Zorin os8

Page 1

ระบบปฏิบัติการซูลิน ลินุกส์เดสก์ทอป ทางออกของการใช้ซอฟต์แวร์ และการเข้าถึง ICT อย่างเท่าเทียม

เรียนรู้การใช้งานการติดตั้งซอฟต์แวร์ต่างๆ ติดตั้งเครื่องพิมพ์ เข้าถึงเครื่องระยะไกล(Remote Desktop) ปรับแต่ง ใช้งาน

โดย ภาณุภณ พสุชัยสกุล


Zorin OS ระบบปฏิบัติการ ซูลินลินุกส์เดสก์ทอป ผู้เขียน

ภาณุภณ

เขียนครั้งที่ 1

กรกฏาคม 2557

พสุชัยสกุล

จัดทำในรูปแบบ ดิจิทัล สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 อณุญาติให้นำไปเผยแพร่ได้อย่างเสรี แต่ห้ามทำซ้ำลอกเลียนหนังสือเล่มนี้ไปใช้ในเชิงการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาติ จัดพิมพ์โดย และจำหน่ายโดย บริษัทครีเอชั่นโปร จำกัด 60/316 หมู่ 7 แขวงแสนแสบ เขตมีนบุรี กรุงเทพ 10510 โทร 024539629 แฟกส์ 20 45396 ราคา 199 บาท ประวัติผู้เขียน ภาณุภณ พสุชัยสกุล

การทำงาน

การศึกษา

2540 ถึง 2553

ปริญญาตรี

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

วท.บ.คอมพิวเตอร์

ปัจจุบัน

มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม

กรรมการผู้จัดการ บริษัท ครีเอชั่นโปร จำกัด

ปริญญาโท

ผู้ก่อตั้ง นิตยสารโอเพนซอร์สทูเดย์

ค.อ.ม เทคโนโลยีเทคนิคศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ติดต่อผู้เขียน โทร 086 304 9545 http://www.phanupon.com


คำนำ Zorin Linux ระบบปฏิบัติคอมพิวเตอร์ เพื่อทดแทนการใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป เล่มนี้แต่ เดิมจัดทำเพื่อใช้ในการฝึกอบรมของบริษัทครีเอชั่นโปร ซึ่งเป็นผู้ผลิตนิตยสาร โอเพนซอร์สทูเดย์ ซึ่งต่อมานิตยสารได้ ปิดตัวลงชั่วคราวเนื่องจากโอเพนซอร์สเป็นเนื้อหาเฉพาะกลุ่มและยังมีผู้ให้ความสนใจไม่มากทางผู้เขียนและผู้ก่อตั้งจึง ลงความเห็นว่าต่อจากนี้ไปจะทำเป็นหนังสือดิจิทัลแจกออกสู่สาธารณะแทนที่จะขายนำเงินมาเลี้ยงบริษัทและคณะ ทำงาน เพื่อที่จะทำให้คนไทยหันมาใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมากขึ้น ลดการละเมิดลิขสิทธิ์ เพื่อคนไทยอยู่ได้อย่าง ยั่งยืน ลดความไม่เท่าเทียบของการเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ สาเหตุที่เลือกใช้ Zorin Linux ก็เพราะว่าผู้ใช้งานทั่วไปสามารถที่จะถ่ายโอนความรู้จากการใช้งานระบบ ปฏิบัติการที่คุ้นเคยได้อย่างรวดเร็ว และเพ่ื่อให้เห็นว่าการใช้งานนั้นง่ายไม่ต่างกัน ระบบปฏิบัติการลินุกส์ นั้นได้รับการ ยอมรับว่า มีประสิทธิภาพสูง เป็นระบบปฏิบัติการที่ ปลอดภัย เนื่องจาก มีการตรวจสอบอย่างโปร่งใส ถึงระดับซอร์ส โค๊ด ผู้ใช้สามารถนำไปเผยแพร่แจกจ่ายได้อย่างเสรี หรือที่เรียกว่า Freedom นิตยสารโอเพนซอร์สทูเดย์ตีพิมพ์ฉบับแรกตั้งแต่เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2550 จนถึง ฉบับที่ 24 เล่มสุดท้ายเมื่อ พ.ศ 2556 เนื่องจากภาวะเศษฐกิจเริ่มถดถอย แต่ทีมงานยังเห็นว่าเรายังคงต้องผลักดัน ให้คนไทยเห็นความสำคัญและ ตระหนักถึงการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส ดังนั้นการแจก หนังสือฟรีฉบับนี้และต่อๆไป จะได้รับการตอบรับเป็น อย่างดี คนไทยหันมาใช้โอเพนซอร์สมากขึ้นเพื่อการพึงพาตนเองอย่างยั่งยืน ภาณุภณ พสุชัยสกุล


สารบัญ บทที่ 1 รู้จัก Linux และ Zorin OS.............................................................................................................................. 1 1.1BIOS (Basic Input Output System) คืออะไร................................................................................................ 1 1.2OS ระบบปฏิบัติการคืออะไร.............................................................................................................................. 2 1.3Application คืออะไร.........................................................................................................................................2 1.4Linux คืออะไร.................................................................................................................................................... 2 1.5Zorin OS คืออะไร............................................................................................................................................. 2 บทที่ 2 การติดตั้ง zorin OS.......................................................................................................................................... 3 บทที่ 3 เริ่มต้นใช้งาน Zorin OS....................................................................................................................................5 3.1 ปรับแต่งระบบ (System Setting).................................................................................................................... 5 3.2 การเปลี่ยน ภาพพื้นหลัง Background..............................................................................................................5 3.3 กำหนดขนาดหน้าจอ(Display).......................................................................................................................... 6 3.4 ปรับแต่งความเร็วเม้าส์.......................................................................................................................................7 3.5 ตั้งค่าการประหยัดพลังงาน (Power)................................................................................................................. 7 3.6 ปรับความสว่าง Brightness & Lock.................................................................................................................8 3.7Language Support.......................................................................................................................................... 9 3.8Online Accounts........................................................................................................................................... 12 3.9 ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย Security&Privacy................................................................................14 3.10 ตั้งค่าเปลี่ยนแป้นพิมพ์ภาษา(Tex Entry)...................................................................................................... 15 3.11 ปรับเปลี่ยนคีย์บอร์ด......................................................................................................................................18 3.12 เปลี่ยนขนาด TaskBar................................................................................................................................... 18 3.13 การปรับเอฟเฟคของจอภาพ 3D................................................................................................................... 21 3.14 ส่วนของ Windows Management............................................................................................................. 22 3.15compiz Effects............................................................................................................................................ 23 บทที่ 4 ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับ อินเตอร์เน็ต................................................................................................................... 26 4.1 โปรแกรมสำหรับ Chat................................................................................................................................... 26 4.2 อ่านเมล์เชค์เมล์............................................................................................................................................... 27 4.3 บราว์เซอร์........................................................................................................................................................ 29 บทที่ 5 ไดเร็กทรอรี่..................................................................................................................................................... 30 5.1 สิ่งแวดล้อมในไดเร็กทรอรีH่ ome.................................................................................................................... 30 5.2 การจัดการกับโฟลเดอร์ให้เห็นไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ซ้อน...................................................................................32 5.3 รู้จักหน้าที่ของไดเร็กทรอรี่ต่าง.........................................................................................................................32 บทที่ 6 การเชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์ค................................................................................................................................. 34


6.1 ตั้งค่าเครือข่าย................................................................................................................................................. 34 บทที่ 7 ติดตั้งแอปจาก Software Center..................................................................................................................37 7.1 เมื่อต้องการเพิ่ม Software Source............................................................................................................... 38 7.2 การเพิ่มแหล่งซอฟต์แวร์โดยคำสั่ง................................................................................................................... 39 7.3 อัพเกรดเป็นเวอร์ชั่นใหม่................................................................................................................................. 40 7.4 ใช้งาน synaptic............................................................................................................................................. 41 บทที่ 8 การติดั้ง ซอฟต์แวร์จาก ชุดคำสั่ง.................................................................................................................... 44 8.1 ใช้งาน apt-get............................................................................................................................................... 44 8.2 ใช้งาน dpkg.................................................................................................................................................... 44 8.3 การใช้งาน aptitude....................................................................................................................................... 44 บทที่ 9 การติดตั้งซอฟต์แวร์ที่มาจากไมโครซอฟต์วินโดวส์ว์ด้วย Wine...................................................................... 45 บทที่ 10 การติดตั้งฟ้อนต์............................................................................................................................................ 49 10.1 ติดั้งด้วยวิธีดับเบิลคริก.................................................................................................................................. 49 10.2 ติดตั้งฟ้อนต์แบบหลายฟ้อนต์........................................................................................................................ 50 บทที่ 11 การใช้งานโปรแกรมด้าน Graphic................................................................................................................51 11.1 ใช้งาน gimp เบื้องต้น................................................................................................................................... 51 11.2 การปรับขนาดภาพ........................................................................................................................................ 52 11.3 การอก้ไขภาพถ่ายปรับแสง............................................................................................................................53 11.4Crop เลือกใช้ภาพบางส่วน............................................................................................................................ 54 บทที่ 12 ดูหนังฟังเพลงเขียน CD ตัดต่อวีดีโอ............................................................................................................. 56 12.1 โปรแกรมดูหนังฟังเพลง................................................................................................................................ 56 12.2 ตัดต่อ video................................................................................................................................................. 57 12.3 เขียน CD ไฟล์งาน......................................................................................................................................... 57 12.4 บันทึกเสียง.................................................................................................................................................... 58 บทที่ 13 การจัดการสมาชิกและกำหนดสิทธิ.์ .............................................................................................................. 59 13.1 การเพิ่มสมาชิก.............................................................................................................................................. 59 13.2 การกำหนดสิทธิ.์ ............................................................................................................................................ 60 13.3 ทำความเข้าใจเรื่องของโหมด........................................................................................................................ 61 บทที่ 14 การแชร์ไฟล์.................................................................................................................................................. 63 14.1 ติดตั้ง Samba เพื่อแชร์ไฟล์แชร์เครื่องพิมพ์..................................................................................................63 14.2 แชร์ไฟล์แบบกำหนดสิทธิ.์ ............................................................................................................................. 64 บทที่ 15 รีโมทเดกส์ทอป............................................................................................................................................. 67 15.1 ติดตั้ง Theme Viewr และใช้งาน................................................................................................................. 67 15.2 การใช้งาน SSH............................................................................................................................................. 69


บทที่ 16 โปรแกรมสำนักงาน...................................................................................................................................... 70 16.1 รู้จักกับ LibreOffice เบื้องต้น....................................................................................................................... 70 16.2 กำหนดภาษาไทยและฟ้อนต์ไทย................................................................................................................... 71 16.3 ฟอน์ตไทยสำหรับ writer.............................................................................................................................. 71 16.4 ติดตั้งเมนูภาษาไทย....................................................................................................................................... 73 16.5 เปลี่ยนเมนูภาษาไทย..................................................................................................................................... 74 16.6 ใช้ Writer ทดแทนไมโครซอฟต์เวิร์ด............................................................................................................ 76 16.7 ใช้ Calc ทดแทนไมโครซอฟต์เอ็กเซล........................................................................................................... 76 16.8 ใช้ ImPress ทดแทนเพาเวอร์พ้อยน์............................................................................................................. 77 บทที่ 17 โปรแกรมอรรถประโยชน์ต่างๆ..................................................................................................................... 78 17.1 การบีบอัด Archive Amager สร้าง zp แบะ unzip..................................................................................... 78 17.2 สร้างแพคเกจ zip.......................................................................................................................................... 78 17.3 แตกแพคเกจ..................................................................................................................................................79 17.4 แพคเกจ rar แตกอย่างไร.............................................................................................................................. 79 17.5 เครื่องคิดเลข Calculator............................................................................................................................. 80 17.6 ดูข้อมูลสำหรับ Disk...................................................................................................................................... 81 17.7Font View ขอดู Font...................................................................................................................................81 17.8Screen Shot จับภาพหน้าจอ........................................................................................................................81 บทที่ 18 การติดตั้งเครืองพิมพ์.................................................................................................................................... 83 18.1 เริ่มติดตั้งเครื่องพิมพ์......................................................................................................................................83 บทที่ 19 ชุดคำสั่งน่ารู.้ ................................................................................................................................................. 87 19.1CD คำสั่งเริ่มต้นในการท่องไปในไดเรกทอรี.่ ...................................................................................................87 19.2pwd เพื่อหาไดเรกทอรี่ที่อยู่ปัจจุบัน...............................................................................................................87 19.3clear คำสั่งเพื่อล้างหน้าจอ............................................................................................................................ 87 19.4date คำสั่งเกี่ยวกับวันที.่ ................................................................................................................................ 88 19.5df คำสั่งเพื่อตรวจสอบพื้นที่ว่างของ Disk...................................................................................................... 88 19.6ls คำสั่งแสดงรายการไฟล์และไดเรกทอรี.่ ...................................................................................................... 88 19.7more คำสั่งเพื่อแสดงรายละเอียดของเอกสารหรือข้อมูลในไฟล์เอกสาร....................................................... 88 19.8passwd คำสั่งเปลี่ยนรหัสผ่าน....................................................................................................................... 89 19.9man คำสั่งขอดูคู่มือคำสั่ง.............................................................................................................................. 89 19.10logout คำสั่งออกจากระบบ หรือ exit........................................................................................................ 89 19.11exit ออกจาก shell ของ user.................................................................................................................... 89 19.12su คำสั่งแปลงร่างจากผู้ใช้ทั่วไปเป็น supper user หรือ root....................................................................89 บทที่ 20 ชุดคำสั่งขอดูข้อมูลสำคัญ..............................................................................................................................91


20.1 คำสัง id เพื่อหาของมูลที่เรียกว่า identity................................................................................................... 91 20.2 คำสั่ง Who เพื่อขอดูข้อมูลที่เกี่ยวกับการ login ในครัง้ นี้ .............................................................................91 20.3 คำสั่ง ps เพื่อขอดูว่าตอนนี้มี process อะไรทำงานอยู่บ้าง.......................................................................... 92 20.4 คำสัง history เพื่อขอดูการใช้คำสั่งที่ผ่านมา................................................................................................ 92 20.5 คำสั้ง CAT ขอดูข้อมูลในไฟล์.........................................................................................................................93 20.6 การใช้เครื่องหมาย | หรือที่เรียกว่า Piping commands............................................................................. 93 บทที่ 21 ชุดคำสั่งเพื่อจัดการไฟล์................................................................................................................................ 95 21.1cp คำสั่งคัดลอกไฟล์...................................................................................................................................... 95 21.2 คำสั่งของ rm เป็นดังนี.้ ................................................................................................................................. 95 21.3mv คำสั่งย้ายไฟล์หรือเปลี่ยนชื่อไฟล์............................................................................................................. 96 21.4find คำสั่งเพื่อการค้นหา................................................................................................................................ 96 บทที่ 22 ชุดคำสั่งในการ บีบ อัดไฟล์...........................................................................................................................98 22.1gzip คำสั่งเพื่อการบีบอัดไฟล์......................................................................................................................... 98 22.2tar การรวบรวมไฟล์และบีบอัด...................................................................................................................... 98 22.3 การใช้งาน tar ร่วมกับ gzip.......................................................................................................................... 99 22.4bzip2 คำสั่งที่ใช้ในการ compressing และ decompressing ไฟล์ ...........................................................100 22.5Touch สร้างไฟล์เปล่า................................................................................................................................. 101 22.6 ln การสร้าง link ไฟล์ ................................................................................................................................ 101 บทที่ 23 คำสั่งเกี่ยวข้องกับ Disk...............................................................................................................................102 23.1df คำสั่งเพื่อตรวจสอบขนาดที่เหลือของ Hard disl.................................................................................... 102 23.2mount -l เพื่อขอดู device ของอุปกรณ์.................................................................................................... 103 23.3du คำสั่งเพื่อขอดูขนาดของพื้นที่Disk ที่ถูกใช้งานไปแล้ว............................................................................ 104 บทที่ 24 คำสั่งเกี่ยวข้องกับ network....................................................................................................................... 106 24.1w คำสั่งเพื่อดุว่าใคร online ใน Server เดียวกับเราบ้าง............................................................................ 106 24.2last คำสั่งตรวจสอบว่าล่าสุดมีใครเข้ามาใช้เครื่องเราหรือไม่....................................................................... 106 24.3ping คำสั่งเพื่อตรวจสอบว่าเครื่องปลายทางตอบสนองกลับมาหรือไม่........................................................ 107 24.4nslookup คำสั่งเพื่อตรวจสอบว่า DNS....................................................................................................... 108 24.5dig คำสั่งขอดูข้อมูลเกี่ยวกับ DNS............................................................................................................... 108 24.6Whois คำสั่งเพื่อขอดูว่าโดเมนนี้ใครเป็นเจ้าของ..........................................................................................109 บทที่ 25 การกำหนดสิทธิ์ให้ผู้ใช้งาน......................................................................................................................... 110 25.1chmod คำสั่งเพื่อ Chang access permissions....................................................................................... 110 25.2chown คำสั่งเพื่อเปลี่ยนเจ้าของไฟล์ Change file ownership................................................................ 112 25.3chgrp คำสั่งเพื่อเปลี่ยนกลุ่มของไฟล์ Change group ownership............................................................ 112 บทที่ 26 คำสั่งเพื่อดูข้อมูลเสปคเครือง...................................................................................................................... 113


26.1tail คำสั่งขอดูข้อมูลท้ายไฟล์เอกสาร........................................................................................................... 117 26.2Redirection ไปอยู่ในไฟล์ ........................................................................................................................... 117 26.3grep คำสั่งเพื่อเลือกข้อมูลที่ต้องการในไฟล์.................................................................................................118 26.4TOP คำสั่งเพื่อขอดู top CPU processes.................................................................................................. 119 26.5kill Processes............................................................................................................................................ 119



1

บทที่ 1

รู้จัก Linux และ Zorin OS

คอมพิวเตอร์เป็นที่รู้กันว่าจะประกอบไปด้วย Hardware และ Software เมื่อเราซื้อคอมพิวเตอร์มาหนึ่ง เครื่อง เราจะต้องซื้อ Software ด้วย ผมจะแบ่ง Software ออกเป็น BIOS ซึ่งก็คือซอฟต์แวร์ในระดับล่างที่ทำให้ คอมพิวเตอร์ทำงานได้เมื่อเราเปิดเครื่องขึ้นมา ก่อนที่จะเข้าสู่ ระบบปฏิบัติการ (OS) และ Application ที่ผู้ใช้งาน

1.1

BIOS (Basic Input Output System) คืออะไร

ในส่วนนี้จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เริ่มเปิดเครื่องขึ้นมาซอฟต์แวร์ส่วนนี้จะฟังไว้ที่ ฮาร์ดแวร์ เพื่อตรวจสอบเบื้องต้น ว่าหน่วยความจำมีจำนวนเท่าไหรมีส่วนไหนเสียบ้าง Hard Disk เป็นแบบไหนมีกี่ตัว มีการติดตั้ง CD-Rom หรือไม่ ระบบเวลาและวันที่เป็นปัจจุบันหรือ ไม่ หากมีอะไรผิดปกติซอฟต์แวร์ในส่วนนี้จะไม่ยอมไปต่อ จะรอให้มีการตรวจ สอบและเป็น ส่วนเดียวที่จะทำให้ระบบปฏิบัติการนั้นทำงานในช่วงเวลาต่อมาเพราะระบบปฏิบัติการนั้นจะต้องอาศัย Harddisk หรือ SSD

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


2 1.2

OS ระบบปฏิบัติการคืออะไร

เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้มนุษย์ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านหน้าจอและควบคุม Hardware ต่าง ๆด้วยนระบบ ปฏิบัติการ 1.3

Application คืออะไร

Application คือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งที่ไม่ซับซ้อนมากโดยต้องติดตั้งระบบปฏิบัติการก่อน เราถึงจะติดตั้งแอปพลิเคชั่นได้ 1.4

Linux คืออะไร

Linux อ่านว่าลินุกส์ เป็นระบบปฏิบัติการโอเพนซอร์สที่ออกแบบมาให้ทำงานแบบ Multi user และ Multi Tasking โดยมีพื้นฐานมาจากระบบปฏิบัติการ UNIX 1.5

Zorin OS คืออะไร

Zorin อ่านว่า ซูลิน คือระบบปฏิบัติการ Linux ที่ปรับการใช้งานให้คล้ายกับวินโดวส์โดว์ โดยนำ ubuntu Linux มา ปรับใช้งานแต่ยังคงเป็นระบบปฏิบัติการ Linux โดยมีมาตรฐานการใช้งานเช่นเดียวกับต้นกำเนิดของ Linux ใน ตระกูล Debain

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


3

บทที่ 2

การติดตั้ง zorin OS

การติดตั้งมีหลายวิธีตามสภาพการใช้งานบางคนอยากติดตั้งสองระบบปฏิบัติการลงไปในเครื่องเดียวกันก็มีหรือบางคน มีเนื้อที่ของฮาร์ดดิสค์มากอยากจะแบ่งพาร์ติชั่นเองนั้นในบทนี้จะขอข้ามไป

.เมื่อเราใส่แผ่น CD เข้าไปถ้าสามารถ boot ได้จะขึน้ หน้า จอสีฟ้าแบบนี้

.ขั้นตอนที่สามจะเป็นการตรวจสอบว่ามีเนื้อทีในการติด ตั้งพอหรือไม่และจะให้ download ปลักอินต่าง ๆ เพิ่ม เติมหรือไม่เพื่อไม่ให้การติดตั้งช้า ให้ทำการคลิก Continue ต่อไปได้เลย

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

. หลังจากนั้นจะให้เลือกว่าจะติดตั้งด้วยภาษาอะไร แนะนำว่าให้เลือกติดตั้งเป็นภาษาอังกฤษก่อน จากนั้นมี สอง option ให้เลือกคือ จะ ทดลองใช้งานก่อน ก็คือ เลือก Try Zorin หรือถ้าจะติดตั้งให้เลือก Install Zorin

.เป็นขั้นตอนเลือกว่าจะติดต้งในรูปแบบไหนสังเกตุว่าถ้า เลือก option แรกจะเป็นการลบข้อมูลหรือพาติชั่นทั้ง หมดออกไปแต่ถ้าหากจะติดตั้งแบบยังคงโอเอสเดิมเอาไว้ ให้เลือกแบบ Somthing else เพื่อเข้าสู่โหมดจัดการ พา ติชั่น กรณีนี้ให้ติดตั้งแบบลบของเดิมทิ้งทั้งหมด Erase disk and inatall Zorin จากนั้น คลิก Install now

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


4

5. ขั้นตอนนี้เพื่อที่จะเลือกประเทศที่เราทำการติดตั้ง

6. เลือกติดตั้ง Key Board ภาษาไทย

7. ใส่ชอื เพือ่ ทำการ login เข้าระบบและเป็น Admin ไป ด้วยให้ใส่เป็นภาษาอังกฤษ ไม่ควรเลือก Log in 8. เข้าสู่ขบวนการติดตั้ง automatically

9.เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ให้ทำการ Restart Now

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

10. กลับเข้าสู้หน้าจอเพื่อ Log in เข้าสู่ระบบ ให้บ้อนร หัสผ่านเข้าไปและเริ่มต้นใช้งาน

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


5

บทที่ 3 3.1

เริ่มต้นใช้งาน Zorin OS

ปรับแต่งระบบ (System Setting)

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ System Settings ซึ่งเปรียบเสมือนกับ Contron Panel ของระบบปฏิบัติการวิโดว์ นั่นเองเพื่อใช้ในการตั้งค่าปรับแต่งในส่วนของระบบต่าง ๆ

3.2

การเปลี่ยน ภาพพื้นหลัง Background

เมื่อต้องการเปลี่ยนพื้นหลังให้เลือก Background หรือคลิกเม้าส์ปุ่มขวาที่หน้าจอ เดส์กทอป

เมื่อเลือกแล้วจะได้หน้าจอต่อไปนี้

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


6

ทำการเลือก Background ที่ต้องการ

โดยการเลือกนั้นสามารถเลือกรูปที่ถ่ายเอง หรือเป็นพื้นสีได้ตามต้องการ 3.3

กำหนดขนาดหน้าจอ(Display)

การตั้งค่าหน้าจอรองรับกับการแสดงผลแบบจอคู่ จะให้แสดงเหมือนกันหรือ แยกจอก็ได้ ในส่วนนี้หากมีจอภาพสองจอจะสามารถกำหนดการแสดงผลของจอที่สองได้ ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


7

เมื่อทำการตั้งค่าตามต้องการแล้วให้ทำการคลิก Apply 3.4

ปรับแต่งความเร็วเม้าส์

ระบบปฎิบัติการ ลินุกส์ก็สารมาถปรับความเร็วของเม้าส์ได้เช่นกัน 3.5

ตั้งค่าการประหยัดพลังงาน (Power)

ในส่วนนี้จะเป็นการตั้งค่าของการประหยัดพลังงานในกรณีที่เราทิ้งหน้าจอไว้นานเมื่อเลือกแล้วจะปรากฏหน้าจอให้เรา ทำการตั้งค่า

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


8

กรณีไม่ได้ต่อสาย Power และทิ้งหน้าจอไว้นาน ๆ ก็ตั้งค่าบริเวณนี้เช่นกัน และถ้าต้องการจะให้แสดงสถานะของแบต เตอรรี่ ก็คือส่วนของ Show battery status in the menu bar 3.6

ปรับความสว่าง Brightness & Lock

หน้าจอตั้งเวลาเมื่อไม่มีการใช้งานให้เกิดการ Lock

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


9

เมื่อตั้งค่าได้แล้วสามารถปิดหน้าต่างได้เลยหรือเลือกที่ All Setting ก็จะสามารถไปตั้งค่าอื่นได้ทันที 3.7

Language Support

ในส่วนของการตั้งค่าภาษานี้เป็นการตั้งค่าการแสดงผลของเมนูต่าง ๆ ของระบบปฏิบัติการ แต่ในส่วนของแอปพลิ เคชั่น ก็จะเป็นหน้าที่ของ แอปพลิเคชั่นนั้นๆ

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


10 ทำการเลือกหาภาษาไทยจากนั้นคลิกเลือกเครื่องหมายถูก

เมื่อพบแล้วให้จับเลื่อนขึ้นมาอยู่ด้านบนสุดด้วยเม้าส์

เมื่อทำการคลิกปุ่ม Close จะปรากฏหน้าต่างยืนยันการเปลี่ยนชื่อไดเร็กทรอรี่ให้เป็นภาษาไทยด้วย ให้เลือกใช้คงชื่อเก่าเนื่องจากการใช้ชื่อไดเร็กทรอรี่เป็นภาษาไทยเนื่องจากหากมีความจำเป็นต้องใช้คำสั่งเวลาพิพม์ได เร็กทรอรี่ภาษาไทยจะพิมพ์ยากกว่าและต้องสลับแป้นพิมพ์

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


11

ให้เลือกคงชือ่ เก่า

ตอนนี้เราจะเห็นว่าการแสดงผลเป็นภาษาไทยแล้วทั้งเมนู และ ตั้งค่าระบบ แต่ก็อาจจะมีบางส่วนที่ยังแปลไม่ครบ หมายเหตุ การเปลี่ยนการแสดงผลเป็นภาษาไทยช่วง ก่อนการตั้งค่าต่้องสำรวจก่อนว่าเครื่องของเรานั้นทำการ เชื่อมต่อกับ Internet หรือยัง Regional Format เป็นส่วนของการแสดง ปฏิทิน วันที่เวลาที่เป็นภาษาไทย ซึ่งจะเห็นการแสดงผลในส่วนนี้ ที่ ทาร์ กบาร และตอน ป้อนรหัสผ่านเข้าสู่ระบบ

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


12

3.8

Online Accounts

ในส่วนของการตั้งค่าในตอนนี้เป็นเรื่องของการใช้งานบริการต่าง ๆ เช่น Twitter Google Facebook ถ้าผู้อ่านไม่มีใน ส่วนนี้ให้ข้ามไปเลยครับ

การตั้งค่า Online Account จะทำให้สะดวกในการใช้งานบริการต่าง ๆ และเหมือนเป็นการออนไลน์ตลอดเวลาเมื่อมี การติดต่อเข้ามาผ่านช่องทางบริการต่าง ๆ

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


13

ในหนังสือนี้เป็นตัวอย่างของ Twitter ให้ทำการเลือก Twitter เมื่อทำการเลือกแล้วเขาก็จะให้เรากรอก บัชชีของ Twitter และรหัสผ่าน

เมื่อทำการใส่รหัสผ่านแล้ว อาจจะมีการแจ้งเตือนให้ใส่รหัสผ่านสำหรับ keyring ในครั้งแรกๆที่ระบบมีการติดตั้งอะไร ใหม่ๆแนะนำให้ใส่ keyring ตัวเดียวกับรหัสผ่านเข้าใช้งาน

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


14

เมื่อเรียบร้อยแล้วการเชื่อมต่อ กับ Twitter ก็เสร็จสมบูรณ์ต่อไปจะส่ง twitter ก็สามารถทำได้เลยและจะมีการแจ้ง เตือนเมื่อมีใครอ้างถึงเราใน Twitter

จะเห็นว่าตอนนี้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ Social network Twitter ก็ได้ทำการเชื่อมต่อกันแล้ว 3.9

ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัย Security&Privacy

ต่อมาเป็นเรื่องของการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของการใช้งานเมื่อมีการออนไลน์ของระบบปฏิบัติ การจะมีการบันทึกส่วนต่าง ๆ เอาไว้ในส่วนนี้เราสามารถเข้ามาเครียค่าต่าง ๆ ที่ก็บไว้ และส่งมอบเครื่องนี้ให้คนอื่นใช้ ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


15 งานได้อย่างสบายใจ

ระบบปฏิบัติการ โดยมากจะเก็บไฟล์ต่าง ๆ ของ แอปพลิเคชั่น เราสมารถตั้งค่าว่าไม่ให้ทำการเก็บไว้และให้ทำการเค รียค่าทุกๆสัปดาห์ 3.10 ตั้งค่าเปลี่ยนแป้นพิมพ์ภาษา(Tex Entry)

ในส่วนของ text Entry ก็คือการเพิ่มแป้นพิมพ์ภาษาเข้าไปให้กับลินุกน์นั่นเองครับ เพราะเราต้องป้อนข้อมูลทั้งภาษา ไทยและภาษาอังกฤษ

และเมื่อทำการเพิ่มการป้อนภาษาแล้วก็ต้องมาทำการปรับแป้นพิมพ์เพื่อการสลับแป้นภาษา

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


16

เมื่อทำการเลือกเข้ามาแล้วในส่วนนี้จะบอกว่าระบบปฏิบัติการของเรานั้นมีการป้อนภาษาอะไรได้บ้างในบัตรรายการ Language จะเห็นว่าในตอนแรกๆที่ติดตั้งใหม่ ๆ เราจะยังไม่มีภาษาไทย

บัตรายการต่อมาเป็นเรื่องของการแสดงรูปแบบตัวเลขรูปแบบวันที่ และ รูปแบบอัตราแลกเปลี่ยน เมื่อมาที่บัตร รายการ Format แล้วให้เลือก Thai

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


17

บัตรรายการต่อมาคือ Input Source เมื่อติดตั้งเสร็จใหม่ ๆ จะยังไม่มีแป้นพิมพ์ภาษาไทยให้เพิ่มที่ตรงนี้ด้วยการคลิก ที่เครื่องหมาย บวก หรือเรียกว่าปุ่มเพิ่ม

จากนั้นเลือก Thai และคลิกปุ่ม Add เมื่อทำการเพิ่มแล้วจากนั้นเราจะทำการตั้งค่าปุ่มหรือแป้นสำหรับกดเปลี่ยน ภาษา

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


18

ให้ทำการคลิกที่ข้อความ Shortcut Setting 3.11 ปรับเปลี่ยนคีย์บอร์ด

ในกรณีที่เราข้ามการตั้งค่า Shortcuts ในหัวข้อที่ผ่านมาเราจะใช้ไอค่อนคีย์บอร์ดก็ได้เพื่อตั้งค่าการสลับแป้นคีย์บอร์ด เป็นภาษาที่ต้องการ

ให้ทำการเลือกที่ Switch to next source จากนั้นให้ทำการกดคีย์ที่ต้องการสลับแป้นพิมพ์ภาษา 3.12 เปลี่ยนขนาด TaskBar

การปรับขนาด Task bar คล้ายกับของวินโดวส์ว์ ให้ทำการคลิกเม้าส์ปุ่มขวา และ เลือก Preferences ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


19

ตรงบริเวณ TaekBar ดังรูปจากนั้นจะปรากฏหน้าจอเพื่อปรับแต่ง

Size of icon คือขนาดของไอค่อนที่ต้องการ Orientation คือ การตั้งค่าว่าจะให้ TarkBar ไปอยู่ที่ส่วนไหนของจอภาพ Style คือ สไตร์ของ TarkBar ลองเปลี่ยนหรือเลือกรูปแบบอื่น เช่น 3D Behavior เป็นโหมดการแสดงผลว่าจะอยู่ในโหมดใดเช่น Always on top หมายถึงให้แสดงผลอยู่ด้านบนตลอด icon effects คือเอฟเฟคของ ไอค่อน ที่อบู่บน Task bar ว่าจะมีเอฟเฟคอย่างไรเมื่อมีเม้าส์โอเวอร หรือ คลิก Expand the panel ถ้าเอาเครื่องหมายถูกออกหมายถึงบาร์จะไม่ขยายออกไปเต็มหน้าจอจะมีขนาดพอดีกับจำนวน ไอค่อน

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


20

การเปลี่ยนธีมหรือแบบของ บาร์สามารถติดตั้งเพิ่มได้หรือเลือกเปลี่ยนที่มีอยู่ได้ตามต้อการ และเมื่อการตั้งค่าทุกอย่าง เรียบร้อยแล้วให้ทำการ Close กลับออกไป โดยมากหลายคนจะมองหาปุ่ม save มาถึงตอนนี้จะสังเกตุเห็นว่า ระบบ ปฏิบัติการลินุกส์เมื่อปรับแต่งแล้วจะมีผลทันที หรือ แค่ทำการ Log out ออกจากระบบแล้ว Login กลับมาใหม่ก็จะ ทำงานได้สมบูรณ์แบบ

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


21

หน้าจอภาพที่ปรับแต่งเรียบร้อยแล้ว 3.13 การปรับเอฟเฟคของจอภาพ 3D

เนื่องจากในส่วนนี้จะมีอยู่ใน system Setting เนื่องจากเป็นแพคเกจเสริมจาก Compiz เพื่อให้การใช้งานมีเอฟเฟ คน่าสนใจมีรูปแบบไม่เหมือนใคร เราจะเรียก compiz affect มาทำการปรับแต่ง

เลือกปุ่ม Start แล้วพิมพ์คำว่า Compiz เราก็จะเห็นรายการที่ซ้อนอยู่ ให้เลือก Compiz setting ที่ด้านบนของรูป ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


22

การปรับแต่งมีประเภทต่าง ๆ ดังนี้ Genaral เป็นการปรับแต่งทั่วไป เช่นเปิดใช้งาน OpenGL ซึ่งเป็นเรื่องของการ แสดงผลสามมิติ Gnome Compatibility ส่วนของ Gnome เราเรียกว่าเป็น Windows Environment เราจะเปิดใช้ งานไว้เพื่อให้ compiz ทำงานเหมาะกับ environment ที่กำลังใช้งาน

3.14 ส่วนของ Windows Management

ในส่วนนี้โดยมากจะเป็นเอฟเฟคของการจัดการกับ Windows เช่นการขยายเต็มจอผู้อ่านสังเกตุสัญลักษณ์

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


23 3.15 compiz Effects

การเลือกเปิดใช้งานในส่วนนี้ก็คือการสลับหน้าจอเดสก์ทอปนั่นเองว่าจะให้เกิดเอฟเฟคในรูปแบบไหน ให้ลองกดปุ่ม • Supper แล้วปุ่มลูกศร • กด Alt + Tab • Super + w

• ผลของการสลับ Desktop ด้วยการกด Ctrl +Alt ผสมกับปุ่มลูกศรชี้ขวา หรือ ใช้เม้าส์บังคับ

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


24

ผลของการกดปุ่ม Super Tab

ผลของการกด Super w จะแสดงหน้าต่างของแอปทั้งหมด

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


25 เพื่อเลือกแอพ ด้วยการกด Alt+tab

เมื่อเปิดใช้งาน Ring Switcher แล้วกด Super Tab

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


26

บทที่ 4

ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวกับ อินเตอร์เน็ต

โปรแกรมตาง ๆในหมวดอินเตอร์เน็ตและติดตั้งมาให้ใช้พร้อมกับระบบปฏิบัติการก็มีอยู่หลายตัวเหมือนกัน ครับ

สำหรับโปรแกรมบางตัวนั้นจะได้กล่าวในบทถัดๆไปก็คือเรื่องของการ remort Desktop หรือเข้าไปจัดการเครื่องที่อยู่ ไกลจากเรานั้นเอง 4.1

โปรแกรมสำหรับ Chat

Empathy Instant Messaging ใช้สำหรับเชื่อมต่อกับบริการ chat ต่า ๆที่ให้บริการ เช่น icq , irc, facebook chat

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


27

หนังสือเล่มนี้จะให้ทดลองเพิ่ม Facebook Chat

เลือก Facebook และใส่ บัญชีของเฟสบุคเข้าไป

4.2

อ่านเมล์เชค์เมล์

Thunder Birth mail เป็นแอปพลิเคชั่นที่นิยมใช้กันมากในระบบปฏิบัติการลินุกส์และเป็นแอปพลิเคชั่นที่ทำงาน ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


28 เหมือนกับ Outlook express โดยจะใช้เช็คเมล์ได้ทั้ง POP3 และ IMAP ที่สำคัญเลยก็คือเราต้องรู้ server name และรหัสผ่าน ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการตั้งค่า การรับส่งเมล์

ให้ skip ไปเนื่องจากเรามีบัญชีเมล์อยู่แล้วที่เป็น POP หรือ IMAP

เมื่อมีบัญชีอิเมล์ของสำนักงานแล้วเราก็ให้กรอกข้อมูลให้ ครบ

หากทำการติดต่อกับ เมล์ Server ได้ก็จะให้เรายืนยันอีก หน้าจอนี้เป็นเรื่องของใบรับรองความน่าเชื่อถือของเมล์ ครั้งว่าบริการที่จะใช้นั้นเป็น POP3 หรือ IMAP เนื่องจากมีการเข้ารหัสให้ทำการยืนยันด้วยการคลิกปุ่ม Confirm Security Exception

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


29 เมื่อทุกอย่างเรียบร้อยแล้วก็จะสามารถเช็คเมล์และ ทำการส่งเมล์ได้ดังรูป Thunderbird ยังช่วยกรอง SPAM เมล์ให้เราได้ด้วยเพื่อความสะดวกในการคัดกรอง

4.3

บราว์เซอร์

ระบบปฎิบัติการซูลิน ติดตั้ง Google Chrome ไว้ให้เรียบร้อยเนื่องจาก Chrome มีคุณสมบัติในการติดตั้ง Chrome web app หากไปทำการ Login ที่เครื่องใดก็ตาม

จะทำให้แอปที่เคยติดตั้งไว้ที่เครื่องอื่นกลับมาหมดรวามถึง จะช่วยทำให้เราเข้าถึงบริการต่าง ๆ Google ได้ง่ายอีกด้วย ปัจจุบัน chrome เป็นที่นิยมมากจนติดอันดับหนึงของ Browser ที่มีคนใช้งานมากที่สุด

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


30

บทที่ 5

ไดเร็กทรอรี่

. ส่วนของการเข้าถึงไดเร็กทรอรี่ต่าง ๆ ทั้งในเครื่องและเน็ตเวิร์ค ก็คือเมนู การเข้าไปที่ Start และไปที่ Praces เมื่อเทียบไปแล้วก็คล้ายกับ MyComputer ของไมโครซอฟต์วินโดวส์ว์นั่นเองครับ รวมถึง NetWork ของวินโดวส์ด้วย เพื่อไปค้นหาไฟล์ที่เครื่องเพื่อน ๆ ในเครื่อข่ายเดียวกันได้ทำการแชร์เอาไว้ให้

ในส่วนของ Home ของแต่ละผู้ใช้งานจะมีไดเร็กทอรี่ที่มองไม่เห็นด้วยซึ่งจะไม่เห็นในภาพนี้ โดยจะต้องเปิด การแสดงผลให้แสดง 5.1

สิ่งแวดล้อมในไดเร็กทรอรี่Home

ถ้าเราระบุสัญลักษณ์ต่าง ๆ เวลาอ่านหนังสือที่เกี่ยวกับ ลินุกส์จะมีไดเร็กทรอรี่ เริมต้นหรือ ราก / หมายถึงไดเร็กทรอรี่ราก ซึ่งเปรียบสเหมือน Drive C /use/local/ หมายถึง ไดเร็กทรอรี่รากและ usr/จากนั้นเป็น local เราสามารถ คลิกเม้าส์ปุ่มขวาแล้วสร้างโฟรเดอร์ได้

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


31 คลิกขวาแล้วสร้างโฟลเดอร์ อยากแก้ไขชื่อโฟลเดอร์ คลิกที่ โฟลเดอร์แล้วกด F2

เมื่อสร้าง แล้วต่อไปลองทดสอบการเรียงไอค่อนต่าง ๆ บนหน้าเดส์กทอป

จัดเรียงโฟลเดอร์ ด้วยการคลิกเม้าส์ขวาแล้วเลือก Organize Desktop by name

หลังจากทำการ Organize เรียบร้อยแล้ว

มาถึงตอนนี้เชื่อว่าผู้อ่านน่าจะเห็นแล้วว่าการใช้งานไม่ยากและความแตกต่างมีไม่มากเลย

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


32 5.2

การจัดการกับโฟลเดอร์ให้เห็นไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่ซ้อน

การเปิดให้สามารถมองเห็นโฟรเดอร์ ให้เลือกที่รูปเฟือง และ เลือก Preferrence จากนั้นจะได้หน้าต่างของ File Preferences จากนั้นเลือก Show hidden and backup files

และในส่วนนี้นอกจากจะทำให้แสดงผลออกไดเร็กทรอรี่ซ้อนแล้วยังจะเป็นเรื่องของ การจัดเรียงไดเร็กทรอรี่ และ ขนาดของไดเร็กทรอรี่ 5.3

รู้จักหน้าที่ของไดเร็กทรอรี่ต่าง

/bin/ /boot/ /cdrom/

ไดเร็กทรอรี่นี้จะเก็บบรรดาชุดคำสั่งทั่วไปที่สามารถใช้งานได้ทั้ง user และ admin เป็นไดเร็กทรอรี่ที่เก็บอิเมจต่าง ๆ ที่เกียวข้่องกับการ Boot ระบบ ใช้สำหรับ เม้าส์ อุปกรณ์เช่น cdrom มาเป็นไดเร็กทรอรี่

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


33 /dev/ /etc/ /home/ /lib/ dll ของวินโดวส์ /media/ disk /mnt/ /opt/ /proc/ รุ่นไหน /root/ /run/ /sbin/ /srv/ /sys/ /tmp/ /usr/ /var/

จะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ ใช้สำหรับเก็บไฟล์คอนฟิกต่างๆ เป็นไดเร็กทอรี่ของสมาชิก lib ของแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ รวมถึงระบบปฏิบัติการด้วยจะเก็บไว้ที่นี้ lib ของลินุกส์ เปรียบเสมือน เป็นไดเร็กทรอรี่สำหรับ mount point ของสื่อเช่น CD-ROM Thum drive floppy ทำหน้าที่เช่นเดียวกับ media โดยมากเวลาติดตั้งแอปพลิเคชั่นใหม่จะมาลงไปที่ opt เป็นไดเร็กทรอรี่พิเศษ เก็บคุณสมบัติต่าง ๆ ของ Hard ware เช่น หน่วยความจำขนาดเท่าไหร cpu เป็นไดเร็กทรอรี่บ้านของ Super user หรือ root เกี่ยวของกับ run ต่างๆ เป็นที่รวมคำสั่งต่าง ๆ ของ supper user เท่านั้น เป็น ที่เก็บ source ของแอปพลิเคชั่นที่ยังไม่ได้ คอมพลาย ไฟล์ต่าง ๆ ของระบบ ไดเร็กทรอรี่ชั่วคราว โดยมากจะเก็บแอปพลิเคชั่นที่เป็นของสมาชิก ให้ใช้งานได้ ส่วนมากจะเป็นพื้นที่สำหรับให้บริการทั่วๆไปเช่นเก็บ เมล์ เก็บเว็บ

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


34

บทที่ 6

การเชื่อมต่อกับเน็ตเวิร์ค

การใช้งานอินเตอร์เน็ตเป็นเรื่องที่ขาดไมไ่ด้หากเรามี Wifi ก็สามารถเชื่อมต่อได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องติดตั้ง Driver แต่ อย่างใดหรือจะเชื่อมต่อกับ Air Card โดยมากก็สามารถใช้งานได้ทันที 6.1

ตั้งค่าเครือข่าย

การเชื่อมต่อกับเครื่องข่ายถ้ามีการเสียบสาย Lan ระบบปฏิบัติการจะเรียกใช้งานที่สาย Lan ก่อน Lan หรือเราเรียก อีกชื่อหนึ่งว่า Ethernet โดยการเชื่อมต่อผ่านสายเขาจึงเรียกว่า Wired connection

การเชื่อมต่อให้คลิกเม้าส์ขวาตามรูปแล้วเลือกดูว่า Enable Networking ว่ามีเครื่องหมายถูกหรือไม่ซึ่งแสดง ถึงว่าได้ เปิดใช้งาน หรือไปที่ จุดเริ่มต้น(Start) แล้วเลือก Connect to

เมื่อเลือก connect to จะปรากฏหน้าต่างของการตั้งค่าเน็ตเวิร์ค ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


35

โดยมากปัจจุบันบริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Wifi ที่ใดๆก็แล้วแต่จะให้หมายเลข ip มาด้วยโดยบริการนั้นเรียกว่า DHCP ทำให้การตั้งค่าต่าง ๆ นั้นผู้รับบริการแทบจะไม่ต้องจำการตั้งค่าหรือหมายเลขไอพี ต่าง ๆ เลย แต่ถ้าหาก ต้องการจะตั้งค่าหมายเลข ip Address หรือเชื่อมต่อกับ Hident Wifi ก็เข้ามาที่บริเวณนี้

หน้าจอสำหรับเปลี่ยนวิธีการรับหมายเลข ไอพี จาก DHCP มาเป็น Static IP

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


36

หากต้องการเชื่อมต่อกับ Wifi ที่ซ้อนไว้ละก็เใื่อทำการเพิ่มเครือข่ายแล้วก็จะมีให้เลือกด้วยเช่นกัน บางหน่วยงานหลบ หลีกการ scan wifi จากผู้ไม่หวังดีเช่น Wifi ของธนาคารเป็นต้น

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


37

บทที่ 7

ติดตั้งแอปจาก Software Center

Software center จะเรียกว่าแอปสโตร์ก็ไม่ผิดเพราะมีหน้าที่เหมือนกัน เมื่อเราจะติดตั้งซอฟต์แวร์อะไรก็เข้า มาหาที่ Software Center

software center ได้รวบรวมซอฟต์แวร์ต่างๆไว้เป็นหมวดหมู่โดยมากจะใช้ช่องสืบค้นจะสะดวกและพบแล้วก็ดูว่าแอ ปนั้นได้รับความนิยมมากน้อยแค่ไหน มีคอมเม้นท์เช่นไร

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


38 เมื่อต้องการจะติดตั้งก็คลิกปุ่ม install ก็จะเป็นการดาว์โหลดมาทำการติดตั้งทันที 7.1

เมื่อต้องการเพิ่ม Software Source

มีซอฟต์แวร์ที่อยู่นอก Software Center ลินุกส์ได้เตรียมวิธีการเพิ่มแหล่งซอฟตต์แวร์ได้ด้วยการไปที่ Edit>>Software Source

เมื่อเลือกมาแล้วให้เลือกที่ Other Software

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


39 จากนั้นเลือก Add เพื่อทำการเพิ่มแหล่งซอฟต์แวร์

ในส่วนนี้ให้ทำการใส่ url ลงไปซึ่งเจ้าของซอฟต์แวร์จะเป็นผู้ที่ประกาศไว้ ต่อมาเป็นการตั้งค่าเพื่อการปรับปรุงให้ระบบปฏิบัติการให้ใหม่อยู่เสมอ

เมื่อทำการตั้งค่าต่าง ๆ แล้วให้คลิกปุ่ม Close เพื่อจบการตั้งค่า 7.2

การเพิ่มแหล่งซอฟต์แวร์โดยคำสั่ง

เราจะรู้แหล่งนั้นได้อย่างไร ผูเผยแพร่ซอฟต์แวร์จะประกาศเอาไว้เข่น ติดตั้ง wine เพื่อใช้งานซอฟต์แวร์วินโดวส์บนลิ นุกส์ sudo add-apt-repository ppa:ubuntu-wine/ppa ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


40 จากนั้น sudo app-get update 7.3

อัพเกรดเป็นเวอร์ชั่นใหม่

เมื่อต้องการจะ update ด้วยตนเองให้เรามาที่จุดเริ่มต้น แล้วพิมพ์คำว่า update ก็จะพบ เครื่องมือที่เรียกว่า Software Updater เมื่อเลือกแล้วหากมีรายการใดที่มีการ update ก็จะแสดงรายการออกมาดังรูป โดยมากหลังการ ติดตั้งระบบเสร็จใหม่ ๆ มักจะต้องมีการ update

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


41

หากมีอะไรใหม่แล้วก็ให้ทำการคลิก Install หมายเหตุ ก่อนการ update ต้องตรวจสอบว่าได้มีการเชื่อมต่อ Internet เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 7.4

ใช้งาน synaptic

synaptic เป็นเครื่องมือติดตั้งและถอนโปรแกรมที่ถอดถอนไรบรารี่ที่ถูกติดตั้งมากับซอฟต์แวร์ได้หมด และ สามารถเห็นได้ทั้งหมดว่าโปรแกรมหรือแอปพริเคชั่นที่ติดตั้งนั้นไปลงในไดเร็กทรอรี่อะไรบ้าง

เมื่อทำการเรียก synaptic ขึ้นมาแล้วโดยเริมต้นที่จุดเริ่มต้น แต่ด้วย จะมีผลไปถึงระบบจึงจำเป็นต้องมีการสอบถาม รหัสผ่านกันด้วยให้ใส่รหัสผ่านของ admin ลงไป ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


42

ป้อนรหัสของ admin เมื่อตอนตดตั้ง

การใช้งานเพื่อการถอดถอนแอปพลิเคชั่นจะสะดวกมากโดยเฉพาะแอปที่ติดตั้งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการถ้าเป็นผู้ใช้ ใหม่ๆที่ไม่ถนัดใช้งานคำสั่งแล้วละก็อาจจะไม่สามารถ update โปรแกรมใหม่ๆบางโปรแกรมได้เนื่องจากต้องถอดถอน โปรแกรมเก่าออกไปก่อน

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


43 วิธีใช้งานให้เลือกแอแพลิเคชั่นที่ต้องการแล้วคลิกเม้าส์ขวาแล้วเลือก complete remove หรือ จะให้ทำการ reinstall แล้วแต่วัตถุประสงค์

เมื่อเลือกครบหมดแล้วให้คลิก Apply จากนั้น Synaptic จะทำการถอดการติดตั้งต่าง ๆ ตามที่เลือก

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


44

บทที่ 8

การติดั้ง ซอฟต์แวร์จาก ชุดคำสั่ง

การติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ได้รับความนิยมอีกวิธีก็คือการติดตั้งด้วยชุดคำสั่งซึ่งมือใหม่ควรจะเรียนรู้ไว้ด้วยไหน ๆ ก็รู้จักลินุ กส์แล้ว แพคเกจ ที่สามารถนำมาติดตั้งได้ จะเป็นเพคเกจที่เป็นนามสกุล .deb และสามารถดับเบิลคลิกเพื่อทำการ ติดตั้งได้ทันที 8.1

ใช้งาน apt-get

apt-get เป็นคำสั่งที่ใช้ติดตั้ง เพคเกจออนไลน์ sudo เป็นคำสั่งสำหรับการเป็น super user ชั่วคราว เนื่องจากการติด ตั้งซอฟต์แวร์จะเกี่ยวข้องกับระบบถ้าไม่ใช่ super user จะไม่สามารถเข้าไปใช้ไดเร็กทรอรี่ของระบบได้ ดูตัวอย่าง sudo apt-get install <ชื่อแพคเกจ> ติดตั้งแพคเกจ sudo apt-get update

ทำการ update แหล่งซอฟต์แวร์

sudo apt-get remove <ชื่อแพคเกจ> ถอดกรติดตั้ง หรือ sudo apt-get purge libreoffice?

ตัวอย่างถอดการติดตั้ง libreoffice หรือใข้คำสั่ง

sudo aptitude purge libreoffice? หมายเหตุ ? ที่ใช้กับ apt-get และ aptitude นั้นหมายถึง wild-card หรือ ทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง การเพิ่มแหล่งที่มาของแอพ เช่นการติดตั้ง wine sudo add-apt-repository ppa:ubuntu-wine/ppa จากนั้น ต้องทำการ update source sudo apt-get update 8.2

ใช้งาน dpkg

dpkg เป็นคำสั่งติดตั้งแพคเกจที่เป็นนามสกุล deb เเนื่องจาก zorin มีพื้นฐานมาจาก DebianLinux เราจะใช้คำสั่ง นี้ในกรณีที่ ติดตั้งเป็น linux server เนื่องจากเราจะไม่ติดตั้งแบบที่เป็นกราฟิกเหมือนกัน Desktop และกรณีที่มี แพคเกจเยอะมากไม่สามารถ ดับเบิลคลิกได้ในเวลาอันรวดเร็วต้องทำทีละไฟล์ดังนั้น คำสั่งนี้จึงสะดวกมากๆ sudo dpkg -i packagename-versionum.deb 8.3

การใช้งาน aptitude

aptitude ก็เป็นอีกำสั่งที่นิยมใช้กันมานาน วิธีการจะเหมือกับ apt-get ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


45

บทที่ 9

การติดตั้งซอฟต์แวร์ที่มาจากไมโครซอฟต์วินโดวส์ว์ด้วย Wine

ระบบปฏิบัติการไม่ว่าจะบน smart phone หรือเครื่อง Desktop สิ่งที่เหมือนกันคือจะไม่สามารถติดตั้ง โปรแกรมข้ามระบบปฏิบัติการกันได้ต้องหาซอฟต์แวร์สำหรับระบบปฏิบัติการนั้นมา แต่กรณีนี้ถ้าต้องการที่จะติดตั้ง ซอฟต์แวร์ของวินโดวส์ว์มาติดตั้งบนลินุกส์

ต้องมีตัวกลางในกรณีนี้ก็คือใช้ แอพที่ชื่อว่า wine เป็นตัวกลางในการใช้งาน บทนี้เราจะให้ทดลองติดตั้งโปรแกรมยอด ฮิตก็คือ Line จะสังเกตุเห็นว่า ตัวแอพสำหรับติดตั้ง บน วินโดวส์ว์จะนามสกุล exe ให้ทำการ คลิกเม้าส์ขวาและ เลือก Open with wine Windows loader

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


46

จากนั้นจะเข้าสู่ขบวนการติดตั้ง ซึ่งจะเหมือนกันการติดตั้ง บน windows

ให้ทำการเลือก ปุ่ม next

ทำการเลือกภาษา

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


47

เลือกไปต่อจะสังเกตุเห็นว่า wine จะหลอกให้ เหมือนว่าจะมีไดร์ว C รอจนการติดตั้งเสร็จสมบูรณ์

เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วลองเรียกใช้งานกัน

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


48

ขอบอกก่อนครับว่าบางโปรแกรมยังไม่ค่อยเสถียนเท่าไหร แต่ บางโปรแกรมก็ทำงานได้ดีเลยครับ

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


49

บทที่ 10 การติดตั้งฟ้อนต์ ฟ้อนต์เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การแสดงผลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาและทำงานเอกสารได้อย่างถูกต้องเวลา เปิดเอกสารขึ้นมาจะไม่มีปัญหาเรื่องรูปแบบผิดเพี้ยนไปเริ่มติดตั้งกันเลย 10.1 ติดั้งด้วยวิธีดับเบิลคริก

วิธีง่าย ๆ คือดับเบิลคลิกฟ้อน์ที่ดาว์ดโหลดมา ทำที่ละฟ้อนต์ หนึ่งฟ้อนต์มี สี่แบบ

เมื่อดับเบิลคลิกแล้วจะขึ้นหน้าจอต่อไปนี้ให้คลิก Install ต่อเลย

ทำแบบนี้ทุกๆฟ้อนต์

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


50

หากฟ้อนต์ใดถูกติดตั้งไปแล้วจะปรากฏให้เห็นดังรูปว่าติดตั้งไปแล้ว 10.2 ติดตั้งฟ้อนต์แบบหลายฟ้อนต์

การติดตั้งฟ้อนต์คราวละมากๆ คงดับเบิ้ลคลิกไม่ไหว ให้เราทำการ copy ฟ้อนต์ลงไปในไดเร็กทรอรี่ .fonts ที่อยู่ใน home ของผู้ใช้งาน

ไดเร็กทรอรี่ จุดฟ้อนต์ มีจุดนำหน้าแปลว่าเป็น ไดเร็กทรอรี่ ที่ซ้อนไว้ ต้องเปิดให้มองเห็นจึงจะเห็น

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


51

บทที่ 11 การใช้งานโปรแกรมด้าน Graphic การจัดการเรื่องรูปภาพบนวินโดวส์ว์กับบนลินุกส์มีโปรแกรมที่เหมือนกันก็คือ GIMP ที่เป็นโปรแกรมโอเพน ซอร์สใช้งานทดแทนโปรแกรมแต่งภาพจัดการภาพยอดฮิตบทนี้เรามาทดลองใช้งานเบื้องต้นง่าย ๆ กัน 11.1 ใช้งาน gimp เบื้องต้น

ปัจจุบัน GIMP มีสองโหมดคือ โหมด single window และโหมดดั้งเดิมที่แยกเป็น สามส่วน

วิธีทำให้เป็น Single windows ก็คือเข้ามาที่ windows และเลือก Single windiws mode

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


52

หน้าจอเมื่อปรับเป็น single windows 11.2 การปรับขนาดภาพ

ภาพถ่ายโดยมากจะมีขนาดใหญ่กว่าที่เราต้องการใช้งานโดยมากจะเป็นภาพถ่ายที่มาจากกล้องดิจิตอลซึ่งมีขนาด pixel ใหญ่มากๆเมื่อนำไปใช้จริงอาจจะต้องมีการปรับขนาดลง

เมื่อเราเปิดรูปที่ต้องการจะปรับขนาดให้เลือก เมนู image >> scale image

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


53

จากนั้นกำหนดขนาดตามต้องการ คลิกรูปโข่ เพื่อให้รูปนั้นมีขนาดไม่บิดเบี้ยว จากนั้นคลิก Scale ก็จะได้ขนาดภาพ ตามต้องการ 11.3 การอก้ไขภาพถ่ายปรับแสง

ภาพจากกล้องดิจิตอลบางครั้งเมื่อนำไปใช้งานแสงเมื่อมาอยู่กับคอมพิวเตอร์อาจจะดูมืดไปหน่อย หรือ เมื่อนำไปพิมพ์ ลงกระดาษ ก็จะพบว่าสีเข้มจนมืดไปเลยก็มี ดังนั้นตอนนี้เราจะมาปรับแสงใหม่ไห้ได้ตามต้องการ

ให้เข้า่ เมนู Colors >> Levels ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


54

จากนั้นปรับค่าใต้กราฟตามต้องการ หรือ คลิกปุ่ม Auto 11.4 Crop เลือกใช้ภาพบางส่วน

การ Crop ภาพคือการเลือกใช้ภาพบางส่วนจากภาพทั้งหมดแต่เป็น รูปแบบสี่เหลี่ยม

เริ่มด้วยการเลือกเครื่องมือ Crop Tools

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


55

จากนั้นนำมาวาดกรอบเพื่อเลือกส่วนที่ต้องการใช้งาน เมื่อเลือกแล้ว กดปุ่ม enter ที่แป้นพิมพ์

เมื่อเสร้จแล้วก็จะเหลือภาพที่ต้องการ ทุกครั้งเมื่อทำงาน GIMP จะให้เราบันทึกเป็นโปรเจคไฟล์ แล้วให้ทำการ Export ไฟล์ออกไปใช้งานทำให้ภาพต้นฉบับ ไม่เสียหาย

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


56

บทที่ 12 ดูหนังฟังเพลงเขียน CD ตัดต่อวีดีโอ โปรแกรมดูหนังฟังเพลงสำหรับ zorin os ก็มีมาให้เหมือนกันเพื่อการใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อความบันเทิง 12.1 โปรแกรมดูหนังฟังเพลง

เป็นโปรแกรมสำหรับดูหนังเมื่อพบไฟล์ video ประเภทต่าง ก็จะเปิดโปแกรมนี้โดยปริยายและยังพบว่าเมื่อเปิดไฟล์ ฟอร์แมตท์ที่แปลกๆโปรแกรมจะทำการ ดาว์โหลดปลักอินเข้ามาทันทีดังนั้นหากไม่ได้ทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตก็จะ มีปัญหา

เป็นตัวอย่างของการเปิดไฟลฺ์เพลงที่เป็น CD audio

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


57

12.2 ตัดต่อ video

OpenShot อ่านว่าโอเพนชอตท์เป็นโปรแกรมที่ใช้ตัดต่อวีดีโอแบบฉบับผู้ใช้งานทั่วไปให้คะแนนระดับดี เนื่องจากใช้ งานไม่ยากแต่ก็กินทรัพยากรมากอยู่เหมือนกันตามแบบฉบับของโปรแกรมจัดการภาพเคลื่อนไหว

เริ่มใช้งานด้วยการคลิกบวกเพื่อเพิมไฟล์เข้ามาในโปรเจค และจากนั้นลากลงมาวางบน Time-line และใช้เคื่องมือ กรรไกรในการตัดต่อ การต่อคลิปอาจจะใช้ transition ช่วยในการดำเนินเรื่องให้ดูน่าสใจและเมื่อตัดต่อเรียบร้อย ก็ ทำการ export ออกมาเป็น video 12.3 เขียน CD ไฟล์งาน

Brasero มีความสามารถในการเขียน CD /DVD ใช้ได้ทงั้ audio cd me ทำ สำเนา disk ก็ไม่ยากคล้าย ๆ กับ ซอฟต์แวร์บนวินโดวส์

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


58

และยังมีความสามารถในการเขียน cd จากไฟล์ iso มาอยู่ในแผ่นด้วยการคลิกเม้าส์ขวาที่ไฟล์ iso จากนั้นเลือก burn disk ก็จะเป็นการเรียกความสามารถของของ Brasero มาใช้งาน 12.4 บันทึกเสียง

Sound record เป็นซอฟต์แวร์พื้นฐานในการอัดเสียง

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


59

บทที่ 13 การจัดการสมาชิกและกำหนดสิทธิ์ การบริหารจัดการสมาชิกในกรณีที่หนึ่งเครื่องใช้งานหลายคน การทำแบบนี้จะเป็นการเปลี่ยนหน้าจอและสภาพ แวดล้อมของแต่ละคนให้ไม่เหมือนกันได้และไม่สามารถนำไฟล์ของคนอื่นมาใช้งานได้ถึงแม้จะอยู่ในเครื่องเดียวกัน 13.1 การเพิ่มสมาชิก

เริ่มด้วยการใช้ user Accounts

เพิ่มสมาชิกด้วยปุ่มบวก หรือ เพิ่ม

ให้ข้อมูลสมาชิกเราจะเห็นว่าตอนนี้จะไม่มีให้ป้อนรหัสผ่าน ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


60

การป้อนรหัสผ่นาให้จะทำทีหลังจากที่ทำการเพิ่มชื่อสมาชิกแล้ว จากนั้นให้คลิกที่ชื่อสมาชิก แล้วคลิกที่ Account Disabled จากนั้นให้ทำการป้อนรหัสผ่าน 13.2 การกำหนดสิทธิ์

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


61

นี้คือโหมดหรือการกำหนดสิทธิ์ต่าง ๆ ของไฟล์และโฟลเดอร์ ประกอบด้วย เจ้าของ กลุ่ม และ กลุ่มอื่นๆ หรือ คนอื่น

โดยจะมีหน้าที่คือ อ่านได้อย่างเดียว List files only เข้าถึงแก้ไขได้ access files และสามารถลบได้ create and delete 13.3 ทำความเข้าใจเรื่องของโหมด

rwx rwx rwx ถ้าไฟล์นั้นเป็น Script

r=Read อ่านอย่างเดียว w=Writ หมายถึงแก้ไขและบันทึกได้ x=execute สามารถ run

rwx ชุดแรก เป็นของสมาชิก rwx ชุดทีสอง เป็นของกลุ่มสมาชิกเดี่ยวกัน rwx ชุดที่สาม สำหรับสมาชิกกลุ่มอื่นๆ

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

r- - - - - - - - =400 -w- - - - - - - =200 rw- - - - - - - = 600 - - x - - - - - -=100 rwx - - - - - - = 700 r-x - - - - - - =500

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


62 rwx r- - - - - = 740 rwx rw- - - - = 760 rwx rwx - - - r-x - - - - - - = 500 r-xr-xr-x = 555 rwxrwxrwx = =770 777 เรื่องของโหมดตัวเลขนั้นให้ข้ามไปอ่านหัวข้อชุดคำสั่ง

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


63

บทที่ 14 การแชร์ไฟล์ การทำงานบนเครือข่ายเน็ตเวิร์คภายในหน่วยงานสิ่งที่สำคัญและมีประโยชน์ในการทำงานร่วมกันก็คือการ แชร์ไฟล์ ให้เพื่อนร่วมงานหรือตัวเราเองเมื่อจะเข้าไปเอาไฟล์จากเครื่องเราเอง

การแชร์ไฟล์ก็คล้าย ๆ กับระบบปฏิบัติการวินโดวส์วส์คือ ให้ทำการคลิกเม้าส์ปุ่มขวาที่ไดเร็กทรอรี่ที่ต้องการจะแชร์ จากนั้นเลือก Sharing Options แต่การแชร์แบบนี้จะเลือกแชร์ให้สมาชิกเป็นบุคคลไม่ได้ 14.1 ติดตั้ง Samba เพื่อแชร์ไฟล์แชร์เครื่องพิมพ์

การติตดั้ง แพคเกจเสริมชื่อว่า samba เพื่อให้ใช้งานแชร์ไฟล์ได้สะดวกและกำหนดสิทธิ์ได้ ให้เข้าไปที่ Software ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


64 center จากนั้นเลือกค้นหา samba เมื่อพบแล้วให้ทำการ ติดตั้ง 14.2 แชร์ไฟล์แบบกำหนดสิทธิ์

จะตองมีการเพิ่มสมาชิกให้กับระบบก่อน จากนั้นเรียกแอพ samba ขึ้นมาเพื่อกำหนดการแชร์

ทำการ Brows ไปยังโฟลเดอร์ที่ต้องการจะแชร์ ใส่ชื่อของโฟลเดอร์ที่จะให้ผ้อื่นได้มองเห็น และกำหนดว่าจะมองเห็น หรือเขียนลงไปในโฟล์เดอร์ที่เราแชรได้หรือไม่

การณีนี้จะเห็นว่าเราจะไม่สามารถกำหนดสิทธิ์ให้ใครได้นอกจากกำหนดให้ทุกคนเข้ามา ให้ทำการ cancle ไปก่อน เพื่อการกำหนดสิทธิ์

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


65

เมื่อเลือก Preferences >> Samba users เพื่อทำการ ดึงสมาชิกจากระบบเข้ามาเป็นสมาชิกของ samba เพื่อเข้าใช้ ไฟล์ที่แช่ร์กัน

เมื่อเลือกสมาชิกจากระบบเรียบ้อยแล้วก็จะกลับมากำหนดว่าโฟลเดอร์นี้จะแชร์ให้ใคร

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


66

เมื่อทำการดึงชื่อผุ้ใช้จากระบบเข้ามาใช้งานแล้วจะปรากฏชื่อให้เราเลือกว่าจะให้ใครมีสิทธิกับไดเร็กทรอรี่นี้บ้าง การเชื่อมต่อเข้าไปใช้เครืองที่แชร์ไฟล์เอาไว้

รูปนี้เป็นตัวอย่างการเข้าใช้งานจากคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ สำหรับเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ก็สามารถเข้า มาใช้งานการแชร์ไฟล์ได้เช่นกัน

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


67

บทที่ 15 รีโมทเดกส์ทอป บ่อยครั้ง IT -Support ต้องใช้หน้าจอของผู้รับบริการหากมีเครื่องอยู่ไกลๆ เดินทางไปก็คงไม่สะดวก 15.1 ติดตั้ง Theme Viewr และใช้งาน

ให้ทำการ download โปรแกรม Team Viewer สำหรับ Linux ได้ที่ http://www.teamviewer.com/th/download/linux.aspx

ให้เลือก package ของ ubuntu / Debian เพราะ zorin นำ ubuntu มาปรับนามสกุลของไฟล์จะเป็น deb

เมื่อดาว์โหลดแล้วให้ทำการดับเบิลคลิก

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


68

จะเข้าสู่หน้าจอของ Software center ให้เราทำการคลิก install ได้เลย เพื่อเป็นการติดตั้ง ให้รอจนกระทั้งติตั้งสำเร็จ

เมื่อติดตั้งแสร็จแล้วให้เริ่มใช้งานที่ ปุ่ม start แล้วเลือก Team viewer

จากนั้นให้เราอ่านข้อตกลงในการใช้งาน จากนั้น คลิก Accept ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


69

เริ่มใช้งานเอาไอดีของเครื่องปลายทางมาใส่และจะถามรหัสผ่านเท่านี้ก็ remote ได้แล้ว 15.2 การใช้งาน SSH

สำหรับการ remote ผ่าน ssh ก็เพื่อเข้าไปใช้ command line ในเครื่องที่อนุญาติให้เราเข้าไป ข้อดีคือ การทำงานไว มากและสามารถ รีโหมด ต่อไปเรื่อย ๆ ผ่าน ssh วิธีก่รมีรูปแบบดังนี้ ssh username@ipaddress เช่น ssh user00@192.168.2.10 หากใช้พอร์ทที่เปลี่ยนไปจากเดิมจะต้องระบุหมายเลขพอร์ทด้วย เช่น ssh user00@192.168.2.2 -p 22 เมื่อสามารถติตด่อได้ จะมีการแลกเปลี่ยน key ให้ทำการยอมรับด้วยการ กดปุ่ม y หรือ yes

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


70

บทที่ 16 โปรแกรมสำนักงาน โปรแกรมสำนักงานใน zorin ก็ได้ติดตั้ง LibreOffice มาให้ครบทั้งหมดขาดแต่ base ที่ใช้งาน แทน access เท่านั้น การเปิดใช้งานเข้าไปที่จุดเริ่มต้นหรือจุด Start แล้วเลือก Office ก็จะพบ กับเครื่องมือต่าง ๆ อาจจะไม่ต้องเรียกโปรแกรมหลักมาใช้งานก่อนก็ได้ ข้ามไปเลือกใช้ซอฟต์แวร์เหล่านั้นได้ทันที โดยจะมีทั้ง writer calc impress

ก่อนใช้งานต้องตั้งค่ากันก่อนเพราะโปรแกรมออกแบบมาให้ใช้งานได้ทุกภาษาทุกประเทศ 16.1 รู้จักกับ LibreOffice เบื้องต้น

หน้าจอ start scrssn ของ เวอร์ชั่น 4.2

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


71 16.2 กำหนดภาษาไทยและฟ้อนต์ไทย

เราจำเป้นต้องปรับแต่งก่อนใช้งาน

เพื่อตั้งค่ารูปแบบภาษาก่อน

ให้ตั้งค่าต่าง ๆ ตามรูปเราไม่จำเป็นต้องติดตั้งเมนูภาษาไทย LibreOffice ก็รองรับภาษาไทยและการตัดคำภาษาไทย เป็นทุนอยู่แล้ว 16.3 ฟอน์ตไทยสำหรับ writer

เนื่องจากเรามักจะพบว่าเวลาพิมพ์ภาษาไทยและภาษาอังกฤษจะเกิดการแสดงผลฟ้อนต์ไม่เหมือนกันทำให้ ต้องกลับมาแก้ไขอีกอยู่บ่อย ๆ libreoffice ได้เตรียมแก้ไขเร่ืองแบบนี้ไว้แล้ว เราต้องตั้งค่าการใช้ฟ้อนต์ก่อนให้ไปที่ Tools >> Option

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


72

จากนั้นให้เข้าไปตั้งค่าฟ้อนต์ ตามรูป

เลือก western ปรับฟ้อนต์ให้ใช้สำหรับการพิมพ์ภาษา ต่างประเทศ

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

ตั้งค่าฟ้อนต์สำหรับการพิมพ์ภาษาไทย

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


73 16.4 ติดตั้งเมนูภาษาไทย

การติดตั้งเมนูภาษาไทยของ libreoffice บน ลินุกส์ต้องทำการดาว์ดโหลมาติดตั้งซึ่งแตกต่างจาก libreoffice ของ windows มันจะมาพร้อมกับตัวติดตั้งที่เราเลือกภาษาที่ถูกต้อง ตอนนี้ให้เราไปดาวน์โหลด เมนูภาษาไทยก่อน

เมื่อเข้าไปแล้วให้มองหาภาษาไทย จากน้นทำการ download และติดตั้ง

ทำการแตก zip และเข้าไปใช้คำสั่งเนื่องจากมีไฟล์หลายไฟล์

เมื่อจะใช้คำสั่งให้เปิด terminal แล้วใช้คำสั่ง cd เข้าไปในโฟลเดอร์ที่แตกไว้ cd Download/LibreOffice_4.1.6.22_i386/DEBS ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


74

คำสั่งเพื่อการติดตั้ง sudo dpkg -i *.deb แต่ต้องอยู่ในโฟลเดอร์ DEBS ที่ทำการแตกแพคเกจมาก่อนแล้วค่อยใช้คำ สั่ง เมื่อติดตังแล้วเข้าไปตั่งค่า 16.5 เปลี่ยนเมนูภาษาไทย

เมื่อเปิด LibreOffice ขึ้นมาแล้วใหไปที่ Tools แล้วเลือก Options

จากนั้นเข้ามาที่ Language Setting >> แล้วเลือก Languages ให้เลือก User interface เป็น Thai

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


75

จากนั้นปิดโปนแกรมแล้วเรียก LibreOffice กลับขึ้นมาใหม่จะเห็นเมนูต่าง ๆเป็นภาษาไทย

ทดลองใช้งาน

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


76 16.6 ใช้ Writer ทดแทนไมโครซอฟต์เวิร์ด

Writer มีความสามารถเทียบเคียงไมโครซอฟต์เวิรด์ได้เป็นอย่างดีอย่างหนังสือเล่มนี้ก็เขียนด้วย Writer จะเห็นว่ามี ความสามารถไม่แพ้กันเลย เพื่อความพอเพียงกับเทคโนโลยีสารสนเทศและเพื่อการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศอย่างเท่า เทียมประชาชนจะได้ไม่ต้องซื้อซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ในราคาแพง การบันทึกเป็น PDF ก็สามารถนำกลับมาแก้ไขได้ใน ซอฟต์แวร์ Writer 16.7 ใช้ Calc ทดแทนไมโครซอฟต์เอ็กเซล

Calc เป็นซอฟต์แวรใช้งาทดแทนไมโครซอฟต์เอ็กเซลเปิดงานของ excel ได้ทงั้ xls หรือ xlsx ในเวอร์ชนั่ 2007

หากการเปลี่ยนถ่ายผู้อ่านไม่มั่นใจแนะนำให้ ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ บันทึกเป็น excel 2003 เมื่อแลกเปลี่ยนกันจะดี กว่า ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


77 16.8 ใช้ ImPress ทดแทนเพาเวอร์พ้อยน์

impress ถือว่าทำงานทดแทน Power Point ได้ในระดับใช้งานได้อย่างพอเพียงวัตถุพิเศษเช่น drawing อาจจะผอด พลาดไปบ้างถ้านำไปเปิดบน Powerpoint

impress ถ้าทำงานร่วมกับ ms office ให้ไมโครซอฟต์บันทึกให้เป็น Power point 2003 จะทำให้ไม่ผิดพลาดใดๆ โครงสร้ า งต่ า งๆTransition หรือ Slide effec จะยังคงนำมาใช้งานได้

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


78

บทที่ 17 โปรแกรมอรรถประโยชน์ต่างๆ โปรแกรมอรรถประโยชน์หรือพวกเครืองมือเสริมการใช้งานเล็กๆน้อย ๆ เหล่านี้ถูกติดตั้งมาให้พร้อมแล้วเช่น โปรแกรมบีบอัดไฟล์ รวมไฟล์เป็นต้น 17.1 การบีบอัด Archive Amager สร้าง zp แบะ unzip

การสร้าง Archive ในการบีบอัดไม่แตกต่างจากโปรแกรม winzip, หรือ winrar รูปนี้ได้จากการดับเบิลคลิกไฟล์ นาม มกุล zip 17.2 สร้างแพคเกจ zip

การสร้างแพคเกจ zip ก็ไม่ต่างจาก winzip เท่าไหร่คลิกเม้าส์ขวาแล้วเลือก Compress จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง compress ให้เราตั้งชื่อและเลือก ประเภทของ การบีบอัด

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


79

17.3 แตกแพคเกจ

การแตกแพคเกจก็เช่นเดียวกันคลิกเม้าส์ขวาแล้วเลือก Extract Here จะสะดวกที่สุด

17.4 แพคเกจ rar แตกอย่างไร

เราจะเห็นว่า แพคเกจ winrar หรือที่เป็นนามสกุล rar จะมีปัญหาเราต้องทำการติดตั้งเพิ่ม

เปิด Software center ขึ้นมาแล้วค้นหาคำว่า rar เมื่อพบแล้วให้คลิกลงไปแล้วเลือก Install จากนี้ไปเราก็จะสามารถแตกไฟลฺแพตเกจ rar ได้แล้ว

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


80

17.5 เครื่องคิดเลข Calculator

จุดเริ่มต้น >>Accessories>> calculator

เครื่องคิดเลขทั่วๆไปของ zorin

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


81 17.6 ดูข้อมูลสำหรับ Disk

จุดเริ่มต้น >>Accessories>>Disk 17.7 Font View ขอดู Font

ถูกใช้เมื่อบทที่ทำการติดตั้ง Font ให้กบั ระบบ

จุดเริ่มต้น >>Accessories>>font view 17.8 Screen Shot จับภาพหน้าจอ

เมื่อเรากดปุ่ม print Screen หรือ CrtScr จะเป็นการจับภาพหน้าจอแล้วรอให้เราบันทึกเป็นไฟล์ ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


82

การบันทึกนั้นจะบันทึกในไดเร็กทอรี่ Pictures เป็นเบื้องต้น สิ่งที่อยู่ใน Access นั่นโดยการเข้าไปที่ จุดเริ่มต้น >>Accessories>> จะมีข้อมูลรองระบบและแอปเล็กๆให้เราได้ใช้ งานกัน

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


83

บทที่ 18 การติดตั้งเครืองพิมพ์ บทนี้จะเป็นเรื่องของการติดตั้งเครื่องพิมพ์ปัจจุบันปัญหาเรื่องเครื่องพิมพ์ไม่มีไดร์เวอร์น้อยลงมากโดยมากจะ มีไดร์เวอร์ติดตั้งแบบค้นหาแล้วพบทันที เนืองจาก Linux Foundation ได้สร้าง Open Pring .org ขึ้นมาเพื่อทำให้ผู้ ผลิตต่าง ๆ คำนึงถึงระบบปฏิบัติการ Linux ด้วยผู้อ่านสามารถเข้าไปดูรายชื่อเครืองพิมพ์ว่ามีไดร์เวอร์อะไรบ้างได้ที่ http://www.openprinting.org/drivers 18.1 เริ่มติดตั้งเครื่องพิมพ์

เมือนำเครืองพิมพ์พร้อมเปิดเครื่องให้เรียบร้อยจากนั้นนำมาต่อกับ Linux ของเราและเข้าไปที่ System Setting เลือก Printer

คลิกปุ่ม Add เพื่อเพิม

จากนั้นจะปรากฏหน้าจอสำหรับเครืองพิมพ์ เครืองของท่านจะมีรายชื่อเครื่องพิมพ์ตรงตามที่มีอยู่ในบทนี้ได้นำ เครื่องพิมพ์รุ่นเล็กของ Fuji Xerox มาทำการติดตั้ง

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


84

จะพบว่าระบบปฏิบัติการของเรารู้จ้กเครื่องพิมพ์รุ่นดังกล่าวด้วยให้ไปต่อด้วยการคลิก Forward

Zorin จะทำการค้นหา Driver จาก Internet คือแหล่ง driver ของ linux Foundation นั่นเองเใื่อพบแล้วจะปรากฏ หน้าจอ ให้เราเลือกรุ่นให้ตรงกัยที่ใช้งานอยู่

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


85

ภาพนี้จะเห็นว่าเราสามารถเลือกแบบ PPD File ได้เนื่องจากเป็นไฟล์สำหรับติดตั้ง Driver แต่ในกรณีนี้ ให้เรา Forward ต่อไปได้เลยเนื่องจากการค้นหาพบ Driver แล้ว

เลือกรุ่นให้ตรงจากนั้นคลิก Forward

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


86

เป็นอันเสร็จสิ้นการติดตั้ง เขาจะถามว่าจะทำการทดสอบการพิมพ์หรือไม่ ให้ลองทดสอบดูว่าพิมพ์ออกมาแล้วเป็น อย่างไร

จะเห็นว่าตอนนี้เรามีเครื่องพิมพ์ที่สามารถ พิมพ์ได้ ให้สังเกตุเครื่องหมายถูกเป็นสีเขียวแสดงว่าสามารถพิมพ์ได้

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


87

บทที่ 19 ชุดคำสั่งน่ารู้ บทนี้อยากให้ทบทวนหรือแนะนำคำสั่งต่างๆ ใน Linux เราจะเริ่มต้นทำความรู้จักกับคำสั่งต่างๆ บนพื้นฐาน ของเชล bash (อ่านว่า บอน-อะ-เกน-เชล) มีคำแนะนำ 3 ข้อสำหรับบทความนี้คือ 1.ทุกคำสั่งเมื่ออยู่ใน Command prompt ถ้าเป็น user จะมีสัญลักษณ์ $ ถ้าเป็น Root จะมีสัญลักษ์ # เมื่อ พิมพ์คำสั่งแล้ว ต้องกด Enter ทุกครั้ง 2.สามารถใช้ปุ่ม Tab ช่วยในการพิมพ์คำสั่งเพื่อไม่ให้พิมพ์คำสั่งผิด 3.หากต้องการเพิ่มความเข้าใจในการใช้คำสั่งต่างๆ ให้เพิ่ม option ลงไปหลังคำสั่งเช่น ls - -help 19.1 CD คำสั่งเริ่มต้นในการท่องไปในไดเรกทอรี่

ใช้คำสั่งนี้แล้วตามด้วยชื่อไดเรกทอรี่ cd game หากไดเรกทอรี่ game ไม่ได้อยู่ในไดเรกทอรี่ในระดับเดียวกันกับที่กำลังจะเดินเข้าไปให้ระบุที่อยู่โดยตรงดังนี้ cd /usr/game/ และถ้าจะออกจากไดเรกทอรี่ที่เราอยู่ให้ใช้คำสั่งดังนี้ cd .. หากเดินทางไปในไดเรกทอรี่ต่างๆ แล้วอยากกลับเข้าไดเรกทรอรี่บ้านที่อยู่ตอนเข้าระบบมีคำสั่งลัดดังนี้ cd ~ 19.2 pwd เพื่อหาไดเรกทอรี่ที่อยู่ปัจจุบัน

คำสั่งนี้เพื่อตรวจสอบกำลังอยู่ในไดเรกทอรี่ไหนเพราะโดยมากปัจจุบันจะไม่แสดงเส้นทางหรือ path ของไดเรกทอรี่ก็ ตรวจสอบได้ด้วย pwd pwd 19.3 clear คำสั่งเพื่อล้างหน้าจอ

เป็นคำสั่งที่ล้างหน้าจอที่เต็มไปด้วยคำสั่งต่าง ๆ clear

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


88 19.4 date คำสั่งเกี่ยวกับวันที่

เป็นคำสั่งเพื่อให้แสดง วัน เดือน ปี เวลา นอกจากนี้ยังใช้ตั้งวันที่ได้อีกด้วย ตัวอย่างขอดูเวลาเครื่อง date ตัวอย่างใช้ตั้งเวลาเครื่อง date 11081300 จากตัวอย่าง 11 คือเดือน (พฤศจิกายน) 08 คือวันที่ เวลา 13 นาฬิกา 19.5 df คำสั่งเพื่อตรวจสอบพื้นที่ว่างของ Disk

เป็นคำสั่งที่ใช้บ่อยมากเพื่อตรวจสอบพื้นที่ที่เหลือจากการใช้งาน นอกจากนี้ยังแสดง patition ของ disk ของ server หรือเครื่องที่ใช้อยู่ ตัวอย่าง df df เพื่อแสดงในรูปแบบ หน่วยของความจุเมกกะไบท์หรือกิกกะไบท์ df -h 19.6 ls คำสั่งแสดงรายการไฟล์และไดเรกทอรี่

คำสั่งนี้ใช้แสดงรายการของไฟล์ใน path ที่อยู่ปัจจุบันมีไฟล์อะไรอยู่บ้างตัวอย่าง ls ตัวอย่างเพื่อให้แสดงไฟล์ที่ซ้อนอยู่ ls -a ตัวอย่างเพื่อให้แสดงรายละเอียดทั้งหมดของไฟล์และไดเรกทอรี่ ls -l ตัวอย่างเพื่อให้แสดงรายละเอียดของไฟล์และไฟล์ที่ซ้อนไว้ให้แสดงออกมา ls -la 19.7 more คำสั่งเพื่อแสดงรายละเอียดของเอกสารหรือข้อมูลในไฟล์เอกสาร

คำสั่งนี้มักจะใช้แสดงข้อมูลที่อยู่ใน Text File ต่างๆ ให้แสดงที่ละหน้าหรือ page โดยจะดูหน้าถัดไปด้วยการ กด Space Bar วิธีใช้คือพิมพ์ more แล้วตามด้วยชื่อไฟล์ตัวอย่าง more secure.log

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


89 19.8 passwd คำสั่งเปลี่ยนรหัสผ่าน

เมื่อจะเข้าใช้เครื่องผ่าน ssh หรือ telnet จะต้องป้อนรหัสผ่านแต่ถ้าอยากเปลี่ยนรหัสผ่าน passwd คือคำสั่งที่ใช้ เปลี่ยนรหัสผ่าน และถ้าเป็น root จะสามารถเปลี่ยนรหัสผ่านให้กับ user ได้ด้วยวิธีการใส่ชื่อ user ต่อท้ายคำสั่งดัง ตัวอย่าง passwd เปลี่ยนรหัสผ่านให้กับ user ชื่อ phanupon passwd phanupon 19.9 man คำสั่งขอดูคู่มือคำสั่ง

เมื่อต้องการจะหาคีย์เวิร์ดเพื่ออยากรู้ว่าคำสั่งที่อยากได้มีหรือไม่ เช่นอยาก copy ไฟล์อย่างนี้ เป็นต้น เราจะใช้คำสั่ง man แล้วตามด้วย option k เพื่อให้ใช้คีย์เวิร์ดถัดมาดังตัวอย่าง man -k copy 19.10 logout คำสั่งออกจากระบบ หรือ exit

เมื่อไม่ต้องการใช้งานแล้วควรจะ logout ออกจาก shell ทุกครั้งอย่า login ค้างหน้าจอไว้ หากมีผู้ไม่ประสงค์ดีแอบ เปลี่ยนรหัสผ่านของเราแล้วท่านอาจจะต้องเสียเวลาอีกมากควรใช้คำสั่ง logout logout 19.11 exit ออกจาก shell ของ user

คำสั่ง exit นี้จะใช้เมื่อมีการอยากออกจากระบบซึ่งออกจะคล้ายๆ กับ logout เพราะในบางครั้งอาจจะปรับแต่งระบบ ไม่ให้ login เป็น root แต่จะให้ใช้ชื่อผู้ใช้งานทั่วไปก่อนแล้วหลังจากนั้นจึงใช้คำสั่งเปลี่ยนตัวเองเป็น root ซึ่ง ปัจจุบัน Linux ทุกค่ายเป็นแบบนี้ exit 19.12 su คำสั่งแปลงร่างจากผู้ใช้ทั่วไปเป็น supper user หรือ root

ควรแปลงร่างเป็น root เมื่อมีความจำเป็นเท่านั้นและหากต้องการใช้สภาพแวดล้อมเดียวกันด้วยให้ใช้คำสั่ง su su sudo คำสั่งเพื่อให้ user ทั่วไปใช้คำสั่งของ root ได้โดยไม่ต้องแปลงร่างเป็น root นานๆ จะใช้ sudo แล้วตามด้วย คำสั่งหรืออาจจะให้ sudo su – เพื่อแปลงร่างเป็น root โดยไม่ตอ้ งใช้ sudo บ่อยๆ

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


90 sudo su มีหลายสาเหตุที่ทำให้ไม่อยากให้ใช้ root นานๆ เพราะบางครั้งท่านอาจจะใช้คำสั่งบางคำสั่งด้วยความไม่ได้ตั้งใจไป ทำลายระบบได้เพียงเพราะลบไฟล์บางไฟล์ออกไป ให้ทุกคนลองฝึกใช้คำสั่งเพราะการออกคำสั่งทำให้เหมือนเป็นผู้มีอำนาจ !! (คนละเรื่องละครับ) ประโยชน์ของ การใช้คำสั่งช่วยให้เราไม่ต้องทำงานอยู่หน้าเครื่อง โดยการทำงานสามารถรีโหมดด้วยโปรแกรม telnet หรือ ssh เพื่อเข้าไปแก้ปัญหาเครื่องได้ ที่สำคัญเป็นการใช้ทรัพยากรของเครื่องไปกับโปรเซสมากกว่าใช้ทรัพยากรไปกับกราฟิก ของ System Admin

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


91

บทที่ 20 ชุดคำสั่งขอดูข้อมูลสำคัญ ในการใช้งานเบื้องต้นได้เรียนรู้คำสั่งสำคัญๆไปแล้วสำหรับผู้ที่ได้เริ่มต้นรู้จักกับ OpenSource และ Linux การรู้จักคุ้น เคยกับคำสั่งจะทำให้เราทำงานกับ Linux ได้เร็วขึ้นเราจะไม่สามารถควบคุมจากระยะไกลได้เลยถ้าเราไม่รู้คำสั่งพื้น ฐานเลยถึงแม้ปัจจุบันจะมีโปรแกรม remote หน้าจอในแบบ Graphic มาใช้งานแล้วหากการแก้ไขปัญหาในโหมด single mode แล้วไม่พ้นเรื่องคำสั่งอยู่ดีครับฉบับนี้ยังเป็นคำสั่งที่ใช้งานเบื้องต้นอยู่นะครับ หลังจากที่เราสามรถ Login เข้าระบบ ได้เป็นที่เรียบร้อยแล้วเราจะมาตรวจสอบสถานะของการเป็น สมาชิกของระบบด้วยฉบับนี้จะ เป็นการขอดูข้อมูลที่เกี่ยวข้อกับระบบและสภาพแวดล้อมของ account ที่เราถือครองอยู่ 20.1 คำสัง id เพื่อหาของมูลที่เรียกว่า identity phanupon@phanupon-laptop:~$ id uid=1000(phanupon) gid=1000(phanupon) groups=4(adm),20(dialout),24(cdrom),25(floppy),29(audio),30(dip),44(video),46(plugdev),107(fuse),109(lpadmin),115(admin),1000(phanupon)

เราใช้คำสั่งนี้เพื่อตรวจสอบว่า uid หรือ user id ของเราเป็นใคร และอยู่ใน Group อะไรในเครื่องนี้ เพราะบางคน อาจจะมีความจำเป็นต้องอยู่ในกลุ่มเดี๋ยวกันกับผู้อื่นเพื่อ ที่จะไม่เกิดปัญหาในการใช้งาน ไฟล์ร่วมกันหรือใช้ไดเร็กทรอ รี่เดียวกันเช่น Group ของ webmaster เพื่อใช้งานไดเร็กทรอรี่เดี่ยวกับผู้ดูแลเว็บไซท์ในที่นี้ uid คือ 1000 และ gid คือ 1000 อันนี้เป็นการจัดสันให้ของ ubuntu ถ้าเป็น Fedora จะเริ่มที่ uid 500 และ gid 500 20.2 คำสั่ง Who เพื่อขอดูข้อมูลที่เกี่ยวกับการ login ในครัง้ นี้ phanupon@phanupon-laptop:~$ who phanupon@phanupon-laptop:~$ who -umH NAME LINE TIME IDLE PID COMMENT phanupon pts/2 2008-09-06 17:35 . 14131 (:0.0) phanupon@phanupon-laptop:~$

การใช้ option -u เพื่อให้แสดงเวลา idle และ หมายเลข Process(PID) ส่วน option H ก็เพื่อให้แสดง ข้อมูล Header ต่าง ๆด้วย และ m เพื่อกำหนดให้แสดงข้อมูลของคำสั่ง Who การใช้คำสั่ง echo เพื่อขอดูรายลเอียดต่าง ๆ ในการใช้งานสภาพแวดล้อมในการ Login phanupon@phanupon-laptop:~$ echo $HOME /home/phanupon

คำสั่งแบบนี้หมายถึงให้พิมพ์ ตัวแปล $HOME ออกมาดังนั้นในกรณีนี้เขาจะแสดงถึงการไดเร็กทรอรี่ home ของผู้ที่ Login เข้ามา ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


92 20.3 คำสั่ง ps เพื่อขอดูว่าตอนนี้มี process อะไรทำงานอยู่บ้าง

linux เป็นระบบปฏิบัติการที่เรียกว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่ทำงานพร้อม ๆ กันหลายหน้าที่ได้เรียกว่า Multitasking system ซึ่ง instance ของการทำงานของโปรแกรมเราเรียกกันว่า Process ระบบปฏิบัติการ Linux ได้เตรียมคำสัง่ ps เพื่อให้เราได้ทำการตรวจสอบว่าตอนนี้มี process อะไรทำงานอยู่บ้างเพื่อจะทำการ kill ให้หยุดทำงานการหยุด ทำงานของ process ไม่ได้หมายถึงการงดให้บริการ phanupon@phanupon-laptop:~$ ps au USER PID %CPU %MEM VSZ RSS TTY STAT START TIME COMMAND root 4479 0.0 0.0 1716 512 tty4 Ss+ 14:34 0:00 /sbin/getty 384 root 4480 0.0 0.0 1716 512 tty5 Ss+ 14:34 0:00 /sbin/getty 384 root 4484 0.0 0.0 1716 508 tty2 Ss+ 14:34 0:00 /sbin/getty 384 root 4485 0.0 0.0 1716 512 tty3 Ss+ 14:34 0:00 /sbin/getty 384 root 4486 0.0 0.0 1716 512 tty6 Ss+ 14:34 0:00 /sbin/getty 384 root 5313 6.9 12.9 146080 134220 tty7 Ss+ 14:34 20:25 /usr/bin/X :0 root 5483 0.0 0.0 1716 504 tty1 Ss+ 14:34 0:00 /sbin/getty 384 root 5488 0.0 12.9 146080 134220 tty7 S+ 14:34 0:00 /usr/bin/X :0 phanupon 14134 0.0 0.2 5664 3104 pts/0 Ss 17:21 0:00 bash phanupon 14597 1.4 9.4 168020 98204 pts/0 R+ 17:27 1:47 /lib/ld-linux.s phanupon 14814 0.0 0.3 5688 3132 pts/1 Ss+ 17:31 0:00 bash phanupon 15079 0.0 0.3 5680 3148 pts/2 Ss 17:35 0:00 bash phanupon 20196 0.0 0.0 2644 1004 pts/2 R+ 19:29 0:00 ps au

ในตัวอย่างนี้เราได้ใช้ option ต่างๆเหล่านี้ u คือแสดง user name ที่ใช้งาน process นั้นๆอยู่ และ a คือให้แสดง ทั้งหมดลองดูที่ตัวอย่างที่ user phanupon กำลังใช้ process ชื่อ bash หมายเลข PID คือ 15079 ส่วนใน คอลัมป์ STAT บงบอกถึงสถานะของ process ว่าตอนนี้ S หมายถึง Sleeping Process และถ้าเป็น R แสดงว่ากำลังทำงาน สำหรับเครื่องหมาย + แสดงว่า process นี้ทำงานในสถานะ Foreground ซึ่งหมายถึงการทำงานที่ไม่ได้หลบอยู่ส่วน s เล็กแสดงถึงเป็น session leader 20.4 คำสัง history เพื่อขอดูการใช้คำสั่งที่ผ่านมา

มาถึงตอนนี้เราอาจจะต้องการรู้ว่าเราได้ใช้คำสั่งอะไรมาแล้วบ้างลองขอดูว่าแปดคำสั่งที่ผ่านมาใช้อะไรไปบ้าง phanupon@phanupon-laptop:~$ history 8 507 who -umH 508 id 509 who 510 who umH 511 who -umH 512 echo $HOME

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


93 513 ps au 514 history 8

!n ย้อนไปใช้คำสั่งใดให้เราใช้คำสั่งหมายเลขที่ n phanupon@phanupon-laptop:~$ !509 who phanupon tty7 2008-09-06 14:34 (:0) phanupon pts/0 2008-09-06 17:21 (:0.0) phanupon pts/1 2008-09-06 17:31 (:0.0) phanupon pts/2 2008-09-06 17:35 (:0.0)

จากตัวอย่างนี้เราได้ค่า n มาจากการใช้คำสั่ง history 8 s หมายถึงให้แสดงคำสั่งย้อนหลัง 8 คำสั่ง หมายเลขที่ได้หน้า คำสั่งคือค่า n ที่เราอยากรู้นั้นเองครับ โดยมากแล้วผมจะคุ้นเคยกับการใช้ keyBoard ปุ่มลูกศร ชี้ขึ้น เพื่อดูคำสั่งย้อน หลังที่ผ่านมา 20.5 คำสั้ง CAT ขอดูข้อมูลในไฟล์ phanupon@phanupon-laptop:~$ cat /etc/passwd root:x:0:0:root:/root:/bin/bash daemon:x:1:1:daemon:/usr/sbin:/bin/sh bin:x:2:2:bin:/bin:/bin/sh sys:x:3:3:sys:/dev:/bin/sh sync:x:4:65534:sync:/bin:/bin/sync

ตัวอย่างของการใช้คำสั้ง cat เพื่อขอดูไฟล์ชื่อ passwd ที่อยู่ในไดเร็กทรอรี่ /etc/ การใช้คำสั่งในกรณีนี้มีการแสดง ข้อมูลออกมายาวเกินที่จะอ่านข้อมูลทั้งหมดได้ทันนั่นคือปัญหาว่าเราจะอยากให้แสดงข้อมูลที่มาก ๆ เหล่านี้โดยแบ่ง ออกมาที่ละหน้าจนกว่าเราจะอ่านได้หมดเราจะใช้เครื่องหมาย piping เพื่อช่วยแก้ปัญหานี้ 20.6 การใช้เครื่องหมาย | หรือที่เรียกว่า Piping commands

การใช้เครื่องหมาย | อ่านเป็นไทยว่า ไป๊อิ่ง การใช้เครื่องหมาย นี้บอกว่าให้เอา output ของคำสั่งที่ทำไปเป็น input ของคำสั่งถึดไปกรณีนี้เราอาจจะมีการทำงานกับข้อมูลบางอย่างและข้อมูลเหล่านั้นมีมากไม่สามารถแสดงออกมาที่ หน้าจอได้ phanupon@phanupon-laptop:~$ cat /etc/passwd | more root:x:0:0:root:/root:/bin/bash daemon:x:1:1:daemon:/usr/sbin:/bin/sh bin:x:2:2:bin:/bin:/bin/sh sys:x:3:3:sys:/dev:/bin/sh sync:x:4:65534:sync:/bin:/bin/sync games:x:5:60:games:/usr/games:/bin/sh man:x:6:12:man:/var/cache/man:/bin/sh

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


94 lp:x:7:7:lp:/var/spool/lpd:/bin/sh mail:x:8:8:mail:/var/mail:/bin/sh news:x:9:9:news:/var/spool/news:/bin/sh uucp:x:10:10:uucp:/var/spool/uucp:/bin/sh proxy:x:13:13:proxy:/bin:/bin/sh www-data:x:33:33:www-data:/var/www:/bin/sh backup:x:34:34:backup:/var/backups:/bin/sh list:x:38:38:Mailing List Manager:/var/list:/bin/sh irc:x:39:39:ircd:/var/run/ircd:/bin/sh gnats:x:41:41:Gnats Bug-Reporting System (admin):/var/lib/gnats:/bin/sh nobody:x:65534:65534:nobody:/nonexistent:/bin/sh libuuid:x:100:101::/var/lib/libuuid:/bin/sh dhcp:x:101:102::/nonexistent:/bin/false syslog:x:102:103::/home/syslog:/bin/false klog:x:103:104::/home/klog:/bin/false hplip:x:104:7:HPLIP system user,,,:/var/run/hplip:/bin/false --More--

จากตัวอย่างจะเห็นว่าการ ใช้คำสั่ง cat ข้อมูลไฟล์ passwd นั้นถูกส่ง output มให้คำสั่ง more เพื่อเบรกข้อมูลไว้ที่ 1 หน้าจอ

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


95

บทที่ 21 ชุดคำสั่งเพื่อจัดการไฟล์ ผ่านมาแล้วตามคำเรียกร้องสำหรับการแนะนำชุดคำสั่งของ linux ตอนที่สามนี้ผมจะแนะนำคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการ จัดการไฟล์ต่างๆ เช่น คัดลองไฟล์ ลบไฟล์ เคลื่อนย้ายไฟล์ ค้นหาไฟล์ การรวมไฟล์ การบีบอัดไฟล์และการแตกไฟล์ 21.1 cp คำสั่งคัดลอกไฟล์

เราจะใช้คำสั่ง CP ในการคัดลอกไฟล์หรือ copy ไฟล์ซึ่งบางครังเราจะใช้เพื่อการ copy ไฟล์ไปไว้ในไดเร็กทรอรี่รูป แบบจะเป้นดังนี้ครับ cp -option source-files dest-file ดูตัวอย่างครับมี option ที่ใช้อยู่เป็นประจำก็อย่างเช่น cp -prv * /home/backup -p จะ Copy ไฟล์ต้นฉบับที่ยังรักษา permission, group, owner รวมถึง time-stamps ที่แสดงวันเวลาของไฟล์ไว้ อย่างเดิม -r คือการ copy ไปโดยนำเอาไดเรกทรอรี่ภายใต้ไดเร็กทรอรี่นั้นไปด้วย -v จะแสดงผลของการ copy ไฟล์จากต้นทางไปหาปลายทางว่าขณะนี้ได้ทำการ Copy ไฟล์อะไรไปบ้าง -i จะเป็นการแสดงคำถามเพื่อยืนยันการเขียนทับ หากพบไฟล์ที่ซ้ำ rm คำสั่งลบไฟล์ rm ย่อมาจาก removes file ในที่นี้หมายถึงการลบไฟล์ที่ไม่จำเป็นออกไปเพื่อให้มีพื้นที่เพิ่มขึ้น เอาไว้เก็บข้อมูล สำคัญอื่นๆ 21.2 คำสั่งของ rm เป็นดังนี้

rm -i projects rm: remove ‘projects’? นี่คือ option ของคำสั่ง rm ครับ -f ลบไฟล์ทันที โดยไม่มีการแสดง เพื่อ ยืนยันการลบ (y หรือ n) -i จะเป็นการแสดงคำถาม เพื่อยืนยัน การลบ (y หรือ n) -r ถ้าชื่อที่กำหนดไว้เป็นไดเร็กทอรี่ ก็ให้ ลบทั้งไดเร็กทอรี่และไฟล์ต่างๆ ที่อยู่ภายในด้วย ตัวอย่างคำสั่ง rm ลบทีละ ไฟล์ ข้อแนะนำ เราควรใช้ “-i” ทุกครั้งในการทำงาน เพื่อป้องกันการลบไฟล์โดยไม่ได้ตั้งใจ ควรให้มี การยืนยันการลบจะดีที่สุดครับ

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


96 ตัวอย่างคำสั่ง rm ลบทีละหลายไฟล์ rm -i projects1 projects2 project3 21.3 mv คำสั่งย้ายไฟล์หรือเปลี่ยนชื่อไฟล์

การย้ายหรือเปลี่ยนชื่อไฟล์นั้นทำได้โดย คำสั่ง mv หรือ move โดยมีรูปแบบคำสั่งดังนี้ mv option file/directory newfile ซึ่งมี option ดังต่อไปนี้ครับ -f จะทำการบังคับ ให้เขียนทับไฟล์ที่มี อยู่เดิมแล้ว -i แสดงเพื่อยืนยันการเขียนทับไฟล์ ตัวอย่างคำสั่ง mv คำสั่งเปลี่ยนชื่อจาก projects เป็น projects1 mv projects projects1 คำสั่งย้าย projects1 ไปยังไดเร็กทอรี่ /tmp ซึ่งจะไม่มีเครื่องหมาย “/” ต่อท้ายก็ได้ ถ้าหาก ว่ามีไดเร็กทอรี่ /tmp อยู่แล้ว mv projects1 /tmp/ คำสั่งย้าย projects1 ไปยังไดเร็กทอรี่ /tmp และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น projects1.test mv projects1 /tmp/projects1.test 21.4 find คำสั่งเพื่อการค้นหา

คำสั่งนี้ นอกจากจะใช้เพื่อค้นหาไฟล์ ที่ต้องการแล้ว ยังสามารถค้นหาไฟล์ตามชื่อ นามสกุลของไฟล์ ค้นหาตาม ชื่อเจ้าของไฟล์ ตามวันเวลา ตามขนาดของไฟล์ เป็นต้น ซึ่งคำ- สั่ง find มีรูปแบบดังนี้ find start_dir condition action start_dir คือ ไดเร็กทอรี่เริ่มต้นที่จะให้ค้นหา condition คือ เงื่อนไขในการค้นหา สามารถกำ- หนดได้หลายเงื่อนไข พร้อมกันโดยแยกกันด้วยการ เว้นวรรค มีความหมายว่า “และ” “and” หาก ต้องการจะใช้เป็น “หรือ” “or” ก็ สามารถใส่ -o หน้าเงื่อนไขได้ ซึ่งเงื่อนไขต่างๆ มีดังนี้ -name filename ค้นหาตามชื่อไฟล์ -type filetype ค้นหาตามชนิดของไฟล์ ดังนี้ b คือ ไฟล์ที่อ่านเขียนทีละบล็อก c คือ ไฟล์ที่อ่านเขียนทีละอักขระ f คือ ไฟล์ธรรม ดาทั่วๆ ไป d คือ ไฟล์ที่เป็นไดเรกทอรี่ธรรมดา i คือ ไฟล์ที่เป็นลิงก์ -user name ค้นหาตามชื่อเจ้าของไฟล์ -group group_name ค้นหาไฟล์ที่มี group _owner เป็น group_name -size +-num ค้นหาตามขนาดไฟล์ที่โตกว่า หรือเล็กกว่า ( +num หรือ -num ) -atime +-num ค้นหาตาม ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


97 เวลาที่เข้ามาถึง ไฟล์นั้นครั้งหลังสุด -mtime +-num ค้นหาตามเวลาที่ออกจาก ไฟล์นั้นครั้งหลังสุด action คือ คำสั่งที่ให้กระทำกับไฟล์ที่หาเจอ -print แสดง path name ของไฟล์ที่หาเจอ -ls แสดง path name ของไฟล์ที่หาเจอพร้อม ขนาด เจ้าของ permission ของไฟล์นั้น -exec command {} \; กระทำกับไฟล์ที่เจอ ด้วยคำสั่ง command (ลบ เปลี่ยนชื่อ ย้ายไฟล์) และต้องมีเครื่องหมาย {} \; ต่อท้ายทุกครั้ง โดย {} คือแต่ละไฟล์ที่หาเจอ และจะไม่แสดง command ที่กระทำกับไฟล์ที่เจอออกมาทางหน้าจอ -ok command {} \; จะทำงานเหมือนกับ -exec command {} \; แต่จะแสดง command ที่กระทำกับไฟล์ออกมา ทางหน้าจอ ตัวอย่างคำสั่ง find คำสั่งค้นหาไฟล์ที่ชื่อ projects เริ่มจาก ไดเร็กทอรีราก / เมื่อเจอก็ให้แสดงชื่อไฟล์นั้นและ รายละเอียดต่างๆ ของไฟล์ด้วยคำสั่ง ls find / -name projects -ls คำสั่งค้นหาทุกไฟล์ที่มีนามสกุล “.odt” โดยเริ่มจากไดเรกทอรีปัจจุบัน find . -name ‘*.odt’ -print คำสั่งค้นหาตามชนิดของไฟล์ ที่เป็นได- เรกทอรีธรรมดา และมีเจ้าของเป็น root โดยเริ่ม จากไดเร็กทอรีราก / find / -type d -user root -print ค้นหาไฟล์ที่ suse เป็นเจ้าของ เมื่อเจอ ก็ลบทิ้ง แต่ต้องเป็น root เท่านั้นที่มีสิทธิ์ลบไฟล์ find / -user suse -exec rm { } \; ค้นหาไฟล์ที่เข้าถึงครั้งหลังสุด ภายใน 3 วันที่ผ่านมา -3 คือ ไม่ถึง 3 วันถ้าเลย 3 วัน ใส่ +3 find / -atime -3 -print ค้นหาไฟล์ที่มีนามสกุล .odt หรือ .ods find / -name “*.odt” -o -name “*.ods” -print

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


98

บทที่ 22 ชุดคำสั่งในการ บีบ อัดไฟล์ พบกันอีกครั้งสำหรับชุดคำสั่งในตอนที่สี่แล้วนะครับการทำงานกับคำสั่งต่างๆหรือ Command line ไม่ได้ เป็นเรื่องยากแต่หากการเริ่มต้นต้องระมัดระวังสักนิดหนึ่งไม่ควรเป็น Root นะครับควรอยู่ในสถานะของผู้ใช้งานถ้า อ่านโอเพนซอร์ทูเดย์ประจำก็อาจจะเห็นในบางคอลัมป์ไปแล้วว่าสถานะของ root คอมมาน พรอมม์(Command Promp)อยู่ในลักษณะของสัญลักณ์ # และถ้าเป็นผู้ใช้งานทั่วไปก็เป็น $ สำหรับตอนนี้ผมจะพูดถึงเรื่องของการบีบอัด ไฟล์ 22.1 gzip คำสั่งเพื่อการบีบอัดไฟล์

เราจะใช้ gzip เป็นตัวบีบอัดข้อมูลเมื่อเราทำการบีบอัดแล้วก็จะได้ไฟล์ใหม่เพิ่มมามีนามสกุล .gz วิธีใช้งานไม่ ยากครับใช้ gzip และตามด้วยชื่อไฟล์ขอบอกคุณผู้อ่านให้เข้าใจก่อนว่า gzip ใช้บีบอัดไฟล์เท่านั้นไม่ได้ทำกับไดเร็ก ทรอรี่ถ้าจะจัดการกับไดเร็กทรอรี่จะใช้คำสั่งอื่น gzip filename.doc เมื่อทำคำสั่ง gzip แล้วขนาดไฟล์ที่ได้ก็จะเล็กลงเมื่อทำคำสั่งนี้แล้วไฟล์ที่ทำการ gzip filename.doc จะหายไปจริงไม ได้หายไปไหนเพราะบีบอัดไปแล้วถ้าไม่ต้องการให้ไฟล์หายไปใส่ option -c ลงไปด้วย gzip -c filename.doc > filename.doc.gz gzip ใช้แตกไฟล์หรือใช้ gnuzip เราจะใช้คำสั่ง gzip เพื่อแตกไฟล์ได้เช่นกันโดยใช้option -d (หมายถึง decompress) gzip -d filename.doc.gz เมื่อเราใช้ option -d จะสังเกตุว่าไฟล์ .gz จะหายไปเหลือไฟล์เริ่มต้นก่อนทำการบีบอัดหากไม่ต้องการจะให้ไฟล์ที่บีบ อัดหายไปใด้ใส่ option -c เพิ่มเติมเข้าไปด้วย gzip -dc filename.doc.gz เราก็จะได้ไฟล์ก่อนการบีบอัดและไฟล์ที่บีบอีดไวก็ยังอยู่สังเกตุว่า gzip ใช้งานกับไฟล์ไฟล์เดียวเท่านั้นหากต้องการ มากกว่าหนึ่งจะได้ใช้การรวมไฟล์ทั้งหมดมาก่อนซึ่งจะพูดถึงต่อไปคือคำสั่ง tar 22.2 tar การรวบรวมไฟล์และบีบอัด

จะว่าไปแล้วคำสั่ง tar เป็นสำรองไฟล์เก็บไว้ก็ได้เพราะมีคุณสมบัติของการรวมไฟล์ต่างๆไว้ที่เดียวกันสะดวก ในการเก็บลงไดร์หรืออุปกรณ์อื่นๆและคำสั่ง tar ก็ยังใช้ในการแตกไฟล์ที่ทำการสำรองข้อมูลไว้ด้วยเราจะทำการ ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


99 สำรองไฟล์ที่อยู่ในไดเร็กทรอรี่ picture ให้เข้าไปในไดร็กทรอรี่รูปก่อนนะครับ tar cf picture.tar * คำสั่ง tar cf มีความหมายว่า C ใช้เพื่อบอกว่าจะทำการรวมไฟล์ และf เพื่อจะบอกว่าให้สร้างไฟล์ที่ชื่อว่า picture.tar ด้วยการใช้ * ต่อท้ายคือเอาทุกไฟล์ที่อยู่ในไดเร็กทรอรี่มาสร้างไฟล์ tar ที่ชื่อว่า picture.tar การรวมไฟล์Ffp ที่ไม่ต้องเข้าไปในไดเร็กทรอรี่เราจะสามารถกำหนดรูปแบบได้ตามตัวอย่างต่อไปนี้ Tar cvf picture.tar Picture/ รูปแบบคำสั่งแบบนี้จะทำให้เรารวมไฟล์โดยที่คอมมานด์พรอม์อยุ่ที่ไดเร็กทรอรี่อะไรก็ได้แค่กำหนดไดเร็กทรอรี่ที่ ต้องการให้ถูกต้องแค่นั้น การใช้ tar เพื่อแตกไฟล์ เมื่อเราทำการรวมไฟล์เพื่อทำการสำรอง(backup)ไว้ก็แล้วแต่ต่อมาเราจะทำการแตกขยายไฟล์ออกมาเราจะ ใช้ option x และ option f เพื่อกำหนดชื่อไฟล์ที่ต้องการจะแตกออกมาเพื่อจะให้มองเห็นการทำงานเรามักจะเพิม option v เข้าไปอีก tar xvf picture.tar 22.3 การใช้งาน tar ร่วมกับ gzip

การใช้งาน tar ร่วมกับ gzip จะทำให้ไฟล์ที่รวมนั้นมีขนาดเล็กลงเพราะ gzip จะทำการบีบอัดข้อมูลให้ด้วย โดยทั่วไปแล้วจะเป็นที่นิยมใช้สองคำสั่งนี้ด้วยกันและเรามักจะไม่ค่อยพบไฟล์ที่มีนามสกุล tra เพียงอย่างเดียวนะครับ เรามักจะเห็น tar.gz ถ้าอ่านมาถึงตอนนี้เราจะเห็นว่าไฟล์ที่เราเห็นกันทั้วไปว่า pivture.tar.gz จะต้องใช้งานสองคำสั่ง ด้วยกันคือ tar cvf picture.tar * gzip picture.tar เพื่อลดขั้นตอนในการใช้สองคำสั่งเราจะใช้ tar cvzf picture.tar.gz picture/ เราต้องระบุไดเร็กทรอรี่ที่เรา จะทำการรวมไฟล์ไว้ด้วย tar cvzf picture.tar.gz picture/ และถ้าต้องการแตกไฟล์เราจะใช้ gzip หรือ tar ก็ได้ดูจากตัวอย่างนะครับ gzip -dc picture.tar.gz | tar xvf ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


100 จากตัวอย่างนี้เราจะต้องใช้ สัญลักษณ์ | เข้ามาด้วยเพื่อให้ gzip ทำงานร่วมกับ tar และอย่าลืมเว้นวรรเพิ่มเคื่รอง หมาย - ต่อท้ายไปด้วยนะครับอีกตัวอย่างสำหรับการแตกไฟล์ tar xvzf picture.tar.gz คำสั่งนี้จะเห็นว่าเป็นที่นิยมกันมากเพราะเบ็ดเสร็จในคำสั่งเดียวไม่ต้องกำหนด ไปป์ | ไปหาอีกคำสัง่ 22.4 bzip2 คำสั่งที่ใช้ในการ compressing และ decompressing ไฟล์

Bz2 ถือว่าเป็นการบีบอัดไฟล์ที่ใช้งานง่ายและบีบอัดที่ให้ประสิทธิภาพดีคือบีบข้อมูลได้เยอะวิธีการใชงานต้องบอก ก่อนครับบางคนอาจจะคิดว่าเป็นการรวมไฟล์การบีบอัดจะกระทำกับไฟล์นั้นๆ ลองดูตัวอย่างวิธีใช้ bzip2 -option filename ตัวอย่างการใช้งานแบบไม่มี option bzip2 install.log.syslog ตัวอย่างการใช้ option -v (verbose )เพื่อแสดงเปอร์เซ็นการบีบอัดและจะเปลียนไฟล์ เป็น .bz2 ดังนั้นไฟล์จะหาย ไปเหลือแต่ไฟล์ที่บีบอัดนามสกุล .bz2 bzip2 -v install.log.syslog install.log.syslog: 5.041:1, 1.587 bits/byte, 80.16% saved, 8192 in, 1625 out. จะได้ไฟล์ install.log.syslog.bz2 และไฟล์ install.log.syslog จะหายไปและถ้าไม่อยากให้ไฟล์ต้นฉบับหายไปเราจะ ใช้ออปชัน่ -k (keep)เข้าไปด้วยแต่ถ้าใช้ร่วมกับ-v ตามธรรมเนียมแล้วจะเหลือ – เดียวและตามด้วยออปชั่นอื่นๆ ได้ เลยไม่ต้องใส่ -v-k ซึ่งผิดเราจะใช้ -vk และตามด้วยชื่อไฟล์หลายๆไฟล์ก็ได้ bzip2 -vk file1 file2 file3 สำหรับการ Decompress หรือบางคนจะบอกว่าถอดรหัสการบีบอัดให้ได้ไฟล์จริงเราจะใช้ option -d ลองดูตัวอย่าง ถ้าเรากระทำแบบนี้จะทำให้ไฟล์ นามสกลุ bz2 หายไปได้ไฟล์ต้นฉบับกลับมาที่สำคัญคือ bzip2 จะไม่ยอมสร้างไฟล์ bz2 ถ้าหากว่าเคยมีไฟล์ ชื่อเดียวกันอยู่ก่อนแล้วแต่เป็นการดีที่เราจะได้สร้างชื่อไฟล์ให้แตกต่างจากเดิมเพื่อเป็นการ กำหนดเลขเวอร์ชั่นของไฟล์ไปด้วย bzip2 -d file.bz2 ตามที่ได้บอกไว้ตั้งแต่ต้นว่า bzip2 จะบีบอัดไฟล์เท่านั้นไม่ได้รวมเอาไฟล์หลายๆไฟล์มารวมกันแล้วบีบอัด เหมือนกับที่หลายๆคนคุ้นเคยกับ winzip บน Linux เราจะต้องทำการรวมไฟล์ด้วย คำสั่ง tar ก่อนเมื่อทำการ tar แล้วไฟล์ต่างๆจะรวมกันเป็นไฟล์นามสกุล tar จากนั้นเราจะใช้ bzip2 ในหารบีบอัดให้เล็กลงอีกครั้งลองดูตัวอย่าง tar -cf file7.tar file4 file5 file6

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


101 จากตัวอย่างนี้เราจะทำการ รวมไฟล์ สามไฟล์เข้ามาเป็น ไฟล์เดียวโดยใช้ ออปชั้น -c (Combine) เพื่อ เป็นการรวมไฟล์ และออปชั่น -f เพื่อกำหนดชื่อไฟล์ใหม่จากตัวอย่างจึงเป็นการรวมไฟล์ file4 file5 file6 เป็น file7.tar ไฟล์เดียวต่อไปเราจะใช้ bzip2 ในการบีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กลง bzip2 file7.tar ที่ได้แสดงตัวอย่างให้ดูนั้นเราใช้ถึงสองขั้นตอนซึ่งไม่ค่อยนิยมกันเนื่องจากมีทางเลือกให้เหลือขั้นตอนเดียวซึ่ง เราจะเพิ่ม -j ให้กบั คำสัง่ tar ซึ่งจะทำให้เราได้ไฟล์ที่รวมสามไฟล์นั้นและสร้าง bzip2 ให้ ดูตัวอย่าง tar -cjf file7.tar.bz2 file4 file5 file6 22.5 Touch สร้างไฟล์เปล่า

บางครั้งเราก็มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างไฟล์ขึ้นมารองรับเหตุการบางเหตุการโดยไฟล์นั้นจะไม่มีข้อมูลอะไร อาจจะสร้างใหม่เพื่อลองใช้คำสั่ง tar ที่ผ่านมาก็ได้หรือสร้างไฟล์เปล่าๆเพื่อจะใช้ editer เข้าไปแก้ไขข้อมูลใช้คำสั่ง และตามด้วยชื่อไฟล์ เช่น touch file1 touch file1 22.6 ln การสร้าง link ไฟล์

การสร้าง link ไฟล์ผ้ใู ช้งาน Linux มือใหม่อาจจะงงไม่รู้จักแต่ถ้าบอกว่า shout cut ที่เราชอบสร้างกัน บน Desktop ของ Windows ก็คือ Link ไฟล์นี่ละครับ การสร้าง link ไฟล์มีประโยชน์มากในการสร้างช่องทางเพื่อ อำนวยความสะดวกสบายหากต้องการไปไดเร็กทรอรี่ที่อยู่นอก ไดเร็กทรอรี่โฮมบ่อยๆเขามักจะสร้าง Link file เสมอ เช่น เราวางเว็บไซทไว้ที่ /var/www/html/ และต้องการที่จะให้ไดเร็กทรอรี่นี้ Link จาก ไดเร็กทรอรี่ home ของ สมาชิกที่คนนั้น ๆ ด้วยวิธีการสร้าง link ที่ชื่อว่า web เราจะใช้คำสั่ง ln -s /ไดเร็กทอรี่ปลายทาง/ ชื่อ link ลองดูตัวอย่างจากโจทย์ที่ได้กล่าวไว้ว่าจะใช้คำสั่ง อะไรเพื่อสร้าง Link ln -s /var/www/html web เมื่อเราใช้คำสั่ง ls ดูเราจะพบไฟล์ในลักษณะแบบตัวอย่างนี้ครับ lrwxrwxrwx 1 root root

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

21 2009-04-19 17:32 web -> /var/www/html/

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


102

บทที่ 23 คำสั่งเกี่ยวข้องกับ Disk ตอนนี้เราจะเรียนรู้คำสั่งที่เกี่ยวข้องกับสื่อเก็บข้อมูลเช่นการ Mount filesystem การตรวจสอบขนาดของ hard disk 23.1 df คำสั่งเพื่อตรวจสอบขนาดที่เหลือของ Hard disl

ลองใช้คำสั่ง df

การใช้เพื่อที่จะตรวจดูว่าตอนนี้แต่ละพาร์ติชั่นได้ใช้พื้นที่ไปเท่าไหร่และเหลืออยู่เท่าไหร่การแสดงผลเป็นไบท์อาจจะ เข้าใจยากเราลองใส่ -h เข้าไปซิครับ

ทดลองใช้คำสั่ง df -h ในอดีตการที่เราจะติดตั้งโปรแกรมจาก CD-ROM จะยากสักนิดเพราะจะต้องรู้คำสั่งเพื่อทำให้ อุปกรณ์เหล่านี้ มาเป็นส่วนหนึ่งของ พาร์ติชั่นของระบบเราเรียกคำสั่งนั้นว่า mount ก่อนจะ mount เราอาจจะต้องขอดูก่อนว่า อุปกรณ์ที่เราต่อพ่วงเข้ามาเช่น external Harddisk นั้นคืออุปกรณ์อะไรเราจะใช้คำสั่งต่อไปนี้

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


103 23.2 mount -l เพื่อขอดู device ของอุปกรณ์

เมื่อเรารู้ว่าสิ่งที่เราจะ mount นั้นคืออุปกรณ์อะไรเช่น Harddisk ที่เป็นแบบ IDE 1 แต่เป็นพาร์ติชั่นที่ 2 เรามักจะได้ ว่า /dev/hda2 เราจะใช้คำสั่ง mount /dev/hda2 /media/hda2 คำสั่งนี้หมายถึงเราต้องการ mount hardisk ลูกนี้ไปที่ ไดเร็กทรอรี่ /media/hda2 mount /dev/cdrom /mnt/cdrom คำสั่งนี้หมายถึงเราจะทำการ mount cdrom ไปที่ directory /mnt/cdrom mount -o loop files.iso /mnt/cdrom คำสั่งนี้ใช้เพื่อ mount ไฟล์นามสกุล iso ปกติไฟล์นี้เราจะใช้ burn CD แต่บางครั้งเราก็ไม่ต้องการจะเขี่ยนไฟล์ iso เป็นแผ่น CD และถ้าต้องการจะ mount ไฟล์จากการแชร์ของ Windows จะทำอย่างไรลองดูวิธีการครับว่าจะ mount อย่างไร mount -t smbfs -o username=user,password=pass //WinClient/share /mnt/share จากตัวอย่างก็อย่าลืมแก้ไขให้ตรงกับข้อมูลจริงนะครับ ปกติแล้วเมื่อเรา mount เข้าไปแล้วจะต้องมีการเอาออกเราจะเรียกวิธีนี้ว่า unmount umount /dev/hda2 หรือ ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


104 23.3 du คำสั่งเพื่อขอดูขนาดของพื้นที่Disk ที่ถูกใช้งานไปแล้ว

หากเราต้องการอยากจะทราบว่าไดเร็กทรอรี่มีไฟล์อยู่ทั้งหมดเท่าใดเราจะใช้คำสั่งสั้นๆว่า du แต่เท่านั้นไม่พอ ต้องมีองค์ประกอบด้วยดังนี้ครับ du -sh /etc/ คำสั่งนี้หมายถึงจะสอบถามว่า ไดเร็กทรอรี่ etc มีขนาดเท่าใด du -sk * | sort -rn คำสั่งนี้หมายถึงการขอแสดงไฟล์ในไดเร็กทรอรี่ปัจจุบันทั้งหมด และเรียงขนาดไฟล์จากใหญ่ไปเล็ก

มีอีกคำสั้งครับที่ทำหน้าที่แสดงรายละเอียดของไฟล์ในไดเร็กทรอรี่เช่นกันก็คือ ls แต่คราวนี้มาแนวใหม่คือจะแสดง ไฟล์และไดเร็กทรอรี่ให้เรียงโดยขนาด ls -lSr | more

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


105

สำหรับตอนนี้เราก็ได้เรียนรู้วิธีการที่จะจัดการกับไฟล์และไดเร็กทรอรี่ว่าจะตรวจสอบอย่างไรขนาดไดเร็กทรอรี่เป็นเท่า ไหร่และการ mount มีเดียต่าง ๆ เข้ามา

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


106

บทที่ 24 คำสั่งเกี่ยวข้องกับ network ปัจจุบันเรามักจะทำงานกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตดังนั้นฉบับนี้ผมจะแนะนำคำสั่งต่างๆ ที่ใช้ในเครือข่าย 24.1 w คำสั่งเพื่อดุว่าใคร online ใน Server เดียวกับเราบ้าง

คำสั่งนี้ในอดีตเขาจะใช้เพื่อดูว่ามีผู้ใช้งานคนไหนออนไลน์อยู่บ้างนะครับแต่ปัจจุบันเราแทบไม่ค่อยได้ใช้server เพื่อ การพูดคุยหรือ chat กันแล้ว 24.2 last คำสั่งตรวจสอบว่าล่าสุดมีใครเข้ามาใช้เครื่องเราหรือไม่

คำสั่งนี้มีประโยชน์มากกับผู้ดูแลระบบเพราะราจะตรวจสอบได้อีกทางหนึ่งได้ว่ามีใคร login เข้ามาในเครื่องเราบ้างเข้า มาทำอะไรใช้บริการส่วนไหนหรือมีการ reboot เกิดขึ้นของ Server เพราะบางครั้งช่องทางนี้อาจจะทำให้เราสามารถ ป้องกันสิ่งผิดปกติที่อาจจะเกิดขึ้นมาได้จากผู้ไม่หวังดี ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


107 24.3 ping คำสั่งเพื่อตรวจสอบว่าเครื่องปลายทางตอบสนองกลับมาหรือไม่

โดยมากแล้วคำสั่งนี้เราจะใช้เพื่อการตรวจสอบว่าเครื่องปลายทางเปิดอยู่หรือไม่หรือว่าปิดเครื่องไปแล้วโดยเราจะใช้ คำสั่ง ping แล้วตามด้วยหมายเลข ip ของเครื่องปลายทางในอีกมุมมองก็คือถ้าหากมีการปิดไม่ให้ตอบสนองกับคำ สั่ง ping ก็อาจจะใช้คำสั่งนี้ไม่ได้แต่เราอาจจะเปิดเป็นบางไอพีก็สามารถทำได้ เราอาจจะใช้คำสั่งนี้ ping ไปหา gate way เพื่อตรวจสอบ Router ว่าทำงานอยู่หรือไม่หรือเลวรายสุดคือ สาย Network ของเรามีปัญหาไม่สามารถติดต่อ เครื่องข่างๆได้หรือบางคนใช้คำสั่งนี้ ping เข้าหาตัวเองเช่น ping 127.0.0.1 เพื่อตรวจสอบ Network Card ว่าใช้งาน ได้อยู่หรือไม่ จากรูปตัวเลขที่เห็นนั้นเป็นเวลาที่ตอบกลับมาว่าใช้เวลาเท่าใดสำหรับการยกเลิกคำสั่งนี้ ใช้กด Ctrl + c เพื่อหลุดออกมาจากการตรวจสอบเราสามารถใช้คำสั่ง ping แล้วตามด้วยชื่อเครื่อง server ก็ได้เช่นกันเช่น ping www.yahoo.com

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


108 24.4 nslookup คำสั่งเพื่อตรวจสอบว่า DNS

บริการ Name Server ที่เราใช้บริการอยู่นั้นรู้จักชื่อเว็บไซท์เราหรือไม่คำถามนี้อาจจะไม่ค่อยเกิดกับผู้ใช้งานทั่วไปแต่ ถ้าเรารู้ว่าทำไมบางครั้งเราเข้าเว็บบางเว็บไม่ได้เราจะเข้าใจได้ทันทีว่า Name Server มันยังไม่ update กันหรือให้ ลองใช้คำสั่ง nslookup แล้วตามด้วยชื่อเว็บไซต์ดูครับว่า DNS ที่เราใช้บริการอินเตอร์เน็ตอยู่นั้นทันสมัยกว่าของชาว บ้านหรือไม่ของบอกว่า ISP บางแห่ง DNS ของเขา Update ช้ามากทำให้บางครั้งเราเข้าเว็บไมได้วิธีใช้ลองดูจาก ตัวอย่าง

จากรูปนี้เราจะเห็นว่า DNS ที่เราใช้บริการอยู่นั้นสามารถระบุชื่อเว็บและ IP Address ของ Google.co.th ได้คณ ุ ลอง ใช้คำสั่งนี้กับเว็บที่ท่านเข้าไมได้บางครั้งอาจจะเกิดจาก DNS ของ ISP ของท่านนี่เอง 24.5 dig คำสั่งขอดูข้อมูลเกี่ยวกับ DNS

เมื่อเรารู้แล้วว่าโดเมนที่เราอยากทราบว่า DNS ของผู้ให้บริการของเราต่อมาเราอยากทราบรายละเอียดข้อมูลของ โดเมนนี้มากขึ้นให้ลองใช้คำสั่ง dig www.google.com ดูซิครับว่าจะได้ข้อมูลอะไรมาบ้าง

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


109

เราจะเห็นว่า Google ไม่ได้ใช้ Server เครื่องเดียวแน่นอนและมี Name Server สำรองไว้มากมาย 24.6 Whois คำสั่งเพื่อขอดูว่าโดเมนนี้ใครเป็นเจ้าของ

ปกติแล้วการสำรวจว่าชื่อโดเมนนี้เรามักจะใช้เพื่อตรวจสอบว่าชื่อโดเมนนี้มีใครจดทะเบียนไว้แล้วหรือยังเราจะใช้คำสั่ง Whois www.google.co.th เราจะเห็นข้อมูลบางอย่าง

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


110

บทที่ 25 การกำหนดสิทธิ์ให้ผู้ใช้งาน การกำหนดสิทธิ์ในไฟล์และไดเร็กทรอรี่เพราะเนื่องจากมีความสำคัญอย่างมากเพราะบางคนกำหนดสิทธ์โดยไม่เข้าใจ ว่าทำไปเพื่ออะไรและเหตุใดในระบบปฏฺบัติการ Linux และ Mac OSX จึงต้องมีการกำหนดสิทธิ์ในการเขียน อ่าน และ เอ็กซีคิว์สโปรแกรมที่เรามักจะเรียกว่า run โปรแกรมหรือบางทีกเรียกว่า run สคริป 25.1 chmod คำสั่งเพื่อ Chang access permissions

ก่อนจะทำความเข้าใจเรื่อง chmod ควรจะมารู้จักกันก่อนครับว่าไฟล์หรือไดเร็กทรอรี่นั้นมีการกำหนดสิทธิขั้นพื้นฐาน อย่างไรสิทธิขั้นพื้นฐานก็คือการ สิทธิการอ่านไฟล์ เพื่อให้สามารถเปิดไฟล์นั้น ๆ ออกมาอ่านได้ สิทธิการเขียนไฟล์กรณี มีการแก้ไขไฟล์ถ้ามีสิทธินี้เราจะสามารถ save ไฟล์ได้สิทธิต่อมาคือการ run ไฟล์หรือ execute filec และนอกจากนี้ แล้วก็ยังมีสิทธิในเรื่องของความเป็นเจ้าของและกลุ่มของไฟล์ก่อนใช้คำสั่งนี้ควรอาจจะต้องของ list ไฟล์ต่าง ๆ ออก มาดูก่อนว่าตอนนี้ไฟล์ที่เราจะทำการเปลี่ยนโหมดอยู่ในสถานะอะไรเช่น อ่าน เขียน และ execute ถ้าจำได้เราจะใช้ คำสั่ง ls

llustration 1: คำสั่ง ls เพื่อดูสถานะไฟล์

เมื่อเราเห็นสถานะของไฟล์และอ่าน Permistion ของไฟล์ได้เราจะเข้าใจและแก้ปัญหาในบางครั้งเช่น อ่านข้อความใน เอกสารได้แต่ไม่สามารถทำการบันทึกข้อมูลได้หรือเราอยากลบไฟล์แต่ไม่อนุญาตให้ทำการลบเป็นต้นต่อไปนี้ก็คือวิธี การเปลี่ยน Permissions สำหรับ Permissions ของไฟล์จะอธิบายดังต่อไปนี้ สิทธิ์ของการอ่านเขียนไฟล์แบ่งออกเป็น 3 ชุด rwx-rwx-rwx เช่น drwxr-xr-x phanupon phanupon 0 2009-11-21 07:32 music12 d หมายความว่าเป็นไดเร็กทรอรี่ rwx ชุดที่ 1 หมายถึงสิทธิ์ของเจ้าของไฟล์ r-x ชุดที่ 2 หมายถึงสิทธิ์ของกลุ่มเดียวกัน r-x ชุดที่ 3 หมายถึงสิทธิ์ของกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่กลุ่มเดียวกัน ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


111 หากจะกำหนดสิทธิ์ในแต่ละไฟล์หรือไดเร็กทรอรี่ ในคำสั่ง chmod จะต้องมีการกำหนดตัวเลขเพื่อทำการปรับเปลี่ยน โหมดสำหรับตัวเลขนี้ได้มากจากเลขฐานสองของแต่ละชุดเมื่อต้องการจะกำหนดให้มีการอ่านได้เราจะแทน r ด้วย 1 ถ้าไม่ต้องการจะกำหนดเป็น 0 และถ้าต้องการจะเขียนไฟล์(w) กำหนดเป็น 1 และถ้าจะให้โปรแกรม run ได ้ จะ กำหนด x เป็น 1 ตัวอย่าง การคิดเลขฐานสองเพื่อกำหนดสิทธิให้กับเลขแต่ละชุดวิธีจำง่าย ๆ คือ แต่ละหลักจะมีเลขประจำหลักดังนี้ 4+2+1 หลักไหนใช้งานก็เอามาบวกกัน rwx = ชุดแรกเจ้าของไฟล 111 แปลเป็นเลขฐาน 10 ได้ 7 (ได้มาจาก 4+2+1 = 7) r-x = ชุดสองกลุ่มเดียวกัน 101 แปลเป็นเลขฐาน 10 ได้ 5 (ได้มาจาก 4+0+1 = 5) r-- = ชุดที่สามกลุ่มอื่น 100 แปลเป็นเลขฐาน 10 ได้ 4(ได้มาจาก 4+0+0=4) โจทย์ถ้าต้องการกำหนดให้ตัวเรามีสิทธิทุกอย่างในไฟล์นี้ คนที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน อ่านและรันโปรแกรมได้ส่วนคนกลุ่ม อื่นอ่านได้อย่างเดียวจะกำหนด permissions ได้ดงั นี้ rwxr-xr-- ก็จะได้เลข 754 จะใช้คำสั่งดังนี้ phanupon@phanupon-labtop:~$chmod 754 music12 โจทย์ถ้าต้องการให้เจ้าของไฟล์คนที่อยู่กลุ่มเดียวกันและคนที่อยู่กลุ่มอื่นมีสิทธิ์เหมือนกันคือทำได้ทุกอย่างทั้งอ่านไฟล์ เขียนไฟล์และ execute ไฟล์ได้ จะกำหนด permissions ได้ดงั นี้ rwxrwxrwx ก็จะได้เลข 777 จะใช้คำสั่งดังนี้ phanupon@phanupon-labtop:~$chmod 777 music12 มีการกำหนดแบบง่าย ๆโดยไม่ต้องหาตัวเลขแต่เป็นการกำหนดให้กับทุกกลุ่มพร้อม ๆ กัน คือ phanupon@phanupon-labtop:~$chmod +x music12 ผลของคำสั่งก็จะทำให้ทุกคนสามารถ execute ไฟล์ music12 ได้ phanupon@phanupon-labtop:~$chomd +r musuc12 ผลของคำสั่งก็จะทำให้ทุกคนสามารถ read ไฟล์ music12 ได้ phanupon@phanupon-labtop:~$chom +w music12 ผลของคำสั่งก็จะทำให้ทุกคนสามารถ write ไฟล์ music12 ได้ และถ้าเราสามารถใช้เครื่องหมายบวก(+)เพิม permissions ของไฟล์ได้เราก็ใช้เครื่องหมายลบ(-) เอาออกได้เช่น เดียวกัน ถ้าเราจะทำให้เปลี่ยนไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในไดเร็กทรอรี่ตัวอย่างชื่อ mydriv เราจะใช้ -R เน้นว่า อาร์ตัวใหญ่ phanupon@phanupon-labtop:~$chmod 744 -R mydrive/ ผลของคำสั่งนี้ทำให้ทั้ง ไดเร็กทรอรี่ ชื่อ mydrive และไฟล์ทุกไฟล์ที่อยู่ในไดเร็กทรอรี่นี้มี permissions เหมือนกัน หมดตามที่ระบุ คำสั่งนี้ถ้าหากเป็น ubuntu ต้องใช้ sudo นำหน้าก่อนเพื่อใช้สิทธิของ su(Super user) ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


112

25.2 chown คำสั่งเพื่อเปลี่ยนเจ้าของไฟล์ Change file ownership

ในบางกรณีเมื่อทำการแตกไฟล์ในสิทธิ์ของ root แต่เป็นไฟล์ของ user ถ้าไม่ทำการเปลี่ยนสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของ ไฟล์จะตกเป็นของ root เพราะ root เป็นผู้กระทำการแตกไฟล์เราจะต้องทำการเปลี่ยนความเป็นเจ้าของด้วยการใช้ คำสั่ง chown phanupon@phanupon-labtop:~$chown user music12 จะใช้คำสั่ง chown ตามด้วยชื่อเจ้าของ user และตามด้วย ชื่อไฟล์หรือไดเร็กทรอรี่ phanupon@phanupon-labtop:~$chown user -R music/ เมื่อต้องการให้ทุกไฟล์ที่อยู่ในไดเร็กทรอรี่ music เป็นของ user ให้ใช้คำสั่งนี้แล้วเพิ่ม -R นอกจากนี้แล้วเรายังสามารถเปลี่ยนเจ้าของไฟล์และเจ้าของกลุ่มไปพร้อมๆกันจะใช้คำสั่งดังนี้ phanupon@phanupon-labtop:~$chown user:user music/ 25.3 chgrp คำสั่งเพื่อเปลี่ยนกลุ่มของไฟล์ Change group ownership

เมื่อต้องการอยากจะเปลี่ยนเจ้าของ Group ให้กับไฟล์หรือไดเร็กทรอรี่จะใช้คำสั่ง Change group กับไฟล์หรือไดเร็ก ทรอรี่ที่ต้องการ phanupon@phanupon-labtop:~$chgrp user music/ หมายความว่าต้องการเปลี่ยนเจ้าของกลุ่ม user ให้กบั ไดเร็กทรอรี่ music และเช่นเดียวกันเราจะใช้ -R เพื่อเปลี่ยน ไฟล์ทุกไฟล์ที่อยู่ในไดเร็กทรอรี่ music

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


113

บทที่ 26 คำสั่งเพื่อดูข้อมูลเสปคเครือง เราเคยใช้คำสั่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการขอดูไฟล์มาแล้วคือ cat และ more แต่เรายังไม่เคยรู้ว่าความสามารถของคำ สั่ง cat ไมได้มีเพียงแต่การขอดูไฟล์ได้เท่านั้นแต่ cat ยังสามารถใช้เป็นการขอดูไฟล์ข้อมูลพิเศษที่อยู่ในไดเร็กทรอรี่ /proc เนื่องจากในนี้จะเป็นไฟล์ชนิดพิเศษที่บอกข้อมูลเครื่องเช่นจำนวนหน่วยความจำ สเปคของ หน่วยความจำ มาดู ตัวอย่างวิธีใช้กันครับ phanupon@phanupon-laptop:~$ cat /proc/meminfo ข้อมูลที่แสดงออกมาเป็นดังนี้ MemTotal: 1033512 kB MemFree:

98556 kB

Buffers:

21424 kB

Cached:

403592 kB

SwapCached:

1704 kB

Active:

582516 kB

Inactive:

232580 kB

HighTotal:

130940 kB

HighFree:

1520 kB

LowTotal:

902572 kB

LowFree:

97036 kB

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


114

SwapTotal:

3148700 kB

SwapFree:

3146996 kB

Dirty:

104 kB

Writeback:

0 kB

AnonPages:

388392 kB

Mapped:

149188 kB

Slab:

34260 kB

SReclaimable: 18732 kB SUnreclaim:

15528 kB

PageTables:

3736 kB

NFS_Unstable: Bounce: WritebackTmp:

0 kB 0 kB 0 kB

CommitLimit: 3665456 kB Committed_AS: 889168 kB ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


115

VmallocTotal: 110584 kB VmallocUsed:

20716 kB

VmallocChunk: 89716 kB HugePages_Total:

0

HugePages_Free:

0

HugePages_Rsvd:

0

HugePages_Surp:

0

Hugepagesize:

4096 kB

DirectMap4k: 602112 kB DirectMap4M: 315392 kB ในไดเร็กทรอรี่ /proc ยังมีข้อมูลของ CPU อีกด้วย phanupon@phanupon-laptop:~$ cat /proc/cpuinfo processor

:0

vendor_id

: GenuineIntel

cpu family

:6

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


116

model

: 13

model name : Intel(R) Pentium(R) M processor 1.73GHz stepping

:8

cpu MHz

: 798.000

cache size

: 2048 KB

fdiv_bug

: no

hlt_bug

: no

f00f_bug

: no

coma_bug

: no

fpu

: yes

fpu_exception : yes cpuid level

:2

wp

: yes

flags : fpu vme de pse tsc msr pae mce cx8 apic sep mtrr pge mca cmov pat clflush dts acpi mmx fxsr sse sse2 ss tm pbe nx up bts est tm2

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


117 bogomips

: 1595.99

clflush size

: 64

power management:

เรายังคำสั่งอื่นๆเพื่อขอดูไฟล์ได้อีก 26.1 tail คำสั่งขอดูข้อมูลท้ายไฟล์เอกสาร

คำสั่งนี้มีประโยชน์มากสำหรับการขอดู logs ไฟล์ เพราะว่า logs ไฟล์จะเขียนไฟล์ต่อท้ายไปเรื่อย ๆ มาดูวิธี ใช้งานกัน ตัวอย่าง tail -n20 /var/log/secure tail -n20 /var/log/secure หมายความว่าจะขอดูlog ไฟล์ของ ssh ทีบันทึกการใช้งานขอ-n20 หมายถึงของดู 20 บรรทัดสุดท้ายซึ่งนั่น หมายความ 20 บันทัดที่เป็นปัจจุบันเนื่องจาก log จะเขียนต่อไฟล์ไปที่ท้ายเอกสารไปเรือยๆครับ และถ้าเราต้องการจะดูแบบ Real Time ต้องใช้ -f ตามตัวอย่าง tail -f /var/log/secure โดยมากวิธีการนี้ถ้าเป็นการขอดู log เพื่อจับตาดูเหตุการบุกรุกผ่าน ssh ของระบบเราจะใช้คำสั่งนี้ยังมีไฟล์ log ที่น่า สนใจเช่น access_log ของ apache และ ไฟล์ error_log ของ apache ว่าตอนนี้ใครกำลังเข้าเว็บเราบ้างและตอนนี้ เว็บไซท์มีอะไรผิดพลาดบ้างเมื่อเราใช้ -f ถ้าต้องการจะออกจากการใช้งานให้กด Ctrl+C 26.2 Redirection ไปอยู่ในไฟล์

การ piping เป็นการส่งคำสั่งจาก คำสั่งที่หนึ่งไปหาคำสั่งที่สองซึ่งเราเคยได้ลองใช้งาน piping กันมาแล้วโดย ใช้งานร่วมกับ more หรือการแตกไฟล์จาก gzip ไปหา tar แต่ยังมีอีกเรื่องของ Direction ซึ่งก็คือ Redirection โดย ใช้สญ ั ลักษณ์ > เพื่อให้output ของคำสั่งไปยังแสดงผลอีกที่เช่น ไปออก printer หรือให้การแสดงผลไปออกที่ไฟล์ ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


118 ข้อความเช่น การใช้คำสั่ง ls -l ปกติแล้วจะแสดงผลออกที่หน้าจอ แต่ถ้าเราต้องการเก็บข้อมูลไว้เป็นไฟล์จะใช้คำสั่ง ls -l > file_name ls -l > file_name การทำคำสั่งนี้แทนที่จะ list ชื่อไฟล์ออกมาที่หน้าจอจะส่งผลให้ได้ไฟล์ text ขึ้นมาซึ่งเราจะไช้ได้กับทุกคำสั่งและ ถ้าเราต้องการให้ข้อมูลไปต่อที่ท้ายของไฟล์ชื่อเดิมโดยไม่ไปทับข้อมูลในไฟล์เราจะใช้ >> แทนลองดูคำสั่งตัวอย่าง cat /var/log/httpd/access_log >> file_name ถ้ากระทำคำสั่งนี้ตอนนี้จะทำให้ไฟล์ ที่ชื่อว่า file_name มีข้อมูลของ access_log เพิ่มเข้าไปที่ท้ายไฟล์ 26.3 grep คำสั่งเพื่อเลือกข้อมูลที่ต้องการในไฟล์

ในบางครั้งเมื่อเราทำการแสดงข้อมูลแต่มีข้อทูลพรั่งพรูออกมามากมายและที่ใช้กันบ่อยๆน่าจะเป็นการเรียกดู Process ของระบบเช่น ps -aux ที่จะให้ข้อมูล Process การทำงานของระบบออกมาทั้งหมดที่ user ใช้งานแต่เรา ต้องการที่จะดูแค่ว่า httpd ทำงานที่ process ID อะไรดังนั้นเราจะใช้ grep ช่วยโดยจะใช้งานร่วมกับ piping | เพื่อ ให้ grep ตัดออกมาเฉพาะบันทัดที่มี httpd ทำงานมาดูตัวอย่างกันครับ phanupon@phanupon-laptop:~$ ps aux | grep httpd root 14821 0.1 1.4 28748 15424 ? -DPHP5

Ss 00:03 0:00 /opt/lampp/bin/httpd -k start -DSSL

nobody 14891 0.0 1.0 25940 10708 ? -DPHP5

S 00:03 0:00 /opt/lampp/bin/httpd -k start -DSSL

nobody 14896 0.0 1.1 28748 12244 ? -DPHP5

S 00:03 0:00 /opt/lampp/bin/httpd -k start -DSSL

nobody 14897 0.0 1.1 28748 12232 ? -DPHP5

S 00:03 0:00 /opt/lampp/bin/httpd -k start -DSSL

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


119 nobody 14898 0.0 1.1 28748 12232 ? -DPHP5

S 00:03 0:00 /opt/lampp/bin/httpd -k start -DSSL

nobody 14899 0.0 1.1 28748 12232 ? -DPHP5

S 00:03 0:00 /opt/lampp/bin/httpd -k start -DSSL

nobody 14900 0.0 1.1 28748 12232 ? -DPHP5

S 00:03 0:00 /opt/lampp/bin/httpd -k start -DSSL

phanupon 15020 0.0 0.0 3244 816 pts/1 S+ 00:06 0:00 grep httpd

26.4 TOP คำสั่งเพื่อขอดู top CPU processes

เมื่อเราต้องการจะให้แสดง process ของ CPU แบบชนิด Real Time เราจะใช้คำสั่ง top ซึ่งจะให้รายละเอียดแบบ ชนิดที่เรียกว่า Real Time จากรูปนี้เราจะได้ข้อมูลการทำงานของ CPU ว่าตอนนี้มPี rocess อะไรทำงานอยู่บ้างโดยปกติแล้วคำสั้ง top จะให้ ข้อมูลออกมา 1 CPU แต่ในรูปนี้มองเห็น 2 CPU เพราะเรากด key เลข 1 หลังจากใช้คำสั่ง top ไปแล้วถ้า Server ของผู้อ่านมีกี่ cpu เราสามารถดูได้จากคำสั่งนี้ นอกจากเราจะได้เห็นว่า CPU แต่ละตัวนั้นมีงานกีงานที่กำลัง running และ sleep อยู่กี่ process และที่สำคัญ จำนวน zombie ที่ดูดเลือด CPU ถ้าเจอเราจะทำการ Kill หมายเลข PID ของ Process นั้นทิ้งไป เช่น 26.5 kill Processes

Kill 19623 ในที่นี้เราได้หมายเลขนี้มาจาก top เราก็ทำการ ฆ่า process ที่เราไม่ต้องการทิ้งได้การได้หมายเลข id ของ Process โดยมากจะได้มาจากคำสั่ง ps aux | grep httpd ในที่นี้เราจะได้หมายเลขของ httpd ออกมาด้วยหากเราไม่ต้องการ เราก็จะ kill ออกไป

ภาณุภณ พสุชัยสกุล

Zorin OS 9

phanupon@opensource2day.com


สารบัญคำ เขียน cd...................................................................................................................................................................... 58 ความปลอดภัย............................................................................................................................................................. 14 เครื่องพิมพ์..................................................................................................................................... 1, 5p., 63, 83p., 86 ตัดต่อวีดีโอ.................................................................................................................................................................. 57 ประหยัดพลังงาน........................................................................................................................................................... 7 รีโมทเดกส์ทอป....................................................................................................................................................... 5, 67 สมาชิก.................................................................................................................................................................... 5, 33 สลับแป้นภาษา............................................................................................................................................................ 15 แชร์ไฟล์........................................................................................................................................................ 5, 63p., 66 โปรแกรมสำนักงาน................................................................................................................................................. 6, 70 Application.............................................................................................................................................................. 1p. Background.............................................................................................................................................................. 5p. BIOS.............................................................................................................................................................................. 1 Brightness.................................................................................................................................................................... 8 Contron Panel............................................................................................................................................................ 5 Debian................................................................................................................................................................. 44, 67 Display......................................................................................................................................................................... 6 excel...........................................................................................................................................................................76 GIMP........................................................................................................................................................................... 55 Powerpoint............................................................................................................................................................... 77 pwd............................................................................................................................................................................ 87 Regional Format...................................................................................................................................................... 11 Task bar..................................................................................................................................................................... 18 Team viewer............................................................................................................................................................. 68 Team Viewer............................................................................................................................................................ 67 Twitter.................................................................................................................................................................... 12p. winrar...................................................................................................................................................................... 78p. winzip................................................................................................................................................................ 78, 100 Zorin............................................................................................................................................................................. 1


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.