84 years Assoc. Prof. Dr. Kawee Jutikul

Page 1



วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ รองศาสตราจารย์ ดร.กวี จุติกุล

ในฐานะนักวิชาการผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ทั้งด้านเกษตรกรรม และการศึกษาด้านการเกษตร เป็นผูท้ รงคุณวุฒทิ มี่ ผี ลงานดีเด่นทัง้ ทางด้านบริหาร บริการวิชาการ และวิชาชีพ เป็นผู้ที่ทุ่มเทเวลาให้กับการบุกเบิกและพัฒนางานทุกด้านของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เช่น จัดหาแหล่งเงินทุนจากต่างประเทศเพื่อการสนับสนุนการด�ำเนิน งานของคณะ นอกจากนี้ยังมีบทบาทส�ำคัญยิ่งในการพัฒนาการศึกษาทางด้านเกษตรในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณค่าต่อการพัฒนางานด้านเกษตรกรรมของ ชาติมากมาย จนมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ นับได้ว่าเป็นผู้ท�ำคุณประโยชน์ แก่มหาวิทยาลัยขอนแก่น และวงการเกษตรกรรมเป็นอย่างยิ่ง สมควรได้รับการยกย่องให้ ได้รับพระราชทานปริญญาวิทยาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเกษตรศาสตร์เพื่อเป็น เกียรติประวัติสืบไป


ทูลเกล้าถวายน�้ำผื้ง หลังเสร็จพิธีพระราชทานปริญญาบัตร


รับพระราชทานรางวัลพระธาตุพนมทองค�ำ ประจ�ำปี พ.ศ. ๒๕๕๔












สวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์ พ.ศ. ๒๕๓๑


สวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์ พ.ศ. ๒๕๕๘


มุทิตาจิต “๘๔ ปี ดร.กวี จุติกุล” เจ็ดรอบปี “กวี” ท่าน ผ่านชีวิต น้อมดวงจิต ศิษย์เกษตร ทุกเขตขันต์ คารวะ ระลึกบุญ คุณอนันต์ ผู้เริ่มสรรค์ สร้างก่อ ก. มข.เรา มหา’ลัย ขอนแก่น แคว้นอิสาน เมื่อวันวาน กันดารแล้ง แฝงความเหงา น�้ำขาดแคลน+แผ่นดิน เกลือสินเธาว์ “เกษตร” เรา เติบโตได้ อย่างไรกัน.? ม.ขอนแก่น แดนอิสาน วันวานก่อน ต้องขอพร วอนฟ้า ฝ่าความฝัน คณบดี “กวี” พา น�ำฝ่าฟัน เพาะพืชพันธุ์ ขวัญถิ่น มอดินแดง ม. ขอนแก่น สมแก่นฝัน ในวันนี้ พืชพันธุ์มี เมล็ดหว่าน ทานทนแล้ง เกษตรสุข ทุกเส้นชัย ได้เปลี่ยนแปลง ศรัทธาแห่ง แหล่งความรู้ คู่แผ่นดิน “กาลพฤกษ์” ร�ำลึกได้ ท่านให้ปลูก เพื่อพันผูก ลูกสีอิฐ จิตถวิล เฝ้าฝึกฝน จนเติบใหญ่ ให้สมจินต์ ไถพรวนดิน รินใจผ่าน กาลเวลา


ท่าน “กวี” ชี้แนะให้ ใช้ความคิด สร้างผลผลิต ด้วยจิตใจ ใฝ่ศึกษา สร้างเกษตร เขตกันดาร ผ่านวิชชา เพาะพันธุ์กล้า ท้าทน เพื่อผลงาน “กัลปพฤกษ์” ร�ำลึกใหม่ ในวันนี้ ห้าสิบปี ที่เติบใหญ่ แผ่ไพศาล ได้อวดดอก ออกผลโต แสนโอฬาร แผ่กิ่งก้าน “กาลพฤกษ์” ปึกแผ่นไทย ๘๔ ปี ที่ท่าน ผ่านร้อนหนาว เป็นเรื่องราว ข่าวเล่าขาน ต�ำนานไว้ ศิษย์ขอจ�ำ น�ำเป็นแบบ แนบดวงใจ เกษตรไทย เทอดผลงาน ท่าน’กวี’ ขอพรพระ ธาตุพนม พรหมศักดิ์สิทธิ์ มุทิตาจิต สัมฤทธิ์ผล ดลสุขศรี สุขภาพ ลาภสมบูรณ์ พูนทวี แด่ท่าน “กวี จุติกุล” บุญนิรันดร์ ด้วยความรัก-เคารพ-ศรัทธายิ่ง จากศิษย์เก่าคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศ.ดร. มัตติกา พนมธรนิจกุล รุ่น ๕ ประพันธ์)




๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 22 สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ ก.8 เรียบเรียง

รศ.ดร.กวี จุติกุล

บูรพาจารย์ ของชาวเกษตรมอดินแดง “การตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพิ่มขึ้นอีกแห่งหนึ่งนั้นเป็นคุณอย่างยิ่ง เพราะท�ำให้การศึกษาชั้นสูงขยายออกไปถึงภูมิภาคที่ส�ำคัญที่สุดส่วนหนึ่ง ของประเทศ ซึ่งต่อไป จะเป็นผลดีแก่การพัฒนายกฐานะ ความเป็นอยู่ ของประชาชนในภูมิภาคนี้เป็นอย่างยิ่ง ความส�ำเร็จในการตั้ง มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงเป็นความส�ำเร็จที่ทุกคนควรจะยินดี” กระแสพระราชด�ำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีเปิด มหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๑๐ รศ. ดร. กวี จุติกุล อดีตคณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้ ทีช่ าวเกษตรมอดินแดง พร้อมใจกันยกให้อาจารย์ เป็นบูรพาจารย์ของพวกเรา ด้วยความ รูค้ วามสามารถ ทุม่ เทบริหารงานคณะเกษตรศาสตร์เป็นเวลายาวนานเกือบสองทศวรรษ ติดต่อกัน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ก้าวหน้ามายืนแถวหน้าของสถาบัน อุดมศึกษาเกษตรศาสตร์ ในระดับประเทศ และระดับภูมภิ าคได้ในปัจจุบนั มาจากรากฐาน ที่อาจารย์ได้ใช้ ความรู้ ประสบการณ์ วิสัยทัศน์ อันยาวไกลของอาจารย์วางรากฐานไว้ให้ ในโอกาสครบรอบ ๘๔ ปีของอาจารย์ ศิษย์จึงขออนุญาตอาจารย์ จัดท�ำหนังสือรวบรวม ประวัติและผลงานอันทรงคุณค่าขออาจารย์ ไว้ให้ศิษย์เก่า ลูกหลาน อนุชนรุ่นหลัง และ สาธารณชนได้เรียนรู้ เก็บไว้เป็นแบบอย่างต่อไป


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 23

ชาติกาลและการศึกษา เกิดวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๔ ณ. บ้านเลขที่ ๑๗๐ ถนนกระบี่ ต.ตลาดเหนือ อ.เมือง จ.ภูเก็ต เป็น บุตรของนายมั่น - นางสายหยุด จุติกุล

พ.ศ. ๒๔๘๒ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนเทศบาลวัดควนวิเศษ อ.เมือง จ.ตรัง

พ.ศ. ๒๔๘๙ จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนเพชรพิทยาคม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์

พ.ศ. ๒๔๙๑ จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๘ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. ๒๔๙๕ จบปริญญาตรี (B.S. in Animal Science) จาก Louisiana State University, สหรัฐอเมริกา

พ.ศ. ๒๔๙๖ จบปริญญาโท (M.S. in Animal Production) จาก Louisiana State University, สหรัฐอเมริกา

พ.ศ. ๒๕๐๑ จบปริญญาเอก (Ph.D. in Animal Nutrition) จาก University of Illinois, สหรัฐอเมริกา

การฝึกอบรม

พ.ศ. ๒๕๐๖ Education Administration จาก Stanford University, สหรัฐอเมริกา

พ.ศ. ๒๕๐๖ Development Administration จาก University of California, สหรัฐอเมริกา

พ.ศ. ๒๕๑๔ การบริหารการพัฒนา จาก สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

พ.ศ. ๒๕๒๙ Computer in Agriculture จาก SEARCA, ฟิลิปปินส์


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 24

ชีวิตครอบครัว รศ. ดร.กวี จุติกุล มีคู่สมรส ชื่อ ดร.สายสุรี จุติกุล อดีตคณบดี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีบุตร ๒ คน คือ นายกานต์ จุติกุล และ นางสิรี ศันสนียเวทย์ อยูบ่ า้ นเลขที่ ๑๑๘ ซอยอุลติ ถนนสุขมุ วิท ๔ แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ ๑๐๑๑๐

ประวัติการท�ำงานและต�ำแหน่งส�ำคัญ

พ.ศ. ๒๕๐๒ - ๒๕๐๕ ศึกษานิเทศก์เกษตร กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. ๒๕๐๖ - ๒๕๑๐ ผูอ้ ำ� นวยการวิทยาลัยเกษตรกรรมบางพระ กรมอาชีวศึกษา พ.ศ. ๒๕๑๑ - ๒๕๓๐ คณบดี คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๑๖ - ๒๕๒๑ รองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๒๐ Visiting Fellow in International Agriculture, Cornell University, สหรัฐอเมริกา พ.ศ. ๒๕๓๒ - ๒๕๕๑ ที่ปรึกษาอาวุโสสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ประเทศไทย


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 25

กว่า ๒๐ ปี ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากประวัติการท�ำงาน จะเห็นว่า รศ. ดร.กวี จุติกุล เริ่มต้นชีวิตการท�ำงาน ที่กรม อาชีวศึกษา ในต�ำแหน่งศึกษานิเทศก์ และได้กา้ วสูต่ ำ� แหน่งผูอ้ ำ� นวยการวิทยาลัยเกษตรกรรม บางพระ จ. ชลบุรี ที่นั่นดร.กวี ได้สร้างผลงานดีเด่นเป็นที่ประจักษ์ เช่น จัดการบริหารงาน อาชีวศึกษาเกษตรและการฝึกหัดครูเกษตร ประโยคครูมัธยมเกษตรกรรม (ป.ม.ก.) ร่วมกัน แห่งเดียวในประเทศไทย เมื่อมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งสองคณะแรกที่เปิดสอน คือ คณะเกษตรศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ดร.กวีจงึ ได้รบั การคัดเลือกให้โอนย้าย มาท�ำงานที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๑๐ ได้รับการแต่งตั้งให้ด�ำรง ต�ำแหน่งคณบดีคณะเกษตรศาสตร์คนแรก และท�ำหน้าทีค่ ณบดี ติดต่อกันเป็นเวลายาวนาน ที่สุด ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น หรืออาจจะยาวนานที่สุดในประเทศไทย ด้วยผลงานอัน โดดเด่นทัง้ ในและต่างประเทศ ดร.กวีจงึ ได้รบั เชิญเป็นผูเ้ ชีย่ วชาญขององค์การระหว่างประเทศ และมหาวิทยาลัย เช่น เป็น Research Associate ของ International Development Research Center (IDRC) ประเทศแคนาดา Visiting Fellow ของ Cornell University ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้เชี่ยวชาญของ Southeast Asian Regional Center for Graduate Study and Research in Agriculture (SEARCA) ทั้งยังได้รับคัดเลือกเป็น สมาชิกสมาคมเกียรตินยิ มทางด้านต่างๆ ของต่างประเทศ อาทิ Alpha Zeta Fraternity, Phi Kappa Phi Society, Phi Sigma Society, Sigma Xi Society และ Epsilon Pi Tau Society


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 26 ผลงานของ รศ. ดร.กวี จุติกุล ที่วางรากฐานและพัฒนาคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นนัน้ มีมากมายหลายเรือ่ งราว สมควรได้รบั การบันทึกไว้ ซึง่ อีกส่วนหนึง่ คณาจารย์หลายๆ ท่านจะได้ช่วยกันเขียน รวบรวมใว้ในหนังสือเล่มนี้ด้วย ผลงานโดยย่อ มีดังนี้ ๑. การจัดหลักสูตรการเกษตรในระดับอุดมศึกษา ที่ให้ความส�ำคัญกับการเรียนรู้ ในการปฏิบตั ิ (Learning by Doing) มีการวางแผนงานฝ่ายไร่ ไว้รองรับการเรียนการสอน อย่างครบครันเป็นระบบ ๒. การบูรณาการการพัฒนาชุมชนชนบท ให้นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้ และ คณาจารย์ท�ำการวิจัยด้านการเกษตร ด้วยหลักการ “ห้องปฏิบัติการสังคม (Social Laboratory)” โดยการคัดเลือกหมู่บ้านใกล้มหาวิทยาลัย เป็นสถานที่ด�ำเนินการ เพื่อเรียนรู้ปัญหาของเกษตรกร และใช้การวิจัยช่วยแก้ไขปัญหา ๓. เป็นผูช้ นี้ ำ� ให้เห็นความส�ำคัญของการท�ำเกษตรกรรมแบบประณีต (Intensive Farm Training Project) ในมหาวิทยาลัย โดยการคัดเลือกครอบครัวเกษตรกร มาท�ำการ เกษตรในพื้นที่สองไร่ ในมหาวิทยาลัยจ�ำนวนหลายรุ่น แต่ละรุ่นใช้เวลา ๑ ปี ประกฎผลว่า เกษตรกรมีรายได้จากการท�ำเกษตรกรรมในพืน้ ทีท่ จี่ ดั ให้ เพียงพอแต่การด�ำรงชีวติ ได้เป็น อย่างดีและส่วนหนึง่ มีเงินเก็บไปลงทุนท�ำการเกษตรในพืน้ ทีข่ องตนเองต่อไปด้วย ซึง่ พืน้ ที่ ดังกล่าวปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของอุทยานการเกษตร ๔. การพัฒนาบุคลากร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในช่วงการ บริหารของ รศ.ดร. กวี จุตกิ ลุ มีการพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ บุคลากรได้รบั ทุนการ ศึกษาไปศึกษาต่อต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เช่นฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา ออสเตรีย สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ๕. เริ่มจากปี พ.ศ. ๒๕๑๘ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับทุน สนับสนุนการวิจัย เป็นโครงการขนาดใหญ่หลายปี ติดต่อกัน เช่น จาก International Development Research Center (IDRC) ประเทศแคนาดา ให้ทุนสนับสนุนโครงการ Semi-Arid Crops Project และ Cassava Animal Nutrition Project มูลนิธิฟอร์ด ให้ทุนสนับสนุนโครงการ Multiple Cropping Project และต่อเนื่องมาเป็นโครงการ Farming Systems Research Project รัฐบาลออสเตรเลีย ให้ทุนสนับสนุนโครงการ Pasture Improvement Project โครงการเหล่านี้ นอกจากการสนับสนุนทุนวิจัยให้กับ บุคลากรของคณะเกษตรศาสตร์แล้ว ยังมีทุนการศึกษา และทุนจ้างผู้ช่วยวิจัย (Research Assistants) ซึง่ ให้โอกาสศิษย์เก่าจ�ำนวนมากได้เริม่ ต้นชีวติ การท�ำงาน จนในปัจจุบนั เติบโตใน แวดวงสถาบันอุดมศึกษา มีต�ำแหน่งวิชาการเป็นศาสตราจารย์หลายคน รวมทั้งส่วนหนึ่งก้าว ไปเป็นผู้บริหารระดับคณบดี รองอธิการบดี และอธิการบดีในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ด้วย


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 27 ๖. ความร่วมมือไทย-อิสราเอล ประเทศอิสราเอลมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการ น�้ำและระบบชลประทานต่างๆ รศ. ดร. กวี จุติกุล ได้ติดต่อประสานงานให้เกิดความร่วม มือทางวิชาการ มีงานวิจัยร่วมบนพื้นที่ใกล้ส�ำนักงานอธิการบดี ที่หลายคนเรียกติดปากว่า ไร่ยวิ ซึง่ ชือ่ เป็นทางการคือไร่ทดลองไทย-อิสราเอล เน้นการทดลองด้านพืชผัก มะเขือเทศ และที่เกี่ยวเนื่องกันคือ การขาดแคลนน�้ำของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่น�ำไปสู่การเดิน ขบวนครั้งแรกของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นในปี ๒๕๑๔ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พยายามของบประมาณมาท�ำระบบน�้ำประปาเอง แต่ส�ำนักงบประมาณต้องการให้ใช้น�้ำ ของการประปาส่วนภูมิภาค ที่ ณ เวลานั้น ไม่มีก�ำลังความสามารถจัดส่งน�้ำให้พื้นที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่นอย่างพอเพียงได้ รศ.ดร.กวี จุตกิ ลุ ได้ขอให้ผเู้ ชีย่ วชาญจากอิสราเอล มาช่วยวางแผนจัดการน�ำ้ เพือ่ การเกษตรและของบประมาณ จัดสร้างโรงสูบน�ำ้ จากคลอง ส่งน�้ำโครงการชลประทานน�้ำพองหนองหวาย บ้านโกทา น�ำมาพักไว้ที่หนองหัวช้าง และ หนองน�้ำสะพานขาว ที่จ�ำเป็นต้องใช้พลาสติคปูให้สามารถเก็บน�้ำได้ โครงการดังกล่าว ท�ำให้งานฝ่ายไร่ด้านพืช ของคณะเกษตรศาสตร์ สามารถมีน�้ำใช้สนับสนุนงานวิจัย หรือ การผลิตพันธุพ์ ชื ต่างๆ ได้ และมหาวิทยาลัย ก็ได้อาศัยน�ำ้ ดังกล่าวสนับสนุนระบบประปา ของมหาวิทยาลัย ที่ยังใช้ได้อยู่จนถึงปัจจุบัน ๗. ความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น รศ.ดร. กวี จุติกุล เป็นผู้มีบทบาทส�ำคัญในการ ท�ำโครงการร่วมมือกับ Japan International Cooperation Agency: JICA และกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งศูนย์ศึกษาค้นคว้าและพัฒนาการเกษตรภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ในบริเวณศูนย์พัฒนาที่ดินฯ ริมถนนมิตรภาพฝั่งตรงข้ามประตูมหาวิทยาลัย ขอนแก่น ซึ่งคณะเกษตรศาสตร์ ได้รับงบประมาณสนับสนุนจัดสร้างอาคารวิจัย พร้อม อุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัย และมีการเริ่มโครงการร่วมมือทางวิชาการกับ The Japan Society for the Promotion of Science (JSPS) ที่ให้ทุนศึกษาระดับปริญญาเอกซึ่ง ใช้ผลงานวิจยั ทีท่ ำ� ในไทยไปเป็นส่วนหนึง่ ของวิทยานิพนธ์ได้ และภายใต้โครงการนี้ ท�ำให้ บุคลากรของคณะเกษตรศาสตร์ หลายคนส�ำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก จาก มหาวิทยาลัยญีป่ นุ่ รศ. ดร. กวี จุตกิ ลุ คือผูท้ มี่ บี ทบาทส�ำคัญในการประสานงานกับหลาย กระทรวงทั้งของไทยและญี่ปุ่น ๘. รศ.ดร. กวี จุติกุล เป็นผู้ริเริ่มโครงการจัดตั้งสถานีทดลองเกษตรที่สูง ณ เขื่อน จุฬาภรณ์ น�้ำพรม อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ด้วยมองเห็นถึงความต้องการวิจัยด้านการเกษตร ในสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศที่แตกต่างกันของมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงมีการจัด


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 28 ตั้งสถานีทดลองและฝึกอบรมเกษตรกรรมเขื่อนจุฬาภรณ์ขึ้น เพื่อเป็นสถานที่ศึกษา วิจัย ในด้านพืชทีต่ อ้ งการอากาศหนาวเย็นตลอดจนสาขาอืน่ ทีเ่ กีย่ วข้อง สถานีฯเขือ่ นจุฬาภรณ์ หรือสถานี น�้ำพรม ตั้งอยู่บนยอดเขาภูหยวก เทือกเขาเพชรบูรณ์ ในพื้นที่ของเขตรักษา พันธุ์สัตว์ป่ าภูเขียว โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้รับอนุญาตให้ใช้พื้นที่ดัง กล่าว และทาง กฟผ. มอบให้มหาวิทยาลัยใช้อีกทอดหนึ่ง สถานีฯมีพื้นที่ประมาณ ๗๕ ไร่ ในฤดูหนาว มีอุณหภูมิ ค่อนข้างต�่ำ บางปี ไม่เกิน ๑๐ องศาเซลเซียส ในฤดูอื่น มีอากาศ เย็นสบาย จึงได้มีการศึกษาวิจัย ด้านไม้ดอก พืชผักและไม้ผลที่ต้องการอากาศหนาวเย็น ใช้เป็นสถานที่ฝึกงานของนักศึกษา พืชศาสตร์ ด้านพืชสวนมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๗ จนถึง ปัจจุบัน เนื่องจากมีสถานที่สวยงาม มีอากาศเย็นสบายจึงถูกใช้เป็นสถานที่ฝึกอบรม บุคลากรของมหาวิทยาลัยตลอดจนหน่วยงานอื่นอีกด้วย ๙. การเลี้ยงผึ้งในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้รับการสนับสนุนจากนิวซีแลนด์ ได้ เริ่มขี้นจากการสนับสนุนประสานงานของ รศ.ดร. กวี จุติกุล เช่นเดียวกัน โดยมี ดร.ยง ยุทธ ไวคกุล เป็นผู้รับผิดชอบการทดลอง ในการเสด็จพระราชด�ำเนินมาพระราชทาน ปริญญาบัตร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คณะเกษตรศาสตร์ จะทูลเกล้าฯถวาย น�ำ้ ผึง้ ทุกปี แต่ปหี นึง่ ด้วยสภาพความแห้งแล้งผิดปกติจงึ ไม่มนี ำ�้ ผึง้ ทูลเกล้าฯถวาย พระองค์ ทรงรับสัง่ กับนึกศึกษาทีเ่ ข้าเฝ้าทีบ่ ริเวณสระน�ำ ้ สโมสรอาจารย์ฯ ว่า “สงสัยปีนผี้ งี้ ขีเ้ กียจ”


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 29 ๑๐. ในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ รศ.ดร. กวี จุติกุล ได้รับทุนสนับสนุนจากส�ำนักงานคณะ กรรมการการศึกษาแห่งชาติ ให้เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย การวิเคราะห์ระบบการศึกษา เกษตรของประเทศไทย ซึ่งงานวิจัยดังกล่าวได้ศึกษาวิเคราะห์การศึกษาเกษตรไทยทั้ง ระบบ และน�ำเสนองานดังกล่าวต่อการประชุมระดับชาติ ณ ท�ำเนียบรัฐบาล ซึ่งคงมีผล ต่อแนวทางการพัฒนาการศึกษาเกษตรของประเทศโดยตรงอย่างแน่นอน ๑๑. ถึงแม้วา่ ในช่วงต้นของการจัดตัง้ มหาวิทยาลัยขอนแก่น การเรียนการสอนจะ เน้นหนักทางด้วนวิทยาศาสตร์ แต่ รศ.ดร.กวี จุติกุล ได้ให้ความช่วยเหลือร่วมมือกับนัก วิชาการต่างประเทศด้านโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ที่มีผลงานระดับโลกหลายท่านที่ สนใจมาศึกษาค้นคว้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น Dr. Don Bayard ซึง่ เป็นนักศึกษา ปริญญาเอกของ Professor Dr. William Solheim ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกด้านโบราณคดี ก่อนประวัติศาสตร์จาก University of Hawaii มาขุดค้นหาหลักฐานวัฒนธรรมก่อน ประวัตศิ าสตร์ทบี่ า้ นโนนนกทา อ. ภูเวียง จ. ขอนแก่น ซึง่ งานดังกล่าวอาจถือได้วา่ เป็นการ บุกเบิกงานวิจัยด้านโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ในภูมิภาคนี้ หลังจากนั้นท่านยังได้ อ�ำนวยความสะดวกแก่นักวิจัยด้านโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ระดับโลกอีกหลายท่าน ที่สนใจมาศึกษาค้นคว้าในภูมิภาคนี้ เช่น Professor Dr. Chet Gorman, University of Pennsylvania, USA และ Professor Dr. Charles Higham, University of Otago, New Zealand. ๑๒. นอกจากงานบริหารคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นตั้งแต่ระยะก่อตั้ง รศ.ดร.กวี จุตกิ ลุ ก็ยงั สร้างผลงานทางวิชาการไว้มากมาย ทัง้ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทความเรื่อง วิวัฒนาการของการศึกษาเกษตรในประเทศไทย ที่ให้ ความรู้ความเข้าใจความเป็นมาด้านการศึกษาเกษตรของประเทศ รวมทั้งบทความทรง คุณค่าอืน่ ๆ ทีข่ อน�ำบางส่วนมากล่าวไว้ ณ ทีน่ ี้ เช่น Principles of Nutrition, Management of Research and Extension Systems in Thailand, Small Farm Research and Development at Khon Kaen University, Policy Guidelines for Agricultural Education Development, Linkage of Research and Extension Activities, Higher Education in Agriculture in Thailand, The Crux of Agricultural Development in Northeast Thailand, Implication of Faculties of Agriculture in introducing Nutrition into their Teaching and Research เป็นต้น


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 30 เมือ่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ รศ.ดร.กวี จุตกิ ลุ พ้นจากต�ำแหน่งคณบดี ได้อาสามหาวิทยาลัย ขอนแก่น จัดท�ำสวนพฤกษศาสตร์ บริเวณที่ศิษย์เก่ารุ่นแรกๆ รู้จักกันในนามสะพานขาว และศิษย์ปัจจุบันรู้จักกันในนามสระพลาสติก เพราะอ่างเก็บน�้ำสะพานขาว ไม่สามารถ เก็บน�้ำได้ จึงต้องใช้พลาสติกปูพื้นก่อน สวนดังกล่าว ต่อมาได้มีชื่ออย่างเป็นทางการ จาก การประกวดตั้งชื่อ ในวาระครบรอบ ๓๐ ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่นว่า “สวนร่มเกล้า กัลปพฤกษ์” ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ รศ.ดร.กวี จุติกุล ตัดสินใจลาออกจากราชการเมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๓๒ แต่ก็ยังไม่ละทิ้งงานการพัฒนา ได้รับงานในต�ำแหน่งที่ปรึกษาอาวุโส (Senior Advisor) ของสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (Population and Community Development Association: PDA) ซึ่งเป็นหน่วยงานเอกชนสาธารณประโยชน์ เพือ่ พัฒนาคุณภาพชีวติ ผูด้ อ้ ยโอกาส สมาคมฯ มีโครงการหลากหลาย ตัง้ แต่การวางแผน ครอบครัว การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพัฒนาแหล่งน�้ำเพื่อ การเกษตร การส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ สมาคมฯ มีพนื้ ทีด่ ำ� เนินการในหลายจังหวัด ของภาคอิสาน เช่น ขอนแก่น บุรีรัมย์ มหาสารคาม จากคุณปู การมากมายทีท่ า่ นได้ท�ำ ไว้ให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น สภามหาวิทยาลัย จึงได้มอบรางวัลเชิดชูเกียรติให้สองครั้ง คือ พ.ศ. ๒๕๓๕ ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๔๔ รางวัลพระธาตุพนมทองคำ� มหาวิทยาลัยขอนแก่น จากกระแสพระราชด� ำ รั ส ของพระบาทสมเด็ จ พระเจ้ า อยู ่ หั ว ในพิ ธี เ ปิ ด มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ได้อัญเชิญมาไว้ในบทความนี้ เราชาวเกษตรมอดินแดง ได้ร่วม กันตลอดระยะเวลา ๕๐ ปีทผี่ า่ นมาใช้สติปญ ั ญา ความรูท้ ไี่ ด้รบั จากสถาบันนีท้ ำ� หน้าที่ของ ตนอย่างเต็มก�ำลังความสามารถ และในโอกาสครบรอบ ๘๔ ปี ของบูรพาจารย์ท่านนี้ ที่ได้ ทุม่ เทชีวติ ท�ำงานสร้างคุณปู การให้แก่การศึกษาเกษตรของประเทศไทย และมหาวิทยาลัย ขอนแก่น ศิษย์ทั้งหลาย และผู้ที่เคยร่วมงานสร้างสรรค์พัฒนากับท่านมา จึงพร้อมใจกัน สดุดี รศ.ดร. กวี จุติกุล บูรพาจารย์ของชาวเกษตรมอดินแดง บรรณานุกรม นพคุณ ศิริวรรณ ๒๕๕๗, ปกิณกะการศึกษาเกษตรไทย ๑๕๑-๑๕๘ สูจิบัตร งานพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๒๕๓๕ สูจิบัตร งานพระราชทานปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น ๒๕๔๔


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 31


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 32 สุมิตรา (ปฏิภาณวัฒน์) ภู่วโรดม ก.8 เรียบเรียง

รศ.ดร.กวี จุติกุล

ชีวิต แนวคิด และการงาน วัยเยาว์ที่สนุกสนาน…รากฐานของอนาคต รศ.ดร.กวี จุติกุล มีชีวิตในวัยเด็กที่สนุกสนานถึงแม้ว่าจะล�ำบากก็ตาม อาจารย์ เกิดในครอบครัวข้าราชการ คุณพ่อของอาจารย์เป็นผูพ้ พิ ากษาจึงต้องย้ายทีอ่ ยูเ่ สมอท�ำให้ ได้เรียนในหลายโรงเรียน สมัยทีอ่ าจารย์เรียนอยูใ่ นระดับมัธยมศึกษาเป็นช่วงสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ผู้คนมีความเป็นอยู่อย่างยากล�ำบากและขาดแคลน อาจารย์ต้องอพยพออกไป นอกเมือง ได้มีโอกาสสัมผัสกับท้องทุ่งและการเกษตร สิ่งเหล่านั้นมีผลต่อการตัดสินใจใน การศึกษาในระดับสูงของอาจารย์ในเวลาต่อมา รศ.ดร.กวี จุติกุล เกิดในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ ที่จังหวัดภูเก็ต เป็นบุตรของนายมั่น และนางสายหยุด จุติกุล อาจารย์เริ่มการศึกษาเมื่ออายุเพียง ๔ ปี ที่โรงเรียนสตรีจุล นาค ของเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ซึ่งเป็นโรงเรียนที่น�ำ ระบบการสอนแบบใหม่มาทดลองให้เด็กนักเรียนสามารถอ่านออกเขียนได้ในเวลาอันสัน้ พร้อมทั้งได้ให้นักเรียนเริ่มเรียน อ่านและเขียนภาษาอังกฤษไปด้วย แต่เนื่องจากต้องย้าย ตามคุณพ่อ อาจารย์จงึ ไปจบชัน้ ประถมศึกษาปีที่ ๔ ทีโ่ รงเรียนเทศบาลวัดควนวิเศษ อ.เมือง จ.ตรัง ต่อมาได้เข้าเรียนชั้น ม.๑ - ม.๕ ที่โรงเรียนอัสสัมชัญบางรัก ที่มีการเรียนการสอน อย่างเข้มข้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิชาภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นรากฐานส�ำคัญอันหนึ่งที่ช่วย ให้อาจารย์ได้ไปศึกษาต่อต่างประเทศในเวลาต่อมา ระหว่างที่เรียนที่ โรงเรียนอัสสัมชัญ ชัน้ ม.๒ - ม.๓ เป็นช่วงทีเ่ กิดสงครามโลกครัง้ ที่ ๒ กรุงเทพฯ ถูกทิง้ ระเบิดบ่อยครัง้ โรงเรียน


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 33 หยุดการเรียนการสอน อาจารย์กับเพื่อนๆก็เที่ยวซุกซนสนุกตามประสาเด็ก เช่นไปงมหอย ในคลองรอบสวนจิตรลดา ซึ่งมีหอยหลากหลาย เมื่อมีการทิ้งระเบิดถี่ขึ้น ครอบครัว อาจารย์ต้องย้ายออกไปนอกเมือง ครั้งแรกย้ายไปอยู่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน ซึ่งสมัยนั้นถือว่าไกลมากแล้วต้องขึ้นรถไฟไป อาจารย์เล่าว่าเกือบทุกเช้า จะเห็น หลวงสุวรรณวาจกกสิกจิ อธิการบดีเดินผ่านหน้าบ้านไปตรวจไร่และแปลงฝึกงานนิสติ ของ มหาวิทยาลัยที่อยู่ใกล้ทางรถไฟ (บริเวณถนนวิภาวดีรังสิตในปัจจุบัน) ขณะที่อาจารย์อยู่ที่ บางเขน ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเกษตรมากเพราะมีเวลา ในยุคนั้นช่วงปีใหม่ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์จะจัดงานวันเกษตร มีการแข่งขันขี่จักรยานจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไป มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับการเกษตรสาขาต่างๆ ท�ำให้ อาจารย์สนใจในอาชีพนี้ เมื่อสงครามรุนแรงขึ้น ครอบครัวอาจารย์จึงต้องย้ายไกลออก ไปอีกถึงรังสิต โดยไปอยู่ที่โรงเรียนเกษตรกรรมปทุมธานี ซึ่งอยู่ข้างคลองชลประทาน ที่นั่นอาจารย์บอกว่าน�้ำในสระใสมากเพราะดินเป็นกรดจัดมองเห็นปลาและสันตะวา ใบข้าวก้นสระสวยงาม ในโรงเรียนยังมีเล้าเป็ดเล้าไก่ มียอเพือ่ จับปลา เด็กๆในละแวกนัน้ สอนให้อาจารย์จับปลาในคลอง โดยเอามือล้วงเข้าไปในโพรงไม้ ถ้ารู้สึกมีอะไรดิ้นๆ อยู่ ก็ให้ตะครุบออกมา ย้อนคิดกลับไป อาจารย์บอกว่าแปลกทีไ่ ม่เคยล้วงเจองูเลย อีกเรือ่ งหนึง่ คือ การท�ำบ่อโจนดักปลาโดยเอาไหไปฝังดินในนาข้าวที่ยังมีน�้ำแฉะๆ แล้วเอาโคลนเกลี่ย ให้เสมอปากไห พอปลาผ่านมาก็ตกลงไปในไห จากรังสิตได้ย้ายไปอยู่ที่หนองจอก ได้เห็น ชาวบ้านเลี้ยงเป็ด ปลูกข้าว พืชผัก การใช้ชีวิตในท้องทุ่ง ถึงแม้จะล�ำบาก แต่ก็สนุกและ ประทับใจอาจารย์ไม่รู้ลืม ชีวิตในวัยเด็กของอาจารย์วนเวียนอยู่กับเรื่องเกษตรเสมอ เมื่อขึ้นชั้น ม.๖ คุณพ่อของอาจารย์ถูกย้ายไปอยู่ที่จังหวัดเพชรบูรณ์ สมัยนั้น การเดินทางเป็นไปอย่างยากล�ำบาก สะพานรถไฟถูกทิง้ ระเบิด รถไฟสายเหนือถูกตัดขาด ใช้ไม่ได้ ต้องเหมาเรือแดงจากท่าเตียนล่องไปตามแม่น�้ำเจ้าพระยานานถึง ๓ วัน ๓ คืน จึงถึงตะพานหิน จังหวัดพิจิตร ช่วงที่ผ่านปากน�้ำโพ นครสวรรค์ เป็นหน้าแล้ง น�้ำสูงแค่เข่า เท่านัน้ เอง อาจารย์จงึ ได้มโี อกาสไปยืนอยูก่ ลางแม่นำ�้ เจ้าพระยาได้ เมือ่ ถึงตะพานหินต้อง นั่งรถบรรทุกต่อไปเพชรบูรณ์ สมัยนั้นประเทศไทยขาดแคลนน�้ำมันมาก รถบรรทุกจะใช้ ถ่านเป็นเชื้อเพลิง ชาวบ้านเรียกว่า “รถเครื่องถ่าน” ถ่านที่ใช้ไม่ได้ไปต้มน�้ำเหมือนที่ใช้ หัวจักรไอน�ำ้ ของรถไฟ แต่ใช้ไอร้อนทีเ่ กิดจากการเผาไหม้ไปขับเคลือ่ นกระบอกสูบโดยตรง จังหวัดเพชรบูรณ์มีต้นไผ่มาก จึงมีการน�ำมาสร้างเป็นบ้าน โรงภาพยนต์ อาคารสถานที่ ราชการแทนไม้ อาจารย์เรียนจบมัธยม ๖ ที่โรงเรียนเพชรพิทยาคม อ.เมือง จ.เพชรบูรณ์ เนื่องจากมีพื้นฐานการเรียนและภาษาอังกฤษที่ดีจากกรุงเทพฯจึงสอบได้ที่ ๑ เสมอ


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 34 อาจารย์กลับมาศึกษาในชั้นมัธยม ๗ และ ๘ ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อส�ำเร็จการศึกษาอายุยังไม่ครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ ยังไม่มีสิทธิ เข้ามหาวิทยาลัย อาจารย์จึงไปเรียนชั้น ม. ๘ ซ�้ำอีกที่โรงเรียนอัสสัมชัญ เผื่อจะได้สอบ ได้ติดบอร์ด ๕๐ คนแรกของประเทศ (สมัยนั้น ทุก รร.สอบด้วยข้อสอบเดียวกัน ผู้ที่ได้ อันดับ ๑-๕๐ ของประเทศจะมีชื่อติดบอร์ด) เป็นการสร้างชื่อเสียงแก่โรงเรียน อาจารย์ เล่าว่า เนื่องจากวิชาต่าง ๆ ที่เรียนในชั้น ม. ๘ เคยเรียนมาหมดแล้ว ช่วงนั้นจึงไม่ค่อย สนใจเรียนหรือท�ำการบ้านเท่าไหร่นัก ช่วงพักกลางวันจึงนั่งรถรางไปที่สี่พระยาซึ่งมีห้อง สมุดของส�ำนักแถลงข่าวของประเทศอังกฤษอยู่ ที่นั่นมีนิตยสารและหนังสือต่างประเทศ มากมาย ได้อ่านเรื่องราวที่เป็นความรู้รอบตัว มีความสุขมากกับการอ่าน ซึ่งช่วยให้ความ รู้ภาษาอังกฤษดีขึ้นอีกด้วย จุดหักเหเกิดขึ้นในปีพ.ศ. ๒๔๙๑ เมื่อกระทรวงศึกษาธิการให้คุรุสภาจัดทุนไป ศึกษาต่อต่างประเทศ ๑๐๐ ทุนแก่นักเรียนและข้าราชการโดยเป็นทุนตามความต้องการ ของกระทรวงศึกษาธิการ นับเป็นทุนการศึกษารุ่นแรกของรัฐบาลภายหลังสงครามโลก ครั้งที่ ๒ ซึ่งมีทุนระดับนักเรียน ๑๐ ทุน (โดยผู้ที่สอบติดบอร์ด ๕๐ คนแรกของประเทศ ไม่ต้องเสียค่าสมัครสอบ ๑๐๐ บาท) ครั้งแรกอาจารย์ไม่ได้คิดจะไปสอบ เพราะเงิน ๑๐๐ บาท ในสมัยนัน้ นับว่ามากโขอยูแ่ ละคิดว่าคงสอบไม่ได้ แต่คณ ุ พ่ออาจารย์บอกให้ไป ลองดูและจ่ายเงินค่าสมัครให้ ปรากฏว่าอาจารย์สอบได้และเลือกเรียนสาขาเกษตรศาสตร์ ทีส่ หรัฐอเมริกา การทีอ่ าจารย์สอบได้ทนุ รัฐบาลก็เป็นทีแ่ ปลกใจของคนจ�ำนวนมาก เพราะ ไม่ใช่เป็นคนเรียนเก่ง แต่เป็นเพราะภาษาอังกฤษและความรูร้ อบตัวดี และข้อสอบส่วนใหญ่ ก็เป็นเนื้อหาวิชาชั้น ม.๘ จึงสอบได้ นักเรียนและข้าราชการที่ได้รับทุนคุรุสภารุ่นแรกหลังสงครามออกเดินทางไป สหรัฐอเมริกาในปีพ.ศ. ๒๔๙๒ โดยเครื่องบินบริษัท Pacific Overseas Airline Siam (POAS) ต้นตระกูลของบริษัทการบินไทยในปัจจุบัน เครื่องบินล�ำนั้นยังไม่มีที่นั่งเหมือน สมัยนี้ ผู้โดยสารนั่งหันหน้าหากันเป็นแถวยาวเหมือนในเครื่องบินทหาร เมื่อรู้สึกเมื่อย ก็ลุกขึ้นเดินไปมาได้ เวลากลางคืนก็เป่าฟูกยางนอนกับพื้นได้อย่างสบาย ใช้เวลาเดิน ทางยาวนานถึง ๓ วัน ๓ คืน ระหว่างทางนักเรียนทุนได้แวะเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวที่เมือง Lausanne ประเทศ Switzerland ด้วย ผู้ดูแลนักเรียนไทยส่งอาจารย์ไปเรียนที่ Louisiana State University (LSU) เพราะเห็นว่าเป็นมหาวิทยาลัยเดียวในสหรัฐฯขณะนั้นที่มีความเชี่ยวชาญด้านการปลูก


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 35 ข้าวและอ้อย แต่เมือ่ ไปเรียนอาจารย์กลับสนใจและรูส้ กึ ว่าการเลีย้ งสัตว์สนุกกว่าการปลูก พืช ตัวอาจารย์เองก็ไม่ชอบทานผักชอบทานแต่เนือ้ อยูแ่ ล้ว จึงเลือกเรียนสาขาสัตวศาสตร์ (Animal Science) LSU เป็นมหาวิทยาลัยเล็ก สมัยนั้นมีนักศึกษาประมาณ ๕,๐๐๐ คน คณาจารย์จะสนิทสนมกับนักศึกษาและชวนไปสังสรรค์ที่บ้านกันบ่อยๆ แต่เมื่อไปศึกษา ระดับปริญญาเอกที่ University of Illinois ซึ่งมีนักศึกษากว่า ๒๐,๐๐๐ คน บรรยากาศ ใกล้ชิดแบบที่ LSU ก็หายไป

แนวคิดการท�ำงาน….เบื้องหลังความส�ำเร็จ รศ.ดร. กวี จบการศึกษาปริญญาเอกสาขาวิชา Animal Nutrition จาก University of Illinois สหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๑ และกลับมารับราชการที่กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ในต�ำแหน่งศึกษานิเทศก์เกษตร เป็น ดร. คนแรกของกรมอาชีวศึกษา ระหว่างนั้นได้มีส่วนในการก่อตั้งโรงเรียนเกษตรกรรมสงเคราะห์ในนิคมสร้างตนเอง ที่อ�ำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี และอ�ำเภอคลองน�้ำใส จังหวัดปราจีนบุรี โดยรับ นักเรียนที่จบ ม.ศ.๓ เข้าเรียน ๓ ปี นักเรียนทุกคนได้รับทุนสงเคราะห์ค่าอาหารและ เมื่อจบการศึกษาจะได้รับที่ดินคนละ ๒๕ ไร่ในนิคมสร้างตนเองเพื่อประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ปัจจุบันโรงเรียนเกษตรกรรมสงเคราะห์ได้เปลี่ยนเป็นวิทยาลัยเกษตร และเทคโนโลยี อาจารย์ได้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนเกษตรกรรมแผนใหม่ที่จังหวัดชุมพรและ อุดรธานีด้วยโรงเรียนทั้ง ๒ แห่งเปิดการสอนหลักสูตรระยะสั้น อบรมเกษตรกรในท้อง ถิ่นรุ่นละ ๕ เดือน ด�ำเนินการได้เพียง ๓ รุ่น ก็เปลี่ยนเป็นโรงเรียนเกษตรกรรมเพราะไม่มี ผู้สนใจเรียนพอ ในปี ๒๕๐๖ อาจารย์ได้ย้ายไปรับต�ำแหน่ง ผู้อ�ำนวยการวิทยาลัยเกษตรกรรม บางพระ จังหวัดชลบุรี สังกัดกรมอาชีวศึกษา อาจารย์มีบทบาทส�ำคัญในช่วงการเริ่ม โครงการเงินกูจ้ ากธนาคารโลกเพือ่ พัฒนาอาชีวศึกษา (๒๕๐๘-๒๕๑๓) โดยได้รว่ มท�ำงาน กับคณบดีและผู้เชี่ยวชาญจาก California Polytechnic Institute (Cal Poly) สถาบัน นี้มีชื่อเสียงมากในการผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถด้านปฏิบัติ ประสบการณ์ระหว่าง ที่ท�ำงานที่บางพระ มีส่วนส�ำคัญในการวางรากฐานการศึกษาด้านเกษตรศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สิ่งที่ได้พบเห็นและตระหนักเสมอตั้งแต่อาจารย์อยู่ที่บางพระคือ การเรียนแบบ Learn by Doing เรียนจากการลงมือท�ำของ Cal Poly แนวทางนีอ้ าจารย์ ได้น�ำมาประยุกต์ใช้ที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 36 การทีอ่ าจารย์ยนิ ดียา้ ยไปอยูท่ มี่ หาวิทยาลัยขอนแก่น เนือ่ งจากเห็นว่าอธิการบดี เป็นผูท้ มี่ คี วามคิดกว้างไกลอยากเปลีย่ นทัศนคติการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยทีม่ กั จะ เน้นด้านทฤษฏีให้รวมความสามารถในทางปฏิบัติด้วยซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อและการ ปฏิบัติงานของอาจารย์สมัยที่ด�ำรงต�ำแหน่งผู้อ�ำนวยการที่วิทยาลัยเกษตรกรรมบางพระ

การพัฒนาคณะ…งานบุกเบิกที่ท้าทาย เมื่ออาจารย์ย้ายมาที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในปี ๒๕๑๐ อาจารย์ได้บุกเบิกทั้งด้านการก่อสร้างอาคารสถานที่เรียน การพัฒนางานฝ่ายไร่ส�ำหรับ ฝึกงานและการวิจยั ในขณะนัน้ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยทีม่ พี นื้ ทีม่ ากทีส่ ดุ ในประเทศไทย จึงมีพนื้ ทีใ่ ห้พฒ ั นาจ�ำนวนมาก นอกจากนัน้ ยังต้องวางแนวทางการศึกษา ของคณะเกษตรศาสตร์ให้มจี ดุ เด่นแตกต่างจากมหาวิทยาลัยอืน่ เนือ่ งจากมาจากสถาบัน อาชีวศึกษานักศึกษาจึงตัง้ ฉายาว่า “ครูใหญ่บางพระ” อาจารย์เล่าว่า การสร้างหอประชุม ของคณะเกษตรศาสตร์ (ปัจจุบันถูกรื้อแล้ว) ตามแบบแปลนเดิมที่ออกแบบเอาไว้หอ ประชุมจะอยู่ด้านตะวันตก แต่เมื่ออธิการบดีมาดูแบบก่อสร้างก็อยากปรับให้หอประชุม ของคณะเกษตรศาสตร์กลมกลืน และเข้าคู่กันกับหอประชุมของคณะวิทยาศาสตร์ที่อยู่ คนละฝั่งถนน จึงให้หมุนผังตึกคณะ ๑๘๐ องศา เมื่อสร้างตึกเสร็จจึงพบปัญหาคือประตู ทางเข้าออกหลักของหอประชุมอยู่สูงจากพื้นดินมาก ต้องแก้ปัญหาโดยให้นักศึกษาปี ๓ และ ๔ ในขณะนัน้ และผูร้ บั เหมาช่วยกันขนดินลูกรังมาถม ขนหินทรายจากเขือ่ นอุบลรัตน์ มาวางเรียงปิดทับให้เป็นเนินที่สวยงาม นักศึกษาต้องช่วยท�ำงานจนดึกดื่นและเหนื่อย มาก บางครั้งอาจารย์ต้องให้ท�ำไข่หวานมาเลี้ยงนักศึกษา เมื่อตึกคณะเกษตรศาสตร์หลัง แรกที่รัฐบาลนิวซีแลนด์ให้ความช่วยเหลือสร้างเสร็จและเตรียมใช้เป็นสถานที่ท�ำพิธีเปิด มหาวิทยาลัย อาจารย์บอกว่ามองลงไประหว่างตึกหน้าด้านเหนือกับตึกปฏิบัติการที่อยู่ ด้านใต้ เห็นแต่ดนิ สีแดง เนือ่ งจากเวลามีนอ้ ย จะปลูกต้นไม้ปลูกหญ้าก็คงโตไม่ทนั ในทีส่ ดุ ได้ตัดสินใจเอาหินสีเทามาโรยเป็นรูปแผนที่ประเทศนิวซีแลนด์ โดยรอบเป็นกรวดสีแดง บริเวณนั้นมีต้นยอป่าใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง จึงเอาดินไปถมเสริมเป็นเนินแล้วแต่งเป็นรูปนกกีวี มีขาเป็นศิลาแลงท�ำให้ดสู วยงามแปลกตา ในวันเปิดตึกเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ประทับ ใจมากทีค่ ณะให้เกียรติประเทศของเขา ท�ำให้ความร่วมมือช่วยเหลือจากนิวซีแลนด์เป็นไป อย่างดีและต่อเนื่อง


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 37 ในด้านการเรียนการสอน อาจารย์กล่าวว่าประสบการณ์ที่บางพระท�ำให้เห็น ว่าการ Learn by Doing ส�ำคัญมากในการสร้างคนทุกระดับ อาจารย์จึงมีความคิดต่าง จากคนอืน่ ในเรือ่ งการผลิตนักศึกษาแต่ละระดับ คนทัว่ ไปคิดว่าผูท้ เี่ รียนระดับ ปวช. ต้องรู้ ทุกเรือ่ ง เวลาจ้างไปท�ำงานก็ตอ้ งท�ำได้ทกุ อย่าง แต่อาจารย์คดิ ว่าระดับ ปวช. ต้องรูเ้ ฉพาะ ทาง เช่น พืชหรือสัตว์ เป็นการเรียนรู้ว่าจะต้องท�ำอย่างไร (know how) ไม่เน้นทฤษฏี มากนัก เมื่อขึ้นมาระดับ ปวส. ก็เรียนกว้างขึ้นอีกหน่อย พอถึงระดับปริญญาตรีต้องเรียน กว้างที่สุด เพื่อจะได้ออกไปคุมงานหรือสั่งงานเป็นผู้จัดการฟาร์มได้ ในระดับปริญญาโท เรียนเฉพาะทางมากขึ้นระดับปริญญาเอกเรียนเฉพาะเจาะจงมากที่สุด เป็นการเรียนรู้ที่ สามารถอธิบายปัญหาเฉพาะด้านได้ด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ (know why) การเรียนระดับปริญญาตรีในความคิดของอาจารย์จึงต้องฝึกภาคปฏิบัติให้มาก เมือ่ ได้ทดลองท�ำจะเกิดความรักความสนใจ หลังจากนัน้ ก็จะไปศึกษาเพิม่ เติมเพือ่ อธิบาย ให้ได้เป็นเหตุเป็นผล เป็นที่รู้กันดีว่า นักศึกษาที่จบจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่เคย ประจ�ำอยู่ตามหมวดวิชาหรือฟาร์มต่างๆ มักจะเก่งในเรื่องการปฏิบัติมากกว่านักศึกษา ทั่วไป เพราะมีความรักและสนใจในสิ่งที่ท�ำ แต่มหาวิทยาลัยมีสถานที่ให้นักศึกษาอยู่ ตามฟาร์มน้อย จึงจ�ำเป็นต้องให้ฝึกงานหรือฝึกภาคปฏิบัติแทน หลักสูตรของคณะ เกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงให้ความส�ำคัญกับภาคปฏิบัติและการฝึกงานเป็น พิเศษ ในความคิดของอาจารย์บางวิชาอาจจะเรียนปฏิบัติอย่างเดียวได้ ส่วนภาคทฤษฏี ให้นักศึกษาไปอ่านเอง ซึ่งอาจารย์โดยปกติจะไม่เห็นด้วย คณะเกษตรศาสตร์ มข. จึงได้ วางหลักสูตรให้นักศึกษาฝึกงานมากถึง ๖ หน่วยกิต โดยเน้นการฝึกงานในมหาวิทยาลัย ให้ครอบคลุมทุกด้านทัง้ พืชและสัตว์ อาจารย์เชือ่ ว่าคณะควรพยายามจัดการฝึกงานเองให้ มากภายในมหาวิทยาลัย เนือ่ งจากการให้นกั ศึกษาไปฝึกงานภายนอกเป็นการสร้างภาระ ให้หน่วยงานอื่น ดังนั้น จึงต้องสร้างฟาร์มเพื่อรองรับการฝึกงานของนักศึกษา การเรียน การสอนวิชาต่าง ๆ รวมทัง้ งานวิจยั ของอาจารย์และนักศึกษาด้วย คณะเกษตรศาสตร์ มข. เป็นคณะแรกทีค่ ดิ หน่วยกิตและให้คะแนนเป็นเกรดกับวิชาฝึกงาน ในขณะทีม่ หาวิทยาลัย อื่นให้เพียงผ่านหรือตก อาจารย์บอกว่า ในความเป็นจริงถ้าให้เพียงผ่านหรือตก คงไม่มี นักศึกษาคนใดตกฝึกงานเป็นแน่ ถึงแม้ว่าจะไม่ตั้งใจฝึกงานเพียงพอก็ตาม นอกจากนั้น การไม่คิดเกรดจะท�ำให้ผู้ที่เรียนภาคทฤษฏีไม่เก่งแต่ขยันขันแข็งท�ำงานเสียเปรียบเพื่อน ที่เรียนเก่ง ความกระตือรือร้นในการท�ำงานจะน้อย จากประสบการณ์อาจารย์พบว่า ถ้า นักศึกษาสนใจและใส่ใจในงานใดก็จะท�ำได้ดี เพราะมีใจรัก การให้นกั ศึกษาฝึกงานหลายๆ


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 38 ด้านจะท�ำให้นักศึกษารู้ว่าตนเองรักหรือชอบสิ่งใด นักศึกษาจะมีทักษะการท�ำงานมาก ขึ้น เมื่อจบออกไปท�ำงานสามารถเป็นผู้ควบคุมงานที่ดีมีประสิทธิภาพ เนื่องจากผ่านการ ฝึกงานอย่างหลากหลาย ศิษย์เก่า มข. จึงได้รับค�ำชมจากหน่วยงานที่รับเข้าไปท�ำงานเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งที่อาจารย์ภาคภูมิใจที่สุด ในช่วงหลังมีการให้นักศึกษาปี ๔ ไปช่วยควบคุมดูแล การฝึกงานของนักศึกษาปีที่ ๑ หรือออกไปพัฒนาชนบท ท�ำให้รุ่นพี่ต้องค้นคว้า เพื่อ ตอบค�ำถามต่างๆให้แก่รุ่นน้องและเกษตรกร เป็นการฝึกความเป็นผู้น�ำและการสื่อสาร กับผู้อื่น ซึ่งเป็นสิ่งส�ำคัญส�ำหรับผู้ที่เรียนจบมหาวิทยาลัย อีกอย่างหนึ่งที่หลักสูตรของ มข. แตกต่างจากมหาวิทยาลัยอื่นคือ นักศึกษาที่ มข.จะเลือกเรียนสาขาวิชา (major) ช้ากว่ามหาวิทยาลัยอื่นที่เลือกสาขาวิชาในปีที่ ๒ โดยทั่วไป ๓ ปีแรกนักศึกษาที่ มข. จะเรียนคล้ายๆ กัน เพื่อให้รู้กว้างก่อน เมื่อขึ้นปี ๔ จึงไปเรียนเน้นสาขาวิชาที่ตนเองชอบ ไม่จ�ำเป็นต้องแบ่งสาขาเร็วหรือมีหลายสาขา ส่วนความช�ำนาญเฉพาะด้านก็สามารถ ไปฝึกได้ในขณะที่ท�ำงาน ในช่วงแรกคณะเกษตรศาสตร์ มข. จึงมีเพียง ๓ สาขาวิชาคือ พืชศาสตร์ สัตวศาสตร์ และปฐพีศาสตร์ อาจารย์คิดว่าน่าจะดีกว่าแบ่งย่อยลงไปมากๆ และได้ยกตัวอย่างว่าสาขาแพทยศาสตร์ระดับปริญญาตรีมีเพียงสาขาเดียว จะเรียนเป็น แพทย์เฉพาะทางภายหลังเมื่อมีประสบการณ์แล้ว แต่เนื่องจากมีแรงกดดันจากหน่วย งานราชการี่รับนักศึกษาที่มักจะระบุสาขาวิชาที่เฉพาะเจาะจง ระยะหลัง มข.จึงจ�ำเป็น ต้องแบ่งสาขาย่อยลงไปเพือ่ สนองความต้องการของหน่วยงานราชการ ซึง่ อาจารย์ไม่เห็น ด้วยนัก นอกจากนั้นอาจารย์ยังเชื่อว่า การฝึกความเป็นผู้น�ำ ต้องท�ำเมื่อนักศึกษาเรียน ในระดับปริญญาตรี นักศึกษาจึงต้องมีกิจกรรมนอกหลักสูตร เพื่อช่วยฝึกการเป็นผู้น�ำ การสื่อสาร การเอื้ออาทรต่อสังคมและเพื่อนมนุษย์ อาจารย์อยากให้นักศึกษามีกิจกรรม นอกหลักสูตรมากๆ ซึ่งจะต้องลดจ�ำนวนหน่วยกิตลง แต่ท�ำได้ยาก เพราะอาจารย์บางท่าน ไม่เห็นด้วย จึงต้องค่อยๆ อธิบายและท�ำความเข้าใจกับอาจารย์ในคณะอยู่เสมอ นักศึกษาทั้งรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ต่างรู้จักไร่ทดลองไทย-อิสราเอลหรือไร่ยิวเป็น อย่างดี ไร่นเ้ี ริม่ จากการทีบ่ ริษทั ของอิสราเอลต้องการขายอุปกรณ์การชลประทานซึง่ เขามี ความเชีย่ วชาญให้มหาวิทยาลัย อาจารย์จงึ ได้ตอ่ รองให้หาวิศวกรออกแบบระบบน�ำ้ ให้ดว้ ย และต่อมาได้ของบประมาณจากส�ำนักงบประมาณมาด�ำเนินการ ความร่วมมือที่เกิดขึ้นมี ประโยชน์หลายอย่างตามมา แรกเริม่ ผูเ้ ชีย่ วชาญอิสราเอลมักดูถกู ว่าคนไทยขีเ้ กียจ คนไทย ทั้งอาจารย์และคนงานที่ท�ำงานในไร่ยิวจึงพยายามเอาชนะค�ำสบประมาท ท�ำให้ได้นิสัย ขยันท�ำงานและประสบความส�ำเร็จหลายเรื่อง โดยเฉพาะการผลิตพืชผักและมะเขือเทศ


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 39 คณาจารย์ได้เรียนรู้เทคนิคหลายอย่างในการปรับปรุงพันธุจ์ ากอิสราเอล นอกจากนีค้ ณะ เกษตรศาสตร์ มข. ยังมีหัวหน้าคณะผู้เชี่ยวชาญจากนิวซีแลนด์ซึ่งช�ำนาญด้านเทคโนโลยี เมล็ดพันธุ์ด้วย จึงท�ำให้การเรียนการสอน การวิจัยด้านเทคโนโลยีเมล็ดพันธุ์ของคณะฯ พัฒนาได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากภาคอีสานหน้าหนาวอากาศแห้งและเย็นเหมาะส�ำหรับ การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชและเกษตรกรอีสานคุ้นเคยกับการเลี้ยงไหมและงานทอผ้าซึ่งเป็น งานละเอียดมานานแล้ว การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชลูกผสมซึ่งต้องการความประณีตในการ ผลิตจึงเป็นไปได้ คณาจารย์ของคณะฯได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ให้แก่ เกษตรกรรายย่อยและพบว่าสามารถท�ำได้ดี แม้ว่าจะเป็นงานละเอียดที่ต้องใช้ทักษะสูง ปัจจุบนั ภาคอีสานจึงเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุพ์ ชื ลูกผสมทีส่ ำ� คัญของประเทศ โดยเฉพาะ มะเขือเทศ


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 40

ทุนวิจัย…หัวใจส�ำคัญของการพัฒนา ระหว่างที่ด�ำรงต�ำแหน่งคณบดี อาจารย์ได้ติดต่อกับองค์กรต่างประเทศหลาย แห่ง เพื่อของบประมาณสนับสนุนงานวิจัย อาจารย์เล่าว่า หากต้องการให้อาจารย์ที่ส่ง ไปเรียนต่างประเทศกลับมาและท�ำงานอยูใ่ นมหาวิทยาลัยต่อไป อาจารย์ทงั้ หลายก็ควรมี เงินทุนสนับสนุนการวิจยั ในช่วงนัน้ ทุนวิจยั ทีค่ ณะเกษตรศาสตร์ มข.ได้รบั จากแหล่งต่างๆ สูงมาก ซึง่ อาจารย์ภมู ใิ จทีส่ ามารถท�ำได้ โครงการวิจยั ขนาดใหญ่ทคี่ ณะได้รบั การสนับสนุน มีพื้นฐานมาจากประสบการณ์การท�ำโครงการ Social Lab โดยประเทศฟิลิปปินส์เป็น ต้ น แบบ เนื่ อ งจากมหาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น ตั้ ง อยู ่ ใ นพื้ น ที่ ที่ สิ่ ง แวดล้ อ มมี ป ั ญ หามาก คณาจารย์ในคณะจึงมีโอกาสได้ไปศึกษาปัญหาในหมู่บ้าน แล้วน�ำมาเขียนโครงการเพื่อ แก้ปญ ั หาให้ชาวบ้าน ส่งผลให้การวิจยั สามารถแก้ปญ ั หาได้จริง และน�ำไปใช้ในทีอ่ นื่ ได้ดว้ ย การท�ำงานร่วมกันของคณาจารย์จากหลายสาขาวิชามีสว่ นช่วยให้หน่วยงานต่างประเทศ หลายหน่วยงานสนใจให้ทุนวิจัยในลักษณะโครงการขนาดใหญ่ เช่น มูลนิธิฟอร์ดให้การ สนับสนุนโครงการ Farming System Project อีกประการหนึ่งคือ คณาจารย์ มข. ส่วนใหญ่พกั อยูใ่ นมหาวิทยาลัย สามารถเดินทางไปท�ำงานได้ตลอดเวลาไม่วา่ จะเป็นกลางคืน หรือวันหยุด และอยู่ในวัยที่มีความมุ่งมั่นและทุ่มเท อาจารย์เล่าให้ฟังอย่างสนุกสนานว่า โครงการ Cassava Nutrition ที่ได้รับการสนับสนุนจาก International Development Research Centre (IDRC) นัน้ คณาจารย์ภาควิชาสัตวศาสตร์ตอ้ งจุดเทียนเขียนตลอดคืน เพื่อให้ทันส่งผู้เชี่ยวชาญชาวฟิลิปปินส์ที่เป็นผู้ประเมินโครงการ เนื่องจากในวันนั้นไฟฟ้า ดับทัง้ มหาวิทยาลัยและในเมืองขอนแก่น ทาง IDRC เห็นความตัง้ ใจอย่างสูงของคณาจารย์ จึงตกลงให้ทุนมาท�ำโครงการวิจัย ผลการวิจัยของโครงการนี้มีส่วนช่วยเป็นอย่างมากใน การน�ำไปสูก่ ารส่งออกมันส�ำปะหลังอัดเม็ดไปต่างประเทศเพือ่ ใช้ในการเลีย้ งสัตว์ โครงการ เหล่านี้ อาจารย์กวีมักจะเป็นผู้อ�ำนวยการโครงการเอง เพื่อให้คณาจารย์ได้ท�ำงานวิจัย อย่างเต็มที่ ไม่ต้องห่วงเรื่องงานบริหารโครงการ แต่อาจารย์ไม่เคยรับเงินตอบแทนจาก โครงการเลย ผลจากการที่มีเงินสนับสนุนในการท�ำโครงการ ท�ำให้คณาจารย์ส่วนใหญ่ ยังอยู่ที่ มข. แม้ว่าจะสิ้นสุดการใช้ทุนแล้วก็ตาม ระหว่างที่ด�ำรงต�ำแหน่งคณบดี อาจารย์ จะไม่ให้ผู้ที่รับทุนเรียนจบแล้วกลับมาย้ายไปที่อื่น เว้นแต่ไปเป็นคณบดีหรือผู้บริหาร ในขณะเดียวกันก็ไม่รับโอนบุคลากรที่ได้รับทุนผูกพันของที่อื่น เนื่องจากเห็นใจหน่วยงาน ทีส่ ง่ คนไปเรียนจบกลับมาแล้ว กลับไม่ได้ชว่ ยเหลือหน่วยงานตนเอง ด้วยเหตุนคี้ ณะเกษตร มข. จึงมีอาจารย์ระดับปริญญาเอกกว่า ๗๐ คนภายใน ๒๐ ปี ขณะที่เมื่อเริ่มตั้งคณะไม่มี อาจารย์ระดับปริญญาเอกเลย


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 41

ปลูกต้นไม้ ในมหาวิทยาลัย…ประโยชน์ ไกลกว่าที่คิด นอกเหนือจากงานบริหารและการจัดการด้านการเรียนการสอนแล้ว อาจารย์ ยังสนใจด้านการปลูกต้นไม้ในมหาวิทยาลัยด้วย โดยอยากให้มหาวิทยาลัยมีสวนที่ปลูก ต้นไม้จ�ำนวนมากจนร่มรื่น เหมือนกับมหาวิทยาลัยหรือสวนสาธารณะในต่างประเทศ เมื่อเดินเข้าไปในสวนจะเหมือนหลุดเข้าไปอยู่ในอีกโลกหนึ่ง ที่มีแต่ความสงบและร่มรื่น ช่วยให้คนที่เข้ามาผ่อนคลายความเครียด สวนท�ำให้มหาวิทยาลัยกับบุคคลภายนอกมี ความสัมพันธ์และใกล้ชิดกันมากขึ้น การปลูกในแต่ละบริเวณควรจะปลูกแต่ละชนิดให้ ได้จ�ำนวนมากพอ อาจจะปลูกต้นไม้ชนิดเดียวกันจ�ำนวนมากเป็น ๑๐๐ หรือ ๑,๐๐๐ ต้นในพื้นที่เดียวกัน เมื่อต้นไม้โตก็จะร่มรื่น ออกดอกสวยงามเป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือมา ศึกษาค้นคว้าได้ อาจเกิดการสร้างงานให้นักศึกษาปลูกต้นไม้ขาย หรือผลิตพันธุ์พืชใหม่ ออกมา สร้างความเข้มแข็งให้กับนักศึกษาและการเกษตรไปพร้อมกัน ก่อนลาออกจาก มหาวิทยาลัยขอนแก่นอาจารย์ได้อาสาปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณสะพานขาวให้เป็นสวน ไว้พักผ่อน ได้ปลูกปาล์มหลายสายพันธุ์รอบขอบอ่างน�้ำ มีบริเวณที่ปลูกไม้หอมไว้หลาย ชนิดเช่น บุนนาค สารภี ตันหยง โดยเฉพาะล�ำดวนได้ปลูกไว้หลายร้อยต้น อาจารย์บอก ว่าพื้นที่บริเวณสะพานขาวมีความส�ำคัญ สมควรอนุรักษ์ไว้เพราะเป็นที่ลุ่มมีความหลาก หลายทางชีวภาพสูง สวนนี้ต่อมาได้ชื่อว่า “สวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์” สวนอีกแห่งหนึ่งที่อาจารย์ได้สร้างไว้คือสวนสมุนไพรตรงข้ามอุทยานเกษตร ซึง่ อยากให้อาจารย์จากคณะอืน่ ๆ เช่นคณะวิทยาศาสตร์และคณะเภสัชศาสตร์มาร่วมกัน ศึกษา แต่ไม่สำ� เร็จ ในอนาคตอาจารย์อยากให้มหาวิทยาลัยจัดท�ำหนังสือเกีย่ วกับพันธุไ์ ม้ ต่างๆในมหาวิทยาลัย แยกเป็นกลุ่ม เช่นต้นไม้เดิมของพื้นที่ ซึ่งน่าจะมีจ�ำนวนมากมาย หลายอย่าง และต้นไม้ที่น�ำมาปลูกจากที่อื่น รวมทั้งจากต่างประเทศ คิดว่าหากมีการ รวบรวมศึกษาอย่างจริงจัง อาจน�ำไปสู่การค้นพบต้นไม้ชนิดใหม่ได้ หนังสือนี้สามารถน�ำ มาแจกจ่ายให้ผู้ที่มาเยี่ยมหรือท�ำประโยชน์ให้มหาวิทยาลัย นอกจากนั้นอาจจ�ำหน่ายแก่ ผู้สนใจทั่วไปได้อีกด้วย


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 42

อุปสรรคและการแก้ ไข ตลอดระยะเวลาอันยาวนานทีด่ ำ� รงต�ำแหน่งคณบดี อาจารย์ตอ้ งผ่านปัญหาและ อุปสรรคมากมาย อาจารย์เล่าว่า การพิจารณาความดีความชอบของผู้ใต้บังคับบัญชา ต้องท�ำด้วยความยุติธรรม และมองการท�ำงานตลอดปีที่ผ่านมา โดยไม่เอาความชอบ ส่วนตัวมาประกอบการพิจารณา จึงไม่ค่อยมีผู้ต่อว่าในเรื่องนี้ ส่วนอุปสรรคที่มีเข้ามาเสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงบุกเบิก ต้องค่อยๆ แก้ไข และปรึกษาผู้ร่วมงาน เปิดใจกว้าง ไม่ยดึ มัน่ กับสิง่ เดียวหรือมองด้านเดียว ถ้าหากเดินไปทางตรงไม่ได้กใ็ ห้เดินอ้อมไปอีกทางหนึง่ ปัญหาก็จะบรรเทาลง

มองไปในอนาคต ในการจัดการเรียนการสอนสาขาเกษตรในประเทศไทย อาจารย์มแี นวคิดอยาก ให้มีหลักสูตรแบบกลับหัว(upside down) และใช้ปรัชญา Learn by Doing ซึ่งใช้อยู่ที่ California Polytechnic State University, San Luis Obispo มหาวิทยาลัยที่มีชื่อ เสียงของสหรัฐอเมริกาในด้าน “Learn by Doing” ระบบการเรียนแบบ upside down ที่กล่าวถึงคือ แทนที่จะให้นักศึกษาที่เข้าเรียนในคณะเกษตรศาสตร์ชั้นปีที่ ๑ และ ๒ เรียนวิชาทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่จนแทบจะไม่ได้สัมผัสวิชาการผลิตด้านเกษตร เลย อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ก็ให้นักศึกษาที่เข้ามาเรียนวิชาการผลิตด้านเกษตรก่อน เพื่อให้เข้าใจและได้สัมผัสกับสายงานที่ตนเองรักหรือชอบ เมื่อไปเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ซึง่ เป็นวิชาทีเ่ อามาอธิบายสิง่ ทีศ่ กึ ษามาแล้วด้านการเกษตร จะท�ำให้นกั ศึกษารักทีจ่ ะเรียน วิชาทางด้านวิทยาศาสตร์มากขึ้น และพยายามเรียนจนจบได้ เพราะเห็นว่ามีความ ส�ำคัญ สรุปก็คือ Know ‘How’ ก่อน Know ‘Why’ นอกจากนี้หากนักศึกษาถูกรีไทร์ไป ก่อนเรียนจบ ก็ยังได้วิชาการผลิตด้านเกษตรติดตัวไปบ้าง แต่อาจารย์ไม่แน่ใจว่าจะมี ผู้เห็นคล้อยตามด้วยและน�ำไปใช้หรือไม่ อย่างไรก็ดีอาจารย์ยังหวังว่าเรื่องนี้อาจเป็นจริง ได้ในวันหนึ่ง


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 43


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 44


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 45

สารจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น รองศาสตราจารย์กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย

ผมรู้สึกเป็นเกียรติและยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รับเชิญให้เขียนสารเนื่องในงาน มุทิตาจิต ๘๔ ปี ของ รองศาสตราจารย์ ดร.กวี จุติกุล คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ คนแรกของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในครั้งนี้ ในฐานะศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยขอนแก่น รุ่นที่ ๑๑ ผมได้รู้จักท่าน รองศาสตราจารย์ ดร.กวี จุติกุล ในฐานะที่ท่านด�ำรงต�ำแหน่ง คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ในขณะนั้น เมื่อผมส�ำเร็จการศึกษาและเข้ารับราชการที่ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ท่านยังคงด�ำรงต�ำแหน่งคณบดีคณะ เกษตรศาสตร์อยู่ ท่านเป็นผู้น�ำความเจริญก้าวหน้ามาสู่คณะเกษตรศาสตร์ จนเป็น รากฐานทีส่ ำ� คัญในการพัฒนาด้านการเกษตรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และประเทศ ชาติจนถึงปัจจุบันนี้ นอกจากนี้แล้ว รองศาสตราจารย์ ดร.กวี จุติกุล ยังมีส่วนส�ำคัญใน การขับเคลื่อนและพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่น มาอย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น การวางแผน ในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของมหาวิทยาลัย การจัดท�ำระบบน�ำน�้ำจากบ้าน โกทามายังมหาวิทยาลัยขอนแก่น การจัดสร้างสวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์ เป็นต้น ในนามผู้บริหารมหาวิทยาลัยขอนแก่น ผมขอขอบพระคุณในคุณูปการมากมายที่ รศ.ดร.กวี จุติกุล ได้ท�ำให้แก่มหาวิทยาลัยขอนแก่น และขอขอบคุณพี่ๆ น้องๆ ศิษย์เก่า คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ร่วมแรงร่วมใจกันจัดงานมุทิตาจิต ๘๔ ปี ให้ท่าน รองศาสตราจารย์ ดร.กวี จุติกุล ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘ นี้ ในโอกาสนีผ้ มขออาราธนาคุณพระศรีรตั นตรัยและสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ งั้ หลาย รวมถึง ขอบารมีองค์พระธาตุพนม ศูนย์รวมจิตใจของพวกเราชาวมหาวิทยาลัยขอนแก่น โปรด อ�ำนวยพรให้ รองศาสตราจารย์ ดร.กวี จุติกุล และครอบครัว ประสบความสุข ความ เจริญ มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง อยู่เป็นร่มโพธิ์ ร่มไทร ให้กับพวกเราศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นตลอดไป

รองศาสตราจารย์กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 46

สารจากนายกสมาคมศิษย์เก่าคณะเกษตรศาสตร์ ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ ดร.เมธา วรรณพัฒน์

นับว่าเป็นบุญเป็นกุศล ทีส่ มาคมศิษย์เก่าคณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ มีโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดงานอันเป็นมงคลในการแสดงมุทติ าจิตเนือ่ งในวาระครบรอบ ๘๔ ปี ของ รองศาสตราจารย์ ดร.กวี จุตกิ ลุ อดีตคณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผูบ้ กุ เบิก ริเริม่ สร้างสรรค์และพัฒนาคณะเกษตรศาสตร์ ในทุกๆด้านทัง้ โครงสร้างและกระบวนการปฏิบตั ิ งาน พัฒนาการของบุคลากรและนักศึกษาทั้งในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา พร้อมวิสัย ทัศน์ที่กว้างไกลในการพัฒนาคณะเกษตรศาสตร์ฯ โดยเฉพาะในระยะเริ่มต้นและต่อยาวนาน มาเกือบ ๒๕ ปี จึงท�ำให้คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นคณะที่มีชื่อเสียง มีผล งานด้านการศึกษาวิจัยที่โดดเด่น สามารถผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพออกสู่การท�ำงานในวงการ เกษตรศาสตร์อย่างกว้างขวาง ทัง้ ในระดับชาติและระดับนานาชาติ และมีศกั ยภาพในการพัฒนา ต่อไปในอนาคต...... ในวาระครบรอบ ๘๔ ปี ของท่านอาจารย์ กวี จุติกุล ในนามสมาคมศิษย์เก่าคณะ เกษตรศาสตร์ ใคร่ขอแสดงมุทติ าจิต ด้วยความเคารพยิง่ ต่อท่านอาจารย์ ทีไ่ ด้กอร์ปคุณงามความ ดี พร้อมผลงานชั้นเลิศในการอุทิศตนด้วยความรู้ความสามารถ ต่อการพัฒนาคณะเกษตรฯ มข. และการพัฒนาการเกษตรไทย โดยเฉพาะการผลิตบุคลากรทีม่ คี ณ ุ ภาพต่อการพัฒนาการเกษตร ไทย ซึ่งนับว่าท่านเป็นปูชนียบุคคลสมควรต่อการเชิดชูเกียรติและยกย่องสรรเสริญเป็นอย่าง ยิ่ง พร้อมใคร่ขอกราบอาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก จง คุ้มครองปกปักษ์รักษาให้ท่านอาจารย์และครอบครัวมีความสุขความเจริญ สุขภาพร่างกายแข็ง แรงปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีอายุยืนยาว อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรเป็นที่พึ่งของคณะเกษตรศาสตร์ มข. ตลอดจน คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา สืบตลอดไป สุดท้ายนี้ใคร่ขอขอบคุณคณะกรรมการจัดงาน ศิษย์เก่าทุกๆท่าน ทุกๆรุ่น ที่ได้ทุ่มเท ก�ำลังกายก�ำลังใจ มีส่วนร่วมในงาน จนสามารถจัดงานครั้งนี้ประสบความส�ำเร็จเป็นอย่างดียิ่ง ทั้งในส่วนของงานและการระดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนฯ เพื่อการศึกษาต่อไป นับว่าเป็นการรวม พลังและสปิริตของศิษย์เก่าคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อย่างเด่นชัดและเกิดผล ดีเป็นอย่างยิ่ง ศาสตราจารย์ญาณวิทย์ ดร.เมธา วรรณพัฒน์ นายกสมาคมศิษย์เก่าคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 47

สารจากอดีตคณบดีคณะเกษตรศาสตร์ รองศาสตราจารย์.ดร.อดุลย์ อภินันทร์

ผมโชคดี ได้มโี อกาศร่วมท�ำงานกับท่านอาจารย์ดร.กวี จุตกิ ลุ ตัง้ แต่ทา่ นเริม่ ด�ำรง ต�ำแหน่งคณบดี คณะเกษตรศาสตร์ โดยต่อจากศ.พิมล กลกิจ ที่รักษาการคณบดี ตั้งแต่ ก่อตัง้ มหาวิทยาลัย อ.กวี ท่านเป็นคณบดีอยูน่ าน จนเกษียณอายุราชการ ซึง่ ท่านได้พฒ ั นา ให้คณะเกษตรศาสตร์ มีความเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างดี อาจารย์ดร.สายสุรี จุติกุล ภรรยา ก็ได้ติดตามมาเป็นคณบดี ก่อตั้งและพัฒนาคณะศึกษาศาสตร์ อ.กวี ท่านใจดีและเป็นกันเองกับทุกคน โดยเฉพาะการพูดคุยและเสียงหัวเราะของ ท่านท�ำให้พวกเรามีความสุข สนุกสนานกับท่าน ผมเป็นรองคณบดีฝ่ายกิจการนักศีกษา และรองฯบริหาร ได้รับมอบหมายให้ท�ำงานและรักษาการคณบดี ในเหตุการณ์และวาระ ที่ส�ำคัญหลายครั้ง ท�ำให้ได้ประสบการณ์การท�ำงานอย่างมากมาย ขอขอบพระคุณ อ.กวี ทีช่ ว่ ยพัฒนาตัวผมเองและบุคลากรของคณะเกษตรศาสตร์ ให้กา้ วหน้ามาด้วยดี เมือ่ ท่าน เกษียณแล้ว ยังไปช่วยพัฒนาชนบทกับโครงการศูนย์มีชัยอีกด้วย ผมมีโอกาสพบปะคารวะท่าน ในวันสังสรรค์ศิษย์เก่า ๙ รุ่น ที่ห้องอาหารเพลิน กทม. ท่านยังมีสุขภาพแข็งแรงดีมาก และมีความจ�ำเป็นเลิศ ฉะนั้น ในโอกาสที่อ.กวี มีอายุ ๘๔ ปี (๗ รอบ) ฃอเชิญชวนพวกเราทุกคน บุคลากร ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบัน ร่วมจิตร่วมใจ อาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย ศาสดา ทุกศาสนา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย รวมทั้งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้โปรด คุ้มครอง ดลบันดาลให้ อ.กวี อ.สายสุรี จุติกุล และครอบครัว มีสุขภาพ พลานามัย แข็งแรง เจริญก้าวหน้า ไม่จน ไม่เจ็บ ตลอดไป

รักเคารพอาจารย์เสมอ รองศาสตราจารย์.ดร.อดุลย์ อภินันทร์ อดีตคณบดีคณะเกษตรศาสตร์


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 48 อารันต์ พัฒโนทัย เรียบเรียง

ร�ำลึกถึงท่านอาจารย์ ดร.กวี ในมุมมองของงานวิจัย

ท่านอาจารย์ดร.กวีจุติกุลเป็นคณบดีคนที่สองของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ในทางนิตนิ ยั แต่ในทางพฤตินยั ถือได้วา่ ท่านเป็นคณบดีตวั จริงคนแรกของคณะฯ และ เป็นคณบดีทดี่ ำ� รงต�ำแหน่งยาวนานทีส่ ดุ ท่านมาบริหารคณะฯในยุคทีค่ ณะฯก�ำลังก่อร่างสร้างตัว กล่าวได้วา่ ท่านเป็นผูว้ างรากฐานของคณะเกษตรศาสตร์ ให้เป็นปึกแผ่นมัน่ คง จนสามารถพัฒนา ให้เจริญก้าวหน้ามาได้จนถึงทุกวันนี้ ในยุคของท่านคณะฯได้มกี ารพัฒนาก้าวหน้าในทุกด้าน แต่ ด้านหนึง่ ของคณะฯทีย่ คุ นัน้ มีความโดดเด่นเป็นอย่างมาก คือด้านงานวิจยั ในวาระทีท่ า่ นอาจารย์ มีอายุครบ ๘๔ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ นี้ บรรดาลูกศิษย์ลูกหาที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการจัดงาน ฉลองและจัดพิมพ์หนังสือทีร่ ะลึกให้ทา่ น ได้ขอให้ผมเขียนเล่าถึงงานวิจยั ของคณะฯในสมัยนัน้ ที่ ท่านมีสว่ นส�ำคัญในการผลักดันและสนับสนุน ให้คนรุน่ หลังได้ทราบ ซึง่ ผมมีความยินดีเป็นอย่าง ยิ่ง ที่ได้มีโอกาสเขียนถึงบทบาทของท่านในบางแง่มุม เพื่อเป็นที่ระลึกส�ำหรับบุคคลที่ผมเคารพ และชื่นชม ผมคิดว่าคนส่วนใหญ่คงไม่ทราบว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ถูกก�ำหนดให้เป็น มหาวิทยาลัยวิจัยตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ที่กล่าวเช่นนี้ก็เพราะในการก่อตั้ง ซึ่งได้รับความช่วยเหลือ จากต่างประเทศภายใต้แผนการโคลอมโบ (Colombo Plan) ได้มีข้อก�ำหนดให้รัฐบาลไทยต้อง จัดสรรงบประมาณทุนอุดหนุนวิจัยให้คณะที่เปิดด�ำเนินการในขณะนั้น ซึ่งมี ๒ คณะ คือคณะ เกษตรศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะละ ๕๐๐,๐๐๐ บาท ต่อปี (ในสมัยนั้นคณะ วิทยาศาสตร์ท�ำหน้าที่เป็นคณะบริการสอนวิชาพื้นฐานให้แก่นักศึกษาของ ๒ คณะข้างต้น) เมื่อ ท่านอาจารย์ดร.กวีเข้ามาบริหารคณะฯ ก็ได้ใช้งบประมาณส่วนนีใ้ นการสนับสนุนให้มกี ารท�ำงาน วิจัยขึ้นในคณะฯ นับเป็นจุดเริ่มต้นของงานวิจัยของคณะเกษตรศาสตร์ ในระยะแรก ๆ งานวิจัย ของคณะฯก็ยังมีไม่มากนัก ด้วยอาจารย์ยังมีน้อย อีกทั้งส่วนใหญ่จบแค่ปริญญาตรี และก�ำลัง


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 49 ทยอยไปเรียนต่อต่างประเทศกันเป็นจ�ำนวนมาก แม้กระนัน้ ก็เริม่ มีความร่วมมือกับต่างประเทศ บ้างแล้ว งานเด่นสมัยนัน้ เห็นจะเป็นงานปรับปรุงพันธุม์ ะเขือเทศ ซึง่ มีความร่วมมือกับอิสราเอล มีโครงการไทย-อิสราเอลตั้งอยู่ที่หมวดพืชผักพวกเราจึงเรียกหมวดพืชผักกันว่า “ไร่ยิว” งานวิจัยของคณะเกษตรศาสตร์ มาบูมมาก ๆ ก็ในช่วงที่อาจารย์รุ่นแรก ๆ ที่ไปเรียน ต่อต่างประเทศ จบกลับมา ช่วงนัน้ เรามีโครงการวิจยั ทีไ่ ด้รบั ทุนสนับสนุนจากองค์กรต่างประเทศ จ�ำนวนมาก เรียกได้วา่ เป็นยุคทองของคณะฯในแง่ของการได้รบั ทุนสนับสนุนจากต่างประเทศก็ ว่าได้ เริม่ ตัง้ แต่องค์กร IDRC (International Development Research Centre) ของประเทศ แคนาดา ให้ทุนสนับสนุนโครงการ Semi-Arid Crops และโครงการ Cassava Nutrition มูลนิธิ ฟอร์ด (Ford Foundation) ให้ทุนสนับสนุนโครงการระบบการปลูกพืช (Cropping Systems Research Project) หลังจากนั้นก็มีโครงการทุ่งหญ้า และโครงการ Lay Farming ที่ได้รับทุน สนับสนุนจากออสเตรเลีย ส่วนทางญี่ปุ่นก็ให้การสนับสนุนโครงการShifting Cultivation ผ่าน ทางโครงการความร่วมมือระหว่างสภาวิจัยแห่งชาติและ Japan Society for the Promotion of Science (NRCT-JSPS) หลังจากโครงการ Semi-Arid Crops ซึง่ ครอบคลุมงานวิจยั ข้าวฟ่าง ถัว่ เหลือง และถัว่ ลิสง สิ้นสุดลง องค์การ IDRC ก็ยังให้การสนับสนุนโครงการต่อเนื่อง ที่ลดขอบเขตลงเหลือเพียง งานวิจัยถั่วลิสง แต่ขยายความร่วมมือไปถึงหน่วยงานอื่น เป็นโครงการถั่วลิสงแห่งชาติ ซึ่งต่อ มาโครงการนี้ก็ได้รับทุนสนับสนุนจาก Peanut Cooperative Research Support Program (Peanut CRSP) ขององค์การ USAID ต่อเนื่องกันมาอีกหลายปีและภายใต้โครงการนี้มียังการ ด�ำเนินงานร่วมกับ North Carolina State University และ University of Georgia ด้วย ส�ำหรับโครงการระบบการปลูกพืช เมื่อสิ้นสุดลงก็ได้ขยายขอบเขตเป็นโครงการระบบการท�ำ ฟาร์ม (Farming Systems Research Project) โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก USAID แต่มูลนิธิ ฟอร์ดก็ยังให้การสนับสนุนโครงการ Rural Systems Research ซึ่งเป็นโครงการคู่ขนาน และ ยังให้ทุนสนับสนุนการด�ำเนินงานของเครือข่ายระหว่างประเทศทางด้านการศึกษาระบบนิเวศ เกษตร คือSUAN(Southeast Asian Universities for Agroecosystems Network) ที่คณะ เกษตรศาสตร์ มข. เป็น Secretariat Officeในส่วนของออสเตรเลียก็มีการสนับสนุนโครงการ KKU-ACNARP ที่ผ่านมาทางกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งครอบคลุมงานวิจัยหลายด้าน ในส่วนของ ประเทศญี่ปุ่นก็มีการสนับสนุนต่อเนื่องผ่านทางโครงการ NRCT-JSPS โดยเฉพาะในเรื่องการ ศึกษาเกี่ยวกับดินเค็มผลงานของโครงการต่าง ๆ เหล่านี้รวมทั้งโครงการวิจัยอื่นๆ ในสมัยนั้น มี สรุปไว้ในรายงานสรุปผลงานวิจัยของคณะเกษตรศาสตร์ ในรอบ ๓๐ ปีแรกของการก่อตั้ง โครงการทีไ่ ด้รบั ความช่วยเหลือจากต่างประเทศเหล่านี้ โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ มีการด�ำเนินงานในลักษณะสหสาขาวิชา มีเป้าหมายทีช่ ดั เจน และด�ำเนินการต่อเนือ่ ง อาจกล่าว


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 50 ได้ว่ากลุ่มวิจัยเฉพาะทางของคณะเกษตรศาสตร์เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยของท่านอาจารย์ดร.กวีแล้ว การทีม่ โี ครงการวิจยั เหล่านีเ้ กิดขึน้ มากมาย และด�ำเนินการต่อเนือ่ ง ก็เพราะได้รบั การสนับสนุน ผลักดัน และอ�ำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ จากท่านอาจารย์ดร.กวี อีกทั้งท่านยังมีส่วนใน การเจรจากับแหล่งทุน ให้ความมั่นใจกับแหล่งทุนในเรื่องที่คณะฯจะให้การดูแลและสนับสนุน ให้การด�ำเนินงานของโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ ในการด�ำเนินงาน ท่านก็ให้โครงการวิจัยได้บริหารงานอย่างมีอิสระ ออกระเบียบที่เอื้อต่อการด�ำเนินงาน และ ให้ความส�ำคัญต่อการท�ำงานวิจัยของบุคคลากร ท�ำให้นักวิจัยมีก�ำลังใจในการท�ำงาน ในขณะ เดียวกัน ท่านก็ได้ติดตามและรับทราบการด�ำเนินงานของโครงการต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดนโยบาย และระบบการบริหารของท่าน มีส่วนสนับสนุนอย่างมากต่อการส่งเสริมงานวิจัยของคณะฯใน สมัยนั้น มีบทบาทของท่านอาจารย์ดร.กวี อีก ๒ เรื่องที่ควรบอกเล่าให้คนรุ่นหลังได้ทราบ เรื่องแรกคือท่านเป็นผู้ก่อตั้งสถานีทดลองของคณะฯที่เขื่อนจุฬาภรณ์ โดยมีเป้าหมายที่จะให้ เป็นสถานีวิจัยด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักและไม้ผลเมืองหนาว ผมยังจ�ำได้ถึงวันที่ไปเดินส�ำรวจ สถานที่ตั้งสถานีกับท่าน ซึ่งตอนนั้นยังเป็นป่าอยู่ ท่านได้เจรจากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตจนได้รับ การยินยอมให้ใช้พื้นที่ในการตั้งสถานีทดลอง และได้ขึ้นไปติดตามอีกหลายครั้งในช่วงของการ ด�ำเนินงาน สถานีนี้มีการพัฒนาและด�ำเนินงานตามวัตถุประสงค์เป็นอย่างดีมาเป็นเวลานาน แต่น่าเสียดายที่ปัจจุบันไม่สามารถจะรักษาสภาพและบทบาทที่ตั้งใจไว้แต่เดิมให้คงอยู่ได้ด้วย เหตุผลหลายประการ อีกเรื่องหนึ่งคือการตั้งศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาการเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะเกษตรศาสตร์ หรือ ตึกขาว ในตอนนัน้ ทางองค์การ JICA ของญีป่ นุ่ แสดงเจตจ�ำนงจะให้การ ช่วยเหลือการพัฒนาการเกษตรของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึง่ ทัง้ กระทรวงเกษตรฯ และคณะ เกษตรศาสตร์ ต่างฝ่ายต่างก็เสนอโครงการขอความช่วยเหลือไปทาง JICA ในส่วนของกระทร วงเกษตรฯ ได้เสนอโครงการจัดตั้งศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาการเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยจะใช้บริเวณส�ำนักงานพัฒนาทีด่ นิ เขต ๕ทีอ่ ยูต่ รงข้ามมหาวิทยาลัยฯ เป็นสถานทีต่ งั้ ในส่วน ของคณะเกษตรศาสตร์ ได้เสนอโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยความแห้งแล้ง (Drought Research Center) ตามข้อเสนอแนะของ Professor Hayao Fukui ซึ่งขณะนั้นยังอยู่ที่ Center for Southeast Asian Studies และมาท�ำวิจัยอยู่ในภาคอีสานในช่วงของการพิจารณา ทาง JICA ได้ส่งคณะผู้เชี่ยวชาญหลายคณะมารับฟังข้อมูล ซึ่งท่านอาจารย์ดร.กวีเป็นหัวหน้าทีมเจรจาใน ส่วนของคณะฯ ผลสุดท้ายทางญี่ปุ่นตกลงให้ความช่วยเหลือทั้งโครงการของกระทรวงเกษตรฯ และโครงการของคณะฯ แต่ให้รวมเป็นโครงการเดียวกัน คือโครงการศูนย์คน้ คว้าและพัฒนาการ เกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยให้โครงการของคณะฯไปผนวกอยูก่ บั โครงการนี้ ในการให้


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 51 ความช่วยเหลือJICA จะให้งบประมาณสนับสนุนเฉพาะการสร้างอาคารและการจัดซื้อครุภัณฑ์ แต่ไม่ให้งบประมาณสนับสนุนการด�ำเนินการ ในตอนแรก ทาง JICA แจ้งว่า ตามข้อก�ำหนด ขององค์กร JICA สามารถให้งบประมาณสนับสนุนการสร้างอาคารศูนย์ได้เพียงอาคารเดียวคือ อาคารที่จะสร้างที่ส�ำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๕ ขอนแก่น และจะให้ความช่วยเหลือคณะฯได้แต่ เพียงครุภณ ั ฑ์ ไม่สามารถสนับสนุนการสร้างอาคารในส่วนทีค่ ณะฯขอไปได้แต่คงเป็นเพราะหาก ให้แต่เพียงครุภัณฑ์เครื่องมือเหล่านั้นก็จะกระจายไปอยู่ตามห้องปฏิบัติการต่าง ๆ ไม่มีอะไรที่ จะเป็นสัญลักษณ์ว่า JICA ได้ให้ความช่วยเหลือแก่คณะเกษตรศาสตร์ ในที่สุดทาง JICA ก็ให้งบ ประมาณสร้างตึกขาวด้วย โดยเรียกเป็น Annex ของตึกใหญ่ซึ่งอยู่ที่ส�ำนักงานพัฒนาที่ดินเขต ๕ฉะนั้น เป็นทางการ JICA ช่วยสร้างตึกศูนย์ฯให้เพียงตึกเดียว โดยมี Annex เป็นส่วนประกอบ แต่ในความเป็นจริง Annex ตั้งอยู่ที่คณะเกษตรศาสตร์ ห่างจากตัวอาคารหลักหลายร้อยเมตร ด้วยเหตุนี้ ตึกขาวจึงมีชื่อเรียกว่า ศูนย์ค้นคว้าและพัฒนาการเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึง่ คณะฯก็จดั ตัง้ เป็นหน่วยงานภายในของคณะฯด้วย ที่ผมเล่ามาข้างต้น เป็นเพียงส่วนเสี้ยวของงานของท่านอาจารย์ดร.กวีในการพัฒนา คณะเกษตรศาสตร์ ท่านเป็นผู้บุกเบิก พัฒนา และวางรากฐาน ให้คณะฯ เป็นผู้ที่มีคุณูปการ แก่คณะฯอย่างใหญ่หลวง สมควรที่พวกเรารุ่นหลัง ๆ จะให้ความระลึกถึง และเคารพ เชิดชู ใน โอกาสทีจ่ ะมีงานฉลองครบรอบ ๘๔ ปีของท่านผมเสียดายเป็นอย่างยิง่ ทีไ่ ม่สามารถมาร่วมกราบ อวยพรท่านได้ เนือ่ งจากอยูร่ ะหว่างไปปฏิบตั งิ านต่างประเทศ ผมจึงใคร่ขอถือโอกาสนี้ อาราธนา คุณพระศรีรตั นตรัย และสิง่ ศักดิส์ ทิ ธิท์ งั้ หลายในสากลโลก จงดลบันดาลให้ทา่ นอาจารย์ และท่าน อาจารย์ ดร. สายสุรีย์ จงมีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ และอยู่อย่างเป็นสุขต่อไปอีก นานเท่านาน

อารันต์ พัฒโนทัย ๖ เมษายน ๒๕๕๘


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 52

สารจากอดีตคณบดีคณะเกษตรศาสตร์

รองศาสตราจารย์ ดร.อเนก โตภาคงาม

เมือ่ ราวปลายเดือนกุมภาพันธ์ปนี ี้ (พ.ศ.๒๕๕๘) ผมได้ทราบจากผูท้ อี่ ยูใ่ นแวดวงเกษตร มข. ว่าท่านอาจารย์กวี (รองศาสตราจารย์ ดร.กวี จุติกุล) จะมีอายุครบ ๗ รอบ หรือ ๘๔ ปี ในปี นี้ และจะมีการแสดงมุทิตาจิตต่อท่านอาจารย์ ในราวกลางเดือนพฤษภาคม ผมก็ตั้งใจไว้แน่วแน่ ว่า จะต้องไปกราบแสดงมุทิตาจิตคารวะต่อผู้ที่ผมเคารพนับถืออย่างสูงยิ่งในวันนั้นให้ได้ เพราะ การทีผ่ มมีชวี ติ ทีด่ ี และ เป็นทีร่ จู้ กั พอสมควรในแวดวงการเกษตรของประเทศในวันนี้ ก็เพราะท่าน อาจารย์กวี ท่าน “ให้” โอกาสส่วนหนึ่ง และ เป็นส่วนส�ำคัญในการประกอบอาชีพเป็นนักวิชาการ เกษตรของผมมาตั้งแต่ต้น หลังจากวันนั้นอีกประมาณหนึ่งสัปดาห์ ผมก็ได้รับการติดต่อจากรอง ศาสตราจารย์ ดร. สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ (มข.๘ และอดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยนครพนม) ว่าจะ มีการท�ำหนังสือที่ระลึกในวาระแสดงมุทิตาจิต ต่อท่านอาจารย์ ดร.กวี และขอให้ผมในฐานะอดีต คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มข. คนหนึ่งได้เขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ในการท�ำงานวิจัย ในสมัย ทีท่ ำ� งานอยูภ่ ายใต้การดูแลและสนับสนุนจากท่านอาจารย์ ดร.กวี จุตกิ ลุ ซึง่ ผมก็ไม่ขดั ข้องเพราะ ถือว่าเป็นโอกาสที่ดี ที่จะแสดงมุทิตาจิตคารวะต่อท่านอาจารย์ นอกเหนือจาการมากราบท่าน ด้วยตนเอง ท่านอาจารย์ ดร.กวี จุติกุล ย้ายมาจากวิทยาลัยเกษตรกรรมบางพระ มารับราชการ ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในปี พ.ศ. ๒๕๑๐ และได้ด�ำรงต�ำแหน่งคณบดีคณะเกษตรศาสตร์มา ติดต่อกันตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ จนถึง พ.ศ. ๒๕๒๙ ผมได้พบท่านอาจารย์เป็นครั้งแรกเมื่อต้น ปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เมื่อไปรายงานตัวในฐานะ ผู้ผ่านการสอบคัดเลือกเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลไทย (ทุน ก.พ.) ไปศึกษาต่อต่างประเทศ ตามความต้องการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งในการพบกันครั้งแรกที่ขอนแก่นนั้น ท่านอาจารย์ ดร.กวี จุติกุล ก็ได้ให้การต้อนรับอย่าง อบอุน่ ท�ำให้ผมคิดว่าผมคงคิดไม่ผดิ ทีเ่ ลือก คณะเกษตรศาสตร์ ม.ข. เป็นสถานทีป่ ระกอบอาชีพ และพักพิง เมื่อส�ำเร็จการศึกษามา และ จากการท�ำงานภายใต้การดูแลของท่านอาจารย์ ดร.กวี ที่คณะเกษตรศาสตร์ ม.ข. มามากว่า ๑๕ ปี ผมยอมรับว่าท่านอาจารย์เป็น “อัจฉริยะ” ทางด้าน การเกษตรที่ดีที่สุดคนหนึ่งของเมืองไทย เราสามารถที่จะปรึกษาหรือขอค�ำแนะน�ำจากท่านได้ เกือบทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสัตว์ เรื่องพืช เรื่องเศรษฐศาสตร์ หรือ เรื่องสังคมการเกษตร และไม่เพียงแต่ความรอบรู้ในวิชาการเหล่านั้นเท่านั้น ท่านอาจารย์ ดร.กวี ยังสามารถบริหาร ความรูไ้ ด้อย่างยอดเยีย่ ม โดยผ่านการใช้บคุ คลากรทีเ่ หมาะสมให้ขยายผลความรูต้ า่ งๆ ทางด้าน การเกษตรได้เป็นอย่างดี ทางด้านการเรียนการสอน การวิจัย และ การฝึกอบรม


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 53 ในช่วงระยะปี พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๓๐ อาจเชื่อได้ว่าเป็นช่วงที่คณะเกษตรศาสตร์ มข. มีการพัฒนางานวิจัยอย่างเข้มแข็งภายใต้การจัดหา จัดสร้าง และ สนับสนุนของท่านอาจารย์ ดร.กวี คณะฯ มีโครงการวิจัยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลไทยและองค์กรระหว่าง ประเทศอยู่ค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับระยะเวลาเพียง ๖-๗ ปี ในการก่อตั้งคณะเกษตรศาสตร์ ที่ขอนแก่น ในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ อาทิ • โครงการ “เกษตรกรรมแบบประณีต” (Social Lab) ได้รับการสนับสนุนจาก รัฐบาลไทย และ มูลนิธิ Asia Foundation • โครงการ “ระบบการปลูกพืช” (KKU-Ford Cropping Systems) ได้รับการ สนับสนุนจากรัฐบาลไทย และ มูลนิธิ Ford Foundation • โครงการ “ปลูกพืชเขตกึ่งแห้งแล้ง” (KKU-IDRC Semi-Arid Crops) ได้รับการ สนับสนุนจากรัฐบาลไทยและInternational Development Research Center (IDRC) • โครงการ KKU-IDRC Cassava Nutrition ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย และ International Development Research Center (IDRC) • โครงการ “ ปรับปรุงทุ่งหญ้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น” (Pasture Improvement Project Khon Kaen University ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทย และ รัฐบาลออสเตรเลีย ผ่านทาง University of Queensland • โครงการ “พัฒนาพืชตระกูลถัว่ ส�ำหรับระบบการท�ำฟาร์มในภาคตะวันออกเฉียง เหนือ” (Development of Legumes for Farming Systems in Northeast Thailand) ได้ รับการสนับสนุนจากรัฐบาลไทยผ่านทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ รัฐบาลออสเตรเลียผ่าน ทาง Australian Centre for International Agriculture Research และ University of Queensland • โครงการ KKU-ACNARP ได้รบั การสนับสนุนจากรัฐบาลไทย ผ่านทางมหาวิทยาลัย ขอนแก่น และกรมวิชาการเกษตร และรัฐบาลออสเตรเลียผ่านองค์กร Australian Cooperation for Natรนืฟส Agriculture Research Project ซึ่งผมได้มีโอกาสเข้าไปร่วมท�ำงานวิจัยอยู่ ๒ โครงการ โดยการ “ให้” จากท่าน อาจารย์ ดร.กวี คือการเป็นหัวหน้าและผู้ประสานงานโครงการ ในโครงการ “ปรับปรุงทุ่งหญ้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น” และ โครงการ “ พัฒนาพืชตระกูลถั่วส�ำหรับระบบการท�ำฟาร์มใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ซึง่ เป็นโครงการวิจยั ทีท่ ำ� งานต่อเนือ่ งกันในช่วงระยะปี พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๒๕ และ ปี พ.ศ.๒๕๒๖-๒๕๒๘


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 54 ส�ำหรับโครงการปรับปรุงทุ่งหญ้า มหาวิทายาลัยขอนแก่น อาจเรียกได้ว่าเป็นการท�ำ วิจยั ทางด้านพัฒนาพืชอาหารสัตว์ ทีเ่ หมาสมส�ำหรับการเลีย้ งโค กระบือ ระดับชุมชน ในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือระดับแรกๆ โดยมีการวางแผนศึกษาหลักทางด้าน ๑. การประเมินทดสอบพืชอาหาร สัตว์ ชนิดและพันธุใ์ หม่ๆทีน่ ำ� เข้ามาจากต่างประเทศ ๒.เทคนิคการจัดสร้างแปลงพืชอาหารสัตว์ ๓. ความสามารถในการให้ผลผลิตของแปลงพืชอาหารสัตว์รปู แบบต่างๆ และ ๔. เทคโนโลยีความ อุดมสมบูรณ์ของดิน และ การผลิตเมล็ดพันธุ์พืชอาหารสัตว์ ซึ่งทั้งหมดนั้นจะเน้นการศึกษาคือ พืชอาหารสัตว์ (forage legume) ที่น�ำเข้าจากประเทศออสเตรเลีย โครงการวิจัยนี้เป็นการ ร่วมมือท�ำงานอย่างดียิ่งระหว่างอาจารย์/นักวิจัยของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ�ำนวนไม่น้อยกว่า ๒๕ คน โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร. กวี จุติกุล เป็นผู้อ�ำนวยการโครงการ (Director) และอาจารย์ ดร.เอนก โตภาคงาม และ ผศ.ประสิทธิ์ วิไลพล (ศาสตราจารย์ ดร.บุญฤา วิไลพล) เป็นหัวหน้าโครงการและผูป้ ระสานงาน (Project Leader and Co-ordinator) ฝ่ายไทย กับอาจารย์/นักวิจัย ของ University of Queensland ประเทศออสเตรเลีย ที่ม Professor Dr.L.R. Humphrey เป็น Team Leader ร่วมกับนักวิจัยออสเตรเลียไม่น้อยกว่า ๑๐ คน และ Dr.B.R. Hewitt และ Dr.H.M.Shelton เป็นผู้ประสานงาน (Co-ordinator) นอกจากนีก้ ารท�ำ วิจัยของโครงการปรับปรุงทุ่งหญ้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังเป็นการท�ำงานที่สอดประสานกับ งานของโครงการ “พัฒนาปศุสัตว์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ” ของกรมปศุสัตว์ ที่ได้รับความ ช่วยเหลือจาก World Bank โดยมี ดร.สุนทราภรณ์ รัตนดิลก ณ. ภูเก็ต เป็นหัวหน้าทีมด�ำเนิน การฝ่ายไทย ดังนั้นในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๓๐ จึงถือได้ว่าเป็นช่วงที่มีการศึกษาและด�ำเนินการ พัฒนาพืชอาหารสัตว์และปศุสตั ว์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือทีส่ ำ� คัญมากช่วงหนึง่ ของประเทศไทย ผลที่ได้รับจาการท�ำวิจัยในโครงการปรับปรุงทุ่งหญ้า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้แสดง อยู่ใน Final Report ของโครงการฯ ที่จัดพิมพ์ในปี ๑๙๘๔ (พ.ศ.๒๕๒๗) ซึ่งอาจหาอ่านได้จาก ห้องสมุดคณะเกษตรศาสตร์ หรือส�ำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือที่ University of Queensland library ผลสรุปที่เป็นรูปธรรมอาจกล่าวได้ว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ บางพื้นที่ของประเทศไทย ได้รู้จักและมีการน�ำถั่วและหญ้าพืชอาหารสัตว์ที่ส�ำคัญบาง ชนิด เช่น ถั่วสไตโล (Stylosanthes spp) ถั่วซิราโตร (Macro ptilium atropurpureum cv .Siratro ) ถัว่ เซนโตรซิมา (Centrosema spp) กระถิน (Leucaena leucocephala) หญ้ากินนี่ (Panicum maximum) สายพันธุ์ต่างๆ หญ้าเนเปียร์ (Pennisetum purpureum) หรือหญ้า ซิกแนล (Brachiaria ducumbens cv. Signal) มาใช้ในระบบการเลี้ยงโค กระบือ ระดับท้อง ถิ่นเป็นจ�ำนวนมาก และภายใต้การท�ำงานด้านการปรับปรุงพันธุ์พืช โครงการฯก็สามารถผลิต สายพันธุ์ใหม่ของถั่วสไตโล (Stylosanthes humilis) และตั้งชื่อว่าถั่ว “ขอนแก่นสไตโล” (Stylosanthes humilis cv. Khon Kaen ) ซึ่งเป็นถั่วพืชอาหารสัตว์สายพันธุ์แรกที่ผลิตขึ้น


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 55 ในประเทศไทย ถั่วขอนแก่นสไตโล มีคุณสมบัติที่ดีในการทนต่อการแทะเล็มอย่างหนักของโค กระบือ ในสภาพทุง่ หญ้าสาธารณะ หรือ ทุง่ หญ้าชุมนุมของหมูบ่ า้ น และมีการขยายพันธุด์ ว้ ยเมล็ด ด้วยตัวเอง (Seed self-regeneration) ได้ดีในธรรมชาติ โครงการฯ ได้ร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ ขยายจ�ำนวนเมล็ดพันธุถ์ วั่ ขอนแก่นสไตโล และ ถัว่ ฮามาต้าสไตโล (Stylosanthes hamata) และ น�ำไปหว่านในพื้นที่เลี้ยงสัตว์สาธารณะและแนวไหล่ข้างถนน ที่มีโค กระบือ เข้าไปหากิน หรือ เดินผ่านเป็นประจ�ำ ซึง่ ได้ทำ� ในเกือบทุกจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และในปัจจุบนั นี้ ถึง แม้ว่าเวลาจะผ่านไปเกือบ ๓๐ ปี ก็ยังสามารถพบเห็นต้นถั่วสไตโล ในพื้นที่เลี้ยงสัตว์สาธารณะ และไหล่ทางถนนในภาคอีสานนี้ได้ ความจริงที่เขียนเกี่ยวกับโครงการวิจัยของคณะเกษตราศสตร์ ม.ข. ในช่วงการก่อตั้ง คณะฯในระยะแรกๆมานี้ ไม่ได้จะแสดงถึงผลงานของโครงการเหล่านัน้ แต่ตงั้ ใจจะชีใ้ ห้เห็นว่าสิง่ นี้เป็นส่วนหนึ่งของคุณูประการที่ท่านอาจารย์ ดร.กวี จุติกุล ได้มอบไว้ให้กับคณะเกษตรศาสตร์ ผ่านทางการบริหารความรู้ การจัดการงบประมาณทรัพยากร และ การบริหารบุคคล อันเป็นการ สร้างจากฐานให้คณะฯ มีความแข็งแกร่งด้านการวิจยั มาตัง้ แต่ในอดีตจนถึงปัจจุบนั ถึงแม้วา่ ผมจะ ไม่ใช่ “ศิษย์เก่า” เกษตร มข. แต่ก็ถือได้ว่าเป็น “อาจารย์เก่า” เกษตร ม.ข. เพราะได้ท�ำงานกับ คณะเกษตรศาสตร์มามากว่า ๓๐ ปี และพอจะถือได้วา่ เป็น “ลูกศิษย์” ของท่านอาจารย์ ดร.กวี ได้คนหนึ่ง เพราะท�ำงานอยู่ใต้บังคับบัญชาของท่านมามากกว่า ๑๕ ปี ดังนั้นจากการสัมผัส การ มองเห็น และ รับทราบคุณสมบัติ บุคลิก และ การท�ำงานของท่านอาจารย์มา ตั้งแต่ผมมาสัมผัส ขอนแก่นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๓ จนถึงวาระท่านอาจารย์เกษียณ จากต�ำแหน่งคณบดี คณะเกษตรศาสตร์ ในปี พ.ศ.๒๕๓๐ ผมสามารถที่จะกล่าวได้เต็มปาก และ ยอมรับด้วยความ เต็มใจ (คนอื่นจะคิดอย่างไรก็แล้วแต่) ว่าท่านรองศาสตราจารย์ ดร.กวี จุติกุล คือบิดาคนแรก (และอาจจะเป็นคนเดียว) ของคณะเกษตรศาสตร์ มข.

ด้วยความเคารพและระลึกถึงอย่างสูงยิ่ง รองศาสตราจารย์ ดร.อเนก โตภาคงาม อดีตคณบดี คณะเกษตรศาสตร์


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 56

สารจาก

รองศาสตราจารย์ สุวรรณ วิรัชกุล และครอบครัว

อาจารย์ ดร.กวี จุตกิ ลุ เป็นทรัพยากรบุคคลทีม่ คี ณ ุ ค่าสูงยิง่ ต่อชาวคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตลอดระยะเวลา ๑๙ ปี ที่ท่านด�ำรงต�ำแหน่งคณบดีคณะเกษตรศาสตร์ ท่านได้ทุ่มเทเวลา สติปัญญาความสามารถ เพื่อส่งเสริมสร้างและพัฒนาคณะเกษตรศาสตร์ มาตั้งแต่แรกเริ่มก่อตั้งมหาวิทยาลัยขอนแก่น นับได้ว่าท่านเป็นรุ่นบุกเบิกที่ช่วยพัฒนาคณะ เกษตรศาสตร์ให้มีชื่อเสียงทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ ผมเข้ารับราชการในต�ำแหน่งอาจารย์ที่ คณะเกษตรศาสตร์ตงั้ แต่ วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๐๙ และได้รับโอกาสได้ช่วยงานในคณะเกษตรศาสตร์ตลอดมา เช่น หัวหน้างานทะเบียนนักศึกษา (พ.ศ. ๒๕๑๒-๒๕๑๕) และในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ขณะด�ำรงต�ำแหน่งหัวหน้าภาควิชาวิชาผลิตภัณฑ์ เกษตร อาจารย์ ดร.กวี ได้ชวนให้มาช่วยงานในต�ำแหน่ง รองคณบดีฝา่ ยบริหาร (พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๒๗) ท�ำให้ผมได้เรียนรูง้ านด้านบริหารและบริหารบุคคล และโดยทีท่ า่ นอาจารย์ ดร.กวี เป็นคนไม่ถอื ตัว มีเมตตา เอื้ออารี มีความเป็นกันเอง เป็นมิตรมีความเมตตา เป็นธรรมต่อศิษย์ต่อน้อง เพื่อน ร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา ผลงานของท่านที่ปรากฏจึงท�ำให้ท่านเป็นที่รัก ที่เคารพของศิษย์ และบุคลากรทัง้ ในคณะเกษตรศาสตร์และในมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผลให้ทา่ นสามารถด�ำรง ต�ำแหน่งคณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มาอย่างยาวนานและต่อเนื่องถึง ๑๙ ปี ผมมีโอกาสได้พบท่านอาจารย์ ดร.กวี ครัง้ ล่าสุดทีห่ อ้ งอาหารเพลิน ถ.วิภาวดีรงั สิต เมือ่ ปลายปี ๒๕๕๗ (จัดงานโดยศิษย์เก่าเกษตรศาสตร์ รุ่นแรกๆ) ทุกๆคนที่มาร่วมงานคงเห็นว่าท่าน อาจารย์มสี ขุ ภาพพลานามัยทีแ่ ข็งแรงทัง้ กายและใจ เหมือนเมือ่ ๔๐ ปีกอ่ น ท�ำให้ผมคิดว่าท่านคง มีเคล็ดลับทางด้านโภชนาการ ทีท่ ำ� ให้ทา่ นเป็นหนุม่ อยูต่ ลอดเวลา เท่าทีท่ ราบและสอบถามจาก ศิษย์และผูใ้ กล้ชดิ กับท่านอาจารย์ ทราบมาว่าท่านทานอาหารแบบเรียบง่าย เช่น เม็ดมะม่วงหิมะ พานทอด หรือ อบถั่วลิสง ไข่เจียว หมูทอดซี่อิ๊ว ห่านพะโล้ และกล้วยน�้ำว้า เป็นหลัก (อยากรู้ เคล็ดลับถามท่านอาจารย์ ในวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๘) ในโอกาสที่ท่านอาจารย์ ดร.กวี มีอายุครบ ๗ รอบเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และศิษย์เก่า คณะเกษตรศาสตร์ ได้จัดงานแสดงมุทิตาจิตให้ท่าน ในเดือน พฤษภาคม ๒๕๕๘ นี้ ผมขอร่วม แสดงมุทติ าจิตต่อท่านอาจารย์และครอบครัว และขออาราธนาคุณพระศรีรตั นตรัย โปรดดลบันดาล ให้ท่านและครอบครัวมีความส�ำเร็จ ความสุข ก�ำลัง สิริอายุและวรรณะ ความเจริญและอายืน มี ความส�ำเร็จในความเป็นอยู่ ขอสรรพมงคลจงมีแด่ท่านและครอบครัวตลอดกาลนานเทอญฯ ด้วยความเคารพและนับถือเป็นอย่างสูง รศ. สุวรรณ วิรัชกุล และครอบครัว


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 57 รศ.ดร.ทิพย์วรรณา งามศักดิ์ เรียบเรียง

จากภาควิชาผลิตภัณฑ์เกษตร สู่ คณะเทคโนโลยี ภาควิชาผลิตภัณฑ์เกษตร ภาควิชาผลิตภัณฑ์เกษตร จัดตั้งขึ้นในคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อให้บริการการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรและเปิดสอนวิชาเลือกการแปรรูปผลิตภัณฑ์ อาหารต่างๆให้กับนักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ มีอาคารที่เรียกว่า Service Building ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลนิวซีแลนด์ ภายใต้การสอน น�ำทางและสนับสนุนของท่านอาจารย์กวี จุติกุล ที่เป็นคณบดี คณะเกษตรศาสตร์ในครั้งนั้นภาควิชาผลิตภัณฑ์เกษตร ได้ริเริ่มงานที่เป็นพื้นฐานส�ำหรับ อุตสาหกรรมเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือดังต่อไปนี้ ๑. การศึกษาคุณภาพและคุณลักษณะบางประการของพันธุม์ ะเขือเทศเพือ่ การ แปรรูป คณะเกษตรศาสตร์ได้มกี ารทดลองปลูกมะเขือเทศพันธุต์ า่ งๆ การศึกษานีท้ ำ� ให้ ทราบพันธุ์มะเขือเทศที่เหมาะสมส�ำหรับปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเหมาะสม ส�ำหรับการแปรรูปเป็นน�ำ้ และเนือ้ มะเขือเทศ ภาควิชาผลิตภัณฑ์เกษตรได้ทำ� การเผยแพร่ และให้ของมูลทางวิชาการรวมทัง้ การสาธิตการแปรรูปเป็นน�ำ้ และเนือ้ มะเขือเทศให้กบั ผู้ ประกอบการเพือ่ ให้เกิดความมัน่ ใจทีจ่ ะลงทุนสร้างโรงงานแปรรูปมะเขือเทศและต่อมาได้ มีโรงงานโรงงานแปรรูปมะเขือเทศเกิดขึ้นแล้วในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ทิพย์วรรณา งามศักดิ์ สมใจ ศรีละออกุล ถาวร โกวิทยากร รวมชาติ แต่พงษ์โสรัถ ประทุม สงวนตระกูล และ สมไฉน นาถภากุล ๒๕๒๕ การศึกษาคุณภาพและคุณลักษณะบางประการของพันธุ์ มะเขือเทศเพื่อการแปรรูป ในรายงานการวิจัย พ.ศ ๒๕๑๙-๒๕๒๓ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หน้า ๑๒๘-๑๔๓)


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 58

๒. การศึกษาผักพื้นบ้านและศักยภาพการแปรรูปเพื่ออุตสาหกรรม

การศึกษานี้ได้รับทุนจาก Asia Foundation (ทิพย์วรรณา งามศักดิ์ สมใจ ศรีละออกุล และสมไฉน นาถภากุล ๒๕๒๕ การศึกษาถึงปริมาณของสาร Trypsin Inhibitors ในถั่วชนิดและพันธุ์ต่างๆ และผลการแปรรูปบางอย่างที่มีต่อการลดปริมาณ สารนี้ในรายงานการวิจัย พ.ศ.๒๕๑๙-๒๕๒๓ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หน้า ๑๔๔-๑๖๒ ทิพย์วรรณา งามศักดิ์ ประทุม สงวนตระกูล สมไฉน นาถภากุล ถาวร โกวิทยากร และสมใจ ศรีละออกุล ๒๕๒๕ การศึกษาคุณภาพและคุณลักษณะบางประการในการ แปรรูปแตงดอง รายงานการวิจัย พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๒๓ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หน้า ๑๗๗-๑๙๓ นิ มิ ต ร วรสู ต ร ทิ พ ย์ ว รรณา งามศั ก ดิ์ และประทุ ม สร้ า งสาม ๒๕๒๕ การศึกษาอิทธิพลของปุย๋ ไนโตรเจนและระยะเวลาการเก็บทีม่ ตี อ่ ผลผลิต และคุณภาพรับ ประทานของข้าวโพดหวานในรายงานการวิจัย พ.ศ. ๒๕๑๙-๒๕๒๓ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หน้า ๔๙-๕๙)

๓. การแปรรูปนมพาสเจอร์ไรส์

คณะเกษตรศาสตร์ได้มีหน่วยโคนมและมีการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงโคนมขึ้น ในจังหวัดขอนแก่น แต่ยังไม่มีโรงงานแปรรูปน�้ำนม จึงจ�ำเป็นที่ภาควิชาผลิตภัณฑ์เกษตร ต้องช่วยน�ำน�ำ้ นมมาแปรรูปนมพาสเจอร์ไรส์และบรรจุถงุ ขายเพือ่ ให้เกษตรกรผูเ้ ลีย้ งโคนม ความมัน่ ใจและเกิดการขยายอาชีพต่อไป ปัจจุบนั มีการเลีย้ งโคนมทัว่ ไปในภาคตะวันออก เฉียงเหนือ มีโรงงานแปรรูปน�้ำนมเกิดขึ้นและมีศูนย์กระจายน�้ำนมอยู่ทั่วไป

๔. การสร้างเครื่องมือแปรรูปอาหาร

ภาควิชาผลิตภัณฑ์เกษตรได้รับกาสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญจากรัฐบาลนิวซีแลนด์ มาช่วยสร้างเครือ่ งมือแปรรูปอาหารขนาดเล็กและภายหลังเกิดโครงการร่วมมือระหว่าง ๕ มหาวิทยาลัย คือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยขอนแก่น


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 59 โดยมีการอบรมเจ้าหน้าที่เทคนิคและสร้างเครื่องมือแปรรูปอาหารโครงการ นี้ท�ำให้มหาวิทยาลัยต่างๆมีเครื่องมือแปรรูปอาหารไว้ใช้สอนและวิจัยเป็นการประหยัด งบประมาณภาควิชาผลิตภัณฑ์เกษตรยังได้ชว่ ยผลิตเครือ่ งมือแปรรูปอาหารให้กบั โรงงาน อุตสาหกรรมอีกด้วย

๕. โครงการวิจัยอาหารถั่วพุ่ม ( Home Processed Legume, Thailand)

โครงการวิจยั นีไ้ ด้รบั ทุนสนับสนุนจาก International Development Research Centre (IDRC) ประเทศแคนาดา พ.ศ. ๒๕๒๑-๒๕๒๔ โครงการวิจัยนี้การใช้ถั่วพุ่มเพื่อ เป็นอาหารเสริมทางโภชนาการ

• มีการศึกษาส�ำรวจพฤติกรรมการกิน (Eating Habits) ของชาวชนบทใน ๑๐ หมู่บ้านจังหวัดขอนแก่น • มีการพัฒนาสูตรอาหารอาหารถัว่ พุม่ เพือ่ ใช้รบั ประทานเป็นอาหารประจ�ำวัน เป็นอาหารเสริมทางโภชนาการ และสร้างเมนูอาหารประจ�ำวัน ๗ วัน • มีการศึกษารูปแบบการน�ำอาหารอาหารถั่วพุ่มไปส่งเสริมในหมู่บ้าน • มีการพัฒนาสูตรอาหารอาหารถั่วพุ่มและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ถั่วพุ่มเพื่อ การค้าเพื่อเสริมรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกถั่วพุ่ม • มีการศึกษาการแปรรูปถัว่ พุม่ ให้เป็นแป้งเพือ่ ง่ายในใช้ประกอบอาหารและ ท�ำผลิตภัณฑ์และทดลองสร้างโรงสีแป้งถั่วพุ่มในหมู่บ้าน โครงการวิจัยนี้ได้ท�ำการถ่ายทอดผลการวิจัยสู่ชนบทจ�ำนวน ๔๔ หมู่บ้าน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยส่งเสริมให้ใช้ถั่วพุ่มเป็นอาหารเสริมโปรตีน ร่วมกับ โครงการ อิสานเขียว ในช่วง พ.ศ. ๒๕๓๑-๒๓๓๗ ดังนั้นจะเห็นว่าภายใต้วิสัยทัศน์ และ Guidance ท่านอาจารย์กวี จุติกุล ท่านได้ช่วยสร้างความรู้ ประสบการณ์ให้แก่บุคลากรภาควิชาผลิตภัณฑ์เกษตร ได้ช่วย ริเริ่มโครงการต่างๆที่น�ำไปสู่การขยายตัวของอุตสาหกรรมเกษตรในภาคตะวันออกเฉียง เหนือและของประเทศ โดยการที่ภาควิชาผลิตภัณฑ์เกษตรในภายหลังได้ย้ายไปเป็นภาค วิชาเทคโนโลยีอาหาร คณะเทคโนโลยีได้มกี ารผลิตบัณฑิตทัง้ ในระดับปริญญา ตรี โท และ เอกสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหาร



๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 61 ผศ. ถาวร โกวิทยากร เรียบเรียง

รศ.ดร.กวี จุติกุล

ผู้บุกเบิกไร่ทดลองเกษตรที่ มข. ผมเจอ ดร.กวี จุติกุล ครั้งแรกตอนผมบรรจุเป็นอาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ ท�ำให้เกิดความประทับใจเป็น อย่างยิ่งในความรอบรู้และจิตใจที่เปี่ยมล้นไปด้วยความกระตือรือร้นของท่านที่พร้อม จะบุกเบิก และสร้างสิง่ ทีม่ คี า่ หรือวิญญาณแห่งการบุกเบิก (spirit of pioneer) จึงเป็นทีม่ า ของผลงานที่ฝากไว้ให้เราคณาจารย์ และศิษย์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ใช้ศกึ ษา ค้นคว้าวิจยั และฝึกทักษะวิชาชีพ ทีส่ ำ� คัญไปกว่านัน้ คือท่านเป็นคณบดีคนแรก ของคณะเกษตรศาสตร์ ซึ่งด�ำรงต�ำแหน่งต่อเนื่องกันนานถึง ๑๙ ปี เดิมทีเดียวอาจารย์คณะเกษตรศาสตร์มีสถานที่ท�ำงานรวมกับอาจารย์คณะ วิทยาศาสตร์-อักษรศาสตร์ ที่ตึกวิทยาศาสตร์ และนักศึกษาเรียนภาคบรรยายที่อาคาร รูปวงกลม (ตึกกลม) และมีห้องปฏิบัติการทดลองอยู่ที่อาคารสี่ชั้นที่ดาดฟ้ามีเรดาตรวจ สภาพดินฟ้าอากาศของกรมอุตินิยมวิทยา ซึ่งสามารถส�ำรวจ ตรวจจับ กลุ่มเมฆไปถึง ชายแดนประเทศลาวละเวียตนาม เมื่อมีการก่อสร้างอาคารเรียนของคณะเกษตรศาสตร์ โดยความช่วยเหลือชอง รัฐบาลนิวซีแลนด์ ภายใต้แผนการโคลัมโบ (Colombo Plan) ได้มีจุดเด่นของตึกนี้คือ จัดให้มีห้องซาวแลบ (sound lab) ที่มีอุปกรณ์บันทึกเสียงการพูด การฟังภาษาอังกฤษ ทีท่ นั สมัยมาก (ในขณะนัน้ ) ทราบมาว่าเป็นความคิดของท่าน ดร.กวี จุตกิ ลุ เพราะท่านเป็น


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 62 ห่วงเรือ่ งการออกเสียงภาษาอังกฤษและการฟังของนักศึกษา นักศึกษาคณะเกษตรศาสตร์ รุ่น ๑ รุ่น ๒ นับว่าค่อนข้างโชคดีทีเดียวที่มีผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ เช่น นิวซีแลนด์ แคนนาดา และอืน่ ๆ ร่วมเป็นอาจารย์สอนในหลายๆวิชา และมีอาจารย์คนไทยเป็นผูร้ ว่ ม ติวและสอนด้วย ท�ำให้บัณฑิตรุ่นแรกๆมีความสามารถในด้านการฟัง ความเข้าใจ และ เขียนภาษาอังกฤษได้ดี งานทางด้านสัตวบาลได้มกี ารสร้างโรงเรือนส�ำหรับเลีย้ งไก่ สุกร โคนม และโคเนือ้ โดยเฉพาะโคนมได้มกี ารติดต่อประสานงานกับคุณโชคชัย บุลกุล แห่งฟาร์มโชคชัย อ�ำเภอ ปากช่อง อันเป็นทีม่ าของการบริจาคแม่พนั ธุโ์ คนมพันธุข์ าว-ด�ำ ให้กบั คณะเกษตรศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้พันธุ์โคนม ฝึกหัดรีดนมวัว และฝึกหัดการผสมเทียมวัว ซึ่งต่อ มาทราบว่าได้น�ำเชื้อแช่แข็งของพ่อพันธุ์ที่มีประวัติดีเด่นจากต่างประเทศมาท�ำการผสม และเกิดลูกหลานทีด่ ตี ามมา เนือ่ งจาก ดร.กวี จุตกิ ลุ เรียนมาทางด้านสัตวบาล โดยเฉพาะ ทางด้านโภชนาการของทั้งสัตว์และคน เมื่อมีโรงเรือนเลี้ยงไก่เลี้ยงสุกร ก็ให้สร้างโรงผสม อาหารสัตว์ ท�ำให้ครบวงจร เป็นการลดต้นทุนแทนการซือ้ อาหารสัตว์สำ� เร็จรูป และยังช่วย ให้นักศึกษาได้ฝึกฝนและเรียนรู้การผลิตอาหารสัตว์ งานทางด้านพืช ในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ เมื่อผู้เขียนมาท�ำงานใหม่ๆ เรายังไม่มีแปลงทดลองปลูกพืชไร่ พืชสวน ยกเว้นเรือนเพาะช�ำที่สร้างเป็นเรือนกระจก แบบฝรั่ง ผมได้รับมอบหมายให้ดูแลงานทางด้านพืช จึงได้ถอดกระจกด้านข้างของเรือน กระจกออกคงเหลือแต่ส่วนกระจกที่เป็นหลังคา โรงเรือนนี้จึงสามารถใช้ในการปลูกพืช ประดับบางชนิดได้ เนื่องจาก ดร.กวี จุติกุล เคยเป็นผู้อ�ำนวยการวิทยาลัยเกษตรกรรม บางพระ อ�ำเภอศรีราชา มาก่อน สมัยนั้นถ้ากล่าวถึงอาจารย์ปิฏฐะ บุนนาค ท่านก็เป็น เอกหรือกูรทู างด้านไม้ประดับ โดยเฉพาะปาล์ม คณะเกษตรศาสตร์ได้รบั ความอนุเคราะห์ เกีย่ วกับพันธุป์ าล์มและแนวคิดต่างๆ ทีส่ ำ� คัญคือ อาจารย์วารินทร์ ทองเจริญ (ศิษย์ของอา จารย์ปิฏะฐ บุนนาค) ที่ได้รับการบรรจุท�ำงานในคณะเกษตรศาสตร์ ก็เป็นก�ำลังส�ำคัญใน การบุกเบิกงานทางด้านไม้ประดับ โดยเฉพาะไม้ดอกหอมของไทย ซึง่ ได้รบั ความสนใจเป็น พิเศษจาก ดร.กวี จุติกุล ใครอยากดูและรู้จักไม้ดอกหอมของไทย สามารถเข้าไปเดินชม ได้ที่สวนร่มเกล้ากาลพฤกษ์ สะพานขาว พร้อมทั้งพันธุ์ปาล์ม จากอาจารย์ปิฏถะ บุนนาค ที่ปลูกไว้นานกว่า ๓๐ ปีแล้ว


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 63

ไร่ทดลองไทย-อิสราเอล ด้วยความกรุณาจาก ฯพณฯ พจน์ สารสิน (อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัย ขอนแก่น) และศ.ดร.พิมล กลกิจ ได้เรียนปรึกษากับท่านฑูตอิสราเอลประจ�ำประเทศไทย สมัยนั้น เกี่ยวกับวิกฤตน�้ำในมหาวิทยาลัยขอนแก่น (และมี ดร.กวี จุติกุล ร่วมอยู่ด้วย) เพราะมักมีคำ� พูดเสมอว่ามอดินแดงไม่มนี ำ �้ และแม้การเจาะบ่อบาดาลก็ยงั ไม่มนี ำ�้ เพียงพอ ให้บุคลากรและห้องปฏิบัติการทดลองด�ำเนินการได้ ไม่ต้องพูดถึงเรื่องน�้ำเพื่อการเกษตร ทางออกในขณะนั้นมีข้อคิดว่า อาจย้ายมหาวิทยาลัยไปตั้งอยู่ที่ท่าพระซึ่งใกล้กับแม่น�้ำชี หรือย้ายไปตั้งอยู่ที่เขื่อนอุบลรัตน์ อ�ำเภอน�้ำพอง หลังจากการเข้าพบท่านฑูตอิสราเอล แล้ว ได้รบั แจ้งจากสถานฑูตอิสราเอลว่าจะให้ความช่วยเหลือแก้ปญ ั หาวิกฤตเรือ่ งน�ำ้ ของ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยจะจัดส่งเจ้าหน้าที่จากอิสราเอล คือมิสเตอร์ อิสลัก เอป ผู้อ�ำนวยการ และมิสเตอร์ จี จีเฟน หัวหน้าวิศวกรแหล่งน�้ำและจัดส่งน�้ำของนิคมมูลนิธิ ชาวยิ ว ขอให้ ม หาวิ ท ยาลั ย ขอนแก่ น จั ด เจ้ า หน้ า ที่ ใ ห้ ข ้ อ มู ล และส� ำ รวจแหล่ ง น�้ ำ ใน มหาวิทยาลัย และในเขื่อนอุบลรัตน์ ฯลฯ ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น เรามีอา่ งเก็บน�ำ้ ไกล้ประตูดา้ นสีฐานทัง้ ฝัง่ ตะวันออกและ ฝั่งตะวันตกที่กรมชลประทานสร้างไว้ มีปริมาณน�้ำอยู่จ�ำนวนมากพอสมควร แต่เป็นอ่าง เก็บน�ำ้ แต่สร้างบนดินเค็ม หรือดินเอียด มีเกลือสินเธาว์อยูช่ นั้ ล่างใต้ดนิ จึงมีความเค็มกว่า ๘๐๐ พีพีเอ็ม (ppm) ใช้ปลูกพืชไม่ได้ และเค็มจนสัตว์ เช่น วัว ควาย เดินหนีไม่ยอมกิน และโชคดีทมี่ หาวิทยาลัยยังมีแหล่งน�ำ้ จืดอยูแ่ ห่งหนึง่ ทีห่ นองหัวช้าง ซึง่ กรมชลประทานขุด สร้างให้เช่นกัน แต่รวบรวมน�ำ้ ฝนได้นอ้ ย ปริมาณน�ำ้ ขึน้ อยูก่ บั ปริมาณฝนทีต่ ก ผูเ้ ชีย่ วชาญ อิสราเอลได้แนะน�ำให้บกุ เบิกป่ารอบๆหนองหัวช้างประมาณ ๑๐-๒๐ ไร่ แล้วจัดเป็นแปลง ทดลองปลูกพืช โดยสูบน�้ำจากหนองหัวช้าง แปลงนี้จึงเป็นแปลงทดลองแปลงแรกที่ใช้ ระบบพ่นน�้ำแบบสปริงเกอร์ (sprinker) แบบอิสราเอล และเป็นที่มาของค�ำว่า ไร่ทดลอง ไทย-อิสราเอล หรือ ไร่ยิว นอกจากนี้ทางผู้เชี่ยวชาญอิสราเอลได้แนะน�ำให้บุกเบิกพื้นที่ ส�ำหรับท�ำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์และพืชไร่อีก ๘๐๐ ไร่ โดยจัดสรรเป็นพืชทุ่งหญ้า ๒๐๐ ไร่ พืชไร่ ๕๐๐ ไร่ และผักกับไม้ผลอีก ๑๐๐ ไร่ เพื่อรองรับโครงการชลประทานขนาดใหญ่ เมื่อน�ำน�้ำจากเขื่อนอุบลรัตน์มาใช้


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 64 ขณะที่พาผู้เชี่ยวชาญชาวอิสราเอลไปยืนดูน�้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ มิสเตอร์ จี จีเฟน ได้อ่านปริมาณน�้ำที่บันทึกไว้ที่เขื่อนและได้จดบันทึกลงในสมุดบันทึกของเขา และทอด สายตาไปในทิศทางที่มีน�้ำสุดลูกหูลูกตา เขาอุทานออกมาดังๆว่าปริมาณน�้ำในเขื่อนมี มากมายมหาศาลเป็นร้อยเท่าของปริมาณน�้ำจืดที่เขามีในทะเลสาบน�้ำจืด กาลีลี่ บวกกับ น�้ำบาลดาลทั้งหมดที่เขามีอยู่ภายใต้ดินแดนของอิสราเอล ดร.กวี จุติกุล หันมามองหน้า ผม แต่ผมรูแ้ ละเข้าใจว่าอาจารย์สง่ ความหมายว่า คนไทยเรานีม้ นี ำ�้ เยอะแต่เสียดายทีไ่ ม่รู้ จักน�ำไปใช้ ดีแต่พูดหรือบอกว่าไม่มีน�้ำ ขาดแคลนน�้ำ อิสราเอลเสียอีกที่เขาขาดน�้ำจริงๆ จนต้องวางแผนเอาน�้ำเสียจากเมืองมาใช้ในการเกษตร ผลิตอาหารเลี้ยงประชากรเขา และยังมีเหลือเพื่อส่งออกไปขายยังประเทศอื่นๆในยุโรปอีกด้วย แผนการจัดหาน�้ำเข้ามาในมอดินแดงจึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก โดยจากเขื่อน อุบลรัตน์มีการส่งน�้ำโดยคลองชลประทานเข้าโครงการชลประทานหนองหวาย ปริมาณน�้ำ ที่ส่งมาเพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรที่จะปลูกพืชในเวลากลางวัน แต่ถ้า มหาวิทยาลัยจะใช้อาจมีปัญหาหากจะสูบน�้ำจากคลองชลประทานโดยตรง จึงต้องสร้าง แหล่งเก็บกักน�้ำขนาดใหญ่จ�ำนวน ๒ บ่อ ที่บ้านโกทาหลังค่ายทหาร แล้วตั้งเครื่องสูบส่ง มายังมอดินแดงอันเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งห่างจากที่ติดตั้งเครื่องสูบน�้ำ ประมาณ ๖ กิโลเมตร ปัญหาที่ส�ำคัญคือการขุดวางท่อผ่านทางรถไฟและถนนมิตรภาพ ต้องได้รับการอนุมัติจากการรถไฟและกรมทางหลวง แต่เป็นคราวโชคดีที่ ฯพณฯ พจน์ สารสิน เป็นรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติ ซึง่ หน่วยงานทัง้ สองอยูใ่ นก�ำกับ ดูแลของท่าน ท่านจึงสามารถด�ำเนินการได้โดยความสะดวกและรวดเร็ว เรือ่ งยากก็กลาย เป็นเรื่องง่าย เป็นอันว่าไม่ต้องย้ายมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มอดินแดง ซึ่งตั้งอยู่สูงกว่า ตัวเมืองขอนแก่นประมาณ ๕๐ เมตร ไปที่อื่น เพราะว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นมีน�้ำแล้ว ได้สอบถามผูเ้ ชีย่ วชาญอิสราเอลว่าท�ำไมถึงต้องวางแผนท�ำเกษตรชลประทานมอ ดินแดงตั้ง ๘๐๐ ไร่ เขาตอบทันทีว่าท�ำเล็กกว่านี้ไม่ได้เพราะไม่คุ้มกับการลงทุน เมื่อมีน�้ำ ส�ำหรับการเกษตร ๘๐๐ ไร่ สามารถปลูกพืชได้ ๓-๔ ครั้งต่อปี โดยไม่ต้องรอฤดูฝนเพียง อย่างเดียว ก็เท่ากับมีพื้นที่เป็น ๒,๔๐๐-๓,๒๐๐ ไร่ ดังนั้นแผนการใช้น�้ำในมอดินแดง จึงแบ่งได้เป็น ๒๐% ส�ำหรับบุคคลากร (บ้านพัก หอพัก ที่ท�ำงาน และห้องปฏิบัติการ) (เพราะขณะนัน้ เรามีเพียง ๔ คณะ คือ เกษตรศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์-อักษร ศาสตร์ และศึกษาศาสตร์) แต่น�้ำเพื่อการเกษตรถูกจัดสรรให้ ๘๐%


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 65 เมื่อเราทดสอบเตรียมที่ปลูกพืชในส่วนหนึ่งแล้วยังไม่เต็มพื้นที่ที่อิสราเอลวางไว้ ท่าน ดร.กวี จุติกุล เกิดความคิดใหม่ว่า มันไม่เป็นการยุติธรรมเลยที่เรามาผลิตพืชเพื่อ มุ่งหน้าจ�ำหน่ายขายแข่งกับเกษตรกรที่เป็นชาวบ้าน ขณะที่ชาวบ้านมีต้นทุนแต่เรามีงบ ประมาณด�ำเนินการ ไม่มีต้นทุนเช่นชาวบ้าน จะเป็นการซ�้ำเติมเกษตรกรหรือเปล่าถ้ายึด แนวทางของผูเ้ ชีย่ วชาญอิสราเอล อีกทัง้ การวิจยั ปลูกพืชในระบบชลประทานอาจขาดทุน เนื่องจากราคาผลิตผลไม่แน่นอนและถูกก�ำหนดโดยพ่อค้าคนกลางซึ่งเป็นระบบเก่า เรา ไม่เหมือนอิสราเอล ดังนั้นควรเปลี่ยนแนวทางไปเน้นที่การวิจัย การเพิ่มประสิทธิภาพ การเพิ่มผลผลิต การสร้างมูลค่า นอกเหนือจากการให้นักศึกษาได้ทดลองฝึกฝนหา ประสบการณ์ในแปลงขนาดเล็กที่ส�ำคัญ ส่วนการท�ำในเรื่องการเกษตรแปลงขนาดใหญ่ ให้ไปดูแปลงของเอกชนขนาดใหญ่

โครงการอบรมเกษตรกรรมแบบปราณีต ท่ า น ดร.กวี จุ ติ กุ ล ได้ มี แ นวคิ ด ที่ ส� ำ คั ญ อี ก อย่ า งหนึ่ ง เมื่ อ ท่ า นได้ ม าอยู ่ ท่ี มหาวิทยาลัย ได้ออกหมู่บ้าน เยี่ยมเยียนเกษตรกร ที่นิคมน�้ำพอง บ้านบึงฉิม บ้านพระ คือ ดอนดู่ ฯลฯ เมื่อท่านศึกษาอยู่ที่ มลรัฐอิลินอย สหรัฐอเมริกา เห็นฝรั่งท�ำฟาร์มขนาด ใหญ่ แต่สภาพทีท่ า่ นได้พบเห็นทีอ่ สี านบ้านเราล้วนแล้วแต่เป็นเกษตรกรรายเล็กรายย่อย เมื่อ ดร. บุญธรรม เทศนา พูดถึงห้องปฏิบัติการทางเคมี ฟิสิกส์ เครื่องยนต์ แปลงปลูก พืช แล้วท�ำไมจึงไม่มีห้องปฏิบัติการทางสังคม (social lab) บ้าง เมื่อเราไม่เข้าใจสังคม ชาวบ้านเรา แล้วเราจะพัฒนาเขาได้อย่างไร ดร. กวี จุติกุล จึงให้ท�ำโซเซียลแลบที่บ้าน ดอนดู่ และเมือ่ มีฝรัง่ ชาวอเมริกนั จากมูลนิธเิ อเชียไปดูและพบปะพูดคุยกับชาวบ้านดอนดู่ ต�ำบลพระลับ อ�ำเภอเมือง ขอนแก่น ในครั้งนั้น ดร. กวี บอกฝรั่งว่า นี่เป็นห้องปฏิบัติการ ในหมูบ่ า้ นของชาวบ้าน อยากจะให้มหี อ้ งปฏิบตั ขิ องชาวบ้านในมหาวิทยาลัยขอนแก่นด้วย เพราะการเรียนเกษตร และถ่ายทอดวิชาการต้องผ่านกระบวนการปฏิบัติจริง คือ ท�ำได้ คิดเป็น และบริหารเป็น พอดีกับตอนนั้นผู้เขียนก�ำลังร้อนวิชาที่ได้ไปพบเห็นเกษตรกร ที่ไต้หวันปลูกพืชทั้งปี แม้แต่พื้นที่ข้างถนน ไม่มีที่ว่างเปล่าเลย ประกอบกับได้ไปใช้ชีวิต กินนอน และร่วมกิจกรรมอยู่ในนิคมของอิสราเอล ทั้งคีบุต โมชาฟ และโมชาฟซีทูฟี น่า จะน�ำเอาสองแนวทางของจีนไต้หวันมาผสมผสานกับการจัดการสหกรณ์แบบโมชาฟมา ประยุกต์ใช้


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 66 ปัจจัยการกิน การผลิตและการขายผ่านระบบร้านสหกรณ์ของโครงการ หัวหน้า ทุกครอบครัวต้องฝึกหัดการเป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์คนละครึ่งเดือน โดยได้เรียนรู้การ จัดหา จัดซื้อ ลงบัญชีร้านค้าสหกรณ์ ผลผลิตที่ผลิตได้ต้องลงบัญชีของแต่ละครอบครัว แล้วจัดรวมตั้งราคา จัดเวรให้แม่บ้านแต่ละครอบครัวไปฝึกหัดขายหรือจ�ำหน่ายสินค้า วิธีการผลิตน่าสนใจมาก คือ เป็นการแย่งหรือเพิ่มผืนแผ่นดินจากเวลา ขณะที่ พืชชนิดหนึ่งใกล้จะเก็บเกี่ยวต้องปลูกพืชอีกชนิดหนึ่งลงไป ๒๐-๒๕ วันก่อนเก็บเกี่ยว หรือปลูกพืชให้ไต่กัน ที่ดิน ๑ ไร่ ต้องปลูกให้ได้ ๔-๕ ครั้งต่อปี เมื่อให้พื้นที่ ๒ ไร่ ต่อครอบครัว ต้องสามารถท�ำให้เหมือนกับมีที่จริง ๘-๑๐ ไร่ เพราะมีน�้ำทุกตารางนิ้ว และทุกเวลานาทีที่ต้องการ อันเป็นที่มาของโครงการอบรมเกษตรกรรมแบบปราณีต หรือ หมูบ่ า้ น ๑๐ หลัง ส�ำหรับ ๑๐ ครอบครัว ทีใ่ ครมามอดินแดงมักขอเยีย่ มชมโครงการนี้

ที่จริงมีอีกหลากหลายที่อยากจะเขียนเล่าให้ฟังเกี่ยวกับ ดร. กวี จุติกุล และคณะ เกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แต่โอกาสนี้ได้รับมอบหมายให้เล่าอย่างย่อเฉพาะ เรือ่ งทีผ่ มน่าจะเป็นผูท้ รี่ เู้ รือ่ งมากกว่าใครอืน่ เนือ่ งจากได้รบั ผิดชอบดูแลมาตัง้ แต่ตน้ อย่าง ต่อเนื่องและยาวนาน


รศ.ดร.กวี จุติกุล คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะ ประธานโครงการอบรมเกษตรกรแบบประณีต ซึง่ เป็นโครงการระหว่างคณะเกษตรศาสตร์ กับมูลยิธเิ อเชีย เป็นประธานในพิธมี อบเกียรติบตั รแก่เกษตรกรทีผ่ า่ นการอบรม หลักสูตร ๑ ปี รุน่ ๑ เมือ่ วันที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๒ ทีส่ ำ� นักงานโครงการมหาวิทยาลัยขอนแก่น



๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 69

การแสดง Jazz Piano Concert โดย Dr. Joseph Howard และ Mrs. Joan Howard โดยมี รศ.ดร. กวี จุติกุล เป็นพิธีกรกิติมศักดิ์ ที่ห้องประชุมคณะเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๒๒ เวลา ๑๙.๐๐ น.


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 70 รศ. สุวัฒน์ จิตต์ปราณีชัย เรียบเรียง

๔๖ ปี แห่งความหลังที่สงสัย

เข้าท�ำงาน มข. ง่ายมาก สมัครแค่พูดคุยกัน ที่โต๊ะพิมพ์ดีดเท่านั้น หลังจากจบ ป.โท จากฟิลิปปินส์ เมื่อต้นปี พ.ศ. ๒๕๑๒ สมัครงานแห่งแรกที่ มูลนิธิบูรณะชนบทของ ดร.ป๋วย อึ้งภากรณื ซึ่งได้รับทาบทามไว้ก่อนจากเจ้าหน้าที่ของ มูลนิธิที่ไปดูงานที่ฟิลิปปินส์ ขณะเดียวกันกับพี่ชายที่มีธุรกิจขายยางรถยนต์ ได้ฝากเข้า เป็นพนักงานในต�ำแหน่งฟอร์แมน ของโรงงานผลิตยางรถยนต์ที่ก�ำลังจะเปิดด�ำเนิน การในจังหวัดปทุมธานี แต่เผอิญได้พบกับ อาจารย์กนก ผลรักษ์ เพื่อนร่วมรุ่นศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ท�ำงานในคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นอ ยู่เเล้วโดยบังเอิญที่โรงภาพยนตร์เมโทร กทม. ด้วยค�ำพูดเพียงประโยคเดียว “ไอ้ซูโม่ (นิคเนมที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) ไปช่วยข้าหน่อย เด็กเกษตรและวิศวะมันตีกัน บ่อย” เป็นเหตุให้ไปสมัครงานอีกแห่งทีส่ ำ� นักงานประสานงานของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ ส�ำนักงานสภาการศึกษาแห่งชาติ ถนนสุโขทัย กทม. ซึ่งเป็นห้องแคบๆ ดูเหมือนว่าจะ มีโต๊ะท�ำงานอยู่สองโต๊ะ และโต๊ะพิมพ์ดีดอีกสองตัวเท่านั้น บรรยากาศของการรับสมัครเรียบง่าย เป็นการพูดคุยแบบตัวต่อตัวที่โต๊ะพิมพ์ ดีด คู่สนทนาจดจ่อกับการพิมพ์ดีด นานๆ จะหันมามองหน้าสักครั้งกับค�ำถามที่ส�ำคัญๆ เช่น ภูมิหลังครอบครัว การอุทิศพื่อส่วนรวม หน้าที่และบทบาทที่เป็นประโยชน์ต่อ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และสังคม จึงมีโอกาสได้สำ� รวจการแต่งกายชายทีน่ งุ่ กางเกงสี กากีแบบข้าราชการทั่วไป คาดเข็มขัดเก่าๆ และลักษณะวิธีการพิมพ์ดีด


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 71 และแล้วไม่นาน ได้รับหนังสือเรียกตัวภายในวันที่ ๑๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๒ หากเลยก�ำหนดถือว่าสละสิทธิ์ สร้างความล�ำบากใจในการตัดสินใจอยู่หลายวัน ระหว่าง การได้รับเงินเดือน ๖,๐๐๐ บาท ในต�ำแหน่งฟอร์แมน หรือ ๔,๕๐๐ บาท ในการเป็น เจ้าหน้าที่ของมูลนิธิบูรณะชนบท หรือว่าเป็นอาจารย์ที่คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ที่ยงัไม่รู้เลยว่าจะได้รับเงินเดือนเท่าใด รู้แต่ว่าเงินเดือนปริญญาตรีในขณะนั้น คือ ๑,๓๐๐ บาท ปริญญาโทก็คงมากกว่าเล็กน้อย สุดท้ายได้เดินทางเข้ารับราชการเป็นอาจารย์โททันตามวันที่ก�ำหนด ด้วยเหตุผล การตัดสินใจโดยค�ำนึงถึงการสร้างประโยชน์เป็นส�ำคัญ แม้จะได้เงินเดือนต�ำ่ สุดแต่สามารถ สร้างลูกศิษย์เพื่อแพร่กระจายรับใช้ประเทศชาติได้กว้างขวางกว่าการเป็นเจ้าหน้าที่ที่ท�ำ ประโยชน์แค่ที่จังหวัดชัยนาท และผิดกับเงินเดือนสูงมากๆ ขนาดนั้นสามารถซื้อทองได้ ประมาณ ๒๐ บาท ในขณะนั้น แต่ท�ำประโยชน์ให้เพียงโรงงานเดียวเท่านั้น ท่านสุดท้ายทีจ่ ะต้องเข้าพบเพือ่ รายงานตัวก็คอื ท่านคณบดีเกษตรศาสตร์ ดร.กวี จุติกุล ก็เป็นผู้เดียวกันกับที่ท�ำท่าพิมพ์ดีด สงสัยจนป่านนี้ว่า ที่ท่านพิมพ์น่ะ พิมพ์อะไร และไม่ต้องสงสัยเลยว่า พิมพ์ไม่ได้ศัพท์เป็นแน่แท้ เพราะท่าทาง วิธีการจิ้มดีด เป็นรอง กว่าเหล่าต�ำรวจนายเวรทีร่ บั แจ้งความบนโรงพักหลายเท่า จะรอดพ้นจากการสังเกตของ นักพิมพ์ดีดที่สอบผ่านถึงนาทีละ ๓๕ ค�ำ เกินเกณฑ์ก�ำหนดถึง ๕ ค�ำได้อย่างไร


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 72

สวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์ เป็นสถานที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเอื้อประโยชน์แก่ประชากรชาวมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ บุคคลทั่วไป ส�ำหรับการ พักผ่อนและการออกก�ำลังกาย ตลอดจนเป็นพื้นที่ส�ำหรับกิจกรรมนันทนาการต่างๆ ด้วยทัศนียภาพทีส่ วยงามและความร่มรืน่ ของแมกไม้ ทีป่ กคลุมพืน้ ทีก่ ว้างขวางทีก่ ล่าวได้ ว่าเป็นพื้นที่สีเขียว จึงเป็นที่มีผู้เข้ามาใช้ประโยชน์จ�ำนวนมากอันประกอบด้วยทั้งสมาชิก มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ บุคคลทั่วไป สถานที่แห่งนี้จึงเป็นพื้นที่รองรับผู้คนจ�ำนวนมาก ที่ได้ใช้ประโยชน์เพื่อการออกก�ำลังกาย ในช่วงเช้า และ เย็น ของแต่ละวัน สวนร่มเกล้า กัลปพฤกษ์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ป่าเต็งรังที่อยู่ในสภาพเสื่อมโทรม และรกร้าง ที่ได้รับการฟื้นฟูภายใต้โครงการสวนสาธารณะในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี ๒๕๒๙ โดยมี รศ.ดร. กวี จุติกุล อดีตคณบดี คณะเกษตรสาสตร์ เป็นบุคคลส�ำคัญท่านหนึ่งที่ได้ ร่วมผลักดันให้มีการด�ำเนินการจนส�ำเร็จ มีการส�ำรวจและกันพื้นที่ไว้ประมาณ ๑๑๐ ไร่ ส่วนที่ลุ่มพื้นที่ประมาณ ๓๐ ไร่ ถูกกันไว้ใช้เป็นพื้นที่สร้างอ่างเก็บน�้ำดิบเพื่อผลิตประปา ซึ่งรับน�้ำจากทางทิศเหนือของมหาวิทยาลัยพื้นที่ที่เหลือเป็นป่าเต็งรังและเบญจพรรณ ได้ท�ำเป็นสวนสาธารณะโดยการอนุรักษ์พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าธรรมชาติและเสริมด้วย สถานที่นันทนาการ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ จึงได้ตั้งชื่อ “สวนร่มเกล้ากัลปพฤกษ์” พืน้ ทีร่ อบสระน�ำ้ เป็นพืน้ ทีส่ ำ� หรับนันทนาการเพือ่ การพักผ่อนหย่อนใจและออกก�ำลังกาย มีถนนรอบสระน�้ำระยะทางประมาณ ๘๐๐ เมตร และมีอุปกรณ์ส�ำหรับการออกก�ำลัง กายติดตั้งไว้ตามจุดต่างๆ นอกจากนี้ชั้นนอกของสวนยังมีเส้นทางจักรยานพื้นที่ส่วนนี้จึง ท�ำหน้าที่เป็นพื้นที่ส�ำหรับนันทนาการ เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและการออกก�ำลังกาย


การฟื้นฟูพื้นที่แห่งนี้ซึ่ง ณ เวลานั้นยังคงมีสภาพเป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติที่รกร้าง เสือ่ มโทรม มีหญ้าเพ็กปรากฏกระจายในพืน้ ที่ ซึง่ เป็นข้อบ่งชีว้ า่ พืน้ ทีส่ ว่ นใหญ่เป็นป่าเต็งรัง อันเป็นลักษณะส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นับได้วา่ เป็นประโยชน์ตอ่ การศึกษา ด้านธรรมชาติวทิ ยา บริเวณสระน�ำ้ อันเป็นจุดเด่นของพืน้ ที่ ซึง่ ตัง้ อยูฝ่ ง่ั ตะวันออกของพืน้ ที่ เดิมมีสภาพป่าที่เสื่อมโทรมมาก เป็นที่ลุ่มต�่ำเก็บกักน�้ำฝนที่ไหลบ่ามาจากตอนเหนือของ พืน้ ที่ ปัจจุบนั พบว่ามี มะค่าโม เขลงและปอฝ้าย เป็นพรรณไม้ปา่ ทีย่ งั คงเหลืออยูท่ บี่ ง่ ชีว้ า่ เดิมเป็นพืน้ ทีป่ า่ เบญจพรรณ ส่วนทางตอนใต้ เป็นอีกพืน้ ทีท่ เี่ คยมีสภาพเป็นป่าเสือ่ มโทรม มาก ซึ่งสังเกตได้ว่าเคยมี เพ็ก และ โจด เป็นพรรณไม้ดั้งเดิมที่ปรากฏในพื้นที่ แสดงให้ เห็นว่าพืน้ ทีส่ ว่ นนีเ้ ดิม เป็นป่าเต็งรัง เดิมเป็นพืน้ ทีป่ า่ เต็งรัง บริเวณทิศเหนือถูกก�ำหนดเพือ่ รักษาและยังคงไว้ซึ่งระบบนิเวศป่าเต็งรังดั้งเดิม เพื่อเป็นพื้นที่ส�ำหรับการศึกษาปัจจุบัน มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยส�ำนักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชด�ำริ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ได้จัดท�ำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ สนับสนุนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชใน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี








๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 80

เตือนใจศิษย์ ค�ำว่าครูดูให้ซึ้งควรพึงคิด ศิษย์ได้ดีมีค่าเมื่อลาไป เมื่อยามเรียนเพียรรู้ครูเร่งเร้า เมื่อยามพลาดอนาถจิตคิดถึงใคร

ครูนั้นศิษย์พึงเคารพนบน้อมไหม จ�ำได้ไหมใครเคยเกื้อเมื่อเยาว์วัย เมื่อยามเขลาครูเฝ้าฝึกเคยนึกไหม ครูใช่ไหมเช็ดน�้ำตาคราอับจน

ยามศิษย์พรากจากไกลใจคิดถึง ยินเพียงว่าศิษย์สมหวังดังใจตน มนต์ชีวิตของครูอยู่เพื่อศิษย์ งานสร้างชาติใหญ่จริงยิ่งชีวี

เฝ้าค�ำนึงถามไถ่ใจสับสน ดวงกมลก็เป็นสุขทุกราตรี ยอมอุทิศใจกายไม่หน่ายหนี ครูกวีพลีเป็นนิจศิษย์นิยม

ขอมอบความดีบูชา ครูในดวงใจ รศ.ดร.กวี จุติกุล ครูต้นแบบของคำ�ว่า “ ครู ”

ผศ.ว่าที่ รท.ดร.ทรงศักดิ์ จุนถิระพงศ์ ศิษย์เก่ารุ่น ๑๒ ปรับจากต้นฉบับที่ ได้รับรางวัลกลอนดีเด่น โรงเรียนวัดสังเวช บางลำ�พูน กทม. ๑๖ มกราคม ๒๕๑๖


สนับสนุนโดย


สนับสนุนโดย


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 83

สนับสนุนโดย

บริษัท ผักดอกเตอร์ 1993 จำ�กัด

๓ หมู่ ๖ ต.บึงกาสาม อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี ๑๒๑๗๐ www.doctorveg.com


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 84

สนับสนุนโดย


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 85

สนับสนุนโดย


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 86

สวนทวีทรัพย์ จ�ำหน่าย : กล้ายางพันธุ์ดี และผลไม้ตามฤดูกาล เช่น ทุเรียน มังคุด ลองกอง กล้วยหอม มะละกอ แก้วมังกร และส้มโชกุน

ยินดีต้อนรับ พี่ๆ เพื่อนๆ น้องๆ ชาวเกษตร มข. ทุกท่าน เชิญแวะเยี่ยม ชม ชิม ช๊อป ครับ/ค่ะ ที่อยู่ : สวนทวีทรัพย์ ๕๐ หมู่ ๕ ต. ทะเลทรัพย์ อ. ปะทิว จ. ชุมพร ๘๖ ๑๖๐

เข้าทางแยก อ. ปะทิว (ทางเข้าสนามบินชุมพร) ห่างจากถนนเพชรเกษม ๑๐ กม. เยื้องโรงเรียนชุมพรทะเลทรัพย์ รอต้อนรับโดย : วีรวัฒน์ จีรวงส์ (ต้อม ก๗) ๐๘ ๙๘๙๙ ๑๓๑๐ สุวนิตย์ จีรวงส์ (จุ๋ม ก๙) ๐๘ ๖๓๙๐ ๐๘๙๖

สนับสนุนโดย นายพิพัฒน์ จวนรุ่ง ศิษย์เก่า รุ่น 9


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 87

สนับสนุนโดย นาย ชัยยันต์ โลหพันธุ์วงศ์ ศิษย์เก่า รุ่น ๑๐


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 88

สนับสนุนโดย นาย ประจักษ์ ธีระกุลพิสุทธ์ ศิษย์เก่า รุ่น ๑๐


๘๔ ปี รศ.ดร. กวี จุติกุล 89

คณะกรรมการจัดทำ�หนังสือที่ระลึก รศ.ดร. สุวิทย์ เลาหศิริวงศ์ ผศ.ดร. อนันต์ หิรัญสาลี รศ.ดร. อ�ำนวย ค�ำตื้อ อ.ดร. บรรยง ทุมแสน นางสาวปิยะฉัตร เชยชุ่ม นายภาสกร เตือประโคน ขอขอบคุณ ผู้บริหาร คณาจารย์ ศิษย์เก่า พี่ๆ น้องๆ ที่สนับสนุน ข้อเขียน รูปภาพ และกำ�ลังใจ

พิมพ์ที่ : บริษัท ศิริภัณฑ์ (2497) จำ�กัด โทร 042-221141



Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.