MEXICO
CUBA DOMINICAN REPUBLIC
BELIZE
JAMAICA
HAITI
HONDURAS GUATEMALA EL SALVADOR
NICARAGUA
PANAMA COSTA RICA
VENEZUELA
SURINAME
COLUMBIA
PERU
BRAZIL
BOLIVIA
PARAGUAY CHILE
ARGENTINA URUGUAY
Nationalism in Latin America ชาติินิิยมในิลาติินิอเมริิกา: กริะแสลมแห่่งความซัับซั้อนิ
ติริีเทพ ศริีสง่า บริริณาธิิการิ
Illuminations Editions
สารบััญ
บทที่ 1 บัทนำา โดย ตรีเทพ ศรีสง่า
9
บทที่ 2 ชาตินิยมในลาตินอเมริกา โดย ฟรานซิสโก โกลอม กอนซาเลซ แปลโดย รวิตะวัน โสภณพนิช
33
บทที่ 3 ประวัติศาสตร์นิพนธ์อุดมการณ์ชาตินิยม และอัตลักษณ์ประจำาชาติในลาตินอเมริกา โดย นิโคลา มิลเลอร์ แปลโดย ตรีเทพ ศรีสง่า
65
บทที่ 4 กระแสลมแห่งความ “ซับซ้อน” ของ “ชาติ ” จากลาตินอเมริกา โดย ธเนศ วงศ์ยานนาวา
115
บทที่ 5 ชาตินิยมและการสร้างชาติ ในประวัติศาสตร์ลาตินอเมริกา โดย เดวิด เอ. แบรดดิง แปลโดย ณรงเดช พันธะพุมมี
153
ชาติินิิยมในิลาติินิอเมริิกา
บัทท่� 1 บัทนำา โดย ตรีเทพ ศรีสง่า
1
เบเนดิกต์ แอนเดอร์สัน กับลาตินอเมริกาศึกษา หากจะให้หยิบยกหัวข้อการศึกษาทางด้านมนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ที่ เป็นที่ถกเถียงทั้งในวงวิชาการทั่วโลกอย่างไม่เคยหยุดหย่อนขึ้นมาสักข้อ หนึ่ง ก็คงหนีไม่พ้นการศึกษาเรื่อง “ชาติ” เป็นแน่ ไม่ว่าจะบนท้องถนน รัฐสภา โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งในโลกออนไลน์ “ชาติ” เป็นสิ่งที่ถูก หยิบยกขึ้นมากล่าวอ้างกันอยู่เสมอ “ชาติคืออะไร” “ชาติประกอบด้วย อะไร” และ “เมือ่ ไหร่จงึ เป็นชาติ” เป็นคำาถามทีถ่ ามกันมาหลายต่อหลาย ปีแล้ว นักวิชาการจำานวนไม่น้อยทั้งจากสายสังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา และรัฐศาสตร์ ต่างพากันพยายามเฟ้นหาคำาอธิบายให้กับ ชุดคำาถามเหล่านี้ ไม่วา่ จะเป็นเออร์เนสต์ เรอนอง (Ernest Renan) เออร์ เนสต์ เกลเนอร์ (Ernest Gellner) แอนโธนี สมิธ (Anthony Smith) เอริก ฮอบส์บอว์ม (Eric Hobsbawm) หรือคลิฟฟอร์ด เกียร์ซ (Clifford Geertz) แต่งานชิน้ สำาคัญทีส่ ร้างแรงสัน่ สะเทือนให้กบั วงการศึกษาอุดมการณ์ชาติ นิยมย่อมหนีไม่พน้ งานเรือ่ ง ชุมชนจินตกรรม: บทสะท้อนว่าด้วยกำาเนิด 1
นักศึกษาปริญญาเอก สาขาการเมืองเปรียบเทียบ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ฟลอริดา สหรัฐอเมริกา 9
และการแพร่ขยายของชาตินิยม
(Imagined Communities: Reflections on
ของเบเนดิกต์ แอนเดอร์สนั (Benedict Anderson) นักประวัติศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัย คอร์แนล สหรัฐอเมริกา ผูเ้ ป็น “ครู” ของนักวิชาการไทยสายสังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์หลายต่อหลายคน the Origin and Spread of Nationalism, 1983)
งานการศึกษา “ชาตินยิ ม” หลายชิน้ ใช้ยโุ รปและประเทศทีป่ ระกาศตัวเป็น เอกราชจากเจ้าอาณานิคมหลังสงครามโลกครัง้ ทีส่ อง โดยเฉพาะในเอเชีย และแอฟริกา เป็นพืน้ ทีห่ ลักในการศึกษา ภูมภิ าคอย่างลาตินอเมริกามัก เป็นแค่เพียง “ข้อยกเว้น” หรือไม่ก็ถูกลดความสำาคัญลงเป็นเชิงอรรถ ขนาดไม่กบี่ รรทัดบริเวณท้ายสุดของหน้าแต่เพียงเท่านัน้ แต่ในบททีส่ ขี่ อง ชุมชนจินตกรรมทีช่ อื่ ว่า “Creole Pioneers” แอนเดอร์สนั ได้หยิบยกลาติน อเมริกากลับเข้ามาสู่วงการถกเถียงเรื่องชาตินิยมอีกครั้งอย่างน่าสนใจ และใช้กรณีนเี้ ป็นฐานสำาคัญในการสร้างทฤษฎีชมุ ชนจินตกรรมขึน้ มาเลย ทีเดียว ในบทดังกล่าว แอนเดอร์สนั ชีใ้ ห้เห็นถึงความน่าฉงนของอุดมการณ์ชาติ นิยมใน “โลกใหม่” อย่างลาตินอเมริกาอยู่สองประการซึ่งแตกต่างจาก ทีเ่ กิดขึน้ ใน “โลกเก่า” อย่างยุโรปและเอเชีย ประการแรกคือภาษา ตรง กันข้ามกับชาตินิยมในยุโรปซึ่งมีภาษาเป็นปัจจัยสำาคัญในการขีดเส้นแบ่ง ว่าอะไรคือชาติใด เหล่าอาณานิคมในทวีปอเมริกาต่างก็ใช้ภาษาเดียวกัน กับประเทศแม่ในยุโรป ไม่วา่ จะเป็นอังกฤษ สเปน โปรตุเกส หรือฝรัง่ เศส ก็ตาม ดังนั้นในแง่นี้ แอนเดอร์สันจึงมองว่าภาษาอาจไม่ใช่องค์ประกอบ สำาคัญของชาตินยิ มในทวีปอเมริกาเพราะภาษาทีใ่ ช้ในอาณานิคมเป็นหลัก ก็ยังคงเป็นภาษาเดียวกันอยู่กับเจ้าอาณานิคมในยุโรป จึงไม่นับเป็นสิ่ง ที่ทำาให้เหล่าอาณานิคมรู้สึกแปลกแตกต่างออกไป ส่วนในแง่ที่สองคือ แอนเดอร์สันชี้ว่าชาตินิยมในทวีปอเมริกา โดยเฉพาะในลาตินอเมริกา ไม่ได้ถือเป็นสิ่งที่ริเริ่มโดยกลุ่มชนชั้นกลางหรือปัญญาชนดังเช่นในยุโรป 10
เพราะในลาตินอเมริกาช่วงก่อนการประกาศเอกราช ราว ๆ คริสต์ศตวรรษ ที่ 18 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประชากรชนชั้นกลางหรืออิทธิพล ของแวดวงปัญญาชนต่อสังคมโดยรวมยังคงมีลักษณะจำากัดอยู่มาก 2
ด้วยโจทย์อนั น่าสนใจสองประการนีเ้ อง แอนเดอร์สนั จึงตัง้ ข้อสังเกตเกีย่ ว กับกระแสชาตินยิ มในลาตินอเมริกาขึน้ มา โดยพุง่ เป้าไปทีพ่ ฒ ั นาการทาง สังคมและวัฒนธรรมของลาตินอเมริกาในห้วงปีกอ่ นการประกาศเอกราช แอนเดอร์สนั เสนอว่า “สำานึกความเป็นชาติ” (national consciousness) ใน ลาตินอเมริกานั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ราว ๆ คริสต์ศตวรรษที่ 18 แล้ว สำานึกนี้ พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนแข็งแกร่งพอสมควร และเมื่อเกิดปัญหาสงคราม นโปเลียนในยุโรป สำานึกนีก้ น็ าำ มาซึง่ การประกาศตัวเป็นไทจากจักรวรรดิ สเปนช่วงทศวรรษ 1810 และเป็นแรงขับเคลื่อนสำาคัญที่ทำาให้เกิดการ ก่อร่างสร้างตัวจนกลายเป็นสาธารณรัฐใหม่แห่งต่าง ๆ ขึน้ แอนเดอร์สนั ชีว้ า่ องค์ประกอบสำาคัญทีก่ อ่ ให้เกิดสำานึกความเป็นชาติในลาตินอเมริกาในช่วง ดังกล่าวมีอยู่สองประการด้วยกัน หนึ่งคือ การที่ข้าราชการซึ่งเป็นคนท้องถิ่น หรือ “ครีโอล ” ถูกจำากัดให้ ทำางานหรือรับตำาแหน่งภายในเขตการปกครองเขตใดเขตหนึ่งเท่านั้น (“pilgrimages of creole functionaries” หรือ “การจาริก”) ซึ่งโดยมากมัก เป็นเขตการปกครองทีเ่ ป็นบ้านเกิดของตน เช่น หากเป็นคนทีเ่ กิดในแถบ นิวสเปน (เม็กซิโกปัจจุบัน) ครีโอลที่เป็นข้าราชการคนนั้นอาจจะได้รับ การตั้งให้ดำารงตำาแหน่งบางอย่าง ณ เมืองกวาดาลาฆารา (Guadalajara) เมืองตัมปิโก (Tampico) หรือเมืองเบรากรูซ (Veracruz) ก็ได้ แต่จะไม่มี 3
2
Benedict Anderson, Imagined Communities: Reflections on the Origin and
Spread of Nationalism, Revised ed (London: Verso, 2016), 47–48. 3
ครีโอล
(Creole)
หมายถึง กลุ่มคนผิวขาว เชื้อสายยุโรป แต่เกิดในทวีปอเมริกา 11
กรณีที่ถูกส่งให้ไปประจำาการยังเมืองในแถบชิลีหรือโคลอมเบีย เป็นต้น ในทางกลับกัน แอนเดอร์สนั กล่าวว่าเหล่า “เปนินซูลาร์ ” จะสามารถเดิน ทางไปประจำาการยังเขตใดในอาณานิคมก็ได้ ซำ้ายังมีอภิสิทธิ์เหนือกว่า ครีโอลหลายประการ เช่น ตำาแหน่งสูง ๆ ในระบบราชการอย่างองค์อปุ ราช (Viceroy) หรือผูพ ้ พิ ากษา ต่างก็สงวนไว้ให้พวกเปนินซูลาร์เท่านัน้ แอน เดอร์สันชี้ว่าการถูกจำากัดให้เดินทาง ทำางาน และใช้ชีวิตอยู่เพียงแต่ใน กรอบเขตการปกครองที่สเปนขีดไว้เช่นนี้ส่งผลทำาให้ครีโอลได้พบเพื่อน ร่วมเดินทางที่เริ่มจะรู้สึกว่า มิตรภาพของพวกเขาตั้งอยู่บนพื้นฐานไม่ เพียงบนการยึดโยงอย่างเป็นการเฉพาะของการจาริกเท่านั้น แต่ทว่าบน ชะตากรรมร่วมกันของการเกิดข้ามฟากฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติก แม้น ว่าเขาจะเกิดภายในสัปดาห์แรกทีพ่ อ่ ของเขาเดินทางข้ามเข้ามาอุบตั กิ ารณ์ ของการเกิดในทวีปอเมริกา ก็ส่งเขาให้เข้าสู่ความเป็นคนชั้นรอง—แม้ว่า เงื่อนไขของภาษา ศาสนา บรรพบุรุษ หรือกิริยามารยาทต่าง ๆ ของเขา จะไม่ได้แตกต่างมากมายกับคนสเปนที่เกิดในสเปนเลย ไม่มีอะไรที่เขา สามารถทำาได้ เขาเป็น ‘ครีโอล’ คนหนึ่งที่อย่างไรเสียก็ ไม่สามารถ เยียวยารักษาได้ 4
5
6
ปัจจัยประการที่สองที่ก่อให้เกิดสำานึกความเป็นชาติในลาตินอเมริกาคือ สื่อสิ่งพิมพ์ช่วงยุคอาณานิคม แอนเดอร์สันเสนอว่า ทุนนิยมการพิมพ์ (print-capitalism) ทีป ่ รากฏออกมาในรูปแบบหนังสือพิมพ์ภายในอาณานิคม 4
Anderson, 57; John Charles Chasteen, “Introduction: Beyond Imagined Com-
munities,” in Beyond Imagined Communities: Reading and Writing the Nation in Nineteenth-Century Latin America, ed. Sara Castro-Klarén and John Charles Chasteen (Washington, D.C.: Woodrow Wilson Center Press, 2003), xix. 5
เปนินซูลาร์ (Peninsular) หมายถึง กลุม่ คนเชือ้ สายสเปนทีเ่ กิดในสเปนและเดินทาง มายังทวีปอเมริกาเพื่อการทำางานหรืออยู่อาศัย 6
Anderson, Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of
Nationalism, 57–58.
12
ส่งผลทำาให้ผู้อ่านในบริเวณเขตการปกครองนั้น ๆ เกิดจินตภาพว่าตนอยู่ ภายในชุมชนเดียวกัน มีการรับรูข้ า่ วสารและกระหายใคร่รเู้ รือ่ งราวความ เป็นไปทีเ่ กิดขึน้ ในชุมชนนัน้ ๆ เหมือน ๆ กัน เพราะ “หนังสือพิมพ์ยคุ แรก ๆ บรรจุไว้ด้วยข่าวการค้า (เมื่อใดเรือจะเข้าเทียบท่า ออกจากท่าไป สินค้า ทางการเกษตรชนิดใด ราคาเท่าใด ณ ท่าเรืออะไร) และข่าวการแต่งตัง้ ทางการเมืองของอาณานิคม การแต่งงานของพวกคนรวย ฯลฯ” แอน เดอร์ สั น ยกกรณี “หนั ง สื อ พิ ม พ์ ใ นเมื อ งการากั ส ” ขึ้ น มาเพื่ อ ใช้ เ ป็ น ตัวอย่างให้เห็นว่าเป็นเครื่องมือที่ “สร้างชุมชนจินตกรรมขึ้นมาอย่างเป็น ธรรมชาติ […] ท่ามกลางความสัมพันธ์ของกลุม่ ผูอ้ า่ นโดยเฉพาะ คือ เรือ ของเรา เจ้าสาวของเรา บาทหลวงของเรา และราคาของเราเหล่านี”้ 7
8
9
ทว่านักวิชาการแทบทุกแขนงที่ศึกษาลาตินอเมริกากลับไม่เห็นด้วยกับ ข้อเสนอของแอนเดอร์สันที่ให้ไว้เกี่ยวกับที่มาที่ไปของชาตินิยมในลาติน อเมริกาข้างต้น ถึงกับว่ามีการจัดประชุมวิชาการขึน้ ในช่วงต้นปี ค.ศ. 2000 เพื่อพูดคุยถกเถียงกันว่าที่มาและทฤษฎีของแอนเดอร์สันที่ให้ไว้ในชุมชน จินตกรรมนัน้ สอดคล้องกับข้อเท็จจริงทางประวัตศิ าสตร์ของลาตินอเมริกา มากน้อยหรือไม่อย่างไร ตัวอย่างเช่น แชสตีน (Chasteen 2003) และ เกร์รา (Guerra 2003) ต่างก็ชี้ให้เห็นถึงปัญหานานัปการของข้อเสนอมูล ฐานเรื่องครีโอลของแอนเดอร์สันและชาตินิยมในลาตินอเมริกา ประการแรก แอนเดอร์สันสร้างคำาอธิบายเกี่ยวกับครีโอลและชาตินิยม ในลาตินอเมริกาผ่านการอ้างอิงงานด้านประวัติศาสตร์สงครามประกาศ เอกราชลาตินอเมริกาหลัก ๆ แค่สองชิน้ เท่านัน้ นัน่ คือ The Spanish American Revolutions, 1808–1826 (New York: Norton, 1973) ของจอห์ น 7
Anderson, 62.
8
การากัส
9
Anderson, 62.
(Caracus)
ปัจจุบันเป็นเมืองหลวงประเทศเวเนซุเอลา
13
ลินช์
( John Lynch)
และ
Simón Bolívar (Albuquerque: University of
ของเจอร์ราด มาซูร์ (Gerhard Masur) ซึง่ เก่า มากพอสมควร การขาดหลักฐานทีช่ ดั เจน กว้างขวาง และมีนาำ้ หนักเช่น นี้เองที่ทำาให้ข้อเสนอเรื่องชาตินิยมในลาตินอเมริกาของแอนเดอร์สันไม่ เป็นที่ยอมรับในหมู่นักประวัติศาสตร์ลาตินอเมริกา New Mexico Press, 1948) 10
ประการทีส่ อง ในเรือ่ งการจาริก การไม่สามารถดำารงตำาแหน่งในเขตการ ปกครองอื่น ๆ ได้ และการก่อตัวขึ้นของจิตสำานึกความเป็นชาติของเหล่า ครีโอลผ่านความผูกพันเชิงพืน้ ที่ มีงานหลายชิน้ ทีศ่ กึ ษาและแย้งข้อสังเกต นีข้ องแอนเดอร์สนั รวมทัง้ ชีใ้ ห้เห็นว่า “การจาริก” ของครีโอลข้าราชการ ไม่ได้ถูกจำากัดอยู่เพียงแต่กับเขตการปกครองใดเขตการปกครองหนึ่งดัง เช่นที่แอนเดอร์สันอธิบายไว้เสมอไป 11
และประการทีส่ าม “หนังสือพิมพ์ในเมืองการากัส” ทีแ่ อนเดอร์สนั ใช้เป็น ตัวอย่างในการชีถ้ งึ สาเหตุของการก่อตัวของสำานึกความเป็นชาติ อันทีจ่ ริง แล้วแอนเดอร์สันมิได้ระบุลงไปอย่างชี้ชัดว่าหนังสือพิมพ์ฉบับใดกันแน่ และหลักฐานทางประวัตศิ าสตร์กช็ ใี้ ห้เห็นว่าหนังสือพิมพ์ลกั ษณะดังกล่าว มีอยู่น้อยมากในช่วงก่อนการประกาศเอกราช แต่จะ “บูม” ขึ้นอย่างมี นัยยะสำาคัญหลังอาณานิคมได้รบั เอกราชและเกิดเป็นประเทศใหม่แล้วเสีย ต่างหาก ดังนัน้ การจะชีว้ า่ หนังสือพิมพ์ในลาตินอเมริกาและ “การจาริก” 12
10
Chasteen, “Introduction: Beyond Imagined Communities,” xviii.
11
François-Xavier Guerra, “Forms of Communication, Political Spaces, and
Cultural Identities in the Creation of Spanish American Nations,” in Beyond Imagined Communities: Reading and Writing the Nation in Nineteenth-Century Latin America, ed. Sara Castro-Klarén and John Charles Chasteen (Washington, D.C.: Woodrow Wilson Center Press, 2003), 5. 12
14
Chasteen, “Introduction: Beyond Imagined Communities,” xx.
เป็นสาเหตุหลักทีน่ าำ มาซึง่ การก่อตัวขึน้ ของสำานึกความเป็นชาติในคริสต์ ศตวรรษที่ 18 และนำาไปสู่การที่เหล่าครีโอลทำาสงครามประกาศเอกราช ต่อสเปนจนเกิดเป็นรัฐชาติใหม่ขนึ้ มาได้ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 จึงขัด กับความเป็นจริงและหลักฐานทางประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ดี แนวคิดสำาคัญของแอนเดอร์สนั เรือ่ งการกระจายตัวของอุดม การณ์ชาตินิยมผ่านทุนนิยมสิ่งพิมพ์นั้นยังมีประโยชน์อย่างยิ่งในการนำา มาใช้อธิบายการขยายตัวของชาตินยิ มในลาตินอเมริกาในช่วงครึง่ หลังของ คริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 บทความแปลหลายบท ในหนังสือเล่มนี้จะนำาพาผู้อ่านเข้าสู่ประเด็นดังกล่าว ย้อนพิจารณาข้อ เสนอของแอนเดอร์สนั และมีการวิเคราะห์กนั ว่าในลาตินอเมริกานัน้ ชาติ (หรือสำานึกความเป็นชาติ) เกิดขึ้นมาก่อนแล้วจึงเกิดเป็นรัฐ หรือรัฐเกิด ขึ้นก่อน แล้วรัฐจึงใช้กลไกของตน ซึ่งรวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์และทุนนิยมการ พิมพ์ เพื่อสร้าง (สำานึกความเป็น) ชาติ? แต่กอ่ นทีจ่ ะก้าวต่อไปยังการถกเถียงประการนีใ้ นบทต่อ ๆ ไป ผูเ้ ขียนเห็น ว่าจำาเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้พื้นที่บทนำานี้ในการอธิบายให้ผู้อ่านชาวไทย เข้าใจเสียก่อนว่า “ลาตินอเมริกา” คืออะไรและเป็นมาอย่างไรคร่าว ๆ อาจจะเพราะด้วยความห่างไกลทางภาษา ภูมิศาสตร์ และวัฒนธรรม ทำาให้คนไทยจำานวนไม่นอ้ ยยังมีความไม่เข้าใจมากนักว่าคำาดังกล่าวหมาย ถึงอะไร หรือลาตินอเมริกาเป็นมาอย่างไรบ้าง
15
อะไรคือลาตินอเมริกา? “ลาตินอเมริกา” (Latin America)
หมายถึงภูมิภาคภูมิภาคหนึ่งในทวีป อเมริกา เป็นกลุ่มประเทศที่พูดภาษาตระกูลที่พัฒนามาจากภาษาละติน นัน่ ก็คอื ภาษาสเปนและภาษาโปรตุเกส เขตทีเ่ รียกว่าลาตินอเมริกาจึง นับมาตั้งแต่บริเวณประเทศเม็กซิโก ใต้ประเทศสหรัฐอเมริกา ผ่าน บริเวณอเมริกากลางและทะเลแคริบเบียน ลงมาจนถึงสุดปลายทวีป อเมริกาใต้ที่บริเวณประเทศชิลีและอาร์เจนตินา ภายในลาตินอเมริกาก็ สามารถแบ่งแยกออกไปได้อีกเป็น “ทวีปอเมริกาส่วนที่พูดภาษาสเปน” (Spanish America) และ “ทวีปอเมริกาส่วนที่พูดภาษาโปรตุเกส” (Portuguese America) โดยกลุ่มแรกคือเหล่าประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมสเปน มาก่อน ซึง่ ถือเป็นส่วนมากในภูมภิ าค และกลุม่ หลังคือประเทศทีเ่ คยเป็น อาณานิคมโปรตุเกส ซึ่งได้แก่ประเทศบราซิล ด้วยเหตุนี้ ลาตินอเมริกา จึงไม่ได้หมายความถึง “อเมริกาใต้” แต่เพียงอย่างเดียวดังทีค่ นไทยจำานวน มากเข้าใจ แต่หมายรวมถึงเหล่าประเทศในแถบทวีปอเมริกาทัง้ หมดทีพ่ ดู ภาษาสเปนและโปรตุเกสทั้งหมดเสียต่างหาก 13
14
13
บางสำานักรวมภาษาฝรัง่ เศสเอาไว้ดว้ ย เพราะฉะนัน้ ประเทศเอกราชทีใ่ ช้ภาษาฝรัง่ เศส อย่างเฮติจึงนับว่าอยู่ในลาตินอเมริกาด้วยเช่นกัน 14 ในทางกลับกัน ประเทศในทวีปอเมริกาภาคพื้นทวีปและแถบทะเลแคริบเบียนที่ ไม่ได้ใช้ภาษาสเปนหรือโปรตุเกส แต่ใช้ภาษาอังกฤษหรือดัตช์ เช่น เบลิซ จาไมกา บาฮามาส สุรนิ าเม ทัง้ หมดนีจ้ ะไม่นบั ว่าเป็นลาตินอเมริกา เกาะหรืออาณาบริเวณทีย่ งั เป็นเมืองขึ้นของยุโรป เช่น กือราเซา (Curaçao) ที่เป็นเขตการปกครองของเนเธอร์ แลนด์ หรือเฟรนช์เกียนา (French Guiana) ก็ไม่นับเช่นกัน แต่เพื่อความสะดวกใน ทางการเมืองระหว่างประเทศ ก็มกี ารเรียกกลุม่ ประเทศลาตินอเมริกาและกลุม่ ประเทศ ต่าง ๆ เหล่านี้ว่า “ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน” (Latin America and the Caribbean) ด้วย 16
ดังทีท่ ราบกันโดยทัว่ ไปแล้วว่า ก่อนทีช่ าวยุโรปจะ “ค้นพบ” หรือเดินทาง เข้ามาถึง “โลกใหม่” บริเวณทวีปอเมริกาทั้งเหนือ กลาง ใต้ ต่างก็มี มนุษย์อาศัยอยูแ่ ล้วโดยทัว่ แม้วา่ ข้อถกเถียง ณ ปัจจุบนั จะยังไม่เป็นทีส่ นิ้ สุด แต่ทฤษฎีที่เชื่อกันว่าน่าจะมีความเป็นไปได้มากที่สุดคือ มนุษย์จาก เอเชียเมือ่ ราว ๆ 14,000–12,000 ปีกอ่ นคริสตกาล ได้พากันข้ามช่องแคบ แบริ่งจากทวีปเอเชียเข้ามาสู่ทวีปอเมริกาเหนือ จากนั้นจึงค่อย ๆ อพยพ และกระจายตัวลงทางทิศใต้ไปสูอ่ ากาศทีอ่ บอุน่ มากขึน้ มนุษย์กลุม่ แรก ๆ ทำาการเก็บของป่าล่าสัตว์ตามมีตามเกิด ต่อมามีหลาย ๆ กลุม่ ทีพ่ ฒ ั นาตัว ขึน้ เป็นสังคมชุมชนและมีความซับซ้อนมากขึน้ เกิดเป็นเผ่าน้อยใหญ่ตา่ ง ๆ เผ่าบางเผ่าสามารถจัดตั้งอำานาจเหนือเผ่าอื่น ๆ ในอาณาบริเวณใกล้เคียง มีระบบการปกครอง พิธีกรรม ความเชื่อ และสามารถเลี้ยงปากท้อง สมาชิกในเผ่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนพัฒนาขึ้นเป็นดั่ง “อาณาจักร” หรือ “จักรวรรดิ” ในลักษณะทีค่ ล้ายกับทีป่ รากฏในอารยธรรม “โลกเก่า” ทั้งหลาย ตัวอย่างที่สำาคัญหนีไม่พ้นอารยธรรมมายา-กิเช่ (Maya-k’iche’) ซึ่งเคยปรากฏอยู่แถบตอนใต้ของประเทศเม็กซิโกและแถบอเมริกากลาง ในปัจจุบัน, อารยธรรมแอซเท็ก (Aztec) ซึ่งเคยรุ่งเรืองอยู่บริเวณตอน กลางของประเทศเม็กซิโกในปัจจุบนั และอารยธรรมอินคา (Inca) ซึง่ แผ่ อำานาจไปเกือบทั่วทวีปอเมริกาใต้และมีศูนย์กลางอำานาจอยู่บริเวณที่เป็น ประเทศเปรูในปัจจุบัน ส่วนบริเวณที่เป็นเขตอากาศร้อนและเต็มไปด้วย ป่าดงดิบแอมะซอนอย่างบริเวณตอนเหนือของทวีปอเมริกาใต้ หรือบริเวณ เกาะต่าง ๆ ในทะเลแคริบเบียน ก็พบหลักฐานว่ามีการกระจายตัวของเผ่า ชนพืน้ เมืองอยูท่ วั่ เช่นกัน แต่ยงั ไม่มคี วามซับซ้อนหรือสามารถแผ่อาำ นาจ ได้มากเท่าอารยธรรมทั้งสามที่กล่าวไว้ข้างต้น ย้อนข้ามฝัง่ มหาสมุทรแอตแลนติกไปยังทวีปยุโรปช่วงปลายคริสต์ศตวรรษ ที่ 15 เมื่อราชสำานักสเปนสำาเร็จการสงครามยึดพื้นที่คืนจากมุสลิมแล้ว ก็ได้ให้ทุนสนับสนุนคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus) ใน การทดลองแล่นเรือไปยังเอเชียด้วยเส้นทางใหม่ กองเรือของโคลัมบัสแล่น 17
เรือมาถึงเกาะในแถบทะเลแคริบเบียนเป็นการสำาเร็จเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1492 และด้วยว่าโคลัมบัสเข้าใจว่าตนเดินทางถึงชมพูทวีปอินเดียแล้ว คำาเรียกชนพื้นเมืองในภาษาสเปนจึงเป็นคำาว่า “อินดิโอ” (indio) ไปโดย ปริยาย หลังจากโคลัมบัสจัดตั้งอาณานิคมสเปนเป็นที่แรก ณ เกาะฮิสปานิโอลา (Hispaniola) หรื อ บริ เ วณที่ ปั จ จุ บั น นี้ คื อ ประเทศเฮติ แ ละสาธารณรั ฐ โดมินกิ นั กองเรือสเปนระลอกใหม่ ๆ ก็พากันทยอยออกเดินทางมายังทวีป อเมริกากันอย่างไม่ขาดสายนับแต่นนั้ นำามาซึง่ ประชากรชาวยุโรปผิวขาว พืช สัตว์ ศาสนา ตลอดจนวิทยาการเทคโนโลยีต่าง ๆ อย่างเช่น ปืน อาวุธทีเ่ ป็นโลหะอย่างดาบและหอก ด้วยความเหนือกว่าทางเทคโนโลยีนี้ เองที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำาให้ “เหล่าผู้พิชิต” (Conquistador) อย่างเอร์นัน กอร์เตซ (Hernán Cortés) หรือฟรานซิสโก ปิซาร์โร (Francisco Pizarro) สามารถเอาชนะอาณาจักรใหญ่ ๆ ทีม่ จี าำ นวนประชากรเป็นล้าน ๆ คนอย่าง อินคาและแอซเท็กได้อย่างไม่ยากเย็นนัก ในห้วงเวลานีเ้ องทีเ่ กิดการผสม ผสานข้ามชาติพันธุ์ (mestizaje) ขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างคนขาวเชื้อสาย ยุโรปกับชนพื้นเมือง เหล่าทหารสเปนระลอกแรกที่เดินทางไปยังทวีป อเมริกาแทบทัง้ หมดเป็นชายฉกรรจ์ เมือ่ เข้าตีชนเผ่าต่าง ๆ จึงจับสตรีชน พื้นเมืองมาข่มขืนระบายความกำาหนัดของตนเป็นจำานวนมาก หากสตรี เหล่านี้ไม่เสียชีวิตไปเสียก่อน ก็จะถือได้ว่าเป็นผู้ที่ได้ให้กำาเนิดประชากร กลุ่ม “ลูกผสม” หรือ “เมสติโซ” (mestizo) รุ่นแรกนั่นเอง เมือ่ การบุกยึดพิชติ ดินแดนโดยชาวสเปนและโปรตุเกสเริม่ เข้ารูปเข้ารอย มากขึ้น ก็เกิดการจัดตั้งระบอบการปกครองอาณานิคมที่เป็นหลักแหล่ง จนกระทั่งท้ายที่สุดพัฒนาขึ้นเป็น “เขตอุปราชปกครอง” (Viceroyalty) ต่าง ๆ ซึ่งมีระบบรัฐราชการที่ซับซ้อนและถูกกำาชับควบคุมจากสเปน โดยตรงและสัมพันธ์กบั ศาสนจักรคาทอลิกอย่างแนบแน่น ทีด่ นิ ทีเ่ คยเป็น ที่อยู่ของชนพื้นเมืองหรือรกร้างว่างเปล่าถูกจัดแบ่งให้กับเหล่าผู้พิชิตทั้ง 18
หลาย พร้อมกับมีการจัดสรรชนพืน้ เมืองให้ไปเป็นข้ารับใช้หรือแรงงานด้วย โดยเหล่าคนขาวที่เป็นเจ้าของที่ดินและมีชนพื้นเมืองอยู่ใต้การปกครอง ต้องให้การดูแลคนเหล่านี้ และต้องสั่งสอนคริสต์ศาสนาคาทอลิกและ ภาษาสเปนให้ด้วย แม้ว่าการทำาสงครามพิชิตยึดครองทวีปอเมริกาของกองทหารจากสเปน จะทำาให้ชนพืน้ เมืองจำานวนไม่นอ้ ยเสียชีวติ ไป แต่สงิ่ ทีค่ ร่าชีวติ ชนพืน้ เมือง ไปเป็นจำานวนมหาศาลจริง ๆ คือโรคภัยไข้เจ็บทีเ่ ข้ามาพร้อม ๆ กับชาวสเปน และปัญหาความอดอยาก เพราะชนพืน้ เมืองไม่มภี มู คิ มุ้ กันต่อโรคระบาด ใหม่ ๆ อย่างฝีดาษหรือหัด และการสงครามทำาลายที่ดินและพืชผลไปจน หมด ในการนี้เองที่เริ่มมีการนำาเอาคนผิวดำาจากทวีปแอฟริกาเข้ามาเป็น แรงงานทาสทดแทนชนพื้นเมืองที่เสียชีวิตไปนับล้าน โดยเฉพาะบริเวณ ที่ทำาการทำาเหมืองแร่หรือปลูกพืชเศรษฐกิจจำาพวกอ้อยนำ้าตาล ฝ้าย ก่อ ให้เกิดการผสมผสานข้ามกลุ่มชาติพันธุ์เพิ่มมากขึ้นไปอีก กลุ่มชาติพันธุ์ ในลาตินอเมริกา ณ ขณะนีจ้ งึ ประกอบไปด้วยคนขาว เมสติโซ (ลูกผสม ระหว่างชาติพันธุ์ต่าง ๆ) ชนพื้นเมือง และทาสจากแอฟริกา เมือ่ ระบบอาณานิคมลงตัวมากขึน้ ก็มกี ารส่งข้าราชการจากสเปนมาดำารง ตำาแหน่งสูง ๆ ในหน่วยงานราชการ คนเหล่านี้ที่เกิดในสเปนแต่ถูกส่งมา ทำางานหรืออพยพมาอยู่ในอาณานิคมในทวีปอเมริกาถูกเรียกว่าพวก “เปนินซูลาร์” (peninsular) หรือ “เปนินซูลาเรส” มีอภิสท ิ ธิส์ งู ทีส่ ดุ ในสังคม อาณานิคม ส่วนกลุม่ คนขาวทีม่ บี รรพบุรษุ เป็นชาวสเปนหรือชาวยุโรปแต่ เกิดในทวีปอเมริกา จะถูกเรียกว่าพวก “ครีโอล” (creole) มีสถานะทาง สังคมด้อยกว่าพวกเปนินซูลาร์เสียหน่อย แต่ก็ยังมีอภิสิทธิ์มากกว่าทาส ผิวดำา ชนพืน้ เมืองหรือเมสติโซ โดยมากครีโอลประกอบอาชีพเป็นเจ้าของ ไร่ขนาดใหญ่ หรือไม่กเ็ ป็นเจ้าของเหมือง มีบา้ งแต่ไม่มากทีไ่ ด้ขนึ้ ไปดำารง ตำาแหน่งสำาคัญ ๆ ในรัฐราชการของระบบอาณานิคม ดังนั้นจึงจะเห็นได้ ว่าแม้จะเป็นคนผิวขาว แต่ในลาตินอเมริกาก็ยังมีการแบ่งแยกกันเอง 19
ระหว่าง “ผิวขาวจากสเปน” กับ “ผิวขาวที่เกิดแต่ทวีปอเมริกา” การที่อาณานิคมของอังกฤษบริเวณทวีปอเมริกาเหนือพากันประกาศตน เป็นเอกราชในปี ค.ศ. 1776 และการปฏิวตั ฝิ รัง่ เศสปี ค.ศ. 1789 ทำาให้กลุม่ ชนชัน้ นำาในลาตินอเมริกา ซึง่ ก็คอื เหล่าครีโอล เริม่ พากันถกเถียงว่า เมือ่ ใดเล่าที่ลาตินอเมริกาจะได้เดินตามรอยการปฏิวัติทั้งสองบ้าง ราชสำานัก สเปนพยายามเป็นอย่างยิง่ ในการควบคุมไม่ให้คาำ ประกาศหรือหนังสือสาย เสรีนิยมทั้งหลายจากสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศสหลุดรอดเข้ามาในเขต อาณานิคมของตนในทวีปอเมริกา แต่ก็ไม่เป็นการสำาเร็จอยู่ดี จนกระทั่ง ในท้ายที่สุด เหล่าครีโอลในอาณานิคมสเปนเมืองต่าง ๆ ก็ถือโอกาสเอา ห้วงเวลาที่ราชสำานักสเปนเพลี่ยงพลำ้าให้แก่กองทัพนโปเลียนเมื่อปี ค.ศ. 1808 ประกาศเอกราชจากสเปนในทีส ่ ดุ แต่ทปี่ ระหลาดคือในช่วงแรกเป็น การประกาศเอกราชทีช่ วู า่ ตนจะภักดีกบั กษัตริยส์ เปนทีแ่ ท้จริง คือพระเจ้า เฟอร์ดินานด์ที่ 7 (Ferdinand VII of Spain) ไม่ใช่กษัตริย์ฝรั่งเศสองค์ที่ นโปเลียนตัง้ ขึน้ มาใหม่ อย่างไรก็ดี กว่าสงครามนโปเลียนจะสิน้ สุดลงและ กว่าพระเจ้าเฟอร์ดินานด์ที่ 7 จะเสด็จกลับคืนสู่บัลลังก์ราชสำานักสเปน เหล่าอาณานิคมในทวีปอเมริกาก็ได้ลิ้มรสความเป็นเอกราชแบบ “กึ่ง สาธารณรัฐ” และติดใจเข้าเสียแล้ว ซำ้าแล้วพระองค์เองก็ปฏิเสธที่จะอยู่ ภายใต้รัฐธรรมนูญและนำาเอาระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชกลับมาใช้อีก ด้วย ดังนั้นเหล่าครีโอลจึงประกาศตนเป็นปฏิปักษ์ต่อราชสำานักสเปน และจะต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งการก่อตั้งสาธารณรัฐดังเช่นในสหรัฐอเมริกา เช่นเดียวกับในสหรัฐอเมริกา เหล่า “บิดาผู้ก่อตั้ง” (Founding Fathers) เชือ้ สายครีโอลในลาตินอเมริกามิได้เป็นแต่เพียงผูน้ าำ การสูร้ บเท่านัน้ แต่ ยังเป็นนักคิดนักเขียนผู้ปราดเปรื่องด้วย อาทิ โฆเซ่ เด ซาน มาร์ติน ( José de San Martín) ผูน ้ าำ การประกาศเอกราชในแถบอาร์เจนตินา และ ซิมอน โบลิวาร์ (Simón Bolívar) ครีโอลชาวเวเนซุเอลาซึ่งนำาพากองทัพ สาธารณรัฐนิยมเอาชนะสเปนในแถบเวเนซุเอลา โคลอมเบีย เอกวาดอร์ เปรู และโบลิเวียเป็นการสำาเร็จ 20
ราว ๆ ทศวรรษ 1820 เกือบทัว่ ทัง้ ลาตินอเมริกาก็เป็นอิสระจากชาติยโุ รป เว้นเพียงแต่คิวบา เปอร์โตริโก ที่ยังเป็นอาณานิคมสเปน และบราซิล ที่ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของโปรตุเกส การเลิกทาสก็ตามมาหลังจากการ ประกาศเอกราชด้วยไม่นานเช่นกัน ทว่าการมีเอกราชก็มไิ ด้แปลว่าจะนำา มาซึ่งเสถียรภาพ ประชาธิปไตย หรือความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เสมอไป ในทางกลับกันตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ลาตินอเมริกา แทบทัง้ ภูมภิ าคประสบปัญหาสงครามกลางเมือง เหล่าครีโอลทีอ่ าจจะเคย เห็นพ้องต้องกันในเรื่องการให้ได้มาซึ่งเอกราชจากสเปน เมื่อมาถึง ณ ขณะนี้ก็ได้แตกออกเป็นฝ่ายเสรีนิยมและฝ่ายอนุรักษ์นิยม ฝ่ายแรก ต้องการแยกอำานาจของศาสนจักรโรมันคาทอลิกออกจากโครงสร้างรัฐ เปิดเสรีทางการค้า ขยายสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองให้กับผู้คนทุก กลุ่ม และให้ความสำาคัญกับความเป็นปัจเจกชน ในขณะที่ฝ่ายอนุรักษ์ นิยมต้องการธำารงไว้ซงึ่ โครงสร้างทางสังคมแบบสมัยอาณานิคม ต้องการ ให้ศาสนจักรมีบทบาทสำาคัญในกิจการต่าง ๆ ของรัฐอย่างเช่นการศึกษา และมองว่ารัฐต้องอุ้มชูปกป้องชนพื้นเมืองจากรุกคืบของระบบตลาดหรือ อุดมการณ์ปัจเจกนิยม ความแตกต่างทางความคิดนี้ทำาให้เกิดการรบรา ฆ่าฟันอยู่เสมอ ในบางประเทศอย่างโคลอมเบียแม้จะมีการเลือกตั้ง แต่ ก็เต็มไปด้วยการโกงหรือการลอบฆ่าตัวเต็งทัง้ หลายอยูเ่ ป็นนิจ กลุม่ ชนชัน้ นำาทีก่ มุ อำานาจการปกครองในห้วงยุคนีจ้ งึ ถูกขนานนามว่าเป็นเหล่า “คณา ธิปไตย” (Oligarchy) ผู้นำาเป็นผู้ชายแทบทั้งหมด มีความเด็ดขาด เด็ด เดีย่ ว เป็นเผด็จการทีม่ อี าำ นาจบารมีมาก สามารถสยบคนใด ๆ ทีจ่ ะเข้ามา ท้าทายให้อยู่ใต้อาณัติได้ ด้วยเหตุนี้จึงมีการเรียกผู้นำาลักษณะนี้ว่าเป็น “เจ้าพ่อ” หรือ “เกาดิโย” (Caudillo) นั่นเอง เมื่อเข้าสู่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 สงครามกลางเมืองในหลาย ๆ ประเทศก็สงบลง ผู้ที่ชนะสถาปนาตัวเป็นเผด็จการปกครองในรูปแบบ “เจ้าพ่อ” ในห้วงเวลานีเ้ องทีเ่ ศรษฐกิจของลาตินอเมริกาเริม ่ กลับมากระเตือ้ ง อีกครัง้ ในฐานะผูส้ ่งออกวัตถุดบิ ขัน้ ต้นไปยังยุโรปและสหรัฐอเมริกา เช่น 21
ใบยาสูบ ฝ้าย อ้อย ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ธุรกิจเหล่านี้น้อยมากที่จะเป็น ของเมสติโซ ชนพืน้ เมือง หรือคนผิวดำา ส่วนมากยังเป็นของเหล่าครีโอล ผิวขาว ในทางกลับกัน รัฐบาลเผด็จการของเหล่า “เจ้าพ่อ” หลาย ๆ แห่ง ก็สานสัมพันธ์กับกลุ่มทุนต่างชาติให้เข้ามาลงทุนหรือใช้ประโยชน์จาก ทรัพยากรภายในประเทศของตนเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการให้สัมปทานขุด เหมือง ทำาไร่ หรือในช่วงต่อมาก็เป็นการทำาทางรถไฟ เป็นต้น ลาตินอเมริกาก้าวเข้าสูค่ ริสต์ศตวรรษที่ 20 ในฐานะทีเ่ ป็นแหล่งป้อนวัตถุ ดิบขัน้ ต้นให้กบั “โลกเก่า” ดังเช่นในสมัยศตวรรษก่อนหน้า แต่แล้วอำานาจ จากสหรัฐอเมริกาก็แผ่ขยายรุกคืบแซงหน้าชาติยโุ รปอืน่ ๆ อย่างไม่เห็นฝุน่ หลังสงครามสเปน-สหรัฐอเมริกาสิน้ สุดลงเมือ่ ปี ค.ศ. 1898 สัมปทานและ การรุกคืบจากกลุ่มทุนอเมริกันไหลหลากเข้ามาสู่ลาตินอเมริกาภายใต้ รัฐบาลเผด็จการทัว่ ทัง้ ภูมภิ าค ไม่วา่ จะเป็นกรณีทเี่ ข้ามาทำาการปลูกกล้วย ในประเทศแถบอเมริกากลาง การทีส่ หรัฐอเมริกาได้ควิ บาและเปอร์โตริโก เป็นรัฐใต้ปกครอง การขุดเจาะคลองปานามา เรือ่ ยมาจนถึงกรณีทบี่ ริษทั สัญชาติอเมริกนั ได้รบั สัมปทานจากรัฐบาลเผด็จการฆวน บิเซ็นเต โกเมซ ( Juan Vicente Gómez) ของเวเนซุเอลาให้เป็นผู้ขุดเจาะนำ้ามันดิบ ในห้วงเวลานี้เองที่นักการเมืองและปัญญาชนหลายคนในลาตินอเมริกา ยึดเอายุโรปตะวันตกและสหรัฐอเมริกาเป็นตัวแบบ โดยพวกเขาเชื่อว่า การจะก้าวเข้าสู่ “ความเป็นสมัยใหม่” (modernization) ได้ ต้องมีการ พัฒนาอุตสาหกรรมเสียก่อนเป็นอย่างแรก และแน่นอนว่าต้องการแรงงาน เป็นสำาคัญ ดังนัน้ จึงเกิดนโยบายสนับสนุนให้ชาวยุโรปอพยพเข้ามาอยูใ่ น ประเทศ ซำา้ ยังเกิดแนวคิดว่าหากประเทศยิง่ มีความ “ขาว” มากขึน้ เท่าใด ก็ยิ่งน่าจะเจริญได้ไวมากขึ้นเท่านั้นด้วย ดังนั้นเราจึงเห็นคลื่นการอพยพ ของชาวยุโรปใต้อย่างสเปนและอิตาลีเข้ามาอยูใ่ นประเทศอย่างอาร์เจนตินา หรือชิลเี ป็นจำานวนมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิง่ ช่วงทีส่ เปนประสบปัญหา สงครามกลางเมือง และยุโรปโดยรวมประสบปัญหาสงครามโลกทัง้ สองครัง้ 22
การกระจุกตัวของทุนในเมืองใหญ่ การเพิม่ ขึน้ ของอุตสาหกรรม และการ เพิม่ ขึน้ ของจำานวนประชากร ส่งผลให้การพัฒนาอุตสาหกรรมในหลาย ๆ ประเทศดำาเนินการไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในอาร์เจนตินา บราซิล เม็กซิโก เกิดการอพยพจากชนบทเข้ามาสู่เมืองมากขึ้นด้วย ด้วยเหตุนี้ จึงเกิดสิง่ ทีเ่ รียกว่าเป็น “การเมืองมวลชน” ขึน้ เป็นครัง้ แรกในลาตินอเมริกา เป็นผลมาจากการขยายสิทธิความเป็นพลเมืองและสิทธิการเลือกตั้งไป สู่ชนชั้นแรงงานกรรมาชีพ สตรี และลูกหลานผู้อพยพจากต่างชาติเป็น วงกว้าง ทั้งหมดนี้ยิ่งถูกตอกยำ้ามากขึ้นเมื่อเศรษฐกิจโลกถึงจุดชะงักงัน ตลาดหุน้ วอลล์สตรีทในสหรัฐอเมริกาประสบวิกฤตในปี ค.ศ. 1929 เหล่า ประเทศพัฒนาแล้วทีเ่ ป็นปลายทางในการส่งออกสินค้าจากลาตินอเมริกา ไม่สามารถดำาเนินการค้าขายกับลาตินอเมริกาได้ในปริมาณมากเท่าเดิม ลาตินอเมริกาหลาย ๆ ประเทศจึงเปลีย่ นโมเดลเศรษฐกิจจากการผลิตเพือ่ ส่งออกไปเป็นการผลิตและพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อการบริโภคภายใน ประเทศแทน (import-substitution industrialization) แต่ผลของการพัฒนาอุตสาหกรรมในลาตินอเมริกาหลาย ๆ ประเทศกลับ ไม่เป็นไปตามที่เหล่าผู้สมาทานแนวคิดความเป็นสมัยใหม่คาดหวังไว้ สังคมและการเมืองของประเทศที่มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมกลับไม่ พัฒนาตามไปด้วยดังที่เกิดขึ้นในอังกฤษหรือสหรัฐอเมริกา ไม่ได้เป็น ประชาธิปไตยมากขึ้น ซำ้ายังกลับมีความเป็นเผด็จการมากขึ้นด้วยซำ้า ปัญหาความเหลื่อมลำ้าทางเศรษฐกิจและความยากจนก็ยิ่งยำ่าแย่ลงไปอีก ด้วย ในช่วงนี้เองที่วาทกรรมแบบเอียงซ้ายซึ่งชี้ว่าบ่อเกิดของปัญหาเหล่า นี้อยู่ที่ลัทธิจักรวรรดินิยมอเมริกันได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ผู้นาำ จากพรรคการเมืองที่มีนโยบายเน้นการกระจายที่ดิน ปฏิรูปการกระจาย รายได้จึงได้รับความนิยมและชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในบาง ประเทศ เช่นในโบลิเวียและกัวเตมาลาช่วงต้นทศวรรษ 1950 แต่แล้ว สหรัฐอเมริกาก็ใช้อาำ นาจทางการทหารของตนจัดการแทรกแซงรัฐบาลของ ประเทศเหล่านี้ที่ดำาเนินการปฏิรูปต่าง ๆ ซึ่งกระทบกับผลประโยชน์ของ 23
ตน โดยรัฐบาลอเมริกันสร้างความชอบธรรมให้กับการกระทำาของตนว่า ทำาไปเพือ่ ป้องกันการรุกคืบของพวกคอมมิวนิสต์และเพือ่ รักษาผลประโยชน์ ของบริษัทสัญชาติอเมริกันในประเทศเหล่านี้ ภายใต้สภาวะเช่นนี้เองที่การปฏิวัติคิวบาประสบความสำาเร็จไปในปี ค.ศ. 1959 การเปลี่ยนแปลงที่คิวบาครั้งนี้ส่งผลสะเทือนไปทั่วทั้งทวีปอเมริกา หลายประเทศทีเ่ คยประสบปัญหาการถูกกดขีจ่ ากกลุม่ ทุนข้ามชาติ ชนชัน้ นำาทีข่ ายชาติ และรัฐบาลเผด็จการทีส่ หรัฐอเมริกาอุม้ ชูไว้ ต่างก็เห็นแล้ว ว่าการลุกฮือหยิบจับอาวุธโค่นล้มระบอบเก่าเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นัน้ เป็นเรือ่ งทีเ่ ป็นไปได้และเป็นไปแล้ว “ขบวนการนักรบกองโจรฝ่ายซ้าย” ในลักษณะเดียวกันกับที่ฟิเดล กัสโตร (Fidel Castro) และเช เกบารา (Che Guevara) เคยริเริม ่ ไว้และประสบความสำาเร็จ ผุดขึน้ ทัว่ ลาตินอเมริกา เพื่อต่อกรกับเหล่าชนชั้นนำาสามานย์ทั้งหลายที่กุมอำานาจรัฐไว้และรังแต่ จะทำาให้ปญ ั หาความยากจนและความเหลือ่ มลำา้ ยำา่ แย่ลงอยูท่ กุ เมือ่ เชือ่ วัน ไม่วา่ จะในเวเนซุเอลา นิการากัว เอลซัลวาดอร์ อาร์เจนตินา เปรู อุรกุ วัย หรือโคลอมเบีย เป็นต้น แต่แล้วหากไม่นบั นิการากัว แทบไม่มกี รณีใดเลย ทีน่ กั รบกองโจรฝ่ายซ้ายเหล่านีป้ ระสบความสำาเร็จ แทบทัง้ หมดถูกกวาด ล้างอย่างรุนแรงทั้งจากรัฐบาลเผด็จการทหารและรัฐบาลพลเรือนอย่าง เหี้ยนเตียน ในแถบอเมริกากลาง สภาวะสงครามกลางเมืองเช่นนี้ส่งผล ทำาให้ประชาชนจำานวนนับล้านจำาต้องอพยพหนีความรุนแรงไปอยูใ่ นสหรัฐ อเมริกา ส่วนในประเทศแถบอเมริกาใต้อย่างชิลี ถึงแม้ว่าผู้นำาฝ่ายซ้าย อย่างซัลวาดอร์ อะเยนเด (Salvador Allende) จะก้าวขึน้ สูอ่ าำ นาจด้วยการ ชนะการเลือกตั้งภายใต้ระบอบประชาธิปไตย แต่ผลจากการดำาเนิน นโยบายปฏิรปู ทีเ่ อียงซ้ายมากเกินไป ในสายตาของฝัง่ อนุรกั ษ์นยิ มก็ทาำ ให้ เขาไม่เป็นที่ชื่นชอบของกองทัพ ชนชั้นนำา กลุ่มทุนข้ามชาติและสหรัฐ อเมริกา จนเป็นเหตุให้เกิดการรัฐประหารในปี ค.ศ. 1973 ซึง่ ตามมาด้วย การกวาดล้าง “อุ้มหาย” ประชาชนนับหมื่นราย
24
เมือ่ สงครามอุดมการณ์ซา้ ย-ขวาดำาเนินมาถึงจุดจบช่วงปลายทศวรรษ 1980 รัฐบาลเผด็จการทหารในลาตินอเมริกาที่ตบเท้ากันเข้ามายึดอำานาจกัน ตัง้ แต่ราว ๆ ทศวรรษ 1960 ก็พากันลงจากอำานาจ ประชาธิปไตยในลาติน อเมริกากลับมาสู่ประชาชนอีกครั้งพร้อม ๆ กับปัญหาหนี้ระหว่างประเทศ และเงินเฟ้อทีเ่ กิดขึน้ ตัง้ แต่ราว ๆ วิกฤตการณ์นาำ้ มันโลกช่วงทศวรรษ 1970 และพุง่ ขึน้ จุดวิกฤตในช่วงทศวรรษ 1980 นโยบายเศรษฐกิจแบบเสรีนยิ ม ใหม่ (neoliberalism) จึงถูกนำามาปรับใช้ภายใต้คำาสั่งขององค์กรการเงิน นานาชาติอย่างกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund—IMF) และธนาคารโลก (World Bank) ในฐานะที่เป็น “ยาขม” เพื่อแก้ปัญหาเงินเฟ้อรุนแรงและปรับโครงการทางการคลังให้เข้ารูปเข้า รอย นโยบายเช่นนีป้ ระกอบไปด้วยการลดภาระของรัฐลงผ่านการตัดลด และยกเลิกโครงการเพือ่ สวัสดิการสังคมต่าง ๆ เรือ่ ยไปจนถึงการขายทอด กิจการรัฐวิสาหกิจอย่างการไฟฟ้าและประปาให้กบั ภาคเอกชน ด้วยเหตุนี้ ตลอดทศวรรษ 1990 ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมลำ้าที่ยำ่าแย่อยู่ แล้วจึงยิง่ ตกตำา่ ลงไปอีก เป็นผลทำาให้ในช่วงทศวรรษ 2000 ประชาชนใน ลาตินอเมริกาหลาย ๆ ประเทศ ไม่วา่ จะเป็นเวเนซุเอลา นิการากัว โบลิเวีย เอกวาดอร์ บราซิล ต่างพากันพร้อมใจเลือกผู้นำาเอียงซ้ายชาตินิยมที่ ประกาศตัวว่าจะเข้ามาจัดการปัญหาความเหลือ่ มลำา้ และความยากจนด้วย นโยบายประเภทเน้นการกระจายรายได้ สร้างสวัสดิการสังคม ต่อต้าน องค์กรการเงินข้ามชาติอย่าง IMF และ World Bank และนำาเอากิจการ ที่เคยต้องขายให้กับเอกชนกลับมาเป็นของรัฐ อย่างไรก็ดี ณ ปัจจุบนั นี้ “คลืน่ เอียงซ้าย” แห่งลาตินอเมริกาลูกนีไ้ ด้ผา่ น พ้นไปแล้ว และก็แสดงให้เห็นว่าปัญหาที่ผู้นาำ กลุ่มดังกล่าวเสนอตัวว่าจะ เข้ามาแก้ ก็ยังไม่ถูกแก้อย่างยั่งยืน ซำ้าแล้วรัฐบาลเอียงซ้ายเหล่านี้ยัง ประสบปัญหาการทุจริตเป็นวงกว้างอีกด้วย บ้างก็ทาำ ให้ประเทศถอยหลัง ลงคลองกลายเป็นรัฐบาลเผด็จการอำานาจนิยม ดังทีเ่ ห็นในกรณีเวเนซุเอลา และโบลิเวีย 25
รายละเอียดของแต่ละบท หนังสือเล่มนี้เป็นการรวมบทความแปลที่ศึกษาเรื่องชาติ รัฐชาติ และ ชาตินยิ มในลาตินอเมริกา โดยมุง่ เน้นวิพากษ์ทฤษฎีของเบเนดิกต์ แอน เดอร์สนั ใน ชุมชนจินตกรรม เป็นหลัก ดังทีก่ ล่าวไว้ในช่วงแรกของบทนี้ แล้วว่า แม้นักวิชาการที่ศึกษาลาตินอเมริกาจำานวนมากจะเห็นด้วยกับ แอนเดอร์สันในทฤษฎีของเขาในองค์รวมบ้างไม่มากก็น้อย แต่ในเชิงราย ละเอียดส่วนทีแ่ อนเดอร์สนั อ้างถึงครีโอลลาตินอเมริกาในฐานะทีเ่ ป็น “ผู้ ริเริ่ม” อุดมการณ์ชาตินิยมนั้น ขัดต่อข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ของ ลาตินอเมริกาอยูห่ ลายจุดด้วยกัน บทความในบทต่อ ๆ ไปนัน้ จึงจะชีใ้ ห้เห็น ถึงจุดอ่อนของทฤษฎีชุมชนจินตกรรมในหลาย ๆ ประเด็นด้วยกัน โดย สามารถกล่าวโดยคร่าว ๆ เป็นสามประเด็น อันได้แก่ (1) บทบาทของสือ่ สิ่งพิมพ์ในลาตินอเมริกาช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้นคริสต์ ศตวรรษที่ 19; (2) ความแตกต่างของจิตสำานึกความเป็นชาติในหมูค่ รีโอล และในหมู่ประชากรกลุ่มอื่น ๆ; และ (3) บทบาทของศาสนาในการสร้าง ชาติ โดยเฉพาะในบททีส่ อง ทีจ่ ะชีใ้ ห้เห็นอิทธิพลของศาสนาโรมันคาทอลิก ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนประกอบสำาคัญต่อการสร้างจิตสำานึกความเป็นชาติ ในประเทศอย่างเช่นเม็กซิโกและเปรู ทัง้ หมดนีล้ ว้ นแล้วแต่นาำ มาสูข่ อ้ สรุป ที่ว่าชาตินิยมในลาตินอเมริกานั้นไม่ได้เกิดขึ้นหรือริเริ่มในช่วงคริสต์ศต วรรษที่ 19 ตัง้ แต่กอ่ นการประกาศเอกราชดังทีแ่ อนเดอร์สนั ชีไ้ ว้ หากแต่ เป็นในศตวรรษต่อมาเสียต่างหาก ซึง่ เป็นช่วงทีร่ ฐั เริม่ มีความเป็นปึกแผ่น มากขึ้น และเริ่มมีการเผชิญ “ศัตรู” ทั้งจากภายนอกและภายใน บทที่สอง “ชาตินิยมในลาตินอเมริกา” เขียนโดยฟรานซิสโก โกลอม กอนซาเลซ (Francisco Colom González) ปัจจุบนั ดำารงตำาแหน่งศาสตรา จารย์นกั วิจยั (Professor of Research) ณ ศูนย์การศึกษาวิจยั ด้านมนุษย ศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Centre for Humanities and Social Sciences) สำานักงานการวิจัยแห่งชาติ ประเทศสเปน (Spanish National Research 26
โดยโกลอม กอนซาเลซได้สำาเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก ด้านปรัชญาจากมหาวิทยาลัยกอมปลูเต็นเซแห่งกรุงมาดริด (Complutense University of Madrid) ประเทศสเปน ในบทความนี้โกลอม กอนซาเลซ จะนำาพาผูอ้ า่ นไปสูท่ มี่ าและทีไ่ ปของชาตินยิ มในลาตินอเมริกาและวิพากษ์ ทฤษฎีชมุ ชนจินตกรรมของแอนเดอร์สนั อย่างตรงไปตรงมาพร้อมตัวอย่าง จากแต่ละกรณีศึกษา ทั้งจากวงวรรณกรรม ศาสนา และการเมือง จุด เด่นสำาคัญของบทความนี้คือการชี้ให้เห็นถึงข้อจำากัดของข้อโต้แย้งของ แอนเดอร์สันที่ว่า ชาตินิยมในลาตินอเมริกาเกิดขึ้นและแพร่กระจายเป็น ครัง้ แรกในช่วงก่อนการเกิดรัฐชาติชว่ งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยโกลอม กอนซาเลซอธิบายว่าอุดมการณ์ชาตินยิ ม “เป็นวิธหี นึง่ ในการปรับเปลีย่ น ความสัมพันธ์ในชุมชนชุมชนหนึ่ง” ซึ่ง “จะสามารถกระตุ้นให้เกิดความ รูส้ กึ นึกคิดและแรงการกระทำาเชิงหมูค่ ณะ (collective agency) ได้ดหี รือไม่ มากน้อยเพียงใด ย่อมขึ้นอยูก่ ับ ‘การจัดระเบียบประมวลเรื่องเล่า’ (nar้ มาใหม่” rative codification) และการเรียบเรียงความสัมพันธ์ทางสังคมขึน เป็นสำาคัญ ด้วยเหตุนี้ โกลอม กอนซาเลซจึงแย้งว่า ชาตินิยมในลาติน อเมริกาจริง ๆ แล้วเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 และเป็นผลมาจาก เงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการเมืองที่เปลี่ยนไป สิ่งที่แอนเดอร์สันเชื่อว่า เป็นต้นตอของอุดมการณ์ชาตินิยมที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนหน้านั้น เช่นใน ช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 จึงเป็นเพียง แค่สิ่งที่กระจุกอยู่ในวงปัญญาชนวงเล็ก ๆ เท่านั้น Council)
บทที่ ส าม “ประวั ติ ศ าสตร์ นิ พ นธ์ อุ ด มการณ์ ช าติ นิ ย มและอั ต ลั ก ษณ์ ประจำาชาติในลาตินอเมริกา” เขียนโดยนิโคลา มิลเลอร์ (Nicola Miller) ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์ลาตินอเมริกาแห่งมหาวิทยาลัยคอลเลจ ลอนดอน (University College London) มิลเลอร์สำาเร็จการศึกษาระดับ ปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด (University of Oxford) สห ราชอาณาจักร และเชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ลาตินอเมริกาช่วงคริสต์ศต วรรษที่ 19 และ 20 โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องประวัติศาสตร์ทางความ 27
คิดและประวัตศิ าสตร์อดุ มการณ์ชาตินยิ ม โดยในบทนี้ มิลเลอร์ได้ทาำ การ รวบรวมบทความหรืองานศึกษาเกี่ยวกับชาตินิยมในลาตินอเมริกาชิ้น สำาคัญ ๆ ในด้านประวัติศาสตร์ สังคมศาสตร์และวัฒนธรรมศึกษาที่ผลิต ขึน้ ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 มาไว้ดว้ ยกันและร้อยเรียงออก มาเป็นการสนทนา นอกจากนีย้ งั มีการศึกษาอิทธิพลทีง่ านเขียนของแอน เดอร์สนั มีตอ่ แวดวงวิชาการลาตินอเมริกาศึกษา โดยพิเคราะห์แง่มมุ ทีว่ า่ นักวิชาการกลุม่ ดังกล่าวนำาเอาทฤษฎีของแอนเดอร์สนั ไปใช้กบั งานของตน ในลักษณะใด มีขอ้ วิจารณ์ตอ่ การทีแ่ อนเดอร์สนั นำาทฤษฎีนมี้ าปรับใช้กบั อุดมการณ์ชาตินิยมในลาตินอเมริกาในทิศทางใดบ้าง บทที่สี่ “กระแสลมแห่งความ ‘ซับซ้อน’ ของ ‘ชาติ’ จากลาตินอเมริกา” เขียนโดยธเนศ วงศ์ยานนาวา ศาสตราจารย์ดา้ นรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ธเนศสำาเร็จการศึกษาระดับปริญญาโททางด้านสังคมวิทยา จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสนั (University of Wisconsin, Madison) สหรัฐอเมริกา และทางด้านทฤษฎีสังคมและการเมืองจากมหาวิทยาลัย เคมบริดจ์ (University of Cambridge) สหราชอาณาจักร ในบทความนี้ ธเนศได้ทาำ การย้อนหาวงศาวิทยาของชาติและอุดมการณ์ชาตินยิ มว่าเป็น มาเช่นไร และผูใ้ ดศึกษาเอาไว้ในลักษณะใดบ้าง จากนัน้ ธเนศได้วิพากษ์ ทฤษฎีของแอนเดอร์สนั โดยนำาเอาลาตินอเมริกาเข้ามาสูว่ งถกเถียง ในกรณี นีธ้ เนศโต้แย้ง ชุมชนจินตกรรม ในสองประเด็นใหญ่ คืออิทธิพลทีแ่ ท้จริง ของสื่อสิ่งพิมพ์และบทบาทของศาสนาในการสร้างชาติ ในจุดแรกธเนศ ได้ใช้กรณี “ทัศนาวัฒนธรรม” อย่างรูปเคารพ “พระแม่แห่งกวาดาลูเป” (Virgin of Guadalupe) และอิทธิพลของบุคคลทางศาสนาทีเ่ ป็นวีรบุรษ ุ ใน การทำาสงครามประกาศเอกราชจากสเปน เป็นตัวอย่างในการชีใ้ ห้เห็นถึง ความสอดคล้องกันระหว่างศาสนา ความเชื่อ กับความเป็นชาติเม็กซิโก ส่วนจุดทีส่ อง ธเนศลงไปทำาการวิเคราะห์ถงึ นิยายเล่มสำาคัญ ๆ ทีแ่ อนเดอร์สนั ใช้กล่าวถึงในงาน อย่าง El Periquillo Sarniento (The Mangy Parrot, 1816) ของ โฆเซ่ โฆอาคิน เฟร์นนั เดซ เด ลิซาร์ดิ ( José Joaquín Fernández de 28
ว่ามีสว่ นมากน้อยอย่างไรต่อการสร้างสำานึกความเป็นชาติเม็กซิโก และสำานึกแบบภราดรภาพ (fraternity)
Lizardi)
บทที่ห้า “ชาตินิยมและการสร้างชาติในประวัติศาสตร์ลาตินอเมริกา” เขียนโดยเดวิด เอ. แบรดดิง (David A. Brading) ศาสตราภิชานด้าน ประวัตศิ าสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ แบรดดิงไม่เพียงแต่เชีย่ วชาญ ประวัติศาสตร์ลาตินอเมริกาเท่านั้น แต่ยังเป็นเอกในด้านประวัติศาสตร์ เม็กซิโกเป็นพิเศษด้วย โดยในบทความนี้ แบรดดิงยืนยันข้อสรุปทีผ่ เู้ ขียน ได้อธิบายไว้ขา้ งต้นในลักษณะเดียวกันทีว่ า่ ชาตินยิ มในลาตินอเมริกาเกิด ขึ้นทั่วภูมิภาคก็ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มิใช่ยุคใด ๆ ก่อนหน้าดังที่ แอนเดอร์สันอ้างไว้ โดยที่ผลจากการต่อสู้เพื่อเอกราชจากในช่วงคริสต์ ศตวรรษที่ 19 นัน้ จริง ๆ แล้วก่อให้เกิด “รัฐ” และกลไกของรัฐในรูปแบบ ต่าง ๆ แต่ยังไม่เกิด “ชาติ” เสียต่างหาก หน้าที่ของรัฐในช่วงหลังการ ได้รับเอกราชมาแล้วตลอดคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือการพยายามจัดการ กับความไม่สงบภายในประเทศและการแผ่ขยายอำานาจรัฐไปให้ทั่วอาณา บริเวณเป็นสำาคัญ ด้วยเหตุนี้ เหล่า “เจ้าพ่อ” จึงหันกลับไปใช้ตำานาน วีรบุรุษ และประวัติศาสตร์ เป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมให้ กับรัฐบาลของตน และเมื่อเข้าสู่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ความเป็นชาติ นิยมในลาตินอเมริกาก็ก้าวเข้าสู่จุดสูงสุดเพราะหลายประเทศต้องเผชิญ หน้ากับภัยคุกคามจากภายนอกในลักษณะลัทธิจกั รวรรดินยิ มจากสหรัฐ อเมริกา บทความนี้ของแบรดดิงน่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นการ ท้าทายงานกลุ่มที่ชี้ว่า “ชาติ” เกิดก่อน “รัฐ” ซึ่งโดยมากมักจะอิงกับ ประวัติศาสตร์กระแสหลักทางยุโรปเป็นหลัก ในบทความนี้แบรดดิงจึง อธิบายให้เห็นถึงพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของรัฐต่าง ๆ ในลาตินอเม ริกาตั้งแต่ช่วงสงครามประกาศเอกราช จนกระทั่งถึงช่วงที่ลาตินอเมริกา เผชิญกับปัญหาความระสำ่าระส่ายจากภายในและจากภายนอก ทำาให้มี การหวนกลับไปหา “อดีต” กันอย่างไม่หยุดหย่อน
29
ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือรวมบทความแปลเล่มนี้ ไม่เพียงแต่จะ ทำาให้ทงั้ ผูอ้ า่ นทัว่ ไปและนักวิชาการชาวไทยรูจ้ กั ลาตินอเมริกามากขึน้ แต่ หวังเช่นกันว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้ได้เห็นข้อถกเถียงต่องานชิน้ เอกของ “ครูเบน” ทีเ่ หล่านักวิชาการในอีกซีกโลกหนึง่ เคยพูดคุยกันเป็นวงกว้างว่า “ชาติ” และ “ชาตินย ิ ม” แบบทีแ่ อนเดอร์สนั เคยอธิบายไว้อาจจะไม่ถกู ต้อง หรือสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงของภูมภิ าคหนึง่ ๆ เสมอไป อย่างไร ก็ดี หนังสือรวมบทความแปลเล่มนีม้ ไิ ด้ตอ้ งการชีช้ วนให้ลบล้างทฤษฎีของ แอนเดอร์สันแต่อย่างใด เพราะบทความที่เลือกสรรมานี้โดยทั่วไปต่างก็ เห็นด้วยกับแอนเดอร์สันในเรื่องบทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ต่อการสร้างจิต สำานึกความเป็นชาติ ทว่าหนังสือเล่มนี้ต้องการสร้างการพูดคุย ถกเถียง และนำามาซึง่ มุมมองใหม่ ๆ แก่วงวิชาการการศึกษาอุดมการณ์ชาตินยิ มใน ไทยเป็นสำาคัญโดยนำาเอาลาตินอเมริกาเข้ามาสู่วงพูดคุยด้วย จนถึงทีส่ ดุ แล้วคุณค่าของ ชุมชนจินตกรรม ของแอนเดอร์สนั นัน้ ไม่ใช่แค่ ว่าเป็นงาน “คลาสสิค” ที่มีคุณูปการต่อวงวิชาการนานาชาติเท่านั้น แต่ คุณค่าและความสำาเร็จที่แท้จริงของงานวิชาการระดับนี้คือความสามารถ ในการ “จุดประกาย” ให้ผู้คนตั้งคำาถามและข้อเถียงกันเป็นวงกว้างเสีย ต่างหาก หากมองข้อสนทนาต่าง ๆ ซึ่งเกิดขึ้นตามมาหลังจากที่ ชุมชน จินตกรรม ได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณะตลาดหลายสิบปีที่มาผ่านมานี้ แล้ว ก็ย่อมกล่าวได้อยากเต็มปากว่า “ครูเบน” ประสบความสำาเร็จเป็น อย่างยิ่ง
30
อ้างอิง Anderson, Benedict. Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism. Revised ed. London: Verso, 2016. Chasteen, John Charles. “Introduction: Beyond Imagined Communities.” In Beyond Imagined Communities: Reading and Writing the Nation in Nineteenth-Century Latin America, edited by Sara Castro-Klarén and John Charles Chasteen, ix–xxv. Washington, D.C.: Woodrow Wilson Center Press, 2003. Guerra, François-Xavier. “Forms of Communication, Political Spaces, and Cultural Identities in the Creation of Spanish American Nations.” In Beyond Imagined Communities: Reading and Writing the Nation in Nineteenth-Century Latin America, edited by Sara Castro-Klarén and John Charles Chasteen, 3–32. Washington, D.C.: Woodrow Wilson Center Press, 2003.
31