Vsi architecture (web preview)

Page 1

A

Very

Short

Introduction

ข้าประจักษ์นักเดินทางจากแดนบรรพ์ ผู้จ�ำนรรจ์ถึง “ขายักษ์สลักหิน ยืนสง่าท้าผืนทรายไร้กายสิ้น มีใบหน้าอันแหว่งวิ่นอยู่ใกล้กัน พักตร์นั้นจมอยู่ใต้ทรายครึ่งหนึ่ง ดูถมึงทึงด้วยคิ้วขมวดมั่น ปากย่นหยักยิ้มเย้ยเฉยเมยนั้น ดูจะหมั่นบัญชามาช้านาน ประติมากรผู้สรรค์สร้างช่างแหลมคม ทุกอารมณ์ใช้ใจรับจับประสาน มือเสกสิ่งอนินทรีย์มโหฬาร ให้ดูปานมีชีวิตเป็นนิตย์ไป บนฐานเท้าจารึกความไว้ตามนี้: ‘ข้าโอซีแมนดิอัสกษัตริย์ใหญ่ ผู้รังสฤษฏ์สิ่งสรรพ์อันเกรียงไกร แม้นเทพไท้จักสิ้นหวังหลังยินยล’ อนิจจานอกเหนือจากซากเศษหิน อันพังภินท์เปล่าดายในแห่งหน วาลิกาเวิ้งว้างร้างผู้คน แผ่ขยายไปจนสุดสายตา”1 (เพอร์ซี บิชชี เชลลีย์, Ozymandias, 1818)

บทน�ำ

/

1

ถอดความและเรียงเรียงเป็นบทร้อยกรองภาษาไทยโดย ภูมิ น�้ำวล

15


16

Architecture

สิง่ ก่อสร้างต่างๆ อาจจะเป็นสิง่ ทีม่ รี าคาสูงทีส่ ดุ ทีอ่ ารยธรรม มนุษย์สร้างขึ้น การสร้างอาคารให้ทัดเทียมคู่แข่งหรือผลงาน ในอดีตอาจเป็นการสิ้นเปลืองทั้งแรงงานและเงินทองไปเปล่าๆ การพยายามเอาชนะคะคานโดยมีคา่ ใช้จา่ ยสูงลิว่ เช่นนัน้ อาจแลดู เหมือนการกระท�ำที่หลงผิด แต่อารยธรรมใดก็ตามที่ปฏิเสธการ กระท�ำดังกล่าวจะไม่มีใครจดจ�ำได้ อย่างน้อยก็จะถูกลืมเลือนไป ในประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม ในขณะที่อารยธรรมอย่างกรีก หรือโรมันโบราณซึ่งล้วนมีสิ่งก่อสร้างหรูหราฟุ่มเฟือยกลับด�ำรง อยู่ในความทรงจ�ำของมนุษยชาติ สิ่งก่อสร้างที่เป็นอมตะดูจะ ถูกส่งผ่านจากรุน่ สูร่ นุ่ ด้วยชือ่ เสียงอันเป็นอมตะเช่นกัน ซึง่ นีเ่ ป็น สาเหตุที่ดึงดูดใจให้เหล่าผู้มีอ�ำนาจปรารถนาจะสร้างอนุสาวรีย์ แห่งตนมาโดยตลอด ทว่าเมือ่ กาลเวลาผ่านไปชัว่ ระยะหนึง่ ทุกสิง่ ซึ่งมนุษย์รังสรรค์ขึ้นก็ดูจะไม่แข็งแรงทนทานอีกต่อไป บทกวี Ozymandias อันเลื่องชื่อของเชลลีย์ (Percy Bisshe Shelley) แสดงให้เห็นถึงทั้งความเย้ายวนใจของการสร้างอนุสาวรีย์และ ความเพ้อฝันของผู้สร้างว่าตนจะได้รับการยกย่องไปตลอดกาล ความส�ำคัญประการหนึ่งของสถาปัตยกรรมคือ มันแสดงให้เรา เห็นว่าอะไรคือสิง่ ส�ำคัญอย่างแท้จริงส�ำหรับเหล่าผูน้ ำ� ในอดีต ส่วน ความส�ำคัญอีกประการคือ มันน�ำมาซึง่ ความเป็นไปได้ทพี่ วกเราผู้ ยังมีชวี ติ อยูจ่ ะใช้ชวี ติ ในวิถที างทีเ่ หมาะสม อีกทัง้ ยังอธิบายให้เรา แต่ละคนเข้าใจว่าอะไรคือสิ่งที่เราให้ความส�ำคัญอย่างแท้จริงทั้ง ในฐานะปัจเจกและในฐานะสังคม อารยธรรมแต่ละแห่งต่างก็มี กลไกที่ แ ตกต่ า งกั น ไปในการถ่ ว งดุ ล ระหว่ า งการจั ด หาสิ่ ง ที่ ดูเหมือนจ�ำเป็นต่อการด�ำรงชีวติ ของผูค้ น กับการก้าวพ้นขีดจ�ำกัด

A

Very

Short

Introduction

17

ของความต้องการเฉพาะหน้าเพื่อสร้างสรรค์สิ่งซึ่งจะเป็นที่รู้จัก ไปจนถึงชนรุ่นหลัง สิ่งที่หนังสือความรู้ฉบับพกพาเล่มนี้พยายามท�ำคือ อธิบายให้เห็นว่าสถาปัตยกรรมท�ำหน้าทีต่ ามทีม่ นั ถูกสร้างขึน้ ได้ อย่างไรบ้าง อาคารทัว่ ไปเพียงแต่ปกป้องเราให้อบอุน่ ไม่เปียกชืน้ อีกทัง้ เกีย่ วพันอย่างลึกซึง้ กับการด�ำรงชีวติ ประจ�ำวันของเรา ทว่า “สถาปัตยกรรม” มีมติ ทิ างวัฒนธรรมแฝงอยูด่ ว้ ยเสมอ หากว่าเรา เลือกที่จะใส่ใจมอง บทที่ 1 บอกเราว่าอาคารต่างๆ เกี่ยวข้องกับ การตระหนักรู้ว่าเราเป็นใครอย่างไรบ้าง บทที่ 2 จะชี้ให้เห็นว่า การที่อาคารในวัฒนธรรมหนึ่งๆ มักถูกสร้างให้ดูคล้ายกันนั้น มีจุดประสงค์เพื่อน�ำเสนอสารบางอย่างแก่เหล่า “ผู้มองออก” ส่วนบทที่ 3 จะพิจารณาถึงปัจจัยที่ท�ำให้สถาปัตยกรรมบางแห่ง มีความส�ำคัญในทางวัฒนธรรมยิ่งกว่าสถาปัตยกรรมอื่นๆ สาเหตุหนึ่งที่ท�ำให้บรรดานักโบราณคดีวิทยาให้ความ สนใจเป็นพิเศษต่อสิ่งก่อสร้างต่างๆ ก็เพราะสิ่งก่อสร้างเหล่านั้น เชือ่ มโยงกับชีวติ มนุษย์ในหลายๆ ด้าน รูปแบบของอาคารบอกให้ เราทราบถึงวิถีทางที่ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์ต่อมัน ท�ำให้เราทราบว่า มันเป็นทีร่ วมตัวของคนกลุม่ ใดและกีดกันคนกลุม่ ใดออกไป วัสดุ ทีใ่ ช้กอ่ สร้างอาคารแต่ละหลัง ตลอดจนแนวทางในการจัดการกับ วัสดุเหล่านั้นก็บอกอะไรเราได้มากมายเช่นกัน หากหินก้อนที่ ใช้สร้างอาคารหลังนัน้ มาจากทีไ่ กลแสนไกล ก็แปลว่าสังคมนัน้ ๆ ต้องมีระบบการขนส่งดีเลิศ หรือไม่หินก็เป็นวัตถุที่มีความพิเศษ อย่างยิ่งส�ำหรับคนในสังคมดังกล่าว พวกเขาจึงยอมทุ่มเทเต็มที่ ในการเคลื่อนย้ายหินนั้น และหากอาคารหลังนั้นก่อสร้างด้วย


18

Architecture

โครงเหล็ก ก็แสดงว่ามันเป็นสิง่ ก่อสร้างในยุคสมัยใหม่ เพราะคน ยุคโบราณย่อมไม่รู้จักเหล็กเป็นแน่ อาคารและสิ่ ง ก่ อ สร้ า งนั้ น เป็ น หลั ก ฐานส� ำ คั ญ ที่ จ ะ บอกให้เราทราบว่ามีสงิ่ ใดเกิดขึน้ บ้างในอดีต ทัง้ ยังแสดงให้เห็นว่า อะไรคือสิ่งส�ำคัญอย่างแท้จริงส�ำหรับคนในยุคปัจจุบันอย่างเรา ตัวอย่างเช่น หากเรายินยอมให้มีการตัดถนนมอเตอร์เวย์ผ่าน เขตชนบท นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่าเราให้ความส�ำคัญกับชนบท น้อยกว่าความต้องการที่จะเดินทางอย่างสะดวกสบาย ในฐานะ ปัจเจกชน เราแต่ละคนอาจตัดสินใจแตกต่างหลากหลายกันไป ทว่าในฐานะของสังคมทีต่ อ้ งพิจารณาถึงการหมุนเวียนสับเปลีย่ น ไปมาระหว่างการไหลกับการกระจุกตัวของเงิน รวมทั้งพิจารณา ถึงกระบวนการต่างๆ ทางการเมืองในการหาทางประนีประนอม ระหว่างความคิดเห็นทีแ่ ตกต่างกันของฝ่ายต่างๆ เราจ�ำเป็นต้อง สร้างอาคารแต่ละแห่งที่รายรอบเราขึ้นมา ในฐานะปัจเจกชน เราท� ำ อะไรได้ น ้ อ ยมากในการก่ อ ร่ า งสร้ า งอาคารโดยรวม แต่ในบางสถานการณ์ การรวบรวมทรัพย์สินและอ�ำนาจก็ช่วย ให้ปัจเจกชนสร้างความเปลี่ยนแปลงได้มากมาย ว่ากันว่าเมื่อ จักรพรรดิออกุสตุส (Augustus) แห่งจักรวรรดิโรมันเสด็จมายัง กรุงโรม อาคารทุกหลังก่อสร้างด้วยอิฐ แต่เมื่อพระองค์จากไป อาคารทุกหลังล้วนก่อสร้างด้วยหินอ่อน กษัตริย์โอซีแมนดิอัส [Ozymandias (ฟาโรห์รามเสสที่ 2)] นั้นก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า ทรงสัง่ ให้มกี ารสร้างสิง่ ก่อสร้างใหญ่โตโอ่อา่ มากมาย อาคารต่างๆ อาจแลดูสวยงามและสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้พบเห็น แต่เมื่อ ถูกสร้างขึน้ จริง (ไม่ใช่แค่อยูใ่ นจินตนาการ) มันจะแสดงให้เห็นถึง

A

Very

Short

Introduction

19

นัยด้านเศรษฐกิจและการเมืองควบคูไ่ ปกับนัยทางสุนทรียศาสตร์ เสมอ นอกจากนั้นยังมีนัยด้านอื่นๆ เช่น ด้านเทคนิควิทยาการ เป็นต้นว่า อาคารนั้นๆ จะตั้งอยู่ได้อย่างมั่นคงหรือไม่ จะกันฝน ได้ไหม จะให้ความอบอุน่ ได้เพียงพอหรือเปล่า จะร้อนเกินไปไหม แล้วมันจะตอบสนองชีวติ แบบทีเ่ ราต้องการได้หรือไม่ หรือกระทัง่ ว่าเราอยากเป็นคนประเภททีอ่ าศัยอยูใ่ นอาคารแบบนัน้ หรือเปล่า ด้วยความที่อาคารหลังหนึ่งๆ มีหลากนัยหลายแง่มุม เช่นนี้ จึงเป็นไปได้ที่จะเขียนถึงสถาปัตยกรรมในแบบที่หยิบยก แง่มุมใดแง่มุมหนึ่งมากล่าวถึงเป็นกรณีพิเศษ เช่น เราอาจเล่า เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของเทคโนโลยีการก่อสร้าง อันจะเป็น เรื่องราวว่าด้วยความก้าวหน้า เพราะแนวทางการก่อสร้างแบบ ดั้งเดิมถูกแทนที่ด้วยแนวทางที่ใช้เทคนิคซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะความก้าวหน้าครั้งส�ำคัญๆ อย่างการประดิษฐ์ซีเมนต์ การคิดค้นโครงสร้างทรงโค้ง และการสร้างสรรค์อาคารรูปแบบ ใหม่ๆ ซึ่งล้วนเป็นจริงได้ด้วยนวัตกรรมล�้ำยุคเหล่านี้ ทว่าสิ่งที่ จะหายไปจากแนวทางการสาธยายเช่นนี้คือข้อเท็จจริงที่ว่า ณ ชั่วขณะปัจจุบัน ดูเหมือนมีอาคารเพียงไม่กี่หลังที่สร้างขึ้น ด้วยวิทยาการล�้ำหน้าอาคารหลังอื่นๆ อาคารส่วนใหญ่เป็นแค่ สิง่ ก่อสร้างธรรมดาๆ ทีแ่ ม้ไม่พงั ถล่มแต่กจ็ ะหมดประโยชน์เมือ่ มี การคิดค้นวิทยาการล�้ำยุคใหม่ๆ ขึ้น เช่นเดียวกับที่หลายคนใน ยุโรปอาศัยอยู่ในบ้านเรือนที่สร้างมาแล้วร้อยกว่าปี โครงสร้าง ทรงโค้งทีเ่ ราพบเจอในสิง่ ก่อสร้างของอาณาจักรโรมันโบราณอัน เป็นสิ่งซึ่งท�ำให้คนทุกวันนี้จดจ�ำชาวโรมันได้เป็นพิเศษ ก็ไม่ใช่ อาคารประเภททีป่ ระกอบขึน้ เป็นโครงสร้างส่วนใหญ่ของตัวเมือง


20

Architecture

และอันที่จริงสิ่งก่อสร้างแบบโรมันส่วนใหญ่ที่เป็นที่รู้จักในสมัย ของเราก็เพิ่งจะมีขึ้นในช่วงท้ายๆ ของยุคจักรวรรดิโรมัน ดังนั้น จึงกลายเป็นว่าพวกมันกลับไม่เป็นที่รู้จักของชาวโรมันส่วนใหญ่ เสียเอง เหนืออื่นใด แม้แต่นักเขียนชาวโรมันผู้เชี่ยวชาญด้าน สถาปัตยกรรมอย่างวิทรูเวียส (Vitruvius) ผูเ้ ขียนหนังสือหลายเล่ม ซึ่งคนยุคเราคุ้นเคยดี ก็ยังไม่รู้จักสิ่งก่อสร้างเหล่านั้นด้วยซ�้ำ น่ากลัวเขาคงเกิดเร็วเกินไป เราอาจไม่กล่าวถึงเรือ่ งเทคนิควิทยาการเลย หรือกล่าว ถึงแต่พอสังเขป แต่ก็จะท�ำให้ประวัติศาสตร์ของสถาปัตยกรรม กลายเป็ น แค่ เ รื่ อ งราวเกี่ ย วกั บ อาคารบ้ า นเรื อ นหลากหลาย รูปแบบเท่านั้น นั่นคืออาคารรูปแบบหนึ่งจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลง กลายเป็นอีกรูปแบบหนึ่งตามกาลเวลา ประวัติศาสตร์แบบนี้ ชวนให้ฟงั ดูคล้ายกับว่ารูปทรงทางสถาปัตยกรรมแต่ละแบบต่าง มีเจตจ�ำนงทีจ่ ะวิวฒ ั นาการและพัฒนาตัวเองอยูใ่ นตัว ธรรมเนียม ประเพณีล้วนเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และบรรดาสถาปนิกก็ไม่หยุด ที่จะทดลองแนวคิดใหม่ๆ ซึ่งบางอย่างก็ช่วยปรับปรุงแนวคิด เดิมๆ จากนั้นสถาปนิกคนอื่นๆ ก็เริ่มลอกเลียนแบบแล้วน�ำ ไปปรับปรุงตามวิถีทางของตนเองต่อ การศึกษาประวัติศาสตร์ แนวทางดังกล่าวอาจท�ำให้เราหมกมุ่นอยู่แต่กับการวิเคราะห์ รูปแบบของอาคารจนหลงลืมข้อเท็จจริงที่ว่ามีเหตุผลในทาง ปฏิบตั อิ ยูเ่ บือ้ งหลังการก่อสร้างอาคารนัน้ ๆ รวมทัง้ อาจท�ำให้เรา มองข้ามประเด็นทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึง่ อาจเป็นประเด็นทีน่ า่ สนใจ และแน่นอนว่าบางครัง้ ก็เป็นประเด็นทีส่ ำ� คัญทีส่ ดุ เกีย่ วกับ อาคารหลังหนึง่ ๆ นอกจากนัน้ ยังมีขอ้ เท็จจริงซับซ้อนข้อหนึง่ คือ

A

Very

Short

Introduction

21

การมองสิง่ ต่างๆ ในระยะใกล้และระยะไกลย่อมให้ภาพทีแ่ ตกต่าง กัน ความเปลี่ยนแปลงที่เรามองว่ากินเวลานานหลายศตวรรษ แท้จริงแล้วอาจเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นฉับพลันทันใดในยุค สมัยนั้น โดยปกติแล้วผู้คนมักไม่ปรับเปลี่ยนวิถีปฏิบัติในการ ท�ำสิ่งต่างๆ กันง่ายๆ และสิ่งที่มักเกิดขึ้นเมื่อแนวคิดใหม่ๆ เข้าครอบง�ำสังคมคือ คนรุ่นหนึ่งจะกลายเป็นคนแก่ตกรุ่นหมด สมรรถภาพ ในขณะที่ ค นรุ ่ น เด็ ก กว่ า ซึ่ ง เติ บ โตมาพร้ อ มกั บ แนวคิดใหม่ๆ เหล่านั้นจะกลายเป็นก�ำลังส�ำคัญของสังคมแทน ดังนั้นการจะมองว่าความเปลี่ยนแปลงหนึ่งๆ เป็นไปอย่างช้าๆ หรือก้าวกระโดดจึงขึ้นอยู่กับว่าเราที่เป็นผู้มองอยู่ห่างจากช่วง เวลาของเหตุการณ์ที่เกิดความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพียงใด โศกนาฏกรรมไม่ตา่ งอะไรจากละครตลกเมือ่ เราอยูใ่ นระยะใกล้พอ มีสถาปัตยกรรมจ�ำนวนมากมายในโลกนี้ ทั้งที่สร้างขึ้น ในอดีตอันใกล้และอดีตอันไกลโพ้น จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่ผมจะ รวบรวมทั้งหมดนั้นมาน�ำเสนอต่อผู้อ่าน โดยเฉพาะในหนังสือ ความรู้ฉบับพกพาเล่มนี้ ผมจ�ำเป็นต้องคัดเลือกสิ่งก่อสร้าง เพียงบางแห่ง และแห่งที่เลือกนั้นก็ต้องสอดคล้องอย่างยิ่งกับ เรื่องราวที่จ�ำเป็นต้องเล่า จุดมุ่งหมายของหนังสือเล่มนี้คือเพื่อ เปิดความคิดและมุมมองเกีย่ วกับสถาปัตยกรรมอันจะท�ำให้ผอู้ า่ น เห็นว่าสถาปัตยกรรมนัน้ เป็นหัวข้อทีส่ ามารถพูดคุยและถกเถียง ในหลายแง่มุมซึ่งบางครั้งก็อาจสร้างความสับสนได้ แต่ละบท ของหนังสือเล่มนี้จะกล่าวถึงประเด็นที่แตกต่างกัน โดยผมจะ น�ำเสนอสิง่ ก่อสร้างบางแห่งเพือ่ เป็นตัวอย่างประกอบข้อถกเถียง ในบทนั้นๆ ดังนั้นหนังสือเล่มนี้จึงไม่ได้กล่าวถึงสิ่งก่อสร้าง


22

Architecture

แต่ละแห่งเรียงตามล�ำดับเวลา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจล�ำดับ ของเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้ดีขึ้น ตอนท้ายของหนังสือเล่มนี้จะมี ล�ำดับเวลาของสถาปัตยกรรรมอยู่ อย่างไรก็ตามโปรดสังเกตว่า สถาปัตยกรรมทีย่ กมาเป็นตัวอย่างในแต่ละบทจะมาจากยุคสมัย ทีใ่ กล้เคียงกับปัจจุบนั มากกว่าในอดีต ทัง้ นีด้ ว้ ยเหตุผล 2 ประการ ประการแรกคือ สิ่งก่อสร้างจากยุคใกล้ยังมีหลงเหลือให้เรา ศึกษามากกว่าสิ่งก่อสร้างในอดีตอันไกลโพ้น อีกประการคือ คนเรามั ก สนใจในสิ่ ง ใกล้ ตั ว มากกว่ า สิ่ ง ที่ อ ยู ่ ห ่ า งไกลมากๆ หากผมมองพี ร ะมิ ด ในฐานะสิ่ ง ก่ อ สร้ า งที่ เ ป็ น ตั ว แทนของ อารยธรรมอันยืนยงมากว่า 3,000 ปี เมื่อพิจารณาในภาพรวม ผมย่อมรู้สึกว่าเป็นการมองที่เหมาะสม แต่หากผมใช้หลักการ เดียวกันกับสถาปัตยกรรมในช่วง 3,000 ปีที่ผ่านมา ผมจะ รู้สึกว่าเป็นเรื่องไม่เหมาะสมแถมยังน่าหัวร่อ คงดูตลกและ น่ า สมเพชหากจะมี ใ ครใช้ อ นุ ส รณ์ ส ถานเพี ย งแห่ ง เดี ย วสรุ ป ใจความของสถาปัตยกรรมยุโรปทั้งหมด มหาวิหารหลายแห่ง ในยุคกลางอาจถือว่าเป็นอนุสรณ์สถานขนาดใหญ่ในใจกลาง ของยุคสมัยดังกล่าว แต่ผมเกรงว่าคงไม่เข้าท่าเท่าไรหากจะ ถือว่าพวกมันเป็นตัวแทนแห่งยุคสมัยโดยสิ้นเชิง ล�ำดับเวลาทั่วไป ภาษาของประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมนั้นประกอบ ด้วยถ้อยค�ำต่างกรรมต่างวาระที่ใช้บ่งชี้รูปแบบอันแตกต่าง หลากหลายของสถาปัตยกรรม เป็นการสะดวกที่เราจะแบ่ง

A

Very

Short

Introduction

23

ประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมมนุษย์ออกเป็นช่วงกว้างๆ และ แม้จะมีขอ้ โต้แย้งว่าการแบ่งในลักษณะนีอ้ าจไม่เหมาะสม แต่มนั ก็ ถูกบัญญัตเิ ข้าไปในภาษาของเราเป็นทีเ่ รียบร้อย ทัง้ ยังจ�ำเป็นต่อ การท�ำความเข้าใจบริบทโดยรอบ เราจะเริ่มต้นด้วยอารยธรรม โบราณอย่างกรีกและโรมัน ซึ่งขึ้นชื่อเรื่องวรรณกรรม ปรัชญา และโบราณสถานโอ่อ่าตระการตา อารยธรรมยุคนี้ได้รับการ ขนานนามว่ายุค “คลาสสิก” (classic) ซึ่งเป็นค�ำที่ใช้ในท�ำนอง ยกย่อง และถูกมองว่าเป็นรากฐานของระบอบการปกครองและ งานศิลปะทั้งปวง สิ่งที่เป็นผลผลิตของแต่ละสังคมในอารยธรรม แห่งยุคถูกเรียกรวมๆ ว่างาน “คลาสสิก” พจนานุกรมออกซฟอร์ด ระบุวา่ ค�ำว่าคลาสสิกนัน้ ถูกใช้ครัง้ แรกๆ ในปี 1607 (สมัยนัน้ ใช้กบั งานเขียน ยังไม่ใช้กบั สถาปัตยกรรม) นอกจากนัน้ ยังมียคุ คลาสสิก ที่ส�ำคัญอีกยุคหนึ่งซึ่งใกล้เคียงกับยุคปัจจุบันของเรา นั่นคือ ยุคเรอเนสซองส์ (Renaissance) ยุคนี้เป็นยุคที่ผู้คนหวนกลับ มาศึ ก ษางานคลาสสิ ก หรื อ เรี ย กอี ก อย่ า งว่ า เป็ น “ยุ ค ฟื ้ น ฟู ศิลปวิทยาการ” (the revival of letters) ด้วยเหตุนี้อารยธรรม ของมนุษย์จงึ ถูกแบ่งออกเป็น 4 ยุค ได้แก่ ยุคเรืองรอง 2 ยุค และ ยุคมืด 2 ยุค ยุคแรกสุดคือยุคของดินแดนอียปิ ต์โบราณ ตามด้วย ยุ ค คลาสสิ ก ของอาณาจั ก รกรี ก และโรมั น โบราณ จากนั้ น ช่วงระหว่างการล่มสลายของอาณาจักรโรมันกับยุคเรอเนสซองส์ ก็เป็นยุคกลาง (medieval period) ซึ่งไม่มีอะไรน่าจดจ�ำเป็น พิเศษ แล้วก็มาถึงยุคเรอเนสซองส์ ยุคแห่งโลกสมัยใหม่ เหตุผล และความก้าวหน้า แม้ว่าจะเป็นการแบ่งอย่างหยาบๆ แต่การ แบ่งยุคสมัยเช่นนี้ก็มีประโยชน์ในการท�ำความเข้าใจว่า ท�ำไม


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.