Chandrakasem Rajabhat University Graphic Design On Package
ARTI3314
Final Project Sweet Corn Kanchanaburi By Pichayapron Wiwattanapoonporn
คำนำ รายงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาออกแบบกราฟิคบนบรรจุภัณฑ์ เพื่อใช้เป็นตัวรวบรวมการสรุปในโครงการ Final Project Sweet corn ของ จ.กาญจนบุรี เป็นโครงการพัฒนาการออกแบบกราฟิคบนบรรจุภัณฑ์ เนื้อหารายงานในเล่มนี้จะประกอบด้วย ขั้นตอนและวิธีการทำงาน ในโครงการ Final Project Sweet Corn ตรา Kan Buri เริ่มตั้งแต่การทำงานภายใต้หลักการดำเนินงาน 3ส/3R ขั้นตอนการทำ ผลิตภัณฑ์และขั้นตอนการออกแบบโลโก้้ นางสาว พิชญาภรณ์ วิวัฒนพูนผล
1. กลุ่มที่ควบคุมด้วยยืนชูการี่ (Sugary, su/su) ข้าวโพดหวานกลุ่มนี้มีปลูกในประเทศไทยมานาน มีความหวานเล็กน้อย มีน้ำตาลซูโครส(sucrose) ประมาณ 10.2 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จะมีซูโครสประมาณ 3.5 เปอร์เซ็นต์ เมล็ดมีสีเหลืองอ่อนมีเปลือกหุ้มเมล็ดค่อนข้างเหนียว เวลารับประทานมักติดฟัน เมล็ดแก่จะเหี่ยวย่น เนื่องจากมีแป้งในเมล็ดเพียง 28 เปอร์เซ็นต์ ทำให้เมล็ดเกิดการยุบตัวมาก พันธุ์ข้าวโพดหวานที่อยู่ในกลุ่มนี้ ได้แก่ พันธุ์อีเหี่ยว 2. กลุ่มที่ควบคุมด้วยยีนชรังเค่น (shrunken, sh/sh หรือ sh2/sh2) ข้าวโพดหวานกลุ่มนี้มีความหวานสูงกว่าในกลุ่มแรก มีซูโครสประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อต้มและทิ้งไว้จนเย็นจะเหี่ยวเร็วกว่ากลุ่มแรก เมล็ดมีสีเหลืองส้ม เปลือกหุ้มเมล็ดเหนียวน้อยกว่ากลุ่มแรก เวลารับประทานมักจะไม่ค่อยติดหรือมีติดอยู่บนซังเพียงเล็กน้อย เวลารับประทานมักจะไม่ค่อยติดหรือมีติดอยู่บนซังเพียงเล็กน้อย เมล็ดแก่จะยุบตัวมากกว่า เพราะมีแป้งเพียง 18 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์ข้าวโพดหวานที่อยู่ในกลุ่มนี้ เช่น พันธุ์อินทรี 2, ชูการ์ 73, ไฮบริกซ์ 5 และไฮบริกซ์ 10 เป็นต้น 3. กลุ่มที่ควบคุมด้วยยีนบริทเทิล (brittle, bt / bt หรือ bt2 / bt2) ข้าวโพดหวานในกลุ่มนี้จะมีความหวานใกล้เคียงกับกลุ่มที่สอง เมล็ดมีสีเหลืองนวล เปลือกหุ้มเมล็ดบาง เวลารับประทานกัดหลุดจากซังง่าย จึงไม่ติดฟัน และจะมีความหวานกรอบมากกว่ากลุ่มอื่นๆ พันธุ์ที่มียีนบริทเทิลควบคุมความหวาน เช่น พันธุ์เอทีเอส -2 หรือซูการ์ 74 4. กลุ่มที่มียีนเสริม ข้าวโพดหวานชนิดนี้จะมียีนที่เป็น homozygous recessive อยู่หนึ่งตำแหน่ง แต่อีกตำแหน่งหนึ่ง จะเป็น heterozygous เมื่อนำเมล็ดไปปลูกเพื่อผลิตฝักสด ยีนที่เป็น heterozygous จะแยกตัวตามกฎของ Mendel มีผลทำให้ 25 เปอร์เซ็นต์ ของเมล็ดที่เรารับประทานนั้นเป็น double recessive ทำให้ผู้รับประทานมีความรู้สึกว่าข้าวโพดนั้นหวานขึ้น ข้าวโพดหวานพวกนี้มียีน su เป็นพื้นฐานเพราะนักปรับปรุงพันธุ์ ต้องการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดหวานนั้นให้หวานขึ้นโดยการนำยีน
พันธุ์ข้าวโพดหวาน 1. พันธุ์ผสมเปิด ได้แก่ พันธุ์ฮาวายเอี้ยนชูการ์ ซูเปอร์สวีท เป็นพันธุ์ให้ผลผลิตต่ำกว่าพันธุ์ลูกผสม แต่ความสูงต้น ความสูงฝัก และอายุเก็บเกี่ยวใกล้เคียงกับพันธุ์ลูกผสม 2. พันธุ์ลูกผสม ปัจจุบันมีข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสมมากมายให้เกษตรกรเลือกใช้ ส่วนใหญ่จะเป็นพันธุ์ของบริษัทเอกชนต่าง ๆ และมีบางพันธุ์เป็นของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสมของกรมวิชาการเกษตรยังอยู่ในขั้นตอ นท้าย ๆ ของการปรับปรุงพันธุ์ ซึ่งคาดว่าจะออกเป็นพันธุ์รับรองหรือพันธุ์แนะนำได้ภายใน 2 - 3 ปี นี้ สำหรับลักษณะประจำพันธุ์ของข้าวโพดหวานพันธุ์ผสม เปิดและพันธุ์ลูกผสมที่นิยมปลูกในปัจจุบันได้รวบรวมไว้ใน ตารางที่ 1 และ 2 ตารางที่ 1 ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวโพดหวานพันธุ์ผสมเปิดและพันธุ์ลูกผสมที่เกษต รกรนิยมปลูกในปัจจุบัน
ตารางที่ 2 ลักษณะประจำพันธุ์ข้าวโพดหวานพันธุ์ลูกผสมที่เกษตรกรนิยมปลูกในปั จจุบัน
ข้าวโพดหวานอยู่ในตระกูล Gramineae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับหญ้าหรือข้าวมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeamays Line var. rugasa หรือ saccharata ข้าวโพดหวานมีคุณประโยชน์มากมาย นอกจากจะใช้รับประทานเป็นผักสดแล้วยังสามารถนำไปแปรรูปได้หลา ย รูปแบบ เช่น ข้าวโพดหวานบรรจุึกระป๋องทั้งฝักหรือบรรจุกระป๋องเฉพาะเมล็ด ทำครีมข้าวโพดหวาน ข้าวโพดแช่แข็ง ซึ่งผลิตภัณฑ์ ต่างๆ เหล่านี้ สามารถส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และกลุ่มประเทศในแถบยุโรป ฤดูปลูก ข้าวโพดหวานสามารถ ปลูกได้ตลอดปี แต่นิยมปลูกกันมากในช่วงฤดูฝน และสามารถปลูกได้ดีในดินทุกสภาพ แต่จะขึ้นได้ดีในสภาพดินร่วนปนทราย จะทำให้ผลผลิตดีและเก็บเกี่ยวได้เร็วกว่าความเป็นกรด-ด่าง ของดินที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 6.0-6.5 ข้าวโพดหวานต้องการแสงแดด เต็มที่ตลอดวัน
อุณหภูมิที่เหมาะสม อุณหภูมิที่เหมาะสมในการปลูกข้าวโพดหวาน เพื่อให้ได้ผลผลิตสูงที่สุดจะอยู่ในช่วง 24-30 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิกลางคืน อยู่ในช่วง 15-18 องศาเซลเซียส จะทำให้ข้าวโพดหวานมีคุณภาพดีและมีความหวานสูง การเตรียมแปลงปลูก การปลูกข้าวโพดหวานจะแตกต่างจากการปลูกข้าวโพดไร่ เพราะข้าวโพดหวานต้องดูแล และปฏิบัติอย่างพิถีพิถัน เช่นเดียวกับการ ปลูกพืชผัก จึงจะได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ดังนั้นในการเตรียมดินและการปลูกต้องการทำอย่างประณีต โดยการไถดินลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร แล้วตากทิ้งไว้ 7-10 วัน เพื่อกำจัดไข่แมลงและเมล็ดวัชพืช หากมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือหว่านปูนขาวเพื่อปรับ สภาพดินควรใส่ในช่วงนี้ แล้วจึงไถพรวนอีกครั้ง จากนั้นวัดระยะห่างระหว่างแถวประมาณ 80-100 เซนติเมตร ความยาวขึ้นอยู่กับ พื้นที่ ทำการขุดเป็นร่องลึกประมาณ 15-20 เซนติเมตร ถ้าหากสภาพดินแห้งไม่มีความชื้น ควรปล่อยน้ำเข้าตามร่อง หรือทำให้ดิน มีความชื้นบริเวณ การปลูกข้าวโพดหวาน ทำการเจาะหลุมปลูกบริเวณข้างๆ ร่อง ใช้ระยะห่างระหว่างหลุม(ต้น) ประมาณ 25-35 เซนติเมตร นำเมล็ดข้าวโพดหวานหยอดลงไป หลุมละ 1-2 เมล็ด ในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เมล็ดพันธุ์ประมาณ 1-1.5 กิโลกรัม หลังหยอดเมล็ดแล้วไม่ควรปล่อยดินแห้งเกินไป ควรให้ดินมีความชื้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรให้น้ำมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เมล็ดข้าวโพดเน่าได้ หลังจากหยอดเมล็ดพันธุ์ 5-7 วัน ข้าวโพดก็จะเริ่มงอก ให้สังเกตุดูว่าถ้าหลุมที่ไม่งอกให้รีบปลูกซ่อมทันที
การปฏิบัติดูแลรักษาข้าวโพดหวาน การถอนแยกต้น ควรกระทำหลังจากหยอดเมล็ด 12-14 วัน โดยการถอนแยกให้เหลือหลุมละ 1 ต้น - การให้ปุ๋ย ครั้งที่ 1 หลังจากหยอดเมล็ดประมาณ 14-10 วัน โดยการใส่ปุ๋ย 46-0-0 ผสมกับปุ๋ย 15-15-15 ในอัตรา 1:1 (ประมาณ 50 ก.ก./ไร่) โดยหว่านที่ร่องน้ำข้างๆ ต้น แล้วกลบโคนต้น ครั้งที่ 2 เมื่อข้าวโพดหวานเริ่มติดฝักอ่อนโดยการใส่ปุ๋ยสูตร 14-14-21 หรือ 13-13-21 อัตราประมาณ 50 ก.ก./ไร่ โดยหว่าน ที่ร่องพื้นแล้วกลบโคนต้น - การให้น้ำ ให้น้ำอย่างสม่ำเสมออย่าให้ขาดน้ำ โดยปล่อยเข้าตามร่องน้ำหรือให้แบบสปริงเกอร์ - การกำจัดวัชพืช กระทำพร้อมๆ กับการกลบโคนต้นและการให้ปุ๋ย - การฉีดพ่นสารป้องกันกำจัดโรคและแมลง การปลูกข้าวโพดหวานต้องระวังในเรื่องของหนอนเจาะฝัก หรือเจาะลำต้น ควรฉีดพ่น ยาพวกคาร์บาริล หรือยาพวกถูกตัวตาย เช่น เมทโธมิล การเก็บเกี่ยวและการรักษา การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด ที่จะทำให้ข้าวโพดหวานมคุณภาพดีหรือเลว ไม่ว่าจะเป็นข้าวโพดหวานเพื่อส่ง โรงงานหรือจำหน่ายฝักส ควรเลือกเก็บเกี่ยวในระยะที่มีน้ำตางสูงที่สุด และคุณภาพดีที่สุด หรือระยะที่เรียกว่า ระยะน้ำนม(Milk Stage) หากเลยระยะนี้ไปแล้วปริมาณน้ำตาลจะลดลงและมีแป้งเพิ่มขึ้น การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวานมีหลักพิจารณาง่ายๆ คือ นับอายุ หลังจากวันหยอดเมล็ด วิธีการนี้ต้องทราบอายุของข้าวโพดหวานแต่ละพันธุ์ว่าเป็นพันธุ์หนัก, เบา หรือปานกลาง เช่นพันธุ์เบา อายุ 55-65 วัน พันธุ์ปานกลาง 70-85 วัน และพันธุ์หนักตั้งแต่ 90 วันขึ้นไป เก็บสุ่มตัวอย่างในแปลงมาตรวจดู วิธีนี้แน่นอน และนิยมกระทำกัีนมากที่สุด การเก็บเกี่ยวข้าวโพดหวาน ควรเก็บเกี่ยวในเวลา เช้าตรู่และรีบส่งตลาดทันที ไม่ควรทิ้งไว้เกิน 24 ชั่วโมง เพราะจะทำให้น้ำตาลลดลง
ศึกษาส่วนประกอบของ label
กระป๋องอาหาร (Food Can) 87x90 307x309 15 oz. ผลไม้รวม,สับปะรด 87x116 307x409 20 oz. ข้าวโพดหวาน,ข้าวโพดอ่อน,ผักต่างๆ,กะทิ ,ผลไม้,หน่อไม้,สับปะรด,ลูกชิด
103x119 401x411 30 oz. ข้าวโพดหวาน,ข้าวโพดอ่อน,ผักต่างๆ,ผลไม้ ,ผลไม้,หน่อไม้,สับปะรด,ลูกชิด
สืบค้นการทำซุปข้าวโพด ซุปข้าวโพด ส่วนประกอบ 1. ข้าวโพดกระป๋อง เลือกแบบธรรมดาไม่ต้องมีครีมสำเร็จ 2. เนย ใช้เนยธรรมดา หรือเนยสำหรับทำอาหารก็ได้ 3. หัวหอม ขนาดกลางๆ 1 หัว 4. นมสด 5. น้ำสต๊อกไก่ประมาณสองถ้วยตวงนิดๆ หรือ ซุปไก่ก้อนสำเร็จรูปหนึ่งก้อน ตามโอกาสและความสะดวก 6. แป้งสาลี หรือแป้งข้าวโพด ใช้ประมาณช้อนโต๊ะกว่าๆ ความแตกต่างของแป้งทั้งสองคือ ถ้าใช้แป้งสาลี จะได้เนื้อซุปที่ออกข้นเหนียวนิดหนึ่ง ส่วนแป้งข้าวโพด จะให้เนื้อซุปที่ข้นลื่น อันนี้ก็สุดแต่ชอบ 7. เครื่องเทศและเครื่องปรุง ได้แก่ เกลือ พริกไทยขาว น้ำตาล วิธีทำ
1. ผัดเนยประมาณช้อนโต๊ะครึ่ง ถึงสองช้อนโต๊ะ ตั้งไฟให้ร้อนเดือด ใส่หัวหอมที่ซอยเป็นชิ้นเล็กๆแล้ว ลงไปผัดจนหอมเริ่มใส มีกลิ่นหอม ช่วงนี้ให้ใส่เกลือและพริกไทยลงไปได้เลย (เกลือไม่ต้องมากนัก สักปลายช้อนชาก็พอ)
2. ใส่น้ำลงไปราว ๆ สองถ้วยตวงกะ ๆ เอา ละลายก้อน ซุปไก่คนอร์ลงไป วิธีการละลายที่ดีที่สุด คือ ใส่ลงไปในทัพพี แล้วค่อยๆกวนน้ำซุป จนกระทั่งซุปก้อนนั้นละลายไปหมด จากนั้นรินน้ำซุปเก็บไว้ กรองหอมใหญ่ออก
3. เติมนมลงไปประมาณถ้วยตวงครึ่ง ทิ้งไว้ให้เดือด แล้วค่อยเติมข้าวโพดลงไป อย่าใส่ข้าวโพดเร็วนัก เพราะข้าวโพดจะถูกต้มจนแข็งได้ ชิมปรุงรสในช่วงนี้ แนะนำว่าซุปข้าวโพดควรรสชาติออกหวานนำนิดๆ และเค็มตาม เติมน้ำตาลไปได้ แต่อย่าหวานมาก (อย่าเกินสองช้อนชา)
4. ละลายแป้งสาลี หรือข้าวโพดประมาณช้อนโต๊ะกว่ากับน้ำ ประมาณค่อนถ้วยกาแฟเล็ก คนให้เข้ากัน แล้วเติมลงไป ระหว่างเติมก็คนซุปไปด้วย จนกว่าซุปจะข้นขึ้นตามต้องการ ถ้าใช้เตาความร้อนไฟฟ้า ให้ปิดเตาทันที หรือถ้าเตาแก๊ซ ให้ลดลงใช้ไฟอ่อนๆ ต้มต่อไปอีกนิด ระวังซุปเดือดจนล้นออกมา หมั่นคนต่อไปอีกประมาณนาทีเศษๆ ตักเสริฟได้ แหล่งที่มา : http://www.chezplayers.com/article.php?id=51
2. สมมติฐาน (Resume) แบบร่าง
ขั้นตอนการทำ Artwork ต่าง ๆ
ใช้โปรแกรม photoshop ในการทำ
ใช้โปรแกรม illustrator ในการทำ
แบบจำลองบรรจุภัณฑ์กระป๋อง โดยใช้โปรแกรม Sketch up
แบบทดลองโดยการนำ Label มาติดกระป๋อง
พบปัญหามีดังนี้ 1. Logo ที่ซ้ำกับแบบเดิมของเจ้าของบรรจุภัณฑ์ 2. ความกว้างและยาวของ Label มีขนาดที่ไม่พอดี ทำให้เกิดขอบขาว 3. เกิดช่องระหว่าง Label กับกระป๋อง
Label ที่แก้ไขและปรับปรุงใหม่
label แบบที่ 1
label แบบที่ 2
แบบ Artwork บรรจุภัณ์แบบกล่อง
ใช้โปรแกรม illustrator ในการทำ
ใช้โปรแกรม illustrator ในการทำ
3. สรุปผล ( Results ) กล่องและผลิตภัณฑ์ซุปข้าวโพด Sweet Cream Style Corn ตรา Kan Buri
สร้างสรรค์ผลงาน Final Project - Kan Buri sweet cream style
โดย : น.ส พิชญาภรณ์ วิวัฒนพูนผล รหัสนักศึกษา : 5211310239 กลุ่มเรียน 102 Contact E-mail : pichayapron.wiwat@gmail.com Publish Blog : http://pichayapron-arti3314.blogspot.com วิชา : arti3314 การออกแบบกราฟิกสำหรับบรรจุภัณฑ์