ตัวอย่างของ หนังสือแผนที่สร้างชาติ

Page 1

เก่งกิจ กิติเรียงลาภ hi

ng

รัฐประชาชาติ กับการทำ�แผนที่หมู่บ้านไทย ในยุคสงครามเย็น

Pu bli s

hi

ng

Thirdspace

Pu bli s

Thirdspace


สารบัญ ค�ำน�ำ โดย ประชา สุวีรานนท์

5 ค�ำขอบคุณ

11 จากมานุษยวิทยาสู่ภูมิศาสตร์

15 สหรัฐอเมริกากับการท�ำแผนที่ในยุคสงครามเย็น

25 เทคโนโลยีและสถาบันความรู้ในการท�ำแผนที่

45


ก�ำเนิดการท�ำแผนที่และภาพถ่ายทางอากาศในประเทศไทย

67 ปัญหาการแปลและความหมายของสิ่งที่เรียกว่า “หมู่บ้าน” หมู่บ้าน–as–hamlet vs หมู่บ้าน–as–village

95 การส�ำรวจและท�ำแผนที่หมู่บ้านชาวเขาโดย Bennington–Cornell

113 การท�ำแผนที่และท�ำเนียบหมู่บ้านชาวเขา ของศูนย์วิจัยชาวเขา

129 สรุป: การส�ำรวจและการท�ำแผนที่หมู่บ้าน กับการสร้างรัฐประชาชาติ

141



ค�ำน�ำ

ทุกวันนี้ คนทั่วไปอาจเปิดดูแผนที่ในโทรศัพท์มือถือ และมีส่วนร่วมแก้ ไขได้ อย่างง่ายดาย จนแทบไม่ได้สังเกตว่าเทคโนโลยี่การทำ�แผนที่มีความเป็นมา อย่างไร เรื่องของการทำ�แผนที่ สมัยสงครามเวียดนาม ซึ่งเป็นต้นแบบของ แผนที่ของราชการและของเอกชนอีกหลายฉบับรวมทั้งกูเกิ้ลแมป มีประวัติที่ น่าสนใจ เช่นเดียวกัน การสำ�รวจของนักวิชาการ ซึง่ มีสว่ นร่วมในการทำ�แผนที่ ฉบับนัน้ และได้สร้างผลงานทีเ่ ป็นต้นแบบของการศึกษาหมูบ่ า้ นและวัฒนธรรม ชุมชน ก็เป็นประวัติของวงการวิชาการไทยที่น่าเรียนรู้ “แผนทีส่ ร้างชาติ: รัฐประชาชาติกบั การทาํ แผนทีห่ มูบ่ า้ นไทยในยุคสงคราม เย็น” ของอาจารย์เก่งกิจ กิติเรียงลาภ เกี่ยวกับการทำ�แผนที่ทหารชื่อ L708 ซึ่งใช้เทคนิคภาพถ่ายทางอากาศของกองทัพสหรัฐอเมริกาในยุคหลังสงคราม​ โลกครั้งที่สอง นอกจากใช้เส้น สี และรูปร่างต่าง ๆ ระบุพรมแดน บอกระดับ ความสูง และลักษณะภูมิประเทศแล้ว ยังบอกที่ตั้งของเขตปกครองทางการ เมืองต่าง ๆ เช่น จังหวัด อำ�เภอและหมู่บ้าน อย่างละเอียด ซึ่งทำ�ให้ทหารของ สหรัฐฯ และไทยสามารถเข้าควบคุมชาวเขา และทำ�ให้นักวิชาการเข้าไปศึกษา ชุมชนเหล่านั้นได้อย่างใกล้ชิด อ่านแล้วชวนให้นกึ ถึงหนังเรือ่ ง “The Englishman Who Went Up a Hill But Came Down a Mountain” (1998) ซึ่งกำ�กับโดยคริสโตเฟอร์ มังเกอร์ และนำ�แสดงโดย ฮิวจ์ แกรนท์ หนังเริม่ ต้นเมือ่ นักทำ�แผนทีจ่ ากสำ�นักงานสำ�รวจ ออร์ดแิ นนซ์ของรัฐบาลอังกฤษ เดินทางมาทีเ่ วลส์เพือ่ ทำ�แผนทีฉ่ บับใหม่ ปัญหา คือมีขอ้ กำ�หนดว่าภูเขาต้องสูงเกินหนึง่ พันฟุต เตีย้ กว่านัน้ ต้องเรียกว่าเนิน และ ผลการวัดภูเขาชือ่ ฟินนอน กาว อันเป็นสัญลักษณ์ของหมูบ่ า้ นแถวนัน้ ก็คอื สูง ไม่ถึงหนึ่งพันฟุต

—5—


แต่ชาวบ้านไม่ยอมเรียกมันว่าเนิน ภูเขาเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนและเกิด มาก่อนใคร ๆ รวมทัง้ คนทีม่ าทำ�แผนที่ ความเชือ่ ในตำ�นานและเรือ่ งปะรำ�ปะรา เกี่ยวกับบทบาทของภูเขาในการป้องกันอริราชศัตรูในอดีต จึงมีมากกว่าความ ถูกต้องของการวัด และตอนนัน้ สงครามโลกครัง้ ทีห่ นึง่ เพิง่ จะเลิก พอเจอเรือ่ งนี้ ชาวเวลส์จึงรู้สึกเหมือนถูกปล้นอีกครั้ง แต่คราวนี้โดยรัฐบาลอังกฤษ เพือ่ ทีน่ กั ทำ�แผนทีจ่ ะได้เรียกมันว่าภูเขาแทนทีจ่ ะเป็นเนินสูง ชาวบ้านระดม คนทั้งหมู่บ้านขนเอาดินมาถมให้สูงเกิน 1000 ฟุต และระหว่างนั้น ก็ต้องหา ทางทำ�ให้นักทำ�แผนที่ต้องตกค้างอยู่ในหมู่บ้านต่อไปอีกหลายวัน เพื่อจะได้วัด กันใหม่เมื่อถมภูเขาเสร็จ แผนทีส่ ร้างรัฐขึน้ มา คล้ายการวาดรูปลงบนแผ่นกระดาษ ซึง่ มีผลผลักดัน ให้สง่ิ นัน้ มีชวี ติ ทางสังคม ไม่วา่ จะเป็นท่ามกลางการสูร้ บในอเมริกาเหนือ สงคราม ในจีน การแก่งแย่งพืน้ ทีข่ องไดเมียวในญีป่ นุ่ ความขัดแย้งในรัสเซีย หรืออาณานิคมของอังกฤษทั่วทุกมุมโลก ใน Siam Mapped: A History of Geo-Body อาจารย์ธงชัย วินิจจะกูล เรียกการสร้างรัฐด้วยแผนทีว่ า่ ‘ภูมกิ ายา’ (the geo-body) โดยบรรยายถึงการ เกิดขึ้นของแผนที่สยามในศตวรรษที่ 19 และบอกว่าบทบาทของภูมิกายามีถึง สามอย่างคือ หนึง่ เกิดขึน้ โดยแผนที่ สอง กลายเป็นรูปภาพแบบ iconic หรือ ทีเ่ บเนดิก แอนเดอร์สนั เรียกว่า “the map-as-logo” และสาม ช่วยทำ�ให้เชือ่ กัน ว่าชาติมีมานานแล้ว อำ�นวยให้ผู้ครองดินแดนอ้างได้ว่าพื้นที่นั้น ๆ เป็นมรดกที่ ตกทอดมา รวมทั้งสามารถวาดแผนที่ประวัติศาสตร์ที่สืบย้อนกลับไปถึงจุด กำ�เนิดได้ ซึง่ จากนัน้ ตามมาด้วยโวหารของความรักชาติและความจำ�เป็นทีจ่ ะ ปกป้องเขตแดนเหล่านี้ ประโยชน์มากมายเช่นนีท้ �ำ ให้ผนู้ �ำ ของรัฐไทยสมัยนัน้ ชอบการทำ�แผนทีม่ าก ธงชัยเรียกกำ�เนิดของมันในแง่ทเี่ ป็น “ชัยชนะของแผนที”่ ใน “แผนทีส่ ร้างชาติ” ภูมิกายาไม่ได้ถูกวาดขึ้นเพื่อการโฆษณาชวนเชื่อ แต่ทำ�ขึ้นด้วยภาพถ่ายทาง อากาศทีใ่ ช้ทงั้ กล้องถ่ายรูปและเครือ่ งบินสมัยใหม่และโดยนักทำ�แผนทีม่ อื อาชีพ

—6—


ของทหาร หนังสือจะพูดถึงบทบาทของฉบับที่เรียกกันว่า L708 ซึ่งเป็นส่วน หนึง่ ของโครงการทำ�แผนทีข่ องทัง้ โลกของสหรัฐอเมริกา และบทบาทสร้างรูปร่าง ให้แก่ประเทศและชุมชน แต่จุดเด่นน่าจะอยู่ที่การแสดงให้เห็นบทบาทสำ�คัญ อีกประการหนึ่งของแผนที่คือ “ตั้งชื่อ” หรือ Nomenclature ให้กับสิ่งต่าง ๆ ผู้เขียนระบุว่าคำ�ว่า “หมู่บ้าน” ถูกใช้เป็นครั้งแรกในแผนที่ฉบับนี้ และใน ขณะนั้น คำ�ว่า “หมู่บ้าน” มีความสำ�คัญต่อความมั่นคงของชาติ การใช้คำ�ว่า “บ้าน” และระบุชอื่ ทีต่ งั้ ของพืน้ ทีเ่ หล่านัน้ อย่างละเอียดจึงทำ�ให้ทหารเข้าควบคุม ได้โดยง่ายและนักวิชาการเข้าศึกษาได้โดยใกล้ชิด จากที่เป็นสิ่งที่ไร้ขอบเขต เคลื่อนที่ได้และไม่หยุดนิ่ง มาเป็นสิ่งที่สามารถจับต้องได้ เรียกได้ว่า หมู่บ้าน แบบทีร่ จู้ กั กันในปัจจุบนั เริม่ ต้นในยุคของการต่อต้านผูก้ อ่ การร้ายคอมมิวนิสต์ และด้วยการทำ�แผนที่ฉบับนี้ ถือว่าเป็นการนำ�เอาหมูบ่ า้ นมาเป็นส่วนหนึง่ ของรัฐประชาชาติ หรืออย่างน้อย ทำ�ให้รฐั มีบทบาทสอดส่องและควบคุมได้อย่างเข้มข้น และในขณะเดียวกัน ก่อ ให้เกิดปฏิบตั กิ ารต่าง ๆ เช่น การสร้างถนน ทางหลวง เขือ่ น แผนพัฒนาชนบท โครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง นโยบายการใช้ก�ำ นันผู้ใหญ่บา้ นเป็นหูเป็นตา รวมทั้งผลิตสิ่งที่อาจสร้างความพอใจให้ชาวบ้าน เช่นนํ้า ไฟถนน รั้ว ป้ายชื่อ การประกวดหมู่บ้าน และการติดพระบรมฉายาลักษณ์ในทุกบ้าน ทีส่ �ำ คัญ ผูเ้ ขียนไม่ได้มองว่าแผนทีใ่ นฐานะเครือ่ งมืออันหนึง่ ทีใ่ ช้ ในสงคราม แต่เป็น “วาทกรรม” หรือ “ข้อเสนอ” ที่มีบทบาทในหลายระดับ เช่น การ เรียกเส้นและสีว่า แม่นํ้าหรือลำ�ธาร เรียกแนวขนานว่า ถนนหรือทางหลวง เรียกวงกลมว่า จังหวัดหรืออำ�เภอหรือหมูบ่ า้ น ทำ�ให้พนื้ ทีน่ นั้ มีฐานะขึน้ มา ซึง่ ผลก็คือถูกพูดถึง ใช้ตั้งเป็นกระทู้ หรือใช้เพื่อยุติข้อถกเถียงได้ เป็นหนังโรแมนติค-คอมดี้ ซึง่ ตามธรรมเนียมหนัง แผนที่ จะเป็นตัวแทนของโลกสมัยใหม่ ซึ่งแปลว่าผู้ร้าย ส่วนการถมภูเขาเป็นตัวแทน อัตลักษณ์ของชาวบ้าน ซึ่งแปลว่าพระเอก หนังจะบอกว่าคุณค่าเก่า ๆ ก็ยังมี ความสำ�คัญต่อชุมชน ลีลาเด่นคือให้ชาวบ้านแต่ละคนประพฤติแปลก ๆ เสียจน The Englishman

—7—


ผูด้ รู สู้ กึ แปลกแยกในตอนต้น ต้องอยูก่ บั ฮิวจ์ แกรนท์หรือนักทำ�แผนทีแ่ ต่เพียง ผู้เดียว แต่ในตอนท้าย ก็เข้าร่วมกับเขาอย่างเต็มที่ ดูเหมือนว่าในหนังสือเล่มนี้ นักทำ�แผนที/่ นักวิชาการหรือคณะ Bennington-​ Cornell ซึง่ เป็นชาวอเมริกน ั และไทย มีโอกาสมากทีจ่ ะมีบทอย่างพระเอกของ The Englishman เช่น อาจเดินทางเข้าไปในป่าดงแล้วหลงรักชีวต ิ ชุมชน และมีค�ำ ถาม ว่าจะตัดสินใจช่วยชาวบ้านด้วยการบิดเบือนภูมิประเทศหรือแผนที่บ้างหรือไม่ การใช้ถ่ายภาพทางอากาศของ L708 ยังต้องประสานกับคนที่ออกสนาม หรือแบกไม้วดั และอุปกรณ์ รวมทัง้ นักทำ�แผนทีซ่ งึ่ บุกป่าฝ่าดงเข้าไปสำ�รวจ ซึง่ เมือ่ ได้ขอ้ มูลใหม่กน็ �ำ กลับมาต่อเติมหรือแก้ ไขให้สมบูรณ์ยงิ่ ขึน้ ภารกิจนีท้ �ำ โดย นักวิชาการคณะดังกล่าว และต่อมา ข้อมูลเกี่ยวกับเขตชนบทและป่าเขาชุดนี้ จะกลายเป็นเอกสารสำ�คัญของราชการ ซึง่ เป็นจุดเริม่ ของความรูท้ างสังคมวิทยา และมานุษยวิทยาในประเทศไทย การก่อรูปของรัฐประชาชาติไทยและการขยาย อํานาจไปในสังคม จึงมาบรรจบกันที่แผนที่ฉบับนี้ ในตอนจบของหนัง นักทำ�แผนทีต่ ดั สินใจช่วยชาวบ้านปกปิดความจริง และ ยอมบิดเบือนหลักการนิดหน่อยในการทำ�ให้ทางการยอมรับว่าเนินเป็นภูเขา ทัง้ แผนที่และชาวบ้านจึงได้รับชัยชนะร่วมกัน แต่สำ�หรับ L708 เรื่องไม่ได้จบลงอย่างโรแมนติก การทำ�แผนที่ในช่วง สงครามเวียดนามซีเรียสกว่ามาก ตลอดช่วงสงคราม ผลงานของนักทำ�แผนที่ และนักสำ�รวจยังถูกใช้ ในการกดขีป่ ราบปรามคนท้องถิน่ ก่อให้เกิดความรุนแรง และการปะทะกันในหลายระดับ ตั้งแต่การยิงปืนและลูกระเบิดเข้าใส่ เผา หมูบ่ า้ น และนำ�มาซึง่ การบาดเจ็บ การตายและการอพยพของผูค้ นจำ�นวนมาก ที่สำ�คัญคือเป็นที่มาของหลายสิ่งหลายอย่างที่ยังใช้กันอยู่ในปัจจุบัน เช่น แผนที่หลายฉบับทั้งของราชการและเอกชน รวมทั้งกูเกิ้ลแมป ไทยศึกษาของ วงวิชาการ และการนำ�เอาหมู่บ้านมาเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ-ชาติแบบใหม่ “แผนที่สร้างชาติ” จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับ “ชัยชนะของแผนที่” อีกครั้งหนึ่ง ประชา สุวีรานนท์

—8—


Turn static files into dynamic content formats.

Create a flipbook
Issuu converts static files into: digital portfolios, online yearbooks, online catalogs, digital photo albums and more. Sign up and create your flipbook.