต่เป็นธรรมะในบริบทความเป็นจริงในสังคม ความเป็นจริงนั้นคือ สถาบันทั้งหมดกำ�ลังล้มเหลว อารยธรรม ปัจจุบันกำ�ลังล่มสลาย มนุษยชาติจะอยู่รอดได้ต้องมีวิถีคิดใหม่โดยสิ้นเชิง หนังสือเล่มนีค้ อื วิถคี ดิ ใหม่โดยสิน้ เชิง เชิงสถาบันและสังคม จึงมีคา่ ยิง่ ต้อง ขอขอบคุณ ศิรพิ งษ์ วิทยวิโรจน์ ทีม่ วี ริ ยิ ะอุตสาหะอย่างแรงกล้า แปลหนังสือ แห่งยุคสมัยเล่มนี้ให้เป็นสมบัติทางปัญญาของคนไทย
ประเวศ วะสี
D ee H o ck
7
คำ�นำ�
นักฟิสกิ ส์ขา้ มกำ�แพงมาพูดเรือ่ งสังคม จนกลายเป็นมุมมองเชิงสังคม ที่มีอิทธิพลอยู่หลายเรื่อง ที่มีชื่อเสียงรู้จักกันในไทย น่าจะเป็นเดวิด โบห์ม (ลูกศิษย์ของไอน์สไตน์ที่เคยโดนข้อหาฝักใฝ่ลัทธิคอมมิวนิสต์) ผู้นำ�เอา ปรากฏการณ์ความไร้ระเบียบ (chaos) และความเป็นระเบียบ (order) ในโลกกายภาพมาเชื่อมให้เห็นนัยในสังคมใหญ่ หรือแม้กระทั่งการเสนอ แนวคิดการสนทนา (dialogue) เพือ่ ใช้เป็นเครือ่ งมือสำ�หรับการสือ่ สารแบบ สันติและสร้างสรรค์ อีกคนคือ ฟริดจอฟ คาปรา ทีเ่ อาเรือ่ งฟิสกิ ส์ไปพันกับเรือ่ งศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพุทธ แต่อ้างถึงโดยใช้ลัทธิเต๋าเป็นจุดขาย เป็นการจุด ประกายให้เปลี่ยนมุมมองต่อปรากฏการณ์ในสังคม นักฟิสิกส์มักเป็นนักคิด นักจินตนาการ จึงอาจมองเห็นความ เชื่อมโยงของสรรพสิ่งได้ไม่ยาก เมื่อนักบริหารสร้างคำ�ใหม่เพื่ออธิบายแนวคิดการบริหารด้วยการ ใช้คำ�ว่า chaos ซึ่งมีฐานมาจากฟิสิกส์ จึงย่อมกระตุ้นความอยากรู้อยาก เห็นได้มาก ยิ่งเมื่อนักบริหารท่านนั้นอ้างว่า แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้นจาก 8
O ne From Many
ประสบการณ์ตรงทีไ่ ด้ไปร่วมสร้างบริษทั ทีม่ ชี อื่ เสียงระดับโลกอย่างวีซา่ ซึง่ ทุกคนที่มีบัตรเครดิตคงไม่มีใครไม่เคยได้ยินชื่อ ที่ น่ า สนใจกว่ า นั้ น แนวคิ ด ที่ นั ก บริ ห ารท่ า นนั้ น ตั้ ง ชื่ อ ว่ า Chaordic Management (ยั ง ไม่ มี คำ � แปลเป็ น ภาษาไทยที่ ส ละสลวย กระชับพอจนทุกวันนี้) น่าจะนำ�ไปใช้ได้ทั้งกับการบริหารธุรกิจ และการ บริหารงานสาธารณประโยชน์ แถมลงทุนตั้งกลไกที่เรียกว่า Chaordic Commons เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การบริหาร งานสาธารณประโยชน์ที่สอดคล้องกับแนวคิดที่ผสมผสานเรื่องความไร้ ระเบียบกับความเป็นระเบียบเข้าด้วยกันนี้ เชื่อว่าคนที่ทำ�งานหรือสนใจ เรื่องการบริหารจัดการน่าจะมีน้อยคนที่ไม่อยากรู้จักแนวคิดนี้ เมื่อมีโอกาสได้ศึกษาแนวคิดและรับรู้ตัวอย่างรูปธรรม โดยเฉพาะ ผ่านการอ่านหนังสือที่ ดี ฮ็อค ผู้บริหารคนแรกของบริษัทวีซ่า (VISA International) เขียนขึ้นมาเองจากประสบการณ์และการสรุปบทเรียนหลัง ออกจากบริษัทไปพักใหญ่ หลายคนน่าจะเกิดคำ�ถาม พร้อมคำ�ตอบ จน ปรับเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการบริหารจัดการอย่างมากมาย ตัว ดี ฮ็อค เองบอกว่า ข้อสรุปหลักๆ ว่าด้วยแนวคิดเคออร์ดิก (chaordic) มีจุดเริ่มต้นมาจาก 3 คำ�ถามที่เขาเฝ้าถามตัวเองเป็นเวลากว่า 10 ปี ตั้งแต่มีโอกาสทำ�งานและรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า ‘องค์กร’ และ ‘การ จัดการ’ ทำ�ไมสถาบันต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการเมือง ธุรกิจ รวมทั้ง สถาบันด้านสังคม จึงดูจะมีปัญญาในการบริหารจัดการกิจการในความ รับผิดชอบน้อยลงไปเรื่อยๆ ทำ�ไมผู้คนในสถาบันต่างๆ ดูจะมีความขัดแย้ง หรือไม่พอใจต่อ สถาบันที่ตนเองสังกัดอยู่ มากขึ้นเรื่อยๆ ทำ�ไมสังคมรวมทั้งระบบนิเวศทั้งมวลจึงดูยุ่งเหยิงมากขึ้น เขาได้ รั บ คำ � ตอบเบื้ อ งต้ น จนกลั่ น มาเป็ น แนวคิ ด ที่ เ รี ย กว่ า Chaordic Management เมื่อได้มีโอกาสประสานธนาคารสารพัด เริ่มจาก D ee H o ck
9
ในสหรัฐอเมริกาเอง แล้วต่อไปถึงระดับนานาชาติ จนเกิดบริษัท VISA International ขึ้น แต่กว่าที่ ดี ฮ็อค จะได้เขียนหนังสือและทำ�งานเผยแพร่แนวคิด สู่วงการอื่นๆ อย่างจริงจัง ซึ่งน่าจะยากกว่าตอนทำ�งานที่วีซ่าเสียด้วยซํ้า ตัวเขาก็มีอายุปาเข้าไป 70 ปีแล้ว แม้จะอยากมีชีวิตอยู่อย่างสันโดษตาม พื้นฐานดั้งเดิมและความชอบส่วนตัว เขาก็ยินดีที่จะเรียนรู้ร่วมกับคนอื่นๆ ที่เห็นว่า บทสรุปของเขามีความถูกต้องและน่าสนใจ ทั้งหมดนี้คือด้านแรกของความน่าสนใจของหนังสือ ‘จากหลาก หลายกลายเป็นหนึง่ ’ (One From Many) เล่มนี้ จะเรียกว่าเป็นด้านวิชาการ หรือด้านเทคนิคเกี่ยวกับแนวคิดเคออร์ดิกก็ว่าได้ ที่น่าสนใจและคาดไม่ถึงคือ การได้รู้จักวิธีคิดของดี ฮ็อค ซึ่งโดย ทั่วไป น่าจะเป็นนักธุรกิจที่สนใจแต่เรื่องการทำ�กำ�ไรสูงสุด และน่าจะพูด ถึงทฤษฎีหรือแนวคิดการบริหารที่มุ่งประโยชน์ และประสิทธิภาพสูงสุดแก่ ธุรกิจ แต่กลับพบว่า ดี ฮ็อค มีความเป็นนักคิดนักปรัชญาอย่างสูง มอง โลกและสังคมอย่างลึกซึ้ง ซึ่งเขาก็ไม่ได้ปิดบังความเป็นคนช่างฝัน ขี้สงสัย รวมทั้งความคิด เชิงนามธรรม ที่อาจฟังดูฟุ้งๆ อยู่บ้าง เขาแนะนำ�ไว้ในคำ�นำ�ของหนังสือ ฉบับแรกว่า สำ�หรับคนที่ไม่สนใจความคิดเชิงนามธรรมมากนัก ก็อาจ อ่านข้ามส่วนที่มีสัญลักษณ์รูปลิงไปได้ (เขาเรียกความคิดของตัวเองว่า ‘เจ้าลิงเฒ่า’ ไม่รวู้ า่ ไปเอามาจาก ‘ไซอิว๋ ’ ซึง่ ใช้ ‘เห้งเจีย’ เป็นสัญลักษณ์แทน ความคิดทีแ่ สนปราดเปรียว เอาไม่คอ่ ยอยูห่ รือไม่ หรือเป็นความบังเอิญของ คนช่างสังเกตสองคน) ในฐานะคนช่างคิดและขี้สงสัย เขาเชื่อว่า บรรดาความผิดพลาด ทั้งหลายของการบริหารองค์กรเกิดจากวิธีมองความสามารถและคุณค่า ของผู้คน รวมทั้งเทคนิควิธีการสารพัด ที่ศาสตร์ว่าด้วยการบริหารองค์กร พยายามนำ�มาใช้กับการบริหารคนทำ�งาน 10
One From Many
การบริหารคนที่ถูกต้องคือ การสร้างสิ่งแวดล้อมและกติกา เพื่อ ให้แต่ละคนเกิดความอยากในการทำ�งานไปสู่เป้าหมาย และสามารถปลด ปล่อยศักยภาพของตนออกมาได้อย่างเต็มที่ ว่าไปแล้ว ก็อาจจะไม่ต่างจากข้อสรุปของการบริหารแนวใหม่ ที่ มุ่งเน้นเรื่องการสร้างคนทำ�งานที่รักเรียนรู้ตลอดเวลา หรือองค์กรแห่งการ เรียนรู้ แต่ที่น่าสนใจคือ ดี ฮ็อค เน้นถึงการให้เกียรติและมองเห็นคุณค่า ของคนทำ�งาน มากไปกว่านัน้ เขายังตัง้ คำ�ถามต่อการทีอ่ งค์กรต่างๆ มองอีกฝ่าย เป็นศัตรู และมุง่ แข่งขันกันอย่างเอาเป็นเอาตาย ทัง้ ทีม่ เี ป้าหมายร่วมกัน แต่ ไม่เคยปรับวิธีคิดและมองหาเป้าหมายใหญ่ร่วมกัน แทนที่จะเกิดพลังเสริมกลับกลายเป็นพลังทำ�ลายล้าง สิ่งดีๆ ที่ควรจะเกิด ก็ไม่เกิด หากธนาคารในสหรัฐอเมริกาไม่สามารถหาเป้าหมายร่วมกัน ในธุ ร กิ จ บั ต รเครดิ ต และพร้ อ มใจกั น จั ด ตั้ ง เป็ น บริ ษั ท บั ต รเครดิ ต แห่ ง สหรัฐอเมริกา หรือหากธนาคารในญี่ปุ่น แคนาดา ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ไม่สามารถตกลงร่วมกันจนเกิดเป็นบริษัท VISA International ธุรกิจบัตร เครดิตในวันนี้อาจเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ดี ฮ็อค เล่าเรื่องวีซ่าเพื่อให้เห็นตัวอย่างรูปธรรมของความยาก ลำ�บาก จนนำ�มาสู่ข้อสรุปว่าด้วยการจัดการความหลากหลายแตกต่างให้ ลงตัว โดยไม่ได้สรุปว่า การก่อเกิดของบริษัทวีซ่าเป็นหลักหมายสำ�คัญที่ ทำ�ความเจริญรุ่งเรืองให้กับสังคมโลกโดยรวม สิ่งที่เขาอยากเห็นคือการนำ�แนวคิดนี้ไปสู่การจัดการทางสังคม มากกว่าพัฒนาการทางธุรกิจ แม้เขาจะไม่ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจน แต่ ก็อาจเป็นได้ว่าได้รับอิทธิพลจากสถาบันซานตาเฟ่ (Santa Fe Institute) ที่มาหนุนให้ ดี ฮ็อค ออกเดินสาย หาแนวร่วม และเผยแพร่แนวคิดอย่าง จริงจัง เมื่อค้นพบว่าเขาสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์การบริหารจัดการ D ee H o ck
11
เข้ากับทฤษฎีว่าด้วยความซับซ้อน อันเป็นประเด็นหลักของสถาบัน ซึ่ง พยายามเรียนรูจ้ ากปรากฏการณ์ทางวิทยาศาสตร์กายภาพอย่างเชือ่ มโยง กับพัฒนาการทางสังคม สำ�หรับพวกเราทีม่ ลู นิธสิ าธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) ได้รจู้ กั แนวคิด เรื่อง Chaordic Management ผ่านการแนะนำ�ของประธานมูลนิธิ คือ อาจารย์ประเวศ วะสี เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว อาจารย์วิจารณ์ พานิช ในฐานะ กรรมการมูลนิธิ ซึ่งขณะนั้นทำ�งานเป็นผู้อำ�นวยการสำ�นักงานกองทุน สนับสนุนการวิจยั (สกว.) มีความสนใจและได้เข้าร่วม workshop ของ Chaordic Commons องค์กรทีต่ งั้ ขึน้ เพือ่ ส่งเสริมแนวคิดนี ้ (http://www.chaordic.org/ index.html) และเมื่ อ กลั บ มาก็ ไ ด้ เ ขี ย นหนั ง สื อ พู ด ถึ ง แนวคิ ด ดั ง กล่ า ว เทียบเคียงกับประสบการณ์การทำ�งานในประเทศไทย กล่าวเฉพาะเรื่องการจัดการทุนวิจัย หากต้องการสร้างประโยชน์ และผลกระทบในระยะยาว มากกว่าการให้ทุนแบบสุดโต่งสองปลาย คือ การให้ทุนตามข้อเสนอของนักวิจัย ปลายหนึ่ง กับ การกำ�หนดหัวข้อให้ นักวิจยั ต้องทำ�เฉพาะในขอบเขตทีก่ �ำ หนดเท่านัน้ อีกปลายหนึง่ การเข้าใจ และประยุกต์ใช้แนวคิดเคออร์ดิกจะทำ�ให้เห็นโอกาสใหม่ๆ ของการใช้พลัง ปัญญา (ของนักวิจัยและของผู้ใช้ประโยชน์จากงานวิจัย) กับพลังของทุน สนับสนุนการวิจัย (ที่อยู่ในมือของแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย) ได้ดีกว่า เดิมมาก จากประสบการณ์ของมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ในฐานะองค์กร ที่ตั้งเป้าเป็นกลไกส่งเสริมให้เกิดการใช้ความรู้เพื่อการพัฒนานโยบายและ ระบบสุขภาพ แต่ไม่มีทั้งอำ�นาจสั่งการและเงินทองมากมาย การทำ�งานมี ลักษณะใกล้เคียงกับแนวคิดเรื่องเคออร์ดิกที่ ดี ฮ็อค สรุปขึ้นมามาก หลัก 4 P ที่บอกว่า ต้องเริ่มด้วยการหาเป้าหมายร่วม (Purposes) ให้ได้ แล้วร่วมกันกำ�หนด หลักการ (Principles) ในการทำ�งานร่วมกัน โดย เน้นการสร้างการมีส่วนร่วม (Participation) ของทุกภาคส่วน แล้วจึงไปถึง ขั้นการลงมือปฏิบัติ (Practices) ไม่ว่าจะเป็นการวางแผนการทำ�งานหรือ 12
One From Many
การออกแบบโครงสร้างองค์กร เป็นหลักการที่นำ�มาใช้ประกอบการทำ�งาน ได้เสมอ ไม่ว่าจะในแง่การขยับไปข้างหน้า หรือการมองย้อนไปข้างหลัง บ่อยครั้งที่การจัดองค์กรหรือกลไกการทำ�งานที่ต้องการการมี ส่วนร่วม ไม่ได้มาจากการกำ�หนดเป้าหมายหรือหลักการสำ�คัญๆ ร่วมกัน จนกลายเป็นกลไกที่ไม่เกื้อหนุน หรืออาจถึงขั้นขัดกับการทำ�งานอย่างมี ประสิทธิภาพ แม้จะพยายามสร้างการมีส่วนร่วมอย่างมากมายก็ตามที การสร้างการมีส่วนร่วมโดยไม่ประเมินว่าอะไรคือเป้าหมายร่วม กันอาจนำ�มาสู่การเสียเวลา เสียทรัพยากร และที่แย่ที่สุด ก่อให้เกิดความ ขัดแย้งและเข้าใจผิด แทนที่จะปรึกษาหารือไปสู่เป้าหมายร่วม กลับกลาย เป็นการถ่างช่องว่างของวิธีคิดและมุมมอง ทั้งที่มีเป้าหมายร่วมกันแต่ไม่ ได้มองเห็นความสำ�คัญของการสร้างเป้าหมายร่วม ถ้าเชื่อว่าสังคมไทยพัฒนาไปสู่ความซับซ้อนมากขึ้น ไม่ใช่เพียง เพราะจำ�นวนประชากรที่เพิ่มขึ้น แต่การรับรู้ ความคาดหวัง และการจัดตั้ง จัดการ รวมทั้งความพยายามที่จะทำ�ให้อีกฝ่ายหนึ่งทำ�ตามความต้องการ หรือวัตถุประสงค์ของแต่ละฝ่าย (ในมุมของเคออร์ดิก วัตถุประสงค์กับ เป้าหมายไม่ใช่สิ่งเดียวกัน) และโอกาสที่จะมีปฏิสัมพันธ์ก็เพิ่มขึ้นไปตาม ธรรมชาติของสังคม ที่ข้อมูลกระจายไปได้ง่ายขึ้น ผู้คนเดินทางได้ง่ายขึ้น และการสื่อสารโทรคมนาคมก็ง่ายมากขึ้น การมองโลกและการสร้างพลัง ร่วมของสังคมโดยไม่เข้าใจแนวคิด Chaordic Management ก็อาจเป็น การพลาดโอกาสสำ�คัญที่จะปรับความคิด ปรับวิธีการทำ�งาน รวมทั้ง ปรับโลกทัศน์ เพื่อให้สามารถดำ�รงชีวิต และสร้างสรรค์งานได้อย่างมี ประสิทธิภาพและมีความสุขมากขึ้น สำ�หรับผู้บริหารหรือผู้มีหน้าที่ตัดสินใจสำ�คัญๆ ในสถาบันทาง การเมือง ธุรกิจ หรือสังคม หากสามารถมองเห็นความย้อนแย้งในการอยู่ ร่วมกันของความซับซ้อนวุน่ วายกับความพยายามทีจ่ ะจัดความสัมพันธ์ให้ เป็นระบบและระเบียบมากขึ้น และได้ลองปรับใช้แนวทางหรือวิธีการต่างๆ ที่ได้รวบรวมไว้ในหนังสือเล่มนี้ บางที ความสัมพันธ์ของผู้คนในสังคม D ee H o ck
13
อาจปรับตัวไปสู่การทำ�งานร่วมกันในเชิงบวกได้มากขึ้น การอยู่ร่วมกับ สิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรอาจเกิดสมดุลมากขึ้น ขอขอบพระคุณภาคีตา่ งๆ ได้แก่ สำ�นักงานคณะกรรมการสุขภาพ แห่งชาติ (สช.) สำ�นักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สถาบัน วิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำ�นักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) และองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ซึ่งร่วมจัดพิมพ์หนังสือ เล่มนี้ ที่เห็นคุณค่าของแนวคิดเรื่อง Chaordic Management และมีกุศล เจตนาร่วมกันในการทำ�ให้คนไทยได้มโี อกาสรูจ้ กั เรียนรู้ และปรับใช้แนวคิด นี้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคมไทยมากขึ้น ขอบคุณสำ�นักพิมพ์ openworlds ที่ร่วมแบกรับความเสี่ยงในการ ทำ�ให้หนังสือเล่มนี้ปรากฏให้คนไทยได้ใช้ประโยชน์ ด้วยมองเห็นว่าการ ปล่อยให้ความรู้และความคิดดีๆ ถูกนำ�มาใช้เรียนรู้อย่างจำ�กัดเพราะ อุปสรรคด้านภาษา จะทำ�ให้เมืองไทยเสียโอกาสไปอีกนาน หวังว่ากุศลเจตนาและความพยายามของทุกฝ่ายในครัง้ นี้ จะทำ�ให้ ผูน้ �ำ และนักบริหาร รวมทัง้ นักพัฒนาในสังคมไทย เห็นประโยชน์ เห็นโอกาส มีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ในการสร้างสังคมไทยที่มีพลังสร้างสรรค์ เชิงบวก ภายใต้ความหลากหลายแตกต่างทางความคิดในทุกวงการ และ รอวันเก็บเกี่ยวประโยชน์จากการประยุกต์ใช้แนวคิด “สร้างพลังจากความ แตกต่าง” จนไปไกลกว่าที่ ดี ฮ็อค ได้เริ่มเปิดประตูไว้ผ่านหนังสือเล่มนี้
14
One From Many
นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ เลขาธิการมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ
สารบัญ คำ�นิยม 4 คำ�นำ� 8 สารบัญ 16 บทเกริ่นนำ� โดย ปีเตอร์ เอ็ม. เซงเก้ 20 บทนำ� 28 1. ลิงเฒ่าจอมซน 32 2. ลูกแกะกับสิงโตแห่งชีวิต 48 3. แกะโชกเลือด 68 4. ทำ�งานจนเกษียณ 84 5. สวนสัตว์ 104 6. สำ�นักบัตรเครดิต 124 7. ปอกหอม 142 8. จินตนาการที่เป็นไปไม่ได้ 158
9. ถัดจากคำ�สุดท้าย 176 10. บริษัทหรือไม้เท้า 198 11. และแล้วก็เหลือหนึ่งคน 212 12. คนธรรมดา 234 13. เหยื่อของความสำ�เร็จ 258 14. กระดุมข้อมือเสื้อทองคำ� 276 15. มีอะไรในชื่อ 298 16. ทุบทำ�ลายแม่พิมพ์ 322 17. ความล้มเหลวของธุรกิจที่ประสบความสำ�เร็จ 334 18. เฟืองหมุนเปลี่ยนชีวิต 346 19. นอกเหนือการควบคุมและเข้าสู่ระเบียบ 366 20. ปรากฏการณ์อุบัติขึ้น 384 กิตติกรรมประกาศ 401 ประวัติผู้เขียน 403 ประวัติผู้แปล 405
ONE FROM MANY VISA and the Rise of Chaordic Organization
by
Dee Hock
จากหลากหลาย กลายเป็นหนึ่ง แปลโดย
ศิริพงษ์ วิทยวิโรจน์
บทเกริ่นนำ� ปีเตอร์ เอ็ม. เซงเก้
ดูเหมือนในบรรดาผู้นำ�ธุรกิจที่รอบรู้ก็มีอยู่เพียงไม่กี่คนที่ทราบว่า วีซ่าเป็นองค์กรธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทั้งที่มียอดขายราว 10 เท่าของ วอล-มาร์ตและกล่าวโดยเคร่งครัดแล้วมีมูลค่าตลาดมากกว่า 2 เท่าของ เจนเนอรัล อิเล็กทริกส์ ผมมักสงสัยว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนัน้ ธุรกิจทีใ่ หญ่ทสี่ ดุ ในโลกยังสามารถเป็นหนึง่ ในธุรกิจทีเ่ ก็บงำ�ความลับได้ดที สี่ ดุ ในโลกไปด้วย ได้อย่างไร แน่นอนว่าไม่ใช่เพราะผลิตภัณฑ์ไม่เป็นที่รู้จัก หรือเพราะวีซ่า เป็นผู้นำ�อุตสาหกรรมที่คลุมเครือ วีซ่าเป็นหนึ่งในไม่กบี่ ริษัทที่สามารถอ้าง ได้ว่าคน 1 ใน 6 ของโลกเป็นลูกค้าในปีที่แล้ว กระนั้น ในห้วงทศวรรษที่ ผ่านมามีบทความทีต่ พี มิ พ์ลงในบิสสิเนส วีก, ฟอร์จนู และฟอร์บส์ เกีย่ วกับ ไมโครซอฟต์มากกว่า 1,000 ชิ้น จีอีมากกว่า 350 ชิ้น แต่วีซ่ามีแค่ 35 ชิ้น ผมมาได้ข้อสรุปว่าเหตุผลที่วีซ่าค่อนข้างปิดตัวเป็นเรื่องที่มีความ สำ�คัญไม่แพ้ความสำ�เร็จของมัน เกือบไม่มีบทความเกี่ยวกับซีอีโอของวีซ่า อินเตอร์เนชัน่ แนล ทัง้ ทีเ่ ป็นแนวเรือ่ งยอดนิยมของนิตยสารธุรกิจจำ�นวนมาก เพราะซีอีโอของวีซ่าไม่ได้รับค่าตอบแทนมากมายมหาศาลและไม่ได้เป็น ผู้กุมอำ�นาจการตัดสินใจไว้แต่เพียงผู้เดียวเหมือนซีอีโอส่วนใหญ่ อันเนื่อง 20
One From Many
มาจากการออกแบบองค์กร ไม่มบี ทความว่าด้วยยุทธศาสตร์ของวีซา่ เพราะ ทีจ่ ริงแล้วยุทธศาสตร์ของวีซา่ คือยุทธศาสตร์ทเี่ กิดจากหน่วยธุรกิจอิสระนับ พันๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายวีซ่า ซึ่งก็เกิดจากการออกแบบองค์กร เช่นกัน ไม่มีบทความเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างครั้งล่าสุดของมัน เพราะ องค์กรวีซ่าระดับท้องถิ่นและระดับภูมิภาคภายในเครือข่ายอยู่ในภาวะอัน ต่อเนื่องของวิวัฒนาการ ดังนั้นจึงไม่มีความจำ�เป็นต้องปรับรื้อโครงสร้าง ครัง้ ใหญ่ใดๆ ด้วยคำ�สัง่ ของฝ่ายบริหาร เหตุผลก็มาจากการออกแบบองค์กร อีกเช่นกัน กล่าวโดยสรุป หากคุณเป็นนักข่าวทีส่ นใจเรือ่ งเล่าล่าสุดเกีย่ วกับ วีรบุรุษทางธุรกิจหรือพวกสวนกระแสวีรบุรุษแล้วละก็ วีซ่าก็คือเมืองแถบ มิ ด เวสต์ อั น เซื่ อ งซึ ม ของอาชี พ คุ ณ แต่ ห ากคุ ณ สนใจนวั ต กรรมแบบ ถอนรากถอนโคนในการออกแบบกิจการทีล่ ดทอนการรวมศูนย์อ�ำ นาจ และ ให้ความสำ�คัญกับนวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ และการเติบโตทางธุรกิจ อย่างต่อเนื่อง คุณจะพบว่าวีซ่าเป็นหนึ่งในองค์กรที่สำ�คัญที่สุดในครึ่งหลัง ของศตวรรษที่ผ่านมา ผมเองก็เห็นเช่นนั้น ในด้านเทคโนโลยี นักประวัติศาสตร์แยกแยะความแตกต่างของ นวัตกรรมทีถ่ กู นำ�มาใช้อย่างต่อเนือ่ งเพือ่ เพิม่ พูนประสิทธิผลหรือลดต้นทุน ออกจากนวัตกรรมพื้นฐานอย่างเช่น หลอดไฟ เส้นใยโพลีเมอร์ และการ ประมวลผลแบบดิจิตัล ซึ่งก่อให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่และเปลี่ยนแปลงของ เก่าที่มีอยู่ นวัตกรรมพื้นฐานมักจะเป็นภัยคุกคามต่อสถานภาพเดิม เมื่อ มันเกิดขึ้นในองค์กรและในการบริหารจัดการ มันจะคุกคามความสัมพันธ์ เชิงอำ�นาจ มันคุกคามความเชื่อที่ฝังรากกันมา มันคุกคามวิธีทำ�สิ่งต่างๆ ไปตามความเคยชิน ซึ่งแม้เราจะไม่ชอบมันแต่ก็เป็นวิธีเดียวที่เรารู้จัก ผมได้ขอ้ สรุปว่า วีซา่ กำ�ลังเป็นภัยคุกคามอย่างลึกซึง้ เพราะมันเป็น ตัวแทนของนวัตกรรมพื้นฐานดังที่กล่าวมา และนั่นคือเหตุผลว่าทำ�ไมจึง เป็นไปไม่ได้เลยทีช่ ดุ ความคิดของธุรกิจกระแสหลักจะต่อกรด้วยได้ เป็นไป ได้อย่างไรที่บริษัทขนาดมโหฬารจะมีพนักงานอยู่เพียงราวๆ 20,000 คน โดยประมาณ 5,000 คนอยู่ในวีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล และอีกจำ�นวนพอๆ D ee H o ck
21
กันอยู่ในองค์กรวีซ่าระดับภูมิภาคหลายๆ แห่ง เป็นไปได้อย่างไรที่มันไม่มี ผู้ถือหุ้น และผู้ที่เป็นเจ้าของคือสมาชิกของมัน เป็นไปได้อย่างไรที่วีซ่าจัด องค์กรในลักษณะเครือข่ายโดยใช้อำ�นาจส่วนกลางน้อยมาก ใช้สิทธิ์ของ สมาชิกและความรับผิดชอบของผู้มีส่วนร่วมมากกว่าหุ้น และอยู่ภายใต้ การกำ�กับของธรรมนูญ ค่อนข้างเหมือนสังคมประชาธิปไตยมากเสียยิ่ง กว่าธุรกิจ ด้วยนวัตกรรมที่ไม่เหมือนใครนี้เอง วีซ่าจึงน่าจะเป็นหัวข้อเชิง วิชาการที่น่าสนใจสำ�หรับการศึกษา ทว่าสิ่งที่ทำ�ให้วีซ่า และแนวคิดใน ‘จากหลากหลายกลายเป็นหนึ่ง’ (One From Many) มีความสำ�คัญคือการ ที่มันไม่ได้ดำ�เนินไปเพียงลำ�พัง ความจริงแล้วมันอาจจะเป็นตัวอย่างทาง ธุรกิจทีด่ ที สี่ ดุ ของการปฏิวตั กิ ารจัดระเบียบองค์กรทีก่ �ำ ลังอุบตั ขิ นึ้ ใกล้เคียง กับองค์กรที่เต็มไปด้วยความหลากหลายอย่างอินเทอร์เน็ต เครือข่ายเลิก เหล้านิรนาม (AA-Alcoholics Anonymous) และระบบควบคุมการจราจร ทางอากาศทั่วโลก ไม่มีองค์กรไหนที่มีผู้ทำ�หน้าที่เป็นประธาน ไม่มีองค์กร ไหนมีเจ้าของทีแ่ ยกออกจากสมาชิก แต่ละองค์กรเป็นเครือข่ายของตัวแทน อิสระ ไม่มใี ครเข้าใจภาพรวมของเครือข่ายทัง้ หมด รวมทัง้ ไม่มคี วามจำ�เป็น ต้องเข้าใจ ทว่าแต่ละคนรู้กฎพื้นฐานในการมีส่วนร่วม แต่ละองค์กรก็เช่น เดียวกับวีซ่าที่มีตัวตนเป็นรูปเป็นร่างและมีปัญหาของมันเอง ทว่าแต่ละ องค์กรก็เติบโตไปอย่างรวดเร็ว และมีผลสะเทือนในวงกว้างต่อปัญหาซึ่ง ไม่มีทางแก้ไขได้ด้วยวิธีอื่น อะไรคือทีม่ าของคลืน่ แห่งนวัตกรรมอย่างถอนรากถอนโคนในการ จัดระเบียบองค์กรที่อุบัติขึ้น ผมเชื่อว่าเป็นเรื่องง่ายที่จะกล่าวด้วยความ เข้าใจผิดๆ ว่ามันเกิดจากคอมพิวเตอร์ หรือเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่องนี้ทำ�ให้เกิดความสับสนระหว่างตัวเทคโนโลยีกับสิ่งที่เทคโนโลยีสร้าง ขึน้ ตอนทีว่ ซี า่ เริม่ ต้น เครือข่ายการประมวลผลข้อมูลแบบขยายยังอยูใ่ นวัย ทารก เช่นเดียวกับระบบควบคุมการจราจรทางอากาศ และคอมพิวเตอร์ กับเทคโนโลยีสารสนเทศซึง่ มีบทบาทเพียงน้อยนิดใน AA ผมเชือ่ ว่าต้นตอ 22
One From Many
ทีล่ กึ ลงไปกว่านัน้ ของนวัตกรรมทอดอยูใ่ นธรรมชาติของความซับซ้อนทีเ่ รา กำ�ลังสร้างขึน้ ทัว่ โลกและปริมาณของปัญหาทีเ่ พิม่ พูนขึน้ จนเกินกว่าอำ�นาจ ควบคุมของสถาบันที่ดำ�รงอยู่ ไม่ มี รั ฐ ชาติ ห นึ่ ง ใดสามารถจั ด การกั บ การเปลี่ ย นแปลงสภาพ ภูมิอากาศของโลก ไม่มีธุรกิจหนึ่งใดสามารถสร้างผลสะเทือนต่อการ แพร่กระจายสารพิษในผลิตภัณฑ์ประจำ�วันของเราได้ แม้กระทั่งสังคม ที่ “ก้าวหน้า” ก็เผชิญกับวิกฤตการณ์ด้านสุขภาพที่ไม่มีทางออก ไม่มีใคร ที่ไหนในโลกนี้พึงพอใจว่าพวกเขามีระบบการศึกษาสาธารณะที่รับมือได้ กับความท้าทายในการที่เด็กๆ จะเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่บรรลุวุฒิภาวะและ เป็นพลเมืองทีร่ บั ผิดชอบในศตวรรษที่ 21 การพัฒนาอุตสาหกรรมระดับโลก หว่านเมล็ดพันธุ์เพื่อวาระสุดท้ายของพวกมันเอง ด้วยการเพิ่มระดับของ ความซับซ้อนและอัตราการเปลี่ยนแปลงซึ่งเกินกว่าสติปัญญาของสถาบัน ยุคอุตสาหกรรมที่มันสืบทอดมาจะรับมือไหว เพราะฉะนั้นในทุกแนวรบ เรากำ�ลังเผชิญกับปัญหาซึ่งองค์กรแบบเผด็จอำ�นาจและมีการจัดลำ�ดับชั้น ไม่สามารถรับมือได้ ดี ฮ็อค กล่าวว่า “เราอยู่ในยุคของความล้มเหลวเชิง สถาบันขนานใหญ่” แต่สถาบันใหม่ต้องการความคิดใหม่ และตรงนี้เองที่เรื่องราวของ ดี ฮ็อค ซึง่ จะคลีค่ ลายออกมาในหน้าต่อๆ ไป มีความสำ�คัญสูงสุด ท่ามกลาง ความโกลาหลของการล่มสลายทางการเงินและความผิดพลาดอย่างขนาน ใหญ่ในยุคแรกๆ ของอุตสาหกรรมบัตรเครดิต ดีเกิดความตระหนักรู้ เขา เห็นอย่างแจ่มชัดว่ามันอยู่ “นอกเหนืออำ�นาจแห่งเหตุผลในการออกแบบ องค์ ก ร” เพื่ อให้มีค วามสามารถในการประสานเครือข่ายธุรกรรมทาง การเงินระดับโลกของสิ่งแรกพัฒนา แต่เขาก็รู้ด้วยว่าธรรมชาติมักจะ ทำ�ได้ เขาสงสัยว่าทำ�ไมองค์กรของมนุษย์ถึงไม่สามารถทำ�งานได้แบบ ป่าฝน ทำ�ไมมันจึงไม่สามารถกำ�หนดแบบแผนได้ตามแนวคิดและวิธีการ เชิงชีววิทยา “จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราเถียงกันเรื่องโครงสร้างของสถาบันใหม่ แล้วพยายามคิดถึงมันในทำ�นองของอะไรบางอย่างแบบรหัสพันธุกรรม” D ee H o ck
23
ในที่สุดแล้ว รหัสพันธุกรรมของวีซ่าก็กลายเป็น “เป้าหมายและหลักการ” และเป็นกระบวนการธรรมาภิบาลหลักของมัน รายละเอียดของเรื่องนี้จะ ปรากฏในหน้าต่อๆ ไป ทว่าสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นเลยหากปราศจากการเปลี่ยนแปลงขั้น พืน้ ฐานในการคิดเพือ่ ยกเลิก “แนวคิดดัง้ เดิมและแบบจำ�ลองทีอ่ ธิบายความ เป็นจริงในโลกอย่างเป็นกลไก” และหันมาใช้หลักการของระบบทีม่ ชี วี ติ เป็น พื้นฐานสำ�หรับการจัดระเบียบองค์กรแทน เกรกอรี เบตสัน นักมานุษยวิทยา กล่าวว่า “รากเหง้าของปัญหา ทั้งปวงในทุกวันนี้มาจากช่องว่างระหว่างวิธีที่เราคิดกับวิธีที่ธรรมชาติ ทำ�งาน”1 เราเผชิญกับปัญหาที่ไม่มีทางออกมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะดีเอ็นเอ ของสถาบันที่ครอบงำ�เรานั้นอยู่บนพื้นฐานของการคิดในยุคเครื่องจักรกล เช่น “ทุกระบบต้องมีใครสักคนเป็นผูค้ วบคุม” และการเปลีย่ นแปลงจะเกิดขึน้ ก็ต่อเมื่อผู้นำ�ที่ทรงอำ�นาจ “ขับเคลื่อน” การเปลี่ยนแปลงเท่านั้น ทว่าเรา ต่างก็รวู้ า่ ในระบบทีม่ ชี วี ติ ชีวานัน้ การควบคุมจะถูกกระจายออกไปและการ เปลีย่ นแปลงก็เกิดขึน้ อย่างต่อเนือ่ ง แต่ถงึ อย่างนัน้ เราก็ยงั หมกมุน่ อยูก่ บั ชุด ความคิดที่ “ต้องมีใครสักคนทำ�หน้าทีค่ วบคุม” ซึง่ เราไม่สามารถจินตนาการ ทางเลือกจริงๆ ขึ้นมาได้ ความเป็นอัจฉริยะของดี ฮ็อคอยู่ที่ความสามารถ ในการจินตนาการมันออกมา และจากนั้นก็สร้างปรัชญาและออกแบบ ปฏิบัติการอันแจ่มชัดที่ทำ�ให้มันมีชีวิตขึ้นได้ วีซา่ ไม่ใช่ตวั อย่างทีด่ เี ลิศ และดี ฮ็อคก็ไม่ได้มที กุ คำ�ตอบสำ�หรับการ สร้างสรรค์สถาบันแห่งนวัตกรรมของศตวรรษที่ 21 “อย่างมากเราก็เข้าใจมัน ถูกต้องแค่ครึง่ เดียว” เขากล่าว ยุคอุตสาหกรรมเผยตัวออกมาเป็นเวลากว่า 250 ปีแล้ว และการคิดเชิงกลไกทีเ่ ป็นรากฐานของมันในวัฒนธรรมตะวันตก ยิง่ ย้อนหลังไปไกลกว่านัน้ อีก เรากำ�ลังเริม่ ต้นการเดินทาง และต่อให้โชคดี แค่ไหนก็ยังต้องใช้เวลาอีกหลายชั่วคนกว่าจะไปถึงจุดหมาย นอกจากนั้น แต่ละบริษทั หรือองค์กรยังต้องออกเดินทางด้วยตัวเอง โดยคำ�นึงถึงลักษณะ เฉพาะของตลาด เทคโนโลยี ผู้คน และประวัติศาสตร์ 24
One From Many
ด้วยความตระหนักรู้เช่นนี้เองที่ทำ�ให้ผมเชื่อว่าเรื่องส่วนตัวของ ดี ฮ็อค มีประโยชน์มาก มันคือภาพวาดอันเปี่ยมพลังซึ่งพวกเราผู้หาทาง บ่มเพาะนวัตกรรมเช่นนัน้ ต้องพร้อมจะเผชิญ เราจำ�เป็นต้องมีความมุง่ มัน่ ที่จะตั้งคำ�ถามกับวิถีอันเคยชินขององค์กรและการบริหารจัดการที่ดำ�เนิน อยู่ เราจำ�เป็นต้องมุ่งมั่นที่จะใช้สิ่งซึ่งดูเหมือนเป็นความโกลาหลอลหม่าน ขององค์กรที่ไม่มีใคร “สั่งงาน” และเป็นองค์กรที่เราต่างก็รับผิดชอบร่วม กัน เราจำ�เป็นต้องใช้กระบวนการเรียนรู้ของธรรมชาติ นั่นคือการลงมือทำ� และการแก้ไขความผิดพลาดอย่างไม่ขาดสาย และเราจำ�เป็นต้องมุง่ มัน่ ทีจ่ ะ สลัดทิ้งความต้องการส่วนตัวที่อยากควบคุมจัดการ กล่าวคือสลัดทิ้ง “การ คิดเชิงกลไกสุดโต่งแบบนิวตัน” ซึ่งดี ฮ็อคกล่าวว่ามันแฝงฝังอยู่ในตัวเรา ทุกคน สุดท้ายนี้ ผมเชื่อว่าหนังสือเล่มนี้มีความสำ�คัญเพราะมีคำ�ถาม อันสำ�คัญอย่างยิ่งยวดต่ออนาคตของพวกเราที่ยังไม่มีใครถาม ครั้งแล้ว ครั้งเล่าที่พรรคพวกของผมถามกันเองว่า “เราอาจจะอยู่ในช่วงเริ่มต้นของ ยุคประชาธิปไตยก็ได้มั้ง”2 บางที สิ่งที่เราประสบความสำ�เร็จมาใน 200 ปี ก่อนเป็นได้อย่างมากก็แค่ต้นแบบขั้นแรกมากกว่าจะเป็นแบบจำ�ลองขั้น สุดท้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแม้คำ�ขวัญทางการเมืองจะเป็นตรงกันข้าม ประเทศหนึ่งๆ จะอ้างว่ามี คำ�ตอบ สำ�หรับการสร้างประชาธิปไตยในสังคม อื่นๆ ได้อย่างไรในเมื่อสถาบันส่วนใหญ่ทั้งภาคเอกชนและภาครัฐยังคง ทำ�งานด้วยระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จ ผมคิดว่ามันก็ยตุ ธิ รรมดีทจี่ ะถือว่าวีซา่ เป็นผูบ้ กุ เบิกทีแ่ สดงให้เห็นว่าหลักการประชาธิปไตยสามารถใช้กบั ธุรกิจได้ อย่างไร แต่ก็เป็นเรื่องยากหนักหนาเช่นกันที่จะไปทำ�ให้เกิดประชาธิปไตย ในสถาบันอื่นๆ ได้ เช่น โรงเรียน เป็นต้น ดังที่ เด็บบี้ ไมเออร์ นักนวัตกรรม การศึกษาในเขตเมืองที่ได้รับความยอมรับนับถือกล่าวไว้ “ถ้าเด็กๆ ไม่ได้ เรียนรู้ประชาธิปไตยในโรงเรียน แล้วพวกเขาจะไปเรียนมันจากที่ไหน” ประชาธิปไตยสำ�หรับเด็บบี้ ไมเออร์ ก็เหมือนกับของดี ฮ็อค มัน หมายถึงการเรียนรูท้ จี่ ะยืนหยัดอย่างกล้าหาญและน้อมรับฟังคนอืน่ ๆ อย่าง D ee H o ck
25
แท้จริง เรียนรูท้ จี่ ะจัดการกับความขัดแย้งอย่างยอมรับนับถือและปราศจาก ความรุนแรง มันหมายถึงการเรียนรู้วิธีที่จะยอมรับอำ�นาจของความคิด มากกว่าตัวบุคคล และยอมรับการกระจายอำ�นาจจนถึงระดับที่ผู้บริหาร ระดับสูงหรือส่วนกลางไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกินกว่าที่จำ�เป็น มันหมายถึง การเรียนรูว้ ธิ ที จี่ ะสลัดหลุดจากกับดักของอำ�นาจและตำ�แหน่งตามลำ�ดับชัน้ รวมถึงสไตล์การนำ�ที่เกี่ยวเนื่องกัน กล่าวโดยสรุปได้ว่าประชาธิปไตยคือ กระบวนการรวมหมูข่ องการเรียนรูว้ ธิ ที จี่ ะใช้ชวี ติ ร่วมกับคนอืน่ ๆ ทีด่ �ำ เนิน ไป มันเป็นมากกว่าแค่ชุดคุณค่าของความรู้สึกดีๆ หรือแค่กลไกอย่างเช่น การออกเสียงและการเลือกตั้ง มันเป็นสิ่งที่คุณทำ� ไม่ใช่สิ่งที่คุณรับสืบทอด มา และกระบวนการเรียนรูน้ จี้ ะแพร่กระจายไปสูส่ ถาบันหลักๆ ของสังคมได้ ก็ต่อเมื่อสังคมประชาธิปไตยบรรลุวุฒิภาวะแล้วเท่านั้น นี่ไม่ใช่คำ�ถามใหม่ ในบางแง่ สารัตถะในวิสัยทัศน์ของดี ฮ็อค ที่ว่า ยุคประชาธิปไตยอาจจะยังอยู่ในอนาคตของเราและแรงมุ่งมาดปรารถนา ของมันจะมาจากระบบที่มีชีวิตนั้น อาจถูกสื่อออกมาได้อย่างงดงามโดย วอลต์ วิตแมน เมื่อกว่าหนึ่งศตวรรษที่ผ่านมา เรามั ก จะพิ ม พ์ คำ � ว่ า ประชาธิ ป ไตย แต่ ผ มก็ ไ ม่ ส ามารถจะไปยํ้ า บ่อยๆ ว่ามันคือคำ�ซึ่งแก่นแท้ของมันยังหลับใหลไม่ตื่น ... มันเป็น คำ�ที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งผมคิดว่าประวัติศาสตร์ของมันยังไม่ได้เขียนขึ้น เพราะประวัติศาสตร์ที่ว่านั้นยังไม่เกิด ในบางแง่มันก็คือน้องชาย ของคำ�ว่าธรรมชาติ เป็นอีกคำ�ที่ยิ่งใหญ่กว่าและมักใช้กันบ่อยๆ ซึ่ง ประวัติศาสตร์ของมันก็ยังรอให้เขียนอยู่เช่นกัน3
ปีเตอร์ เอ็ม. เซงเก้ สิงหาคม 2005
26
One From Many
G. Bateson, Steps to an Ecology of Mind, NewYork: Ballantine, 1972. P. Senge, C.O. Scharmer, J. Jaworski, and B. Flowers, Presence: An Exploration of Profound Change, NewYork: Doubleday/Currency Business Books, 2005. 3 Walt Whitman, Democratic Vistas, 1871. 1 2
D ee H o ck
27
บทนำ�
วันนี้ ต่อหน้าผู้ชมไม่ว่าที่ไหนในโลก ผมสามารถชูบัตรวีซ่าขึ้นเหนือ หัวแล้วถามว่า “มีพวกคุณกี่คนรู้จักไอ้นี่บ้าง” ทุกมือในห้องจะยกกันพรึ่บ แต่เมือ่ ผมถามว่า “มีพวกคุณสักกีค่ นบอกผมได้วา่ ใครเป็นเจ้าของมัน มันถูก ควบคุมดูแลอย่างไร หรือจะไปซือ้ หุน้ ของมันได้ทไี่ หน” กลับเงียบกริบกันไป ทัง้ ห้อง มีบางสิง่ บางอย่างอันเหลือเชือ่ เกิดขึน้ แต่วา่ มันคืออะไรและอย่างไร ในปี 1969 วีซ่าไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่าชุดของความเชื่อนอก ตำ�ราเกี่ยวกับองค์กรที่ค่อยๆ เติบโตขึ้นอย่างช้าๆ ในความคิดของขบถ หนุ่มนักธุรกิจ เมื่อถึงปี 2004 ผลิตภัณฑ์ของมันถูกสร้างขึ้นโดยสถาบัน การเงินที่เป็นเจ้าของหรือสมาชิก 21,000 สถาบัน และมีคนใช้มากกว่า 1,000 ล้านคนในการซื้อสินค้าและบริการมูลค่า 3.2 ล้านล้านเหรียญ จาก ผู้ค้า 20 ล้านทำ�เลในพื้นที่กว่า 150 ประเทศ เป็นกลุ่มก้อนอำ�นาจซื้อของ ผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในเศรษฐกิจโลก เป็นเวลา 35 ปีมาแล้วที่มันเติบโต ระหว่างร้อยละ 15-20 ต่อปี โดยยังไม่ส่อให้เห็นจุดสิ้นสุด ทว่าหนังสือเล่มนี้เป็นมากกว่าเรื่องราวอันเหลือเชื่อหาได้ยากอัน นำ�มาซึ่งการก่อกำ�เนิดเป็นวีซ่าและนำ�ไปสู่ความสำ�เร็จอันโดดเด่นของมัน หนังสือเล่มนีย้ งั เป็นเรือ่ งราวของเด็กจากเมืองเล็กทีเ่ ก็บเนือ้ เก็บตัว หลงใหล การอ่าน ความฝัน และการเดินป่า 28
One From Many
น้องคนเล็กสุดจาก 6 พีน่ อ้ งทีพ่ อ่ แม่มกี ารศึกษาแค่เกรด 8 มันเป็น เรื่องของการทะลุทะลวงข้อจำ�กัดและความน่าเบื่อไม่มีที่สิ้นสุดในโรงเรียน ควบคู่ไปกับการตื่นรู้อันแหลมคนที่เพิ่มพูนจนสำ�นึกได้ถึงช่องว่างระหว่าง หน้าที่ซึ่งสถาบันต่างๆ ปฏิญาณไว้ว่าจะทำ�กับสิ่งที่พวกมันทำ�จริงๆ และ ระหว่างสิ่งที่กล่าวอ้างว่าจะทำ�เพื่อประชาชนกับสิ่งที่ทำ�ให้จริงๆ มันเป็น เรื่องของคำ�ถามที่น่าสนใจ 3 คำ�ถามที่อุบัติขึ้นจากการตื่นรู้ ทำ�ไมสถาบันทุกหนทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นสถาบันทางการเมือง การค้า หรือสังคม ไม่สามารถจัดการกับกิจการของพวกมันเอง ได้ ทำ�ไมปัจเจกบุคคลทุกหนทุกแห่งจึงขัดแย้งและแปลกแยกมาก ขึ้นเรื่อยๆ จากสถาบันที่พวกเขาสังกัด ทำ�ไมสังคมและสภาวะแวดล้อมจึงสับสนอลหม่านยิ่งขึ้นทุกที มันเป็นเรื่องของการค้นหาไปชั่วชีวิตเพื่อให้ได้คำ�ตอบต่อคำ�ถาม เหล่านั้น คำ�ถามซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อกำ�เนิดวีซ่า เป็นเรื่องของการ ให้ที่พำ�นักพักพิงแก่สัตว์ร้าย 4 ตัวซึ่งในที่สุดจะผลาญทำ�ลายผู้เลี้ยงดูมัน อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นั่นคือ อัตตา ความอิจฉาริษยา ความโลภ และความ มักใหญ่ใฝ่สงู และเป็นเรือ่ งของการต่อรองอันยิง่ ใหญ่ กล่าวคือการแลกอัตตา กับความเป็นมนุษย์ ความอิจฉาริษยากับความสงบรำ�งับ ความโลภกับเวลา และความทะเยอทะยานกับอิสรภาพ มันเป็นเรื่องของเหตุการณ์อันไม่อาจ คาดการณ์ล่วงหน้าได้ที่ส่งให้ชายวัย 70 ออกเดินทางซึ่งยากจะเกิดขึ้นได้ และมีความความสำ�คัญเกินกว่าจะประมาณได้ เหนือสิ่งอื่นใด มันเป็นเรื่องของอนาคต เรื่องของอะไรบางอย่างที่ พยายามจะเกิดขึ้น เรื่องของยุคเก่า 400 ปีที่สั่นเทิ้มอยู่บนเตียงใกล้สิ้นลม ในขณะที่อีกยุคกำ�ลังดิ้นรนจะก่อกำ�เนิด มันไม่ใช่แค่เรื่องของผม แม้ผมจะ อยู่ในนั้น มันไม่ใช่แค่เรื่องของคุณ แม้คุณจะอยู่ในนั้น มันเป็นเรื่องของเรา ทั้งหมด D ee H o ck
29
การสับสนกับสิง่ ทีแ่ ตกต่างคือการสับสนกับทุกสิง่ ทุกอย่าง ดังนัน้ จึงมิใช่อุบัติเหตุที่รูปแบบความคิดอันกระจัดกระจายของเราจะ นำ�ไปสูก่ ารแพร่กระจายอย่างกว้างขวางของวิกฤตการณ์ ทัง้ ทาง สังคม การเมือง เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและจิตวิทยา ทั้งสำ�หรับ ปัจเจกบุคคลและในสังคมทั้งหมด ... เพื่อสร้างมุมมองใหม่ต่อ ความกระจัดกระจายและภาพโดยองค์รวม เราจำ�เป็นต้องอาศัย การทำ�งานเชิงสร้างสรรค์ซึ่งยากเสียยิ่งกว่าการค้นพบใหม่ๆ ในขั้นพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์หรืองานศิลปะอันยิ่งใหญ่ ทันใดนั้น ในวาบความเข้าใจที่เกิดขึ้น เราอาจเห็นความไม่ สอดคล้องกันของวิธคี ดิ โดยรวมของเรา ... ควบคูไ่ ปกับการเห็น ถึงวิธีการที่แตกต่างออกไปซึ่งทุกองค์ประกอบในระเบียบใหม่ และโครงสร้างใหม่สอดรับกันด้วยดี เดวิด โบห์ม
I บทที่หนึ่ง ลิงเฒ่าจอมซน
ไม่มีอะไรสักสิ่งนิ่งรอ แต่ทุกสิ่งเลื่อนไหล ชิ้นต่อชิ้นติดกัน ทุกชิ้นเติบโต จนกระทั่งเรารู้จักและตั้งชื่อให้พวกมัน เป็นลำ�ดับๆ พวกมันหลอมละลายและไม่ใช่สิ่งที่เรารู้จักอีกต่อไป
ลูเครเชียส
เราทำ � งานด้ ว ยกั น อย่ า งมี ค วามสุ ข ที่ เ ชิ ง เขาเป็ น เวลา 9 ชั่ ว โมง ชายชราวัย 65 กับ ธี แองเชียนต์ วัน รถแทรกเตอร์ดีเซลที่ไม่อาจระบุอายุ และสัญชาติของมันได้แน่นอน ธีส่งเสียงคำ�รามกึกก้องไปทั่วบริเวณ สัตว์ โลกชราเตี้ยม่อต้อที่มีเครื่องกว้านและผาลไถขนาดใหญ่ด้านหลัง มีใบมีด และคราดด้านหน้า มีกรงอยูด่ า้ นบน มีแขนไฮโดรลิกซ้าย ขวา และหลัง เจ้า เฒ่าธีถกู ติดตัง้ เครือ่ งไม้เครือ่ งมือเกินกว่าภารกิจทีม่ นั ถูกออกแบบมา แต่ถงึ อย่างไรมันก็ทำ�ของมันไป D ee H o ck
33
อากาศเย็นเยียบและเงียบเชียบตอนเช้ามืดทีเ่ ราเริม่ ทำ�งานกันบน ทีด่ นิ ทีถ่ กู ทารุณกรรมมาเป็นศตวรรษด้วยการปลูกพืชผลเกินประมาณและ ถูกทิ้งร้างให้ตากฝนตากลมมาหลายสิบปี ผืนดินเสื่อมโทรมที่กำ�ลังเริ่มการ พลิกฟื้นปกคลุมไปด้วยเถาไม้มีพิษและพุ่มโคโยเต้จำ�นวนมาก ตอนนัน้ เป็นปี 1993 ผ่านมาแล้ว 9 ปีนบั ตัง้ แต่ผมตัดความสัมพันธ์ ทัง้ หมดอย่างฉับพลันกับโลกธุรกิจเพือ่ มาใช้ชวี ติ บนทีด่ นิ ผืนนี้ มันยังคงเป็น เรือ่ งยากทีจ่ ะเชือ่ อยูน่ นั่ เอง หลังจาก 16 ปีของความขัดแย้งอย่างรุนแรงกับ บริษทั ยุคอุตสาหกรรมทีย่ ดึ หลักการใช้อ�ำ นาจและการควบคุม หลังจาก 35 ปี ของความใฝ่ฝนั ถึงแนวคิดในการจัดองค์กรและการทดลองสิง่ เหล่านัน้ หลัง จาก 2 ปีอนั เหลือเชือ่ ในการทำ�ให้หนึง่ ในความฝันเหล่านัน้ บังเกิดเป็นจริงขึน้ หลังจาก 14 ปีอนั หนักหน่วงในการนำ�พามันจนเติบโตเต็มที่ หลังจากทุกสิง่ เหล่านั้นแล้ว สิ่งที่ยากที่สุดเท่าที่ผมเคยทำ�มาก็คือการหันหลังให้วีซ่าในปี 1984 และเดินจากมาตอนที่มันประสบความสำ�เร็จขั้นสุดยอด เหตุผลยังยากจะอธิบาย แต่ก็ไม่ซับซ้อน เสียงจากภายในอัน ยากจะปฏิเสธได้หากเราเรียนรู้ที่จะรับฟัง กระซิบกระซาบมาตั้งแต่ต้นว่า “ธุรกิจ อำ�นาจ และเงินตราไม่ใช่ชวี ติ ของเจ้า การก่อตัง้ วีซา่ และเป็นประธาน เจ้าหน้าที่บริหารของมันคือสิ่งที่เจ้าจำ�เป็นต้องทำ� แต่นั่นก็เพียงแค่การ ตระเตรียมการเท่านั้น” แต่ละครั้งผมจะตอบโต้ “นายบ้าไปแล้วหรือไง ตระเตรียมเพื่ออะไร ที่ไหน และทำ�ไม” แต่ก็ปราศจากคำ�ตอบใดๆ กลับมา มีเพียงความเงียบ บางครั้งเสียงนั่นก็ดังอย่างต่อเนื่องและเร่งเร้าเหลือเกิน “วีซา่ ไม่ใช่จดุ หมายปลายทาง ผละจากมันซะ รวมทัง้ จากโลกธุรกิจ ด้วย ผละจากมันโดยสิ้นเชิงเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เดี๋ยวนี้เลย เมื่อถึงเวลาเจ้าก็ จะเข้าใจเอง” มันช่างน่าตกใจ ช่างบ้าบอคอแตก ผมรูส้ กึ แสนจะงีเ่ ง่าทีถ่ งึ กับ เก็บมันไปคิด นักธุรกิจสูงอายุวัย 55 ที่มีเหตุมีผลและหัวเก่า ผู้ซึ่งไม่เคยพี้ กัญชาหรือใช้ยาเสพติดเพื่อฟังเสียงจากภายใน ไร้สาระสิ้นดี โยนทิ้งงานที่ ทำ�มาทั้งชีวิต ความสำ�เร็จ อำ�นาจ เกียรติภูมิ ราวกับว่ามันเป็นสิ่งที่ไร้ค่าใน ความหวังอันคลุมเครือว่าชีวิตมีความหมายมากกว่านี้ บ้าไปแล้ว 34
One From Many
แต่เสียงนั่นก็ไม่เงียบลงเลย นี่ไม่ใช่เจ้าลิงเฒ่าจอมซนเพื่อนเก่า เพื่อนแก่ชั่วชีวิตของผม ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เชื่อถือได้ในด้านตรรกะและ การสนทนา มันเป็นอีกเสียงหนึ่งโดยสิ้นเชิง และมันรู้ว่ามันพูดถูก ในปี 1984 ผมทิ้งวีซ่าไปอย่างฉับพลัน และตัดขาดจากโลกธุรกิจทั้งหมด ด้วย คำ�อธิบายที่เป็นไปได้เพียงประการเดียว “ผมรู้สึกว่าจำ�เป็นต้องเปิดโอกาส ใหม่ๆ ให้กับชีวิต” ไม่มีใครเชื่อคำ�อธิบายนั้น ทำ�ไมพวกเขาถึงต้องเชื่อด้วย ล่ะ ตัวผมเองยังแทบไม่อยากเชือ่ เลย ผมไม่มเี บาะแสด้วยว่าโอกาสเหล่านัน้ คืออะไร แต่ผมตั้งใจที่จะเปิดมัน 9 ปี นั บ ตั้ ง แต่ ลิ ง เฒ่ า จอมซนและผมโบกมื อ ลาวี ซ่ า แล้ ว เปิ ด โอกาสใหม่ๆ ให้ชีวิตนับเป็นช่วงเวลาที่ดี เต็มไปด้วยสิ่งที่เรารักอย่างลึกซึ้ง ครอบครัว ธรรมชาติ หนังสือ ความสันโดษ ความเป็นส่วนตัว จินตนาการ ไม่รู้จบ มากเกินพอสำ�หรับการมีชีวิตที่ดี ยังมีบางครั้งที่เราได้ยินเสียงจาก ภายในอันคุน้ เคยกับประโยคเก่าๆ ของมัน “นีไ่ ม่ใช่ชวี ติ ของเจ้า นีเ่ ป็นเพียง แค่การตระเตรียม” แต่เราปัดให้มนั เป็นแค่เสียงแว่ว เรายอมรับมานานแล้ว ว่าสิ่งที่ครอบงำ�เราในช่วง 9 ปีที่ผ่านมาคือโอกาสที่เราจะได้ตระหนักรู้ มัน เป็นสิ่งที่บอกเราว่าก่อนวันจะสิ้นสุดลง เราจะก้าวไปบนหนึ่งในกลไกเดือย เฟืองเล็กๆ ซึง่ ชีวติ ของเราจะพลิกเปลีย่ นและส่งเราให้หมุนไปในทิศทางใหม่
[ มันเป็นหนึง่ ในช่วงเวลาอันวิเศษ วันคืนในการยกระดับจิตวิญญาณ จิตใจเบิกบาน มือและเท้าว่อนไปมาระหว่างเบรก คลัทช์ คันเกียร์ และ วาล์ว คันโยก 9 คันถูกควบคุมอย่างเป็นอิสระ เราเป็นซิมโฟนีแห่งความ เคลื่อนไหว ธีกับผม ไม่มีการควบคุมโดยอัตโนมัติสำ�หรับเรา ธีเป็นครูที่ดี หลังจาก 9 ปีในการทำ�งานร่วมกัน การเคลื่อนไหวก็ไม่จำ�เป็นต้องใช้ความ รูส้ กึ นึกคิด เราไม่ใช่สงิ่ ทีแ่ ยกจากกัน ธีควบคุมมือและเท้าของผมอย่างมัน่ ใจ เท่าๆ กับทีผ่ มควบคุมคันเหยียบและคันโยกของมัน เราทำ�หน้าทีเ่ ป็นระบบ D ee H o ck
35
หนึ่งเดียว ตระหนักถึงความแข็งแกร่งของอีกฝ่าย ให้อภัยต่อข้อบกพร่อง ของอีกฝ่าย สื่อสารกันในแบบที่เราต่างก็ไม่เข้าใจ คาดหวังไม่มากไปกว่าที่ อีกฝ่ายสามารถให้ได้ เราอยู่ในโลกใบเดียวกัน ภายใต้แรงโน้มถ่วงเดียวกัน เราหายใจอากาศเดียวกัน เราทั้งสองเคลื่อนไหวด้วยกระบวนการของการ สันดาปและระบายความร้อนส่วนเกินของเราลงในพื้นที่เดียวกัน เราคือ จุลจักรวาลแห่งการเชื่อมโยงระหว่างกันของทุกสิ่งทุกอย่างอันไม่รู้สิ้นสุด ทั้งแยกส่วนและเป็นองค์รวมในเวลาเดียวกัน ทั้งมีตัวตนและไม่มีตัวตน เป็นส่วนหนึง่ ร่วมกับเอกภพ งานดูเหมือนจะดำ�เนินไปด้วยตัวมันเอง ปล่อย ให้ลิงเฒ่าจอมซนกับผมตะลอนไปตามใจปรารถนา
ในไม่ช้าเจ้าจอมซนก็โน้มน้าวให้ผมดิ่งลึกเข้าไปในพุ่มความคิด เหล่านั้นที่เราพยายามจะทะลวงเข้าไปในหลายปีมานี้ เครื่องจักรกลกับคน เชื่อมโยงและสัมพันธ์กันจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้ในลักษณะที่เรา ไม่สามารถเข้าใจได้หรือเปล่า เมื่อไหร่และทำ�ไมเราจึงเริ่มคิดว่าโลกแยก ออกจากมนุษยชาติ เป็นโกดังวัตถุดิบฟรีสำ�หรับผลิตข้าวของเพื่อการบริโภค ในเศรษฐกิจเงินตราเชิงกลไก เป็นแหล่งทิ้งขยะพิษและของเสียฟรี จะเกิดอะไรขึ้นถ้าแนวคิดที่แท้จริงของการแยกส่วนได้ (ความคิด/ ร่างกาย เหตุ/ผล มนุษยชาติ/ธรรมชาติ การแข่งขัน/ความร่วมมือ ส่วนรวม/ ส่วนตัว ผู้ชาย/ผู้หญิง คุณ/ผม) คือการสร้างภาพลวงตาครั้งยิ่งใหญ่ของ อารยธรรมตะวันตก เห็นตัวอย่างได้ชัดเจนจากยุคอุตสาหกรรม กล่าวคือ การรู้ด้วยวิธีที่ค่อนข้างเป็นวิทยาศาสตร์เป็นของมีประโยชน์ แต่ก็มีความ บกพร่องในขั้นพื้นฐานต่อการทำ�ความเข้าใจและสติปัญญา จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าความคิดของเราเกี่ยวกับการแยกส่วน ลักษณะเฉพาะ และ การวัด ซึ่ง มีประโยชน์อย่างที่มันมีในบางสภาพการณ์ เป็นเพียงการเบี่ยงเบียนทาง ความคิดชั่วคราวในวิวัฒนาการอันลี้ลับของจิตสำ�นึก 36
One From Many
เจ้าลิงจอมซนและผมหัวเราะมานานแล้วกับความคิดไร้สาระที่ว่า ความคิด ร่างกาย และจิตวิญญาณ เป็นสิง่ ทีแ่ ยกจากกัน อย่างเช่น เดือย เฟือง และสปริงของนาฬิกา เรามั่นใจว่า เครื่องจักร คน และธรรมชาติ ไม่ได้แยก จากกั น เหมื อ นกั บ ที่ ฟ รานซิ ส เบคอน ,ไอแซค นิ ว ตั น ,เดส์ ก าร์ ต กั บ วิทยาศาสตร์ทพี่ วกเขาให้ก�ำ เนิดอยากให้เราเชือ่ วิทยาศาสตร์ยนื กรานมาเป็น เวลา 200 ปี ว่าสสารสีเทาเพียงไม่กปี่ อนด์ในกระโหลกทีต่ งั้ อยูบ่ นไหล่ของผม ไม่ได้เป็นอะไรมากไปกว่ากระแสไฟฟ้าและเคมีซงึ่ เคลือ่ นทีอ่ ยูร่ ะหว่างอนุภาค ของสสารที่แยกจากกันภายใต้กฎตายตัวของเอกภพว่าด้วยเหตุและผล แต่ เจ้าลิงจอมซนกับผมไม่คดิ อย่างนัน้ แม้วทิ ยาศาสตร์สมัยใหม่และการติดยึด กับการวัดของมันจะเปี่ยมด้วยความมหัศจรรย์ เราก็ยังเชื่อว่าชีวิตจะไม่มีวัน ยอมเผยความลับของมันให้กับอุปกรณ์การวัด ร่างกาย ความคิด และจิต วิญญาณเป็นหนึง่ เดียวกันอย่างไม่อาจแบ่งแยกได้ และพวกมันเป็นหนึง่ เดียว กับทุกสรรพสิ่งในเอกภพ เราไม่ถูกล่อลวงโดยความคิดในทางตรงกันข้าม
ธี แองเชียนต์ วัน กับผม ทำ�งานอย่างระมัดระวังรอบๆ สนดักลาส ครึ่งโหลที่เราพบว่าสมบูรณ์พอจะเริ่มสร้างป่าใหม่ขึ้นได้ ผมไม่มีแบบที่ ออกไว้ส�ำ หรับทีด่ นิ ผืนนี้ มันจะออกแบบตัวมันเอง ทว่าจินตภาพทีไ่ หลเวียน อยูใ่ นความคิดผมก็คอื มันจะปกคลุมไปด้วยหญ้าและดอกไม้ทอ้ งถิน่ กระจาย ไปตามป่าละเมาะทีม่ ตี น้ ไม้พนื้ ถิน่ เราลงแรงกันบนทีด่ นิ 200 เอเคอร์ทเี่ ป็น ทุ่งเลี้ยงสัตว์ ภูเขา และป่าเป็นเวลา 9 ปี จินตภาพในตอนแรกๆ เริ่มกลาย เป็นความจริงที่กำ�ลังแตกหน่ออ่อน ทุ่งแรกที่ฟื้นฟูเป็นหญ้ารก ล้อมรอบ ด้วยป่าละเมาะที่มีต้นสน มาโดรน โอ๊ก และ เรดวู้ด ซึ่งบรรจงปลูกด้วยการ เพาะเมล็ดจากป่าในละแวกใกล้เคียง ภายใน 3 ปี อากาศและแสงแดดก็จะเปลี่ยนหินดินดานบนพื้น ข้างใต้ที่ถูกบดให้แตกด้วยผาลไถของธี แองเชียนต์ วัน ให้กลายเป็น D ee H o ck
37
ดินเหนียว ดินเหนียวจะดูดไนโตรเจนจากรากของหญ้าและผสมเข้ากับ ลำ�ต้นที่กำ�ลังตาย กระรอก หนู ตัวตุ่น นับพันๆ ตัว ต่างง่วนกับการทำ�งาน ขมีขมันขนหญ้าลงใต้ดินและขนดินขึ้นมาข้างบน หนอน มด แมลงปีกแข็ง และสัตว์โลกชนิดอื่นอีกเป็นพันๆ ล้าน ตัว ตระเตรียมดินกันตลอด 24 ชัว่ โมง สัตว์โลกทีม่ องด้วยตาเปล่าไม่เห็นอีก หลายล้านล้านชีวิตต่างก็อยู่ กิน ถ่าย และตายอยู่ใต้เท้าผม บางครั้ง สัตว์ ขนาดใหญ่กว่าและนกจะกลับมามีส่วนร่วมด้วย ดินร่วนจะถูกสร้างขึ้นเพื่อ ซึมซับและแจกจ่ายนาํ้ แม้แต่จากพายุทหี่ นักหน่วงทีส่ ดุ และคูนาํ้ ด้านข้างซึง่ ตอนนีค้ วบคุมการไหลของนาํ้ สามารถจะรองรับนาํ้ ได้ แต่ละปี หญ้า ดอกไม้ พุ่มไม้ และต้นไม้ จะสูงขึ้น หนาขึ้น หลากหลายขึ้น และสมบูรณ์แข็งแรง ขึ้น เป็นไปได้หรือไม่ทคี่ วามอุดมสมบูรณ์ของความหลากหลายทีม่ กี าร พึ่งพากันเองนี้ คือความหมายที่ลึกซึ้งกว่าของคำ�เตือนตามพระคัมภีร์ให้ “ทวีมากขึน้ และเติมแผ่นดินโลกให้เต็ม” เป็นไปได้หรือเปล่าทีม่ นั หมายความ ว่าเรามาทีน่ กี่ นั เพือ่ ทำ�ให้เกิดการทวีจ�ำ นวนและการเติมชีวติ ทัง้ มวลบนโลก ไม่เพียงชีวิตของพวกเราเท่านั้น เป็นไปได้หรือเปล่าว่า “ธรรมชาติ” ที่เรา มุ่งจะเอาชนะนั้นเป็นธรรมชาติของเราเองอย่างแท้จริง ธีกับผมทำ�งานท่ามกลางเสียงคำ�รามของเครื่องยนต์และเสียง คร้องแคร้งของล้อตีนตะขาบ กลุ่มควันแสบจมูกที่ฟุ้งขึ้นมา เพิ่มความ ร้อนแรงด้วยกลิ่นฉุนของวัชพืชและพุ่มไม้เตี้ยที่ถูกบดอยู่ใต้ตีนตะขาบ เหยี่ยวหางแดง 4 ตัวกรีดร้องต้อนรับขณะที่มันร่อนอยู่สูงขึ้นไปข้างบน สลักเส้นโค้งที่มองไม่เห็นบนท้องฟ้าก่อนถลาลงอย่างรวดเร็วตามสายลม จากนั้นโผขึ้นอีกครั้ง อีแร้งสีดำ�ปื้ด 5 ตัวบินวนมาให้เห็น ปีกกางออกรับ แรงลม ขนปลายปีกขยายออกเหมือนนิ้วกางตัดกับท้องฟ้า ธีนิ่งเงียบเมื่อ ผมคว้ากล้องดูนกราว 15 นาที มีเพียงกระจกเล็กๆ เบื้องหน้าสายตาผม คั่นอยู่ เรากลายเป็นหนึ่งเดียวกัน นกผู้สังเกตการณ์และคนดูนก ขนนกทุกอันขยับตามอย่างใกล้ชดิ และซับซ้อนในทิศทางตรงข้าม 38
One From Many
กับลม ภาษาช่างเป็นการสื่อสารที่งุ่มง่ามเมื่อเทียบกับการสื่อสารระหว่าง กระแสลมกับนก การแยกส่วนและองค์รวมมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง กระดูก กับขน เนื้อหนังกับจิตวิญญาณ พื้นที่และเวลา ลม นก แสงอาทิตย์ โลก คน เชื่อมโยงกันและกัน กำ�หนดกันและกัน โดยไม่สามารถห้ามได้ การ แข่งขันและการร่วมมือกันเป็นไปเองทั้งหมด แยกส่วนแต่ไม่สามารถ แยกจากกันได้ องค์รวมของส่วนต่างๆ และส่วนทั้งหมด ไม่มีอย่างไหนอยู่ ภายใต้การควบคุม ทว่าทั้งหมดดำ�เนินไปอย่างสอดคล้องกัน
ในไม่ช้าลิงเฒ่ากับผมก็เข้าสู่อีกพุ่มแห่งความคิด เป็นไปได้หรือไม่ ที่ในความหมายอันลึกซึ้งที่สุดนั้น ทุกสิ่ง คือ สิ่งตรงกันข้ามของตัวมันเอง ทุกสิ่งล้วนกำ�หนดกันและกัน ดังนั้นจึงรับรู้ซึ่งกันและกัน ดูเหมือนเป็นไป ไม่ได้ที่จะคิดถึง “สิ่ง” ใดสิ่งหนึ่งโดยปราศจากแนวคิดของการ “ไม่ใช่สิ่ง” จริงหรือที่ไม่มีนกโดยปราศจากคน และไม่มีคนโดยปราศจากนก ไม่มีเส้น แบ่งเขตแดนยกเว้นในความคิดใช่ไหม หากเอกภพแท้ที่จริงแล้วคือกลไกอันไร้ความหมาย ประกอบด้วย อนุภาคเชิงกายภาพที่สามารถแบ่งแยกได้ที่ส่งอิทธิพลถึงกันและกันด้วยกฎ ตายตัวและเป็นเส้นตรงของเหตุและผล ตามที่วิทยาศาสตร์เรียกร้องให้เรา เชื่อมาเป็นเวลา 200 ปีแล้ว คำ�ถามตลอดกาลซึ่งเจ้าลิงเฒ่ากับผมหลงใหลเหล่านี้มาจากไหน เหตุใดทั้งที่ผ่านมานานแสนนานวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถอธิบายเรื่อง ง่ายๆ อย่างเช่น ความรัก ความไว้วางใจ ความเอื้ออาทร และความเคารพ ยกย่องได้ เป็นเวลานับสิบๆ ปี ทีเ่ จ้าลิงเฒ่าจอมซนกับผมประหลาดใจกับความ หมกมุ่นของมนุษย์ที่ต้องการความมั่นคงแน่นอนและการควบคุม รวมถึง ความกระหายใคร่รู้ในวิทยาศาสตร์ มันนำ�ไปสู่คำ�ถามหนึ่งที่น่าสนใจ มันจะ D ee H o ck
39
ออกมาทำ�นองไหนหากใครสักคนมีความสามารถสมบูรณ์แบบในการควบคุม คงมี ค วามจำ � เป็ น ต้ อ งรู้ ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า งและทุ ก เหตุ ก ารณ์ ที่ เ คย เกิดขึ้น เพราะเราจะรู้ได้อย่างไรว่าการควบคุมอย่างเบ็ดเสร็จหมายถึงอะไร โดยไม่รู้เหตุการณ์ในอดีตและลำ�ดับของเหตุการณ์อย่างไม่มีที่สิ้นสุด สิ่งที่ เร้นลับและน่าประหลาดใจเป็นสิ่งซึ่งไม่สามารถยอมรับได้ แม้กระทัง่ การรูโ้ ดยสมบูรณ์แบบถึงอดีต ปัจจุบนั และอนาคตก็ยงั ไม่ เพียงพอสำ�หรับการควบคุมอย่างรอบด้าน ยังจำ�เป็นต้องรู้ความคิด อารมณ์ ความรู้สึก และความปรารถนาของมนุษย์รวมทั้งตัวตน ความหวัง ความสุข ความกลัว และแรงกระตุ้นของพวกเขาทั้งหมด และไม่ใช่แค่นี้เท่านั้น ยัง จำ�เป็นต้องรู้ทุกอย่างที่ตัวตนอาจจะเคยคิด รู้สึก รู้ หรือประสบมา ยิ่งกว่านั้น ยังมีความจำ�เป็นต้องกำ�จัดทุกอย่างทิ้งไป เช่น อารมณ์ ความรู้สึก ความเชื่อ และคุณค่า เพราะสิง่ เหล่านีท้ �ำ ให้เราไม่รตู้ วั และกระทบต่อพฤติกรรมของเรา ความเห็นอกเห็นใจต้องไม่มี ความรักต้องไม่มี ไม่มีเลยทั้งการยอมรับ ความ อิจฉา ความปรารถนา ความเกลียดชัง อารมณ์ถวิลหา ความหวัง พร้อมทั้ง ความรู้ สึ ก สุ น ทรี ย์ ทุ ก ชนิ ด การควบคุ ม อย่ า งสมบู ร ณ์ แ บบจำ � เป็ น ต้ อ งมี ความรู้สัมบูรณ์ในทุกสิ่งทุกอย่างซึ่งมาก่อนหน้าทุกๆ สิ่งก่อนหน้านั้น และ หลังจากทุกๆ สิ่งหลังจากนั้น และเป็นเช่นนี้เรื่อยไปจนถึงขั้นไร้สาระ ทว่าทัง้ หมดนีไ้ ม่ได้แสดงให้เห็นอะไรเลย มันยังทิง้ ปัญหาไว้โดยไม่มี คำ�ตอบ การเป็นศาสตราจารย์แห่งการควบคุมเบ็ดเสร็จโดยสัมบูรณ์ไม่มีที่ สิน้ สุดน่าจะเป็นอย่างไร ความคิดแรกก็คอื มันคงเหมือนกับพระเจ้า อย่างน้อย ที่สุดก็เหมือนพระเจ้าเท่าที่รับรู้กันโดยปกติ ผลจากการใช้ความคิดมากขึ้น และใช้สัญชาตญาณมากขึ้นกระหนํ่าลิงเฒ่ากับผมเสียจนงงเป็นไก่ตาแตก มันน่าจะเป็นความตาย การควบคุมอย่างสมบูรณ์แบบโดยสัมบูรณ์อยู่ใน โลงศพ การควบคุมจำ�เป็นต้องไม่ยอมรับชีวติ ชีวติ คือความไม่แน่นอน ความ ประหลาดใจ ความเกลียดชัง ความสงสัย การคาดเดา ความรัก ความสุข ความสงสาร ความเจ็บปวด ความลี้ลับ ความงดงาม และสิ่งอื่นๆ อีกนับพัน ที่ไม่สามารถจินตนาการได้ 40
One From Many
ชีวิตไม่ใช่เรื่องของการควบคุม ไม่ใช่เรื่องการได้มา ไม่ใช่เรื่องการมี ไม่ใช่เรื่องการรู้ ไม่ใช่แม้เแต่การดำ�รงอยู่ ชีวิตคือการแปรเปลี่ยนชั่วนิรันดร์ มิฉะนัน้ ก็ไม่ใช่อะไรเลย ความแปรเแปลีย่ นไม่ใช่สงิ่ ทีจ่ ะรู้ บังคับ หรือควบคุม ได้ มันคือการออกเดินทางผจญภัยอันงดงามและยาวนานที่จะได้ประสบ สรุปได้ว่าความปรารถนาอยากบังคับและควบคุมก็คือแรงกระตุ้น เชิงทำ�ลายล้างอันไร้ชีวิตชีวาที่จะปล้นความสุขในการมีชีวิตของตัวเองและ คนอื่นๆ น่าสงสัยไหมว่าสังคม ซึ่งมุมมองต่อโลกและแบบจำ�ลองแห่งความ เป็นจริงภายในของมันคือเอกภพ และทั้งหมดภายในนั้นในฐานะเครื่องจักร กลับเปลี่ยนไปมีลักษณะทำ�ลายล้าง น่าสงสัยไหมที่สังคมซึ่งบูชาสิ่งสูงสุด อันได้แก่การวัด การทำ�นาย และการควบคุมกลับส่งผลให้เกิดการทำ�ลาย ล้างสิ่งแวดล้อมอย่างขนานใหญ่ การกระจายความมั่งคั่งและอำ�นาจอย่าง เลวร้าย การทำ�ลายสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ต่างๆ อย่างมากมายมหาศาล การ สังหารหมู่ ระเบิดไฮโดรเจน และสิ่งน่าสะพรึงกลัวนับไม่ถ้วน มันจะเป็น แบบอื่นไปได้อย่างไรในเมื่อหลายร้อยปีมาแล้วที่เรากำ�หนดให้ตัวเราเองมี ความคิดอันทรงพลังในการครอบงำ�มากขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ทั้ง การชีน้ �ำ ทางออก การบังคับพฤติกรรม และผลประโยชน์สว่ นตัวทีแ่ ยกส่วนได้ ทรราชย์ก็คือทรราชย์ไม่ว่าจะให้เหตุผลกันอย่างเห็นแก่ตัว อย่าง เจตนาดี หรืออย่างชาญฉลาดสักเพียงใด มันคือสิ่งซึ่งโน้มน้าวเรามาเป็น ร้อยๆ ปี วันแล้ววันเล่า เดือนแล้วเดือนเล่า ปีแล้วปีเล่า ด้วยวิธอี นั เฉียบแหลม นับพันๆ วิธี มันไม่จำ�เป็นต้องเป็นเช่นนั้นในอดีต มันไม่ควรเป็นเช่นนั้นใน ปัจจุบัน มันไม่สามารถเป็นเช่นนั้นไปตลอดกาล
ผมถูกกระชากกลับมายังปัจจุบนั ขณะโดยลมหอบหนึง่ ทีพ่ าหยดนาํ้ เย็นเยือกของสายฝนมาด้วย ระหว่างที่เราสมาธิลอยล่องอยู่นั้น ท้องฟ้ามืด ลง ลมเริม่ พัด และแสงแห่งวันสลัวลง ไม่มอี ะไรต้องสงสัย เรากำ�ลังจะเผชิญ D ee H o ck
41
กับพายุใหญ่ รีบดีกว่า อีกไม่ช้าฝนก็จะชุ่มดิน และการทำ�งานย่อมเป็นไป ไม่ได้ หลังจากกดปุ่มเดินเครื่อง ธี แองเชียนต์ วัน ร้องคำ�รามฟื้นคืนชีวิต เราคลานข้ามผืนดิน ดันกองพุ่มไม้กองใหญ่ไปยังหุบเขา แล้วโดยไม่รู้ตัว ผมก็หลุดจากความกลมกลืนกับสิ่งรอบๆ ตัวสู่การควบคุมสถานการณ์ 1 นาทีผ่านไปอย่างรวดเร็ว จากนั้นก็อีก 1 นาที และนาทีที่ 3 เร็วขึ้น เร็วขึ้น อีก 15 นาที แล้วงานก็จะเสร็จสิ้นลง ธี แองเชียนต์ วัน กรีดร้องด้วยเสียงโลหะกระทบโลหะ ขัดขืน และหยุดลงตามการกระแทกของวงล้อที่ขับเคลื่อนโซ่ฟันเฟืองตีนตะขาบ เฮงซวย และโคตรเฮงซวย ปัญญาอ่อน งี่เง่า ผมพยายามที่จะควบคุมให้ได้ และเรียกร้องจะเอามากเกินกว่าความจำ�เป็นของสถานการณ์ หรือเกินกว่า ธีจะให้ได้ ผมดับเครื่อง และนั่งเงียบๆ ท่ามกลางสายฝน ขณะที่ความโกรธ และความคับข้องใจค่อยๆ มอดดับไป ผมเริม่ ฉีกยิม้ ให้อกี หนึง่ คะแนนสำ�หรับ เจ้าเฒ่าธี ลบหนึ่งสำ�หรับตัวเอง ไอ้เฒ่า ผมนั่งนิ่งอยู่ 10 นาที ค่อยๆ กลับสู่ความกลมกลืนกับสรรพ สิ่ง เพลิดเพลินกับเสียงลมพัด และหยดแรกของสายฝนเย็นเฉียบ ทะเล กระเพื่อมไหวอยู่ใต้เมฆครึ้ม ต้นไม้และใบหญ้าเริงร่ายไหวเอนไปตามลม ทุกสิ่งอยู่ในจังหวะเก่าแก่อันไร้รอยต่อของความขัดแย้งและความร่วมมือ โลก หญ้าแต่ละใบ ต้นไม้แต่ละต้น คน แทรกเตอร์ พายุ แต่ละสิ่งซึ่งเป็น องค์รวมของส่วนต่างๆ และเป็นส่วนหนึ่งขององค์รวมต่างก็กระทำ�การ ของตัวเองและกระทำ�การต่อกันและกัน ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งสามารถเข้าใจ ได้อย่างไม่มที สี่ นิ้ สุดและเร้นลับอย่างไม่มที สี่ นิ้ สุด รวมทัง้ ตาเฒ่าทีน่ งั่ อยูบ่ น แทรกเตอร์ ผู้กำ�ลังยิ้มและยื่นมือลูบเคราที่ยังไม่โกนบนขากรรไกรโค้ง ผมวิง่ เหยาะๆ ลงเขามาครึง่ ไมล์เพือ่ ไปยังโรงเก็บเครือ่ งมือ รีบสวม รองเท้าบู๊ต กางเกงกันฝน เสื้อกันฝน และที่คลุมหัว ท้ายรถกระบะมีชะแลง เหล็ก แม่แรง ประแจโค้ง พลั่ว และเครื่องมือชิ้นเล็กๆ ฝนทำ�ให้กระบังลม พร่ามัวขณะที่ผมขับย้อนกลับไปหาธี แองเชียนต์ วัน ที่แน่นิ่งอยู่ที่เชิงเขา การคุกเข่าลงบนโคลน ใช้ประแจขนาด 30 ปอนด์เสียบเข้าร่องเหล็กขนาด 42
One From Many
ใหญ่ที่ควบคุมความตึงของตีนตะขาบเพื่อหมุนคลายมันออกไม่ใช่งาน หมูๆ แขนและไหล่เป็นตะคริวก่อนที่ความตึงของตีนตะขาบจะคลายลง อีกครึง่ ชัว่ โมงผ่านไปอย่างรวดเร็วขณะทีล่ มและฝนแรงขึน้ ผมคอยสลับยก ด้านหน้าขึ้นด้วยเครื่องยกของแทรกเตอร์ และด้านหลังด้วยแม่แรงจน กระทั่งล้อตีนตะขาบขยับขึ้นเหนือโคลน 1 นิ้ว ผมใช้ทอ่ นเหล็ก 6 ฟุตงัดตีบตะขาบขนาดใหญ่โตออกจากกรอบให้ เข้ามาอยู่แนวเดียวกับวงล้อพร้อมเสียงแคร้งอย่างสบอารมณ์ ตีนตะขาบก็ เข้าไปอยู่ในโซ่ฟันเฟืองทั้งด้านหน้าและหลัง ผมยิ้มออกหลังจากพยายาม เป็นเวลา 45 นาทีเพื่อขันตีนตะขาบให้กลับมาตึงอีกครั้ง เคลื่อนย้ายสิ่ง กีดขวางและโยนเครื่องไม้เครื่องมือเปื้อนโคลนใส่ท้ายรถกระบะ ผมขับ ลงเขาครึ่งไมล์ฝ่าพายุที่ยิ่งเพิ่มความเกรี้ยวกราดมายังโรงเก็บเครื่องมือ รถกระบะและเครื่องมือเก็บไว้ในโรงเก็บของอย่างปลอดภัย ผม โทรหาเฟรอลเพือ่ ให้เธอมัน่ ใจว่าผมจะถึงบ้านภายใน 1 ชัว่ โมงและเคีย่ วเข็ญ ให้เธอสัญญาว่าจะเปิดเครือ่ งอบซาวน่าไว้ให้ ด้วยข้อนิว้ ชุม่ เลือด โซเซไปมา เพราะแรงลม นํ้าเข้ารองเท้าบู๊ต ผมทุ่มเทออกแรงขึ้นเขาไปครึ่งไมล์ตรงจุด ที่ธี แองเชียนต์ วันสงบนิ่งอยู่ในความมืด มันส่งเสียงครางยาวๆ ฟื้นคืนชีพ กลับมาด้วยการติดเครื่องครั้งแรก พอแตะคลัทช์ ผมก็เพลิดเพลินไปกับ ประกายสายฝนเม็ดเล็กระยิบระยับที่เริงระบำ�ผ่านไฟหน้าขณะเราคำ�ราม ลั่นลงมาจากเขาเข้าไปยังโรงเก็บเครื่องมือแห้งๆ ด้วยความเย็นยะเยือก ถึงกระดูก ทำ�ให้ความคิดเรื่องเครื่องอบซาวน่าเป็นความคิดแสนสุดยอด
[ ที่บ้าน เสื้อผ้าและรองเท้าบู๊ตชุ่มฝนถูกตากทิ้งไว้ในห้องเก็บของ หน้าบ้าน ผมสั่นเทาอยู่ในผ้าขนหนู หยุดกึกอยู่ในความฝันของเด็กชาย ผู้น่าสงสารที่กลายเป็นจริง ผนัง 4 ด้านที่เต็มไปด้วยหนังสือหลายพันเล่ม เก้าอี้หนัง เตาผิง และห้องอ่านหนังสือ หน้าต่างชมวิวบานใหญ่ซึ่งมอง D ee H o ck
43
เห็นป่า หุบเขา หมู่บ้าน และทะเล ในบรรดาหนังสือกองโตที่ยังไม่ได้อ่าน ตาของผมถูกตรึงด้วยหนังสือเล่มเล็กๆ ปกหุ้มหนังสีดำ� ตรงกลางสว่าง โพลงด้วยแสงเป็นภาพของสันทรายเล็กๆ ที่อยู่เหนือคำ�ๆ เดียว ความ ซับซ้อน (Complexity) ความเย็นเริ่มไหลรินออกจากกระดูกเมื่อผมนอนอยู่ในความร้อน ของเครื่องอบซาวน่า หนังสือตั้งอยู่บนผ้าขนหนูบนอกผม ไล่อ่านบทนำ�ไป คร่าวๆ ผมไม่เคยมีความคิดแม้แต่นอ้ ยนิดว่าเดือยเฟืองอันกระจิดริดเหล่านัน้ อีกอันทีพ่ ลิกเปลีย่ นชีวติ จะถูกวางไว้ในเส้นทางของชีวติ ผม หลังจาก 2 บท ต่อมา ผมวางหนังสือไว้ข้างๆ แล้วอาบนํ้า จากนั้นก็ขึ้นเตียงเพื่อจะอ่านมัน ให้จบด้วยความหลงใหลที่เพิ่มพูนขึ้น มั น เป็ น เรื่ อ งของนั ก วิ ท ยาศาสตร์ ผู้ มี ชื่ อ เสี ย งจำ � นวนหนึ่ ง จาก หลายสำ�นักที่ก่อตั้งสถาบันเล็กๆ สถาบันหนึ่งขึ้นมา เพื่อติดตามความรับรู้ ร่วมกันของพวกเขาที่ว่าวิทยาศาสตร์ใหม่อาจอุบัติขึ้นจากการศึกษาระบบ ที่ซับซ้อน มีการจัดระเบียบในตัวเอง และปรับตัวตลอดเวลา ซึ่งพวกเขา ใช้คำ�ว่า “ความซับซ้อน” ดูเหมือนพวกเขาจะเกิดความสนใจขึ้นมาเพราะ ความคิดที่ว่าความพยายามอันเป็นวิทยาศาสตร์ 200 ปีที่ผ่านมาที่จะ อธิ บ ายว่ า เอกภพและทุ ก สิ่ ง ที่ อ ยู่ ใ นนั้ น เป็ น กลไกซึ่ ง ดำ � เนิ น ไปภายใต้ กฎตายตัวที่เป็นเส้นตรงของเหตุและผลอาจจะไม่เพียงพอ ความวิตกว่า การไล่ตามการแบ่งแยกความชำ�นาญ การแยกส่วน และลักษณะเฉพาะอาจ นำ�ไปสู่ทางตันในการทำ�ความเข้าใจสูงสุด ชักนำ�ให้พวกเขาก้าวเข้าสู่วิถี คิดที่สดใหม่และครอบคลุมกว่า เมื่อถูกจำ�กัดด้วยการแบ่งแยกหน้าที่ตาม ความชำ�นาญ พวกเขาจึงรู้สึกเหมือนถูกบังคับให้ต้องมาจัดตั้งสถาบันเพื่อ ติดตาม “วิทยาศาสตร์ใหม่” นั ก วิ ท ยาศาสตร์ เ หล่ า นี้ ค าดเดาว่ า มี อ ะไรบางอย่ า งเกี่ ย วกั บ ธรรมชาติของการเชื่อมโยงอันซับซ้อนซึ่งเปิดทางให้ระเบียบเกิดขึ้นเอง และเมื่อมันเกิดขึ้น คุณลักษณะที่อุบัติขึ้นไม่สามารถอธิบายได้ด้วยความรู้ แบบแยกส่วน อีกทั้งระเบียบที่เกิดขึ้นนั้นดูเหมือนจะไม่ได้อยู่ภายใต้กฎ 44
One From Many
ที่เป็นเส้นตรงของเหตุและผล พวกเขาคาดการณ์ว่าระบบอันซับซ้อนที่ ปรับตัวได้เองมีอยู่ที่ชายขอบของความโกลาหลอลหม่าน (chaos) โดยมี การจัดระเบียบตัวเองมากพอจะสร้างแบบแผนการรับรูท้ เี่ ราเรียกว่าระเบียบ (order) มันไม่ค่อยจะเป็นแนวความคิดที่ผมติดอกติดใจมากนัก ดูไปก็ เหมือนเกลอเก่า หลายประโยคและหลายย่อหน้าเต็มไปด้วยภาษาคล้ายกับ ทีผ่ มใช้มาหลายปี พวกมันสะท้อนแนวความคิดเกีย่ วกับการจัดระเบียบทาง สังคมทีอ่ ยูบ่ นพืน้ ฐานของวิถกี ารจัดระเบียบของธรรมชาติซงึ่ ผมคิดค้นและ นำ�เสนอมานับสิบๆ ปี สิ่งที่ทำ�ให้ผมสนใจก็คือแนวคิดดังกล่าวนั้นในตอนนี้ อุบตั ขิ นึ้ ในชุมชนวิทยาศาสตร์โดยสอดคล้องกับระบบกายภาพและชีวภาพ
เกือบ 40 ปีมาแล้ว มีคำ�ถาม 3 ข้อเกิดขึ้นจากการสนทนาเป็น ประจำ�กับลิงเฒ่าจอมซน ถ้าเช่นนั้นคำ�ถามเหล่านั้นก็น่าสนใจละสิ ทุกวันนี้ มันเป็นคำ�ถามที่ต้องถาม พวกมันคือทุกอย่างที่เกี่ยวกับการกำ�เนิดของวีซ่า ครั้งแล้วครั้งเล่าที่คำ�ถามเหล่านี้ย้อนกลับมา และมักจะเรียกร้องมากขึ้น เสียด้วย ทำ�ไมองค์กรต่างๆ ทุกหนแห่ง ทัง้ การเมือง การค้า สังคม ไม่ สามารถจัดการเรื่องของตัวเองได้มากขึ้นเรื่อยๆ ทำ�ไมปัจเจกบุคคลทุกหนแห่งขัดแย้งและแปลกแยกจาก องค์กรที่พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของมันมากขึ้นเรื่อยๆ ทำ�ไมสังคมและสภาวะแวดล้อมสับสนอลหม่านมากขึ้น เรื่อยๆ
ทุ ก วั นนี้ไ ม่ต้อ งใช้ค วามคิด มากเราก็สามารถตระหนักได้ว่าเรา D ee H o ck
45
กำ�ลังอยู่ท่ามกลางการลุกลามของความล้มเหลวเชิงสถาบันทั่วโลก ไม่ใช่ เพียงความล้มเหลวในความหมายของการพังทลายลงของตึกหรือธุรกิจ หนึ่งใด แต่คือรูปแบบอันตรายที่คุ้นเคยกันมากกว่า กล่าวคือ องค์กรเริ่มไม่ สามารถบรรรลุเป้าหมายแรกตั้งมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ยังขยายตัวต่อไปพร้อม กับการพล่าผลาญทรัพยากรอย่างตะกละตะกลาม ลดคุณค่าจิตวิญญาณ ความเป็นมนุษย์ และทำ�ลายสิ่งแวดล้อม
โรงเรียนซึ่งไม่สามารถให้ความรู้ ระบบการดูแลสุขภาพซึ่งไม่สมบูรณ์ บริษัทซึ่งไม่สามารถร่วมมือหรือแข่งขัน มหาวิทยาลัยที่ห่างไกลจากความเป็นสากล ระบบสวัสดิการที่ไม่มีใครได้ประโยชน์ การเกษตรที่ทำ�ลายดินและทำ�ให้นํ้าเป็นพิษ ตำ�รวจที่ไม่สามารถบังคับใช้กฎหมาย ระบบยุติธรรมที่ไม่เป็นธรรม รัฐบาลที่ไม่สามารถปกครอง ระบบเศรษฐกิจทีไ่ ม่สามารถทำ�ให้เกิดประโยชน์สงู สุดทางเศรษฐกิจ
ความล้มเหลวเชิงสถาบันทั่วทั้งโลกที่เพิ่มขึ้นไม่หยุดยั้งบ่งชี้ให้เห็น ถึงคำ�ถามลึกซึ้งหนักหน่วงที่เราไม่ได้ถาม มันบ่งบอกว่าปัญหาที่ไม่รู้หัวนอน ปลายเท้ามีแต่จะหนักขึน้ จนกว่าเราจะถามคำ�ถามทีถ่ กู ต้องและค้นพบความ ผิดพลาดนั้น หรือว่านี่คือแนวรบใหญ่แห่งใหม่ที่เรารอคอยกัน หรือว่านี่คือ การออกผจญภัยครั้งยิ่งใหญ่ที่รํ่าร้องใส่เรา
46
ในความเงียบสงัดของยามเช้าตรู่ บทท้ายๆ ของ ความซับซ้อน One From Many
กลับทำ�ให้ผมคับข้องใจกับคำ�คุณศัพท์มากมาย “ออโตคาตาไลติก” (autocatalytic) “นอนลีเนียร์” (nonlinear) “บริหารจัดการตัวเอง” (self-organizing) “เชิงซ้อน” (complex) “ปรับแปลง” (adaptive) “แบบองค์รวม” (holistic) ที่ นักวิทยาศาสตร์พยายามจะใช้อธิบายวิทยาศาสตร์ใหม่ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ผมลุกขึ้น ลงไปยังห้องสมุด ค้นพจนานุกรมศัพท์เฉพาะหลายเล่มเพื่อจะ หาคำ�ที่เหมาะสม ปรากฏว่าไม่มี แล้วทำ�ไมถึงไม่ประดิษฐ์คำ�ขึ้นมาสักคำ� ล่ะ เนื่องจากเชื่อกันว่าระบบดังกล่าวนั้นจะเกิดขึ้นที่ชายขอบของความ โกลาหลโดยมีแรงยึดเหนี่ยวและการทำ�งานร่วมกันมากพอที่จะส่งผลให้ เกิดระเบียบ ผมจึงยืมพยางค์แรกมาจากความโกลาหลและระเบียบ (chaos and order) และแล้วคำ�ว่า เคออร์ดิก (chaordic) ก็กำ�เนิดขึ้น ผมเริ่มเขียน นิยาม พยายามหลอมรวมความรักในธรรมชาติที่มีมาตลอดช่วงชีวิต 16 ปี อันไม่ธรรมดาในการสร้างองค์กรเช่นนั้นขึ้นมา ความคิดจากหนังสือ และ ความเชื่อเกี่ยวกับธรรมชาติของสถาบัน ให้เป็นคำ�คุณศัพท์เรียบง่ายเพียง คำ�เดียว chaordic \ kay’ ord-ick \adj. [fr. E. cha’os and ord’er ] 1.พฤติกรรม ของสิ่งมีชีวิต องค์กร หรือระบบ ซึ่งมีการจัดระเบียบและกำ�กับดูแลตัวเอง ใดๆ ก็ตามที่ผสมผสานคุณลักษณะของความโกลาหลและระเบียบเข้าด้วย กันอย่างกลมกลืน 2.คุณลักษณะของหลักการการจัดระเบียบขั้นพื้นฐานของ ธรรมชาติ
ผมกลับมาที่เตียงนอนเพื่ออ่านบทสุดท้ายให้จบ จดความคิด สุดท้ายไว้ด้านข้างก่อนจะปิดไฟ “ความอวดดีของวิทยาศาสตร์ช่างน่า ประหลาดใจ มันคงจะทำ�ให้กวี นักปรัชญา นักเทววิทยา นักมนุษยนิยม และนักพรตจำ�นวนนับไม่ถว้ นผูใ้ ช้ความคิดอย่างลึกซึง้ เกีย่ วกับสิง่ ต่างๆ มา นับพันๆ ปี ต้องแปลกใจว่าความซับซ้อน การเชือ่ มโยงระหว่างกัน และการ จัดระเบียบตนเองเป็นของใหม่หรือเป็นวิทยาศาสตร์” เลยเที่ยงคืน แนวพายุพัดผ่านไปแล้วตอนที่ความทรงจำ�จูงมือผม พากลับไปยังต้นกำ�เนิดของความคิด มันเกิดขึ้นเมื่อนานมาแล้ว D ee H o ck
47