แนวการตรวจสอบสินค้าคงเหลือแบบวิธีถั่วเฉลี่ย กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจากัด ศูนย์อะไหล่ยนต์แม่เจริญทรัพย์
โดย นางสาวพัชรพรรณ บุญแท้
5230110601
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตร บริหารธุรกิจบัณฑิต สาขา การบัญชีบริหาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา พ.ศ. 2555
แนวการตรวจสอบสินค้าคงเหลือแบบวิธีถั่วเฉลี่ย กรณีศึกษา ห้างหุ้นส่วนจากัด ศูนย์อะไหล่ยนต์แม่เจริญทรัพย์
โดย นางสาวพัชรพรรณ บุญแท้
5230110601
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต (การบัญชีบริหาร) คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา พ.ศ. 2555
วันที่ 30 กรกฎาคม 2555 เรื่อง ขอส่งรายงานการฝึกงาน เรียน อาจารย์ที่ปรึกษา สาขาการบัญชีบริหาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์พัชนิจ เนาวพันธ์ ตามที่ข้าพเจ้า นางสาว พัชรพรรณ บุญแท้ นิสิตสาขาการบัญชีบริหาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ได้เข้ารับการฝึกงาน ระหว่าง วันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2555 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2555 ในตําแหน่งผู้ช่วยผู้สอบบัญชี ณ บริษัท ที่ปรึกษาตรวจสอบบัญชีและภาษีอากร จํากัด จังหวัด ชลบุรี และได้รับมอบหมายให้ศึกษาและทํา รายงานเรื่อง “แนวการตรวจสอบสินค้าคงเหลือแบบถั่วเฉลี่ย” นั้น บัดนี้การฝึกงานได้สิ้นสุดลงแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอส่งรายงานดังกล่าวมาพร้อมกันนี้ จํานวน 1 เล่ม เพื่อขอรับคําปรึกษาต่อไป จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา ขอแสดงความนับถือ (นางสาวพัชรพรรณ บุญแท้)
บช. 1
รูปที่มีนิสิตถ่ายภาพกับสานักงานหรือพี่ๆ พนักงาน
ชื่อ ...นางสาวพัชรพรรณ........นามสกุล............บุญแท้.............ชื่อเล่น.....กวาง........... E-mail ……pkwang07@hotmail.com...... โทรศัพท์...............087-7532003................. สถานที่ประกอบการ.....บริษัท ที่ปรึกษาตรวจสอบบัญชีและภาษีอากร จํากัด.............. ตาแหน่งงาน 1...........ผู้ช่วยผู้ตรวจสอบบัญชี.................................................................................... . 2.............................................................................................. ...................................... . ข้อคิดหรือข้อแนะนาสาหรับน้องๆ ....ถ้าน้อง ๆ อยากได้ประสบการณ์การทํางานจริง ต้องมาทํางานที่ บจก. ที่ปรึกษาตรวจสอบบัญชีและภาษีอากร ตรง ประตูน้ํา เมือง ชลบุรี..พวกพี่เลี้ยงฝึกงาน ดูแลเด็กฝึกงานอย่างเป็นกันเอง อบอุ่น ใจดี และเอาใจใส่เป็นอย่างดี เมื่อไม่ เข้าใจที่เราตรวจสอบอยู่ เราสามารถไปถามพี่เค้าได้ อย่างไม่หวงความรู้และได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนที่ เรียนม. บูรพาแถมยังได้ค่าแรงจากการฝึกงาน(แต่น้อยไป)................. เหมาะสมให้น้องฝึกงานต่อ
ไม่เหมาะสมให้น้องฝึกงานต่อ
( 1)
กิตติกรรมประกาศ การฝึกงานของการศึกษาหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจบัณฑิต (การบัญชีบริหาร) คณะ วิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เกิดขึ้นเพื่อต้องการให้นิสิตสาขาการ บัญชีบริหารได้นาความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการฝึกงานมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวั น และเป็นการเตรียมความพร้อมในการประกอบวิชาชีพด้านการบัญชี จากการเข้ารับการฝึกงานทีบริ ่ ษัท ที่ปรึกษาตรวจสอบบัญชีและภาษีอากร จากัด ระหว่าง วันที่ 19 มีนาคม พ .ศ.2555 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2555 นั้นทาให้เห็นว่าในการปฏิบัติงานจริง จะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการเรียนในห้องเรียน ซึ่งในทฤษฎีการเรียนนั้นไม่ สามารถนาความรู้ไปใช้ในการทางานได้โดยตรง จะต้องนามาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับงาน และจะต้อง ปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง รอบคอบ เพื่อให้ได้งานที่ดี ตรงตามคาสั่งของผู้สอบบัญชีใน การ ฝึกงานจึงเป็นประโยชน์แก่ข้าพเจ้าทั้งในด้านการปฏิบัติงาน การมีมนุษย์สัมพันธ์กับผู้ร่วมงารวมถึง การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นระหว่างการทางาน แม้การฝึกงานจะเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ แต่ก็ ทาให้ได้เรียนรู้ถึงวิธีการปฏิบัติงานสอบบัญชี ความรู้แล ะประสบการณ์ต่างๆ ที่มีค่ามากมาย อย่างไรก็ตามรายงานการฝึกงานฉบับนี้จะไม่สามารถสาเร็จลุล่วงได้ หากไม่ได้รับความอนุเคราะห์ และการสนับสนุนจากหลายฝ่ายดังต่อไปนี้ ขอขอบพระคุณบริษัท ที่ปรึกษาตรวจสอบบัญชีและภาษีอากร จากัด ที่ให้ความอนุเคราะห์ ในการรับนิสิตฝึกงานครั้งนี้ รวมทั้งพี่ๆ ที่บริษัทฯทุกคนที่คอยดูแลอย่างอบอุ่น ให้ความรู้ในการ ทางาน และให้ความเป็นกันเองมาโดยตลอด ขอขอบพระคุณบิดามารดาที่คอยเป็นกาลังใจและให้ความช่วยเหลือในด้านต่างๆตลอด มาตลอดจนคาแนะนาที่ได้รับเพื่อนาไปแก้ไขในการปฏิบัติงานจริง รวมทั้งอาจารย์ประจาสาขา การบัญชีบริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับบัญชีในเรื่อง ต่างๆ ให้คาแนะนา และให้ความช่วยเหลือจนกระทั่งรายงานฉบับนี้สาเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี และยังมี ผู้ที่อยู่เบื้องหลังความสาเร็จของรายงานเล่มนี้อีกมากมาย ซึ่งข้าพเจ้าต้องขอขอบคุณมาไว้ ณ ที่นี้ด้วย พัชรพรรณ บุญแท้ 16 มิถุนายน 2555
( 2)
คานา รายงานฉบับนี้จัดทําขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจ บัณฑิต สาขาการบัญชีบริหาร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนที่นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน โดยจากการหาประสบการณ์ จากการฝึกปฏิบัติงานจริงในบริษัท ที่ปรึกษาตรวจสอบบัญชีและภาษีอากร จํากัด ระหว่างวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ.2555 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ซึ่งทําให้ทราบถึงแนวทางการทํางานที่ชัดเจน มากยิ่งขึ้น จากการฝึกปฏิบัติงานจริงในครั้งนี้ ผู้จัดทําได้รับมอบหมายหน้าที่ในการตรวจสอบ รายการต่างๆมากมาย และหนึ่งในนั้นรายการตรวจนับสินค้าคงเหลือ ทางผู้จัดทําเกิดความสนใจใน การตรวจสอบสินค้าคงเหลือทุกครั้งที่เข้าตรวจสอบบริษัทลูกค้า ผู้จัดทําจึงได้นําความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติงานครั้งนี้และศึกษาเพิ่มเติม ใน วิทยานิพนธ์ จัดทําเป็นรายงานแนวการตรวจสอบสินค้าคงเหลือ ซึ่งหวังว่ารายงานฉบับนี้จะเป็น ประโยชน์สําหรับผู้ที่มีความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นนิสิตนักศึกษา ตลอดจนผู้ที่มีความสนใจในด้านนี้ หากเกิดข้อผิดพลาดและข้อบกพร่องประการใด ผู้จัดทําต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และพร้อมยินดีรับ ฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อนํามาปรับปรุงแก้ไขในการทํางานครั้งต่อไป
พัชรพรรณ บุญแท้ ผู้จัดทํา
( 3)
สารบัญ หน้า กิตติกรรมประกาศ คํานํา สารบัญ
(1) (2) (3)
บทที่ 1 บทนา ความสําคัญของการฝึกงาน วัตถุประสงค์ของการศึกษา ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1 1 2
บทที่ 2 การฝึกงาน ณ บริษัท ที่ปรึกษาตรวจสอบบัญชีและภาษีอากร จากัด สถานที่ตั้ง ประวัตขิ องบริษัท ที่ปรึกษาตรวจสอบบัญชีและภาษีอากร จํากัด ผังการจัดองค์การและการบริหารจัดการ ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ กลุ่มลูกค้าของบริษัท ฯ งานที่ได้รับมอบหมาย ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกงาน ข้อเสนอแนะ ประเด็นสําคัญจากการฝึกงานนําสู่รายงานการศึกษา บทที่ 3 การตรวจสอบบัญชีสินค้าคงเหลือ วัตถุประสงค์ของการศึกษา สินค้าคงเหลือ ความหมายของสินค้าคงเหลือ ประมวลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษี ข้อค้นพบจากการปฏิบัติการงานจริงเกี่ยวกับวิธีการปฏิบัติ วิธีการตรวจสอบสินค้าคงเหลือ วิธีการปฏิบัติของผู้ที่ทําการตรวจสอบ
3 3 4 5 5 6 7-8 9 9
10 10-11
12-29
( 4)
สารบัญ(ต่อ) หน้า ผลที่ได้รับจากการปฏิบัติจริง บทที่ 4 บทสรุป ปัญหาและข้อเสนอแนะ สรุปผลการฝึกงาน ข้อเสนอแนะจากการฝึกงาน บรรณานุกรม ภาคผนวก ก
30 31
1
บทที่ 1 บทนา ความสาคัญของการฝึกงาน การฝึกงานตรวจสอบบัญชีและการทําบัญชีที่ดีมีคุณภาพนั้น จะต้องตระหนักถึงภาระ รับผิดชอบต่อตนเอง คณะฯ มหาวิทยาลัย หน่วยงานและวิชาชีพบัญชีบริหาร ตลอดจน เพิ่มทักษะ ความรู้ที่จําเป็นก่อนการทํางานจริง เมื่อสําเร็จการศึกษ า ซึ่งจะ ศึกษาหาความรู้ในภาคทฤษฏีของชั้น เรียนแต่เพียงอย่างเดียวคงจะไม่เพียงพอ จําเป็นต้องมีการฝึ กปฏิบัตงิ านตรวจสอบบัญชีให้มากที่สุด จนสามารถปฏิบัติงานตรวจสอบในหน้าที่ได้อย่างดี มีความมั่นใจ และเชื่อมั่นในการทํางาน ก าร ฝึกงานเป็นกระบวนการปฏิบัติงานที่สําคัญเปรียบเสมือนเส้นทางที่นําไปสู่การผลิตนักบัญชีและ ผู้สอบบัญชีที่ดีมีคุณภาพ เป็นประสบการณ์ที่จําเป็นและสําคัญยิ่ง เพราะเป็นช่วงสําคัญที่นิสิตจะได้ นําทฤษฏีที่ได้จากการเรียนรู้ในชั้นเรียนในวิชาบัญชีบริหารต่างๆ ไปประยุกต์สู่การปฏิบัตจิ ริงและ ได้เรียนรู้ข้อบกพร่องที่ขาดหายของนิสิตเอง ซึ่งสามารถนํามาแก้ไขได้ทันก่อนไปใช้ชีวิตทํางานจริง ตลอดจนได้ ฝึกระเบียบ วินัย ความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่และสามารถปฏิบัติงานตามที่ได้รับ มอบหมายให้สําเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งเป็นโอกาสสําคัญที่นิสิตได้รับคําแนะนําของผู้มี ประสบการณ์และได้ฝึกการทํางานร่วมกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องในสถานที่ทํางานของตนเองหรือฝึก ปฏิบัตินอกสถานที่ ในช่วงของการฝึกงานนี้ วัตถุประสงค์หลักของการฝึกงาน 1. เพื่อฝึกฝนการนําเสนองานตรวจสอบบัญชีต่อสาธารณะชนในอีกรูปแบบหนึ่ง 2. เพื่อเผยแพร่ความรู้ และประสบการณ์ให้แก่บุคคลอื่น 3. ฝึกให้มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ในการนําเสนอให้มี นัยสาระสําคัญและถูกต้อง ครบถ้วน 4. เป็นแนวทางในการเลือก หรือ หาสถานที่ฝึกงานให้แก่รุ่นน้อง 5. เพื่อประโยชน์ในการหางานตรวจสอบบัญชี และมุมมองรูปแบบของงานตรวจสอบบัญชีให้แก่ บุคคลอื่น
2
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการฝึกงาน 1. รู้จักปรับตัวในการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นมากขึ้น 2. ทราบถึงกระบวนการทํางานของหน่วยงานที่ทํา 3. ได้เข้าไปปฏิบัติงานในขั้นตอนการตรวจสอบบัญชีจริง 4. รู้จักวิธีการตรวจสอบบัญชี นอกเหนือจากการเรียนรู้ในห้องเรียน เช่น การตรวจสอบเงินสดและ เงินฝาก, การตรวจสอบบัญชีทรัพย์สิน และการตรวจสอบลูกหนี้ - เจ้าเหนี้ เป็นต้น 5. มีความรับผิดชอบกับงานที่ได้รับมอบหมาย 6. มีความตรงต่อเวลาในเข้าทํางาน 7. มีความรู้ในการที่จะควบคุมการบันทึกบัญชีให้ถูกต้องตาม GAP และ TAS 8. สามารถนําความรู้ที่ได้รับไปเป็นวิทยาทานให้กับรุ่นน้องในปีถัดไป 9. ได้รับความรู้และประสบการณ์ในการทํางานจากรุ่นพี่ที่ฝึกงาน โดยรุ่นพี่ไม่ห่วงวิชา 10. สามารถนําประสบการณ์นี้ไปใช้ได้กับทุกสถานที่ทํางาน และ เพื่อเป็นแบบอย่างในการทํางาน ที่ดีอีกด้วย
3
บทที่ 2 การฝึกงาน ณ บริษัท ที่ปรึกษาตรวจสอบบัญชีและภาษีอากร จากัด สถานที่ตั้ง สถานที่ : บริษัท ที่ปรึกษาตรวจสอบบัญชีและภาษีอากร จํากัด ปีที่ก่อตั้ง : พ.ศ. 2548 สถานที่ตั้ง : 45/677 ซ.รามคําแหง58/3 ถนนรามคําแหง แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ 10240 เบอร์โทรศัพท์ : 086-4451665 เบอร์โทรสาร : 038-146691 อีเมล์ : aandt2544@hotmail.com ประวัติ บริษัท ที่ปรึกษาตรวจสอบบัญชีและภาษีอากร จากัด
ทางบริษัท ได้รับอนุญาตจากสภาวิชาชีพบัญชีให้เปิดบริการในด้านการรับตรวจสอบ งบ การเงินต่างๆ วางระบบบัญชี และ ที่ปรึกษาด้านภาษีอากร โดยทางบริษัทจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ประเภท “บริษัทจํากัด ” เลขที่ทะเบียนนิติบุคคล 0105548005145 จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 ซึ่งมีผู้สอบบัญชีที่ได้รับอนุญาตจากการขึ้นทะเบียนแล้ว 1 คน ดังต่อไปนี้ คุณ พรชาตรี อรุณโชคถาวร ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเลขที่ 5770 : ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตจาก สภาวิชาชีพบัญชี จบการศึกษาระดับปริญญาโททางด้านการบัญชี จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี ประสบการณ์การทํางานด้านการตรวจสอบมาแล้วไม่ต่ํากว่า 1 0 ปี และเคยเป็นอาจารย์ พิเศษ สอน วิชาตรวจสอบบัญชี และภาษีอากร ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ฉะเชิงเทราและมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่ง ก่อนหน้านีไ้ ด้เคยทํางานเป็นผู้ช่วยผู้ตรวจสอบให้กับบริษัท KPMG PEATMARWICK SUTEE หนึ่งในบริษัทตรวจสอบบัญชีแนวหน้าของประเทศ
4
ภายใต้การดูแลและควบคุมจากสภาวิชาชีพบัญชี ทางบริษัทได้มีการจัดทีมงานตรวจสอบ บัญชีที่มี ผู้ตรวจสอบบัญชีที่ผ่านประสบการณ์ในการทํางานมาเป็นระยะเวลาไม่ต่ํากว่า 10 ปี ซึ่ง ประกอบด้วยผังการจัดองค์การ ดังนี้ ผังการจัดองค์การและการบริหารจัดการ นายพรชาตรี อรุณโชคถาวร ( ตําแหน่ง ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต )
น.ส.ภัทรผล เกื้อหนุน
น.ส.จุฬาลักษณ์ ปิยภัณฑ์ น.ส.กณิศนันท์ มิทะลา น.ส.อิศราภรณ์ ลาภวุฒิรัตน์
( ตําแหน่ง
( ตําแหน่ง
( ตําแหน่ง
( ตําแหน่ง
ผู้ช่วยผู้สอบบัญชี )
ผู้ช่วยผู้สอบบัญชี )
ผู้ช่วยผู้สอบบัญชี )
ผู้ช่วยผู้สอบบัญชี )
ตัวอย่างภาพที่ 1 แผนผังองค์กร (Organization Chart) ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ออกรายงานการสอบบัญชี ให้คําแนะนําในเรื่องเอกสารที่ประกอบรายการลงบัญชีที่ถูกต้อง เสนอข้อสังเกตที่ได้จากการตรวจสอบ และข้อเสนอแนะในระบบการควบคุมภายใน (ถ้ามี)เช่น ระบบการรับ-จ่ายเงิน , ลูกหนี้การค้า , ต้นทุนขาย เพื่อให้บริษัทฯ รับทราบและมีการปรับปรุงแก้ไข ผู้ช่วยผู้สอบบัญชี ทําหน้าที่ตรวจสอบงบทดลองวงจรรายได้ วงจรค่าใช้จ่าย วงจรสินทรัพย์ วงจรหนี้สิน และ วงจรส่วนของผู้ถือหุ้น โดยตรวจจากเอกสารหลักฐานกับกระดาษทําการ และจัดทํางบการเงินสิ้นปี จากนั้นส่งงบการเงินให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบและแสดงความเห็น
5
ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ บริการหลักขององค์การ คือ ให้บริการตรวจสอบบัญชีแก่ ห้างหุ้นส่วนจํากัด, บริษัทจํากัด ภายในจังหวัด ชลบุรี, ระยอง, อุตรดิตถ์ และกรุงเทพฯ รวมแล้วมากกว่า 200 ราย
กลุ่มลูกค้าของบริษัท ตัวอย่างลูกค้าของบริษัท ลาดับ ลักษณะของธุรกิจ 1 2 3 4
กลุ่มสุรา กลุ่มบริษัทรถยนต์ กลุ่มธุรกิจโรงแรม กลุ่มบริษัทน้ํามัน
5 6 7 8
กลุ่มบริษัทผลิตอาหารสัตว์ กลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร กลุ่มผลิตน้ํามันปาล์ม กลุ่มผลิตเม็ดพลาสติก
9
กลุ่มอสังหาริมทรัพย์
ชื่อบริษัท บริษัท ชลรุ่งเรืองสโตร์ (บางแสน) จํากัด บริษัท โตโยต้า พัทยา (1998) จํากัด บริษัท โกลเด้น บีช โฮเต็ล จํากัด บริษัท จันทร์เพ็ญปิโตรเลี่ยม จํากัด บริษัท พัชรพลปิโตรเลี่ยม จํากัด บริษัท เลิศวรกมลปิโตรเลี่ยม จํากัด บริษัท ลินโก้ (ประเทศไทย) จํากัด บริษัท เฮสโก ฟู้ด อินดัสทรี่ จํากัด บริษัท สุขสมบรูณ์น้ํามันปาล์ม จํากัด บริษัท ไทยเอฟเวอร์ พลาสติก จํากัด บริษัท เอเวอร์ เวลธ์ พลาสติก (ประเทศไทย) จํากัด บริษัท อีสเทิร์นแลนด์ซิตี้ มาบไผ่ จํากัด บริษัท แพล้นคอนกรีตถาวร จํากัด บริษัท อีส แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จํากัด บริษัท ซี เค ดีเวลลอปเม้นท์ จํากัด บริษัท ทิวทองการโยธา จํากัด
6
ลาดับ 10 11 12 13 14
ลักษณะของธุรกิจ
ชื่อบริษัท บริษัท โตโย คราฟส์แมน (ประเทศไทย) จํากัด กลุ่มขายยางรถยนต์ บริษัท เลิศยาง จํากัด กลุ่มผลิตเครื่องจักร บริษัท นาคามูระ คากาคุ (ประเทศไทย) จํากัด กลุ่มผลิตเครื่องมือแพทย์ บริษัท ทูทา เฮลธ์แคร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จํากัด กลุ่มผลิตอุปกรณ์อิเลคโทรนิค บริษัท ไทยแฟรงค์บรัช จํากัด กลุ่มออกแบบตกแต่งภายใน บริษัท แกรนด์เวิร์ค อินทีเรีย จํากัด ตารางที่ 1 กลุ่มลูกค้าของบริษัท ที่ปรึกษาตรวจสอบบัญชีและภาษีอากร จํากัด
งานที่ได้รับมอบหมาย 1. การเตรียมข้อมูลก่อนการเข้าตรวจสอบ โดยการนําข้อมูลจากงบการเงินที่ลูกค้าส่งมายัง บริษัท บันทึกลงในเอกสารของทางบริษัท เพื่อเก็บข้อมูลที่ใช้ในการตรวจสอบ 2. ตรวจสอบบัญชีเงินฝากธนาคาร, ลูกหนี้การค้า, ลูกหนี้ที่เกี่ยวข้องกัน, เงินสํารอง ,เงินกู้ยืม ธนาคาร,เงินให้กู้ยืมระยะสั้นของบุคคลที่เกี่ยวข้อง,ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า ,สินค้าคงเหลือที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์, เจ้าหนี้การค้า, เจ้าหนี้ที่เกี่ยวข้องกัน, ค่าใช้จ่าย รายได้, เงินเดือนภพ. 30 , ภ.ง.ด. 50 ,ภ.ง.ด. 51,และภาษีเงินได้นิติบุคคล ตั้งแต่เปรียบเทียบกับบัญชีแยกประเภททั่วไป , เอกสารหลักฐานต่าง ๆ จนถึงการปรับปรุง เมื่อมีการบันทึกบัญชีผิดพลาด ซึ่งทําให้ทราบถึง กระบวนการตรวจสอบบัญชีเหล่านี้ว่ามีวิธีการปฏิบัติอย่างไร 3. สรุ ปผลการตรวจสอบ สรุปข่าวที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ตรวจสอบ เป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ กิจการว่ากิจการมีการเปลี่ยนแปลงภายในอย่างไรบ้าง และผลกระทบภายนอก ที่มีต่อกิจการ รวมถึงรายได้ของกิจการ 4. ตรวจความถูกต้องของงบการเงินที่ตรวจสอบแล้วเสร็จ โดยทําการทดสอบการบวกเลข และ พิสูจน์อักษรในงบการเงิน โดยการนํางบการเงินฉบับร่างซึ่งแก้ไขโดยผู้จัดการฝ่ายตรวจสอบ บัญชีมาเปรียบเทียบงบการเงินฉบับร่างหลังการแก้ไข หากมีจุดที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขจากฝ่าย จัดพิมพ์ให้ส่งกลับไปแก้ไขให้ถูกต้อง ซึ่งทําให้ทราบถึงความรอบคอบในการปฏิบัติงาน
7
ประโยชน์ที่ได้รับจากการฝึกงาน 1. เกิดความรับผิดชอบและความรอบคอบในการปฏิบัติงานตรวจสอบบัญชีของบริษัทที่ ตนเองตรวจสอบ อย่างดีเยี่ยม 2. ฝึกการปรับปรุงบัญชี เมื่อสํานักงานทําบัญชีบันทึกบัญชีผิดพลาด 3. ทําให้ทราบถึงกระบวนการตรวจสอบบัญชี อย่างถูกต้องและมีนัยสําคัญ 4. สามารนําประสบการณ์การตรวจสอบบัญชีไปประยุกต์ใช้กับการเรียนบัญชีได้จริง 5. สามารถสรุปผลการตรวจสอบตามกระบวนการตรวจสอบบัญชีได้จริง อย่างถูกต้อง ครบถ้วนและมีนัยสําคัญ 6. ฝึกการสังเกตการณ์และการเกิดไหวพริบในการตรวจสอบบัญชี เมื่อลูกค้าได้ส่งข้อมูลจาก งบ การเงินและปิดบัญชีมาให้
ลําดับ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 11 12 13 14 15
กระดาษทําการ งบทดลอง กระดาษทําการปรับปรุง กระดาษทําการจัดประเภทรายการบัญชี งบดุล งบกําไรขาดทุน เงินสดและรายเทียบเท่าเงินสด เงินลงทุนชั่วคราว/ตั๋วสัญญาใช้เงิน ลูกหนี้การค้า เงินให้กู้ยืมระยะสั้นแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน สินค้าคงเหลือ สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น เงินให้กู้ยืมระยะยาวแก่บุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินลงทุนระยะยาว เงินให้กู้ยืมระยะยาวอื่น ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
รหัส อ้างอิง TB ADJ REC WBS WPL A B C D E F G H H1 I
8
16 17 18 19 20. 21 22 23 24 25 27 28 29 30 31 32 33 34 35 36 37 38
สินทรัพย์ไม่มีตัวตน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่นๆ เงินเบิกเกินบัญชีและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถานบันการเงิน เจ้าหนี้TR ทรัสต์รีซีท เจ้าหนี้การค้า/ตั๋วเงินจ่าย เงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกําหนดชําระในหนึ่งปี เงินกู้ยืมระยะสั้นจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เงินกู้ยืมระยะสั้นอื่น หนี้สินหมุนเวียนอื่น เงินกู้ยืมระยะยาวจากบุคคลหรือกิจการที่เกี่ยวข้องกัน ประมาณการหนี้สิน หนี้สินอื่น เจ้าหนี้เช่าซื้อ ทุนเรือนหุ้น ส่วนเกิน(ส่วนต่ํา)ทุน สํารอง รายได้ รายได้อื่นๆ ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขายและบริการ ดอกเบี้ยจ่าย ภาษีเงินได้
J J AA AA2 CC DD GG EE FF HH II JJ KK LL OO RS R1 R2 X1 X2 X3 X4
ตารางที่ 2 รายละเอียดการแบ่งหมวดของบริษัท ที่ปรึกษาตรวจสอบบัญชีและภาษีอากร จํากัด
9
ข้อเสนอแนะ จากการได้ฝึกงานแสดงให้เห็นว่า ผู้ทําบัญชีส่วนใหญ่ใช้นโยบายการบัญชีในการวัดมูลค่า สินค้าคงเหลือวิธีราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับแล้วแต่ราคาใดต่ํากว่า แต่ตามมาตรฐานการ บัญชี ฉบับที่ 31 เรื่องสินค้าคงเหลือในเรื่องการวัดมูลค่าไม่ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการวัดมูลค่าของสินค้า คงเหลือที่ถือไว้โดยผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ผลิตภัณฑ์จากป่าภายหลังการเก็บเกี่ยว แร่ และ ผลิตภัณฑ์จากแร่ เนื่องจากสินค้าคงเหลือเหล่านั้นวัดมูลค่าด้วยมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ และตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (6) ให้ตีราคาสินค้าคงเหลือด้วยราคาทุนหรือราคาตลาดแล้วแต่ ราคาใดต่ํากว่า ซึ่งเป็นปัญหาสําหรับผู้ทําบัญชีว่าจะใช้ราคาใดในการตีราคาสินค้าคงเหลือเมื่อสิ้น ประเด็นสาคัญจากการฝึกงานนาสู่รายงานการศึกษา จากการได้ฝึกงานในระยะเวลาเกือบ 3 เดือนมีประเด็นสําคัญที่จะต้องทําการศึกษาเพิ่มเติม ก่อน จากการปฏิบัติงานต่อ บริษัท ที่ปรึกษาตรวจสอบบัญชีและภาษีอากร จํากัด ดังนี้ 1. ฝึกการบันทึกบัญชีให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป 2. ฝึกการตรวจสอบบัญชีของบริษัทจํากัดและห้างหุ้นส่วนจํากัดจริง ตามมาตรฐานการบัญชีไทย (ปี2554) ได้อย่างน่าเชื่อถือตามควร 3. ควรมีการตรวจสอบบัญชีจริงในห้องเรียนเพื่อทําให้นิสิตมีความพร้อมในการทํางาน 4. เมื่อได้ตรวจนับสินค้าคงเหลือปลายปี บริษัทมีปริมาณที่ตรวจนับได้ แตกต่างจากยอด ตามบัญชี คุมสินค้า ดังนั้นบริษัทต้องถือยอดตามผลการตรวจนับได้เป็นยอดที่ถูกต้อง แล้วทําการปรับปรุง การบันทึกบัญชีใหม่ ซึ่งรายการสินค้าคงเหลือนั้นจะต้องแจ้งในงบดุลส่งกระทรวงพาณิชย์ และ กรมสรรพากร ตามลําดับ ถ้าไม่ทําการตรวจนับสินค้าอะไร ย่อมมีผลกระทบต่องบการเงิน ต่อ การบันทึกบัญชีและภาษีอากร โดยเฉพาะ VAT นั้นจะมีโทษปรับสูงด้วย
10
บทที่ 3 การตรวจสอบบัญชีสินค้าคงเหลือ กรณีศึกษา : ปัญหาและวิธีปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือของธุรกิจ ซื้อ--ขายอะไหล่รถยนต์ วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. 2. 3. 4. 5. 6.
ปริมาณสินค้าคงเหลือได้แสดงไว้ครบถ้วน มีการตรวจตัดยอดสินค้าคงเหลืออย่างเป็นที่พอใจ สินค้าคงเหลือตีราคาตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และถือปฏิบัติโดยสม่ําเสมอ สินค้าที่มีการเคลื่อนไหวช้า ล้าสมัย เสียหายหรือมีปริมาณมากเกินควร ซึ่งรวมอยู่ในสินค้า คงเหลือได้มีการสํารองไว้อย่างเพียงพอ รายละเอียดสินค้าคงเหลือมีการคํานวณอย่างถูกต้อง สินค้าคงเหลือที่นําไปค้ําประกันหรือจํานอง ได้มีการเปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบ การเงิน สินค้าคงเหลือ
สินค้าคงเหลือ หมายถึง วัสดุซึ่งอาจอยู่ในสภาพของวัตถุดิบ วัสดุการผลิต อะไหล่ เชื้อเพลิ สินค้าที่รออยู่ระหว่างการผลิตและสินค้าสําเร็จรูปซึ่งโรงงานได้เก็บไว้ในโกดัง หรือคลังสินค้าเพื่อ รอการผลิตการซ่อมบํารุงหรือเพื่อรอส่งต่อไปจําหน่าย (สัณห์ชัย กลิ่นพิกุล. 2529:54) สินค้าคงเหลือ หมายถึง วัสดุที่อยู่ในรูปของวัตถุดิบ วัสดุ อะไหล่ เชื้อเพลิง สินค้าที่อยู่ใน ระหว่างการผลิต และสินค้าสําเร็จรูปซึ่งโรงงานเก็บไว้ในโกดัง หรือคลังสินค้าเพื่อรอจําหน่าย (ยุทธ ไวยวรรณ์. 2545:364) สินค้าคงเหลือ หมายถึง วัสดุที่มีไว้ใช้ในอนาคตวัสดุเหล่านั้น ได้แก่ วัตถุดิบ ชิ้นส่วน อะไหล่ สินค้าระหว่างผลิตและสินค้าสําเร็จรูป (สุมน มาลาสิทธิ์. 2546:329) สินค้าคงเหลือ หมายถึง สินค้าสําเร็จรูปหรือวัตถุดิบ สินค้าบางอย่างที่ต้องเก็บสะสมไว้ มาก อาจเป็นจํานวนพันชิ้นขึ้นไป (วิจิตรา ประเสริฐธรรม. 2546:221)
11
ประมวลกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาษี
พระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ๑๒) พุทธศักราช ๒๔๙๗ พระบาทสมเด็จพระปริมนทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยศุลกากร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนํา และยินยอมของสภาผุ้แทนราษฎร ดั่งต่อไปนี้ มาตรา ๑๓ ภายในเขตควบคุมศุลกากร อธิบดีมีอํานาจประกาศให้ผู้ทําการ ค้าสินค้าชนิดใด ตามลักษณะเงื่อนไขใดที่อธิบดีกําหนดไว้ จัดให้มีสมุดควบคุมตามแบบ ที่อธิบดีกําหนด และให้ลง รายการในขณะที่ได้รับและจําหน่ายสินค้าชนิดนั้น ในการประกอบการค้าเป็นรายวันในสมุดนั้น การประกาศให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อพ้นกําหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศตามความในวรรคก่อน ให้ผู้ทําการค้าจัดให้มี สมุดควบคุมและลงรายการในสมุดควบคุมเป็นรายวัน ถ้าการตรวจแสดงให้เห็นว่ามีสินค้าขาดหรือเกินจํานวนที่ควรจะปรากฏตาม สมุดควบคุม ในเมื่อคํานึงถึงจํานวนสินค้า ที่ผู้ทําการค้าสมควรมีไว้เพื่อใช้สอยเอง และให้ ครอบครัวใช้สอย ตามปกติแล้ว ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า สินค้าซึ่งขาดหรือเกินนั้นได้นํา มาไว้ในครอบครองของผู้ทํา การค้า หรือย้ายขนไปโดยผิดกฎหมาย แล้วแต่กรณี โดยยัง ไม่ได้ชําระค่าอากร มาตรา ๑๔ อธิบดีมีอํานาจประกาศระบุบริเวณพิเศษในเขตควบคุมศุลกากร ซึ่งจะต้องอยู่ ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติ มาตรานี้ และให้มีแผนที่แสดงเขตของบริเวณดั่ง กล่าวต่อท้ายประกาศ นั้น การประกาศให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายในบริเวณพิเศษนั้น ผู้ใดมีสินค้าเพื่อการค้า ของตนหรือของผู้อื่น ให้ สันนิษฐานไว้ก่อนว่า สินค้านั้นเป็นสินค้าที่ยังไม่ได้ ชําระค่าอากร เว้นแต่ จะแสดงให้เป็น ที่พอใจว่าได้ชําระอากรแล้ว ห้ามมิให้ผู้ใดทําการขนสินค้าเข้าไป หรือออกมา หรือขนภายในบริเวณพิเศษ นั้น เว้นแต่จะมี ใบอนุญาตขนซึ่งพนักงานศุลกากรได้ออกให้ และต้องแสดงใบอนุญาต ขนนั้นเมื่อพนักงานศุลกากร เรียกร้อง มาตรา ๑๕ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง หรือวรรคสอง มีความผิดต้อง ระวางโทษปรับ
12
ไม่เกินห้าพันบาท มาตรา ๑๖ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๑๔ วรรคสาม มีความผิดต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินหนึ่งหมื่น บาท มาตรา ๑๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราช บัญญัตินี้ ข้อค้นพบจากการปฏิบัติการงานจริงเกี่ยวกับ กระบวนการตรวจสอบการซื้อและการผลิตเพื่อได้มาซึ่งสินค้าคงเหลือ การตรวจสอบการ ซื้อ การผลิต และสินค้าคงเหลือ อาจแบ่งงานออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้ 1. การสอบทานโดยการวิเคราะห์ 1.1 วิธีการเปรียบเทียบรายการ เปรียบเทียบ การซื้อสินค้าคงเหลือ และอัตรากําไรขั้นต้น ระหว่างปีปัจจุบันกับปีก่อน และทําการ เปรียบเทียบกับกิจการอื่นที่มีลักษณะการ ประกอบการคล้ายคลึงกัน หากมีการเปลี่ยนแปลงและข้อแต่ต่างเป็นจํานวนมาก ให้ สังเกตและหาสาเหตุ 1.2 การใช้อัตราส่วนทางการเงิน ให้ผู้ตรวจสอบคํานวณอัตราส่วนทางการเงินที่เกี่ยวข้อง กับสินค้า โดยเฉพาะอัตราหมุนเวียนของสินค้าแล้วเปรียบเทียบกับข้อมูลปีก่อน และ กิจการอื่นที่มีลักษณะการประกอบการคล้ายคลึงกัน 2. วิธีการตรวจสอบสินค้าคงเหลือ 2.1 การสังเกตการตรวจนับสินค้าคงเหลือ (Inventory Observation) การสังเกตการตรวจนับ สินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นปี เป็นวิธีการที่ได้ผลที่สุดในการพิสูจน์ความมีอยู่จริงของ สินค้า ด้วยเหตุนี้การสังเกต การตรวจนับสินค้าคงเหลือถือเป็นวิธีการตรวจสอบที่ จําเป็นต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน การสอบบัญชีรหัส 501 และในด้านภาษีอากร การ ตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจในความถูกต้องของการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและ ภาษีมูลค่าเพิ่ม จําเป็นต้องมีการตรวจนับสินค้าคงเหลือเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดีหากไม่ สามารถตรวจนับสินค้าคงเหลือได้แล้ว ผู้ตรวจสอบยังจําเป็นต้องหาวิธีการตรวจสอบ อื่น เช่น การสอบทานวิธีการและผลการตรวจนับสินค้าคงเหลือของลูกค้า การทดสอบ
13
วิธีการบัญชีเกี่ยวกับการรับ-จ่ายสินค้า และตรวจนับสินค้าคงเหลือบางรายการด้วย ตนเองภายหลัง การตรวจนับสินค้าคงเหลือมีประเด็นควรพิจารณาดังนี้
การสังเกตการณ์ การพิจารณาเรื่องการควบคุมภายในเกี่ยวกับสินค้าคงเหลือและวิธี ปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการวางแผนและวิธีการตรวจนับของกิจการ
การตรวจนับสินค้าคงเหลือเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารที่ต้องจัดให้มีการตรวจ นับสินค้าคงเหลือ
ผู้ตรวจสอบมีหน้าที่เข้าร่วมสังเกตการตรวจนับ และทดสอบการตรวจนับ ต้อง เปรียบเทียบผลการทดสอบการตรวจนับที่ทํา โดยผู้ตรวจสอบกับจํานวนที่กิจการตรวจ นับได้
การสังเกตการตรวจนับ ผู้ตรวจสอบต้องดูสภาพและคุณภาพของสินค้าต่างๆด้วย ทั้งนี้ สินค้าเก่าหรือล้าสมัย ชํารุดเสียหาย หรือจําหน่ายได้ช้า ให้จดรายละเอียดสินค้าไว้ด้วย เพื่อประโยชน์การตีราคาสินค้าตามวิธีการบัญชีที่รับรองทั่วไป
สินค้าที่ตรวจนับต้องผ่านการตัดยอดการรับและจ่ายสินค้า โดยให้จดเลขที่ใบรับของ และใบส่งของฉบับสุดท้ายจนถึงวันที่ตรวจนับรวมสินค้าทั้งสิ้นตามใบรับของที่ ลงบัญชีแล้ว และไม่รวมสินค้าที่ได้ทําใบส่งของและลงบัญชีเป็นขายแล้ว
การขายสินค้ารับรู้รายได้เมื่อส่งมอบสินค้า ดังนั้นรายการสินค้าระหว่างทาง จึงไม่ถือ เป็นการขาย แต่ถือรวมเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าคงเหลือ ถ้าเป็นการส่งสินค้าไปขาย ต่างประเทศตามปกติ จะรับรู้รายได้เมื่อสินค้าลงเรือเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นหากสินค้ายัง ไม่ลงเรือครบเรียบร้อย ถือว่ายังรวมเป็นสินค้าคงเหลือ
การซื้อสินค้า ตามปกติเมื่อได้รับสินค้าแล้วจึงถือรวมเป็นสินค้าคงเหลือ แต่ถ้าซื้อ สินค้าจากต่างประเทศ อาจรับรู้สินค้าในบัญชีก่อนรับสินค้า เช่น บันทึกการซื้อสินค้า จากต่างประเทศ ในบัญชีเมื่อผู้ซื้อรับรองหรือจ่ายเงินตามตั๋วเงินและได้รับใบตราส่ง สินค้า(Bill of Lading) แล้ว ดังนั้น หากในวันสิ้นปีมีสินค้าที่ซื้ออยู่ระหว่างการขนส่ง ให้ถือสินค้าระหว่างทางเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าคงเหลือ
สินค้าที่กิจการส่งไปฝากขายคงเหลือในมือลูกค้า ณ วันสิ้นปี ควรถือเป็นสินค้า คงเหลือแต่สินค้าที่กิจการรับฝากขายคงเหลือ ณ วันสิ้นปีต้องไม่รวมเป็นสินค้า คงเหลือ กรณีกิจการฝากสินค้าไว้กับคลังสินค้าผู้อื่น ควรตรวจสอบใบรับของ
14
คลังสินค้าเพื่อทราบรายการและปริมาณสินค้าที่ฝากไว้ หรือขอยืนยันยอดสินค้า คงเหลือในคลังสินค้ากับผู้รับฝาก 2.2 การตรวจสอบหลักเกณฑ์และวิธีการตีราคาสินค้าคงเหลือ ผู้ตรวจสอบต้องพิจารณาหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบสินค้าคงเหลือว่าเป็นไปตาม หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และปฏิบัติเช่นเดียวกับปีก่อน ให้พิจารณาว่าการตีราคาสินค้าได้ใช้วิธี ใดระหว่าง วิธีราคาทุน วิธีราคาทุนหรือราคาตลาดที่ต่ํากว่า และวิธีราคาขาย นอกจากนี้ต้องพิจารณา ด้วยว่าราคาทุนที่ใช้นํามาจากวิธีการบัญชีใดระหว่าง FIFO LIFO ราคาทุนถัวเฉลี่ยและต้นทุน มาตรฐาน หากกิจการซื้อสินค้าสําเร็จรูป วัตถุดิบ และวัสดุจากบุคคลภายนอก ให้ตรวจสอบราคาทุน ของสินค้าโดยตรวจสอบบิลซื้อ สอบถามผู้ขายหรือเปรียบเทียบกับราคาที่ซื้อจากใบส่งของในระยะ สิ้นปี ถ้าซื้อสินค้าจากต่างประเทศ ราคาสินค้าย่อมรวมราคาตามใบกํากับสินค้า ค่าขนส่ง ค่า ประกันภัย อากรขาเข้า แต่ไม่รวมกําไรที่บริษัทคิดเพิ่มขึ้นเอง หากต้องการหาราคาตลาดของสินค้า อาจสอบถามแผนกจัดซื้อหรือหาโดยตรงจากตลาด อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบให้ทราบราคาสินค้า นี้ควรกระทําโดยทดสอบสินค้าบางส่วน การตรวจสอบสินค้าคงเหลือของกิจการอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นสินค้าสําเร็จรูปที่ผลิตขึ้น และสินค้าระหว่างผลิต การทดสอบราคาอาจใช้วิธีสอบทานบัญชีต้นทุนที่กิจการใช้อยู่ ควรมีการ ทดสอบต้นทุนของสินค้าสําเร็จรูปและสินค้าระหว่างผลิตบางรายการ โดยติดตามรายการโอน วัตถุดิบ ค่าแรงงาน และค่าใช้จ่ายในการผลิต มาเป็นต้นทุนของรายการนั้นๆ จากหลักฐานต่างๆ เช่น ใบเบิกวัตถุและบัตรแสดงเวลาทํางาน เป็นต้น และการคํานวณค่าใช้จ่ายในการผลิตที่โอนเข้าต้นทุน โดยเทียบเคียงกับต้นทุนของปีก่อนๆ ด้วย อย่างไรก็ดี ต้นทุนสินค้าสําเร็จรูปและสินค้าระหว่างผลิต นี้ต้องไม่รวมกําไรที่แผนกหนึ่งคิดเอากับอีกแผนกหนึ่ง 2.3 การตรวจสอบการคํานวณราคา การตรวจสอบการคํานวณราคามีจุดประสงค์เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของการคํานวณ ราคาสินค้าแต่ละรายการ และการรวมยอดในรายละเอียดสินค้าคงเหลือแต่ละหน้า ทั้งนี้มักกระทํา โดยการทดสอบสินค้าคงเหลือที่เป็นจํานวนเงินมาก แต่อาจมีการทดสอบสินค้าคงเหลือที่มีจํานวน เงินน้อยบางส่วนด้วย
15
2.4 การตรวจสอบการตัดยอดซื้อ ผู้ตรวจสอบต้องตรวจสอบยอดซื้อเพื่อทราบว่ารายการซื้อที่ลงบัญชีไว้นั้นเป็นรายการซื้อที่ ถูกต้องและครบถ้วนของปีปัจจุบัน โดยเปรียบเทียบระหว่างรายการซื้อกับบิลซื้อ ใบรับของและ บัญชีรายละเอียดสินค้าสําหรับระยะเวลาตอนสิ้นปีต่อต้นปีใหม่ เช่นระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม ถึง 15 มกราคม เป็นต้น ในการตรวจสอบ ผู้ตรวจสอบต้องทราบว่าใบรับสินค้าฉบับสุดท้ายในวันสิ้นปี เลขที่ใด และตามเงื่อนไขการซื้อมีสินค้าระหว่างทางรายใดบ้างที่ต้องถือเป็นรายการซื้อ ณ วันสิ้นปี ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจสอบเพื่อให้ได้ยอดซื้อต่อไป 2.5 การตรวจสอบการตัดยอดขาย การตรวจสอบการขายช่วงเวลาสิ้นปี มีจุดประสงค์ทําให้ผู้ตรวจสอบทราบว่าสินค้าที่ขายใน วันสิ้นปีไม่รวมอยู่เป็นสินค้าคงเหลือ ดังนั้นผู้ตรวจสอบต้องตรวจสอบว่ามีการลงรายการขายของปี อย่างถูกต้อง โดยเปรียบเทียบรายการขายกับบิลขาย ใบส่งของ และบัญชีรายละเอียดสินค้า สําหรับ ระยะเวลาตอนสิ้นปีต่อต้นปีใหม่ เช่นระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม ถึง15 มกราคม เป็นต้น นอกจากนี้ ในการตรวจสอบใบส่งของ ควรพิจารณาเปรียบเทียบกับรายการส่งคืนรายใหญ่ๆ ในระยะสิ้นปีต่อ ต้นปีด้วยเพื่อทราบว่าการลงรายการส่งคืนถูกต้องตรงกับการส่งสินค้าคืนให้บุคคลภายนอกด้วย 2.6 การตรวจสอบต้นทุนสินค้าที่ขาย หากกิจการใช้วิธีการบัญชีสินค้าแบบ Periodic Method ความถูกต้องของต้นทุนสินค้าขึ้นอยู่ กับความถูกต้องและครบถ้วนของยอดซื้อของปี และสินค้าที่ลงรายการซื้อแล้วแต่มิได้จําหน่ายไป รวมอยู่ในสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นปี ผู้ตรวจสอบต้องคํานึงถึงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ คือ ส่วน หนึ่งของสินค้าคงเหลือสิ้นปีอาจเป็นสินค้าระหว่างทางที่เป็นรายการซื้อแล้วแต่ไม่ได้รวมให้ตรวจ นับ และสินค้าที่ตรวจนับได้วันสิ้นปีอาจเป็นสินค้าที่รับฝากจากบุคคลอื่นหรือขายแล้วแต่ยังไม่ได้ ส่งให้ลูกค้า หากกิจการใช้วิธีการบัญชีสินค้าแบบ Perpetual Method ต้นทุนสินค้านั้นคํานวณมาจาก รายการขาย ดังนั้นโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดในต้นทุนขายมาจากการโอนบัญชีในงวดเดียวกันเช่น กิจการไม่ได้โอนต้นทุนขายในปีเดียวกันกับที่มีการขาย นอกจากวิธีข้างต้นแล้ว ผู้ตรวจสอบทําการ วิเคราะห์อัตรากําไรขั้นต้นของแต่ละเดือนของปีเพื่อตรวจสอบว่ามีความเสี่ยงที่ตัวเลขต้นทุนขายไม่ สัมพันธ์กับยอดขายหรือไม่
16
2.7 การตรวจสอบความเหมาะสมของสินค้าคงเหลือ การตรวจสอบความเหมาะสมโดยทั่วไป อาจใช้การเปรียบเทียบปริมาณและราคาสินค้า คงเหลือปีปัจจุบันและปีก่อน หรืออาจคํานวณอัตราหมุนเวียนของสินค้า ( Turnover) ในรอบปีหนึ่ง ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่คํานวณจากการหารต้นทุนขายด้วยสินค้าหมุนเวียนของสินค้าในปีก่อน ทั้งนี้การ วิเคราะห์อัตราส่วนนี้ควรแยกวิเคราะห์ตามประเภทสินค้าหรือแผนกงาน นอกจากนี้การตรวจสอบ สินค้าคงเหลือ โดยทั่วไปยังรวมถึงการตรวจสอบว่ามีการประกันภัยสินค้าคงเหลือเพียงพอหรือไม่ การตรวจสอบหลักฐานจากบุคคลภายนอกว่ามีการนําสินค้าไปเป็นหลักประกันหนี้สินและมีข้อ ผูกพัน การซื้อขายสินค้าหรือไม่ เพื่อนําข้อมูลไปประกอบพิจารณาความเพียงพอของการเปิดเผย ข้อมูลในงบการเงิน วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบสินค้าคงเหลือ วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบสินค้าคงเหลือ อาจสรุปได้ดังต่อไปนี้ 1. สินค้าอยู่จริงและครบถ้วน ( Existence and Completeness) สินค้าคงเหลือที่แสดงในงบการเงิน ต้องมีอยู่จริง และมิได้แสดงมูลค่าสูงกว่าความเป็นจริง ทั้งนี้เพราะยอดตัวเลขของบัญชีสินค้า คงเหลือมีผลต่อการคํานวณต้นทุน เพราะหากสินค้าคงเหลือปลายงวดแสดงไว้สูงเกินจริง จะทํา ให้กิจการแสดงกําไรสุทธิสูงเกินจริงด้วย ดังนั้นการมีอยู่จริงของสินค้าเป็นสิ่งที่ผู้ตรวจสอบต้อง เน้น โดยเฉพาะหากกิจการมีการเก็บสินค้าไว้หลายแห่ง หรือมีความเสี่ยงที่สินค้าในบัญชีอาจไม่ ตรงกับสินค้าตามที่มีอยู่จริง เช่น กิจการเก็บสินค้าในคลังสินค้าของผู้อื่น กิจการขายสินค้าโดย การฝากขาย และกิจการรับฝากขายสินค้า เป็นต้น 2. กิจการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ และมีภาระหนี้สินเกี่ยวกับสินค้า ( Rights and Obligations) นอกจากการตรวจสอบว่ามีสินค้าอยู่จริงหรือไม่ ผู้ตรวจสอบต้องตรวจสอบให้ทราบว่ากิจการมี กรรมสิทธิ์ ในสินค้าที่ปรากฏในงบการเงินด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากกิจการมีสินค้าระหว่าง ทาง สินค้าฝากขาย และสินค้าสั่งทํา จะต้องมีการตรวจสอบอย่างระมัดระวังในเรื่องกรรมสิทธิ์ นอกจากนี้ผู้ตรวจสอบต้องตรวจสอบว่ากิจการมีภาระที่ต้องชําระสินค้าหรือไม่ 3. การวัดมูลค่าสินค้าในงบการเงิน ( Valuation) การตรวจสอบว่ามูลค่าที่นํามาแสดงในงบการเงิน ถูกต้องตามที่ควรนั้น ผู้ตรวจสอบควรตรวจสอบประเด็นต่างๆดังนี้ 1) วัตถุดิบที่ซื้อและวัสดุคงเหลือ แสดงด้วยราคาทุนที่ซื้อจากผู้ขาย หักด้วยประมาณ จํานวนที่จะได้ลดราคาและเพิ่มด้วยค่าขนส่งที่ต้องจ่าย
17
2) ระบบบัญชีต้นทุนมีความเหมาะสมในการโอนราคาวัตถุดิบ ค่าแรงงานและค่าใช้จ่าย โรงงานไปคิดเป็นต้นทุนการผลิต 3) ระบบบัญชีต้นทุนมีความเหมาะสมในการแสดงต้นทุนการผลิต และทําให้การคํานวณ ราคาสินค้าระหว่างผลิตเหมาะสม 4) กิจการได้ใช้วิธีการบัญชีที่รับรองทั่วไปในการโอนต้นทุนต่างๆเข้าเป็นต้นทุนผลิต 5) สินค้าคงเหลือต้องมีการตีราคาตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยเฉพาะสินค้าที่ขาย ได้ช้า และล้าสมัยควรแสดงราคาในงบการเงินไม่สูงกว่ามูลค่าสุทธิที่จะได้รับ 4. การแสดงรายการสินค้าคงเหลือในงบการเงินและการเปิดเผยข้อมูล (Presentation and Disclosure) สินค้าคงเหลือต้องแสดงในงบดุลเป็นรายการหนึ่งต่างหากภายใต้สินทรัพย์ หมุนเวียน และมีรายละเอียดสินค้าคงเหลือประเภทต่างๆไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินด้วย ได้แก่ สินค้าสําเร็จรูป สินค้าระหว่างผลิต วัตถุดิบและวัสดุ ส่วนวัสดุโรงงานอาจแสดงรวมกับ วัตถุดิบหรือรวมเป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้าก็ได้ นอกจากนี้ในหมายเหตุประกอบงบการเงินให้แสดง หลักเกณฑ์การตีราคา วิธีบัญชีสินค้าคงเหลือ และหากมีสินค้าคงเหลือถูกใช้เป็นหลักประกัน หนี้สินต้องแจ้งภาระผูกพันนี้ไว้ด้วย วิธีการปฏิบัติของผู้ที่ทาการตรวจสอบ ธุรกิจโดยทั่วไป ย่อมมีสินค้าปลายงวดไว้ครอบครองทั้งสิ้น ณ ตอนสิ้นปี เช่น ธุรกิจผลิต สินค้า รับเหมาก่อสร้าง ซื้อมาขายไป การนําเข้าและส่งออก เป็นต้น ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 31 ให้นิยามว่า “ยอดการตรวจนับสินค้าจริง ต้องตรงกับยอดตามสมุดบัญชีคุมสินค้า” เนื่องจาก สินค้าคงเหลือมีผลกระทบต่อภาษีอากร และการบันทึกบัญชี ดังนั้นจึงจําเป็นต้องมีการตรวจสอบ สินค้าคงเหลือและเพื่อปรับปรุงยอดสินค้าคงเหลือให้ถูกต้อง ด้วยวิธีการตรวจสอบสินค้าคงเหลือ ของธุรกิจซื้อมาขายไปโดยคิดต้นทุนแบบถัวเฉลี่ยมีดังนี้ วิธีการตรวจสอบสิ้นปี 1.ตรวจสอบยอดยกมาในบัญชีแยกประเภททั่วไปกับงบการเงินปีก่อน ผู้สอบบัญชีต้องทําการตรวจสอบยอดยกมา ก่อนจะเริ่มตรวจสอบในรอบระยะเวลาบัญชี ปัจจุบัน โดยการนํางบการเงินของรอบระยะเวลาบัญชีปีก่อนนี้มาตรวจและทําเครื่องหมายว่ายอดใน รอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันได้มีการตรวจสอบแล้ว เพื่อให้แน่ใจว่าเป็นสินทรัพย์ของกิจการจริง และเป็นกรรมสิทธ์ที่กิจการต้องตรวจนับ ณ ตอนสิ้นปี 2.ขอรายละเอียดประกอบ
18
ผู้สอบบัญชีต้องตรวจเอกสารว่าลูกค้าได้ให้เอกสารหลักฐานมาครบถ้วน ซึ่งควรมี ดังนี้ 1. สมุดบัญชีคุมสินค้า 2. ใบแสดงรายการสินค้าที่ตัดสต๊อกแล้ว 3. ใบกํากับภาษี/ใบส่งของ และใบเสร็จรับเงิน ในการซื้อสินค้ามาแต่ละครั้ง ผู้สอบบัญชีต้องตรวจสอบเอกสารที่ลูกค้าส่งมา ได้มีการแนบบัญชีคุมสินค้าและเอกสารที่ เกี่ยวข้องมาด้วยหรือไม่ และปัจจุบันนี้มีโปรแกรมตัดสต๊อกสินค้าซึ่งผู้ทําบัญชีจะทําการ คํานวณ มาให้แล้ว ซึ่งผู้สอบบัญชีต้องนําสมุดบัญชีคุมสินค้าที่ผู้ทําบัญชีมาตรวจกับใบแสดงรายการสินค้า ที่ตัดสต๊อกแล้วและตรวจสอบการใบกํากับภาษี /ใบส่งของ, ใบเสร็จรับเงิ น ว่าบันทึกบัญชีถูกต้อง ตามหลักการบัญชีและประมวลกฎหมายหรือไม่ เนื่องจากกิจการคํานวณต้นทุนด้วยวิธีต้นทุนถัว เฉลี่ยถ่วงน้ําหนัก เมื่อตอนซื้อสินค้าเพิ่มจะบันทึกราคาสินค้าด้วยราคาขาย non vat * จํานวนสินค้า = ยอดซื้อ บวก ยอดยกมา / จํานวนสินค้าทั้งหมด จะได้ต้นทุนเฉลี่ยของสินค้านั้น ดังนั้นผู้สอบบัญชี จึงตรวจสอบได้เฉพาะยอดซื้อได้ฝั่งเดียว ว่ามีการซื้อเพิ่มจํานวนเท่าไร และกิจการมีการบันทึก จํานวนรับของสินค้านั้นถูกต้องหรือไม่ และมียอดสินค้าคงเหลือ กับ ต้นทุนเฉลี่ย ตรงกับบัญชีคุม สินค้าของกิจการ ว่าบันทึกได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และน่าเชื่อถือได้ตามควร
19
ตัวอย่างภาพที่ 2 บัญชีคุมสินค้าปลอกสูบ ตามใบกํากับภาษี/ใบส่งของ เลขที่ HS110012
20
ตัวอย่างภาพที่ 3 ใบแสดงรายการสินค้าที่ตัดสต๊อกสินค้าแล้วของสินค้าปลอกสูบ
21
ตัวอย่างภาพที่ 4 ใบกํากับภาษี/ใบส่งของ ของสินค้าปลอกสูบ เมื่อกิจการซื้อเพิ่มระหว่างปี
22
ตัวอย่างภาพที่ 5 ใบเสร็จรับเงิน ของสินค้าปลอกสูบ เมื่อกิจการซื้อเพิ่มระหว่างปี
23
ตัวอย่างภาพที่ 5 ใบเสร็จรับเงิน ของสินค้าปลอกสูบ เมื่อกิจการซื้อเพิ่มระหว่างปี
24
ตัวอย่างภาพที่ 6 บัญชีคุมสินค้าจานครัช ตามใบกํากับภาษี/ใบส่งของ เลขที่ HS1102218
25
ตัวอย่างภาพที่ 7 ใบแสดงรายการสินค้าที่ตัดสต๊อกสินค้าแล้วของสินค้าจานครัช
26
ตัวอย่างภาพที่ 8 ใบกํากับภาษี/ใบส่งของ ของสินค้าจานครัช เมื่อกิจการซื้อเพิ่มระหว่างปี
27
ตัวอย่างภาพที่ 9 ใบเสร็จรับเงิน ของสินค้าจานครัช เมื่อกิจการซื้อเพิ่มระหว่างปี
28 3.ตรวจสอบการแสดงรายการในงบดุล และการเปิดเผยข้อมูล นํายอดคงเหลือในรอบระยะเวลาบัญชีปัจจุบันของรายการสินค้าคงเหลือ จากตารางใบ แสดงรายการสินค้าที่ตัดสต๊อกแล้วมา link ในหน้าของกระดาษทําการของงบทดลองที่ผู้สอบบัญชี ทําการเช็ดยอดครั้งแรกต้องมียอดเท่ากัน 4.สรุปผลการตรวจสอบ ผู้สอบบัญชีทําการสรุปผลการตรวจสอบจากการวิเคราะห์ และการทดสอบการคํานวณดังนี้ 1. บัญชีสินค้าคงเหลือเป็นต้นทุนขายของกิจการจริง และซื้อสินค้ามาเพื่อขายจริง 2. มีการบันทึกบัญชีครบถ้วน และถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป 3. เอกสารประกอบรายการมีอยู่จริง และถูกต้องครบถ้วน ผลที่ได้รับ และบทลงโทษทางกฎหมาย ธุรกิจใดก็ตามที่มีสินค้าหรือวัตถุดิบในครอบครองล้วนต้องทําการตรวจนับสินค้าปลายงวด ทั้งสิน อาทิเช่น การผลิตสินค้า รับเหมาก่อสร้าง ซื้อมาขายไป การนําเข้าและส่งออก ตามมาตรฐาน การบัญชี ฉบับที่ 31 ได้ให้คํานิยาม สินค้าคงเหลือ หมายถึง สินค้าสําเร็จรูป งานหรือสินค้าระหว่าง ทํา วัตถุดิบ และวัสดุใช้ในการผลิตเพื่อขายตามปกติของกิจการ สําหรับทางภาษีอากร ตามประมวล รัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (6) บัญญัติไว้ว่า “ราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้คํานวณตามราคาทุน หรือราคาตลาดแล้วแต่อย่างใดจะน้อยกว่าและให้ถือราคานี้เป็นราคาสินค้า คงเหลือยกมา สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ด้วย” จากบทบัญญัติข้างต้น ทําให้เมื่อมีการตรวจนับสินค้าปลายงวดแล้ว จะต้องให้มีผู้ตีราคา อิสระมาทําการแยกแยะ และตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวดออกมา แล้วถือเอาราคาทุนหรือราคา ตลาดที่ต่ํากว่า เป็นราคาสินค้าคงเหลือปลายงวด และยกไปต้นงวดถัดไป ปัญหาที่ต้องพิจารณา มีอยู่ 2 ประเด็น คือ 1. เมื่อปริมาณสินค้าที่ตรวจนับได้ มีความแตกต่างจากยอดตามบัญชีคุมสินค้า บริษัทต้องปรับปรุง ให้ถูกต้อง โดยถือเอายอดสินค้าที่ตรวจนับได้เป็นยอดที่ถูกต้อง สําหรับวิธีการปรับปรุงให้คํานึงถึง 1.1 กรณีบันทึกสินค้าคงเหลือด้วยวิธี periodic ให้ปรับปรุงยอดปริมาณสินค้าตามบัญชีคุม สินค้า ให้ตรงตามผลการตรวจนับ และให้นํามูลค่าสินค้าคงเหลือตามที่ตรวจนับและตีราคา ไว้ ไปบันทึกบัญชีถือเป็น สินค้าคงเหลือปลายงวด ในงบการเงินได้เลย ซึ่งจะทําให้ต้นทุน สินค้าทีขายได้แบกรับมูลค่าสินค้าขาดเกินจากบัญชีคุมฯ ไปโดยปริยาย
29 1.2 กรณีบันทึกสินค้าคงเหลือด้วยวิธี perpetual ให้ปรับปรุงยอดบัญชีสินค้าคงเหลือและ ต้นทุนขาย ให้ตรงตามผลการตรวจนับ ซึ่งจะมีผลทําให้ยอดตามบัญชีทั้งสองเพิ่มขึ้นหรือ ลดลง ตามยอดสินค้าที่ขาดหรือเกิน 2. สินค้าที่ขาดหรือเกิน จะมีผลทางภาษีที่ต้องรับผิด ดังนี้ บทลงโทษ
ผลการตรวจนับ
2.1 การเสียภาษีขาย(ม.77/1(8)(จ) 2.2 เสียเบี้ยปรับ 2 เท่า (ม.89(10) 2.3 ถูกปรับอาญา 2,000 บาท (ม.90)(14)(15)
ขาดจากรายงานฯ เสีย เสีย เสีย
เกินจากรายงานฯ ไม่เสีย ไม่เสีย เสีย
ตารางที่ 3 บทลงโทษทางกฎหมาย ความสําคัญของการตรวจนับสินค้าคงเหลือปลายงวด มีผลต่อการบันทึกบัญชีและแจ้งใน งบดุลส่งกระทรวงพาณิชย์และกรมสรรพากร จึงต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษด้วย
30
บทที่ 4 บทสรุป ปัญหาและข้อเสนอแนะ สรุป เมื่อผู้ตรวจสอบบัญชีได้ทําความเข้าใจในระบบบัญชีและระบบการควบคุมภายใน รวมทั้ง ประเมินความเสี่ยงในการสอบบัญชีแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายในการวางแผนงานสอบบัญชี คือ การ พัฒนาแผนการสอบบัญชีโดยรวม (Overall Audit Plan) และแนวการสอบบัญชี (Audit Program) จากแผนการสอบบัญชีโดยรวม ซึ่งผู้ตรวจสอบบัญชีได้ระบุถึงการประเมินความเสี่ยง สืบเนื่องและความเสี่ยงจากการควบคุมไว้แล้ว งานขั้นต่อไปคือการจัดทําแนวการสอบบัญชี เพื่อ วางแผนและระบุวิธีการตรวจสอบในรายละเอียดก่อนที่จะปฏิบัติงานตรวจสอบรายการต่างๆ ใน งบ การเงิน เป็นประโยชน์เพื่อทําให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการตรวจสอบบัญชีลูกหนี้การค้า โดยจัดทํา แนวการสอบบัญชีขึ้น เพื่อใช้เป็นคําสั่งงาน การควบคุมและการปฏิบัติงานให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ทางเดียวกัน ส่วนประกอบของแนวการสอบบัญชี แนวการสอบบัญชีควรประกอบด้วยเนื้อหาสาระสําคัญ ดังต่อไปนี้ 1. วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ 2. ขอบเขตการตรวจสอบ 3. เทคนิคการตรวจสอบที่ใช้ 4. เวลาที่ใช้ในการตรวจสอบ 5. ดัชนีกระดาษทําการอ้างอิง 6. ลายมือชื่อผู้ตรวจสอบและผู้สอบทาน และวันที่ตรวจสอบและสอบทานเสร็จสิ้น
31 ปัญหาและข้อเสนอแนะ ผู้ตรวจสอบบัญชีจะพบว่าการตรวจสอบสินค้าคงเหลือนั้นมีความสําคัญ โดยเฉพาะการ ทดสอบยอดคงเหลือสินค้าปลายงวด ซึ่งอาจต้องใช้เวลานานทั้งการพิสูจน์ความมีอยู่จริง และการตี มูลค่าของสินค้า ทั้งนี้ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลทําให้การตรวจสอบมีความซับซ้อนได้แก่ 1. สินค้าคงเหลือถือเป็นรายการสําคัญในงบดุล และถือเป็นรายการที่มีมูลค่ามากที่สุดรายการหนึ่ง ในเงิน ทุนหมุนเวียนของกิจการ 2. กิจการอาจมีที่เก็บสินค้าหลายแห่ง ทําให้การควบคุมและการตรวจนับทําได้ยาก แม้ว่าการมี สถานที่เก็บสินค้าหลายแห่งมีประโยชน์ ในเชิงการผลิต และการตลาดเพราะทําให้สินค้าเข้าถึง ผู้บริโภค แต่การเก็บสินค้าหลายแห่งนี้ทําให้การตรวจสอบมีความยากลําบากยิ่งขึ้น 3. ผู้ตรวจสอบบัญชีมักพบว่าหากกิจการมีสินค้าหลากหลายประเภท การตรวจสอบจะทําได้ยากขึ้น เช่น หากต้องตรวจสอบเครื่องประดับ เคมีภัณฑ์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผู้สอบบัญชีอาจ เผชิญกับปัญหาการสังเกต การตรวจนับและการวัดมูลค่า 4. การวัดมูลค่าสินค้าหลายประเภทมีความยากลําบากเนื่องจากสินค้าอาจมีการล้าสมัย และการปัน ส่วนต้นทุนการผลิตให้กับสินค้านั้น มีความซับซ้อน 5. วิธีวัดมูลค่าต้นทุนมีหลายวิธีซึ่งหากกิจการเลือกที่จะวัดมูลค่าสินค้าวิธีหนึ่งกับบางประเภทสินค้า และใช้วิธีอื่นสําหรับประเภทสินค้าอื่น ก็สามารถกระทําได้ตามหลักการบัญชี แต่วิธีการที่ใช้ต้อง ใช้อย่างสม่ําเสมอ นอกจากนี้การจัดการระบบบริหารสินค้าคงเหลือที่ดี มีเอกสารเป็นหลักฐานในทุกขั้นตอน ยังช่วยให้การทําบัญชีสินค้าคงเหลือผิดพลาดน้อยลงด้วย การแสดงยอดของสินค้าคงเหลือที่ถือเป็น สินทรัพย์ของกิจการมากไปหรือน้อยไปนั้น ย่อมส่งผลต่อผู้ใช้งบการเงินทําให้เข้าใจผิดทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสําหรับผู้บริหารที่ต้องมีการวางแผนการขายเป็นประจํา อาจทําให้การวางแผน ผิดพลาด และส่งผลเสียหายต่อกิจการโดยไม่คลาดคิด
32
บรรณานุกรม นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และ ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. 2550. การสอบบัญชี. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจํากัด ทีพีเอ็น เพรส. เจริญ เจษฎาวัลย์. 2546. การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พอดี จํากัด. ยุพดี ศิริวรรณ. การบัญชีภาษีอากร. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพ; ห้างหุ้นส่วนจํากัด จําปาทอง พริ้นติ้ง, 2552.
33
ภาคผนวก ก แนวการตรวจสอบบัญชีสินค้าคงเหลือ
34 บริษัท......................................จํากัด แนวการตรวจสอบบัญชีสินค้าคงเหลือ สําหรับงวด 1 ปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 25xx วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ 1. สินค้าคงเหลือตีราคาตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และถือปฏิบัติโดยสม่ําเสมอ 2. มีการตรวจตัดยอดสินค้าคงเหลืออย่างเป็นที่พอใจ 3. ปริมาณสินค้าคงเหลือได้แสดงไว้ครบถ้วน 4. รายละเอียดสินค้าคงเหลือมีการคํานวณอย่างถูกต้อง 5. สินค้าที่มีการเคลื่อนไหวช้า ล้าสมัย เสียหายหรือมีปริมาณมากเกินควร ซึ่งรวมอยู่ในสินค้าคงเหลือได้มีการ สํารองไว้อย่างเพียงพอ 6. สินค้าคงเหลือที่นําไปค้ําประกันหรือจํานอง ได้มีการเปิดเผยไว้ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน
วิธีการตรวจสอบ วิธีการตรวจสอบก่อนวันสิ้นปี การสังเกตการณ์และทดสอบการตรวจนับสินค้าคงเหลือ 1. ปฏิบัติตามวิธีการตรวจสอบที่ระบุในแนวการตรวจสอบบัญชี สําหรับการสังเกตการณ์ และทดสอบการตรวจนับสินค้า คงเหลือในเวลาที่เหมาะสม การทดสอบการสรุปรายละเอียดสินค้าคงเหลือ 2. ขอรายละเอียดสินค้าคงเหลือของบริษัทที่แสดงราคาไว้ด้วย 3. พิจารณาว่าปริมาณสินค้าคงเหลือได้มีการสรุป , ตีราคาและ คูณราคาโดยบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ ก. พนักงานเบิกรักษาของพนักงานของโกดัง ข. พนักงานบันทึกรายการสินค้า หรือ ค. พนักงานจัดทําบัญชีคุมยอด 4. พิจารณาว่าได้นําเฉพาะบัตรหรือใบจดปริมาณสินค้าคงเหลือ ที่ใช้ในการตรวจนับสินค้าคงเหลือ มาใช้สรุปปริมาณสินค้า คงเหลือ 5. พิจารณาถึงขอบเขตและพนักงานที่ตรวจสอบรายละเอียด สินค้าคงเหลืออีกครั้งโดย
ปริมาณ การ ทดสอบ
ตรวจ สอบ
วันที่
35 ก. เปรียบเทียบกับบัตรหรือใบจดปริมาณสินค้าคงเหลือ ข. เปรียบเทียบกับบัตรสินค้าคงเหลือ (Stock Cards ) ค. เปรียบเทียบกับเอกสารต้นทุน ( วิธีการคํานวณ ต้นทุนและรายละเอียดประกอบ ) ง. คํานวณตัวเลข 6. ตรวจสอบเอกสาร / รายการบัญชีที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้ ก. รายงานรับสินค้าและใบกํากับสินค้าซื้อที่เกี่ยวข้อง กับช่วง ระยะเวลาสองหรือสามวัน ก่อนและหลังวันที่ทําการตรวจสอบก่อนวันสิ้นปี ข. บันทึกสินค้าส่งคืนและค่าเสียหายที่เรียกจากผู้ขาย / ใบแจ้งหนี้ของบริษัทหรือใบหักหนี้ของผู้ขายช่วง ระยะเวลาสองหรือสามวันก่อน และหลังวันที่ทําการ ตรวจสอบก่อนวันสิ้นปี ค. ใบส่งสินค้าและใบกํากับสินค้าขาย ช่วงระยะเวลา สองหรือสามวันก่อนและหลังวันที่ทําการตรวจสอบ ก่อนวันสิ้นปี ง. บันทึกสินค้ารับคืนและค้าเสียหายที่ลูกค่าเรียกชดใช้ / ใบหักหนี้ของบริษัทช่วงระยะเวลาสองหรือสามวัน ก่อนและหลังวันที่ทําการตรวจสอบก่อนวันสิ้นปี จ. บันทึกเอกสารที่ไม่สามารถจับคู่ได้ในข้อ ก. ถึง ง. ณวันที่ทําการตรวจสอบก่อนวันสิ้นปี ฉ. แฟ้มเอกสารในข้อ ก. ถึง ง. ซึ่งไม่สามารถจับคู่ได้ ณ วันที่เข้าตรวจสอบ ช. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสินค้าที่รับ หรือส่งจนถึงวันที่ ทําการตรวจสอบก่อนวันสิ้นปี ได้บันทึกบัญชี ถูกต้องและรายการที่ซื้อและขายหลังวันที่ทําการ ตรวจสอบก่อนวันสิ้นปี ไม่ได้นํามาบันทึกบัญชีที่ทํา การตรวจสอบ 7. ตรวจสอบเอกสารรายการซื้อและการจ่ายเงินและการขาย และ สินค้าที่รับคืนช่วงระยะเวลาหนึ่งหลังวันที่ทําการตรวจสอบ ก่อนวันสิ้นปี และพิจารณาว่ามีรายการซื้อหรือใบกํากับสินค้า ขายหรือใบหักหนี้ที่เป็นสาระสําคัญ ที่เกี่ยวข้องกับงวดบัญชีที่ ทําการตรวจสอบ ได้บันทึกบัญชีถูกต้อง ณ วันที่ทําการ ตรวจสอบก่อนวันสิ้นปี 8. ทดสอบรายการสิน้าคงเหลือที่ตรวจนับ และจดไว้กับสินค้า
36 คงเหลือ ในกรณีที่มีผลแตกต่าง ตรวจสอบโดยละเอียดพร้อม ทั้งขอคําอธิบาย 9. เปรียบเทียบรายละเอียดสินค้าคงเหลือกับบัตรสินค้า ซึ่งรวมทั้ง รายการทุกรายการที่เข้าสังเกตการณ์การตรวจนับ สอบถามผล แตกต่างที่เป็นสาระสําคัญ และบันทึกสาเหตุนั้นใยรายละเอียด สินค้าคงเหลือหรือในกระดาษทําการแผ่นอื่น 10. ในกรณีที่มีผลแตกต่างที่เป็นสาระสําคัญระหว่าง ปริมาณ สินค้าที่ตรวจนับได้ กับบัตรคุมสินค้า พิจารณาว่า ก. ได้ตรวจสอบหาสาเหตุของผลแตกต่างและปรับปรุง บัญชีให้ถูกต้องหรือไม่ ข. การตรวจสอบหาสาเหตุ ได้กระทําโดยบุคคลที่ไม่ใช่ 1. พนักงานเก็บรักษาของหรือพนักงานของโกดัง 2. พนักงานบันทึกรายการสินค้า ค. การตรวจสอบหาสาเหตุ ได้สอบทานและอนุมัติโดย พนักงานที่ได้รับมอบหมาย 11. เลือกทดสอบการคูณราคาในรายละเอียดสินค้าคงเหลือ ( ทํา พร้อมกับขั้นตอนที่ 19 ) สังเกตรายการที่ไม่ตรวจสอบ เพื่อหา ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในการเทียบจุดทศนิยมผิดตําแหน่ง 12. ทดสอบการบวกเลขในรายละเอียดสินค้าคงเหลือ ( เลือก ทดสอบถ้ามีรายละเอียดหลายแผ่น ) เปรียบเทียบยอดรวมของ รายละเอียดสินค้าคงเหลือ กับยอดรวมของ ก. บัตรคุมสินค้า และ ข. บัญชีคุมยอดในบัญชีแยกประเภท 13. ถ้ามีผลแตกต่างที่สําคัญระหว่าง ยอดรวมของสินค้าที่ตรวจ นับ กับยอดรวมในบัญชีแยกประเภท พิจารณาว่า ก. ได้ตรวจสอบหาสาเหตุของผลแตกต่างและปรับปรุง บัญชีให้ถูกต้องหรือไม่ ข. การตรวจสอบหาสาเหตุได้กระทําโดยบุคคลอื่นที่ ไม่ใช่ 1. พนักงานเก็บรักษาของ หรือพนักงานที่โกดัง 2. พนักงานบันทึกรายการสินค้า 3. พนักงานจัดทําบัญชีคุมยอด ค. ผลการตรวจสอบหาสาเหตุได้สอบทานและอนุมัติ โดย พนักงานที่ได้รับมอบหมาย 14. ในกรณีที่ทําได้สอบทานการกระทบยอดสินค้าคงเหลือต้นงวด
37 ,ปริมาณสินค้าที่ขาย , และสินค้าคงเหลือปลายงวด ว่าสินค้าที่ ซื้อ / ผลิต ได้บันทึกบัญชีถูกต้องพอสมควร โดยมีผลต่างอยู่ใน ขอบเขตที่ยอมรับให้ ในกรณีผลแตกต่างเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ ปกติ เช่น การสูญเสียความชื้น พิจารณาว่า เหมาะสมหรือไม่ ( เช่น เปรียบเทียบกับประสบการณ์ในอดีต ) พิจารณาว่าได้ ตรวจสอบผลต่างที่สําคัญและได้รับคําอธิบายอย่างเพียงพอ 15. พิจารณาว่าสินค้าที่เป็นของบุคคลอื่น และเก็บรักษาโดยบริษัท ได้แยกออกจากสินค้าคงเหลือหรือไม่ และในทางตรงข้าม สินค้าของบริษัทที่ฝากไว้กับบุคคลอื่น ได้รวมไว้ในสินค้า คงเหลือ ( ขั้นตอนที่ 17 ค.และ ง. ของแผนการตรวจสอบบัญชี สําหรับการสังเกตการณ์ และทดสอบการตรวจนับสินค้า คงเหลือ )
สินค้าระหว่างทาง 16. ขอรายละเอียดสินค้าระหว่างทาง ( หมายเหตุ : ถ้ารายละเอียด หนี้สินจากการรับรองตั๋วเงินหรือหนี้สินจากการทําทรัสต์ชีทส์ มีรายละเอียดสินค้าระหว่างทางแล้ว ก็ไม่จําเป็นต้องขอ รายละเอียดสินค้าระหว่างทาง ) ทดสอบการบวกเลขหรือ เปรียบเทียบยอดรวมกับบัญชีคุมยอดในบัญชีแยกประเภท 17. พิจารณารายการสินค้าระหว่างทางที่สําคัญในรายละเอียด ดังต่อไปนี้ ก. บริษัทมีกรรมสิทธิ์ในสินค้า ณ วันที่ทําการ ตรวจสอบก่อนวันสิ้นปี ข. บริษัทยังไม่ได้รับสินค้าเหล่านั้น ก่อนวันที่ทําการ ตรวจนับสินค้าคงเหลือ( โดยการสอบทานเอกสาร ต้นทุนซึ่งอาจระบุไว้ว่า ได้รับสินค้านั้นแล้วการ ตรวจสอบการรับรองของในภายหลัง ตรวจสอบ รายการไม่ได้รับเกินกําหนดวันที่คาดว่าจะได้รับ ) ค. ได้บันทึกหนี้สินที่เกี่ยวข้องหรือจ่ายเงินแล้ว ณ วันที่ ทําการตรวจสอบก่อนวันสิ้นปี ( ขั้นตอนที่ควรจะทํา พร้อมกันกับแนวการตรวจสอบหนี้สิน จากการ รับรองตั๋วเงิน หรือหนี้สินจากการทําทรัสต์รีชีทส์ ) ง. ไม่ได้รวมเป็นส่วนหนึ่งของสินค้าคงเหลือ ณ วันที่ ทําการตรวจสอบ ก่อนวันสิ้นปี
38 การทดสอบตีราคา 18. เลือกรายการที่จะทําการทดสอบการตีราคาและการคูณราคา ( ดูขั้นตอนที่ 11 ) 19. ตรวจสอบราคาสํากรับรายการที่เลือกในขั้นตอนที่ 18 ( หมาย เหตุ ควรมุ่งตรวจสอบรายการที่มีมูลค่ามาก และตรวจสอบ รายการที่มีมูลค่าน้อยกว่าเพียงส่วนน้อย )กรณีที่ใช้ต้นทุน มาตรฐานหรือต้นทุนที่กําหนดไว้ล่วงหน้าอื่น ๆ 20. พิจารณาวันสุดท้ายที่ได้คํานวณ / ปรับปรุงต้นทุนมาตรฐาน ให้เป็นตัวเลขปัจจุบันเพื่อดูว่าต้นทุนนั้นยังเหมาะสมเมื่อมีการ เปลี่ยนแปลงรายละเอียด หรือวิธีการผลิต 21. สอบถามว่ามีการเปลี่ยนแปลงวิธีการรวบรวมต้นทุนมาตรฐาน หรือไม่ 22. เปรียบเทียบราคาที่ใช้ในการคํานวณราคาสินค้าคงเหลือกับ เอกสารต้นทุน 23. ในกรณีที่มีผลแตกต่างที่ต้นทุนจริงสูงกว่ามาตรฐานที่สําคัญ พิจารณาดังต่อไปนี้ ก. ผลแตกต่างนั้นเกิดจากความไม่มีประสิทธิภาพหรือความ ผิดปกติ ซึ่งไม่ต้องปรับปรุงราคาสินค้าคงเหลือ หรือเกิดจาก ต้นทุนมาตรฐานที่ไม่เป็นจริง ซึ่งไม่แสดงการดําเนินงานปกติ ดังนั้น จึงต้องปรับปรุงราคาสินค้าคงเหลือ ข. ได้ปรับปรุงราคาสินค้าคงเหลือโดยถูกต้องหรือไม่ 24. ในกรณีที่มีผลแตกต่างที่ต้นทุนจริงต่ํากว่าต้นทุนมาตรฐาน พิจารณาสาเหตุของผลแตกต่างและพิจารณาว่า ได้ปรับปรุง ราคาสินค้าคงเหลือโดยถูกต้องหรือไม่ในกรณีที่ใช้ต้นทุนจริง 25. เปรียบเทียบจากสินค้าคงเหลือสินค้าคงเหลือกับเอกสาร ต้นทุน ซึ่งแสดงการรวบรวมและคํานวณต้นทุนต่อหน่วย 26. ถ้ามีการกําหนดอัตราค่าแรงและค่าโสหุ้ยการผลิตล่วงหน้า เพื่อใช้ในการคํานวณต้นทุนจริง , ให้ทําขั้นตอนที่ 20-21 และ 23-24 สําหรับอัตราที่กําหนดขึ้นล่วงหน้า สํารองเผื่อมูลค่า ลดลง 27. จากนโยบายของบริษัท พิจารณาว่าจําเป็นต้องตั้งสํารองเพิ่ม หรือสํารองมีความเพียงพอหรือไม่ เนื่องจากสาเหตุต่อไปนี้ ก. ต้นทุนซื้อหรือการผลิตเพิ่มขึ้น ( รวมทั้งการปรับปรุง ผลต่างของต้นทุนมาตรฐาน ) ซึ่งไม่รวมในการตั้ง
39 ราคาขาย ข. ราคาขายลดลง ค. การตัดสินใจซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทาง การตลาด ของบริษัทที่จะผลิตและขายสินค้าในราคา ต่ํากว่าทุน ง. ราคาทดแทนหรือราคาที่ผลิตใหม่ต่ํากว่าราคาต้นทุน 28. สําหรับสินค้าระหว่างผลิต เปรียบเทียบต้นทุนทั้งหมดและ ต้นทุนโดยประมาณที่จะใช้ผลิตเสร็จและขายกับราคาสั่งทํา หรือราคาขายและพิจารณาว่าจะต้องตั้งสํารองสําหรับผล ขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเมื่อผลิตเสร็จหรือไม่ 29. เปรียบเทียบต้นทุนของสินค้าสําเร็จรูปกับราคาที่คาดว่าจะขาย ได้ หักด้วยค่าใช้จ่ายในการขาย และพิจารณาว่าจะต้องตั้ง สํารองสําหรับผลขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ 30. ในกรณีที่จะต้องตีราคาสินค้าสําเร็จรูปต่ํากว่าทุน ( ขั้นตอนที่ 29 ) พิจารณาว่าอะไหล่คงเหลือสําหรับใช้ในการผลิตสินค้า ดังกล่าวได้ตีราคาลดลงด้วยหรือไม่ 31. พิจารณาว่าได้ระบุสินค่าที่มีการเคลื่อนไหวช้า ล้าสมัยหรือ เสียหายหรือไม่โดย ก. ขอและสอบทานรายละเอียดของรายการที่มีการ เคลื่อนไหวน้อย หรือไม่มีการเคลื่อนไหวใน ระยะเวลาเร็ว ๆ นี้ ข. สอบทานบัตรคุมสินค้า ค. สอบทานรายงานถึงฝ่ายจัดการเกี่ยวกับสินค้า ประเภทนี้ ง. สอบถามฝ่ายจัดการเรื่อง - ปริมาณสินค้าที่มีไว้ตามกําลังการผลิต ปัจจุบัน - สินค้าคงเหลือที่มีจํานวนเงินสูงจะไม่ สามารถขายได้เนื่องจากความล่าช้าหรือ ตกลงกันไม่ได้ สินค้าเสีย ปัญหาทาง การตลาด หรืออื่น ๆ สอบทานากรตี ราคาสินค้าเหล่านี้ และพิจารณาว่าไม่ได้ ตีราคาสูงกว่าราคาที่จะขายได้ 32. สังเกตรายการที่ไม่ได้ทดสอบการตีราคาสินค้าคงเหลือว่า เหมาะสมหรือไม่
40 33. พิจารณาว่า วิธีการตีราคา ( รวมทั้งผลิตผลพลอยได้ ) 34. สําหรับสินค้าระหว่างผลิตที่เสร็จแล้วบางส่วนและได้มีการ โอนต้นทุนส่วนที่เสร็จแล้วออก พิจารณาว่าต้นทุนที่เหลือสามารถ กระจายให้แก่ สินค้าระหว่างผลิตที่เหลืออยู่ได้ 35. สอบทานรายละเอียดสินค้าคงเหลือดูรายการหรือจํานวนเงิน ที่ผิดปกติ หรือที่น่าสงสัยที่อาจจะต้องตรวจสอบเพิ่มเติม ระยะเวลาระหว่างปีที่ทําการตรวจสอบก่อนวันสิ้นปี ถึงวันสิ้นปี 36. ทําการทดสอบการปฏิบัติตามระบบตั้งแต่วันที่ทําการ ตรวจสอบก่อนวันสิ้นปีจนถึงวันสิ้นปี วิธีการตรวจสอบสิ้นปี 37. เปรียบเทียบสินค้าคงเหลือ ต้นทุนขายและอัตราส่วน ต่อไปนี้ ด้วยข้อมูล ณ วันที่ ทําการตรวจสอบก่อนวันสิ้นปีและ งวดบัญชีก่อนที่ใช้เปรียบเทียบกันได้ หรือกับงบประมาณ / ที่ คาดการณ์ไว้ และขออธิบาย หากมีการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญ ก. อัตราส่วนกําไรขั้นต้น ข. ต้นทุนขายต่อขายสุทธิ ค. การหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือโดยหารต้นทุนขาย ด้วยสินค้าคงเหลือสิ้นเดือนถัวเฉลี่ย 38. การวิเคราะห์รายการในบัญชีแยกประเภทที่กระทบบัญชีคุม ยอดสินค้าคงเหลือ ตั้งแต่วันที่ทําการตรวจสอบก่อนวันสิ้นปี และ ก. ตรวจสอบยอดของรายการหลักกับรายการเบื้องต้น ข. เปรียบเทียบความเหมาะสมของยอดรวมกับงวด บัญชีก่อนและกับงวดบัญชีเดียวกันของปีที่แล้ว ค. ตรวจสอบให้แน่ว่า ต้นทุนหรือการตีราคาสินค้า คงเหลือ ณ วันสิ้นปี ได้ปฏิบัติเช่นเดียวกับวิธีการ ณ วันที่ทําการตรวจสอบก่อนวันสิ้นปี ง. ตรวจสอบรายการเดบิตหรือเครดิต ที่สําคัญซึ่ง ผิดปกติ 39. ตรวจให้แน่ใจว่า ได้ตัดยอดส่งของขาย รับของและซื้อโดย ถูกต้อง(ให้พิจารณาขอบเขตการตรวจสอบการตัดยอด ณ วัน สิ้นปี ควรพิจารณาถึงผลของการตรวจสอบการตัดยอด ณ วันที่ ทําการตรวจสอบก่อนวันสิ้นปี ) 40. เปรียบเทียบยอดคงเหลือตามงบกระทบยอดสินค้าคงเหลือสิ้น
41 41.
42.
43.
44. 45.
46.
ปี กับบัญชีคุมยอดในบัญชีแยกประเภท ในกรณีที่มีผลแตกต่างในงบกระทบยอดสินค้าคงเหลือสิ้นปี พิจารณาว่า บริษัทได้ตรวจสอบผลแตกต่างที่สําคัญ และ ตรวจสอบรายการตัดจําหน่ายบัญชีที่สําคัญว่าได้รับอนุมัติจาก พนักงานที่ได้รับมอบหมาย ในกรณีที่ได้บันทึกรายการชายสําหรับสินค้าที่ยังอยู่ในความ ครอบครอง ของบริษัท พิจารณาว่าสินค้านั้นได้โอนออกจาก บัญชีคุมสินค้าในบัญชีแยกประเภทหรือไม่ สําหรับสินค้าระหว่างทาง ก. การวิเคราะห์รายการในบัญชีแยกประเภทที่กระทบ บัญชีสินค้าระหว่างทางตั้งแต่วันที่ทําการตรวจสอบ ก่อนวันสิ้นปีจนถึงวันสิ้นปีและ - ตรวจสอบยอดรวมของรายการหลักกับ รายการเบื้องต้น - เปรียบเทียบความเหมาะสมของยอดรวม กับบัญชีก่อนและกับงวดบัญชีเดียวกัน ของปีที่แล้ว - ตรวจสอบรายการเดบิตหรือเครดิตที่ สําคัญซึ่งผิดปกติ ข. ขอรายละเอียดสินค้าระหว่างทาง ณ วันสิ้นปี และ - ทดสอบการบวกเลข และเปรียบเทียบ ยอดรวมกับบัญชีคุมยอดในบัญชีแยกประเภท - สังเกตรายงานสินค้า , เอกสารส่งสินค้า ของตัวแทนสําหรับช่วงระยะเวลาหนึ่งหลังวันสิ้นปี และ ดูว่าสินค้ารับเข้าที่กรรมสิทธิ์ในสินค้าเป็นของบริษัท ณ วันสิ้นปี ได้รวมอยู่ในบัญชีสินค้าระหว่างทาง และบัญชี หนี้สิน ณ วันสิ้นปี ในกรณีมีการตรวจนับสินค้าแบบหมุนเวียนติดต่อกันไป พิจารณาว่าสินค้าทุกชนิดถูกตรวจนับระหว่างปี สอบทานผลของวิธีการตรวจสอบ ก่อนวันสิ้นปีในเรื่องราคาที่ จะขายได้ตามขั้นตอนที่ 27-31 และพิจารณาว่าจะมีการ เปลี่ยนแปลงเงินสํารองเนื่องจากการเปลี่ยนแปลง สภาพแวดล้อมตั้งแต่วันที่ทําการตรวจสอบก่อนวันสิ้นปี ตรวจสอบให้แต่ใจว่า กําไรภายใน ( ถ้ามี ) ที่เกิดขึ้นระหว่าง การขาย หรือโอนระหว่างแผนก ได้ตัดยอดจากบัญชีสินค้า
42 คงเหลือและในกรณีที่ทําได้ ขอรายละเอียดกําไรระหว่าง บริษัทสําหรับจัดทํางบการเงินรวม 47. พิจารณาว่า มีสินค้าคงเหลือใดบ้างที่นําไปเป็นหลักทรัพย์ค้ํา ประกัน 48. จัดทําใบสรุปสินค้าคงเหลือ 49. พิจารณาและสอบถาม พนักงานของบริษัทถึงความพอเพียง ของการประกันภัยของสินค้าคงเหลือ