อาจาระ 3 สมเด็จ

Page 1

ÍÒ¨ÒÃÐ ó ÊÁà´ç¨

÷ö ¤ÓÊ͹ ¾ÃоÃËÁǪÔÃÞÒ³ ๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ


อาจาระ

๓ สมเด็จ


พิธีท�ำบุญอุทิศอดีตเจ้าอาวาส และบุพการีวัดยานนาวา ท�ำบุญอายุวัฒนมงคล ๗๖ ปี พระพรหมวชิรญาณ (ปสฤทธ์ เขมงฺกรเถร) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดยานนาวา

๒๓-๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ


ชื่อหนังสือ: อาจาระ ๓ สมเด็จ ๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ

พิมพ์ครั้งที่ ๑: ๒๕๕๖ จำ�นวนพิมพ์: ๓,๐๐๐ เล่ม ที่ปรึกษา: พระพรหมวชิรญาณ, พระราชพรหมาภรณ์, พระสิริธีรคุณ, พระสุธีธรรมนาถ, พระศรีวชิราภรณ์, พระครูศรีสุตโกศล, พระครูปลัดสุวัฒนสมาธิคุณ, พระครูปลัดสุวัฒนวชิรคุณ, พระครูอาทรประสิทธิโสภณ, พระครูสุนทรประสิทธิธรรม, พระครูพิบูลกิจจานุยุต, พระครูโกศลวิบูลกิจ, พระครูโสภณธรรมาภิมณฑ์ บรรณาธิการ: พระมหาสมบัติ ญฺาณวโร ป.ธ.๕, รบ., ผู้ช่วยบรรณาธิการ: พระมหาวีรพล วีรญฺาโณ ป.ธ.๓, สส.ม., พระมหาจำ�เนียร จิรปญฺโญฺ ป.ธ.๙, พธ.ม. กองบรรณาธิการ: พระมหานงค์ สุมงฺคโล ป.ธ.๙, ศศ.ม., พระมหาจำ�ลอง กตธมฺโม ป.ธ.๙, ศศ.ม., พระมหาไพรสณฑ์ วราสโย ป.ธ.๙, พธ.ม., พระมหาวีรธรรม ธมฺมวีโร, พระครูวินัยธรวีรภัทร์ ปริมุตฺโต, พระครูสังฆภารพิสิฐ, พระมหาประจิม อภิปญฺโญฺ, พระมหาชาครินทร์ กิตฺติเมธี, พระมหาเอก เมธิกญฺาโณ, พระมหาธีรภัทร ถิรญฺาโณ, พระมหาเกียรติยศ กิตฺติวิสุทฺโธ, พระมหาศิริชัย สิรินฺทญฺาโณ, พระมหาอดุลย์ เขมปญฺโญฺ, ดร.ณัฐพัชร สายเสนา, นายณฐ ทะสังขา, นายเสาร์ห้า พุทธบาล พิสูจน์อักษร: นายณฐ ทะสังขา ศิลปกรรมรูปเล่ม: บริษัท เอเซีย แปซิฟิค ออฟเซ็ท จำ�กัด โทร. ๐๒-๒๔๘-๖๘๘๐-๘ แฟกซ์. ๐๒-๒๔๗-๔๗๑๙ เลขมาตรฐานสากล: ISBN 978-616-335-165-4 จัดพิมพ์โดย: วัดยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๒๐ โทร. ๐๒-๖๗๒-๓๒๑๖ แฟกซ์. ๐๒-๖๗๒-๓๒๐๖ พิมพ์ที่: บริษัท เอเซีย แปซิฟิค ออฟเซ็ท จำ�กัด โทร. ๐๒-๒๔๘-๖๘๘๐-๘ แฟกซ์. ๐๒-๒๔๗-๔๗๑๙

อาจาระ

๓ สมเด็จ


โมทนียพจน์ ในพิธีท�ำบุญอุทิศแด่อดีตเจ้าอาวาส และบุพการี วัดยานนาวา และพิธีท�ำบุญอายุวัฒนมงคล ๗๖ ปี ของข้าพเจ้า ในวันที่ ๒๓-๒๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ นี้ คณะสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา ศิษยานุศิษย์ โดยการน�ำบุญ ของคุณภัทรินทร์ ลือกาญจนวนิช และครอบครัว ได้จดั พิมพ์ หนังสือ “อาจาระ ๓ สมเด็จ ๗๖ ค�ำสอน พระพรหม วชิรญาณ” เพื่อเป็นการถวายมุทิตาสักการะที่เรียกว่า “อาจาริยบูชา” โดยการน�ำเอาอาจาระ ข้อพึงปฏิบัติของพระภิกษุ สามเณร ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทั้ง ๓ รูป ท่านได้เมตตา แนะน�ำสิง่ ทีค่ วรประพฤติไว้เพือ่ ความงดงามแห่งคณะสงฆ์ และน�ำค�ำสอนธรรมผ่านบทกลอนทีข่ า้ พเจ้าได้ประพันธ์ขนึ้ หรือกล่าวสอนศิษยานุศษิ ย์มารวบรวมจัดพิมพ์ เพือ่ มอบเป็น ธรรมบรรณาการแก่ทุกท่าน

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ


ขออนุโมทนาบุญในกุศลเจตนาของทุกท่าน ที่มี น�้ำใจอันงามได้มอบธรรมะเป็นทาน นับว่าเป็นของขวัญ ที่มีคุณค่าอันยิ่ง ที่เราท่านทั้งหลายสามารถน�ำมาประยุกต์ ใช้ได้ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ ขอบุญแห่งปัญญาบารมีที่ ทุกท่านได้ร่วมกันท�ำในครั้งนี้ เป็นพรอันประเสริฐให้ท่าน มีความเบิกบานในพระธรรมค�ำสั่งสอน มีความสุขในการ ด�ำเนินชีวิต เจริญก้าวหน้าในการประกอบสัมมาอาชีพ และมีครอบครัวที่อบอุ่นด้วยพระธรรมทุกท่านเทอญ

(พระพรหมวชิรญาณ) กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าอาวาสวัดยานนาวา

อาจาระ

๓ สมเด็จ


ค�ำน�ำ คณะสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา และศิษยานุศิษย์ วัดยานนาวา ได้จัดพิธีท�ำบุญอุทิศอดีตเจ้าอาวาสและ บุพการีวดั ยานนาวา พิธมี อบทุนการศึกษาพระภิกษุสามเณร นักเรียน นิสิต นักศึกษา ประจ�ำปีพุทธศักราช ๒๕๕๖ ในวันพฤหัสบดี ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๕๖ และพร้อมกันนีไ้ ด้จดั งาน ท�ำบุญอายุวัฒนมงคล ๗๖ ปี ถวายพระพรหมวชิรญาณ (ปสฤทธ์ เขมงฺกรเถร) กรรมการมหาเถรสมาคม ทีป่ รึกษา เจ้าคณะภาค ๑๐ เจ้าอาวาสวัดยานนาวา วันศุกร์ที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ในคราวเดียวกัน เพื่อให้หิตานุหิตประโยชน์ดังกล่าวได้แผ่ไพศาล ในโอกาสงานมงคลครั้งนี้ คุณภัทรินทร์ ลือกาญจนวนิช และครอบครัวได้จัดพิมพ์หนังสือ “อาจาระ ๓ สมเด็จ ๗๖ ค�ำสอนพระพรหมวชิรญาณ” เป็นธรรมบรรณาการ แก่ผู้มาร่วมงาน

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ


ในนามคณะสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา ศิษยานุศิษย์ วัดยานนาวา ขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัย และกุศล บุญญราศีบารมีธรรมทัง้ หลาย ได้โปรดอภิบาลและประทานพร ให้พระเดชพระคุณฯ มีสขุ ภาพพลานามัยสมบูรณ์แข็งแรง เจริญงอกงามรุ่งเรืองไพบูลย์ในธรรมวินัยขององค์สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ

(พระราชพรหมาภรณ์) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดยานนาวา ประธานคณะกรรมการจัดงานฝ่ายบรรพชิต

อาจาระ

๓ สมเด็จ


สารบัญ โมทนียพจน์ ค�ำน�ำ

อาจาระ

๓ ๕

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสนมหาเถร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

อาจาระ สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณกมหาเถร ป.ธ.๙) วัดจักรวรรดิราชาวาส

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ

๑๐

๓๑


๓ ๗๖

อาจาระ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐฺานิสฺสรมหาเถร ป.ธ.๙) วัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร

๕๑

ค�ำสอน พระพรหมวิชรญาณ

๖๕

อาจาระ

๓ สมเด็จ


สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสนมหาเถร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ


มรรยาทอันสมควร สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ

สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสนมหาเถร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม

กิ ริ ย าที่ จ ะขึ้ น ธรรมาสน์ ควรใช้

กิริยาคุกเข่าแล้วหมุนตัวกลับ วางพัดไว้ ข้างซ้ายมือนัง่ เตรียมตัวให้เรียบร้อยโดยเร็ว อย่าท�ำขยุกขยิก หยิบโน่นฉวยนี่ดูเป็นหลุกหลิกไป ส่วนที่ไม่ส�ำคัญก็ปล่อย ไปพลาง เช่น นั่งทับจีวรตึงไปบ้าง หรือนั่งล�้ำหน้าไปบ้าง เตรียมสงบนิง่ ให้มาก จงสงบรอเวลาปฏิบตั หิ น้าที่ ทอดสายตาตำ�่ อย่าเหลือบดูโน่นนี่เป็นการขาดความส�ำรวม อย่าเช็ดหน้า ลูบหน้า ลูบผม เมื่ออยู่บนธรรมาสน์ ดูเป็นเชิง แต่งตัว ไม่งามตา ถึงคราวจะลงก็เขยิบคุกเข่าขึน้ ก่อน จึงค่อยเอียงตัว หย่อนเท้าลง ระวังผ้านุ่งห่มให้รัดกุม อย่ายกเข่าสูง

๑๐

อาจาระ

๓ สมเด็จ


ผ้าห่อคัมภีร์ อย่าม้วนห่อหลายรอบ

เวลาเทศน์ ตั้ง นโม จบแล้ว

เพราะเสียเวลาแก้ออกนาน ควรห่อเพียง รอบเดียวก็พอ รวดเร็วดี และวิธแี ก้ผา้ ห่อคัมภีร์ อย่าใช้วธิ ี จับเชือกมัดยกสูงขึ้นปล่อยผ้าคลี่ตกลง เป็นกิริยาไม่งาม จงพยายามคลีบ่ นฝ่ามือ ใช้มอื ทัง้ ๒ ช่วยคลายออก อย่าใช้ วิธดี งึ คัมภีรอ์ อกคล้ายชักกระบีอ่ อกจากฝัก เป็นกิรยิ ามักง่าย เวลาเก็บคัมภีร์ก็ต้องวางในผ้าห่อ แล้วพันด้วยเชือกให้ เรียบร้อย วางไว้ด้านขวามือ ลงจากธรรมาสน์ถือแต่พัด ด้วยมือข้างซ้ายลงมาด้วยเท่านัน้ ไม่ตอ้ งน�ำคัมภีรล์ งมาด้วย แล้ววางไว้ที่เดิม เวลาม้วนก็เช่นเดียวกัน

อย่าทอดระยะทิ้งไว้ ขึ้นนิกเขปบทต่อ ทีเดียว คาถาทีย่ กเป็นนิกเขปบท อย่างมากไม่เกิน ๒ คาถา ธรรมดาควรคาถาเดียวเป็นเหมาะ นัยนีใ้ ช้ได้ทวั่ ไป ตัง้ นโม เทศน์สวดนาค สวดกฐิน ใช้ตั้งแฝด นอกจากนี้มีให้ศีล ตามธรรมดา เป็นต้น ตั้งอย่าง ๓ จบ

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๑


ขณะเทศน์ อ ย่ าส่ ายหน้ า ไปตาม

ความยาวของลาน พยายามวางหน้า

ให้ตรงกลาง ใช้มือเลื่อนลานไปซ้ายขวาเข้าหาส่วนกลาง ถ้าจะให้เหมาะ ควรเขียนข้อความเฉพาะตอนกลางของลาน จะได้ไม่ต้องส่ายหน้าไปตามซ้ายขวาเหมือนตุ้มนาฬิกา

การวางผ้ากราบรับไทยทาน ควรใช้

การกลับเท้า ในขณะนั่งพับเพียบ

มือซ้ายจับท่อนชายต้นผ้ากราบทีพ่ บั เป็น ๒ ชั้นไว้ มือขวาจับท่อนชายปลาย เวลารับก็ใช้มือขวาจับ ชายปลายออกไปวางรับ แล้วรีบหดมือขวามาจับต้นผ้า ร่วมกับมือซ้าย แปลว่ารับ ๒ มือ อย่าใช้กิริยาเหวี่ยงตวัด ชายผ้ากราบออกไปรับ หรือรับมือเดียว หากจะรับด้วยมือ ก็ต้องรับทั้ง ๒ มือทุกครั้ง ไม่เลือกว่าของเล็กใหญ่เพียงไร จงก้ ม ตั ว ลงข้ า งหน้ า เล็ ก น้ อ ยพอให้ ก้นเผยอ แล้วรีบกลับเท้าโดยเร็ว อย่ากลับข้างหน้า เพราะ จะต้องยกเท้าย้ายไปมา เป็นกิริยาหยาบคายไม่สวยงาม อย่างมาก

๑๒

อาจาระ

๓ สมเด็จ


การนัง่ พับเพียบ ไม่ควรใช้ปลายเท้า

ในการรั บ สมณศั ก ดิ์ ย่ อ มได้ รั บ

ทีพ่ บั อยูข่ า้ งในโผล่ออกมาข้างนอก ควรหด เข้าอยู่ข้างใน ทุกขณะที่นั่งทับซ้ายหรือขวา เพราะเท้าเรา ถือว่าเป็นส่วนตำ�่ ควรเปิดเผยแต่สว่ นทีจ่ �ำเป็นจริงๆ เท่านัน้ พระราชทานผ้าไตรด้วย ต้องครองฉลอง พระราชศรัทธาจนตลอดงาน เช่น ในการเจริญพระพุทธมนต์ และฉันเพล วันเฉลิมพระชนมพรรษา ในการไปถวาย สักการะพระมหาเถรานุเถระ ยิง่ ถึงวันฉลองสัญญาบัตรด้วย ก็เป็นความดี เพราะถือว่าได้รบั พระราชทานเป็นเกียรติสงู ในท�ำนองเดียวกันได้รับผ้าไตร ย่าม พัดรองจากงานต่างๆ ควรเก็บไว้ครองและใช้ฉลองศรัทธาเจ้าภาพด้วย ถ้าสังเกตว่า เจ้าภาพมักมีงานประจ�ำ ย่าม พัด ต้องเก็บไว้เฉลิมศรัทธา ตลอดไป วิธีเช่นนี้ย่อมชวนให้เกิดความชื่นใจแก่เจ้าภาพ ที่พบเห็น

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๓


การสวด การเทศน์ คอยระวังอาการ

๑๐

การนัง่ ในพิธที วั่ ไป ขณะประกอบพิธี

เลียริมฝีปากด้วยลิ้น ถ้าจ�ำเป็นควรใช้ ผ้าป้องปิด หรือพยายามหัดงดเว้นเด็ดขาด จะงามกว่า หรือใช้ขยับริมฝีปากช่วยก็เรียบร้อยดี

เช่น เวลาเจริญพระพุทธมนต์ ฟังเทศน์ ท�ำวัตรเช้า-เย็น เป็นต้น ควรนั่งตัวตรง เป็นกิริยาผึ่งผาย มีสง่า เป็นอาการตั้งอกตั้งใจท�ำจริง เมื่อพักจากพิธี เช่น สวดมนต์จบแล้วจะเอนหลังพิงหมอนบ้างก็ได้ กิรยิ านี้ ต้องฝึกหัดอยูเ่ สมอ จะค่อยคุน้ เคยเอง มิใช่ อาการเกินวิสยั การนัง่ หลังงอคอเอียง หรือหลับตาสวดมนต์ ก็เนือ่ งมาแต่หดั เหมือนกัน แต่ไม่ถกู ระเบียบอันงาม ขัดกับ อนามัยของตนเองด้วย หลับตาสวดมนต์ ชือ่ ว่าไม่ระวังกิรยิ า ของตน นานเข้าถึงกลับหลับในโงกง่วง มือตกน่าขายหน้าก็มี จึงควรระวังหัดตัวเองเตรียมไว้เสมอ อย่าลืมตัวออกแขก ออกงาน จะได้น่าเลื่อมใส

๑๔

อาจาระ

๓ สมเด็จ


๑๑

การประนมมือ ควรประกบฝ่ามือ

๑๒

อย่าอ้าปากไว้รอท่าค�ำข้าว อย่า

๑๓

การว่าให้ศลี ให้ไปแล้ว ควรนึกว่าในใจ

นิว้ มือให้เรียบเสมอกัน ตัง้ ข้อมือเสมอนม ปลายมือช้อนเข้าหาตัวหน่อยหนึง่ ศอกลูไ่ ปข้างหลังเล็กน้อย ระวังให้คงอยูใ่ นอาการอย่างนีเ้ สมอไปทุกงาน สถานที่ ดูงาม น่าชมมาก กิรยิ าอาการอย่างอืน่ นอกจากนีไ้ ม่งาม หมดสง่า อย่าน�ำมาใช้ตามสบายตนเอง เพราะขัดกับสังคม เงยหน้าอ้าปากรับค�ำข้าว หรือการอย่างอืน่ ชื่อว่าท�ำความน่าสะอิดสะเอียนแก่ผู้อื่น กิริยาอ้าปาก ขยับเคีย้ วอาหารทีพ่ ร่องจากปากแล้ว เป็นท�ำนองเอร็ดอร่อยมาก กิรยิ าแทะกัดข้าวโพดต้มทัง้ ฝัก ยกมะพร้าวอ่อนขึน้ ดืม่ ทัง้ ผล หรือใช้มอื หยิบชิน้ อาหารขึน้ แทะกัด เหล่านีเ้ ป็นต้น ไม่ควรท�ำ อย่างเด็ดขาด เพราะไม่สุภาพเป็นกิริยาทราม สอบไปด้วย จะได้ไม่หลงและได้ระยะ กับผู้รับ (นี้ ผู้รับว่าในใจ ถ้าผู้รับออกเสียงให้ได้ยินก็ว่าต่อ เมื่อผู้รับว่าจบ)

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๕


๑๔

ค�ำลง ติ ท้ายนิกเขปบทนั้น บ้างก็

๑๕

ในเสขิยวัตร ห้ามการกินของปนน�้ำ

๑๖

จ�ำนวนเลข หน่วย สิบ ร้อย พัน เป็นต้น

ว่าสัน้ ตามหลักรัสสะจริงๆ ฟังดูหว้ นเกินไป บ้างก็ว่ายาว ติ-อี-อิ ฟังเป็นเล่นลิ้นเกินไปอีก ควรทอด ท้ายเสียงพอให้ฟังรู้ว่าจะจบตอนนั้น จะเหมาะสมกว่า

มีเสียงดังซูดๆ กินของแข็ง เผยปากดังจับ๊ ๆ จึงควรระวังอย่างกวดขัน อย่าเผลอตามเลยของตัว เป็นกิรยิ า น่าเกลียดมาก จะเป็นการดือ้ ด้านฝ่ายเสขิยวัตรอวดเพือ่ นสงฆ์ และชาวบ้านด้วย ต�ำราวางเป็นหลักไว้แล้ว จะมัวหลง อ่านเรียงตัวเลข เช่น สองห้าศูนย์หา้ (จ�ำนวน พ.ศ.) ไม่อา่ นว่า สองพันห้าร้อยห้า ดังนี้ จะลบล้างต�ำราเสียละหรือ จึงควร อ่านตามหลักของเลข เช่น อ่านเลข พ.ศ. เป็นสองพัน ห้าร้อยห้า ดังนี้เป็นต้น

๑๖

อาจาระ

๓ สมเด็จ


๑๗

ควรตั้ ง พั ด เตรี ย มให้ ศี ล เมื่ อ

๑๘

เวลานัง่ เข้าระเบียบบนอาสน์สงฆ์

ค�ำอาราธนาถึงทุติยัมปิผ่านไป พอจบ บทตติยมั ปิ ฯลฯ ยาจาม ก็เริม่ ให้ศลี ติดต่อกันไป อย่าทิง้ ระยะ ให้ช้า กับควรตั้งพัดเตรียมพร้อมที่จะขัดต�ำนาน เมื่อ ค�ำอาราธนาถึงบทสัพพะภะยะวินาสายะ จะได้ตอ่ เนือ่ งกัน พอดี และเตรียมขึ้นธรรมาสน์ได้ เมื่อเจ้าภาพจุดเทียน ส�ำหรับน�ำมาตั้งบนธรรมาสน์เพื่อดูหนังสือ เจริ ญ พระพุ ท ธมนต์ ห รื อ สวดมนต์ จงส�ำรวมสติ ส�ำรวมอิรยิ าบถ ตัง้ ใจสวดเพือ่ เพ่งสวัสดิมงคล แก่เจ้างาน ไม่ใช่มานั่งทอดสวดมนต์ให้ชาวบ้านฟังเล่น จะได้เหม่อช�ำเลืองตา ดูโน่นดูนี่ หรือใครไปมา หรือมัวท�ำ ธุระส่วนตัว หยุดเคีย้ วหมาก บ้วนปาก จิบนำ�้ หยิบโน่นฉวยนี่ ดูให้วุ่นไปหมด เพราะใช่เวลาเช่นนั้น

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๗


๑๙

การขากเสมหะ การสูดจมูก การไอ

จาม กระแอม ควรระวังอย่าน�ำมาใช้

ขณะประชุม ร่วมพิธี เป็นการน่าเกลียด ส่อนิสัยว่า ขาดอบรมสมบัติผู้ดี ถ้าจ�ำเป็นจริงๆ จงพยายามให้มีเสียง เบาที่สุดและใช้ผ้าป้องปากด้วยทุกครั้ง

๒๐

ควรพยายามปฏิบัติตามหัวหน้า

ในงานนัน้ ๆ อย่าฝ่าฝืนเอาตามสบายใจ

ตัวเอง ถึงแม้จะเป็นฝ่ายถูก แต่ก็อาจเป็นฝ่ายผิด เพราะ ขัดเชิงกับสังคมได้

๒๑

การว่าให้ศีล การเทศน์ การสวด

การน�ำสวด การรับสวด (คอสอง)

ต้องมีลีลามีท�ำนองทั้งนั้นจึงจะน่าฟัง ในลีลาทั่วไปค่อย เปล่งเสียงแผ่วเบาก่อนจึงเปล่งดังตามต้องการ ช้าไปก่อน จนถึงระยะที่ต้องการ ต้องเอื้อนให้มีหางเสียงทุกตอนจบ ตอนจะจบต้องค่อยเอือ้ นช้าลงตามล�ำดับ มิฉะนัน้ จะมีเสียง กระโชก หรือยากแก่การสอดเสียงรับสวดต่อไป และมักขัดหู

๑๘

อาจาระ

๓ สมเด็จ


๒๒

การเดิ น คุ ย หั ว ร่ อ ต่ อ กระซิ ก

แย้มสรวล ขณะเดินทางไปตามถนน

ไม่งามในสายตาของประชาชน ควรส�ำรวมระมัดระวัง ให้มากที่สุด รวมทั้งเครื่องนุ่งห่มด้วย

๒๓

การนั่ ง สถานที่ ที่ จั ด ไว้ รั บ รอง

๒๔

ถ้าเป็นหัวหน้าในการฉัน บิณฑบาต

ควรระมั ด ระวั ง อย่ า นั่ ง กี ด ที่ แ ก่ ผู ้ ม า ภายหลัง เช่น ขวางช่องทางแก่ผจู้ ะเข้ามานัง่ ภายหลัง หรือ นั่งกีดที่ของผู้น้อย

๒๕

จงสนใจให้ผนู้ อ้ ยบริบรู ณ์มากกว่าตนก่อนเสมอ เมื่อนั่งประจ�ำอาสน์สงฆ์ ในงาน

พระราชพิธี รัฐพิธี งานเจ้านาย ข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่ หรืองานมีเกียรติ งดสูบบุหรี่ในสถานพิธีนี้เสีย ได้จะดูงดงามสง่าอีกมาก

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๙


๒๖

การนั่ ง ในพิ ธี ต ่ า งๆ ควรส�ำรวม

๒๗

การลงจากอาสน์ ส งฆ์ เ พื่ อ กลั บ

มือประสานกันไว้หน้าตัก (ไม่ถึงอย่าง นั่งสมาธิ) การนั่งใช้มือกุมเข่าหรือมือขวาถือพัด มือซ้าย เที่ยวซุกไว้ที่อื่น ไม่วางไว้หน้าตัก คว�่ำหรือหงายก็ยังดู ขาดความสุภาพไป

จงให้หน้าแก่ผใู้ หญ่ คือ หันหน้าทางผูใ้ หญ่ แล้วจึงหมุนตัวกลับ อย่างอาสน์สงฆ์ตั้งด้านขวาของ พระประธาน ต้องเคลือ่ นหย่อนเท้าขวาลงก่อน ซ้ายตามยืน แล้วหมุนขวากลับ ถ้าอาสน์สงฆ์ตั้งซ้าย ก็ต้องให้เท้าซ้าย ลงก่อนแล้วหมุนซ้ายกลับ และในสถานอืน่ พึงอนุโลมตามนี้ จึงจะเป็นระเบียบทีง่ ดงาม ส่อนิสยั ของผูท้ ไี่ ด้รบั การอบรมดี

๒๐

อาจาระ

๓ สมเด็จ


ระเบียบเจริญพระพุทธมนต์ และมรรยาทบางประการ ๑

ผู้เป็นประธานในพิธี งานมงคล

เวลาสวดมนต์

ก็ตาม อวมงคลก็ตาม จงตรวจดูจ�ำนวน พระภิกษุผู้ร่วมในพิธี ถ้าคณะธรรมยุตล้วน ต้องสวด อย่างมคธ เริ่มต้นแต่ให้ศีล เป็นต้นไป จนจบพิธี ถ้าผสม จงสวดสังโยค ให้ศีลอย่างสังโยค ทั้งในวัดในบ้าน ถ้าเป็นพิธีทางราชการ แม้ในวัดทั้งที่ธรรมยุตล้วน ก็นยิ มสวดสังโยค (การสวดมคธนี้ ควรหาโอกาสใช้ให้มาก และถูกหลักฐานกรณ์ครุ ลหุ เป็นการรักษาแบบครูอกี ด้วย) ให้ พึ ง สั ง เกต ถ้าประธานน�ำสวดไปตามบทไม่ตัดลัด ระยะสวดก็ธรรมดา ถ้าตัดลัดบางบทยิ่งตัดมากเท่าไร พึงทราบว่าต้องการเร่งท�ำนอง ก็ตอ้ งสวดให้กระชับเร็วเข้า ต้องตาดูหูฟัง ไม่ใช่เวลานั่งชมเชยบุคคลและสถานที่

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๒๑


ประนมมือ การไหว้กราบ ได้หัด

ในบทสวดมนต์ มีหลายบทที่เป็น

มาตั้งแต่เริ่มบวช เห็นรักษาระเบียบ เบญจางคประดิษฐ์เฉพาะเวลาบวชเสร็จพิธแี ล้ว ปล่อยทิง้ ระเบี ย บหมด ประนมมื อ ก็ ป ล่ อ ยตามอารมณ์ มั ก ง่ า ย ประสานนิว้ ไม่อยูต่ รงระหว่างอก เอีย้ วไปขวาบ้างซ้ายบ้าง ปล่อยข้อมือห้อยต�่ำลงอย่างหมดก�ำลังบ้าง กางนิ้วมือ ประสานแก่ปลายนิ้วต้นข้อมือห่างแบบกรงนกบ้าง ยกสูง จนเกือบนิ้วยันคางบ้าง ซึ่งเป็นการไม่รักษาระเบียบที่ให้ ยกข้อมือระหว่างอก นิ้วเรียบประกบกัน ปลายมือช้อนขึ้น หน่อยหนึ่ง การส�ำรวมเพียงกิริยาประนมมือเท่านั้น ก็ยัง รักษาระเบียบไว้ไม่ได้ จะสามารถท�ำอะไรทีส่ งู กว่านีไ้ ด้หรือ ค�ำอวยพรแก่เจ้าภาพ จึงควรส�ำรวม อารมณ์สวด อย่าปากว่า ตาเหม่อดูโน่นนี่ไม่สมกับที่เตือน ไว้ในบทชุมนุมเทวดาว่า อวิกฺขิตฺตจิตฺตา ปริตฺตํ ภณนฺตุ จงส�ำรวมใจอย่าให้วอกแวกสวดพระปริตร เมื่อถึงบทที่ อ้างถึงเจ้าภาพ เช่น ตนฺเตชสา เต ชยสิทฺธิ โหตุ ถึงค�ำว่า เต หน้า ชยสิทฺธิ โหตุ นั้น ต้องโยคถึงเจ้าภาพเฉพาะตัว

๒๒

อาจาระ

๓ สมเด็จ


หรือครอบครัวตลอดหน้าที่การงาน หรือ โสตฺถิ เต โหตุ โสตฺถิ คพฺภสฺส ค�ำว่า เต หน้าโหตุ ต้องโยคถึงเจ้าภาพ ควรใส่ใจเสมอเมื่อสวดในบทอื่นๆ ที่มีค�ำว่า เต เช่นนี้ ภวตุ สพฺพมงฺคลํ ก็มี ต้องมุ่งเพ่งใจถึงเจ้าภาพโดยเฉพาะ จึงจะศักดิ์สิทธิ์

การหยดเทียนน�้ำมนต์ ต้องสังเกต

อีกหน่อยว่า ถ้าหม้อน�้ำมนต์นั้นเล็ก จะหยดดอกเทียน เมื่อขึ้นบท ขีณํ ปุราณํ ก็ได้ เพื่อไม่ให้ ดอกเทียนทับกันแน่น แต่ถา้ หม้อน�ำ้ ใหญ่ เช่น บาตร หรือขัน จะเริ่มหยดเมื่อขึ้น เย สุปฺปยุตฺตา ก็ได้ เพื่อให้ดอกเทียน เต็มภาชนะน่าดู และการดับเทียนนั้น ให้ดับเมื่อสวดถึง บท นิพฺพนฺติ ซึ่งหมายถึงการดับเมื่อจุ่มเทียนดับตรงค�ำว่า นิพฺพนฺติ นั้นแล้ว ให้ใช้ปลายเทียนเขียนอักษรขอมใน ขันน�ำ้ นัน้ (อะ) (อุ) (มะ) ซึง่ หมายถึงพระรัตนตรัย จบแล้ว วนเทียนในนำ�้ เป็นทักขิณาวัฏครบ ๓ รอบ ให้สวดพร้อมกับ สวดถึงบท เอเตน สจฺเจน สุวตฺถิ โหตุ ก็ให้มุ่งใจลงใน น�้ำมนต์นั้นทุกบทด้วย (ถ้าส�ำรวมใจ สาธยายได้เช่นนี้ จะขลังสมปรารถนา)

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๒๓


การขัดต�ำนาน จะเป็นขัดแบบมคธ

การให้ศีล ฟังดูส่วนมาก มักว่า สะ

หรือแบบสังโยค (ผูม้ ตี �ำแหน่งฐานาเปรียญ) จะต้องหัดให้ปฏิบัติหน้าที่ได้เมื่อหน้าที่มาถึง (นั่งที่ ๓) อย่ายอมขายหน้าว่า ว่าไม่ได้เวลาขัดต้องดูเวลา หรือสังเกต การให้ศีลของประธาน ถ้าท่านว่าอย่างรวบรัด แสดงว่า ต้องการท�ำเวลาให้เร็วขึน้ ก็ตอ้ งว่าให้รวบรัดอย่ามัวเล่นลิน้ เล่นท�ำนองให้ล่าช้า ต้องว่าให้กระชับเร็วเข้า หาไม่จะเป็น ผู้ไม่รู้จักกาลเทศะ ระ ณัง หรือ เว ระ มะ ณี ลงเสียง หนักทุกตัว เป็นการเปล่งเสียงผิด เพราะ สะ ระ หรือ ระ มะ เป็นเสียงเบา สั้น จะออกเสียงเป็นเสียงหนักอย่าง ณัง หรือ เว ณี ไม่ได้ ควรว่าให้เบา สั้น ด้วยเป็น รม มะ ณี หรืออย่าง พุทฺธํ สรณํ ก็ ว่า พุทฺธํ สะ ระ ณัง อย่างนีผ้ ดิ เพราะเปล่งเสียงทีส่ นั้ เบา ให้เป็นเสียงหนัก ยาว

๒๔

อาจาระ

๓ สมเด็จ


บทสังฆคุณ สทฺธมฺมโช สุปฏิปตฺติ

ข้อส�ำคัญอีกอย่าง ที่ชาวบ้านเขา

คุณา-ภิยุตฺโต มักเปล่งเสียงสวดว่า สทฺ ธมฺมโชสุปฏิปตฺติ-คุณา ภิยุตฺโต คือไม่หยุดตรง สุปฏิปตฺ ไม่หยุดตรง ปตฺติ ก็ผิด ที่ไม่เอื้อนสังโยคที่ ปตฺ ไปหยุดที่ เสียงเบา สั้น ผิดหลักต้องเอื้อนที่ตัวสังโยค คือ ตัว ปตฺ อาราธนาไปเจริญพระพุทธมนต์ก็เพื่อ อาศัยความส�ำรวมอารมณ์ของพระสงฆ์ สวดพระปริตร ตามค�ำขัดต�ำนานว่า อวิกขฺ ติ ตฺ จิตตฺ า ปริตตฺ ํ ภณนฺตุ พึงส�ำรวม อารมณ์สวดปริตร ต้องตั้งใจสวดด้วยสงบจริงๆ อย่าซัด ส่ายอารมณ์มองเหม่อดูสถานที่ ดูบุคคล เหลียวหน้าไปมา ขาดความส�ำรวม กลายเป็นไปท่องสวดมนต์ให้เจ้าภาพฟัง ครัน้ ไม่เห็นมีเจ้าภาพสนใจฟัง กลับไปต่อว่าไม่ตงั้ อกตัง้ ใจฟัง ส่วนตัวไม่ตงั้ ใจสวด ก็หานึกไม่ควรตัง้ ใจปฏิบตั ใิ ห้สมเจตนา เจ้าภาพ ถ้าจะตัง้ ใจสวดให้เกิดสิรมิ งคลแก่เจ้าภาพไม่ได้แล้ว ก็อย่ารับอาราธนาเขาดีกว่า

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๒๕


๑๐

การอาราธนาพระภิกษุไปในงาน

ของชาวบ้าน ควรเลือกภิกษุที่ปฏิบัติ

หน้าทีส่ วดมนต์ได้ เพราะเจ้าภาพเขาอาราธนาไปสวดมนต์ ไม่ใช่ไปนัง่ หน้าชาเหงือ่ แตกเพราะสวดไม่ได้ เว้นแต่เจ้าภาพ เขาอนุญาต ถึงกระนัน้ ก็ตอ้ งพยายามสนองศรัทธาเจ้าภาพ จนเต็มสามารถ ด้วยแจ้งให้เขาทราบว่า ภิกษุตามจ�ำนวน ไม่มพี อ ถ้าจะให้ครบจ�ำนวนก็ตอ้ งอาราธนาพระวัดอืน่ ผสม เมื่ อ เจ้ า ภาพอนุ ญ าตจึ ง ควรปฏิ บั ติ ต ามเจตนาเจ้ า ภาพ อย่าถือตามอ�ำเภอใจตน จะน�ำให้พระทีส่ วดไม่ได้นงั่ ขับเหงือ่ อยู่ตลอดเวลา

๑๑

การให้ศีล มายุคนี้นิยมว่าเป็นศัพท์ๆ

เช่น อทินฺนา ทานา เวรมณี สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ กาเมสุ มิจฺฉาจารา เวรมณี (โดยมากมักว่า กาเมสุมจิ ฉฺ าจารา ติดกันไป ซึง่ ชวนให้หมายว่าประพฤติผดิ ที่ดีงามไป ผิดความมุ่งหมายของสิกขาบทที่ให้เว้นจากการ ประพฤติผิดในกามทั้งหลาย จึงต้องชะงักให้หมดศัพท์ที่ กาเมสุ แล้วจึง มิจฉฺ าจารา ไม่ใช่ กาเมสุมจิ ฉฺ าจารา ตามเคย ที่ว่ากันมา

๒๖

อาจาระ

๓ สมเด็จ


๑๒

การตัง้ นโม เขามีแบบอย่างมาแล้วว่า

๑๓

การนั่งพับเพียบ ต้องซ่อนปลายเท้า

นโม ในการให้ศีลต้องว่าเต็ม ๓ จบ คือ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส ครั้งที่ ๒ ๓ เหมือนกันเรียก นโม ๓ เตื้อ ถ้าว่าในการสวดนาค คราว อุปสมบท สวดกฐิน และเทศน์ ต้องว่า นโม แฝด มี ๓ ตอน คือ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส นโมตสฺส นี้ตอนที่ ๑ ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทฺธสฺส นี้จบที่ ๒ นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส นี้ตอนที่ ๓ ระเบียบอย่างนี้ต้องรักษาไว้ปฏิบัติสืบต่ออย่างศิษย์มีครู ถ้าว่าตามอ�ำเภอใจ ทีละจบ ก็ไม่ขัดข้อง แต่ขาดเชิง ศิษย์มีครู อย่าให้โผล่ออกด้านหน้าตัก (เพราะยัง ถือว่าเท้าเป็นของต�่ำ) ไม่งามตาของผู้รักษาระเบียบและ เวลาจะพลิกกลับ ก็อย่ายกเข่าออกพลิกด้านหน้าเป็นกิรยิ า ขาดความสุภาพ จงหัดพลิกกลับด้านหลัง โดยก้มล�ำตัว เผยอขึ้นเล็กน้อย แล้วกลับเท้าโดยฉับพลันย่อมงามตา น่าเลื่อมใสกว่า

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๒๗


๑๔

การใช้ชอ้ นส้อมในเวลาฉันอาหาร

๑๕

ถ้าการจัดโต๊ะ เก้าอี้ เป็นสถานที่

เขาให้หงายมือกระดิกปลายช้อน เมื่อ แต่งค�ำข้าวเรียบร้อยแล้ว เข้าปาก และอย่าอ้าปากไว้คอยท่า ก้มหน้าฉัน ถ้าควำ�่ มือ จะต้องใช้ยกศอกเกินงาม (และระวัง กิรยิ าตามเสขิยวัตรโดยตลอด จงตัง้ ใจฝึกตัวเองตามระเบียบ ทุกคราวที่ฉันส่วนตัว)

ฉันอาหาร ให้ระวังจงมากทีจ่ ะไม่เลือ่ น

เก้าอี้นั่งให้เกิดเสียงครืดคราด เพราะเมื่อมากรูปต่างท�ำให้ เกิดเสียง จะเป็นโครมครามคล้ายโจรปล้น จงประคอง ยกเลือ่ นให้มเี สียงเบาทีส่ ดุ รูปไหนมาก่อนจงเข้านัง่ ด้านใน สุดก่อน อย่านั่งเป็นท�ำนองกันท่าอยู่ด้านนอก จะเป็นการ เห็นแก่ตัว

๒๘

อาจาระ

๓ สมเด็จ


๑๖

จงใช้ช้อนกลางตักอาหาร อย่าใช้

๑๗

การเทศนา ควรเตรียมตัว ซ้อมให้

ช้อนที่น�ำอาหารเข้าปากแล้ว เที่ยวตัก อาหารเป็นการมูมมาม และเป็นที่รังเกียจแก่ผู้อื่นที่ร่วม วงฉัน ใช้ช้อนกลางตักอาหารที่ต้องการมารวมไว้ในจาน ของตน ควรอยู่

คล่องแคล่วก่อน อย่าให้มาแสดงตะกุก ตะกักอ่อนหัดบนธรรมาสน์ ควรใช้เสียงอย่างเสียงพูด ธรรมดา อย่าใช้เสียงสูงอย่างร้องเพลง อ่านตัว ร ล ให้ ชัดเจน ตัวกลำ�้ ตัวควบ จงพยายามให้ผฟู้ งั เข้าใจเนือ้ ความ ด้วยการใช้เสียงให้มาก เพราะเขาไม่ได้เห็นต้นฉบับ ฟังแต่ เสียง ไม่ได้เห็นวรรคตอนตัวหนังสือ

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๒๙


อาจาระ

๓ สมเด็จ


สมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณกมหาเถร ป.ธ.๙)

อดีตเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก อดีตเจ้าอาวาสวัดจักรวรรดิราชาวาส อดีตแม่๗๖ กองงานพระธรรมทู ต คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ


อาจาระที่ควรปฏิบัติ สมเด็จพระธีรญาณมุนี

(ธีร์ ปุณฺณกมหาเถร ป.ธ.๙) วัดจักรวรรดิราชาวาส

๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๓๒

อย่าสะพายย่ามขึ้นบ่า ในชุมชน หรือใน ละแวกบ้าน อย่าแบกร่ม ในชุมชน หรือในละแวกบ้าน อย่าเลิกชายจีวรขึ้นพาดไหล่ ในชุมชน หรือ ในละแวกบ้าน อย่าคาบบุหรี่ หรือเดินสูบบุหรี่ ตามถนน หรือ ในที่สาธารณะ ออกนอกคณะ (หรือนอกเขตวัด) ให้ห่มจีวร แม้มีอังสะออกนอกคณะก็ไม่สมควร อาจาระ

๓ สมเด็จ


การนุ่งห่ม มิใช่เพื่อความสวยงาม แต่ควรจะ ระวังอย่าให้สกปรก เปรอะเปื้อน และส่งกลิ่น โดยเฉพาะเวลาออกนอกวัดหรือไปงานพิธี ควรใช้สบง อังสะ จีวรให้เป็นสีเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันที่สุด อย่าให้ ผิดสีกันจนดูไม่เรียบร้อย

๗ ๘

เวลานุ่งห่มไม่ว่าในวัดหรือนอกวัด ควรหาที่ ก�ำบัง ไม่ควรนุ่งห่มในที่เปิดเผย

ถึงวันโกนถ้าจะไปในงานพิธตี อนเช้า ยังไม่ตอ้ ง โกนศีรษะ แต่ตอนบ่าย ถ้าจะไปในงานพิธี จะต้องโกนก่อนไป

เวลาประชุมหรือไปในงานพิธี ควรไปถึงสถานที่ ก่อนผูใ้ หญ่ อย่าให้ผใู้ หญ่ไปรอผูน้ อ้ ย ความจริง ผู้น้อยควรจะไปรอรับผู้ใหญ่ จึงจะชอบด้วยระเบียบ

๑๐ เวลาไปงานพิธี

ไม่ควรเดินไปถึงอาสนะแล้ว นัง่ ลงเลยทีเดียว เป็นกิรยิ าไม่สภุ าพ ควรคุกเข่าลง หน้าอาสนะ แล้วเดินเข้าไปนัง่ และต้องรอพระเถระผูใ้ หญ่ หรือรอให้พร้อมกัน

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๓๓


๑๑

ในงานพิธี ถ้าเขาปูผา้ ขาวกว้างยาวกว่าอาสนะ ออกมา ไม่ควรเหยียบผ้าขาว ควรเดินเข่าเข้าไป จนถึงอาสนะแล้วจึงนั่ง

๑๒ ในงานพิธเี จริญพระพุทธมนต์ ให้วางพัดข้างขวา วางย่ามไว้ข้างซ้ายเราเสมอไป

๑๓ ควรมีผ้ากราบติดย่ามไปในงานพิธีทุกครั้ง

การใช้ผา้ เช็ดหน้า หรือผ้าอืน่ รับของทีส่ ตรีน�ำมา ถวาย เป็นการไม่สมควร

๑๔

การจับพัดในงานพิธที วั่ ไป ใช้มอื ขวา ถ้าบังสุกลุ ใช้มอื ซ้าย ส่วนมือขวาจับผ้าภูษาโยง อย่าเอนพัด โย้หน้าเย้หลัง ต้องตั้งให้ตรงแม้ก่อนหรือเมื่อเสร็จพิธีแล้ว การถือพัดควรอยู่ในลักษณะส�ำรวมเสมอ อย่าถือต�่ำหรือ แกว่งพัดไปมา เป็นกิริยาที่ไม่งาม

๑๕

ไม่ควรนัง่ เสมอแถวเดียวกับผูใ้ หญ่ ควรนัง่ เยือ้ ง หรือแถวถัดลงมา ถ้าจ�ำเป็นต้องนัง่ แถวเดียวกัน กับผู้ใหญ่ควรนั่งข้างซ้ายผู้ใหญ่

๓๔

อาจาระ

๓ สมเด็จ


๑๖ ไม่ควรนั่งเบียดเสียดผู้ใหญ่ หรือใกล้เกินไป ๑๗

ไม่ควรพูดข้ามศีรษะผู้ใหญ่ คือยื่นคอไปพูด กับผูอ้ นื่ ทีอ่ ยูต่ รงกันข้ามกับเรา ซึง่ มีผใู้ หญ่คนั่ อยู่ ในระหว่างกลาง

๑๘ ๑๙

ไม่ควรพูดทะลุกลางปล้อง คือผู้ใหญ่พูดอยู่ ยังไม่จบ พูดแทรกขึ้นในระหว่าง ไม่ควรพูดคัดค้านผูใ้ หญ่โดยตรงๆ โดยลักษณะ ไม่เคารพ

๒๐ เดินตามผู้ใหญ่

ไม่ควรให้ใกล้นัก ห่างนัก ควรเดินเยื้องอยู่ข้างซ้ายท่านนิดหน่อยเสมอ ไม่ควรเดินเยื้องขวา

๒๑ ไม่ควรเดินแซงขึน้ หน้าผูใ้ หญ่ หรือเดินน�ำหน้า

ผู้ใหญ่ ถ้าจ�ำเป็นจะต้องขึ้นหน้า ควรแซง ให้ห่างมากๆ

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๓๕


๒๒ ถ้าเดินสวนทางกับผู้ใหญ่

ควรหลีกทางขวา หรือควรหยุดยืนอยู่ และหันหน้ามาทางท่าน ให้ท่านผ่านไปก่อนแล้วจึงค่อยเดินต่อไป

๒๓ ถ้าเราเดินอยู่ รู้ว่าผู้ใหญ่เดินตามมา ควรหยุด ตามท่าน

หลีกให้ทา่ นเดินไปข้างหน้าเสียก่อน แล้วจึงเดิน

๒๔ ผู้ถือคัมภีร์พระธรรม

ไม่ควรเดินตามหลัง พระผู้เทศน์ ควรถือออกหน้าห่างพอสมควร และไม่ควรแบก หรือถือคัมภีร์โดยอาการไม่เคารพ

๒๕ การนั่งร่วมยานพาหนะไปกับผู้ใหญ่ เช่น นั่ง

ในรถ ในเรือ ไม่ควรนั่งอาสนะเดียวกับท่าน ส�ำหรับในรถควรนั่งข้างหน้า ส่วนในเรือควรนั่งข้างหลัง ถ้าจ�ำเป็นจะต้องนัง่ เคียงท่าน ควรนัง่ ข้างซ้ายท่าน ให้ทา่ น นั่งข้างขวาเรา และควรไหว้ขอโอกาสก่อนเสมอ

๒๖ การเดินน�ำทางผู้ใหญ่ ไม่ควรน�ำตรง ควรเดิน เลี่ยงข้างน�ำท่านไป

๓๖

อาจาระ

๓ สมเด็จ


๒๗ ผูใ้ หญ่ไม่กนั้ ร่ม เราก็ไม่ควรกัน้ ร่มเดินตามท่าน

ผู้ใหญ่ไม่สวมรองเท้า ก็ไม่ควรสวมรองเท้า เดินตามท่าน

๒๘ ยืนพูดกับผู้ใหญ่ที่ท่านไม่ได้สวมรองเท้า ไม่ได้

กั้นร่ม ถ้าเราสวมรองเท้า ควรถอดรองเท้า ลงจากรองเท้าและลดร่มทุกคราว

๒๙ ไม่ควรนั่งโดยอาการไม่เคารพพูดกับผู้ใหญ่ เป็นต้น

เช่น นั่งขัดสมาธิ หรือชันเข่า หรือนั่งท้าวแขน

๓๐ อยู่ในบ้านหรือในที่มิใช่วัด ไม่ควรกราบ ไหว้

พระผูใ้ หญ่เพียงแต่ท�ำความส�ำรวม แสดงอาการ เคารพเท่านั้น

๓๑ ผู้ใหญ่นั่งอยู่ จะเปิด ปิดประตู หน้าต่าง หรือ

เอือ้ มหยิบของทีอ่ ยูส่ งู กว่าศีรษะผูใ้ หญ่ ควรไหว้ หรือขอโอกาสก่อนทุกครั้ง

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๓๗


๓๒ ไม่ควรยืนฉันอาหาร

หรือยืนดื่มน�้ำ เป็นต้น ควรนั่งลงก่อนแล้วจึงฉันหรือดื่ม

๓๓ เวลาฉันอาหารควรห่มผ้า และนัง่ ฉันให้เรียบร้อย ทุกๆ ครั้ง

๓๔

แม้อยู่ภายในกุฎี หรือภายในคณะ อย่านุ่งผ้า เหน็บกระเตี่ยวหรือนุ่งผ้าลอยชาย

๓๕

อย่าเอาผ้าอาบ อังสะ จีวร คล้องคอ หรือพาดไหล่ เดินไปมา หรือปล่อยชายลงข้างหน้า ข้างหลัง ก็ไม่สมควร

๓๖ อย่าเอาผ้าอาบพันเอว ๓๗ เวลาเข้าประชุม หรือต่อหน้าผูใ้ หญ่ หรือญาติโยม อย่านั่งเท้าแขนหรือก้มหน้าเอนหลัง

๓๘

อาจาระ

๓ สมเด็จ


๓๘

เวลาจะเปลีย่ นท่านัง่ พับเพียบ จากขาข้างหนึง่ ไปขาข้างหนึ่ง ให้คุกเข่าเปลี่ยนเท้าทั้งสอง ด้านหลัง อย่าเปลี่ยนโดยเอาขามาทางด้านหน้า

๓๙

อย่าเล่นหรือออกก�ำลังกายอย่างคฤหัสถ์ เช่น หมากรุก ไพ่ เตะตะกร้อ ชกมวย เป็นต้น ถ้าจะ ออกก�ำลังควรหาวิธีโดยควรแก่สมณสารูป

๔๐ อย่าทดลอง หรือใช้เครือ่ งนุง่ ห่ม หรือเครือ่ งประดับ

อย่างคฤหัสถ์ เช่น นาฬิกาข้อมือ รองเท้า หมวก เสือ้ กางเกง เป็นต้น (เพราะยินดีเพศคฤหัสถ์ขนึ้ ขาดจาก ความเป็นพระทันที)

๔๑ เวลาลงท�ำวัตรสวดมนต์หรือเข้าประชุม ควร

จัดนั่งเรียงแถวหน้ากระดานให้เป็นระเบียบ เรียบร้อย อย่านั่งห่างกันเป็นหย่อมๆ หรือแถวคด ดูไม่ เรียบร้อย

๔๒ เวลาเข้าหรือเลิกประชุม ไม่ควรแย่งกันเข้าหรือ ออก ควรให้โอกาสแก่ผู้ใหญ่ตามล�ำดับอาวุโส

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๓๙


๔๓ เวลาไปในงานพิธี ตอนจะลุกออกจากอาสนะ

ควรให้ประธานหรือหัวหน้าลุกก่อน นอกนั้น ให้ลกุ และออกมาตามล�ำดับจนถึงปลายแถว ผูอ้ ยูป่ ลายแถว ไม่ควรลุกออกก่อน

๔๔ บูชาพระ

ดอกไม้ธปู เทียนทีท่ ายกทายิกาถวายมา ไม่ควร ทิง้ ขว้างหรือวางไว้ในทีไ่ ม่สมควร ควรจะน�ำมา

๔๕

อย่ า ทิ้ ง เศษกระดาษ หรื อ สิ่ ง ของลงทาง หน้าต่าง หรือจากชัน้ บนลงพืน้ ชัน้ ล่าง และตาม บริเวณวัด หรือทีส่ าธารณะ เป็นกิรยิ าของผูท้ ไี่ ม่มมี ารยาท ควรหาที่ใส่แล้วน�ำไปทิ้งในที่ที่จัดไว้

๔๖ อย่าเปิดวิทยุเสียงดังให้ผู้อยู่ใกล้เคียงร�ำคาญ ๔๗ ให้ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาด ภายในคณะ อย่าดูดาย

๔๐

อาจาระ

๓ สมเด็จ

ภายในกุฎี


๔๘

ไปในงานพิธสี วดมนต์ในวัด หรือนอกวัด ไม่ควร เอาหนังสือสวดมนต์แบบไปกางสวด หรือ เอาหนังสือไปอ่านหรือเอาต�ำราไปท่อง เป็นกิริยา ที่ไม่งาม

๔๙

ให้ช่วยกันสอดส่องผู้อยู่ในปกครองของตน ตลอดผูท้ มี่ าพักพาอาศัย ให้เอือ้ เฟือ้ ต่อระเบียบ ของคณะและของวัด

๕๐

ไปลา มาบอก โดยวาจา หรือโดยลายลักษณ์ อักษร เป็นสมบัติของผู้ดีที่ควรปฏิบัติ

๕๑ อย่าสะพายกล้องถ่ายรูปในที่สาธารณะ ๕๒ อย่ารับเป็นมัคคุเทศก์ พาคฤหัสถ์ตา่ งชาติเทีย่ ว

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๔๑


ข้อที่ควรทราบ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับพระราชพิธีหลวง

งานพระราชพิธี หมายถึง งานเกี่ยวกับ

งานพระราชกุศล หมายถึง งานเกีย่ วโดยตรง

พระมหากษัตริย์โดยตรง โดยรวมทั้งสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ด้วย และในปัจจุบันนี้ ได้ ร วมถึ ง สมเด็ จ พระบรมราชชนนี สมเด็ จ พระบรม โอรสาธิราชฯ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (บัดนี้ รวมทั้งพระบรมวงศ์ชั้นเจ้าฟ้าด้วย) ของพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินนี าถ เป็นต้น เช่น งานบ�ำเพ็ญพระราชกุศล วันตรุษสงกรานต์ เป็นอาทิ

๔๒

อาจาระ

๓ สมเด็จ


งานรัฐพิธี หมายถึง งานที่ทางรัฐบาลจัด

งานพระกุศล หมายถึง งานทีพ่ ระบรมวงศานุวงศ์

เป็นต้น

ทรงจัดเอง เช่น งานบ�ำเพ็ญพระกุศล วันประสูติ

การใช้พัดยศ*

๑. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๒. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ๓. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ๔. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทั้ง ๔ พระองค์นี้ เมื่อเสด็จในพิธีใดในพิธีนั้น ต้องใช้พัดยศส�ำหรับพระองค์ที่ ๑-๒ เมื่อถวายอนุโมทนา ต้องถวายอดิเรกด้วย อีก ๒ พระองค์นั้น ใช้พัดยศ แต่ไม่ตอ้ งถวายอดิเรก และเมือ่ หัวหน้าถวายอดิเรก ส�ำหรับ ๒ พระองค์ดังกล่าวแล้ว พระเถระรูปที่สองต้องรับ ภวตุ สัพพมังคลังฯ

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๔๓


เมื่อทั้ง ๔ พระองค์นั้น เสด็จฯ ผ่าน และเมื่อ ตั้งโต๊ะบูชารับเสด็จฯ ต้องไม่ตั้งพระพุทธรูป และพระบรมฉายาลักษณ์ (สมเด็จพระสังฆราชเสด็จผ่าน ก็ควรปฏิบัติเช่นเดียวกัน)

งานเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ หรือที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ผูอ้ นื่ เสด็จฯ หรือไปแทนพระองค์ ต้องใช้พดั ยศ และมีการ บรรเลงเพลงสรรเสริญพระบารมี เพราะเท่ากับว่าเสด็จฯ เอง เช่น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้องคมนตรีไปเป็น ประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่สุสานหลวง วัดเทพศิรินทราวาส เป็นต้น

สรุปแล้ว งานทุกอย่างถ้าเกีย่ วกับทัง้ ๔ พระองค์ ต้องใช้พดั ยศทัง้ นัน้ แต่การถวายอดิเรกต้องใช้ และไม่ตอ้ งใช้ดงั กล่าวแล้ว ในข้อ ก. แม้งานกฐินพระราชทาน ให้ผู้อื่นไปทอดตามวัดหลวงนั้นๆ ก็ต้องใช้พัดยศ เมื่อ อนุโมทนาต้องถวายอดิเรก ใช้เพลงสรรเสริญพระบารมี

๔๔

อาจาระ

๓ สมเด็จ


ในงานหลวงมี พ ระราชทานพั ด รอง เวลา อนุโมทนาให้ใช้พัดรอง พอถึงตอนถวายอดิเรก ต้องใช้พดั ยศ โดยวางพัดรองไว้ แล้วน�ำพัดยศตัง้ ตอนถวาย อดิเรกทุกรูป และใช้พัดยศไปจนจบการสวดอนุโมทนา

ในงานหลวง พระเถระผูถ้ วายพระธรรมเทศนา ต้องใช้พัดรองในขณะที่อยู่บนธรรมาสน์ ตอน อนุโมทนาจึงใช้พัดยศ (ดังนั้นพระเถระผู้ถวายพระธรรม เทศนาจึงน�ำพัดยศกับพัดรองไปด้วย) งานสาบานธง ถ้าทัง้ ๔ พระองค์นนั้ พระองค์ใดพระองค์หนึง่ มิได้เสด็จฯ หรือมิได้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใครไปแทนพระองค์ หรือ ไม่ได้เป็นพระราชพิธีไม่ต้องใช้พัดยศ

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๔๕


ข้อปฏิบัติอื่นๆ เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์

การเข้าหน้าพระที่นั่ง การขึ้นการลงอาสนะ

การเข้ารับไทยธรรมจากพระมหากษัตริย์

การถวายอนุโมทนา ต้องรอโอกาสให้ทรง

ควรหันหน้าไปทางพระมหากษัตริย์ การนั่ง อย่าหันเท้าไปทางพระมหากษัตริย์ การพลิกตัวควรพลิก ด้ า นหลั ง การลงจากอาสนะควรลงตามล�ำดั บ ตั้ ง แต่ หัวหน้า ควรเข้ า ไปด้ ว ยอาการส�ำรวม ระมั ด ระวั ง ตามล�ำดับประสานมือทั้งสองรับ

๔๖

พร้อมที่จะทรงหลั่งทักษิโณทกก่อน

อาจาระ

๓ สมเด็จ


ค�ำว่า สดับปกรณ์ (มาจากค�ำว่า สัตตัปปกรณ์

แปลว่า ๗ คัมภีร์) ใช้ส�ำหรับเจ้านายตั้งแต่ ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไป นอกจากนั้นใช้ค�ำว่าบังสกุล หรือบังสุกุล

ค�ำว่า ศราทธพรต ใช้เฉพาะงานพระศพ

ค�ำว่า หมายก�ำหนดการ ใช้เฉพาะงานหลวง

ตัง้ แต่ชนั้ เจ้าฟ้าขึน้ ไป นอกนัน้ ใช้ค�ำว่า มตกพรต หรือมฤตกพรต (แต่ทุกวันนี้ใช้สับสนไปหมด)

หรือพิธหี ลวง หรือพระราชพิธี นอกนัน้ ใช้ค�ำว่า ก�ำหนดการ ไม่มีค�ำว่า หมาย

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๔๗


ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับพระพุทธรูป

ก ข

การเจิ ม พระพุ ท ธรู ป ไม่ควรเจิมสูงเกิน

พระอุระ (อก) ของพระพุทธรูป

การถวายพวงมาลัยพระพุทธรูป ไม่ควร

คล้องที่พระศอ ควรวางไว้ที่เบื้องหน้า หรือที่ พระบาทของพระพุทธรูป

การวงสายสิญจน์ที่พระพุทธรูป ควรวง

การตัง้ พระพุทธรูป ควรตัง้ ในทีส่ งู และควรอยู่

การขัดต�ำนานชุมนุมเทวดา ถ้าเป็นในโบสถ์

เวียนขวาที่ฐานพระพุทธรูป

ทางด้านขวามือของพระสงฆ์ทสี่ วดมนต์ แต่ทงั้ นี้ ต้องแล้วแต่สถานที่ด้วย ควรขัดครบทั้งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ถ้าเป็นนอกโบสถ์จึงขัดเฉพาะพระธรรม

๔๘

อาจาระ

๓ สมเด็จ


อื่นๆ

การกราบพระของคนหลายคน ถ้าจะให้

การสวดมนต์ ถ้าจะให้พร้อมกัน เสียงได้ระดับ

การนัง่ เข้าแถว ควรให้หวั เข่าได้ระดับเดียวกัน

พร้อมกันต้องคอยระวัง คือ หัวหน้าหรือข้างหน้า ลุกนัง่ คุกเข่า อย่าเพิง่ กราบ ต้องรอข้างหลังก่อน เมือ่ ข้างหลัง ลุกนัง่ คุกเข่าแล้ว จึงกราบพร้อมกัน ในการกราบครัง้ ทีส่ อง สาม ต้องคอยดูกัน แล้วกราบลงพร้อมๆ กัน เดียวกัน ต้องคอยระวัง ปากสวด หูฟงั แล้วปรับ จังหวะ ปรับเสียงให้เข้ากันกับผู้อื่น

การตั้งพัดก็เหมือนกัน

การรับของจากพระเถระผู้ใหญ่ เมื่อรับ

มือเดียวควรรับด้วยวิธเี อางาน และอย่าต่อแขน

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๔๙


แต่กอ่ นนี้ เมือ่ ยังมีศพตัง้ อยู่ พระสวด อทาสิ เม ไปจนจบ ถ้าศพไม่มแี ล้วจึงสวดเฉพาะ อยญฺจ โข แต่เดี๋ยวนี้แปรไป

จ ฉ

๕๐

การรดหรืออาบน�้ำศพ พระรดหรืออาบ

เฉพาะศพพระ (เณร) เท่านัน้ ในฐานะทีเ่ ป็นพระ

พระไม่ควรวางหรีดให้ใคร ถ้าวางในนาม ของอุบาสก อุบาสิกาวัดนั้นๆ ย่อมท�ำได้

อาจาระ

๓ สมเด็จ


สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (นิยม ฐฺานิสฺสรมหาเถร ป.ธ.๙) อดีตเจ้าคณะใหญ่หนกลาง วัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร ๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ


อาจาระที่ควรศึกษา สมเด็จพระมหาธีราจารย์

(นิยม ฐฺานิสฺสรมหาเถร ป.ธ.๙) วัดชนะสงคราม ราชวรมหาวิหาร

การนุ่ง การห่ม ต้องให้เป็นปริมณฑล คือ

การฉัน สมควรถวายข้าวพระพุทธเสียก่อน

มีความเรียบร้อยตามพระวินยั การนุง่ อันตรวาสก (สบง) ต้องให้ปิดนาภี (สะดือ) ต�่ำลงไปครึ่งแข้ง หรือ ตำ�่ กว่าเข่า ๘ นิว้ การห่มอุตราสงค์ (จีวร) ต้องให้ตำ�่ กว่าเข่า ประมาณ ๔ นิ้ว สูงกว่าสบงประมาณ ๔ นิ้ว ถ้าห่ม ม้วนลูกบวบต้องจัดชายผ้าให้เสมอกันก่อน จึงม้วนผ้า ไม่ควรรวบๆ ผ้าแล้วม้วน ชายผ้าจะแตกห่มแล้วดูปุ้มป้าม ไม่เรียบร้อย ไม่น่าดู

เพื่อเป็นพุทธบูชา เป็นธรรมเนียมมีมาตั้งแต่ สมัยลังกาวงศ์ มีเรื่องปรากฏในคัมภีร์สารัตถสังคหะ

๕๒

อาจาระ

๓ สมเด็จ


แล้วพิจารณาตังขณิกปัจจเวกขณะ (ปฏิสงฺขา โยนิโส บิณฺฑปาตํ ปฏิเสวามิ ฯลฯ) ต้องศึกษาธรรมเนียมการฉัน ในเสขิยวัตรให้ถี่ถ้วน ในยุคปัจจุบันนี้นิยมใช้ช้อนกลาง ต้องใช้ช้อนกลางด้วย

การรับประเคน โดยทั่วไปควรรับสองมือ

การนั่ง จะนั่งในวัดก็ตาม ในบ้านก็ตาม ควร

การนั่ ง พั บ เพี ย บทุ ก กรณี ควรนั่ ง เก็ บ

เป็นการเพิ่มศรัทธาปสาทะแก่ผู้ถวาย เว้นแต่ ของทีถ่ วายเป็นของเล็กไม่เหมาะทีจ่ ะรับสองมือ จึงควรรับ มือเดียว ถ้าเป็นสุภาพสตรี ควรใช้ผ้ากราบรับ ต้องเตรียม ผ้ากราบติดตัวไว้เสมอ

พยายามนั่งให้ตัวตรงไว้ งดงามดี

ปลายเท้าไว้ข้างใน ให้หัวแม่เท้าม้วนเข้ามา ใกล้ กั น ต้ อ งคอยระวั ง อย่ า ให้ ป ลายเท้ า กางออกไป ไม่งดงาม

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๕๓


การนั่ ง รั บ พระราชทานผ้ า พระกฐิ น

หนวด เครา ต้องโกนทุกๆ ๓ วัน ถ้าปล่อยไว้

สีจีวร ต้องเหมือนกันทุกรูป โดยเฉพาะเพื่อ

ต้องนัง่ เข่าซ้ายทับปลายนิว้ เท้าขวา เรียกสัน้ ๆ ว่า ซ้ายทับขวา เพราะจะช่วยเก็บปลายเท้าไม่ให้ยื่นออกไป ข้างนอก เมื่อท�ำพิธีสังฆกรรมสวดให้ผ้ากฐินจะไม่เห็น ปลายเท้าในภายนอก งดงามดี

เกิน ๓ วัน ดูไม่สมควร ท�ำให้หน้าตาเศร้าหมอง ในวันรับผ้าพระกฐินต้องโกนหนวด ตัดเล็บให้สะอาด หมดจดด้วย

รักษาพระราชศรัทธา สมควรเป็นสีพระราชนิยม (เหลืองหม่น) และระวังอย่าให้มีกลิ่นเหม็นสาบ เพราะ เป็นการรบกวนผู้อื่น

๕๔

อาจาระ

๓ สมเด็จ


การนัง่ ประนมมือ ควรประนมให้นวิ้ เสมอกัน

๑๐

การเจริ ญ พระพุ ท ธมนต์ หรื อ สวด พระพุทธมนต์ ควรนัง่ ตัวตรง ทอดสายตาลงต�ำ่

และกระพุ่มมือเล็กน้อย ให้มีลักษณะคล้าย ดอกบัว วางมือไว้ในระหว่างอกพอดี และระวังไม่ให้ ลดต�่ำลงไป

ไม่เหลียวซ้ายเหลียวขวา ส่ายหน้าไปมาตามความพอใจ หรือหงายหน้าทอดสายตาดูไกล

๑๑

ในการออกเสียงสวดมนต์ ต้องฟังเสียง หัวหน้า ต้นเสียงใช้เสียงต�่ำ หรือเสียงสูงเร็ว

หรือช้า ถ้าต้นเสียงใช้เสียงสูง ต้องสูงตาม ถ้าต�่ำต้องต�่ำตาม ถ้าเร็วต้องเร็วตาม ถ้าช้าต้องช้าตาม ต้องคอยระวังเสียงและ จังหวะให้เสมอกัน ให้กลมกลืนกัน มิใช่ตา่ งรูปต่างว่าไม่พร้อมกัน ไม่กลมกลืนกัน ผู้ฟังไม่สบายหู ไม่สบายใจ เกิดความร�ำคาญ ไม่ประสงค์จะฟัง เสือ่ มศรัทธาและความเชือ่ ถือ ความเลือ่ มใส

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๕๕


๑๒

ก า รเ จ ริ ญ ก า ร ส ว ด พ ร ะพุ ท ธ ม น ต ์

คณะมหานิกายก�ำหนดแบบสังโยคเป็นหลัก คือ หยุดที่ตัวสะกด หรือที่ตัวซ้อนคือ อก อัก อิก อุก อด อัด อิด อุด อบ อับ อิบ อุบ แม้ในอักษรอื่นก็เหมือนกัน รัสสะ สระ คือ อะ อิ อุ เสียงสั้น ต้องออกเสียงสั้น ทีฆะสระ คือ อา อี อู เอ โอ เสียงยาว ต้องออกเสียงยาว อัฑฒะสระ ออกเสียงกึ่งมาตรา เช่น ยสฺมา ยสฺมึ ตสฺมา ตสฺมึ ออกเสียงสระอะเพียงนิดหน่อย อย่าออกเสียงเต็มตัว เช่น ยัดสะมา ยัดสะมิง ตัดสะมา ตัดสะมิง แม้ในที่อื่น ก็เช่นกัน ข้อส�ำคัญ ต้องฟังกัน มีความรู้สึกว่าจะสวด ให้พร้อมกัน และพยายามให้พร้อมกันโดยไม่สวดเร็วนัก ไม่ช้านัก อยู่ในประเภทสายกลางๆ เป็นพอดี กลัวผิด กลัวพลาด กลัวจะไม่เพราะเป็นส�ำคัญ

๕๖

อาจาระ

๓ สมเด็จ


๑๓

ขณะเจริญหรือสวดพระพุทธมนต์ ไม่ดื่ม

๑๔

กล้องถ่ายรูป กล้องส่องทางไกล มีประกาศ

๑๕

โทรศัพท์มอื ถือ ไม่เหมาะแก่พระภิกษุสามเณร

๑๖

แว่นด�ำ ถ้าไม่จ�ำเป็นไม่ควรสวม เว้นแต่ตาเจ็บ

น�้ำ ไม่หยิบโน่น ฉวยนี่ ตั้งสมาธิจิตในการสวด การเจริญ เว้นไว้แต่จ�ำเป็น เช่น ไอ จาม เป็นต้น แม้จะมีเหงือ่ ก็หากระดาษหรือผ้าซับให้แห้งโดยเร็ว ไม้อ้อยอิ่ง ยืดยาด คณะสงฆ์หา้ มไว้แล้ว เครือ่ งถ่ายวิดโี อ บันทึกภาพ โทรศัพท์มือถือไม่ควรใช้ ไม่เหมาะแก่สมณสารูป เพราะ เป็นของคฤหัสถ์หรือนักธุรกิจเขาใช้กัน พระภิกษุสามเณร ที่ดี ไม่ควรมีไม่ควรใช้ บางรูปมีใช้ประจ�ำตัวน�ำไปใช้ในบ้าน ในวงฉันอาหาร หรือตามถนนหนทาง ทั้งในวัดและในบ้านไม่น่าดู ไม่งดงาม เสียสมณสารูป

หรือนายแพทย์สั่ง เพราะดูไม่เหมาะสมแก่ พระภิกษุสามเณร เวลาปลงผมใหม่ๆ ยิ่งไม่น่าดูมาก

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๕๗


๑๗

ฟันปลอม ส�ำหรับผู้ใส่ฟันส่วนใดส่วนหนึ่งก็ดี

๑๘

การนั่งรถยนต์ร่วมกับสตรี (สตรีหลายคน

๑๙

การขับรถยนต์ด้วยตนเอง มิว่ากรณีใดๆ

หรือทั้งล่างบนก็ดี เมื่อฉันเสร็จแล้ว คงต้อง ช�ำระให้สะอาด เพราะร�ำคาญ แต่ไม่สมควรช�ำระในวงฉัน หรือในที่ฉันหลายรูป เพราะอาจเป็นที่ร�ำคาญตาของผู้อื่น

พระภิกษุรูปเดียว) การนั่งรถยนต์โดยสตรี เป็นผู้ขับ (หนึ่งต่อหนึ่ง) จะด้วยเหตุใดก็ตาม เป็นการ ไม่สมควรเป็นโลกวัชชะ มีพระบัญญัตหิ า้ มไว้แล้วในการที่ พระภิกษุเดินทางร่วมกับนางภิกษุณี

ไม่สมควร เป็นโลกวัชชะ เป็นกิริยาอาการของ คฤหัสถ์ ผิดพระวินยั ผิดกฎหมายบ้านเมือง พระสังฆาธิการ กระท�ำย่อมมีโทษจริยาพระสังฆาธิการอีกทางหนึ่ง

๕๘

อาจาระ

๓ สมเด็จ


๒๐

การนั่ง นอน ในที่ลับตา (ไม่มีคนเห็น) ในที่ลับหู (คนอื่นไม่ได้ยินเสียง) กับสตรี

ไม่สมควร เป็นโลกวัชชะ มีพระบัญญัตไิ ว้แล้วว่าเป็นอนิยต พระสังฆาธิการประพฤติย่อมมีโทษทางจริยาพระสังฆาธิ การอีกทางหนึ่ง

๒๑

อย่าเชื่อคนง่าย อย่าเห็นแก่ได้ ปัจจุบันนี้

๒๒

ความมีเมตตากรุณา เป็นคุณธรรมอันประเสริฐ

มีพวกมิจฉาชีพเป็นจ�ำนวนมากมาในรูปแบบ ต่างๆ กัน ในรูปนักบุญก็มี ในรูปนักบาปก็มี เจ้าอาวาส หลายวัดหลายแห่งเสียเงิน (จ�ำนวนแสน) เสียชื่อเสียง เสียความประพฤติ (ต้องสึก) เสียชีวติ (ถูกฆ่า) ก็มี จึงสมควร ระวังไว้อย่าเชือ่ คนง่าย อย่าเห็นแก่ได้ เพือ่ ไม่ให้เกิดเสียหาย แก่วัดและพระศาสนา ควรสั่งสมการสงเคราะห์โดยทั่วไปควรกระท�ำ แต่อย่าให้เกินขอบเขต เด็กหญิง สตรี ต้องพิจารณาดูให้ดี ก่อนจึงให้ความช่วยเหลืออย่าให้เกินพอดี สัตว์เพศเมีย จะเป็นสุนัขหรือสุกร ฯลฯ เป็นต้น ไม่ควรเลี้ยงเป็นพิเศษ

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๕๙


๒๓

การเดินเวียนศพ ต้องงดสวมรองเท้า (แม้ทพี่ นื้

๒๔

การจะขึน้ เมรุ มิวา่ กรณีใดๆ จะเป็นการบังสุกลุ

๒๕

การถื อ พั ด พิ จ ารณาผ้ า สมควรจั บ พั ด

จะร้อนหรือขรุขระ) และอย่าน�ำย่ามติดตัวไป หาที่เก็บที่วางเสียให้เรียบร้อย ยิ่งเป็นศพพระเถระผู้ใหญ่ ต้องระมัดระวังให้มาก เพราะเป็นการถวายความเคารพ และอาลัยในท่านผู้ล่วงลับ ถ้าไม่มีด้ายโยงจับถือสมควร ประสานมือเดิน การพระราชทานเพลิง การปลงศพทัว่ ไปก็ตาม ต้องงดสวมรองเท้า และจัดเครื่องนุ่งห่มให้เรียบร้อยก่อน จึงค่อยเดินไปโดยประสานมือไม่แกว่งไกว เพราะเป็น จุดรวมสายตาของคนทั่วไป กลางด้ามพัดด้วยมือซ้าย เอียงใบพัดมาทางตน มิใช่บงั หน้าเหมือนอย่างอนุโมทนา ยถาสัพพี เพือ่ ทีส่ ายตา จักได้ทอดลงตรงผ้าที่ทอดไว้ พร้อมทั้งหงายมือขวา ๔ นิ้ว สอดเข้าไปใต้ผ้าแล้วพิจารณาผ้า

๖๐

อาจาระ

๓ สมเด็จ


๒๖

ผ้าบังสุกุลที่พิจารณาแล้ว ต้องวางไว้บน

๒๗

เพือ่ รักษาพระวินยั และรักษาพระศาสนา

ข้อศอกพับมือซ้าย ซึง่ ถือพัดอยูด่ ว้ ย ส่วนมือขวา ปล่อยธรรมดา ไม่ต้องถืออะไร

สังฆกรรมที่พระสงฆ์จะพึงกระท�ำเกี่ยวกับ (๑) การให้อุปสมบท (บวชนาค) (๒) ลงอุโบสถสวดพระปาฏิโมกข์ (๓) ปวารณาในวันมหาปวารณา (๔) รับผ้ากฐิน (๕) สวดอัพภาณออกจากอาบัติ (๖) ถอนพื้นที่ผูกพัทธสีมา (๗) สมมติพื้นที่ผูกพัทธสีมา สมควรที่พระภิกษุ ผูร้ ว่ มสังฆกรรม จะปลงอาบัตเิ พือ่ ความบริสทุ ธิข์ องแต่ละรูปๆ ก่อน เพราะท่านก�ำหนดพระภิกษุผู้จะเข้าร่วมสังฆกรรม ต้องเป็นพระปกตัตตะจึงควร

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๖๑


ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความก�ำหนัดย้อมใจ ๑ เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์ ๑ เป็นไปเพื่อความสะสมกองกิเลส ๑ เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่ ๑ เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษยินดีด้วยของมีอยู่ คือ มีนี่แล้วอยากได้นั่น ๑ เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ๑ เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ๑ เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก ๑ ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่าไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่ค�ำสั่งสอน ของพระศาสดา ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความคลายก�ำหนัด ๑ เป็นไปเพื่อความปราศจากทุกข์ ๑ เป็นไปเพื่อความไม่สะสมกองกิเลส ๑

๖๒

อาจาระ

๓ สมเด็จ


เป็นไปเพื่อความอยากอันน้อย ๑ เป็นไปเพื่อความสันโดษยินดีด้วยของมีอยู่ ๑ เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่ ๑ เป็นไปเพื่อความเพียร ๑ เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย ๑ ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นค�ำสั่งสอนของพระศาสดา องฺ. อฎฺฐก. ๒๓/๒๘๘

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๖๓


อาจาระ

๓ สมเด็จ


๗๖

ค�ำสอน

พระพรหมวชิรญาณ ๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ


คืนและวัน

คืนและวัน อายุเรา อย่าแก่แต่ ควรแก่ด้วย ๖๖

อาจาระ

ผันผ่าน แก่อีกหลัก วันและวัย คุณความดี

๓ สมเด็จ

ไม่นานนัก ไม่คงที่ แก่เดือนปี ปูชนียชน.


อาทิตย์สวัสดี สวัสดี วันหยุดกาย มาเริ่มต้น สุขสมปอง

วันอาทิตย์ ชีวิตใหม่ วาจาใจ จากเศร้าหมอง คิดพูดท�ำ กรรมสีทอง ให้สมหวัง ทั้งสิ้นเทอญ.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๖๗


จันทร์เจริญ สวัสดี นับแต่ตื่น “สงบ-เย็น สี่ค�ำนี้ ๖๘

อาจาระ

วันจันทร์ ขวัญสดชื่น จนถึงหลับ รับงานใหม่ เป็นประโยชน์ อย่าโกรธใคร” ท�ำดีไว้ “จันทร์เจริญ”.

๓ สมเด็จ


อังคารสวัสดิ์

สวัสดี ขอทุกท่าน ขออ�ำนาจ คุ้มทุกท่าน

วันอังคาร ท�ำพูดคิด คุณพระศรี สบโชคชัย

เบิกบานจิต ชีวิตใส รัตนตรัย ตลอดวัน.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๖๙


พุทธวิสุทธิ์

สวัสดี ด้วยละบาป ทุกทางออก ทุกปัญหา ๗๐

อาจาระ

วันพุธ บ�ำเพ็ญกุศล มีปัญหา แก้ไขได้

๓ สมเด็จ

วิสุทธิผล ฟอกจิตใส อย่าท้อใจ ด้วยปัญญา.


พฤหัสบดีภัทร สวัสดี ขอพระศรี คุ้มท่านให้ ให้ท�ำดี

วันพฤหัส- ไตรรัตน์ คิดพูดดี มีโชคชัย

บดีภัสร์ ฉัตรโลกใส นิราศภัย ตลอดวัน.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๗๑


ศุกร์สวัสดี สวัสดี ขอไตรรัตน์ ให้กิจการ ให้อิ่มเอม

๗๒

อาจาระ

วันศุกร์ ปลอดทุกข์โศก ปัดภัยโรค อวยโชคเกษม ท่านสัมฤทธิ์ จิตปรีดิ์เปรม บุญกุศล สุขส�ำราญ.

๓ สมเด็จ


เสาร์สวัสดี สวัสดี ทุกท่านที่ ขอไตรรัตน์ ให้คิดพูด

ตอนเช้า จะปฏิบัติ เป็นฉัตรคุ้ม ท�ำความดี

วันเสาร์สวัสดิ์ ในหน้าที่ อุ้มชีวี สุขสันติ์เทอญ.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๗๓


ไตรรงค์ไทย ไตรรงค์ไทย เป็นสมบัติ ดุจร่างกาย ถ้าแยกกัน ๗๔

อาจาระ

คือชาติ ศาสน์กษัตริย์ อันประเสริฐ กว่าสิ่งไหน เศียรเกล้า และใจไทย วันไหน ไทยไม่มี.

๓ สมเด็จ


๑๐ สีไทย

ไทยทุกคน ต่างมีดี ไปคนละอย่าง ความคิดเห็น อาจแตกต่าง ไปตามวิถี แต่เพื่อชาติ ทุกภาคพรรค ต้องสามัคคี รวมทุกสี เป็นสีเดียว คือ “สีไทย”.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๗๕


๑๑

สามไตรรงค์ ประเทศไทย พระพุทธ “ศาสน์” “กษัตริย์” คือ รวมเป็นทอง

๗๖

อาจาระ

คือปวงชน คือใจ เศียรเกล้า แผ่นงาม

๓ สมเด็จ

คนใน “ชาติ” ไทยทั้งผอง เราเทิดปอง สามไตรรงค์.


๑๒

คน-มนุษย์

ค�ำว่าคน ส่วนมนุษย์ ด้วยศีลธรรม ถ้าใจโฉด

แปลว่ากวน คือคนที่ น�ำพ้นทุกข์ โลภโกรธหลง

ไม่ยั้งหยุด ใจสูงส่ง สุขด�ำรง ก็ต�่ำทราม.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๗๗


๑๓

ร่างกายเรา ร่างกายเรา ยืมเขามา ใช้ชั่วครู่ ทุกคนรู้ ต่างเกิดแก่ เจ็บตายถ้วน อย่าประมาท ขาดท�ำดี ที่เหมาะควร รถไฟด่วน ก�ำลังมา รับร่างคืน.

๗๘

อาจาระ

๓ สมเด็จ


๑๔

ปลูกความรัก ปลูกความรัก โดยสุจริต อย่าท้อแท้ ความส�ำเร็จ

ความพอใจ ในหน้าที่ คือความดี ที่สร้างสรรค์ แน่วแน่ไว้ ในปัจจุบัน แห่งรางวัล จะตามมา.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๗๙


๑๕ บุญ

ยามบุญมา กาไก่ กลายเป็นหงส์ ยามบุญลง หงส์เป็นกา น่าฉงน ยามบุญพา หมาหมู ชูเป็นคน ยามบุญหล่น คนเป็นหมา น่าอัศจรรย์. ๘๐

อาจาระ

๓ สมเด็จ


๑๖ ท�ำดี

คนส่วนมาก ดีจึงพร่อง ท�ำดีต้อง ดีจึงมี

มักท�ำดี คุณค่า ดีต่อหน้า อานิสงส์

แต่ต่อหน้า ด้อยราศี ลับหลังดี โดยสมบูรณ์.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๘๑


๑๗

นิ้วธรรม เรายกนิ้ว นิ้วชี้เรา ส่วนนิ้วโป้ง อีกสามนิ้ว ๘๒

อาจาระ

ขึ้นชี้หน้า มันจะยื่น จะยักย้าย จะหันหา

๓ สมเด็จ

ว่าคนอื่น ไปข้างหน้า ส่ายไปมา ตัวเราเอง.


๑๘

มองเป็น อุปสรรค ความเข้มแข็ง ปัญหาทุกข์ ทุกอย่างล้วน

มีไว้ วัดใครแกร่ง วัดพลังใจ ใครแกล้วกล้า มีไว้วัด สติปัญญา มีคุณค่า ถ้ามองเป็น.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๘๓


๑๙

ไม่อิ่มกาม อันความอิ่ม ความพอเพียง ในปรารถนา ย่อมไม่มี ในตัณหา กามานุสรณ์ ดุจฝนแก้ว เจ็ดประการ ตกท่วมนคร เพราะมนุษย์ ยังมีนิวรณ์ ไม่อิ่มกาม.

๘๔

อาจาระ

๓ สมเด็จ


๒๐ กิเลส

ความ “โลภ”นั้น มันท�ำให้ ใจเป็น “ทุกข์” “โกรธ”ท�ำให้ ใจไร้สุข เกิด “ภัย” ใหญ่ “หลง” เตลิด ท�ำให้เกิด “โรค” กายใจ ใช้วิปัสสนา ฆ่าให้ กิเลสตาย.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๘๕


๒๑

ทุกข์ในกาม ทุกข์ใดใด ทุกข์ในกาม เพราะรูปเสียง ขาดสติ ๘๖

อาจาระ

ในโลก ย่อมสูงสุด กลิ่นรส ทุกข์คุกคาม

๓ สมเด็จ

ของมนุษย์ ทุจริตสาม สัมผัสนิยาม กว่าทุกข์ใด.


๒๒ รอ

เมื่อเราใส่ ยังต้องรอ อย่าหวังผล เพราะบางอย่าง

ข้าวสาร ให้ข้าวสุก จากกิจฝัน ต้องอาศัย

หุงในหม้อ จึงกินได้ ได้ทันใจ รอเวลา.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๘๗


๒๓

การท�ำดี การท�ำดี การท�ำดี การท�ำดี การท�ำดี ๘๘

อาจาระ

ถูกดี ถูกเวลา ถูกบุคคล ด้วยความหมั่น

๓ สมเด็จ

นั้นมีค่า ค่ามหันต์ ผลอนันต์ นั่นพอดี.


๒๔

ฟ้าเปิด อย่าท้อแท้ คืนมืดมิด ตราบยังเพียร ไม่นานช้า

แพ้พ่าย มีรุ่งสาง และมุ่งมั่น ฟ้าจะเปิด

หน่ายชีวิต สว่างหล้า ใช้ปัญญา เกิดโชคชัย.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๘๙


๒๕

ชนะตน ชนะใคร ชนะนั้น ชนะโลภ ชนะตน

๙๐

อาจาระ

กี่ครั้ง ไม่ดีแท้ โกรธหลง เช่นนี้ไซร้

๓ สมเด็จ

ยังไม่แน่ กลับแพ้ได้ ในดวงใจ เป็นดีแท้.


๒๖

การฝึกตน การฝึกตน ฝึกใจ ผลที่เกิด แก่ตน ให้ผ่องผุด ดุจแขไข ย่อมเป็นศักดิ์ ศรีชว่ ง

ให้ดีเลิศ ผลประจักษ์ วิไลลักขณ์ แห่งปวงชน.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๙๑


๒๗

พึ่งตน

อันพ่อแม่ แลผู้ชุบ อุปถัมภ์ เป็นที่พึ่ง ซึ่งจุนค�้ำ น�ำเบื้องต้น ไม่อาจพึ่ง ได้เยี่ยมยอด ตลอดชนม์ ตนนี่แล ต้องพึง่ ตน ของตนเอง. ๙๒

อาจาระ

๓ สมเด็จ


๒๘

ต้นทุนบุญ

การกระท�ำ ที่มนุษย์ ได้ปฏิบัติ ทั้งชั่วดี จะจ�ำแนก คนให้ทราม กรรมย่อมเป็น ต้นทุน

และผองสัตว์ ที่ใสขุ่น งามละมุน บุญบาปคน.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๙๓


๒๙ ดีง่าย

อันกรรมดี เกิดประโยชน์ ทั้งแก่ตน คนดีย่อม ๙๔

อาจาระ

ที่ปลอดภัย ทั้งภพสาม และคนอื่น ท�ำได้

๓ สมเด็จ

ไร้ทุกข์โทษ สพสดใส ชื่นหทัย อย่างง่ายดี.


๓๐ ดีชั่ว

อันความดี มีคุณ ไร้ทุกข์โทษ ต่อใครใคร คนชั่วไซร้ ท�ำได้ยาก เพราะวิถี คนดีชั่ว

มีประโยชน์ ไร้เสื่อมศรี หลากกรณีย์ ต่างขั้วกัน.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๙๕


๓๑

ชนะตน

ของเน่าเหม็น ที่กระเด็น ติดเรือนร่าง ใช้น�้ำล้าง สะอาดได้ ให้สุขสันติ์ แต่ความชั่ว ติดคนบ้าง ยากล้างครัน เพราะฉะนั้น อย่าท�ำเลย ความชั่วทราม. ๙๖

อาจาระ

๓ สมเด็จ


๓๒

กรรมสุนทรี ท�ำกรรมใด ทั้งกรรมนั้น กรรมนั้นแล ควรท�ำกรรม

ไม่ร้อนใจ เป็นพลัง เป็นกรรม เช่นนี้

ในภายหลัง เพิ่มพูลศรี อันสุนทรี เป็นนิรันดร์.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๙๗


๓๓

ผลกรรม

ปลูกมะม่วง ถ้าตัดกิ่ง เมื่อท�ำดี เมื่อท�ำชั่ว ๙๘

อาจาระ

ย่อมได้เห็น กิ่งจะร่วง ย่อมได้ดี ได้ชั่วตาม

๓ สมเด็จ

เป็นมะม่วง สู่พื้นสนาม ที่งดงาม ที่ท�ำพลัน.


๓๔

ผู้สร้าง มวลมนุษย์ และสัตว์ ไม่มีใคร ดลบัลดาล ล้วนมีกรรม เป็นผู้สร้าง ให้แผกผัน ตามแรงกรรม

ดิรัจฉาน การสร้างสรรค์ บันดาลครัน ที่ด�ำเนิน.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๙๙


๓๕

ตัณหา ตัณหาคือ ความอยากได้ ความอยากมี อยากเป็น เป็นภาวะ ไม่เต็มพอ แม่น�้ำใหญ่ ยังรู้เต็ม ๑๐๐

อาจาระ

๓ สมเด็จ

ความอยากเห็น ไม่อยากได้ ในห้วงใจ แห่งห้วงนที.


๓๖

รู้ใครรัก

ทุกคืนวัน เพื่อมิให้ รู้ใครรัก ควรเชื่อฟัง

จะท�ำอะไร พลาดผิด เอ็นดูเรา ท�ำตามค�ำ

ในชีวิต เพื่อสมหวัง เฝ้าระวัง ของผู้นั้น.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๐๑


๓๗

รักตน ความรักใน ยามคับขัน ต่างก็เอา เพราะทุกคน

๑๐๒

อาจาระ

โลกนี้ อันตราย ตัวรอด รักตนยิ่ง

๓ สมเด็จ

มีหลากหลาย สุดสับสน ปลอดภัยตน กว่าสิ่งใด.


๓๘

งานย่อหย่อน การประกอบ กิจใดใด ที่ย่อหย่อน โดยผัดผ่อน หรือเพราะเหตุ เจตน์สับสน งานนั้นนั้น ย่อมพลันต�่ำ ไม่อ�ำพน ทั้งงานย่อม ไม่มีผล มากมายนัก.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๐๓


๓๙

รีบท�ำดี

รู้อยู่ว่า การใดดี เป็นประโยชน์ แก่ตน เพราะต่อไป โอกาสจะปิด พึงรีบท�ำ การนั้นเลย ๑๐๔

อาจาระ

๓ สมเด็จ

ที่ไร้โทษ อย่าทนเฉย ชวดชิดเชย โดยเร็วพลัน.


๔๐

กรรมชั่ว อันกรรมชั่ว ที่ท�ำด้วย ย่อมน�ำให้ คือน�ำสู่

มัวหมอง ของคนไหน กายใจ วจีประจักษ์ ผู้ที่ท�ำ อัปลักษณ์ ทุคติมรรค มากทุกข์ภัย.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๐๕


๔๑

อย่าลืมตน

เกิดเป็นคน อย่าลืมผู้ อย่าลืมถิ่น ที่ตนเกิด จงคิดยาว เพราะชีวิต โปรดจ�ำว่า ถ้าลืมตน ๑๐๖

อาจาระ

๓ สมเด็จ

ให้ก�ำเนิด ลืมภาษา อนิจจตา คือคนเลว.


๔๒

กามานุสรณ์ อันความอิ่ม ความพอเพียง ในปรารถนา ย่อมไม่มี ในตัณหา กามานุสรณ์ ดุจฝนแก้ว เจ็ดประการ ตกท่วมนคร เพราะมนุษย์ ยังอาวรณ์ ไม่อิ่มกาม.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๐๗


๔๓

ทางชีวิต อันพ่อแม่ บอกชี้ทาง ส่วนการไป ตนต้องเดิน

๑๐๘

อาจาระ

ครูอาจารย์ สว่างใส ในทางชั่ว ด้วยบาทวิถี

๓ สมเด็จ

เพียงขานไข ไร้เสื่อมศรี หรือทางดี ของตนเอง.


๔๔

มิติบัณฑิต บัณฑิตคือ แจ้งชีวิต ย่อมบันเทิง ด�ำรงความ

ผู้รอบรู้ ทุกสารทิศ โลกธรรม ทุกค�ำถาม เจริญสติ ปัญญานิยาม ไม่ประมาท ในสายกลาง.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๐๙


๔๕

ตัณหา

อันความใคร่ ที่มนุษย์ เป็นความอยาก ไม่เที่ยงแท้ ๑๑๐

อาจาระ

ความอยาก หลากตัณหา ปรารถนา ทุกแห่งหน ความพอใจ ในกมล ไม่คงทน ไม่ถาวร.

๓ สมเด็จ


๔๖

ใจสะอาด มิตรที่แท้ ที่สดใส เลิศคุณค่า ความสามารถ พึงรักความ ไม่ประมาท ท�ำอะไร จะไม่พลาด

คือใจสะอาด สงบใส ปราศเวรภัย ไม่ขาดทุน.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๑๑


๔๗

ประโยชน์ตน

ทุกบุคคล ที่น�ำตน เพราะประโยชน์ พึงช่วยชนม์ ๑๑๒

อาจาระ

ไม่ควรพร่า สาระประโยชน์ ให้ไพโรจน์ โสตถิผล แม้มาก หลากบุคคล ชีพตน ก่อนช่วยใคร.

๓ สมเด็จ


๔๘

อย่าใฝ่ต�่ำ พระพุทธองค์ คืออย่าท�ำ ทั้งด้วยใจ เพราะท�ำแล้ว

ทรงเตือนใจ อย่าใฝ่ต�่ำ กรรมชั่ว ความเสียหาย ด้วยวาจา และด้วยกาย จะตกอบาย มากทุกข์ภัย.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๑๓


๔๙

การฝึกตน ผู้ฝึกตน ย่อมปลอดพ้น ย่อมจะได้ เป็นที่พึ่ง

๑๑๔

อาจาระ

ฝึกใจ ภัยอาเพท ที่พึ่งล�้ำ มั่นคงเย็น

๓ สมเด็จ

ให้ไกลกิเลส ผองทุกข์เข็ญ ปราศล�ำเค็ญ ในโลกา.


๕๐

เตือนตน

ตนเตือนตน ตนเตือนจิต คนไม่รู้ ใครจะมา

เตือนใจ ตนมิได้ รักษาตน อาวรณ์

ให้พ้นผิด ใครจะสอน พ้นทุกข์ร้อน ผ่อนทุกข์แทน.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๑๕


๕๑

ไม่ประมาท ปราชญ์คือผู้ มีปัญญา เฉลียวฉลาด รักษาความ ไม่ประมาท ไม่ขาดสาย เหมือนบุคคล รักษาทรัพย์ ประเสริฐพราย เป็นวิถี ที่แยบคาย และเปรมปรีดิ์. ๑๑๖

อาจาระ

๓ สมเด็จ


๕๒

ทางชีวิต

หนทางเตียน หนทางรก กรรมไม่ดี กรรมดีมัก

เวียนลง เวียนวก ท�ำสะอาด มีสิ่งกั้น

ตรงนรก สู่สวรรค์ สบายครัน แต่ผลงาม.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๑๗


๕๓

มั่นในธรรม

การกิน-นอน คนกับสัตว์ สัตว์ขาดธรรม คนต้องคิด ๑๑๘

อาจาระ

ความกลัว ไม่แผกผิด จึงล�ำบาก พิจารณ์ตน

๓ สมเด็จ

และกามกิจ ผองเหตุผล ต่างจากคน มั่นในธรรม.


๕๔

วิถีที่ดี ความเลินเล่อ เผลอสติ สัมปชัญญะ เป็นทางแห่ง หายนะ ความเสื่อมศรี ส่วนความไร้ ความประมาท ฉลาดวิธี ปราชญ์ยกย่อง เป็นวิถี ที่ดีงาม.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๑๙


๕๕

รักท�ำดี ถ้าทุกคน รู้ว่าตน ควรตระหนัก รักท�ำดี อย่าเกลือกกลั้ว อบายมุข อย่าน�ำตน ประกอบใน ๑๒๐

อาจาระ

๓ สมเด็จ

เป็นที่รัก ที่สดใส ทางทุกข์ภัย ทางเลวทราม.


๕๖

ท�ำจริง การกระท�ำ ความดี ที่ผัดผ่อน งานย่อมหย่อน ย่อมอ่อนร้าง ไม่สร้างสรรค์ ผู้กระท�ำ การใด ให้สฤษดิ์พลัน จะต้องท�ำ การนั้น อย่างจริงจัง

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๒๑


๕๗

กรรมดี-ชั่ว

เจตนา ท�ำกรรมใด กรรมที่ท�ำ ไม่ควรสั่ง

คือกรรม เดือดร้อนทั่ว นั้นไม่ดี สมท�ำ

๑๒๒ อาจาระ ๓ สมเด็จ

ท�ำดีชั่ว ในภายหลัง มีคนชัง กรรมไม่ดี.


๕๘

อย่าปล่อยตน ตนนี้คือ การปล่อยคือ คนไม่ควร ควรน้อมน�ำ

กายกับจิต ท�ำให้ ปล่อยตน ธรรมด�ำเนิน

ควรคิดไข หลุดถอยต�่ำ ไปตามอธรรม ในทางดี.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๒๓


๕๙

กรรมทราม บุคคลที่ ควรจักไม่ กับเหตุที่ ไม่ควรท�ำ ๑๒๔

อาจาระ

ต�ำหนิตน ปฏิบัติ ต�ำหนิตน กรรมทราม

๓ สมเด็จ

ด้วยเหตุไหน ตรงกันข้าม ทุกพลความ ทุกกรณีย์.


๖๐

คิดก่อนท�ำ

คนส่วนมาก ก่อนพูดท�ำ ไม่ใคร่ครวญ จึงเสียหาย ทางที่ดี ก่อนพูดท�ำ ควรพิจารณ์ พร้อมวิจัย

กรรมทั้งหลาย มหาศาล ทุกกิจการ ก่อนให้ดี.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๒๕


๖๑

ท�ำชั่วได้ชั่ว

ทุกคนล้วน ต้องการ ส�ำราญสุข แต่คนชั่ว ย่อมเป็นทุกข์ สุขสลาย เพราะท�ำชั่ว ได้ชั่ว กลั้วอบาย ไม่ได้สุข โดยง่าย ดังหมายปอง. ๑๒๖

อาจาระ

๓ สมเด็จ


๖๒

ช้างตกหล่ม กองกิเลส ใครตกหล่ม รีบถอนตน ดุจช้างที่

ดุจหล่ม กิเลสผอง อย่าทนทุกข์ ตกหล่มครัน

ปมเศร้าหมอง ไม่ผ่องศรี อเวจี พลันถอนตน.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๒๗


๖๓

อย่าฆ่าตน ถ้ารักตน ท�ำจิตใจ การท�ำชั่ว อย่าฆ่าตน

ต้องละชั่ว ให้จ�ำรัส เท่าฆ่าตน ด้วยใจร้อน

๑๒๘ อาจาระ ๓ สมเด็จ

ท�ำดีสวัสดิ์ ประภัสสร ให้ม้วยมรณ์ ก่อบาปกรรม.


๖๔

ก่อนพูดท�ำ

ก่อนพูดท�ำ จึงพูดท�ำ เพราะพูดท�ำ ย่อมท�ำคืน

สิ่งใด ทุกกิจ สิ่งใดแล้ว อีกที

ให้พินิจ ไพสิษฐ์ศรี ทุกกรณีย์ ไม่ได้เลย.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๒๙


๖๕

ตนเป็นที่รัก รู้ว่าตน พึงรักษา ด้วยหมั่นสร้าง ไม่พึงสละ

๑๓๐

อาจาระ

เป็นที่รัก ซึ่งชีวิต บุญกุศล กุศลที่

๓ สมเด็จ

ประจักษ์จิต ให้ผ่องศรี คุณความดี ตนพึงท�ำ.


๖๖

หมั่นท�ำบุญ

บุคคลผู้ ไม่ประมาท ฉลาดพินิจ ย่อมเพ่งพิศ รู้ดีงาม ความเสียหาย เพียรละบาป หมั่นท�ำบุญ อุ่นใจกาย ย่อมลุสุข สมหมาย อันไพบูลย์.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๓๑


๖๗

กาลเทศะคน จะท�ำการ ถ้าประกอบ มักถูกกาละ พึงประกอบ

สิ่งใด ไม่ถูกคน เทศะสมัย กิจสัมพันธ์

๑๓๒ อาจาระ ๓ สมเด็จ

ให้รอบคอบ ไม่รังสรรค์ ได้ผลครัน ให้เหมาะการ.


๖๘

ความดี

ความดีคือ สิ่งที่เป็น เครื่องปลอบปลุก กายใจ เป็นที่พึ่ง อันประเสริฐ คนควรท�ำ ความดีไว้

ประโยชน์สุข ให้ชื่นฉ�่ำ สุจริตกรรม ให้มีพลัง.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๓๓


๖๙

ความชั่ว

ความชั่วคือ ความโลภโกรธ และหลงผิด เหตุก่อพิษ พาลภัย ไหม้หมองศรี ย่อมเผาผลาญ คนชั่วช้า ไร้ปรานี เหมือนอัคคี เผาคนชั่ว หลังก่อกรรม. ๑๓๔

อาจาระ

๓ สมเด็จ


๗๐

รักษาตน

ผู้รักษา คือให้จิต ตนภายนอก ย่อมเป็นอัน

ตนภายใน ใสประจักษ์ คือกาย พลันรักษา

ให้ไพสิษฐ์ ธรรมรักษา และวาจา ไปพร้อมกัน.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๓๕


๗๑

ฝึกฝน อันพาลชน จึงหมองมัว บัณฑิตพึง ให้ผ่องแผ้ว ๑๓๖

อาจาระ

คนคิดพูด หม่นไหม้ ฝึกตน จากราคี

๓ สมเด็จ

ท�ำแต่ชั่ว ไร้สุขศรี อดทนดี เครื่องหมองมน.


๗๒

บาป-บุญ บาปคือความ เลวทราม ทุกชนิด ดุจของเน่า ที่เหม็นติด จิตไม่เคร่ง แต่ผู้ที่ ไม่ท�ำบาป ท�ำบุญเอง ย่อมสะอาด และปลั่งเปล่ง เปรมกมล.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๓๗


๗๓

ความรัก

รักพ่อแม่ ญาติพี่น้อง รักภารกิจ รักสมบัติ รักยศศักดิ์ รักคนรัก ที่สุดไซร้ ไม่หน่วงหนัก ๑๓๘ อาจาระ ๓ สมเด็จ

รักผองมิตร ทรัพย์สิ่งไหน หนักเพียงไร เท่ารักตน.


๗๔

ท�ำความดี

ผู้ประพฤติ ย่อมรู้จัก ไม่ทอดธุระ ย่อมฝึกตน

ยึดความดี ละบาปกรรม ปละปล่อยใจ ช�ำระใจ

เป็นศรีศักดิ์ บ�ำเพ็ญกุศล ให้มืดมน ให้ใสเย็น.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๓๙


๗๕

คนกับบัณฑิต

คนส่วนมาก แต่บัณฑิต สอนคนอื่น แม้ส่วนตน ๑๔๐

อาจาระ

ปากเหลวไหล ไม่ตรงจิต เปล่งวาจา สถาผล อย่างไร ในมงคล ก็ควรท�ำ คุณความดี.

๓ สมเด็จ


๗๖

ท�ำประโยชน์

มนุษย์มี เพราะมีผู้ ผู้มุ่งแต่ ย่อมเป็นคน

ชีพอยู่ได้ ท�ำประโยชน์ แส่จะเอา ไม่สะอาด

ปลอดภัยโทษ โสตถิผล ประโยชน์ตน มากมลทิน.

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๔๑


สถานีวิทยุโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนา เฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ World Buddhist Television (WBTV) สถานีวิทยุโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนา เฉลิมพระเกียรติ ๗๒ พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ World Buddhist Television (WBTV) ภายใต้มลู นิธพิ ระรัตนตรัย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยการก�ำกับดูแล ของพระพรหมวชิรญาณ ประธานมูลนิธิพระรัตนตรัย และประธาน กรรมการอ� ำ นวยการสถานี วิ ท ยุ โ ทรทั ศ น์ โ ลกพระพุ ท ธศาสนา เฉลิมพระเกียรติฯ

๑๔๒

อาจาระ

๓ สมเด็จ


สถานีวิทยุโทรทัศน์ WBTV ได้รบั ความร่วมมือจาก กองทัพบกและสถานีโทรทัศน์ กองทัพบก (ททบ.๕) โดยความ อนุเคราะห์ของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงกลาโหม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา อดีตผู้บัญชาการ ทหารบก พล.อ.ประยุ ท ธ์ จันทร์โอชา ผูบ้ ญ ั ชาการทหารบก และ พล.อ.กิตติทศั น์ บ�ำเหน็จพันธ์ อดีตผูอ้ �ำนวยการสถานีวทิ ยุโทรทัศน์ กองทัพบก ช่อง ๕ โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง ๕ ในการ ด�ำเนินการด้านงบประมาณการก่อสร้าง การจัดหาอุปกรณ์ และบุคลากร ในเบื้องต้น รวมทั้งได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน จนสามารถพัฒนาการด�ำเนินการมาเป็นล�ำดับ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จ พระราชด�ำเนินพร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาฯ และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าทีปงั กรรัศมีโชติ ทอดพระเนตรห้องบันทึกเทปโทรทัศน์ และ เยี่ ย มชมกิ จ การของสถานี วิ ท ยุ โ ทรทั ศ น์ โลกพระพุทธศานาแห่งประเทศไทย วัดยานนาวา เป็นกรณีพเิ ศษ โดยการกราบบังคมทูลเชิญของคณะกรรมการด�ำเนินงาน ของสถานีวิทยุโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนา วัดยานนาวา

๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ ๑๔๓


การด�ำเนินงานของสถานีฯ ได้รับ ความร่ ว มมื อ จากทุ ก ภาคส่ ว น “สื่อธรรมะเพื่อ ด้วยมโนปณิธานของพระพรหม วชิรญาณ ประธานคณะกรรมการ ประโยชน์และสันติสุข อ�ำนวยการ ซึ่งมีความมุ่งมั่น นจะเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของชาวโลก” ให้ในอัแ พร่ ห ลายและกว้ า งขวาง ดังวิสยั ทัศน์ของสถานีทวี่ า่ “สือ่ ธรรมะ เพื่อสันติสุขของชาวโลก” จวบจนปัจจุบันภารกิจของการเผยแผ่ธรรมะด้วยสื่อสถานี วิทยุโทรทัศน์โลกพระพุทธศาสนาบรรลุ ๔ ปี และก้าวสู่ทศวรรษใหม่ แห่งการเผยแผ่ในกระแสโลกสมัยใหม่ เพื่อความมั่นคงและแพร่หลาย แห่งพระพุทธศาสนาตราบกาลนาน....

รับชมการออกอากาศ สถานีวิทยุโทรทัศน์ WBTV วัดยานนาวา NSS6 KU ความถี่ 11635 MHZ SYMBOL RATE 27500 KSPS แนวการรับ H D เครือข่ายเคเบิลท้องถิ่นทั่วประเทศ D www.watyan.tv D www.facebook.com/WBTV สถานีวิทยุโทรทัศน์ โลกพระพุทธศาสนา เฉลิมพระเกียรติ วัดยานนาวา ร่วมท�ำบุญเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา โทรศัพท์ ๐๒ ๖๗๕ ๗๑๓๔, ๐๒ ๖๗๒ ๓๒๑๖

D ดาวเทียม

๑๔๔

อาจาระ

๓ สมเด็จ


๗๖ คำ�สอน พระพรหมวชิรญาณ


¤Ø³ÀÑ·ÃÔ¹·Ã Å×Í¡ÒÞ¨¹Ç¹Ôª áÅФÃͺ¤ÃÑÇ ¨Ñ´¾ÔÁ¾ ¶ÇÒÂÁØ·ÔµÒÊÑ¡¡ÒÃÐ

ISBN 978-616-335-165-4

อาจาระ

๓ สมเด็จ


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.