คำนำของผู้แปล ในการพิมพ์ สะพรึง ครั้งที่ 2

Page 1


ค�ำน�ำผู้แปล (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2)

นับตั้งแต่หนังสือ “สะพรึง” เริ่มเปิดให้มีการสั่งซื้อราว กลางปี 2563 ก็ได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักอ่านมา โดยตลอด ดีเกินกว่าที่ผู้แปลกล้าที่จะคาดหวังได้เสียอีก ผู้แปลได้พยายามติดตามคำาตอบรับจากผู้อ่านเสมอและ รูส้ กึ ยินดีเป็นอย่างยิง่ ทีห่ นังสือเล่มนีไ้ ด้จดุ ประกายให้เกิด การถกเถียงกันด้วยเหตุผลในสังคมอย่างกว้างขวาง และ ทำาให้หลายคนหันมาสนใจและให้ความสำาคัญกับนิติ­ ปรัชญามากขึน้ บางคนกล่าวกับผูแ้ ปลว่าได้รจู้ กั กับคำาว่า “นิติปรัชญา” เป็นครั้งแรกจากหนังสือเล่มนี้ด้วยซำ้าไป ธรรมชาติของปัญหาความขัดแย้งทางศีลธรรม เป็ น ปั ญ หาที่ ช วนให้ ทุ ก คนขบคิ ด อยู่ แ ล้ ว เพราะเป็ น คำาถามที่ท้าทายจุดยืนทางศีลธรรมของแต่ละคนอย่าง ถึงรากผ่านการจำาลองสถานการณ์สุดโต่งที่อาจกระทบ ต่อการตัดสินใจของมนุษย์ ซึง่ ในหนังสือเล่มนีท้ าำ ให้เรือ่ ง 17


ยุง่ ยากขึน้ ไปอีกโดยการนำาประเด็นทางกฎหมายซ้อนทับ กับปัญหาดังกล่าวลงไปอีกชัน้ เนือ่ งจากการตัดสินใจทาง ศีลธรรมไม่ทำาให้เราต้องรับผลแห่งการกระทำา (ในทาง โลก) แต่ถา้ ปัญหานัน้ เป็นประเด็นทางกฎหมายด้วย การ เลือกกระทำาหรือไม่กระทำาการใดของเราด้วยแรงขับทาง ศีลธรรมนัน้ ย่อมมีผลทางกฎหมายตามมา คำาถามคือเรา จะยังยืนยันในจุดยืนทางศีลธรรมหรือไม่หากจุดยืนนั้น ขั ด แย้ ง กั บ กฎหมาย ซึ่ ง ปั ญ หาความสั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า ง ศีลธรรมกับกฎหมายนี้เองเป็นปัญหารากฐานสำาคัญใน ทางนิตปิ รัชญา สำาหรับปัญหาพืน้ ฐานของหนังสือสะพรึงนี้ ผูแ้ ปลได้นาำ เสนอไปแล้วในคำานำาสำาหรับการพิมพ์ครัง้ แรก ดังนั้นในส่วนของคำานำาสำาหรับการพิมพ์ครั้งนี้ ผู้แปล อยากชวนผู้อ่านตั้งคำาถามต่อไปอีกสักหน่อย ซึ่งเป็น คำาถามที่อาจใกล้ตัวเราทุกคนมากกว่าที่คิด ปรัชญากฎหมายอาญาสมัยใหม่: ความสมควรถูกตำาหนิ ประเด็นความขัดแย้งระหว่างศีลธรรมกับกฎหมาย ในหนังสือเล่มนีโ้ ฟกัสไปที่ “ความสมควรถูกตำาหนิในทาง อาญา” เป็นสำาคัญ ว่าหากผูก้ ระทำาความผิดตามกฎหมาย 18


อาญาเนื่องจากเชื่อว่าสิ่งที่เขาทำาเป็นสิ่งที่ถูกต้อง เขา สมควรถูกลงโทษหรือไม่ เพียงใด? หลักการดังกล่าวเป็น หลักการในกฎหมายอาญาสมัยใหม่ซงึ่ จะไม่พจิ ารณาแต่ เพียงการกระทำาทีค่ รบองค์ประกอบความผิดเท่านัน้ แต่ยงั ให้ความสำาคัญกับเจตนาหรือมูลเหตุจูงใจในการกระทำา การดังกล่าวของผู้กระทำาด้วย กล่าวคือ กฎหมายสนใจ ในเหตุผลที่ผลักดันให้บุคคลกระทำาการขัดต่อกฎหมาย เพราะวิญญูชนย่อมตระหนักได้ถงึ ความแตกต่างระหว่าง การกระทำาความผิดโดยมีเจตนาชั่วร้ายอันเป็นอาชญา­ กรรมทัว่ ไป กับการกระทำาความผิดโดยไม่ได้มเี จตนาจะ กระทำาชั่ว ดังเช่นกรณีในหนังสือเล่มนี้ที่จำาเลยได้ฆ่าคน บริสุทธิ์โดยไม่ได้มีมูลเหตุจูงใจที่ไม่ดี แต่กระทำาไปด้วย ความปรารถนาที่จะช่วยชีวิตผู้อื่น กรณีแบบนี้ย่อมเห็น ได้อย่างชัดแจ้งว่าแตกต่างจากอาชญากรรมที่กฎหมาย ประสงค์จะลงโทษ คำาถามจึงมีอยูว่ า่ การกระทำาของจำาเลย เป็นการกระทำาที่สมควรถูกตำาหนิหรือไม่ กรณีดงั เช่นในหนังสือ “สะพรึง” นีอ้ าจฟังดูไกลตัว สำาหรับสังคมไทยทีข่ อ้ ถกเถียงทางนิตปิ รัชญายังไม่เฟือ่ งฟู เท่ า ใดนั ก แต่ ใ นสายตาของผู้ แ ปลต่ อ สถานการณ์ ใ น ปัจจุบนั เราอาจพบเห็นประเด็นในเรือ่ งนีไ้ ด้เหมือนกัน ซึง่ หนังสือเล่มนี้อาจช่วยให้เราทำาความเข้าใจสภาพการณ์ที่ 19


เกิดขึ้นได้ดียิ่งขึ้น ประเด็นที่ผู้แปลกล่าวถึงได้แก่การ ดำาเนินคดีอาญาในความผิดทีเ่ กีย่ วข้องกับการแสดงออก ทางการเมือง ซึ่งเป็นคดีที่แตกต่างไปจากอาชญากรรม ปกติในแง่ของมูลเหตุจูงใจเช่นเดียวกับกรณีในหนังสือ สะพรึงนี้ ในสังคมที่เป็นนิติรัฐ-ประชาธิปไตย สิทธิเสรี­ ภาพในการแสดงความคิดเห็น และสิทธิเสรีภาพในการ ชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธย่อมได้รับความคุ้ม­ ครอง แม้วา่ ในการชุมนุมนัน้ โดยปกติยอ่ มกระทบถึงสิทธิ เสรีภาพบางประการของบุคคลที่สาม เช่น เสรีภาพใน การเดินทาง เพราะโดยปกติการรวมตัวของคนจำานวน มากในทีส่ าธารณะย่อมเป็นธรรมดาทีจ่ ะกระทบถึงความ สะดวกในการสัญจรของคนทั่วไปอยู่บ้าง ซึ่งในนิติรัฐประชาธิปไตยย่อมชั่งนำ้าหนักคุณค่าของสิทธิที่ปะทะกัน อย่างเหมาะสมและพอสมควรแก่กรณี (แต่หากจะอธิบาย ประเด็นนี้อย่างละเอียดอาจจะเป็นการนอกประเด็นที่ ผู้ แ ปลต้ อ งการสื่ อ สารตรงนี้ ม ากเกิ น ไป ) สิ่ ง ที่ ผู้ แ ปล ต้องการสื่อคือ โดยทั่วไปแล้ว ในคดีทางการเมืองที่เกิด จากการชุมนุมเรียกร้องทางการเมือง หรือทีเ่ รามักเปรียบ เทียบว่าเป็นอาชญากรรม “ทางความคิด” ผู้กระทำาการ ย่อมมีมูลเหตุจูงใจต่างไปจากคดีอาญาทั่วไป ผู้แปลจึง เห็นว่าเราควรตัง้ คำาถามถึงการใช้การตีความกฎหมายใน 20


การพิจารณาความผิดและการกำาหนดโทษ ตลอดจน มาตรการต่าง ๆ ของรัฐ ว่าควรตระหนักถึงความแตกต่าง จากอาชญากรรมตามปกตินี้หรือไม่ ตุลาการกับการเมือง อันที่จริงแล้วปัญหาบทบาทของกระบวนการยุติ­ ธรรมกับการเมืองนี้ไม่ใช่ปัญหาเฉพาะของประเทศไทย แต่อย่างใด สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเองก็เคยประสบ พบเจอสภาวการณ์เช่นนีม้ าแล้วและอาจจะหนักหนาสาหัส กว่าด้วย ในสมัยปลายสาธารณรัฐไวมาร์คาบเกี่ยวกับ สงครามโลกครัง้ ทีส่ อง ดังทีอ่ อตโต เคิรช์ ไฮเมอร์ ผูเ้ ป็น ทนายความแห่งไวมาร์ได้เขียนถึงปัญหาความยุตธิ รรมกับ การเมืองไว้ว่า “เมื่อใดก็ตามที่รูปคดีเกี่ยวข้องกับจุดยืน

ทางการเมือง แค่การรักษาความเป็นกลาง ตามความหมายอันคับแคบแบบเดิมที่ว่า ตุลาการไม่ได้ไม่เสียผลประโยชน์หรือไม่ รู้จักอะไรเป็นการส่วนตัวกับทั้งโจทก์และ จำาเลย ย่อมไม่สามารถรับประกันความ 21


บริสุทธิ์ยุติธรรมได้อีกต่อไปแล้ว เพราะ ต่อให้ไม่ได้มีผลประโยชน์ทางตรง แต่ผู้ พิพากษาก็ยงั สามารถตัดสินให้คณ ุ ให้โทษ สอดคล้องกับอุดมการณ์สว่ นตัวของตนได้ ปัญหานี้ยิ่งพอกพูนในสังคมที่ผู้คนยังไร้ เดียงสาจนแยกไม่ออกว่าอะไรใช่หรือไม่ใช่ การเมือง”1 —ออตโต เคิร์ชไฮเมอร์ คงไม่มใี ครปฏิเสธว่าผูท้ ท่ี าำ หน้าทีเ่ ป็นตุลาการก็เป็น มนุษย์ทยี่ อ่ มมีความคิดเห็น มีอดุ มการณ์ของตัวเอง แต่ เมือ่ มนุษย์ผนู้ นั้ เข้าไปถืออำานาจรัฐโดยการดำารงตำาแหน่ง เป็นผู้พิพากษา เมื่อนั้นเขาได้สวม “หมวก” อีกใบหนึ่ง ในฐานะตุลาการแยกต่างหากจากฐานะส่วนตัว ความจริง แล้วผูพ้ พิ ากษาก็เป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาทีเ่ ข้าไปใช้อาำ นาจ หนึง่ ของรัฐเท่านัน้ ไม่ได้เป็นผูว้ เิ ศษหรือผูห้ ยัง่ รูแ้ ต่อย่างใด แต่สิ่งที่ทำาให้การปฏิบัติหน้าที่ของผู้พิพากษายากไปกว่า การใช้อาำ นาจอืน่ ของรัฐก็เพราะอำานาจตุลาการเป็นอำานาจ 1

ภาณุ ตรัยเวช, ในสาธารณรัฐไวมาร์: ฮิตเลอร์ไม่ได้มาจากการ เลือกตั้ง (พิมพ์ครั้งที่ 2, มติชน 2559) 118.

22


ที่มาในนามของ “ความยุติธรรม” ในภาษาเยอรมัน คำา ว่า “อำานาจตุลาการ” นั้นตรงกับคำาว่า Rechtsprechung ส่วนการปฏิบัติหน้าที่ในการพิพากษาของตุลาการใช้ คำาว่า Recht sprechen ซึง่ มาจากคำาว่า Recht (กฎหมาย ในความหมายอย่างกว้างซึ่งหมายความถึงกฎหมายที่ ยุติธรรม) และ sprechen (speak; การพูด) นั่นหมาย ความว่าการตัดสินคดีของผูพ้ พิ ากษา (ในเชิงอุดมคติหรือ ทฤษฎี) เป็นการ “กล่าวความยุตธิ รรม” ออกมาเพือ่ ยุติ ข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งในสังคมเพือ่ การอยูร่ ว่ มกันอย่าง สงบ เนือ่ งจากความยุตธิ รรมเป็นคุณค่ากลางทีม่ นุษย์ใน สังคมยึดถือร่วมกัน ความยุติธรรมกับกฎหมาย อย่างไรก็ตาม แม้มนุษย์ทุกคนอาจยึดถือคุณค่า เรือ่ งความยุตธิ รรมเหมือนกันทุกคน แต่ปญ ั หาของความ ยุตธิ รรมทีอ่ ภิปรายกันมาอย่างยาวนานและไม่เป็นข้อยุติ คือเนือ้ หาของความยุตธิ รรมนัน้ เป็นอย่างไรกันแน่ นิยาม ของความยุตธิ รรมของแต่ละคนนัน้ อาจแตกต่างกัน หรือ แม้แต่ในกรณีที่นิยามของความยุติธรรมจะเหมือนกัน มุมมองของความยุติธรรมเฉพาะกรณีของบุคคลก็อาจ 23


ต่างกันได้อยู่ดี หมายความว่า แม้ว่าในเชิงทฤษฎีความ ยุติธรรมจะดูเป็นสิ่งที่ควรเป็นภววิสัยที่ทุกคนเห็นพ้อง ต้ อ งกั น แต่ ใ นความเป็ น จริ ง นั้ น กลั บ เป็ น อั ต วิ สั ย สู ง เลื่อนลอย และเป็นนามธรรม ดังนั้นสังคมจึงต้องการ “บรรทั ด ฐาน ” ที่ มี ค วามชั ด เจนและแน่ น อน สามารถ เป็ น เกณฑ์ ที่ ค นในสั ง คมยอมรั บ ร่ ว มกั น ได้ อั น ได้ แ ก่ “กฎหมาย” อาจกล่าวได้ว่า ระบบกฎหมายอาศัยความ ชอบธรรมจากข้ อ ความคิ ด เรื่ อ งความยุ ติ ธ รรม และ กำาหนดกฎเกณฑ์อันมีลักษณะแน่นอน ชัดเจน เป็น ภววิสัย ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ปัญหารากฐานในทาง นิตปิ รัชญาจะเป็นเรือ่ งความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายกับ ความยุติธรรม ในโลกสมัยใหม่ที่สมาทานหลักนิติรัฐ -ประชา­ ธิปไตยนัน้ ข้อความคิดเกีย่ วกับความยุตธิ รรมในกฎหมาย ดูจะคลีค่ ลายไปพอสมควรแล้ว เนือ่ งจากคุณค่าเรือ่ งความ ยุตธิ รรมทีย่ อมรับกันอย่างค่อนข้างเป็นสากลนัน้ ถูกนำาเข้า มาในระบบกฎหมายอย่างค่อนข้างครบถ้วน โดยเฉพาะ หลั ก ในเรื่ อ งศั ก ดิ์ ศ รี ค วามเป็ น มนุ ษ ย์ สิ ท ธิ ม นุ ษ ยชน ความเสมอภาค (อันเป็นทีย่ อมรับกันว่าเป็นสารัตถะของ ความยุตธิ รรม) ทำาให้ในนิตริ ฐั -ประชาธิปไตย ข้อความคิด เรือ่ งความยุตธิ รรม “ในระบบกฎหมาย” นัน้ แยกออกจาก 24


ความยุติธรรมในแง่อื่นๆ ที่ดำารงอยู่นอกระบบกฎหมาย ในแง่นี้ ความยุติธรรมในระบบกฎหมายจึงมีทั้งความ ชอบธรรมจากการรับเอาความคิดเรื่องความยุติธรรมมา บัญญัตไิ ว้ผา่ นหลักการต่าง ๆ และมีความชัดเจนแน่นอน เป็นภววิสัยอีกด้วย การแยกความยุตธิ รรมในระบบกฎหมายออกจาก ความยุ ติ ธ รรมนอกระบบกฎหมายเช่ น นี้ ในแง่ นึ ง จึ ง เป็นการป้องกันการอ้างคุณค่านอกระบบกฎหมายมา ทำาลายระบบกฎหมายเสียเอง ทัง้ นีเ้ นือ่ งจากเหตุผลหลัก สองประการ ประการแรก ระบบกฎหมายได้รบั หลักการ ต่าง ๆ ทีเ่ ป็นผลมาจากข้อความคิดเรือ่ งความยุตธิ รรมเข้า มาในระบบกฎหมายแล้ว กฎหมายเป็นการทำาให้ความ ยุติธรรมที่เลื่อนลอยนั้นชัดเจนแน่นอนเป็นมาตรฐาน เดียวกันในสังคม ประการทีส่ อง ตามหลักประชาธิปไตย กฎหมายย่อมออกมาโดยฝ่ายนิติบัญญัติซึ่งมีความชอบ­ ธรรมทางประชาธิปไตยยึดโยงกับประชาชน กฎหมายจึง มีสถานะเป็นบรรทัดฐานในสังคมอันมีความชอบธรรมที่ คนในสังคมยอมรับร่วมกัน เพราะฉะนัน้ การกล่าวอ้างถึง ความยุตธิ รรมนอกระบบกฎหมายจึงไม่สมเหตุสมผลนัก ในระบบกฎหมายทีน่ ติ ริ ฐั -ประชาธิปไตยยังทำางานได้ตาม ปกติ ดั ง นั้ น การที่ ผู้ พิ พ ากษาตั ด สิ น คดี จึ ง เป็ น การ 25


“กล่าวความยุติธรรม”

ภายใต้ระบบกฎหมาย การสอด แทรกอุดมการณ์สว่ นตัวลงไปในคำาพิพากษาโดยหลักแล้ว จึงทำาไม่ได้ หากอุดมการณ์นั้นขัดต่อระบบกฎหมายเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุดมการณ์ทางการเมืองที่ความยุติ­ ธรรมเป็นอัตวิสัยมากขึ้นไปอีก จาก สะพรึง สู่ ประเทศไทย

เราไม่อาจปฏิเสธได้วา่ กฎหมายได้เข้ามามีบทบาท ในวิกฤตการเมืองไทยในปัจจุบนั มากขึน้ เรือ่ ย ๆ พร้อมกับ การตัง้ คำาถามของสังคมต่อความยุตธิ รรมในการบังคับใช้ กฎหมายโดยรัฐทีเ่ กิดขึน้ อย่างกว้างขวาง ฝ่ายทีเ่ ห็นด้วย กับรัฐก็มองว่าการบังคับใช้กฎหมายนัน้ ยุตธิ รรมแล้ว ฝ่าย ที่อยู่ตรงข้ามรัฐก็มองว่ารัฐใช้กฎหมายกลั่นแกล้งรังแก ประชาชนอย่างอยุตธิ รรม สภาพการณ์ดงั กล่าวยิง่ สะท้อน ให้เห็นชัดเจนว่า “ความยุติธรรม” ที่มีการเมืองเข้ามา เกีย่ วข้องนัน้ เป็นอัตวิสยั อย่างยิง่ ยิง่ แสดงให้เห็นถึงความ จำาเป็นของสถานะ “บรรทัดฐาน” ของกฎหมายที่ต้องมี ความชัดเจน แน่นอน เป็นมาตรฐานกลางของสังคม ไม่ผันแปรไปตามอำาเภอใจของผู้มีอำานาจ ดังที่อัยการ ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งในหนังสือเล่มนี้ว่า: 26


“เราทุกคนต่างทำาผิดพลาดได้เสมอ

มัน เป็นธรรมชาติของเรา เราเปลีย่ นแปลงมัน ไม่ได้ ศีลธรรม, มโนธรรม, สามัญสำานึก, กฎหมายธรรมชาติ , กฎเกณฑ์ เ หนื อ กฎหมายบัญญัติในสถานการณ์ฉุกเฉิน ข้อความคิดเหล่านี้ล้วนเปราะบางและไม่ แน่นอน มันเป็นธรรมชาติของสิง่ เหล่านีท้ ี่ เราไม่สามารถมัน่ ใจได้เลยว่าการกระทำาใด เป็นสิ่งที่ถูกต้องสำาหรับวันนี้ และมันจะ เป็นแบบเดียวกันในวันพรุ่งนี้ด้วยหรือไม่” หากเราพิจารณาฉากในเรือ่ งสะพรึงกับสถานการณ์ ในประเทศไทย เราจะพบความเหมือนกันอยู่คือทั้งสอง สถานการณ์ เ ป็ น การถกเถี ย งระหว่ า งคุ ณ ค่ า ในระบบ กฎหมายและคุณค่านอกระบบกฎหมาย แต่น่าเศร้าที่ ความแตกต่างจากเยอรมนีคือ ในประเทศไทยคุณค่าที่ ควรอยู่ในระบบกฎหมายอย่างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาค (ซึ่งอันที่จริงก็ได้รับการ บัญญัติไว้ในกฎหมายแล้ว) ในความเป็นจริงกลับเป็น คุณค่าทีย่ งั อยูน่ อกระบบกฎหมาย และการเรียกร้องเพือ่ คุณค่าเหล่านี้ที่ควรจะอยู่ในระบบกฎหมาย (อยู่แล้ว) 27


กลับเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายเสียเอง... ผู้แปลหวังว่าผู้ที่ได้อ่านหนังสือเล่มนี้จะตระหนัก ถึงความสำาคัญของการตั้งคำาถามต่อกฎหมายและความ ยุติธรรมบนพื้นฐานของเหตุผล และตระหนักว่าถึงที่สุด แล้วคุณค่าที่แต่ละคนยึดถืออาจแตกต่างกันได้ ซึ่งเรา อาจไม่สามารถพบคำาตอบที่ถูกหรือผิดอย่างสัมบูรณ์ได้ ดังเช่นโจทย์ทางคณิตศาสตร์ สังคมทีเ่ ป็นนิตริ ฐั -ประชา­ ธิปไตยจึงเป็นสังคมที่ต้องอาศัยความอดทนอดกลั้นต่อ ความคิดที่แตกต่างหลากหลาย และในขณะเดียวกันก็ ต้องสร้างสมดุลระหว่างความหลากหลายเช่นนัน้ กับคุณค่า กลางทีเ่ ป็นกติกาของการอยูร่ ว่ มกัน ซึง่ เครือ่ งมือพืน้ ฐาน ที่จำาเป็นสำาหรับการอภิปรายถกเถียงกันในสังคมเช่นนั้น ได้แก่ “เหตุผล” ดังที่ผู้อ่านได้เห็นจากการอภิปรายของ ทัง้ สองฝ่ายในหนังสือเล่มนีน้ นั่ เอง ผูแ้ ปลจึงหวังเป็นอย่าง ยิง่ ว่าหนังสือเล่มนีจ้ ะช่วยให้ผอู้ า่ นได้เห็นความสำาคัญของ การตั้งคำาถามและการถกเถียงถึงความยุติธรรมบนฐาน ของเหตุผลได้ไม่มากก็น้อย

ศศิภา พฤกษฎาจันทร์ นนทบุร,ี มีนาคม 2564 28


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.