Pages from aw finnish lessons 2

Page 1


Finnish Lessons 2.0: ปฏิรูปการศึกษาให้สำ� เร็จ บทเรียนแนวใหม่จากฟินแลนด์ • วิชยา ปิดชามุก แปล จากเรื่อง Finnis h Le s s ons 2 .0 : Wha t Can the W orl d Learn f rom E duc a t iona l Cha nge i n Fi nl and? โดย Pasi Sahlberg พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ openworld s, ธันวาคม 2559 ราคา 395 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ ศิลปกรรม พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ชญารัตน์ สุขตน • บรรณาธิการเล่ม กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ บรรณาธิการต้นฉบับ บุญชัย แซ่เงี้ยว ออกแบบปก พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ • จัดท�ำโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2 6 1 8 4 7 30 e m a il: o p e n wo r ld sth a ila n d @gmail. c om f a c e book : www.fa ce b o o k.co m / openw orlds t w it t e r: www.twitte r .co m/o penw orlds _t h w e bs it e : www.o p e n wo r lds . in. t h จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) S E - E DUCA TIO N P UB L IC CO MPAN Y LI MI TED เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 2 7 3 9 8 2 2 2 , 0 2 739 8000 โทรสาร 0 2 7 3 9 8 3 5 6-9 w e bs it e : h ttp ://www.se -ed. c om/


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ สำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 0 2618 4730 และ 09 7174 9124 หรือ Em a il: o p e n w o rld st h a il and@gmail.c om

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ ซอห์ลเบิร์ก, ปาสิ. Finnish Lessons 2.0: ปฏิรูปการศึกษาให้สำ�เร็จ บทเรียนแนวใหม่จากฟินแลนด์.-กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2559. 416 หน้า. 1. การปฏิรูปการศึกษา. I. วิชยา ปิดชามุก, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง. 379.593 ISBN 978-616-7885-44-5 • Copyright © 2015 by Teachers College, Columbia University First published by Teachers College Press, Teacher College Columbia University, New York, New York, USA. This edition published by arrangement with Openworlds Publishing House through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd. Thai language translation copyright © 2016 by Openworlds Publishing House All rights reserved. •


สารบัญ

ค�ำนิยม :: 8 ดร. อนุชาติ พวงส�ำลี ค�ำนิยมฉบับพิมพ์ปรับปรุง: ในอีกจักรวาลคู่ขนาน :: 18 ไดแอน ราวิตซ์ ค�ำนิยมฉบับพิมพ์ครั้งแรก: ภารกิจใหญ่ยังไม่ลุล่วง :: 22 แอนดี ฮาร์กรีฟส์ ค�ำน�ำฉบับพิมพ์ปรับปรุง :: 36 กิตติกรรมประกาศ :: 42 บทน�ำ เราท�ำได้! (แค่เพียงเรียนรู้จากกันและกันให้มากขึ้น) :: 46 เปิดรับประสบการณ์ใหม่ :: 50 ให้ฟินแลนด์เป็นแรงบันดาลใจของคุณ :: 55 เรียนรู้จากผู้อื่น :: 62 เนื้อหาภายในเล่ม :: 69

1

ฝันอย่างฟินน์ ฝันที่เป็นจริง: โรงเรียนที่ดีเพื่อเด็กทุกคน :: 76 ฟินแลนด์หลังสงคราม :: 79 การศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อทุกคน :: 84


ก�ำเนิดโรงเรียนพันธุ์ใหม่ :: 93 การขยายการศึกษาระดับมัธยมปลาย :: 101 เพิ่มจ�ำนวนผู้ศึกษาต่อ :: 106 หนึ่งเจเนอเรชั่นของการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา :: 118 ระบบการศึกษาของฟินแลนด์ในปี 2015 :: 130

2

ฟินแลนด์ ดินแดนแห่งความย้อนแย้ง: น้อยแต่มาก :: 138 จากนอกสายตามาสู่ศูนย์กลางความสนใจ :: 140 ระดับการศึกษา :: 146 ความเสมอภาคของผลการเรียนรู้ :: 150 การเรียนรู้ของนักเรียน :: 162 ต้นทุนในการจัดการศึกษา :: 181 ความย้อนแย้งของการศึกษาแบบฟินแลนด์ :: 188

3 ข้อได้เปรียบของฟินแลนด์: ครู :: 210 วัฒนธรรมของงานสอนหนังสือ :: 212 กว่าจะได้เป็นครู :: 217 หลักสูตรฝึกหัดครูที่มีการค้นคว้าวิจัยเป็นฐาน :: 226 ครูคือนักวิจัย :: 238 การพัฒนาทางวิชาชีพ :: 244 ครูคือผู้น�ำ :: 248 ผู้น�ำโรงเรียนเองก็เป็นครู :: 255 ครูดี โรงเรียนเด่น :: 258 ถ้าครูที่ดีที่สุดของฟินแลนด์มาสอนในโรงเรียนของคุณล่ะ? :: 266


4 วิถีฟินแลนด์: รัฐสวัสดิการที่มีความสามารถเชิงแข่งขัน :: 274 พลังโลกาภิวัตน์ :: 277 ขบวนการปฏิรูปการศึกษาระดับโลก :: 281 เศรษฐกิจแห่งนวัตกรรม :: 301 สวัสดิการ ความเท่าเทียม และความสามารถเชิงแข่งขัน :: 312 นวัตกรรมการศึกษา ต่างชาติสร้าง ฟินแลนด์ใช้ :: 320 เมื่อความฝันของฟินแลนด์ถูกท้าทาย :: 329

5

อนาคตยังสดใส? :: 332 ส�ำเร็จได้เพราะไม่ตามใคร :: 337 การปฏิรูปการศึกษาที่สัมฤทธิผล :: 342 การถ่ายโอนองค์ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลง :: 354 อนาคตของการศึกษาฟินแลนด์ :: 364 คคำนิยมท้ายเล่ม :: 390 เซอร์เคน โรบินสัน อ้างอิง :: 394 บรรณานุกรม :: 398 ประวัติผู้เขียน :: 414 ประวัติผู้แปล :: 415



ค�ำนิยม

คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าระบบการศึกษาถือเป็นเครื่องมือส�ำคัญ ในการพัฒนาคนและอนาคตของชาติ เพราะการศึกษานั้นเป็นเครื่องมือ ที่เข้าถึงคนหมู่มากได้อย่างครอบคลุมที่สุด อย่างไรก็ตาม ระบบการ ศึกษาไทยในปัจจุบันไม่อาจเป็นความหวังในการพัฒนาคน หรือสร้าง ความเปลี่ยนแปลงให้แก่สังคมได้มากนัก ทั้งที่มีการลงทุนสูง มีทรัพยากร จ�ำนวนมาก และมีผู้เกี่ยวข้องที่ประสงค์ดีต่อการศึกษามากมาย ระบบ การศึกษากลับดูเหมือนเป็นสิ่งที่สร้างความทุกข์ให้แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เราอาจเคยได้ยนิ ว่าการปฏิรปู ประเทศต้องเริม่ ต้นจากการปฏิรปู การศึกษา ถ้าปฏิรูปการศึกษาได้ก็จะปฏิรูปประเทศได้ อย่างไรก็ตาม หลายคนมอง ว่าการปฏิรูปการศึกษาเป็นเรื่องยาก และไม่รู้ว่าการปฏิรูปการศึกษานั้น ควรจะเริ่มต้นอย่างไร ท�ำอย่างไร และควรจะเป็นการศึกษาที่นำ� ไปสู่อะไร การปฏิรูปการศึกษานั้นมีอุปสรรคหลายด้าน จนดูเหมือนว่าแทบจะเป็น ไปไม่ได้เอาเสียเลย ระบบการศึกษาของฟินแลนด์ได้รับการยกย่องว่ามีคุณภาพ และประสิทธิภาพมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก เห็นได้อย่างเป็นรูปธรรมจาก 8

Finnis h Les s o n s 2 . 0


โครงการประเมินผลนานาชาติของ PISA หรือการจัดอันดับของสภา เศรษฐกิจโลก นอกจากอันดับที่สูงแล้ว ฟินแลนด์ยังมีแนวทางการจัดการ ศึกษาทีน่ า่ สนใจ เพราะวิธกี ารเรียนแบบฟินแลนด์จะไม่ให้ความส�ำคัญกับ การเรียนที่นักเรียนไม่มีส่วนร่วม (passive learning) การท�ำการบ้าน การท�ำข้อสอบ และการประเมินผลด้วยตัวเลข ซึ่งดูเหมือนจะเป็นสิ่งที่ ตรงกันข้ามกับวิธีการจัดการศึกษาของไทยอย่างสิ้นเชิง ความส�ำเร็จเหล่านีไ้ ม่ใช่สงิ่ ทีเ่ กิดขึน้ โดยบังเอิญ หากแต่ฟนิ แลนด์ มีผนู้ ำ� ทางการศึกษาทีไ่ ด้กำ� หนดแนวคิด แนวทาง และแผนการด�ำเนินงาน ทีช่ ดั เจนรัดกุมมาเป็นเวลายาวนาน ประเทศแห่งนีพ้ ร้อมปรับตัวเพือ่ รับมือ กับความท้าทายใหม่ๆ อยูเ่ สมอ ล่าสุดฟินแลนด์มแี ผนจะลดการเรียนแบบ รายวิชา (subject-based) และหันมาให้ความส�ำคัญกับการเรียนแบบ สหวิทยาการมากขึ้น ในหนังสือเล่มนี้ ดร. ปาสิ ซอห์ลเบิรก์ ผูเ้ ชีย่ วชาญด้านการศึกษา และมีประสบการณ์ตรงในการท�ำงานด้านการศึกษาของฟินแลนด์ ได้เล่าให้ เราฟังถึงหัวใจส�ำคัญต่างๆ ในการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งส่งผลให้ฟินแลนด์ พลิกโฉมระบบการศึกษาของประเทศได้ภายในเวลาไม่กี่สิบปี เรื่องราว ของประเทศเล็กๆ แห่งนีช้ ว่ ยยืนยันว่าการปฏิรปู การศึกษาไม่ใช่เรือ่ งทีน่ า่ หมดหวัง และการปฏิรูปการศึกษาโดยรัฐนั้นเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น • ความเชือ่ พืน้ ฐานของฟินแลนด์คอื เด็กทุกคนมีความสามารถ และ ควรได้รับการศึกษาที่มีมาตรฐานเดียวกัน เท่าเทียมกัน และไม่ แบ่งแยก ทุกคนสามารถเรียนรู้ได้หากได้รับการสนับสนุนอย่าง เหมาะสม แต่ในขณะเดียวกันก็ให้ความส�ำคัญกับเด็กในฐานะ ปัจเจกบุคคลที่มีความสนใจและความถนัดที่หลากหลาย • ให้ความส�ำคัญกับเป้าหมายการศึกษา ฟินแลนด์ไม่สนใจว่าเด็ก จะต้องเรียนวิชาอะไรบ้างเท่ากับสนใจว่าการเรียนของเด็กจะสร้าง ให้เกิดอะไร P a si S a h l b erg

9


• แนวคิดในการจัดการศึกษา นโยบายการศึกษา และการพัฒนา ทักษะอาชีพครู พัฒนาขึน้ จากฐานข้อมูลความรูแ้ ละการวิจยั อย่าง เข้มข้น • ให้ความส�ำคัญกับกระบวนการคัดเลือกครู ฝึกหัดพัฒนาครู และ สภาพการท�ำงานของครูอย่างมาก เช่น ครูที่ฟินแลนด์ต้องจบวุฒิ ปริญญาโทและต้องได้รับการฝึกฝนทักษะในการจัดกระบวนการ เรียนรู้อย่างจริงจัง การให้ครูสามารถจัดตารางการท�ำงานของ ตนเองได้ และไม่มีระบบประเมินคุณภาพที่ตายตัวจากส่วนกลาง • นโยบายการศึกษาออกแบบโดยเกีย่ วพันอย่างยิง่ กับนโยบายการ พัฒนาประเทศ และเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ในการพัฒนา ประเทศ จะเห็นได้ว่า สาระส�ำคัญของการปฏิรูปการศึกษาฟินแลนด์นั้น คงไม่ใช่เพียงแค่ความส�ำเร็จในเชิงปริมาณ หากแต่เป็นวิธกี ารทีฟ่ นิ แลนด์ ใช้ในการปฏิรปู การศึกษา ทีเ่ ป็นการพัฒนามนุษย์อย่างรอบด้าน ให้คณ ุ ค่า กับการเชื่อใจกัน การพัฒนาคุณภาพและศักยภาพที่แท้จริงของมนุษย์ การเรียนรู้อย่างมีคุณภาพและมีความหมาย มากกว่าการให้ความส�ำคัญ กับปริมาณการเรียนและตัวเลขคะแนนสอบ เหล่านี้ช่วยยืนยันว่าการ ศึกษาเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์และการให้ค่ากับการเติบโตของ ศักยภาพความเป็นมนุษย์นั้น เป็นแนวทางการจัดการศึกษาที่ท�ำได้จริง และมีประสิทธิภาพ ซึ่งดูเหมือนจะเป็นกับดักส�ำคัญที่วงการการศึกษา ไทยยังไม่สามารถก้าวพ้นได้ แน่นอนว่าด้วยบริบทที่แตกต่างกัน การน�ำวิธีปฏิรูปการศึกษา ของฟิ น แลนด์ ม าลอกเลี ย นแบบเพื่ อ จั ด การกั บ ปั ญ หาทางการศึ ก ษา ไทยคงเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แต่การเรียนรู้แนวทางของฟินแลนด์น่าจะ สะท้อนให้เราเห็นว่า ทิศทางของระบบการศึกษาของไทยเข้ารูปเข้ารอย หรือสามารถรับมือกับความท้าทายต่างๆ ในศตวรรษที่ 21 ได้มากน้อย 10

Finnis h Le s s o n s 2 . 0


แค่ไหน มีอะไรอีกบ้างที่เรายังต้องปรับเปลี่ยนปรับปรุง อันจะท�ำให้เรา หันกลับมาตั้งค�ำถามว่า ท่าทีต่อการบริหารการศึกษาแบบไหนที่จะช่วย ให้การปฏิรูปการเรียนรู้ในไทยเป็นไปได้จริง ซึ่งแน่นอนว่าคงไม่ใช่ท่าที ดังที่เป็นอยู่อย่างในปัจจุบัน — อนุชาติ พวงส�ำลี

โครงการผู้น�ำแห่งอนาคต คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

P a si S a h l b erg

11



Finnish Lessons 2.0 What Can the World Learn from Educational Change in Finland?

. by

Pasi Sahlberg

ปฏิรูปการศึกษาให้ส�ำ เร็จ บทเรียนแนวใหม่จากฟินแลนด์

แปลโดย

วิชยา ปิดชามุก



แด่ เอนาร์ ฟริธิออฟ ซอห์ลเบิร์ก (1895-1977)



ฉันรู้สึกได้ถึงอากาศที่เปลี่ยนแปร อบอวลทั่วทุกแห่งที่ตาแล คุณรู้สึกถึงลมระลอกใหม่ที่พัดอยู่ไหม? จริงหรือที่คุณจ�ำสุรเสียงนั้น เสียงเช่นนั้น ไม่ได้? และโลกเองก็เคลื่อนคล้อยมิรอใคร โลกหมุนอย่างเนิบช้า, เปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไป นีล ยัง, เพลง “Rumblin’”


ค�ำนิยมฉบับพิมพ์ปรับปรุง ในอีกจักรวาลคู่ขนาน

หนังสือ Finnish Lessons ของ ปาสิ ซอห์ลเบิรก์ ตีพมิ พ์ในจังหวะทีเ่ รา ก�ำลังต้องการหนังสือที่มีเนื้อหาแบบนี้เสียยิ่งกว่าช่วงไหนๆ ตอนหนังสือ ออกวางแผง สิง่ ทีเ่ รียกกันว่าขบวนการ “ปฏิรปู ” การศึกษาก�ำลังแผ่อทิ ธิพล ในสหรัฐอเมริกาและพื้นที่อื่นๆ ทั่วโลก และเริ่มแข็งแกร่งขึ้นเรื่อยๆ ประธานาธิบดีบารัก โอบามา และรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ศึกษาธิการ อาร์นี ดันแคน (Arne Duncan) สนับสนุน “การปฏิรูป” อย่าง แข็งขัน โครงการของพวกเขาที่ชื่อว่าเร่งเครื่องเข้าเส้นชัย (Race to the Top) เปิดตัวในปี 2009 และได้บรรจุสว่ นผสมส�ำคัญของกระบวนทัศน์ การปฏิรูปไว้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการสอบ การก�ำหนดมาตรฐานความ รับผิดชอบ และการเลือกโรงเรียน นักการศึกษาต่างประหลาดใจ เพราะ เชื่อว่าประธานาธิบดีโอบามาจะล้มเลิกกฎหมายไม่ทอดทิ้งเด็กคนใดไว้ ข้างหลัง (No Child Left Behind - NCLB) ซึ่งเกิดในสมัยประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช และเป็นทีเ่ กลียดชังในวงกว้าง แต่กลายเป็นว่าโครงการ ของโอบามากลับสร้างขึ้นจากฐานอันสั่นคลอนของ NCLB แทนที่จะโยน การสอบเดิมพันสูงทิ้งไปเสีย โครงการเร่งเครื่องเข้าเส้นชัยกลับไปเพิ่ม ความส�ำคัญของการสอบให้มากขึ้นเข้าไปอีก ขณะนี้ ไม่เพียงแต่นักเรียน และโรงเรียนต้องเป็นผู้รับผิดชอบผลการสอบของนักเรียนเท่านั้น ตัวครู ผู้สอนจะได้รับโบนัสหรือถูกไล่ออก ก็ขึ้นอยู่กับคะแนนสอบด้วยเช่นกัน 18

Finnis h Le s s o n s 2 . 0


ขบวนการปฏิรปู เร่งเครือ่ งเร็วขึน้ ในปี 2010 นิตยสาร Newsweek ฉบับที่ออกในฤดูใบไม้ผลิของปีนั้นตีพิมพ์เรื่องบนปก พร้อมประกาศ กร้าวว่า “เราต้องไล่ครูแย่ๆ ออกให้หมด” ราวกับว่าตอนนี้โรงเรียนถูกครู “แย่ๆ” ย�่ำยีไปหมดแล้ว เมื่อถึงฤดูใบไม้ร่วง ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Waiting for “Superman” ก็ออกฉายพร้อมการประโคมข่าวประชาสัมพันธ์ สาระหลักของภาพยนตร์เรือ่ งนีค้ อื โรงเรียนรัฐบาลของพวกเราก�ำลังตกต�ำ่ ลงเรือ่ ยๆ และความหวังเพียงอย่างเดียวส�ำหรับเด็กๆ ทีต่ ดิ อยูใ่ นโรงเรียน รัฐที่ “ก�ำลังตกต�่ำลง” คือการหนีไปศึกษาในโรงเรียนทางเลือกในก�ำกับ ของรัฐ (charter school) ที่มีเอกชนเป็นผู้บริหารจัดการ มิเชลล์ รีห์ (Michelle Rhee) ซึง่ ด�ำรงต�ำแหน่งศึกษาธิการเขตปกครองพิเศษโคลัมเบีย <หรือเมืองวอชิงตัน ดี.ซี.> ในขณะนั้น กลายมาเป็นบุคคลที่สื่อให้ความ สนใจ เนื่องจากเธอพูดข่มขู่โรงเรียนและแสดงความรื่นรมย์เมื่อไล่ครูหรือ ครูใหญ่ออกจากงาน มู ล นิ ธิ ที่ มั่ ง คั่ ง ที่ สุ ด ของอเมริ ก าบางแห่ ง เช่ น มู ล นิ ธิ บิ ล และ เมลินดา เกตส์ มูลนิธิอีไลและอีดิธ บรอด มูลนิธิครอบครัววอลตัน และ อีกหลายมูลนิธิ เทเงินจ�ำนวนหลายล้านดอลลาร์สหรัฐเข้าสู่ขบวนการ ปฏิรปู นี้ และสนับสนุนการสอบเดิมพันสูง โครงการสอนเพือ่ อเมริกา โรงเรียน ทางเลือกในก�ำกับของรัฐ หรือแม้แต่การใช้คูปองในโรงเรียนสอนศาสนา (กรณีของมูลนิธิวอลตัน) หลายรัฐ ซึ่งรวมถึงวิสคอนซิน มิชิแกน และอินดีแอนา ยกเลิก สิทธิการเจรจาต่อรองร่วม <collective bargaining การเจรจาเรือ่ งเงือ่ นไข และสภาพการจ้างงานระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง> สหภาพครูหลายแห่ง กลายเป็นแพะรับบาป พวกเขาถูกกล่าวหาว่าเป็นสาเหตุของคะแนนสอบ ที่ต�่ำและเป็นตัวการให้ต้นทุนด้านการศึกษาพุ่งกระฉูด เนื่องมาจากระบบ ประกันสุขภาพและเงินบ�ำนาญครู ผลการส�ำรวจแสดงให้เห็นว่าบรรดาครู ต่างเสียขวัญก�ำลังใจ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจอะไร เพราะทั้งตัวครูและวิชาชีพ ของพวกเขาต่างถูกโจมตี P a si S a h l b erg

19


ดังนั้น เมื่อหนังสือ Finnish Lessons ของ ปาสิ ซอห์ลเบิร์ก ตีพิมพ์ออกมา มันได้ให้มิติใหม่ในการอภิปรายเรื่องการศึกษา ประเทศ ฟินแลนด์ได้คะแนนสูงในการประเมินผลนักเรียนในระดับนานาชาติ โดยที่ ไม่เคยท�ำอะไรเหมือนที่นักปฏิรูปของอเมริกาเรียกร้องเลย ฟินแลนด์ มีระบบโรงเรียนรัฐที่เข้มแข็ง พวกเขาไม่มีทั้งโรงเรียนทางเลือกหรือ ระบบคูปอง ประเทศนี้ก�ำหนดมาตรฐานส�ำหรับผู้ที่ต้องการเข้าสู่วิชาชีพ สอนหนังสือไว้สูงมาก พวกเขาไม่มีโครงการชื่อ “สอนเพื่อฟินแลนด์” ซึ่งปล่อยให้ผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ไร้ประสบการณ์เข้ามาสอน ในโรงเรียน ซอห์ลเบิร์กได้อธิบายถึงหลักสูตรฝึกหัดครูที่ใช้เวลา 5 ปี ซึ่งครูทุกคนต้องส�ำเร็จการศึกษาก่อนจึงจะสอนในโรงเรียนได้ ในฟินแลนด์ ครูและครูใหญ่สงั กัดสหภาพเดียวกัน พวกเขาไม่เพียง เจรจาต่อรองเรื่องค่าจ้างและสภาพแวดล้อมในการท�ำงานเท่านั้น แต่ พวกเขายังยืนหยัดเรียกร้องในนามของเด็กๆ และโรงเรียนด้วย ถึงแม้ ประเทศแห่งนีจ้ ะมีหลักสูตรแห่งชาติ แต่ครูกย็ งั ได้รบั อิสระอย่างมากในการ ปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการและจุดแข็งของพวกเขาเอง สิ่งที่ดีที่สุดคือฟินแลนด์ไม่ก�ำหนดให้นักเรียนต้องสอบข้อสอบมาตรฐาน จนกว่าจะจบชั้นมัธยมปลาย ก็เหมือนดังที่ซอห์ลเบิร์กเขียนไว้ โรงเรียน คือเขตปลอดการสอบมาตรฐาน เรือ่ งหนึง่ ทีน่ กั การศึกษาของอเมริกาหลายท่านชืน่ ชอบอย่างมาก เกีย่ วกับ Finnish Lessons คือการทีห่ นังสือเล่มนีฉ้ ายภาพให้พวกเขาได้เห็น โลกอีกใบหนึง่ ซึง่ ให้ความเคารพนักการศึกษาและช่วยให้พวกเขาท�ำงาน ของตนได้เต็มศักยภาพ โลกแห่งนั้นตระหนักว่าสังคมมีหน้าที่ต้องสร้าง หลักประกันด้านสุขภาพและสวัสดิภาพให้เด็กทุกคน ซอห์ลเบิร์กรู้ดี ว่าเรื่องราวของฟินแลนด์ต่างจากสิ่งที่ก�ำลังเกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกาและ ประเทศอืน่ ๆ เหมือนหนังคนละม้วน เขาเรียกขบวนการทีส่ ง่ เสริมให้มกี าร สอบและการเลือกโรงเรียนว่า GERM หรือขบวนการปฏิรปู การศึกษาระดับ โลก (Global Educational Reform Movement) 20

Finnis h Le s s o n s 2 . 0


ใช่เลย ในความเป็นจริง สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และ อีกหลายประเทศติดเชือ้ GERM เข้าให้แล้ว หนังสือ Finnish Lessons 2.0 คือยาฆ่าเชื้อ มันช่วยเตือนสติเราว่า ไม่ว่าชาติใดก็สามารถสร้างระบบ โรงเรียนที่น่าชื่นชมได้ หากชาตินั้นใส่ใจกับความต้องการของนักเรียน คัดเลือกและเตรียมความพร้อมนักการศึกษาเป็นอย่างดี และสร้างชุมชน ทางการศึกษาที่ไม่เพียงแค่ดึงดูดใจจากสิ่งที่เห็นภายนอก หากแต่ยังเอื้อ ให้เกิดความสุขใจในการสอนและการเรียนรู้ — ไดแอน ราวิตช์

P a si S a h l b erg

21


ค�ำนิยมฉบับพิมพ์ครั้งแรก ภารกิจใหญ่ยังไม่ลุล่วง

การปล่อยดาวเทียมสปุตนิกของรัสเซียในทศวรรษ 1960 สร้างแรง ขับเคลื่อนมหาศาลให้เกิดการพัฒนานวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และ คณิตศาสตร์ในโรงเรียนของสหรัฐอเมริกา ในทศวรรษ 1980 และ 1990 ปรากฏการณ์จากดินแดนอาทิตย์อทุ ยั และเหล่าเสือเศรษฐกิจแห่งภูมภิ าค เอเชียที่เริ่มฉายแสง ณ ริมขอบฟ้า กระตุ้นให้เกิดการเรียกร้องให้สหรัฐฯ เลียนแบบวีธีการจัดการศึกษาของญี่ปุ่น อันได้แก่ มอบหมายงานให้ นักเรียนอย่างเข้มงวด ขยายขอบเขตผลกระทบของการสอบมาตรฐาน และเพิม่ จ�ำนวนชัว่ โมงการเรียนการสอนของแต่ละปีการศึกษา ส่วนในช่วง 10 ปีหลังนี้ เศรษฐกิจที่เจริญงอกงามในอินเดียและจีนได้เร่งให้คณะ กรรมการและโครงการริเริม่ ต่างๆ ของสหรัฐอเมริกาหันมาส่งเสริมการสอน ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 สนับสนุนการใช้ข้อก�ำหนดหลักสูตรที่รัดกุม กว่าเดิม และก�ำหนดมาตรฐานร่วมระดับชาติ แต่ในขณะเดียวกันก็จดั สอบ บ่อยขึ้น กระตุ้นให้ครูและโรงเรียนแข่งขันมากกว่าเดิม และเรียกร้องให้ ทุกคนต้องท�ำงานหนักขึ้น ถึงกระนั้น ในช่วง 25 ปีมานี้ เรากลับพบว่า มาตรฐานและผลงานของครูและโรงเรียนอเมริกันกลับตกต�่ำลงอย่าง ต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานนานาชาติ แต่ถึงผลลัพธ์จะออกมา เป็นเช่นนั้น ตลอดระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษที่ผ่านมาของการปฏิรูป การศึกษา สหรัฐอเมริกาก็เหมือนกับชาติแองโกล-อเมริกันอื่นๆ ที่เป็น 22

Finnis h Le s s o n s 2 . 0


ตัวอย่างอันสมบูรณ์แบบทีส่ ดุ ของความบ้าตามทีไ่ อน์สไตน์ได้เคยนิยามไว้ นัน่ คือ การทูซ่ ที้ ำ� ทุกอย่างเหมือนเดิมแต่กลับคาดหวังถึงผลลัพธ์ทแี่ ตกต่าง ยุทธศาสตร์การปฏิรปู ทีล่ ม้ เหลวไม่เป็นท่ามาแล้วในชาติแองโกล-แซกซัน หลายแห่งตลอดระยะเวลา 2 ทศวรรษทีผ่ า่ นมา ก�ำลังถูกน�ำเสนอในหีบห่อ ใหม่และน�ำมาบังคับใช้อีกครั้งด้วยพลังและเจตจ�ำนงอันแรงกล้ากว่าเดิม ยุทธศาสตร์ทวี่ า่ นี้ ได้แก่ การบังคับ การกดดัน การประจาน การแทรกแซง จากเบื้องบน ตลาด การแข่งขัน การก�ำหนดมาตรฐาน การสอบ การเข้าสู่ อาชีพสอนหนังสือทีง่ า่ ยและเร็วกว่าเดิม การสัง่ ปิดโรงเรียนทีล่ ม้ เหลว การ เลิกจ้างครูและครูใหญ่ที่ท�ำงานไม่เกิดประสิทธิผล และการตั้งต้นใหม่กับ ครูหนุ่มสาวและโรงเรียนที่เพิ่งก่อตั้ง

งุดๆ ตามกันไปเข้าเส้นชัย นักวิจารณ์จ�ำนวนมากไม่รีรอที่จะออกมาแสดงทัศนะ ไมเคิล ฟูลแลน (Michael Fullan) ที่ปรึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงในระดับ นานาชาติ ท�ำนายว่ายุทธศาสตร์เร่งเครื่องเข้าเส้นชัยของประธานาธิบดี โอบามาจะต้องล้มเหลวอย่างแน่นอน นโยบายนี้เกิดจากความตั้งใจจะ กอบกู้โรงเรียนที่มีผลงานแย่ที่สุด 5,000 แห่งทั่วประเทศ ยกเลิกข้อจ�ำกัด ต่างๆ เรื่องการก่อตั้งโรงเรียนทางเลือก และประเดิมใช้มาตรการเช่นการ จ่ายค่าตอบแทนโดยอิงจากผลงานเพือ่ ยกระดับคุณภาพครู (Fullan, 2010) ฟูลแลนกล่าวว่ายุทธศาสตร์นี้แทบจะไม่ได้ใส่ใจการพัฒนาความสามารถ ของผู้น�ำโรงเรียนและครู ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาร่วมกันในหมู่บุคลากร หรือการพัฒนาทั้งระบบ แผนนี้ยังตั้งอยู่บนทฤษฎีที่ล้มเหลว ซึ่งบอกว่า เราสามารถเพิม่ คุณภาพของครูได้โดยใช้ระบบการให้รางวัลทีม่ กี ารแข่งขัน เป็นตัวตัดสิน ทฤษฎีดังกล่าวมีฐานรากจากโมเดลการบริหารจัดการที่มี ช่องโหว่ เนือ่ งจากให้บคุ ลากรจัดการเฉพาะหน่วยการท�ำงานของตน และ ต้องรับผิดชอบผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเอง ซ�้ำยังต้องแข่งขันกับเพื่อนร่วมงาน P a si S a h l b erg

23


ทั้งหมดทั้งมวลนี้ก่อให้เกิดการแบ่งความรับผิดชอบ การไม่ประสานกับ หน่วยอื่น และการที่บุคลากรไม่มีสมรรถนะหรือสิ่งจูงใจมากพอที่จะ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ไดแอน ราวิตช์ (Diane Ravitch) ก็กล่าวประณาม “แผนการศึกษาที่เลวร้าย” ของ  บารัก โอบามา เช่นเดียวกัน เธอมองว่าโครงการนีก้ อ่ ความเสียหายยิง่ กว่า กฎหมายไม่ทอดทิ้งเด็กคนใดไว้เบื้องหลังที่ออกมาก่อนหน้านี้และถูก เย้ยหยันอย่างหนัก (Ravitch, 2010a) แผนการดังกล่าวสนับสนุนโรงเรียน ทางเลือกในก�ำกับของรัฐ แม้จะมีหลักฐานชี้ชัดว่าโดยเฉลี่ยแล้วโรงเรียน ประเภทนีไ้ ม่ได้มผี ลงานทีค่ งเส้นคงวาหรือดีกว่าโรงเรียนรัฐบาลทีม่ อี ยูแ่ ล้ว ในแต่ละเขตการศึกษาแต่อย่างใด สิ่งที่โรงเรียนทางเลือกท�ำก็เพียงแค่ “ช้อนเอานักเรียนทีด่ ที สี่ ดุ ในเขตชุมชนยากไร้ไว้” แล้วปล่อยให้เด็กทีเ่ หลือ ดิ้นรนกันไปตามยถากรรม (Ravitch, 2010b) ในขณะเดียวกัน การจ่าย ค่าตอบแทนโดยอิงจากผลงานก็ผูกการให้รางวัลครูเข้ากับการสอบที่ ออกแบบแย่จนชวนตระหนก อีกทั้งยังน่ากังขาว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ และ “ท�ำลายทีมเวิร์ก” ในหมู่บุคลากรวิชาชีพ ทั้งๆ ที่พวกเขาควร “ต้อง แบ่งปันเรือ่ งทีแ่ ต่ละคนรู”้ เธอสรุปว่าการปฏิรปู นี้ “ใจด�ำ จ้องจะลงโทษ และ ไม่แยแสต่อปัญหาจริงๆ ที่ครูต้องเผชิญ” หยง จ้ า ว (Yong Zhao) ผู ้ ท รงคุ ณ วุ ฒิ ร ะดั บ แนวหน้ า ของ สหรัฐอเมริกาที่เชี่ยวชาญเรื่องการปฏิรูปการศึกษาในประเทศจีนและ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชใี้ ห้เห็นว่า ประเทศจีนซึง่ เป็นคูแ่ ข่งทางเศรษฐกิจ รายส�ำคัญของสหรัฐอเมริกานัน้ ก�ำลังกระจายอ�ำนาจเรือ่ งหลักสูตรออกจาก ส่วนกลาง ใช้รูปแบบการประเมินผลนักเรียนที่หลากหลาย และสนับสนุน ให้ท้องถิ่นมีอ�ำนาจตัดสินใจและสร้างนวัตกรรม จ้าวสรุปว่า ในขณะที่ ประเทศจีนก�ำลังกระจายอ�ำนาจและสิงคโปร์กำ� ลังส่งเสริมสภาพแวดล้อม แห่งความคิดสร้างสรรค์ที่สะท้อนผ่านหลักการ “สอนน้อย เรียนรู้มาก” (Teach Less, Learn More) การศึกษาของสหรัฐฯ กลับดันทุรงั ทีจ่ ะ “ขยับ 24

Finnis h Le s s o n s 2 . 0


เข้าหาลัทธิอ�ำนาจนิยม นอกจากนั้นยังยอมให้รัฐบาลสั่งการว่านักเรียน ควรเรียนอะไร เรียนอย่างไร และโรงเรียนควรสอนอะไร และสอนอย่างไร” (Zhao, 2009) วัฒนธรรมและสังคมแองโกล-อเมริกันท�ำให้เกิดความหมกมุ่น เกินพอดีกับสิ่งที่ใหญ่กว่า ยากกว่า หินกว่า เร็วกว่า และแข็งแรงกว่า ไม่ว่าจะเป็นประเด็นทางวัฒนธรรม การเมือง หรือธุรกิจ ไม่เว้นแม้แต่การ ปฏิรูปการศึกษา ดังนั้น เราจึงเห็นบริษัทที่ยอมแลกความปลอดภัยของ ลูกค้ากับมูลค่าผู้ถือหุ้นที่เพิ่มสูงขึ้นเป็นเวลาสั้นๆ ธุรกิจที่ท�ำลายระบบ นิเวศเนื่องจากต้องการเพิ่มความสามารถในการท�ำก�ำไรด้วยวิธีที่บ้าบิ่น และสุ่มเสี่ยง การล่มสลายของภาคการคลังซึ่งเกิดจากหนี้ที่ใช้คืนไม่หมด มูลค่ามหาศาล ผู้เชี่ยวชาญด้านการกอบกู้ธุรกิจที่รื้อถอนแนวคิดเดิมตาม อ�ำเภอใจแล้วตัง้ เป้าการเติบโตทีไ่ ม่สะท้อนภาพการณ์ทแี่ ท้จริง และก�ำหนด โควต้ า การเลิกจ้า งบุค ลากรที่ก็ท�ำตามอ�ำ เภอใจพอๆ กัน ทั้งหมดนี้ เป็นผลมาจากความใจร้อน ความอหังการ ความอวดดี และความโลภ อันล้วนแล้วแต่เป็นลักษณะของธุรกิจประเภททีเ่ ลวร้ายทีส่ ดุ ความล้มเหลว การไล่บุคลากรออก การแข่งขัน และการปิดโรงเรียน คือผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ในภาคการศึกษาอันเทียบเคียงได้กบั การเปลีย่ นแปลงทีไ่ ม่ยงั่ ยืนของภาค ธุรกิจ สิง่ ทีพ่ วกเขาน�ำเสนอก็คอื การปฏิรปู โรงเรียนทีส่ ดุ โต่งเหมือนนักกีฬา ทีใ่ ช้สารสเตอรอยด์ หรือการปฏิรปู ทีข่ นาดใหญ่เกินควร เต็มไปด้วยความ กระตือรือร้น และถูกเสริมสร้างให้มีความสามารถแบบปลอมๆ ขึ้นมา แม้แต่ในแวดวงธุรกิจ เหล่ายุทธศาสตร์การกอบกู้ธุรกิจและ การพัฒนาประเภทอลังการงานสร้างเหล่านี้ก็ไม่อาจน�ำไปสู่การปรับปรุง คุณภาพอย่างยั่งยืนได้ บริษัทอาจล่มเพราะมีคนถอนหุ้น สินทรัพย์ถูก ขายทอดตลาด และลูกจ้างถูกไล่ออกโดยนายจ้างไม่ต้องรับผิด ทั้งหมดนี้ อาจสร้างผลตอบแทนระยะสั้นส�ำหรับผู้ถือหุ้นได้ก็จริง แต่ยุทธศาสตร์ ประเภทนี้แทบจะไม่ช่วยให้ใครไปรอดในระยะยาวเลย และในท้ายที่สุด บริษัทที่ด�ำเนินการกอบกู้ธุรกิจตามแนวทางนี้จ�ำนวนมากจะต้องสังเวย P a si S a h l b erg

25


ชีวิตให้กับพฤติกรรมบุ่มบ่ามของผู้น�ำพวกเขาเอง อันที่จริง มันเฟรด เคตส์ เดอ ฟรีส (Manfred Kets de Vries) ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการ อธิบายว่าผู้เชี่ยวชาญด้านการกอบกู้ธุรกิจจ�ำนวนมากก็ไม่ต่างอะไรกับ คนที่หลงตัวเองจนเข้าข่ายมีอาการทางจิต พวกต่อต้านสังคมที่ไม่รู้จัก ผิดชอบชั่วดี และพวกเจ้ากี้เจ้าการที่ชอบควบคุมสั่งการคนอื่น (Kets de Vries, 2006)

หนทางที่สามและหนทางที่สี่ในเบื้องหน้า ในประเทศแองโกล-อเมริกนั อืน่ ๆ ขบวนการปฏิรปู โรงเรียนทีโ่ ดน สารสเตอรอยด์เล่นงานหนักที่สุดกลับบรรเทาอาการลงได้เพราะหันมาใช้ ทางเลือกอืน่ ทีเ่ บากว่าและมุง่ เอาผิดคนท�ำงานน้อยกว่า แต่สำ� หรับอเมริกา เป้าหมายและจุดประสงค์ทางการเมืองของการปรับปรุงการศึกษาทีใ่ ช้การ ทดสอบความรูพ้ นื้ ฐานในวิชาการอ่านเขียน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ เป็นตัวขับเคลื่อนนั้น ยังคงถูกบังคับใช้อย่างไม่ยืดหยุ่นและไม่ย่อหย่อน แต่ในขณะนีว้ ธิ กี ารดังว่าถูกท�ำให้ดทู เุ ลาเบาบางลง ด้วยวาทกรรมเรือ่ งการ ปรับปรุงคุณภาพที่ลดระดับความรุนแรง และด้วยความช่วยเหลือในการ ท�ำงานทีม่ าในรูปสือ่ การสอนทีม่ คี ณ ุ ภาพมากกว่าเดิม ทรัพยากรทีเ่ พิม่ ขึน้ และการฝึกอบรมที่ดีกว่าเก่า ราว 10 ปีที่แล้วในประเทศอังกฤษและเมื่อไม่นานมานี้ (และใน รูปแบบทีแ่ ตกต่างออกไป) ในรัฐออนแทรีโอ ประเทศแคนาดา และในประเทศ ออสเตรเลีย มีการผลักดันและส่งเสริมโมเดลหนึ่งขึ้นมา โมเดลดังกล่าว อยู่กึ่งกลางระหว่างความมีอิสระทางวิชาชีพอย่างเต็มที่แบบในทศวรรษ 1970 กับการปฏิรูปที่ใช้หลักการสร้างมาตรฐานซึ่งใจด�ำ ตระหนี่ และใช้ ตลาดเป็นตัวขับเคลือ่ นของประเทศอังกฤษในทศวรรษ 1990 และอีกหลาย แห่งในเวลาต่อมา โมเดลนีเ้ ป็นโมเดลทีพ่ ฒ ั นาไปได้ไกลกว่าสองขัว้ ข้างต้น “หนทางทีส่ าม” (Third Way) ของการเปลีย่ นแปลงทางการศึกษา 26

Finnis h Le s s o n s 2 . 0


ที่สะท้อนให้เห็นในโมเดลดังกล่าว น�ำความพยายามปฏิรูปแบบสุดโต่ง ทั้งสองแบบมาพลิกแพลงถึงสองชั้น หนทางที่สามมีลักษณะดังนี้ • เน้นวัตถุประสงค์เชิงศีลธรรม (moral purpose) ของการศึกษา อย่างชัดเจน • ทุ่มเทเสริมสร้างความสามารถ (capacity) องค์ประกอบทัง้ สองนีน้ บั ว่าพอฟังขึน้ และสร้างแรงบันดาลใจในทางวิชาชีพ ได้มากกว่าหลักการปฏิรปู ชนิดทีไ่ ล่ลา่ และข่มขูใ่ ห้วชิ าชีพการสอนต้องยอม จ�ำนน แต่ในความเป็นจริง พวกมันก็ยังมีปัญหาอยู่มาก ประการแรก ในทางปฏิบัติ ความก้าวหน้าในเรื่องวัตถุประสงค์ เชิ ง ศี ล ธรรมของการปฏิ รู ป แบบหนทางที่ส ามนั้น ถึงแม้จ ะน่า ชื่นชม แต่วัตถุประสงค์เชิงศีลธรรมที่ตั้งไว้กลับ เหมือนกันไปหมด ไม่ว่าจะใน วัฒนธรรมไหน ประเทศอะไร หรือบริบทเช่นไร วัตถุประสงค์ดังกล่าวคือ การ ยกมาตรฐานและลดช่องว่าง เพื่อช่วยปรับปรุงคะแนนผลสัมฤทธิ์ ที่ได้จากการท�ำข้อสอบในรายวิชาการอ่านเขียนและคณิตศาสตร์ (ซึ่ง เชื่อมโยงกับเป้าหมายเรื่องผลสัมฤทธิ์ที่บังคับใช้เหมือนกันทั่วทั้งระบบ) ไม่วา่ จะเป็นทีอ่ อนแทรีโอ ออสเตรเลีย เบอร์มวิ ดา หรือเทศมณฑลเกรเทอร์ แมนเชสเตอร์ในอังกฤษ และเป้าหมายหรือจุดประสงค์เชิงศีลธรรมก็แทบ จะเป็นพิมพ์เดียวกัน แม้ประเทศและวัฒนธรรมจะแตกต่างกัน แต่สไลด์ พาวเวอร์พอยต์ของทีมที่ปรึกษาในแต่ละที่กลับดูเหมือนๆ กัน ในหนทาง ทีส่ ามนี้ บุคลากรไม่ได้เป็นผูน้ ยิ ามหรือพัฒนาวิสยั ทัศน์หรือจุดประสงค์เชิง ศีลธรรมทีพ่ วกเขามีรว่ มกันขึน้ มาเอง พวกเขาไม่ได้ เป็นเจ้าของ วิสยั ทัศน์ พวกเขาแค่ เช่า พวกมันมาจากคนอื่น ประการที่สอง ในขณะที่หนทางที่สามมีความมุ่งมั่นอันน่าชื่นชม ในการสร้างความสามารถ แต่มนั ก็มกั จะบิดเบือนความหมายของ “บุคลากร ผู้มีความสามารถ” และเบี่ยงเบนผู้คนออกจากจุดประสงค์อันประเสริฐ P a si S a h l b erg

27


ซึง่ เป็นทีม่ าของหนทางทีส่ าม ความคิดเรือ่ งการสร้างความสามารถปรากฏ ขึน้ เป็นครัง้ แรกในบริบทของประเทศก�ำลังพัฒนา การสร้างความสามารถ มีความคล้ายคลึงอย่างมากกับมโนทัศน์และยุทธศาสตร์การจัดองค์กร ชุมชน การสร้างความสามารถคือการช่วยให้ชุมชนช่วยเหลือตัวเองได้ มโนทัศน์นี้เชื่อในสมรรถนะของมนุษย์และการเพิ่มศักยภาพให้บุคลากร และเน้นช่วยเหลือผูค้ นให้สามารถเติมเต็มเป้าหมายทีม่ คี ณ ุ ค่าต่อพวกเขา เอง แต่กลับกลายเป็นว่า ในนโยบายต่างๆ ของหนทางทีส่ าม การสร้างความ สามารถมักจะถูกท�ำให้กลายไปเป็นอย่างอื่น มันกลับกลายไปเป็นการ ฝึกอบรมคนตามยุทธศาสตร์ต่างๆ ที่ถูกก�ำหนดมาแล้ว เพื่อให้บุคลากร สามารถบรรลุเป้าหมายด้านมาตรฐานความรับผิดชอบ (accountability) และจุดประสงค์ที่คนอื่นน�ำมายัดเยียดให้ ในหนทางที่สาม การสร้างความสามารถเป็นเรื่องการฝึกอบรม เพื่อให้สามารถด�ำเนินการตามนโยบายได้ หนทางที่สามต่างจากหนทาง ทีส่ ี่ (Fourth Way) ที่ เดนนิส เชอร์ลยี ์ (Dennis Shirley) กับผมน�ำเสนอร่วม กันหลังจากได้ร่วมงานกับเขตการปกครองที่มีผลงานดีเลิศอย่างประเทศ ฟินแลนด์และรัฐแอลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา หนทางทีส่ เี่ ป็นหนทางแห่ง แรงบันดาลใจ นวัตกรรม และความรับผิดชอบร่วมกัน และในหนทางนี้ การสร้างความสามารถจะเกีย่ วข้องกับการเติบโตและการพัฒนาทีบ่ คุ ลากร เป็นผู้ริเริ่มเอง (Hargreaves & Shirley, 2009) ผมขอกล่าวโดยสรุปอย่าง ชัดเจนเลยว่า หนทางที่สามเป็นการหยิบยืมและปฏิบัติตามนโยบายของ ผู้อื่น ในขณะที่หนทางที่สี่เกี่ยวข้องกับการถือครองกรรมสิทธิ์ร่วมกันและ การพัฒนาเป้าหมายที่มีความหมายอย่างลึกซึ้งต่อชุมชนเอง

เส้นทางแห่งแสงเหนือ ท่ามกลางนโยบายที่ผสมผเสกันมากมายนี้ มีต้นแบบแห่งหนึ่ง ที่น่าเอาเยี่ยงอย่างด้านการศึกษาซึ่งไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นไปได้อย่างที่สุด 28

Finnis h Le s s o n s 2 . 0


นั่นคือ ประเทศฟินแลนด์ ประเทศนอร์ดิกเล็กๆ ที่เพิ่งจะมีประชากรถึง 5.5 ล้านคนแห่งนี้ ได้ส่องแสงให้ผ้คู นเห็นหนทางอื่นทีจ่ ะน�ำไปสูเ่ ป้าหมาย ทางการศึกษาและเศรษฐกิจ ซึ่งต่างไปจากหนทางที่บรรดาชาติแองโกลอเมริกันก�ำลังสร้างขึ้น ฟินแลนด์แสดงให้เราเห็นด้วยผลงานที่เหนือกว่า ชาติ อื่ น ชนิ ด คาดไม่ ถึ ง อย่ า งต่ อ เนื่ อ งจากการสอบวั ด ผลสั ม ฤทธิ์ ข อง นักเรียนในระดับนานาชาติ และค่าความต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์ของ นักเรียนทีน่ อ้ ยทีส่ ดุ ในโลก <แสดงถึงความเสมอภาคของการศึกษาทัว่ ทัง้ ประเทศและภายในโรงเรียน> นอกจากนีฟ้ นิ แลนด์ยงั อยูล่ ำ� ดับต้นๆ ในด้าน ความสามารถการแข่งขันเชิงเศรษฐกิจ ความโปร่งใสในองค์กร สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตโดยรวม นักการศึกษาและผู้ก�ำหนดนโยบายทั่วโลกล้วนสงสัยและทึ่งกับ ตัวอย่างที่ไม่ธรรมดาของประเทศฟินแลนด์ พวกเขาจึงพากันเดินทาง ไปเยี่ยมชมประเทศสแกนดิเนเวียแห่งนี้เพื่อตามหาเคล็ดลับแห่งความ ส�ำเร็จ นับว่าผมโชคดีทไี่ ด้เป็นหนึง่ ในนัน้ ในปี 2007 ผมได้รบั โอกาสอันหา ได้ยากให้พาทีมงานกลุม่ เล็กๆ ขององค์การเพือ่ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และการพัฒนา (OECD) ไปเยือนฟินแลนด์เพื่อส�ำรวจตรวจตราหาความ เชื่อมโยงระหว่างความส�ำเร็จของฟินแลนด์กับยุทธศาสตร์ที่ใช้ในการ ปรับปรุงคุณภาพโรงเรียนและพัฒนาภาวะผูน้ ำ� ของประเทศนี้ (Hargreaves, Halasz, & Pont, 2008) พวกเราแตกต่ า งจากผู ้ อ อกความเห็ น คนอื่ น ๆ ที่ ก ล่ า วถึ ง ประสบการณ์ของฟินแลนด์ตรงที่พวกเราไม่ได้ใช้เฉพาะแหล่งข้อมูล ทุติยภูมิเท่านั้น ข้อมูลทุติยภูมิมักมาจากการสัมภาษณ์ผู้กำ� หนดนโยบาย ระดับอาวุโสไม่กี่ครั้ง หรืออ้างอิงงานวิจัยด้านการศึกษาที่มีเผยแพร่อยู่ ทั่วไป แต่พวกเราเข้าสังเกตการณ์และสัมภาษณ์นักเรียน ครู ผู้บริหาร โรงเรียน ผูบ้ ริหารเขตการศึกษา ผูท้ รงคุณวุฒดิ า้ นการวิจยั ในมหาวิทยาลัย และบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ ไล่ไปจนถึงเจ้าหน้าที่ระดับสูงสุด พวกเราไม่ เ พี ย งอ่ า นเอกสารด้ า นประวั ติ ศ าสตร์ แ ละการจั ด การของ P a si S a h l b erg

29


ฟินแลนด์ในฐานะที่เป็นสังคมหนึ่ง แต่ยังอ่านที่เกี่ยวกับบริษัทชั้นน�ำที่มี พลวัตของประเทศนีอ้ ย่างบริษทั โนเกียด้วย พวกเราต้องการเข้าใจประเทศ และประวัติศาสตร์เท่าๆ กับที่อยากเข้าใจโรงเรียน และเราต้องการรู้ถึง สิง่ ทีจ่ ะอธิบายการฟืน้ ฟูดา้ นเศรษฐกิจและการศึกษาอย่างรวดเร็วหลังการ พั ง ทลายของก� ำ แพงเบอร์ ลิ น และการล่ ม สลายของตลาดการค้ า ของ ฟินแลนด์ที่เคยได้รับการคุ้มครองในสหภาพโซเวียตในปี 1990 จากการ วิจัย พวกเราค้นพบในเวลาไม่นานเลยว่า ผู้ทรงคุณวุฒิแถวหน้าในเรื่อง ยุทธศาสตร์การปฏิรูปด้านการศึกษาของฟินแลนด์ในตอนที่เราท�ำวิจัย รวมถึงในขณะนี้ก็คือ ปาสิ ซอห์ลเบิร์ก ซอห์ลเบิร์กเติบโตในครอบครัวที่ผูกพันกับการศึกษา เขาเคย สอนในระบบโรงเรียนฟินแลนด์ก่อนจะมาสอนในระดับมหาวิทยาลัย จากตรงนัน้ เขาก้าวไปดูแลยุทธศาสตร์การพัฒนาทางวิชาชีพให้กระทรวง ศึกษาธิการ และก็เหมือนกับนักวิจยั และผูอ้ อกความเห็นทีด่ ที สี่ ดุ ทัง้ หลาย ซอห์ลเบิร์กเคยและยังเป็นทั้งคนในและคนนอก ในฐานะคนในผู้ภักดี และเป็นที่ไว้วางใจ ปัจจุบันซอห์ลเบิร์กรับต�ำแหน่งเป็นผู้น�ำองค์กรด้าน นวัตกรรมแถวหน้าแห่งหนึ่งของประเทศฟินแลนด์ เขามีทั้งพื้นฐานและ ความเข้าใจที่เข้มข้นและแท้จริงในเรื่องกลไกภายในระบบการศึกษาและ สังคมภาพใหญ่ของประเทศ ซึง่ มักเป็นสิง่ ลึกลับอย่างยิง่ ส�ำหรับผูม้ าเยือน ที่เป็นคนนอก เมือ่ ปาสิ ซอห์ลเบิรก์ ต้องจากฟินแลนด์เพือ่ มารับต�ำแหน่งส�ำคัญ ณ ธนาคารโลก เขาได้พัฒนาความสามารถในการท�ำความเข้าใจ ตีความ และส่งเสริมระบบของประเทศหลายแห่งในยุโรปตะวันออก เอเชียกลาง แอฟริกาตอนเหนือ และตะวันออกกลางได้ในเวลาอันรวดเร็ว นอกเหนือจาก ตีพมิ พ์บทความวิชาการชิน้ ส�ำคัญเกีย่ วกับประเทศบ้านเกิดหลายต่อหลาย ชิน้ เขายังได้เขียนรายงานประเทศ (country report) ว่าด้วยฟินแลนด์ฉบับ สมบูรณ์ให้ธนาคารโลกด้วย สถานะคนในของ ปาสิ ซอห์ลเบิร์ก ในที่นี้นับว่าส�ำคัญอย่างยิ่ง 30

Finnis h Le s s o n s 2 . 0


เขาไม่เพียงสนใจการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบโดยใช้แค่เพียงสมองของ เขาเท่านั้น หากยังมีความห่วงใยอย่างสุดหัวใจต่อนักเรียน ครู และชุมชน ซึง่ เป็นผูท้ จี่ ะได้รบั ประโยชน์จากการปฏิรปู ในทีส่ ดุ และทุกวันนีเ้ ขาก็ยงั คง ผูกพันกับทั้งนักเรียน ครู และชุมชนอย่างลึกซึ้ง หนึ่งในคุณลักษณะที่ โดดเด่นของเขาคือ เมื่อเขาเดินทางไปประเทศไหนก็ตามเป็นครั้งแรก ในฐานะผูป้ ระเมินและสนับสนุนระบบ สิง่ หนึง่ ทีเ่ ขาจะลงมือท�ำเสมอในฐานะ มืออาชีพคือเข้าสอนวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมธรรมดาๆ แห่งหนึง่ ในประเทศนั้นหนึ่งครั้ง ปาสิ ซอห์ลเบิร์ก ช่วยให้พวกเราทีมงานของ OECD ได้เข้าใจ ดังที่เขาจะช่วยให้ผู้อ่านหนังสือเล่มนี้ได้เข้าใจ ว่าอะไรที่ท�ำให้การปฏิรูป ของฟินแลนด์สำ� เร็จอย่างหาใครเทียบได้ยาก รวมทัง้ ช่วยให้เข้าใจด้วยว่าใน ฐานะตัวอย่างทีค่ วรด�ำเนินรอยตามในด้านการเปลีย่ นแปลงทางการศึกษา นั้น ท�ำไมการปฏิรูปของฟินแลนด์กลับสร้างความยุ่งยากใจให้บรรดาชาติ แองโกล-อเมริกนั ปาสิแสดงให้เห็นว่าระบบฟินแลนด์มลี กั ษณะดังต่อไปนี้ • พัฒนาและเป็นเจ้าของวิสัยทัศน์ด้านการเปลี่ยนแปลงการศึกษา และสังคมด้วยตนเอง โดยที่วิสัยทัศน์นี้ไม่แบ่งแยกกีดกันคนและ เปี่ยมความคิดสร้างสรรค์ แทนที่จะเช่าวิสัยทัศน์มาตรฐานซึ่งถูก พัฒนาขึ้นมาในบริบทอื่น • พึ่งพาครูทมี่ คี ณ ุ ภาพสูงและผ่านการฝึกหัดเป็นอย่างดี ผูถ้ งึ พร้อม ทัง้ คุณสมบัตดิ า้ นวิชาการและมีวฒ ุ กิ ารศึกษาระดับปริญญาโท ครู สนใจเข้าสู่วิชาชีพนี้เพราะภารกิจเพื่อสังคมที่จับจิตจับใจพวกเขา และสภาพแวดล้อมในการท�ำงานที่เปี่ยมอิสรภาพและได้รับการ สนับสนุน ซึง่ นับว่าแตกต่างจากยุทธศาสตร์การเข้าสูว่ ชิ าชีพอย่าง รวดเร็วโดยอาศัยการฝึกอบรมระยะสั้น และมีอัตราครูลาออกสูง ดังที่เราเห็นกันในหลายประเทศ เช่น อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา • ใช้ยุทธศาสตร์การศึกษาพิเศษ (special education) ที่ครอบคลุม P a si S a h l b erg

31


ผู้เรียนทุกคน นักเรียนเกือบครึ่งหนึ่งของทั้งประเทศจะได้รับการ สนับสนุนด้านการศึกษาพิเศษบางรูปแบบในช่วงเวลาใดช่วงเวลา หนึ่งก่อนส�ำเร็จการศึกษาภาคบังคับที่กินเวลา 9 ปี แทนที่จะใช้ ยุทธศาสตร์การศึกษาพิเศษที่ใช้กฎหมายระบุว่านักเรียนมีความ ต้องการพิเศษ การจัดเด็กเข้าเรียนชั้นเรียนการศึกษาพิเศษหรือ ในชัน้ เรียนปกติ <มีทางเลือกถึง 6 รูปแบบในกฎหมายว่าด้วยการ ศึกษาของผู้พิการของสหรัฐฯ> รวมไปถึงการตีตรา <ระบุความ บกพร่องของเด็ก เช่น เด็กที่มีปัญหาการเรียนรู้ มีความบกพร่อง ทางการได้ยิน หรือมีอาการออทิสติก เป็นต้น> ซึ่งจะด�ำเนินการ กับปัจเจกบุคคลเป็นกรณีๆ ไป อย่างทีช่ าติแองโกล-อเมริกนั นิยมท�ำ • พัฒนาความสามารถของครูให้สามารถร่วมกันรับผิดชอบการ พัฒนาหลักสูตรและการประเมินเพื่อวินิจฉัยผู้เรียน แทนที่จะ มีหน้าที่แค่สอนตามหลักสูตรซึ่งผู้อื่นก�ำหนดมาให้ และเตรียม ความพร้อมนักเรียนเพื่อท�ำข้อสอบมาตรฐานที่รัฐบาลกลางเป็น ผู้ออกแบบ • เชื่อมโยงการปฏิรูปการศึกษาเข้ากับการพัฒนาความสามารถ ในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์ รวมถึงการพัฒนา ความสมานฉันท์ในสังคม การอยู่ร่วมกันอย่างไม่แบ่งแยกกีดกัน และชุมชนที่ทุกคนร่วมเป็นเจ้าของในสังคมวงกว้าง ปาสิ ซอห์ลเบิร์ก กระตุ้นเตือนพวกเราไม่ให้หันไปใช้ยุทธศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา (ซึ่งเขาเรียกว่า GERM) ที่ผลักดันโดย ผู้น�ำทางการเมืองของชาติแองโกล-อเมริกันและที่ปรึกษาด้านการศึกษา ของพวกเขา บุคคลเหล่านี้เมินเฉยต่อบทเรียนที่เปี่ยมศักยภาพจากการ ปฏิรูปการศึกษาฟินแลนด์เพียงเพราะมันไม่สอดคล้องกับอุดมการณ์ ของพวกเขา ชาติที่ถล�ำและจมอยู่กับอัตราความเหลื่อมล�้ำทางเศรษฐกิจ ที่สูงกลับเลือกตอบสนองต่อความใจร้อนของสาธารณชน เพื่อให้ได้มาซึ่ง 32

Finnis h Le s s o n s 2 . 0


ผลตอบแทนระยะสั้นและน�ำไปสู่การพูดจาอวดอ้างเกินจริง ซอห์ลเบิร์ก แสดงให้เห็นว่าบุคคลทั้งหลายที่เมินใส่ฟินแลนด์ (แน่นอนว่า เพื่อจะได้ ใช้โมเดลที่พวกเขาเองชื่นชอบมากกว่า) โดยยกเหตุผลเรื่องขนาดที่ ไม่ใหญ่โตของประเทศแห่งนี้ ได้มองข้ามข้อเท็จจริงที่ว่า ประชากร จ�ำนวน 5.5 ล้านคนของฟินแลนด์นนั้ ใกล้เคียงกับประชากรโดยเฉลีย่ ในรัฐ ส่วนใหญ่ของอเมริกา และการตัดสินใจในเรือ่ งนโยบายการศึกษาส่วนมาก ก็เกิดขึน้ ในระดับรัฐ ในขณะทีม่ ขี อ้ โต้แย้งว่าฟินแลนด์แตกต่างจากประเทศ อย่างสหรัฐอเมริกา อังกฤษ หรือแคนาดามากเกินไป (ราวกับว่าอินเดีย จีน และญี่ปุ่นไม่แตกต่างอย่างนั้นแหละ!) ซอห์ลเบิร์กก็ได้แสดงให้เห็นว่า ฟินแลนด์ทำ� อย่างไรจึงเปลีย่ นแปลงอัตลักษณ์และทิศทางของตนในฐานะ ชาติชาติหนึง่ ได้สำ� เร็จอย่างน่าทึง่ และประเทศอืน่ ๆ ก็สามารถและสมควร ต้องท�ำอย่างเดียวกันนี้ด้วย ในการตอบค�ำถามเรือ่ งการปฏิรปู การศึกษาของประเทศแองโกลอเมริกันบางค�ำถามนั้น ยุทธศาสตร์ของการปฏิรูปที่เร่งเครื่องราวกับโดน สารสเตอรอยด์และโครงการเร่งเครื่องเข้าเส้นชัยที่ส่งเสริมให้คน “งุดๆ” ตามกันไปไม่สามารถให้ค�ำตอบนี้ได้ แต่งานของซอห์ลเบิร์กสามารถ ตอบค�ำถามเหล่านี้ได้อย่างลึกซึ้งถึงแก่น นี่ไม่ใช่เพียงเพราะว่า ปาสิ ซอห์ลเบิรก์ เป็นผูท้ รงคุณวุฒทิ หี่ ลักแหลมและน่าเชือ่ ถือในเรือ่ งการปฏิรปู อันน่าเอาเป็นเยี่ยงอย่างของประเทศเขาเองเท่านั้น แต่ยังเป็นเพราะว่า ในฐานะนักการศึกษาแถวหน้าในระดับโลกและอดีตผู้ทรงคุณวุฒิแห่ง ธนาคารโลกผู้เชี่ยวชาญเรื่องประเทศและระบบการศึกษาของประเทศ ต่างๆ จ�ำนวนมาก ซอห์ลเบิรก์ เองได้พฒ ั นาการมองด้วยสายตานานาชาติ ในเรือ่ งการปฏิรปู การศึกษา พร้อมๆ กับทีเ่ ขาก็มขี อ้ ได้เปรียบของคนนอก ตรงทีส่ ามารถถ่ายทอดเรือ่ งราวทีค่ นุ้ เคยในฟินแลนด์ให้กลายเป็นประเด็น สดใหม่ในสายตาของคนอื่นได้ วิธีการหนึ่งที่จะช่วยให้ครูพัฒนาได้คือการเรียนรู้จากครูคนอื่น โรงเรียนก็ดีขึ้นได้เมื่อพวกเขาเรียนรู้จากโรงเรียนอื่นเช่นกัน การแยกตัว P a si S a h l b erg

33


ออกมาล�ำพังนั้นเป็นปฏิปักษ์ต่อการปรับปรุงเพื่อให้เกิดความก้าวหน้า ในทุกเรือ่ ง เราใช้เวลาหลายทศวรรษเพือ่ ก�ำจัดการแยกตัวของครูทงั้ ภายใน โรงเรียนและระหว่างโรงเรียน บัดนี้ถึงเวลาแล้วที่เราจะรื้อถอนอุดมคติ ที่ว่าเรานี่แหละเหนือกว่าชาติอื่น (exceptionalism) ซึ่งปรากฏในประเทศ สหรัฐอเมริกาและชาติแองโกล-อเมริกันอื่นๆ หากเราต้องการพัฒนา การปฏิรูปที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ครู เพื่อให้พวกเขาปรับปรุง คุณภาพการเรียนรู้ของเด็กๆ ทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กที่ต้องดิ้นรน กระเสือกกระสนมากที่สุด ในภารกิจที่ส�ำคัญเช่นนี้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ปาสิ ซอห์ลเบิร์ก คือครูที่ดีที่สุดคนหนึ่งเท่าที่เราเคยมีมา

34

— แอนดี ฮาร์กรีฟส์

Finnis h Le s s o n s 2 . 0



ค�ำน�ำฉบับพิมพ์ปรับปรุง

ย้อนกลับไปตอนทีส่ หัสวรรษใหม่เพิง่ เริม่ ต้น ภูมทิ ศั น์ดา้ นการศึกษา ของโลกดูต่างจากทุกวันนี้มาก ขณะนั้น ประเทศและเขตการปกครอง หลายแห่งเชือ่ ว่าพวกเขามีระบบการศึกษาดีทสี่ ดุ ในโลก การลงทุนจ�ำนวน มหาศาลกับการปฏิรูปการศึกษาระดับชาติได้ช่วยหล่อเลี้ยงความหวัง ทีจ่ ะก้าวขึน้ ครองต�ำแหน่งผูน้ ำ� ระดับโลกในการจัดอันดับนานาชาติ การทุม่ เม็ดเงินมากมายเช่นนั้นมักมากับค�ำมั่นสัญญาว่าจะได้ความเป็นเลิศและ แนวทางแก้ปญ ั หากลับมาอย่างทันใจ ในช่วงเวลาเดียวกันนัน้ เอง ระบบการ ศึกษาบางแห่งก�ำลังพยายามยกระดับความเสมอภาคและความเท่าเทียม ด้านโอกาสเพื่อสร้างหลักประกันการเข้าถึงการเรียนรู้ให้แก่เด็กทุกคน ประเทศเหล่านีไ้ ม่ได้ตงั้ เป้าว่าจะต้องอยูใ่ นกลุม่ ชาติทดี่ ที สี่ ดุ ในโลก แต่กลับ ท�ำทุกวิถีทางเพื่อมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้แก่เด็กๆ รวมไปถึงพ่อแม่ของเด็ก เหล่านั้นด้วย เรื่องตลกก็คือในปัจจุบันไม่มีประเทศที่ตั้งเป้าจะเป็นที่สุด ประเทศใดเลยทีส่ ำ� เร็จดังหวัง ส่วนระบบโรงเรียนทีป่ ระสบความส�ำเร็จทีส่ ดุ ในโลกขณะนี้ ก็ล้วนไม่เคยหมายมั่นปั้นมือว่าจะต้องเป็นที่หนึ่ง หนังสือ Finnish Lessons เกิดขึน้ ท่ามกลางภูมทิ ศั น์ทางการศึกษา ของโลกในรูปแบบใหม่ที่ก�ำลังปรากฏตัวขึ้นมาดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น 36

Finnis h Le s s o n s 2 . 0


นักวิจัยทั่วโลกเริ่มค้นหาปัจจัยร่วมที่จะใช้อธิบายผลงานด้านการศึกษา ที่ดีเกินคาดของฟินแลนด์ เกาหลี แคนาดา ญี่ปุ่น รวมถึงประเทศสิงคโปร์ และเอสโตเนียในเวลาต่อมา แต่คำ� ถามทีร่ บกวนจิตใจผมมากกว่ากลับเป็น ค�ำถามที่ว่า ระบบโรงเรียนที่ประสบความส�ำเร็จเหล่านี้ ไม่ได้ ท�ำอะไร อย่างที่คนอื่นเขาท�ำกันบ้าง หลังจากนั้นไม่นาน ผมได้พบค�ำตอบว่ากรณี ของฟินแลนด์นับเป็นความสุดโต่งที่ผิดแปลกไปจากทุกประเทศในหลาย ด้านด้วยกัน ดูเหมือนว่าฟินแลนด์จะมีนโยบายกลางส�ำหรับโรงเรียน ซึง่ มีลกั ษณะเกือบจะตรงกันข้ามอย่างสิน้ เชิงกับนโยบายในสหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และประเทศส่วนใหญ่ในโลกประเทศอืน่ ๆ หนังสือ Finnish Lessons ทีต่ พี มิ พ์ในปลายปี 2011 เป็นเรือ่ งราวเกีย่ วกับ หนทางแก้ไขปัญหาด้านการศึกษาแบบทางเลือกทีอ่ ยูเ่ บือ้ งหลังผลงานด้าน การศึกษาที่ดีอย่างน่าประหลาดใจของฟินแลนด์ เมือ่ ผมได้รบั เชิญให้ไปบรรยายเกีย่ วกับ Finnish Lessons ซึง่ ผม ได้เริ่มออกบรรยายตั้งแต่หนังสือพิมพ์ครั้งแรกและเผยแพร่ไปทั่วทุกทวีป ในโลก ผมจะเริ่มต้นด้วยการยกค�ำเตือน 3 ข้อซึ่งผมอยากจะกล่าวถึงในที่ นีด้ ว้ ย ประการแรก ความตัง้ ใจของผมในการเขียนหนังสือเล่มนีแ้ ละการน�ำ เสนอระบบการศึกษาของประเทศฟินแลนด์นั้น ไม่ใช่เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ฟัง เชือ่ ว่าฟินแลนด์มรี ะบบการศึกษาดีทสี่ ดุ ในโลก สือ่ นานาชาติและผูร้ จู้ ำ� นวน หนึง่ ได้สร้างภาพประทับแบบผิดๆ ว่ามีมาตรวัดระดับโลกทีใ่ ช้ตดั สินได้วา่ อะไรคือระบบการศึกษาที่ดีและแย่ที่สุดในการจัดอันดับด้านการศึกษา ระดับนานาชาติในปัจจุบันครอบคลุมเพียงแค่ไม่กี่รายวิชา โดยทั่วไปจะ ได้แก่วชิ าการอ่านเขียน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์เท่านัน้ ดังนัน้ เมือ่ ผลส�ำรวจครัง้ แรกของการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Programme for International Student Assessment - PISA) ออกเผยแพร่สู่สาธารณะ ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001 และปรากฏว่าฟินแลนด์ติดอันดับที่หนึ่ง ชาวฟินน์บางคนถึงขัน้ เปรยกับตัวเองว่า “พวกเราต้องท�ำอะไรสักอย่างผิด แน่ๆ ประเทศเราถึงได้อนั ดับดีทสี่ ดุ ในการประเมินวัดผลทีอ่ งิ กับผลข้อสอบ P a si S a h l b erg

37


มาตรฐานที่วัดผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนในวิชาการแค่สามแขนง” หากจะมี นักการศึกษาของฟินแลนด์ที่เอ่ยปากออกมาเองว่าระบบโรงเรียนของ ฟินแลนด์ดีที่สุดในโลก จ�ำนวนที่ว่านั้นก็คงน้อยมาก ประการที่ ส อง ผมไม่ ไ ด้ เ อ่ ย อ้ า งในหนั ง สื อ เล่ ม นี้ ห รื อ ในการ ปาฐกถาที่ไหนเลยว่า หากประเทศอื่นลอกเลียนแบบและน�ำโมเดลของ ฟินแลนด์ไปใช้ปฏิรปู ระบบการศึกษาของพวกเขาเองแล้ว สิง่ ต่างๆ จะดีขนึ้ ผูท้ รงคุณวุฒดิ า้ นการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาบางท่านก่อนหน้าผมเคย กล่าวไว้วา่ การปฏิรปู โรงเรียนเป็นนักเดินทางทีไ่ ม่เอาไหน นัน่ หมายความ ว่าสิง่ ทีด่ เู หมือนจะช่วยให้ระบบการศึกษามีผลงานดีเกินคาดในทีแ่ ห่งหนึง่ อาจไม่กอ่ ให้เกิดผลลัพธ์เช่นเดียวกันในระบบโรงเรียนแห่งอืน่ ก็ได้ ผมต้อง ยอมรับว่า บ่อยครั้งผมได้พบแขกผู้มาเยือนฟินแลนด์หรือท�ำการศึกษา ระบบฟินแลนด์ที่เชื่อว่าถ้าพวกเขามีหลักสูตร สิ่งปลูกสร้างในโรงเรียน และครูของฟินแลนด์ ปัญหาท้าทายด้านการศึกษาของพวกเขาจะมลาย หายสิน้ ไป หนังสือเล่มนีแ้ ละผลงานอืน่ ของผมทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับหนังสือเล่มนี้ ในทั่วโลกนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นย�้ำว่าเราสามารถเรียนรู้จากกันและ กันได้ ฟินแลนด์อาจเป็นแรงบันดาลใจให้นักการศึกษาของประเทศอื่น และท�ำให้พวกเขาได้คดิ อย่างลึกซึง้ ยิง่ ขึน้ เกีย่ วกับโรงเรียนและวัฒนธรรม ของตน มีบทเรียนจ�ำนวนมากซึ่งผู้อื่นสามารถเรียนรู้จากเราดังที่ผมได้ แบ่งปันไว้ในหนังสือเล่มนี้ ไม่ตา่ งจากทีฟ่ นิ แลนด์เองก็ได้รบั แรงบันดาลใจ จากนักการศึกษาและระบบโรงเรียนทั่วโลก ประการสุดท้าย เป็นเรื่องจ�ำเป็นที่เราต้องพึงระลึกอยู่เสมอว่า นวัตกรรมด้านการเรียนการสอนในห้องเรียนและแรงบันดาลใจเบื้องหลัง นโยบายด้านการศึกษาของฟินแลนด์ส่วนมากมีต้นก�ำเนิดในประเทศอื่น ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 หลังจากฟินแลนด์ได้รับเอกราช และระบบการ ศึกษาเริ่มพัฒนาเป็นรูปเป็นร่าง ประเทศเยอรมนีและสวิตเซอร์แลนด์ เป็นต้นแบบให้แก่โรงเรียนฟินแลนด์ยคุ แรก จากนัน้ ฟินแลนด์กร็ บั ความคิด เรือ่ งระบบโรงเรียนแบบผสมทีม่ คี วามเสมอภาคมาจากประเทศเพือ่ นบ้าน 38

Finnis h Le s s o n s 2 . 0


ในกลุ่มนอร์ดิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสวีเดน ในระยะหลังนี้ นักการศึกษา ฟินแลนด์ได้ค้นพบความคิดดีๆ จากอังกฤษ สกอตแลนด์ แคนาดา และ สหรัฐอเมริกา และน�ำความคิดเหล่านั้นมาปรับปรุงการเรียนการสอนใน โรงเรียนให้ลุ่มลึกขึ้น ทฤษฎีหลักสูตร วิธีการสอน การวัดผลผู้เรียน และ โมเดลภาวะผูน้ ำ� ในโรงเรียนเป็นตัวอย่างของอิทธิพลด้านบวกทีฟ่ นิ แลนด์ ได้รบั จากการวิจยั และการพัฒนาด้านการศึกษาของสหรัฐอเมริกามาตัง้ แต่ ทศวรรษ 1980 หนังสือ Finnish Lessons ฉบับปรับปรุงที่ท่านถืออยู่ในมือนี้ บรรจุข้อมูลที่ทันสมัยเกี่ยวกับบริบทการศึกษาของประเทศฟินแลนด์และ ข้อมูลทางสถิติล่าสุดที่ได้จากการประเมินผลงานด้านการศึกษาในระดับ นานาชาติ เนื้อหาของฉบับปรับปรุงนี้ได้ข้อมูลมาจากการศึกษาและการ ส�ำรวจระดับนานาชาติทงั้ หมดทีฟ่ นิ แลนด์เข้าร่วมตัง้ แต่ปี 2011 เป็นต้นมา จากหลักฐานที่รวบรวมได้ล่าสุดนี้เอง ส่วนหนึ่งของเนื้อหาในหนังสือ ฉบับพิมพ์ครั้งนี้จะกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นใน ฟินแลนด์ รวมถึงรูปแบบการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่พอจะเป็น ไปได้ นอกจากนี้ ผมได้เพิ่มค�ำอธิบายเรื่องการศึกษาปฐมวัยซึ่งตอนนี้ ได้รับการผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษาฟินแลนด์ รวมถึง ค�ำอธิบายเรื่องระบบการศึกษาส�ำหรับผู้มีความต้องการพิเศษที่ยกเครื่อง ใหม่ และการลงรายละเอียดเรื่องการสอบวัดความรู้ก่อนเข้ามหาวิทยาลัย เมื่อนักเรียนจบการศึกษาชั้นมัธยมปลาย การเดินทางของ Finnish Lessons นับว่าประสบความส�ำเร็จ เป็นอย่างดี ผมได้นำ� เสนอความคิดในหนังสือเล่มนีต้ อ่ รัฐสภาของประเทศ สกอตแลนด์ อังกฤษ สวีเดน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหภาพยุโรป หนังสือเล่มนี้พาผมไปรู้จักมิตรสหายและเพื่อนร่วมงานใหม่เป็นจ�ำนวน มาก ในปี 2013 Finnish Lessons ได้รบั รางวัลกรอว์เมเยอร์ (Grawemeyer Award) ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติที่มหาวิทยาลัยลุยส์วิลล์แห่งรัฐ เคนทักกีมอบให้เพื่อประกาศเกียรติคุณแก่ความคิดส�ำคัญด้านการศึกษา P a si S a h l b erg

39


ที่มีศักยภาพเปลี่ยนแปลงโลกได้ ในความเป็นจริง หนังสือเล่มนี้ท�ำให้ ผมได้รับค�ำเชิญไปเป็นวิทยากรพิเศษ ณ มหาวิทยาลัยชั้นน�ำทั่วโลก ผมซาบซึ้งใจกับผู้คนหลายร้อยคนที่ส่งข้อเสนอแนะและความคิดเห็นต่อ เนื้อหาฉบับพิมพ์ครั้งแรกมาให้ ผมได้น�ำค�ำแนะน�ำจ�ำนวนมากเข้ามาเป็น ส่วนหนึ่งของเนื้อหาหลายต่อหลายหน้าในฉบับปรับปรุงนี้ ผมหวังว่า Finnish Lessons 2.0 จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจและ จูงใจให้ผู้อ่านเห็นว่ายังมีหนทางที่จะสร้างระบบโรงเรียนรัฐบาลที่ดีซึ่งจะ ตอบสนองความต้องการของเด็กๆ ได้ สูตรลับเพื่อสร้างการศึกษาที่ดี ของฟินแลนด์นั้นเรียบง่าย นั่นคือ คุณต้องหมั่นถามตัวเองอยู่เสมอว่า นโยบายที่คุณวางแผนจะริเริ่มใช้นั้นส่งผลดีต่อเด็กหรือครูของพวกคุณ หรือไม่ ถ้าคุณเองยังลังเลกับค�ำตอบ ก็จงอย่าท�ำมันเลย — ปาสิ ซอห์ลเบิร์ก เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสซาชูเซตส์ ฤดูใบไม้ร่วง ปี 2014

40

Finnis h Le s s o n s 2 . 0



กิตติกรรมประกาศ

ก่อนลงมือเขียนส่วนนี้ ผมได้แวะไปร้านหนังสือแถวบ้านและอ่าน กิตติกรรมประกาศในหนังสือของนักเขียน 2-3 คน ส่วนมากผมจะพบ รายชือ่ ยาวเหยียดของบุคคลต่างๆ ทีผ่ เู้ ขียนยกเครดิตให้ ไม่วา่ จะเป็นเพือ่ น ร่วมงาน มิตรสหาย นักเรียนนักศึกษา และบางครัง้ ก็เป็นผูท้ ตี่ อ่ ต้านความคิด ของผูเ้ ขียน บางข้อความก็ชวนให้ผมนึกสงสัยว่ารายชือ่ ทัง้ หมดนัน้ สมควร ได้รับค�ำขอบคุณจริงหรือ ส�ำหรับหนังสือที่อยู่ในมือท่าน ผมรับประกัน ได้เลยว่าทุกคนทีม่ รี ายชือ่ อยูใ่ นส่วนนีล้ ว้ นมีบทบาทในการพัฒนาหรือการ เขียนหนังสือเล่มนี้ทั้งสิ้น การลงแรงของบางท่านอาจน้อยกว่าท่านอื่นๆ หากแต่ทุกท่านต่างมีส่วนส�ำคัญ การเขียนหนังสือในหัวข้อที่ใกล้ชิดกับชีวิตและการท�ำงานของ ตัวเองนับเป็นเรื่องยากหากผู้เขียนไม่ได้ร้องขอและรับฟังมุมมองของ คนนอกเสียบ้าง ส�ำหรับหนังสือเล่มนี้ ผมได้รับการสนับสนุนด้านความรู้ ภูมิปัญญา และประสบการณ์จากเพื่อนร่วมงานและมิตรสหายบางท่าน ที่ผมสนิทสนม ความเชื่อมั่นของพวกเขาที่ว่าเรื่องราวของฟินแลนด์มีค่า ควรแก่การแบ่งปัน นับเป็นจุดเริ่มต้นส�ำคัญที่ท�ำให้เกิดหนังสือเล่มนี้ขึ้น แต่ล�ำพังแค่การฟังเฉพาะคนที่เห็นด้วยกับคุณย่อมไม่อาจสร้างเรื่องเล่า ที่ดีได้ นี่เองที่ท�ำให้ผมหวนนึกถึงภูมิปัญญาที่คุณย่าถ่ายทอดให้ผม 42

Finnis h Le s s o n s 2 . 0


ท่านสอนผมว่า “ถ้าทุกคนคิดเหมือนกันไปหมด นั่นก็เป็นเพราะว่าไม่ ค่อยมีใครได้คิดอะไร” ด้วยเหตุนี้ ผมจึงรู้สึกส�ำนึกในบุญคุณของบุคคล หลายท่านที่ผมเชื่อถือ ผู้ที่กล้าขัดหรือยกข้อกังวลใจขึ้นมาแย้งผมอย่าง เปี่ยมวาทศิลป์และด้วยท่าทีที่เคารพอยู่เสมอ ผมขอขอบคุณเพื่อนร่วมงานและมิตรสหายดังรายนามต่อไปนี้ เป็นพิเศษ เอรกิ อะโฮ, ลิซา เบลซ์เบิร์ก, เดวิด เบอร์ลิเนอร์, องค์กร CIMO, ฌ็อง-โกลด กูตรู ,์ ลินดา ดาร์ลงิ -แฮมมอนด์, แครี ฟูลเลอร์, สลาฟโก กาเบอร์, โฮวาร์ด การ์ดเนอร์, เกาโก ฮามาไลเนน, แอนดี ฮาร์กรีฟส์, ทอม แฮตช์, ยาร์กโก เฮาตามากิ, ฮันนาห์ เฮย์แมน, เฮนรี เฮกกิเนน, โอลลิ-เปกกา เฮโนเนน, มาร์ตติ เฮลล์สเตริม, สตีเฟน ฮายน์แมน, ปีเตอร์ จอห์นสัน, เบน เลวิน, เฮนรี เลวิน, สตีเฟน เมอร์กาทรอยด์, เซรา เมอร์ทัก (ส�ำหรับ แรงบันดาลใจในการตัง้ ชือ่ หนังสือ), นิโคลัส เนโกรพอนเต, ฮันเลเน เนียมิ, เดวิด โอลดรอยด์, ลีดา ปีเตอร์ส, ไดแอน ราวิตช์, เซอร์เคน โรบินสัน, เวรา ซาโลเนน, ลอรา เซร์วาจ, โรเบิร์ต ชวาตซ์, เดนนิส เชอร์ลีย์, โทนี แวกเนอร์ และ วิน เวียนเก ผมขอขอบคุณ แซม อาบรัมส์ ส�ำหรับมิตรภาพ ทีย่ งิ่ ใหญ่และความช่วยเหลืออันเกิดจากความอาทรในหลายรูปแบบทีช่ ว่ ย ให้งานเขียนของผมอ่านเข้าใจง่ายขึ้น แหล่งที่มาส�ำคัญของแรงบันดาลใจในการเขียนหนังสือเล่มนี้คือ ผู้คนหลายหมื่นคนทั่วโลกที่ผมได้มีโอกาสพบปะในการประชุม สัมมนา และการประชุมทางวิชาการหลายร้อยครั้ง พวกเขาสอนให้ผมเข้าใจและ เคารพอย่างสุดซึ้งยิ่งขึ้นต่อความซับซ้อนของการเปลี่ยนแปลงทางการ ศึกษา ผลที่ตามมาก็คือ ผมรู้สึกเจียมตนทุกครั้งเมื่อได้ยินค�ำถามว่า ท�ำไมบางชาติถึงสามารถให้การศึกษาแก่พลเมืองของพวกเขาได้ดีกว่า ชาติอื่นๆ เป็นเรื่องง่ายที่เราจะท�ำเป็นมองข้ามความแตกต่างด้านบริบท แล้วให้ค�ำอธิบายพื้นๆ ว่าท�ำไมนักเรียนฟินแลนด์ถึงท�ำข้อสอบในระดับ นานาชาติได้ดีกว่านักเรียนส่วนมาก ในแง่นี้ ค�ำถาม การอภิปราย และข้อ กังวลใจในประเด็นทีเ่ กีย่ วข้องมีสว่ นส�ำคัญทีท่ ำ� ให้ผมสามารถปะติดปะต่อ P a si S a h l b erg

43


เรื่องราวของการพัฒนาด้านการศึกษาในฟินแลนด์ นักศึกษาของผม ที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิซึ่งเดินทางมาจากหลายประเทศก็เป็นที่มาของ แรงบันดาลใจ เพราะพวกเราช่วยกันส�ำรวจหาความลับที่อยู่ในระบบการ ศึกษาฟินแลนด์โดยอาศัยมุมมองของนักศึกษาต่างชาติ ซึง่ มักจะหล่อหลอม ขึ้นมาจากประสบการณ์และความคาดหวังที่แตกต่างไปจากนักศึกษา ฟินแลนด์ ผมขอแสดงความซาบซึง้ ใจต่อผูฟ้ งั และนักศึกษาของผมทุกคน พวกเขาท� ำ ให้ ก ารเขี ย นหนั ง สื อ เล่ ม นี้ เ ป็ น การเดิ น ทางอั น น่ า ตื่ น เต้ น รวมถึงเป็นกระบวนการเติบโตจากภายในให้แก่ตัวผม ผมขอขอบคุณ กระทรวงการต่างประเทศของประเทศฟินแลนด์ที่มีน�้ ำใจเป็นอย่างยิ่ง ในการช่วยเผยแพร่หนังสือ Finnish Lessons เมื่อมีการจัดงานตามวาระ โอกาสต่างๆ รวมทั้งมอบหนังสือเล่มนี้ให้แขกของกระทรวงฯ อีกด้วย หนังสือเล่มนี้พัฒนาขึ้นจากฉบับร่างเดิมที่เป็นส่วนหนึ่งของ บทวิเคราะห์ งานวิจัย หรือข้อคิดเห็นของผม ดังที่ปรากฏรายชื่อในส่วน บรรณานุกรมท้ายเล่ม ผูป้ ระเมินบทความและบรรณาธิการวารสารวิชาการ และหนังสือรวมบทความ (edited volume) ซึ่งตีพิมพ์ผลงานก่อนหน้านี้ ของผม ก็เป็นอีกกลุ่มบุคคลหนึ่งที่มีบทบาทส�ำคัญในการช่วยขัดเกลา ประเด็นของผมให้ลุ่มลึก อีกทั้งช่วยให้การน�ำเสนอเรื่องราวของฟินแลนด์ มีความกระจ่างยิ่งขึ้น ผมรู ้ สึ ก ขอบคุ ณ เปตรา เสมอมาส� ำ หรั บ การสนั บ สนุ น และ ภูมิปัญญาของเธอที่ช่วยให้ผมเห็นหนทางข้างหน้าในห้วงยามที่พลังและ ความมุ่งมั่นของผมเริ่มมอดลง ออตโต ลูกชายของเราก็ควรได้รับจูบฟอด ใหญ่ เพราะเขาคือเหตุผลอีกข้อทีท่ ำ� ให้ผมลงมือเขียนหนังสือเกีย่ วกับการ ศึกษาที่เด็กทุกคนสมควรได้รับ

44

Finnis h Le s s o n s 2 . 0



บทนำ� เราทำ�ได้! (แค่เพียงเรียนรู้จากกันและกันให้มากขึ้น)


ในระยะเวลา 10 ปีนับจากนี้ไป คนวัยหนุ่มสาว อายุตั้งแต่ 15 ถึง 30 ปี ประมาณ 1,200 ล้านคน จะก้าวเข้าสู่ตลาดงาน และจาก ทรัพยากรเท่าทีเ่ รามีอยูต่ อนนี้ คนประมาณ 300 ล้านคนจะได้งานท�ำ ถ้าเช่นนั้นแล้ว เราจะมีอะไรไปมอบให้แก่คนหนุ่มสาวอีกประมาณ พันล้านคนทีเ่ หลือ ผมมองว่านีเ่ ป็นความท้าทายใหญ่หลวงประการ หนึ่ง หากเรามุ่งหมายให้เกิดการพัฒนาอย่างสันติ และเกิดความ หวังในหมู่เยาวชน

— มาร์ตติ อะห์ติซาริ (Martti Ahtisaari) อดีตประธานาธิบดีฟินแลนด์ ช่วงปี 1994-2000 และเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ

เป็ น ที่ ป ระจั ก ษ์ ชั ด ในทุ ก หนแห่ ง ว่ า โรงเรี ย นแบบที่ เ รามี กั น อยู ่ ทุกวันนี้ ไม่สามารถสร้างโอกาสให้นกั เรียนได้เรียนรูใ้ นสิง่ ทีจ่ ำ� เป็นส�ำหรับ อนาคตของพวกเขาได้ ผูค้ นทุกมุมโลกต่างเรียกร้องการเรียนการสอนทีม่ ี คุณภาพ มีความเสมอภาค และมีประสิทธิภาพมากกว่าที่เป็นอยู่ หากว่า กันตามจริง ระบบการศึกษาก�ำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายส�ำคัญทีม่ กั มา คู่กันสองข้อ ข้อแรก เราจะเปลี่ยนแปลงโรงเรียนอย่างไร เพื่อให้นักเรียน สามารถสัง่ สมความรูแ้ ละทักษะชนิดใหม่ๆ ทีจ่ ำ� เป็นในโลกแห่งองค์ความรู้ ซึง่ ก�ำลังผันแปรไปในทิศทางทีไ่ ม่อาจคาดเดาได้ ข้อทีส่ อง เราจะท�ำเช่นไร P a si S a h l b erg

47


ให้เยาวชนทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้รูปแบบใหม่นี้ได้ ไม่ว่าเขา เหล่านัน้ จะมีสถานะทางเศรษฐกิจสังคมเช่นไร การพิชติ ความท้าทายเหล่านี้ นับเป็นความจ�ำเป็นทั้งในแง่จริยธรรมและในทางเศรษฐกิจส�ำหรับสังคม และเหล่าผู้นำ� ของสังคมต่างๆ ด้วย ที่นับว่าจ�ำเป็นทางจริยธรรมก็เพราะ สวัสดิภาพรวมไปถึงความผาสุกของบุคคลใดบุคคลหนึ่งนั้น ล้วนก่อร่าง มาจากความรู้ ทักษะ และโลกทัศน์ ที่เขาหรือเธอได้รับจากการศึกษา นอกจากนั้น ภารกิจนี้ยังนับเป็นความจ�ำเป็นทางเศรษฐกิจ เพราะใน ยุคปัจจุบัน การสร้างความมั่งคั่งของชาติต้องอาศัยความรู้หรือความ ช�ำนาญที่นำ� ไปปฏิบัติได้จริงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ผลพวงจากวิกฤต เศรษฐกิจโลกระลอกล่าสุดก�ำลังส�ำแดงให้เห็นว่า คนหนุม่ สาวทีว่ า่ งงานและ กลายสภาพเป็นบุคคลผู้ไร้ซึ่งความหวัง จนสามารถล้มรัฐบาลให้พังครืน ได้อย่างไร คนหนุ่มสาวเหล่านี้จ�ำนวนมากไม่ได้รับการศึกษาและการฝึก อบรมที่เหมาะสม อันจะช่วยให้พวกเขาสามารถช่วยเหลือตนเองได้ หนังสือเล่มนี้เกี่ยวข้องกับประเทศฟินแลนด์และวิธีการที่ชาว ฟินน์ใช้พลิกโฉมระบบการศึกษาทีจ่ ดั ว่าธรรมดาๆ ในช่วงทศวรรษ 1980 ให้ กลายมาเป็นหนึ่งในโมเดลต้นแบบแห่งความเป็นเลิศและความเสมอภาค เช่นในปัจจุบัน ตัวชี้วัดระดับนานาชาติหลายต่อหลายตัวแสดงให้เห็น ว่าประเทศฟินแลนด์มีประชากรที่ได้รับการศึกษาเป็นจ�ำนวนมากที่สุด ประเทศหนึ่งในโลก อีกทั้งยังยึดหลักความเสมอภาคในการจัดการศึกษา และใช้ทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเฉพาะอย่างยิง่ ในระยะ หลัง การศึกษาของฟินแลนด์ดงึ ดูดความสนใจของนักวิชาการจ�ำนวนมาก จากทั่วโลก ลินดา ดาร์ลิง-แฮมมอนด์ (Linda Darling-Hammond, 2010) เขียนเล่าเรือ่ งนีไ้ ว้อย่างละเอียดในหนังสือชือ่ การศึกษาในโลกทีเ่ ท่าเทียม (The Flat World and Education) ส่วนใน ขึ้นแซงเซี่ยงไฮ้ (Surpassing Shanghai) ที่ มาร์ก ทักเกอร์ (Marc Tucker, 2011) เป็นบรรณาธิการ เขาเลือกให้ฟินแลนด์เป็นประเทศหนึ่งที่สหรัฐอเมริกาควรเอาเยี่ยงอย่าง ในเรือ่ งโมเดลการศึกษา และในหนังสือเรือ่ ง โลกกับหนทางทีส่ ี่ (The Global 48

Finnis h Le s s o n s 2 . 0


Fourth Way) แอนดี ฮาร์กรีฟส์ และ เดนนิส เชอร์ลยี ์ (Andy Hargreaves & Dennis Shirley, 2012) ก็ยกให้ฟนิ แลนด์เป็นตัวอย่างของชาติทปี่ ระสบ ความส�ำเร็จในการพลิกโฉมระบบการศึกษา ไดแอน ราวิตช์ (Diane Ravitch, 2013) กล่ า วถึ ง ฟิ น แลนด์ ใ น ยุ ค สมั ย แห่ ง ความผิ ด พลาด (Reign of Error) เพื่อยกเป็นกรณีศึกษาให้คนอเมริกันได้เข้าใจว่าการ ผดุงรักษาการศึกษาที่รัฐจัดให้มวลชน (public education) จะช่วยให้ พลเมืองทุกคนมีการศึกษาที่ดีขึ้นได้อย่างไร นอกจากนั้น ดูเหมือนจะ เป็นเรื่องจ�ำเป็นไปเสียแล้ว ที่หนังสือหรือคู่มือเกี่ยวกับการศึกษาใน ระดับนานาชาติทุกเล่มที่กล่าวถึงวิธีคิดและแนวปฏิบัติร่วมสมัย จะต้อง บรรจุเรื่องราวของฟินแลนด์ไว้หนึ่งบท หน่วยงานด้านการพัฒนา บริษัท ที่ปรึกษา และสื่อระดับนานาชาติ ต่างเอ่ยถึงฟินแลนด์ว่าเป็นโมเดลที่ดี และเป็น “ประจักษ์พยาน” ในการพลิกโฉมการศึกษาเพือ่ มวลชนทีป่ ระสบ ความส�ำเร็จอย่างงดงาม1 หนังสือที่กล่าวถึงโรงเรียนและครูของฟินแลนด์ เป็นการเฉพาะได้รับการตีพิมพ์ทั้งในประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส สโลวีเนีย เม็กซิโก และเยอรมนี และที่ยกมาข้างต้นก็นับว่าเป็นเพียง ตัวอย่างส่วนน้อยเท่านั้น เฉพาะฉบับพิมพ์ครั้งแรกของหนังสือเล่มนี้ก็มี ผู้แปลไปแล้วกว่า 20 ภาษา เห็นชัดเลยว่าผู้คนทั่วโลกต่างให้ความสนใจ กับประสบการณ์ของฟินแลนด์ ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ขณะเป็นหัวเรือใหญ่ในการปฏิรูป การศึกษาของฟินแลนด์ ดร. วิลโฮ ฮิรวิ (Vilho Hirvi) ซึ่งด�ำรงต�ำแหน่ง ประธานบริหารของคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (National Board of Education) ประเทศฟินแลนด์ ได้กล่าวสุนทรพจน์ต่อทีมงานของเขา โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า “เรามิอาจสร้างชาติที่มีการศึกษาดีได้ด้วยการ บังคับ” เขากล่าวว่า เราจ�ำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นของครูและนักเรียน ทั้งยังต้องอาศัยการร่วมมืออย่างแข็งขันจากทุกฝ่ายเพื่อก้าวไปข้างหน้า ในประเทศฟินแลนด์ขณะนัน้ ครูและนักเรียนต่างยืนกรานว่าการออกแบบ การสอน เนื้อหาที่ต้องเรียน และเวลาเรียน ต้องมีความยืดหยุ่นมากขึ้น P a si S a h l b erg

49


และย�้ำว่าพวกเขาควรมีอิสระในการออกแบบสิ่งเหล่านี้มากขึ้นด้วย ฮิรวิ ยังกล่าวว่า “พวกเราก�ำลังสร้างวัฒนธรรมทางการศึกษาขึ้นมาใหม่ และ จะไม่มีวันหวนกลับไปเป็นแบบเดิม” พื้นฐานของวัฒนธรรมใหม่ที่ว่านี้ คือการบ่มเพาะความไว้เนื้อเชื่อใจกันระหว่างผู้มีอ�ำนาจด้านนโยบายการ ศึกษากับโรงเรียน และอย่างที่พวกเราได้เห็นกัน ความเชื่อใจเช่นนี้สร้าง ให้เกิดการปฏิรูปที่ไม่เพียงแต่ยั่งยืนเท่านั้น แต่ความส�ำเร็จนี้ยังเป็นของ ครูซึ่งเป็นฝ่ายลงมือปฏิบัติด้วย

เปิดรับประสบการณ์ ใหม่ ในทศวรรษ 1990 การศึกษาของฟินแลนด์ไม่มีอะไรพิเศษใน สายตาของนานาชาติ เยาวชนฟินแลนด์เข้าโรงเรียนกันตามปกติ เครือข่าย โรงเรียนก็นับว่ากระจายตัวอย่างทั่วถึงและชุกชุมเพียงพอ คนฟินแลนด์ ทุกคนเข้าถึงการศึกษาระดับมัธยมศึกษา (secondary education) ผู้จบ มัธยมปลายมีมากขึ้นเรื่อยๆ และพวกเขาสามารถเลือกเรียนต่อในระดับ อุดมศึกษาได้ ซึ่งไม่ได้เป็นทางเลือกที่เกินฝันแต่ประการใด อย่างไรก็ดี คะแนนจากการประเมินผลระดับนานาชาติของนักเรียนฟินแลนด์ยังอยู่ ในระดับใกล้เคียงค่าเฉลี่ยเกือบทุกวิชา ยกเว้นวิชาการอ่าน ที่นักเรียน ฟินแลนด์ได้คะแนนสูงกว่านักเรียนชาติอื่นเกือบทั้งหมด ภาวะเศรษฐกิจ ถดถอยที่เกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัวและส่งผลสะเทือนในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ท�ำให้ประเทศเกือบจะเผชิญภาวะล้มเหลวทางการเงิน ฟินแลนด์ จ�ำต้องออกมาตรการที่ทั้งเด็ดขาดและรวดเร็วเพื่อแก้ปัญหางบประมาณ ขาดดุล และฟืน้ ฟูการค้ากับต่างประเทศทีพ่ งั พาบไปพร้อมกับการล่มสลาย ของสหภาพโซเวียตในปี 1990 โนเกีย (Nokia) แบรนด์อุตสาหกรรม ชั้นน�ำระดับโลกของฟินแลนด์ ผู้ผลิตเครื่องมือสื่อสารแบบพกพา กลาย มาเป็นเครื่องจักรส�ำคัญที่ออกแรงฉุดให้ฟินแลนด์หลุดออกจากก้นหลุม ของปัญหาเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่ประเทศเคยเผชิญมานับตั้งแต่ 50

Finnis h Le s s o n s 2 . 0


สงครามโลกครั้งที่สอง อีกหนึ่งแบรนด์ของฟินแลนด์ ซึ่งขณะนั้นยังไม่ติด ตลาดโลกแต่มีบทบาทส�ำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันในการช่วยพลิกฟื้น ระบบเศรษฐกิจและสังคมของฟินแลนด์ ก็คือ เปรุสโกอุลุ (peruskoulu) หรือโรงเรียนทีใ่ ห้การศึกษาขัน้ พืน้ ฐาน ทีร่ ฐั จัดให้เด็กฟินแลนด์ทกุ คนเป็น เวลา 9 ปี <เป็นการศึกษาภาคบังคับ โดยเริ่มเมื่อเด็กอายุ 7 ปี> ผู้น�ำด้านการศึกษาจากหลายประเทศทั่วโลกพบว่า ระบบการ ศึ ก ษาของพวกเขาทุ ก วั น นี้ มี ส ภาพไม่ ต ่ า งไปจากที่ ฟ ิ น แลนด์ ป ระสบ ในช่วงทศวรรษ 1990 เศรษฐกิจขาลงทั่วโลกส่งผลกระทบหนักหน่วงต่อ โรงเรียน มหาวิทยาลัย และการศึกษาทั้งระบบ เราจะเห็นตัวอย่างได้จาก ประเทศไอร์แลนด์ กรีซ อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ผลสัมฤทธิข์ องนักเรียน ในประเทศที่กล่าวมาไม่ได้ใกล้เคียงกับรูปการณ์ที่ควรจะเป็นในประเทศ ที่ใช้เศรษฐกิจฐานความรู้ <knowledge-based economy เศรษฐกิจที่ตั้ง อยู่บนระบบธุรกิจที่ใช้ความรู้และข้อมูล เช่น ธุรกิจเทคโนโลยี> ทั้งๆ ที่ ประเทศเหล่านี้ต้องพึ่งพาความสามารถในการผลิตและนวัตกรรมเพื่อ สร้างศักยภาพในการแข่งขันและวิถีชีวิตที่ยั่งยืน นอกจากนี้ นักเรียนเอง ก็เห็นว่า นับวันการสอนของครูที่โรงเรียนและมหาวิทยาลัยยิ่งน่าเบื่อขึ้น เรื่อยๆ มิหน�ำซ�้ำยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของพวกเขาที่อยู่ใน โลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เรื่องราวการเดินทางสู่การปฏิรูปการ ศึกษาของฟินแลนด์ในหนังสือเล่มนี้ จึงน่าจะน�ำความหวังมาสู่ทุกคนที่ ก�ำลังกังวลใจว่าการพัฒนาระบบการศึกษาของตนเองจะเป็นไปได้หรือไม่ หนังสือเล่มนีจ้ ะป้อนอาหารสมองแก่ผทู้ กี่ ำ� ลังมองหาหนทางปรับนโยบาย การศึกษาให้สอดรับกับสภาพความเป็นจริงในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจก�ำลัง ฟื้นตัว บทเรียนจากฟินแลนด์น่าจะช่วยให้ทุกคนรู้สึกกระปรี้กระเปร่า เพราะมันแตกต่างจากสิ่งที่เรามักอ่านเจอในหนังสือหรือวารสารวิชาการ ที่ว่าด้วยการพัฒนาการศึกษาเล่มอื่นๆ บทเรียนเหล่านี้จะแสดงให้เห็น ว่าการพัฒนาระบบนัน้ สามารถเกิดขึน้ ได้จริง ถ้าเพียงแต่เรารูจ้ กั ใช้วธิ กี าร ที่ชาญฉลาดและยั่งยืนในการออกแบบนโยบายและยุทธศาสตร์ รวมทั้ง P a si S a h l b erg

51


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.