รู้จักกับระบบการเรียงพิมพ์ จากอดีตสู่ปัจจุบัน โดย YMPR
{ } คุณรูจ้ กั ระบบการพิมพ์ LETTERPRESS มากแค่ไหน ?
เรียง | พิมพ์ ถ้าพูดถึงระบบการพิมพ์ คำาแรกที่ทุกคนนึกถึง คงเป็น Offset มันคือระบบการพิมพ์ที่เป็นที่นิยมกันมากในปัจจุบัน แต่ถ้าพูดถึงระบบ Letterpress ..เชื่อว่ามีน้อยคน ที่จะทราบว่ามันคืออะไร ระบบการพิมพ์ Letterpress เป็นระบบการพิมพ์เก่าแก่่ โดยใช้วิธีกดบล็อกที่มีตัวอักษรและภาพลงบนกระดาษ ทำาให้เกิดผิวสัมผัสที่แตกต่างออกไปจาการพิมพ์แบบปกติ แต่ละขั้นตอนในการพิมพ์ Letterpress นั้น ก็ไม่ง่ายเลย ในยุคหนึ่ง Letterpress เคยเป็นเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ทันสมัยที่สุด แต่ทุกขั้นตอน ช่างต้องใช้พลังสมอง และฝีมือเป็นอย่างมาก ถึงจะใช้เครื่องจักรแต่ก็เรียกได้ว่าเป็นงานทำามือ 99 เปอร์เซ็นต์ ถ้าได้มาทำาเองจะเห็นว่า ต้องใช้ความละเอียดลออ ไม่ต่างจากการทำางานคราฟต์เลย หนังสือเล่มนี้ รวบรวมเรื่องราวของ Letterpress มาให้ศึกษา ความเป็นมา.. พาเรียงพิมพ์.. ชมผลงาน.. กาลเวลา.. จะทำาให้คุณได้รู้เรื่องราว Letterpress ตั้งแต่อดีตจนปัจจุบัน ขั้นตอนการพิมพ์ เครื่องพิมพ์ กระดาษที่ใช้ในการพิมพ์ ตลอดจนแนวโน้มของ Letterpress ในอนาคต หวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือ เรียง | พิมพ์ เล่มนี้ จะเป็นส่วนหนึ่ง ที่ทำาให้มีคนรู้จัก Letterpress มากขึ้น หันมาสนใจการพิมพ์ Letterpress มากขึ้น และร่วมอนุรักษ์การพิมพ์แบบนี้ไว้ ให้คงอยู่.. ให้รุ่นลูกรุ่นหลานได้ศึกษาและใช้งานกันต่อไป คณะผู้จัดทำา เรียง | พิมพ์
ความเปน มา
ต้นกำาเนิดของระบบการพิมพ์ Letterpress ที่มีประวัติอันยาวนาน
พาเรียงพิมพ์
รู้จักกับแท่นพิมพ์และขั้นตอนการพิมพในระบบ Letterpress
ชมผลงาน
ผลงานการพิมพ์ต่างๆจากกระดาษหลากประเภท
กาลเวลา
Letterpress ยังคงอยู่ในปัจจุบัน และอนาคต
9 19 35 47
อะไรคือ Letterpress ? ระบบการพิมพ์ชนิดแม่พิมพ์พื้นนูนแบบเดียวกับชนิดที่ กูเตนเบิร์กเคยใช้ซึ่งเป็นตัวพิมพ์แต่ละตัวอักษรที่หล่อด้วยโลหะ ผสม มาจัดเรียงให้เป็นข้อความตามที่ต้องการ แล้วนำาไปใช้พิมพ์ บนเครื่องพิมพ์ได้โดยตรง ซึ่งจะต้องอาศัย แรงในการกดพิมพ์ เพื่อให้ได้ข้อความติดลงบนกระดาษ
12
ผู้ คิ ด ค้ น ระบบการพิ ม พ์ เ ลตเตอร์ เ พลส เป็ น ชาวเยอรมั น ชื่ อ โยฮานน์ กูเตนเบิร์ก (Johann Gutenberg) กูเตนเบิร์กได้ ทดลองวิธีการพิมพ์ในราวปี พ.ศ. 1983 แต่วิธีการพิมพ์ของเขา ได้ เ ริ่ ม มี ชื่ อ เสี ย งและใช้ เ ป็ น วิ ธี ก ารพิ ม พ์ เ ชิ ง พาณิ ช ย์ ตั้ ง แต่ พ.ศ. 1993 จากนั้นกูเตนเบิร์กเริ่มพิมพ์หนังสือเล่มแรกจากวิธี การพิ ม พ์ ดั ง กล่ า วในปี พ.ศ. 1998 ถึ ง แม้ ว่ า ก่ อ นหน้ า นั้ น ราว 400 ปี จีนแผ่นดินใหญ่สามารถประดิษฐ์การพิมพ์ได้แล้ว แต่ ท ว่ า ก็ ยั ง ไม่ เ ป็ น ที่ แ พร่ ห ลายเพราะมุ่ ง รั บ ใช้ ร าชสำ � นั ก เป็นสำ�คัญ ไม่เหมือนกับกูเตนเบิร์กที่ทำ�ให้การพิมพ์หนังสือ แพร่หลายไปทั่วโดย นักประดิษฐ์ ”แท่นพิมพ์แบบเคลื่อนที่” ผู้นี้ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 1941 ที่เมืองเมนซ์ ดินแดนเยอรมนี ได้ ประดิษฐ์คิดค้นแท่นพิมพ์ดังกล่าวขึ้นมา เริ่มจากปี พ.ศ. 1983 ก่อนที่จะพัฒนามาโดยลำ�ดับ และได้พิมพ์เอกสารต่างๆ มากมาย จนถือว่าได้เป็นงานหลักในชีวิตของเขา แต่ที่นับว่ายิ่งใหญ่เพราะ รู้ จั ก แพร่ ห ลายกั น อย่ า งที่ สุ ด ก็ คื อ การพิ ม พ์ คั ม ภี ร์ ไ บเบิ ล ซึ่ ง มี ชื่ อ เรี ย กว่ า “กู เ ตนเบิ ร์ ก ไบเบิ ล ” ที่ พิ ม พ์ เ ป็ น ครั้ ง แรก เมื่อวันที่ 23 ก.พ. 1998
ในอดี ต การทำ � สำ � เนาหนั ง สื อ ใช้ วิ ธี ก ารคั ด ลอกด้ ว ย ลายมือโดยใช้ปากกาขนนกต่อมามีการคิดค้นระบบการพิมพ์ขึ้น ทำ � ให้ ก ารทำ � สำ � เนาหนั ง สื อ ทำ � ได้ เ ร็ ว กว่ า จึ ง มี ก ารใช้ วิ ธี การพิ ม พ์ แ บบใหม่ ม าแทนที่ ก ารทำ � สำ � เนาหนั ง สื อ แบบเดิ ม รู ป แบบการพิ ม พ์ พื้ น นู น ที่ เ ก่ า แก่ ที่ สุ ด เกิ ด ในประเทศจี น โดยพิมพ์จากบล็อกไม้ ใช้การแกะไม้เนื้อแข็งด้วยเครื่องมือที่ ทำ�ให้บริเวณภาพมีระดับสูงกว่าบริเวณ ไร้ภาพ การพิมพ์ท�ำ ได้โดย วางแผ่นกระดาษทีเ่ ปียกชืน้ ไปบนบล็อกไม้ทผ่ี า่ นหมึกแล้ว ในเวลา ใกล้เคียงกันนั้นได้เกิดการคิดค้นการพิมพ์จากการใช้ตัวพิมพ์ โลหะที่ถาดเลื่อนเข้าออกได้ (moveable type) และสามารถ นำ�กลับมาใช้ใหม่ภายหลังการพิมพ์เสร็จ วิธีการพิมพ์แบบนี้ถือ เป็นต้นกำ�เนิดการพิมพ์ Letterpress ในปัจจุบัน
13
วิวัฒนาการ ด้านการพิมพ์ จากอดีตจนถึงปัจจุบัน มนุษย์เราสามารถคิดค้นวิธีการคัดลอกข้อมูลต่างๆ ออกมาได้มากมายหลากหลายวิธี ซึ่งล้วนแล้วแต่มีการพัฒนาให้ดี สะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น
วิวัฒนาการด้าน การพิมพ์ของโลก จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ศิลปะของมนุษย์สมัย ก่อนประวัตศิ าสตร์ซงึ่ ปรากฎอยูบ่ นผนังถำา้ ลาสควักซ์ (Lascaux) ในฝรั่งเศส และถำ้าอัลตามิรา (Altamira) ในสเปน นอกจากปราก ฎผลงานด้านจิตรกรรมที่มีคุณค่าด้านความงามของมนุษยชาติ ในช่วงประมาณ 17,000 - 12,000 ปีที่ผ่านมาแล้ว ยังปรากฎผล งานแกะสลักหิน แกะสลักผนังถำ้าเป็นรูปสัตว์ลายเส้นซึ่งการแกะ สลักภาพลายเส้นบนผนังถำ้านั้น อาจนับได้ว่าเป็นพยานหลักฐาน ในการแกะแบบพิมพ์ของมนุษย์เป็นครั้งแรกก็ได้ นอกจากนั้นยัง ปรากฎการเริ่มต้นพิมพ์ภาพผ่านฉากพิมพ์ (Stensil) อีกด้วย โดยวิธีการใช้มือวางทาบลงบนผนังถำ้าแล้วพ่นหรือเป่าสีลงบน ฝ่ามือส่วนที่เป็นมือจะบังสีไว้ ให้ปรากฎเป็นภาพแบนๆ แสดง ขอบนอกอย่างชัดเจน ซึ่งนักว่าเป็นการพิมพ์อย่างง่ายๆ วิธีหนึ่ง 16
การพิมพ์ในประเทศทางตะวันออก ในสมัยอารยธรรมประวัติศาสตร์ยุคแรกๆ กลุ่มประ เทศเมโสโปเตเมีย (Mesopotamia) ได้รู้จักการใช้ของแข็งกด ลงบนดินทำ�ให้เกิดเป็นลวดลายตัวอักษร เรียกว่า อักษรลิ่ม (Cuneiform) ซึ่งมีอายุประมาณ 5,000 ปีก่อนคริสต์กาล ราว 255 ปีก่อนคริสต์กาล ในภูมิภาคแถบเอเชียตอน กลางและจีน ได้รู้จักการแกะสลักดวงตราบนแผ่นหิน กระดูก สัตว์และงาช้าง เพื่อใช้ประทับลงบนดินเหนียว บนขี้ผึ้งซึ่งอาจ กล่าวได้ว่า เป็นต้นตอของแม่พิมพ์ Letter Press โดยจะเห็นได้ จากพงศาวดารจีนโบราณองค์จักรพรรดิจะมีตราหยกเป็นตรา ประจำ�แผ่นดิน ค.ศ.105 ชาวจีนชื่อ ไซลั่น คิดวิธีทำ�กระดาษขึ้นมาได้ และได้กลายเป็นวัสดุสำ�คัญเท่ากับการเขียนและการพิมพ์ใน เวลาต่อมา ค.ศ.175 ได้มีการใช้เทคนิคพิมพ์ถู (Rubbing) ขึ้นใน ประเทศจีน โดยมีการแกะสลักวิชาความรู้ไว้บนแผ่นหิน เพื่อเปิด โอกาสให้ผู้ที่สนใจได้นำ�กระดาษมาวางทาบบนแผ่นหินแล้วใช้ ถ่านหรือสีทาลงบนกระกาษ สีก็ติดบนกระดาษส่วนที่หินนูนขึ้น มา เทคนิคนี้ดูจะเหมือนกับการถู ลอกภาพรามเกียรติ์ที่แกะสลัก บนแผ่นหินอ่อนที่วัดโพธิ์ในทุกวันนี้ ค.ศ.400 ชาวจีนรู้จักการทำ�หมึกแท่งขึ้น โดยใช้เขม่า ไฟเป็นเนื้อสี (Pigment) ผสมกาวเคี่ยวจากกระดูกสัตว์ หนัง สัตว์และเขาสัตว์เป็นตัวยึด (Binder) แล้วทำ�ให้แข็งเป็นแท่ง ชาว จีนเรียกว่า “บั๊ก” ต่อมาราวปี ค.ศ.450 การพิมพ์ด้วยหมึกบน กระดาษจึงเกิดขึ้นโดยใช้ตราจิ้มหมึกแล้วตีลงบนกระดาษเช่น เดียวกับการประทับตรายางในปัจจุบัน สำ � หรั บ ชิ้ น งานพิ ม พ์ ซึ่ ง เก่ า แก่ ที่ สุ ด และยั ง คงหลง เหลืออยู่ได้แก่การพิมพ์โดยจักรพรรดินีโชโตกุ (Shotodu) แห่ง ประเทศญี่ปุ่น ในราว ค.ศ.770 โดยพระองค์รับสั่งให้จัดพิมพ์ คำ�สวดปัดรังควานขับไล่วิญญาณหรือผีร้ายให้พ้นจากประเทศ ญี่ปุ่น และแจกจ่ายไปตามวัดทั่วอาณาจักรญี่ปุ่นเป็นจำ�นวนหนึ่ง ล้านแผ่นซึ่งต้องใช้เวลาตีพิมพ์เป็นเวลาถึง 6 ปี
จี น นิ ย มใช้ เ ทคนิ ค การพิ ม พ์ ด้ ว ยแม่ พิ ม พ์ แ กะไม้ และพัฒนาขึ้นตามลำ�ดับ ในปี ค.ศ.868 ได้มีการพิมพ์เป็น หนังสือพิมพ์เล่มแรกมีลักษณะเป็นม้วน มีความยาว 17.5 ฟุต กว้าง 10.5 นิ้ว โดย วาง เซียะ (Wang Chieh) ซึ่งยังคงตกทอดมา จนถึงปัจจุบันหนังสือเล่มนี้มีชื่อว่า วัชรสูตร (Diamond Sutra) ประมาณปี ค.ศ.1041 - 1049 การพิมพ์แบบแม่พิมพ์ นูนได้เปลี่ยนแปลงวิธีการเดิมที่ใช้การแกะไม้เป็นแม่พิมพ์ (เรียก ว่า Block) แม่พิมพ์ดังกล่าวสามารถพิมพ์ได้เพียงรูปแบบเดียว มาเป็นการใช้แม่พิมพ์ชนิดที่หล่อขึ้นเป็นตัว ๆ และนำ�มาเรียงให้ เป็นคำ�เป็นประโยค ซึ่งในปัจจุบันเรียกว่า “ตัวเรียงพิมพ์ (Movable type) เมื่อพิมพ์เสร็จแล้ว จะสามารถนำ�กลับไปเก็บและ สามารถนำ�มาผสมคำ�ใหม่ในการพิมพ์ครั้งต่อ ๆ ไปได้ ผู้ที่ค้นพบ วิธีการใหม่นี้เป็นชาวจีนชื่อ ไป เช็ง (Pi Sheng) โดยใช้ดินเหนียว ปั้นให้แห้งแล้วนำ�ไปเผาไฟ การสร้างตัวเรียงพิมพ์โลหะ เริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรกใน ประเทศเกาหลีเมื่อประมาณปี ค.ศ.1241 ได้มีการหล่อตัวพิมพ์ โลหะขึ้นเป็นจำ�นวนมากตามดำ�ริของกษัตริย์ไทจง (Htai Tjong)
17
การพิมพ์ในประเทศทางตะวันตก ค.ศ. 1904 Ira Washington Rubel ช่างพิมพ์ชาว อเมริกันได้สังเกตเห็นว่า ในการป้อนกระดาษเข้าพิมพ์โดยแท่น Cylinder press บางครั้งลืมป้อนกระดาษเข้าไป หมึกจะพิมพ์ ติดบนลูกกลิ้งแรงกด และเมื่อป้อนกระดาษแผ่นถัดไปหมึกบน ตัวพิมพ์จะติดบนกระดาษหน้าหนึ่ง แต่หมึกบนลูกกลิ้งจะติด กระดาษอีกหน้าหนึ่ง เมื่อสังเกตดูแล้วพบว่า หมึกที่ติดบนลูก กลิ้งก่อนที่จะติดบนกระดาษนั้นจะมีลักษณะสวยงามกว่าหมึกที่ พิมพ์จากตัวพิมพ์ไปติดกระดาษโดยตรง จึงได้คิดวิธีพิมพ์ระบบ Offset printing ขึ้น ค.ศ. 1907 Samuel Simon แห่งเมือง Manchester ได้ปรับปรุงการพิมพ์ระบบ Silk screen และจดทะเบียนลิขสิทธิ์ ที่ประเทศอังกฤษ
ผู้ที่คิดค้นวิธีพิมพ์อย่างเป็นระบบเป็นคนแรกจนได้ รับการยกย่องว่าเป็นบิดาของการพิมพ์คือ โจฮัน กูเต็นเบิร์ก (Johann Gutenberg) เพราะเขาได้ประดิษฐ์แท่นพิมพ์ พัฒนา แม่แบบสำาหรับหล่อตัวพิมพ์โลหะเป็นตัว ๆ สามารถที่จะเรียง เป็นคำา เป็นประโยคและเมื่อใช้พิมพ์ไปแล้วก็สามารถนำากลับมา เรียงใหม่ เพื่อใช้หมุนเวียนได้อีก ซึ่งเรียกว่าเป็นวิธี Movable ตลอดจนการค้นคิดวิธีการทำาหมึกที่ได้ผลดีสำาหรับใช้กับตัวเรียง โลหะ ผลงานอันมีชื่อเสียงของกูเต็นเบิร์กคือ คัมภีร์ 42 บรรทัด เมื่อปี ค.ศ. 1455 นั่นเอง ค.ศ. 1495 Albrecht Durer ศิลปินแกะไม้ชาว เยอรมัน ซึ่งเคยเป็นจิตรกรช่างเขียนภาพได้คิดวิธีพิมพ์จากแม่ พิมพ์ทองแดง (Copper plate engraving) โดยการใช้ของ แหลมขูดขีดให้เป็นรูปรอยบนแผ่นทองแดง และใช้พิมพ์แบบ Gravure เป็นครั้งแรกในเยอรมัน ต่อมาในปี ค.ศ. 1793 ชาวเยอรมันชื่อ Alois Senefilder ได้ค้นพบวิธีการพิมพ์หิน (Lithography) ซึ่งเป็นวิธีการ พิมพ์แบบพื้นราบ (Planographic printing) ขึ้นเป็นครั้งแรก
18
การพิมพ์ในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2205 (ค.ศ. 1662) สมัยสมเด็จพระนารายณ์ มหาราชกรุงศรีอยุธยา โดยมิชชันนารีฝรัง่ เศสซึง่ เข้ามาสอนศาสนา ในสมัยนัน้ จากจำานวนบาทหลวงทีเ่ ข้ามายังประเทศไทย มีสงั ฆราช องค์หนึ่งชื่อ ลาโน (Mgr Laneau) ได้ริเริ่มแต่งและพิมพ์หนังสือ คำาสอนทางคริสต์ศาสนาขึ้นนัยว่าสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพอพระทั ย การพิ ม พ์ ต ามวิ ธี ฝ รั่ ง ของสั ง ฆราชลาโนถึ ง กั บ ทรงโปรดให้ตั้งโรงพิมพ์ขึ้นที่เมืองลพบุรี เป็นส่วนของหลวงอีก โรงพิมพ์หนึ่งต่างหาก และต่อมาภายหลังรัชสมัยสมเด็จพระ นารายณ์มหาราช พระเพทราชาได้ขับไล่บาทหลวงฝรั่งเศสออก จากราชอาณาจักรสยามกิจการพิมพ์ในสมัยอยุธยาจึงหยุดชะงัก และไม่ปรากฎว่ามีหลักฐานการพิมพ์หลงเหลืออยู่ ในสมั ย พระเจ้ า ตากสิ น เมื่ อ บ้ า นเมื อ งปกติ แ ล้ ว บาทหลวงคาทอลิกชื่อ คาร์โบล ได้กลับเข้ามาสอนศาสนา จัดตั้ง โรงพิ ม พ์ แ ละพิ ม พ์ ห นั ง สื อ ขึ้ น ที่ วั ด ซั น ตาครู ส ตำ า บลกุ ฎี จี น จังหวัดธนบุรี หนังสือฉบับนั้นลงปีที่พิมพ์ว่าเป็นปี ค.ศ. 1796 (พ.ศ. 2339) ซึ่งคาบเกี่ยวมาถึงรัชสมัยพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก แห่งกรุงรัตนโกสินทร์และสันนิษฐานได้ว่า แม่พิมพ์คงใช้วิธีการ แกะแม่พิมพ์ไม้เป็นหน้าๆ มากกว่าการใช้ตัวเรียงพิมพ์โลหะ
พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1813) ได้มีการหล่อตัวพิมพ์เป็น ภาษาไทยขึ้นเป็นครั้งแรกโดยนางจัดสัน (Nancy Judson) ซึ่ง เป็นมิชชันนารีอเมริกัน และเข้ามาดำาเนินกิจการทางศาสนาใน เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า นางมีความสนใจภาษาไทยจากเชลย ชาวไทยในพม่าและได้ดำาเนินการหล่อตัวพิมพ์ภาษาไทยขึ้นเป็น ครั้งแรก ต่อมาตัวแม่พิมพ์ภาษาไทยชุดนี้ได้ถูกนำาไปยังเมือง กัลกัตตา และมีผู้ซื้อต่อโดยนำามาไว้ที่สิงคโปร์ นักบวชอเมริกัน ได้ซื้อตัวพิมพ์ และแท่นพิมพ์ดังกล่าวแล้วนำาเข้าสู่เมืองไทยอีกที หนึ่ง โดยมิชชันนารีคณะ American Board of Commisioner for Foreign Missions พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828) นายทหารอังกฤษชื่อ ร้อยเอก เจมส์โลว์ (Captain JamesLow) รับราชการอยูก่ บั รัฐบาลอินเดีย มาทำางานที่เกาะปีนังเรียนภาษาไทยจนมีความสามารถเรียบ เรียงตำาราไวยากรณ์ไทยขึ้น และได้จัดพิพม์หนังสือไวยากรณ์ ขึ้นเล่มหนึ่งชื่อว่า “A Grammar of the Thai” พิมพ์ที่ The Baptist Mission Press ที่เมืองกัลกัตตา หนังสือเล่มนี้ยังคงมี เหลือตกทอดมาให้เห็นจนถึงปัจจุบัน จึงนับว่าเป็นหนังสือที่พิมพ์ ด้วยตัวเรียงภาษาไทยที่เก่าแก่ที่สุดที่จะหาได้ในปัจจุบัน
19
เครื่องพิมพ์ Letterpress
ในอดีตนับตั้งแต่มีการคิดค้น ระบบการพิมพ์แบบ Letterpress โดยชาวเยอรมัน โยฮานน์ กูเตนเบิร์ก การพัฒนาเครื่องพิมพ์ให้ดี มีประสิทธิภาพก็เกิดขึ้นเรื่อยมา
ในอดีตก่อนที่จะมีการคิดค้นเครื่องพิมพ์แบบ Letterpress ขึ้นนั้น การพิมพ์ภาพก็เกิดขึ้นแล้วโดยมักอยู่ในรูปแบบศิลปะ ภาพพิมพ์และงานออกแบบซึ่งบล็อกแม่พิมพ์เกิดจากการแกะสลักไม้ หิน หรือโลหะ จากนั้นก็กลิ้งหรือลงสี แล้วใช้แรงกดสีกับกระดาษ เพื่อให้ได้ภาพที่ต้องการ เครื่องพิมพ์ Letterpress ในยุคแรกที่คิดค้นโดย โยฮานน์ กูเตนเบิร์ก เป็นเครื่องพิมพ์ที่ต้องใช้แรงกด โดยประยุกต์ใช้จาก วิธีการสกัดไวน์ (Wime Press) โดยเครื่องพิมพ์ของเขาทำ�จากไม้ ซึ่งเขาได้คิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1440 การทำ�งานของเครื่องพิมพ์ของเขา มีวิธีการโดยการกลิ้งหมึกพิมพ์พื้นผิวของบล็อกตัวพิมพ์ไม้ที่ถูกจัดเรียงมาอย่างดี และวางกระดาษลงบนบล็อกพิมพ์นั้นก่อนจะใช้ แรงกดแท่นของเครื่องพิมพ์ลงมาซึ่งต้องใช้แรงอย่างมากในการใช้งาน ภายหลังจึงมีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ให้มีขั้นตอนการพิมพ์ให้ใช้ ง่ายและเป็นอัตโนมัติมากขึ้น เช่น วิธีกลิง้ หมึก การกดสีทบั ลงไปบนกระดาษ เป็นต้น ซึง่ ก็เพือ่ ทำ�ให้การทำ�งานในเชิงพาณิชย์เป็นไปอย่าง รวดเร็วมากยิง่ ขึน้ เพราะในยุคของกูสเตนเบิรก์ การพิมพ์แต่ละครั้งต้องใช้เวลาและความอดทนเป็นอย่างมาก
เครื่องพิมพ์
Letterpress ต่อมามีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ Letterpress ให้มีความสะดวก ในการใช้งานมากขึ้นเพื่อความรวดเร็วในการพิมพ์ ซึ่งแบ่งชนิด ของเครื่องพิมพ์ได้ 3 ชนิด คือ ประเภทที่ 1 คือ เครื่องพิมพ์แบบแท่นยืน (Platen) คิดค้นในปี ค.ศ. 1839 ประเภทที่ 2 คือ เครื่องพิมพ์แบบโมเดี่ยว (Flatbed) คิดค้นในปี ค.ศ. 1830 ประเภทที่ 3 คือ เครื่องพิมพ์แบบโรตารี (Rotary) คิดค้นในปี ค.ศ. 1846
24
เครื่องพิมพ์ แบบแท่นยืน
เครื่องพิมพ์แบบแท่นยืนหรือที่ เรียกว่าเพลเทน ในอดีตมักใช้สำาหรับทำา ใบประกาศ หัวจดหมาย แบบฟอร์มต่างๆ เป็นต้น ซึ่งเป็นที่นิยมในยุคหนึ่งแต่เมื่อมี การคิดค้นเครื่องพิมพ์ท่ดี ีกว่า ความนิยม ของเครือ่ งพิมพ์แท่นยืนก็ลดลงไปในทีส่ ดุ วิธกี ารใช้เครือ่ งพิมพ์แท่นยืนจะ เริ่มจาก วางแม่พิมพ์และล็อคไว้ท่ีช่องใส่ แม่พิมพ์และด้านตรงข้ามของช่องที่ใส่แม่ พิมพ์ไว้ก็จะเป็นด้านที่เราจะป้อนกระดาษ เข้าไป ส่วนหมึกพิมพ์เราจะผสมสีไว้บน จานสีทรงกลมด้านบน เมือ่ โยกลูกกลิง้ ให้ แต้ ม สี บ นจานทรงกลม ระนาบทั้ ง สอง ด้านที่ใส่แม่พิมพ์กับกระดาษก็จะปิดและ กดทับกันโดยอัตโนมัติ ซึง่ เมือ่ เราโยกลูก กลิ้งให้สีติดที่แม่พิมพ์และโยกลูกหมึกไป แต้มสีอกี ครัง้ สีทแ่ี ม่พมิ พ์กจ็ ะถูกพิมพ์ลง แผ่นกระดาษทันทีเป็นการเสร็จสิน้ 1 ชิน้ หลังจากนั้นก็ป้อนกระดาษได้เรื่อยๆตาม จำานวนทีเ่ ราต้องการ
Platen Press ส่วนประกอบ จานผสมสี สำาหรับใส่แม่พิมพ์ ลูกกลิ้ง สำาหรับใส่กระดาษ
วิวัฒนาการ เครื่องพิมพ์แท่นยืนเครื่องแรกถูกคิดค้นขึ้นโดยชาวอเมริกัน สตีเฟน รักเกิลส์ ใน ค.ศ. 1839 หลังจากนั้นก็มีการพัฒนาระบบของเครื่องพิมพ์อยู่เสมอ เพื่อให้มีความ รวดเร็วในการพิมพ์มากยิ่งขึ้น ซึ่งตั้งแต่ปี ค.ศ. 1856 มีการพัฒนาให้เครื่องพิมพ์มีจานสี ที่สามารถหมุนได้ด้วยตัวเอง และทำาให้เครื่องสามารถหยุดทำางานได้เองหากไม่มีการ ป้อนกระดาษ จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1893 Harrild of London ได้คิดค้นเครื่องพิมพ์ที่ทำางาน ด้วยระบบไอน้ำาและไฟฟ้าขึ้น ซึ่งมีการทำางานโดยให้ลูกกลิ้งสองชิ้นเคลื่อนที่ไปชนกับ ช่องวางแม่พิมพ์เองโดยอัตโนมัติ ปี ค.ศ. 1913 เครื่องพิมพ์ที่สามารถป้อนกระดาษได้ อัตโนมัติก็ออกวางขายที่สหรัฐอเมริกา
25
26
The Heidelberg Platen Press เครื่องพิมพ์แบบแท่นยืนระบบ อัตโนมัติของไฮเดลเบิร์ก เป็นเครื่องพิมพ์ Letterpress ที่มีประสิทธิภาพสูงและยัง คงถูกใช้มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งการพิมพ์งาน ด้วยเครื่องพิมพ์ Letterpress สามารถ ทำ�บางอย่างที่เครื่องพิมพ์ระบบดิจิดอลไม่ สามารถทำ�ได้ เช่น การพิมพ์ให้ได้รูปร่าง หรือทรงแปลกๆ การเกิดรอยพับรอยย่น ต่างๆ การเจาะรู เป็นต้น ซึ่งโรงพิมพ์ที่รับ พิมพ์ Letterpress ในบ้านเราก็ได้ใช้สอย เครื่องพิมพ์ของบริษัทไฮเดลเบิร์กเพราะมี คุณภาพที่ดี และมีอายุการใช้งานยาวนาน อยู่คู่กับช่างพิมพ์ที่มักมีประสบการณ์ยาว นานไม่แพ้กัน ภาพ : โรงพิมพ์ Press a Card
27
Flatbed Press
เครื่องพิมพ์ แบบโมเดี่ยว
เครื่องพิมพ์แบบโมเดี่ยวเป็นระบบการพิมพ์ท่ีทำ�งาน ได้ชา้ โดยการทำ�งานของเครือ่ งพิมพ์ชนิดนี้ เพลทจะถูกติดไว้บน ระนาบแนวนอนอย่างแน่นหนา และจะลงสีให้เพลทแม่พมิ พ์ดว้ ย ลูกกลิ้ง ในการพิมพ์จะทำ�งานโดยมีลูกกลิ้งขนาดใหญ่ท่ีจะคอย ดึงกระดาษมาม้วนไว้และเพลทแม่พิมพ์แนวราบก็จะเป็นฝ่ายที่ เคลือ่ นทีผ่ า่ นม้วนกระดาษ และเกิดการพิมพ์ขน้ึ
วิวัฒนาการ ประวัตขิ องเครือ่ งพิมพ์แบบโมเดีย่ วมีมาอย่างยาวนาน เพราะมีการคิดค้นเครื่องพิมพ์ท่ีมีวิธีการพิมพ์คล้ายเครื่องพิมพ์ โมเดีย่ วตัง้ แต่ปี ค.ศ. 1830 โดย วิลเลีย่ ม ดอว์สนั ซึง่ เครือ่ งพิมพ์ ของเขามีชอ่ื ว่า Ruling Machine ทีท่ �ำ จากไม้ และอีกเครือ่ งหนึง่ ชือ่ ว่า Ulverstonian คิดค้นโดย สตีเฟน สคลับบี้ ทีม่ วี ธิ กี ารพิมพ์ คล้ายคลึงกัน จนกระทัง่ ในปี ค.ศ. 1855 เครือ่ งพิมพ์แบบโมเดีย่ ว เครือ่ งแรกก็เกิดขึน้ ซึง่ สามารถพิมพ์ได้ชว่ั โมงละ 500 แผ่น และ ต้องมีคนงานทำ�งานอยูก่ บั เครือ่ ง 20 คน ซึง่ ก็ถอื ว่ารวดเร็วมาก โดยเป็นผลงานของบริษทั Wharfedales ในปี 1911 ทางบริษทั ก็สามารถสร้างเครือ่ งพิมพ์ทพ่ี มิ พ์ได้ถงึ 1,000 - 2,000 แผ่นต่อ ชั่วโมง ในขณะนั้นรูปแบบของงานที่พิมพ์ออกมา คือ นิตยสาร และหนังสือพิมพ์ เนือ่ งจากลักษณะงานใช้พน้ื ทีก่ ว้างในการพิมพ์ จนกระทั่งถึงปัจจุบันเครื่องพิมพ์แบบโมเดี่ยวก็เป็นที่นิยมในการ พิมพ์โปสเตอร์มามากกว่า 70 ปีแล้ว
28
การเกิดขึน้ ของวิธกี ารพิมพ์แบบโรตารี ถือเปนก้าวสำาคัญ ในการพัฒนาไปสูง่ านพิมพ์ระบบออฟเซ็ต
เครื่องพิมพ์
แบบโรตารี
วิวัฒนาการ
Rotary Press
ผูค้ ดิ ค้นเครือ่ งพิมพ์โรตารีคอื ริชาร์ด โฮอ์ ปี ค.ศ. 1843 และสำาเร็จในปี ค.ศ. 1846 จนกระทัง่ ปัจจุบนั การเกิดขึน้ ของวิธี พิมพ์แบบโรตารีเป็นก้าวสำาคัญในการพัฒนาไปสู่งานพิมพ์ระบบ ออฟเซ็ต ซึ่งในช่วงหลังเครื่องพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์แบบโรตารี ได้รับความนิยมลดลง ถูกแทนที่ด้วยเครื่องพิมพ์เฟล็กโซกราฟี และออฟเซต แต่ยังมีผู้นำามาใช้ในการพิมพ์งานหนังสือพิมพ์ท่ี เป็นงานขาวดำาหรืองานพิมพ์ทม่ี สี เี ดียว งานพิมพ์ฟอร์มทางธุรกิจ งานพิ ม พ์ ห นั ง สื อ ฉลาก และงานพิ ม พ์ รู ป แบบพิ เ ศษอื่ น ๆ นอกจากนี้ เครือ่ งพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์แบบโรตารียงั มีประโยชน์ ในการพิมพ์งานสีเดียวที่ต้องการพิมพ์ซำ้าโดยทั่วไปแล้วการทำา แม่พมิ พ์สาำ หรับเครือ่ งพิมพ์โรตารีนน้ั ใช้ตน้ ทุนสูงมากกว่าการทำา แม่พมิ พ์ออฟเซต แต่จะประหยัดกว่าในขัน้ ตอนการพิมพ์
เครื่องพิมพ์แบบโรตารีโดยปกติแล้วมักใช้สำาหรับงาน พิมพ์หนังสือพิมพ์และนิตยสาร ซึ่งลักษณะของเครื่องพิมพ์ ต้องการเพลทแม่พิมพ์ท่ีสามารถม้วนกับลูกกลิ้งทรงกระบอกได้ หมึกจะฉาบบนลูกกลิ้งหมึกจากถาดหมึก ลูกกลิ้งหมึกจะป้อน หมึกโดยตรงกับม้วนเพลทแม่พิมพ์ กระดาษกับเพลทแม่พิมพ์ จะถูกกดโดยลูกกลิ้งทรงกระบอกอีกอันหนึ่ง ซึ่งการพิมพ์ด้วย เครื่องพิมพ์โรตารีน้ันสามารถพิมพ์ลงบนกระดาษ การ์ดบอร์ด หรือแม้แต่บนพลาสติกก็ได้เช่นเดียวกัน
29
ขั้นตอนการพิมพ์ Letterpress เป็นงานที่ต้องใช้เวลา ความเอาใจใส่ ความรอบคอบ รวมทั้งความอดทนอย่างสูง เพราะขั้นตอนการพิมพ์ทุกๆขั้นตอน มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก
ขั้นตอนการพิมพ์ งานก่อนพิมพ์เลตเตอร์เพรสส์เป็นงานที่ใช้เวลาค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับการพิมพ์อีกหลายระบบ โดยเฉพาะในงานพิมพ์ สอดสี และมีภาพประกอบจำ�นวนมาก ทั้งภาพลายเส้น ภาพฮาล์ฟโทน ภาพกราฟิก ตาราง และอื่นๆ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนหลายขั้น ได้แก่ การเรียงพิมพ์ การพิสูจน์อักษร การทำ�บล็อก การแยกสีและปรู๊ฟสี การเข้าหน้า การวางหน้า และการปรู๊ฟ ดังมีรายละเอียดดังนี้
เรียงพิมพ์ Linotype การเรียงพิมพ์งานจำ�นวนมากนิยมใช้เครื่องทำ�แต่ใน งานบางประเภทยังใช้การเรียงพิมพ์ด้วยมือเช่น การพิมพ์ชื่อเรื่อง การพิมพ์หัวจดหมาย การพิมพ์งานโฆษณา หรือการพิมพ์งานที่ ต้องใช้สูตรทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น การเรียงพิมพ์ด้วยเครื่อง ใช้การจัดเรียงตัวพิมพ์โลหะ จากตัวอักษรแต่ละตัว (monotype)หรือจัดเรียงบรรทัดตัวอักษร (linotype) เพื่อประกอบเป็นข้อความ การเว้นวรรคระหว่างคำ� และข้อความจะใช้ชิ้นโลหะขนาดเล็กเรียกว่า ตัวแทรก (space) ที่มีระดับความสูงน้อยกว่าตัวพิมพ์ วิธีการนี้ในปัจจุบันอาจเรียก ได้ว่าเป็นการ Kerning ซึ่งทำ�ด้วยมือ ดังนั้นช่างพิมพ์จะต้องมี ความละเอียดรอบคอบที่ไม่แพ้นักออกแบบในปัจจุบันเลย การเรียงพิมพ์ด้วยมือต้องใช้รางมือ สามารถปรับระยะ ที่ปลายด้านหนึ่ง เพื่อเรียงพิมพ์ข้อความที่มีความยาวบรรทัดที่ แตกต่างกัน
พิสูจน์อักษร
32
การพิสูจน์อักษร เมื่อตัวพิมพ์ถูกเรียงในรางมือจนเต็ม แล้ว ตัวพิมพ์ทั้งหมดจะถูกยกออกมาและวางลงในถาดโลหะที่ ตื้น เรียกว่า รางยาว (galley) ตัวพิมพ์ที่จัดเรียงจากรางมือจะถูก จัดไว้ในรางยาวเรื่อยไปจนได้ตัวพิมพ์เต็ม หน้า ถ้าพบข้อความที่ ผิดจะมีการแก้ไขข้อความ การปรู๊ฟลักษณะนี้ เรียกว่า การปรู๊ฟ รางยาว (galiey proofs)
การทำ�บล็อก Block การพิมพ์งานด้วยเทคนิค Letterpress มักมีข้อจำ�กัด เช่น ต้องใช้แบบตัวอักษรที่มีอยู่เท่านั้น หากต้องการแบบใหม่ก็ ต้องเสียเวลาทำ�ขึ้นมาใหม่หมดทั้งชุด และการพิมพ์ Letterpress ยังไม่สามารถพิมพ์รูปภาพได้ ดังนั้นจึงมีการทำ�บล็อกขึ้นมาเพื่อ ให้นักออกแบบสามารถทำ�งานได้หลากหลาย ประเภทของการทำ�บล็อก การทำ�บล็อกอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท
วิธีการกัดบล็อก สามารถเลือกทำ�ได้ 2 วิธี คือ แบบที่ 1 คือ แบบใช้ผง แบบที่ 2 คือ แบบไม่ใช้ผง ในปัจจุบันเราจะนิยมใช้วิธีกัดโดยไม่ใช้ผงมากกว่า กรรมวิธีในการทำ�จะคล้ายกับการกัดแบบแรก แต่จะใช้เครื่อง ควบคุมความเร็วและอุณหภูมิในการกัดด้วยกรด โดยไม่ผ่านขั้น ตอนการโรยด้วยผแต่ใช้น้ำ�ยากัดผสมสารเคมีที่จะก่อให้เกิดชั้น ฟิล์มบางๆ เคลือบบนบริเวณภาพเพื่อเป็นฉนวนป้องกันการกัด ของกรด
ประเภทที่ 1 คือ การแกะบล็อกภาพลายเส้น (line block) ซึ่งจะ ให้ภาพพิมพ์ที่ดูคล้ายภาพบล็อกไม้ในอดีต หรือบล็อกประเภท อื่นที่ได้จากการแกะด้วยมือ ประเภทที่ 2 คือ การทำ�บล็อกภาพฮาล็ฟโทน (halftone block) ซึ่งดูคล้ายภาพถ่ายและให้ภาพพิมพ์ที่มีน้ำ�หนักสีต่อเนื่อง
33
ปรูฟสี Color Proof
สีที่ใช้พิมพ์ Letterpress จะเปนสีตาย ไม่สามารถไล่โทนได้
สีที่ใช้ในระบบการพิมพ์ Letterpress เป็นสี CMYK และใช้วิธีแยกสี ซึ่งเป็นกระบวนการแยกสีต่างๆ ออกจากภาพ ต้นฉบับว่าบริเวณใดพิมพ์ด้วยหมึกพิมพ์สี่สีในอัตราส่วนเท่าใด เพื่อให้ได้ภาพพิมพ์สอดสีที่มีสีคล้ายต้นฉบับมากที่สุด ส่วนการ ปรู๊ฟสี เป็นการตรวจสอบสีของภาพพิมพ์ว่ามีความถูกต้องและ เหมือนต้นฉบับหรือไม่ โดยดูจากอัตราส่วนการผสมสีทั้งสี่ว่ามี ความถูกต้องเพียงใด สีที่ใช้พิมพ์ Letterpress จะเป็นสีตาย คือ ไม่สามารถไล่โทนได้ หากต้องการไล่โทนต้องทำากราฟฟิกให้รู้สึก ไล่น้ำาหนักเอง ซึ่งก็เป็นเสน่ห์อีกอย่างของ Letterpress
เข้าหน้า วางหน้า ภายหลังการเรียงพิมพ์ การพิสูจน์อักษร การทำาบล็อก การแยกสีและการปรู๊ฟสีแล้วเสร็จจะเป็นขั้นตอนการเข้าหน้า (assemble or make up) หน่วยที่ใช้ระบุความกว้างและความ ยาวหรือความลึกของหน้าคือเอ็ม (ems) เช่น ความกว้างเท่ากับ 25 เอ็ม และความยาวหรือความลึกเท่ากับ 40 เอ็ม เป็นต้น เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการเข้าหน้า จะเป็นการวางหน้า (imposition) และอัดรวมในกรอบ การวางหน้าเป็นการจัดเรียง หน้าต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
34
ปรูฟงาน Proof หลังจากได้แม่พิมพ์แล้ว ก็จะมีการปรู๊ฟความถูกต้อง และปรับแก้ข้อความอีกครั้ง การปรู๊ฟครั้งนี้ไม่ควรมีการแก้ไข ถ้า มีก็ควรน้อยที่สุด จากนั้นส่งแม่พิมพ์ไปยังห้องพิมพ์ และปรู๊ฟที่ เครื่องพิมพ์อีกครั้งก่อนที่จะพิมพ์ตามจำานวนพิมพ์ที่ต้องการ จะเห็ น ได้ ว่ า ในอดี ต ช่ า งพิ ม พ์ เ ป็ น ผู้ ที่ มี ค วามสำ า คั ญ เทียบได้กับนักออกแบบในปัจจุบัน แต่ก็เป็นนักออกแบบที่มี ความละเอียดอ่อน รอบคอบ และอดทนเป็นอย่างสูง การพิมพ์ งานด้วยระบบ Letterpress ในปัจจุบันก็ถูกแทนที่ด้วยระบบ การพิมพ์ที่ทันสมัยกว่า ก็เป็นไปได้ว่าเพราะเหตุนี้นักออกแบบ ส่วนใหญ่จึงมีความละเอียดอ่อน รอบคอบ และความอดทน ใน การทำางานน้อยลงกว่าในอดีต
35
กระดาษ Letterpress กระดาษเป็นส่วนสำาคัญ เนื่องจากเป็นสื่อที่แสดงผลการพิมพ์อันมี เอกลักษณ์และเสน่ห์ ในระบบการพิมพ์ Letterpress
39
กระดาษที่ใช้สำาหรับการพิมพ์ในระบบแบบ letterpress จะต้องเป็นกระดาษที่ มีความหนา โดยส่วนมากจะใช้กระดาษชนิด 120 แกรมขึ้นไป และต้องมีความยืดหยุ่น เนื่องจากแม่พิมพ์จะกดลงบนผิวกระดาษซึ่งจะทำาให้เกิดเป็นรอยลึกลงไปตามลักษณะ ของแม่พิมพ์ ซึ่งถือว่าเป็นเสน่ห์เฉพาะของ letterpress ถ้าหากว่าใช้กระดาษที่มีความ ยืดหยุ่นน้อย รอยกดก็จะตื้นกว่า ทำาให้เห็นได้ไม่ชัดเจน กระดาษที่แตกต่างกันย่อมให้ผลลัพธ์ของงานพิมพ์ที่ต่างกันดังนั้นจึงมีการ เลือกใช้กระดาษหลายประเภทให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน โดยกระดาษที่นิยมใช้ใน การพิมพ์ letterpress มีดังนี้
American Paper Lettra กระดาษ Lettra เป็นทีร่ จู้ กั และ นิยมอย่างแพรหลายในวงการการพิมพ์ letterpress ผลิตจากคอตตอน 100% มี 3 สีคือ white, less white และ lesser white ความหนาของกระดาษอยู่ที่ 110 และ 220 lb เป็นกระดาษที่เนื้อค่อนข้าง นิ่ม และให้ความรู้สึกหรูหรา รอยกดของ แม่พิมพ์บนกระดาษนี้จะมีความนุ่มนวล สวยงาม แต่เนื่องจากเนื้อกระดาษมีความ นิ่ม จึงไม่สามารถทนต่อแรงกดสูง ๆ ได้ 40
1. Dingbat Press Paper : Lettra Fluorescent White 110 lb/300 gsm 2. Lilikoi Design & Letterpress Paper : Lettra Pearl White 300 gsm 3. Rohner Letterpress Paper : Lettra Fluorescent White 110 lb 4. Rowley Press 34 Typographic Sins poster. Designed by Jim Godfrey. Printed by Rowley Press on Lettra. 5. Sideshow Press Paper : Lettra 110 lb Pearl White
1
2
3
4
41
5
Mouldmade Paper กระดาษ Mouldmade คือกระดาษที่ผลิต จากเครื่องจักรแต่เลียนแบบให้มีลักษณะ คล้ายกันกับการผลิตแบบ Handmade กระดาษชนิดนี้จะผสมผสานเอาคุณภาพ จากการผลิตโดยเครื่องจักร มีชื่อเรียกว่า Fourdrinier paper กับลักษณะเฉพาะตัว ของ Handmade เข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งทำาให้ กระดาษแข็งแรงและสามารถยืดหยุ่นได้ มากกว่ากระดาษที่ผลิตด้วยเครื่องจักร แบบทั่วไป ศิลปินและผู้ที่ทำางานเกี่ยวกับ สิ่ ง พิ ม พ์ จ ะนิ ย มใช้ ก ระดาษนี้ เ นื่ อ งจาก มี ค วามทนทานและมี พื้ น ผิ ว ที่ ส วยงาม นอกจากนี้ยังฉีกขาดยากเพราะมีเส้นใย กระดาษที่วางตัวตามแนวขวางของแผ่น ซึ่ ง แตกต่ า งจากกระดาษที่ ผ ลิ ต จาก เครื่ อ งจั ก รทั่ ว ไปที่ มี เ ส้ น ใยวางตั ว ไปใน ทิศทางเดียวกันจึงทำาให้กระดาษเปราะบาง
42
British Paper
Somerset
Somerset เป็นกระดาษแบบ mouldmade ผลิตจากคอตตอน 100% โดย ฝีมือที่มีความพิถีพิถันจาก St. Cuthberts ในประเทศอังกฤษมานานกว่า 200 ปีแล้ว Somerset นิยมใช้สำาหรับงานประเภทการเชื้อเชิญและการประกาศต่าง ๆ สามารถใช้ได้ ทั้งการพิมพ์แบบ Letterpress, engraving (บล๊อคแกะสลัก), foil stamping และ งานพิมพ์ในระบบ offset 1. CW Roelle and DWRI Letterpress Paper : Somerset Textured 300 gsm Softwhite 2. Brian Taylor / Candykiller Paper : Somerset Textured 300 gsm 3. Gemma Correll Limited Edition Letterpress Prints Paper : Somerset 100% cotton paper 300 gsm
1
3
43
2
Deckled Edges Deckled Edges คือขอบกระดาษที่ไม่เรียบ มีลักษณะฟฺูและ หยักไปมาตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นผลจากการผลิตกระดาษแบบ handmade และ mouldmade ถ้าหากเป็นกระดาษที่ผลิต โดยเครื่ อ งจั ก รปกติ ก็ จ ะตั ด ขอบให้ เ รี ย บแบบกระดาษทั่ ว ไป Deckled Edges จึงเป็นสเน่ห์อย่างหนึ่งของกระดาษที่นิยมคงไว้ เป็นส่วนหนึ่งในงานออกแบบต่างๆ
French Paper
Arches
Arches เป็นกระดาษชนิด mouldmade จากฝรั่งเศส เหมาะสำาหรับงานพิมพ์ต่างๆ Arches Cover ผิวของกระดาษ เป็นแบบ cold pressed จึงมีพื้นผิวที่ไม่หยาบมาก ลักษณะ กระดาษจะมีขอบแบบ deckled edges สองด้าน และเป็นขอบ เรียบที่มีตรา watermarks อีกสองด้าน กระดาษนี้สามารถใช้ใน งานพิมพ์ออกมาได้อย่างสวยงาม ผลิตจากเส้นใยคอตตอน 100% pH เป็นกลาง กระดาษมีให้เลือกเพียง 3 สี ได้แก่ สีขาว ครีม และดำา
We are meant to eat together Paper : Black ink on Arches 44
1
2
1. seed, grow, bloom Paper : Arches watercolour paper 2. come darkness, before the storm Paper : arches 100% cotton paper 3. come darkness, waves #03 Paper : arches 100% cotton paper
3
45
Italian Paper
Arturo Arturo ผลิตขึ้นโดย Cartiere Magnani ซึ่งเป็น บริษัทผลิตกระดาษที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1404 สำ�หรับใช้ในชนชั้น ปกครองและรัฐบาล หนึ่งในลูกค้าอันมีชื่อเสียงก็คือ นโปเลียน โบนาปาร์ต หรือจักรพรรดิ์นโปเลียนที่ 1 แห่งฝรั่งเศส ได้เลือกใช้ กระดาษของ Magnani เป็นการ์ดแต่งงานของเขา กระดาษ Arturo เป็นการที่ได้รับความนิยมสูงมากใน การพิมพ์ Letterpress และใช้สำ�หรับ Stationery เป็นกระดาษ ชนิด mouldmade ซึ่งมีความนุ่มเนียน และให้ความรู้สึกที่ หรูหรา มีขนาดให้เลือกถึง 32 ขนาด และขอบกระดาษแบบ deckled edge มีสี 8 เฉด ได้แก่ White, Softwhite, Buttercream, Celadon, Gray, Lavender, Pale Blue และ Pale Pink
1. Sideshow Press Paper: Arturo Softwhite 260 gsm and Envelopes 2. Copperwillow Paper : Arturo 260 gsm Softwhite 3. Wedding Invitations Paper : Arturo Pale Pink 260 gsm 4. Dingbat Press Paper : Arturo Lavender 260 gsm
46
47
กระดาษ ที่ใช้ในประเทศไทย สำาหรับกระดาษที่ใช้สำาหรับการพิมพ์ Letterpress ในประเทศไทยนั้นมีอยู่หลากหลายชนิดด้วยกัน แต่คุณภาพอาจจะไม่ เทียบเท่ากับกระดาษของต่างประเทศ เนื่องจากกระบวนการผลิตที่แตกต่าง และมีราคาถูกกว่า เมื่อพิมพ์ผลงานออกมาก็จะได้ผลลัพธ์ ที่ไม่เหมือนกัน เช่น ความสดของสี รอยกดลึกของแม่พิมพ์ ลักษณะของพื้นผิวกระดาษ เป็นต้น ในประเทศไทยนั้นการพิมพ์ในระบบ นี้ไม่ค่อยได้รับความนิยมแล้ว ดังนั้นจึงไม่ค่อยพบเห็นทั่วไป สำาหรับตัวอย่างงานที่นำามาให้ชมนั้นเป็นผลงานจากร้าน Press A Card ซึ่งได้อนุรักษ์การพิมพ์ในระบบ Letterpress เอาไว้จนถึงทุกวันนี้
แถวบน การ์ดชุด “มรดก” ออกแบบโดย “อธิป นิ่มทองคำา” ซึ่งนำาภาพตัวอักษรชุดเรโทรสไตล์ไทยๆ มาใช้ในการออกแบบ เพื่อสะท้อนความเป็นไทย ข้อมูลการพิมพ์ พิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ลงบนกระดาษชานอ้อย 600 แกรม โดยพิมพ์ด้านหน้า 2 สี (ฟ้า, น้ำาตาล) ขนาดงาน 5 x 7 นิ้ว แถวลาง การ์ดอวยพร ออกแบบโดย ไตร-แซท ดีไซน์ สตูดิโอ ข้อมูลการพิมพ์ การ์ดเดี่ยว: พิมพ์เลตเตอร์เพรสส์ลงบนกระดาษชานอ้อย 600 แกรม พิมพ์ 2 สี ด้าน หน้า ขนาดงาน 5 x 7 นิ้ว 49
ปจจุบัน อนาคต และสถานที่ที่ยังมี ระบบการพิมพ์แบบ Letterpress ระบบการพิมพ์ Letterpress นั้นเป็นรูปแบบที่มีมานาน นับว่าเป็นที่นิยมมากๆ ในสมัยก่อน เจริญรุ่งเรือง และมีโรงพิมพ์มากมายที่รับทำา เทียบเท่าได้กับการพิมพ์ระบบ Offset ในปัจจุบัน แต่ในยุคสมัยนี้ที่ผู้คนเลิกใช้้ และเลิกให้ความสนใจกับ Letter Press มันจึงไม่ต่างอะไรกับระบบโบราณที่ถูกลืม และค่อยๆ เลือนหายไปจากสังคมไทยอย่างช้าๆ โรงพิมพ์ระบบนี้ก็ค่อยๆ น้อยลง แล้วในอนาคต คุณคิดว่ามันจะเหลืออยู่ ให้ลูกหลานได้ทดลอง ได้สัมผัสมัน แค่ไหนกัน
52
อย่างที่รู้กันว่าการพิมพ์โดยระบบ Letterpress นั้น เป็นระบบที่นิยมมาตั้งแต่สมัยก่อน ใช้กันเป็นปกติเหมือนระบบ Offset เหมือนในปัจจุบัน เป็นการพิมพ์แบบมีเอกลักษณ์เฉพาะ มีความสวยงาม เรียบหรู ดูคลาสสิค แม้จะมีข้อจำากัดของมัน บ้างก็ตาม แต่ในปัจจุบัน ความนิยมที่จะใช้การพิมพ์ในระบบ Letterpress นั้นลดน้อยลง ด้วยเหตุผลมากมายหลายประการ ทั้งเรื่องของต้นทุนที่ใช้ ระยะเวลาในการทำางาน จำานวนผลงาน ที่ไม่สามารถผลิตจำานวนมากได้ ข้อจำากัดต่างๆในการออกแบบ ที่ต้องคำานึงถึง เป็นต้น ซึ่งระบบการพิมพ์แบบ Letterpress เสียเปรียบระบบ Offset อยู่มาก เป็นเหตุให้ได้รับความนิยม น้อยลงนั่นเอง การพิมพ์ Letterpress ต้องใช้คนในการตรวจดูงาน และคุมเครื่อง ซึ่งตัวช่างพิมพ์ที่มีความสามารถในการทำางาน กับเครื่องระบบนี้นั้น ต่างล้วนเป็นช่างพิมพ์รุ่นเก่าที่มีอายุทั้งนั้น Letterpress ต้องใช้คนร่วมทำางานในแทบทุกขั้นตอนการทำา ตั้งแต่เรียงพิมพ์ จนถึงการพิมพ์ ซึ่งต่างจากจากระบบ Offset ที่ สั่งได้จากหน้าคอมพิวเตอร์ กดครั้งเดียวอยู่ กดครั้งเดียวเสร็จ Letterpress ที่ยังมีอยู่ในปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้ในงาน ที่ใช้การรันเลขในแต่ละหน้า เช่น บิลเงินสดต่างๆ และงานการ์ด
เช่น การ์ดแต่งงาน เป็นต้น แต่ต้นทุนที่จะทำาการ์ดโดยใช้ระบบ Letterpress นั้นค่อนข้างสูง หากไปเทียบกับระบบการพิมพ์ ธรรมดาอย่าง Offset แต่หากเทียบกับการที่ต้องใช้ฝีมือและ ทักษะความชำานาญ กรรมวิธีการผลิต ต้นทุน และแรงงานความ รู้สึกที่ว่ามันแพง อาจจางหายไปจากความคิดของผู้ที่เห็นคุณค่า ของงานประเภทนี้ ปัจจุบันนั้น การพิมพ์ด้วยระบบ Offset เข้ามาแทนที่ ระบบ Letterpress มากแล้ว ด้วยราคาต้นทุนในการผลิตที่ ต่่ำากว่า และยังสามารถสั่งพิมพ์งานได้มากกว่าเป็นหลักหมื่น ระยะเวลารวดเร็วกว่า ความสะดวกสบายที่มีมาก นอกจากนี้ ยังรวมไปถึงการออกแบบที่ไร้ขีดจำากัด สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนทำาให้ การพิมพ์ระบบ Offset ได้รับความนิยมอย่างมากและแพร่หลาย ในปัจจุบัน แต่ในต่างประเทศ ยังนิยมใช้การพิมพ์ Lettepress ในการทำาการ์ดต่างๆ กันอยู่ ด้วยความชอบในรูปแบบและสไตล์ ที่คลาสสิค และคุณภาพในการพิมพ์ที่ดี วัสดุในการพิมพ์ หรือ กระดาษที่ดีกว่าบ้านเรานั้น ทำาให้การพิมพ์ในรูปแบบนี้ ยังคง ไม่เลือนหายไปเหมือนในประเทศไทย
อนาคตของ Letterpress จะเป็นอย่างไร ? ปัจจุบันนี้ โรงพิมพ์ Letterpress ในประเทศไทย เหลือน้อยลงเต็มทีแล้ว โรงพิมพ์ระบบนี้ที่มีในปัจจุบัน ล้วนทำาต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยก่อน คาดว่าอีกไม่นานคงไม่เหลือไว้ให้ได้ใช้งานกันอีกต่อไป ด้วยคนที่รู้งานและเชี่ยวชาญส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นเก่า ซึ่งก็คงอยู่กับเราได้อีกไม่นาน บวกกับไม่มีคนรุ่นใหม่ที่ต้องการจะมาเรียนรู้ คนที่อยากมาเป็นช่างพิมพ์ยิ่งน้อยใหญ่ ไม่มีใครต้องการมาใช้แรงงานทำางานหน้าเครื่องพิมพ์ ที่ทั้งร้อนทั้งเมื่อยอีกต่อไป คนส่วนใหญ่ล้วนอยากทำางานสบาย นั่งห้องแอร์ นั่งหน้าคอมพิวเตอร์ แล้วคนสืบทอด Letterpress จะหาได้จากที่ไหน
หากเรายังไม่มีค่านิยมที่จะใช้การพิมพ์ ในระบบ Letterpress ที่เพิ่มขึ้น อนาคตนั้น ก็คงไม่มีโรงพิมพ์ระบบนี้ ไว้ให้เราใช้บริการในประเทศไทย แม้จะเป็นระบบการพิมพ์ที่ต้นทุนสูง ใช้เวลา ใช้แรงงานในการผลิตที่มากกว่า แต่ด้วยคุณค่า และวิธีการ ที่ประณีตบรรจงสรรค์สร้าง ย่อมทำาให้ผู้ที่ได้รับผลงานรู้สึกได้ ถึงความใส่ใจและคุณภาพของมัน อยากให้คนรุ่นใหม่ได้ลองศึกษา และเรียนรู้เรื่องการพิมพ์ในระบบนี้ แล้วจะรู้ว่า มันมีความพิเศษ ที่แตกต่างจากการพิมพ์ ในระบบ Offset ธรรมดา เผื่อว่าจะมีสักคนนึงที่เมื่อได่รู้แล้ว อยากจะมาเป็นผู้ที่ช่วยสืบทอดให้การพิมพ์ Letterpress คงอยู่ต่อไปในอนาคต
55
56
Letterpress นอกจากจะใช้ในงานการ์ดแล้ว ยังสามารถนำามาประยุกต์ใช้ในงานอื่น เช่น นามบัตร ที่รองแก้ว แล้วนำามาประดับตกแต่งให้สวยงามได้ เพียงแค่เรามีไอเดียที่น่าสนใจ ก็สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดั้งเดิม เพื่อสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ได้ ทั้งสวยงามด้วยดีไซน์ เทคนิคที่ไม่เหมือนใคร และยังสามารถนำามาใช้ประโยชน์ได้
57
ยุคนี้เป็นยุคที่คอมพิวเตอร์พัฒนามาไกลมาก คนที่โหยหางานคราฟต์ก็เริ่มกลับมาหาเทคนิคเก่าๆ แล้วการสื่อสารฉับไวกว้างไกล ใครทำาอะไรอยู่ส่วนไหนของโลกก็ได้รู้ได้เห็น งานพิมพ์ Letterpress เป็นการรวบรวม การออกแบบกับเทคนิคการพิมพ์ เสน่ห์ของงานอยู่ที่การสัมผัส..มันสื่อถึงความเก่า รู้สึกถึงอะไรที่ไม่ทันสมัย ตั้งแต่หมึกสีที่เราเลือกใช้ กระดาษที่เลือกใช้ อาจเป็นเพราะเทคนิคนี้มันหายไปนาน และในบ้านเราก็ไม่มีใครเคยนำามาทำาเป็นการ์ด เมื่อคนรุ่นใหม่ได้เห็นเข้า ก็รู้สึกตื่นเต้น ในยุคหนึ่งเครื่องพิมพ์ Letterpress เป็นเทคโนโลยีการพิมพ์ที่ทันสมัยที่สุด แต่ทุกขั้นตอน ช่างต้องใช้พลังสมอง และฝีมือเป็นอย่างมาก ถึงจะใช้เครื่องจักรแต่ก็เรียกได้ว่าเป็นงานทำามือ 99 เปอร์เซ็นต์ ถ้าได้มาทำาเองจะเห็นว่า ต้องใช้ความละเอียดลออไม่ต่างจากการทำางานคราฟต์เลย บทสัมภาษณ์บางส่วนของคุณซูม นิรุติ กรุสวนสมบัติ (ช่างพิมพ์แห่ง Press A Card) ในหนังสือ “บ้าน บ้าน ฉบับที่ 3
59
{ เปิด สะ การ์ด }
โรงพิมพ์ระบบ LETTERPRESS ที่ยังมีอยู่ในปัจจุบัน
60
{ เปิด สะ การ์ด } มีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบและผลิตสิ่งพิมพ์ด้วยระบบ Letterpress อาทิ การ์ดแต่งงาน การ์ดอวยพร และผลิตภัณฑ์กระดาษอื่นๆ เปิดตั้งแต่วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 10.00 – 18.30 น. ตั้งอยู่ที่ 229 ถ.สุขุมวิท 71 ซ.ปรีดีพนมยงค์ 31 (เจริญใจ) แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-381 3000, 080-910 8559 E-mail : pressacard@yahoo.com โรงพิมพ์เก่าแก่ที่สืบทอดกันมายาวนานรุ่นต่อรุ่น โดยมีจุดประสงค์เพื่อร่วมอนุรักษ์งานพิมพ์แบบโบราณให้คงอยู่ต่อไป สามารถติดต่อเพื่อเยี่ยมชมโรงพิมพ์ได้ ยินดีให้ความรู้เรื่องงานพิมพ์ Letterpress ตั้งแต่อุปกรณ์ ขั้นตอน ตลอดจนเครื่องพิมพ์ทั้งแบบเก่าและปัจจุบัน
61
62
รายละเอียดใดบ้าง ที่ทางร้านต้องการทราบ เมื่อมีการสั่งทำาสินค้าเกิดขึ้น ? 1. ข้อมูลลูกค้า ได้แก่ ชื่อ-สกุล, ที่อยู่, อีเมลล์, เบอร์โทรศัพท์ 2. ข้อมูลการพิมพ์ ได้แก่ ขนาดของงาน, รูปร่างของงาน (ตัวอย่างเช่น เหลี่ยม, กลม), ชนิดของกระดาษ, จำานวนด้านที่พิมพ์ (ด้านหน้าและด้านหลัง หรือด้านหน้าอย่างเดียว), จำานวนสีที่พิมพ์, จำานวนใบพิมพ์ 3. ข้อมูลการส่งสินค้า ได้แก่ กำาหนดวันส่งมอบงาน, โปรดระบุว่า มารับสินค้าเองหรือให้ ทางเราจัดส่งพัสดุทางไปรษณีย์
เนื่องจากราคาที่เรานำาเสนอไม่ได้รวมค่าจัดส่งสินค้า ดังนั้น หากท่านต้องการบริการจัดส่ง โปรดแจ้งชื่อ-สกุล, ที่อยู่, อีเมลล์ เบอร์โทร ติดต่อกลับ เพื่อใช้ในการประเมินราคาและเตรียมจัดส่งพัสดุ โดยทางเราจะติดต่อกลับเพื่อแจ้งราคาค่าส่ง หากท่านต้องการให้จัดส่ง สินค้าภายในประเทศ ทางเราจะจัดส่งให้ทางไปรษณีย์ไทย คือลงทะเบียนธรรมดา หรือ EMS โดยจะเรียกเก็บเงินค่าจัดส่งจากลูกค้า ณ ปลายทาง กรณีที่ต้องการให้ส่งสินค้าไปยังต่างประเทศ ทางเราจะจัดส่งให้ทาง FedEx หรือ TNT ตามที่ท่านสะดวกคือ Economy หรือ Express โดยเรียกเก็บเงินค่าจัดส่งจากลูกค้าล่วงหน้าก่อนจัดส่ง .
63
การชำาระเงินค่าสินค้า ให้กับทางร้านด้วยวิธี ใดได้บ้าง? ชำาระเงินอย่างน้อย 50% ก่อน ล่วงหน้าเมื่อมีการสั่งพิมพ์ ท่านสามารถ ชำาระด้วยเงินสด หรือโอนเงินเข้ามาที่
บัญชีออมทรัพย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาถนนวิทยุ เลขที่บัญชี: 155-2-15835-5 ชื่อบัญชี: กัณย์ยากร กรุสวนสมบัติ โดยหลังจากท่านชำาระค่าบริการแล้ว ให้ส่งหลักฐานการชำาระเงิน พร้อมทั้งระบุ ชื่อ-สกุล, ยอดเงินที่ชำาระ, วันและเวลาที่ทำาการโอน, อีเมลล์ และเบอร์ติดต่อกลับมายัง 02-391 5685 หรืออีเมลล์ pressacard@yahoo.com ทางเราจะติดต่อกลับเพื่อยืนยัน การชำาระค่าบริการของท่าน และจัดทำาใบเสร็จรับเงินให้ตามลำาดับ
ปัจจุบัน และ อนาคต Letterpress ขึ้นอยู่กับพวกเราทุกคนในตอนนี้ ในประเทศไทยนี้ ที่จะเป็นคนชี้ชะตาว่า มันจะคงอยู่ไปได้อีกนานแค่ไหน หากเรามีคนที่คิดจะอนุรักษ์ไว้เหมือนอย่าง { เปิดสะการ์ด } Letterpress ในประเทศไทย ก็จะคงอยู่ให้เราได้ใช้ และได้ศึกษากันต่อไป ตราบจนจนรุ่นลูกรุ่นหลานอย่างแน่นอน
Johann Gutenburg Thank You ผู้ช่วยศาตราจารย์ อาวิน อินทรังษี อาจารย์ อนุชา แสงสุขเอี่ยม อาจารย์ นพดล ยุทธมนตรี และ คุณ นิรุติ กรุสวนสมบัติ (ร้าน Press A Card)