Vsi global economic (p 1 35)

Page 1


ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลก: ความรู้ฉบับพกพา • สมคิด พุทธศรี, ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ แปล จากเรื่อง Global Economic History: A Very Short Introduction โดย โรเบิร์ต ซี. อัลเลน พิมพ์ครั้งแรก: สำ�นักพิมพ์ openworlds, ตุลาคม 2557 ราคา 265 บาท คณะบรรณาธิการอำ�นวยการ ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา สฤณี อาชวานันทกุล แอลสิทธิ์ เวอร์การา กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล พลอยแสง เอกญาติ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ปกป้อง จันวิทย์ กฤดิกร เผดิมเกื้อกูลพงศ์ บรรณาธิการบริหาร วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล เลขานุการกองบรรณาธิการ ภรณ์ทิพย์ ปิยฤทธิพงศ์ บรรณาธิการ ฐณฐ จินดานนท์ บรรณาธิการต้นฉบับ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ กองบรรณาธิการสำ�นักพิมพ์ วิรพา อังกูรทัศนียรัตน์ ภูมิ นํ้าวล ฐณฐ จินดานนท์ บุญชัย แซ่เงี้ยว ออกแบบปก wrongdesign จัดทำ�โดย บริษัท โอเพ่นเวิลด์ส พับลิชชิ่ง เฮาส์ จำ�กัด 604/157 ถ.สาธุประดิษฐ์ แขวงบางโพงพาง เขตยานนาวา กรุงเทพฯ 10120 โทรศัพท์ 02-618-4730 email: openworldsthailand@gmail.com facebook: www.facebook.com/openworlds twitter: www.twitter.com/openworlds_th website : www.openworlds.in.th จัดจำ�หน่าย บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำ�กัด (มหาชน) SE-EDUCATION PUBLIC COMPANY LIMITED เลขที่ 1858/87-90 อาคารทีซีไอเอฟทาวเวอร์ ชั้นที่ 19 ถนนบางนา-ตราด แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพฯ 10260 โทรศัพท์ 0-2739-8222, 0-2739-8000 โทรสาร 0-2739-8356-9 website: http://www.se-ed.com/


สำ�หรับสถาบันการศึกษา องค์กร หรือบุคคล ที่ต้องการสั่งซื้อหนังสือ จำ�นวนมากในราคาลดพิเศษ โปรดติดต่อ กรมัยพล สิริมงคลรุจิกุล หมายเลขโทรศัพท์ 086 403 6451 หรือ Email: openworldsthailand@gmail.com

ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ อัลเลน, โรเบิร์ต ซี.. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลก: ความรู้ฉบับพกพา.-- กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์, 2557. 280 หน้า. 1. ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ. I. สมคิด พุทธศรี, II. ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์, ผู้เแปล. III. ชื่อเรื่อง. 330.9 ISBN 978-616-7885-06-3 • Thai language translation copyright 2014 by openworlds publishing house /Copyright © 2011 by Robert C. Allen All Rights Reserved. Globa l Ec o n o m ic His tor y : A V e r y S h o r t I n t r o d u c t i o n , b y R o ber t C . A llen w as o rig in a lly p u b lis h ed i n E n g l i s h i n 2 0 1 1 . This translation is published by arrangement with Oxford University Press t hrou g h T u ttle -M o ri Ag e n c y C o . , L t d . The Thai edition is translated by Somkid Puttasri and Supanutt Sasiwuttiwat and p u b lis h e d b y o p e nw o r l d s p u b l i s h i n g h o u s e , 2 0 1 4 .

ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลก: ความรู้ฉบับพกพา ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 2011 แปลและตีพิมพ์เป็นภาษาไทยโดยข้อตกลงกับสานักพิมพ์มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด


สารบัญ

. สารบัญภาพประกอบ สารบัญตาราง ค�ำน�ำผู้แปล : 8 1. การขยายตัวของช่องว่างทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ : 16 2. การผงาดขึ้นของตะวันตก : 36 3. การปฏิวัติอุตสาหกรรม : 56 4. กว่าจะมาเป็นชาติร�่ำรวย : 78 5. มหาจักรวรรดิ : 98 6. ทวีปอเมริกา : 116 7. แอฟริกา : 158 8. ตัวแบบการพัฒนาเศรษฐกิจมาตรฐาน และการเป็นอุตสาหกรรมในช่วงหลัง : 194 9. การผลักดันเศรษฐกิจขนานใหญ่สู่การเป็นอุตสาหกรรม : 222 บทส่งท้าย : 246 กิตติกรรมประกาศ : 250 แหล่งอ้างอิง : 252 อ่านเพิ่มเติม : 263 ประวัติผู้เขียน : 279 ประวัติผู้แปล : 280


สารบัญภาพประกอบ

. 1 การขยายตัวของช่องว่างทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ : 24 Angus Maddison, The World Economy (OECD, 2006) และฉบับปรับปรุง ล่าสุดที่ www.ggdc.net/maddison/ 2 การกระจายตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมโลก : 26 Paul Bairoch, ‘International Industrialization Levels from 1750 to 1980’, Journal of European Economic History, 11 (1982): 269-333, and World Bank, World Development Indicators (2008) 3 อัตราส่วนการประทังชีพของแรงงาน : 31 Robert C. Allen, Jean-Pascal Bassino, Debin Ma, Christine Moll-Murata, and Jan Luiten van Zanden, ‘Wages, Prices, and Living Standards in China, 1739-1925: In Comparison with Europe, Japan, and India’, Economic History Review, 64 (February 2011): 8.58 และมีการค�ำนวณ เพิ่มเติมส�ำหรับสเปน 4 อัตราส่วนการประทังชีพของลอนดอนและปักกิ่ง : 32 5 ราคาพริกไทย ปรับตามระดับราคาปี 1600 : 43 6 ราคาพลังงาน : 53 7 ค่าจ้างต่อราคาทุนบริการ : 64 8 ฟังก์ชันการผลิตของโลก : 92 Robert C. Allen, ‘Technology and the Great Divergence’, Oxford University, Dept of Economics, Discussion Paper 548 Explorations in Economic History 48 (2012) 9 วิถีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา : 93 Robert C. Allen, ‘Technology and the Great Divergence’, Oxford University, Dept of Economics, Discussion Paper 548 Explorations in Economic History 48 (2012)


10 วิถีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของอิตาลี : 94 Robert C. Allen, ‘Technology and the Great Divergence’, Oxford University, Dept of Economics, Discussion Paper 548 Explorations in Economic History 48 (2012) 11 วิถีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนี : 94 Robert C. Allen, ‘Technology and the Great Divergence’, Oxford University, Dept of Economics, Discussion Paper 548 Explorations in Economic History 48 (2012) 12 ราคาที่แท้จริงของฝ้าย : 108 13 ราคาที่แท้จริงของฝ้ายดิบ : 109 14 ราคาข้าวสาลี : 124 15 ค่าจ้างของแรงงานไร้ฝีมือในยุโรปและสหรัฐอเมริกา : 125 16 ค่าจ้างของแรงงานไร้ฝีมือในเม็กซิโกและลอนดอน : 133 17 ราคาน�้ำมันปาล์มเปรียบเทียบกับราคาผ้าฝ้าย : 174 18 ราคาโกโก้เปรียบเทียบกับราคาผ้าฝ้าย : 174 19 รายได้จากน�้ำมันปาล์มต่อวัน : 185 20 รายได้จากโกโก้ต่อวัน : 185


สารบัญตาราง

. 1 จีดีพีต่อหัวทั่วโลก ปี 1820-2008 : 22-23 Angus Maddison, The World Economy (OECD, 2006), and http://www. ggdc.net/maddison/ 2 ตะกร้าสินค้าส�ำหรับการประทังชีพแบบหนังหุ้มกระดูก : 30 Robert C. Allen, The British Industrial Revolution in Global Perspective (Cambridge, 2009), p. 57 3 สัดส่วนประชากรในภาคเกษตร เมือง และชนบทนอกภาคเกษตรในปี 1500 และ 1750 : 49-50 Robert C. Allen, ‘Economic Structure and Agricultural Productivity in Europe, 1300-1800’, European Review of Economic History, 3 (2000): 1-25 4 อัตราการรู้หนังสือของประชากรวัยผู้ใหญ่ในปี 1500 และ 1800 : 54 Robert C. Allen, The British Industrial Revolution in Global Perspective (Cambridge, 2009), p. 53 5 รายได้ของชนเผ่ายาเกอในทศวรรษ 1930 : 166 Daryll Forde, Yakö Studies (Oxford, 1964), pp. 5, 9-11, 14, 22, 25, 26, 31-4, 41-5, 47 6 สัดส่วนประชากรที่อยู่ระหว่างการศึกษา : 206 Arthur S. Banks, Cross National Time Series; Brian R. Mitchell, International Historical Statistics: Africa, Asia, and Oceania, 1750-1993, pp. 980-7, 1001-3


8

Global

Economic

History

ค�ำน�ำผู้แปล

.

แม้จะได้ชื่อว่าเป็น “วิชาประวัติศาสตร์” แต่หากจะนับ คูแ่ ข่งทางวิชาการแล้ว “ประวัตศิ าสตร์เศรษฐกิจ” อาจจัดประเภท แบบหลวมๆ ว่าเป็น “เศรษฐศาสตร์กระแสรอง” แบบหนึ่งที่มุ่ง ผลิตค�ำอธิบายว่าด้วยความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเพื่อแข่งขันกับ ค�ำอธิบายของเศรษฐศาสตร์กระหลัก โดยความแตกต่างส�ำคัญ ขององค์ ค วามรู ้ ทั้ ง สองแบบคื อ นั ก ประวั ติ ศ าสตร์ เ ศรษฐกิ จ พยายามศึ ก ษาเหตุ แ ห่ ง ความมั่ ง คั่ ง ของชาติ ผ ่ า นพลวั ต การ เปลี่ ย นแปลงทางประวั ติ ศ าสตร์ เ ป็ น ส�ำคั ญ ในขณะที่ นั ก เศรษฐศาสตร์ค้นหาเหตุแห่งความมั่งคั่งนี้ผ่านทฤษฎีการพัฒนา เศรษฐกิจที่ไม่ได้อิงกับบริบทเวลา นั ก ประวั ติ ศ าสตร์ เ ศรษฐกิ จ มั ก วิ จ ารณ์ ว ่ า นั ก เศรษฐศาสตร์ ชั้ น น�ำที่ เ ข้ า ไปท�ำงานทั้ ง ในบริ ษั ท เอกชนและ หน่ ว ยงานด้ า นนโยบายของรั ฐ ส่ ว นใหญ่ มี โ ลกทั ศ น์ ที่ แ คบ และแทบไม่มีความรู้เลยว่าระบบเศรษฐกิจจริงท�ำงานอย่างไร นักเศรษฐศาสตร์ชอบหลับหูหลับตาผลักดันนโยบายตามทีท่ ฤษฎี ว่าไว้ แต่ไม่เคยย้อนดูเลยว่าในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา นโยบาย ที่พวกเขาน�ำเสนอส่งผลลัพธ์อย่างไร


A

Very Short Introduction

9

ล่าสุดเมือ่ วิกฤตการเงินปะทุในปี 2008 นักประวัตศิ าสตร์ เศรษฐกิ จ ชั้ น น�ำหลายคนออกมากล่ า วโทษอวิ ช ชาทาง ประวัติศาสตร์ของนักเศรษฐศาสตร์ว่าเป็นต้นตอส�ำคัญที่ท�ำให้ เกิดวิกฤตนั้น รวมถึงท�ำให้การจัดการวิกฤตล้มเหลว พร้อม กั น นี้ พ วกเขายั ง เรี ย กร้ อ งให้ มี ก ารปฏิ รู ป การเรี ย นการสอน วิ ช าเศรษฐศาสตร์ ใ นระดั บ มหาวิ ท ยาลั ย ให้ มี ก ารสอนวิ ช า ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจในหลักสูตรด้วย ในฐานะที่เป็นผู้ศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ผู้แปล เห็ น ว่ า นั ก เศรษฐศาสตร์ มี ค วามจ�ำเป็ น อย่ า งยิ่ ง ที่ จ ะต้ อ งรู ้ ประวัตศิ าสตร์เศรษฐกิจควบคูไ่ ปกับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ เพราะ กิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นกิจกรรมทีม่ พี ลวัตสูง อีกทัง้ ยังเกิดขึน้ ในเงื่อนไขของพื้นที่และเวลาที่เฉพาะเจาะจง การพยายามท�ำ ความเข้าใจเศรษฐกิจด้วยทฤษฎีล้วนๆ โดย “สมมติให้ทุกอย่าง คงที่” จึงมีโอกาสผิดพลาดอยู่มาก ข้อเด่นของวิชาเศรษฐศาสตร์คอื การให้ความส�ำคัญกับ ตัวแปรเชิงเศรษฐกิจ แต่ข้อเด่นกลับกลายเป็นข้อด้อย เพราะใน ความเป็นจริงแล้ว กระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจไม่ได้เป็นเพียง ปฏิสัมพันธ์ของตัวแปรเชิงเศรษฐกิจเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึง ตัวแปรอื่นๆ ที่ไม่ใช่เชิงเศรษฐกิจด้วย ไม่ว่าจะเป็นตัวแปร เชิงการเมือง สถาบัน วัฒนธรรม เป็นต้น กล่าวคือ การศึกษา ประวัตศิ าสตร์เศรษฐกิจจะช่วยหนุนเสริมให้ผศู้ กึ ษาเศรษฐศาสตร์ เห็นว่า ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทตี่ นเองเรียนมานัน้ สมเหตุสมผลและ สัมพันธ์กับโลกแห่งความเป็นจริงมากน้อยเพียงใด


10

Global

Economic

History

นอกจากนี้การศึกษาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจยังช่วยให้ เราเห็นความซับซ้อนของโลก ไม่ตีขลุมลดทอนจนเกินไป และ ตระหนักอยู่เสมอว่าชุดค�ำอธิบายแต่ละชุดมีข้อจ�ำกัดในตัวเอง ค�ำอธิบายเหตุการณ์หนึ่งๆ อาจไม่สามารถใช้อธิบายเหตุการณ์ ในโลกจริงได้ทงั้ หมด การเปิดกว้างยอมรับความจริงทีห่ ลากหลาย เป็นสิ่งจ�ำเป็นไม่ใช่เฉพาะในโลกวิชาการเท่านั้น หากแต่ยังรวม ถึงการใช้ชีวิตจริงด้วย เมื่อครั้งที่ผู้แปลทั้งสองได้มีโอกาสศึกษาปริญญาโท ด้านประวัตศิ าสตร์เศรษฐกิจ ทีม่ หาวิทยาลัยลุนด์ ประเทศสวีเดน พวกเราได้รู้จักชื่อ โรเบิร์ต ซี. อัลเลน เป็นครั้งแรก เมื่อหนังสือ The British Industrial Revolution in Global Perspective (การปฏิวัติอุตสาหกรรมของอังกฤษในมุมมองระดับโลก) ของ เขาเป็นหนึ่งในหนังสือเล่มหลักที่ใช้ประกอบวิชาเรียน อาจารย์ ของพวกเราพูดถึงหนังสือเล่มดังกล่าวว่า แม้จะเป็นหนังสือเพิ่ง ออกใหม่ (ในปี 2009) แต่ก็ทรงอิทธิพลอย่างมากในวงวิชาการ ประวัตศิ าสตร์เศรษฐกิจ เมือ่ อ่านจบ พวกเราเห็นตรงกันว่าอัลเลน เป็นนักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจที่เขียนหนังสืออ่านง่าย สนุก มี ค�ำอธิบายที่ทรงพลัง รวมถึงผ่านการค้นคว้าเอกสารและข้อมูล ทางประวัตศิ าสตร์อย่างละเอียด รอบด้าน มีนำ�้ หนัก และน่าเชือ่ ถือ กล่ า วส�ำหรั บ หนั ง สื อ ประวั ติ ศ าสตร์ เ ศรษฐกิ จ โลก: ความรู้ฉบับพกพา (Global Economic History: A Very Short Introduction) อัลเลนยังรักษามาตรฐานการเขียนได้อย่างยอด เยี่ยม ทั้งในแง่ของการอ่านง่าย ค�ำอธิบายที่ทรงพลัง และความ รอบด้าน แต่ดว้ ยข้อจ�ำกัดของการเป็นความรูฉ้ บับพกพา อัลเลน


A

Very Short Introduction

11

อาจไม่ได้ให้รายละเอียดและข้อมูลทางประวัติศาสตร์มากนัก ซึ่ง ผูอ้ า่ นค้นคว้ารายละเอียดเพิม่ เติมเหล่านีไ้ ด้จากงานเขียนในส่วน “แหล่งอ้างอิง” และ “อ่านเพิ่มเติม” ของหนังสือเล่มนี้ ในแง่เนื้อหา อัลเลนได้น�ำข้อเสนอว่าด้วย “โครงสร้าง ราคาค่าจ้างต่อทุนที่ท�ำให้สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ สามารถท�ำก�ำไรได้” ซึง่ เป็นข้อเสนอหลักในหนังสือของเขามาเป็นพืน้ ฐานในการเขียน ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรม (สามบท แรก) และได้พยายามต่อยอดแนวคิดนีร้ วมถึงแทรกข้อเสนอของ เขาในบทต่อๆ ไป ในส่วนหลัง แม้อัลเลนจะแทรกค�ำอธิบายที่ อยูบ่ นพืน้ ฐานความคิดของตัวเอง ทว่าเขาก็ได้รวบรวมค�ำอธิบาย จากแง่มุมที่หลากหลาย โดยไม่ได้ให้น�้ำหนักกับค�ำอธิบายของ ตัวเองมากจนเกินพอดี แม้จะรวบรวมค�ำอธิบายไว้จ�ำนวนไม่น้อย แต่สิ่งที่ต้อง ตระหนักคือ ค�ำอธิบายและแนวคิดที่อัลเลนเลือกน�ำมาใช้ใน หนังสือเล่มนีย้ งั ไม่ครอบคลุมความคิดส�ำคัญทัง้ หมด อาจจะด้วย ข้อจ�ำกัดของความเป็นหนังสือความรู้ฉบับพกพาหรือข้อจ�ำกัด อื่นใด กระนั้น ผู้แปลเชื่อว่าเมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้จบ ผู้อ่านจะ เข้าใจประวัติศาสตร์และเส้นทางการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ ต่างๆ ของโลกในเบื้องต้น และหวังว่าเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้ จะเป็นกุญแจเปิดประตูไปสู่พรมแดนความรู้ด้านประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจในเชิงลึกต่อไป สุดท้ายนี้ ผู้แปลขอขอบคุณส�ำนักพิมพ์ openworlds ที่จัดพิมพ์หนังสือเล่มนี้ โดยเฉพาะอาจารย์ปกป้อง จันวิทย์ และ วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง ที่เปิดโอกาสให้นักแปลหน้าใหม่


12

Global

Economic

History

อย่างเราทั้งสองได้มีโอกาสแปลหนังสือเล่มนี้ ทั้งต้องขอบคุณ ฐณฐ จิ น ดานนท์ บรรณาธิ ก ารที่ มี ค วามอุ ต สาหะยิ่ ง ในการ ตรวจแก้ต้นฉบับให้ถูกต้องและเป็นมิตรกับผู้อ่านมากยิ่งขึ้น คงไม่ต้องเอ่ยว่าความด้อยประสบการณ์ย่อมเกิดปัญหาในการ ท�ำงานอยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย หาก ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลก: ความรู้ฉบับพกพา เล่มนี้มีข้อผิดพลาดประการใด ย่อมเป็นความรับผิดชอบของ ผู้แปลทั้งสองแต่เพียงเท่านั้น

สมคิด พุทธศรี ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์ 26 กันยายน 2557




ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจโลก •

ความรู้ฉบับพกพา

GLOBAL ECONOMIC HISTORY • A

Very

Short

Introduction

by

Robert C. Allen

แปลโดย

สมคิด พุทธศรี ศุภณัฏฐ์ ศศิวุฒิวัฒน์


บทที่ 1

/ การขยายตัวของช่องว่างทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่


A

Very Short Introduction

17

วิชาประวัตศิ าสตร์เศรษฐกิจถือเป็นราชินแี ห่งสังคมศาสตร์ โดยสาระหลักคือการศึกษาธรรมชาติและเหตุแห่งความมัง่ คัง่ ของ ชาติ (The Nature and Causes of the Wealth of Nations) ซึ่งเป็นชื่อหนังสือที่ยิ่งใหญ่ของ อดัม สมิธ (Adam Smith) นั ก เศรษฐศาสตร์ แ สวงหา “เหตุ ” นั้ น จากทฤษฎี ก ารพั ฒ นา เศรษฐกิจที่ไม่อิงกับบริบทเวลา ในขณะที่นักประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจตามหาพวกมันในกระบวนการของการเปลี่ยนแปลง ทางประวัติศาสตร์อันเป็นพลวัต วิชาประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ กลายเป็นศาสตร์ที่น่าตื่นตาเป็นพิเศษในช่วงไม่กี่ปีมานี้ เพราะ ขอบเขตค�ำถามรากฐานของวิชาที่ว่า “ท�ำไมบางประเทศถึงได้ ร�่ำรวย แต่ประเทศที่เหลือกลับยากจน?” ขยายขึ้นครอบคลุมทั้ง โลก เมื่อ 50 ปีก่อนหน้า ค�ำถามนั้นยังจ�ำกัดอยู่แค่ว่า “ท�ำไมการ ปฏิวตั อิ ตุ สาหกรรม (Industrial Revolution) ถึงอุบตั ขิ นึ้ ในอังกฤษ แทนที่จะเป็นฝรั่งเศส?” แต่งานวิจัยเกี่ยวกับประเทศจีน อินเดีย และกลุ่มประเทศตะวันออกกลางได้เน้นให้เห็นความเป็นพลวัต ทีแ่ ฝงอยูใ่ นอารยธรรมอันยิง่ ใหญ่เหล่านี้ ในปัจจุบนั เราจึงต้องตัง้


18

Global

Economic

History

ค�ำถามว่าท�ำไมการเติบโตทางเศรษฐกิจถึงเกิดขึน้ ในยุโรป แทนที่ จะเป็นเอเชียหรือแอฟริกา แม้ข้อมูลรายได้จากอดีตอันไกลโพ้นจะมีไม่มากนัก แต่ เราก็พอมองได้ว่าในช่วงปี 1500 ความเจริญระหว่างประเทศ ต่างๆ ไม่แตกต่างกันมากนัก และความแตกต่างระหว่างประเทศ รำ�่ รวยกับประเทศยากจนทีพ่ บในปัจจุบนั นัน้ ส่วนใหญ่เริม่ ปรากฏ ขึ้นตั้งแต่ วาสโก ดา กามา (Vasco da Gama) ล่องเรือไปถึง อินเดีย และโคลัมบัส (Columbus) ค้นพบทวีปอเมริกา เราสามารถแบ่ ง พั ฒ นาการเศรษฐกิ จ โลกช่ ว งเวลา 500 ปีที่ผ่านมาออกเป็น 3 ช่วง ช่วงแรกตั้งแต่ปี 1500 ถึงราว ปี 1800 เรียกว่า ยุคลัทธิพาณิชยนิยม (mercantilist era) ยุค นี้เริ่มต้นขึ้นด้วยการเดินทางของโคลัมบัสและดา กามา ซึ่งน�ำ ไปสู่การรวมเศรษฐกิจโลกเป็นหนึ่งเดียวและปิดฉากลงด้วยการ ปฏิวัติอุตสาหกรรม ในยุคนี้ชาวยุโรปได้เข้าไปตั้งรกรากในทวีป อเมริกาและส่งออกแร่เงิน น�้ำตาล และยาสูบ มีการขนส่งชาว แอฟริ กั น ทางเรื อ มาเป็ น ทาสในทวี ป อเมริ ก าเพื่ อ ผลิ ต สิ น ค้ า ดังกล่าว ส่วนทวีปเอเชียได้ส่งออกเครื่องเทศ สิ่งทอ และเครื่อง เคลือบไปยังยุโรป ประเทศผูน้ �ำในยุโรปพยายามขยายการค้าของ ตนเองด้วยการขยายอาณานิคมพร้อมกับใช้ภาษีและสงครามเพือ่ ป้องกันไม่ให้ประเทศอืน่ ท�ำการค้ากับประเทศอาณานิคมของตน อุตสาหกรรมการผลิตของยุโรปได้รับการส่งเสริมให้งอกงามบน ความสูญเสียของประเทศอาณานิคม แต่การพัฒนาเศรษฐกิจก็ ยังไม่ใช่เป้าหมายหลักในตัวมันเอง ลักษณะข้างต้นเปลีย่ นแปลงไปในยุคที่ 2 ช่วงศตวรรษที่


A

Very Short Introduction

19

19 อันเป็นยุคแห่ง การไล่กวด เมือ่ ถึงปี 1815 จักรพรรดินโปเลียน พ่ายศึกที่วอเตอร์ลู อังกฤษก็ก้าวขึ้นเป็นผู้น�ำด้านอุตสาหกรรม และมีชัยเหนือประเทศอื่น ยุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกาได้ วางการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายหลักและพยายามบรรลุ เป้าหมายด้วยชุดนโยบายเศรษฐกิจมาตรฐาน 4 ประการ ประการ แรก การเชือ่ มโยงเศรษฐกิจภายในประเทศให้เป็นหนึง่ เดียวด้วย การขจัดภาษีภายในและสร้างโครงสร้างพืน้ ฐานด้านการคมนาคม ประการที่ 2 การตัง้ ก�ำแพงภาษีภายนอกเพือ่ ปกป้องอุตสาหกรรม ภายในประเทศจากการแข่งขันกับอังกฤษ ประการที่ 3 การตราตัง้ ธนาคารต่างๆ เพือ่ สร้างเสถียรภาพค่าเงินและสนับสนุนด้านการ เงินในการลงทุนภาคอุตสาหกรรม และประการสุดท้าย การขยาย การศึกษามวลชนเพื่อยกระดับคุณภาพแรงงาน กลุ่มประเทศใน ยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือประสบความส�ำเร็จในการพัฒนา เศรษฐกิจตามชุดนโยบายดังกล่าวและกลายเป็นกลุ่มประเทศ ร�่ำรวยในปัจจุบันเช่นเดียวกันกับอังกฤษ ในขณะที่บางประเทศ ในลาตินอเมริกาได้รบั เอานโยบายเหล่านีไ้ ปใช้อย่างครึง่ ๆ กลางๆ และไม่ประสบความส�ำเร็จมากนัก ภาคอุตสาหกรรมของประเทศ ในเอเชียส่วนใหญ่หดตัวเล็กลงเนื่องด้วยการแข่งขันจากสินค้า อุตสาหกรรมของอังกฤษ ส่วนแอฟริกาก็สง่ ออกนำ�้ มันปาล์ม โกโก้ และแร่ต่างๆ ภายหลังการค้าทาสกับอังกฤษยุติลงในปี 1807 ในศตวรรษที่ 20 นโยบายเศรษฐกิ จ ที่ เ คยประสบ ความส�ำเร็จในยุโรปตะวันตกโดยเฉพาะในประเทศเยอรมนีและ สหรัฐอเมริกา กลับสัมฤทธิผลน้อยลงในประเทศที่ยังไม่พัฒนา เทคโนโลยีสว่ นใหญ่ถกู ประดิษฐ์ขนึ้ ในประเทศรำ�่ รวย โดยประเทศ


20

Global

Economic

History

เหล่านี้พัฒนาเทคโนโลยีซึ่งใช้ปัจจัยทุนมากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเพิ่ม ผลิตภาพแรงงานที่มีค่าจ้างสูงขึ้น เทคโนโลยีใหม่จ�ำนวนมากจึง ให้ประสิทธิผลไม่คุ้มต้นทุนในประเทศค่าจ้างต�่ำ แต่เทคโนโลยีก็ เป็นสิง่ จ�ำเป็นส�ำหรับประเทศเหล่านีเ้ พือ่ ไล่กวดประเทศตะวันตก ประเทศส่ ว นใหญ่ น�ำเทคโนโลยี ส มั ย ใหม่ ม าใช้ ใ นระดั บ หนึ่ ง แต่ก็ยังไม่รวดเร็วพอจะไล่กวดประเทศร�่ำรวยได้ทัน ประเทศ ที่ปิดช่องว่างกับประเทศตะวันตกลงในศตวรรษที่ 20 ท�ำได้ด้วย การผลักดันเศรษฐกิจขนานใหญ่ (Big Push) ซึ่งใช้การวางแผน และการประสานการลงทุนเพื่อก้าวกระโดดทางเศรษฐกิจ ก่อนที่เราจะสามารถเรียนรู้ว่าบางประเทศกลายเป็น ประเทศร�่ำรวยได้ อย่างไร เราต้องทราบแน่ชัดก่อนว่าประเทศ เหล่านี้กลายเป็นประเทศร�่ำรวย เมื่อไร ในช่วงระหว่างปี 1500 ถึงปี 1800 ประเทศร�่ำรวยในปัจจุบันมีความเจริญทางเศรษฐกิจ กว่าประเทศอื่นเพียงเล็กน้อย ซึ่งสามารถวัดได้จากผลิตภัณฑ์ มวลรวมในประเทศหรือจีดีพี (GDP) ต่อหัว (ตาราง 1) ในปี 1820 ยุโรปเป็นทวีปที่ร�่ำรวยที่สุดแล้ว โดยจีดีพีต่อหัวสูงเป็น 2 เท่าของประเทศส่วนใหญ่ในโลก ประเทศที่เจริญที่สุดในขณะ นั้นคือประเทศเนเธอร์แลนด์ มีรายได้เฉลี่ย (จีดีพี) ต่อคนอยู่ที่ 1,838 ดอลลาร์ กลุ่มประเทศแผ่นดินต�่ำ (Low Countries ใช้ เรียกประเทศที่อยู่บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของยุโรปซึ่งได้แก่ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก สาเหตุที่เรียกเช่นนี้ เป็นเพราะพื้นที่บางส่วนของประเทศเหล่านี้อยู่ต�่ำกว่าระดับน�้ำ ทะเล - ผูแ้ ปล) เจริญรุง่ เรืองในช่วงศตวรรษที่ 17 ส�ำหรับประเทศ อืน่ ค�ำถามหลักด้านนโยบายเศรษฐกิจคือท�ำอย่างไรถึงจะไล่กวด


A

Very Short Introduction

21

พวกดัตช์ได้ทัน อังกฤษเองก็ก�ำลังท�ำเช่นนั้นและก้าวเข้าสู่การ ปฏิวัติอุตสาหกรรมในอีกสองชั่วอายุคน ในปี 1820 อังกฤษเป็น ประเทศเศรษฐกิจร�่ำรวยที่สุดอันดับ 2 โดยมีรายได้ต่อหัวอยู่ ที่ 1,706 ดอลลาร์ ยุโรปตะวันตกและประเทศลูกที่แยกตัวจาก อังกฤษ (แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสหรัฐอเมริกา) มีรายได้ต่อหัวระหว่าง 1,100-1,200 ดอลลาร์ ส่วนประเทศอื่น ค่อนข้างล้าหลัง โดยมีรายได้ต่อหัวระหว่าง 500-700 ดอลลาร์ ทวีปแอฟริกายากจนที่สุดโดยมีรายได้ต่อหัวเพียง 415 ดอลลาร์ ในช่วงระหว่างปี 1820 จนถึงปัจจุบัน ช่องว่างทาง รายได้ขยายตัวกว้างขึน้ โดยมีขอ้ ยกเว้นบางกรณีเท่านัน้ ประเทศ ร�่ ำ รวยที่ สุ ด ในปี 1820 เจริ ญ เติ บ โตทางเศรษฐกิ จ มากที่ สุ ด ประเทศร�ำ่ รวยในปัจจุบนั มีรายได้เฉลีย่ 25,000-30,000 ดอลลาร์ ประเทศในเอเชียและลาตินอเมริกาส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยอยู่ที่ 5,000-10,000 ดอลลาร์ ในขณะที่ภูมิภาคแอฟริกาใต้ซาฮารา (sub-Saharan Africa) มีรายได้แค่ 1,387 ดอลลาร์เท่านั้น ภาพประกอบ 1 แสดงปรากฏการณ์การขยายตัวของช่องว่าง ทางรายได้ไว้อย่างชัดแจ้ง โดยภูมิภาคที่มีรายได้สูงในปี 1820 ซึ่งมีจุดค่อนไปทางด้านขวาของกราฟ มีอัตราการเพิ่มขึ้นของ รายได้มากที่สุด และภูมิภาคที่มีรายได้เริ่มแรกค่อนข้างต�่ำซึ่งมี จุดค่อนมาทางด้านซ้ายของกราฟ มีอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้ ต�่ำกว่า ทวีปยุโรปและประเทศลูกที่แยกตัวจากอังกฤษมีรายได้ เพิม่ ขึน้ 17-25 เท่า ยุโรปตะวันออกและประเทศเอเชียส่วนใหญ่มี รายได้เริม่ แรกตำ�่ กว่าและมีรายได้เพิม่ ขึน้ 10 เท่า ภูมภิ าคเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และประเทศส่วนใหญ่ในแอฟริกาใต้ซาฮารานับ


ตาราง 1 จีดีพีต่อหัวทั่วโลก ปี 1820-2008 22 Global Economic History


Very Short Introduction

จีดพี ีวดั ปริมาณผลผลิตมวลรวมของสินค้าและบริการในระบบเศรษฐกิจ รวมถึงรายได้รวมทีเ่ กิดจากผลผลิตดังกล่าว ในตารางนี้จดี พี คี �ำนวณขึน้ โดยใช้ หน่วยราคาเป็นดอลลาร์สหรัฐ ณ ปี 1990 ดังนั้นปริมาณการผลิตนี้ (รายได้ที่แท้จริง) สามารถเปรียบเทียบข้ามเวลาและข้ามพื้นที่ได้ หมายเหตุ: ตั้งแต่ปี 1940 อังกฤษรวมไอร์แลนด์เหนือเข้าไปด้วย

A 23


24

Global

Economic

History

อัตราการเจริญเติบโตในช่วงปี 1820-2008 (เท่า)

ภาพประกอบ 1 การขยายตัวของช่องว่างทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่

จีดีพีต่อหัวในปี 1820 ภูมิภาคอื่นๆ ในโลก ไต้หวันและเกาหลีใต้

ญี่ปุ่น เส้นสมการการขยายตัวของช่องว่าง

ว่าโชคไม่ดีเท่า กล่าวคือ ทั้งยากจนกว่าในปี 1820 และมีรายได้ เพิ่มขึ้นเพียง 3-6 เท่า ประเทศเหล่านี้จึงถูกประเทศตะวันตก ทิ้งห่างออกไปอีก “เส้นสมการการขยายตัวของช่องว่าง” ในภาพ ประกอบ 1 สรุปรูปแบบพัฒนาการที่กล่าวมานี้ ปรากฏการณ์การขยายตัวของช่องว่างรายได้มีกรณี ยกเว้น ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเป็นกรณีส�ำคัญที่สุด เพราะเป็น ภูมิภาคเดียวที่ทวนกระแสแนวโน้มการขยายตัวของช่องว่าง และขยับต�ำแหน่งทางเศรษฐกิจของตนสูงขึ้น ประเทศญี่ปุ่น คือความส�ำเร็จยิ่งใหญ่ที่สุดของศตวรรษที่ 20 เพราะในปี 1820 ญี่ปุ่นยังเป็นประเทศยากจนอย่างไม่ต้องสงสัย แต่กลับสามารถ


A

Very Short Introduction

25

ปิดช่องว่างรายได้กบั ประเทศตะวันตกลงได้ รายได้ของเกาหลีใต้ และไต้หวันก็เพิม่ ขึน้ อย่างน่าประทับใจพอๆ กัน สหภาพโซเวียต เป็นอีกความส�ำเร็จหนึง่ แม้จะไม่สมบูรณ์ และประเทศจีนเองก็อาจ ก�ำลังใช้ลูกเล่นแบบเดียวกันนี้ในปัจจุบัน การขยายตัวและการหดตัวของภาคอุตสาหกรรมเป็น สาเหตุหลักของการขยายตัวของช่องว่างรายได้ในโลก (ภาพ ประกอบ 2) ในปี 1750 อุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่ของโลก เกิดขึ้นในประเทศจีน (ร้อยละ 33 ของการผลิตทั้งโลก) และใน อนุทวีปอินเดีย (ร้อยละ 25) การผลิตต่อหัวในเอเชียมีระดับต�่ำ กว่าประเทศยุโรปตะวันตกทีร่ ำ�่ รวยกว่าแต่กต็ ำ�่ กว่าเพียงเล็กน้อย เมื่อถึงปี 1913 เศรษฐกิจโลกได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง สัดส่วนภาคอุตสาหกรรมการผลิตของจีนและอินเดียลดลงเหลือ ร้อยละ 4 และร้อยละ 1 ของทั้งโลกตามล�ำดับ สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และยุโรปมีสัดส่วนถึง 3 ใน 4 ของการผลิต ทั้งหมด ผลผลิตอุตสาหกรรมต่อหัวในสหราชอาณาจักรคิดเป็น 38 เท่าของจีนและ 58 เท่าของอินเดีย ไม่เพียงแต่ผลผลิตของ อังกฤษเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลเท่านั้น อุตสาหกรรมการผลิตใน จีนและอินเดียก็กลับหดตัวเล็กลงโดยสัมบูรณ์ เมื่ออุตสาหกรรม สิ่งทอและโลหะถูกขับออกจากธุรกิจโดยผู้ผลิตที่ใช้เครื่องจักรใน ตะวันตก ในศตวรรษที่ 19 ทวีปเอเชียก็เปลี่ยนจากศูนย์กลาง อุตสาหกรรมการผลิตของโลกไปเป็นกลุ่มประเทศด้อยพัฒนา ตามแบบแผนที่ช�ำนาญเฉพาะด้านการผลิตและส่งออกสินค้า ทางการเกษตร


ร้อยละของทั้งโลก

ภาพประกอบ 2 การกระจายตัวของผลผลิตอุตสาหกรรมโลก สหราชอาณาจักร สหภาพโซเวียต ยุโรปตะวันตก ทวีปอเมริกาเหนือ จีน เอเชียตะวันออก อนุทวีปอินเดีย ส่วนอื่นๆ ของโลก

26 Global Economic History


A

Very Short Introduction

27

ภาพประกอบ 2 เน้ นให้ เ ห็ นถึ ง จุ ด เปลี่ ย นส�ำคั ญ ใน ประวัติศาสตร์โลก ซึ่งได้แก่การปฏิวัติอุตสาหกรรมของประเทศ อังกฤษที่เกิดขึ้นในช่วงปี 1750-1880 ในช่วงเวลานี้สัดส่วน ผลผลิตอุตสาหกรรมของอังกฤษเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 2 เป็น ร้อยละ 23 ของผลผลิตอุตสาหกรรมโลก อุตสาหกรรมการผลิต ของอังกฤษได้เข้าแข่งขันและท�ำลายอุตสาหกรรมการผลิตดัง้ เดิม ในเอเชีย ในช่วงเวลาระหว่างปี 1880 ถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาและประเทศในภาคพืน้ ทวีปยุโรปซึง่ รวมถึงเยอรมนี ได้เข้าสู่กระบวนการท�ำให้เป็นอุตสาหกรรม โดยในปี 1938 สัดส่วนผลผลิตอุตสาหกรรมของทั้งสองเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 33 และร้อยละ 24 ตามล�ำดับ อังกฤษเสียพื้นที่ให้กับประเทศคู่แข่ง เหล่านี้ โดยสัดส่วนผลผลิตอุตสาหกรรมของอังกฤษลดลงเหลือ ร้อยละ 13 เท่านั้น ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา สัดส่วน ผลผลิตอุตสาหกรรมของสหภาพโซเวียตเพิม่ ขึน้ อย่างรวดเร็วจน กระทั่งทศวรรษ 1980 แต่หลังจากนั้นก็พังครืนอย่างรุนแรงเมื่อ ประเทศต่างๆ ในอดีตสหภาพโซเวียตเข้าสู่ภาวะถดถอยทาง เศรษฐกิจ ปาฏิหาริย์แห่งเอเชียตะวันออก (East Asian Miracle) ปรากฏขึน้ จากสัดส่วนผลผลิตอุตสาหกรรมในญีป่ นุ่ ไต้หวัน และ เกาหลีใต้ทเี่ พิม่ ขึน้ เป็นร้อยละ 17 ของทัง้ โลก และตัง้ แต่ทศวรรษ 1980 จีนก็เข้าสู่กระบวนการท�ำให้เป็นอุตสาหกรรมเช่นกันและ มีสัดส่วนผลผลิตอุตสาหกรรมถึงร้อยละ 9 ของทั้งโลกในปี 2006 หากเศรษฐกิจจีนไล่กวดประเทศตะวันตกได้ทัน โลกก็จะหมุน กลับมาที่จุดเริ่มต้น


28

Global

Economic

History

ค่าจ้างที่แท้จริง จีดีพีไม่ใช่มาตรวัดความผาสุก (wellbeing) ที่เพียงพอ รอบด้าน มันละเลยปัจจัยหลายประการ เช่น สุขภาพ อายุคาด เฉลีย่ และระดับการศึกษา นอกจากนีก้ ารขาดข้อมูลมักท�ำให้การ ค�ำนวณจีดีพีท�ำได้ยาก และตามปกติจีดีพีอาจน�ำเราไปสู่ข้อสรุป ทีผ่ ดิ พลาด เพราะมันเป็นค่าเฉลีย่ รายได้ระหว่างคนรวยกับคนจน ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยการค�ำนวณหา “ค่าจ้างที่แท้ จริง” ซึง่ ก็คอื มาตรฐานการครองชีพทีบ่ คุ คลหนึง่ สามารถมีได้ดว้ ย รายได้ของตน ค่าจ้างทีแ่ ท้จริงบอกเรามากมายเกีย่ วกับมาตรฐาน การครองชีพของคนโดยทัว่ ไปและช่วยอธิบายจุดก�ำเนิดและการ ขยายตัวของอุตสาหกรรมสมัยใหม่ เพราะแรงจูงใจในการเพิ่ม จ�ำนวนเครื่องจักรที่ใช้โดยคนงานแต่ละคนจะมากที่สุดในที่ที่ แรงงานมีราคาแพงที่สุด ผมขอเน้นการวิเคราะห์ไปทีม่ าตรฐานการครองชีพของ แรงงาน ในการวัดมาตรฐานการครองชีพของพวกเขา เราต้อง เปรียบเทียบค่าจ้างของพวกเขากับราคาของสินค้าอุปโภคบริโภค ต่างๆ โดยราคาของสินค้าเหล่านั้นต้องถูกน�ำมาคิดค่าเฉลี่ยเพื่อ ค�ำนวณดัชนีราคาผู้บริโภค (consumer price index) ดัชนีราคา ผู้บริโภคที่ผมจะค�ำนวณนั้นเป็น “การประทังชีพแบบหนังหุ้ม กระดูก” (bare-bones subsistence - วิถกี ารด�ำรงชีพทีม่ ตี น้ ทุนต�ำ่ สุด) สินค้าอาหารทีน่ �ำมาค�ำนวณเป็นแบบกึง่ มังสวิรตั ิ โดยมีธญ ั พืช ต้มสุกหรือขนมปังทีไ่ ม่ได้ใส่เชือ้ ฟูเป็นแหล่งพลังงานหลัก พืชมีฝกั เป็นอาหารเสริมทีอ่ ดุ มไปด้วยโปรตีน และเนยหรือน�ำ้ มันพืชทีใ่ ห้


A

Very Short Introduction

29

ไขมันเล็กน้อย ผู้คนบริโภคอาหารเหล่านี้กันเป็นปกติทั่วโลกใน ช่วงปี 1500 ฟรันซิสโก เพลซาร์ท (Francisco Pelsaert) พ่อค้า ชาวดัตช์ผู้เดินทางมาถึงประเทศอินเดียในช่วงต้นศตวรรษที่ 17 สังเกตว่าผู้คนที่อาศัยใกล้เมืองเดลี “กินแต่คิตเชอรี [เค็ดเกอรี] ซึ่งท�ำมาจากถั่วเขียวคลุกข้าว...แล้วกินกับเนยเพียงเล็กน้อยใน ช่วงเย็น และในช่วงกลางวันพวกเขาขบเคี้ยวถั่วหรือธัญพืชอื่น ตากแห้งเล็กน้อย” คนงาน “แทบไม่เคยได้ลมิ้ รสเนือ้ ” อันทีจ่ ริงแล้ว เนื้อส่วนใหญ่เป็นสิ่งต้องห้ามด้วยซ�้ำ ตาราง 2 แสดงรูปแบบการบริโภคอาหารในนิยามของ การประทังชีพแบบหนังหุ้มกระดูกส�ำหรับชายวัยผู้ใหญ่ 1 คน อาหารส่วนมากเป็นธัญพืชราคาถูกสุดทีห่ าได้ในพืน้ ทีต่ า่ งๆ ของ โลก เช่น ข้าวโอ๊ตในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือ ข้าวโพดในเม็กซิโก ข้าวฟ่างในอินเดียตอนเหนือ ข้าวในพืน้ ทีแ่ ถบชายฝัง่ ทะเลของจีน และอื่นๆ ปริมาณการบริโภคธัญพืชที่ก�ำหนดในตาราง 2 จะให้ พลังงานรวมกัน 1,940 แคลอรีต่อวัน ค่าใช้จ่ายอื่นที่ไม่ใช่อาหาร ถูกจ�ำกัดเหลือเพียงผ้าชิ้นเล็กๆ เชื้อเพลิงปริมาณเล็กน้อย และ เทียนไขเหลือใช้ ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าอาหารซึ่งแท้จริงแล้ว มีคาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารหลัก ค�ำถามพื้นฐานที่เกี่ยวกับมาตรฐานการครองชีพคือ คนงานทีท่ �ำงานเต็มเวลาได้รบั ค่าจ้างเพียงพอจะเลีย้ งดูครอบครัว ในระดับการประทังชีพแบบหนังหุม้ กระดูกหรือไม่ ภาพประกอบ 3 แสดงอัตราส่วนค่าจ้างเต็มเวลาต่อค่าใช้จ่ายการประทังชีพแบบ หนังหุ้มกระดูกของครอบครัว ในปัจจุบันมาตรฐานการครองชีพ ในกลุ่มประเทศยุโรปถือว่าใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ช่วงศตวรรษที่ 15


30

Global

Economic

History

ตาราง 2 ตะกร้าสินค้าส�ำหรับการประทังชีพแบบหนังหุ้มกระดูก

หมายเหตุ: ปริมาณการบริโภคอาหารในตารางนี้มีพื้นฐานจากปริมาณและ คุณค่าทางโภชนาการของข้าวโอ๊ตบดซึ่งเป็นอาหารของคนในภูมิภาคยุโรป เหนือและตะวันตก ส�ำหรับส่วนอื่นๆ ของโลก อาหารที่น�ำมาค�ำนวณเป็น ธัญพืชราคาถูกสุดทีห่ าได้ในพืน้ ทีด่ งั กล่าว ดังนัน้ ปริมาณการบริโภคทีแ่ น่นอน จึงเปลี่ยนแปลงไปด้วย


A

Very Short Introduction

31

อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนของการประทังชีพ (เท่า)

ภาพประกอบ 3 อัตราส่วนการประทังชีพของแรงงาน

ลอนดอน อัมสเตอร์ดัม เดลี วาเลนเซีย ฟลอเรนซ์ ปักกิ่ง

นับเป็นครั้งสุดท้ายที่มาตรฐานการครองชีพในยุโรปมีระดับใกล้ เคียงกัน และในเวลานัน้ มาตรฐานการครองชีพก็คอ่ นข้างสูง โดย แรงงานได้รบั ค่าตอบแทนประมาณ 4 เท่าของการประทังชีพแบบ หนังหุ้มกระดูก อย่างไรก็ตาม เมือ่ ถึงศตวรรษที่ 18 การขยายตัว ของช่องว่างทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ก็อุบัติขึ้น มาตรฐานการ ครองชีพในภาคพื้นทวีปยุโรปตกต�่ำลงอย่างมาก โดยแรงงาน ได้รับค่าจ้างเพียงพอจะบริโภคสินค้าในตาราง 2 หรือเทียบเท่า เท่านั้น ในยุคกลาง คนงานเมืองฟลอเรนซ์กินขนมปัง แต่เมื่อถึง ช่วงศตวรรษที่ 18 พวกเขากลับซื้อได้เพียงโปเลนตา (polenta คือแป้งบดที่ท�ำจากข้าวโพด) ซึ่งเพิ่งน�ำเข้ามาจากทวีปอเมริกา ในทางตรงกันข้าม แรงงานในเมืองอัมสเตอร์ดัมและ ลอนดอนได้รับค่าจ้างถึง 4 เท่าของการประทังชีพแบบหนังหุ้ม


32

Global

Economic

History

อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนของการประทังชีวิต (เท่า)

ภาพประกอบ 4 อัตราส่วนการประทังชีพของลอนดอนและปักกิ่ง

ลอนดอน ปักกิ่ง

กระดูก อย่างไรก็ตามคนงานในลอนดอนไม่ได้กนิ ข้าวโอ๊ตจ�ำนวน 4 เท่าของตาราง 2 แต่พวกเขายกระดับการบริโภคอาหารเป็น ขนมปังขาว เนื้อวัว และเบียร์แทน มีเพียงแถบเคลติกเท่านั้นที่ ชาวอังกฤษยังบริโภคข้าวโอ๊ต ดังที่ ดอกเตอร์ จอห์นสัน (Doctor Johnson เป็นอีกชื่อที่ใช้เอ่ยถึง ซามูเอล จอห์นสัน นักเขียน ชาวอังกฤษ - ผู้แปล) ได้ตั้งข้อสังเกตว่าข้าวโอ๊ตเป็น “ธัญพืชที่ ใช้เลี้ยงม้าโดยทั่วไปในประเทศอังกฤษ แต่เป็นอาหารส�ำหรับ คนในสกอตแลนด์” คนงานทางใต้ของอังกฤษมีรายได้ส�ำหรับซือ้ สินค้าฟุ่มเฟือยแห่งศตวรรษที่ 18 เช่น หนังสือหายาก กระจก น�้ำตาล หรือชา ช่องว่างของค่าจ้างที่แท้จริงระหว่างประเทศก็ขยายตัว


A

Very Short Introduction

33

อย่างมากเหมือนกับจีดีพีต่อหัว ภาพประกอบ 4 แสดงค่าจ้าง ที่แท้จริงของแรงงานในนครลอนดอนจากปี 1300 ถึงปัจจุบัน และในนครปักกิ่งตั้งแต่ปี 1738 ถึงปัจจุบัน ในปี 1820 ค่าจ้างที่ แท้จริงในลอนดอนสูงกว่าการประทังชีพถึง 4 เท่าแล้ว และ อัตราส่วนนี้เพิ่มสูงขึ้นเป็น 50 เท่าตั้งแต่ปี 1870 อย่างไรก็ตาม ในประเทศยากจน ค่าจ้างที่แท้จริงยัง อยู่ที่ระดับการประทังชีพแบบหนังหุ้มกระดูกเท่านั้น ในปี 1990 ธนาคารโลกได้ค�ำนวณเส้นความยากจนโลกไว้ที่ 1 ดอลลาร์ ต่อวัน (หลังจากนั้นก็ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 ดอลลาร์ตามอัตรา เงินเฟ้อ) ตัวเลขซึ่งค�ำนวณมาจากเส้นความยากจนของกลุ่ม ประเทศยากจนในปัจจุบันนี้สอดคล้องกับการประทังชีพแบบ หนังหุม้ กระดูกในตาราง 2 เมือ่ ค�ำนวณตามราคาสินค้าในปี 2010 ตะกร้าสินค้าเหล่านัน้ เฉลีย่ แล้วมีมลู ค่า 1.3 ดอลลาร์ตอ่ คนต่อวัน ในปัจจุบันผู้คนจ�ำนวนมากกว่า 1 พันล้านคน (ร้อยละ 15 ของ ประชากรโลก) มีชีวิตอยู่ใต้เส้นความยากจนนั้น และสัดส่วนนี้ ก็สูงกว่านี้มากในปี 1500 แรงงานในนครปักกิ่งประสบความ ยากจนเช่นนี้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่การเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจทีน่ า่ ทึง่ ของจีนในช่วงไม่กที่ ศวรรษทีผ่ า่ นมาได้ยกระดับ มาตรฐานการครองชีพสูงขึ้นเป็นมากกว่า 6 เท่าของการประทัง ชีพแบบหนังหุม้ กระดูก ซึง่ เป็นระดับเดียวกับคนงานอังกฤษเมือ่ 150 ปีก่อน ถึงตอนนีเ้ ราตระหนักได้วา่ รายได้ในช่วงปี 1820 มีระดับ ค่อนข้างต�่ำดังที่แสดงไว้ในตาราง 1 โดยระดับรายได้นี้คิดตาม มูลค่าเงินดอลลาร์ในปี 1990 ซึง่ การประทังชีพแบบหนังหุม้ กระดูก


34

Global

Economic

History

มีค่าใช้จ่ายที่ 1 ดอลลาร์ต่อวันหรือ 365 ดอลลาร์ต่อปี ในปี 1820 คนในภูมิภาคแอฟริกาใต้ซาฮารามีรายได้เฉลี่ย 415 ดอลลาร์ซึ่ง สูงกว่าค่าใช้จ่ายเพื่อการประทังชีพแบบหนังหุ้มกระดูกอันเป็น มาตรฐานการครองชีพของคนหมู่มากเพียงร้อยละ 15 ประเทศ ในเอเชียและยุโรปตะวันออกส่วนใหญ่ซงึ่ มีระบบเกษตรกรรมแบบ ใช้ทนุ เข้มข้น (capital-intensive) มากกว่าและมีล�ำดับชนชัน้ ทาง สังคมสูง มีรายได้เฉลี่ยเพียง 500-700 ดอลลาร์ ผู้คนส่วนใหญ่ ยังมีชีวิตแบบพอประทังชีพและถูกรัฐ ชนชั้นอภิชน และพวก พ่อค้าร�่ำรวยขูดรีดส่วนเกินทางเศรษฐกิจ (surplus) ภูมิภาค ยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือและสหรัฐอเมริกามีรายได้สูงกว่าการ ประทังชีพถึง 4-6 เท่า มีเพียงแรงงานในกลุ่มประเทศนี้เท่านั้นที่ มีชีวิตเหนือกว่าการประทังชีพแบบหนังหุ้มกระดูกตามที่แสดง ไว้ในภาพประกอบ 3 เศรษฐกิจของประเทศเหล่านีย้ งั มีผลิตภาพ เพียงพอจะค�้ำชูเหล่าอภิชนและพวกพ่อค้าอีกด้วย การประทั ง ชี พ แบบหนั ง หุ ้ ม กระดู ก ยั ง มี นั ย ถึ ง ความ ผาสุกทางสังคมและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอีกด้วย ประการ แรก ผู้คนที่ด�ำรงชีวิตอยู่ด้วยโภชนาการตามการด�ำรงชีพแบบ หนังหุ้มกระดูกมีรูปร่างเตี้ย ความสูงเฉลี่ยของคนอิตาลีที่เข้า ประจ�ำการกองทัพฮับส์บูร์กลดลงจาก 167 ซม. เป็น 162 ซม. เพราะอาหารของพวกเขาเปลี่ยนจากขนมปังเป็นโปเลนตา กลับ กันกับทหารอังกฤษในช่วงศตวรรษที่ 18 ซึง่ มีความสูงเฉลีย่ 172 ซม. อันเนื่องมาจากโภชนาการที่ดีขึ้น (ในปัจจุบันคนทั่วไปใน สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และอิตาลีมีความสูงประมาณ 176-8 ซม. ขณะที่ชาวดัตช์สูง 184 ซม.) เมื่อร่างกายของผู้คน


A

Very Short Introduction

35

แคระแกร็นจากการขาดแคลนอาหาร พวกเขาก็มีอายุคาดเฉลี่ย สัน้ ลง และสุขภาพโดยทัว่ ไปก็เสือ่ มโทรมลง ประการที่ 2 ผูค้ นทีอ่ ยู่ แบบพอประทังชีพได้รบั การศึกษาตำ�่ กว่า เซอร์เฟรดเดอริก อีเดน (Sir Frederick Eden) ผู้ส�ำรวจรูปแบบรายได้และการใช้จ่ายของ แรงงานในประเทศอังกฤษช่วงทศวรรษ 1790 ได้บรรยายถึงชีวติ คนสวนคนหนึ่งในลอนดอน เขาจ่ายเงิน 6 เพนนีต่อสัปดาห์เพื่อ ส่งลูก 2 คนเข้าเรียน ครอบครัวของเขาซื้อขนมปังข้าวสาลี เนื้อ เบียร์ นำ�้ ตาล และชา รายได้ของเขา (37.75 ปอนด์ตอ่ ปี) มากกว่า การประทังชีพ (น้อยกว่า 10 ปอนด์เพียงเล็กน้อย) ถึง 4 เท่า หากรายได้ของครอบครัวลดลงอย่างกะทันหันเหลือเพียงเพื่อ ประทังชีพ ครอบครัวนี้คงต้องลดค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาล และ มิตอ้ งสงสัยเลยว่าเด็กๆ คงจะต้องออกจากโรงเรียน ค่าจ้างสูงเป็น ปัจจัยส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจด้วยการคงไว้ซงึ่ สุขภาพ ทีด่ แี ละการศึกษาทีแ่ พร่หลาย ประการสุดท้ายซึง่ มีความย้อนแย้ง ที่สุดคือ การประทังชีพแบบหนังหุ้มกระดูกขจัดแรงกระตุ้นทาง เศรษฐกิจของประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจ แม้ความจ�ำเป็น ในการเพิ่มผลผลิตต่อการท�ำงาน 1 วันจะมีมาก แต่ค่าจ้าง แรงงานก็ต�่ำมากจนพวกธุรกิจไม่มีแรงจูงใจในการประดิษฐ์หรือ น�ำเครื่องจักรมาใช้ในการเพิ่มผลิตภาพ การประทังชีพแบบหนัง หุ้มกระดูกเป็นกับดักความยากจน การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็น ผลจากค่าจ้างสูง หาได้เป็นเพียงเหตุอย่างเดียวไม่


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.