Publicphilosophy final (p 1 17)

Page 1


ปรัชญาสาธารณะ • สฤณี อาชวานันทกุล แปล จากเรื่อง Public Philosophy: Essays on Morality in Politics โดย Michael J. Sandel พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ o p e n w o r l d s , ตุลาคม 2558 ราคา 380 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการศิลปกรรม กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ภรณ์ทิพย์ ปิยฤทธิพงศ์ บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์ • บรรณาธิการเล่ม ฐณฐ จินดานนท์ บรรณาธิการต้นฉบับ กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์ ออกแบบปก w r ongd e s i g n • จัดทำ�โดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 2 - 6 1 8 - 4 7 3 0 e ma i l : o p e n w o r l d s t h a i l a n d @g m a i l . c om f a c e book : w w w . f a c e b o o k . c o m / o p e n w or lds t w i t t e r : w w w . t w i t t e r . c o m / o p e n w o r l d s_th website: www.openworlds.in.th จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0 - 2 7 3 9 - 8 0 0 0 โทรสาร 0 - 2 7 5 1 - 5 9 9 9 w e bs i t e : h t t p : / / w w w . s e - e d . c o m /


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ สำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 02-618-4730 และ 097-174-9124 หรือ E ma il: o p e n w o rld st h a ila n d @ g mail.c om

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ แซนเดล, ไมเคิล. ปรัชญาสาธารณะ = Public philosophy.-- กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์, 2558. 392 หน้า. 1. หน้าที่พลเมือง. 2. ศีลธรรมจรรยา. 3. จริยธรรมการเมือง. 4. รัฐศาสตร์. 5. การเมือง. I. สฤณี อาชวานันทกุล, ผู้เแปล. II. ชื่อเรื่อง. 172.1 ISBN 978-616-7885-22-3 • Copyright © 2005 Michael J. Sandel Published by arrangement with Harvard University Press through Tuttle-Mori Agency Co., Ltd. The Thai edition is translated by Sarinee Achavanuntakul and published by openworlds publishing house, 2015. Public Philosophy ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 2005 แปลและจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยโดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด ตามข้อตกลงกับสำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด


สารบัญ

คำ�นำ�ผู้แปล 6 บทนำ� 10 ภาคหนึ่ง •

ชีวิตพลเมืองอเมริกัน 18 บทที่ 1: การแสวงหาปรัชญาสาธารณะของอเมริกา 22 บทที่ 2: พ้นไปจากปัจเจกนิยม: เดโมแครตกับชุมชน 56 บทที่ 3: การเมืองเรื่องคุณธรรมพื้นๆ 72 บทที่ 4: ความคิดใหญ่ๆ 78 บทที่ 5: ปัญหาของความเป็นอารยะ 84 บทที่ 6: การถอดถอนในอดีตและปัจจุบัน 92 บทที่ 7: สัญญาของ โรเบิร์ต เอฟ. เคนเนดี 98 ภาคสอง • ข้อถกเถียงทางศีลธรรมและการเมือง 104 บทที่ 8: ข้อคัดค้านสลากกินแบ่งของรัฐ 108 บทที่ 9: โฆษณาในห้องเรียน 114 บทที่ 10: พะยี่ห้อให้โลกสาธารณะ 120 บทที่ 11: กีฬากับอัตลักษณ์พลเมือง 126 บทที่ 12: เร่ขายประวัติศาสตร์ 132 บทที่ 13: ตลาดเด็กเรียนดี 138 บทที่ 14: เราควรซื้อสิทธิที่จะปล่อยมลพิษหรือไม่? 144


บทที่ 15: เกียรติกับความคับข้องใจ 150 บทที่ 16: ถกเถียงเรื่องโควตานักศึกษา 156 บทที่ 17: เหยื่อควรมีส่วนพิพากษาหรือไม่? 162 บทที่ 18: คลินตันกับคานท์ ว่าด้วยการโกหก 168 บทที่ 19: การุณยฆาตโดยแพทย์เป็นสิทธิหรือไม่? 174 บทที่ 20: จริยศาสตร์เรื่องตัวอ่อนมนุษย์: ตรรกะทางศีลธรรมของการวิจัยเซลล์ต้นกำ�เนิด 180 บทที่ 21: ข้อถกเถียงทางศีลธรรมกับการยอมรับความต่างแบบเสรีนิยม: การทำ�แท้งและรักร่วมเพศ 186 ภาคสาม • เสรีนิยม พหุนิยม และความเป็นชุมชน 216 บทที่ 22: ศีลธรรมกับอุดมคติเสรีนิยม 220 บทที่ 23: สาธารณรัฐเชิงระเบียบกับตัวตนที่ไร้พันธะผูกพัน 232 บทที่ 24: ความยุติธรรมฐานสมาชิกภาพ 256 บทที่ 25: มหันตภัยล้างเผ่าพันธุ์ 264 บทที่ 26: เสรีนิยมของดิวอีและของเรา 270 บทที่ 27: การเป็นจ้าวควบคุมและความโอหังในศาสนายิว: ผิดอันใดที่สวมบทพระเจ้า? 288 บทที่ 28: เสรีนิยมทางการเมือง 308 บทที่ 29: รอลส์รำ�ลึก 354 บทที่ 30: ขีดจำ�กัดของชุมชนนิยม 360 เชิงอรรถ 372 เครดิตตีพิมพ์ครั้งแรก 386 รู้จักผู้เขียน 388 รู้จักผู้แปล 390


คำ�นำ�ผู้แปล

หลังจากที่จมปลักอยู่กับความขัดแย้งแบ่งสีมานานนับทศวรรษ คนไทยในปี พ.ศ. 2558 จ�ำนวนมากรู้สึกสิ้นหวังกับการพูดคุยกับเพื่อน ร่วมชาติ เพราะหลายคนไม่ยอมเปิดใจรับฟังความเห็นที่แตกต่าง อย่าว่า แต่จะหาฉันทามติร่วมกันในเรื่องใดๆ เลย ความคิดทางการเมืองในสถานการณ์เช่นนี้ดูจะแบ่งออกเป็น สองฟากใหญ่ๆ ที่มีผู้สนับสนุนมากพอกัน ฝ่ายหนึ่งชูศีลธรรมแบบ “เสรี ประชาธิปไตย” สากล เน้นเรื่องสิทธิของปัจเจก อีกฝ่ายชู “ศีลธรรมแบบ พุทธ” เน้นเรื่องคุณธรรมจริยธรรม สรุปอย่างหยาบๆ ฝ่ายแรกมองว่า “สิทธิอยูเ่ หนือความดี” ฝ่ายหลัง มองว่า “ความดีอยู่เหนือสิทธิ” การแบ่งฟากนี้พอจะเปรียบได้กับการถกเถียงระหว่างปรัชญา สองส�ำนัก อันได้แก่ “เสรีนยิ ม” (liberalism) กับ “ชุมชนนิยม” (communitarianism) ซึ่งเป็นเนื้อหาหลักในหนังสือเล่มนี้ ดูเผินๆ เหมือนปรัชญาสองส�ำนักนีเ้ ป็น “ขัว้ ตรงข้าม” ทีไ่ ม่อาจอยู่ ร่วมโลกกันได้ แต่อาจารย์ไมเคิล แซนเดล ปรมาจารย์ปรัชญาการเมืองชาว อเมริกัน จะพาเราไปส�ำรวจประวัติศาสตร์ของความคิดที่หล่นหาย ผ่าน ค�ำตัดสินของศาลฎีกาอเมริกันในคดีที่เป็นประเด็นสังคมร้อนฉ่า ข้อเขียน 6

P ublic Philos ophy


ของปราชญ์แรบไบในศาสนายิว งานของนักเสรีนยิ มตกสมัย ทัศนะของนัก ชุมชนนิยมชั้นน�ำ จนถึงค�ำปราศรัยหาเสียงของบรรดานักการเมือง ทั้งนี้ เพื่อพยายามชี้ให้เห็นว่าปรัชญาสองส�ำนักนี้อาจพบ “จุดร่วม” กันได้ หาก แม้นนักเสรีนิยมจะเลิกยืนกรานว่าสิทธิอยู่เหนือความดีในทุกกรณี และ นักชุมชนนิยมจะเลิก “วางข้อถกเถียงเรื่องสิทธิไว้บนคุณค่าของชุมชน เพียงอย่างเดียว” จุดร่วมนี้เองที่อาจารย์หวังว่าจะแผ้วถางทางสู่ “การเมืองที่เน้น เรือ่ งความเป็นพลเมือง ชุมชน และส�ำนึกพลเมืองมากขึน้ รับมือกับค�ำถาม ว่าด้วย ‘ชีวติ ทีด่ ’ี อย่างตรงไปตรงมายิง่ กว่าเดิม ... สังคมพหุนยิ มไม่จำ� เป็น จะต้องหดหัวถอยห่างจากความเชื่อทางศีลธรรมและศาสนาซึ่งพลเมือง น�ำเข้าสู่ชีวิตสาธารณะ” อาจารย์แซนเดลชี้ว่าการที่นักเสรีนิยมกระแสหลักตีกรอบกัน ประเด็นทางศีลธรรมออกไปจากการถกเถียงประเด็นสาธารณะ ท�ำให้พวก เขาพลาดโอกาสทีจ่ ะอภิปรายด้วยเหตุผลทางศีลธรรมไปอย่างน่าเสียดาย ตัวอย่างเช่น การมองว่าคนรักเพศเดียวกันควรมีสิทธิเช่นเดียว กับคนรักต่างเพศเพียงเพราะความรักเป็นสิทธิสว่ นบุคคล และทุกคนควร เคารพการตัดสินใจของปัจเจก ท�ำให้เราไม่อาจน�ำเสนอเหตุผลอันเป็นข้อ เท็จจริงที่ว่า ความสัมพันธ์ของคนรักเพศเดียวกันนั้นมีความส�ำคัญลึกซึ้ง ทั้งยังช่วยบรรลุคุณประโยชน์อันสูงส่งของมนุษย์ได้เฉกเช่นการครองคู่ ของคนรักต่างเพศ การอ้างแต่ “สิทธิ” ถ่ายเดียว ท�ำให้เสรีนิยมพลาดโอกาสที่จะ อภิปรายและยกระดับความคิดเรื่อง “ความดี” ในสังคม ผู้แปลเห็นคล้อยตามอาจารย์ว่าสังคมใดที่เสรีนิยมพลาดโอกาส เช่นนี้ อนุรักษนิยมหรือชุมชนนิยมสุดขั้วก็จะยิ่งผูกขาดวาทกรรมเรื่อง “ความดี” ทีอ่ ยูใ่ นการรับรูข้ องผูค้ น ท�ำให้สมุ่ เสีย่ งทีจ่ ะไม่ยอมรับความเห็น ต่างด้วยการตราหน้าผู้อื่นว่า “เลว” ท้ายที่สุดก็จะกดดันให้สังคมแตกแยก จนกลายเป็น “คลั่งศีลธรรม” ในด้านหนึ่ง และ “คลั่งสิทธิ” ในอีกด้านหนึ่ง M i ch a el S a n d el

7


ทั้งสองฝ่ายไม่อาจคลี่คลายความรู้สึกโดดเดี่ยวแปลกแยกของ คนในสังคมสมัยใหม่ ด้วยพลเมืองต้องเป็นผู้ที่ตื่นตัวและตระหนักอย่าง เต็มเปี่ยมในสิทธิขั้นพื้นฐานของตนและผู้อื่น ขณะเดียวกันก็มีมโนส�ำนึก ความคิ ด ทางศี ลธรรม และพั น ธะผู กพั น ต่ า งๆ จากชุมชนที่ตนสังกัด ทั้งทางนามธรรมและรูปธรรม โดยที่พลเมืองไม่อาจสลัดพ้นหรือปฏิเสธ สิ่งเหล่านี้ได้เลย อาจารย์แซนเดลเสนอว่า “เสรีนิยมจะต้องเรียนรู้วาทะเรื่องการ ปกครองตนเองและความเป็นชุมชน มันจะต้องส่งมอบวิสัยทัศน์เรื่องการ ปกครองตนเองที่ไปไกลกว่าสิทธิการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ไม่ว่าสิทธิ การลงคะแนนเสียงจะส�ำคัญเพียงใด ทัง้ ยังต้องส่งมอบวิสยั ทัศน์เรือ่ งชุมชน ทีโ่ อบอุม้ ทรัพยากรพลเมืองอันหลากหลาย ซึง่ เป็นทรัพยากรขัน้ กลางทีอ่ ยู่ ระหว่าง ‘ปัจเจก’ กับ ‘ชาติ’ ” เส้นทางการเรียนรู้ของเหล่านักเสรีนิยมจะเป็นเช่นใด? ผู้คน ในสังคมจะหาฉันทามติร่วมกันในประเด็นสาธารณะได้อย่างไร? ผู้แปล เห็นว่าหนีไม่พ้นการเริ่มต้นใช้ “เหตุผลทางศีลธรรม” อย่างเปิดกว้างและ อดทน ดังทีอ่ าจารย์แซนเดลแสดงให้เห็นผ่านข้อเขียนทัง้ หลายในหนังสือ เล่มนี้ ผู้เขียนขอขอบคุณ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และผองเพื่อนผู้ร่วม ก่อตั้งส�ำนักพิมพ์ openworlds ส�ำหรับมิตรภาพที่เสมอต้นเสมอปลาย ขอขอบคุณ ฐณฐ จินดานนท์ และ กิตติพงศ์ สนธิสัมพันธ์ บรรณาธิการ ทั้งสองที่ได้ตรวจสอบความถูกต้องและขัดเกลาส�ำนวนภาษาของผู้แปล อย่างพิถีพิถัน ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการอ่าน

8

P ublic Philos ophy

สฤณี อาชวานันทกุล กันยายน 2558



บทนำ�


การชนะเลือกตั้งวาระที่สอง <ในปี 2004> ของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช (George W. Bush) ส่งผลให้พลพรรคเดโมแครตต้องกลับ ไปค้นหาจิตวิญญาณของตนกันใหม่ เอ็กซิตโพลพบว่าผู้มาใช้สิทธิใช้ “คุณค่าทางศีลธรรม” เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจมากที่สุด มากกว่าการ ก่อการร้าย สงครามในอิรัก หรือสภาพเศรษฐกิจ และผู้ที่ใช้คุณค่าทาง ศีลธรรมเป็นเกณฑ์กโ็ หวตเลือกบุชมากกว่าคูแ่ ข่งอย่าง จอห์น แคร์รี (John Kerry) อย่างล้นหลาม (ร้อยละ 80 ต่อร้อยละ 18) ผู้สังเกตการณ์ต่าง ส่ายหัวงงงวย ผู้สื่อข่าวจากซีเอ็นเอ็นรายหนึ่งสารภาพว่า “พวกเราพลาด ไอ้เรื่องคุณค่าทางศีลธรรมนี่ไป ... ตอนไหนก็ไม่รู้” ผู ้ ที่ ยั ง กั ง ขาเตื อ นว่ า เราไม่ ค วรตี ค วามประเด็ น “คุ ณ ค่ า ทาง ศีลธรรม” จนเกินเลย โดยชีว้ า่ ผูม้ าใช้สทิ ธิสว่ นใหญ่ไม่เห็นด้วยทีบ่ ชุ ต่อต้าน การท�ำแท้งและการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน ซึ่งเป็นประเด็น ศีลธรรมที่ร้อนแรงที่สุดในแคมเปญหาเสียง แต่มีปัจจัยอื่นที่ช่วยอธิบาย ชัยชนะของบุชได้ อาทิ แคมเปญของแคร์รีไม่มีประเด็นหลักที่โดนใจ M i ch a el S a n d el

11


ไม่ง่ายที่ใครจะเอาชนะประธานาธิบดีที่ด�ำรงต�ำแหน่งในยามสงครามได้ และคนอเมริกันก็ยังผวากับโศกนาฏกรรมจากการก่อการร้ายวันที่ 11 กันยายน อย่างไรก็ตาม หลังการเลือกตั้งในปี 2004 จบลง ชาวเดโมแครต ก็ต้องกระเสือกกระสนหาหนทางที่จะสื่อสารโน้มน้าวแรงขับด้านศีลธรรม และจิตวิญญาณของชาวอเมริกัน นี่ ไ ม่ ใ ช่ ค รั้ ง แรกที่ ช าวเดโมแครตพลาด “ไอ้ เ รื่ อ งคุ ณ ค่ า ทาง ศีลธรรมนี่” ตลอดสี่ทศวรรษหลังจากที่ ลินดอน จอห์นสัน (Lyndon John�son) ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงถล่มทลายในปี 1964 ก็มีผู้สมัคร จากพรรคเดโมแครตเพียงสองคนเท่านั้นที่ได้เป็นประธานาธิบดี คนแรก คือ จิมมี คาร์เตอร์ (Jimmy Carter) ชาวคริสต์เข้ารีตใหม่จากรัฐจอร์เจีย ผู้สัญญาว่าจะฟื้นคืนความซื่อสัตย์และศีลธรรมให้รัฐบาลหลังจากที่เกิด กรณีอื้อฉาววอเตอร์เกต* คนที่สองคือ บิล คลินตัน (Bill Clinton) ซึ่งแม้ จะมีข้อบกพร่องส่วนตัว แต่ก็แสดงให้เห็นว่ามีสัญชาตญาณที่เข้าใจมิติ ทางศาสนาและจิตวิญญาณของการเมืองได้อย่างเฉียบขาด ส่วนผูท้ รี่ กั ษา มาตรฐานของเดโมแครต ตั้งแต่ วอลเตอร์ มอนเดล (Walter Mondale), ไมเคิล ดูคาคิส (Michael Dukakis), อัล กอร์ (Al Gore) และ จอห์น แคร์รี ล้วนหลบเลีย่ งการพูดเรือ่ งจิตวิญญาณ โดยยึดกับวิวาทะเรือ่ งนโยบายและ โครงการต่างๆ แทน เมื่อชาวเดโมแครตยุคปัจจุบันพยายามพูดเรื่องศีลธรรมและ ศาสนาให้โดนใจคน พวกเขาจะใช้ความพยายามอยู่สองรูปแบบซึ่งล้วน ไม่น่าเชื่อถือ บางคนเจริญรอยตาม จอร์จ ดับเบิลยู. บุช โดยสอดแทรก * Watergate เป็นกรณีออื้ ฉาวทางการเมืองทีร่ า้ ยแรงทีส่ ดุ ในอเมริกา ชือ่ นีไ้ ด้มาจากชนวนของ เรื่อง นั่นคือการลักลอบโจรกรรมสำ�นักงานใหญ่ของพรรคเดโมแครต ณ อาคารวอเตอร์เกต คอมเพลกซ์ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ในเดือนมิถุนายน 1972 โดยที่ทีมงานของประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน พยายามปกปิดหลักฐานที่เชื่อมโยงรัฐบาลกับกรณีดังกล่าว เหตุการณ์นี้นำ� ไปสู่การลาออกของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 1974 ซึ่งเป็นการ ลาออกครั้งแรกและครั้งเดียวของประธานาธิบดีในประวัติศาสตร์อเมริกัน ไม่นับคดีฟ้องร้อง และจำ�คุกหรือลงโทษบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในรัฐบาลนิกสันอีกหลายสิบคน 12

Public Philos ophy


ส�ำนวนโวหารทางศาสนาและยกข้อความจากพระคัมภีร์ไบเบิลมาปรุง แต่งในสุนทรพจน์ของตัวเอง (บุชใช้กลยุทธ์นี้อย่างไร้ยางอายยิ่งกว่า ประธานาธิบดีคนใดในยุคนี้ สุนทรพจน์เข้ารับต�ำแหน่งและแถลงการณ์ เปิดสภาประจ�ำปีของเขาพูดถึงพระเจ้าบ่อยกว่า โรนัลด์ เรแกน เสียด้วย ซ�้ำ) การแข่งกันขอพรจากสวรรค์ในแคมเปญหาเสียงปี 2000 และ 2004 เข้มข้นเสียจนเว็บไซต์ beliefnet.com ท�ำ “มิเตอร์พระเจ้า” (God-o-meter) ขึ้นมาวัดว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ละคนอ้างถึงพระเจ้ากันกี่ครั้ง วิ ธี ที่ ส องที่ ช าวเดโมแครตใช้ คื อ เสนอว่ า คุ ณ ค่ า ทางศี ล ธรรม ในการเมืองนัน้ ไม่ได้เป็นเพียงประเด็นทางวัฒนธรรม เช่น การท�ำแท้ง การ สวดมนต์ในโรงเรียน การแต่งงานของคนรักเพศเดียวกัน หรือการแสดง บัญญัติสิบประการในศาล แต่ยังเป็นประเด็นทางเศรษฐกิจด้วย เช่น หลัก ประกันสุขภาพ การดูแลเด็ก การจัดหาเงินอุดหนุนเพื่อการศึกษา และ ประกันสังคม จอห์น แคร์รี แสดงหนึ่งในรูปแบบของวิธีนี้ในสุนทรพจน์ รับเป็นผู้สมัครชิงต�ำแหน่งประธานาธิบดี ณ ที่ประชุมพรรคเดโมแครต ประจ�ำปี 2004 โดยกล่าวค�ำว่า “คุณค่า” ไม่น้อยกว่า 32 ครั้ง ถึงแม้แรงผลักดันจะถูกต้อง แต่วิธีแก้ปัญหาการขาดหลักคุณค่า แบบขอไปทีกท็ ำ� ให้คนรูส้ กึ ว่าเสแสร้งและไม่จริงใจด้วยสาเหตุสองประการ ประการแรก ชาวเดโมแครตไม่สามารถอธิบายวิสยั ทัศน์เรือ่ งความยุตธิ รรม ทางเศรษฐกิจซึ่งเป็นรากฐานของนโยบายสังคมและเศรษฐกิจของตนได้ อย่างชัดเจนและหนักแน่น ประการที่สอง กระทั่งข้อเสนอหนักแน่นเพื่อ หนุนเสริมความยุติธรรมทางเศรษฐกิจ ก็ไม่ใช่วิสัยทัศน์การปกครองด้วย ตัวของมันเอง การมอบโอกาสอย่างเป็นธรรมให้ทุกคนได้ประโยชน์จาก สังคมทีม่ งั่ คัง่ นัน้ เป็นมิตหิ นึง่ ของสังคมทีด่ กี จ็ ริง แต่ความเป็นธรรมก็ไม่ใช่ ทุกสิ่งทุกอย่าง มันไม่ได้ตอบสนองความกระหายอยากให้ชีวิตสาธารณะ มีความหมายทีย่ งิ่ ใหญ่กว่านัน้ เพราะมันไม่ได้เชือ่ มโยงการปกครองตัวเอง เข้ากับความปรารถนาของผู้คนที่อยากมีส่วนร่วมกับการสร้างประโยชน์ ส่วนรวมที่เหนือกว่าตนเอง M i ch a el S a n d el

13


หากไม่นับกระแสความรักชาติเอ่อล้นทันทีที่เกิดโศกนาฏกรรม 9/11 และความเสียสละของทหารที่ไปรบในอิรัก การเมืองอเมริกันก็ ขาดแคลนวิสัยทัศน์เรื่องสังคมที่ดีและพันธกิจที่พลเมืองมีร่วมกัน ไม่กี่ สัปดาห์หลังผู้ก่อการร้ายก่อวินาศกรรม 9/11 ในปี 2001 ประธานาธิบดี บุชก็ยืนกรานว่าจะลดภาษีแม้ในห้วงยามที่ก�ำลังน�ำชาติเข้าสู่สงคราม มีผู้ถามว่าเหตุใดบุชจึงไม่เรียกร้องให้คนอเมริกันทั้งประเทศเสียสละ เขาตอบว่าคนอเมริกันเสียสละแล้วด้วยการทนรอคิวที่สนามบินนานกว่า เดิม ในการสัมภาษณ์ปี 2004 ที่เมืองนอร์มังดี ฝรั่งเศส ในวาระครบรอบ วันยกพลขึ้นบกในสงครามโลกครั้งที่สอง (ดีเดย์) ทอม โบรคอว์ (Tom Brokaw) ผู้สื่อข่าวช่องเอ็นบีซี ถามประธานาธิบดีว่าท�ำไมถึงไม่ขอให้คน อเมริกันเสียสละมากกว่านี้ พวกเขาจะได้รู้สึกผูกพันกับเพื่อนพลเมือง ที่ก�ำลังต่อสู้และล้มตายในอิรัก บุชท�ำหน้าฉงน แล้วตอบว่า “ ‘เสียสละ มากกว่านี้’ แปลว่าอะไรครับ?” โบรคอว์ยกตัวอย่างการปันส่วนอาหาร สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แล้วก็ถามใหม่ว่า “ผมคิดว่าวันนี้คนรู้สึกจริงๆ ว่ามีความลักลั่นระหว่างสิ่งที่บุคลากรทางการทหารชาวอเมริกันก�ำลังท�ำ ในต่างแดน กับสิ่งที่คนอเมริกันก�ำลังท�ำในประเทศ” บุชตอบว่า “อเมริกา เสียสละตลอดมาครับ เศรษฐกิจของเราไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร มีคนที่ไม่ได้ ท�ำงาน โชคดีทวี่ นั นีเ้ ศรษฐกิจของเราเข้มแข็ง และก็กำ� ลังจะเข้มแข็งยิง่ ขึน้ ” ข้อเท็จจริงที่ว่าชาวเดโมแครตไม่ได้ฉวยใช้ประเด็นเรื่องการ เสียสละและบุชแทบไม่เข้าใจค�ำถาม ต่างสะท้อนความอ่อนแอของส�ำนึก พลเมืองในภาคการเมืองอเมริกนั หลังจากศตวรรษที่ 21 เปิดฉากมาไม่กปี่ ี ถ้าหากไม่มีเรื่องราวเกี่ยวกับเป้าหมายส่วนรวมที่โดนใจ ผู้มีสิทธิออก เสียงในห้วงเวลาแห่งความหวาดผวาย่อมเทใจให้กับความมั่นคงและ ความแน่นอนทางศีลธรรมที่พวกเขาเชื่อมโยงเข้ากับประธานาธิบดีที่อยู่ ในต�ำแหน่ง * * *

14

Public Philos ophy


ความเรียงในหนังสือเล่มนีส้ ำ� รวจภาวะกระอักกระอ่วน (dilemma) ทางศีลธรรมและส�ำนึกพลเมืองซึ่งมอบลมหายใจให้กับชีวิตสาธารณะใน อเมริกา ภาคหนึ่ง “ชีวิตพลเมืองอเมริกัน” ฉายภาพกว้างของธรรมเนียม การเมืองแบบอเมริกัน ชี้ว่าปัญหา “คุณค่าทางศีลธรรม” ที่นักคิดสาย เสรีนิยมติดอยู่ทุกวันนี้กลับทิศทางกับสถานการณ์ในอดีต นักคิดสาย อนุรกั ษนิยมไม่ได้ผกู ขาดมิตดิ า้ นศรัทธาในข้อเสนอทางการเมืองอยูต่ ลอด ขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องการปฏิรูปศีลธรรมและการเมืองที่ยิ่งใหญ่ หลายขบวนการในประวัติศาสตร์อเมริกัน (ตั้งแต่ขบวนการเคลื่อนไหว เรียกร้องการเลิกทาส ถึงยุคหัวก้าวหน้า จวบจนขบวนการเคลื่อนไหว เรียกร้องสิทธิพลเมืองในทศวรรษ 1960) ต่างดึงข้อถกเถียงอันทรงพลัง มาจากแหล่งทางศีลธรรม ศาสนา และจิตวิญญาณ ความเรียงในภาค หนึ่งหวนร�ำลึกถึงการโต้วาทีทางการเมืองในอเมริกา ตั้งแต่ยุคของ ธอมัส เจฟเฟอร์สัน (Thomas Jefferson) เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อชี้ว่าค่าย เสรีนิยมได้สูญเสียปากเสียงทางศีลธรรมและส�ำนึกพลเมืองของตนไปได้ อย่างไร พร้อมตั้งค�ำถามว่าระบอบการปกครองตัวเองจะสามารถฟื้นคืน มาได้หรือไม่ในยุคสมัยของเรา ภาคสอง “ข้อถกเถียงทางศีลธรรมและการเมือง” หยิบยกประเด็น ทางศีลธรรมและการเมืองซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันอย่างร้อนแรงตลอดสอง ทศวรรษที่ผ่านมา อาทิ โควตานักศึกษาส�ำหรับผู้เสียเปรียบในสังคม การุณยฆาตโดยแพทย์ การท�ำแท้ง สิทธิเกย์ การวิจัยเซลล์ต้นก�ำเนิด สิทธิการปล่อยมลพิษ ค�ำโกหกของประธานาธิบดี การลงโทษทางอาญา ขีดจ�ำกัดทางศีลธรรมของตลาด ความหมายของการยอมรับความต่างและ ความเป็นอารยะ สิทธิของปัจเจกกับข้อเรียกร้องของชุมชน และบทบาท ของศาสนาในชีวิตสาธารณะ สิ่งที่ไหลเวียนอยู่ในวงอภิปรายประเด็น ร้อนแรงเหล่านี้คือค�ำถามที่ผุดขึ้นมาเรื่อยๆ นั่นคือ สิทธิส่วนบุคคลและ เสรีภาพในการเลือกเป็นอุดมคติที่โดดเด่นที่สุดในชีวิตทางศีลธรรมและ ชีวิตทางการเมืองของเรา แต่มันเป็นรากฐานที่เพียงพอหรือเปล่าส�ำหรับ M i ch a el S a n d el

15


สังคมประชาธิปไตย? เราหาเหตุผลมาตอบค�ำถามทางศีลธรรมยากๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตสาธารณะ โดยไม่ต้องพึ่งพาความคิดซึ่งเป็นที่ถกเถียง กันมากเกี่ยวกับชีวิตที่ดีได้ไหม? ถ้าหากข้อถกเถียงทางการเมืองของเรา ไม่อาจหลีกเลี่ยงค�ำถามเรื่องชีวิตที่ดี (ดังที่ผมยืนยันว่าท�ำไม่ได้) แล้วเรา จะรับมืออย่างไรกับข้อเท็จจริงที่ว่าสังคมสมัยใหม่เต็มไปด้วยความไม่ลง รอยกันเกี่ยวกับค�ำถามลักษณะนี?้ ภาคสาม “เสรีนิยม พหุนิยม และชุมชน” ถอยออกจากประเด็น ร้อนแรงทางศีลธรรมและการเมืองซึ่งอภิปรายในภาคสอง เพื่อส�ำรวจ ทฤษฎีเสรีนิยมทางการเมืองต่างๆ ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน และเพื่อ ประเมินข้อดีและข้อด้อยของทฤษฎีเหล่านั้น ในภาคนี้ ผมยกตัวอย่าง ทฤษฎีทางการเมืองซึ่งดึงอุดมคติทางศีลธรรมและศาสนามาใช้อย่าง ชัดเจนโจ่งแจ้ง แต่กย็ งั ยึดโยงอยูก่ บั หลักการพหุนยิ มได้ ความเรียงในภาค นี้จะเชื่อมร้อยประเด็นหลักที่ไหลเวียนตลอดทั้งเล่มเข้าด้วยกัน เสนอว่า เราต้องมีการเมืองทีเ่ น้นเรือ่ งความเป็นพลเมือง ชุมชน และส�ำนึกพลเมือง ให้มากขึ้น ทั้งต้องเป็นการเมืองที่รับมือกับค�ำถามว่าด้วยชีวิตที่ดีอย่าง ตรงไปตรงมามากกว่าเดิม นักคิดสายเสรีนิยมมักจะเป็นห่วงว่าการ เชือ้ เชิญประเด็นถกเถียงทางศีลธรรมและศาสนาเข้ามาในพืน้ ทีส่ าธารณะ จะสร้างความเสี่ยงว่าคนจะขาดความอดทนอดกลั้นและเกิดการบังคับ ขู่เข็ญ ความเรียงชุดนี้ตอบความกังวลข้อนี้ด้วยการชี้ว่าวาทกรรมทาง ศีลธรรมที่มีสาระส�ำคัญนั้นไม่ขัดแย้งกับเป้าหมายสาธารณะที่ก้าวหน้า ทัง้ หลาย และสังคมพหุนยิ มไม่จำ� เป็นจะต้องหดหัวถอยห่างจากความเชือ่ ทางศีลธรรมและศาสนาซึ่งพลเมืองน�ำเข้าสู่ชีวิตสาธารณะ ความเรียงหลายชิน้ ท�ำให้เส้นแบ่งระหว่างข้อวิจารณ์ทางการเมือง กับปรัชญาการเมืองพร่าเลือน มันแผ้วถางทางเข้าสู่ปรัชญาสาธารณะ ในสองแง่มมุ มุมแรก มันแสดงให้เห็นว่าประเด็นร้อนแรงทางการเมืองและ ทางกฎหมายที่คนในยุคเราทุ่มเถียงกันนั้นเป็นโอกาสของการใช้ปรัชญา มุมทีส่ อง มันสะท้อนความพยายามทีจ่ ะน�ำปรัชญามาใช้ในพืน้ ทีส่ าธารณะ 16

Public Philos ophy


โดยน�ำปรัชญาศีลธรรมและการเมืองมาข้องเกี่ยวกับวาทกรรมสาธารณะ ร่วมสมัย ความเรียงส่วนใหญ่ในหนังสือเล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรก ในสือ่ สิง่ พิมพ์ซงึ่ พุง่ เป้าไปทีผ่ อู้ า่ นนอกแวดวงวิชาการ เช่น Atlantic Monthly, New Republic, New York Times และ New York Review of Books ส่วนความเรียงที่เหลือได้รับการตีพิมพ์ในวารสารกฎหมายปริทรรศน์ หรือวารสารวิชาการอื่น แต่ทุกชิ้นล้วนสื่อสารกับพลเมืองเช่นเดียวกับนัก วิชาการ และพยายามฉายไฟส่องชีวิตสาธารณะร่วมสมัยของเรา

M i ch a el S a n d el

17


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.