Sociology: A Very Short Introduction

Page 1


สังคมวิทยา: ความรู้ฉบับพกพา • จันทนี เจริญศรี แปล จากเรื่อง S oc i o l ogy : A V e r y S hor t I n t r o duct ion โดย S t e v e B r u c e พิมพ์ครั้งแรก: ส�ำนักพิมพ์ op e n wo r l d s, พฤษภาคม 2559 ราคา 210 บาท คณะบรรณาธิการอ�ำนวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง บรรณาธิการส�ำนักพิมพ์ ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว ณัฏฐพรรณ เรืองศิรินุสรณ์ กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ ศิลปกรรม พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ ผู้จัดการส�ำนักพิมพ์ ภรณ์ทิพย์ ปิยฤทธิพงศ์ • บรรณาธิการเล่ม กัญญ์ชลา นาวานุเคราะห์ บรรณาธิการต้นฉบับ บุญชัย แซ่เงี้ยว ออกแบบปก พรชนิตว์ วิศิษฐชัยชาญ • บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จ�ำกัด 33 อาคารเอ ห้องเลขที่ 48 ซอยประดิพัทธ์ 17 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 0 - 2 6 1 8 - 4 7 3 0 e- ma i l : o p e n w o r l d s t h a i l a n d @g m a i l . c o m fa c e b ook : w w w . f a c e b o o k . c o m / o p e n w o r l ds w e bs i t e : w w w . o p e n w o r l d s . i n . t h จัดจ�ำหน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จ�ำกัด (มหาชน) เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟ ทาวเวอร์ ชั้น 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0 - 2 7 3 9 - 8 0 0 0 โทรสาร 0 - 2 7 3 9 - 8 3 5 6 - 9 w e bs i t e : h t t p : / / w w w . s e - e d . c o m /


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อสำ�นักพิมพ์โอเพ่นเวิลด์ส หมายเลขโทรศัพท์ 0-2618-4730 และ 09-7174-9124 หรือ e - ma il: o p e n w o rld st h a ila n d @ g m ail.c om

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ บรูซ, สตีฟ. สังคมวิทยา: ความรู้ฉบับพกพา.-- กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ส, 2559. 176 หน้า.-- (ความรู้ฉบับพกพา). 1. สังคมวิทยา. I. จันทนี เจริญศรี, ผู้แปล. II. ชื่อเรื่อง. 301 ISBN 978-616-7885-32-2 • Thai language translation copyrigh t 2016 by openworlds publishing house /Copyright © 1999 by Steve Bruce All Rights Reserved. So c io lo g y : A V e r y S h o r t I n t r o d u c t i o n, b y S t e v e B r uce w as or iginally p u b lis h e d in E n g l i s h i n 1 9 9 9 . This translation is published by arrangement with Oxford University Press th ro u g h T u ttle- M o r i A g e n c y C o . , L t d . T h e T h a i e d iti o n i s t r a n s l a t e d b y C h a n t a n e e C h a r oensr i and published b y o p e n wo rld s p u b l i s h i n g h o u s e , 2 0 1 6 . สังคมวิทยา: ความรู้ฉบับพกพา ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษเมื่อปี ค.ศ. 1999 แปลและจัดพิมพ์เป็นภาษาไทยโดยบริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด ตามข้อตกลงกับสานักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ภาพปก: Pe o p le w h o w a l k t h e c r o s s w a l k t o d u s k โดย beeboys/S hutter stock



สารบัญ

.

ค�ำน�ำผู้แปล : 6 ค�ำน�ำผู้เขียน : 8 กิตติกรรมประกาศ : 11 1. สถานภาพของสังคมวิทยา : 14 2. การประกอบสร้างทางสังคม : 40 3. สาเหตุและผลพวง : 84 4. โลกสมัยใหม่ : 100 5. นักสังคมวิทยาจ�ำแลง : 142 หนังสืออ่านเพิ่มเติม : 170 ประวัติผู้เขียน : 174 ประวัติผู้แปล : 175


6

Sociology

ค�ำน�ำผู้แปล

.

นอกจากมิ ต รสหาย นั ก ศึ ก ษา และเพื่ อ นร่ ว มงาน ทั้งหลายที่คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์แล้ว ผูแ้ ปลขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์ openworlds ทีใ่ ห้ โอกาสผู้แปลได้มีส่วนร่วมกับหนังสือชุดที่ประสบความส�ำเร็จ ที่สุดชุดหนึ่ง ณ ห้วงเวลานี้ แม้ในช่วงต้น ผู้แปลจะท�ำงานแปลด้วยอารมณ์อยาก ถกเถียงปะปนกับความฉงนฉงายอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กั บ การเลื อ กเปิ ด ตั ว สั ง คมวิ ท ยาด้ ว ยการเน้ น ความเป็ น วิทยาศาสตร์สังคมของผู้เขียน ความฉงนนี้มาจากประสบการณ์ การเรียนรู้ศาสตร์สังคมวิทยาของผู้แปลเอง ที่มีครูคนแรกเป็น นักสังคมวิทยาสายการตีความ และยังถูกย�้ำต่อๆ มาถึงการ ด� ำ รงอยู ่ คู ่ กั น ของสั ง คมวิ ท ยา 3 สาย คื อ สายปฏิ ฐ านนิ ย ม ที่ในตัวเองก็มีหลายรูปแบบ สายการตีความ และสายวิพากษ์ กระนั้นก็ดี ประสบการณ์การแปลหนังสือเล่มนี้ก็มีค่ายิ่งที่ท�ำให้ ผู้แปลตระหนักว่าความเป็นวิทยาศาสตร์ยังฝังรากลึกอยู่ใน สังคมวิทยาเกินกว่าจะถอดถอนไปได้โดยง่าย และที่เป็นเช่นนั้น


A Very Short

Introduction

7

ส่วนหนึ่งเพราะพวกเราเองไม่ค่อยรู้ตัวกันว่ามี “จิตใจ” แบบ ปฏิฐานนิยมอยู่ข้างใน แม้เมื่อตอนกล่าวว่าตัวเองก�ำลังท�ำงาน ในประเพณีแบบอื่นอยู่ บทต่อๆ มาในหนังสือ ผู้เขียนได้พยายามแยกสิ่งที่ ผู้คนมักเข้าใจกันว่าคือสังคมวิทยาออกมา เพื่อให้ผู้อ่านพอเห็น เค้ า โครงความเป็ น สั ง คมวิ ท ยา ตลอดจนแนะน� ำ ความคิ ด รวบยอดส�ำคัญๆ ที่เป็นมุมมองอันเป็นเอกเทศของสังคมวิทยา อาทิเช่น การประกอบสร้างทางสังคม (social construction) ผลพวงโดยไม่ได้ตั้งใจ (unintended consequences) และได้ อธิบายอย่างกระจ่างแจ้งโดยใช้ตัวอย่างจากสาขาที่เขารู้ดีที่สุด อย่างศาสนา พร้อมๆ กับการแนะน�ำแนวคิดหลักเหล่านั้น เขาก็พาเราไปรู้จักประวัติและพัฒนาการของสังคมวิทยาในบาง แง่มุม ทั้งยังแนะน�ำให้รู้จักบุคคลส�ำคัญอย่าง เอมีล เดอร์ไคม์ โรเบิร์ต เมอร์ตัน เออร์วิง กอฟฟ์แมน เหล่าเจ้าของแนวคิด อันมีสว่ นประกอบสร้างความเป็นสังคมวิทยาขึน้ มา นับว่าเป็นการ ท�ำหน้าที่ “ความรู้ฉบับพกพา” ได้อย่างดียิ่ง ในภาพรวม ไม่ว่าเราจะเห็นด้วยกับผู้เขียนหรือไม่ เขาก็เป็นผู้เขียนที่โปร่งใส กล้าหาญ และเปิดเผยในการเขียน อย่างมีจดุ ยืนเสมอต้นเสมอปลาย ผูแ้ ปลหวังว่าผูท้ ไี่ ด้อา่ นหนังสือ เล่มนี้ด้วยหวังจะท�ำความรู้จักกับสาขาวิชาสังคมวิทยา จะได้ สนทนากับผู้เขียนเหมือนกับผู้แปล ซึ่งน่าจะท�ำให้ท่านสนใจ อยากท�ำความรู้จักวิชานี้มากยิ่งขึ้นไปอีก


8

Sociology

ค�ำน�ำผู้เขียน

.

การที่วิชาสังคมวิทยาได้รับความสนใจและเป็นเป้า ของการถากถางไปพร้อมๆ กัน คือสัญญาณแสดงถึงพลังของ ศาสตร์นี้ สาขาวิชาที่เก่าแก่กว่ามักค่อนขอดว่ามันเป็นศาสตร์ น้องใหม่ที่ยังเก้ๆ กังๆ แต่ก็รับมุมมองแบบสังคมวิทยามาใช้ คนทัว่ ไปมักชอบล้อเลียนคนทีท่ ำ� อาชีพในสายงานนี้ แต่กเ็ ชือ่ ตาม ข้อสมมติฐานทางสังคมวิทยาบางประการอย่างจริงจัง รัฐบาล มักกล่าวหาสังคมวิทยาว่าบ่อนท�ำลายศีลธรรมและระเบียบวินัย ทางสังคม แต่ก็จ้างนักสังคมวิทยาให้มาประเมินนโยบายของตน อาการกระอักกระอ่วนทีเ่ รามีตอ่ สังคมวิทยานัน้ อาจเห็น ได้จากจ�ำนวนและลักษณะของมุกตลกที่เกี่ยวกับสาขาวิชานี้ นี่อาจจะเป็นแค่อาการประสาทกินของผู้มีอาชีพนักสังคมวิทยา อย่างผม ดูเหมือนมันจะเป็นมุกส�ำหรับนักสังคมวิทยาซึ่งต่าง จากมุกนักประวัติศาสตร์ เนื่องด้วยอารมณ์ขันท�ำนองนี้อาจจะ ไม่ตลกเสมอไป ผมจึงขอเล่าแค่มกุ เดียว มุกร้ายๆ นีม้ าจากละคร โทรทัศน์อังกฤษเรื่อง บอดีการ์ด (Minder) ซึ่งเป็นละครชวนหัว ชั้นดีในทศวรรษ 1980 ที่เกี่ยวกับโจรกระจอกในลอนดอน ยาจก


A Very Short

Introduction

9

น่ารักสองคนคุยถึงเพื่อนที่เพิ่งออกจากคุก คนหนึ่งเล่าว่าเพื่อน ได้พัฒนาตนเองระหว่างติดคุกด้วยการไปเรียนหนังสือ “ช่าย ตอนนีเ้ ขามีปริญญาจากมหาวิทยาลัยเปิดแล้ว สาขาสังคมวิทยา” ยาจกรายที่สองเลยถามว่า “ถ้างั้นก็แปลว่าเลิกเป็นโจรแล้วสิ” รายแรกตอบว่า “ยังหรอก แต่ตอนนีเ้ ขารูแ้ ล้วว่าท�ำไมถึงเป็นโจร” นี่เป็นวาทะที่ซับซ้อน เพราะมันบอกว่าสังคมวิทยา ดึงดูดผู้ร้ายให้หันมาสนใจสาขาวิชานี้ (อาจเป็นเพราะมันเน้น ศึกษาปัญหาสังคม) นอกจากนี้ พอพูดว่าการกระท�ำของปัจเจก มีสาเหตุมาจากสังคม ก็เท่ากับว่าวิชาสังคมวิทยาได้ช่วยให้ ผู ้ ก ระท� ำ ผิ ด ไม่ ต ้ อ งรั บ ผิ ด ชอบการกระท� ำ ของตน มุ ก ตลกนี้ ยั ง บอกว่ า วิ ช าสั ง คมวิ ท ยานั้ น ไร้ เ ดี ย งสาและพร้ อ มถู ก คนที่ เจนโลกปรับใช้เข้าข้างตัวเอง แต่เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบ เราคง ได้ ค� ำ ตอบที่ ชั ด เจนว่ า สั ง คมวิ ท ยาผิ ด จริ ง ตามที่ ถู ก ค่ อ นขอด หรือไม่ ในส่วนถัดจากนี้ เราจะได้เข้าใจเหตุผลทีน่ กั สังคมศาสตร์ เห็นอะไรตรงกันยากกว่านักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ นักวิจยั ชัน้ น�ำ ในสาขาอย่างฟิสกิ ส์อาจเถียงกันเอาเป็นเอาตาย แต่เขาก็เห็นพ้อง ต้องกันเพียงพอที่จะเขียนต�ำราเบื้องต้น ซึ่งบอกได้ว่าอะไรคือ ความรู้พื้นฐานที่บรรดานักฟิสิกส์ให้การยอมรับ ในทางกลับกัน ต� ำ ราสั ง คมศาสตร์ พื้ น ฐานทั้ ง หลายมั ก พู ด ถึ ง ประเด็ น ศึ ก ษา ของตนโดยเสนอว่ามีมุมมองต่างๆ ที่ขัดแย้งและแข่งขันกันอยู่ การชี้ชัดว่าเราต่างกันอย่างไรนั้นมีข้อดี และการเน้นมองไปที่ บางจุดของตรรกะข้อสรุปเหล่านี้จะท�ำให้เรารู้ว่าต้องถกเถียง อะไรก่ อ นถ้ า ต้ อ งการอธิ บ ายมุ ม มองต่ า งๆ ในเรื่ อ งสั ง คม


10

Sociology

เช่นเดียวกับนักการเมืองในระหว่างการหาเสียง ผู้สนับสนุน แนวทางหนึ่งจะพยายามขีด “เส้นแบ่งที่ชัดเจน” ระหว่างตัวเขา กับคูแ่ ข่ง แต่กเ็ ช่นเดียวกับนักการเมืองทีม่ อี ำ� นาจ เมือ่ คนคนนัน้ ก้าวเข้ามาเป็นนักสังคมวิทยา (แทนทีจ่ ะแค่ปา่ วประกาศว่าตัวเอง เป็น) พวกเขามีแนวโน้มที่จะประนีประนอมมุมมองต่างๆ ข้อจ�ำกัดทางพื้นที่ของหนังสือ “ความรู้ฉบับพกพา” ได้ปลดปล่อยผมจากภาระที่ต้องให้ภาพรวมครอบคลุมสาขา วิชานี้ทั้งหมด ในที่นี้ผมจะน�ำเสนอแก่นแกนอันเป็นเอกลักษณ์ ของสังคมวิทยาแทน โดยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ขั้นแรก ผมจะแจกแจงที่ทางของสังคมวิทยาโดยการพินิจพิเคราะห์ว่า ค�ำกล่าวที่ว่าสังคมวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์สังคมนั้นหมายความ ว่าอย่างไร ในบทที่ 2-4 ผมจะอธิบายฐานคิดเบื้องต้นของวิชานี้ และในบทสุดท้าย ผมจะสร้างความชัดเจนให้กับสาขานี้ด้วยการ เปิดโปงสังคมวิทยาแบบที่ได้รับความนิยมแต่ไม่ใช่ของจริง


A Very Short

Introduction

11

กิตติกรรมประกาศ

.

ผมขอขอบคุณศาสตราจารย์กอร์ดอน มาร์แชลล์ แห่ง นัฟฟิลด์คอลเลจ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด และ จอร์จ มิลเลอร์ แห่งส�ำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด ที่เสนอให้ผมเป็น ผู ้ เ ขี ย นหนั ง สื อ เล่ ม นี้ ขอขอบคุ ณ ศาสตราจารย์ ม าร์ แ ชลล์ ศาสตราจารย์สตีเฟน เยียร์ลีย์ แห่งมหาวิทยาลัยยอร์ก และ ดอกเตอร์เดวิด อิงกลิส แห่งคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย อาเบอร์ดีน ที่กรุณาวิจารณ์ร่างแรกของหนังสือ และเช่นเคย ผมขอขอบคุณการบรรณาธิการต้นฉบับของ ฮิลารี วอลฟอร์ด ที่เป็นผู้คอยดูแลให้ผมมั่นใจว่าหนังสือจะไม่พูดอะไรที่ผมไม่ได้ เจตนา



สังคมวิทยา •

ความรู้ฉบับพกพา

SOCIOLOGY • A Very Short Introduction by

Steve Bruce

แปลโดย

จันทนี เจริญศรี


บทที่ 1

/ สถานภาพของสังคมวิทยา


A Very Short

Introduction

15

สังคมวิทยาและวิทยาศาสตร์่ นับตัง้ แต่เรามีความเข้าใจและความสามารถทีจ่ ะควบคุม โลกแห่ ง วั ต ถุ นั ก วิ ท ยาศาสตร์ แ ละนั ก ปรั ช ญาวิ ท ยาศาสตร์ ได้เพียรพยายามที่จะชี้ชัดว่าอะไรที่แยกวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ออกจากศาสตร์ที่หมดทางก้าวหน้า เช่น การพยายามเปลี่ยน หินให้เป็นทอง หรือการท�ำนายอนาคตจากดวงดาว โชคไม่ดี ที่ พ วกเขาล้ ม เหลวในการขี ด เส้ น แบ่ ง ให้ แ น่ ชั ด และเมื่ อ เรา พิจารณาสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ท�ำกันจริงๆ จะยิ่งเห็นว่าชีวิต การท�ำงานของนักวิทยาศาสตร์นั้นหาได้สอดคล้องกับภาพที่ นักปรัชญาวิทยาศาสตร์วาดเอาไว้ไม่ แต่กระนั้นเราก็ยังสามารถ ระบุ ลั ก ษณะเฉพาะตั ว ที่ มั ก พบในดาราศาสตร์ ม ากกว่ า ใน โหราศาสตร์ได้ และในขณะที่เราไม่อาจแยกแนวคิดเกี่ยวกับ โลกแห่ ง วั ต ถุ อ อกเป็ น วิ ท ยาศาสตร์ แ ท้ วิ ท ยาศาสตร์ เ ที ย ม ได้อย่างเด็ดขาด แต่เรายังพอจะพูดได้ว่าสิ่งใด “ค่อนข้าง” เป็น วิทยาศาสตร์


16

Sociology

จุ ด เริ่ ม ต้ น ที่ ดี ก็ คื อ ให้ เ ราดู ว ่ า ทฤษฎี ที่ มี ค วามเป็ น วิทยาศาสตร์ควรมีความสอดคล้องกันโดยทั่วพร้อม เกณฑ์นี้ จะแยกวิทยาศาสตร์ออกจากการใช้เหตุผลของคนทั่วไปทันที แม่ ข องผมพู ด อะไรที่ ขั ด แย้ ง กั น เองอยู ่ บ ่ อ ยครั้ ง แม่ แ ทบไม่ เดือดร้อนอะไรที่สิ่งที่เธอเพิ่งพูดไม่สอดคล้องกับประโยคถัดมา ครั้งหนึ่งแม่เคยวิจารณ์ร้านอาหารข้างทางว่ารสชาติเลวร้าย และให้น้อยเกินไป! ทฤษฎี วิ ท ยาศาสตร์ ที่ ดี นั้ น ควรสอดรั บ กั บ หลั ก ฐาน ประเด็นนี้อาจดูเหมือนก็รู้ๆ กันอยู่ แต่นักวิทยาศาสตร์ควร เคร่งครัดกับเรื่องนี้มากกว่ามาตรฐานของคนทั่วไป ตัวอย่าง ในเรื่องนี้เห็นได้จากการแพทย์สมัยใหม่กับการแพทย์ทางเลือก บริษัทยาแม้ว่าจะถูกผลักดันด้วยการค้าให้ต้องน�ำยามหัศจรรย์ ออกสู่ตลาดก่อนคู่แข่ง แต่ก็ยังต้องทดสอบยาอย่างครอบคลุม และยาวนาน ในการทดสอบแบบ “ปกปิดสองฝ่าย” (double-blind testing) จะมีการแบ่งผู้ป่วยจ�ำนวนมากออกเป็นกลุ่มทดลอง กับกลุ่มควบคุม กลุ่มหนึ่งได้รับยาตัวนี้ อีกกลุ่มได้รับ “ยาหลอก” ที่ไม่มีพิษภัยและไม่ออกฤทธิ์ ทั้งผู้ป่วยและแพทย์จะไม่ทราบ ว่ า กลุ ่ ม ไหนได้ ย าจริ ง กลุ ่ ม ไหนได้ ย าหลอกจนกว่ า จะสิ้ น สุ ด การทดลอง การทดลองจะได้รับการยอมรับว่าเป็นหลักฐาน ที่ใช้ได้และถือว่ายามีประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อกลุ่มทดลองมีผล การรักษาดีกว่ากลุ่มที่กินยาหลอกอย่างชัดเจนเท่านั้น ในทาง ตรงกันข้าม การรักษาแบบทางเลือก เช่น การบ�ำบัดด้วยศรัทธา การฝังเข็ม หรือการบ�ำบัดด้วยแม่เหล็ก แทบไม่มีการทดสอบ ผลการรักษาเลย ประสบการณ์สว่ นตัวของผูใ้ ห้การรักษาบวกกับ


A Very Short

Introduction

17

ค�ำบอกเล่าถึงการหายขาดราวปาฏิหาริย์ถือว่าเพียงพอแล้ว ที่จะท�ำให้เกิดการรักษาที่มีประสิทธิผล การทดสอบนี้ไม่ได้ใช้วิธี “ปกปิดสองฝ่าย” ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่ผลการรักษาอาจมาจาก ความเชื่อว่าตนได้รับยา ข้ อ ที่ ส าม วิ ท ยาศาสตร์ เ ปลี่ ย นแปลงอยู ่ ต ลอดเวลา ข้ อ ค้ น พบต่ า งๆ ไม่ เ คยเป็ น “จริ ง ” แบบสั ม บู ร ณ์ แ ละใช้ ไ ด้ ตลอดไป มันเป็นเพียงความจริงเฉพาะกาลและสามารถปรับแปลง ได้เสมอ สิ่งที่เชื่อกันอย่างหมดใจในศตวรรษหนึ่งมักจะกลาย เป็นสิ่งที่คนในศตวรรษต่อมาฉงนสงสัย จึงดูกระอักกระอ่วน เล็กน้อยที่จะกล่าวว่าวิทยาศาสตร์ท�ำให้เกิด ความก้าวหน้า เพราะเราไม่รู้เลยว่าก�ำลังก้าวไปไหน แต่เรารู้แน่ว่าเคยอยู่ที่ใด และดั ง นั้ น จึ ง พู ด ได้ ว ่ า วิ ท ยาศาสตร์ ค ่ อ ยๆ ขยั บ ออกมาจาก ความผิดพลาด เราจะเข้าใจประเด็นนี้ดียิ่งขึ้นหากเปรียบเทียบ การแพทย์ที่ผ่านการพิสูจน์ทดลองกับการแพทย์ทางเลือกซึ่งตั้ง อยูบ่ นประเพณีทเี่ คยท�ำกันมาเก่าก่อน ในโลกของการรักษาด้วย น�ำ้ ค้างบนกลีบดอกไม้แบบบาก (Edward Bach) การปรับฮวงจุย้ การนวดกดจุดแบบชิอตั สึ การอ้างว่าเราท�ำกันมาหลายศตวรรษ เป็นหลักฐานที่เพียงพอแล้ว (โดยเฉพาะในวัฒนธรรมที่ไม่มี ความเป็นสมัยใหม่มาแปดเปื้อน) หากมองว่าสิ่งที่เป็นพื้นฐาน ของการแพทย์สมัยใหม่อย่างระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกาย เป็นการค้นพบเมื่อไม่นานมานี้ การที่นักวิทยาศาสตร์จะไม่ชอบ แนวการรักษาแบบเก่าแก่ก็นับว่าถูกต้องแล้ว ในศาสตร์ก�ำมะลอ [เช่นเมื่อ เอริช ฟอน แดนิเคน (Erich von Däniken) อ้างว่าพีระมิดแห่งอียิปต์สร้างโดยมนุษย์


18

Sociology

ต่างดาวที่มาเยือนโลก] ข้อมูลชิ้นเล็กชิ้นน้อยที่ดึงออกมาใช้ อย่ า งผิ ด บริ บ ทจะเป็ น ตั ว ค�้ ำ จุ น ทฤษฎี ในวิ ท ยาศาสตร์ แ ท้ การแทนทีค่ ำ� อธิบายแบบหนึง่ ด้วยค�ำอธิบายอีกแบบหนึง่ จะต้อง มาจากการเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้อง อย่างครอบคลุม และเป็นระบบ แต่เท่านี้ยังไม่เพียงพอ แนวคิดบางอย่างก็ประหลาด เสียจนไม่มหี ลักฐานใดจะมาสนับสนุนได้ และเพราะการหาเหตุผล มาสนับสนุนความเชื่อนั้นง่าย ฉะนั้นสิ่งที่จะมาทดสอบหลักการ ได้ดีกว่า คือการหาเหตุผลที่จะไม่เชื่อแล้วมองหาหลักฐานที่ ไม่สอดรับกับแนวคิดนั้น ดังนั้นในวิทยาศาสตร์ แนวคิดที่น่า เชือ่ ถือทีส่ ดุ ก็คอื แนวคิดทีอ่ ยูร่ อดจากความพยายามซ�ำ้ แล้วซ�ำ้ เล่า ที่จะพิสูจน์ว่ามันผิด ประเด็ น นี้ น� ำ เรามาสู ่ ลั ก ษณะที่ ส� ำ คั ญ ที่ สุ ด ของ วิทยาศาสตร์ นั่นก็คือวิธีการจัดการกับความล้มเหลว สมมติ ว่าผมได้พัฒนาทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับอนุภาคที่เล็กกว่าอะตอม ในห้ องทดลองมี ผู ้ ช่ ว ยเป็ นเหล่ า นั ก ศึ ก ษาที่ ไ ด้ รั บ การฝึ ก ฝน ภายใต้มุมมองของผม ผมได้ผลทดลองมากมายที่ล้วนแต่มีผล สอดคล้องกับทฤษฎี แต่แล้วเมือ่ นักวิทยาศาสตร์คนอืน่ ทดลองซ�ำ้ แบบเดียวกันแต่ได้ผลที่ไม่สนับสนุนทฤษฎีผม ผมก็ควรทบทวน ทฤษฎีอีกครั้งโดยพิจารณาผ่านหลักฐานการทดลองรอบใหม่ ถ้าเราปรับพัฒนาทฤษฎีจนสามารถอธิบายครอบคลุมผลการ ศึกษาใหม่ หรืออธิบายได้ว่าท�ำไมผลการสังเกตจากการทดลอง ใหม่จึงผิด ทฤษฎีก็ยังใช้ได้อยู่ แต่ถ้าหากท�ำเช่นนั้นไม่ได้ เราก็ ควรเลิกใช้ทฤษฎีนี้เสีย เราจะเห็ น คุ ณ ค่ า ของวิ ธี ก ารแบบนี้ ไ ด้ ดี ที่ สุ ด เมื่ อ


A Very Short

Introduction

19

พิจารณาเปรียบเทียบกับวิธีทางเลือก สมมติมีผู้ป่วยที่ออกผื่น รุ น แรงมาหาหมอผี หมอผี ใ ห้ ไ ก่ กิ น ยาพิ ษ และจากท่ า ทาง ทุรนทุรายก่อนตายของไก่ หมอผีฟันธงว่าสาเหตุของผื่นมาจาก น้องสะใภ้ของผู้ป่วยท�ำคุณไสยใส่ หมอผีให้เครื่องรางกับผู้ป่วย และบอกเขาว่าถ้าสวมเครื่องรางนี้หนึ่งสัปดาห์ คุณไสยจะเสื่อม และผื่นจะหาย แต่ทว่าไม่เป็นผล ผ่านไปหนึ่งเดือนผื่นก็ยัง รุนแรงเหมือนเดิม แต่แทนที่จะสรุปว่าความเจ็บป่วยอันเป็นผล จากมนตร์ร้ายนั้นเป็นความเชื่อเหลวไหล และเครื่องรางไม่ได้ มีพลังในการรักษา หมอผีกลับอธิบายว่าที่เครื่องรางใช้ไม่ได้ เพราะผู้ป่วยไม่มีศรัทธามากพอ การรักษาที่ดูเหมือนจะล้มเหลว จึงกลับกลายเป็นการค�้ำจุนระบบความเชื่อ แม้ว่าตัวอย่างดังกล่าวจะมาจากการรักษาโรคแบบ ดั้ ง เดิ ม ในแอฟริ ก า แต่ เ ราอาจพบเรื่ อ งราวแบบนี้ ไ ด้ ใ นหมู ่ นักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ทปี่ กป้องทฤษฎีของตนโดยใช้แนวทาง คล้ายกัน วิทยาศาสตร์จะไปได้ต่อเมื่อนักวิทยาศาสตร์ยึดถือ หลักการทางวิทยาศาสตร์อย่างเคร่งครัด แต่ก็ต้องไม่ยึดติดกับ ทฤษฎีของตนเองมากเกินไป ทว่านักวิทยาศาสตร์ก็เป็นเพียง มนุ ษ ย์ ฉะนั้ น สิ่ ง ที่ ท� ำ ให้ วิ ท ยาศาสตร์ ไ ม่ ต ้ อ งไปพึ่ ง พาความ สามารถในการปล่อยวางของนักวิทยาศาสตร์ก็คือ การแข่งขัน คนที่ ใ ช้ เ วลายี่ สิ บ ปี ไ ปกั บ การพั ฒ นาทฤษฎี เ กี่ ย วกั บ อนุ ภ าค ที่เล็กกว่าอะตอม ย่อมมีแนวโน้มจะทุ่มเทความพยายามเพื่อ ปกป้องทฤษฎีที่สร้างชื่อให้กับตัวเอง อย่างไรก็ดี ด้วยโครงสร้าง ลั ก ษณะงานของวิ ท ยาศาสตร์ จะมี ค นอื่ น อี ก มากซึ่ ง ท� ำ งาน ในด้านเดียวกัน และไม่ได้ตดิ หนีบ้ ญ ุ คุณนักวิทยาศาสตร์ผยู้ งิ่ ใหญ่


20

Sociology

คนนี้ เขาเหล่านั้นจะพยายามอย่างสุดความสามารถที่จะพิสูจน์ ว่านักวิทยาศาสตร์ผู้นี้ผิด เพื่อผลักดันค�ำอธิบายของตัวเอง ให้เป็นที่ยอมรับแทน วิทยาศาสตร์เติบโตได้ด้วยการแลกเปลี่ยนความคิด อย่างอิสระและการแข่งขันทางปัญญา ความเติบโตจะชะงักเมื่อ มีแรงกระท�ำจากภายนอกพยายามยัดเยียดความเชื่อบางอย่าง ที่ไม่ได้มีรากฐานมาจากความรู้วิทยาศาสตร์ เช่นที่เคยเกิดขึ้น ในยุคกลางภายใต้การปกครองของนิกายคาทอลิกหรือสหภาพ โซเวียตในยุคสตาลิน ในศตวรรษที่ 19 นักพันธุศาสตร์บางคน เสนอว่าลักษณะบางอย่างที่เกิดขึ้นในช่วงที่มนุษย์คนหนึ่งมีชีวิต อยู่สามารถส่งต่อไปสู่รุ่นลูกผ่านทางยีน นักชีววิทยาชาวฝรั่งเศส ฌี.-เบ. ลามาร์ก (J.-B. Lamarck) เชือ่ ว่าทีย่ รี าฟมีคอยาวเนือ่ งจาก นิสยั ชอบยืดคอขึน้ ไปกินใบไม้ (จากนัน้ ลักษณะคอยาวก็ถกู ส่งต่อ ไปสู่ลูกยีราฟรุ่นต่อๆ มา) แต่ผู้ที่ค้านทฤษฎีนี้เสนอว่า “คอยาว” เป็นลักษณะทางพันธุกรรมในยีนของยีราฟอยู่แล้ว และยีราฟ ที่คอยาวจะมีแนวโน้มรอดชีวิตมากกว่ายีราฟที่คอสั้น ดังนั้น ยี น ที่ เ หลื อ รอดจึ ง ผ่ า น “กระบวนการคั ด สรรตามธรรมชาติ ” มากกว่าจะเป็นผลจากกระบวนการเรียนรู้ เมือ่ ถึงทศวรรษ 1920 ทัศนะแบบลามาร์กก็ไม่ได้รับความสนใจมากนักแล้ว อย่างไรก็ดี ทฤษฎีนี้ยังอยู่รอดในสหภาพโซเวียตที่ซึ่งเห็นว่าความคิดเรื่อง การคัดสรรตามธรรมชาตินั้นใกล้เคียงกับตรรกะแบบทุนนิยม มากเกินไป และไม่อาจยอมรับได้ในทางการเมือง ท. ด. ลิเซนโก (T. D. Lysenko) ใช้ต�ำแหน่งทางการเมืองของเขาหลอมรวม ทัศนะแบบลามาร์กเข้ากับปรัชญาพรรคคอมมิวนิสต์ฉบับทางการ


A Very Short

Introduction

21

ส่วนนักพันธุศาสตร์ที่คัดค้านเขาก็ถูกบีบให้กลับค�ำหรือไม่ก็ถูก เนรเทศไปไซบีเรีย กว่าวิชาชีววิทยาแบบโซเวียตจะหลุดพ้น จากอิ ท ธิ พ ลของลิ เ ซนโกก็ ล ่ ว งเข้ า ไปทศวรรษ 1950 แล้ ว การให้การสนับสนุนอย่างเป็นทางการต่อข้างที่ผิดไม่เพียงท�ำให้ ชีววิทยาโซเวียตตกต�่ำ แต่ยังกระทบต่อเศรษฐกิจของโซเวียต อย่างน่าเศร้าด้วย การปฏิเสธพันธุศาสตร์ “แบบกระฎุมพี” โดยอ้างความชอบธรรมทางอุดมการณ์นั้น ได้กีดกันโซเวียต ไม่ให้ได้รับประโยชน์จากความก้าวหน้าในการพัฒนาด้านการ เกษตรอย่างที่โลกตะวันตกได้รับไปอย่างเต็มที่ ปัจจุบันก�ำลังเกิดกระแสเย้ยหยันความคิดที่ว่า วิธีการ แบบวิทยาศาสตร์จะรับรองผลที่เป็นสัจธรรม สังคมวิทยาเอง มี ส ่ ว นส� ำ คั ญ ในการบ่ อ นเซาะการกล่ า วอ้ า งถึ ง ความยิ่ ง ใหญ่ ของวิ ท ยาศาสตร์ ผ ่ า นทางการแสดงให้ เ ห็ น ว่ า วิ ธี ศึ ก ษาของ วิทยาศาสตร์ไม่ต่างจากวิธีที่คนสามัญใช้ในการท�ำความเข้าใจ โลก และนั ก วิ ท ยาศาสตร์ ไ ม่ ไ ด้ ป ลอดพ้ น จากผลประโยชน์ และระบบคุ ณ ค่ า ที่ ไ ปกระทบกั บ ความเป็ น อิ ส ระของความรู ้ อย่างไรก็ตาม วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ประสบความส�ำเร็จในการ ท�ำให้เราเข้าใจและสามารถจัดการกับธรรมชาติได้ (ประสบ ความส�ำเร็จมากไปเสียด้วยซ�้ำในสายตาของหลายคน) วิธีการ แบบวิ ท ยาศาสตร์ จึ ง เป็ น จุ ด ตั้ ง ต้ น ที่ เ หมาะเมื่ อ เราจะศึ ก ษา โลกทางสั ง คม พู ด ได้ ว ่ า มั น ไม่ ไ ด้ บั ง เอิ ญ ที่ ใ นมหาวิ ท ยาลั ย ส่วนใหญ่ เราจะไม่พบคณะสังคมวิทยาอยู่ในสาขา “ศิลปศาสตร์ และมนุษยศาสตร์” แต่กลับอยู่ภายใต้ “สังคมศาสตร์” <ใน ความหมายวิทยาศาสตร์สังคม>


22

Sociology

สังคมวิทยาเป็นวิทยาศาสตร์ได้หรือไม่? อย่างไรก็ดี หากเรามองว่างานด้านสังคมวิทยาควร ด�ำเนินรอยตามวิธีการศึกษาแบบวิทยาศาสตร์กายภาพ ไม่ช้า ไม่นานเราจะตระหนักถึงข้อจ�ำกัดของการเลียนแบบวิธีการ ศึกษานี้ ประการแรก นักสังคมศาสตร์แทบไม่สามารถด�ำเนิน การทดลองแบบวิทยาศาสตร์ได้ ในช่วงที่ผมท�ำวิจัยเกี่ยวกับ กองก�ำลังกลุ่มติดอาวุธหลักสองกลุ่มในไอร์แลนด์เหนือ คือกลุ่ม สมาคมปกป้องอัลสเตอร์ (Ulster Defence Association - UDA) และกลุม่ กองก�ำลังอาสาสมัครอัลสเตอร์ (Ulster Volunteer Force UVF) ผมสนใจประเด็ น การก้ า วขึ้ น เป็ น แกนน� ำ ของสมาชิ ก บางคน จากการหาข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับเหล่าผู้น�ำ (และคนที่ มีคุณสมบัติระดับแกนน�ำแต่ไม่ได้ขึ้นสู่ต�ำแหน่ง) ผมได้ข้อสรุป เบื้องต้นชุดหนึ่ง ซึ่งขัดแย้งกับความคิดของคนส่วนใหญ่ที่มี ต่อองค์กรก่อการร้าย ความดุดันไม่ใช่ปัจจัยที่ท�ำให้ผู้น�ำรักษา ต�ำแหน่งไว้ได้ จากกรณีศึกษา 30 คน ผมพบว่ามีเพียง 2 คน เท่านั้นที่ปกครองโดยใช้ความกลัว และหนึ่งในสองนั้นถูกพวก เดียวกันสังหารทันทีทเี่ จ้าหน้าทีย่ ศสูงทีค่ อยปกป้องเขาหลุดจาก ต�ำแหน่ง อีกคนก็คงจะถูกสังหารเช่นกันหากไม่ถูกจับกุมคุมขัง ไปเสียก่อน สิ่งที่ส�ำคัญยิ่งกว่าการบีบบังคับโต้งๆ คือความ สามารถในการจูงใจและจัดการความขัดแย้ง อย่างไรก็ดี ทักษะ ที่ว่านี้ดูจะพบได้ทั่วไปในหมู่แกนน�ำ UDA และ UVF ตลอดช่วง ยี่สิบห้าปีขององค์กร ท�ำให้เราไม่สามารถอธิบายความแตกต่าง


A Very Short

Introduction

23

ของภู มิ ห ลั ง แกนน� ำ ในช่ ว งทศวรรษ 1970 กั บ กลุ ่ ม แกนน� ำ ที่มาแทนในช่วงกลางทศวรรษ 1980 ในขณะที่ความสามารถทางการทูตดูจะเป็นคุณสมบัติ จ� ำ เป็ น ในการเป็ น แกนน� ำ สถานะทางสั ง คมกลั บ เป็ น สิ่ ง ที่ มี ความส�ำคัญในช่วงทศวรรษแรก หากแต่ไม่สำ� คัญในทศวรรษหลัง แกนน�ำรุ่นแรกเกือบทั้งหมดคือคนที่เคยเป็นผู้น�ำชุมชน ก่อน จะ เกิดปัญหาความขัดแย้ง และเป็นกลุ่มโปรเตสแตนต์ในย่าน คนหาเช้ากินค�ำ่ ทีร่ วมตัวกันเป็นศาลเตีย้ คนเหล่านีเ้ คยมีตำ� แหน่ง ในสหภาพแรงงาน องค์กรชุมชน พรรคสหภาพแห่งอัลสเตอร์ (Ulster Unionist Party) และสมาคมการเคหะ แต่กลุ่มคนที่ ก้าวขึ้นมาในช่วงทศวรรษ 1980 จะต่างจากแกนน�ำรุ่นแรก พวกเขาส่วนมากเติบโตในองค์กรก่อการร้าย และได้ก้าวขึ้นมา อยู่แถวหน้าเนื่องจากเป็น “ผู้ปฏิบัติการ” คือเป็นมือสังหาร ไร้ความปรานี นักวางแผนการก่อการร้าย หรือมีบทบาทส�ำคัญ ในงานสนับสนุนการก่อการร้าย เช่น ช่วยระดมทุนด้วยการปล้น ธนาคาร ขูดรีด และค้ายาเสพติด ความแตกต่างระหว่างแกนน�ำสองรุน่ น�ำผมไปสูข่ อ้ สรุป ดังต่อไปนี้ ในองค์กรที่ก่อตัวขึ้นใหม่ซึ่งไม่มีใครมีประสบการณ์ หรือมีประวัตคิ วามส�ำเร็จในสายงานมาก่อน การก้าวขึน้ เป็นผูน้ ำ� จะตัดสินจากเครื่องบ่งชี้สถานภาพทั่วๆ ไปหรืออ�ำนาจหน้าที่ หรือพูดด้วยภาษาวิชาการสมัยใหม่ก็คือ ความเป็นผู้น�ำนั้นเป็น ทักษะทีส่ ง่ ผ่านจากงานแบบหนึง่ ไปสูง่ านอีกแบบหนึง่ ได้ แต่หาก องค์ ก รใดด� ำ เนิ น งานมายาวนานพอจนมี ค นที่ เ ชี่ ย วชาญใน กิ จ กรรมหลั ก ขององค์ ก รนั้ น (ในกรณี นี้ คื อ การวางแผนและ


24

Sociology

ด�ำเนินการสังหาร รวมถึงอาชญากรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง) เป็น จ�ำนวนมาก ย่อมเป็นไปได้ทจี่ ะพิจารณาผูม้ ศี กั ยภาพเป็นแกนน�ำ จากทักษะหลักขององค์กรนั้น ฉะนั้น องค์กรจึงค่อยๆ เปลี่ยน เกณฑ์การประเมินจากศักยภาพทั่วไป (เช่น เคยเป็นผู้น�ำที่ โดดเด่นในกิจการชุมชนมาก่อน) มาสู่คุณลักษณะที่เจาะจงกับ หน้าที่มากขึ้น ค�ำอธิบายนี้อาจผิดก็ได้ จุดประสงค์ของผมในที่นี้คือ เราจะทดสอบแนวคิดนี้ต่อไปอย่างไร นักเคมีที่ศึกษาปฏิกิริยา ของโบรไมด์อาจจะออกแบบการทดลองโดยก�ำหนดให้ตัวแปร ภายนอกมีความคงที่ แล้วมุง่ ความสนใจไปยังความเปลีย่ นแปลง ที่เป็นผลจากสิ่งที่จะศึกษา แต่ผมไม่สามารถไปหาสังคมที่มี เสถียรภาพแล้วก่อสงครามกลางเมืองขึ้นเพื่อจุดประสงค์ในการ ทดลองได้ ทั้งนี้เราคงไม่ต้องบอกผู้อ่านแล้วว่า ไม่มีการแสวงหา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ใดยิ่งใหญ่พอที่จะสร้างความชอบธรรม ให้กับการก่อการร้ายได้ ต่อให้ผมไม่มีจริยธรรมใดๆ มันก็เป็นไป ไม่ได้ในทางปฏิบตั อิ ยูด่ ี ผมขาดทัง้ ก�ำลังทรัพย์และอ�ำนาจทีจ่ ะเริม่ สงครามหรือชักจูงให้ใครเข้าร่วมได้ อย่ า งไรก็ ดี เรามาลองจิ น ตนาการกั น ว่ า ต่ อ ให้ ผ ม ก้าวข้ามได้ทั้งอุปสรรคทางจริยธรรมและอุปสรรคในทางปฏิบัติ การสร้างกลุ่มก่อการร้ายขึ้นมาเป็นของตัวเองก็ไม่ช่วยให้ผมได้ ข้อมูลที่เทียบได้กับการทดลองของนักเคมีที่ศึกษาเรื่องโบรไมด์ อยู่ดี เพราะกลุ่มก่อการร้ายของผมจะไม่เหมือนปรากฏการณ์ที่ “เกิดตามธรรมชาติ” อย่างที่ผมอยากจะศึกษา เรื่องนี้มีปัญหา อยู่ 2 ประการ ประการแรก การทดลองแบบจ�ำลองสถานการณ์


A Very Short

Introduction

25

ในสาขาสังคมศาสตร์นนั้ สัมพันธ์กบั โลกความเป็นจริงในลักษณะ ทีแ่ ตกต่างอย่างมากเมื่อเทียบกับการทดลองทางเคมี เพราะการ ทดลองทางสังคมไม่ใช่สำ� เนาของสิง่ ทีเ่ กิดขึน้ ในธรรมชาติ มันเป็น เหตุการณ์ใหม่ในตัวมันเอง อีกประการหนึ่งคือ ชีวิตทางสังคม มีความซับซ้อนเกินกว่าจะแตกออกมาเป็นองค์ประกอบพื้นฐาน ไม่กี่อย่างให้เราแยกพิจารณาได้ ดังนั้นความแตกต่างส�ำคัญระหว่างวิทยาศาสตร์กับ สั ง คมศาสตร์ ก็ คื อ เราไม่ ส ามารถทดสอบแนวความคิ ด ทาง สังคมศาสตร์ผา่ นทางการทดลองทีเ่ จาะจงแยกศึกษาการกระท�ำ ของมนุษย์ทเี่ ราสนใจเพียงบางด้านและแยกมันออกจากกิจกรรม ซับซ้อนในชีวิตที่ด�ำเนินไปอย่างต่อเนื่องได้ อย่างไรก็ดี เรา สามารถและมักจะท�ำการศึกษากึ่งทดลอง (quasi-experiment) เพื่ อ พยายามเปรี ย บเที ย บการกระท� ำ ที่ เ ราสนใจศึ ก ษาใน สภาพแวดล้อมซึง่ คล้ายคลึงกันมาก ทว่ามีความแตกต่างในปัจจัย หลักๆ เพียงหนึ่งหรือสองอย่าง งานของ โรซาเบธ แคนเธอร์ (Rosabeth Kanther) ว่าด้วยชุมชนอุดมคติเป็นตัวอย่างที่ดี ในประเด็ น นี้ แคนเธอร์ ต ้ อ งการทราบว่ า อะไรท� ำ ให้ ค อมมู น บางแห่งประสบความส�ำเร็จในขณะทีบ่ างแห่งล้มเหลว แคนเธอร์ พอจะทราบว่ า ปั จ จั ย ใดที่ ท� ำ ให้ ค อมมู น ไปรอดจากการอ่ า น เอกสารประวัติศาสตร์เกี่ยวกับกลุ่มคนลักษณะดังกล่าว และยัง เข้าร่วมคอมมูนด้วยตัวเองในช่วงทศวรรษ 1960 พูดได้ว่า เธอเริม่ จากการมีสมมติฐานบางประการ ซึง่ ได้มาจากงานวิชาการ ที่ ท� ำ มาก่ อ นหน้ า รวมกั บ การสั ง เกตการณ์ อ ย่ า งไม่ เ ป็ น ระบบของเธอเอง จากนั้ น จึ ง พยายามทดสอบสมมติ ฐ าน


26

Sociology

ดังกล่าว เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากความแตกต่างซึ่งเกิดจาก การที่ ส ภาพสั ง คมรายรอบในแต่ ล ะคอมมู น ไม่ เ หมื อ นกั น แคนเธอร์ จึ ง เลื อ กเน้ น ไปที่ ค อมมู น ซึ่ ง ก่ อ ตั ว ขึ้ น ในประเทศ ประเทศเดี ย วในช่ ว งเวลาค่ อ นข้ า งสั้ น นั่ น คื อ ในประเทศ สหรัฐอเมริกาช่วงระหว่างปี 1780-1860 เธอพบว่ามีคอมมูน ที่เข้าข่าย 90 แห่ง ในจ�ำนวนนี้มี 11 แห่งที่ “ประสบความ ส�ำเร็จ” อยู่รอดเกิน 25 ปี (เป็นระยะเวลาที่ประมาณว่าคือ หนึ่งรุ่นคน) และมี 79 แห่ง “ประสบความล้มเหลว” อยู่รอด ไม่ถึง 1 ใน 4 ของศตวรรษ เธอสรุปว่า แม้จะไม่มีคุณสมบัติ ชุดใดทีป่ รากฏในทุกคอมมูนทีป่ ระสบความส�ำเร็จ หรือขาดหายไป ในทุกๆ คอมมูนที่ล้มเหลว แต่ก็มีลักษณะร่วมบางประการที่พบ ได้ทวั่ ไปในคอมมูนทีป่ ระสบความส�ำเร็จและหาได้ยากในคอมมูน ทีล่ ม้ เหลว กลุม่ ทีส่ ำ� เร็จต้องอาศัยการอุทศิ ตัวของสมาชิกในหลาย รูปแบบ (เช่น การงดเรื่องเซ็กซ์ เหล้า และการเต้น) พวกเขา ขีดเส้นแบ่ง “คนดีๆ” ที่อยู่ในคอมมูนออกจากมนุษย์ที่อื่นในโลก อย่ า งชั ด เจน คอมมู น เหล่ า นี้ ก� ำ หนดนิ ย ามการเป็ น สมาชิ ก ไว้เคร่งครัดมาก และคัดเลือกสมาชิกด้วยการทดสอบที่โหดหิน สมาชิกใหม่ถูกเรียกร้องให้ต้องแสดงความรับผิดชอบผ่านการ อุทิศเวลาและทรัพย์สินจ�ำนวนมากให้กับคอมมูน จึงมีต้นทุนสูง หากจะออกจากกลุ่ม เกือบทุกคอมมูนที่ประสบความส�ำเร็จ ในการแยกตัวออกจากโลกทั้งทางจิตวิญญาณและทางสังคม ก็เพราะมีทตี่ งั้ ทีห่ า่ งไกล แคนเธอร์สรุปว่าการอุทศิ ตัวต่อคอมมูน ไม่ใช่ปรากฏการณ์เหนือค�ำอธิบายที่ต้องมีขึ้นก่อนถึงจะเกิด ชุมชนในอุดมคติได้ แต่ตรงกันข้าม มันคือคุณสมบัติทางสังคม


A Very Short

Introduction

27

ที่สามารถสร้างขึ้นได้โดยสิ่งที่เธอเรียกว่า “กลไกการสร้างความ ยึดมั่นผูกพัน” (commitment mechanism) นั บ แต่ นั้ น มา เหล่ า นั ก วิ จั ย ได้ ป รั บ แก้ ข ้ อ สรุ ป ของ แคนเธอร์ ผมเองก็เสนอว่ามีระบบความเชือ่ บางอย่างทีส่ ร้างความ ยึดมั่นผูกพันได้ง่ายกว่าความเชื่ออื่นๆ หลักปรัชญาการเมือง และศาสนาที่ให้อ�ำนาจสิทธิ์ขาดกับบุคคลคนเดียวนั้นประสบ ความส�ำเร็จได้ยากกว่าหลักการที่สามารถปลุกความเชื่อเรื่อง อ�ำนาจศักดิส์ ทิ ธิข์ นึ้ มาได้ คาทอลิกอนุรกั ษนิยมและโปรเตสแตนต์ สามารถสร้างชุมชนที่ประสบความส�ำเร็จได้ แต่โปรเตสแตนต์ เสรีนยิ มและผูศ้ รัทธาในความเชือ่ แบบนิวเอจท�ำไม่ได้ อย่างไรก็ดี ในที่ นี้ ผ มสนใจวิ ธี ก ารศึ ก ษาที่ แ คนเธอร์ ใ ช้ ม ากกว่ า ข้ อ สรุ ป ของเธอ แคนเธอร์มีความสามารถอย่างยิ่งในการแสดงให้เรา เห็นว่า แม้เราไม่อาจท�ำการทดลองเหมือนนักวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ แต่ถ้าใช้จินตนาการสักนิดเราก็จะสามารถค้นหา ข้อมูลที่ “เกิดตามธรรมชาติ” หรือตัวอย่างจากชีวติ จริงเพือ่ ศึกษา ปรากฏการณ์ทางสังคมได้ นักสังคมศาสตร์มักท�ำเช่นนี้ผ่านการส�ำรวจทางสังคม ในสเกลใหญ่ ลองนึกดูว่าหากเราต้องการทราบว่าเพศมีผลต่อ ความโน้มเอียงทางการเมืองอย่างไร เราสามารถไปถามคนทั้ง เพศหญิงและชายว่าพวกเขาออกเสียงอย่างไรในการเลือกตั้งปี 1997 ซึ่งพรรคแรงงานชนะการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกหลังจากอยู่ ภายใต้การปกครองของพรรคอนุรักษนิยมมาสิบแปดปี จากนั้น ก็นำ� ค�ำตอบมาเปรียบเทียบกัน อย่างไรก็ดี หากเราหยุดอยูเ่ พียง เท่านั้น เราจะไม่ได้เรียนรู้อะไรมากนัก เพราะลักษณะอื่นๆ เช่น


28

Sociology

รายได้ ระดับการศึกษา เชื้อชาติ และศาสนา ก็ล้วนแต่มีผลต่อ ความโน้มเอียงทางการเมือง ดังนั้นเราจึงถามผู้ชายและผู้หญิง กลุม่ นีต้ อ่ ไปด้วยค�ำถามอืน่ ๆ ทีจ่ ะท�ำให้สามารถระบุระดับรายได้ จ�ำนวนปีที่ได้รับการศึกษาในระบบ อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ศาสนา ฯลฯ จากนั้นเราก็จะใช้วิธีการทางสถิติเพื่อประมวลผล ว่าลักษณะที่ว่ามานี้ เกณฑ์ใดมีผลต่อพฤติกรรมการออกเสียง ไม่ว่าจะเป็นเกณฑ์ใดเกณฑ์หนึ่ง หรือหลายเกณฑ์รวมกัน แม้ ก ารวิ จั ย แบบนี้ จ ะแสดงให้ เ ห็ น ภาพบางอย่ า ง แต่ข้อสรุปที่ได้มักเป็นแค่ข้อสรุปเบื้องต้นและความน่าจะเป็น เราอาจพูดได้อย่างมัน่ ใจว่าชนชัน้ แรงงานมีแนวโน้มจะเอนไปทาง พรรคการเมืองฝ่ายซ้ายมากกว่าชนชัน้ ทีส่ งู กว่า แต่กม็ ขี อ้ ยกเว้น มากพอที่จะท�ำให้เราไม่สามารถพูดได้ว่านี่คือ “กฎธรรมชาติ” ในทศวรรษที่ 1950 มี ค นกลุ ่ ม หนึ่ ง ที่ อ าจจะเรี ย กได้ ว ่ า เป็ น “แรงงานอุปถัมภ์” <deferential worker คือแรงงานที่มีความ สัมพันธ์ในเชิงให้ความเคารพต่อนายจ้าง> เราอาจเรียกคนกลุม่ นี้ ว่าเป็นชนชั้นแรงงาน “ตามเกณฑ์มาตรฐาน” แต่พวกเขาก็มี แนวคิดทางการเมืองที่อนุรักษนิยมสุดขั้ว และเชื่อว่าชนชั้นสูง จะบริหารประเทศได้ดกี ว่าตัวแทนจากชนชัน้ แรงงาน ในทศวรรษ 1980 คติอนุรกั ษนิยมแบบนางมาร์กาเร็ต แธตเชอร์ (ไม่แทรกแซง ทางเศรษฐกิจแต่ใช้อ�ำนาจในประเด็นทางสังคม) ได้รับการ สนั บ สนุ น อย่ า งมากจากชนชั้ น แรงงานในเขตที่ มั่ ง คั่ ง ทาง ตะวันออกเฉียงใต้ของอังกฤษ จะเห็นได้ว่าหลังจากเริ่มต้นด้วย สมมติฐานง่ายๆ เราก็ตระหนักว่าต้องเริ่มตีกรอบมันให้ละเอียด มากขึ้น การแบ่งแยกคนอย่างง่ายตามอาชีพ (เช่น ระหว่าง


A Very Short

Introduction

29

แรงงานกับไม่ใช่แรงงาน) ไม่ใช่ปัจจัยท�ำนายพฤติกรรมการ ออกเสี ย งเลื อ กตั้ ง ที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพนั ก เราจึ ง จ� ำ แนกชนชั้ น ให้ละเอียดยิ่งขึ้น หรือพิจารณาเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติม แต่สุดท้าย เราจะพบว่าข้อเสนอทีไ่ ด้จากการศึกษาของเรานัน้ ไม่ได้เป็นอะไร มากไปกว่าความน่าจะเป็น นักสังคมวิทยาบางคนใช้ข้อจ�ำกัดที่ว่าเป็นแรงผลักดัน เพื่ อ ที่ จ ะพิ ถี พิ ถั น มากยิ่ ง ขึ้ น ในการก� ำ หนดค� ำ นิ ย าม ตั ว แปร และวัดผลสิ่งที่คาดว่าจะเป็นตัวแปรที่ท�ำให้เกิดพฤติกรรมทาง สังคมต่างๆ แต่แม้ว่าการพยายามปรับในลักษณะนั้นจะเป็น เรื่องดี ความล้มเหลวของสังคมวิทยาที่จะสร้าง “กฎ” ก็สะท้อน อะไรมากกว่าการบอกแค่ว่ามันเป็นศาสตร์ที่ยังไม่เบ่งบานเต็มที่ หลังจากสาขาสังคมวิทยาเกิดขึ้นมาเกินหนึ่งศตวรรษ ค�ำกล่าว ที่ว่า “เรายังแค่เริ่มต้น” ชักจะฟังไม่ขึ้น งานวิจัยที่เพิ่มจ�ำนวน มากขึน้ และวิธกี ารวิเคราะห์ทกี่ า้ วหน้าขึน้ ท�ำให้เรารูจ้ กั สังคมดีขนึ้ แต่ไม่มีวันที่เราจะค้นพบ “กฎ” การกระท�ำของมนุษย์ นั่นเพราะ มนุษย์เราไม่เหมือนอะตอม สังคมศาสตร์ศึกษาสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก ผู้ซึ่งเลือก การกระท�ำของตนได้ แต่ ณ จุดนี้เรายังไม่จ�ำเป็นต้องกังวลกับ ประเด็นที่มักถกเถียงกันว่ามนุษย์มี “เสรีภาพ” แค่ไหน สิ่งที่เรา ต้องรูก้ ค็ อื ไม่วา่ มนุษย์จะมีพฤติกรรมเป็นแบบแผนเหมือนๆ กัน แค่ไหน (เราจะว่าเรือ่ งนีต้ อ่ ในภายหลัง) พวกเขาก็ไม่ได้ “ถูกผูกมัด” หรือต้องท�ำอะไรเหมือนๆ กันอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ในสังคมที่ กดขี่สุดขั้ว เราอาจถูกจ�ำกัดจนไม่เหลือทางเลือกอะไรนอกจาก เชือ่ ฟังหรือไม่กต็ าย แต่เรายังเลือกความตายได้อยูด่ ี ความต่างนี้


30

Sociology

แยกเราออกจากสิ่งที่วิทยาศาสตร์ศึกษาโดยสิ้นเชิง เมื่อโดน ความร้อน น�้ำปฏิเสธที่จะระเหยไม่ได้ เมื่อความดันคงที่ น�้ำจะ เดือดที่ 100 องศาอยู่แค่ 4 วัน แล้วไม่ยอมเดือดในวันที่ 5 ไม่ได้ แต่ ค นเลื อ กได้ เ สมอ แม้ แ ต่ ไ ส้ เ ดื อ นซึ่ ง เป็ น สั ต ว์ ชั้ น ต�่ ำ ที่ สุ ด ยังสามารถเอี้ยวตัวได้ นีท่ ำ� ให้เรารูว้ า่ สิง่ ทีถ่ อื เป็นค�ำอธิบายในทางสังคมศาสตร์ นัน้ ค่อนข้างแตกต่างจากค�ำอธิบายในศาสตร์อย่างเคมีหรือฟิสกิ ส์ เราอธิบายการทีน่ ำ�้ ในกาเดือดโดยอ้างกฎเรือ่ งความดัน อุณหภูมิ และการระเหยกลายเป็นไอ แต่เนื่องจากน�้ำไม่ได้ ตัดสินใจ จะเดือด (ซึ่งในต่างกรรมต่างวาระมันอาจตัดสินใจอีกอย่างได้) เราจึงไม่จ�ำเป็นต้องพูดถึงจิตส�ำนึก (consciousness) ของน�้ำ แต่กับคน ถ้าเราต้องการอธิบายแบบแผนพฤติกรรมมนุษย์ อย่างกว้างๆ เราสามารถมองคุณลักษณะทางสังคมของมนุษย์ เป็นเหมือนตัวแปรในทางวิทยาศาสตร์ได้ เช่น เราพูดได้ว่า ชนชั้นแรงงานจะลงคะแนนให้พรรคสังคมนิยมมากกว่านักธุรกิจ แต่ถ้าเราต้องการจะ อธิบาย ว่าท�ำไมจึงเป็นเช่นนั้น เราต้องไป ศึกษาความเชื่อ ค่านิยม แรงจูงใจ และเจตนาของกลุ่มคนที่เรา สนใจศึกษา เพราะจิตส�ำนึกคือเครือ่ งจักรทีข่ บั เคลือ่ นการกระท�ำ ทั้ ง หมดของมนุ ษ ย์ สั ง คมศาสตร์ จึ ง ต้ อ งท� ำ อะไรที่ ม ากกว่ า วิทยาศาสตร์ ส�ำหรับนักเคมี ถ้าเขาพบว่าโบรไมด์มีปฏิกิริยา เหมือนกันซ�้ำๆ เขาจะหยุดการทดลอง การสรุปปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นเหมือนเดิมทุกครั้งถือเป็นขั้นตอนสุดท้าย แต่ส�ำหรับ นักสังคมศาสตร์ นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้น ถึงแม้เราจะพบว่าทุกคน ในสถานการณ์เฉพาะหนึง่ ๆ จะมีพฤติกรรมแบบใดแบบหนึง่ เสมอ


A Very Short

Introduction

31

(ซึ่งแบบแผนที่ชัดเจนขนาดนี้แทบจะไม่เคยมีมาก่อน) เราก็ยัง อยากรู้ต่ออยู่ดีว่า ท�ำไม ค�ำว่า “อะไร” และ “ท�ำไม” แสดงความแตกต่างระหว่าง สองศาสตร์ได้เป็นอย่างดี ส�ำหรับนักเคมี สองค�ำนี้เป็นสิ่งเดียว กันได้ เมือ่ เราเก็บข้อมูลจากสถานการณ์ทคี่ วบคุมปัจจัยแวดล้อม มาอย่างดี เรารู้แน่ว่าเกิดอะไรขึ้น และรู้ด้วยว่าท�ำไมจึงเป็น เช่นนั้น แต่เมื่อ มักซ์ เวเบอร์ (Max Weber) นักสังคมวิทยา ชาวเยอรมั น เก็ บ ข้ อ มู ล ได้ ม ากพอที่ จ ะเห็ น ความเชื่ อ มโยง ระหว่ า งการแพร่ ข ยายของลั ท ธิ พิ ว ริ ตั น ในการปฏิ รู ป ศาสนา ฝ่ายโปรเตสแตนต์ (Protestant Reformation) กับการเติบโต ของทุนนิยมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ (“อะไร”) เขาเพิ่งจะเริ่มต้น งานศึกษาทางสังคมวิทยา เขาต้องการจะรู้ต่อไปว่า ท�ำไม พวก พิวริตนั จึงมีทศั นะทีเ่ อือ้ ต่อวิธดี ำ� เนินธุรกิจสมัยใหม่ เขาอยากรูว้ า่ ท�ำไมความเชือ่ ทางศาสนาบางอย่างจึงสามารถสร้างทัศนคติแบบ ใหม่ๆ ที่สัมพันธ์กับการท�ำงานและการบริโภคได้ เขาหาค�ำตอบ จากวิธีคิดของพวกพิวริตัน เขาต้องเข้าใจก่อนจึงจะอธิบายได้ ความสนใจของนักสังคมวิทยาต่อความเชื่อ ค่านิยม แรงจูงใจ และเจตนา น�ำมาซึ่งประเด็นที่วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ ไม่ค�ำนึงถึง ในการที่จะเข้าใจคน เราต้องค้นหามุมมองหรือ “เรื่ อ งเล่ า จากมุ ม มองของเขา” (account) ว่ า เขาท� ำ อะไร ยิ่งไปกว่านั้น เรายังสามารถย้อนกลับไปอีกชั้นหนึ่งแล้วบันทึก ไว้ว่า ไม่เพียงการพยายามจะ “เข้าใจ” เท่านั้นที่ท�ำให้นักวิจัย ต้องสนใจแรงจูงใจ (motive) แม้แต่การจะ ระบุ ว่าอะไรคือ การกระท�ำทางสังคมที่เราต้องการจะเข้าใจ ก็จ�ำเป็นต้องสนใจ


32

Sociology

ศึ ก ษาแรงจู ง ใจด้ ว ย ลองกลั บ ไปดู ตั ว อย่ า งน�้ ำ เดื อ ดของเรา อี ก สั ก รอบ เราสามารถนิ ย ามได้ ว ่ า อะไรคื อ การที่ ข องเหลว เปลี่ยนสถานะเป็นแก๊สโดยไม่ต้องไปยุ่งกับภาวะจิตใจของน�้ำ แต่ ก ารกระท� ำ ของคนไม่ ใ ช่ สิ่ ง ที่ บ ่ ง บอกได้ จ ากการสั ง เกต อย่างเดียว หรือพูดอีกอย่างคือ ล�ำพังการกระท�ำในตัวมันเอง ยั ง ไม่ เ พี ย งพอ สมมติ ว ่ า เราสนใจวิ ธี ที่ ค นปฏิ สั ม พั น ธ์ กั น ใน ที่ ส าธารณะ เราจะไปนั่ ง ตามสถานี ร ถไฟ สั ง เกตผู ้ ค นและ จดบันทึกก็ได้ แต่ถ้าเราจ�ำกัดความสนใจอยู่แค่สิ่งที่มองเห็นได้ เราคงแทบไม่ได้เรียนรูอ้ ะไรเลย เราอาจจะบันทึกว่า “ชายคนหนึง่ ยืนหันหน้าไปทางชานชาลา ชูแขนขึ้นแล้วโบกไปมา” แต่เราจะ ไม่สามารถพูดได้ว่า “ชายคนหนึ่งโบกมือเพื่อทักทายผู้โดยสาร ที่มาถึง” เพราะค�ำอธิบายอย่างในประโยคที่สอง พฤติกรรมของ ชายคนนีไ้ ด้รบั การตีความแล้ว ทัง้ ทีเ่ ขาอาจเพียงพยายามยืดเส้น ยืดสายเพื่อคลายปวดเมื่อยก็ได้ ส�ำหรับการกระท�ำทัว่ ๆ ไปทีค่ นในวัฒนธรรมเดียวกับเรา แสดงออก เรามักจะเข้าใจความหมายของมัน ผมเจอคนลงรถไฟ มามากพอที่จะรู้ว่านั่นคือ “การโบกมือทักทายกัน” ทันทีที่เห็น แต่สมมติวา่ ผมเห็นคนคุกเข่าลงแล้วลุกขึน้ พร้อมกางแขนออกไป ถ้าเป็นทีป่ กั กิง่ นัน่ อาจเป็นการออกก�ำลัง แต่ถา้ เป็นไคโร มันอาจ จะเป็นการละหมาด ในที่สุดแล้ว ทางเดียวที่จะรู้ว่าเขาท�ำอะไร คือการไปถามเขาว่า “คุณท�ำอะไรอยู่?” เพราะฉะนั้น แม้แต่การ จะบอกว่าการกระท�ำนั้นคืออะไร ก็ต้องรู้แรงจูงใจและเจตนาของ ผู้กระท�ำก่อน ยิ่งเมื่อต้องอธิบายการกระท�ำใดๆ เรายิ่งต้องรู้มาก


A Very Short

Introduction

33

ไปกว่าเดิมอีก นักสังคมวิทยาเลยมาจบลงที่การต้องถามผู้คน ว่า “ท�ำไมคุณจึงท�ำแบบนี้?” แต่การถาม (ไม่ว่าในรูปแบบใด) ก็คือปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างหนึ่ง สิ่งที่คนเล่าอาจเป็นได้ทั้ง การพยายามถ่ายทอดสิง่ ทีผ่ า่ นไปแล้วอย่างซือ่ สัตย์ หรือเป็นการ แสดงเพื่อหวังผลในขณะเล่าก็ได้ เราจะเห็ น การบิ ด เบื อ นเรื่ อ งเล่ า ได้ ชั ด แจ้ ง ในบาง เหตุการณ์ เรามัน่ ใจได้วา่ เรือ่ งทีค่ นเล่าถึงการกระท�ำของตนเมือ่ สู้ คดีในศาล หรือเพือ่ ขอลดหย่อนโทษหลังจากยอมสารภาพผิดนัน้ จะแตกต่างจากเรื่องที่เขาเล่าให้ครอบครัวและเพื่อนฟังเมื่อศาล ตัดสินแล้วว่า “ไม่มีความผิด” หรือเมื่อรอดพ้นจากค�ำพิพากษา ให้คุมขังแล้ว เขาผู้นี้ค�ำนึงถึงผลจากการเล่า และศาลเองก็มี ข้อก�ำหนดว่าเรื่องต้องถูกเล่าในรูปแบบที่แตกต่างจากปกติ ผมไม่ได้จะบอกว่าเรื่องที่เล่าในศาลไม่จริงและเรื่องที่เล่ากันเอง เป็นเรื่องจริง สิ่งที่ผมจะพูดก็คือ การเล่าเรื่องนั้นเป็นการกระท�ำ ทางสังคมในตัวมันเอง ไม่ได้เป็นเพียงแค่ค�ำอธิบายการกระท�ำ ก่อนหน้า อีกตัวอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้เห็นภาพมาจากเรื่องการ เปลี่ยนศาสนาหรือนิกาย ในหมู่ผู้นับถือโปรเตสแตนต์นิกาย อี แ วนเจลิ คั ล เป็ น เรื่ อ งธรรมดาที่ จ ะมี ก าร “แสดง” ศรั ท ธา ด้วยการเล่าประสบการณ์ที่ท�ำให้เขาเปลี่ยนความเชื่อ เราฟัง เรือ่ งราวท�ำนองนีไ้ ปสักหน่อยก็จะรูว้ า่ มีเรือ่ งอยูไ่ ม่กแี่ นว ผูเ้ ปลีย่ น นิกายถูกเลี้ยงโดยแม่ผู้เคร่งศาสนา ผู้ซึ่งพยายามอย่างดีที่สุด ที่จะให้ลูกอยู่ในลู่ทางแห่งศรัทธา แต่โลกเย้ายวนเกินไป และลูก พลัดตกลงไปอยูใ่ นวังวนแห่งบาป แต่แล้วความสุขทัง้ ปวงในโลก


34

Sociology

ก็กลายเป็นสิง่ ไร้คา่ วิกฤตบางอย่างในชีวติ (มักจะเป็นความตาย ของแม่ผดู้ งี ามราวนักบุญ หรือผูเ้ ป็นทีร่ กั คนอืน่ ๆ) ท�ำให้ผเู้ ปลีย่ น นิกาย “ถูกลงโทษจากความผิดบาป” “เมื่อฉันขับรถกลับบ้าน ในคืนนั้น ฉันรู้สึกหนักอึ้งไปด้วยบาป ฉันตระหนักขึ้นมาว่า ถ้าตายไปคงต้องไปอยู่ในนรก ฉันจึงจอดรถและสวดวิงวอน ขอให้พระเยซูมาโปรด” และอาจจะมีการระบุวนั เวลาและสถานที่ ไว้ในเรือ่ งเล่าด้วย เมือ่ ถึงย่อหน้าสุดท้ายของเรือ่ ง ผูเ้ ปลีย่ นนิกาย จะพรรณนาว่าหลังจากปฏิญาณตนต่อพระเจ้าแล้ว ชีวิตของเขา เปลีย่ นไปมากเพียงใด ถึงตอนนี้ อาจเป็นได้วา่ ทีถ่ อ้ ยแถลงออกมา คล้ายๆ กันเพราะเหตุการณ์ทเี่ กิดขึน้ ในความเป็นจริงนัน้ คล้ายกัน แต่หากลองคิดว่าคนทีเ่ ติบโตในวัฒนธรรมนิกายอีแวนเจลิคลั เคย ได้ยนิ เรือ่ งราวแบบนีม้ าเป็นร้อยๆ ครัง้ มันย่อมเป็นไปได้ทคี่ วาม คล้ายคลึงจะเกิดจากความนิยมในรูปแบบเรื่องราวลักษณะนี้ และเกิดจากการทีร่ ปู แบบดังกล่าวได้ไปกล่อมเกลาวิธกี ารตีความ ประสบการณ์ของพวกเขา ผมพบปัญหาคล้ายๆ กันนี้ครั้งแล้วครั้งเล่าจากการไป สัมภาษณ์กลุม่ กองก�ำลังเสริมผูจ้ งรักภักดี <ต่อสหราชอาณาจักร> ในไอร์แลนด์เหนือ คนบางกลุ่มเจตนาเล่าโดยลดบทบาทของตน ในการก่อการร้ายลง โดยอาจเป็นผลมาจากการต้องสงวนท่าที เพือ่ ป้องกันตัวจากการสอบสวนของต�ำรวจ ในขณะทีค่ นอีกหลาย กลุ่มก็ขยายอาชญากรรมของตนเสียเกินจริง เพื่อจะ “ข่มขวัญ” นักวิชาการชนชั้นกลาง ชายคนหนึ่งอยากโม้เสียจนบอกว่าเขา ฆ่าคนที่ผมรู้ว่าเขาไม่ได้ฆ่า พอผมพูดถึงเรื่องนี้กับสมาชิกกลุ่ม ลอยัลลิสต์อกี คนหนึง่ เขาบอกว่า “นัน่ มันแค่จะขูค่ ณ ุ เขาอาจบอก


A Very Short

Introduction

35

ว่าเป็นคนฆ่าแม่ของกวางแบมบี้ก็ได้ถ้าคุณถามเขา” แต่ปัญหา ทีว่ า่ การสัมภาษณ์เองก็เป็นการบิดเบือนข้อมูลหลักฐานไม่ได้เกิด เฉพาะในงานวิจัยที่เกี่ยวกับอาชญากรรมหรือประเด็นอ่อนไหว เท่านั้น ปัญหานี้มีอยู่ในการศึกษาทางสังคมทุกรูปแบบ เพราะ การเข้าไปหาข้อมูลเองก็เป็นตัวแปรที่ไปกระทบสิ่งที่ศึกษาด้วย ถ้าจะยกอีกหนึ่งตัวอย่าง นักส�ำรวจโพลมักจะไปถาม ผู้คนว่ารู้สึกอย่างไรกับเรื่องโน้นเรื่องนี้แล้วก็รายงานผลออกมา โดยไม่คิดสักนิดว่าการไปถามในตัวมันเองนั่นแหละที่ท�ำให้คน ต้องสร้างความรู้สึกบางอย่างกับเรื่องที่เขาไม่ได้รู้เรื่องหรือไม่ได้ สนใจเลย งานส�ำรวจชิน้ หนึง่ ในรัฐแคลิฟอร์เนียตัง้ ค�ำถามปลอมๆ เกี่ ย วกั บ การลงประชามติ ที่ ใ กล้ จ ะมาถึ ง ผู ้ ต อบแบบส� ำ รวจ ได้รบั ค�ำถามว่า “คุณคงเคยได้ยนิ เรือ่ งการแปรญัตติสนิบโบมาแล้ว คุณรูส้ กึ อย่างไรบ้าง?” โดยมีตวั เลือกให้คอื “สนับสนุนอย่างมาก” “สนับสนุน” “เฉยๆ” “ไม่เห็นด้วย” และ “ไม่เห็นด้วยอย่างมาก” ผู ้ ต อบแบบสอบถามจ� ำ นวนมากเลื อ กสนั บ สนุ น หรื อ คั ด ค้ า น หลายคนสนับสนุนหรือคัดค้านอย่างมาก บางทีพวกเขาอาจรูส้ กึ ว่าจะดูโง่ถ้ายอมรับว่าตัวเองไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับค�ำถามนี้ พวกเขาอาจอยากช่วยผู้เก็บข้อมูล หรือบางทีธรรมชาติของการ ปฏิสัมพันธ์ (“ฉันก�ำลังตอบค�ำถามอยู่นะ”) อาจท�ำให้ผู้ตอบรู้สึก ว่าจะต้องตอบให้ชัดเสียจนท�ำให้พวกเขามองข้ามสิ่งที่เห็นชัดๆ ว่าไม่มีอยู่จริง สิง่ ทีค่ นพูดออกมากับสิง่ ทีเ่ ขาท�ำลงไปจริงๆ อาจสัมพันธ์ กันได้ใน 4 รูปแบบด้วยกัน แบบแรก ผู้ให้ข้อมูลอาจจ�ำไม่ได้ หรือไม่เข้าใจแรงจูงใจของตัวเอง แบบที่สอง เขาอาจจ�ำได้และ


36

Sociology

เข้าใจแต่ตั้งใจปั้นแต่งให้ดูดี เจ. พี. มอร์แกน (J. P. Morgan) นักอุตสาหกรรมในศตวรรษที่ 19 พูดถูกในเรือ่ งความต้องการทีจ่ ะ ดูดมี เี กียรติของมนุษย์ เขากล่าวว่า “ในทุกๆ การกระท�ำมีเหตุผล เบื้องหลังอยู่สองอย่าง คือเหตุผลที่ดีกับเหตุผลที่จริง” รูปแบบ ที่สาม ไม่ว่าเขาผู้นั้นจะเข้าใจตัวเองแค่ไหนหรืออยากจะตรงไป ตรงมาเพียงใด ปัจจัยแวดล้อมระหว่างสัมภาษณ์อาจส่งอิทธิพล มากเสียจนเราไม่มั่นใจว่าจะน�ำค�ำพูดของเขามาใช้ได้ คนที่มี ความแตกต่างหลากหลายอาจถูกท�ำให้ตอ้ งแสดงตัวเหมือนๆ กัน ดังตัวอย่างการเปลี่ยนนิกายที่ยกไปแล้ว ระหว่างสองรูปแบบ หลังนี้ เราสามารถจัดประเภททีส่ แี่ ทรกเข้าไป นัน่ คือการอ�ำพราง หมู่ (collective dissembling) โดยทั่วไปคนเรามีเหตุผลในการ กระท�ำของตัว แต่มัก “อธิบาย” การกระท�ำของตนโดยใช้ภาษา หรือเหตุผลที่ส่วนรวมยอมรับ ยกตัวอย่างเช่น หมออาจเลือก จัดสรรการรักษาโรคที่ค่ารักษาแพงอย่างไตวายหรือมะเร็งปอด โดยใช้หลักศีลธรรมว่าคนประเภทใด ควรจะ ได้รับการรักษา แต่ แ ล้ ว ก็ เลี่ ย งที่ จ ะต้ อ งอธิ บ ายความคิ ด ของตน โดยบอกว่ า การตัดสินใจตั้งอยู่บนฐานของความเป็นไปได้ที่จะรักษาส�ำเร็จ เพียงอย่างเดียว ทางหนึ่งที่เราจะจัดการกับความสัมพันธ์อันแปรปรวน ระหว่างสิ่งที่คนท�ำกับเรื่องที่เขาเล่าถึงการกระท�ำของตัวเอง ก็คอื การเลิกพยายามทีจ่ ะเข้าใจสิง่ ที่ แฮโรลด์ การ์ฟงิ เกล (Harold Garfinkel) เรียกแบบเหยียดๆ ว่า “เรื่องในหัวคน” ลูกศิษย์ ของการ์ ฟ ิ ง เกลที่ มี ค วามคิ ด สุ ด ขั้ ว ยิ่ ง กว่ า โต้ ว ่ า เป็ น ไปไม่ ไ ด้ ที่เราจะ เข้าใจ ผู้คน เราท�ำได้เพียงศึกษากลไกการเล่าเรื่องราว


A Very Short

Introduction

37

เราสามารถวิเคราะห์โครงสร้างของบทสนทนาในห้องพิจารณา คดีได้ แต่เราจะใช้การสนทนานั้นมาตัดสินไม่ได้ว่าผู้ต้องหา มีความผิดหรือไม่ เราสามารถวิเคราะห์ถ้อยแถลงในการเปลี่ยน ศาสนาได้ในแบบทีเ่ ราวิเคราะห์โครงสร้างเพลงออร์เคสตรา แต่เรา ไม่สามารถใช้ข้อมูลนี้มาอธิบายว่าท�ำไมคนจึงเปลี่ยนศาสนาได้ นี่เป็นข้อสรุปที่รับไม่ได้ ไม่มีคาถาวิเศษใดที่ร่ายแล้วจะ สามารถแยกข้อมูลที่น�ำไปสู่ความเข้าใจออกจากสิ่งไร้ค่าที่ท�ำให้ เราสับสน แต่อย่างไรก็ดี บางครัง้ การพิจารณาคดีในศาลก็นำ� ไปสู่ ความจริง มือสอบสวนที่ช�ำนาญงานก็สามารถล้วงความจริง จากคนทีพ่ ยายามปกปิดความผิด นักส�ำรวจโพลก็หาทางเอาชนะ “แนวโน้มจะตอบตามความคาดหวัง” ของผู้ตอบแบบส�ำรวจได้ และนักวิจัยที่แข็งขันก็สามารถตอบปัญหาประเด็นทางสังคมที่ คลุมเครือด้วยการศึกษาจากหลายแง่หลายมุม การที่เราไม่มี วิธีการที่รับประกันความส�ำเร็จไม่ได้หมายความว่าเราจะต้อง ล้มเหลวเสมอไป ถ้าคนธรรมดาสามารถสร้างข้อสรุปที่เป็นเหตุ เป็นผลจากค�ำพูดของผูอ้ นื่ แล้วท�ำไมนักสังคมศาสตร์จะท�ำไม่ได้? เท่าทีผ่ า่ นมา การอภิปรายในหัวข้อความแตกต่างระหว่าง วิทยาศาสตร์กับสังคมศาสตร์มักเป็นไปในทางบ่งชี้ข้อด้อยของ อย่างหลัง แต่ผมอยากจะสรุปในแบบที่ต่างออกไป ขอให้ลอง พิจารณาผูฝ้ กึ ม้าแข่ง ประสบการณ์อนั ยาวนานอาจท�ำให้เขามัน่ ใจ ว่าสามารถเข้าใจม้าได้ แต่นักสังคมศาสตร์เริ่มจากข้อได้เปรียบ ใหญ่หลวง เพราะมีลักษณะร่วมกับสิ่งที่ศึกษาทั้งในทางชีววิทยา จิตวิทยา และวัฒนธรรม ผมไม่เคยเป็นสมาชิกกลุ่มก่อการร้าย และตัง้ ใจแน่วแน่ทจี่ ะหลีกเลีย่ งการลอบสังหารและการถูกจับกุม


38

Sociology

แต่ ผ มก็ มี ป ระสบการณ์ ส ่ ว นตั ว ที่ ส ามารถน� ำ มาเชื่ อ มโยงได้ ผมผ่านเหตุการณ์ที่ท�ำให้ผมหวาดกลัวและโกรธมาก เคยท�ำทั้ง สิ่งที่ท�ำให้ตัวเองภาคภูมิใจและสิ่งที่น่าอับอายยิ่ง แม้คนที่เรา ศึกษาจะเป็นพลเมืองของประเทศอื่น แต่ก็ยังมีความเหมือนกัน ในความเป็นมนุษย์ ซึ่งท�ำให้เราสามารถก้าวข้ามพรมแดนของ ความแตกต่างไปได้ เราอาจจะเข้าใจผิด แต่กย็ งั มีโอกาสทีจ่ ะขจัด ความสับสนให้หมดไปเสมอ ไม่ว่าเราจะเสียอะไรไปจากการที่ ไม่สามารถศึกษาด้วยการทดลองแบบวิทยาศาสตร์ เราจะได้มัน กลับมาจากการทีเ่ ราสามารถจะสนทนากับคนทีเ่ ราศึกษาได้อย่าง เจาะลึ ก ผมไม่ ส ามารถจะทดสอบแนวคิ ด ของผมเกี่ ย วกั บ โครงสร้ า งการก้ า วขึ้ น ไปเป็ น แกนน� ำ ของกลุ ่ ม ก่ อ การร้ า ย ด้วยการทดลองได้ แต่ผมสามารถจะแลกเปลีย่ นประเด็นนีก้ บั คน ที่ผมศึกษาได้ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม สรุป โดยสรุปแล้ว ไม่ว่าเราจะสงสัยว่านักวิทยาศาสตร์ได้ท�ำ ตามมาตรฐานอันเข้มงวดหรือไม่ในเรือ่ งทีว่ า่ พวกเขาควรต้องท�ำ อะไรและท�ำไมท�ำแล้วถึงได้ผล แต่เราไม่ควรสงสัยว่าแนวทาง ที่ดีที่สุดในการหาความรู้เกี่ยวกับโลกทางวัตถุคือแนวทางแบบ วิทยาศาสตร์ การใช้เหตุผลวิพากษ์ การเก็บหลักฐานอย่าง แข็งขันและตรงไปตรงมา การเปิดโอกาสให้แนวคิดถูกทดสอบ เพื่ อหาความถู ก ต้ อ งและความสอดคล้ อ งกั บ หลั ก ฐานที่ มีอ ยู ่ การมุ ่ ง หาหลั ก ฐานมาปฏิ เ สธแทนที่ จ ะสนั บ สนุ น ข้ อ ถกเถี ย ง


A Very Short

Introduction

39

ของเรา การแลกเปลี่ยนแนวคิดและข้อมูลระหว่างกันโดยไม่ถูก จ�ำกัดด้วยอุดมการณ์ ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่สังคมศาสตร์ควรจะน�ำ มาใช้ อย่างไรก็ตาม เราต้องยอมรับว่ามีความแตกต่างระหว่าง สิ่งที่วิทยาศาสตร์ธรรมชาติสนใจกับสิ่งที่วิทยาศาสตร์ที่ศึกษา มนุษย์สนใจ คนเป็นผูร้ คู้ ดิ พวกเขาท�ำสิง่ ทีเ่ ขาท�ำไม่ใช่เพราะเขา จะต้องท�ำตามกฎ แต่เพราะเขามีความเชือ่ ค่านิยม ผลประโยชน์ และเจตนา นี่ ห มายความว่ า แม้ ง านวิ จั ย ทางสั ง คมวิ ท ยา บางประเภทจะดู ค ล้ า ยงานของนั ก เคมี ห รื อ นั ก ฟิ สิ ก ส์ แต่ ส�ำหรับนักสังคมวิทยาแล้ว ยังมีเรื่องอื่นให้ต้องท�ำมากกว่านั้น ค�ำว่า “อธิบาย” ของเราไม่ได้หมายถึงเพียงแค่การชี้ให้เห็น แบบแผนบางอย่างในการกระท�ำทางสังคมเท่านั้น แต่มันจ�ำเป็น ที่เราต้อง “เข้าใจ” ด้วย


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.