สถาน ณ กาล Architecture through time [TH]

Page 1


สถาน ณ กาล ความสัมพันธ์ของเวลากับสถาปัตยกรรม อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมลศิริ ประจงสาร

จัดทาโดย นายภีมพล ลีฬหาวงศ์ 02580049

262 214 การศึกษารายบุคคลในงานสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

-1-


“But when does something's destiny finally come to fruition? Is the plant complete when it flowers? When it goes to seed? When the seeds sprout? When everything turns into compost?” - Leonard Koren, Wabi-Sabi: For Artists, Designers, Poets & Philosophers “แต่เมื่อใดกันที่สิ่งหนึ่งจะบรรลุความบริบูรณ์ พืชพรรณจะบริบูรณ์เมื่อผลิดอกออกผลอย่างนั้นหรือ? หรือเมื่อร่วงโรยเป็นเมล็ดอย่างนั้นหรือ? หรือเมื่อเมล็ดงอกงามเป็นต้นกล้าอย่างนั้นหรือ? หรือเมื่อทุกสิ่งดับสูญเป็นเถ้าธุลีอย่างนั้นหรือ?” - ลีโอนาร์ด โคเรน -2-


พุทธศาสนากล่าวว่าทุกสิ่งล้วนเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 ประการ หมายถึงสามัญลักษณะ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง อันได้แก่ อนิจจลักษณะ ลักษณะไม่เที่ยง มีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ทุกขลักษณะ ลักษณะทนอยูต่ ลอดไปไม่ได้ ถูกบีบคั้นด้วยอานาจ ของธรรมชาติทาให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป อนัตตลักษณะ ลักษณะไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตาม ต้องการได้ กล่าวคือ สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา โดยที่เราไม่สามารถ บังคับควบคุมได้ ไม่ว่าจะเป็นดิน ฟ้า อากาศ ต้นไม้ ก้อนหิน หรือแม้แต่ตัวเรา เอง รวมไปถึงสถาปัตยกรรมด้วย

-3-


ทาไมจึงเรียกว่า “เก่า(aged)” หรือ “มีอายุ(aging/ageing)” ริ้วรอยบนอาคาร หรือการผุกร่อนของอาคาร อาจเป็นคาศัพท์ที่ใช้ เรียกสิ่งที่เกิดขึ้นกับอาคารเมื่อผ่านการใช้งานไปได้ เพราะสิ่งเหล่านัน้ ล้วน เกิดขึ้นจริงบนพื้นผิวของสถาปัตยกรรม แต่คาศัพท์สองคานี้ก็เป็นเพียงการบ่ง บอกสภาพของสิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนไป เทียบกับสภาพของสิ่งเดิมในอดีตเท่านั้น ผมจึงเลือกใช้คาว่า เก่า เพราะเป็นคาเรียบง่ายทีส่ ื่อความหมายได้ ตรงไปตรงมา เข้าใจง่าย สิ่งต่าง ๆ ล้วนต้องเก่าล้วนต้องแก่เป็นธรรมดา นอกจากนี้คาว่า เก่า ยังสามารถแสดงออกถึงการเดินทางผ่านกาลเวลา ที่ ศัพท์คาว่าริ้วรอย หรือการผุกร่อนไม่อาจสื่อได้ เมื่อพิจารณาคาว่าเก่า ในภาษาอังกฤษที่ผมจงใจเลือกคาว่า aged และ aging นั้น ก็ยังมีความต้องการที่จะสื่อความหมายแฝงเอาไว้ในคาเหล่านี้ อีกด้วย คาว่า aged สามารถใช้คู่กับคาศัพท์ได้อีกหลายคาเช่น aged wine, aged cheese, aged meat สื่อถึงการบ่มของเวลาเพื่อเปลีย่ นสิ่งด้อย ค่า ให้เป็นสิ่งที่มีมลู ค่าสูงขึ้น นับเป็นการให้ความสาคัญกับเวลาที่มผี ลกับ คุณสมบัติของสิ่งหนึ่งอย่างชัดเจน คาว่า aging มักใช้กับการเติบโต การเปลีย่ นแปลงของสิ่งมีชีวิต ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของชีวิตไปจนจุดจบ คาคานี้ไม่ได้มองการเติบโตเป็นเพียงการ

-4-


เสื่อมถอยของสังขารเท่านั้น แต่ยังสื่อถึงการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงของ สังขารนั้นด้วย เมื่อรวมความหมายของสองอย่างเข้าด้วยกันจึงได้สิ่งที่ผมให้ ความสาคัญกับการศึกษาครั้งนี้ นัน่ คือการเปลีย่ นแปลงของงาน สถาปัตยกรรม และเวลา นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ผมเลือกใช้คาว่า เก่า ในการสื่อ ความหมาย

-5-


เก่าแบบไหนได้บ้าง บ้านร้างก็เรียกบ้านเก่า โบราณสถานก็เรียกได้ว่าเก่า แล้วความเก่า แบบไหนที่เป็นความเก่าที่ผมสนใจ ความเก่าที่ผมสนใจ กับความเก่า ความรกร้าง ความโบราณนั้น แยกจากกันด้วยตัวแปรง่าย ๆ เพียงอย่างเดียว นั่นคือ มนุษย์ มนุษย์นี้เองเป็นตัวแปรที่จะบ่งบอกว่าสถาปัตยกรรมนั้นกาลังเก่า หรือกาลังตาย เพราะเมื่อมีมนุษย์ย่อมต้องมีการดูแลรักษาสภาพของสิ่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกอาคารเพื่อให้สามารถใช้งานได้ตามปกติ และเมื่อผ่าน การใช้งานก็จะเกิดริ้วรอย เกิดการผุกร่อนในแบบที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์ นั่นทาให้สถาปัตยกรรมนั้นเก่าลง แต่เมื่อใดก็ตามที่ไม่มีมนุษย์ วัตถุตา่ ง ๆ ที่เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ย่อมไม่ สามารถทาริ้วรอยให้เกิดขึ้นบนตัวเองได้ ดังนั้นสิ่งที่จะประทับริ้วรอยลงบน วัตถุเหล่านั้นคือธรรมชาติ การกัดกร่อนของลม ฝน ฝุ่นละออง ย่อมทาให้เกิด คราบที่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างจงใจ การเติบโตของต้นหญ้า มอส รา ไม่ได้ถูก ควบคุมดูแลโดยมนุษย์ สิ่งเหล่านีไ้ ม่ได้เกิดขึ้นเพราะการตอบสนองการใช้งาน นั่นคือสถาปัตยกรรมนั้นกาลังตาย

-6-


"วาบิ-ซาบิ" (侘寂 wabi-sabi) วาบิ-ซาบิ เป็นคาที่ใช้ในการอธิบายวิธีการมองศิลปะในแบบญี่ปุ่น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความงาม และชีวิตที่พิถีพิถัน ตามหลักปรัชญาของพุทธ ศาสนานิกายเซน ซึ่งแพร่หลาย และมีอิทธิพลอย่างมากต่อการออกแบบสิ่ง ต่าง ๆ ที่มีความเป็นญี่ปุ่น เนื่องจากสอดคล้องกับวิถีชิวิต และสภาพแวดล้อม ของคนญี่ปุ่น หากจะอธิบายความหมายของคาว่า วาบิ-ซาบิ ก็คงทาได้ยาก เหมือนการพยายามอธิบายสี หรือความรูส้ ึก ดังนั้นการยกตัวอย่างให้เห็น ภาพจึงอาจเป็นทางเลือกที่ดีทสี่ ุด ลองจินตนาการถึงบ้านที่ทุกอย่างเป็นประกายระยิบระยับ สะอาด ไร้ที่ตติ ลอดเวลาจนน่าอึดอัด เหมือนเป็นพิพิธภัณฑ์เสียมากกว่าบ้านสาหรับ อยู่อาศัยในชีวิตประจาวัน บ้านควรเป็นเสมือนสถานทีส่ าหรับหลบเร้นจาก โลกภายนอก สถานที่ที่เราจะสามารถปลดปล่อยความเป็นตัวเอง โดยไม่ คานึงถึงกฎเกณฑ์ของโลกภายนอก เทียบกับบ้านอีกหลังหนึ่งที่เก่าและเรียบง่ายกว่า ภาพของบ้านแถบ ชนบทที่ทาจากไม้ผุ ๆ มีกลิ่นอายความดิบของวัสดุ อุปกรณ์การเกษตรวาง ระเกะระกะบนสนามหญ้าหน้าบ้านที่มีหญ้าขึ้นรกเป็นบางจุด มีรอยแตกร้าว บนผนัง และลูกบิดประตูที่เริ่มใช้งานได้ไม่ดีแล้ว สิ่งเหล่านี้อาจเป็น ส่วนเล็ก ๆ ที่จะสามารถเติมเต็มความหมายของคาว่า วาบิ-ซาบิให้ชดั เจนขึ้น ได้ -7-


คาว่า วาบิ แสดงให้เห็นถึงความไม่สมบูรณ์, ความเรียบง่าย และคาว่า ซาบิ แสดงให้เห็นถึงผลของกาลเวลาที่มตี ่อวัตถุ เมื่อรวมกันแล้วจึงเกิดภาพอันแจ่มชัดของชีวิตที่สมถะ โดยไม่ จาเป็นต้องบริสุทธิ์ผุดผ่อง แต่ก็ไม่มีวัตถุที่ไม่จาเป็นเข้ามาเจือปน ในบางครั้ง เรารูส้ ึกตะขิดตะขวงใจที่จะจับต้องสิ่งของที่ดูใหม่ และ สะอาด แต่เรากลับรูส้ ึกว่าสิ่งของเก่า ๆ สามารถหยิบจับได้สะดวกกว่า นั่น เพราะร่องรอยของกาลเวลา และความไม่สมบูรณ์ของเนื้อวัตถุนั้น สะท้อนให้ เห็นถึงชีวิตของตัวเราเอง ไม่มสี ิ่งใดจีรังยั่งยืน ไม่มสี ิ่งใดสมบูรณ์แบบ ไม่มสี ิ่งใดที่บริบูรณ์ สิ่งต่าง ๆ ล้วนเป็นไปตามวัฏจักรของการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แนวคิดนี้เป็นกุญแจสาคัญของรากฐานของคติ ความงามแบบญี่ปุ่น ดังที่จะเห็นได้จากงานสถาปัตยกรรมของญี่ปุ่น คือไม่มี สถาปัตยกรรมใดที่สร้างขึ้นเพื่อให้คงทนถาวร สถาปัตยกรรมเหล่านัน้ มักถูก สร้างขึ้นจากไม้ ซึ่งมีข้อจากัดในเรือ่ งของอายุการใช้งานตามธรรมชาติ ต่าง จากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งสร้างจากหินและเหล็ก สะท้อนภาพลวง ของความคงทนเหนือกาลเวลา แท้จริงแล้ว วัสดุต่าง ๆ นั้น ไม่ว่าจะมาจากธรรมชาติ หรือเป็น ผลผลิตจากนวัตกรรมของมนุษย์ พวกมันล้วนมีเวลาเป็นของตัวเอง สุดท้าย แล้วรอยแตกร้าว คราบสกปรก และการดับสลายก็จะเป็นประจักษ์เข้าสักวัน -8-


ความขลังของความเก่า ไม่ได้เกิดขึน้ เพียงเพราะกาลเวลาเท่านั้น หากแต่สิ่งที่สาคัญที่สดุ อีกอย่างหนึ่งก็คือ ความรัก ความเอาใจใส่ ความรู้สึก และความผูกพันของผู้คนกับสิ่งรอบตัวต่างหาก ที่ทาให้ความเก่านั้นเป็นสิ่งที่ น่าหลงใหลอย่างแท้จริง

-9-


การเฝ้ามองสิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนแปลง ก็เหมือนกับการดูละครเรื่องหนึ่ง การศึกษาในคณะสถาปัตยกรรมสอนให้นักศึกษาฝึกออกแบบพื้นที่ ที่ตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้ได้ดี มีคุณภาพของพื้นที่ที่ดี มีรูปทรงของ สถาปัตยกรรมทีส่ วยงามดึงดูด ผมจึงเกิดคาถามขึ้นมาว่าสถาปัตยกรรมที่เราร่าเรียนกันมานั้น สิ้นสุดเพียงเท่านี้จริงหรือ ผมคิดว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเปลือกของสถาปัตยกรรมเท่านั้น เพราะเมื่อสถาปัตยกรรมนั้นถูกสร้างขึ้นมาแล้ว ก็จะดารงอยู่ไปอีกหลายปี ไม่ มีใครสอนเราว่าเมื่อผ่านกาลเวลาไปนั้น สถาปัตยกรรมจะเปลี่ยนไปเช่นไร จะต้องบารุงรักษาอย่างไรเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ไป ได้ยาวนาน การเรียนวิชาออกแบบสถาปัตยกรรมจึงเหมือนกับว่าเรากาลังทา ภาพยนตร์ขึ้นมาเรื่องหนึ่ง เราเรียนรู้ที่จะสร้างตัวละคร และพื้นหลังของเรื่อง ได้อย่างสมบูรณ์ แต่กลับไม่มีความสามารถในการเขียนบทละครที่จะบอกเล่า ได้ว่าเนื้อเรื่องจะดาเนินไปในทิศทางใด จะมีพัฒนาการไปในทิศทางใด และ จะจบลงอย่างไร

- 10 -


“The tides of time should be able to imprint the passing of the years on an object. The physical decay or natural wear and tear of the materials used does not in the least detract from the visual appeal, rather it adds to it. It is the changes of texture and color that provide the space for the imagination to enter and become more involved with the devolution of the piece. Whereas modern design often uses inorganic materials to defy the natural ageing effects of time, wabi sabi embraces them and seeks to use this transformation as an integral part of the whole. This is not limited to the process of decay, but can also be found at the moment of inception, when life is taking its first fragile steps toward becoming.� ― Andrew Juniper, Wabi Sabi: The Japanese Art of Impermanence

- 11 -


“กระแสของกาลเวลาควรประทับร่องรอยของวันปีที่ผันผ่านลงบนวัตถุ การบุบสลายทางกายภาพ หรือร่อยรอยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของ การใช้งานวัสดุไม่ได้ลดคุณค่าความงามของมันลงไปแม้แต่น้อย แต่มันกลับเป็นส่วนที่เติมเต็มความงามเข้าไปต่างหาก มันคือการเปลี่ยนแปลงของพื้นผิวและสีสัน ซึ่งเปิดพื้นที่ให้จินตนาการ เข้ามามีส่วนร่วมกับการเติบโตของวัตถุนั้น แม้ว่าการออกแบบสมัยใหม่มักจะใช้วัสดุที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เพื่อแสดงให้เห็นถึงผลลัพธ์ที่กาลเวลากระทาต่อสิ่งต่าง ๆ แต่วาบิ-ซาบิก็ได้โอบอุ้มความคิดเหล่านี้ไว้ และมองว่าการเปลีย่ นแปลงเป็นสาระ นี่ไม่ได้จากัดอยู่แค่กระบวนการของการผุกร่อนเท่านั้น แต่ยังพบได้ในจุดเริม่ ต้นของชีวิต เมื่อเริ่มก้าวไปขางหน้าอย่างเปราะบาง” - แอนดรูว จูนิเปอร์

- 12 -


สิ่งหนึ่งเก่าลงได้อย่างไร การเก่าลงของสิ่งหนึ่ง เกิดขึ้นจากความสัมพันธ์ของ 2 สิ่งคือ สเปซ (space) กับเวลา (time) สเปซในที่นี้ไม่ได้หมายถึงห้วงอวกาศ แต่หมายถึงวัตถุที่ครอบครอง ความว่างโดยการเข้าไปเติมเต็มความว่างนั้น โดยทั่วไปมักมี 3 มิติ คือ กว้าง ยาว สูง จินตนาการว่าเวลาสามารถแบ่งย่อยเป็นเสีย้ วเล็ก ๆ ได้เหมือนกับ เฟรมในภาพยนตร์ ทุก ๆ เฟรมจะมีภาพที่ต่างออกไปจากเดิมเล็กน้อย และ เมื่อเล่นเฟรมนั้นเร็ว ๆ ความเปลีย่ นแปลงเล็กน้อยนี้ก่อให้เกิดการเคลื่อนไหว ที่ดูต่อเนื่องกัน เมื่อเวลาเป็นเฟรมย่อย ๆ ในภาพยนตร์ ภาพที่อยู่ภายในเฟรม ที่ทาให้เห็นการเปลี่ยนแปลงนั้นก็คือสเปซ และการเล่นเฟรมภาพยนตร์นั้นก็ คือการเกิดขึ้นของความสัมพันธ์ระหว่างสเปซกับเวลา กาลเวลาที่เคลื่อนไปข้างหน้านั้น นอกจากจะทาให้เห็น “การ เปลี่ยนแปลง” ของสเปซแล้ว ยังทาให้เรารูส้ ึก “คุ้นเคย” กับสิ่งนั้นมากขึ้น ความคุ้นเคยเกิดจากความทรงจา และประสบการณ์ที่อยู่ในสมองเราซึ่งทาให้ เรารับรู้การเปลีย่ นแปลงของเวลาได้ชัดเจนขึ้น เราสามารถจาได้ว่าสิ่งนี้เคย เป็นอย่างนั้น เคยเป็นอย่างนี้ เรามีความทรงจาร่วมกับมันว่าร่องรอยที่เกิดขึ้น มีสาเหตุมาจากอะไร เกิดขึ้นมาตอนไหน ตรงจุดไหนของห้วงเวลา

- 13 -


ตัวเราเองก็นับเป็นสเปซที่เปลีย่ นไปตามเวลาเช่นเดียวกัน เมื่อเรา เปรียบเทียบตัวเราที่ผ่านกาลเวลา กับวัตถุชิ้นหนึ่งที่ผ่านกาลเวลาเดียวกัน ทา ให้เกิดความสัมพันธ์แบบสเปซกับสเปซ (space/space relationship) เรา เปรียบเทียบสเปซของตัวเราเอง กับสเปซของสิ่งหนึ่ง ซึ่งนอกจากจะทาให้เรา รู้ว่าในขณะทีส่ เปซของเราเป็นแบบหนึ่ง สเปซของอีกสิ่งหนึ่งเปลี่ยนเป็นแบบ ไหนแล้ว ยังทาให้เกิดความคุ้นเคยในการเปรียบเทียบสเปซทั้งสองด้วย จึงอาจกล่าวได้ว่า เพราะเราสังเกตเห็นการเปลีย่ นแปลงของสเปซ เราจึงสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของเวลา เมื่อเราเห็นว่าวัตถุหนึ่งเกิดการ เปลี่ยนแปลง เราจึงรู้วา่ มันได้เก่าลงแล้ว

- 14 -


มีอะไรที่เก่าลงบ้างในสถาปัตยกรรม การสังเกตเห็นความเก่าของสถาปัตยกรรมนั้นสามารถสังเกตได้ จาก 3 ปัจจัยหลัก คือ วัสดุ (Materials), สภาพแวดล้อมภายใน สถาปัตยกรรม (Content), และสภาพแวดล้อมภายนอกสถาปัตยกรรม (Context) การเปลีย่ นแปลงของวัสดุเช่น การเกิดสนิมเหล็ก, การบิดงอของไม้, การกัดกร่อนของหิน เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อสถาปัตยกรรมโดยตรง กล่าวคือทาให้เกิดร่องรอยบนสถาปัตยกรรม เกิดการเปลี่ยนสี หรือเปลี่ยน รูปร่างของสถาปัตยกรรม อาจส่งผลถึงความแข็งแรง ความปลอดภัยของ สถาปัตยกรรมด้วย การเปลีย่ นแปลงของสภาพแวดล้อมภายใน เช่นการตกแต่งห้อง และการเปลีย่ นแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก เช่นการเปลี่ยนแปลงของ สถาปัตยกรรมโดยรอบ, การเปลี่ยนไปของเมือง เป็นการเปลี่ยนแปลง ของสเปซหนึ่งที่ส่งผลต่อการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของอีกสเปซหนึ่ง ในที่นี้คือการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม กับการเปลีย่ นแปลงของ สถาปัตยกรรม จึงเป็นเหมือนการเก่าลงทางอ้อม เนื่องจากเกิดการ เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่างสเปซกับสเปซ ดังนั้นบทความต่อจากนี้จึงจะเจาะจงไปที่การเปลี่ยนแปลงของวัสดุ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลตรงต่อการเก่าลงของสถาปัตยกรรมเท่านั้น

- 15 -


วัสดุในงานสถาปัตยกรรม วัสดุ (Materials) คือสารทีเ่ ป็นส่วนประกอบของวัตถุต่าง ๆ สามารถจาแนกได้หลายวิธี แต่วิธที ี่จะใช้จาแนกวัสดุสาหรับการศึกษานี้คือ การจาแนกโดยแบ่งออกเป็นสารประกอบอินทรีย์ และสารประกอบอนินทรีย์ สารประกอบอินทรีย์ (organic compound) คือ สารทีม่ ีธาตุ คาร์บอนเป็นองค์ประกอบหลัก และมีธาตุอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบรอง อาจ เรียกว่าสารประกอบคาร์บอนก็ได้ สามารถเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือเกิดจาก การสังเคราะห์กไ็ ด้ ยกเว้นสารในกลุ่มต่อไปนี้ - เกลือคาร์บอเนต (CO32-) - ไฮโดรเจนคาร์บอเนต (HCO3-) - สารประกอบออกไซด์ของคาร์บอน เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) - สารประกอบเกลือคาร์ไบด์ เช่น แคลเซียมคาร์ไบด์ (CaC2) - เกลือไซยาไนด์, เกลือไซยาเนต - สารที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบเพียงธาตุเดียว เช่น เพชร สารประกอบอนินทรีย์ (inorganic compound) คือ สารที่เหลือที่ ไม่ใช่สารอินทรีย์ที่กล่าวมาข้างต้น

- 16 -


เมื่อจาแนกวัสดุที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรมออกตามเกณฑ์ข้างต้น พบว่าไม้และพลาสติกเป็นสารอินทรีย์ หิน(รวมถึงอิฐ ซีเมนต์), โลหะ, และ กระจกเป็นสารอนินทรีย์

- 17 -


วัสดุเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไรบ้าง ในทางวิทยาศาสตร์ สสาร (Matter) หมายถึงสิ่งที่มีมวล ต้องการที่ อยู่ และสามารถสัมผัสได้โดยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น ดิน น้า อากาศ สาร (Substance) คือ สสารที่เฉพาะเจาะจง มีสมบัติ 2 ประการ คือ สมบัติทางกายภาพ และสมบัติทางเคมี สมบัติทางกายภาพ หรือสมบัติทางฟิสิกส์ (physical properties) หมายถึง สมบัติของสารทีส่ ามารถสังเกตได้จากลักษณะภายนอก หรือจาก การทดลองที่ไม่เกี่ยวข้องกับปฏิกิรยิ าเคมี เช่น สถานะ เนื้อสาร สี กลิ่น รส ความหนาแน่น จุดเดือด จุดหลอมเหลว การนาไฟฟ้า การละลายน้า ความ แข็ง ความเหนียว เป็นต้น สมบัติทางเคมี (chemical properties) หมายถึง สมบัติที่ เกี่ยวข้องกับการเกิดปฏิกิริยาเคมีและองค์ประกอบทางเคมีของสาร เช่น การ ติดไฟ การผุกร่อน การทาปฏิกิรยิ ากับน้า การทาปฏิกิรยิ ากับกรด-เบส เป็น ต้น ด้วยสมบัติของสาร 2 ประการนี้เอง ทาให้สารสามารถเกิดการ เปลี่ยนแปลงได้ 2 แบบนั่นคือ การเปลีย่ นแปลงทางกายภาพ และการ เปลี่ยนแปลงทางเคมี การเปลีย่ นแปลงทางกายภาพ (physical change) เป็นการ เปลี่ยนแปลงที่ทาให้ลักษณะของสารเปลีย่ น แต่องค์ประกอบของสารยังคง - 18 -


เดิม นั่นคือ สารที่เปลีย่ นแปลงนั้นยังคงเป็นสารเดิมไม่ได้เปลี่ยนเป็นสารใหม่ และการเปลีย่ นแปลงนี้สามารถเปลี่ยนกลับสภาพเดิมได้โดยวิธีง่าย ๆ เช่น น้า เปลี่ยนสถานะจากของเหลวกลายเป็นไอน้า องค์ประกอบก็ยังคงเป็น H2O เช่นเดิม การเปลี่ยนแปลงทางเคมี (chemical change) เป็นการ เปลี่ยนแปลงที่มีสารใหม่เกิดขึ้น ซึง่ สารใหม่จะมีสมบัตติ ่างไปจากสารเดิมและ การทาสารใหม่ให้กลับไปเป็นสารเดิมทาได้ยาก เช่น การเผากระดาษ กระดาษจะเปลี่ยนไปเป็นขี้เถ้า และเราไม่สามารถเปลีย่ นขี้เถ้าให้กลับมาเป็น กระดาษได้

- 19 -


การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และการเปลี่ยนแปลงทางเคมี เกิดกับวัสดุ ในงานสถาปัตยกรรมได้อย่างไรบ้าง การเปลีย่ นแปลงทางกายภาพของวัสดุในงานสถาปัตยกรรม สามารถเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ การเปลีย่ นแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป กับการ เปลี่ยนแปลงแบบทันทีทันใด การเปลีย่ นแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป เช่น การเกิดรอยจากแรง เสียดทาน การได้รับความชื้นจนเปลี่ยนรูปร่าง การซีดลงจากแสงแดด โดย การเปลีย่ นแปลงนี้จะเกิดขึ้นทีละน้อย และใช้เวลานาน สังเกตได้ยาก สามารถลดการเกิดการเปลี่ยนแปลงได้โดยการดูแลรักษาเป็นประจา และ ระวังไม่ให้สิ่งที่ทาให้เกิดการเปลีย่ นแปลงไปก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบน วัสดุ การเปลีย่ นแปลงแบบทันทีทันใด เช่น การเกิดไฟไหม้ การรับแรง กระแทกจนเสียรูป โดยการเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว มักเกิดขึ้น จากอุบัติเหตุ หรือเหตุบางอย่าง สามารถลดการเกิดการเปลีย่ นแปลงได้ด้วย การเพิ่มความระมัดระวังในการใช้งาน ซึ่งจะลดการเกิดอุบัตเิ หตุ หรือเกิดเหตุ ที่ทาให้วัสดุนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงไปได้ โดยการเปลีย่ นแปลงทางกายภาพทั้งสองแบบนี้ เกิดได้กับวัสดุที่ เป็นสารประกอบอินทรีย์ และสารประกอบอนินทรีย์

- 20 -


- 21 -


- 22 -


การเปลีย่ นแปลงทางเคมี ก็สามารถแบ่งการเกิดได้ 2 แบบ คือ การ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากสิง่ มีชีวิต การเปลีย่ นแปลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น การเกิดสนิมของ เหล็ก การกัดกร่อนของหินจากการสัมผัสฝนกรด การเปลี่ยนสีเป็นสีเหลือง ของกระจกและพลาสติกโดยการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นเพราะคณสมบัติของ วัสดุที่จะทาปฏิกิริยากับสารที่อยู่รอบตัว ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ สามารถลด การเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ด้วยสารที่สามารถชะลอปฏิกิริยาเคมีได้ หรือลด การสัมผัสกับสารที่ก่อให้เกิดปฏิกริ ิยาทางเคมีกับวัสดุนั้น การเปลีย่ นแปลงที่เกิดจากสิ่งมีชีวติ เช่น การขึ้นราของไม้ โดยการ เปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นเพราะวัสดุนนั้ เป็นสารอินทรีย์ ซึ่งเป็นอาหารของ สิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ตามธรรมชาติ สามารถลดการเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ด้วยการกาจัดสิ่งมีชีวิตที่กินวัสดุนนั้ เป็นอาหาร โดยการเปลีย่ นแปลงทางเคมีทเี่ กิดขึ้นตามธรรมชาตินั้นสามารถเกิด ได้กับสารประกอบอินทรีย์และสารประกอบอนินทรีย์ แต่การเปลี่ยนแปลง ทางเคมีที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตนั้น มักเกิดกับสารประกอบอินทรีย์ แต่แทบจะไม่ เกิดขึ้นกับสารประกอบอนินทรีย์เลย

- 23 -


การเปลี่ยนแปลงของวัสดุในงานสถาปัตยกรรมกับความงาม การเกิดการเปลี่ยนแปลงบนผิวของวัสดุ จะส่งผลโดยตรงต่อภาพที่ เกิดขึ้นเมื่อเราสังเกตวัสดุนั้น การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพมักก่อให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงของผิวสัมผัสของวัสดุ เกิดการเปลี่ยนแปลงของรูปร่าง รูปทรง ของวัสดุ เช่น การเกิดรอยขีดข่วนบนพื้นไม้ปาร์เก้ที่เราลากเก้าอีผ้ ่านเป็น ประจา การเกิดริ้วรอยบนผิวไม้นี้ ทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ แบบค่อยเป็นค่อยไป ร่องรอยที่บ่งบอกถึงการใช้งานของวัสดุค่อยๆปรากฏขึ้น บนผิวไม้ และเมื่อไม้เป็นสีซีดจาง มีแสงเงาที่บอกความลึกของรอยนั้น คน ทั่วไปมักจะคิดว่าไม้นั้นหมดความงามเสียแล้ว แต่ความจริงคือร่องรอยนั้น ได้ เติมเต็มความเป็นตัวตนของไม้ ร่องรอยนั้นเองที่บ่งบอกว่าบนผิวไม้นนั้ เคย เกิดกิจกรรมอะไรขึ้นมาบ้าง บนผิวไม้นั้นผ่านการใช้งานมากาลหนึ่งแล้ว การเปลีย่ นแปลงทางเคมี ก็เป็นการเปลีย่ นแปลงอีกรูปแบบหนึ่งที่ น่าสนใจมาก บางครั้งอาจจะมากกว่าการเปลีย่ นแปลงทางภายภาพเสียด้วย ซ้า การเปลี่ยนแปลงทางเคมีนั้น มักนามาซึ่งความแปลกพิศวงที่น่ามหัศจรรย์ ด้วยลูกเล่นที่หลากหลาย เช่น การเปลี่ยนสี การเปลี่ยนกลิ่น การเกิดขึ้นของ สิ่งใหม่ที่อาจจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติ เราอาจจะลองจินตนาการถึง ผนังที่ทาจากกระดาษที่เมื่อดูดซับสารชนิดหนึ่งเข้าไป มันก็จะค่อย ๆ ก่อตัว ขึ้นเป็นผลึกทีส่ วยงาม สะท้อนกับแสงเวลาที่เราเดินผ่าน การเปลี่ยนแปลง เหล่านี้ ก็คงเป็นการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจไม่ใช่น้อยเมื่อเราคิดว่าบ้านที่เก่า ลงนั้น ไม่ได้มอบความผุพังให้เราเท่านั้น - 24 -


ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของวัสดุ จึงส่งผลอย่างมากต่อความงามของ สถาปัตยกรรม

- 25 -


“ในเมื่อการกระทาของสภาพแวดล้อมนั้นย่อมนาไปสู่ ความทรุดโทรมของอาคารเสมอ คาถามที่น่าสนใจคือดิน น้า อากาศนั้น ทาลายอาคารเท่านั้นหรือ? มันสามารถสร้างอะไรใหม่ให้อาคารได้หรือไม่” - ต้นข้าว ปาณินท์, ปรากฏ-กาล: ชีวิตของสถาปัตยกรรมผ่านกาลเวลา

- 26 -


ตัวอย่างงานที่ออกแบบโดยสถาปนิก มีสถาปนิกเพียงหยิบมือที่ตระหนักถึงความสาคัญของการแก่ลงของ สถาปัตยกรรม จึงทาให้ผลงานที่สามารถนามาวิเคราะห์ได้นั้น แทบจะหา ไม่ได้เลย แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังมีอยูบ่ ้างที่สถาปนิกได้ลองนาประเด็นเรื่องการ เปลี่ยนไปของสถาปัตยกรรม และร่องรอยต่าง ๆ ที่เกิดจากกาลเวลามาใช้ใน การออกแบบ ซึ่งจะขอยกตัวอย่างกรณีศึกษาไว้ 3 กรณีด้วยกัน คือ Brion Cemetery – Carlo Scarpa Bubbletecture H – Shuhei Endo Twin Tea House – Hill Architecture

- 27 -


Brion Cemetery – Carlo Scarpa คาร์โล สการ์ปา (2 มิถุนายน 1906 – 28 พฤศจิกายน 1978) เป็น สถาปนิกชาวอิตาลี ที่มีความสนใจในวัสดุ ภูมิทัศน์ และวัฒนธรรมเวนิส งาน สถาปัตยกรรมของเขาอ่อนไหวต่อการเปลีย่ นแปลงของเวลา และฤดูกาล สุสานของบริออนก็เป็นหนึ่งในผลงานชื่อดังของเขา การเล่นเส้น สายบนงานสถาปัตยกรรมของเขาสร้างแสงเงาให้เกิดมิติกับสถาปัตยกรรม ร่องรอยลดหลั่นกันนี้เองทาให้เกิดการสัมผัสกับธรรมชาติที่ต่างกันออกไป ทา ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ต่างกันออกไปบนพื้นผิวสถาปัตยกรรม

- 28 -


ภาพที่เห็นอยู่นี้เป็นการเปรียบเทียบบริเวณหนึ่งของสุสาน โดยจะ สังเกตได้ว่าเมื่อเวลาผ่านไปนั้นต้นไม้ค่อย ๆ เจริญเติบโตขึ้นมาบนผิวของ สถาปัตยกรรม จากเดิมที่สถาปัตยกรรมนี้เต็มไปด้วยเส้นตรงที่เกิดขึน้ ด้วย ฝีมือมนุษย์ ค่อย ๆ ถูกแทรกแซงด้วยรูปทรงอิสระจากธรรมชาติ และถูกแต่ง เติมความละเอียดวิจติ รจากธรรมชาติลงไปบนก้อนสถาปัตยกรรมไร้ชีวิตที่ เกิดขึ้นจากฝีมือมนุษย์

- 29 -


ภาพของก้อนมวลที่มีแสงเงาที่เปลีย่ นแปลงไปจากการยืดหยัดผ่าน กาลเวลา ร่องรอยของความชื้นจากน้าฝนที่ทาให้เกิดราดาบนคอนกรีตเพื่อย้า เตือนว่ามันสู้แดดสู้ฝนมาแสนนาน คราบดานี้เองที่ทาให้เราสามารถสังเกตได้ ชัดขึ้นว่าก้อนมวลนี้ แท้จริงแล้วประกอบขึ้นจากมวล 2 ก้อนซึ่งคือก้อนที่มีสี เข้มกว่าที่อยู่ด้านหน้า และก้อนสีอ่อนกว่าที่อยู่ด้านหลัง นอกจากนี้ร่องรอยที่เกิดขึ้นตามแนวยาวบนก้อนมวลที่อยู่ด้านหลัง นั้นกลับจางลง ต่างกันกับสีของคอนกรีตที่เข้มขึ้น นั่นเพราะลมและฝน ช่วย กัดเซาะพื้นผิวของอาคาร จนทาให้ดูคล้ายกับเป็นการพยายามทาให้พื้นผิวนั้น เรียบเสมอกัน

- 30 -


หรือแท้จริงแล้วสถาปัตยกรรมนี้อาจจะกาลังบอกว่าความตายไม่ใช่ จุดจบของชีวิต ความงามของชีวิต คุณค่าของชีวิต อาจเกิดขึ้นจากความตาย ก็ได้... - 31 -


Bubbletecture H – Shuhei Endo บับเบิ้ลเทคเจอร์เป็นงานสถาปัตยกรรมที่ออกแบบโดยสถาปนิก ชาวญี่ปุ่น ชูเฮ เอนโดะ ตั้งอยู่ที่จังหวัดเฮียวโงะ ประเทศญี่ปุ่น แนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมชิ้นนี้คือ การเกิดความเป็น หนึ่งเดียวกับธรรมชาติ การออกแบบและการก่อสร้างจึงต้องส่งผลกระทบต่อ ธรรมชาติให้น้อยทีส่ ุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และเมื่อสร้างแล้วก็จะต้องกลับสู่ ธรรมชาติ เป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติ เหมือนกับวัฒนธรรมของญี่ปุ่นที่ให้ ความสาคัญกับความงดงามของธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงไปของ ฤดูกาล และสิ่งต่าง ๆ - 32 -


แท้จริงแล้วเดิมสถาปัตยกรรมชิ้นนี้เป็นสีเขียว แต่เหตุทมี่ ันมีสี เหลืองส้มเช่นนี้เป็นเพราะการให้ความสาคัญกับธรรมชาติ และการ เปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ จึงทาให้ชูเฮ เอนโดะ เลือกใช้โลหะชนิดพิเศษที่ จะเป็นสนิม และเมื่อเป็นสนิมถึงจุดหนึ่ง มันก็จะมีความทนทานมากขึ้น สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องบารุงรักษามากนัก การใช้การเปลีย่ นแปลงทางเคมีทชี่ าญฉลาดนี้ ทาให้สถาปัตยกรรม เกิดการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา และดึงดูดความสนใจของชาวญี่ปุ่นได้มาก ทีเดียว

- 33 -


หรือแท้จริงแล้วการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับสถาปัตยกรรม อาจเป็นความพยายามของธรรมชาติที่จะคืนสมดุลให้กับตัวเอง ด้วยการทา ให้วัสดุต่าง ๆ กลับคืนสู่ธรรมชาติของมัน คือการผุสลาย ก็เป็นได้... - 34 -


Twin Tea House – Hill Architecture บ้านน้าชาแฝดเป็นสถาปัตยกรรมที่ออกแบบโดยกลุ่มสถาปนิกชาว จีน ตั้งอยู่ที่มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน ความน่าสนใจของสถาปัตยกรรมแห่งนี้คือการประยุกต์ความเก่าให้ เข้ากับความใหม่ได้อย่างแยบยล เสมือนว่าพวกเขามีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการเปรียบเทียบกันของของสองสิ่ง เข้าใจความสัมพันธ์ของสเปซ กับสเปซ ทาให้สิ่งหนึ่งดูมีอายุมากกว่าที่มันควรจะเป็น ด้วยการนามันไป เปรียบเทียบกับของใหม่ และยังมีการแฝงวาบิ-ซาบิ และปรัชญาเต๋าเอาไว้ได้ อย่างลงตัว - 35 -


โรงน้าชาแห่งนี้ถึงจะเพิ่งสร้างได้ไม่นาน แต่มันกลับดูเหมือนว่า ตั้งอยู่บนผืนดินนี้มาระยะหนึ่งแล้ว คงเป็นเพราะลูกเล่นในการเพิ่ม “ริ้วรอย” ให้กับอาคารเพื่อตอบรับกับความสุขสงบเมื่อเราได้อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ความเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างธรรมชาติกับสถาปัตยกรรมนั้น ทาให้เราไม่ รู้สึกกระอักกระอ่วนใจเมื่อมาเยีย่ มเยียนสถานที่แห่งนี้ แต่เรากลับรูส้ ึกอบอุ่น คล้ายว่าเราได้กลับมายังบ้านที่เราจากไปเมื่อแสนนาน เมื่อเพิ่มองค์ประกอบ คลาสสิกอย่างต้นไผ่ที่เปลี่ยนสีจนซีดเหลือง กับคราบตะไคร่ที่เกาะบนแผ่น คอนกรีต ยิ่งชวนให้คิดชื่นชมผู้ออกแบบว่าทาออกมาได้อย่างลงตัว

- 36 -


ความสมบูรณ์ของการออกแบบ “ความเก่า” นั้นเกิดขึ้นได้จากการ ใส่ใจรายละเอียดของสถาปัตยกรรม และมีความรักให้กับมันอย่างแท้จริง - 37 -


แท้จริงแล้วเราจะรักความเก่าได้จริงหรือ? ไม่ใช่ว่าทุกคนจะรักความเก่า ยิ่งกับผู้คนที่ประกอบอาชีพในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ให้สวยงาม อยู่เสมออย่างสถาปนิกแล้วนั้น ดูเหมือนว่าการเดินทางร่วมกับความเก่านั้น แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย แต่ข้อเท็จจริงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่แสนปวดใจนั่นคือ ทุกสิ่งทุกอย่าง ย่อมต้องเก่า ดังนั้นบางครั้งการขบคิดรายละเอียดเล็กน้อยอย่างเช่นการ เปลี่ยนแปลงของสถาปัตยกรรมนัน้ ก็เป็นสิ่งที่เราน่าจะให้ความสนใจไม่ใช่หรือ เพราะกลับกัน หากเราไม่สนใจแล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดขึ้นกับ สถาปัตยกรรมของเรา นั่นไม่ใช่หรือคือความผิดพลาดของผู้ออกแบบที่เราต้องเป็น ผู้รับผิดชอบ เราอาจจะไม่ได้หลงรักสิ่งเก่า ๆ เราอาจพยายามหลีกเลี่ยงการ เปลี่ยนแปลง แต่เราไม่มีทางหลีกเลี่ยงมันได้ตลอดไป บางครั้ง อาจจะไม่ใช่ความรักก็ได้ที่ทาให้เราต้องเริม่ ทาความรู้จัก กับความเก่าเสียที มันอาจจะเป็นหน้าที่ของสถาปนิกก็ได้ - 38 -


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.